แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - OT^TO

หน้า: [1]
1
ขอบคุณครับ ภาพสวยมากน่าไปเที่ยวจัง
ผมยังไม่เคยไปเลย ว่างๆต้องลองไปบ้าง :016:

2
ลักษณะของจิตวิญญาณในระดับต่าง ๆ ที่ลงมาประทับทรงหรือเข้าทรงมนุษย์นั้น หากเรารู้จักสังเกตุให้ดี ก็พอจะแยกได้ว่า เป็นเทพหรือเป็นผี โดยอาศัยหลักพิจารณาโดยสังเขปดังนี้

1.   ประทับทรงจากส่วนล่าง  จิตวิญญาณใดที่ประทับทรงจากปลายเท้าขึ้นมา มักจะเป็นพวกสัมภเวสี หรือ วิญญาณมนุษย์ที่ตายไปแล้ว

2.  ประทับทรงจากด้านหลัง  จิตวิญญาณใดประทับทรงจากด้านหลัง มักจะเป็นวิญญาณทั่วไปที่มีฤทธิ์อำนาจ ซึ่งมักจะเรียกขานกันว่า เจ้าพ่อ เจ้าแม่ เจ้าปู่ ฯลฯ

3.   ประทับทรงจากด้านหน้า  จิตวิญญาณใดที่ประทับทรงจากด้านหน้า มักจะเป็นวิญญาณของมนุษย์ที่ไปเกิดเป็น เทวดาชั้นจาตุมฯ ที่อยู่ใกล้ชิดมนุษย์

4.   ประทับทรงจากทางบ่า  จิตวิญญาณใดที่ประทับทรงจากทางบ่า มักจะเป็นเทพหรือดาบสที่มีฤทธิ์ ในระดับกลาง ๆ

5.  ประทับทรงจากกลางกระหม่อม  จิตวิญญาณใดที่ประทับทรงจากส่วนศรีษะหรือกระหม่อม มักจะเป็นเทพในระดับสูง

คำแนะนำ

                   ดังนั้นถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ จะมีองค์หรือไม่ก็ตาม ถ้าท่านหมั่นสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ แผ่เมตตาถึงครูบาอาจารย์ องค์เทพเทวาที่คุ้มครองรักษาตนเอง ก็น่าจะเพียงพอ เพราะการที่เทพมาอยู่กับเราก็ด้วยเหตุ คือปรารถนาจะได้ร่วมสร้างบารมี และช่วยเหลือผู้ที่เคยเกี่ยวข้องกันมาก่อน พาร่างสร้างบารมีทำบุญไหว้พระ สร้างแต่กรรมดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น

                   ถ้าเราทำได้ดังนี้ก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่ต้องไปรับขันธ์ เทพเป็นผู้ที่มีจิตเมตตา ประกอบด้วย หิริโอตตัปปะ คือความละอายและเกรงกลัวต่อบาป ย่อมไม่สร้างปัญหาใด ๆ ให้กับร่างที่จะมาอยู่ด้วย เพราะท่านกลัวบาป การที่จะทำให้เจ็บป่วยหนักหนาแสนสาหัส หรือลงโทษอะไรหนักหนาคงไม่มี นอกจากช่วยเหลือเท่านั้น แต่ที่มันเจ็บป่วยหรือมีปัญหาในหน้าที่การงาน การเงิน จนล้มละลาย มันเป็นเรื่องของวิบากกรรมที่ใครจะเข้าไปแก้ไขได้ นอกจากช่วยประคับประคองหรือดลจิตดลใจให้ไปหาผู้ที่สามารถแก้ไขวิบากรรมส่วนนี้ได้

                   ดังนั้นบางทีพอรับขันธ์เข้า แล้วหันหน้ามาปฏิบัติ สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ อะไร ๆ มันก็ดีขึ้นตามบารมีของตน เพราะก่อนหน้าเมื่อยังดีอยู่นั้น ก็ไม่เคยคิดปฏิบัติจริงจัง ทำบุญก็มีบ้างตามโอกาสเท่านั้น เพราะหากเทพจะมาอยู่ด้วย ก็คงไม่จำเป็นต้องทำพิธีอะไรมากมาย การรับขันธ์เป็นเรื่องสมมุติกันขึ้นมาเท่านั้น เพราะท่านจะมาอยู่กับมนุษย์นั้น บางทีก็ติดตามมาแต่เกิด อยู่ติดตามเรามาตลอด เพียงแต่ไม่รู้เท่านั้นเอง เพิ่งจะมาคิดรับขันธ์เพื่อรับองค์เทพ เพราะอยากรวยเท่านั้นหรือ เว้นแต่ผู้เป็นร่างทรงที่ทำหน้าที่สงเคราะห์มนุษย์ในการบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ก็เป็นหน้าที่ขององค์เทพที่ผ่านร่างมาจะสั่งดำเนินการตามโอกาสต่าง ๆ

ข้อสังเกต

                   มนุษย์ผู้ที่มีองค์เทพแฝงอยู่นั้นสังเกตได้ด้วยตนเองไม่ยาก

1.  มึนศรีษะข้างเดียวเป็นประจำ บางทีทางการแพทย์ว่าเป็น “ไมเกรน”

2.  หนักต้นคอ บางครั้งหนักบ่าสองข้างเหมือนมีใครมาขี่คอ บางทีขับรถอยู่ดี ๆ ก็รู้สึกหนักบ่า

3.  แน่นหน้าอกเป็นบางครั้ง เหมือนคนหายใจไม่อิ่ม บางคนเป็นบ่อย จนหมอว่าเป็นโรคหัวใจ

4.  ฝันแม่นยำ มีลางสังหรณ์แม่นยำ บางทีเรียกสัมผัสที่หก หรือ “ซิกเซ้นท์”

5.  ชอบฝันหรือตีเป็นตัวเลข เสี่ยงโชคได้ใกล้เคียง บางที ผิดแต้มเดียว กลับบนกลับล่าง กลับหน้ากลับหลัง ซื้อทีไรก็เฉี่ยวไปเฉี่ยวมาเป็นประจำ แต่ถ้าไม่ซื้อเที่ยวบอกใคร เขาก็จะถูก

