ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธศาสนสุภาษิต  (อ่าน 2615 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ eXeCuTioNz - IX

  • สุสานหมายเลข ๙
  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 45
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - yaicw49@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
พุทธศาสนสุภาษิต
« เมื่อ: 08 พ.ค. 2552, 02:00:17 »
พุทธศาสนสุภาษิต

   คำสอนในพระพุทธศาสนามีองค์ 9 ประการ ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ ได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม และ เวทัลละ
            พุทธศาสนสุภาษิต ได้มาจากเนื้อหาที่ปรากฎอยู่ในคำสอนดังกล่าว ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นเนื้อความสั้น ๆ ที่ทรงคุณค่า ให้ข้อคิด ข้อเตือนใจ ให้ผู้ที่ได้ศึกษาแล้ว มีความรู้ความเข้าใจ และยึดถือเป็นหลักธรรมประจำใจ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ ในแนวทางที่ถูกที่ควร ตรงทาง  อันจะนำไปสู่ความสุข ความเจริญงอกงามในชีวิตของตน แล้วยังเป็นการเสริมสร้างสันติสุข ในสังคมโลกอีกด้วย
            พุทธศาสนสุภาษิต ณ ที่นี้ได้แบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ เพื่อให้สดวกแก่การศึกษา และนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีระบบ
 
อัตตวรรค - หมวดตน
อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย     ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี

อตฺตา สุทนฺโต ปุริสสฺส โชติ     ตนที่ฝึกดีแล้วเป็นแสงสว่างของบุรุษ

อตฺตนา ว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ     ตนทำบาปเองย่อมเศร้าหมองเอง

อตฺตตฺถปัญฺญา อสุจี มนุสฺสา     มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด

อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา     รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ            อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา    ยถญฺญมนุสาสติ
ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น
สุทนฺโต วต ทเมถ     อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม
ผู้ฝึกตนดี ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่าตนแลฝึกยาก
อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา     ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตน
ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ     ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น
อตฺตานเมว ปฐมํ     ปฏิรูเป นิเวสเย            อถญฺญมนุสาเสยฺย    น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต
บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน สอนผู้อื่นภายหลัง จึงไม่มัวหมอง
 
อัปปมาทวรรค - หมวดไม่ประมาท
อปฺปมาทญฺจ เมธาวี     ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติ
ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์อันประเสริฐ
อปฺปมตฺตา น มียนฺต     ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต     ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ
ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์
อปฺปมาโท อมตํ ปทํ     ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย
อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสฺ     สุตฺเตสุ พหุชาคโร           อพลสฺสํว สีฆสฺโส    หิตฺวา ยาติ สุเมธโส
คนมีปัญญาดีไม่ประมาทในเมื่อผู้อื่นประมาท มักตื่นในเมื่อผู้อื่นหลับ
ย่อมละทิ้งคนนั้น เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว ทิ้งม้าไม่มีกำลังไป ฉะนั้น
อุฏฺฐานวโต สติมโต     สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมาการิโน
สญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน     อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ
ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติ
มีการงานสะอาด ใคร่ครวญแล้วทำ ระวังดีแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท
 
กัมมวรรค - หมวดกรรม
สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ
กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนำไปสู่ทุคคติ
สุกรํ สาธุนา สาธุ     ความดี อันคนดีทำง่าย
สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ     ความดี อันคนชั่วทำยาก
ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ     ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ
ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลเป็นดี
น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ     ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ
ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี
ยาทิสํ วปเต พีชํ     ตาทิสํ ลภเต ผลํ
กลฺยาณการี กลฺยาณํ     ปาปการี จ ปาปกํ
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น
ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว
นิสมฺม กรณํ เสยฺโย     ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำดีกว่า
รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุ     ลวณํ โลณตํ ยถา
พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม
นานตฺถกามสฺส กเรยฺย อตฺถํ     ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ
อติสีตํ อติอุณฺห ํ     อติสายมิทํ อหุ
อิติ วิสฺฏฺฐกมฺมนฺเต    อตฺถา    อจฺเจนฺติ มาณเว
ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยคน ผู้ทอดทิ้งการงาน
ด้วยอ้างว่า หนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว
อถ ปาปานิ กมฺมานิ     กรํ พาโล น พุชฺฌติ
เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ    อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ
เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก
เขาเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้
โย ปุพฺเพ กรณียานิ     ปจฺฉา โส กาตุมิจฺฉติ
วรุณกฏฺฐํ ภญฺโชว     ส ปจฺฉา อนุตปฺปต
ผู้ใดปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง
ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง ดุจมาณพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ) หักไม้กุ่ม ฉะนั้น
สเจ ปุพฺเพกตเหตุ    สุขทุกฺขํ นิคจฺฉติ
โปราณกํ กตํ ปาปํ     ตเมโส มุญฺจเต อิณํ
ถ้าประสบสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ
ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ ฉะนั้น
สุขกามานิ ภูตานิ     โย ทณฺเฑน น หึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน     เปจฺจ โส ลภเต สุขํ
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข




กิเลสวรรค - หมวดกิเลส
เยน สลฺเลน โอติณฺโณ     ทิสา สพฺพา วิธาวต            ตเมว สลฺลํ อพฺพุยฺห    น ธาวติ น สีทติ
บุคคลถูกลูกศรใดแทงแล้ว ย่อมแล่นไปทั่วทิศ ถอนลูกศรนั้นแล้ว ย่อมไม่แล่นและไม่จม
ยา กาจิมา ทุคฺคติโย     อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ           อวิชฺชา มูลกา สพฺพา    อิจฺฉาโลภสมุสฺสยา
ทุคติในโลกนี้และโลกหน้า ล้วนมีอวิชชาเป็นราก มีอิจฉาและโลภเป็นลำต้น
ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส    นิจฺจ ํ อุชฺฌานสญฺญิโน            อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ    อารา โส อาสวกฺขยา
คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น อาสวะก็เพิ่มพูน เขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ
นิทฺทํ น พหุลีกเรยฺย     ชาคริยํ ภเชยฺย อาดาปี
ตนฺทึ มายํ หสฺสํ ขิฑฺฑํ    เมถุนํ วิปฺปชเห สวิภูสํ
ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก พึงเสพธรรมเครื่องตื่น พึงละความเกียจคร้าน มายา
ความร่าเริง การเล่น และเมถุนพร้อมทั้งเครื่องประดับเสีย
กุหา ถทฺธา ลปา สิงฺคี    อุนฺนฬา จาสมาหิตา
น เต ธมฺเม วิรูหนฺติ    สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเต
ผู้คนหลอกลวง เย่อหยิ่ง เพ้อเจ้อ ขี้โอ่ อวดดี และไม่ตั้งมั่น
ย่อมไม่งอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
โกธสฺส วิสมูลสฺส     มธุรคฺคสฺส พฺราหฺมณ
วธํ อริยา ปสํสนฺติ     ตญฺหิ เฉตฺวา น โสจติ
พราหมณ์ พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ ซึ่งมีโคนเป็นพิษ
ปลายหวาน เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
โลโภ โทโส จ โมโห จ     ปุริสํ ปาปเจตสํ            หึสนฺติ อตฺตสมฺภูตา    ตจสารํว สมฺผลํ
โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ฉะนั้น
โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ    สญฺโยชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย
ตนฺนามรูปสฺมึ อสชฺชมานํ     อกิญฺจนํ    นานุปตนฺติ ทุกฺขา
บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง (เพราะ) ทุกข์ทั้งหลาย
ย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น
ตญฺหา ชเนติ ปุรสํ     จิตฺตมสฺส วิธาวติ            สตฺโต สํสารมาปาทิ    ทุกฺขา น ปริมุจฺจติ
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงไม่พ้นจากทุกข์
ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ     จิตฺตมสฺส วิธาวติ            สตฺโต สํสารมาปาทิ    กมฺมํ ตสฺส ปรายนํ
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงยังมีกรรมนำหน้า
อิจฺฉาย พชฺฌตี โลโก     อิจฺฉาวินยายุ มุจฺจต
อิจฺฉาย วิปฺปหาเนน     สพฺพํ ฉินฺทติ พนฺธนํ
โลกถูกความอยากผูกพันไว้ จะหลุดได้เพราะกำจัดความอยาก
เพราะละความอยากเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้
อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ     อิจฺฉา โลกสฺมิ ทุชชหา
อิจฺฉาพุทฺธา ปุถู สตฺตา     ปาเสน สกุณี ยถา
ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก
สัตว์เป็นอันมากถูกความอยากผูกมัดไว้ ดุจนางนกถูกบ่วงรัดไว้ ฉะนั้น
อุเปกฺขโก สทา สโต     น โลเก มญฺญตี สมํ
น วิเสสี น นีเจยฺโย     ตสฺส โน สนฺติ อุสฺสทา
ผู้วางเฉยมีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ดีกว่าเขา
หรือต่ำกว่าเขาในโลก ผู้นั้นชื่อว่า ไม่มีกิเลสเฟื่องฟูขึ้น
วิสุทฺธิ สพฺพเกฺลเสหิ     โหติ ทุกฺเขหิ นิพฺพุติ
ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นทางดับทุกข์ทั้งหลาย
ตณฺหาย อุฑทิโต โลโก     ชราย ปริวาริโต
มจฺจนา ปิหิโต โลโก     ทุกฺเข โลโก ปติฏฺฐิโต
โลกถูกตัณหาก่อขึ้น ถูกชราล้อมไว้ ถูกมฤตยูปิดไว้ จึงตั้งอยู่ในความทุกข์
นิราสตฺตี อนาคเต     อตีตํ นานุโสจติ
วิเวกทสฺสี ผสฺเสสุ     ทิฏฺฐีสุ จ น นิยฺยติ
ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ผู้เห็นความสงัดในผัสสะทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกชักนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย
มูฬฺโห อตฺถํ น ชานาติ     มูฬฺโห ธมฺมํ ปสฺสต
อนฺธตมํ ตทา โหติ     ยํ โมโห สหเต นรํ
ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม
ความหลงครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น
ยสฺส นตฺถิ อิทํ เมติ    ปเรสํ วาปิ กญฺจนํ
มมตฺตํ โส อสํวินฺทํ    นตฺถิ เมติ น โสจติ
ผู้ใดไม่กังวลว่า นี้ของเรา นี้ของผู้อื่น ผู้นั้น
เมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา จึงไม่เศร้าโศกว่าของเราไม่มี ดังนี้
ลุทฺโธ อตฺถํ น ชานาติ     ลุทโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ
อนฺธตมํ ตทา โหติ     ยํ โลโภ สหเต นรํ
ผู้โลภย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภย่อมไม่เห็นธรรม
ความโลภเข้าครอบงำคนเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น
 

โกธวรรค - หมวดโกรธ
โกโธ สตฺถมลํ โลเก     ความโกรธเป็นดังสนิมในโลก
อนตฺถชนโน โกโธ     ความโกรธก่อความพินาศ
อนฺธตมํ ตทา โหติ     ยํ โกโธ สหเต นรํ
ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมมีขึ้นเมื่อนั้น
โกโธ จิตฺตปฺปโกปโน     ความโกรธทำจิตให้กำเริบ
โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ     ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข
โกธาภิภูโต กุสลํ ชหาติ     ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมละกุศลเสีย
ทุกฺขํ สยติ โกธโน     คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ญาติมิตฺตา สุหชฺชา จ     ปริวชฺเชนฺติ โกธนํ
ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ
กุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ     ผู้โกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม
ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ     อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ
ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้
โกธํ ทเมน อุจฺฉินฺเท     พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ


กิเลสวรรค - หมวดกิเลส
เยน สลฺเลน โอติณฺโณ     ทิสา สพฺพา วิธาวต            ตเมว สลฺลํ อพฺพุยฺห    น ธาวติ น สีทติ
บุคคลถูกลูกศรใดแทงแล้ว ย่อมแล่นไปทั่วทิศ ถอนลูกศรนั้นแล้ว ย่อมไม่แล่นและไม่จม
ยา กาจิมา ทุคฺคติโย     อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ           อวิชฺชา มูลกา สพฺพา    อิจฺฉาโลภสมุสฺสยา
ทุคติในโลกนี้และโลกหน้า ล้วนมีอวิชชาเป็นราก มีอิจฉาและโลภเป็นลำต้น
ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส    นิจฺจ ํ อุชฺฌานสญฺญิโน            อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ    อารา โส อาสวกฺขยา
คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น อาสวะก็เพิ่มพูน เขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ
นิทฺทํ น พหุลีกเรยฺย     ชาคริยํ ภเชยฺย อาดาปี
ตนฺทึ มายํ หสฺสํ ขิฑฺฑํ    เมถุนํ วิปฺปชเห สวิภูสํ
ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก พึงเสพธรรมเครื่องตื่น พึงละความเกียจคร้าน มายา
ความร่าเริง การเล่น และเมถุนพร้อมทั้งเครื่องประดับเสีย
กุหา ถทฺธา ลปา สิงฺคี    อุนฺนฬา จาสมาหิตา
น เต ธมฺเม วิรูหนฺติ    สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเต
ผู้คนหลอกลวง เย่อหยิ่ง เพ้อเจ้อ ขี้โอ่ อวดดี และไม่ตั้งมั่น
ย่อมไม่งอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
โกธสฺส วิสมูลสฺส     มธุรคฺคสฺส พฺราหฺมณ
วธํ อริยา ปสํสนฺติ     ตญฺหิ เฉตฺวา น โสจติ
พราหมณ์ พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ ซึ่งมีโคนเป็นพิษ
ปลายหวาน เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
โลโภ โทโส จ โมโห จ     ปุริสํ ปาปเจตสํ            หึสนฺติ อตฺตสมฺภูตา    ตจสารํว สมฺผลํ
โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ฉะนั้น
โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ    สญฺโยชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย
ตนฺนามรูปสฺมึ อสชฺชมานํ     อกิญฺจนํ    นานุปตนฺติ ทุกฺขา
บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง (เพราะ) ทุกข์ทั้งหลาย
ย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น
ตญฺหา ชเนติ ปุรสํ     จิตฺตมสฺส วิธาวติ            สตฺโต สํสารมาปาทิ    ทุกฺขา น ปริมุจฺจติ
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงไม่พ้นจากทุกข์
ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ     จิตฺตมสฺส วิธาวติ            สตฺโต สํสารมาปาทิ    กมฺมํ ตสฺส ปรายนํ
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงยังมีกรรมนำหน้า
อิจฺฉาย พชฺฌตี โลโก     อิจฺฉาวินยายุ มุจฺจต
อิจฺฉาย วิปฺปหาเนน     สพฺพํ ฉินฺทติ พนฺธนํ
โลกถูกความอยากผูกพันไว้ จะหลุดได้เพราะกำจัดความอยาก
เพราะละความอยากเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้
อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ     อิจฺฉา โลกสฺมิ ทุชชหา
อิจฺฉาพุทฺธา ปุถู สตฺตา     ปาเสน สกุณี ยถา
ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก
สัตว์เป็นอันมากถูกความอยากผูกมัดไว้ ดุจนางนกถูกบ่วงรัดไว้ ฉะนั้น
อุเปกฺขโก สทา สโต     น โลเก มญฺญตี สมํ
น วิเสสี น นีเจยฺโย     ตสฺส โน สนฺติ อุสฺสทา
ผู้วางเฉยมีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ดีกว่าเขา
หรือต่ำกว่าเขาในโลก ผู้นั้นชื่อว่า ไม่มีกิเลสเฟื่องฟูขึ้น
วิสุทฺธิ สพฺพเกฺลเสหิ     โหติ ทุกฺเขหิ นิพฺพุติ
ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นทางดับทุกข์ทั้งหลาย
ตณฺหาย อุฑทิโต โลโก     ชราย ปริวาริโต
มจฺจนา ปิหิโต โลโก     ทุกฺเข โลโก ปติฏฺฐิโต
โลกถูกตัณหาก่อขึ้น ถูกชราล้อมไว้ ถูกมฤตยูปิดไว้ จึงตั้งอยู่ในความทุกข์
นิราสตฺตี อนาคเต     อตีตํ นานุโสจติ
วิเวกทสฺสี ผสฺเสสุ     ทิฏฺฐีสุ จ น นิยฺยติ
ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ผู้เห็นความสงัดในผัสสะทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกชักนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย
มูฬฺโห อตฺถํ น ชานาติ     มูฬฺโห ธมฺมํ ปสฺสต
อนฺธตมํ ตทา โหติ     ยํ โมโห สหเต นรํ
ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม
ความหลงครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น
ยสฺส นตฺถิ อิทํ เมติ    ปเรสํ วาปิ กญฺจนํ
มมตฺตํ โส อสํวินฺทํ    นตฺถิ เมติ น โสจติ
ผู้ใดไม่กังวลว่า นี้ของเรา นี้ของผู้อื่น ผู้นั้น
เมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา จึงไม่เศร้าโศกว่าของเราไม่มี ดังนี้
ลุทฺโธ อตฺถํ น ชานาติ     ลุทโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ
อนฺธตมํ ตทา โหติ     ยํ โลโภ สหเต นรํ
ผู้โลภย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภย่อมไม่เห็นธรรม
ความโลภเข้าครอบงำคนเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น
 
โกธวรรค - หมวดโกรธ
โกโธ สตฺถมลํ โลเก     ความโกรธเป็นดังสนิมในโลก
อนตฺถชนโน โกโธ     ความโกรธก่อความพินาศ
อนฺธตมํ ตทา โหติ     ยํ โกโธ สหเต นรํ
ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมมีขึ้นเมื่อนั้น
โกโธ จิตฺตปฺปโกปโน     ความโกรธทำจิตให้กำเริบ
โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ     ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข
โกธาภิภูโต กุสลํ ชหาติ     ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมละกุศลเสีย
ทุกฺขํ สยติ โกธโน     คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ญาติมิตฺตา สุหชฺชา จ     ปริวชฺเชนฺติ โกธนํ
ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ
กุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ     ผู้โกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม
ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ     อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ
ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้
โกธํ ทเมน อุจฺฉินฺเท     พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ


ขันติวรรค - หมวดอดทน
อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ     อตฺถาวโห ว ขนฺติโก
สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ     อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น
ผู้มีขันติ ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน
เกวลานํปิ ปาปานํ     ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติ
ครหกลหาทีนํ   มูลํ ขนฺติ ขนฺติโก
ขันติ ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น
ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะกันได
ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี     ยสสฺสี สุขสีลวา
ปิโย เทวมนุสฺสานํ     มนาโป โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ
ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
สตฺถุโน วจโนวาทํ     กโรติเยว ขนฺติโก
ปรมาย จ ปูชาย     ชินํ ปูเชติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติ ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา
และผู้มีขันติ ชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยบูชาอันยิ่ง
สีลสมาธิคุณานํ     ขนฺติ ปธานการณํ
สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา    ขนฺตฺยาเยว วฑฺฒนฺติ เต
ขันติเป็นประธาน เป็นเหตุ แห่งคุณคือศีลและสมาธิ
กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญเพราะขันติเท่านั้น
ขนฺติ ธีรสฺส ลงฺกาโร     ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน
ขนฺติ พลํ ว ยตีนํ     ขนฺติ หิตสุขาวหา
ขันติเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ขันติเป็นตบะของผู้พากเพียร
ขันติเป็นกำลังของนักพรต ขันตินำประโยชน์สุขมาให้
น สุทฺธิ เสจเนน อตฺถิ     นปิ เกวลี พฺราหฺมโณ
น เจว ขนฺติ โสรจฺจํ     นปิ โส ปรินิพฺพุโต
ความบริสุทธิ์ก็ดี ผู้ที่จะประเสริฐล้วนก็ดี ขันติและโสรัจจะก็ดี
จะเป็นผู้เย็นสนิทก็ดี ย่อมไม่มีเพราะการชำระล้าง (ด้วยน้ำ)
นเหตมตฺถํ มหตีปิ เสนา     สราชิกา ยุชฺฌมานา     ลเภถ
ยํ ขนฺติมา สปฺปุริโส ลเภถ     ขนฺติพลสฺสูปสมนฺติ เวรา
เสนาแม้หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยพระราชารบอยู่ ไม่พึงได้ประโยชน์ที่สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้
(เพราะ) เวรทั้งหลายของผู้มีขันติเป็นกำลังนั้น ย่อมสงบระงับ
 
จิตตวรรค - หมวดจิต

จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ     จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้
จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ     จิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้
วิหญฺญตี จิตฺตวสานุวตฺตี     ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมลำบาก
เตลปตฺตํ ยถา ปริหเรยฺย     เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข
พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรที่เต็มด้วยน้ำมัน
ยโต ยโต จ ปาปกํ     ตโต ตโต มโน นิวารเย
ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ
ยโต ยโต จ ปาปกํ     ตโต ตโต มโน นิวารเย
ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ
อนวัฏฺจิต จิตฺตสฺส     สทฺธมฺมํ อวิชานโต
ปริปฺวลปสาทสฺสุ     ปญฺญา น ปริปูรติ
เมื่อจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม
มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา     เวริ วา ปน เวรินํ
มิจฺ ฉา ปณิหิตํ จิตตํ     ปาปิโย นํ ตโต กเร
โจรกับโจรหรือไพรีกับไพรี พึงทำความพินาศให้แก่กัน
ส่วนจิตตั้งไว้ผิด พึงทำให้เขาเสียหายยิ่งกว่านั้น
อานาปานสฺสติ ยสฺส     อปริปุณฺณา อภาวิตา
กาโยปิ อิญฺชิโต     โหติ จิตฺตมฺปิ โหติ อิญฺชิตํ
สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
อันผู้ใดไม่อบรมให้บริบูรณ์ ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็หวั่นไหว
น ตํ มาตา ปิตา กยิรา     อญฺเญ วาปิจ ญาตกา
สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ     เสยฺยโส นํ ตโต กเร
มารดาบิดาหรือญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำเหตุนั้นให้ได้
ส่วนจิตที่ตั้งไว้ดีแล้ว พึงทำเขาให้ดีกว่านั้น
ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ     วุฏฐี สมติวิชฺฌต
เอวํ อภาวิตํ จิตฺตํ     ราโค สมติวิชฺฌติ
ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีฉันใด
ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้อบรมฉันนั้น
เสโล ยถา เอกฆโน     วาเตน น สมีรติ
เอวํ นินฺทาปสํสาสุ น    สมิญฺชนฺติ ปณฺฑิตา
ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด
บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญฉันนั้น
จิตฺเตน นียติ โลโก     จิตฺเตน ปริกสฺสต
จิตฺตสฺส เอกธมฺมสฺส     สพฺเพว วสมนฺวคู
โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป
สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว
ปทุฏฺฐจิตฺตสฺส น ผาติ โหต     น จาปิ นํ เทวตา ปูชยนฺติ
โย ภาตรํ เปตฺติกํ สาปเตยฺย     อวญฺจยี ทุกฺกฏกมฺมการี
ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติพี่น้องพ่อแม่
ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา
 
ชยวรรค - หมวดชนะ

ชยํ เวรํ ปสวติ           ผู้ชนะย่อมก่อเวร
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ           การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง
สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ           รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง
สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ           ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ           ความสิ้นตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
น ตํ ชิตํ สาธุ ชิตํ     ย ํ ชิตํ อวชิยฺยติ           ความชนะใดที่ชนะแล้วกลับแพ้ได้ ความชนะนั้นไม่ดี
อกฺโกเธน ชิเน โกธํ           พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ
อสาธุํ สาธุนา ชิเน           พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี
ชิเน กทริยํ ทาเนน            พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้
สจฺเจนาลิกวาทินํ           พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง


ทานวรรค - หมวดทาน
นตฺถิ จิตฺเต ปสนฺนมฺห      อปฺปกา นาม ทกฺขิณา
เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อยย่อมไม่มี
วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺถํ             การเลือกให้ อันพระสุคตทรงสรรเสริญ
พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ             คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน
ททํ มิตฺตานิ คนฺถต             ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
ททมาโน ปิโย โหติ             ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
สุขสฺส ทาตา เมธาวี     สุขํ โส อธิคจฺฉติ             ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข
เสฏฐนฺทโท เสฏฐมุเปติ ฐานํ             ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ
อคฺคสฺมึ ทานํ ททตํ     อคฺคํ ปุญฺญํ ปวทฺฒติ
อคฺคํ อายุ จ วณฺโณ จ ยโส กิตฺติ สุขํ พลํ
เมื่อให้ทานในวัตถุอันเลิศ บุญอันเลิศ อายุ
วรรณะ ยศ เกียรติ สุข และ กำลังอันเลิศ ก็เจริญ
อคฺคทายี วรทายี     เสฏฺฐทายี จ โย นโร
ทีฆายุ ยสวา โหติ     ยตฺถ ยตฺถูปปชฺชติ
ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ให้สิ่งที่ดี ให้สิ่งที่ประเสริฐ
ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศ ในภพที่ตนเกิด
ปุพฺเพ ทานาทิกํ ทตฺวา     อิทานิ ลภตี สุขํ
มูเลว สิญฺจิตํ โหติ     อคฺเค จ ผลทายกํ
ให้ทานเป็นต้นก่อน จึงได้สุขบัดนี้
เหมือนรดน้ำที่โคนให้ผลที่ปลาย
ยถา วาริวหา ปูรา     ปริปูเรนฺติ สาคร
เอวเมว อิโต ทินฺนํ     เปตานํ อุปกปฺปติ
ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมยังสาครให้เต็มได้ฉันใด
ทานที่ให้แต่โลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่ผู้ละไปแล้วฉันนั้น
โส จ สพฺพทโท โหติ     โย ททาติ อุปสฺสยํ
อมตนฺทโท จ โส โหติ     ธมฺมมนุสาสติ
ผู้ใดให้ที่พักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง
ผู้ใดสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้อมตะ
อนฺนโท พลโท โหติ     วตฺถโท โหติ วณฺณโท
ยานโท สุขโท โหติ     ทีปโท โหติ จกฺขุโท
ผู้ให้ข้าวชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้ผิวพรรณ
ผู้ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีปโคมไฟชื่อว่าให้จักษุ
อเทยฺเยสุ อททํ ทานํ     เทยฺเยสุ โย ปเวจฺฉติ
อาปาสุ พฺยสนํ ปตฺโต     สหายํ อธิคจฺฉติ
ผู้ใดไม่ให้ทานในคนที่ไม่ควรให้ แต่ให้ทานในคนที่ควรให้
เมื่อประสบปัญหา ย่อมได้พบผู้ช่วยเหลือ
 
ทุกขวรรค - หมวดทุกข์
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา             สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
ทฬิทฺทิยํ ทุกฺขํ โลเก             ความจน เป็นทุกข์ในโลก
อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก            การเป็นหนี้ เป็นทุกข์ในโลก
ทุกฺขํ อนาโถ วิหรติ             คนไม่มีที่พึ่ง อยู่เป็นทุกข์
ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต            ผู้แพ้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา             ทุกข์ ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล
ปิยานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ            การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เป็นทุกข์
อปฺปิยานญฺจ ทสฺสนํ ทุกฺขํ             การพบเห็นสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
 
