ผู้เขียน หัวข้อ: คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๑๓ สค. ๕๔ ...  (อ่าน 889 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๑๓ สค. ๕๔ ...
ตถตาอาศรม เขาเรดาร์ บ้านบึง ชลบุรี
อาทิตย์ที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
                ต้อนรับและสนทนากับผู้มาเยือนตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ ทำหน้าที่ของเข้าบ้านที่ดีต่ออาคันตุกะ
เป็นไปตามวาระเป็นไปตามกาลของงานนั้นๆ สนองตอบโจทย์ความต้องการให้เขาเท่าที่เรานั้นจะทำได้
สิ่งที่กระทำไปนั้นต้องไม่ผิดธรรมวินัยและเป็นไปโดยชอบประกอบด้วยกุศล นั้นคือสิ่งเราสงเคราะห์ให้ได้
ใช้เวลาบางส่วนในการฟังธรรม เพื่อนำมาวิเคราะห์หาความเหมาะสมกับตัวของเราเองที่จะนำไปปฏิบัติ
เปิดธรรมะของนิกายเซ็น ฟังสูตรของเหว่ยหลาง  ฟังสูตรของฮวงโป ฟังแล้วคิดพิจารณาวิเคราะห์ตาม
ในโศลกธรรมทั้งหลายของนิกายเซ็น ซึ่งเป็นเรื่องของการสอนที่ไร้รูปแบบ เป็นเรื่องของการสอนที่จิต
ให้พิจารณา ซึ่งผู้ปฏิบัติตามหลักของเซ็นนั้น ต้องที่มีอินทรีย์ที่แก่กล้าและได้สั่งสมบารมีมามากแล้ว
จึงจะเกิดปัญญามีดวงตาเห็นธรรม จากการฟังโศลกธรรมสั้นๆไม่กี่คำ มันถึงจะเป็นเซ็นอย่างแท้จริง
ไม่ใช่การปรุงแต่งฟุ้งซ่านวิจารน์ธรรม จินตนาการไปเอง มันต้องมีพื้นฐานที่ได้สั่งสมมาจากอดีตชาติ
มาก่อนแล้ว บารมีสั่งสมมาเต็มที่ เพียงแต่รอเวลาให้มีผู้มาเปิดดวงตาให้เห็นธรรม ด้วยโศลกธรรม
เพียงสั้นๆที่มีความหมายและได้ใจความ จากครูบาอาจารย์ที่เคยได้ร่วมสร้างบารมีกันมาเป็นผู้ชี้แนะ
มันเป็นสภาวะแห่งความเป็นปัตจัตตังที่รู้ได้เฉพาะตนในการปฏิบัติตามนิกายเซ็น...
          การเจริญจิตตภาวนาตามหลักของพุทธศาสนานั้น เราสามารถที่จะทำได้ในทุกอิริยาบท คือ ยืน
เดิน นั่ง นอน เพราะเป็นเรื่องของการมีสติ คือการทำที่จิต แต่ในอิริยาบทต่างๆนั้น จะมีผลต่างกัน
เช่นการเจริญสติภาวนาในท่านอนนั้น ทำได้ง่ายเข้าสมาธิได้เร็ว แต่จะไม่ตั้งอยู่นาน เพราะนิวรณ์นั้น
จะเข้ามารบกวนได้ง่ายคือนิวรณ์ตัวถีนมิทธะ อาการง่วงเหงาหาวนอน สมาธิจะกล้าแต่สติจะมีกำลังน้อย
มันจะทำให้เผลอหลับไป ส่วนในอิริยาบทยืนนั้นจะทำได้ยากกว่าการนั่ง เพราะต้องทรงร่างกายให้ตรง
เพื่อไม่ให้ล้ม และในอิริยาบทเดินนั้นทำได้ยากที่สุด แต่ถ้าเข้าสมาธิได้แล้ว จะตั้งได้อยู่นาน ทรงได้อยู่นาน
เพราะว่ามีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา จึงต้องใช้กำลังของสติเป็นอย่างมาก ในการจดจ่ออยู่กับองค์ภาวนา
อยู่ตลอดเวลา การรักษาศีลนั้นคือการเจริญสติ เพราะผู้ที่รักษาศีลนั้นต้องมีสติอยู่กับกายและจิต ในการที่จะคิด
จะพูดและจะทำ เรียกว่าต้องสำรวมอินทรีย์อยู่ทุกขณะจิต เพื่อไม่ให้ล่วงละเมิดข้อห้ามของศีลที่รักษา
ศีลจึงคือที่มาของสติพละ และสิ่งที่ได้มาควบคู่กับสติในการรักษาศีล ก็คือองค์แห่งคุณธรรม " หิริและโอตตัปปะ "
 สิ่งนั้นก็คือความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เพราะการที่เราไม่กล้าที่จะล่วงละเมิดข้อห้ามของศีลนั้น
เพราะเรามีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปเป็นตัวกระตุ้นเตือน เพื่อให้เกิดจิตสำนึก ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
ดั่งคำพุทธพจน์ที่ทรงตรัสไว้ว่า..."ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ศีลเป็นพื้นฐาน เป็นที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ ประหนึ่งแผ่นดิน
เป็นที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลาย ทั้งที่มีชีพและหาชีพมิได้ เป็นต้นว่า พฤกษาลดาวัลย์ มหาสิงขร และสัตว์จตุบาท
ทวิบาทนานาชนิด บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจย่อมอยู่สบาย มีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่ปัดกวาด เช็ดถูเรียบร้อย
ปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน "  ความบริสุทธิ์ของศีลนั้นก็คือการที่มีสติและสัมปชัญญะที่สมบูรณ์อยู่ในทุกขณะจิต
โดยมีองค์แห่งคุณธรรมคุ้มครองอยู่  รู้ได้ด้วยจิตของตนถึงความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ของศีลที่เรารักษานั้น
ไม่ใช่การกระทำทางกายเพื่อจะนำไปโอ้อวดข่มกัน ศีลนั้นเป็นเรื่องของการกระทำที่จิตเพื่อให้มีสติและสัมปชัญญะคุ้มครองกาย
เพื่อให้เป็นไปโดยชอบและประกอบด้วยกุศล เป็นบาทฐานเบื้องต้นก่อนที่เข้าสู่การภาวนาให้สมาธิและปัญญานั้นเกิด
การปฏิบัติธรรมจึงต้องเริ่มจากพื้นฐานสั่งสมอบรมไปตามขั้นตอน จนมีอินทรีย์บารมีที่แก่กล้า ดวงตาจึงจะเห็นธรรม...
                                            เชื่อมั่น-ศรัทธา-ปรารถนาดี-ด้วยไมตรีจิต
                                                  รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๕.๓๐ น. ณ ตถตาอาศรม บ้านบึง ชลบุรี
ใช่หวังจะดังเด่น  จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ  ซึ่งมานะและอัตตา
เร่ร่อนและรอนแรม ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา  ผ่านร้อยป่าและภูดอย
ลาภยศและสรรเสริญ  ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย  จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
       ปณิธานในการปฏิบัติธรรม

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๑๓ สค. ๕๔ ...
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 15 ส.ค. 2554, 07:56:30 »
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ฯ :054:

ผมชอบแนวเซ็น ชอบศึกษา และชอบแนวที่ท่านสอนครับ ชอบทำตัวตามสบาย :001:
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