ผู้เขียน หัวข้อ: <<<หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก พระนครศรีอยุธยา>>>1/5  (อ่าน 7052 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
มีเรื่องที่เกี่ยวข้องในกระทู้เก่า
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=4041.0
================
เรื่องต่อไปนี้ค่อนข้างละเอียด(ยาว) อ่านสนุก ได้สาระ ความรู้เชิงธรรมะน่าติดตาม
คัดลอกจาก
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-jong/lp-jong-hist-01-01.htm
และ
http://www.konmeungbua.com/teacher/teacher_jong/Lungpo_jong2.html

<<<หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก พระนครศรีอยุธยา>>>

ชาติกำเนิด

หลวงพ่อจง พุทฺธสโร ท่านได้ถือกำเนิดที่ตำบลหน้าไม้ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในต้นสมัยรัชกาลที่ 5 ของราชวงศ์จักรี ท่านเกิดในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 4 ปีวอก ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม 2415

นามเดิมของท่านชื่อว่า "จง" ในสมัยนั้นยังไม่มีการใช้นามสกุล เลยยังไม่มีนานสกุลพ่วงท้ายชื่อ เป็นบุตรชายคนโตของ "นายยอด" และ "นางขลิบ" ที่มีอาชีพเป็นชาวนา หลวงพ่อจงท่านมีน้องร่วมอุทรเดียวกันอีก 2 คน คือ "นายนิล" หรือ "พระอธิการนิล" และ "นางปลิก"

ชีวิตในวัยเยาว์ของหลวงพ่อจงท่านอยู่ในฐานะเฉกเช่นผู้อาภัพอับโชค อุดมไปด้วยทุกขโรคา มากกว่าความสุขร่าเริงสดใสเหมือนกับเด็กในวัยเดียวกันทั่วไป

หลวงพ่อจงท่านถูกโรคพยาธิเบียดเบียนมาตั้งแต่เล็ก จึงทำให้มีรูปร่างค่อนข้างจะผอมโซ ไม่แข็งแรง หน้าตาซีดเซียว แถมยังมีอุปนิสัยค่อนข้างขี้อาย เซื่องซึม ขาดความกระตือรือร้น ชอบเก็บตัวอยู่ตามลำพังคนเดียว ไม่ค่อยพูดคุยกับใคร ถามมาคำก็ตอบกลับไปคำ และซ้ำร้ายไปกว่านั้นได้กลายเป็นที่น่าเวทนาสำหรับผู้พบเห็นและรู้จักมักคุ้นก็คือหลวงพ่อจงในวัยเยาว์ท่านมีอาการหูอื้อจนเกือบหนวกรับฟังเสียงต่าง ๆ ไม่ค่อยชัดเจน นัยน์ตาก็ฝ้าฟางมองอะไรแทบไม่เห็น

แต่ด้านของจิตใจท่านกลับเพียรใฝ่หารสพระธรรม ชอบทำบุญตักบาตรในวันธรรมสวนะอยู่เป็นเนืองนิจ โดยให้บิดามารดาหรือญาติพี่น้องพอไปยังวัดหน้าต่างใน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านมากนัก


เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

จวบจนกระทั่งอายุของหลวงพ่อจงอายุได้ 12 ปี บิดามารดาของท่านเห็นถึงอุปนิสัยของท่านว่ามีความชอบวัด ติดวัด จึงนำเข้าบรรพชาเป็นสามเณรซะเลย ณ วัดหน้าต่างใน และก็ช่างเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง เพราะปรากฏว่าเมื่อท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่รุมเร้ามานานแรมปี ไม่ว่าจะเป็นโรคพยาธิ ที่ทำให้เกิดอาการผอมโซ เซื่องซึม หูอื้อ นัยน์ตาฝ้าฟาง ก็ได้หายไปจนหมดสิ้น ท่านกลับกลายเป็นผู้ที่มีสุขภาพพลานามัยดีมาก และท่านก็มีความสุขในสมณเพศนั้น ดุจดั่งเป็นนิมิตหมายให้รู้ว่า หลวงพ่อจงจะต้องครองเพศอยู่ใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ไปจนชีวิตจะหาไม่

ในปี พ.ศ. 2435 เมื่ออายุครบบวช โยมบิดามารดาจึงได้จัดพิธีอุปสมบทให้ ณ พัทธสีมาวัดหน้าต่างใน โดยมี หลวงพ่อสุ่น เจ้าอาวาสวัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อินทร์ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โพธิ วัดหน้าต่างใน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "พุทฺธสโรภิกขุ"

และหลวงพ่อจงก็ได้พนักจำพรรษาอยู่ ณ วัดหน้าต่างใน ศึกษาพระปริยัติธรรมและธรรมสิกขา พร้อมด้วยฝึกฝนในอักษรสมัยทั้งขอมและไทย จากพระอาจารย์เจ้าอาวาสจนมีความรู้ปราดเปรื่องชำนาญ จนใคร ๆ ก็อดสงสัยมิได้ว่า เอ๊ะ ทำไมหลวงพ่อจง มิยังงมโข่งหรืออุ้ยอ้ายอับปัญญาดุจดั่งที่มีบุคลิกอันอ่อนแอ ส่อสำแดงว่าน่าจะเป็นไปในทางทึบ หรือ อับ

หลวงพ่อจง พลิกความเข้าใจของโยมและวงศ์ญาติให้เป็นการกลับตาลปัตรไปไกลกว่านั้น โดยนอกจากศึกษารู้แจ้งในพระธรรมและภาษาหนังสือจนแตกฉานแล้ว มิช้ามินาน ยังสามารถรับการถ่ายทอดวิทยาการในแขนงว่าด้วยคุณเวทย์วิทยาคมขลัง จากพระอาจารย์โพธิ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน ซึ่งท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสไพศาลในยุคนั้น มาได้ขนาดว่าหมดสิ้นพุงความรู้ของพระอาจารย์ และก็มิได้หยุดยั้งแค่นั้น หลวงพ่อจงยังได้พากเพียรแสวงหาความรู้ไม่ขาด รู้ว่าที่ไหนมีพระอาจารย์ดี มีผู้เคารพนับถือมาก ในวิชาหรือเจนจบในวิทยาการหนึ่งวิทยาการใด ท่านเป็นเสาะแสวงหาหนทางนำตนไปนมัสการน้อมยอมเป็นสานุศิษย์ ศึกษาวิชาอย่างไม่มีท้อถอยไม่มีกลัวความลำบาก ในการต้องบุกป่าฝ่าหนามข้ามทุ่งไกล ๆ ซึ่งสมัยนั้นไปไหนต้องใช้พาหนะเท้าย่ำกันเป็นหลัก

ต่อมาจึงได้ไปศึกษาเรียนวิชาปฏิบัติกรรมฐานจากพระอาจารย์หลวงพ่อปั้น เกจิอาจารย์ของวัดพิกุล ซึ่งท่านมีชื่อเสียงกิตติศัพท์โด่งดังมากจนสมญาว่า เป็นพระมหาเถระฝ่ายอรัญญาวาสีผู้ยิ่งใหญ่รูปหนึ่งหมั่นศึกษาและพากเพียรด้วยอิทธิบาทอันแก่กล้าช้านาน

จนในที่สุด "ทั่ง" ถูกฝนลงเป็นเข็มสำเร็จ กาลต่อมา หลวงพ่อจงจึงได้รับขนานนามเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเจริญกรรมฐาน ประเภท อสุภปฏิกูล โดยที่ท่านมีบุคลิกภาพเปี่ยมพร้อมสมบูรณ์ สำหรับการปฏิบัติเจริญภาวนา เหมาะสมกับสภาวะนั้นได้ ด้วยปราศจากอารมณ์หวาดหวั่น หวาดไหว เป็นต้น เปี่ยมพร้อมด้วย มีองค์คุณอันเหมาะสมที่เรียกว่า สัปปายะ (สี่) และมี องค์คุณอันเป็นที่ตั้งของความเพียร (ห้า) ที่เรียกว่า ปธานิยังคะ

เมื่อได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมสิกขา และปฏิบัติพระปริยัติธรรมศึกษาพระเวทย์และวิชาการคุณเวทย์วิทยาคม ซึ่งมีความสนใจเป็นพิเศษ เพราะนอกจากมีนิสัยส่วนตัวพอใจแล้ว ยังมีเหตุแวดล้อมจากความรู้สึกชมชื่นและศรัทธาของชาวบ้านชาวเมืองสมัยยุคนั้นให้ความนิยมต่อศาสตร์แขนงนี้ ดังจะเห็นจากมีผู้ถวายความเคารพศรัทธาต่อความเป็นพหูสูต ความยิ่งยงเกรียงไกรในอำนาจฤทธิ์มนต์ขลังของท่านพระครูโพธิ ท่านเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน ซึ่งครั้งกระนั้นเป็นต้นสังกัดของหลวงพ่อจงจนล่วงผ่านวันเดือนไปหลายรอบปีนักษัตร ตราบจนพระอาจารย์โพธิได้ถึงมรณภาพไปเพราะโรคภัยเบียดเบียนตามอายุขัยของผู้ชราภาพ ประกอบด้วยหลวงพ่อจง เป็นผู้ขึ้นชื่ออยู่ในความรับรู้ของผู้ใกล้ชิด ทั้งใกล้ไกลตลอดมวลหมู่ผู้สนใจเฝ้าสังเกตว่า ได้รับการถ่ายทอดวิทยาการทางเวทย์วิทยาคมมาจากพระอาจารย์โพธิได้อย่างเต็มภาคภูมิ วุฒิที่พระอาจารย์โพธิมีอยู่ แต่นั้นมาบรรดาชาวบ้านก็ให้ความศรัทธาเชื่อมั่นต่อหลวงพ่อจงอย่างท่วมท้น ทำให้ท่านต้องรับภาระหนักในการทำพิธีรดน้ำมนต์ ใช้เวทย์วิทยาคมกระทำพิธีสะเดาะเคราะห์ ให้ฤกษ์งามยามดี บำบัดเหตุมิดีกาลีร้ายนานาประการ ตามแต่จะมีผู้มาอาราธนานิมนต์ให้โปรดจึงกระทำให้ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นเงาตามตัว


