หมวด ธรรมะ และ นอกเหตุ เหนือผล > สนทนาภาษาผู้ประพฤติ

จิตเปลี่ยน...กายเปลี่ยน...

(1/1)

รวี สัจจะ...:
 :059:จิตเปลี่ยน...กายเปลี่ยน...จิตเป็นนาย...กายเป็นบ่าว...กายเดียว...จิตเดียว :059:
         จิตกับกายมีความสัมพันธ์กัน เมื่อจิตเข้าสู่สมาธิก็จะเกิดการปรับธาตุในกาย ให้สอดคล้องต้องกัน ความสัมพันธ์ของธาตุทั้ง๖ ก็จะเกิดความพอดี(ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาศธาตุ วิญญานธาตุ) เพื่อรองรับสภาวะธรรมที่จะเกิดขึ้น การคิด การทำงานก็มีสติรอบคอบละเอียดขึ้น การเดิน การพูดก็สำรวมมากขึ้น"สติและสัมปชัญญะ  หิริและโอตัปปะมีกำลังเพิ่มขึ้น"ทำให้มีความสำรวมมากขึ้น
         การปฏิบัติธรรมทั้งหลายมีกุศโลบายเฉพาะตน อาจจะมีความแตกต่างกันในการทำจิตให้รวม(เป็นสมาธิ) แต่ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดก็ตาม
ต้องอยู่ในหลักของพระพุทธศาสนา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มีองค์แห่งคุณธรรมคือ หิริและโอตัปปะ คุ้มครองอยู่ ถ้าขาดหลักของพระพุทธศาสนาแล้ว สมาธินั้นจะเป็น"สมาธินอกระบบ"ของพระพุทธศาสนา แต่ก็สามารถนำมาเป็นพื้นฐานได้ ถ้าหากเรามีกุศลจิต ปรับความคิด ปรับจิต
ให้เข้ากับหลักของพระพุทธศาสนา ก็จะกลับมาเป็น"สัมมาสมาธิ"ได้
       อันตรายของการฝึกจิตเชิงพลังงานก็คือตัวอัตตาและมานะพร้อมทั้งอุปาทาน ถ้าขาดศีลวินัยและหิริโอตัปปะแล้วจะทำให้หลงอารมณ์
หลงตัวเอง ใช้จิตในทางที่ผิดได้ กลายเป็น"มิจฉาทิฏฐิ" เพราะขาดองค์แห่งคุณธรรม การสั่งสมสร้างบารมีนั้นมีอยู่ ๓๐ ประการ และต้องอยู่บนพื้นฐานของพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มีหิริ โอตัปปะ สติและสัมปชัญญะ คุ้มครองจิตอยู่
      ในส่วนลึกใต้จิตสำนึกของคนทุกคนแล้ว ปรารถนาอยากจะเป็นคนดี อยากจะทำความดี แต่บางทีสังคมไม่ให้โอกาศเขา "มนุษย์ทุกคนมีส่วนดีในจิตใจ" มองหาความดีของเขาแล้วกล่าวสรรเสริญ ให้เขาเพลินในความดี "แสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง"ความไม่ดีของเขาเราอย่าเอามาคิด ให้จิตของเราเศร้าหมอง จงมองไปที่ความดีของเขา แล้วเราช่วยกันส่งเสริมเพิ่มความดีให้แก่เขา"เติมน้ำดี เพื่อไล่น้ำเสีย"ทำไปทีละนิด เพื่อให้เขาได้ปรับกาย ปรับจิตได้ทัน เมื่อเราไม่ตำนิในจุดด้อยของเขา เราก็จะได้ความเป็นมิตร มีความรู้สึกที่ดีต่อกัน
      :059:เชื่อมั่นและศรัทธาในความคิดปรารถนาดีของท่านทั้งหลาย :059:
                                         รวี สัจจะ
                                 วจีพเนจร-คนรอนแรม
๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๐๕.๕๐ น. ณ ชายป่าห้วยขาแข้ง อุทัยธานี

۞เณรน้อยเส้าหลิน۞:
"ใจเป็นใหญ่  ใจเป็นประธาน  สำเร็จได้ด้วยใจ"

"เห็น จำ คิด รู้  รวมหยุดอยู่จุดเดียวกัน"

สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

cho presley:
คัดมาหน่อยนึงนะคะ... พี่รวี.. :009:

"มนุษย์ทุกคนมีส่วนดีในจิตใจ" มองหาความดีของเขาแล้วกล่าวสรรเสริญ ให้เขาเพลินในความดี

เห็นคนทำดี... อย่านิ่งเฉย.. ควรชื่นชมเขาในที่แจ้ง ด้วยความจริงใจ..
 อ้อ... ที่สำคัญ.. เวลาตำหนิ ต้องทำในที่ลับนะคะ


"แสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง"ความไม่ดีของเขาเราอย่าเอามาคิด ให้จิตของเราเศร้าหมอง

พัฒนาจุดแข็งของตัวเอง... อย่าพยายามใช้เวลาไปพัฒนาจุดอ่อน ซึ่งยากและไม่จำเป็น...


"เติมน้ำดี เพื่อไล่น้ำเสีย" ทำไปทีละนิด เพื่อให้เขาได้ปรับกาย ปรับจิตได้ทัน เมื่อเราไม่ตำนิในจุดด้อยของเขา

อย่างที่บอกหากเขาทำดี ชมเขาให้ดังๆ

ส่วนจุดอ่อน หรือจุดด้อย..หากรักเขาให้ฟีดแบคแล้วให้เขาปรับปรุง.. คนที่รู้ว่าตัวเองไม่ดีตรงไหน แล้วยอมรับมีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว

หากจะตำหนิก็ต่องทำให้ก่อเกิด และกระทำในที่ลับเฉพาะ

'เราก็จะได้ความเป็นมิตร มีความรู้สึกที่ดีต่อกัน

สุดท้าย... คนเราเดี่ยวก็ตาย... สร้างความรู้สึกที่ดีต่อกัน โลกสดใสจริงๆเลย Good Morning ka..

ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์):
ขอบคุณมากครับ เพื่อสันติภาพที่พึงว่าจะบังเกิดครับ สาธุครับผม  :054:

nok2009:
ขอบคุณครับได้ความรู้เพิ่มเติมอีกแล้วครับ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

Go to full version