ผู้เขียน หัวข้อ: พระประวัติของสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)  (อ่าน 21074 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
พระประวัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)

http://www.soonphra.com/geji/putachan/

    เรื่องประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ อันเนื่องด้วยการศึกษาพระปริยัติธรรมนั้น ได้ฟังผู้หลักผู้ใหญ่เล่ากันมาว่า ท่านได้เล่าเรียนในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) เปรียญเอก วัดระฆัง เป็นพื้น และได้เล่าเรียนต่อสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุบ้าง นอกจากนี้จะได้เล่าเรียน ที่ใดอีกบ้าง หาทราบไม่ เล่าว่าเมื่อเป็นนักเรียนท่านมักได้รับคำชมเชยจากครูบาอาจารย์เสมอว่ามีความทรงจำดี ทั้งมีปฏิภาณอันยอดเยี่ยม ดังมีเรื่องเล่าขานกันว่า........

    เมื่อท่านเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักสมเด็จพระสังฆราช (สุก) นั้น ก่อนจะเรียนท่านกำหนดว่า วันนี้ท่านจะเรียนตั้งแต่นี่ถึงนั่น ครั้นถึงเวลาเรียนท่านก็เปิดหนังสือออกแปลตลอด ตามที่กำหนดไว้ท่านทำดังนี้เสมอ จนสมเด็จพระสังฆราชรับสั่งว่า "ขรัวโตเขามาแปลหนังสือให้ฟัง เขาไม่ได้มาเรียนหนังสือกับฉันดอก" ยังมีข้อน่าประหลาดอีกอย่างหนึ่ง ที่ท่านเรียนรู้ปริยัติธรรมแต่ไม่เข้าแปลหนังสือเป็นเปรียญ (ในสมัยก่อนนั้น การสอบพระปริยัติธรรมไม่ได้ออกเป็นข้อสอบเหมือนทุกวันนี้ การสอบในครั้งนั้นต้องสอบพระปริยัติธรรมต่อพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นการสอบด้วยปากเปล่า สุดแต่ผู้เป็นประธานกรรมการ และกรรมการจะสอบถามอย่างใด ต้องตอบให้ได้ ถ้าตอบไม่ได้ก็หมายความว่าตกเพียงแค่นั้น)

     พระอาจารย์องค์สำคัญที่สุดของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ คือสมเด็จพระสังฆราช "ไก่เถื่อน” (สุก) (สมเด็จพระสังฆราช (สุก) พระองค์นี้ เดิมอยู่วัดท่าหอย ริมคลองคูจาม ในแขวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดูพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑) เมื่อรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงอาราธนามาตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระญาณสังวร ด้วยทรงเห็นว่าเป็นผู้มีชื่อเสียงในทางวิปัสสนาธุระเป็นที่นับถือของชนทั้งหลาย ถึงกับกล่าวกันว่า ทรงไว้ซึ่งเมตตาพรหมวิหารแก่กล้าถึงกับสามารถเลี้ยงไก่เถื่อน ให้เชื่อง ได้เหมือนไก่บ้าน ทำนองเดียวกับที่สรรเสริญพระสุวรรณสาม โพธิสัตว์ในเรื่องชาดก ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อพ.ศ. ๒๓๖๓ คนทั้งหลายจึงพากันถวายพระฉายานามว่า "พระสังฆราชไก่เถื่อน" และได้เสด็จมาประทับ ณ วัดมหาธาตุเพียง ๑ ปี ก็สิ้นพระชนม์ทรงพระชันษาได้ ๙๐ เมื่อถวายพระเพลิงศพแล้ว โปรดฯ ให้ปั้นรูปบรรจุอัฐิไว้ในกุฏีหลังหนึ่ง ด้านหน้าพระอุโบสถ


