แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ทรงกลด

หน้า: [1] 2 3
1
สำหรับมโนมยิทธิ ใช้กำลังของจิตเคลื่อนออกจากกายไปสวรรค์ก็ได้ ไปพรหมโลกก็ได้ ไปนิพพานก็ได้ ซึ่งมีกำลังสูงกว่า ทั้งนี้เพราะว่าถือเป็นส่วนหนึ่งของอภิญญาสมาบัติ
            สำหรับประโยชน์ที่จะฝึกพระกรรมฐาน นอกจากที่บรรดาท่านพุทธบริษัทจะเข้าใจว่าการเจริญกรรมฐานนี้ต้องการสวรรค์ ต้องการพรหมโลก ต้องการนิพพานอย่างเดียว ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น มีประโยชน์ทั้งทางโลกและทางธรรม
            ถ้าทุกท่านได้มโนมยิทธิแล้วก็ไปฝึกฝนให้คล่อง เมื่อฝึกฝนคล่องแล้ว นอกจากจะยกจิตขึ้นไปสู่ภพต่าง ๆ ก็ยังมีคุณสมบัติ ๘ ประการ คือ
            ทิพจักขุญาณ สามารถจะเห็นสิ่งของที่อยู่ในที่ลี้ลับได้ เห็นผีได้ เห็นเทวดาได้ เห็นนรก เห็นสวรรค์ได้ ของที่เราเก็บไว้ในที่ลี้ลับหาไม่พบเราก็สามารถเอาจิตเข้าไปกำหนดรู้ได้ หรือว่าใครจะแอบแฝงอยู่ที่ไหนเราก็ทราบได้ ถ้าเราต้องการจะรู้ รวมความว่าไม่มีอะไรเป็นความลับสำหรับพวกที่มีทิพจักขุญาณ
            และถ้าหากว่าจะใช้ทิพจักขุญาณนี้ประกอบอาชีพ ถ้าทิพจักขุญาณมีความเข้มข้นขึ้น เข้าถึงฌาน ๔ และก็ได้ อดีตังสญาณ อนาคตังสญาณ มันจะได้ไปเอง ถ้าเราจะประกอบอาชีพเราก็สามารถจะรู้ได ้ว่า อาชีพที่เราประกอบข้างหน้ามันขาดทุนหรือกำไรจะทำอะไรก็ได้
            ถ้าเป็นนักเรียนนักศึกษา ถ้ามีกำลังจิตเข้มข้นจริง ๆ สามารถจะเดาข้อสอบ (ไม่ต้องเดาละดูเลย ดูข้อสอบเลย ก่อนที่ครูจะเขียนน่ะ) อนาคตังสญาณ จะสามารถรู้ข้อสอบที่ครูจะออกมาได้ ถ้าหากว่าจิตยังคล่องไม่ถึง มีความเข้มข้นไม่ถึงเวลาจะสอบถ้าตอบไม่ได้ตัดสินใจใช้กำลังสมาธิช่วยสัก ๒ นาที คิดว่าถ้าจะตอบยังไงถึงจะถูก ขอให้ตัดสินใจไปตามนั้น มันตัดสินใจเองแล้วก็ถูกต้อง
            อย่างนี้นักเรียนนักศึกษาในกรุงเทพฯ ใช้มาหลายพันคนแล้ว เวลาเข้ามาหาวิทยาลัยเธอตอบไม่ได้เธอก็เดาอย่างนี้ แต่ไม่ใช่เดานะ เดาเฉย ๆ ไม่ได้นะ ต้องใช้กำลังใจที่เขาเรียกว่าทำจิตเข้าไปถึงนิพพานก่อนและก็นั่งอยู่ที่นั่น ขอพระพุทธเจ้าว่าจะตอบอย่างไร ตัดสินใจไปตามนั้น อย่าถามท่านไม่ได้นะ ถามท่านไม่บอกแต่ว่าจะรู็ด้วยกำลังของจิตที่เป็นทิพย์
            แบบนี้เขาใช้กันเยอะแล้ว ถ้าจะถามว่าได้หรือ นี่มันสายไปแล้ว เขาทำได้มากแล้ว อันนี้เป็นประโยชน์ในทางโลก ใช้ได้มากกว่านี้
            เมื่อกี้พูดถึงทิพจักขุญาณ และก็ญาณที่ ๒ ที่จะได้จากมโนมยิทธิก็คือ จุตูปปาตญาณ
            จุตูปปาตญาณ ที่เขาบอกว่าจะรู้เห็นคนหรือสัตว์ หรือ ว่าได้ยินชื่อคนหรือสัตว์ เราสามารถรู้ได้ทันทีว่าคนพวกนี้ก่อนเกิดมาจากไหน ถ้ารู้็ว่าใครเขาตายเขาแจ้งว่าคนนั้นตาย สัตว์ตัวนี้ตายเราก็จะทราบได้ว่าผู้ตายผู้นี้เวลานี้ไปอยู่ที่ไหน อันนี้เขาเรียกว่า จุตูปปาตญาณ
            แล้วก็ต่อมาเป็น ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ การระลึกชาติ สามารถจะทบทวนชาติต่าง ๆ ที่เราเกิดมาได้ทั้งหมดว่า เราเคยเกิดมาแล้วกี่ชาติ แต่กี่ชาตินี่นับไม่ไหวนะ ว่าเคยเกิดมาแล้วกี่แสนชาติดีกว่า เคยเกิดเป็นอะไรมาบ้าง เราสามารถจะรู้
            แล้วก็ต่อไป เจโตปริยญาณ เจโตปริยญาณ เขาแปลว่าสามารถรู้อารมณ์จิตของบุคคลอื่น หมายความว่าคนที่นั่งอยู่ที่นี่ก็ดี ถ้ายังไม่มาก็ดี เราจะรู้ว่าเขาคิดอะไร เราสามารถจะรู้ได้ทันที
            และต่อไป อตีตังสญาณ สามารถรู้เหตุการณ์ในอดีตของคนและสัตว์และสถานที่ได้ ว่าก่อนนั้นเขาทำอะไรมาหรือมีสภาพเป็นอย่างไร
            อนาคตังสญาณ รู้เหตุการณ์ในอนาคต

ที่มา
http://www.jidsai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539146167

2
การฝึกวิชามโนมยิทธิ
คำแนะนำการฝึกมโนมยิทธิ

โดย หลวงพ่อพระมหาวีระ ถาวโร

            ต่อไปนี้จะขอแนะนำเนื่องในการเจริญมโนมยิทธิ คำว่า มโนมยิทธิ นี่เป็นกรรมฐานอย่างหนึ่งในกรรมฐาน ๔๐ เพราะกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้มี ๔๐ แบบ แล้วก็ ๔๐ แบบ ถ้าแบ่งเป็นหมวดก็ ๔ หมวด คือ
            หมวดที่ ๑ สุขวิปัสสโก
            หมวดที่ ๒ เตวิชโช
            หมวดที่ ๓ ฉฬภิญโญ
            หมวดที่ ๔ ปฏิสัมภิทัปปัตโต
            หมวดที่ ๑ ที่เรียกว่า สุขวิปัสสโก ท่านแปลว่า บรรลุมรรคผลได้อย่างแบบง่าย ๆ แต่ความจริงแล้วไม่ง่าย ยากมากแบบสุขวิปัสสโกนี่เวลาเจริญสมาธิตามที่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททำอยู่ตามปกติ เป็นการทำจิตให้เป็นสมาธิเข้าถึงฌานสมาบัติ แล้วก็ตัดกิเลส ไม่สามารถจะเห็นผี เห็นนรก เห็นเทวดา เห็นสวรรค์ได้ คือไม่มีทิพจักขุญาณ
            สำหรับ เตวิชโช นั้น มีความสามารถพิเศษอยู่ ๒ อย่าง คือว่ามีทิพจักขุญาณด้วย สามารถระลึกชาติด้วย และก็
            ฉฬภิญโญ (อภิญญาหก) แสดงฤทธิ์ได้ มีหูเป็นทิพย์ มีตาเป็นทิพย์
            ปฏิสัมภิทัปปัตโต มีความสามารถคลุมวิชชาสามและอภิญญาหก มีความฉลาดกว่า
            หมวดที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ไม่เหมือนกัน แต่วิธีปฏิบัติคล้ายคลึงกัน เอาในกรรมฐานทั้ง ๔๐ มาแยกปฏิบัติเป็นหมวดหมู่
            ทีนี้สำหรับการปฏิบัติ ถ้าจะถามว่าอย่างไหนเข้าถึงมรรคผลง่ายกว่ากัน ก็ต้องเป็นไปตามอัธยาศํยของบรรดาท่านพุทธบริษัท
            สำหรับ สุขวิปัสสโก พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้สำหรับผู้ที่ต้องการเรียบ ๆ ไม่ต้องการฤทธิ์เดช ทำแบบสบาย ๆ จิตใจไม่ชอบจุกจิก
            สำหรับ เตวิชโช นั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้สำหรับคนที่อยากรู้อยากเห็น ถ้ามีสิ่งปิดบังลี้ลับอยู่ ทนไม่ไหว ต้องหาให้พบ ค้นให้เห็น
            สำหรับ ฉฬภิญโญ นั้น สำหรับคนที่ต้องการมีฤทธิ์เดชพระพุทธเจ้าก็ทรงสอนไว้
            สำหรับ ปฏิสัมภิทาญาณ หรือปฏิสัมภิทัปปัตโต ท่านมีทั้งฤทธิ์ด้วย มีทั้งความเป็นทิพย์ของจิตด้วยมีความฉลาดด้วย สอนไว้เพื่อคนที่ต้องการรอบรู้ทุกอย่าง
            ฉะนั้นการที่พระพุทธเจ้าทรงสอน จึงเป็นไปตามอัธยาศัยของคน
            สำหรับวันนี้จะนำเอาคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าส่วนหนึ่งที่เรียกว่า มโนมยิทธิ มาแนะนำแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท
            มโนมยิทธิ นี่คล้ายคลึงกับ เตวิชโช แต่ว่ามีกำลังสูงกว่า เป็นกรรมฐานเพื่อนเตรียมตัวที่จะปฏิบัติเพื่อ อภิญญาหก ต่อไปข้างหน้า
            สำหรับ เตวิชโช ก็ได้แก่ วิชชาสาม ก็มีทิพจักขุญาณ ซึ่งต่างกับ มโนมยิทธิ คือว่าท่านที่ได้ทิพจักขุญาณแล้วนั่งอยู่ตรงนี้ สามารถจะเห็นเทวดาหรือพรหมได้ สามารถจะคุยได้ แต่ไปหาไม่ได้ สามารถจะเห็นสัตว์นรก เห็นเปรต เห็นอสุรกายได้ แต่ว่าไม่สามารถจะไปหากันได้ เห็นอย่างเดียว

ที่มา
http://www.jidsai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539146167

3
สนทนาภาษาผู้ประพฤติ / ตอบ: จิตดื้อ
« เมื่อ: 05 มิ.ย. 2556, 12:49:51 »
ขอบคุณครับ
อ่านเพิ่มเติม
http://www.dhammada.net/niranam/dule.html

5

พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร
ทุกคนผู้เข้ามานับถือพระพุทธศาสนา จะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม จะถือบวชก็ตาม ต้องทำกิจเบื้องต้น คือ ปฏิญาณตนถึงพระรัตนตรัยนี้เป็นสรณะ คือ ที่พึ่ง หรือดังที่เรียกว่านับถือเป็นพระของตน เทียบกับทางสกุล คือ นับถือพระพุทธเจ้าเป็นพระบิดา ผู้ให้กำเนิดชีวิตในทางจิตใจของตน สัจธรรมที่เป็นหลักใหญ่ในพระพุทธศาสนา คือ อริยสัจ ๔


คิริมานนทสูตร
ในครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระเชตะวันมหาวิหาร ครั้งนั้น ท่านคิริมานนท์อาพาธ(เจ็บป่วย) หนัก กระสับกระส่ายเพราะพิษไข้ ท่านพระอานนท์จึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลให้เสด็จไปเยี่ยม พระพุทธองค์ตรัสว่า ถ้าอานนท์จะไปเยี่ยมพระคิริมานนท์จงแสดงสัญญา ๑๐ อย่าง ให้พระคิริมานนท์ฟังด้วย เพราะเมื่อฟังจบแล้วจะหายจากโรคาพาธนั้นโดยเร็วพลัน จากนั้นทรงแสดงสัญญา ๑๐ ให้ท่านพระอานนท์ได้เรียนและจดจำเพื่อนำไปแสดงแก่พระคิริมานนท์ต่อไป
สัญญา ๑๐
๑. อนิจจสัญญา
๒. อนัตตสัญญา
๓. อสุภสัญญา
๔. อาทีนวสัญญา
๕. ปหานสัญญา
๖. วิราคสัญญา
๗. นิโรธสัญญา
๘. สัพพโลเกอนภิรตสัญญา
๙. สัพพสังขาเรสุอนิฏฐสัญญา
๑๐. อานาปานสติ
สัญญา หมายถึง ความจำได้, ความหมายรู้ได้, หรือความกำหนดหมาย เป็นสัญญาชั้นสูงที่จะนำไปสู่ปัญญา มี ๑๐ ประการ คือ
๑. อนิจจสัญญา กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร หมายถึง การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงของอุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ว่าสิ่งเหล่านี้เกิดมาแล้วดับไป ผันแปรเปลี่ยนสภาพตลอดเวลา หรือเป็นสิ่งชั่วคราวตั้งอยู่ได้ชั่วขณะ
๒. อนัตตสัญญา กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรม หมายถึง การพิจารณาเห็นความเป็นของมิใช่ตัวตนของอายตนะภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) และอายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) ว่าสิ่งเหล่านี้ เป็นสภาพว่างเปล่าหาสภาวะที่แท้จริงไม่ได้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง หรือไม่อยู่ในอำนาจบังคับของใคร
๓. อสุภสัญญา กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย หมายถึง การพิจารณาร่างกายนี้ทั้งหมด ตั้งแต่พื้นฝ่าเท้าขึ้นไปจนถึงปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีอยู่ในกายนี้ ๓๑ อย่าง เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น พิจารณาจนเกิดเห็นความไม่งามของกายขึ้นในจิต
๔. อาทีนวสัญญา กำหนดหมายโทษแห่งกาย คือ มีอาพาธต่างๆ หมายถึง การพิจารณาเห็นว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก ความเจ็บไข้ต่างๆ จึงเกิดขึ้นได้ในกายนี้ ไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนฤดูกาล, วิบากกรรม, หรือการรักษาสุขภาพร่างกายไม่สม่ำเสมอ เป็นต้น
๕. ปหานสัญญา กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตก และบาปธรรม หมายถึง การไม่รับเอาอกุศลวิตก ๓ (กามวิตก, พยาบาทวิตก, วิหิงสาวิตก) ที่เกิดขึ้น แต่กลับพยายามละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด และทำให้อกุศลทั้งหลายทั้งปวงไม่ให้เกิดขึ้นได้อีกต่อไป
๖. วิราคสัญญา กำหนดหมายวิราคะ คือ อริยมรรคว่า เป็นธรรมอันละเอียด หมายถึง การพิจารณาเห็นว่า ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด และพระนิพพานเป็นภาวะที่สำรอกกิเลสได้จริง
๗. นิโรธสัญญา กำหนดหมายนิโรธความดับตัณหา คือ อริยผล ว่าเป็นธรรมอันละเอียด หมายถึง การพิจารณาเห็นว่าภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความดับ และพระนิพพาน เป็นภาวะที่ดับตัณหาได้จริง
๘. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง หมายถึง การละอุปาทานในโลกที่เป็นเหตุตั้งมั่น ยึดมั่น และเป็นอนุสัยแห่งจิต งดเว้นไม่ถือมั่น รู้จักยับยั่งใจไม่ให้ไหลไปตามอำนาจตัณหา
๙. สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง หมายถึง การพิจารณาความไม่ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ จนเกิดความอึดอัด ระอาเบื่อหน่าย รังเกียจในสังขารทั้งปวง
๑๐. อานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก หมายถึง การตั้งสติกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านไปในที่อื่น กำหนดจิตเฉพาะที่ลมหายใจเข้าออก
พระอานนท์ เมื่อได้เรียนทรงจำสัญญา ๑๐ ประการนี้ได้แล้วจึงได้ไปเยี่ยมไข้พระคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญา ๑๐ นั้นแก่ท่าน เมื่อฟังจบแล้วท่านพระคิริมานนท์ได้หายขาดจากอาพาธนั้น
การที่ทุกขสัญญาไม่ปรากฏอยู่ในสัญญา ๑๐ ประการ ในคิริมานนท์สูตรนั้น มิใช่หมายความว่าไม่มีเรื่องทุกข์ร่วมอยู่ในที่นั้นด้วย เพราะทุกข์ได้ทรงแสดงไว้ในอาทีนวสัญญา การที่ทรงแสดงทุกข์ด้วยอาทีนวสัญญานั้น ก็โดยมีพระพุทธประสงค์ที่จะให้เหมาะแก่บุคคลผู้รับพระธรรมเทศนา คือ พระคิริมานนท์ผู้กำลังต้องอาพาธอยู่ จึงได้ทรงยกโรคาพาธต่างๆ อันเป็นอาการของทุกข์ขึ้นแสดง โดยความเป็นโทษของร่างกายเสียทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเป็นอันยุติว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงทุกข์ไว้ในที่นั้นโดยชื่อว่า อาทีนวสัญญา ฯ
(หนังสือบูรณาการแผนใหม่ นักธรรมชั้นเอก รวมทุกวิชา.กรุงเทพฯ:เลี่ยงเชียง,๒๕๔๗.)อริยสัจ ๔

