ผู้เขียน หัวข้อ: สันโดษ คือ วิธีสร้างความสุข และ ยอมรับกฎแห่งกรรมด้วยปัญญาชอบ  (อ่าน 1777 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ NONGEAR44

  • นวมะ
  • ****
  • กระทู้: 669
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - en2005f@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
                                          สันโดษ คือ วิธีสร้างความสุข และ ยอมรับกฎแห่งกรรมด้วยปัญญาชอบ

สันโดษ มาจากภาษาบาลีว่า สันโตสะ
สัน แปลว่า ตน
โตสะ แปลว่า ยินดี

สันโดษ จึงแปลว่า ยินดี พอใจ อิ่มใจ สุขใจ กับของของตน กล่าวโดยย่อคือ ให้รู้จักพอ ให้รู้จักประมาณตน

เมื่อเราเข้าใจกฎแห่งกรรม
ยอมรับกฎแห่งกรรมด้วยปัญญาชอบ แล้วก็จะพอใจ
ในสิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่ ตามฐานะของตนในปัจจุบัน
ยอมรับว่าสิ่งที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน สมบูรณ์แล้วด้วยเหตุผล


อดีต........เป็น........เหตุ
ปัจจุบัน....เป็น........ผล
.....มันเป็นกรรมเก่า

พระพุทธเจ้าตรัสว่า
กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ร่างกายจิตใจของเรา
รวมทั้งสิ่งที่เป็นที่พึ่งอาศัยของกาย
เช่น พ่อแม่ พี่น้อง สามีภรรยา ลูกๆ บุคคลต่างๆ
ตลอดจนทรัพย์สมบัติ สถานที่ บ้าน สังคม ประเทศชาติ
ที่เราต้องไปเกี่ยวข้องล้วนเป็นกรรมเก่า


ลักษณะของสันโดษมี 3 ประการคือ

1. ยินดีตามมี

โลกธรรม 8 ที่เราประสบอยู่ในปัจจุบัน
โลกธรรมฝ่ายน่าปรารถนา ได้ลาภ ได้ยศ สรรเสริญ สุข
โลกธรรมฝ่ายไม่น่าปรารถนา เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์
ล้วนเป็นผลจากการกระทำของเราทั้งสิ้น
ดังนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏมีอยู่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
จึงสมบูรณ์ด้วยเหตุและผล เราจึงต้องยินดีพอใจ

แม้มีบางสิ่งบางอย่าง “ไม่ถูกใจ”
ก็ต้องอาศัยปัญญาชอบที่จะยอมรับความจริง
จนทำใจให้สงบ สบายได้


2. ยินดีตามได้

ยินดีกับของส่วนที่ได้มา
คือ เมื่อแสวงหาประโยชน์อันใดแล้ว
ได้เท่าไรก็พอใจเท่านั้นยินดีพอใจในสิ่งที่ได้
เมื่อเราใช้ชีวิตอยู่ในสังคม เราย่อมมีความปรารถนา
อยากได้ อยากมี อยากเป็น
และเมื่อเราแสวงหาสิ่งที่ต้องการด้วยความตั้งใจ
ความพยายามอย่างดีที่สุดตามกำลังตนแล้ว
เราต้องยอมรับผลที่ได้ เพราะเราก็ได้อาศัยบุญเก่า
ได้ใช้ความขยันหมั่นเพียร ความมานะอดทน ความสามารถ
กำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญาเต็มที่แล้ว
มันเป็นเพราะการกระทำทั้งในอดีตและปัจจุบันร่วมกันออกผล
เรียกว่าสิ่งที่ได้มันก็พอดีๆ กับการกระทำของตนเองทั้งนั้น
เมื่อเข้าใจจุดนี้ก็จะสบายใจ มีความยินดีพอใจในสิ่งที่ได้


3. ยินดีตามควร

--> ควรแก่ฐานะ

ให้พิจารณาว่าปัจจุบัน เราอยู่ในฐานะอะไร
เช่น เป็นฆราวาส หรือ เป็นนักบวช
เป็นผู้ใหญ่ หรือผู้น้อย
เช่น เมื่อเราเป็นฆราวาส มีใครเอาบาตร
เอาจีวรมาให้ เราก็ไม่ควรใช้
หรือเมื่อเราเป็นพระ
ก็ไม่ควรรับของที่ไม่เหมาะสมแก่ฐานะตน
เช่น อาวุธ บุหรี่ เหล้า หนังสือโป๊
วิดีโอเกมส์ เป็นต้น