    อัจฉริยภาพ ในการสร้างพระสมเด็จฯ นั้น เข้าใจว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รับการศึกษามาจากพระอาจารย์พระองค์นี้ กล่าวคือ พระวัดพลับ ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) นี้ (สร้างตอนดำรงสมณศักดิ์เป็นพระญาณสังวร ครองวัดพลับ วัดนี้อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ฝั่งเหนือ จังหวัดธนบุรี เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ตัววัดเดิมอยู่ทางด้านริม เดี๋ยวนี้ค่อนไปทางตะวันตก ) เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงอาราธนา พระอาจารย์สุก (สังฆราชไก่เถื่อน) มาจากวัดหอย จังหวัดพระนาคศรีอยุธยานั้น ท่านขออยู่วัดอรัญญิก จึงโปรดให้อยู่วัดพลับแล้วสร้างพระอารามหลวงเพิ่มเติมขยายออกมาอีก
 
    สมเด็จพระญาณสังวรนี้ ทรงเป็นพระอาจารย์ทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระเจ้านายมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ก็ดี ล้วนเคยศึกษาวิปัสสนาธุระ ในสำนักสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ทั้งนั้น ที่วัดนี้ยังมีตำหนักจันทร์ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เมื่อทรงผนวช นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ยังโปรดให้ซ่อมพระอาราม แล้วพระราชทานเปลี่ยนนามวัดเสียใหม่ว่า "วัดราชสิทธาราม" ถึงในรัชกาลที่ ๔  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดให้สร้างพระเจดีย์ ทรงเครื่องไว้ข้างหน้าพระอาราม ๒ องค์ ๆ หนึ่งนามว่า "พระศิราศนเจดีย์" (พระเจดีย์องค์นี้ทรงอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ อีกองค์หนึ่ง ทรงขนานนามว่า "พระศิรจุมภฎเจดีย์" (พระเจดีย์พระองค์นี้ทรงสร้างเป็นส่วนพระองค์เอง ทั้งนี้เพื่อเป็นที่ระลึกว่า ได้เคยมาทรงศึกษาพระวิปัสสนา ในสำนักสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) )

    เมื่อพิเคราะห์ดูแล้วจะเห็นได้ว่า มีลักษณะของเนื้อ เหมือนเนื้อของพระสมเด็จฯ (ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ) ที่สุด แต่พระวัดพลับมีอายุในการสร้างสูงกว่าพระสมเด็จฯ ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เอาแบบอย่างส่วนผสมผสานมาดัดแปลง และยิ่งพระสมเด็จฯ พิมพ์ทรงหลังเบี้ยด้วยแล้วก็ยิ่งสังเกตได้ว่า ดัดแปลงเค้าแบบมาจากพระวัดพลับทีเดียว

    อนึ่ง การทรงไว้ซึ่งความเมตตากรุณา อันเป็นที่รักแห่งมนุษย์และสัตว์เดรัจฉานนั้นเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีคุณลักษณะคล้ายคลึงสมเด็จพระสังฆราชพระอาจารย์พระองค์นี้มาก เข้าใจว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีความเลื่อมใสและเจริญรอยตามพระอาจารย์แทบทุกอย่าง................

คัดลอกจาก
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/monk-raja/monk-raja-04-hist.htm
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
http://www.tumnan.com/miracle/miracle_l.html
พระประวัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพระเครื่อง

พระสมเด็จ อรหัง วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร


    ก่อนกำเนิดพระเครื่อง พิมพ์สมเด็จวัดระฆังฯ นั้น พระสมเด็จอรหัง นับว่าเป็นยอดพระเครื่อง ต้นสกุลพระ ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือ แบบชิ้นฟัก มาก่อนนานแล้วผู้ริเริ่มพระเครื่องที่เรียกเราเรียกกันจนติดปากมาจนทุกวันนี้ว่า พระสมเด็จฯ และเป็นผู้สร้างพระสมเด็จ อรหัง ด้วยนั้นก็คือ สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน

   พระสมเด็จพระสังฆราช หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า พระสังฆราชไก่เถื่อน นี้นับเป็นพระอาจารย์ผู้ยิ่งยงในวิทยาคมด้านเมตตามหานิยมผู้เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี และยังเป็นพระบรมราชาจารย์ของล้นเกล้าฯ ในรัชกาลที่ 2, ที่ 3 และที่ 4 อีกด้วย

