ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมโอสถ...(2)  (อ่าน 3445 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ธรรมโอสถ...(2)
« เมื่อ: 23 มิ.ย. 2554, 10:25:28 »
ขอบคุณ คุณderbyrock
ในเรื่อง ธรรมโอสถ
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=13942.msg127020
ขออนุญาตขยายความเพิ่มเติม

“..พวกแพทย์...พวกหมอ..

เขาปรุงยาปราบโรคทางกาย

จะเรียกว่า..สรีระโอสถ..ก็ได้

ส่วนธรรมของพระพุทธเจ้านั้น

ใช้ปราบโรคทางใจ..

เรียกว่า...ธรรมโอสถ..

ดังนั้น...พระพุทธเจ้าของเรา..

จึงเป็นแพทย์ปราบโรคทางใจ

ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก..

โรคทางใจเป็นได้ไว

และเป็นได้ทุกคนไม่เว้นเลย..

เมื่อท่านผู้รู้ว่า...ท่านเป็นไข้ใจ...

จะไม่ใช้ธรรมโอสถรักษาบ้างดอกหรือ..

พิจารณาดูเถิด..

การเดินทางเข้าถึงพุทธธรรม..

มิใช่เดินด้วยกาย...

แต่ต้องเดินด้วยใจ...

จึงจะเข้าถึงได้...”


 
พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
วัดหนองป่าพง ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มิ.ย. 2554, 10:25:52 โดย ทรงกลด »
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมโอสถ...(2)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 23 มิ.ย. 2554, 10:29:06 »
  ธรรมโอสถ
 
 
          ธรรมโอสถคือเครื่องรักษาโรคทางจิตทั้งสอง คือ โรคฟุ้งและโรคเครียด โรคทางจิตก็เหมือนโรคทางกาย ยารักษาโรคทางจิตก็เหมือนยารักษาโรคทางกาย ไม่ว่าจะใช้ยาวิเศษขนานใดก็ตาม ก็ต้องใช้ยานั้นให้ได้ขนาดเพียงพอกับอาการของโรค โรคทางกายบางโรคไม่ต้องใช้ยามากและไม่ต้องใช้นาน บางโรคต้องใช้มากและต้องใช้นาน จะใจร้อนใจเร็วให้โรคหายทันใจทุกโรคไม่ได้ แต่โรคทางใจของคนทั่วไป ปกติต้องใช้ยามากและต้องใช้นานจึงจะใจร้อนใจเร็วให้เห็นผลเป็นความหายขาดจาก โรคหัวใจอย่างทันตาทันใจไม่ได้ ต้องใช้ธรรมโอสถให้เพียงพอกับอาการของโรค เช่น โรคเครียดและโรคฟุ้งที่กล่าวแล้วว่า รักษาได้ด้วยธรรมโอสถ คือ อุเบกขา ก็ต้องใช้ธรรมโอสถให้เพียงพอ คือ ใช้ให้มากพอและใช้ให้นานพอ จึงจะหายขาดได้จริง
 
          การมาวัดเพื่อมาทำบุญทำทาน รักษาศีล ฟังเทศน์ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม เป็นเหมือนกับการให้ยาป้องกันโรคภัยไข้เจ็บทางด้านจิตใจ คือความทุกข์ ความเศร้าหมอง ความเสียใจ ความกังวล ความวุ่นวายใจต่างๆ ไม่มีอะไรในโลกนี้จะระงับหรือป้องกันความทุกข์ใจได้ นอกจากบุญและกุศลเท่านั้น การมาวัด มาทำบุญทำทาน มารักษาศีล มาฟังเทศน์ฟังธรรม มาปฏิบัติธรรม ก็เป็นการมารับยา คือธรรมโอสถของพระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์สาวกทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหมือนกับหมอที่เคยได้รับประโยชน์จากยาธรรมโอสถแล้ว ได้เห็นคุณอันวิเศษที่สามารถยกจิตใจของท่านให้อยู่เหนือความทุกข์ต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากจากกันก็ดี ทุกข์ที่เกิดจากการประสบกับสิ่งที่ไม่ปรารถนาทั้งหลายก็ดี จะไม่สามารถเข้ามาเหยียบย่ำทำลายจิตใจได้เลย เพราะธรรมโอสถเป็นเหมือนเกราะคุ้มกันจิตใจ ไม่ให้ความทุกข์ต่างๆ เข้ามาเบียดเบียน
 
          พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ได้พิสูจน์ได้สัมผัสธรรมโอสถที่วิเศษนี้แล้ว จึงได้นำเอามาเผยแผ่ เอามาแจกจ่ายให้กับพวกเรา ซึ่งเปรียบเหมือนกับคนไข้ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน เมื่อถูกโรคภัยของจิตใจเข้ามากระทบ ก็จะต้องทุกข์ต้องทรมานใจ แต่ถ้าได้รับการดูแลด้วยธรรมโอสถ ที่เป็นเหมือนกับการรับประทานยาหรือการฉีดยาป้องกันโรคภัยต่างๆแล้ว ก็จะมีภูมิคุ้มกัน ทำให้สามารถต่อสู้กับทุกข์ชนิดต่างๆได้ ใจก็เป็นเหมือนกับร่างกาย ที่ต้องมีภูมิคุ้มกันเช่นเดียวกัน ยาที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้กับจิตใจก็คือ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงสอนให้หมั่นทำความดี ละการกระทำบาปและชำระกายวาจาใจให้สะอาดหมดจด ด้วยการทำบุญให้ทาน รักษาศีล ปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์ฟังธรรม อย่างสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง


เริ่มตั้งแต่การทำบุญให้ทาน ที่จะพาให้เราเข้าสู่การรักษาศีลต่อไป เมื่อรักษาศีลได้แล้วก็อยากจะทำจิตใจให้สงบ ทำสมาธิ เพราะเห็นคุณค่าของความสงบที่เกิดจากการรักษาศีล ที่เกิดจากการทำบุญให้ทาน ว่าเป็นความสุขที่แท้จริง และอยากจะได้มากเพิ่มขึ้นไปอีก ก็ต้องภาวนา นั่งทำสมาธิและเจริญปัญญา เพราะเป็นวิธีสร้างความสงบให้กับจิตใจได้เต็มร้อย แต่ต้องเริ่มต้นจากชั้นประถมขึ้นไปก่อน ทำบุญให้ทานอยู่เรื่อยๆ อย่าเสียดายเงินเสียดายทองที่เหลือกินเหลือใช้ ไม่มีความจำเป็นกับเรา ก็เอามาทำบุญทำทาน แล้วก็รักษาศีล ไม่ว่าจะทำอะไรก็ไม่เบียดเบียน ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น เพราะจะย้อนกลับมาหาเรา เป็นเหมือนเงา หรือเป็นเหมือนกับกระจกที่สะท้อนการกระทำของเรา เวลาเรายืนที่หน้ากระจกทำหน้าบึ้งตึง คนที่อยู่ในกระจกก็ทำหน้าบึ้งตึง เวลายิ้มคนที่ยืนอยู่ในกระจกก็ยิ้ม ฉันใดถ้าเราไม่เบียดเบียน ไม่สร้างความทุกข์ให้กับผู้อื่น ทุกข์นั้นก็จะไม่กลับมาหาเรา เมื่อไม่มีทุกข์ที่เกิดจากการกระทำบาป การกระทำผิดศีลผิดธรรม ใจก็สงบ ใจก็สบาย ก็ทำให้ทำสมาธิได้ง่ายขึ้น เวลานั่งทำสมาธิจะง่ายกว่าคนที่มีความทุกข์ ความวุ่นวายใจ ที่เกิดจากการทำผิดศีลผิดธรรม เมื่อทำจิตให้สงบแล้ว ก็จะมีกำลังที่จะปลงอนิจจังทุกขังอนัตตา พร้อมที่จะรับกับสภาพต่างๆที่จะเกิดขึ้น


ที่มา
http://www.thammachuk.com/ธรรมโอสถ.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมโอสถ...(2)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 23 มิ.ย. 2554, 10:32:23 »
ธรรมโอสถ

 พระพุทธเจ้าของเรา พระองค์เป็นแพทย์ผู้วิเศษ ใช้ธรรมโอสถเป็นยารักษาโรคที่เกิดขึ้นในจิตใจให้หายได้อย่างเด็ดขาด หายแล้วไม่กลับเกิดอีก ถึงอมตะดับทุกข์ร้อนถอนอาลัยไม่กังวล เพราะพระองค์ทรงรู้แจ้งในตำแหน่งที่มาของโรคใจได้ทุกประการ และวางยาวิเศษอันได้นามสมัญญาว่า “มรรค ๘ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา” ให้เหมาะกับโรคนั้นๆ อนึ่ง เพื่อสะดวกแก่การรักษาโรคนั้นๆ โดยเฉพาะ ท่านได้จัดยาไว้เป็นพิเศษเพื่อรักษาโรคนั้นๆ โดยเฉพาะ มีดังนี้ คือ
 
          โรคราคะ ทำให้จิตใจน้อมเอนเอียงไปในความกำหนัด รักใคร่ ไม่ว่าจะเห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู เป็นต้น ย่อมเห็นเป็นของน่ารักใคร่ น่าพอใจ ทำให้เกิดความกำหนัดยินดีไปทั้งนั้น ท่านให้ใช้ยาคือ อสุภะ เห็นเป็นของ ปฏิกูลน่าพึงเกลียด หรือเป็นเหตุก่อให้เกิดทุกข์ เป็นต้น
 
