ผู้เขียน หัวข้อ: ตำราเลขยันต์ และคาถาอาคมเวทย์มนต์  (อ่าน 17146 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

porvfc

  • บุคคลทั่วไป
ตำราเลขยันต์ และคาถาอาคมเวทย์มนต์
 




ในปี 2546 มีชายหนุ่มผู้หนึ่งได้มีโอกาสสำรวจข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรม ตำบลห้วยสำราญ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ และได้พบกับปู่อินทร์ หงส์โสภา ผู้เฒ่าผู้แกของหมู่บ้านที่มีความรู้เรื่องอักษรขอม มีความสามารถมากมาย และมีตำราที่ปู่อินทร์เขียนไว้ ทั้งตำรายา ตำราเลขยันต์ และอื่นๆ ซึ่งเขียนด้วยอักษรขอม และอักษรไทยปัจจุบัน
ภาษาขอม คือภาษาโบราณที่ใช้สื่อสารกันในดินแดนสุวรรณภูมิ ปัจจุบันเหลือหลักฐานให้เห็นเพียงภาษาเขียน เรียกกันว่า อักษรขอม แบ่งออก 3 ประเภท
1. อักษรขอมบาลี
2. อักษรขอมเขมร
3. อักษรขอมไทย

การศึกษาบาลีในประเทศไทยในสมัยโบราณ กุลบุตรเริ่มต้นด้วยการเรียนอักษรขอมก่อน เพราะภาษาบาลีที่จารใบลานใช้อักษรขอม ผู้เรียนต้องเรียนคัมภีร์มูลกัจจายน์ท่องสูตรมูล ซึ่งมีทั้งภาคมคธและพากย์ไทยล้วนใช้อักษรขอม

อักษรขอมในพระพุทธศาสนาปรากฏจารึกมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ถือว่าเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ ควรแก่การรับรองพระพุทธวจนะ จึงได้รับความนิยมในการใช้เขียนเทศน์ วรรณคดีไทย เช่น มหาชาติคำหลวง , มหาชาติ 13 กัณฑ์ , ปฐมสมโพธิกถา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ตำราไสยศาสตร์ เลขยันตร์ และคาถาอาคมเวทย์มนต์ ต่าง ๆ ตลอดจน ตำรามหาพิสัยสงคราม ก็ล้วนแต่ใช้อักษรขอม ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแนวคิดที่ว่าเดิมไทยใช้อักษร 2 แบบ คืออักษรไทยที่ชาวบ้านใช้ และอักษรธรรมที่ใช้ในวัด คือ อักษรขอม

เนื้อหาบางส่วนนี้ท่านสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ จากพิพิธภัณฑ์ใบลานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 


ที่มาข้อมูล :  http://samarn.multiply.com/photos/album/108/108 :054:

porvfc

  • บุคคลทั่วไป
ตอบ: ตำราเลขยันต์ และคาถาอาคมเวทย์มนต์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 06 ก.ย. 2552, 11:40:19 »

เพิ่มเติม

อักษรขอมพัฒนามาจากอักษรปัลลวะ และอักษรยุคหลังจากนั้นในอินเดียใต้ ใช้ในอาณาจักรต่างๆสองฝั่งแม่น้ำโขงตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนคร ต่อมาจึงกลายเป็นอักษรท้องถิ่นในสมัยพระนคร และเป็นต้นแบบของอักษรไทยและอักษรเขมรในปัจจุบัน

เอกลักษณ์ของอักษรขอมคือเปลี่ยนบ่าอักษรของอักษรปัลลวะเป็นศกหรือหนามเตย อักษรนี้พัฒนาไป 2 ทิศทาง คือ เป็นอักษรขอมในประเทศไทย (ใช้เขียนภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาเขมร) และอักษรขอมในประเทศกัมพูชา (ใช้เขียนภาษาเขมร ภาษาบาลี)

ประวัติภาษาขอม
ภาษาขอม ได้แก่ ภาษาโบราณที่ใช้สื่อสารกันในเขตภูมิภาคสุวรรณภูมิ ระหว่างกลุ่มชนชาวเขมร กับชาวไทย และกลุ่มชนอื่น ๆ ในอาณาบริเวณเดียวกัน ปัจจุบันคงเหลือหลักฐานให้เห็นเพียงภาษาเขียน ซึ่งเรียกกันว่า อักษรขอม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.อักษรขอมบาลี
2.อักษรขอมเขมร
3.อักษรขอมไทย