6.  บางครั้งหูจะได้ยินเสียงเรียกชื่อเบา ๆ เหมือนเสียงกระซิบก็มี เสียงดังก้องในหู ก็มี

7.  ไปตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือ มีอะไรที่ลี้ลับ จะรับรู้โดยการสัมผัส ขนลุกชันเย็นซ่าไปทั้งตัว

8.  บางครั้งสวดมนต์เป็นภาษาบาลีอยู่ดี ๆ ก็เปลี่ยนเป็นภาษาอื่นรัวเร็วขึ้นมา

9.  หากนั่งสมาธิจะได้หูทิพย์ ตาทิพย์ เร็วกว่าคนทั่วไป

                   ดังนั้นอาการบางอย่างหาหมอก็แล้ว กินยาก็แล้ว มันไม่หาย ก็ให้ สวดมนต์นั่งสมาธิตามที่ว่าแล้วแผ่เมตตาบ่อย ๆ ทุกอย่างมันจะหายไปเอง เสี่ยงโชคลาภก็จะได้ เพราะบารมีที่ทำนี่แหละ แต่บางอย่างก็อาจจะเกิดจากสัมภเวสีได้เช่นกัน

1.  ปวดศรีษะเป็นประจำ บางครั้งปวดมากจนทนไม่ไหว หมอว่าเป็นความดันบ้างก็แล้วแต่ ก็ควรตรวจเช็คแก้ไข เพราะอาจถูกสัมภเวสีเกาะอยู่ในศรีษะได้

2.  ปวดไหล่เป็นประจำ หมอว่าเป็นเส้นเอ็นอักเสบ กินยาทายาก็แล้ว มันไม่หาย ตึงไปหมด ถือว่าผิดปกติ

3.  มือเท้าชาเป็นซีก จากไหล่ หรือตะโพก หัวเข่าก็ตาม

4.  แน่นหน้าอกมากผิดปกติ

5.  ปวดบริเวณกระเบนเหน็บ บางที่การแพทย์ระบุว่า หมอนรองกระดูกทับเส้น เว้นแต่กรณีการเกิดอุบัติเหตุ ลื่นหกล้มจนกระแทกพื้นอย่างแรง นั่นก็จะต้องพิจารณารายละเอียดเป็นกรณีไป

                   อาการเหล่านี้อาจไม่เกี่ยวกับองค์เทพ แต่เป็นการแทรกซ้อนจากวิญญาณเร่ร่อนหรือสัมภเวสีที่ไม่มีที่อยู่นั่นเอง หากรักษาแล้วแก้ไขแล้วไม่ดีขึ้น ก็ลองติดต่อขอรับการสงเคราะห์หรือปรึกษากับ หลวงพ่อวัชระ วัดถ้ำแฝด กาญจนบุรี เพราะท่านอาจจะพอหาทางแก้ไขให้ได้

                   ดังนั้นการที่ได้กล่าวพาดพิงถึง การรับขันธ์หรือองค์เทพ ก็เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้ใช้วิจารณญาณในการแก้ไขตนเองให้ถูกต้อง ไม่ใช่ใช้เงินแก้ไข เพราะวิบากกรรมเป็นของมนุษย์ที่กระทำกันมา ครูบาอาจารย์องค์เทพก็ตาม ก็ไม่อาจฝืนกฏแห่งกรรมได้ แต่อาจชี้ทางแก้ไขได้ เพราะการเจ็บป่วยหรือปัญหาต่าง ๆ ที่รุมเร้ามนุษย์นั้น มีกรรมเป็นต้นเหตุที่สำคัญ การแก้ไขเรามาแก้กันที่ปลายเหตุมันก็ไม่จบ ต้องรู้จักต้นเหตุ เพราะเหตุเกิดที่ไหนก็ดับที่นั่น



คัดมาบางส่วนนะครับจาก
หลวงพ่อวัชระ ที่วัดถ้ำแฝด อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
http://watthamfad.igetweb.com/index.php?mo=59&action=page&id=153130

3
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / ตอบ: 15 มิ.ย.
« เมื่อ: 14 มิ.ย. 2553, 05:35:16 »
HBD.ครับขอให้มีความสุขและมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป

รวมทั้งมีความเหนียว สมกับชื่อ คjกระพัu_ชาตรี  
 
 
 

4


หุ่นจำลองใบหน้าของมนุษย์ โฮโม อีเรกตัส ที่พิพิธภัณฑ์โบราณคดี ในประเทศเยอรมนี (ภาพประกอบจาก wikipedia/Lillyundfreya)

สุวรรณภูมิเป็นดินแดนเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของโลกที่มีการค้นพบซากฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตในยุคดึกดำบรรพ์จำนวนมาก รวมทั้งฟอสซิลของ "มนุษย์โบราณ" อายุนับแสนปี

ฟอสซิลมนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์ที่พบในประเทศไทย และเก่าแก่ที่สุดคือ "มนุษย์ลำปาง" (Lampang Man) มีอายุประมาณ 5 แสนปี ซึ่งจัดอยู่ในสปีชีส์ โฮโม อีเรกตัส (Homo erectus) สำรวจพบโดยทีมนักวิจัยไทยเมื่อปี 2542 ที่บริเวณปากถ้ำหินปูนแห่งหนึ่ง ที่มีการระเบิดเหมืองหิน ในอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นฟอสซิลของมนุษย์ยุคเดียวกับที่พบก่อนหน้านั้นบนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย (Java Man) และในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน (Peking Man)

ซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่เป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญของวิวัฒนาการมนุษย์บนแผ่นดินไทยอีกชิ้นหนึ่ง คือ ฟันกรามของมนุษย์ ที่พบโดยทีมนักวิจัยไทยและฝรั่งเศส ที่ถ้ำวิมานนาคินทร์ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ วัดอายุได้ราว 1.8 แสนปี อยู่ในช่วงปลายของยุคไพลสโตซีนตอนกลาง โดยพบปะปนอยู่กับฟันของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ

อีกทั้งก่อนหน้านั้นยังมีการค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคปัจจุบันในสมัยไพลสโตซีนตอนปลาย อายุประมาณ 2.5 หมื่นปี ที่แหล่งโบราณคดีบ้านหมอเขียว อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เมื่อช่วงปี 2534-2538 โดยคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร (รัศมี ชูทรงเดช, 2544)

นอกจากฟอสซิลมนุษย์ยุคหินเก่าแล้ว ในประเทศไทยยังมีการค้นพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณและแหล่งโบราณคดีในยุคหินใหม่และยุคโลหะอีกหลายแห่งทั่วประเทศ โดยแห่งที่รู้จักมากที่สุดคือ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ซึ่งพบทั้งโครงกระดูกมนุษย์ เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องมือที่ทำจากหินและโลหะสำริดที่มีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ 1,800-5,000 ปี จึงสะท้อนให้เห็นถึงวิวัฒนาการทางอารยธรรมของมนุษย์ในดินแดนสุวรรณภูมิได้เป็นอย่างดี

 

ขอบคุณที่มา...Science - Manager Online

5
สวยงามครับผม...ไว้รอชมปีนี้ :016:

6
เหรียญหลวงพ่อสวยงามมากครับผม :016:

7
แม้คนขี้เมาก็อาจเป็นพระโสดาบันได้

ปัญหา
 เมื่อเจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์ พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นพระโสดาบัน พ้นจากอบายภูมิอย่างเด็ดขาด มีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า เจ้าศากยะเป็นจำนวนมากประชุมกันแล้วพูดตำหนิว่า เจ้าสรกานิศากยะประพฤติย่อหย่อนในศีลธรรมและชอบดื่มน้ำเมา ถ้าท่านเป็นพระโสดาบันได้ ใคร ๆ ก็เป็นโสดาบันกันทั้งบ้านทั้งเมือง ในเรื่องนี้พระพุทธองค์ทรงชี้แจงอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ
“ ดูก่อนมหาบพิตร อุบาสกผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนานจะไปสู่วินิบาตได้อย่างไร ? เมื่อจะพูดให้ถูก ควรพูดถึงเจ้าสรกานิศากยะว่า เจ้าสรกานิศากยะเป็นอุบาสกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะมาเป็นเวลานานแล้ว จะพึงไปสู่วินิบาตได้อย่างไร ?
“ ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า.... ในพระธรรม...ในพระสงฆ์ ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลมและไม่บรรลุถึงวิมุต แต่ว่าเขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ และเขามีศรัทธา มีความรักในพระตถาคตพอประมาณ แม้บุคคลผู้นี้ก็ไม่ไปสู่นรก....ทุคติวินิบาต
“ ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าต้นสาละใหญ่เหล่านี้พึงรู้ สุภาษิต และทุพภาสิต
อาตมภาพก็พึงพยากรณ์ต้นสาละใหญ่เหล่านี้ได้ว่า เป็นโสดาบัน จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า จะช่วยกล่าวไปไยถึงเข้าสรกานิศากยะ
“ดูก่อนท้าวมหานาม เจ้าสารกานิศากยะสมาทานสิกขาได้ในเวลาสิ้นพระชนม์แล”

สรกานิสูตร ที่ ๑ มหา. สํ. (๑๕๒๘-๑๕๓๖ )
ตบ. ๑๙ : ๔๗๐-๔๗๔ ตท. ๑๙ : ๔๒๖-๔๒๘
ตอ. K.S. ๕ : ๓๒๔-๓๒๖


8
ธรรมะ / รู้รสเหล้า : สมเด็จโต
« เมื่อ: 29 เม.ย. 2553, 07:07:55 »
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จมีคติประจำใจว่า เรื่องการสอนคนนั้นต้องเอาความจริงมาพูด สิ่งใดที่ทำไม่ได้สิ่งนั้นจะไม่พูด และสิ่งใดที่ยังไม่มีประสบการณ์ สิ่งนั้นก็จะไม่พูดเช่นกัน ภาวะไม่เหมือนกับอาจารย์สอนธรรมคนอื่น ๆ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตถึงกับลงทุนสร้างพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนองค์หนึ่ง หน้าตักกว้างสองศอก หันพระพักตร์เข้าข้างฝาผนัง ด้านตะวันออกองค์พระห่างจากฝาผนังราวหนึ่งศอก ซึ่งอยู่ในวิหารละแวกบ้านสาว ตรอกวัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม (ต่อมาทางราชการตัดถนนสามเสนทับวิหารนี้แล้ว) ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ สร้างเพราะมีเหตุผลทิ้งเป็นปริศนาธรรมให้แก่อรรถกถาจารย์ทั้งหลาย ที่ดีเพียงสอนคนอื่น แต่ตัวเองไม่เคยมอง พระสงฆ์ส่วนใหญ่ล้วนไม่บำเพ็ญในทางธรรมแต่กลับชอบพูดธรรมและอวดธรรม

เล่ากันว่า ครั้งหนึ่ง จมื่นพิทักษ์ฯ มานิมนต์ท่านเจ้าประคุณสมเด็จเข้าไปเทศน์ในวังหลวง แสดงธรรมกถาเรื่อง ความไม่ดีของสุรา เมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จรับนิมนต์ให้เทศน์เรื่องสุรายาเมาไม่ดี ท่านก็คิดว่า “ขรัวโตนี้บวชเป็นเณรตั้งแต่ ๗ ขวบ จนอายุ ๗๖ เข้ามานี้ไม่เคยรู้รสเหล้าเป็นอย่างไร เมาแล้วเป็นอย่างไร พรุ่งนี้ได้รับนิมนต์ให้ไปแสดงหน้าที่นั่งว่า สุราเป็นยาไม่ดีนั้น เราในฐานะลูกตถาคตต้องศึกษาให้ถ่องแท้ก่อน ไม่เช่นนั้นไปเทศน์สั่งสอนคนอื่นจะเป็นเรื่องมุสาไป” ท่านเจ้าประคุณสมเด็จจึงเรียกเด็กรับใช้ในกุฏิไปซื้อเหล้าที่ชาวบ้านทำมาหนึ่งขวด แล้วตีระฆังประกาศฉุกเฉินประชุมพระเณรฆราวาสมาพร้อมหน้าในโบสถ์วัดระฆังฯ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จชูเหล้าขึ้น พร้อมกับกล่าวว่า วันนี้ สมเด็จโตจะกินเหล้า ขอให้ท่านรับทราบไว้ด้วย เพื่อพิสูจน์ว่าเมาเป็นอย่างไร วันนี้สมเด็จของงดรับแขก แล้วท่านเจ้าประคุณสมเด็จก็เข้ากุฏิปิดประตู ดื่มเหล้าจนหมดขวด สติสัมปชัญญะต่าง ๆ ถูกฤทธิ์เหล้าบั่นทอนจนหลับไป

รุ่งเช้าเห็นจีวรอยู่ที่หนึ่ง ขรัวโตนุ่งชุดวันเกิดอยู่อีกที่หนึ่ง ก็เข้าใจว่า ความเป็นมาของสุราเมระยะมันเริ่มมาเป็นอย่างไรและแล้ววันรุ่งขึ้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จไปแสดงธรรมหน้าที่นั่ง ซึ่งรัชกาลที่ ๔ ทรงเป็นประธาน เสนาบดีอำมาตย์น้อยใหญ่ห้อมล้อมอยู่มาก บอกว่าวันนี้ก่อนที่อาตมภาพจะมาแสดงธรรมข้อสุราเมระยะนี้ เมื่อคืนนี้สมเด็จโตได้กินเหล้าเข้าไปแล้วหนึ่งขวด เพราะฉะนั้นพวกเจ้าจะมาโกหกขรัวโตไม่ได้ว่า กินเหล้าแล้วเมาอย่างไร ท่านเจ้าประคุณสมเด็จก็ได้แสดงให้ฟังอย่างถ่องแท้ถึงข้อเสียหายและโทษประการใดบ้าง

ทีนี้เถรสมาคมประชุมกันใหญ่ พระกินเหล้าอาบัติละ เพราะฉะนั้นให้ไปนิมนต์สมเด็จโตมาแถลงในเถรสมาคม ท่านเจ้าประคุณสมเด็จก็บอกว่า เจริญพรท่านผู้เจริญทั้งหลายที่เป็นทั้งสมเด็จราชาคณะ ที่เป็นทั้งสังฆมนตรีแห่งการปกครอง อาตมภาพนี้ไม่ผิดศีลเด็ดขาด เพระอาตมภาพถือหลักสัจธรรม เขานิมนต์อาตมภาพไปแสดงธรรมเรื่องสุรานี้เมาอย่างไร อาตมภาพยังไม่เคยกินสุรา ไม่รู้ว่ารสเมาเป็นอย่างไร แล้วจะไปสอนให้เขารู้ได้อย่างไร พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า เราจะสอนธรรมะ เราอย่ามุสา เพราะฉะนั้นอาตมภาพไม่กินสุรา อาตมภาพแสดงธรรมเรื่องสุรา อาตมภาพก็จะไม่พ้นศีลข้อมุสา สังฆมนตรีนั่งสั่นหัว นิมนต์สมเด็จโตกลับวัดได้



ขอบคุณ:เว็บพลังจิต.คอม

10
เจตสิก ๕๒


เจตสิกที่เป็นสาธารณ มี 13 ดวง


เจตสิกที่เป็น อกุศล มี 14 ดวง



เจตสิกที่เป็นกุศล มี 25 ดวง




  เจตสิกปรมัตถนี้ ตามพระอภิธัมมัตถสังคหะ ซึ่งพระอนุรุทธาจารย์ได้รจนาไว้นั้น ท่านจัดเป็นปริจเฉทที่ ๒ ให้ชื่อว่า เจตสิกสังคหวิภาค อันแปลว่าส่วนที่รวบรวมเรื่องเจตสิก

             เจตสิกสังคหวิภาคนี้ ท่านประพันธ์ไว้เป็นคาถาสังคหะรวม ๒๕ คาถา ดังจะแสดงตามลำดับต่อไปจนครบ
    ทั้ง ๒๕ คาถา

เจตสิกคืออะไร

             เจตสิกคือธรรมชาติสิ่งหนึ่ง ซึ่งประกอบกับจิต และปรุงแต่งจิตให้ประพฤติเป็นไปตามนั้น
             อาการที่ประกอบกับจิตนั้น เรียกว่า เจโตยุตฺตลกฺขณํ คือมีสภาพที่ประกอบกับจิต บริบูรณ์ด้วยลักษณะ ๔
     ประการคือ

                        เอกุปฺปาท                        เกิดพร้อมกับจิต
                       เอกนิโรธ                          ดับพร้อมกับจิต
                       เอกาลมฺพณ                       มีอารมณ์เดียวกับจิต
                        เอกวตฺถุก                         อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

             ดังมีคาถาสังคหะที่ ๑ แสดงว่า
             ๑. เอกุปฺปาทนิโรธา จ                         เอกาลมฺพณ วตฺถุกา
               เจโตยุตฺตา ทฺวิปญฺญาส                    ธมฺมา เจตสิกา มตา
                แปลความว่า สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์เดียวกับจิต และมีวัตถุที่อาศัยเกิดก็เป็นอัน เดียวกับจิต ธรรมชาตินั้นเรียกว่า เจตสิก มีจำนวน ๕๒ ดวง


             เจตสิกมี ลักษณะ ( คือคุณภาพหรือเครื่องแสดง ) , รสะ ( กิจการงาน หรือหน้าที่ ) , ปัจจุปัฏฐาน ( อาการ
    ปรากฏ หรือ ผล ) , ปทัฏฐาน ( เหตุใกล้ให้เกิด ) เป็น ๔ ประการ ซึ่งรวมเรียก ลักขณาทิจตุกะ นั้น ดังนี้

             จิตฺตนิสฺสิตลกฺขณํ                              อาศัยจิตเกิดขึ้น เป็นลักษณะ
             อวิโยคุปฺปาทนรสํ                              เกิดร่วมกับจิต เป็นกิจ
             เอกาลมฺพณปจฺจุปฏฺฐานํ                      รับอารมณ์อย่างเดียวกับจิต เป็นผล
             จิตฺตุปฺปาทปทฏฺฐานํ                           มีการเกิดขึ้นแห่งจิต เป็นเหตุใกล้

