ผู้เขียน หัวข้อ: **พลังแห่งบุญ**  (อ่าน 2039 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
**พลังแห่งบุญ**
« เมื่อ: 08 มิ.ย. 2554, 09:21:25 »
พลังแห่งบุญ

ในเมืองโกสัมพี มีเศรษฐี ๓ คนคือ โฆสกเศรษฐี กุกกฎเศรษฐี และปาวาริกเศรษฐี
เมื่อกาลใกล้ถึงฤดูฝัน เศรษฐีเหล่านั้นเห็นฤาษี ๕๐๐ มาจากป่าหิมพานต์กำลังเที่ยวรับภิกษาอยู่ในพระนครก็บังเกิดความเลื่อมใส จึงนิมนต์ให้ฉันอยู่แต่ในเรือนของพวกตนตลอด ๔ เดือนและให้ฤาษีเหล่านั้นรับปากว่าจะต้องกลับมาฉันเป็นประจำเช่นนี้อีกตลอด ๔ เดือนในฤดูฝนของทุกๆ ปี
ตั้งแต่นั้นมา ฤาษีเหล่านั้นอยู่ในป่าหิมพานต์ตลอด ๘ เดือน พอถึงฤดูฝนก็พากันมาอยู่ประจำในสำนักของเศรษฐีทั้ง ๓ ตลอด ๔ เดือน
สมัยหนึ่ง ฤาษีเหล่านั้นพากันออกจากป่าเพื่อไปยังสำนักของเศรษฐีทั้ง ๓ ในระหว่างทางเห็นต้นไทรใหญ่จึงพร้อมใจกันเข้าไปนั่งหลบแดดที่โคนต้นไทรนั้น

เมื่อเข้าไปนั่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ฤาษีผู้เป็นหัวหน้าแหงนหน้ามองขึ้นไปบนต้นไทรพลางคิดว่า “เทวดาผู้สิงอยู่บนต้นไม้นี้ จักมิใช่เทวดาผู้ต่ำศักดิ์ แต่จักเป็นเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ทีเดียวเชียวละ จักเป็นการดีหนอ ถ้าหากเทวดาตนนี้ พึงให้น้ำดื่มแก่หมู่ฤาษี” เทวดาตนสิงสถิตอยู่ที่ต้นไทรนั้นก็บันดาลให้ฤาษีเหล่านั้นได้น้ำดื่ม ฤาษีเมื่อได้ดื่มน้ำแล้วก็คิดถึงน้ำอาบ เทวดาก็ได้บันดาลให้พวกฤาษีได้น้ำอาบ ฤาษีเมื่อได้น้ำอาบก็นึกถึงโภชนะ เทวดานั้นก็ได้บันดาลให้พวกฤาษีได้โภชนะอีกตามที่ปรารถนา

ลำดับนั้น ฤาษีคนนั้นก็เกิดความคิดขึ้นว่า “เทวดาตนนี้ให้ทุกสิ่งที่เราคิด ผลนี้คงจักเป็นผลหรือพลังอำนาจของบุญที่ยิ่งใหญ่เป็นแน่ ทำอย่างไรหนอ เราจึงจะได้เห็นเทวดาคนนี้” ในขณะนั้นนั่นเอง เทวดาตนนั้นก็ชำแรกลำต้นไม้ แสดงตนให้ปรากฏ ฤาษีเหล่านั้นต่างพากันรุมถามเทวดานั้นว่า “ท่านเทวดา ท่านมีสมบัติมากมาย สมบัตินี้ท่านได้เพราะทำกรรมอะไรหนอ” เทวดาตนนั้นนึกละอายอยู่ เพราะกรรมที่ตนทำไว้ เป็นกรรมเล็กน้อยจึงไม่กล้าบอก แต่เมื่อถูกฤาษีเหล่านั้นเซ้าซี้บ่อยๆ เข้า จึงตัดสินใจเหล่าบุพกรรมของตนแก่ฤาษีเหล่านั้น

เหตุต้นผลกรรม

ในอดีตชาติ เทวดานั้นเป็นคนเข็ญใจเที่ยวหางานทำอยู่ ในที่สุดได้งานทำการรับจ้างอยู่ในสำนักของอนาถบิณฑิกเศรษฐี อาศัยการงานนั้นเลี้ยงชีวิต
ต่อมาในวันอุโบสถ วันหนึ่งเศรษฐีกลับมาจากวัดแล้วถามว่า “วันนี้ เป็นวันอุโบสถ มีใครบอกแก่ลูกจ้างคนนั้นไหม” เมื่อคนในบ้านตอบว่า “ยังไม่มีใครบอก ขอรับ” เศรษฐีจึงบอกให้หุงหาอาหารเย็นไว้ให้เขา ชายเข็ญใจนั้นทำงานอยู่ในป่าตลอดทั้งวัน ตกเย็นก็กลับบ้าน เมื่อเขาจัดหาอาหารมาให้ก็อดที่จะแปลกใจมิได้ เพราะในวันอื่นๆ นั้น ผู้คนในเรือนจะเดินแจกและขออาหารเย็นกันขวักไขว่ แต่วันนี้ ทุกคนพากันเงียบเสียงพากันเข้านอนแต่หัวค่ำ จัดอาหารเย็นไว้เพื่อเขาคนเดียวเท่านั้น ด้วยความสงสัยชายเข็ญใจจึงถามผู้ที่จัดอาหารเพื่อเขานั้นว่า “คนที่เหลือบริโภคแล้วหรือ”
ผู้จัดอาหารชี้แจงว่า “ในเรือนนี้ เขาไม่หุงหาอาหารในเย็นวันอุโบสถ ทุกคนเป็นผู้รักษาอุโบสถ แม้เด็กที่ยังดื่มนม ท่านเศรษฐีก็ให้บ้วนปากให้ใส่ของหวาน ๔ ชนิดคือ เนยใส เนยข้น น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ลงในปากทำให้เป็นผู้รักษาอุโบสถ เมื่อสมาทานรักษาอุโบสถแล้ว ทุกคนต่างพากันเข้าสู่ที่นอนทำการสาธยายอาการ ๓๒ (ส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกาย) แต่ว่าพวกเราลืมบอกท่านว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ ฉะนั้น พวกเราจึงหุงข้าวไว้เพื่อท่านคนเดียว เชิญท่านรับประทานอาหารนั้นเถิด”
ชายเข็ญใจได้ฟังเช่นนั้นก็เกิดความเลื่อมใสใคร่จะรักษาอุโบสถจึงไหว้วานให้ชนผู้จัดอาหารนั้นไปเรียนเศรษฐีให้ทราบ
เศรษฐีกล่าวว่า “ชายนั้น ไม่บริโภคในบัดนี้ วนปากแล้วอธิษฐานองค์อุโบสถ จักได้อุโบสถครึ่งหนึ่ง”

ฝ่ายชายเข็ญใจ ได้ฟังแล้วก็ทำตามนั้น เมื่อหิวจัดลมก็กำเริบปั่นป่วนขึ้นในท้อง เมื่อลมกำเริบหนักเข้า เขาก็ใช้เชือกผูกท้องจัดปลายเชือกไว้แล้วนอนกลิ้งเกลือกอยู่
เศรษฐีทราบข่าว ก็สั่งให้คนใช้ถือเอาของหวาน ๔ ชนิด แล้วรีบรุดไปดูอาการของชายเข็ญใจนั้น ถามดูทราบอาการแล้วก็บอกให้เขากินของหวานที่เตรียมมา
ชายเข็ญใจถามว่า “นาย แม้พวกท่านก็รับประทานหรือขอรับ” เศรษฐีตอบว่า “พวกเราไม่ได้ป่วยนี่ เจ้ากินเถิด”
ชายเข็ญใจจึงกล่าวกะเศรษฐีว่า “นาย ข้าพเจ้าเมื่อรักษาอุโบสถ ก็ไม่อาจเพื่อจะทำอุโบสถกรรมทั้งสิ้นได้ อุโบสถกรรมครั้งนี้ของข้าพเจ้า อย่าได้บกพร่องเลย” แล้วก็ไม่ปรารถนาที่จะกิน แม้เศรษฐีจะกล่าวอยู่ว่า “ท่านอย่าได้ทำเช่นนั้นเลย” ก็ยังไม่ปรารถนาที่จะกิน พออรุณรุ่ง ก็ทำกาลกิริยาตายไปเกิดเป็นเทวดาที่ต้นไทรนี้นั่นแล


ที่มา
http://www.watsamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=252052
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: **พลังแห่งบุญ**
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 08 มิ.ย. 2554, 09:23:18 »
กรรมวิจารณ์

จากธรรมบทนิทานเรื่องนี้ ท่านผู้อ่านจะเห็นว่า ความต้องการความสุขของมนุษย์นั้นมีหลายระดับ ปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค นับว่ามีความสำคัญต่อมนุษย์มาก ในคำสั่งของของพระพุทธเจ้านั้น เริ่มต้นทีเดียวท่านจะต้องจัดสรรเรื่องปัจจัยสี่ให้เรียบร้อย แต่ถ้าจัดได้ดีแล้วมันจะเป็นฐาน ทำให้เราสามารถก้าวไปสู่ชีวิตที่ดีงาม มีการพัฒนาอย่างอื่นต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม ในการจัดสรรในด้านวัตถุให้เป็นไปโดยเรียบร้อยนั้น ต้องอาศัยวินัยเป็นตัวช่วยเพื่อจัดการให้เกิดความถูกต้องดีงาม ฉะนั้นวินัยจึงเป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมคน ให้คนใช้ความรู้ ความสามารถไปในการที่ถูกที่ควร วินัยนั้นท่านแบ่งออกเป็น ๒ คือ อนาคาริยวินัย วินัยสำหรับผู้ออกบวช และ อาคาริยวินัย วินัยสำหรับผู้ครองเรือน

วินัยสำหรับคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนที่สำคัญคือ ศีล ๕
ศีล แปลว่า ปกติ เป็นวินัยทางธรรมเบื้องต้นของคน เป็นเครื่องจำแนกคนออกจากสัตว์
ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องมีลักษณะปกติของมันเอง เช่น ปกติของม้าต้องยืนไม่มีการนอน ถ้าม้านอนก็เป็นการผิดปกติแสดงว่าม้าป่วย ฤดูฝนตามปกติจะต้องมีฝน ถ้าฤดูฝนกลับแล้ง ฝนไม่ตกแสดงว่าผิดปกติ

อะไรคือปกติของคน ?

๑ ปกติของคนจะต้องไม่ฆ่า ถ้าวันไหนมีการฆ่า วันนั้นก็ผิดปกติของคน แต่ไปเข้าข่ายปกติของสัตว์ เช่น เสือ หมี ปลา ฯลฯ ซึ่งมีปกติฆ่ากันโดยปราศจากเหตุผล เพื่อรักษาปกติของคนไว้ ศีลข้อที่ ๑ จึงเกิดขึ้นว่า คนจะต้องไม่ฆ่า
๒. ปกติของสัตว์เวลากินอาหารมันจะแย่งกัน ขโมยกัน ถึงเวลาอาหารทีไรสุนัขเป็นต้องกัดกันทุกที แต่คนไม่เป็นอย่างนั้น เพื่อรักษาปกติของคนไว้ ศีลข้อที่ ๒ จึงเกิดขึ้นว่าคนจะต้องไม่ลัก ไม่คอร์รัปชั่น ไม่ยักยอก คดโกง
๓. ปกติของสัตว์ ไม่รู้จักหักห้ามใจให้พอใจเฉพาะคู่ของตน ในฤดูผสมพันธุ์สัตว์จึงมีการต่อสู้แย่งชิงตัวเมีย บางครั้งถึงกับต่อสู้กันจนตายไปข้างหนึ่งก็มี แต่ปกติของคนแล้วจะไม่แย่งคู่ครองของใคร พอใจเฉพาะคู่ครองของตนเท่านั้น เพื่อรักษาปกติของคนไว้ ศีลข้อที่ ๓ จึงเกิดขึ้นว่า คนจะต้องไม่ประพฤติล่วงในกาม
๔. ปกติดของสัตว์ไม่มีความจริงใจต่อใคร พร้อมที่จะทำอันตรายได้ทุกเมื่อ แต่ปกติของคนนั้น เราพูดกันตรงไปตรงมา มีความจริงใจต่อกัน ถ้าใครโกหกหลอกลวงก็ผิดปกติไป เพื่อรักษาปกติของคนไว้ ศีลข้อที่ ๔ จึงเกิดขึ้นว่า คนจะต้องไม่พูดเท็จ
๕. ปกติแล้วสัตว์มีกำลังร่างกายแข็งแรงมากกว่าคน แต่สัตว์ไม่มีสติควบคุมการใช้กำลังของตนให้ถูกต้อง ดังนั้นจึงไม่สามารถเปลี่ยนกำลังกาย ให้เป็นกำลังความดีได้ มีแต่ความป่าเถื่อนตามอารมณ์ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย แม้มีกำลังกายมาก แต่ไม่เคยออกแรงไปหาอาหารมาเลี้ยงพ่อแม่ของมันแต่อย่างใด
ส่วนคนแม้มีกำลังกายน้อยกว่าสัตว์ แต่อาศัยสติอันมั่นคงช่วยเปลี่ยนกำบังกายน้อยๆ นั้น ให้เกิดเป็นกำลังความดี เช่น มีกตัญญูกตเวที เมื่อโตขึ้นก็เลี้ยงพ่อแม่ได้

