แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - น้องลิงน้อย

หน้า: [1]
1
วันวิสาชบูชา เป็นวันสำคัญทางศาสนา

ที่พวกเราชาวพุทธควรให้ความสำคัญอีกวันหนึ่งนะค่ะ

ไม่ทราบว่าพี่น้องชาวเว็บบอร์ดในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน

มีกิจกรรมอะไรกันบ้างในวันวิสาขบูชา








ขอแถมประวัติ วันวิสาขบูชา โดยสังเขปนะค่ะ

วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือราวเดือนพฤษภาคม แต่หากตรงกับปีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน วันวิสาขบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๗ หรือราวเดือนมิถุนายน

    วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า ?วิสาขปุรณมีบูชา? แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (คือเดือน ๖) ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ๓ ประการ ในวันวิสาขบูชา ดังนี้


ประสูติ

          ๑. เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี   เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณอันประเสริฐสูงสุด) สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงถือว่าวันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า
ตรัสรู้

        ๒. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี
        การตรัสอริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ของพระพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เสมอเหมือน  วันตรัสของพระพุทธเจ้า จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลกชาวพุทธทั่วไป จึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า) อันมีประวัติว่า พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ" จนเวลาผ่านไปจนถึง ...
    ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ" คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
    ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
    ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖  ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา

         ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ อริยสัจ ๔ หรือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่
         ๑. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
         ๒. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
         ๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ
         ๔. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์
       
         ทั้ง ๔ ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป

ปรินิพพาน

         ๓. เป็นวันปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ร่มไม้รัง (ต้นสาละ) คู่ ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี  วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป) การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลกเพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวง ประทีปของโลก  เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลดเสีย ใจและอาลัยสุดจะพรรณนา อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมมาเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖ พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรง ประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้น 
         วันวิสาขบูชา จึงนับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระคุณของพระองค์ ที่มีต่อปวงมนุษย์และสรรพสัตว์อันหาที่สุดมิได้

         การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา จุดมุ่งหมายในการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา เพื่อรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณพระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง ๓ ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ


พุทธกิจ ๕ ประการ
[/color]
          ๑. ตอนเช้า เสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ คือเสด็จไปโปรดจริง เพราะทรงพิจารณาเห็นตอนจวนสว่างแล้ว ว่าวันนี้มีใครบ้างที่ควรไปโปรดทรงสนทนา หรือแสดงธรรมให้ละความเห็นผิดบ้าง เป็นต้น
         ๒. ตอนบ่าย ทรงแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนที่มาเฝ้า ณ ที่ประทับ ซึ่งปรากฏว่าไม่วาพระองค์จะประทับอยู่ที่ใด ประชาชนทุกหมู่ทุกเหล่าตลอดถึง ผู้ปกครอง นครแคว้นจะชวนกันมาเฝ้าเพื่อสดับตับพระธรรมเทศนาทุกวันมิได้ขาด
         ๓. ตอนเย็น ทรงเเสดงโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ทั้งมวลที่อยู่ประจำ ณ สถานที่นั้นบางวันก็มีภิกษุจากที่อื่นมาสมทบด้วยเป็นจำนวนมาก
         ๔. ตอนเที่ยงคืน ทรงแก้ปัญหาหรือตอบปัญหาเทวดา หมายถึง เทพพวกต่างๆ หรือกษัตริย์ซึ่งเป็นสมมติเทพ ผู้สงสัยในปัญญาและปัญหาธรรม
         ๕. ตอนเช้ามืด จนสว่าง ทรงพิจารณาสัตว์โลกที่มีอุปนิสัยที่พระองค์จะเสด็จไปโปรดได้ แล้วเสด็จไปโปรดโดยการไปบิณฑบาตดังกล่าวแล้วในข้อ ๑ 
 
 โดยนัยดังกล่าวมานี้พระพุทธองค์ทรงมีเวลาว่าอยู่เพียงเล็กน้อยตอนเช้าหลัง เสวยอาหารเช้าแล้ว แต่ก็เป็นเวลาที่ต้องทรงต้อนรับอาคันตุกะ ผู้มาเยือนอยู่เนืองๆ เสวยน้อย บรรทมน้อย แต่ทรงบำเพ็ญพุทธกิจมาก ตลอดเวลา ๔๕ พรรษานั้นเอง ประชาชนชาวโลกระลึกถึงพระคุณของพระองค์ดังกล่าวมาโดยย่อนี้ จึงถือเอาวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระองค์เป็นวันสำคัญ จัดพิธีวิสาขบูชาขึ้นในทุกประเทศที่นับถือพระพุทธศาสน

ธรรมเนียมการปฏิบัติในวันวิสาขบูชา
[/color][/b]

          เมื่อวันวิสาขบูชาเวียนมาถึงในรอบปี พุทธศาสนาชนไม่ว่าจะเป็นบรรพชิต (พระสงฆ์ สามเณร) หรือ ฆราวาส (ผู้ครองเรือน) ทั่วไป จะร่วมกันประกอบพิธีเป็นการพิเศษทำการสักการบูชาเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณา พระปัญญาคุณ และพระวิสุทธิคุณ ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นดวงประทีปโลก เมื่อวันวิสาขบูชา ซึ่งตรงในวันเดียวกัน ได้เวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งในรอบปี คือ เวียนมาบรรจบในวันเพ็ญวิสาขบูชา กลางเดือน ๖ ประมาณเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายนของไทยเรา ชาวพุทธทั่วโลกจึงประกอบพิธีสักการบูชา การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา แบ่งออกเป็น ๓ พิธี คือ
         ๑.พิธีหลวง (พระราชพิธี)
         ๒.พิธีราษฎร์ (พิธีของประชาชนทั่วไป)
         ๓.พิธีของพระสงฆ์ (คือพิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจเนื่องในวันสำคัญวันนี้)
การประกอบพิธีและบทสวดมนต์ในวันวิสาขบูชา ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการประกอบพิธีในวันมาฆบูชา

         ๑. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
         ๒. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
         ๓. ไปเวียนเทียน ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
         ๔. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชา
         ๕. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
 

อ้างอิง  ประเพณี พิธีมงคล และวันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก, 2539.
           ประเพณีและพิธีมงคลไทย. กรุงเทพฯ : ธรรมบรรณาคาร, 2518
http://knowledge.eduzones.com/knowledge-2-3-44524.html[/b]

2
อุบายชนะกามคุณ ของ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
วัดดอยเเม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

...หลวงปู่ว้าวุ่นใจเป็นอย่างยิ่ง จิตที่เคยควบคุมบังคับให้สงบนิ่งได้ก็เกิดปรวนแปรไป ความคิดคำนึงคอยแต่จะโลดแล่นซัดส่ายไปหาหญิงงามอย่างเดียว ทำให้หลวงปู่แหวนเกิดความหวาดกลัวตัวเองเป็นอย่างยิ่ง ขืนอยู่ต่อไปอาจจะพ่ายแพ้ต่อกิเลสเมื่อไหร่ก็ได้
ดังนั้น หลวงปู่แหวนจึงตัดสินใจเก็บบริขารทั้งหลายเดินทางกลับประเทศไทยอย่างฉับพลันทันที เมื่อข้ามแม่น้ำโขงสู่ผืนแผ่นดินมาตุภูมิแล้วก็มุ่งหน้าขึ้นไปทางอำเภอศรีเชียงใหม่ ระหว่างเดินทางหนี "มาตุคาม" ซึ่งเป็นเนื้อคู่บุพเพสันนิวาสมาแต่ชาติปางก่อน จิตใจของหลวงปู่ยังโลดแล่นไปหาสาวงามเกือบตลอดเวลา เป็นความรู้สึกที่ฟุ้งซ่านที่รุนแรงร้ายกาจสุดพรรณนาทีเดียว

หลวงปู่แหวนเดินทางมาถึงพระบาทเนินกุ่ม หินหมากเป้ง จึงหยุดยั้งอบรมตนอยู่ ณ ที่นี้ และก็เป็นวาสนาของหลวงปู่ที่ได้พบกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่แหวนมีปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้พบกับท่านอาจารย์ใหญ่ การได้มาพักอบรมตนอยู่ใกล้กับท่านพระอาจารย์มั่นก่อนเข้าพรรษาปีนั้น ทำให้หลวงปู่แหวนระงับความฟุ้งซ่านลงได้ไม่น้อย
แม้กระนั้นภาพของหญิงงามก็ยังปรากฏเป็นครั้งคราว ทำให้ดวงจิตหวั่นไหวอยู่เสมอ แต่เมื่อเร่งภาวนายิ่งขึ้นภาพนั้นก็สงบระงับไป หากพลั้งเผลอเมื่อใดภาพสาวงามก็จะผุดขึ้นมาอีก
หลังจากเข้าพรรษาแล้ว หลวงปู่แหวนได้ตั้งใจปรารภความเพียรอย่างหนัก การเร่งความเพียรอย่างเต็มที่ทำให้จิตสงบอย่างรวดเร็ว ทรงตัวสู่ฐานสมาธิได้ง่าย ไม่วุ่นวายฟุ้งซ่านอีก คล้ายกับจิตมันยอมสยบราบคาบแล้ว และเกิดอุบายทางปัญญาพอสมควร


แต่หลวงปู่หารู้ไม่ว่า ยิ่งเร่งความเพียรเอาจริงเอาจังหนักขึ้นเท่าใด กิเลสที่แสร้งสงบนิ่งก็เริ่มต่อต้านเอาจริงเอาจังมากขึ้นเท่านั้น คราวนี้แทนที่จะควบคุมจิตให้ดำเนินไปตามทางที่ต้องการ มันกลับเตลิดโลดแล่นไปหา "สาวงาม" ที่บ้านนาสอง ริมฝั่งแม่น้ำงึมอีก และครั้งนี้พลังของกิเลสดูจะรุนแรงยิ่งกว่าเดิม
หลวงปู่แหวนพยายามหาอุบายธรรมต่างๆ มาปราบเจ้าตัวกิเลสที่ฟูขึ้นมา แต่ไม่สำเร็จ หลวงปู่เล่าว่า
"ยิ่งเร่งความเพียร ดูเหมือนเอาเชื้อไปใส่ไฟ ยิ่งกำเริบหนักเข้าไปอีก เผลอไม่ได้เป็นต้องไปหาหญิงนั้นทันที บางครั้งมันหนีออกไปซึ่งๆ หน้า คือขณะที่คิดอุบายการพิจาณาอยู่นั้นเอง (จิต) มันก็วิ่งออกไปหาหญิงนั้นซึ่งๆ หน้ากันเลยทีเดียว" โอ... "มาตุคาม" นี้อันตรายนัก และหากเป็นบุพกรรมอันผูกพันร้อยรัดอยู่ด้วยบุพเพสันนิวาสเข้าไปอีก การเอาชนะเพื่อยุติกรรมยิ่งลำบากยากเข็ญเป็นที่สุด"