          โรคโลภะ เมื่อความทะยานอยากได้ไม่รู้จักพอ เพราะไม่เห็นคุณค่าแห่งความแจกจ่ายแบ่งปันให้แก่คนอื่น ฉะนั้นท่านจึงสอนให้รักษาด้วย การให้ทาน เมื่อทำทานไปแล้ว ผู้ที่ได้รับทานจะแสดงความขอบใจและดีใจ อาจทำการอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งตอบแทนจนเป็นที่พอใจ แล้วจะเห็นคุณของการทำทานอันล้นค่า หรือเห็นสมบัติทั้งหลายในโลกนี้มิใช่ของตนคนเดียว แต่เป็นของสาธารณะ เพียงเปลี่ยนมือกันใช้เท่านั้น ตายแล้วทุกคนต้องทอดทิ้งไว้ในโลกนี้ด้วยกันทั้งหมด ไม่มีใครเอาติดตัวไปด้วย นอกจากบาปและบุญเท่านั้น
 
          โรคโกรธ คิดแต่แง่ทำลายหมายแต่โทษความผิดของผู้อื่น โดยมิได้ทวนทบคิดถึงความดีมีประโยชน์ของเขาบ้าง ความชั่วหรือความผิดมีนิดเดียวก็สร้างให้มากทวีขึ้น หรือแม้ความชั่วความผิดของคนอื่นเขาไม่มีเสียเลย แต่เราไปสร้างขึ้นเองด้วยความไม่พอใจของเรา จึงเป็นโรคที่ร้ายแรงมาก อาจสร้างนรกไว้บนสวรรค์ก็ได้ เป็นการทำ ความเดือดร้อนให้แก่คนอื่นโดยเฉพาะ ท่านจึงสอนให้วางยาเย็นคือ ความเมตตา ปรารถนาให้คนอื่นมีความสุข
 
          โรคโมหะ ความคิดผิด เห็นผิด เป็นเหตุให้กระทำผิด พูดผิดจากความจริง โดยเห็นผิดเป็นถูก เห็นดีเป็นชั่ว เป็นต้น อันเป็นเหตุให้กิจการนั้นๆ ไม่สำเร็จลุล่วงไปได้เท่าที่ควร เหมือนกับปลาติดอวนหรือนกติดข่าย มีแต่จะนำความหายนะมาให้แก่ตนส่วนเดียว ต้องรักษาด้วยยา คือ สุตะ หมั่นได้ยินได้ฟังและไต่ถามตริตรองบ่อยๆ
 
          นอกจากยาแต่ละขนานที่ท่านจัดไว้สำหรับบำบัดโรคแต่ละประเภทดังกล่าวมาแล้ว ท่านยังได้ให้ยาเพื่อบำบัดโรคนานาชนิดและโรคที่อาจแทรกแซงมากอย่าง อันได้แก่พระกัมมัฏฐาน ๔๐ ใจเป็นนามธรรม โรคที่เกิดขึ้นก็เป็นนามธรรม ฉะนั้น ธรรมโอสถ อันเป็นนามธรรมไว้ รักษาให้ถูกต้องและหายได้อย่างเด็ดขาด หายแล้วกลับไม่ได้มาเกิดอีกต่อไป



อันหนทาง ชีวิต คิดดูเถิด
เมื่อเราเกิด แล้วต้องแก่ แน่ใช่ไหม
หนีไม่พ้น เจ็บไข้ กายและใจ
จะแก้ไข อย่างไร ให้ทุกข์คลาย

เป็นโรคกาย หมอยา รักษาโรค
ถูกโฉลก ถูกเหตุผล ดลโรคหาย
เป็นโรคใจ ภัยรุมเร้า เศร้าปางตาย
ทุกข์มลาย เมื่อรู้ใช้ "โอสถธรรม"

เติมธรรมะ ให้ชีวิต พิชิตโรค
ดับทุกข์โศก ดับตัณหา อย่าถลำ
ดับกิเลส โลภ-โกรธ-หลง จงหมั่นจำ
ยึดพระธรรม พระศาสดา เป็นยาใจ....ฯ


ที่มา
http://www.thammachuk.com/ธรรมโอสถ.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมโอสถ...(2)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 23 มิ.ย. 2554, 10:36:43 »
ธรรมโอสถ

“การให้ธรรมะพ่อแม่ เป็นการทดแทนพระคุณที่สูงสุด”


ลูกเอ๋ย..ยามที่พ่อแม่ของเจ้ามีอายุมากขึ้น ย่อมมีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน ความแข็งแรงของร่างกายที่เคยมีก็ลดลง ใจน้อย โกรธง่าย ความจำเสื่อม ขี้หลงขี้ลืม จิตใจก็หมดความสุขสดชื่น ถึงแม้พวกเจ้าจะคอยเอาใจใส่ดูแลใกล้ชิดสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่อาจช่วยให้พ่อแม่ของเจ้ามีความสุขได้เต็มที่ เพราะพวกเจ้าทุกคนต่างมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ เจ้าช่วยท่านให้ได้รับความสุขเพียงการให้กินอยู่หลับนอน อันเป็นความสุขทางกายเท่านั้น แต่จิตใจของท่าน หาได้ร่าเริงสดชื่นผ่องใสไม่ เจ้าจงจำไว้ว่า การให้ความสุขแก่พ่อแม่อย่างแท้จริงก็คือ การให้ธรรมะด้วยการสอนหลักธรรมง่ายๆให้พ่อแม่ของเจ้า พาท่านไปทำบุญทำทาน สอนท่านให้รู้จักการปฏิบัติบูชา สวดมนต์ ภาวนา แผ่เมตตา ธรรมะจะอยู่ในจิตใจของพ่อแม่เจ้าทุกภพทุกชาติ ถือว่าเป็นการทดแทนพระคุณที่สูงสุด เจ้าจงจำไว้ นะลูกเอ๋ย...

(คำสอนของสมเด็จโต ท่านได้บันทึกเอาไว้ด้วยลายมือของท่าน อันเป็นอมตะวาจา)


จากหนังสือ พลังบุญเหนือพลังบาป อมตะธรรม สมเด็จโต...
จัดทำโดย : บ้านธรรมะโต
พิมพ์ครั้งที่ ๘ : สิงหาคม ๒๕๕๑
ที่มา
http://pha.narak.com/topic.php?No=60239

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมโอสถ...(2)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 23 มิ.ย. 2554, 10:53:15 »
มนต์ธรรมโอสถ
บทสวดเพื่อสุขภาพจิตที่ดี


ฤษีในกรุง


    มนต์ หรือมันตรา  หรือจะเรียกว่าคาถาก็ได้ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกศาสนา ที่มนุษย์ทุกชาติทุกสมัยมี  อียิปต์ คาลเดีย  อัสสิเรีย  เมโสโปเตเมีย  กระเหรี่ยง  ขอมโบราณ  และปัจจุบันจะนับถือและสวดกันเสมอมา ไม่ว่าจะสวดด้วยเหตุผลใดก็ตาม  มนต์ย่อมก่อให้เกิดพลังอำนาจขึ้นในจิตของผู้สวดที่มีความเชื่อศรัทธาอย่างแรงกล้า  ไม่ว่าชาติใดศาสนาใดมักจะมีการสวดมนต์เสมอ  เนื่องจากเขามีความเชื่อว่า  เมื่อสวดมนต์แล้วจะเกิดความสบายใจ  จะช่วยให้เกิดความสำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนาอยู่ และ เชื่อว่าเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะช่วยคุ้มครองเขาให้พบแต่ความสุขสวัสดีมงคลชัย มนต์และการสวดมนต์ นอกจากจะให้ประโยชน์ทางศาสนาคือ ทำให้จิตเป็นสมาธิแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมากมาย  ทำให้มีการผ่อนคลายทั้งทางกายและทางใจ  นอกจากนั้นยังสามารถใช้บำบัดโรคได้ด้วย

ในคริสต์ศาสนาก็มีให้เห็นเสมอ ในประวัติของพระเยซูและเซ้นท์ (Saint)  ต่าง ๆ นอกจากจะมีความดีด้านอื่นมากมายแต่ที่เด่นชัดคือ ความสามารถพิเศษในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ให้หายได้อย่างน่าอัศจรรย์  ทั้งนี้เพราะด้วยอาศัยพลังแห่งการสวดมนต์บูชาพระเจ้าเป็นนิตย์รวมกับพลังจิตแห่งความเมตตา  แม้แต่ในอินเดีย  เหล่านักพรต ฤษี โยคี และนักบวชในลัทธิอื่น ๆ ที่มีการสวดมนต์และบำเพ็ญทางจิต  ก็ใช้มนต์ในการบำบัดโรค เช่นกัน
ในพระพุทธศาสนามีกล่าวไว้หลายเรื่อง  เช่นเมื่อพระมหากัสสปะเถระอาพาธ พระพุทธเจ้าเสด็จมา และทรงสวดโพชฌงค์ 7 พอทรงสวดจบ    พระมหากัสสปะก็หายอาพาธ     ในทำนองเดียวกัน พระโมคคัลลาน์หายอาพาธได้เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงโพชฌงค์ 7 ให้ฟัง  แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง  เมื่อทรงอาพาธทรงโปรดให้พระมหาจันทะ สวดโพชฌงค์ 7 ถวาย เมื่อสวดจบ พระพุทธองค์ทรงหายจากอาการประชวร

   นอกจากนั้น ในสมัยพุทธกาล ชาวบ้านยังนิยมนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ให้ที่บ้านเมื่อเจ็บป่วย  เช่น ธรรมมิกอุบาสก  เมื่อใกล้จะถึงวาระสุดท้ายของชีวิต  นิมนต์พระสงฆ์มาสวดสติปัฏฐานสูต หรือในกรณีของมานทินคหบดี  หรือท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี  เมื่อไม่สบายก็นิมนต์พระสงฆ์มาสวดที่บ้าน เมื่อสวดมนต์จบความเจ็บป่วยหายไปได้ การสวดมนต์ที่ชาวพุทธคุ้นเคยกันคือการทำวัตรเช้า-เย็น สวดมนต์แผ่นเมตตา  สวดคาถาพาหุงมหากาฯ และสวดพระปริตร

   มีการวิจัยในการแพทย์ปัจจุบันจำนวนมากที่แสดงว่าการสวดมนต์ช่วยให้เกิดความสุข ความพอใจในชีวิตที่เป็นอยู่ เช่น ให้สุขภาพจิตดี และช่วยแก้ไขปัญหาชีวิตได้ ตัวอย่างเช่น นายแพทย์ลารี ดอสซี ได้วิเคราะห์ผลงานวิจัยในเรื่องนี้ประมาณ 100 เรื่อง และพบว่าในงานวิจัยต่าง ๆ เหล่านี้ การสวดมนต์มีผลต่อการเจริญเติบโตของเมล็ดพืช  และการที่แผลหายเร็วขึ้น นอกจากนั้นในงานวิจัยหลายราย การสวดมนต์สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ สมาคมวิทยาศาสตร์ทางจิตแห่งรัฐเทกซัสได้เจาะเลือดอาสาสมัคร  32  ราย  เมื่อแยกเอาเม็ดเลือดแดงออกแล้ว  ใส่สารละลายที่จะทำให้เม็ดเลือดแดงบวมและแตกในเวลาต่อมา แล้วให้อาสาสมัครเหล่านั้นสวดมนต์ขอให้เม็ดเลือดแดงแตกน้อยลง ผลคือ เม็ดเลือดแดงนั้นแตกช้าลง (Castleman M. Nature’s Cures)
Randolf Byrd แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจได้ทำการศึกษาเรื่องของการสวดมนต์ภาวนาในคนไข้ 393 คน ที่ San Francisco General Hospital โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรก 192 คน ซึ่งมีกลุ่มที่คอยสวดภาวนาและสวดมนต์ให้  กลุ่มที่สอง 201 คน ไม่มีกลุ่มคอยสวดภาวนาให้
 ผลการทดลองพบว่า คนไข้กลุ่มแรก ที่มีคนคอยสวดมนต์ให้ ใช้ยาปฏิชีวนะน้อยกว่ากลุ่มที่สอง 5 เท่า เกิดภาวะแทรกซ้อนในเรื่องน้ำท่วมปอด (Pulmonary Edema)  น้อยกว่า 3 เท่า ถูกใส่ท่อช่วยหายใจ (Endo tracheal Intubation)  น้อยกว่า 12 เท่า  การทดลองครั้งนี้ได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์ว่า ผลการทดลองมีนัยสำคัญที่เชื่อถือได้ 2

   จากการศึกษางานวิจัยดังกล่าว เราอาจสรุปได้ว่า การสวดมนต์ในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้เราผ่อนคลายทั้งทางจิตใจและทางกาย  ทำให้เรารู้สึกสบายใจ สภาพจิตใจเช่นนี้มีผลกระทบต่อสุขภาพทางใจและทางกายมาก ด้วยเหตุนี้ จิตแพทย์ในประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวนไม่น้อย จึงนำการสวดมนต์มาใช้ในการบำบัดทางจิตร่วมกับวิธีการรักษาทางการแพทย์ 3  การสำรวจของนักวิจัยหลายกลุ่มพบว่า คนอเมริกันนิยมสวดมนต์กันมาก กล่าวคือ 70 % สวดมนต์ทุกวัน 44 %  สวดมนต์เพื่อการบำบัดโรค มีงานวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าการสวดมนต์ช่วยให้ผู้ป่วยเป็นโรคร้ายแรงน้อยลง เช่นโรคหัวใจ โรคความดัน โรคเครียด และโรคซึมเศร้า เป็นต้น  และแม้แต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งจะมีอัตราตายต่ำกว่าประชากรทั่วไป4  นอกจากนั้น การสวดมนต์เมื่อปฏิบัติร่วมกับสมาธิยังสามารถลดปัญหาการฆ่าตัวตาย และการใช้ยาเสพติดได้ 5

การสวดมนต์ไม่ใช่เรื่องไร้สาระหรือเป็นไสยศาสตร์อีกต่อไป  ผลจากการสวดมนต์ นอกจากจะให้ผลทางการบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ แล้ว ยังให้ผลในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย  หากท่านยังไม่เชื่อหรือสงสัยว่าจริงหรือไม่ ขอให้ลองทดสอบดูด้วยตนเองก็ได้ เพราะสิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น  สิบตาเห็นไม่เท่ากับสวดมนต์ด้วยตนเอง


1 (Mc Collough Me. Prayer and Healt:  Conceptual Issues, Journal of Psychology and Theology: 1995)
2 Jahnk, Roger, The Healer Within, New York, HarperCollins Book,199,p.224-225
3 King E.,Bushwick B,Beliefs and Attitudes of Hospital Inpatients about Faith Healing and Prayer
4 (Michello Ja, Spintual and Emotional Determinants of Health, Jounal of Health, 1988)
5 (Ellison  E.C., Religious Involvememt and subjective well-being, Journal of Health Social Behaviors, 19910.

ที่มา
http://intaram.org.www.readyplanet5.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538740388&Ntype=7
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มิ.ย. 2554, 10:55:10 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมโอสถ...(2)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 23 มิ.ย. 2554, 01:28:50 »
ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ : ตอน ๑๐ ธรรมโอสถ ๑
โดย หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน  วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี

"พอได้สติจากความวิตกวิจารที่ผุดขึ้นมา

ท่านก็ตัดสินใจและบอกกับตัวเองทันทีว่า

นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป  เราจะระงับโรคพรรค์นี้

ด้วยยา คือ ธรรมโอสถเท่านั้น"



           พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ


       ขณะที่พักอยู่ในถ้ำนั้น ในระยะแรกๆ รู้สึกว่าธาตุขันธ์ทุกส่วนปกติดี จิตใจสงบเยือกเย็น เพราะเงียบสงัดมากไม่มีอะไรมาพลุกพล่านก่อกวน นอกจากเสียงสัตว์ป่าชนิดต่างๆ ที่พากันเที่ยวหากินตามภาษาเขาเท่านั้น ท่านรู้สึกเย็นกายเย็นใจใน 2-3 คืนแรก พอคืนต่อไปโรคเจ็บท้องที่เคยเป็นมาประจำขันธ์ก็ชักกำเริบ และมีอาการรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ จนถึงขั้นหนักมากบางครั้งเวลาไปส้วมถึงกับถ่ายเป็นเลือดออกมาอย่างสดๆ ร้อนๆ ก็มี ฉันอะไรเข้าแล้วไม่ยอมย่อยเอาเลย เข้าไปอย่างไรก็ ส้วมออกมาอย่างนั้น ทำให้ท่านคิดวิตกถึงคำพูดของชาวบ้านที่ว่ามีพระมาตายที่นี่ 4 องค์ เราอาจ
เป็นองค์ที่ 5 ก็ได้ ถ้าไม่หาย เวลามีโยมขึ้นไปถ้ำตอนเช้าท่านก็พาโยมไปเที่ยวหายาที่เคยได้ผลมาแล้ว มาต้มฉันบ้าง ฝนใส่น้ำฉันบ้าง เท่าที่ทราบเป็นยาประเภทรากไม้แก่นไม้ แต่ฉันยาประเภทใดลงไปก็ไม่ปรากฎว่าได้ผล โรคนับวันรุนแรงขึ้นทุกวัน กำลังกายก็อ่อนเพลียมาก กำลังใจก็ปรากฎว่า
ลดลงผิดปกติ แม้ไม่มากก็พอให้ทราบได้อย่างชัดเจน ขณะที่นั่งฉันยาได้นึกวิตกขึ้นมาเป็นเชิงเตือนตนให้ได้สติและปลุกใจให้กลับมีกำลังเข้มแข็งขึ้นมาว่า ยาที่เราฉันอยู่ขณะนี้ ถ้าเป็นยาช่วยระงับโรคได้จริงก็ควรจะเห็นผลบ้างแม้ไม่มาก เพราะฉันมาหลายเวลาแล้วแต่โรคก็นับวันกำเริบ หากยามีทาง
ระงับได้บ้างทำไมโรคจึงไม่สงบ เห็นท่ายานี้จะมิใช่ยาเพื่อระงับบำบัดโรคเหมือนแต่ก่อนเสียกระมัง  แต่อาจเป็นยาประเภทช่วยส่งเสริมโรคให้กำเริบแน่นอนสำหรับคราวนี้ โรคจึงนับวันกำเริบขึ้นเป็นลำดับ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะพยายามฉันไปเพื่อประโยชน์อะไร

พอได้สติจากความวิตกวิจารที่ผุดขึ้นมาในขณะนั้นแล้ว ท่านก็ตัดสินใจและบอกกับตัวเองทันทีว่า นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราจะระงับโรคพรรค์นี้ด้วยยา คือ ธรรมโอสถเท่านั้น จะหายก็หาย จะตายก็ตาย เมื่อสุดกำลังความสามารถในการเยียวยาทุกวิถีทางแล้ว ยาที่เคยนำมารักษานั้นจะงดไว้จนกว่าโรคนี้จะหายด้วยธรรมโอสถหรือจนกว่าจะตายในถ้ำนี้ จะยังไม่ฉันยาชนิดใดๆ ในระยะนี้ แล้วก็เตือนตนว่าเราจะเป็นพระทั้งองค์ที่ได้ปฏิบัติบำเพ็ญทางใจมาพอสมควรจนเห็นผลและแน่ใจต่อทางดำเนินเพื่อมรรคผลนิพพานมาเป็นลำดับ ซึ่งควรถือเป็นหลักยึดของใจได้พอประมาณอยู่แล้ว ทำไมจะขี้ขลาดอ่อนแอในเวลาเกิดทุกขเวทนาเพียงเท่านี้ ก็เพียงทุกข์เกิดขึ้นเพราะโรคเป็นสาเหตุเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเรายังสู้ไม่ไหวกลายเป็นผู้อ่อนแอ กลายเป็นผู้พ่ายแพ้อย่างยับเยินเสียแต่บัดนี้แล้ว เมื่อถึงคราจวนตัวจะชิงชัยเพื่อเอาแพ้เอาชนะกันจริงๆ คือ เวลาขันธ์จะแตก ธาตุจะสลาย ทุกข์ยิ่งจะโหมมาทับธาตุขันธ์และจิตใจจนไม่มีที่ปลงวาง เราจะเอากำลังจากที่ไหนมาต่อสู้เพื่อเอาตัวรอดไปได้โดยสุคโต ไม่เสียท่าเสียทีในสงครามล้างขันธ์เล่า?


    พอท่านทำความเข้าใจกับตนเองอย่างแน่ใจและมั่นใจแล้ว ก็หยุดจากการฉันยาในเวลานั้น

ทันที และเริ่มทำสมาธิภาวนาเพื่อเป็นโอสถบำบัดบรรเทาจิตใจและธาตุขันธ์ต่อไปอย่างหนักแน่น

ทอดความอาลัยเสียดายในชีวิตธาตุขันธ์ปล่อยให้เป็นไปตามคติธรรมดาทำหน้าที่ห้ำหั่นจิตดวงไม่

เคยตาย แต่มีความตายประจำนิสัยลงไปอย่างเต็มกำลัง สติปัญญาศรัทธาความเพียรที่เคยอบรมมา

โดยมิได้สนใจคำนึงต่อโรคที่กำลังกำเริบอยู่ภายในว่าจะหายหรือจะตายไปขณะใดในเวลานั้น หยั่ง

สติปัญญาไม่ลดละ คือ ยกทั้งส่วนรูปกาย ทั้งส่วนเวทนา คือ ทุกข์ภายใน ทั้งส่วนสัญญาที่หมาย

กายส่วนต่างๆ ว่าเป็นทุกข์ ทั้งส่วนสังขารตัวปรุงแต่งว่าส่วนนี้เห็นทุกข์ส่วนนั้นเป็นทุกข์ ขึ้นสู่เป้า

หมายแห่งการพิจารณาของสติปัญญาผู้ดำเนินงานทำการขุดค้นคลี่คลายอย่างไม่หยุดยั้ง แต่เวลา

พลบค่ำถึงเที่ยงคืน คือ 24.00 นาฬิกา จึงลงเอยกันได้ จิตมีกำลังขึ้นมาอย่างประจักษ์ สามารถ

คลี่คลายธาตุขันธ์จนรู้แจ้งตลอดทั่วถึงทุกขเวทนาที่กำลังกำเริบขึ้นอย่างเต็มที่จากโรคในท้อง โรคก็

ระงับดับลงอย่างสนิท จิตรวมลงถึงที่ในขณะนั้น


ที่มา
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=480339

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมโอสถ...(2)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 23 มิ.ย. 2554, 07:38:10 »
หลวงพ่อชา สุภทฺโท.....อุปลมณี

รักษาโรคด้วยธรรมโอสถ



     ต้นปี พ.ศ.๒๔๙๓ หลวงพ่อได้รับจดหมายจากพระมหาบุญมีซึ่งเป็นเพื่อนเคยปฏิบัติธรรมร่วมกัน ส่งข่าวเรื่องหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ให้ทราบ จึงออกเดินทางจากบ้านสวนกล้วยสู่กรุงเทพฯ ได้ศึกษาแนวทางการปฏิบัติที่วัดปากน้ำ ประมาณ ๗ วัน จากนั้นก็เดินทางต่อไปยังวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
     ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๙๓-๒๔๙๔ ซึ่งเป็นพรรษาที่ ๑๒ และ ๑๓ หลวงพ่อได้จำพรรษาอยู่ที่วัดใหญ่ชัยมงคล ได้พบกัลยาณมิตร ๒ ท่านคือพระอาจารย์ฉลวย (ปัจจุบันพำนักอยู่ที่วัดเขาต้นเกตุ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) และหลวงตาแปลก
     ปี พ.ศ.๒๔๙๔ ขณะปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดใหญ่ชัยมงคล หลวงพ่อได้เกิดเจ็บป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารมีอาการบวมขึ้นทางด้านซ้าย รู้สึกเจ็บปวดมาก ประกอบกับโรคหืดเรื้อรังที่เคยเป็นอยู่ได้กำเริบซ้ำเติมอีก ทำให้ได้รับความทุกข์ทรมานมาก หลวงพ่อจึงพิจารณาว่าตัวท่านอยู่ห่างไกลญาติพี่น้อง ในยามเจ็บป่วยคงไม่สะดวกที่จะไปรักษาที่โรงพยาบาล เพราะจะเป็นภาระแก่คนอื่น หลวงพ่อจึงคิดรักษาโรคของท่านด้วยธรรมโอสถ โดยการอดอาหาร ไม่ยอมฉัน ดื่มเพียงแต่น้ำนิด ๆ หน่อย ๆ เท่านั้น ทอดธุระในสังขารร่างกายของตัวเอง ทั้งไม่ยอมหลับนอน ได้แต่เดินจงกรมและนั่งสมาธิสลับกันไป เอาธรรมเป็นที่พึ่ง ขอตายอยู่กับการปฏิบัติธรรม ความตั้งใจนี้เด็ดเดี่ยวแรงกล้ามาก จนถึงอัศจรรย์ในตัวเองว่า คนเรานี้เมื่อถึงคราวฮึดสู้ขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับความตาย รู้สึกว่าจิตใจจมีความหนักแน่นมั่นคง ไม่สะทกสะท้านต่อความตายเลยแม้แต่นิดเดียว รุ่งเช้าเมื่อเพื่อน ๆ ภิกษุไปบิณฑบาต ก็เดินจงกรม พอเพื่อนกลับจากบิณฑบาตก็ขึ้นกุฏิทำสมาธิต่อไป มีอาการอ่อนเพลียทางร่างกายบ้าง แต่กำลังใจรู้สึกดีมาก ไม่กลัวตาย ไม่ย่อท้อต่อสิ่งทั้งปวง
     หลวงพ่ออดอาหารได้ ๘ วัน ท่านอาจารย์ฉลวยจึงขอร้องให้กลับฉันอาหารดังเดิม โรคภัยในกายปรากฏว่าหายไป ทั้งอาการบวมที่ท้อง ทั้งโรคหืด ไม่กำเริบอีก จึงยอมฉันอาหารเป็นปกติ


ที่มา
http://portal.in.th/i-dhamma/pages/10288/

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมโอสถ...(2)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 24 มิ.ย. 2554, 07:15:22 »
pochangkaparitra gatha บทสวดโพชฌังคปริตร

บทโพชฌังคปริตร

ที่มา
http://www.youtube.com/

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมโอสถ...(2)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 24 มิ.ย. 2554, 07:25:04 »
โพชฌงค์ ๗
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ

สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร
ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ
ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ
สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง
โพชฌงค์ 7 เป็นหลักธรรมส่วนหนึ่งของ โพธิปักขิยธรรม 37 (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค อันได้แก่ สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์ 8)

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง

   
อ้างถึง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน 4 แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ 7 แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ

— อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/โพชฌงค์_๗
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มิ.ย. 2554, 07:26:02 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมโอสถ...(2)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 24 มิ.ย. 2554, 09:01:21 »
รักษาโรคด้วยธรรมโอสถ 36; 36;
                                                         
ขอบคุณท่าน ทรงกลด ที่นำบทความที่ดีมากๆมาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ :053: :053:
 
ติดตามอยู่ครับ อ่านแล้วเพลินดีมากๆครับ และ ได้สาระความรู้มากๆครับผม :016: :015:
 
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน เพื่อเป็นความรู้ ขอบคุณครับผม) :033: :033:
   
 

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมโอสถ...(2)
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 26 ก.ค. 2554, 09:45:13 »
ธรรมะสำหรับผู้ป่วย1


ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมโอสถ...(2)
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 26 ก.ค. 2554, 09:48:36 »
ธรรมะสำหรับผู้ป่วย2