แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - chatsmm

หน้า: [1]
1
รบกวนทุกท่านด้วยนะครับ .......ขอบคุณครับ
           

           

           

           

           

           

           

           

2
   รบกวนดูว่าลูกสะกดลูกนี้เป็นของอาจารย์ท่านใดครับ
 
 
 
  

3
               
               
               

 อนุสาวรีย์วีรไทย หรือที่ชาวคอนเรียกกันว่า พ่อจ่าดำ หรือเจ้าพ่อดำ ตั้งอยู่ภายในใจกลางของค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ 4 จังหวัดนครศรีธรรมราช ห่างจากตัวเมืองนครศรีธรรมราชไปตามถนนสายนครศรีธรรมราช-ท่าแพ ทางทิศเหนือประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นหนึ่งในผลงานชิ้นเอกของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี
     ตัวอนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำ เป็นรูปทหารสองมือจับปืนติดดาบเตรียมแทง ขนาดเท่าครึ่งของคนจริง สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ของทหารไทยในภาคใต้ที่เสียชีวิตในการปะทะกับทหารญี่ปุ่น ในสงครามมหาเอเซียบูรพา เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เพื่อเป็นการรำลึกถึงวีรกรรมของเหล่าบรรดาทหารหาญที่พลีชีพ ต่อสู้ข้าศึก เพื่อปกป้องมาตุภูมิ เหตุการณ์การสู้รบในวันนั้น กองทัพไทยต้องสูญเสียกำลังทหาร และยุวชนทหารช่วยรบในจังหวัดปัตตานี สงขลา สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และนครศรีธรรมราช รวมกว่า 100 นาย ดังปรากฏนามจารึกไว้ที่ฐานอนุสาวรีย์ทั้ง 6 ด้านอนุสาวรีย์จ่าดำ หรืออนุสาวรีย์วีรไทย ยังยืนตระหง่านบนจุดที่ได้สู้รบปกป้องปฐพีไทยสืบมา
เรื่องราวการต่อสู้ดังกล่าวนั้น มีดังนี้ คือ
     ใน พ.ศ.2482 ได้เกิดวิกฤตการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ในทวีปยุโรป โดยมีเยอรมนี และอิตาลีซึ่งเรียกว่าฝ่ายอักษะฝ่ายหนึ่ง กับสัมพันธมิตรซึ่งประกอบด้วยสหราชอาณาจักร และฝรั่งเศษอีกฝ่ายหนึ่ง การสงครามได้ขยายตัวกว้างขวาง ครั้นถึง พ.ศ.2484 ญี่ปุ่นเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ สงครามได้ลุกลามเข้าสู่ทวีปเอเชีย โดยญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกพร้อมกันในประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย มลายู และประเทศไทย เมื่อเช้าตรู่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2484 ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับที่โจมตีฐานทัพเรือเพิร์ลฮาเบอร์ของสหรัฐอเมริกา
     ในประเทศไทย ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกพร้อมกันที่สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี นครศรีธรรมราช และปราจีนบุรี โดยที่ฝ่ายไทยไม่คาดคิด
     จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นที่ตั้งกองกำลังสำคัญของภาคใต้ คือมณฑลทหารบกที่ 6 ในเวลานั้นมีพลตรีหลวงเสนาณรงค์เป็นผู้บัญชาการมณฑล เช้าวันเกิดเหตุ ได้รับแจ้งข่าวจากนายไปรษณีย์ นครศรีธรรมราชว่า ญี่ปุ่นได้ส่งเรือรบประมาณ 15 ลำ มาลอยลำในอ่าวสงขลา และได้ยกพลขึ้นบกที่เมืองสงขลา
     พลตรีหลวงเสนาณรงค์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 6 จึงสั่งการรับศึกและสั่งให้เตรียมกำลังเคลื่อนย้ายไปสนับสนุนกองทัพสงขลาโดยด่วน ขณะเตรียมการอยู่นั้น ก็ได้รับแจ้งจากพลทหารว่า ญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่บ้านท่าแพ ตำบลปากพูน ผู้บัญชาการมณฑลจึงสั่งการให้ทุกคนทำการต่อสู่เต็มกำลัง โดยความมุ่งหมายที่จะมิให้กองทหารญี่ปุ่นเข้ายึดโรงทหารได้เป็นอันขาด การสู้รบระหว่างทหารไทย ยุวชนทหาร กับทหารญี่ปุ่นเป็นไปในลักษณะประจัญหน้า พื้นที่บริเวณสู้รบอยู่ในแนวเขตทหารด้านเหนือ กับบริเวณตลาดท่าแพ มีถนนราชดำเนินผ่านพื้นที่ในแนว เหนือ-ใต้ การรบทำได้ไม่สะดวกนัก เพราะ ตลอดเวลาตั้งแต่ 07.00-10.00 น. ฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก
     การเตรียมรับมือข้าศึก
     ภายหลังที่ได้รับโทรเลขฉบับนั้น ผู้บังคับบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 6 จึงสั่งการให้แตรเดี่ยว ณ กองทัพรักษาการณ์ประจำกองบัญชาการ เป็นสัญญาณเหตุสำคัญ และเรียกหัวหน้าหน่วยที่ขึ้นครงมาประชุมที่กองบัณชาการมณฑลเพื่อเตรียมรับมือข้าศึกซึ่ง ผบ.มณฑล คาดว่าคงจะบุกขึ้นนครศรีธรรมราชด้วย ในขณะที่ฝนตกลงมาอย่างหนัก
     ขณะที่ ผบ.มณ ได้สั่งการและมอบหมายหน้าที่รับข้าศึกอย่างรีบเร่งอยู่นั้น ก็ได้รับแจ้งข่าวจาก พลฯ จ้อน ใจชื่อ และ พลฯ เติม ลูกเสือ สังกัดหน่วยป.พัน 15 ซึ่งเป็นเวรตรวจเหตุการณ์ที่บ้านท่าแพ (ใกล้ค่ายวชิราวุธ) ว่าได้พบกองทหารญี่ปุ่นกำลังยกขึ้นจากเรือรบไม่ทราบจำนวนพลทหาร และลำเลียงกำลังด้วย เรือท้องแบนมาตามคลองท่าแพ จะขึ้นที่ท่าแพ ในขณะที่จะพยายามจะกลับมารายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบก็ถูกทหารญี่ปุ่นควบคุมตัว แต่ พลฯ จ้อน ใจซื่อ พยายามหลบหนี มารายงานผู้บังคับบัญชาได้ในเวลา07.00 น. และในเวลาเดียวกัน ส.ท.ประศาสน์ ลิทธิ์วิลัย ก็วิ่งกระหืดกระหอบมาแจ้งขาวนี้แก่ผู้บังคับการมณฑลด้วย
     ผบ.มณฑล ได้สั่งการให้เปิดคลังแสงและจ่ายอาวุธปืนเล็ก ปืนกล และปืนประสุนให้แก่ทุกคนที่ยังไม่มีอาวุธประจำกาย และประกาศให้ทุกคนทำการสู้อย่างเต็มสติกำลัง โดยความมุ่งหมายที่จะมิให้กองทหารญี่ปุ่นเข้ายึดโรงทหารได้เป็นอันขาด ผู้ที่ไม่มีผู้บังตับบัญชาแน่นอน ก็ให้เข้าสมทบกับหน่วยใดหน่วยหนึ่งซึ่งประจำอยู่ตามแนวต่างๆ ในหน่วยร.17