หลวงปู่แหวน ไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อพลังกิเลสกองนี้โดยเด็ดขาด อุบายการปฏิบัติธรรมทุกอย่างถูกนำมาใช้เพื่อต่อสู้กับกิเลสมารสุดชีวิต เช่น เว้นการนอนเสีย มีเฉพาะอิริยาบถนั่ง เดิน ยืน เท่านั้น หลวงปู่แหวนทรมานจิตมันอยู่หลายวันหลายคืน พร้อมกันนั้นก็พิจารณาดูว่าจิตยอมอยู่ใต้บังคับหรือไม่ มันคลายความรักต่อหญิงงามคนนั้นหรือไม่
ทำถึงอย่างนี้แล้วกลับไม่ได้ผล เพราะเผลอเมื่อไหร่ จิตมันจะโลดทะยานไปหาหญิงนั้นอีก


เอาใหม่...เมื่อจิตมันยังรัดรึงอยู่กับ "มาตุคาม" ไม่ยอมปล่อย ยอมคลาย หลวงปู่จึงตัดอิริยาบถนั่งกับนอนทิ้งไป เหลือยืนกับเดินจงกรม กระทำความเพียรเช่นนี้ทั้งวันทั้งคืน
แต่จิตมันก็ยังแส่ส่ายไปหาหญิงงามไม่ยอมหยุด ยิ่งทรมานมันมากเท่าไหร่ ดูเหมือนว่ามันจะดื้อรั้นโต้ตอบมากเท่านั้น


คราวนี้เปลี่ยนวิธีใหม่อีก... ไม่ฉันอาหารมันล่ะ เหลือแต่น้ำอย่างเดียว ถ้าจิตมันยังดื้อถือดี ยังทะยานเข้าหากองกิเลสไม่ยอมเลิกรา หลวงปู่ตั้งเจตนาว่า ตายเป็นตาย ให้มันรู้ไปว่าจิตได้พ่ายแพ้แก่อำนาจกิเลสอย่างราบคาบแล้ว
หลวงปู่แหวนเพ่งพิจารณาหาอุบายกำราบจิตใหม่โดยการเพ่งเอาร่างกายของหญิงงามนั้นยกขึ้นมาแล้วพิจารณากายคตาสติ แยกอาการ ๓๒ นั้นทีละส่วน โดยอนุโลม ปฏิโลมเทียบเข้าหากายของตน พิจารณาละเอียดให้เห็นตามความเป็นจริงว่า อวัยวะแต่ละส่วนของหญิงนั้นก็มีเหมือนกันทุกอย่าง จะผิดแผกแตกต่างกันก็ด้วยลักษณะแห่งเพศเท่านั้น

หลวงปู่ทรงสมาธิแล้วพิจารณาอยู่เช่นนั้นกลับไปกลับมา ปัญญาก็เกิดขึ้น ปัญญาพิจารณา "กายคตาสติ" ไปจนถึงหนังถ้าถลกหนังที่ห่อหุ้มเนื้อออกจนหมด ความจริงก็ปรากฏทันที

นั่นคือ เนื้อกายซึ่งปราศจากผิวหนังห่อหุ้มอยู่ย่อมีสภาพที่ไม่น่าดู หรือ ดูไม่ได้เอาเสียเลย เพราะเหลือแต่เนื้อแดง ๆ เยิ้มด้วยน้ำเหลือง มีเส้นเลือดผุดพราวไปทั่ว "ตัวรู้" ก็บอกว่าหากหญิงงามไม่มีหนังหุ้ม เหลือแต่เนื้อแดง ๆ ใครเล่าจะพิศวาสได้ลงคอ
อ้อ... คนเรามา "หลง" อยู่ตรง "หนัง" นี่เอง


ปัญญาเพ่งพินิจต่อไปอีกจนเห็นความเน่าเปื่อยแล้วก็สลายกาย เป็นกองเนื้อเน่า ๆ และกองกระดูกเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรตั้งอยู่ทรงสภาพเดิมไว้ได้อีก ไม่มีส่วนไหนจะคงอยู่ได้เลย
ปัญญาเพ่งต่อไปถึง มูตร (ปัสสาวะ) และ กรีษ (อุจจาระ) ของหญิงงาม ปัญญาก็ตั้งคำถามอีกว่า ที่หญิงงาม น่ารัก น่าพิศวาสนั้น มูตรกับกรีษงามด้วยหรือเปล่า กินได้ไหม เอามาตระกองกอดได้ไหม "จิต" ตอบว่า "ไม่ได้"[/color]
ปัญญาก็ตั้งคำถามอีกว่า เมื่อกินไม่ได้ เอามาตระกองกอดไม่ได้ แล้วอันไหนล่ะที่ว่างาม อันไหนที่ว่าดี

จิตโดนปัญญาซักฟอกอย่างหนักเช่นนั้นก็ตอบไม่ได้ หาเหตุผลมาโต้แย้งไม่ได้ จิตมันก็อ่อนลงเพราะจนด้วยเหตุผลของปัญญา ก็ต้องยอมรับความเป็นจริง ยอมสารภาพผิดแต่โดยดี

จิตซึ่งเคยโลดแล่นแส่ส่ายออกไปตามวิสัยความอยากของมันก็พลันถึงความสงบ ไม่กำเริบร้อนเร่าอีก
หลวงปู่แหวนยังไม่วางใจจิตนัก ท่านจึงทดสอบโดยส่งจิตไปหาหญิงงามบ้านนาสอง ริมฝั่งแม่น้ำงึมหลายครั้ง
แต่จิตก็ไม่ยอมโลดแล่นไปอีก จิตคงทรงอยู่ในความสงบเพราะได้เห็นความเป็นจริงของธรรมแล้ว


การอดอาหาร และทำความเพียรอย่างยิ่งยวด เพื่อเอาชนะกิเลสมารของหลวงปู่แหวนครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ จิตของท่านรู้แจ้งเห็นจริงในภัยของมาตุคาม อย่างทะลุปรุโปร่งและสิ้นพยศตั้งแต่นั้น...ตลอดไป[/size]

ข้อมูลได้มาจาก http://board.palungjit.com[/url]
[/color][/color]

3
ภาค 1 นางฟ้าในบ้าน

สามีออกบ้านมา..................อย่าถามว่าจะไปไหน
ให้ถามอย่างเต็มใจ....... ......เอาเงินใช้ไหมพี่ขา
สามีกลับเข้าบ้าน......... .......อย่าได้ขานไปไหนมา
ให้ถามด้วยคำว่า......... ......โอ้พี่จ๋าเหนื่อยหรือเปล่า
สามีเขาดุด่า................. .....อย่าทำหน้าเหมือนแมวหง่าว
ห้ามเถียงก่อเรื่องราว.... .....ยอมรับผิดแต่โดยดี
สามีโมโหมาก............. .....ให้รีบจากไปทันที
กะว่าสมควรดี............ ......รีบกลับมาอย่าช้านาน
สามีเมาเหล้ามา.......... ......อย่าโกรธด่าว่าระราน
ผ้าเย็นและอาหาร........ .....ของคาวหวานควรเอามา
สามีขอเงินใช้........... .......ห้ามมิให้ไต่ถามว่า
เอาไปทำไมหนา....... .......ให้ถามว่าเอาเท่าไร
สามีกลับบ้านดึก.......... ....อย่าทึกทักซักอะไร
จัดเตรียมที่นอนไว้...... ....พร้อมถวายด้วยน้ำชา
สามีเงินเดือนออก..... ......อย่าได้บอกออกปากว่า
รับมากไหมพี่ขา...... ......ให้ถามว่าพอใช้ไหม
สามีง่วงเต็มที่........... ....รอรอรีรีบพาไป
ต้องสนองอย่างเต็มใจ.. ..ได้ทุกเมื่อทุกเวลา
บัญญัติสิบประการ...... ...ให้นงคราญภรรยา
ยึดถีอเทิดบูชา..... ..........ดุจดังว่ากล่องดวงใจ

...............สุสฺสูสา เสฎฺฐา ภริยานํ..................
ภรรยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐกว่าภรรยาทั้งหลาย


08;อันนี้ชอบนะ โรแมนติกดี ใช่เลย 08;

