ผู้เขียน หัวข้อ: พระไตรปิฎกย่อ  (อ่าน 15572 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ phisorn.b

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 143
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
พระไตรปิฎกย่อ
« เมื่อ: 25 ก.พ. 2551, 08:51:08 »
สวัสดีครับ

***? วันนี้ขอนำเสนอเรื่องพระไตรปิฎกโดยย่อเท่านั้น...ทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องประเทืองปัญญากันตามสมควรสำหรับผู้อ่านครับ

ขอเริ่มกันเลยนะครับ...

? ? ***? ในประเทศไทยเรา? โบราณาจารย์ได้ผูกหัวใจพระไตรปิฎกไว้สำหรับจำง่ายและย่อสั้นที่สุด? ดังนี้

หัวใจวินัยปิฎก ใช้คำย่อว่า? อา , ปา , มะ , จุ ,ปะ.

หัวใจสุตตันปิฎก ใช้คำย่อว่า? ที , มะ , สัง , อัง , ขุ . ?

หัวใจพระอภิธรรมปิฎก ? ใช้คำย่อว่า? สัง , วิ , ธา , ปุ , กะ , ยะ , ปะ .


อักษรย่อ ๑๗ ตัวนี้ ? จบพระไตรปิฎกทีเดียวครับ....

***? ถ้าย่อหัวข้อต่างๆ ในปิฎกนั้น ๆ จะมีดังนี้ครับ

อา คือ อาทิกัมม์? ( ว่าด้วยอาบัติปาราชิกถึงอนิยต ) ,

ปา คือ ปาจิตตีย์ ( ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ เป็นต้นไป ) ,?

มะ คือ? มหาวรรค ( ว่าด้วยวรรคใหญ่ ) ,

จุ ? คือ จุลวรรค? ( ว่าด้วยวรรคน้อย ) ,

ปะ คือ? ปริวาร ? (ว่าด้วยข้อปลีกย่อย ) .

*****? ?๕ คำนี้เป็นส่วนพระวินัยปิฎก ครับ.

***? ?วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ? ?สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ ? ? :090:

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ก.พ. 2551, 07:35:59 โดย phisorn.b »

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 25 ก.พ. 2551, 12:30:17 »
เยี่ยมครับท่าน

ออฟไลน์ phisorn.b

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 143
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 26 ก.พ. 2551, 07:33:03 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...เชิญครับ...

ที ? ?คือ? ทีฆนิกาย ( หมวดว่าด้วยพระสูตรยาว ),

มะ คือ มัชฌิมนิกาย ( หมวดว่าด้วยพระสูตรขนาดกลาง ) ,?

สัง? คือ? สังยุตตนิกาย ( หมวดว่าด้วยพระสูตรประมวล? คือประมวลเรื่องต่าง ๆ เป็นพวก ๆ ไว้แห่ง

เดียวกัน ),

อัง คือ อังคุตตรนิกาย ( หมวดว่าด้วยพระสูตรอัน ? ยิ่งด้วยองค์?? คือ? จัดธรรมะเป็นหมวด ๑,

๒, ๓ , ๔ เป็นต้น )?

ขุ ? คือ ขุททกนิกาย ( หมวดพระสูตรเบ็ดเตล็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ) .

******? ? ๕ คำนี้เป็นส่วนพระสุตตันตปิฎก ครับ.

***? ?วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ? ?สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ ? ? ?:090:

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ก.พ. 2551, 07:37:46 โดย phisorn.b »

ออฟไลน์ phisorn.b

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 143
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 27 ก.พ. 2551, 07:10:56 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...เชิญครับ...

สัง คือ  สังคณี ( ว่าด้วยธรรมะเป็นหมวด ๆ ) ,

วิ     คือ  วิภังค์   ( ว่าด้วยธรรมะโดยแจกรายละเอียด ) ,

ธา คือ ธาตุกถา ( ว่าด้วยธาตุ ), 

ปุ   คือ  ปุคคลบัญญัติ ( ว่าด้วยบัญญัติต่างๆ มีบุคคล เป็นต้น ) ,

กะ คือ กถาวัตถุ (ว่าด้วยวาทะของผู้ถามและผู้ตอบประเภทละ๕๐๐ ) ,

ยะ คือ ยมก ( ว่าด้วยธรรมะที่เป็นคู่ ๆ ) , 

ปะ คือ  ปัฏฐาน ( ว่าด้วยปัจจัยต่าง ๆ ) 

******    ๕ คำนี้เป็นส่วนพระอภิธรรมปิฎก ครับ.

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ      :090:

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 27 ก.พ. 2551, 11:09:35 »
ดีครับ นำมาฝากกัยบ่อยๆ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกเยอะ :-*

ออฟไลน์ phisorn.b

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 143
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 28 ก.พ. 2551, 11:03:32 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...เชิญครับ...

*********         พระไตรปิฎก(ย่อ)           **********

***    พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า  เมื่อครั้งพุทธกาลเรียกว่าพระพุทธพจน์บ้าง  พระธรรมวินัยบ้าง   จนเมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้วตอนสังคายนาครั้งที่ ๑ และ ๒  ยังคงเรียกว่าพระธรรมวินัยอยู่   แต่ภายหลังจึงเรียกว่าพระไตรปิฎก  คือจัดออกเป็น ๓ หมวด

***    ส่วนที่เป็นพุทธอาณาเป็นระเบียบแบบแผนสำหรับบรรชิตเรียกว่าพระวินัยปิฎก

***    ส่วนที่แสดงข้อปฏิบัติที่เป็นธรรม  กล่าวถึงสถานที่นั้น ๆ บุคคลนั้น ๆ เป็นต้น  เรียกว่าพระสุตตันตปิฎก

***    ส่วนที่รวบรวมธรรมอันลึกซึ้ง  เรียกว่าพระอภิธรรมปิฎก

 ปิฎกทั้ง ๓ นี้  เมื่อได้จารึกลงเป็นตัวอักษรแล้ว  ลอกคัดต่อ ๆ กันมาถ่ายทอดเป็นอักษรของแต่ละประเทศ  แต่ข้อความก็เป็นภาษาบาลี   พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ของไทยเป็นหนังสือ ๔๕ เล่ม   เพื่อให้เท่ากับจำนวนปีบำเพ็ญพุทธกิจของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงบำเพ็ญ๔๕ ปี

***    หนังสือพระไตรปิฎก ๔๕ เล่มนี้   ***

เล่ม ๑ ถึงเล่ม ๘ รวม ๘ เล่ม  เป็นพระวินัยปิฎก

เล่ม ๙ ถึง ๓๓  รวม ๒๕ เล่ม  เป็นพระสุตตันตปิฎก

เล่ม ๓๔ ถึง ๔๕  รวม ๑๒ เล่ม  เป็นพระอภิธรรมปิฎก 

***   ในโอกาสต่อไปกระผมจะนำเสนอข้อความย่อในพระไตรปิฎกต่อไปทั้ง ๔๕เล่มนะครับ...โดยว่ากันอย่างย่อๆทีละเล่มๆ พอเป็นแนวทางการศึกษาและปฏิบัติเท่านั้นนะครับ.

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ      :090:

ออฟไลน์ phisorn.b

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 143
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 10 มี.ค. 2551, 08:50:10 »
สวัสดีครับ

ต้องขออภัยด้วยครับ...ห่างไปหลายวันครับกระผมติดงานบรรยายธรรมและงานธุดงคกรรมฐานครับ...วันนี้มาต่อกันครับ

๑. พระวินัยปิฎก

ในพระวินัยนี้แบ่งเป็นหมวดใหญ่ ๆ มี ๔ หมวด? คือ

๑. มหาวิภังค์   ๒? เล่ม? ? ? ? คือ? ? เล่มที่ ๑ , ๒.

๒. ภิกขุนีวิภังค์   ๑? ?เล่ม? ? ? ? คือ? ? เล่มที่ ๓.