ธัมมวรรค - หมวดธรรม
ธมฺโม รหโท อกทฺทโม             ธรรมเหมือนห้วงน้ำไม่มีตม
ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ             ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้
ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี             ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี             ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ
ธมฺเม ฐิตํ น วิชหาติ กิตฺติ             เกียรต ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม
ธมฺเม ฐิตา เย น กโรนฺติ ปาปกํ             ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป
ธมฺมํ จเร สุจริตํ             พึงประพฤติธรรมให้สุจริต
นภญฺจ ทูเร ปฐวี จ ทูเร     ปารํ สมุทฺทสฺส ตทาหุ ทูเร
ตโต หเว ทูรตรํ วทนฺติ     สตญฺจ ธมฺโม อสตญฺจ ราช
เขากล่าวว่า ฟ้ากับดินไกลกัน และฝั่งทะเลก็ไกลกัน
แต่ธรรมของสัตบุรุษกับ อสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น
ยทา จ พุทฺธา โลกสฺมึ     อุปฺปชฺชนฺติ ปภงฺกรา
เต อิมํ ธมฺมํ ปกาเสนฺติ     ทุกฺขูปสมคามินํ
เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทำความสว่างเกิดขึ้นในโลก
พระองค์ย่อมประกาศธรรมสำหรับดับทุกข์นี้
เย จ โข สมฺมทกฺขาเต     ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน
เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ     มจฺจุเธยฺยํ สุทตฺตรํ
ชนใดประพฤติธรรม ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว
ชนเหล่านั้นจักข้ามแดนมฤตยูที่ข้ามได้ยาก
โย อิจฺเฉ ทิพฺพโภคญฺจ     ทิพฺพมายุํ ยสํ สุขํ
ปาปานิ ปริวชฺ เชตฺวา     ติวิธํ ธมฺมมาจเร
ผู้ใดปราถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์
ผู้นั้นพึงงดเว้นบาปทั้งหลาย แล้วประพฤติสุจริตธรรม ๓ อย่าง
อุจฉินฺท สิเนหมตฺตโน     กุมุทํ สารทิกํว ปาณินา
สนฺติมคฺคเมว พฺรูหย     นิพฺพานํ สุคเตน เทสิตํ
จงเด็ดเยื่อใยของตนเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง
จงเพิ่มพูนทางสงบ (ให้ถึง) พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว
จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ     องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ     จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต
พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ
เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต ทุกอย่าง
ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา     อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ
สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ     สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ
ราชรถอันงดงามย่อมคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา
ส่วนธรรมสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้
เต ฌายิโน สาตติกา     นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา
ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ     โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ
ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีความเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์
ยอมถูกต้องพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
นาญฺญตฺร โพชฺฌาตปสา     นาญฺญตฺร อินฺทริยสํวรา
นาญฺญตฺร สพฺพนิสฺสคฺคา     โสตฺถึ ปสฺสามิ ปาณินํ
เรา (ตถาคต) ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย
นอกจากปัญญา ความเพียร ความระวังตัว และการสละสิ่งทั้งปวง
สนฺต จิตฺตา นิปกา     สติมนฺโน จ ฌายิโน
สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสนฺติ     กาเมสุ อนเปกขิโน
ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีสติเป็นผู้เพ่งพินิจ
ไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ
ปัญญาวรรค - หมวดปัญญา
ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต           ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
ปญฺญา นรานํ รตนํ          ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน
ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย          ปัญญาเทียวประเสริฐกว่าทรัพย์
ปญฺญาชีวีชีวิตมาหุ เสฏฺฐํ
ปราชญ์กล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประเสริฐสุด
ปญฺญายตฺถํ วิปสฺสติ           คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา
ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ      นกฺขตฺตราชาริว ตารกานํ
สีลํ สิรึ จาปิ สตญฺจ ธมฺโม      อนฺวายิกา ปญฺญวโด ภวนฺติ
คนฉลาดกล่าวว่าปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์ประเสริฐ
กว่าดาวทั้งหลาย แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไปตามผู้มีปัญญา
ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ      อนตฺถํ จรติ อตฺตโน
อตฺตโน จ ปเรสญฺจ     หึสาย ปฏิปชฺชติ
คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้วย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน
ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียน ทั้งตนและผู้อื่น
มตฺตาสุขปริจฺจาคา      ปสฺเส เจ วิปุลํ สุข
จเช มตฺตาสุขํ ธีโร      สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ
ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย
ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย
ปญฺญวนฺตํ ตถาวาทึ      สีเลสุ สุสมาหิตํ
เจโตสมถมนุยุตฺตํ      ตํ เว วิญฺญู ปสํสเร
ผู้รู้ย่อมสรรเสริญคนมีปัญญา พูดจริง ตั้งมั่นในศีล
ประกอบความสงบใจนั้นแล
 
ปาปวรรค - หมวดบาป
อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ     ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ
โส โสจติ โส วิหญฺญติ     ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺฐมตฺตโน
ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง
เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน จึงเศร้าโศกและเดือดร้อน
อุทพินทุนิปาเตน     อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ พาโล ปาปสฺส     โถกํ โถกํปิ อาจินํ
แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำฉันใด
คนเขลาสั่งสมบาปแม้ทีละน้อย ๆ ก็เต็มด้วยบาปฉันนั้น
ปาณิมฺหิ เจ วโณ นาสฺส     หเรยฺย ปาณินา วิสํ
นาพฺพณํ วิสมนฺเวติ     นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต
ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้
ยาพิษซึมเข้าฝ่ามือไม่มีแผลไม่ได้ฉันใด บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำฉันนั้น
วาณิโชว ภยํ มคฺคํ     อปฺปสตฺโถ มหทฺธโน
วิสํ ชีวิตุกาโมว     ปาปานิ ปริวชฺชเย
ควรงดเว้นบาปเสีย เหมือนพ่อค้ามีพวกน้อยมีทรัพย์มาก
เว้นหนทางที่มีภัย และเหมือนผู้รักชีวิตเว้นยาพิษเสียฉะนั้น
 
ปุญญวรรค - หมวดบุญ
ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ          บุญอันโจรนำไปไม่ได้
ปญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ          บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต
สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย          ความสั่งสมบุญ นำสุขมาให้
ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ     ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ
บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า
อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ     กตปุญโญฺ อุภยตฺถ นนฺทติ
ปุญฺญํ เม กตนุติ นนฺทติ     ภิยฺโย นนฺทุติ สุคตึ คโต
ผู้ทำบุญแล้วย่อมยินดีในโลกนี้
ตายแล้วย่อมยินดีชื่อว่ายินดีในโลกทั้งสอง
เขาย่อมยินดีว่าเราทำบุญไว้แล้ว ไปสู่สุคติย่อมยินดียิ่งขึ้น
ปญฺญญฺ ปริโส กยิรา     กยิราถนํ ปุนปฺปุนํ
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ     สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย
ถ้าบุรุษจะพึ่งทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อย ๆ
ควรทำความพอใจในบุญนั้น การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้
มาวมญฺเญถ ปุญฺญสฺส      น มตฺตํ อาคมิสฺสติ
อุทพินฺทุนิปาเตน     อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ ธีโร บุญฺญสฺส     โถกํ โถกํปิ อาจินํ
ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่ามีประมาณน้อยจักไม่มีมาถึง
แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาฉันใด
ผู้มีปัญญาสั่งสมบูญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มได้ด้วยบุญ ฉันนั้น
สหาโย อตฺถชาตสฺส     โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ
สยํ กตานิ ปุญฺญานิ     ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกํ
สหายเป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อย ๆ
บุญทั้งหลายที่ตนทำเองนั้น จะเป็นมิตรในสัมปรายภพ