สติเป็นของเหนียวแน่นคงทน แม้อดอาหารทั้งวันสติก็ยังดี ทำงานทั้งเดือนสติก็ยังดี นอนป่วยบนเตียงทั้งปีสติก็ยังดี แต่สติกลับเปื่อยยุ่ยทันที ถ้าไปเสพสุรายาเมาเข้า สุราเพียงครึ่งแก้วอาจทำผู้ดื่มให้สติฟั่นเฝือถึงกับลืมตัวลงมือทำร้ายผู้มีพระคุณได้ หมดความสามารถในการเปลี่ยนกำลังกายให้เป็นกำลังความดี ดั้งนั้นผู้ที่เสพสุราหรือของมึนเมา จึงมีสภาพผิดปกติคือ มีสภาพใกล้สัตว์เข้าไปทุกขณะ เพื่อรักษาปกติของคนไว้ ศีลข้อที่ ๕ จึงเดิดขึ้น คนจะต้องไม่เสพของมึนเมาให้โทษ


ที่มา
http://www.watsamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=252052

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: **พลังแห่งบุญ**
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 08 มิ.ย. 2554, 09:25:15 »
ศีลทั้ง ๕ ข้อเหล่านี้ คือ

๑. ไม่ฆ่า
๒. ไม่ลัก
๓. ไม่ล่วงในกาม
๔. ไม่หลอกลวง
๕. ไม่เสพเอาของมึนเมาให้โทษ

จัดเป็นปกติศีล เกิดขึ้นโดยสามัญสำนึก และเกิดขึ้นพร้อมกับโลกเพื่อรักษาความปกติสุขของโลกไว้

ส่วนศีลที่อุบาสกอุบาสิการักษาในวันพระ เรียกว่า ศีลอุโบสถ จัดเป็นศีลพรตอย่างหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้แก่อุบาสกอุบาสิกา ในการปฏิบัติเพื่อขัดเกลากองกิเลสให้เบาบาง ศีลอุโบสถนั้นมีทั้งหมด ๘ สิกขาบท คือมีเพิ่มเติมจากศีล ๕ ดังนี้

ศีลข้อ ๓ เปลี่ยนจากประพฤติผิดในกามเป็นเว้นจากการเสพกาม
ศีลข้อ ๖ เว้นจากการกินอาหารยามวิกาล คือ ตั้งแต่เที่ยงถึงเช้าวันรุ่งขึ้น
ศีลข้อ ๗ เว้นจากการตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับ และของหอม และเว้นจากการดูการละเล่น
ศีลข้อ ๘ เว้นจากการนอนบนที่นอนอันนุ่มและสูงใหญ่
ศีลข้อที่ ๖ ถึง ๘ จัดเป็นข้อวัตรปฏิบัติสำหรับควบคุมความรู้สึกทางเพศไม่ให้เกิดขึ้นเกินส่วน และศีล ๓ ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อลดช่องว่างระหว่างชนชั้น ไม่ให้มีการแข่งขันประดับประดาร่างกายอย่างฟุ้งเฟ้อ และเพื่อเป็นการทำจิตใจให้สงบในเบื้องต้น แล้วสามารถเข้าถึงธรรมะชั้นสูงต่อไป

