ผู้เขียน หัวข้อ: บวชลูกแก้ว  (อ่าน 3950 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ชลาพุชะ

  • เราอาจไม่รู้มากนัก แต่เรารู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1526
  • เพศ: ชาย
  • ที่นี่คือเว็บวัดบางพระ เราก็ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
บวชลูกแก้ว
« เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 11:36:14 »
     แม่ฮ่องสอนเป็นดินแดน แห่งความฝัน ของชาวต่างชาติ เพราะตั้งอยู่สุดชายแดนไทยตอนบน ซึ่งรายล้อม ไปด้วยขุนเขา ที่สลับซับซ้อน และมีหมอกปกคลุมตลอดทั้งปี ด้วยเหตุนี้ ผู้ใดที่ได้มาเยือน ย่อมเกิดความประทับใจไม่รู้ลืม และพากัน ขนานนามจังหวัดนี้ว่า "เมืองสามหมอก" หรือ "สวิสเซอร์แลนด์ แห่งเมืองไทย " สมกับคำขวัญที่ว่า
"หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง"
           ชนพื้นเมืองในจังหวัด แม่ฮ่องสอนนั้น ส่วนมากเป็นคนไต หรือไทยใหญ่ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญการเดินป่า โดยเร่ร่อน ไปค้าขาย ของป่า และทำไม้ ยังต่างแดนในเขตพม่าและลาว เช่น หลวงพระบาง สิบสองปันนา ฯลฯ
           ก่อนนั้นมีถิ่นฐานเดิม อยู่ในประเทศจีน พอถูกกองทัพ จักรพรรดิเจงกีสข่านแผ่อำนาจลงมา ทางทิศตะวันตก เฉียงใต้ของจีน ทำให้ชาวไทยใหญ่จำนวนหนึ่งต้องอพยพ ลงมาทางใต้ แถบประเทศพม่า จนกระทั่ง สมัยที่พม่าตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของประเทศอังกฤษ จึงมีบางส่วน อพยพเข้ามา อยู่บริเวณภาคเหนือของไทย เช่น เชียงราย แม่ฮ่องสอน ฯลฯ ดังนั้นชาวไทยใหญ่ จึงมิใช่คนเชื้อสายพม่า ซ้ำยังมีอารยธรรม ที่สูงกว่าพม่าเสียอีก โดยเฉพาะด้านศิลปะกรรม วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียม ประเพณี พลเมืองไทยใหญ่ ส่วนมากนับถือ ศาสนาพุทธ ในรอบปีมีการ ประกอบศาสนกิจหลายครั้ง แต่ครั้งที่สำคัญ และยิ่งใหญ่สุด ได้แก่ ปอยส่างลอง หรือ การบวชลูกแก้ว ของคนไต ปอยส่างลอง เป็นภาษาไทยใหญ่ ความหมาย ของคำสามารถ แยกได้ดังนี้
?   ปอย แปลว่า งานบุญ งานฉลอง หรือพิธี
?   ส่าง สันนิษฐานว่า อาจเพี้ยน มาจากคำว่า สาง ที่แปลว่า พระพรหม ซึ่งเป็นเทพที่ชาวไทยใหญ่ นับถือมาก โดยเรียกว่า ขุนสาง และ เรียกสามเณรว่าเจ้าสาง
?   ลอง มาจากคำว่า "อลอง" แปลว่า ประโพธิสัตว์ หรือหน่อพุทธางกูร แต่หมายถึง สภาวะที่กำลัง ก้าวเข้าสู่ชีวิต สามเณรได้ด้วย
รวมความแล้ว "ปอยส่างลอง" จึงหมายถึง พิธีงานบุญ ที่กำลังก้าว ไปสู่เพศสามเณร นั่นเอง แต่มีบางท่าน ให้คำจำกัดความ คำว่า "ส่างลอง" นั้น มาจากคำว่า "สำรอง" ซึ่งหมายถึง มีไว้หรือตระเตรียม ไว้เผื่อเหลือเผื่อขาด
           คนไตถือว่า การบรรพชา สารเณร หรือการอุปสมบท พระภิกษุนั้น เป็นงานบุญกุศล ของพ่อแม่ ญาติพี่น้อง ส่วนจะมี อานิสงส์ มากน้อยเพียงใด มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
?   ถ้าอุปสมบท บุตรตนเอง เป็นพระภิกษุ มีอานิสงส์ 16 กัลป์
?   ส่วนอุปสมบท บุตรผู้อื่น เป็นพระภิกษุ จะมีอานิสงส์ 8 กัลป์
?   หากได้บรรพชา บุตรเอง เป็นสามเณร มีอานิสงส์ 8 กัลป์
?   หรือบรรพชา บุตรผู้อื่น เป็นสามเณร จะมีอานิสงส์ 4 กัลป์
?   ผู้ที่เป็นพ่อแม่ ของสามเณร สังคม จะให้การยกย่อง เป็น พ่อส่าง แม่ส่าง
?   ส่วนพ่อแม่ ของพระภิกษุ จะถูกยกย่อง เป็น พ่อจาง แม่จาง
           ชาวไทยใหญ่ ให้ความสำคัญ กับพิธีบรรพชา สามเณรมาก เพราะถือว่า เมื่อวัยเด็กยัง อ่อนต่อโลก เมื่อเป็นเพศสมณะ จะเป็นผู้สะอาด บริสุทธิ์ เปรียบเสมือน อัญมณีที่กำลังผ่าน การเจียระไน ดังนั้น พิธีปอยส่างลอง จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "การบวชลูกแก้ว"
           ปอยส่างลอง หรือการบวชลูกแก้ว กำหนดไว้ว่า ควรเป็นเยาวชน ที่อายุระหว่าง 10 - 14 ปี อันเป็นวัย ที่อยู่ในช่วง ศึกษาเล่าเรียน จึงนิยมบวชกัน เป็นหมู่ในช่วงปิด เทอมใหญ่ ภาคฤดูร้อน ซึ่งก่อนนั้น มักกระทำกัน ในเดือนมีนาคม อันเป็นช่วง ที่ว่างเว้นจากการ ทำนาทำไร่ และอากาศ กำลังเย็นสบาย เหตุที่เปลี่ยนเป็น เดือนเมษายน ของทุกปี เพราะเงื่อนไข ทางการศึกษา เป็นเหตุผลสำคัญ
           แต่ละปี งานปอยส่างลอง ใช้เวลาจัดประมาณ 3 - 7 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ฐานะของเจ้าภาพ แต่ละราย แต่พิธีที่สำคัญจริง ๆ มีแค่ 3 วันเท่านั้น
วันแรก คือ วันรวมส่างลอง เด็กที่จะได้รับ การบรรพชาเป็นสามเณร นั้นพ่อแม่จะรับตัว ไปแต่งกาย ที่วัดใกล้บ้านตน เมื่อลูกแก้ว โกนผมแล้ว บรรดาญาติพี่น้อง ที่เป็นผู้หญิง จะมาช่วยทาหน้า เขียนคิ้ว แต่งตัวให้อย่าง ปราณีต
           เริ่มจากการ วางมวยผม บนศีรษะที่เกลี้ยงเกลา โดยใช้เชือกแดง มัดให้แน่นปล่อยห้อย ลงมาเป็น 3 ชาย และโพกผ้าสีสวย สดคาดทับทิ้งชายผ้า โพกให้คลี่บานเป็นแบบ รูปพัดอยู่เหนือหูด้านขวา แซมด้วยดอกเอื้องคำ หรือดอกไม้อื่นๆก่อนนั้นนิยม ใช้ดอกไม้สด พอถึงยุคนี้ พากันหันมาใช้ ดอกไม้ประดิษฐ์ จากผ้าหรือกระดาษ เพราะรักษาง่าย ทนทาน ไม่โรยเร็ว และเก็บได้นาน
           สำหรับ มวยผมบนศรีษะ หากได้เส้นผม ของผู้ให้กำเนิด ส่างลองได้ยิ่งดี ถือเป็นสิ่งมงคล สูงสุด หากเป็นลูกกำพร้า อาจหยิบยืม หรือเส้นผมของผู้มีพระคุณ ที่บวชให้มาใช้แทนก็ได้อาภรณ์ที่สวมใส่ เริ่มจากเสื้อผ้า คอกลมแขนยาว เดินลายด้วย ดิ้นเงินดิ้นทอง อย่างแพรวพราว นุ่งผ้า โจงกระเบนแบบ ทางภาคกลางยาว เกือบจรดพื้น มีชายเสื้อปล่อยห้อย ทับผ้านุ่ง แลดูคล้าย เจ้าชายในสมัยโบราณ
           บริเวณแผ่นอกห้อย "แคบคอ" ซึ่งเป็นทองคำ เนื้อดีถูกตีแผ่ เป็นรูปแปดเหลี่ยมพิมพ์เป็น ลายนูนออกลวดลาย ต่างๆ บางทีเป็นรูป นกหงส์ก็มี ซึ่งอาจจะ หมายถึงหงสาวดี เมืองสำคัญ ในอดีตของไทยใหญ่ โดยส่างลองคนหนึ่ง จะห้อยประมาณ 5 - 9 แผ่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ฐานะของแต่ละครอบครัว วิธีการประดับ ใช้ผูกร้อยด้วยด้ายสีแดง เวลาสวมห้อยไว้ ด้านหน้า และผูกเงื่อน ไว้ด้านหลังประมาณ 1 - 2 เส้น
           นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่ทำหน้าที่ แบกส่างลอง ไปมายัง สถานที่ต่างๆ ยกเว้นบนปะรำ พิธีหรือที่วัด เนื่องจาก มีความเชื่อว่า ส่างลอง มีความสำคัญ กว่าคนธรรมดา สามัญ ถึงแม้จะยังไม่ได้ บรรพชาเป็นสามเณร แต่ก็ได้ รับการยกย่อง เป็นสมมุติเทพ องค์หนึ่ง ดังนั้น เวลาเดิน ต้องคล้ายเหินเท้าจะแตะถูก พื้นดินไม่ได้ จึงต้องมีพี่เลี้ยง ที่ได้รับการแต่งตั้ง จากเจ้าภาพ คอยสอดส่องดูแล ส่างลอง บุคคลเหล่านี้ มีชื่อเรียกกันว่า "ตะแป" บทบาทของตะแป ส่างลองมี ความสำคัญมาก นอกจากต้อง รับน้ำหนักของส่างลอง อยู่บนบ่านาน ถึง 2 - 3 วัน ยังต้อง คอยระมัดระวัง ทรัพย์สินเครื่องประดับ อันมีค่าอีกด้วย จึงจำเป็นต้อง ใช้ตะแป หลายคนคอย ผลัดเปลี่ยน หน้าที่กัน บรรดาตะแป เหล่านี้ยังต้องมีหัวหน้า คอยควบคุม อีกคนหนึ่ง เพื่อให้บรรดา ตะแป สนุกอยู่ใน ขอบเขตมิให้แหวกแนว และป้องกัน การผิดพลาด
           ในตอนสาย วันรวมส่างลอง บรรดาส่างลอง พอแต่งกายเสร็จ ตะแป จะแยกจากวัด แห่แหนไปตาม ถนนหนทาง เพื่อไปขอขมา ลาโทษผู้ใหญ่ และรับการให้ศีล ให้พรกับผูกข้อมือ ทั้งนี้ไม่จำกัด ว่าต้องเป็นญาติ ในหมู่ตน ชาวไทยใหญ่ เป็นชนกลุ่มน้อย จึงอยู่ด้วยการ เอื้ออารีต่อกัน แบบฉันท์พี่น้อง มีความรักใคร่ ปรองดองกัน ทุกคนเป็นญาติ กันหมดส่างลอง สามารถเข้าบ้านนั้น ออกบ้านนี้ ได้สะดวก บ้านใดที่ส่างลอง เข้าไปเยี่ยมเยือน ถือเป็นสิริมงคล เจ้าของบ้าน จะต้อนรับ อย่างเต็มที่ ด้วยการเตรียม น้ำดื่ม ขนม หมาก เมี่ยง พลู บุหรี่ มาเลี้ยงแขก มิให้ขาดตกบกพร่อง
วันที่สองวันแห่ครัวทาน ที่ยิ่งใหญ่ ตะแปจะพา ส่างลองทั้งหมด ออกไปแห่รอบๆ เมืองแม่ฮ่องสอน มุ่งสู่จุดหมาย ปลายทางที่วัด พร้อมด้วยเจ้าเมือง และขบวนฟ้อน ที่แต่งกายแบบ พื้นเมือง โดยมีดนตรีพม่า ช่วยขับกล่อมบรรเลง ตลอดเส้นทาง
           ในค่ำคืนนั้น หลังจากที่ส่างลอง อาบน้ำเสร็จ พร้อมกับแต่งกาย ด้วยส่างลองชุดใหม่ เพื่อเข้าพิธีฮ้องขวัญ ซึ่งคล้ายกับการ ทำขวัญนาคของ ภาคกลาง ต่างกันที่สวดเป็น ภาษาไทยใหญ่ ในพิธี ผู้เป็นพ่อแม่ จะป้อนอาหาร 12 อย่าง ให้ส่างลอง รับประทานอัน หมายถึงความ อุดมสมบูรณ์ ของข้าวปลาธัญญาหาร ตลอดปี ของชาวไทยใหญ่ จากนั้นผู้เข้า ร่วมพิธีจะแยกย้าย กันกลับบ้านพักผ่อน
วันที่สาม การเข้าสู่พิธีบรรพชา
           เช้ววันนี้ บรรดาตะแป จะแบกส่างลอง ไปทำการขอขมา ญาติผู้ใหญ่ต่อ หรือเรียกกันตาม ภาษาท้องถิ่นว่า "การกั่นตอ" จนกระทั่งถึง ในช่วงบ่าย จะมาชุมนุมกัน ที่วัดจองคำเพื่อ รอวันเวลาที่จะกระทำ พิธีบวชสามเณร
           พระสงฆ์จากอารามต่างๆ ได้รับการนิมนต์ มาเป็นอุปัชฌาย์ ในงานนี้ ซึ่งมีจำนวนมากเพียงพอ กับส่างลอง เสียงกล่าวคำขอบวช ของเหล่าส่างลอง ดังก้องกระหึ่มไปทั่วบริเวณวัด ท่ามกลางที่ชุมนุมสงฆ์ เมื่อได้รับอนุญาต การบวชจึงมีการ รับจีวรจากบิดามารดา
