กระดานสนทนาวัดบางพระ

หมวด ธรรมะ และ นอกเหตุ เหนือผล => ธรรมะ => ข้อความที่เริ่มโดย: ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่ 28 เม.ย. 2554, 10:06:01

หัวข้อ: ระดับของภิกษุเรียกตามพรรษา
เริ่มหัวข้อโดย: ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่ 28 เม.ย. 2554, 10:06:01
   ระดับของภิกษุเรียกตามพรรษา

ภิกษุผู้บวชใหม่ พรรษาตั้งแต่ ๑ - ๕ เรียกว่า "พระนวกะ"

ภิกษุที่มีอายุพรรษา ระหว่าง ๕ - ๑๐ พรรษา เรียกว่า "พระมัชฌิมะ"

ภิกษุที่มีอายุพรรษาเกิน ๑๐ พรรษาขึ้นไปแต่ยังไม่ถึง ๒๐ พรรษา เรียกว่า "พระเถระ"

ภิกษุที่มีอายุพรรษาตั้งแต่ ๒๐ พรรษาขึ้นไป เรียกว่า "พระมหาเถระ"

   เสริมเพิ่มเติมวิธีนับพรรษา

๑ พรรษา เท่ากับ ๓ เดือน (ในที่นี้จะนับจากวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ คือช่วงระยะเวลาเข้าพรรษาถึงออกพรรษา)

เพื่อง่ายแก่การเข้าใจ "ผ่านช่วงการเข้าพรรษามาแล้วกี่ครั้ง ก็จะเท่ากับอายุพรรษานั่นเอง"

เช่น บวชมาแล้ว ๑๕ พรรษา ก็จะเท่ากับ ๑๕ ปีในทางโลก ในทางธรรมคือผ่านการเข้าพรรษามาแล้วทั้งหมด ๑๕ พรรษา

หรือ หากบวชได้ครบ ๓ เดือน แต่ไม่ได้บวชอยู่ในช่วงวันเข้าพรรษาถึงวันออกพรรษา ก็ยังนับพรรษาที่ ๑ ไม่ได้นั่นเอง

*หมายเหตุ - การนับพรรษาจะเป็นการนับแบบต่อเนื่องไปตามลำดับ แต่หากลาสิกขา(สึก)ออกมาแล้วกลับไปบวชใหม่ ก็ต้องเริ่มนับพรรษาที่ ๑ ใหม่ด้วยเช่นกัน

   ความหมายและระเบียบของพระนวกะ

(ก)นวกะ แปลว่า ผู้ใหม่, ผู้บวชใหม่, พระใหม่ เรียกว่า พระนวกะ

นวกะ พระวินัยใช้หมายถึงภิกษุที่มีพรรษายังไม่ครบ ๕

นวกะ เป็นพระที่นับว่ายังเป็นผู้ใหม่คือยังมีพรรษาไม่ครบ ๕ จึงยังต้องอยู่ในความปกครองดูแลของพระอุปัชฌาย์ซึ่งพระวินัยเรียกว่ายังต้องถือนิสสัยอยู่

พระนวกะ มีระเบียบว่าจะต้องศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยเพื่อรักษาตนทุกรูป สำหรับพระนวกะผู้อยู่จำพรรษาแรก เจ้าอาวาสและเจ้าคณะผู้ปกครองจะจัดการเรียนการสอนให้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ ก่อนออกพรรษาจัดให้มีการสอบด้วย เรียกว่า สอบชั้นนวกภูมิ หรือ สอบนวกภูมิ.

**********************************

*(ก)จากสารานุกรมเสรี วิกิพีเดีย อ้างอิงพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๕๔๘.

ลงไว้เพื่อการศึกษานะครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย.

:114: :114: :114: :114: :114: :114:

หัวข้อ: ตอบ: ระดับของภิกษุเรียกตามพรรษา
เริ่มหัวข้อโดย: saken6009 ที่ 28 เม.ย. 2554, 10:23:03
กว่าจะไปถึง พระมหาเถระ  นานมากๆ 41; 41;
                                                                                                                                                           
ขอขอบคุณท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่นำบทความดีมากๆมาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ :054:
                                                                                                               
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน ขอบคุณครับผม) :054: :054:
หัวข้อ: ตอบ: ระดับของภิกษุเรียกตามพรรษา
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงกลด ที่ 28 เม.ย. 2554, 10:50:57
ขอขอบคุณสำหรับความรู้
ขออนุญาตท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ขอแจมด้วย
============

เกจิอาจารย์ แปลว่า อาจารย์บางท่าน อาจารย์บางพวก
หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระสาวกได้รวบรวมคำสอนของพระองค์ไว้เป็นหมวดหมู่ เรียกว่าพระไตรปิฎก ต่อมามีภิกษุผู้เป็นนักปราชญ์ได้แต่งหนังสืออธิบายข้อความที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น เรียกภิกษุผู้แต่งหนังสือนั้นว่า พระอรรถกถาจารย์ บ้าง พระฎีกาจารย์ บ้าง และในหนังสือที่แต่งนั้นมักจะมีอ้างถึงความคิดเห็นของอาจารย์อื่นๆ ที่เห็นด้วยหรือเห็นแย้งกับผู้แต่ง เรียกอาจารย์ที่ถูกอ้างถึงนั้นว่า เกจิอาจารย์
เกจิอาจารย์ ในปัจจุบันถูกใช้ในความหมายที่ผิดไปจากเดิม คือใช้เรียกพระที่มีอาคมขลังทางปลุกเสกหรือพระที่ทรงวิทยาคุณทางกรรมฐาน ว่า พระเกจิอาจารย์ หรือเรียกสั้นๆ ว่า พระเกจิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี