กระดานสนทนาวัดบางพระ

หมวด เส้นทางสายบุญ => เส้นทางสายบุญตามภาคต่างๆ ของไทย และเส้นทางสายบุญในต่างประเทศ => เส้นทางสายบุญต่างประเทศ => ข้อความที่เริ่มโดย: ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่ 01 ก.พ. 2555, 06:25:51

หัวข้อ: ท่องพุทธสถานในดินแดนนกยูง"สิบสองปันนา"สาธารณรัฐประชาชนจีน
เริ่มหัวข้อโดย: ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่ 01 ก.พ. 2555, 06:25:51
๒๐ มกราคม ๒๕๕๕  ๑๐.๓๖ น. (เวลาตามประเทศไทย)

ณ วัดมหาราชฐานสุทธาวาส(วัดไทยใหญ่) หมู่บ้านกาหลั่นป้า เมืองเชียงรุ้ง สิบสองปันนา สาธารณรัฐปนะชาชนจีน

ชาวไทลื้อเรียกวัดนี้ว่า "วัดสวนม่อน" หมายถึงสวนดอกไม้ที่อยู่บริเวณด้านหลังวัดที่หมู่บ้านกาหลั่นป้า

เป็นวัดในพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท(หินยาน) ศิลปะการสร้างคล้ายกับวัดทางภาคเหนือของไทย ตั้งอยู่กลางหมู่บ้านกาหลั่นป้า ซึ่งเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ของพี่น้องไทยปันนา (ไทลื้อ) ภาษาพูดคล้ายกับภาษาไทยพื้นเมืองภาคเหนือ ทำให้สื่อสารกันพอเข้าใจ

ปัจจุบัน นอกจากจะเป็นพุทธสถาน เพื่ปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุสามเณร เป็นศูนย์รวมใจของชาวไทลื้อในหมู่บ้านกาหลั่นป้านี้แล้ว

วัดแห่งนี้ ก็ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งในสิบสองปันนาด้วยเช่นกัน

ด้านหน้าก่อนทางเข้าวัด จะพบกับนกยูง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสิบสองปันนา ที่ได้ฉายาว่า "ดินแดนนกยูง" และลิง ไว้บริการนักท่องเที่ยวสำหรับถ่ายภาพเป็นที่ระลึก
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lyphtk-339930.jpg)

(http://bp.or.th/uploads/data/image/lyphu4-95b393.jpg)

บริเวณซุ้มประตูทางเข้าวัดไทยใหญ่ จะมีป้ายเขียนด้วยภาษาไทลื้อ
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lyphur-0921cb.jpg)

อาคารศาสนสถานภายในวัดไทยใหญ่ ลักษณะทางศิลปกรรมคล้ายทางภาคเหนือของไทย
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lyphvi-68e36d.jpg)

เจดีย์สีทองอร่ามภายในวัด
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lyphw0-64536d.jpg)

ทางเข้าด้านหน้าพระอุโบสถ
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lyphwl-5cd298.jpg)

ภายในมีพระพุทธรูปปูนปั้นทาทองปางมารวิชัยขนาดใหญ่ เป็นพระประธานภายในพระอุโบสถหลังนี้
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lyphx5-7d2ac6.jpg)

บริเวณด้านข้างของพระประธาน มีตู้พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ตั้งไว้เพื่อสักการะบูชา
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lyphxv-2f65c9.jpg)

ร่องรอยการปิดแผ่นทองคำเปลวที่องค์พระประธานในพระอุโบสถ
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lyphym-7960ae.jpg)

เครื่องบูชา ทำจากกระดาษสีสันสดใส ห้อยประดับไว้ด้านหลังพระประธาน
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lyphzz-bc6eab.jpg)

จิตรกรรม ภาพเขียนบนผ้า นำไปขึงติดประดับไว้บริเวณผนังโบสถ์ด้านใน เล่าเรื่องราวในพุทธประวัติ และความเชื่อทางพระพุทธศาสนาของชาวไทลื้อ
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypi0g-7c5ab4.jpg)

