แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - ขุนส่อง

หน้า: [1]
1
สวัสดีครับชาวบางพระทุกท่าน หลังจากหายไปร่วม 2 ปี
วันนี้มีโอกาสได้เข้ามาเยี่ยมเยือนทุกท่านอีกครั้ง
ด้วยเหตุผลเรื่องภาระหน้าที่การทำงาน
ต้องย้ายจาก ลำพูน มาอยู่เกาะเต่า สุราษฎร์ธานี
เลยไม่ได้มีเวลามาทักท้ายทุกท่านเลย
วันนี้เลยลงรูปหลังของผมให้ทุกท่านได้ชม ล่าสุดครับ เมื่อสงกรานต์ที่ผ่านมา

     

2
พอดีผมได้คุยกับรุ่นน้องคนหนึ่งอายุประมาน 25-26 เขามีรอยสักยันต์ 9 ยอดผมถามเขาว่าสักจากที่ไหน
เขาบอกว่าวัดบางพระกับหลวงพ่อเปิ่น ประมาณปี45 พอดีตอนนั้นเขาบวชเณร แล้วไปวัดบางพระครับ หลวงพ่อเปิ่นกวักมือเรียกเข้าไปหาเลยครับ ผมเลยสงสัยว่าหลวงพ่อเปิ่นท่านมรณะตอนปี 45 เหมือนกัน และที่สำคัญผมเคยอ่านประวัติของท่าน
หลวงพ่อเปิ่นท่านไม่ได้สักให้ใครนานแล้วไม่ใช่หรือครับ แล้วน้องคนนี้เขาบอกว่าสักกับหลวงพ่อได้อย่างไร
ถ้าเป็นพระอาจารย์ที่วัดบางพระก็ว่าไปอย่าง แต่ผมก็ไม่ได้ทักท้วงเขานะครับ เพียงแค่เฉยๆ เท่านั้นครับ


ปล.ช่วยไขข้อข้องใจด้วยนะครับ

 :054:  :054:  :054:  :054:  :054:  :054:  :054:

3
ผมมีคำถามอยากจะถามครับ คนที่จะเข้าทำงานราชการนั้นถ้ามีรอยสักหมึกแล้วเขาจะรับไหมครับ
มีข้อห้ามหรือกฎหมายบังคับไว้หรือเปล่าครับ จะได้ตัดสินใจถูกว่าจะสอบหรือไม่กลัวเสียเวลานะครับ

พอดีอยากเปลี่ยนงานมาสอบบรรจุเป็นข้าราชการประจำนะครับ รบกวนถามข้อมูลผู้รู้ด้วยครับ
อาจจะซ้ำกับกระทู้ก่อนหน้านี้นะครับแต่คนละสถานะกันผมยังไม่ได้สอบบรรจุเป็นข้าราชการครับ


 :054:  :054:  :054:  :054:  :054:  :054:  :054:

4
ผมคือหมาของนายครับ

ผมคือหมาของนายครับ
ผมมีอะไรอยากกระซิบให้นายฟังสักหน่อย
คือผมรู้ครับว่านายเป็นมนุษย์ที่มีชิวิตยุ่งเหยิง
ต้องทำงาน ต้องเลี้ยงดูลูกหลาน
ชีวิตของมนุษย์เต็มไปด้วยการวิ่งจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง
บ่อยครั้งที่พวกเขาวิ่งเร็วเกินไป
บ่อยครั้งที่วิ่งเร็วเกินไปจนไม่ตระหนักว่าอะไรคือสาระสำคัญของชีวิต

นายมองลงมาที่ผมสิครับ
ระหว่างที่นายนั่งอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์
นายเห็นตาสีน้ำตาลของผมที่กำลังจ้องนายอยู่ไหม?
นายเห็นไหมว่าตาของผมเริ่มฝ้าฟางแล้ว
มันเกิดจากอายุที่มากขึ้นครับ
ขนสีเทาเริ่มปกคลุมรอบปากและจมูกของผม

นั่น นายยิ้มให้ผมแล้ว
ผมเห็นสายตาแห่งความรักที่นายมองผม
นายเห็นอะไรในตาของผมบ้างไหมครับ?
นายเห็นความในใจของผมไหม?
นายเห็นหัวใจที่รักนาย รักมากว่าที่ใครในโลกนี้จะรักได้ไหม?
หัวใจที่พร้อมจะมองข้ามความผิดเล็กน้อยทุกอย่างที่นายกระทำ

ผมขอเพียงอย่างเดียว
ขอให้นายใช้เวลาสักเล็กน้อยมาอยู่กับผม

ผมรู้ว่าหลายครั้งที่นายโศกเศร้าเมื่อได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับเพื่อนๆ ผมที่จากไป
นายครับ บางครั้งพวกเราก็ตายเร็วเกินไป กระทันหันจนนายรับการจากไปไม่ได้

บางทีพวกเราก็ค่อยๆ แก่ลงตรงหน้านาย
กว่านายจะรู้สึกตัว เวลาของพวกเราก็มาถึงเสียแล้ว
แต่เมื่อพวกเรามองนายผ่านสายตาฝ้าฟางที่ปกคลุมด้วยน้ำตา
พวกเรารู้ว่ามีความรักอยู่ที่นั่นเสมอ
แม้ว่าเราจะต้องเข้าสู่นิทราอันยาวนาน เดินทางไปสู่ที่แสนไกล

ผมอาจจะไม่ได้อยู่ที่นี่ในวันพรุ่งนี้
ผมอาจจะไม่ได้อยู่ที่นี่ในอาทิตย์หน้า
วันนั้นนายคงจะเช็ดน้ำตา เช่นมนุษย์ทั่วไปกระทำเมื่อทุกข์ทรมานจากความเสียใจ
นายอาจจะโกรธตัวเองที่ไม่สามารถให้เวลากับผมเพิ่มได้อีกสักวัน
เพราะว่าผมรักนาย..วิญญานผมจึงรับรู้ถึงความเศร้าของนายและทุกข์มรมานไปกับมันเช่นกัน

แต่ตอนนี้เรายังอยู่ด้วยกัน
นายมานั่งข้างๆ ผมบนพื้นนี่เถอะครับ
แล้วมองลึกลงไปในตาของผม
นายเห็นอะไรครับ?

ถ้านายตั้งใจมองให้ลึกพอ?
นายกับผมจะได้คุยกัน
คุยกันด้วยหัวใจ
ไม่ใช่ในฐานะผู้เหนือกว่า ไม่ใช่ในฐานะผู้ฝึกสอน หรือไม่ใช่ในฐานะพ่อแม่
แต่ในฐานะวิญญานที่เปี่ยมด้วยชีวิต
มองตากันและกันและสื่อสารกัน
บางทีผมจะเล่าเรื่องคสวามสนุกในการวิ่งไล่ลูกเทนนิสให้นายฟัง
บางทีผมอาจจะเล่าเรื่องลึกลับเกี่ยวกับตัวผม
แต่บางทีก็อาจจะเป็นเรื่องชิวิตธรรมดาทั่วไปก็ได้

นายตัดสินใจที่จะให้ผมอยู่เคียงข้าง
ก็เพราะว่านายต้องการแบ่งปันความรู้สึกกับใครสักคนที่แตกต่างจากนายไม่ใช่หรือ
ผมอยู่นี่แล้วครับ
ผมเป็นหมาตัวหนึ่ง
แต่ผมมีชีวิต มีอารมณ์ มีความรู้สึก
และผมสามารถสนองความต้องการของนายได้
ผมไม่ได้มองนายเป็น ?หมาที่ยืนสองขา? หรอกครับ
ผมรู้ว่านายเป็นมนุษย์ แต่ผมก็ยังรักนายอยู่ดี

มานั่งกับผมบนพื้นนี่เถอะครับ
มาสู่โลกของผม
ปล่อยให้เวลาในชีวิตของนายช้าลงสัก 15 นาที
มองลึกลงไปในตาผม กระซิบข้างหูผม
พูดกับผมด้วยหัวใจของนาย ด้วยความสุข
เพื่อผมจะได้รับรู้ตัวตนที่แท้จริงของนายบ้าง?

บางทีพรุ่งนี้เราอาจจะไม่ได้อยู่ด้วยกันอีก
แต่วันนี้เรายังมีกันและกัน
ชีวิตนี้มันสั้นนัก?.
มานั่งข้างผมเดี๋ยวนี้นะครับนาย และแบ่งปันเวลาที่มีค่านี้ร่วมกัน


รักนาย ในนามของหมาทุกพันธ์
หมาของนายครับ

จาก..www.mylovegolden.com

5
บทความ บทกวี / สิ่งดีๆอยากให้จดจำ
« เมื่อ: 13 มิ.ย. 2552, 05:41:58 »
สิ่งดีๆอยากให้จดจำ

ทุกวันนี้เรามีตึกสูงขึ้น มีถนนกว้างขึ้น แต่ความอดกลั้นน้อยลง

เรามีบ้านใหญ่ขึ้น แต่ครอบครัวของเรากลับเล็กลง

เรามียาใหม่ ๆ มากขึ้น แต่สุขภาพกลับแย่ลง

เรามีความรักน้อยลง แต่มีความเกลียดมากขึ้น

เราไปถึงโลกพระจันทร์มาแล้ว แต่เรากลับพบว่า

แค่การข้ามถนนไปทักทายเพื่อนบ้านกลับยากเย็น.....

เราพิชิตห้วงอวกาศมาแล้ว แต่แค่ห้วงในหัวใจกลับไม่อาจสัมผัสถึง

เรามีรายได้สูงขึ้น แต่ศีลธรรมกลับตกต่ำลง

เรามีอาหารดี ๆ มากขึ้นแต่สุขภาพแย่ลง

ทุกวันนี้ทุกบ้านมีคนหารายได้ได้ถึง 2 แต่การหย่าร้างกลับเพิ่มมากขึ้น

บ้านสวย ๆ กลายเป็นบ้านแตกสาแหรกขาด

ดังนั้น??จากนี้ไป??ขอให้พวกเรา อย่าเก็บของดี ๆ ไว้โดยอ้างว่าเพื่อโอกาสพิเศษ

เพราะทุกวันที่เรายังมีชีวิตอยู่คือ ??.โอกาสที่พิเศษสุด??แล้ว

จงแสวงหา การหยั่งรู้ จงนั่งตรงระเบียงบ้านเพื่อชื่นชมกับการมีชีวิตอยู่

โดยไม่ใส่ใจกับความ?..อยาก?

จงใช้เวลากับครอบครัว เพื่อนฝูงคนที่รักให้มากขึ้น??.กินอาหารให้อร่อย

ทำในสิ่งที่อยากทำใฝ่ฝัน...ที่เรารัก...

ไปเที่ยวในที่ที่อยากจะไป

ชีวิตคือโซ่ห่วงของนาทีแห่งความสุขไม่ใช่เพียงแค่การอยู่ให้รอด

เอาแก้วเจียระไนที่มีอยู่มาใช้เสีย น้ำหอมดี ๆ ที่ชอบ

จงหยิบมาใช้เมื่ออยากจะใช้

เอาคำพูดที่ว่า??.สักวันหนึ่ง??..ออกไปเสียจากพจนานุกรม

บอกคนที่เรารักทุกคนว่าเรารักพวกเขาเหล่านั้นแค่ไหน

อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง ที่จะทำอะไรก็ตาม ที่ทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้น

ทุกวัน ทุกชั่วโมง ทุกนาที มีความหมาย

เราไม่รู้เลยว่าเมื่อไรมันจะสิ้นสุดลง?

และเวลานี้?..ถ้าคุณคิดว่าคุณไม่มีเวลาให้คนที่คุณรัก

??แล้วคิดว่า?.สักวันหนึ่ง?..ค่อยทำ

จงอย่าลืมคิดว่า?.สักวันหนึ่ง?..วันนั้น

คุณอาจไม่มีโอกาสมานั่งตรงนี้เพื่อทำอย่างที่คุณต้องการอีกก็ได้

จาก..www.mylovegolden.com

6
สอบถามเรื่องการเก็บกระดูกแม่ติดตัวได้ไหมครับ
        คือว่าแม่ผมเพิ่งจะเสียชีวิตไปเมื่อปลายเดือนที่แล้ว
ด้วยความที่เสียใจและอาลัย ต่อการจากไปของท่าน
ผมจึงอยากจะถามว่าจะเก็บกระดูกแม่สักชิ้นหนึ่งเอาใส่กรอบ
และพกติดตัวจะได้ไหมครับ พอดีตอนเก็บกระดูกท่านหลังจากเผาเสร็จ
ไว้ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่วัดรอทำบุญร้อยวันครับ
        ท่านที่ยังมีแม่อยู่ก็รักแม่ให้มากๆ ดูแลท่านให้ดีอย่าทำให้แม่ต้องเสียน้ำตา
เพราะมันจะเป็นบาปติดตัวเราไปตลอด จนวันหนึ่งแม่จากไปไม่มีวันกลับเราจะคิดเสียใจไปตลอดชีวิต
ที่ยังไม่ได้ดูแลแม่ทดแทนพระคุณแม่ เหมือนผมตอนนี้ครับ


 :090:  :090:  :090:  :090:  :090:  :090:

7

หลวงปู่ครูบาดวงดี สุภทโท ถือกำเนิดที่บ้านท่าจำปี ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นคนพื้นเพบ้านท่าจำปีมาแต่กำเนิด บิดามารดา เป็นชาวไร่ชาวนา โยมบิดาชื่อ พ่ออูบ โยมมารดาชื่อ แม่จั๋นติ๊บ (สมัยนั้นยังไม่มีการใช้นามสกุล) หลวงปู่ถือกำเนิดในแผ่นดินรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ตรงกับสมัยพ่อเจ้าอินทวิชยานนท์(เจ้ามหาชีวิต) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๖ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๔๙ หลวงปู่มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๘ คน เป็นชาย ๔ คน เป็นหญิง ๔ คน หลวงปู่เป็นลำดับที่ ๗ และมีน้องสุดท้องชื่อแม่นิน

เริ่มต้นชีวิตในผ้ากาสาวพัตร

เมื่อหลวงปู่อายุได้ ๑๑ ปี ได้ติดตามพ่อแม่ไปทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารแด่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งขณะนั้นท่านครูบาถูกทางการจังหวัดลำพูน นำตัวมากักขังบริเวณที่วัดพระธาตุเจ้าหริภุญชัย (วัดหลวงลำพูน) ในข้อหาเป็นพระอุปัชฌาย์เถื่อนไม่มีหนังสืออนุญาตบวชพระ เมื่อท่านครูบาเจ้าฯได้เห็นเด็กชายดวงดี ท่านก็มีเมตตาอย่างสูงเรียกเข้าไปหาพร้อมกับบอกพ่อแม่ว่า "กลับไปให้เอาไปเข้าวัดเข้าวา ต่อไปภายหน้าจะได้พึ่งพาไหว้สามัน" นับเป็นพรอันประเสริฐ ยิ่งในการที่ท่านครูบาเจ้าฯได้พยากรณ์พร้อมกับประสาทพรให้หลวงปู่ตั้งแต่ยังเด็ก
หลังจากที่เดินทางกลับถึงบ้าน ไม่กี่วันต่อมา บิดาก็นำขันข้าวตอกดอกไม้ พร้อมกับนำตัวเด็กชายดวงดีไปถวายฝากตัวเป็นศิษย์(ขะโยม)ในท่านครูบาโปธิมา ซึ่งเป็นอธิการวัดท่าจำปี ใกล้ๆบ้านนั่นเอง ครูบาโปธิมาก็ได้พร่ำสอนหนังสือของทางการบ้านเมืองสมัยนั้น หลังจากสั่งสอนเด็กชายดวงดีจนพออ่านออกเขียนได้ ท่านครูบาโปธิมาก็ย้ายจากวัดท่าจำปีไปเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง ห่างจากวัดท่าจำปีไปเล็กน้อย ท่าครูบาสิงหะ เจ้าอาวาสท่านต่อมาได้ให้เด็กชายดวงดีศึกษาเป็นขะโยม(เด็กในวัด) อยู่กับคณูบาสิงหะได้ไม่นาน ครูบาสิงหะก็มรณภาพ คงเหลือสามเณรสิงห์แก้วดูวัดท่าจำปีแทนและทำหน้าที่สั่งสอนลูกศิษย์ไปด้วย หลังจากทำบุญประชุมเพลิงครูบาสิงหะแล้วสามเณรสิงห์แก้วก็ลาสิกขาจึงทำให้วัดท่าจำปีร้างรกไม่มีเจ้าอาวาสติดต่อกันถึง ๓ ปี ในขณะที่วัดร้างรานั้น หลวงปู่หรือเด็กชายดวงดีขณะนั้นก็ทำหน้าที่ดูแลวัดอย่างที่เคยปฏิบัติมา เช่น ปัดกวาดกุฏิวิหาร จัดขันดอกไม้บูชาพระ ตักน้ำคนโท(น้ำต้น)ถวายพระพุทธรูปตลอดเวลา

ต่อมาคณะศรัทธาวัดท่าจำปี ได้อาราธนานิมนต์ท่านครูบาโสภามาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าจำปี เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่จึงได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลทุ่งสะโตกอีกตำแหน่งด้วย ทำให้วัดท่าจำปีเกิดความสำคัญขึ้นมาอย่างยิ่ง เพราะนอกจากท่านครูบาโสภณจะเป็นเจ้าคณะตำบลแล้ว ท่านยังเป็นพระสหธรรมมิกที่มีอายุพรรษารุ่นราวคราวเดียวกันกับม่านคณุบาศีลธรรมศรีวิชัย มีผู้คนเคารพนับถือมากมายถึงกับขนานนามท่านว่า "ตุ๊เจ้าตนบุญตนวิเศษแห่งล้านนา" จริงๆ เพราะท่านมีบุญญาอภินิหารปรากฏแก่สายตาคนทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ร่ำลือถึงเหตุการณ์ต่างๆอย่างไม่ลดละตราบจนทุกวันนี้

หลังจากเด็กชายดวงดีศึกษาภาษาพื้นเมืองได้คล่องแคล่ว อายุได้ ๑๓ ปีพอดีท่านครูบาโสภาจึงนำเด็กชายดวงดีไปปรึกษากับท่านครูบาศรีวิชัย ซึ่งขณะนั้นท่านได้ขึ้นมาบูรณะปฏิสังขรณ์ทางเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๖๒ ท่านครูบาศรีวิชัยมีความพอใจเด็กชายดวงดีมาก ท่านครูบาโสภาก็เล่าเรื่องการบวชเณรให้ท่านครูบาศรีวิชัยฟัง ท่านก็บอกกับครูบาโสภณว่า "ถ้าบวชพระแล้วก็หื้อขึ้นมาจำพรรษาอยู่วัดพระสิงห์นี่แหละ จะได้เป็นเพื่อนกับนายสิงห์ดำ" (ซึ่งเป็นหลานแท้ๆของท่านครูบาศรีวิชัย)ซึ่งมีหน้าที่ปลงเกศาให้กับท่านครูบาศรีวิชัย