ปุคคลวรรค - หมวดบุคคล
สาธุ โข ปณฺฑิโต นาม            ชื่อว่าบัณฑิตย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จได้แล
ปฌฺฑิโต สีลสมฺปนฺโน     ชลํ อคฺคีว ภาสติ
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟสว่าง
อนตฺถํ ปริวชฺเชติ     อตฺถํ คณฺหาติ ปณฺฑิโต
บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
ทนฺโต เสฎฺโฐ     มนุสฺเสสุ         ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด
มหากรุณิโก นาโถ           ท่านผู้เป็นที่พึ่ง ประกอบด้วยกรุณายิ่งใหญ่
กุสโล จ ชหาติ ปาปกํ           คนฉลาดย่อมละบาป
นยํ นยติ เมธาวี           คนมีปัญญา ย่อมแนะนำทางที่ควรแนะนำ
สนฺโต น เต เย น วทนฺติ ธมฺมํ           ผู้ใดไม่ผูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ
สนฺโต สตฺตหิเต รตา             สัตบุรุษยินดีในการเกื้อกูลสัตว์
สนฺโต สคฺคปรายนา           สัตบุรุษมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
สตญจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ            กลิ่นของสัตบุรุษย่อมหอนทวนลมได้
โย พาโล มญฺญติ พาลฺยํ     ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส
คนซึ่งรู้สึกตนว่าโง่ จะเป็นผู้ฉลาดเพราะเหตุนั้นได้บ้าง
อสนฺโต นิรยํ ยนฺติ          อสัตบุรุษย่อมไปนรก
สุวิชาโน ภวํ โหติ          ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
ครุ โหติ สคารโว          ผู้เคารพย่อมมีผู้เคารพตอบ
วนฺทโก ปฎิวนฺทนํ         ผู้ไหว้ย่อมได้รับไหว้ตอบ
เนกาสี ลภเต สุขํ          ผู้กินคนเดียวไม่ได้ความสุข
นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต          คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก
อติติกฺโข จ เวรวา          คนแข็งกระด้างก็มีเวร
น อุชุภูตา วิตถํ ภณนฺติ          คนตรงไม่พูดคลาดความจริง
อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ          มารดาบิดาเป็นที่นับถือของบุตร
ปุพพาจริยาติ วุจฺจเร         มารดาบิดาท่านว่าเป็นบูรพาจารย์ (ของบุตร)
ภตฺตา ปญฺญาณมิตฺถิยา           สามีเป็นเครื่องปรากฏของสตรี
สุสฺสูสา เสฏฺฐา ภริยานํ          บรรดาภริยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟัง เป็นผู้ประเสริฐ
โย จ ปุตฺตา นมสฺสโว          บรรดาบุตรทั้งหลาย บุตรผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ
คุณวา จาตฺตโน คุณ          ผู้มีความดี จงรักษาความดีของตนไว้
อจฺจยํ เทสยนฺตีนํ     โย เจ น ปฎิคณฺหติ
โกปนฺตโร โทสครุ     ส เวรํ ปฎิมจฺจติ
เมื่อเขาขอโทษ ถ้าผู้ใดมีความขุ่นเคือง
โกรธจัด ไม่ยอมรับ ผู้นั้นชื่อว่า หมกเวรไว้
เอวํ กิจฺฉาภโต โปโส     ปิตุ อปริจารโก
ปิตริมิจฺฉาจริตฺวาน     นิรยํ โส อุปปชฺชติ
ผู้ที่มีมารดาบิดาเลี้ยงมาได้โดยยากอย่างนี้
ไม่บำรุงมารดาบิดา ประพฤติผิดในมารดาบิดา ย่อมเข้าถึงนรก
เตชวาปิ หิ นโร วิจกฺขโณ     สกฺกโต พหุชนสฺส ปูชิโต
นารีนํ วสงฺคโต     น ภาสติ     ราหุนา อุปหโตว จนฺทิมา
ถีงเป็นคนมีเดช มีปัญหาเฉียบแหลม อันคนเป็นอันมากสักการบูชา
อยู่ในอำนาจสตรีเสียแล้วย่อมไม่รุ่งเรือง เหมือนพระจันทร์ถูกพระราหูบังฉะนั้น
ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ     หิมวนฺโตว ปพฺพโต
อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ     รตฺติขิตฺตา ยถา สรา
สัตบุรุษทั้งหลายย่อมปรากฎได้ในที่ใกล เหมือนภูเขาหิมวันต์
อสัตบุรุษทั้งหลายถึงในที่นี้ก็ไม่ปรากฎ เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน ฉะนั้น
ธีโร โภเค อธิคมฺม     สงฺคณฺหาติ จ ญาตเก
เตน โส กิตฺตึ ปปฺโปติ     เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ
ผู้มีปรีชาได้โภคะแล้ว ย่อมสงเคราะห์หมู่ญาติ
เพราะการสงเคราะห์นั้น เขาย่อมได้เกียรติ ละไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์
มธุวา มญฺญตี พาโล     ยาว ปาปํ น ปจฺจติ
ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ     อถ ทุกฺขํ นิคจฺฉติ
ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน
แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น
ยสฺส ปาปํ กตํ กมฺมํ     กุสเลน ปิถียติ
โสมํ โลกํ ปภาเสติ     อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา
ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว ละเสียได้ด้วยกรรมดี
ผู้นั้นย่อมยังโลกให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆ
ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย     นิสีเทยฺย สเยยฺย วา
น ตสฺส สาขํ ภญฺเชยฺย     มิตฺตทุพฺโพ หิ ปาปโก
บุคคลนั่งหรือนอน (อาศัย) ที่ร่มเงาตันไม้ใด
ไม่ควรรานกิ่งต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวทราม
โย มาตรํ ปิตรํ วา     มจฺโจ ธมฺเมน โปสติ
อิเธว นํ ปสํสนฺติ     เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ
ผู้ใดย่อมเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม
บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้ เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์


มัจจุวรรค - หมวดมฤตยู
สพฺพํ เภทปริยนฺติ     เอวํ มจฺจาน ชีวิตํ
ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ซึ่งล้วนมีความสลายเป็นที่สุด
น มิยฺยมานํ ธนมนฺเวติ กิญฺจิ           ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้
อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ     สพฺเพ มจฺจุ ปรายนา
ทั้งคนมีคนจน ล้วนมีแต่ความตายเป็นเบื้องหน้า
ทหรา จ มหนฺตา จ     เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา
สพฺเพ มจฺจุวสํ ยนฺติ     สพฺเพ มจฺจุปรายนา
ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งเขลา ทั้งฉลาด
ล้วนไปสู่อำนาจแห่งความตาย ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
ยถา ทณฺเฑน โคปาลา      คาโว ปาเชติ โคจรํ
เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ     อายุํ ปาเชนฺติ ปาณินํ
ผู้เลี้ยงโคย่อมต้อนฝูงโค ไปสู่ที่หากินด้วยพลองฉันใด
ความแก่และความตาย ย่อมต้อนอายุของสัตว์มีชีวิตไปฉันนั้น
ยถา วาริวโห ปูโร     วเห รุกฺเข ปกูลเช
เอวํ ชราย มรเณน     วุยฺ หนฺเต สพฺพปาณิโน
ห้วงน้ำที่เต็มฝั่ง พึงพัดต้นไม้ซึ่งเกิดที่ตลิ่งไปฉันใด
สัตว์มีชีวิตทั้งปวง ย่อมถูกความแก่และความตายพัดไปฉันนั้น
อจฺเจนติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย     วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ
เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน     ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป
ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น พึงทำบุญอันนำความสุขมาให้
 
มิตตวรรค - หมวดมิตร
มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร           มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน
สหาโย อตฺถชาตสฺส     โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ
สหายเป็นมิตรของผู้มีความต้องการเกิดขึ้นเนือง ๆ
สพพตฺถ ปูชิโต โหติ     โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ
ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง
มิตฺตทุพโภ หิ ปาปโก           ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวแท้
ภริยา ปรมา สขา           ภรรยาเป็นเพื่อนสนิท
นตฺถ พาเล สหายตา           ความเป็นสหายไม่มีในคนพาล
สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ     จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา
ถ้าได้สหายผู้รอบคอบ พึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา
 
วาจาวรรค - หมวดวาจา
โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ           เปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ
หทยสฺส สทิสี วาจา           วาจาเช่นเดียวกับใจ
มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ           คนเปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน
ทุฏฺฐสฺส ผรุสา วาจา           คนโกรธมีวาจาหยาบ
สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ           ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ
ตเมว วาจํ ภาเสยฺย     ยายตฺตานํ น ตาปเย           ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน
นาติเวลํ ปภาเสยฺย     นตุณหี สพฺพทา สิยา           อวิกิณฺ มิตํ วาจํ     ปตฺเตกาเล อุทีริเย
ไม่ควรูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป เมื่อถึงเวลาก็ควรพูดพอประมาณ ไม่ฟั่นเฝือ
โย นินฺทิยํ ปสํสติ     ตํ วา นินฺทติ โย ปสํสิโย
วิจินาติ มุเขน โส กลี     กลินา เตน สุขํ น วินทติ
ผู้ใดสรรเสริญคนควรติ หรือติคนที่ควรสรรเสริญ
ผู้นั้นย่อมเก็บโทษด้วยปาก เขาไม่ได้สุขเพราะโทษนั้น
สจฺ จํ เว อมตา วาจา           คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย


วิริยวรรค - หมวดความเพียร
กาลาคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ            คนขยันย่อมไม่พร่าประโยชน์ชั่วตามกาล
วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ            คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
ปฏิรูปการี ธุรวา     อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ
คนมีธุระหมั่นทำการงานให้เหมาะเจาะ ย่อมหาทรัพย์ได้
น นิพฺพินฺทิยการิสฺส     สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ
ประโยชน์ย่อมไม่สำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยเบื่อหน่าย
หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส     ปเรติ ปริหายติ
คนที่ผลัดวันประกันพรุ่งย่อมเสื่อม ยิ่งว่ามะรืนนี้ยิ่งเสื่อม
อปฺปเกนปิ เมธาวี     ปาภเฏน วิจกฺขโณ
สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ     อณุํ อคคึว สนฺธมํ
ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดย่อมตั้งตนได้ด้วยต้นทุนแม้น้อย
เหมือนคนก่อไฟน้อยขึ้นฉะนั้น
อฏฺฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ     อบฺปมตฺโต วิธานวา
สมํ กปฺเปติ ชีวิตํ     สมภตํ อนุรกฺขติ
ผู้ขยันในหน้าที่การงาน ไม่ประมาท
เข้าใจเลี้ยงชีพพอสมควร จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้
โย จ วสฺสสตํ ชีเว     กุสีโต หีนวีริโย
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย     วิริยํ อารภโต ทฬฺหํ
ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
ส่วนผู้ปรารภความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวก็ประเสริฐกว่า
โกสชฺชํ ภยโต ทิสฺวา     วิริยารมฺภญฺจ เขมโต
อารทฺธวิริยา โหถ     เอสา พุทธานุสาสนี
ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย
และเห็นการปรารภความเพียรเป็นความปลอดภัย
แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี
สพฺพทา สีลสมฺปนฺโน     ปญฺญวา สุสมาหิโต
อารทฺธวิริโย ปหิตตฺโต     โอฆํ ตรติ ทุตฺตรํ
ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว
ปรารภความเพียรตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก
 
สีลวรรค - หมวดศีล
สฺขํ ยาว ชรา สีลํ            ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าชรา
สีลํ กิเรว กลฺยาณํ            ท่านว่าศีลนั้นเทียวเป็นความดี
สํวาเสน สีลํ เวทิตพฺพํ            ศีลพึงรู้ได้เพราะอยู่ร่วมกัน
สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร            ความสำรวมใในที่ทั้งปวงเป็นดี
สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี            ปราชญ์พึงรักษาศีล
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ     กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ     ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
อวณฺณญฺจ อกิตฺติญฺจ     ทุสฺสีโล ลภเต นโร
วณฺณํ กิตฺตึ ปสํสญฺจ     สทา ลภติ สีลวา
คนผู้ทุศีลย่อมได้รับความติเตียน และความเสียชื่อเสียง
ส่วนผู้มีศีลย่อมได้รับชื่อเสียงและความยกย่องสรรเสริญทุกเมื่อ
อิเธว กิตฺตึ ลภติ     เปจฺจ สคฺเค จ สุมโน
สพฺพตฺถ สุมโน ธีโร     สีเลสุ สุสมาหิโต
ผู้มีปรีชามั่นคงดีแล้วในศีล ย่อมได้รับชื่อเสียงในโลกนี้
จะไปแล้วย่อมดีใจในสวรรค์ ชื่อว่าย่อมดีใจในที่ทั้งปวง
สีลํ รกฺเขยฺย เมธาว     ปตฺถยาโน ตโย สุเข
ปสํสํ วิตฺติลาภญฺจ     เปจฺจ สคฺเค ปโมทนํ
ผู้มีปัญญาเมื่อปรารถนาสุขสามอย่าง คือความสรรเสริญ
ความได้ทรัพย์ และความละไปบันเทิงในสวรรค์ ก็พึงรักษาศีล
สีลวา หิ พหู มิตฺเต     สญฺญเมนาธิคจฺฉติ
ทุสฺสีโล ปน มิตฺเตหิ     ธํสเต ปาปมาจรํ
ผู้มีศีลย่อมได้มิตรยากด้วยความสำรวม
ส่วนผู้ไม่มีศีล ประพฤติชั่ว ย่อมแตกจากมิตร
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ     สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ     สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ เสตุ มเหสกฺโข     สีลํ คนฺโธ อนุตฺตโร
สีลํ วิเลปนํ เสฏฺฐํ     เยน วาติ ทิโส ทิสํ
ศีลเป็นสะพานอันสำคัญ ศีลเป็นกลิ่นที่ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า
ศีลเป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐสุด เพราะศีล (มีกลิ่น) ขจรไปทั่วทุกทิศ
 
สุขวรรค - หมวดสุข

สพฺพตถ ทุกฺขสฺส สุขํ ปหานํ            ละเหตุทุกข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง
อพฺยา ปชฺฌํ สุขํ โลเก            ความไม่เบียดเบียนเป็นสุขในโลก
นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ            ความสุข (อื่น) ยิ่งกว่าความสงบไม่มี
นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ            นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
อทสฺสเนน พาลานํ      นิจฺจเมว สุขี สิยาํ            จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์ ก็เพราะไม่พบเห็นคนพาล
สุขํ สุปติ พุทฺโธ จ     เยน เมตฺตา สุภาวิตาํ            ผู้เจริญเมตตาดีแล้วย่อมหลับและตื่นเป็นสุข
สุโข พุทฺธานํ อุปฺปาโทํ            ความเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนำสุขมาให้


