แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - AMNOUYP

หน้า: [1]
1
C:\Documents and Settings\kai\Desktop\พระพิคเณศ.jpg
ด้านซ้าย ได้รับความเมตตาจากอาจารย์หนวดเมื่อวันอังคารที่แล้ว
C:\Documents and Settings\kai\Desktop\พ่อฤาษี.jpg
ด้านขวา ได้รับความเมตตาจากอาจารย์หนวดเมื่อวันพฤหัสที่แล้ว
ในวันพฤหัสต้องขอขอบคุณน้องหมูเค็ม ที่ให้ความอนุเคาะห์ให้อาจารย์ลงให้ก่อน
แถมช่วยดึงหนังให้อีก ไม่อย่างนั้นไปไม่ทันแน่ๆ ขอขอบคุณด้วยความจริงใจครับ :090:

2
บทความ บทกวี / คุณค่าของธนบัตร
« เมื่อ: 04 ส.ค. 2553, 09:25:52 »
คุณค่าของธนบัตร

   แต่ละวัน...คุณใช้ “ธนบัตร” ราคาไหนบ้างครับ แน่นอนคุณรู้ว่า “ธนบัตร” มีค่า แต่คุณรู้ไหมครับว่านอกจาก “ค่า” คือราคาของตัวเองแล้ว “ธนบัตร” ยังมี “คุณค่า” เพราะ “หลังธนบัตร” มีสิ่งดีๆ ที่สอนเราอยู่ แต่เราไม่เคย “อ่าน” นอกเหนือจากไม่ค่อยสังเกตว่า “หลังธนบัตร” แต่ละราคาเป็นภาพของกษัตริย์องค์ไหน ผมเลยขอนำ “คุณค่า” หลังธนบัตรมาบอก....
 
ธนบัตร ๒๐ บาท ...คุณรู้ไหมว่าเป็นภาพของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ไหน
คำตอบก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล และ “คุณค่า” หลังธนบัตรนี่ มีข้อความว่า
          “ถ้าคนไทยทุกคน ถือว่าตนเองเป็นเจ้าของชาติบ้านเมือง
          และต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดี ด้วยความสุจริตและถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรมแล้ว
          ความทุกข์ยากของบ้านเมือง ก็จะผ่านพ้นไปได้”
 
ธนบัตร ๑๐๐ บาท
ส่วนใหญ่คงจำกันแม่นว่า “หลังธนบัตร” สีแดงใบละร้อย เป็นภาพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยะมหาราช แต่คุณเคยรู้ “คุณค่า” หลังธนบัตรนี้ไหม คำตอบนี่ครับ
          “ประเพณีทาสที่มีอยู่ในพระราชอาณาจักรสยาม ถึงเป็นวิธีทาสทำสารกรมธรรม์
          ขายตัวด้วยใจสมัคร มิใช่ทาสเชลย ที่เป็นการกดขี่อย่างร้ายแรงก็จริง
          แต่เป็นเครื่องกีดขวางทางเจริญ ประโยชน์และสุขสำราญ ของมหาชนอยู่อย่างหนึ่ง
          ซึ่งจำเป็นจะต้องเลิกถอน อย่าให้มีประเพณีทาสในพระราชอาณาจักรนี้
          กรุงสยามจึงจะมีความสมบูรณ์เท่าทันประเทศอื่น”

ธนบัตร ๕๐๐ บาท
ธนบัตรสีม่วง รู้ไหมเป็นภาพพระองค์ไหนแน่นอนว่าหลายคนคงนึกไม่ออก ..เพราะเป็น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชดำรัสไว้ให้เราทราบคือ..
          “การงานสิ่งใดของเขาที่ดี ควรจะเรียนร่ำเอาไว้ ก็เอาอย่างเขา
          แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปเสียทีเดียว”

แบงก์ใหญ่ที่สุด ธนบัตรใบละ ๑,๐๐๐ บาท
หลายคนทราบดีว่าเป็นภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่เคย “อ่าน” สิ่งที่มี “คุณค่า” หลังธนบัตรไหมครับ
“เศรษฐกิจแบบพอเพียง …
เศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่าอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง”
 
            นี่คือ “คุณค่า” หลังธนบัตรที่เราไม่ค่อยสังเกตกันครับ.....จาก FW: mail

3
จาก ฟอร์เวิดเมล์

ยายชุบ สามร้อยยอด เป็นหญิงชาวบ้านวัย 70 แห่งบ้านคุ้งโตนด อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ยากจนมาตังแต่ยังสาวจวบจนวันนี้ หากแต่เธอกลับยืนยันว่า เธอมีอดีตที่มีความหมายต่อชีวิตของแก อดีตที่หมายถึงชีวิตใหม่ ไม่ว่าแกจะยังจนต้องขอเงินลูก ๆ 9 คนใช้ดังเช่นทุกวันนี้หรือจะมั่งมีศรีสุข ถูกหวยรวยเบอร์อย่างไรก็ตาม แกไม่เคยลืมเหตุการณ์ครั้งนั้น เหตุการณ์ที่ล่วงเลยมานานกว่า 40 ปี การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎร์บ้านคุ้งโตนด อำเภอกุยบุรี ไม่เพียงทำให้หมู่บ้านที่ยากจน ล้าหลัง ไม่มีแม้ถนนที่จะติดต่อกับโลกภายนอก ได้มีชีวิตที่ดีขึ้น หากแต่การเสด็จพระราชดำเนินในครานั้นได้ทำให้หญิงคนหนึ่งมีชีวิตยืนยาวต่อมาจนถึงวันนี้

