ผู้เขียน หัวข้อ: ลีลาพระโพธิสัตว์ในความเป็นพระภิกษุ พร&#  (อ่าน 4428 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ★แดนพระนิพพาน★

  • ◕‿◕★พุทธะสถานบวรพระรัตนะตรัย ชัยยะสถาน ทิพย์พิมาน พระโพธิญาณ อวตารสถิตย์★◕‿◕
  • ทุติยะ
  • **
  • กระทู้: 26
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ลีลาพระโพธิสัตว์ในความเป็นพระภิกษุ พระราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต)

พระราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต) พระภิกษุผู้เป็นพระโพธิสัตว์ร่วมสมัยกับพวกเรา มีความเที่ยงแท้ต่อพระโพธิญาณ เพราะได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าแล้วว่า จะได้มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑๐ ทรงมีพระนามว่า พระสุมงคลสัมมาสัมพุทธเจ้า ชีวิตในภพชาติของท่าน เป็นฆราวาสอยู่เพียง ๑๖ ปี จากนั้นหันหน้าเข้าหาพระพุทธศาสนา บำเพ็ญเนกขัมมบารมีโดยเป็นสามเณร ๔ ปี และอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ๕๘ ปี รวมชีวิตในเพศพรหมจรรย์ ๖๒ ปี ท่านละสังขารไปตั้งแต่วันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๓๕
 
    ระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ เป็นพระเถระสำคัญในวัดโสมนัสวิหาร คนทั่วไปหรือแม้แต่คนในวัดโสมนัสวิหาร รับรู้แต่เพียงว่า ท่านเป็นพระราชาคณะหรือเจ้าคุณเท่านั้น ไม่รู้หรอกว่าหลวงพ่อเจ้าคุณอ่ำหรือพระราชกวีรูปนี้ ท่านปรารถนาพุทธภูมิ มาให้ความสนใจกันอย่างกว้างขวางก็ตอนที่หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ เปิดม่านที่ปกปิดปฏิปทาพระโพธิสัตว์ให้ลูกศิษย์ของท่านได้รับรู้ ดังบางตอนที่หลวงพ่อฤๅษีลิงดำพูดไว้ดังนี้
 
“เจ้าคุณพระราชกวี วัดโสมนัสวิหารองค์นี้ ท่านปรารถนาพุทธภูมิ ความจริงยังไม่เคยเจอหน้ากันเลยนะ แต่ก็มีจิตใจยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน อาตมาก็ยอมรับนับถือท่าน ท่านก็ยอมรับนับถืออาตมา ต่างคนต่างฝากข่าวไปหากัน พบกันแค่ข่าว ถึงกระนั้นก็ดี แต่ว่าข่าวของอาตมากับข่าวของท่านนั้นตรงกัน รู้สึกตรงกัน จะหาว่าบ้าก็บ้าเสมอกัน หากว่าดีก็ดีเสมอกัน ท่านเจ้าคุณพระราชกวีท่านปรารถนาพุทธภูมิ การปรารถนาพุทธภูมินี่ไม่ใช่พระอรหันต์ แต่ว่าอย่าลืมนะ การปรารถนาพุทธภูมินี่ปรารถนาจริง ๆ มันต้องครบทุกอย่าง เพราะปรารถนาพุทธภูมิเพื่อความเป็นครู ทั้งหลักสูตร สุกขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทัปปัตโต ต้องรู้ทั้งหมด เพราะอะไร เพราะพระคอยบอก”

คำพูดของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำทั้งหมดนี้ ความสำคัญอยู่ที่ประโยคสุดท้ายตรง “พระคอยบอก” เนื่องจากหลวงพ่อฤๅษีลิงดำพูดอยู่เสมอว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด หรือเสด็จมาเพื่อทรงแนะนำให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ คนส่วนหนึ่งเกิดความสงสัยว่าเป็นไปไม่ได้ เมื่อนิพพานแล้วก็ต้องสูญ จะเสด็จมาทำไม หลวงพ่อคอยอึดอัดกับคำพูดเหล่านี้มาก จึงพยายามหาพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือ เพื่อยืนยันในสิ่งที่ท่านพูด ก็เห็นหลวงพ่อพระราชกวี วัดโสมนัส ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ ปรารถนาพระโพธิญาณ เป็นพระจริงพระแท้ที่พูดความสัตย์ความจริง และอยู่คนละสาย คือหลวงพ่อฤๅษีลิงดำอยู่มหานิกาย ส่วนหลวงพ่อพระราชกวีท่านอยู่สายธรรมยุต โดยหลวงพ่อฤๅษีลิงดำพูดว่า
 
