แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - eXeCuTioNz - IX

หน้า: [1]
2

 
ธาตุสี่ธาตุคือ ดิน น้ำ ลม และไฟ

ในการศึกษาของโหราศาสตร์ มนุษย์ถูกประกอบขึ้นเป็นตัวตนด้วยธาตุสี่ธาตุคือ ดิน น้ำ ลม และไฟ ไม่ว่าจะเป็นการอุปมาหรือด้วยความจริงก็ตาม ธาตุทั้งสี่แทรกอยู่ในชีวิตประจำวันเราด้วยเช่น เมื่อเราเห็นใครสักคนมีธาตุไฟแรง (มีความคิดสร้างสรรค์ อยู่นิ่งๆไม่ค่อยจะได้ หรือกำลังโกรธ) หรือธาตุไฟในสถานที่หนึ่ง (มีความรุนแรงภายในสถานที่นั้น หรือมีความร้อนแรงจากแสงของดวงอาทิตย์ที่สาดส่อง)

ถ้าเราเริ่มใช้วิจารณญาณมองการเกี่ยวโยงกันทั้งหมดของดาวเคราะห์ วิธีการแสดงอิทธิพล และธาตุเข้าด้วยกัน เราจะเห็นความซับซ้อนของพลังงานในระดับต่างๆกัน ตัวเราเองก็เป็นส่วนหนึ่งของก้อนหิน ต้นไม้และดวงดาว การที่เราขยับตัว หายใจ ออกท่าทาง และคิดจะมีผลกระทบกับทุกๆสิ่ง ดังนั้นการกระทำอะไร ต่อใครย่อมมีความหมายและผลกระทบตลอดเวลา

นักโหราศาสตร์ศึกษาเรื่องธาตุทั้งสี่ แล้วพบว่าธาตุทั้งสี่คือพาหะพื้นฐานสำหรับพลังชีวิตในรูปของ ดิน น้ำ ลม และไฟนั่นเอง ธาตุทั้งสี่มีอยู่ในธรรมชาติ เพียงแต่เราต้องรู้และเข้าใจในการนำมาใช้ ถ้าตัวเรามีธาตุหนึ่งธาตุใดแรงเกินไป เราก็จำเป็นต้องหาสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากธรรมชาติเพื่อที่มาเสริมธาตุที่อ่อน แล้วจะทำให้ร่างกายคืนสู่สมดุลย์ เช่น การแช่หรืออาบน้ำเย็นจะช่วยเสริมธาตุน้ำ ความร้อนจากกองไฟช่วยเสริมธาตุไฟ การสูดอากาศบริสุทธิ์บนขุนเขาที่ห่างไกลช่วยเสริมธาตุลม การทำสมาธิในถ้ำที่ห่างไกลความเจริญช่วยเสริมธาตุดิน

ธาตุแต่ละธาตุยังสามารถสอนการดำเนินชีวิตเราได้ด้วย ธาตุดินสอนให้เรารู้จักเงียบ อดทน และมีความมั่นคง ธาตุลมสอนให้เรารู้จักเลือกคำพูดและรับเอาแต่สิ่งที่ดีงาม ธาตุไฟสอนให้เราหัวเราะ รู้จักสนุก สร้างสรรค์และแสดงออกอย่างพอเหมาะ ธาตุน้ำสอนให้เรารู้สึกและเข้าใจถึงพลังของสิ่งต่างๆอย่างลึกซึ้ง

การจำแนกธาตุตามสิบสองราศีมีดังต่อไปนี้:

-> ธาตุไฟ (Fire element) คือราศี เมษ, สิงห์ และธนู
-> ธาตุดิน (Earth element) คือราศี พฤษภ, กันย์ และมังกร
-> ธาตุลม (Air element) คือราศี มิถุน, ตุล และกุมภ์
-> ธาตุน้ำ (Water element) คือราศี กรกฎ, พิจิก และมีน

แต่บางที การที่เราจะบอกว่าคุณเกิดราศีนี้แล้ว คุณเป็นคนธาตุนั้นธาตุนี้ออกจะกว้างเกินไป ทุกคนย่อมมีส่วนผสมของธาตุอยู่ในสัดส่วนที่ต่างกัน มีโอกาสน้อยมากที่คนในคนหนึ่งจะมีความสมดุลย์ในน้ำหนักของทั้งสี่ธาตุเท่าๆ กัน การมากไปหรือน้อยไปทำให้เราต้องหาวิธีเพื่อที่จะปรับ แต่ด้วยวิถีของธรรมชาติ ไม่ใช่ใช้ยาทางวิทยาการแผนใหม่แต่เพียงอย่างเดียว

(จากหนังสือ “วิถีแห่งธรรมชาติบำบัดด้วยธาตุทั้งสี่” สำนักพิมพ์มติชน)

3
บทความ บทกวี / การรับขันธ์ครู ==>
« เมื่อ: 25 พ.ค. 2552, 11:08:47 »
ผู้ที่รับขันธ์มา ส่วนใหญ่แล้วชีวิตอัปปาง วิบัติ ลมสลายเกือบทุกรายไป ที่ยังไม่ออกเหตุก็เพราะบุญยังเยอะ สุดท้ายจบลงด้วย โรคมะเร็ง เบาหวาน อัมพฤกา อัมพาต หรืออุบัติเหตุ แทบทั้งสิ้น รวมถึงเจ้าของตำหนักคนทรงก็ตามมักจะจบชีวิตด้วยเหตุนี้ โดนกัดกินอวัยวะภายในเจ็บป่วยในบั้นปลายชีวิต...บ้างก็ล้มตายด้วยอุบัติเหตุ..ไปเลย

ที่ผ่านมามีผู้ทนทุกข์ทรมานถอนขันธ์เป็นจำนวนมาก บางคนหมดเงินไปเป็นล้านๆ บางคนก็ถอนเองส่วนใหญ่จะทำไม่ถูกวิธี ..ทิ้งขันธ์ไป แต่วิญญาณในขันธ์นั้นยังเกาะอยู่เหมือนเดิม..!! เหลือแต่ขันเปล่าๆ ก็ยังมีแฝงอยู่ดี

งานพิธีไหว้ครูต่างๆ เป็นการเต้นรำ บรรดาผีต่างๆ แต่งตัวมาเลียนแบบเทพ กันสนุกสนาน ท่านสังเกตุเกิดว่า พระแม่กวนอิมต้องมาฟ้อนรำกับกุมาร หรือพระศิวะ กุมารต่างๆ หรือมหาเทพอย่างพระแม่อุมา จะมาฟ้อนเต้นแร้งเต้นกากับผี หรือกุมารต่างๆ อย่างนั้นหรือ..!!

เทพต่างๆ ล้วนอิ่มทิพย์ ไม่ต้องมาทรมานสังขารมนุษย์(มันเป็นบาป) นั่งสั่น หงายท้องหรือดูดบุหรี่ทีละ 5 มวน อันนั้นมันผีชัดๆ หรือพูดจาด่าทอสาปแช่งมนุษย์บรรดาเทพต่างๆ ไม่เสี่ยงกับการจกสววรค์ หากมีจิตใจไม่ดี หรือไม่มีศีลธรรมคงไม่เป็นเทพหรอกครับ. ยกเว้นพวกผี..ชั้นต่ำเท่านั้น..!!

บางตำหนักทรงก็เป็นผี ชั้นดีต้องการสร้างบุญจริงๆ ไม่เก็บเงินใดๆ เอาไปทำบุญ แต่หากให้รับขันธ์ ก็ผิดอีกนั้นแหละ ไปเอาพวกผีด้วยกันมาใส่ตัวชาวบ้านให้ได้รับวามเดือดร้อนกัน...!!

บางท่านไม่ได้รับขันธ์ แค่นั่งสมาธิก็โดนสัมภเวสีเข้าแทรก มีอาการแปลกๆ ดังที่เห็นได้ในงานพิธีสวดพานยักษ์ใหญ่ ของต่างๆ ที่ขี้นให้เห็นเพียงพรมน้ำมนต์ก็สงบลง แต่ไม่ออกนะครับ...ผลสุดท้าย วัดนั้นเพียงเอาเรื่องนี้มาทำมาหากิน ขายวัตถุมงคล

มนุษย์เรา ไม่เข้าใจเรื่องของกฏแห่งกรรม ไปเอาวัตถุมงคลมาคุ้ม ถึงได้ผีเข้ากันมากมาย ใครรู้ตัวก่อนก็เป็นบุญเทวดาพามาให้เจอ..

ความเข้าใจกรณีการรับขันธ์

ขันธ์ 5 ของมนุษย์นั้น ประกอบไปด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

เทพ เป็นจิตวิญญาณ มีขันธ์เพียง 3 ขันธ์ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ จึงต้องอาศัยการแต่งขันธ์ 5 ของมนุษย์ ที่จัดตบแต่งขึ้นมาเป็นตัวแทนของตน ว่าได้ยอมรับเป็นร่างให้กับเทพองค์นั้น ๆ และยังหมายถึงข้อตกลง ระหว่างเทพกับมนุษย์ผู้ตกลงปลงใจยอมรับหน้าที่เป็นสังขารขันธ์ให้กับองค์เทพผู้นั้นไว้ใช้ร่างของตนสร้างบารมี โดยมีองค์เทพผู้ทำพิธีมอบขันธ์ให้เป็นสักขีพยาน หากแม้นมีใครระหว่างเทพกับมนุษย์มีการผิดข้อตกลง ก็ต้องเดือดร้อนถึงผู้เป็นครูที่เป็นสักขีพยาน จะต้องทำหน้าที่ว่ากล่าวตักเตือนผู้กระทำผิดต่อไป

ความหมายของขันธ์ต่างๆ

ขันธ์ 5 หมายถึงการรับศีล 5 มาปฏิบัติโดยเคร่งครัด ถ้าทำไม่ได้ก็อย่าเผลอไปรับเข้า มิฉะนั้นอาจถูกลงโทษได้

ขันธ์ 8 หมายถึงการรับศีล 8 ซึ่งจะต้องประพฤติพรหมจรรย์ ห้ามร่วมหลับนอนฉันท์สามีภรรยา งดเว้นอาหารมื้อเย็น สวดมนต์ไหว้พระ เจริญสมาธิภาวนา เหมือนการถือศีลบวชพราหมณ์นั่นเอง

ขันธ์ 9 หมายถึงการรับศีลอุโบสถ ถือศีล 8 เคร่งครัด เด็ดดอกไม้ก็ไม่ได้ ดมดอกไม้หรือเครื่องหอมก็ไม่ได้ กินแต่อาหารเจ หรือมังสวิรัติ

ขันธ์ 10 หมายถึงศีลของสามเณรหรือสามเณรี ก็เท่ากับการถือบวชโดยถือสิกขาบท 10 ประการ

ขันธ์ 16 หมายถึงศีลของนักบวช 227 ที่มุ่งการบำเพ็ญสมาธิภาวนา กินอาหารมือเดียว งดเว้นของสดของคาว กินแต่ผลไม้ เผือกมัน ไม่เที่ยวเดินพลุกพล่าน อยู่ด้วยการสำรวมปฏิบัติ นั่งสมาธิเป็นที่เป็นทาง แทบจะทำตัวเหมือนนักบวช เพียงแต่เป็นการบวชใจไม่ได้บวชกายเท่านั้น

ดังนั้นหากถือปฏิบัติตามที่กล่าวมาแล้วไม่ได้ ก็จงอย่าได้รับเลย หากแม้นมีใครแนะนำให้รับก็จงพิจารณาให้ถ้วนถี่เสียก่อน เพราะการรับขันธ์นั้นไม่ใช่เพียงนำมาบูชาเท่านั้น จะต้องปฏิบัติเป็นประจำด้วยก็คือ การสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ แผ่เมตตาถึงองค์เทพที่รับมาด้วยจึงจะถูกต้อง ไม่เช่นนั้นแล้วอาจสร้างปัญหาให้เดือดร้อนได้ เพราะถือว่าผิดสัจจะที่รับมา

ลักษณะของชั้นเทพ

ลักษณะของจิตวิญญาณในระดับต่าง ๆ ที่ลงมาประทับทรงหรือเข้าทรงมนุษย์นั้น หากเรารู้จักสังเกตุให้ดี ก็พอจะแยกได้ว่า เป็นเทพหรือเป็นผี โดยอาศัยหลักพิจารณาโดยสังเขปดังนี้

1. ประทับทรงจากส่วนล่าง จิตวิญญาณใดที่ประทับทรงจากปลายเท้าขึ้นมา มักจะเป็นพวก สัมภเวสี หรือ วิญญาณมนุษย์ที่ตายไปแล้ว

2. ประทับทรงจากด้านหลัง จิตวิญญาณใดประทับทรงจากด้านหลัง มักจะเป็นวิญญาณทั่วไปที่มีฤทธิ์อำนาจ ซึ่งมักจะเรียกขานกันว่า เจ้าพ่อ เจ้าแม่ เจ้าปู่ ฯลฯ

3. ประทับทรงจากด้านหน้า จิตวิญญาณใดที่ประทับทรงจากด้านหน้า มักจะเป็นวิญญาณของมนุษย์ที่ไปเกิดเป็น เทวดาชั้นจาตุมฯ ที่อยู่ใกล้ชิดมนุษย์

4. ประทับทรงจากทางบ่า จิตวิญญาณใดที่ประทับทรงจากทางบ่า มักจะเป็นเทพหรือดาบสที่มีฤทธิ์ ในระดับกลาง ๆ

5. ประทับทรงจากกลางกระหม่อม จิตวิญญาณใดที่ประทับทรงจากส่วนศรีษะหรือกระหม่อม มักจะเป็นเทพในระดับสูง

คำแนะนำ

ดังนั้นถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ จะมีองค์หรือไม่ก็ตาม ถ้าท่านหมั่นสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ แผ่เมตตาถึงครูบาอาจารย์ องค์เทพเทวาที่คุ้มครองรักษาตนเอง ก็น่าจะเพียงพอ เพราะการที่เทพมาอยู่กับเราก็ด้วยเหตุที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น คือปรารถนาจะได้ร่วมสร้างบารมี และช่วยเหลือผู้ที่เคยเกี่ยวข้องกันมาก่อน พาร่างสร้างบารมีทำบุญไหว้พระ สร้างแต่กรรมดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น

ถ้าเราทำได้ดังนี้ก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่ต้องไปรับขันธ์ เทพเป็นผู้ที่มีจิตเมตตา ประกอบด้วย หิริโอตตัปปะ คือความละอายและเกรงกลัวต่อบาป ย่อมไม่สร้างปัญหาใด ๆ ให้กับร่างที่จะมาอยู่ด้วย เพราะท่านกลัวบาป การที่จะทำให้เจ็บป่วยหนักหนาแสนสาหัส หรือลงโทษอะไรหนักหนาคงไม่มี นอกจากช่วยเหลือเท่านั้น แต่ที่มันเจ็บป่วยหรือมีปัญหาในหน้าที่การงาน การเงิน จนล้มละลาย มันเป็นเรื่องของวิบากกรรมที่ใครจะเข้าไปแก้ไขได้ นอกจากช่วยประคับประคองหรือดลจิตดลใจให้ไปหาผู้ที่สามารถแก้ไขวิบากรรมส่วนนี้ได้


ข้อสังเกต

มนุษย์ผู้ที่มีองค์เทพคุ้มครองอยู่นั้นสังเกตได้ด้วยตนเองไม่ยาก

1. มึนศรีษะข้างเดียวเป็นประจำ บางทีทางการแพทย์ว่าเป็น

2. หนักต้นคอ บางครั้งหนักบ่าสองข้างเหมือนมีใครมาขี่คอ บางทีขับรถอยู่ดี ๆ ก็รู้สึกหนักบ่า

3. แน่นหน้าอกเป็นบางครั้ง เหมือนคนหายใจไม่อิ่ม บางคนเป็นบ่อย จนหมอว่าเป็นโรคหัวใจ

4. ฝันแม่นยำ มีลางสังหรณ์แม่นยำ บางทีเรียกสัมผัสที่หก หรือ “ ซิกเซ้นท์ ”

5. ชอบฝันหรือตีเป็นตัวเลข เสี่ยงโชคได้ใกล้เคียง บางที ผิดแต้มเดียว กลับบนกลับล่าง กลับหน้ากลับหลัง ซื้อทีไรก็เฉี่ยวไปเฉี่ยวมาเป็นประจำ แต่ถ้าไม่ซื้อเที่ยวบอกใคร เขาก็จะถูก

6. บางครั้งหูจะได้ยินเสียงเรียกชื่อเบา ๆ เหมือนเสียงกระซิบก็มี เสียงดังก้องในหู ก็มี

7. ไปตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือ มีอะไรที่ลี้ลับ จะรับรู้โดยการสัมผัส ขนลุกชันเย็นซ่าไปทั้งตัว

8. บางครั้งสวดมนต์เป็นภาษาบาลีอยู่ดี ๆ ก็เปลี่ยนเป็นภาษาอื่นรัวเร็วขึ้นมา

9. หากนั่งสมาธิจะได้หูทิพย์ ตาทิพย์ เร็วกว่าคนทั่วไป

ดังนั้นอาการบางอย่างหาหมอก็แล้ว กินยาก็แล้ว มันไม่หาย ก็ให้ สวดมนต์นั่งสมาธิตามที่ว่าแล้วแผ่เมตตาบ่อย ๆ ทุกอย่างมันจะหายไปเอง เสี่ยงโชคลาภก็จะได้ เพราะบารมีที่ทำนี่แหละ แต่บางอย่างก็อาจจะเกิดจากสัมภเวสีได้เช่นกัน

1. ปวดศรีษะเป็นประจำ บางครั้งปวดมากจนทนไม่ไหว หมอว่าเป็นความดันบ้างก็แล้วแต่ ก็ควรตรวจเช็คแก้ไข เพราะอาจถูกสัมภเวสีเกาะอยู่ในศรีษะได้

2. ปวดไหล่เป็นประจำ หมอว่าเป็นเส้นเอ็นอักเสบ กินยาทายาก็แล้ว มันไม่หาย ตึงไปหมด ถือว่าผิดปกติ

3. มือเท้าชาเป็นซีก จากไหล่ หรือตะโพก หัวเข่าก็ตาม

4. แน่นหน้าอกมากผิดปกติ

5. ป วดบริเวณกระเบนเหน็บ บางที่การแพทย์ระบุว่า หมอนรองกระดูกทับเส้น เว้นแต่กรณีการเกิดอุบัติเหตุ ลื่นหกล้มจนกระแทกพื้นอย่างแรง นั่นก็จะต้องพิจารณารายละเอียดเป็นกรณีไป

อาการเหล่านี้อาจไม่เกี่ยวกับองค์เทพ แต่เป็นการแทรกซ้อนจากวิญญาณเร่ร่อนหรือสัมภเวสีที่ไม่มีที่อยู่นั่นเอง หากรักษาแล้วแก้ไขแล้วไม่ดีขึ้น ก็ลองติดต่อขอรับการสงเคราะห์หรือปรึกษากับ หลวงพ่อวัชระ วัดถ้ำแฝด กาญจนบุรี เพราะท่านอาจจะพอหาทางแก้ไขให้ได้

ดังนั้นการที่ได้กล่าวพาดพิงถึง การรับขันธ์หรือองค์เทพ ก็เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้ใช้วิจารณญาณในการแก้ไขตนเองให้ถูกต้อง ไม่ใช่ใช้เงินแก้ไข เพราะวิบากกรรมเป็นของมนุษย์ที่กระทำกันมา ครูบาอาจารย์องค์เทพก็ตาม ก็ไม่อาจฝืนกฏแห่งกรรมได้ แต่อาจชี้ทางแก้ไขได้ เพราะการเจ็บป่วยหรือปัญหาต่าง ๆ ที่รุมเร้ามนุษย์นั้น มีกรรมเป็นต้นเหตุที่สำคัญ การแก้ไขเรามาแก้กันที่ปลายเหตุมันก็ไม่จบ ต้องรู้จักต้นเหตุ เพราะเหตุเกิดที่ไหนก็ดับที่นั่น

ที่มา http://www.sanyana.com/webboard/viewtopic.php?f=13&t=43


ปล.ต้องขอบคุณพี่ตั้นที่ทำให้ผมสงสัย^^ และหวังว่ากระทู้นี้คงไม่ซ้ำอีกละ(มั้ง)เน้อ
ถามเนื้อหาผิดหรือไม่เหมาะสมก็ลบได้เลยนะครับผมก็ไม่มีความรู้ด้านนี้ด้วยซิก็อปเขามาาาาาา

4
1. จงสร้างความดีให้กับตัวเอง และนี่ก็เป็นการใช้หนี้ตัวเอง ตัวเราพ่อให้หัวใจ แม่ให้น้ำเลือดน้ำเหลืองอยู่ในตัวแล้ว จะไปแสวงหาพ่อที่ไหน จะไปแสวงหาแม่ที่ไหน บางคนรังเกียจแม่ ว่าแก่เฒ่าไม่สวยไม่งาม พอตัวเองแก่ก็เลยถูกลูกหลานรังเกียจ จึงเป็นกงกรรมกงเกวียนยืดเยื้อกันต่อไปอีก

2. ใครที่คุณแม่ล่วงลับไปแล้ว ก็ให้หมั่นทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ท่าน และถ้าจะทำบุญด้วยการเจริญกรรมฐาน แล้วอุทิศส่วนกุศลไป การทำเช่นนี้ถือว่าได้บุญมากที่สุด ทั้งฝ่ายผู้ให้และผู้รับ

3. ผู้ใดก็ตาม ที่คุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้กลับไปหาแม่ ไปกราบเท้าขอพรจากท่าน จะได้มั่งมีศรีสุข ส่วนคนที่เคยทำไม่ดีไว้กับท่าน ก็นำเทียนแพไปกราบขออโหสิกรรม ล้างเท้าให้ท่านด้วย เป็นการขอขมาลาโทษฯ

4. ขอฝากท่านไว้ไปสอนลูกหลาน อย่าคิดไม่ดีกับพ่อแม่เลย ไม่ต้องถึงกับฆ่าหรอก แค่คิดว่าพ่อแม่เราไม่ดี จะทำมาหากินไม่ขึ้น เจ๊ง ท่านต้องแก้ปัญหาก่อนคือ ถอนคำพูด ไปขอสมาลาโทษเสีย แล้วมาเจริญกรรมฐาน รับรองสำเร็จแน่ มรรคผลเกิดแน่ ฯ

5. บางคนลืมพ่อลืมแม่ อย่าลืมนะการเถียงพ่อเถียงแม่ไม่ดี ขอบิณฑบาต สอนลูกหลานอย่าเถียงพ่อเถียงแม่ อย่าคิดไม่ดีกับพ่อกับแม่ ไม่อย่างนั้นจะก้าวหน้าได้อย่างไร ก้าวถอยหลังดำน้ำไม่โผล่ ฯ


ท่านยกตัวอย่าง (เรื่องจริงนะจ๊ะ)

ตัวอย่างที่ 1 บ้านหนึ่งพ่อมีเมีย ๔ คน เมียหลวงบอกลูกว่าพ่อเจ้าไม่ดี ลูกก็ไปด่าพ่อว่าพ่อ แล้วมาบวชวัดนี้ บวชแล้วเดี๋ยวเป็นโน่นเป็นนี่ จนจะกลายเป็นโรคประสาท นี่แหละบวชก็ไม่ได้ผล หลวงพ่อก็ให้ไปถอนคำพูด และขอสมาลาโทษกับพ่อเขาก่อน แล้วกลับมานั่งกรรมฐานจึงได้ผล (กรณีนี้ หลวงพ่อจะเตือนผู้เป็นลูกบ่อยๆไม่ให้ว่าพ่อ) แต่ให้เป็นเรื่องของแม่ที่จะแก้ปัญหานี้ ซึ่งหลวงพ่อสอนไว้แล้ว

ตัวอย่างที่ 2 เมื่อเร็วๆนี้ลูกฆ่าพ่อตาย แม่สงสารพามาเจริญกรรมฐานพอเข้าวัดมันร้อนไปหมด ปวดหัวเข้าไม่ได้นี่เวรกรรมตามสนอง ปิตุฆาต มาตุฆาต ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ทำกรรมฐานไม่ได้แน่นอน ต้องหันรถกลับ นี่เรื่องจริงในวัดนี้ ฯ


6. คนที่มีบุญวาสนา จะกตัญญูกับพ่อแม่ คนเถียงพ่อเถียงแม่เอาดีไม่ได้…….. คนไม่พูดกับพ่อแม่ นั่งกรรมฐานร้อยปี ก็ไม่ได้อะไร? ถ้าไม่ขออโหสิกรรม ฯขออโหสิกรรม ที่คิดไม่ดีกับพ่อแม่ คิดไม่ดีกับครูบาอาจารย์ คิดไม่ดีกับพี่ๆน้องๆ จะไม่เอาอีกแล้ว เอาน้ำไปขันหนึ่ง เอาดอกมะลิโรย กายกัมมัง วจีกัมมัง มโนกัมมัง โยโทโส อันว่าโทษทัณฑ์ใด ความผิดอันใด ที่ข้าพเจ้าพลั้งเผลอสติไป ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ขอให้คุณพ่อคุณแม่ คุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย คุณพี่คุณน้อง อโหสิกรรมให้ด้วย แล้วเอาน้ำรดมือรดเท้า ฯ

นี่แหละท่านทั้งหลายเอ๋ย เป็นหนี้บุญคุณพ่อแม่มากมาย ยังจะไปทวงนาทวงไร่ ทวงตึก มาเป็นของเราอีกหรือ ตัวเองก็พึ่งตัวเองไม่ได้ สอนตัวเองไม่ได้ เป็นคนอัปรีย์จัญไรในโลกมนุษย์ไปทวงหนี้พ่อแม่ พ่อแม่ให้แล้ว (ให้ชีวิต ให้…ให้… ให้….ฯลฯ ) เรียนสำเร็จแล้ว ยังช่วยตัวเองไม่ได้ มีหนี้ติดค้าง รับรองทำมาหากินไม่ขึ้น ฯ


หนี้บุญคุณอันยิ่งใหญ่ เหลือจะนับประมาณ
นั่นคือหนี้บุญคุณของบิดา มารดา

ตัวอย่างที่ 3 "หนามแหลมใครเสี้ยม มะนาวกลมเกลี้ยงใครไปกลึง" เด็กประถม ๔ พ่อเมาเหล้า เมากัญชาเล่นการพนัน แม่เล่นหวย ปัจจุบันเป็นดอกเตอร์อยู่อเมริกา หลวงพ่อสอนครั้งเดียวจำได้ บอกวันเกิด หนูซื้อขนม ๒ ห่อ เรียกพ่อแม่มานั่งคู่กัน แล้วกราบนะลูกนะ แล้วก็บอกพ่อแม่ว่า ความผิดอันใดที่ลูกพลั้งเผลอ ด้วยกาย วาจา ใจ ที่คิดไม่ดีต่อคุณพ่อคุณแม่ ขอให้คุณพ่อคุณแม่อโหสิกรรมให้ แล้วล้างเท้าให้พ่อแม่ ลูกไม่มีสตางค์ ลูกซื้อขนมมา ๒ ห่อ ให้แม่ก่อน ๑ ห่อ เพราะอุ้มท้องมา แล้วจึงให้พ่ออีก ๑ ห่อ ลูกขอปฏิญาณตนว่า ลูกขอเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ แล้วจะเป็นศิษย์ที่ดีของครูบาอาจารย์ ลูกจะไม่ทำให้พ่อแม่ผิดหวัง... พ่อฟังแล้วน้ำตาร่วงสร่างเมา ส่วนแม่ก็ร้องไห้เลย พ่อแม่ก็ให้สัญญากับลูกเลิกอบายมุขทั้งหมด


7. ลูกหลานโปรดจำไว้ เมื่อแยกครอบครัวไปมีสามีภรรยาแล้ว อย่าลืมไปหาพ่อแม่ ถึงวันว่างเมื่อไรต้องไปหาพ่อแม่ ถึงวันเกิดของลูกหลาน อย่าลืมเอาของไปให้พ่อแม่รับประทาน อย่ากินเหล้า เข้าโฮเต็ล

8. ชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้เป็นมงคลนาม ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน เพราะชื่อเป็นเพียงนามสมมุติแทนตัวเรา อย่างหลวงพ่อชื่อจรัญ ปู่ตั้งให้ หมอดูบอกเป็นกาลกิณี แต่ทำไมเจริญรุ่งเรือง ขอให้เชื่อพระพุทธเจ้าทำดีได้ดี

9. ของดี ของ ปู่ ย่า ตา ยาย อย่าไปทำลายเลย ของพ่อแม่อย่าไปทำลายนะ หนีได้แน่นอน โยมมีกรรมฐาน มีทรัพย์ มีชื่อเสียง ความรัก บูชาทรัพย์ บูชาชื่อเสียง ความรักของพ่อแม่ได้ เงินจะไหลนองทองจะไหลมา......... พ่อแม่ให้อะไรเอาไว้ก่อน อย่าไปทำลายเสีย ถึงจะเป็นถ้วยพ่อแม่ให้มา ก็ไว้เป็นที่ระลึกก็ยังดีอย่าเอาไปทิ้งขว้าง ฯ

10. ถ้าต้องการเจริญก้าวหน้าขอฝากไว้ด้วย คนเรามี ๒ ก้าว จะก้าวขึ้นหรือก้าวลงดำน้ำไม่โผล่ ก้าวลงมันง่ายดี ก้าวขึ้นมันต้องยาก ของชั่วมันง่าย หลั่งไหลไปตามที่ต่ำ นี่บอกสอนลูกหลาน ต้องการจะบรรจุงานไม่ต้องไปวิ่งเต้น ดูลูกเสียก่อน กุศลเพียงพอหรือเปล่า ต้องเพิ่มกุศล ตัวอย่างเรียนจบครู สวดมนตร์เข้าเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นครู ทำงานธนาคารก็ได้ บริษัทก็ได้เดี๋ยวมีคนรับ บางรายทั้งสอบทั้งสมัครหลายแห่งไม่เคยเรียกเลย อาตมาให้นั่งกรรมฐาน พอ ๗ วันผ่านไปพวกมาตามให้เข้าไปทำงานแล้ว

ที่มา http://www.dhammathai.org/articles/view.php?No=565

5
ม ง ค ล คื อ อ ะ ไ ร ?

มีผู้รู้หลายท่านกล่าวว่า มงคล คือทางก้าวหน้า ความสุข ความเจริญ

สำหรับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้ความหมายไว้ว่า มงคล คือเหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ

คำว่า มงคลชีวิต จึงรวมความได้ว่า คือเหตุแห่งความสุขและความเจริญก้าวหน้าของชีวิต เป็นสูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นข้อควรประพฤติปฏิบัติ ซึ่งมีอยู่ ๓๘ ประการด้วยกัน

ม ง ค ล : เ ห ตุ แ ห่ ง ค ว า ม เ จ ริ ญ ก้ า ว ห น้ า

ความเจริญก้าวหน้าแบ่งได้เป็น ๓ ระดับ คือ

๑. ความเจริญก้าวหน้าในโลกนี้ เช่น เมื่อเป็นเด็กก็ประสบความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียน เมื่อเติบโตขึ้นก็สามารถตั้งฐานะได้ มีทรัพย์สมบัติมาก มีชื่อเสียง มีตำแหน่งหน้าที่การงานดี มีครอบครัวดี เป็นต้น

๒. ความเจริญก้าวหน้าในโลกหน้า หมายถึง เป็นผู้สั่งสมบุญกุศลไว้ดี เมื่อละจากโลกนี้ ก็ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

๓. การบรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงสุด

การปฏิบัติตามหลักมงคลชีวิต จะเป็นเหตุนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าทั้ง ๓ ระดับนี้ เพราะผู้ปฏิบัติตามหลักมงคลชีวิต โดยเนื้อหาก็คือ เป็นการหลีกเลี่ยงเหตุแห่งความเสื่อมทั้งหลาย และทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องสูง ทำให้เกิดสติและปัญญา อันเป็นเครื่องทำลายอุปสรรคของชีวิต ตลอดจนความชั่วความบาปต่างๆ จึงส่งผลเป็นความเจริญก้าวหน้าทั้งชาตินี้ ชาติหน้า จนถึงการบรรลุมรรคผลนิพพานในที่สุด

ม ง ค ล สู ต ร : คู่ มื อ ก า ร เ ท ศ น์

การเทศนาสั่งสอนของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะพระอาจารย์ ที่มีชื่อเสียงในด้านการอบรมสั่งสอนประชาชน ท่านจะนิยมใช้มงคลสูตรเป็นแม่บทในการเทศน์ เพราะไม่ยากและไม่ง่ายเกินไป ยกตัวอย่างเช่น

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หรือหลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ ก็ใช้มงคลสูตร เป็นแนวทางในการเทศน์สอนอบรมประชาชน

สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี) ก็ได้แต่งตำรามงคลสูตร เพื่อใช้อบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณร และประชาชน

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงมากด้านการเทศนาสั่งสอน ก็อาศัยมงคลสูตรเป็นแม่บทเช่นกัน

นอกจากนี้ก็ยังมี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ที่ใช้มงคลสูตรเป็นแม่บท ทั้งในการเทศน์และการแต่งตำรา

ย้อนหลังไปสมัยพระเจ้าเม็งรายมหาราช มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อ พระสิริมังคลาจารย์ ได้แต่งตำรามงคลสูตรเป็นภาษาบาลี ซึ่งต่อมาได้ใช้สำหรับเป็นคู่มือในการเทศน์สอน และใช้เป็นแบบเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในปัจจุบัน

แสดงว่ามงคลสูตรนี้ เหมาะสมแก่การศึกษาด้วยประการทั้งปวง คือ

ประการที่ ๑ สะดวกในการทำความเข้าใจ เพราะคนไทยมีพื้นฐานธรรมะอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ทราบว่า เรื่องที่เรียนรู้มาอยู่ในหมวดไหน เมื่อมาศึกษาอย่างเป็นระบบตามมงคลสูตร จึงง่ายต่อการที่จะเข้าใจ

ประการที่ ๒ เหมาะสมในการนำไปปฏิบัติ เพราะเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก ผู้ศึกษามงคลสูตรนี้ สามารถนำไปปฏิบัติได้เป็นลำดับๆ เหมือนขึ้นบันไดทีละขั้นจนถึงจุดสูงสุดได้

เ ห ตุ ที่ ต้ อ ง เ รี ย น ม ง ค ล สู ต ร

มีสิ่งที่น่าคิดอยู่ประการหนึ่งคือ การเกิดมาเป็นคน เพียงแค่ศึกษาหาความรู้สูงๆ เพื่อให้มีสติปัญญา ที่จะทำมาหากินได้สะดวกสบายโดยไม่ติดขัด เท่านี้ยังไม่พอ ยังไม่แน่ว่าจะหาความสุขได้ เพราะความรู้ที่มีอยู่ในโลกทั่วไปเป็นความรู้เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง คือเลี้ยงส่วนที่เป็นกายเท่านั้น แต่ส่วนที่เป็นใจยังไม่มีอะไรไปเลี้ยง

เนื่องจากคนเรามีส่วนสำคัญอยู่ ๒ ส่วน คือกายและใจ ในเมื่อกายต้องการอาหารไปเลี้ยง เพื่อให้พ้นจากโรคคือความหิว และให้ร่างกายเกิดความเจริญเติบโตขึ้น ใจก็เช่นเดียวกัน ต้องการอาหาร คือธรรมะมาหล่อเลี้ยง เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้พ้นจากความโลภ ความโกรธ ความหลง และเพื่อยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้น จะได้พบกับความสุข ควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพทำมาหากิน

ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องมาเรียนธรรมะโดยเฉพาะเรื่องมงคลสูตร เพราะ ไม่เพียงมีความสำคัญดังกล่าวแล้ว ยังง่ายต่อการทำความเข้าใจและการนำไปปฏิบัติตามอีกด้วย

ที่ ม า ข อ ง ม ง ค ล

ย้อนหลังไป ๒๖ ศตวรรษ ประชาชนชาวชมพูทวีป สมัยนั้นกำลังตื่นตัว ในการค้นคว้าปัญหา เกี่ยวกับชีวิตจิตใจ เช่น คนเราเกิดมาจากไหน ตายแล้วจะไปไหน ทำอย่างไรจึงจะมีความสุขในชีวิต ทำอย่างไรจึงจะมีความสำเร็จในการทำงาน ฯลฯ มีการชุมนุมกันตามสวนสาธารณะบ้าง ประตูเมืองบ้าง จตุรัสต่างๆ บ้าง เพื่ออภิปรายในปัญหาเหล่านี้กันอย่างกว้างขวาง

เมื่อมีผู้อภิปรายมากเข้า หลายคนก็หลายความคิด และต่างก็โฆษณาเผยแพร่ความคิดของตัว ใครมีคนเชื่อตามมาก ก็กลายเป็นอาจารย์ มีลูกศิษย์ ลูกหากันคนละมากๆ

ขณะที่การชุมนุมสาธารณะกำลังเฟื่อง การอภิปรายกำลังเป็นไปอย่างครึกครื้น ปัญหาต่างๆ ได้ถูกฟาดฟันด้วยวาทะคมคายเรื่องแล้วเรื่องเล่า

โดยไม่มีใครคาดฝัน ได้มีผู้เสนอญัตติสำคัญเข้าสู่วงอภิปรายว่า

"อะไรคือมงคลของชีวิต"

ดูรูปปัญหาแล้วก็ไม่น่าจะหนักหนาอะไร แต่เมื่อมีผู้เสนอตัวขึ้นกล่าวแก้ กลับถูกผู้อื่นกล่าววาทะหักล้างอย่างไม่เป็นท่า

"ท่านทั้งหลาย โปรดฟังทางนี้ ข้าพเจ้าทราบดีว่าอะไรเป็นมงคล"

นักอภิปรายผู้หนึ่งนามว่า ทิฏฐมังคลิกะ เสนอตัวขึ้นในที่ชุมนุม

"รูปที่ตาเห็นนี้แหละเป็นมงคล ลองสังเกตดูซิ เมื่อเราตื่นแต่เช้าตรู่ ได้เห็นนกบินเป็นฝูงๆ พระอาทิตย์ขึ้น ต้นไม้เขียวๆ เด็กเล็กๆ น่ารัก สิ่งที่เราเห็นนี้แหละเป็นมงคล"

พอทิฏฐมังคลิกะกล่าวจบลง นักอภิปรายอีกคนหนึ่งชื่อ สุตมังคลิกะก็กล่าวหักล้างทันทีว่า "ช้าก่อน ท่านทั้งหลายอย่าเพิ่งเชื่อ ที่นายทิฏฐมังคลิกะกล่าวนั้นเป็นไปไม่ได้ ถ้าสิ่งที่ตาเห็นเป็นมงคลแล้ว เวลาเรามองเห็นอุจจาระ ปัสสาวะ คนเป็นโรค สิ่งเหล่านี้ก็ต้องเป็นมงคลด้วยซิ มันจะเป็นไปได้อย่างไร"

"ต้องหูซิท่าน เสียงที่หูฟังนี่แหละเป็นมงคล ตื่นเช้าเราก็ได้ฟังเสียงนกร้องบ้าง เสียงเพลงบ้าง เสียงแม่หยอกล้อเล่นกับลูกบ้าง เสียงพูดเพราะๆ บ้าง เสียงลมพัดยอดไม้บ้าง ฯลฯ เสียงที่หูได้ฟังจึงเป็นมงคล" สุตมังคลิกะกล่าว

ไม่ทันขาดคำ ก็มีนักอภิปรายอีกคนหนึ่งชื่อ มุตมังคลิกะกล่าวแย้งทันที ว่า "เป็นไปไม่ได้หรอก ถ้าเสียงที่หูได้ยินเป็นมงคล อย่างนั้นเวลาเราได้ยินคนด่ากัน คนขู่ตะคอก คนโกหกมดเท็จ เสียงเหล่านี้จะเป็นมงคลด้วยหรือ"

"ต้องอารมณ์ที่ใจเราทราบซิท่านจึงจะเป็นมงคล พึงสังเกตว่า ตื่นเช้าเราได้ดมกลิ่นดอกไม้หอมๆ จับต้องสวมใส่เสื้อผ้าสะอาดๆ รับประทานอาหารอร่อยๆ เป็นอารมณ์ที่ใจเรารับรู้ รับทราบ นี่แหละจึงเป็นมงคล"

ทันควันอีกเหมือนกัน นักอภิปรายอีกคนก็แย้งทันทีว่า "เป็นไปไม่ได้ ถ้าอารมณ์ที่ใจเรารับรู้เป็นมงคลแล้ว อย่างนั้นเวลาเราได้กลิ่นเหม็นๆ จับของ สกปรก คิดเรื่องชั่วร้าย อารมณ์ตอนนั้นจะเป็นมงคลไปด้วยหรือ"

ข้อวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องมงคล ได้แผ่ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางทั่วแคว้น ในบ้าน ในสภา ในสโมสร ในหมู่คนเดินทาง ฯลฯ ปัญหาเรื่องมงคลได้ถูกนำขึ้นมาถกเถียงกันอยู่ทั่วไป

ไม่เฉพาะมนุษย์ แม้พวกเทวดาได้ยินมนุษย์ถกเถียงกันก็นำเรื่องมงคลมาถกเถียงกันบ้าง ตั้งแต่เทวดารักษามนุษย์ ภุมมเทวา อากาศเทวา ตลอดจนเทวดาบนสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น จนถึงพรหมโลก ต่างก็นำเรื่องมงคลมาถกเถียงกัน ปัญหามงคลนี้ได้กลายเป็นมงคลโกลาหล ร่ำลือกันกระฉ่อนไปหมด ทั่วทั้งมนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก แต่ก็ไม่มีใครชี้ขาดได้ว่าอะไรเป็นมงคลของชีวิต

แต่มีพรหมอยู่พวกหนึ่ง คือพรหมชั้นสุทธาวาส พรหมชั้นนี้เมื่อสมัยเป็น มนุษย์ได้ปฏิบัติธรรมจนบรรลุธรรมขั้นพระอนาคามี จึงทราบดีว่าอะไรเป็นมงคล แต่ไม่สามารถอธิบายออกมาได้ ได้แต่ป่าวประกาศให้เทวดาทั้งหลายทราบว่าอีก ๑๒ ปี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้นในโลก ให้คอยถามปัญหามงคลนี้กับพระองค์

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว คืนหนึ่งขณะที่ประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ใกล้เมืองสาวัตถี ท้าวสักกเทวราชได้นำหมู่เทวดาเข้าเฝ้า และบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งทูลถามพระองค์ว่า อะไรคือมงคลของชีวิต

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงหลักมงคล ซึ่งมีทั้งหมด ๓๘ ประการ มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ยึดถือวัตถุ แต่ยึดถือการปฏิบัติฝึกฝนตนเอง

แม้หลักมงคลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง จะประกอบไปด้วย เหตุผลอย่างสมบูรณ์ ไม่มีใครสามารถหักล้างได้ แต่ก็มิได้หมายความว่า คณาจารย์ นักคิด เจ้าลัทธิทั้งหลายจะล้มเลิกความคิดเดิม หันมาเชื่อพระองค์ทุกคน เพราะล้วนแต่หนาแน่นด้วยทิฏฐิกันทั้งนั้น แม้จะรู้ตัวว่าผิด แต่ยังยืนยันวาทะของตนอยู่ และสานุศิษย์ของแต่ละสำนักก็ยังทำการเผยแพร่อยู่อย่างไม่หยุดยั้ง ประกอบกับนิสัยของคนเรามีความขลาดประจำตัวอยู่แล้ว ชอบทำอะไรเผื่อเหนียว ไว้ก่อน จึงมีผู้ยอมรับนับถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เกิดเป็นมงคล ๒ สาย พัวพันกันมาจนถึงปัจจุบันคือ

๑. มงคลของนักคิด เรียกว่า มงคลมี ยึดถือเอาว่า การมีสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นมงคล ซึ่งแต่ละที่แต่ละสมัยก็ยึดถือต่างๆ กันไป ไม่มีอะไรแน่นอน ของบางอย่าง บางที่ถือเป็นมงคล บางที่อาจถือว่าเป็นอัปมงคลก็ได้

๒. มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่า มงคลทำ ยึดถือเอาการปฏิบัติฝึกฝนตนเองเป็นเกณฑ์ เป็นสัจธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ใดปฏิบัติตามแล้วย่อมได้ผลแน่นอน

มงคลของนักคิดนั้น มีผู้เสนอขึ้นมาแล้ว ก็มีผู้โต้แย้งลบล้างไป แล้วก็มีผู้เสนอขึ้นมาใหม่อยู่เรื่อยๆ จนหาข้อยุติไม่ได้ แต่มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เมื่อทรงแสดงแล้ว ก็ไม่มีใครสามารถหาเหตุผลมาลบล้างได้ แม้ พระองค์จะทรงเปิดโอกาส ให้คัดค้านวิพากษ์วิจารณ์ได้ตลอดเวลา ดังความในบทสรรเสริญพระธรรมคุณ ที่ว่า "เอหิปัสสิโก เชิญมาพิสูจน์เถิด"

จบปฐมเหตุมงคลชีวิต

ที่มา http://dhamma.net

6
พระพุทธศาสนากับนิติปรัชญา

…ศ.ดร.แสง จันทร์งาม

1. พระพุทธศาสนาในแง่หนึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
        (1.) พระธรรม ได้แก่คำสอนทั่วๆ ไปของพระพุทธเจ้า ว่าด้วยเนื้อหาสาระสำคัญ 4 ประการ คือ
            ก. ธรรมชาติของเอกภพ (Universe)
            ข. ธรรมชาติของมนุษย์
            ค. วัตถุประสงค์ของชีวิต
            ง. ทางไปสู่วัตถุประสงค์นั้น
        (2.) พระวินัย ได้แก่คำสั่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้น สำหรับสมาชิกชั้นในของพระพุทธศาสนา ได้แก่ภิกษุและภิกษุณี พระวินัยมี 2 ประเภทคือ
            ก. ข้อห้ามมิให้ทำ เพราะเป็นความชั่ว และความเสียหาย
            ข. ข้อบังคับให้ทำ เพราะเป็นความดีงาม
2. ธรรมชาติของเอกภพ
            พระพุทธศาสนามองเอกภพในฐานะเป็นสังคมอันหนึ่งอันเดียวที่มีระเบียบระบบเป็นอย่างดี
            เอกภพในพระพุทธศาสนา มีลักษณะคล้ายคลึงกับดาราศาสตร์สมัยปัจจุบัน ระบบสุริยะที่โลกของเราเป็นบริวารอยู่ เป็นจักรวาลหนึ่ง หลายๆ จักรวาลรวมกันเข้าเป็นโลกธาตุ (พอจะเทียบได้กับกาแลกซี) โลกธาตุมีขนาดต่างๆ กัน โลกธาตุขนาดใหญ่อาจมีจักรวาลถึง 1,000,000,000,000 จักรวาล
            เอกภพเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปแล้วเกิดขึ้นอีกเป็นวัฏจักร ตามกฎธรรมชาติ ไม่มีเบื้องต้น ไม่มีที่สุด เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีผู้สร้างหรือผู้ทำลาย
3. สัตว์ (Beings-สิ่งมีชีวิตจิตใจ) ในเอกภพ
            ในเอกภพมีสัตว์ต่างๆ อาศัยอยู่มากมาย คล้ายกับพลเมืองของประเทศ แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 ประเภท
            1. อรูปสัตว์ (อรูปพรหม) ได้แก่สัตว์ที่ไม่มีรูปที่เป็นสสารใดๆ ชีวิตของเขาประกอบด้วยพลังงานจิต (psychic energy) ล้วนๆ มีอยู่ 4 ชั้นหรือจำพวกตามคุณภาพจิต
            2. รูปสัตว์ (รูปพรหม) ได้แก่สัตว์ที่มีรูปละเอียด มีความสุขจากความสงบทางจิตอย่างเดียว ไม่เกี่ยวกับกาม มี 16 ชั้น
            3. กามสัตว์ ได้แก่สัตว์ที่อาศัยกาม คือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มี 6 ประเภทใหญ่ๆ คือ
                เทพในสวรรค์ 6 ชั้น
                มนุษย์ในโลก 1 ชั้น
                สัตว์เดียรฉาน 1 ชั้น
                อสุรกาย 1 ชั้น
                เปรต 1 ชั้น
                นรก 1 ชั้น
            รวมสัตว์ทั้งหมดในเอกภพได้ 31 ชั้นหรือประเภท อาศัยอยู่ในภูมิ (ที่อยู่) ต่างๆ 31 ภูมิ
4. สถานะของมนุษย์
            มนุษย์เป็นสัตว์อยู่ระดับกลางๆ ระหว่างสูง (เทพ 6 ชั้น รูปพรหม 16 ชั้น อรูปพรหม 4 ชั้น) และต่ำ (สัตว์เดียรฉาน อสุรกาย เปรต นรก)
            มนุษย์ตายแล้ว อาจไปเกิดในภูมิสูงหรือต่ำก็ได้แล้วแต่คุณภาพจิต ซึ่งเป็นผลของกรรมที่ทำไว้ แต่ไม่ว่าจะไปเกิดในภูมิใดก็อยู่ชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น สิ้นกรรมแล้วจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก แต่มนุษย์และโลกมนุษย์เหมาะสมที่สุดสำหรับการรู้สัจธรรมและบรรลุนิพพาน
            กฎแห่งกรรมเป็นผู้ควบคุมสัตว์ทั้งหลายในเอกภพ
5. ธรรมชาติของมนุษย์
            มนุษย์มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ รูป (ร่างกาย สสาร) และ นาม (จิต ใจ)
            1. รูป ได้แก่ร่างกาย ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของแข็ง (Solid) หรือธาตุดิน, ส่วนที่เป็นของเหลว (Liquid) หรือธาตุน้ำ, ส่วนที่เป็นไอ (gas) หรือธาตุลมและส่วนที่เป็นพลังงานความร้อน (Heat energy) หรือธาตุไฟ
รูปเป็นส่วนที่พ่อแม่เตรียมไว้ในครรภ์มารดา และเกิดขึ้น ตั้งอยู่ สลายไป ตามกฎธรรมชาติทางกายภาพ
            2. นาม ที่เป็นตัวหลักเรียกว่า จิตบ้าง วิญญาณบ้าง จิตนี้ถ้าอยู่ในภาวะหลับสนิท หรือสลบ หรือตาย เรียกว่า ภวังคจิต (จิตที่เป็นปัจจัยแห่งความมีชีวิตอยู่) ถ้าจิตตื่นขึ้นทำหน้าที่ เรียกว่าวิถีจิต จิตทำหน้าที่ 4 อย่างคือ
                ก. รับรู้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มโนภาพ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่า วิญญาณ (Consciousness)
                ข. จำอารมณ์ทั้ง 6 ได้ว่าอะไรเป็นอะไร เรียกว่า สัญญา (Perception)
                ค. เกิดความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจหรือเฉยๆ เกี่ยวกับอารมณ์นั้นๆ เรียกว่า เวทนา (Feeling)
                ง. เกิดความเอาใจใส่ แล้วคิดเกี่ยวกับอารมณ์นั้นๆ เรียกว่า สังขาร (thought formation)
ตลอดเวลาที่ตื่นอยู่ จิตทำงานตามกระบวนการ 4 ขั้นนี้ แต่กิริยาอาการทำงานทั้ง 4 นี้เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แม้ในเวลาฝัน จิตก็ยังทำงานครบทั้ง 4 ขั้นนี้
6. ชีวิตดำเนินไปได้อย่างไร
            ชีวิตดำเนินไปตามกาล-อวกาศได้เพราะกฎแห่งกรรม ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
            1. แรงกระตุ้นใจ (mental drives) มี 2 ฝ่าย ฝ่ายลบเรียกว่ากิเลส เช่น โลภ โกรธ หลง ฝ่ายบวกเรียกว่า คุณธรรม เช่น เอื้อเฟื้อ สงสาร เห็นใจ ปัญญา
            2. เจตนา (volition) มี 2 ลักษณะคือ ความตื่นตัว รู้ตัวก่อนทำและกำลังทำ ถ้าไม่รู้ตัว เช่น หลับ ไม่เป็นกรรม ลักษณะที่ 2 คือ มีเป้าหมายแน่นอน (purposefulness) ว่าทำเพื่ออะไร ถ้าผลที่เกิดขึ้นผิดจากเป้าหมาย ไม่เป็นกรรม ถ้าผลต่ำกว่าเป้าหมาย เป็นกรรมน้อยลง
            3. การกระทำ (action) คือการแสดงกิจกรรมออกมา 3 ทางคือ
                ก. ทางใจ ได้แก่การคิด เรียกว่า มโนกรรม
                ข. ทางวาจา ได้แก่การพูด เรียกว่า วจีกรรม
                ค. ทางกาย ได้แก่การทำ เรียกว่า กายกรรม
           4. ผลของการกระทำ (กัมมวิบาก) มี 2 ประเภท คือ
               1. ผลโดยตรง ได้แก่พลังกรรม (Karmic energy) หรือกัมมพละที่เกิดขึ้นทันทีโดยธรรมชาติและโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าผู้กระทำจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม เกิดขึ้นแล้วเก็บไว้ในใจ พลังกรรมทำหน้าที่ดังต่อไปนี้
                    ก. กระตุ้นหรือสนับสนุนให้ทำกรรมนั้นๆ ซ้ำอีก พลังกรรมจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นพลังกรรมพื้นฐานของจิต เรียกว่า จริต หรืออุปนิสัย หรือสันดาน
                    ข. ช่วยรักษากระแสชีวิตไว้
                    ค. กำหนดทิศทางและสภาพของชีวิตในอนาคต อดีตกรรม กำหนดปัจจุบัน ปัจจุบันกรรมกำหนดอนาคต เราสร้างตัวเองทุกขณะ
                    ง. เป็นตัวทำให้มีการเกิดใหม่
                    จ. คอยจังหวะให้ผลทางอ้อม (ดูข้างล่าง)
                2. ผลโดยอ้อม ผลพลอยได้อาจมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ผลโดยอ้อมมี 3 อย่าง
                    ก. ผลทางอารมณ์ ได้แก่ความรู้สึกสบายใจจากกรรมดี ความรู้สึกไม่สบายใจจากกรรมชั่ว
                    ข. ผลทางกาย ได้แก่ความเปลี่ยนแปลงทางกายที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสภาพจิต (psychosomatic) เช่น สุขภาพกาย ผิวพรรณ เป็นต้น
                    ค. ผลทางสังคม คือปฏิกิริยาจากคนอื่น จากกฎหมายบ้านเมือง เพื่อตอบสนองการกระทำ การกระทำที่ไม่ใช่กรรมสมบูรณ์ แต่มีผลกระทบต่อสังคม ก็ให้ผลทางสังคมได้ ไม่มีใครหนีพ้นผลทางสังคมได้ แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ได้รับผลทางสังคมมาแล้ว
พลังกรรมเกิดขึ้นและถูกเก็บไว้ เหมือนการเคลื่อนไหวของนาฬิกาอัตโนมัติ เกิดพลังงานขึ้นส่งไปเก็บไว้ในลาน
การให้ผล (ทางสังคม) ของกรรม เหมือนคนสะกดจิตสั่งให้คนถูกสะกดจิตทำอะไรบางอย่างเมื่อตื่นขึ้นตามเวลาที่สั่งไว้ เมื่อถึงเวลา เขาก็ทำจริงๆ โดยไม่รู้ตัว
คุณภาพกรรม
กรรมแบ่งเป็น 3 ตามคุณภาพ คือ
            1. กุศลกรรม กรรมดี
            2. อกุศลกรรม กรรมชั่ว
            3. อัพยากตกรรม กรรมกลางๆ
เกณฑ์ตัดสินคุณภาพกรรม
            กรรมจะเป็นกรรมดีหรือชั่ว ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ 4 อย่าง คือ
            1. แรงกระตุ้นใจเป็นกิเลสหรือคุณธรรม
            2. เจตนาดีหรือร้าย
            3. การกระทำเป็นการสร้างหรือทำลาย ถูกหรือผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีงาม
            4. ผลที่เกิดขึ้นเป็นคุณหรือเป็นโทษ
            ในบรรดาเกณฑ์ทั้ง 4 เจตนามีน้ำหนักมากกว่าตัวอื่นๆ
ลักษณะอื่นๆ ของกรรม
            1. พลังกรรมที่อยู่ในใจ ถ้าไม่ทำซ้ำอีก จะอ่อนกำลังลง และหายไปในที่สุด ตามหลักอนิจจัง
            2. พลังกรรมถ้าไม่มีโอกาสให้ผล (ทางสังคม) จะอ่อนกำลังลง แม้จะมีโอกาสก็ไม่อาจให้ผลได้ กลายเป็นอโหสิกรรม เหมือนทุ่นระเบิดด้าน
            3. พระอรหันต์ทำอะไร ไม่เกิดพลังกรรม เพราะไม่มี “อวิชชา” เป็นฐานรองรับไว้
            4. บาปคือพลังกรรมฝ่ายดำ บุญคือพลังกรรมฝ่ายขาว ดังนั้น เราอาจลดหรือทำลายพลังบาปได้ด้วยพลังบุญ
7. การเวียนว่ายตายเกิด
            (สังสาระ วัฏสังสาระ) ชีวิตมีการเวียนว่ายตายเกิด คือตายแล้วยังมีการเกิดใหม่เรื่อยไปตราบเท่าที่ยังมีเหตุปัจจัยให้เกิด สังสาระจะสิ้นสุดลงเมื่อบรรลุนิพพาน
เหตุผลสนับสนุนการเวียนว่ายตายเกิด
            1. พระพุทธเจ้าสอนไว้จริง มีทั่วไปในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือที่สุด
            2. พระพุทธเจ้าทรงรู้เห็นการเวียนว่ายตายเกิดจากประสบการณ์ของพระองค์เองในวันตรัสรู้ ไม่ได้เรียนรู้มาจากใคร
            3. จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาคือการตายแล้วไม่เกิด (ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย) ถ้าคนตายแล้วไม่เกิด ก็เท่ากับว่า บรรจุถึงนิพพานโดยอัตโนมัติ ถ้าอย่างนั้นมรรคมีองค์ 8 หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ไม่มีความหมาย
            4. ถ้าตายแล้วสูญ ความยุติธรรมก็ไม่มี เพราะคนชั่วบางคนยังไม่ได้รับผลกรรมชั่วในชาตินี้ คนดีบางคนยังไม่ได้รับผลของกรรมดี
            6. คนเราเกิดมาแตกต่างกันทั้งกาย – ใจ ทฤษฎีเทวนิยม ทฤษฎีพันธุกรรม ทฤษฎีสิ่งแวดล้อม ยังอธิบายเหตุแห่งความแตกต่างได้ไม่น่าพอใจ แต่เรื่องตายแล้วเกิดและกฎแห่งกรรมอธิบายได้
            7. ในธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตทุกอย่างมีกลไก การสืบต่อสายพันธุ์ของมันไว้ จิตใจก็มีกลไกการสืบต่อตัวมันเองไว้เช่นเดียวกัน คำสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาท อธิบายกลไกการสืบต่อสายชีวิตไว้อย่างดี
            8. มีคนเป็นอันมากสามารถจำหรือระลึกชาติก่อนได้ คนจำชาติก่อนได้มี 3 ประเภท
                ก. จำได้เอง เช่น เด็กๆ พอพูดได้ก็เล่าเรื่องชาติก่อนให้ พ่อแม่ฟัง Dr. Ian Stevenson แห่งมหาวิทยาลัย Virginia ได้ศึกษาและยืนยันเรื่องนี้ไว้
                ข. จำได้เพราะถูกสะกดจิต (ใช้กันมากในวงการจิตเวช)
                ค. จำได้ด้วยอำนาจญาณพิเศษที่เกิดจากการเข้าฌาน
            9. มีปรากฏการณ์ทางจิตวิญญาณ (Psychic Phenomena) มากมายที่แสดงว่าตายแล้วไม่สูญ เช่น การติดต่อกับคนตายโดยทางความฝัน การเข้าทรง การเล่นผีถ้วยแก้ว การปรากฏตัวของคนตายในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น
8. วัตถุประสงค์ของการเวียนว่ายตายเกิด
            คือการเรียนรู้ เราเกิดมาเพื่อเรียนรู้ เมื่อถึงที่สุด (ตรัสรู้) แล้วจะได้ยุติการเวียนว่ายตายเกิด (บรรลุนิพพาน) ถ้าเรามองชีวิตแบบนี้ เราจะสนุกสนานเพลิดเพลินกับชีวิต เราจะเห็นว่า
            1. เราเป็นนักเรียนตลอดชาติ เราเกิดมาเรียนรู้ เราจะรู้สึกเป็นหนุ่มสาวตลอดชาติ
            2. โลกทั้งโลกจะเป็นมหาวิทยาลัย มหา วิทยาลัยโลก (World University)
            3. ทุกแห่งจะเป็นห้องสมุดเต็มไปด้วยหนังสือที่น่าอ่าน
            4. ทุกสิ่งรอบตัวเราและแม้ตัวเราเองก็เป็นหนังสือหรือตำราที่บรรจุเอาความจริงที่น่ารู้ไว้นับร้อยนับพัน
            5. ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต ไม่ว่าร้ายหรือดีล้วนเป็นบทเรียน บทเรียนบางบทอาจยากลำบาก เราอาจเรียนด้วยน้ำตา แต่มันก็มีค่า มันจะทำให้เราฉลาดและแข็งแกร่งขึ้น
            6. ทุกคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นครูของเรา แม้คนขอทานก็อาจเป็นครูของเราได้ เขาอาจรู้ศิลปะการขอทานได้ดีกว่าเรา
            7. แม้ความตายก็ไม่ใช่สิ่งน่ากลัว เป็นเพียงการจากชั้นเรียนชั้นหนึ่งไปสู่อีกชั้นหนึ่งเท่านั้น
            8. ชีวิตเป็นการท่องเที่ยวทัศนศึกษา พ่อ แม่ สามี ภรรยา บุตร ฯลฯ เป็นเพียงเพื่อร่วมคณะนักท่องเที่ยว เมื่อการท่องเที่ยวสิ้นสุดลง ก็ต่างแยกย้ายกันไปตามทางของใครของมัน
คุณค่าของความเชื่อเรื่องตายแล้วเกิด
            1. ทำให้มีโอกาสแก้ตัวได้ ชาตินี้ไม่สำเร็จ ชาติหน้ายังมีโอกาสแก้ตัวใหม่ ทำให้ชีวิตมีความหวัง
            2. ทำให้มีความรับผิดชอบต่อการกระทำมากขึ้น เพราะทุกอย่างมีความหมายต่ออนาคต
9. ความจริงหลักของชีวิต
          ชีวิตมีความจริงหลักที่ควรรู้ 3 ประการคือ
            1. ความไม่เที่ยง ความเปลี่ยนตลอดเวลา (อนิจจัง) ของชีวิต ทุกชีวิตไหลไปตามกระบวนการเกิดขึ้นตั้งอยู่ ดับไป
            2. ความไม่สบาย ความเจ็บปวด ความบกพร่อง การต่อสู้เพื่อแก้ไขความไม่สบาย (ทุกขัง)
            3. ความไม่ใช่ของเรา ความไม่ใช่เรา ความไม่มีตัวเราที่เป็นอมตถาวร (อนัตตา) ทุกสิ่งเป็นเพียงกระแสธรรมชาติที่ไหลไปตามกฎเกณฑ์ของมันเอง เราไม่อาจบังคับบัญชามันได้
            สรุปแล้ว ชีวิตตามที่เป็นอยู่ยังไม่น่าพอใจ ยังไม่สมบูรณ์ ยังเกิด แก่ เจ็บ ตาย และมีความทุกข์อื่นๆ ทั้งทางกาย และทางใจ
10. วัตถุประสงค์ของชีวิต
         วัตถุประสงค์ของชีวิต มี 3 ชั้น ท่านเรียกว่า ประโยชน์หรืออัตถะ คือ
            1. ประโยชน์ปัจจุบัน หมายถึงความมีชีวิตอยู่อย่างสบาย เป็นส่วนตัวและครอบครัว เพราะมีวัตถุทรัพย์
            2. ประโยชน์เบื้องหน้า หมายถึงความอยู่สุขสบายอยู่ท่ามกลางผู้อื่น ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า
            3. ประโยชน์สูงสุด ได้แก่ความสงบสุขสูงสุด ที่เกิดจากการดับกิเลสทั้งหมดได้อย่างสิ้นเชิง
11. ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ต่างๆ
          1. ประโยชน์ปัจจุบัน บรรลุถึงได้ด้วย ความขยันหาทรัพย์ รู้จักรักษาทรัพย์ คบเพื่อนที่ดี ดำรงชีพอย่างเหมาะสม
            2. ประโยชน์เบื้องหน้า บรรลุถึงได้ด้วย ศรัทธาความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ศีล – การงดเว้นจากการเบียดเบียนตนและผู้อื่น จาคะ – การสละส่วนเกินออกช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ปัญญา – แสวงหาและมีความรู้ทั้งทางโลกทางธรรม
            3. ประโยชน์สูงสุด อาจบรรลุถึงได้ด้วย ศีลคือการเว้นจากความชั่วทั้งปวง สมาธิ – คือการทำจิตให้สงบ ระงับความฟุ้งซ่าน สงบนิ่ง ใสสะอาด ปัญญา – พิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อีกทีหนึ่ง จนเกิดความรู้ชั้นสูง สามารถรู้เห็นไตรลักษณ์ชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อรู้แล้วจิตใจก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง (to learn is to change) ดังนี้
                ก. เมื่อรู้อนิจจัง จิตใจจะไม่ยึดติดในสิ่งใด เพราะถ้ายึดติดจะผิดหวังและเป็นทุกข์ทันที จะเตรียมใจไว้เผชิญกับความไม่แน่นอนของชีวิต จะมองสิ่งต่างๆ ไว้ครบทุกด้าน หวังไว้ทุกด้านเมื่อด้านใดด้านหนึ่งแสดงตัวออกมา จะไม่ผิดหวัง จะเป็นคนสมหวังตลอดกาล
                ข. เมื่อรู้ทุกขัง จะคุ้นเคยกับทุกข์ เมื่อเผชิญหน้ากับทุกข์จะไม่ทุกข์มาก จะไม่เสียขวัญ จะหาทางแก้ทุกข์ตามเหตุปัจจัย จะไม่กลัวตาย เมื่อหันไปมองดูผู้อื่นสัตว์อื่นที่กำลังลอยคออยู่ในทะเลทุกข์ จะเกิดความสงสารเห็นใจ จะไม่เบียดเบียนใคร มีแต่จะหาทางช่วยเหลือให้เขาพ้นจากทุกข์
                ค. เมื่อรู้อนัตตาจะไม่หลงตน หลงคน หลงทรัพย์ จะอยู่ในโลก แต่เหนือโลกนิดหน่อย
จิตใจจะมีแต่ความสว่างด้วยความรู้ (วิชชา) สะอาด (วิสุทธิ) เพราะไม่มีกิเลสใดๆ เหลืออยู่ สงบเย็น (สันติ) เพราะไม่มีกิเลสรบกวน และสงสารเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (กรุณา) สภาพจิตเช่นนี้ คือนิพพาน ในปัจจุบัน