     พอคำสั่งด้วยวาจาไม่ว่าจะเป็นคำสั่งประกาศขาดคำลง ผู้รับคำสั่งทุกคนทุกหมู่ทุกเหล่า ได้รีบลงมือปฏิบัติตามโดยทันที โดยมิได้มีการสะทกสะท้านหวาดกลัว หรือแสดงอาการตื่นเต้นลังเลแม้แต่น้อย ทหารทุกหน่วยในมณฑลที่6 ได้เข้าประจำการในลักษณะและหน้าที่ ดังนี้
1 หน่วย ป.พัน 15 หน่วยนี้ได้ทำหน้าที่ดังนี้
     - เติมน้ำมันแก่รถยนต์ทุกคันและสำรองไว้อีกคันละ 2 ปีบ ที่เหลือให้กองพลาธิการนำไปซุกซ่อนตามภูมิประเทศหลังโรงที่อยู่ของหมวด สภ.
     - พลาธิการเตรีบมสัมภาระพร้อม เสบียงอาหาร เพื่อขนย้ายได้ทันท่วงที
     -ส่งทหารเข้ายึดแนวรั้วไร่กสิกรรม ของ ป.พัน 15 ร้อย 2 ด้านใต้ เพื่อยิงต้านทานและเมื่อมีกำลังมาเสริมก็ได้ต่อแนวไปทางทิศตะวันตก สักครู่ปรากฏว่ามีกระสุนของฝ่ายญี่ปุ่นยิงมาจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโรงอาหาร ผบ.ร้อย 1 จึงนำปืนใหญ่ 2 กระบอกไปตั้งยิงสวนไป
     - กองร้อย 1 ใช้ปืน ปบค.105 จำนวน 4 กระบอก ปืน ป.63 จำนวน 2 กระบอก จากโรงเก็บออกมาตั้งยิงบริเวณหน้าและข้างโรงเก็บ ส่วนทหารในกองรักษาการณ์ภายในใช้ปืนเล็กทำการต่อสู้
     - กองร้อย 2 ลากปืนใหญ่ ป.105 จำนวน 1 กระบอก ซึ่งไปนำคืนมาจากร้านงานฉลองรัฐธรรมนูญ ณ สนามหน้าเมือง ในตอนเช้าตรู่มาตั้งยิงใกล้คลังกระสุน แต่เนื่องจากกองร้อยนี้ต้องไปรักษาการณ์ภายนอก จึงมีทหารอยู่น้อยไม่พอที่จะทำหน้าที่พลประจำปืน ประกอบกับที่อยู่ของกองร้วยนี้อยู่ใกล้ไปทางท่าแพมาก พอฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มเคลื่อนที่และยิงมา ก็ทำให้หมดความสามารถที่ทหารจะเข้าไปลากเอาปืนใหญ่มาตั้งยิงเสียแล้ว จึงต้องใช้ปืนเล็กยิงต่อสู้
2 หน่วย ร.พัน39 หน่วยนี้ได้ทำหน้าที่ดังนี้
     - ร้อย 1 และหมวด ส. เป็นกองรบซึ่งยกไปต้านทานทหารญี่ปุ่นที่ตลาดท่าแพ โดยวางแนวรบเป็น 2 แนว แนวแรกคือ แนวบ้านพักนายทหาร ป.พัน 15 กับโรงที่อยู่ของทหาร ป.พัน15 ส่วนแนวที่ 2 คือ แนวตลาดท่าแพ
     - รอง ผบ.ร.พัน 39 นำกำลังบางส่วนคือ ทหารของ ร.17 ที่ฝากฝึกในหมวด สภ. นายสิบกองหนุนที่เข้ารับการอบรมกับ ปก.หนัก 1 หมวด ที่เหลือไปยึดภูมิประเทศทางทิศตะวันออกของที่ตั้ง ร.พัน 39 เพื่อป้องกันมิให้ฝ่ายญี่ปุ่นเข้ายึดโรงทหารจากทิศตะวันออกได้
     - เข้าเสริมแนวรบโดยต่อแนวไปทางปีกขวาบ้าง ปีกซ้ายบ้าง ยึดภูมิประเทศข้างหลัง แนวรบเพื่อทำหน้าที่เป็นกองหนุนบ้าง และเมื่อฝ่ายญี่ปุ่นได้กำลังส่วนหนึ่งเข้าโอบทางปีกขวา หน่วยนี้ก็ได้ส่งกำลังเข้าปะทะต้านทานไว้
3 หน่วย พ.มณฑล 6 หน่วยนี้ได้ทำหน้าที่ดังนี้