อักษรขอมบาลี  ประวัติอักษรขอมกับภาษาบาลี          
การศึกษาบาลีในประเทศไทยตั้งแต่สมัยโบราณ พวกกุลบุตรต้องเริ่มต้นด้วยการเรียนอักษรขอมก่อน เพราะภาษาบาลีที่จารไว้ด้วยอักษรขอมผู้เริ่มเรียนต้องเรียนคัมภีร์มูลกัจจายน์ท่องสูตรมูล ซึ่งมีทั้งภาคมคธและพากย์ไทย ล้วนเป็นอักษรขอมทั้งนั้น ความเป็นมาของอักษรขอม ที่ใช้ในทางพระพุทธศาสนาเป็น ประการไรนั้น เราจะศึกษาได้จากศิลาจารึกในสมัยสุโขทัย ซึ่งได้จารึกไว้เป็นอักษรขอมทั้งภาษาไทยและภาษาบาลีอักษรขอมที่จารลงในใบลานในสมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ ถือกันว่าเป็นอักษรที่ศักดิ์สิทธิ์ ควรแก่การรับรองพระพุทธวจนะจึงเกิดความนิยมใช้อักษรขอมกันขึ้น แม้ในการเขียนเทศน์ก็เขียนเป็นอักษรขอม วรรณคดีไทยหลายเรื่องเช่น มหาชาติคำหลวง มหาชาติ 13 กัณฑ์ และปฐมสมโพธิกถา เป็นต้น ก็ล้วนมีต้นฉบับเป็นอักษรขอมทั้งนั้น และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ตำราไสยศาสตร์ และเลขยันตร์ และคาถาอาคมเวทย์มนต์ ต่าง ๆ ที่คนไทยถือขลังมาแต่โบราณกาล เช่น ตำรามหาพิสัยสงคราม เป็นต้น ก็เขียนอักษรขอม และเขียน คัดลอกสั่งสอนสืบต่อกันมาเป็นอักษรขอม จึงทำให้ชวนคิดไปว่า แต่เดิมมาไทยคงจะมีอักษรไทยใช้สองแบบคือ แบบอักษรไทย ที่ชาวบ้านใช้อย่างหนึ่งและแบบ อักษรธรรมที่ใช้กันในวัดสำหรับการสอน การเรียน การบันทึกพระธรรม คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างหนึ่งกล่าวให้ชัดก็คือ อักษรขอม ก็ได้แก่อักษรธรรม ซึ่งบันทึกพระพุทธวจนะ ได้แก่ พระไตรปิฎก อัฏฐกถา ฎีกา สัททาวิเศษ และปกรณ์ต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนานั้นเองหาได้เป็นอักษรขอมของชนชาติขอม ในอดีตไม่ และที่กล่าวกันมาว่า เมื่อชนชาติไทยมีอนุภาพเหนือกว่า ได้ครอบครองดินแดนนี้เป็นปึกแผ่นแล้วได้รับเอาวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาไว้ก็ได้สนใจ ศึกษาอักษรขอมด้วย ใจศรัทธา เพื่อมุ่งความรู้ความเข้าใจในพระพุทธวจนะเป็นประการสำคัญ หาได้มีการเปลี่ยนแปลงตัวอักษรไปเป็นอย่างอื่นแต่ประการใดไม่ ข้อหลังนี้ก็จะหมดสงสัยไป โดยเหตุผลที่ว่า หนังสือขอมก็คือ หนังสือไทยอีกแบบหนึ่งของไทยนั่นเอง

