ผู้เขียน หัวข้อ: ปาฏิหาริย์พระพุทธฉายวัดสิงห์ สิงห์บุรี  (อ่าน 3460 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ปาฏิหาริย์พระพุทธฉายวัดสิงห์ สิงห์บุรี
วันเสาร์ ที่ 09 เมษายน 2554 เวลา 0:00 น 

เข้าฝันบันดาลโชค ร่ำรวย สมปรารถนา   

วัดสิงห์ เป็นวัดราษฎร์ และเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๕๙ หมู่ที่ ๒ ตำบลพระงาม อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี มีพื้นที่ ๒๗ ไร่ ๒ งาน ๒๘ ตารางวา อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันตก ด้านหลังวัดติดต่อกับถนนเลียบคันคลองชลประทาน สายชัยนาท–อ่างทอง โดยวัดสิงห์มีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระพุทธฉาย สถิตอยู่หน้าพระอุโบสถ ร่ำลือกันว่า มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ซึ่งพระพุทธฉายองค์จริงดั้งเดิมสถิตอยู่ที่วัดพระพุทธฉาย อยู่ในเขตหมู่ที่ ๑ ตำบลหนองปลาไหล อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี
   
สำหรับตำนานเกี่ยวกับพระพุทธฉายนั้น ทราบกันดีว่าคือ ฉายา หรือ เงา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งปรากฏเป็นเงาเลือนรางประทับอยู่ที่ผาหินบริเวณเชิงเขาวัดพระพุทธฉาย  มีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปยืน ค้นพบสมัยพระเจ้าทรงธรรม  กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๒๑๖๓-๒๑๗๑) เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเช่นเดียวกันกับพระพุทธบาททีเดียว
   
ในอดีตกาลระบุไว้ว่า เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาที่เขาฆาฏกะ (เขาพระพุทธฉาย) เพื่อโปรดพรานฆาฏกะ ซึ่งมีสันดานโหดร้ายและมีมิจฉาทิฐิ จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ครั้นจะเสด็จกลับนายพรานได้ทูลขอให้ประทานสิ่งที่เป็นอนุสรณ์  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้กระทำพุทธปาฏิหาริย์ให้พระฉายาลักษณ์ของพระองค์ปรากฏอยู่บนผาหิน บริเวณเชิงเขาดังกล่าว มีลักษณะเป็นเส้นเงาสีแดงคล้ายสีดินเทศ สูงประมาณ ๕ เมตร มีการจัดงานนมัสการพระพุทธฉายทุกวันมาฆบูชา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓) ของทุกปี
   
สำหรับพระพุทธฉายของวัดสิงห์นั้นเป็นองค์พระพุทธฉายที่สร้างขึ้นโดยจำลองจากองค์จริง สันนิษฐานกันว่าสร้างขึ้นพร้อมกับวัดสิงห์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เป็นพระพุทธรูปปางพระอิริยาบถยืน กล่าวคือ เป็นพระพุทธรูปยืน ห้อยพระหัตถ์ทั้งสองข้างลงชิดพระวรกาย ลืมพระเนตรทอดตรงไปข้างหน้าเป็นกิริยาตรวจความพร้อมเพรียงและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของพระสงฆ์สาวก
   
ตำนานความเป็นมาของปางพระอิริยาบถยืน กล่าวไว้ว่าในสมัยพุทธกาล ช่วงยามเช้าของทุก ๆ วัน ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จออกโปรดสัตว์ จะทรงหยุดยืน ณ หน้ามุขพระคันธกุฏิเสมอเพื่อทอดพระเนตรความพร้อมเพรียงของหมู่สงฆ์  ครั้นทรงเห็นว่าพระสงฆ์สาวกมีความพร้อมเพรียงและเป็นระเบียบดีแล้ว จึงเสด็จเป็นประธานนำหมู่พระสงฆ์ออกบิณฑบาต หรือไปในที่ที่ได้รับนิมนต์ไว้ นับเป็นพระพุทธจริยวัตรที่แสดงถึงพระเมตตาและกรุณายิ่งแด่พระสงฆ์ และทรงเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้นำหมู่คณะ
   
ในด้านอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ของ พระพุทธฉาย ได้มีการบอกกล่าวเล่าขานกันอยู่เสมอมา บางครั้งท่านไปเข้าฝันชาวบ้านเพื่อเตือนภัย เช่นเมื่อราวปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่จังหวัดสิงห์บุรีเนื่องจากน้ำเหนือไหลหลาก ในช่วงแรกบ้านเรือนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแถบวัดสิงห์ น้ำยังไม่ท่วมเพราะมีเขื่อนดินกั้นเป็นแนวป้องกันอยู่ ซึ่งเขื่อนดินนี้ถูกแรงน้ำกัดเซาะลงไปเรื่อย ๆ พร้อมที่จะพังทลายลงมาตลอดเวลา
   
คืนหนึ่งพระพุทธฉายได้ไปเข้าฝันชาวบ้านรายหนึ่งซึ่งปลูกบ้านอยู่แถบตอนใต้ของวัดสิงห์ว่า พรุ่งนี้ช่วงสาย ๆ เขื่อนดินจะพังทลายลงมา เกิดน้ำท่วมขังบ้านเรือน ขอให้ระมัดระวัง พอตื่นขึ้นมาในวันรุ่งขึ้น สตรีชาวบ้านรายนั้นจึงรีบเก็บข้าวของเพื่อหนีภัยน้ำท่วมเป็นการใหญ่ พร้อมทั้งแจ้งความฝันให้เพื่อนบ้านทราบ และเวลา ๐๘.๐๐ น.เศษ ของวันนั้น เขื่อนดินบริเวณแถบตอนใต้ของวัดสิงห์ก็พังทลายลงมาจริง ๆ เกิดน้ำท่วมขังบ้านเรือนตามที่พระพุทธฉาย มาบอกตามความฝัน อย่างไม่ผิดเพี้ยนเลย
   
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
แผนที่


อนึ่ง บางครั้งท่านไปเข้าฝันบอกตัวเลขปริศนาโชคลาภให้กับชาวบ้าน ซึ่งมีทั้งพวกที่อยู่ใกล้กับวัดสิงห์และพวกที่อยู่แดนไกลข้ามจังหวัดไปก็มี ซึ่งอาจเป็นเพราะว่า บุคคลทั้งหลายเหล่านี้ในอดีตชาติคงเคยร่วมสร้างบุญกุศลกับท่านมา ท่านจึงบันดาลโชคลาภให้ เช่น ท่านเคยไปเข้าฝันชายหนุ่มคนหนึ่งซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่แถวท่าเรือคลองเตย กรุงเทพฯ โดยบอกว่าท่านคือ พระพุทธฉายแห่งวัดสิงห์ จังหวัดสิงห์บุรี ท่านบอกถ้ามีโอกาสให้ชายหนุ่มคนนั้นไปร่วมทำบุญกับวัดสิงห์บ้าง พร้อมทั้งบอกตัวเลขปริศนาให้ไปเสี่ยงโชค ชายหนุ่มคนนั้นได้นำตัวเลขปริศนานั้นไปเสี่ยงโชคปรากฏว่าได้รับโชคมหาศาล
   
ต่อมาชายหนุ่มคนนั้นได้ขับรถยนต์ส่วนตัวพาครอบครัวมาสืบหาพระพุทธฉายที่วัดสิงห์ จังหวัดสิงห์บุรี แต่ก็หลงทางอยู่นาน เนื่องจากที่จังหวัดสิงห์บุรี มีวัดชื่อวัดสิงห์เหมือนกันอยู่หลายวัด แต่อยู่ต่างอำเภอกัน หลังจากพบวัดสิงห์ที่ต้องการแล้ว ได้ไปนมัสการพระพุทธฉายด้วยความตกตะลึงเพราะพระพุทธฉายองค์จริงเหมือนกับองค์ที่เข้าฝันทุกประการ ชายหนุ่มคนนั้นได้ถวายปัจจัยจำนวนหนึ่งเพื่อร่วมทำบุญกับวัดสิงห์และได้สร้างปูชนียวัตถุให้กับวัดสิงห์หลายอย่าง เช่น สร้างพระสิวลีไว้หน้าอุโบสถ สร้างฉัตรไว้ในอุโบสถ เป็นต้น
   