     เป็นผู้รับมอบหมายนำทหารขึ้นรถยนต์มายังหน้าที่ตั้งกองรักษาการณ์ของ ป.พัน 15 แล้วขยายแถวเข้ายึดแนวไร่กสิกรรมของ ป.พัน 15 ร้อย 2 โดยสมทบกับทหาร ป.พัน 15 และกองรักษาการณ์ภายนอกประจำ จว.ทบ.นศ. บ้าง และเข้าต่อแนวไปทางปีกขวาบ้าง ทหารหน่วยนี้แบ่งกำลังออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เข้าประจำแนวยิงแรก อีกส่วนหนึ่งคงมียึดภูมิประเทศในแนวที่ 2 ซึ่งห่างจากแนวแรกประมาณ 100 เมตร แต่ยังมิได้ทำการยิง ก็ได้เวลาสงบศึกเสียก่อน
4 หน่วย ส.พัน 6 ได้ทำหน้าที่ดังนี้
     จัดทหารถือปืนเล็กยึดภูมิประเทศบริเวณโรงที่อยู่ของทหาร ใน พ.มณฑล และโรงที่อยู่ของทหารใน ส.พัน 6 เพื่อไว้เป็นกำลังหนุนในโอกาสต่อไป แต่ยังมิได้ทำการยิง ก็พอดีการรบยุติลง
5 หน่วย สร.มณฑล 6 ได้ทำหน้าที่ดังนี้
     จัดเปลออกไปรับคนเจ็บ ขนเวชภัณฑ์และสัมภาระมีค่า ออกมาจากแนวยิง นอกจากนี้ยังมียุวชนทหารจากหน่วยฝึกยุวชนที่ 55 จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวนประมาณ 30 คน มีปืนเล็กประจำกายมาสมทบ เมื่อเวลาประมาณ 09.00 น. และได้รับคำสั่งให้ยึดภูมิประเทศในแนวเดียวกับหน่วย ส.พัน 6 แต่ยังมิได้ทำการยิงก็พอดีการรบยุติลง
     เวลาประมาณ 11.00 น. เศษ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 6 ได้รับสำเนาโทรเลขคำสั่งให้ยุติการรบ การต่อสู้ระหว่างทหารไทยกับทหารญี่ปุ่นจึงสงบลง ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 6 สั่งให้นำกำลัง ยุวชนทหารกลับ และติดต่อให้ญี่ปุ่นส่งผู้แทนมาเจรจา เพื่อตกลงกันในรายละเอียด ผลการเจรจายุติการรบ โดยสรุป มีดังนี้
     1. ญี่ปุ่นขอให้ถอนทหารไทยจากที่ตั้งปกติไปให้พ้นแนวคลองสะพานราเมศวร์ ให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 3 ชั่วโมง เพราะญี่ปุ่นต้องการใช้สนามบินโดยด่วน
     2. ฝ่ายไทยยินยอมให้หน่วยทหารญี่ปุ่น เข้าพักอาศัยในโรงทหารของไทยได้ทั้งหมด โดยฝ่ายไทยพร้อมทั้งครอบครัวนายทหารและนายสิบจะย้ายไปพักในบริเวณตัวเมืองนครศรีธรรมราช โดยอาศัยตาม โรงเรียน วัด และบ้านพักข้าราชการเป็นต้น
     3. ฝ่ายไทยขอขนอาวุธและสัมภาระติดตัวไปด้วย ยกเว้นอาวุธหนัก กระสุน และวัตถุระเบิด และน้ำมันเชื้อเพลิงบางส่วน ตลอดจนเครื่องบิน แต่ฝ่ายญี่ปุ่นไม่ยินยอม
     4. ฝ่ายญี่ปุ่นแสดงความเสียใจที่ได้มีการสู้รบกัน มีความรู้สึกเห็นใจ และยกย่องชมเชยวีรกรรมของทหารไทย
     ฝ่ายไทยสูยเสียชีวิต 38 คน เป็นนายทหารสัญญาบัตร 3 คน นายทหาร 3 คน พลทหาร 32 คน ฝ่ายญี่ปุ่นไม่ทราบจำนวน ภายหลังเสร็จสิ้นสงครามมหาเชียบูรพา ประชาชนและข้าราชการได้ร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ วีรไทย(พ่อจ่าดำ) เป็นรูปทหารถือดาบปลายปืนในท่าออกศึก ซึ่งออกแบบปั้นโดยนายสนั่น ศิลากรณ์ ข้าราชการกรมศิลปากรในสมัยนั้น และได้ประดิษฐานในค่าย วชิราวุธเมื่อ พ.ศ.2492


