แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - aking

หน้า: [1]
1
อยากรู้ละเอียดกว่านี้อะครับ ถ้ามีก้ลงกันให้อ่านบ้างน่ะครับ :054:

2
แต่ท่าน ล้วนแต่ครูอาจารย์ที่เก่งกันทั้งนั้นเลยครับ^^

       

3
          วันนี้ ที่บ้านผมนิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์ที่บ้าน  ท่านเจ้าอาวาสวัดใกล้บ้านท่านเองทำตัวเป็นพระเกจิอาจารย์มาช้านาน ผมเข้าไปนั่งสนทนาด้วย ท่านได้ยินเรื่องเล่าของผมมาบ้างจึงชวนคุยเรื่องไสยศาสตร์ ท่านหลุดมาว่า “ก็ซื้อตำราตลาดมาลอกๆ ก็ใช้ได้แล้วเพราะจิตเราดี”  ผมยิ้มๆ ไม่ต่อความ ประเด็นเรื่องจิตผมถือเป็นนามธรรม ใครจะพูดอย่างไรก็ได้  ผมเห็นปลอมมากกว่าจริง แต่  “ตำราตลาดใครๆ ก็ลอกได้” ทำให้ผมเศร้าและสะท้อนใจ
 
          คำว่า “ตำราตลาด” ถ้าใช้ในแง่ร้ายผมก็ขอค้าน เพราะ อ.เทพย์ สาริบุตรของผม ผู้ถือได้ว่าเป็นไม้ร้อยโอบ ผู้มีคุณูปการ ตำราของท่านจึงนับว่ามาตรฐาน กว่าตำรา “ชาวบ้าน” ที่มุขปาฐะสืบกันมา   พระเกจิ ในเมืองไทยร้อยละเก้าสิบ แอบใช้ตำราท่าน แต่ไม่กล้าเปิดเผย เพราะอายที่เอาวิชามาจากตำราตลาด มิหนำซ้ำฆราวาสเป็นคนเขียน
          ตำราอ.เทพย์ ได้มาตรฐานสมบูรณ์มากจนไม่มีใครโต้แย้งได้ จะมีข้อจำกัดก็คือ  ตำรานี้ท่านไม่ได้บอกจนหมดเปลือกแบบแบไต๋  ท่านกล่าวว่า  “บอกหมดอาจารย์ก็เต็มบ้านเต็มเมืองน่ะสิ”  ท่านพูดและหัวเราะ คงเป็นอารมณ์ขันมากกว่าการหวงวิชา เพราะแท้จริงแล้วไสยศาสตร์มีธรรมเนียมบางประการ ทำให้ท่านบอก เท่าที่บอกได้
 
          นักพุทธศาสตร์มักดูถูกวิชาไสยศาสตร์(แบบพุทธ) ว่าเป็นศาสตร์ทางขวาง แต่ตลอดเวลาหลายปีที่ผมศึกษาค้นคว้า ผมพบว่า  ถ้าเราเชื่อว่าสมถะเป็นพื้นฐานของ วิปัสสนา อย่างพวกลัทธิเจโตวิมุตติแล้ว ไสยศาสตร์ก็มิใช่เดียรัจฉานวิชา แต่กลับเป็นวิชาชั้นสูง ในฐานะเป็นพื้นฐานแห่งการหลุดพ้น การศึกษาไสยศาสตร์แค่ผิวเผินซะอีกทำให้เราพบแต่กระพี้ จึงเห็นแค่ประโยชน์ทางโลกแบบโลกีย์วิสัย เมื่อนักพุทธศาสตร์มีฐานความคิดดูถูกไสยศาสตร์แล้ว จึงขาดความนับถือวิชาเหล่านี้ด้วย
 