ครั้นหลวงปู่ดวงดีบรรพชาเป็นสามเณรแล้วโดยมีท่านครูบาโสภาเป็นพระอุปัชฌายะบรรพชา ได้ไม่กี่วันก็ส่งตัวเข้ามาในเมืองเชียงใหม่ อยู่จำพรรษาและช่วยเหลือท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย คอยปฏิบัติพัดวีตามอาจาริยวัตรที่ครูบาอาจารย์ในยุคสมัยนั้นสั่งสอน ไหว้พระสวดมนต์ นั่งกรรมฐาน บูชาขันดอกไม้ และช่วยเหลืองานก่อสร้างต่างๆ ซึ่งในขณะนั้นท่านครูบาเจ้าศริวิชัยต้องเดินทางไปทุกหนทุกแห่ง เพื่อสร้างสรรค์บูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ วัดวาอารามต่างๆทุกจังหวัดในภาคเหนือ เมื่อหลวงปู่ดวงดีอายุครบ ๒๑ ปี จึงได้กลับไปนมัสการพระอาจารย์ท่านครูบาโสภาที่วัดท่าจำปีเพื่อปรึกษาเรื่องอุปสมบทเป็นพระภิกษุ จากนั้นท่านครูบาโสภาจึงได้เดินทางไปขออนุญาตกับครูบาเจ้าศรีวิชัย เรื่องส่งมาจำพรรษาอยู่กับท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเหมือนเดิม

ลุ วันอาทิตย์ เดือน ๖ เหนือ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีเมืองเหม้า(ปีเถาะ) ตรงกับวันที่ ๑๒ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๗๐ สามเณรดวงดีจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ โดยมีท่านครูบาโสภาเป็นพระอุปัชฌายะ ท่านครูบาธัมมะเสน วัดดอนบินเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านพระครูปัญญา วัดมะกับตองหลวง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ณ พระอุโบสถวัดสารภี ตำบลทุ่งรวงทอง กิ่งอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้นามฉายาว่า "สุภทโท" หลังจากอุปสมบทแล้ว หลวงปู่ดวงดีก็เดินทางไปอยู่จำพรรษากับท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเช่นเดิม โดยเป็นกำลังสำคัญในการปฏิบัติอุปฐากบำรุง
ช่วงของการปฏิสังขรณ์วัดท่าจำปีในเวลาของหลวงปู่

ในขณะที่หลวงปู่อยู่จำพรรษากับท่าครูบาเจ้าศรีวิชัยนับตั้งแต่เป็นสามเณรใหม่ๆนั้นและเดินทางปฏิบัติเล่าเรียนอยู่กับท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยนั้น ท่านอายุได ๒๘ ปี เป็นช่วงที่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ข้องกล่าวหาต่างๆนาๆ เช่นการบุกรุกป่าสงวน ซ่องสุมผู้คน ตั้งตนเป็นผีบุญ จนถึงกับถูกจับส่งตัวไปตัดสินความที่กรุงเทพฯ เนื่องจากถูกกลั่นแกล้ง ซึ่งเรื่องนี้ทำให้เกิดเหตุการณ์ใหญ่โต เมื่อคณะสงฆ์ในเขตปกครองแขวงบ้านแมง (อ.สันป่าตอง)ขอลาออกจากการปกครองเมืองเชียงใหม่ถึง ๖๐ วัด ท่านครูบาโสภาวัดท่าจำปี ท่านครูบาปัญญา วัดท่ากิ่งแลหลวง ก็ถูกไต่สวนจนต้องนำคณะศิษย์หนีหนีไปแสวงบุญก่องสร้างวิหานพระพุทธบาทฮังฮุ้ง ในเขตประเทศพม่าจนไม่ยอมกลับมาอีกเลย บรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านครูบาศรีวิชัยต้องแยกย้ายกันไปแสวงบุญคนละทิศละทาง คงค้างแต่ท่านครูบาขาวปีทำหน้าที่ดูแลวัดสิงห็ และเป็นหัวแรงในการก่อสร้างวัดวาอารามที่ค้างไว้

ลุ พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๑ ท่านครูบาศรีวิชัยถูกชำระความพ้นผิดเดินทางกลับเมืองลำพูนอยู่ได้ไม่นาน ก็ถึงแก่มรณภาพที่วัดจามเทวี เมื่ออายุได้ ๖๑ ปี ๕ เดือน กับ ๒๑ วัน ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่ดวงดีอายุได้ ๓๒ ปี หลวงปู่ได้เดินทางไปก่อสร้างวัดวาอารามเจริญรอยตามท่านครูบาศรีวิชัยผู้เป็นพระอาจารย์ หลังจากนั้นก็ติดตามครูบาเจ้าอภิชัยผ้าขาวปีมาสร้างวิหารวัดท่าจำปี
ลุ พ.ศ.๒๔๘๔ ขณะพลวงปู่อายุได้ ๓๕ปี หลังจากถวายพระเพลิงปลงศพท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเสร็จแล้วนั้น ท่านครูบาเจ้าอภิชัยผ้าขาวได้เชิญอัฐิธาตุของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยส่วนที่เป็นกระโหลกเท่าหัวแม่มือส่วนหนึ่งหลวงปู่นำมาเก็บรักษาสักการะบูชาจนถึงทุกวันนี้ หลวงปู่ได้อยู่ช่วยครูบาอภิชัยผ้าขาว สร้างอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิธาติของท่าครูบาเจ้าศรีวิชัยทั้งที่วัดสวนดอกและวัดหมื่นสารแล้ว ก็รับขันดอกนิมนต์จากคณะศรัทธาป่าเมี้ยงป๋างมะกล้วย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ไปสร้างวัดป่าเมี้ยงป๋างมะกล้วย เนื่องจากอารามอยู่ในป่าดง เหมาะที่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานซึ่งถูกกับจริตวิสัยของหลวงปู่เป็นอย่างยิ่ง หลวงปู่อยู่ปฏิบัติกรรมฐานที่วัดนี้นานถึง ๗ ปี ท่านครูบาโสภาก็ขอให้หลวงปู่ลงมาก่อสร้างวัดท่าจำปีต่อจากท่าน เนื่องจากวัดท่าจำปีมีศรัทธาญาติโยมน้อยเพียง ๒๐ หลังคาเรือนเท่านั้น

หลวงปู่เดินทางกลับมาก่อสร้างวัดท่าจำปี ขณะนั้นอายุได้ ๔๒ ปีได้รับตำแหน่งเจ้าคณะตำบลทุ่งสะโตกจากท่านครูบาโสภาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้ว่าหลวงปู่จะมีตำแหน่งหน้าที่ทางการคณะสงฆ์ก็ตาม ท่านก็มิได้ละเลยข้อวัตรปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งท่านมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว ในระหว่างที่มาดำรงค์ตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อจากท่านครูบาโสภา หลวงปู่ก็มิได้สร้างแต่เฉพาะวัดท่าจำปีเท่านั้น ทุกวัดในละแวกเดียวกันหลวงปู่ก็ช่วยเหลือเป็นแรงสำคัญไม่ว่าถนนหนทาง อุโบสถ วิหาร เจดีย์ สะพาน หรือแม้แต่โรงเรียน โรงพยาบาล หลวงปู่ก็ให้ความอุปถัมภ์บำรุง แม้กระทั่งวัดในเขตอำเภอสันป่าตอง หรือต่างอำเภอ หรือต่างจังหวัด จนไม่สามารถนำมาบรรยายได้ทั้งหมด

http://a.bbznet.com/arjaannen

8
ลายมือพระอาจารย์ญา วัดนางเหลียว ลำปาง วันเสาร์ที่ผ่านมาครับ
ได้ ยันต์ดอกจัน และยันต์งบน้ำอ้อย หมึกแดงครับ
ขอเพิ่มยันต์พ่อ-แม่ที่ไหล่ซ้ายขวา พระอาจารย์บอกยังให้ไม่ได้
เพราะต้องลงสร้อยสังวาลก่อน ไม่งั้นตำแหน่งยันต์กับตำแหน่งสร้อยสังวาล
จะไม่ได้ตำแหน่งที่เหมาะสม ก็เลยยังไม่ได้ครับ


 :010:  :010:  :010:  :010:  :010:  :010:


9
นางกวักของคนล้านนา 

วันนี้ตั้งใจจะแนะนำแม่หญิงคนงามชาวล้านนาให้แฟน ๆ ได้รู้จักสักคนส่วนมากที่เขียน ๆ มามีแต่เรื่องพระเรื่องเจ้า เปลี่ยนเป็นหญิงสาวบ้างจะได้ไม่เบื่อหน่ายค้ายชังกัน อันว่าสตรีเพศนั้นนอกจากแม่และเมียที่เคารพแล้ว ยังมีอีกนางหนึ่งที่ผู้เขียนเคารพนบไหว้มิได้ขาด ท่านคือ แม่นางกวัก

นางกวักที่ปรากฏในล้านนานั้น เท่าที่คุ้นสายตามีอยู่สองแบบคือ รูปผู้หญิงแต่งกายอย่างหญิงสูงศักดิ์ของไทยภาคกลาง มักปรากฏที่มุมหนังสือปีใหม่เมืองของร้านประเทืองวิทยา อีกแบบหนึ่งเป็นรูปหล่ออย่างโบราณขนาดเล็กเท่าปลายก้อย หรือบางองค์มีขนาดโตกว่านั้น เป็นรูปสตรีแต่งกายอย่างล้านนา กล่าวคือ มวยผมห่มสไบใส่ผ้าซิ่นลายก่านนั่งพับเพียบเรียบร้อยเท้าแขนแอ่นอ่อน มืออีกข้างทำกริยากวัก มีทั้งกวักซ้ายและกวักขวา บางองค์มีรายละเอียดน่าศึกษายิ่ง มีถุงยามหรือถุงเป้งห้อยแขนบ้างก็เป็นถุงเงินวางตัก ผมมวยปักปิ่นเหน็บดอก และบางองค์มีลูกน้อยห้อยข้าง มือหนึ่งกวักมือหนึ่งอุ้ม ที่ทรงเครื่องอย่างนางกษัตริย์ก็มี เท่าที่ผู้เขียนได้ศึกษามานั้น นางกวักในขนบความเชื่อของคนล้านไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ทั้งเอกสารลายลักษณ์ใบลานและพับสา หรือมุขปาฐะซึ่งตามปกติในเอกสารดั่งกล่าวมักบันทึกไว้ทุก ๆ เรื่อง ในล้านนามีคำและความใกล้เคียงกับคำว่ากวัก เป็น กวั๊ก แต่หมายถึงเห็ดกระด้างทำนองเห็ดหลินจือ บางเรือนจะนำเห็ดที่มีลักษณะคล้ายกับมือกวักมาผูกติดกับหำยนต์หรือใช้ตะปูตอกติดเสาเรือนเรียกว่า เห็ดกวั๊ก มีความหมายทางความเชื่อทำนองเดียวกับรูปนางกวักนั่นเอง ส่วนรูปหล่อนางกวักอย่างล้านนาที่กล่าวในตอนต้นนั้นเป็นฝีมืออย่างชาวบ้านหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์หรือทองเหลือง ทองแดงก็มีแต่พบน้อย ผู้รู้ทางพระเครื่องบางท่านกล่าวว่าน่าจะมีอายุอยู่ในยุคพระไม้ คือประมาณ 100 ? 200 เป็นยุครัตนะหรือยุคกาวิละเจ้าเชื้อเจ็ดตน แต่บางองค์เชื่อกันว่าร่วมสมัยกับเชียงแสนซึ่งยังไม่พบหลักฐานการสร้างนอกจากการสังเกตและประเมินอายุจากผิวโลหะ

ต่อไปนี้ เป็นข้อมูลภาคสนามที่ผู้เขียนสำรวจเมื่อปี 2543 จากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรูปหล่อนางกวักอย่างล้านนา ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมามีผู้นิยมใช้นางกวักเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวไทยภูเขา และบรรดาวัดต่าง ๆ ในเขตภาคเหนือ ที่นิยมทำเครื่องราง ร้านไทอัง จึงสั่งทำจากช่างฝีมือจากสามแหล่ง คือ ย่านถนนช่างหล่อ ย่านวัดพวกแต้มและ ย่านวัดหมื่นสาร ซึ่งร่วมยุคสมัยกับพระบูชาตระกูลช่างจันทร์อันงดงาม มีทั้งนางกวัก และเครื่องรางประเภทอื่น ๆ เช่น ไอ้งั่ง อีเป๋อ อิ่น เป็นต้น การสั่งทำนั้น บางครั้งทำทีละ 20 ชิ้น ถึงครั้งละ 200 ชิ้น ปั้นทีละชิ้น โดยใช้เศษโลหะที่เหลือจากการหล่อพระในแต่ละครั้ง มีบรรดาลูกหลานและลูกมือทั้งหลายร่วมกันปั้น มีหลายขนาดตั้งแต่ 1 นิ้ว ถึง 3 นิ้ว โตกว่านี้ก็มี นางกวักบางองค์ช่างประจงปั้นแบบงามมากแต่มีจำนวนน้อย บางรายสั่งทำเป็นรูปกวักซ้าย บ้าง ก็กวักขวา เชื่อว่า กวักขวาหากินไกล กวักซ้ายหากินใกล้ จนปัจจุบันนี้ยังทำกันอยู่ แต่รูปแบบเปลี่ยนไป กล่าวคือ ปัจจุบันจะใช้วิธีถอดพิมพ์ลำตัวแล้วแต่งรายละเอียดเพิ่มเติมถ้านับเวลาสืบกันมาตั้งแต่ทำเนื้อทองแดง ปั้นทีละชิ้นในยุคแรก จนถึงยุคถอดพิมพ์ ลำดับได้ชั้นหลานแล้ว แต่ฝีมือและอารมณ์ยังสามารถสืบเชื้อได้ ชาวเขาบางรายลงมาจากดอย นำตัวอย่างมา บอกว่าจะเอานางกวักตามตัวอย่างนี้ แล้วบอกว่าองค์ตัวอย่างนี้ได้สืบมาจากบรรพบุรุษ ทั้งที่ทางร้านจำได้ว่า เป็นรุ่นที่สั่งทำเมื่อปีที่แล้ว

สำหรับขนบความเชื่อเรื่องนางกวักล้านนานั้น ในส่วนที่รับมาจากไทยภาคกลางคือการตั้งไว้บูชาเพื่อให้เกิดความโชคดี หรือตามสำนวนว่า ค้าม่วนขายหมาน หรือ ฮิมาค้าขึ้น โดยเน้นคำว่า หมาน หรืออีกนัยหนึ่งคือ โชคดีบวกกับมหานิยม ถวายผลไม้ ดอกไม้ น้ำ และอาหาร ซึ่งแล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคล ส่วนคำขอหรือคำอธิษฐานก็พรรณนาตามปรารถนา ไม่ปรากฏคำไหว้เด่นชัด นอกจากตามที่ได้ยินมาคือ จะขึ้นต้นว่า โอมปู่เจ้าเขาเขียว?

สำหรับนางกวักองค์เล็ก ๆ นั้น พ่อค้าแม่ขายจะใส่ในหีบสตางค์ปนกับเงิน หรือใส่ในถุงเป้งถุงสตางค์พกติดเอว


~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
 
   โดย วิลักษณ์ ศรีป่าซาง
www.lannaworld.com

 :002:  :002:  :002:  :002:  :002:

10
กว่าง นักรบแมลงแห่งเมืองเหนือ
หมูหิน.คอม พาเที่ยวชม ?กว่าง?สุดยอดสัตว์แห่งขุนเขา สัตว์ที่ในเมืองหลวงไม่สามารถหาได้เจอ
คราวนี้ไม่ได้พาชิม แต่พาชนกว่างสัตว์ที่ทั่วโลกทึ่งครับ เส้นทางนี้เป็นเส้นทางแม่ริม-เชียงใหม่ เพราะถนนเส้นนี้เป็นเส้นท่องเที่ยวของชาวต่างชาติ การวางมวยของกว่างสัตว์ของไทยแท้จึงเกิดขึ้นที่ถนนแม่ริม-เชียงใหม่เส้นนี้ เราชาวหมูหิน.คอม ลองมาเที่ยวชนกว่างกับชาวบ้านเค้าดูบ้าง เอ้า!ว่าแล้วก็เริ่มชนกว่างได้เลย
 

 

กว่างเป็นชื่อเรียกด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มี ๖ ขา กว่างบางชนิดมีเขา กว่างบางชนิดไม่มีเขา กว่างจะชอบกินน้ำหวานจากอ้อย กว่างบางชนิดไม่นิยมนำมาเลี้ยง ส่วนกว่างบางชนิดนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น เช่น กว่างซาง กว่างงวง กว่างกิ กว่างกิอุ และกว่างอี้หลุ้ม ภาคเหนือหรือว่าที่เรียกกันติดปากว่า ?ชาวล้านนา? นั่นก็คือภาคเหนือของเรานั่นเอง การหากว่างในภาคเหนือในสมัยก่อนง่ายๆสบาย หรือเรียกอีกอย่างว่าการจับกว่าง

ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม?ตุลาคม เป็นเวลาที่ชาวบ้านในสมัยก่อนมีเวลาว่าง เพราะข้าวที่ปลูกไว้กำลังตั้งท้อง เมื่อว่างจากการงาน ผู้ชายจะสนุกกับการเล่นชนกว่างกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ การหากว่างหาได้จากตามสุมทุมพุ่มไม้หรือป่าในเขตของหมู่บ้านที่มีต้นไม้เครือเถาขึ้นปกคลุม โดยเฉพาะในเวลาเช้าจะหาได้ง่ายกว่าเพราะกว่างยังไม่เข้าไปหลบอยู่ใต้

 

อีกวิธีหนึ่งคือการตั้งกว่างหรือใช้กว่างล่อ โดยใช้กว่างที่มีขนาดเล็ก เช่น กว่างกิ กว่างแซม หรือจะใช้กว่างตัวเมียที่เรียกว่ากว่างแม่อีหลุ้มก็ได้ ผูกกว่างด้วยเชือกเส้นเล็กฟั่นจากฝ้ายโยงกับอ้อยที่ปอกครึ่งท่อน ใช้ไม้ขอเสียบส่วนบนหรือใช้กล้วยน้ำหว้าใส่ในตะกร้าเล็ก ๆ หรือในกะลา ผูกกว่างขนาดเล็กไว้เป็นกว่างล่ออยู่ข้างใน แล้วนำอ้อยหรือตะกร้าไปแขวนไว้กับกิ่งไม้ในตอนหัวค่ำ โดยหาทำเลที่เป็นชายป่าหรือในบริเวณที่ใกล้กับเนินดิน การแขวนไม่ให้สูงมาก ในตอนกลางคืน กว่างตัวล่อ จะบินมีเสียงดัง ดึงดูดให้กว่างที่บินเวลากลางคืนให้เข้ามาหาเพื่อติดกับโดยมีอ้อยที่เป็นอาหารที่ชอบหลอกล่ออยู่ ถ้าเป็นกว่างโซ้งก็นำไปเลี้ยงไว้เพื่อชนต่อไป ถ้าเป็นกว่างแซมก็เก็บไว้เป็นกว่างล่อ ถ้าเป็นกว่างตัวเมียที่เรียกว่ากว่างแม่อีหลุ้มก็เก็บใส่กระป๋องและใส่อ้อยข้างในเลี้ยงไว้เพื่อใช้ล่อให้กว่างตัวผู้ชนกัน

กว่างมีวงจรชีวิตประมาณ 1 ปี คือช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม กว่างทั้งตัวผู้และตัวเมียจะขึ้นมาจากใต้ดิน เพื่อมาผสมพันธุ์และวางไข่ ซึ่งใช้วงจรชีวิตช่วงนี้ประมาณ 4 เดือน พอเข้าในฤดูหนาว กว่างตัวเมียหลังจากผสมพันธุ์ก็จะขุดดินแล้ววางไข่ ส่วนตัวเองก็จะตาย ไข่ก็ฟักเป็นตัวหนอน เป็นดักแด้อาศัยอยู่ใต้ผิวดินจนถึงต้นฤดูฝนก็จะขุดดินขึ้นมาผสมพันธุ์ดำรงชีวิตสืบลูกหลานต่อไป

 

ชนิดของกว่างนั้นมีอยู่หลากหลายมากมาย มีทั้งสวยงามและเอาไว้แข่งขันโดยตรงก็มี ลองมาดูกันว่ากว่างมีกี่ชนิด แล้วชาวหมูหิน.คอม จะมีกว่างบ้างไหมหนอ กว่างของใครชนิดไหนลองดูกัน
ชนิดของกว่าง กว่างมีหลายชนิดเช่น
กว่างก่อ กว่างชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ก่อ ลักษณะเด่นชัดของกว่างชนิดนี้คือตามตัวมีขน มีความแข็งแรงและอดทนมากกว่ากว่างที่ใช้กันโดยทั่วไป ทำให้บางคนใช้กระดาษทรายมาขัดกว่างชนิดนี้แล้วนำไปชนกับกว่างชนซึ่งมักจะชนะทุกครั้ง โดยปกติแล้วกว่างก่อนี้ถือว่าเป็นกว่างป่าชนิดหนึ่งที่ไม่แพร่หลาย จึงไม่นิยมนำมาชนแข่งกัน
กว่างกิ หมายถึงกว่างตัวผู้ที่มีเขาข้างบนสั้น(กิแปลว่าสั้น) เขาบนจะออกจากหัวออกมานิดเดียวกว่างกิจะต่อสู้หรือชนกันโดยใช้เขาล่างงัดกัน แต่ไม่สามารถใช้เขาหนีบคู่ต่อสู้ได้ จึงไม่นิยมนำมาใช้เป็นกว่างชน กว่างกิมี 2 ชนิดคือ กว่างกิขี้หมู และ กว่างกิทุ
กว่างงวง : กว่างหน่อ กว่างงวงหรือกว่างหน่อคือด้วงงวงของภาคกลาง กว่างชนิดนี้ชอบกินหน่อไม้หรือยอดอ่อนมะพร้าวมีขนาดเล็ก สีดำ ตรงปากจะมีส่วนยื่นเป็นงวงและไม่มีเขากว่างชนิดนี้ไม่มีการนำมาเลี้ยงเพื่อชนกัน
กว่างซาง : เป็นกว่างขนาดใหญ่ สีของปีกออกไปทางสีครีมหรือสีหม่นมีเขา 5 เขา ข้างบนมี 4 เขา เรียงกันจากซ้ายไปขวาข้างล่างมี 1 เขา ไม่นิยมนำมาชนกันเพราะอืดอาดไม่แคล่วคล่องว่องไว ชนไม่สนุก
กว่างโซ้ง : กว่างโซ้ง ตัวผู้มีเขายาวและหนาทั้งข้างล่างข้างบน ลำตัวสีน้ำตาลแดงกว่า กว่างชนิดนี้มักจะส่งเสียง ?ซี่ ๆ? ตลอดเวลา นิยมใช้ชนกัน
กว่างแซม : มีลักษณะคล้ายกับกว่างโซ้ง แต่ตัวเล็กกว่าเล็กน้อย เขาก็สั้นและเรียวเล็ก กว่างชนิดนี้เลี้ยงไว้เป็นคู่ซ้อมหรือให้เด็กๆเล่นกัน
กว่างฮักหรือกว่างรัก : กว่างฮักนี้ตัวมีสีดำเหมือนสีของน้ำรัก รูปร่างและขนาดใกล้เคียงกับกว่างแซม กว่างชนิดนี้ไม่ค่อยใช้ชนกัน เพราะกล่าวกันว่าน้ำอดน้ำทนสู้ กว่างโซ้งไม่ได้ ดังที่ว่า ?กว่างฮักน้ำใส ไว้ใจ๋บ่ได้?
กว่างดอยหล่อ : ดอยหล่อเป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ กว่างดอยหล่อมีชื่อเสียงในด้านความอดทนแข็งแกร่ง พูดกันว่าเป็นกว่างที่ผ่านความลำบากในการขุดหินขุดทรายขึ้นมา จึงมีความอดทนเป็นเลิศ เมื่อใครได้กว่างดอยหล่อมาเลี้ยงไว้ชน จึงมั่นใจได้ว่ามีกว่างที่ดีและอดทน เมื่อถึงฤดูเล่นกว่างมาถึง นักเล่นกว่างจึงแสวงหากว่างดอยหล่อมาเลี้ยง บางคนถึงกับเดินทางไปที่หมู่บ้านดอยหล่อเพื่อหากว่างชนดอยหล่อก็มี
กว่างแม่อีหลุ้ม : คือกว่างตัวเมียซึ่งไม่มีเขา กว่างชนิดนี้บางแห่งเรียก กว่างแม่อู้ด,กว่างแม่มูดหรือ กว่างแม่อีดุ้ม กว่างตัวเมียนี้จะมีทั้งชนิดตัวเล็กและตัวใหญ่ มีทั้งสีน้ำตาลและสีดำ กินจุกว่ากว่างตัวผู้ ริมปากมีลักษณะเป็นฝาสำหรับขุด ซึ่งจะขุดอ้อยให้เห็นแอ่งเป็นขุยเห็นได้ชัด ปกติจะใช้กว่างแม่อีหลุ้มนี้เป็นตัวล่อให้กว่างตัวผู้ชนกัน กว่างตัวเมียนี้เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะขุดรูลงดินเพื่อวางไข่แล้วจึงตาย
กว่างหนวดขาว : ลักษณะเหมือนกับกว่างโซ้ง แต่ต่างกันที่ตรงหนวดจะมีสีขาว เชื่อกันว่าเป็นพญากว่าง กว่างหนวดขาวนี้จะชนจะสู้กับกว่างทุกขนาด กว่างหนวดดำจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้เพราะเกรงกลัวอำนาจของพญา บางครั้งกำลังชนกันพอรู้ว่าเป็นพญากว่าง กว่างหนวดดำหรือกว่างธรรมดาก็จะถอดหนี คือไม่ยอมเข้าหนีบด้วย มีนักเล่นกว่างบางคนหัวใส เมื่อได้กว่งหนวดขาวมาก็พยายามยอมหนวดของกว่างให้เป็นสีดำเหมือนกับกว่างทั่วไป โดยใช้ยางไม้กับมินหม้อผสมกัน แต้มหนวดขาวให้เป็นดำเมื่อนำไปชนบางครั้งสีที่ย้อมหนวดหลุดออกอีกฝ่ายจับได้ว่าใช้กว่างหนวดขาวปลอมมาชน เกิดทะเลาะกันก็มี
กว่างหาง : มีลักษณะคล้ายกับกว่างโซ่ง แต่ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงหรือสีของน้ำครั่งกว่างชนิดนี้ใช้ชนได้เหมือนกันแต่โดยทั่วไปแล้วคนมักจะกล่ากันว่ากว่างหางจะไม่เก่งเท่ากว่างโซ้ง

 

การเลี้ยงกว่าง
เมื่อได้กว่างโซ้งที่ถูกใจมาแล้ว นักนิยมกว่างจะเลี้ยงดูกว่างอย่างดีโดยหาอ้อยที่หวานจัดมาปอกเปลือกให้ ส่วนที่ตัวกว่างก็ใช้ด้ายสีแดงมาฟั่นยาวประมาณหนึ่งคืบมาผูกที่ปลายเขาด้านบนเพื่อกันกว่างบินหนี ที่โคนลำอ้อยมีตะขอกันไม่ให้จิ้งจกเลียตีนกว่าง เพราะถ้าจิ้งจกเลียตีนกว่างแล้ว กว่างจะเกาะคอนได้ไม่มั่นคง นอกจากนี้ก็จะต้องหมั่นฝึกซ้อม การฝึกนี้จะใช้ไม้สี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ปลายแหลมเรียกกันว่า ?ไม้ผั่นกว่าง? เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ ตื่นนอนตอนเช้าก็จะนำกว่างไปออกกำลังคือให้บินโดยใช้เชือกผูกจากเขากว่าง กว่างก็จะบินวนไปวนมา เมื่อเห็นว่าออกกำลังพอสมควรแล้ว จะนำกว่างไป ?ชายน้ำเหมย? คือนำกว่างไปราดใบข้าวที่เปียกน้ำค้างในตอนเช้า หรือบ้างก็เคี้ยวอ้อยแล้วพ่นน้ำหวานใส่กว่าง ทำอย่างนี้ทุกวันกว่างจะแข็งแรง

ส่วนอุปกรณ์ของการชนกว่างนั้นก็ไม่มีอะไรมาก เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่น่าทึ่งมาก เพราะมีอยู่หลายแบบใครมีแบบไหนบ้างมาลองดู
1.ไม้คอน คือ ท่อนไม้กลมที่เป็นสำหรับให้กว่างชนกันทำด้วยต้นปอหรือท่อนไม้ฉำฉา ยาวประมาณ 80?100 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตรตรงกลางเจาะรูสำหรับใส่กว่างตัวเมียจากด้านล่างให้โผล่เฉพาะส่วนหลังพอให้มี ?กลิ่น? ส่วนด้านล่างใช้เศษผ้าอุดแล้วปิดด้วยฝาไม้ที่ทำเป็นสลักเลื่อนเข้าอีกทีเพื่อกันไม่ให้กว่างตัวเมียถอยตัวออก คอนชนิดนี้มีไว้สำหรับฝึกซ้อมให้กว่างชำนาญในการชน

 

ไม้คอนอีกรูปร่างหนึ่งทำด้วยแกนปอ หรือไม้ชนิดอื่นก็ได้ที่เนื้อไม้ไม่แข็งมาก เส้นผ่าศูนย์กลบางประมาณ 10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนหัวและท้ายทำเป็นเดือย บางแห่งเดือยยาว 3 เซนติเมตร บางแห่ง 6 เซนติเมตร ตรงกลางด้านบนเจาะรูขนาด 2 เซนติเมตร ด้านล่างตัดเป็นปาก ยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ตัดลึกเข้าไปประมาณครึ่งหนึ่งของไม้คอน มีสลักทำให้ถอดออกได้เป็นฝาปิด ส่วนที่เหลืออีกครึ่งเจาะเป็นโพรงเข้าไปหารูเล็กเพื่อเป็นช่องนำกว่างตัวเมียใส่ ให้หลังของกว่างตัวเมียโผล่ออกรูคอนด้านบน ด้านล่างอุดด้วยเศษผ้าแล้วใช้ฝาปิดไว้ แบ่งระยะจากรูตรงกลางออกไปข้างละเท่า ๆ กัน ทำรอยเครื่องหมายกั้นไว้ ไม้คอนจะใช้เป็นที่ฝึกกว่างหรือให้กว่างนี้ชนกัน

2.ไม้ผั่น : ไม้ผั่นกว่าง : ไม้ผัด: ไม้แหล็ดหรือไม้ริ้ว ไม้ผัดนี้จะทำด้วยไม้จิงหรือไม้ไผ่ก็ได้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งเซนติเมตร ยาวประมาณ 8 เซนติเมตรลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมปลายบัวหรือปลายแหลม ส่วนโคนเหลาให้เล็กเป็นที่สำหรับจับถือตรงใกล้ที่จับนั้นจะบากลงและเหลาให้กลมแล้วเอาโลหะมาคล้องไว้อย่างหลวม ๆ เวลา ?ผั่น? หรือปั่นให้ผั่นให้หมุนกับคอนนั้น จะมีเสียง?กลิ้ง ๆ?ตลอดเวลาไม้ผั่นนี้ใช้ผั่นหน้ากว่างให้วิ่งไปข้างหน้าเขี่ยข้างกว่างให้กลับหลังเขี่ยแก้มกว่างให้หันซ้ายหันขวา ถ้ากว่างไม่ยอมสู้ก็จะใช้เจียดแก้มกว่างให้ร้อนจะได้สู้ต่อไป ในขณะที่ต้องการให้กว่างคึกคะนองหรือเร่งเร้าให้กว่างต่อสู้กันนั้นก็จะใช้ไม้ผั่นนี้ การผั่นใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลางหมุนไปมากับคอนให้เกิดเสียงดัง

 

ลักษณะกว่งที่นำมาชนนั้นต้องมีลักษณะที่ดี แข็งแรง เช่นกว่างโซ่ง ลักษณะกว่างโซ่งที่ดีนั้นต้องมีหน้ากว้าง กางเขาออกได้เต็มที่เขาล่างจะยาวกว่าเขาบนนิดหน่อยถ้าเขาล่างยาวกว่าเขาบนก็จะเรียกว่า ?กว่างเขาหวิด? ถือว่าหนีบไม่แรงไม่แน่นกว่างชนที่ดีนั้นส่วนหัวต้องสูง ท้ายทอยลาดลงเป็นสง่า แต่ถ้าท้ายทอยตรงโคนเขาบนเป็นปมไม่เรียบ ถือว่าเป็นกว่างไม่ดี กว่างที่ดีต้องเป็นกว่างที่ฉลาดสอนง่าย ก่อนที่จะนำกว่างมาชนกันนั้น จะต้องนำกว่างมาเทียบขนาดและสัดส่วนที่เรียกว่า เปรียบคู่ กันเสียก่อน เมื่อตกลงจะให้กว่างของตนชนกันจริง ๆ แล้ว เจ้าของกว่างจะต้องขอกว่างของฝ่ายตรงกันข้ามมาตรวจดูเสียก่อนว่าไม่มีกลโกง

ในการชนกว่างแต่ละครั้งมักจะมีการวางเดิมพันกันเพื่อความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น กว่างที่ชนะก็ทำให้เจ้าของมีหน้ามีตา แต่ถ้ากว่างแพ้แล้วอยู่ที่เจ้าของว่าจะเลี้ยงต่อหรือปล่อยไปตามธรรมชาติ แต่ส่วนใหญ่แล้วชาวล้านนาเค้ามักจะปล่อยกว่างคืนสู่ธรรมชาติ เพราะจะได้มีกว่างในปีต่อๆไปและประเพณีชนกว่างของชาวล้านนานี้จะได้อยู่สืบทอดกันไปชั่วกาลนานไงครับและการปล่อยกว่างคืนสู่ธรรมชาตินั้นชาวล้านนาต้องทำเป็นธรรมเนียมเลยก็ว่าได้ เพราะล้านนาเป็นที่เดียวที่มีกว่างเป็นต้นกำเนิด หากใครที่เคยได้ยินเรื่องกว่างนี้ก็คงพอเข้าใจเพราะล้านนาเท่านั้นที่มีที่เดียวในโลก และต้นกำเนิดของกว่างนั้นอยู่ที่จังหวัดน่าน เมืองลับแลของภาคเหนือ ที่อำเภอท่าวังผาเค้าจะมีประเพณีการชนกว่าง มีทุกๆปีมาแต่นมนาน หากใครอยากไปก็ยกมือขึ้นได้เลย เพราะหมูหิน.คอม จะพาเที่ยวชมประเพณีการชนกว่างที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่านแน่นอนครับ?นายหมูหิน

 

ใครที่มีกว่างสวยๆอย่าลืมมาอวดกันในเว็บหมูหิน.คอม บ้างนะครับ คิดจะเที่ยวคิดถึงหมูหิน.คอม ติดต่อนายหมูหินได้ที่ e-mail:webmaster @ moohin.com ครับท่าน

หมูน้อยขอแจม! กว่างเป็นสัตว์ที่น่ารักและเลี้ยงง่าย ตอนเด็กๆหมูน้อยอยู่ที่น่าน หมูน้อยพกกว่างไปโรงเรียนด้วย เพราะถ้าถึงฤดูกว่างแล้วเราจะเอาอ้อยมาผูกเชือกแขวนที่หลังบ้านของแต่ละคน พอตกดึกกว่างก็จะบินออกมาจากป่าที่ใกล้บ้านหมูน้อย แล้วมาเกาะกินน้ำในอ้อย เช้ามาเราก็มาเก็บกว่างได้เลยหากเจอมันอยู่บนอ้อยของเรารีบเอาด้วยมามัดไว้ที่เขาของมันกันมันหนีไป ด้ายที่ฮิตที่สุดคือด้ายสีขาว ส่วนด้ายที่เอามามัดก็คือด้ายที่แม่ๆเราเอาไว้เย็บผ้านั่นเองเจ้า ใครที่โชคดีก็ได้ตัวใหญ่สวยเช่นกว่างโซ่งที่มีพละกำลังดีมาก ชนใครก็ชนะ แล้วเราก็เก็บใส่กระเป๋าแบบถนุถนอมมันเพื่อเอาไปชนกับเพื่อนที่โรงเรียน เพราะที่น่านกว่างจะเยอะมาก แต่ในปัจจุบันนี้หาได้ยากมากทีเดียว เพราะโลกเราเปลี่ยนไปและร้อนขึ้น กว่างเริ่มหายจากที่หาง่ายในบ้านตอนนี้กลับต้องไปหากว่างในป่ากันเสียแล้ว โลกร้อนขึ้นเยอะดูจากอากาศได้เพราะแต่ก่อนที่น่านจะหนาวมากๆๆๆๆแต่ปัจจุบันร้อนขึ้นเป็นกอง จากคนท้องถิ่นเมืองงายช้างดำอย่างหมูน้อยค่ะ?หมูน้อย


11
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะครับผม

คือผมอยากเสนอว่า หน้าแรกของเวป ที่เราเปิดเจอครั้งแรกน่ะครับ
ควรที่จะเพิ่มรายละเอียดหรือรูปอาจารย์สักยันต์ หรือรูปยันต์ต่างๆ
และมีภาพพื้นหลังสวยๆ คล้ายๆกับของเดิมครับ
ผมว่าน่าจะทำให้ web น่าสนใจและดูเข้มขลังขึ้นนะครับ

