ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมรักษา  (อ่าน 3604 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

porvfc

  • บุคคลทั่วไป
ธรรมรักษา
« เมื่อ: 01 เม.ย. 2552, 09:37:22 »

ประวัติและปฏิปทา
พระราชสุธี (โสภณ โสภณจิตฺโต)

วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร
แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ


๏ อัตโนประวัติ

พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต) เป็นพระเถระที่มุ่งมั่นในการพัฒนาวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร พระอารามหลวงมาตลอดระยะเวลากว่า 5 ปี ควบคู่กันไปกับการส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-แผนกบาลี เพื่อสนองคุณประโยชน์และความวัฒนาสถาพรแห่งพระพุทธศาสนา

พระเทพคุณาภรณ์ มีนามเดิมว่า โสภณ พุ่มพวง เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ.2506 ตรงกับขึ้น 12 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ ณ บ้านกาหลง ต.กาหลง อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร และรองเจ้าคณะภาค 13 กรุงเทพมหานคร


๏ การบรรพชาและอุปสมบท

เมื่อวัยเยาว์ได้ศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดกาหลง จ.สมุทรสาคร จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แล้วไม่ได้ศึกษาต่อ เพราะได้มาบรรพชาเป็นสามเณรภาคฤดูร้อน เมื่ออายุ 13 ปี ณ วัดกาหลง ต.กาหลง อ.เมือง จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2519 โดยมีพระครูสมุทรธรรมสุนทร (สุด สิริธโร) เป็นพระอุปัชฌาย์

เป็นสามเณรอยู่ที่วัดกาหลง 2 ปี จึงได้ย้ายมาอยู่วัดหัวลำโพง แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม

เมื่ออายุครบ จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดหัวลำโพง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2528 โดยมีพระครูนครเขตบริรักษ์ (สุวิทย์ ฐิตวิชฺโช ป.ธ.3, M.A) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูบวรวุฒิกิจ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูวิสิฐวุฒิกร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า ?โสภณจิตฺโต?


๏ วิทยฐานะทางธรรมและทางโลก

หลังจากอุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม จนจบการศึกษาพระปริยัติธรรมสูงสุดของคณะสงฆ์ทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี พ.ศ.2521 สอบได้นักธรรมเอก พ.ศ.2536 สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค

ส่วนวิทยฐานะทางโลก พ.ศ.2541 จบปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยเกริก คณะศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและการวางแผนสังคม (ศศ.ม.)


๏ งานด้านการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา

- เป็นกรรมการสนามหลวงแผนกธรรม-แผนกบาลี

- เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-แผนกบาลี

- เป็นพระปริยัตินิเทศก์

- เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดเทวราชกุญชร ได้ส่งเสริมสนับการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรให้ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมามีพระภิกษุสอบได้เป็นเปรียญธรรม 9 ประโยค จำนวน 5 รูปด้วยกัน โดยได้สนับสนุนทุนการศึกษาให้ผู้สอบได้ ป.ธ. 9 ทุนละหนึ่งแสนบาท คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 1 เครื่อง พร้อมตั๋วเครื่องบินจาริกแสวงบุญไปกลับกรุงเทพฯ-อินเดีย และส่งพระภิกษุที่สนใจวิปัสสนากรรมฐานที่ประเทศพม่า

- ได้ตั้งทุนการศึกษาสงเคราะห์ระดับประถมศึกษา และจัดกิจกรรมการพัฒนาการศึกษาให้แก่นักเรียนโรงเรียนวัดเทวราชกุญชร


๏ งานด้านการเผยแผ่ธรรม

พระเทพคุณาภรณ์ เป็นพระนักเผยแผ่ ได้แสดงธรรมตามวาระสำคัญในวันธรรมสวนะ แสดงพระธรรมเทศนา ณ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย อบรมข้าราชการทหารกองสวัสดิการทหารบก อบรมศีลธรรมแก่เด็กและเยาวชน และยังได้เรียบเรียงหนังสือธรรมะสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย

หลังจากวัดเทวราชกุญชร ได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม ให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำกรุงเทพมหานคร แห่งที่ 13 แล้ว ท่านได้จัดการปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิเจริญจิตตภาวนา ให้แก่บริษัท สุวรรณชาติ จำกัด ในพระบรมราชูปถัมภ์ และข้าราชการทหารกองทัพบก


๏ ลำดับงานปกครองและสมณศักดิ์

ผลงานที่ปรากฏทั้งด้านการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรม และการเผยแผ่ รวมถึง การพัฒนาเสนาสนะจนเป็นที่ยอมรับ จึงทำให้ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์และหน้าที่การงานทางคณะสงฆ์ ดังนี้

- เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2541 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระศรีวชิรโมลี

- เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2544 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร

- เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2546 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสุธี

- เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2549 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะภาค 13

- เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2551 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพคุณาภรณ์

- ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร, เป็นพระอุปัชฌาย์วิสามัญ, เป็นรองเจ้าคณะภาค 13 (ฝ่ายการศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่ ในเขตปกครองจังหวัด ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด)


๏ ผลงานและเกียรติคุณดีเด่น

ปี พ.ศ.2545 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร และหม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา พระราชทานพระพุทธรัตนโกสินทร์มหาวชิราลงกรณขนาดหน้าตัก 19 นิ้ว ประดิษฐานประจำพระแท่นบุษบกที่เทวราชธรรมศาลาชั้นสอง เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2545

ปี พ.ศ.2546 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานนามพระประธานประจำพระอุโบสถ นามว่า พระพุทธเทวราชปฏิมากร เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546

ปี พ.ศ.2546 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการบูรณะพระอุโบสถ จำนวนเงิน 1,000,000 บาท เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2546

พระเทพคุณาภรณ์ ในวัยเพียง 44 พรรษา 22 (เมื่อปี พ.ศ.2550) มุ่งมั่นในการพัฒนาพระอารามสมกับเป็นพระอารามหลวง ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจพัฒนาพระอารามจนแล้วเสร็จ ตามโครงการบูรณะพระอารามเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา

ปี พ.ศ.2548 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเข็มเกียรติคุณอนุรักษ์มรดกไทย เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2548 เนื่องจากพระราชสุธีได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา อนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังได้อย่างงดงามวิจิตรตระการตา เพื่ออนุรักษ์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา

ปี พ.ศ.2548 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมพระพุทธรูปศิลปสมัยต่างๆ จำนวน 9 องค์ พระราชทานเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2548

ปี พ.ศ.2548 พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเป็นองค์ประธานประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธเทวราชปฏิมากร ขนาดบูชา 9 นิ้ว ณ พระอุโบสถวัดเทวราชกุญชร เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2548

ปี พ.ศ.2549 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา เสด็จแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีเปิดพระวิหาร และสมโภชพระพุทธรูปศิลปสมัยต่างๆ จำนวน 9 องค์ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2549

ต่อมาได้สร้างพิพิธภัณฑ์ไม้สักทอง กว้าง 16.75 เมตร ยาว 30.15 เมตร เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ด้านพระพุทธศาสนา อนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติในด้านสถาปัตยกรรมตามโครงการสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ไม้สักทอง เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีและทรงมีพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ในปี พ.ศ.2550 โดยได้รับการสนับสนุนจาก ศ.ดร.อุกฤษ และท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน

5 ปี (นับถึงปี พ.ศ.2550) แห่งการดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสของพระเทพคุณาภรณ์ ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถบวกกับประสบการณ์ที่มุ่งมั่นพัฒนาพระอาราม และบริหารกิจการพระศาสนา โดยเฉพาะการพลิกฟื้นวัดเทวราชกุญชร ให้สมกับเป็นพระอารามหลวงที่สำคัญเฉกเช่นในอดีต

วันที่ 5 เมษายน ของทุกๆ ปี เป็นวันคล้ายวันเกิดของพระเทพคุณาภรณ์ การนี้จึงขอเชิญศิษยานุศิษย์และผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาร่วมแสดงมุทิตาจิตสักการะโดยพร้อมเพรียงกัน





พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

บุคคลที่เกิดมาในโลกนี้ ย่อมประสบสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องด้วยอำนาจของกรรมที่ตนได้กระทำ ผู้ที่ทำกรรมดี ย่อมได้รับความสุข ผู้ที่ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับความทุกข์

ความดีและความชั่วเป็นของเที่ยงธรรม ไม่มีลำเอียง ใครทำดี ย่อมได้รับผลดี ใครทำชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ไม่ให้เดือดร้อนทุกข์ใจ ดังพุทธภาษิตที่ว่า "ธรรมย่อมรักษาผู้มีปกติประพฤติธรรม"

ธรรมในพุทธภาษิตนี้ หมายถึง กุศลธรรม กล่าวคือ ธรรมที่เป็นความฉลาด ความดี บุคคลทำแล้วสุขใจ ไม่เดือดร้อน เป็นสุข นอนสบาย

คนที่ทำแต่บาปกรรมย่อมอยู่ร้อนนอนทุกข์ ไม่สุขใจ จะประกอบสัมมาอาชีพ ก็ไม่เจริญ มีแต่คนตำหนิติเตียน ไม่คบค้าสมาคมด้วย เพราะการคบหาสมาคมกับคนชั่ว พาตัวให้เดือดร้อนอยู่ร่ำไป

ส่วนคนผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ย่อมมีจิตใจเป็นบุญ เป็นกุศล ไม่คิดเบียดเบียนใคร เพราะจิตใจของเขาเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม มีความเมตตารักใคร่ต่อคนทั่วไป

บุคคลที่ต้องการจะเกิดเป็นมนุษย์ต่อไป ต้องตั้งอยู่ในศีล 5 คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ ไม่ดื่มสุราเมรัย

มีเรื่องเล่าว่า นางสุชาดา ภรรยาของมฆมาณพ เมื่อตายแล้วบังเกิดเป็นนางนกกระยางที่ลำธารแห่งหนึ่ง ส่วนมฆมาณพต่อมาได้เป็นท้าวสักกเทวราช หรือพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ทรงตรวจสอบดูอัครมเหสีของตน ก็ทรงทราบว่า นางสุธัมมา นางสุนันทา นางสุจิตตา บังเกิดแล้วในสวรรค์ ส่วนนางสุชาดาเกิดเป็นนางนกกระยาง ก็ทรงสลดพระทัย ทรงคิดจะช่วยนางให้เกิดเป็นมนุษย์แล้วไปเกิดเป็นเทพธิดาบนสวรรค์ จึงแนะนำนางนกกระยางให้ถือศีล 5 เมื่อนางนกกระยางสิ้นชีวิตแล้ว จึงไปเกิดบนสวรรค์ ด้วยอานุภาพของศีล

บุคคลผู้ตั้งอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีธรรมและประพฤติธรรม บุคคลผู้ประพฤติธรรมชื่อว่ารักษาตนและคุ้มครองตน ให้พ้นจากภัยพิบัติ ในชาตินี้และชาติหน้าได้โดยแท้

บุคคลผู้ประพฤติธรรมสม่ำเสมอ ธรรมก็ย่อมรักษาคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุขเจริญงอกงาม ทั้งทางโลกและทางธรรม เหมือนคนอาบน้ำชำระร่างกาย ให้สะอาดปราศจากมลทินฉะนั้น
 
 
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสด

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 เม.ย. 2552, 09:40:25 โดย porvfc+สิบทัศน์ »

porvfc

  • บุคคลทั่วไป
ตอบ: ธรรมรักษา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 01 เม.ย. 2552, 09:42:54 »

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ธรรมรักษา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 01 เม.ย. 2552, 09:44:18 »
ขอบคุณมากครับที่นำประวัติท่านมาเผยแพร่ ธรรมรักษา ซิมเปิ้ลแบบท่านอชิตะว่าไว้ครับ ( ขอใช้บ้างนะครับ  :002: ) กฎแน่นอนตายตัว " ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว " หมั่นรักษาศีลภาวนา ปัญญาก็จะเกิด ติดตามต่อไปเรื่อยๆนะครับเมียจ๋า :025: :080: :026: :077: :090: :114: บทความของหลวงพ่อจรัญดีมากๆเลยนะครับ ขอบคุณมากครับ  :077: