ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงพ่อดอกไม้ วัดดอนเจดีย์ พนมทวน กาญจนบุรี  (อ่าน 16698 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ wanchaso

  • ทุติยะ
  • **
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ประวัติชาติภูมิ

พระครูวัตตสารโสภณ (หลวงพ่อดอกไม้)

วัดดอนเจดีย์  ต.ดอนเจดีย์  อ.พนมทวน  จ.กาญจนบุรี

 
   พระครูวัตตสารโสภณ เดิมท่านชื่อ ดอกไม้ นามสกุล ราชจำนงค์  ท่านเกิดปลายสมัยรัชกาลที่ ๔ ในปี พ.ศ.๒๔๐๓  ที่บ้านหนองปริก ซึ่งต่อมาได้ย้ายมาอยู่บ้านหนองขุย ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี (ปัจจุบันบ้านหนองขุยขึ้นอยู่กับตำบลหนองสาหร่าย)

โยมบิดา ชื่อ นายลาด ราชจำนงค์

โยมมารดา ชื่อ นางเลี้ยง ราชจำนงค์

ท่านมีพี่น้องด้วยกัน ๓ คน คือ

          ๑ นายด้วง ราชจำนงค์

          ๒ นางตั๋ว ราชจำนงค์

          ๓ พระครูวัตตสารโสภณ (หลวงพ่อดอกไม้)

       ในสมัยรัชกาลที่ ๕  ปี พ.ศ.๒๔๒๔ ขณะที่ท่านอายุ ๒๑ ปี ได้อุปสมบทตามกุลบุตรชายไทยใต้ร่มพระบวรพุทธศาสนา   ได้รับฉายาว่า ?ปทุมรัตโน? ไม่ทราบว่าพระท่านใดเป็นพระอุปัชฌาย์และอุปสมบทที่วัดใด แต่ที่เล่าสืบต่อกันมา...ท่านเป็นลูกศิษย์องค์หนึ่งของหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว พระเกจิอาจารย์ผู้เลื่องลือนามของกาญจนบุรี   

       ย้อนกล่าวถึง หลวงปู่ยิ้ม (จันทโชติ) อริยสงฆ์แห่งวัดหนองบัวองค์นี้ท่านออกธุดงค์ศึกษาวิชาไสยเวทย์จากพระอาจารย์สำนักต่างๆ อาทิเช่น หลวงพ่อปลัดทิม(วัดบางลี่น้อย อัมพวา) เรียนวิชาโภคทรัพย์, หลวงปู่พ่วง(วัดลิงเจน) เรียนวิชาทำธงกันอสุนิบาตสายฟ้าและพายุ วิชาหวายลงอักขระ เวลาลงทะเลให้เอาหวายโยนลงน้ำทะเล ตักน้ำในวงหวายน้ำจะจืดทันที และ ทำลูกอมหมากทุย , หลวงพ่อกลัด(วัดบางพรม อัมพวา)เรียนวิชามหาอุต ผ้าเช็ดหน้าทางมหานิยม เชือกคาดเอวกระดูกงูและย่นระยะทาง, หลวงพ่อแจ้ง (วัดประดู่อัมพวา) เรียนวิชาแพทย์แผนโบราณมีดหมอปราบภูตผีปีศาจ และ เชือกคาดเอวตะขาบไฟไส้หนุมาน, หลวงพ่อกลิ่น(วัดหนองบัว)เรียนวิชาไสยเวทย์ต่างๆ จนวิชาของหลวงปู่ยิ้มแก่กล้าสามารถมาก    ท่านเป็น ๑ใน๑๐พระเกจิอาจารย์สุดยอดของประเทศไทยที่ผ่านการทดสอบวิทยาคม และใช้พลังจิตทำให้กบไสไม้ขึ้นหน้า แล้วหันกลับได้โดยไม่ใช้มือจับหัน ที่จังหวัดนครปฐม ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๒ (ในคราวนั้นมีพระเกจิอาจารย์จากสำนักต่างๆร่วมทดสอบ ๑๐๐ กว่าองค์)  อริยสงฆ์ที่ผ่านการทดสอบทั้งหมด ๑๐ องค์ มีดังนี้

๑.หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว

๒.หลวงปู่ทอง วัดเขากบ

๓.หลวงปู่เงิน วัดบางคลาน

๔.หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

๕.หลวงปู่ทา วัดพะเนียงแตก

๖.หลวงปู่ปาน วัดบางเหี้ย

๗.หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง

๘.หลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ

๙.หลวงปู่จร วัดเขารวบ

๑๐.หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว

   
          มีเรื่องเล่าสืบต่อกันว่าผู้ที่มาเป็นศิษย์ของหลวงปู่ยิ้ม ต้องผ่านทดสอบการใช้สมาธิพลังจิตเพ่งไส้เทียนให้ขาดกลาง (แสดงถึงพลังจิตพื้นฐานเข้มแข็ง) หลวงปู่ยิ้มจึงจักประสิทธิ์ประสาธน์วิชาชั้นสูงให้    ครั้นเมื่อหลวงพ่อดอกไม้ทราบข่าว ที่วัดหนองบัวมีพระเกจิปรมาจารย์ผู้แก่กล้าเกิดศรัทธายิ่งนัก จึงเดินทางถวายตัวเป็นศิษย์และสามารถผ่านการทดสอบ เพ่งไส้เทียนขาด ได้เป็นศิษย์หลวงปู่ยิ้ม    เล่าเรียนวิชาอาคมชั้นสูงพร้อมปฏิบัติกิจของสงฆ์อยู่วัดหนองบัวถึงขั้นเก่งกล้าสามารถ  จนญาติโยมในละแวกเขตวัดหนองบัวยังจำชื่อของหลวงพ่อดอกไม้ได้เป็นอย่างดีเมื่อคราวมีใครเอ๋ยถาม ก่อนที่หลวงพ่อจะย้ายกลับมาจำพรรษาเป็นเจ้าอาวาสปกครองอยู่    วัดหนองขาว      ตำบลหนองขาว      อำเภอวังขนาย(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอท่าม่วง)  จังหวัดกาญจนบุรี

         จากข้อความคำบอกเล่าของ ก๋งพ้ง บัวขม เป็นช่างแกะพระ เกิดช่วง ปี พ.ศ.๒๔๒๕ - ๒๕๒๔  ผู้ได้ใกล้ชิดกับท่านหลวงปู่ยิ้มกล่าวไว้ว่า หลวงพ่อดอกไม้เป็นลูกศิษย์ที่เก่งกล้าของหลวงปู่ยิ้มองค์หนึ่ง ในขณะนั้นประจำอยู่วัดหนองขาว  หลวงพ่อดอกไม้มีความสามารถในวิชาหลายด้าน อาทิเช่น

เสกใบมะขามเป็นตัวต่อ

ย่นหนทาง

เสกควายธนู

เดินบนผิวน้ำ


หลวงปู่ยิ้มเคยนิมนต์ หลวงพ่อดอกไม้ หลวงปู่ม่วง(วัดบ้านทวน) หลวงปู่เปลี่ยน(วัดใต้) และ หลวงปู่เนียม(วัดน้อย จังหวัดสุพรรณบุรี) รวมทั้งหมด ๕ รูป ไปฉันที่วังกรมหลวงชุมพรฯ กรุงเทพมหานคร      เมื่อกลับกรมหลวงชุมพรฯได้ถวายจีวรของใช้ต่างๆให้หลวงปู่ยิ้ม  แต่หลวงปู่ยิ้มส่งให้หลวงพ่อดอกไม้นำกลับไปไว้วัดท่าน เพราะวัดท่านยังจนอยู่  (การเข้าวังกรมหลวงชุมพรฯ มีความเป็นไปได้  เพื่อทำพิธีไหว้ครู เนื่องจากประวัติหลวงปู่ศุขได้กล่าวถึงการรับนินมต์เกจิอาจารย์สายหลวงปู่ศุข ๕ รูปเช่นกัน ในการพิธีไหว้ครูของกรมหลวงชุมพรฯ)
     
        จากคำบอกเล่าของ ปู่หว่า กลัวผิด ท่านเป็นคนบ้านหนองขาวแต่กำเนิด เกิดช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๔   ปัจจุบันอายุ ๙๖ ปี เล่าให้ฟังว่า  ขณะที่ปู่หว่าอายุ ๑๐ กว่าปี  ได้เป็นลูกศิษย์วัดสมัยท่านพระครูจริยาภิรัตหรืออาจารย์ยันต์เจ้าอาวาสวัดหนองขาวคราวนั้น  เล่าให้ฟังเกี่ยวกับหลวงพ่อดอกไม้ว่าท่านเคยแลกเปลี่ยนวิชากับหลวงพ่อเปลี่ยน(วัดใต้)ด้วย  เพื่อเสริมสร้างความแก่กล้าวิชา หลวงพ่อดอกไม้ท่านเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดหนองขาวอยู่นานก่อนแล้ว ครั้งนั้นได้มีทายกทายิกาจากบ้านดอนเจดีย์หลายจักประมาณอยู่    มานิมนต์หลวงพ่อให้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสปกครองที่วัดดอนเจดีย์   หลวงพ่อท่านเองก็ใคร่ครุ่นคิดพิจารณาเห็นว่า วัดดอนเจดีย์คราวนั้นต้องการพระผู้ปกครองและพัฒนาพระพุทธศาสนา ประกอบกับวัดยังไม่มีศาสนสถานในการประกอบกิจทางสงฆ์อยู่หลายประการ   ท่านเองก็มีโยมบิดาโยมมารดาอยู่เขตวัดนั้นจึงเห็นเป็นการควรตามคำขอ   ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนเจดีย์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

        ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๐-๒๔๕๒ เป็นปีที่หลวงพ่อดอกไม้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสอยู่วัดดอนเจดีย์ โดยพิจารณาหลักฐานข้อมูลจากประวัติชาติภูมิของหลวงปู่ยิ้มและหลวงปู่เนียม ดังนี้ ในปี พ.ศ.๒๔๕๐ เป็นปีแรกที่ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เสด็จมาศึกษาวิชาทางไสยเวทย์กับหลวงปู่ยิ้มวัดหนองบัว  ไม่นานต่อมาหลวงปู่ยิ้มได้นิมนต์ หลวงพ่อดอกไม้ หลวงปู่ม่วง หลวงปู่เปลี่ยน และหลวงปู่เนียม ไปฉันยังวังกรมหลวงชุมพรฯ กรุงเทพฯ เมื่อกลับกรมหลวงชุมพรฯได้ถวายจีวรของใช้ต่างๆให้หลวงปู่ยิ้ม  แต่หลวงปู่ยิ้มส่งให้หลวงพ่อดอกไม้นำกลับไปไว้วัดท่าน ?เพราะวัดท่านยังจนอยู่? (น่าจะเป็นวัดดอนเจดีย์) ขากลับหลวงปู่ยิ้มแยกเดินทางไปยังวัดน้อยของหลวงปู่เนียมจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งหลวงปู่เนียม ท่านมรณภาพลงในปี พ.ศ.๒๔๕๒ ด้วยอายุ ๘๐ ปี(ซึ่งแสดงว่าหลวงพ่อดอกไม้ย้ายมาอยู่วัดดอนเจดีย์ช่วงที่หลวงปู่เนียมยังมีชีวิตอยู่ )

         ช่วงที่หลวงพ่อดอกไม้ย้ายมาอยู่วัดดอนเจดีย์ ก่อนหน้านั้นพี่ชายของท่านคือพระอาจารย์ด้วง ปกครองวัดดอนเจดีย์อยู่ก่อนแล้วและเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างพระอุโบสถ(หลังเก่า)ขึ้นแต่ไม่ทันเสร็จ เมื่อหลวงพ่อดอกไม้ย้ายมาอยู่ที่วัดดอนเจดีย์ พี่ชายของท่านก็ได้สึกออกไปประกอบอาชีพในเพศฆราวาสและมีครอบครัว หลวงพ่อดอกไม้จึงได้สร้างพระอุโบสถต่อจนเสร็จสมบูรณ์ ระบุข้อความใต้ฐานพระประธาน "พุทฯ ๒๔๕๒"  ในเวลานั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าหลวงพ่อท่านเคยศึกษาวิชาอาคมกับหลวงปู่ยิ้มและเป็นศิษย์องค์หนึ่งที่หลวงปู่ยิ้มไว้ใจ ถึงขนาดเคยนิมนต์เข้าวังกรมหลวงชุมพรฯพร้อมหลวงปู่  ทำให้มีญาติโยมมากมายหลากหลายสถานที่แวะเวียนเข้ามากราบไหว้ ขอให้หลวงพ่อดอกไม้ช่วยปัดเป่าประพรมน้ำพระพุทธมนต์เรื่องทุกข์ร้อนใจให้หายบรรเทา ความศักดิ์สิทธิ์ในวิชาบังเกิดผลปรากฏต่อบรรดาญาติโยม จนเป็นที่เคารพศรัทธานับถือกว้างขวางอย่างรวดเร็ว ท่านจึงเป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ที่มีผู้นิยมแสวงหาเครื่องรางของขลังไว้คุ้มครองภัยอย่างมากในช่วงเวลานั้น

        ในสมัยรัชกาลที่ ๖  ปี พ.ศ. ๒๔๕๔ ช่วงเดือนธันวาคม หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว มรณภาพลง หลวงพ่อดอกไม้เดินทางร่วมประชุมเพลิงพร้อมกับพระเกจิลูกศิษย์สายของหลวงปู่ยิ้มอีกหลายรูป อาทิเช่น หลวงปู่เหรียญ(วัดหนองบัว) หลวงพ่อเปลี่ยน(วัดใต้) หลวงพ่อดี(วัดเหนือ) หลวงพ่อเกลี้ยง(วัดเขาใหญ่) หลวงพ่อใจ(วัดเสด็จ) หลวงพ่อเหมือน(วัดกลางบางเหนือ) หลวงพ่อคง(วัดบางกะพ้อม) หลวงพ่อแช่ม(วัดจุฬามณี) หลวงพ่อรอด(วัดวังน้ำวน) หลวงพ่อเก้ายอด(วัดบางปลา) หลวงพ่อรุ่ง(วัดท่ากระบือ)      หลวงพ่อพวง(วัดหนองกระโดน)       หลวงพ่อพริ้ง(วัดวรจันทร์) ท่านหลวงปู่บุญ (วัดกลางบางแก้ว ท่านนี้เป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกับหลวงปู่ยิ้ม) และท่านกรมหลวงชุมพรฯ ศิษย์ผู้เป็นฆราวาส

        ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศ (สมเด็จพระสังฆราช ลำดับองค์ที่ ๑๐)  ทรงเสร็จตรวจการคณะสงฆ์ในมณฑลราชบุรี ๕ จังหวัด ได้แก่ สมุทรสงคราม ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์   ครั้นเดินทางมายังเมืองกาญจนบุรีซึ่งมีอาณาเขตกว้างใหญ่   ทรงเห็นคณะสงฆ์ปกครองกันเรียบร้อยเป็นแบบอย่างที่ดีจึงตรัสชม     ในการนี้เจ้าอธิการม่วง(หลวงพ่อม่วง) ตำแหน่งเจ้าคณะแขวงบ้านทวนขณะนั้น อายุ ๘๐ ปี  อ่านถวายรายงานได้คล่องแคล่ว สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯพอพระทัยความเอาการเอางาน ทรงโปรดพระราชทานสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตร-พัดยศ มีราชทินนามว่า พระครูสิงคีคุณธาดา  เลื่อนขึ้นเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรีแทนที่ว่างเมื่อคราว พระครูสิงคิบุรคณาจารย์(สุด) มรณภาพลงในวันพุธที่ ๘ กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.๒๔๕๔   จึงทำให้ตำแหน่งเจ้าคณะแขวงบ้านทวนวางลงตั้งแต่บัดนั้น (ใช้เวลาตรวจการคณะสงฆ์ทั่วทั้งประเทศเริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๕๕ ? ๒๔๖๐)

          ปี พ.ศ.๒๔๖๐ (สมัยสงครามโลกครั้งที่๑)   ขณะที่ท่านมีสมณศักดิ์เป็นพระอธิการดอกไม้ ชาวบ้านพร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ได้ขออนุญาตหลวงพ่อ ร่วมกันจัดสร้างรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริงขึ้นคราวที่ท่านยังมีชีวิตอยู่    หลวงพ่อเองก็ยินดีเสมือนหยั่งรู้อนาคตว่าหลังวันสิ้นบุญต่อไปภายภาคหน้า รูปหล่อจักเป็นตัวแทนในการพึ่งบุญต่อสานุศิษย์ การสร้างรูปเหมือนครั้งนั้นเริ่มดำเนินการหลังก่อสร้างพระอุโบสถเสร็จแล้ว   จ้างช่างก่อสร้างสถูปเจดีย์จากอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เพื่อเป็นสถานที่ประดิษฐานรูปหล่อ โดยที่ฐานของรูปหล่อระบุข้อความ  ?อธิการดอกไม้ อายุ ๕๗ปี พรรษา ๓๖ พ.ศ.๒๔๖๐?   เพื่อเป็นที่สักการะกราบไหว้ของบุคคลโดยทั่วไป จนกระทั่งปัจจุบันทางวัดได้มีการจัดงานปิดทองรูปเหมือนหลวงพ่อเป็นประจำทุกปี เป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมา 

         ปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระครูสัญญาบัตร-พัดยศ เป็นเจ้าคณะแขวงบ้านทวน (อำเภอพนมทวน) มีราชทินนามว่า ?พระครูวัตตสารโสภณ? รับนิตยภัตเดือนละ ๖ บาท โดยตำแหน่งนี้ท่านได้รับต่อจากท่าน พระครูสิงคีคุณธาดา (ม่วง) วัดบ้านทวน    ซึ่งเลื่อนขึ้นไปรับตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี การแต่งตั้งจึงทรงให้ได้สัมผัสชื่อในเมืองกาญจน์ครั้งนั้นดังนี้

วิสุทธิรังสี    (วัดใต้)   พระราชาคณะ เจ้าคณะเมืองกาญจนบุรี  หลวงปู่เปลี่ยน

สิงคีคุณธาดา  (วัดบ้านทวน)  รองเจ้าคณะเมืองกาญจนบุรี  หลวงปู่ม่วง

จริยาภิรัต   (วัดหนองขาว) เจ้าคณะแขวงวังขนาย (ท่าม่วง) หลวงพ่อยันต์

ยติวัตรวิบูลย์ (วัดศรีโลหะราษฏร์บำรุง)  เจ้าคณะหมวด (ตำบล) หลวงพ่อพรต

อดุลย์สมณกิจ  (วัดเหนือ)  เจ้าคณะแขวงท่ามะกา  หลวงปู่ดี

นิวิฐสมาจาร   (วัดหนองบัว)  เจ้าคณะแขวงเมือง  หลวงปู่เหรียญ

วัตตสารโสภณ
  (วัดดอนเจดีย์) เจ้าคณะแขวงบ้านทวน  หลวงพ่อดอกไม้

          งานด้านการปกครอง ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าคณะแขวงบ้านทวน วัดในแขวงเขตปกครองมีการปฏิบัติกิจของสงฆ์อย่างเคร่งครัดตามพระธรรมวินัย  ท่านมักออกเยี่ยมเยียนถามไถ่สารทุกข์สุขดิบกับพระวัดต่างๆอยู่เสมอ ปัญหาหน้าที่อันใดที่ประสพพบเห็นท่านมักจะให้ความช่วยเหลืออย่างชาญฉลาด เช่น ครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.๒๔๖๗ วัดทุ่งสมอ (ชื่อเดิมวัดจันทาราม) ขาดสมภารผู้ปกครองวัด หลวงพ่อดอกไม้กับพระครูอดุลย์สมณกิจ (หลวงพ่อดี) พร้อมด้วยทายกบ้านทุ่งสมอ เห็นพร้องต้องกันร่วมเชิญพระปลัดหรุง (รุ่งเช้า) มาเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อ ท่านองค์นี้เก่งงานด้านวินัยปฏิบัติและงานด้านการปกครองสงฆ์อย่างยิ่ง  ดังเห็นได้จากการก่อสร้างเสนาสนะหลายอย่างเกิดขึ้นที่วัดทุ่งสมอในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นต้น

         ในสมัยหลวงพ่อดอกไม้ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านเป็นที่เคารพรักใคร่ของบุคคลโดยทั่วไป ชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านเป็นที่รู้จักเลื่อมใสของบุคคลต่างถิ่นเป็นอย่างดี  ท่านเป็นคนเข้มแข็งเด็ดขาด  พวกที่ประพฤติตัวไม่เหมาะสมเกรงกลัวท่านมาก ทุกครั้งที่มีงานวัดไม่ต้องใช้ตำรวจมาคุมงานแต่อย่างใด ท่านจะเดินคุมงานของท่านตลอด  หากมีพวกขี้เมากินเหล้ากันอยู่ แค่เห็นหลวงพ่อดอกไม้เดินมาก็จะพากันเลิกวง และหายเมาทันที 

ผลงานที่หลวงพ่อสร้างไว้ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ มีมากมายหลายอย่าง  อาทิเช่น
๑. หมู่กุฏิสงฆ์ 
๒. พระอุโบสถ (หลังเก่า)
๓. ขุดสระน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค มีด้วยกัน ๓ สระ คือ สระเก่า (อยู่ทิศใต้), สระดอกบัว (อยู่กลาง) และสระตาปาน (อยู่ทิศเหนือ) ปัจจุบันถูกขุดรวมเป็นสระเดียวกันเรียกว่า สระวัด
๔.  ศาลาการเปรียญ (หลังเก่า)   
๕.  หอระฆัง    (หอระฆังนี้เดิมสร้างด้วยไม้ ปัจจุบันชำรุดไปหมดแล้ว และได้สร้างขึ้นมาทดแทนใหม่)   
อนึ่งในคราวสร้างหอระฆังนั้นท่านได้สร้างรูปถ่ายขนาดใส่กรอบบูชา และ ขนาดเล็ก (ล็อกเกต) ประกบด้วยกระจกเลี่ยมกรอบเงินชนิดแขวนคอ เพื่อแจกให้ผู้มีจิตศรัทธา ซึ่งปัจจุบันเป็นที่แสวงหาของบุคคลโดยทั่วไป ด้วยมีประสบการณ์ต่างๆด้านอิทธิปาฏิหาริย์สูงยิ่งมากมาย               

           ในปี พ.ศ.๒๔๖๕  หลวงพ่อดอกไม้ยังได้เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนขึ้น เนื่องจากเห็นว่าชาวบ้านดอนเจดีย์และหมู่บ้านใกล้เคียงส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการศึกษา ประกอบกับสถานที่ศึกษาอักษรสมัยยังไม่แพร่หลายจึงมีเจตนาให้ วัดเป็นโรงเรียน อาศัยศาลาการเปรียญชั่วคราว
ช่วงเดือนเมษายนของปี พ.ศ.๒๔๖๕  หลวงพ่อดอกไม้ได้ร่วมงานการพระศพของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรม พระยาวชิรญาณวโรรส  (สมเด็จพระสังฆราช ลำดับองค์ที่๑๐)  ซึ่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันอังคารที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๔  มีการจัดงานพระราชทานเพลิงพระศพที่เมรุท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๕ ในงานคราวนั้นได้รับตาลปัตรเป็นที่ระลึก
 