ด้วยความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพของประชาชนนั้น ในวันอาทิตย์ที่  ๑๔ เมษายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. ทางวัดสิงห์จะจัดงานทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อนำปัจจัยที่ได้ไปก่อสร้างกำแพงวัดขึ้นใหม่  ซึ่งของเดิมได้ชำรุดพังทลายลงมาจากเหตุอุทกภัยในช่วงปลายปี ๒๕๕๓  ดังนั้นทางวัดสิงห์จึงขอเรียนเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่านไปร่วมงานทอดผ้าป่าดังกล่าวโดยร่วมทำบุญตามกำลังศรัทธา สำหรับผู้ที่มิจิตศรัทธาร่วมทำบุญตั้งแต่  ๓,๐๐๐ บาทขึ้นไป จะได้รับการจารึกชื่อ-สกุล ไว้ที่กำแพงวัดซึ่งแบ่งไว้เป็นช่อง ๆ รวมทั้งหมด ๖๘ ช่อง และจะได้รับรูปถ่ายบูชารุ่นแรกของพระพุทธฉายไว้สักการบูชา ๒ ภาพ โดยเป็นภาพขนาด ๑๒ x ๑๖ นิ้ว และ  ๔ x ๖  นิ้ว 
   
รูปถ่ายบูชารุ่นแรกดังกล่าว  ทางวัดสิงห์ได้จัดสร้างขึ้นในช่วงกลางปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นภาพสีทำด้วยกระดาษอย่างดีและได้รับการแผ่เมตตาปลุกเสกจากพระครูวิมลญาณอุดม หรือหลวงพ่อติ๋ว วัดมณีชลขัณฑ์  ตำบลพรหมมาสตร์  อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี  พระเกจิอาจารย์ดัง โดยท่านได้แผ่เมตตาปลุกเสกให้จนครบตลอดไตรมาส พ.ศ. ๒๕๕๓
   
สำหรับพุทธศาสนิกชนที่มีความปรารถนาอยากไปร่วมงานทอดผ้าป่าสามัคคีของวัดสิงห์ในวันอาทิตย์ที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๔ ติดต่อสอบถามเส้นทางได้ที่พระอธิการสว่าง  อภินันโท เจ้าอาวาสวัดสิงห์ องค์ปัจจุบัน โทร. ๐๘-๗๑๑๘-๔๔๒๒ หรือ หากร่วมจิตศรัทธาอยากทำบุญ สามารถโอนเงินปัจจัยทำบุญไปเข้าบัญชีออมทรัพย์ของวัดสิงห์ได้ที่บัญชีเลขที่ ๑๐๔-๑๒๙๕๓๗-๓  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสิงห์บุรี.

อำนาจ สุขเย็น ข้อมูล-ภาพ/อาราธนานัง รายงาน
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=502&contentId=131757
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 เม.ย. 2554, 01:50:39 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
วัดสิงห์......วัดดีศรีเมืองสิงห์  --- พระพุทธฉาย  วัดสิงห์
---------------------------------------------------------------------------------
 @@ หมายเหตุ ...จาก...แล่ม จันท์พิศาโล