   พระสังฆราชญาณสังวร สุก ไก่เถื่อน ผู้ให้กำเนิดต้นสกุล พระพิมพ์สมเด็จ องค์นี้ ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 2 ขึ้น 10 ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช 1095 หรือ พ.ศ. 2276 ซึ่งตรงกับสมัยอยุธยา ในรัชกาลของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ท่านเป็นชาวกรุงเก่าชื่อ สุก และเข้าใจว่าก่อนถึงอายุ 34 ปี คือ พ.ศ. 2310 ซึ่งเป็นระยะที่กรุงศรีอยุธยาแตกครั้งสุดท้ายนั้น ท่านได้บวชมาก่อนแล้วหลายพรรษา จนปรากฏชัดจากพงศาวดารว่า ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่ วัดท่าหอย เมื่อสมัยกรุงธนบุรี นี่เอง

   พระอาจารย์สุก หรือ พระญาณสังวรเถระ หรือ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 ของราชวงศ์จักรีนี้ นับว่าเป็นผู้หนึ่งที่ยืนดูการกระทำอันโหดร้ายของพม่าเมื่อคราวกรุงแตกมาแล้ว เหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้อาราธนาลงมาอยู่ที่วัดราชสิทธารามนั้น ก็เห็นจะเป็นด้วย พระองค์ประสูติ เมื่อ  พ.ศ. 2279 ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์เช่นกัน
นับแต่พระองค์ได้รับราชการเมื่อปลายสมัยอยุธยาจนกรุงแตกแล้วนั้น ก็ได้ทราบถึงเกียรติคุณของ พระอาจารย์สุก มาบ้างแล้ว จึงได้อาราธนาท่านลงมาอยู่ที่วัดพลับเมื่อประมาณ พ.ศ. 2325

   สมเด็จพระสังฆราช ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 ของกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2363 ตรงกับวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น 2 ค่ำปีมะโรง และได้ย้ายจากวัดพลับมาอยู่ที่วัดมหาธาตุได้เพียงปีเศษก็สิ้นพระชนม์ ณ วัดมหาธาตุ พระนคร เมื่อวันศุกร์เดือน 10  แรม 4 ค่ำ ปีมะเมีย ในรัชกาลของพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงนับว่าเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์เดียว ที่ได้เห็นเหตุการณ์พม่าเผากรุงศรีอยุธยาและผนวชอยู่ในพระบวรพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยอยุธยา, สมัยกรุงธนบุรี, จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์, รวมพระชนมายุได้ถึง 90 ปี

   พระญาณสังวร สุก ไก่เถื่อน ระหว่างอยู่ที่วัดราชสิทธารามนั้น ปรากฏว่าได้เป็นที่นับถือของชาวบ้านตลอดขึ้นไปจนถึงเจ้านายเชื้อพระวงศ์ ต่างก็พากันไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ท่านเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ก็เห็นจะเป็นเพราะบรรดาสานุศิษย์เหล่านั้นต่างก็ได้เห็นกฤตยาคมอันขลังด้านเมตตาพรหมวิหารของท่าน ซึ่งสามารถเรียก ไก่เถื่อน จากป่าเป็นฝูง ๆ มารับการโปรยทานจากท่านเต็มลานวัดทุก ๆ วันนั้นเอง
เหตุนี้ชาวบ้านสมัยนั้นจึงพากันเรียกท่านว่า พระสังฆราชไก่เถื่อน เพราะท่านสามารถเรียกไก่เถื่อนออกมาจากป่าด้วยแรงอาคม และยิ่งได้ลิ้มรสอาหารเสกจากท่านด้วยแล้ว ไก่เถื่อนที่ว่าถึงกับไม่ยอมกลับเข้าป่า และเชื่องเป็นไก่บ้านไปเลย

คัดลอกจาก
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/monk-raja/monk-raja-04-hist.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
การกำเนิดพระสมเด็จ อรหัง

    นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงโปรดให้พระอาจารย์สุกหรือพระญาณสังวรเถระ มาอยู่ที่วัดราชสิทธารามหรือวัดพลับ ที่ อ. บางกอกใหญ่ นครหลวงฝั่งธนบุรี แล้ว ต่อมาวัดนี้ก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ การทรงผนวชของพระราชวงศ์แต่ละพระองค์นั้น ภายหลังมักจะเสด็จไปศึกษาวิปัสสนา ที่สำนักพระญาณสังวร ณ วัดราชสิทธารามอยู่เสมอ เช่นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น พระญาณสังวร สุก ไก่เถื่อน ก็ได้เป็นพระบรมราชาจารย์ของพระมหากษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์นี้ด้วย
จากการที่สมเด็จฯ ท่านยิ่งใหญ่ด้านอาคมขลังจนเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่วนั้นจะเป็นด้วยทนการวิงวอนจากบรรดาสานุศิษย์หรือผู้คนที่นับถือท่านมากราย อยากจะได้พระเครื่องของท่านไว้คุ้มครองบ้างก็ได้
ด้วยเหตุนี้เอง, พระเครื่องพิมพ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบชิ้นฟัก ซึ่งสร้างด้วยผงวิเศษสีขาวนั้น สมเด็จพระสังฆราชองค์นี้ จึงได้ให้กำเนิดพระสมเด็จดังกล่าวนี้ขึ้นมาเป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2360

    เล่ากันว่า พระสมเด็จอรหัง ที่สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อนได้เริ่มสร้างเป็นครั้งแรกนั้น ท่านยังดำรงตำแหน่งเป็นพระราชาคณะอยู่ที่วัดพลับ พระเครื่องพิมพ์สมเด็จฯส่วนหนึ่งเมื่อได้รับการปลุกเสกแล้ว ท่านก็แจกจ่ายให้ไปบูชากันโดยถ้วนทั่วและเป็นที่เข้าใจกันว่า พระสมเด็จอรหัง พิมพ์ปฐมฤกษ์นั้นก็คือ พิมพ์ เกศเปลวเพลิง ซึ่งด้านหลังจะไม่ปรากฏมีอักขระคำว่า อรหัง จารึกลงไว้เลย

  สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน ท่านได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการสร้างพระพิมพ์สมเด็จอรหังต่อมาอีก มีหลายพิมพ์ที่เสร็จแล้วท่านก็แจกสานุศิษย์ต่อไปโดยมิได้ลงกรุ แต่พระอีกจำนวนหนึ่งนั้น เมื่อท่านได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช และได้ย้ายมาอยู่ที่วัดมหาธาตุแล้ว ก็เข้าใจว่าพระสมเด็จอรหังส่วนหลังนั้น ท่านคงได้นำมาบรรจุไว้ในเจดีย์ที่วัดมหาธาตุแห่งนี้ไว้เป็นจำนวนมากทีเดียว

คัดลอกจาก
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/monk-raja/monk-raja-04-hist.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
พุทธคุณของพระสมเด็จอรหัง

   สำหรับเรื่องพุทธคุณการใช้จากผู้ได้ประสบการณ์กับพระสมเด็จพิมพ์นี้มาแล้วนั้นถึงแม้ว่าจะไม่ดังกระฉ่อนเช่นพระสมเด็จวัดระฆังฯ หรือสมเด็จบางขุนพรหมก็ตาม ได้มีนักเผชิญโชคผู้ได้มีประสบการณ์อันมหัศจรรย์จากพระสมเด็จอรหังมาแล้ว ถึงกับตื่นตะลึงและหวงแหนกันยิ่งนัก เพราะพระสมเด็จพิมพ์นี้ดีทางเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดเหมือนเช่นพระสมเด็จวัดระฆังฯทุกอย่าง ยกเว้นพระสมเด็จอรหังสีแดงเท่านั้นซึ่งนอกจากจะมีมหานิยมแล้วยังเพิ่มด้านกระพันชาตรีไว้อีกทางหนึ่งด้วย

   เพื่อให้เรื่องพระสมเด็จอรหัง ยอดพระ ต้นสกุลพระสมเด็จ ของ สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน ได้จบลงอย่างสมบูรณ์ ต่อไปนี้ผมจึงขอเสนอเรื่องราวตอนหนึ่งที่คุณ เฉลิม แก้วสีรุ้ง ซึ่งเป็นชาวนนทบุรี ได้เผชิญกับอิทธิปาฏิหาริย์จากพระสมเด็จอรหังจนถึงกับตะลึงงันอยู่กับที่มาแล้ว เป็นเรื่องทิ้งท้ายไว้ดังต่อไปนี้...

   เรื่องก็มีอยู่ว่า เมื่อ พ.ศ. 2508 คุณเฉลิมมีอาชีพรับซื้อขายผลไม้เป็นประจำอยู่ที่เมืองนนท์ วันหนึ่งมีชาวสวนข้างบ้านมาบอกจะขายทุเรียนส่วนหนึ่งให้ และขอร้องให้ไปดูด่วนด้วย คุณเฉลิมรักทุเรียนมากจนลืมลั่นกุญแจบ้าน และลืมจนกระทั่ง พระสมเด็จอรหัง พร้อมด้วยสร้อยคอทองคำหนัก 3 บาท กับกระเป๋าเงินซึ่งมีเงินอยู่ในนั้นถึงแปดพันบาทด้วย
คุณเฉลิมมานึกขึ้นได้ก็เหตุการณ์ได้ผ่านไปแล้วถึง 3 ชั่วโมง เขาจึงรีบกลับบ้านทันทีแต่ก็ต้องถึงกับตะลึงงันอยู่กับที่เมื่อมาถึงบ้าน เพราะขณะนั้นประตูบ้านได้เปิดอ้า ข้าวของในบ้านถูกรื้อกระจัดกระจายเกลื่อน เสื้อผ้าส่วนหนึ่งและเข็มขัดนาคของภรรยาเขาได้ถูกคนร้ายลักไป แต่...คุณพระช่วย ครับ, คุณพระได้ช่วยคุณเฉลิมไว้อย่างปาฏิหาริย์จริง ๆ ด้วย ที่ว่าปาฏิหาริย์ก็เพราะทั้งสร้อยคอรวมทั้งพระและเงินอีกแปดพันบาท ที่กองอยู่หน้าโต๊ะเครื่องแป้งอย่างชนิดที่ใครโผล่เข้าไปในบ้านก็ต้องมองเห็นได้อย่างถนัดตาทีเดียวนั้น ของดังกล่าวยังคงอยู่ ณ ที่นั้นโดยไม่มีใครมาขยับไปไหนเลย
เรื่องนี้คุณเฉลิมบอกกับผู้เขียนว่า นั่นคือผลแห่งการแคล้วคลาด อันเกิดจากอิทธิปฏิหาริย์ของพระสมเด็จอรหังได้พรางตาคนร้ายไว้แน่ ๆ หรือถ้าใครว่าไม่แน่ละก้อคนร้ายกลุ่มนั้นก็คงจะตาบอดเท่านั้นเอง
คุณเฉลิมบอกว่า ขณะนี้ผมได้ย้ายบ้านและเป็นเจ้าของสวนลำไยอยู่ที่เชียงใหม่แล้ว สาเหตุที่ได้เปลี่ยนอาชีพ จนพอจะมีกินกับเขาบ้างแล้วนี้ ก็เรื่อง พระสมเด็จอรหัง ท่านช่วยผมอีกเหมือนกัน ผมได้อาราธนาบูชาขอโชคลาภท่าน เพื่อขอทุนไปซื้อลำไย ด้วยการไปซื้อลอตเตอรี่ที่จังหวัด 2 ใบ คุณเฉลิมยืนยันว่า ไม่ชอบและไม่เคยซื้อกับเขาเลย นอกจากครั้งนี้เท่านั้น พอถึงเวลาหวยออก ทั้งเขาและภรรยาดีใจจนแทบเป็นลมเป็นแล้งเอาทีเดียว ทั้งนี้ก็เพราะสลากลอตเตอรี่ทั้ง 2 ใบนั้น ใบแรกถูกรางวัลที่ 3 และอีกใบหนึ่งก็ถูกเลขท้าย 3 ตัวด้วย
นี่คือเรื่องราวที่คุณเฉลิม แก้วสีรุ้ง ได้เล่าให้กับผู้เขียนฟังเมื่อ พ.ศ. 2512 ซึ่งขณะนั้นเขาและครอบครัวได้ครองเรือนกันอย่างผาสุกด้วยฐานะที่มั่นคงพอสมควรแล้ว และสิ่งเดียวที่ไม่มีใครมาพรากจากคอเขาได้เลยคือ พระสมเด็จอรหัง เนื้อผงสีขาวองค์เดียวที่เขารักหวงแหนราวกับชีวิตติดตัวเขาอยู่ตลอดเวลาทีเดียว

   เดี๋ยวนี้เราก็รู้แล้วว่า พระสมเด็จอรหัง นอกจากผู้สร้างจะเป็นสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระบรมราชาจารย์ของในหลวงทั้ง 3 พระองค์แล้ว ยังเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ อีกด้วย และสำหรับด้านพระเครื่องฯ พระสมเด็จอรหัง ก็คือพระต้นสกุลพระสมเด็จทั้งหมด อันเปรียบได้ดั่ง จักรพรรดิพระสมเด็จ ซึ่งเปี่ยมด้วยพุทธาคมมนต์ขลังด้านมหานิยมและแคล้วคลาด จากสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน ผู้เลี้ยงไก่ป่าให้เชื่องได้ดังไก่บ้านไว้เต็มลานนั่นเอง

คัดลอกจาก
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/monk-raja/monk-raja-04-hist.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน
พระอาจารย์ของสมเด็จโต พรหมรังสี


   สมัยเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พระอาจารย์โต พรหมรังสี) ท่านบวชเป็นพระภิกษุใหม่ ๆ ยังไม่มีสมณศักดิ์ใดๆ นั้น ท่านเรียนพระปริยัติจนแตกฉานที่วัดมหาธาตุ สนามหลวง โดยมีพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน เป็นพระอาจารย์ วิธีการเรียนของท่านก็แปลกกว่าวิธีของพระภิกษุรูปใด ๆ นั่นคือ ท่านจะกำหนดล่วงหน้ามาว่า วันนี้ท่านจะเรียนจากหน้าไหนถึงหน้าไหนในหนังสือ พอมาถึงสำนักเรียน ก็จะเปิดหนังสือออกแล้วแปลไปเรื่อยโดยไม่ติดขัดจนจบหน้าที่กำหนดไว้ ต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระสังฆราชสุกฯ พอจบท่านก็กราบแล้วกลับวัดระฆัง จนกระทั่งวันหนึ่ง สมเด็จพระสังฆราชสุก ฯ มีรับสั่งว่า
“พอแล้ว หยุดเรียนเสียที คุณแตกฉานพอแล้ว” เจ้าอาวาสวัดระฆัง คือสมเด็จพระพุทธโกษาจารย์ (นาค) สงสัยเห็นภิกษุโต ไม่ข้ามไปเรียนที่วัดมหาธาตุอีก ท่านก็ร้อนใจข้ามฝั่งมาเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชสุกฯ เพื่อถามสาเหตุ สมเด็จพระสังฆราชสุกฯ มีรับสั่งว่า'

“ขรัวโต ลูกศิษย์เธอ เขามาแปลหนังสือให้ฉันฟัง เขาไม่ได้มาเรียนหนังสือกับฉันหรอก”

  นี่แสดงถึงภูมิปัญญาของสมเด็จโตฯ ว่าเลิศเพียงใด และเมื่อไม่ได้ข้ามฝั่งไปเรียนพระปริยัติแล้ว ท่านก็เรียนด้วยตัวเองของท่านเองโดยวิธีพิศดารคือ ตอนสายของทุกวัน หลังจากเสร็จกิจทำวัตรแล้ว ท่านจะถือหนังสือเข้าไปในพระอุโบสถวัดระฆัง ไปถึงก็วางหนังสือกับพื้น แล้วกราบพระประธาน ๓ ครั้ง จากนั้นก็หยิบหนังสือออกมากาง เปิดหน้าที่กำหนดไว้แล้วแปลเรื่อยไปจนจบ ท่านก็ปิดหนังสือก้มกราบพระประธาน ๓ ครั้ง แล้วกลับขึ้นกุฏิ ท่านแตกฉานในพระปริยัติอย่างยิ่ง แต่ท่านไม่เคยคิดเข้าสอบเอาเปรียญ แต่กลับมุ่งศึกษาทางด้านวิปัสสนาธุระ ซึ่งสมัยก่อนผู้ที่ศึกษาทางด้านนี้ก็มักจะมีชื่อเสียงทางด้านวิปัสสนาธุระ ที่เต็มไปด้วยคาถาอาคม มีอภินิหารมหัศจรรย์ที่แสดงออกด้วยอิทธิวัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง ที่ท่านได้สร้างกันขึ้น


   ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวาสถิตที่วัดมหาธาตุ จะแตกฉานทางด้านคันถธุระหรือทางด้านปริยัติ ส่วนฝ่ายซ้ายจะสถิต ณ วัดป่าแก้ว ซึ่งเชี่ยวชาญทางวิทยาคม มีเวทมนต์คาถาศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสมัยนั้น มีเกจิอาจารย์สำคัญที่มีชื่อจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ อาทิ หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด สมเด็จพระวันรัต (วัดป่าแก้ว) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นต้น

   ซึ่งการศึกษาด้านวิปัสสนาธุระของพระภิกษุสงฆ์ไทยนั้น ได้สืบทอดมาจนถึงรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงโปรดส่งเสริมการศึกษาทางด้านนี้มาก (สายวิชชากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ) ได้เจริญรุ่งเรื่องที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๒ สมเด็จโตฯ ผู้สร้างพระเครื่องพระสมเด็จอันเลื่องลือยิ่งนักนั้น ท่านก็ได้ศึกษาด้านวิปัสสนาธุระมาอย่างเชี่ยวชาญ ท่านเก่งทั้งทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ เรียนพระปริยัติจนไม่มีอาจารย์สอนได้ และเก่งวิปัสสนา ซึ่งหาได้ยากยิ่งในพระภิกษุรูปเดียวกัน เพราะปกติทั่วไป มักจะเก่งคนละอย่าง ไม่มีพระภิกษุรูปใดที่เก่งทั้ง ๒ ด้านเฉกท่าน

   พระอาจารย์ที่สอนวิทยาคมให้แก่สมเด็จโตฯ องค์แรก ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังเป็นสามเณรอยู่ก็คือ พระอริญญิก (แก้ว) เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร พระอาจารย์องค์ต่อมาคือ สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน ที่ท่านได้สมญานามนี้ เพราะท่านสามารถแผ่เมตตาจนกระทั่งไก่ป่าที่เปรียวและตื่นง่าย เชื่องเป็นไก่บ้านเข้ามาจิกข้าวที่ท่านเสกให้กินได้ สมัยนั้นสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน มีชื่อเสียงเลื่องลือมาก ท่านทรงเป็นพระกรรมวาจารย์ของ รัชกาลที่ ๒ และเป็นอุปัชฌาจารย์ของ รัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ เมื่อทรงผนวชเป็นสามเณรด้วย

คัดจาก : หนังสือ “ประวัติสมเด็จโตฯ” จากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโยธา (สอน โลหนันท์) และหนังสือ “อภินิหาร สมเด็จโตฯ” โดย ฟ้า วงศ์มหา, ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ
ที่มา
http://board.palungjit.com/

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
อ่านแล้วได้ความรู้มากๆเลยครับ 36; 36;
                                           
ขอบคุณท่าน ทรงกลด ที่นำบทความที่ดีมากๆ มาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ :053: :053:
 
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน ขอบคุณมากครับ) :033: :033:

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