ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติพระภควัมบดี/พระปิตตา  (อ่าน 27018 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ เด็กนอกวัด

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 742
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
พระภควัมบดี
ตามความเข้าใจดั้งเดิมโดยทั่วๆ ไปเข้าใจกันว่า พระปิดตาหรือพระปิดทวารทั้งเก่าเป็นพระมหาอุตม์จะอุดโชคอุดลาภต่างๆ เช่นเดียวกับพระรอด ซึ่งมักจะเข้าใจกันว่า โชคลาภต่างๆ ระรอดพ้นไปหมด ยังเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

คำว่า ?อุตม์? กับ ?อุด? มีความหมายต่างกัน
?อุตมะ? มีความหมายว่าสูงยิ่ง เลิศ มากมาย บริบูรณ์
?อุตมัตถ์? มีความหมายว่าผลอันยอดเยี่ยม
?มหา? มีความหมายว่ายิ่งใหญ่
?อุด? มีความหมายว่า จุกกันจุดช่อง จุดให้แน่น

ดังนั้น ?มหาอุตม์? จึงมีความหมายว่า ผลอันยอดเยี่ยมและยิ่งใหญ่ และเป็นความหมายที่ถูกต้องกว่าคำที่ว่า ?มหาอุด? เช่นเดียวกับคำว่า ?รอด? หรือทางเหนือเขียนว่า ?ลอด? ซึ่งหมายถึงมีขนาดเล็ก
 

พระมหาอุตย์ จึงมีความหมายว่า พระนั้นๆ มีพุทธานุภาพอันยอดเยี่ยมและยิ่งใหญ่ ซึ่งมีความหมายที่ถูกต้องกว่าคำว่า ?มหาอุด? ซึ่งหมายถึงยิงไม่ออก ยิงไม่เข้า

พระมหาอุตม์ หรือพระปิดตาหรือพระปิดทวาร หรือพระปิดทวารทั้งเก้า หรือพระสังกัจจายน์ ก็คือพระอรหันต์องค์เดียวกัน ซึ่งเป็นสาวกของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อว่า ?พระภควัมบดี? หรือที่เรียกว่า พระควัมปติมหาเถโร? แต่อยู่ในพุทธลักษณะแตกต่างกันไป

- ปางปิดตา
- ปางปิดทวารทั้งเก้า
- ปางอุ้มท้องหรือสังกัจจายน์

ดังนั้น ที่ถูกที่ควรพระภควัมบดี ควรจะเป็น ?พระมหาอุตม์? ซึ่งหมายถึงเป็นพระที่ยอดเยี่ยมดีทุกอย่างมากกว่าคำว่า ?พระมหาอุด? ที่มีความความเฉพาะดีทางคงกระพันเท่านั้น

คำว่า ?อุตมะ? เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต ตรงกับคำในภาษาไทยว่า ?อุดม? พระภควัมบดี จึงเป็นพระที่อุดมไปด้วยความดีทุกอย่าง ทุกทางโดยสมบูรณ์เช่นเดียวกับสมเด็จ ขอสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี นับว่าใช้ได้ทุกทางที่เรียกว่า ?ครอบจักรวาล? เช่นเดียวกับยาไทย คือ ยาดำ ยาเขียว สามารถรักษาได้หลายๆโรค ไม่ใช้เป็นพระ ?อุด? ดังมีความเข้าใจกันโดยทั่วๆ ไปแต่เพียงอย่างเดียวด้วยประการฉะนี้

จากการพิจารณาความหมายดังกล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า พระภควัมบดีไม่ได้เป็นพระอุดโชคลาภตลอดจนผู้มีครรภ์ พระจะอุดไม่ให้ผู้มีครรภ์สามารถคลอดบุตรได้ถ้าจะเทียบกับพุทธานุภาพของพระภควัมบดีเป็นโอสถ โอสถนี้ก็จะสามารถรักษาได้สารพัดโรค ซึ่งถ้าพระเกจิอาจารย์ได้สร้างและปลุกเสกตามแบบฉบับมาตรฐานพระคณาจารย์แต่ครั้งโบราณกาล เว้นเสียแต่พระเกจิอาจารย์บางองค์บางท่านจะดัดแปลง ประจุเวทมนตร์คาถา โดยที่พระเกจิอาจารย์ท่านนั้นจะเลือกเอาดีทางหนึ่งทางใดโดยเฉพาะเท่านั้น เป็นต้นว่าประจุเวทมนตร์คาถาทางคงกระพันหรือทางแคล้วคลาดแต่เพียงอย่างเดียว ถ้าจะเปรียบพระภควัมบดี ก็เหมือนกับยันต์ที่มีพุทธคุณใช้ได้ทุกทาง อาทิเช่น