สรุปลักษณะสำคัญของพุทธธรรม
พระพุทธศาสนามีลักษณะสำคัญๆ ดังต่อไปนี้
            1. เป็นศาสนาแบบเหตุผลนิยม(rationalistic) เคารพหลักเหตุผล สอนทุกอย่างตามหลักเหตุผล
            2. เป็นศาสนาแบบธรรมชาตินิยม (Naturalistic) สอนตามหลักความเป็นจริงในธรรมชาติ ไม่มีอะไรอยู่เหนือธรรมชาติ นิพพานก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
            3. เป็นศาสนาแบบมนุษยนิยม (Humanistic) โดยมนุษย์ เพื่อมนุษย์ ของมนุษย์ แม้แต่เทพก็เป็นเพื่อนร่วมสังสาระเช่นเดียวกับมนุษย์
            4. เป็นศาสนาแบบปฏิบัตินิยม (pragmatic) เน้นการกระทำของมนุษย์ สอนแต่สิ่งที่ปฏิบัติได้ ปรับคำสอนเดิมแบบพราหมณ์ ที่เน้นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้เป็นการปฏิบัติของมนุษย์ เช่น มงคล 38 ทิศ 6 เป็นต้น
            5. เป็นศาสนาสากล (Universalistic) เพราะสอนคำสอนที่เป็นความจริงสากล ใครๆ ก็เรียนรู้และปฏิบัติตามได้ ปฏิบัติครบถ้วนแล้วก็ได้บรรลุธรรมเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นชาติหรือศาสนาใด
            6. เป็นศาสนาที่สมบูรณ์ครบถ้วน (Complete) เพราะสอนคำสอนครบทั้งระดับต่ำ ระดับกลางและระดับสูง ทั้งระดับปัจจุบัน ระดับอนาคตและเหนือทั้ง 2 อย่างทั้งระดับโลกนี้ โลกหน้า และเหนือโลกทั้ง 2
            7. เป็นศาสนาทางสายกลาง (Middle Way) ไม่ใช่วัตถุนิยม ไม่ใช่จิตนิยม ในทางปฏิบัติ ไม่หย่อนเกินไป ไม่เคร่งเกินไป ในด้านผลมุ่งจิตสงบเป็นกลาง ไม่ฟุ้ง ไม่ฟุบ
            8. เป็นศาสนาแบบประชาธิปไตย (Democratic) ยอมรับความเท่าเทียมกันโดยกำเนิดของมนุษย์ ไม่มีวรรณะ ให้เสรีภาพแม้ทางความคิด (กาลามสูตร) ไม่บังคับให้เชื่อเคารพภูมิปัญญาของมนุษย์ ให้สงฆ์ (หมู่คณะ ประชาชน) เป็นใหญ่ในการบริหาร
            9. เป็นศาสนาสันตินิยม (Pacifistic) สอนให้คนมีเมตตากรุณาต่อกันในฐานะเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ ใช้ทุกข์ซึ่งเป็นสิ่งประจักษ์เป็นฐานของเมตตากรุณา จึงได้ผลดีกว่าใช้สิ่งไม่ประจักษ์เป็นฐาน ดังนั้นจึงไม่เคยมีสงครามในพระนามของพระพุทธเจ้า

พระวินัย (Discipline)
          1. พระวินัยเป็นประเภทคำสั่งของพระพุทธเจ้า สำหรับบุคคลที่เป็นสมาชิกชั้นในของพระพุทธศาสนา สถาบันสงฆ์เป็นสมาคมที่มีกฎระเบียบ ผู้เข้ามาเป็นสมาชิกคือพระสงฆ์หมายถึงผู้เลื่อมใสศรัทธาในอุดมการณ์ของสมาคมนั้น จึงยอมตัวเข้ามาเป็นสมาชิก และยินดีจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทุกอย่าง
            2. เดิมทีเดียว วินัยกับศีลมีความหมายเดียวกัน ต่อมาแยกกันข้อห้ามสำหรับพระเรียกว่า วินัย มีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย เรียกว่า อาบัติ ข้อห้ามสำหรับฆราวาสไม่มีบทลงโทษระบุไว้ แต่ถ้ารุนแรงก็อาจมีโทษทางกฎหมายบ้านเมืองด้วย เรียกว่าศีล
            3. พระพุทธเจ้ามิได้ทรงบัญญัติพระวินัยไว้ล่วงหน้า แต่ทรงบัญญัติทีละข้อตามการกระทำที่ไม่เหมาะสมของพระเกิดขึ้น ในระยะแรกๆ ยังไม่มีวินัยเลย เพราะพระสงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ไม่ทำความชั่วใดๆ โดยอัตโนมัติ วินัยจึงไม่จำเป็น
            4. ประมาณ 1 ปีหลังจากการตรัสรู้ มีคนธรรมดาเข้ามาบวช และเริ่มทำความผิด จึงทรงเริ่มบัญญัติพระวินัย วินัยข้อแรกคือห้ามพระทำเพศสัมพันธ์ พระสุทินเป็นผู้ทำผิดเป็นองค์แรก
            5. เมื่อมีผู้ทำผิดเรื่องเดียวกันในรูปแบบใหม่ ก็ทรงบัญญัติพระวินัยเพิ่มเติมทีละข้อเรียกว่า อนุบัญญัติ
            6. วินัยของพระภิกษุและภิกษุณี มีโทษหนัก – เบาต่างกัน ดังนี้
                ก. โทษหนัก ขาดจากความเป็นพระ เรียก ปาราชิก มี 4 ข้อ
                ข. โทษหนักรองลงมา ต้องอยู่กรรม เรียก สังฆาทิเสส มี 13 ข้อ
                ค. โทษหนักแต่ไม่แน่ ต้องสอบสวนก่อน เรียก อนิยต มี 2 ข้อ
                ง. โทษเบา–หนัก ต้องสละของแล้วแสดงอาบัติเรียกว่า นิสัคคียปาจิตตีย์ มี 30 ข้อ
                จ. โทษเบาอย่างกลาง ต้องแสดงอาบัติ เรียกว่าปาจิตตีย์ มี 92 ข้อ
                ฉ. โทษเบาอย่างเบา ต้องแสดงคืน เรียกปาฏิเทศนียะ มี 4 ข้อ
                ช. โทษเล็กน้อย ต้องแสดงอาบัติ เรียกเสขิยะ มี 75 ข้อ
                ซ. วิธีระงับอธิกรณ์ เรียกอธิกรณสมถะ มี 7 ข้อ
            7. พระวินัยบัญญัติขึ้นตามกาละ เทศะและเหตุการณ์ พระพุทธเจ้าจึงทรงยกเลิก แก้ไข ปรับปรุงอยู่เสมอ
            8. ก่อนดับขันธปรินิพพาน ทรงอนุญาตให้สงฆ์ยกเลิก วินัยเล็กน้อยบางข้อได้.

ที่มา  http://www.lanna.mbu.ac.th/panya/no_60/buddhist.asp

7
บทความ บทกวี / พุทธศาสนสุภาษิต
« เมื่อ: 08 พ.ค. 2552, 02:00:17 »
พุทธศาสนสุภาษิต

   คำสอนในพระพุทธศาสนามีองค์ 9 ประการ ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ ได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม และ เวทัลละ
            พุทธศาสนสุภาษิต ได้มาจากเนื้อหาที่ปรากฎอยู่ในคำสอนดังกล่าว ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นเนื้อความสั้น ๆ ที่ทรงคุณค่า ให้ข้อคิด ข้อเตือนใจ ให้ผู้ที่ได้ศึกษาแล้ว มีความรู้ความเข้าใจ และยึดถือเป็นหลักธรรมประจำใจ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ ในแนวทางที่ถูกที่ควร ตรงทาง  อันจะนำไปสู่ความสุข ความเจริญงอกงามในชีวิตของตน แล้วยังเป็นการเสริมสร้างสันติสุข ในสังคมโลกอีกด้วย
            พุทธศาสนสุภาษิต ณ ที่นี้ได้แบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ เพื่อให้สดวกแก่การศึกษา และนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีระบบ
 
อัตตวรรค - หมวดตน
อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย     ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี

อตฺตา สุทนฺโต ปุริสสฺส โชติ     ตนที่ฝึกดีแล้วเป็นแสงสว่างของบุรุษ

อตฺตนา ว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ     ตนทำบาปเองย่อมเศร้าหมองเอง

อตฺตตฺถปัญฺญา อสุจี มนุสฺสา     มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด

อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา     รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ            อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา    ยถญฺญมนุสาสติ
ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น
สุทนฺโต วต ทเมถ     อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม
ผู้ฝึกตนดี ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่าตนแลฝึกยาก
อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา     ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตน
ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ     ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น
อตฺตานเมว ปฐมํ     ปฏิรูเป นิเวสเย            อถญฺญมนุสาเสยฺย    น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต
บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน สอนผู้อื่นภายหลัง จึงไม่มัวหมอง
 
อัปปมาทวรรค - หมวดไม่ประมาท
อปฺปมาทญฺจ เมธาวี     ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติ
ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์อันประเสริฐ
อปฺปมตฺตา น มียนฺต     ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต     ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ
ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์
อปฺปมาโท อมตํ ปทํ     ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย
อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสฺ     สุตฺเตสุ พหุชาคโร           อพลสฺสํว สีฆสฺโส    หิตฺวา ยาติ สุเมธโส
คนมีปัญญาดีไม่ประมาทในเมื่อผู้อื่นประมาท มักตื่นในเมื่อผู้อื่นหลับ
ย่อมละทิ้งคนนั้น เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว ทิ้งม้าไม่มีกำลังไป ฉะนั้น
อุฏฺฐานวโต สติมโต     สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมาการิโน
สญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน     อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ
ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติ
มีการงานสะอาด ใคร่ครวญแล้วทำ ระวังดีแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท
 
กัมมวรรค - หมวดกรรม
สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ
กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนำไปสู่ทุคคติ
สุกรํ สาธุนา สาธุ     ความดี อันคนดีทำง่าย
สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ     ความดี อันคนชั่วทำยาก
ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ     ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ
ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลเป็นดี
น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ     ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ
ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี
ยาทิสํ วปเต พีชํ     ตาทิสํ ลภเต ผลํ
กลฺยาณการี กลฺยาณํ     ปาปการี จ ปาปกํ
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น
ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว
นิสมฺม กรณํ เสยฺโย     ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำดีกว่า
รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุ     ลวณํ โลณตํ ยถา
พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม
นานตฺถกามสฺส กเรยฺย อตฺถํ     ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ
อติสีตํ อติอุณฺห ํ     อติสายมิทํ อหุ
อิติ วิสฺฏฺฐกมฺมนฺเต    อตฺถา    อจฺเจนฺติ มาณเว
ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยคน ผู้ทอดทิ้งการงาน
ด้วยอ้างว่า หนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว
อถ ปาปานิ กมฺมานิ     กรํ พาโล น พุชฺฌติ
เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ    อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ
เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก
เขาเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้
โย ปุพฺเพ กรณียานิ     ปจฺฉา โส กาตุมิจฺฉติ
วรุณกฏฺฐํ ภญฺโชว     ส ปจฺฉา อนุตปฺปต
ผู้ใดปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง
ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง ดุจมาณพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ) หักไม้กุ่ม ฉะนั้น
สเจ ปุพฺเพกตเหตุ    สุขทุกฺขํ นิคจฺฉติ
โปราณกํ กตํ ปาปํ     ตเมโส มุญฺจเต อิณํ
ถ้าประสบสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ
ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ ฉะนั้น
สุขกามานิ ภูตานิ     โย ทณฺเฑน น หึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน     เปจฺจ โส ลภเต สุขํ
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข




กิเลสวรรค - หมวดกิเลส
เยน สลฺเลน โอติณฺโณ     ทิสา สพฺพา วิธาวต            ตเมว สลฺลํ อพฺพุยฺห    น ธาวติ น สีทติ
บุคคลถูกลูกศรใดแทงแล้ว ย่อมแล่นไปทั่วทิศ ถอนลูกศรนั้นแล้ว ย่อมไม่แล่นและไม่จม
ยา กาจิมา ทุคฺคติโย     อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ           อวิชฺชา มูลกา สพฺพา    อิจฺฉาโลภสมุสฺสยา
ทุคติในโลกนี้และโลกหน้า ล้วนมีอวิชชาเป็นราก มีอิจฉาและโลภเป็นลำต้น
ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส    นิจฺจ ํ อุชฺฌานสญฺญิโน            อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ    อารา โส อาสวกฺขยา
คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น อาสวะก็เพิ่มพูน เขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ
นิทฺทํ น พหุลีกเรยฺย     ชาคริยํ ภเชยฺย อาดาปี
ตนฺทึ มายํ หสฺสํ ขิฑฺฑํ    เมถุนํ วิปฺปชเห สวิภูสํ
ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก พึงเสพธรรมเครื่องตื่น พึงละความเกียจคร้าน มายา
ความร่าเริง การเล่น และเมถุนพร้อมทั้งเครื่องประดับเสีย
กุหา ถทฺธา ลปา สิงฺคี    อุนฺนฬา จาสมาหิตา
น เต ธมฺเม วิรูหนฺติ    สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเต
ผู้คนหลอกลวง เย่อหยิ่ง เพ้อเจ้อ ขี้โอ่ อวดดี และไม่ตั้งมั่น
ย่อมไม่งอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
โกธสฺส วิสมูลสฺส     มธุรคฺคสฺส พฺราหฺมณ
วธํ อริยา ปสํสนฺติ     ตญฺหิ เฉตฺวา น โสจติ
พราหมณ์ พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ ซึ่งมีโคนเป็นพิษ
ปลายหวาน เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
โลโภ โทโส จ โมโห จ     ปุริสํ ปาปเจตสํ            หึสนฺติ อตฺตสมฺภูตา    ตจสารํว สมฺผลํ
โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ฉะนั้น
โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ    สญฺโยชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย
ตนฺนามรูปสฺมึ อสชฺชมานํ     อกิญฺจนํ    นานุปตนฺติ ทุกฺขา
บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง (เพราะ) ทุกข์ทั้งหลาย
ย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น
ตญฺหา ชเนติ ปุรสํ     จิตฺตมสฺส วิธาวติ            สตฺโต สํสารมาปาทิ    ทุกฺขา น ปริมุจฺจติ
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงไม่พ้นจากทุกข์
ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ     จิตฺตมสฺส วิธาวติ            สตฺโต สํสารมาปาทิ    กมฺมํ ตสฺส ปรายนํ
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงยังมีกรรมนำหน้า
อิจฺฉาย พชฺฌตี โลโก     อิจฺฉาวินยายุ มุจฺจต
อิจฺฉาย วิปฺปหาเนน     สพฺพํ ฉินฺทติ พนฺธนํ
โลกถูกความอยากผูกพันไว้ จะหลุดได้เพราะกำจัดความอยาก
เพราะละความอยากเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้
อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ     อิจฺฉา โลกสฺมิ ทุชชหา
อิจฺฉาพุทฺธา ปุถู สตฺตา     ปาเสน สกุณี ยถา
ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก
สัตว์เป็นอันมากถูกความอยากผูกมัดไว้ ดุจนางนกถูกบ่วงรัดไว้ ฉะนั้น
อุเปกฺขโก สทา สโต     น โลเก มญฺญตี สมํ
น วิเสสี น นีเจยฺโย     ตสฺส โน สนฺติ อุสฺสทา
ผู้วางเฉยมีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ดีกว่าเขา
หรือต่ำกว่าเขาในโลก ผู้นั้นชื่อว่า ไม่มีกิเลสเฟื่องฟูขึ้น
วิสุทฺธิ สพฺพเกฺลเสหิ     โหติ ทุกฺเขหิ นิพฺพุติ
ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นทางดับทุกข์ทั้งหลาย
ตณฺหาย อุฑทิโต โลโก     ชราย ปริวาริโต
มจฺจนา ปิหิโต โลโก     ทุกฺเข โลโก ปติฏฺฐิโต
โลกถูกตัณหาก่อขึ้น ถูกชราล้อมไว้ ถูกมฤตยูปิดไว้ จึงตั้งอยู่ในความทุกข์
นิราสตฺตี อนาคเต     อตีตํ นานุโสจติ
วิเวกทสฺสี ผสฺเสสุ     ทิฏฺฐีสุ จ น นิยฺยติ
ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ผู้เห็นความสงัดในผัสสะทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกชักนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย
มูฬฺโห อตฺถํ น ชานาติ     มูฬฺโห ธมฺมํ ปสฺสต
อนฺธตมํ ตทา โหติ     ยํ โมโห สหเต นรํ
ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม
ความหลงครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น
ยสฺส นตฺถิ อิทํ เมติ    ปเรสํ วาปิ กญฺจนํ
มมตฺตํ โส อสํวินฺทํ    นตฺถิ เมติ น โสจติ
ผู้ใดไม่กังวลว่า นี้ของเรา นี้ของผู้อื่น ผู้นั้น
เมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา จึงไม่เศร้าโศกว่าของเราไม่มี ดังนี้
ลุทฺโธ อตฺถํ น ชานาติ     ลุทโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ
อนฺธตมํ ตทา โหติ     ยํ โลโภ สหเต นรํ
ผู้โลภย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภย่อมไม่เห็นธรรม
ความโลภเข้าครอบงำคนเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น
 

โกธวรรค - หมวดโกรธ
โกโธ สตฺถมลํ โลเก     ความโกรธเป็นดังสนิมในโลก
อนตฺถชนโน โกโธ     ความโกรธก่อความพินาศ
อนฺธตมํ ตทา โหติ     ยํ โกโธ สหเต นรํ
ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมมีขึ้นเมื่อนั้น
โกโธ จิตฺตปฺปโกปโน     ความโกรธทำจิตให้กำเริบ
โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ     ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข
โกธาภิภูโต กุสลํ ชหาติ     ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมละกุศลเสีย
ทุกฺขํ สยติ โกธโน     คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ญาติมิตฺตา สุหชฺชา จ     ปริวชฺเชนฺติ โกธนํ
ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ
กุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ     ผู้โกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม
ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ     อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ
ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้
โกธํ ทเมน อุจฺฉินฺเท     พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ


กิเลสวรรค - หมวดกิเลส
เยน สลฺเลน โอติณฺโณ     ทิสา สพฺพา วิธาวต            ตเมว สลฺลํ อพฺพุยฺห    น ธาวติ น สีทติ
บุคคลถูกลูกศรใดแทงแล้ว ย่อมแล่นไปทั่วทิศ ถอนลูกศรนั้นแล้ว ย่อมไม่แล่นและไม่จม
ยา กาจิมา ทุคฺคติโย     อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ           อวิชฺชา มูลกา สพฺพา    อิจฺฉาโลภสมุสฺสยา
ทุคติในโลกนี้และโลกหน้า ล้วนมีอวิชชาเป็นราก มีอิจฉาและโลภเป็นลำต้น
ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส    นิจฺจ ํ อุชฺฌานสญฺญิโน            อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ    อารา โส อาสวกฺขยา
คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น อาสวะก็เพิ่มพูน เขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ
นิทฺทํ น พหุลีกเรยฺย     ชาคริยํ ภเชยฺย อาดาปี
ตนฺทึ มายํ หสฺสํ ขิฑฺฑํ    เมถุนํ วิปฺปชเห สวิภูสํ
ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก พึงเสพธรรมเครื่องตื่น พึงละความเกียจคร้าน มายา
ความร่าเริง การเล่น และเมถุนพร้อมทั้งเครื่องประดับเสีย
กุหา ถทฺธา ลปา สิงฺคี    อุนฺนฬา จาสมาหิตา
น เต ธมฺเม วิรูหนฺติ    สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเต
ผู้คนหลอกลวง เย่อหยิ่ง เพ้อเจ้อ ขี้โอ่ อวดดี และไม่ตั้งมั่น
ย่อมไม่งอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
โกธสฺส วิสมูลสฺส     มธุรคฺคสฺส พฺราหฺมณ
วธํ อริยา ปสํสนฺติ     ตญฺหิ เฉตฺวา น โสจติ
พราหมณ์ พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ ซึ่งมีโคนเป็นพิษ
ปลายหวาน เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
โลโภ โทโส จ โมโห จ     ปุริสํ ปาปเจตสํ            หึสนฺติ อตฺตสมฺภูตา    ตจสารํว สมฺผลํ
โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ฉะนั้น
โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ    สญฺโยชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย
ตนฺนามรูปสฺมึ อสชฺชมานํ     อกิญฺจนํ    นานุปตนฺติ ทุกฺขา
บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง (เพราะ) ทุกข์ทั้งหลาย
ย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น
ตญฺหา ชเนติ ปุรสํ     จิตฺตมสฺส วิธาวติ            สตฺโต สํสารมาปาทิ    ทุกฺขา น ปริมุจฺจติ
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงไม่พ้นจากทุกข์
ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ     จิตฺตมสฺส วิธาวติ            สตฺโต สํสารมาปาทิ    กมฺมํ ตสฺส ปรายนํ
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงยังมีกรรมนำหน้า
อิจฺฉาย พชฺฌตี โลโก     อิจฺฉาวินยายุ มุจฺจต
อิจฺฉาย วิปฺปหาเนน     สพฺพํ ฉินฺทติ พนฺธนํ
โลกถูกความอยากผูกพันไว้ จะหลุดได้เพราะกำจัดความอยาก
เพราะละความอยากเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้
อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ     อิจฺฉา โลกสฺมิ ทุชชหา
อิจฺฉาพุทฺธา ปุถู สตฺตา     ปาเสน สกุณี ยถา
ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก
สัตว์เป็นอันมากถูกความอยากผูกมัดไว้ ดุจนางนกถูกบ่วงรัดไว้ ฉะนั้น
อุเปกฺขโก สทา สโต     น โลเก มญฺญตี สมํ
น วิเสสี น นีเจยฺโย     ตสฺส โน สนฺติ อุสฺสทา
ผู้วางเฉยมีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ดีกว่าเขา
หรือต่ำกว่าเขาในโลก ผู้นั้นชื่อว่า ไม่มีกิเลสเฟื่องฟูขึ้น
วิสุทฺธิ สพฺพเกฺลเสหิ     โหติ ทุกฺเขหิ นิพฺพุติ
ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นทางดับทุกข์ทั้งหลาย
ตณฺหาย อุฑทิโต โลโก     ชราย ปริวาริโต
มจฺจนา ปิหิโต โลโก     ทุกฺเข โลโก ปติฏฺฐิโต
โลกถูกตัณหาก่อขึ้น ถูกชราล้อมไว้ ถูกมฤตยูปิดไว้ จึงตั้งอยู่ในความทุกข์
นิราสตฺตี อนาคเต     อตีตํ นานุโสจติ
วิเวกทสฺสี ผสฺเสสุ     ทิฏฺฐีสุ จ น นิยฺยติ
ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ผู้เห็นความสงัดในผัสสะทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกชักนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย
มูฬฺโห อตฺถํ น ชานาติ     มูฬฺโห ธมฺมํ ปสฺสต
อนฺธตมํ ตทา โหติ     ยํ โมโห สหเต นรํ
ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม
ความหลงครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น
ยสฺส นตฺถิ อิทํ เมติ    ปเรสํ วาปิ กญฺจนํ
มมตฺตํ โส อสํวินฺทํ    นตฺถิ เมติ น โสจติ
ผู้ใดไม่กังวลว่า นี้ของเรา นี้ของผู้อื่น ผู้นั้น
เมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา จึงไม่เศร้าโศกว่าของเราไม่มี ดังนี้
ลุทฺโธ อตฺถํ น ชานาติ     ลุทโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ
อนฺธตมํ ตทา โหติ     ยํ โลโภ สหเต นรํ
ผู้โลภย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภย่อมไม่เห็นธรรม
ความโลภเข้าครอบงำคนเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น
 
โกธวรรค - หมวดโกรธ
โกโธ สตฺถมลํ โลเก     ความโกรธเป็นดังสนิมในโลก
อนตฺถชนโน โกโธ     ความโกรธก่อความพินาศ
อนฺธตมํ ตทา โหติ     ยํ โกโธ สหเต นรํ
ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมมีขึ้นเมื่อนั้น
โกโธ จิตฺตปฺปโกปโน     ความโกรธทำจิตให้กำเริบ
โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ     ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข
โกธาภิภูโต กุสลํ ชหาติ     ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมละกุศลเสีย
ทุกฺขํ สยติ โกธโน     คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ญาติมิตฺตา สุหชฺชา จ     ปริวชฺเชนฺติ โกธนํ
ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ
กุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ     ผู้โกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม
ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ     อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ
ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้
โกธํ ทเมน อุจฺฉินฺเท     พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ


ขันติวรรค - หมวดอดทน
อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ     อตฺถาวโห ว ขนฺติโก
สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ     อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น
ผู้มีขันติ ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน
เกวลานํปิ ปาปานํ     ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติ
ครหกลหาทีนํ   มูลํ ขนฺติ ขนฺติโก
ขันติ ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น
ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะกันได
ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี     ยสสฺสี สุขสีลวา
ปิโย เทวมนุสฺสานํ     มนาโป โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ
ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
สตฺถุโน วจโนวาทํ     กโรติเยว ขนฺติโก
ปรมาย จ ปูชาย     ชินํ ปูเชติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติ ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา
และผู้มีขันติ ชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยบูชาอันยิ่ง
สีลสมาธิคุณานํ     ขนฺติ ปธานการณํ
สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา    ขนฺตฺยาเยว วฑฺฒนฺติ เต
ขันติเป็นประธาน เป็นเหตุ แห่งคุณคือศีลและสมาธิ
กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญเพราะขันติเท่านั้น
ขนฺติ ธีรสฺส ลงฺกาโร     ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน
ขนฺติ พลํ ว ยตีนํ     ขนฺติ หิตสุขาวหา
ขันติเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ขันติเป็นตบะของผู้พากเพียร
ขันติเป็นกำลังของนักพรต ขันตินำประโยชน์สุขมาให้
น สุทฺธิ เสจเนน อตฺถิ     นปิ เกวลี พฺราหฺมโณ
น เจว ขนฺติ โสรจฺจํ     นปิ โส ปรินิพฺพุโต
ความบริสุทธิ์ก็ดี ผู้ที่จะประเสริฐล้วนก็ดี ขันติและโสรัจจะก็ดี
จะเป็นผู้เย็นสนิทก็ดี ย่อมไม่มีเพราะการชำระล้าง (ด้วยน้ำ)
นเหตมตฺถํ มหตีปิ เสนา     สราชิกา ยุชฺฌมานา     ลเภถ
ยํ ขนฺติมา สปฺปุริโส ลเภถ     ขนฺติพลสฺสูปสมนฺติ เวรา
เสนาแม้หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยพระราชารบอยู่ ไม่พึงได้ประโยชน์ที่สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้
(เพราะ) เวรทั้งหลายของผู้มีขันติเป็นกำลังนั้น ย่อมสงบระงับ
 
จิตตวรรค - หมวดจิต

จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ     จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้
จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ     จิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้
วิหญฺญตี จิตฺตวสานุวตฺตี     ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมลำบาก
เตลปตฺตํ ยถา ปริหเรยฺย     เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข
พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรที่เต็มด้วยน้ำมัน
ยโต ยโต จ ปาปกํ     ตโต ตโต มโน นิวารเย
ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ
ยโต ยโต จ ปาปกํ     ตโต ตโต มโน นิวารเย
ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ
อนวัฏฺจิต จิตฺตสฺส     สทฺธมฺมํ อวิชานโต
ปริปฺวลปสาทสฺสุ     ปญฺญา น ปริปูรติ
เมื่อจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม
มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา     เวริ วา ปน เวรินํ
มิจฺ ฉา ปณิหิตํ จิตตํ     ปาปิโย นํ ตโต กเร
โจรกับโจรหรือไพรีกับไพรี พึงทำความพินาศให้แก่กัน
ส่วนจิตตั้งไว้ผิด พึงทำให้เขาเสียหายยิ่งกว่านั้น
อานาปานสฺสติ ยสฺส     อปริปุณฺณา อภาวิตา
กาโยปิ อิญฺชิโต     โหติ จิตฺตมฺปิ โหติ อิญฺชิตํ
สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
อันผู้ใดไม่อบรมให้บริบูรณ์ ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็หวั่นไหว
น ตํ มาตา ปิตา กยิรา     อญฺเญ วาปิจ ญาตกา
สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ     เสยฺยโส นํ ตโต กเร
มารดาบิดาหรือญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำเหตุนั้นให้ได้
ส่วนจิตที่ตั้งไว้ดีแล้ว พึงทำเขาให้ดีกว่านั้น
ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ     วุฏฐี สมติวิชฺฌต
เอวํ อภาวิตํ จิตฺตํ     ราโค สมติวิชฺฌติ
ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีฉันใด
ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้อบรมฉันนั้น
เสโล ยถา เอกฆโน     วาเตน น สมีรติ
เอวํ นินฺทาปสํสาสุ น    สมิญฺชนฺติ ปณฺฑิตา
ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด
บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญฉันนั้น
จิตฺเตน นียติ โลโก     จิตฺเตน ปริกสฺสต
จิตฺตสฺส เอกธมฺมสฺส     สพฺเพว วสมนฺวคู
โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป
สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว
ปทุฏฺฐจิตฺตสฺส น ผาติ โหต     น จาปิ นํ เทวตา ปูชยนฺติ
โย ภาตรํ เปตฺติกํ สาปเตยฺย     อวญฺจยี ทุกฺกฏกมฺมการี
ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติพี่น้องพ่อแม่
ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา
 
ชยวรรค - หมวดชนะ

ชยํ เวรํ ปสวติ           ผู้ชนะย่อมก่อเวร
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ           การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง
สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ           รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง
สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ           ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ           ความสิ้นตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
น ตํ ชิตํ สาธุ ชิตํ     ย ํ ชิตํ อวชิยฺยติ           ความชนะใดที่ชนะแล้วกลับแพ้ได้ ความชนะนั้นไม่ดี
อกฺโกเธน ชิเน โกธํ           พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ
อสาธุํ สาธุนา ชิเน           พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี
ชิเน กทริยํ ทาเนน            พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้
สจฺเจนาลิกวาทินํ           พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง


ทานวรรค - หมวดทาน
นตฺถิ จิตฺเต ปสนฺนมฺห      อปฺปกา นาม ทกฺขิณา
เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อยย่อมไม่มี
วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺถํ             การเลือกให้ อันพระสุคตทรงสรรเสริญ
พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ             คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน
ททํ มิตฺตานิ คนฺถต             ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
ททมาโน ปิโย โหติ             ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
สุขสฺส ทาตา เมธาวี     สุขํ โส อธิคจฺฉติ             ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข
เสฏฐนฺทโท เสฏฐมุเปติ ฐานํ             ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ
อคฺคสฺมึ ทานํ ททตํ     อคฺคํ ปุญฺญํ ปวทฺฒติ
อคฺคํ อายุ จ วณฺโณ จ ยโส กิตฺติ สุขํ พลํ
เมื่อให้ทานในวัตถุอันเลิศ บุญอันเลิศ อายุ
วรรณะ ยศ เกียรติ สุข และ กำลังอันเลิศ ก็เจริญ
อคฺคทายี วรทายี     เสฏฺฐทายี จ โย นโร
ทีฆายุ ยสวา โหติ     ยตฺถ ยตฺถูปปชฺชติ
ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ให้สิ่งที่ดี ให้สิ่งที่ประเสริฐ
ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศ ในภพที่ตนเกิด
ปุพฺเพ ทานาทิกํ ทตฺวา     อิทานิ ลภตี สุขํ
มูเลว สิญฺจิตํ โหติ     อคฺเค จ ผลทายกํ
ให้ทานเป็นต้นก่อน จึงได้สุขบัดนี้
เหมือนรดน้ำที่โคนให้ผลที่ปลาย
ยถา วาริวหา ปูรา     ปริปูเรนฺติ สาคร
เอวเมว อิโต ทินฺนํ     เปตานํ อุปกปฺปติ
ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมยังสาครให้เต็มได้ฉันใด
ทานที่ให้แต่โลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่ผู้ละไปแล้วฉันนั้น
โส จ สพฺพทโท โหติ     โย ททาติ อุปสฺสยํ
อมตนฺทโท จ โส โหติ     ธมฺมมนุสาสติ
ผู้ใดให้ที่พักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง
ผู้ใดสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้อมตะ
อนฺนโท พลโท โหติ     วตฺถโท โหติ วณฺณโท
ยานโท สุขโท โหติ     ทีปโท โหติ จกฺขุโท
ผู้ให้ข้าวชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้ผิวพรรณ
ผู้ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีปโคมไฟชื่อว่าให้จักษุ
อเทยฺเยสุ อททํ ทานํ     เทยฺเยสุ โย ปเวจฺฉติ
อาปาสุ พฺยสนํ ปตฺโต     สหายํ อธิคจฺฉติ
ผู้ใดไม่ให้ทานในคนที่ไม่ควรให้ แต่ให้ทานในคนที่ควรให้
เมื่อประสบปัญหา ย่อมได้พบผู้ช่วยเหลือ
 
ทุกขวรรค - หมวดทุกข์
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา             สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
ทฬิทฺทิยํ ทุกฺขํ โลเก             ความจน เป็นทุกข์ในโลก
อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก            การเป็นหนี้ เป็นทุกข์ในโลก
ทุกฺขํ อนาโถ วิหรติ             คนไม่มีที่พึ่ง อยู่เป็นทุกข์
ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต            ผู้แพ้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา             ทุกข์ ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล
ปิยานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ            การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เป็นทุกข์
อปฺปิยานญฺจ ทสฺสนํ ทุกฺขํ             การพบเห็นสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
 
ธัมมวรรค - หมวดธรรม
ธมฺโม รหโท อกทฺทโม             ธรรมเหมือนห้วงน้ำไม่มีตม
ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ             ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้
ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี             ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี             ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ
ธมฺเม ฐิตํ น วิชหาติ กิตฺติ             เกียรต ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม
ธมฺเม ฐิตา เย น กโรนฺติ ปาปกํ             ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป
ธมฺมํ จเร สุจริตํ             พึงประพฤติธรรมให้สุจริต
นภญฺจ ทูเร ปฐวี จ ทูเร     ปารํ สมุทฺทสฺส ตทาหุ ทูเร
ตโต หเว ทูรตรํ วทนฺติ     สตญฺจ ธมฺโม อสตญฺจ ราช
เขากล่าวว่า ฟ้ากับดินไกลกัน และฝั่งทะเลก็ไกลกัน
แต่ธรรมของสัตบุรุษกับ อสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น
ยทา จ พุทฺธา โลกสฺมึ     อุปฺปชฺชนฺติ ปภงฺกรา
เต อิมํ ธมฺมํ ปกาเสนฺติ     ทุกฺขูปสมคามินํ
เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทำความสว่างเกิดขึ้นในโลก
พระองค์ย่อมประกาศธรรมสำหรับดับทุกข์นี้
เย จ โข สมฺมทกฺขาเต     ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน
เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ     มจฺจุเธยฺยํ สุทตฺตรํ
ชนใดประพฤติธรรม ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว
ชนเหล่านั้นจักข้ามแดนมฤตยูที่ข้ามได้ยาก
โย อิจฺเฉ ทิพฺพโภคญฺจ     ทิพฺพมายุํ ยสํ สุขํ
ปาปานิ ปริวชฺ เชตฺวา     ติวิธํ ธมฺมมาจเร
ผู้ใดปราถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์
ผู้นั้นพึงงดเว้นบาปทั้งหลาย แล้วประพฤติสุจริตธรรม ๓ อย่าง
อุจฉินฺท สิเนหมตฺตโน     กุมุทํ สารทิกํว ปาณินา
สนฺติมคฺคเมว พฺรูหย     นิพฺพานํ สุคเตน เทสิตํ
จงเด็ดเยื่อใยของตนเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง
จงเพิ่มพูนทางสงบ (ให้ถึง) พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว
จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ     องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ     จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต
พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ
เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต ทุกอย่าง
ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา     อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ
สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ     สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ
ราชรถอันงดงามย่อมคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา
ส่วนธรรมสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้
เต ฌายิโน สาตติกา     นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา
ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ     โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ
ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีความเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์
ยอมถูกต้องพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
นาญฺญตฺร โพชฺฌาตปสา     นาญฺญตฺร อินฺทริยสํวรา
นาญฺญตฺร สพฺพนิสฺสคฺคา     โสตฺถึ ปสฺสามิ ปาณินํ
เรา (ตถาคต) ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย
นอกจากปัญญา ความเพียร ความระวังตัว และการสละสิ่งทั้งปวง
สนฺต จิตฺตา นิปกา     สติมนฺโน จ ฌายิโน
สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสนฺติ     กาเมสุ อนเปกขิโน
ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีสติเป็นผู้เพ่งพินิจ
ไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ
ปัญญาวรรค - หมวดปัญญา
ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต           ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
ปญฺญา นรานํ รตนํ          ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน
ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย          ปัญญาเทียวประเสริฐกว่าทรัพย์
ปญฺญาชีวีชีวิตมาหุ เสฏฺฐํ
ปราชญ์กล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประเสริฐสุด
ปญฺญายตฺถํ วิปสฺสติ           คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา
ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ      นกฺขตฺตราชาริว ตารกานํ
สีลํ สิรึ จาปิ สตญฺจ ธมฺโม      อนฺวายิกา ปญฺญวโด ภวนฺติ
คนฉลาดกล่าวว่าปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์ประเสริฐ
กว่าดาวทั้งหลาย แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไปตามผู้มีปัญญา
ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ      อนตฺถํ จรติ อตฺตโน
อตฺตโน จ ปเรสญฺจ     หึสาย ปฏิปชฺชติ
คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้วย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน
ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียน ทั้งตนและผู้อื่น
มตฺตาสุขปริจฺจาคา      ปสฺเส เจ วิปุลํ สุข
จเช มตฺตาสุขํ ธีโร      สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ
ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย
ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย
ปญฺญวนฺตํ ตถาวาทึ      สีเลสุ สุสมาหิตํ
เจโตสมถมนุยุตฺตํ      ตํ เว วิญฺญู ปสํสเร
ผู้รู้ย่อมสรรเสริญคนมีปัญญา พูดจริง ตั้งมั่นในศีล
ประกอบความสงบใจนั้นแล
 
ปาปวรรค - หมวดบาป
อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ     ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ
โส โสจติ โส วิหญฺญติ     ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺฐมตฺตโน
ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง
เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน จึงเศร้าโศกและเดือดร้อน
อุทพินทุนิปาเตน     อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ พาโล ปาปสฺส     โถกํ โถกํปิ อาจินํ
แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำฉันใด
คนเขลาสั่งสมบาปแม้ทีละน้อย ๆ ก็เต็มด้วยบาปฉันนั้น
ปาณิมฺหิ เจ วโณ นาสฺส     หเรยฺย ปาณินา วิสํ
นาพฺพณํ วิสมนฺเวติ     นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต
ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้
ยาพิษซึมเข้าฝ่ามือไม่มีแผลไม่ได้ฉันใด บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำฉันนั้น
วาณิโชว ภยํ มคฺคํ     อปฺปสตฺโถ มหทฺธโน
วิสํ ชีวิตุกาโมว     ปาปานิ ปริวชฺชเย
ควรงดเว้นบาปเสีย เหมือนพ่อค้ามีพวกน้อยมีทรัพย์มาก
เว้นหนทางที่มีภัย และเหมือนผู้รักชีวิตเว้นยาพิษเสียฉะนั้น
 
ปุญญวรรค - หมวดบุญ
ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ          บุญอันโจรนำไปไม่ได้
ปญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ          บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต
สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย          ความสั่งสมบุญ นำสุขมาให้
ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ     ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ
บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า
อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ     กตปุญโญฺ อุภยตฺถ นนฺทติ
ปุญฺญํ เม กตนุติ นนฺทติ     ภิยฺโย นนฺทุติ สุคตึ คโต
ผู้ทำบุญแล้วย่อมยินดีในโลกนี้
ตายแล้วย่อมยินดีชื่อว่ายินดีในโลกทั้งสอง
เขาย่อมยินดีว่าเราทำบุญไว้แล้ว ไปสู่สุคติย่อมยินดียิ่งขึ้น
ปญฺญญฺ ปริโส กยิรา     กยิราถนํ ปุนปฺปุนํ
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ     สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย
ถ้าบุรุษจะพึ่งทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อย ๆ
ควรทำความพอใจในบุญนั้น การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้
มาวมญฺเญถ ปุญฺญสฺส      น มตฺตํ อาคมิสฺสติ
อุทพินฺทุนิปาเตน     อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ ธีโร บุญฺญสฺส     โถกํ โถกํปิ อาจินํ
ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่ามีประมาณน้อยจักไม่มีมาถึง
แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาฉันใด
ผู้มีปัญญาสั่งสมบูญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มได้ด้วยบุญ ฉันนั้น
สหาโย อตฺถชาตสฺส     โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ
สยํ กตานิ ปุญฺญานิ     ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกํ
สหายเป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อย ๆ
บุญทั้งหลายที่ตนทำเองนั้น จะเป็นมิตรในสัมปรายภพ


ปุคคลวรรค - หมวดบุคคล
สาธุ โข ปณฺฑิโต นาม            ชื่อว่าบัณฑิตย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จได้แล
ปฌฺฑิโต สีลสมฺปนฺโน     ชลํ อคฺคีว ภาสติ
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟสว่าง
อนตฺถํ ปริวชฺเชติ     อตฺถํ คณฺหาติ ปณฺฑิโต
บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
ทนฺโต เสฎฺโฐ     มนุสฺเสสุ         ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด
มหากรุณิโก นาโถ           ท่านผู้เป็นที่พึ่ง ประกอบด้วยกรุณายิ่งใหญ่
กุสโล จ ชหาติ ปาปกํ           คนฉลาดย่อมละบาป
นยํ นยติ เมธาวี           คนมีปัญญา ย่อมแนะนำทางที่ควรแนะนำ
สนฺโต น เต เย น วทนฺติ ธมฺมํ           ผู้ใดไม่ผูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ
สนฺโต สตฺตหิเต รตา             สัตบุรุษยินดีในการเกื้อกูลสัตว์
สนฺโต สคฺคปรายนา           สัตบุรุษมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
สตญจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ            กลิ่นของสัตบุรุษย่อมหอนทวนลมได้
โย พาโล มญฺญติ พาลฺยํ     ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส
คนซึ่งรู้สึกตนว่าโง่ จะเป็นผู้ฉลาดเพราะเหตุนั้นได้บ้าง
อสนฺโต นิรยํ ยนฺติ          อสัตบุรุษย่อมไปนรก
สุวิชาโน ภวํ โหติ          ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
ครุ โหติ สคารโว          ผู้เคารพย่อมมีผู้เคารพตอบ
วนฺทโก ปฎิวนฺทนํ         ผู้ไหว้ย่อมได้รับไหว้ตอบ
เนกาสี ลภเต สุขํ          ผู้กินคนเดียวไม่ได้ความสุข
นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต          คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก
อติติกฺโข จ เวรวา          คนแข็งกระด้างก็มีเวร
น อุชุภูตา วิตถํ ภณนฺติ          คนตรงไม่พูดคลาดความจริง
อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ          มารดาบิดาเป็นที่นับถือของบุตร
ปุพพาจริยาติ วุจฺจเร         มารดาบิดาท่านว่าเป็นบูรพาจารย์ (ของบุตร)
ภตฺตา ปญฺญาณมิตฺถิยา           สามีเป็นเครื่องปรากฏของสตรี
สุสฺสูสา เสฏฺฐา ภริยานํ          บรรดาภริยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟัง เป็นผู้ประเสริฐ
โย จ ปุตฺตา นมสฺสโว          บรรดาบุตรทั้งหลาย บุตรผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ
คุณวา จาตฺตโน คุณ          ผู้มีความดี จงรักษาความดีของตนไว้
อจฺจยํ เทสยนฺตีนํ     โย เจ น ปฎิคณฺหติ
โกปนฺตโร โทสครุ     ส เวรํ ปฎิมจฺจติ
เมื่อเขาขอโทษ ถ้าผู้ใดมีความขุ่นเคือง
โกรธจัด ไม่ยอมรับ ผู้นั้นชื่อว่า หมกเวรไว้
เอวํ กิจฺฉาภโต โปโส     ปิตุ อปริจารโก
ปิตริมิจฺฉาจริตฺวาน     นิรยํ โส อุปปชฺชติ
ผู้ที่มีมารดาบิดาเลี้ยงมาได้โดยยากอย่างนี้
ไม่บำรุงมารดาบิดา ประพฤติผิดในมารดาบิดา ย่อมเข้าถึงนรก
เตชวาปิ หิ นโร วิจกฺขโณ     สกฺกโต พหุชนสฺส ปูชิโต
นารีนํ วสงฺคโต     น ภาสติ     ราหุนา อุปหโตว จนฺทิมา
ถีงเป็นคนมีเดช มีปัญหาเฉียบแหลม อันคนเป็นอันมากสักการบูชา
อยู่ในอำนาจสตรีเสียแล้วย่อมไม่รุ่งเรือง เหมือนพระจันทร์ถูกพระราหูบังฉะนั้น
ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ     หิมวนฺโตว ปพฺพโต
อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ     รตฺติขิตฺตา ยถา สรา
สัตบุรุษทั้งหลายย่อมปรากฎได้ในที่ใกล เหมือนภูเขาหิมวันต์
อสัตบุรุษทั้งหลายถึงในที่นี้ก็ไม่ปรากฎ เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน ฉะนั้น
ธีโร โภเค อธิคมฺม     สงฺคณฺหาติ จ ญาตเก
เตน โส กิตฺตึ ปปฺโปติ     เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ
ผู้มีปรีชาได้โภคะแล้ว ย่อมสงเคราะห์หมู่ญาติ
เพราะการสงเคราะห์นั้น เขาย่อมได้เกียรติ ละไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์
มธุวา มญฺญตี พาโล     ยาว ปาปํ น ปจฺจติ
ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ     อถ ทุกฺขํ นิคจฺฉติ
ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน
แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น
ยสฺส ปาปํ กตํ กมฺมํ     กุสเลน ปิถียติ
โสมํ โลกํ ปภาเสติ     อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา
ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว ละเสียได้ด้วยกรรมดี
ผู้นั้นย่อมยังโลกให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆ
ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย     นิสีเทยฺย สเยยฺย วา
น ตสฺส สาขํ ภญฺเชยฺย     มิตฺตทุพฺโพ หิ ปาปโก
บุคคลนั่งหรือนอน (อาศัย) ที่ร่มเงาตันไม้ใด
ไม่ควรรานกิ่งต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวทราม
โย มาตรํ ปิตรํ วา     มจฺโจ ธมฺเมน โปสติ
อิเธว นํ ปสํสนฺติ     เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ
ผู้ใดย่อมเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม
บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้ เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์


มัจจุวรรค - หมวดมฤตยู
สพฺพํ เภทปริยนฺติ     เอวํ มจฺจาน ชีวิตํ
ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ซึ่งล้วนมีความสลายเป็นที่สุด
น มิยฺยมานํ ธนมนฺเวติ กิญฺจิ           ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้
อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ     สพฺเพ มจฺจุ ปรายนา
ทั้งคนมีคนจน ล้วนมีแต่ความตายเป็นเบื้องหน้า
ทหรา จ มหนฺตา จ     เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา
สพฺเพ มจฺจุวสํ ยนฺติ     สพฺเพ มจฺจุปรายนา
ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งเขลา ทั้งฉลาด
ล้วนไปสู่อำนาจแห่งความตาย ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
ยถา ทณฺเฑน โคปาลา      คาโว ปาเชติ โคจรํ
เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ     อายุํ ปาเชนฺติ ปาณินํ
ผู้เลี้ยงโคย่อมต้อนฝูงโค ไปสู่ที่หากินด้วยพลองฉันใด
ความแก่และความตาย ย่อมต้อนอายุของสัตว์มีชีวิตไปฉันนั้น
ยถา วาริวโห ปูโร     วเห รุกฺเข ปกูลเช
เอวํ ชราย มรเณน     วุยฺ หนฺเต สพฺพปาณิโน
ห้วงน้ำที่เต็มฝั่ง พึงพัดต้นไม้ซึ่งเกิดที่ตลิ่งไปฉันใด
สัตว์มีชีวิตทั้งปวง ย่อมถูกความแก่และความตายพัดไปฉันนั้น
อจฺเจนติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย     วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ
เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน     ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป
ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น พึงทำบุญอันนำความสุขมาให้
 
มิตตวรรค - หมวดมิตร
มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร           มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน
สหาโย อตฺถชาตสฺส     โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ
สหายเป็นมิตรของผู้มีความต้องการเกิดขึ้นเนือง ๆ
สพพตฺถ ปูชิโต โหติ     โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ
ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง
มิตฺตทุพโภ หิ ปาปโก           ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวแท้
ภริยา ปรมา สขา           ภรรยาเป็นเพื่อนสนิท
นตฺถ พาเล สหายตา           ความเป็นสหายไม่มีในคนพาล
สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ     จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา
ถ้าได้สหายผู้รอบคอบ พึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา
 
วาจาวรรค - หมวดวาจา
โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ           เปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ
หทยสฺส สทิสี วาจา           วาจาเช่นเดียวกับใจ
มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ           คนเปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน
ทุฏฺฐสฺส ผรุสา วาจา           คนโกรธมีวาจาหยาบ
สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ           ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ
ตเมว วาจํ ภาเสยฺย     ยายตฺตานํ น ตาปเย           ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน
นาติเวลํ ปภาเสยฺย     นตุณหี สพฺพทา สิยา           อวิกิณฺ มิตํ วาจํ     ปตฺเตกาเล อุทีริเย
ไม่ควรูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป เมื่อถึงเวลาก็ควรพูดพอประมาณ ไม่ฟั่นเฝือ
โย นินฺทิยํ ปสํสติ     ตํ วา นินฺทติ โย ปสํสิโย
วิจินาติ มุเขน โส กลี     กลินา เตน สุขํ น วินทติ
ผู้ใดสรรเสริญคนควรติ หรือติคนที่ควรสรรเสริญ
ผู้นั้นย่อมเก็บโทษด้วยปาก เขาไม่ได้สุขเพราะโทษนั้น
สจฺ จํ เว อมตา วาจา           คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย


วิริยวรรค - หมวดความเพียร
กาลาคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ            คนขยันย่อมไม่พร่าประโยชน์ชั่วตามกาล
วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ            คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
ปฏิรูปการี ธุรวา     อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ
คนมีธุระหมั่นทำการงานให้เหมาะเจาะ ย่อมหาทรัพย์ได้
น นิพฺพินฺทิยการิสฺส     สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ
ประโยชน์ย่อมไม่สำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยเบื่อหน่าย
หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส     ปเรติ ปริหายติ
คนที่ผลัดวันประกันพรุ่งย่อมเสื่อม ยิ่งว่ามะรืนนี้ยิ่งเสื่อม
อปฺปเกนปิ เมธาวี     ปาภเฏน วิจกฺขโณ
สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ     อณุํ อคคึว สนฺธมํ
ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดย่อมตั้งตนได้ด้วยต้นทุนแม้น้อย
เหมือนคนก่อไฟน้อยขึ้นฉะนั้น
อฏฺฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ     อบฺปมตฺโต วิธานวา
สมํ กปฺเปติ ชีวิตํ     สมภตํ อนุรกฺขติ
ผู้ขยันในหน้าที่การงาน ไม่ประมาท
เข้าใจเลี้ยงชีพพอสมควร จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้
โย จ วสฺสสตํ ชีเว     กุสีโต หีนวีริโย
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย     วิริยํ อารภโต ทฬฺหํ
ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
ส่วนผู้ปรารภความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวก็ประเสริฐกว่า
โกสชฺชํ ภยโต ทิสฺวา     วิริยารมฺภญฺจ เขมโต
อารทฺธวิริยา โหถ     เอสา พุทธานุสาสนี
ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย
และเห็นการปรารภความเพียรเป็นความปลอดภัย
แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี
สพฺพทา สีลสมฺปนฺโน     ปญฺญวา สุสมาหิโต
อารทฺธวิริโย ปหิตตฺโต     โอฆํ ตรติ ทุตฺตรํ
ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว
ปรารภความเพียรตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก
 
สีลวรรค - หมวดศีล
สฺขํ ยาว ชรา สีลํ            ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าชรา
สีลํ กิเรว กลฺยาณํ            ท่านว่าศีลนั้นเทียวเป็นความดี
สํวาเสน สีลํ เวทิตพฺพํ            ศีลพึงรู้ได้เพราะอยู่ร่วมกัน
สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร            ความสำรวมใในที่ทั้งปวงเป็นดี
สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี            ปราชญ์พึงรักษาศีล
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ     กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ     ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
อวณฺณญฺจ อกิตฺติญฺจ     ทุสฺสีโล ลภเต นโร
วณฺณํ กิตฺตึ ปสํสญฺจ     สทา ลภติ สีลวา
คนผู้ทุศีลย่อมได้รับความติเตียน และความเสียชื่อเสียง
ส่วนผู้มีศีลย่อมได้รับชื่อเสียงและความยกย่องสรรเสริญทุกเมื่อ
อิเธว กิตฺตึ ลภติ     เปจฺจ สคฺเค จ สุมโน
สพฺพตฺถ สุมโน ธีโร     สีเลสุ สุสมาหิโต
ผู้มีปรีชามั่นคงดีแล้วในศีล ย่อมได้รับชื่อเสียงในโลกนี้
จะไปแล้วย่อมดีใจในสวรรค์ ชื่อว่าย่อมดีใจในที่ทั้งปวง
สีลํ รกฺเขยฺย เมธาว     ปตฺถยาโน ตโย สุเข
ปสํสํ วิตฺติลาภญฺจ     เปจฺจ สคฺเค ปโมทนํ
ผู้มีปัญญาเมื่อปรารถนาสุขสามอย่าง คือความสรรเสริญ
ความได้ทรัพย์ และความละไปบันเทิงในสวรรค์ ก็พึงรักษาศีล
สีลวา หิ พหู มิตฺเต     สญฺญเมนาธิคจฺฉติ
ทุสฺสีโล ปน มิตฺเตหิ     ธํสเต ปาปมาจรํ
ผู้มีศีลย่อมได้มิตรยากด้วยความสำรวม
ส่วนผู้ไม่มีศีล ประพฤติชั่ว ย่อมแตกจากมิตร
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ     สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ     สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ เสตุ มเหสกฺโข     สีลํ คนฺโธ อนุตฺตโร
สีลํ วิเลปนํ เสฏฺฐํ     เยน วาติ ทิโส ทิสํ
ศีลเป็นสะพานอันสำคัญ ศีลเป็นกลิ่นที่ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า
ศีลเป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐสุด เพราะศีล (มีกลิ่น) ขจรไปทั่วทุกทิศ
 
สุขวรรค - หมวดสุข

สพฺพตถ ทุกฺขสฺส สุขํ ปหานํ            ละเหตุทุกข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง
อพฺยา ปชฺฌํ สุขํ โลเก            ความไม่เบียดเบียนเป็นสุขในโลก
นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ            ความสุข (อื่น) ยิ่งกว่าความสงบไม่มี
นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ            นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
อทสฺสเนน พาลานํ      นิจฺจเมว สุขี สิยาํ            จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์ ก็เพราะไม่พบเห็นคนพาล
สุขํ สุปติ พุทฺโธ จ     เยน เมตฺตา สุภาวิตาํ            ผู้เจริญเมตตาดีแล้วย่อมหลับและตื่นเป็นสุข
สุโข พุทฺธานํ อุปฺปาโทํ            ความเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนำสุขมาให้


เสวนาวรรค - หมวดคบหา
วิสฺสาสา ภยมนฺเวติ            เพราะความไว้ใจภัยจึงตามมา
อติจิรํ นิวาเสน ปิโย ภวติ อปฺปิโย            เพราะอยู่ด้วยกันนานเกินไป คนที่รักกันก็มักหน่าย
ยํ เว เสวติ ตาทิโส            คบคนใดก็เป็นเช่นคนนั้น
ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส     อมิเตเนว สพฺพทา
อยู่ร่วมกับคนพาลนำทุกข์มาให้เสมอไป เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู
ธีโร จ สุขสํวาโส     ญาตีนํว สมาคโม
อยู่ร่วมกับปราชญ์นำสุขมาให้ เหมือนสมาคมกับญาติ
นิหียติ ปุริโส นิหีนเสวี            ผู้คบคนเลวย่อมเลวลง
ทุกฺโข พาเลหิ สงฺคโม            สมาคมกับคนพาลนำทุกข์มาให้
สุโข หเว สปฺปุริเสน สงฺคโม            สมาคมกับสัตบุรุษนำสุขมาให้
น ปาปชนสํเสวี     อจฺจนฺตสุขเมธติ            ผู้ไม่คบคนชั่ว ย่อมได้รับสุขส่วนเดียว
สงฺเกเถว อมิตฺตสฺมึ           ควรระแวงในศัตรู
มิตฺตสฺมิมฺปิ น วิสฺสเส            แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ
นาสฺมเส กตปาปมฺหิ            ไม่ควรไว้ใจคนทำบาป
นาสฺมเส อตฺตตฺถปญญมฺหิ            ไม่ควรไว้ใจคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
ตครํ ว ปลาเสน     โย นโร อุปนยฺหติ
ปตฺตาปิ สุรภี วายนฺติ     เอวํ ธีรูปเสวนา
คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้
แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด การคบกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้น
ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน      โย นโร อุปนยฺหติ
กุสาปิ ปูติ วายนฺติ     เอวํ พาลูปเสวนา
คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา
แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉันใด การคบคนพาลก็ฉันนั้น
สทฺเธน จ เปสเลน จ     ปญฺญวตา พหุสฺสุเตน จ
สขิตํ หิ กเรยฺย ปณฺฑิโต     ภทฺโท สปฺปุริเสหิ สงฺคโม
บัณฑิตพึงทำความเป็นเพื่อนกับคนมีศรัทธา มีศีลเป็นที่รัก
มีปัญญาและเป็นพหุสูต เพราะการสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ
ปสนฺนเมว เสเวยฺย     อปฺปสนฺนํ วิวชฺชเย
ปสนฺนํ ปยิรุปา เสยฺย     รหทํวุทกตฺถิโก
บุคคลควรคบผู้เลื่อมใสเท่านั้น ควรเว้นผู้ไม่เลื่อมใส
ควรเข้าไปนั่งใกล้ผู้เลื่อมใส เหมือนผู้ต้องการน้ำเข้าไปหาห้วงน้ำฉะนั้น
 
ปกิณณกวรรค - หมวดเบ็ดเตล็ด
หิริโอตฺตปฺปญฺเญว     โลกํ ปาเลติ สาธุกํ
หิริและโอตตัปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี
โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา            เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก
อรติ โลกนาสิกา            ความริษยาเป็นเหตทำโลกให้ฉิบหาย
อโรคฺยปรมา ลาภา            ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง
กาโล ฆสติ ภูตานิ     สพฺพาเนว สหตฺตนา
กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง
สพฺพญฺจ ปฐวึ ทชฺชา     นากตญฺญุมภิราธเย
ถึงให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้
หนนฺติ โภคา ทุมฺเมธํ            โภคทรัพย์ ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ            สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย
นตฺถิ โลเก รโห นาม     ปาปกมฺมํ ปกุพฺพโต
ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำบาปกรรม ไม่มีในโลก
โภคา สนฺนิจยํ ยนฺติ     วมฺมิโกวูปจียติ
โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี
ย่อมถึงความพอกพูน เหมือนจอมปลวกกำลังก่อขึ้น
รูปํ ชีรติ มจฺจานํ     นามโคตฺตํ นฺ ชีรติ
ร่างกายของสัตร์ย่อยยับได้ แต่ชื่อและสกุลไม่ย่อยยับ
อตีตํ นานฺราคเมยฺย            ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว
นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ             ไม่ควรหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
อิตฺถีธุตฺโต สุราธุตฺโต     อกฺขธุตฺโต จ โย นโร
ลทฺธํ ลทฺธํ วินาเสติ     ตํ ปราภวโต มุขํ
คนใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงการพนัน
ย่อมล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้แล้ว ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งผู้ฉิบหาย
อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส    ลหุจิตฺตสฺส ทุพฺภิโน
นิจจํ อทฺธวสีลสฺส     สุขภาโว น วิชฺชติ
เมื่อมีจิตไม่หนักแน่น เป็นคนใจเบา มักประทุษร้ายมิตร
มีความประพฤติกลับกลอกเป็นนิตย์ ย่อมไม่มีความสุข
ยถาปิ มูเล อนุปทฺทเว ทฬฺเห     ฉินฺโนปิ รุกฺโข ปุนเรว รูหติ
เอวฺมปิ ตณฺหานุสเย อนูหเต     นิพฺพตฺตติ ทุกฺขมิทํ ปุนปฺปุนํ
เมื่อรากยังมั่นคงไม่มีอันตราย ต้นไม้แม้ถูกตัด แล้วย่อมงอกได้อีกฉันใด
เมื่อตัณหานุสัยยังไม่ถูกกำจัดแล้ว ทุกข์นี้ย่อมเกิดร่ำไปฉันนั้น
โย เว ตํ สหตี ชมฺมี     ตณฺหํ โลเก ทุรจฺจยํ
โสกา ตมฺหา ปปตนฺติ     อุทพินฺทุว โปกฺขรา
ผู้ใดครอบงำตัณหาลามก อันล่วงได้ยากในโลก
ความโศกทั้งหลายย่อมตกไปจากผู้นั้น เหมือนหยาดน้ำตกไปจากใบบัวฉะนั้น
สพฺพปาปสฺส อกรณํ     กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ     เอตํ พุทฺธาน สาสนํ
การไม่ทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม
การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

8
เรื่องของการเหาะเหินเดินอากาศ
มีผู้สงสัยถามไถ่หลวงพ่อว่า
"เขาลือว่าหลวงพ่อเป็นพระอรหันต์ เป็นแล้วเหาะได้ไหมครับ"
"แมงกุดจี่มันก็เหาะได้" ท่านตอบ
(แมงกุดจี่ - แมลงชนิดหนึ่งอยู่กับขี้ควาย)

อีกครั้งหนึ่งมีผู้ถามคล้าย ๆ กันว่า
"เคยอ่านพบเรื่องพระอรหันต์สมัยก่อน ๆ เขาว่าเหาะได้จริงไหมครับ"
"ถามไกลเกินตัวไป มาพูดถึงตอไม้ที่จะตำเท้าเราดีกว่า"ท่านกล่าว

ขอของดีไปสู้กระสุน
ทหารคนหนึ่งไปกราบขอพระเครื่องกันกระสุนจากหลวงพ่อ
ท่านบอกหน้าตาเฉยว่า
"เอาองค์นั้นดีกว่า เวลายิงกันก็อุ้มไปด้วย"
ท่านชี้ไปที่พระประธาน

ของขลัง

มีคนชอบเล่นของนำเหรียญหลวงพ่อไปลองยิง
"เป็นอย่างไรยิงออกไหม"
"ออกครับ หลวงพ่อแต่ไม่ถูก"
"โยม ลองเอาปืนหันเข้าหาตัวสิ ยิงออกไหม"
เอ๊า!!