           ชั่วเวลาไม่นาน ชุดส่างลองอันสวยงาม ถูกเปลื้องออก พร้อมเครื่องประดับอันล้ำค่า เปลี่ยนมาเป็นนุ่งผ้าเหลือง ในเพศของสามเณรน้อย ที่สมบูรณ์หลังจาก ที่ได้รับศีลสิบแล้วนับแต่นี้ต่อไป จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสามเณรเพิ่มขึ้น อีกจำนวนหนึ่ง และได้พากันแยกย้าย ไปจำพรรษายังวัดอาราม ที่ใกล้กับภูมิลำเนา ของแต่ละคนต่อไป
           ประเพณี ปอยส่างลองนี้ ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อใด นั้นไม่ปรากฏ หลักฐานที่แน่ชัด ทราบแต่ว่า เป็นประเพณีเก่าแก่ ของชาวไทยใหญ่ โดยมีประวัติ ความเป็นมาดังนี้
           ในสมัยพุทธกาล มีกษัตริย์อยู่พระองค์หนึ่ง ทรงครองราชสมบัติ โดยทศพิธราชธรรม มีโอรสอยู่องค์หนึ่ง มีพระนามว่า จิตตะมังชา ขณะที่มีพระชนมายุได้ 10 พรรษา พระบิดามีความปรารถนา จะให้ผนวชเป็นสามเณร แต่ก็มิได้บังคับ แต่อย่างใดฝ่ายจิตตะมังชา แม้จะยังเยาว์วัย แต่ก็มีพระทัย เลื่อมใสพระบวร พุทธศาสนา มีพระประสงค์ อยากบวชเป็นสามเณร จึงได้ขออนุญาต ต่อพระบิดาด้วยเหตุบังเอิญที่พระทัย ทั้งสองฝ่ายพ้องต้องตรงกัน จึงเกิดความปลื้ม ปีติยิ่งนัก พระบิดาจึงโปรดให้ จัดการฉลองอันยิ่งใหญ่ ให้สมเกียรติพระโอรส แห่งนครมีงาน เฉลิมฉลองติดต่อกัน ถึง 7 วัน 7 คืน และนำเจ้าชาย จิตตะมังชา มาผนวชกับ พระบรมศาสดา มีฉายาใหม่ว่า จิตตะมาแถ่ ด้วยจิตที่เลื่อมใส ต่อพุทธศาสนา ภายหลังต่อมา จึงบวชเป็น พระภิกษุสืบไป
           2 ปีต่อมา พระพุทธองค์ ได้เสด็จมา ที่กรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อทรงเยี่ยม พระประยูรญาติ พระนางประชาบดี ซึ่งเป็นพระเจ้าน้า ได้ทรงถวายจีวร ทอด้วยเส้นใย ทองคำ 2 ผืน ผืนหนึ่งถวายแด่ พระพุทธองค์ ส่วนอีกผืนหนึ่ง นั้นให้ถวายกับสาวก ที่ตามเสด็จ โดยมิได้ เจาะจงเป็น รูปหนึ่งรูปใด บรรดาสาวก ไม่มีรูปใดกล้ารับ คงมีแต่ พระจิตตะ มาแต่องค์เดียว ที่เดินเข้าไป รับผ้าจีวร ทองคำผืนนั้น พระสาวกทั้งปวง ต่างติเตียน พระจิตตะมาแถ่ ที่ไปรับของ ที่เสมอกับ พระพุทธองค์พระบรมศาสดา ทราบเรื่องจึงโยนบาตร ขึ้นไปใน ห้องอากาศตรัสว่า
           "ขอศิษย์ตถาคตทั้งหลาย จงนำบาตรลูกนั้น กลับคืนมา แก่เราด้วยเถิด"
           บรรดาพระสาวกต่าง เหาะขึ้นไป เพื่อจะนำบาตร ลูกนั้นมาคืน แก่พระพุทธองค์ ปรากฏว่า จิตตะมาแถ่ เท่านั้นที่พุ่ง นำหน้าสาวก ทั้งปวงนำบาตร คืนมาได้ และได้มอบ ต่อพระศาสดา พระพุทธองค์ ตรัสแก่สาวก ทั้งหลายว่า
           "บารมี พระจิตตะมาแถ่นี้ ได้สร้างสมมา เป็นเวลาช้านาน จึงสมควร ที่จีวรทองคำนั้นตกแก่เขา โดยชอบ และจิตตะมาแถ่ นี้คือพระหน่อพุทธางกูร ในอนาคตกาล"
           จากตำนาน ความเชื่อเรื่องนี้ จึงเป็นที่มาของ ประเพณีบวชลูกแก้ว หรือปอยส่างลอง ของเมืองแม่ฮ่องสอน ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ของชาวไทยใหญ่ ไม่สามารถ จะหาชมได้จาก ที่อื่นๆ
                                     ประเพณีการบวชลูกแก้ว ณ เมืองม้า ประเทศพม่า
 
 
 
    การบวชเรียน นับเป็นประเพณีในพระพุทธศาสนา ที่สืบทอดกันมาแต่ครั้งอดีต และดูเหมือนว่ากระแสโลกที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ได้กลืนเอาประเพณีอันดีงามเหล่านี้ไป จนผู้คนหลงลืมกันไปว่า การบวชเรียนนั้นเป็นอย่างไร แต่ไม่น่าเชื่อว่าประเพณีการบวชเรียนนี้ จะยังคงเป็นสิ่งที่ ชาวเมืองม้า ประเทศพม่า ยึดถือ และปฏิบัติกันเรื่อยมา และถือเป็นประเพณีแห่งบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ ที่ชาวเมืองต่างตั้งหน้าตั้งตารอคอย
 
    ชาวเมืองม้าทุกคน ต่างให้ความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต โดยชาวเมืองจะน้อมนำหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ดังนั้นประเพณีต่างๆที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธศาสนา ก็จะได้รับการสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น และรักษาไว้ไม่ให้สูญหายไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเพณีบวชลูกแก้ว หากบ้านไหนมีลูกชายวัย 8ขวบขึ้นไป ก็จะส่งลูกไปบวชเรียนที่วัด และให้อยู่ฝึกตัว ศึกษาพระธรรมคำสอนไปจนโต
 
    แต่ก่อนที่เด็กชายเหล่านั้นจะได้บวช ?ลูกแก้ว? (หรือนาค) จะต้องผ่านการฝึกฝนอบรมเป็นเวลานานเกือบ 4เดือน เพื่อขัดเกลา และเตรียมกาย-ใจ ให้พร้อมต่อการบวชครั้งนี้ ซึ่งการบวชจะมีขึ้นในช่วงหลังออกพรรษา โดยที่ลูกแก้วจะมาฝากตัวเป็นศิษย์และขอบวช
 
 
 
    ลูกแก้วจะได้รับการยกฐานะ ให้เป็นเสมือนเจ้าชายที่กำลังจะออกบวช เมื่อชาวบ้านทราบข่าวการบวช ก็จะพากันมาแสดงความยินดี และมาช่วยงานบวชกันอย่างเต็มที่ ไม่ใช่แค่ชาวเมืองม้าเท่านั้น แต่ชาวเมืองอื่นๆในละแวกนั้นก็มาด้วย เพราะพวกเขาเห็นว่า การบวชเป็นสิ่งที่ได้บุญมาก และการที่ลูกหลานในเมืองได้บวชก็ถือเป็นสิริมงคลแก่เมืองอย่างยิ่ง ชาวบ้านจะชวนกันมาทำบุญกับลูกแก้ว ซึ่งที่นี่จะเรียกว่า ?การทาน? ทั้งทานของ และทานเงิน และที่น่าแปลกก็คือ จะมีการขับเพลง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการทำขวัญนาค โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องการบวช และการเสด็จออกบวชของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งจะขับเพลงตั้งแต่สองทุ่มเรื่อยไปจนถึงรุ่งเช้าวันใหม่ โดยที่เนื้อหาของเพลงที่ขับนั้นไม่ซ้ำกันเลย
 
 
 
    หลังจากบวชแล้ว สามเณรลูกแก้วจะได้รับฉายาจากเจ้าอาวาสทันที สามเณรจะปฏิบัติตนตามหลักธรรมคำสอนอย่างเคร่งครัด จะมีการสวดมนต์ สวดธรรม และนั่งสมาธิ เวลาเรียนธรรมะหลวงพ่อเจ้าอาวาสก็จะเป็นผู้สอนเอง โดยการสอนด้วยปากเปล่า แล้วให้สามเณรลูกแก้วท่องตาม ซึ่งสามเณรก็สามารถท่องจำธรรมะทั้งหมดได้ในเวลาอันรวดเร็ว และสามเณรแต่ละองค์ก็จะมีผ้าพาดบ่า (ซึ่งมีลักษณะคล้ายผ้าสังฆาฏิ แต่เป็นสีๆ) โดยมีความเชื่อว่า หากญาติพี่น้องคนใดตกนรก ผ้าผืนนี้จะไปมัด ไปเกี่ยว ช่วยเอาญาติพี่น้องกลับขึ้นมาจากนรกได้
 
 
 
    หลวงพ่ออุ่นหลวง ญาณสิริ เจ้าอาวาสวัดราชฐานหลวงเชียงทุ้ง ท่านได้กล่าวถึงการบวชสามเณรลูกแก้วว่า ?การบวชสามเณรลูกแก้วนี้เป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาช้านานแล้ว ซึ่งสามเณรจะบวชจนเป็นพระ แต่เมื่อไฟฟ้าเข้าถึง และมีทีวี ก็ทำให้คนสอนยากขึ้น เด็กเห็นตัวอย่างจากในทีวีก็อยากเอาเป็นแบบอย่าง ทำให้สามเณรที่เคยบวชอยู่นานจนเป็นพระ ลาสิกขาออกไปมาก พระตามวัดก็เหลืออยู่น้อย อาตมาเป็นห่วง แต่ DMC นี้เป็นสื่อที่ดี แต่มีอยู่เฉพาะที่วัดอาตมาเท่านั้น อาตมาอยากให้ชาวบ้านได้ดู DMC ด้วย?
 
 
 
    ในวันที่ 22 เมษายน วันคุ้มครองโลก ปีนี้ ท่านก็ตั้งใจว่า จะเดินทางมาร่วมงานครั้งนี้ด้วย ท่านบอกว่า ?อยากจะเห็นภาพการรวมสงฆ์ครั้งยิ่งใหญ่ครั้งนี้จริงๆ ถ้าได้เห็นจะดีใจมากๆ อย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ และได้บวชอยู่ในผ้าเหลือง? และท่านก็ได้ฝากของขวัญวันเกิดมาถวายแด่พระเดชพระคุณหลวงพ่อด้วย นั่นก็คือ คัมภีร์ใบลานโบราณ เรื่องทศพิธราชธรรม
 