?พระยันต์มหาโสรฬมงคล? ตามแบบฉบับของปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง นนทบุรี ลงแผ่นโลหะใช้ทำตะกรุด ตะกรุดโทน

?พระยันต์ไตรสรณาคม? ตามแบบฉบับของพระพิมลธรรม (นาค) วัดแจ้ง กรุงเทพ ลงแผ่นหนังหนาผากเสือ ใช้ทำตะกรุด

?พระยันต์อิสะสติ? ตามแบบฉบับของหลวงพ่อวัดมะขามเฒ่า ชัยนาท ลงแผ่นโลหะใช้ทำตะกรุด

?พระยันต์พุดซ้อน? ตามแบบฉบับของสมเด็จพระวันรัตน์ (แดง) วัดสุทัศน์ ลงแผ่นโลหะใช้ในการหล่อพระ ลงแหวนก็มี

พระยันต์เหล่านี้ในอุปเท่ห์สิทธิการิยะ และในทางปฏิบัติที่ประสบกันมาสามารถใช้ได้ดีทุกทางจนเรียกได้ว่า ครอบจักรวาลกันเลยทีเดียว

ในหลักใหญ่ของพระพุทธานุภาพของพระภควัมบดี สามารถแยกออกได้ ๓ ประการ ตามตำราแต่ครั้งโบราณกาล กล่าวถึงการสร้างพระภควัมบดี ดังนี้

ประการที่หนึ่ง ?ให้มีสง่าราศีเป็นสิริมงคล และมหาอำนาจเปรียบดังราศีของพระภควัมบดี?
ประการที่สอง ?ให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและฉับพลันเปรียบดังพระสารีบุตร ผู้ทรงด้วยปัญญา?
ประการที่สาม ?ให้มีโชคลาภสีกการะ ดุจดังพระศิวลี ผู้เพรียบพร้อมไปด้วยลาภ สักการะนานัปการ?

ดังจะกล่าวถึงรายละเอียดในการสร้างพระภควัมบดีตามแบบคณาจารย์โบราณกาลต่อไป

พระภควัมบดี ตามภาษาบาลีเรียกว่า ?พระภควัมปติ มหาเถโร? มีพุทธลักษระงดงามละม้ายคล้ายสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถือว่า พระภควัมบดีเป็นอัคราสาวองค์หนึ่ง เพรียบพร้อมไปด้วยความเฉลียวฉลาด สามารถอธิบายธรรมได้ดียอดเยี่ยมกว่าพระสาวกองค์อื่นๆ ถือกำเนิดตระกูลพราหมณ์-ปุโรหิตกัจจายนะโคตร์ แห่งเมืองอุเชนี เนื่องมาจากวรรณะของท่านงดงามดังทองท่านจึงมีนามว่า ?กาญจน? ได้ศึกษาไตรเทพจนเจนจบ ได้เป็นพราหมณ์ปุโรหิตแทนบิดา ในสมัยพระเจ้าจันทร์ปัตโชติ ต่อมาได้ฟังธรรมในสำนักพระศาสดาจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ ภายหลังจึงได้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาเนื่องจากพระภควัมบดีมีผิวเหลืองดังทอง และรูปร่างละม้ายคล้ายคลึงกับพระพุทธเจ้า ฉะนั้นเมื่อไปยังแห่งหนตำบลใดก็ตามไม่ว่าเทพยดาหรือมนุษย์ต่างแซ่ซ้องสรรเสริญว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมา ท่านจึงเห็นว่าไม่เป็นการอันสมควรเป็นแน่แท้จึงได้อธิษฐานตัวท่านเอง ให้มีร่างกายเตี้ย พุงพลุ้ย ดูน่าเกลียดจากการเนรมิตตัวท่านเองในครั้งนี้ จึงทำให้พระคณาจารย์ต่างๆ ทำรูปเคาระ ในพุทธลักษณะปางต่างๆ อาทิเช่น ปางปิดตา ปางปิดทวารทั้งเก้า และปางสังกัจจายน์เป็นต้น

การสร้างพระภควัมบดีตามตำราโบราณ

ตามตำราโบราณให้ใช้รากหิงหายผี หรือรากรักซ้อนที่ดอกบานชี้ไปทางตะวันออก มาแกะเป็นรูปพระปิดตานั่งสมาธิราบขนาดเล็กใหญ่ตามที่ต้องการ หรือตามขนาดรากไม้ทั้งสองที่หามาได้ถ้าเอาไว้ที่บ้านเรือนก็ให้มีขนาดใหญ่สำหรับตั้งไว้บูชา ถ้าต้องการนำติดตัวห้อย ก็ให้มีขนาดเล็กกระทัดรัด เพื่อสะดวกในการนำติดตัวไปไหนๆ แล้วคว้านใต้ฐานองค์พระให้กว้างพอดีขนาดบรรจุของตามที่ตำรากำหนดไว้ คือ

- ยอดรักซ้อน ๑
- ยอดชัยพฤกษ์ ๑
- ยอดราชพฤกษ์ ๑
- ยอดสวาท ๑
- ยอดหิงหายผี ๑
- ยอดกาหลง ๑
- ยอดมะยม ๑
- พระธาตุสารีบุตร
- พระธาตุสิวลี
- กระดาษว่าวลงพระยันต์ตามตำราการสร้างพระภควัมบดี

เอาส่วนยอดไม้มงคลต่างๆ บดให้ละเอียดรวมกับพระธาตุสารีบุตร และพระธาตุสิวลีห่อด้วยกระดาษว่าวที่ลงยันต์ตามตำรากำหนดไว้ ประจุเข้าใต้ฐานพระภควัมบดีที่คว้านไว้แล้วอุดด้วยชันนะโรงใต้ติน หรือขี้ครั่งที่จับต้นพุทราให้แน่นจากนั้นอาจจะลงรักปิดทองทั้งองค์ให้สมกับพระนามพระภควัมบดีที่มีนามว่า ?กาณจน? แต่ตอนประจุนี้ ควรดูฤกษ์ยามให้ดีกำหนดพระสงฆ์เก้ารูปเจริญพระพุทธมนต์ในขณะที่ประจุ จัดตั้งพิธีปลุกเสกขึ้น นำพระภควัมบดีแช่ลงในน้ำมัน ๙ กลิ่น ปลุกเสกในพระอุโบสถ จนกระทั่งเกิด ?อุคหนิมิตร? พระภควัมบดีซึ่งวางนอนราบอยู่ ตอนปลุกเสกจะลุกขึ้นตั้งหมด จึงจะแล้วเสร็จตามพิธี

พระภควัมบดีสร้างขึ้น ถ้าเป็นองค์เล็กๆ ก็ใช้นำติดตัว โดยแขวนห้อยคอ ส่วนที่สร้างขึ้นเป็นองค์ใหญ่ก็ใช้บูชาที่บ้าน โดยที่คาถาสวดบูชาทุกค่ำเช้า ก็จะประสบลาภผล พูนทวีหาที่สุดมิได้ ดั่งพระสิวลีมหาเถโร ในสมัยพุทธกาลนั้นเปี่ยมไปด้วยลาภนานัปการ

การบรรจุพระธาตุพระสารีบุตรและพระธาตุสิวลี
เนื่องมาจากคติของพระคาณจารย์ของพระคณาจารย์เหล่านั้นคือ

การประจุพระธาตุพระสารีบุตร ถือเคล็ดว่ามีปัญญาเฉลียวฉลาดเพราะพระสารีบุตรเป็นเอกทัคคะในด้านนี้

ส่วนพระธาตุสิวลี ซึ่งเรียกกันว่า ?พระฉิม? หรือ ?พระฉิมพลี? เป็นพระที่มีลาภไม่ขาดมือ ไม่มีสาวกองค์ใดร่ำรวยลาภเสมอเหมือน ทรงผนวชในสำนักพระสารีบุตร และได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ขณะที่ปลงผมอยู่

ด้วยเหตุที่กล่าวนี้จึงทำให้พระคณาจารย์ครั้งโบราณยึดการประจุพระธาตุของทั้งสองสาวก เพื่อเป็นการเพิ่มความขลังให้แก่พระภควัมบดีที่สร้างขึ้น นับได้ว่าพระคณาจารย์เหล่านั้น ท่านเป็นนักออกแบบที่ดี ทั้งในทางวิชาการและด้านปฏิบัติได้อย่างยอดเยี่ยม ในเวลาต่อมาได้หาพระธาตุของสาวกทั้งสองยากมาก พระเกจิอาจารย์จึงใช้กระดาษว่าวจารึกนามพระอรหันต์ทั้งสองพระองค์บรรจุแทนพระธาตุ


และต่อมาอีกก็มีเกจิอาจารย์ได้สร้างจากผงมหาราช ปัทมังอิธิเจและผงพุทธคุณต่างๆ นำมาผสมน้ำมันตั้งอิ๊วบ้าง ผสมรักบ้างอัดขึ้นเป็นองค์พระ เช่นพระของหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรีของหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูงนนทบุรี ของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังบางขุนเทียน ของหลวงพ่อสุขวัดอู่ทอง ชัยนาท ของหลวงพ่อจีนวัดท่าราช แปดริ้ว และของหลวงพ่อปู่ไข่ วัดเชิงเสน กรุงเทพฯของหลวงพ่อยิ้ม วัดหนองบัวกาญจนบุรี หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี หลวงพ่อขำ วัดแก้ว ธนบุรี ฯลฯ

นอกจากนี้ยังมีการสร้างด้วยปัญโลหะ นวโลหะ สำริด เมฆสุทธิ์เมฆพัด ตะกั่ว ทองแดง เงิน ทองคำ งาช้าง ฯลฯ เช่นของ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง บางขุนเทียน หลวงพ่อทับ วัดอนงค์ ธนบุรี หลวงพ่อทัพ วัดทองบางกอกน้อย หลวงพ่อนาค วัดห้วยจรเข้ นครปฐม หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก นครปฐม หลวงพ่อบุญ วัดกลางบางแก้ว นครชัยศรี หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นครสวรรค์ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง นครปฐม

วัสดุที่จัดสร้างมักจะหาจากแหล่งที่พระเกจิอาจารย์จำพรรษาอยู่ อาทิเช่น หลวงพ่อวัดมะขามเฒ่านิยมสร้างพระภควัมบดีจากรากไม้หิงหายผี เพราะบริเวณวัดและอาณาเขตใกล้เคียงจากวัดสิงห์ถึงอุทัยธานี มีเถาไม้หิงหายผีอยู่มาก หรือจำพวกเนื้อเมฆพัดมักจะสร้างแถบนครปฐม เพราะแถบนั้นนิยมพวกเนื้อเมฆพัด เช่นพระวัดห้วยจรเข้ ของหลวงพ่อนาค หรือหลวงพ่อแช่มวัดตาก้อง หรือหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตกเป็นต้น นอกจากนี้พวกที่สร้างจากผงพุทธคุณต่างๆ ก็มักนิยมสร้างกันแถวเมืองชลฯ เช่นของหลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ ซึ่งได้รับความนิยมสูงสุดจนกลายเป็นแฟชั่นของเมืองชลใครเห็นพระปิดตาก็มักจะเรียกว่าพระหลวงพ่อแก้วไปหมด เรียกโดยความไม่เข้าใจ ที่แท้ก็เป็นพระภควัมบดีนั่นเอง

ตามตำราโบราณกาลกล่าวไว้ว่าบุคคลใด หรือครอบครัวใดมีพระภควัมบดี สวดมนต์บูชาทุกเช้าค่ำจะปราศจากทุกข์โรคโศกภัยเจริญด้วยลาภยศสรรเสริญ แคล้วคลาดจากศาสตราวุธ คุ้มกันได้สารพัด เอาพระภควัมบดีแช่น้ำมันเสกด้วยพระคาถาเสกน้ำมัน น้ำมันนั้นจะใช้ได้ในทางเมตตามหานิยมอย่างดีเลิศ ติดต่อหรือเข้าหาผู้ใหญ่ก่อให้เกิดความรัก ความเมตตาอย่างได้ผล จะมีลาภสักการะไม่ขาดมือ เนื่องจากพุทธานุภาพ ๓ ประการ คือ

๑. ความงามซึ่งได้จากบารมีของพระภควัมบดี
๒. ความมีสติ และปัญญาหยั่งรู้ ได้จากบารมีของพระสารีบุตร
๓. ความอุดมสมบูรณ์ด้วยลาภได้จากบารมีของพระสิวลี

ด้วยบารมีของพระอรหันต์ทั้งสามที่พระคณาจารย์ได้ประจุลงในพระภควัมบดี จึงก่อให้เกิดพุทธานุภาพ ดังได้กล่าวมาแล้วขอให้ท่านผู้มีพระภควัมบดีบูชาทุกเช้าค่ำ จะก่อให้เกิดสิริมงคลแก่ตัวเองพระภควัมบดีจะไม่อุดมโชคลาภและสิ่งดีงาม แต่จะขจัดความไม่ดีงามความไม่เป็นมงคลแก่ท่านออกไปโดยสิ้นเชิง อย่าได้ไปหลงเชื่อพวกอคติ ประเดี๋ยวท่านจะต้องนำพระปิดตา ปิดทวารทั้งเก้าไปทิ้งตามวัดตามโคนต้นโพธิ์ เพราะจะไม่เป็นมงคล ปรากฏว่ามีจำนวนไม่น้อยที่หลงเชื่องมงาย ขนาดที่วัดบวรนิเวศน์มีนับสิบองค์ แล้วพวกอคติเหล่านั้น ก็ได้ไปเก็บพระบัวเข็มซึ่งเป็นพระของมอญ และได้รับตกทอดจากบรรพบุรุษมาหลายชั่วอายุคน อยู่ๆ ต้องมาเสียของตกทอดมรดกด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ คือนำพระบัวเข็มไปให้นักเลงพระเช่า บางองค์มีราคายับหมื่นบาททีเดียว กลายเป็นเรื่องเศร้าใจแก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่งฉะนั้นขอให้ระมัดระวังอย่าได้เข้าใจผิดนำพระปิดทวารทั้งเก้าของวัดหนัง วัดทองฯลฯ ไปไว้ตามโคนโพธิ์ โดยเชื่อคนยุยงว่าไม่เป็นมงคลก็ได้ กว่าจะรู้เรื่องก็เข้ากับคติที่ว่า ?พรุ่งนี้ก็จะสายไปเสียแล้ว?


?????????????????????????

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 ก.พ. 2552, 06:20:00 โดย เด็กนอกวัด »

ออฟไลน์ Chotipat

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 400
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ประวัติพระภควัมบดี/พระปิตตา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 03 ก.พ. 2552, 06:28:32 »
 :053:ขอบคุณสำหรับความรู้ใหมๆครับ :052:
[shake]เป็นมิตรกับคนทุกคน เป็นเพื่อนกับลูกเสืออื่นทั่วโลก[/shake]

ออฟไลน์ ~เสน่ห์โจรสลัด~

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 7913
  • เพศ: ชาย
  • " ถ้ามุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งคุณจะเป็นที่หนึ่ง "
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ประวัติพระภควัมบดี/พระปิตตา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 03 ก.พ. 2552, 08:08:06 »
ขอบคุณครับ ได้อ่านชมสิ่งดีดี  :016:

ออฟไลน์ yout

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1742
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ประวัติพระภควัมบดี/พระปิตตา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 03 ก.พ. 2552, 10:13:38 »
ขอขอบคุณครับได้รับความรู้เพิ่มขึ้นครับ 31; 31; 31;

ออฟไลน์ อชิตะ

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 3218
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - aston_25@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ประวัติพระภควัมบดี/พระปิตตา
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 03 ก.พ. 2552, 12:18:32 »
แน่นมากครับ ข้อมูล   :054:  :054:

ออฟไลน์ •••--สายัณ--•••

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1322
  • อัครมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ ทุกภพชาติ
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ประวัติพระภควัมบดี/พระปิตตา
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 03 ก.พ. 2552, 01:48:16 »
ในสมัยพระพุทธกาล มีภควัมปติ 2 รูป คือ
1.พระมหากัจจายนะ (ภควัมปติ)
2.พระควัมปติ

เหตุผล พระธาตุสาวก ต่างกัน ประวัติ การบวชพระ เป็นเอหิภิขุสัมปทา ต่างกัน
เหตุทางพระธาตุ http://www.relicsofbuddha.com/page8-1.htm
เหตุทางประวัติ http://www.dharma-gateway.com/monk/great_monk/pra-kawam-pati.htm
ผิดพลาดขออภัย ไม่ได้ขัดคอใคร
แต่มีเหตุ ต้องแจงกัน :090: