ผู้เขียน หัวข้อ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด  (อ่าน 41533 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« เมื่อ: 01 มี.ค. 2551, 01:23:24 »
ข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ข่าวสด  ( http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOREF4TURNMU1RPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBd09DMHdNeTB3TVE9PQ==)


พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ

 
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร" หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระประธานคู่บ้านคู่เมืองปางสมาธิ ทำด้วยมณีสีเขียวเนื้อเดียวกันทั้งองค์ หน้าตักกว้าง 48.3 เซนติเมตร สูงตั้งแต่ฐานถึงยอดพระเศียร 66 เซนติเมตร ประดิษ ฐานอยู่ในบุษบกทองคำ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดา ราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พอรวบรวมได้ว่าองค์พระแก้วมรกตสร้างขึ้นในประมาณปี พ.ศ.500 โดยพระนาคเสนเถระ เมืองปาฏลีบุตร อินเดีย เข้ามาสู่ดินแดนของไทยครั้งแรกในอาณาจักรอโยธยา

จากนั้นอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระแก้วเมืองชากังราว หรือกำแพงเพชร จากกำแพงเพชรได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระแก้วเชียงรายเป็นเวลา 45 ปี จากนั้นก็อัญเชิญลงมาประดิษฐานที่ลำปางอีก 32 ปี จากลำปางอัญเชิญขึ้นเหนือไปประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ เป็นเวลา 85 ปี

จากเชียงใหม่ไปประดิษฐานที่เมืองเวียงจันทน์ 225 ปี แต่เก่าก่อนตอนปลายสมัยอยุธยา เมืองเวียงจันทน์ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา ครั้งเมื่อกรุงศรีอยุธยามีศึกหนักกับพม่าจนตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ทางเวียงจันทน์ถือโอกาสแข็งเมืองแยกตัวเป็นอิสระ
 


จนกระทั่งพระเจ้าตากกอบกู้เอกราชได้และตั้งราชธานีใหม่ จึงได้ส่งเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปตีเมืองเวียงจันทน์ให้กลับมาเป็นเมืองขึ้นเหมือนเดิม ศึกครั้งนั้นทัพของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้รับชัยชนะโดยเด็ดขาด ก่อนได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับคืนสู่แผ่นดินไทย

ครั้งแรกเมื่ออัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมายังประเทศไทยในสมัยกรุงธนบุรี ได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ที่วิหารน้อยวัดอรุณราชวราราม ประดิษฐานอยู่ที่วัดอรุณฯ เป็นเวลา 5 ปี

เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเมื่อชนะศึกเมืองเวียงจันทน์และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมาก็เกิดความยินดี ดั่งว่าพระแก้วมรกตเป็นพระคู่บารมีคู่บ้านคู่เมือง ครั้นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ได้สำเร็จ และได้ตั้งเมืองขึ้นใหม่มีชื่อว่า กรุงรัตนโกสินทร์

รวมระยะเวลาที่องค์พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่พ.ศ.2321 จนถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลา 227 ปี

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องทรงถวายเป็นพุทธบูชาสำหรับฤดูร้อนและฤดูฝน

เครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน เป็นเครื่องต้นประกอบด้วยมงกุฎพาหุรัด ทองกร พระสังวาล เป็นทองลงยา ประดับมณีต่างๆ จอมมงกุฎประ ดับด้วยเพชร เครื่องทรงสำหรับฤดูฝน เป็นทอง คำ เป็นกาบหุ้มองค์พระอย่างห่มดอง จำหลักลายที่เรียกว่าลายพุ่มข้าวบิณฑ์ พระเศียรใช้ทองคำเป็นกาบหุ้ม ตั้งแต่ไรพระศกถึงจอมเมาฬี เม็ดพระศกลงยาสีน้ำเงินแก่ พระลักษมีทำเวียนทักษิณาวรรต ประดับมณีและลงยาให้เข้ากับเม็ดพระศก

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างเครื่องฤดูหนาวถวายอีกชุดหนึ่ง ทำด้วยทองเป็นหลอดลงยาร้อยด้วยลวดทองเกลียว ทำให้ไหวได้ตลอดเหมือนกับผ้า ใช้คลุมทั้งสองพาหาขององค์พระ

บุษบกทองที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สร้างด้วยไม้สลักหุ้มทองคำทั้งองค์ ฝังมณีมีค่าสีต่างๆ ทรวดทรงงดงามมาก เป็นฝีมือช่างรัชกาลที่ 1 เดิมบุษบกนี้ตั้งอยู่บนฐานชุกชี

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเบญจาสามชั้นหุ้มด้วยทองคำ สลักลายวิจิตรหนุนองค์บุษบกให้สูงขึ้น บนฐานชุกชีด้านหน้า ประดิษฐานพระสัมพุทธพรรณี เป็นพระพุทธรูปที่คิดแบบขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยไม่มีเมาฬี มีรัศมีอยู่กลางพระเศียร จีวรที่ห่มคลุมองค์พระเป็นริ้ว พระกรรณเป็นแบบหูมนุษย์ธรรมดาโดยทั่วไป

หน้าฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรฉลองพระองค์รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 องค์ ด้านเหนือพระนามว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ด้านใต้พระนามว่า พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธรูปทั้ง 2 พระองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์สูง 3 เมตร ทรงเครื่องแบบจักรพรรดิหุ้มทองคำ เครื่องทรงเป็นทองคำลงยาสีประดับมณี

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นวัดที่สำคัญและเป็นที่เชิดหน้าชูตาของเมืองไทย ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมอยู่ไม่ขาดสาย

ออฟไลน์ ~เสน่ห์โจรสลัด~

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 7913
  • เพศ: ชาย
  • " ถ้ามุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งคุณจะเป็นที่หนึ่ง "
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 01 มี.ค. 2551, 01:30:53 »
ขอบคุณข้อมูลดีดีครับ  ;D

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 01 มี.ค. 2551, 01:37:13 »
 :) ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 02 มี.ค. 2551, 11:33:45 »

พระพุทธชินราช วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ
พระพุทธชินราช (จำลอง) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย นั่งสมาธิราบ จำลองแบบจากพระพุทธชินราช วัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก วัสดุสัมฤทธิ์

ปัจจุบัน ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพฯ

พระพุทธชินราช มีขนาดหน้าตัก 5 ศอกคืบ 5 นิ้ว มีเศษ น้ำหนักทองที่ใช้หล่อ 3,940 ชั่ง

ตามตำนานเล่าว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาปนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พุทธศักราช 2442 โปรดให้ออกแบบพระอุโบสถตกแต่งไว้ด้วยหินอ่อนงดงามวิจิตร จำเป็นต้องแสวงหาพระประธานที่มีความทัดเทียมกัน

ทรงระลึกได้ว่า เมื่อ พ.ศ.2409 ทรงบรรพชาเป็นสามเณรได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปที่งดงามไม่มีที่เปรียบ แต่การจะอัญเชิญลงมา ย่อมไม่สมควร ด้วยเป็นสิริของชาวพิษณุโลก จึงมีดำริให้หล่อขึ้นใหม่
 


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้พระประสิทธิปฏิมา (ม.ร.ว.เหมาะ ดวงจักร) จางวางช่างหล่อขวา ซึ่งเป็นช่างหล่อฝีมือดีที่สุด ขึ้นไปปั้นหุ่นถ่ายแบบจากพระพุทธชินราชองค์เดิม ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก

แล้วเสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อเป็นส่วนๆ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2444 อัญเชิญล่องเรือมาคุมองค์และแต่งที่กรมทหารเรือ โดยพระยาชลยุทธโยธิน (Andre du Plessis de Richelieu) ชาวเดนมาร์ก เข้ามารับราชการเป็นทหารเรือ มียศเป็นพลเรือโท ตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ เป็นผู้ควบคุมการแต่งองค์พระ เสร็จแล้วเชิญลงเรือมณฑปแห่ไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2444

เมื่ออัญเชิญพระพุทธชินราชขึ้นประดิษฐานแล้ว ต่อมาถึงปลายปี พ.ศ.2452 จึงโปรดเกล้าฯให้จ้าง นายซึรุฮารา (Mr.Tsuruhara) ครูช่างในโรงเรียนวิชาช่างกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เข้ามาทำการปิดทองจนแล้วเสร็จ และโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานสมโภช ในวันที่ 5 สิงหาคม 2453

พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย มีเรือนแก้ว ประทับนั่งเหนือรัตนบัลลังก์หินอ่อน เรือนแก้วนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ทำถวาย เมื่อ พ.ศ.2455 แต่ช่างทำไม่งาม รัชกาลที่ 7 จึงโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขใหม่สวยงามตามที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ที่มีความสวยงามเลื่องชื่อเป็นอันดับต้นของเมืองไทย จนเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลก

ด้วยความงดงามของพระอุโบสถ พระระเบียง ประดับด้วยหินอ่อนที่ดีที่สุดจากประเทศอิตาลี รังสรรค์ให้วัดเบญจมบพิตรฯ กลายเป็นอารามที่มีความวิจิตรงดงาม ด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณ

สำหรับการเดินทางไปเยี่ยมชมวัดเบญจมบพิตรฯ สามารถเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวหรือเหมารถตู้รวมกลุ่มกันไปเยอะๆ สามารถหาที่จอดรถได้ง่ายๆ บริเวณริมถนนติดคลองด้านหน้าของวัด

อีกวิธีเป็นการเดินทางแบบประหยัดด้วยการนั่งรถประจำทาง สาย 5 16 23 หรือรถปรับอากาศ สาย 503 505 509 เป็นต้น หรือโบกรถแท็กซี่ให้ไปส่งได้

สามารถเดินทางมาตามเส้นทางถนนสายใหญ่ คือ ถนนพระรามที่ 5 ถนนศรีอยุธยา ถนนราชดำเนินนอก และถนนพิษณุโลก จะแลเห็นพระอุโบสถวัดตั้งโดดเด่นเป็นสง่า

วัดเบญจมบพิตรฯ แห่งนี้ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเป็นเวลา ไม่ได้เปิดตลอดทั้งวัน ด้วยเกรงจะเป็นการรบกวนการปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุ-สามเณร เวลาทำการ ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. พระอุโบสถ ทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น.

เสียค่าธรรมเนียม-ค่าเข้าชม สำหรับชาวต่างชาติ จำนวน 20 บาท ส่วนเราๆ ท่านๆ จะบริจาคปัจจัยบ้างเล็กๆ น้อยๆ เป็นค่าบำรุงดูแลศาสนสถาน

ไปเยี่ยมชมความสวยงามของวัดและเข้าไปกราบพระพุทธชินราช (จำลอง) เสริมความเป็นมงคลให้กับชีวิตได้อย่างดี


ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 08 มี.ค. 2551, 07:09:15 »

หลวงพ่อศาสดา วัดสุวรรณาราม กรุงเทพฯ
 
"วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร" หรือชื่อเดิมว่า "วัดทอง" ถือเป็นวัดสำคัญอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ความเก่าแก่ของวัดทองนี้นับอายุไปได้ถึงปลายสมัยอยุธยา และต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงใช้บริเวณวัดแห่งนี้เป็นลานประหารชีวิตเชลยพม่า

แต่ในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นสมัยที่วัดทองได้เปลี่ยนรูปโฉมไปมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่แทบทั้งหมด และพระราชทานนามให้ใหม่ว่า "วัดสุวรรณาราม"

ปัจจุบันวัดสุวรรณาราม ตั้งอยู่ที่ 33 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 32 แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอก น้อย กรุงเทพฯ

พระอารามหลวงแห่งนี้ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คือ "หลวงพ่อศาสดา" พระพุทธรูปหล่อสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย พระประธานของพระอุโบสถ ที่ชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธากันมาก

การสร้างหลวงพ่อศาสดา พระประธานในพระอุโบสถวัดสุวรรณาราม มีปรากฏเรื่องเกี่ยวกับการสร้างเป็น 2 นัย คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ว่า พระ พุทธรูปองค์นี้ไม่ปรากฏเรื่องราว แต่พิจารณาจากลักษณะแล้วเห็นว่าเป็นฝีมือเดียวกับช่างที่หล่อพระศรีศากยมุนี ซึ่งอัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัยครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหา ราช จึงทรงเห็นว่าคงจะเชิญพระศาสดามาในคราวเดียวกัน
 


ส่วนหนังสือประวัติวัดสุวรรณาราม กล่าวว่า พระศาสดาองค์นี้ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง และสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช คงจะทรงหล่อขึ้น เพื่อเป็นพระประธานในพระอุโบสถ เมื่อคราวทรงปฏิ สังขรณ์วัดสุวรรณารามขึ้นใหม่ โดยพระพุทธรูปองค์นี้ไม่ปรากฏนามเฉพาะ มีเพียงชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า "พระศาสดา"

หลวงพ่อศาสดา มีคนมากราบไหว้นมัสการหรือบนบานศาลกล่าว โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับเกณฑ์ทหาร มิให้ถูกจับได้ใบแดง ต้องไปเกณฑ์ทหาร นิยมแก้บนด้วยการวิ่งม้า แต่ไม่ได้ใช้ม้าจริงๆ เพียงแค่ใช้คนวิ่งและมีผ้าขาวม้าเป็นสัญลักษณ์แทนม้าเท่านั้น

ทั้งนี้ ประเพณีการแก้บนเช่นนี้ ยังมีสืบทอดมาจนปัจจุบัน

มีเรื่องเล่าขานกันว่า "หลวงพ่อศาสดา" โปรดการวิ่งม้าเป็นอย่างยิ่ง มีคนมาบนบานศาลกล่าวเรื่องของการงานและการค้าขาย เมื่อสำเร็จผล ได้ฝันว่า มีพราหมณ์ท่านหนึ่งมาบอกว่าให้แก้บนด้วยการวิ่งม้า กลายเป็นที่มาของการวิ่งม้าแก้บนที่วัดแห่งนี้

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเล่าอีกว่า มีคนมาวิ่งม้าแก้บน แต่แกล้งวิ่งม้าหลอกๆ ไม่ยอมวิ่งจริงๆ แต่ดำเนินไปได้เพียงสักครู่เท่านั้น ทันใดนั้น ได้มีมือขนาดยักษ์มาเขกหัว ทั้งๆ ที่บริเวณนั้นไม่มีใครเลย

นับแต่นั้นมา ทำให้หลายคนไม่กล้าวิ่งม้าหลอกๆ แก้บนที่วัดแห่งนี้อีก

วิ่งม้าแก้บน เป็นคติความเชื่อที่สืบทอดกันมาของชาวบ้านบุ ชุมชนในบริเวณวัดสุวรรณาราม อันเกิดจากความเคารพศรัทธาที่มีต่อหลวงพ่อศาสดา ในอดีตการแก้บนวิ่งด้วยม้าก้านกล้วย แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้ผ้าขาวม้าแทน

การบนวิ่งม้าที่วัดแห่งนี้ ส่วนใหญ่เป็นการบนบาน เพื่อไม่ให้ถูกเกณฑ์ทหาร ตลอดจนบนให้ประสบความสำเร็จในด้านอื่นๆ โดยมีข้อห้ามมิให้พูดคำว่า "ขอ" เป็นอันขาด

การแก้บนจะทำที่ใบเสมาแรกทางด้านหน้าของพระอุโบสถ เพราะตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกับหลวงพ่อศาสดาพอดี

ก่อนที่จะทำการวิ่งม้าแก้บน จะต้องนำผ้าขาว ม้ามาวางหน้าใบเสมาและต้องขมวดปมให้เรียบ ร้อย ผ้าขาวม้าผืนเล็ก-ใหญ่ ตามขนาดตัว

ในการวิ่งม้าแก้บน จะต้องวิ่ง 3 รอบขึ้นไป และต้องร้องเสียงม้าไปพร้อมกันด้วย

เมื่อวิ่งเสร็จนำผ้าขาวม้ามาวางกับพื้นตรงหน้าใบเสมาใบแรกแล้วกราบลา เป็นอันเสร็จพิธี

ปัจจุบัน วัดสุวรรณาราม มีการบริการให้เยาวชนในชุมชนวิ่งม้าแก้บนแทนผู้บนบานด้วย

........................................
ที่มา - ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 09 มี.ค. 2551, 07:17:10 »

พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (หลวงพ่อทองคำ) วัดไตรมิตรวิทยารามกรุงเทพฯ
เป็นพระพุทธรูปทองคำที่ได้รับการบันทึกไว้ในกินเนสส์บุ๊ก ปี 1991 ว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำแท้ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีมูลค่าสูงกว่า 21 ล้านปอนด์

ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหาร วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพระอิริยาบถนั่งสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางเหนือพระชานุ ปลายพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี หน้าตักกว้าง 6 ศอก 5 นิ้ว หรือมากกว่า 2.50 เมตร

ความสูงจากพระเกตุมาลาถึงฐานทับเกษตร (ฐานที่รองรับพระพุทธรูป) 7 ศอก 1 คืบ 9 นิ้ว หรือประมาณ 3.04 เมตร 10 ฟุต มีน้ำหนักประมาณ 5.5 ตัน หรือ 5,500 กิโลกรัม

นักประวัติศาสตร์ชี้ว่า เป็น "พระพุทธรูปทอง" ในวิหารวัดมหาธาตุ กรุงสุโขทัย ที่อ้างถึงในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช บรรทัดที่ 23-27 มีข้อความปรากฏดังนี้

"กลางเมืองสุโขทัย มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารส มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม"
 


ข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ในสมัยสุโขทัยมีการก่อสร้างพระวิหาร พระพุทธรูปปูนปั้น โลหะ และทองคำ ทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลาง ดังปรากฏเป็นหลักฐานประติมากรรมสมัยสุโขทัยที่ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน

จึงสันนิษฐานได้ว่าหลวงพ่อทองคำน่าจะถือกำเนิดในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนปี พ.ศ.1826 อันเป็นพุทธศักราชที่ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทย หากนับเนื่องมาจนถึงปัจจุบันปี 2550

ในสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงมีพระบรมราชโองการให้อัญเชิญพระพุทธรูปตามวัดร้างต่างๆ ที่สุโขทัยมาประดิษฐานไว้ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ รวมจำนวนได้ 1,248 องค์ รวมทั้งหลวงพ่อทองคำ ขณะนั้นอยู่ในสภาพมีปูนปั้นหุ้มทั้งองค์

ต่อมา พ.ศ.2344 ได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานวัดพระยาไกร หรือวัดโชตินาราม อันเป็นวัดที่พระยาโชฎึกราชเศรษฐี สร้างถวายเป็นพระอารามหลวงในรัชกาลที่ 3 เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.2475

ต่อมา วัดพระยาไกรชำรุดทรุดโทรม บริษัทอีสต์เอเซียติกได้มาขอเช่าจัดสร้างโรงเลื่อยไม้ขนาดใหญ่ รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ชำรุดทรุดโทรมของวัดออกจนเหลือแต่พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่

ขณะนั้นวัดสามจีนหรือที่ต่อมาเป็นวัดไตรมิตรฯ กำลังบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ และเห็นว่าจะทิ้งพระพุทธรูปไว้เช่นนั้นไม่เหมาะสม จึงได้อัญเชิญมาไว้ที่วัด

การก่อสร้างใช้เวลาถึง 20 ปี จึงแล้วเสร็จ ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2498 ได้เริ่มโยกย้ายองค์พระซึ่งมีน้ำหนักมาก ลวดสะลิงขาด องค์พระตกกระแทกพื้น ขณะนั้นเป็นช่วงค่ำและฝนตกหนัก การอัญเชิญหยุดชะงักลง

เช้ารุ่งขึ้น พระมหาวีรธรรมมุนี เจ้าอาวาส ได้มาตรวจ สังเกตเห็นปูนตรงพระอุระแตกเป็นรูกว้าง มองเห็นเนื้อทองคำจับตา เมื่อกะเทาะปูนออก พบว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำทั้งองค์ และยังพบกุญแจกลซ่อนอยู่บริเวณฐานทับเกษตร สามารถใช้ไขถอดองค์พระพุทธรูปได้ 9 ส่วนด้วยกัน

จึงได้ถอดองค์พระออกสี่ส่วน แล้วอัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานบนวิหาร แรกๆ เรียกว่าพระสุโขทัยไตรมิตร ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร"

หลวงพ่อทองคำ เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่แถวเยาวราชมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้ ยังเป็นเอกลักษณ์อันยิ่งใหญ่เคียงคู่ชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนอีกด้วย

หลวงพ่อทองคำ มีพุทธลักษณะงดงามยิ่งนัก สมดังที่ได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นรูปแบบของศิลปกรรมสุโขทัยยุครุ่งเรืองที่ได้รับการยอมรับว่ามีความวิจิตร อ่อนช้อยกว่าสกุลช่างยุคใด ขนาดและน้ำหนักทองคำขององค์หลวงพ่อ สะท้อนความสามารถอันฉลาดลุ่มลึกของฝีมือช่าง ทั้งด้านการออกแบบ ศิลปกรรม การปั้นหล่อ

เป็นหนึ่งในมรดกทางอารยธรรมล้ำค่ายิ่งของพระพุทธศาสนาคู่ผืนแผ่นดินไทย

ที่มา - ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 16 มี.ค. 2551, 01:42:11 »
พระเจ้าพลาละแข่ง วัดหัวเวียง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน"พระเจ้าพลาละแข่ง" หรือ "พระมหามุนี" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแม่ฮ่อง สอน ประดิษฐานอยู่ ณ วัดหัวเวียง ต.จองคำ อ. เมือง จ.แม่ฮ่องสอน

ด้วยเหตุที่วัดหัวเวียงหรือวัดกลางเวียงตั้งอยู่ใจกลางเมือง จึงมักใช้เป็นที่จัดงานวัฒนธรรมประเพณีของชาวไทยใหญ่ตลอดปี

ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว หรือเทศกาลต่างๆ เช่น เทศกาลออกพรรษา เทศกาลปีใหม่สากล และเทศกาลปี๋ใหม่เมือง วัดหัวเวียงจะได้จัดพิธีการสรงน้ำพระเจ้าพลาละแข่งเป็นประจำทุกปี พอถึงเทศกาลสำคัญ จะมีนักท่องเที่ยวชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธ ต่างเดินทางมานมัสการเป็นจำนวนมาก เนื่องจากพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่คู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอนมานับหลายร้อยปี

พระเจ้าพลาละแข่ง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยทรงเครื่อง ฝีมือช่างชาวเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า องค์พระหล่อจากทองเหลือง แต่พระพักตร์มีส่วนผสมของทองคำอยู่จำนวนหนึ่ง ทำให้พระพักตร์เงาแวววาวอยู่เสมอ ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง

พระเจ้าพลาละแข่งนี้จำลองจากพระมหามุนีในเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งชาวพม่านับถือกันมาก เนื่องจากเชื่อว่า พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทานลมหายใจให้แก่พระมหามุนี การหล่อพระเจ้าพลาละแข่ง ช่างได้หล่อเป็นท่อนๆ จำนวน 9 ท่อน

ส่วนประวัติความเป็นมาของ พระเจ้าพลาละแข่ง หรือ พระมหามุนี พระพุทธรูปองค์ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีตำนานเล่าว่า ในสมัยเมื่อ 90 ปีล่วงมาแล้ว ก่อนที่มีการจำลองพระพุทธรูปองค์นี้มาไว้บูชาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีประวัติเล่าว่า มีพ่อเฒ่าคนหนึ่งชื่อว่า "ลุงจองโพหย่า" เป็นพ่อค้าวัวในสมัยนั้นการคมนาคมลำบาก เวลาจะไปทำการค้าขายในต่างอำเภอในระหว่างเดินทางนั้นต้องรอนแรมไปในป่าตลอดทาง วันหนึ่งพ่อลุงจองโพหย่ากินหมากเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ไม่ได้เก็บเชี่ยนหมาก และไม่ได้ปิดฝาด้วยแล้วก็เข้านอนพักผ่อน

พอตื่นเช้าได้ทำธุระส่วนตัวเรียบร้อยก็หาเชี่ยนหมากเพื่อจะกินหมาก พอมองดูในเชี่ยนหมากก็พบว่า มีพระบรมธาตุ 1 องค์ ใหญ่ขนาดเมล็ดข้าวโพดอยู่ในเชี่ยนหมาก

พ่อลุงจองโพหย่า รู้ว่าเป็นพระบรมธาตุแน่นอน จึงได้บอกกล่าวแก่เพื่อนฝูงที่เป็นพ่อค้าด้วยกันทราบ แล้วก็บอกกับเพื่อนฝูงว่าเราจะเข้าไปในเมือง เพื่อจะเอาผอบทองมาใส่พระบรมธาตุนี้ เมื่อได้ผอบทองคำมา นำไปใส่พระบรมธาตุมาไว้ที่บ้านปางหมูก่อน แล้วกลับเข้าไปในเมืองแม่ฮ่องสอนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อบอกข่าวให้แก่ประชาชนทั้งหลายที่มีจิตศรัทธาในเมืองแม่ฮ่องสอนโดยทั่วถึงกัน

ในขณะที่คณะศรัทธาบ้านปางหมู ได้เตรียมฆ้องกลอง พร้อมเครื่องสักการะร่วมกับคณะศรัทธาชาวในเมืองแม่ฮ่องสอนได้จัดขบวนอัญเชิญพระบรมธาตุแห่แหนเข้าไปยังตัวเมือง เพื่อจะนำไปไว้ที่บ้านพ่อลุงจองโพหย่า วันรุ่งขึ้น ได้จัดให้มีการถวายอาหารบิณฑบาต พร้อมบอกกล่าวเพื่อนบ้านให้มาร่วมอนุโมทนาเป็นการใหญ่

เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วพ่อลุงจองโพหย่าได้กลับไปทำหน้าที่ของตนเอง ทำการค้าขายกับเพื่อนๆ เป็นเวลานานแรมเดือน เมื่อเก็บเงินเก็บทองได้พอประมาณ ได้กลับมายังบ้านของตนเอง เพื่อที่จะนำพระบรมธาตุ ไปประดิษฐานบรรจุไว้ในพระธาตุดอยกองมู

โดยพ่อลุงจองโพหย่า ได้ปรึกษาหารือกับเพื่อนบ้านและกลุ่มพ่อค้าด้วยกัน แต่ก็มีเสียงคัดค้านจากชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยที่จะนำเอาพระบรมธาตุไปบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ เนื่องจากเป็นองค์พระเจดีย์ที่เก่าแก่

ในที่ประชุมได้เสนอให้พ่อลุงจองโพหย่าและพ่อลุงจองหวุ่นนะ เดินทางไปยังเมืองมัณฑะเลย์ประเทศพม่า เพื่อติดต่อขอจำลองพระมหามุนี หรือเจ้าพลาละแข่ง โดยฝีมือช่างจากเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า เป็นผู้จำลองขึ้นเมื่อ จ.ศ.1279 ตรงกับปี พ.ศ.2416 รวมน้ำหนัก 999 กิโลกรัม

พ่อลุงจองโพหย่าและพ่อลุงจองหวุ่นนะ ได้ทำการบูชาเพื่อนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดหัวเวียง ตลอดจนถึงปัจจุบัน โดยได้อัญเชิญพระบรมธาตุขึ้นบรรจุไว้ในพระเศียรของเจ้าพลาละแข่ง

พระเจ้าพลาละแข่ง มีความศักดิ์สิทธิ์ได้แสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏไว้หลายประการ อาทิ อัญเชิญมาสู่วัดหัวเวียงจะมีฝูงผึ้งบินอยู่รอบโดยไม่ได้ทำอันตรายผู้ใด ครั้นถึงเวลาจัดงานสมโภชจะมีกระแสลมอยู่เฉพาะภายในวิหาร ส่วนภายนอกไม่ปรากฏ สมัยเมื่อครั้งยังไม่มีไฟฟ้า ในวันเพ็ญเดือน 11 หรือ 12 พระเจ้าพลาละแข่งจะเปล่งพระรัศมีทำให้วิหารสว่างไสวเสมอ

ชาวเมืองแม่ฮ่องสอน จึงถือว่าพระเจ้าพลาละแข่ง เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ใครที่เดินทางไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอน ควรไปสักการะบูชากราบไหว้ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและครอบครัว


ที่มา --ข่าวสด

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 16 มี.ค. 2551, 10:46:36 »
หลวงพ่อผาเงา วัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขงทางด้านทิศตะวันตก ตรงกันข้ามกับประเทศลาว อยู่ในหมู่บ้านสบคำ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน อยู่ทางทิศใต้ของตัวอำเภอเชียงแสนประมาณ 3 กม. หรืออยู่ห่างจากสามเหลี่ยมทองคำประมาณ 15 กม. มีพื้นที่ทั้งหมด 743 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาเล็กๆ ทอดยาวลงมาตั้งแต่บ้านจำปี ผ่านบ้านดอยจันและ มาสิ้นสุดที่บ้านสบคำ แต่ก่อนเขาเรียกดอยลูกนี้ว่า ?ดอยคำ? แต่มาภายหลังชาวบ้านเรียกว่า ?ดอยจัน??
ชื่อของวัดนี้มาจากชื่อของพระธาตุผาเงาที่ตั้งอยู่บนยอดหินก้อนใหญ่ คำว่าผาเงาก็คือ เงาของก้อนผา (ก้อนหิน) หินก้อนนี้มีลักษณะสูงใหญ่คล้ายรูปทรงเจดีย์และทำให้ร่มเงาได้ดีมาก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า ?พระธาตุผาเงา?? ความจริงก่อนที่จะย้ายวัดมาที่นี่ เดิมมีชื่อว่า ?วัดสบคำ?? ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขง ฝั่งน้ำได้พังทลายลง ทำให้บริเวณ ของวัดพัดพังลงใต้น้ำโขงเกือบหมดวัด คณะศรัทธาจึงได้ย้ายวัดไปอยู่ที่ใหม่บนเนินเขา ซึ่งไม่ไกลจากวัดเดิม
ประวัติ ในช่วงสมัยของอาณาจักรโยนก วัดร้างแห่งนี้กำลังอยู่ในช่วงที่เจริญรุ่งเรืองสุดขีด สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นวัด ที่สำคัญและ ประจำกรุงเก่าแห่งนี้ก็เป็นได้ จะเห็นได้ ว่าพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงาที่ขุดค้นพบแห่งนี้ถูกสร้างและฝังอยู่ใต้ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ (พระประธาน) จะปิดบังซ่อนเร้นกลัวถูกโจรกรรมจากพวกนิยมสะสม ของเก่า ตอนแรกได้สันนิษฐานว่าบริเวณเนินเขาเล็กๆ ลูกนี้ที่กำลังแผ้วถางอยู่นี้จะต้องเป็นวัดเก่าแน่ เพราะได้พบเห็นซากโบราณวัตถุ ุกลาดเกลื่อนไปทั่วบริเวณในเดือนกุมภาพันธ์ 2519 จึงได้ลงมือแผ้วถางป่า แต่เดิมที่แห่งนี้เคยเป็นถ้ำ เรียกว่า ถ้ำผาเงา ปากถ้ำถูกปิดไว้นาน ทำให้บริเวณแห่งนี้เป็นป่ารก เต็มไปด้วย ซากโบราณวัตถุกระจัดกระจายอยู่กลาดเกลื่อน การค้นพบพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงา? เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2519 เวลา 14.00 น. เมื่อคณะศรัทธาได้ปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ทุกคนต่างตื่นเต้นและปีติยินดีเมื่อ ได้พบว่าใต้ตอไม้นั้น (หน้าฐานพระประธาน) มีอิฐโบราณก่อเรียงไว้ เมื่อยกอิฐออกก็พบหน้ากาก จึงได้พบพระพุทธรูป มีลักษณะสวยงามมาก ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณวัตถุได้วิเคราะห์ว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีอายุระหว่าง 700-1,300 ปี คณะทั้งหมดจึงได้พร้อมกันตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า ?หลวงพ่อผาเงา?? และเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น ?วัดพระธาตุผาเงา? ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 23 มี.ค. 2551, 08:59:51 »
พระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา
 
"วัดศรีโคมคำ" ตั้งอยู่เลขที่ 692 ถ.พหล โยธิน ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา ริมกว๊านพะเยา

กว๊านพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นที่ 1 ในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นแหล่งน้ำที่มีธรรมชาติงดงาม อยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากบังข้างหลังสูงตระหง่านอย่างงดงามตา คำว่า "กว๊าน"ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง "บึง" มีเนื้อที่ 12,831 ไร่ มีความลึกเฉลี่ย 1.5 เมตร ลึกที่สุด 4 เมตร เป็นแหล่งประมงน้ำจืด และเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ กว่า 50 ชนิด เช่นปลากราย ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาจีน ปลานิลปลาไน ฯลฯ

ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด พะเยาสามารถเพาะพันธุ์ปลาบึกจากพ่อพันธุ์ในบ่อเลี้ยงเป็นผลสำเร็จ เป็นแห่งแรกของโลกในปี พ.ศ.2544 สามารถเพาะพันธุ์ลูกปลาบึกได้เป็นแสนตัว ส่วนหนึ่งได้ปล่อยลงสู่กว๊านพะเยา ทัศนียภาพโดยรอบ กว๊านพะเยาเหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ในยามเย็นชมพระอาทิตย์ตกริมกว๊าน เป็นภาพที่สวยงามมาก ซึ่งเป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็นและมาเยือนจนอาจกล่าวได้ว่าหัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่ กว๊านพะเยา

"วัดศรีโคมคำ"เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองพะเยา เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีและวัดพัฒนาตัวอย่าง ชาวเมืองพะเยาทั่วไปนิยมเรียกว่า "วัดพระเจ้าตนหลวง" ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน "พระเจ้าตนหลวง" สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2034-2067

พระเจ้าตนหลวง เป็นองค์พระประธานเก่าแก่ ศิลปะเชียงแสนที่ใหญ่ที่สุดในล้านนา ขนาดหน้าตักกว้าง 14 เมตร สูง 16 เมตร สร้างจากอิฐมอญผสมกับปูนขาว ชาวพะเยาถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง เดือนหกทุกปีจะมีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวง

ตามตำนาน พระเจ้าตนหลวงสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2034 โดยอยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ และพระยาเมืองตู้ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยาในสมัยนั้น

เจ้าอาวาสรูปแรกที่ปรากฏในตำนาน คือ พระธรรมปาล ได้เขียนตำนานพระเจ้าตนหลวงออกเผยแพร่

มีสมุดข่อยบันทึกว่า วัดศรีโคมคำ เป็นวัดมาแต่โบราณกาล แต่ยุคหลัง บ้านเมืองตกอยู่ในสงคราม ต้องอพยพโยกย้ายไปอยู่ตามหัวเมืองที่ปลอดภัยจากข้าศึก ทำให้บ้านเมือง วัดวาอารามรกร้างว่างเปล่าไป ต่อมาภายหลังได้สถาปนาเมืองพะเยาขึ้น บ้านเมืองก็ดี วัดวาอารามก็ดี ก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ตามลำดับ

พ.ศ.2465 พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทางฝ่ายบ้านเมืองคือ พระยาประเทศอุดรทิศ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา ร่วมกันไปอาราธนาท่านครูบาศรีวิชัยจากจังหวัดลำพูน มาเป็นประธานสร้างพระวิหารหลวงและเสนาสนะต่างๆ สำเร็จบริบูรณ์ กระทั่งวันที่ 17 เมษายน 2523 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง

นอกจากนี้ ยังมีพระอุโบสถกลางน้ำ เป็นศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ สร้างขึ้นโดยศรัทธาประชาชน มี "นิยม สิทธหาญ" มัณฑนากรจากมหาวิทยาลัยศิลปากร และ "จินดา สหสมร" สถาปนิกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกันออกแบบ

และมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดย "อังคาร กัลยาณพงศ์" และ "ภาพตะวัน สุวรรณกูฏ"

ชะตาพระเจ้าตนหลวงตามตำนาน กล่าวได้ว่า "พระโมลีใหญ่ 20 กำมือ สูง 3 ศอก พระเศียรกลม 6 วา พระเกศามี 1,500 เส้น ขนาดใหญ่ 4 กำมือ ขนาดกลาง 3 กำมือ ขนาดเล็ก 2 กำมือ ขนาดจิ๋ว 1 กำมือ พระพักตร์หน้ายาว 2 วา กว้าง 2 วา พระขนง (คิ้ว) 3 ศอก ระหว่างพระขนงกว้าง 1 ศอก ยาว 3 ศอก กว้าง 1 คืบ ดั้งพระนาสิก 3 ศอก 1 คืบ ใหญ่ 6 กำมือ

พระโอษฐ์ (ปาก) ยาว 4 ศอก กว้าง 1 คืบ ใหญ่ 6 กำมือ พระกรรณ (หู) ยาว 6 ศอก กว้างศอกคืบ พระศอ ยาว 2 ศอก กลม 3 วา พระอังสา(บ่า) ยาว 3 คืบ กระดูกด้ามมีดยาว 4 วา ตั้งแต่พระอุระ(อก)ถึงพระชานุ(คาง) 2 วา ตั้งแต่พระถัน(นม)ถึงพระอังสา(ไหล่) 2 วา ตั้งแต่พระนาภี(สะดือ)ถึงพระอุระ(อก) 2 วา ระหว่างพระอุระ(อก)กว้าง 2 วา

พระพาหา (แขน) ยาว 4 วา กลม 29 กำมือ นิ้วพระหัตถ์ใหญ่ 9 กำมือ ยาว 1 วา พระกฏิ(สะเอว)กลม 7 วา ฝ่าพระบาท ยาว 2 วา กว้าง 3 ศอก ระหว่างพระชานุกว้าง 7 วา พระหทัยใหญ่ 6 กำมือ ตั้งแต่ที่ประทับนั่งถึงพระโมลี สูง 8 วา 2 ศอก"

พระเจ้าตนหลวง หรือ พระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย

ในช่วงเดือนหก ประมาณพฤษภาคม ตรงกับวันวิสาขบูชา จะมีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวง หรือเทศกาล "แปดเป็ง" จะมีประชาชนในจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียงมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก

เนื่องจากการก่อสร้างพระเจ้าตนหลวง เมื่อครั้งสมัยที่ยุคทองทางพระพุทธศาสนาของล้านนา ประชาชนจึงเชื่อว่าพระเจ้าตนหลวง คือ ตัวแทนของพระพุทธเจ้า ใครที่ได้มากราบสักการะแล้ว จะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล อยู่ดีมีสุขตลอดไป

...........................................
ที่มาจากหนังสือพิมพ์ข่าวสด

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 29 มี.ค. 2551, 08:48:03 »
หลวงพ่อแสนทอง วัดมณีบรรพต อ.เมือง จ.ตาก




 
"หลวงพ่อแสนทอง" พระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเมืองตาก เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน สิงห์สาม ประดิษฐานที่อุโบสถวัดมณีบรรพตวรวิหาร หรือวัดเขาแก้ว ต.หนองหลวง อ.เมือง จ.ตาก

พระครูเมธีวรคุณ (พระมหาฉลวย กาญจโน) เจ้าอาวาสวัดมณีบรรพตวรวิหาร เล่าให้ฟังว่า เมื่อ 78 ปีก่อน สมัยที่พระครูรัตนวาสพิพัฒน์ (หลวงพ่อห้อน อินทสโร) ขณะเจริญกรรมฐานภายในวัด ได้มีนิมิตถึงองค์พระพุทธรูปตั้งอยู่ในวิหารร้างเมืองโบราณแห่งหนึ่งชื่อว่า "เมืองตื่น" อยู่ในป่าทางเหนือของเขื่อนภูมิพลในปัจจุบัน มีพญาเสือ 2 ตัว คอยปกป้องดูแลพระพุทธรูปดังกล่าวอยู่ไม่ไกล

จากนั้นพระพุทธรูปได้เปล่งแสงลอยข้ามฟ้าจากป่าเมืองร้างมาลอยวนเหนือตัวเมืองตาก และมาหยุดสถิตอยู่เหนือเขาแก้ว ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดมณีบรรพตวรวิหาร เป็นเช่นนิมิตหมายว่าจะเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองตากสืบไป

หลวงพ่อห้อน พระเกจิดังเมืองตาก จึงสืบหาเมืองร้างดังกล่าวว่ามีอยู่จริง รวบรวมสานุศิษย์ประมาณ 15 คน เดินทางด้วยเท้า เข้าป่าเหนือลำแม่น้ำปิงและต้องถ่อแพไปตามลำห้วยแม่ตื่น ลำน้ำสาขาของแม่น้ำปิง เข้าป่าลึก หานานกว่า 20 วัน จึงค้นพบเมืองตื่น เมืองโบราณที่ถูกทิ้งร้างมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีวิหารร้างสภาพปรักหักพัง

ภายในมีพระพุทธรูปทองสำริด ลักษณะดังเช่นที่หลวงพ่อนิมิตถึง

จากนั้นคณะจึงได้อัญเชิญ และล่องแพมาตามลำน้ำแม่ตื่น เกิดแพแตก ทำให้องค์พระพุทธรูปจมน้ำและต้องดำน้ำงมขึ้นมาใหม่ถึง 3 ครั้ง ใช้เวลาเดินทางล่องมาตามลำน้ำแม่ปิง ถึง 7 วัน 7 คืน ผ่านอุปสรรคนานานัปการ

กระทั่งมาถึงท่าโพธิ์ ชุมชนตัวเมืองตาก (ปัจจุบันท่าโพธิ์ได้ถูกถมสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เพื่อขยายตัวเมือง สภาพเป็นถนนร้านค้า ช่วงบริเวณหน้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาตาก) ซึ่งเป็นเวลารุ่งเช้า แสงอาทิตย์จับต้องที่องค์พระสะท้อนแสงสีทองงดงาม

คณะอัญเชิญและชาวเมืองตากที่รอรับ ได้พร้อมใจตั้งชื่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่อัญเชิญมาจากเมืองตื่น เมืองโบราณ ว่า "หลวงพ่อแสงทอง" ต่อมา เรียกเพี้ยนเป็น "หลวงพ่อแสนทอง"

พระครูเมธีวรคุณ เล่าอีกว่า ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อแสนทองนั้น สมัยก่อนมีขโมยลักลอบเข้ามาจะตัดเศียรพระ ด้วยระบบป้องกันการโจรกรรมยังไม่ดี และพระอุโบสถยังมิได้มีการล็อกกุญแจประตูแต่อย่างใด

พวกหัวขโมยได้เข้าไปภายในโบสถ์ เตรียมลักพระพุทธรูปหลวงพ่อแสนทอง แต่ปรากฏว่าเกิดปาฏิหาริย์ มองไม่เห็นหลวงพ่อแสนทอง ได้แต่พระพุทธรูปใหม่ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กัน เป็นเช่นนี้หลายครั้ง จนกลายเป็นเรื่องเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีการติดตั้งสัญญาณกันขโมยอย่างดี รวมทั้งมีพระเณรเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง

และเมื่อกว่า 20 ปี เกิดเหตุไฟไหม้บ่อยครั้งในเขตตัวเมืองตาก คนเฒ่าคนแก่ที่มาปฏิบัติธรรมได้นิมิตถึงหลวงพ่อแสนทอง ว่าจะต้องนำองค์ท่านแห่รอบเมืองเพื่อให้ชาวตากสรงน้ำ เพื่อสักการะและปัดเป่าเภทภัย ดังนั้น ทุกวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี จะมีการอัญเชิญหลวงพ่อแสนทองออกไปแห่รอบเมือง ให้ประชาชนสรงน้ำเพื่อเป็นสิริมงคลสืบมา

สำหรับวัดมณีบรรพตวรวิหาร เดิมเรียกว่า วัดเขาแก้ว ตามลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งวัดที่เป็นภูเขา และมีหินลักษณะแก้วสีขาว หรือหินเขี้ยวหนุมานเป็นจำนวนมาก

สันนิษฐานว่า วัดแห่งนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังมีความปรากฏตามพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ว่า ในปี พ.ศ.2317 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธรูปที่วัดดอยเขาแก้วและได้ตรัสกับภิกษุที่วัดว่า พระองค์ได้เคยกระทำสัตยาธิษฐานเสี่ยงพระบารมีที่วัดแห่งนี้

มีความเข้าใจตรงกันว่าวัดเขาแก้วคงเป็นวัดร้างในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนเมื่อปี พ.ศ.2395 หลวงพ่อเณร หรือชาวบ้านเรียกว่า ขรัวเณร หรือขรัวตาเณร เป็นผู้ริเริ่มปฏิสังขรณ์วัดและปกครองเป็นรูปแรก โดยมีฆราวาสที่สร้างวัดและบูรณะตั้งแต่ต้น คือ ท่านเผือก เศรษฐีเจ้าของตลาดในจังหวัดสุโขทัย ได้ทำการก่อสร้างพระอุโบสถและศาลาการเปรียญขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2435

วัดมณีบรรพตวรวิหารได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2436 และได้รับสถาปนาให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2505


.....................
ที่มา-ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 30 มี.ค. 2551, 08:18:25 »
หลวงพ่อทันใจ วัดพระบรมธาตุบ้านตาก


"ตะกุตะกะ จายาริโย เอวัง วันตา อะหัง วันทามิ สัพพะทา" บทสวดนมัสการ "หลวงพ่อทันใจ" วัดพระบรมธาตุบ้านตาก อ.บ้านตาก จ.ตาก ที่สาธุชนผู้เลื่อมใสศรัทธา มีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อทันใจ ว่าขอสิ่งใด ล้วนแต่ได้สมดังใจปรารถนาทุกประการ

"วัดพระบรมธาตุบ้านตาก" อยู่ที่ ต.เกาะตะเภา อ.บ้านตาก จ.ตาก ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง เดิมวัดแห่งนี้เป็นเมืองตากเก่า ก่อนที่จะมีการย้ายตัวเมืองไปอยู่ที่ ต.ระแหง ตัวเมืองตากในปัจจุบัน ห่างไปทางทิศใต้ประมาณ 30 กิโลเมตร อันมีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ล่องเรือเสด็จไปเมืองลำพูน หยุดพักบริเวณแห่งนี้ พบว่าเป็นเมืองร้าง จึงได้สั่งให้มีการฟื้นฟูบูรณะเมืองแห่งนี้ จนกลายเป็นชุมชนเมืองตาก

วัดพระบรมธาตุบ้านตาก ยังปรากฏในศิลาจารึของพ่อขุนรามคำแหง ที่ทรงกระทำยุทธหัตถี ชนะศึกเจ้าเมืองฉอด บนเนินเขาใกล้กับพระบรมธาตุ ประมาณ 500 เมตร

ตามตำนานพระเจ้าเลียบโลก ซึ่งเขียนเป็นภาษาเหนือ กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์ล่องมาตามลำน้ำปิง พระองค์ได้เสด็จมายังดอยมะหิยังกะ ในเขตตัวเมืองตาก ตรัสกับพระอานนท์ว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่สำราญ ร่มรื่น หากเราตถาคตปรินิพพานแล้วให้นำอัฐิและเกศากลับมายังดอยมะหิยังกะ

ภายหลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน พระอรหันต์ทั้ง 4 ได้นำพระบรมสาริกธาตุของพระองค์ พร้อมด้วยเกศาอีก 4 องค์ มาประดิษฐานยังดอยมะหิยังกะ แล้วก่อเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมแล้ว นำพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในพระเจดีย์ เพื่อเป็นที่สักการบูชาของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย

ต่อมา พระครูพิทักษ์พระบรมธาตุ (ทองอยู่) ได้ไปนมัสการพระธาตุชเวดากอง ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ท่านจึงได้จำมาก่อสร้างองค์พระเจดีย์เหมือนเจดีย์ชเวดากองล้อมคลุมองค์เก่าไว้ ปิดทองสวยงาม

พระครูพิทักษ์บรมธาตุ (พาน) เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุบ้านตาก กล่าวถึงประวัติของหลวงพ่อทันใจ วัดพระบรมธาตุบ้านตาก ว่า ตั้งแต่สมัยที่ท่านเป็นพระลูกวัด พระครูบาตา อดีตเจ้าอาวาสองค์ก่อน ได้ปรึกษากับศรัทธาญาติโยมว่า มีความประสงค์จะสร้างพระพุทธรูปขึ้นสัก 1 องค์ และศรัทธาญาติโยมได้พร้อมใจร่วมกันนุ่งขาว ห่มขาว เริ่มก่อพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ปางมารวิชัย หน้าตัก 32 นิ้ว และลงรักปิดทองคำเปลว ก่อนประกอบพิธีพุทธาภิเษก 1 วัน กับ 1 คืน เสร็จพอดี

โดยคณะศรัทธาได้ตั้งชื่อว่า "พระเจ้าทันใจ" เพราะทำเสร็จเร็วทันใจ ต่อมามีญาติโยมได้มาตั้งจิตอธิษฐาน ขออะไรก็ได้สมความปรารถนา ทุกสิ่งทุกประการ นับเวลาจนปัจจุบันประมาณ 200 กว่าปีมาแล้ว

ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2519 นายทิพย์ หิงคานนท์ อดีตข้าราชการครู หลังเกษียณอายุราชการ ได้ล้มป่วยลงอาการหนักมาโดยตลอด จึงได้มาสักการะพระบรมธาตุ และอธิษฐานต่อองค์หลวงพ่อทันใจ ขอให้หายป่วย มีสุขภาพดีแข็งแรง จะกลับมาทอดกฐินที่วัดแห่งนี้ 15 ปี

ปรากฏว่า เป็นจริงดั่งคำอธิษฐาน อาการเจ็บป่วยของนายทิพย์ทุเลาลงตามลำดับ และในปี พ.ศ.2520 จึงมาทอดกฐินพร้อมคณะญาติชาวจังหวัดชลบุรี ต่อเนื่องจนครบ 15 ปี และต่อมาอีกเรื่อยๆ จนกระทั่งนายทิพย์ได้ถึงแก่กรรมในวัย 89 ปี แต่ความศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อทันใจยังคงแพร่ขยายไปทั่วสารทิศ เช่น นักฟุตบอลทีมชาติไทย เคยยกทีมมาไหว้แก้บนเมื่อหลายปีก่อน, บรรดานักการเมืองระดับชาติ, นักธุรกิจใหญ่ ต่างเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อทันใจ เดินทางมาแก้บนตามที่ได้อธิษฐานไว้

หลวงพ่อทันใจ ไม่เพียงแต่ดลบันดาล ในเรื่องหน้าที่การงาน ธุรกิจ การค้าขาย สำเร็จไปด้วยดีเท่านั้น ยังรวมไปในเรื่องของความรัก คู่ครอง และขอ บุตร-ธิดา

โดยเครื่องบูชาหลวงพ่อทันใจ จะเป็นกล้วย ส้ม ผลไม้ตามฤดูกาล ส่วนของไหว้ประเภทเนื้อสัตว์ทุกชนิด ห้ามนำเข้ามาถวายและห้ามนำเข้าเขตพัทธสีมาอย่างเด็ดขาด ยกเว้น ไข่ต้มสุกอย่างเดียว

ส่วนการเสี่ยงทายความสำเร็จ มีช้างเสี่ยงทาย ใช้นิ้วก้อยยกสำหรับผู้ชาย และนิ้วนางสำหรับผู้หญิง ทำนายดวงชะตา หากสำเร็จครั้งแรกขอให้ยกขึ้นทันที และอธิษฐานยกใหม่อีกครั้ง ขอให้ยกไม่ขึ้น หากคำทำนายดีสำเร็จดังหมาย ซึ่งก็สมปรารถนาดังใจทุกประการ

ที่มา-ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 05 เม.ย. 2551, 08:19:49 »
หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง อ.เมือง จ.พิจิตร





"หลวงพ่อเพชร" เป็นพระพุทธรูปที่งดงามและศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งแห่งเมืองพิจิตร ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดท่าหลวง (พระอารามหลวง) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิจิตร ติดกับแม่น้ำน่าน

หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรก หล่อด้วยสำริด ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชรซ้าย ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอกเศษ สูง 3 ศอกเศษ

สันนิษฐานสร้างในระหว่างปี พ.ศ.1660-1880

มีคำกล่าวขานร่ำลือกันว่า เมื่อใครมีเรื่องเดือดร้อน เช่น ของหาย หรือมีความทุกข์ยาก บนบานศาลกล่าวขออำนาจหลวงพ่อเพชรให้ช่วยปกป้องรักษา หรือปัดเป่าความทุกข์ยากให้หมดไป เดชะบารมีขององค์หลวงพ่อเพชร จะดลบันดาลให้ผู้นั้นพ้นทุกข์

สำหรับประวัติการสร้างหลวงพ่อเพชร ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอน เพียงแต่มีตำนานเล่าขานกันสืบมาว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เกิดขบถจอมทองเมืองเชียงใหม่ กองทัพกรุงศรีอยุธยาจึงได้ยกไปปราบ เมื่อเดินทัพมาถึงเมืองพิจิตร แม่ทัพได้สั่งให้หยุดพักรี้พลที่เมืองพิจิตร

เมื่อกองทัพกรุงศรีอยุธยาหายเหนื่อยแล้ว จึงออกเดินทางจากเมืองพิจิตร แต่ก่อนที่จากกัน เจ้าเมืองพิจิตรได้ไปปรารภกับแม่ทัพว่า ถ้าปราบขบถเสร็จเรียบร้อยดีแล้วขอให้หาพระพุทธรูปงามๆ มาฝากสักองค์หนึ่ง ฝ่ายแม่ทัพเห็นว่าเรื่องนี้ไม่ยุ่งยากนัก จึงรับปากจัดหามาให้

ครั้นเมื่อปราบขบถจอมทองจนราบคาบ แม่ทัพได้อัญเชิญหลวงพ่อเพชรจากจอมทอง โดยประดิษฐานบนแพลูกบวบล่องมาตามลำน้ำแม่ปิง ประดิษฐานไว้ ที่วัดนครชุม (เมืองพิจิตรเก่า) ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.พิจิตร

จนกระทั่งถึงปีพุทธศักราช 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพระราชประสงค์จะหาพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม เพื่อนำไปไว้ที่วัดเบญจมบพิตร จังหวัดพระนคร

เจ้าพระศรีสุริยศักดิ์ สมุหเทศาภิบาล มณฑลพิษณุโลก ได้สั่งให้พระยาเทพาธิบดี (อิ่ม) เจ้าเมืองพิจิตร แสวงหาพระพุทธรูปที่สวยงามตามพระราชประสงค์ เมื่อได้รับคำสั่ง พระยาเทพาธิบดีจึงออกตรวจดูพระพุทธรูปทั่วไปในเมืองพิจิตร พบว่าองค์หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามตามพระราชประสงค์

พระยาเทพาธิบดี ได้กราบเรียนต่อสมุหเทศาภิบาล ว่า การนำหลวงพ่อเพชรมาครั้งนี้ ทำให้ชาวเมืองพิจิตรมีความโศกเศร้าเป็นอันมาก เพราะเสียดายในองค์หลวงพ่อเพชรในฐานะที่เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่เดิม

เมื่อได้ทราบดังนั้น สมุหเทศาภิบาล จึงได้สั่งให้เจ้าเมืองพิจิตรนำกลับไปไว้ตามเดิม

อย่างไรก็ตาม การอัญเชิญหลวงพ่อเพชรกลับมายังเมืองพิจิตรคราวนี้ ไม่ได้นำไปไว้ที่วัดนครชุมเหมือนเดิม แต่นำมาประดิษฐานที่วัดท่าหลวง จนเกิดข้อพิพาท ด้วยราษฎรทางเมืองใหม่เห็นว่า เมืองพิจิตรได้ย้ายมาตั้งใหม่แล้ว หลวงพ่อเพชรควรจะอยู่เป็นมิ่งขวัญของชาวเมืองใหม่ จึงไม่ยินยอมให้ชาวเมืองเก่านำกลับไปวัดนครชุม

เหตุการณ์ลุกลามบานปลาย เกิดการยื้อแย่งและถึงขั้นการเตรียมอาวุธเข้าประหัตประหารกัน

เดือดร้อนถึงพระธรรมทัสสีมุนีวงศ์ (เอี่ยม) เจ้าคณะจังหวัดพิจิตรในขณะนั้น ได้ชี้แจงว่าจะหล่อหลวงพ่อเพชรจำลองเท่ากับขนาดองค์จริง เพื่อนำกลับไปให้ชาวเมืองเก่าแทนองค์หลวงพ่อเพชรองค์จริง ส่วนหลวงพ่อเพชรองค์จริงนั้น ขอให้ประดิษฐานไว้ที่วัดท่าหลวง ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาส และถ้าชาวเมืองเก่าจะมานมัสการก็ไม่ไกลเกินไปนัก

องค์หลวงพ่อเพชรจึงประดิษฐานอยู่ที่วัดท่าหลวงตราบเท่าทุกวันนี้

อีกเหตุการณ์หนึ่งที่องค์หลวงพ่อเพชรได้ประดิษฐานที่วัดท่าหลวง เล่าสืบต่อกันมาว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะอัญเชิญพระพุทธชินราชจากวัดศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมพิตร

พระองค์มีพระราชกระแสรับสั่งให้สืบหาพระพุทธรูปที่มีลักษณะที่งดงาม นำไปแทนพระพุทธชินราชได้ จึงมีคำสั่งให้เจ้าเมืองพิจิตรนำองค์หลวงพ่อเพชรไปยังเมืองพิษณุโลก

ข่าวการนำองค์หลวงพ่อเพชร ล่วงรู้ไปถึงประชาชน ต่างพากันหวงแหนองค์หลวงพ่อเพชรเป็นอันมาก จึงได้คบคิดกับนายอาง ซึ่งเป็นชาวญวนจัดการทะลวงหุ่นดินภายในองค์หลวงพ่อเพชรออก เพื่อให้น้ำหนักเบาสะดวกในการขนย้ายองค์หลวงพ่อเพชรไปซ่อนไว้ในป่า

แต่ข่าวการนำองค์หลวงพ่อเพชรไปซ่อน หาได้พ้นการติดตามของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ผลที่สุด ได้ใช้อำนาจบังคับให้นำองค์หลวงพ่อเพชรจากเมืองเก่า และได้นำมาพักไว้ชั่วคราวที่วัดท่าหลวง เพื่อรอการนำไปยังเมืองพิษณุโลก

ชาวเมืองพิษณุโลกก็เช่นเดียวกันกับชาวเมืองพิจิตร เมื่อทางราชการจะนำพระพุทธชินราชไปจากพวกเขา ต่างพากันร้องไห้ดังระงมไปทั่วเมือง เป็นที่น่าเวทนายิ่งนัก

เจ้าคุณสมุหเทศาภิบาล จึงได้นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเห็นใจชาวเมืองพิษณุโลก จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ระงับการนำพระพุทธชินราชไปกรุงเทพฯ โดยจะหล่อพระพุทธชินราชจำลองประดิษฐานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรแทน

เมื่อพระพุทธชินราชไม่ได้เคลื่อนย้ายไปกรุงเทพฯ องค์หลวงพ่อเพชรจึงตั้งประดิษฐานอยู่ที่วัดท่าหลวง กระทั่งปัจจุบันนี้


ที่มา-ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: 06 เม.ย. 2551, 09:08:33 »
พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ วัดสังกัสรัตนคีรี จ.อุทัยธานี






วัดสังกัสรัตนคีรี เป็นวัดที่เก่าแกของจังหวัดอุทัยธานี ภายในวิหารประดิษฐาน พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวอุทัยธานี

พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ วัดสังกัสรัตนคีรี อ.เมือง จ.อุทัยธานี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัสดุสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก หรือ 150 เซนติเมตร ศิลปะสมัยสุโขทัย

ยุคเดียวกับพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุ โลก สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ระหว่าง พ.ศ.1821-1860 ฝีมือช่างสุโขทัยยุค 2 มีส่วนเศียรกับส่วนองค์พระเป็นคนละองค์ เข้าใจว่าคงซ่อมเป็นองค์เดียวกันก่อนนำมาไว้ที่เมืองอุทัยธานี

ปัจจุบันมีอายุประมาณ 600-700 ปี ได้อัญเชิญจากสุโขทัยมาทางแม่น้ำสะแกกรังมาประดิษฐาน ณ วัดขวิด อ.เมือง จ.อุทัยธานี ถึง 3 องค์ คือ พระพุทธมงคล ประดิษฐาน ณ วัดขวิด พระโพธิ์มงคล และพระที่วัดหนองแกมาจากสุโขทัย สมัยรัชกาลที่ 1 ได้นำขึ้นที่ท่าใกล้ศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี พระพุทธมงคลฯ ได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดขวิด บ้านสะแกกรัง อุทัยธานี ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำสะแกกรังฝั่งตะวันตก ราวพุทธศักราช 2342-2345

ครั้นพุทธศักราช 2471 เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เจ้าคณะมณฑลนคร สวรรค์ ท่านเป็นชาวจังหวัดอุทัยธานี ได้เดินทางมาตรวจวัดวาอารามที่จังหวัดอุทัยธานี ได้พบเห็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยที่งดงามมาก จึงมีความเลื่อมใสและศรัทธาเป็นอย่างมาก เมื่อได้กราบนมัสการสักการะแล้ว จึงโปรดให้พระมหาพุฒ หรือพระราชอุทัยกวี เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) ดูแลรักษาพระพุทธรูปองค์นี้ไว้ให้ดี

ครั้นถึงวันพุธขึ้น 3 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด พุทธศักราช 2471 หลวงพ่อป๊อก (พระครูอุเทศธรรมวิจัย) พระอาจารย์ผู้เรืองเวทย์แห่งวัดโบสถ์ พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้าและประชาชนในจังหวัด ร่วมกันประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญหลวงพ่อพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์มาประดิษฐานที่วัดสังกัสรัตนคีรี

มีพิธีเฉลิมฉลองสมโภชอย่างยิ่งใหญ่ พร้อมกับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายในพระเศียรของหลวงพ่อด้วย วันขึ้น 3-8 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี ประชาชนชาวอุทัยธานีจะร่วมกันจัดงานไหว้พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้จัดมาเป็นประจำทุกปีจนกลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้ ประชาชนหรือนักท่องเที่ยวที่ผ่านไปมาจะเข้าไปกราบไหว้ ขอพรและโชคลาภ จากหลวงพ่อพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ ณ วัดสังกัสรัตนคีรี ไม่ขาดสายตลอดทั้งวัน

สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปที่วัดสังกัสรัตนคีรี ขอให้สังเกตว่า วัดตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาสะแกกรัง สุดถนนท่าช้าง ในเขตเทศบาลเมือง อยู่ตรงข้ามศาลาประชาคมจังหวัดอุทัยธานี ต้องจอดรถยนต์แถวตลาดแล้วเดินเท้าข้ามสะพานไปอีกฝั่งของแม่น้ำสะแกกรัง



ที่มา-ข่าวสด

ออฟไลน์ •••--สายัณ--•••

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1322
  • อัครมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ ทุกภพชาติ
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: 07 เม.ย. 2551, 02:10:35 »
พระศรีศากยทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์

ไหว้พระนิดเดียว ขออธิฐานเอาอะไรต่อมิอะไรตั้งเยอะ ทำบุญ 20 บาท ขอถูกล็อตเตอรี่ รางวัลที่ 1 :063: :063: :063:

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 เม.ย. 2551, 02:12:12 โดย ???-สายัณ-??? »

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: 07 เม.ย. 2551, 07:18:04 »
พระศรีศากยทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์

ไหว้พระนิดเดียว ขออธิฐานเอาอะไรต่อมิอะไรตั้งเยอะ ทำบุญ 20 บาท ขอถูกล็อตเตอรี่ รางวัลที่ 1 :063: :063: :063:
;D ;D ;D ถูกมั๊ยหล่ะครับท่าน ;D ;D ;D

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: 12 เม.ย. 2551, 08:53:52 »
พระนอนตะแคงซ้าย วัดป่าประดู่ อ.เมือง จ.ระยอง






จังหวัดระยอง ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 100 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 3,552 ตารางกิโลเมตร

จังหวัดระยอง เริ่มปรากฏชื่อในพงศาวดารเมื่อปีพุทธศักราช 2113 ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าเมืองนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 1500 ยุคที่ขอมมีอานุภาพเฟื่องฟูแถบดินแดนสุวรรณภูมิ ปรากฏจากหลักฐาน คือ ซากศิลาแลง คูค่ายที่ยังหลงเหลืออยู่ในเขตอำเภอบ้านค่าย อันเป็นศิลปะการก่อสร้างแบบขอม

ประวัติศาสตร์กล่าวถึงเมืองระยอง ระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียทีแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 ในรัชสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์ ปีพุทธศักราช 2309 พระยาวชิรปราการ หรือพระยาตาก พร้อมไพร่พลประมาณ 500 คน ได้ตีฝ่าวงล้อมทัพพม่า มาหยุดพักไพร่พลที่เมืองระยอง

ก่อนเดินทัพต่อไปยังเมืองจันทบุรี เพื่อยึดเป็นที่มั่นในการกอบกู้อิสรภาพคืนจากพม่าในปีพุทธศักราช 2311

จังหวัดระยอง เป็นแหล่งอาหารทะเลและผลไม้นานาชนิด เป็นเมืองอุตสาหกรรม และเป็นที่ตั้งของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเป็นเมืองท่องเที่ยวชายทะเลที่สำคัญ

ระยองได้รับการขนานนามให้เป็นเมือง "สุนทรภู่" เมืองแห่งกวีเอก กรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ประพันธ์วรรณกรรม ประเภทร้อยกรอง ได้อย่างไพเราะสละสลวย และเต็มไปด้วยจินตนาการ โดยเฉพาะนิทานกลอนสุภาพ เรื่องพระอภัยมณี ซึ่งฉากหนึ่งในนิทาน เรื่องนี้คือ หมู่เกาะน้อยใหญ่และท้องทะเล ที่สวยงาม ในจังหวัดระยอง

นอกจากธรรมชาติอันงดงามแล้ว ในขณะเดียวกัน ระยองยังมีสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่หลายแห่ง และถ้าเป็นรูปแบบพระพุทธรูปแล้วก็ต้อง "พระพุทธไสยาสน์" วัดป่าประดู่ จ.ระยอง เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ ประดิษ ฐานในพระอุโบสถวัดป่าประดู่ ในเขตเทศบาลเมือง ถนนสุขุมวิท อ.เมือง จ.ระยอง

วัดป่าประดู่ เป็นพระอารามหลวง ประวัติความเป็นมาก่อนสร้างวัดประมาณ พ.ศ.2372 เคยเป็นวัดร้างมาก่อน มีซากวัดที่เหลือแต่ซากโบสถ์ ซากพระพุทธรูปปางไสยาสน์ และซากองค์พระประธานซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ จึงเคยมีชื่อว่า วัดป่าเลไลยก์

ต่อมา เปลี่ยนชื่อตามท้องที่เป็นวัดป่าประดู่ เพราะมีต้นประดู่ใหญ่อยู่ภายในวัดเป็นจำนวนมาก และเพื่อมิให้ชื่อวัดพ้องกับวัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรีด้วย

ปัจจุบัน พระพุทธรูปทั้งสององค์ได้รับการบูรณะไว้ จึงถือเป็นพระเก่าแก่คู่บ้านเมืองของระยองแห่งหนึ่ง วัดได้รับการพัฒนามาโดยตลอด ปัจจุบัน กำลังก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่สวยงาม

วัดป่าประดู่ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองและเป็นพระอารามหลวง เป็นวัดที่มีความสำคัญต่อชุมชนในการปฏิบัติศาสนกิจและพิธีการทางศาสนาของประชาชนในเมืองระยอง

ที่วัดป่าประดู่ มีพระพุทธรูปนอนตะแคงซ้ายที่เก่าแก่ เป็นพระพุทธไสยาสน์ที่แปลกที่สุดในประเทศไทย โดยปกติแล้ว เมื่อมีการสร้างพระปางสีหไสยาสน์ มักจะสร้างท่านอนตะแคงขวา แต่พระพุทธไสยาสน์ที่วัดป่าประดู่ สร้างในท่านอนตะแคงซ้าย ยาว 12 เมตร สูง 3.60 เมตร ขนาดใหญ่

ในปี พ.ศ.2478 พระครูสมุทรสมานคุณ (แอ่ว) อดีตเจ้าอาวาส ได้บูรณะส่วนที่ชำรุดแล้วปิดทองเสียใหม่

มีผู้สันนิษฐานว่าการสร้างตามพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้ากระทำยมกปาฏิหาริย์ ให้พวกเดียรถีย์ชม โดยมีพระพุทธนิมิตแสดงอาการอย่างเดียวกับพระพุทธเจ้าเป็นคู่ๆ เมื่อถึงอิริยาบถไสยาสน์จึงผินพระพักตร์เข้าหากัน เป็นการนอนตะแคงซ้ายและขวาในลักษณะเดียวกัน ผู้สร้างคงเจตนาสร้างให้มีนัยของพุทธปาฏิหาริย์ดังกล่าว จึงสร้างเป็นพระนอนตะแคงซ้าย...

องค์พระพุทธไสยาสน์ มีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ มีการหนุนพระเศียรด้วยหัตถ์ซ้าย สังเกตจากพระเกศ ไรพระศก จีวรแล้ว น่าจะอยู่ในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ดูแลรักษาอย่างดี

วัดป่าประดู่ ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 อยู่คู่บ้านคู่เมืองระยอง และมีงานสมโภชใหญ่ในช่วงเทศกาลตรุษจีน เป็นประจำทุกปี

ทุกวันจะมีประชาชนผู้ศรัทธา เดินทางเข้าไปกราบไหว้ขอพร เพื่อให้สมหวังในเรื่องต่างๆ ตามความเชื่อของแต่ละบุคคล อย่างไม่ขาดสาย

การเดินทางไปสักการะพระนอนตะแคงซ้าย (พระพุทธไสยาสน์) วัดป่าประดู่ สามารถใช้เส้นทาง ถ.สุขุมวิท เข้าตัวเมืองระยอง ใกล้กับโรงพยาบาลระยอง โรงเรียนวัดป่าประดู่ ถือเป็นการเดินทางที่สะดวกสบายที่สุด



ที่มา-ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: 13 เม.ย. 2551, 07:20:48 »
หลวงพ่อใหญ่ วัดโยธานิมิต ต.บางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี




จันทบุรี เป็นเมืองชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยในแต่ละยุคสมัย ทั้งสมัยก่อนกรุงธนบุรีและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏหลักฐานสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ให้เห็นอยู่จวบจนทุกวันนี้

หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ ได้นำกำลังพลประมาณ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกทางทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยาและยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นเวลา 5 เดือน เพื่อเป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและรี้พลจากนั้นจึงนำกำลังพลทั้ง ไทย-จีน จำนวน 5,000 คน กลับไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.2310

เหตุการณ์ดังกล่าวนับเป็นความภาคภูมิใจของชาวจันทบุรี สามารถเห็นได้จากที่มีโบราณสถานและอนุสรณ์สถานหลายแห่งที่มีความเกี่ยวข้อง หรือจัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ในครั้งนั้น

จังหวัดจันทบุรี เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ ดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยต่อการปลูกผลไม้หลายชนิด โดยเฉพาะ ทุเรียน เงาะ มังคุด และพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ เป็นศูนย์กลางธุรกิจ ด้านอัญมณี และมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมายไม่ว่าจะเป็นภูเขา ป่าไม้ น้ำตก ชายทะเล และโบราณสถาน โบราณวัตถุต่างๆ

นอกจากนี้ จังหวัดจันทบุรี ยังมีสถานที่สำคัญที่เป็นศูนย์รวมใจแห่งศรัทธาของชาวเมือง คือ วัดโยธานิมิต

"วัดโยธานิมิต" ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ตำบลบางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระอุโบสถเป็นแบบหลังคาชั้นเดียว ไม่มีช่อฟ้าไม่มีใบระกา เป็นลักษณะเฉพาะของอุโบสถที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งได้รับอิทธิพลการก่อสร้างมาจากศิลปะแบบจีน

ภายในพระอุโบสถไม่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สภาพปัจจุบัน วัดโยธานิมิต อยู่ในค่ายเนินวง และอยู่ห่างจากแนวกำแพงประมาณ 100 เมตร เนื้อที่วัดประมาณ 1 ไร่ โดยมีซากแนวกำแพงรอบวัดก่อด้วยศิลาแลง สภาพปัจจุบันเหลือแต่แนวกำแพงเป็นบางส่วน

จากแนวกำแพงรอบวัด หลังโบสถ์มีเจดีย์สูงประมาณ 20 เมตร มีกำแพงรอบอุโบสถก่ออิฐถือเป็นปูนสองชั้น ชั้นนอก กว้าง 27 เมตร ยาว 55 เมตร สูง 1.20 เมตร ชั้นในกว้าง 18 เมตร ยาว 28 เมตร สูง 1 เมตร

กำแพงเมืองวัดโยธานิมิต ก่อด้วยศิลาแลงโดยรอบ ภายในกำแพงวัดมีโบสถ์หลังหนึ่งขนาดกว้าง 5 ห้อง มีเฉลียงรอบพระประธานในโบสถ์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นซึ่งสร้างพร้อมกันกับโบสถ์ หลังโบสถ์ออกไปมีเจดีย์กลมแบบกังกาอยู่องค์หนึ่งสูงประมาณ 20 เมตร พร้อมกับศาลาการเปรียญ อยู่หลังหนึ่ง และกุฏิสงฆ์

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) ระบุว่า "...ในพุทธศักราช 2377 เมื่อเดือน 1 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่กองสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่เนินวง ด้วยบ้านราษฎรอยู่ลึกเข้าไปข้างหลักเมือง เป็นที่ป้องกันครอบครัวพลเมืองได้ แล้วจึงสร้างวัดขึ้นสำหรับเมืองวัด 1 ชื่อวัดโยธานิมิต..."

เหตุที่สร้างวัด เนื่องจากในครั้งนั้น เมื่อญวณขอเดินทางผ่านประเทศไทย เพื่อจะไปตีเมืองเขมร รัฐบาลไทยส่งหลวงประดิษฐ์ บุญนาค นำทัพมาปักหลักที่เมืองจันทบุรี ตรงบริเวณค่ายเนินวงค์ เพื่อขัตตาทัพ

แต่ทหารไทยไม่ได้รบกับต่างชาติ หลวงประดิษฐ บุญนาค จึงนำทหารสร้างวัดโยธานิมิต โดยสร้างโบสถ์ด้วยชันอ้อยผสมดินศิลาแลง ต่อด้วยฝาผนังเป็นไม้ หลังคามุงกระเบื้องดินเผา มีเสมาทรงเหลี่ยมตั้งทับหลุมลูกนิมิต

ต่อมาในปีพุทธศักราช 2521 คณะกรรมการวัดโยธานิมิตได้ก่อสร้างอุโบสถ์หลังใหม่แทนอุโบสถหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม ด้วยการสร้างทับตามรอยเขตขอบเสมาเดิม

ปัจจุบัน วัดโยธานิมิต มี พระครูพินิจธรรมประภาส (พระอาจารย์ ต้อม) เป็นเจ้าอาวาส วัดโยธานิมิต เป็นหนึ่งใน 9 วัดของจังหวัดจันทบุรี ที่กำหนดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ต้อนรับนักท่องเที่ยวมาจากต่างจังหวัด ที่มาเยือน ทางเข้าวัด อยู่ริมถนนท่าแฉลบ ห่างจากเขตเทศบาลเมืองจันทบุรีประมาณ 4 กิโลเมตร ตั้งอยู่ใกล้พิพิทธภัณฑ์แห่งชาติพาณิชยนาวี

พระมงคลเทพนิมิต หรือหลวงพ่อใหญ่ ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดโยธานิมิต ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองของค่ายเนินวงค์ (ค่ายทหารเมืองเก่า) ต.บางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ปางสมาธิ ขนาดหน้าตัก 4 เมตร หล่อด้วยดินศิลาแลงผสมงบน้ำอ้อย

ประชาชนนิยมเข้าสักการะหลวงพ่อใหญ่ เนื่องจากเชื่อว่ามีเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด จึงมีชาวบ้านและบุคคลทั่วไป เดินทางมากราบไหว้จำนวนมากในแต่ละวัน

เมื่อปี 2542 เกิดเหตุประหลาดไฟฟ้าลัดวงจรเพลิงลุกไหม้หลวงพ่อใหญ่ เผาไหม้ที่ผ้าอังสะ ที่สวมใส่ในองค์หลวงพ่อใหญ่ ชาวบ้านช่วยกันดับไฟ พอเพลิงสงบ พบว่าอังสะที่สวมใส่องค์หลวงพ่อใหญ่ไม่มีร่องรอยไฟไหม้เลย

มีลูกศิษย์ได้นำอังสะติดตัวไปหลายคน และประสบความโชคดี ค้าขายดี บ้างก็มีโชค ตามที่ตั้งจิตอธิษฐานไป และแคล้วคลาดภัยอุบัติเหตุ

หากมีโอกาสไปเยือนเมืองจันทบุรี ขอเชิญไปกราบไหว้ พระมงคลเทพนิมิต หรือหลวงพ่อใหญ่ เพื่อความเป็นสิริมงคลอันดีเทอญ



ที่มา - ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: 19 เม.ย. 2551, 10:20:50 »
พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก





"พระพุทธชินราช" ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารใหญ่ ด้านทิศตะวันตกของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นด้านหน้าวัด ผินพระพักตร์ไปทางแม่น้ำ เป็นพระพุทธรูปที่มีส่วนสัดสมตามแบบประติมากรรม มีลักษณะงดงามมากองค์หนึ่งในประเทศไทย

ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ตรัสยกย่องสรรเสริญพระพุทธชินราช ว่า "งามหาพระพุทธรูปองค์ใดเปรียบมิได้ เป็นพระพุทธปฏิมากรดีล้ำเลิศ ประกอบไปด้วยพุทธลักษณะอันประเสริฐ มีสิริอันเทพยดาหากอภิบาลรักษา ย่อมเป็นที่สักการบูชานับถือแต่โบราณ"

พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว มีส่วนสูงตั้งแต่หน้าตักถึงพระเกศ 7 ศอก พระพักตร์ทรงรูปไข่ หรือเรียกว่า รูปหน้านาง ที่แสกพระพักตร์มีเครื่องหมายศูลประดับด้วยเพชร แสดงให้เห็นเป็นอุณาโลม

การสร้างใช้วิธีหล่อเป็นท่อนๆ ด้วยทองสัมฤทธิ์ตลอดทั้งองค์ นิ้วพระพักตร์และพระบาทเสมอกัน แต่แรกสร้างนั้นยังไม่ได้ปิดทอง คงขัดเกลี้ยงแบบทองสัมฤทธิ์เท่านั้น

ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างพระพุทธชินราชในปีใด แต่มีการสันนิษฐานโดยอ้างอิงตามพงศาวดาร คาดว่าน่าจะสร้างพร้อมกับ พระพุทธชินสีห์ และ พระศรีศาสดา ในรัชสมัย พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)

จากนั้นจึงมีการลงรักปิดทององค์พระเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2174 สมเด็จพระเอกาทศรถ โปรดให้นำทองเครื่องราชูปโภคไปแผ่เป็นทองแผ่นแล้วนำมาปิดพระพุทธชินราชด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เองจนแล้วเสร็จ

ต่อมา ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ ได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์และลงรักปิดทององค์พระพุทธชินราชอีกครั้ง พระพุทธชินราช จึงงดงามยิ่งดังที่เห็นในปัจจุบัน

พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปที่มีเรือนแก้ว หรือที่เรียกว่า พระรัศมี แกะสลักด้วยไม้สักลงรักปิดทอง มีลวดลายเป็นรูปนาค วงขนานไปตามทรงขององค์พระ ขึ้นไปบรรจบกันที่เหนือพระเกศ มีลักษณะเป็นลายรักร้อยและลายทองสร้อยสลับกัน มีสายสังวาล ทำด้วยทองเนื้อนพเก้า หรือทองสีดอกบวบ คือ ตรานพรัตน์ราชวราภรณ์ ประดับด้วยบุศย์น้ำเพชร ซึ่งรัชกาลที่ 7 ทรงสร้างถวายเป็นพุทธบูชา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้ถวายตรานพรัตน์แด่พระพุทธชินราช เมื่อคราวเสด็จภาคเหนือ ในปี พ.ศ.2501 ซึ่งยังไม่เคยมีพระพุทธรูปองค์ใดได้รับเครื่องราชสักการะสูงส่งถึงเพียงนี้ และมีรูปยักษ์ทั้งซ้ายขวา คือ ท้าวเวสสุวรรณ และ ท้าวอาฬวกยักษ์ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์

พระพุทธรูปนี้ แสดงออกซึ่งความสงบเย็น ความมีสติปัญญา ความเมตตาอันหาที่เปรียบไม่ได้ ถือเป็นความอัศจรรย์ที่คนไทยเมื่อประมาณพันปีล่วงมาแล้ว มีความสามารถอย่างสูงส่ง ที่สามารถนำเอาพุทธจริยาทั้งสามประการ คือ พระมหากรุณาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระปัญญาคุณ ซึ่งเป็นนามธรรมมาถ่ายทอดเป็นรูปลักษณะของมนุษย์ที่ปั้น หล่อ ให้มองเห็นในความรู้สึกส่วนลึกของผู้ที่ได้ประสบพบเห็นได้เช่นที่ปรากฏในพุทธลักษณะของพุทธชินราชนี้

พระพุทธชินราช นอกจากเป็นพระปฏิมากร ที่มีลักษณะงดงามอย่างยอดเยี่ยมแล้ว ยังเป็นพระพุทธรูปที่ทรงมีพระปาฏิหาริย์เป็นอัศจรรย์อีกมากมายหลายอย่าง ซึ่งหลายๆ คนได้เคยเล่าสืบต่อกันมา ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ก็มี เช่นเมื่อคราวเมืองพิษณุโลกถูกเผาในรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี ตอนอื่นๆ ไฟไหม้หมด แต่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งเป็นที่สถิตของพระพุทธชินราช หาได้ไหม้ไฟไม่

ปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่นิยมกราบไหว้ขอพรให้ประสบแต่สิ่งที่ดีงามในชีวิต ประสบความสำเร็จในทุกกิจการงาน รวมถึงการสักการะวัตถุมงคลที่มีพระพุทธชินราชเป็นองค์ประกอบหลัก

สำหรับคาถากราบไหว้มีอยู่ว่า "นะ ชาลีติ ปะสิทธิลาภา ปะสันนะจิตตา สะทา โหติ ปิยัง มะมะ สัพเพ ชะนา พะหู ชะนา สัพเพ ทิสา สะมาคะตา กาละโภชะนา วิกาละโภชะนา อาคัจฉันติ ปิยัง มะมะ"

เนื่องจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดหลวง แต่เดิมวัดนี้มีงานฉลองกันตามโอกาส หลังจากในการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมา หรือเมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จมานมัสการพระพุทธชินราช จึงจะโปรดให้มีการฉลองสมโภช 3 วันบ้าง 5 วันบ้าง 7 วันบ้างแล้วแต่ความเหมาะสม

ปัจจุบันนี้ ทางวัดได้จัดงานประจำปีขึ้นมาตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2477 กำหนดเอาวันพระกลางเดือน 3 เป็นต้นไป มีการฉลองใหญ่ถึง 7 วัน 7 คืน กลายเป็นงานประจำปีของทางวัด จัดขึ้นในราวเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้นมัสการกราบไหว้พระพุทธชินราช หรือหลวงพ่อใหญ่ได้อย่างทั่วถึง



ที่มา-ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: 20 เม.ย. 2551, 10:09:16 »
หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย






"หลวงพ่อพระใส" เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก มีพระรูปลักษณะงดงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว ส่วนสูงจากพระชงฆ์เบื้องล่างถึงยอดพระเกศ 4 คืบ 1 นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถ วัดโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย เป็นพระพุทธรูปที่ชาวเมืองนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพสักการะอย่างยิ่ง

มีความเชื่อกันว่า หลวงพ่อพระใส ทำการหล่อในสมัยเชียงแสน ชั้นหลังพระใสเป็นพระพุทธรูปล้านช้าง สมัยนั้นประเทศล้านช้างยังรุ่งเรืองอยู่และพระพุทธศาสนากำลังเจริญรุ่งเรือง พระเจ้าแผ่นดินทรงสนพระทัยในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง

พระใส เป็นพระพุทธรูปที่หล่อคราวเดียวกันกับพระเสริม และพระสุก และคู่เคียงกันมาเสมอ พระใสเป็นพระพุทธรูปที่ผู้หล่อประสงค์จะให้เป็นพระสำหรับแห่มาแต่เดิม สังเกตได้จากห่วงกลม 3 ห่วง โตกว่านิ้วมือติดอยู่กับพระแท่น (หล่อติดกับองค์พระ) สำหรับผูกสอดเชือกขันกับยานแห่ เมื่อประมาณ 50 ปีมาแล้ว พระเกศเดิมของพระใสซึ่งเป็นของที่มีราคามาก ได้ถูกขโมยลักเอาไป พระเกศที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้เป็นพระเกศใหม่

ภายในพระอุโบสถวัดโพธิ์ชัยนั้น จะมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง ถ่ายทอดเรื่องราวประวัติความเป็นมาของการหล่อพระสุก พระเสริม พระใส จำนวน 20 ภาพ มีใจความว่า

ในรัชสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ช่วง พ.ศ.2093-2115 แห่งอาณาจักรล้านช้างศรีสัตนาคณหุต ทรงมีพระราชธิดา 3 พระ องค์ ทรงพระนามว่า สุก, เสริม และใส

พระราชธิดาทั้งสามมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงร่วมพระทัยขอพรจากพระราชบิดา สร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์ มีข้าราชการ ชาวบ้าน และทางวัดได้ระดมช่างและคนมาช่วยกันอย่างมากมาย การหลอมทองเป็นไปด้วยความยากลำบากใช้เวลาหลอมถึง 7 วัน ทองยังไม่ละลาย

ล่วงเข้าวันที่ 8 ตอนใกล้เพล ขณะที่หลวงตากับสามเณรช่วยกันสูบลมหลอมทองอยู่ ปรากฏว่ามีชีปะขาวคนหนึ่งอาสามาช่วยงาน หลวงตากับสามเณรหยุดพักขึ้นไปฉันเพลบนศาลา ชาวบ้านมองเห็นชีปะขาวจำนวนมากช่วยกันเททองหล่อพระพุทธรูป แต่หลวงตากลับเห็นเพียงคนเดียว เมื่อฉันเพลเสร็จหลวงตาลงมาดูก็พบว่าทองทั้งหมดถูกเทลงในเบ้าทั้งสามเรียบร้อยแล้ว และชีปะขาวได้หายไป

พระพุทธรูปทั้งสามองค์ประดิษฐาน ณ เมืองเวียงจันทน์

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ได้แข็งข้อ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปราบเมืองเวียงจันทน์ นำโดยสมเด็จพระบวรราชเจ้า เมืองเวียงจันทน์จนสงบ จึงคิดอัญเชิญพระสุก พระเสริม พระใสมาฝั่งไทย

พระใสได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดประดิษฐ์ธรรมคุณ ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น ข้าหลวงอัญเชิญพระเสริม และพระใสลงไปกรุงเทพฯ ขบวนเกวียนของพระใสจากวัดประดิษฐ์ธรรมคุณถึงวัดโพธิ์ชัยเกิดเหตุขัดข้อง เกวียนไม่สามารถเคลื่อนที่ต่อไปได้ ท้ายที่สุดเกวียนก็หักลง แม้จะนำเกวียนมาเปลี่ยนใหม่แต่ไม่เป็นผล

จึงตกลงกันว่าพระใสจะประดิษฐานไว้ที่วัดโพธิ์ชัย

ชาวหนองคายมีศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อพระใส เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่กษัตริย์สร้างขึ้น เพื่อเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า ให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนเป็นสำคัญ และจากความศรัทธาเลื่อมใสนี้ มักจะมีประชาชนมาบนบานขอพรต่อองค์หลวงพ่อพระใส โดยส่วนใหญ่มักจะบนบานให้แคล้วคลาด เดินทางปลอดภัย

นอกจากนี้ ยังมีการบนบานเกี่ยวกับสุขภาพ หน้าที่การงาน เมื่อบนบานและสัมฤทธิผลแล้วก็จะมาแก้บนในช่วงสงกรานต์ โดยนำปราสาทเงิน ปราสาททอง (ปัจจัย) โพธิ์เงิน โพธิ์ทอง 1 คู่, พวงมาลัย 9 พวง, แผ่นทองเปลว 9 แผ่น และผ้าอังสะ 3 ผืน มาทำการแก้บน ซึ่งจะมีพระสงฆ์พาประกอบพิธี

พิเศษที่สุด คือ การบนบานขอลูกจากหลวงพ่อพระใส คู่สามีภรรยาที่ต้องการมีลูกและขอพึ่งบารมีหลวงพ่อพระใส จะต้องมาประกอบพิธีบนบานต่อหน้าหลวงพ่อพระใส เตรียมขันธ์ 5 ขันธ์ 8 ขันหมากเบ็ง เทียนเงิน เทียนทอง โดยมีพระสงฆ์นำประกอบพิธี 4 รูป

หลังจากเสร็จพิธี ในวันพระสามีภรรยาต้องนุ่งขาวห่มขาว งดร่วมเพศเด็ดขาด จะต้องถือศีล 8 อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะมีลูก และเมื่อสัมฤทธิ์ดังประสงค์แล้ว รอให้คลอดลูกก่อน แล้วนำลูกน้อยนั้นมาทำพิธีแก้บน โดยจะมีพระสงฆ์ 4 รูป นำประ กอบพิธีต่อหน้าหลวงพ่อพระใสและผูกแขนทารกแรกเกิดให้

ถือว่าเป็นการปวารณาเป็นลูกของหลวงพ่อ มีข้อห้าม คือ เด็กที่เกิดจากการบนบานขอพรจากหลวงพ่อพระใส จะเป็นเด็กซนมาก แต่ฉลาด พ่อแม่ห้ามตีเด็ดขาด หากวันใดตีเด็ก เด็กจะป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุทันทีและต้องมาทำพิธีขอขมาองค์หลวงพ่อ

สำหรับงานประเพณีสำคัญเกี่ยวกับองค์หลวงพ่อพระใส ชาวหนองคายจะยึดถือเอาวันสงกรานต์ของทุกปี จัดงานสมโภชหลวงพ่อพระใส โดยในวันที่ 13 เมษายน จะเป็นวันทำพิธีอัญเชิญหลวงพ่อพระใสลงจากพระแท่นแห่รอบพระอุโบสถ เวียนประทักษิณ 3 รอบ แล้วอัญเชิญขึ้นสู่ราชรถ เป็นองค์พระประธานนำพระพุทธรูปจากชุมชนต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย แห่ไปรอบเมืองให้ประชาชนได้สรงน้ำ เพื่อความเป็นสิริมงคล

และในวันสุดท้าย จะมีพิธีอัญเชิญหลวงพ่อพระใสกลับขึ้นประดิษฐานบนพระอุโบสถเช่นเดิม เป็นอันเสร็จสิ้นงานประเพณีสมโภชองค์หลวงพ่อพระใสในรอบปี

คาถาบูชาหลวงพ่อพระใส ตั้งนะโม 3 จบ อะระหัง พุทโธ โพธิชโย เสยยะคุโณ โพธิสัตโต มหาลาโภ ปิยัง มะมะ ภะวันตุโน โหตุ สัพพะทา



ที่มา - ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: 28 เม.ย. 2551, 02:27:10 »
หลวงพ่อพระลับ วัดธาตุ อ.เมือง จ.ขอนแก่น







"หลวงพ่อพระลับ" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง 11 นิ้ว สูง 29 นิ้ว ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระพักตร์รูปไข่ พระนลาฏกว้าง พระขนงโก่ง พระเนตรเรียว เหลือบตาลงต่ำ พระนาสิกสันปลายแหลม พระโอษฐ์แย้ม ขนาดพระเกศาเล็กแหลม พระเกตุมาลาใหญ่

รัศมีเป็นเปลวตั้งอยู่บนฐานกลีบบัว ครองจีวรห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวา ชายจีวรยาวลงมาจรดพระนาภี นิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน ฐานปัทม์ยกสูงทรงสี่เหลี่ยมบัวคว่ำหงาย และแนวลูกแก้วอกไก่งอนขึ้นทางด้านบน

หลวงพ่อพระลับ จัดอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปศิลปะลาว "สกุลช่างเวียงจันทน์" คล้ายพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ระเบียงหอพระแก้ว เมืองเวียงจันทน์ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 22-24

ประวัติเล่าสืบกันมาว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 1 (พ.ศ.2077-2114) เป็นกษัตริย์ครองเมืองหลวงพระบาง เมื่อพม่ายกทัพมาตีเมืองหลวงพระบาง พ.ศ.2090 พระองค์อพยพไปตั้งเมืองหลวงใหม่ ชื่อ "เวียงจันทน์บุรีศรีสัตนาค" การอพยพครั้งนี้ได้นำพระแก้วมรกต พระบางพระพุทธรูปองค์อื่นๆ ไปด้วย ซึ่งพระพุทธรูปทั้งหมดสร้างในสมัยเชียงแสน เชียงใหม่ และสมัยพระเจ้าโพธิสารมหาธรรมิกราชาธิราช

จากการศึกษาพระพุทธลักษณะจึงสันนิษฐานว่า หลวงพ่อพระลับ สร้างขึ้นโดย "พระเจ้าโพธิสาร พระมหาธรรมิกราชาธิราช" ประมาณ ปี พ.ศ.2068 ณ นครหลวงพระบาง เมื่อ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 1 สวรรคต พ.ศ.2114 พระเจ้าศรีวรมงคล ผู้น้องขึ้นครองราชสืบมา พระนามว่า "พระยาธรรมิกราช" (พ.ศ.2134-2165) มีโอรส 1 พระองค์ ชื่อ เจ้าศรีวิชัย

เมื่อพระยาธรรมิกราชสิ้นพระชนม์ กลุ่มของพระยาแสนสุรินทร์ขว้างฟ้า ยึดเมืองเวียงจันทน์ได้ เจ้าศรีวิชัยจึงหลบหนีพร้อมนำพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ไม่ทราบจำนวน ซึ่งมีหลวงพ่อพระลับ รวมอยู่ด้วย ไปอาศัยอยู่กับท่านพระครูหลวง (เจ้าอาวาสวัดโพนสะเม็ด)

เจ้าศรีวิชัย มีโอรสอยู่ 2 คน คือ เจ้าแก้วมงคล และเจ้าจันทร์สุริยวงศ์

พ.ศ.2233 ท่านราชครูหลวงได้อพยพชาวเวียงจันทน์บางส่วนประมาณ 3,000 คน ไปบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม แล้วพาครอบครัวเวียงจันทน์ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ดอนโขง เนื่องจากท่านราชครูได้รับความเคารพจากประชาชนมาก สองพี่น้องชื่อ นางเพา นางแพง ซึ่งปกครองดูแลเมืองจำปาศักดิ์ จึงได้อาราธนาท่านให้ไปอยู่ที่นครจำปาศักดิ์

เมื่อท่านไปปกครองได้ขยายอาณาเขตนครจำปาศักดิ์ให้กว้างขวางออกไป และสร้างเมืองใหม่ ไม่ขึ้นต่อเมืองเวียงจันทน์และหลวงพระบาง ได้อัญเชิญ "เจ้าหน่อกษัตริย์" หรือ "เจ้าหน่อคำ" มาเสวยราชสมบัติ เป็นกษัตริย์ปกครองนครจำปาศักดิ์ใหม่ ทรงพระนามว่า "เจ้าสร้อยศรี สมุทรพุทธางกูร" (พ.ศ.2256-2280) และได้ให้เจ้าแก้วมงคล อพยพครอบครัว พร้อมประชาชนพลเมือง นำเอาพระพุทธรูปเก่าแก่ศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาจากเวียงจันทน์ ไปสร้างเมืองทง หรือ "เมืองสุวรรณภูมิ" (ปัจจุบัน คือ อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด)

เจ้าแก้วมงคล ได้เป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิคนแรก (พ.ศ.2256-2268) จากนั้นก็มีเจ้าเมือง สืบต่อมาจนถึง พ.ศ.2326 "ท้าวภู" ได้เป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "พระรัตนวงษา" ได้แต่งตั้งให้ลูกชาย "ท้าวศักดิ์" ไปดำรงตำแหน่ง "เมืองแพน" มียศเป็น "เพีย" เทียบเท่าพระยาฝ่ายทหาร ให้ไปตั้งรักษาการอยู่ริมแม่น้ำชี สถานที่นั้น เรียกว่า "ชีโหล่น"

ต่อมาถึง พ.ศ.2332 ก็ได้รับคำสั่งให้ไปตั้งแห่งใหม่ชายแดนด้านเหนือเขตเมืองสุวรรณภูมิกับเขตเมืองร้อยเอ็ดในขณะนั้น "ท้าวศักดิ์" อพยพประชาชนพลเมือง ประมาณ 330 ครอบครัว พร้อมนำเอาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์หลายองค์ไปไว้เคารพสักการะเป็นมิ่งขวัญเมืองด้วย ตั้งบ้านใหม่เรียกว่า "บ้านบึงบอน" และได้ก่อสร้างหลักเมืองฝั่งตะวันตกบึง

เมื่อสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยเรียบร้อยแล้ว จึงได้สร้างวัดขึ้น 4 วัด คือ "วัดเหนือ" ให้เจ้าเมืองและลูกไปทำบุญอุปัฏฐาก "วัดกลาง" ให้เสนาอำมาตย์พร้อมลูกหลานไปทำบุญอุปัฏฐาก "วัดใต้" ให้ประชาชนพลเมืองทั่วไปทำบุญอุปัฏฐาก "วัดท่าแขก" อยู่ฝั่งบึงด้านทิศตะวันออก สำหรับพระภิกษุอาคันตุกะจากถิ่นอื่นๆ มาพักประกอบพุทธศาสนพิธี

เมื่อสร้างวัดเหนือแล้ว จึงสร้างธาตุมีอุโมงค์ภายในนำเอาพระพุทธรูปไปเก็บซ่อนไว้อย่างลับที่สุด รู้แต่เจ้าอาวาสวัดเหนือเท่านั้น คนทั้งหลายจึงเรียกว่า "พระลับ" หรือ "หลวงพ่อพระลับ" สืบมาจนถึงทุกวันนี้

กระทั่ง พ.ศ.2340 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระบรมราชโองการยกฐานะบ้านบึงบอนขึ้นเป็น "เมืองขอนแก่น" ตั้งให้ "ท้าวศักดิ์" เป็นเจ้าเมืองขอนแก่นคนแรก มีนามว่า "พระนครศรีบริรักษ์"

เมื่อกล่าวถึงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ในพระธาตุก็จะเรียกว่า พระลับ เพราะไม่มีใครเคยเห็น

ปัจจุบันบ้านพระลับกลายเป็นเทศบาลเมืองขอนแก่น เหลือเป็นอนุสรณ์ คือ ตำบลพระลับ ส่วนวัดเหนือเปลี่ยนชื่อเป็น วัดธาตุ (พระอารามหลวง)

สมัยหลวงปู่พระเทพวิมลโมลี (เหล่า สุมโน) เป็นเจ้าอาวาส เกรงว่าต่อไปจะไม่มีใครรู้จักหลวงพ่อพระลับ จึงเชิญผู้ว่าฯ ขอนแก่น เป็นสักขีพยานเปิดเผยพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ให้เป็นพระพุทธรูปคู่เมืองขอนแก่น เมื่อวันออกพรรษาปี 2537 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 ปีจอ (18 ตุลาคม 2537)

พระลับจึงประจักษ์แก่สายตาเป็นพระคู่เมืองขอนแก่นนับแต่นั้น



ที่มา - ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: 28 เม.ย. 2551, 02:31:30 »
หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล พระพุทธรูปศิลา จ.ขอนแก่น



ในสมัยกรุงสุโขทัยเรืองอำนาจแทนอาณาจักรขอม ได้ทิ้งอารยธรรมไว้เป็นมรดกตกทอดแก่ชนชาติไทย คือ ด้านการปกครอง ปกครองแบบเทวราช ความคิดความเชื่อในทางศาสนาพราหมณ์

นอกจากนี้ ยังมีระบบจตุสดมภ์ 4 ประกอบด้วย เวียง วัง คลัง นา สำหรับการปกครองอาณาจักรและประเพณีสืบราชสมบัติของอาณาจักร ด้านวัฒนธรรมได้แก่ การนับถือศาสนาพราหมณ์ ทำให้เกิดประติมากรรม และสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทวาลัยและเทพเจ้าทางศาสนาพราหมณ์เช่น เทวรูปต่างๆ ปราสาทหินเหล่านี้เป็นตัวอย่างแหล่งวัฒนธรรมที่เป็นมรดกตกทอดของอาณาจักรขอม ที่ยังคงอยู่ในประเทศไทย

ปัจจุบัน มีซากเมืองโบราณ ลักษณะทรงกลมเป็นเมืองแฝดคู่กันแบบเมืองชั้นนอก ชั้น ในเมืองเป็นซากโบราณสถาน เป็นปรางค์ก่อด้วยอิฐและชิ้นส่วนของเทวรูป ลักษณะประติ มากรรมส่วนใหญ่จะเกี่ยวเนื่องกับศาสนาพราหมณ์ ในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีโบราณสถานสมัยขอมมากมายโดยเฉพาะจังหวัดขอนแก่น มีอยู่หลายอำเภอ

แต่ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะโบราณสถานหลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล

"หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล" เป็นพระพุทธรูปศิลาที่สร้างขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ หรือเรียกว่าสมัยขอมโบราณของอาณาจักรขอม (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-19) เป็นพระพุทธรูปขอม สร้างขึ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พุทธศตวรรษที่ 15-16) เป็นโบราณวัตถุที่สร้างขึ้นสักการบูชาในสมัยขอมเรืองอำนาจ

หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล ประดิษฐานอยู่บริเวณเหล่าตะวันตกของหมู่บ้าน บริเวณโรงเรียนชุมชนบ้านพระยืน องค์หนึ่ง เรียกว่าองค์ตะวันออก เพราะอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้านพระยืน มีอาณาบริเวณเฉพาะ สร้างศาลาเป็นที่กำบังแดดฝนอย่างดี

พระยืนองค์หนึ่ง แต่เดิมคนรุ่นเก่า เล่าว่า เป็นพระพุทธรูปยืน แต่ถูกโจรทุบทำลาย ดังคำบอกเล่าในศิลาจารึกที่ฐานพระพุทธรูปที่จารึกไว้ เมื่อคราวปฏิสังขรณ์เสร็จเมื่อรัตนโกสินศก 111 (พ.ศ.2435)

พระพุทธรูปศิลาทั้งสององค์นี้ เป็นพระพุทธรูปสมัยขอมเป็นพระที่มีพุทธลักษณะแบบสกุลช่างของขอมโดยแท้จริง คือ เป็นพระนาคปรก มีอายุราว 1,000 กว่าป มาแล้ว ลักษณะของพระพุทธรูปสมัยขอม มีพุทธลักษณะสำคัญ ดังนี้

1.เป็นพระพุทธรูปแกะสลักศิลาทราย หรือศิลาแลง

2.เป็นพระพุทธรูปที่มีพระวรกายกำยำ

3.เป็นพระพุทธรูปที่มีนาคปรก 7 เศียรเป็นรัศมีประภามณฑล

4.เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ ปางมารวิชัย และเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร

5.เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะพระโอษฐ์แบะ พระเนตรโต พระพักตร์เหลี่ยม พระขนง เป็นสันตรง พระนาสิกโด่งสั้น ทรงจีวรแบบเนื้อไม?มีกลีบ

ข้อความศิลาจารึกที่หน้าตักพระยืนองค์ตะวันตก มีใจความว่า "เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม รัตนโกสินทร์ศก 111 ด้วยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมข้าหลวงใหญ่เมืองลาวพวน มีบัญชาสั่งโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมชัยวัฒนาข้าหลวงที่สอง หัวเมืองลาวพวน มาระงับทุกข์สุข หัวเมืองน้อยใหญ่เขตแดน เมืองขอนแก่นให้เรียบร้อยมีความสุขความเจริญต่อไป ข้าพเจ้าได้รับสั่งแล้วจึงมาระงับทุกข์สุข เพื่อกรมการและราษฎรในเขตแขวงเมืองขอนแก่นตามรับสั่ง

ครั้น ณ วันที่ 2 ปีระกา รัตนาโกสินทร์ศก 111 ความว่า มีพวกอ่านคิดมิชอบซ่องสุมพากันเข้าไปเรียนรีดศาสนาเยซูต่อบาท หลวงคาทอลิก พากันมาทำลายพระพุทธรูป ศิลาทั้งสองพระองค์ ให้แตกหักเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ แล้วพากันขุดหาทรัพย์ภาย ในดิน

ข้าพเจ้าทราบความจึงพร้อมด้วยทหารและกรมการ พากันไปที่บ้านพระยืนจับได้พวกอ้ายคิดมิชอบมาลงโทษานุโทษแล้วบอกหมื่นทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงใหญ่เมืองลาวพวน ขึ้นไปเมืองหนองคายให้ทรงทราบพระบาทแล้วโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปศิลาให้เรียบร้อยดีดังเก่า แล้วโปรดให้ปลูกเรือนกันแดดและกันฝน อย่าให้เป็นอันตรายต่อไปได้

ข้าพเจ้ารับสั่งแล้วจึงจ้างให้เอาปูนประสมน้ำเชื้อไปพรมพระรูปศิลา ที่พวกอ้ายคิดมิชอบทำลายทุบเป็นผู้กำกับกรรมการให้แล้วโดยเร็ว

ครั้งถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก 111 การปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปศิลาจึงแล้วเสร็จข้าพเจ้าพร้อมด้วยกับหลวงสิทธิสราวุธ ข้าหลวงเมืองชนบท นายกิจการีข้าหลวงเมืองขอนแก่น เท้าเพียกรมการและราษฎรข้าหลวงเมืองลาว ได้จัดงานฉลองสมโภชพระพุทธรูปทั้ง สองพระองค์ เพื่อเป็นสิริมงคล

ทุกวันนี้ ชาวบ้านได้ถือเอาวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เป็นวันจัดงานเทศกาลบุญเหล่าประจำปี สืบต่อกันมา ปัจจุบันถือว่าเป็นงานระดับอำเภอ


ที่มา - ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: 04 พ.ค. 2551, 11:06:39 »
พระพุทธไตรรัตนนายก วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา





"วัดพนัญเชิงวรวิหาร" เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่สร้างมาก่อนสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง

ตามหนังสือพงศาวดารเหนือ ระบุว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้งเป็นผู้สร้าง ณ บริเวณที่พระราชทานเพลิงศพพระนางสร้อยดอกหมาก ส่วนที่มาของคำว่า พนัญเชิงนั้น ตามตำนานมูลศาสนา กล่าวว่า เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า พะแนงเชิง ซึ่งแปลว่า การนั่งพับเพียบ ซึ่งเป็นอาการที่พระเจ้าสายน้ำผึ้ง และพระนางสร้อยดอกหมากใช้ในวาระสุดท้ายของเรื่อง

นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์ศัพท์ที่ใกล้เคียงพบว่า คำว่าพะแนงเชิง ทางภาษาปักษ์ใต้ หมายถึงอาการนั่งแบบขัดสมาธิ

พระประธานในพระอุโบสถ เรียกกันว่า "พระโต" หรือ "หลวงพ่อโต" หรือ "หลวงพ่อพนัญเชิง" ชาวจีนเรียกว่า "ซัำปอกง" โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "พระพุทธไตรรัตนนายก"

เป็นศิลปะอู่ทองตอนปลาย ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ มีพัดยศขนาดใหญ่ตั้งอยู่เบื้องหน้า องค์พระปั้นด้วยปูน ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 14.20 เมตร สูง 19.20 เมตร ในพงศาวดารระบุว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้ง กษัตริย์แห่งอโยธยาเป็นผู้สร้างไว้ และพระราชทานนามว่า วัดพระเจ้าพระนางเชิง เข้าใจว่าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นพร้อมกับวัด และสร้างไว้กลางแจ้ง

ในจดหมายเหตุของแคมเฟอร์เขียนครั้งกรุงศรีอยุธยาว่า พระพุทธรูปองค์นี้เป็นของมอญ ในหนังสือภูมิสถานอยุธยา ว่าเป็นของพระเจ้าสามโปเตียน ซึ่งน่าจะเพี้ยนมาจากภาษาจีนว่า ซำปอกง แปลว่า รัตนตรัย

พระพุทธรูปองค์นี้ คนไทยเรียกทั่วไปว่า หลวงพ่อโตหรือหลวงพ่อพนัญเชิง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาปรากฏว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงซ่อมครั้งหนึ่ง และต่อมาพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาคงจะซ่อมแซมกันต่อมาอีกหลายพระองค์

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระปฐมบรมราชจักรีวงศ์ ได้ทรงปฏิสังขรณ์และได้รับการบูรณะต่อมาหลายพระองค์ โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้บูรณะใหม่ทั้งองค์ เมื่อปลาย พ.ศ.2397 แล้วถวายพระนามพระพุทธรูปว่า "พระไตรรัตนายก"

พ.ศ.2444 เกิดเพลิงไหม้ผ้าห่มพระเจ้าพนัญเชิง ทำให้องค์พระชำรุดร้าวแตกรานหลายแห่ง โปรดฯ ให้ซ่อมแซมกลับคืนดังเดิม เสด็จพระราชดำเนินทรงปิดทองแล้วมีสมโภช

ต่อมาในรัชกาลที่ 7 องค์พระส่วนพระหนุ (คาง) พังทลายลงมาจนถึงพระปรางค์ทั้งสองข้าง ได้ซ่อมแซมจนเรียบร้อยภายในเวลา 1 ปี ครั้งนั้นได้เปลี่ยนพระอุณาโลมจากทองแดงเป็นทองคำด้วย

ในรัชกาลปัจจุบันมีการปฏิสังขรณ์ ลงรักปิดทองใหม่ทั้งองค์ 2 ครั้งแล้ว คือ ในปี 2491 กับปี 2534-2536

ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า เมื่อกรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่าครั้งที่สองนั้นพระพุทธรูปองค์นี้มีน้ำพระเนตรไหลออกมาทั้งสองข้าง

หลวงพ่อโต เป็นที่นับถือของชาวไทยและชาวจีน มักจะมากราบไหว้โดยเชื่อว่าจะทำให้ชีวิตดีขึ้น การค้าขายเจริญก้าวหน้า พุทธศาสนิกชนส่วนมากจะนำผ้ามาห่มองค์พระ มักนิยมนำผลไม้ เครื่องเซ่นไหว้ อาหารคาวหวานมาสักการะ

งานประจำปีใหญ่ๆ 4 งาน ก็เป็นงานที่เนื่องด้วยประเพณีจีน 2 งาน คือ งานสงกรานต์ 13 เมษายน เป็นงานใหญ่มีการนมัสการและเวียนเทียนประทักษิณรอบองค์พระติดต่อกันถึง 5 วัน

งานสรงน้ำและห่มผ้าถวาย วันแรม 8 ค่ำ เดือนเมษายน มีการสรงน้ำและเปลี่ยนผ้าห่มผืนใหม่ ส่วนผืนเก่าที่ใช้มาตลอด 1 ปี จะฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ แจกจ่ายให้ผู้คนนำไปบูชา

งานทิ้งกระจาดหรืองานงิ้ว เดือน 9 จะมีงิ้วและมหรสพอื่นๆ เล่นประชันกันอย่างครึกโครม จะมีผู้คนนับหมื่น หลั่งไหลกันมานมัสการนับเป็นงานทิ้งกระจาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยทีเดียว

งานตรุษจีนเป็นงานใหญ่อีกงานหนึ่ง จะมีการเปิดประตูพระวิหารหลวงไว้ทั้งวันทั้งคืนตลอด 5 วันที่จัดงาน

คาถาบูชาพระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อโต) วัดพนัญเชิง มีดังนี้ "ตั้งนะโม 3 จบ อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ, ทุติยัมปิ อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ, ตะติยัมปิ อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ"

วัดแห่งนี้มีผู้เดินทางมาสักการะตลอดทั้งปี ทางกรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ และโบราณสถานแห่งชาติ

ปัจจุบันมีพระราชรัตนวราภรณ์ เป็นเจ้าอาวาส พัฒนาวัดเป็นศูนย์รวมทางการศึกษาของพระสงฆ์และสามเณร เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ผู้มาชมและกราบไหว้พระพุทธรูปมากที่สุดแห่งหนึ่งใน จ.พระนครศรีอยุธยา


ที่มา - ข่าวสด

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: 05 พ.ค. 2551, 11:39:58 »
 ;) ขอบคุณสำหรับข้อมูล ครับ เยี่ยมเหมือนเคยเลย ครับ

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: 11 พ.ค. 2551, 07:37:42 »
หลวงพ่อเทพโมฬี วัดเทพโมฬี จ.กำแพงเพชร





เมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองเก่าแก่ ที่มีความสำคัญทางด้านการเมือง การสงคราม และด้านพระพุทธศาสนา หลักฐานที่ปรากฏให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความรุ่งเรืองรุ่งโรจน์ของพุทธศาสนาสมัยเก่า คือ ซากปรักหักพัง อุโบสถ วิหารต่างๆ ของวัด ที่มีอยู่รายล้อมเมืองกำแพงเพชร

"หลวงพ่อเทพโมฬี" (หลวงพ่อโม้) เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูน สะท้อนความรุ่งโรจน์ของเมืองกำแพงเพชรโบราณ ชาวเมืองเรียกว่า "หลวงพ่อโม้"

องค์พระพุทธรูป มีขนาดหน้าตักกว้าง 10 ศอก 1 คืบ สูง 13 ศอก 1 คืบ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างครอบองค์เดิมไว้ภายใน เมื่อพุทธศักราช 2519 เดิมสันนิษฐานว่าเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น

หลวงพ่อเทพโมฬี ประดิษฐานอยู่ ณ วัดเทพโมฬี จ.กำแพงเพชร เป็นวัดที่มีขนาดเล็ก มีเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ นอกเขตเมืองชากังราว อยู่ทิศใต้ของคูเมืองเก่า ด้านหน้าทิศตะวันออก ติดกับถนนราชดำเนิน ด้านหลังทิศตะวันตกติดกับบ้านพักอัยการจังหวัด และโรงพยาบาลแพทยบัณฑิต ทิศเหนืออยู่ใกล้กับสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

วัดเทพโมฬี ชาวกำแพงเพชร เรียกว่า วัดหลวงพ่อโม้ เป็นวัดทิ้งร้างนอกเขตคูเมืองเดิมด้านทิศใต้เป็นเวลานานนับร้อยปี ซากปรักหักพังเป็นศิลาแดง เฉพาะองค์พระเทพโมฬี เป็นพระประธานในอุโบสถ มาแต่เดิมได้ชำรุดแตกหัก เหลือแต่พระปฤษฎางค์ และพระเศียร ส่วนพระกรหลุดร่วงหายไป มีต้นไม้และเถาวัลย์ ขึ้นรกคลุมจนแทบมองไม่เห็นองค์พระพุทธรูป แถมยังมี งู แมงป่อง มากมาย ทำให้ไม่มีผู้ใดกล้าเข้าใกล้

ต่อมาใน พ.ศ.2519 นายกาจ รักษ์มณี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชรในสมัยนั้น มีความคิดที่จะบูรณะพุทธสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีคนกราบไหว้ เพื่อจะได้เป็นสาธารณสถานให้ชาวกำแพงเพชรได้กราบไหว้บูชา

ท่านจึงปรึกษาหารือกับ นายจำรูญ อรรถธรรมสุนทร อัยการจังหวัดกำแพงเพชร อัยการจำรูญเรียนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดว่า มีพระพุทธรูปเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์อยู่องค์หนึ่ง ชาวบ้านนับถือกันมาก อยู่หลังบ้านพักอัยการจังหวัด มีนามว่า หลวงพ่อโม้ มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ชาวบ้านนิยมกราบไหว้บูชา บนบานศาลกล่าวกันอยู่เสมอ

ผู้ว่าราชการจังหวัด และอัยการจังหวัด จึงตกลงที่จะบูรณปฏิสังขรณ์วัดเทพโมฬีแห่งนี้ขึ้นมา เพื่อให้เป็นสถานที่บูชากราบไหว้ของชาวกำแพงเพชร และชาวจังหวัดใกล้เคียงสืบไปภายหน้า

โดยชักชวนข้าราชการ พ่อค้า และชาวกำแพงเพชร ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์ หลวงพ่อเทพโมฬี และ หลวงพ่อแป้งข้าวหมาก ขึ้นมาใหม่ โดยสร้างครอบองค์เดิมไว้

ทางจังหวัดกำแพงเพชร ได้ไปอาราธนา หลวงพ่อโง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการปั้น และทำพิธีทางศาสตร์เวทในด้านนี้ มาเป็นผู้ปั้น พร้อมทั้งบูรณปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อเทพโมฬี

หลวงพ่อโง่น ได้เป็นประธานควบคู่กับการประกอบพิธีกรรมตามประเพณีทุกขั้นตอน โดยใช้เวลาปั้นหลวงพ่อเทพโมฬี พร้อมทั้งปรับปรุงบริเวณโดยรอบแล้วเสร็จใน พ.ศ.2520 ในระหว่างนั้น หลวงพ่อภา หรือพระครูวิธานวชิรศาสน์ อดีตเจ้าอาวาสวัดเสด็จ (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) นำพระภิกษุมาช่วยร่วมบูรณปฏิสังขรณ์โดยตลอด

เหตุที่ชาวเมืองกำแพงเพชร เรียกว่า "หลวงพ่อโม้" จนติดปาก เพราะมีเรื่องเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ของท่านอยู่เสมอๆ ไม่ว่าจะบนบานศาลกล่าวสิ่งใดในเรื่องที่ดีก็มักจะประสบความสำเร็จทุกรายไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบนขอให้ฝนไม่ตกในช่วงเวลา จัดงานต่างๆ ในจังหวัด

ด้วยความศักดิ์สิทธิ์เสมือนหนึ่ง "โม้" นี่เอง จึงเรียกกันติดปากเรื่อยมาว่า "หลวงพ่อโม้"

ปัจจุบัน วัดเทพโมฬี เป็นพุทธสถานสาธารณะ อยู่ในความดูแลของวัดเสด็จ และบรรจุให้เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร ในแต่ละวันจะมีพุทธศาสนิกชนแวะเวียนมากราบไหว้บูชา เพื่อขอพรให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา สำหรับเครื่องแก้บน นอกจากดอกไม้ธูปเทียนแล้วก็มีขนมจีนกับแป้งข้าวหมาก

ใครที่มีโอกาสเดินทางผ่านไปยังจังหวัดกำแพงเพชร ควรจะแวะไปสักการบูชาขอพรต่อองค์หลวงพ่อเทพโมฬี ที่วัดเทพโมฬี ถนนราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว



ที่มา - ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: 11 พ.ค. 2551, 07:47:26 »
"พระสัมพุทธมหามุนีศรีคุณาศุภนิมิต" หรือ "หลวงพ่อดำ" วัดช่องแสมสาร ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี






 
"พระสัมพุทธมหามุนีศรีคุณาศุภนิมิต" หรือ "หลวงพ่อดำ" วัดช่องแสมสาร ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เป็นพระพุทธปฏิมากรศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง ซึ่งชาวประมงฝั่งตะวันออกเลื่อมใสศรัทธา ทุกครั้งที่ออกทะเลมักจะไปนมัสการและขอพร ชาวประมงทุกคนจะกลับมาโดยสวัสดิภาพ มีโชคได้สินทรัพย์จากทะเลเป็นกอบเป็นกำ

พระสัมพุทธมหามุนีศรีคุณาศุภนิมิต หรือหลวงพ่อดำ ประดิษฐานในวิหารวัดช่องแสมสาร อ.สัตหีบ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิสูง 5 เมตร มีรูปใบหน้าอิ่มเอิบ ดวงตาทอดต่ำลงแผ่เมตตาให้กับผู้คนที่เดินทางมากราบไหว้

ตำนานหลวงพ่อดำระบุว่า เมื่อปีพุทธศักราช 2501 "หลวงพ่อดำรง คุณาสโภ" ได้เดินทางจาก จ.สุพรรณบุรี มาปักกลด ณ บริเวณพระเจดีย์เก่าบนเขาของวัดช่องแสมสาร

หลวงพ่อดำรง ได้เล่าให้ญาติโยมที่ไปกราบนมัสการให้ฟังว่า ท่านจำพรรษาอยู่วัดเขาขึ้น อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี สาเหตุที่เดินทางมายังสถานที่แห่งนี้ เพราะได้ฝันว่า เทพยดาองค์หนึ่งบอกให้ไปสร้างพระพุทธรูปไว้ใกล้ๆ พระเจดีย์เก่าองค์หนึ่ง บนเขาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก

"ในภายภาคหน้า พระประธานองค์นี้จะกลายเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์และมีประชาชนให้ความเคารพนับถือเดินทางมากราบไหว้กันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากบริเวณแห่งนี้มีความเหมาะสมที่จะบูรณะให้กลายเป็นแหล่งรักษาศีลและความสงบให้กับชาวพุทธศาสนิกชนเป็นอย่างมาก..."

หลวงพ่อดำรง ได้ออกเดินทางจากวัดเขาขึ้น กว่าจะถึงวัดช่องแสมสารเป็นเวลาหลายวัน เพราะท่านเดินทางถึงหมู่บ้านติดทะเลที่ใดก็จะแวะดูเรื่อยไป

จนถึงบ้านช่องแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี คือ สถานที่ท่านปักกลดอยู่นี้ เป็นสถานที่มีภูมิทัศน์ตรงกับสภาพที่ท่านนิมิตฝัน ท่านจึงชักชวนญาติโยมช่วยกันบริจาควัสดุในการสร้างพระพุทธปฏิมากร ซึ่งได้รับศรัทธาร่วมมือด้วยดี

ในสมัยนั้นยังไม่มีทางรถยนต์ จึงจำเป็นต้องใช้แรงงานคนแบกขนวัสดุขึ้นไป การสร้างใช้เวลาสร้าง ประมาณ 2 ปี จึงแล้วเสร็จและทารักสีดำ ตั้งเป็นสง่าอยู่กลางแจ้ง โดยไม่มีหลังคาคลุมแต่อย่างใด

ชาวบ้านชาวเรือและผู้พบเห็น จึงเรียกว่าหลวงพ่อดำกันจนติดปาก ทั้งๆ ที่ตอนสร้างเสร็จ ท่านได้ถวายนามว่า "พระสัมพุทธมหามุนีศรีคุณาศุภนิมิต" ซึ่งชื่อในตอนท้าย มีความหมายระบุว่า เป็นพระที่เกิดจากความฝันดี

หลังจากสร้างเสร็จประมาณ 1 เดือน ได้จัดงานฉลองพระและประกอบพิธีเบิกพระเนตร ในครั้งนั้นได้มีการผูกหุ่นฟาง 2 หุ่น เพื่อเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อดำ หลังจากเสร็จพิธีก็เผาหุ่นฟาง

หลวงพ่อดำ ได้ตั้งตากแดดอยู่กลางแจ้งเป็นเวลาถึง 10 ปีเศษ จนมีชาวประมงจากจังหวัดสมุทรปราการแล่นเรือผ่านมาเห็นหลวงพ่อดำตากแดด จึงบนขอพรว่าออกเรือเที่ยวนี้ขอให้ได้ 200,000 บาท จะมาทำหลังคาให้ ปรากฏว่าได้ดังคำขอ จึงเอาเงินมาฝากให้นายเจริญ ทิศาบดี ผู้ใหญ่บ้านช่วยทำหลังคา แต่ไม่มีฝา เมื่อฝนตกก็สาดเปียก

ต่อมาชาวประมงอีกรายผ่านมา ก็บนหลวงพ่อดำอีก ขอให้จับปลาได้เยอะๆ จะมากั้นฝาให้ ปรากฏว่าได้สมหวังก็เอาเงินมาฝากผู้ใหญ่ให้ช่วยทำต่อไป

สภาพวิหารหลวงพ่อดำในขณะนั้น จึงเป็นเพียงมีหลังคาและฝาไม้สามด้าน มีชาวบ้านและชาวเรือต่างขึ้นไปนมัสการกราบไหว้เป็นจำนวนมาก และมักประสบผลสำเร็จ

หลังจากสิบปีผ่านไป สภาพของวิหารชำรุดทรุดโทรมจนใช้งานไม่ได้ นายเสน่ห์ พิทักษ์กร สมาชิกสภาจังหวัดชลบุรี ได้ร่วมมือกับพระครูวิสารทสุตากร เจ้าอาวาส พร้อมชาวบ้านร่วมกันสร้างเป็นวิหารจตุรมุข ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง และมีภาพปูนปั้นเรื่องราวพุทธประวัติ ซึ่งหาชมได้ยากในปัจจุบัน

ครั้นสร้างเสร็จ ได้ทำพิธีเปิดวิหารอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2532

ในแต่ละวันมีประชาชนเดินทางไปนมัสการขอบนและแก้บนสิ่งสมปรารถนาโดยมิได้ขาด เรื่องราวพุทธานุภาพปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อดำมีมาก จากคำบอกเล่าของผู้คนที่มาแก้บนแต่ละวัน จะเข้าสักการะแก้บนด้วยไข่ต้มและพวงมาลัยดอกไม้สด

ตามความเชื่อว่าหลวงพ่อดำคุ้มครองรักษา ให้ปลอดภัยและได้โชคลาภสิ่งที่สมปรารถนาไม่ขาดสาย จนหลวงพ่อดำที่ทารักสีดำ กลายเป็นหลวงพ่อดำสีทองเหลืองอร่ามไปทั่วทั้งองค์ในปัจจุบัน

ผู้ที่จะเดินทางไปวัดช่องแสมสารแห่งนี้ หากเดินทางจากกรุงเทพมหานคร ให้ใช้เส้นทางมอเตอร์เวย์ผ่านไปถนนสุขุมวิทและไปถึง อ.สัตหีบ หรือหากมาจากถนนบางนา-ตราด ให้วิ่งไปทางพัทยาและผ่านไปถึง อ.สัตหีบ

สำหรับถนนทางขึ้นสู่ยอดเขานั้นราดยางอย่างดีตลอดเส้นทาง และจะได้พบกับทัศนียภาพอันสวยงาม ทั้งทางทะเลและบนภูเขาควบคู่กันไปด้วย

หากมีเวลาจะได้ชมพระ อาทิตย์ตกทะเลอย่างสวยงามอีกด้วย



ที่มา - ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: 11 พ.ค. 2551, 07:55:42 »
พระร่วงโรจนฤทธิ์ วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม






 
"พระร่วงโรจนฤทธิ์" พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดนครปฐม เป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป มีชื่อเต็ม คือ "พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร" ตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พุทธศักราช 2466

แต่ประชาชนทั่วไป เรียกขานว่า "หลวงพ่อพระร่วง" หรือ "พระร่วงโรจนฤทธิ์"

เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ทำด้วยทองเหลืองหนัก 100 หาบ ศิลปะสุโขทัย สูง 12 ศอก 4 นิ้ว ประทับยืนบนฐานโลหะทองเหลืองลายบัวคว่ำบัวหงาย ทำวงพระพักตร์ตามยาว พระหนุเสี้ยม นิ้วพระหัตถ์ พระบาทไม่เสมอกัน ห้อยพระหัตถ์ซ้ายลงข้างพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ขวายกตั้งขึ้น ยื่นไปข้างหน้า มีพระอุทรพลุ้ย บ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระยุพราช เสด็จฯ ประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ ในปีพ.ศ.2451 ได้ทอดพระเนตรพระพุทธรูปโบราณเป็นอันมาก แต่มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่เมืองศรีสัชนาลัย (สุโขทัย) กอปรด้วยพระลักษณะงามเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย แต่ชำรุดมาก เหลืออยู่แต่พระเศียร พระหัตถ์และพระบาท

จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯ แล้วให้ช่างปั้นสถาปนาขึ้นมาบริบูรณ์เต็มพระองค์ และโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีเททองหล่อ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2456 ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ โดยมีผู้ออกแบบ คือกรมหลวงนเรศร์วรฤทธิ์ (พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร)

จากนั้น ได้อัญเชิญมาสู่จังหวัดนครปฐม เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2457 ทางรถไฟ ประดิษฐาน ณ พระวิหารด้านทิศเหนือ องค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จนถึงปัจจุบัน

เมื่อครั้งอัญเชิญพระร่วงฯ มาประดิษฐานยังองค์พระปฐมเจดีย์ฯ จำเป็นต้องแยกชิ้นมาประกอบเข้าด้วยกันที่จังหวัดนครปฐม เสร็จเป็นองค์สมบูรณ์ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2458

หลังจากรัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคต ตามความในพระราชพินัยกรรมของพระองค์ระบุว่า ให้บรรจุพระอังคารของพระองค์ไว้ใต้ฐานพระร่วงฯ ที่องค์พระปฐมเจดีย์ ในวันที่ 31 สิงหาคม 2469 จึงได้ทำพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรังคาร ณ ใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ตามพระราชประสงค์

มีความเชื่อว่า พระร่วงโรจนฤทธิ์ โปรดหรือชอบลูกปืน โดยต้องแก้บนด้วยการยิงปืน แต่ต่อมาเป็นเรื่องผิดกฎหมาย จึงใช้จุดประทัดแทน และอีกอย่างที่เป็นของโปรด (ตามความเชื่อของชาวบ้าน) คือ ไข่ต้ม และไม่ใช่ไข่ต้มธรรมดาต้มสุกแล้วต้องชุบสีแดงที่เปลือกไข่หลังต้มแล้ว ก่อนนำมาแก้บน

ในการบนบานขอพรหรือขอความสำเร็จต่างๆ จากองค์พระร่วงโรจนฤทธิ์ ชาวบ้านทั้งชาวไทยชาวจีนในนครปฐมเป็นที่ทราบกันทั่วไปที่ผ่านมาเคยเห็นมีผู้มาแก้บนด้วยไข่ต้มนับร้อยนับพันใบก็มี

คำกล่าวบูชาพระร่วงโรจนฤทธิ์ที่แปลแล้วมีว่า "พระพุทธรูปพระองค์ใด ซึ่งมีอภินิหารไม่น้อย มีพระพุทธลักษณะอันงดงามผุดผ่อง พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทร มหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงถวายพระนามว่า "พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราช ปูชนียบพิตร" เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติ แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประดิษฐานมาอยู่ ณ วิหารมณฑลด้านทิศเหนือ แห่งองค์พระปฐมเจดีย์ ควบเวลาถึงกว่า 92 ปี (ปัจจุบัน) ได้แผ่พระบารมีปกเกล้าไปยังพุทธศาสนิกชนทั่วทุกทิศ ปานประหนึ่งว่า พระพุทธองค์ ทรงสถิตประทับยืนอยู่ ณ นิโรธาราม ริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี ใกล้เมืองกบิลพัสดุ์ ทรงโปรดพระประยุรญาติทั้งสองฝ่าย ให้คลายจาก มานะทิฐิอยู่ร่วมกันด้วยความร่มเย็นเป็นสุข"

"ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้าวันทาพระร่วงโรจนฤทธิ์พระองค์นี้ ซึ่งเป็นที่นำบุญมาให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า ผู้นมัสการอยู่ แม้พระปฐมเจดีย์ใหญ่ใด ซึ่งเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่ประดิษฐานองค์พระร่วงโรจนฤทธิ์ ซึ่งมีปาฏิหาริย์ไม่น้อย งดงามดุจพระจันทร์ในยามราตรี ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้าวันทาพระปฐมเจดีย์นี้ ซึ่งเป็นที่นำบุญมาให้แก่ผู้ทัศนาอยู่เสมอ ข้าพระพุทธเจ้าขอนมัสการพระร่วงโรจนฤทธิ์ พระบรมสารีริกธาตุ และองค์พระปฐมเจดีย์ที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งควรนมัสการอยู่โดยส่วนเดียว ด้วยเครื่องสักการะคือดอกไม้ไฟอันตั้งอยู่ ณ ทิศทั้งสี่ ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ ได้แล้วซึ่งบุญอันใด ด้วย อานุภาพแห่งบุญนั้น ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุข เป็นผู้ไม่มีเวร ปราศจากอันตราย เจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมเป็นนิตย์เทอญ"

สำหรับวัดพระปฐมเจดีย์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร ซึ่งอาณาจักรที่ตั้งสองสิ่งสำคัญอยู่ คือ องค์พระปฐมเจดีย์ และพระร่วงโรจนฤทธิ์ วัดพระปฐมเจดีย์ตั้งอยู่ในตำบลพระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 56 กิโลเมตร เป็นปูชนียสถานเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในไทย

ทั้งนี้ องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า มีลักษณะโครงสร้างเป็นพระเจดีย์ใหญ่รูประฆังคว่ำปากผายมหึมา โครงสร้างชั้นในเป็นไม้ซุงรัดด้วยโซ่เส้นมหึมา ก่ออิฐถือปูนประดับด้วยกระเบื้องปูทับประกอบด้วยวิหาร 4 ทิศ กำแพงแก้ว 2 ชั้น

พระปฐมเจดีย์สูงจากพื้นดินถึงยอดมงกุฏ 120.45 เมตร ฐานโดยรอบวัดได้ 235.50 เมตร

เส้นผ่าศูนย์กลาง 56.65 เมตร จากปากระฆังถึงสี่เหลี่ยมสูง 18.30 เมตร สี่เหลี่ยมด้านละ 28.10 เมตร ปล้องไฉน 27 ปล้อง เสาหาร 16 ต้น คตพระระเบียงรอบกำแพงแก้วชั้น 562 เมตร กำแพงแก้วชั้นในโดยรอบ 912 เมตร ซุ้มมีระฆังบนลานองค์พระปฐมเจดีย์ 24 ซุ้ม

ส่วนงานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ จัดขึ้นเป็นประจำ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนชั่วไปในจังหวัดนครปฐมและทั่วราชอาณาจักร ได้ร่วมกันบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และร่วมกันบริจาคทรัพย์บำรุงรักษาองค์พระปฐมเจดีย์ให้มั่นคงสืบเป็นประเพณี



ที่มา - ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: 17 พ.ค. 2551, 09:55:00 »
หลวงพ่อปากแดง วัดพราหมณี จ.นครนายก





 
"นครนายก" เดิมมีชื่อว่า "บ้านนา" เล่ากันว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดินแดนของนครนายกเป็นป่ารกชัฏเป็นที่ดอน ทำนาหรือเพาะปลูกอะไร ไม่ค่อยได้ผลและมีไข้ป่าชุกชุม ผู้คนจึงอพยพไปอยู่ที่อื่นจนที่นี่กลายเป็นเมืองร้าง

ต่อมา พระมหากษัตริย์ทรงทราบความเดือดร้อนของชาวเมืองจึงโปรดเกล้าฯ ให้เลิกภาษีนาเพื่อจูงใจชาวเมืองให้อยู่ที่เดิมทำให้มีผู้คนอพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้น จนเป็นชุมชนใหญ่และเรียกเมืองนี้กันติดปากว่า "เมืองนายก"

นครนายก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 107 กิโลเมตร ตามถนนเลียบคลองรังสิต สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี มีหลักฐานแนวกำแพงเนินดินและสันคู อยู่ที่ตำบลดงละคร แต่ชื่อนครนายกนั้น

ปรากฏหลักฐาน ในสมัยอยุธยาเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวันออก สมัยพระเจ้าอู่ทอง ในปี พ.ศ.2437 รัชกาลที่ 5 ทรงจัดลักษณะการปกครองโดยแบ่งเป็นมณฑล นครนายกได้เข้าไปอยู่ในเขตมณฑลปราจีนบุรี จนเมื่อพ.ศ.2445 ทรงเลิกธรรมเนียมการมีเจ้าครองเมือง ให้มีตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแทน

วัดพราหมณี ถือเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งใน จ.นครนายก ตั้งอยู่ที่ถนนสาริกา-นางรอง หลักกิโลเมตรที่ 4 ต.สาริกา อ.เมือง จ.นครนายก

วัดแห่งนี้ สร้างขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ.2446 ปัจจุบันนี้มีอายุ 100 กว่าปีแล้ว

วัดพราหมณี มีพระประธานศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นที่เคารพนับถือกันอย่างกว้างขวาง มีชื่อว่า "หลวงพ่อปากแดง" เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ สร้างด้วยโลหะสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 49 นิ้ว สูง 1 เมตร เป็นศิลปะสมัยล้านช้าง จีวรเป็นลายดอกพิกุล พระโอษฐ์แย้มทาสีแดงเห็นชัด ชาวบ้านจึงเรียกว่า "หลวงพ่อปากแดง"

สิ่งที่เด่นสะดุดตา คือ ที่ปากของหลวงพ่อมีสีแดงสด เหมือนมีผู้นำลิปสติกไปทาไว้ ผู้เฒ่าผู้แก่ย่านนั้นยืนยัน ว่าเห็นปากท่านแดงแบบนี้ มาตั้งแต่เกิด แม้แต่ปู่ย่าตายายของผู้เฒ่าเหล่านี้ก็บอกว่าเห็นมาตั้งแต่เกิดเหมือนกัน

พระครูโสภณพรหมคุณ หรือ "หลวงพ่อตึ๋ง" เจ้าอาวาสวัดพราหมณี เล่าว่า ตำนานเชื่อกันหลวงพ่อปากแดง เป็นพระพุทธรูปพี่น้องกับหลวงพ่อพระสุก และหลวงพ่อพระใส ที่ประดิษฐานอยู่ที่ จ.หนองคาย ในปัจจุบัน ที่ได้อัญเชิญมาจากนครเวียงจันทน์ พอมาถึงประเทศไทย ชาวบ้านได้แยกย้ายไปตามวัดต่างๆ ส่วนหลวงพ่อปากแดงนั้น ถูกชาวบ้านอัญเชิญและนำมาหยุดยังพื้นที่ว่างบริเวณที่เป็นวัดพราหมณีปัจจุบันนี้ จากนั้นก็ลงมือสร้างวัดแล้วก็อัญเชิญองค์หลวงพ่อขึ้นเป็นพระประธานในพระอุโบสถ

ซึ่งต่อมา "หลวงพ่อปากแดง" ก็กลายมาเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาว จ.นครนายก จนทุกวันนี้ โดยความเชื่อของประชาชนนั้น ประชาชนที่เดินทางไปเที่ยวน้ำตกสาริกา จะต้องแวะกราบสักการบูชา พร้อมกับบนบานด้วยกล้วยน้ำว้า 9 หวี หมากพลู 9 ชุด พวงมาลัย 9 พวง และน้ำแดง 1 ขวด กันอย่างล้นหลาม พร้อมทั้งตั้งจิตอธิษฐานให้สมความปรารถนาตัวเอง

วัดพราหมณี ยังคงมีเรื่องราวเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือ เมื่อครั้งเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา หรือสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้เลือกบริเวณที่ตั้งของวัดพราหมณีเป็นจุดพักทัพของกองพันทหารที่ 37 ซึ่งมีจุดหมายจะไปรวมพลกันที่บริเวณเขาชะโงก (ปัจจุบัน คือ สถานที่ตั้งของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก)

จึงมีทหารญี่ปุ่นล้มตายอยู่ในเขต จ.นครนายก หลายแห่งด้วยกัน ปรากฏว่ามีการค้นพบกระดูกของทหารญี่ปุ่นใกล้วัดพราหมณี ดังนั้น สมาคมทหารสหายสงครามกองพลญี่ปุ่นที่ 37 จึงได้สร้างอนุสรณ์สถานไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงทหารญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2532 ณ วัดพราหมณี

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม สร้างเป็นศาลาจตุรมุขประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทานพร ด้านหน้าพระพุทธรูปเป็นแท่นหินจารึกอักษรญี่ปุ่น ด้านซ้ายพระพุทธรูปเป็นแท่นหินอ่อน โดยมีการจารึกข้อความไว้อาลัย สดุดีความกล้าหาญ และระลึกถึงไว้ที่ฐานพระพุทธรูป

ป้ายจารึกด้านซ้ายของพระพุทธรูป และแท่นหินบูชาหน้าพระพุทธรูป ดังข้อความโดย สรุปของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ดังนี้

"อนุสรณ์สถานกองพลทหารญี่ปุ่นที่ 37 จัดสร้างโดยสมาคมทหารสหายสงคราม กองพลทหารญี่ปุ่นที่ 37 เมื่อปี 2532 เพื่อเป็นที่ระลึกถึงดวงวิญญาณของบรรดา ทหารซึ่งสังกัด กองพลทหารญี่ปุ่นที่ 37 จำนวน 7,929 นาย ที่สูญเสียชีวิต ในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อปี 2482-2488"

นอกจากนี้ สถานที่ท่องเที่ยวภายในวัด ประกอบด้วย วิหารเจ้าแม่กวนอิม ซึ่งจัดสร้างโดยกลุ่มนักธุรกิจจากไต้หวัน, ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, อุทยานการศึกษา มีรูปปั้นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์อยู่รอบบริเวณวัด เช่น ช้างพันธุ์แอฟริกา, กวาง, ควายป่า ฯลฯ สวนพักจิตร (สวนต้นไทร) ใช้เป็นที่พักผ่อนทำสมาธิหรือทำกิจกรรมยามว่าง




ที่มา - ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: 18 พ.ค. 2551, 08:57:24 »
หลวงพ่อวัดไร่ขิง วัดไร่ขิง จ.นครปฐม





หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดไร่ขิง (มงคลจินดาราม) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม

เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้ว สูง 4 ศอก 16 นิ้ว ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี 5 ชั้น มีผ้าทิพย์ปูทอดลงมา ผินพระพักตร์สู่ทิศเหนือ องค์พระงดงาม เป็นการผสมผสานงานพุทธศิลป์ 3 สมัย คือ เชียงแสน อู่ทอง และสุโขทัย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานใครสร้างขึ้นเมื่อไหร่

จากหนังสือประวัติของวัด ระบุว่า เรื่องราวของหลวงพ่อวัดไร่ขิง ซึ่งไปเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ตั้งแต่ครั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูน จ.พระนครศรีอยุธยา

สมเด็จพระพุฒาจารย์นั้น พื้นเพของท่านเป็นชาวนครชัยศรี เล่ากันเป็นสองนัยว่าท่านเป็นผู้สร้างวัดไร่ขิง เมื่อปี 2394 แล้วอาราธนาพระพุทธรูปจากพระนครศรีอยุธยามาเป็นพระประธาน กับอีกความหนึ่งว่า วัดไร่ขิงเดิมมีพระประธานอยู่แล้วแต่องค์เล็ก สมเด็จพระพุฒาจารย์ จึงบอกให้ไปนำพระพุทธรูปจากวัดของท่าน ซึ่งผู้คนจากวัดไร่ขิงก็พากันขึ้นไปรับ เชิญลงแพไม้ไผ่ล่องลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าแม่น้ำท่าจีนจนถึงวัด ก่อนอัญเชิญขึ้นประดิษฐานในพระอุโบสถ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับวันสงกรานต์ในปีนั้นพอดี

เล่ากันว่า ขณะที่อัญเชิญหลวงพ่อวัดไร่ขิงขึ้นจากน้ำสู่ปะรำพิธี เกิดความมหัศจรรย์ แสงแดดที่แผดจ้ากลับพลันหายไป ความร้อนระอุในวันสงกรานต์กลางเดือนห้า บังเกิดมีเมฆดำทะมึน ลมปั่นป่วน ฟ้าคะนองก้องในนภากาศ บันดาลให้ฝนโปรยลงมา ทุกคนในที่นั้นเกิดความยินดี พากันอธิษฐานจิต "ขอหลวงพ่อจักทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขดับความร้อนคลายความทุกข์ให้หมดไป ดุจสายฝนที่เมทนีดลทำให้ชุ่มฉ่ำ เจริญงอกงามด้วยธัญญาหาร"

จึงถือเป็นวันสำคัญ จัดให้มีงานเทศกาลนมัสการปิดทองประจำปีหลวงพ่อวัดไร่ขิง สืบต่อมาถึงทุกวันนี้

เรื่องราวความเป็นมาของหลวงพ่อวัดไร่ขิง ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับน้ำอยู่ตามสมควร ในประวัติพระพุทธรูปหลายสำนวนก็นับท่านรวมอยู่ในพระพุทธรูปห้าองค์พี่น้องที่ลอยน้ำมาจากทางเหนือ ประกอบด้วย หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จ.สมุทรสงคราม บางแห่งก็เพิ่มหลวงพ่อวัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี และหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน จ.สมุทรปราการ และขึ้นประดิษฐาน ณ ที่ต่างๆ กันด้วย

หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีเสียงเล่าลือกันจากปากต่อปากของประชาชนทั่วไป จากเหนือสู่ใต้ว่าหลวงพ่อมีอิทธิฤทธิ์และอภินิหารต่างๆ มากมายเป็นอเนกประการ แต่ละคนที่มีศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีเรื่องที่น่าอัศจรรย์ปรากฏแก่ตนเองเกือบทุกคน

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสไร่ขิง ได้นำอภินิหารและอิทธิฤทธิ์บางส่วนจากผู้ศรัทธาหลวงพ่อ มาบันทึกไว้ในหนังสือประวัติวัดและหลวงพ่อวัดไร่ขิง อาทิ

- หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีอภินิหารปิดทองไม่ติด ทั้งที่ในแต่ละปีมีประชาชนมาปิดทองหลวงพ่อเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน

- หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหาร ในการป้องกันสิ่งต่างๆ ตามความรู้สึกของแต่ละคนที่ตั้งใจปรารถนา

- น้ำมันและน้ำมนต์ของหลวงพ่อ รักษาโรคภัยต่างๆ ได้สมใจปรารถนา

- หลวงพ่อวัดไร่ขิง ช่วยให้รอดพ้นจากความตาย เพียงแค่ตั้งจิตถึงหลวงพ่อ

- หลวงพ่อวัดไร่ขิง ปิดตาขโมยได้ ป้องกันไฟไหม้

- หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นทุกอย่างได้ตามแรงอธิษฐานของคนอยากให้เป็น

หลวงพ่อวัดไร่ขิง ประดิษฐานเป็นที่เคารพกราบไหว้อยู่ ณ วัดไร่ขิง มาเป็นเวลานานเป็นที่รู้จักเรียกขานในนามหลวงพ่อวัดไร่ขิง คนในท้องถิ่นต่างเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และมักกราบไหว้บนบานเมื่อมีทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ

สำหรับคาถาบูชาหลวงพ่อวัดไร่ขิง ตั้งนะโม 3 จบ "กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา มะเหสักขายะ เทวะตายะ อะธิปาถิตัง อิทธิปาฏิหาริกัง มังคะละจินตารามพุทธะปะฏิมากะรัง ปูชามิหัง ยาวะชีวัญจะ สุกัมมิโก สุขะปัตถิตายะ"

ชาวบ้านเชื่อศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อวัดไร่ขิง ว่าสามารถปัดเป่าทุกข์โรคภัยไข้เจ็บทั้งปวงได้อย่างอัศจรรย์ ทั้งยังอำนวยโชคลาภให้แก่ผู้ที่เดินทางมาสักการะ

โดยเฉพาะในงานประจำปี ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 มีมหรสพ 9 วัน 9 คืน พุทธศาสนิกชนแห่นมัสการสักการะ และบนบานศาลกล่าวด้วย "ว่าวจุฬา" เชื่อว่าหลวงพ่อชอบเป็นพิเศษ รองลงมา คือ ประทัดและละครรำ




ที่มา - ข่าวสด

ออฟไลน์ แก๊งค์ - ยา - กู - ซ่า

  • ศิษย์วัดบางพระ
  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 134
  • เพศ: หญิง
  • ศิษย์หลวงพ่อเปิ่น
    • ดูรายละเอียด
ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: 19 พ.ค. 2551, 01:26:46 »
 :017:  ขอบคุณค่ะ พ่อนักเดินทาง :073:
[shake]ศิษย์หลวงพ่อเปิ่น[/shake]

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: 24 พ.ค. 2551, 08:58:24 »
หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี





"หลวงพ่อทอง" วัดเขาตะเครา เป็นพระพุทธรูปนั่ง ปางมารวิชัย หล่อด้วยสำริด หน้าตักกว้าง 21 นิ้ว และสูง 29 นิ้ว ปิดทองคำเปลวอร่ามทั้งองค์

ไม่มีหลักฐานระบุสร้างปีใด ใครเป็นผู้สร้าง มีเพียงตำนานเอ่ยถึง โดยเรื่องที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด มีรายละเอียด ดังนี้ มีพระสงฆ์ 2 รูป สามเณร 1 รูป ทั้งหมดเป็นพี่น้องกัน และมีฤทธิ์เดชเวทมนต์แรงกล้ามาก ทั้ง 3 ได้ทดลองวิชา โดยรูปแรกได้ทำน้ำมนต์ไว้และสั่งรูปที่ 2 ว่า "เดี๋ยวจะกระโดดลงน้ำแล้วจะกลายเป็นพระพุทธรูปลอยขึ้นมา แล้วให้ใช้น้ำมนต์รดลงไปก็จะกลับเป็นพระสงฆ์ตามเดิม"

แต่เมื่อกระโดดลงไปแล้วลอยขึ้นมาเป็นพระพุทธรูป รูปที่ 2 ก็ไม่รดน้ำมนต์ให้ โดยบอกว่า "เมื่อพี่ทำได้เราก็ทำได้" และได้สั่งให้สามเณร รดน้ำมนต์ให้ แล้วก็กระโดดลงน้ำ กลายเป็นพระพุทธรูปลอยขึ้นมา

ด้านสามเณร เมื่อเห็นว่า พระทั้ง 2 รูปทำได้ เราก็ทำได้เหมือนกัน จึงกระโดดลงน้ำแล้วกลายเป็นพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ โดยที่ไม่มีใครนำน้ำมนต์รดให้ จึงกลายเป็นพระพุทธรูปลอยน้ำอยู่เช่นนั้น

ต่อมาได้แสดงอภินิหาร โดยลอยทวนน้ำไปขึ้นที่ ช.พัน 2 ทหารช่างอยุธยา ภายหลังเรียกว่า คุ้ง 3 พระทวน ปัจจุบันเรียกเพี้ยนไปเป็น สัมประทวน

ช่วงเวลาต่อมา ได้ลอยน้ำโดยเอาเศียรวน ไปอยู่ที่ จ.ฉะเชิงเทรา ชาวบ้านเห็นและมีผู้นำสายสิญจน์ไปผูก พร้อมปลูกศาลเพียงตา อาราธนาอัญเชิญองค์กลางขึ้น ไว้ได้ 1 องค์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่วัดโสธรวราราม มีชื่อเรียกว่า "หลวงพ่อโสธร" จ.ฉะเชิงเทรา

เหลืออีก 2 องค์ ลอยมาโผล่ที่ชายทะเลแถบ จ.สมุทรสงคราม ชาวบ้านจึงได้ใช้เชือกจำนวน 3 เส้น ผูกพระพุทธรูปเพื่อดึงขึ้นฝั่ง แม้จะใช้คนจำนวนมาก ก็ไม่สามารถดึงขึ้นได้ จนเชือกขาดทั้ง 3 เส้น พระพุทธรูปจึงจมน้ำหายไป ต่อมาชาวบ้านจึงได้เรียกบริเวณนั้นว่าสามเส้น และต่อมาเรียกเพี้ยนเป็นสามเสน

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2302 สมัยปลายกรุงศรีอยุธยาก่อนเสียกรุงต่อพม่า ชาวบ้านแหลม จ.เพชรบุรี ได้อพยพหนีพม่าไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ปากคลองแม่กลอง อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม ใกล้กับวัดบ้านแหลม หรือวัดเพชรสมุทร ซึ่งวัดนี้ในอดีตมีชื่อว่าวัดศรีจำปา

ระหว่างที่ชาวประมงได้ออกเรือหาปลา ได้ลากอวนไปติดพระพุทธรูป 2 องค์ โดยองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปแบบนั่งและอีก 1 องค์ เป็นแบบยืน จึงได้ช่วยกันนำพระพุทธรูปปางยืน ไปประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลม ต่อมา ชาวบ้านได้เรียกว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม"

ส่วนอีก 1 องค์ ซึ่งเป็นปางนั่งสมาธิได้มอบให้ชาวบางตะบูน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เนื่องจากเป็นพี่น้องในย่านน้ำเดียวกัน ชาวบางตะบูน จึงได้นำมาประดิษฐานไว้ที่วัดเขาตะเครา และเรียกชื่อพระพุทธรูปว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"

พระมงคลวชิราจารย์ เจ้าอาวาสวัดเขาตะเครา ได้เล่าถึงที่มาของชื่อหลวงพ่อทองแห่งวัดเขาตะเครา ว่า เดิมชาวบ้านจะเรียกพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ว่า หลวงพ่อวัดเขาตะเครา เป็นที่เคารพบูชาของชาวประมงเป็นอย่างมาก แต่ได้มาเปลี่ยนชื่อเรียกเป็นหลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา หลังจากที่เกิดปรากฏการณ์ปาฏิหาริย์ขึ้น เมื่อกลางคืนวันที่ 24 กันยายน 2527 ขณะที่อาตมาจำวัด ได้ฝันว่ามีพระอายุมากรูปหนึ่งนำถุงบรรจุทองคำยื่นให้ พร้อมกับพูดว่า เอาไป หลังจากนั้นก็หายไป

ต่อมาวันที่ 28 กันยายน 2527 ได้เกิดไฟลุกไหม้ท่วมองค์หลวงพ่อวัดเขาตะเครา ขณะนั้นประดิษฐานอยู่ในอุโบสถ ขณะไฟลุกไหม้ทำให้ทองคำหลอมไหม้ไหลออกมาจากองค์หลวงพ่อทอง เมื่อนำทองคำทั้งหมดมาชั่งน้ำหนัก ปรากฏว่าได้น้ำหนักถึง 9 กิโลกรัม 9 ขีด

หลวงพ่อจึงได้นำเอาทองไปจัดทำเป็นลูกอมทองไหลหลวงพ่อทอง แล้วแจกจ่ายให้พุทธศาสนิกชนนำไปติดตัวและบูชา ได้ปัจจัยมาทั้งหมด 11 ล้านบาท เพื่อนำมาสร้างมณฑป โรงเรียน และศาสนสถานอื่นๆ สำหรับลูกอมหลวงพ่อทอง

ต่อมาได้เกิดปาฏิหาริย์มากมาย โดยเฉพาะทางด้านแคล้วคลาด ทำให้ประชาชนเคารพศรัทธามากขึ้น และเรียกหลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา ตลอดมาถึงปัจจุบัน

สำหรับวัดเขาตะเครา ก็ไม่มีหลักฐานระบุสร้างขึ้นเมื่อใด แต่เดิมพระอุโบสถอยู่บนยอดเขา ต่อมาย้ายพระอุโบสถลงมาเชิงเขา เพื่อความสะดวกเวลาปฏิบัติศาสนกิจ แล้วอัญเชิญหลวงพ่อทองลงมาที่ศาลาการเปรียญ ให้พุทธศาสนิกชนกราบสักการะ

เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยึดเหนี่ยวทางจิตใจชาวเพชรบุรี และพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ เล่ากันว่าศักดิ์สิทธิ์เรื่องโชคลาภ ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ผู้ที่สมัครเรียน สมัครงาน มักจะมาบนบานขอให้ได้ตามประสงค์ ผู้เจ็บไข้ได้ป่วยก็มักมาบนบานขอให้หาย

สำหรับคาถาบูชาหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" (3จบ)

"กาเยนะ วาจายะ มะยะเจตะสา มาระวิชะยัง สุวัณณะมานัง มะหาเตชัง มะหาลาภัง พุทธะปะฏิมัง เมตตาจิตตัง นะมามิหัง โอมะ ศรี ศรี ชัยยะ ชัยยะ สัพพะทุกขา อุปัททะวา สัพพันตะรายา สัพพะโรคา วินาสสันติ สะทาโสตถี ภะวันตุ เม" (แล้วอธิษฐาน)

หากบนแล้วได้สัมฤทธิ์ตามที่ขอ จะต้องแก้บน โดยเป็นชายจะบนบวชพระแก้ ถ้าเป็นหญิงจะบนบวชชีพราหมณ์ บ้างจุดประทัดถวาย หรือไม่ก็เลี้ยงอาหารแก้บน โดยเฉพาะในวันหยุด หรือวันสำคัญต่างๆ วัดเขาตะเคราจะคลาคล่ำไปด้วยพุทธศาสนิกชนที่หลั่งไหลมากราบสักการะ



ที่มา - ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: 25 พ.ค. 2551, 10:48:25 »
พระเจ้าใหญ่อินแปลง วัดป่าใหญ่ จ.อุบลราชธานี





วัดมหาวนาราม หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกอย่างคุ้นเคยว่า "วัดป่าใหญ่" ตั้งอยู่บนถนนสรรพสิทธิ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมากับการก่อตั้งจังหวัดอุบลราชธานี

ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปองค์ประธานชื่อ "พระเจ้าใหญ่อินแปลง" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูน พร้อมกับลงรักปิดทอง ลักษณะองค์พระเป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบลาว หน้าตักกว้างประมาณ 3 เมตร สูงจากเรือนแท่นถึงเปลวพระโมลี 5 เมตร

ประวัติเล่าสืบต่อกันของพระพุทธรูปองค์นี้มีมากมาย ตั้งแต่การสร้าง ว่า พระเจ้าใหญ่อินแปลง มีอยู่ด้วยกัน 3 องค์ โดยองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดอินทร์แปลงมหาวิหาร นครเวียงจันทน์ ประเทศลาว ปัจจุบันมีอายุประมาณพันกว่าปี

พระพุทธรูปอีกองค์ ประดิษฐานอยู่ที่วัดอินแปลง อ.เมือง จ.นครพนม ซึ่งก็มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพระเจ้าใหญ่อินแปลง วัดอินทร์แปลงมหาวิหาร ประเทศลาว

ส่วนองค์สุดท้าย คือ พระเจ้าใหญ่อินแปลง ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาวนาราม จ.อุบลราชธานี และมีอายุเกือบสองร้อยปีแล้ว สำหรับประเพณีปฏิบัติต่อพระพุทธรูปองค์นี้ ในวันเพ็ญเดือน 5 หรือในเดือนเมษายนของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตร เทศน์มหาชาติชาดก และสรงน้ำปิดทองพระเจ้าใหญ่อินแปลง

การสร้างพระเจ้าใหญ่อินแปลงเกิดขึ้นหลังจากพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ หรือท้าวคำผง ได้ก่อสร้างเมืองอุบลราชธานีที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำมูล พร้อมได้ก่อสร้างวัดที่ริมฝั่งแม่น้ำมูล โดยวัดแห่งแรกของจังหวัดมีชื่อว่า "วัดหลวง" เพื่อให้เป็นสถานที่ใช้ทำบุญทำกุศลของประชาชนทั่วไป

ภายหลังก่อสร้างวัดหลวงเสร็จสมบูรณ์ พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ได้นิมนต์พระธรรมโชติวงศา ซึ่งเป็นพระมหาเถระสายวิปัสสนากรรมฐาน พร้อมพระภิกษุสามเณรมาอยู่จำพรรษาสนองศรัทธาของประชาชน

แต่เมื่อพระธรรมโชติวงศาเข้ามาจำพรรษาเล็งเห็นว่า วัดหลวงแห่งนี้เป็นวัดบ้าน หรือ "ฝ่ายคามวาสี" ตั้งอยู่กลางใจเมืองไม่เหมาะแก่การปฏิบัติสมณธรรมวิปัสสนากรรมฐาน จึงได้แสวงหาสถานที่ปฏิบัติธรรมเจริญวิปัสสนากรรมฐานใหม่ โดยพิจารณาเห็นว่าป่าดงอู่ผึ้ง ห่างจากวัดหลวงไปทางทิศเหนือประมาณ 100 เส้น มีหนองน้ำชื่อหนองสะพัง เป็นสถานที่สงบวิเวกเหมาะแก่การตั้งเป็นสำนักสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน หรือ "ฝ่ายอรัญญาวาสี" จึงได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ให้ชื่อว่า "วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์" คู่กับวัดหลวง

แต่ยังไม่ทันได้ตั้งเป็นวัดให้สมบูรณ์เรียบร้อย พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ ผู้เป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก ก็ถึงแก่อนิจกรรมลงเมื่อ พ.ศ.2323

กระทั่งเจ้าเมืองคนที่ 2 คือ พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ หรือท้าวทิดพรหม ได้มาก่อสร้างวิหาร ในวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์เมื่อ พ.ศ.2348 และปี พ.ศ.2350 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นวัดประจำเจ้าเมืองคนที่สอง และให้ชื่อว่าวัดป่าหลวงมณีโชติ แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่าวัดหนองตะพัง หรือหนองสระพัง ตามชื่อหนองน้ำที่อยู่ใกล้เคียง โดยมีพระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก และพระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา เป็นผู้สร้างพระพุทธรูป "พระอินแปง" หรือพระเจ้าใหญ่อินแปลงองค์ปัจจุบันเป็นพระประธานประจำวัด

ส่วนชื่อวัดได้มีการเปลี่ยนชื่อวัดรวม 2 ครั้ง เป็นวัดมหาวัน และเปลี่ยนตามสมัยนิยมอีกครั้งชื่อว่า "วัดมหาวนาราม" แต่ความหมายของชื่อก็ยังคงเดิมคือแปลว่า "วัดป่าใหญ่"

ส่วนพระพุทธรูป "พระเจ้าใหญ่อินแปลง" หลังก่อสร้างเสร็จก็ได้รับความเคารพบูชาจากชาวเมืองมาโดยตลอด โดยเฉพาะในอดีตเมื่อมีความขัดแย้งกันขึ้น หรือเกิดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ ชาวเมืองก็จะชวนกันมาสาบานต่อหน้าองค์พระเจ้าใหญ่อินแปลง เพราะต่างเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน หากใครไม่ทำตามที่ได้ให้คำสัตย์สาบานเอาไว้ ก็จะมีอันเป็นไปต่างๆ นานา

รวมทั้งการมาขอพรให้ประสบความสำเร็จในการสอบไล่ หรือในหน้าที่การงาน และความประสบโชคมีสุขในครอบครัว หรือแม้กระทั่งมีสิ่งของสำคัญสูญหายไป จะมาบนบานต่อหน้าองค์พระเจ้าใหญ่อินแปลง เพื่อขอให้ได้สิ่งของที่หายไปกลับคืนมา

พระเจ้าใหญ่อินแปลง วัดมหาวนาราม หรือวัดป่าใหญ่ จึงเป็นที่พึ่งทางจิตใจของชาวจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียงมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อมีการเดินทางมารับตำแหน่งใหม่ของข้าราชการทุกระดับชั้น จะต้องมาไหว้กราบนมัสการบอกกล่าวต่อองค์ท่าน เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปอย่างราบรื่นปราศจากอุปสรรคใดๆ

สำหรับการทำบุญกับพระเจ้าใหญ่อินแปลงที่ชาวบ้านนิยมคือ การถวายดอกบัวตูม ธูป และเทียน พร้อมลงรักปิดทองที่ตัวองค์พระ และถวายสังฆทาน

แต่เนื่องจากอุโบสถที่ใช้ประดิษฐานพระเจ้าใหญ่อินแปลงเริ่มคับแคบ เพื่อลดความแออัดในการเข้าไปกราบนมัสการ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ ซึ่งมีประชาชนจากทั่วสารทิศพากันมากราบไหว้จำนวนมาก

ทางวัดได้จัดทำรูปองค์พระเจ้าใหญ่อินแปลงจำลองที่หน้าทางขึ้นอุโบสถ โดยประชาชนที่มากราบไหว้นมัสการขอพร สามารถเลือกที่จะเข้าไปกราบพระเจ้าใหญ่อินแปลงในอุโบสถ หรือเลือกกราบองค์พระจำลองที่สร้างไว้บริเวณทางขึ้นหน้าอุโบสถ



ที่มา - ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: 31 พ.ค. 2551, 09:47:31 »
พระนอนจักรสีห์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี






"พระนอนจักรสีห์" เป็นพระพุทธไสยาสน์ปางโปรดอสุรินทราหู เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ มีพุทธลักษณะที่งดงามองค์หนึ่ง และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ

ตั้งอยู่ที่วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร ต.จักรสีห์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี ห่างจากตัวเมืองสิงห์บุรีประมาณ 50 กิโลเมตร ไปทางด้านทิศตะวันออก

พระพุทธไสยาสน์ปางโปรดอสุรินทราหู องค์ใหญ่ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีพุทธลักษณะที่งดงามองค์หนึ่งของประเทศ บริเวณวัดยังเป็นที่ปฏิบัติธรรม เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทางด้านพุทธศาสนา สำหรับนักธรรม-บาลี และมีพระแก้ว พระกาฬ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่วัด

ชาวสิงห์บุรี มีความเชื่อว่าหากมีโอกาสได้นมัสการวัดพระนอนจักรสีห์ฯ แล้วเดินชมต้นสาละลังกาใหญ่ที่ปลูกไว้กว่า 100 ต้น ในบริเวณวัดแล้วอธิษฐานปรบมือใต้ต้นสาละ หากดอกสาละร่วงลงมา คำอธิษฐานนั้นจะประสบผลตามที่หวังไว้

ประวัติ "หลวงพ่อพระนอนจักรสีห์" เป็นพระพุทธรูปปางพระพุทธเจ้าทรงไสยาสน์ เทศนาโปรดยักษ์อสุรินทราหู เพื่อลดทิฐิของอสุรินทราหูที่ถือตัวว่ามีร่างกายใหญ่โตกว่ามนุษย์ พระพุทธเจ้าจึงเนรมิตร่างกายให้ใหญ่กว่ายักษ์

"หลวงพ่อพระนอน" จึงเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่และยาว สร้างโดยท้าวอู่ทอง มีความยาว 1 เส้น 3 วา 2 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว (47.40 เมตร) พระเศียรชี้ไปทางตะวันออก หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ มีความงดงามเป็นอย่างมาก

มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า "สิงหพาหุ" มีพ่อเป็นสิงห์ พอรู้ความจริงคิดละอายเพื่อนว่ามีพ่อเป็นสัตว์เดรัฐฉาน จึงฆ่าสิงห์ตาย ภายหลังรู้สึกตัวกลัวบาปและเสียใจเป็นอย่างมาก จึงสร้างพระพุทธรูปโดยเอาทองคำแท่งโต 3 กำมือ ยาว 1 เส้น เป็นแกนขององค์พระ เป็นการไถ่บาปและพระพุทธรูป มีอยู่ให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชามาหลายชั่วอายุคน จนองค์หลวงพ่อพระนอนได้พังทลายลงเป็นเนินดิน

ทั้งนี้ ไม่มีใครทราบว่าพระเจ้าสิงหพาหุ คือ ผู้ใด ครองเมืองอะไร ในยุคสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าสร้างก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

กาลนานต่อมา ท้าวอู่ทอง ได้นำพ่อค้าเกวียนผ่านมาทางนี้ แล้วพบแกนทองคำฝังอยู่ในเนินดิน และทราบเรื่องสิงหพาหุ เกิดความเลื่อมใสและเห็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา จึงชักชวนพ่อค้าเกวียนก่อสร้างพระพุทธรูปนี้ขึ้น โดยใช้แท่งทองคำที่พบนั้นเป็นแกนขององค์พระ

สำหรับ "วัดพระนอนจักรสีห์" เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร อยู่ที่ตำบลจักรสีห์ อ.เมือง จ.สิงหบุรี พื้นที่ของวัดมีขนาดกว้างประมาณ 7 เส้น (280 เมตร) ยาวประมาณ 10 เส้น (400 เมตร) สภาพที่เป็นอยู่เมื่อปี พ.ศ.2421

จากพระราชนิพนธ์เรื่อง ระยะทางเสด็จประพาสมณฑลอยุธยา มีว่า "วัดนี้อยู่ ห่างแม่น้ำสามสิบวา เป็นที่ลุ่มน้ำท่วม ต้องทุบถนนและมีสะพานข้าม รอบวิหารพระนอนมีกำแพงแก้วเตี้ยๆ ชั้นหนึ่ง ตัวพระวิหาร ยาว 1 เส้น 7 วา กว้าง 11 วา เสาข้างในเป็นแปดเหลี่ยม อาการที่พระพุทธไสยาสน์บรรทม ไม่เหมือนอย่างกรุงเก่า หรือกรุงเทพฯ พระกรทอดออกไปมากเพราะเขนยหนุนไม่สู้ชันนัก เป็นบรรทมราบ แต่พระบาทซ้อนกันตรงเหมือนอย่างพระนอนทั้งปวง"

หลักฐานที่มีอยู่คือ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการ เมื่อปีจอ ฉศก จุลศักราช 1111 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2297 และได้เสด็จไปอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ.2299 เพื่อสมโภชฉลอง

ต่อมาสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้เสด็จไปทรงนมัสการ เมื่อปี พ.ศ.2421 ในครั้งนั้น พระวิหารและพระนอนชำรุดทรุดโทรมมาก เนื่องจากขาดการบูรณปฏิสังขรณ์มานาน พระธรรมไตรโลก (อ้น) วัดสุทัศน์ ได้ทูลขอพระราชทานเงินค่านาสำหรับวัด เพื่อปฏิสังขรณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเงินค่านาของวัดและของเมืองสิงห์ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธไสยาสน์ ด้วยเมื่อนึกถึงว่าพระพุทธไสยาสน์ วัดพระนอนจักรสีห์ เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ที่สร้างขึ้นเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว ในสมัยที่เครื่องจักรเครื่องทุ่นแรงยังไม่มีใช้กันเช่นปัจจุบันก็พอจะทำให้เราเห็นถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของคนไทยในอดีตว่ายิ่งใหญ่เพียงใดได้เป็นอย่างดี