คุณไพศาล ถิระศุภะ  เป็นรองผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ  กระทรวงการคลัง  บ้านเดิมอยู่ที่ จ.สิงห์บุรี  จึงมีความสนใจในการสะสมพระเครื่องเมืองสิงห์บุรีเป็นพิเศษ   รวมทั้งพระเครื่องเมืองอื่นๆ อีกด้วย  และเมื่อมีโอกาสก็มักจะเขียนเรื่องราวของพระเครื่อง และวัด  ของเมืองสิงห์บุรี  มาให้ผมนำลงเผยแพร่ในหน้าพระเครื่อง “คม ชัด ลึก” อยู่เสมอ  ผมจึงได้ขออนุญาตนำเรื่องที่คุณไพศาลเขียนไว้  มาลงใน  blog นี้อีกทางหนึ่ง  เพื่อให้ท่านที่ยังไม่ได้อ่านใน นสพ. “คม ชัด ลึก” ได้มาอ่านใน blog นี้ได้ด้วย..ขอขอบพระคุณ .... แล่ม จันท์พิศาโล     
---------------------------------------------------------------------------------
พระพุทธฉาย  วัดสิงห์  อ.พรหมบุรี  จ.สิงห์บุรี
      วัดสิงห์ เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ตั้งอยู่ที่หมู่  ๒    ต.พระงาม  อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี  พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบเนื้อที่  ๒๗  ไร่เศษ  อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางฝั่งตะวันตก  ด้านหลังของวัดติดต่อกับถนนเลียบกั้นคลองชลประทานสายชัยนาท - อ่างทอง

  พระพุทธรูปบนหอสวดมนต์       
          วัดสิงห์เป็นวัดเก่าแก่ สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย  มีปูชนียวัตถุที่สำคัญ  คือ พระพุทธฉาย  ประดิษฐานอยู่หน้าวิหาร  ชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธาเลื่อมใสเป็นยิ่งนัก เพราะมีความศักดิ์สิทธิ์มาก
         พระพุทธฉาย องค์จริงดั้งเดิมประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระพุทธฉาย  ต.หนองปลาไหล   อ.เมือง  จ.สระบุรี 
          พระพุทธฉาย  คือ ฉายา หรือ เงา ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งปรากฏเป็นเงาเลือนรางประทับอยู่ที่ผาหิน  บริเวณเชิงเขาวัดพระพุทธฉาย  มีลักษณะคล้าย พระพุทธรูปยืน ค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม  กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา  (พ.ศ.๒๑๖๓-๒๑๗๑)   เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเช่นเดียวกันกับ พระพุทธบาท
         ตำนานเกี่ยวกับพระพุทธฉายกล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาที่เขาฆาฏกะ  (เขาพระพุทธฉาย) เพื่อโปรดพรานฆาฏกะ ซึ่งมีสันดานโหดร้าย และมีมิจฉาทิฐิ จนทำให้พรานฆาฏกะสำนึกผิดและขอบวชเป็นพระภิกษุ ต่อมาได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
          ครั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จกลับ พระภิกษุฆาฏกะได้ทูลขอให้ประทานสิ่งที่เป็นอนุสรณ์   สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้กระทำพุทธปาฏิหาริย์ให้ พระฉายาลักษณ์ของพระองค์ ปรากฏอยู่บนผาหิน  บริเวณเชิงเขาดังกล่าว   มีลักษณะเป็นเส้นเงาสีแดงคล้ายสีดินเทศ    สูงประมาณ  ๕  เมตร  ทางวัดได้จัดให้มีงานสมโภชนมัสการ พระพุทธฉาย ทุกวันมาฆบูชา  (วันขึ้น ๑๕  ค่ำ เดือน ๓ ) ของทุกปี
          สำหรับ พระพุทธฉาย ของ วัดสิงห์ นั้น  เป็นองค์พระพุทธฉายที่สร้างขึ้นโดยจำลองจากองค์จริง     สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นพร้อมกับวัดสิงห์ คือตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย

พระพุทธฉาย ที่วัดสิงห์
          พระพุทธฉาย ของ วัดสิงห์  เป็นพระพุทธรูปปางพระอิริยาบถยืน         กล่าวคือ เป็นพระพุทธรูปยืน       ห้อยพระหัตถ์ทั้งสองข้างลงชิดพระวรกาย             ลืมเนตรทอดตรงไปข้างหน้า เป็นกิริยาตรวจความพร้อมเพรียง และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของพระสงฆ์สาวก   
          ตำนานความเป็นมาของ ปางพระอิริยาบถยืน กล่าวไว้ว่า ในสมัยพุทธกาล   ช่วงยามเช้าของทุกๆ วัน  ก่อนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จออกโปรดสัตว์  จะทรงหยุดประทับยืน  ณ  หน้ามุขพระคันธกุฏิเสมอ เพื่อทอดพระเนตรความพร้อมเพรียงของหมู่สงฆ์           
          ครั้นทรงเห็นว่า พระสงฆ์สาวกมีความพร้อมเพรียง และเป็นระเบียบเรียบร้อยดีแล้ว    จึงเสด็จเป็นประธาน นำหมู่พระสงฆ์ออกบิณฑบาต หรือเสด็จไปในที่ที่ได้รับนิมนต์ไว้
          นับเป็นพระพุทธจริยวัตรที่แสดงถึงพระเมตตา และกรุณายิ่ง แก่พระสงฆ์ และทรงเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้นำหมู่คณะ
         พระพุทธฉาย ของ วัดสิงห์ ประดิษฐานอยู่ที่ผาหินจำลอง   ตั้งอยู่กลางแจ้งหน้าอุโบสถ  และมีการบูรณปฏิสังขรณ์  ตลอดมาเป็นระยะๆ
          การบูรณปฎิสังขรณ์ใหญ่ครั้งแรก ได้กระทำกันในปี ๒๓๙๗   รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๔    แห่งกรุงรัตนโกสินทร์   
          ในขณะนั้น สภาพของวัดสิงห์ และพระพุทธฉาย  ชำรุดทรุดโทรมมาก สันนิษฐานว่า ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔       ได้พระราชทานข้าราชบริพารให้มาเป็นแม่งาน ในการบูรณปฎิสังขรณ์ครั้งนั้น     โดยจะสังเกตได้ว่า หลังจากบูรณปฎิสังขรณ์พระพุทธฉายเสร็จแล้ว  ได้มีการติดตั้ง องค์พญาครุฑ อันเป็นสัญลักษณ์ของทางราชการ  ไว้ที่ผาหินจำลองดังกล่าว และอยู่ยืนยงจนมาถึงปัจจุบันนี้
         การบูรณปฎิสังขรณ์ใหญ่พระพุทธฉาย ครั้งที่ ๒ ได้กระทำในปี ๒๕๔๘  ห่างจากครั้งแรก ๑๕๑  ปี   โดยคณะกรรมการวัดสิงห์เป็นผู้ดำเนินการ  มีการเสริมฐานรากให้มั่นคงแข็งแรง และสร้างหลังคาคลุมผาหินจำลองเอาไว้  ซึ่งจะทำให้ พระพุทธฉาย อยู่คู่กับ วัดสิงห์ ไปอีกตราบนานเท่านาน
         ในสมัยก่อน ทุกๆ วันมาฆบูชา  ทางวัดสิงห์จะจัดงาน เทศกาลบูชาพระพุทธฉาย เป็นประจำทุกปี   โดยชาวบ้าน ซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชน จะจัดภัตตาหาร  ข้าวตอก  ดอกไม้
          และที่ขาดไม่ได้คือ ข้าวหลาม  เพราะชาวบ้านมีความเชื่อกันว่า ท่านชอบฉันข้าวหลามมาก  ใครมาขอพร หรือบนบานศาลกล่าว  เมื่อสมหวังมักจะแก้บนกันด้วยข้าวหลาม  เป็นที่น่าเสียดายว่า ในปัจจุบันไม่มีการจัดงานเทศกาลบูชาพระพุทธฉายจำลองอีกแล้ว    ซึ่งเป็นไปตามยุคสมัย

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=124892

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
ขอขอบคุณท่านทรงกลด มากๆครับ :054: :054:
                                                                                                                                     
ได้นำบทความดีๆมาเพิ่มความรู้ให้กับพี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับผม  :053: :053:
                                                                     
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน ขอบคุณครับผม) :054: :054:
                       

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