            ในบางสมัย ประเทศไทยต้องต่อสู้ข้าศึกศัตรูป้องกันชาติบ้านเมืองอย่างเต็มที่ แต่เมื่อเสร็จสิ้นสงครามในระยะใด พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงคิดเห็นว่าการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ทุกยุคทุกสมัยมาดังปรากฎชฏในพงศาวดารว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงเทพพระมหานครขึ้นเป็นราชธานี ก็โปรดเกล้า ฯ ให้ชำระพระไตรปิฎกให้ถูกต้อง ทรงมีพระราชศรัทธาพระราชทานทรัพย์เป็นอันมากให้แสวงหาพระไตรปิฎก ลาวรามัญมาชำระแปลงออกเป็นหนังสือขอมแบบไทย สร้างขึ้นไว้ในตู้ ณ หอพระมณเฑียรธรรมและถวายพระสงฆ์เล่าเรียนทุกอารามและพระราชทานอุปถัมภ์ในการสังคายนาพระไตรปิฎกอัฏฐกถา ฎีกา อนุฎีกา สัททาวิเสส ณ วัดมหาธาตุในพุทธศักราช 2331 เป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ การสังคายนาในครั้งนั้นได้แบ่งออกเป็น 4 กอง คือ กองพระวินัย กองพระสูตร กองพระอภิธรรม (กองพระปรมัตถ์) กองสัททาวิเลส ใช้เวลาชำระ 5 เดือน จึงสำเร็จ พระไตรปิฎกที่สังคายนา ในครั้งนั้นเรียกว่า พระไตรปิฎก ฉบับครูเดิม

           การศึกษาปริยัติธรรมในชั้นต้น ผู้ศึกษาประกอบด้วยศรัทธาที่จะหาความรู้ ในพุทธศาสนาเป็นที่ตั้งมิได้มุ่งการสอบไล่ได้เป็นสำคัญ เมื่อได้จัดให้มีการสอบ ให้โอกาสนักเรียนได้แสดงความรู้ความสามารถ ในเบื้องต้น ก็ใช้วิธีสอบด้วยปาก อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ซึ่งเรียกว่าสอบในสนามหลวงได้มีการตั้งกรรมการสอบ เป็นคณะ มีกองกลาง กองเหนือ และกองใต้ สถานที่สอบคือวัดพระศรีรัตนศาสดารามบ้าง วัดสุทัศน์บ้าง ตามแต่จะได้กำหนดขึ้นการสอบด้วยวิธีแปลด้วยปากนี้ ได้ใช้หนังสือขอมใบลาน เป็นข้อสอบแปลต่อหน้าคณะกรรมการผู้เป็นพระเถรานุเถระบางคราวพระเจ้าแผ่นดินก็เสด็จไปฟังการสอบไล่พระภิกษุสามเณร เป็นการสอบ หน้าพระที่นั่ง เมื่อนักเรียนเข้าแปล กรรมการเรียกเข้าแปล ทำการทักบ้าง กักบ้าง เป็นการทดสอบท่วงทีวาจา พิจารณาปฏิภาณ ไหวพริบ ไปในตัว การสอบแบบนี้ ไม่เกี่ยวกับอักษรไทยเลย ฉะนั้น พระภิกษุสามเณรผู้ศึกษาพระปริยัติธรรมจึงชำนาญในอักษรขอมแบบของไทยมากกว่าอักษรไทยปัจจุบัน

           ความที่อักษรขอมแบบไทยมีความเกี่ยวข้องกับวงการพุทธศาสนาในเมืองไทยเป็นอันมากดังกล่าวนี้ การศึกษาอักษรขอมแบบของไทยจึงมิใช่จะแพร่หลายอยู่แต่ในวัดเท่านั้น ในสมัยก่อนเจ้านายในพระบรมราชจักรีวงศ์ก็รอบรู้อักษรขอมแบบของไทยโดยมาก และมิใช่เจ้านายฝ่ายหน้าเท่านั้น แม้เจ้านายฝ่ายในก็สันทัดในอักษรขอมแบบของไทยเป็นอย่างดีเลิศด้วย ในการพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย เป็นอักษรขอมแบบของไทยภาษามคธโดยถือเป็นพระราชประเพณี มาจนถึงรัชกาล ที่ 7 และในสมัยนั้น การอนุญาตให้พระราทานวิสุงคามสีมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยเป็นอักษรขอมแบบไทย ด้วยทรงเห็นว่า เป็นกิจการพระพุทธศาสนา ก็ควรใช้ อักษรขอมเพราะเป็นอักษรธรรม การใช้อักษรไทยพิมพ์คัมภีร์พระพุทธศาสนาเพิ่งจะมีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นี้เอง เป็นการปฏิรูปทางพระพุทธศาสนาครั้งยิ่งใหญ่ปรากฏในพระราชปรารภตอนหนึ่งว่า      
      