เพียงแค่ควมคิดเห็นและข้อเสนอแนะครับ


 :002:  :002:  :002:  :002:  :002:  :002:

12
พอดีว่าผมมีเหรียญกรมหลวงชุมพรฯ อยู่ 1 เหรียญครับ
ได้มาจากพ่ออีกที ประมาณ 30 กว่าปีแล้วครับ
ด้านหน้าเป็นรูปกรมหลวงชุมพรฯ รศ.129
ด้านหลังเป็นหลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า รุ่น 1
คือว่าผมได้หาข้อมูลจากหลายๆแหล่งแล้ว
บ้างก็ว่าไม่มีในสารบบ พระเครื่องคือไม่มีการสร้างจริง(ปลอม)
บ้างก็ว่าสร้างจริง ของจริงราคาหมื่นแก่ๆถึง แสนต้นๆ
ผมเลยไม่แน่ใจเลยลองถามพี่น้องดูครับผม





13
เมาะละแหม่ง, หมะเมียะ และรักอันรันทด 

เมื่อเจ้านายในล้านนาสูญเสียทั้งอำนาจในการปกครองและรายได้จากการค้าไม้สัก อำนาจของสยามในล้านนาก็นับวันเพิ่มขึ้น ๆ เจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สิ้นชีวิตในปี 2440 ลูกสาวที่ถูกเรียกลงเป็นเจ้าจอมที่บางกอกเมื่ออายุได้ 13 ปี (พ.ศ. 2430) คือเจ้าดารารัศมีก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นมาเผาศพพ่อ และแผ่นดินเชียงใหม่ก็ไม่มีเจ้าผู้ครองนครเพราะสยามไม่แต่งตั้งผู้ใด นั่นคือช่วงปี พ.ศ. 2441 - 2442


และช่วงเวลานั้นเอง (พ.ศ. 2441) ที่เจ้าแก้วนวรัฐ - ราชบุตรของเจ้าอินทวิชยานนท์ผู้วายชนม์ และเป็นราชบุตที่ไม่รู้ว่าจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าผู้ครองนครต่อจากพ่อหรือไม่ ก็ได้ส่งลูกชายคือเจ้าน้อยศุขเกษมวัย 15 ปี ไปเรียนที่โรงเรียน St. Patrick's School โรงเรียนกินนอนชายซึ่งเป็นคาธอลิคในเมืองเมาะละแหม่ง โรงเรียนแห่งนี้ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2385 ทำไมเจ้าราชบุตรจึงส่งลูกชายไปเรียนที่นั่น กล่าวกันว่าเจ้าแก้วนวรัฐค้าไม้สักกับพม่าเมืองเมาะละแหม่งจนสนิทสนมเป็นอันดีกับเศรษฐีพ่อค้าไม้ชาวพม่าคนหนึ่งชื่อ อูโพดั่ง เจ้าน้อยศุขเกษมนั่งช้างจากเชียงใหม่ไปถึงเมาะละแหม่งได้พักที่บ้านพ่อค้าอูโพดั่งในช่วงวันหยุด วันเรียนหนังสือก็อยู่ที่โรงเรียนกินนอน


จนเมื่อปี 2445 หนุ่มน้อยศุขเกษมวัย 19 ปีไปเที่ยวตลาดไดวอขวิ่น ซึ่งเป็นตลาดห่างจากบ้านพ่อค้าอูโพดั่งราว 10 นาที ก็ได้พบและหลงรักสาวน้อยวัย 15 ปี นาม "หมะเมียะ" (ภาษาพม่าแปลว่ามรกต) สาวหมะเมียะ ขายบุหรี่เซเล็ก (ภาษาพม่าแปลว่ายามวน) ก็รักหนุ่มน้อยจากเชียงใหม่เช่นกัน


เมื่อความรักเพิ่มพูนกลายเป็นความมุ่งมั่นและความผูกมัด วันหนึ่ง ทั้งสองก็ชวนกันขึ้นไปไหว้พระเจดีย์ไจ้ตาหล่านอันเป็นที่เคารพสูงสุดของชาวเมือง สาบานว่าจะครองรักกันไปตราบสิ้นลม และถ้าผู้ใดผิดคำสาบานก็ขอให้มีอันเป็นไป


เมื่อเจ้าศุขเกษมอายุ 20 ปีกลับบ้านพร้อมกับหมะเมียะวัย 16 ที่ปลอมตนเป็นชายร่วมเดินทางมาด้วย ฝ่ายชายก็พบว่าพ่อได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าราชบุตร ส่วนเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คนใหม่คือเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ ผู้เป็นอนุชาต่างมารดาของพ่อ


เจ้าศุขเกษมได้พบว่าผู้เป็นพ่อและแม่ได้หมั้นหมายเจ้าหญิงบัวนวล ลูกเจ้านายในเชียงใหม่ไว้รอท่าแล้ว และครั้นทราบว่าลูกชายรักและได้สามัญชนชาวพม่าเป็นเมีย วิกฤตการเมืองก็เกิดขึ้นทันที และเจ้านายในเชียงใหม่ก็ทำทุกอย่างเพื่อให้หนุ่มสาวแยกทางกัน และผลักดันให้หมะเมียะต้องกลับเมืองเมาะละแหม่งเพียงสถานเดียว


หลายปีมานี้ มีบทความและเพลงพูดถึงเรื่องนี้หลายราย หลากหลายความคิดเห็น แต่ผู้เขียนเห็นว่าในสถานการณ์ดังกล่าว เจ้าศุขเกษมไม่มีทางเลือกอื่นเลยนอกจากหนทางที่ได้เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2446 กล่าวคือ


ในทัศนะของฝ่ายสยาม เจ้าราชบุตรทำไม่ถูกต้องที่ส่งลูกชายคือเจ้าน้อยศุขเกษมไปเรียนที่พม่าในปี พ.ศ. 2441 เพราะขณะนั้นสถานการณ์เริ่มคับขันแล้ว สยามกำลังจะยกเลิกฐานะเมืองขึ้นของล้านนาและรวมล้านนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม มีข่าวว่าเจ้านายล้านนาหลายคนไม่พอใจอำนาจท้องถิ่นที่ถูกสยามลิดรอน เจ้าดารารัศมีจึงไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นมาเคารพและเผาศพพ่อในปี 2440 และน่าเชื่อว่าเจ้าราชบุตรส่งเจ้าน้อยศุขเกษมไปเรียนหนังสือที่พม่าโดยมิได้แจ้งหรือปรึกษาหรือขออนุมัติจากสยาม


ในด้านล้านนา ฝ่ายพ่อแม่ของเจ้าน้อยศุขเกษมอาจโกรธขึ้งที่ลูกชายได้สาวพม่าเป็นภรรยา โดยไม่บอกกล่าวหรือขออนุญาตจากพ่อแม่ก่อน ฝ่ายผู้ใหญ่ของเจ้าหญิงบัวนวลก็ย่อมไม่พอใจและเสียหน้าที่เจ้าน้อยศุขเกษมมีภรรยาแล้ว ทำให้แผนการแต่งงานระหว่างเจ้าน้อยศุขเกษมและเจ้าหญิงบัวนวลต้องสิ้นสุดลง

แต่ปมปัญหาสำคัญที่สุดคือ เจ้าราชบุตรไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้องส่งตัวหมะเมียะกลับพม่า เพื่อแสดงให้สยามเห็นว่าแม้ตนเองได้ทำผิดที่ส่งลูกชายไปเรียนที่พม่า แต่ต่อจากนี้ไป ล้านนาจะต้องไม่มีสัมพันธ์ใด ๆ กับพม่าอีก สัมพันธ์รักระหว่างลูกชายกับสาวพม่าจะต้องยุติอย่างเด็ดขาด


ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าฉากความรักและความอาลัยระหว่าง 2 หนุ่มสาวในตอนเช้าวันหนึ่งของเดือนเมษายน พ.ศ. 2446 จะโศกเศร้าสะเทือนใจจนใครต่อใครที่พบเห็นร้องไห้ตามเพียงใดก็ตาม แต่เรื่องจริงเรื่องนี้ก็ต้องจบลงเช่นนั้น ไม่ใช่เรื่องของกรรมเวร ไม่ใช่ศักดินาที่ต่างกันระหว่างคนรักทั้งสอง และไม่ใช่เชื้อชาติเผ่าพันธุ์ต่างกัน หรือประเพณี แต่เป็นปัญหาการเมือง


การเมืองที่สยามกำลังกำหนดเส้นทางเดินของล้านนา และเจ้าราชบุตรเลือกที่จะเป็นฝ่ายยอมจำนน การเมืองที่พ่อส่งลูกไปเรียน ด้วยหวังว่าลูกจะมีความรู้ในเรื่องภาษาอังกฤษ สถานการณ์การเมืองในพม่าและนโยบายของอังกฤษ เพื่อลูกจะได้กลับมามีบทบาทในล้านนาต่อไป (ไม่มีหลักฐานว่าเจ้าราชบุตรมีความคิดทางการเมืองอย่างใด) แต่แล้วความรักที่เกิดขึ้นและขัดแย้งกับปัญหาการเมืองก็ต้องพ่ายแพ้แก่การเมืองในที่สุด

เมื่อวันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2545 ที่ผ่านมา นักวิชาการชาวเชียงใหม่ท่านหนึ่งซึ่งสนใจเรื่องหนุ่มศุขเกษมและสาวหมะเมียได้ไปเยือนเมืองเมาะละแหม่ง เธอคือ รศ.จีริจันทร์ ประทีปะเสน เส้นทางที่ปิดระหว่างเมียวดีกับเมาะละแหม่งทำให้คนไทยที่สนใจจะไปเยือนเมาะละแหม่งต้องบินจากฝั่งไทยไปที่นครย่างกุ้ง แล้วนั่งรถยนต์หรือรถไฟย้อนกลับมา


น่าเสียดายที่อาจารย์จีริจันทร์ไปถึงเมืองเมื่อค่ำแล้ว และต้องเดินทางจากเมืองตอนสายวันรุ่งขึ้น แต่กระนั้น ในความมืดของคืนนั้นและความสลัวรางของเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น อาจารย์ก็ได้เห็นหลายสิ่งที่น่าตื่นใจ และจะเป็นฐานสำคัญสำหรับการเดินทางของเธอครั้งต่อไปและของผู้สนใจศึกษารุ่นต่อไป


อาจารย์เล่าว่า ค่ำคืนนั้น เธอได้ขึ้นไปที่วัดไจ้ตาหล่าน เมื่อขึ้นไปถึงลานกว้างหน้าพระเจดีย์ ขณะที่เธอกำลังไหว้พระเจดีย์สีทองอร่าม มีหนุ่มสาวคู่หนึ่งนั่งเคยงกันอยู่ไม่ไกลนักกำลังไหว้พระเจดีย์เช่นกัน ลานนี้เองเมื่อ 99 ปีก่อน (พ.ศ. 2446) ที่หนุ่มเชียงใหม่กับสาวพม่าคู่หนึ่งนั่งเคียงกันไหว้พระเจดีย์เบื้องหน้า และสัญญาต่อกันและต่อหน้าพระเจดีย์ว่าจะรักและซื่อสัตย์ต่อกันตราบฟ้าสิ้นดินสลาย


เมื่ออาจารย์พบพระรูปหนึ่งและถามถึงแม่ชีของวัดนี้ ท่านได้พาเธอไปพบเจ้าอาวาสซึ่งมีอายุราว 60 ปี ท่านเจ้าอาวาสเล่าว่าวัดนี้เคยมีแม่ชีคนเดียวเมื่อนานมาแล้ว กล่าวคือเมื่อท่านเริ่มบวชเณรอายุ 18-19 ปีประมาณ พ.ศ. 2504-2505 ที่วัดมีแม่ชีชรารูปหนึ่ง ชื่อ ด่อนังเหลี่ยน อายุ 70 ปีเศษ และหลังจากนั้นไม่นาน แม่ชีก็เสียชีวิต


เจ้าอาวาสเล่าว่าท่านได้ยินว่าแม่ชีผู้นี้บวชชีตั้งแต่เป็นสาว เป็นแม่ชีที่ชอบมวนบุหรี่ และมีคนมารับไปขายเป็นประจำ แม่ชีได้บริจาคเงินให้วัดสร้างศิลาจารึกเป็นภาษามอญมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ ที่ยังคงเก็บไว้ที่วัด


เจ้าอาวาสเล่าว่าห้องพักของแม่ชียังคงอยู่ หม้อข้าวและเครื่องใช้บางอย่างก็ยังคงอยู่
อาจารย์จีริจันทร์คิดว่าแม่ชีด่อนังเหลี่ยนคือหมะเมียะ เพราะเป็นที่รู้กันที่เชียงใหม่ว่าหลังจากที่หมะเมียะถูกพรากจากเจ้าน้อยศุขเกษม เธอก็ไปรอชายคนรักที่เมืองเมาะละแหม่ง ไม่ได้รักใครอีก หลังจากนั้น เธอได้กลับมาที่เมืองเชียงใหม่อีกครั้งเพื่อมาพบเจ้าน้อยศุขเกษม


ในตอนนั้น เจ้าน้อยแต่งงานแล้วก็กับเจ้าหญิงบัวชุม ซึ่งดำเนินการโดยเจ้าดารารัศมีและพิธีสมรสจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเจ้าน้อยทราบว่าหมะเมียะมารอพบที่บ้านเชียงใหม่ เจ้าน้อยศุขเกษมไม่ยอมออกมาพบ แม้ว่าหมะเมียะจะรออยู่นานแสนนาน โดยที่เจ้าน้อยได้ฝากเงินให้ 800 บาทและแหวนทับทิมที่ระลึกวงหนึ่ง


หลังจากนั้น หมะเมียะก็กลับมาบวชชีที่วัดใหญ่ในเมืองเมาะละแหม่งจนสิ้นชีวิต


อาจารย์จีริจันทร์สนใจข้อเท็จจริงที่ว่าแม่ชีผู้นี้บวชตั้งแต่ยังสาว และชอบมวนบุหรี่ไปขายหารายได้ จึงน่าเชื่อว่าด่อนังเหลี่ยนกับหมะเมียะเป็นคนเดียวกัน ส่วนคำว่าหมะเมียะเป็นภาษาไทใหญ่แปลว่าสีแดง (ด่อ คือนาง) ก็เป็นประเด็นที่ต้องค้นคว้าต่อไปว่าเหตุใดหมะเมียะจึงเปลี่ยนชื่อ และเหตุใดต้องใช้ชื่อว่านังเหลี่ยน


เช้าวันรุ่งขึ้น อาจารย์ไปถามหาบ้านไม้สักหลังใหญ่ของเศรษฐีอู โพดั่ง ซึ่งเคยเป็นบ้านที่พักของเจ้าน้อยศุขเกษม อาจารย์บอกว่าอู โพดั่งเป็นชื่อถนนสายหนึ่งในย่านนั้น ส่วนบ้านนั้นรื้อขายไปแล้ว อาจารย์ได้ไปที่ตลาดได วอขวิ่น ที่เจ้าน้อยได้พบกับหมะเมียะ และเป็นตลาดที่ หมะเมียะเคยขายบุหรี่ที่นั่น เพราะเป็นตลาดที่อยู่ไม่ไกลจากบ้านของเศรษฐีอู โพดั่ง เธอได้พบตลาดเก่าแก่ และมีสภาพที่ไม่น่าจะแตกต่างจากสภาพเมื่อเกือบ 100 ปีก่อน และได้พบย่านขายบุหรี่


จากนั้น อาจารย์ได้ไปที่โรงเรียน St. Patrick ได้พบว่าเป็นโรงเรียนที่มีเนื้อที่กว้างขวางเกือบ 10 ไร่ มีอาคารสร้างด้วยไม้สัก มีเสาขนาดใหญ่กว่า 60 ต้น มีโบสถ์ มีอาคารตึกที่เป็นหอพัก มีโรงอาหารขนาดใหญ่ และสระว่ายน้ำ แต่ขณะนี้โรงเรียนดังกล่าวได้ปิดกิจการไปแล้ว และกลายเป็นโรงเรียนสอนวิชาบัญชี

ชีวิตรักอันรันทดของเจ้าน้อยศุขเกษม (พ.ศ. 2426-2456) และหมะเมียะ (พ.ศ. 2430-2505) จบลงแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2446 อันเป็นปีที่ทั้งสองเดินทางกลับถึงเชียงใหม่และถูกพรากจากกันไม่นานหลังจากนั้น


เมื่อปี พ.ศ. 2446 หรือ 99 ปีที่แล้ว ทั้งสองถูกแยกจากกันและไม่ได้พบกันอีก แม้หมะเมียะจะเดินทางกลับไปหาอีกครั้งเพื่อร่ำลาหลังจากทราบว่าเจ้าน้อยแต่งงาน เจ้าน้อยศุขเกษมน่าจะรู้สึกผิดและเจ็บปวดอย่างที่สุด จึงไม่อาจทำใจออกมาพบหญิงคนรักได้ ได้แต่ฝากของที่ระลึกให้


แม้เจ้าน้อยศุขเกษมจะสิ้นชีวิตอีก 10 ปีหลังจากการพลัดพรากในปี 2446 และหมะเมียะจะสิ้นชีวิตอีก 59 ปีหลังจากนั้น แต่กล่าวสำหรับเจ้าน้อยศุขเกษมชีวิตของเขาจบสิ้นแล้วตั้งแต่ปีนั้น ปีที่เขาถูกการเมืองทำลายความรักและเขาได้ละเมิดคำสัญญาที่เขามีไว้กับหญิงสาวที่เขารัก 10 ปีหลังจากนั้นที่เขามีชีวิตเหลืออยู่ก็มีเพียงกายที่เดินไปมา และกายที่คอยแต่ดื่มสุรา ดื่มเพื่อที่จะลืมอดีต ดื่มจนทำให้กายนั้นหยุดทำงานก่อนวัยอันควร


แม้เจ้าน้อยศุขเกษมจะเสียชีวิตด้วยพิษสุรา และหมะเมียะจะเสียชีวิตด้วยโรคชรา แต่ความรักของเขาไม่เคยสิ้นสุด ชีวิตของเขาทั้งสองได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความรักอันยิ่งใหญ่ที่พวกเขาได้สร้างขึ้นในวัยหนุ่มสาว


วันหนุ่มสาวที่ผู้ใหญ่หลายคนคิดว่าเป็นวัยที่รักง่าย ลืมง่าย คิดว่าแยกพวกเขาออกจากกันไม่นานก็ลืมกันไปเอง วัยหนุ่มสาวและความรักที่การเมืองระหว่างสยามกับล้านนาคิดว่าเป็นเรื่องเล่น ๆ ไม่มีความสำคัญใด ๆ


