ผู้เขียน หัวข้อ: คำวัด - พระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง  (อ่าน 2767 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
คำวัด - พระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง




คมชัดลึก :คติความเชื่อในการสร้างพระเครื่องส่วนใหญ่ การสร้างให้มีขนาดเล็ก เพื่อที่จะสามารถสร้างได้จำนวนมาก สำหรับบรรจุในพระพุทธเจดีย์ เพื่อว่าในอนาคตเมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมลง วัตถุต่างๆ พังทลาย ยังสามารถพบรูปสมมติของพระพุทธเจ้า เพื่อแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา

   ใช้เป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกันในการออกศึกสงครามของคนโบราณ เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่ง ปัจจุบันนิยมนำมาห้อยคอเป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกัน และเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต

คำว่า "พระเครื่อง" ในประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ท่านสั่งเครื่องจักรจากยุโรปมาเพื่อผลิตเหรียญกษาปณ์ ทำให้มีการผลิตเหรียญของเกจิอาจารย์ขึ้น ทำให้เรียกว่าพระที่ทำจากเครื่องจักรว่า "พระเครื่อง" หรือเรียกพระองค์เล็กๆ ที่เป็นพระพิมพ์เรียกเหมือนกันว่า "พระเครื่อง"

 พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "เครื่องราง" คือ ของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล แม้พระเครื่องก็ถือว่าเป็นเครื่องรางเช่นกัน โดยเรียกว่า "พระเครื่องราง"

ส่วน "ของขลัง" คือของที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ มีพลัง มีอำนาจที่อาจบันดาลให้เป็นไป หรืออาจบันดาลสิ่งที่ต้องประสงค์สำเร็จได้

 สองคำนี้มักนิยมพูด หรือนิยมเขียนคู่กันเสมอ คือ เครื่องรางของขลัง
 เครื่องรางของขลัง ปกติเป็นเรื่องนอกคำสอนของพระพุทธศาสนา ถูกจัดอยู่ในประเภทไสยศาสตร์มากกว่า แต่เป็นที่นิยมกันมาแต่โบราณ ด้วยเห็นว่าพลังหรืออำนาจนั้น มาจากพุทธคุณ

 ในขณะที่คำว่า "พระเครื่อง" นั้น พระธรรมกิตติวงศ์ ได้อธิบายไว่ว่า ความหมายเดิม คือพระพุทธรูปองค์เล็กๆ ที่นับถือว่าเป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันอันตราย เป็นคำย่อมาจากคำว่า "พระเครื่องราง"

 พระเครื่อง ปัจจุบันหมายรวมทั้งพระพุทธรูป และรูปพระสงฆ์ที่เรียกกันว่าเกจิอาจารย์ซึ่งหล่อเป็นองค์เล็กๆ หรืออัดจากผงชนิดต่างๆ ดุนเป็นรูปนูนขึ้นมา มีรูปทรงต่างๆ เช่น ทรงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ที่ผ่านการปลุกเสกที่เรียกว่า "พุทธาภิเษก" มาแล้ว ถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ สามารถป้องกันอันตราย และนำโชคลาภมาให้ได้เป็นต้น

พระเครื่อง มีวิวัฒนาการมาก นอกจากนิยมในด้านความศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังนิยมในด้านศิลปะ และความเก่าด้วย บางองค์มีค่ามากกว่าเพชรพลอย โดยเรียกการซื้อขายแลกเปลี่ยนว่า "เช่า"

"พระธรรมกิตติวงศ์"

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20101217/82969/คำวัดพระเครื่องเครื่องรางของขลัง.html
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คำวัด - พระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 27 มิ.ย. 2554, 07:31:29 »
คำวัด-มงคลมงคลตื่นข่าว

คมชัดลึก : ในคืนก่อนวันหวยออก วัดใดที่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับต้นตะเคียน ไม่ว่าจะเป็น ต้นตะเคียนทั้งที่ยังยืนต้นเป็นอยู่ ขุดได้มาจากใต้พื้นดิน รวมทั้งงมได้จากแม่น้ำและน้ำลำคลอง จะมีความคึกคักกันเป็นพิเศษ เพราะถือว่าเป็นแหล่งรวมพลพรรคคนรักและคนแสวงหาเลขเด็ด เลขมหามงคล ซึ่งเป็นธรรมดาที่ปุถุชนอย่างมนุษย์เราที่ยังคงเปี่ยมไปด้วยกิเลสตัณหาและความอยากได้อยากมี


 พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้ให้ความหมายไว้ว่า มงคล แปลว่า เหตุนำความสุขเจริญมาให้ คือ สิ่งที่นำความโชคดี ความสวัสดี และความสุขมาให้ตามปรารถนา มงคลมี ๒ อย่าง คือ มงคลทางโลก กับมงคลทางธรรม

 มงคลทางโลก คือ สิ่งที่เป็นวัตถุซึ่งชาวโลกถือว่าเป็นมงคล ได้แก่ สิ่งของ สัตว์ และตนไม้บางชนิด เช่น มงคลแฝด ของขลัง ช้างเผือก ใบเงิน ใบทอง รวมถึง ชื่อ อักษร กาลเวลา หรือ ฤกษ์ยาม เป็นต้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มงคลนอก


 มงคลทางธรรม คือ มงคลที่เป็นข้อปฏิบัติ ต้องทำ ต้องปฏิบัติให้ได้จึงจะเป็นมงคล มี ๓๘ ประการ เช่น ไม่คบคนพาล คบแต่บัณฑิต การให้ทาน การประพฤติธรรม การให้ทาน การประพฤติธรรม ความกตัญญู เป็นต้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มงคลใน

 อัปมงคล อ่านว่า (อับ-ปะ-มง-คล) แปลว่า ปราศจากมงคล หรือ ไม่เป็นมงคล

 อัปมงคล หมายความว่า ไม่ดี ไม่เจริญ หาดีไม่ได้ เป็นลางร้าย เป็นเสนียด นิยมใช้ตามความรู้สึก หรือความเชื่อถือเป็นอย่างนั้น กล่าวคือใช้กับสิ่งที่คิดว่านำความเสื่อมเสียมาให้ นำความไม่สบายใจมาให้ สิ่งที่มีอัปลักษณ์ เช่น

 ฤกษ์ยามไม่ดี รูปร่างที่เป็นอัปลักษณ์ หน้าตาที่อัปลักษณ์ แม้ความประพฤติและการกระทำที่เสยหาย เป็นความชั่วความผิด ก็จัดเป็นอัปมงคลอย่างหนึ่ง เช่นใช้ว่า

 “ทำไม่ทำเรื่องที่เป็นอัปมงคลเช่นนี้ พ่อแม่เราจะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน” หรือ “เรื่องเป็นอัปมงคลพรรค์นี้อย่ามาเล่าเลย ทำให้เสียความรู่สึกเปล่าๆ”

ส่วนคำว่า “มงคลตื่นข่าว” เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึงการเชื่อตามข่าวลือ การตื่นเต้นไปกับเรื่องเหลือเชื่อที่บอกเล่าต่อๆ กันมา ด้วยความเข้าใจผิดว่าเป็นมงคล เช่น เชื่อเรื่องโชคลาง เชื่อเรื่องเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย ดวงดี ดวงเสีย เชื่อความศักดิ์สิทธิ์ของเครื่องรางของขลัง

 มงคลตื่นข่าว เป็นเหตุให้ปฏิเสธพระรัตนตรัย และปฏิเสธหลักกรรม ไม่เชื่อเรื่องกรรม ไม่เชื่อเรื่องกรรม คือ หลักทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว แต่เชื่อเรื่องการดลบันดาล หรือ อิทธิปาฏิหาริย์จากวัตถุต่างๆ


 มงคลตื่นข่าว เป็นวิบัติของอุบาสกอุบาสิกาอย่างหนึ่ง คือเป็นเหตให้ความเป็นอุบาสกอุบาสิกา เสียหายไร้ประโยชน์ เพราะทำให้เกิดความงมงายไร้สาระ บ่งบอกถึงศรัทธาในพระรัตนตรัยไม่มั่นคง

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110415/94717/คำวัดมงคลมงคลตื่นข่าว.html

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: คำวัด - พระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 27 มิ.ย. 2554, 07:36:35 »
ขอบคุณพี่ทรงกลดมากครับสำหรับคำวัด สมจริงดังท่านว่า"พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด สิ่งอื่นที่จะเป็นที่พึ่งที่ระลึกได้เหนือจากนี้ไม่มี"

กราบนมัสการพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม  พระอุปัชฌาย์ของข้าพเจ้าอีกรูปหนึ่ง ด้วยความเคารพยิ่ง.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 มิ.ย. 2554, 07:39:39 โดย ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) »

ออฟไลน์ umpawan

  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 3112
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คำวัด - พระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 27 มิ.ย. 2554, 07:43:29 »
เคยมีคนถามหลวงพ่อหอม วัดบางเตยกลางว่า “วัตถุมงคลของหลวงพ่อใช้ในด้านไหน เมตตาหรือคงกระพัน”

หลวงพ่อหอมบอกว่า “อธิษฐานเอาเองใช้ได้ทุกอย่าง แต่ถ้าเราขาดการนึกถึงคุณบิดา คุณมารดา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็เหมือน

เราแขวนดิน” เพราะฉะนั้น หลวงพ่อหอมจะบอกให้นึกถึงและปฏิบัติต่อบิดา มารดา เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้ดี ชีวิตก็ดีขึ้นเจริญขึ้น

คัดลอกบทความจากเว็บวัดสุทธาวาสครับ ขอบคุณครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 มิ.ย. 2554, 07:45:05 โดย umpawan »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คำวัด - พระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 27 มิ.ย. 2554, 08:09:50 »
เคยมีคนถามหลวงพ่อหอม วัดบางเตยกลางว่า “วัตถุมงคลของหลวงพ่อใช้ในด้านไหน เมตตาหรือคงกระพัน”

หลวงพ่อหอมบอกว่า “อธิษฐานเอาเองใช้ได้ทุกอย่าง แต่ถ้าเราขาดการนึกถึงคุณบิดา คุณมารดา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็เหมือน

เราแขวนดิน” เพราะฉะนั้น หลวงพ่อหอมจะบอกให้นึกถึงและปฏิบัติต่อบิดา มารดา เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้ดี ชีวิตก็ดีขึ้นเจริญขึ้น

คัดลอกบทความจากเว็บวัดสุทธาวาสครับ ขอบคุณครับ
เห็นด้วยครับ :015:
แต่ยังมีอีกท่านนึง ที่เราควรเคารพยิ่ง คนที่ให้วิชาความรู้ รู้จักคิด รู้จักทำ ปฏิบัิติดี จนทำให้สามารถทำมาหากินสุจริตได้ ก็คือ "ครู" ครับ

ขอแสดงความนับถือ :054:

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คำวัด - พระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 27 มิ.ย. 2554, 09:24:27 »
คำวัด - พระ กับ ปาง


พระพุทธเอกนพรัตน์ ประดิษฐานอยู่ที่วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ เขาโคกเผ่น ต.ทำนบ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ มีพระพุทธรูป ๓ องค์ ๓ สมัย ๔ อิริยาบถ ๑๐ ปาง โดยมีราย


คมชัดลึก :ปางพระพุทธรูป คือ ลักษณะของพระพุทธรูป (ท่าทางต่างๆ) ทำตามพระมหาปุริสลักษณะ ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา โดยชาวกรีกเป็นพวกแรกที่กำหนดรูปแบบปางพระพุทธรูป ประมาณ พ.ศ.๘๖๓-๑๐๒๓ ต่อมาช่างชาวอินเดียฝ่ายใต้ (ชาวกลิงคราฐข้างฝ่ายใต้) รวมทั้งในยุคสมัยต่างๆ ในภายหลังได้คิดปางพระพุทธรูปเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก แบ่งได้ตามแหล่งและยุคในประวัติศาสตร์ ดังนี้