มีเด็กหิ้วกรงขังนกมาชวนหลวงพ่อซื้อเพื่อปล่อยนกในการทำบุญในสถานที่แห่งหนึ่ง
"นกอะไร เอามาจากไหน"
"ผมจับมาเอง"
"เอ๊า...จับเองก็ปล่อยเองซิล่ะ" ท่านว่า

ปวดเหมือนกัน
โยมผู้หญิงคนหนึ่งปวดขามาขอร้องหลวงพ่อเป่าให้
"ดิฉันปวดขา พลวงพ่อเป่าให้หน่อยค่ะ"
"โยมเป่าให้อาตมาบ้างซิ อาตมาก็ปวดเหมือนกัน" ท่านตอบ

อาย
ครั้งหนึ่งหลวงพ่อรับนิมนต์เข้าวัง ขณะลงจากรถ  มีท่านเจ้าคุณรูปหนึ่งเข้ามาทักว่า
"คุณชา สะพายบาตรเข้าวัง ยังงี้ไม่นึกอายในหลวงหรือ"
"ท่านเจ้าคุณไม่อายพระพุทธองค์หรือ ถึงไม่สะพายบาตรเข้าวัง" ท่านย้อน

อาจารย์ที่แท้จริง
ท่านชาคโรถูกหลวงพ่อส่งไปอยู่ประจำวัดสาขาแห่งหนึ่ง  เมื่อมีโอกาสหลวงพ่อได้เดินทางไปเยี่ยม
"เป็นไงบ้าง ชาคโร ดูผอมไปนะ" หลวงพ่อทัก
"เป็นทุกข์ครับหลวงพ่อ" ท่านชาคโรตอบ
"เป็นทุกข์เรื่องอะไรล่ะ"
"เป็นทุกข์เพราะอยู่ไกลครูบาอาจารย์เกินไป"
"มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นอาจารย์ทั้งหก อาจารย์ฟังให้ดี ดูให้ดี เขาจะสอนให้เราเกิดปัญญา"

อาจารย์นกแก้วนกขุนทอง

สมัยนี้มีครูบาอาจารย์สอนธรรมะมาก บางอาจารย์อาจสอนคนอื่นเก่ง แต่สอนตนเองไม่ได้
เพราะว่าสอนด้วยสัญญา (ความจำได้หมายรู้) จำขี้ปากคนอื่นเขามาสอนอีกที
หลวงพ่อเคยแสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า
"เรื่องธรรมะนี่จริงๆแล้ว ไม่ใช่เรื่องบอกกัน ไม่ใช่เอาความรู้ของคนอื่นมา
ถ้าเอาความรู้ของคนอื่นมา  ก็เรียกว่าจะต้องเอามาภาวนาให้มันเกิดชัดกับเจ้าของอีกครั้งหนึ่ง
ไม่ใช่ว่าคนอื่นพูดให้ฟังเข้าใจแล้วมันจะหมดกิเลส  ไม่ใช่อย่างนั้น
ได้ความเข้าใจแล้วก็ต้องเอามาขบเคี้ยวมันอีกให้มันแน่นอนเป็นปัจจัตตังจริงๆ"
(ปัจจัตตัง - รู้เห็นได้ด้วยตนเอง,รู้อยู่เฉพาะตน)

โรควูบ
นักภาวนาคนหนึ่งถามปัญหาภาวนาของตนกับหลวงพ่อ
"นั่งสมาธิบางทีจิตรวมค่ะ แต่มันวูบ ชอบวูบเหมือนสัปหงกแต่มันรู้ค่ะ มันมีสติด้วย เรียกว่าอะไรคะ"
"เรียกว่าตกหลุมอากาศ" หลวงพ่อตอบ "ขึ้นเครื่องบินมักเจออย่างนั้น"

นั่งมาก
วันหนึ่งหลวงพ่อนำคณะสงฆ์ทำงานวัด มีวัยรุ่นมาเดินชมวัดถามท่านเชิงตำหนิ
"ทำไมท่านไม่นำพระเณรนั่งสมาธิ ชอบพาพระเณรทำงานไม่หยุด"
"นั่งมากขี้ไม่ออกว่ะ" หลวงพ่อสวนกลับ ยกไม้เท้าชี้หน้าคนถาม
"ที่ถูกนั้น นั่งอย่างเดียวก็ไม่ใช่ เดินอย่างเดียวก็ไม่ใช่ ต้องนั่งบ้าง
ทำประโยชน์บ้าง ทำความรู้ความเห็นให้ถูกต้องไปทุกเวลานาที
อย่างนี้จึงถูก กลับไปเรียนใหม่ ยังงี้ยังอ่อนอยู่มาก
เรื่องการปฏิบัตินี้ถ้าไม่รู้จริงอย่าพูด มันขายขี้หน้าตนเอง"

ยศถาบรรดาศักดิ์
ท่านกล่าวถึงสมณศักดิ์ที่ได้รับพระราชทานมาไว้ครั้งหนึ่งว่า
"สะพานข้ามแม่น้ำมูล เวลาน้ำขึ้นก็ไม่โก่ง เวลาน้ำลดก็ไม่แอ่น"

ศักดิ์ศรี
หลวงพ่อเคยปรารภเรื่องภิกษุสะสมเงินทองปัจจัยส่วนตัวว่า
"ถ้าผมสิ้นไป พวกท่านทั้งหลายค้นพบ หรือเห็นปัจจัยเงินทองอยู่ในกุฏิผม
โอ๊ย...เสียหายหมด เสียศักดิ์ศรีพระปฏิบัติ"

ที่มา  seedang.com

9


“หากพรุ่งนี้ไม่มี......แม่ ?”

วันนี้ลูกๆหลายคนอาจจะกำลังอยู่กับพ่อกับแม่ในครอบครัวที่แสนสุข ในอ้อมกอดที่อบอุ่นของแม่ ในการเลี้ยงดูเอาใจใส่เป็นอย่างดีจากแม่ อยากได้อะไรมีแม่คอยจัดหาให้ อยากกินอะไรมีแม่คอยหามาให้กิน อยากเที่ยวที่ไหนแม่ก็พาไปเที่ยว อยากเรียนอะไรแม่ก็ส่งเสียให้เรียน อยากทำอะไรแม่ก็คอยส่งเสริมสนับสนุนให้ทำอยู่ตลอดมา ลูกๆหลายคนได้รับความสุข สะดวก สบาย สมบูรณ์พูนสุขในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบาย เงินทองที่ใช้จ่ายได้ตามใจปรารถนา พร้อมทั้งการศึกษาที่ดีในสถาบันที่มีชื่อเสียง ความสมบูรณ์ ความสุขสบายที่ลูกได้รับอย่างสุขเกษมเปรมปรีดทุกวันนี้ได้มาจากใคร..................?

วันนี้ยังมีลูกๆหลายคนไม่ได้อยู่กับพ่อกับแม่ในครอบครัวที่อบอุ่น ต้องกลายเป็นเด็กกำพร้า เป็นเด็กเร่ร่อน เป็นเด็กจรจัด นอนตามป้ายรถเมล์ เร่ขอทานเก็บเศษอาหารประทังชีวิตไปวันๆ ต้องทนทุกข์ทรมาน เดียวดายไร้ความอบอุ่นหว้าเหว่ห่อเหี่ยวในหัวใจขาดที่พึ่งพาอาศัยต้องตะเกียกตะกายต่อสู้ในโลกที่โหดร้ายมีแต่แก่งแย่งแข่งขัน ชิงดีชิงเด่น เล่นพรรคเล่นพวก คิดเอาแต่ประโยชน์ส่วนตัว เพื่อให้มีชีวิตอยู่ไปวันๆ

หากพรุ่งนี้ไม่มี.......แม่? โบราณว่า “ขาดพ่อเหมือนถ่อหัก ขาดแม่เหมือนแพแตก”

ชีวิตของลูกคงกระจัดกระจายไร้ทิศทาง ไร้อนาคต ไร้การศึกษา กลายเป็นเด็กมีปัญหา เป็นภาระของสังคม คงต้องทุกข์ทรมานอย่างหาประมาณมิได้ หากเปรียบชีวิตเหมือนการข้ามฝั่งในแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวกราก เต็มไปด้วยอันตรายรอบด้าน ซึ่งต้องอาศัยแพและไม้ถ่อข้ามฝั่ง เพื่อไปสู่เป้าหมายอย่างปลอดภัย หากเปรียบไปก็เหมือนพ่อกับแม่ ถ่อเปรียบเสมือนพ่อ แพเปรียบเสมือนแม่ ถ้าถ่อหักก็ยังสามารถใช้มือหรือเท้าพายแทน แต่ก็ต้องทุลักทุเลพอควร มีโอกาสถึงฝั่ง 50-50 แต่หากแพต้องแตกหรืออับปางกลางแม่น้ำ โอกาสที่จะถึงฝั่งก็คงลางเลือนและริบหรี่เต็มประดา อาจต้องจมน้ำตาย หรือเป็นอาหารของสัตว์ร้ายได้

เปลวเทียนละลายแท่ง เพื่อเปล่งเสียงอันอำไพ ชีวิตมะลายไป เหลือสิ่งใดไว้ทดแทน หากเปรียบเทียนที่จุดขึ้นเหมือนกับชีวิตแม่ของเรา เทียนเล่มนี้มันส่องแสงให้มากเท่าใด ลำเทียนเองก็จะสั้นลง ๆ คล้ายดังชีวิตแม่ที่ให้ลูกมากแค่ไหน อายุของแม่ก็จะสั้นลง ๆ อายุที่ได้มาก็คือเวลาที่เสียไป ยิ่งลูกมีความเจริญรุ่งโรจน์มากขึ้นเท่าใด ชีวิตแม่ก็ยิ่งแก่ลงและหดหายลงไปเท่านั้น บางครั้งเทียนมันก็ลุกโชติช่วงชัชวาล บางครั้งก็ริบหรี่หือไม่ก็ดับ แล้วน้ำตาเทียนก็ไหลหยดย้อยเหมือนหยาดน้ำตาของผู้เป็นแม่ของเรา ในที่สุดเทียนที่จุดขึ้นก็จะเหลือเพียงไส้ดำ ๆ วาระสุดท้ายของแม่เราก็จะเป็นอย่างนี้ แม่จะเหลือเพียงกระดูกที่เป็นเถ้าถ่าน ให้ลูกน้อยไปรับที่เชิงตะกอน

หากพรุ่งนี้ไม่มี........แม่?

แม่ผู้ให้ทุกสิ่งทุกอย่างแก่ลูก แม่ผู้ยอมอด เพื่อให้ลูกอิ่ม แม่ผู้ที่ยอมทุกข์เพื่อให้ลูกสุข แม่ผู้ที่ยอมลำบากเพื่อให้ลูกสบาย แม่ผู้ที่ยอมตายเพื่อให้ลูกมีชีวิตอยู่
แม่ผู้ที่รักเป็นห่วงเป็นใยและเฝ้าถามลูกอยู่เสมอ เหนื่อยไหมลูก? หิวไหมลูก? ลูกอยากทานอะไร? ลูกอยากได้อะไรบอกแม่มา...แม่จัดให้? แล้วลูกละ
เคยถามแม่บ้างหรือเปล่า?

ลูกบางคน ยามแม่มีชีวิตอยู่ ไม่เคยเลยที่จะรักษาน้ำใจท่าน ไม่เคยเลยที่จะเลี้ยงดูใจท่าน ทำให้ท่านสบายอกสบายใจ ท่านได้เรามาเป็นลูกรู้ไหมท่านดีใจมากขนาดไหน?

ลูกวัวลูกควายซึ่งเป็นสัตว์เดรัจฉาน มีคุณธรรมน้อย เมื่อโตขึ้นเลิกกินนมแม่ วิ่งเล่นไปมาเอาลำตัวถูไถคลอเคลียแม่มันเล่น แล้วก็เดินจากไป เราอาจสรุปว่า ลูกวัวตัวนั้นไม่ดี ไม่มีความกตัญญู สู้ลูกคนไม่ได้

แต่ร้อยทั้งร้อยของเจ้าสัตว์เดรัจฉานตัวนี้เมื่อมันโตขึ้นและทิ้งแม่ไป มันจะไม่เถียงแม่ ไม่ตวาดแม่ ไม่ตีแม่ ไม่กระทืบเท้าใส่แม่ และที่สำคัญมันจะไม่ขยี้หัวใจแม่ของมัน.....

แต่ลูกคนบางคนกลับมีแต่คอยสร้างความทุกข์ใจให้แก่ท่าน มีแม่หลายคนที่ระทมขมขื่นเสียใจเพราะลูก ต้องแอบร้องให้ประจำ ถึงแม้แม่จะได้รับความทุกข์ทรมานจากลูกเพียงใด แม่ก็ยังรัก แม้บางครั้งมีใครบอกว่า ลูกของแม่ชั่ว ลูกของแม่เลว แม่ก็จะไม่เชื่อ ลูกของฉันไม่เป็นอย่างนั้น ลูกของฉันเป็นคนดี ดีชั่วก็ลูก ผิดถูกก็เลือด จะเฉือนจะเชือดได้อย่างไรกัน

บางคนเอาแต่สนุก เชื่อเพื่อนมากกว่าเชื่อแม่ รักแฟนมากกว่ารักแม่ เคารพเมียมากกว่าเคารพแม่ เลี้ยงเพื่อนฝูงมากกว่าเลี้ยงแม่ โทรหาแฟนมากกว่าโทรหาแม่ คุยกับแฟนทั้งวันทั้งคืน แต่คุยกับแม่แป๊บเดียวตอนขอตังค์ แม่หลายคนช่างโชคร้ายนักเลี้ยงลูกมาตั้งหลายคน แต่ลูกเหล่านั้นไม่สารถที่จะเลี้ยงพ่อแม่ได้เลย ปล่อยให้แม่ไปอยู่ตามบ้านพักคนชรา สถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ทิ้งไว้ตามวัดบ้าง ปล่อยแม่ไว้กับหมากับแมว ไม่เคยดูแลไม่เคยสนใจ ขนมซักชิ้นหนึ่ง น้ำสักแก้วหนึ่ง เงินสักบาทไม่เคยเลย ที่จะให้แม่ มีแต่จะเอา ทรัพย์สิน มรดก เงินประกัน บางคนถึงขนาดแช่งให้แม่ตายเร็วๆเพื่อตัวเองจะได้มรดก


หากพรุ่งนี้ไม่มี.....แม่?

ถ้าเย็นนี้คุณแม่ตายไปคุณแม่จะได้อะไรจะได้เพียงแต่ข้าวต้มถ้วยเดียวและน้ำเปล่าครึ่งแก้ว ใส่ถาดเอาไปวางไว้ข้างโลงศพเท่านั้นหรือ แล้วลูกชายลูกหญิงผู้โง่เขลาก็จะไปเคาะข้างโลง
พร้อมกับพูดว่า “แม่จ๋าลุกขึ้นมากินข้าวเถอะ
แม่จ๋าลุกขึ้นมากินน้ำเถอะ
แม่จ๋าพระมาแล้วฟังสวดนะแม่นะ”


แต่ในขณะที่แม่มีชีวิตอยู่ เราจะได้ยินแต่คำว่า
“ลูกจ๋าลูกหิวหรือเปล่า ?
ลูกต้องการอะไรหรือเปล่า?
ลูกจ๋าลูกไม่สบายหรือเปล่า?”

จะมีลูกซักกี่คนที่จะถามแม่เช่นนั้น หรือจะรอให้แม่ตายไปซะก่อนแล้วค่อยถามอย่างนั้นหรือ เรารักสิ่งใด เราจะถนอมสิ่งนั้น รักษาสิ่งนั้น แล้วมันจะอยู่กับเรานาน ถ้าเรารักแม่ ต้องถนอมน้ำใจท่าน รักษาใจท่าน ถามท่านต้องการอะไร? ท่านอยากไปไหน? ท่านอยากทานอะไร? ท่านเจ็บตรงไหนปวดที่ใด?


ตอนที่แม่มีชีวิตอยู่ไม่เคยสนใจท่านเลย แต่พอคุณแม่ตายลงนำร่างที่ไร้วิญญาณของแม่ไปใส่โลงทองอย่างดี เอาไปไว้วัดแล้วนิมนต์พระมาสวด 7 วัน 7 คืน หวังว่าดวงวิญญาณของแม่จะไปสู่สุขคติโลกสวรรค์ นี่หรือคือสิ่งที่เรามอบให้แม่

จัดห้องนอนให้แม่ ตอนที่แม่มีชีวิตอยู่แม้ครั้งเดียว ยังดีกว่าจัดงานศพใหญ่โตเมื่อแม่สิ้นชีวิต

มอบดอกไม้สักดอกให้แม่ ตอนมีชีวิตอยู่ มีค่ากว่าพวงหรีดหลายร้อยพวงที่ประดับข้างโลงศพแม่

หาน้ำเย็นๆให้แม่ดื่ม ทำอาหารดีๆให้แม่กิน มีค่ากว่าจัดอาหารอันประณีตไปวางข้างโลงศพท่าน

โทรศัพท์หรือจดหมาย ไปถามไถ่ท่านบ้าง ดีกว่าจัดงานบุญใหญ่โตอุทิศให้ท่าน
ทำความดีมีความกตัญญูต่อแม่ ขณะมีชีวิตอยู่ ประเสริฐกว่าการสำนึกบุญคุณได้เมื่อท่านตายจากแล้ว


หากพรุ่งนี้ไม่มี......แม่

ใครจะมาดูแลเรา มาสนใจรักเรา มาเป็นห่วงเป็นใยเราเท่ากับคุณพ่อคุณแม่ ไม่มีอีกแล้วในโลกนี้ รักใดไหนเล่าเท่าแม่รัก เป็นรักที่บริสุทธิ์ใจ เป็นรักที่ยิ่งใหญ่ เป็นรักที่แท้จริง

อันรักใดไหนเล่าเท่ารักลูก จิตพันผูกสายเลือดสืบเชื่อสาย เป็นความรักบริสุทธิ์ดุจใจกาย เป็นเครื่องหมายประจักษ์รักซื่อตรง

อ่านบทความนี้จบแล้วเย็นนี้ไปกราบตักท่าน ไปดูดวงตาท่านสิว่าท่านมีความสุขหรือมีความทุกข์ ไม่ ต้องอายในการทำความดี มีอะไรช่วยท่านได้ช่วยเลยอย่านิ่งดูดาย ถ้าวันนี้ไม่แสดงความกตัญญูต่อท่าน อาจจะไม่มีโอกาส
ตอนที่แม่มีชีวิตอยู่ แล้วจะไปอ้อนวอนตอนที่แม่มีแต่ร่างซึ่งไร้วิญญาณแล้วคงไม่มีความหมาย น้ำเย็นๆสักแก้วเอาไปให้ท่านดื่ม เสื้อผ้าดีๆสักชุด เป็นลูกที่ดีสักคน สามารถต่อชีวิตแม่ได้เป็นปี ๆ อย่าเอาไปให้ท่านดื่มตอนที่ท่านไม่มีชีวิตแล้ว มันไม่มีประโยชน์อะไร

ให้ของขวัญแก่แม่นับแต่นี้ ด้วยทำดีต่อพ่อแม่ตอนแก่เฒ่า
ให้ท่านได้ประจักษ์รักของเรา ดีกว่าเฝ้าทำบุญให้เมื่อวายชนม์


อย่าให้ความสำคัญกับแม่ผู้มีพระคุณเฉพาะในวันแม่ 12 สิงหาคม เท่านั้น แต่จงทำทุกวันให้เป็นวันแม่ เหมือนกับความรักที่แม่มีให้ลูกทุกๆวันตั้งเกิดจนตาย หมั่นดูแลรักษาจิตใจของท่านให้ดี เพราะเราสามารถมีแม่ได้เพียงคนเดียวเท่านั้นในโลกนี้

อย่าปล่อยให้หญิงแก่ๆ คนหนึ่งที่รักเรามากที่สุดในโลก ต้องอยู่ในความโดดเดี่ยวเปลี่ยวเหงาที่โหดร้าย ต้องตรมใจตายเพราะลูกๆที่เธอรักแต่ไม่รัก

เธอ..................หากพรุ่งนี้ไม่มี...........แม่?