เขียนโดย จิตติเทพ นาอุดม ที่ 02:13

ขอบคุณที่มา
http://buddhahastaught.blogspot.com/2010/11/blog-post.html

6
ดีครับ
ชอบครับ
แล้วมาแบ่งป้นเล่าสู่กันฟ้ง(อ่าน)อีกนะครับ

7
ขอบคุณที่นำภาพมาชมกันครับ

สวัสดีปีใหม่ สุขศรีทุกท่านครับ

8
ยามว่างหรือมีโอกาส ก็จะฟังเรื่อยๆครับ ของดีมีประโยชน์มาก :054:

9
กรรมที่ทำกับยุงตัวเล็กๆด้วยการทรมาณมันช่างมีผลรุนแรงไม่ใช่น้อย :075:

10
ขอบคุณครับ เรื่องนี้มีประโยชน์มากเลยครับ

11
ตอนที่ ๑๓
ทดสอบจิตใจตนเอง


คณะสหธรรมิกได้จาริกไปถึงเทือกเขาในอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่บริเวณเทือกเขาแห่งนี้เป็นบริเวณที่สัปปายะพื้นที่ลาดลงไปทุ่งนา มีหมู่บ้านไม่ไกลนัก ขณะที่บำเพ็ญจิตภาวนาอยู่ที่นี่

สหธรรมิก ๑ องค์เป็นไข้มาลาเรียอาการหนักไม่สามารถรักษาได้เพราะอยู่ห่างไกล แม้จะใช้ยาพื้นบ้านก็ไม่สามารถรักษาให้อาการทุเลาได้เป็นเหตุให้เสียชีวิต

ส่วนอีก ๑ องค์เกิดได้มีศรรักปักอกเพราะได้พบรัก จึงลาสิกขาไปแต่งงาน

จึงเหลือเพียง ๒ องค์ มุ่งทำความเพียรที่นั่นต่อไปด้วยความมุ่งมั่นที่จะหาทางพ้นทุกข์ การบำเพ็ญพากเพียรไม่เกิดผล เพราะเหตุสหธรรมิก ๒ องค์ต้องลาจากไปด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้จิตใจสับสนกระวนกระวายภาวนาหลายคืนจิตไม่สงบ มีแต่ร้อนรนรุ่มร้อน

พระจามได้นึกถึงวิธีการสั่งสอนฝึกจิตที่พระพุทธเจ้าตอบสารถีผู้ฝึกม้า ควรจะทำอย่างไรกับม้าที่ฝึกยาก ม้าที่ฝึกยากเปรียบเสมือนจิตของคนเราที่จะต้องฝึกฝนทรมานอย่างเหมาะสมกับจริตนิสัยของตน ท่านจึงหาวิธีทดสอบจิตที่ดื้อมากขณะนั้นทั้งๆ ที่เคยทำได้และสูญหายไป ฝึกใหม่ก็ไม่ยอมลง แสดงถึงจิตตนเองมีความดื้อมากขณะนั้น ช่วงนั้นระหว่างเดือน ๙ เดือน ๑๐ ฝนกำลังตกหนักน้ำไหลจากภูเขา ไหลตามลำห้วยลงมาในทุ่งนาท่วมเอ่อเป็นบริเวณกว้างต้นข้าวกำลังงอกงามดี เกิดความคิดขึ้นมาว่า เอาละคราวนี้จะลองภาวนาในน้ำเพื่อแก้ความร้อนรนในจิตใจ เอาความเย็นเข้าแก้ไข และแก้สติที่ชอบเผลอหลับขณะภาวนาเสมอ

เมื่อคิดได้เช่นนั้นจึงตั้งจิตอธิษฐานไม่นอน จะภาวนาในอิริยาบถนั่ง จึงลงไปภาวนาในทุ่งนา โดยแช่ตัวในน้ำ บางคืนตั้งแต่ ๓ ทุ่มบ้าง ๔ ทุ่มบ้าง จนถึงตี ๔ หรือตี ๕ แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละคืน พระจาม กับสหธรรมิกอีก ๑ องค์ จำพรรษาอยู่ที่นั้นตลอดไตรมาสโดยชาวบ้านได้สร้างเสนาสนะให้ชั่วคราว

ท่านได้บำเพ็ญความเพียรอย่างเอาจริงเอาจัง บางครั้งก็หลับขณะนั่ง หลับขณะยืน หลับขณะเดินจึงแก้ไขการหลับในน้ำกลางทุ่งนา นั่งในน้ำอยู่ระดับคอหอยพอดี ถ้าหลับสัปหงกหัวทิ่มลงมาน้ำจะเข้าจมูก หน้าแช่น้ำพอรู้สึกว่าจะสำลักน้ำตาย ก็โผล่ขึ้นมาหายใจ ปฏิบัติอยู่อย่างนี้อยู่หลายคืนเว้นบ้าง ถ้าขณะภาวนาตัวลอยขึ้นก็จะใช้มือจับต้นข้าวไว้ เพื่อให้ตัวจมไว้ในระดับที่ต้องการ ทำให้การบำเพ็ญจิตภาวนาได้ผลดีขึ้นพอสมควร

เมื่อจิตสงบก็พิจารณาไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาธาตุสี่ ดินน้ำลมไฟ พิจารณากายานุสติ พิจารณาอสุภะอสุภังว่าร่างกายนี้ไม่สวยไม่งาม ปัญญาทางธรรมยังไม่เฉียบคมพอที่จะตัดกิเลสออกได้แม้แต่กิเลสหยาบหรือกลาง แล้วกิเลสขั้นละเอียดจะหลุดออกจากจิตใจได้อย่างไรเกิดความสงสัยตัวเองอย่างบอกไม่ถูก เมื่อจิตออกจากสมาธิก็เร่าร้อน จึงต้องหาสาเหตุว่าทำไมจิตจึงร้อน ถามใจตนเอง ต้องค้นหาความจริงให้ได้

ด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว ที่ตั้งไว้แน่วแน่ที่จะต้องให้หลุดพ้นในชาตินี้ให้ได้ จึงทรมานจิตอย่างหนักหน่วงอย่างต่อเนื่อง ผลการปฏิบัติแม้ว่าจะไม่ได้ผลเท่าที่ตั้งใจไว้ก็ตาม แต่ก็ยังเกิดความรู้ขึ้นเกือบทุกครั้งที่เกือบตาย เกือบขาดใจ ทำให้เข้าใจแจ่มแจ้งถึงหน้าที่ของกายกับจิตนั้นแยกกัน จิตไม่อาจบังคับกายได้ทุกอย่าง จิตจะบงการการให้ทำงานตามที่ธรรมชาติสร้างไว้ให้ กิเลสจะคอยปิดบังให้จิตหลงว่าเป็นเจ้าของกาย จึงหวงกายเป็นที่สุด แท้จริง กายไม่ใช่ของใจ ใจเพียงอาศัยกายอยู่ กายตายได้แต่ใจไม่ตายแต่กิเลสบังไว้ พระพุทธเจ้าจึงให้พิจารณาไตรลักษณ์ คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา

บางคืนจิตสงบเป็นสมาธิก็เกิดนิมิตภาพเดิมๆ อีก เห็นพระพุทธรูปมากมาย วัดร้างต่างๆ ที่ชำรุดผุพัง ต้นโพธิ์ เกิดความรู้สึกขึ้นว่าได้เกิดหลายชาติ มีส่วนในการสร้างสิ่งที่ปรากฏในนิมิตนั้น บางคืนเกิดญาณทัศนะรู้อดีตชาติแบบลางๆ แต่ย้อนไปหลายชาติ แม้กระทั่งบางชาติเคยตกนรก บางชาติเคยเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

เมื่อออกพรรษาได้ระยะหนึ่งท่านจึงจาริกต่อไป ด้วยการเดินทางตามป่าเขาลัดเลาะไป ณ สถานที่ต่างๆ ค่ำที่ไหนก็หาที่พักปักกลดภาวนา ๒ วันบ้าง ๓ วันบ้าง เรื่อยๆ ไปมุ่งไปเหนือ


ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13090

12
ตอนที่ ๑๒
อัศจรรย์เด็กผู้หญิง


เมื่อออกพรรษาญาติโยมได้รับหลวงพ่อกากลับไปห้วยทราย พระจามและสหธรรมิกรวม ๔ องค์ ได้เดินธุดงค์ไปตามป่าเขา ช่วงระหว่างเลยกับเพชรบูรณ์ เพื่อแสวงหาสถานที่วิเวก บนเชิงเขาหินผาได้พบพระธุดงค์ ๒ องค์ จะเดินข้ามดงใหญ่ องค์หนึ่งพึ่งหายป่วยตั้งใจจะข้ามไปอีกฟากเขา พอเดินไปกลางดงก็หมดแรง ขอให้เพื่อนกางกลดให้เพื่อพักอยู่ก่อนโดยขอให้เพื่อนเดินไปให้พ้นดงก่อนมืด แล้วชวนให้ชาวบ้านกลับมาช่วยในวันรุ่งขึ้น ปรากฏว่าในคืนนั้นพระองค์นั้นถูกเสือคาบไปกินเหลือแต่ร่องรอย เป็นอัฐบริขารในกลด สันนิษฐานว่าคงออกไปปัสสาวะข้างนอกจึงถูกเสือคาบเอาไปกิน ส่วนท่านและสหธรรมิกเดินข้ามฟากไปโดยปลอดภัย

ต่อมาได้ไปพักปักกลดอยู่บนเชิงเขาแห่งหนึ่งใกล้หมู่บ้านเลยวังใส ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ อยู่ริมแม่น้ำเลย เช้าวันหนึ่งคณะสงฆ์ได้เดินทางออกไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน มีศรัทธาญาติโยมใส่บาตรให้พอสมควรแล้วก็เดินทางกลับไปที่พักปักกลด ได้มีศรัทธาญาติโยมบางท่านติดตามเอาอาหารมาถวายเพิ่มเติม มีเด็กหญิงตัวเล็กๆ ไปด้วยโดยไม่มีพ่อแม่นำไป เด็กหญิงคนนั้นได้นำข้าวและสัปปะรดครึ่งลูกไปถวาย

ขณะนั้นก็มีการเตรียมอาหารแยกอาหารและกับข้าวเพื่อจัดถวายพระสงฆ์เพื่อเฉลี่ยกันฉันให้ทั่วถึง เด็กหญิงคนนั้นกุลีกุจอจัดอาหารคาวหวานตลอดจนการประเคนอาหารมีความแคล่วคล่องกว่าผู้ใหญ่ การพูดการจาฉะฉานรู้จักวิธีการปฏิบัติต่อพระกรรมฐานอย่างดีกว่าผู้ใหญ่ที่มาถวายด้วย เพราะยังรู้สึกเก้ๆ กังๆ ทำอะไรไม่ค่อยจะถูก เด็กหญิงคนนั้นพูดขึ้นว่า “ขออภัยด้วยบ้านนี้เป็นบ้านป่าดง ไม่รู้จักพระเจ้า ไม่รู้จักพระสงฆ์ ทำอะไรไม่ค่อยจะถูก” ทุกคนรู้สึกประหลาดใจ สะดุดใจ ทำไมเด็กหญิงตัวน้อยๆ พูดจาฉะฉานดีกว่าผู้ใหญ่ รู้ข้อวัตรปฏิบัติของพระกรรมฐานดีขนาดนี้ พระจามและสหธรรมิกรู้สึกแปลกใจ ทั้งๆ ที่ผู้ใหญ่ได้ผ่านโลกมาก็มากผ่านการทำบุญมาก็มาก ทำไมจึงแตกต่างกันถึงปานนั้น ท่านได้นำคำพูดนั้นมาสนทนาพิจารณาทบทวนความสงสัย ในที่สุดก็ลงความเห็นเป็นคำตอบที่น่าจะเป็นไปได้ว่า “ถ้าเป็นมนุษย์ก็เป็นโสดาบันมาเกิดใช้ชาติ แต่ถ้าไม่ใช่มนุษย์ก็เป็นเทวดา”

คณะจึงเดินทางไปบำเพ็ญจิตภาวนาที่ ถ้ำผาบิ้ง จังหวัดเลย ระยะหนึ่ง การภาวนายังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร จึงเดินธุดงค์ต่อไปยังเพชรบูรณ์


ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13090

13

หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ขณะออกรับบิณฑบาต
ตอนที่ ๑๑
วิกฤติสร้างวีรบุรุษ


เมื่อการบวชได้ผ่านไปด้วยความเรียบร้อย คณะจึงได้เดินทางไปนมัสการปูชนียสถานสำคัญ เพื่ออธิษฐานฝากฝังพระจาม ตลอดจนพระจามก็อธิษฐานตนฝากไว้ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ให้ตลอดรอดฝั่ง จึงพากันไปนมัสการพระธาตุหลวง ที่เวียงจันทน์ ประเทศลาว โดยผ่านไปนมัสการพระธาตุบัวบกที่บ้านผือ พระธาตุโคกซวก ที่ศรีเชียงใหม่ ข้ามไปยังฝั่งประเทศลาว ความมั่นใจจึงเกิดขึ้นอย่างเต็มหัวใจ คณะจึงมุ่งกลับสู่คำชะอี ด้วยการเดินทางด้วยเท้าไม่มียานพาหนะและคณะมีหลายคนบางคนก็อายุมาก ย่อมทำให้การเดินทางได้ไม่รวดเร็วเท่าที่ควรประกอบด้วยลักษณะนิสัยประจำตัวของพระจามที่มีอยู่เดิมนั้น ค่อนข้างใจร้อนทำอะไรรวดเร็ว เด็ดเดี่ยวอยู่แล้วจึงได้ขอร้องกับคณะที่ไปส่งโดยขอแยกตัวไปเพื่อแสวงหาสถานที่วิเวกเพื่อภาวนาสักระยะหนึ่งจึงจะตามไป

เมื่อข้ามจากฝั่งประเทศลาวมาไทยแล้ว พระจามจึงขอแยกออกจากคณะเพื่อมุ่งไปบำเพ็ญจิตภาวนาเพียงองค์เดียว เพราะมีความเชื่อมั่นในตนเองอย่างเต็มหัวใจ ที่ตนเองได้เคยศึกษาปฏิบัติธรรมอยู่หลวงปู่มั่นขณะเป็นเณรมาในขั้นอุฤษฏ์แล้ว ตลอดจนแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรียนรู้จากครูบาอาจารย์ผู้เป็นศิษย์หลวงปู่มั่นหลายองค์ เช่น หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม หลวงปู่ดี ฉนฺโน มาแล้วโดยเฉพาะหลวงปู่ดี ฉนฺโนเก่งทางกสิณพระจามเชื่อมั่นตนเองว่า มีฤทธิ์อำนาจพอที่จะรักษาตนเองได้ตลอดจนเรียนรู้ธรรมเนียมพระธุดงค์กรรมฐานอย่างดีมาแล้ว

พระจามได้มุ่งสู่ถ้ำพระ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ปักกลดบำเพ็ญจิตภาวนาระยะหนึ่งแล้วเดินธุดงค์ต่อไปยังถ้ำเกิ้ง ใกล้ภูย่าอู่ อำเภอบ้านผือ เขตจังหวัดอุดรธานี อยู่บนเทือกเขาภูพาน ที่บริเวณนั้นมีเสือชุกชุม เสือแถบนี้เคยกินคนมาแล้ว เมื่อชาวบ้านทราบจึงมีความเป็นห่วงว่าจะถูกเสือตะครุบเอาไปกิน

ชาวบ้านบอกเล่าว่า มีเสือโคร่งสามารถกินควายวัวคนได้ เสือดาวมักจะกินลูกควายลูกวัวและคนได้ เสือดำมักกินหมาที่ติดตามคนไป แต่ถ้าเข้าใจผิดว่าคนเป็นหมาก็สามารถกินคนได้เช่นกัน ที่เสือแถวนี้ชอบกินคนเพราะได้เคยกินศพคนเดินทาง มีคณะที่แบกหามสัมภาระไปขายโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเวียดนาม เมื่อใครตายก็ทิ้งศพไว้ในป่าโดยไม่เผาหรือฝัง เสือจะกินซากศพที่ตายใหม่ๆ รสชาติเนื้อคนคงจะอร่อยทำให้เสือติดใจในรสชาติจึงเป็นสาเหตุที่เสือชอบกินคน ชาวบ้านแนะนำว่า กลางคืนต้องอยู่ในกลดอย่าออกมาข้างนอกจนกว่าจะรุ่งเช้า ต้องหากระบอกไว้ปัสสาวะในกลด เสือดำ เสือดาว อาจเข้าใจเป็นหมาก็จะตะครุบเอาไปกิน ถ้าออกมานอกกลด แม้แต่ระหว่างการเดินทางก็ต้องระมัดระวัง

คืนวันแรกที่ถ้ำเกิ้ง พระจามสวดมนต์ก่อนพลบค่ำจากนั้นก็เข้าภาวนาในกลด โดยไม่ออกมาจนกระทั่งรุ่งเช้าออกไปบิณฑบาตปรากฏว่าคืนนั้น เสือไม่มาหากินบริเวณนั้น เป็นเรื่องที่แปลกประหลาด เมื่อชาวบ้านทราบตอนไปบิณฑบาต ถามเรื่องราวแล้วชาวบ้านตกใจถามว่า “เสือไม่มาหรือ” ท่านตอบว่า “ไม่มี” แต่ชาวบ้านเข้าใจเหตุการณ์ดีจึงพากันไปตัดไม้ไผ่มาปักตามซอกหินที่เงื้อมผาถ้ำเกิ้งนั้นทำคอก ๒ ชั้น และทำไม้ค้ำยันเพื่อป้องกันเสือทุกชนิด ทำให้พระจามได้ใจชื้นขึ้นจากความรู้สึกที่ชาวบ้านเล่าเหตุการณ์ให้ฟัง

คืนวันที่สองท่านได้เข้าคอกเข้ากลดสวดมนต์ทำวัดเสร็จเรียบร้อยก่อนมืด พอเริ่มพลบค่ำได้ยินเสียงเสือร้องรับกันเป็นทอดๆ แต่ไกลและเสียงร้องใกล้เข้ามาๆ เป็นระยะหลายตัวเสียงดังสนั่นหวั่นไหว จิตเริ่มปรุงแต่งจึงเกิดความกลัวมากขึ้นตามลำดับ รู้สึกกลัวมากขึ้นจนตัวสั่น แม้ยังไม่เห็นตัวก็เพราะเป็นเวลาค่ำมืด ในช่วงวิกฤติตรงที่เสือมาร้องอยู่ที่หน้าถ้ำห่างนิดเดียวที่พึ่งสุดท้ายคือการสวดมนต์ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ท่านบอกว่าเริ่มแรกนั้นตั้งนะโม สวดก็ไม่จบ สวดอิติปิโสก็ไม่ถูก เสือเดินวนไปเวียนมา ได้แต่นะโมเฉยๆ อิติปิโสเฉยๆ เกิดกลัวจนขนพองสยองเกล้า แต่เมื่อเสือไม่เข้ามาตะกุยคอกที่ชาวบ้านสร้างให้ไว้ ก็มีสติขึ้นมา ตั้งสติได้ก็สวดมนต์ได้จนจบ สวดอย่างถี่ยิบเพื่อให้จิตสงบโดยเร็ว เพราะไม่แน่ใจว่าเสืออาจหวนกลับมาเล่นงานก็ได้

จากนั้นไม่นานจิตก็สงบเป็นสมาธิ ความกลัวหายไปหมด เชื่อมั่นในพระรัตนตรัยอย่างปราศจากข้อสงสัย ต่อจากนั้นก็ปรากฏหัวหน้าเทวดาแต่งตัวสวยงามมาบอกว่า ถ้าต้องการให้ช่วยเหลือก็ให้นึกถึงจะมาช่วยเหลือทันที และบอกบริวารที่เป็นเพศหญิงให้ออกไปจากบริเวณถ้ำเสียก่อนและให้ช่วยปกป้องคุ้มครอง และบอกอีกว่าใกล้ๆ มีบ่อน้ำทิพย์ให้ใช้ดื่มกินได้

วิกฤติชีวิตได้ผ่านไปจากการเสี่ยงภัยจากเสือร้าย ท่านจึงเกิดความมั่นใจ ตอนรุ่งเช้าออกไปบิณฑบาต ก็ได้เดินสำรวจดูรอยตีนเสือมากมายตามทางเดิน แต่จิตใจไม่สะทกสะท้าน จิตใจมั่นคงอยู่กับ “พุทโธ” ตลอดเวลาท่านได้พักภาวนาอยู่ที่ถ้ำนี้ระยะหนึ่งพอสมควรแล้วและเห็นว่าใกล้จะเข้าพรรษา จึงเดินทางกลับไปจำพรรษาที่ห้วยทราย ที่โปรดโยมแม่ชี

เมื่อพรรษาผ่านไปรู้สึกเป็นห่วงโยมแม่ จะลาสิกขาถ้าตัวเองไม่อยู่ห้วยทราย จึงไปเรียนปรึกษาว่าจะออกธุดงค์ไปหาวิเวกที่ต่างๆ เป็นระยะเวลายาวนาน แม่ชีมะแง้จึงกล่าวให้เกิดความสบายใจว่า “ไม่ต้องเป็นห่วงใยแม่ เพราะแม่มีหลักใจแล้วขอให้ออกไปแสวงหาธรรมขั้นสูง ณ สถานที่สัปปายะตามรอยพระกรรมฐานเถิด” ต่อจากนั้นพระจามจึงตัดสินใจ ออกหาวิเวก โดยเดินทางไปลาพ่อซึ่งบวชเป็นพระอยู่ที่ภูเก้า เพื่อไปหาพระอาจารย์คูณ อธิมุตโต ที่มหาสารคาม หลวงพ่อกาจึงเดินทางไปจำพรรษาที่มหาสารคามเพราะด้วยความห่วงใย


ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13090

14
ตอนที่ ๑๐
แม่วางเส้นทางชีวิต

แม่ชีมะแง้ ผิวขำ ได้รับคำแนะนำจาก แม่ชีแก้ว เสียงล้ำ ผู้เป็นญาติสนิท และพระอาจารย์พัน ได้พร้อมใจกันวางเส้นทางชีวิตให้สามเณรจามโดยจะต้องรีบบวชเป็นพระโดยเร็วและเลือกวัดที่มีรากฐานทางด้านพระกรรมฐานตามที่พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นได้วางแนวทางไว้ตามที่ตั้งใจไว้แต่เดิมนั้น ถูกต้องเหมาะสมแล้วคือ วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เพื่อดำเนินตามรอยทางพระกรรมฐานที่มีแหล่งกำเนิดที่ดีและเชื่อมั่นในแนวทางที่จะบำเพ็ญพากเพียรเพื่อที่จะบรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้ และมีทั้งภาคปริยัติและภาคปฏิบัติควบคู่กันไป

ในที่สุดคณะก็ได้ไปถึงวัดโพธิสมภรณ์ การอุปสมบทจึงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ตรงกับเดือนเกิด อายุเกือบ ๒๙ ปีเต็ม โดยมี พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพกวี (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ พระอุโบสถวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี เป็นอันว่าแม่ชีมะแง้ ผิวขำ ได้วางเส้นทางชีวิตให้ลูกชายได้สมความปรารถนาแล้ว

แม่ชีมะแง้และแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ เป็นเพศหญิงย่อมเข้าใจในจริตนิสัยใจคอของผู้หญิงสาวอยู่แล้วอย่างดี จึงใช้สติปัญญาปฏิภาณไหวพริบที่ทั้งสองได้เคยผ่านชีวิตทางโลกมาแล้วสามารถปกป้องคุ้มครองลูกชายให้ผ่านพ้นสงครามหัวใจที่เป็นเหตุการณ์สำคัญถึง ๒ ครั้ง ท่านเข้าใจดีว่า “เสือป่านั้นไม่น่ากลัวเท่าเสือบ้าน” เสือบ้านคือผู้หญิงจะตะครุบเอาไปกินน่ากลัวกว่าเสือในป่าเพราะเชื่อมั่นว่าบุญบารมีของพระจามนั้นได้สะสมมาแต่อดีตชาติแล้วได้แววมาตั้งแต่เด็กแล้ว ใครเล่าจะรู้จักลูกของตนดีไปกว่าแม่บังเกิดเกล้าคงไม่มีอีกแล้ว

