ผู้เขียน หัวข้อ: มารยาทไทย  (อ่าน 15473 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ เว็บมาสเตอร์...

  • ผู้ดูแลระบบ
  • *****
  • กระทู้: 571
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • www.bp.or.th
มารยาทไทย
« เมื่อ: 28 ก.ย. 2550, 07:50:21 »

? ? ? ? ? ปี ๒๕๔๙ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำองค์ความรู้ เรื่อง มารยาทไทย ประกอบด้วย การกำหนด ความหมาย ขอบข่าย ลำดับความสำคัญ
และการปรับปรุงรายละเอียดการปฏิบัติท่ามารยาทไทย เรื่องการแสดงความเคารพ ซึ่งจัดทำโดย คณะกรรมการดำเนินงานด้านมารยาทไทย ตามคำสั่ง
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ ๖๓๕/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙ โดยมี นายพะนอม แก้วกำเนิด เป็นประธานในการดำเนินงาน
และได้ประชุมปฏิบัติการเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ ห้องประชุมกองอำนวยการร่วม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการจัดทำองค์ความรู้ดังกล่าว
ก็เพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมด้านมารยาทไทยอันเป็นรูปแบบปฏิบัติของคนไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทย
ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาและการปฏิบัติให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น รายละเอียดดังนี้



ความหมาย มารยาท

? มารยาท ? หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผน อันเหมาะสมตามกาลเทศะ

ขอบข่าย มารยาทไทย
มารยาทไทยครอบคลุมถึงกิริยา วาจาต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร
การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่างๆ


ลำดับความสำคัญมารยาทไทย
มารยาทไทย เป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย ควรกำหนดขึ้นไว้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
? ? ? ? ? การแสดงความเคารพ
? ? ? ? ? การยืน
? ? ? ? ? การเดิน
? ? ? ? ? การนั่ง
? ? ? ? ? การนอน
? ? ? ? ? การรับของส่งของ
? ? ? ? ? การแสดงกิริยาอาการ
? ? ? ? ? การรับประทานอาหาร
? ? ? ? ? การให้และรับบริการ
? ? ? ? ? การทักทาย
? ? ? ? ? การสนทนา
? ? ? ? ? การใช้คำพูด
? ? ? ? ? การฟัง
? ? ? ? ? การใช้เครื่องมือสื่อสาร
? ? ? ? ? การประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่างๆ



ขอขอบคุณ ? :114:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ก.ย. 2550, 07:15:52 โดย เว็บ... »

ออฟไลน์ เว็บมาสเตอร์...

  • ผู้ดูแลระบบ
  • *****
  • กระทู้: 571
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • www.bp.or.th
ตอบ: มารยาทไทย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 28 ก.ย. 2550, 03:52:44 »
การยืน

การยืนโดยคำนึงถึงมารยาทจัดเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
? ? ? ? ? ๑. การยืนเคารพธงชาติ
? ? ? ? ? ๒. การยืนถวายความเคารพสมเด็จพระสังฆราช
? ? ? ? ? ๓. การยืนถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ และ พระบรมวงศ์
? ? ? ? ? ๔. การยืนในพิธีต่างๆ
? ? ? ? ? ๕. การยืนที่ไม่เป็นพิธี


? ? ? ? ? ๑. การยืนเคารพธงชาติ

? ? ? ? ? เพลงชาติ หรือธงชัยเฉลิมพลในที่สาธารณะ ให้ยืนตรงแสดงคารวะโดยหันหน้าไปทางธงชาติ เมื่อเพลงจบให้ค้อมศีรษะคำนับ
และสำหรับบุคคลทั่วไปเมื่อจะผ่านธงชัยเฉลิมพลให้หยุด และยืนแสดงคารวะ หรือเมื่อมีการเชิญธงชัยเฉลิมพลผ่านก็ให้ยืนตรงแสดงความเคารพเช่นเดียวกัน


? ? ? ? ? ๒. การยืนถวายความเคารพสมเด็จพระสังฆราช

? ? ? ? ? ? ? ?๒.๑ เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเสด็จมาถึงมณฑลพระราชพิธีก่อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้ที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ ณ ที่นั้น
ถวายความเคารพโดยการยืนประนมมือไหว้ เมื่อเสด็จผ่านแล้วจึงนั่งลง

? ? ? ? ? ? ? ?๒.๒ ในกรณีที่สมเด็จพระสังฆราชเสด็จมาถึงภายหลัง ให้ถวายความเคารพโดยวิธีนั่งประนมมือไหว้




? ? ? ? ? ๓. การยืนถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ และ พระบรมวงศ์

? ? ? ? ? ? ? ?๓.๑ การยืนรับเสด็จฯ นอกพระที่นั่ง อาคาร หรือแนวทางลาดพระบาทที่รับเสด็จฯถ้าเป็นข้าราชการจัดให้ยืนเรียงแถวตามลำดับยศ ตำแหน่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ซึ่งกำหนดการเฝ้าฯ เป็นงานๆ เช่น แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ครื่งยศปกติ โดยปฏิบัติตามระเบียบของเจ้าหน้าที่ หรือผู้รับผิดชอบแนะนำ


? ? ? ? ? ? ? ?ถ้าแต่งเครื่องแบบสวมหมวกทั้งชายหญิงให้ยืนถวายความเคารพด้วยการทำวันทยาหัตถ์ หากไม่สวมหมวกข้าราชการชาย ทหาร ตำรวจ พลเรือนและหญิงที่แต่งเครื่องแบบทหาร ตำรวจ ให้ถวายคำนับโดยก้มศีรษะลงช้า ๆ ต่ำพอสมควรกระทำครั้งเดียวแล้วยืนตรง ถ้าเป็นพยาบาล ที่แม้จะสวมหมวกให้ย่อเข่าที่เรียกกันทั่วไปว่า ?ถอนสายบัว? ตามแบบข้าราชการฝ่ายในสำนักพระราชวัง


? ? ? ? ? ? ? ?บุคคลทั่วไปที่มีโอกาสได้เฝ้าฯ แต่มิได้แต่งเครื่องแบบ ชายให้ถวายคำนับ หญิงถวายความเคารพแบบย่อเข่าที่เรียกว่าถอนสายบัว ในกรณีต่างจังหวัด ชนบทพสกนิกร
ประชาชนจะยกมือประนม ก้มศีรษะไหว้แบบไทยก็ได้ทั้งชาย หญิง ถ้าสวมหมวกที่มิใช่เครื่องแบบที่ทางราชการกำหนด ให้ถอดหมวก แล้วถวายความเคารพเหมือนผู้ที่ไม่ได้
แต่งเครื่องแบบ ยกเว้นผู้ที่โพกผ้าหรือสวมหมวกตามลัทธิศาสนาของตน

? ? ? ? ? ? ? ?๓.๒ การยืนเฝ้าฯ รับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถฯ สมเด็จพระบรมวงศ์
? ? ? ? ? ? ? ?ให้ยืนถวายความเคารพตามข้อ ๓.๑ แล้วยืนตรงจนกว่าจะเสด็จฯ เลยไป เมื่อประทับพระราชอาสน์ หรือพระเก้าอี้เรียบร้อยแล้ว ถวายความเคารพอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงเคลื่อนที่
ได้และลงนั่งเก้าอี้ตามลำดับตำแหน่ง

? ? ? ? ? ? ? ?ในกรณีที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจงานพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น เสด็จฯ ไปทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย หรือพระราชทานพระบรมราโชวาท
ให้ยืนตรงจนกว่าทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนั้นเสร็จ ประทับพระราชอาสน์ หรือพระเก้าอี้แล้ว จึงถวายความเคารพแล้วนั่งลง

? ? ? ? ? ? ? ?ผู้ที่นั่งเฝ้าฯ อยู่ในงานพิธีการต่างๆ เมื่อมีกิจจำเป็นจะต้องไปจากที่นั้น ให้ยืนถวายความเคารพก่อนแล้วจึงออกไป เมื่อกลับมาต้องถวายความเคารพอีกครั้งแล้วจึงนั่งลง

? ? ? ? ? ? ? ?ในกรณีการเฝ้า ฯ ที่ไม่ได้จัดให้นั่งเก้าอี้เฝ้าฯ เช่น งานสโมสรสันนิบาต งานเสด็จออกมหาสมาคม ผู้เฝ้า ฯ จะต้องยืนตลอดเวลาจนกว่าจะเสด็จ ฯ กลับ

? ? ? ? ? ? ? ?๓.๓ การยืนเคารพในพิธีที่มีการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลงเพื่อถวายความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถฯ สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร หรือผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้แทนพระองค์

? ? ? ? ? ? ? ?การยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในกรณีที่มิได้อยู่ในที่เฝ้าฯ เช่น เมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลงเป็นการเปิดหรือปิดงาน หรือเมื่อมหรสพเริ่มหรือเลิก
ควรทำความเคารพด้วยการยืนตรง เมื่อเพลงจบให้คำนับโดยก้มศีรษะ ทั้งชายและ หญิง




? ? ? ? ? ๔. การยืนในพิธีต่างๆ

? ? ? ? ? ? ? ?๔.๑ การยืนเคารพในพิธีที่มีการบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ และเพลงมหาชัย
? ? ? ? ? ? ? ?เพลงมหาฤกษ์ ใช้บรรเลงในการเปิดงานที่เป็นพิธีใหญ่ เช่น พิธีเปิดสถานทำการของรัฐบาล พิธีเปิดทางคมนาคมที่สำคัญๆ และงานที่เป็นมงคลทั่วไป

? ? ? ? ? ? ? ?ใช้บรรเลงต้อนรับประธานของงานผู้มีเกียรติสูง นับตั้งแต่สมเด็จพระบรมราชกุมาร พระบรมวงศานุวงศ์ นายกรัฐมนตรี หรือเมื่อผู้เป็นประธานของงานกล่าวคำปราศัยจบ
ก็จะบรรเลงเพลงมหาชัยเป็นพิเศษหรือบรรเลงในงานรับรองบุคคลสำคัญ งานสโมสรสันนิบาต เป็นต้น

? ? ? ? ? ? ? ?เมื่อได้ยินเพลงมหาฤกษ์ หรือเพลงมหาชัย บรรเลง ให้ยืนตรงจนกว่าจะจบเพลง ในกรณีที่เป็นพิธีของทางราชการ ผู้ที่เป็นทหารหรือข้าราชการพลเรือน ที่อยู่ในเครื่องแบบ
ให้ปฏิบัติตามระเบียบของราชการทหาร หรือราชการพลเรือนแล้วแต่กรณี

? ? ? ? ? ? ? ?๔.๒ การยืนเคารพในพิธีให้เกียรติแก่ผู้ล่วงลับ ให้ยืนแสดงความเคารพเมื่อได้ยินเสียงแตรเดี่ยว เป่าเพลงนอน หรือเมื่อประธานวางเครื่องขมาหรือจุดเพลิงเผาศพ
ไม่ว่าจะมีเพลงประโคมหรือไม่ก็ตาม และเมื่อการเชิญศพผ่านให้ยืนตรงแสดงความเคารพด้วย

? ? ? ? ? ? ? ?๔.๓ การยืนเมื่อประธานในพิธีเดินผ่าน ทุกคนในที่นั้นลุกขึ้นยืนตรงหันหน้าไปทางประธานที่กำลังเดินผ่าน ปล่อยมือไว้ข้างตัว

? ? ? ? ? ? ? ?๔.๔การยืนฟังโอวาท ให้ยืนตรง ชิดเท้า ปล่อยมือไว้ข้างตัว หันหน้าไปทางผู้ให้โอวาท ยกเว้นในกรณีที่ถือประกาศนียบัตร หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฯลฯ อยู่ ถ้าถือมือเดียว
ให้ถือด้วยมือขวาแนบไว้กับอกหรือระดับตั้งฉากกับลำตัว แล้วแต่ทางพิธีจะกำหนด ถ้าถือสองมือให้ถือระดับตั้งฉากกับลำตัว

? ? ? ? ? ? ? ?๔.๕การยืนกล่าวคำปฏิญาณ โอกาสที่กล่าวคำปฏิญาณ เช่น กล่าวคำปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพล ถวายสัตย์ปฏิญาณ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ยืนตรง ชิดเท้า
หันหน้าไปทางธงหรือพระองค์ท่าน กล่าวคำปฏิญาณของครู นักเรียน และกลุ่มบุคคลต่างๆ อาทิ ไทยอาสาป้องกันชาติ ลูกเสือ เนตรนารี ให้ผู้ที่กล่าวคำปฏิญาณปฏิบัติตามพิธีที่กำหนดไว้
ของสถาบันนั้นๆ

 
? ? ? ? ? ๕. การยืนที่ไม่เป็นพิธี

? ? ? ? ? ? ? ?๕.๑ การยืนรับคำสั่ง ให้ยืนตรง ชิดเท้า หน้าตรง ปล่อยมือไว้ข้างตัว


? ? ? ? ? ? ? ?๕.๒ การยืนให้เกียรติผู้ใหญ่ การยืนลักษณะนี้ใช้เมื่อเรานั่งสนทนากันอยู่แล้วมีผู้ใหญ่เดินเข้ามาหรืออยู่ร่วมสนทนาด้วย ให้ลุกขึ้นยืนตรง มือประสานกันอยู่ระดับเอว
ค้อมตัวเล็กน้อย รอจนผู้ใหญ่นั่งลงแล้วจึงนั่งลง

? ? ? ? ? ? ? ?๕.๓ การยืนสนทนากับผู้ใหญ่ ให้ยืนตรง ชิดเท้า ค้อมตัวเล็กน้อย มือประสานกันอยู่ระดับเอว ไม่ควรยืนชิดหรือห่างผู้ใหญ่จนเกินไป

? ? ? ? ? ? ? ?๕.๔ การยืนคุยกับเพื่อน การยืนพักผ่อน และการยืนดูมหรสพ ควรยืนในลักษณะสุภาพ ไม่ก่อความรำคาญหรือเกะกะกีดขวางผู้อื่น เช่น ยืนพูดข้ามศีรษะ หรือยืนบังผู้อื่น
ในการยืนดูมหรสพหรือขบวนแห่ เป็นต้น

? ? ? ? ? ? ? ?๕.๕ การยืนเข้าแถวคอย ลักษณะการยืนเช่นเดียวกับข้อ ๕.๔ แต่จะต้องเข้าแถวให้เป็นระเบียบ เรียงลำดับก่อนหลัง ไม่ควรแย่งกัน เช่นการยืนตามลำดับก่อนหลัง
ในการเตรียมขึ้นรถโดยสาร ในการขึ้นเผาศพ ในการรดน้ำอวยพรคู่บ่าวสาว และในการตักอาหารแบบช่วยตัวเอง

? ? ? ? ? ? ? ?๕.๖ การยืนปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่การยืนประกาศ ยืนบรรยาย หรือยืนแสดงปาฐกถา ฯลฯ ควรยืนในลักษณะสุภาพ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ก.ย. 2550, 04:10:31 โดย เว็บ... »

ออฟไลน์ เว็บมาสเตอร์...

  • ผู้ดูแลระบบ
  • *****
  • กระทู้: 571
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • www.bp.or.th
ตอบ: มารยาทไทย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 28 ก.ย. 2550, 05:54:09 »
การเดิน

การเดินโดยคำนึงถึงมารยาท อาจจัดเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้คือ
? ? ? ? ? ๑ . การเดินในกรณีที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์
? ? ? ? ? ๒. การเดินในพิธีทางศาสนา
? ? ? ? ? ๓. การเดินในพิธีต่างๆ
? ? ? ? ? ๔. การเดินผ่านผู้ใหญ่
? ? ? ? ? ๕ . การเดินนำหรือเดินตามผู้ใหญ่
? ? ? ? ? ๖. การเดินโดยทั่วไป

 
? ? ? ? ? ?๑. การเดินในกรณีที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์


? ? ? ? ? ? ? ?๑.๑ การเดินนำเสด็จฯ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ๑.๑.๑ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ หรือ สมเด็จพระบรมวงศ์ เสด็จฯมาถึง ประธานจัดงานหรือเจ้าภาพที่คอยรับเสด็จฯ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ถวายความเคารพกราบบังคมทูลแล้วถวายรายงานในโอกาสนี้จะเบิกผู้ที่สมควรเข้าเฝ้าด้วยก็ได้ แล้วจึงเดินนำเสด็จฯ ไปยังสถานที่ที่กำหนด โดยปฏิบัติดังนี้

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?เดินเยื้องไปข้างหน้าไว้ระยะห่างพอสมควร จะอยู่ด้านใดแล้วแต่สถานที่จะอำนวย แต่โดยปกติผู้นำเสด็จจะอยู่ด้านซ้ายของพระองค์ท่าน
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ในการเสด็จพระราชดำเนินบนลาดพระบาทผู้นำเสด็จต้องไม่เดินบนลาดพระบาท

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ขณะที่เดิน ผู้นำเสด็จจะต้องเดินในลักษณะสำรวม เมื่อถึงที่ประทับผู้นำเสด็จถวายความเคารพ ก่อนที่จะถอยออกไป ผู้นำเสด็จถวายความเคารพอีกครั้งหนึ่ง
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? และเมื่อจะนั่งที่ต้องถวายความเคารพอีกครั้งหนึ่ง

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?หมายเหตุ การถวายความเคารพนั้น ให้ผู้นำเสด็จปฏิบัติตามความเหมาะสมแก่เครื่องแบบและเพศของตน

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ๑.๑.๒. ในกรณีที่ผู้นำเสด็จต้องกราบบังคมทูลถวายคำอธิบายให้ทรงทราบเรื่องเกี่ยวกับสถานที่หรือการแสดงควรปฏิบัติดังนี้



? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?เดินเยื้องไปข้างหน้าระยะห่างพอสมควร พอได้ยินพระราชกระแสและกราบบังคมทูลชี้แจงในเรื่องที่ตรัสถาม ผู้นำเสด็จจะอยู่ด้านใดแล้วแต่สถานที่
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? จะอำนวย แต่โดยปกติจะอยู่ด้านซ้ายของพระองค์ท่านในการนี้ผู้นำเสด็จควรศึกษาเรื่องราวมาล่วงหน้า หรือกราบบังคมทูลเบิกตัวผู้ใดผู้หนึ่งที่มีความรู้ในเรื่องนี้
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ให้ถวายคำอธิบาย

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ผู้นำเสด็จจะต้องเดินในลักษณะสำรวม ไม่เดินเสมอพระองค์ท่าน


? ? ? ? ? ? ? ?๑.๒ การเดินตามเสด็จ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? การเดินตามเสด็จ ทั้งชายและหญิงให้เดินเบื้องหลังพระองค์ท่าน ในลักษณะสำรวมไม่ยิ้มหัว ทักทายหรือทำความเคารพผู้อื่น ถ้ามีลาดพระบาทผู้ที่เดินตามเสด็จ
ไม่ควรเดินบนลาดพระบาท


? ? ? ? ? ? ? ?๑.๓ การเดินในบริเวณที่ประทับ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? โดยปกติถ้าพระองค์ท่านประทับอยู่ ไม่ควรเดินผ่านที่ประทับเว้นแต่มีความจำเป็นก็ต้องเดินอย่างสำรวมระวังที่สุด

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ๑.๓.๑ การเดินผ่านหน้าหรือหลังที่ประทับต้องอยู่ในระยะห่างและพึงกระทำในกรณีที่จำเป็นที่สุด โดยถวายความเคารพดังนี้

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? - ลุกจากที่นั่ง
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? - ผ่านที่ประทับ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? - กลับเข้าที่ก่อนนั่งลง

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ๑.๓.๒ การเดินไปทำธุรกิจใดๆ ในบริเวณที่เฝ้าเช่น ยก หรือเลื่อนสิ่งของ พึงถวายความเคารพตามลำดับดังนี้:

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? - ลุกจากที่นั่ง
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? - ถึงที่จะทำกิจธุระ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? - ทำกิจธุระเสร็จแล้วจะกลับที่นั่งเดิม
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? - กลับเข้าที่แล้ว ก่อนนั่งลง

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ๑.๓.๓ การเดินขึ้นและลงเมรุเผาศพ พึงถวายความเคารพตามลำดับดังนี้:

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? - ลุกจากที่นั่ง
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? - ผ่านที่ประทับแล้วขึ้นเมรุ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? - ลงจากเมรุถึงพื้น
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? - ผ่านที่ประทับ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? - ก่อนนั่ง ณ ที่ของตน

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ทั้งสามกรณีดังกล่าว ผู้ปฏิบัติพึงระวังไม่หันหลังไปทางพระองค์ท่าน ยกเว้นเฉพาะผู้ยืนถวายอารักขาเท่านั้น

 
 
? ? ? ? ? ?๒. การเดินในพิธีทางศาสนา

? ? ? ? ? ?การเดินเวียนเทียนหรือทำประทักษิณ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาหรือในโอกาสอื่นเพื่อแสดงคารวะต่อพระรัตนตรัย ปูชนียวัตถุ หรือปูชนียสถาน เดินเวียนขวา ๓ รอบ
โดยให้มีปูชนียวัตถุ หรือปูชนียสถานอยู่ทางขวามือของผู้เดิน และพึงปฏิบัติดังนี้

? ? ? ? ? ? ? ?๒.๑ เดินประนมมือโดยมีดอกไม้ ธูปเทียนพร้อม (ในถิ่นกันดารหาดอกไม้ ธูปเทียนยากจะเพียงประนมมือก็ได้)
? ? ? ? ? ? ? ?๒.๒ ขณะเดินควรระมัดระวังอย่าให้ธูปเทียนที่จุดไฟอยู่ไปถูกผู้อื่น
? ? ? ? ? ? ? ?๒.๓ ขณะเดินควรระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ที่แนะไว้นี้พอเป็นแนวปฏิบัติ แต่ถ้าผู้ใดจะบำเพ็ญจิตภาวนากำหนดกรรมฐานอย่างอื่น
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?หรือ พระไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ได้)


? ? ? ? ? ?๓ .การเดินในพิธีต่างๆ

? ? ? ? ? ? ? ?๓.๑ การเดินตามศพเวียนเมรุ ให้เดินในลักษณะสำรวม เดินเวียนซ้าย ๓ รอบ โดยให้เมรุอยู่ทางซ้ายของผู้เดิน
? ? ? ? ? ? ? ?๓.๒ การเดินขึ้นและลงเมรุเผาศพ ให้เดินเรียงแถวตามลำดับอย่างมีระเบียบ ไม่แย่งกันชึ้นหรือลงรวมทั้งไม่แย่งกันรับของที่ระลึก
? ? ? ? ? ? ? ?๓ .๓ การเดินในขบวนแห่ ได้แก่ขบวนแห่ในพิธีต่างๆ เช่น แห่องค์กฐิน แห่เทียนพรรษา และแห่พระศพ ฯลฯ ให้เดินอย่างมีระเบียบและถูกต้องตาม กฎจราจร
? ? ? ? ? ? ? ?๓.๔ การเดินเข้า ? ออกระหว่างการประชุม โดยมารยาททั่วไป ผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินเข้าหรือออกระหว่างที่กำลังมีการประชุม ควรแสดงความเคารพ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ประธานของที่ประชุมทุกครั้งด้วยการไหว้หรือคำนับเมื่อลุกจากที่นั่ง และเมื่อเข้าสู่ที่ประชุม



? ? ? ? ? ?๔. การเดินผ่านผู้ใหญ่
? ? ? ? ? ? ? ? ขณะที่ผ่านผู้ใหญ่ไม่ควรเดินลงส้น หรือ มีเสียงดัง และต้องผ่านในระยะห่างพอสมควร

? ? ? ? ? ? ? ?๔.๑ ขณะผู้ใหญ่ยืน ทั้งชายและหญิงให้เดินผ่านในลักษณะสำรวม ปล่อยมือไว้ข้างตัวและค้อมตัวเมื่อใกล้ถึงผู้ใหญ่



? ? ? ? ? ? ? ?๔.๒ ขณะผู้ใหญ่นั่งเก้าอี้ ทั้งชายและหญิงให้เดินผ่านในลักษณะสำรวม ปล่อยมือไว้ข้างตัว ค้อมตัวพร้อมกับย่อเข่าเมื่อใกล้ถึงผู้ใหญ่นั่งเก้าอี้อยู่ แต่ถ้าเป็นในบ้านอาจจะใช้วิธี
เดินเข่าก็ได้



? ? ? ? ? ? ? ?๔.๓ ขณะผู้ใหญ่นั่งหรือนอนกับพื้น ทั้งชายและหญิงให้เดินผ่านในลักษณะสำรวมเมื่อถึงที่ผู้ใหญ่นั่งอยู่ให้ทรุดตัวลงเดินเข่า เมื่อผ่านผู้ใหญ่ไปแล้วค่อยลุกขึ้นเดิน


? ? ? ? ? ? ? ?วิธีเดินเข่า ให้คุกเข่าปลายเท้าตั้ง แล้วค่อยสืบเข่าออกทีละข้างเหมือนกับการเดินและค้อมตัวลงเล็กน้อยเมื่อใกล้จะถึงผู้ใหญ่

? ? ? ? ? ? ? ?๕. การเดินนำหรือเดินตามผู้ใหญ่


? ? ? ? ? ? ? ?๕.๑ การเดินนำ เดินระยะห่างพอสมควร จะอยู่ด้านใดแล้วแต่สถานที่จะอำนวย แต่โดยปกติผู้เดินจะอยู่ทางซ้ายของผู้ใหญ่ เดินลักษณะสำรวม

? ? ? ? ? ? ? ?๕ .๒ การเดินตาม เดินเบื้องหลังเยื้องไปทางซ้ายของผู้ใหญ่เดินลักษณะสำรวมระยะห่างพอสมควร



(การเดินตามผู้ใหญ่)


? ? ? ? ? ?๖. การเดินโดยทั่วไป
? ? ? ? ? ?หมายถึง การเดินที่ไม่เกี่ยวกับพิธี ได้แก่ เดินการกุศล เดินในที่สาธารณะ เดินกับเพื่อน เดินตามถนน เดินข้ามถนน ถ้าเดินในที่สาธารณะหรือเดินกับเพื่อน
ให้เดินโดยไม่กีดขวางทาง หรือก่อความรำคาญแก่ผู้อื่น ถ้าเดินตามถนนให้เดินบนทางเท้า เมื่อจะข้ามถนนให้ปฏิบัติตามกฎจราจร ควรใช้สะพานลอยหรือทางข้าม (ทางม้าลาย)
แม้การเดินในทางข้ามก็ควรระมัดระวังพอสมควร

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ก.ย. 2550, 06:05:34 โดย เว็บ... »

ออฟไลน์ เว็บมาสเตอร์...

  • ผู้ดูแลระบบ
  • *****
  • กระทู้: 571
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • www.bp.or.th
ตอบ: มารยาทไทย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 29 ก.ย. 2550, 12:27:47 »
การนั่ง


การนั่งโดยคำนึงถึงมารยาท อาจจัดเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
? ? ? ? ? ๑. การนั่งพับเพียบ
? ? ? ? ? ๒. การนั่งขัดสมาธิ
? ? ? ? ? ๓. การนั่งหมอบ
? ? ? ? ? ๔. การนั่งคุกเข่า
? ? ? ? ? ๕. การนั่งเก้าอี้
? ? ? ? ? ๖. การนั่งเล่นหรือนั่งพักผ่อน

 

? ? ? ? ? ๑. การนั่งพับเพียบ คือการนั่งราบกับพื้น พับขา ให้ขาขวา ทับขาซ้าย หรือขาซ้ายทับขาขวา อาจแบ่งออกได้เป็น ๔ อย่าง ดังต่อไปนี้

? ? ? ? ? ? ? ?๑.๑ การนั่งพับเพียบธรรมดา คือ การนั่งพับเพียบวางมือไว้บนหน้าขา หรือเอามือท้าวพื้นก็ได้ โดยให้ปลายนิ้วมือเหยียดไปข้างหน้า ถ้านั่งขาขวาทับขาซ้ายให้ใช้มือซ้ายท้าว
พื้นถ้านั่งขาซ้ายทับขาขวาให้ใช้มือขวาท้าวพื้นอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่สะดวกและเหมะสม ลักษณะนี้ใช้ในการนั่งสนทนากับเพื่อนหรือนั่งอยู่ตามลำพัง


การนั่งพับเพียบธรรมดา

? ? ? ? ? ? ? ?๑.๒ การนั่งพับเพียบต่อหน้าผู้ใหญ่ อาจนั่งท่าใดท่าหนึ่งตามความเหมาะสม แต่ไม่ควรท้าวแขน สายตาทอดลงเล็กน้อย และไม่จ้องตาผู้ใหญ่จนเสียกิริยา การนั่งลักษณะนี้
ใช้ได้ทั้งชายและหญิง คือ


การนั่งพับเพียบต่อหน้าผู้ใหญ่

นั่งพับเพียบตัวตรง? ? ? ? ?? ? ? ? ?? ? ? ?? ? ? ? ? ? ?? ? ?? ? ? ? ? ? ?นั่งพับเพียบค้อมตัว
?

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๑.๒.๑ นั่งพับเพียบ ตัวตรง เก็บปลายเท้าโดยเบนปลายเท้าเข้าหาสะโพก มือทั้งสองข้างประสานกันวางไว้บนหน้าขา ถ้านั่งพับเพียบขาขวาทับขาซ้าย
วางมือที่ประสานบนหน้าขาซ้าย ถ้านั่งพับเพียบขาซ้ายทับขาขวาวางมือที่ประสานบนหน้าขาขวา หรือบริเวณหน้าขาจุดใดจุดหนึ่งที่เหมาะสมและสวยงาม


? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?วิธีประสานมือ ให้ปฏิบัติในอาการที่สำรวม อาจใช้อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ใช้มือซ้ายหงาย มือขวาคว่ำทับ หรือมือขวาหงายมือซ้ายคว่ำทับ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ใช้มือทั้งสองคว่ำทับกัน จะเป็นมือใดทับมือใดก็ได้
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?สอดนิ้วระหว่างช่องนิ้วของแต่ละมือ คล้ายการประนมมืออย่างหลวมๆ


? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ถ้าเป็นการเข้าพบผู้ใหญ่เพื่อนำของไปให้ หรือเมื่อสนทนากับผู้ใหญ่แล้วผู้ใหญ่ให้ของ ควรจะนั่งพับเพียบขาขวาทับขาซ้าย เพื่อสะดวกในการ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?รับของจากผู้ใหญ่เพราะเราจะส่งของหรือรับของกันด้วยมือขวา


? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๑.๒.๒ นั่งพับเพียบค้อมตัวเก็บปลายเท้า วางแขนทั้งสองข้างลงบนหน้าขา มือประสานกันอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ ๑.๒.๑


? ? ? ? ? ? ? ?๑.๓ การนั่งพับเพียบประนมมือ คือ การนั่งพับเพียบโดยประนมมือให้นิ้วมือแนบชิดกัน ฝ่ามือราบปลายนิ้วตั้งขึ้น แขนแนบ
ตัวระดับอก ไม่กางศอก การนั่งลักษณะนี้ใช้ในโอกาสที่นั่งฟังพระเทศน์ ฟังพระสวดมนต์ เมื่อตนเองสวดมนต์รับฟังโอวาท หรือรับพรจากผู้ใหญ่ ใช้ได้ทั้งชายและหญิง


? ? ? ? ? ? ? ?๑.๔ การนั่งพับเพียบในพิธีการ คือ การนั่งพับเพียบในอาการสำรวมตลอดเวลา

? ? ? ? ? ? ? ?หมายเหตุ ขณะที่นั่งพับเพียบดังกล่าวตามข้อ ๑.๒.๑ และ ๑.๔ ข้างต้น ไม่ควรพูดคุยหรือส่งเสียงดังถ้านั่งนานและประสงค์จะเปลี่ยนท่านั่ง ให้ใช้มือทั้งสองข้างท้าวพื้นหรือเข่า ปล่อยนิ้วมือ เหยียดไปข้างหน้า กดเข่าทั้งสองกับพื้นแล้วเปลี่ยนท่านั่งตามสะดวก



? ? ? ? ? ๒. การนั่งขัดสมาธิ (สะหมาด) คือ การนั่งตามสบายอย่างหนึ่งและการนั่งแบบทำสมาธิ

? ? ? ? ? ? ? ?การนั่งขัดสมาธิธรรมดา คือ การนั่งบนพื้น คู้เข่าทังสองข้างหาตัว แนบขาลงกับพื้น โดยให้ขาข้างหนึ่งช้อนทับอยู่บนอีกข้างหนึ่ง ส้นเท้าทั้งสองข้างจะสัมผัสกับขา เป็นอิริยาบถที่ใช้นั่งตามลำพังสบายๆ หรือ สำหรับชายนั่งกับพื้นรับประทานอาหาร


? ? ? ? ? ? ? ?การนั่งขัดสมาธิที่ใช้ในทางศาสนา มี ๒ แบบ คือ การนั่งขัดสมาธิราบ และการนั่งขัดสมาธิเพชร

? ? ? ? ? ? ? ?การนั่งขัดสมาธิราบ คือ การนั่งขัดสมาธิสองชั้น โดยเอาขาซ้อนทับกัน เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วหัวแม่มือจรดกัน ตั้งกายส่วนบนให้ตรง การนั่งขัดสมาธิราบนี้ ใช้นั่งในการเจริญภาวนาทำจิตใจให้สงบ ซึ่งเป็นการปฏิบัติกรรมฐานเมื่อนั่งแบบนี้จะมีผลให้เนื้อหนังและเอ็นไม่ขด แม้นั่งนานทุกขเวทนาก็จะไม่บังเกิดขึ้น การบำเพ็ญภาวนา
ทางจิตใจจะได้ผล


? ? ? ? ? ? ? ?การนั่งขัดสมาธิเพชร คือ การนั่งขัดสมาธิโดยคู้เข่าทั้งสองข้าง เอาฝ่าเท้าทั้งสองขัดหรือไขว้ขึ้นวางบนหน้าขา ท่านั่งขัดสมาธิแบบนี้ต้องใช้การฝึกหัดให้เกิดความชำนาญ โดยการหัดนั่งขัดสมาธิราบ หรือขัดสมาธิสองชั้นได้ชำนาญแล้ว

? ? ? ? ? ? ? ?วิธีฝึกหัด ให้นั่งลงบนพื้น ปล่อยให้ขาพักอยู่ตรงหน้าแล้วจึงค่อยดึงขาซ้ายงอมุมฉากกับร่างกาย ใช้ส้นเท้าซ้ายนั้นพักอยู่บนพื้น แล้วจับเท้าขวาขึ้นวาง บนต้นขาซ้าย ให้ส้นเท้าขวาชิดกับหน้าขา อย่าให้เท้าขวาเป็นที่ทรมานหรืออืดอัด ขยับเข่าซ้ายที่งออยู่ให้เข้ามาชิดตัว ยกข้อเท้าซ้ายขึ้นแล้ววางหลังมือซ้ายลงบนต้นขาขวา ให้ส้นเท้าจรดกับหน้าขาขวาเมื่อขัดสมาธิแบบนี้ได้แล้วยืดกายท่อนบนให้ตรงแบบนั่งขัดสมาธิราบ นั่งขัดสมาธิแบบนี้เรียกว่า ?ขัดสมาธิเพชร? หรือเรียกว่า ?นั่งท่าดอกบัว?(ปัทมาสนะ) ใช้นั่งบริกรรมภาวนา หรือ ปฏิบัติโยคะ
 


? ? ? ? ? ๓.การนั่งหมอบ?
? ? ? ? ? ? ? ?การนั่งหมอบ นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้า หมอบลงไปให้ศอกข้างใดข้างหนึ่งลงถึงพื้น ถ้าขาใดแนบพื้นก็ให้ศอกข้างนั้นลงถึงพื้นด้วย มือประสานกัน ไม่ก้มหน้า สายตาทอดลงต่ำ การนั่งลักษณะนี้ใช้ได้ทั้งชาย หญิงเมื่อเข้าเฝ้า หรือรอรับเสด็จแบบไทย


การนั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง (แบบเทพบุตร)
?

? ? ? ? ? ๔. การนั่งคุกเข่า คือการนั่งย่อเข่าลงให้ติดพื้นมี ๔ แบบดังนี้คือ

? ? ? ? ? ? ? ?๔.๑ การนั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่งตัวตรง ปลายเท้าตั้ง นั่งลงบนส้นเท้า มือทั้งสองข้างคว่ำบนหน้าขาทั้งสองข้าง (แบบเทพบุตร) การนั่งลักษณะนี้ใช้นั่งเมื่อผู้ชายจะกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์ หรือ ใช้นั่งในท่าถวายบังคมทั้งชายและหญิง

การนั่งคุกเข่าปลายเท้าราบ (แบบเทพธิดา)


? ? ? ? ? ? ? ?๔.๒ การนั่งคุกเข่าปลายเท้าราบ นั่งตัวตรง ปลายเท้าราบ นั่งลงบนฝ่าเท้า มือทั้งสองข้างวางคว่ำบนหน้าขาทั้งสองข้าง (แบบเทพธิดา) การนั่งลักษณะนี้ใช้นั่งเมื่อผู้หญิงจะกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์

การนั่งคุกเข่าประนมมือ
?

? ? ? ? ? ? ? ?๔.๓ การนั่งคุกเข่าประนมมือ คือ การนั่งคุกเข่าแบบเทพบุตร หรือ นั่งคุกเข่าแบบเทพธิดา ให้นิ้วมือแนบชิดกัน ไม่กางศอก การนั่งลักษณะนี้ใช้เมื่อกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์ ในจังหวะที่ ๑ ของชายและหญิง การนั่งคุกเข่าประนมมืออีกวิธีหนึ่งคือ การนั่งคุกเข่าแบบเทพบุตร โดยประนมมือเหนืออกให้นิ้วมือแนบชิดกัน ไม่กางศอก ใช้ได้ทั้งหญิงและชาย เมื่อถวายบังคมในจังหวะที่ ๑

? ? ? ? ? ? ? ?๔.๔ การนั่งคุกเข่าแบบลูกเสือ (ถวายราชสดุดี) คือการนั่งคุกเข่าตามแบบลูกเสือที่ปฏิบัติอยู่ เมื่อประธานมีคำสั่งให้ถวายราชสดุดี แล้วก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าครึ่งก้าว คุกเข่าลงตั้งเข่าซ้าย นั่งลงบนส้นเท้าขวา มือขวาแบคว่ำลงบนเข่าขวา แขนซ้ายวางพาดบนเข่าซ้ายเอียงไปทางขวาเล็กน้อย เมื่อร้องเพลง
ราชสดุดีให้ก้มหน้าเล็กน้อย และให้เงยหน้าขึ้นตามเดิมเมื่อเพลงจบ (ถ้าถือหมวกอยู่ด้วยให้ปฏิบัติตามคู่มือระเบียบแถวของสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ)


? ? ? ? ? ๕. การนั่งเก้าอี้

? ? ? ? ? ? ? ?๕.๑ การนั่งเก้าอี้โดยทั่วไป คือ นั่งตามสบาย ถ้าเป็นเก้าอี้ที่มีเท้าแขนจะเอาแขนวางพาดก็ได้ ไม่ควรนั่งโยกเก้าอี้ นั่งได้ทั้งชายและหญิง เมื่อสนทนาอยู่กับเพื่อนหรือนั่งในที่ต่างๆ ที่ไม่เป็นพิธีการ


? ? ? ? ? ? ? ?๕.๒ การนั่งเก้าอี้ต่อหน้าผู้ใหญ่ เป็นการนั่งโดยสำรวมกิริยาและสายตาตามสมควร ไม่ก้มหน้า นั่งท่าใดท่าหนึ่งดังต่อไปนี้

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๕.๒.๑ นั่งเก้าอี้ตัวตรง หลังไม่พิงพนักเก้าอี้ มือทั้งสองข้างประสานกันวางบนหน้าขา


? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ในกรณีที่มีการสวดถวายอติเรกหรือถวายพระพรลา ผู้อยู่ในที่เฝ้าไม่ต้องประนมมือ เพราะเป็นการสวดถวายพระพรที่เจาะจงเฉพาะพระมหากษัตริย์ และ
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ


การนั่งเก้าอี้ต่อหน้าผู้ใหญ่อาวุโสไม่มาก? ? ?? ? ? ? ?? ? ? ?? ? ? ? ? ? ? ? ? ?? ?การพับเพียบต่อหน้าผู้ใหญ่
?

? ? ? ? ? ๖. การนั่งเล่นหรือนั่งพักผ่อน คือ การนั่งในกิริยาบถตามสบาย จะนั่งในลักษณะใดก็ได้ตามความพอใจ เช่น นั่งกับพื้น แต่เมื่อผู้ใหญ่ผ่านเข้ามาในที่นั้นควรนั่งสำรวม ไม่ไขว่ห้าง
ไม่กระดิกเท้าหรือเหยียดเท้าไปทางผู้ใหญ่

 
 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ก.ย. 2550, 06:51:15 โดย เว็บ... »

ออฟไลน์ เว็บมาสเตอร์...

  • ผู้ดูแลระบบ
  • *****
  • กระทู้: 571
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • www.bp.or.th
ตอบ: มารยาทไทย
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 29 ก.ย. 2550, 07:05:43 »
การนอน


? ? ? ? ? ? ? ? ? ?อันที่จริงเรื่องการนอนเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่น่าเกี่ยวข้องอะไรกับมารยาทหรือสังคม แต่บางกรณีในการเดินทางและนอนพักรวมกันเป็นกลุ่ม หรือการนอนที่อาจมีผู้เห็นอาการอันไม่ดีงามก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับมารยาทอยู่เหมือนกัน

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ในพระวินัย มีบทบัญญัติปรับอาบัติแก่พระภิกษุ ผู้นอนกลางวันโดยไม่ปิดประตู เพื่อป้องกันมิให้มีผู้เห็นกิริยาอาการอันไม่เหมาะสม

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?แม้ท่านสุนทรภู่ก็กล่าวไว้ในสุภาษิตสอนหญิงว่า


? ? ? ? ? ? ? ? ? ??แม้สมรจะไม่นอนที่เรือนไหน อย่าหลับใหลลืมกายจนสายสาง ใครเห็นเข้าเขาจะเล่านินทานาง ความกระจ่างออกกระจายเพราะกายตัว?

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?การนอนเป็นการพักผ่อนในลักษณะที่เอนร่างกายทอดราบลงไปบนที่นอน ซึ่งอาจอยู่บนเตียงหรือที่พื้นก็ได้ การนอนโดยคำนึงถึงมารยาทด้วยนั้น อาจจำแนกได้
เป็น ๔ ประการดังนี้? ? ? ? ? ? ? ? ? ?
? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๑. การนอนในที่เฉพาะส่วนตัว
? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๒. การนอนเมื่อไปพักบ้านผู้อื่น
? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๓. การนอนในยานพาหนะขณะเดินทาง
? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๔. การนอนเมื่อไปพักแรมเป็นหมู่คณะ


 

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?การนอนแต่ละลักษณะมีส่วนที่แตกต่างกันไปบ้างดังนี้
? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๑. การนอนในที่เฉพาะส่วนตัว

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?เมื่อนอนในที่เฉพาะส่วนตัว คนเราจะนอนอย่างไรก็ได้ตามความพอใจ แต่ก็ควรคำนึงถึงมารยาทและเรื่องต่างๆ บ้าง เช่น
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๑.๑ ใช้เสื้อผ้าหรือชุดนอนที่สวมสบาย ไม่ประเจิดประเจ้อ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๑.๒ ก่อนนอนควรไหว้พระสวดมนต์หรือแผ่เมตตา เพื่อให้นอนหลับอย่างมีสติและมีความสวัสดี ไม่ควรนอนเหยียดเท้าไปทางพระพุทธรูป หรือสิ่งที่พึงเคารพบูชา
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๑.๓ นอนในท่าที่ถูกสุขลักษณะ เช่น นอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าให้เหลื่อมกันเล็กน้อย เหยียดแขนและขาให้สบายตามธรรมชาติ การนอนท่านี้ช่วยมิให้นอนทับหัวใจ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?การนอนหงายก็ถือเป็นท่าที่ถูกสุขลักษณะเช่นกัน
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๑.๔ นอนให้เรียบร้อยตามสมควร ซึ่งรวมไปถึงการนอนอย่างสงบสำรวมระวังอันอาจช่วยมิให้นอนกัดฟัน และละเมอ เป็นต้น
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๑.๕ ไม่ควรทำความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อยู่ห้องใกล้เคียง หรือบ้านใกล้เคียง เช่น ทำเสียงดังเกินควรในยามวิกาล
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๑.๖? เมื่อตื่นนอนแล้ว ควรจัดเก็บเครื่องนอนให้เรียบร้อย และควรทำจิตใจให้ผ่องใสไม่หงุดหงิด


? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๒. การนอนเมื่อไปพักบ้านผู้อื่น

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ในกรณีที่ไปพักบ้านผู้อื่น หรือเพื่อนที่คุ้นเคยกัน แม้จะสนิทสนมกันก็ควรคำนึงถึงมารยาทที่พึงปฏิบัติอยู่บ้าง ผู้ไปพักบ้านผู้อื่นควรปฏิบัติเช่นเดียวกับการนอนใน
ที่เฉพาะส่วนตัว แต่ควรเน้นเป็นพิเศษในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้


? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๒.๑ ไม่ควรไปค้างบ้านผู้อื่นในยามดึกหรือกลับดึกโดยไม่มีเหตุอันจำเป็นเพราะเจ้าของบ้านจะเดือดร้อนในการเปิดประตูต้นรับ หรือให้ความสะดวกต่าง ๆ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๒.๒ ควรมีความเกรงใจ คำนึงถึงความต้องการของเจ้าของบ้าน ไม่ถือแต่ประโยชน์สุขส่วนตัว และไม่เรียกร้องขอความสะดวกสบายจากเจ้าของบ้านจนเกินควร เช่น
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ใช้ห้องน้ำ ห้องส้วมนานเกินไป ขอใช้บริการเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ซึ่งในบ้านมีจำนวนจำกัด
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๒.๓ ไม่ทำสิ่งใดอันจะเป็นการรบกวน หรือก่อความรำคาญให้แก่กันและกัน เช่นทำเสียงดังเป็นเหตุให้เจ้าของบ้านตกใจตื่น ชวนคุยโดยไม่คำนึงว่าอีกฝ่ายหนึ่งต้องการ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? จะพักผ่อน
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๒.๔ ควรขออนุญาตเจ้าของบ้านก่อนที่จะทำสิ่งใดอันเกี่ยวข้องกับเจ้าของบ้าน เช่น ขอพูดโทรศัพท์ ขอใช้รถ ฯลฯ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๒.๕ ควรช่วยรักษาความสะอาดตามสมควร ซึ่งถือเป็นมารยาทอันดี

? ? ? ? ? ?อนึ่ง ผู้ที่เป็นเจ้าของบ้านก็ควรอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาพักและมีความเกรงใจไม่ทำสิ่งใดอันอาจก่อความรำคาญและรบกวนผู้มาพักเช่นกัน


? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๓. การนอนในยานพาหนะขณะเดินทาง

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ผู้ที่เดินทางระยะไกล และต้องค้างคืนในยานพาหนะไม่ว่าจะเป็นรถโดยสารปรับอากาศ รถไฟ ฯลฯ จำเป็นต้องคำนึกถึงมารยาทที่พึงปฏิบัติบางประการ เช่น

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๓.๑ แต่งกายสุภาพ ไม่ปล่อยตัวตามสบาย อย่างที่เคยปฏิบัติเมื่ออยู่ในบ้านของตน
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๓.๒ ไม่ส่งเสียงคุยเอะอะ อันจะทำให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ที่ต้องการพักผ่อน
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๓.๓ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ก่อความรำคาญ หรือชวนพูดคุยโดยไม่คำนึงว่าเป็นเวลาอันเหมาะสมหรือไม่
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๓.๔ ไม่ใช้ที่นั่งหรือที่นอนเกินสิทธิที่ตนพึงมีได้
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๓.๕ หากประสงค์จะให้พนักงานบริการสิ่งใดเป็นพิเศษ ควรขอร้องอย่างสุภาพ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๓.๖ ในกรณีที่เดินทางโดยรถโดยสารปรับอากาศ ซึ่งสามารถปรับที่นั่งให้เอนนอนได้ควรหรับที่นั่งในเวลาอันควร โดยคำนึงถึงความต้องการของผู้นั่งข้างเคียงด้วย
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?เพราะอาจทำให้เขามิได้รับความสะดวก
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๓.๗ ในกรณีที่ค้างคืนในรถไฟ ซึ่งจัดให้มีที่นอนในรถ ควรปฏิบัติเป็นพิเศษในเรื่องต่อไปนี้
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ก. ควรรอให้พนักงานปูที่นอนทำงานของเขาตามลำดับก่อนหลังไม่เรียกร้อง ให้บริการตนเป็นพิเศษ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ข. ผู้ที่ขึ้นไปนอนชั้นบน ควรกล่าวคำขออภัยด้วยมารยาทอันดีต่อผู้นอนชั้นล่าง และถ้าไม่มีกิจจำเป็นก็ไม่ควรปีนขึ้นปีนลงบ่อยครั้ง
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ค. แม้จะมีม่านบังที่นอนไว้ ก็ควรนอนอย่างสงบเรียบร้อย


? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๔. การนอนเมื่อไปพักแรมเป็นหมู่คณะ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ในกรณีที่ไปพักแรมเป็นหมู่คณะ ที่พักอาจเป็นห้องโถงที่จัดไว้สำหรับคนจำนวนมาก ผู้พักอาศัยควรคำนึงถึงมารยาทที่พึงปฏิบัติระหว่างกันให้มากขึ้น เช่น
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๔.๑ ไม่แสวงหาความสะดวกสบายส่วนตัวจนลืมนึกถึงผู้อื่น
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๔.๒ ช่วยเหลืออำนวยความสะดวกแก่ผู้อื่นที่มาทีหลังในการจัดหาเครื่องใช้ในการนอนเป็นการแสดงน้ำใจต่อกันในยามจำเป็น
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๔.๓ ไม่ส่งเสียงคุยเอะอะหรือเดินเสียงดัง เป็นการก่อความรำคาญแก่ผู้ที่ต้องการพักผ่อน
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๔.๔ เมื่อมีผู้เจ็บป่วยต้องการความช่วยเหลือ ควรรีบช่วยด้วยความเต็มใจ เช่น แจ้งผู้ดูแลที่พักเพื่อให้การปฐมพยาบาลทันท่วงที
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๔.๕ ไม่เรียกร้องความสะดวกสบายเกินสิทธิที่แต่ละคนพึงมีพึงได้
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๔.๖ แสดงความขอบคุณผู้ให้ที่พักก่อนอำลาจากกันด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?๔.๗ ปฏิบัติตามระเบียบของเจ้าของสถานที่



ออฟไลน์ เว็บมาสเตอร์...

  • ผู้ดูแลระบบ
  • *****
  • กระทู้: 571
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • www.bp.or.th
ตอบ: มารยาทไทย
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 29 ก.ย. 2550, 04:49:19 »
การเคารพ

? ? ? ? ? รายละเอียดเกี่ยวกับการแสดงความเคารพเป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทยเป็นเรื่องแรก การแสดงความเคารพมีหลายลักษณะ เช่น การประนมมือ การไหว้ การกราบ
การคำนับ การถวายความเคารพ การที่จะแสดงความเคารพในลักษณะใดนั้น ต้องพิจารณาผู้ที่จะรับความเคารพด้วยว่าอยู่ในฐานะเช่นใด หรือในโอกาสใด แล้วจึงแสดงความเคารพ
ให้ถูกต้องและเหมาะสม การแสดงความเคารพแบ่งได้ดังนี้ คือ


? ? ? ? ? ๔.๑ การไหว้

? ? ? ? ? การปฏิบัติในท่าไหว้ประกอบด้วยกิริยา ๒ ส่วน คือ การประนมมือและการไหว้

? ? ? ? ? การประนมมือ (อัญชลี) เป็นการแสดงความเคารพ โดยการประนมมือให้นิ้วมือทั้งสองข้างชิดกัน ฝ่ามือทั้งสองประกบเสมอกันแนบหว่างอก ปลายนิ้วเฉียงขึ้นพอประมาณแขนแนบตัวไม่กางศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน การประนมมือนี้ใช้ในการสวดมนต์ ฟังพระสวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา ขณะสนทนากับ
พระสงฆ์ รับพรจากผู้ใหญ่ แสดงความเคารพผู้เสมอกัน และรับความเคารพจากผู้อ่อนอาวุโสกว่า เป็นต้น


? ? ? ? ? การไหว้ (วันทนา) เป็นการแสดงความเคารพ โดยการประนมมือแล้วยกมือทั้งสองขึ้นจรดใบหน้าให้เห็นว่าเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง การไหว้แบบไทย แบ่งออกเป็น ๓ แบบ ตามระดับของบุคคล

? ? ? ? ? ระดับที่ ๑ การไหว้พระ ได้แก่ การไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมทั้งปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วแนบส่วนบนของหน้าผาก

? ? ? ? ? ระดับที่ ๒ การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายจมูกปลายนิ้วแนบระหว่างคิ้ว

? ? ? ? ? ระดับที่ ๓ การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป ที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโสสูงกว่าเล็กน้อย โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วแนบ
ปลายจมูก


? ? ? ? ? อนึ่ง สำหรับหญิงการไหว้ทั้ง ๓ ระดับ อาจจะถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัดไปข้างหลังครึ่งก้าวแล้วย่อเข่าลงพอสมควรพร้อมกับยกมือขึ้นไหว้ก็ได้

? ? ? ? ? ๔.๒ การกราบ (อภิวาท) เป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง มี ๒ แบบ คือ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ๔.๒.๑ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ เป็นการใช้อวัยวะทั้ง ๕ คือ หน้าผาก ซึ่งเป็นตัวแทนของส่วนบนของร่างกาย มือและข้อศอกทั้ง ๒ เป็นตัวแทนส่วนกลางของร่างกายเข่าทั้ง ๒ ซึ่งเป็นตัวแทนส่วนล่างของร่างกายจรดพื้น การกราบมี ๓ จังหวะ คือ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ท่าเตรียม

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ชาย นั่งคุกเข่าตัวตรงปลายเท้าตั้ง ปลายเท้าและส้นเท้าชิดกัน นั่งบนส้นเท้า เข่าทั้งสองห่างกันพอประมาณ มือทั้งสองวางคว่ำบนหน้าขา ทั้งสองข้าง
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?? ? ?? ?นิ้วชิดกัน (ท่าเทพบุตร)


? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? หญิง นั่งคุกเข่าตัวตรง ปลายเท้าราบ เข่าถึงปลายเท้าชิดกัน นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางคว่ำบนหน้าขา ทั้งสองข้าง นิ้วชิดกัน (ท่าเทพธิดา)

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ท่ากราบ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? จังหวะที่ ๑ (อัญชลี) ยกมือขึ้นในท่าประนมมือ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? จังหวะที่ ๒ (วันทนา) ยกมือขึ้นไหว้ตามระดับที่ ๑ การไหว้พระ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? จังหวะที่ ๓ (อภิวาท) ทอดมือทั้งสองลงพร้อม ๆ กัน ให้มือและแขนทั้งสองข้างราบกับพื้น? คว่ำมือห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือได้

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ชาย ศอกทั้งสองข้างต่อจากเข่าราบไปกับพื้น หลังไม่โก่ง

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? หญิง ศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็กน้อย ราบไปกับพื้น หลังไม่โก่ง จากนั้นก้มศีรษะลงให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือทั้งสอง

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ทำสามจังหวะให้ครบ ๓ ครั้ง แล้วยกมือขึ้นไหว้ในท่าไหว้พระ แล้ววางมือคว่ำลงบนหน้าขาในท่าเตรียมกราบ จากนั้นให้เปลี่ยนอิริยาบถตามความเหมาะสม?

? ? ? ? ? ? ? ? ? ๔.๒.๒ การกราบผู้ใหญ่ กราบผู้ใหญ่ที่มีอาวุโสรวมทั้งผู้มีพระคุณ ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพ ผู้กราบทั้งชายและหญิงนั่งพับเพียบทอดมือทั้งสองข้างลงพร้อมกันให้แขนทั้งสองคร่อมเข่าที่อยู่ด้านล่างเพียงเข่าเดียว มือประนมตั้งกับพื้นไม่แบมือ ค้อมตัวลงให้หน้าผากแตะส่วนบนของมือที่ประนม ในขณะกราบไม่กระดกนิ้วมือขึ้นรับหน้าผาก กราบเพียงครั้งเดียว จากนั้นให้เปลี่ยนอิริยาบถโดยการนั่งสำรวมประสานมือ จากนั้นเดินเข่าถอยหลังพอประมาณแล้วลุกขึ้นจากไป

? ? ? ? ? ๔.๓ การคำนับ

? ? ? ? ? เป็นการแสดงเคารพแบบสากล ในกรณีที่ไม่ไหว้หรือกราบ ให้ยืนตัวตรง ส้นเท้าชิดกัน ปลายเท้าห่างกันเล็กน้อย มือปล่อยไว้ข้างลำตัว ปลายนิ้วกลางแตะตะเข็บกางเกงหรือกระโปรงด้านข้าง ค้อมช่วงไหล่และศีรษะลงเล็กน้อย แล้วเงยหน้าขึ้นในท่าตรง การคำนับนี้ ส่วนมากเป็นการปฏิบัติของชาย แต่หญิงให้ใช้ปฏิบัติได้เมื่อแต่งเครื่องแบบและไม่ได้
สวมหมวก


? ? ? ? ? ๔.๔ การแสดงความเคารพพระมหากษัตริย์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ๔.๔.๑ การถวายบังคม เป็นราชประเพณีถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ในงานพระราชพิธีสำคัญ ก่อนที่จะถวายบังคมต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมคือ นั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้งนั่งบนส้นเท้าเช่นเดียวกันทั้ง ชาย หญิง มือทั้งสองวางคว่ำเหนือเข่าทั้งสองข้าง ชายนั่งแยกเข่าได้เล็กน้อยหญิงนั่งเข่าชิด

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? การถวายบังคมแบ่งออกเป็น ๓ จังหวะ ดังนี้

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? จังหวะที่ ๑ ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? จังหวะที่ ๒ ยกมือที่ประนมขึ้น ให้ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดหน้าผากเงยหน้าขึ้นเล็กน้อย

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? จังหวะที่ ๓ ลดมือกลับลงตามเดิมมาอยู่ในจังหวะที่ ๑

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ทำให้ครบ ๓ ครั้ง โดยจบลงอย่างจังหวะที่ ๑ แล้วจึงลดมือลงวางคว่ำเหนือเข่าทั้งสองข้าง

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? การถวายบังคมดังกล่าวนี้ หญิงมีโอกาสใช้น้อย จะใช้ในกรณีที่มีชายกับหญิงไปถวายบังคมร่วมกัน ถ้าหญิงล้วนให้ใช้วิธีหมอบกราบ


? ? ? ? ? ? ? ? ? ๔.๔.๒ การหมอบกราบ ให้แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ลงมาถึงพระบรมวงศ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ในโอกาสที่เข้าเฝ้า โดยนั่งพับเพียบเก็บปลายเท้าแล้วจึงหมอบลงให้ศอกทั้งสองข้างถึงพื้นคร่อมเข่าอยู่ด้านล่างเพียงเข่าเดียว มือประสาน เมื่อจะกราบให้ประนมมือก้มศีรษะลงหน้าผากแตะส่วนบนของมือที่ประนม เมื่อกราบแล้วนั่งในท่าหมอบเฝ้าอีกครั้งหนึ่ง แล้วทรงตัวนั่งในท่าพับเพียบตามเดิม

? ? ? ? ? ? ? ? ? ๔.๔.๓ การถวายความเคารพแบบสากล ใช้กับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ชาย ใช้วิธีการถวายคำนับ โดยค้อมตัวต่ำพอสมควร

? ? ? ? ? ? ? ? ? หญิง ใช้วิธีการถวายความเคารพแบบย่อเข่า (ถอนสายบัว) มี ๒ แบบคือ? แบบสากลนิยม ยืนตรง หันหน้าไปทางพระองค์ท่านวาดเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหลังเล็กน้อย
ตามถนัด พร้อมกับย่อตัวลง ลำตัวตรง หน้าตรง สายตาทอดลง ปล่อยแขนทั้งสองข้างแล้วยืนตรง? แบบพระราชนิยม ยืนตรง หันหน้าไปทางพระองค์ท่านวาดเท้าข้างใดข้างหนึ่ง
ไปข้าหลังเล็กน้อยตามถนัด พร้อมกับย่อตัวลง ขณะที่วาดเท้า ให้ยกมือทั้งสองข้างขึ้นวางประสานกันบนขาหน้าเหนือเข่า ค้อมตัวเล็กน้อย ทอดสายตาลง เสร็จแล้วยืนขึ้นในลักษณะเดิม


? ? ? ? ? ๔.๕ การแสดงความเคารพโดยทั่วไป
? ? ? ? ? ? ? ? ? ๔.๕.๑ การแสดงความเคารพศพ จะต้องกราบพระพุทธรูปเสียก่อน แล้วจึงไปทำความเคารพศพส่วนการจุดธูปหน้าศพนั้นเป็นเรื่องเฉพาะของลูกหลานหรือศิษยานุศิษย์หรือผู้เคารพนับถือที่ประสงค์จะบูชา

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? การเคารพศพพระ ถ้าเจ้าภาพจัดให้มีการจุดธูป ให้จุด ๓ ดอก ชายกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หญิงหมอบกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? การเคารพศพคฤหัสถ์ ให้ทำความเคารพเช่นเดียวกับตอนที่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ ถ้าเป็นศพของผู้ที่มีอาวุโสมาก กราบ ๑ ครั้ง แต่ถ้าเป็นศพของผู้ที่มีอาวุโสใกล้เคียงกันกับผู้ที่ไปทำความเคารพ ให้ไหว้ในระดับที่ ๓ (ไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป) ส่วนการเคารพศพเด็กนั้นมีเพียงยืนสงบหรือนั่งสำรวมครู่หนึ่งในกรณีที่ศพได้รับพระราชทานเกียรติยศ
ผู้เป็นประธานจุดธูปเทียนที่หน้าพระพุทธรูปและที่หน้าตู้พระธรรม แล้วไปจุดเครื่องทองน้อยที่หน้าศพเพื่อแสดงว่าวายชนม์บูชาพระธรรม แล้วจึงเคารพศพ


? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ส่วนผู้ไปในงาน กราบพระพุทธรูปที่โต๊ะหมู่บูชาแล้วจึงเคารพศพด้วยการกราบหรือคำนับ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ๔.๕.๒ การเคารพอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญ อนุสาวรีย์บุคคลสำคัญอาจเป็นรูปปั้น ภาพถ่าย ภาพวาดหรือสัญลักษณ์อื่นก็ได้ ให้แสดงความเคารพด้วยการคำนับหรือกราบหรือไหว้แล้วแต่กรณีในโอกาสพิเศษหรือเป็นพิธีการ เช่น เมื่อครบรอบวันเกิด หรือ วันสำคัญที่เกี่ยวข้องอันเป็นพิธีการให้ใช้พุ่มดอกไม้ ถ้าครบรอบวันตายหรือแสดงความระลึกถึงอันเป็นพิธีการให้วางพวงมาลาในโอกาสอื่น ๆ ที่ไม่เป็นพิธีการอาจแสดงความเคารพโดยใช้หรือไม่ใช้เครื่องสักการะก็ได้

? ? ? ? ? ? ? ? ? ๔.๕.๓ การแสดงความเคารพของผู้เป็นประธาน ณ ที่บูชา เมื่อประธานในพิธีลุกจากที่นั่งเพื่อไปบูชาพระรัตนตรัย ผู้ร่วมพิธียืนขึ้น และเมื่อประธานเริ่มจุดธูปเทียน
ผู้ร่วมพิธีประนมมือเสมออกเมื่อประธานกราบ ผู้ร่วมพิธียกมือที่ประนมขึ้นให้นิ้วชี้จรดหน้าผากพร้อมทั้งก้มศีรษะเล็กน้อย หากที่บูชามีธงชาติ และพระบรมฉายาลักษณ์ด้วย
เมื่อประธานบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้ว ให้ยืนขึ้นถอยหลัง ๑ ก้าว ยืนตรง ค้อมศีรษะคารวะครั้งเดียว ซึ่งถือว่าได้เคารพต่อธงชาติ และพระบรมฉายาลักษณ์ไปพร้อมกันแล้วให้
ประธานปฏิบัติเช่นเดียวกันนี้ทั้งชายและหญิงทั้งที่อยู่ในและนอกเครื่องแบบเมื่อจบพิธีแล้วประธานควรกราบพระพุทธรูปที่โต๊ะหมู่บูชาอีกครั้งหนึ่ง ส่วนผู้เข้าร่วมประชุมยืนขึ้น
ด้วยอาการสำรวม แล้วจึงไหว้ลาพระรัตนตรัยเป็นอันเสร็จพิธี แต่ในกรณีที่ยังมีกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น ประธานทักทายสังสรรค์กับผู้เข้าร่วมประชุม หรือดื่มน้ำชา และประธานอยู่
ร่วมกิจกรรมด้วย เมื่อประธานจะกลับ ไม่จำเป็นต้องกราบพระรัตนตรัย


? ? ? ? ? ? ? ? ? ๔.๕.๔ การแสดงความเคารพของผู้ที่แต่งเครื่องแบบ ให้ปฏิบัติตามระเบียบของสถาบันนั้น

? ? ? ? ? ๔.๖ การรับความเคารพ เมื่อผู้น้อยมาทำความเคารพ ควรรับความเคารพด้วยการประนมมือหรือค้อมศีรษะรับตามควรแก่กรณี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ก.ย. 2550, 05:08:33 โดย เว็บ... »

ออฟไลน์ เว็บมาสเตอร์...

  • ผู้ดูแลระบบ
  • *****
  • กระทู้: 571
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • www.bp.or.th
ตอบ: มารยาทไทย
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 29 ก.ย. 2550, 07:03:49 »
การรับของและการส่งของ

? ? ? ? ? ๑. การทูลเกล้าฯ ถวายของและการรับพระราชทานของ

๑. การทูลเกล้าฯ ถวายสิ่งของ หญิง ถอนสายบัว
๒. ย่อตัวลงโดยก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าเข่าซ้ายลงจรดพื้นแล้วยกพานทูลเกล้าฯถวาย
๓. ทูลเกล้าฯ แล้วถอยเท้าขวาพร้อมกับลุกขึ้นยืนตรง ถอนสายบัว

? ? ? ? ? ? ? ?๑.๑ การทูลเกล้าฯ ถวายของ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ๑.๑.๑ พัสดุหรือสิ่งของที่ยกถือเชิญอันเป็นของเบา เรียกว่าทูลเกล้าถวาย ผู้เข้าเฝ้าฯ ชายหรือหญิงเมื่อจะทูลเกล้าฯ ถวายในขณะประทับพระราชอาสน์ พระเก้าอี้
หรือประทับยืนจะต้องมีภาชนะ เช่น พานรองรับสิ่งของนั้น ผู้ถวายควรถือคอพานประคอง ๒ มือ ก่อนจะเข้าไปเฝ้าฯ ถวาย ต้องทำความเคารพตามเพศ (คำนับ ? ถอนสายบัว)
เมื่อจะถึงที่ประทับห่างพอประมาณ ถวายความเคารพตามเพศ (คำนับ ? ถอนสายบัว) แล้วย่อตัวลง โดยก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า เข่าซ้ายลงจรดพื้นแล้วยกพานภาชนะที่รองรับสิ่งของ
นั้น ๆ ทูลเกล้า ฯ ถวายเมื่อทรงหยิบของในพานแล้ว ให้ลุกขึ้นถือภาชนะหรือพานลดต่ำพร้อมกับถอยเท้าขวากลับ ถวายความเคารพแล้วเดินถอยหลังไป ๓ ? ๔ ก้าว ถวายความเคารพ
แล้วลับไปยืนหรือนั่งเฝ้าฯ ที่เดิม


๑.การทูลเกล้าฯ ถวายของชายถวายคำนับ
๒. ย่อตัวลง โดยก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า เข่าซ้ายลงจรดพื้นแล้วยกพานทูลเกล้าฯ ถวาย
๓. ทูลเกล้าฯแล้ว ถอยเท้าขวาพร้อมกับลุกขึ้นยืนตรงถวายคำนับ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ในกรณีที่ทูลเกล้า ฯ ถวายทั้งพาน เมื่อทรงรับแล้ว ผู้ถวายลุกขึ้นยืนในท่าตรง มือปล่อยตามปรกติ ถอยหลังเล็กน้อย ถวายความเคารพแล้วเดินถอยหลังออกไป ๓ ? ๔ ก้าวถวายความเคารพ กลับไปยืนหรือนั่งเฝ้าฯ ที่เดิม เมื่อจะทูลเกล้าฯ ในขณะประทับราบกับพื้น ให้ถวายความเคารพก่อนแล้วจึงคลานเข้าไปจนใกล้ที่ประทับห่างพอประมาณ
ยกของนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงรับแล้ววางพาน ถวายความเคารพโดยหมอบกราบ รอจังหวะ หากมีพระราชดำรัสด้วยให้ประนมมือสดับพระราชกระแสและกราบบังคมทูลตอบ
แล้วจึงถวายความเคารพอีกครั้งหนึ่งก่อนคลานถอยหลังกลับ


? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ๑.๑.๒ พัสดุ สิ่งของ หรือสิ่งใดก็ตามที่ยกถือเชิญไม่ได้เพราะเป็นของหนักหรือสิ่งมีชีวิตเรียกว่า น้อมเกล้าฯ ถวาย การน้อมเกล้าฯ ถวายสิ่งของที่จะยกเชิญไม่ได้ เพราะเป็นของหนักหรือสิ่งมีชีวิต ส่วนมากจะทำเป็นเอกสาร เช่น โฉนดที่ดิน บัญชีรายการแบบอธิบายของต่าง ๆ วิธีการเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวาย ปฏิบัติตามข้อ ๑
 
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? หมายเหตุ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? เรื่องการทูลเกล้าฯ ถวายเงินนี้มีบันทึกของนายเศวต ธนประดิษฐ์ ที่ปรึกษาสำนักพระราชวังชี้แจงเพิ่มเติมว่า

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ๑) การทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล ถ้าเป็นกรณีที่ประทับในพลับพลา พิธีในโบสถ์ วิหาร หรือาคาร มีระเบียบอยู่แล้ว ต้องใส่พานทูลเกล้าฯ ถวาย
และการเข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ ถวายต้องมีเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง ศูนย์รักษาความปลอดภัยดูแลกำกับทุกคน

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ๒) ถ้าเป็นกรณีที่เสด็จพระราชดำเนินเป็นการยากที่จะให้มีพานใส่ซองทูลเกล้าฯ ถวายเพราะเสด็จฯ ตามทางลาดพระบาท มีพสกนิกรเป็นร้อยเป็นพันที่สองข้างทาง
เสด็จฯมีความจงรักภักดีทูลเกล้าฯ ถวายตามที่มีมากและน้อย บางรายถือธนบัตร ๒๐ ? ๕๐ ? ๑๐๐ โดยไม่บรรจุซองยืนถวาย เพราะเขาต่างมีความจงรักภักดี เกิศรัทธาปะสาทะขึ้น
ในเวลาที่เข้าเฝ้าฯ อย่างใกล้ชิด โอกาสเช่นนี้หาพานสำหรับรองรับของถวายให้พอแก่คนทั่วไปไม่ได้ ถ้าจะออกกฎให้ต้องใส่พานจึงจะเข้าเฝ้า ถวายตามรายทางได้ จะมีปัญหากีดกัน
ความจงรักภักดีของประชาชน รวมทั้งชาวต่างประเทศด้วย

 

? ? ? ? ? ? ? ?๑.๒ การรับพระราชทานสิ่งของ


? ? ? ? ? ? ? ?ผู้รับจะต้องใช้มือขวาโดยวิธีการ ?เอางาน? คือ ยกมือไม่กางข้อศอก มือตั้ง ยกข้อมือขึ้น ๑ ครั้ง แล้วหงายมือรับพระราชทานของ ถ้ารับพระราชทานของที่เป็นของเบาให้รับมือเดียวแต่ถ้าเป็นของหนักให้ยกมือขวาเอางานก่อน แล้วจึงรีบยกมือซ้ายขึ้นมาช่วยรับ



? ? ? ? ? ? ? ?ชาย เดินเข้าไปห่างพอประมาณ ถวายความเคารพ (ถวายคำนับ) ย่อตัวลงโดยก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า คุกเข่าซ้าย ยกมือขวาเอางานแล้วรับพระราชทานของ เสร็จแล้วถอนเท้าขวา พร้อมกับลุกขึ้นยืนตรง ถวายความเคารพ ถอยหลังออก



? ? ? ? ? ? ? ?หญิง เดินเข้าไปห่างพอประมาณ ถวายความเคารพ (ถอนสายบัวแบบพระราชนิยม) แล้วยืนตรง ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า คุกเข่าซ้าย ยกมือขวาเอางาน แล้วรับพระราชทานของเสร็จแล้วถอยเท้าขวาพร้อมกับลุกขึ้นยืนถวายความเคารพ ถอยหลังออก


? ? ? ? ? ? ? ?หมายเหตุ ถ้าผู้ที่รับพระราชทานของนั่งเก้าอี้อยู่ เมื่อลุกจากเก้าอี้จะต้องถวายความเคารพ ๑ ครั้ง ตามแบบที่เหมาะสมแก่เพศของตน ก่อนเดินออก และเมื่อกลับไปนั่งที่ก็ถวายความเคารพอีก ๑ ครั้ง แล้วจึงนั่ง ทั้งนี้จะถวายความเคารพกี่ครั้งสุดแล้วแต่ความเหมาสมหรือได้ซักซ้อมกันไว้ก่อน


? ? ? ? ? ? ? ?อนึ่ง เมื่อจะรับพระราชทานจะต้องชำเลืองดูด้วยว่า ทรงถือของที่จะพระราชทานแล้วหรือยังเพื่อจะได้กะจังหวะที่จะรับพระราชทานให้พอดี ของที่ได้รับพระราชทานแล้วจะเป็นของหนักหรือของเบาก็ตาม เมื่อกลับไปนั่งหรือยืน ณ ที่เดิมให้ถือเชิญไว้จนกว่าจะเสร็จการ
 
 
? ? ? ? ? ๒. การประเคนของแด่พระสงฆ์และการรับของจากพระสงฆ์



? ? ? ? ? ? ? ?๒.๑ การประเคนของแด่พระสงฆ์ หมายถึง การถวายของโดยส่งให้ตามวิธีการทางพระวินัย การประเคนของแด่พระสงฆ์ ถ้าเป็นของที่พอยกได้ใช้สองมือยกแล้วประเคนในระยะหัตถบาส ถ้าเป็นของใหญ่เกินกว่าที่จะยกได้ เช่น เรือ รถ หรือกุฎีก็ไม่ต้องยกเพียบกล่าวคำถวายหรือถวายเอกสารประกอบสิ่งของนั้นก็พอแล้ว

? ? ? ? ? ? ? ?วิธีการประเคนของ ชายและหญิงปฏิบัติดังนี้คือ ถ้าพระสงฆ์นั่งกับพื้นถือของเดินเข่าเข้าไปได้ระยะหัตถบาส แล้วยกของขึ้นประเคน ชายจะประเคนของแด่พระสงฆ์ในลักษณะมือต่อมือได้เลย ส่วนหญิงจะต้องวางบนผ้าที่พระสงฆ์ทอดออกมาจะไหว้หรือกราบแล้วแต่กาลเทศะ ถอยโดยวิธีเดินเข่า เมื่อห่างพอประมาณค่อยลุขึ้นหันตัวกลับ ในกรณีพระสงฆ์นั่งบนเก้าอี้หรืออาสน์สงฆ์ไม่ต้องเดินเข่า แต่เข้าไปให้ได้ระยะหัตถบาส และประเคนตามวิธีดังกล่าวข้างต้น ถ้ามีของถวายหลายอย่าง ควรประเคนทีละอย่าง แต่ถ้ามีถาดหรือภาชนะใส่ไว้แล้วก็ประเคนทั้งถาดหรือภาชนะได้ แต่ไม่ควรยกโต๊ะอาหารประเคนทั้งโต๊ะ เพราะเป็นของใหญ่หรือหนักเกินประมาณ ซึ่งผิดพระวินัย (คำว่า หัตถบาส แปลว่า ?บ่วงมือ? หมายถึง ระยะระหว่างผู้รับประเคนและผู้ถวายไม่เกิน ๑ ศอก)


? ? ? ? ? ? ? ?๒.๒ การรับของจากพระสงฆ์ ชายและหญิงปฏิบัติดังนี้คือ ก่อนรับของให้เข้าไปใกล้ในระยะพอสมควร แล้วแสดงความเคารพจะกราบหรือไหว้สุดแต่กาละ ของเบา ชายยื่นมือขวารับ ของหนัก ยื่นสองมือรับแล้วถอยกลับ ส่วนหญิง พระจะวางของไว้ตรงหน้า ของเบาให้เอื้อมมือขวาไปหยิบด้วยอาการนอบน้อม สำรวม ของหนักให้
ยกทั้งสองมือแล้วถอยกลับ

 
 
? ? ? ? ? ๓. การรับของจากผู้ใหญ่และการส่งของให้ผู้ใหญ่

? ? ? ? ? ของที่จะรับหรือส่ง มีสองลักษณะคือ ของหนักและของเบา ของหนักให้ถือสองมือ ของเบาให้ถือมือเดียว โดยถือด้วยมือขวา มือซ้ายปล่อยข้างตัวของที่จะรับหรือส่งควรถือตามขวาง ถ้าเป็นสมุดหรือหนังสือควรหันทางสันออกนอกตัว


? ? ? ? ? ? ? ?๓.๑ การรับของและส่งของอย่างเป็นพิธีการ

? ? ? ? ? ? ? ?คำว่าพิธีการในที่นี้คือ การกระทำที่เป็นพิธี มีการกำหนดนัดหมาย และมีระเบียบปฏิบัติซึ่งอาจไม่เหมือนกับวิธีปฏิบัติที่เป็นส่วนตัว

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ๓.๑.๑ การรับของ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? - ขณะผู้ใหญ่ยืน

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ชาย เดินเข้าไปห่างจากผู้ใหญ่พอสมควร(ประมาณ ๒ ก้าว) ยืนตรงคำนับแล้วก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าพร้อมกับค้อมตัวเล็กน้อย รับของ เสร็จแล้วซักเท้าขวากลับคำนับอีกครั้งหนึ่ง ถอยพอประมาณแล้วหันกลับ อีกแบบหนึ่งยืนไหว้ครั้งเดียว แทนการคำนับก่อน รับของแล้วไม่ต้องไหว้อีก


? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?หญิง เดินเข้าไปห่างจากผู้ใหญ่พอสมควร (ประมาณ ๓ ก้าว) ย่อตัวไหว้ตามอาวุโสของผู้ส่งของให้ แล้วก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าพร้อมกับย่อตัวรับของ เสร็จแล้วซักเท้าขวากลับถอยพอประมาณ หันกลับ


? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? - ขณะผู้ใหญ่นั่งเก้าอี้

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ชาย เดินเข้าไปห่างจากผู้ใหญ่พอสมควร ยืนตรง คำนับก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า แล้วคุกเข่าซ้าย รับของ เสร็จแล้ว ถอยเท้าขวา พร้อมกับลุกขึ้นยืนตรง คำนับอีกครั้งหนึ่งถอยพอประมาณ หันกลับอีกแบบหนึ่ง ถอยพอประมาณหันกลับอีกแบบหนึ่ง ค้อมตัวไหว้ครั้งเดียวแทนการคำนับก่อนรับของ

ชาย-รับของขณะผู้ใหญ่นั่งเก้าอี้


? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?หญิง เดินเข้าไปห่างจากผู้ใหญ่พอสมควร ยืนตรง ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าแล้ว คุกเข่าซ้าย และไหว้ตามอาวุโสของผู้ส่งของให้รับของแล้วถอยเท้าขวา พร้อมกับลุกขึ้นยืน ถอยพอประมาณหันกลับ

หญิง-รับของขณะผู้ใหญ่นั่งเก้าอี้

 
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? - ขณะผู้ใหญ่นั่งกับพื้น

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน ถ้าเป็นผู้ใหญ่ที่มีพระคุณหรืออาวุโสมาก ให้เข้าไปใกล้ผู้ใหญ่พอประมาณ แล้วจึงเดินเข่าเข้าไปห่างจากผู้ใหญ่ประมาณ ๓ ก้าว นั่งพับเพียบกราบผู้ใหญ่ ๑ ครั้ง แล้วรับของ วางของทางขวามือเหนือเข่าเล็กน้อย ถ้าผู้ใหญ่ปราศรัยด้วยก็ให้นั่งในลักษณะสำรวมเสร็จแล้วกราบอีก ๑ ครั้ง ถือของเดินเข่าถอยพอประมาณลุกขึ้นหันหลับ


? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ๓.๑.๒ การส่งของ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? - ขณะผู้ใหญ่ยืน


? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ชาย ถือของเดินเข้าไปห่างจากผู้ใหญ่พอสมควร ยืนตรงคำนับ แล้วก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับค้อมตัวเล็กน้อย ส่งของเสร็จแล้ว ชักเท้าขวากลับ คำนับอีกครั้งหนึ่งถอยพอประมาณ หันกลับ อีกแบบหนึ่ง ใช้การยืนไหว้ ครั้งเดียวแทนการคำนับเมื่อส่งของให้ผู้ใหญ่แล้ว

ส่งของให้ผู้ใหญ่แล้วค้อมตัวคำนับ

ส่งของให้ผู้ใหญ่แล้วใช้การไหว้แทนการคำนับ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?หญิง ถือของเดินเข้าไปห่างจากผู้ใหญ่พอสมควรยืนตรง แล้วก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับย่อตัวเล็กน้อย ส่งของเสร็จแล้วไหว้ในขณะที่ย่อตัวอยู่ แล้วซักเท้าขวากลับถอยพอประมาณ หันกลับ


ในกรณีที่มีภาชนะรองรับของเช่น พาน

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ในกรณีที่มีภาชนะรองรับของเช่น พาน ให้จับคอพานทั้งสองมือ เดินเข้าไปให้ได้ระยะพอสมควร ค้อมตัว ยกพานส่งของให้ เมื่อผู้ใหญ่รับของไปแล้วถือพานด้วยมือขวาชายคำนับ แล้วถอยกลับ หญิงค้อมตัวเล็กน้อย ถอยกลับ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?- ขณะผู้ใหญ่นั่งเก้าอี้

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ชาย ถือของเดินเข้าไปห่างจากผู้ใหญ่พอสมควร ยืนตรงคำนับ ก้าวเท้าขวาไป ข้างหน้าแล้วคุกเข่าซ้ายส่งของเสร็จแล้วถอยเท้าขวากลับพร้อมกับลุกขึ้นยืนตรง คำนับอีกครั้งหนึ่ง ถอยพอประมาณ หันกลับ อีกแบบหนึ่ง ใช้การค้อมตัวไหว้ครั้งเดียวแทนการคำนับเมื่อส่งของให้ผู้ใหญ่แล้ว

ส่งของในพานขณะผู้ใหญ่นั่งเก้าอี้

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?หญิง ถือของเดินเข้าไปห่างจากผู้ใหญ่พอสมควร ยืนตรง ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า แล้วคุกเข่าซ้ายส่งของ เสร็จแล้วไหว้ตามอาวุโสของผู้รับ แล้วถอยเท้าขวาพร้อมกับลุกขึ้นยืนถอยพอประมาณหันกลับ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?- ขณะผู้ใหญ่นั่งกับพื้น

เดินเข่าถือของเข้าไป ห่างจากผู้ใหญ่พอประมาณนั่งพับเพียบวางของทางขวามือเหนือเข่าเล็กน้อย
แล้วกราบผู้ใหญ่ ๑ ครั้ง

 
ส่งของให้ผู้ใหญ่
?

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน ถ้าเป็นผู้ใหญ่ผู้มีพระคุณหรือผู้มีอาวุโสมากให้ผู้ที่เข้าไปส่งของเดินเข่าถือของเข้าไป ห่างจากผู้ใหญ่พอประมาณนั่งพับเพียบวางของทางขวามือเหนือเข่าเล็กน้อย แล้วกราบผู้ใหญ่ ๑ ครั้ง ส่งของให้ผู้ใหญ่ ถ้าผู้ใหญ่ปราศรัยด้วยก็ให้นั่งลักษณะสำรวม เมื่อจะลากลับกราบอีก ๑ ครั้ง ถอยโดยวิธีเดินเข่า ห่างจากผู้ใหญ่พอประมาณลุกขึ้นยืน หันกลับ
 

? ? ? ? ? ? ? ?๓.๒ การรับของและส่งของอย่างไม่เป็นพิธีการ

? ? ? ? ? ? ? ?การรับของและส่งของอย่างไม่เป็นพิธีการนั้น หมายถึง การรับของ และส่งของเป็นการส่วนตัวขณะที่ผู้ใหญ่ยืนอยู่หรือนั่งบนเก้าอี้รับแขก หรือนั่งบนพื้นในบ้าน ทั้งชาย
และหญิงควรปฏิบัติด้วยอาการนอบน้อมด้วยการทำความเคารพคือ เมื่อจะรับของก็ไหว้ท่านแล้วจึงรับ เมื่อจะส่งของให้ท่านก็ส่งของก่อนแล้วจึงไหว้ ทั้งนี้พึงปฏิบัติให้เหมาะสมตามกรณี เมื่อจะลาท่านก็ให้ไหว้อีกครั้งหนึ่ง


? ? ? ? ? ? ? ?หมายเหตุ การรับของหรือการส่งของเมื่อผู้ใหญ่นั่งกับพื้น ถ้าเป็นผู้ใหญ่ที่อาวุโสไม่มาก เช่น พี่ น้า อา เป็นต้น ให้ใช้วิธีการนั่งพับเพียบไหว้ การเข้าและออกให้ใช้วิธีเดินเข่า
 
 
จบ.? :001:

ขอขอบคุณ ? :114:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ก.ย. 2550, 07:21:20 โดย เว็บ... »

ออฟไลน์ ๛*[•OattO•]*๛

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 132
  • เพศ: ชาย
  • นะมะพะทะ นะโมพุทธายะ .....
    • MSN Messenger - Pm@Pm.com
    • AOL Instant Messenger - -
    • Yahoo Instant Messenger - -
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: มารยาทไทย
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 16 ก.พ. 2551, 07:27:54 »
สุดยอดเลยครับ สมัยนี้หายากครับบุคคลที่มีมารยาทเหล่านี้ครบถ้วน ยังไงก็ช่วยกันรักษามารยาทอันดีเหล่านี้ไว้ก่อนที่จะไม่มีให้เห็นครับ  :'( :'(

ขอบคุณครับ