คัดลอกจาก
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-jong/lp-jong-hist-01-01.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ในขบวนการใช้อุบายอันแยบคาย อบรมบ่มจิตให้ได้รับความสงบจนบังเกิดเป็นสมาธิและฌาน (สมถะกัมมัฏฐาน หรือเรียกว่าสมถะกรรมฐาน) กับอาการอบรมจนให้ดวงจิตบังเกิดปัญญาที่เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน (กัมมัฏฐาน) หลวงพ่อจงพอใจชอบใช้ฝึกจิตในแนวทางเรียกว่า อสุภะ

อสุภะ ตามความหมายก็คือ หมายความถึง สิ่งอันเป็นซากของวัตถุหรือซากร่างปราศจากชีวิต อันไร้ความน่าดู ปราศจากความสวยงามตรงข้ามกลับน่ารังเกียจ น่าเบื่อหน่าย และน่าขยะแขยงสะอิดสะเอียน หลวงพ่อจงพอใจใช้วิธีการ เพ่งอสุภะ เป็นแนวทางอบรมบ่มจิต ก็เพราะได้ความคิดว่า มันเป็นการช่วยให้ตนสามารถมองเห็นชัดด้วยตา และบังเกิดความรู้สึกในใจให้คิดสังเวชอย่างซาบซึ้งถึงความจริงในข้อที่ว่าตนและสรรพสัตว์ เมื่อต้องมีอันต้องตายไปแล้วก็ต้องมีสภาพน่าอเนจอนาถไม่น่าดู ไม่น่ารัก แต่น่าชัง น่ารังเกียจ ทุเรศ อุจาดตา ดังนี้ด้วยกันทั้งนั้นและเป็นสิ่งที่ไม่มีใครหนีพ้น ซึ่งจากข้อคิดนี้ จะทำให้ดวงจิตแห้งแล้งหดหู่ ปราศจากความร่านยินดีในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ปราศจากความหลงงมงาย คิดว่าร่างกายเป็นสิ่งสวยงาม จะได้เป็นเครื่องบรรเทาอัสมิมานะ คือ ความสำคัญผิด เพ้อเห็นไปว่าร่างกายนั้นมันเป็นตัวตนของเขาของเราจริงแท้ ซึ่งความจริงมันมิใช่ ความจริงมันเป็นเพียง อัตตะปราศจากตัวตน เป็นที่รวมอยู่ของธาตุทั้งห้าชั่วครั้งคราว โดยสภาวะปรุงแต่งแวดล้อม ครั้นถึงกาลเวลาก็แตกดับล่วงลับสลายไป ไม่เป็นเขาไม่เป็นเรา ดังนั้น หลงและโลภในรูปรส กลิ่น เสียง

หลวงพ่อจงชอบเพ่งมอง อสุภะ คือ รูปเน่าเปื่อยของศพที่มีผู้เอามามอบให้ และท่านเก็บไว้ในห้องที่จัดไว้พิเศษโดยเฉพาะอย่างซ่อนเร้น มิให้ประเจิดประเจ้อต่อการรู้เห็นของผู้อื่น ท่านจะใช้เวลายามปลอดและสงัดจากผู้คนเข้าไปในห้องพิเศษพร้อมด้วยดวงเทียนที่มีแสงสว่างเพียงมองเห็น ท่านจะนั่งเฝ้าเพ่งมองดูรูปศพคนตาย ไม่เลือกว่าจะเป็นศพขึ้นอืดจนเป็นน้ำเหลืองหยด มีกลิ่นเหม็น หรือเป็นซากศพแห้งเหี่ยวจนหน้าตาน่าเกลียดเพียงใด ท่านก็จะเฝ้าจ้องมองเพ่งดูอย่างจริงจัง เพ่งมองให้เป็นภาพติดตา จนจำขึ้นใจว่า ศพนั้นท่าทางรูปร่างเป็นอย่างนั้น แห้งเหี่ยวเป็นรอยย่นผิดหน้าตามนุษย์ธรรมดายังงั้นยังงี้ หรือมีน้ำเหลืองหยดเพราะอาการเน่าเปื่อยตรงนั้นตรงนี้ พร้อมกันนั้นก็กระทำจิตใจให้บังเกิดอารมณ์สังเวช ว่ารูปกายที่เกิดมาแล้วก็ต้องถึงวาระมีอันเป็นไปให้เจ็บป่วย ถูกทำร้ายหรือยังเกิดอุบัติเหตุเป็นภัยอันตรายถึงตาย ตายแล้วก็มีอาการน่าอเนจอนาถต่าง ๆ นานา เป็นเช่นนี้เสมอไป ร่างกายหนอ... ชีวิตหนอ... ต่างล้วนเป็นภาพน่าอนาถ น่าสังเวช น่าชิงชัง น่าเบื่อด้วยกันทั้งนั้น

เมื่อมีผู้สงสัยถามว่า ทำดังนี้และปลงอารมณ์ได้ดังนี้แล้ว จะบังเกิดประโยชน์อะไร หลวงพ่อจงให้คำตอบว่าได้ประโยชน์คือ ทำให้ไม่หลงใหลรักตัวตนว่าเป็นตัวตนของเขาของเรา มันเป็นแค่ชีวิตกายเกิดที่ก่อสารรูปขึ้นได้ด้วยสภาวะแวดล้อมของธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ เช้ารวมตัวกัน ความคิดเห็นแก่ตนเอง เอาเปรียบเบียดเบียนผู้อื่น จะหย่อนหายไปจากสันดานโลภโมโทสัน เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งขัดเกลาสันดานจิตใจ ให้ผ่องใสสะอาด หากมนุษย์อันเป็นตัวสมมติของกาย เกิดไม่หลงนึกแยกประเภทของกายเกิด ว่านั่นเป็นเขา นี่เป็นเรา ดังนี้แล้ว การอยู่ร่วมกันในสังคม บ้านเมือง ตลอดทั่วโลก ก็จะมีแต่ความสงบสุข ไม่ต้องมีการดิ้นรนจองล้างจองผลาญย่ำยีต่อกันและกัน

หลวงพ่อจงเป็นผู้มีกำลังหนุนมั่นคงด้วยการใช้แรงอิทธิบาทสี่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เข้าปฏิบัติกระทำในกิจการไม่ว่าสิ่งใดที่สนใจ ตลอดจนการท่องบ่นทบทวนวิทยาคมที่พระอาจารย์โพธิ์ประสิทธิ์ประสาทให้ไม่ย่อท้อ ท่านได้พากเพียรกระทำสม่ำเสมออยู่เป็นนิจ ด้วยความมานะแรงกล้า

ยิ่งนานวันนานคืนล่วงไป ภูมิจิตของท่านก็เพิ่มพลังความชำนาญจนเข้าขั้นนับว่าเป็นผู้ได้ฌานสมาบัติขั้นสูงผู้หนึ่ง


คัดลอกจาก
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-jong/lp-jong-hist-01-01.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 พ.ค. 2554, 07:59:56 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
หลวงพ่อจงเป็นผู้มีบุคลิกเหมาะสมหลายประการ เหมาะสมจะเข้าบำเพ็ญบารมีใฝ่หาสัจธรรม อาทิ

เป็นผู้มีสัจจะ คือ ผู้ซื่อตรงต่อตนเองและผู้อื่น มีจิตใจปราศจากความกลับกลอก พูดคำไหนเป็นคำนั้น ตั้งใจทำสิ่งใด ด้นดั้นใช้ความพากเพียรทำไปจนปรากฏผลโดยปราศจากยับยั้ง ไม่มีถอยหน้าถอยหลัง

เป็นผู้เปี่ยมด้วย ทมะ คือ เป็นผู้มีอำนาจใจกล้าแข็ง สามารถยืนหยัดบังคับใจตนเองไว้ในอำนาจการตัดสินปลงใจ ได้อย่างเด็ดขาด

เป็นผู้ซึ่งพร้อมด้วย จาคะ คือ มีดวงจิตสะอาดบริสุทธิ์ พร้อมจะเสียสละได้ทุกเมื่อ มีความกล้าหาญสามารถทุ่มเทแม้แต่ชีวิตเพื่อเลี่ยงเสียแลกกับประโยชน์ยิ่งใหญ่ ซึ่งหากทำไปแล้วผู้อื่นหรือสาธารณประโยชน์จะพึงได้รับจากการเสียสละนั้น ๆ ของท่าน โดยเฉพาะเมื่อแน่ใจว่าการปฏิบัติตามธรรมะของพระพุทธเจ้าย่อมเป็นเครื่องทำให้จิตใจได้รับความสงบหนีพ้นจากทุกข์ได้ ท่านก็มิเห็นแก่ความลำบากเหนื่อยยาก หรือกลัวเกรงสิ่งใด นอกจากตั้งหน้าบำเพ็ญธรรมนั้น ๆ อยู่อย่างสม่ำเสมอ

เป็นผู้มีภูมิปัญญา คือ มีความฉลาดสามารถรู้จักสิ่งใด ทำแล้วเป็นคุณงามความดีมีประโยชน์ต่อตนเอง และกับผู้อื่น ควรไม่ควร เป็นไปได้หรือเป็นไปมิได้ ทั้งเป็นผู้ใช้ความฉลาด บ่มเกลานิสัยทั้งของตนและผู้อื่นอย่างไม่ขาดสาย

เป็นผู้มี ศีล ครบถ้วน ไม่ก่อกรรมสร้างเวรรุกรานรังควานใครให้เดือดร้อน เป็นผู้ใช้ศีลฟอกใจตนเองให้สะอาดประณีตเป็นนิจ แม้แต่คำน้อยไม่เคยตำหนิติเตียนให้ผู้ใดต้องได้รับความสะเทือนใจ เด็กศิษย์วัดขโมยเงินที่เก็บไว้ทำบุญสร้างโบสถ์ ก็ไม่โกรธไม่เอาเรื่อง ตรงข้าม กลับขอร้องมิให้ตำรวจถือผิดเพราะเป็นเรื่องในวัด ส่วนพวกเด็ก ๆ ก็โดนดุเพียงว่า ที่เขาจับพวกเอ็งได้ว่าเป็นคนขโมยเงินของอาตมาไป ก็เพราะเอาไปแล้วไปแบ่งไม่ยุติธรรม อย่าเอาเปรียบ อย่าขัดคอขัดใจกันซิ จะได้ไม่แตกความสามัคคี

เป็นผู้มีสมาธิและฌาน มั่นคงเป็นพื้นฐาน หลวงพ่อจง สามารถบำเพ็ญฌาน และกระทำบำเพ็ญสมาธิได้อย่างสงบทันที แม้ในท่ามกลางเสียงกระจองอแง

เป็นผู้มีสุขภาพดี ฉันเป็นเวลา แม้จะนอนไม่เป็นเวลา แต่สามารถลุกขึ้นปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ตามกำหนดกฎเกณฑ์สม่ำเสมอ มีอำนาจจิตแข็งขัน จวบจนลุล่วงวัย 94 ปี ในปีสุดท้ายที่มรณะเข้ามาเยือนและพาสังขารของท่านไปสู่ความผุพัง ยังคงมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ เมื่อเจ็บหนัก รู้ว่าจะไม่รอด ท่านพูดว่า "คราวนี้เขาเอาเราอยู่แน่ อย่างไรเป็นหนีไม่รอด"... จากนั้นก็รอความตายโดยสงบ ไม่บ่นไม่หวั่นไหวอย่างไรทั้งสิ้น


ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-jong/lp-jong-hist-01-02.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

หลวงพ่อจงท่านเป็นผู้รู้พระปริยัติธรรมตามฐานันดร และตามความต้องการเรียนรู้ให้เข้าใจในพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อใช้ปฏิบัติให้บังเกิดความสงบสุข และบรรลุเข้าสู่วิถีแห่งความพ้นทุกข์ พร้อมด้วยใช้เป็นเครื่องกล่อมเกลาบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้อื่นตามควรแก่ฐานานุรูป เหมาะสมตามกาลเทศะ...ตลอดจนได้เป็นผู้รอบรู้เจนจบในทางวิทยาคม ซึ่งพระอาจารย์โพธิผู้เป็นพระอาจารย์ได้ถ่ายทอดไว้ให้และท่านก็สามารถนำไปใช้ช่วยปลดทุกข์ทางกายทางใจแก่ปวงชนมากหลาย แม้แต่ในมหาสงครามโลกครั้งที่สอง สมรภูมิอินโดจีน และสมรภูมิรบในเกาหลี อิทธิบารมีของหลวงพ่อจง ก็ได้สอดแทรกมีบทบาทช่วยให้เหล่าทหารหาญของชาติไทยทั้งสามกองทัพบังเกิดพลังใจใหญ่หลวง กระทำการรบได้อย่างห้าวหาญ มีชื่อเสียงเกรียงไกรไพศาล เป็นที่หวาดหวั่นยั่นระย่อต่อเหล่าข้าศึกไม่น้อย

เมื่อเผชิญกับการรับรุกบุกเข้าปะทะหมายกวาดล้างของทหารไทย ข้าศึกก็ล้มตายอย่างย่อยยับหรือถอยหนีโดยไม่คิดสู้บ่อยที่สุด...แม้แต่ในวงล้อมของฝูงข้าศึก ที่จอมทัพฝ่ายพันธมิตรคาดหมายว่าอย่างไรเสียกองร้อยทหารไทยคงไม่มีทางรอดเหลือกลับฐานทัพ เพราะคำนวณจากจำนวนทหารข้าศึกที่ล้อมทหารไทยไว้กว่าห้าชั้น ด้วยกำลังรบที่มากกว่าเป็นสิบ ๆ เท่า ไม่มีทางที่จอมทัพฝ่ายพันธมิตรซึ่งทัพไทยร่วมด้วยจะคาดคิดเป็นอย่างอื่นไปได้ และไม่น่าจะเป็นการคาดคะเนที่ผิดไปเลย

แต่...ทหารไทยผู้ห้าวหาญก็สามารถต่อสู้กับข้าศึกทั้งทางพื้นดินและหลบระเบิดที่เครื่องบินข้าศึกทิ้งปูพรมลงมาไม่ขาดสาย พร้อมกับต้องบุกฝ่าพายุปืนกลหนักเบาจากวงล้อมห้าชั้นทั้งสี่ทิศ หลุดรอดออกมาได้เกือบครึ่งจำนวน... ทหารไทยเลยถูกลือว่าเป็นกองทัพมัจจุราช กองทัพมหากาฬ กองทัพผี สารพัดจะถูกขนานสมญานาม

มันเป็นการรบในยุทธวิธีตีฝ่าที่ใจห้าวกร้าวแกร่งอย่างอัศจรรย์เหมือนฝัน... จอมทัพพันธมิตรรับรู้ข่าวแสนจะพึงปิติปราโมทย์ด้วยอาการตกตะลึง ต้องสั่นหัวและถามซ้ำเป็นสองสามซ้ำว่า นั่นเป็นรายงานข่าวรับฟังเชื่อได้รึ ? แต่เมื่อเป็นข่าวชัดเจนมีการยืนยันเป็นหลักฐาน จอมทัพพันธมิตรภาคเอเซียก็ต้องเชื่อและอุทานชมลั่น

ถึงขนาดจอมทัพแม๊คอาเธอร์ ขอพบผู้บังคับบัญชากองทัพ เพราะอยากเห็นตัวเหล่ายอดทหารไทยผู้เกรียงไกร และจอมทัพแม๊คอาเธอร์ก็ได้รู้ว่าเลือดไทยทุกคนระอุอ้าวไปด้วยความห้าวเหี้ยมหาญ คิดเชื่อมั่นกันอยู่แต่ว่า ถ้ายิง ต้องยิงให้ถูกข้าศึก แต่ข้าศึกจะยิงไม่ถูก เพราะพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์เจ้า แห่งบวรพุทธศาสนาท่านคุ้มครอง

ธรรมต้องชนะอธรรมไม่มีปัญหา แต่อย่างไรก็ดี ทหารไทยที่รอดตายเกือบครึ่ง ปรากฏว่า ส่วนใหญ่บ้างมีตะกรุดชุด 16 ดอก บ้างมีตะกรุดโทน บ้างก็ใช้เสื้อพระยันต์ราชสีห์สีแดงบ้างมีพระทุ่งเศรษฐีดำใหญ่ของหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และจำนวนทหารผู้รอดตายเหล่านั้นเชื่อว่าบรรดาเครื่องรางของขลังที่พวกตนมั่นใจในคุณขลังเหล่านี้มีส่วนช่วยชีวิตของตน

ทหารรุ่นศึกอินโดจีน และต่อมาในมหาสงครามโลก จนกระทั่งสงครามเกาหลี ส่วนมากมีความศรัทธานิยมบูชาสักการะต่อตะกรุดโทน ตะกรุดชุด 16 ดอก และเสื้อยันต์แดงราชสีห์ นำติดตัวเข้าสมรภูมิเพื่อเป็นการบำรุงขวัญ

กองทัพไทยทั้งสามเหล่า ขึ้นชื่อว่าเป็นที่รับรู้ของกองทัพข้าศึก ไม่ว่าครั้งอินโดจีน มหาสงครามโลกครั้งที่สอง หรือสงครามเกาหลี ว่าเป็นทหารหาญที่ทำการรบเก่งกล้าที่สุด ตายและเสียหายน้อยที่สุด เฉพาะขวัญของทหารได้รับการยกย่องว่าเลิศที่สุด

มนต์ขลังและวิทยาคม เป็นเครื่องประสิทธิ์ประสาทให้ผู้ศรัทธาสักการะ แคล้วคลาด ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า ตีไม่แตก และบ้างเป็นมหาลาภ มหาเสน่ห์ มหานิยม ได้จริงจังแค่ไหนเพียงไรหรือไม่ หากจะพิสูจน์กันจริงจัง บางทีอาจจะกระทำได้ยาก เพราะอุปมาดุจดั่งเป็นอิทธิพลหรืออำนาจลึกลับอะไรทำนองนั้น จึงยากจะหาผู้ยืนยันท้าพิสูจน์เป็นผลแตกหัก..แต่อย่างไรก็ตาม ความศรัทธา ความเชื่อมั่นในอิทธิพลบารมี ของความขลังศักดิ์สิทธิ์ในประการเหล่านี้ ก็มีอยู่ในความรู้สึกอย่างมั่นคงของชาวไทย ไม่เลือกชั้น วรรณะ มานานกว่าพัน ๆ ปี...ฉะนั้นใครจะเชื่อหรือไม่ ก็แล้วแต่จิตใจของคนนั้น


ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-jong/lp-jong-hist-01-02.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ทิพยอำนาจ กับ ความขลัง

สมัยเมื่อเป็นภิกษุในระยะสิบพรรษาแรก เป็นระยะกำลังอยู่ในวัยศึกษาหาความรู้ หลวงพ่อจงเป็นผู้มีมานะพยายาม และกระตือรือร้นใคร่เป็นพหูสูตอยู่เสมอ เมื่อรู้ว่ามีพระอาจารย์ทรงวิทยาคุณดีเด่นในทางใดก็ขวนขวายไปนมัสการขอน้อมยอมเป็นศิษย์ และหลังจากได้รับการถ่ายทอดวิทยาอาคมจากพระอาจารย์โพธิจนชำนาญ ต่อมาท่านเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก คือหลวงพ่ออินทร์ลาสิกขาบทไปประกอบอาชีพทางฆราวาส ชาวบ้านส่วนมากของตำบลนั้นและใกล้เคียง ซึ่งต่างเริ่มมองเห็นว่า ภิกษุจงเป็นผู้ทรงสมถะ สำรวม พร้อมทั้งมีคุณสมบัติแห่งความเป็นอริยสงฆ์ดีเด่นหลายประการประกอบทั้งเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อโพธิ วัดหน้าต่างใน ซึ่งมีผู้เลื่อมใสศรัทธาในวิทยาคุณของท่านมาก จึงพากันนิมนต์ให้เป็นเจ้าอาวาสเสียที่วัดหน้าต่างนอกแทนพระอธิการอินทร์ (สมัยนั้น ชาวบ้านมีสิทธิมีเสียงเลือกตั้งเจ้าอาวาสได้เอง)

หลวงพ่อจงเมื่อเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอกแล้ว ก็ได้พยายามปฏิบัติตนตามฐานะ ได้รับยกย่องเขยิบฐานะอย่างเหมาะสม นอกจากบริหารภารกิจอันเป็นของสงฆ์และของวัด อันพึงกระทำตามสิกขาบทเฉพาะที่เกี่ยวกับชาวบ้าน ก็ได้สำแดงจิตอัธยาศัย แผ่ไมตรีโอบเอื้ออารีต่อบุคคลไม่เลือกหน้า ไม่ว่าใคร จะยากดี มีจนหรือเป็นคนถ่อยชั่ว จนขึ้นชื่อว่าพาลชน จะเข้าหาหรือขอร้องให้ช่วยงานกิจธุระหรือจะช่วยทุกข์ หรือนิมนต์ไปโปรดที่ไหน ไม่ว่าหนทางใกล้ไกล ท่านเป็นยอมรับยินดีกระทำธุระปลดเปลื้องบำเพ็ญกรณีให้ผู้ขอได้รับความสมปรารถนา ตามปัญญาของท่านโดยควรแก่ฐานานุรูป และกาลเทศะของผู้ขอเสมอไป ด้วยความเต็มใจยิ้มแย้มแจ่มใส ท่านไม่เคยปฏิเสธหรือผัดผ่อน มิเคยสำแดงกิริยาการอ้ำอึ้งไม่พอใจ หรือขึ้นโกรธกระทำแง่เงื่อนอิดออดอย่างไร และแม้แต่การกินอยู่ (ฉัน) ท่านไม่เคยบ่นไม่เคยพูดว่า อยากฉันโน่นนี่ ถึงเวลาใครถวายอะไรให้ฉัน ก็ฉันจนอิ่มตามความพอใจไม่มีอาการผิดปกติ

ต่อมาราวอายุได้ 30 เศษ ภายหลังจากที่ได้เคยเดินทางบุกดงรกชัฏท่องป่า ข้ามภูเขา ห้วย ละหานเหว ไปกระทำนมัสการบูชารอยพระพุทธบาท และเจดีย์สำคัญทุกแห่งในเมืองไทยแล้ว หลวงพ่อจงได้ยินเขาเล่าว่าประเทศพม่ามีเจดีย์สำคัญสูงใหญ่ คือพระมหาเจดีย์ชะเวดากอง ท่านก็เกิดความกระตือรือร้นใคร่จะได้ไปนมัสการทันที แต่เมื่อได้ปรารภเรื่องนี้ให้ญาติ เพื่อนภิกษุ และสงฆ์ผู้ใหญ่ฟังแล้ว ส่วนมากทักท้วงให้ระงับยับยั้ง มิอยากให้ไป ต่างอ้างเหตุผลว่าทางมันไกลนัก อีกอย่างเป็นเมืองต่างด้าวพูดกันไม่รู้เรื่อง ประการสำคัญคือถนนหนทางที่จะไปก็ไม่มีเป็นเส้นสายแน่นอน นอกจากจะต้องเดินวกเวี้ยวเลี้ยวลัดและมุดลอดไปตามดงทึบ หรือป่าเถาวัลย์ ไม้พุ่มไม้เลื้อยนานาชนิด

ด่านแรกสำคัญที่สุดก็คือจะต้องบุกฝ่าไปในดงพญาเย็น ดงพญาไฟ ซึ่งครั้งกระนั้นรกชัฎ ยามร้อนก็ร้อนจัด ยามเย็นก็เย็นยะเยือก และชื้นแฉะ จนได้รับสมญาขนานนามเป็นดงผีห่า ผู้เดินทางผ่านดงยิ่งใหญ่ทั้งสองซึ่งมีระยะยาวนับเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร มีสภาพถูกปกคลุมไปด้วยไม้ใหญ่เป็นดงทึกจนมองไม่เห็นแสงแดด เต็มไปด้วยไม้เลื้อยพัวพันกันเป็นพืด เหมือนแนวกำแพงชั้นแล้วชั้นเล่าไม่มีที่สิ้นสุด นอกจากนี้ก็เต็มไปด้วยหินแหลมหินคม โขดเขา หุบเหวใหญ่น้อย เต็มไปด้วยสรรพสัตว์ร้ายทั้งทวิบาท จตุบาท กับอสรพิษสัตว์เลื้อยคลานร้อยแปดพันอย่าง ซึ่งหากพลั้งเผลอปราศจากระวังพริบตาเดียว ก็เท่ากับเอาชีวิตไปทิ้งเสียเปล่า ยิ่งกว่านั้น ในเรื่องหมอเรื่องยา หลวงพ่อจงก็ปราศจากความรู้ ผู้จะเป็นเพื่อนเดินทางไปด้วยก็เช่นกัน ฉะนั้นแม้จะรอดจากเขี้ยวเล็บ สัตว์จตุบาทไหนเลยจะรอดจากโรคภัย โดยเฉพาะจากดงใหญ่มหากาฬ พญาเย็น-พญาไฟ ซึ่งขึ้นชื่อกระฉ่อนว่า เป็นดงผีห่ามหาประลัยไปพ้น

ใครจะชักแม่น้ำทั้งห้ากีดกัน ขัดคออย่างไรก็ไม่เป็นผล... หลวงพ่อจงไม่เถียง ไม่แม้แต่จะเหตุผลใดเข้าหักร้างข้อแย้ง เป็นแต่เพียงหัวเราะ หึ หึ หึ ตีหน้าตาเสมือนมิได้แยแสต่อสรรพสิ่งที่น่ากลัวสยดสยอง ตามคำบอกเล่าเหล่านั้นแม้แต่น้อย คำพูดของท่าน พูดสั้น ๆ ห้วน ๆ ตามนิสัยซึ่งผู้ฟัง ฟังแล้วรู้สึกได้ทันทีว่า ลงพูดยังงั้นเอาช้างฉุดไว้ก็ฉุดไม่อยู่ ท่านว่า "ไม่เป็นไรน่า ทั้งฉันก็ศรัทธาอยากไปจริง ๆ ด้วย"

เมื่อปณิธานมั่นคงไม่เอนเอียงไม่ทรุดต่ำต่อเหตุผลของใคร ในใจท่านแน่วแน่เป็นประการฉะนี้ การทักท้วงทัดทานมิว่าด้วยเหตุผลน่า หวั่นไหวอย่างใด ก็ไม่ทำให้ท่านเอนเอียงย่อท้อถอยหลัง หลวงพ่อจงปักหลักเจตนาของท่านไม่มีแคลนคลอน ตั้งจิตจะไปนมัสการพุทธเจดีย์ชะเวดากอง ไม่ว่าอยู่พม่าหรือมุมใดของโลกก็ต้องไปให้ถึงจนได้ เพื่อกระทำไตรสรณะคมน์สักการะให้สมศรัทธาซึ่งจงใจใฝ่ฝันไว้


ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-jong/lp-jong-hist-01-02.htm

มี่ต่อตอนที่2..................

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก 36; 36;
                         
ขอขอบคุณท่าน ทรงกลด ที่นำบทความดีมากๆมาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ :053: :053:

ติดตามอยู่ครับ อ่านแล้วเพลินดีมากๆครับ และ ได้ความรู้มากๆครับ :016: :015:
                                                                                                                                                                 
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน เพื่อเป็นความรู้ ขอบคุณครับผม)
   

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ

ออฟไลน์ โบตั๋นสีขาว

  • ไม้คดใช้ทำขอ เหล็กงอใช้ทำเคียว แต่คนคดเคี้ยวใช้ทำอะไรไม่ได้เลย
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 146
  • เพศ: หญิง
  • จะสูงจะต่ำอยู่ที่เราทำตัวจะดีจะชั่วอยู่ที่ตัวเราทำ
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณมากคะ สำหรับเรื่องราวดีๆ อ่านแล้วได้ความรู้มากคะ :090: :050: :090:
เคารพ กตัญญู บูชา หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ ทั้งครอบครัวคะ

ออฟไลน์ TIGERS

  • ไม่เคยกลัวสิ่งใด โบราณท่านว่าคนดีผีคุ้ม / พระอยู่กับเรา เราอยู่กับพระ
  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 22
  • เพศ: ชาย
  • พระพุทธเจ้าอยู่เหนือหัว ครูอาจาริย์อยู่ในดวงจิต
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
นับถือมากที่สุดองค์หนึ่ง หลวงพ่อจงพุทธสโร
ความเมตตาเป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์ทั้งปวง

ออฟไลน์ singhanart

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 456
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
"ท่านจงน่ะ ท่านเป็นพระทองคำ สั่งเทวดาได้"
คือคำกล่าวของ หลวงพ่อปาน ที่มีต่อ หลวงพ่อจง









« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 ม.ค. 2555, 11:56:55 โดย singhanart »
[shake]}สิงห์ลายเสือ{[/shake]

  หากภารกิจดั่งภูผา มรณาข้าเพียงขนนก

ออฟไลน์ singhanart

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 456
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
สาธุ
หลวงพ่อจง พระสุปฏิปัณโน ท่านเปี่ยมด้วยเมตตาอย่าแท้จริง ทานบารมีด้วยการให้และให้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด












ออฟไลน์ singhanart

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 456
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ชุดนี้
ลูกเก้าโป่งใส่หน้าระยะเผ่าขนจนกระเด็นลงไปกองกับพื้น
ลุกขึ้นมายืนต่อได้ แค่เสื้อขาดกระจุย ลูกตะกั่วกองเต็มพื้น