ขอบูชาและเทิดทูนพระคุณแม่ของแผ่นดิน ขออุทิศความดีจากบทความนี้ให้แด่คุณแม่ทุกๆคน


โดย: พระมหาประดิษฐ์ จิตฺตสํวโร




"ถ้าผู้ได้ริแช่งด่าว่าทำร้ายบุพการีทีมีพระคุณกับเรา อย่าหวังเลยว่าจะชีวิตนี้จะเจริญ

10
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / ภาพขุมนรก
« เมื่อ: 04 พ.ค. 2552, 02:31:51 »


สะพานนรกคนที่ก่อกรรมทำบาปและหลังจากตายแล้ว ดวงวิญญาณส่วนใหญ่จะต้องมาเดินผ่านสะพานแห่งนี้ นักการยมบาลจะตีขับให้ตกลงไปเป็นเหยื่อของฝูงงูพิษที่อยู่ในเหวลึกใต้สะพาน



ขุมนรกควักลูกตานักการยมบาลกำลังทรมานคนจำพวกที่ใช้สายตาดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น กับพวกที่ชอบดูภาพลามก



 ขุมนรกห้อยหัวลง( สังฆาฎมหานรกที่3 ) นักการยมบาลกำลังลงโทษทรมาน ดวงวิญญาณจากคนที่ดูถูกให้ร้ายผู้เป็นครูอาจารย์ กับพวกอกตัญญูเนรคุณ และพวกที่ประพฤติผิดศิลธรรมประเพณีความสัมพันธ์ภายในครอบครัว



ขุมนรกน้ำร้อนรวกมือ(โรรุวมหานรกที่4) นักการยมบาลกำลังทรมานดวงวิญญาณจำพวกนักล้วงกระเป๋า ฉกชิงวิ่งราว ลักขโมยและพวกที่หลอกลวง



ขุมนรกผึ้งพิษฝูงผึ้งพิษกำลังรุมต่อยร่างวิญญาณจากคนจำพวกที่แอบอ้างชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปหลอกลวงเอาทรัพย์สินเงินทองของผู้บริสุทธิ์ กับพวกที่เบียดบังเอาเงินของศาสนาไปใช้ส่วนตัว และพวกหมอดูที่หลอกรับจ้างทำพิธีสะเดาะเคราะห์โดยมิชอบ



ด่านยมโลกระหว่างเดือนสิงหาคมกับเดือนกันยายนของทุกปี ทางการยมโลกจะปล่อยพวกผีวิญญาณที่ต้องโทษสถานเบากับพวกที่จะพ้นโทษแล้ว ให้ออกมารับแจกทานและส่วนบุญกุศลที่โลกมนุษย์



  ขุมนรกตัดเครื่องเพศให้หนูกัดแผลนักยมบาลกำลังตัดเครื่องเพศพวกวิญญาณบาป จากคนจำพวกที่มักมากในกามารมณ์ เช่นพวกอลัชชีกับพวกที่ชอบเป็นชู้ด้วยสามี-ภรรยาผู้อื่น.



ขุมนรกอมลูกกระสุนเหล็กคนจำพวกที่ใช้กลอุบายหลอกล่อให้ผู้อื่นตกหลุมพรางของตนแล้วบังคับขู่เข็ญเอาสิ่งที่ตนต้องการ บ้างใช้เล่ห์ลิ้นพูดหว่านล้อมให้คนหลงเชื่อแล้วกระทำอนาจาร บ้างโกหกมดเท็จเพื่อหลอกลวง เอาทรัพย์สินผลประโยชน์ของผู้อื่นไป บ้างพูดให้ร้ายส่อเสียดทำลายผู้อื่นโดยมิชอบ และพวกที่ติดยาเ สพติดชนิดต่างๆ คนจำพวกนี้หลังจากตายไปแล้ว ร่างวิญญาณของพวกเขาต้องถูกทางการยมโลกลงโทษทรมานดังภาพ



ขุมนรกสาวไส้นักยมบาลกำลังใช้มีดผ่าอกสาวไส้ร่างวิญญาณของพวกคนที่ ใช้อำนาจหน้าที่ในราชการกระทำทุจริต กับพวกที่ปลูกพืชไร่ใส่ยาฆ่าแมลงยังไม่ทันหมดพิษยาก็นำออกจำหน่าย กับพวกพ่อเล้าแม่เล้าและพวกล้มแชร์ให้สุนัขกิน



 ขุมนรกน้ำมันเดือดนักการยมบาลกำลังทรมานร่างวิญญาณจากคนจำพวกที่เป็นโจรปล้น ตีชิงวิ่งราว ลักขโมย กับพวกที่ฆ่าคนตายด้วยอาวุธ ยาพิษ พวกฉ่อราษฎร์บังหลวง พวกประพฤติผิดกามผู้เป็นสายเลือด พวกอกตัญญูต่อผู้บังเกิดเกล้า และพวกที่ใช้คาถาอาคมทำลายคนด้วยไสยเวท



 ขุมนรกตัดลิ้นร้อยกรามนักบวชที่ประพฤติผิดธรรมวินัยทางปาก เช่นกล่าวหาให้ร้ายศาสนาอื่น และเทศนาที่มีความหมายทำนองสองแง่สามง่าม กับพวกที่กล่าวหาให้ร้ายผู้อื่นโดยมิชอบ ตลอดจนใช้วาจาแช่งด่าหยาบคาย หลังจากตายไปแล้ว ร่างวิญญาณจะถูกทรมานดังภาพ



ขุมนรกบดร่างวิญญาณพวกที่อกตัญญู พวกฆ่าทำลายชีวิตคนและสัตว์ กับพวกมักมากในกามารมณ์ คนจำพวกนี้เมื่อจบชีวิตลงร่างวิญญาณของพวกเขา นอกจากต้องถูกลงโทษทรมานตามผลกรรมอย่างหนักแล้ว สุดท้ายยังต้องถูกนำตัวมาบดอัดจนร่างแหลกละเอียดครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อปรับปรุงความเป็นคนเสียใหม่ ก่อนที่จะให้ไปเกิดและชดใช้หนี้กรรมยังโลกมนุษย์



ขุมนรกตัดทอนแขนขาพวกที่ทำมาหาเลี้ยงชีพไม่สุจริตและฉวยโอกาสหวังรวยทางลัด พวกลักขโมยฉกชิงวิ่งราวปล้นฆ่า และพวกที่ใช้กำลังทุบตีพ่อแม่ผู้มีพระคุณ คนจำพวกนี้หลังจากตายไปแล้ว ร่างวิญญาณของพวกเขาต้องถูกลงโทษทรมานอยู่ในขุมนรกดังในภาพ




  ขุมนรกน้ำมันกระเดนใส่ร่างพวกเขียนหนังสือกับถ่ายภาพลามก และพวกที่ปรุงยาปลุกอารมณ์ทางเพศ พวกโรงพิมพ์ตลอดจนผู้ขาย คนพวกนี้เป็นภัยต่อสังคสเป็นอย่างยิ่ง ก่อความมัวหมองทางด้านจิตใจให้แก่ชาวโลกโดยมิชอบ หลังจากตายไปแล้วร่างวิญญาณของเขา ต้องถูกลงโทษดังในภาพเป็นเวลาอันยาวนาน



ขุมนรกประหารใจเป็นขุมนรกประหารใจวิญญาณบาปจากคนจำพวก ใจอิจฉาริษยา ใจอธรรมลำเอียง ใจโหด***มอำมหิต ใจที่มีแต่เคียดแค้นพยาบาท ใจที่เห็นแก่ตัวและจงเกลียดจงชังผู้อื่น ใจที่ไม่รู้จักกตัญญูรู้คุณ ใจที่วิปริตหมกหมุ่นแต่กามารมณ์ ใจทรยศคดโกง ฯลฯ



 ขุมนรกกรอกยานักค้ายาปลอมและสิ่งเสพติด ในที่สุดก็จบลงดังภาพนี้



ขุมนรกตัดลอกถลกหนังหน้าคนที่ไม่มีความละอาย ต่อการกระทำที่ไม่ถูกต้องทำนองคลองธรรมของตน หลังจากตายไปแล้วดวงวิญญาณจะถูกนักการยมบาลในนรก ลงโทษทรมานด้วการตัดลอกถลกหนังหน้าออกดังภาพ


credit by ju_jang

ปล.จะเอาข้อไหนก็เลือกเลย 555  (น่าจะเคยดูกันแล้วมั้งคับเนี่ย)

11
1. นั่งสมาธิอย่างน้อยวันละ 15 นาที(หรือเดินจงกรมก็ได้)
อานิสงส์ --- เพื่อสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดขึ้นทั้งภพนี้และภพหน้า
เพื่อจิตใจที่สว่างผ่อนปรนจากกิเลส ปล่อยวางได้ง่าย
จิตจะรู้วิธีแก้ปัญหาชีวิตโดยอัตโนมัติ
ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองไม่มีวันอับจน
ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพกายและจิตแข็งแรง
เจ้ากรรมนายเวรและญาติมิตรที่ล่วงลับจะได้บุญกุศล

2. สวดมนต์ด้วยพระคาถาต่างๆอย่างน้อยวันละครั้งก่อนนอน
อานิสงส์ --- เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง
ชีวิตหน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า
เงินทองไหลมาเทมา แคล้วคลาดจากอุปสรรคทั้งปวง
จิตจะเป็นสมาธิได้เร็ว
แนะนำพระคาถาพาหุงมหากา , พระคาถาชินบัญชร ,พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก เป็นต้น
เมื่อสวดเสร็จต้องแผ่เมตตาทุกครั้ง

3. ถวายยารักษาโรคให้วัด , ออกเงินค่ารักษาให้พระตามโรงพยาบาลสงฆ์
อานิสงส์ --- ก่อให้เกิดสุขภาพร่มเย็นทั้งครอบครัว โรคที่ไม่หายจะทุเลา
สุขภาพกายจิตแข็งแรง อายุยืนทั้งภพนี้และภพหน้า
ถ้าป่วยก็จะไม่ขาดแคลนการรักษา

4. ทำบุญตักบาตรทุกเช้า
อานิสงส์ --- ได้ช่วยเหลือศาสนาต่อไปทั้งภพนี้และภพหน้า
ไม่ขาดแคลนอาหาร
ตายไปไม่หิวโหย อยู่ในภพที่ไม่ขาดแคลน
ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์

5. ทำหนังสือหรือสื่อต่างๆเกี่ยวกับธรรมะแจกฟรีแก่ผู้คนเป็นธรรมทาน
อานิสงส์ --- เพราะธรรมทานชนะการให้ทานทั้งปวง
ผู้ให้ธรรมจึงสว่างไปด้วยลาถยศ
สรรเสริญ ปัญญา และบุญบารมีอย่างท่วมท้น
เจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรมให้
ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองอย่างไม่คาดฝัน

6. สร้างพระถวายวัด
อานิสงส์ --- ผ่อนปรนหนี้กรรมให้บางเบา ให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง แคล้วคลาดากอุปสรรคทั้งปวง
ครอบครัวเป็นสุข
ได้เกิดมาอยู่ในร่มโพธิ์ของพุทธศาสนาตลอดไป

7. แบ่งเวลาชีวิตไปบวชชีพรามณ์หรือบวชพระอย่างน้อย 9 วันขึ้นไป
อานิสงส์ --- ได้ตอบแทนคุณพ่อแม่อย่างเต็มที่

ผ่อนปรนหนี้กรรมอุทิศผลบุญให้ญาติมิตรและเจ้ากรรมนายเวร
สร้างปัจจัยไปสู่นิพพานในภพต่อๆไป
ได้เกิดมาอยู่ในร่มโพธิ์ของพุทธศาสนา
จิตเป็นกุศล

8. บริจาคเลือดหรือร่างกาย
อานิสงส์ --- ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพแข็งแรง ช่วยต่ออายุ
ต่อไปจะมีผู้คอยช่วยเหลือไม่ให้ตกทุกข์ได้ยาก
เทพยดาปกปักรักษา
ได้เกิดมามีร่างกายที่งดงามในภพหน้า
ส่วนภพนี้ก็จะมีราศีผุดผ่อง

9. ปล่อยปลาที่ซื้อมาจากตลาดรวมทั้งปล่อยสัตว์ไถ่ชีวิตสัตว์ต่างๆ
อานิสงส์ --- ช่วยต่ออยุ ขจัดอุปสรรคในชีวิต
ชดใช้หนี้กรรมให้เจ้ากรรมนายเวรที่เคยกินเข้าไป
ให้ทำมาค้าขึ้น
หน้าที่การงานคล่องตัวไม่ติดขัด
ชีวิตที่ผิดหวังจะค่อยๆฟื้นคืนสภาพที่สดใส
เป็นอิสระ

10. ให้ทุนการศึกษา , บริจาคหนังสือหรือสื่อการเรียนต่างๆ , อาสาสอนหนังสือ
อานิสงส์ --- ทำให้มีสติปัญญาดี ในภพต่อๆไปจะฉลาดเฉลียวมีปัญญา
ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนอย่างรอบรู้
สติปัญญาสมบูรณ์พร้อม

11. ให้เงินขอทาน , ให้เงินคนที่เดือดร้อน(ไม่ใช่การให้ยืม)
อานิสงส์ --- ทำให้เกิดลาภไม่ขาดสายทั้งภพนี้และภพหน้า ไม่ตกทุกข์ได้ยาก
เกิดมาชาติหน้าจะร่ำรวยและไม่มีหนี้สิน
ความยากจนในชาตินี้จะทุเลาลง
จะได้เงินทองกลับมาอย่างไม่คาดฝัน

12. รักษาศีล 5 หรือศีล 8
อานิสงส์ --- ไม่ต้องไปเกิดเป็นเปรตหรือสัตว์นรก
ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐครบบริบูรณ์
ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
กรรมเวรจะไม่ถ่าโถม ภัยันตรายไม่ย่างกราย
เทวดานางฟ้าปกปักรักษา

อานิสงส์ 10 ข้อของการไม่กินเนื้อสัตว์

1. เป็นที่รักของบรรดาเทพ พรหม ตลอดจนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย
2. จิตอันเป็นมหาเมตตาย่อมบังเกิดขึ้น
3. สามารถตัดขาดความอาฆาต ดับอารมณ์เหี้ยมโหดเครียดแค้นในใจลงได้
4. ปราศจากโรคภัยร้ายแรงมาเบียดเบียนร่างกาย
5. มีอายุมั่นขวัญยืน
6. ได้รับการปกป้องคุ้มครองจากเทพทั้งปวง
7. ยามหลับนิมิตเห็นแต่สิ่งที่ดีงามเป็นสิริมงคล
8. ย่อมระงับการจองเวร สลายความอาฆาตแค้นซึ่งกันและกัน
9. สามารถดำรงอยู่ในกระแสพระนิพพาน ไม่พลัดหลงตกลงสูอบายภูมิ
10. ทันทีที่ละสังขารจากโลกนี้ จิตจะมุ่งสู่สุคติภพ

อานิสงส์การจัดสร้างพระพุทธรูปหรือสิ่งพิมพ์อันเกี่ยวกับพระธรรมคำสอนเป็นกุศลดังนี้

1. อกุศลกรรมในอดีตชาติแต่ปางก่อน จะเปลี่ยนจากหนักเป็นเบา จากเบาเป็นสูญ
2. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง สรรพภยันตรายสลาย ปวงภัยไม่มีคนคิดร้ายไม่สำเร็จ
3. เจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติแต่ปางก่อน เมื่อได้รับส่วนบุญไปแล้วก็จะเลิกจองเวรจองกรรม
4. เหล่ายักษ์ผีรากษส งูพิษเสือร้าย ไม่อาจเป็นภัยอยู่ในที่ใดก็แคล้วคลาดจากภัย
5. จิตใจสงบ ราศีผ่องใส สุขภาพแข็งแรง กิจการงานเป็นมงคล รุ่งเรืองก้าวหน้าผู้คนนับถือ
6. มั่นคงในคุณธรรม ความอุดมสมบูรณ์ปรากฏ ( เกินความคาดฝัน) ครอบครัวสุขสันต์วาสนายั่งยืน
7. คำกล่าวเป็นสัจจ์ ฟ้าดินปราณี ทวยเทพยินดี มิตรสหายปรีดา หนี้สินจะหมดไป
8. คนโง่สิ้นเขลา คนเจ็บหายได้ คนป่วยหายดี ความทุกข์หายเข็ญ สตรีจะได้เกิดเป็นชายเพื่อบวช
9. พ้นจากมวลอกุศล เกิดใหม่บุญเกื้อหนุน มีปัญญาล้ำเลิศ บุญกุศลเรืองรอง
10. สิ่งที่สร้างจะบังเกิดเป็นกุศลจิตแก่ทุกคนที่ได้พบเห็นเป็นเนื้อนาบุญอย่างเอนกทุกชาติของ

ผู้สร้างที่เกิดจะได้ฟังธรรมจากพระอริยเจ้าปัญญาในธรรมแก่กล้าสามารถได้อภิญญาหก สำเร็จโพธิญาณ


อานิสงส์การบวชพระบวชชีพรามณ์
( บวชชั่วราวเพื่อสร้างบุญ , อุทิศให้พ่อแม่เจ้ากรรมนายเวร )
1. หน้าที่การงานจะเจริญรุ่งเรือง ได้ลาภ ยศ สรรเสริญตามปรารถนา
2. เจ้ากรรมนายเวรจะอโหสิกรรม หนี้กรรมในอดีตจะคลี่คลาย
3. สุขภาพแข็งแรง สติปัญญาแจ่มใส ปัญหาชีวิตคลี่คลาย
4. เป็นปัจจัยสู่พระนิพพานในภพต่อๆไป
5. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง โพยภัยอันตรายผ่อนหนักเป็นเบา
6. จิตใจสงบ ปล่อยวางได้ง่าย มองเห็นสัจธรรมแห่งชีวิต
7. เป็นที่รักที่เมตตามหานิยมของมวลมนุษย์มวลสัตว์และเหล่าเทวดา
8. ทำมาค้าขึ้น ไม่อับจน การเงินไม่ขาดสายไม่ขาดมือ
9. โรคภัยของตนเอง ของพ่อแม่ และของคนใกล้ชิดจะเบาบางและรักษาหาย
10. ตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ได้เต็มที่สำหรับผู้ที่บวชไม่ได้เพราะติดภาระกิจต่างๆ

ก็สามารถได้รับอานิสงส์เหล่านี้ได้ด้วยการสร้างคนให้ได้บวชสนับสนุนส่งเสริมอาสาการ
ให้คนได้บวช

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างบุญที่ยกขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นถึงอานิสงส์ที่ท่านพึงจะได้รับจงเรงทำบุญเสียแต่วันนี้
เพราะเมื่อท่านล่วงลับท่านไม่สามารถสร้างบุญได้อีกจนกว่าจะได้เกิด หากท่านไม่มีบุญมาหนุนนำแรงกรรมอาจดึงให้ท่านไปสู่ภพเดรัจฉาน ภพเปรต ภพสัตว์นรกที่ไม่อาจสร้างบุญสร้างกุศลได้ต่อให้ญาติโยมทำบุญอุทิศให้ก็อาจไม่ได้รับบุญ

ดังนั้นท่านจงพึ่งตนเองด้วยการสร้างสมบุญบารมีซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ท่านจะนำติดตัวไปได้ทุกภพทุกชาติเสียแต่วันนี้ด้วยเทอญ
*** ส่งต่อก็ได้บุญครับ การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง

ที่มา  http://www.seal2thai.org/sara/sara126.htm


ถ้าท่านได้เคยอ่านมาแล้วหรือซ้ำก็ขออภัยด้วยคับ

หน้า: [1]