 



4
 ปกติเลี่ยมทองอยู่....แต่พลาสติกหน้ามันแตกเลยแกะมาเลี่ยมใหม่เลยถ่ายรูปให้มาติชมกันครับ ......อีกอย่างอยากทราบว่าออกปีไหนครับ


 
 
 

5
 ที่บ้านผมเองครับ....ปีนี้เสียไม่ได้กลับไปร่วมงานเลยนำภาพบรรยากาศมาฝากกัน........ต้องขอขอบคุณเจ้าของข้อมูล.......ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

   
   พระลาก วัดพัทธเสมา ตำบลท่าดี อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรศรีธรรมราช ตามตำนานเล่าว่าเทวดาลงมาช่วยหล่อ คล้ายๆกับ พระพุทธชินราช ศิลปะจะออกไปทางอยุธยาแบบใต้ๆ บนขอได้ดังใจเป็นที่นับถือของชาวลานสกา และชาวอำเภอใกล้เคียงของจังหวัดนครศรีธรรมราช วันแรกลากพระ เรือพระวัดใกล้เคียงต้องเลื่อนวันไปลากวันถัดไป เพราะชาวบ้านจะไปกันที่วัดพัทธเสมากันหมด

   
    เรือพระเป็นแบบโบราณ จะไม่มีล้อ ไม่มีพวงมาลัย มีแต่พลังศรัทธาของชาวบ้านที่จะนำพาไปสู่จุดหมายปลายทาง

   
เมื่อถึงเทศกาลออกพรรษาการตักบาตร “หน้าล้อนมพระลาก” ของเรือพระที่พระลากประดิษฐ์ฐานอยู่ถือว่าได้บุญกุศลอย่างสูง บรรดาชาวบ้านใกล้ไกลจะมากันคับคั่ง มีงานกันเอิกเกริก จะอัญเชิญพระลากออกมาจากวิหารมาไว้ในอุโบสถหลังเก่าให้ได้กราบไหว้บูชา ทำให้การลากพระของวัดใกล้ๆ คือวัดดินดอน วัดวังไทร ต้องเลื่อนไปลากอีกวันถัดไปเหมือนกับว่าต้องหลีกทางให้ทำนองนั้นแหละ
   
และถ้าไปช้าก็จะเข้าไม่ถึงของการแรกลากเรือพระ คือเมื่อ เรือพระที่พระลากประดิษฐ์ฐานไว้มั่นคงแข็งแรงดีแล้วจะลากระยะสั้นๆ เพื่อเป็นการเอาฤกษ์ก่อน ตรงนี้แหละเขาว่าได้กุศลแรง ชาวบ้านแต่ก่อน และคนแก่ๆในปัจจุบันนี้จะไปกันตั้งแต่ตีสองตีสาม ไปนั่งแลหนังลุงกันก่อน หนังจะเล่นรุ่งเลย จากนั้นจะได้แรกลากพระกันเลย

   
  คนเฒ่าคนแก่สมัยก่อน หรือ ณ วันนี้จะมากันแรกตีสาม เพื่อมาร่วมพิธีสำคัญ คือ เชิญหรือยกพระลากไปไว้บน นมพระ ชิงกันนักแลเป็นความวุ่นวายที่อบอุ่น เพราะอยู่บนความศรัทธา ยกพระเสร็จแล้ว แลหนังลุงต่อ หนังเล่นให้แลรุ่งเผ้ง เลย

   
   ลากเสร็จ รอตักบาตรพระสงฆ์ และตักบาตรหน้าล้อ คือตักบาตรใส่บาตรพระลาก




6
 พอดีพึ่งจะได้มาครับ ไม่แน่ใจว่าจะทันหลวงพ่อหรือเปล่า .......รบกวนท่านที่ชอบสะสมสายนี้ช่วยดูว่า แท้ หรือ ไม่แท้ครับ ขอบคุณครับ

    ปลัดขิกหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก




     ปลัดขิกหลวงพ่อเส็ง วัดบางนา




      ชิ้นนี้ไม่ทราบที่ครับ
     


7
เมื่อตอน 2ทุ่ม เดินทางไปวัดกลางบางแก้วเพื่อไปกราบหลวงปู่เจือ กับพี่ที่รู้จักกัน กลุ่มใหญ่เลย กว่าจะถึงวัดต้องผ่าสายฝนที่ตกมาอย่างหนักมากๆ พอไปถึงแล้วก็สบายใจ ได้ให้หลวงปู่จารกระหม่อมไป 1 ครั้ง ก่อนจะกลับพี่ๆที่รู้จักก็บูชาเบี้ยแก้กันไปคนละตัว แล้วกราบหลวงปู่กลับ กลางสายฝนอีกนั้นแหละครับ

กว่าที่หลวงปู่จะเปิดประตูห้องให้กับเข้าไป........ก็นั่งคุยพวกพี่ๆที่นั่งตีเบี้ยกันอยู่
 




ก่อนกลับหลวงปู่จารและปลุกเสกแผ่นยันต์ให้ครับ



พระสมเด็จที่หลวงปู่แจกให้

8
    รบกวนให้ความคิดเห็นกับ 2 เหรียญด้วยครับ

 
 
   
     เหรียญนั่งหนุมานปี 25
               
 
 

    เหรียญนั่งหมูปี 25

9
  รุ่นปรกเก้า ปี 33

 
 

10
 ดีมั้ยครับได้มาเมื่อวาน ...........ติชมกันหน่อยครับ                                                                    
 
 
 

12
พระปิดตา ฝังตะกรุดทองคำ 5 ดอก มีผสมเกศาหลวงปู่เหรียญนี้สร้างปีไหน ทันหลวงปู่หรือเปล่าครับ




13
แต่ละองศ์แท้มั้ยครับ.......

    องศ์ที่ 1



   องศ์ที่ 2




   องศ์ที่ 3




   องศ์ที่ 4




   องศ์ที่ 5










14
 เหรียญแรกเป็น ปรกโพธิ์เนื้อนวะ พิมสดุ้งกลับ รุ่นสร้างโรงพยาบาล
 
 
 

 ล๊อคเก็ตหลังมีตะกรุด 3 ดอก
 
 

15
องศ์นี้เป็นสายเขาอ้อ วัดดอนศาลาโดยอาจารย์ศรีเงิน แต่จะเป็นรุ่นไหนผมไม่ทราบนะ (เพื่อนที่ให้ผมเค้าบอกมา) ท่านใดทราบปีก็บอกผมด้วยครับ





16
ได้ความเมตตามาจากอาจารย์ต้อยมานานแล้วครับกวนพี่ๆชวนดูหน่อยครับรุ่นไหน ปีไหน




17
สวัสดีครับท่านพี่น้องชาวเว็บวัดบางพระทุกท่าน.....ผมจะแนะเกจิอาจารย์ที่เก่งๆท่านหนึ่ง ใกล้บ้านกระผมนั้นแหละครับ

ประวัติท่านพระครูสุนทรดิตถคณี (นาค โชติพโล) ท่านเกิด วันเสาร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม 2420 ปีฉลู ท่านอุปสมบทกับท่านกาแก้ว (บุญศรี) ผู้เป็นบิดาของท่านเอง (บิดาท่านบวชตั้งแต่ท่านอายุ 5 ขวบ) มีมารดาชื่ออำแดงพุ่ม เป็นลูกสาวของขุนลัคณ์จันทร์ ซึ่งเป็นพราหมณ์พิธีของพระยานคร ท่านจำพรรษาเป็นพระอาวุโสสูงสุด ของวัดหน้าพระบรมธาตุ สละให้ท่านกาแก้ว (หมุ่น อิสรเถร) เป็นเจ้าอาวาส ท่านเป็นพระลูกวัด

อนหลังท่านกลับไปจำพรรษาที่วัดบ้านเกิดคือ วัดดินดอน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ.2473 อิทธิมงคลวัตถุของท่านมีมาก ทั้งตะกรุด ผ้าประเจียด พระพิมพ์ดินเผา รูปลอยองค์ปั๊ม และที่มีชื่อเสียงกว้างขวางคือ สายคาดเอว ซึ่งเคยทำส่งไปยังกองบัญชาการทหารสูงสุดสมัยจอมพล ป. ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นที่ประจักษ์แก่วงการทหารยิ่งนัก แต่เป็นของที่ทำได้ยาก ท่านมรณภาพเมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2512 เวลา 15.00 น. อายุได้ 93 ปี หลังจากมรณภาพแล้ว มีการเก็บศพไว้ที่กุฏิของท่านเป็นเวลา 13 ปี จึงได้พระราชทานเพลิงศพเมื่อ 26 เมษายน พ.ศ.2526


สายคาดเอว กรรมวิธีในการสร้างท่านจะใช้ผ้าขาวลงอักขระแล้วจุ่มบิดให้แห้ง กับน้ำฝนที่ท่านเก็บไว้ทุกวันเพ็ญครบ 12 ครั้ง หากปีไหนรับน้ำฝนได้ไม่ครบ 12 วันเพ็ญ ก็ไม่ได้สร้าง ถือว่าเป็นพิธีกรรมที่ยาวนาน และต้องรอคอยอย่างมาก ทำแต่ละครั้งท่านจะถักด้วยตัวท่านเอง ซึ่งการสร้างแต่ละคราวจะได้จำนวนน้อย การใช้งานต้องมีคาถากำกับ เขาเรียกผูกไพเราะตัวผู้ และผูกไพเราะตัวเมีย ผมเองยังหาเชือกคาดเอวของท่านไม่ได้เลย เขาว่ายุคแรกจะใหญ่ เกือบๆหัวแม่มือ ยุคหลังของท่านขนาดก้อย คับ(อันนี้ยืมภาพจากหนังสือเก่าโพธิ์เพชรมาห้ายแล ผมยังหาไม่ได้คับ)

รูปหล่อสร้างราวประมาณปี พ.ศ.2506-2507 รุ่นแรก ตรงด้านหน้าจะเป็นคำว่า ?พระครูสุนทร? แต่รุ่นหลังจะ เขียนว่า ?พระครูสนทร? จะไม่มีสระอุติดมา คับ

วัตถุมงคลประเภทเครื่องรางนั้นยากในการเล่นหา แต่หากจะสะสมต้องมาในลักษณะตกทอดกันมารุ่นต่อรุ่น จึงจะชัดเจนเล่นหาได้สบายใจมากขึ้น คับ

พี่ๆใครจะเสริมเรื่องวัตถุมงคลของพระครูท่าน ก็ช่วยๆกันนะคับ ได้เป็นแนวทางในการสะสม คับ


 

                                        ภาพถ่าย

 
                                       
                                       รูปหล่อรุ่นแรก

 
 
                               เหรียญรุ่นแรกสร้างพร้อมรูปหล่อ

 

                               เชือกคาดเอว.....ที่ใครๆก็อยากได้กันหาอยากสุดๆ

18
อยากรู้ที่มา และปีที่สร้างรบกวนที




20
 :053:  พอดีน้องที่ทำงานเค้าได้ให้เหรียญหลวงปู่รุ่ง ปี 35 หลังพระประธานมา รบกวนผู้รู้ช่วยกันติชมด้วยครับ ว่าดีหรือไม่  :007:







21






เมื่อวันที่ 10 เม.ย ที่ ผ่านได้เข้าไปวัดนกก็ได้บูชา ตะกรุด เสาร์ 5 ปี 2540 กรรมการมา เลยนำมาแบ่งกันชม...ครับ


22
ไม่ได้อวดโชว์ครับ.........เพื่อคึกษาแลกเปลื่อนกัน

แม่นางพิมพา



23
ก็คิดถึงหลวงพี่ครับ ไม่ได้เป็นการอวดโชว์อะไร




หน้า: [1]