-->ควรแก่ความสามารถ

คนเราเกิดมามีกำลังความสามารถไม่เท่ากัน
ทั้งกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา
ดังนั้น เราควรรู้กำลังความสามารถของตนเอง
และแสวงหา หรือยอมรับเฉพาะของที่ควรแก่กำลัง
ความสามารถของตนเองเท่านั้น เช่น
ถึงแม้ว่าครอบครัวเราจะมีอำนาจบารมี
สามารถฝากงานในตำแหน่งสูงๆ ให้กับเราได้
แต่ถ้าเราพิจารณาถึงกำลังสติปัญญาและประสบการณ์
ของเราแล้วว่า ยังไม่พร้อมที่จะรับผิดชอบงานได้
ก็ไม่ควรยินดีรับตำแหน่ง เป็นต้น


-->ควรแก่ศีลธรรม

ของใดก็ตามแม้ควรแก่ฐานะของเรา
ควรแก่ความสามารถของเรา
แต่ถ้าไปยินดีกับของนั้นแล้ว ทำให้เราผิดศีลธรรม
เสียชื่อเสียงเกียรติยศ ศักดิ์ศรี
ก็ไม่ควรยินดีกับสิ่งของนั้น
เช่นของที่ลักขโมย ฉ้อโกงเขามา
ของผิดกฎหมาย เช่น อาวุธเถื่อน ยาเสพติด
ของที่เขาให้เพื่อเป็นสินจ้างรางวัลในทางที่ผิด
หรือในกรณีที่เราแต่งงานมีครอบครัวแล้ว
เมื่อมีใครมารักมาชอบเราแบบชู้สาว
แม้เราพอใจในตัวเขามากแค่ไหนก็ตาม
ก็ไม่ควรรับ ไม่ควรตอบสนอง เป็นต้น

-----------------------------------------
๏ การฝึกตนให้สันโดษ

• พิจารณาความแก่ เจ็บ ตาย
• พิจารณากฎแห่งกรรม
• ให้ทาน
• รักษาศีล
• เจริญอานาปานสติและเมตตาภาวนา


1. พิจารณาความแก่ ความเจ็บ ความตายอยู่เป็นประจำ

เพราะเป็นความจริงของชีวิตที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้
ไม่ว่าจะดิ้นรนแสวงหาเงินทอง
สะสมทรัพย์สมบัติไว้มากเพียงใด
วันหนึ่งเราก็ต้องพลัดพรากจากสมบัติที่เราหาไว้
ทรัพย์สมบัติเป็นเครื่องมือที่ช่วยเราในการดำเนินชีวิต
เป็นทรัพย์ภายนอก
เมื่อตายแล้วก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้
เมื่อพิจารณาแบบนี้บ่อยๆ
ความโลภในทรัพย์สมบัติก็จะลดลง
มุ่งหน้าทำความดี คือให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา
เป็นการสะสมอริยทรัพย์
ซึ่งหมายถึงคุณความดี 7 ประการ
ประกอบด้วย

1. ศรัทธา

ความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ
ประกอบด้วย ศรัทธา 4 ประการคือ

- กรรมศรัทธา เชื่อในเรื่องกรรมว่า
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม กรรมเป็นผู้จำแนกสัตว์

- วิบากศรัทธา เชื่อว่าผลดีมาจากเหตุดี ผลชั่วมาจากเหตุชั่ว
ดังนั้น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว

- กรรมมัสสกตาศรัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตนเอง
เมื่อทำกรรมอันใดไว้ จะหนีผลของกรรมนั้นไม่พ้น

- ตถาคตโพธิศรัทธา เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

2. ศีล คือการรักษากาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อย

3. หิริ คือความละอายต่อบาป ทุจริต

4. โอตตัปปะ คือความเกรงกลัวต่อบาป

5. พาหุสัจจะ คือความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังธรรมมาก
และจำธรรมเหล่านั้นได้อย่างดี
รู้ศิลปวิทยามาก

6. จาคะ รู้จักสละ แบ่งปันสิ่งของตนให้แก่คนที่ควรได้

7. ปัญญา รอบรู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์

อริยทรัพย์นี้ดีกว่าทรัพย์สินเงินทอง
เพราะเป็นทรัพย์ภายในที่เราพึ่งพาอาศัยได้
ไม่เพียงแต่ชาตินี้
แต่อาศัยได้หลายภพ หลายชาติต่อๆ ไป


2. พิจารณากฎแห่งกรรม


ให้หมั่นพิจารณาอยู่เสมอว่า
เรามีกรรมเป็นของตน
เรามีกรรมเป็นผู้ให้ผล
เรามีกรรมเป็นแดนเกิด
เรามีกรรมเป็นผู้ติดตาม
เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

ไม่ว่าทำกรรมใดไว้
เราจะต้องเป็นผู้ได้รับผลของกรรมนั้นๆ สืบไป
เมื่อเข้าใจกฎแห่งกรรมจริงๆ แล้ว
เราจะสามารถทำใจและรักษาใจดีไว้ได้ในทุกสถานการณ์
มีความสุขใจ พอใจกับชีวิตที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
พอใจในการสร้างความดี ละความชั่ว
ยินดีในการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา


3. การให้ทาน

หมั่นให้ทานอยู่เสมอ อานิสงส์ของการให้ทาน
ที่ผู้ให้จะได้รับทันที
คือ ได้ลิ้มรสความสุขอันเกิดจากการให้
การสละและแบ่งปันเพื่อความสุขแก่ผู้อื่น
การให้ทานเป็นการฆ่าความตระหนี่ ขี้เหนียว
ความโลภในจิตใจไปทีละน้อย
มองเห็นคุณค่าแห่งความสุขจากการคิดให้
แล้วความสันโดษก็จะเกิดขึ้น


4. การรักษาศีล

ตั้งใจในการรักษาศีล 5 ให้สมบูรณ์
ศีล 5 เป็นกรอบทำให้เราไม่เบียดเบียนผู้อื่น
และหาโอกาสในการรักษาศีล 8 เพื่อฝึกหัดขัดเกลาจิตใจ
ผู้ที่รักษาศีล 8 ได้จะช่วยให้เกิดความสันโดษในหลายๆ เรื่อง
เช่น เรื่องกามคุณ เรื่องอาหาร การแต่งกาย เป็นต้น
ทำให้มองเห็นว่า แม้กินง่าย นอนง่าย อยู่ง่าย ก็มีความสุขได้


5. การเจริญภาวนา

ให้หมั่นเจริญอานาปานสติและเมตตาภาวนาอยู่เป็นประจำ
โดยเฉพาะเวลาก่อนนอน และตอนเช้า
ก่อนที่จะเริ่มภารกิจอย่างอื่น


คัดลอกบางส่วนจาก: สันโดษ...เคล็ดลับของความสุข
โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
 
        ขอบคุณที่มา  เว็บบอร์ด   พลังจิต

ออฟไลน์ Lizm Club

  • “The one thing you cannot teach a person is COMMON SENSE.”
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 309
  • เพศ: หญิง
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ไม่ว่าทำกรรมใดไว้
เราจะต้องเป็นผู้ได้รับผลของกรรมนั้นๆ สืบไป
เมื่อเข้าใจกฎแห่งกรรมจริงๆ แล้ว
เราจะสามารถทำใจและรักษาใจดีไว้ได้ในทุกสถานการณ์
มีความสุขใจ พอใจกับชีวิตที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
พอใจในการสร้างความดี ละความชั่ว
ยินดีในการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา



ขอบคุณค่ะ.................. :054: :054: :054:
"ก่อนทีท่านจะว่าผู้อื่น ลองหันมองดูตัวเองก่อนเถิดว่าตัวเองนั้นเป็นเช่นไร ถ้าเราไม่ได้ดีกว่าเขาก็อย่าว่าเขาเลย".......

ออฟไลน์ viriya

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 175
    • ดูรายละเอียด
  หว่านพืชย่อมเห็นผลฉันใด  กรรมใดใครก่อย่อมเห็นผลย่อมเห็นผลฉันนั้น 

ออฟไลน์ vithya

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 195
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
คนเราเกิดมาแล้วต้องตาย ลาภยศ ทรัพย์สมบัติเอาไปไม่ได้ ยกเว้นบุญกุศล ยังจะโลภกันไปทำไม ทำไมไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักประมาณตน