ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงปู่ดือ อินฺทธมฺโม พระเกจิร่วมสมัย"หลวงปู่มี"  (อ่าน 3665 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นรก

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 136
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
"หลวงปู่ดือ อินทธมฺโม" หรือ "พระครูพิสัยนวการ" วัดโพธาราม บ้านดงบัง อ.นาดูน จ.มหาสารคาม เป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าอีกรูปหนึ่งที่วัตรปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีพลังจิตที่แก่กล้า พลังใจที่เข็มแข็ง และเรืองวิทยาคม

หลวงปู่ดือ มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วภาคอีสาน ร่วมสมัยกับหลวงปู่มี กนฺตสีโล วัดแวงดง

แม้ทั้งสองท่านจะมรณภาพไปนานหลายปีแต่ยังอยู่ในศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวอีสานตราบจนปัจจุบัน

อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า พุทธา พวงศรีเคน เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2454 ณ บ้านดงบัง ต.ดงบัง อ.นาดูน จ.มหาสารคาม โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายสิงห์และนางเม พวงศรีเคน

หลังจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนประชาบาลบ้านดงบัง จากนั้นได้ช่วยงานครอบครัวทำไร่ทำนาอยู่ประมาณ 2 ปี

ด้วยความเป็นผู้มีจิตใจโน้มเอียงเข้าหาพระธรรม ได้ขอให้บิดามารดา นำไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดในหมู่บ้าน

ต่อมาครั้นอายุครบ 20 ปี ในปีพ.ศ.2475 ได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดโพธาราม มีพระครูจันทสีตลคุณ เจ้าคณะแขวง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูปลัดดำ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระครูจันดี เป็นพระกรรมวาจาจารย์?


หลังอุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัยด้วยความขยันขันแข็งที่วัดในหมู่บ้าน ต่อมาได้เดินทางไปจำพรรษาที่วัดบ้านดอนหมี ต.ท่าพระ จ.ขอนแก่น เป็นสำนักเรียนใหญ่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในยุคนั้น

มุมานะเรียนมูลกัจจาย บาลี ไวยากรณ์ ศึกษาอักขรโบราณ อักษรขอม อักษรธรรม ไทยน้อย จนจบหลักสูตร นอกจากนี้ ยังเรียนเทศก์ปุจฉา วิสัชนา จนมีความรู้อย่างแตกฉาน

พ.ศ.2487 หลวงปู่ดือ เดินทางกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดโพธารามบ้านเกิด เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังในหมู่ญาติโยมอย่างรวดเร็วเนื่องจากท่านเทศก์ปุจฉา วิสัชนา ได้อย่างเฉียบแหลม เนื่องจากท่านเรียนหนังสือเก่ง

หลวงปู่ดือ ยังให้ความสนใจศึกษาด้านไสยเวทย์ ขอฝากตัวเป็นศิษย์กับพระครูจันทรสีตลคุณ และพระครูจันดี พ.ศ.2490 หลวงปู่ดือ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธาราม ช่วงนี้ชื่อเสียงของท่านโด่งดังมาก เคียงคู่กับหลวงปู่มี วัดแวงดง บรรดาญาติโยมทั้งใกล้และไกลต่างเดินทางมารับฟังธรรมและปะพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่เข้มขลังจากหลวงปู่ดือ อย่างคลาคล่ำทั้งในวันธรรมดาและวันสำคัญทางศาสนา

หลวงปู่ดือ ได้จัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้นที่วัดโพธาราม ละยังเปิดสอนอักษรธรรมโบราณ สนับสนุนให้พระเณร ศึกษาค้นคว้านำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบันทึกไว้เพื่อการศึกษา

หลวงปู่ดือ ยังมีจิตใจอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยเฉพาะภายในวัดโพธาราม มีภาพเขียนสีโบราณอายุหลายร้อยปีสภาพสวยมากคงอยู่จนถึงปัจจุบัน

ตำแหน่งงานด้านปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2490 เป็นเจ้าคณะตำบลภารแอ่น พ.ศ.2506 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นตรีที่ "พระครูพิสัยนวการ" พ.ศ.2512 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นพิเศษในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2515 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอนาดูน

คำสอนที่หลวงปู่ดือ พร่ำสอนญาติโยม คือ "ให้สำนึกถึงความตายเสมอและถามตนเองว่าก่อนตายได้ทำความดีอะไรให้เป็นที่ปรากฏแก่สาธารณชน ถ้ายังไม่มีให้รีบละเว้นการทำชั่ว และมาบำเพ็ญทำความดีเสียตั้งแต่วันนี้ หรือถ้าทำดีอยู่แล้วก็ให้เพียรสร้างคุณความดีต่อไป"

แม้หลวงปู่ดือ จะล่วงเข้าสู่ปัจฉิมวัย แต่สุขภาพของท่านยังแข็งแรงเดินเหินสะดวก รับกิจนิมนต์เป็นปกติ แต่ท่านได้มรณภาพลงแบบที่ญาติโยมคาดไม่ถึง โดยกุฏิของท่านที่จำวัดอยู่ได้เกิดเพลิงไหม้ ในคืนวันที่ 17 กรกฎาคม 2546

ญาติโยมใช้บันไดพาดหน้าต่างให้ท่านลงมา แต่หลวงปู่ดือ กลับโบกมือลา ขอทิ้งสังขารอยู่ในกองเพลิง สิริอายุ 93 พรรษาที่ 71

ถึงแม้หลวงปู่จะละสังขารไปแล้วแต่คุณงามความดีของท่านยังคงปรากฏอยู่ในจิตใจของพุทธศาสนิกชนตราบจนปัจจุบัน

   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 พ.ค. 2550, 06:46:49 โดย นรก »
ช.อ.ก. 40