๓. มหาวรรค      ๒? เล่ม? ? ? ? คือ? ? เล่มที่? ๕ , ๕.

๔. จุลวรรค   ?    ๒? เล่ม? ? ? ? คือ? ? เล่มที่? ๖ , ๗.

๕. ปริวาร      ๑? ?เล่ม? ? ? ? คือ? ? เล่มที่ ๘.

? ?เล่มที่ ๑
(มหาวิภังค์? ?ภาค ๑)

เล่ม ๑? คือ มหาวิภังค์นี้? เริ่มด้วยเหตุที่จะให้ทรงบัญญัติพระวินัย? กล่าวความถึงเวลาเสด็จจำพรรษาในปีที่ทรงบัญญัติพระวินัยด้วย ( อรรถกถาสามนต์? เล่ม ๑ หน้า ๒๔๕? ว่าล่วงมา ๒๐ พรรษา? นับแต่พรรษาที่ได้ตรัสรู้ )

แบ่งออกเป็นกัณฑ์ได้ ๗ กัณฑ์? คือ

กัณฑ์ที่ ๑?    เวรัญชกัณฑ์? ว่าด้วยการเสด็จจำพรรษาในปีที่ทรงบัญญัติสิกขาบท.

กัณฑ์ที่ ๒    ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๑.

กัณฑ์ที่ ๓    ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๒.

กัณฑ์ที่ ๔    ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๔.

กัณฑ์ที่ ๕    ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๕.

กัณฑ์ที่ ๖    ว่าด้วยสังฆาทิเสส? ๑๓.

กัณฑ์ที่ ๗    ว่าด้วยอนิยต ๒ สิกขาบท.


ความสังเขปใน๗กัณฑ์มีดังนี้

***? ? กัณฑ์ที่ ๑ นั้นว่า? พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับจำพรรษาที่ป่าไม้สะเดาเมืองเวรัญชา? ได้ทรงแสดงธรรมให้เวรัญชพราหมณ์เลื่อมใส? แล้วทูลนิมนต์ให้ทรงจำพรรษาที่นั่นพร้อมด้วยภิกษุประมาณ ๕๐๐? ? แต่ครั้นแล้วพราหมณ์ลืมการนิมนต์นั้นเสีย? หาได้อุปัฏฐากบำรุงไม่? ทั้งเวลานั้นเมืองเวรัญชาบังเกิดทุพภิกขภัยข้าวแพงถึงกับชาวเมืองต้องซื้อข้าวตามสลาก ( บัตรปันส่วน )? ไม่สามารถที่จะเฉลี่ยอาหารมาบำรุงพระผู้มีพระภาคกับภิกษุสงฆ์ได้ ? แต่บังเอิญครั้งนั้นพ่อค้าม้ามาจากเมืองต่างเมืองติดค้างฤดูฝนอยู่ ณ ที่นั้น? ภิกษุทั้งหลายเที่ยวบิณฑบาตที่อื่นไม่ได้? ก็ไปถึงที่พักพ่อค้าม้า? พวกพ่อค้าม้ามีข้าวตากสำหรับเป็นอาหารม้า? ก็เฉลี่ยอาหารนั้นถวายพวกพระภิกษุองค์ละกำมือ พวกภิกษุเมื่อได้อาหารอย่างนั้นแล้ว? ก็นำไปตำละลายน้ำฉัน? พระอานนท์ใช้หินบด ๆ ถวายพระผู้มีพระภาค? เป็นอยู่อย่างนี้จนออกพรรษา? และในระหว่างพรรษา? พระสารีบุตรทูลอาราธนาพระองค์ให้ทรงบัญญัติสิกขาบท? แต่พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามเสียว่ายังไม่ถึงเวลา? เมื่อถึงเวลาแล้วตถาคตรู้เอง? ดังนี้?

***? ? ?ครั้นออกพรรษาแล้วเสด็จไปเพื่อบอกลาพราหมณ์ ๆ รู้สึกตัวว่านิมนต์พระผู้มีพระภาคให้ทรงจำพรรษาแล้วไม่ได้บำรุง ? ก็ทูลขอโทษอ้างว่าเป็นคฤหัสถ์มีภาระกังวลมาก? ไม่ใช่ว่าไม่มีวัตถุจะบำรุง พระองค์ทรงแสดงธรรมให้พราหมณ์ชื่นชมยินดีและได้ถวายอาหารพร้อมด้วยไตรจีวรแก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน? พระองค์ทรงอนุโมทนา? แล้วเสด็จไปยังเมืองเวสาลี.

***? ? กัณฑ์ที่ ๒ ถึงกัณฑ์ที่ ๕ ? ตอนต้น ๆ ของกัณฑ์ปรารภต้นเหตุที่เกิดขึ้นไม่งาม? ไม่ควรแก่บรรพชิต? เป็นข้อเสียหายอย่างร้ายแรง? แล้วทรงบัญญัติปาราชิก ๔ สิกขาบท? คือห้ามเสพเมถุน ,? ลักทรัพย์ ,? ฆ่ามนุษย์,? พูดอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน.? ปรับผู้ต้องขาดจากความเป็นภิกษุ? ตอนท้ายของกัณฑ์อธิบายถึงวิธีวินิจฉัยอาบัติว่า? อย่างไรเป็นอาบัติ? อย่างไรไม่เป็นอาบัติ? เป็นอาบัติหนักหรือเบา? ต้องแล้วแก้ได้หรือแก้ไม่ได้

***? ? กัณฑ์ที่ ๖ ว่าด้วยเหตุ? และทรงบัญญัติสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท? ต้องแล้วต้องอยู่กรรมทรมานตนจึงจะพ้นได้

***? ? กัณฑ์ที่ ๗ ว่าด้วยอนิยต ๒ สิกขาบท? วิธีตัดสินอาบัติเรื่องพระอยู่ในที่ลับตาลับหูกับผู้หญิง.

ในเล่ม ๑ นี้? มีสิกขาบท ๑๙ สิกขาบท.

***? ?วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ? ?สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ? ?? :090:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 มี.ค. 2551, 06:58:30 โดย phisorn.b »

ออฟไลน์ phisorn.b

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 143
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 14 มี.ค. 2551, 08:36:41 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

เล่มที่ ๒ (มหาวิภังค์   ภาค๒)

มหาวิภังค์เล่มนี้แบ่งได้ ๔ กัณฑ์  คือ

๑. นิสสัคคียกัณฑ์   มี ๓๐ สิกขาบท.

๒. ปาจิตตียกัณฑ์   มี ๙๒ สิกขาบท.

๓. ปาฏิเทสนียกัณฑ์   มี    ๔ สิกขาบท.

๔. เสขิยกัณฑ์   มี ๗๕ สิกขาบท.


****    ในตอนท้ายมีอธิกรณสมถะ   มีวิธีตัดสินอธิกรณ์อีก ๗ ข้อ   ในตอนต้นของสิกขาบทนั้น ๆ กล่าวถึงนิทานต้นบัญญัติ   ตอนกลางทรงบัญญัติสิกขาบท  ตอนท้ายอธิบายว่าอย่างไรควรอย่างไรไม่ควร   ในเล่มนี้มีสิกขาบท ๒๐๑ สิกขาบท  รวมทั้งอธิกรณสมถะอีก ๗  และรวมทั้งในเล่ม ๑ ด้วย รวมเป็น ๒๒๗ สิกขาบท  เรียกว่าสิกขาบทมาในพระปาฏิโมกข์ ซึ่งเป็นวินัยอันสำคัญของภิกษุ  มีพระพุทธานุญาตให้สงฆ์สวดทุกกึ่งเดือนที่เรียกว่าทำอุโบสถสังฆกรรม

***    ในมหาวิภังค์ทั้ง ๒ เล่ม  ท่านผู้ใดต้องการเนื้อความในสิกขาบทเหล่านี้  จะหาอ่านทราบจากหนังสือนวโกวาท  ส่วนนิทานต้นบัญญัติมีหนังสือจหน่ายอยู่แล้วในท้องตลาด เนื้อเรื่องในมหาวิภังค์ทั้ง ๒ เล่ม  ก็คือ  สิกขาบทที่มาในพระปาฏิโมกข์.

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ      :090:

ออฟไลน์ phisorn.b

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 143
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 18 มี.ค. 2551, 08:04:40 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

เล่มที่ ๓   ( ภิกขุณีวิภังค์)

***  ในเล่มนี้กล่าวถึงปาฏิโมกข์ของภิกษุณีมีอยู่  ๓๑๑ สิกขาบท  คือปาราชิก ๘ สิกขาบท  สังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบท  นิสสัคคีย์ ๓๐ สิกขาบท  ปาจิตตีย์ ๑๖๖ สิกขาบท  ปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบท  เสขิยะ  ๗๕ สิกขาบท  อธิกรณสมถะ ๗ สิกขาบท 

***    แต่ในเล่มนี้แสดงเฉพาะที่ไม่ซ้ำกับของภิกษุเพียง ๑๓๐ สิกขาบท   แยกออกเป็น ๖ กัณฑ์   ในสิกขาบทนั้น ๆ เบื้องต้นแสดงถึงเรื่องภิกษุณีประพฤติเสื่อมเสีย  เป็นเหตุให้ทรงบัญญัติตอนปายแสดงถึงวิธีต่าง ๆ ว่าทำอย่างไรเป็นอาบัติ  อย่างไรไม่เป็นอาบัติ   ทำอย่างไรจึงจะพ้นจากอาบัติเป็นต้น.   

***  ที่กล่าวมาทั้ง ๓ เล่มนี้ในที่บางแห่งเรียกว่าอุภโตวิภังค์   แปลว่าวิภังค์ทั้ง ๒ คือวิภังค์ของภิกษุและวิภังค์ของภิกษุณี   ในส่วนศีลของภิกษุณีที่ไม่ซ้ำกับของภิกษุเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น เพราะไม่มีภิกษุณีเสียแล้ว.

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ       :090:

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 18 มี.ค. 2551, 07:48:03 »
ความรู้มากมาย ขอบคุณครับท่าน :-*

ออฟไลน์ phisorn.b

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 143
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 21 มี.ค. 2551, 07:00:48 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

เล่มที่  ๔   (มหาวรรค   ภาค ๑)

***    ตั้งแต่ เล่ม ๔ นี้จนถึงเล่ม ๘ แสดงถึงเรื่องสิกขาบท ที่มานอกพระปาฏิโมกข์   อันเป็นขนมธรรมเนียมระเบียบวิธีของพระภิกษุ  จัดเป็นหมวด ๆ เรียกว่า ขันธกะ  และเล่ม ๔ นี้เป็นเล่มที่ ๑ ของมหาวรรคมีอยู่ ๔ ขันธกะ  คือ

            ๑.   มหาขันธกะ.

         ๒.  อุโปสถขันธกะ.

         ๓.  วัสสูปนายิกขันธกะ.

         ๔.  ปวารณาขันธกะ.


๑.  มหาขันธกะ แสดงเรื่องตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้จนถึงได้อัครสาวก   (เนื้อความปรากฏอยู่ในหนังสือพุทธประวัติเล่ม ๑)   และแสดงถึงวิธีบรรพชาอุปสมบท  บอกอนุศาสน์  ธรรมเนียมศิษย์จะพึงประพฤติในอาจารย์  สัทธิวิหาริกจะพึงประพฤติในอุปัชฌาย์และอาจารย์อุปัชฌาย์พึงประพฤติในศิษย์   ตลอดถึงการบวชอย่างไรสมควร  อย่างไรไม่สมควร  บุคคลเช่นไรควรให้บวช  บุคคลเช่นไรไม่ควรบวช   และวิธีบวชเป็นสามเณร  พร้อมทั้งศีลสามเณร.

๒.  อุโปสถขันธกะ  ว่าด้วยการบัญญัติวันธรรมสวนะ  อนุญาตการสวดพระปาฏิโมกข์  ว่าด้วยสีมาต่าง ๆ ตลอดถึงวิธีสวดถอนสวดผูกสีมา  และทรงอนุญาตให้ภิกษุเรียนปักขคณนา   และว่าด้วยภิกษุที่เป็นนานาสังวาส  และสมานสังวาส  จะควรทำอุโบสถกันอย่างไรเป็นต้น.

๓.  วัสสูปนายิกขันธกะ  ว่าด้วยวันเข้าพรรษา  วิธีอธิฏฐานพรรษา  วิธีทดอธิกมาส   ตลอดถึงเรื่องราวในการจำพรรษาทั้งหมด .

๔.  ปวารณาขันธกะ  ว่าด้วยวิธีออกพรรษา  พร้อมทั้งวิธีปวารณาและวันปวารณา  เป็นต้น.

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ     :090:

ออฟไลน์ phisorn.b

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 143
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 25 มี.ค. 2551, 12:50:02 »

สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

เล่มที่ ๕  (มหาวรรค   ภาค ๒)

***   ในเล่มนี้เป็นเล่ม ๒ ของ มหาวรรค มีอยู่ ๖ ขันธกะ  คือ

๑.  จัมมขันธกะ

๒.  เภสัชชขันธกะ

๓.  กฐินขันธกะ

๔.  จีวรขันธกะ

๕.  จัมเปยยขันธกะ

๖.  โกสัมพิกขันธกะ

๑.  จัมมขันธกะ
  แสดงถึงประวัติของพระโสณโกฬิวิสะ  ซึ่งท่านเป็นผู้มีฝ่าเท้าอันบาง  เพราะเป็นสุขุมาลชาติ  จงกรมจนเท้าแตก  พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ใช้รองเท้าชั้นเดียวได้   แต่ท่านไม่ยอมสวมเพราะเป็นอนุญาตเฉพาะบุคคล  กราบทูลให้ทรงอนุญาตทั่วไปแล้วท่านจึงยอมสวม  ภายหลังทรงห้ามรองเท้า ๒ ชั้น ๓ ชั้น  และหลายชั้น  และทรงอนุญาตให้ใช้ ๔ ชั้นในปัจจัตประเทศ  แล้วทรงกำหนดเขตมัชฌิมประเทศปัจจันตประเทศ   ทรงห้ามและทรงอนุญาตรองเท้าต่าง ๆ ลักษณะและสีที่ควรไม่ควร  สถานที่ควรสวมและไม่ควรสวมทรงห้ามและทรงอนุญาตในเรื่องยานพาหนะ  และที่นอนที่นั่งสูงใหญ่ควรและไม่ควร.

๒.  เภสัชชขันธกะ   กล่าวถึงเภสัช ๕  และเครื่องยาที่ควรแก่การบำบัดโรคต่างๆ และว่าด้วยอาหารต่าง ๆ และทรงอนุญาตการผ่าตัดยามหาวิกัติ ๔  แสดงถึงอันโตวุตถะ  อันโตปักกะ  สามปักกะ  อุคคหิตทุกกฎ  ว่าถึงอกัปปิยมังสะ  และอุททิสสมังสะ   เรื่องข้าวยาคูและอานิสงส์ของข้าวยาคู  อนุญาตการฉันน้ำอ้อยงบแก่ภิกษุไข้  ถ้าไม่เป็นไข้ต้องละลายน้ำ  แสดงถึงการสร้างเมืองปาตลีบุตร  ว่าถึงกัปปิยภูมิที่เก็บอาหารกล่าวถึงเมณฑกบัญญัติ  เรื่องอนุญาตให้ยินดีปัจจัยที่เป็นกัปปิยะอันเกิดจากรูปิยะ  กล่าวถึงน้ำปานะ ๘  ห้ามภิกษุไม่ให้หุงต้มเอง  และห้ามภิกษุที่เคยเป็นช่างกัลบกไม่ให้มีมีดโกน   ตอนท้ายกล่าวถึงพืชของสงฆ์ที่ปลูกในที่ดินของบุคคล  และพืชของบุคคลที่ปลูกในที่ดินของสงฆ์และว่าด้วยมหาประเทส  ( ข้ออ้าง ) ๔  เพื่อเป็นเครื่องวินิจฉัยของที่ควรและไม่ควร  และว่าด้วยกาลิก ๔

๓.  กฐินขันธกะ   ปรารภเรื่องทรงอนุญาตการกรานกฐิน   วิธีกรานกฐิน  อานิสงส์กฐิน  การเดาะกฐิน  และปลิโพธ   เป็นต้น.