    นอกจากนี้ พระสังฆราชเมืองเชียงตุง ผู้ปกครองคณะสงฆ์ 3เมือง ได้แก่ เมืองม้า เมืองลา และเมืองเชียงตุง ท่านจะเดินทางมาร่วมงานด้วยตนเอง และจะนำคณะสงฆ์มาร่วมงานวันคุ้มครองโลกครั้งนี้ด้วย เพราะท่านอยากจะเห็นภาพของพุทธบุตรที่รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว และจะได้เป็นส่วนหนึ่งในภาพประวัติศาสตร์ครั้งนี้
ที่นำข้อมูลมาลงเพราะหน่วยงานราชการแม่ฮ่องสอนจะผลักดันให้ประเพณีบวชลูกแก้วเป็นมรดกโลกครับ ผมก็อยากให้เป็นมรดกโลกต้องขอภัยที่ผมพยายลงรูปแต่ดึงยากมากๆ ขออภัยจริงๆ
ที่มา : http://www.kmitl.ac.th/northern/article/traditional/poisanglong.html
       :http://www.dmc.tv/print/latest_update/Myanmar_Novice.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 เม.ย. 2552, 11:54:19 โดย ชลาพุชะ »

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ต้นน้ำ~

  • ลูกบางพระ
  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 3234
  • เพศ: ชาย
  • แก้งค์ ศาลา ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: บวชลูกแก้ว
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 01:19:47 »
ขอบคุณครับพี่

ออฟไลน์ ปาท่องโก๋

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 56
  • เพศ: หญิง
  • ไม่เสียสละ ชัยชนะไม่เกิด
    • MSN Messenger - thongma4@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: บวชลูกแก้ว
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 04:11:22 »
ประเพณีเขาดีนะค่ะ อยากให้รักษาไว้นานๆ ค่ะ ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูลดี ๆค่ะ

  ไม่เสียสละ  ชัยชนะไม่เกิด 

ออฟไลน์ nutagul

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 573
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: บวชลูกแก้ว
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 04:34:09 »
ความรู้ดีครับ ทางเหนือเวลาจะบวชเณรจะมีการแต่งองค์ ทรงเครื่องเหมือนเทวดาน้อยแลดูน่ารักดีครับ
อิติสุคโตอะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ฐิตคุโณอาจาริโย จะมหาเถโร มหาลาโภ สัพพะสุขขัง จะมหาลาภัง สัพพะโภคัง สัพพะธะณัง ภะวัณตุเม

ออฟไลน์ fujyjo

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 89
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: บวชลูกแก้ว
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 07:22:49 »
ได้เห็นวัฒนะธรรมของที่ต่างๆมากขึ้นเลยครับนี้  :016:

ออฟไลน์ peachsama

  • คณินวัฒน์ สิทธิสงคราม พุ่มทิพย์ร่วมสาธุครับ
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1513
  • เพศ: ชาย
  • อำนาจ วาสนา บารมีดี เพราะมีแรงครู รายอกะจิ วันทามิ
    • MSN Messenger - peachsama@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • http://peachsama.hi5.com
    • อีเมล
ตอบ: บวชลูกแก้ว
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 08:01:42 »
เป็นความรู้สำหรับท่านที่จะไปดูพิธีบวชลูกแก้ว จะไดทราบที่มา เมื่อทราบแล้วจะได้ซึ้งใจไปกับมหากุศลนี้ด้วยครับ


เจ๋งมากท่าน ไม่ผิดหวังจริงๆ  :016: :025: :015:
ตั้งกระทู้ไม่ได้ครับ
วัดถ้ำเมืองนะ
www.watthummuangna.com/seamsee
ศาสนสุภาษิต "สรรพทานัง ธรรมทานัง  ชินาติ"
ศิษย์บางพระ:บูรพาจารย์หลวงพ่อเปิ่น ฐิตะคุโณเป็นธงชัย
นำไปสู่สำเร็

ออฟไลน์ น้องลิงน้อย

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1127
  • เพศ: หญิง
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: บวชลูกแก้ว
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 05 เม.ย. 2552, 07:44:40 »
เป็นประเพณีที่เก่าแก่มาก ควรค่าแก่การสืบทอดต่อไปอีกชั่วกาลนาน
ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้  :054:  :053:

ออฟไลน์ ๛][รัตu:][๛

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 719
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: บวชลูกแก้ว
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 05 เม.ย. 2552, 08:50:36 »
 :016: ขอบคุณมากนะครับ ที่นำสาระดีๆ มาฝากกัน  :015:
ถึงสูงศักดิ์  อัครฐาน  สักปานใด
ถึงวิไล      เลิศฟ้า    สง่าศรี
ถึงฉลาด    กาจกล้า  ปัญญาดี
ถ้าไม่มี      คุณธรรม  ก้อต่ำคน