เสวนาวรรค - หมวดคบหา
วิสฺสาสา ภยมนฺเวติ            เพราะความไว้ใจภัยจึงตามมา
อติจิรํ นิวาเสน ปิโย ภวติ อปฺปิโย            เพราะอยู่ด้วยกันนานเกินไป คนที่รักกันก็มักหน่าย
ยํ เว เสวติ ตาทิโส            คบคนใดก็เป็นเช่นคนนั้น
ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส     อมิเตเนว สพฺพทา
อยู่ร่วมกับคนพาลนำทุกข์มาให้เสมอไป เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู
ธีโร จ สุขสํวาโส     ญาตีนํว สมาคโม
อยู่ร่วมกับปราชญ์นำสุขมาให้ เหมือนสมาคมกับญาติ
นิหียติ ปุริโส นิหีนเสวี            ผู้คบคนเลวย่อมเลวลง
ทุกฺโข พาเลหิ สงฺคโม            สมาคมกับคนพาลนำทุกข์มาให้
สุโข หเว สปฺปุริเสน สงฺคโม            สมาคมกับสัตบุรุษนำสุขมาให้
น ปาปชนสํเสวี     อจฺจนฺตสุขเมธติ            ผู้ไม่คบคนชั่ว ย่อมได้รับสุขส่วนเดียว
สงฺเกเถว อมิตฺตสฺมึ           ควรระแวงในศัตรู
มิตฺตสฺมิมฺปิ น วิสฺสเส            แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ
นาสฺมเส กตปาปมฺหิ            ไม่ควรไว้ใจคนทำบาป
นาสฺมเส อตฺตตฺถปญญมฺหิ            ไม่ควรไว้ใจคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
ตครํ ว ปลาเสน     โย นโร อุปนยฺหติ
ปตฺตาปิ สุรภี วายนฺติ     เอวํ ธีรูปเสวนา
คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้
แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด การคบกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้น
ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน      โย นโร อุปนยฺหติ
กุสาปิ ปูติ วายนฺติ     เอวํ พาลูปเสวนา
คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา
แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉันใด การคบคนพาลก็ฉันนั้น
สทฺเธน จ เปสเลน จ     ปญฺญวตา พหุสฺสุเตน จ
สขิตํ หิ กเรยฺย ปณฺฑิโต     ภทฺโท สปฺปุริเสหิ สงฺคโม
บัณฑิตพึงทำความเป็นเพื่อนกับคนมีศรัทธา มีศีลเป็นที่รัก
มีปัญญาและเป็นพหุสูต เพราะการสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ
ปสนฺนเมว เสเวยฺย     อปฺปสนฺนํ วิวชฺชเย
ปสนฺนํ ปยิรุปา เสยฺย     รหทํวุทกตฺถิโก
บุคคลควรคบผู้เลื่อมใสเท่านั้น ควรเว้นผู้ไม่เลื่อมใส
ควรเข้าไปนั่งใกล้ผู้เลื่อมใส เหมือนผู้ต้องการน้ำเข้าไปหาห้วงน้ำฉะนั้น
 
ปกิณณกวรรค - หมวดเบ็ดเตล็ด
หิริโอตฺตปฺปญฺเญว     โลกํ ปาเลติ สาธุกํ
หิริและโอตตัปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี
โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา            เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก
อรติ โลกนาสิกา            ความริษยาเป็นเหตทำโลกให้ฉิบหาย
อโรคฺยปรมา ลาภา            ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง
กาโล ฆสติ ภูตานิ     สพฺพาเนว สหตฺตนา
กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง
สพฺพญฺจ ปฐวึ ทชฺชา     นากตญฺญุมภิราธเย
ถึงให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้
หนนฺติ โภคา ทุมฺเมธํ            โภคทรัพย์ ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ            สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย
นตฺถิ โลเก รโห นาม     ปาปกมฺมํ ปกุพฺพโต
ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำบาปกรรม ไม่มีในโลก
โภคา สนฺนิจยํ ยนฺติ     วมฺมิโกวูปจียติ
โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี
ย่อมถึงความพอกพูน เหมือนจอมปลวกกำลังก่อขึ้น
รูปํ ชีรติ มจฺจานํ     นามโคตฺตํ นฺ ชีรติ
ร่างกายของสัตร์ย่อยยับได้ แต่ชื่อและสกุลไม่ย่อยยับ
อตีตํ นานฺราคเมยฺย            ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว
นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ             ไม่ควรหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
อิตฺถีธุตฺโต สุราธุตฺโต     อกฺขธุตฺโต จ โย นโร
ลทฺธํ ลทฺธํ วินาเสติ     ตํ ปราภวโต มุขํ
คนใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงการพนัน
ย่อมล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้แล้ว ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งผู้ฉิบหาย
อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส    ลหุจิตฺตสฺส ทุพฺภิโน
นิจจํ อทฺธวสีลสฺส     สุขภาโว น วิชฺชติ
เมื่อมีจิตไม่หนักแน่น เป็นคนใจเบา มักประทุษร้ายมิตร
มีความประพฤติกลับกลอกเป็นนิตย์ ย่อมไม่มีความสุข
ยถาปิ มูเล อนุปทฺทเว ทฬฺเห     ฉินฺโนปิ รุกฺโข ปุนเรว รูหติ
เอวฺมปิ ตณฺหานุสเย อนูหเต     นิพฺพตฺตติ ทุกฺขมิทํ ปุนปฺปุนํ
เมื่อรากยังมั่นคงไม่มีอันตราย ต้นไม้แม้ถูกตัด แล้วย่อมงอกได้อีกฉันใด
เมื่อตัณหานุสัยยังไม่ถูกกำจัดแล้ว ทุกข์นี้ย่อมเกิดร่ำไปฉันนั้น
โย เว ตํ สหตี ชมฺมี     ตณฺหํ โลเก ทุรจฺจยํ
โสกา ตมฺหา ปปตนฺติ     อุทพินฺทุว โปกฺขรา
ผู้ใดครอบงำตัณหาลามก อันล่วงได้ยากในโลก
ความโศกทั้งหลายย่อมตกไปจากผู้นั้น เหมือนหยาดน้ำตกไปจากใบบัวฉะนั้น
สพฺพปาปสฺส อกรณํ     กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ     เอตํ พุทฺธาน สาสนํ
การไม่ทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม
การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 พ.ค. 2552, 02:04:14 โดย eXeCuTioNz - IX »
[shake]
ตญฺหา ชเนติ ปุรสํ     จิตฺตมสฺส วิธาวติ     สตฺโต สํสารมาปาทิ    ทุกฺขา น ปริมุจฺจติ
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงไม่พ้นจากทุกข์
[/shake]

ออฟไลน์ tum72

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 2246
  • ณ ตลาดพลู
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พุทธศาสนสุภาษิต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 09 พ.ค. 2552, 10:10:38 »
คำสอนของพระพุทธองค์ สามารถพิสูจน์ได้จริง และไม่ว่าจะยุคใดสมัยใด คำสอนของท่านก็ยังคงนำมาสอนได้เสมอครับ

ขอบคุณเรื่องราวดีๆครับ แบ่งเป็นหมวดเป็นหมู่เลยครับ
โอม ราศีกูเอ๋ย  จงมาเป็นอาสน์  สีธาวาส  มาเป็นเกียรติ  ศรีชายมาเป็นช่วง
หญิงชายทั้งปวง รักกูมิรู้วาย  ด้วยราศีกูงามคือฟ้า  หน้ากูงามคือพรหม
หญิงเห็นหญิงรัก  ชายเห็นชายทัก  กูอยู่ทุกเมื่อ  ไม่เบื่อแต่สักวัน
โอม หญิงชายทั้งหลายเอ๋ย  มา