ครู คือสิ่งจำเป็นทางไสยศาสตร์
          ศาสตร์ของไทยแต่โบราณแทบทุกแขนง ต้องมี “ครู” ทั้งนั้น  เหมือนคำอีสานที่ว่า “หมกปลาแดกมีครู จี่ปูมีวาท”  โดยเฉพาะไสยศาสตร์ด้วยแล้ว อ.ชุม ไชยคีรีท่านกล่าวว่า “ไสยศาสตร์ คือคำสั่งครู”  เมื่อแรกเรียน จึงต้องมีการเคารพครู ขอเป็นศิษย์  มีขัน มีดอกไม้มาคารวะเสียก่อนตามธรรมเนียมของศาสตร์นั้นๆ เพราะเคารพครูก็เท่ากับเคารพวิชา เป็นการแสดง ถึงฉันทะ ที่จะบอกว่า ศิษย์คนนั้นมีโอกาสสำเร็จวิชา ตามหลักอิทธิบาทสี่  ครูเองก็มีโอกาสเรียนรู้ว่าศิษย์เหมาะแก่การสืบวิชาหรือไม่? โดยพิจารณาจาก สติปัญญา ความหมั่นเพียร และคุณธรรม คงจำกลอนสุนทรภู่ได้นะครับ
          พระอภัยมณี ศรีสุวรรณ หลังสำเร็จวิชาจากอาจารย์ทิศาปาโมกข์ แล้ว อาจารย์เอาเงินคืนหลังจากเก็บค่าเรียนสุดแพง ท่านว่า  “ไม่ได้ประสงค์ซึ่งสิ่งสุวรรณ แต่จะกัน มิให้ไพร่ได้วิชา”
ที่กล่าวมาไม่ใช่ว่าครูหวงวิชา แต่เป็นการ “รักษาความบริสุทธิ์ของวิชา”  ให้สืบไปภายหน้า ให้ห่างจากพวก นอกครู (พวกนักประยุกต์ ตำรา  ก็ถือว่านอกครู)
 
          ในขณะศึกษาเล่าเรียน ครูจะดูแลศิษย์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้รับความรู้ที่ถูกต้อง บางเรื่องซับซ้อน มีกลเม็ด ที่เขาว่า “วิชาหาง่าย แต่แยบคายนั้นหายาก” นั่นแล บางอย่างพลาดพลั้งมีอันตรายต้องมีผู้ชำนาญทำให้ดู ที่เขาเรียกว่า “ฝีมือชั้นครู” นั่นเอง บางอย่างเป็นวิชาลับไม่อาจจดในตำราตรงๆ ขณะศิษย์อ่านหรือลอกตำรา ครูต้องคอยสอนให้เห็นวิธีการบังวิชาในแบบต่างๆ เช่น จดสลับหน้า , กลตัวเลข , ตัวข่มตัวสับ, กลกุ้งนอนเฟือย ฯลฯ
          การค่อยๆ เรียนอย่างมีระบบแบบแผน ภายใต้การดูแลของครูนี้เรียกว่า “การต่อวิชา”
 นอกจากสอนเรื่องวิชาแล้ว ต้องสอนเรื่องจรรยาด้วย วิชาชีพทุกอย่างต้องมีจรรยาบรรณของตนเอง อันเป็นการวางระบบ กติกา มารยาท ของสังคมที่สืบทอดวิชานั้นๆ ด้วย จะเห็นได้ว่า เวลาที่ศิษย์และครูมีให้กันนั้นยาวนาน ศิษย์แทบจะกินนอนอยู่บ้านครูทีเดียว ความรัก ความผูกพันจึงเกิดขึ้น ศิษย์จึงยกให้ว่า “พ่อครู” จะเห็นได้ว่า ครู ในความหมายของเรา จะหนักแน่นมากกว่า ผู้สอนวิชาให้ ดังนั้นไสยศาสตร์จึงมีหลายเรื่องที่มีความสำคัญมากกว่า ตัวคาถา หรือลายยันต์ ดังที่คนรุ่นหลังที่ต่ำตื้นเข้าใจกัน ผมเห็นหลายผู้คน ที่เสกของ พอวิชาไม่ถึง (ไม่พิถีพิถัน ดังจารีตที่ควรจะเป็น) ทำพิธีแค่พอลวกๆ  แต่มักง่าย เรียกศรัทธาผู้คนโดยอ้างว่า “เราเชิญครู (ดวงจิต) มาช่วยเสกให้แล้ว” ผมเห็นว่า แค่เคารพวิชายังทำไม่ได้ จะเรียกว่าเคารพครูได้อย่างไร !! บางคนยกขันบูชาครูตามธรรมเนียมก่อนเรียนก็ยังไม่เคย กล่าววาจารับประสิทธิก็ยังไม่เคย เราจะเอาอะไรมาแสดงว่าท่านเป็นครูเรา และแน่ใจอย่างไรได้ว่า ครูท่านถือเราเป็นศิษย์?
         บทไหว้ครูที่มักจะท่องกันผิดๆ คือ “ขอเชิญครู ผู้อยู่ในถ้ำ จงมาช่วย อวยพรให้” จริงแล้ว คือ “ครูผู้อยู่ในธรรม” หรือ “ครูโดยธรรม”  (ถ้านึกความหมายไม่ออก นึกถึงคำว่า ลูกบุญธรรม ) นั่นหมายถึงการเป็นครูศิษย์กันอย่างถูกต้องตามธรรมเนียม โดยไม่ขาดสาย ศิษย์จึงมีสิทธิที่จะอัญเชิญครูได้  เมื่อเป็นครูเป็นศิษย์กันโดยชอบแล้ว เราจึงมี “สิทธิ” เรียน ใช้ วิชาของท่านได้
ดังนั้นพวกที่ได้เฉพาะตำรามาเรียนเอง กระทั่งสิทธิที่จะอ่าน เรียนใช้ วิ(ช)ชาเหล่านั้นก็ยังไม่มี  ก็คงไม่ต้องพูดถึงเรื่อง ขลังไม่ขลัง คนเรียนวิชาด้วยตนเองยังเหมือนถูกสาปกับสิ่งที่เรียกว่า “ธรณีสาร” คือความอัปมงคลของการนอกครูนอกจารีต
 
          เรื่องครูและศิษย์นี้ยังมีปลีกย่อยไปอีกหลายเรื่อง เช่น ครูคนนั้นเป็นครูโดยชอบหรือไม่, การรับวิ(ช)ชาหรือประสิทธิวิชา นั้นชอบหรือไม่ ถ้าไม่ชอบด้วยจารีต ก็ต้องธรณีสารทั้งครูและศิษย์ วิชาที่ได้จึง กำมะลอ ย้ำว่าครูทางไสยศาสตร์ไม่ใช่คิดจะตั้งตนเป็นเมื่อไรก็ทำได้อย่างปัจจุบัน บูรพาจารย์ต้องคัดสรรตามมาตรฐาน และต้องมีพิธีการเป็นพิเศษอีกด้วย
           ครูจึงเป็นเรื่องสำคัญมากในทางไสยศาสตร์ หากไม่มีครู ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียนวิชา!! มีเรื่องเล่าที่น่าถือเป็นอุทธาหรณ์ว่า เจ้าคุณศรี(สนธิ์) แห่งวัดสุทัศน์ฯ ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิดสมเด็จพระสังฆราชแพ คราวนั้น มีหนุ่มคนหนึ่งมาสนทนากับท่าน เล่าว่าร่ำเรียนคาถาอาคมมา ท่านจึงถามว่า  เรียนมาจากใคร เขาตอบว่า เรียนด้วยตัวเองไม่มีอาจารย์ ท่านมองหนุ่มคนนั้นหัวจรดเท้า แล้วกล่าวว่า  “ไอ้บ้า”
และนี่คือที่มาของชื่อบทความว่า เรียนไสยศาสตร์ ไม่มีครูเขาเรียกว่า   “ไอ้บ้า”


                                              บทความของท่าน  ทรรพเอก

4
รายงานตัวครับผม น้องไหม่ครับ อยากเรียนรู้จากพี่ๆครับผิดถูกยังไงก็ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ :015:

5
เดี๋ยวผมตามไป ครับ ผมอยุสกลแต่งานนี้ขอลุยเองถามทางชาวบ้านเอาดีกว่า^^เพราะจะไกลแค่ไหนท่าใจมันรักผมก็ลุย

6
โห สุดยอดศีรษะพ่อแก่สวยมากมาย

7
อยากถ่ายมาให้แบบพี่ๆเค้าบางจัง แต่มันมองไม่เห็น ของเพื่อนอะครับ^^

10
แต่ผมว่ายากนะครับที่จะเรียนได้ เพราะถ้าจะเป็นครูบาอาจารย์คนจะต้องฝึกอีกนาน

หน้า: [1]