4


             จากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พบว่า มีข้อความที่กล่าวถึงเรื่องของตัวหนังสือไทย เอาไว้ตอนหนึ่งว่า  "เมื่อก่อนนี้ลายสือไทนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศกปีมะเมีย พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจ ในใจและใส่ลายสือไทนี้ ลายสือไทนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้"
            ได้มีผู้สันนิษฐาน เรื่องตัวหนังสือไทยไว้หลายแง่มุม เช่น จารึกอักษรที่ภาพชาดกที่ผนังอุโมงวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย น่าจะเป็นตัวหนังสือที่มีมาก่อนตัวหนังสือจากศิลาจารึกของ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ปรับปรุงตัวหนังสือเก่าที่เคยมีมาแล้ว จัดวางสระเสียใหม่ คำว่าใส่อาจหมายถึง การกระทำเช่นนี้ แต่ก็สรุปได้ว่า แต่ก่อนไม่มีตัวหนังสือไทยแบบนี้ และเท่าที่ทราบยังไม่เคยมีผู้ทราบว่า มีตัวหนังสือไทยแบบอื่นใช้มาก่อนสมัยกรุงสุโขทัย
            ไทยเราเป็นชาติที่เจริญเก่าแก่มาแต่โบราณกาล ได้มีการศึกษาค้นคว้ามาว่า ชาติไทยนั้น   เคยมีภูมิลำเนาอยู่ในดินแดน ที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีนในปัจจุบัน และเมื่อกาลเวลาผ่านไป   มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายอย่าง ตามสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่ภาษาพูด คนไทยเราเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญ   ที่เรายังคงไว้ ไม่เปลี่ยนแปลงไปง่ายง่ายเหมือนเรื่องอื่น แม้ในปัจจุบัน คนที่พูดภาษา ซึ่งพอจะย้อนไปได้ว่า ต้นตอเป็นภาษาไทย มีอาศัยอยู่ทั่วไป ในดินแดนที่กว้างใหญ่ของจีน ในมณฑลอัสสัมของอินเดีย ในรัฐฉานตอนเหนือของพม่า ในลาวทั้งหมด ในเวียดนามตอนเหนือ เรายังพอพูดพอฟังเข้าใจกันได้ ในเรื่องทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน คำหลัก ๆ การสร้างรูปประโยค และไวยากรณ์ ยังคงอยู่
            ภาษาจีนและภาษาไทย จัดเป็นภาษาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เป็นภาษาที่กำหนดเอาเสียงหนึ่ง แทนความหมายหนึ่ง จึงมีคำที่มีเสียงโดดเสียงเดียวอยู่เป็นอันมาก ทำให้ต้องมีคำอยู่เป็นจำนวนมาก จึงต้องอาศัยการทำเสียงสูง เสียงต่ำ ให้มีความหมายแตกต่างกัน เพื่อให้มีเสียงพอกับคำที่คิดขึ้น แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่เพียงพอ จึงต้องมีคำผสมของเสียงหลายพยางค์ เพิ่มเติมขึ้นอีก ความแตกต่างจากภาษาอื่นประการหนึ่งคือ เรามีเสียงวรรณยุกต์ สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้ทรงประดิษฐ์วรรณยุกต์ขึ้น ๒ เสียง คือ เสียงเอก และเสียงโท ซึ่งเมื่อใช้ควบกับอักษรเสียงสูงและเสียงต่ำ หรือใช้อักษร "ห" นำอักษรเสียงต่ำ ที่ไม่มีคู่อักษรเสียงสูงแล้ว ก็สามารถผันเสียงได้ถึง ๕ เสียง คือ เสียง สามัญ เอก โท ตรี และจัตวา
            ภาษาจีนก็มีเสียงที่เป็นวรรณยุกต์เหมือนกัน แต่ไม่มีเครื่องหมายเขียนในตัวหนังสือ เสียงวรรณยุกต์ของจีนนี้ บ้างก็ว่ามี ๔ เสียง และสูงสุดถึง ๘ เสียง
ซึ่งเมื่อเทียบกับวรรณยุกต์ไทย ก็คงจะเป็นเสียง ที่เกิดจากวรรณยุกต์ ผสมกับสระเสียงสั้นเสียงยาว ซึ่งทางไทยเราแยกเสียงออกไปในรูปสระ ภาษาจีนและภาษาไทย มีรูปประโยคที่เกิดจากการเอาคำมาเรียงกันเป็นประโยค ข้อแตกต่างของไวยากรณ์ไทย ที่ไม่เหมือนของจีน ที่สำคัญคือ คำคุณศัพท์ขยายนาม ภาษาไทยเราเอาไว้หลังนาม แต่จีนเอาไว้หน้านาม เช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ คำวิเศษณ์ที่ประกอบกริยา ภาษาไทยเอาไว้ตามหลังกริยา แต่ภาษาจีนมักไว้หน้ากริยา คำวิเศษณ์ที่ประกอบคุณศัพท์ ภาษาไทยเอาไว้หลังคุณศัพท์ แต่ภาษาจีนเอาไว้หน้าคุณศัพท์ และลักษณะนาม   ภาษาไทยจะไว้หลังนาม   แต่ภาษาจีนเอาไว้หน้านาม

5
เป็นบทความที่ค่อนข้างยาวสักนิด แต่ก็สอนให้เราเป็นเศรษฐีได้นะจ๊ะ :054: 

หัวใจเศรษฐี
ครั้งหนึ่ง ชายผู้หนึ่งชื่อ ทีฆชานุ ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า ? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ธรรมดา ดำเนินชีวิตของผู้ครองเรือน มีภรรยาและบุตรธิดา ขอพระผู้มีพระภาคได้ทรงสอนหลักธรรมบางอย่างที่จะช่วยให้พวกข้าพระองค์ได้มีความสุข ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ?

พระพุทธเจ้าได้ตรัสบอกทีฆชานุว่า มีธรรมอยู่ 4 ประการ ที่จะเอื้ออำนวยให้มนุษย์มีความสุขในโลกนี้ คือ

เป็นคนมีทักษะ มีประสิทธิผล เอาจริงเอาจัง ขยันขันแข็งในอาชีพใด ๆ ที่ตนประกอบอยู่ และเข้าใจงานในอาชีพนั้น ๆ เป็นอย่างดี (อุฏฐานสัมปทา)
รักษาทรัพย์สินเงินทองที่ตนหามาได้ในทางสุจริต และด้วยหยาดเหงื่อแรงงานของตนเอง (อารักขสัมปทา) (ข้อนี้มุ่งป้องกันทรัพย์สินจากโจร ผู้ร้าย ฯลฯ แนวความคิดเหล่านี้จะต้องพิจารณาถึงภูมิหลังของยุคนั้นประกอบด้วย)
มีเพื่อนดี (กัลยาณมิตตตา) คือ มิตรที่ซื่อสัตย์ มีการศึกษา มีคุณธรรม มีใจกว้างและมีปัญญา ซึ่งเป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือให้ดำเนินตามทางที่ถูก ห่างจากทางชั่ว
ใช้จ่ายทรัพย์อย่างมีเหตุผล ให้ได้สัดส่วนกับรายได้ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป กล่าวคือ ไม่สั่งสมทรัพย์ด้วยความตระหนี่ หรือไม่เป็นคนใจกว้างเกินขอบเขต กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือดำรงชีวิตอย่างพอเหมาะพอควร (สมชีวิตา)
 
 
ความสุขในโลกหน้า
ต่อจากนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงคุณธรรม 4 ประการ อันจะเอื้ออำนวยให้คฤหัสถ์มีความสุขในโลกหน้า คือ

ศรัทธา คือ มีศรัทธาและความเชื่อมั่นในคุณค่าของศีล สมาธิ ปัญญา
ศีล คือ เว้นจากการทำลายและทรมานสิ่งมีชีวิต เว้นจากการลักทรัพย์และหลอกลวง เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการพูดเท็จ และเว้นจากการดื่มเครื่องดองของเมา
จาคะ คือ รู้จักเสียสละ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ยึดมั่นและทะยานอยากในทรัพย์ของตน
ปัญญา คือ พัฒนาปัญญาอันจะนำไปสู่การทำลายความทุกข์โดยสิ้นเชิง และการรู้แจ้งเห็นจริงในพระนิพพาน
ในบางคราว พระพุทธเจ้าได้ทรงอธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับการประหยัดและการใช้จ่ายเงิน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อทรงบอกชายหนุ่มชื่อ สิงคาละ ให้จ่ายเงินหนึ่งในสี่ส่วนของรายได้เป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน อีกครึ่งหนึ่งของรายได้ใช้จ่ายเพื่อการดำเนินธุรกิจกับเก็บหนึ่งในสี่ของรายได้ไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน
 
 
ความสุขแบบคฤหัสถ์ 
ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับ อนาถปิณฑิกเศรษฐี หนึ่งในบรรดาอุบาสกผู้มีความเลื่อมใสในพระองค์มากที่สุด ผู้สร้างวัดเชตวันอันลือชื่อที่เมืองสาวัตถีถวายพระองค์ว่า คฤหัสถ์ที่ดำเนินชีวิตเป็นผู้ครองเรือนเป็นปกติ มีความสุขอยู่ 4 อย่าง คือ

สุขเกิดจากมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือมีทรัพย์สมบัติเพียงพอที่ตนหามาได้ด้วยวิธีสุจริต (อัตถิสุข)
สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ได้อย่างอิสระ เพื่อตนเอง เพื่อครอบครัว เพื่อเพื่อนฝูง เพื่อญาติ ๆ และเพื่อทำบุญกุศล (โภคสุข)
สุขเกิดจากการไม่มีหนี้สิน (อนณสุข)
สุขเกิดจากการดำรงชีวิตที่ปราศจากโทษ มีชีวิตบริสุทธิ์ไม่ประกอบความชั่วทั้งทางความคิด ทางวาจา และทางกาย (อนวัชชสุข)
ณ ที่นี้ควรสังเกตไว้ด้วยว่า ในความสุขทั้ง 4 ข้อนี้ มี 3 ข้อที่ เกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจ และในที่สุด พระพุทธเจ้าได้ทรงเตือนอนาถปิณฑิกเศรษฐีว่า ความสุขทางเศรษฐกิจและด้านวัตถุนั้น ? ไม่มีค่าเท่าเสี้ยวที่ 16 ? ของความสุขทางจิตใจ อันเกิดจากชีวิตที่ดีงามปราศจากโทษ

จาก 2-3 ตัวอย่างที่นำมาแสดงข้างต้นนั้น ก็พอจะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้า ทรงถือว่าสวัสดิภาพทางเศรษฐกิจเป็นเงื่อนไขให้มนุษย์มีความสุขได้ แต่พระองค์ก็ไม่ทรงยอมรับว่าเป็นความก้าวหน้าที่จริงแท้ ถ้าเป็นเพียงความก้าวหน้าทางด้านวัตถุที่ปราศจากรากฐานทางด้านจิตใจและศีลธรรม ขณะที่กระตุ้นให้ความก้าวหน้าทางวัตถุนั้นพระพุทธศาสนาก็ย้ำเน้นในด้านพัฒนาคุณลักษณะทางด้านศีลธรรมและจิตใจ เพื่อให้สังคมมีความสุข มีความสงบและเป็นที่พอใจของคนในสังคม
 
 
สงครามและสันติภาพ 
พระพุทธเจ้าทรงมีความกระจ่างชัดในเรื่องการเมือง สงรามและสันติภาพ เรื่องที่รู้กันดีที่ควรย้ำไว้ที่นี่ว่า พระพุทธศาสนาประกาศและเผยแพร่อหิงสธรรมและสันติภาพ ในฐานะเป็นสาส์นสากล และเป็นศาสนาที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง หรือการทำลายล้างชีวิต ไม่ว่าจะเป็นชนิดใด ตามทัศนะของพระพุทธศาสนาไม่มีสงครามใดที่สามารถเรียกได้ว่าเป็น ? สงครามฝ่ายธรรม ? ซึ่งเป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นอย่างผิด ๆ และเผยแพร่ออกไป เพียงเพื่อหาความชอบธรรมและข้อแก้ตัวให้แก่ความโกรธ ความโหดร้าย ความรุนแรง และการสังหารหมู่ ใครจะเป็นผู้ตัดสินได้ว่าฝ่ายใดเป็น ? ธรรม ? ฝ่ายใดเป็น ? อธรรม ? ? ผู้ที่เข้มแข็งและเป็นฝ่ายชนะ คือ ฝ่าย ? ธรรม ? ส่วนที่ผู้ที่อ่อนแอและเป็นฝ่ายแพ้ คือฝ่าย ? อธรรม ? สงครามของเรา เป็นสงครามฝ่าย ? ธรรม ? เสมอ ส่วนสงครามของเจ้า เป็นสงครามฝ่าย ? อธรรม ? เสมอ พระพุทธศาสนาจึงไม่ยอมรับจุดยืนแบบนี้

พระพุทธเจ้าไม่เพียงแต่ทรงสอนอหิงสธรรมและสันติธรรมเท่านั้น แต่พระองค์ยังทรงเคยแม้กระทั่งเสด็จเข้าสู่สนามรบ ทรงเข้าแทรกแซงด้วยพระองค์เอง และทรงป้องกันไม่ให้เกิดสงครามอย่างเช่น ในกรณีข้อพิพาทระหว่างฝ่ายศากยะกับฝ่ายโกลิยะ ซึ่งกำลังเตรียมตัวรบกัน เนื่องจากเกิดปัญหาแย่งน้ำในแม่น้ำโรหิณี และครั้งหนึ่ง พระดำรัสของพระองค์ได้ช่วยป้องกันไม่ให้พระเจ้าอชาตศัตรูทรงใช้กำลังเข้าโจมตีแคว้นวัชชี

ในสมัยพุทธกาลก็เช่นเดียวกับทุกวันนี้ คือ มีผู้ปกครองปกครองประเทศโดยขาดความยุติธรรม ประชาชนถูกกดขี่ข่มเหง ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกทรมาน ถูกกลั่นแกล้งถึงตาย ถูกบังคับเก็บภาษีมากจนเกินขอบเขต และถูกลงโทษด้วยวิธีการลงโทษที่โหดเหี้ยมทารุณ พระพุทธเจ้าทรงสลดพระทัยต่อการกระทำอันไร้มนุษยธรรมเหล่านี้ ในอรรกถาธรรมบท (ธัมมปัฏฐกภา) บันทึกไว้ว่า ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงมุ่งพระทัยสู่ปัญหาว่าทำอย่างไรถึงจะมีรัฐบาลดี ๆ ได้ ทัศนะต่าง ๆ ของพระองค์จะเป็นที่เข้าใจได้ก็ต่อเมื่อได้พิจารณาถึงภูมิหลังของด้านสังคมเศรษฐกิจและการเมืองของยุคพุทธกาลประกอบไปด้วย พระองค์ทรงแสดงให้เห็นว่าทั่วทั้งประเทศจะเกิดความฟอนเฟะ เสื่อมโทรม และไร้สุข เมื่อหัวหน้ารัฐบาล คือ กษัตริย์ เสนาบดี และข้าราชการ มีแต่ความฟอนเฟะ และขากความยุติธรรม เพราะว่าการที่ประเทศจะมีความสงบสุขได้นั้น จะต้องมีรัฐบาลที่ปกครองด้วยความยุติธรรม วิธีการที่จะก่อให้เกิดมีรัฐบาลเช่นนี้ได้นั้น พระพุทธองค์ตรัสอธิบายไว้ในคำสอนว่า ? กิจวัตรของพระราชา 10 ประการ ? (ทศพิธราชธรรม) ดังที่มีคำอธิบายอยู่ในคัมภีร์ชาดก

แน่นอน คำว่า ? ราชา ? ในสมัยอดีต ควรใช้คำสมัยปัจจุบันว่า ? รัฐบาล ? แทน ดังนั้น ? ทศพิธราชธรรม" จึงประยุกต์ใช้ในปัจจุบันกับบรรดาผู้ประกอบเป็นรัฐบาล เช่น ประมุขของรัฐ บรรดารัฐมนตรีผู้นำทางการเมือง ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร
 
 
ทศพิธราชธรรม 
ทศพิธราชธรรมข้อแรก คือ ความโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักแบ่งปัน (ทาน) กล่าวคือ ผู้ปกครองจะต้องไม่มีความละโมบติดยึดในทรัพย์สมบัติ ควรสละทรัพย์สมบัตินั้น ๆ เพื่อความกินดีอยู่ดีของประชาชน
ทศพิธราชธรรมข้อที่ 2 คือ มีศีลธรรมสูงส่ง (ศีล) ผู้ปกครองจะต้องไม่ทำลายสิ่งที่มีชีวิต ไม่หลอกลวง ไม่ลักขโมย ไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่กล่าวเท็จ และไม่ดื่มเครื่องดองของเมา คือ อย่างน้อยต้องรักษาศีล 5 ข้อ ของคฤหัสถ์ให้ได้
ทศพิธราชธรรมข้อที่ 3 คือ เสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อประโยชน์สุดของประชาชน (ปริจจาค) ได้แก่ ผู้ปกครอง จะต้องเตรียมตัวสละความสุขสำราญส่วนตัว ทั้งชื่อเสียง เกียรติยศ และแม้แต่ชีวิตของตน เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน
ทศพิธราชธรรมข้อที่ 4 คือ ซื่อตรง ทรงสัตย์ (อาชวะ) ผู้ปกครองจะต้องไม่กลัวหรือถือฝักถือฝ่ายในเวลาปฏิบัติหน้าที่มีความจริงใจในความตั้งใจ และไม่หลอกลวงสาธารณชน
ทศพิธราชธรรมข้อที่ 5 คือ มีความกรุณาหรืออ่อนโยน (มัททวะ) มีอัทธยาศัยนุ่มนวลละมุนละไม
ทศพิธราชธรรมข้อที่ 6 คือ มีนิสัยเคร่งครัด (ตปะ) จะต้องดำเนินชีวิตเรียบง่าย ไม่หมกหมุ่นอยู่ในชีวิตฟุ่มเฟือยระงับยับยั้งข่มใจได้
ทศพิธราชธรรมข้อที่ 7 คือ ปลอดพ้นจากโกรธ พยาบาท จองเวร (อโกธ) เป็นผู้ไม่มีความรู้สึกขุ่นเคืองต่อใคร ๆ
ทศพิธราชธรรมข้อที่ 8 คือ ไม่เบียดเบียนใคร (อวิหิงสา) ซึ่งไม่เพียงแต่หมายถึง การไม่ทำให้ผู้ใดเดือดร้อนเท่านั้น แต่ยังหมายถึง การพยายามส่งเสริมสันติภาพด้วยการงดเว้นและป้องกันสงครามรวมทั้งทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรงและการทำลายล้างชีวิต
ทศพิธราชธรรมข้อที่ 9 คือ ความอดทน อดกลั้น ข่มใจ เข้าใจผู้อื่น (ขันติ) สามารถอดทนต่องานหนัก ความตรากตรำ และคำเสียดสีถากถาง โดยไม่เกิดอารมณ์เสีย
ทศพิธราชธรรมข้อที่ 10 คือ ไม่เป็นปฏิปักษ์ ไม่ขัดขวาง (อวิโรธนะ) กล่าวคือ ไม่ขัดต่อเจตจำนงของประชาชน ไม่ขัดขวางมาตรการใด ๆ อันจะเอื้ออำนวยต่อสวัสดิภาพของประชาชน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ปกครองประเทศโดยสมัครสมานน้ำใจกับประชาชน
ถ้าประเทศใดปกครองโดยบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ ก็ไม่จำเป็นต้องพูดเลยว่า ประเทศนั้น ๆ จะต้องมีความสุขเรื่องนี้ไม่ใช่เป็นความฝันที่เลื่อนลอย เพราะว่ากษัตริย์ในอดีตเช่น พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย ได้ทรงเคยสถาปนาพระราชอาณาจักร โดยอาศัยพื้นฐานจากแนวคิดเหล่านี้มาแล้ว
 
 
ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ 
โลกเราทุกวันนี้ อยู่กันอย่างหวาดกลัว ระแวง และตึงเครียดตลอดเวลา วิทยาศาสตร์ได้ผลิตอาวุธ ซึ่งมีศักยภาพในการทำลายล้างได้อย่างคาดไม่ถึง ชาติมหาอำนาจทั้งหลายกำลังกวัดแกว่งเครื่องมือสังหารใหม่ ๆ เหล่านี้ ทำการคุกคามและท้าทายซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งคุยโวโอ้อวดอย่างไร้ความอายว่า ฝ่ายตนสามารถสร้างความวอดวายและทุกข์ระทมให้แก่โลกได้มากกว่าฝ่ายอื่น

บัดนี้ มหาอำนาจทั้งหลายได้ดำเนินไปตามเส้นทางแห่งความบ้าคลั่งนี้จนถึงจุดที่ว่า ถ้าก้าวต่อไปในทิศทางนั้นแม้แต่เพียงก้าวเดียวผลลัพธ์ก็ไม่มีอะไรอื่น นอกจากความสูญสิ้นของทั้งสองฝ่ายพร้อม ๆ กับการทำลายล้างมวลมนุษยชาติเท่านั้น

เพราะความกลัวสถานการณ์ที่ตนเองได้สร้างขึ้นมา มนุษยชาติจึงต้องการหาทางออก และหาวิธีการบางอย่างมาแก้ไข แต่ก็ไม่มีวิธีการใดนอกจากธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเสนอไว้ คือ สาส์นแห่งอหิงสธรรม สันติธรรม ความเมตตากรุณา ขันติธรรม และความเข้าอกเข้าใจกัน สัจะรรมและปัญญา ความเคารพนับถือชีวิตทุกชีวิตความมีอิสระจากความเห็นแก่ตัว ความโกรธและการเบียดเบียนกัน

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ? ความโกรธไม่เคยระงับด้วยความโกรธ แต่ความโกรธระงับได้ด้วยความเมตตา นี่คือสัจธรรมอันเป็นอมตะ ?

? บุคคลพึงชนะความโกรธด้วยความเมตตา พึงชนะความชั่วร้ายด้วยความดี พึงชนะความตระหนี่เห็นแก่ตัวด้วยการให้ พึงชนะความเหลาะแหละด้วยคำสัตย์จริง ?

สันติภาพหรือความสุขจะมีขึ้นไม่ได้ตราบเท่าที่คนเรายังมีความอยากและความกระหายที่จะเอาชนะและปราบปรามเพื่อนบ้านของตนอยู่ สมดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ? ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนระทมทุกข์ ผู้ที่ละได้ทั้งการชนะและการแพ้ ย่อมเป็นผู้มีความสุขและสงบ ? ชัยชนะที่จะนำสันติสุขมาให้มีเพียงอย่างเดียว คือ การชนะตนเอง ? บุคคลอาจจะชนะข้าศึกเป็นล้าน ๆ คนในสมรภูมิ แต่ผู้ที่ชนะตนเองได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ?
 
 
อกเขาอกเรา 
ท่านอาจจะพูดว่า ข้อความเหล่านี้ สวยหรู ประเสริฐ และสูงส่งแต่คงนำไปปฏิบัติไม่ได้ แต่ควรละหรือที่จะเกลียดคนอื่น ? ควรละหรือที่จะฆ่าคนอื่น ๆ เหมาะแล้วหรือที่จะอยู่กันอย่างหวาดกลัวและระแวงกันอย่างไม่มีวันสิ้นสุดอย่างกับสัตว์ป่าในดงดิบ ? นี่เป็นสิ่งที่ควรทำและสบายกว่านักหรือ ? ความโกรธเคยระงับได้ด้วยความโกรธหรือ ? ความชั่วเคยชนะได้ด้วยความชั่วหรือ ? แต่มีหลายตัวอย่าง อย่างน้อยก็ในกรณีส่วนบุคคลที่ความโกรธระงับได้ด้วยความรักและความเมตตา และความชั่วชนะได้ด้วยความดีท่านอาจจะพูดว่า ข้อนี้อาจจะเป็นจริงและปฏิบัติได้ผลในกรณีส่วนบุคคล แต่ไม่เคยใช้ได้ผลในกิจการระดับชาติและกิจการระดับนานาชาติ คนเราถูกสะกดจิตจนเกิดความงงงวย ตามืดบอดและถูกหลอกจากการใช้ศัพท์ทางการเมืองและทางการโฆษณาชวนเชื่อเช่น ? ประชาชาติ ? ? นานาชาติ ? หรือ ? รัฐ ? สิ่งที่ประกอบกันเป็นประชาชาตินั้น เป็นเพียงการรวมตัวกันของปัจเจกบุคคลมิใช่หรือ ? ประชาชาติหรือรัฐ ทำอะไรเองไม่ได้ ปัจเจกบุคคลเป็นผู้ทำ สิ่งที่ปัจเจกบุคคลคิดและทำนั้น คือ สิ่งที่ประชาชาติหรือรัฐคิดและทำสิ่งที่ประยุกต์ใช้ได้กับปัจเจกบุคคล ก็สามารถประยุกต์ใช้ได้กับประชาชาติ หรือรัฐได้เช่นกัน ถ้าความโกรธสามารถระงับได้ด้วยความรักและความเมตตาในระดับปัจเจกบุคคลแล้วไซร้ ก็เป็นที่แน่นอนว่ามันสามารถเป็นจริงมาได้เช่นเดียวกัน ในระดับชาติ และระดับนานาชาติ แม้แต่ในกรณีของบุคคลเดียวนั้น การที่จะเผชิญความโกรธด้วยความเมตตานั้นได้ ยังต้องมีความหนักแน่นอาจหาญศรัทธา และความเชื่อมั่นในพลังทางศีลธรรมอย่างมากมาย ยิ่งในกรณีของกิจการ ระดับนานาชาติด้วยแล้ว ก็จะมิต้องใช้ความหนักแน่น อาจหาญ ศรัทธา และความเชื่อมั่นในพลังทางศีลธรรมมากยิ่งขึ้นไปอีกหรือ ? ถ้าถ้อยคำที่พูดว่า ? ไม่สามารถปฏิบัติได้ ? ท่านหมายถึงว่า ? ไม่ง่าย ? ละก็ท่านก็เป็นฝ่ายถูกแน่นอนละว่ามันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถึงกระนั้นก็น่าที่จะลองพยายามดู ท่านอาจจะบอกว่าเป็นการเสี่ยงภัยที่จะพยายามทำเช่นนั้น แน่นอนเหลือเกินว่ามันไม่ได้เสี่ยงภัยมากไปกว่าการพยายามที่จะก่อสงครามนิวเคลียร์เลย 
 
ธรรมพิชัยยุทธ์ 
ในปัจจุบันบุคคลยังคิดอุ่นใจและมีกำลังใจอยู่ว่า อย่างน้อยก็มีผู้ปกครองผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่ง ที่รู้จักกันดีในประวัติศาสตร์ ผู้ซึ่งมีความเด็ดเดี่ยว เชื่อมั่น และมองเห็นกาลไกลที่ประยุกต์คำสอนเกี่ยวกับอหิงสธรรม สันติธรรม และเมตตาธรรม ไปใช้กับหลักการบริหารจักรวรรดิอันกว้างใหญ่ไพศาล ทั้งในกิจการภายในและกิจการภายนอกจักรวรรดิ ผู้ปกครองผู้นี้ คือ พระเจ้าอโศกมหาราช มหาจักรพรรดิชาวพุทธของอินเดีย (พุทธศตวรรษที่ 3) ดังที่ได้รับพระนามว่า ? พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ? (พระเจ้าเทวานัมปิยะ)

ในระยะแรก พระเจ้าอโศกมหาราชทรงดำเนินตามปฏิปทาของพระราชบิดา (พระเจ้าพินทุสาร) และพระอัยกา (พระเจ้าจันทรคุปต์) ของพระองค์ ทรงปรารถนาที่จะพิชิตคาบสมุทรอินเดียไว้ทั้งหมดพระองค์ ทรงบุกพิชิตและผนวกแคว้นกาลิงคะไว้ได้ คนหลายแสนคนถูกฆ่าบาดเจ็บ ถูกทรมาน และจับเป็นเชลยในสงครามครั้งนี้ แต่ต่อมาเมื่อพระองค์ทรงมานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิงด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า ในบรรดาพระบรมราชโองการในศิลาจารึกที่มีชื่อเสียงของพระองค์ มีหลักศิลาจารึกหลักหนึ่ง (ปัจจุบันเรียกว่า หลักศิลาจารึกหลักที่ 13) ซึ่งต้นฉบับเดิมปัจจุบันยังหาอ่านได้ ได้ระบุถึงชัยชนะที่กาลิงคะ พระจักรพรรดิพระองค์นี้ได้ทรงแสดงความเสียพระทัยออกมาให้เป็นที่ปรากฏแก่สาธารณชน และตรัสถึงความเจ็บปวดรวดร้าวอย่างสุดซึ้งเมื่อพระองค์ทรงหวนรำลึกถึงการประหัตประหารกันในครั้งนั้น พระองค์ได้ทรงป่าวประกาศว่า พระองค์จักไม่ทรงถอดพระแสงดาบออกมาเพื่อการพิชิตใด ๆ อีกต่อไป แต่ทรงประกาศว่าพระองค์ ? ทรงปรารถนาให้สรรพสัตว์ทั้งหลายไม่เบียดเบียนกัน รักษาตนเองปฏิบัติตามสันติธรรม และความอ่อนโยน แน่ละสิ่งที่พระเจ้าเทวานัมปิยะ (คืออโศก) ทรงถือว่าเป็นชัยชนะที่สำคัญยิ่ง คือชัยชนะโดยธรรม (ธรรมวิชัย) นี้เท่านั้น ? พระเจ้าอโศกมหาราชไม่เพียงแต่ทรงประกาศล้างมือจากสงครามด้วยพระองค์เองเท่านั้น แต่ยังรงแสดงพระราชประสงค์ว่า ? ลูกเราและหลานเหลนเราอย่าได้คิดว่าการพิชิตดินแดนเพิ่มขึ้นเป็นสิ่งที่มีค่าควรกระทำ... ขอให้คิดถึงเฉพาะการพิชิตเพียงอย่างเดียว คือการพิชิตโดยธรรมเท่านั้น การพิชิตด้วยวิธีนี้เป็นความดีทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ?

นี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียวในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่แสดงให้เห็นว่ามีนักรบผู้พิชิตผู้หนึ่ง เมื่อขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจยังมีแสนยานุภาพที่จะดำเนินการพิชิตดินแดนต่าง ๆ ต่อไป แต่กลับประกาศล้างมือจากสงครามและการใช้ความรุนแรง และหันหน้าเข้าหาสันติธรรมและ อหิงสธรรม
 
 
ทางแห่งสันติภาพ
นี่คือบทเรียนสำหรับชาวโลกปัจจุบันว่า ยังมีพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์หนึ่ง ได้ทรงประกาศหันหลังให้กับสงครามและการใช้ความรุนแรงอย่างเปิดเผย และทรงยึดหลักสันติธรรมและอหิงสธรรม ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดที่แสดงว่ามีกษัตริย์เพื่อนบ้านพระองค์ใดฉวยโอกาสตอนที่พระเจ้าอโศกมหาราชยึดทางธรรม ใช้ปฏิบัติการทางทหารโจมตีจักรวรรดิของพรอชะองค์ หรือไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่แสดงว่ามีการปฏิวัติหรือเกิดการจลาจลในจักรวรรดิของพระองค์ตลอดรัชสมัย ตรงกันข้ามกลับมีแต่สันติภาพทั่วแผ่นดิน แม้แต่ประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกจักรวรรดิของพระองค์ ต่างก็ยอมรับความเป็นผู้นำที่ทรงคุณธรรมของพระองค์

การพูดถึงการดำรงสันติภาพ ด้วยวิธีการถ่วงดุลอำนาจก็ดีหรือด้วยวิธีการคุกคามโดยการป้องปรามด้วยอาวุธนิวเคลียร์ก็ดี นับเป็นเรื่องที่โง่เขลา อานุภาพของอาวุธยุทโธปกรณ์มีแต่จะสร้างความกลัว หาได้สร้างสันติภาพไม่ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีสันติภาพที่แท้จริงและถาวรทั้ง ๆ ที่ยังมีความกลัว จากความกลัวนั้นก็จะมาเป็นความโกรธ ความพยาบาท และความเป็นศัตรูกัน ซึ่งบางทีสิ่งเหล่านี้อาจจะถูกเก็บกดไว้ได้แต่เพียงชั่วครู่ชั่วยาม แต่มันพร้อมที่จะระเบิดเป็นความรุนแรงได้ทุกขณะ สันติภาพที่แท้จริงจะมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในบรรยากาศแห่งเมตตา มิตรภาพ ปราศจากความกลัว ความระแวง และอันตราย

พระพุทธศาสนามีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างสังคม ที่ประณามการใช้กำลังต่อสู้กันเพื่อช่วงชิงอำนาจ สังคมที่มีแต่ความสงบและสันติ ปราศจากการชิงดีชิงเด่นเพื่อเอาแพ้เอาชนะกัน สังคมที่มีการประณามการประหัตประหารผู้บริสุทธิ์อย่างรุนแรง สังคมที่ผู้ชนะตนเองได้รับการยอมรับนับถือยิ่งกว่าผู้ที่ชนะคนเป็นล้าน ๆ ด้วยการทำสงครามทางทหารและสงครามทางเศรษฐกิจ สังคมที่ความโกรธชนะได้ด้วยความเมตตา และความชั่วชนะได้ด้วยความดี สังคมที่ความเป็นศัตรู ความอิจฉาริษยา ความพยาบาท และความโลภไม่เข้าไปแปดเปื้อนจิตใจมนุษย์ สังคมที่ความกรุณาเป็นพลังขับของการกระทำต่าง ๆ สังคมที่สรรพสิ่งอย่างน้อยก็สิ่งที่มีชีวิตได้รับการปฏิบัติด้วยความยุติธรรม ด้วยความเห็นอกเห็นใจและด้วยความเมตตา สังคมที่มีชีวิตมีแต่สันติ มีความสมัครสมานสามัคคีอยู่ในโลกของความมักน้อยสันโดษทางวัตถุ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป้าหมายสูงสุดและประเสริฐสุด คือการทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจ์ ได้แก่ พระนิพพาน
 
 
พระพุทธศาสนากับโลกปัจจุบัน
มีบางคนเชื่อว่า พระพุทธศาสนาเป็นระบบที่ประเสริฐสูงส่งเกินกว่าที่สามัญชนทั้งบุรุษและสตรีจะสามารถปฏิบัติตามได้ ในชีวิตแบบโลกีย์ธรรมดาของเราท่าน และเข้าใจว่าถ้าใครปรารถนาจะเป็นชาวพุทธจริง ๆ ก็จะต้องปลีกตนออกจากสังคมโลก ไปอยู่ในวัดวาอาราม หรือสถานที่ที่สงบเงียบ

ข้อนี้เป็นความเข้าใจผิดอย่างน่าเสียดาย ทั้งนี้เนื่องจากขาดความเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าที่แท้จริงนั่นเอง ที่คนเหล่านั้นรีบสรุปแบบผิด ๆ เช่นนั้น ก็เพราะผลจากการที่ตนฟังหรืออ่านอย่างลวก ๆ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาบางตอนที่ผู้เขียนบางคนผู้ที่ไม่เข้าใจพระพุทธศาสนาในทุกแง่ทุกมุมเขียนไว้ แต่ให้ทัศนะไว้เพียงบางตอนและมีอคติต่อเรื่องนั้น ๆ คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ได้เจาะจงไว้เพื่อภิกษุสงฆ์ในวัดเท่านั้น แต่เพื่อสามัญชนชายหญิงที่มีเหย้า มีเรือนอีกด้วย อริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นแนวทางดำเนินชีวิตของชาวพุทธ เหมาะสมกับทุกคนโดยไม่แตกต่างกันเลย
 
 
ธรรมะกับคนทุกฐานะ 
คนส่วนใหญ่ในโลก คงไม่สามารถบวชเป็นพระสงฆ์ได้ หรือแม้จะปลีกตัวออกไปอยู่ในถ้ำหรือในป่ากันหมดก็ไม่ได้พระพุทธศาสนาที่สูงส่งบริสุทธิ์ผุดผ่อง คงจะไร้ประโยชน์สำหรับมวลมนุษยชาติเป็นแน่ถ้าพวกเขาไม่สามารถนำมาประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันในโลกปัจจุบันได้ แต่ถ้าท่านเข้าใจแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแล้ว (และมิใช่รู้ตามตัวบทเท่านั้น) แน่นอนที่สุด ท่านย่อมสามารถนำมาปฏิบัติตามได้ ในขณะที่ท่านดำรงตนเองอยู่แบบฆราวาสวิสัยนี่เอง

อาจมีบางคนพบว่า มันง่ายและสะดวกกว่ามากที่จะปฏิบัติพุทธธรรม ถ้าเขาดำรงชีวิตอยู่ในสถานที่ห่างไกล ตัดขาดจากการสังคมกับคนอื่น ๆ ส่วนคนอีกบางพวกอาจเห็นว่า การปลีกตนออกไปเช่นนั้นทำให้ชีวิตห่อเหี่ยว มีความกดดัน ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ และก็โดยวิธีนั้น จึงไม่เป็นไปเพื่อการพัฒนาชีวิตทั้งทางด้านจิตใจและด้านพุทธิปัญญา

การสละโลกอย่างแท้จริงนั้น ไม่ได้หมายความว่าหนีออกไปจากโลกโดยทางร่างกาย พระสารีบุตร อัครสาวกของพระพุทธเจ้ากล่าวว่า คนคนหนึ่ง อาจจะเข้าไปอยู่ในป่าอุทิศตนบำเพ็ญธรรมอย่างฤาษีชีไพร แต่จิตใจอาจจะไม่บริสุทธิ์ เต็มไปด้วยกิเลสาสวะ ส่วนอีกคนหนึ่งอาจจะอยู่ในหมู่หรือในเมือง โดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบวินัยแบบนักพรตนั้นเลย แต่จิตใจของเขาอาจจะบริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสได้ ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่าในบุคคลสองจำพวกนี้คนที่ดำรงชีวิตอยู่อย่างบริสุทธิ์ในหมู่บ้านหรือในเมืองย่อมประเสริฐสูงส่งกว่าผู้ที่เข้าไปอยู๋ในป่า (แต่ใจมีกิเลส)เป็นไหน ๆ

ความเชื่อทั่วไปที่ว่า การที่จะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์ได้นั้น จะต้องปลีกชีวิตออกไปเลยนั้นเป็นความเชื่อที่ผิด นับเป็นความเชื่อที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติธรรม โดยขาดดุลยพินิจที่แท้จริงอย่างยิ่ง มีหลักฐานอยู่มากมายในวรรณคดีทางพุทธศาสนาที่บอกว่า บุรุษและสตรีที่มีชีวิตอยู่แบบครองเรือนธรรมดาสามัญ ก็ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างมีผลสำเร็จ และยังรู้แจ้งแทงตลอดถึงขั้นพระนิพพานได้ ครั้งหนึ่ง วัจฉโคตรปริพพาชก (ที่เราพบในบทว่าด้วยอนัตตา) เคยทูลถามพระพุทธเจ้าตรง ๆ ว่ามีไหม ? อุบาสกอุบาสิกาที่อยู่ครองเรือน ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์อย่างมีผล และบรรลุสภาวะทางจิตขั้นสูงส่ง พระพุทธองค์ทรงเน้นอย่างชัดเจนยิ่งว่า ? มิใช่มีเพียงคนสองคน เพียงร้อยสองร้อย หรือห้าร้อย แต่มีอุบาสกอุบาสิกามากมายกว่านั้นมาก ที่อยู่อย่างฆราวาสวิสัย ปฏิบัติตามธรรมะของพระองค์อย่างมีผล และบรรลุถึงสภาวะทางจิตชั้นสูงส่งมาแล้ว ?

น่าอนุโมทนายิ่งสำหรับท่านที่ไปดำรงชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวในที่สงบห่างไกลจากเสียงอึกทึกและสิ่งรบกวนใด ๆ แต่มันน่าสรรเสริญเพิ่มศรัทธาปสาทะมากกว่ายิ่งนัก ถ้าปฏิบัติธรรมโดยอยู่ในท่ามกลางเพื่อนมนุษย์ ให้ความช่วยเหลือและบริการรับใช้ต่อเพื่อน ๆ เหล่านั้นด้วย ในบางกรณีมันอาจเกิดประโยชน์ยิ่งสำหรับคนเราที่จะปลีกตนออกไปปฏิบัติธรรมเป็นครั้งคราวเพื่อปรับปรุงจิตและนิสัยด้วยการฝึกศีล สมาธิ และปัญญาขั้นต้น เพื่อให้กล้าแข็งพอที่จะออกมาช่วยเหลือผู้อื่นในภายหลัง แต่ถ้าใครปลีกตนไปอยู่ที่สงัดตลอดชีวิตมุ่งเฉพาะความสุขส่วนตน ทางรอดส่วนตนฝ่ายเดียว โดยมิได้คำนึงถึงเพื่อนมนุษย์เลย แน่นอน นี้ไม่ใช่การบำเพ็ญตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีความเมตตา ความกรุณา การใช้ความช่วยเหลือคนอื่นเป็นพื้นฐาน

บัดนี้อาจจะมีใครถามว่า ? ถ้าบุคคลสามารถปฏิบัติตามพระพุทธศาสนาขณะที่มีชีวิตอยู่อย่างฆราวาสวิสัย ทำไม่พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติให้มีพระสงฆ์ด้วยเล่า ??

พระสงฆ์เอื้อโอกาสให้เหล่าชนผู้เต็มใจที่จะอุทิศชีวิตตน ไม่เพียงเพื่อการพัฒนาจิตและพุทธิปัญญาของตนเองเท่านั้น แต่เพื่อรับใช้คนอื่น ๆ ด้วย อุบาสาสามัญที่ครองเรือนอยู่นั้น ย่อมไม่สามารถอุทิศชีวิตทั้งชาติเพื่อรับใช้ผู้อื่นได้ ส่วนพระสงฆ์ไม่มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ไม่มีพันธะในทางโลกีย์วิสัยอื่นใด จึงอยู่ในฐานะที่จะอุทิศทั้งหมด ? เพื่อประโยชน์ของชนหมู่มาก เพื่อความสุขของชนหมู่มาก ? ดังที่พระองค์ทรงตรัสแนะนำไว้ ข้อนี้แสดงให้เห็นถึงว่าตลอดระยะเวลาอันยาวนานในประวัติศาสตร์ วัดทางพระพุทธศาสนาไม่ใช่เป็นเพียงศูนย์กลางทางด้านจิตใจเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและทางวัฒนธรรมด้วย
 

6
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / กาลามสูตร
« เมื่อ: 14 มี.ค. 2552, 02:57:20 »

กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 หมายถึง วิธีปฎิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร

1.  อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
2.  อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
3.  อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
4.  อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
5.  อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
6.  อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
7.  อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
8.  อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
9.  อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)

ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น

สูตรนี้ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาละมะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาละมะนั้นเป็นชาวเกสปุตตะนิคม ในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่องมงายไร้เหตุผลตามหลัก 10 ข้อ
 
 
ตัวอย่าง
1.  อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ประเภท "เขาว่า" "ได้ยินมาว่า" ทั้งหลาย
2.  อย่าได้ยึดถือถ้อยคำสืบๆกันมา ประเภท "ใครๆว่า" "โบราณว่า" ตามกระแส
3.  อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่า เขาว่าอย่างนี้ ประเภทข่าวลือ ข่าวโคมลอย ทั้งหลาย
4.  อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าไปตามตำรามากนัก ตำราว่าอย่างนั้น ต้องออกมาเป็นอย่างนั้ เท่านั้น
เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เด็ดขาด เพราะอย่าลืมว่า ตำราบางเล่ม คนแต่งก็มั่วมาบ้าง เขียนไม่ครบบ้าง
ใส่ไข่เอาเองบ้าง คนมีกิเลสไปแก้ไขตำรา คนมีผลประโยขน์ ไม่แก้ไขตำราเท่ากับเราโดนหลอก
5.  อย่าได้ยึดถือโดยนึกเดาเอาเอง เช่น เข้าใจเอาเอง หรือข้อมูลไม่พอ ใจร้อนเดาสุ่มเอา มั่วๆ เอา
6.  อย่าได้ยึดถือโดยการคาดคะเน การคาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตามสถิติ ความน่าจะเป็น
ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ เพราะเห็นแค่ร้อย อย่าเหมาว่าที่ร้อยเอ็ดจะเป็นไปด้วย
7.  อย่าได้ยึดถือตรึงตามอาการ อย่าเห็นว่าอาการแบบนี้ น่าจะเป็นแบบนี้ ให้คิดเผื่อๆไว้ด้วย
เช่น เห็นคนไข้เป็นแบบที่เคยรักษาคนอื่นๆมาก่อน อย่าไปตรึกเอาเองว่าเป็นแบบนั้น เห็นเงาก็จ่ายยาได้ เพราะเหนือฟ้ายังมีฟ้า อย่าเข้าข้างตนเอง นั่งสมาธิเห็นโน่น เห็นนี้ อย่านึกว่าเป็นจริง เพราะอาจจะเป็นจิตหลอกจิต
8.  อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับทิฐิของตัว อย่าเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ อะไรที่ตรงกับที่ตนคิดไว้เท่านั้นที่เชื่อได้ คนคิดแบบนี้ ดื้อตายชัก
9.  อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ ระวังจะโดนหลอก อย่าลืมว่า สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
10.  อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา การยึดอาจารย์ของตนเองมากไป ก็ไม่ดี ควรทำตาม ทดสอบดู ถ้าผิดพลาดก็ไม่ต้องเชื่อ ถ้าทำแล้วดีขึ้นก็แสดงว่าเชื่อได้
 
ทดสอบดู ถ้าผิดพลาดก็ไม่ต้องเชื่อ ถ้าทำแล้วดีขึ้นก็แสดงว่าเชื่อได้
 
 
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ผู้แต่ง พระธรรมปิฎก สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2546 หน้า 232
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ ผู้แต่ง พระธรรมปิฎก สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2546 หน้า 13
พระพุทธเจ้าสอนอะไร แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดย ร.ศ.ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร และคณะ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2547 หน้า 15-17
คิดอย่างเป็นระบบ และ เทคนิคการแก้ปัญหา ผู้แต่ง ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ สำนักพิมพ์ อริยชน จำกัด หน้า 190-191
โปรดใช้หลักอย่าเชื่อ 10 ประการ (กาลามสูตร) ในการพิจารณา ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาได้จากที่มาที่อ้างอิง

7
น้องลิงน้อยอ่านเจอบทความนี้ ก็เลยอยากให้เพื่อนๆ พี่ๆ ได้อ่านด้วยกันค่ะ
http://www.dhamma5minutes.com/webboard.php?id=94&wpid=0017




       เคยมีคนถามภูเตศวร... ?ทำไมศาสนาพุทธ จึงสอนแต่เรื่องทุกข์??

            คำถามสั้น...แต่ทำให้ผู้เขียนอึ้งไปนานพอควร  เหตุผลคือต้องลำดับความคิดก่อนตอบ

            ประเด็นแรกที่ต้องทำความเข้าใจก่อนคือ...พุทธศาสนาจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีพระบรมศาสดาถือกำเนิดขึ้นบนโลก

            อะไรทำให้เจ้าชายสิทธัตถะละทิ้งสิริราชสมบัติออกผนวช  เพื่อแสวงหาความหลุดพ้น  ก็เพราะทรงเห็นความไม่เที่ยงแท้ของมนุษย์  ความไม่เที่ยงทำให้เกิดทุกข์  ความไม่เที่ยงแท้ที่ปรากฏต่อสายพระเนตร  คือความเกิด  ความแก่  ความเจ็บ  และความตายนั่นเอง

            ความจริงภาพแห่งความเกิดแก่เจ็บตาย  เราท่านทั้งหลายในปัจจุบันล้วนพบเห็นไม่เว้นแต่ละวัน  ซึ่งก็ไม่แผกไปกว่ายุคก่อนพุทธกาลที่มนุษย์โลกล้วนต้องเคยพบเห็นสัจจะเหล่านี้

            หากแต่สิ่งที่คนทั่วไปเห็น  ย่อมต่างกับพระมหาโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญบารมีมาอย่างยาวนาน  เพื่อการตรัสรู้ และประกาศศาสนานำพาส่ำสัตว์จำนวนมากมายมหาศาลให้ก้าวข้ามวัฏสงสารสู่แดนนิพพาน

            เพราะเห็นทุกข์...อันมาจากความเกิดความแก่ ความเจ็บความตาย  ทำให้พระมหาโพธิสัตว์ทรงปรารถนาหนทางไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย  คือจุดเริ่มต้นที่พระองค์ทรงละวางความสุขทางโลกอันไม่จีรังยั่งยืนสู่เพศบรรพชิต

            หลังดั้นด้นค้นหาหนทางแห่งความหลุดพ้นอยู่อย่างยาวนาน  ทั้งทรมานกายอย่างแรงกล้า  หลาย ๆ วิธีจนจาระไนไม่หวาดไหว  ท้ายสุดทรงสามารถตรัสรู้โดยชอบภายใต้ควงต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ ตำบลพุทธคยา  ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6

            สิ่งแรกที่พระบรมศาสดาทรงค้นพบเป็น  ?สัจจะ? คือ ?ความจริง? ที่ยิ่งใหญ่  นั่นคือ ?อริยสัจ 4? ความจริงอันยิ่งยวด 4 ประการ  ประกอบด้วยทุกข์  อันมาจากความแปรปรวน ความไม่เที่ยงเป็นอนิจจัง  ทำให้เกิดโทมนัส  ปริเวทนาทั้งกายและใจ  สมุทัย เหตุหรือต้นตอของความทุกข์ทั้งหลาย  นิโรธ คือการดับทุกข์  จนมาถึงมรรค คือเส้นทางหรือวิธีการดับทุกข์ อันมีองค์ 8 ประการ

 

            เรื่องของมรรค 8 ขออนุญาตไม่เขียนโดยละเอียด เพราะจะกลายเป็นความเยิ่นเย้อ  และขอพูดถึง ?แก่น? ไปเลยทีเดียว  ดังเคยย้ำมาแล้วหลายครั้งหลายครา ว่า พุทธศาสนาสอนเรื่องปัญญา  และปัญญาเท่านั้นจะทำให้เราพบเห็นหนทางแห่งการหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

            พูดถึงเรื่องความทุกข์  ทำให้นึกขึ้นได้  หลายวันก่อน เพื่อนสนิทคนหนึ่งส่งหนังสือเล่มเล็ก ๆ ความหนาแค่ร้อยกว่าหน้าให้ผู้เขียน  พร้อมเอ่ยคำสั้น ๆ

            ?ลองอ่านดูสิ...เขียนดีจริง ๆ?

            เราพลิกดูหน้าปก  ชื่อหนังสือ ?รวยด้วยการให้? เขียนโดยวิธูร  คลองมีคุณ  ซึ่งปัจจุบันท่านมีตำแหน่งถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา

 

            ต้องยอมรับว่าถึงตอนนี้เพิ่งอ่านไปได้สองสามบท ทว่าแค่บทแรกเราต้องแอบอมยิ้มและเอ่ยชมในใจ  ท่านเขียนเรียบง่ายทว่าเหมือนท่านนั่งอยู่ในหัวใจมนุษย์  ในบทที่ 1 ท่านวิธูร พูดถึงความกลัวอันเป็นพื้นฐานของมนุษย์อยู่ 6 ประการ  ความกลัวที่มนุษย์โดยทั่วไปต้องทนทุกข์ทรมานจากการผสานความร่วมมือของพวกมันตามโอกาส

            1. กลัวความยากจน  นักเขียนท่านนี้บรรยายภาพได้แจ่มชัด...ทั้งด้านจิตใจอันเป็นสภาวะลบและบวก  สามารถให้ความสำเร็จและล้มเหลวได้  หากบทสรุปในที่สุด ความกลัวจนคือความกลัวที่มีผลทางทำลายล้างมากที่สุด... เพราะไม่มีสิ่งใดก่อให้เกิดความทุกข์และรู้สึกต่ำต้อยได้เท่ากับความยากจนอีกแล้ว

 

            2. กลัวคำวิพากษ์วิจารณ์ (ติฉินนินทา)  เพราะผู้คนจะรู้สึกไม่สบายใจอย่างยิ่งเมื่อถูกวิพากษ์วิจารณ์  เก็บกดและทุกข์โศกเมื่อถูกตำหนิ

 

            3. กลัวความพลัดพราก (สูญเสียคนรัก)  การพลัดพรากหรือแม้การสูญเสียคนรัก  เป็นความกลัวที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดที่สุด สามารถสร้างความวุ่นวายให้กับร่างกายและจิตใจมากกว่าความกลัวใด ๆ อย่างน้อยเราก็เห็นคนฆ่าตัวตายเพราะเรื่องนี้มาแล้ว

 

            4. กลัวความเจ็บไข้ได้ป่วย (เป็นโรคร้าย)  ความกลัวชนิดนี้เกี่ยวข้องกับร่างกายเป็นการสืบทอดทางมรดกอันเป็นสัจจะที่เชื่อมโยงไปถึงความแก่และความกลัวตาย  เพราะมันชักนำบุคคลเข้าใกล้เขตแดนแห่งโลกที่น่าขนลุกพองสยองเกล้าที่ไม่เคยมีใครกลับมาเล่าให้ฟัง

 

            5. กลัวพรากจากความเป็นหนุ่มสาว (กลัวแก่)  เพราะความแก่คือการสูญเสียสมรรถภาพ  สูญเสียความสนุกสนานในโลกอันมาจากความเสื่อมถอยของร่างกาย

 

            6. กลัวจากโลกนี้  (กลัวตาย)  ประการนี้ผู้เขียนอธิบายแจ่มชัดว่าเป็นความกลัวพื้นฐานที่อำมหิตที่สุด  เพราะเราไม่อาจคาดคำนวณหรือคาดหมายได้เลยว่าเราจะเจออะไรหลังความตาย  โดยยกตัวอย่างที่วิลเลี่ยม เชคสเปียร์ กล่าวไว้ใน ?แฮมเล็ต? ว่า  ?มันเป็นประเทศที่ยังไม่เปิดเผย เพราะนักเดินทางที่ผ่านเขตแดนเข้าไป ยังไม่เคยมีใครย้อนกลับมา?

 

            ท่านวิธูร คลองมีคุณ  สามารถนำวิทยาศาสตร์มาอธิบายและแนะนำการปลดปล่อยตัวเองออกจากความกลัวทั้ง 6 ประการอย่างน่าคิด

            ?เราจำต้องควบคุมจิตใจของเราให้มีแรงพลังด้วยการหล่อเลี้ยงมันด้วยแรงบันดาลใจ  อันเป็นสิทธิพิเศษของเรา  เราจึงเป็นผู้กำหนดโชคชะตาแห่งตนบนโลกนี้ได้อย่างแน่นอน?

            บทสรุปของท่านวิธูร เป็นเรื่องการควบคุมจิตใจ ซึ่งตรงกับมรรค 8 ในข้อสัมมาสติ กับสัมมาสมาธิ  คือการระลึกรู้กับการตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในธรรมารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงที่เข้ามากระทบจิตใจ

            แม้ว่าผู้เขียนจะแตกหัวข้อเป็นความกลัว  หากแท้จริงความกลัวนั้นก็คือความทุกข์ของมนุษย์โดยชัดแจ้ง  โดยเฉพาะกลัวเจ็บ  กลัวแก่  และกลัวตาย  เป็นเรื่องของพุทธศาสนาโดยตรง  เป็นสัจจะที่มนุษย์ทุกรูปนามต้องน้อมรับโดยดุษฎี  ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับการกลัวคำวิพากษ์วิจารณ์อันอาจทำให้ตนสูญเสียเกียรติ  เข้าข่ายเป็นการเสียคนรัก  ก็คือการพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งหลายนั่นเอง

            รวมความทุกประการคือ  ทุกข์พื้นฐานของสรรพสัตว์บนโลกแห่งนี้

            เพราะประการดังกล่าวพระบรมศาสดาจึงทรงบัญญัติศีล...ให้เหล่าเวไนยสัตว์ประพฤติตนเพื่อความสงบสันติของสังคม  บัญญัติสมาธิคือวิธีการสร้างความมั่นคงแห่งจิต  สร้างอำนาจแห่งใจไว้เผชิญกับความทุกข์  ท้ายสุดคือการสร้างปัญญา  อันเป็นภาวนาปัญญาเอาไว้ ?ผ่าน? ความทุกข์ไปสู่แดนพ้นทุกข์ตลอดกาลนาน  คือพระนิพพานอันสูงสุดในคติแห่งบวรพุทธศาสนา

 

            ขอย้ำอีกครั้งตรงนี้  พระธรรม 84,000 พระธรรมขันธ์ของพระบรมศาสดาจะกล่าวโดยพิสดารอย่างไร  รวมลงแล้วเหลือเพียงมรรคอันมีองค์ 8 ประการ 8 ย่อแล้วเหลือไตรสิกขา 3 คือ ศีล สมาธิ และปัญญา  อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น  ไตรสิกขา 3 รวมลงที่ ?ใจ? ดวงเดียว

            ฝึก...ใจที่มีสติระลึกรู้โดยชอบ
            ฝึกใจให้มีสมาธิไม่หวั่นไหวในธรรมารมณ์ใด ๆ ที่เข้ามากระทบ
            นั่นแหละคือ ?แก่น? ของพุทธศาสนา!
            ใครฝึกจิตและใจให้ระลึกรู้โดยชอบโดยสร้างสติจนเป็นมหาสติ  ใครฝึกจิตใจให้ไม่หวั่นไหวต่อกิเลสตัณหาได้เหมือนใบบอนที่น้ำมิอาจซึมผ่าน พระนิพพานอยู่ตรงนั้นแหละครับ!

8
อยากทราบว่าไสยศาสตร์มีกี่ชนิดค่ะ จำเป็นมั๊ยที่จะต้องเป็นพวกมนต์ดำ อยากทราบค่ะ ให้รบกวนทุกๆ ท่าน ให้ความรู้กันหน่อยนะจ๊ะ :054: :054:

9
พอดีว่าต้องการจะเปลี่ยนชื่อผู้เข้าใช้ค่ะ จะเปลี่ยนจาก INLOVE   เป็น น้องลิงน้อย
หลังจากทำการเปลี่ยนแล้ว  ระบบให้ยืนยันรหัสผ่านปัจจุบัน ปรากฎว่า ไม่ผ่านอีกแล้วล่ะ
ทำไงดี เพราะคิดว่าจะเปลี่ยนรหัสผ่านด้วยแล้วล่ะ เริ่มเกิดอาการนิด ๆ  :093: :093:

10
อยากทราบว่าการบูชางั่ง เป็นด้านพุทธคุณรึเปล่า แล้วผู้หญิงบูชาได้ป่าว

11
ไม่เข้าใจข้อห้ามอยู่อย่างนึงนะ
"ห้ามผิดลูกผิดเมียผู้อื่น" หมายความว่า ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีแฟน(สามีหรือภรรยาน่ะ) อยู่  แล้วเกิดไปมีความสัมพันธ์กับฝ่ายตรงข้ามที่มีแฟนแล้ว ก็คือว่าผิดข้อห้ามนี้ใช่ป่าว
แล้วถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีแฟนเกิดไปมีความสัมพันธ์กับฝ่ายตรงข้ามที่ยังโสด ถือว่าผิดมั๊ย
เพราะ อยากรู้มานานก่อนไปสักแล้วล่ะ

12
จะเดินทางไปสักน้ำมันวันศุกร์นี้ล่ะ หลังจากสักแล้ว วันรุ่งขึ้นเราสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติมั๊ย
ก็ว่าจะขอความเมตตาจากหลวงพี่ที่ทำการสัก จะขอสัก 3 พาน เพราะเดินทางมาไกลด้วย เพื่อจะมาฝากตัวเป็นศิษย์วัดบางพระอีกคนเลยนะ กลัวหลวงพี่ไม่อนุญาตสิ ลางานได้ไม่กี่วันเอง คิดว่าสักแล้วจะกลับใต้เลยน่ะ

13
ผู้ที่บูชาแม่นางพิมและดำเซ็น ใครมีประสบการณ์เจ็งๆ เล่าต่อกันบ้างนะ พอดีกำลังสนใจ :053:

14
แม่นางพิมพา กะ แม่เป๋อ มีรูปร่างแตกต่างกันยังไงบ้าง
ใครพอจะทราบ ถ้าจะให้ดีนะ อยากให้เอารูปทั้ง 2 มาเปรียบเทียบให้ดูหน่อย


รบกวนผู้รู้ทุกท่านด้วยค่ะ :053: :090:

15
มีผู้ใหญ่เคยบอกว่า ถ้าหาเราสวมพระเครื่องหรือเครื่องรางอะไรก็ตาม ถ้าผู้ใดร่วมหลับนอนกัน ให้ถอดพระเครื่องหรือเครื่องราง เสมอ เพราะอะไรค่ะ

16
ก่อนที่หลวงพี่จะสักยันต์ให้เรา ท่านจะพิจารณาเราจากอะไร (ยกเว้นการสักยันต์ครูนะ เพราะว่าจะได้กันทุกคนอยู่แล้ว) ดูจากลักษณะหน้าตา ดวงประจำวันเกิด นิสัย ฯลฯ

17
หลังจากออกพรรษาแล้ว จะไปสักที่วัดบางพระ หลวงพี่จะอยู่กันรึเปล่าค่ะ

18
อยากทราบว่า วัดบางพระ กับ วัดท้องไทร อยู่ห่างไกลกันมาอ๊ะป่าว
แล้วจากวัดบางพระ ไปวัดท้องไทร จะไปยังไงค่ะ
พอดีว่าเพื่อนฝากให้แวะไปทำธุระที่วัดท้องไทรค่ะ ส่วนตัวเองจะไปวัดบางพระ
ช่วยแนะนำเส้นทางหน่อยนะค่ะ

19
กำลังจะเดินทางไปวัดบางพระ แล้วถ้าจะเช่าตะกรุดไปฝากเพื่อน ๆ ได้มั๊ยค่ะ
มีพี่ที่เป็นศิษย์วัดบางพระบอกว่า ถ้าเป็นคนใจร้อนไม่ควรเช่าตะกรุดหนังเสือไปบูชา เพราะจะทำให้เราใจร้อนมากกว่าเดิม จริงรึเปล่า :017:

20
อยากไปสักที่วัดบางพระ อยากทราบพุทธคุณของยันต์ที่สนใจค่ะ ยันต์ 5 แถว, พญาหงส์ กับ หงส์คู่ เหมือนกันรึเปล่าค่ะ

21
อยากทราบพุทธคุณของการสักยันต์ 5 แถวค่ะ ถ้าผู้หญิงอยากสักยันต์นี้จะดียังไงค่ะ

หน้า: [1]