สุดท้าย ความรักอันยิ่งใหญ่นั้นก็ยืนยง ที่เจ้านายล้านนาไม่ว่าจะอยู่ที่เชียงใหม่หรือกรุงเทพฯ ก็ตกตะลึงคิดไม่ถึงว่าเจ้าน้อยศุขเกษมจะรักหมะเมียะ และมีใจให้หญิงสาวคนนั้นเพียงผู้เดียวอย่างเหนียวแน่นถึงเพียงนั้น และก็คงไม่มีใครคิดว่าสาวน้อยชาวพม่าคนนั้นจะมีหัวใจเพียงดวงเดียวมอบให้แก่ชายหนุ่มชาวเชียงใหม่ และเธอได้พิสูจน์ให้เห็นตลอดชีวิตอันยาวนานของเธอ


น่าเสียดายนักที่ราชนิกูลแห่งสกุล ณ เชียงใหม่ จะช่วยกันปิดบังเรื่องราวอีกหลายด้านเกี่ยวกับความรักและความรันทดของคนทั้งสอง จนกระทั่งพวกเขาเองลับหายจากโลกไปทีละคนทีละคน จนเวลานี้จวนจะครบ 100 ปีของความรักและโศกนาฏกรรมนั้น ยังมีอีกหลายอย่างมากที่ดำมืด มีเพียงการคาดคะเนและวิเคราะห์ไปตามข้อมูลที่มีอย่างจำกัด


ขณะเดียวกัน ที่เมืองเมาะละแหม่ง แผ่นดินอันเป็นที่เกิดและที่สืบสานความรักและการรอคอยก็ดูเหมือนจะเกิดประเด็นใหม่ ๆ จากการไปเยือนของอาจารย์จีริจันทร์


ในหนังสือน่าอ่านเรื่อง วันฤดูหนาวในพม่า ของคุณอนุรักษ์ พันธุรัตน์ (สำนักพิมพ์บานชื่น 2544) ผู้เขียนไม่เพียงแต่เดินทางไปมาหลายครั้งระหว่างกรุงเทพฯ กับเมาะละแหม่ง หายังมีพ่อซึ่งท่านเคยเรียนโรงเรียน St. Patrick เช่นเดียวกับเจ้าน้อยศุขเกษม ศิษย์เก่าโรงเรียนนี้น่าจะช่วยอธิบายลักษณะของโรงเรียนนี้ให้คนรุ่นหลังได้ทราบ


นั่นหมายความว่าถ้าหากคุณอนุรักษ์ได้ทราบเรื่องความรักอันยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นเกือบ 100 ปีก่อนที่เมืองเมาะละแหม่ง และอาจจะมีคนอื่น ๆ อีกที่เพิ่งได้ทราบเรื่องนี้


ในโอกาส 100 ปีของความรักอันอมตะนี้ คนล้านนา-สยามและพม่าจะได้รับรู้เรื่องราวและแง่มุมเพิ่มขึ้น ได้บทเรียนใหม่ ๆ สำหรับชีวิตของคนที่ยังอยู่ และเติมพลังแห่งความรักของเขาทั้งสองให้แก่คนรุ่นหลัง


อย่างน้อย โลกนี้ก็มีคนบางคนที่ได้พิสูจน์แล้วว่า ความรักนั้นยิ่งใหญ่กว่าสิ่งใด ไม่มีกำแพงแห่งเชื้อชาติ ภาษา ประเพณี หรือการเมืองใดจะขวางกั้น


และแม้วันเวลาจะผ่านไป 1 ศตวรรษแล้ว ความรักนั้นไม่เพียงแต่ยังคงทรงพลังเช่นนั้น แต่ดูเหมือนจะเปี่ยมพลังยิ่งขึ้น และสร้างความมหัศจรรย์ใจยิ่งกว่าเดิม แม้ว่าขณะนี้ ความรักและความเข้าใจของ 2 ชาติจะจืดจางเหลือเกินก็ตาม

อาจจะยาวไปหน่อยครับ แต่ก็น่าสนใจ
เรื่องนี้ช่อง 7 เคยสร้างเป็นละครแล้ว
ที่ ศรราม กับ สุวนัน แสดงนำครับ
นานแล้วพอจำกันได้ไหมครับ


 :090:  :090:  :090:  :090:  :090:  :090:
 :090:  :090:  :090:  :090:  :090:  :090:

14


คุ้มหลวงริมแม่น้ำปิงเป็นที่ประทับของเจ้าแก้วนวรัฐ (ถูกรื้อเป็นตลาดวโรรส)


หอคำ พระราชวังของกษัตริย์เชียงใหม่  

คำว่า หอคำ เป็นคำของคนไทหลายกลุ่มที่ใช้เรียกที่อยู่ของเจ้าผู้ครองเมืองหรือที่เรียกในภาษาสันสกฤตว่ากษัตริย์ คำว่าหอคำก็คือคำว่าพระราชวังที่คนไทยรู้จักกันดี
          กลุ่มคนไทที่เรียกพระราชวังว่าหอคำ ได้แก่คนไทใหญ่ ไทเขิน ไทลื้อ ไทยอง ไทอาหม และไทยวน การศึกษาของบรรจบ พันธุเมธา (ไปสอบคำไท. 2522) คนไทเขินในเมืองเชียงตุง คนไทใหญ่ในเมืองไทย รัฐฉานของพม่าเรียกที่อยู่ของเจ้าผู้ครองเมืองว่า หอคำ และหอเจ้าฟ้า
          การศึกษาของเรณุ วิชาศิลป์ (พงศาวดารไทอาหม. 2539) พบว่าคนไทอาหมแห่งรัฐอัสสัมของอินเดียภาคตะวันออกติดกับพม่าเรียกที่อยู่ของเจ้าผู้ครองเมืองว่าหอนอน หรือหอหลวง
          ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่และล้านนาเรียกที่อยู่ของเจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่และล้านนา ว่า ?หอคำ? โดยตลอด
          ส่วนคนไทในสยมอยู่ใกล้ชิดกับอารยธรรมของเขมรซึ่งรับอิทธิพลมาจากอินเดียอีกทอดหนึ่ง คนไทสยามจึงหันไปใช้คำว่า ?พระราชวัง?หรือ ?พระบรมมหาราชวัง? รวมทั้งคำว่ากษัตริย์ก็ได้รับอิทธิพลมาจากเขมร ขณะที่คนไทกลุ่มอื่น ๆ ใช้คำว่าเจ้าเมืองหรือเจ้าฟ้าเพื่อเรียกกษัตริย์
          เนื่องจากคนไทสยามสามารถสถาปนาอาณาจักรขึ้นได้อย่างมั่นคง แต่คนไทกลุ่มอื่น ๆ ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ และยังสูญเสียอำนาจการปกครองและศิลปวัฒนธรรมตลอดจนภาษาถูกทำลาย คำว่า ?หอคำ? จึงค่อย ๆ หายไป คนไทยทั่วประเทศจึงรู้จักแต่คำว่าพระราชวัง
          นอกจากคำว่า ?หอคำ? ยังมีคำว่า ?คุ้มหลวง? ที่ใช้ในความหมายเดียวกันและปรากฏในเอกสารตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ด้วย นั่นคือคำว่า พระบรมมหาราชวัง นั่นเอง
          แต่คำว่า ?คุ้ม? คำเดียวแปลได้ 2 อย่างคือ คุ้มที่หมายถึงหอคำ คือที่ประทับของเจ้าผู้ครองเมือง ซึ่งถ้าต้องการความหมายที่ชัดเจนก็ต้องใช้คำว่า คุ้มหลวง แต่หากเป็นคำว่าคุ้ม ยังอาจหมายถึงที่ประทับของเจ้านายในแง่นี้ คำว่าคุ้ม คำเดียวอาจหมายถึงคำว่า ?วัง? ในภาษาไทย
          กล่าวอีกแง่หนึ่ง คุ้มหรือวังมีได้หลายแห่งเพราะเจ้านายมีหลายคน แต่คำว่าคุ้มหลวง หรือหอคำก็คือพระราชวัง แม้จะมีหลายแห่งแต่ก็เป็นของเจ้านายทั่ว ๆ ไป จากการสำรวจของสมโชติ อ๋องสกุล ในปี พ.ศ. 2537 คุ้มภายในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่มีประมาณ 25 คุ้ม แบ่งออกได้เป็น 6 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. คุ้มที่ได้รับการดูแลรักษาอย่างดีจากทายาท 2. คุ้มที่ทายาทขายไป แต่ยังคงได้รับการดูแลรักษาอย่างดี 3. คุ้มที่ทายาทรื้อเพื่อถวายวัด 4. คุ้มที่ทายาทมอบให้ทางราชการ แต่ถูกรื้อไปแล้ว 5. คุ้มที่ทายาทขายให้คนอื่น และถูกรื้อไปแล้ว เหลือแต่รูปภาพ และ 6. คุ้มที่เหลือแต่ภาพ
          การที่คนไทในบริเวณหุบเขาต่าง ๆ คือ ไทลื้อ ไทยอง ไทยวน ไทใหญ่ ไทเขิน และไทอาหม มีคำใกล้เคียงกัน ก็สะท้อนให้เห็นประเด็นสำคัญ 4 ข้อคือ
          หนึ่ง ความเป็นมาที่คล้ายคลึงกันเพราะอยู่ใกล้เคียงกันและรับอิทธิพลเดียวกันและ
          สอง คนไทสยามอยู่ใกล้เขมร ชื่นชมและยอมรับอารยธรรมเขมรและอินเดียคนไทสยามจึงรับอารยธรรมเหล่านั้นมาเป็นของตน และเมื่อสามารถสร้างอาณาจักรไทยได้ และเข้ายึดครองรัฐของคนไทกลุ่มอื่น ๆ รัฐไทสยามจึงขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมของเขมร ? อินเดียไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ คำที่มีอยู่เดิมในแต่ละท้องถิ่นจึงเลือนหายไป แทบไม่มีใครรู้จัก ขณะที่คำจากไทสยามและวัฒนธรรมสยามเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศ
          สาม การที่กลุ่มคนไทส่วนใหญ่อยู่ในหุบเขา มีวัฒนธรรมร่วมกันค่อนข้างมาก และวัฒนธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงช้าด้วยสภาพภูมิรัฐศาสตร์ดังกล่าว อาจสะท้อนให้เห็นรากเหง้าหลายประการที่คนไทในอดีตเคยมี แต่เนื่องจากกลายเป็นเมืองขึ้นหรือสิ้นไร้อำนาจการเมือง วัฒนธรรมจึงถูกละเลยและทำลายตามไปด้วย และ
          สี่ การที่คนกลุ่มใดก็ตามจะอวดอ้างความเป็น ?ไท? หรือ ?ไทย? และโฆษณาศิลปวัฒนธรรมของคนไทกลุ่มอื่น จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรและสร้างความเสียหายให้แก่วัฒนธรรมและคน ?ไท? มากขึ้นเรื่อย ๆ

หอคำของกษัตริย์เชียงใหม่
          เมื่อพญามังรายยกทัพเข้าโจมตีและยึดเมืองหริภุญไชยได้ในปี พ.ศ. 1835 หลังจากนั้นจึงมาสร้างเวียงกุ๋มคามในปี พ.ศ. 1837 ตั้งอยู่ในเขตอำเภอสารภีในปัจจุบันและมาสร้างเวียงเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์อำนาจบนลุ่มแม่น้ำปิงในปี พ.ศ. 1839 ส่งผลให้เมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์อำนาจของรัฐล้านนาซึ่งรวมเอาลุ่มน้ำกก และลุ่มน้ำปิงเข้าด้วยกันกระทั่งสามารถแผ่อิทธิพลไปถึงลุ่มแม่น้ำวัง ยม และน่าน กลายเป็นรัฐที่เข้มแข็งที่สุดในบริเวณหุบเขาทั้งหลายที่ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างแม่น้ำโขงและแม่น้ำคง (สาละวิน)
          การที่พญามังรายมิได้อาศัยเมืองหริภุญไชยเป็นศูนย์อำนาจของรัฐใหม่หลังจากที่ยึดได้แล้ว มิได้อาศัยเวียงเจ็ดลินและเวียงสวนดอก (ซึ่งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และรอบ ๆ ในปัจจุบัน) แต่ได้สร้างเมืองใหม่อีก 2 เมืองคือ เวียงกุ๋มคาม และเวียงเชียงใหม่ ย่อมต้องมีเหตุผลบางประการที่ควรศึกษาค้นคว้าต่อไป
          ใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ (ปริวรรตโดยอรุณรัตน์ วิเชียรเขียวและเดวิด วัยอาจ, 2540) พญามังรายได้สร้างอาคารต่าง ๆ หลายหลังได้แก่หอนอน ราชวังคุ้มน้อย โรงคัล (สถานที่เข้าเฝ้า) โรงคำ (ท้องพระโรงที่เสด็จออกราชการ) เหล้ม (พระคลังมหาสมบัติ) ฉางหลวง (ที่เก็บเสบียง) โรงช้าง โรงม้า ฯลฯ แต่ทั้งหมดนี้รวมกันอยู่ในบริเวณหอคำ
          ดังนั้น คำว่าหอคำ จึงอาจหมายถึงเฉพาะหอที่ประทับ หรือบริเวณทั้งหมดที่เป็นของกษัตริย์ก็ได้
          ต่อมาภายหลัง เมื่ออิทธิพลของวัฒนธรรมเขมร-อินเดียที่ไทสยามรับเข้ามาเผยแพร่ บวกกับคำบาลี-สันสกฤตที่เข้ามาทางวัฒนธรรมพุทธศาสนา คำใหม่ ๆ ก็เกิดขึ้นด้านหนึ่งสะท้อนให้เห็นพัฒนาการด้านภาษาอีกด้านหนึ่ง สะท้อนว่าอำนาจของผู้หกครองย่อมเพิ่มขึ้นได้ด้วยปัจจัยหลายด้าน เช่นด้านภาษา และศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น
          ใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่คำว่าหอคำ ไม่เพียงแต่หมายถึงที่ประทับหากยังเป็นคำเรียกพระนามของกษัตริย์บางพระองค์ เช่น คำว่า ?สมเด็จพระเป็นเจ้าหอคำลคอน? (ลำปาง) ส่วนในงานของบรรจบ พันธุเมธา (ไปสอบคำไท) เจ้าฟ้าของรัฐต่าง ๆ ในเขตฉาน ไม่ว่าจะเป็นคนไทเขินหรือไทใหญ่ ก็มีคำว่า ?เจ้าหอคำ? ?ขุนหอคำ? ซึ่งอยู่ในแนวเดียวกับคนอยุธยา มีกษัตริย์ทรงพระนามว่า ?พระเจ้าปราสาททอง?

เวียงแก้ว ? เวียงของกษัตริย์เชียงใหม่

          เวียงแก้ว คือเวียงของกษัตริย์หมายถึงเขตพระบรมมหาราชวังของรัฐสยามนั่นเอง เมื่อเป็นเวียงก็ย่อมหมายถึงมีกำแพงล้อมรอบ
          เวียงแก้วของเวียงเชียงใหม่ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่ ภายในเวียงแก้วมีหอคำอันเป็นที่ประทับ หอกลอง โรงคัล โรงคำ เหล้ม และอื่น ๆ ที่ได้กล่าวไปแล้ว
          เวียงแก้ว ในที่นี้จึงมีความหมายกว้างกว่าคำว่าหอคำ เพราะเวียงแก้วรวมอาคารทั้งหมดไว้ภายใน
          คำว่า แก้ว เป็นสิ่งของมีค่า ต่อมาจึงกลายเป็นคำคุณศัพท์ แปลว่า ดี มีคุณค่าคำนี้จึงนำไปใช้กับสิ่งอื่นที่มีคุณค่า เช่น นางแก้ว เมียแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ลูกแก้ว (ลูกชายที่ออกบวชเป็นสามเณร ส่วนบริเวณรอบพระเจดีย์ ก็เรียกว่า ?ข่วงแก้ว?
          จากประตูช้างเผือก ซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือ อันเป็นเดชเมือง (หนึ่งในทักษาเมือง) บริเวณต่อจากนั้นจะเป็นที่โล่งกว้าง เรียกว่า ?ข่วงหลวง? หรือ ?สนามหลวง? เวียงแก้วจึงอยู่บริเวณใกล้ ๆ เขตหัวข่วง ที่ปัจจุบันคือวัดหัวข่วง ด้านทิศตะวันตก