สมัยยังสาวยายเคยไปรับเสด็จในหลวงใช่ไหม ?
ยาย   -ใช่ ตอนนั้นไปรับเสด็จที่ตีนถ้ำไทรในหมู่บ้านเรานี่แหละ ท่านเสด็จฯ มาทางเหนือ ไอ้เราป่วยเป็นไส้ติ่ง ปวดท้องมาครึ่งเดือนแล้ว แต่ไม่รู้หรอกนะตอนนั้นว่าเป็นไส้ติ่ง ปวดท้องนอนซม คนในบ้านบอกในหลวงจะมา เราก็อยากเห็น อยากไปรับเสด็จ แต่ปวดท้องจนเดินไม่ไหว
เดินไม่ไหว แล้วไปยังไง ?
ยาย   -ก็ให้คนหามไป ใส่เกวียนไปเลย
ทำไมถึงเลือกไปเฝ้าในหลวง ไม่ไปหาหมอ ?
ยาย   -ไม่รู้สิ คืออยากเห็นตัวจริง ๆ ใกล้ ๆ นะ คิดในใจว่ายอมตายได้ แต่ขอไปรับเสด็จก่อน แลกตัวแลกชีวิตกันเลย พูดง่าย ๆ ว่าวัดดวงเอาเลย อีกอย่างตอนนั้นถ้าเราไปหาหมอก็ลำบาก เพราะน้ำแห้ง เรือเครื่องก็ไม่มี ถ้าไปก็คงไปไม่ถึง มันคงจะตายก่อน
แล้วตอนนั้นได้ถวายอะไรท่านบ้างไหม ?
ยาย   -ยกมือพนมยังจะไม่ไหวเลย จะให้ถวายอะไรอีก (หัวเราะเสียงดัง)
แล้วได้เห็นท่านไหม ?
ยาย   -ก็ได้เห็นท่านอยู่ แต่ก็เห็นห่าง ๆ แล้วก็เห็นไม่นานเพราะว่าพระองค์ท่านต้องเสด็จฯ ไปที่ตีนเขาอีกลูกคนละฟาก ทรงไปดูเรื่องที่จะระเบิดเขาทำทางเข้าออกหมู่บ้าน
ไส้ติ่งเรากำลังจะแตก แล้วรอดมาได้อย่างไร เกิดอะไรขึ้น ?
ยาย   -ตอนนั้นไส้ติ่งกำลังจะแตก เงินสักบาทก็ไม่มีติดตัว พอดีว่าพระราชินีท่านทรงเยี่ยมเยียนราษฎร์ แล้วทอดพระเนตรเห็นเรานั่งหน้าซีด พิงเพื่อน คือได้ตอนนั้นมันไม่ไหวจริง ๆ ท่านทอดพระเนตรเห็นก็คงสังเกตได้ว่าอาการเราไม่ดี พระองค์ก็ถามว่า เป็นอะไร ? ท่านบอกให้พูดธรรมดาก็ได้ เราบอกว่าเจ็บท้อง พระองค์ท่านตรัสถามต่อว่า เจ็บมากี่วันแล้ว ? เราก็บอกว่า เจ็บมาครึ่งเดือนเห็นจะได้ ท่านก็เลยบอกให้หมอที่มาด้วยตรวจดู
แล้วหมอว่ายังไง ?
ยาย   -หมอบอกว่าไส้ติ่งกำลังจะแตก พอหมอบอกอยางนั้น พระองค์ท่านก็ทรงติดต่อไปที่ในหลวงซึ่ง ทรงอยู่ที่ตีนเขาอีกลูก
รู้ได้ยังไงว่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงติดต่อไปที่ในหลวง ?
ยาย   -รู้สิ เพราะเห็นในหลวง พระองค์ท่านทรงวิ่งจากตีนเขาลูกโน้นมาเลย ห่างกันถึง 1 กิโล (แค่นี้ก็ตื้นตันแทนคุณยายแล้ว)
รู้สึกอย่างไรบ้างในตอนนั้น ?
ยาย   -ดีใจแล้วก็ปลื้มใจแบบมาก ๆ ไอ้ตอนแรกคิดว่ากำลังจะตายนี่ คิดว่าตัวเองรอดแน่ มันมีกำลังใจ คิดว่าขนาดพระเจ้าแผ่นดินยังเอาใจใส่เราขนาดนี้ เราจะตายไม่ได้
พอในหลวงเสด็จมาถึง ทรงตรัสว่าอย่างไรหรือไม่ ?
ยาย   -ท่านให้เอา ฮ. มารับ ท่านตรัสว่า เดี๋ยวเราจะกลับทางเรือเอง ให้เอาคนไข้ไปส่งก่อน พอพระองค์ท่านตรัส หมอสองคนก็หิ้วปีกเราไป ในหลวงท่านทรงเมตตาเราไปจนถึงเครื่อง พอเราขึ้นไป ก่อนที่ประตู ฮ. จะปิด เราก็มองลงมาเห็นในหลวง ท่านทรงโบกพระหัตถ์ เราซาบซึ้งมาก ยิ่งบอกตัวของเราเลยว่าเราจะตายไม่ได้
ถ้าไม่มีในหลวงในวันนั้น ก็ต้องตายแน่ ?
ยาย   -แน่นอน ไม่ต้องอะไรหรอก หมอบอกว่า มาช้ากว่านี้แค่ 2-3 นาที ก็ไม่รอดแล้ว แล้ววันนั้นอย่างที่บอกว่าเรือเครื่องก็ไม่มี น้ำก็แห้ง ไม่รู้ใช้เวลาครึ่งวันจะเดินทางไปถึงโรงพยาบาลหรือเปล่า ถ้าในหลวงไม่เสด็จมาที่นี่ วันนั้นก็ตายแน่ ตายทั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้เลยว่าตัวเองเป็นอะไรตาย
เหมือนกับได้ชีวิตใหม่ ?
ยาย   -ใช่ ชีวิตทุกวันนี้ถึงฉันแก่แล้ว แต่เมื่อนึกถึงวันนั้นทีไรรู้สึกเหมือนได้เกิดใหม่ทุกที ตอนนั่งดูโทรทัศน์ เวลาเห็นท่าน เราก็จะพนมมือไหว้ตลอด รู้สึกว่าท่านได้มอบชีวิตใหม่ให้กับเรา
ตอนนั้นอยู่บน ฮ. เป็นอย่างไรบ้าง ?
ยาย   -จำไม่ค่อยได้ รู้แต่ว่าพอบินขึ้นไปพักใหญ่หมอก็ถามว่าเป็นยังไงบ้าง เราพูดไม่ค่อยไหว แต่ก็บอกไปว่าปวดท้อง บน ฮ. นอกจากเรา ก็มีหมออีก 2 คน และก็คนขับอีก 2 คน จำได้แค่นี้ล่ะ
ฮ. พาไปที่โรงพยาบาลไหน ?
ยาย   -โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ เพชรบุรี
แล้วพักอยู่กี่วัน ?
ยาย   -ปกติคนเป็นไส้ติ่งทั่วไปเขาพักกัน 3-4 วันก็ออกได้แล้ว แต่เราเป็นหนักต้องพักถึง 24 วัน ถ้าในหลวงไม่ช่วยก็ตายแน่ แล้วถ้าเราตาย ลูกเต้าก็ไม่รู้จะอยู่ยังไง ในหลวงท่านทรงเมตตา ทรงดูแลเราอย่างดี ห้องที่เราพักอยู่นี่ดีมาก เป็นห้องพิเศษเลย พูดตรง ๆ ว่า ดีกว่าบ้านที่ฉันอยู่อีก หมอก็นิสัยดี พูดจากับเราเพราะแล้วก็ใจดี

** ในหลวงท่านทรงห่วงใยเรามากมีคนมาเยี่ยม ถามอาการ ถามสารทุกข์สุขดิบทุกวัน คนใกล้ชิดพระองค์ท่านก็ถามเรานะว่า จะฝากอะไรถึงท่านไหม เราบอกให้ พระองค์ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ พูดได้แค่นั้น มันตื้นตันจนนึกไม่ออก**
หลังจากวันนั้นแล้วเป็นอย่างไร ?
ยาย   -ไม่มีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ พระองค์ท่านอีกเลย ถ้าเรามีโอกาส จะขอเข้าไปกราบแทบพระบาทเลย สิ่งที่พระองค์ท่านทรงช่วยเหลือเราไว้ เป็นความซาบซึ้งที่สุดในชีวิตแล้ว

** คิดดูซิโลกนี้จะหากษัตริย์อย่างท่านได้ที่ไหน เราเป็นแค่ชาวบ้านจน ๆ แต่ท่านห่วงเราเหมือนเราเป็นลูกพระองค์ท่าน ทรงห่วงเราเหมือนที่เราห่วงลูก ท่านทรงเสียสละแม้กระทั่งของส่วนพระองค์ ทรงยอมลำบากกลับทางเรือเพื่อคนอย่างเรา พูดตรง ๆ ว่าสิ่งที่พระองค์ทรงทำให้ฉันตายแล้วเกิดใหม่อีกสิบชาติก็ทดแทนไม่หมด**
กลับมาบ้านแล้วเป็นอย่างไร  ?
ยาย   -ตอนที่ออกจากโรงพยาบาลใหม่ ๆ พระองค์ท่านก็ส่งเงินมาให้อยู่ถึง 1 ปี ครั้งละ 3-5 พันบาท ส่งมาหลายครั้งอยู่ เรารู้เพระว่าใส่ซองสีขาวประทับตราสำนักพระราชวัง จากเหตุการณ์นั้นทำให้เรารักในหลวงของเรามาก แล้วทุกวันนี้ก็ยังน้อยใจตัวเองอยู่ว่า เวลาที่ท่านป่วย เราก็ไม่มีเงินไปเฝ้า ไปแสดงความจงรักภักดีกับท่าน ได้แต่ร้องไห้อยู่กับบ้าน นั่งร้องไห้ทุกวัน ดูข่าวทุกวันไม่เคยเว้นเลย ** ฉันอายตัวเองว่า ในขณะที่ท่านให้ชีวิตใหม่กับเรา แต่เราช่วยอะไรท่านไม่ได้เลย**
การเสียสละของในหลวงคราวนั้น  ได้เอามาปฏิบัติตามหรือไม่ ?
ยาย   -มีส่วนมากเลย เวลาคนในหมู่บ้านเขาป่วยเป็นอะไร ฉันก็ไปเยี่ยมเขาทั่ว ไปไหนไปกัน มีใครเจ็บในหมู่บ้านนี่ฉันจะไปเยี่ยมหมด บางทีถึงไม่ใช่หมอ ไม่ใช่ญาติเขา แต่เราก็ไป ไปนั่งพูดคุยให้กำลังใจ บางทีก็ไปบีบให้นวดให้ นี่คือสิ่งที่ในหลวงให้เรา และเราให้คนอื่นต่อ

** เมืองไทยเราโชคดีที่มีในหลวง โชคดีมาก ๆ ไม่มีกษัตริย์ที่ไหนในโลกอีกแล้วที่จะเป็นห่วงชาวบ้านอย่างฉันเท่ากับท่าน คนอย่างเราเปรียบไปก็เหมือนมดปลวก แต่ท่านก็ยังใส่ใจ ท่านใส่ใจจริง ๆ เหมือนกับว่าคนไทย คือ ลูกของท่านทั้งแผ่นดิน**

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

หน้า: [1]