           "อนึ่ง ในสยามรัฐมณฑลนี้ แต่เดิมได้เคยใช้อักษรขอมเป็นที่รองรับเนื้อความในพระพุทธศาสนา เมื่อจะกล่าวโดยที่แท้จริงแล้ว ตัวอักษรไม่เป็นประมาณ อักษรใด ๆ ก็ควรใช้ได้ทั้งสิ้นประเทศอื่นที่นับถือพระพุทธศาสนา คือ ลังกา พม่า ลาว เขมร เป็นต้น ก็สร้างพระไตรปิฎก ด้วยอักษรตามประเทศของตนทุก ๆ ประเทศ" ได้ทรงมีพระราชศรัทธาพิมพ์พระไตรปิฎกเล่มสมุดไทยขึ้นเป็นครั้งแรก และยังได้ชักชวนพระบรมวงศานุวงศ์ให้เจริญพระราชศรัทธาพิมพ์อัฏฐากถา เป็นอักษรไทย หลักสูตรแบบเรียน พระปริยัติธรรมแผนกบาลี ก็พิมพ์เป็นอักษรไทยแพร่หลายยิ่ง ต่อมาสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิญาณวโรรส ทรงเปลี่ยนวิธีการสอบด้วยปากเป็นการสอบด้วยวิธีการเขียนโดยหนังสือไทย ซึ่งเป็นหลักสูตรมาจนทุกวันนี้ อักษรขอมแบบของไทยจึงดูหมดความจำเป็นไป แต่ความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะพระคัมภีร์พระพุทธศานาชั้น อัฏฐกถา ก็ยังพิมพ์เป็นอักษรไทยไม่หมด ชั้นฎีกา อนุฎีกา สัททาวิเสส และปกรณ์ต่าง ๆ ก็ยังอยู่ในรูปเป็นอักษรขอมแบบของไทยทั้งนั้น ซึ่งยังมีปริมาณมากกว่าที่ได้พิมพ์เป็นอักษรไทย ปัจจุบันแล้วหลายเท่านัก ในชั้นเดิม พระภิกษุสามเณรยังพอรู้อักษรขอมแบบไทยอยู่ แต่ชั้นหลังต่อมา หาผู้รู้อักษรขอมแบบของไทย ได้ยาก ดังนั้น ด้วยเกรงนักเรียนจะหนังสือขอมแบบของไทยไม่ออก ทางสนามหลวงแผนกบาลี จึงได้จัดวิชาอักษรขอมแบบของไทยเป็นหลักสูตรการสอบเปรียญ 4 ประโยค ตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2461 เป็นต้นมา และการสอบเปรียญ 6 ประโยค ถึง 9 ประโยค ก็ให้มีการเขียน อักษรขอมแบบของไทย หวัดในวิชาแปลภาษาไทย เป็นภาษามคธ (บาลี) เพิ่งจะยกเลิกเสียสิ้นเชิง เมื่อปีพุทธศักราช 2490 โดยประกาศขององค์การศึกษา เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2488 ตอนหนึ่งว่า    
        
           "ด้วยการสอบบาลีประโยค ป.ธ. 4 มีการสอบอ่านและเขียนอักษรขอมเป็นบุรพาภาคอยู่ทั้งนี้ ความประสงค์ก็เพื่อให้อ่านและเขียนอักษรขอมได้เป็นประโยชน์ในการที่จะค้นอัฏฐกถาและฎีกาที่ยังถ่ายทอดเป็นอักษรไทยไม่หมด แต่การสอบอย่างนี้ เป็นเพียงการสอบเขีนหนังสือไม่เป็นข้อสำคัญนัก ถ้านักเรียนมีความสนใจอยู่ แม้ไม่สอบก็คงอ่านเขียนได้ ฉะนั้น จึงเห็นสมควรให้ยกเลิกเสีย" (ประกาศฉบับนี้นับว่าทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงกาล เป็นการทำลายมรดกของไทยไปชิ้นหนึ่ง)

            เมื่อได้ยกเลิกหลักสูตรอักษรขอมแบบของไทยเสียแล้ว เวลาล่วงมาได้ 20 ปี เศษ นักเรียนบาลีในปัจจุบันก็หมดความจำเป็นในอันที่จะสนใจต่อคัมภีร์อักษรขอมแบบของไทย ผู้ที่สนใจในเวลานี้ก็คงมีอยู่บ้าง แต่มักเป็นชาวต่างประเทศที่ได้ศึกษาภาษาบาลีมา มีความประสงค์จะค้นคว้าเทียบเคียงกับปกรณ์ที่มีอยู่ในเมืองไทย ขอให้กรมศิลปากรถ่ายไมโครฟิล์มส่งไปให้ เป็นที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งว่า ตำรับตำราพระพุทธศาสนาของเมืองไทยเราเคยมีบริบูรณ์เสมอกับนานาประเทศเพื่อนบ้านที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกัน เพราะบรรพบุรุษของเราได้อุตส่าห์สั่งสมเป็นมรดกไว้ให้แต่โบราณกาล แต่เวลานี้ เพราะเราขาดการดำเนินงานติดต่อกัน เมื่อเทียบเคียงกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ซึ่งขวนขวายทำฉัฎฐสังคีติได้สำเร็จอย่างน่าอนุโมทนาแล้ว เรากลับมีคัมภีร์ชั้น 1 อัฏฐกถาของเรายังถ่ายเป็นอักษรไทยไม่หมด คัมภีร์ฎีกาซึ่งเรามีเป็นร้อย ๆ คัมภีร์เราถ่ายเป็นอักษรไทยเพียง 3 คัมภีร์เท่านั้น อนุฎีกาก็เช่นเดียวกันก็มีเป็นหลายร้อยคัมภีร์ล้วนเป็นอักษรของอักษรไทยแท้ ๆ ยังไม่ได้พิมพ์เลย สัททาวิเลสซึ่งเป็นหนังสือ ประเภทไวยากรณ์ก็มีเป็นร้อย ๆ คัมภีร์ เราถ่ายเป็นอักษรไทยได้เพียง 2 คัมภีร์ เท่านั้น และปกรณ์พิเศษอื่น ๆ อีกก็เช่นกัน จึงนับว่าเรายังขาดอุปกรณ์การศึกษาภาษาบาลีชั้นสูงเท่าที่ควร  

อักษรขอมเขมร  ประวัติอักษรขอมไทยกับขอมกัมพูชา

           หนังสือบางเล่มมักจะใช้คำว่า อักษรขอมแบบของไทย เพราะได้พบหลักฐานชื้นหนึ่งที่ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้กล่าวถึงไว้ ในหนังสือ "ตำนานอักษรไทยของท่าน" ซึ่งทำให้วิเคราะห์ได้ว่า อักษรขอมนั้น แท้จริงก็คืออักษรแขก หรืออักษรอินเดียใต้ เมื่อชาวอินเดียใต้เป็นผู้นำพุทธศาสนามาเผยแพร่นั้นก็ได้นำหนังสือของตน หรือหนังสือ (อักษร) ปัลลวะของอินเดียใต้มาเผยแพร่ด้วย ดังนั้น หนังสือเหล่านี้จึงปรากฎว่ามีทั่วไปทั้งในกัมพูชาในชวา และสุมาตรารวมทั้งในสยามประเทศด้วย (รวม พ.ศ. 1100 - 1600) เมื่อ ประเทศต่าง ๆ เหล่านี้รับวัฒนธรรมตลอดกระทั่งศาสนาของชาติอินเดียมาปรับปรุงใช้ในประเทศของตน ประเทศเหล่านี้ซึ่งยังไม่มีหนังสือของตนใช้มาก่อน จึงยินดีรับหนังสืออินเดียใต้มาใช้เป็นหนังสือของชาติตนด้วย แต่ครั้นกาลล่วงมานานความนิยมในการเขียนการใช้และความคล่องหรือคุ้นเคยในการเขียนอักษรอินเดียของแต่ละท้องถิ่นย่อมแตกต่างกันไปเป็นธรรมดา และก็ได้เกิดเป็นประจักษ์พยานให้เห็นว่า อักษรขอมที่กัมพูชาใช้เขียนนั้น แตกต่างกับอักษรขอมที่สยามเขียนส่วนจะต่างกันอย่างไรนั้นผู้ศึกษาจงใช้ข้อสังเกตอ่านเอาจากข้อเขียนของศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ในหนังสือตำนานอักษรไทยของท่านตอนหนึ่งว่า