           จากคำบอกเล่าของปู่จุ่น สอนใจ เกิดปี พ.ศ.๒๔๕๘ ปัจจุบันท่านอายุ ๙๒ปี เป็นเด็กวัดลูกศิษย์ของหลวงพ่อดอกไม้คนหนึ่ง มีโอกาสรับใช้ติดตามหลวงพ่ออยู่นานเกือบ ๑๐ปี เล่าให้ฟังว่า วัดดอนเจดีย์สมัยแรกๆยังจนอยู่ แม่ของปู่จุ่น สอนใจ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)   เคยเล่าให้ฟังว่าช่วงที่เป็นสาวๆ วัดดอนเจดีย์ซึ่งมีอาจารย์ด้วงเป็นเจ้าอาวาสกำลังก่อสร้างพระอุโบสถ ชาวบ้านหนุ่มสาวต่างพากันมาช่วยกระทุ้งพื้นดินใต้โบสถ์ให้แน่น การก่อสร้างพระอุโบสถมาแล้วเสร็จในสมัยหลวงพ่อดอกไม้เป็นเจ้าอาวาส จากนั้นไม่นานหลวงพ่อได้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนสอนหนังสือให้กับชาวบ้าน     ใช้ศาลาที่ทำบุญซึ่งมีลักษณะเป็นเรือนเสาไม้มุงหลังคาด้วยหญ้าแฝกเหมือนเรือนทั่วๆไปเป็นที่เรียนเขียนอ่านการเรียนสมัยนั้นไม่ได้หยุดวันเสาร์อาทิตย์อย่างสมัยนี้   จะไปหยุดก็วันโกนกับวันพระเท่านั้นเพราะต้องใช้ศาลาทำบุญ          ไม่กี่ปีหลวงพ่อได้คิดริเริ่มสร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ให้ถาวรทดแทนอาคารหลังมุงแฝกเดิม ด้วยทุนปัจจัยที่มีอยู่น้อยประกอบกับการก่อสร้างต้องใช้เงินมาก  หลวงพ่อพร้อมด้วยพระลูกวัด ๓ รูป คือ พระแช่ม(บ.หนองขุย), พระคลาย (บ.หนองขุย), พระรุน(บ.ดอนเจดีย์) และลูกศิษย์วัดอีก ๓ คน คือ ด.ช.ไพร(บ.หัวรัง) , ด.ช.ทิพย์(บ.หนองขุย) , ด.ช.จุ่น(ปู่จุ่น บ.ดอนเจดีย์) ได้ออกเดินทางเพื่อหาเงินมาสร้างศาลา   ด้วยเกวียน ๒ เล่ม วัว ๔ ตัว พร้อมวัตถุมงคลของหลวงพ่อใส่ย่ามพระ เช่น เครื่องรางคาดเอว  เครื่องรางกำไลข้อมือ   ลูกอมลงรัก และเหรียญ   ก่อนออกเดินทางหลวงพ่อเรียกลูกศิษย์วัดทั้ง ๓ คน   มารับเหรียญกับมือท่านเพื่อพกติดตัวป้องกันภยันตรายภัยร้ายต่างๆที่อาจเจอกลางป่าดงพงไพร  ก่อนเคลื่อนขบวนจากวัดไปหาเงินตั้งแต่แถวๆห้วยกระเจา เลาขวัญ เข้าเขตสุพรรณ ผ่านบ้านหนองโคก โยกเข้าบ้านบางข่อยบางงาม ตามด้วยบ้านคอตันแถวๆอำเภอสามชุก  หยุดที่อำเภอบางปลาม้า   ขากลับผ่านบ้านบางพลับ  แวะพักสระยายโสม  แล้วหาญาติโยมที่จรเข้สามพัน  ใช้เวลาเดินทางร่วมเป็นแรมเดือนค่ำมืดที่ใดก็ค้างคืนที่นั้น บางสถานที่ญาติโยมศรัทธาขอฝากลูกหลานให้ติดสอยห้อยตาม มาเล่าเรียนวิชาอยู่กับหลวงพ่อที่วัด เช่น ห้วยกระเจาฝากเด็กมา ๓ คน ชื่อ ด.ช.อ๋อ , ด.ช.เริน และ ด.ช.งา  บ้านบางพลับฝากมา ๑ คน ชื่อ  ด.ช.ใหม่      ที่บ้านบางข่อยบางงามนั้นหลวงพ่อได้พบเหตุการณ์เด็กระลึกชาติได้ (กลับชาติมาเกิด) เมื่อมีพ่อแม่คู่หนึ่งนำบุตรชายวัย ๙ ขวบมาหาหลวงพ่อ บอกบุตรชายตนคนนี้พูดจาแปลกๆชอบกลอยู่บ่อยนักว่า ?ตนไม่ใช่พ่อแม่ที่แท้จริง?     อยากให้หลวงพ่อช่วยขันแก้แปลความหมาย  เรียกเด็กน้อยเข้ามาตั้งจิตอธิฐานจึงทราบความเป็นมาว่า   ครั้งชาติปางก่อนเด็กผู้นี้เคยถูกแทงตาย   มีตำหนิแววแผลที่ชายโครงซ้ายในตัวเด็กพร้อมพาหลวงพ่อเดินทางไปดูบ้านเกิดตนเมื่อชาติก่อนซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก     ได้พบพ่อแม่ที่แท้จริง (ยังมีชีวิตอยู่) เด็กชี้ให้ดูห่อผ้ายันต์บนเฉลียงบ้านที่ตนเก็บไว้ก่อนตายเป็นเครื่องพิสูจน์อีกครั้ง  เจ้าของบ้านทั้งสองยอมรับว่า บุตรชายโดนแทงตายหลายสิบปีนานมาแล้ว ครั้นทราบความจริงถึงกับดีใจที่ลูกชายตนกลับมาเกิดใหม่็ก็เรื่องราวจักเป็นเช่นนี้แล  ตอนที่หลวงพ่อเดินทางผ่านชุมชนต่างๆชาวบ้านที่ทราบข่าวต่างพากันออกมาหาหลวงพ่อกันแน่นเต็มเกือบทุกๆสถานที่ที่ท่านพักแรม  ทั้งอาหารหวานคาวราวกับคอยท่านมา  ครั้นก่อนออกเดินทางไปอีกหมู่บ้านก็จะมีคนนำข่าวไปบอกชาวบ้านล่วงหน้าเป็นอาจิณ  คนแถวนี้รู้จักหลวงพ่อดอกไม้เป็นอย่างดีมิมีแปลก   ท่านมีวัตถุมงคลเครื่องรางของแจกจนญาติโยมโผเข้าหา  ได้เงินมาจากการร่วมทำบุญประมาณ ๒๐๐๐ กว่าบาท (เป็นเงินชนิดเหรียญทั้งหมด)   เงินสมัยก่อนถือว่ามากโขสร้างศาลาหลังโตได้หนึ่งหลังอย่างที่เห็น สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๗  ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ (ภายในปีเดียวแล้วเสร็จ)    ยามว่างจากการปฏิบัติกิจของสงฆ์ปลุกเสกวัตถุมงคลท่านมักชอบเล่นกระดานหมากรุกกับ   ตาพร้อม (บ.ดอนเจดีย์) ,  ตาเปีย (บ.ดอนเจดีย์)  และ ตาพาด    (บ.น้อย) เป็นอย่างยิ่ง    หลวงพ่อท่านดุมากเป็นที่เกรงกลัวของผู้คนโดยทั่วไปรวมถึงพระในวัดแขวงเขตปกครองบ้านทวน (ปัจจุบันนี้ได้แก่ พื้นที่เขตอำเภอพนมทวน , อำเภอเลาขวัญ,  กิ่งอำเภอห้วยกระเจา)  ต้องยกมือไหว้ตัวตรงมือห้ามตก  ส่วนพระ เณร และเด็กวัดของท่าน หลังเลิกเรียนต้องอยู่ดายหญ้าที่วัดจนเหี้ยนเตียนหมด หญ้าสักต้นก็ไม่มีให้เห็นในเขตลานวัดเนื้อที่ตั้งหลายไร่ ตอนที่หลวงพ่อเดินไปไหนมาไหนท่านเดินเหินได้เร็วผิดคนปกติแลดูแปลกชอบกล สมัยนั้นในย่านนี้เขตนี้หลวงพ่อดอกไม้กับหลวงพ่อม่วง (วัดบ้านทวน) มีชื่อเสียงโด่งดังมาก มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย  ยังจำได้ว่าตอนเป็นลูกศิษย์วัด  หลวงพ่อดอกไม้ท่านใช้ผ้าจีวรเก่าฉีกออกมาถักทำเป็นหัวแหวนมีสายคล้อง สำหรับใส่ต้นแขน (ไม่ใช่นิ้วมือ) ลงวิชาคงกระพันชาตรีทำเป็นเครื่องรางของขลังเก่งมาก คนแถวนี้ต้องมีใส่เกือบทุกคน  ด้วยนิสัยที่ท่านเป็นพระดุวัตถุมงคลของท่านจึงมักเก่ง จีวรถักของหลวงพ่อดอกไม้กับแหวนพิรอดของหลวงปู่ม่วง (วัดบ้านทวน) โยนใส่กองไฟ ไฟก็ไม่ไหม้ทั้งคู่ และยังมีหวายใส่คาดเอวอันนี้ก็เก่งฟันแทงไม่เข้า  ตอนนี้คงหาไว้ครอบครองยากมาก ปู่จุ่น สอนใจ กล่าวทิ้งท้าย

           ปู่เจือ รอดคำ   ท่านเป็นชาวบ้านน้อย ตำบลดอนเจดีย์ เกิดปี พ.ศ.๒๔๕๙ ปัจจุบันอายุ ๙๑ปี เล่าให้ฟังว่าตอนเป็นเด็กได้มาเล่าเรียนหนังสือที่วัดดอนเจดีย์สมัยหลวงพ่อดอกไม้  หลวงพ่อฉลาดและเอาใจใส่ในหลายๆเรื่องแม้นกระทั่งเรื่องการดายหญ้า สมัยนั้นไม่มีจอบเสียม หลวงพ่อได้นำกระดูกวัว (ส่วนสะโพก) ที่ชาวบ้านทิ้งแล้วนำมาดัดแปลงทำเป็นเสียมสำหรับแจกจ่ายให้กับเด็กดายหญ้าหลายสิบเล่ม    ส่วนกุฏิของหลวงพ่อดอกไม้เดิมทีตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันตกของเขตวัด (ตรงบริเวณศาลาการเปรียญหลังใหม่ในปัจจุบัน)  หลังจากสิ้นบุญหลวงพ่อชาวบ้านได้ทำการลากแครกุฏิไปอยู่ที่ใหม่ (ปัจจุบันคือกุฏิไม้ฝั่งโรงลิเก)

          ในปี พ.ศ.๒๔๗๖ หลวงพ่อดอกไม้ เริ่มป่วยด้วยโรคชรา และได้มรณภาพด้วยอาการสงบ รวมอายุได้ ๗๓ปี พรรษา ๕๒   ทางพระผู้ใหญ่พร้อมคณะศิษยานุศิษย์ได้ตั้งพระศพบำเพ็ญกุศลนานหลายเดือน ก่อนฌาปนกิจศพเดือน ๔ ของปีนั้น มีพระเกจิร่วมประชุมเพลิงมากมาย (ที่ปู่หว่าจำได้)  อาทิเช่น หลวงปู่เปลี่ยน(วัดใต้ เจ้าคณะจังหวัด)   ,  หลวงปู่ดี(วัดเหนือ รองเจ้าคณะ)  ,  หลวงปู่เหรียญ(วัดหนองบัว)  ,  หลวงพ่อพรต(วัดศรีโลหะฯ) , หลวงพ่อยันต์(วัดหนองขาว) , หลวงพ่อหัง(วัดเหนือ) ,       หลวงพ่อสอน(วัดลาดหญ้า) , พระภิกษุจากวัดต่างๆ และ ประชาชนสานุศิษย์มากมายหลั่งไหลเต็มลานวัด จนแหวนมงคลที่ทางพระผู้ใหญ่นำมาแจกจ่ายหลายถาดไม่เพียงพอ  การประชุมเพลิงแบบโบราณคราวนั้น(ใกล้กับต้นจันฝั่งทิศตะวันตกของเขตวัด) ต้องแยกกระดูกออกมาบรรจุลังไม้ประชุมเพลิงต่างหาก    ขณะเพลิงกำลังลุกไหม้มีลูกไฟสีม่วงตกจากฝากฟ้าเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง   แม้สังขารท่านจะจากไปแต่เกียรติคุณความดีงามของท่านยังเป็นที่กล่าวขวัญถึงกันเรื่อยมาจนทุกวันนี้  เงินที่เหลือจากการจัดงานศพได้นำมาสร้างอาคารเรียน ซึ่งเดิมอาศัยศาลาวัดโดยสร้างอาคารเรียนขนาด ๑๐ x ๒๐ เมตร  เป็นอาคาร ๒ ชั้น ใต้ถุนสูงหลังแรก (บริเวณสนามกีฬาฟุตบอล) และได้ตั้งชื่อโรงเรียนขึ้นมาใหม่ว่า ?โรงเรียนวัดดอนเจดีย์?  (วัตตสารโสภณ)    ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ทางโรงเรียนมีการปรับปรุงบริเวณสถานที่ จึงได้ทำการรื้อถอนอาคารแล้วปลูกสร้างขึ้นมาใหม่เป็นอาคารชั้นเดียว

          เมื่อพระครูวัตตสารโสภณ (หลวงพ่อดอกไม้) มรณภาพลง พระอุปัชาฌาย์หรุง รุ่งเช้า เจ้าอธิการวัดทุ่งสมอ ดำรงสมณศักดิ์ตำแหน่งเจ้าคณะแขวงอำเภอบ้านทวนสืบต่อจากหลวงพ่อ   เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ และ หลวงพ่อก้าน (วัดใต้) ท่านได้รับราชทินนามพระครูวัตตสารโสภณ (ก้าน) ลำดับต่อจากหลวงพ่อดอกไม้

          วัดดอนเจดีย์ หลังจากหลวงพ่อดอกไม้มรณภาพแล้วได้มีเจ้าอาวาสปกครองวัดเรื่อยมาตามลำดับดังนี้

          -พระใบฎีกากรึก

          -พระอธิการพรหม

          -พระอธิการเปาะ  ธรรมโชติ พ.ศ. - ๒๔๘๗

          -พระครูห่วง ธรรมปาโล พ.ศ.๒๔๘๙ - ๒๕๑๒

          -พระมหาแอ่ม ธฺติวณฺโน พ.ศ.๒๕๑๓ - ๒๕๑๘

          -พระครูโสภณกาญจนกิจ(ประยูร) ปสนฺโน พ.ศ.๒๕๑๙ - ๒๕๓๔

          -พระอาจารย์ชล ถาวโร พ.ศ.๒๕๓๖ - ๒๕๓๘

          -พระสมุห์สมพงษ์ กิจจฺสาโร พ.ศ.๒๕๓๙ - ปีปัจจุบัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 ก.ย. 2551, 10:31:02 โดย wanchaso »

ออฟไลน์ ^บีม^ บางกอกน้อย

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 654
  • เพศ: ชาย
  • สาระไม่เคยมี หน้าตาดีไปวันฯ
    • ดูรายละเอียด
++ขอบคุณมากครับ

เมืองกาญจนพระดีเยอะครับ

อย่าลืมด้วยนะ

-พระครูสุขวรคุณ (หลวงปู่ทวน สุขวโร) วัดหนองพังตรุ อำเภอท่าม่วง

-พระครูวิบูลย์ธรรมประภาส(หลวงพ่อเบี่ยง )วัดทุ่งสมอ อำเภอพนมทวน

-พระครูจันสโรภาส (หลวงพ่อเพชร) วัดบ้านกรับ อำเภอห้วยกระเจา



เก่งเงียบ ครับ


http://www.watprasong.pantown.com " คนจะดีหรือไม่ดี ให้ดูกันไปนานฯ " ศิษย์หลวงปู่แล ทิตตัพโพ วัดพระทรง เจ้าตำหรับหนุมานตัว 9

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ขอบคุณครับผม  :002:

ออฟไลน์ Gearmour

  • ที่ปรึกษา
  • *****
  • กระทู้: 1204
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • ลานพิศวง

ท่านเป็น ๑ใน๑๐พระเกจิอาจารย์สุดยอดของประเทศไทยที่ผ่านการทดสอบวิทยาคม และใช้พลังจิตทำให้กบไสไม้ขึ้นหน้า แล้วหันกลับได้โดยไม่ใช้มือจับหัน ที่จังหวัดนครปฐม ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๒ (ในคราวนั้นมีพระเกจิอาจารย์จากสำนักต่างๆร่วมทดสอบ ๑๐๐ กว่าองค์)  อริยสงฆ์ที่ผ่านการทดสอบทั้งหมด ๑๐ องค์ มีดังนี้

๑.หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว

๒.หลวงปู่ทอง วัดเขากบ

๓.หลวงปู่เงิน วัดบางคลาน

๔.หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

๕.หลวงปู่ทา วัดพะเนียงแตก

๖.หลวงปู่ปาน วัดบางเหี้ย

๗.หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง

๘.หลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ

๙.หลวงปู่จร วัดเขารวบ

๑๐.หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว

เคยอ่านบทความช่วงนี้มา
   เห็นว่าเป็นนิยายครับ
ที่ไหนจำไม่ได้แล้วครับ
  การลองกันแบบนี้ การแลกเปลี่ยนวิชา
เห็นมีแต่ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
ทำให้ลูกศิษย์เห็นว่ากบที่ไสไม้ไป สามารถไสกลับได้โดยไม่ต้องจับให้กลับ
  ในขณะที่ ครั้งแรก นั้น หลวงตาแช่ม วัดตาก้อง ทำไสไป แต่ต้องจับให้ไสกลับ
ครับ   เรื่องนี้เห็นมีในหนังสือหลายๆ เล่มครับ
แต่ทดสอบ ได้อะไรแบบนั้น ไม่เห็นมีกล่าวไว้ครับ
       
    และที่สำคัญการทดสอบอย่างที่ถ้าเกจิมาเยอะๆจริง
จนเป็นงานเป็นเรื่องราว เท่ากับอวดอุตริที่มีในตน  อย่างไรก็ต้องปรับอาบัติครับ

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด

ท่านเป็น ๑ใน๑๐พระเกจิอาจารย์สุดยอดของประเทศไทยที่ผ่านการทดสอบวิทยาคม และใช้พลังจิตทำให้กบไสไม้ขึ้นหน้า แล้วหันกลับได้โดยไม่ใช้มือจับหัน ที่จังหวัดนครปฐม ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๒ (ในคราวนั้นมีพระเกจิอาจารย์จากสำนักต่างๆร่วมทดสอบ ๑๐๐ กว่าองค์)  อริยสงฆ์ที่ผ่านการทดสอบทั้งหมด ๑๐ องค์ มีดังนี้

๑.หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว

๒.หลวงปู่ทอง วัดเขากบ

๓.หลวงปู่เงิน วัดบางคลาน

๔.หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

๕.หลวงปู่ทา วัดพะเนียงแตก

๖.หลวงปู่ปาน วัดบางเหี้ย

๗.หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง

๘.หลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ

๙.หลวงปู่จร วัดเขารวบ

๑๐.หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว

เคยอ่านบทความช่วงนี้มา
   เห็นว่าเป็นนิยายครับ
ที่ไหนจำไม่ได้แล้วครับ
  การลองกันแบบนี้ การแลกเปลี่ยนวิชา
เห็นมีแต่ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
ทำให้ลูกศิษย์เห็นว่ากบที่ไสไม้ไป สามารถไสกลับได้โดยไม่ต้องจับให้กลับ
  ในขณะที่ ครั้งแรก นั้น หลวงตาแช่ม วัดตาก้อง ทำไสไป แต่ต้องจับให้ไสกลับ
ครับ   เรื่องนี้เห็นมีในหนังสือหลายๆ เล่มครับ
แต่ทดสอบ ได้อะไรแบบนั้น ไม่เห็นมีกล่าวไว้ครับ
      
    และที่สำคัญการทดสอบอย่างที่ถ้าเกจิมาเยอะๆจริง
จนเป็นงานเป็นเรื่องราว เท่ากับอวดอุตริที่มีในตน  อย่างไรก็ต้องปรับอาบัติครับ

เท่ากับอวดอุตริที่มีในตน  อย่างไรก็ต้องปรับอาบัติครับ
ถูกต้องครับ ต้องถูกปรับอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระ
(แต่หากตนเองสามารถทำได้จริง ....และแสดงจริงโดยไม่ได้มีเจตนาเพื่อหลอกลวงเพื่อผลประโยชน์แก่ตนเอง อันนั้นยกเว้น ครับ )
พระอรหันสมัยก่อนก็ทรงแสดง ครับ ...แต่เพื่อกำหลาบให้คนที่ไม่ศรัทธาในพุทธศาสนา

เพราะฉะนั้น .......หากท่านสามารถสำเหร็จยานจนแสดงได้ ถือว่าไม่ผิดครับ
เหมือนตอนที่หลวงปู่บุญทำนายเหตุการล่วงหน้า ....... และก็เป็นจริง ถือว่าไม่ผิดในพระธรรมวินัย ครับ
(เพราะว่ามีในตนโดยไม่ได้ใช้มายากลหลอกลวง)

แต่งานผมว่าไม่มีนะครับ ที่ประลองเนี่ย ...... เพราะหากทำแสดงมากๆ ก็อาจทำให้ยานเสื่อมลงได้ นอกซะจากเกิดเหตุการจำเป็นจริงๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 ก.ย. 2551, 05:22:01 โดย <<<เอ็มไร่ขิง>>> »

ออฟไลน์ Gearmour

  • ที่ปรึกษา
  • *****
  • กระทู้: 1204
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • ลานพิศวง

เท่ากับอวดอุตริที่มีในตน  อย่างไรก็ต้องปรับอาบัติครับ
ถูกต้องครับ ต้องถูกปรับอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระ
(แต่หากตนเองสามารถทำได้จริง ....และแสดงจริงโดยไม่ได้มีเจตนาเพื่อหลอกลวงเพื่อผลประโยชน์แก่ตนเอง อันนั้นยกเว้น ครับ )
พระอรหันสมัยก่อนก็ทรงแสดง ครับ ...แต่เพื่อกำหลาบให้คนที่ไม่ศรัทธาในพุทธศาสนา

เพราะฉะนั้น .......หากท่านสามารถสำเหร็จยานจนแสดงได้ ถือว่าไม่ผิดครับ
เหมือนตอนที่หลวงปู่บุญทำนายเหตุการล่วงหน้า ....... และก็เป็นจริง ถือว่าไม่ผิดในพระธรรมวินัย ครับ
(เพราะว่ามีในตนโดยไม่ได้ใช้มายากลหลอกลวง)

แต่งานผมว่าไม่มีนะครับ ที่ประลองเนี่ย ...... เพราะหากทำแสดงมากๆ ก็อาจทำให้ยานเสื่อมลงได้ นอกซะจากเกิดเหตุการจำเป็นจริงๆ

  ทำได้จริงก็ผิดครับ
ตามสิกขบทนี้ครับ
ปาจิตตีย์ 92 สิกขาบท
มุสาวาทวรรคที่ 1
สิกขาบทที่ 8
ภิกษุบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริงแก่อนุปสัมบัน ต้อง
ปาจิตตีย์
    ปลงอาบัติก็ตกครับ

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณท่านwanchaso  สำหรับประวัติหลวงพ่อดอกไม้ ครับ
 

ขอบคุณพี่บัฟสำหรับข้อมูลในเชิงลึกครับ 36;

ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ 

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด

เท่ากับอวดอุตริที่มีในตน  อย่างไรก็ต้องปรับอาบัติครับ
ถูกต้องครับ ต้องถูกปรับอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระ
(แต่หากตนเองสามารถทำได้จริง ....และแสดงจริงโดยไม่ได้มีเจตนาเพื่อหลอกลวงเพื่อผลประโยชน์แก่ตนเอง อันนั้นยกเว้น ครับ )
พระอรหันสมัยก่อนก็ทรงแสดง ครับ ...แต่เพื่อกำหลาบให้คนที่ไม่ศรัทธาในพุทธศาสนา

เพราะฉะนั้น .......หากท่านสามารถสำเหร็จยานจนแสดงได้ ถือว่าไม่ผิดครับ
เหมือนตอนที่หลวงปู่บุญทำนายเหตุการล่วงหน้า ....... และก็เป็นจริง ถือว่าไม่ผิดในพระธรรมวินัย ครับ
(เพราะว่ามีในตนโดยไม่ได้ใช้มายากลหลอกลวง)

แต่งานผมว่าไม่มีนะครับ ที่ประลองเนี่ย ...... เพราะหากทำแสดงมากๆ ก็อาจทำให้ยานเสื่อมลงได้ นอกซะจากเกิดเหตุการจำเป็นจริงๆ

  ทำได้จริงก็ผิดครับ
ตามสิกขบทนี้ครับ
ปาจิตตีย์ 92 สิกขาบท
มุสาวาทวรรคที่ 1
สิกขาบทที่ 8
ภิกษุบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริงแก่อนุปสัมบัน ต้อง
ปาจิตตีย์
    ปลงอาบัติก็ตกครับ


ขอบคุณครับ ...... (ภิกษุบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริงแก่อนุปสัมบัน )  มุสาวาทวรรคที่ 1
ผมหมายถึงแสดงอะครับ....... ไม่ได้บอก แหะๆๆ เช่น เดินบนน้ำได้ ...ถ้าทำได้จริงๆ ก็ไม่ได้มุสานี่ ครับ  :075:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ก.ย. 2551, 10:44:33 โดย <<<เอ็มไร่ขิง>>> »

ออฟไลน์ นามมงคล

  • บางคนฝันที่จะประสบความสำเร็จอย่างสวยหรู ในขณะที่บางคนกำลังลงมือกระทำ
  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 145
  • เพศ: ชาย
  • ดีชั่ว อยู่ที่ตัวทำ
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณครับ เป็นการเพิ่มความรู้


เขา..ผู้สูญสิ้นทรัพย์สินไป           เขา..สูญเสียมากเหลือเกิน
เขา..ผู้สูญสิ้นเพื่อนไป               เขา..สูญเสียมากกว่า
เขา..ผู้สูญสิ้นความศรัทธา           เขา..ผู้นั้น.. สูญเสียยิ่งกว่าใครๆ

ออฟไลน์ wanchaso

  • ทุติยะ
  • **
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตัวอย่าง พิรอดมงคลต้นแขน ของหลวงพ่อดอกไม้ ที่โยนเข้ากองไฟ เพลิงไฟก้อไม่ไหม้ ครับ

ซึ่งมีการทดสอบเหมือนแหวนพิรอดของหลวงปู่ม่วง วัดบ้านทวน

ซึ่ง ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ และ เคยอยู่ในวัยเด็กขณะนั้น เล่าให้ฟัง

ออฟไลน์ wanchaso

  • ทุติยะ
  • **
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตัวอย่างวัตถุมงคลที่หายาก

ล็อคเกตเก่า รุ่นจีวรเหลือง หลวงพ่อดอกไม้ ครับ