“ถ้าใครสงสัยที่อาตมาพูดว่าพระพุทธเจ้ามีจริง พระพุทธเจ้าบอกอย่างนั้น พระพุทธเจ้าบอกอย่างนี้ ถ้าจะบอกว่าพระพุทธเจ้าทรงนิพพานไปแล้ว มีความสูญ ขอให้ไปถามเจ้าคุณพระราชกวีได้ หรือไปถามคนที่เขาปฏิบัติได้ให้ได้จริง ๆ แล้วกัน ที่เขาทำทิพจักขุญาณได้ก็ดี ทำอภิญญาได้ก็ดี เขาตอบได้แน่นอน”
 
    การเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงของหลวงพ่อพระราชกวีโดยหลวงพ่อฤๅษีลิงดำครั้งนี้ อยู่ในช่วงสุดท้ายของหลวงพ่อพระราชกวีแล้ว คนทั้งหลายจึงบ่นเสียดายที่ท่านปกปิดตัวเอง ไม่ยอมแพร่งพรายให้สาธารณชนรับรู้ ตามคำยืนยันของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ จับใจความได้ว่า ท่านไม่ได้มุ่งพระอรหันต์ แต่มุ่งพระพุทธภูมิ

ท่านหลวงพ่อพระราชกวีไม่ละเลยในการอบรมสั่งสอนสานุศิษย์ของท่าน ให้รู้จักคำสอนแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ในหนังสือวิชาการทางพระพุทธศาสนาที่ทรงคุณค่ายิ่ง ที่ท่านตั้งชื่อว่า “สมณธรรม” เป็นแสงสว่างส่องทางเดิน หรือ สะพานทอดสู่มรรคผลนิพพานโดยตรง หากใครลงมือปฏิบัติตาม หรือปรารถนาจะบรรลุมรรคผลนิพพานในปัจจุบันชาตินี้ ก็สามารถที่จะลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง บอกรายละเอียดการปฏิบัติเบื้องต้น ทั้งสมถะและวิปัสสนาไว้ชัดเจน เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักปฏิบัติใหม่ ท่านผู้รู้ชมว่า นี่แหละคือของจริงของแท้ ที่ท่านเจ้าคุณราชกวีนำออกมาตีแผ่ ขอคัดมาให้อ่านบางตอนดังนี้   
 
“พระพุทธเจ้าตรัสว่า มีสติคือการนึกตั้งเฉพาะหน้า คราวนี้จะปรากฏความรู้สึก ๔ ประการ คือ นึกหรือระลึก เรียกว่าสติ รู้สึกชัดทราบชัดว่ากำลังนึกอยู่ เรียกว่าสัมปชัญญะ ทั้งนึกและรู้สึกตัวนึกอยู่นั้น ก็ยังมีธรรมชาติอีกอย่างหนึ่ง ลอดหรือเล็ดออกไปเกาะหรือนำซึ่งสิ่งใดอื่นมาปรากฏ หรือออกไปในที่ใด ๆ อื่น สิ่งนี้เรียกว่าจิตตะคือใจ กระนี้ก็ยังอาจไม่สงบได้ จึงต้องมีการกระทำให้มีอีก(ภาวนา) และการนี้เรียกว่ากรรมฐาน คือที่ตั้งการกระทำของสติสัมปชัญญะและใจ”
 
หลวงพ่อพระราชกวีเคยพูดกับศิษย์ของท่าน ที่ขอร้องให้ท่านช่วยสอนกรรมฐานแก่สาธุชน เพราะเห็นทำเลวัดโสมนัสเป็นสัปปายะ มีความเหมาะสมทุกประการ โดยท่านพูดว่า “ถ้าเราจะทำก็ทำได้ แต่เราไม่ทำ เขาให้เรามาเกิด ไม่ให้มาทำหน้าที่นี้” แสดงให้เห็นว่า ท่านรู้จักหน้าที่ของท่าน คือการบำเพ็ญเนกขัมมบารมีในชาตินี้ในฐานะพระโพธิสัตว์ ขณะเดียวกันก็เอื้อประโยชน์แก่สาธุชน ผู้ใฝ่ใจใคร่รู้แนวทางปฏิบัติให้บรรลุมรรคผลนิพพานตามหลักพระพุทธศาสนา


สมเด็จพระวันรัต อดีตเจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร เจ้าประคุณสมเด็จเป็นพระรัตตัญญูแห่งยุครูปหนึ่ง เขียนคำไว้อาลัยในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อเจ้าคุณราชกวีว่า “เมื่อข้าพเจ้ามาอยู่วัดโสมนัสวิหาร พระราชกวียังเป็นสามเณร กำลังเรียนบาลี สอบได้ถึง  ปธ. ๖ ได้ตั้งให้เป็นครูใหญ่ พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญที่พระธรรมวงศ์เวที พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ที่พระราชกวี เวลาที่ข้าพเจ้าไม่อยู่ ได้มอบหมายให้เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาส ความเป็นไปในวัดเรียบร้อยเป็นปกติทุกครั้ง แม้เป็นเวลานาน ๆ ก็ตาม เพราะมีผู้ช่วยและผู้รักษาการแทนที่สามารถ และขอตั้งให้เป็นอุปัชฌาย์ ได้ให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรแทน แต่ในหน้าที่พระกรรมวาจาจารย์แล้ว พระราชกวีสวดได้ดีมาก ถูกต้องชัดเจนในภาษาบาลีและไพเราะมาก”
 
หลวงพ่อพระราชกวี เป็นผู้ซื่อตรงต่อเวลามาก บทบาทในการสอนหนังสือในห้องเรียน เหมือนกับอาจารย์เสถียร โพธินันทะ (ท่านผู้นี้ปรารถนาพุทธภูมิเช่นกัน) ระหว่างที่บรรยายพระสูตร หรือวิชามหานิกายที่มหาวิทยาลัยสงฆ์มหามงกุฎ ฯ เมื่อเสียงออดบอกเวลาดังขึ้น ถ้าเป็นชั่วโมงสอนของท่าน จะเห็นหน้าอาจารย์เสถียร โผล่มาปรากฏที่หน้าห้องทันที พอหมดเวลาก็เช่นกัน เมื่อเสียงออดดังขึ้นท่านจะไม่โอ้เอ้ เดินออกจากห้องทันทีเหมือนกัน พระธรรมวิสุทธิกวีเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน (ศิษย์ของท่านรูปหนึ่ง) บอกว่า “ท่านเจ้าคุณพระราชกวี ผู้อาจารย์ท่านสอนหนังสือเอาจริงเอาจัง ตรงต่อเวลาและไม่ขาดสอน  ปฏิเสธการรับนิมนต์ในชั่วโมงสอนของท่าน ถือว่าการสอนสำคัญกว่ากิจนิมนต์ ท่านตรงต่อเวลา รวดเร็ว ไม่ชักช้า ไม่ว่าในด้านกิจนิมนต์ หรือสอนหนังสือ ไม่ต้องให้ใครมารอท่าน ท่านจะมาถึงก่อนเสมอ  พระราชกวีใช้วิชาสืบค้นหาแหล่งวัตถุโบราณบ้านคูบัว แหล่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ ซึ่งวันหนึ่งข้างหน้าอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามพยานหลักฐานที่ท่านค้นพบ ท่านค้นพบ กเบื้องจาร (เขียนศัพท์นี้ตามท่าน) ข้อความตอนนี้ขออนุญาตคัดจากสำนวนเขียนของท่านเจ้าคุณพระธรรมวิสุทธิกวีครั้งเป็นพระราชวิสุทธิกวีดังต่อไปนี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 ก.ค. 2553, 06:11:10 โดย guidekung »
พุทธะสถานบวรพระรัตนะตรัย ชัยยะสถาน ทิพย์พิมาน พระโพธิญาณ อวตารสถิตย์...สมบัติใดในโลกก็ไม่เท่าธรรมะ...ด้วยอานิสงส์ในการเผยแผ่ธรรมทานในครั้งนี้ขอให้ข้าพเจ้าได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้เถิด

ออฟไลน์ ★แดนพระนิพพาน★

  • ◕‿◕★พุทธะสถานบวรพระรัตนะตรัย ชัยยะสถาน ทิพย์พิมาน พระโพธิญาณ อวตารสถิตย์★◕‿◕
  • ทุติยะ
  • **
  • กระทู้: 26
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
“พระธรรมทูตที่พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งมายังสุวรรณภูมิในพุทธศตวรรษที่ ๓ นั้น ไม่ใช่มีเพียง ๒ รูป คือ พระโสณะและพระอุตตระเท่านั้น แต่มีถึง ๕ รูป โดยมีรายชื่อดังนี้ พระโสณะ พระอุตตระ พระฌานียะ พระภูริยะ และพระมูนียะ  แต่พระโสณะและพระอุตตระเป็นหัวหน้า เพราะถ้ามา ๒ รูป จะทำสังฆกรรรมเช่นสวดปาติโมกข์และอุปสมบทกุลบุตรไม่ได้ เรื่องนี้นับว่าน่าคิด ซึ่งหลักความจริงน่าจะเป็นอย่างนี้ แต่ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาเท่าที่ค้นพบมาก่อนนั้น มีแต่พระโสณะและพระอุตตระเท่านั้น เมื่อท่านมาค้นพบว่ามีถึง ๕ รูปโดยปรากฏตาม กเบื้องจาร ที่ท่านค้นพบเช่นนี้ นับเป็นสิ่งที่มีเหตุผล และน่าค้นคว้าเพิ่มเติมสำหรับนักประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง”


จากนิตยสารน่านฟ้า ฉบับที่ ๓๑ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 ก.ค. 2553, 06:14:53 โดย guidekung »