พระองค์ได้มอบถวายให้ และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระบำราศปรปักษ์ เป็นที่ปรึกษา

การปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2428

วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯมาทรงสักการะพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์

นับได้ว่า "หลวงพ่อพระนอนจักรสีห์" เป็นปูชนียวัตถุที่ทรงไว้ซึ่งปาฏิหารย์ศักดิ์สิทธิ์ล้ำค่า เป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนให้เดินทางมากราบไหว้บูชา เพื่อเป็นพุทธานุสติ ในอันจะน้อมรำลึกถึงคำสั่งสอนแห่งพระพุทธองค์



ที่มา - ข่าวสด

ออฟไลน์ นายยันต์กลับ

  • ชาล้นถ้วย หวยล้นแผง แกงล้นหมอ ล้วนแล้วแต่ไร้ประโยชน์
  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 114
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • สบายอินเบด ดอทคอม
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: 31 พ.ค. 2551, 10:02:16 »
ขอบคุณมากเลยครับ อย่างนี้ไม่ต้องเสียเงินซื้อ หนังสืออ่านเลย

โมทนาด้วยนะครับ

ปลาตะเพียน ช่างเวียน ช่างแวะ ขายดิบ ขายดี มั่งมี เยอะแยะ

หลวงปู่ทิม วัดพระขาว เทพเจ้าแห่งความเมตตา

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: 07 มิ.ย. 2551, 08:47:43 »
หลวงพ่อพระไชยเชษฐา วัดถ้ำสุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู





ชาว อ.สุวรรณคูหา มีสิ่งเคารพบูชาสูงยิ่ง คือ หลวงพ่อพระไชยเชษฐา เป็นพระพุทธรูปปางมุจลินทร์ นาคปรก 7 เศียร ที่วัดถ้ำสุวรรณคูหา เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาว อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู

ทั้งนี้ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระเจ้าแผ่นดินล้านช้าง ได้สร้างไว้เมื่อเกือบ 500 ปีมาแล้ว พร้อมถวายวิสุงคามสีมาให้แก่วัด มอบ "นาจังหัน"(ที่ทำกิน) ให้ชาวบ้านได้ทำไร่ทำนาและประกาศให้ผู้ที่ได้นาจังหันเสียภาษีร้อยละ 10 ให้การทำนุบำรุงวัดถ้ำสุวรรณคูหา และหลังฤดูเก็บเกี่ยวชาวบ้านก็นำภาษีมาส่งให้วัด

ช่วงดังกล่าวเข้าสู่ฤดูหนาว ชาวบ้านต้องมาพักอาศัยค้างแรมในบริเวณวัด จึงต้องนำข้าวเหนียวนึ่งมาปั้นย่างไฟเป็นข้าวจี่กินกัน และถวายเป็นการสักการะหลวงพ่อพระไชยเชษฐา และถวายพระสงฆ์ จนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน

แต่ละปีชาวบ้านที่นี่มีหน้าที่ต้องทำข้าวจี่ยักษ์ที่น่าจะบอกว่าใหญ่ที่สุดในโลกก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเจริญของบ้านเมือง ความศรัทธาของชาวบ้าน สืบสานประเพณีที่ดี งาม เป็นสิ่งที่ดีและความภาคภูมิใจของคน อ.สุวรรณคูหา และ จ.หนองบัวลำภู

"วัดถ้ำสุวรรณคูหา" เป็นวัดที่มีโบราณสถาน โบราณวัตถุที่กรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนไว้เรียบร้อยแล้ว ในสมัยก่อนเป็นวัดอรัญวาสี (ธรรมยุต) ปัจจุบันเป็นวัดมหานิกาย สร้างในภูเขาหินปูน โดยพระเถระในสมัยนั้นได้ดัดแปลงถ้ำให้เป็นที่พักอาศัยจำวัดบำเพ็ญภาวนา ภูเขาลูกดังกล่าวมีถ้ำอยู่กว่า 40 ถ้ำ มีถ้ำใหญ่เรียกว่าถ้ำสุวรรณคูหา ใช้เป็นสถานที่ทำสังฆกรรม (ลงอุโบสถ)

ภายในถ้ำมีพระประธานปางมุจลินทร์ ศิลปะสมัยล้านช้าง มีนาคปรก 7 เศียร หน้าตักกว้าง 4 เมตร สูง 5 เมตร สร้างด้วยปูนทราย มีส่วนผสมเป็นปูนขาว 2 ส่วน ทราย 5 ส่วน น้ำมะขาม 2 ส่วน ก่ออิฐเป็นโครงสร้างภายใน มีชื่อเรียกว่า "พระไชยเชษฐา" สร้างในสมัยพระไชยเชษฐาธิราช เจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้าง

ตามศิลาจารึกที่ปรากฏที่วัดถ้ำสุวรรณคูหา ระบุเทียบเท่าปี พ.ศ.2016 หรือกว่า 484 ปีล่วงมาแล้ว จารึกไว้ว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงทำนุบำรุงวัดถ้ำสุวรรณคูหา ถึงแม้ไม่ได้สร้างถาวรวัตถุ แต่ได้พระราชทานวิสุงคามสีมาแก่วัด ด้านละ 1,000 วา (2,500 ไร่) พระราชทานนาจังหัน คือ พื้นที่ในหมู่บ้านเป็นสิทธิของวัด เมื่อมีผลิตผลทางการเกษตร เช่น ข้าว มะพร้าว ตาล หมาก พลู ต้องเป็นสิทธิของวัดร้อยละ 10

หมู่บ้านในเขตนาจังหันในปัจจุบันนี้มี บ้านดงยาง บ้านนาตาแหลว บ้านนาสึกสาง (บ้านนาสี) บ้านนาท่าเป็ด (บ้านนาไร่เดียว) บ้านกุดผึ้ง บ้านนาหัน บ้านโนนสง่า บ้านนาแพงเมือง บ้านคูหาพัฒนา

ซึ่งชาวบ้านที่อยู่ในเขตนาจังหันไม่ต้องถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารและไม่ต้องเสียค่าส่วยไร่ (ภาษี) แก่เจ้าเมือง เป็นการแสดงถึงความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาและความศักดิ์สิทธิ์ของพระไชยเชษฐามาโดยตลอด

พระอธิการเพิ่ม พุทธธัมโม เจ้าอาวาสวัดถ้ำสุวรรณคูหา เปิดเผยว่า ปัจจุบันจะมีชาวบ้านมาจากหลายแห่งทั้งภาคอีสานหรือภาคอื่นๆ เดินทางมากราบไหว้ บนบานศาลกล่าว ด้วยการนำดอกไม้ธูปเทียน โพธิ์เงินโพธิ์ทอง พวงมาลัย มากราบไหว้ขอพรพระไชยเชษฐา ชาวบ้านทำไร่ทำนาก็ขอให้มีผลิตผลออกมาดีไร่นาอุดมสมบูรณ์ หลายคนมาบนบานขอให้มีตำแหน่งหน้าที่ดีๆ สอบได้ที่ดี หรือทำมาหากินมีรายได้ดี ซึ่งก็มักประสบผลสำเร็จลูกศิษย์ลูกหาที่ศรัทธาก็สร้างองค์พระไชยเชษฐาจำลองมาถวาย

ส่วนคนในอำเภอสุวรรณคูหา หากจะออกไปต่างจังหวัดไปทำงานต่างถิ่นหรือออกไปประกอบอาชีพที่อื่น จะเข้ามา กราบไหว้ขอพร ขอให้แคล้วคลาด หรือมีรายได้กลับมาเป็นกอบเป็นกำ ซึ่งมักจะเห็นผลบางคนถึงกับปวารณาตัวกลับเข้ามาบำรุงรักษาวัด

และในวันขึ้น 13-14 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีอำเภอสุวรรณคูหา ร่วมกับเทศบาลตำบลสุวรรณคูหา จะจัดงานบวงสรวงพระไชยเชษฐาเป็นประจำทุกปี โดยจะมีชาวบ้านร่วมนำข้าวเปลือก ข้าวสาร ผลิต ผลทางการเกษตร นำมาถวาย จัดขบวนแห่รำฟ้อนอย่างสวยงาม

ที่ถือปฏิบัติมิได้ขาดเป็นประเพณีสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณ คือ การที่ชาวบ้านในสมัยก่อนในนาจังหัน เมื่อนำสิ่งของมาถวายเพื่อทำนุบำรุงรักษาวัด ซึ่งอยู่ในช่วง 14-15 ค่ำ เดือน 3 ที่มีอากาศหนาวเย็น มักจะนำข้าวเหนียวนึ่งมาปั้นย่างไฟเป็นข้าวจี่ มีการร่วมวงกินร่วมกันและสนทนาพาทีกัน เรียกกันว่ารวมบุญข้าวจี่

ก่อนจะรับประทาน ต้องถวายพระสงฆ์เป็นภัตตาหาร ได้ถือปฏิบัติมาช้านานจนบัจจุบันกลายเป็นประเพณีบุญข้าวจี่ ซึ่งคณะกรรมการจัดงานก็ได้จัดสร้างข้าวจี่ยักษ์ขนาดใหญ่ถวายหลวงพ่อพระไชยเชษฐา ก่อนจะแจกจ่ายให้ประชาชนที่มาร่วมงานได้รับประทาน

ถือเป็นการรับบารมีหลวงพ่อพระไชยเชษฐาที่มีประชาชนมาร่วมงานกันเป็นจำนวนมากในทุกปีด้วย



ที่มา - ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: 14 มิ.ย. 2551, 09:11:35 »
หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน ต.บางพลีใหญ่ จ.สมุทรปราการ





"หลวงพ่อโต" วัดบางพลีใหญ่ใน ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย (สะดุ้งมาร) องค์พระเป็นทองสำริดทั้งองค์ หน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 คืบ ลืมพระเนตร เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดบางพลีใหญ่ใน

ได้รับการกล่าวขวัญถึงความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพสักการะของชาวบางพลีและพุทธศาสนิกชนทั่วไป

ตามตำนาน เล่าสืบต่อกันมา ว่าประมาณกาล 200 กว่าปีล่วงมาแล้ว ได้มีพระพุทธรูป 3 องค์ ปาฏิหาริย์ลงมาจากทางเหนือ ลอยมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดมาพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ เข้าใจว่าปวงชนในกรุงศรีอยุธยาคงอาราธนาท่านลงสู่แม่น้ำ เพื่อหลบหนีข้าศึก ด้วยในสมัยนั้นบ้านเมืองได้เกิดสภาวะสงครามขึ้นกับพม่า

พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ได้แสดงอภินิหารลอยล่องมาตามลำแม่น้ำ และบางครั้งก็แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ผุดให้ผู้คนเห็นตามลำดับ จนเป็นที่โจษจันกันทั่ว ถึงอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน

ต่อมาภายหลังปรากฏว่า พระพุทธรูปองค์หนึ่งไปขึ้นประดิษฐานอยู่ที่ วัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม

ในเวลาไล่เลี่ยกันพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง ไปขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธร จ.ฉะเชิงเทรา

ส่วนอีกองค์หนึ่งได้ล่องลอยเรื่อยมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา ปาฏิหาริย์ลอยวกเข้ามาในลำคลองสำโรง ประชาชนพบเห็นต่างโจษจันกันไปทั่ว พร้อมกับได้อาราธนาขึ้นที่ปากคลองสำโรง แต่พระพุทธรูปไม่ยอมขึ้น

ในที่นั้น มีผู้มีปัญญาดีคนหนึ่ง ได้ให้ความเห็นว่า คงเป็นเพราะบุญญาอภินิหารของท่าน แม้จะใช้จำนวนผู้คนสักเท่าไรอาราธนาฉุดท่านขึ้นบนฝั่งไม่สำเร็จเป็นแน่ ควรจะเสี่ยงทายต่อแพผูกชะลอกับองค์ท่าน แล้วใช้เรือพายฉุดท่าน ให้ลอยตามลำน้ำสำโรงและอธิษฐานว่า "หากท่านประสงค์จะขึ้นโปรดที่ใดก็ขอจงได้แสดงอภินิหารให้แพที่ลอยมาจงหยุด ณ ที่นั้นเถิด"

เมื่อประชาชนทั้งหลายได้เห็นพ้องดีกันดังนั้นแล้ว ก็พร้อมใจกันทำแพผูกชะลอกับองค์ท่านแล้วใช้เรือ ซึ่งสมัยนั้นเป็นเรือพายทั้งสิ้น ช่วยกันจ้ำพายจูงแพลอยเรื่อยมาตามลำคลองเรือที่ใช้ลากจูงแพมานั้นมีชื่อแปลกต่างๆ กัน เช่นชื่อ ม้าน้ำ เป็ดน้ำ ตุ๊กแก และอื่นๆ เป็นต้น และจัดให้มีการละเล่นต่างๆ มีละครเจ้ารำถวายมาตลอดทาง และการละเล่นอื่นๆ ครึกครื้นมาตลอดทั้งลำน้ำ

ครั้นแพลอยมาถึงบริเวณหน้าวัดพลับพลาชัยชนะสงคราม หรือวัดบางพลีใหญ่ใน แพที่ผูกชะลอองค์ท่านเกิดหยุดนิ่ง พยายามจ้ำและพายกันอย่างเต็มที่เต็มกำลัง แพนั้นก็หาได้ขยับเขยื้อนไม่

ประชาชนที่มากับเรือและชาวบางพลี จึงได้พร้อมใจกันอาราธนาตั้งจิตอธิษฐานว่า "ถ้าหลวงพ่อจะโปรดคุ้มครองชาวบางพลีให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขแล้วก็ ขออาราธนาอัญเชิญองค์ท่านให้ขึ้นจากน้ำได้โดยง่ายเถิด"

และเป็นที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างมาก เพียงใช้คนไม่มากนัก สามารถอาราธนาท่านขึ้นจากน้ำได้โดยง่าย ทำให้ประชาชนต่างแซ่ซ้องในอภินิหารของท่านเป็นอย่างยิ่ง และได้อาราธนาท่านขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในวิหารนั้นเรื่อยมา

ครั้นต่อมาได้รื้อวิหารนั้นอีกเพื่อสร้างเป็นพระอุโบสถที่ถาวร จึงต้องชะลออาราธนาองค์ท่านมาพักไว้ยังศาลาชั่วคราว จนกระทั่งได้สร้างพระอุโบสถสำเร็จแล้ว จึงได้อาราธนาท่านไปประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ เพื่อเป็นพระประธานของวัดบางพลีใหญ่ใน

เล่ากันว่า เมื่อคราวสร้างพระอุโบสถเสร็จใหม่ๆ ได้วัดช่องประตูพระอุโบสถกับองค์หลวงพ่อโต ปรากฏว่า ช่องประตูใหญ่กว่าองค์พระประมาณ 5 นิ้ว ซึ่งสามารถนำองค์หลวงพ่อโตผ่านเข้าไปได้

แต่พอถึงคราวอาราธนาจริง กลับปรากฏว่า องค์หลวงพ่อใหญ่กว่าประตูมาก คณะกรรมการจำนวนหนึ่งเห็นว่าควรทุบช่องประตูทิ้ง แต่อีกจำนวนหนึ่งเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโต จึงได้พร้อมใจกันอธิษฐานขอให้หลวงพ่อโตสามารถผ่านเข้าประตูได้ เพื่อเป็นมิ่งขวัญคุ้มครองชาวบางพลีสืบไป

เมื่ออธิษฐานเสร็จก็อาราธนาหลวงพ่อโตผ่านประตูได้โดยสะดวก

การที่ท่านได้พระนามว่า "หลวงพ่อโต" คงเป็นเพราะองค์ของท่านใหญ่โต คือ ใหญ่โตกว่าองค์ที่ลอยน้ำมาด้วยกันทั้ง 2 องค์ จึงถือเป็นนิมิตอันดีให้ประชาชนพากันถวายนามว่า "หลวงพ่อโต" เป็นสิ่งที่เคารพสักการะของชาวบางพลี ตราบเท่าทุกวันนี้

ทั้งนี้ การลำดับว่าองค์ไหนองค์พี่ องค์กลาง องค์น้อง และลอยมาพร้อมกันตามตำนานที่สืบต่อกันมา เข้าใจว่าคงจะนับเอาองค์ที่อาราธนาขึ้นจากน้ำได้ก่อนเป็นองค์พี่ ขึ้นจากน้ำองค์ที่ 2 เป็นองค์กลาง ขึ้นจากน้ำองค์ที่ 3 เป็นองค์น้อง ตามลำดับ คือ

หลวงพ่อวัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม อาราธนาขึ้นจากน้ำองค์ที่ 1

หลวงพ่อโสธร วัดโสธรฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา อาราธนาขึ้นจากน้ำองค์ที่ 2

หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการ อาราธนาขึ้นจากน้ำ เป็นองค์ที่ 3 เรียงกันตามลำดับ

นอกจากนี้ หลวงพ่อโตยังได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เจ็บป่วยทั้งหลายที่มาบอกเล่าบนบานกราบนมัสการท่าน บางท่านได้นำน้ำมนต์หลวงพ่อไป เพื่อความเป็นสิริมงคล ปรากฏว่าโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นนั้นหายวันหายคืน

แม้แต่กระทั่งรูปเหรียญหลวงพ่อโตชาวบ้านทั้งใกล้ไกลต่างพากันห้อยคอให้แก่บุตรหลานของตน เพราะเมื่อเด็กเผลอพลัดตกน้ำเด็กนั้นกลับลอยได้เป็นที่น่าอัศจรรย์ ตลอดทั้งพระเครื่องรางที่ทำเป็นรูปขององค์หลวงพ่อ ก็มีอภินิหารป้องกันภยันตรายต่างๆ ได้

ทุกวันนี้ชาวบางพลีต่างเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และบารมีของหลวงพ่อโตที่คุ้มครองชุมชนบางพลีให้ปลอดภัยจากอัคคีภัย ในขณะที่ชุมชนโดยรอบ อาทิ ตลาดบางบ่อ ตลาดจระเข้ ตลาดคลองด่าน ล้วนแต่ประสบกับอัคคีภัยมาแล้วทั้งนั้น



ที่มา - ข่าวสด

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: 14 มิ.ย. 2551, 09:46:55 »
 :053: เพิ่มเติมอีกแล้ว ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: 21 มิ.ย. 2551, 12:20:16 »
พระเหลาเทพนิมิต อ.พนา จ.อำนาจเจริญ





"พระเหลาเทพนิมิต" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดสูง 2.70 เมตร หน้าตักกว้าง 2.85 เมตร เป็นพระประธานประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดพระเหลาเทพนิมิต อ.พนา จ.อำนาจเจริญ

ตามประวัติ บรรพบุรุษผู้สร้างบ้านแปลงเมืองบ้านพนา ได้พากันอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณดงสูง ริมกุดบึงใหญ่ หรือกุดพระเหลาในปัจจุบัน

"พระครูธิ" พระที่ชาวบ้านให้การเคารพนับถือ ได้ชักชวนให้ร่วมกันสร้างวัดบริเวณริมกุดบึงใหญ่ และให้ชื่อวัดแห่งนี้ว่า "วัดศรีโพธิชยารามคามวดี" โดยมีพระครูธิ เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก

หลังสร้างวัดเสร็จในปี พ.ศ.2263 พระครูธิ นำศิษย์และญาติโยมเริ่มก่อสร้างโบสถ์ และศาลาการเปรียญ โดยตัวโบสถ์กว้าง 9.80 เมตร ยาว 15.50 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ฐานโบสถ์และผนังก่อด้วยอิฐ โครงหลังคาเป็นไม้เนื้อแข็งลดหลั่น 2 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องไม้

พ.ศ.2515 ได้เปลี่ยนเป็นหลังคากระเบื้อง เพราะของเดิมทรุดโทรมมาก หน้าบันไดด้านตะวันออกทำด้วยไม้สลักลวดลายต่างๆ ห้องกลางมีลายเถาว์ไม้เต็มห้อง ตรงกลางเป็นรูปราหูกลืนจันทร์ ระหว่างเถาว์ไม้ยังมีรูปเทพนม และรูปหนุมานสลับเป็นช่อง ลวดลายทั้งหมดทำด้วยปูนเพชรแกะสลักอย่างประณีต ไม่ได้สลักลงในเนื้อไม้ พร้อมลงรักปิดทองฝังกระจกทั้งหมด

ภายในตัวโบสถ์ยังใช้ไม้เนื้อแข็งทรงกลมทำเป็นเสาขนาดวัดรอบ 76 เซนติเมตร จำนวน 8 ต้น ต่อมาในปี พ.ศ.2464 ได้มีการเปลี่ยนเสาไม้เป็นเสาอิฐถือปูนรูป 4 เหลี่ยม และปี พ.ศ.2471 ท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล เจ้าคณะจังหวัดกิตติมศักดิ์ จ.อุบลราชธานี ได้เขียนลายเถาว์ด้วยสีต่างๆ รอบเสา 4 ต้น ที่อยู่ในห้องพระประธาน ส่วนเพดานติดดาวกระจายปิดทองประดับกระจก 44 ดวง โดยพื้นเพดานเป็นสีแดงดูอร่ามตา ส่วนพื้นอุโบสถทำเป็นกระเบื้องซีเมนต์

หลังสร้างอุโบสถเสร็จ พระครูธิ ได้นำคณะลูกศิษย์สร้างองค์พระประธานประจำอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดสูง 2.70 เมตร หน้าตักกว้าง 2.85 เมตร ก่อด้วยอิฐถือปูนลงรักปิดทอง แท่นพระประธานก่อด้วยอิฐถือปูน มีชายผ้านิสีทะนะเหลื่อมพ้นออกมา ตรงกลางผ้ามีรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม โดยท่านพระครูธิเป็นผู้ออกแบบเอง และมอบหมายให้ภิกษุแก้วกับภิกษุอิน ลูกศิษย์เป็นช่างทำการก่อสร้าง

โดยพระครูธิ อธิบายวิธีทำให้ลูกศิษย์ทำเป็นวันละส่วน วันละตอน หลังลูกศิษย์ทำงานเสร็จก็ให้มารายงานผลการสร้างให้ทราบทุกวัน โดยท่านพระครูธิไม่ได้ลงไปดูแลด้วยเอง

กระทั่งถึงขั้นตอนขัดเงาลงรักปิดทอง ท่านจึงลงไปดูและถามลูกศิษย์ที่เป็นช่างว่า "ทำงานได้เต็มฝีมือแล้วหรือ" เหล่าช่างก็ตอบว่าได้ทำเต็มฝีมือแล้ว แต่เมื่อพระครูธิ เห็นองค์พระประธานที่เหล่าบรรดาลูกศิษย์พากันทำมา จึงเอ่ยว่าทำงานได้งามอยู่หรอก แต่ต้องให้งามกว่านี้ บรรดาลูกศิษย์ที่เป็นช่างยอมรับว่าหมดฝีมือที่จะทำแล้ว คงไม่สามารถทำให้พระประธานงามได้มากกว่านี้

ขณะเดียวกัน มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ "ซาพรหม" ซึ่งอยู่ในทีมช่างที่ก่อสร้างองค์พระ ได้แสดงตนว่า สามารถทำให้องค์พระงามกว่านี้ได้ พระครูธิ จึงมอบหมายให้ซาพรหมเป็นผู้แก้ไข และซาพรหมก็ทำองค์พระพุทธรูปได้สวยงามสมคำพูด โดยเฉพาะใบหน้าองค์พระประธานมีลักษณะงดงามสมส่วนทุกประการ

จากลักษณะขององค์พระพุทธรูปที่งดงาม เวลาเข้าไปกราบนมัสการจะเหมือนท่านยิ้มต้อนรับ คนทั่วไปจึงตั้งชื่อให้ท่านว่า "พระเหลา" ที่มีความหมายว่า "งดงามคล้ายเหลาด้วยมือ"

ต่อมา วัดศรีโพธิชยารามคามวดี ที่ใช้เป็นที่ประดิษฐานองค์พระเหลา ได้เปลี่ยนชื่อเรียกตามความนิยมในตัวองค์พระเป็นวัดพระเหลา หมู่บ้านที่ตั้งได้เปลี่ยนชื่อตามเป็นบ้านพระเหลาด้วย

จนถึง พ.ศ.2441 ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของ จ.อุบลราชธานี และอีสาน ได้เสริมนามต่อท้ายให้กับองค์พระเป็น "พระเหลาเทพนิมิต" ซึ่งมีความหมายว่า พระพุทธรูปที่งามคล้ายเหล่าดุจเทวดานิมิตไว้

สำหรับพระเหลาเทพนิมิต นอกจากจะมีความงดงามตามพุทธศิลปะแล้ว มีคำเล่าลือกันว่า ทุกคืนวันพระ 7, 8 ค่ำ 14, 15 ค่ำ องค์พระพุทธรูปพระเหลาเทพนิมิต จะแสดงพุทธานุภาพให้เกิดลำแสงสีเขียวแกมขาวขจีลอยออกจากอุโบสถในเวลาเงียบสงัด

ทั้งนี้ การเข้ากราบนมัสการพระเหลาเทพนิมิต ผู้ต้องการบนบานขอให้ประสบความสำเร็จในชีวิต โดยเฉพาะคนที่ไม่มีบุตรมีการกล่าวกันว่า เมื่อมาบนบานขอจากพระเหลาเทพนิมิตแล้วจะประสบความสำเร็จสมดังที่ตั้งใจ ส่วนสิ่งของที่ใช้บนบานสานกล่าวก็คือ ดอกไม้ธูปเทียน และปราสาทผึ้ง

ปัจจุบัน วัดพระเหลาเทพนิมิต มีพระครูอุดมวิหารกิจ เป็นเจ้าอาวาสวัด ส่วนวัดพระเหลาเทพนิมิต ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอพนาเพียง 2 กิโลเมตร มีเส้นทางคมนาคมสะดวก

สำหรับการจัดงานนมัสการหลวงพ่อพระเหลาเทพนิมิต วัดจะจัดงานทุกวันเพ็ญเดือน 3 หรือในวันมาฆบูชาทุกปี




ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: 21 มิ.ย. 2551, 12:05:47 »
ขอบคุณครับ  :053:

ออฟไลน์ oho

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 117
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
Re: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: 22 มิ.ย. 2551, 02:46:56 »
ขอบคุณครับสำหรับความรู้

ออฟไลน์ ~เสน่ห์โจรสลัด~

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 7913
  • เพศ: ชาย
  • " ถ้ามุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งคุณจะเป็นที่หนึ่ง "
    • ดูรายละเอียด
Re: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #39 เมื่อ: 22 มิ.ย. 2551, 02:58:48 »
เยี่ยมครับ

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #40 เมื่อ: 28 มิ.ย. 2551, 12:12:18 »
พระสัพพัญญูเจ้า อ.เมือง จ.อุบลราชธานี





"พระสัพพัญญูเจ้า" เป็นพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 4 คืบ หล่อขัดเงา ไม่ปิดทอง พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุบลราชธานี ประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดสุปัฏนารามวรวิหาร อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

ประวัติวัดสุปัฏนารามวรวิหารแห่งนี้ มีชื่อเดิมว่า "วัดสุปัฏนาราม" เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2396

ปัจจุบันวัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร และเป็นวัดธรรมยุตวัดแรกของ จ.อุบลราชธานี มีอาณาเขตทั้งสิ้น 21 ไร่ 38 ตารางวา ตั้งอยู่ถนนสุปัฏ ต.ในเมือง อ.เมือง มีทำเลที่ตั้งอยู่ติดแม่น้ำมูล สร้างในสมัยพระพรหมราชวงศา (พระอุปราชกุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานี คนที่ 3

สำหรับการพระราชทานนามว่า "วัดสุปัฏนาราม" มีความหมายของคำ 2 นัย คือ

1.หมายถึงวัดที่มีสถานที่ตั้งเหมาะสมเพื่อเป็นท่าเรืออย่างดี เพราะอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูลสะดวกต่อการเดินทาง และการออกบิณฑบาต

2.หมายถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นศาสนสถานเปรียบดั่งท่าเรือ ที่ให้มวลมนุษย์ข้ามพ้นโอฆสงสารไปได้

การสร้างวัดสุปัฏนาราม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้กรมการเมืองอุบลราชธานีในขณะนั้นคือ พระพรหมราชวงศา เลือกพื้นที่ดำเนินการสร้างวัดเมื่อ พ.ศ.2393 การสำรวจพื้นที่พบว่า บริเวณท่าเหนือช่วงบ้านบุ่งกาแซว (ปัจจุบันเป็นชุมชนบุ่งกาแซว ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนคร) เป็นสถานที่เงียบสงบเหมาะให้พระภิกษุสงฆ์ใช้เป็นที่บำเพ็ญศาสนกิจ และสะดวกต่อการโคจรบิณฑบาต จึงก่อสร้างวัดให้เสร็จสิ้นลงเมื่อ พ.ศ.2396

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระพรหมราชวงศา อาราธนาพระพันธุโลเถร (ดี) และพระเทวธมมี (ม้าว) มาครองวัด จนกระทั่งถึง พ.ศ.2478 สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดให้ใหม่สมกับเป็นอารามหลวงชั้นวรวิหารว่า "วัดสุปัฏนารามวรวิหาร"

กล่าวได้ว่า วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ด้านการศาสนา มีพระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมผสมผสาน โดยหลังคาเป็นแบบไทย ส่วนกลางของตัวอุโบสถเป็นแบบยุโรป (เยอรมัน) ส่วนฐานสร้างแบบขอมโบราณ

ลักษณะโดดเด่นอีกประการ คือ ตัวอุโบสถไม่มีหน้าต่าง แต่ทำเป็นประตูโดยรอบ มีขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 34 เมตร สูง 22 เมตร สำหรับผู้ออกแบบอุโบสถหลังนี้ คือ หลวงสถิตถ์นิมานการ (ชวน สุปิยพันธุ์) สร้างเมื่อ พ.ศ.2473

ส่วนพระอุโบสถหลังเดิม ยาว 11 วา 2 ศอก กว้าง 8 ศอก สร้างด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ด้วยอุโบสถหลังเก่า ได้ชำรุดทรุดโทรม ยากแก่การบูรณะ จึงได้สร้างอุโบสถหลังนี้ขึ้นแทน เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระประธาน อันมีนามว่า "พระสัพพัญญูเจ้า"

"พระสัพพัญญูเจ้า" สร้างเมื่อ พ.ศ.2459 ก่อนการสร้างอุโบสถหลังใหม่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 4 คืบ เป็นพระพุทธรูปหล่อขัดเงาไม่ปิดทอง เริ่มการหล่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2459 เวลา 04.03 น. แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2459 (ก่อน พ.ศ.2483 ประเทศไทยได้นับเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปี และนับเดือนมีนาคมเป็นเดือนสุดท้ายของปี) ตั้งประดิษฐานรวมกับพระพุทธรูปสำคัญองค์อื่นอีกหลายองค์

นอกจากนี้ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ยังมีหอศิลปวัฒนธรรม สร้างเมื่อ พ.ศ.2535 เพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมศิลปะและโบราณวัตถุต่างๆ เช่น ทับหลัง ศิลาจารึก ที่ได้มาจากถ้ำภูหมาไน (ตั้งอยู่ในอำเภอสิรินธร) เป็นจารึกที่มีข้อความคล้ายกับจารึกจิตรเสน ในสมัยเจนละ รวมทั้งสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ผู้ศรัทธารวบรวมมาถวายให้เป็นสมบัติของวัด

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งนี้ เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้เฉพาะเทศกาลสำคัญเท่านั้น

ส่วนการเข้ากราบไหว้บูชา "พระสัพพัญญูเจ้า" วัดเปิดให้ประชาชนเข้ากราบไหว้ได้อย่างใกล้ชิดทุกวันตามกำลังศรัทธา สิ่งใช้กราบไหว้นมัสการเป็นดอกไม้ธูปเทียนทั่วไป ไม่ได้มีการเน้นสิ่งใดเป็นกรณีพิเศษ

ในอดีตชาวเรือที่เป็นชาวประมงน้ำจืดริมฝั่งแม่น้ำ หรือเป็นพ่อค้าวาณิชย์ที่ใช้เส้นทางน้ำเป็นเส้นทางค้าขาย จะเลื่อมใสศรัทธา ขอให้พระสัพพัญญูเจ้า เป็นผู้คอยปกปักรักษาภัยอันตรายต่างๆ ในการทำมาหากิน

พระสัพพัญญูเจ้า จึงได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธาอย่างมาก

ถึงแม้ปัจจุบันการทำการค้าผ่านทางน้ำได้ยกเลิกไปแล้ว แต่ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ยังเข้ามากราบไหว้พระสัพพัญญูเจ้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลวันสำคัญ

ผู้คนจะหลั่งไหลมากราบไหว้ขอพรจากองค์พระสัพพัญญูเจ้าไม่ขาดสาย



ที่มา - ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #41 เมื่อ: 05 ก.ค. 2551, 10:39:39 »
พระมงคลมิ่งเมือง พระคู่เมืองอำนาจเจริญ







"พระมงคลมิ่งเมือง" เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดอำนาจ เจริญ

ประวัติความเป็นมาของพระมงคลมิ่งเมือง เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2503 พระครูทัศประกาศ เจ้าอาวาสวัดมงคลมิ่งเมือง อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ (สมัยสร้างยังเป็นอำเภออำนาจเจริญ จ.อุบล ราชธานี) ต้องการสร้างพระพุทธรูปประธานขนาดใหญ่ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โบราณวัตถุทางพุทธศาสนาที่หักพัง เช่น เศียรพระพุทธรูป ใบเสมาเก่า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆไว้ที่ใต้ฐาน

รวมทั้งเป็นอนุสรณ์แด่ท่านเจ้าประคุณเจ้าสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ องค์ปฐมสังฆนายก และให้เป็นที่เคารพสักการบูชาแก่ชาวอำนาจเจริญ

รูปแบบการสร้าง "พระมงคลมิ่งเมือง" ช่างได้ไปถ่ายแบบจากพระพุทธชินราช ซึ่งสร้างในสมัยสุโขทัย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก และได้มากำหนดให้องค์พระมีหน้าตักกว้าง 9 เมตร (4 วา 2 ศอก) สูงจากฐานหรือแท่นประทับนั่งจรดยอดพระเกตุมาลา 11 เมตร 4 เซนติเมตร (5 วา 2 ศอก 1 คืบ 4 นิ้ว) ฐานแท่นประทับกว้าง 5 เมตร สูง 5 เมตร

อุปกรณ์ใช้สร้าง "พระมงคลมิ่งเมือง" ประกอบด้วย หิน กรวด ทราย ปูนซีเมนต์ เหล็กขนาด 3-6 หุน กระเบื้องเคลือบสีเหลือง (สีทอง) ขนาดกลักไม้ขีดไฟใช้ปิดทองที่องค์พระ งบประมาณใช้สร้างประมาณ 200,000 บาท โดยมี นายคำเม้า ภักดีปัญญา ชาว จ.ร้อยเอ็ด เป็นช่างฝีมือควบคุมการสร้าง

สถานที่จัดสร้างตั้งอยู่กลางสันภูดานพระบาท เป็นลานหินขนานกัน 2 ข้าง มีเนื้อที่กว้างประมาณ 36 ไร่ สภาพแวดล้อมเป็นภูเขาลูกเตี้ยๆ สูงจากระดับพื้นดินประมาณ 13 เมตร มีต้นไม้ขนาดใหญ่ปกคลุม มีความร่มเย็น มีสัตว์ป่าหลายชนิดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของตัวอำเภอเมือง จ.อำนาจเจริญ และติดกับทางหลวงแผ่นดินสายจังหวัดอุบลราชธานี-มุกดาหาร

ระหว่างการสร้าง "พระมงคลมิ่งเมือง" มีผู้มีจิตศรัทธาทั้งที่เป็นภิกษุสงฆ์ ฆราวาส นำปัจจัยมาสมทบทุนการสร้าง รวมทั้งช่วยกันขนหิน ขนดิน จนกระทั่งวันที่ 1 กันยายน 2505 ซึ่งตรงกับวันศุกร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 9 ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยนิมนต์พระสงฆ์จากวัดสุปัฏวนารามวรวิหาร อ.เมือง จ.อุบลราชธานี จำนวน 10 รูป นำโดยเจ้าคุณพระธรรมบัณฑิต ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นพระเทพบัณฑิต เป็นประธานในพิธี

แต่ก่อนประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ มีเหตุการณ์แปลกเกิดขึ้น คือ มีฝนตกลงมาอย่างหนัก จนต้องเลื่อนเวลาการประกอบพิธีออกไป แต่ฝนก็ตกลงไม่มีท่าทีจะหยุด เจ้าคุณพระธรรมบัณฑิต จึงสั่งให้เริ่มประกอบพิธีท่ามกลางสายฝน ทำให้พระเณรและประชาชนที่มาร่วมพิธีเปียกปอนไปตามๆ กัน

แต่การสร้างพระมงคลมิ่งเมือง ก็มีอุปสรรคเกิดขึ้น เพราะทุนทรัพย์ใช้ก่อสร้างมีผู้บริจาคเพียง 26,721.05 บาท

กระทั่งเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2505 พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ อธิบดีกรมการศาสนา พร้อมด้วย พ.อ.พรชัย วิชาวรณ์ ได้มาสำรวจการก่อสร้าง และพระครูโอภาสธรรมภาณ เจ้าคณะอำเภอฝ่ายธรรมยุต ได้เสนอให้ท่านทั้ง 2 เป็นผู้อุปถัมภ์ก่อสร้างต่อ

พ.อ.ปิ่นได้นำเรื่องการสร้างพระมงคลมิ่งเมืองรายงานให้ พล.อ.ประภาส จารุเสถียร ขณะดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทราบ พล.อ.ประภาส จึงได้บริจาคทรัพย์ส่วนตัวสมทบการสร้าง 100,000 บาท และผู้มีจิตศรัทธาในกลุ่มของ พล.อ.ประภาส ร่วมบริจาคสมทบให้อีก 100,000 บาท การก่อสร้างพระมงคลมิ่งเมือง จึงได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง

สำหรับการก่อสร้างครั้งใหม่ มีการขยายแท่นพระออกไปทั้งสี่ด้าน ด้านละ 1-5 เมตร ขยายแท่นพระ ซึ่งมีความยาวเดิม 9 เมตร กว้าง 5 เมตร เป็น 12 เมตร กว้าง 8 เมตร สูง 5 เมตร สูงจากพื้นดินถึงพระเกตุมาลา 20.50 เมตร หน้าตักกว้าง 10 เมตร หันพระพักตร์สู่ทิศบูรพา ปิดด้วยกระเบื้องโมเสกทองเหลืองอร่าม โดยองค์พระแม้มีขนาดใหญ่ แต่สวยงามยิ่ง ทำให้ผู้มีศรัทธาบางคนนิยมเรียกท่านว่า "พระเจ้าใหญ่มงคลมิ่งเมือง" ใช้งบฯ ก่อสร้างทั้งสิ้น 332,800 บาท และสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2508

ปัจจุบัน พระมงคลมิ่งเมืองจึงเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาวอำนาจเจริญ หากผู้ใดได้มาเยือนแล้วไม่ได้ไปกราบนมัสการ ถือเสมือนว่า ยังเดินทางมาไม่ถึงจังหวัดอำนาจเจริญ

การกราบขอพรจากองค์พระมงคลมิ่งเมือง ส่วนมากนิยมขอพรให้คลายความทุกข์โศกร้อนใจ และบนบานให้ประสบความสำเร็จต่างๆ

ทั้งนี้ ทุกวันเพ็ญเดือน 3 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชาทุกปี ชาวอำนาจเจริญจะพร้อมใจจัดงานกราบนมัสการเป็นเวลา 5 วัน 5 คืน ดังนั้น ผู้คนที่เคยเดินทางมากราบไหว้ขอพรหรือบนบานไว้ จะพากันเดินทางมากราบนมัสการและแก้บนในช่วงวันดังกล่าวจำนวนมาก

กราบไหว้บูชาพระมงคลมิ่งเมือง เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลแก่ตัวและครอบครัว เป็นมงคลชีวิตดีนักแล



ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #42 เมื่อ: 06 ก.ค. 2551, 09:45:03 »
ขอบคุณครับ มาเพิ่มเติมกันอีกแบ้ว

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #43 เมื่อ: 06 ก.ค. 2551, 08:29:35 »
หลวงพ่อใหญ่ วัดพระนารายณ์ โคราช






 
"นครราชสีมา" หรือที่เรียกว่า "โคราช" เปรียบเสมือนประตูสู่ภาคอีสาน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 259 กิโลเมตร เป็นเมืองใหญ่บนดินแดนที่ราบสูง ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากร และสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว

ผู้มาเยือนจะได้เพลิดเพลินกับกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งเดินป่าศึกษาธรรมชาติ พักผ่อนหย่อนใจริมอ่างเก็บน้ำ ชื่นชมความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมขอมโบราณ และเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน

คำว่า นครราชสีมา เกิดจากการรวมชื่อเมืองโบราณสองเมือง คือ เมืองโคราชและเมืองเสมา ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอโนนสูง

นครราชสีมา เคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณหลายแห่งตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยที่มีการเผยแพร่ของวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมแบบขอมเข้ามาในดินแดนแถบนี้

เคยมีฐานะเป็นเมือง "เจ้าพระยามหา นคร" เช่นเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราชทางภาคใต้ มีอำนาจปกครองหัวเมืองน้อยใหญ่ในอีสานหลายแห่ง

จนมาถึงปัจจุบัน ยังคงความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านคมนาคม เศรษฐกิจของภาคอีสาน

นคราชสีมา มีวัดวาอารามและโบราณสถานมากมาย ให้พุทธศาสนิกชนได้ทำบุญไหว้พระเสริมความเป็นสิริมงคล เริ่มต้นจากวัดกลางเมืองโคราช คือ วัดพระนารายณ์มหาราช

"วัดพระนารายณ์มหาราช" (วัดกลาง) พระอารามหลวง ถ.จอมพล ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา อยู่ภายในตัวเมืองนครราช สีมา โดยอยู่ระหว่างถนนอัษฎางค์และถนนจอมพล

เส้นทางการคมนาคมสะดวกและปลอดภัยมีรถประจำทาง รถรับจ้าง และสามล้อให้บริการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ด้วยสภาพถนนภายในตัวเมืองเป็นถนนลาดยางอยู่ในสภาพดี

วัดพระนารายณ์มหาราช เป็นวัดเก่าแก่ สร้างมาพร้อมกับการสร้างเมืองในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเคยเป็นที่ประดิษฐานอัฐิของท้าวสุรนารี

วัดพระนารายณ์มหาราช เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "วัดกลาง" เป็นวัดกลางเมืองนครราชสีมาเดิม มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง คือ การเป็นวัดศูนย์กลางของเมืองนครราชสีมา

ตามหลักฐานที่ปรากฏระบุว่า วัดพระนารายณ์มหาราช ได้รับพระบรมราชานุญาตจัดสร้างเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2199 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2204 เนื้อที่กว้าง 17.30 เมตร ยาว 27.35 เมตร

วัดแห่งนี้ บริเวณมุมวัดด้านถนนจอมพล ยังเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ประดิษฐานหลักเมืองนครราชสีมา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพของชาวเมืองนคร ราชสีมา

วัดพระนารายณ์มหาราช มีประตูเข้าวัดได้ 4 ทาง คือ ด้านติดถนนอัษฎางค์ ถนนจอมพล ถนนประจักษ์ และทางด้านถนนจอมพล ติดกับตลาดอันเป็นทางเข้าศาลพระนารายณ์

ภายในวัดพระนารายณ์มหาราชมีพระอุโบสถอยู่กลางสระน้ำ ส่วนตรงข้ามเป็นพระวิหาร ด้านขวามือของวิหารเป็นศาลา ด้านซ้ายมือของวิหาร เป็นโรงเรียนปริยัติธรรม ซึ่งจะมีการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็กนัก เรียนในวันอาทิตย์เป็นประจำ

บริเวณใจกลางวัด มีต้นโพธิ์ใหญ่ล้อมรอบ ด้วยลานสนามหญ้า ด้านหลังพระวิหารเป็นเขตสังฆาวาสซึ่งมีต้นไม้เรียงอยู่เป็นทิวแถว

ภายในบริเวณวัดพระนารายณ์มหาราช มีศาลพระนารายณ์มหาราชเป็นที่ตั้งเทวรูปพระนารายณ์สี่กร อยู่ในท่ายืน สูง 17 นิ้ว สร้างด้วยหินทรายฝีมือขอม เป็นเทวรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดนครราชสีมามาช้านาน

สภาพศาลพระนารายณ์มหาราช มีลักษณะเป็นศาลกว้าง ภายในเต็มไปด้วยดอกไม้ของบูชามากมาย และมีควันธูปเทียนลอยอบอวลไปทั่วบริเวณ เนื่องจากอยู่ติดกับตลาด ทำให้บรรยากาศเป็นด้วยความคึกคักจอแจเป็นพิเศษ รอบบริเวณวัดพระนารายณ์มหาราชเป็นตึกแถวอาคารพาณิชย์และตลาด แล้วยังอยู่ย่านใจกลางเมือง ทำให้เกิดเสียงรบกวนเข้ามาในวัดเป็นประจำ

นอกจากนี้ ภายในบริเวณวัดพระนารายณ์มหาราช ยังเป็นที่ประดิษฐาน "พระทศพลญาณประทานบารมี" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "หลวงพ่อใหญ่"

หลวงพ่อใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พุทธลักษณะคล้ายพระพุทธชินราช ประดิษฐานบนฐานชุกชีในพระวิหารด้านตะวันตก ชุกชีสูง 3.14 เมตร

หลวงพ่อใหญ่ หน้าตักกว้าง 4 เมตร สูงถึงยอดพระรัศมี 5.3 เมตร สร้างสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อครั้งโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองนครราชสีมา มีความเก่าแก่ยาวนานกว่า 300 ปี ถือเป็นพระประธานองค์แรกของจังหวัด ที่มีความสวยงามและใหญ่มากแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

"พระครูสมุห์นาคน้อย" พระผู้ดูแลพระวิหารที่ประดิษฐานหลวงพ่อใหญ่ กล่าวว่า "หลวงพ่อใหญ่เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่มีชาวโคราชและใกล้เคียงให้ความเลื่อมใสศรัทธา สักการบูชาและอธิษฐานขอพร ตามความมุ่งหวังต่างๆ ที่ปรารถนา การเข้าไปสักการะขอพรไม่ต้องมีพิธีรีตองสำคัญ เพียงแค่ดอกไม้ธูปเทียนเท่านั้น"

"อย่างไรก็ตาม การเข้าไปสักการะหลวงพ่อใหญ่ ไม่สามารถเปิดได้ทุกวัน จะเปิดให้เข้าสักการะเฉพาะในช่วงวันสำคัญหรือวันพระ เพื่อความสะดวกของคณะสงฆ์ในวัดในการดูแลรักษาความเรียบร้อย"



ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #44 เมื่อ: 12 ก.ค. 2551, 10:56:40 »
หลวงพ่ออภัยวงศ์ วัดแก้วพิจิตร จ.ปราจีนบุรี





"วัดแก้วพิจิตร" ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำปราจีนบุรี ต.บางบริบูรณ์ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ก่อสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2422 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย นางประมูล โภคา (แก้ว ประสังสิต)

ต่อมาในปี พ.ศ.2454 เมื่อเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ซึ่งอพยพครอบครัวมาจากพระตะบอง ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาแม่น้ำปราจีน บุรี ได้เกณฑ์ช่างชาวเขมรมาด้วยและได้สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมและหนังสือไทย เป็นอาคารตึกชั้นเดียวรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 11 เมตร ยาว 40 เมตร ชั้นบนเป็นดาดฟ้ามียอดโดม 3 ยอด ตรงกลางดาดฟ้าเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสมียอดหลังคาเป็นโดม อาคารหลังนี้ได้รับพระราชทานนามว่า โรงเรียนอภัยพิทยาคาร

เมื่อ พ.ศ.2461 เจ้าพระยาอภัยภูเบศร เห็นว่าพระอุโบสถหลังเดิมชำรุดทรุดโทรมมาก จึงได้รื้อและก่อสร้างใหม่เป็นอุโบสถก่ออิฐถือปูนลักษณะสถาปัตยกรรม เป็นศิลป กรรมผสมผสานศิลปะไทย จีน ตะวันตก และเขมร ก่อสร้างบนที่เดิม ขนาดอาคาร 5 ห้อง กว้าง 17 เมตร ยาว 21.30 เมตร ได้รับการผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ.2464

ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระประธานนั่งขัดสมาธิทำปาง ซึ่งเรียกกันว่า "หลวงพ่อปางอภัยทาน" หรือ "หลวงพ่ออภัยวงศ์" อยู่ภายใต้ฉัตรเงิน 5 ชั้น ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงออกแบบ

นอกจากนี้ ยังมีภาพเขียนบนผืนผ้าเล่าเรื่องพุทธประวัติใส่กรอบแขวนไว้ในพระอุโบสถ 13 ภาพ แต่ได้ถูกโจรกรรมไป

พระพุทธรูปปางอภัยทาน เป็นศิลปะรัตน โกสินทร์แบบพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2464 เป็นทองแดง หน้าตักกว้าง 1 เมตร 7 เซนติเมตร

พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ขวายกขึ้นหันฝ่าพระหัตถ์ออกด้านนอกพระองค์วางตั้งฉากอยู่บนพระเพลา พระหัตถ์ซ้ายวางหงายฝ่าพระหัตถ์ขึ้นอยู่บนพระเพลา พระเนตรและพระอุมาฝังด้วยอัญมณี มีฉัตรเป็น 5 ชั้น เป็นพระพุทธรูปที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพ ทรงออกแบบและทรงประทานพระนามว่า "ปางอภัยทาน"

พระพุทธรูปมีลักษณะเหมือนมนุษย์สามัญและเลียนแบบพระพุทธรูปคันธารราษฎร์ของอินเดีย พระพักตร์เป็นแบบประติมากรรมกรีกโรมัน พระเกศาหยักศกรวบเป็นมวยกลางพระเศียร ครองจีวรเป็นริ้วแบบธรรมชาติ

พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะรูปแบบใกล้เคียงกันกับพระพุทธรูปปางขอฝน ซึ่งเป็นแบบพระราชนิยมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่างกันตรงที่พระพุทธรูปนี้เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งเท่านั้น

พุทธศาสนิกชนที่มานมัสการมักมาขอพร 3 ประการ ที่ประสบความสำเร็จ คือ

พรข้อที่ 1 ถ้าท่านเป็นผู้ใจร้อน เมื่อได้นมัสการแล้วใจจะเย็นลงสงบขึ้น

พรข้อที่ 2 ถ้าท่านเป็นผู้ที่มีคำพูดไม่มีความหมาย พูดแล้วไม่ประทับใจผู้รับฟัง พูดแล้วเหมือนขวางหูผู้รับฟัง เมื่อได้นมัสการแล้วจะเป็นผู้ที่พูดแล้วมีความหมายติดตรึงใจผู้รับฟังประทับใจผู้ร่วมสนทนา

พรข้อที่ 3 จะล่วงเกินผู้ใดก็ตามจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว เมื่อได้นมัสการแล้วจะได้รับการให้อภัยจะไม่มีการโกรธไม่มีศัตรู

ในปี พ.ศ.2464 เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ได้จัดสร้างหอไตร 1 หลัง ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร บริเวณที่เคยเป็นศาลาการเปรียญเป็นสถาปัตยกรรมผสมศิลปะตะวันตกกับศิลปะไทย และสร้างศาลาการ เปรียญหลังใหม่ขึ้นเป็นอาคารกว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหอไตร

สิ่งสำคัญ นอกจากการนมัสการหลวงพ่อปางประทานอภัย คือ พระอุโบสถสี่ชาติ ฝรั่งเศส เขมร จีน และไทย ที่ปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติโดยกรมศิลปากร เป็นที่ร่ำลือกล่าวขวัญอย่างมากว่า เป็นการสร้างที่แปลก ด้วยการผสมผสานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมไว้ได้ถึง 4 ชาติ ในพระอุโบสถหลังเดียวกัน

พระอุโบสถนี้จำลองแบบมาจากวัดพระเจ้าช้างเผือก ที่เมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา

อนึ่งในการเยี่ยมชมและนมัสการ จะมีคุณวารินทร์ คุ้มกาญจน์ วิทยากรบรรยายพิเศษกรมศิลปากรนำชมให้ความรู้ตลอด

หากใครที่มีโอกาสเดินทางไปแถบภาคตะวันออก ใกล้ จ.ปราจีนบุรี แล้ว ควรแวะไปที่วัดแก้วพิจิตร ชมสถาปัตยกรรมศิลปะผสมผสาน 4 ชาติที่สวยงามที่สุดของประเทศ พร้อมนมัสการหลวงพ่ออภัยวงศ์

เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและหน้าที่การงาน




ที่มา  -  ข่าวสด


ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #45 เมื่อ: 19 ก.ค. 2551, 09:20:19 »
หลวงพ่อพระร่วง วัดมหรรณพาราม กรุงเทพฯ





"วัดมหรรณพาราม" ตั้งอยู่ที่แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพฯ ซึ่งได้เริ่มสร้างมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี ตรงกับ พ.ศ.2393

นามผู้สร้างพระอารามนี้ คือ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี พระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าอรรณพ ทรงเป็นพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในพระอารามแห่งนี้ มีปูชนียวัตถุที่สำคัญมาก คือ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ มีนามเรียกว่า "หลวงพ่อพระร่วง" หรือ ที่ชาวบ้านเรียกจนติดปากว่า "หลวงพ่อร่วง" สถิตอยู่ที่พระวิหาร

หลวงพ่อพระร่วง เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ขนาดหน้าตักกว้าง 1 วา 1 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว สูง 1 วา 3 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว องค์พระเป็นโลหะทอง มีรอยต่อ 9 แห่ง โดยมีหมุดเป็นเครื่องเชื่อมที่รอยต่อชุกชีที่ประดิษฐาน ยาว 2 วา 1 ศอก 7 นิ้ว กว้าง 2 วา 2 ศอก

ถัดจากฐานขึ้นไปที่เรียกว่าบัลลังก์ ทำเป็นลายดอกบัวคว่ำบัวหงายและดอกไม้เครือกระจังลงรักปิดทอง ประดับด้วยกระจกสีต่างๆ ได้อัญเชิญมาจากกรุงสุโขทัยในราวปี พ.ศ.2393 ในรัชกาลที่ 3

หลวงพ่อพระร่วง มีประวัติสังเขปดังนี้ เมื่อครั้งที่ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี ทรงสร้างวัดอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้พระราชทานเงินสมทบ 1,000 ชั่ง สร้างพระอุโบสถ แล้วทรงรับสั่งให้เจ้าหน้าที่ทางเมืองเหนือเสาะหาพระพุทธรูปใหญ่ เพื่อนำมาเป็นพระประธาน

ครั้นได้พบแล้วก็ทราบรับสั่งให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯ เพื่อให้ทันกับการฉลองพระอุโบสถและผูกพัทธสีมา

แต่การเดินทางสมัยนั้นลำบากมาก หากจะขนวัตถุสิ่งใดลงมากรุงเทพฯ ต้องอาศัยเรือหรือแพเท่านั้นเป็นพาหนะ

หลวงพ่อพระร่วงก็เช่นเดียวกัน อาศัยบรรทุกมาด้วยแพ แต่การเดินทางล่าช้ามาก มาไม่ทันกำหนดเวลาที่พระอุโบสถสร้างเสร็จ

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งให้สร้างพระประธานด้วยหินปูนก่ออิฐให้ทันกับเวลาฉลองพระอุโบสถและใช้เป็นพระประธานในพระอุโบสถจนกระทั่งบัดนี้ฯ

ครั้นสร้างพระประธานเสร็จเรียบร้อย หลวงพ่อพระร่วงจึงถูกอัญเชิญมาถึงกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งให้สร้างพระวิหารขึ้นทางด้านทิศใต้ของพระอุโบสถให้เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระร่วงตั้งแต่นั้นมาตราบเท่าทุกวันนี้

หลวงพ่อพระร่วง มีคุณลักษณะดีพิเศษ 3 ประการ คือ

ประการที่ 1 ทางด้านศิลปะ หลวงพ่อพระร่วงเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะสวยงามมาก พระพักตร์อิ่มเอิบ พระเนตรดูแล้วเหมือนยิ้มนิดๆ เป็นเหตุชวนให้ชุ่มชื่นใจแก่ผู้ดู พระกรวางอยู่ในลักษณะสมส่วน นิ้วพระหัตถ์เรียวงาม ทั้งองค์มีที่ต่ออยู่ 9 แห่ง เป็นเครื่องหมายของความก้าวหน้าตามความนิยมของคนสมัยนั้นด้วยทุกสัดส่วนขององค์พระไม่มีที่ไหนบกพร่องที่น่าตำหนิ ยากที่ช่างสมัยนี้จะทำเทียมเสมอได้

ประการที่ 2 ด้านวัตถุ หลวงพ่อพระร่วงมีคุณค่าทางด้านวัตถุมากมายมหาศาล พระพุทธรูปโบราณที่สร้างในสมัยเชียงแสน สุโขทัย มักจะเป็นเนื้อทองสัมฤทธิ์เป็นส่วนมาก หรือเป็นเนื้อทองคำปนอยู่มาก เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้มาพิสูจน์ ลงความเห็นว่าเป็นเนื้อทองคำประมาณ 60%

ประการที่ 3 ด้านความศักดิ์สิทธิ์ หลวงพ่อพระร่วงเป็นที่พึ่งทางใจให้แก่ชาวบ้านและชาวจีน ปัดเป่าความทุกข์ให้แก่ผู้ที่มากราบไหว้บูชาได้ดี จนเป็นที่ขึ้นชื่อลือชา เป็นพระพุทธปฏิมารูปเปรียบของพระพุทธเจ้าชาวพุทธที่กราบไหว้บูชาก็เท่ากับกราบไหว้พระพุทธเจ้าจัดเข้าเป็นพุทธานุสติได้ตามหลักการปฏิบัติของชาวพุทธ

ด้วยพุทธานุภาพอันเกิดจากความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อพระร่วง การบนบานนั้น จึงมักจะสำเร็จผลตามความประสงค์เป็นส่วนมาก ทำให้มีผู้นิยมนับถือท่านมากทั้งชาวไทยและชาวจีน เกิดเดือดร้อนขึ้นมาก็หันหน้าเข้าวัดบนบานให้ท่านช่วย ของเซ่นที่ท่านชอบก็ไม่เหมือนที่อื่นๆ เป็นเพียงตะกร้อ ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า หรือพวงมาลัยเท่านั้น เมื่อก่อนนี้ทางวัดไม่ได้เปิดให้คนเข้านมัสการภายในวิหาร ผู้ประสงค์จะไหว้อยู่แต่ภายนอกวิหารเท่านั้น แต่นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2497 เป็นต้นมา

จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ทางวัดได้เปิดให้คนเข้านมัสการภายในพระวิหารได้ทุกโอกาสและเปิดเป็นประจำทุกวัน

ทุกปีจะมีงานนมัสการปิดทองหลวงพ่อพระร่วง วันกำหนดงานไม่ค่อยจะแน่นอน แต่อยู่ในระหว่างช่วงเทศกาลตรุษจีนเป็นส่วนมาก เมื่อมีงานเทศกาลชาวไทยและชาวจีนจะหลั่งไหลกันมากราบไหว้บูชา



ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #46 เมื่อ: 20 ก.ค. 2551, 09:23:58 »
หลวงพ่อชินวรณ์ วัดเจริญผล จ.มหาสารคาม




"หลวงพ่อชินวรณ์" หรือ "หลวงพ่อพระพุทธชินวรณ์" เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์โบราณคู่บ้านคู่เมืองชาวมหาสารคาม ปัจจุบันประดิษฐานตั้งเด่นเป็นสง่า ภายในอุโบสถวัดเจริญผล ต.ท่าขอนยาง อ.กันทร วิชัย จ.มหาสารคาม

หากใครมีปัญหา หรือได้รับความเดือดร้อนใดๆ ก็ตาม ถ้าได้เข้ามากราบไหว้ขอพรจากหลวงพ่อแล้ว เรื่องร้ายจะกลายเป็นดี และประสบความสำเร็จในสิ่งที่ขอทุกประการ

สำหรับสิ่งของสักการบูชา นอกจากดอกไม้ธูปเทียนแล้ว ยังมีไข่ 9 ฟอง ผลไม้ 9 ชนิด ดอกไม้ 9 ดอก

ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อชินวรณ์ เป็นที่เลื่องลือมาตั้งแต่โบราณกาล หากชุมชนจัดกิจกรรมต่างๆ แล้ว สวดขอบารมีจากท่านจะสำเร็จลงด้วยดี และที่น่าประหลาดจะเกิดฝนตกลงมาสร้างความชุ่มชื้นชุ่มเย็นให้กับพุทธศาสนิกชนแทบทุกครั้ง

หลวงพ่อพระพุทธชินวรณ์ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่พร้อมกับตั้งเมืองท่าขอนยาง หรือตำบลท่าขอนยาง ในปัจจุบัน ประวัติศาสตร์บันทึกว่า ในปี พ.ศ.2379 หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์ แล้วก็ได้กวาด ต้อนประชาชนเผ่าต่างๆ เข้ามายังดินแดนของไทยทางภาคอีสาน ซึ่งก็มีหลายเผ่า เช่น กะเลิง โซ่ง แสก ญ้อ

พระเจ้าคำก้อน เจ้าเมืองคำเกิด เป็นเผ่าญ้อ กลุ่มใหญ่ ที่ถูกกวาดต้อนมาและให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งลำน้ำชี เรียกว่าบ้านท่าขอนยาง

จนถึงปี พ.ศ.2388 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นเมืองท่าขอนยาง และโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าคำก้อน เป็นพระสุวรรณภักดี ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองท่าขอนยาง คนแรก เป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์

จากนั้นชาวเมืองทั้งหมดได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นถึง 3 แห่ง ประกอบอาชีพทำมาหากินอยู่ฝั่งเหนือของลำน้ำชี ซึ่งเป็นแม่น้ำสำคัญทางการขนส่งและการค้า แลกเปลี่ยน

จนถึงปี พ.ศ.2408 ภายหลังมีการตั้งเมืองมหาสารคาม ขึ้นทางฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำชี ขณะนั้นเมืองท่าขอนยาง มีเจ้าเมืองปกครองผ่านไป 3 คน เมืองท่าขอนยางก็ไม่มีเจ้าเมืองปกครองอีก ความสำคัญจึงลดลง ต่อมาเมืองท่าขอนยางจึงถูกยุบลงเป็นตำบลท่าขอนยาง จนถึงปัจจุบัน

สำหรับหลวงพ่อพระพุทธชินวรณ์ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่พร้อมกับสร้างเมืองท่าขอนยาง พุทธลักษณะปางมารวิชัย องค์พระสร้างจากปูนโบราณ สันนิษฐานว่ากลุ่มชาวบ้านที่อพยพมาจากเมืองคำเกิด ได้อัญเชิญหลวงพ่อชินวรณ์เข้ามาด้วย และภายหลังการสร้างชุมชนเป็นหมู่บ้านที่มั่นคงแล้ว ก็มีการสร้างวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวจิตใจ และอัญเชิญหลวงพ่อชินวรณ์ ขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถหลังนี้

จากการพิจารณาดูพุทธศิลป์ใบหน้าหลวงพ่อชินวรณ์ บ่งชี้เป็นศิลปะลาวอย่างชัดเจน ริมฝีพระโอษฐ?องค์พระมีสีแดงมาแต่เดิมไม่มีใคร ไปทาให้ พุทธศิลป์คล้ายกับหลวงพ่อพระสุก และหลวงพ่อพระใส ที่ประดิษฐานอยู่ที่จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ถูกอัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทน์ จึงน่าจะเป็นพระพุทธรูป ที่ร่วมสมัยกันและอายุการสร้างไม่น่าจะต่ำกว่าสองร้อยปี

เป็นที่น่าสังเกตว่า ชื่อหลวงพ่อพระพุทธ ชินวรณ์ ไม่มีปรากฏเรียกพระพุทธรูปองค์ใดๆ ในภาคอีสาน แต่ชื่อเหมือนกับพระพุทธรูปที่ภาคกลาง เช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห? นักวิชาการท้องถิ่นบางท่านสันนิษฐานว่าอาจเป็นการตั้งชื่อให้ภายหลังก็เป็นได้เพราะเป็นบาลีสันสกฤต

ความศักดิ์สิทธ์ของหลวงพ่อพระพุทธชิน วรณ์ ได้รับการกล่าวขานตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนชาวมหาสารคามให้ความเคารพศรัทธามาก เพราะเมื่อมากราบขอพรจากท่านแล้วจะประสบผลสำเร็จทุกอย่าง กิตติศัพท์ของหลวงพ่อชินวรณ์ จึงเลื่องลือไปไกล

นับเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมหาสารคาม อีกองค์หนึ่ง ในวันปกติ หรือวันหยุดจะมีพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกลเดินทางมากราบสักการบูชาหลวงพ่อที่ในพระอุโบสถวัดเจริญผล เป็นจำนวนมาก

ผู้ที่มาสักการบูชามักจะบนบานขออานุภาพความศักดิ์สิทธิ์จากหลวงพ่อให้ช่วยเหลือในทุกๆ เรื่อง อาทิ ให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ให้ติดเกณฑ์ทหาร ขอโชคลาภ ขอให้มีความสุขความเจริญ เป็นต้น

ส่วนในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากพากันมาสรงน้ำหลวงพ่อชินวรณ์

พุทธศาสนิกชนจึงไม่สมควรพลาด ที่จะไปสักการะหลวงพ่อพระพุทธชินวรณ์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่คู่เมืองมหาสารคาม

ด้วยอานิสงส์จะทำให้ท่านและครอบ ครัวประสบแต่ความสุขความเจริญในทุกๆ ด้าน ส่วนเส้นทางคมนาคมสะดวก ห่างจากตัวเมืองมหาสารคาม เพียง 5 กิโล เมตรเท่านั้น



ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #47 เมื่อ: 26 ก.ค. 2551, 10:04:48 »
หลวงพ่อใหญ่ วัดพุทธประดิษฐ์-สารคาม



"หลวงพ่อใหญ่" เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อีกองค์หนึ่งที่ได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนชาวเมืองมหาสารคามมานานนับร้อยปี ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพุทธประดิษฐ์ หรือวัดบ้านโพน ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม พุทธศิลปะเป็นพระ พุทธรูปปางมารวิชัยแกะสลักจากศิลาแลง หน้าตักกว้างเกือบ 2 เมตร นับว่าเป็นพระพุทธรูปโบราณที่ใหญ่มาก ชาวบ้านจึงเรียกกันติดปากว่า หลวงพ่อใหญ่ สืบต่อกันมาจวบจนปัจจุบัน และด้วยความที่พุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกลได้ให้ความเคารพศรัทธาในตัวหลวงพ่อใหญ่สูงมาก ผู้ที่มาสักการบูชาจึงมักจะทำบุญปิดทองหลวงพ่อจนไม่สามารถมองเห็นเนื้อศิลาแลงข้างในได้

ผศ.สมชาติ มณีโชติ รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีกล่าวว่า เชื้อสายดั้งเดิมของชาวไทยอีสานและชาวเมืองมหาสารคาม รกรากมาจากประเทศล้านช้าง ซึ่งมีกรุงศรีสัตนาคณหุต หรือเวียงจันทน์ เป็นราชธานี เริ่มมีการอพยพเคลื่อนย้ายตั้งแต่ปี พ.ศ.2231 ช่วงนั้นเกิดความวุ่นวายภายในราชสำนักเวียงจันทน์ เชื้อพระวงศ์บางองค์พร้อมผู้นำทางศาสนาได้อพยพประชาชนจำนวนหนึ่งหนีภัยการเมืองมาอยู่ที่เมืองจำปาสัก ต่อมาได้อพยพเข้ามาอยู่ที่เมืองสุวรรณภูมิ หรืออำเภอสุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ในปัจจุบัน

จากนั้นก็อพยพแยกย้ายกันไปหาพื้นที่ทำกินที่เห็นว่าอุดมสมบูรณ์ในเขตเมืองมหาสารคามปัจจุบัน และบางพื้นที่ของจังหวัดขอนแก่น และส่วนอื่นๆ ในภาคอีสาน แต่ช่วงที่มีชุมชนเกิดขึ้นหนาแน่นในภาคอีสานจะอยู่ระหว่างรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 มีการอพยพเข้ามามากโดยเฉพาะหลังเกิดกรณีเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ ขณะนั้นไทยได้กวาดต้อนประชาชนเข้ามาตั้งบ้านเรือนในพื้นที่ภาคอีสานจำนวนมาก บางพื้นที่ในเขตจังหวัดมหาสารคาม กลายเป็นชุมชนใหญ่ระดับเมือง เช่น เมืองท่าขอนยาง ปัจจุบันคือตำบลท่าขอนยาง

ในการอพยพเข้ามาสมัยนั้นก็จะมีบรรดาช่างที่มีฝีมือเข้ามาด้วย ภายหลังการตั้งชุมชนเป็นหมู่บ้านที่มั่นคงแล้ว ก็มีการสร้างวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวจิตใจของชุมชน และสร้างพระประธานประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ อายุการสร้างพระอุโบสถและอายุการสร้างพระประธานจึงใกล้เคียงกัน สำหรับหลวงพ่อใหญ่ ที่วัดพุทธประดิษฐ์ องค์นี้เช่นกัน จากพุทธศิลปะบ่งชี้ว่าเป็นการสร้างโดยช่างพื้นเมืองอิทธิพลศิลปะลาว ดูจากพระพักตร์ ใบหู และยอดเศียร อายุการสร้างไม่น่าจะเกิน 200 ปี อยู่ช่วงปลายสมัยอยุธยา ถึงรัตนโกสินทร? ตอนต้น พระพุทธรูปลักษณะนี้จะพบเห็นอยู่หลายแห่งในภาคอีสาน และทั่วไปในประเทศลาว

ด้าน พระครูประดิษฐ์วิริยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดกล่าวว่า หลวงพ่อใหญ่จะสร้างในปีใดไม่ปรากฏ แต่คนเฒ่าคนแก่เล่ากันสืบต่อๆ มาว่า เดิมหลวงพ่อใหญ่ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลังเล็กๆ ที่ทรุดโทรมกลางป่ารกร้าง ซึ่งเป็นบริเวณวัดบ้านโพนในปัจจุบัน บริเวณนี้มีหลักฐานบ่งชี้ว่าเป็นวัดมาก่อน เนื่องจากมีการขุดพบเสมาหินและศิลปะโบราณวัตถุหลายชิ้น ต่อมาเมื่อมีประชาชนเข้ามาตั้งบ้านเรือนในแถบนี้มากขึ้นก็กลายสภาพเป็นหมู่บ้าน จากนั้นชาวบ้านก็ได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดเก่าแห่งนี้ขึ้นใหม่พร้อมกับสร้างวิหารให้หลวงพ่อใหญ่

นับแต่นั้นมาตราบจนปัจจุบันเป็นเวลานับร้อยปี หลวงพ่อใหญ่ ได้กลายเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อีกองค์หนึ่งที่พุทธศาสนิกชนชาว มหาสารคาม ให้ความเคารพศรัทธามาก ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเล่าลือกันมากจะพัฒนาวัดพัฒนาหมู่บ้าน หรือชุมชนจะทำอะไรก็ตาม จะต้องมาจุดธูปเทียนบอกกล่าวหลวงพ่อใหญ่ก่อนงานนั้นจึงจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี แต่หากใครผิดคำสาบานที่ให้ไว้ ไม่กลับมาขอขมาต่อหลวงพ่อจะมีอันเป็นไปทุกราย เช่น ที่วัดมีการเปิดรักษาผู้ติดยาเสพติด นอกจากจะกินสมุนไพรแล้วทุกคนที่เข้ารับการรักษาจะต้องสาบานต่อหน้าหลวงพ่อใหญ่ว่าจะเลิกยาเสพติดอย่างสิ้นเชิง แต่ก็มีบางคนที่ผิดคำสาบานกลับไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีก ก็เกิดความกระวนกระวายอยู่ไม่เป็นสุข สุดท้ายต้องกลับมาขอขมาหลวงพ่อใหญ่ อาการนั้นจึงหายไป

หากใครมีเรื่องเดือดร้อนก็มาขอพรจากท่านได้ทุกเรื่อง สิ่งสักการบูชาก็เป็นดอกไม้ธูปเทียนขันธ์ 5 ขันธ์ 8 ก็ได้ และในรอบหนึ่งปีจะมีการทำพิธีสรงน้ำหลวงพ่อใหญ่ขึ้น การกำหนดวันหลวงพ่อใหญ่จะกำหนดเองโดยทำพิธีเซียงข้อง หากเซียงข้องบอกให้จัดวันใดก็จะจัดขึ้นในวันนั้นเชื่อว่าเป็นความประสงค์ของหลวงพ่อใหญ่ การทำพิธีเซียงข้องส่วนใหญ่จะทำปีละครั้งแต่หากเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติในชุมชนก็จะทำพิธีเซียงข้อง เพื่อให้หลวงพ่อใหญ่ช่วยชี้แนะแก้ปัญหาให้กับชุมชนผ่านเซียงข้อง

หากพุทธศาสนิกชนท่านใดผ่านเข้ามาในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จึงไม่ควรพลาด ที่จะหาโอกาสไปสักการะหลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อีกองค์หนึ่งของเมืองมหาสารคาม เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว เส้นทางคมนาคมสะดวก เดินทางจากตัวเมืองมหาสารคาม ถึงอำเภอกันทรวิชัยแล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนมุ่งสู่อำเภอเชียงยืน ก่อนถึงอำเภอเชียงยืน 10 กิโลเมตร

ด้านขวามือจะมีป้ายบอกไว้ว่า "วัดบ้านโพน" เลี้ยวเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร จะถึงวัด หลวงพ่อใหญ่พอดี



ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #48 เมื่อ: 27 ก.ค. 2551, 09:30:34 »
UP ข้อมูลใหม่ มาอีกแล้ว .....ขอบคุณครับ  :054:

ออฟไลน์ แก๊งค์ - ยา - กู - ซ่า

  • ศิษย์วัดบางพระ
  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 134
  • เพศ: หญิง
  • ศิษย์หลวงพ่อเปิ่น
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #49 เมื่อ: 28 ก.ค. 2551, 09:09:30 »
อนุโมทนา ..

ค่ะพี่ใหญ่...

ความรู้มากมายค่ะ น่ารัก จิงๆ

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #50 เมื่อ: 02 ส.ค. 2551, 08:48:52 »
พระพุทธอังคีรส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม



"วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม" เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในรัชกาลของพระองค์เมื่อ พ.ศ. 2412

มูลเหตุที่ทรงสร้างนั้น สืบเนื่องมาจากพระราชศรัทธาอันยิ่งใหญ่ และเป็นไปตามโบราณ ประเพณีนิยม ที่สมเด็จพระบรมราชบุพการีได้ทรงบำเพ็ญมา กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างวัดพระเชตุ พนฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงสร้างวัดอรุณฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวัดราชโอรสาราม และพระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ซึ่งกำกับราชการกรมช่างสิบหมู่ ทรงอำนวยการสร้างเป็นพระองค์แรก องค์ต่อมาคือพระเจ้าวรวงศ์เธอชั้น 4 กรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจ และเมื่อผู้อำนวยการสร้างองค์ที่ 2 สิ้นพระชนม์ลงอีกจึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว.ปุ้ม มาลากุล) เป็นผู้อำนวยการสร้างจนเสร็จการ

การสร้างวัดนี้ทรงนำเอาหลักเดิมแต่โบราณมาใช้ ดังเช่นวัดราชประดิษฐฯ กล่าวคือ ทรงสถาปนาพระมหาเจดีย์เป็นหลัก ห้อมล้อมด้วยระเบียงวารทิศสองวิหารคือ ด้านเหนือและด้านใต้ สำหรับวิหารด้านเหนือนั้น ทรงสถาปนาเป็นพระอุโบสถ

ภายในพระอุโบสถตกแต่งออกแบบตามอย่างตะวันตก และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ คือ "พระพุทธอังคีรส"

พระพุทธอังคีรส เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตน โกสินทร์ รัชกาลที่ 5 ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ทรงผ้ามีกลีบ วัสดุกะไหล่ทองเนื้อแปด สำริด ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอกคืบ หรือ 60 นิ้ว น้ำหนัก 108 บาท พระฉวี วรรณเป็นทองคำทั้งองค์

วัดนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 เท่านั้น แต่ยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 7 อีกพระองค์หนึ่งด้วย

พระพุทธรูปองค์นี้ มีประวัติการสร้างบันทึกไว้ต่างกันเป็น 2 ความ

ความที่หนึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ว่า พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พุทธศักราช 2411 มีพระราชดำริสร้างวัดใกล้พระบรมมหาราชวัง สถาปนาเป็นพระอารามหลวงประจำรัชกาล

ส่วนอีกความหนึ่ง สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ นิพนธ์ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้หล่อขึ้นเพื่อนำไปประดิษฐานยังพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน

ภายหลังเมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้นำเศวตฉัตรองค์ที่ใช้กั้นพระโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาถวายพระพุทธอังคีรส โดยเสด็จฯ ทรงประกอบพิธียกเศวตฉัตรด้วยพระองค์เอง

สิ่งก่อสร้าง พระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์งดงามมาก มีมหาสีมารอบกำแพงวัด โปรดฯ ให้สร้างพระ พุทธอังคีรสเป็นพระประธานภายในพระอุโบสถ

พระพุทธอังคีรส เป็นพระนามของพระพุทธ เจ้าพระนามหนึ่ง แปลว่า มีพระรัศมีออกจากพระกาย องค์พระกะไหล่ทองคำทั้งองค์ หนัก 108 บาท เป็นทองคำที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้แต่งพระองค์เมื่อทรงพระเยาว์ ประดิษฐานบนแท่นชุกชีหินอ่อนที่สั่งมาจากอิตาลี

รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นงานใหญ่ ทรงถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลของพระราชบิดา เมื่อเสด็จสวรรคต ณ ประเทศอังกฤษ ได้อัญเชิญพระบรมอัฐิกลับเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ.2492 บรรจุไว้ที่ฐานพระอังคีรส และในปี พ.ศ.2528 ก็ได้บรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีไว้เช่นกัน

ณ ใต้ฐานบัลลังก์พระพุทธอังคีรสนี้ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ โปรดให้บรรจุพระบรมอัฐิและพระอัฐิในครอบครองของพระองค์ ประกอบด้วยพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอัฐิสมเด็จพระศรีสุลาลัยและสมเด็จฯ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร

เมื่อเรากราบพระพุทธอังคีรส นอกจากจะได้สักการบูชาพระพุทธเจ้าแล้ว ยังเท่ากับได้ถวายสักการะพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์และพระบรมวงศ์ไปในขณะเดียวกัน

ทั้งนี้ ในวันที่ 20 กันยายนของทุกปี จะมีพิธีบำเพ็ญกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันคล้ายวันเสด็จพระบรมราชสมภพ ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธแห่งนี้

ส่วนประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธา มีความประสงค์จะเข้ามากราบนมัสการ พระ พุทธอังคีรส จะต้องรีบมาแต่เช้าประมาณ 08.00-09.30 น. หลังจากนั้นแล้ว พระอุโบสถจะปิด



ที่มา  - ข่าวสด

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #51 เมื่อ: 03 ส.ค. 2551, 10:54:39 »
ขอบคุณครับ ......up ข้อมูลเพิ่มอีกและครับ  :053:

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #52 เมื่อ: 03 ส.ค. 2551, 08:36:59 »
พระพุทธศรีสวรรค์ วัดนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์



"พระพุทธศรีสวรรค์" พระประธานในพระอุโบสถวัดนครสวรรค์ พระอารามหลวง เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มาแต่โบราณ ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถหลังเก่าของวัดนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ เชื่อว่าสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.1972

พระพุทธศรีสวรรค์ เป็นพระพุทธรูปปางสุโขทัย กาลเวลาล่วงเลยผ่านมาหลายร้อยปี ทำให้พระอุโบสถชำรุดทรุดโทรม สิ่งปลูกสร้างเครื่องบนหลังคาพระอุโบสถหักพังลงมาทับ ทำให้พระพุทธศรีสวรรค์ชำรุดเสียหายมาก จึงได้มีการซ่อมแซมพระอุโบสถและบูรณะพระพุทธศรีสวรรค์

ต่อมาเมื่อปีใดไม่ปรากฏ ได้มีการบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถครั้งใหญ่ และมีพิธีหล่อพระประธานใหม่ โดยเอาโลหะทองเหลืองจากองค์พระพุทธศรีสวรรค์องค์เก่ามาเททองหล่อขึ้น โดยมีประชาชนจำนวนมากนำเครื่องโลหะทองคำมาร่วมเททองหล่อพระพุทธศรีสวรรค์ ให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชาเป็นเวลานาน

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระอุโบสถได้ชำรุดทรุดโทรมมาก จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก เพื่อเททองหล่อพระพุทธชินราชจำลองที่วัดมหาธาตุ พ.ศ.2444 พระองค์เสด็จฯ เยี่ยมเมืองนครสวรรค์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายหลวงพ่อครุฑ เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ซึ่งเดิมอยู่ที่วัดจอมคีรีนาคพรต ให้มาอยู่ที่วัดหัวเมืองหรือวัดนครสวรรค์ วัดหัวเมืองอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก พายุพัดอย่างแรงจนทำให้ผนังและหลังคาพระอุโบสถที่สร้างมานานแล้วพังทับพระประธานจนชำรุดเสียหายมาก

ประมาณ พ.ศ.2465-2470 ได้มีการบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถและพระพุทธศรีสวรรค์ครั้งใหญ่ที่สุดโดยมีประชาชนร่วมกันบริจาคทองเหลือง โลหะต่างๆ รวมทั้งทองคำนำมาหลอมหล่อเป็นองค์พระพุทธศรีสวรรค์ให้องค์พระมีขนาดใหญ่กว่าเดิม เป็นขนาดหน้าตัก 2.50 เมตร

ขณะที่เททองหล่อนั้นช่วงเย็นใกล้ค่ำเกิดมีแสงพุ่งออกมาจากองค์พระพุทธศรีสวรรค์ มีลำแสงเป็นสีต่างกันถึง 6 สี คือ 1.นีล หรือสีเขียวเหมือนดอกอัญชัน 2.ปีต หรือสีเหลืองเหมือนหรดาลทอง 3.โลหิต หรือสีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อนๆ 4.โอทาต หรือสีขาวเหมือนแผ่นเงิน 5.มัญเชฐ หรือสีหงสบาทเหมือนดอกเซ่ง หรือหงอนไก่ 6.ประภัสสร หรือสีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก สีทั้งหมดเรียกกันว่าฉัพพรรณรังสี แปลว่ารัศมี 6 ประการ อันเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก นอกจากนี้ ในยามวิกาลดึกสงัดประชาชนที่มีบ้านเรือนอยู่ใกล้วัดจะได้ยินเสียงพิณพาทย์ ปี่ กลองดังออกมาจากพระอุโบสถบ่อยครั้ง และพระราชสิทธิเวที อดีตเจ้าอาวาส อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ เคยเห็นแสงฉัพพรรณรังสีจากองค์พระพุทธศรีสวรรค์

จากอภินิหารดังกล่าวและความเชื่อถือศรัทธาในองค์พระพุทธศรีสวรรค์ ที่ประดิษฐานอยู่คู่เมืองนครสวรรค์มาช้านานตั้งแต่โบราณมา และมักจะมีผู้คนพากันมากราบไหว้บนบาน ขอพร ขอโชคลาภจากองค์พระพุทธศรีสวรรค์ หรือผู้ที่มีความทุกข์เดือดร้อนก็จะนำเครื่องสักการะมาถวาย รวมทั้งบนบานศาลกล่าวขอให้พ้นจากเภทภัย พ้นจากความทุกข์ร้อน มักจะประสบความสำเร็จสมปรารถนา

ทำให้มีการแก้บนด้วยการถวายไข่ต้มบ้าง พวงมาลัยบ้าง และที่ขาดไม่ได้คือการแก้บนด้วยละครรำ จนทางวัดต้องจัดทำโรงละครไว้ที่หน้าพระอุโบสถ เพื่อไว้ให้คณะละครได้แสดงแก้บน สำหรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ย้ายมาประจำอยู่ที่เมืองสี่แคว ต่างก็ต้องมากราบไหว้บูชาพระพุทธศรีสวรรค์เป็นอันดับแรก เพื่อความเป็นสิริมงคล

เรื่องราวปาฏิหาริย์องค์พระพุทธศรีสวรรค์ มีมากมายหลายเรื่องด้วยกัน โดยในครั้งเมื่อปี พ.ศ.2528 ได้มีการบูรณะองค์พระพุทธศรีสวรรค์ ช่างจากกรมศิลปากรได้ทำการลอกผิวทองและรักที่ปิดองค์พระออก ซึ่งจะต้องมีการบวงสรวงขออนุญาต วัดได้เก็บทองและรักที่ลอกออกมาไว้ และได้นำเอารักทองที่ลอกออกมาไปปิดที่ภาพองค์พระพุทธศรีสวรรค์ขนาดบูชา เพื่อให้ประชาชนได้เช่าไว้บูชาประจำบ้าน

มีประชาชนมาขอเช่าบูชาภาพไปจนหมดจากวัดในเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากมีนักเลงพระรายหนึ่งได้นำเอารักทองที่ลอกออกมาไปทดลองยิงหลายครั้งปรากฏว่ายิงไม่ออก แต่พอหันปากกระบอกปืนไปทางอื่นกลับยิงออก

อีกปาฏิหาริย์หนึ่ง คือ หลวงพ่อบุญนำ ชิตมาโร หลานของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนครสวรรค์ ได้ขอเศษรักทองที่ลอกออกมาจากองค์พระพุทธศรีสวรรค์แล้วนำไปบดผสมกับผงมวลสารหลายชนิดที่ท่านได้สะสมและปลุกเสกสร้างเป็นพระผงพุทธศรีสวรรค์ แบบหยดน้ำใหญ่ แล้วปลุกเสกเดี่ยวแจกจ่ายแก่ประชาชนที่มาทำบุญที่วัดนครสวรรค์ ผู้ที่ได้รับแจกไป ต่างประสบปาฏิหาริย์ต่างกัน บ้างก็มีโชคลาภ บ้างก็แคล้วคลาดจากอุบัติเหตุ

ต่อมาหลวงพ่อบุญนำ ได้สร้างพระผงขึ้นใหม่อีกครั้งในวาระที่ท่านมีอายุครบ 5 รอบ แต่ครั้งนี้เป็นแบบหยดน้ำเล็ก ส่วนผสมหลักก็ยังเป็นผงรักทองจากองค์พระพุทธศรีสวรรค์ ก็ได้รับความนิยมจากประชาชนจำนวนมาก




ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #53 เมื่อ: 09 ส.ค. 2551, 10:46:34 »
หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดเกรียงไกรกลาง จ.นครสวรรค์





หลวงพ่อสัมฤทธิ์" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อทองสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง 99 เซนติ เมตร สูง 139 เซนติเมตร คาดว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ต่อมากรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง ประกอบกับเป็นช่วงที่มีศึกสงครามบ่อยครั้ง ชาวกรุงสุโขทัยจึงได้นำพระพุทธรูปขึ้นแพล่องมาตามลำน้ำ

จนกระทั่ง ล่วงมาถึงปากน้ำเชียงไกล แพที่นำมาเกิดจมลง ชาวบ้านจึงช่วยกันนำพระ พุทธรูปขึ้นประดิษฐานไว้ที่ริมแม่น้ำบริเวณปากน้ำเชียงไกล และโบกปูนปิดทับไว้ที่ด้านนอกองค์พระเพื่อป้องกันคนร้าย ซึ่งในขณะนั้นบริเวณดังกล่าวยังไม่มีวัด พระพุทธรูปจึงถูกทิ้งตากแดดตากฝนไว้ที่ริมแม่น้ำเป็นเวลาหลายปี

เมื่อประมาณ พ.ศ.2174 ตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ชาวบ้านปากน้ำเชียงไกลจึงช่วยกันสร้างวัดขึ้น ณ ตรงที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนั้น ในขณะนั้นยังเป็นช่วงที่มีศึกสงคราม ด้วยเพิ่งสร้างกรุงศรีอยุธยาใหม่ๆ

อีกทั้ง เมืองนครสวรรค์ หรือเมืองพระบางเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศเหนือ จึงไม่เป็นการปลอดภัย วัดที่สร้างขึ้นได้ตั้งชื่อตามหมู่บ้านว่าวัดเชียงไกล ต่อมาชื่อหมู่บ้านปากน้ำเชียงไกลเพี้ยนไปเป็นบ้านเกรียงไกร และมีหมู่บ้านใหญ่โตแยกออกไปเป็นบ้านเกรียงไกรเหนือ เกรียงไกรกลาง เกรียงไกรใต้
 


วัดจึงได้เปลี่ยนชื่อตามหมู่บ้านเป็นวัดเกรียงไกรกลางจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ.2224 วัดเชียงไกลได้สร้างพระอุโบสถขึ้น เพื่อให้ปลอดภัยจากสงครามและโจรผู้ร้าย ชาวบ้านจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปเข้ามาไว้ในพระอุโบสถ โดยซ่อนพระพุทธรูปไว้ในผนังพระอุโบสถ เวลาล่วงเลยมานานหลายร้อยปี ไม่มีใครรู้ว่ามีพระพุทธรูปซ่อนอยู่ในผนังพระอุโบสถ

จวบจนกระทั่ง พ.ศ.2511 ได้มีการซ่อมผนังพระอุโบสถ จึงได้พบพระพุทธรูปซ่อนอยู่ ซึ่งในตอนแรกที่พบเห็นเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ไม่มีใครทราบว่าเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์

ต่อมา ปูนที่ห่อหุ้มพระพุทธรูปเกิดรอยกะเทาะบริเวณไหล่ และมีแสงส่องเข้ามาเห็นแสงสะท้อน ชาวบ้านจึงช่วยกันนำพระพุทธรูปออกจากพระอุโบสถมากะเทาะปูนที่ห่อหุ้มพระพุทธรูปออก จึงทราบว่าเป็นพระพุทธรูปทองสัมริดและเรียกพระพุทธรูปนั้นว่าหลวงพ่อสัมฤทธิ์

หลังจากซ่อมแซมพระอุโบสถแล้ว จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ

หลวงพ่อสัมฤทธิ์ ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถเก่ามาเป็นเวลานาน

ต่อมาพระอุโบสถชำรุดและมีโจรผู้ร้ายลักตัดเศียรพระ เพื่อความปลอดภัยทางวัดจึงได้โยกย้ายหลวงพ่อสัมฤทธิ์ออกมาจากพระอุโบสถและสร้างวิหารที่แน่นหนา มีประตูเหล็กปิดอย่างดี แต่ต้องย้ายหลวงพ่อสัมฤทธิ์กลับมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถอย่างเดิม เพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชา

ด้านความศักดิ์สิทธิ์ หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะสมส่วน อ่อนช้อยสวยงาม เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านเกรียงไกรมานาน เหตุที่หลวงพ่อสัมฤทธิ์เป็นที่เคารพสักการะอันหนึ่ง คือ ความงามทางพุทธศิลป์ และปูนปั้นที่ห่อหุ้มองค์พระ

หลังจากที่มีรอยกะเทาะและเห็นเป็นพระพุทธรูปทองสำริด ชาวบ้านได้ช่วยกันกะเทาะปูนที่หุ้มองค์พระออก ปรากฏว่าเป็นปูนผสมรักปิดทอง ทางวัดได้เก็บเศษปูนที่กะเทาะออกไว้ มีชาวบ้านหลายคนได้นำเศษปูนไปเลี่ยมพลาสติกแขวนคอเป็นของขลังติดตัว

นายชุบ กระตือหน ชาวบ้านหมู่ 5 ต.เกรียงไกร มีอาชีพทำน้ำตาล ซึ่งนายชุบมีเศษปูนหลวงพ่อสัมฤทธิ์บูชาติดตัวเป็นประจำ วันหนึ่งนายชุบเกิดเมาน้ำตาลและทดลองอธิษฐานเศษปูนนั้นแล้วเอามีดปาดตาลฟันที่แขนตนเองอย่างแรง แต่ปรากฏว่าไม่มีรอยแผลแม้แต่น้อย ทำให้ชาวบ้านเกรียงไกรต่างฮือฮาถึงความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อสัมฤทธิ์และต่างพากันแสวงหาเศษปูนไปบูชาประจำบ้านกัน ใครที่มีอยู่ต่างก็หวงแหนเก็บไว้

ต่อมาหลวงพ่อบุญเหลือ อดีตเจ้าอาวาสและกรรมการวัดได้นำเอาเศษปูนมาเป็นส่วนผสมในการสร้างพระสมเด็จ เพื่อออกแจกจ่ายให้ประชาชนเช่าบูชา พระสมเด็จดังกล่าวเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไปจนหมดจากวัดไปในเวลาไม่นาน เนื่องจากผู้ที่ได้พระสมเด็จไปบูชาติดตัว ต่างก็ประสบความอัศจรรย์หลายอย่าง ทั้งทางด้านการค้าและแคล้วคลาดปลอดภัยจากอุบัติเหตุ

รวมทั้งการบนบานขอให้ได้ประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน ก็ไม่เป็นที่ผิดหวังเหมือนกับชื่อหลวงพ่อสัมฤทธิ์ คือ จะสัมฤทธิผลในสิ่งที่ถูกที่ควร



ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #54 เมื่อ: 10 ส.ค. 2551, 06:40:38 »
ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #55 เมื่อ: 16 ส.ค. 2551, 09:36:20 »
สานงานต่อ จากพี่ สิบทัศ ครับ ซึ่งตอนนี้อาการน่าเป็นห่วงครับ ไงก็ฝากคนอื่นดูๆใว้มั่งนะครับ

ที่มา จากhttp://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdPREUyTURnMU1RPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBd09DMHdPQzB4Tmc9PQ==



พระสังกัจจายน์ พระโชคลาภ คู่เมืองร้อยเอ็ด

"วัดสระทอง" ตั้งอยู่ในตัวเมืองร้อยเอ็ด เป็นที่ประดิษฐาน "พระสังกัจจายน์" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ชาวร้อยเอ็ดเคารพศรัทธา แต่การสร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ แต่ปรากฏหลักฐาน เมื่อปี พ.ศ. 2325 พระยาขัตติยะวงษา (ท้าวธน) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองร้อยเอ็ดคนแรก ได้พบพระพุทธรูปองค์นี้ เห็นว่ามีความเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์มาก จึงได้นำมาประดิษฐานที่วัดสระทองและยกให้เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง

ในอดีตข้าราชการทุกคนต้องมาสาบานตนต่อหน้าหลวงพ่อว่าจะซื่อสัตย์ต่อบ้านเมืองเป็นประ จำทุกปี

การสร้างวิหารพระสังกัจจายน์และอุโบสถ สมัยแรก ทางวัดไม่ได้สร้างขึ้น เพราะตามประวัติวัด มีการสร้างวิหารหลวงพ่อพระสังกัจจายน์ โดยปลูกสร้างเป็นศาลามุงแฝก เพื่อกันแดดคุ้มฝนให้องค์หลวงพ่อสังกัจ จายน์

ต่อมาปี พ.ศ.2477 คุณแม่ต่วน ศรีเลนวัฒน์ ได้สละทุนทรัพย์สร้างวิหารถาวรหลวงพ่อสังกัจ จายน์ขึ้น หลังคามุงกระเบื้องซีเมนต์ เป็นวิหารทรงมะนิลา เพื่ออุทิศให้นายตุ่น ผู้เป็นสามีที่วายชนม์

พ.ศ.2480 คุณแม่เอี่ยม วุฒิจำนง พร้อมด้วยหลาน ได้มีศรัทธาเลื่อมใสสร้างเป็นอุโบสถ ฝาผนังก่ออิฐถือปูน ครอบองค์พระสังกัจจายน์เป็นประธานในอุโบสถ ฝังลูกนิมิตผูกพัทธสีมาตามประเพณีทางพระพุทธศาสนา ในวันอังคารที่ 15 กันยายน 2480

วันที่ 13 สิงหาคม 2495 เวลาประมาณ 22.30 น. ได้เกิดเพลิงไหม้อุโบสถชำรุดเสียหายมาก เหลือแต่องค์หลวงพ่อสังกัจจายน์ ซึ่งอยู่ในสภาพเดิมมีรอยร้าวเล็กน้อย

พระมงคลญาณเถร (ผาย ขันติโก) เจ้าอาวาสวัดสระทอง พร้อมด้วยคณะสงฆ์ภิกษุสามเณรและทายกทายิกาได้ให้ช่างบูรณะตกแต่งหลวงพ่อพระสังกัจจายน์ให้อยู่ในสภาพปกติเหมือนองค์เดิมทุกประการ และได้ซ่อมแซมอุโบสถให้เป็นพระวิหารหลวงพ่อสังกัจจายน์

หลังจากนั้น พระครูภาวนาวิหารคุณ เจ้าอาวาสวัดสระทองรูปปัจจุบัน ได้เชิญชวนผู้มีศรัทธาอื่นปรับปรุงวิหารพระสังกัจจายน์ให้สวยงามยิ่งขึ้นดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้

พระสังกัจจายน์ มีพุทธลักษณะอ้วน พุงพลุ้ย มีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ โชคลาภ เป็นหนึ่งในพระสาวกผู้ใหญ่ จัดอยู่ในเอตทัคคะ ผู้ใดบูชาผู้นั้นได้ลาภประเสริฐแล

พระสังกัจจายน์ เป็นผู้มีรูปงาม ผิวเหลืองดุจทอง มีตำนานเล่าว่า ครั้งหนึ่งมีโสเรยยะ บุตรเศรษฐี คะนองเห็นพระสังกัจจายน์จึงปากพล่อยกล่าวว่า ถ้าเราได้ภรรยามีรูปกายงดงามเยี่ยงท่านนี้ จักพอใจยิ่ง พลันปรากฏว่า โสเรยยะบุตรมหาเศรษฐีหนุ่มคะนองปากได้กลายเพศเป็นหญิงในทันที จึงหลบหนีไป

ต่อมา ได้สามีและบุตรสองคน จึงกลับมาขอขมากับพระสังกัจจายน์ โสเรยยะจึงกลับคืนสู่เพศชายเช่นเดิม นับว่าพระสังกัจจายน์มีฤทธิ์อำนาจยิ่งรูปหนึ่งในพุทธสาวก

แต่ด้วยรูปกายอันงดงามของพระสังกัจจายน์ สร้างความปั่นป่วนแก่สตรีเพศอย่างยิ่ง จึงได้เนรมิตกายใหม่ให้อ้วนพุงพลุ้ยน่าเกลียด เพื่อความสงบแห่งจิตและกิเลส

เรื่องราวของพระสังกัจจายน์ พอสรุปได้ว่าเป็นพระพุทธสาวกที่มีความเฉลียวฉลาด มีความรู้ และเป็นที่โปรดของพระพุทธองค์ยิ่ง มีบารมี มีอิทธิฤทธิ์ ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์จึงได้รับพรจากพุทธสาวกอันเป็นเอตทัคคะอย่างสมบูรณ์

พระสังกัจจายน์ เป็นพระอรหันต์ผู้บันดาลโชคลาภ ปัญญา และเมตตามหานิยม ชาวพุทธกราบไหว้สักการบูชาพระสังกัจจายน์เพื่อให้บังเกิดความเป็นสิริมงคล 3 ประการแก่ตนเองและครอบครัว ดังนี้

1. โชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ พระสังกัจจายน์ได้รับการยกย่องให้เป็นพระผู้อุดมด้วยโภคทรัพย์ และลาภสักการะเสมอด้วยพระสีวลี

2. สติปัญญา เนื่องเพราะพระสังกัจจายน์ได้รับการยกย่องจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศในทางอธิบายความพุทธภาษิต ท่านเป็นอรหันต์ผู้มีปฏิภาณเฉียบแหลม

3. ความงามและความมีเสน่ห์ เนื่องเพราะก่อนที่ท่านจะอธิษฐานจิตให้รูปร่างเปลี่ยนแปลง พระสังกัจ จายน์มีผิวดั่งทองคำและมีรูปงามละม้ายเหมือนพระพุทธเจ้า จนแม้แต่เทพยดา พรหม มนุษย์ทั้งปวงพากันรักใคร่ชื่นชม

การบูชาพระสังกัจจายน์ให้เป็นมงคล ควรบูชาด้วยธูป 3 ดอก พร้อมดอกไม้สีขาวมีกลิ่นหอมต่างๆ หรือดอกบัว มิว่าจะบูชาด้วยดอกใดให้ใช้ 7 ดอก ถวายน้ำสะอาด 1 แก้วและถวายผลไม้ทุกวันพระ

สำหรับคาถาบูชา กัจจายะนะ จะ มะหาเถโร พุทโธ พุทธานัง พุทธะตัง พุทธัญจะ พุทธะ สุภา สิตัง พุทธะตัง สะมะนุปปัตโต พุทธะโชตัง นะ มามิหัง ปิโย เทวะมะนุสสานัง ปิโยพรหม นะ มุตตะโม ปิโยนาคะ สุปันนานัง ปิยินทะริยัง นะ มามิหัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโสชะนา อิตถีชะนา ราชาภาคินิ จิตตัง อาคัจฉาหิ ปิยัง มะมะฯ

คาถาบูชาขอลาภ (สวดบทนี้ได้ทุกวันเพื่อสิริมงคล) กัจจายะนะ มะหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โส ระโห ปัจจะยาทิมหิ มะหาลาภัง ภะวันตุ เม ลาเภนะ อุตตะโม โหติ โส ระโห ปัจจะยาทิมหิ มะหาลาภัง สัพพะลาภา สะทา โสตถิ ภะวันตุ เม

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #56 เมื่อ: 23 ส.ค. 2551, 05:15:41 »
ที่มาจากเวป http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXhNekl6TURnMU1RPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBd09DMHdPQzB5TXc9PQ==



พระแสนแซ่สัมฤทธิ์เหล็ก พุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เมืองแพร่

"พระแสนแซ่สัมฤทธิ์เหล็ก" หรือ "พระเจ้าแสนแซ่" เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอเด่นชัย และของชาวจังหวัดแพร่ที่เคารพบูชา ประดิษฐานอยู่ที่วัดเด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่

พระแสนแซ่สัมฤทธิ์เหล็ก เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ มีน้ำหนักถึง 275 กิโลกรัม หน้าตักกว้าง 32 นิ้ว สูงถึงโมลี 42 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน เดิมประดิษฐานอยู่ที่ประเทศจีน ที่เมืองตาลี หรือเมือง "ตาลีฟู" ในปัจจุบันอยู่เหนือแคว้นสิบสองปันนา

พระแสนแซ่สัมฤทธิ์เหล็ก มีประวัติและความเป็นมาดังนี้ สมัยที่เชียงแสนเป็นราชธานีของไทย จีนได้รุกไล่คนไทยบางกลุ่ม และได้ถอยร่นลงมาทางใต้ และได้นำพระแสนแซ่สัมฤทธิ์เหล็กมาด้วย

"พระเจ้าแสนแซ่" จึงได้ประดิษฐานอยู่ที่เชียงแสนนานหลายปี

ต่อมาในปี พ.ศ.2412 ข้าหลวงฝรั่งเศส ซึ่งประจำอยู่ที่หลวงพระบาง ได้อัญเชิญพระเจ้าแสนแซ่ไปไว้ที่ทำงานของรัฐ

เหตุการณ์ต่อมาได้เกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ประชาชนต่างพากันโจษขานกันต่างๆ นานา ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า เกิดจากอาเพศ ด้วยเป็นเพราะข้าหลวงฝรั่งเศส นำพระเจ้าแสนแซ่มาประดิษฐานไว้ที่สำนักงานข้าหลวง

กลุ่มชาวบ้านจึงเข้าไปขโมยพระแสนแซ่ใส่ข้ามแม่น้ำโขง นำข้ามมาไว้บนหาดทรายบ้านท่านุ่นทางฝั่งประเทศไทย

กาลเวลาผ่านไปไม่นานนัก ราษฎรจากเมืองน่านผ่านไปพบเข้าโดยบังเอิญ จึงนำความกราบเรียนเจ้าอาวาสวัดพระธาตุช้างค้ำ จังหวัดน่าน

ข่าวการค้นพบพระเจ้าแสนแซ่ โดยชาวจังหวัดน่าน ได้โจษขานแพร่กระจายออกไปจากปากต่อปาก คนต่อคน และมีราษฎรจากบ้านนาจักร อ.เมือง จ.แพร่ พวกหนึ่งซึ่งไปค้าขายในแถบนั้นทราบเข้า จึงนำเหตุการณ์มาเล่าสู่กันฟังในหมู่ญาติสนิทมิตรสหายทางจังหวัดแพร่

ความทราบถึงพระครูพุทธวงศาจารย์ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร อ.เมือง จ.แพร่ จึงประกาศหาผู้ให้ข่าวพร้อมกับตั้งรางวัลให้ผู้ที่นำพระพุทธรูปมาถวายให้เป็นจำนวน 250 บาท ตามค่าเงินในสมัยนั้น ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมหาศาล

ดังนั้น ราษฎรบ้านนาจักร จึงได้รอนแรมบุกป่าฝ่าดงเป็นเวลานับเดือน เพื่ออัญเชิญพระเจ้าแสนแซ่มาด้วยความยากลำบาก ก่อนนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร

จนถึงปี พ.ศ.2457 คณะศรัทธาวัดเด่นชัย ได้ทราบข่าวว่า วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหารมีพระพุทธรูปองค์หนึ่งมีลักษณะงดงามและมีความเป็นมาที่พิสดารและประดิษฐานอยู่ที่ศาลาวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร

คณะศรัทธาวัดเด่นชัยจึงพร้อมใจกันไปขอเช่าบูชา จำนวน 250 บาท เพื่อนำมาประดิษฐานเป็นพระประธาน ในอุโบสถวัดเด่นชัย

แต่จะเป็นด้วยปาฏิหาริย์หรือเหตุใดไม่ปรากฏ บังเกิดฝนตกหนักในวันนั้น เกิดความชุ่มเย็นอากาศแจ่มใส ปรากฏให้เห็นที่อัศจรรย์ใจแก่คณะศรัทธาวัดเด่นชัยเป็นยิ่งนัก พระครูพุทธวงษาจารย์ เห็นเหตุการณ์เช่นนั้นจึงไม่คิดมูลค่าเช่าบูชาแต่ประการใด

ครั้นชาวเด่นชัยได้รับมอบพระพุทธรูปแล้ว จึงได้อาราธนาขึ้นเกวียนมาตามถนนหลวงและอัญเชิญมาประดิษฐานมาอยู่ที่วัดเด่นชัยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

พระครูนิสิฐธรรมาวุธ เจ้าอาวาสวัดเด่นชัยและเจ้าคณะตำบลเด่นชัย เขต 2 เปิดเผยว่า สำหรับประเพณีงานนมัสการพระเจ้าแสนแซ่สัมฤทธิ์เหล็กนั้น ตั้งแต่โบราณไม่เคยมีการจัดมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้

มีเพียงแต่การนิมนต์หลวงพ่อแสนแซ่องค์จำลองไปร่วมขบวนแห่งานสงกรานต์ของอำเภอเด่นชัย เพื่อให้ชาวอำเภอเด่นชัยและชาวจังหวัดแพร่ สรงน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคล ในวันที่ 16 เมษายน ของทุกปี และในงานไหว้สาพระธาตุช่อแฮเมืองแพร่ แห่ตุงหลวงก็นิมนต์องค์จำลองหลวงพ่อแสนแซ่ไปร่วมขบวนของอำเภอเด่นชัย เป็นประจำทุกปีเช่นกัน

สำหรับผู้ที่มีจิตศรัทธาเลื่อมใสต้องการกราบไหว้นมัสการพระแสนแซ่สัมฤทธิ์เหล็ก ต้องไปที่วัดเด่นชัยเท่านั้น

ส่วนบทสวดไหว้พระแสนแซ่เหล็ก ว่า

"นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมมาสัมพุทธัสสะ (กล่าว 3 จบ)

อิมัสมิง โชมะ โนธัมเม อิธะชะยะ อังคะนาราเม

ลักขะพันธะ พุทธรูปัง ฐิตังวันทามิ สิระสาธัง

อิมินา กะตะปุญเญนะ สะทาโสตถี ภะวันตุเม

คำแปล ข้าพเจ้าขอไหว้หลวงพ่อแสนแซ่ที่ประดิษฐาน ณ วัดเด่นชัยซึ่งเป็นอารามที่รื่นรมย์นี้ด้วย เศียรเกล้า ด้วยบุญกุศลนี้ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วขอความสุขสวัสดิ์ จงมีแด่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อเทอญ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ส.ค. 2551, 09:37:30 โดย <<<เอ็มไร่ขิง>>> »

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #57 เมื่อ: 24 ส.ค. 2551, 09:05:56 »
ที่มา http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdNekkwTURnMU1RPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBd09DMHdPQzB5TkE9PQ==

พระพุทธกษัตราธิราช วัดกษัตราธิราชวรวิหาร



"วัดกษัตราธิราชวรวิหาร" ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดโบราณ ปรากฏหลักฐานพบว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ วัดกษัตรา หรือ กษัตราราม หรือ กษัตราวาส

ไม่ปรากฏหลักฐานว่า ใครเป็นผู้สร้าง แต่ชื่อของวัดทำให้สันนิษฐานว่า คงเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ทรงสร้าง วัดนี้จึงมีชื่อว่า วัดกษัตรา ซึ่งหมายความว่าเป็นวัดของพระมหากษัตริย์ หรือวัดของพระเจ้าแผ่นดิน

มีปรากฏในแผ่นดินสมเด็จพระสุริยามรินทร์ ว่า แรม 14 ค่ำ เดือน 5 พม่าเอาปืนใหญ่มาตั้งที่วัดราชพฤกษ์และวัดกษัตราวาส ยิงเข้ามาในพระนคร ถูกบ้านเรือนราษฎรล้มตายจำนวนมาก วัดนี้คงถูกทำลายเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาจึงถูกทิ้งร้างเรื่อยมา

ครั้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ (ทองอิน) กรมพระราชบวรสถานภิมุข (กรมพระราชวังหลัง) ได้บูรณะวัดกษัตรา และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วัดกษัตราธิราช"

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ (เกศ) ต้นราชสกุลอิศรางกูร ได้ปฏิสังขรณ์พระอาราม ในปี พ.ศ.2349 ให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา เป็นพระอารามหลวงลำดับที่ 9 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกวัดกษัตราธิราชเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2520

ปัจจุบัน มีพระญาณไตรโลก (สุชาติ ฐานิสสะโร) เป็นเจ้าอาวาส นับได้ว่าเป็นวัดที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ภายในพระอุโบสถวัดกษัตราธิราชวรวิหาร ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธกษัตราธิราช ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม

ขนาดองค์พระสูง 2.99 เมตร ฐานกว้าง 2.09 เมตร ตั้งอยู่บนฐานชุกชี ในลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ใบหน้าลักษณะรูปสี่เหลี่ยม เม็ดพระศกมีขนาดเล็ก เหนือจากพระอุษณีษะ คือ เกตุมาลาทำเป็นรัศมีเปลว องค์พระครองจีวรห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวา ชายจีวรยาวจรดพระนาภีปลายแยกออกเป็นเขี้ยวตะขาบ

ต่อมามีการลงรักปิดทองประดับอย่างงดงาม ส่วนกลางฐานชุกชี ทำเป็นผ้าทิพย์ปั้นเป็นลายประเภทราชวัตร ประดับประจำยาม ปั้นเป็นลายก้านขดมีการออกลายเป็นสัตว์หิมพานต์ ด้านล่างปั้นเป็นลายกรวยเชิง ลักษณะคล้ายกับผ้าทิพย์

สำหรับพระอุโบสถที่พระประธานประดิษฐานอยู่ มีขนาด 9 ห้อง กว้าง 22 เมตร ยาว 46 เมตร ผนังก่ออิฐเจาะช่องแสงแบบเสาลูกมะหวด ด้านหน้าพระอุโบสถมีบันไดขึ้น 2 ทาง ช่องกลางก่อเป็นซุ้มบัญชร ช่องหน้าต่าง ด้านหลังมีมุขเด็จ ทำเป็นบันไดขึ้น 3 ทาง ที่ประตูกลางของมุขเด็จ ด้านหลังก่อเป็นซุ้มกั้นห้องประดิษฐานพระพุทธปฏิมา ปางป่าเลไลยก์

ส่วนหลังคาพระอุโบสถช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ประกอบด้วยเครื่องไม้หลังคามุงด้วยกระเบื้องกาบู หรือกระเบื้องกาบกล้วยดินเผา หน้าบันทั้ง 2 ด้าน จำหลักลายดอกพุดตานมีสาหร่ายรวงผึ้งคั่นสลับระหว่างเสา ลงรักปิดทองประดับกระจก มีคันทวย รองรับระหว่างชายคาที่แกละสลักอย่างงดงามสืบทอดรูปแบบมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา

ภายในพระอุโบสถเสากลมมีบัวที่หัวเสาเป็นแบบดอกบัวตูมจำนวน 6 คู่ รองรับเครื่องบน เพดานเขียนลายทองเป็นลายราชวัตร ดอกกลมและพุ่มข้าวบิณฑ์ สลับกันเป็นระยะบนพื้นสีแดง เพดานสลับไม้ลงรักปิดทองพื้นภายในพระอุโบสถปูด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลีที่รัชกาลที่ 5 พระราชทานแด่พระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง ธัมมสิริโชติ) อดีตเจ้าอาวาส เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา หลังจากการก่อสร้างพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรฯ

ตามความเชื่อ ผู้ใดได้มากราบมาไหว้จะประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงานก้าวหน้ายิ่งใหญ่ขึ้นนอกจากนี้ ยังมีข้าราชการ ทหารตำรวจ จะมาขอพรบารมีเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งมักจะนิยมสักการะทำบุญในพระอุโบสถแห่งนี้ เพราะถือว่าจะทำให้ชีวิตสดใสก้าวหน้าตอลดไป

ภายในวัดยังมีพระวิหารอีกสองด้านเป็นที่ตั้งรูปหล่อสมเด็จพระพนรัตน์ เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อแก่ รูปหล่อของสมเด็จพระพนรัตน์ มาอยู่ที่วัดแห่งนี้แห่งเดียว ผู้ใดมาขอพรจะได้ตามความประสงค์

รวมทั้งยังมีรูปหล่อของหลวงปู่เทียม อดีตเจ้าอาวาสพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของพระนครศรีอยุธยา ทางด้านอยู่ยงคงกระพันและเมตตาได้สร้างชื่อเสียงไว้อย่างมากในการสร้างตะกรุด 4 มหาอำนาจ รัตนมาลา ตะกรุดโทน จนปัจจุบันมีคนมาขอดูตะกรุดที่ทางวัดเก็บรักษาเอาไว้

นอกจากนี้ ยังมีวัตถุมงคลที่หลวงปู่เทียมจัดสร้างไว้ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ยังพอมีหลงเหลือให้ประชาชนที่มีความศรัทธาได้บูชา

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #58 เมื่อ: 30 ส.ค. 2551, 10:04:21 »
พระเจ้าทันใจ พระคู่วัดพระธาตุช่อแฮ



พระธาตุช่อแฮ เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแพร่ ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง ต.ป่าแดง อ.เมือง จ.แพร่ ห่างจากจังหวัดแพร่ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 8 กิโลเมตร

องค์พระธาตุช่อแฮเป็นที่รู้จักและเคารพนับถือแก่ประชาชนทั่วไปมาเป็นเวลาช้านาน องค์พระธาตุมีลักษณะเป็นรูปแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะแบบเชียงแสน บุด้วยทองดอกบวบสูง 33 เมตร ฐานมีเหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร

พระครูวิมลกิตติสุนทร เจ้าอาวาสวัดพระธาตุแฮ พระอารามหลวง กล่าวถึงความเป็นมาของพระธาตุช่อแฮ ว่า พระธาตุช่อแฮสร้างขึ้นระหว่างจุลศักราช 586-588 (พ.ศ.1879-1881) ในสมัยที่พระมหาธรรมราชาลิไทย ยังทรงเป็นพระมหาอุปราช พระราชบิดาทางโปรดให้ไปครองเมืองศรีสัชนาลัย สวรรคโลก

พระองค์มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงสั่งสอนศีลธรรมแก่ประชาชน และทรงวางแบบแผนแก่คณะสงฆ์ ตามลังกาทวีป จัดให้มีพระสงฆ์ 2 ฝ่าย คือ คามวาสี ศึกษาวินัยเพื่อสั่งสอนคน อรัญวาสี ศึกษาวิปัสสนา มุ่งความสงบแห่งจิตใจ

นอกจากนี้ ยังทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยโปรดให้สร้างสถานที่ที่ปรากฏในพุทธประวัติไว้ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อให้คณะสงฆ์ตลอดชาวเมืองทั้งหลาย ศึกษาวิปัสสนา

พระองค์ได้โปรดพระราชทานพระบรมธาตุแก่ "ขุนลัวะอ้ายก๊อม" ให้นำไปบรรจุฐานเจดีย์ที่จะสร้างให้คนทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา ในการนี้ขุนลัวะอ้ายก๊อม ได้กล่าวชักชวนหัวเมืองต่างๆ ให้มาร่วมสร้างพระเจดีย์ โดยช่วยกันสำรวจสถานที่จัดสร้าง

เมื่อขุนลัวะอ้ายก๊อมมาถึงบริเวณโกสิยธชัคบรรพต เห็นเป็นทำเลที่เหมาะสมจึงกำหนดให้สร้างเจดีย์ขึ้น

ขุนลัวะอ้ายก๊อมได้สร้างสิงห์ทองคำขึ้น 1 ตัว เอาผอบที่บรรจุพระบรมธาตุไว้ในท้องสิงห์ทองคำตัวนั้นแล้วหล่อเงินและทองคำเป็นแผ่นแล้วมาก่อเป็นแท่นสำหรับตั้งสิงห์ทองคำ นำสิงห์ทองคำนั้นบรรจุในองค์พระเจดีย์เรียบร้อยให้โปกปูนปิดช่องทับเจดีย์ เอาแผ่นทอเหลือง (ทองจังโก) บุรอบองค์พระเจดีย์ตั้งแต่ฐานถึงคอระฆังสูง 2 วา

เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขุนลัวะอ้ายก๊อมและมิตรสหายจัดงานสักการะบำเพ็ญกุศลฉลองอย่างมโหฬารเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน โดยรอบองค์พระเจดีย์ประดับประดาด้วยผ้าแพรสีต่างๆ พระเจดีย์องค์นี้ จึงได้ชื่อว่า "พระธาตุช่อแฮ" คำว่า แฮ คงเป็นคำที่เรียกมาจาก แพร

ที่วัดพระธาตุช่อแฮนี้มีพระพุทธรูปองค์หนึ่ง เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่กับวัดพระธาตุช่อแฮมาช้านานแล้ว ชื่อว่า "พระเจ้าทันใจ" ตั้งประดิษฐานอยู่ในซุ้มเจดีย์ด้านทิศใต้ขององค์พระธาตุช่อแฮ

พระเจ้าทันใจ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด ใครเป็นผู้สร้างแต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างมาพร้อมการสร้างพระธาตุช่อแฮ

พระเจ้าทันใจ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิขนาดหน้าตัก 2 ศอก สูง 4 ศอก องค์พระเจ้าทันใจจะมีทองคำเปลวเหลืองอร่ามจากชาวบ้านปิดบูชา เอาไว้ตลอด

จากตำนานที่เล่าสืบกันมาว่า พระเจ้าทันใจ หรือ พระเจ้าตันใจ๋ มีความศักดิ์สิทธิ์หากใครได้ไปกราบไหว้และอธิษฐานให้ดลบันดาลให้พบกับความสำเร็จในชีวิตก็จะได้สมตามความประสงค์

เช่น ในปี พ.ศ.2533 ประเทศไทยมี นางสาวไทย ชื่อ ภัสราภรณ์ ชัยมงคล ซึ่งเป็นนางสาวแพร่มาก่อน โดย น.ส.ภัสราภรณ์ได้มากราบอธิษฐานขอให้การประกวดนางสาวไทย ประสบความสำเร็จได้ตำแหน่ง และเธอก็ได้เป็นนางสาวไทยสมความปรารถนา

ทุกวันนี้ที่วัดพระธาตุช่อแฮ จะมีชาวบ้านและนักท่องเที่ยวแวะไปกราบนมัสการองค์พระธาตุช่อแฮ และพระเจ้าทันใจ

รวมทั้งบรรดาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่เดินทางมารับตำแหน่งใหม่ประจำจังหวัดแพร่ ล้วนแล้วแต่ต้องมากราบขอพรจากพระเจ้าทันใจ เพื่อความเป็นสิริมงคลในอาชีพรับราชการ

ทั้งนี้ ที่วัดพระธาตุช่อแฮยังได้จัดสร้างวัตถุมงคลจตุคามรามเทพ รุ่น เศรษฐีทันใจ ด้านหน้าเป็นรูปพระเจ้าทันใจ ด้านหลังเป็นองค์ท้าวจตุคามรามเทพ และยังมีเหรียญของ พระเจ้าทันใจ อีกหลายรุ่น

รุ่นล่าสุด คือ พระเจ้าทันใจ รุ่นมหาโชค มหาลาภ ซึ่งด้านหลังจะเป็นรูปขององค์พระธาตุช่อแฮ โดยเกจิอาจารย์ชื่อดังนั่งปรกอธิษฐานจิตภาวนา สำหรับให้ชาวบ้านที่มีศรัทธาได้ไว้บูชาอีกด้วย วัตถุมงคลของพระเจ้าทันใจ นับว่าเป็นสิริมงคลยิ่ง

นักท่องเที่ยวที่มีโอกาสเดินทางไปเมืองแพร่ แวะไปนมัสการพระธาตุช่อแฮและกราบขอพรพระเจ้าทันใจจะได้สิ่งที่ท่านปรารถนาทันใจ

คาถาบูชาพระเจ้าทันใจ "นะโม นะมะ สะขัง โกธะมัง ใจจะคุ" กล่าว 3 จบ จะเป็นสิริมงคลนักแล



ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ tom2007

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 462
  • เพศ: ชาย
  • ออแอ อออา เมตตา พุทโธ
    • MSN Messenger - autotom2007@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #59 เมื่อ: 30 ส.ค. 2551, 11:46:44 »
 :016:ขอขอบคุณครับสำหรับข้อมูลดีๆๆเช่นนี้  :015:
 :053: :053: :053: :053: :053: :053: :053:
ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ  สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #60 เมื่อ: 07 ก.ย. 2551, 10:45:26 »
พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี วัดบูรพาภิราม จังหวัดร้อยเอ็ด



พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ?หลวงพ่อใหญ่ เป็นพระยืนประทานพร บุด้วยกระเบื้องโมเสก สูง 67.55 เมตร ศิลปะพื้นบ้านส่วนผิวหนังเป็นสีเนื้อแลเห็นเด่นชัด เป็นพระพุทธรูปยืนองค์สูงที่สุดในประเทศไทยและสูงที่สุดในโลก เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด สร้างโดยพระครูสิริวุฒเมธี เจ้าอาวาสวัดบูรพาภิราม พระนักพัฒนา ผู้ชอบก่อสร้างศาสนสถานและปูชนียสถานต่างๆ

พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี หรือหลวงพ่อใหญ่ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.2514 เสร็จสิ้นเมื่อ พ.ศ.2522 สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ฐานพระพุทธรูปองค์นี้เป็นห้องพิพิธภัณฑ์จำนวนหลายห้อง ความสูงขององค์พระวัดจากพระบาทถึงยอดเกศสูงถึง 59 เมตร 20 เซนติเมตร และมีความสูงทั้งหมด 67 เมตร 55 เซนติเมตร นอกจากนี้หลวงพ่อใหญ่ยังเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด และปรากฏอยู่ในคำขวัญของเมืองร้อยเอ็ดด้วย

ค่าก่อสร้างพระพุทธรัตนมงคลมหามุนี ประมาณ 7,023,579.75 บาท

?พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี สร้างโดย พระราชปรีชาญาณมุนี (พุทธา สิริวุฑโฒ) ในขณะที่ดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสิริวุฒิเมธี ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อ พ.ศ.2522 ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการก่อสร้าง 8 ปี สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ติดกระเบื้องโมเสก ด้านหลังองค์พระเป็นเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสาริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ฐานพระพุทธรูปเป็นห้องพิพิธภัณฑ์จำนวนหลายห้อง

พ.ศ.2544 พระสิริวุฒิเมธี (จำปี จันทะธัมโม) เจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ดรูปปัจจุบัน (เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชธรรมโสภณ) ได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี โดยกะเทาะกระเบื้องโมเสกที่ชำรุดลง ฉาบปูนใหม่ทั้งองค์ และทาองค์พระด้วยสีทอง พร้อมทั้งบูรณะกำแพงแก้วรอบองค์พระ สิ้นงบประมาณทั้งสิ้น 2,750,000 บาท

?หลวงพ่อโต? เป็นพระประทานพรที่สูงที่สุดในโลก เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด และเป็นหนึ่งในคำขวัญจังหวัดร้อยเอ็ดในวรรคที่ว่า ?เรืองนามพระสูงใหญ่?

พุทธลักษณะของพระยืนองค์นี้ค่อนข้างสูงชะลูดมองดูไม่ได้สัดส่วนสมจริง สันนิษฐานว่าออกแบบก่อสร้างโดยช่างท้องถิ่น สร้างขึ้นจากแรงศรัทธาต่อพระพุทธศาสนามากกว่าจะเน้นความสวยงามขององค์พระ เป็นความวิริยะอุตสาหะของท่านพระครูสิริวุฒเมธีอย่างสูง ที่ริเริ่มพระยืนสูงที่สุดองค์นี้ให้เป็นศรีสง่าแก่เมืองร้อยเอ็ดสืบต่อไป

นอกจากนี้ ด้านหลังซึ่งเป็นฐานพิงขององค์พระนั้น มีพระเจดีย์สูง 9 เมตรประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจากอินเดีย ส่วนวัดบูรพาภิราม เดิมเป็นวัดเก่าแก่ติดคูเมืองเก่าด้านตะวันออกของจังหวัดร้อยเอ็ด

ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนชาวร้อยเอ็ดหรือจังหวัดใกล้เคียงจะเดินทางมาทำบุญ บนบานและขอพรในแต่ละวันไม่ขาดสายเนื่องจากแทบทุกคนล้วนประสบความสำเร็จด้วยกันแทบทั้งสิ้น ทั้งนี้ยังมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวชมและนมัสการวันละกว่า 1,000 คน

?วัดบูรพาภิราม? ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เลขที่ 559 ถนนผดุงพานิช ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย มีสถานภาพเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.2340 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2481 และได้ก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ พ.ศ.2530 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ได้รับการยกฐานะจากวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2531 ที่ดินวัดเนื้อที่ 29 ไร่ 3 งาน 97 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 1779

?วัดบูรพาภิราม? เดิมชื่อ ?วัดหัวรอ? เนื่องจากเป็นสถานที่รับรวมแขกคนในสมัยนั้น ประชาชนส่วนใหญ่นิยมค้าขายกับต่างเมือง พาหนะในการเดินทางไม่มี นิยมเดินกันเป็นส่วนใหญ่ ค่ำไหนนอนนั่น วัดหัวรอจึงเป็นจุดแรกที่พ่อค้าวาณิชจะนัดพบกันและพักแรมก่อนที่จะออกเดินทางไปค้าขายยังต่างเมือง ดังนั้นวัดแห่งนี้จึงเรียกกันติดปากของคนสมัยนั้นว่า ?วัดหัวรอ? ซึ่งหมายถึงการรอคอยก่อนที่จะออกเดินทางต่อไป

ในสมัยพระอธิการหล้า อินทวโส เป็นเจ้าอาวาส ได้ขยายเนื้อที่วัดเพิ่มจากที่แห่งเดิม เพื่อให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ว่า ?วัดบูรพา? ด้วยเหตุที่ว่าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมือง ปัจจุบันมีพระราชธรรมโสภณ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (มหานิกาย) เป็นเจ้าอาวาสวัด

พุทธศาสนิกชนท่านใดอยากได้ในสิ่งที่ปรารถนา เชิญมานมัสการและกราบขอพรจากหลวงพ่อโต หรือ ?พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี? เพื่อความเป็นสิริมงคลให้สมดังปรารถนา

ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #61 เมื่อ: 08 ก.ย. 2551, 11:28:50 »
ขอบคุณครับ ในที่สุดก็กลับมาแล้ว อิอิ

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #62 เมื่อ: 14 ก.ย. 2551, 12:03:21 »
พระศรีสมณโกฏบพิตร วัดสมณโกฏฐาราม-อยุธยา




 
"วัดสมณโกฏฐาราม" เป็นวัดอีกแห่งหนึ่งใน จ.พระนครศรีอยุธยา ที่นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาสักการะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์

วัดสมณโกฏฐาราม ตั้งอยู่ใน ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดราษฎร์ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น และปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) และเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เมื่อ พ.ศ.2233 ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ได้เสด็จไปที่วัดนี้เพื่อพระราชทานเพลิงศพเจ้าแม่ดุสิต ซึ่งเป็นพระมารดาของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) และเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) และยังเป็นพระแม่นมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

วัดแห่งนี้ยังมีพระปรางค์องค์ใหญ่ รูปทรงสัณฐานแปลกตากว่าแห่งอื่น เข้าใจว่าเลียนแบบเจดีย์เจ็ดยอดของเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ระฆังขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ระหว่างพระปรางค์และพระอุโบสถด้วย

ในจดหมายเหตุของแกมเฟอร์แพทย์ชาวเยอรมัน ที่ทำงานในบริษัทอีสต์อินเดียของฮอลันดา เดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยา เมื่อพ.ศ.2233 ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ได้บันทึกไว้ว่าห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันออกมีวัดที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งเรียกว่า วัดพระยาคลัง ตามแผนผังที่เขียนประกอบไว้ปรากฏ เป็นวัดสมณโกฎฐาราม

ลักษณะพระอุโบสถก่ออิฐถือปูนมีประตูเข้าออก 4 ด้าน มีพระปรางค์องค์ใหญ่ คล้ายเจดีย์ยอดของเชียงใหม่ อยู่หน้าพระอุโบสถ กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน วัดมีเนื้อที่ 51 ไร่เศษ

สิ่งสำคัญภายในวัดจากการสำรวจทางโบราณคดีพบว่าลักษณะแผนผังของวัดตั้งแนวแกนตะวันออก-ตะวันตก มีเจดีย์ทางปรางค์ เป็นประธานของวัดล้อมรอบด้วยระเบียงคด

ภายในระเบียงคดมีเจดีย์ราย ที่มุมทั้ง 4 ของปรางค์มีวิหารตั้งอยู่ด้านหน้าของทิศตะวันออกมีพระประธานขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ในวิหาร ท้ายวิหารเชื่อมต่อกับระเบียงคด อุโบสถตั้งอยู่ด้านหลังปรางค์ประธานทางด้านทิศตะวันตก อุโบสถหันหน้าไปทางทิศตะวันตกส่วนเจดีย์ทรงระฆัง ตั้งอยู่ระหว่างพระปรางค์และพระอุโบสถ

วิหารของวัดมีความกว้าง 14 เมตร ยาว 38 เมตร บนพื้นวิหารพบแนวเสากลม 2 แถว เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร ระยะส่วนใหญ่ห่างระหว่างเสา 2.50 เมตร แนวเสาที่พบส่วนใหญ่มีสภาพพังทลาย ภายในวิหารปูนอิฐขนาดใหญ่รองรับพื้น ปูกระเบื้องดินเผาแผ่นสี่เหลี่ยมที่ฐานชุกชี ประดิษฐาน

นอกจากนี้ อุโบสถมีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูน ฐานเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ตั้งบนฐานหน้ากระดานสูง9 เมตร เป็นที่รองรับส่วนของผนังทึบ มีรูปทรงแอ่นโค้งในลักษณะคล้ายเรือสำเภา อุบโบสถหลังนี้มีมุขลด มุขทางด้านตะวัน ตะวันตะวันตก สูงกว่าผนังด้านเหนือใต้ บัวหัวเสาทำเป็นบัวแวง เหมือนกับวิหารของวัดกุฎีดาว มีขนาดกว้าง 14 เมตร ยาว26 เมตร

ปัจจุบันได้บูรณะ จนสวยงาม นับว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่อีแห่งหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระประธานในพระอุโบสถมีชื่อ คือ พระศรีสมณโกฏบพิตร ขนาดหน้าตักกว้าง 149 นิ้ว สูง 190 นิ้ว เนื้อองค์พระเป็นหินทราย ปางมารวิชัย ลักษณะสวยงาม องค์ใหญ่เหลืองอร่าม สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ปฏิสังขรณ์มาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันทางวัดได้บูรณะใหม่ด้วยการลงรักปิดทอง ชาวบ้านที่เดินทางมากราบไหว้ต่างบอกว่าทำให้การค้ารุ่งเรือง ประสบผลสำเร็จในสิ่งพึ่งประสงค์ เป็นพระเก่าแก่ที่ประชาชนให้ความเลื่อมใส ไปพระนครศรีอยุธยา ต้องไปกราบไหว้ เป็นสิริมงคลตลอดไป

นอกจากนี้ เมื่อปี พ.ศ.2510 ทางวัดได้มีการบูรณะ ปรากฏว่าได้พบพระกริ่งบาเก็งบรรจุอยู่ในไหสมัยขอม ใกล้กับพระอุโบสถนับว่าพระกริ่งบาเก็งเป็นพระที่มาจากกลุ่มอโยธยาผิวสีของพระจะมีสีน้ำตาลอมดำ รวมทั้งยังพบพระขุนแผนใบเสมาที่บรรจุไว้บนเพดานพระอุโบสถของวัดอีกจำนวนมาก สร้างความฮือฮาให้กับประชาชนที่มากราบไหว้

ที่มา  - ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #63 เมื่อ: 20 ก.ย. 2551, 09:45:01 »
พระพุทธเทวปฏิมากร วัดพระเชตุพนฯ กทม.




วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกกันโดยทั่วไปว่าวัดโพธิ์ ถือเป็นวัดประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาวัดนี้ขึ้นใหม่จากวัดที่มีอยู่เดิม โดยนับเป็นวัดที่สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างราชธานี

เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลในรัชกาลที่ 1 ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลก เมื่อเดือนมีนาคม 2551

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีจำนวนประมาณ 99 องค์ พระเจดีย์ที่สำคัญ คือ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ซึ่งเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในแง่ของการท่องเที่ยวแล้ว วัดโพธิ์ได้รับความนิยมเที่ยวเป็นลำดับที่ 24 ของโลก ในปี พ.ศ.2549 โดยมีนักท่องเที่ยวมาเยือนในปีนั้นถึง 8,155,000 คน

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย โดยเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ 3 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมสรรพวิชาแขนงต่างๆ จารึกลงบนศิลาจารึกหรือแผ่นศิลา รวมทั้งได้ปั้นฤๅษีดัดตน ประดับไว้ภายในบริเวณวัด

อาจจะแบ่งความรู้ต่างๆ ออกได้เป็น 8 หมวด ได้แก่ หมวดประวัติการสร้างวัดพระเชตุพนฯ หมวดตำรายาแพทย์แผนโบราณ หมวดอนามัย หมวดประเพณี หมวดวรรณคดีไทย หมวดสุภาษิต หมวดทำเนียบ (จารึกหัวเมืองขึ้นของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น) และหมวดพระพุทธศาสนา

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม นับเป็นวัดสำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์วัดหนึ่ง พระพุทธเทวปฏิมากรก็เช่นเดียวกัน

"พระพุทธเทวปฏิมากร" เป็นพระพุทธรูปโบราณ เป็นพระประธานในอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 5 ศอก คืบ 4 นิ้ว

มีพุทธลักษณะอันงดงาม ส่วนใครเป็นผู้สร้างและได้สร้างขึ้นเมื่อใดนั้น ไม่มีข้อมูลปรากฏ

แต่มีปรากฏในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ ว่า เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดศาลาสี่หน้า คือ วัดคูหาสวรรค์

เมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างวัดโพธาราม ให้เป็นวัดใหญ่สำหรับพระนคร และได้ทรงขนานนามใหม่ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระองค์ได้ทรงเลือกหาพระพุทธรูป ที่มีพุทธลักษณะงามสมควรเป็นพระประธานในพระอุโบสถของวัด จึงได้พบและเลือกพระพุทธรูปองค์นี้จากวัดศาลาสี่หน้า ดังกล่าว

ครั้งนั้น จึงโปรดฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ถวายพระนามว่า "พระพุทธเทวปฏิมากร"

ต่อมาในรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ เป็นการใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ.2375 โปรดฯ ให้รื้อพระอุโบสถเก่า ซึ่งสร้างไว้ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 ลงทั้งสิ้น แล้วทรงสร้างขึ้นใหม่ให้ใหญ่โตกว่าเก่า

ส่วนฐานพระพุทธเทวปฏิมากรนั้นรื้อของเก่าทำขึ้นใหม่ขยายเป็น 3 ชั้น พระสาวกเดิมมี 2 องค์ ทรงสร้างขึ้นใหม่อีก 8 องค์ รวมเป็นพระสาวก 10 องค์ ดังที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้

ครั้นถึงรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริถึงพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลนั้นได้รับพระราชทานไปกระทำสักการบูชา เมื่อเจ้านายพระองค์นั้นๆ สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ไม่มีใครพิทักษ์รักษาได้เชิญมาเป็นของหลวงมีอยู่ ควรจะประดิษฐานไว้ให้มหาชนได้กระทำสักการบูชาโดยสะดวก จึงโปรดฯ ให้บรรจุพระบรมอัฐิในกล่องศิลา แล้วเชิญมาบรรจุไว้ในพุทธอาศน์พระพุทธเทวปฏิมากร และยังมีคำที่เล่าสืบกันมาว่าถึงพระอุณาโลมพระพุทธเทวปฏิมากรนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้โปรดฯ ให้สร้างถวายในครั้งนั้นด้วย

อนึ่ง พระพุทธเทวปฏิมากรพระองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงเคารพนับถือว่าเป็นเจดีย์สถานสำคัญแห่งหนึ่งมาช้านานแล้ว เพราะปรากฏในจดหมายเหตุว่า เมื่อได้ทรงรับพระบรมราชาภิเษกเสร็จแล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยสถลมารค เมื่อ ณ วันอังคาร เดือน 6 แรม 5 ค่ำ ปีกุน พ.ศ.2379

ครั้งนั้น จึงได้เสด็จประทับพระอุโบสถทรงกระทำสักการบูชาพระพุทธเทวปฏิมากรเป็นปฐม เรื่องนี้เลยเป็นพระราชประเพณีตั้งแต่นั้นสืบมา คือ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยสถลมารคนั้น ย่อมเสด็จประทับ ณ พระอุโบสถ

ทรงกระทำสักการบูชาพระพุทธเทวปฏิมากรสืบมาทุกรัชกาล


ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #64 เมื่อ: 20 ก.ย. 2551, 09:49:40 »
หลวงพ่อดำ วัดพุทไธศวรรย์





พระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง มีเขตตอนเหนือติดกับจังหวัดลพบุรีและอ่างทอง ด้านตะวันออกติดกับจังหวัดสระบุรี ด้านใต้จรดจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี และนครปฐม ส่วนทางตะวันตกจรดจังหวัดสุพรรณบุรี เคยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ

ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กรุงเก่า" หรือ "เมืองกรุงเก่า"

สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาส่วนใหญ่เป็นโบราณสถาน ได้แก่ พระราชวังและวัดต่างๆ

ณ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก มีวัดเก่าแก่แห่งหนึ่ง นาม "วัดพุทไธศวรรย์" เป็นพระอารามหลวงที่ใหญ่โตและมีชื่อเสียงวัดหนึ่ง

วัดพุทไธศวรรย์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศใต้ของพระมหาราชวังโบราณสถานประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ใน ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นในบริเวณท้องพระโรงของตำหนักเวียงเหล็ก

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง โปรดฯให้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.1896 มีอาณาเขตพื้นที่ 46 ไร่ 2 งาน 46 ตารางวา เพื่อเป็นที่ระลึกเมื่อครั้งพระองค์เสด็จฯ มาตั้งพระนครอยู่ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา เป็นอนุสรณ์ความสำคัญของพื้นที่แห่งนี้

ปัจจุบันยังมีโบราณสถานเหลืออยู่ เช่น พระปรางค์องค์ใหญ่ วิหารครอบพระปรางค์ และตำหนักสมเด็จพระโฆษาจารย์ ต่อมาได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ยอดพระปรางค์ในสมัยรัชกาลที่ 5

เมื่อปี พ.ศ.2441 มีชาวอยุธยาร่วมบริจาคเงินซ่อมแซมในครั้งนี้ด้วย ซึ่งในปัจจุบันที่บริเวณหน้าศาลาการเปรียญของวัดได้มีการจัดสร้าง รูปหล่อของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ ที่มีประวัติความเป็นมาในการกอบกู้เอกราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีความผูกพันกับวัดพุทไธศวรรย์ทั้งสิ้น

วัดพุทไธศวรรย์ ได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันทรงครองราชย์ ครบ 60 ปี ปัจจุบันมีพระครูภัทรกิจโสภณ หรือหลวงพ่อหวล พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของพระนครศรีอยุธยา ด้านอยู่ยงคงกระพัน เจ้าตำรับเหล็กไหล เป็นเจ้าอาวาส

วัดแห่งนี้เป็นสถานที่ที่คนนิยมนำวัตถุมงคลมาทำพิธีปลุกเสกบ่อยครั้ง จนมีชื่อเสียงไปทั้งประเทศ ใกล้กับพระวิหารด้านขวายังเป็นที่ประดิษฐานของ องค์พ่อจตุคามรามเทพ ขนาดใหญ่ที่ประชาชนจากทั่วสารทิศศรัทธาไปกราบไหว้

กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดพุทไธศวรรย์ เป็นโบราณสถาน ได้รับประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478

วัดพุทไธศวรรย์ ยังเป็นที่ประดิษฐานของ "หลวงพ่อดำ" เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ

"หลวงพ่อดำ" เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ลักษณะปูนปั้นทาด้วยสีดำ พระพักตร์รูปไข่ เป็นศิลปะอู่ทอง หรืออยุธยาตอนต้น เชื่อว่าสร้างควบคู่มาพร้อมกับการสร้างพระอุโบสถ ที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากมาจนถึงปัจจุบันนี้ว่า "หลวงพ่อดำ" ด้วยการสร้างในสมัยก่อน นิยมลงรักด้วยสีดำทั้งองค์ โดยไม่มีการนำสีทองมาทาจนนานมาก เมื่อชาวบ้านเข้าไปสักการบูชา ชาวบ้านเลยเรียกกันติดปากว่าหลวงพ่อดำ

มีตำนานเล่าขานต่อกันมาว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา ใครเจ็บป่วยไข้ เมื่อผ่านมาที่วัดแห่งนี้จะขึ้นไปสักการะหลวงพ่อดำ เพื่อขอให้หายเจ็บป่วย และทุกคนที่ไปบอกกล่าวจะหายเจ็บหายไข้

นอกจากนี้ ชาวบ้านยังนิยมมาขอพรหลวงพ่อดำให้ช่วยดลบันดาลให้คนที่อยากจะมีบุตร ได้มีบุตรสมความปรารถนา ซึ่งส่วนมากจะประสบผลสำเร็จ ทำให้เป็นที่กล่าวขวัญกันเรื่อยมาจนถึงในปัจจุบัน

วัดแห่งนี้ตามประวัติศาสตร์ยังเป็นสถานที่ฝึกอาวุธยุทโธปกรณ์ของทหาร ก่อนจะออกศึกสงคราม ในปัจจุบันเป็นสำนักดาบวัดพุทไธศวรรย์ ซึ่งคนโบราณมักจะพูดกันว่าสถานที่แห่งนี้หรือดินแดนแห่งนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เกี่ยวกับทางด้านอยู่ยงคงกระพัน

ส่วนสิ่งของที่นิยมนำไปสักการบูชาหลวงพ่อดำ จะเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมสีสันสวยงาม เช่น ดอกมะลิ ดอกจำปี เป็นต้น



ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #65 เมื่อ: 21 ก.ย. 2551, 10:36:15 »
หลวงพ่อโบสถ์บน วัดเศวตฉัตร กทม.





พระพุทธรูปปางสมาธิ ที่มีนามว่า "พระพุทธสมาธิคุณสุนทรสมา ทานบุราณสุคต" หรือที่ชาวบ้านเรียกจนติดปากว่า "หลวงพ่อโบสถ์บน วัดเศวตฉัตร" นั้น ถูกเล่าขานกันมาถึงความศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระพุทธรูปสานด้วยไม้ไผ่ แล้วปั้นด้วยปูนมีอายุเก่าแก่เป็นพระประธานคู่กับพระอุโบสถ

หลวงพ่อโบสถ์บน วัดเศวตฉัตรวรวิหาร เขตคลองสาน กรุงเทพฯ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิปูนปั้นลงรักปิดทอง ศิลปกรรมสมัยอยุธยา ขนาดหน้าตัก กว้าง 2.30 เมตร ไหล่กว้าง 1.35 เมตร สูงจากฐานถึงพระเศียร 3.40 เมตร ประดิษฐานเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในวิหารหลวงพ่อโบสถ์บน

สันนิษฐานว่าสร้างในราวปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่ด้วยความที่เป็นพระพุทธรูปที่มีศรัทธาสาธุชนมาสักการบูชากราบไหว้ขอพร ได้สมความปรารถนา ทำให้มีประชาชนมาสักการบูชาทุกวัน เพราะเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์

วัดเศวตฉัตร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2359 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2360 สถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง ปี พ.ศ.2393 พระเจ้าอัยกาเธอ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ (พระองค์เจ้าฉัตร ต้นสกุลฉัตรกุล) ทรงสร้างในระหว่าง พ.ศ.2359-2372 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ทรงปฏิสังขรณ์ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระราชทานนามว่า "วัดเศวตฉัตร" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระองค์เจ้าฉัตร ผู้ทรงสถาปนาวัด

เดิมเป็นวัดโบราณ ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่มีพระอุโบสถเก่าเป็นหลักฐาน ชาวบ้านเรียกกันหลายชื่อ อาทิ วัดแมลงภู่ทอง, วัดบางลำภูใน, วัดกัมพูฉัตร, วัดบางลำภูล่าง

ด้านหน้าวัดมีเนื้อที่งอกออกไปริมแม่น้ำเจ้าพระยา จนตื้นเขินห่างจากวัดเดิมมาก พระเจ้าอัยกาเธอ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ จึงได้ทรงยกวัดออกไปสร้างใหม่โดยใช้ชื่อ วัดบางลำภูล่าง โดยโปรดให้รื้อพระตำหนักของพระองค์ไปสร้างเป็นกุฏิหลังใหม่ 5 ห้อง (คือกุฏิเจ้าอาวาสปัจจุบัน) สร้างพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ และพระปรางค์ เป็นต้น ในปลายรัชกาลที่ 2 และต้นรัชกาลที่ 3 ต่อกัน

ภายหลังถวายเป็นพระอารามหลวง ดังปรากฏในจดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 ตอนที่ว่าด้วยการปฏิสังขรณ์ และสร้างพระอาราม พ.ศ.2393 ว่า วัดเจ้าและวัดขุนนางสร้างถวายเป็นวัดหลวงก็มี ไม่ได้ถวายก็มี กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ สร้างวัดหนึ่ง

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า วัดเศวตฉัตร และพระราชทานเงินทรงช่วยปฏิสังขรณ์

ปูชนียวัตถุสำคัญที่โดดเด่น คือ พระพุทธรูปปางสมาธิ พระนามว่า พระพุทธสมาธิคุณสุนทรสมาทานบุราณสุคต

พระพุทธรูปนาคปรก พระนามว่า "พระพุทธอังคีรสมุนีนารถอุรคอาสน์อำไพ"

พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระนามว่า "พระพุทธมารวิชัยอภัยปรปักษ์อัครวิบูล"

พระพุทธไสยาสน์ พระนามว่า "พระ พุทธบัณฑูรมูลประดิษฐสถิตไสยาสน์"

นอกจากนี้ ยังมีรูปหล่อเหมือนบูรพาจารย์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) พระศาสนุเท ศาจารย์ (บุญ ปริปุณฺณสีโล) อดีตเจ้าอาวาส พระธรรมญาณมุนี (บุญนาค ชินวังโส ป.ธ.9) อดีตเจ้าอาวาส คณะศิษย์สร้างไว้ประดิษฐาน ณ ศาลาบูรพาจารย์

ที่สำคัญสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) เป็นพระมหาเถระชาวบางลำภูล่าง พระองค์ทรงได้รับบรรพชาอุปสม บท ณ พัทธสีมา วัดเศวตฉัตร ทรงเป็นที่เคารพนับถือของชาวบางลำภูล่าง ศิษยานุศิษย์จึงได้หล่อพระรูปเหมือนไว้ประดิษฐานที่วัดเศวตฉัตร

วัดเศวตฉัตร ถือเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร



ที่มา   -   ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #66 เมื่อ: 27 ก.ย. 2551, 10:09:33 »
พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ วัดสุทัศนเทพวราราม




"วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร" ตั้งอยู่ใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ ถือเป็นหนึ่งในหกพระอารามสำคัญที่สุดของเมืองไทย การสร้างวัดดังกล่าวเป็นไปตามตำรับมหาพิชัยสงคราม

โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 มีพระราชประสงค์ให้เป็นวัดศูนย์กลางของกรุงเทพฯ เริ่มสร้างในปี 2350 พระราชทานนามว่า "วัดมหาสุทธาวาส"

แต่คนนิยมเรียก "วัดพระโตบ้าง วัดพระใหญ่บ้างหรือวัดเสาชิงช้า"

ต่อมาในรัชกาลที่ 3 พระองค์ทรงสร้างพระวิหารจนสำเร็จและโปรดให้สร้างพระอุโบสถ หล่อพระประธานในพระอุโบสถขึ้นใหม่ และพระราชทานนามวัดนี้ว่า "วัดสุทัศนเทพวราราม" แล้วจึงโปรดให้ผูกพัทธสีมาพระอุโบสถ เมื่อ พ.ศ.2376 และบรรจุพระธาตุในพระประธาน

ต่อมาครั้นสร้างกุฏิสงฆ์เสร็จแล้ว โปรดให้อาราธนาพระธรรมไตรโลกาจารย์วัดสัมพันธวงศ์ มาครองวัดแห่งนี้

ในรัชกาลที่ 5 สมัยสมเด็จพระวันรัต (แดง) เป็นเจ้าอาวาสโปรดให้จัดการซ่อมพระวิหารพระศรีศากยมุนี ครั้งใหญ่เริ่มลงมือเมื่อ พ.ศ.2438 สำเร็จเมื่อ พ.ศ.2441 ถึงปี พ.ศ.2442 โปรดให้ซ่อมพระอุโบสถ และหลังจากนั้นก็มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้เรื่อยมาจน ถึงปัจจุบัน

การก่อสร้างได้สำเร็จตามแผนผังที่กำหนดไว้ในสมัยรัชกาลที่ 7 จากการวางผังที่ดีตั้งแต่แรกเริ่ม ทำให้ได้รับการยกย่องเป็นวัดที่มีการวางผังได้สัดส่วนสวยงามที่สุด

พระอุโบสถวัดสุทัศน์ เป็นพระอุโบสถที่ยาวที่สุดในประเทศไทย จิตรกรรมฝาผนังเป็นฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3

วัดสุทัศนเทพวราราม มีพระวิหารหลวง จำลองแบบจากวัดมงคลบพิตรที่กรุงศรีอยุธยา บานประตูคู่กลางด้านหน้าเป็นงานฝีพระหัตถ์ของรัชกาลที่ 2 โดยทรงกำหนดลาย แบบวิธีการแกะและทรงเริ่มจำหลัก จากนั้นทรงให้ช่างฝีมือแกะต่อ จิตรกรรมฝาผนังภายในถือเป็นงานที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์

พระวิหารคด สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ล้อมพระวิหารหลวงทั้ง 4 ด้าน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 156 องค์ บานประตูเขียนลายรดน้ำรูปเซี่ยวกาง

สัตตมหาสถาน เป็นที่เสวยวิมุตติสุขของพระพุทธเจ้า รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างจำลองพระธาตุเจดีย์ ซึ่งประกอบด้วยเก๋งจีน แผ่นศิลา ศาลาศิลา ต้นไทร ต้นจิก ต้นเกด และต้นโพธิ์ลังกา

บริเวณโดยรอบวัดสุทัศน์ จะมีตุ๊กตาจีน เช่น เทวดา สัตว์ตัวละครในวรรณกรรม เป็นต้น ประดับเป็นจำนวนมาก รวมทั้งยังมีบอนไซ ต้นไม้ไทยที่หาดูได้ยาก และต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ในทางพระพุทธศาสนา

สำหรับ "พระพุทธตรีโลกเชษฐ์" เป็นพระ พุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย วัสดุโลหะ หน้าตักกว้าง 10 ศอก 8 นิ้ว บางแห่งว่าหน้าตักกว้าง 3 วา 17 นิ้ว สูง 4 วา 18 นิ้ว

ปัจจุบัน ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม เขตพระ นคร กรุงเทพมหานคร

เมื่อครั้งที่พระอุโบสถเริ่มก่อสร้างในปี 2377 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ต่อมาคือ พระยาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองงาน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเป็นพระอุโบสถที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทย ผนังภายในเขียนภาพจิตรกรรมฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3

เมื่อสถาปนาพระอารามแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้กรมหมื่นณรงคหริรักษ์ สร้างพระพุทธประธาน เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในบรรดาที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์

โปรดอัญเชิญพระศรีศาสดา ซึ่งอยู่บนฐานเดิมไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร แล้วอัญเชิญพระพุทธรูปหล่อใหม่ขึ้นประดิษฐานแทน

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ถวายพระนามว่า "พระพุทธตรีโลกเชษฐ์" และ พ.ศ.2407 โปรดให้สร้างพระอสีติมหาสาวกจำนวน 80 องค์ สร้างด้วยปูนปั้นลงสี นั่งพนมมือฟังพระบรมพุทโธวาท เบื้องพระพักตร์องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า


ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ <BoB'32>

  • มีคน มีต้นไม้ มีสัตว์ป่า
  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 47
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #67 เมื่อ: 28 ก.ย. 2551, 12:52:22 »
ยอดเยี่ยมครับผม สาธุ

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #68 เมื่อ: 04 ต.ค. 2551, 10:26:42 »
พระประธานวัดระฆังฯ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ





"วัดระฆังโฆสิตาราม" เดิมเรียกว่า วัดบางหว้าใหญ่ เป็นวัดโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

ปีพุทธศักราช 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงประกาศอิสรภาพของไทยกลับคืนมาได้ และเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พร้อมกับตั้งพระนครหลวงขึ้นใหม่เรียกว่า กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พุทธศักราช 2311

พุทธศักราช 2312 หลังจากที่ทรงขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงใฝ่พระทัยเป็นธุระในพระพุทธศาสนา พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ยกวัดบางหว้าใหญ่ซึ่งเดิมเป็นวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง

พร้อมกับทรงมีพระราชปรารภว่า พระไตรปิฎกคงกระจัดกระจายเสียหายเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า เพราะพม่าได้เผาบ้านเมืองและวัดวาอารามพินาศลง จึงมีพระราชประสงค์รวบรวมชำระสอบทานพระไตรปิฎกนั้นให้ถูกต้องครบถ้วนตามเดิม และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปอัญเชิญพระไตรปิฎกจากเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อให้สมเด็จพระสังฆราช(สี) และพระเถรานุเถระ สังคายนาจนสำเร็จสมบูรณ์ตามพระราชประสงค์ในวัดนี้

ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้พระสงฆ์วัดนี้เข้ารับบิณฑบาตในพระราชวังผลัดเวรกับวัดโพธาราม

อนึ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงมีพระราชประสงค์จะปฏิสังขรณ์ปรับปรุงวัดให้มั่นคงสวยงามยิ่งขึ้น จึงทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้สืบถามเรื่องระฆังของวัดบางหว้าใหญ่ ซึ่งเป็นระฆังที่มีเสียงไพเราะยิ่งนัก ขุดได้ทางทิศพายัพของพระอุโบสถหลังเก่า

เพราะเหตุแห่งการขุดระฆังได้ จึงได้ชื่อตามที่ประชาชนเรียกว่า วัดระฆัง ตั้งแต่นั้นมา

นอกจากนี้ วัดระฆังยังได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ทั่งพระอาราม โดยสมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ 1 คือ สมเด็จกรมพระยาเทพสุดาวดีอีกด้วย

สมัยต่อมาวัดระฆังได้รับความสนใจในการสร้างและปฏิสังขรณ์จากเจ้านายในวังหลังเป็นประจำ และพระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์ทรงโปรดพระราชทาน การอุปถัมภ์บำรุงรักษาสืบต่อมา จนถึงรัชกาลปัจจุบัน

เนื่องจากวัดระฆังเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช(สี) ซึ่งเป็นปฐมต้นบรมสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชนทุกชั้นในรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบันเคยประทับอยู่ที่วัดนี้ จึงทำให้ประชาชนรู้จักชื่อวัดระฆังกันเป็นอย่างดี

พระประธานของวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ วัสดุเนื้อทองสำริดลงรักปิดทอง หน้าตักกว้างประมาณ 4 ศอก ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ เบื้องพระพักตร์มีรูปพระสาวก 3 องค์ นั่งประนมมือดุจรับพระพุทธโอวาท กั้นด้วยเศวตฉัตร 9 ชั้น เดิมเป็นฉัตรกั้นพระเมรุของรัชกาลที่ 1 ซึ่งพระองค์ทรงขอให้นำไปถวายพระประธานวัดระฆังฯ เมื่อ พ.ศ.2352

ต่อมารัชกาลที่ 6 ทรงเปลี่ยนเศวตฉัตรจากผ้าตาดขาว มาเป็นผ้าขาวลายฉลุปิดทอง โดยใช้โครงของเก่า และมีการเปลี่ยนผ้าอีกครั้งใน พ.ศ.2504 โดยรัชกาลปัจจุบัน

พระประธานของวัดระฆังโฆสิตาราม องค์นี้ได้รับการยกย่องว่างดงามมาก

มีเรื่องเล่าขานสืบมาว่า ครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดระฆังโฆสิตาราม

ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า "ไปวัดไหนไม่เหมือนมาวัดระฆังฯ พอเข้าประตูโบสถ์ พระประธานยิ้มรับฟ้าทุกที"

ด้วยเหตุนี้ จึงทรงโปรดฯ ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์ และมหาปรมาภรณ์ช้างเผือกแด่พระประธานองค์นี้เป็นพิเศษ เป็นการแสดงถึงพระราชหฤทัยเคารพเลื่อมใสในพระพุทธปฏิมากรอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม พระพุทธรูปประธานวัดระฆังโฆสิตารามองค์นี้ไม่มีพระนาม แต่นับแต่มีพระราชกระแสดังกล่าว จึงได้รับการเรียกขานพระนามว่า "พระประธานยิ้มรับฟ้า"

วัดระฆัง นับเป็นวัดที่มีความสำคัญสืบเนื่องจากกรุงธนบุรีมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระประชวรใกล้เสด็จสวรรคต มีพระราชดำรัสสั่งให้นำพระเศวตฉัตรที่กั้นพระบรมโกศไปถวายพระประธานวัดระฆัง

แต่พระประธานองค์ที่ได้รับพระราชทานพระเศวตฉัตรนั้น เป็นคนละองค์กับพระประธานยิ้มรับฟ้าองค์ปัจจุบัน เดิมพระประธานของวัดระฆังฯ เป็นพระพุทธรูปศิลาองค์เล็ก เมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดระฆังครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างพระอุโบสถใหม่ประดิษฐานพระประธานองค์ใหม่ แล้วโปรดให้นำพระเศวตฉัตรที่กั้นพระประธานในพระอุโบสถเก่ามากั้นถวายพระประธานองค์ใหม่ด้วย

ส่วนพระประธานองค์เก่า ภายหลังได้มีการพอกปูนให้มีขนาดใหญ่ขึ้นขึ้น ประดิษฐานไว้ในพระวิหาร คือ พระอุโบสถหลังเดิม




ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #69 เมื่อ: 05 ต.ค. 2551, 11:50:49 »

หลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทรารามวรวิหาร กรุงเทพฯ





"หลวงพ่อโบสถ์น้อย" เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย วัสดุทองสำริด หน้าตักกว้าง 4 ศอก 22 นิ้ว สูง 7 ศอก 21 นิ้ว

ปัจจุบันประดิษฐานในพระอุโบสถน้อย วัดอมรินทรารามวรวิหาร

หลวงพ่อโบสถ์น้อย ไม่ปรากฏหลักฐานความเป็นมาแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด

แต่จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมหลวงพ่อโบสถ์น้อยเป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองสำริด มีขนาดไม่ใหญ่นักแต่จะมีขนาดเท่าใดและเป็นพระพุทธรูปสมัยใดนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด สันนิษฐานว่าหลวงพ่อโบสถ์น้อยคงจะเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านจึงมีความเลื่อมใสศรัทธาและอัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ

แต่ด้วยเหตุที่องค์พระพุทธรูปมีขนาดเล็ก ไม่สมกับพระอุโบสถที่มีความกว้างขวางใหญ่โต

ดังนั้น ชาวบ้านจึงได้คิดหากลอุบายด้วยการปั้นปูนพอกทับอำพรางองค์จริงของพระพุทธรูปเอาไว้ เพื่อให้มีขนาดที่เหมาะสมกับพระอุโบสถ ซึ่งขณะนั้นมีขนาดยาวถึง 4 ห้อง

ครั้นต่อมาถึง พ.ศ.2441 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ตัดเส้นทางรถไฟสายใต้ เริ่มจากปากคลองบางกอกน้อยไปทางนครปฐม มีผลให้พื้นที่ด้านหน้าวัดอมรินทราราม ตรงปากคลองบางกอกน้อย ถูกตัดตอนเป็นทางรถไฟ วางรางรถไฟเฉียดผ่านพระอุโบสถของวัด จนถึงกับต้องรื้อด้านหน้าของพระอุโบสถออกไปเสียห้องหนึ่ง เหลือเพียง 3 ห้อง เท่านั้น

ทำให้พระอุโบสถมีขนาดเล็กลง ชาวบ้านจึงเรียกว่า "โบสถ์น้อย" และคงจะเรียกชื่อพระประธานในพระอุโบสถโดยอนุโลมว่า "หลวงพ่อโบสถ์น้อย" ด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีเรื่องเล่ากันถึงความมหัศจรรย์ของหลวงพ่อโบสถ์น้อยที่ได้แสดงปาฏิหาริย์ให้ประจักษ์แก่ประชาชนโดยทั่วไป กล่าวคือ เมื่อครั้งที่นายช่างฝรั่งมาส่องกล้อง เพื่อดำเนินการตัดทางสำหรับวางรางรถไฟนั้นเมื่อส่องกล้องแล้ว พบว่าเส้นทางนั้นจะต้องถูกพระอุโบสถและองค์พระพุทธรูปพอดี

ในคราวนั้นกล่าวกันว่า ได้เกิดอาเพศเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น จนนายช่างฝรั่งไม่สามารถที่จะตัดเส้นทางให้เป็นแนวตรงได้ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเส้นทางใหม่เป็นแนวอ้อมโค้งดังปรากฏให้ เห็นในปัจจุบัน

ต่อมาเมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น เครื่องบินข้าศึกได้มาทิ้งระเบิดเพลิง เพื่อทำลายย่านสถานีรถไฟธนบุรี แต่เนื่องจากสถานีรถไฟกับวัดมีเขตติดต่อกันจึงทำให้ปูชนียวัตถุสถานต่างๆ ภายในวัดอมรินทรารามถูกไฟเผาทำลายเป็นส่วนมาก

แม้แต่พระอุโบสถซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโบสถ์น้อยก็ได้รับความเสียหายในครั้งนี้ด้วย ดังปรากฏว่ามีหลุมระเบิดอยู่รอบพระอุโบสถ ในส่วนของเชิงชายพระอุโบสถก็ถูกไฟไหม้ แต่ในที่สุดไฟก็ดับได้เองเหมือนปาฏิหาริย์ และจากความรุนแรงของลูกระเบิดที่ตกลงมารอบพระอุโบสถครั้งนี้ เป็นผลให้พระเศียรของหลวงพ่อโบสถ์น้อยที่ปั้นด้วยปูนถึงกับหักพังลงมา

ในครั้งนั้นทางวัดได้นำพระเศียรของหลวงพ่อโบสถ์น้อย ไปฝากไว้ยังวัดอรุณราชวรารามเป็นการชั่วคราว

เมื่อสงครามยุติลง วัดอมรินทรารามอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมาก ทางวัดจึงได้เริ่มดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุสถานต่างๆ ให้กลับมีสภาพดีดังเดิม ส่วนพระอุโบสถหลังเก่าอยู่ในสภาพเสียหายมาก จึงได้ดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทน พ.ศ.2504 พระอุโบสถหลังเก่า ซึ่งเรียกกันว่า "โบสถ์น้อย" ยังคงเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโบสถ์น้อยดังเดิม

ในส่วนการซ่อมแซมองค์พระพุทธรูป ทางวัดได้อัญเชิญพระเศียรของหลวงพ่อโบสถ์น้อยกลับคืนมา เพื่อหวังที่จะต่อเข้ากับองค์พระพุทธรูป แต่เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าพระเศียรของหลวงพ่อแตกร้าวเป็นส่วนใหญ่ จึงตกลงที่จะปั้นพระเศียรของหลวงพ่อขึ้นใหม่โดยให้คงเค้าพระพักตร์เดิมไว้

เล่ากันว่าครั้งนั้นทางวัดได้เชิญบรรดาท่านผู้เฒ่าในบ้านชางหล่อมาหลายท่าน เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการดำเนิน การปั้นพระเศียรหลวงพ่อขึ้นใหม่ ในที่สุดจึงเห็นควรให้ นายช่างโต ขำเดช เป็นผู้รับผิดชอบในการปั้นพระเศียร เนื่องจากเป็นผู้ที่เคยอุปสมบทในวัดอมรินทรารามมาหลายพรรษา จึงมีความคุ้นเคยในเค้าพระพักตร์หลวงพ่อโบสถ์น้อยมากกว่าผู้ใด

ต่อมาใน พ.ศ.2523 ได้มีการบูรณะหลวงพ่อโบสถ์น้อยขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากองค์พระพุทธรูปมีสภาพชำรุดหลายแห่ง ครั้งนั้นได้ทำการฉาบปูนลงรักปิดทองใหม่หมดทั้งองค์ พร้อมกันนี้ก็ได้บูรณะพระอุโบสถโดยการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาและซ่อมแซมส่วนต่างๆ ที่ชำรุดทรุดโทรมในคราวเดียวกันเมื่อแล้วเสร็จจึงได้มีการเฉลิมฉลองสมโภช

ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อโบสถ์น้อยประจำปี ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จัดในเดือนเมษายน (ราวกลางเดือน 5) แต่ในปัจจุบัน กำหนดให้เป็นวันที่ 29 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันนมัสการประจำปีของหลวงพ่อโบสถ์น้อย

เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ว่สำคัญที่หลวงพ่อโบสถ์น้อย ถูกภัยทางอากาศ เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2



ที่มา  -  ข่าวสด


ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #70 เมื่อ: 06 ต.ค. 2551, 03:28:08 »
ขอบคุณพี่เก่ง ครับ

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #71 เมื่อ: 11 ต.ค. 2551, 12:09:43 »
พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ






"วัดชนะสงคราม" เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง เดิมเรียกว่า วัดกลางนา

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างขึ้นให้คล้ายคลึงกับกรุงศรีอยุธยามากที่สุด

สำหรับวัดที่ตั้งอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวัง ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ ตลอดจนเปลี่ยนชื่อวัดให้เหมาะสม โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดกลางนาเป็นวัดตองปุ และให้เป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ เช่นเดียวกับวัดตองปุที่กรุงศรีอยุธยา เพื่อเทิดเกียรติทหารชาวรามัญในกองทัพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับพม่าในสงครามเก้าทัพ เมื่อ พ.ศ.2328 สงครามที่ท่าดินแดงและสามสบ เมื่อ พ.ศ.2329 และสงครามที่นครลำปางป่าซาง เมื่อ พ.ศ.2330

สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาททรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดตองปุแล้ว ถวายเป็นพระอารามหลวงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดชนะสงคราม เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงมีชัยชนะต่อพม่าในการรบทั้ง 3 ครั้ง

วัดชนะสงครามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงเริ่มดำเนินการก่อสร้างที่บรรจุพระอัฐิเจ้านายฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคลที่เฉลียงพระอุโบสถด้านหลัง ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง พระราชทานอุทิศพระราชทรัพย์ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ ดำ เนินการ

แต่การก่อสร้างมาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ราชบัณฑิตยสภาดำเนินการก่อสร้าง ขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นนายกราชบัณฑิตยสภา และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศ รานุวัดติวงศ์ ทรงดำเนินการก่อสร้างจนเสร็จสิ้น ได้มีพิธีอัญเชิญพระอัฐิจากพระราชวังบวรสถานมงคลไปประดิษฐานใน พ.ศ.2470

ปัจจุบัน วัดชนะสงครามเป็นวัดที่ประสบความสำเร็จสูงมากในการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม มีพระภิกษุสามเณรสอบเปรียญธรรมได้ปีละจำนวนมาก แม้แต่สามเณรผู้สอบได้เปรียญ 9 ประโยค และได้รับพระราชทานอุปสมบทในพระบรมราชานุเคราะห์ก็มีมากกว่าวัดอื่นๆ หลายวัด

วัดชนะสงครามยังคงให้ความสำคัญแก่การศึกษาพระปริยัติธรรม โดยเฉพาะสายภาษาบาลี

สำหรับ "พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ มเหทธิศักดิ์ ปูชนียะชยันตะโคดม บรมศาสดาอนาวรญาณ" พระพุทธรูปประธานภายในพระอุโบสถวัดชนะสงคราม มีลักษณะพิเศษน่าสนใจอยู่หลายประการ

เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย วัสดุปูนปั้นบุดีบุก ลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตัก 2.5 เมตร สูง 3.5 เมตร

ปัจจุบัน เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดชนะสงคราม

พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ มีลักษณะพิเศษคือ ภายในองค์พระมีฉลองพระองค์ลายยันต์ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท และเสื้อยันต์ของเหล่าแม่ทัพนายกอง ของพระองค์ เมื่อคราวมีชัยในสงคราม ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทฯ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ช่างปั้นพระเอาปูนพอกเข้าไว้ด้วยก่อนทำการบุดีบุก ทำให้พระพุทธรูปองค์นี้มีขนาดใหญ่โตกว่าเดิมก่อนการปฏิสังขรณ์

นอกจากนี้ รอบพระประธานยังมีพระ พุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัยอีก 15 องค์ ซึ่งสันนิษฐานกันว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท จะทรงนำแบบอย่างมาจากวัดชุมพลนิกายรามที่ บางปะอิน ซึ่งหมายถึงพระพุทธเจ้า 16 พระองค์ ที่ปรากฏนามอยู่ในบทสวดมนต์อาฎานาฏิยปริตร

พระพุทธเจ้า 16 พระองค์นี้ ตามคติโบราณนับถือกันว่า ทรงพระพุทธคุณใน การประสิทธิ์ประสาทชัยชนะเหนือศัตรู และมีผู้บัญญัติอักขระย่อแทนพระนาม ผูกเป็นยันต์พระเจ้า 16 พระองค์ เพื่อเป็นการสักการบูชา

ดังนั้น พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ จึงเป็นพระพุทธรูปสำคัญอีกองค์หนึ่งในกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีผู้มาเคารพสักการะกันมากเป็นพิเศษ ซึ่งรับกับประวัติการสร้างและนามแห่งวัดชนะสงครามนี้

ด้วยมีความเชื่อกันว่าจะมีชัยชนะในศึกสงครามและอุปสรรคต่างๆ ได้ สมนามแห่งวัดชนะสงครามนี้



ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #72 เมื่อ: 25 ต.ค. 2551, 06:59:24 »
พระศรีสรรเพชญ์ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กทม.




"พระศรีสรรเพชญ์" เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง 5.16 เมตร วัสดุก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง เป็นพระพุทธรูปที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท วังหน้าในรัชกาลที่ 1 ทรงเคารพศรัทธาสูงสุด

ประดิษฐานเป็นพระประธานใหญ่ในพระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้เคยตั้งสัตยาธิษฐาน ขอบารมีให้ช่วยคุ้มครองจากข้าศึกในระหว่างทรงร่วมกอบกู้ชาติบ้านเมือง เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

พระศรีสรรเพชญ์ เป็นพระพุทธรูปที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง

สันนิษฐานว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท โปรดให้พระยาเทวารังสรรค์ ช่างวังหน้า เป็นผู้ปั้น "พระศรีสรรเพชญ์" ขึ้น เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดมหาธาตุ (ขณะนั้นเรียกชื่อวัดพระศรีสรรเพชญ์ คือ ในระหว่างปี พ.ศ.2331-2346 ซึ่งเป็นยุคต้นของรัตนโกสินทร์)

พร้อมกับการปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างอื่นๆ ทั่วทั้งพระอาราม ในครั้งนั้นนามของพระประธาน จึงอนุโลมตามชื่อวัดไปด้วย

มีเรื่องราวบันทึกไว้ว่า เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ใกล้สวรรคต ได้เสด็จขึ้นพระเสลี่ยงไปที่วัดมหาธาตุฯ เพื่อทรงนมัสการพระประธานในพระอุโบสถ สมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ ทรงจบพระหัตถ์อุทิศถวายพระแสงดาบให้ทำเป็นราวเทียน โปรดให้จุดเทียนเรียงติดไว้ที่พระแสง เมื่อครั้งทรงพระประชวรในปลายสมัยของพระองค์ เพื่อเป็นพุทธบูชา

ต่อมาในปี พ.ศ.2387 วัดชำรุดทรุดโทรมมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งพระอาราม โปรดให้เสริมส่วนสูงพระอุโบสถเพิ่มขึ้น 1 ศอก

ในการนี้ พระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นพระประธานได้รับการเสริมสร้างให้ใหญ่ขึ้นตามพระอุโบสถ โดยพระยาชำนิรจนาเป็นผู้ปั้น ในเวลาต่อมาองค์พระได้รับการปิดทองใหม่อีก 2 ครั้ง คือใน พ.ศ.2445 เกิดอสุนีบาตพระอุโบสถด้านตะวันตก พระประธานต้องสายฟ้าดำไปทั้งองค์ และอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ.2467

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า วัดสลัก

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อทรงตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี และทรงสร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ และสร้างพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ประทับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล นั้น วัดสลักเป็นวัดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสลักเมื่อ พ.ศ.2326 พร้อมกับการก่อสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล จากนั้นทรงเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดสลัก เป็น วัดนิพพานาราม

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ใช้วัดนิพพานารามเป็นสถานที่สังคายนาพระไตรปิฎกใน พ.ศ.2331 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดพระศรีสรร เพชญ์"

พ.ศ. 2346 พระราชทานนามใหม่ว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรมหาวิหาร ตามชื่อวัดในกรุงศรีอยุธยาที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช

วัดมหาธาตุฯ เป็นสถานที่ที่ใช้เป็นที่พระ ราชทานเพลิงพระบุพโพ เจ้านายซึ่งดำรงพระเกียรติยศสูง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่ของวัดเป็นที่สร้างพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศ์ชั้นสูง

ในปลาย พ.ศ.2432 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งบาลีวิทยาลัยที่วัดมหาธาตุฯ เรียกว่ามหาธาตุวิทยาลัย และย้ายการสอนพระปริยัติธรรมมาจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ต่อมา ใน พ.ศ.2437 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารถาวรวัตถุ เรียกว่า สังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย เพื่อใช้ในงานพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

หลังจากนั้น ทรงอุทิศถวายแก่มหาธาตุวิทยาลัย เพื่อเป็นที่เรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูง ซึ่งได้พระราชทานนามว่า "มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" แต่อาคารหลังนี้มาสร้างเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และงานพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจัดที่วัดบวรสถานสุทธา วาส

ใน พ.ศ.2439 โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในการบูรณะวัดมหาธาตุฯ และพระราชทานนามว่า "วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์"



ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #73 เมื่อ: 08 พ.ย. 2551, 07:40:13 »
หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร กรุงเทพมหานคร



วัดอินทรวิหาร ตั้งอยู่บนถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้สี่แยกบางขุนพรหม คนละฝั่งกับธนา คารแห่งประเทศไทย เป็นวัดที่มีมาก่อนสมัยรัตน โกสินทร์ เดิมเรียกว่า วัดบางขุนพรหมนอก

การบูรณะครั้งสำคัญซึ่งทำให้ได้ชื่อว่า วัดอินทาราม คือ เมื่อรัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินในตำบลบางขุนพรหม ให้เป็นที่ตั้งบ้านเรือนของครอบครัวเชลยชาวเวียงจันทน์

เจ้าอินทร์ผู้เป็นน้าชายของเจ้าน้อยเขียวค่อมพระสนมเอก ได้บูรณะพระอารามขึ้นและนิมนต์เจ้าคุณพระอริญญิก พระสงฆ์ชาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาด้วยกันขึ้นปกครองวัด

ต่อมามีการบูรณะอีกครั้งหนึ่ง ผู้บูรณะ คือ เจ้าอินทวงศ์ พระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพ

รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดอินทรวิหาร ด้วยทรงเห็นว่าชื่อไปพ้องกับ วัดอินทาราม (วัดบางยี่เรือใต้) ทางฝั่งธนบุรี ส่วนชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดอินทร์ หรือ วัดอินทร์บางขุนพรหม หรือ วัดหลวงพ่อโต

"หลวงพ่อโต" เป็นพระพุทธรูปปางยืนทรงบาตร ผินพระพักตร์ไปด้านทิศตะวันออก มีความสูงตั้งแต่พื้นถึงยอดเกตุ 16 วา กว้าง 5 วา 2 ศอก นับเป็นพระพุทธรูปปางประทับยืนทรงบาตรที่ใหญ่ที่สุดในโลก

พ.ศ.2410 ในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตน โกสินทร์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ขณะมีอายุได้ 80 ปี ได้มาดำเนินการก่อสร้างองค์หลวงพ่อโต ณ วัดอินทรวิหาร

งานก่อสร้างเป็นไปอย่างยากลำบากด้วยต้องอาศัยแรงศรัทธาของญาติโยมและช้าง เป็นกำลังหลักของการก่อสร้าง ต้องใช้ท่อนซุงเป็นจำนวนมากมาวางไขว้เป็นรากฐาน

ทุนทรัพย์ในการก่อสร้างได้ปัจจัยจากกัณฑ์เทศน์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ นำมาซื้ออาหารเลี้ยงผู้มาช่วยเหลือการก่อสร้าง

ผ่านไป 4 ปี ก่อสร้างได้ถึงพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้มรณภาพลงอย่างกะทันหัน ด้วยโรคลมปัจจุบัน เมื่อวันเสาร์ ที่ 22 มิถุนายน 2415 เวลา 24.00 น. ณ ศาลาการเปรียญวัดอินทรวิหาร

ต่อมา พระครูธรรมานุกูล หรือ หลวงปู่ภู จันทเกสโร ศิษย์คู่บุญบารมีของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) และพระครูสังฆบริบาล (แดง) จากวัดบวรนิเวศ ได้ดำเนินการรับช่วงการก่อสร้างพระพุทธรูป และเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์ ในสมัยของท่านเจ้าคุณพระอินทรสมาจาร หรือหลวงปู่เงิน อินทสโร ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2470 ใช้เวลาการก่อสร้างถึง 60 ปี

ภายหลังมีการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้ง จนในปี พ.ศ.2525 เพื่อร่วมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี จึงทำการประดับกระเบื้องโมเสกทองคำแท้ 24 เค จากประเทศอิตาลีทั้งองค์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งพุทธศาสนิกชนและรัฐบาลศรีลังกามอบแก่พุทธศาสนิกชนไทยไว้บนยอดเกศ

วัดและคณะกรรมการจัดงานเทศกาลประจำทุกปี ในระหว่างวันที่ 1-10 มีนาคม

อภินิหารของหลวงพ่อโตศักดิ์สิทธิ์มาก ดังเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วโดยทั่วกัน ในระหว่างที่บ้านเมืองกำลังอยู่ในระหว่างสงคราม (พ.ศ.2484-2487) แม้องค์หลวงพ่อโตวัดอินทรวิหารใกล้กับจุดอันตรายมาก แต่หาเป็นอันตรายแม้แต่น้อยไม่ ประชาชนส่วนมากที่หลบภัยเข้ามาในบริเวณหน้าหลวงพ่อโต มองเห็นฝูงเครื่องบินมาทิ้งระเบิด แต่ครั้นมาถึงใกล้ระยะองค์พระ ปรากฏว่าฝูงบินได้วกไปทิศอื่น

ทำให้ชาวบ้านในเขตบริเวณหน้าหลวงพ่อโตวัดอินทรวิหาร รอดพ้นภยันตราย

เรื่องเล่าขานดังกล่าว นับเป็นสิ่งอัศจรรย์ แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่าหลวงพ่อโตวัดอินทรวิหาร มีความศักดิ์สิทธิ์มาก

ทุกวันนี้ มีประชาชนพากันไปนมัสการสักการบูชามิได้ขาด แม้แต่ชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาชมพระนคร ยังเข้ามานมัสการหลวงพ่อโตเป็นจำนวนมาก

ชาวบ้านชุมชนวัดอินทรวิหาร เล่าว่า การบนบานหลวงพ่อโต สามารถขอพรได้ในทุกเรื่อง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องขอให้เดินทางไกลโดยแคล้วคลาดปลอดภัย หรือขอโชคลาภ

เมื่อได้สิ่งที่ขอตามปรารถนาแล้ว การแก้บนหลวงพ่อโต นิยมใช้ไข่ต้ม พวงมาลัย โดยเฉพาะหากบนด้วยหัวปลาทู จะได้สำเร็จสมปรารถนาทุกรายไป

แต่ปัจจุบัน การแก้บนด้วยปลาทู นิยมถวายทั้งตัว ไม่ใช่แต่เฉพาะหัวเท่านั้น โดยได้รับการยืนยันจากคนในชุมชนวัดอินทรวิหารแล้วว่า ไม่ผิดเงื่อนไขแต่อย่างใด



ที่มา  :  ข่าวสด

ออฟไลน์ peachsama

  • คณินวัฒน์ สิทธิสงคราม พุ่มทิพย์ร่วมสาธุครับ
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1513
  • เพศ: ชาย
  • อำนาจ วาสนา บารมีดี เพราะมีแรงครู รายอกะจิ วันทามิ
    • MSN Messenger - peachsama@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • http://peachsama.hi5.com
    • อีเมล
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #74 เมื่อ: 09 พ.ย. 2551, 08:42:39 »
ขอร่วมสาธุการอนุโมธนาใน อภิมาหาSuperบุญกุศลครั้งนี้ 76วัดเลยท่านนับถือๆ :054: :054:
ตั้งกระทู้ไม่ได้ครับ
วัดถ้ำเมืองนะ
www.watthummuangna.com/seamsee
ศาสนสุภาษิต "สรรพทานัง ธรรมทานัง  ชินาติ"
ศิษย์บางพระ:บูรพาจารย์หลวงพ่อเปิ่น ฐิตะคุโณเป็นธงชัย
นำไปสู่สำเร็

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #75 เมื่อ: 09 พ.ย. 2551, 09:11:56 »
ขอบคุณพี่เก่งมาก ครับ ...พยายามสู้ๆต่อไปนะครับ ...  :053:

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #76 เมื่อ: 15 พ.ย. 2551, 09:33:59 »
พระพุทธรูป"หลวงพ่อเหลือ" วัดสร้อยทอง กรุงเทพมหานคร





หลวงพ่อเหลือ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำวัดสร้อยทอง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อทองสำริด หน้าตักกว้าง 52 นิ้ว ประดิษฐานในพระวิหารวัดสร้อยทอง

หลวงพ่อเหลือ ได้มีการเททองหล่อในสมัยหลวงปู่เบี้ยวเป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.2454 หล่อจากทองเหลืองที่เหลือจากการหล่อพระประธานพร้อมกับพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ จึงได้ชื่อว่า หลวงพ่อเหลือ

ภายในเกศขององค์หลวงพ่อเหลือ แต่เดิมสามารถเปิดออกได้ มีการบรรจุพระธาตุของพระอรหันตสาวก 5 พระองค์ คือ 1.พระธาตุของพระสารีบุตรเถระ 2.พระธาตุของพระโมคคัลลานเถระ 3.พระธาตุของพระสีวลีเถระ 4.พระธาตุของพระองคุลีมาลเถระ 5.พระธาตุของพระภิกษุณีพิมพาเถรี

มีตำนานเล่าขานกันว่า หลวงพ่อเหลือ เป็นพระพุทธรูปองค์เดียวในวัดสร้อยทองที่รอดพ้นจากภัยระเบิดที่ตกมาใส่บริเวณวัดสร้อยทอง และไม่สามารถทราบได้ว่าเพราะเหตุใด เครื่องบินฝ่ายพันธมิตรจึงทิ้งระเบิดทำลายสะพานพระรามหกผิดพลาด จนทำให้ลูกระเบิด 14 ลูก ตกมาถล่มใส่วัดสร้อยทองได้รับความเสียหายอย่างหนัก

เหตุที่ทราบว่าเป็นลูกระเบิด 14 ลูก เพราะมีการนับหลุมระเบิดที่ปรากฏในบริเวณวัดภายหลังการทิ้งระเบิดสิ้นสุด อานุภาพของลูกระเบิดทำให้คนที่อยู่สุดคลองบางซ่อนที่หลบภัยอยู่ในท้องร่องสวน เล่าถึงความสั่นสะเทือนของผิวน้ำในท้องร่องสวนที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า ทั้งๆ ที่ห่างไกลจากวัดสร้อยทองถึง 3 กิโลเมตร

การรอดพ้นจากภัยของระเบิดที่ทิ้งลงมาแบบปูพรม ทำให้นามของหลวงพ่อเหลือ เป็นที่กล่าวถึงและมีประชาชนศรัทธาเลื่อมใสในความศักดิ์สิทธิ์มากยิ่งขึ้น

ภายหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดสร้อยทองถูกระเบิด สิ่งที่เหลืออยู่ คือ หอระฆัง, เจดีย์ และองค์หลวงพ่อเหลือ ทั้งนี้ องค์หลวงพ่อเหลือได้รับผลกระทบเล็กน้อยบริเวณปลายพระหนุด้านขวาและที่พระหัตถ?

ต่อมา ร.อ.เจริญ สุภาพงษ์ ซึ่งพักอาศัยอยู่ในคลองบางซ่อนที่บ้านตระกูลภรรยา ได้ขอให้นายทหารช่างมาช่วยตกแต่งองค์หลวงพ่อเหลือ เมื่อมีการปัดฝุ่นองค์หลวงพ่อเหลือ พบว่าส่วนเกศของหลวงพ่อเหลือเปิดออกได้ จึงเปิดดูพบผงทราย

คุณลุงแม้น สรรพานิช ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์เปิดดูใหม่ในภายหลัง และคุ้ยผงทรายเหล่านั้น พบพระธาตุ 5 พระองค์นั้น จึงนำไปให้หลวงพ่อรวย เจ้าอาวาส

คุณตาสวัสดิ์ แม้นชื้น ผู้ใหญ่บ้านแห่งคลองบางเขน ได้พบเห็นพระธาตุนั้นท่านมีความรู้เรื่องพระธาตุ ได้บอกลักษณะพระธาตุทั้ง 5 พระองค์นั้น ว่าเป็นพระอรหันตสาวกธาตุ

ต่อมา หลวงพ่อรวย ได้บรรจุพระอรหันตธาตุทั้งหมดไว้ที่เดิมคือภายในเกศของหลวงพ่อเหลือ โดยใส่ถ้วยผอบ ซึ่งมารดาของคุณตาเสงี่ยม ครุฑนาค ได้ถวายให้หลวงพ่อรวยไว้ หลวงพ่อรวยเคยเล่าให้คุณลุงแม้นฟังว่า ท่านเคยเห็นดวงไฟวิ่งไปมาระหว่างองค์ หลวงพ่อเหลือ กับพระพุทธรูปปางปาลิไลยก? ซึ่งประดิษ ฐานไว้หน้าอุโบสถ

สำหรับประวัติวัดสร้อยทอง เดิมชื่อ วัดซ่อนทอง เป็นวัดเก่ามีมานาน สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.2394 ไม่ทราบนามและประวัติของผู้สร้าง สันนิษฐานว่าคงเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) ในสมัยรัชกาลที่ 4

สถานที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากคลองบางซ่อน มีเลขทะเบียนปกครองที่ 1319 พื้นที่ทั้งหมดในปัจจุบัน มีจำนวน 15 ไร่ 3 งาน 78 ตารางวา

อาณาเขตทิศเหนือ ติดกับถนนประชาราษฎร์ ทิศใต้ ติดกับคลองบางซ่อน ทิศตะวันออก ติดกับพื้นที่ของกระทรวงกลาโหม ทิศตะวันตก ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา

วัดสร้อยทอง มีพื้นที่เป็นลักษณะสี่เหลี่ยมมีความยาวติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาประมาณ 80 เมตร

ภายในวัดมีปูชนียวัตถุที่สำคัญคือ พระพุทธรูปนามว่า หลวงพ่อเหลือ

วัดสร้อยทองได้รับการยกฐานะจากวัดราษฎร์เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 13 เดือนเมษายน 2545

ปัจจุบัน มีประชาชนให้ความเลื่อมใสศรัทธาและกราบไหว้บูชาขอพรหลวงพ่อเหลือ ด้วยเชื่อว่า หลวงพ่อเหลือจะดลบันดาลโชคลาภ แคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยอันตรายต่างๆ นอกจากนี้ นามอันเป็นมงคล คำว่า "เหลือ" ยังมีความหมายถึง ความร่ำรวยเหลือกินเหลือใช้

สำหรับคาถาบูชาหลวงพ่อเหลือ (สวดนะโม 3 จบ)

นะโมพุทธายะ นะเหลือดี โมเหลือยิ่ง พุทเหลือใช้ ธาเหลือล้น ยะเหลือรวย


ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #77 เมื่อ: 22 พ.ย. 2551, 10:34:03 »
"พระแซกคำ"วัดคฤหบดี บางยี่ขัน กรุงเทพมหานคร



"พระแซกคำ" หรือ "หลวงพ่อแซกคำ" เป็นพระประธานในพระอุโบสถหลวง วัดคฤหบดี มีประวัติการได้มาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ว่า ในสมัยรัชกาลที่ 3 พระยาราชมนตรี ซึ่งมีนิวาสสถานไปพำนักที่แพข้างวังหลวง จึงอุทิศที่อยู่เดิมสร้างเป็นวัดแล้วทูลเกล้าฯ ถวายในหลวงรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับเข้าไว้เป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า "วัดคฤหบดีอาวาส"

ในสมัยนั้นพระยาราชสุภาวดี (เจ้าพระยาบดินทรเดชา) เป็นแม่ทัพ เสร็จจากศึกปราบกบฏเวียงจันทน์แล้วได้ยึดทรัพย์สมบัติกลับเข้ากรุงเทพรัตนโกสินทร์มามากมาย รวมทั้งพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระแซกคำ ซึ่งรอดหูรอดตาจากคราวเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกตีลาว ในรัชสมัยของพระเจ้ากรุงธนบุรี

พระแซกคำ เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองนพคุณ (ทองคำโบราณ) ศิลปะแบบเชียงแสนยุคปลาย (พ.ศ.1600-1800) ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง 18 นิ้ว ที่เรียกว่า เชียงแสนสิงห์สาม โดยดูจากพระศกเป็นช่อเปลวเพลิงถอดได้ ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี มีอายุราว 900 กว่าปี

ประวัติหลวงพ่อแซกคำ เป็นเรื่องเล่าจากผู้ที่อาวุโสทั้งภิกษุและฆราวาส ว่า

พระนางจามเทวี พระธิดาของกษัตริย์แห่งอาณาจักรลาวปุระ ได้ไปเป็นนางกษัตริย์ครองเมืองหริภุญชัย จากการที่ห่างบ้านเมืองมาทำให้พระนางรำลึกถึงพระคุณพระชนกพระชนนี ที่พระนางมิสามารถปรนนิบัติทดแทนพระคุณ

พระนางจึงมีพระราชประสงค์จะสร้างพระพุทธรูปขึ้น 2 องค์ เพื่อบูชาพระคุณพระชนกพระชนนี และอีกองค์หนึ่งเพื่อเป็นการฉลองพระองค์

ดังนั้น จึงให้สร้างมณฑลพิธีติดราชวัติฉัตรธง โปรดให้ช่างหลวงปั้นหุ่นพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ เห็นว่าสวยงามเป็นที่พอพระทัยก็ให้หล่อด้วยทองนพคุณ ทั้ง 3 องค์ ครั้นรุ่งขึ้นให้นายช่างถอดแบบตกแต่งพระ ปรากฏว่าพระทั้ง 3 องค์สวยงามอย่างไม่มีที่ติ ทรงมีพระโสมนัส พระราชทานนามว่า พระเสริม พระสุก พระใส ถวายแด่พระทั้ง 3 องค์ และให้มีการสมโภช 3 วัน 3 คืน ถวายเป็นพุทธบูชา

นอกจากนี้ พระนางยังได้อธิษฐานอีกว่า หากมีพระพุทธรูป มีพุทธลักษณะถึงพร้อมด้วยมหาปุริส ลักษณะและสวยงามกว่าพระพุทธรูปที่ทรงสร้างขึ้นทั้ง 3 องค์ แล้ว ขอให้เทพยดาผู้ทรงมเหสักข์ โปรดแสดงพระพุทธรูปนั้นแก่พระองค์ ณ มหาสโมสร เมื่อตั้งสัตยาธิษฐานแล้วจึงเสด็จฯ กลับ

รุ่งขึ้นเช้าวันที่ 4 เสด็จพระราชดำเนินมายังมณฑลพิธี เพื่อทรงเปิดงานสมโภช ขณะกำลังนมัสการพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ทั่วทั้งมณฑลพิธีนั้น ปรากฏหมอกควันคลุมไปทั่ว ต่อมาก็มีแสงสีทองส่องมาไล่หมอกควันให้หมดไป บริเวณนั้นก็โชติช่วงไปด้วยแสงทอง

พลันก็ปรากฏพระพุทธรูปทององค์หนึ่งลอยมาจากนภากาศ ค่อยชะลอลงมายังบริเวณมณฑลพิธีเข้าประดิษฐานแทรกอยู่ ณ ท่ามกลางแห่งพระพุทธรูปทั้ง 3 พระองค์

พระพุทธรูปทององค์นี้ถูกต้องตามตำรามหาปุริสลักษณะและสวยงามมาก เมื่อมาแสดงปาฏิหาริย์ปรากฏต่อพระพักตร์พระนางจามเทวีและชนทั้งหลาย ณ มหาสโมสรนั้น สมดังสัตยาธิษฐาน

พระนางก็โสมนัส ให้มีพิธีสมโภชพระพุทธรูปทั้ง 4 องค์ต่อไป รวมเป็น 9 วัน 9 คืน

ด้วยเหตุที่พระพุทธรูปที่ลอยมาจากเบื้องนภากาศ และเข้าประดิษฐานแทรกอยู่กลางพระพุทธรูปอีก 3 องค์ จึงพระราชทานนามว่า "พระแซก"

แต่เนื่องจากเป็นทองจึงมีชื่อต่อว่า คำ เป็นนามว่า "พระแซกคำ" ซึ่งเป็นชื่อเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ตลอดมา เป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป เชื่อกันว่าเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์"

วัดคฤหบดี วัดขนาดใหญ่ที่ซ?อนตัวอยู่ในสวนเดิมแถบบางยี่ขัน เป็นวัดที่สร้างขึ้นโดย พระยาราชมนตรีบริรักษ์ (ภู่) ข้าราชการกรมพระคลังมหาสมบัติ ในรัชกาลที่ 3 ซึ่งยกที่ดินอันเป็นนิวาสสถานเดิมของตนสร้างขึ้นและได้รับพระราชทานนาม อันมีความหมายว่าวัดผู้มีฐานะอันร่ำรวย

เหตุที่พระยาราชมนตรีอุทิศบ้านสร้างวัด เพราะได้รับพระราชทานบ้านหลวงให้อยู่ในบริเวณใกล้พระราชวัง เมื่อสร้างวัดคฤหบดีแล้ว ท่านได้รับพระราชทานพระพุทธรูปทองคำล้ำค่าองค์หนึ่ง ให้ประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ พระพุทธรูปองค์นี้คือ พระแซกคำ

ซึ่งในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ไปทำศึกเวียงจันทน์ ได้อัญเชิญพระแซกคำกลับมาถวายสมเด็จพระนั่งเกล้าพระเจ้าอยู่หัว

ต่อมา พระยาราชมนตรี (ภู่) ต้นสกุลภมรมนตรี ซึ่งเป็นข้าราชบริพารเก่าแก่ สร้างวัดคฤห บดีขึ้น น้อมถวายเป็นราชอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จึงได้พระราชทานพระแซกคำไว้เป็นพระประธานในพระอุโบสถดังกล่าว

พระแซกคำเป็นพระพุทธรูปที่นับถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มากองค์หนึ่ง ผู้ใดมีความทุกข์ร้อน มักไปกราบไหว้บนบาน

สิ่งของที่นิยมถวาย ได้แก่ ข้าวเหนียว ลาบเนื้อ ปลาร้า ไข่เป็ด 100 ฟอง พวงมาลัยและทองคำเปลว

ส่วนมหรสพที่ถวายมักเป็นละครชาตรี หมอลำ หรือแอ่วลาว



ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #78 เมื่อ: 23 พ.ย. 2551, 11:00:11 »
ขอบคุณพี่เก่งมากๆนะครับ

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #79 เมื่อ: 06 ธ.ค. 2551, 09:21:50 »
หลวงพ่อทิพย์เกษร วัดท่าพระ กรุงเทพมหานคร



หลวงพ่อเกษร หรือหลวงพ่อทิพย์เกษร เป็นพระพุทธรูปปลายสมัยอยุธยา ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ประดิษฐานบนฐานสิงห์ 3 ชั้น บัวหงาย 5 ชั้น วัสดุโลหะลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง 100 เซนติเมตร สูงจากพระบาทถึงพระเกตุมาลา 156 เซนติเมตร ลงรักปิดทอง

วงพักตร์กลมมน มีเค้าที่เรียกว่า หน้าเจ้าพรหม พระเมาลีเป็นแบบโอคว่ำ พระรัศมีเปลว แบบสุโขทัย มีพระอุณาโลม ที่หน้าพระรัศมี พระขนงโค้งคม พระเนตรแบบเนตรเนื้อ เม็ดพระศกแบบหนามขนุน พระกรรณทั้งสองข้าง ห้อยยาวเกือบจดพระอังสา ลำพระศอกลมมน ปรากฏสร้อยพระศอชัดเจน พระอุระนูนถัน ปรากฏชัด

พระอังสาทั้งสองข้างกว้างสมส่วน พระองสกุล ทั้งสองข้างตั้งตรงไม่ลู่ลง รูปองค์สะสวยโปร่งงาม ซึ่งเป็นพระปฏิมากรศักดิ์สิทธิ์ ศิลปะสมัยอยุธยา ตอนปลายผสมศิลปะตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นมิ่งขวัญ และเป็นที่เคารพ สักการระนับถือยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวท่าพระ ฝั่งธนบุรีและใกล้เคียง

ชาวบ้านทั่วไป เรียกว่า หลวงพ่อเกษร บางกลุ่มเรียกว่า หลวงพ่อทิพย์เกษร

หลวงพ่อเกษรมีความศักดิ์สิทธิ์มาก ได้มีการหล่อเหรียญออกมาเผยแพร่เป็นที่นับถือ มีจารึกอยู่ที่องค์พระซึ่งได้ลอกเนื้อทองที่ปิดองค์พระออก เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พุทธศักราช 2544

พบข้อความว่า "หลวงมหานากวัดปราสาด ศักราชได้ 2269 พระวะ สาปีมะเมีย อัฎ 3 เดือน 4 วัน 5"

จึงสันนิษฐานว่าหลวงพ่อเกษรสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้นานแล้ว

มีตำนานเรื่องเล่าถึงประวัติหลวงพ่อเกษร 2 ประการ คือ

1.เล่าสืบกันมาว่า เป็นพระพี่พระน้องกับหลวงพ่อโสธร และหลวงพ่อบ้านแหลม เรียงลำดับดังนี้ 1.หลวงพ่อวัดบ้านแหลม 2.หลวงพ่อเกษร และ 3.หลวงพ่อโสธร เล่าสืบต่อกันว่า เดิมที่บริเวณวัดท่าพระนี้ เป็นเกาะใหญ่ทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้เป็นลำคลองใหญ่มาก ปัจจุบันเรียกคลองวัดท่าพระ หลวงพ่อเกษรได้ลอยน้ำมาขึ้นที่ท่าน้ำ (ปัจจุบันที่บริเวณนี้ถมแล้วอยู่ตรงกุฏิสามัคคี 1)

ชาวบ้านได้ช่วยกันอาราธนาขึ้นจากน้ำแล้วแห่ไปประดิษฐานที่วิหาร เมื่อวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 5 พ.ศ.ใดไม่ปรากฏ ซึ่งถือเป็นประเพณีแห่ผ้าไตรแห่พระมาจนถึงปัจจุบันนี้ แล้วสร้างวิหารถวายไว้เป็นที่ประดิษฐาน

2.เล่ากันมาอีกนัยหนึ่งว่า บริเวณนี้เดิมเป็นเกาะใหญ่ มีน้ำล้อมรอบ เป็นที่พักร้อน พักเหนื่อยของชาวบ้าน ชาวเรือทั้งหลาย ต่อมีชาวพุทธเห็นว่าเป็นที่พักรวมของชาวบ้าน จึงมีศรัทธาเกิดขึ้น จึงได้ชักชวนกันร่วมกันสร้างวัดขึ้นและหล่อรูปหลวงพ่อเกษรขึ้นเป็นพระประธาน ณ สถานที่นี้เพื่อเป็นการสักการบูชา และบำเพ็ญศาสนกิจของชาวพุทธทั้งหลาย ตามคตินิยมของคนในสมัยนั้น "คตินิยมของคนโบราณคือนิยมในการสร้างวัดสร้างพระกันมาก เพราะถือเป็นการบำเพ็ญกุศลอันยิ่งใหญ่ สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ฯลฯ"

ครั้นเมื่อการหล่อรูปตกแต่งขัดเกลาเรียบร้อยแล้ว ได้ช่วยกันจัดสร้างวิหาร (เข้าใจว่าเป็นพระอุโบสถ) ประดิษฐานรูปหลวงพ่อเกษรไว้เป็นที่เคารพสักการะ เป็นมิ่งมงคลในถิ่นนี้มาจนถึงปัจจุบัน

อันประวัติของหลวงพ่อเกษร เท่าที่ทราบมี 2 ประการเท่านั้น ส่วนหลักฐานการสร้างไม่มีปรากฏ แต่หลวงพ่อเกษร เป็นพระพุทธปฏิมากรที่คนแถบถิ่นนี้เคารพนับถือมาช้านาน จนมีงานประเพณีแห่ผ้าไตรถวายทุกปีตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 5 ชาวบ้านจะรู้กันแทบทุกคน

สำหรับวัดท่าพระ ตั้งอยู่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 4 ริมถนนจรัญสนิทวงศ์ ใกล้สามแยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

วัดท่าพระ สร้างในยุคใดไม่มีหลักฐานปรากฏแต่เป็นวัดราษฎร์เก่ามากวัดหนึ่ง เดิมชื่อ วัดเกาะ และต่อมาเอกสารทางราชการกรมที่ดิน เรียกว่า วัดเกาะท่าพระ ปัจจุบันชาวบ้าน หน่วยงานราชการ และคณะสงฆ์เรียกว่า "วัดท่าพระ" คำว่า "เกาะ" ได้หายไป

ด้วยความเป็นวัดเก่าวัดหนึ่งนั้น แม้ว่าถาวรวัตถุส่วนใหญ่จะถูกรื้อทำลายหมดสภาพไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม แต่ยังเหลือถาวรวัตถุที่สำคัญชิ้นหนึ่ง คือ "วิหารหลวงพ่อเกษรและองค์หลวงพ่อเกษร"

เป็นเครื่องยืนยันถึงความเก่าแก่ของวัดท่าพระ และความเลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนไปตลอดกาลนาน



ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #80 เมื่อ: 13 ธ.ค. 2551, 09:20:44 »
หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดไผ่เงินโชตนาราม กรุงเทพฯ



หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัสดุสำริด ลง รักปิดทอง หน้าตักกว้าง 2.2 เมตร ศิลปะสมัยสุโขทัย เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระยาไกร เช่นเดียวกับพระสุโขทัยไตรมิตร

หลวงพ่อสัมฤทธิ์ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ ส่วนพระสุโขทัยไตรมิตร ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากสุโขทัยทั้งสององค์

หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ หัวหน้ากองพิพิธภัณฑ์และโบราณวัตถุ กระทรวงธรรมการในขณะนั้น ได้ทำการสืบประวัติหลวงพ่อสัมฤทธิ์ ทราบแต่เพียงว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนปลายต่ออยุธยา

ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระยาโชฏิกราช (เจ้าสัวบุญมา) ข้าหลวงเดิมของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้ปฏิสัง ขรณ์วัดพระยาไกร เสร็จแล้วจึงน้อมฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง สถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงนามว่า "วัดโชตนาราม" ได้อัญเชิญหลวงพ่อสัมฤทธิ์ มาประดิษฐานไว้ในอุโบสถ

ต่อมา เมื่อพุทธศักราช 2482 บ้านเมืองในตอนนั้นได้มีการเวนคืนที่ดินบริเวณคลองเตย เพื่อสร้างท่าเรือคลองเตย ในการนั้น มีวัดที่จะต้องถูกรื้อถอนยุบไปหลายวัด หนึ่งในนั้นคือวัดเงินที่ต้องถูกรื้อถอน โดยทางการได้ให้วัดเงินกับวัดไผ่ล้อมเดิม มารวมกันเป็นวัดไผ่เงินโชตนาราม ท่านพระมงคลสุธีได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอา วาสในพุทธศักราช 2483 ประจวบกับมีเหตุการณ์ที่กรมการศาสนามีนโยบายแจกจ่ายพระพุทธรูปที่ตกค้างอยู่ที่วัดพระยาไกร ซึ่งเป็นวัดร้างอยู่เป็นพุทธบรรณาการ

เมื่อ สมเด็จพระวันรัตน์ (เฮง เขมจารี) อดีตเจ้าคณะแขวงล่างและสมเด็จพระวันรัตน์ องค์สังฆนายก มีเถระบัญชาให้คณะกรรมการวัดสามจีนไปอัญเชิญพระพุทธปฏิมาปูนปั้นที่วัดไผ่เงินโชตนาราม (พระยาไกร) ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้าง มีพระพุทธปฏิมาปูนปั้นสององค์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถองค์หนึ่งและอยู่ในพระวิหารอีกองค์หนึ่ง เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธปฏิมาที่อัญเชิญมาจากอยุธยาทั้งสององค์

พระมงคลสุธี (สี ยโสธโร) เจ้าอาวาสวัดไผ่เงินโชตนาราม กรุงเทพฯ ได้อัญเชิญพระพุทธปฏิมาในพระอุโบสถมาประดิษฐานที่วัดไผ่เงินโชตนาราม

พระมงคลสุธี ได้เลือกองค์หลวงพ่อสัมฤทธิ์ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่ชำรุด ขณะที่องค์พระพุทธปฏิมาหลวงพ่อสุโขทัยไตรมิตรที่ถูกปูนหุ้มอยู่มีรอยร้าวจากไหล่ถึงเอวไปถึงรากฐานเป็นร่องเล็กๆ มองเห็นเนื้อสัมฤทธิ์สีเขียวๆ ที่ยังประดิษฐานอยู่

เมื่อพระพุทธปฏิมาหลวงพ่อสัมฤทธิ์ได้มาประดิษฐานที่วัดไผ่เงินโชตนารามแล้ว กองพิพิธภัณฑ์และโบราณวัตถุ กระทรวงธรรมการได้สืบประวัติของพระพุทธรูปองค์นี้ ทราบเพียงแต่ว่าเป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัยตอนปลายต่อสมัยอยุธยาและได้ขนานนามให้ว่า "หลวงพ่อสัมฤทธิ์" ด้วยเป็นพระพุทธปฏิมาที่หล่อด้วยสำริดและเป็นสำริดแก่เงินจัด ปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอกเศษ

มีการปิดทองหลวงพ่อสัมฤทธิ์ทั้งองค์อีกครั้งในช่วงฉลองกรุงรัตนโกสินทร์สองร้อยปี พ.ศ.2525 หลวงพ่อสัมฤทธิ์เป็นที่เคารพกราบไหว้ของประชาชนในย่านนั้น เจ้าอาวาสกล่าวว่า ท่านสามารถสร้างวัดไผ่เงินฯ ขึ้นมาได้ก็ด้วยบารมีของหลวงพ่อสัมฤทธิ์

ด้วยเหตุนี้จึงประดิษฐานไว้ในพระวิหารแทนที่จะเป็นพระอุโบสถ เพื่อสะดวกแก่ประชาชนที่ต้องการเข้ามากราบไหว้บูชา

และในวันขึ้นปีใหม่ของทุกปีจะมีงิ้วแสดงตลอด 3 วัน 3 คืน จนกลายเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติต่อกันมา


ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ tom2007

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 462
  • เพศ: ชาย
  • ออแอ อออา เมตตา พุทโธ
    • MSN Messenger - autotom2007@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #81 เมื่อ: 14 ธ.ค. 2551, 11:51:45 »
ขอขอบคุณที่แนะนำข้อมุลครับ

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #82 เมื่อ: 20 ธ.ค. 2551, 10:26:41 »
พระเสริม"ปางมารวิชัย วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ



พระเสริม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง หน้าตักกว้าง 2 ศอก 1 นิ้ว สร้างขึ้นพร้อมกับพระสุก พระใส

ถือเป็นพระพุทธรูป 3 พี่น้องแห่งกรุงศรีสัตนา คนหุต หล่อขึ้นจากทองสีสุก (โลหะสำริดที่มีทองคำเป็นส่วนผสมหลัก) เมื่อราวปี พ.ศ.2109 โดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ล้านช้าง พร้อมด้วยพระธิดา 3 พระองค์ ทรงพระนามว่า พระธิดาเสริม พระธิดาสุก และพระธิดาใส โปรดให้ช่างลาวล้านช้างหล่อพระพุทธรูปประจำพระองค์ เพื่อความเป็นสิริมงคลมีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ

ในพิธีการหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ พระภิกษุและฆราวาสช่วยกันสูบเตาหลอมทองอยู่ตลอดถึง 7 วัน แต่ทองยังไม่ละลาย พอถึงวันที่ 8 มีเพียงพระภิกษุสูงอายุรูปหนึ่งกับสามเณรรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ ปรากฏมีชีปะขาวคนหนึ่งมาอาสาสูบเตาแทนพระและเณร

แต่วันนั้นญาติโยมต่างเห็นบรรดาชีปะขาวสูบเตาอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อพระภิกษุและสามเณรฉันเพลเสร็จแล้วก็จะไปสูบเตาต่อ ปรากฏว่าได้มีผู้เททองลงเบ้าทั้ง 3 จนเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่เห็นชีปะขาวอยู่แม้แต่คนเดียว

การหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ สำเร็จลงด้วยดีอย่างน่าอัศจรรย์

พระธิดาเสริม สุก และใส ต่างถวายนามของตนเป็นนามของพระพุทธรูป ได้แก่ พระเสริมเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์พี่ พระสุกเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์กลาง และพระใสเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์สุดท้อง

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงลงความเห็นเกี่ยวกับพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ว่า พระเสริม พระสุก พระใส เป็นพระพุทธรูปลาวล้านช้างที่งดงามยิ่งกว่าพระพุทธรูปองค์อื่นๆ และทรงสันนิษฐานเรื่องการสร้างเป็น 2 ประการ คือ อาจจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากเมืองหนึ่งเมืองใดทางตะวันออกของอาณาจักรล้านช้างและต่อมาตกอยู่ในเขตล้านช้าง หรืออาจสร้างขึ้นในเขตล้านช้างโดยฝีมือช่างลาวพุงขาวในยุคนั้น

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ครั้งเจ้าอนุวงศ์ เจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างก่อกบฏ พระองค์ทรงโปรดให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพเป็นแม่ทัพยกทัพไปปราบ และได้ตั้งค่ายทหารที่เมืองพานพร้าว

ทหารไทยเข้าตีเมืองเวียงจันทน์ จนเจ้าอนุวงศ์หนีไปจากเวียงจันทน์

ในครั้งนั้นได้อัญเชิญพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาจากเมืองเวียงจันทน์หลายองค์ ได้แก่ พระแซกคำ พระฉันสมอ พระเสริม พระสุก พระใส พระแก่นจันทน์ พระเงินหล่อ พระเงินบุ พระสรงน้ำ มาเก็บรักษาไว้ที่เมืองพานพร้าว และได้มีการสร้างพระเจดีย์เพื่อประดิษฐานจารึกพระนาม พระเจดีย์ปราบเวียง ต่อมาเจ้าอนุวงศ์ได้ร่วมกับพวกญวนเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์คืนและตีค่ายพานพร้าว ทหารฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ได้รื้อพระเจดีย์ปราบเวียง และนำพระพุทธรูปที่บรรจุอยู่ทั้งหมดกลับเวียงจันทน์

ในที่สุด ทหารไทยเข้ายึดค่ายพานพร้าวคืนและตีเมืองเวียงจันทน์ ทำลายเมืองเวียงจันทน์ กำแพงเมือง ป้อมเมือง และหอคำ จนกลายเป็นทะเลเพลิง เหลือไว้แต่วัดสีสะเกด รวมทั้งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองบางแห่ง และได้มีการนำพระพุทธรูปจำนวนหนึ่งข้ามกลับมาฝั่งไทย

ส่วนการอัญเชิญพระเสริม พระสุก พระใส จากเมืองเวียงจันทน์ มีเรื่องเล่าเป็นตำนานต่อกันมาว่าพบพระพุทธรูปในถ้ำแห่งหนึ่งบนภูเขาควาย เนื่องจากชาวเมืองได้นำไปซ่อนไว้เพื่อหนีภัยสงคราม จึงนำขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่อัญเชิญมาทางลำน้ำงึมออกลำน้ำโขง

เมื่อถึงบริเวณปากน้ำงึมเฉียงกับบ้านหนองกุ้งเมืองหนองคาย (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอโพนพิสัย) เกิดพายุฝนตกหนักแพที่ประดิษ ฐานพระสุกแตก ส่งผลให้พระสุกจมหายไปในกระแสน้ำ ส่วนพระเสริมและพระใสได้อัญเชิญมาถึงเมืองหนองคายอย่างปลอดภัย

พระเสริมนั้นประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใสประดิษฐานอยู่ที่วัดหอก่อง (วัดประดิษฐ์ธรรมคุณ)

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอุปราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์สมัยนั้น พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะอัญเชิญพระเสริมมาประดิษฐานยังพระบวรราชวัง

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและข้าหลวง (เหม็น) ไปอัญเชิญพระเสริมและพระใสมายังพระนคร

เมื่อครั้งอัญเชิญพระเสริมและพระใสมายังพระนครนั้น กล่าวกันว่าพระใสแสดงปาฏิหาริย์ เกวียนที่ประดิษฐานพระใสหักลงตรงหน้าวัดโพธิ์ชัย ซ่อมก็หักอีก วัวลากเกวียนไม่ยอมเดิน ทั้งเชิญและบวงสรวงก็ไม่เป็นผล สุดท้ายทหารจึงอัญเชิญพระใสประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัยแทน

ส่วนพระเสริม อัญเชิญไปกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งที่มีการแห่พระเสริมจากหนองคาย เข้าเขตพระนครในยุคนั้น ชาวลาวล้านช้างที่ถูกต้อนมาอยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์ต่างได้ทำริ้วขบวนแห่ต้อนรับ จัดทำพานบายศรีและเครื่องบูชาเพื่อบูชาพระเสริม

ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้อัญเชิญพระเสริมจากพระบวรราชวัง ไปประดิษฐานยังพระวิหารวัดปทุมวนาราม ตราบจนถึงทุกวันนี้


ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #83 เมื่อ: 20 ธ.ค. 2551, 11:46:36 »
ขอบคุณท่านสิบทัศน์มากครับ ขยันนำมาลงให้ได้อ่านกันเป็นประจำ.. 36;

ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ 

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #84 เมื่อ: 10 ม.ค. 2552, 09:13:00 »
หลวงพ่อโต วัดนาทวี จ.สงขลา



"หลวงพ่อโต" วัดนาทวี อ.นาทวี จ.สงขลา เป็นพระพุทธรูปโบราณศิลปะอยุธยา มีหน้าตักกว้าง 2.20 เมตร ทำจากปูนปั้นโดยช่างท้องถิ่นและชาวบ้าน ร่วมกันจัดสร้าง

ถือว่าเป็นปูชนียวัตถุ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ มีปาฏิหาริย์และปรากฏการณ์ที่เล่ากล่าวขานเป็นตำนาน หลายอายุคนเป็นที่พึ่งทางใจและเคารพนับถือ ของประชาชนทั้งพื้นที่ และนอกพื้นที่ ในประเทศต่างประเทศให้ความนับถือศรัทธาเป็นอย่างมาก

มีความเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์จริง และปาฏิหาริย์ที่ทุกคนประสบ มีเรื่องเล่ากันมาว่า แต่เดิมชาวบ้านแถวนาทวี และใกล้เคียง เมื่อมีของหายหรือถูกโจรลักวัวลักควาย ต่างก็เดินทางมากราบไหว้บนบาน อธิษฐานกับหลวงพ่อโต พระประธานของวัดนาทวี ขอให้ได้ของคืน เช่น วัวควายและของมีค่า ส่วนมากจะได้คืนกลับมาเป็นอัศจรรย์และความสมปรารถนา

แม้แต่ในปัจจุบันทุกคนมีความเชื่อว่าเมื่อแต่งงานกันแล้ว ไม่มีบุตรไม่มีธิดา โดยเฉพาะชายหญิง ทั้งๆ ที่ร่างกายไม่ได้บกพร่อง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน ทุกคนมีความเชื่อกันว่า เมื่อเดินทางไปจุดธูปจุดเทียนบูชาหลวงพ่อโต และอธิษฐานขอลูกกับหลวงพ่อโตแล้วทุกคน ก็จะได้สมปรารถนา และหลายคนก็มีความเชื่อกันอีกว่า ชีวิตนี้ ชาตินี้ได้เป็นพ่อแม่ ลูก และญาติสนิทคนที่รักปรารถนาดีให้ความรัก เกื้อหนุน จุนเจือ อุปถัมภ์ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ชีวิตนี้ ชาตินี้มีอันต้องจากไป ถ้าชาติหน้ามีจริงขอให้เกิดมาประสบพบเจอและเป็นญาติพี่น้องคนที่เคารพนับถือ ซึ่งมีความห่วงใยซึ่งกันและกัน และขอให้สมความปรารถนาในคำอธิษฐานนั้น ทุกคนก็เดินทางมาเป็นจำนวนมากทั้งใกล้และไกล ในประเทศและต่างประเทศ หลายเชื้อชาติศาสนามาอธิษฐานขอพรกับหลวงพ่อโต พระประธานวัดนาทวี ขอให้สัมฤทธิผลในชาติหน้าและชาตินี้

สำหรับพระอุโบสถเป็นทรงโบราณ เก่าแก่ หลังคาทรงไทยแบบปักษ์ใต้ เปิดโล่งทั้ง 3 ด้าน มีความเชื่อกันว่ารับพลังจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 3 ภพ เช่น สวรรค์ มนุษย์ บาดาล ซึ่งมีหลวงพ่อโต พระประธานภายในโบสถ์ เป็นประธานของจักรวาล มีความกว้าง 10 เมตร ยาว 13 เมตร สันิษฐานจากคำบอกเล่าของคนเก่าคนแก่ว่า สร้างเมื่อปี พ.ศ.2442 โดยพระอธิการซ้าย ธัมมโชโต เจ้าอาวาสรูปที่ 2 รวมอายุประมาณ 109 ปี และศรัทธาจากชาวบ้านนาทวีและบ้านใกล้เคียงร่วมกันสร้าง เพื่อเป็นถาวรวัตถุ สืบทอดพระพุทธศาสนา

วัดนาทวี สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม บนที่ดินของนายยอดทอง ซึ่งมีตำแหน่งหัวเมือง หรือนายอำเภอ มีพระสัน สันตจิตโต จากวัดนาหว้า เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก และเนื่องจากพื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบริมคลองนาทวี เกิดน้ำท่วมทุกปี

แต่สิ่งที่สร้างความมหัศจรรย์ใจให้กับชาวบ้านและหมู่บ้านข้างเคียงมาตลอดคือ เมื่อเกิดน้ำท่วมถึงพื้นพระอุโบสถ แต่ไม่ถึงฐานพระประธานแม้แต่ครั้งเดียวและเมื่อดูน้ำในคลองก็พบว่าน้ำมีระดับสูงกว่าฐานองค์หลวงพ่อโต

เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ประชาชนที่ได้ทราบได้รู้ได้เห็นจากคำบอกเล่าต่อๆกันมา ยิ่งเพิ่มความศรัทธากับหลวงพ่อโต พระประธานวัดนาทวี ทวีคูณยิ่งขึ้นเป็นอย่างมาก และยังเป็นที่พึ่งทางกายทางใจ กับบุคคลที่ตกทุกข์ได้ยาก และทำการสิ่งใดไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต เข้ามาภายในโบสถ์วัดนาทวีได้กราบไหว้พระประธานแล้วทุกคนกลับก็ประสบพบแต่สิ่งที่ดีๆ อุดมพรั่งพร้อมไปด้วย ลาภผลพูนทวี มั่งมีศรีสุข ตลอดกาล

ของศักดิ์สิทธิ์ประจำวัดนาทวี มีอีกอย่างหนึ่งคือ แหวนพุทธดำรง เป็นกำไลหยกโบราณซึ่งขุดพบที่ท้องนา อำเภอนาทวี คนขุดพบก็ได้นำมาถวายให้กับวัดนาทวี

ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันวัดนาทวีได้นำแหวนพุทธดำรงมาประกอบพิธีกรรมแช่น้ำพุทธมนต์ แล้วนำมานาบตามส่วนของร่างกายที่เจ็บไข้ได้ป่วย เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคภายในที่ไม่สามารถล่วงรู้ได้ ก็มีอภินิหารหลายจากโรคร้ายได้ ปัจจุบันมีประชาชนเดินทางไปที่วัดนาทวีเพื่ออธิษฐานขอให้แหวนพุทธดำรง มานาบตามร่างกายที่เจ็บไข้ได้ป่วยวันละหลายร้อยคน

พระครูสุวัฒนาภรณ์ (อาจารย์ภัตร อริโย) เจ้าอาวาสวัดนาทวี ต.นาทวี อ.นาทวี จ.สงขลา เป็นพระนักพัฒนา ช่วยเหลือสังคมการศึกษามอบทุนกับโรงเรียนต่างๆ ทุกปีและยังเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ได้ศึกษาจากครูบาอาจารย์ตำราโบราณ ช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก และแนะนำวิธีการดำเนินชีวิตในด้านธุรกิจและสังคม

สำหรับท่านที่จะเดินทางไปวัดนาทวีจะไปไหว้พระประธานหรือกราบอาจารย์ภัตร ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น


ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #85 เมื่อ: 17 ม.ค. 2552, 10:18:01 »
พระเจ้านั่งดิน วัดศรีดอก จ.แพร่



"วัดศรีดอก" ตั้งอยู่ในท้องที่หมู่ที่ 3 ต.หัวฝาย อ.สูงเม่น จ.แพร่ ถือว่าเป็นวัดที่เก่าแก่อีกวัดหนึ่งของจังหวัดแพร่ ปัจจุบันนี้ มี พระอธิการสมบูรณ์ ประภากโร เป็นเจ้าอาวาส โดยเจ้าอาวาสวัดศรีดอก ได้เล่าถึงความเป็นมาของวัดศรีดอกและพระเจ้านั่งดิน ดังนี้

วัดศรีดอก ไม่ได้มีการบันทึกประวัติไว้แต่มีการเล่าสืบกันต่อมา จนถึงวันนี้ก็ไม่สามารถหาหลักฐานพบได้ แต่มีตำนานเล่ากันมาว่า ณ กาลครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้า ได้เสด็จมาทางทิศใต้ พระพุทธองค์ได้ทรงประทับใต้ต้นโพธิ์

ในขณะนั้นก็ได้มีพวกลัวะพวกแจ๊ะได้มาหาปลาตามหนองแห่งนี้ จึงได้มาพบพระพุทธเจ้า เข้าใจว่าและสงสัยว่าเป็นยักษ์เพราะไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้ามาก่อน ก็พากันแตกตื่นวิ่งหนีกันไปคนละทิศละทาง พระพุทธเจ้าก็ตรัสเรียกให้กลับคืนมาว่า เราไม่ใช่ยักษ์เราเป็นพระตถาคต

พวกลัวะพวกแจ๊ะบางพวกก็เชื่อ บางพวกก็ไม่เชื่อ พวกที่เชื่อก็กลับมา พวกที่ไม่เชื่อก็ไม่กลับ บ้างก็กล้าๆ กลัวๆ พวกที่ยังไม่เชื่อพระพุทธเจ้าจึงได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ให้ดูโดยทำให้ต้นโพธิ์ (ต้นศรี) บานดอกมีกลิ่นหอมตลบไปทั่ว มีสีที่สวยงามมาก พวกลัวะพวกแจ๊ะได้เห็นแล้วก็พากันไปบอกพวกที่ยังอยู่บ้านให้ทราบ ก็พากันมาดูพระพุทธเจ้าและดอกโพธิ์ (ดอกศรี) บานมากันหมดทั้งบ้านเลยละทิ้งฆ้อง (ละฆ้อง) ไว้ที่บ้าน สถานแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า ร่องละฆ้องจนตราบเท่าทุกวันนี้

พวกลัวะพวกแจ๊ะได้รู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้าคนวิเศษก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส พระพุทธองค์ก็ตรัสว่า สถานแห่งนี้ต่อไปในภาคหน้าจะมีผู้มาสร้างรูปพระตถาคตไว้ ณ ที่นี่ซึ่งเป็นป่าดงดิบหนาทึบ มีสัตว์ร้ายต่างๆ มากมาย

เวลาต่อมาก็มีพวกม่านพวกเงี้ยวได้มาสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาองค์หนึ่งไว้ในป่าแห่งนี้และได้สร้างวิหารขึ้นหลังหนึ่งเล็กๆซึ่งทำด้วยไม้ซาง(ไม่ไผ่) ทำเป็นฝาและเพดานหลังคามุงด้วยหญ้าคาพออาศัยทำพิธีทางศาสนาในสมัยนั้นทิ้งไว้ในป่า

บางครั้งก็มีเสือได้มาอาศัยอยู่หลับนอนในวิหารหลังนี้เป็นประจำ ลำดับต่อมาก็มีผู้คนมาสร้างบ้านเรือนอยู่เป็นปึกแผ่นแน่นหนา จึงได้มีประเพณีจุดบ้องไฟ เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ขอน้ำฟ้าน้ำฝนในเดือน 9 เหนือแรม 14 ค่ำ (เดือน 9 ดับ)

ในครั้งหนึ่ง สมเด็จพระวันรัต ได้มีโอกาสเดินทางมาเยี่ยมเยือนวัดศรีดอก เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2514

สมเด็จพระวันรัต เห็นว่าพระพุทธรูปองค์นี้แปลกกว่าพระพุทธรูปองค์ใดในประเทศไทย เพราะว่าประดิษฐานต่ำนั่งกับพื้นดิน สมเด็จพระวันรัตน์ จึงให้นามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "พระพุทธรูปนั่งดิน" ตั้งแต่บัดนั้นจนถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้ สมเด็จพระวันรัตน์ ได้กำชับกับคณะศรัทธาวัดศรีดอก ห้ามโยกย้ายและยกฐานสูงกว่าเดิมเป็นอันขาด จนถึงปัจจุบันนี้ยังอยู่ในลักษณะเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง

พระเจ้านั่งดิน วัดศรีดอก เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 60 นิ้ว สูง 2 เมตร ปางสมาธิ ถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามมากอีกองค์หนึ่งในจังหวัดแพร่

ในบริเวณวัดศรีดอกยังมีของดีๆ และวิเศษอีกมายมาย อาทิ มีพระธาตุวิหารหลังปัจจุบัน ยังมีบ่อน้ำภายในมีฆ้องทองคำลูกหนึ่งเสียงไพเราะมาก มีลูกแก้ววิเศษอีกลูกหนึ่งวันดีคืนดี ยามดีจะออกมาปรากฏให้เห็น มีแสงสีคล้ายกับหลอดนีออนสวยงามมาก

นอกจากนี้ บริเวณรอบๆ วัดทั้ง 4 ด้าน มีต้นตาล โดยครูบามหาเถร วัดสูงเม่นได้นำมาปลูกไว้และมีต้นลั่นทม (จำปาลาว) พ่อเจ้าคำลือ พ่อของแม่เจ้าคำป้อ ได้นำใส่หลังช้างมาจากตัวเมืองแพร่ มาปลูกต้นไม้เหล่านี้ไม่มีใครที่จะกล้าตัด เนื่องจากผู้ปลูกได้สาปแช่งเอาไว้

จึงพบว่าภายในวัดศรีดอก มีต้นไม้ใหญ่ต้นโพธิ์ (ต้นศรี) และต้นไม้ใหญ่ ดำรงคงอยู่คู่กับวัดศรีดอก คอยให้ร่มเงาแก่ผู้มาเยี่ยมเยือนวัดไปตราบนานเท่านาน


ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ต้นน้ำ~

  • ลูกบางพระ
  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 3234
  • เพศ: ชาย
  • แก้งค์ ศาลา ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #86 เมื่อ: 18 ม.ค. 2552, 02:33:16 »
อยากไปบ้าง

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #87 เมื่อ: 24 ม.ค. 2552, 01:06:05 »
หลวงพ่อโต วัดบุปผาราม จ.ตราด



ย้อนกลับไปในปี พ.ศ.2195 "หลวงเมือง" คหบดีชาวบ้านเกาะกันเกรา ต.วังกระแจะ อ.เมือง จ.ตราด ได้เป็นผู้ร่วมมือกับ ชาวบ้านสร้าง "วัดบุปผาราม" บริเวณเชิงเนินที่สวยงาม โดยชาวบ้านเล่าสืบกันมาว่าเมื่อก่อนนี้ในหมู่บ้านและบริเวณวัดมีพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลนานาชนิด ออกดอกออกผลตามฤดูกาล ล้วนมีสีสันสวยงาม ส่งกลิ่นหอมกระจายไปทั่ว โดยเฉพาะในบริเวณวัดยังมีพันธ์ไม้ที่ใช้ทำยาไทย และใช้ปรุงน้ำอบน้หอมขึ้นอยู่เป็นอันมาก

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า ก่อนที่จะสร้างวัดนี้ขึ้นมาได้มีการสำรวจหาที่ก่อตั้งวัดคณะสำรวจได้มาถึงบริเวณแห่งนี้ได้กลิ่นดอกไม้ หอมหวนตลบอบอวลไปทั่วบริเวณ แต่หาต้นไม้ที่มาของกลิ่นไม่พบ จึงมีความเห็นร่วมกันว่า คงเป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะ สร้างวัดตรงบริเวณนี้ หลังจากสร้างแล้วจึงตั้งชื่อ วัดบุปผาราม หมายถึงวัดสวนดอกไม้ เป็นต้นมา

ทั้งนี้ ในทะเบียนกรมการศาสนาได้ตรวจพบหลักฐานว่า วัดบุปผาราม สร้างในปี 2195 สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ.2172-2199) และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.2225 ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231)

หลักฐานด้านโบราณคดีที่มีปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุที่เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยา มีพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย และภาชนะประเภทเครื่องเบญจรงค์ ที่เป็นศิลปะสมัย อยุธยาตอนปลาย มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 22-23

โบราณสถานและโบราณวัตถุที่เป็นศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 24-25 เจดีย์ทรงปรางค์ที่เป็นโบราณสถานที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของวัดบุปผาราม เป็นศิลปกรรมที่นิยมสร้างมากในสมัยรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้เป็นเพราะได้รับการบูรณะเปลี่ยนเปลง รูปแบบเดิมจึงเปลี่ยนไปโดยเจดีย์ทรงปรางค์ เป็นเจดีย์ย่อมมุมไม้สิบสองขนาดเล็ก มียอดปรางค์ ตั้งอยู่ด้านหลังของวิหารพระพุทธไสยาสน์

และวิหารพระพุทธไสยาสน์ (วิหารพระนอน) เป็นวิหารก่อด้วยศิลาแลงถือปูน ขนาดกว้าง 3.85 เมตร ยาว 8.95 เมตร หลังคาชั้นเดียวมีพาไลด้านหน้า หน้าบันและซุ้มหน้าต่างประเด็บด้วยเครื่องถ้วยจีนและเครื่องถ้วยยุโรป ฝาผนังและเพดานด้านในมีภาพจิตรกรรมเขียนสีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เพดานเขียนภาพลายดอกไม้ ลายสัตว์ มีนก กวาง มังกรคู่ และอักษรจีน ผนังด้านหลัง พระพุทธรูปเขียนลายนก และลายดอกไม้

ส่วนผนังอีก 3 ด้านเขียน ลายดอกไม้ มีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันตก พระพุทธไสยาสน์ หันพระเศียรไปทางทิศตะวันออก โดยหันพระพักตร์ ไปทางเหนือ วิหารหลังนี้บูรณะใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2533

สำหรับพระประธานในอุโบสถ พระครูสุวรรณสารวิบูล เจ้าอาวาสวัดบุปผารามองค์ปัจจุบัน อธิบายถึงประวัติ ความเป็นมาว่า พระประธานในอุโบสถหลังนี้ชื่อ "หลวงพ่อโต" ซึ่งประวัติความเป็นมาโดยละเอียดนั้นไม่มีหลักฐาน ระบุชัดเจน แต่สร้างสมัยเดียวกันหลวงพ่อโตที่วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ต.ยกกระบัตร อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร

โดยหลวงพ่อโต ก่อสร้างในสมัยพระพุทธรูปสมัยอยุธยา เนื้อจะเป็นทรายแดงฉาบปูน ปางมารวิชัย รูปพระพักตร์มีรอยยิ้มละไม มีขนาดใหญ่กว่า "หลวงพ่อโต" ที่วัดหลักสี่ราษฎรสโมสรเล็กน้อย แต่มีลักษณะพิเศษก็คือ ที่นิ้วหัวแม่เท้าด้านขวาจะมี "เล็บ" เป็นเนื้อสีขาวขุ่น ขณะที่ หลวงพ่อโต วัดหลักสี่ราษฎรสโมสรไม่มี

พระสุวรรณสารวิบูล กล่าวว่า หลวงพ่อโตองค์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์และเป้ฯที่เชื่อถือของชาวเมืองตราดมาช้านาน ในยุคนั้น ประชาชนเดินทางมากราบไหว้จำนวนมากเพื่อขอพรและขอโชคลาภ

แต่ปัจจุบันโบสถ์และวิหารได้รับการ จดทะเบียนโบราณสถานและโบราณวัตถุอันล้ำค่า จึงไม่ค่อยมีประชาชนเข้ามาสักการะมากนัก เนื่องจากเกรงว่าจะได้รับความเสียหาย และถูกโจรกรรมจากกลุ่มมิจฉาชีพ

ทั้งนี้ หลวงพ่อโต วัดบุปผาราม เป็นที่รู้จักในความศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกับพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก, หลวงพ่อพระพุทธโสธร จ.ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่อวัดไร่ขิง จ.นครปฐม, หลวงพ่อโต วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร จ.สมุรสาคร, หลวงพ่อวัดบ้านแหลม จ.สมุทรสาคร, หลวงพ่อวัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี หลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตร กรุงเทพฯ, หลวงพ่อพระพุทธชนะมาร วัดธรรมบันดาล จ.นครราชสีมา

พระพุทธรูปที่กล่าวถึงนี้ล้วนทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์มาช้านาน ในบรรดาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ปรากฏบุญญฤทธิ์ เป็นที่พึงทางใจของชาวพุทธไม่เสื่อมคลาย



ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #88 เมื่อ: 31 ม.ค. 2552, 08:54:22 »
พระพุทธสิหิงค์(พระสิงห์ปาย) วัดศรีดอนชัย จ.แม่ฮ่องสอน



"พระพุทธสิหิงค์" หรือ พระสิงห์ปาย เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองปาย และเป็นพระพุทธรูปประธานวัดศรีดอนชัย ตั้งอยู่เลขที่ 18 หมู่ 8 ต.เวียงเหนือ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน สังกัดคณะสงฆ์

พระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์ปาย) เป็นพระ พุทธรูปศิลปะเนื้อทองสำริด ปางมารวิชัยเชียง แสนสิงห์ยุคแรก สร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 อายุราวประมาณ 700-800 ปี

ตามพงศาวดาร เป็นวัดแรกของเมืองปาย (อำเภอปาย) สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 1855 โดยพะก่าหม่องซอได้นำทัพพม่า ตั้งที่บ้านดอนแห่งนี้

พะกาหม่องซอจึงได้สร้างวัดนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ชื่อว่า วัดบ้านดอนจองใหม่ (หรือวัดใหญ่)

โดยการสร้างครั้งแรก ได้สร้างกุฏิให้เป็นที่บำเพ็ญกุศลของเหล่าทัพและประชาชนสมัยนั้น โดยได้นิมนต์พระพม่าไทยใหญ่จากแสนหวี หนองฮี เมืองปั่น ลางเคอ เมืองนาย มาจำพรรษาอบรมชาวบ้านและกองทัพสมัยนั้น

ต่อมาปีพุทธศักราช 2020 สมัยที่พระเจ้าติโลกราช เจ้ากษัตริย์ผู้ครองนครพิงค์เชียงใหม่ ได้มีพระบัญชาให้เจ้ามหาชีวิตศรีใจยา หรือเจ้าศรีใจย์ ซึ่งเป็นราชบุตรของพระเจ้าเสนะภู เป็นหลานของพระเจ้าคราม และเป็นเหลนของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ได้นำช้างพลายเผือก 2 เชือก ชื่อ ช้างพลายเผือกเฒ่ามงคล และช้างพลายแก้วมงคล ยกทัพจากนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เพื่อมาตีเมืองแห่งนี้จากพะก่ากั่นนะ และพะก่าส่างกง

ปรากฏว่า ได้รับชัยชนะศึกในครั้งนั้น แต่ช้างเผือก 2 เชือกของเจ้าศรีใจยา ได้หลุดหนีเข้าป่าไป โดยเสนาอำมาตย์ได้ติดตามได้ที่ลำห้วยขุนแม่น้ำปายปัจจุบัน

เมื่อเสนาอำมาตย์ได้มากราบทูล เจ้ามหาชีวิตศรีใจยา ก็ปรารภว่าแม่น้ำนี้สมควรชื่อแม่น้ำปาย เหตุคือเรียกตามที่ได้พบช้างพลาย 2 เชือกคืนในลำห้วยขุนน้ำนั้น (ภาษาเมืองเหนือ ช้างพลาย เรียกว่าจ๊างปาย) และเมืองๆนี้จึงได้ชื่อว่าเมืองปาย ตามชื่อแม่น้ำปายจนบัดนี้

พระเจ้าติโลกราช ได้สถาปนาพระนามใหม่ให้เจ้าศรีใจยาว่าเจ้าชัยสงคราม ให้ดูแลปกครองเมืองปายสืบต่อไป และได้สร้างวัดโดยการสร้างขึ้นใหม่ เมื่อปีพุทธศักกราช 2021 โดยได้ก่อสร้างวิหาร กำแพง กุฏิ และเสนาสนะอื่นๆ และขุดสร้างกำแพงเมือง ประตูเมือง และอัญเชิญอาราธนาพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์ปาย) จากเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่มาประดิษ ฐานเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองอยู่ประจำที่วัดแห่งนี้ในปีนั้นด้วย

รวมทั้งได้อาราธนาพระวชิรปัญญามหาเถร วัดมหาโพธาราม (เจ็ดยอด) เชียงใหม่ และพระภิกษุมหาเถระจากเมืองพะเยา เชียงราย อีก 5 รูป จำพรรษาอบรมศีลธรรมให้กับชาวบ้าน โดยได้ตั้งชื่อวัดใหม่ว่า วัดศรีดอนชัย

กาลต่อมาปีพุทธศักราช 2124 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จมาฝึกคุมทหารที่เมืองปาย และเสด็จมานมัสการพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์ปาย) ประทับแรมที่ปราสาทหอคำเจ้าฟ้าคุ้มเจ้าหลวงเมืองปายแห่งนี้ด้วย

พุทธศักราช 2158 เจ้าหลวงปัญญา ได้มีพระบัญชาให้เจ้าแม่สุนันทา ซึ่งเป็นหลานของพระเจ้าติโลกราช ให้มาปกครองเมืองปาย และได้บูรณะซ่อมแซมวัดศรีดอนชัยและปราสาทหอคำที่เจ้าฟ้าที่ถูกพม่าเผาบางส่วน อีกทั้งได้อาราธนาพระภิกษุ-สามเณรจากเวียงเชียงใหม่จำพรรษา สืบมาจนถึงปัจจุบัน

ในแต่ละปี วัดศรีดอนชัย จัดให้มีประเพณีการสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์ปาย) ทุกวันที่ 13 เมษายน เป็นประจำ โดยตลอดตั้งแต่โบราณกาล

สำหรับกฤษดาอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์พระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์ปาย) เท่าที่ทราบและได้บันทึกไว้ คือ

ครั้งแรกเมื่อกองทัพพม่าที่มาตีเมืองปาย ก่อนที่จะกลับไปเมืองหงสาวดีได้เผาวัดอาราม แต่ก็ยังยกเว้นพระวิหารที่ตั้งประดิษฐานองค์พระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์ปาย)

ครั้งที่ 2 วันประเพณีเดือนยี่เป็งหรือวันลอยกระทงของปี พุทธศักราช 2479 ตามประเพณีของทางเหนือชาวล้านนาแล้ว วันนั้นก็จุดเทียนบูชาเป็นอันมาก และได้มีการละเล่นสนุกสนานตามแต่ละท้องถิ่น ได้มีศรัทธาชาวบ้านมาจุดเทียนบูชากันมากมายที่บนกุฏิ เนื่องจากช่วงนั้นได้อัญเชิญองค์พระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานที่บนกุฏิ

พอตกเวลาดึก ทางวัดได้มีการแสดงมหรสพต่างๆ คนก็ไปดูการละเล่น เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็บังเกิดขึ้น คือ ไฟได้ลามลุกไหม้กุฏิอย่างรวดเร็วยากที่จะดับได้ทัน พระเณรและชาวบ้านก็ช่วยกันดับ แต่เพลิงลุกไหม้ไปมาก

ครั้นเพลิงได้สงบลง พระลูกวัดและชาวบ้าน ได้รีบตรวจสอบความเสียหายทันที ปรากฏว่า ไฟไหม้เสียหายวอดวายเป็นอันมาก แต่องค์พระสิงห์ปายกลับไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด สร้างความมหัศจรรย์แก่สาธุชนเป็นอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าคงมีอภินิหารเกี่ยวกับองค์พระสิงห์ปายอีกมาก ที่วัดศรีดอนชัยหรือผู้คนไม่ได้บันทึกเอาไว้


ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ศิษย์΄βP΄Θยกบ้าน

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 132
  • เพศ: หญิง
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #89 เมื่อ: 31 ม.ค. 2552, 09:09:05 »
  :016: ขอบคุณรูปภาพงามๆ และข้อมูลดีๆค๊า  :015:
[shake]เขามีส่วน>เลว<บ้าง ช่างหัวเขา
จงเลือกเอา ส่วน>ดี<เขามีอยู่
เป็นประโยชน์ โลกบ้างยังน่าดู
ส่วนที่>>ชั่ว<< อย่าไปรู้ของเขาเลย...
^^จริงๆนะ
[/shake]

ร่วมรณรงค์ในการ พูด อ่าน เขียน ภาษาไทยให้ถูกต้องค่ะ

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #90 เมื่อ: 07 ก.พ. 2552, 07:08:28 »
หลวงพ่อดำ วัดพระธาตุราษฎร์บำรุง



"หลวงพ่อดำ" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 48 นิ้ว ประดิษฐานอยู่ภายในอุโบสถวัดพระธาตุราษฎร์บำรุง ต.หนองกอมเกาะ อ.เมือง จ.หนองคาย

หลวงพ่อดำ ได้จำลองแบบพุทธลักษณะมาจากหลวงพ่อดำที่ประเทศอินเดีย กล่าวคือ หลวงพ่อดำ สร้างเมื่อราว พ.ศ.1353-1393 โดยมีพระนาคารชุนและพระนาคะแห่งมหาวิทยาลัยนาลันทา ประเทศอินเดีย เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ส่วนประธานฝ่ายฆราวาสเป็นเจ้าเมืองนาลันทา ในสมัยพระเจ้าเทวปาละเป็นผู้สร้างจาศิลา เมื่อ พ.ศ.1545 ได้ถูกทำลายโดยนักบวชศาสนาอื่น มีการทำลายวัด วิหาร มหาวิทยาลัยนาลันทา ทำลายพระพุทธรูปและทำลายพระภิกษุในสมัยนั้น ส่วนหลวงพ่อดำนั้นรอดพ้นจากการถูกทำลาย

หลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์ มีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่นับถือพระพุทธศาสนา เดินทางไปกราบไหว้ที่เมืองนาลันทาในประเทศอินเดียเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันหลวงพ่อดำ ประดิษฐานอยู่ที่หมู่บ้านนาลันทา เมืองนาลันทา รัฐวิหาร ประเทศอินเดีย

ด้วยความศรัทธาในองค์หลวงพ่อดำ พระครูสุญาณโสภิต เจ้าอาวาสวัดพระธาตุราษฎร์บำรุง พร้อมด้วยคณะสงฆ์ ชาวคุ้มวัดพระธาตุราษฎร์บำรุง และพุทธศาสนิกชนชาวหนองคาย จึงได้ประกอบพิธีเททองหล่อหลวงพ่อดำ ขนาด 48 นิ้ว ในวันที่ 7-9 ตุลาคม 2546 และอัญเชิญประดิษฐานภายในอุโบสถวัดพระธาตุราษฎร์บำรุง

ระหว่างการเททองหล่อหลวงพ่อดำ ประมาณ 2 วัน มีหญิงสาวชาวหนองคายคนหนึ่งเดินทางไปทำงานที่ จ.ระยอง และต้องการเดินทางกลับมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลครบรอบ 100 วัน ของแม่ที่เสียชีวิตไปแล้ว

หญิงสาวคนดังกล่าวฝันว่า หลวงพ่อดำ ลอยอยู่บนหน้าวัดพระธาตุราษฎร์บำรุง ขณะนั้นยังไม่ทราบชื่อว่าอะไร แต่พอเดินทางมาถึงบ้านโนนสังข์ ใกล้กับวัดพระธาตุราษฎร์บำรุง กำลังจะมีการประกอบพิธีเททองหล่อพระประธานหลวงพ่อดำ เป็นพระประธานประจำอุโบสถของวัด ซึ่งพระพุทธรูปที่วัดจะทำการเททองนั้น เหมือนกับในความฝัน จึงนำมาซึ่งความปิติยินดี

และเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2546 พราหมณ์ 3 คน ได้เข้ามาที่วัดเพื่อจัดตั้งเครื่องบวงสรวงประกอบพิธีอัญเชิญทวยเทพได้กล่าวกับเจ้าอาวาสวัดพระธาตุราษฎร์บำรุงว่า หลวงพ่อดำ เป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เคยถูกพวกนับถือศาสนาอื่นทำลาย แต่ด้วยบุญญาธิการและความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อดำ องค์ท่านไม่เป็นอะไรเลย

ทั้งนี้ การหล่อหลวงพ่อดำนั้น จะต้องทำพิธีให้ถูกต้อง เครื่องบวงสรวงจะต้องทำให้สมบูรณ์ทุกอย่าง จะต้องเชิญโองการเจ้ากรุงกาสี เพื่อขอบารมีแห่งทวยเทพทั้งหลายช่วยให้หลวงพ่อดำสำเร็จ ไม่มีอุปสรรค ยิ่งได้กำหนดเอาวันพฤหัสบดี เป็นวันประกอบพิธีเททองหล่อ ถือว่าเป็นวันครูและวันแข็ง ทำพิธีไม่ถูกต้องเบ้าหล่อหลวงพ่อดำจะแตก และวันเททองจะต้องอัญเชิญหลวงพ่ออุปคุตเข้าร่วมในพิธีเพื่อป้องกันพวกมารมาขัดขวางด้วย

ต่อมา วันที่ 9 ตุลาคม 2546 ได้ประกอบพิธีบวงสรวงโดยคณะพราหมณ์ ระหว่างการอ่านโองการเชิญองค์เทพอยู่นั้น ได้มีก้อนเมฆขนาดใหญ่อยู่เหนือบริเวณประกอบพิธีทำให้บริเวณประกอบพิธีร่มเย็น แต่บริเวณรอบนอกแดดจ้า ร้อนจัด ไม่มีร่มเงาของเมฆบดบังแสงอาทิตย์ ทั้งที่อยู่บริเวณเดียวกัน สร้างความประหลาดใจให้กับคนที่อยู่ในบริเวณพิธีโดยรอบ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคณะพราหมณ์ ได้ประกอบพิธีอย่างถูกต้องตรงตามประเพณี ทำให้พิธีหล่อหลวงพ่อดำ ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เป็นที่ศรัทธาแก่ผู้มาร่วมพิธีในวันนั้นเป็นอย่างยิ่ง

ส่วนปาฏิหาริย์อีกราย เกิดขึ้นกับสามเณรของวัดรูปหนึ่ง ได้พูดเล่นกับเพื่อนๆ ว่า จะควักเอาตาหลวงพ่อดำไปขาย ปรากฏว่าวันต่อมาสามเณรรูปนั้นมีขี้กลากขึ้นรอบปาก เจ้าอาวาสต้องพาสามเณร ไปขอขมาหลวงพ่อดำภายในอุโบสถ

ศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อหลวงพ่อดำนั้น ผู้ที่มากราบไหว้สักการะมักจะขอพรจากหลวงพ่อดำ ให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน กิจการค้าขายเจริญรุ่งเรือง สุขภาพอนามัยสมบูรณ์ ส่วนจะบนบานสานกล่าวหรือไม่นั้นแล้วแต่ศรัทธาของแต่ละคน

วัดพระธาตุราษฎร์บำรุง จัดงานนมัสการหลวงพ่อดำ ในวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี ภายในงานมีการบวชชีพราหมณ์ พิธีเสริมบารมี การเจริญพระพุทธมนต์ เจริญสมาธิภาวนา การฟังธรรมเทศนา และตอนกลางคืนมีมหรสพสมโภชตลอดคืน

คำนมัสการหลวงพ่อดำ

"นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (นะโม 3 จบ) กาฬะพุทธัสสะ อานุภาเวนะ โสตถิเม โหตุ สัพพะทา "

ด้วยอานุภาพหลวงพ่อดำที่ศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ข้าพเจ้าประสบแต่ความสุขความเจริญตลอดไปด้วยเทอญ



ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ nutagul

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 573
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #91 เมื่อ: 07 ก.พ. 2552, 08:52:48 »
ขอบคุณครับความรู้แน่นปึ้กเลย
อิติสุคโตอะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ฐิตคุโณอาจาริโย จะมหาเถโร มหาลาโภ สัพพะสุขขัง จะมหาลาภัง สัพพะโภคัง สัพพะธะณัง ภะวัณตุเม

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #92 เมื่อ: 14 ก.พ. 2552, 11:22:26 »
หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ พระทวารวดีเมืองอุบลฯ



เป็นเรื่องคุ้นหูของชาวพุทธส่วนใหญ่ ที่ได้ยินคำเล่าลือถึงพุทธานุภาพของพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ประดิษฐานอยู่ตามวัดต่างๆ เช่นเดียวกับ "หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ"

พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุบลราชธานี

หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างจากศิลาแลงหน้าตักกว้าง 55 เซนติเมตร สูง 90 เซนติเมตร เป็นพระพุทธรูปในยุคทวารวดีอายุกว่าพันปี และถูกค้นพบเมื่อกว่า 200 ปีก่อนในที่ดินสวนอุทยานของนางเจียงได บ้านชีทวน ต.ชีทวน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

ปัจจุบันเป็นพระประธานประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดทุ่งศรีวิไล ต.ชีทวน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ซึ่งตั้งขึ้นภายหลังการค้นพบหลวงพ่อพระพุทธวิเศษในจุดที่พบ

จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่เกี่ยวกับการค้นพบหลวงพ่อพระพุทธวิเศษ ระบุว่า มีชาวบ้านต้อนวัวควายไปเลี้ยงในที่ดินของนางเจียงได บุตรสาวเจ้าเมืองซีซ่วน (บ้านชีทวน) บริเวณโนนนกเขียนไปพบเศียรพระของหลวงพ่อพระพุทธวิเศษโผล่พ้นพื้นดินขึ้นมา จึงร่วมกันทำพิธีอัญเชิญหลวงพ่อขึ้นมา พร้อมสร้างศาลาไม้ใช้ประดิษฐานตรงจุดที่พบหลวงพ่อ เพราะนอกจากพบหลวงพ่อพระพุทธวิเศษแล้ว ยังพบพระพุทธรูปในยุคเดียวกันอีกหลายองค์

จึงเชื่อว่าบริเวณดังกล่าวเมื่อกว่าพันปีก่อนอาจเป็นที่ตั้งวัดเก่าที่ถูกทิ้งร้าง

ภายหลังชาวบ้านช่วยกันอัญเชิญหลวงพ่อพระพุทธวิเศษขึ้นมาก็ยังไม่ได้ตั้งชื่อ จนกระทั่งเกิดเหตุไฟไหม้ศาลาไม้ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูป ปรากฏว่าพระพุทธรูปที่ถูกค้นพบพร้อมกับหลวงพ่อพระพุทธวิเศษถูกไฟไหม้เสียหายทั้งหมด ยกเว้นหลวงพ่อพระพุทธวิเศษที่เปลวไฟไม่สามารถระคายผิวองค์พระ

ทำให้ชาวบ้านที่พบเห็นเหตุการณ์ต่างพากันเลื่อมใสศรัทธาในพุทธานุภาพของท่าน จึงพากันขนานนามเรียกขานท่านว่า "หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ" ตามความเชื่อของชาวบ้าน

ต่อมา ชาวบ้านก็ได้ช่วยกันสร้างวิหารอิฐถือปูนใช้ประดิษฐานหลวงพ่ออย่างเป็นทางการ พร้อมพัฒนาพื้นที่ให้เป็นวัดเมื่อกว่า 200 ปีก่อน โดยชาวบ้านได้นิมนต์พระอัญญาท่านด้านเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีวิไลองค์แรก ปัจจุบันมีพระครูสุนทรสุตกิจ รองเจ้าคณะอำเภอเขื่องใน (มหานิกาย) เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 4

สำหรับหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่าที่ตั้งปัจจุบันของวัดทุ่งศรีวิไล น่าจะเป็นวัดมาก่อนการค้นพบหลวงพ่อพระพุทธวิเศษ เพราะนอกจากมีพระพุทธรูปร่วมสมัยที่ถูกค้นพบพร้อมกับพลวงพ่อพระพุทธวิเศษ ยังพบใบเสมาล้อมรอบบริเวณที่ค้นพบซ้อนกันอยู่หลายชั้น รวมทั้งบริเวณสระน้ำหลังวัด ก็ยังมีซากหอไตรและธรรมมาสน์ก่อด้วยอิฐในยุดอดีตตั้งอยู่

สำหรับพุทธคุณของหลวงพ่อพระพุทธวิเศษที่ได้รับการกล่าวขานกันมาก คือ หากได้มากราบไหว้บูชาบนบานขอสิ่งใดมักประสบความสำเร็จ โดยมีเรื่องเล่าว่า เมื่อครั้งที่ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ อดีตเจ้าเมืองอุบลราชธานี เสด็จเยี่ยมประชาชนที่บ้านชีทวน ได้นำดอกไม้ธูปเทียนทองไปกราบสักการบูชาขอพระโอรสและพระธิดาจากหลวงพ่อ จากนั้นไม่นานหม่อมเจียงคำ พระชายาก็ทรงมีพระครรภ์ พร้อมประสูติพระโอรสและพระธิดา 2 พระองค์ ตามที่กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้บนบานเอาไว้

นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ที่หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ ช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยของมนุษย์ได้ โดยมีเล่าเรื่องว่าถ้ามีอาการเจ็บป่วยตามส่วนใดของร่างกาย ก็ให้มากราบไหว้บนบานบอกกล่าวกับหลวงพ่อ แล้วนำแผ่นทองคำเปลวไปติดตามส่วนต่างๆ ขององค์พระ เช่น มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ก็ให้นำแผ่นทองคำเปลวไปปิดที่หน้าอกขององค์พระ อาการเจ็บป่วยก็จะหายไป

การกราบนมัสการหลวงพ่อพระพุทธวิเศษ วัดทุ่งศรีวิไลได้เปิดวิหารหลังใหม่ที่ทำครอบวิหารหลังเดิมให้กราบไหว้ทุกวัน แต่ทุกวันเพ็ญเดือน 5 ทุกปีวัดร่วมกับประชาชนทั่วประเทศที่เลื่อมใสศรัทธาหลวงพ่อพระพุทธวิเศษพระประธานปางนาคปรกศิลปะทวารวดี จัดสมโภชน์ปิดทององค์พระเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน

ทั้งนี้ เส้นทางใช้ไปกราบนมัสการ หากเดินทางจากตัวจังหวัดอุบลราชธานีไปตามถนนแจ้งสนิท เมื่อเข้าเขต อ.เขื่องใน ซึ่งมีสะพานข้ามลำเซบายเป็นตัวแบ่งเขต จะมีป้ายบอกทางให้เลี้ยวซ้ายไปบ้านชีทวนระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร

แม้ถนนจะเป็นถนนลาดยาง แต่ก็เป็นหลุมเป็นบ่อพอสมควร เมื่อรถแล่นเข้าเขตหมู่บ้านจะมองเห็นวัดตั้งเด่นอยู่กลางทุ่งนา โดยไม่ต้องถามทางจากชาวบ้านในละแวกนั้นเลย



ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ชลาพุชะ

  • เราอาจไม่รู้มากนัก แต่เรารู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1526
  • เพศ: ชาย
  • ที่นี่คือเว็บวัดบางพระ เราก็ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #93 เมื่อ: 15 ก.พ. 2552, 10:02:56 »
อลังการงานสร้างจริง สุดยอดเลยครับงานนี้มีข้อมูลที่จะหยุดพักร้อนแล้วครับ เสียดายให้ลาไม่เยอะไม่งั้นไปครับทุกวัดแน่ครับ ขอบคุณหลายๆเด้อท่าน

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #94 เมื่อ: 21 ก.พ. 2552, 09:05:49 »
หลวงพ่อโต วัดชัยชนะสงคราม จ.ตาก



ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ชาติไทย เมื่อครั้งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถี กับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด จนมีชัยชนะ บริเวณดอยช้าง ต.เกาะตะเภา อ.บ้านตาก ซึ่งเป็นเมืองตากเดิมในสมัยนั้น

จนกระทั่งต่อมามีการย้ายเมืองตาก มาอยู่ในปัจจุบัน คือ ต.ระแหง อ.เมืองตาก ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ทางทิศตะวันออก โดยให้แม่น้ำปิง เป็นคูเมืองปราการ สู้ข้าศึกศัตรูพม่าที่ยกทัพเข้ามาทางด้านด่านแม่ละเมา และต้องตีฝ่าเมืองตากเป็นแห่งแรก ก่อนจะกรีธาทัพเข้าไปยังหัวเมืองชั้นใน

ชื่อเมืองตาก ปรากฏอยู่ในจารึกประวัติศาสตร์มาแต่โบราณกาลตามที่ได้กล่าวมา

ย้อนไปในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าหงสาวดี นำกองทัพพม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยา โดยสั่งให้พระเจ้าเชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นของพม่า ต่อเรือรบแล้ว ลำเลียงมาไว้ที่ตำบลระแหง เพื่อจะเข้าตีกรุงศรีอยุธยา

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ จึงสั่งให้แม่ทัพไทยยกทัพขึ้นไปสู้รบทัพหน้าของพระเจ้าหงสาวดี เมื่อยกกองทัพไปถึงบ้านท่าแค ตำบลเชียงเงิน เมืองตาก แม่ทัพไทยได้สั่งให้ทหารขุดดินหลังบ้านท่าแค (ปัจจุบันพื้นที่ ที่ขุดลงไปกลายเป็นหนองน้ำเรียกหนองคา) ขึ้นมาทำคันคูต้านกองทัพข้าศึก ที่ตั้งทัพอยู่คนละฝั่งแม่น้ำ ที่บริเวณวัดหนองบัวค่ายหรือวัดบัวล้อมร้าง (ปัจจุบันปรากฏเพียงซากวัดร้างอยู่ใน ต.หนองบัวใต้)

ปรากฏว่าการศึกครั้งนั้นรบชนะพม่า จึงได้สร้างวัดไว้เป็นอนุสรณ์เรียกว่า วัดดอยท่าชัย หรือ วัดชัยชนะสงคราม ในสมัยต่อมา แต่ชาวบ้านยังนิยมเรียกว่า วัดท่าแค ตามชื่อหมู่บ้านเดิมมาแต่โบราณกาล

"หลวงพ่อโต" แห่งวัดชัยชนะสงคราม ได้รับการบอกเล่าตามหลักฐานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดย นายสมศักดิ์ สะมะโน หัวหน้ากลุ่มอำนวยการและประสานงาน สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดตาก ในฐานะปราชญ์พื้นบ้านของเมืองตาก ว่า องค์หลวงพ่อโต ที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ ณ วัดชัยชนะสงครามแห่งนี้ สร้างขึ้นราวปีพุทธศักราช 2299 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ดำรงตำแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตร เจ้าเมืองตาก

พระองค์ทรงสร้างตำหนักสวนม่วง ปัจจุบันตำหนักสวนม่วงนี้อยู่ที่ตำบลป่ามะม่วง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงตรงข้ามกัน ซึ่งในสมัยนั้นพระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงสร้างวัดวาอารามหลายแห่ง และที่วัดดอยท่าชัย หรือวัดชัยชนะสงคราม พระองค์ทรงโปรดให้สร้างพระอุโบสถและพระประธานในอุโบสถขึ้น ชาวบ้านขนานนามว่า "หลวงพ่อโต"

จากนั้นไม่เคยมีผู้ใดบูรณปฏิสังขรณ์ เพราะยุ่งกับสงคราม ไทย-พม่า จึงเป็นเหตุให้วัดถูกทิ้ง-รกร้างว่างเปล่าเป็นเวลามานาน จนอุโบสถเหลือเพียงแต่ผนังตึก 4 ด้าน ส่วนองค์หลวงพ่อโตถูกน้ำฝนชะทำให้สึกกร่อน

ต่อมา เมื่อราวปี พ.ศ.2449 พระอธิการยิ้ม เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม พระครูเจ้าคณะแขวง กิ่งอำเภอเชียงเงิน พร้อมด้วยพระศักดาเรืองฤทธิ์ เจ้าเมืองตาก พร้อมศรัทธาพุทธศาสนิกชนชาวบ้านร่วมกันบูรณะพระอุโบสถ และซ่อมแซมองค์หลวงพ่อโต โดยใช้ใบมงคั้นเอาน้ำผสมกับปูนขาวเหนียว เสริมตกแต่งให้รูปทรงของหลวงพ่อโตดีดังเดิม ดังที่เห็นในปัจจุบันและได้ก่อสร้างเสริมอาสนะหลวงพ่อโต กว้างขวางออกไปอีก

เมื่อซ่อมเสร็จในปีเดียวกันนี้ ได้มีพ่อเลี้ยงเป็นชาวเชียงใหม่ ได้ล่องเรือบรรทุกพระพุทธรูปมาจอดที่ท่าน้ำหน้าวัดชัยชนะสงคราม แล้วขึ้นมานมัสการหลวงพ่อโตในโบสถ์ เห็นมีพระประธานองค์เดียว จึงมีจิตศรัทธานำพระพุทธรูป สมัยเชียงแสน สิงห์สาม ที่บรรทุกมาในเรือ หรือพระสองพี่น้อง เนื้อทองสัมฤทธิ์ถวายไว้ในโบสถ์ข้างๆ องค์หลวงพ่อโตซ้ายและขวา

จวบจนปัจจุบันพุทธศาสนิกชนชาวบ้านที่ศรัทธาในองค์หลวงพ่อโตได้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถอีกหลายครั้ง เพื่อเป็นพุทธบูชา เป็นที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อโตสืบไป

"หลวงพ่อโต-บันดาลชัยให้สมปรารถนา" คือ คำบอกเล่าในพุทธบารมีหลวงพ่อโต ชาวบ้านที่ศรัทธาองค์หลวงพ่อโต ได้ร้องขอบน บานให้การงานสำเร็จ บางคนก็ขอให้ขายที่ดิน บางคนก็อยากให้ลูกหลานสอบได้ บางคนบนบานอยากเป็นข้าราชการ บางคนก็ได้โชคลาภก้อนโต

นอกจากผลไม้สดตามฤดูกาลนานาชนิดแล้ว เนื้อสัตว์ หัวหมู ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะเชื่อว่าหลวงพ่อโต วัดชัยชนะสงคราม ไม่โปรด

ส่วนการเดินทางไปนมัสการหลวงพ่อโต ใช้เส้นทางถนนพหลโยธิน ก่อนเข้าตัวเมืองตาก ข้ามแม่น้ำปิง ไปยังฝั่งตะวันออก วัดชัยชนะสงคราม ตั้งอยู่ด้านซ้ายมือ เชิงสะพานกิตติขจร หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ พระครูโสภณชยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดชัยชนะสงคราม  หรือ นายสมศักดิ์ สะมะโน หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดตาก


ที่มา  -  ข่าวสด

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #95 เมื่อ: 28 ก.พ. 2552, 12:19:15 »
หลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม อ.เมือง จ.ราชบุรี



"วัดช่องลม" พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมชื่อ วัดช้างล้ม ตั้งอยู่ใกล้บริเวณเมืองเก่า ริมถนนวรเดช ใจกลางเมืองราชบุรี เป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อแก่นจันทน์" พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองราชบุรี

"หลวงพ่อแก่นจันทน์" เป็นพระพุทธปฏิมา ศิลปะสมัยทวารวดี ในส่วนตั้ง แต่พระเศียรถึงพระอุระ เป็นเนื้อทองสำริด ส่วนองค์พระสร้างด้วยไม้จันทน์หอม มีความสูงตั้งแต่พระเกศมาลาถึงพระบาท 2.26 เมตร เป็นพระพุทธปฏิมาปางอุ้มบาตร โดยบาตรขององค์หลวงพ่อ เหมือนสวมอยู่ในถุงบาตรและมีสิ่งหนึ่งยาวประมาณ 2 นิ้ว ยื่นออกมาจากขอบบาตร ซึ่งติดอยู่กับปากบาตรทั้งสองข้าง ดูแล้วเหมือนม้วนผ้าที่ยื่นออกมาสำหรับจับ

พระหัตถ์ของหลวงพ่อแก่นจันทน์จับอยู่ที่ม้วนผ้า คล้ายสะพายบาตร ซึ่งนับว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะแปลกจากพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรทั่วไป เพราะเป็นลักษณะถือบาตร ที่ไม่มีในพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรอื่น โดยยังเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามมาก

หลวงพ่อแก่นจันทน์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และมีบารมีธรรมที่สูงส่งยิ่ง ตามปกติมีผู้มากราบไหว้บูชาขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ส่วนใหญ่จะขอให้ช่วยปัดเป่าเหตุร้ายทุกวัน จนเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของ จ.ราชบุรี ตลอดมา

สำหรับการจัดสร้างหลวงพ่อแก่นจันทน์ พระครูโสภณปัญญาวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดช่องลมแห่งนี้ บอกเล่าว่า คนส่วนมากมักเข้าใจตามคำบอกเล่าว่า ท่านลอยน้ำมา คล้ายกับประวัติของหลวงพ่อบ้านแหลม และหลวงพ่อโสธร

โดยมีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า หลวงพ่อแก่นจันทน์สร้างขึ้นที่ จ.กาญจนบุรี โดยมีชายผู้หนึ่งเข้าไปในป่าเพื่อแสวงหาของป่า ในขณะที่เดินทางเข้าไปในป่าลึกก็ได้พบกับเสือใหญ่ตัวหนึ่ง เมื่อเสือตัวนั้นเห็นเข้าก็วิ่งเข้ามาเพื่อจะทำร้าย ชายผู้นั้นเห็นเสือวิ่งเข้ามาก็ตกใจกลัวรีบวิ่งหนี และในขณะที่กำลังวิ่งหนีนั้นก็ได้ไปพบต้นไม้ใหญ่อยู่ข้างหน้าจึงรีบวิ่งขึ้นไปบนค่าคบ ซึ่งเจ้าเสือตัวนั้นก็วิ่งตามไปจนถึงต้นไม้ใหญ่

ชายผู้นั้นกลัวเสือจะกัดจึงได้ตั้ง สัตยาธิษฐานว่า "ถ้าข้าพเจ้ารอดพ้นจากอันตรายคือไม่ถูกเสือกัดในครั้งนี้ ตนจะนำเอาต้นไม้ที่ข้าพเจ้าขึ้นมาอาศัยอยู่นี้ไปแกะเป็นพระพุทธปฏิมา เพื่อให้คนทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา"

ปรากฏว่าเมื่อชายผู้นี้ตั้งสัตยาธิษฐานเสร็จเสือก็หายไป ชายผู้นั้นดีใจรีบลงมาจากต้นไม้ แล้ว กลับบ้านและได้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการตั้งสัตยาธิษฐานของตนให้ชาวบ้านฟัง

รุ่งขึ้นชายคนนั้นก็ได้ชวนชาวบ้านเข้าไปในป่า เพื่อตัดต้นไม้ที่ตนตั้งใจเอาไว้เพื่อจะนำมาแกะเป็นพระพุทธปฏิมา โดยได้มีการทำความเคารพเจ้าที่และเทวดาที่รักษาต้นไม้ และขอขมาโทษต่อต้านไม้ ต่อจากนั้นก็ช่วยกันโค่น

เมื่อต้นไม้นั้นล้มลงแล้วก็พิจารณาดูเนื้อไม้ก็ รู้ว่าเป็นไม้จันทน์หอมที่หายาก และได้ช่วยกันทอนกะให้ได้ความยาวเท่ากับพระที่ตนจะทำ

เมื่อทำการแกะสลักเสร็จแล้วก็นำไปประดิษฐานไว้ที่บ้านแก่งหลวง เพื่อให้คนทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา

ตามประวัติเล่าว่า หลวงพ่อแก่นจันทน์นี้ลอยน้ำมาจาก จ.กาญจนบุรี สันนิษฐานว่า เมื่อหลวงพ่อแก่นจันทน์ ประดิษฐานอยู่ที่บ้านแก่งหลวงนั้น เมื่อถึงหน้าฝนมีน้ำหลากช่วงเดือน 11 ถึงเดือน 12 ฝนคงจะตกหนักจนน้ำท่วมมาก

เมื่อน้ำหลากมาถึงบ้านแก่งหลวงก็พัดพาเอาหลวงพ่อแก่นจันทน์ลอยไปถึงวัดใด ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำก็ตาม ประชาชนที่เห็นเข้าก็ช่วยกันฉุดกันดึงเพื่อจะนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดของตน แต่หลวงพ่อแก่นจันทน์ก็ไม่ยอมมา ไม่ยอมขึ้น แม้จะพยายามเท่าใดก็ไม่สำเร็จ

กระทั่งหลวงพ่อแก่นจันทน์ลอยมาถึงวัดช่องลม ท่านก็ได้ลอยวนอยู่หน้าวัดไม่ยอมไหลไปตามสายน้ำซึ่งกำลังไหลเชี่ยว

หลวงปู่จันทร์ เจ้าอาวาสในสมัยนั้น จึงบอกให้พระสงฆ์และประชาชนมาทำความเคารพกราบไหว้และได้กล่าวอาราธนา แล้วก็พากันลงไปประคองและชะลอองค์ท่านขึ้นจากแม่น้ำ ท่านก็ขึ้นมาโดยง่าย ก่อนอัญเชิญท่านไปประดิษฐานไว้ที่วัดช่องลมแห่งนี้ พร้อมกับจัดงานสมโภชตลอดมา

ปัจจุบัน หลวงพ่อแก่นจันทน์ ประดิษฐาน อยู่ที่พระวิหารจตุรมุข โดยพระเทพญาณมุนี อดีตเจ้าอาวาสวัดช่องลม และที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดราชบุรีได้จัดสร้างถวายเมื่อ พ.ศ.2522 ก่อน ที่พระครูโสภณปัญญาวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดช่องลมรูปปัจจุบัน จะได้ก่อสร้างศาลาหลวงพ่อแก่น จันทน์และขยายพระวิหารให้กว้างขึ้นอีก

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มากราบไหว้นมัสการ



ที่มา   -  ข่าวสด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ก.พ. 2552, 12:21:25 โดย สิบทัศน์ »

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #96 เมื่อ: 08 มี.ค. 2552, 10:22:48 »
พระเจ้าตนหลวง วัดกองกาน จ.เชียงใหม่



"พระเจ้าตนหลวง" เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐก่อปูน ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 10 ศอก 9 นิ้ว ประดิษฐานเป็นพระประธานในวิหารวัดกองกาน ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแม่แจ่มเป็นเวลานานหลายร้อยปี



พระเจ้าตนหลวง มีประวัติความเป็นมา ตามคำบอกเล่าว่า ในราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 หลังจากที่พระพุทธศาสนา ได้เผยแผ่มาจากลังกาทวีป เข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ

ผู้ครองนคร ในล้านนาประเทศ อันได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย และเชียงแสน ซึ่งเป็นผู้ที่นับถือในพระพุทธศาสนา ได้มาแผ้วถางป่าในบริเวณนี้ และสร้างเป็นวัดพร้อมกับได้ก่อพระพุทธรูปขึ้น ได้ให้ชื่อวัดที่สร้างขึ้นใหม่นี้ว่า "วัดศรีเมืองมา"

ในการก่อสร้างพระพุทธรูปนั้น ช่างผู้ก่อสร้างได้ก่อองค์พระ จนมาถึงพระเศียรและพระเกศเมาลีแล้ว แต่พอจะแต่งพระพักตร์ (ขะเบ็ดหน้า) ขององค์พระ ช่างได้พยายามแต่งพระพักตร์อย่างไรก็ไม่มีความสม่ำเสมอสวยงาม ได้ทำใหม่ถึง 2-3 ครั้งก็ทำไม่ได้

จึงได้ปรึกษากันว่า ควรจะทำพิธีบวงสรวงเทพยดา ขอให้มาช่วยสร้างพระให้สำเร็จ พอได้ตั้งขันหลวงทำพิธีบวงสรวงอย่างนั้นแล้ว ช่างก็ลงมือช่วยกันทำต่อ ในขณะนั้นปรากฏว่า มีสามเณรน้อยรูปหนึ่งมาจากไหนไม่มีใครทราบ ได้มาช่วยทำพระพักตร์พระพุทธรูปจนได้พระพักตร์เสมอกันดี มีท่าทียิ้มแย้ม จนเป็นที่พอใจกันแล้ว แต่ปรากฏว่า สามเณรน้อยที่มาช่วยสร้างพระพุทธรูปนั้นก็อันตรธานหายไป

จนเป็นที่โจษขานกันว่า คงจะเป็นพระอินทร์เนรมิตเป็นสามเณรน้อยลงมาช่วยสร้างพระพุทธรูป ทำให้ได้พระพุทธรูปที่มีสัดส่วนสวยงามและมีพระพักตร์แย้มยิ้มอิ่มเอิบ ดังที่ปรากฏให้เห็นกันทุกวันนี้

พระเจ้าตนหลวง เป็นที่เคารพสักการบูชานานคนเป็นเวลานานหลายร้อยปี จนมาถึงสมัยบ้านเมืองก็เกิดกลียุค ข้าวยากหมากแพง ผู้คนอพยพถิ่นที่อยู่ ทำให้วัดวาอาราม ขาดการเอาใจใส่ดูแล

ทำให้วัดศรีเมืองมา ได้ร้าง เสนาสนะทรุดโทรมพังทลายลงไป จนกลายเป็นป่าดงพงทึบ ส่วนพระเจ้าตนหลวง ยังประดิษฐานตั้งมั่นไม่เป็นอันตราย มีแต่เครือเถาวัลย์ขึ้นปกคลุมองค์พระ มองแทบไม่เห็น

จนมาถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 23 ประมาณปี พ.ศ.2380-90 ได้มีผู้คนมาอาศัยทำไร่ทำสวน แผ้วถางป่าไม้ ก็พบเห็นพระพุทธรูปอยู่ในวัดร้าง ซึ่งมีเครือเถาวัลย์ปกคลุม เกิดความศรัทธาปสาทะ ในองค์พระพุทธรูปที่มีพระพุทธรูปลักษณะงดงาม

ชาวบ้านจึงได้แจ้งข่าว ให้มาช่วยกันแผ้วถางทำความสะอาดองค์พระพุทธรูปและลงรักปิดทอง ทำให้พระพุทธรูปสวยงามเปล่งปลั่งขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับสร้างวิหารขึ้นใหม่ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และตั้งเป็นวัดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้ร้างไปนาน

ได้ถือเอานิมิตที่ผู้มีจิตศรัทธา หาบข้าวของมาเอาไม้คานมากองใหญ่สูงท่วมหัวนี้ จึงให้ชื่อวัดที่บูรณะขึ้นใหม่นี้ว่า "วัดก๋องกาน"

วัดก๋องกาน หมายถึง วัดที่มีผู้มีจิตศรัทธามาทำบุญเป็นจำนวนมาก หาบข้าวของมาแล้วเอาไม้คานที่หาบของมากองไว้ ในเวลาต่อมาได้ยึดถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เหนือ (เดือน 8 เป็ง) เป็นวันทำบุญสักการบูชาพระเจ้าตนหลวง จนเป็นประเพณีสืบมาจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ ยังได้ประเพณีสรงน้ำพระเจ้าตนหลวงในวันปีใหม่ (สงกรานต์) ตั้งแต่เดิมมาจนถึงปัจจุบันนี้เช่นกัน

พระพุทธรูปเจ้าตนหลวง เป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์และมีอภินิหารมาก เล่าสืบต่อกันมา ว่า หากบุคคลใดได้ทำบาปอกุศลร้ายแรงไว้ทั้งอดีตและปัจจุบัน เวลามาสักการบูชาพระเจ้าตนหลวง จะมองไม่เห็นพระเจ้าตนหลวง ต้องให้คนอื่นนำพาไปลูบคลำพระพุทธรูปจึงจะรู้สึก

ปัจจุบัน พระพุทธเจ้าตนหลวงองค์ ยังประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในวิหารวัดกองกาน หมู่ที่ 7 ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

ทั้งนี้ วัดกองกาน อยู่ห่างจากวัดพุทธเอ้นประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นวัดสำคัญของชาวแม่แจ่ม เนื่องจากภายในวิหารมีพระเจ้าตนหลวง พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแม่แจ่ม ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ชาวแม่แจ่มจะไปสรงน้ำองค์พระกันทุกปี พระเจ้าตนหลวงนี้ เป็นแบบล้านนา และมีขนาดใหญ่ที่สุดในอำเภอแม่แจ่ม ตัววิหารเป็นไม้ และหลังคามุงแป้นเกล็ดแบบโบราณ

พุทธศาสนิกชนที่มีความศรัทธาเลื่อมใส ประสงค์จะเข้าไปนมัสการและสักการบูชา ขอเชิญไปสักการบูชาได้ทุกวันเวลา



ที่มา  -  ข่าวสด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 มี.ค. 2552, 10:25:24 โดย สิบทัศน์ »

ออฟไลน์ Hanu-Marn_Neverdie

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 535
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #97 เมื่อ: 01 มิ.ย. 2553, 01:44:34 »
พี่ๆ ผมขออนุญาตนำลิ้งนี้ไปโพสที่เวปอื่นนะครับ

ขอบคุณครับ :054:
คุณคิดว่าวันนึง คุณตายไปกี่ครั้ง ???พระพุทธเจ้าตรัสว่า

"คนเราควรคิดว่าเรา จะตายทุกลมหายใจเข้า-ออก  "

อย่าไปคิดว่าจะทำพรุ่งนี้ :069:  แต่จงลงมือทำเลย

และจงทำทุกอย่างให้สุดความสามารถ ณ ตอนที่ยังมีโอกาส

เพื่อที่จะได้ทำความดี สิ่งดีๆ ให้แก่ผู้อื่น

ออฟไลน์ Sarayut Suprit

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 75
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #98 เมื่อ: 01 มิ.ย. 2553, 10:00:57 »
 :066:หลวงพ่อโสธรไม่มีหรือไง :093:

ออฟไลน์ eakthai14

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 120
  • ความดีไม่มีขาย อยากได้ทำเอาเอง
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
« ตอบกลับ #99 เมื่อ: 01 มิ.ย. 2553, 04:00:45 »
 :004:บ้านของพวกเราหลังใหญ่ มีสิ่งศักสิทธิ์ทุกที ทุกจังหวัดเลย  ไม่ว่าจะเป็น ภาค เหนือ ใต้ ออก ตก อย่าน้อยใจกันนะครับ  ดีทุกทีครับ ผมขอเป็น1เสียงที่ภูมิใจ ที่เกิดเป็นคนไทยครับ :077: :095:
ขยันให้ถูกที่ ทำดีให้ถูกทาง ทำบุญกันไว้บ้าง เสริมสร้างบารมี