คุกในหอคำ
          คุกหรือที่คนเมืองเรียกว่า ?คอก? ซึ่งมีไว้เพื่อจองจำนักโทษทั้งหลาย เอกสารในอดีตชี้ให้เห็นว่าคุกตั้งอยู่ในคุ้มหลายแห่งมิใช่มีคุกเดียวในคุ้มเดียว และมิใช่ว่าคุกมีเฉพาะในหอคำเท่านั้น
          หมายความว่าเจ้าหลวงและเจ้าายในอดีตมีอำนาจมากสามารถจับกุมคุมขังไพร่ที่ฝ่าฝืนคำสั่งหรือกระทำผิดกฎหมายหรือศีลธรรมของยบ้านเมือง หรือไม่พอใจไพร่ทาสบางคนด้วยเหตุผลบางประการ เมื่อจับกุมคุมขังนักโทษ จึงต้องมีคุกไว้ วิธีการในสมัยก่อนก็คือสร้างคุกภายในบริเวณคุ้ม เพราะแต่ละคุ้มมีทหารและข้าราชบริพารคอยดูแลอยู่แล้ว ก็เพิ่มภาระให้ทหารเหล่านั้นดูแลคุกอีกอย่างหนึ่ง หรืออาจเพิ่มจำนวนทหารเพื่อทำหน้าที่ดูแลตรวจตราคุกเป็นพิเศษ
          แรกเริ่มอาจเป็นห้องใดห้องหนึ่งโดยเฉพาะ ต่อมานานเข้า หรือเห็นว่านักโทษต้องมีสถานที่ลงโทษพิเศษ ก็อาจมีการสร้างอาคารเฉพาะหรือขุดดินลงไปให้นักโทษอยู่เพื่อยากแก่การหลบหนี
          คุกกลางหรือคุกหลวงน่าจะหมายถึงคุกที่คุมขังนักโทษด้วยศาลลูกขุนที่แต่งตั้งโดยเจ้าหลวง เป็นคุกที่คุมขังนักโทษที่ทำผิดต่อรัฐหรือต่อบ้านเมือง หรือต่อบุคคลที่ผู้นำระดับเจ้าหลวงเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องลงมาดูแลเอง ส่วนคุกที่อยู่ภายในของแต่ละคุ้มเป็นคุ้มเล็ก ๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อลงโทษผู้กระทำผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ เฉพาะภายในคุ้มนั้นนั่นเอง เช่น ลักเล็กขโมยน้อย หรือไพร่ทาสภายในคุ้มทะเลาะตบตีกัน เป็นชู้กัน หรือทำงานไม่เป็นที่พอใจของเจ้านาย หรือเจ้านายไม่ชอบใจไพร่ทาสบางคน ฯลฯ
          อำนาจอันล้นฟ้าในระบอบศักดินาทำให้เจ้าหลวงและเจ้านายสามารถสั่งจับกุมคุมขังใครก็ได้อยู่แล้ว ในเมื่อทายแก้ต่างก็ไม่มีกฎหมายก็ไม่มีชัดเจนในหลายกรณี จึงขึ้นอยู่กับว่าผู้มีอำนาจมีธรรมะเพียงใด และไพร่ทาสแข็งแกร่งมีอำนาจต่อรองระบบที่กดขี่ขูดรีดได้แค่ไหน
          เช่น จากเอกสาร ?คอกในคุ้ม คุ้มในคอก? ของสมโชติ อ๋องสกุล (2545) ในสมัยเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงหรือเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 ในราชวงศ์กาวิละ (พ.ศ. 2413-2440) คุกของเมืองเชียงใหม่ (อาจารย์สมโชติใช้คำว่าคุกที่เป็นทางการ ผู้เขียนเห็นว่าน่าจะเหมือนกับคำว่าคุกกลาง หรือ State prison มิใช่คุกของเจ้านายองค์ใดองค์หนึ่ง) อยู่ในคุ้มของเจ้าอินทวิชยานนท์ คุ้มนี้ตั้งอยู่ที่บริเวณสถานีตำรวจกองเมืองบนถนนราชดำเนินในปัจจุบัน
          เมื่อเจ้าอุปราชบุญทวงศ์สิ้นชีวิตในปี พ.ศ. 2425 เจ้าอินทวิชยานนท์ได้ใช้คุกในคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) เป็นคุกทางการ คุกนี้ตั้งอยู่ที่บริเวณกลางเวียง เจ้าบุรีรัตน์ผู้เคยเป็นแม่ทัพปราบกบฏพญาผาบที่อำเภอสันทรายในช่วงปี พ.ศ. 2432-2433 น่าเชื่อว่าครั้งนั้นเมื่อชาวนากบฏจำนวนมากถูกจับกุมกบฏชาวนาจากสันทราย ดอยสะเก็ด สันกำแพง สารภี และหางดงที่ถูกจับกุมในกรณีกบฏดังกล่าวถูกนำมาคุมขังที่นี่ก่อนการประหาร
          เรื่องนี้สามารถสืบได้ว่าคุกในกรุงเทพฯและอยุธยาตั้งอยู่ที่ใด มีการคลี่คลายอย่างไร แต่สำหรับคุกในสมัยราชวงศ์กาวิละที่มีหลายแห่งภายในคุ้มต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นข้อเท็จจริงและข้อสังเกตบางประการ ดังต่อไปนี้
          ประการแรก การที่เจ้าอินทวิทชยานนท์ใช้ทุกในคุ้มของเจ้านายบางองค์เป็นคุกทางการหรือคุกกลางน่าจะแสดงว่า คุกในหอคำไม่มี อาจจะด้วยเหตุผลว่าไม่ต้องการให้สิ่งไม่ดีอยู่ในหอคำ ด้วยหวั่นเกรงอันตรายหรือความสกปรก ฯลฯ ขณะเดียวกันก็แสดงว่าเจ้าายเจ้าของคุ้มมที่คุกนั้นเป็นคุกกลางเป็นบุคลที่เจ้าหลวงไว้ใจ ว่าจะต้องมีระบบการป้องกันนักโทษหลบหนีอย่างดี
          ประการที่สอง การที่คุกอยู่ในคุ้มใดคุ้มหนึ่งหรือหลายคุ้ม ย่อมสะท้อนให้เห็นระบบการบริหารราชการอย่างง่าย การจัดแบ่งหน่วยงานยังไม่หลากหลาย กล่าวคือ ระบบการบริหารดังกล่าวมิได้จัดตั้งคุกเป็นพิเศษ เช่น ตั้งอาคารอยู่นอกกำแพงเมืองหรือแบ่งเขตรั้วให้ชัดเจน มีเจ้าหน้าที่ดูแลชัดเจนตามหน่วยราชการที่ตั้งขึ้น
          ดังที่ได้กล่าวแล้ว การมีคุกอยู่ในคุ้มก็อาศัยทหารภายในคุ้มนั่นเองทำหน้าที่ดูแลนักโทษในคุก อยู่ไม่ไกลจากสายตา ดูแลง่าย ไม่ต้องเพิ่มกำลังพลเพื่อดูแลเฉพาะคุก
          ประการที่สาม มีความเป็นไปได้อย่างมากที่นักโทษในแต่ละคุ้มมีจำนวนไม่มากนัก จึงถูกคุมขังไว้ในแต่ละคุ้ม เพราะถ้าหากมีมากมาย ก็ย่อมมีความจำเป็นที่รัฐจะต้องคิดถึงการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อดูแลควบคุมนักโทษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          กล่าวโดยสรุป หอคำเป็นพระราชวังของกษัตริย์เมืองเชียงใหม่และเมืองต่าง ๆ ของคนไทยหลายกลุ่มหลายเมืองในบริเวณหุบเขาตั้งแต่ล้านนาขึ้นไป ส่วนเวียงแก้วแสดงให้เห็นบริเวณหอคำที่มีกำแพงล้อมรอบชัดเจน และคุ้มแต่ละแห่งมีคุกอยู่ภายในเพื่อคุมขังนักโทษ แต่คุ้มหลวงหรือเวียงแก้วหรือหอคำนั้นไม่มีคุก แต่คุกกลางอยู่ในคุ้มบางแห่งที่เจ้าหลวงชอบ??

 :002:  :002:  :002:  :002:  :002:  :002:


 



15
ผ่าจ้านคน มนต์ดำตัดสวาท (ของของใคร ของใครก็หวง) 

อิทธิฤทธิ์ของมนต์ดำที่คนเมืองเรียกว่า ?ผ่าจ้าน? ผ่านพิธีกรรมและเครื่องรางหลายประเภท ทั้งตะกรุดยันต์ เทียนขี้ผึ้ง หรือหุ่นปั้น มีอำนาจลึกลับถึงขั้นทำให้ชาย ? หญิงที่เคยรักใคร่ ต้องพรากจากกันได้จริงหรือ ??

อะไรคือ ?ผ่าจ้าน? ? สังคมล้านนายุคใหม่อาจจะหลงลืมคำนี้ไปนานแล้ว หลายคนไม่รู้จัก แต่ก็ยังพอมีบางคนที่เข้าใจว่า ?ผ่าจ้าน? คือมนต์ดำที่ใครก็ตามที่กระทำเข้าไปแล้วจะมีแต่การจากพราก เบาะแว้ง และเต็มไปด้วยทุกข์ !!

********

ขนบธรรมเนียมเรื่องคุณไสยในล้านนามีปรากฎเป็นหลักฐานไว้หลายกรณีแต่ที่เล่าขานกันมาสืบต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันเห็นจะไม่มีตำนานไหนร่ำลือเด่นชัดเท่ากรณีของพระนางจามเทวี ใช้ชายผ้าถุงพันรอบหมวกให้ขุนหลวงวิลังคะใส่ และใช้เหล้าใส่กระบอกลอดหว่างขาเพื่อข่มคาถาอาคม ทำให้ไม่สามารถพุ่งหอกไปถึงนครลำพูนได้

หรือในตำนานสิบห้าราชวงศืตอนพระยาร่วมจำแลงกายหลบหนีการจับกุมและตอนพระเจ้าติโลกราชสามารถจับตัวหมอไสยศาสตร์ที่เข้ามาทำพิธีได้ ไปจนถึงยันต์เทียนของกษัตริย์เชียงใหม่ที่ปรากฎอยู่ในสมัยพระเมืองแก้ว ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.2503 ? 2064 โดยการสู้รบกับพม่า นอกจากจะใช้กำลังทหารแล้วยังใช้พลังไสยศาสตร์ ทำให้ไม่เสียเมืองแก่พม่าอีกด้วย

ไพฑูรย์ พรมวิจิตร จากสถาบันวิจัยสังคม ม.ช. ศึกษาเรื่องยันต์ล้านนาระบุว่า ไสยศาสตร์ คือศาสตร์ที่ว่าด้วยการใช้พลังลึกลับให้เกิดประโยชน์แก่คน ทั้งทางสร้างสรรค์และทำลาย เป็นศาสตร์ว่าด้วยพลังของเวทย์มนต์และคาถาอาคม ตลอดถึงเครื่องรางของขลัง คนไทยน่าจะได้ศาสตร์นี้มาจากอาถรรพเวทของอินเดียและพุทธศาสนาแบบตันตระในยุคหลัง

ไสยศาสตร์มีทั้งขาวและดำ มีการกระทำทั้งสร้างสรรค์และทำลาย มักกระทำเลียนแบบของจริง โดยอาศัยหลักการเปรียบเทียบความคิด เช่น เมื่อชายต้องการให้หญิงรักตน อาจไปว่าจ้างหมอไสยศาสตร์ให้นำดินเหนียวมาปั้นหญิงและชายหันหน้าเข้าหากันและมัดติดกัน เสกคาถาแล้วนำไปฝังไว้ใต้บันไดบ้านหญิงสาว และเชื่อว่าหญิงจะรักชายทันที หรือในทางตรงกันข้าม ต้องการกระทำสิ่งร้ายต่อบุคคลใด ก็ทำหุ่นและสาบแช่งเข็มแทง ตัดคอ เผาไฟให้บุคคลนั้นตายในสามวันเจ็ดวันเป็นต้น

นอกจากการใช้คาถาอาคมเพื่อข่มหรือทำลายแล้ว ในล้านนายังมีความเชื่อและพิธีกรรมปรากฏออกมาในรูปการใช้ยันต์เทียนตะกรุดและผ้ายันต์ที่หลากหลาย รวมทั้งยันต์และพิธีผ่าจ้านด้วย

ศัพท์ ?ผ่าจ้าน? ออกสู่สาธารณะผ่านภาพความทรมานในการพรากลูกช้างออกจากอกแม่ แต่คำว่า ?ผ่าจ้าน? อันหมายถึงการทำให้แยกออกจากกันนั้น มิได้จำกัดเพียงเฉพาะช้างหรือสัตว์นั้น กับ ?คน? ก็มีพิธีกรรมนี้ และไม่ได้ตีกรอบเฉพาะการพรากลูกออกจากแม่ ตรงกันข้าม การผ่าจ้านคน กลับมีข้อห้ามในเรื่องของการแยกแม่จากลูก แยกพี่จากน้องเสียด้วยซ้ำ หรือแม้แต่กับผัว?เมีย พิธีกรรมอันผสานกลมกลืนอย่างแยกไม่ออกกับวิถีพุทธ ยังมีคุณธรรมกำกับมิให้กระทำการผ่าจ้านความสัมพันธ์ทางสายเลือดและครอบครัวมิเช่นนั้นจะเป็นบาปหลวง

พระชื่อดังรูปหนึ่งในวัดกลางเมืองเชียงใหม่เล่าว่า การผ่าจ้านยังคงมีอยู่ในสังคมอยู่บ้าง เป็นพิธีกรรมที่เหมือนจะเป็นการปลดทุกข์ทางใจให้กับหญิงที่สามีนอกใจไปมีเมียใหม่ หากคนเป็นเมียหลวงมาขอให้หมอผ่าจ้านทำพิธีแยกผัวออกจากเมียน้อยกลับมาอยู่กับครอบครัวเดิม อาจมีเหตุผลเพียงพอต่อการประกอบพิธี แต่หากเมียน้อยมาขอให้แยกผัวออกจากเมียเก่า หมอที่มีคุณธรรมมักจะปฏิเสธ

แต่ทุกกติกาย่อมมีผู้แหกกฎ บางทีอามิสสินจ้างก็สามารถลบล้างคุณธรรมได้ ผ่าจ้านจึงกลายเป็นมนต์ดำ ที่เมียน้อยอาจใช้เป็นที่พึ่งเพื่อแย่งชิงของรักของผู้อื่นมาเป็นของตัว หรือพี่น้องต้องการแยกจากกันเพราะแคลงใจเรื่องมรดก ซึ่งถือเป็นการทำบาปใหญ่บาปหลวงถึงขั้นหมอผ่าจ้านจะต้องมีพิธีอีกพิธีหนึ่งขึ้นมาให้ผู้ว่าจ้างรับผลบาปของการกระทำนั้นตกอยู่แต่ที่ตัวเอง มิใช่ที่หมอและก่อนจะประกอบพิธีจะต้องมีการตรวจดูดวงชะตาของบุคคล ๆ นั้นด้วย หากเป็นผู้มีดวงแข็ง ทำผ่าจ้านไม่สำเร็จ มนต์ดำนั้นจะกลับมาถึงตัวผู้ว่าจ้าง ให้กลายเป็นคนบ้าใบ้เสียสติไปถึงขั้นนั้น

สนั่น ธรรมมิ นักล้านนาคดีแห่งเมืองเชียงใหม่ เล่าถึงวิธีทำผ่าจ้านคนของล้านนาว่า มีลักษณะของการทำยันต์เทียนลงอักขระเขียนยันต์เป็นรูปหุ่นหญิงและชายเขียนชื่อและวันเดือนปีเกิดของแต่ละคนไว้ โดยเขียนชื่อหญิงไว้ที่หุ่นหญิง ชื่อชายไว้ที่หุ่นชาย บางหมอให้นำเศษเล็บ เศษผม หรือเศษเสื้อผ้าของคน ๆ นั้นมาใส่ไว้ด้วย บริกรรมคาถาแล้ว นำหุ่นทั้งสองหันหลังชนกัน เสกคาถากำกับ ตัดแยกเอาเศษผู้ชายไปคลึงเป็นไส้เทียนของหญิง และนำเทียนไปจุดที่ปากแม่น้ำที่แยกจากกัน คนละฟากแม่น้ำ หรือจุดที่สองแพร่ง เพื่อให้คนทั้งสองเดินไปคนละทางโดยเชื่อกันว่าจะต้องจุดตอนกลางคืน ที่ขวัญของคนอ่อน พิธีกรรมจึงจะสัมฤทธิ์ผล

อีกวิธีหนึ่งคือวิธีตัดกระดาษ เช่น มีหญิงมาขอให้หมอผ่าจ้านประกอบพิธี แยกสามีของตนออกจากเมียน้อย หมอก็จะเขียนชื่อและวันเดือนปีเกิดของคนทั้งสองในกระดาษคนละฟาก และหมอถือส่วนที่เป็นชื่อของฝ่ายชายไว้ แล้วตัดกระดาษให้ขาดโดยให้ชื่อฝ่ายหญิงหล่นลงไป จากนั้นก็มอบกระดาษที่เป็นชื่อฝ่ายชายคืนให้แก่ภรรยานำไปไว้ใต้หมอน ส่วนชื่อของภรรยาน้อยที่หล่นลงไป หมอผ่าจ้านก็จะขยำ ๆ และเผาไฟเสีย

บางตำราก็ใช้วิธีผ่าจ้านด้วยผลไม้ที่สามารถตัดให้ขาดจากกันเป็น 2 ซีก ได้ เช่น มะนาว ส้ม ด้วยวิธีเขียนชื่อชายหญิงคนละฟากและบริกรรมคาถาตัดทั้งสองให้จากกันและบางตำราใช้ปู 2 ตัว โดยเขียนชื่อชายหญิงหลังกระดองปูแต่ละตัว นำด้วยสายสิญจ์มาผูกปูติดกัน ว่าคาถาเสร็จก็ตัดสายสิญจ์ให้ปูทั้งสองแยกจากกันไม่กลับมาหากันอีกเลย

เป็นที่สังเกตว่า พิธีกรรมผ่าจ้านไม่ว่าจะทั้งช้างหรือคน มีลักษณะการกระทำเลียนแบบของจริงที่อาศัยหลักการเปรียบเทียบความคิด มีการผ่าการแยกออกจากหนึ่งเป็นสองที่สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ให้ประกอบพิธีรับรู้ถึงผลของการแบ่ง การแยกให้เห็นกับตา ส่วนผลที่ปรากฏจริงสืบเนื่องจากพิธีกรรมเสร็จสิ้นลงไปแล้ว ชายกลับมาหาหญิงเดิมหรือแยกจากอีกฝ่ายหนึ่งแท้จริงอย่างไร เมื่อใดและจริงหรือไม่นั้น เราคงมิอาจนำมายืนยันหรือสรุปได้ ณ ที่นี้

การนำเสนอพิธีกรรมผ่าจ้านคนครั้งนี้ เป็นเพียงการฉายปรากฎการณ์หนึ่งที่ยังมีอยู่ในความเชื่อของสังคมล้านนา ซึ่งได้คลี่คลายลงไปมาก แต่ก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าลบหายไปจากระบบ เพราะทุกวันนี้ คนที่เชื่อและประกอบพิธีกรรมผ่าจ้านคน ยังคงมีอยู่ในบางซอกมุมของล้านนา และพร้อมจะออกมาทำหน้าให้ สำหรับผู้ที่ต้องการที่พึ่งทางใจและเรียกร้องหาของรักของตนคืนมา?




ยันต์เทียนเล่มนี้ถ้าจะให้รักกัน ลงใส่กระดาษแล้วเอาฝ้ายจูงศพเป็นไส้พันหน้าเข้าหากัน ถ้าอยากให้ผัวเมียแยกกัน ให้ตัดครึ่งจุดคนละที



ยันต์ผ่าจ้านลูกนี้ลงใส่ชิน แล้วตัดครึ่งเอาไปฝังไว้ซีกละฝั่งน้ำ ตอนกลับอย่าเหลียวหลัง ทำให้หญิงชายคลาดจากกัน

 


16
รายนามกษัตริย์และเจ้าเมืองเชียงใหม่ (ยกเว้นช่วงที่พม่าปกครอง) ดังนี้ 
๑. พระญามังราย (พ.ศ.๑๘๐๔-๑๘๕๔)
๒. พระญาไชยสงคราม (พ.ศ.๑๘๕๔-๑๘๖๘)
๓. พระญาแสนภู (พ.ศ.๑๘๖๘-๑๘๗๗)
๔. พระญาคำฟู (พ.ศ.๑๘๗๗-๑๘๗๙)
๕. พระญาผายู (พ.ศ.๑๘๗๙-๑๘๙๘)
๖. พระญากือนา (พ.ศ.๑๘๙๘-๑๙๒๘)
๗. พระญาแสนเมืองมา (พ.ศ.๑๙๒๘-๑๙๔๔)
๘. พระญาสามฝั่งแกน (พ.ศ.๑๙๔๕-๑๙๘๔)
๙. พระญาติโลกราช (พ.ศ.๑๙๘๔-๒๐๓๐)
๑๐. พระญายอดเชียงราย (พ.ศ.๒๐๓๐-๒๐๓๘)
๑๑. พระญาเมืองแก้ว (พ.ศ.๒๐๓๘-๒๐๖๘)
๑๒. พระญาเมืองเกษเกล้า ครั้งที่ ๑ (พ.ศ.๒๐๖๘-๒๐๘๑) ครั้งที่ ๒ (พ.ศ.๒๐๘๖-๒๐๘๘)
๑๓. ท้าวซายคำ (พ.ศ.๒๐๘๑-๒๐๘๖)
๑๔. พระนางจิรประภา (พ.ศ.๒๐๘๘-๒๐๘๙)
๑๕. พระไชยเชษฐา (พ.ศ.๒๐๘๙-๒๐๙๐)
๑๖. ท้าวแม่กุ (พระเมกุฎิ) (พ.ศ.๒๐๙๔-๒๑๐๗)
๑๗. พระนางวิสุทธเทวี (พ.ศ.๒๑๐๗-๒๑๒๑)

เจ้าเมืองเชียงใหม่สมัยราชวงศ์กาวิละ (เจ้าเจ็ดตน)
๑. พระเจ้ากาวิละ (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๕๖)
๒. พระยาธรรมลังกา(เจ้าเชียงใหม่ช้างเผือก) (พ.ศ.๒๓๕๙-๒๓๖๕)
๓. พระยาคำฝั้น(เจ้าหลวงเศรษฐี) (พ.ศ.๒๓๖๖-๒๓๖๘)
๔. พระยาพุทธวงศ์ (เจ้าหลวงแผ่นดินเย็น) (พ.ศ.๒๓๖๙-๒๓๘๙)
๕. พระเจ้ามโหตรประเทศ (พ.ศ.๒๓๙๐-๒๓๙๗)
๖. พระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ (เจ้าชีวิตอ้าว) (พ.ศ.๒๓๙๙-๒๔๑๓)
๗. พระเจ้าอินทรวิชยานนท์ (พ.ศ.๒๔๑๖-๒๔๓๙)
๘. พระเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ (พ.ศ.๒๔๔๔-๒๔๕๒)
๙. เจ้าแก้วนวรัฐ (พ.ศ.๒๔๕๔-๒๔๘๒)


 :002:  :002:  :002:  :002:   :002:
 

17
          ประเด็นพื้นที่สวรรคต เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ผู้สนใจทางประวัติศาสตร์พยายามเสาะแสวงหาคำตอบว่าเมืองที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสวรรคต คือเมืองใดกันแน่ ? อยู่ในประเทศพม่า หรืออยู่ในประเทศไทย และหลักฐานสำคัญที่นักประวัติศาสตร์ยอมรับว่าบันทึกได้เที่ยงตรงทั้งในด้านเนื้อหา และศักราชระบุปีที่เกิดเหตุการณ์ได้อย่างแม่นยำ ก็คือพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรดให้ชำระขึ้นในปี พ.ศ.๒๒๒๓ ซึ่งต่อมามีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ" พงศาวดารฉบับนี้นับได้ว่าเป็นพงศาวดารไทยที่บันทึกใกล้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในบรรดาพงศาวดารไทยด้วยกันกล่าว คือบันทึกหลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคตแล้ว เพียง ๗๕ ปี (สมเด็จพระนเรศวรฯสวรรคตในปี พ.ศ.๒๑๔๘) โดยได้บันทึกพื้นที่สวรรคต ว่า....


" เมืองหลวง "   ตำบล ทุ่งดอนแก้ว..

     ซึ่งยังไม่ทราบว่า เมืองนี้คือเมืองใดในปัจจุบัน เพียงแต่ทราบว่าเมืองนี้มีที่ตั้งอยู่ระหว่าง เมืองเชียงใหม่ กับ แม่น้ำสาละวินและเป้าหมายแรกที่สมเด็จพระนเรศวรฯจะบุกโจมตีได้แก่ "เมืองนาย"ซึ่งเป็นเมืองลูกของเชียงใหม่ แต่มาบัดนี้ถูกพระเจ้า "อังวะ"ยกกองทัพมายึดครอง เมืองนี้มีความสำคัญตั้งแต่ครั้งสมัยราชวงค์มังรายโดยพญามังราย องค์ผู้สร้างเมืองเชียงใหม่ และสถาปนาอาณาจักรล้านนา
(พ.ศ.๑๘๓๙-๒๑๐๑)ได้ส่งราชโอรส พระนาม "ขุนเครือ" ไปครอง "เมืองนาย" ซึ่งเป็นเมืองไทใหญ่ บางสมัย "เมืองนาย"เป็นกรุงราชธานีของอาณาจักรไทใหญ่ เมืองนาย จึงมีผู้สืบเชื้อสายราชวงค์มังราย มาโดยลำดับ หลายชั่วอายุคน ที่สำคัญกษัตริย์เชียงใหม่องค์สุดท้ายก่อนสิ้นสุดราชวงค์มังราย ก็ทูลเชิญมาจาก "เมืองนาย" (ช่วงสุดท้ายของราชวงค์มังราย อาณาจักรล้านนานพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ว่างกษัตริย์ ขุนนาง ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ จึงเดินทางไปยัง"เมืองนาย" เพื่อกราบทูลเชิญพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงค์ ผู้ซึ่งสืบเชื้อสายราชวงค์มังราย มายังนครเชียงใหม่ และสถาปนาเป็นพระเจ้าเชียงใหม่ องค์สุดท้ายก่อนถูก "พระเจ้าบุเรงนอง" แห่งเมืองหงสาวดี ยกกองทัพมายึดครองนครเชียงใหม่ อย่างยาวนานกว่า ๒๐๐ ปี
(พ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗)
       ดังนั้นพื้นที่สวรรคตจึงอยู่บริเวณด้านทิศเหนือของเมืองเชียงใหม่ กับแม่น้ำสาละวิน โดยเส้นทางสายนี้จะมุ่งหน้าตรงไปยัง "เมืองนาย" ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเชียงใหม่(ดูภาพถ่ายดาวเทียมและแผนที่ประกอบ)



          จากภาพถ่ายดาวเทียม "เมืองนาย"ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.เวียงแหงและเชียงใหม่   ด้านบนของภาพทางซ้ายมือคือ"เมืองนาย" ล่างถัดมาคือ"เมืองปั่น" ใต้ลงมาคือ"ท่าผาแดง"ซึ่งเป็นท่าข้ามแม่น้ำสาละ
วิน ต่อมาคือ"เมืองทา" และ"ช่องหลักแต่ง"อำเภอเวียงแหง เชียงใหม่



          จากภาพถ่ายดาวเทียม เส้นทางจากเชียงใหม่ไปพม่า(เมืองนาย,เมืองปั่น)ตามร่องลักษณะภูมิประเทศของเปลือกโลก เส้นทางที่สั้นที่สุดคือเส้นทางตามสายน้ำแม่แตงจากเชียงใหม่-เมืองกื้ด-เมืองคอง-เวียงแหง-เมืองทา-ข้ามแม่น้ำสาละวินที่"ท่าผาแดง"-เมืองปั่นและเมืองนายซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองปั่น เส้นทางนี้ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ และใช้กันหนาแน่นช่วง พม่าปกครองเมืองเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้าบุเรงนองและรัชทายาทตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗ กว่า ๒๐๐ ปี

       ส่วนอีกร่องภูมิศาสตร์จะเป็นเส้นทางโค้ง หรืออ้อม ระยะทางไกลกว่าเส้นทางแรกประมาณ ๒-๓ วันเดินเท้า คือเส้นทางจากเชียงใหม่ไปตามสายน้ำปิง-เชียงดาว-นาหวาย-กิ่วผาวอก-เมืองหาง -เมืองต่วน-ไต่เขาสูงซับซ้อนคดเคี้ยว(ช่วงนี้ไม่มีแม่น้ำสายหลัก)ลงสู่แม่น้ำสาละวินที่ท่าศาลา(ซาง)-เมืองปั่น-เมืองนาย






เส้นทางจากเชียงใหม่ไปเมืองนาย(พม่า) มี ๒ เส้นทางคือ

       ๑.เส้นทางตามสายน้ำแม่แตง (จุดสีเหลือง-ม่วง) ซึ่งเป็นเส้นทางตรงและสั้นที่สุดทำให้้การเดินเท้าจะถึงเมืองนายก่อนเส้นทางสายที่๒(สายน้ำแม่ปิง)ประมาณ ๒-๓วัน เส้นทางสายนี้ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ กองทัพพระเจ้าบุเรงนองก็ยกทัพมาจาก"เมืองนาย"และข้ามแม่น้ำสาละวินที่"ท่าผาแดง"แล้วแบ่งออกเป็น ๓ กองทัพผ่าน เมืองแหง(อ.เวียงแหง)สายหนึ่ง ผ่านเมืองปาย(อ.ปาย)สายหนึ่ง และผ่านเมืองเชียงดาว(อ.เชียงดาว)สายหนึ่ง เข้ายึดครอง นครเชียงใหม่ได้สำเร็จในปี พ.ศ.๒๑๐๑จนเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นอย่างยาวนานกว่า ๒๐๐ ปี     
      ๒.เส้นทางตามสายน้ำแม่ปิง(จุดสีน้ำเงิน)จะเป็นเส้นทางโค้ง อ้อมและไกลกว่าเส้นทางแรก รวมทั้งใช้เวลามากกว่า ๒-๓ วันจะสังเกตเห็นว่า"เมืองนาย"ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเชียงใหม่เกือบเป็นเส้นทะแยงมุม หากเดินตามเส้นทางสายน้ำแม่่ปิงไปโดยลำดับจะยิ่งอยู่ห่างไกลจาก"เมืองนาย"มากยิ่งขึ้นและโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงระหว่างเมืองต่วน(M.Ton)ไปยังแม่น้ำสาละวิน ไม่มีสายน้ำหลัก เส้นทางจึงขึ้นเขาสูง คดเคี้ยวเป็นระยะทางไกลกว่าจะถึง แม่น้ำสาละวิน(ไม่สามารถเดินตามสายแม่น้ำหางได้ เนื่องจากสายน้ำคดเคี้ยว ภูเขาสูงซับซ้อน และไม่มีท่าข้ามแม่น้ำสาละวินในบริเวณนี้ สมัยโบราณจึงไม่มีใครเดินทางไปตามสายน้ำหาง)



แม่น้ำสาละวิน



"ท่าผาแดง"(Ta Hpa-leng) ข้ามแม่น้ำสาละวิน


เมืองทา(ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสาละวินกับเมืองแหง)


"เมืองแหง"(อ.เวียงแหง)

      ดังนั้นเส้นทางเดินเท้าระหว่างเมืองเชียงใหม่กับเมืองนาย จึงมี ๒ เส้นทางและเราจะศึกษา ๒ เส้นทางนี้จากหลักฐานต่างๆเพื่อคลี่คลายปมปริศนา"พื้นที่สวรรคตแห่งมหาราชเจ้า"











18
จากอดีต สู่ปัจจุบัน ดินแดนล้านนา :

          ดินแดนล้านนา หมายถึง อาณาบริเวณที่ประกอบด้วยเมืองกลุ่มหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กันทางเครือญาติหรือทางวัฒนธรรม ในอดีต รัฐโบราณไม่มีอาณาเขตชัดเจน แต่ในสมัยที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง เคยมีอิทธิพลแผ่ออกไปอย่างกว้างขวาง ไปถึงดินแดนเชียงรุ่ง สิบสองพันนา และรัฐชานตอนใต้
          สำหรับดินแดนที่สำคัญของล้านนาอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ประกอบด้วยเมืองใหญ่น้อย แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มเมืองล้านนาตะวันตก ซึ่งเป็นแกนสำคัญมี เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา เมืองด้านล้านนาตะวันตกนี้มีความสัมพันธ์ ร่วมกันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น
ส่วนกลุ่มล้านนาตะวันออก มีเมืองแพร่และเมืองน่าน ทั้งสองเมืองมีประวัติความเป็นมาคล้ายกันคือ ในสมัยแรกเริ่ม ต่างมีฐานะเป็นรัฐอิสระ มีราชวงศ์ของตนเอง มีความใกล้ชิดกับ อาณาจักรสุโขทัย และรัฐอาณาจักรล้านนา เพิ่งผนวกเอา ดินแดนแพร่และน่านได้ในสมัยพระเจ้าติโลกราชและอยู่ในอาณาจักรล้านนาได้ไม่นานนัก อาณาจักรล้านนาก็ล่มสลายลง ในสมัยพม่าปกครองก็ใช้วิธีแบ่งแยกเมืองต่าง ๆ ด้วยเหตุผลดังกล่าว การศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา จึงมีศูนย์กลางการ ศึกษาอยู่ที่เชียงใหม่ เมืองหลวงแห่งล้านนา ส่วนเมืองแพร่และน่านมีการกล่าวพาดพิงไปถึงบ้าง

          การก่อรูปอาณาจักรล้านนาเริ่มในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อสถาปนานครเชียงใหม่ พ.ศ.๑๘๓๙ นับถึงปัจจุบันเชียงใหม่มีอายุกว่า ๗๐๐ ปี แล้ว การศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนาตามพัฒนาการแบ่งได้ดังนี้

สมัยแว่นแคว้น-นครรัฐ
สมัยรัฐอาณาจักร (ยุคสร้างอาณาจักร ยุครุ่งเรือง และการล่มสลายของอาณาจักรล้านนา)
สมัยพม่าปกครอง
สมัยเป็นเมืองประเทศราช และรวมเข้าเป็นจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย

 
สมัยแว่นแคว้น-นครรัฐ
          ก่อนกำเนิดอาณาจักรล้านนาในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ดินแดนล้านนามีรัฐต่าง ๆ กระจายตามที่ราบระหว่างหุบเขาในภาคเหนือ เช่น แคว้นหริภุญไชยในเขตแม่น้ำปิงตอนบน แคว้นโยนหรือโยนกในเขตที่ราบลุ่มน้ำกก เขลางนครในเขตลุ่มน้ำวัง เมืองแพร่ในเขตลุ่มน้ำยม เมืองปัวในเขตลุ่มน้ำน่าน และเมืองพะเยาในเขตลุ่มน้ำอิง แว่นแคว้น-นครรัฐแต่ละแห่งมีลักษณะการตั้งถิ่นฐานกระจายตัวอยู่ตามที่ราบระหว่างหุบเขา โดยมีเทือกเขาปิดล้อม จากการตั้งถิ่นฐานมาช้านานของรัฐใหญ่น้อยต่าง ๆ ก่อนกำเนิดอาณาจักรล้านนา ทำให้แต่ละรัฐต่างมีประวัติศาสตร์เป็นของตนเอง แคว้นหริภุญไชย ในเขตชุมชน ที่ราบลุ่มน้ำปิงตอนบน เป็นดินแดนที่พัฒนาความเจริญได้ก่อนชุมชนอื่น ๆ ในล้านนา เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมมาตั้งแต่ต้นพุทธศตรรษที่ ๑๔ ความเจริญของหริภุญไชยเป็นพื้นฐานของอาณาจักรล้านนาที่จะก่อรูปเป็นรัฐอาณาจักร ก่อนกำเนิดรัฐหริภุญไช ในบริเวณแอ่งเชียงใหม่-ลำพูนมีพัฒนาการเป็นรัฐขนาดเล็กหรือรัฐชนเผ่าเกิดขึ้นแล้ว พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชนเผ่าโบราณ ๒ กลุ่มคือ ลัวะและเม็ง

--------------------------------------------------------------------------------

 
 
ล้านนาสมัยรัฐอาณาจักร
          สมัยราชวงศ์มังราย พ.ศ.๑๘๐๔-๒๑๐๑ ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ดินแดนล้านนาได้พัฒนาการการปกครอง จากแว่นแคว้น-นครรัฐมาสู่รัฐแบบอาณาจักร มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง
          รัฐแบบอาณาจักรสถาปนาอำนาจโดยรวบรวมแว่นแคว้น-นครรัฐมาไว้ด้วยกัน ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เนื่องจากเกิดปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือการสลายตัวของรัฐโบราณที่เคยรุ่งเรืองมาก่อน ดังเช่น กัมพูชา ทวารวดี หริภุญไชย และพุกาม การเสื่อมสลายของรัฐโบราณเปิดโอกาสให้เกิดการสถาปนาอาณาจักรใหม่ ของชนชาติไทยที่ผู้นำใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทย
อาณาจักรใหม่ที่เกิดในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ที่สำคัญคือ ล้านนา สุโขทัย และอยุธยา อาณาจักรทั้งสามมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทนิกายลังกาวงศ์เช่นเดียวกัน ความเชื่อดังกล่าวสร้างความสัมพันธ์ต่อกัน ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการแข่งสร้างบุญบารมีของกษัตริย์ จึงนำไปสู่การทำสงครามระหว่างอาณาจักร รัฐสุโขทัยสลายลงก่อน โดยถูกผนวกกับอยุธยา หลังจากนั้น สงครามระหว่างอยุธยาและล้านนามีอย่างต่อเนื่อง สงครามครั้งสำคัญอยู่ใน สมัยของ พระเจ้าติโลกราช และพระบรมไตรโลกนาถ ประวัติศาสตร์ล้านนาในสมัยรัฐอาณาจักรแบ่งตามพัฒนาการ เป็น ๓ สมัย คือ สมัยสร้างอาณาจักร สมัยอาณาจักรเจริญรุ่งเรือง สมัยเสื่อมและการล่มสลาย (รายละเอียด)


--------------------------------------------------------------------------------
 
ล้านนาสมัยพม่าปกครอง (พ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗)
          นับเป็นยุคแห่งความอ่อนแอของล้านนา ในช่วงเวลาดังกล่าวส่วนใหญ่พม่าปกครอง แต่จะมีบางช่วง ที่อยุธยายกทัพ ขึ้นมายึดเชียงใหม่ได้ เช่น สมัยพระนเรศวรและสมัยพระนารายณ์ นอกจากนั้นมีบางช่วงที่เชียงใหม่ และเมืองต่าง ๆ แยกเป็นรัฐอิสระ เช่น ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เนื่องจากเป็นช่วงที่พม่า ประสบปัญหา การเมืองภายใน เมื่อพม่าแก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้วจะยกทัพมาปราบล้านนา ดังนั้นอำนาจพม่าในล้านนาจึงไม่สม่ำเสมอ ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นพม่าตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนอง(พ.ศ.๒๑๐๑) จนถึง พ.ศ.๒๓๑๗ สมัยพระเจ้าตากสิน ล้านนาจึงตกเป็นเมืองประเทศราชสยาม ล้านนาในสมัยพม่าปกครองเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานถึง ๒๑๖ ปี นโยบายของพม่าที่ปกครองล้านนาได้ปรับเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขการเมืองภายในของพม่าและ ปรับตามสภาพการเมืองในท้องถิ่นล้านนา

--------------------------------------------------------------------------------
 
ล้านนาสมัยเป็นเมืองประเทศราชของไทย (พ.ศ. ๒๓๑๗-๒๔๒๗)
          หลังจากเสร็จสงครามขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่ พ.ศ.๒๓๑๗ แล้ว พระเจ้าตากสิน ทรงตอบแทนความดีความชอบ โดยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระญาจ่าบ้าน(บุญมา) เป็นพระยาวิเชียรปราการครองเมืองเชียงใหม่ พระเจ้ากาวิละครองเมืองลำปาง และทรงมอบอาญาสิทธิ์แก่เจ้าเมืองทั้งสองให้ปกครองบ้านเมืองตามธรรมเนียมเดิมของล้านนา
อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสมัยธนบุรี พม่ายังคงพยายามกลับมายึดเชียงใหม่อีกหลายครั้ง ซึ่งพระญาจ่าบ้าน ป้องกันเมืองเชียงใหม่อย่างเข้มแข็ง แต่ด้วยผู้คนมีอยู่น้อยและกำลังอดอยาก จึงต้องถอยไปตั้งมั่นที่ท่าวังพร้าวและลำปาง จากนั้นจึงกลับไปที่เชียงใหม่เมื่อพม่ายกทัพกลับ การณ์เป็นไปในเช่นนี้ระยะเวลาหนึ่ง เมื่อพระญาจ่าบ้านเสียชีวิตลง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่แทน
พระเจ้ากาวิละเริ่มตั้งมั่นที่เวียงป่าซางในพ.ศ. ๒๓๒๕ ก่อน จากนั้นจึงเข้าตั้งเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๒๓๓๙ ซึ่งเป็นปีที่เชียงใหม่มีอายุครบ 500 ปี อิทธิพลของพม่าในล้านนาถือว่าได้สิ้นสุดลงในสงครามขับไล่พม่า พงศ. ๒๓๔๗ โดยกองทัพชาวล้านนาร่วมกับกองทัพไทยยกไปตีเมืองเชียงแสนที่มั่นของพม่าได้สำเร็จ
          พระเจ้ากาวิละจึงได้ฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่โดยรวบรวมพลเมืองเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการกวาดต้อนชาวเมืองที่หลบหนีเข้าป่า และกวาดต้อนผู้คนจากสิบสองพันนาและรัฐชานมาเชียงใหม่ เชียงใหม่จึงพ้นจากสภาพเมืองร้างและยังได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง จากนั้นพระเจ้ากาวิละ ได้ฟื้นฟูเชียงใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ราชประเพณี โดยกระทำพิธีราชาภิเษกสถาปนาราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนในลักษณะ เดียวกับราชวงศ์มังราย การสร้างกำแพงเมืองขึ้นใหม่ การสร้างอนุสาวรีย์ช้างเผือก และการทำนุบำรุงพุทธศาสนา เป็นต้น เชียงใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละจึงมีความเจริญมั่นคงเป็นปึกแผ่น และเป็นศูนย์กลางของล้านนาที่เข้มแข็ง
หลังจากสมัยพระเจ้ากาวิละแล้วก็มีเจ้าเมืองปกครองต่อมา รวมทั้งสิ้นราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน มี ๙ องค์ นโยบายและวิธีการปกครองดินแดนหัวเมืองประเทศราชล้านนา ประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่านมีลักษณะระมัดระวัง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ล้านนาเคยอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า ถึงสองร้อยกว่าปีย่อมมีความใกล้ชิดกับพม่ามาก รัฐบาลกลางที่กรุงเทพฯ เกรงว่าล้านนาจะหันกลับไปหาพม่า และในขณะเดียวกันพม่าก็พยายามแย่งชิงล้านนากลับคืนไปอีก รัฐบาลกลางจึงปกครองล้านนา โดยไม่เข้าไปกดขี่อย่างที่พม่าเคยทำกับล้านนา แต่กลับใช้วิธีการปกครองแบบผูกใจเจ้านายเมืองเหนือ โดยยอมผ่อนผันให้เจ้าเมืองมีอิสระในการปกครองภายใน เศรษฐกิจ การศาล การต่างประเทศ และขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนยกย่องให้เกียรติแก่เจ้าเมืองในโอกาสอันควร
          การเปลี่ยนแปลงในรูปที่รัฐบาลต้องเข้าไปควบคุมกิจการภายในหัวเมืองประเทศราชล้านนามากขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งในที่สุดก็ผนวกเอาล้านนาเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของไทย เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นยุคแห่งการปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตก ด้านการปกครองหัวเมือง มีการยกเลิกระบบการปกครอง เมืองประเทศราช ซึ่งเคยปฏิบัติกันมาช้านาน โดยจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นแทน มีข้าหลวงเทศาภิบาลซึ่งรัฐบาลกรุงเทพฯส่งไปปกครองและขึ้นสังกัดกระทรวงมหาดไทย ระบบมณฑลเทศาภิบาลที่จัดตั้งขึ้นจึงเป็นการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติรัฐซึ่งมีอำนาจรวมศูนย์ ที่องค์พระมหากษัตริย์
          การรวมหัวเมืองประเทศราชล้านนาเข้ากับส่วนกลาง รัฐบาลกลางวางเป้าหมายของการปฏิรูปการปกครองเพื่อสร้างเอกภาพแห่งชาติ ซึ่งมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมอำนาจเพียงแห่งเดียว การดำเนินการต้องกระทำ ๒ ประการ คือ
          ประการแรก ยกเลิกฐานะหัวเมืองประเทศราชที่เป็นมาแต่เดิม โดยจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ส่งข้าหลวงมาปกครอง ขณะเดียวกันก็พยายามยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองเสีย โดยรัฐบาลกลาง ริดรอนอำนาจของเจ้าเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งในที่สุดตำแหน่งเจ้าเมืองก็สลายตัวไป
          ประการที่สอง การผสมกลมกลืนชาวล้านนาให้มีความรู้สึกเป็นพลเมืองไทยเช่นเดียวกับ พลเรือนส่วนใหญ่ของประเทศ คือให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนในชาติ ซึ่งแต่เดิมมีความรู้สึกแบ่งแยกเป็นคนละพวก คนทางใต้เข้าใจว่าชาวล้านนาเป็นลาว ไม่ใช่ไทย รัฐบาลกลางใช้วิธีจัดการปฏิรูปการศึกษาโดยจัดระบบโรงเรียนหนังสือไทยแทนการเรียนอักษรพื้นเมืองในวัด และกำหนดให้กุลบุตรกุลธิดาต้องศึกษาเล่าเรียนภาษาไทย ซึ่งประสบผลสำเร็จ ชาวเชียงใหม่และล้านนาต่างถูกผสมกลมกลืนจนมีความรู้สึกเป็นพลเมืองไทย การดำเนินการ มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการปกครอง การศาล การภาษีอากร การคลัง การศึกษา การสาธารณสุขและอื่น ๆ โดยจัดเป็นระบบเดียวกับกรุงเทพฯ ในทุกด้าน
          ระหว่างการปฏิรูปการปกครอง ในช่วง ก่อนจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล (พ.ศ.๒๔๒๗-๒๔๔๒) ตรงกับสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์ที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๑๖-๒๔๓๙) ซึ่งนับว่าเป็นเจ้าเมืององค์สุดท้ายที่มีอำนาจปกครองบ้านเมือง เพราะเป็นช่วงแรกของการดำเนินงานรัฐบาลกลางมีนโยบายไม่ยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองในทันที ยังคงใช้ดำรงตำแหน่งอย่างมีเกียรติ แต่ขณะเดียวกันก็พยายามลดอำนาจและผลประโยชน์ทีละน้อย รัฐบาลกลางได้ส่งข้าหลวงจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาจัดการปกครองในเมืองเชียงใหม่ ในลักษณะที่ร่วมกันปกครองกับเจ้าเมืองและเจ้านายบุตรหลาน โดยที่ข้าหลวงพยายามแทรกอำนาจลงไปแทนที่ ส่วนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจซึ่งได้แก่รายได้จากการเก็บภาษีอากรส่วนหนึ่งต้องส่งกรุงเทพฯ นอกจากนั้น ป่าไม้ซึ่งแต่เดิมเป็นของเจ้าเมืองและเจ้านายบุตรหลานได้ถูกโอนเป็นของรัฐใน พ.ศ. ๒๔๓๙ ซึ่งเป็นช่วงก่อนการพิราลัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ และหลังจากสิ้นสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์แล้ว รัฐบาลกลางให้เจ้าอุปราชรั้งเมืองอยู่หลายปี จนกระทั่งเห็นว่าให้ความร่วมมือกับรัฐบาลกลางดี จึงมีการแต่งตั้งให้เจ้าอุปราชเป็นเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ องค์ที่ ๘ (พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๔๕๒)
          เมืองเชียงใหม่เติบโตอย่างมากหลังจากนโยบายเมืองหลัก โดยเฉพาะตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นต้นมา และเจริญเติบโตแตกต่างจากจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือ
 
อาจจะยาวไปหน่อยนะครับ แต่ตั้งใจให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ

 :010:  :010:  :010:  :010:  :010:  :010:

19
อยากเห็นรูปยันต์ พ่อ-แม่ ที่เป็นอักขระครับ
พอดีเห็นในกระทู้รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) ว่าด้วยเรื่องยันต์ พ่อ-แม่
ที่สักตรงบริเวณหัวไหล่ด้านหน้า ซ้าย-ขวา เลยอยากจะเห็นรูปยันต์ครับ
เพราะอาทิตย์หน้าคิดว่าจะไปสักกับพระอาจารย์อยู่พอดี
ไม่ได้ไปนมัสการพระอาจารย์นานแล้วครับ


 :054:  :054:  :054:  :054:  :054: :054:

20
เหรียญหลวงพ่อกก วัดดอนขมิ้น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี




21

ประวัติพระอาจารย์ วรงคต วิริยะธโร ( หลวงตาม้า )
วัดพุทธพรหมปัญโญ (วัดถ้ำเมืองนะ) ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่


ชาติภูมิ
พระอาจารย์วรงคต วิริยะธโร มีชาติกำเนิดในสกุล สุวรรณคุณ เดิมชื่อ นายวรงคต สุวรรณคูณเกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 บ้านเดิมอยู่ที่ อำเภอนรนิวาส จังหวัด สกลนคร โยมบิดาชื่อ นายวันดี โยมมารดาชื่อนาง โสภา ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 3 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 2 ของครอบครัว

สู่เพศพรหมจันทร์
หลวงตาม้าท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ดู่และท่านได้อยู่ฝึกกรรมฐานกับหลวงปู่ดู่ในเพศฆราวาสเป็นเวลาเกือบ 20 ปีแต่ก่อนที่หลวงปู่ดู่ท่านจะมรณภาพไปไม่นานนั้นหลวงปู่ท่านก็ได้สั่งให้หลวงตาม้าท่านบวช
ท่านได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 เวลา 10.06 น. ตรงกับวันอาทิตย์ ณ วัดพุทไธสวรรค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีพระครูภัทรกิจ (หลวงพ่อหวล) และเจ้าอาวาสวัดพุทไธสวรรค์ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระครูสุนทรธรรมนิเทศ (บุญส่ง) เป็นพระกรรมาจารย์ และมีพระครูพิจิตรกิจจาทร (เสน่ห์) เป็นพระอนุศาสนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ?วรงคต วิริยะธโร?

บำเพ็ญสมณธรรม
พอออกพรรษาแรกท่านได้ไปกราบหลวงพ่อหวลเพื่อขออนุญาติออกธุดงค์ เมื่อหลวงพ่อหวลอนุญาติแล้ว ท่านก็ไปกราบหลวงปู่ดู่ที่วัดสะแก คืนนั้นไม่มีใครอยู่เลยที่กุฎิหลวงปู่ดู่ มีเพียงหลวงปู่และหลวงตาเท่านั้น ท่านเลยกราบลาหลวงปู่ดู่คืนนั้น หลวงปู่ดู่ท่านได้เทศสอนหลวงตาและบอกกับหลวงตาม้าในครั้งนั้นด้วยว่า
"จำไว้ไม่ว่าแกไปไหนเหรออยู่ที่ไหนข้าก็อยู่ด้วย
แกเอาพระองค์นี้ไป(พระรูปหล่อเหมือนหลวงปู่ดู่)หากเองสงสัย
อะไรในการปฎิบัติให้แกถามเอากับพระองค์นี้"
หลวงปู่ดู่ท่านให้พระปูนรูปเหมือนหลวงปู่ดู่ 1 องค์ หลวงปู่ดู่ท่านยังเมตตาให้เงินติดตัวท่านมาอีก 500 บาท พร้อมทั้งของใช้สำหรับสงฆ์ พร้อมกับสั่งให้ท่านขึ้นไปอยู่ที่ภาคเหนือเพราะเหตุผลบางอย่าง พอตอนเช้าหลวงปู่ดู่ท่านได้ให้พระในวัดสะแก นำปิ่นโตข้าวมาให้หลวงตาเพราะทราบว่าท่านไม่ได้ออกบิณฑบาตร เพราะเตรียมธุดงค์ขึ้นเหนือ
หลวงตาม้าท่านได้ธุดงค์รอนแรมอยู่เป็นเวลานานตามภาคเหนือของประเทศไทยตั้งแต่เมื่อประมาณเกือบ 20 กว่าปีก่อนท่านได้ธุดงค์แวะภาวนาตามถ้ำต่างๆเรื่อยไปในส่วนเรื่องราวการธุดงค์ของท่านหลวงตาม้านี้สนุกและพิศดารมาก อยู่มาวันหนึงท่านได้มาพักอยู่ที่พระธาตุจอมแจ้ง หรือพระธาตุจอมกิตติ พอท่านมาถึงท่านได้ตั้งจิตอธิษฐานกลางแจ้งเลยว่า ท่านอยากจะหาสถานที่ที่สงบท่านต้องการจะเก็บตัวสัก พอเช้าวันรุ่งขึ้นมีผู้เฒ่าชราผู้หนึงมาบอกท่านว่าที่เมืองนะ มีถ้ำน่าอยู่แห่งหนึง ท่านบอกว่าถ้าไม่เจอะผู้เฒ่าผู้นี้ท่านคงไปอยู่ที่พระบาท 4รอยแทน ท่านได้ธุดงค์ไปเรื่อยตามญาณหลวงปู่ดู่ไปจนเจอเข้า กับถ้ำแห่งหนึงซึ่งชาวบ้านแถวนั้นเรียกว่าถ้ำเมืองนะซึ่งตรงกับที่ผู้เฒ่าผู้นั้นมาบอก พอท่านถึงถ้ำเมืองนะแล้วท่านจึงได้บำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่ที่ถ้ำแห่งนี้ และได้ส่งข่าวมาทางหลวงปู่ดู่
เวลาผ่านไปจนเข้าปี 2533 หลวงตาม้าท่านได้ทราบว่าหลวงปู่ดู่ท่านได้ละสังขารแล้วท่านจึงได้เดินทางกลับไปยังจังหวัดอยุธยา หลังจากงานพระราชทานเพลิงศพของหลวงพ่อดู่ ได้ผ่านไปเรียบร้อยแล้วหลวงตาท่านก็ได้เดินทางกลับไปยังถ้ำเมืองนะ
ท่านได้อยู่ภาวนาอย่างเงียบๆในถ้ำนั้นเป็นเวลานับ 10 ปีโดยมีชาวบ้านในละแวกนั้นซึ่งเป็นชาวไทยและชาวไทยใหญ่คอยอุปัฐฐากท่านตลอดมาหลวงตาม้าท่านเมตตามากการปฎิบัติของท่านในตอนแรกเป็นไปเพื่อหลุดพ้นในชาตินี้แต่หลังจากที่ท่านภาวนาไปท่านได้รับกระแสพุทธภูมิเก่าของท่านเข้าที่จิตจนทำให้ท่านเกิดความเมตตาสงสารและอฐิษฐานจิตต่อเพื่อฉุดช่วยให้สัตว์ทั้งหลายทั่วทั้ง 3 โลกธาตุมีที่พึ่งมีร่มโพธิ์ร่มไทรนับว่าเป็นเมตตาอันนับประมาณมิได้ของท่านจนถึงวันหนึ่งท่านก็ได้เริ่มออกสังคมและเริ่มสร้างวัดขึ้นที่นั้นและสั่งสอนลูกศิษย์เรื่อยมาจนถึงบัดนี้ ปฎิปทาของท่านหลวงตาเป็นการบำเพ็ญแนวโพธิสัตว์และลูกศิษย์หลายๆคนได้ประจักษ์ถึงบารมีท่านในด้านพุทธภูมิมาแล้วทั้งนั้น นับว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีญาณบารมีแก่กล้าและเมตตาอันล้นเหลือ มากรูปหนึ่งในปัจจุบันที่สั่งสอนคนให้เดินบนเส้นทางแห่งธรรมะ และท่านยังเป็นผู้ที่สืบทอดวิชาต่างๆของหลวงปู่ดู่ในปัจจุบันอีกด้วย ทั้งด้านการภาวนาเปิดโลก และ ด้านการสร้างพระเครื่อง ซึ่งท่านได้เมตตาสั่งสอนถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์ในปัจจุบัน เพื่อนำไปช่วย มนุษย์และภูมิทั้งหลาย ตลอดถึงความสงบแก่จิตและการอยู่เย็นเป็นสุขของผู้ปฎิบัติ



22
พระขุนแผน รูปไข่ผ่าซีก ไม่ทราบวัดครับใครทราบช่วยตอบทีครับ





 :002:  :002:  :002:  :002:  :002:  :002:

23
ล็อกเกตเกจิ ได้มา 30 กว่าปีแล้วครับ ผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วยครับ








24
อยากทราบประวัติ อาจารย์เณร วัดศรีมูลเรือง ต.ขัวมุง อ.สารภี จ.เชียงใหม่
         พอดีผมอยากทราบประวัติ อาจารย์เณร วัดศรีมูลเรือง ต.ขัวมุง อ.สารภี จ.เชียงใหม่
อย่างละเอียดครับ ใครพอจะมีข้อมูลไหมครับ
         เท่าที่ผมรู้มาท่านอายุ 17 ปี เขาว่ากันว่าเป็นสายวัดบางพระเหมือนกัน แต่ทำไมในกระดานสนทนาของเรา
ถึงไม่มีการพูดถึงกันล่ะครับ แต่ลายสักของท่านก็คล้ายของวัดบางพระเหมือนกันครับ ลายเส้นสวยงามจริงๆครับ
เห็นแล้วอยากให้ท่านสักให้บ้าง จึงทราบข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับประวัติของท่านให้ลึกซึ้งกว่านี้ครับ


ปล. ใครอยู่ทางเหนือหรือผู้รู้ช่วยให้ข้อมูลด้วยครับ


 :054:  :054:  :054:  :054:  :054:  :054:

25
รบกวนเพื่อนๆ คือผมอยากเห็นลายสักยันต์ สาริกาลิ้นทอง
และอยากทราบคาถาบูชา และพุทธคุณของลายสัก นะครับ

 :070:  :070:  :070:  :070:  :070:  :070:

26
อยากถามวิธีการลงรูปในช่องของรายเซ็นครับ

 :054:  :054:  :054:  :054:  :054:

หน้า: [1]