ผู้เขียน หัวข้อ: แจ้งข่าวหลวงปู่แฟ๊บ วัดป่าดงหวาย มรณภาพแล้วครับ  (อ่าน 3574 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ NONGEAR44

  • นวมะ
  • ****
  • กระทู้: 669
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - en2005f@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
                                        แจ้งข่าวหลวงปู่แฟ๊บ วัดป่าดงหวาย มรณภาพแล้วครับ

แจ้งข่าว หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโธ วัดป่าดงหวาย อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร ได้ละสังขารแล้วครับ ราว 4 ทุ่มที่ผ่านมา ที่รพ.สกลนคร รายละเอียดยังไม่ทราบครับ ต้องรอตอนเช้าครับ



ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่แฟ้บ สุภัทโท


วัดป่าดงหวาย
ต.ม่วง อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร


๏ อัตโนประวัติ

“หลวงปู่แฟ้บ สุภัทโท” มีนามเดิมว่า ญาติ กุลวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช๒๔๖๕ ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสอง ปีจอ ณ บ้านคำชะอี ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม (จังหวัดมุกดาหาร ในปัจจุบัน) โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายพรหมมา และทุมมา กุลวงศ์ ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา ตามวิถีชีวิตชาวชนบทอีสาน ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๗ คน โดยท่านเป็นบุตรคนที่ ๕

เพราะเหตุบางประการในการแจ้งชื่อในทะเบียนทหารกองเกิน เมื่อช่วงอายุ ๑๗-๑๘ ปี ทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น “แฟบ” และวันเวลาเกิดก็ผิดพลาดไปด้วย จึงต้องใช้ชื่อวันและเวลาเกิดใหม่จากนั้นเป็นต้นมา ต่อมาลูกศิษย์ลูกหาได้เรียกชื่อเพี้ยนเป็นหลวงปู่ “แฟ้บ” หรือ “แฟ๊บ” หรือ “แฟ็บ” ไป

หลวงปู่เป็นพระกัมมัฏฐานที่วัตรปฏิบัติเรียบง่ายปฏิปทาอันงดงาม ด้วยครองตนอยู่ในผ้ากาสาวพัสตร์อย่างสมถะ ไม่สะสมทรัพย์สินใดๆ มักน้อย ถือสันโดษ มีเมตตาธรรมสูง จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ได้พบเห็น และเป็นร่มโพธิ์ทองของบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย


๏ การศึกษาเบื้องต้น

หลวงปู่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ เมื่อโยมมารดาถึงแก่กรรมตอนอายุได้ ๗ ปี โยมบิดาก็ได้แต่งงานใหม่ ทำให้หลวงปู่ต้องย้ายไปอยู่ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ในสมัยนั้นหมู่บ้านอยู่ในชนบทห่างไกลมาก จึงไม่มีโรงเรียนทำไม่ได้รับการศึกษาต่อ ดังนั้นท่านจึงช่วยเหลืองานของโยมบิดาเรื่อยมา จนกระทั่งถึงอายุ ๑๖ ปี จึงย้ายกลับมาอยู่กับพี่ชายคนที่ ๒ คือ นายบุญ กุลวงศ์ ที่บ้านเดิม

ในวัยเยาว์นั้น มีเหตุการณ์ที่สร้างความประทับใจและปลูกศรัทธาความเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนาและพระธุดงค์กรรมฐานเป็นอย่างมาก เมื่อได้มีโอกาสเข้ากราบนมัสการพระบูรพาจารย์ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีลมหาเถร และหลวงปู่มั่น ภูริทตฺตมหาเถร ณ ถ้ำจำปากันตสีลาวาส (ถ้ำจำปา) บนภูผากูด บ้านคันแท ตำบลหนองสูง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ในปัจจุบัน

เนื่องจากหลวงปู่มั่นเห็นว่าการที่หลวงปู่เสาร์ปรารถนาบำเพ็ญบารมีเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น จะทำให้ล่าช้าต่อการบรรลุมรรคผลและนิพพาน เพื่อแนะแนวทางให้กับหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นจึงได้เดินทางมาที่ถ้ำจำปา บนภูผากูด ซึ่งหลวงปู่เสาร์ได้จำพรรษาอยู่ ณ ที่นั้น ต่อมาท่านทั้งสองได้ออกเดินธุดงค์มาแวะใกล้บริเวณหมู่บ้าน หลวงปู่จึงมีโอกาสได้พบกับท่านทั้งสอง เพราะชาวบ้านไปถางป่าจัดทำสถานที่พักไปฟังเทศน์ หลวงปู่ก็ตามชาวบ้านไปด้วย หลวงปู่มีโอกาสช่วยงานต่างๆ และทำทางเดินจงกรมให้กับหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นด้วย



หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล    



หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

๏ การอุปสมบทครั้งแรก

ครั้นเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หลวงปู่ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ญัตติฝ่ายมหานิกาย เป็นครั้งแรก ณ วัดในหมู่บ้าน ได้รับนามฉายาว่า “จันตโชโต” อุปสมบทได้เพียง ๒ พรรษาเท่านั้น โดยในพรรษาแรกได้เรียนภาษาบาลีจนสามารถอ่านออกเขียนได้ และในพรรษาที่ ๒ หลวงปู่อยากจะเรียนนักธรรมเพราะเมื่อได้นักธรรมโทแล้วก็จะลาสิกขาเพื่อไปเป็นครูสอนนักเรียน แต่พระครูต้องการให้เรียนพระปาฏิโมกข์ หลวงปู่ไม่ชอบจึงได้ลาสิกขา


๏ ชีวิตครอบครัว

หลังจากนั้นหลวงปู่ก็ได้ประกอบอาชีพค้าไหมจนมีเงินสะสมมากพอ จึงแต่งงานกับนางคำมา สุวรรณไตร พออายุได้ ๓๒ ปี จึงเปลี่ยนอาชีพมาทำนา และย้ายครอบครัวมาอยู่ที่บ้านบุ่งเลิศ ตำบลบุ่งเลิศ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด มีบุตร-ธิดารวมทั้งหมด ๑๒ คน คือ

๑. นางเหมือน กุลวงศ์ อาชีพแม่บ้าน
๒. พระอาจารย์ทองมาย อริโย
วัดป่ากลางทุ่ง อำเภอบ้ายนดุง จังหวัดอุดรธานี
๓. นางทองสาย แก้วมาก อาชีพทำนา
๔. แม่ชีสมหมาย กุลวงศ์ ปัจจุบันอยู่ ณ วัดป่าดงหวาย
๕. นายอุดม กุลวงศ์ อาชีพรับราชการครู
๖. นายสมศักดิ์ กุลวงศ์ อาชีพรับราชการครู
๗. นายภักดี กุลวงศ์ อาชีพรับราชการทหาร
๘. พระอาจารย์ศรีธาตุ ฐานรโต
วัดถ้ำมะค่า ตำบลคำเพิ่ม อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร
๙. นายผดุง กุลวงศ์ อาชีพรับราชการตำรวจ
๑๐. นางคำซ้อน อินทัง อาชีพช่างเสริมสวย
๑๑. นางอ่อนจันทร์ ประเสริฐสังข์ อาชีพช่างเย็บผ้า
๑๒. นางวรรณา กุลวงศ์ อาชีพค้าขาย

การดำเนินชีวิตในขณะนั้น หลวงปู่ประพฤติตนเป็นพุทธมามกะ โดยเป็นมัคทายกของวัดในหมู่บ้าน และยังเป็นหัวหน้าช่างก่อสร้าง ได้ออกแบบควบคุมการก่อสร้าง รวมถึงลงมือก่อสร้างกุฏิศาลา และกำแพงของวัดเองทั้งหมด โดยไม่รับค่าตอบแทนใดๆ เลย

เมื่อครั้งที่นางคำมา ภรรยาของหลวงปู่ ตั้งครรภ์ที่ ๒ ได้ ๖ เดือน ในคืนหนึ่งหลวงปู่ฝันว่า กำลังจะเดินทางกลับบ้านหลังจากทำนาเสร็จแล้ว เกิดมีน้ำป่าไหลมา มองไปทางไหนก็มีแต่น้ำท่วมจนสุดสายตา แต่มีเนินดินที่น้ำท่วมไม่ถึงพอที่จะให้ขึ้นไปอยู่ได้ จึงไปอยู่ที่เนินดินนั้น ขณะที่หลวงปู่กำลังคิดว่าจะทำไงดีจะกลับบ้านได้อย่างไร ก็มีมีดพร้าเก่าๆ ลอยตามน้ำมาติดอยู่ใกล้ๆ กับท่าน หลวงปู่จึงหยิบขึ้นมาดูก็เห็นว่าเป็นมีดพร้าของท่านเอง จึงนำไปล้างน้ำจนมีดพร้านั้นเปลี่ยนเป็นเรือทองคำ หลวงปู่จึงขึ้นไปนั่งบนเรือทองคำนั้น แล้วเรือก็พาแล่นไปจนสามารถข้ามน้ำผ่านไปจนเจอถนนหนทาง เรือทองคำแล่นไปบนถนนราวกับเป็นรถยนต์

เมื่อพิจารณาความฝันนั้นก็เห็นว่า “ลูกคนนี้คงเป็นผู้พาให้เราพ้นจากกองทุกข์เป็นแน่” ซึ่งลูกคนที่ ๒ นี้ คือ พระอาจารย์ทองมาย อริโย นั่นเอง

ต่อมาหลวงปู่เห็นว่าลูกๆ เริ่มโตเป็นผู้ใหญ่กันหมดแล้ว แต่ละคนก็ได้รับการศึกษาที่ดีคงไม่มีใครคิดที่จะทำนา จึงคิดหาทำเลที่เหมาะสมสำหรับประกอบอาชีพ หลวงปู่เห็นว่า อำเภอบานดุง จังหวัดอุดรธานี เหมาะสม หลวงปู่จึงได้มาซื้อบ้านแล้วย้ายถิ่นฐานครอบครัวมาอยู่ที่นี่ พร้อมกับได้สร้างห้องแถวสำหรับให้เช่าขึ้น ๖ ห้อง ซึ่งหลวงปู่ลงมือสร้างด้วยตนเอง

ในขณะที่วัยของหลวงปู่เริ่มมากขึ้น ร่างกายก็อ่อนแอลงไปด้วย แต่ยังต้องทำนาเพื่อเลี้ยงดูครอบครัวอยู่ ในวันหนึ่งขณะที่หลวงปู่กำลังจูงควายไปทำนา ๒ ตัว ควายตัวหนึ่งหยุดยืนเพื่อถ่ายมูล ส่วนควายอีกตัวหนึ่งกลับดึงตัวหลวงปู่เซจนล้มลง เพื่อนบ้านมองเห็นเข้าจึงพูดกับหลวงปู่ว่า

“เฒ่าแล้วจะทำไปทำไมนักหนา ไปทำบุญเข้าวัดเข้าวาได้แล้ว”

เมื่อหลวงปู่ได้ยินเช่นนั้น ก็เกิดความสลดสังเวชตัวเองเป็นอย่างมากถึงกับน้ำตาไหลออกมา หลังจากนั้นมาทุกวันพระหลวงปู่จะไปทำบุญรักษาศีลที่วัดตลอด และได้ศึกษาการปฏิบัติภาวนา เช่น เดินจงกรม นั่งสมาธิ จนเกิดอัศจรรย์เป็นครั้งแรก ขณะภาวนาในเวลากลางคืน จู่ๆ ก็เห็นแสงขึ้นเหมือนฟ้าแลบ เป็นช่วงๆ แล้วเริ่มถี่ขึ้นๆ จนสว่างจ้าไปหมด หลังจากนั้นมาก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นอีก จึงไม่ได้สนใจเพราะไม่รู้จักอะไรลึกซึ้งนัก และไม่มีผู้ให้คำสอน

ในขณะนั้นความรู้สึกของหลวงปู่มีแต่ความอยากบวช แต่ก็ติดอยู่ที่ครอบครัวจึงยังไม่มีโอกาส ครั้นต่อมานางคำมา สุวรรณไตร ภรรยาของหลวงปู่ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรควัณโรค ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ เมื่ออายุได้ ๕๒ ปี ส่วนหลวงปู่อายุได้ ๕๙ ปี


  ขอบคุณที่มา เว็บบอร์ด dhammajak