ผู้เขียน หัวข้อ: พระกริ่งเป็งย้ง 2520 หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี  (อ่าน 11815 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ New

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 40
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
อยากทราบประวัติ พุทธคุณ และราคาเช่า ของพระกริ่งรุ่นนี้ ขอท่านผู้รู้แนะนำด้วยครับ

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ผมก็อยากรู้ครับ เกี่ยวกับหลวงปู่โต๊ะ ปี2512 เหรียญกลมๆ มีลอยจาร ตอกโค๊ด ....... เขาว่าสร้างน้อยแจกเฉพาะลุกศิษ ท่านใด มีความเห็นชี้แนะ ที ครับ

ออฟไลน์ ...ปราณจิต...

  • ที่ปรึกษา
  • *****
  • กระทู้: 326
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ผมมีเหรียญหลวงปู่โต๊ะแต่ไม่ใช่รุ่นนี้ แต่ก็ดีครับที่ยังมีของหลวงปู่ท่าน
-๐ความเชื่อที่ดี มักก่อเกิดสิ่งที่ดีตามมา
       ปาฏิหารเกิดได้ถ้าใจยึดมั่น๐-

-๐พระดีไม่บูชาก็ไม่ต่างอะไรกับก้อนดิน
   สักแล้วไม่รักษาถึงเวลาใครเล่าจะช่วย
      หมั่นทำกรรมดีคุณพระคุ้มครอง๐-

                 -๐ปราณจิต๐-

ออฟไลน์ leng_kub

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 171
    • MSN Messenger - sabyedee_kub@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • วัดเขาราหู
    • อีเมล
อยากทราบประวัติ พุทธคุณ และราคาเช่า ของพระกริ่งรุ่นนี้ ขอท่านผู้รู้แนะนำด้วยครับ

รู้อย่างเดียวคือ อาจารย์เป็งย้ง เป็นผู้สร้างถวาย หลวงปู่โต๊ะ ครับ...ราคาเช่าหา หลักหมื่น ครับ (ผิดถูกก็ขออภัยครับ)

ผมก็อยากรู้ครับ เกี่ยวกับหลวงปู่โต๊ะ ปี2512 เหรียญกลมๆ มีลอยจาร ตอกโค๊ด ....... เขาว่าสร้างน้อยแจกเฉพาะลุกศิษ ท่านใด มีความเห็นชี้แนะ ที ครับ

เหรียญกลมใหญ่ ปี12 เท่าที่ทราบ มีหลายบล็อก แถม เก๊กระจาย ครับ

ผมเคยคุยกับอากู๋ที่ผมรู้จักท่านนึง แกเล่าให้ฟังว่า แกนับถือหลวงปู่โต๊ะมาก แกไปหลวงปู่โต๊ะ บ่อยเพราะบ้านแกใกล้กับวัด...แกเล่าให้ฟังว่า ตอนนั้นแกอยากได้เหรียญหลวงปู่โต๊ะ มาบูชาติดตัวซักเหรียญ แกเลยพูดขอเหรียญกับ หลวงปู่โต๊ะ

หลวงปู่โต๊ะ ท่านหยิบเหรียญออกมาจากย่ามของท่านแล้วก็นำเหรียญนี้มาจารแล้วส่งให้อากู๋ท่านนี้...แกเล่าให้ฟังว่า เคยมีคนดูเหรียญนี้แล้วบอกว่า "เก๊" ตั้งแต่นั้นมาแกไม่เคยให้ใครดูอีกเลย...เหรียญนี้ก็คือ เหรียญกลมใหญ่ปี12 ทุกวันนี้แกใส่ตลับทอง แล้วก็พกติดตัวตลอดตั้งแต่ได้มา ครับ

เล่าสู่กันฟังนะครับ
เวปไซด์ วัดเขาราหู
www.wat-khaorahu.com

ยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยความจริงใจครับ

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
พอดีว่าผมมีหนังสือประวัติอยู่ครับ เลยคัดลอกมาให้บางส่วนครับ .
ประวัติพระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ รุ่น " เป็งย้ง" พ.ศ. 2520

  พระกริ่งใหญ่ชุดนี้ จัดสร้างขึ้นมาโดยคณะศิษย์ที่ใกล้ชิดกับหลวงปู่โต๊ะมากคณะหนึ่ง ซึ่งได้ร่วมใจกันจัดสร้างขึ้นมา โดยมีจุดเริ่มต้นที่ง่ายดาย แต่ลงท้ายด้วยอุปสรรคนานาประการ ด้วยความสามัคคีและความเสียสละของทุกฝ่าย จึงทำให้พระกริ่งใหญ่ชุดนี้ ประสบความสำเร็จลุล่วงด้วยดี จนกลายเป็นพระกริ่งหลวงปู่โต๊ะที่มีผู้แสวงหากันอย่างกว้างขวาง และมีราคาเช่าหาสนนราคาพุ่งสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันเป็นพระกริ่งที่หายากยิ่งชุดหนึ่ง