ผู้มีศีลหรือวินัยดังกล่าวมาเช่น คนทำงานจ้างของอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นต้น ชื่อว่าเป็นผู้มีชีวิตอยู่อย่างประเสริฐ คือมีชีวิตเป็นประโยชน์ทั้งแก่ตน บุคคล สังคม และประเทศชาติ ซึ่งสามารถประมวลสรุปได้ดังนี้ คือ
๑. ศีลหรือวินัยนำไปดี หมายความว่า ทำให้ผู้รักษาวินัยดีขึ้น ยกฐานะของผู้มีวินัยให้สูงขึ้น เช่น เด็กชาวบ้าน บวชแล้วถือศีล ๑๐ กลายเป็นสามเณร เป็นต้น
๒. ศีลหรือวินัยนำไปแจ้ง คำว่า แจ้ง แปลว่า สว่างหรือเปิดเผย ไม่คลุมๆ เครือๆ วินัยนำไปแจ้งคือเปิดเผยธาตุแของคนได้ว่าไว้ใจได้แค่ไหน โดยดูว่าเป็นคนมีศีลมีวินัยหรือไม่
๓. ศีลหรือวินัยนำไปต่าง เราดูความแตกต่างของคนด้วยวินัย ยกตัวอย่างคนที่ซ่องสุมสมัครพรรคพวกและอาวุธไว้สู้รบกับคนอื่น ถ้ามีวินัยเราเรียกว่ากองทหาร เป็นมิ่งขวัญอขงบ้านเมือง ถ้าไม่มีวินัย เราเรียกว่า กองโจร เป็นเสี้ยนหนามของแผ่นดิน

ฉะนั้นถ้าเราต้องการก้าวไปสู่ความดี ความก้าวหน้า เราต้องการความบริสุทธิ์ กระจ่างแจ้ง เราต้องยกฐานะให้สูงขึ้น ด้วยการักษาศีลหรือพระวินัยอย่างเคร่งครัด เพราะเป็นอยู่อย่างประเสริฐ ล่วงการเป็นอยู่ของพาลชนผู้ทุศีลทั้งหลาย
จากเรื่องราวทั้งหมด เมื่อประมวลสรุปในแง่กฎแห่งกรรมจะเห็นว่าการสร้างกรรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือชั่ว บุคคลไม่ควรดูถูกว่า นิดหน่อยแล้วจะไม่มีผล การกระทำที่พร้อมด้วยองค์ประกอบครบถ้วน ย่อมส่งผลแน่ ในเบื้องต้น กรรมที่เราทำแต่ละครั้ง จะก่อให้เกิดความคุ้นเคยต่อกรรมนั้น สั่งสมเป็นอุปนิสัยให้กระทำอีกในครั้งต่อๆ ไป จะเห็นว่าคนบางคนประเดี๋ยวก็ไปบ่อน ประเดี๋ยวก็ไปดื่มสุรา ประเดี๋ยวก็โกหก แต่บางคนนั้น ประเดี๋ยวก็ไปวัด ประเดี๋ยวทำบุญ เจริญเมตตา และสิ่งที่ทำจนเป็นอุปนิสัยนี้นอกจากจะสืบสันดานแล้วก็ยังเป็นเสมือนหนึ่งโลโก้เป็นยี่ห้อที่ติดเป็นภาพพจน์ประจำตัวของผู้กระทำกรรมในที่สุด ทำให้คนอื่นเขาพูดได้ว่า คนขี้โกง คนกะล่อน คนใจโหด คนมีน้ำใจ คนขยัน เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้จึงกล่าวได้ว่า การสืบสันดานทั้งในทางดีและในทางเลว เป็นผลอย่างหนึ่งที่ผู้ทำกรรมจะต้องได้รับ


ที่มา
http://www.watsamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=252052