             อนึ่งเจตสิกนี้แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ปรุงแต่งจิต ให้จิตประพฤติเป็นไปตามลักษณะของเจตสิกก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าจิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน เพราะเจตสิกเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยจิตเกิด

เจตสิกทั้ง ๕๒ แบ่งเป็น ๓ ประเภท

             เจตสิกทั้งหมด มีจำนวน ๕๒ ดวง ซึ่งแต่ละดวงก็มีลักษณะแตกต่างกัน ไม่เหมือนกันเลย ถึงกระนั้นก็ยังแบ่งเจตสิก ๕๒ ดวงนี้ ได้เป็น ๓ ประเภท ดังมีคาถาสังคหะ แสดงว่า

             คาถาสังคหะที่ ๒ แสดงว่า
             ๒. เตรสญฺญสมานา จ                      จุทฺทสากุสลา ตถา
               โสภณา ปญฺจวีสาติ                      ทวิปญฺญาส ปวุจฺจเร ฯ
                 แปลความว่า เจตสิก ๕๒ ดวง จัดเป็น ๔ ประเภท คือ
                 อัญญสมานาเจตสิก               ๑๓ ดวง
                 อกุศลเจตสิก                      ๑๔ ดวง
                 โสภณเจตสิก                      ๑๕ ดวง


อัญญสมานาเจตสิก

             อัญญสมานาเจตสิก เป็นเจตสิกที่เสมอเหมือนกับสภาพอื่นได้ หมายความว่าเป็นเจตสิกที่ประกอบกับธรรมที่เป็นอกุศล หรือเป็นกุศล หรือเป็นอพยากตะได้ทุกชนิด เมื่อประกอบกับธรรมชนิดใด ก็มีสภาพเป็นชนิดนั้นไปด้วย กล่าวคือถ้าเกิดร่วมกับ อกุศลก็นับเป็นอกุศลไปด้วย ถ้าเกิดร่วมกับกุศล ก็จัดเป็นกุศลไปด้วย เมื่อเกิดร่วมกับอพยากตะ ก็เรียกว่าเป็นอพยากตะไปด้วย
             อัญญสมานาเจตสิก มีจำนวน ๑๓ ดวง ชื่ออะไรบ้าง มีแจ้งอยู่ที่หน้าต้นนั้นแล้ว ในจำนวน ๑๓ ดวงนี้ ยังจัด
    ออกได้เป็น ๒ พวก คือ
             สัพพจิตตสาธารณเจตสิก        มีจำนวน ๗ ดวง
             ปกิณณกเจตสิก                  มีจำนวน ๖ ดวง

สัพพจิตตสาธารณเจตสิก

             สัพพจิตสาธารณเจตสิก เป็นเจตสิกที่สาธารณะแก่จิตทั้งหมดหมายความว่า จิตทั้งหมดซึ่งมีจำนวน
    นับอย่างย่อ ๘๙ ดวง หรือนับอย่างพิศดารก็มี ๑๒๑ ดวงนั้น เมื่อจิตดวงใดเกิดขึ้น เจตสิกทั้ง ๗ ดวงนี้
    ย่อมเกิดประกอบกับจิตนั้นพร้อมกันทั้ง ๗ ดวงเสมอไป ไม่มีเว้นเลย ดังนั้นจึงว่าเป็นเจตสิกที่สาธารณะแก่
    จิตทั้งหมด สมกับชื่อที่ว่า สัพพจิตตสาธารณเจตสิก         

    สัพพจิตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง มีดังนี้


ผัสสเจตสิก

             ๑. ผัสสเจตสิก คือ การกระทบอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

             ผุสนลกฺขโณ                          มีการกระทบอารมณ์ เป็นลักษณะ
             สงฺฆฏฏฺนรโส                        มีการประสานอารมณ์ วัตถุ วิญญาณ เป็นกิจ
             สนฺนิปาตปจฺจุปฏฺฐาโน               มีการประชุมพร้อมกัน เป็นผล
             อาปาถคตวิสยปทฏฺฐาโน             มีอารมณ์ปรากฏ เป็นเหตุใกล้

             ความหมายของผัสสเจตสิกนี้ ไม่ได้หมายเพียงแต่ว่า ของสองสิ่งกระทบกันเท่านั้น แต่หมายถึงว่าต้องมี
    ธรรม ๓ ประการมาประชุมร่วมพร้อมกัน จึงจะเรียกว่าผัสสเจตสิก ธรรม ๓ ประการนั้น คือ อารมณ์ ๑
     วัตถุ ๑ ธรรม ๒ ประการนี้กระทบ กัน และทำให้เกิดวิญญาณอีก ๑ ด้วย ไม่ใช่แต่เพียงว่ากระทบกันเฉยๆ

เวทนาเจตสิก

             ๒. เวทนาเจตสิก คือการเสวยอารมณ์ กล่าวอย่างธรรมดาสามัญก็คือ ความรู้สึก รู้สึกว่าสบายหรือไม่สบาย แยกตาม ประเภทแห่งความเป็นใหญ่ในการรู้สึก เป็น ๕ อย่าง ได้แก่


             ก. สุขเวทนาเจตสิก คือความสุขสบายทางกาย มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
             อิฏฺฐโผฏฺฐพฺพานุภวนลกฺขขณา          มีการสัมผัสถูกต้องกับอารมณ์ที่ดีเป็นลักษณะ


           สมฺปยุตตฺตานํ พยูหนรสา                มีการทำให้สัมปยุตตธรรมเจริญ เป็นกิจ
             กายิกอสฺสาทปจฺจุปฏฺฐานา               มีความชื่นชมยินดีทางกาย เป็นผล
             กายินฺทฺริยปทฏฺฐานา                     มีกายประสาท เป็นเหตุใกล้

             ข. ทุกขเวทนาเจตสิก คือความทุกข์ยากลำบากกาย มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
             อนิฏฺฐโผฏฺฐพฺพานุภวนลกฺขณา           มีการสัมผัสถูกต้องกับอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นลักษณะ
             สมฺปยุตฺตานํ มิลาปนรสา                 มีการทำให้สัมปยุตตธรรมเศร้าหมอง เป็นกิจ
             กายิกาพาธปจฺจุปฏฺฐานา                  มีความอาพาธทางกาย เป็นผล
             กายินฺทริยปทฏฺฐานา                      มีกายประสาท เป็นเหตุใกล้

             ค. โสมนัสเวทนาเจตสิก คือความสุขความสบายใจ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
             อิฏฺฐารมฺมณานุภวนลกฺขณา              มีการเสวยอารมณ์ที่ดี เป็นลักษณะ
             อิฏฺฐาการสมฺโภครสา                      มีการทำจิตให้อยู่ร่วมกับอารมณ์ที่ดี เป็นกิจ
             เจตสิกอสฺสาทปฏฺจุปจฺฐานา               มีความชื่นชมยินดีทางใจ เป็นผล
             ปสฺสทฺธิปทฏฺฐานา                          มีความสงบกายสงบใจ เป็นเหตุใกล้

             ง. โทมนัสเวทนาเจตสิก คือความทุกข์ใจ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
             อนิฏฺฐารมฺมณานุภวนลกฺขณา              มีการเสวยอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นลักษณะ

เจตสิก 52 (ธรรมที่ประกอบกับจิต, สภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกันกับจิต, อาการและคุณสมบัติต่างๆ ของจิต - mental factors; mental concomitants)
       ก. อัญญาสมานาเจตสิก 13 (เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้กับจิตทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล มิใช่เข้าได้แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพวกเดียว - the Common-to-Each-Other; general mental factors)
           1) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก 7 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง - universal mental factors; the Primary)
               1. ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์ - contact; sense-impression)
               2. เวทนา (ความเสวยอารมณ์ - feeling)
               3. สัญญา (ความหมายรู้อารมณ์ - perception)
               4. เจตนา (ความจงใจต่ออารมณ์ - volition)
               5. เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว - one-pointedness; concentration)
               6. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการรักษานามธรรมทั้งปวง - vitality; life-faculty)
               7. มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ - attention)

          2) ปกิณณกเจตสิก 6 (เจตสิกที่เรี่ยรายแพร่กระจายทั่วไป คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศล และอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง - particular mental factors; the Secondary)
               8. วิตก (ความตรึกอารมณ์ - initial application; thought conception; applied thought)
               9. วิจาร (ความตรองหรือพิจารณาอารมณ์ - sustained application; discursive thinking; sustained thought)
               10. อธิโมกข์ (ความปลงใจหรือปักใจในอารมณ์ - determination; resolution)
               11. วิริยะ (ความเพียร - effort; energy)
               12. ปีติ (ความปลาบปลื้มในอารมณ์, อิ่มใจ - joy; interest)
               13. ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์ - conation; zeal)

      ข. อกุศลเจตสิก 14 (เจตสิกฝ่ายอกุศล - immoral or unwholesome mental factors; unprofitable mental factors)
          1) สัพพากุสลสาธารณเจตสิก 4 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับอกุศลจิตทุกดวง - universal immorals; the Primary)
               14. โมหะ (ความหลง - delusion)
               15. อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อบาป - shamelessness; lack of moral shame)
               16. อโนตตัปปะ (ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป - fearlessness; lack of moral dread)
               17. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน - restlessness; unrest)

           2) ปกิณณกอกุศลเจตสิก 10 (อกุศลเจตสิกที่เกิดเรี่ยรายแก่อกุศลจิต - particular immorals; the Secondary)
               18. โลภะ (ความอยากได้อารมณ์ - greed)
               19. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด - wrong view)
               20. มานะ (ความถือตัว - conceit)
               21. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย - hatred)
               22. อิสสา (ความริษยา - envy; jealousy)
               23. มัจฉริยะ (ความตระหนี่ - stinginess; meanness)
               24. กุกกุจจะ (ความเดือดร้อนใจ - worry; remorse)
               25. ถีนะ (ความหดหู่ - sloth)
               26. มิทธะ (ความง่วงเหงา - torpor)
               27. วิจิกิจฉา (ความคลางแคลงสงสัย - doubt; uncertainty; scepsis)

       ค. โสภณเจตสิก 25 (เจตสิกฝ่ายดีงาม - beautiful mental factors; lofty mental factors)
           1) โสภณสาธารณเจตสิก 19 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตดีงามทุกดวง - universal beautiful mental factors; the Primary)
               28. สัทธา (ความเชื่อ - confidence; faith)
               29. สติ (ความระลึกได้, ความสำนึกพร้อมอยู่ - mindfulness)
               30. หิริ (ความละอายต่อบาป - moral shame; conscience)
               31. โอตตัปปะ (ความสะดุ้งกลัวต่อบาป - moral dread)
               32. อโลภะ (ความไม่อยากได้อารมณ์ - non-greed)
               33. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย - non-hatred)
               34. ตัตรมัชฌัตตตา (ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ - equanimity; specific neutrality)
               35. กายปัสสัทธิ (ความสงบแห่งกองเจตสิก - tranquillity of mental body)
               36. จิตตปัสสัทธิ (ความสงบแห่งจิต - tranquillity of mind)
               37. กายลหุตา (ความเบาแห่งกองเจตสิก - lightness of mental body; agility of ~)
               38. จิตตลหุตา (ความเบาแห่งจิต - lightness of mind; agility of ~)
               39. กายมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก - pliancy of mental body; elasticity of ~)
               40. จิตตมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งจิต - pliancy of mind; elasticity of ~)
               41. กายกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งกองเจตสิก - adaptability of mind; wieldiness of ~)
               42. จิตตกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งจิต - adaptability of mind; wieldiness of ~)
               43. กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก - proficiency of mental body)
               44. จิตตปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งจิต - proficiency of mind)
               45. กายุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก - rectitude of mental body; uprightness of ~)
               46. จิตตุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งจิต - rectitude of mind; uprightness of ~)

          2) วิรตีเจตสิก 3 (เจตสิกที่เป็นตัวความงดเว้น - abstinences)
               47. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ - right speech)
               48. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ - right action)
               49. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ - right livelihood)

          3) อัปปมัญญาเจตสิก 2 (เจตสิกคืออัปปมัญญา - boundless states)
               50. กรุณา (ความสงสารสัตว์ผู้ถึงทุกข์ - compassion)
               51. มุทิตา (ความยินดีต่อสัตว์ผู้ได้สุข - sympathetic joy)

          4) ปัญญินทรีย์เจตสิก 1 (เจตสิกคือปัญญินทรีย์ - faculty of wisdom)
               52. ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ (ความรู้เข้าใจ ไม่หลง - undeludedness; wisdom)



ขอบคุณ:พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)



11
ผมตามหารอยสักยัต์ภาค 1 ได้ที่ไหนครับหาไม่เจอ อยากรู้ครับ ขอบคุณล่างหน้าครับ



อยู่ในหมวดชมรูป ชมภาพ ชมวีดีโอ หน้า 5 หรือตามลิงค์นี้เลยครับ
http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,15024.html

12
กราบขออนุโมทนาบุญ  ด้วยครับที่แนะนำ

น่าไปเที่ยวครับผม

13
น่าจะสักยันต์จระเข้  จะได้อึด...และคงทนเรี่ยวแรงจะได้เยอะ(เวลาของขึ้น)

14
ขอบคุณครับสำหรับภาพ...บรรยากาศน่าไปเที่ยวดีครับ

15
สวยงามจริงๆครับผม

16
อ่านแล้วคิดถึงหลวงปู่ครับ ใกล้ถึงวันแล้วครับ ขอบคุณครับ

17
ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ

18


ขอให้มีความสุขทุกๆท่านนะครับผม

19

เมื่อถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกๆ ปี จะมีหนุ่มสาวหรือคนบางกลุ่มนิยมส่งดอกกุหลาบสีแดง หรือบัตรรูปหัวใจให้แก่กันและกันซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเจตนารมณ ์ของความรักความเข้าใจต่อกัน วันวาเลนไทน์ ธรรมเนียมฝรั่งเขาส่งบัตรหรือของขวัญเล็กๆน้อยๆ ไปให้แก่คนที่เขารักโดยไม่บอกชื่อผู้ส่ง ซึ่งจะมาจากใครก็ได้
                    ตามประวัติกล่าวว่า วันนี้เป็นวันมรณภาพของนักบุญในศาสนาคริสต์ท่านหนึ่งชื่อว่า เซนต์วาเลนไทน์ ท่านผู้นี้ถูกพวกโรมันจับลงโทษถึงแก่ความตาย ในสมัยพระเจ้าจักรพรรดิคลอดิอุสที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช 269 ปี เนื่องจากท่านเป็นชาวโรมัน แต่ไปนับถือศาสนาคริสต์ และได้เข้าบวชอยู่ในศาสนานั้น ชื่อว่า วาเลนตินุส (VALENTINUS) ในสมัยนั้น ประชาชนชาวโรมันนับถือศาสนาของชาวโรมันอีกศาสนาหนึ่ง ซึ่งมีพระผู้เป็นเจ้าและเทวดาหลายองค์

 มีโบสถ์วิหารสำหรับพิธีบูชามีสมณะและนางชีเช่นเดียวกับศาสนาคริสต์ในสมัยนี้ ในระยะเริ่มแรกที่ศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ในกรุงโรม ทางรัฐบาลกรุงโรมเห็นว่าเป็นลัทธิที่อันตราย ต่อสังคมชาวโรมันเป็นอย่างยิ่ง ผู้ใดนับถือศาสนาคริสต์ก็จะถูกจับตัวไปลงโทษอย่างรุนแรงต่อสาธารณชน เช่น ให้สัตว์ป่ากัดตาย ตรึงไม้กางเขนให้ตายบ้าง หรือเผาทั้งเป็น เป็นต้น พวกที่นับถือศาสนาคริสต์ต้องคอยหลบซ่อนตัวไม่บอกให้ใครรู้ว่าตนเป็นคริสต์ศาสนิกชน และเมื่อถึงเวลาทำพิธีกรรมทางศาสนาของตน จะต้องแอบหนีลงไปทำพิธีในอุโมงค์ที่ใช้บรรจุศพ นอกกรุงโรม นักบุญวาเลนไทน์เป็นผู้กล้าหาญและคอยช่วยเหลือคนที่นับถือศาสนาคริสต์อยู่เสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ถูกทางราชการของกรุงโรมจับไปขังคุกหรือเอาไปทรมาน ในที่สุดท่านเองก็ถูกทางราชการของกรุงโรมจับตัวได้และเอาไปขังคุกไว้

                       เมื่อนักบุญวาเลนไทน์อยู่ในคุก มีผู้คุมชื่อ อัสเตริอุส (ASTERIUS) เป็นผู้มีจิตใจเมตตาและคอยให้ความช่วยเหลือมิให้เดือดร้อน ผู้คุมมีลูกสาวอยู่คนหนึ่งตาบอดทั้ง 2 ข้าง ระหว่างที่นักบุญวาเลนไทน์ติดคุกอยู่นั้น ลูกสาวผู้คุมก็นำอาหารให้และช่วยติดต่อกับคนนอกคุก ที่นับถือศาสนาศริสต์ให้แก่นักบุญวาเลนไทน์ ขณะที่อยู่ในคุก นักบุญวาเลนไทน์ได้แสดงอภินิหาร ด้วยการทำให้ตาทั้งสองข้างของลูกสาวผู้คุมหายบอด กลับมาเป็นคนตาดี และได้อบรมเกลี้ยกล่อมผู้คุมทั้งลูกสาวให้นับถือศาสนาคริสต์ด้วย หลังจากนักบุญวาเลนไทน์ติดคุกมาเป็นเวลา 1 ปีพระเจ้าจักรพรรดิคลอดิอุสที่ 2 ก็มีคำสั่งให้นักบุญเข้าเฝ้า

 เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรเห็นนักบุญก็รู้สึกต้องพระทัยในกริยามารยาท ความสำรวมและความมีสง่าราศีของนักบุญ จึงตรัสเกลี้ยกล่อมให้นักบุญเลิกนับถือศาสนาคริตส์เสีย แล้วกลับมานับถือศาสนาของชาวโรมันต่อไปตามเดิม พระองค์จะพระราชทานอภัยโทษให้ แต่นักบุญวาเลนไทน์ก็ปฏิเสธ ไม่ยอมเลิกนับถือศาสนาคริสต์ มิหนำซ้ำกับเริ่มสั่งสอนอบรมพระเจ้าจักรพรรดิให้ทรงเห็นดีเห็นชอบ และทรงนับถือศาสนาคริสต์ พระเจ้าจักรพรรดิกริ้วมาก จึงมีรับสั่งให้นำตัวนักบุญวาเลนไทน์ไปตีด้วยไม้กระบอง แล้วเอาก้อนหินทุ่มจนถึงแก่ความตาย

          ผู้ที่ตายเพื่อศาสนาและได้เกลี้ยกล่อมให้คนอื่นหันมายอมรับนับถือศาสนา เป็นผ้ที่ควรได้รับการยกย่อง และยังสามารถทำปาฏิหารย์รักษาให้คนตาบอดเป็นคนตาดีได้รับการยกย่องให้เป็นนักบุญหรือเซนต์ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ศริสต์ศาสนิกชนถือว่า เป็นวันของเซนต์วาเลนไทน์ เพราะว่าเป็นวันที่ท่านถึงแก่มรณภาพ ในสมัยโรมันเมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันตรุษที่เรียกว่า ลูเปอร์คาเลีย(lupercalia) มีความสำคัญมากในทางเพศ ผู้ชายจะวิ่งแก้ผ้าหาคู่เพื่อฉลองตรุษโดยจับฉลากชื่อหญิงสาวแล้วเกี้ยวพาราสีจนได้เป็นภรรยา

                    ส่วนประเทศอังกฤษไม่ได้มาจากนักบุญ แต่บังเอิญมาตรงกันพอดี คือวันที่ 14 กุมภาพันธ์เป็นวันเริ่มต้นปักษ์ที่ 2 แห่งเดือนที่สองของปี คนยุโรปจึงจับคู่กัน เอาเป็นวันส่งบัตรหรือของขวัญให้คนรักให้คนรัก นิยมในกลุ่มหนุ่มสาว
           


( จาก ข้าวไกลนา ของม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช  ภาพจาก www.epilepsyfoundation.org )

20
สวยงามครับ เลี่ยมแบบ3ห่วงเสียด้วยครับ
เข้ามาชมครับ รอท่านผู้รู้สายตรงเข้ามาตอบดีกว่าครับ

21
สวยงามมากครับผม
สุดยอดจริงๆเลยครับ

22

นินทานั้นไม่มีโทษ...แก่ผู้ถูกนินทาเลย

ผู้ถูกนินทาพึงมีเหตุผล

คำนินทาใดๆ ไม่อาจทำคนดีให้เป็นคนไม่ดีไปได้ คนจะดีก็เพราะกรรม คนจะเลวก็เพราะกรรม หาใช่จะดีเพราะสรรเสริญ หรือจะเลวเพราะนินทาก็หาไม่

ควรถือความจริงนี้เป็นสำคัญ และอย่าทำหรือไม่ทำอะไรเพราะกลัวนินทาหรือเพราะปรารถนาสรรเสริญ อย่าทำอะไรก็ตามทุกอย่างที่แม้เพียงสงสัยว่าเป็นกรรมไม่ดี แต่จงทำอะไรก็ตามทุกอย่างที่พิจารณาแล้วตระหนักแน่ชัดว่าเป็นกรรมดีเท่ากัน แม้ว่าการทำกรรมดีจะมีผู้นินทา

นินทานั้นไม่มีโทษแก่ผู้ถูกนินทาเลย ถ้าผู้ถูกนินทาไม่รับ คือไม่ตอบ เช่นเดียวกับผู้ถูกด่าไม่ด่าตอบ ผู้ถูกขู่ไม่ขู่ตอบ ผู้ถูกชวนวิวาทไม่วิวาทตอบ แต่คำนินทาว่าร้ายทั้งจะตกเป็นของผู้นินทาทั้งหมด ผู้นินทาคือผู้ทำกรรม ซึ่งเป็นกรรมไม่ดี ไม่ว่าผู้ถูกนินทาจะรับหรือไม่รับก็ตาม ผู้นินทาย่อมได้รับผลไม่ดีแห่งกรรมไม่ดีของเขาอย่างแน่นอน

ดังนั้นแม้เมื่อถูกนินทาแล้ว ก็ให้คิดว่าผู้นินทาเราได้รับการตอบแทนแล้ว คือได้รับผลของกรรมไม่ดี ซึ่งจะส่งผลให้ปรากฏช้าหรือเร็วเท่านั้น ผลของกรรมไม่ดีนั้นแหละได้ตอบแทนเขาผู้นินทาแล้ว เราไม่มีความจำเป็นต้องตอบแทนแต่อย่างใด

ความเชื่อในเรื่องกรรมและผลของกรรมมีคุณอย่างที่สุด ผู้ใดทำกรรมไว้จักได้รับผลของกรรมนั้น ความเชื่อเช่นนี้จักทำให้ไม่คิดร้ายตอบผู้คิดร้าย เป็นการระงับเวรภัยไม่ให้เกิดแก่ตน เป็นการป้องกันตนมิให้ทำกรรมไม่ดี ทั้งทางกายวาจาและใจ โดยมุ่งให้เป็นการแก้แค้นตอบแทน ผลจักเป็นความสงบสุขแก่ตนและแก่ผู้อื่นด้วย


ขอบคุณที่มา : การบริหารจิตสำหรับผู้ใหญ่ : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

23
ขอบคุณครับ ที่นำเสนอ
ไว้ว่าง...แล้วจะไปร่วมงานครับ

24
ขอบคุณ ท่านกระเบนท้องน้ำและท่านเณรน้อยเส้าหลินที่นำเสนอบทความดีๆ
ขออนุโมทนา สาธุ

25
ขอบคุณมากมายครับ ที่นำยันต์ต่างๆมาให้ชม
เพื่อประดับความรู้และศึกษา

26
ขอบคุณครับ ที่นำมาให้ชม
สวยงามมากมายเลยครับผม

27
สวยงามและยิ่งใหญ่จริงๆครับ
ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม :016:

29
สวยงามมากครับผม ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม

30
ขอบคุณครับ ที่นำมาให้ชม สวยงามมากครับ

31
ขอบคุณครับ ที่นำภาพดีๆแบบนี้มาให้ชม

หน้า: [1]