   แคว้นคันธาระ มี ๙ ปาง ประเทศอินเดีย มี ๗ ปาง ประเทศศรีลังกา มี ๕ ปาง สมัยทวาราวดี มี ๑๐ ปาง สมัยศรีวิชัย มี ๖ ปาง สมัยลพบุรี มี ๗ ปาง สมัยเชียงแสน มี ๑๐ ปาง สมัยสุโขทัย มี ๘ ปาง สมัยอยุธยา มี ๗ ปาง สมัยรัตนโกสินทร์ มี ๕ ปาง ปัจจุบันมีพระพุทธรูปต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกรวมแล้วมากกว่า ๗๒ ปาง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "พระ" ไว้ว่า ตามรูปศัพท์มาจากคำว่า "วร" ที่แปลว่า "ประเสริฐ เลิศ วิเศษ" ก่อนที่จะแผลงมาเป็น "พระ"

พระ ในวงการศาสนา หมายถึง พระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คำพระ พระมาตรัส รวมทั้งหมายถึง นักพรต นักบวช เช่น พระไทย พระจีน พระญวน

 นอกจากนี้ยังหมายถึงสมณศักดิ์ระดับพระราชาคณะ หรือเจ้าคุณ เช่น พระศรีสุทธิวงศ์ พระราชเวที พระเทพเวที
 ขณะเดียวกันคำว่า พระ ยังใช้นำถาวรวัตถุที่สำคัญเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร พระมณฑป


 นอกจากนี้แล้วยังใช้นำหน้าสิ่งสำคัญ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ บุคคลสำคัญ และบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวเนื่องด้วยความยกย่อง เช่น พระธาตุ พระแท่น พระภูมิ พระเจ้า พระสงฆ์ พระภิกษุ พระอิศวร พระมหากษัตริย์ พระทัย เป็นต้น

ส่วนคำว่า "ปาง" ปกติมีความหมายว่า เมื่อ คราว ครั้ง จวนเจียน ที่พักชั่วคราวกลางป่า เช่น ปางเมื่อ ปางก่อน ปางหลัง ปางตาย ปางไม้

 ส่วนความหมายในคำวัด "ปาง" หมายความว่า "รูป แบบ ลักษณะ" โดยใช้เรียกพระพุทธรูปที่มีแบบต่างๆ กัน เช่น
 ปางสมาธิ หมายถึง พระพุทธรูปแบบนั่งสมาธิ
 ปางอุ้มบาตร หมายถึง พระพุทธรูปแบบอุ้มบาตร
 ปางนาคปรก หมายถึง พระพุทธรูปแบบนาคปรก

"พระธรรมกิตติวงศ์ "

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20101126/80790/คำวัดพระกับปาง.html

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คำวัด - พระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 28 มิ.ย. 2554, 03:28:52 »
คำวัด - พระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง 36; 36;
                                           
ขอบคุณท่าน ทรงกลด ที่นำบทความดีมากๆมาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ :053: :053:
                                                                                                                                               
พี่ท่านห้อยพระเครื่องน้ำหนักร่วม10กว่ากิโล(ระวังปวดหลัง) เช่ามาห้อยไม่ได้เช่ามาเก็บครับ :002: :002:
                                                                                                                                             
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน เพื่อเป็นความรู้ ขอบคุณมากครับ) :033: :033:

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คำวัด - พระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 28 มิ.ย. 2554, 12:02:23 »
คำวัด - อภินิหาร ปาฏิหาริย์ พุทธคุณ


ทดสอบพุทธคุณ -พระครูปลัดปริยัติวัฒน์ หรือหลวงพ่อบุญเลิศ เจ้าอาวาสวัดปราโมทย์ จ.สมุทรสงคราม ได้อธิษฐานจิตปลุกเสกด้วยเคล็ดวิชาเหล็กไหลกายสิทธิ์โดยได้นำน

คมชัดลึก :ในการสะสมและพกพาพระเครื่องและวัตถุมงคลนั้น มีคำอยู่ ๓ คำที่เกี่ยวข้องที่ผู้พกพาอยากให้คำเหล่านี้เกิดขึ้นกับตัวเองเสมอ คือ อภินิหาร ปาฏิหาริย์ และพุทธคุณ ขณะเดียวกันเรื่องเล่าเกี่ยวกับ อภินิหาร ปาฏิหาริย์ และพุทธคุณ ของพระเครื่องและวัตถุมงคลมีมาอย่างต่อเนื่อง