  จุดเริ่มต้นของพระกริ่งใหญ่พระชัยวัฒน์ชุเนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันหนึ่งในขณะที่ฝนตกลงมาอย่างหนัก ภายในกุฏิริมน้ำของหลวงปู่โต๊ะ นอกจากหลวงปู่แล้ว ก็ยังมีคุณคงศักดิ์ เลิศฤทธิ์อนันต์ ( สือ ) ลูกศิษย์หลวงปู่กับเพื่อนๆอีก 2- 3คน ซึ่งล้วนแต่เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ทั้งสิ้น

  ในขณะที่กำลังพูดคุยกับหลวงปู่อยู่นั้นเอง น้ำฝนก็ได้ตกลงมาในกุฏิเป็นหยดๆอยู่ตลอดเวลา จึงได้ทราบว่า หลังคากุฏิของหลวงปู่รั่ว

  คุณคงศักดิ์ จึงได้เกิดความคิดขึ้นมาว่า น่าจะหาเงินมาซ่อมแซมหลังคากุฏิของหลวงปู่ เพื่อนๆก็เห็นดีด้วย แต่จะหาเงินมาอย่างไร ทั้งหมดจึงได้ปรึกษาหารือกัน แล้วตกลงกันว่าน่าจะให้ลูกศิษยเช่าบูชาหาเงินมาซ่อมหลังคากุฏิหลวงปู่ต่อไป

  จึงได้นำความคิดนี้กราบเรียนหลวงปู่ให้ทราบ พร้อมกับขออนุญาตหลวงปู่ด้วย

  หลวงปู่ก็เห็นดีด้วย และได้อนุญาตคุณคงศักดิ์กับเพื่อนๆไปดำเนินการจัดสร้างพระกริ่งได้เลย และได้กำชับไว้ว่า ให้ทำจำนวนพอประมาณ อย่ามากนัก เพื่อจะได้ไม่ต้องรบกวนผู้คนมากเกินไป

  เมื่อคุณคงศักดิ์และเพื่อนๆได้ลงจากกุฏิหลวงปู่ ก็ได้พบกับคุณประชา ศรีวิญญูนนท์ ( เป็งย้ง ) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดกับหลวงปู่อีกคนหนึ่ง กำลังจะมาหาหลวงปู่พอดี

  คุณคงศักดิ์จึงได้บอกเรื่องขอสร้างพระกริ่งนี้ให้คุณประชาทราบ และได้มอบหน้าที่การจัดสร้างพระกริ่งรุ่นนี้ให้คุณประชารับผิดชอบไป

  คุณประชา ( เป็งย้ง ) จึงได้นำเรื่องไปปรึกษาหารือกับอาจารย์นิรันดร์ แดงวิจิตร ( อดีตพระครูหนู ) ที่ผู้คนในวงการพระเครื่องโดยเฉพาะผู้ที่นิยมสะสมพระกริ่ง ต่างก็รู้จักดี และยอมรับว่าอาจารย์นิรันดร์เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องพระกริ่งเป็นพิเศษ เพราะท่านผู้นี้เคยบวชเรียนเป็นศิษย์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) วัดสุทัศน์เทพวราราม กทม. มาก่อน มีความรู้เชี่ยวชาญชำนาญการเป็นพิเศษ ในเรื่องการสร้างพระกริ่งของสำนักวัดสุทัศน์ฯ มานานแล้ว

  อาจารย์นิรันดร์จึงได้ดำเนินการสร้างพระกริ่งใหญ่ - พระชัยวัฒน์ทันที ตั้งแต่การออกแบบพิมพ์ การหาชนวน มวลสารต่างๆที่จะนำมาหล่อหลอมเป็นเนื้อพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ให้ครบตามตำราของวัดสุทัศน์ฯทุกประการ รวมทั้งทองชนวนของเก่าของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) โดยมีทองผสมทั้งหมดรวม 100 กิโลกรัม มีทองคำแท้ๆจากทองแท่งหนัก 20 บาท

  ลูกศิษย์บางคนที่เกิดศรัทธามากๆ ยอมสละตะกรุดของพระเกจิอาจารย์เก่าๆมาหล่อหลอมลงในชนวนที่จะสร้างพระกริ่งครั้งนี้ก็มีจำนวนมาก บางคนยอมสละทองคำหนัก 2 บาท เงินบริสุทธิ์ 10 กิโลกรัม และยังมีเงินกลวง ทองแดง เป็นแท่งใหญ่ๆ ก็มีมากมาย