โครงสร้างของพระอุโบสถทำจากไม้ ใช้การขัดไม้ตามสลักเป็นชั้นๆ ตกแต่งลวดลายด้วยการทาทองเพื่อความสวยงาม
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypi2d-e5ef18.jpg)

บริเวณด้านข้างขององค์พระประธาน จัดแยกเป็นอีกห้องหนึ่ง ประดิษฐานพระพุทธรูปไว้จำนวนมาก ใช้เป็นสถานที่ให้พระภิกษุต้อนรับปฏิสันถารสาธุชน ที่มาเยี่ยมเยือนวัดแห่งนี้
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypi2x-bb771b.jpg)

รูปปั้นสิงห์สีทอง ที่ฐานเจดีย์ ด้านหลังเป็นหอกลอง
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypi3j-6e2db2.jpg)

สามเณรภายในวัด ให้บริการขายธูป เพื่อนำไปจุดบูชารูปเคารพต่างๆภายในวัด
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypi4o-45027f.jpg)

อาทิเช่น พระพรหม ศิลปะโดยทั่วไปก็คล้ายคลึงกับทางบ้านเรา
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypi57-1216b4.jpg)

ปฏิมากรรมสะท้อนเรื่องราว ความคิด ความเชื่อ ในทางพระพุทธศาสนาของขาวไทลื้อ
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypi65-8d7a44.jpg)

ระเบียงด้านหลังพระอุโบสถ เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง สังเกตที่เสาทุกต้น จะไม่ฝังลงพื้น แต่จะต้องมีแท่นหินมารองรับไว้ วัฒนธรรมนี้ไม่ใช่มีแต่เฉพาะในวัดเท่านั้น แม้แต่บ้านเรือนของชาวไทลื้อที่นี่ ก็จะทำเช่นเดียวกันทั้งหมดหมด
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypi7m-7dcad1.jpg)

ลวดลายการตกแต่งบริเวณผนังพระอุโบสถด้านนอก สังเกตดูจะใช้การทาสีทอง ไม่เหมือนกับบ้านเราที่นิยมใช้การปิดทองเป็นหลัก
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypi82-0d130c.jpg)

มือจับบานประตูของวัดเป็นรูปสิงโต ก็ได้รับอิทธิพลทางศิลปกรรมของชาวจีน นำมาประยุกต์เข้ากันได้อย่างลงตัว
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypi8g-0bd6e9.jpg)

รูปหล่อพระสิวลีสร้างจากโลหะ ประดิษฐานไว้บริเวณหน้าวัดไทยใหญ่แห่งนี้
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypi8w-432441.jpg)
หัวข้อ: ตอบ: ท่องพุทธสถานในดินแดนนกยูง"สิบสองปันนา"สาธารณรัฐประชาชนจีน
เริ่มหัวข้อโดย: ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่ 01 ก.พ. 2555, 06:26:50
๒๐ มกราคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๖.๓๐ น. (ตามเวลาในประเทศไทย)

ณ วัดป่าเจ (西双版纳总佛寺) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสวนม่านทิง อันเป็นสวนพรรณไม้ในป่าชื้นเขตร้อนอันอุุดมสมบูรณ์ของสิบสองปันนา

วัดป่าเจ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "วัดป่าเชต์มหาราชฐาน" ในอดีตเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุด และยังเป็นเสมือนวิทยาลัยสงฆ์ของเมืองเชียงรุ้ง

ความเชื่อของชาวไทลื้อที่นี่สมัยก่อน เมื่อมีลูกชายเป็นเด็กก็จะต้องให้บวชเป็นสามเณร เรียกกันว่า "บวชลูกแก้ว"

เมื่ออายุครบบวช ก็จะต้องบวชเรียนศึกษาพระธรรมวินัยเสียก่อน ถึงจะเป็นที่ยอมรับของสังคม (คล้ายกับประัเทศไทยสมัยก่อน)

ด้วยปัจจุบันนี้ สภาพแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจได้เปลี่ยนไปอย่างมาก ความเชื่ออันเป็นวัฒนธรรมนี้ จึงค่อยๆเลือนหายไปตามลำดับ

วัดป่าเจ เป็นวัดนิกายเถรวาท (หินยาน) เป็นศูนย์กลางด้านวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาของชนชาติไตในสิบสองปันนา

มีเนื้อที่ประมาณ ๓,๐๐๐ ตารางเมตร ในอดีตเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของเจ้าชนชั้นปกครองในสิบสองปันนา

ภายในวัดประกอบด้วยศาสนสถานทั้งเจดีย์ขาว เจดีย์แปดเหลี่ยม วิหาร พระอุโบสถ กุฏิพระภิกษุสามเณร และสถาบันทางพระพุทธศาสนา คือ วิทยาลัยพระพุทธศาสนาของมณฑลยูนนาน

สิ่งก่อสร้างในวัดแห่งนี้ ส่วนหนึ่งได้รับทุนงบประมาณการก่อสร้างจากสาธุชนชาวไทย ศิลปกรรมจึงคล้ายกับวัดในไทยเป็นอย่างมาก

ในอนาคตอันใกล้ ทางการจีนจะย้ายวัดป่าเจเข้าไปรวมกับวัดหลวงเมืองลื้อแทน ส่วนสถานที่ตั้งเดิมของวัดป่าเจ คงจะได้รับการรังสรรค์ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในสิบสองปันนาต่อไป

ถัดจากสวนม่านทิง บริเวณด้านหลังก็จะเข้าสู่เขตของวัดป่าเจ
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypl06-fe5b71.jpg)

เจดีย์ขาวองค์จำลอง
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypl0t-670ac5.jpg)

เจดีย์แปดเหลี่ยม
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypl1f-b0198f.jpg)

เนื่องจากเข้ามาชมสวนเป็นเวลาเย็นมากแล้ว (เวลาในประเทศจีนเร็วกว่าเวลาในประเทศไทย ๑ ชั่วโมง) จึงได้แต่เดินชม ร้านค้าและวัดก็ใกล้จะปิดให้เยี่ยมชมแล้วเช่นกัน
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypl21-79d9e4.jpg)

ซุ้มประตูทางเข้าไปภายในบริเวณวัด
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypl2j-10c035.jpg)

ปฏิมากรรมปูนปั้นรูปเสมาธรรมจักร ตกแต่งซุ้มทางเข้าวัดป่าเจ
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypl30-0eba97.jpg)

ใบสีมา ก็ได้ถูกนำมาประดับตกแต่งกำแพงของวัดเช่นกัน
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypl3i-bf3669.jpg)

บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถ จะสังเกตเห็นพระพุทธรูปที่สร้างจากไม้ไผ่เอามาสานเป็นโครง อยู่ด้านหลังพระโพธิสัตว์กวนอิืม ตามความเชื่อของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน (แต่อยู่ในวัดพุทธนิกายเถรวาท)
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypl4e-0f98e4.jpg)

ป้านหินอ่อนจารึกว่า "วิทยาลัยพระพุทธศาสนาสิบสองปันนาสาขายูนนาน" แทบทุกที่ในสิบสองปันนา ป้ายทุกชนิดไม่ว่าเขียนด้วยภาษาใดก็ตาม จะต้องมีอักษรภาษาไทลื้อเขียนกำกับไว้ด้วยเสมอ
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypl4w-a3306f.jpg)

แผ่นป้ายหินอ่อนจารึกแสดงไว้ว่า สมเด็จพระสังฆราชของประเทศไทยทรงเคยเสด็จมา ณ วัดป่าเจแห่งนี้ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๖
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypl5c-a20d35.jpg)

วิหารที่กำลังอยู่ในช่วงของการดำเนินงานก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypl5r-258f77.jpg)

ซุ้มประตูทางออกของวัดป่าเจ
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypl62-452ea3.jpg)

(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypl6g-808db9.jpg)
หัวข้อ: ตอบ: ท่องพุทธสถานในดินแดนนกยูง"สิบสองปันนา"สาธารณรัฐประชาชนจีน
เริ่มหัวข้อโดย: ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่ 01 ก.พ. 2555, 06:27:40
๒๑ มกราคม ๒๕๕๕ เวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น.

ณ วัดหลวงเมืองลื้อ สิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน

วัดหลวงเมืองลื้อ เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของสิบสองปันนาในปัจจุบัน ซึ่งบริษัทพัฒนาการท่องเที่ยวหยวนห้าว จำกัด สิบสองปันนา ยูนนาน ได้ทุ่มเงินลงทุนสร้างเองถึง ๓๕๐ ล้านหยวน (เป็นเงินไทยประมาณกว่า ๑,๗๕๐ ล้านบาท) เพื่อสร้างวัดทางพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท(หินยาน) และพระพุทธรูปปางคันธารราฐ พระพุทธรูปปางยืนขอฝน เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สุดในแถบนี้ มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ ก่อสร้างบนภูเขา ปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ สืบเนื่องจากตระหนักว่าพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมีประวัติมาอย่างยาวนานในดินแดนสิบสองปันนา พอๆกับในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นในประเทศไทย กัมพูชา เมียนม่าร์ ลาว เป็นต้น นอกจากนี้ภายในวัดยังเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยพระพุทธศาสนาสิบสองปันนา เพื่อใช้เป็นสถานที่ศึกษาวิจัยพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และคาดหวังว่าวัดแห่งนี้ จะกลายเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่ชาวชนชาติไต หรือไทลื้อในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้สืบค้นเรื่องราวความเป็นมาของบรรพบุรุษของตนเองได้ ปัจจุบันนี้ ทางการจีนได้รื้อวัดป่าเจและย้ายมาอยู่ที่วัดหลวงเมืองลื้อนี้ทั้งหมด

ศิลปะการก่อสร้างภายในวัด เป็นการประยุกต์ทั้งของทางเถรวาท และมหายานเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังผสมผสานศิลปะวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ ลาว พม่า และไทย เข้าด้วยกันอีกด้วย

ในส่วนของพระภิกษุที่จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ ก็มีทั้งนิกายเถรวาท และนิกายมหายาน รวมถึงพระธิเบตด้วย ซึ่งพระภิกษุทั้งหมดนี้ ได้รับการนิมนต์มาจากการที่รัฐบาลจีนได้อาราธนานิมนต์จากวัดทั่วประเทศจีนให้มาอยู่ ณ วัดแห่งนี้

ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินงานก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ แต่ก็มีนักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยวชมความสวยงามของศิลปะวัฒนธรรมภายในวัดเป็นจำนวนมาก

ถึงแม้ว่าวัดหลวงเมืองลื้อแห่งนี้จะได้ชื่อว่าเป็นนิกายเถรวาท แต่พฤติการณ์ก็ยังไม่ใช่เถรวาทอย่างสมบูรณ์ มีการผสมผสานกันระหว่างนิกายเถรวาทและมหายาน เราก็ลองมาติดตามพิจารณาดูกันต่อไปว่า วัดหลวงเมืองลื้อแห่งนี้ จะเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทอย่างที่ตั้งใจไว้ได้หรือไม่

บริเวณลานหน้าทางเข้าวัดหลวงเมืองลื้อ ประดับตกแต่งด้วยต้นไม้ตกแต่งเป็นพระพุทธรูป
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypn4v-d33a6d.jpg)

แผนที่แสดงรายละเอียดเมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะจัดแบ่งเป็นชั้นๆ จัดแสดงเรื่องราวพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ ไปจนกระทั่งปรินิพพาน
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypn5f-00a88c.jpg)

ชั้นแรกสุด จัดแสดงเรื่องราวพุทธประวัติตอนประสูติ "“เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”"
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypn5u-f47e7f.jpg)

ซุ้มประตูทางเข้าที่ผ่านเข้ามา สังเกตเห็นได้ว่ามีการจัดการอย่างเป็นระบบระเบียบ เพื่อประโยชน์การท่องเที่ยวโดยเฉพาะ ในการเที่ยวชมนี้ จะเลือกโดยสารรถที่มีไว้ให้บริการ หรือว่าจะเลือกเดินขึ้นบันไดก็ได้ ตามสะดวก
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypn6g-5a1b16.jpg)

พระพุทธรูปปางคันธารราธ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในแถบนี้
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypn7h-9721fd.jpg)

มองลงไปด้านล่างจะพบกับพระอุโบสถของวัดหลวงเมืองลื้อ
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypn7x-aca498.jpg)

ด้านบนนี้ สามารถมองเห็นทัศนียภาพมุมกว้างของสิบสองปันนาได้อย่างชัดเจน
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypn8h-c9e901.jpg)

นักท่องเที่ยวชาวจีนจุดธูปขนาดใหญ่เพื่อสักการะบูชาพระพุทธรูปปางคันธารราธ
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypn8w-21dd40.jpg)

ราวบันไดทางขึ้นลง เป็นรูปพระสาวกเดินอุ้มบาตร แกะสลักจากศิลา
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypn9f-ca0b5a.jpg)

ปฏิมากรรมรูปยักษ์ บริเวณทางเข้าพระวิหาร
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypn9x-27e603.jpg)

พระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปปางสมาธิทรงเครื่องสีขาว
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypnad-fa9cd9.jpg)

พระพุทธรูปองค์จำลองจากพระพุทธรูปปางคันธารราธขนาดใหญ่ ประดิษฐานบนผนังของวิหารรอบด้าน
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypnat-abd5dc.jpg)

ด้านในพระวิหารด้านหลัง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ และพระโพธิสัตว์กวนอิม  (นี่เป็นอีกส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า วัดนี้นิกายเถรวาทจริงหรือ?)
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypnbe-94ee56.jpg)

ด้านข้างของวิหาร จัดวางเทวรูป เป็นเทพเจ้า ไฉ่ซิงเอี๊ยะ วางระดับเดียวกับพระพุทธรูป?
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypnbs-67e78c.jpg)

อีกห้องหนึ่งในวิหาร จัดแสดงพระพุทธรูปปางมารวิชัยทรงเครื่อง พร้อมเครื่องสักการะบูชา
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypnc8-d76154.jpg)

ร้านขายธูปขนาดใหญ่ไว้สำหรับจุดบูชา ภายในวัด
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypncp-d370c9.jpg)

ตรงกลางคือ กระถางปักธูปขนาดใหญ่ ศิลปะจีน
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypndf-895024.jpg)

ปฏิมากรรมศิลาแกะสลักรูปเทพหลี่จิ้ง ตามความเชื่อของชาวจีน
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypneq-147416.jpg)

รูปจำลองคล้ายพระธาตุอินทร์แขวน ในประเทศเมียนม่าร์
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypnfa-f4372b.jpg)

ชั้นแสดงเรื่องราวพุทธประวัติตอนตรัสรู้
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypnfp-f9fc59.jpg)

พระอุโบสถของวัดหลวงเมืองลื้อ
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypng6-fcd42c.jpg)

พระแม่ธรณีบีบมวยผม บีบน้ำออกจากมวยผมอันเป็นประจักษ์พยานในการบำเพ็ญบารมีของเจ้าชายสิทธัตถะ
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypngm-1e824f.jpg)

วิหารภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวัน (เหมือนกับของประเทศไทยทุกประการ)
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypnh2-1fb404.jpg)

พระพุทธรูปปางสมาธิ พระพุทธรูปประจำวันเกิด วันพฤหัสบดี
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypnhf-0532ad.jpg)

พระประธานภายในพระอุโบสถวัดหลวงเมืองลื้อ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสีทองขนาดใหญ่ ด้านข้างมีพระอัครสาวกยืนประนมมืออัญชลีอยู่
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypnhu-26f9d0.jpg)

หน้าโต๊ะหมู่บูชา มีภาพของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ประเทศไทย ประดิษฐานอยู่ด้วย
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypni9-2f14f1.jpg)

ปฏิมากรรมรูปปูนปั้นยักษ์ ๒ ตน นั่งเฝ้าทางเข้าพระอุโบสถวัดหลวงเมืองลื้อ แสดงให้เห็นถึงอารมณ์ขันของศิลปินผู้รังสรรค์ผลงาน
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypnim-007bda.jpg)

ศาลพระภูมิบ้านเราดีๆนี่เอง
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypnj3-1315e1.jpg)