๔.  จีวรขันธกะ   แสดงถึงประวัติของหมอชีวกโกมารภัจจ์  และกล่าวถึงพรที่หมอชีวกโกมารภัจจ์ทูลขอ  และทรงอนุญาตจีวร ๖ อย่าง  และสมมติภิกษุผู้รับจีวร  ผู้เก็บจีวร  ผู้แจกจีวร   และสมมติภิกษุผู้รักษาเรือนคลัง  และทรงอนุญาตเครื่องย้อม ๖ อย่าง  และอนุญาตจีวรตัดวิธีจีวร  บัญญัติเรื่องอติเรกจีวร  ว่าถึงพรของนางวิสาขา ๘ อย่าง  มีการขอเพื่อถวายผ้าอาบน้ำฝนเป็นต้น ว่าถึงบริขารอื่นเช่นบริกขารโจฬะ  ผ้าเช็ดปาก  และวิธีถือวิสสาสะ ว่าถึงจีวรที่เป็นมรดกของภิกษุผู้มรณภาพ  และการห่มจีวรที่ย้อมด้วยสีอันไม่ควรเป็นต้น .

๕.  จัมเปยยขันธกะ แสดงเรื่องภิกษุกัสสปโคตรอยู่ในกาสีชนบทถูกพระอาคันตุกะลงโทษด้วยอุกเขปนียกรรม  เธอไปทูลพระผู้มีพระภาคที่เมืองจัมปา  ถึงกรรมนั้นว่าเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมอย่างใด  พระองค์แสดงถึงกรรมที่สงฆ์ทำแล้วเป็นธรรมและไม่เป็นธรรมต่างๆ เช่น  อุกเขปนียกรรม  ตัชชะนียกรรม  นียัสสกรรม  ปัพพาชนียกรรม  ปฏิสารณียกรรม ว่าสงฆ์ทำแล้วอย่างไรควรหรือไม่ควร  และแสดงถึงวิธีที่ให้กรรมเหล่านั้นระงับ.

๖.  โกสัมพิกขันธกะ  แสดงถึงเรื่องภิกษุชาวโกสัมพีทะเลาะกันด้วยเรื่องอาบัติเล็กน้อยจนถึงกับแตกแยกกัน  และทรงอนุญาตให้ภิกษุเหล่านั้นที่แตกกันแล้ว  ต่างฝ่ายต่างทำสังฆกรรม  แยกกันในสีมาเดียวกันได้  เมื่อพระองค์ทรงสมานสามัคคีของภิกษุเหล่านั้นไม่ได้  จึงเสด็จไปอยู่ป่า มีช้างปาริเลยยกะคอยอุปัฏฐากบำรุงพระองค์   ออกพรรษาแล้วเสด็จเมืองสาวัตถี  พวกภิกษุที่แตกกันนั้นถูกชาวบ้านลงโทษไม่บำรุงด้วยปัจจัย ๔  มีความลำบากรู้สึกตัวแล้ว  จึงไปขอขมาพระพุทธเจ้า.

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ     :090:



ออฟไลน์ เว็บมาสเตอร์...

  • ผู้ดูแลระบบ
  • *****
  • กระทู้: 571
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • www.bp.or.th
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: 26 มี.ค. 2551, 06:52:20 »
ขออนุโมทนา สาธุ... ครับ

แถมสูตรท่องจำ... จัม เภ กะ จี จัม โก

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: 26 มี.ค. 2551, 10:27:33 »
ขออนุโมทนา สาธุ... ครับ

แถมสูตรท่องจำ... จัม เภ กะ จี จัม โก
ขอบคุณครับ กระทัดรัดดี ;D ;D

ออฟไลน์ phisorn.b

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 143
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: 09 เม.ย. 2551, 07:08:17 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...

๒. พระสุตตันตปิฎก

***    ที่ผ่านมาท่านได้ทราบข้อความย่อ ๆ ในพระวินัยปิฎกผ่านมาแล้ว ๘ เล่ม  จะเห็นได้ว่าพระวินัยอันเป็นระเบียบแบบแผน  ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้โดยพระปรีชาญาณรอบคอบครบถ้วนและไม่ล้าสมัย  เพราะเป็นระเบียบที่ทำภิกษุผู้ประพฤติปฏิบัติตาม  ให้มีศีลาจารวัตรอันงดงามน่าเลื่อมใส 

***  ต่อไปนี้กระผมขอนำข้อความย่อในพระสุตตันตปิฎก   อันงดงามวิจิตรพิสดารไปด้วยธรรมะ  ที่ทำผู้ปฏิบัติให้ได้รับความสงบเยือกเย็น  นำเสนอโดยย่อ ๆ เท่านั้นเพื่อจะทำให้ท่านได้ทราบเรื่องอันเกี่ยวด้วยคำสอนที่แสดงข้อปฏิบัติเป็นชั้น ๆ  มีทั้งให้สำเร็จประโยชน์ พ้นจากอนาคต  แสดงคำสอนที่ควรปฏิบัติทุกสมัย  โดยเฉพาะ สำหรับท่านผู้ที่ทราบแล้วอย่าเพิ่งเบื่อก่อนนะครับ  ควรใช้ปัญญาพิจารณาด้วยตนเองเสียให้เห็นแจ้งว่า  ดีอย่างไรก่อนแล้วจึงเชื่อ  พระสุตตันตปิฎกนั้น  มีอยู่ดังต่อไปนี้

นิกาย   แปลว่าพวกหรือหมวดหมู่ 

ท่านจัดพระสุตตันตปิฎกเป็น ๕ นิกาย  คือ

๑.  ทีฆนิกาย   พวกพระสูตรที่ยืดยาว. ( เล่มที่ ๙,  ๑๐,  ๑๑. )

๒.  มัชฌิมนิกาย   พวกพระสูตรที่ปานกลาง.  ( เล่มที่ ๑๒, ๑๓,  ๑๔. )

๓.  สังยุตตนิกาย   พวกพระสูตรที่ประมวลเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคคลนั้น ๆ สถานที่นั้น ๆ เป็นต้น  ไว้เป็นหมวด ๆ.  ( เล่มที่ ๑๕,  ๑๖,  ๑๗,  ๑๘,  ๑๙. )

๔.  อังคุตตรนิกาย  พวกพระสูตรที่แจกธรรมเป็นข้อ ๆ เช่นพวก ๑ ข้อ  พวก ๒ ข้อ  พวก ๓ ข้อ.  ( เล่มที่ ๒๐, ๒๑,  ๒๒,  ๒๓,  ๒๔. )

๕.  ขุททกนิกาย   พวกที่รวมพระสูตรหรือธรรมะที่ปลีกย่อยเล็ก ๆ น้อย ๆ. ( เล่มที่ ๒๕,  ๒๖,  ๒๗,  ๒๘,  ๒๙,  ๓๐,  ๓๑,  ๓๒,  ๓๓. )


***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ       :090:


ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: 09 เม.ย. 2551, 07:16:42 »
ขอบคุณครับ :-*

ออฟไลน์ phisorn.b

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 143
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: 25 เม.ย. 2551, 03:31:14 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...

๑. ทีฆนิกาย

***   หนังสือเล่ม ๙ , ๑๐ , ๑๑ รวม ๓ เล่ม  รวมพระสูตรที่มีเนื้อความยืดยาว  เรียกว่า ทีฆนิกาย   แบ่งออกเป็นหมวดเรียกว่า  วรรค ๆ ละเล่ม   

เล่ม   ๙ ชื่อสีลขันธวรรค

เล่ม ๑๐ ชื่อว่ามหาวรรค 

เล่ม ๑๑ ชื่อว่าปาฏิกวรรค


***    และคำว่าวรรคนั้นมักจะถือเอาชื่อพระสูตรต้นวรรคหรือบุคคลที่เป็นเหตุให้ตรัสพระสูตรนั้น  หรือเนื้อความในพระสูตรต้น  คือพรหมชาลสูตร  อันแสดงเรื่องกองแห่งศีล  เป็นชื่อวรรค 

***   ในเล่ม ๙ อันมีชื่อสีลขันธวรรคนี้มีอยู่ ๑๓ สูตร  บรรจะเนื้อความบางสูตรถึง ๑๐๐ หน้าก็มี
ในบรรดาพระสูตรที่เป็นพุทธภาษิต พรหมชาลสูตรยาวกว่าสูตรอื่น ๆ  ท่านจึงสังคายนาไว้เป็นสูตรต้น
ส่วนสูตรอื่นที่ยาวกว่าพรหมชาลสูตรก็มี  เช่นสังคีติสูตร   แต่เป็นภาษิตของพระสารีบุตร  ท่านจึงไม่จัดขึ้นต้นวรรค

ใน ๑๓ สูตรนั้น  ท่านลำดับไว้ดังนี้.

 ***  วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ       :090:

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: 25 เม.ย. 2551, 09:02:28 »
อนุโมทนาครับท่าน
 :-*

ออฟไลน์ phisorn.b

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 143
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: 02 พ.ค. 2551, 08:01:13 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...

                                        เล่มที่ ๙ (สีลขันธวรรค)

   สีลขันธวรรคมี ๑๓ สูตรดังนี้ :--

๑.  พรหมชาลสูตร.

๒.  สามัญญผลสูตร.

๓.  อัมพัฏฐสูตร.

๔.  โสณทัณฑสูตร.

๕.  กูฏทันตสูตร.

๖.  มหาลิสูตร.

๗.  ชาลิยสูตร

๘.  มหาสีหนาทสูตร.

๙.  โปฏฐปาทสูตร.

๑๐. สุภสูตร.

๑๑. เกวัฏฏสูตร.

๑๒. โลหิจจสูตร.

๑๓.  เตวิชชสูตร.

๑. พรหมชาลสูตร  
ตอนต้นของเรื่องแสดงถึงสถานที่  บุคคล    คือเมื่อพระองค์ประทับอยู่ที่ตำหนักหลวง  ระหว่างเมืองราชคฤห์กับนาลันทาต่อกัน  ทรงปรารภสุปปิยะกับพรหมทัตตมาณพ   ผู้เป็นปริพพาชกนักบวชภายนอกพวกหนึ่งกล่าวคำแย้งกัน   อาจารย์สุปปิยะกล่าวติ  พรหมทัตต์กล่าวชมพระรัตนตรัย  พระองค์ตรัสถึงทิฏฐิต่าง ๆ ของสมณพราหมณ์ว่ามีถึง ๖๒ อย่าง  ทิฏฐิเหล่านี้แม้แต่พรหมก็ยังติดข้องอยู่  จึงได้ชื่อว่าพรหมชาละ   แปลว่าข่ายเป็นเครื่องดักพรหม  อีกอย่างหนึ่ง  แปลว่าข่ายอันประเสริฐ   คือทรงแสดงธรรมครอบทุกลัทธิ  ในครั้งนั้น  และตรัสถึงจุลลศีล   มัชฌิมศีล   มหาศีล  เนื้อความพิสดารมักได้ฟังกันในเวลาฟังพระเทศน์แจงแล้วโดยมาก.

๒. สามัญญผลสูตร   ทรงปรารภพระเจ้าอชาตศัตรู  ตรัสถึงผลของความเป็นสมณะ  แก่ท้าวเธอที่สวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจจ์จนพระเจ้าอชาติศัตรูทรงเลื่อมใส   ทรงถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะและทรงขอโทษในการที่ปลงพระชนม์พระราชบิดา   พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่าพระองค์ทรงรับการขมานั้น และตรัสว่าผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนเสีย  ถึงความสำรวมจะระวังต่อไป  นั่นเป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะดังนี้   และพระองค์ตรัสต่อกับพระอานนท์  เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จกลับแล้วว่า  พระเจ้าอชาตศัตรูถ้าไม่ปลงพระชนม์พระราชบิดาแล้วไซร้ ก็จะได้ธรรมจักษุคือเป็นพระโสดาบัน   เพราะทรงฟังธรรมดังนี้.

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ      :090:

ออฟไลน์ phisorn.b

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 143
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: 08 พ.ค. 2551, 07:12:35 »

สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...

๓. อัมพัฏฐสูตร อัมพัฏฐมาณพคนในบ้านของโปกขรสาติชำนาญในไตรเพท  ไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากับนายของตน  แสดงอาการไม่นับถือ   ด่าว่าเจ้าศากยราชต่าง ๆ  แต่จำนนด้วยพระปฏิภาณของพระองค์ ๆ จึงทรงแสดงธรรมให้ฟัง   ภายหลังจึงอยากสอบสวนตำรา มหาปุริสลักขณะ ว่า  พระพุทธเจ้านั้นจะมีครบทั้ง ๓๒ หรือไม่  แต่ก็มองไม่เห็นอยู่บางอย่าง  เพราะเป็นอาการลี้ลับ   แต่พระองค์ทรงอธิษฐานให้ชนทั้ง ๒ นั้นเห็น  แล้วเลื่อมใสว่าเป็นพระพุทธเจ้าจริงเพราะมีลักษณะครบทั้ง ๓๒ อย่างบริบูรณ์ตามตำรา.

๔. โสณทัณฑสูตร   พระองค์ประทับที่สรุคัคครา  ใกล้เมืองจัมปา  ทรงถามถึงคุณสมบัติของพราหมณ์  กับโสณทัณฑพราหมณ์ผู้ครองเมืองจัมปาแคว้นอังคะว่า  ผู้จะเป็นราหมณ์จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติกี่อย่าง  โสณทัณฑพราหมณ์กราบทูลว่า  ต้องประกอบด้วยคุณ ๕ อย่าง   พระองค์ทรงถามว่า  ถ้า ๔ อย่าง ๓ อย่าง  ๒ อย่าง  หรืออย่างเดียวจะเป็นได้หรือไม่  โสณทัณฑ์กราบทูลว่า ๔ อย่างเป็นได้ ๓ อย่างเป็นได้ ๒ อย่างก็เป็นได้  แต่อย่างเดียวเป็นเป็นไม่ได้  คืออย่างน้อยต้องมีคุณ ๒ อย่าง  คือ  ศีลกับปัญญา  แล้วพระองค์ทรงแสดงลักษณะของศีลและปัญญา.

๕. กูฏทันตสูตร   พระองค์ประทับใกล้บ้านพราหมณ์  ขานุมัตตคาม  แขวงเมืองมคธ  ทรงปรารภกูฏทันตพราหมณ์   แสดงอาการบูชายัญของพระเจ้ามหาวิชิตราชว่า  เป็นการบูชายัญแบบไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น  คือการบูชายัญโดยวิธีประพฤติธรรม.

๖. มหาลิสูตร พระองค์ประทับที่ศาลาแบบเรือนยอดในป่ามหาวัน ใกล้เมืองไพศาลี  ทรงแสดงเรื่องสมาธิ  ศีล  ฌาน   และแสดงว่าผู้ละสังโยชน์ได้อย่างไร  จึงเป็นโสดาบันเป็นต้น.

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ     :090:

ออฟไลน์ phisorn.b

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 143
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: 13 พ.ค. 2551, 07:01:56 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...

๗. ชาลิยสูตร   พระองค์ประทับที่โฆสิตาราม  เมืองโกสัมพี   ทรงแสดงธรรมแก่ปริพพาชกชื่อ  มัณฑิยะกับชาลิยะ  มีเนื้อความคล้ายกับสามัญญผลสูตร.

๘. สีหนาทสูตร   พระองค์ประทับที่ป่าเนื้อ  ใกล้นครอุรุญญา  ทรงแสดงธรรมคล้ายเปล่งสีหนาทแก่อเจลกัสสป  จนอเจลกัสสปเลื่อใส ทูลขอบวช  ภายหลังสำเร็จพระอรหัต.

๙. โปฏฐปาทสูตร   พระองค์ประทับที่พระเชตะวัน  เมืองสาวัตถี  ทรงแสดงธรรมแก่โปฏฐปาทปริพพาชก  ที่มาทูลถามเรื่องโลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง  และเรื่องอัตตา  อนัตตา   จนโปฏฐปาทปริพพาชกเลื่อมใสขอบวช.

๑๐. สุภสูตร   พระอานนทเถระแสดงเรื่องบรรพชาเรื่องศีล  เป็นต้น  แก่สุภมาณพที่เมืองสาวัตถี  เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว.

๑๑.  เกวัฏฏสูตร พระองค์ประทับที่ปาวาริกัมพวัน  ใกล้เมืองนาลันทา  ทรงแสดงเรื่องปาฏิหาริย์ ๔ แก่คฤหบดีบุตร  ชื่อเกวัฏฏะ.

๑๒. โลหิจจสูตร   พระองค์ประทับที่สาลวติกาแคล้นโกศล  ทรงปรารภโลหิจจพราหมณ์   ทรงแสดงถึงมิจฉาทิฏฐิ  และศาสดาที่ควรโจทท้วงว่ากล่าว  และศาสดาที่ไม่ควรโจทท้วงว่ากล่าว.

๑๓. เตวิชชสูตร  พระองค์ประทับที่บ้านพราหมณ์เชื่อมนสากตะ ทรงแสดงถึงทางให้ถึงพรหมโลกแก่วาเสฏฐภารทวาชมาณพ.

***    วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ      :090:

ออฟไลน์ phisorn.b

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 143
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: 21 พ.ค. 2551, 07:47:29 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...


                                         เล่มที่ ๑๐ (มหาวรรค)

เนื้อความย่อ ๆ ในเล่ม ๑๐ นี้ ชื่อมหาวรรค  เพราะมีพระสูตรที่มีมหาขึ้นหน้าชื่ออยู่หลายสูตร  ทั้งหมดมี ๑๐ สูตร  คือ


๐๑.  มหาปทานสูตร.

๐๒.  มหานิทานสูตร.

๐๓.  มหาปรินิพพานสูตร.

๐๔.  มหาสุทัสสนสูตร.

๐๕.  ชนวสภสูตร.

๐๖.  มหาโควินทสูตร.

๐๗.  มหาสมัยสูตร.

๐๘. สักกปัญหสูตร.

๐๙. มหาสติปัฏฐานสูตร.

๑๐. ปายาสิราชัญญสูตร.

๑. มหาปทานสูตร
  พระองค์ประทับที่กเรริกุฎี   ( กเรริเป็นชื่อของไม้กุ่ม  เป็นซ้าอยู่หน้ากุฎีนั้น  ในพระเชตะวันมีกุฎีใหญ่ ๆ อยู่ ๔ หลัง  คือ กเรริกุฎี ๑ โกสัมพีกุฎี ๑  พระคันธกุฎี ๑   สลฬฆระกุฎี๑   ค่าสร้างหลังละแสน  สลฬฆระพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสร้าง  อีกสามหลังอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้าง    กเรริกุฎีสวยงามดังเทพวิมาน...ที่มาจาก...อัฏฐกถาสุมังคลวิลาสินี. ๒ / ๑.ในพระเชตวันทรงแสดงเรื่องพระพุทธเจ้าในอดีตว่ามีพระนามอย่างไรเป็นต้น  และกำหนดจาตุรงคสันนิบาติแห่งพระสาวก  จนถึงพระพุทธเจ้าพระองค์ที่มีคำสอนปรากฏอยู่ในบัดนี้.

๒. มหานิทานสูตรพระองค์ประทับที่นิคมกัมมาสธัมมะแคว้นกุรุ ทรงแสดงปฏิจจาสมุปบาทและเหตุแห่งธรรมทั้งหลาย.

๓. มหาปรินิพพานสูตร   แสดงเรื่องปรินิพพานของพระองค์ มีเนื้อความชัดเจนอยู่ในหนังสือพระพุทธประวัติเล่ม ๓ ทั้งหมดแล้ว.         

๔.  มหาสุทัสสนสูตร   พระองค์ประทับที่ไม้สาละ  เมืองกุสินารา  ทรงแสดงแก่พระอานนท์  เมื่อใกล้จะปรินิพพานว่า  เมืองกุสินาราเคยเป็นนครใหญ่  เป็นที่อยู่ของพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า  มหาสุทัสสนะมาแล้ว   และทรงแสดงเรื่องพระเจ้ามหาสุทัสสนะนั้นอย่างพิสดาร  ตอนจบตรัสคาถา   อนิจฺจา  วต  สงฺขารา ฯ.

***    วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ      :090:

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: 21 พ.ค. 2551, 07:25:53 »
ครับ เยี่ยมเช่นเคย :015:

ออฟไลน์ phisorn.b

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 143
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: 29 พ.ค. 2551, 08:48:45 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...

๕. ชนวสภสูตร ? พระองค์ประทับที่บ้านใกล้บึงนาทิกะ   ทรงแสดงเรื่องคติของสัตว์ว่าเป็นไปต่าง ๆ กัน พระองค์ทรงพิจารณาด้วยทิพพโสต   ทรงพบพระเจ้าพิมพิสาร  ซึ่งไปเกิดเป็นชนวสภยักษ์  สหายของท้าวเวสสวัณ   ท้าวเธอได้กราบทูลพระองค์ว่า  จุติจากนั้นแล้วจะมาเกิดเป็นพระราชาในเมืองมนุษย์.
   
๖. มหาโควินทสูตร ? พระองค์ประทับที่ภูเขาคิชฌกูฏ  ทรงแสดงถึงเรื่องปัญจสิขเทพบุตรมาเฝ้าพระองค์ที่ภูเขาคิชฌกูฏ   กราบทูลเรื่องมหาโควินทพราหมณ์กับเจ้าชายเรณูว่า  มีความประพฤติอย่างนั้น ๆ .

๗. มหาสมัยสูตร  พระองค์ประทับที่มหาวันใกล้กรุงกบิลพัสดุ์   ทรงแสดงถึงเรื่องพวกยักษ์และเทวดามาประชุมกันที่ป่ามหาวัน  เมืองกบิลพัสดุ์.

๘. สักกปัญหสูตร? พระองค์ประทับที่อินทสากลคูหา  ภูเขาเวทียกะ  แสดงถึงเรื่องท้าวสักกเทวราชลงไปเฝ้า  ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองราชคฤห์  แล้วทูลถามปัญหา   พระองค์ทรงพยากรณ์  แล้วท้าวสักกเทวราชก็กล่าว  นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทธสฺส ฯ ขึ้น  ๓  ครั้ง.

๙. มหาสติปัฏฐานสูตร ? พระองค์ทรงประทับที่นิคมกัมมาสธัมมะแคว้นกุรุ  พระพุทธองค์ทรงแสดงสติปัฏฐาน ๔ อย่างพิสดาร.....( พุทธศาสนิกทุกคนต้องรู้สูตรนี้และต้องปฏิบัติตามสูตรนี้เท่านั้น).

๑๐. ปายาสิราชัญญสูตร? พระกุมารกัสสปจาริกไปในเสตัพยนครแคว้นโกศล   พระกุมารกัสสปแก้ปัญหาทรมานเจ้าปายาสิผู้มิจฉาทิฏฐิด้วยอุปมาอุปไมยต่าง ๆ  และเจ้าปายาสิก็ยังทำบุญให้ทานโดยกิริยาที่ไม่เคารพ  ละโลกไปเกิดเป็นเทวดามีวิมานอันว่าง  ส่วนอุตตรมาณพ ได้ฟังจากเจ้าปายาสิ  ทำบุญให้ทานด้วยความเคารพไปเกิดเป็นเทวดา  มีวิมานอันเต็มไปด้วยเครื่องบริโภคอันเป็นทิพย์   เรื่องนี้พระควัมปติได้พบ  และนำมาเล่าแก่มนุษย์.   

***? ? วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ? ?สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ? ? ? :090:

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: 29 พ.ค. 2551, 08:40:36 »
สาธุ ดีแล้วครับ :054:

ออฟไลน์ phisorn.b

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 143
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: 02 มิ.ย. 2551, 01:54:45 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...


                                เล่มที่ ๑๑ (ปาฏิกวรรค)
 
   ในเล่มนี้ชื่อปาฏิกวรรค  เพราะมีปาฏิกสูตรเป็นสูตรต้น  มีอยู่ ๑๑ สูตร  คือ

๑   ปาฏิกสูตร.

๒.  อุทุมพริกสูตร.

๓.  จักกวัตติสูตร.

๔.  อัคคัญญสูตร.

๕.  สัมปสาทนียสูตร.

๖.  ปาสาทิกสูตร.

๗.  ลักขณสูตร.

๘.  สิงคาลกสูตร.

๙.  อาฏานาฏิยสูตร.

๑๐. สังคีติสูตร.

๑๑. ทสุตตรสูตร.

๑. ปาฏิกสูตร
  พระองค์ประทับที่อนุปิยนิคม  แคว้นมัลละ ทรงแสดงธรรมปรารภอเจลกะชื่อปาฏิกะเป็นต้น   ในพระสูตรนี้แสดงว่า อุเทนเจดีย์ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของเมืองไพสาลี  โคตรมกเจดีย์อยู่ทิศใต้  สัตตัมพเจดีย์อยู่ทิศตะวันตก   พหุปุตตกเจดีย์อยู่ทิศเหนือ   ตอนท้ายทรงแสดงสุภโมกข์แก่ภัคควปริพพาชก.

๒. อุทุมพริกสูตร    พระองค์ประทับที่เขาคิชฌกูฏเมืองราชคฤห์  เสด็จไปที่อุทุมพริการามของปริพพาชก   พวกปริพพาชกทูลถามถึงธรรมะในพระพุทธศาสนา  แต่พระองค์ตรัสห้ามเสียว่า  พวกท่านมีทิฏฐิต่างกันเข้าใจยาก  พวกท่านจงถามลัทธิของตนเถิด   พวกนั้นก็ดีใจแล้วถามปัญหาในลัทธิของตน  พระองค์ทรงแก้ได้ และตรัสว่าเป็นเครื่องเศร้าหมอง  แล้วตรัสตบะในพระธรรวินัยว่าไม่เศร้าหมอง.

๓. จักกวัตติสูตร   พระองค์ประทับที่มาตุลนคร  แคว้นมคธ  ทรงแสดงแก่พวกภิกษุให้มีตนเป็นที่พึ่ง  มีธรรมเป็นที่พึ่ง  อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง  บุญย่อมเจริญ   แล้วทรงเล่าเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิ  และสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ.

๔. อัคคัญญสูตร  พระองค์ประทับที่ปราสาทของนางวิสาขาในบุพพาราม   ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองสาวัตถี  ทรงแสดงแก่พวกพราหมณ์ที่ถือว่าพราหมณ์ประเสริฐกว่าวรรณะอื่น  ทรงแสดงว่าจะเป็นวรรณะใดก็ตาม  เมื่อทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว   และเมื่อถึงพระอรหัตตผลแล้ว  ย่อมเป็นผู้ประเสริฐที่สุด.

๕. สัมปสาทนียสูตร  พระองค์ประทับที่ปาวาริกัมพวัน  ใกล้เมืองนาลันทา ทรงปรารภพระสารีบุตรผู้ซึ่งกราบทูลว่ามีความเลื่อมในในพระองค์อย่างที่สุด ไม่มีใครเปรียบปาน   แล้วตรัสถามว่า  ก็พระพุทธเจ้าในอดีตในอนาคตพระอค์ก็เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกัน  สารีบุตไม่เลื่อมใสหรือ ?  แต่พระสารีบุตรกราบทูลว่า สำหรับพระองแล้ว  ย่อมนำความเลื่อมใสให้เกิดครบในอายตนะภายในทั้ง ๖   คือตาได้เห็นพระรูปพระโฉมเป็นต้น.

***    วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ      :090:

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: 02 มิ.ย. 2551, 09:34:09 »
สาธุครับท่าน :001:

ออฟไลน์ phisorn.b

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 143
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: 05 มิ.ย. 2551, 01:05:41 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...

๖. ปาสาทิกสูตร ? พระองค์ประทับที่ประสาทในสวนมะม่วงของเจ้าศากยะผู้ชำนาญธนู  ในแคว้นสักกะ? ทรงแสดงธรรมวินัยนี้ว่า  น่าเลื่อมใส  เป็นเหตุให้ตั้งอยู่ได้นาน  ทรงแสดงแก่จุนทะสมณุทเทส ( สามเณร )? ปรารภนิครนถนาฏบุตรตาย  สาวกแตกกัน   เมื่อทรงแสดงอยู่นั้น  พระอุปวาณะผู้นั่งถวายงานพัดอยู่เบื้องปฤษฎางค์กราบทูลว่า? น่าเลื่อมใสจริงธรรมปริยายนี้  จึงตรัสให้เรียกพระสูตรว่า ? ปาสาทิกสูตร?  สูตรน่าเลื่อมใส.

๗. ลักขณสูตร ? พระองค์ประทับที่พระเชตะวัน  ทรงแสดงมหาปุริสลักษณะ ๓๒  พร้อมทั้งบุพกรรมที่จะให้ได้ลักษณะนั้น ๆ และตรัสว่าผู้มีลักษณะอย่างนี้  ย่อมมีคติเป็น ๒ คือ ถ้าเป็นคฤหัสถ์จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ  ถ้าออกบวชจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะในโลก

๘. สิงคาลกสูตร? พระองค์ประทับที่พระเวฬุวัน  เมืองราชคฤห์  ทรงปรารภชายหนุ่มชื่อสิงคาลกะ  ผู้กำลังไหว้ทิศตามคำสั่งของบิดาทุก ๆ วัน   พระองค์ทรงแสดงทิศทั้ง ๖ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคล  และธรรมกิเลสเครื่องเศร้าหมองของกรรม  และอบายมุขทางฉิบหายแห่งโภคทรัพย์เป็นต้น?( ดูเนื้อความเพิ่มเติมในหนังสือนวโกวาทตอนคิหิปฏิบัติ).

๙. อาฏานาฏิยสูตร? พระองค์ประทับที่ภูเขาคิชฌกูฏ  แขวงเมืองราชคฤห์  ทรงปรารภพวกยักษ์ที่มาเฝ้าพระองค์  ท้าวเวสสวัณกราบทูลว่า  ยักษ์บางพวกไม่ชอบพระองค์  เพราะทรงสั่งสอนให้รักษาศีล ๕  พวกเขารักษาไม่ได้  จึงจะเบียดเบียนพุทธบริษัท ขอให้พระองค์ทรงถืออาการอารักขาชื่ออาฏานาฏิยะ  เพื่อป้องกันยักษ์เหล่านั้น  แล้วท้าวเวสสวัณก็กล่าวอาฏานาฏิยะที่เรียกว่าภาณยักษ์ถวาย  ภายหลังตรัสเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟัง.

๑๐. สังคีติสูตร ? พระองค์ประทับที่ป่ามะม่วงของนายจุนทะกัมมารบุตร  เมืองปาวา พระสารีบุตรปรารภนิครนถนาฏบุตรตายสาวกแตกกัน? จึงกล่าวสังคีติร้อยกรองพระธรรมเป็นหมวด ๆ แก่พวกภิกษุ  เช่นหมวด ๑ เป็นพวกหนึ่ง   เป็นต้น.

๑๑. ทสุตตรสูตร ? พระองค์ประทับที่ริมสระคัคครา  เมืองจัมปา   พระสารีบุตรแสดงธรรมเป็นหมวด ๆ  จนถึงหมวด ๑๐ เป็นอย่างยิ่ง  เหมือนอย่างสังคีติสูตร

***? ?เนื้อความย่อในทีฆนิกาย ๓ เล่ม? ซึ่งมีพระสูตร? ๓๔? สูตร? ?***?

***? ? วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ? ?สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ ? ? :090:

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: 05 มิ.ย. 2551, 09:03:45 »
อนุโมทนาครับผม :114:

ออฟไลน์ phisorn.b

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 143
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
พระไตรปิฎกย่อ
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: 06 มิ.ย. 2551, 10:52:02 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?*****    มัชฌิมนิกาย    *****
   
***? ?ในมัชฌิมนกายนี้แบ่งเป็น ๓ เล่ม  คือ   เล่ม ๑๒ มูลปัณณาสก์ ๑ เล่ม ๑๓  มัชฌิมปัณณาสก์ ๑ เล่ม ๑๔  อุปริปัณณาสก์ ๑  ที่เรียกว่าปัณณาสก์ ๆ นี้  แปลว่าหมวด ๕๐ คือมี ๕๐ สูตร  แต่ในเล่มที่ ๑๔ มี ๕๒ สูตร  เหตุที่ปัณณาสก์ ( หมวด ๕๐ ) นี้   เรียกว่ามูลปัณณาสก์  เพราะเป็นหมวด ๕๐ ข้างต้น? มัชฌิมปันนาสก์  เป็นหมวด ๕๐ กลาง และอุปริปัณณาสก์  เป็นหมวด ๕๐ ตอนท้าย

***? ? ?คำว่ามูลเทียบด้วยโคนไม้   ?มัชฌิมกลางต้น   อุปริยอดไม้   ฉะนั้น  ท่านจึงให้ชื่อปัณณาสก์ทั้ง ๓ ไว้อย่างนั้น? และในปัณณาสก์นั้นแบ่งเป็นตอน ๆ เรียกว่าวรรค โดยมีวรรคละ ๑๐ สูตรโดยมาก   มี ๑๒  สูตรอยู่เพียงวรรคเดียว  คือในเล่ม ๑๔? จึงรวมพระสูตรในมัชฌิมนิกายได้  ๑๕๒ สูตร  ดังมีเนื้อความย่อๆ ดังต่อไปนี้ ครับ


? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?? ? ? ? ?เล่มที่ ๑๒ (มูลปัณณาสก์)

                 ในเล่ม ๑๒ แบ่งเป็น ๕ วรรค ๆ ละ ๑๐ สูตร? คือ

๑. มูลปริยายวรรค? มี ๑๐ สูตร? ดังนี้

      
๑. มูลปริยายสูตร? พระพุทธเจ้าทรงแสดงความรู้ในเหตุ ๔ เป็นต้น ของปุถุชนและพระอริยะว่าต่างกัน  ที่รู้แล้วเพลิดเพลินหรือไม่  และตรัสว่าความเพลิดเพลินเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์.
      
๒. สัพพาสวสังวรสูตร ? ทรงแสดงถึงอาสวะทั้งปวงที่ควรละเสียเป็นต้น      

๓. ธัมมทายาทสูตร ? ตรัสให้พวกภิกษุเป็นธรรมทายาทรับมรดกธรรมะของพระองค์  ไม่ให้เป็นอามิสทายาท   คือรับมฤดกอามิส.

๔. ภยเภรวสูตร? ตรัสถึงอกุศลเป็นภัยอันน่ากลัว  ตรัสถึงวิชชา ๓ ประการเป็นต้น
      

๕. อนังคณสูตร   ตรัสถึงกิเลสเครื่องยั่วยวนเพียงดังเนิน  และพระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะสนทนากัน  เรื่องการปฏิบัติธรรมะเปรียบด้วยช่างถากไม้.      

๖. อากังเขยยสูตร ? ทรงแสดงว่าถ้าภิกษุหวังผลในพระศาสนาตั้งต้นแต่จะให้เป็นที่รักที่เคารพของเพื่อนพรหมจารี  ก็พึงรักษาศีลให้บริบูรณ์เป็นต้น   
   
๗. วัตถูปมสูตร   ทรงเปรียบจิตที่เศร้าหมองและไม่เศร้าหมองด้วยผ้า  เมื่อจิตเศร้าหมองทุคติเป็นหวังได้  เมื่อจิตไม่เศร้าหมองสุคติเป็นหวังได้.

๘. สัลเลขสูตร ? ทรงแสดงการปฏิบัติขัดเกลาแก่พระมหาจุนทะ

๙. สัมมาทิฏฐิสูตร ? พระสารีบุตรแสดงสัมมาทิฏฐิแก่พวกภิกษุ

๑๐. สติปัฏฐานสูตร ? ทรงแสดงสติปัฏฐาน ๔. ( สูตรนี้พุทธศาสนิกชนทุกท่านจำเป็นต้องรู้และเข้าใจเป็นอย่างดีจึงจะพ้นทุกข์ )
   


๒. สีหนาทวรรค? มี? ๑๐ สูตร

      
๑. จูฬสีหนาทสูตร
? ทรงแสดงสมณะ ๔ พวกเป็นต้น.
   
๒. มหาสีหนาทสูตร ? ทรงแสดงพลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔  พรหมจรรย์ ๔   เป็นต้น

๓. มหาทุกขักขันธสูตร? พวกเดียรถีย์พูดอวดกับพวกภิกษุว่า  บัญญัติธรรมะแสดงสั่งสอนธรรมะเหมือนกับพระพุทธเจ้า  พวกภิกษุเข้าเฝ้าพระองค์แล้วกราบทูลเรื่องนั้น  พระองค์ทรงแสดงเหตุแห่งทุกข์มีกามเป็นต้น
      
๔. จูฬทุกขักขันธสูตร ? ตรัสแก่ท้าวมหานามศากยะถึงเหตุแห่งทุกข์ต่างๆ
      
๕. อนุมานสูตร  พระมหาโมคคัลลานะแสดงแก่ภิกษุถึงเรื่องการพิจรณาธรรมในตน .

๖.เจโตขีลสูตร  ตรัสถึงตะปูที่ตรึงใจสัตว์  ๕  อย่าง.
      
๗. วนปัตถสูตร ? ทรงแสดงถึงผู้อาศัยป่า ว่า  อย่างไรบรรลุธรรมวิเศษ  อย่างไรไม่บรรลุ.

๘. มธุปิณฑิกสูตร? พระองค์ทรงแสดงธรรมย่อ ๆ พระมหากัจจายนะอธิบายต่อไปอย่างพิสดาร.
      
๙.  เทวธาวิตักกสูตร ? ทรงแสดงแยกวิตกออกเป็น ๒ พวก  คือ  กุศล  อกุศล
      
๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร ? ตรัสถึงวิธีหยุดวิตก.


***? ? วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ? ?สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ? ? :090: