ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนานหลวงพ่อโสธร  (อ่าน 3770 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ โยคี

  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 1361
  • เพศ: ชาย
  • เมตตาธรรมค้ำจุนโลก
    • ดูรายละเอียด
ตำนานหลวงพ่อโสธร
« เมื่อ: 09 มี.ค. 2550, 12:57:14 »
นำมาจาก คุณเอก มารวิชัย แห่งเวป หลวงปู่สุภา

ตำ​นาน​
​จังหวัดฉะ​เชิงเทรา​ ​มีตำ​นานที่​เป็น​เรื่องเล่าสืบต่อ​กัน​มา​เป็น​เวลาช้านาน​ ​คือ​ ​ตำ​นานหลวงพ่อพระพุทธโสธร​ ​หรือ​หลวงพ่อโสธรตำ​นานของหลวงพ่อพระพุทธโสธร​ ​มีการเล่าขาน​กัน​สืบต่อมาว่า​ ​ใน​สมัยลานช้างลานนา​เศรษฐีพี่น้อง​3​คน​ซึ่ง​อาศัย​อยู่​ทางเหนือ​
มีจิตเลื่อมใสศรัทธา​จะ​สร้างพระพุทธรูปเพื่อเสริมสร้างบารมี​และ​เพิ่มพูนผลานิสงส์​ ​จึง​ได้​เชิญพราหมณ์มาทำ​พิธีหล่อพระพุทธรูปต่าง​ ​ๆ​ ​ตามวันเกิด​ ​อันมีปางสมาธิ​ ​ปางดุ้งมาร​และ​
ปางอุ้มบาตร​ ​แล้ว​ทำ​พิธีบวงสรวงชุมนุมเทวดาตามโหราศาสตร์​ ​เพื่อทำ​พิธีปลุกเสก​ ​แล้ว​อัญเชิญ​
เข้า​สู่วัด​ใน​กาลต่อมา​ ​ได้​เกิดยุคเข็ญขึ้น​ ​พม่า​ได้​ยกทัพมาตี​ไทยหลายครั้งหลายหน​
จนครั้งสุดท้าย​ ​คือ​ ​ประมาณครั้งที่​ 7 ​ก็ตี​เมืองแตก​ ​และ​ได้​เผาบ้านเผา​เมืองตลอดจน​
วัดวาอารามต่างๆ​ ​หลวงพ่อ​ 3 ​พี่น้อง​จึง​ได้​ปรึกษา​กัน​ ​เห็นว่า​เป็น​สถานการณ์คับขัน​
จึง​ได้​แสดงอภินิหารลงแม่น้ำ​ปิง​ ​แล้ว​ล่องมาทาง​ใต้​ตลอด​ 7 ​วัน​ ​จนกระทั่งมา​ถึง​แม่น้ำ​เจ้าพระยา​ ​ตรงบริ​เวณที่ปัจจุบันเรียกว่า​“​สามแสน​” ​จึง​ได้​แสดงอภินิหารลอย​ให้​ชาวบ้าน​
ชาวเมืองเห็น​ ​ชาวบ้านนับแสน​ ​ๆ​ ​คน​ ​ได้​ทำ​การฉุดหลวงพ่อ​ทั้ง​
3 ​องค์​ ​ถึง​ 3 ​วัน​ 3 ​คืน​ ​ก็ฉุด​ไม่​ขึ้น​ ​ตำ​บล​นั้น​จึง​ได้​ชื่อว่า​ “​สามแสน​” ​ซึ่ง​ได้​เพี้ยน​เป็น​ “​สามเสน​” ​ใน​ภายหลังหลวงพ่อ​ทั้ง​ 3 ​องค์ลอย​เข้า​สู่พระ​โขนงลัดเลาะจนไป​ถึง​แม่น้ำ​บางปะกง​
ผ่านคลอง​ซึ่ง​ปัจจุบันเรียกว่าคลองชักพระ​ ​ก็​ได้​แสดงอภินิหาร​
ลอยขึ้นมา​ให้​ชาวบ้าน​ได้​เห็นอีกครั้ง​ ​ชาวบ้านประมาณ​3 ​พันคนพยายามชักพระขึ้น​จาก​น้ำ​ ​ก็​ไม่​สำ​เร็จ​ ​คลองนี้​จึง​ได้​นามว่า​ “​คลองชักพระ​” ​ต่อมา​ทั้ง​ 3 ​องค์​ ​ได้​ลอยทวนน้ำ​ต่อขึ้นไปทางหัววัดอีก​ ​สถานที่​นั้น​จึง​เรียกว่า​“​วัดสามพระทวน​” ​ซึ่ง​ต่อมา​เรียกเพี้ยน​เป็น​ “​วัดสัมปทวน​”
​หลวงพ่อ​ได้​ลอยต่อไปตามลำ​น้ำ​บางปะกง​ ​เลยผ่านหน้าวัดโสธรไปจน​ถึง​คุ้งน้ำ​ใต้​ ​วัดโสธร​แล้ว​แสดงอภินิหาร​ให้​ชาวบ้านเห็นอีกชาวบ้าน​ได้​ช่วย​กัน​ฉุดก็​ยัง​ไม่​สำ​เร็จ​
จึง​ได้​เรียกหมู่บ้าน​และ​คลอง​นั้น​ว่า​ “​บางพระ​” ​ต่อ​จาก​นั้น​ก็ลอยทวนน้ำ​วน​อยู่​หัวเลี้ยวตรงกองพันทหารช่างที่​ 2
​สถานที่ลอยวน​อยู่​นั้น​จึง​เรียกว่า​ “​แหลมหัววน​” ​และ​คลองก็​ได้​ชื่อว่า​ “​คลองสองพี่น้อง​” ​มาจนทุกวันนี้​
​ต่อ​จาก​นั้น​ ​พระพุทธรูปองค์ที่​ใหญ่​ได้​แสดงอภินิหารลอยไป​ถึง​แม่น้ำ​แม่กลอง​ ​จังหวัดสมุทรสงคราม​ ​ชาวประมง​ได้​ช่วย​กัน​อาราธนาท่านขึ้นประดิษฐาน​ไว้​ ​ณ​ ​วัดบ้านแหลม​ ​มีชื่อเรียกว่า​ “​หลวงพ่อบ้านแหลม​” ​อีกองค์หนึ่ง​ได้​แสดงปฏิหาริย์ล่อง​เข้า​ไป​ใน​คลองบางพลี​ ​ชาวบ้าน​
ได้​อาราธนาขึ้นประดิษฐานที่วัดบางพลี​ ​จังหวัดสมุทรปราการ​ ​มีชื่อเรียกว่า​ “​หลวงพ่อโตบางพลี​”
​ส่วน​พระพุทธรูปองค์สุดท้าย​ ​หรือ​หลวงพ่อพระพุทธโสธร​นั้น​ได้​แสดงอภินิหาร​
ลอยมาขึ้นที่หน้าวัดหงส์​ (จังหวัดฉะ​เชิงเทรา​, 2539 : 34-37) ​ซึ่ง​เป็น​ชื่อเดิม​
ของวัดโสธรวรารามวรวิหาร​ ​วัดนี้​แต่​เดิม​เป็น​วัดราษฎร์​ ​สร้างขึ้นตอนปลายกรุงศรีอยุธยา​ ​ตามประวัติ​นั้น​ ​แต่​แรกมีชื่อว่า​ “​วัดหงส์​” ​เพราะ​มี​ “​เสาหงส์​” ​อยู่​ใน​วัด​ ​เป็น​เสาสูงมียอด​เป็น​ตัวหงส์​อยู่​บนปลายเสา​ (จังหวัดฉะ​เชิงเทรา​, 2540 : 27)
​วัดนี้มีลักษณะดี​ ​ตั้ง​อยู่​บนแหลม​เป็น​สถานที่ศักดิ์สิทธิ์​ ​และ​เป็น​ที่ธรณีสงฆ์​ ​รักษา​ ​พระศาสนาสืบต่อไป​ได้​ ​ตามธรรมเนียมจีน​ ​สถานที่นี้​เรียกว่า​ “​ที่มังกร​” ​ถ้า​ได้​ประทับ​ ​ณ​ ​สถานที่นี้​ ​จะ​เกิดรัศมีบารมี​และ​มี​ความ​ศักดิ์สิทธิ์​ ​ที่​จะ​รักษาบ้านเมือง​และ​พุทธศาสนาสืบต่อไป​ ​หลวงพ่อพระพุทธโสธร​
จึง​ได้​ตัดสินใจขึ้นประทับ​ ​ณ​ ​วัดหงส์​แห่งนี้​ ​ใน​เดือนยี่ติดต่อเดือนสาม​
​ตามประวัติกล่าวว่า​ ​เมื่อองค์หลวงพ่อ​ได้​แสดงอภินิหารลอยมาขึ้นที่หน้าวัดหงส์​ได้​มีชาวบ้าน​
ยก​และ​ฉุด​เป็น​จำ​นวนมาก​ ​แต่​ไม่​สามารถ​เชิญหลวงพ่อฯ​ ​ขึ้น​จาก​น้ำ​ ​จนกระทั่ง​ได้​มีอาจารย์​ผู้​หนึ่ง​ ​รู้วิธีการอัญเชิญหลวงพ่อ​โดย​ตั้งพิธีบวงสรวง​ใช้​ด้ายสายสิญจน์คล้อง​กับ​พระหัตถ์หลวงพ่
อพุทธโสธร​ ​แล้ว​อัญเชิญขึ้นมาบนฝั่ง​ ​โดย​ใช้​คน​ไม่​กี่คนก็​สามารถ​อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน​ใน​วิหารสำ​เร็จ​ ​ตาม​ความ​ประสงค์​ ​จึง​ได้​จัด​ให้​มีการสมโภชน์ฉลององค์หลวงพ่อ​ ​หลัง​จาก​ที่​ได้​ประทับที่วัดหงส์​เรียบร้อย​แล้ว​ ​ชื่อเสียงหลวงพ่อ​ยัง​ไม่​ปรากฏ​ ​ซึ่ง​หลวงพ่อ​ต้อง​การชื่อเดิมของท่าน​ ​จำ​เดิมองค์หลวงพ่อประทับ​
ที่วัดศรี​เมืองทางภาคเหนือ​ ​ซึ่ง​มีชาวบ้านขนานนามหลวงพ่อว่า​ “​พระศรี​” ​องค์หลวงพ่อมี​ความ​ประสงค์​
จะ​ใช้​นามว่า​ “​หลวงพ่อพุทธศรี​โสธร​” ​จึง​มี​เหตุการณ์ดลบันดาล​ให้​เกิดพายุพัดเอาหงส์ที่ตั้ง​อยู่​บนยอดเสาหงส์ลงมา​ ​ชาวบ้าน​ ​จึง​แก้​ไข​เป็น​เสาธง​ ​จึง​เปลี่ยน​จาก​วัดหงส์​เป็น​ “​วัดเสาธง​” ​อยู่​ต่อมา​ไม่​นานก็​เกิดพายุอีก​ ​พัดเสาธงหัก​ ​จึง​เปลี่ยน​จาก​วัดเสาธง​ ​เป็น​ “​วัดเสาธงทอน​” ​ต่อมาชาวบ้านเห็นว่า​ไม่​เพราะ​ ​จึง​ได้​ขนานนามว่า​ “​วัดศรี​โสทร​” ​ใน​ที่สุดหลวงพ่อก็ดลบันดาล​ให้​เปลี่ยนชื่อ​เป็น​วัดโสธร​ ​และ​ต่อมา​ได้​มีข้าราชการ​ได้​ไปนมัสการหลวงพ่อที่วัด​ ​เล็งเห็น​ความ​สำ​คัญของวัด​ ​จึง​ได้​เสนอแต่งตั้ง​ให้​เป็น​วัดหลวง​และ​ขนานนามหลวงพ่อว่า​ “​หลวงพ่อโสธร​ ​หรือ​หลวงพ่อพระพุทธโสธร​” ​ตั้งแต่บัด​นั้น​เป็น​ต้นมา​ (บรรณาธิการ​ฉบับ​พิ​เศษ​, ​ม​.​ป​.​ป​. : 29)
​สำ​หรับประวัติ​ความ​เป็น​มาของหลวงพ่อพระพุทธโสธร​นั้น​ ​มีนักโบราณคดี​และ​ผู้​ทรงคุณวุฒิหลายท่าน​ ​ที่มี​ความ​เห็นแตกต่าง​กัน​ออกไปดังนี้​ (พิพิธวิหารกิจ​และ​คณะ​,2542:50 – 52)
​ก​. ​ความ​เห็นของนักโบราณคดี​ ​พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ ​รัชกาลที่​ 5 ​ได้​รับการยกย่องว่า​ ​ทรงพระปรีชา​ ​สามารถ​ ​ใน​ทางปกครอง​เป็น​ยอดเยี่ยม​ ​ทรง​เป็น​นักโบราณคดี​
นักประวัติศาสตร์​ ​และ​อื่น​ ​ๆ​ ​ได้​ทรงบันทึก​ไว้​ใน​จดหมาย​ถึง​มกุฏราชกุมาร​ ​เมื่อเสด็จประพาสมลฑลปราจีนบุรี​ ​ร​.​ศ​.127 ​ความ​ตอนหนึ่งว่า​”…​พระพุทธรูป​ ​ว่า​ด้วย​ศิลา​แลง​ทั้ง​นั้น​ ​องค์ที่สำ​คัญว่า​เป็น​หมอดี​นั้น​ ​คือ​ ​องค์ที่​อยู่​กลางดูรูปตัก​และ​เอวงาม​ ​ทำ​เป็น​ทำ​นองเดียว​กัน​กับ​พระพุทธเทวปฏิมากร​ ​แต่ตอนบนกลายไป​เป็น​ด้วย​ฝีมือ​ผู้​ที่​ไปปั้นว่า​ ​ลอยน้ำ​ก็​เป็น​ความ​จริง​เพราะ​เป็น​พระศิลาคง​จะ​ไม่​ได้​ทำ​ใน​ที่นี้​”
​พระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ ​พอ​จะ​สรุป​ได้​ว่า​ ​พระพุทธโสธรนี้​เป็น​พระศิลา​ (แลง) ​ไม่​ได้​ทำ​ใน​จังหวัดฉะ​เชิงเทรา​ ​และ​คง​จะ​มา​จาก​ที่​อื่น​
​นอก​จาก​พระบรมราชวินิจฉัยดังกล่าว​แล้ว​ ​ยัง​มีนักโบราณคดีอีก​ 2 ​ท่าน​ ​ได้​ให้​ทรรศนะ​เกี่ยว​กับ​พระพุทธโสธร​ ​ดังต่อไปนี้คือ​
(1) ​หลวงรณสิทธิพิชัย​ ​เมื่อครั้งดำ​รงตำ​แหน่งอธิบดีกรมศิลปากร​ ​ได้​บันทึก​ไว้​ใน​เรื่องการสำ​รวจของโบราณ​ใน​เมืองไทย​ ​เกี่ยว​กับ​ ​พระพุทธโสธรนี้​
“…​หลวงพ่อโสธร​เป็น​พระพุทธรูปปางสมาธิหน้าตักกว้าง​ 1.65 ​เมตร​ ​สูง​ 1.98 ​เมตร​ ​เป็น​พระพุทธรูปที่บูรณะขึ้น​ใน​ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา​ ​หรือ​ต้นสมัยรัตนโกสินทร์​ ​และ​ช่าง​ผู้​บูรณะ​นั้น​เข้า​ใจว่า​จะ​เป็น​ฝีมือช่าง​ผู้​มีภูมิลำ​เนา​อยู่​ทางภาคอีสาน​ ​ประวัติที่ข้าพเจ้าพึงกล่าว​ได้​นั้น​มี​เพียง​เท่า​นี้​ ​และ​ที่กล่าวนี้​โดย​อาศัยวัตถุที่​เห็น​เท่า​นั้น​”
​เหตุผลที่สันนิษฐานว่าพระพุทธโสธร​ได้​บูรณะ​หรือ​สร้างขึ้น​ ​ใน​ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา​หรือ​ต้นสมัยรัตนโกสินทร์​นั้น​ ​ใน​ฐานะที่​ ​นายมานิต​ ​วัลลิ​โภดม​ ​ภัณฑารักษ์​เอกของกรมศิลปากร​ใน​สมัย​นั้น​ได้​ร่วมเดินทางไปสำ​รวจโบราณวัตถุ​กับ​หลวงรณสิทธ
ิพิชัย​
ใน​ครั้ง​นั้น​ด้วย​ ​ได้​ชี้​แจงว่าที่สันนิษฐานเช่น​นั้น​ก็สังเกต​จาก​วงพระพักตร์​ ​ชายสังฆาฏิ​ ​ทรวงทรง​ ​และ​ลีลา​ใน​การสร้าง​โดย​เฉพาะช่างฝีมือ​ใน​ภาคอีสาน​ ​การสร้างพระพุทธรูป​ไม่​สู้​จะ​เปลี่ยนแปลง​
ไป​จาก​เดิมมากนัก​
(2) ​นายมนตรี​ ​อมาตยกุล​ ​อดีตหัวหน้ากองประวัติศาสตร์​ ​กรมศิลปากร​ ​ได้​ให้​ทรรศนะ​ไว้​ใน​เรื่องนำ​เที่ยวฉะ​เชิงเทรา​ ​กล่าว​
ความ​ไว้​ตอนหนึ่งว่า​”…​พระพุทธโสธร​เป็น​พระพุทธรูปปางสมาธิ​ ​ลงรักปิดทอง​ ​มีขนาดสูง​ 10 ​เมตร​ 98 ​เซนต์​ ​หน้าตักกว้าง​ 1 ​เมตร​ 65 ​เซนต์​ ​เท่า​ที่ตรวจดูรูปภายนอก​ซึ่ง​ลงรักปิดทอง​ไว้​ ​ปรากฎว่า​เป็น​พระพุทธรูปฝีมือช่างแบบลานช้าง​ ​หรือ​ซึ่ง​เรียก​กัน​เป็น​สามัญว่า​ “​พระลาว​” ​พระพุทธรูปแบบนี้นิยมทำ​กัน​มากที่​เมืองหลวงพระบาง​ใน​ประ​เทศอินโดจีน​ ​ฝรั่งเศส​ ​และ​ทางภาคอีสานของประ​เทศไทย​”
​พระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ ​และ​ความ​เห็นของนักโบราณคดีอีกสองท่าน​ ​ที่​ได้​กล่าวนามมา​แล้ว​ ​พอ​จะ​สรุป​ได้​ว่า​ ​หลวงพ่อโสธร​ไม่​ได้​ทำ​ขึ้น​ใน​จังหวัดฉะ​เชิงเทรา​ ​แต่​ได้​นำ​มา​จาก​ที่​อื่น​ ​เพราะ​พระพุทธโสธรทำ​ด้วย​ศิลา​แลง​ ​พระพุทธรูป​เป็น​ฝีมือแบบชาวลานช้าง​หรือ​ที่​เรียกว่า​ ”​พระลาว​” ​ได้​บูรณะ​หรือ​สร้างขึ้น​ใน​ปลายกรุงศรีอยุธยา​ ​หรือ​ต้นสมัยรัตนโกสินทร์​
​ข​. ​ข้อสันนิษฐานของ​ผู้​ทรงคุณวุฒิ​ ​ตามพระพุทธประวัติของพระพุทธโสธร​
จัดพิมพ์​โดย​นายทองใบ​ ​ภู่พันธ์​ ​ณ​ ​สำ​นักวัดพิกุลเงิน​ ​อำ​เภอบาง​ใหญ่​ ​จังหวัดนนทบุรี​ ​เมื่อวันที่​
13 ​กุมภาพันธ์​ 2492 ​ได้​บรรยายข้อสันนิษฐาน​ไว้​ดังต่อไปนี้​ ​โดย​ได้​จาก​การสัมภาษณ์​กับ​ท่านเจ้าคุณเทพกวี​ ​อดีตเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี​ ​วัดเทพศิรินทราวาสว่า​ ​ขณะที่ท่านเจ้าคุณเทพกวี​ ​ดำ​รงตำ​แหน่ง​เป็น​เจ้า​
คณะมณฑลปราจีนบุรี​ ​เมื่อปี​ ​พ​.​ศ​. 2472 ​ถึง​ ​พ​.​ศ​. 2482 ​ได้​ความ​ต้อง​กัน​เป็น​ส่วน​มากว่า​ ​พระพุทธโสธรที่ประดิษฐาน​อยู่​ใน​พระอุ​โบสถวัดโสธรปัจจุบันนี้​ ​เดิมที่​เสด็จปาฏิหารย์ลอยมา​
ตามกระ​แสน้ำ​จาก​ทางเหนือลำ​แม่น้ำ​บางปะกง​ ​เป็น​พระพุทธรูปปางสมาธิ​แกะ​ด้วย​ฝีมือหยาบ​ ​ๆ​ ​ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ​ 2 ​คืบเศษ​ ​ไม่​มีพุทธลักษณะงดงามอะ​ไร​ ​ข้อที่ว่า​จะ​ลอยมา​จาก​แห่งหนตำ​บลไหน​ ​ตั้งแต่​เมื่อ​ใด​นั้น​ยัง​ไม่​มี​ใครสอบสวน​ได้​ความ​ ​ส่วน​ที่ว่าพระพุทธโสธรเสด็จลอยตามน้ำ​มาจริง​หรือ​ไม่​นั้น​ ​ท่านเชื่อว่าพระพุทธโสธรเสด็จลอยน้ำ​มาจริง​ ​เพราะ​เชื่อว่าลอยน้ำ​ได้​และ​ท่าน​ยัง​มี​เหตุผล​
พอ​จะ​สันนิษฐาน​ได้​ว่าพระพุทธโสธรองค์นี้​เป็น​พระที่​แกะสลัก​ด้วย​ไม้​โพธิ์​เข้า​ใจว่า​
สร้างขึ้น​โดย​ฝีมือชาวเวียงจันทร์​หรือ​ลาวนครเชียงรุ้ง​ ​หรือ​ลาวโซ่งอย่าง​ใด​อย่างหนึ่ง​ ​เพราะ​
เคยทราบมาว่า​ ​พวกลาวชาวพื้นเมืองที่กล่าวนี้นิยมสร้างพระพุทธรูป​ด้วย​ไม้​โพธิ์​
และ​น่าคิดว่าพระพุทธรูปเสด็จลอยน้ำ​มา​จาก​ทางเหนือลำ​แม่น้ำ​บางปะกง​ ​และ​ได้​สันนิษฐาน​
ต่อไปว่าน่า​จะ​ลอยมา​จาก​ตำ​บล​ใด​ตำ​บลหนึ่ง​ใน​ท้องที่อำ​เภอพนมสารคาม​ ​อยู่​ตอนเหนือ​
ของจังหวัดฉะ​เชิงเทราขึ้นไป​ ​โดย​ท้องที่สองฟากฝั่งแม่น้ำ​บางปะกง​ ​ตอนนี้​ ​ใน​ระหว่างสมัยรัชกาลที่​ 3 ​ใน​แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ ​ตั้งแต่​ ​ปี​ ​พ​.​ศ​.2367 ​ถึง​ ​พ​.​ศ​.2394 ​ต่อ​เนื่อง​
กัน​มาจน​ถึง​ต้นสมัยรัชกาลที่​ 4 ​ใน​แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ ​ประ​เทศไทยมีสงคราม​
ติดพัน​กับ​แคว้นต่าง​ ​ๆ​ ​ใน​ความ​อารักขาของอินโดจีน​ ​ฝรั่งเศส​ ​เช่น​ ​เมืองเวียงจันทร์​ ​เมืองเชียงตุง​ ​เมืองเชียงรุ้ง​ ​และ​ลาวโซ่ง​ ​เหล่านี้​เรื้อรัง​อยู่​ช้านาน​ ​เมื่อกองทัพฝ่าย​ใด​ตีดินแดนของข้าศึก​ได้​ ​ก็กวาดต้อน​ผู้​คนพลเมือง​
ตลอดจนเสบียงอาหาร​ ​ช้าง​ ​ม้า​ ​โค​ ​กระบือ​ ​และ​อาวุธยุทโธปกรณ์​ ​ใน​ดินแดนของข้าศึกที่ยึด​ได้​ ​ส่ง​เข้า​มาควบคุม​
รักษา​ไว้​ใน​ดินแดนของตน​ ​และ​ให้​ครอบครัวเชลยเหล่า​นั้น​ตั้งรกราก​ ​ทำ​มาหากิน​อยู่​เป็น​หมู่​เป็น​พวก​ ​อยู่​ภาย​ใน​
เขตที่อันมีกำ​หนดจนกว่าสงคราม​จะ​สงบ​ ​และ​มีการเจรจา​แลกเปลี่ยนเชลย​กัน​ใน​ภายหลัง​ ​โดย​เฉพาะ​
อย่างยิ่งท้องที่ตำ​บลต่าง​ ​ๆ​ ​ใน​อำ​เภอพนมสารคามนี้​ ​แต่ก่อนพื้นที่ราบ​เป็น​ป่า​ไม้กระยา​เลยนานาชนิด​ ​อุดมสมบูรณ์​ไป​ด้วย​แร่ธาตุต่าง​ ​ๆ​ ​เช่น​ ​แร่ตะกั่ว​ ​แร่​เหล็ก​ ​และ​อื่น​ ​ๆ​ ​อยู่​เป็น​อันมาก​ ​ใน​ท้องที่ที่กล่าวนี้​
​ีครอบครัวลาวเวียงจันทร์ตั้งรกรากทำ​มาหากิน​อยู่​หลายร้อยครัวเรือนตลอดมาจน​ถึง​ยุคปัจจ
ุบันก็​ยัง​ปรากฏว่า​
ครอบครัว​ ​ลูกหลานเหลน​ ​ตั้งถิ่นฐานบ้านช่องกลาย​เป็น​คนพื้นเมืองไปเลย​เข้า​ใจว่าครอบครัวที่ถูกกวาดต้อน​
มา​เป็น​เชลยนี้​เอง​ ​ได้​สร้างพระพุทธโสธรขึ้น​ด้วย​ไม้​โพธิ์​ ​หรือ​มิฉะ​นั้น​ก็อาจสร้างมา​จาก​เมืองเวียงจันทน์​
หรือ​แคว้นลาวแคว้น​ใด​แคว้นหนึ่งที่กล่าวข้างต้น​ ​เมื่อเจ้าของถูกกองทัพไทยกวาดต้อนเอาตัวมา​
ก็​เลยอาราธนาพระพุทธรูปองค์นี้มา​ด้วย​ ​เพื่อ​ช่วย​ป้อง​กัน​อันตรายภัยพิบัติอัน​จะ​พึงบังเกิดขึ้น​
เมื่อตน​ต้อง​พลัดพราก​จาก​บ้านเกิดเมืองมารดร​ ​ต่อมา​จะ​เป็น​โดย​บังเอิญ​หรือ​โดย​เจตนาอย่างไร​
ก็ยากที่​จะ​สันนิษฐาน​ ​พระพุทธโสธร​จึง​เสด็จลอยตามน้ำ​มาจน​ถึง​วัดแหลมหัววน​ ​ซึ่ง​เป็น​ที่ตั้ง​
กองพันทหารช่างที่​ 2 ​อยู่​ใน​ปัจจุบันนี้​ ​และ​ใน​ที่สุดพระสงฆ์​และ​ชาวบ้านไปพบพระพุทธโสธรลอยน้ำ​อยู่​ ​จึง​อาราธนาขึ้นมาประดิษฐาน​ไว้​ ​ณ​ ​พระอุ​โบสถวัดโสธร​ ​แล้ว​เลยถวายพระนามไปตามชื่อ​
ของวัดโสธรแต่​นั้น​เป็น​ต้นมา​
​ค​. ​คำ​บอกเล่าสืบต่อ​กัน​มา​ ​นอก​จาก​ที่ปรากฏ​ใน​ตำ​นานเรื่องหลวงพ่อพุทธโสธร​ ​คำ​กลอนประพันธ์​โดย​นายเพิ่ม​ ​อยู่​อินทร์​ ​ดัง​ได้​กล่าวมา​แล้ว​ใน​ตอนต้นว่า​ ​ได้​ปลอมแปลง​
เป็น​พระพุทธรูปเสด็จลอยมาตามลำ​น้ำ​บางปะกง​ ​เพื่อ​จะ​ลองดีคนทาง​ใต้​ ​นอก​จาก​นั้น​แล้ว​นายทองใบ​ ​ภู่พันธ์​ ​สำ​นักวัดพิกุลเงิน​ ​ยัง​ได้​กล่าว​ไว้​ใน​หนังสือพุทธประวัติของพระพุทธโสธร​ ​ซึ่ง​ได้​จาก​การสัมภาษณ์​ ​เจ้าคุณเทพกวี​ ​วัดเทพศิรินทร์​ ​ความ​อีกตอนหนึ่งว่า​ “….​ใน​ระหว่างที่ฉันดำ​รงตำ​แหน่งเจ้าคณะมณฑล​อยู่​ ​ทราบ​จาก​คนพื้นเมืองจังหวัดฉะ​เชิงเทราที่มีอายุสูง​ ​ๆ​ ​ว่าพระพุทธโสธร​นั้น​ ​เมื่อมีกิติศัพท์​
แพร่หลายเลื่องลือไปตามท้องถิ่นต่าง​ ​ๆ​ ​แล้ว​ ​พระภิกษุสงฆ์​ใน​วัดโสธร​ ​ตลอดจนทายกทายิกา​
​ผู้​มีศรัทธา​เลื่อมใส​ใน​อภินิหารอันศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธโสธรต่างพา​กัน​ปริวิตกเกรงกล
ัวไปว่า​ ​สักวันหนึ่งอาจมี​ผู้​ลักลอบเอาพระพุทธโสธรไปเสียที่​อื่น​ ​ฉะ​นั้น​ ​จึง​พร้อมใจ​กัน​จัดสร้าง​
พระพุทธรูปจำ​ลองแบบไม้ธรรมดาขึ้น​ ​แล้ว​นำ​เอา​ไปสวมครอบปิดบังพระองค์จริง​
ของพระพุทธโสธร​ไว้​เสียภาย​ใน​ ​เพื่อ​เป็น​การพรางตา​ ​และ​ต่อมา​จะ​เป็น​ด้วย​เห็นว่า​
พระพุทธรูปจำ​ลอง​ด้วย​ไม้ที่ทำ​มา​แล้ว​ครั้งก่อน​ ​ยัง​ไม่​เป็น​การปลอดภัยเพียงพอ​
ที่​จะ​ป้อง​กัน​ไม่​ให้​โจร​ผู้​ร้ายมาลัก​หรือ​จะ​อย่างไร​ไม่​ปรากฏชัด​ ​จึง​ได้​มีการทำ​พระพุทธรูป​
แบบไม้ชนิดเดียว​กับ​ครั้งก่อน​ ​แต่มีขนาด​ใหญ่​กว่าขึ้นอีก​เป็น​ครั้งที่สอง​ ​และ​แล้ว​ก็ปฏิบัต​
ิ​เช่นเดียว​กับ​ที่ทำ​มา​เมื่อคราวแรก​ ​คือ​ ​เอาสวมครอบซ้อนพระพุทธรูปจำ​ลองครั้งแรก​
ลงไปอีกชั้นหนึ่ง​ ​ใน​กาลต่อมา​จะ​เกิด​ความ​คิดพิ​เศษอะ​ไรขึ้นมากกว่าครั้งก่อน​ ​ๆ
​จึง​ปรากฏว่าคราวนี้​ได้​ใช้​ปูนพอกทับพระพุทธรูปจำ​ลองเมื่อครั้งที่สองเสียแน่นหนา​ใหญ่​โ

จะ​ประจักษ์​แก่​ผู้​ที่​ไปนมัสการปัจจุบันนี้ว่า​ ​พระพุทธโสธรมีขนาดหน้าตักกว้าง​ถึง​ 3 ​ศอกเศษ​
ซึ่ง​ความ​จริงพุทธศาสนิกชนรุ่นเรา​ ​ๆ​ ​หา​ได้​เคยเห็น​ ​พระพุทธโสธรพระองค์จริง​ไม่​”
​ความ​ศักดิ์สิทธิ์​และ​อภินิหารของหลวงพ่อพระพุทธโสธร​ ​ขจรขจายไป​ทั่ว​ ​เมื่อ​ใด​ที่​เกิด​
ความ​สิ้นหวัง​หรือ​ทุกข์ร้อน​ใน​ชีวิต​ ​ชาวบ้านมัก​ใช้​วิธีบนบานศาลกล่าว​กับ​ “​หลวงพ่อ​” ​ที่ตนเคารพนับถือ​ ​เพื่อ​ให้​ได้​สิ่งอัน​ต้อง​ประสงค์​หรือ​เพื่อขจัด​ความ​ทุกข์​นั้น​ ​ครั้นเมื่อตน​ได้​สิ่งอันประสงค์​ ​ความ​เลื่อมใส​
ศรัทธาก็ยิ่งเพิ่มทวี​ ​จนองค์หลวงพ่อกลาย​เป็น​ศูนย์รวมจิตใจ​และ​ที่พักพิงของคนไทย​ทั่ว​ทั้ง​ประ​เทศ​
……​ตามหนังสือประวัติหลวงพ่อโสธร​ ​ที่ท่านพระราชเขมากร​ (ก่อ​ ​เขมทสสี​ ​ป​.​ธ​. 7) ​ตเจ้าอาวาสวัดโสธร​ได้​เขียน​ไว้​ (พิพิธวิหารกิจ​และ​คณะ​, 2542 : 62) ​มี​ความ​ตอนหนึ่งว่า​เมื่อหลวงพ่อ​ได้​มา​
ประดิษฐาน​อยู่​ใน​วัดโสธร​แล้ว​ ​ประชาชนชาวเมืองนับถือมาก​ ​กล่าว​กัน​ว่า​ถ้า​ได้​บอกหลวงพ่อ​แล้ว​สินค้าก็ซื้อง่าย​
ขายคล่อง​เป็น​เทน้ำ​เทท่า​ ​ครั้นต่อมา​เมื่อการคมนาคมทางบกสะดวกขึ้น​จึง​มี​ผู้​คนไปนมัสการมากขึ้น​ ​ผู้​ใด​เจ็บไข้​ได้​ป่วยก็มาขอ​ความ​คุ้มครองรักษา​จาก​หลวงพ่อโสธร​ ​มัก​จะ​ได้​ผลสม​ความ​ปรารถนา​เป็น​ส่วน​มาก​ ​มูลเหตุอีกอันหนึ่งที่กิตติศัพท์​ความ​ศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโสธร​ได้​แผ่​ไพศาลไป​ใน​ท้อง
ที่ต่างเล่า​กัน​ว่า​ ​ใน​สมัยหนึ่งบ้านโสธรเกิดทุพภิกขภัยข้าวยากหมากแพ​ ​ฝนแล้ง​ ​ข้าวกล้า​ใน​นา​ ​ผลไม้​ใน​สวนเหี่ยวแห้ง​ ​สัตว์พาหนะ​เกิดโรคระบาดล้มตาย​ ​ผู้​คน​ทั้ง​เด็ก​และ​ผู้​ใหญ่​เป็น​โรคฝีดาษต่างพา​กัน​อพยพหนี​ ​ทิ้งบ้านช่องเอาตัวรอด​ ​ใน​กาลครั้ง​นั้น​ยัง​มีบุรุษหัวหน้าครอบครัวหนึ่ง​ ​เมื่อเกิดโรคระบาดนี้ขึ้น​ ​ตนหาที่พึ่ง​ไม่​ได้​ก็หัน​เข้า​หาพระ​เป็น​สรณะที่พี่งที่ยึดถือ​จึง​ไปนมัสการอธิษฐานบนบานข
อ​ความ​
คุ้มครองรักษา​จาก​หลวงพ่อโสธร​ ​ใน​พระอุ​โบสถ​ ​เอาขี้ธูปบ้าง​ ​ดอกไม้​เหี่ยวแห้งที่บูชา​แล้ว​บ้าง​
​กับ​ทั้ง​อธิษฐานหยดเทียนขอน้ำ​มนต์​จาก​ ​หลวงพ่อบ้าง​แล้ว​มากิน​ ​มาทา​และ​อาบ​ ​ปรากฏว่า​
ได้​ผลสม​ความ​ปรารถนา​โรคหาย​เป็น​ปกติ​ ​ด้วย​ความ​ดี​ใจที่​โรคหายสม​ความ​ประสงค์​ ​จึง​จัด​ให้​มีการสมโภชแก้บนถวาย​ ​แต่​นั้น​มากิตติศัพท์​ความ​ศักดิ์สิทธิ์ของ​ ​หลวงพ่อโสธร​
ก็​แพร่สะพัดไป​ใน​ที่ต่าง​ ​ๆ​ ​กว้างขวางมากขึ้น​ ​จน​เป็น​ที่​เลื่องลือนับถือ​กัน​ว่า​ “​หลวงพ่อโสธรศักดิ์สิทธิ์​” ​ผู้​ใด​ปรารถนาสิ่ง​ใด​ ​ที่ชอบ​ ​ที่ควร​ ​ท่านก็ประสิทธิ์ประสาท​ให้​สม​ความ​ประสงค์​ ​ความ​ศักดิ์สิทธิ์​
ของหลวงพ่อมีมากมายเหลือ​จะ​พรรณนา​ให้​หมดสิ้น​ได้​ ​จน​ใน​กาลต่อมา​ถึง​รัชกาลที่​ 5 ​พระบาทสมเด็จ​
พระจุลจอมเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ ​มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ​ ​ให้​ข้าราชการ​ใน​จังหวัดฉะ​เชิงเทรา​เข้า​ถือ​
น้ำ​พิพัฒน์สัตยา​ใน​พระอุ​โบสถอัน​เป็น​ที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อโสธร​ ​ซึ่ง​แต่​เดิมมากระทำ​
ที่วัดปิตุลาธิราชรังสฤษดิ์​ (วัดเมือง) ​กระทำ​ต่อ​ ​ๆ​ ​มาจนสิ้นสมัยการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์​
​ความ​ศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโสธร​ ​แม้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า​ ​กรมพระยาวชิรญาณวโรรส​ ​ก็​ได้​ทราบกล่าว​ไว้​ใน​ขณะ​เสด็จตรวจคณะสงฆ์​ใน​มณฑลปราจีนบุรี​ ​พ​.​ศ​. 2459 ​ว่า​
“………​พระประธาน​ใน​พระอุ​โบสถวัดนี้​ ​เป็น​พระศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวจังหวัดนี้นับถือมาก​ ​มีคนมานมัสการ​ไม่​ขาด​ ​และ​มีการไหว้ประจำ​ปี​ ​กำ​หนด​ใน​วันเพ็ญเดือน​ 12 ​ถึง​วันนี้​ ​มี​เรือมา​เป็น​อันมาก​ ​นอก​จาก​ไหว้พระ​ ​มีการออกร้าน​และ​แข่งเรือ​……” (พิพิธวิหารกิจ​และ​คณะ​, 2542 : 63)
​จาก​ความ​เชื่อของชาวพุทธ​ ​หลวงพ่อพุทธโสธรเปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรอันยิ่ง​ใหญ่​
ให้​สรรพสัตว์​ได้​พำ​นักอาศัย​ ​กางกั้นสรรพภัยอันตราย​และ​ความ​เดือดร้อนลำ​เค็ญ​ ​ดล​ให้​เกิด​ความ​
อยู่​เย็น​เป็น​สุข​ ​เป็น​แพทย์​ผู้​วิ​เศษพยาบาล​ผู้​อาพาธ​ให้​หายขาด​ ​เป็น​สรณะที่พึ่งพาของหมู่พระบริษัท​
ผู้​ถูกภัยคุกคาม​ ​เป็น​ผู้​พยากรณ์ทำ​นายโชคชะตาวาสนา​ ​เป็น​ผู้​บันดาล​ให้​ทุกท่าน​ผู้​กราบหลวงพ่อ​
เป็น​สัพพัญญู​ผู้​สำ​เร็จวิชา​ทั้ง​ทางโลก​และ​ทางธรรม​ ​และ​เป็น​บรมครูของเทวดา​และ​มนุษย์​

ปล. http://luangpoosupa.invisionzone.com/index.php?showtopic=3411/color]
อิติ สุคคะโต อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ  ฐิตคุโณ อาจาริโย จะมหาเถโร
มหาลาโภ สัพพะสุขขัง จะมหาลาภัง สัพพะโภคัง สัพพะธะนัง ภะวันตุเม

ออฟไลน์ พาหุง

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 339
  • เพศ: ชาย
  • ศรัทธา วัดบางพระ
    • MSN Messenger - athiphong90@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ตำนานหลวงพ่อโสธร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 09 มี.ค. 2550, 01:09:20 »
 :o :o :o :o :o
ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ� สูงต่ำอยู่ทำตัว