  ทั้งนี้พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า อภินิหาร หมายถึง อำนาจแห่งความดี อำนาจบารมี บุญอันยิ่งใหญ่ คือ พลังเหนือปกติธรรมชาติ ที่เกิดจากบุญกุศล ความดี หรือ บารมีที่ได้สั่งสมไว้ เช่นใช้ว่า

 บุญญาอภินิหาร หมายถึง บุญอันยิ่งใหญ่ที่ได้ทำไว้
 อภินิหาร ตรงกับไทยอย่างที่พูดกันว่า บุญบันดาล
 อภินิหาร เป็นความอัศจรรย์ที่บุญบารมีนำให้เกิด แต่ถ้าเป็นคนนำให้เกิด จัดเป็น ปาฏิหาริย์

ส่วนคำว่า “ปาฏิหาริย์” พระธรรมกิตติวงศ์ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความอัศจรรย์ สิ่งที่น่าอัศจรรย์ สิ่งประหลาดเหลือเชื่อ คือ สิ่งที่มีความพิเศษเหนือสิ่งอื่นๆ หรือ ปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมี ไม่เคยปรากฏมาก่อน เช่น ตกเครื่องบินแต่รอดตาย แสดงฤทธิ์ซึ่งคนทั่วไปทำไม่ได้ เป็นต้น

 ปาฏิหาริย์ ในคำวัดหมายถึง ความอัศจรรย์ หรือการกระทำซึ่งนำมาความอัศจรรย์ ปกติจะหมายถึง ความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า ซึ่งแบ่งได้ ๓ อย่าง คือ
 ๑.มีฤทธิ์เป็นอัศจรรย์
 ๒.ทายใจคนได้เป็นอัศจรรย์
 ๓.มีคำสอนเป็นอัศจรรย์

 ปาฏิหาริย์ เป็นความความอัศจรรย์ที่คนนำให้เกิด  แต่บุญบารมีนำให้เกิดเรียก อภินิหาร

 นอกจากนี้แล้วยังมีอีกคำหนึ่งที่เกี่ยวข้อง คือคำว่า “พุทธคุณ” นั้น คือ พระคุณของพระพุทธเจ้า โดยย่อมี ๓ ในบทสวดนมัสการที่ ว่า “นะโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ” นั้น เป็นการบ่งบอกถึง พระคุณทั้ง ๓ ประการนี้ คือ
 ภควโต  หมายถึง พระมหากรุณาธิคุณ
 อรหโต  หมายถึง พระบริสุทธิคุณ
 สัมมาสัมพุทธัสสะ หมายถึง  พระปัญญาคุณ


 ส่วนพุทธคุณโดยพิสดาร มี ๙ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นวหรคุณ อันแปลว่า พระคุณของพระอรหันต์ คือ คุณพระพุทธเจ้า ๙ ประการ ซึ่งมาจากบทสวด อิติปฺโสที่ว่า "อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ"
 ๑.อรหัง  เป็นพระอรหันต์   
 ๒.สัมมาสัมพุทโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ   
 ๓.วิชชาจรณสัมปันโน  ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ   
 ๔.สุคโต  เสด็จไปดีแล้ว   
 ๕.โลกวิทู  รู้แจ้งโลก   
 ๖.อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ  ฝึกคนผู้ควรฝึกได้เป็นเยี่ยม     
 ๗.สัตถา เทวมนุสสานัง  เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย   
 ๘.พุทโธ  เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน   
 ๙.ภควา  เป็นผู้มีโชค  เป็นผู้แจกธรรม

"พระธรรมกิตติวงศ์ "

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20101210/82240/คำวัดอภินิหารปาฏิหาริย์พุทธคุณ.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คำวัด - พระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 28 มิ.ย. 2554, 03:20:26 »
คำวัด - อรหัง-อรหัต-อรหันต์


พระอรหันต์ทรงอภิญญา ๖ในสมัยพุทธกลา ที่มาประชุมพร้อมกันทั้ง ๑,๒๕๐ รูป นั้นได้มาประชุมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือ วันม

คมชัดลึก : พุทธศาสนิกชนมีคติความเชื่อมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลว่า เมื่อสรีระ หรือสังขราของพระสงฆ์ที่บรรลุมรรคผล นิพพาน สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว อัฐิเถ้าถ่านของท่านกลับกลายเป็น "พระธาตุ" ให้ได้เห็นอยู่หลายๆ พระอาจารย์ ซึ่งแตกต่างกันไปตามภูมิธรรมของแต่ละท่านที่ได้สั่งสมปฏิบัติมา

  หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอรัญวิเวก ต.บ้านป่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม พระอริยะสำคัญสายพระอาจารย์มั่น และเป็นสหายร่วมธุดงค์ของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ได้เคยกล่าวไว้ว่า "อำนาจตบะที่อริยบุคคลได้ตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรเพื่อขัดเกลากิเลสนั้น มิได้แผดเผาชำระล้างเฉพาะกิเลสเท่านั้น หากแต่ได้แผดเผา ชำระล้าง ซักฟอกกระดูกในร่างกายให้กลายเป็นพระธาตุไปด้วยในขณะเดียวกัน"

ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "อรหัง" อ่านว่า “อะ-ระ-หัง” หรือจะอ่านว่า “ออ-ระ-หัง” ก็ได้เช่นกัน แปลโดยทั่วไปว่า พระอรหันต์ เป็นพระเนมิตกนามของพระพรุทธเจ้า และเป็นบทพุทธคุณบทหนึ่งในจำนวน ๙ บท

 อรหัง มีความหมาย ๕ นัย คือ

 นัยที่ ๑ หมายความว่า ผู้ไกลจากกิเลส คือ ทรงละกิเลสได้แล้ว
 นัยที่ ๒ หมายความว่า ผู้กำจัดอริได้แล้ว คือ ทรงกำจัดข้าศึก คือ กิเลสได้แล้ว
 นัยที่ ๓ หมายความว่า ผู้หักซี่กำของวงล้อสังสารวัฏได้แล้ว ด้วยขวาน คือ พระญาณ
 นัยที่ ๔ หมายความว่า ผู้ควรแก่ปัจจัย ๔ แล ะการบูชาอันวิเศษทั้งหลาย
 นัยที่ ๕ หมายความว่า ผู้ไม่มีที่ลับ คือ ไม่มีที่ลับในการทำบาป

ส่วนคำว่า "อรหัต" อ่านว่า “อะ-ระ-หัด” หรือ “ออ-ระ-หัด” เจ้าคุณทองดี ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความเป็นพระอรหันต์ ความสำเร็จเป็นพระอรหันต์

 อรหัต หมายถึง ธรรมที่พระอรหันต์ได้บรรลุ คือ พระนิพพาน เรียกเต็มว่า พระอรหัต หรือ พระอรหัตผล


คำว่า อรหัต กับคำว่า พระอรหันต์ มีความหมายต่างกัน คือ อรหัต เป็นชื่อของคุณธรรม ส่วน อรหันต์ เป็นชื่อของบุคคลผู้บรรลุอรหัต

 ในขณะที่คำว่า "อรหันต์" อ่านว่า “อะ-ระ-หัน” หรือ “ออ-ระ-หัน” เจ้าคุณทองดี ได้ให้ความหมายไว้ว่า ผู้ห่างไกลจากกิเลสแล้ว ผู้หักกำของวงล้อสังสารวัฏได้แล้ว ผู้ควรแก่ปัจจัย ผู้ไม่มีความลับในเรื่องการทำบาป

 อรหันต์ หมายถึง ผู้บรรลุอรหัตผลแล้ว ผู้สิ้นกิเลสแล้ว เรียกเต็มว่า พระอรหันต์ ในคำไทยเรียกตามเสียงบาลีว่า พระอรหัง ก็มี

 คำว่า อรหัต กับ อรหันต์ มักใช้สับกัน เช่น ใช้ว่า
 “เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า พระเถระก็ได้บรรลุพระอรหันต์”
 ข้อความข้างต้นใช้ไม่ถูก ที่ถูกต้องใช้ว่า
 “เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า พระเถระก็ได้บรรลุพระอรหัต” หรือ
 “เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า พระเถระก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์”

"พระธรรมกิตติวงศ์"

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110311/91161/คำวัดอรหังอรหัตอรหันต์.html