  อาจารย์นิรันดร์ได้นำเอาชนวนจากพระกริ่ง และพระต่างๆที่เคยเก็บสะสมไว้นานปี อีกมากมายเหลือจะคณานับได้ เรียกว่าเป็นการทุ่มเททุกอย่างเพื่อให้พระกริ่งรุ่นนี้ล้ำเลิศในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อมวลสารอันสำคัญยิ่ง และพิธีการสร้างอันศักดิ์สิทธิ์เข้มขลัง ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกขั้นตอนของพิธี

   พิธีการหล่อเนื้อมวลสารและเททองลงในแบบพิมพ์ของพระกริ่ง พระชัยวัฒน์นั้น ในอดีตที่ผ่านมา ผู้ที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสในท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) และผู้ที่สะสมพระกริ่ง ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยไหนก็ตาม ต่างเชื่อถือกันว่า การสร้างพระกริ่งให้เข้าขลังศักดิ์สิทธิ์จริง ต้องสร้างที่พระอุโบสถของวัดสุทัศน์

  เพราะเป็นสถานที่เคยประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เกี่ยวกับการสร้างพระประธานองค์สำคัญๆ พระกริ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) มาแล้วมากมาย

  ที่พระอุโบสถนี้มีเทพประจำทุกบานประตู และเป็นพระอุโบสถวัดเดียวในประเทศไทยที่มี " อสีติมหาสาวก " อันหมายถึง พระอรหันต์ที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นเลิศในทางเฉพาะอย่าง

  เพื่อให้พิธีกรรมการสร้างพระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ หลวงปู่โต๊ะ รุ่นนี้เพียบพร้อมด้วยคุณค่าในด้านการสร้าง อาจารย์นิรันดร์ จึงได้กำหนดการประกอบพิธีเททองหล่อพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ตามแบบโบราณกาล ( เททองหล่อแบบโบราณ ไม่ใช่ฉีดแบบสมัยใหม่ ) ที่พระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ และในเวลาที่นิยมการหล่อพระกริ่งกันก็คือ คืนวันเพ็ญเดือน 12 ของปี 2520 ( คืนวันลอยกระทงขณะที่พระจันทร์กำลังเต็มดวง )

  ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช ( วาสนมหาเถระ ) วัดราชบพิตรฯ ได้เสด็จเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย และหลวงปู่เป็นผู้ประกอบพิธีเททองหล่อพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ รุ่นนี้ด้วยตัวท่านเอง

  หลังจากตัดองค์พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ออกจากกิ่งชนวนแล้ว หลวงปู่ได้เมตตาปลุกเสกเดี่ยวอีก 3 วัน จึงได้นำออกให้สั่งจองบูชารับพระไป

  จำนวนสร้างพระกริ่งใหญ่ 500 องค์ พระชัยวัฒน์ 1000 องค์ บูชาชุดละ 1100 บาทตอนรับพระนั้นใช้วิธีจับฉลากเอา ไม่ให้มีการเลือกพระอย่างเด็ดขาด เพราะไม่อย่างนั้นจะต้องมีปัญหา ทุกคนก็ต่างอยากจะได้พระองค์ที่สวยๆกันทั้งนั้น องค์ที่ไม่สวยก็ไม่มีใครอยากได้ คณะกรรมการจึงต้องใช้วิธีจับฉลากดังกล่าว

  ในตอนที่มีการเปิดสั่งจองพระกริ่งรุ่นนี้ ปรากฏว่า มีการสั่งจองเพียงวันเดียวก็หมดทั้ง 500 ชุด ต่อมาก็มีการซื้อขายใบจองกันถึงชุดละ 3000 บาทก็มี

  หลังจากที่หลวงปู่ได้ประกอบพิธีเททองหล่อพระกริ่ง พระชัยวัฒน์เรียบร้อยแล้ว โรงงานผู้หล่อพระก็ต้องตัดองค์พระออกจากกิ่งชนวน แล้วเอาองค์พระไปตกแต่ง เนื่องจากเป็นการเททองหล่อแบโบราณ จึงย่อมจะมีส่วนขาดส่วนเกินในองค์พระบ้าง จะให้สวยเลิศแบบพระกริ่งฉีดนั้นย่อมจะเป็นไปไม่ได้ การตกแต่งองค์พระของโรงงานก็เป็นไปอย่างล่าช้า เพราะงานล้นมือ ผู้สั่งจองพระก็อยากจะได้พระเร็วๆคณะกรรมการผู้ดำเนินงานทนไม่ไหว ก็เลยเอาพระคืนมาจากโรงงาน เอามาตกแต่งกันเอง ที่บริเวณพระวิหาร " พระเสฐมุณี " ในวัดสุทัศน์ฯ เป็นผู้ควบคุมดูแลและให้คำแนะนำอยู่ตลอดเวลา

  ผู้ที่มาช่วยตกแต่งองค์พระก็ล้วนแต่เป็นลูกศิษย์หลวงปู่โต๊ะทั้งนั้น ทุกคนก็ต่างมีงานประจำรัดตัวกันอยู่แล้ว แต่ยอมเสียสละเวลามาช่วยงานส่วนรวมกันอย่างเต็มอกเต็มใจ คนที่เป็นหมอฟันก็ยกเอาเครื่องกรอฟันมาช่วยอย่างเต็มที่ หลายฝ่ายช่วยกันอย่างไม่เห็นความเหน็ดเหนื่อย บางคนก็ไปอาศัยหลับนอนกันที่พระวิหรเลยก็มี บ้านช่องห้องหอไม่ต้องกลับกัน

   ขั้นตอนของความยุ่งยากของการตกแต่งองค์พระกริ่งก็คือ การคว้านใต้ฐานองค์พระให้ลึกเข้าไป เพื่อจะได้ใช้เป็นที่บรรจุ " เม็ดกริ่ง " ที่ได้จากเนื้อชนวนโลหะ หลังจากบรรจุเม็ดกริ่งแล้ว ก็ต้องเลื่อยแผ่นโลหะมาเกี่ยวที่ลิ้น เพื่อปกปิดฐานที่ได้คว้านเอาไว้ ลิ้นอันนี้ต้องใช้เครื่องมือกรอฟันโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ทำได้ลำบากมาก

  มีพระกริ่งบางองค์ ( จำนวน 20 - 30 องค์ ) ที่ได้มีการอุดผงพุทธคุณของหลวงปู่เข้าไปในใต้ฐานขององค์พระด้วย แต่ไม่ได้ทำตำหนิเอาไว้ว่าเป็นองค์ไหนบ้าง ใครโชคดีก็อาจจะได้รับเอาพระกริ่งที่อุดผงพุทธคุณเอาไว้ด้วย

  พระกริ่งใหญ่ - พระชัยวัฒน์ รุ่นนี้ มีการตอกโค้ดเอาไว้ทั้งหมด 4 ตัวด้วยกัน แต่อาจจะมีบางองค์ที่ตอกโค้ด 3 ตัว คือคนที่รับพระไปก่อน ขาดโค้ดตัว " ต " ซึ่งเป็นของทางวัด จะเอาไปตอกอีกก็กลัวยุ่งยาก จึงไม่ได้เอาไปตอกโค้ดตัว " ต " ก็มี แต่ก็มีส่วนน้อย

  พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ รุ่นนี้ใช้เวลาตกแต่งนานถึง 9 เดือนเต็ม ซึ่งนับว่านานเหลือเกิน สำหรับคนที่สั่งจองพระเอาไว้ จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆนานา แนที่สุด ทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดี ทุกคนก็ต่างพอใจเมื่อได้รับองค์พระมาใช้กัน จำนวนไม่น้อยที่ได้รับประสบการณ์มากมายจากพระกริ่งใหญ่รุ่นนี้ จนทำให้ราคาเช่าหาพุ่งแพงขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่ก็หาแสนยาก เพราะคนที่มีอยู่ก็หวงแหนทั้งนั้น

  การที่พระกริ่งใหญ่ พระชัยวัฒน์ รุ่นนี้ได้ชื่อว่า " พระกริ่งหลวงปู่โต๊ะ รุ่นเป็งย้ง " นั้น ก็เนื่องมาจากคนที่รับภาระในการจัดสร้างนั้นก็คือ คุณประชา ศรีวิญญูนนท์ ที่ทุกคนในวงการพระเครื่องรู้จักกันในนาม  " เป็งย้ง " ลูกศิษย์ใกล้ชิดของหลวงปู่โต๊ะนั่นเอง
 
  เบื้องหลังความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของพระกริ่งใหญ่หลวงปู่โต๊ะรุ่นนี้ ขอบันทึกเป็นเกียรติประวัติให้กับผู้ทุ่มเทแรงใจแรงกายให้กับผลงานชิ้นนี้คือ
  อาจารย์นิรันดร์ แดงวิจิตร ( พระครูหนู ) , คุณประชา ศรีวิญญูนนท์ ( เป็งย้ง  , คุณมงคล งามสันติวงศ์ ( อ้วน รอบโลก ) , อาจารย์ประโยชน์ ธรรมบัญญัติ , คุณหมอชัยวิทย์ งามปฏิพัฒน์นพงศ์ , คุณสมพร ทันตเวช ( เล็ก รูปหล่อ ) , คุณสุชัย อุทัยสุทธิจิตร ( ลิ้ม กรุงไทย ) , คุณเกียรติศักดิ์ ( เหน่ง ) .



คัดลอกมาจาก : หนังสือ รวมภาพประวัติ และการสร้างวัตถุมงคล พระราชสังวราภิมณฑ์ ( หลวงปู่โต๊ะ ) วัดประดู่ฉิมพลี กทม . โดยสำนักพิมพ์คเณศ์พร

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ผมก็อยากรู้ครับ เกี่ยวกับหลวงปู่โต๊ะ ปี2512 เหรียญกลมๆ มีลอยจาร ตอกโค๊ด ....... เขาว่าสร้างน้อยแจกเฉพาะลุกศิษ ท่านใด มีความเห็นชี้แนะ ที ครับ

เป็นเหรียญรุ่น 3 ปี 2512 รุ่นนี้มีทั้งหมด 3 พิมพ์ คือ เหรียญกลมใหญ่ , เหรียญกลมกลาง , เหรียญกลมเล็ก
เหรียญกลมใหญ่ที่วงการทั่วไปเรียกว่า " เหรียญเหล็กจาร " สร้างตามจำนวนปี คือ 2512 เหรียญ หลวงปู่ได้ลงเหล็กจารเหรียญนี้ด้วยตัวท่านเอง ใช้เวลานานถึง 3 เดือน จึงจารได้หมด รอยเล็กจารทุกเหรียญจะเหมือนกันหมด หากไม่เหมือนกัน อาจจะเหรียญเสริม เพราะเหรียญรุ่นนี้ได้สร้างเสริมอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2516 จำนวน 2000 เหรียญ แต่ไม่ได้ลงเหล็กจาร

เหรียญกลมใหญ่นี้ เมื่อปั๊มได้ 500 เหรียญ แม่พิมพ์ช่วงล่างจะแตก เหรียญที่ปั๊มหลังจากนั้นจึงมีรอยนูนเล็กน้อยที่ขอบเหรียญด้านล่าง เหรียญกลมใหญ่นี้จัดเป็นผ้าป่ากองละ 100 บาท ได้เงินทำบุญทั้งหมดประมาณ 4หมื่นบาท ทางวัดได้นำเงินนี้ไปสร้างเขื่อนคอนกรีตริมคลองหน้าวัดแทนเขื่อนไม้ที่ชำรุดเสียหาย

  ส่วนเหรียญกลมกลาง สร้างจำนวน 30000 เหรียญ และเหรียญกลมเล็กสร้าง 10000 เหรียญ เหรียญกลมกลางและเหรียญกลมเล็ก หลวงปู่ได้แจกฟรีให้กับทุกคนที่ไปกราบท่านในช่วงนั้น .  :001:

ออฟไลน์ leng_kub

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 171
    • MSN Messenger - sabyedee_kub@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • วัดเขาราหู
    • อีเมล
ขอบคุณ น้องสิบทัศน์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ครับ :015:

ออฟไลน์ บางแก้วฟ้า

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 692
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ท่านสิบทัศน์นี่นอกจากจะกล้ามใหญ่แล้ว
ยังความรู้แน่น มีแหล่งข้อมูลแจ๋วๆด้วย

ว่าแต่เหรียญปู่โต๊ะของอากู๋ท่านเนี่ย อาจจะโดนมือดีแอบหยิบไป
แล้วเปลี่ยนเอาของเก๊มาใส่ไว้แทน หรือเปล่าครับ อิ อิ อิ
ล้อเล่น นะขอรับ ท่าน 

ออฟไลน์ New

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 40
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณพี่สิบทัศน์สำหรับข้อมูลครับ

ออฟไลน์ ۞เณรน้อยเส้าหลิน۞

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1560
  • เพศ: ชาย
  • ไม่สู้ ไม่หนี ทําดีเรื่อยไป
    • ดูรายละเอียด
คุณสิบทัศน์นี่ความรู้แน่นเหมือนเดิมเลยนะ

ครูผู้บริสุทธิ์ ครูผู้หมดกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
ครูผู้มี"พระปัญญาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ" อย่างประมาณมิได้
บรมครูผู้นั้นคือ "สมเด็จพระพุทธเจ้า"
ขอนอบน้อมกราบกรานพระบรมศาสดา