        "ในสยามประเทศนี้พวกสัตบุรุษเคยได้ใช้ตัวอักษรขอมชนิดนี้ (หมายเหตุท่านคงหมายถึงชนิดที่ไทยใช้) ตั้งแต่ครั้งเมื่อสุโขทัยเป็นราชธานีมีตัวอย่างในศิราจารึกวัดป่ามะม่วงภาษามคธเป็นคาถาซึ่งมหาสามีสังฆราช (สังฆราชของประเทศลังกา ซึ่งเดินทางเข้ามาประเทศไทยเพื่อเผยแพร่ลัทธิลังกาวงศ์หรือลัทธิเถรวาท) ได้แต่งสรรเสริญพระเกียรติยศของพระยาลือไทย (พระธรรมราชาที่ 1) เวลาเสด็จออกทรงผนวช เมื่อ พ.ศ 1905 (ประชุมศิลาจารึกหลักที่ 4) ตัวอักษรในศิลาจารึกนั้น หาเป็นชนิดเดียวกันกับตัวอักษรขอมในศิลาจารึกภาษามคธของพระมหาสามีสังฆราชไม่ ตัวอักษรในศิลาจารึกภาษาเขมรเหมือนกับตัวอักษรจารึกกรุงกัมพูชา เมื่อราว พ.ศ. 1800 ยังไม่ได้เปลี่ยนรูปสัณฐาน เป็นอักษรขอมที่เขียนหนังสือธรรม เหตุที่ในแผ่นดินพระยาลือไทธรรมราชา มีอักษรขอมใช้ทั่วไปชนิดนี้ อาจเป็นเช่นนี้คือ ศิลาจารึกภาษาเขมรเขียนตามแบบเก่าของเขาแต่ศิลาจารึกภาษามคธนั้นเป็นฝีมือคนไทยเขียน หลักฐานชิ้นนี้ น่าจะสันนิษฐานว่า ชนชาติขอมโบราณคงศึกษาลอกแบบอักษรจากอินเดียมาใช้ของตนแบบหนึ่ง ชาติไทยโบราณก็ได้ศึกษาลอกแบบอักษรจากอินเดียมาใช้ของตนแบบหนึ่งเช่นกัน เรียกว่า ต่างคนต่างลอกมาใช้ในภาษาของตน ต่างคนต่างปรับปรุง และลอกคัดตามความเหมาะสมและรสนิยมของชาติตน ยิ่งเวลาล่วงเลยมานานเข้าก็ยิ่งแตกต่างกันมากขึ้น อย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าอักษรนั้น ดั้งเดิมจะมีที่มาจากแหล่งเดียวกันก็คือ อินเดียก็ตาม ฉะนั้น จึงไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าไทยเอาอย่างจากขอมหรือขอมเอาอย่างจากไทย เพราะหลักฐาน ก็แจ้งจัดอยู่ในศิราจารึกแล้วว่าต่างกันอย่างไร หาใช่ต่างกันเพราะลายมือ ชาตินั้น ชาตินี้เขียนไม่ เช่นเดียวกับอักษรโรมัน ที่ชาติโรมันนำไปเผยแพร่ในทวีปยุโรปชาติต่าง ๆ มีเช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ฯลฯ ก็ล้วนแต่ใช้อักษรโรมัน เขียน ภาษาของตนทั้งสิ้นไม่เห็นมีใครเคยอ้างว่า อังกฤษเอาอย่างฝรั่งเศส หรือฝรั่งเศสเอาอย่างอักษรเยอรมัน

อักษรขอมไทย          
สรุปตามเอกสารโบราณต่าง ๆ ที่ได้พบในประเทศไทยแล้ว โดยจำเพาะในภาคกลางของประเทศไทย นอกจากพบบันทึกด้วยอักษรไทย หรืออักษรขอมของชนชาติไทย ยังพบบันทึกด้วยอักษรอื่นอีกนั่นคืออักษรขอม โดยเหตุที่คนไทยทางภาคกลาง ได้นำเอาอักษรขอมมาบันทึกเป็นภาษาไทยในเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนา สำหรับคนไทยอ่าน จึงให้ชื่ออักษรชนิดนี้ว่า อักษรขอมไทย คนไทยภาคกลางเริ่มใช้อักษรขอมบันทึกเรื่องราวครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช 1905 เป็นภาษาเขมรและภาษาบาลี ดังที่ปรากฎ ในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง คือ ศิลาจารึกกรุงสุโขทัย หลักที่ 4 และหลักที่ 6 ส่วนการบันทึก เป็นภาษาไทยพบหลักฐานเก่าที่สุด คือ ศิลาจารึกวัดป่าแดงหรือจารึกกรุงสุโขทัยหลักที่ 9 ซึ่งจารึกขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 1949 นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา การใช้อักษรขอมเผื่อการบันทึก เป็นที่นิยมมากเท่ากับการบันทึกด้วยอักษรไทย ดังได้พบเห็นอยู่เสมอในเอกสารไทยโบราณ แม้กระทั่งทุกวันนี้ การใช้อักษรขอมก็ยังไม่ได้ยกเลิกใช้ไปโดยเด็ดขาด ดังนั้น เมื่อมีการลงคาถาอาคมก็ดี การลงเลขยันต์เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ก็ดี ยังนิยมลงด้วยอักษรขอมบรรจงอยู่ โดยเหตุที่ปัจจุบันมีเอกสารที่มีค่าต่าง ๆ ที่จารึกด้วยอักษรขอมไทยมีอยู่ตามวัดตามอารามต่าง ๆ รวมทั้งที่หอสมุดแห่งชาติ มีจำนวนมากมาย เพราะฉะนั้นการศึกษาอักษรขอมไทยจะช่วยให้ผู้ศึกษาสามารถอ่าน และปริวรรตเอกสารที่มีค่าเหล่านั้นเป็นภาษาไทยปัจจุบัน ก็จะเป็นประโยชน์แต่อนุชนคนไทย ได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าต่อไป.




ที่มา : http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?q=%CD%D1%A1%C9%C3%A2%CD%C1&select=1#22383
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 ก.ย. 2552, 11:42:38 โดย swat@pvc »

ออฟไลน์ tuytan

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 159
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ตำราเลขยันต์ และคาถาอาคมเวทย์มนต์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 07 ก.ย. 2552, 09:31:58 »
ขอบคุณครับกับเรื่องลาวดีๆครับหยากเรียนมั้งครับ :054:

ออฟไลน์ เด็กแสบ

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 175
  • เพศ: ชาย
  • เด็กแสบ แถบราม
    • MSN Messenger - sun-ram39-@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ตำราเลขยันต์ และคาถาอาคมเวทย์มนต์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 07 ก.ย. 2552, 02:50:16 »
ขอบคุณคราบ

ที่นำเรื่องนี้มาลง

TUM

  • บุคคลทั่วไป
ตอบ: ตำราเลขยันต์ และคาถาอาคมเวทย์มนต์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 07 ก.ย. 2552, 03:18:27 »
สวัสดีครับ

   อยากเห้นหน้าอื่นด้วยซะแล้วครับ พี่

คงอักขระเยอะกว่านี้ครับ ....  :002:

.....

ออฟไลน์ cho presley

  • ------> I'm Cho Presley
  • นวมะ
  • ****
  • กระทู้: 2049
  • เพศ: หญิง
  • สุดท้ายก็กาหลง!
    • MSN Messenger - cho.khalong@hotmail.com
    • AOL Instant Messenger - เมืองเสน่ห์กาหลง
    • Yahoo Instant Messenger - มหาเสน่ห์+เมตตา+มหานิยม
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.khalong.com
ตอบ: ตำราเลขยันต์ และคาถาอาคมเวทย์มนต์
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 07 ก.ย. 2552, 03:57:41 »
.. เคยได้ยินเรื่อง อ.ฟ้อน ดีสว่างว่า... ท่านมีนิมิตให้ไปค้นหาตำรับตำรา คาถานี่หละ..
อ ฟ้อน ดีสว่างไปตามนิมิต พบตำราและศึกษาวิชามาตั้งแต่นั้นมา!...
จะว่าไปตำราคงประมาณนี้มังคะ..อยากกดขอบคุณให้สองครั้งจัง..
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 ก.ย. 2552, 03:58:13 โดย cho presley »

cho presley       

ออฟไลน์ `ตาเอส`วัดสิงห์

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 230
  • เพศ: ชาย
  • วันนี้คือวันดี แต่พรุ่งนี้ต้องดีกว่า
    • MSN Messenger - gongjone01@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • ฟังเพลงกันนะครับ
    • อีเมล
ตอบ: ตำราเลขยันต์ และคาถาอาคมเวทย์มนต์
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 07 ก.ย. 2552, 04:25:51 »
คำเดียวครับ