วิหารภายในประดิษฐานพระพุทธรูปตามความเชื่อของชาวจีน ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนานิกายมหายาน
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypnji-45b840.jpg)

หลวงพี่เก่ง วัดบางพระ,พี่มหานรินทร์,พี่มหาโจ้ ร่วมเดินทางไปเที่ยวชมในครั้งนี้ด้วย
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypnkp-45757d.jpg)

เก็บภาพบรรยากาศมาฝากให้เพื่อนสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระได้รับชม ได้ร่วมอนุโมทนากับการเดินทางแสวงบุญในสิบสองปันนาในครั้งนี้ด้วยครับ... ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)
(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypnl5-635212.jpg)
หัวข้อ: ตอบ: ท่องพุทธสถานในดินแดนนกยูง"สิบสองปันนา"สาธารณรัฐประชาชนจีน
เริ่มหัวข้อโดย: tor.20 ที่ 01 ก.พ. 2555, 10:22:43
โอโฮ ! ไปไม่ชวนกันเลย ว่าแต่มีวัตถุมงคลมาฝากหรือเปล่าเผื่อจะได้มาบูชาแก้ชงกันหน่อย
หัวข้อ: ตอบ: ท่องพุทธสถานในดินแดนนกยูง"สิบสองปันนา"สาธารณรัฐประชาชนจีน
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงกลด ที่ 01 ก.พ. 2555, 11:17:35
ขอบพระคุณท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) เป็นอย่างยิ่งที่กรุณานำภาพและเรื่องราวดีดีมาฝากกันครับ :054:
สักวันหนึ่ง...ผมจะตามไปเที่ยวชมบ้างครับ :015:
หัวข้อ: ตอบ: ท่องพุทธสถานในดินแดนนกยูง"สิบสองปันนา"สาธารณรัฐประชาชนจีน
เริ่มหัวข้อโดย: derbyrock ที่ 02 ก.พ. 2555, 09:24:56
ขอบคุณสำหรับภาพสวยๆน่ะครับ
หัวข้อ: ตอบ: ท่องพุทธสถานในดินแดนนกยูง"สิบสองปันนา"สาธารณรัฐประชาชนจีน
เริ่มหัวข้อโดย: พุทธสาวก ที่ 03 ก.พ. 2555, 08:45:23
สวยมากครับ

(http://bp.or.th/uploads/data/image/lypneq-147416.jpg)
องค์นี้คือท้าวเวสสุวัณครับ

ท้าวเวสสุวัณในศิลปะจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ทำเป็นท่ายืนถือเจดีย์ หมายถึงการปกป้องพระพุทธศาสนา
หัวข้อ: ตอบ: ท่องพุทธสถานในดินแดนนกยูง"สิบสองปันนา"สาธารณรัฐประชาชนจีน
เริ่มหัวข้อโดย: arada ที่ 03 ก.พ. 2555, 08:46:34
ขอบคุณที่นำรูปภาพมาแบ่งปันนะครับ....สวยงามมาก
หัวข้อ: ตอบ: ท่องพุทธสถานในดินแดนนกยูง"สิบสองปันนา"สาธารณรัฐประชาชนจีน
เริ่มหัวข้อโดย: พุทธสาวก ที่ 03 ก.พ. 2555, 09:04:31
(http://www.sungbulsa.org/new_cms/u_images/06_02/20090325115949adminA.jpg)
(http://www.terano.net/ichi/bi2.jpg)

แต่ของทิเบต ถ้าถือเจดีย์คือท้าววิรูปักษ์ เพราะท้าวเวสสุวัณของทิเบตไม่ถือเจดีย์
ส่วนเทพหลี่จิ้ง เป็นเทพในวรรณคดีห้องสิน
หัวข้อ: ตอบ: ท่องพุทธสถานในดินแดนนกยูง"สิบสองปันนา"สาธารณรัฐประชาชนจีน
เริ่มหัวข้อโดย: konrukgun ที่ 03 ก.พ. 2555, 01:02:39
สวยมากครับ ขอบคุณความสุขที่เอามาโพสให้พวกเราได้ดูและศึกษาครับ