ขอบคุณครับ
ตอนนี้ไร้รัก แต่อยู่กับธรรมะ สบายใจ


ที่เราจะรักใครซักคนไม่ใช่เรื่องยาก แต่!! การที่จะให้ใครซักคนมารักเราสิเรื่อ

ออฟไลน์ oOkongkehaOo

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 55
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ตำราเลขยันต์ และคาถาอาคมเวทย์มนต์
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 07 ก.ย. 2552, 07:01:19 »
บอกได้คำเดียวว่าสุดยอดครับ :016: :016:
การเล่นดนตรีนั้นต้องใช้จิตใจไม่ใช่เล่นตามกระแส เพราะถ้ามันไม่ออกมาจากจิตใจ คนฟังก็คงไม่คิดว่ามันเพราะ



คุนลองเล่นกีตาร์ในห้องน้ำดูสิ แล้วคุนจะได้ซาวไหม่ในบ้านคุน 555+

ออฟไลน์ chinjung

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 428
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ตำราเลขยันต์ และคาถาอาคมเวทย์มนต์
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 07 ก.ย. 2552, 07:29:00 »
ดูเก่ามากครับ

ออฟไลน์ gottkung

  • จะหมึกหรือน้ำมันไม่สำคัญ จงตั้งมั่นให้อยู่ในความดี
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 4088
  • เพศ: ชาย
  • "จะลูกใครนั้นไม่สำคัญ เป็นศิษย์ฉันเท่ากันทุกคนไป "
    • ดูรายละเอียด
    • www.gottkung.multiply.com
ตอบ: ตำราเลขยันต์ และคาถาอาคมเวทย์มนต์
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 07 ก.ย. 2552, 08:18:04 »
ขอบคุณพี่ปอร์มากครับที่นำมาให้ชมกันทั้งรูปภาพและเนื้อหาที่เปี่ยมด้วยสาระ
เราเป็นศิษย์คิดมีครูดูก่อนเถิด อย่าละเมิดคำครูที่พร่ำสอน
ปุถุชนคนธรรมดาพึงสังวรณ์ ครูท่านสอนมอบสิ่งดีแก่เราๆ

ออฟไลน์ nobeeta

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 310
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ตำราเลขยันต์ และคาถาอาคมเวทย์มนต์
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 07 ก.ย. 2552, 09:22:28 »
ขอบคุณมากครับ :016:
บูรพาจารย์หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
พระอาจารย์ธนพงค์ สำนักสงฆ์หนองหวาย

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ตำราเลขยันต์ และคาถาอาคมเวทย์มนต์
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 07 ก.ย. 2552, 10:32:15 »
ขอบคุณปอร์ มากครับ สำหรับภาพถ่ายตำรา และรายละเอียดครบถ้วน... :016:

ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ 

ออฟไลน์ eak15

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 66
  • เพศ: ชาย
  • อย่ากลัวการทำดี
    • MSN Messenger - eak.thai@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ตำราเลขยันต์ และคาถาอาคมเวทย์มนต์
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: 11 ก.ย. 2552, 09:45:41 »
 :073:ขอบคุณมากเลยนะครับ ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้ว :015:
จงกระทำความดีอย่าท้อถอย วันละน้อยค่อยๆเป็นค่อยๆไป
การทำดีที่ได้อยู่ที่ใจ ทยอยใช้กรรมเถอะจะเกิดดี

ออฟไลน์ TTTUTTT

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 834
  • เพศ: ชาย
  • สร้างสรรค์แต่สิ่งดี
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ตำราเลขยันต์ และคาถาอาคมเวทย์มนต์
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: 12 ก.ย. 2552, 03:42:01 »
บรรชนในอดีต ล้วนแต่มอบสิ่งที่มีคุณค่า  เพื่อเป็นมรดกให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา...

ถึงรุ่นเราควรเอาใจใส่ และเห็นคุณค่า มิเช่นนั้นคงจะสูญหายไป คงเป็นที่น่าเสียดายครับ...

ขอบคุณ"คุณปอร์"ที่นำมาให้เรียนรู้ และศึกษาครับ ...{^_^}...