แม่ชีมะแง้เป็นผู้มีสติปัญญาดี มีไหวพริบปฏิภาณดีมีอุปนิสัยเป็นคนละเอียดช่างสังเกต การปฏิบัติที่แสดงถึงคุณสมบัติดังกล่าว เมื่อคราวหลวงปู่มั่นพาโยมแม่กลับไปจังหวัดอุบลราชธานี ได้แวะพักที่ห้วยทราย เห็นหลวงปู่มั่นเดินหลังจากบิณฑบาตได้แวะไปแบ่งอาหารให้โยมมารดาถึง ๒ ครั้งในวันเดียวกัน แม่ชีมะแง้เห็นอย่างนั้นจึงจัดแจงทำอาหารคาวหวานไปให้โยมแม่หลวงปู่มั่นเสียเอง เป็นที่ประจักษ์ใจท่าน เมื่อหลวงปู่มั่นจะนำอาหารในบาตรออกมาให้โยมแม่ของท่าน โยมแม่ของหลวงปู่มั่นจึงห้ามว่า “แม่แดงจัดมาให้ฉันทานแล้ว” (ที่เรียกว่าแม่แดง เรียกตามชื่อลูกชายคนโต แม่ชีมะแง้มีลูกชายคนโตชื่อแดง) และพฤติกรรมของหลวงปู่มั่นที่ปฏิบัติต่อโยมแม่อย่างนี้เป็นที่ประทับใจและเป็นตัวอย่างอันดี เป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งนอกเหนือปฏิปทาอื่นๆ ของท่านแล้วนั้น ทำให้ชาวบ้านแถบนี้ได้เคารพนับถือด้วยคำเรียกว่า “ญาท่านเสาร์” และ “ญาท่านมั่น” ด้วย

มีข้อสังเกตกันว่า แม่ชีมะแง้ ผิวขำ คงจะเข้าใจรู้จักลึกซึ้งในคุณธรรมบุญวาสนาบารมีของพระจาม มหาปุญโญ ผู้เป็นพระลูกชาย ที่อดีตชาติคงได้สั่งสมบำเพ็ญบารมีมามาก จะเห็นจากคุณลักษณะประจำตัวที่เด็ดเดี่ยวทำอะไรทำจริง ประสบความสำเร็จเป็นขั้นเป็นตอน ชะรอยจะต้องบวชอยู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ตลอดชีวิตอย่างแน่นอน เล่ากันว่า แม่ชีแก้ว เสียงล้ำ คงจะมีส่วนสำคัญในการให้คำปรึกษาเพราะการปฏิบัติเจริญจิตภาวนาของแม่ชีแก้วนั้นเจริญก้าวหน้ารวดเร็ว รู้จักนรกสวรรค์ได้อย่างดี ญาณทัศนะที่ล้ำลึกเป็นสิ่งที่เชื่อมั่นได้ และสิ่งที่ปรากฏประจักษ์ในคุณธรรมของแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ ที่ได้ละสังขารไปแล้ว กระดูกอังคารของท่านกลายสภาพเป็นสิ่งสดใสเสมือนแก้วไปแล้ว ท่านผู้รู้ได้โปรดพิจารณา



แม่ชีแก้ว เสียงล้ำ (องค์หลัง) ถ่ายกับเพื่อนแม่ชี
ณ สำนักชีบ้านห้วยทราย ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13090

15

ตอนที่ ๙
สงครามหัวใจ


พระอาจารย์พัน โยมบิดาของ พระอาจารย์สวัสดิ์ โกวิทโท ซึ่งเคยบวชเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ขณะเป็นพระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง พร้อมด้วย แม่ชีมะแง้ ผิวขำ, แม่ชีแก้ว เสียงล้ำ และญาติได้พานายจาม เดินทางจากบ้านห้วยทรายเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐ เดินเท้ากันไปไหว้พระธาตุพนมที่จังหวัดนครพนม เพื่ออธิฐานขอบวชแล้วเดินทางเรียบแม่น้ำโขง ผ่านจังหวัดสกลนคร เพื่อมุ่งหน้าไปจังหวัดอุดรธานี เมื่อถึงบ้านผือได้พบหญิงชื่อบาง เธอได้ชักชวนให้นอนด้วย จะปล้ำเอาเป็นผัว “พี่นาคเข้าห้องด้วยกันเถอะ” หญิงสาวคนนี้ตามตื้ออยู่หลายวัน แม้จะเดินทางต่อไปผ่านบ้านอื่นก็พบหญิงสาวผู้นี้ตามไม่ลดละ

แม่ชีมะแง้ได้ปรึกษากับแม่ชีแก้วและญาติแล้วเห็นว่าอาจเสียทีเขา “กลัวผู้หญิงตะครุบเอาไปเป็นผัวจะต้องบวชให้โดยเร็ว” จึงรีบพานายจามไปบรรพชาเป็นสามเณรไว้ก่อนที่วัดป่าบ้านโคกคอน อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ เพื่อแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเพราะหญิงสาวผู้นี้ในขั้นต้นเสียก่อน

การเดินทางสมัยนั้น ค่อนข้างยากลำบาก เดินไปกันทางเท้าค่ำไหนนอนนั้น ต้องใช้เวลารอนแรมไปหลายเดือน จะต้องพบปะกับผู้คน เดินทางไปแต่ละแห่งก็ได้พบหญิงสาวหลายแห่งหลายคน ที่บึงกาฬก็พบหญิงสาวขอแต่งงานแต่ไม่หนักหนาเท่าหญิงสาวที่บ้านผือ ได้สอบถามหลวงปู่ถึงเหตุการณ์ดังกล่าวท่านบอกว่า “อดีตชาติเคยเป็นสามีภรรยากันมา” และ “เป็นธรรมดาที่เกิดมาหลายชาติ” และเหตุการณ์นั้นได้ผ่านพ้นได้อย่างหวุดหวิด อาจเป็นด้วยแรงอธิฐานที่ปรารถนาไว้จึงมีทางออกให้สามารถแก้ปัญหาวิกฤติชีวิตนั้นผ่านไปได้ ท่านยิ่งเชื่อมั่นในไตรสรณคมน์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างถึงหัวใจเอาชนะสงครามหัวใจของอำนาจกิเลสได้


ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13090

16
ตอนที่ ๘
ชีวิตวัยหนุ่มเรียนรู้ชีวิตทางโลก


สามเณรจาม อายุได้ ๑๙ ปี ใกล้จะอุปสมบทแต่ความป่วยไข้เป็นสิ่งที่หนีไม่พ้น มีอาการหนักขึ้นตามลำดับ จนไม่สามารถออกไปบิณฑบาตได้ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ได้เขียนจดหมายแจ้งนายกา ผู้เป็นบิดา ได้ทราบอาการป่วยและนายกาจึงขับเกวียนไปรับเพื่อนำมารักษาตัวที่บ้านห้วยทราย

การรักษาโรคเหน็บชา จะต้องให้กินอาหาร ๓ มื้อหรือมากกว่าเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ด้วยเหตุของการอดอาหารเป็นระยะเวลานานและให้การรักษาด้วยยาพื้นบ้านที่ต้องใช้สุราเป็นกระสายยา จึงต้องให้ลาสิกขาจากสามเณร ทั้งๆ ที่ปรารถนาจะอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ในอีกไม่นานนัก การรักษาใช้เวลาประมาณ ๓ ปี โรคเหน็บชาจึงหายขาด

ช่วงนี้เป็นระยะแห่งการเปลี่ยนแปลงในครอบครัว นายแดงผู้เป็นพี่ชายคนโตได้แต่งงาน จึงแยกครอบครัวไปตั้งรกรากที่บ้านแวง ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปมาก น้องชายก็ได้ออกบวชทำให้ขาดกำลังที่จะช่วยทำมาหากินและทำงานต่างๆ ให้ครอบครัว ตลอดจนดูแลน้องๆ อีกหลายคน ภาระอันหนักจึงตกอยู่แก่นายจามที่เป็นหลักให้แก่ครอบครัว จนกระทั่งอายุได้ ๒๗ ปี นายกาผู้เป็นพ่อได้มีศรัทธาออกบวชเป็นพระสงฆ์ นางมะแง้ผู้เป็นแม่ก็ได้ออกบวชเป็นแม่ชี เนื่องด้วยเสียใจมากที่ลูกชายคนสุดท้องได้เสียชีวิตอีก ทั้งอายุมากแล้วควรหาที่พึ่งและสมบัติทิพย์ในบั้นปลายของชีวิต ดั้งนั้น นายจามจึงรับภาระหนักขึ้นในการดูแลเลี้ยงดูน้องๆ ด้วย

ด้วยเหตุนี้เองญาติพี่น้องจึงหมายมั่นจะให้นายจามแต่งงานมีครอบครัวเป็นหลักฐาน มีแม่บ้านมาช่วยเหลืออีกแรงหนึ่ง จึงได้มีการทาบทามหญิงสาวสวยชาวภูไท ญาติผู้ใหญ่ได้ไปขอหมั้นเป็นเงิน ๑๒ บาทตามประเพณีและผู้ชายจะต้องปลูกเรือนหอ ทำไพลหญ้ามุงหลังคาด้วยตนเอง

นายจามคิดคำนึงถึงภาระอันหนักหน่วง และห่วงที่จะเกิดขึ้นมาผูกคอผูกเท้าผูกมือ แต่ในจิตใจส่วนลึกหวังจะออกบวชเพื่อหาทางพ้นทุกข์ เพราะได้รู้ได้เห็นทุกข์ของการมีครอบครัวและความยากลำบากในการเลี้ยงดู เอาอกเอาใจผู้อื่นอีกหลายคนจะไหวหรือ ในที่สุดจึงไปปรึกษาแม่ชีมะแง้ที่อยู่ภูเก้า (วัดภูเก้า) อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งบำเพ็ญสมณธรรมร่วมอยู่กับคุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ

แม่ชีมะแง้ได้ให้ข้อคิดเป็นแนวทางตัดสินใจด้วยตัวเองว่า “ถ้าลูกจะแต่งงานนั้นแม่ดีใจ แต่ถ้าลูกบวชแม่จะดีใจยิ่งกว่า” แสดงถึงความมีสัมมาทิฏฐิอย่างแท้จริง นายจามจึงได้นำข้อคิดของแม่มาพิจารณาทบทวน เนื่องจากตามประเพณีเมื่อหมั้นผู้หญิงแล้วถ้าหากไม่แต่งงานจะต้องถูกปรับสินไหม

นายจามจึงกลับไปปรึกษากับแม่ชีมะแง้อีกครั้งหนึ่งว่า “แม่อยากจะให้บวชจริงๆ หรือ เขาจะต้องปรับถ้าไม่แต่งงานกับเขา” แม่ชีมะแง้ตอบอย่างหนักแน่นว่า

“ปรับก็ไม่เป็นอะไรหรอกลูก แม่ยินดีมากๆ เลยที่จะเห็นลูกบวช”

เหตุการณ์เกิดเกื้อหนุนพอดี นายจูมผู้เป็นน้องชายได้ลาสิกขา มาเป็นกำลังให้ครอบครัวจึงเป็นโอกาสมาแก้ไขวิกฤต ประกอบกับแม่ชีมะแง้ได้เจรจาต่อรองกับฝ่ายหญิงว่าจะบวช โดยไม่มีเจตนาจะหนีหมั้นแต่อย่างใด จึงได้ลดค่าปรับลงเหลือเพียง ๖ บาท (สมัยนั้นควายราคาตัวละ ๒ บาท ๕๐ สตางค์) นายจามจึงตัดสินใจบวชโดยเร็ว
 


ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13090

17


ตอนที่ ๗
นิมิตสิ่งโบราณ


ขณะที่บำเพ็ญธรรมพากเพียรมุ่งมั่นขั้นอุกฤษฏ์อยู่กับหลวงปู่มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองขอน จังหวัดอุบลราชธานี สมเป็นลูกศิษย์หลวงปู่เป็นลูกธรรมแท้ในพระพุทธศาสนา แม้ว่าสุขภาพร่างกายจะไม่เอื้ออำนวยนักก็ตามแต่ก็คุ้มค่าของความพากเพียร

ผลที่ได้รับทำให้จิตสงบดีขึ้นโดยลำดับ เกิดนิมิตแปลกใหม่ที่ไม่เคยปรากฏและแตกต่างกับผู้อื่นจึงพอใจในผลงานของตน คุ้มค่าที่อดนอนและอดอาหาร

นิมิตเป็นภาพเจดีย์ปรักหักพังหลายแห่ง พระพุทธรูปเก่าแก่หลายปางมากมาย เนื้อเป็นทองคำบ้าง ทองสัมฤทธิ์บ้าง หินบ้าง ไม้บ้าง ปรากฏซ้ำแล้วซ้ำเล่าเกิดปีติในสมาธิจนน้ำตาไหล เห็นภาพต้นโพธิ์ ต้นไม้อื่นที่พระพุทธเจ้าบางองค์ที่ได้ตรัสรู้

ความสงสัยในจิตใจเกิดขึ้นพร้อมๆ กับปลื้มปีติในผลงานของการบำเพ็ญสมาธิภาวนา การปฏิบัติแต่ละวันแต่ละคืน เกิดภาพในสมาธิบ้าง เกิดภาพในฝันยามหลับนอนบ้าง แม้ว่าจะเปลี่ยนแนวทางมาพิจารณาปัญญาแต่ปัญญาไม่เกิด จะมีแต่ภาพนิมิตเกิดขึ้นมาแทน จึงเกิดความสงสัยในวิธีการปฏิบัติของตน แต่ความเป็นสามเณรน้อยเป็นเด็กๆ อยู่ไม่กล้าที่จะสอบถามหลวงปู่มั่น เพราะเกรงบุญญาบารมีของท่าน ได้แอบถามเพื่อนสหธรรมิกแต่ไม่กล้าเล่าให้ใครฟังเกรงจะเป็นการอวดอุตริหรืออวดความสามารถจึงเจียมตัวไว้

ระยะหลังๆ ที่ได้อุปสมบทเป็นพระสงฆ์แล้ว ได้ธุดงค์ไปแสวงหาสถานที่วิเวกเพื่อภาวนา ก็ได้ปรากฏภาพทำนองนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่เดิมก็คิดว่าเป็นภาพสัญญาที่เกิดขึ้นมาหลอกด้วยอำนาจของกิเลสจึงพยายามแก้ข้อสงสัยนั้นเรื่อยไป แต่เมื่อธุดงค์ไปกลับพบสิ่งปรักหักพังที่วัดเก่าแก่ต่างๆ จึงได้แน่ใจขึ้นอีกว่า คงจะเป็นบุญญาบารมีที่ตนเองได้เคยสร้างสมไว้แต่อดีตชาติ

คำถามที่ถามในใจตนเองว่า เหตุในอดีตคืออะไร เราสร้างบารมีเพื่อจุดมุ่งหมายอันใดแน่ ทั้งๆ ที่เราพากเพียรเพื่อความพ้นทุกข์ในชาตินี้

ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13090

18
ตอนที่ ๖
สามเณรจาม เจอผีจริงเข้าแล้ว

ชาวบ้านแถวจังหวัดยโสธรสมัยนั้นนิยมเลี้ยงผีเพื่อใช้ประโยชน์ตามที่ตนเชื่อถือ จะนับถือผีมากกว่านับถือพระ ชาวบ้านได้สร้างศาลผีปู่ผีย่าไว้ในหมู่บ้านพื้นที่บริเวณใดชาวบ้านพบว่าผีดุก็จะไม่กล้าเข้าไปใกล้ เพียงแต่ให้เครื่องเช่นไหว้บวงสรวงขอให้ช่วยเหลือ

คราวหนึ่ง หลวงปู่อ่อนเป็นหัวหน้าพร้อมด้วยหลวงปู่กงมา (ขณะนั้นยังเป็นพระหนุ่มๆ) พระอื่นๆ อีก และสามเณรจามได้ติดตามไปเที่ยววิเวกในป่ารกชัฏตามแนวทางพระกรรมฐานที่หลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นได้สั่งสอนและได้ปฏิบัติมา สถานที่ใดที่มีผีดุ ชาวบ้านกลัว ท่านจะไปภาวนาทำความเพียรเพื่อทดสอบฝึกฝนตนเอง หาประสบการณ์ ตลอดจนวิจัยธรรมที่จะเหมาะสมในการละกิเลสอุปาทานทั้งหลาย ในทำนองที่ว่า “สถานที่น่ากลัวที่สุดย่อมมีสิ่งที่ดีที่สุด” ท่านไม่เคยปฏิเสธว่าไม่มีผีไม่มีเทวดา แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ปฏิเสธ

คณะจาริกของหลวงปู่อ่อนพร้อมสามเณรจาม ได้เลือกพักปักกลดบริเวณป่ารกแห่งหนึ่งที่ชาวบ้านเชื่อกันว่าผีดุมาก เคยแสดงให้ปรากฏมาแล้วบริเวณใกล้ๆ ที่เนินที่มีกอไผ่งามลำใหญ่ ไม่มีร่องรอยใครมาตัดฟันเลยแม้แต่บริเวณใกล้เคียงกันนั้นก็ตาม คณะจาริกแสวงธรรมได้ปักกลดอยู่ห่างกันพอประมาณ สามเณรจามอายุประมาณ ๑๖-๑๗ ปี กำลังแข็งแรงล่ำสัน อาสาที่จะไปหาฟืนแห้ง ไม้ไผ่แห้งมารมบาตรหรือระบมบาตร เพื่อไม่ให้เป็นสนิม ทำถวายหลวงปู่อ่อนและหลวงปู่กงมา

เหตุสำคัญอยู่ที่กอไผ่มีศาลพระภูมิ มีไม้แห้งจำนวนมากจากที่ได้ค้นหาที่อื่นมาแล้ว ก่อไผ่ยืนตายอยู่เพราะเกิดขลุยไผ่หรือไผ่ออกดอกแล้วก็แสดงว่าหมดอายุ แต่ไม่มีรอยใครตัดเลย สามเณรจามจึงไปเรียนถามหลวงปู่ทั้งสองซึ่งยังเป็นครูบาในขณะนั้น ท่านวางเฉย แสดงว่าท่านคงรู้ว่าน่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ก็ได้ หรือไม่กล้าบอกเพราะความจำเป็นก็สุดจะคาดเดาได้ สามเณรจามก็จัดแจงตัดมาจำนวนเพียงพอที่จะใช้เผา (ระบม) บาตร ขณะที่จะตัดไม้สามเณรจามตะโกนร้องบอกว่า “ผีตาปู่เอ๋ย ถ้าอยู่ที่นี่ก็หนีไปก่อนนะข้าต้องการไม้ไผ่ เอาไปเผาบาตร ข้ากำลังต้องการไม้ไผ่อยู่ สูออกไปจากที่นี่ก่อนนะ”

เย็นวันนั้นเอง สามเณรจามได้ยินเสียงเหมือนเสียงผู้หญิงสาวร้องโอยๆ โหยหวนเข้าไปในหมู่บ้านแล้วก็กลับไปที่ศาลในป่า จากนั้นก็ได้ยินเสียงอื้ออึงในบ้าน หมาเห่าหอนกันทั้งคืน วันนั้นชาวบ้านก็ไม่เป็นอันนอน เสียงถ้วยโถโอชามกระทบกันก๊องแก๊งๆ ชาวบ้านในหมู่บ้านรู้ดีว่าต้องมีใครไปรบกวนผีที่ศาลแน่ๆ

พอรุ่งเช้าก็เกิดเรื่องใหญ่ ชาวบ้านแห่กันมากล่าวโทษเผดียงว่า เพราะเหตุที่พระเณรมาอยู่ที่นี่ ทำให้ผีปู่ย่าเดือดร้อนไปรบกวนที่ศาลพระภูมิเจ้าที่ ผีจึงมากวนชาวบ้าน ไม่ได้หลับไม่ได้นอนกัน ขอร้องให้ท่านย้ายไปอยู่ที่อื่นเถิด

ด้วยเหตุที่ต้องการสถานที่สัปปายะ และอาศัยชาวบ้านบิณฑบาตเลี้ยงชีวิต หลวงปู่อ่อนและหลวงปู่กงมา ขณะเป็นพระหนุ่มๆ ได้เดินทางไปหาสถานที่ใหม่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน สามเณรจามทำหน้าที่เฝ้าอัฐบริขารอยู่องค์เดียว จนมืดค่ำก็ยังไม่กลับก็ได้แต่เฝ้ารอ หลังจากสรงน้ำเสร็จก็นั่งผ่ามะขามป้อมจิ้มเกลือฉันไปรอไปในความมืด

ช่วงระหว่างโพล้เพล้พลบค่ำนั้น สามเณรจามยังไม่ได้เข้ากลด เอาเสื่อปูนั่งฉันมะขามป้อมไปพลาง เริ่มมืดสนิทได้ยินเสียงผู้หญิงร้องไห้คร่ำครวญวนเวียนอยู่แถวศาล ได้ยินเสียงใบไม้ กร๊อบแกร๊บ ต่อมาก็ได้ยินเสียงเหมือนสัตว์หรือหนูวิ่งเข้ามาหา เมื่อใกล้ก็กระโจนเข้ามาใต้เสื่อที่นั่งอยู่ สามเณรจามจึงเอามือตบตรงเสียงนั้น ตะโกนว่า “มึงเข้ามาทำไม” จึงจุดเทียนขึ้นส่องดูก็ไม่เห็นมีอะไร รอจนดึกหลวงปู่ทั้งสองก็ยังไม่กลับมา จึงดับเทียนไหว้พระนั่งภาวนา

ครั้นหลวงปู่ทั้งสองกลับมาแล้ว หลวงปู่อ่อนส่งเสียงเรียก “เณร...เณร” มาแต่ไกลแต่ท่านไม่ตอบ จนกระทั่งใกล้จึงตอบรับว่า “ครับผม มีอะไรหรือครับ” หลวงปู่อ่อนว่า “คิดว่าเธอนอนหลับแล้ว ยังไม่นอนหรือ” พอรุ่งเช้าจึงได้เล่าเหตุการณ์เมื่อคืนนี้ให้หลวงปู่ทั้งสองฟัง ท่านก็พอใจในความกล้าของเณร

พ่อแม่ครูอาจารย์เสาร์ พ่อแม่ครูอาจารย์มั่น และศิษย์พระกรรมฐานทั้งหลายที่จาริกไปแสวงหาสถานที่วิเวกเพื่อทำความเพียร เจริญจิตภาวนานั้นก็เพื่อให้เกิดปัญญาในธรรมขั้นสูงๆ ขึ้นไป ในขณะเดียวกันนั้นก็เพื่ออบรม สั่งสอนประชาชนชาวบ้านที่ไปโปรดทั้งบิณฑบาต และแสดงธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้ละทิฏฐิเก่าที่เชื่อนับถือผี ให้หันมายึดในไตรสรณคมน์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันเป็นสัมมาทิฏฐิและเป็นหนทางที่จะดับทุกข์ได้ ภูต ผี เทวดาต่างๆ ยังมีกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ พอใจก็ให้คุณได้ ถ้าไม่พอใจก็ให้โทษ แต่ไตรสรณคมน์นั้นมีแต่คุณ พระพุทธเจ้าสอนให้ละ โลภะ โทสะ โมหะ และชักจูงให้ชาวบ้านญาติโยมประพฤติปฏิบัติตามจะได้มีสุขและหาทางพ้นทุกข์ในที่สุด

ชาวบ้านที่มาฟังธรรม รักษาศีล ตามวัดต่างๆ ส่วนใหญ่ก็ยังรู้สึกกลัวผี โดยเฉพาะผู้หญิง เด็ก เรียกว่า “ขวัญอ่อน” เคยมีเหตุการณ์ยามดึกสงัด โยมได้ยินเสียงเสมือนสัตว์วิ่งเหยียบใบไม้บนพื้นดังชอบๆ สักพักก็หยุดแล้วก็ดังใหม่ขึ้นอีกมาเป็นระยะๆ เสียงตะโกนมาว่า “ช่วยด้วยผีมา” ได้ยินเหมือนขึ้นต้นไม้เมื่อฉายไฟไปยังเสียงก็ปรากฏว่าเป็นตัวบ่างวิ่งหากินในยามค่ำคืน นี่แหละจิตที่กิเลสครอบงำอยู่ปรุงแต่ง ปัญญาธรรมเข้ามาไม่ทันก็กลัว เมื่อรู้อย่างนี้แล้วความกลัวคงน้อยลง ความกล้าคงมากขึ้นจนไม่กลัวเลย

พระอาจารย์อินทร์ถวาย เคยถามหลวงปู่ว่า “หลวงอา กลัวไหมครับ” หลวงปู่ตอบว่า “ไม่กลัวมันหรอก เพราะเขากลัวเราจนร้องห่มร้องไห้แล้ว เราจะไปกลัวเขาทำไม”

เมื่อน้อมมาพิจารณาเป็นธรรมะจะเห็นได้ว่า ผีในจิตใจของเราร้ายยิ่งกว่าผีภายนอก กิเลสในจิตใจเป็นผีร้ายคอยสิงอยู่ให้จิตใจคิดทำความชั่ว บาปอกุศล แต่ถ้าธรรมะเข้ามาอยู่ในจิตใจเมื่อใดย่อมจะคิดทำความดีทำบุญกุศล หลวงปู่จามจึงพยายามสั่งสอนให้ทำความดีย่อมได้ผลดีตลอดไป


ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13090

19
ตอนที่ ๕
ชีวิตสามเณรน้อยที่เด็ดเดี่ยว

“กลัวจนขี้ขึ้นสมอง” เป็นคำกล่าวเปรียบเปรยคนขี้กลัวผีทั้งหลายที่มักจะมีอาการสั่นเทาทำอะไรไม่ถูก หรืออีกคำพูดหนึ่งว่า “สติแตก” ผู้อ่านคงจะได้ยินมาแล้ว เหตุการณ์ที่จะเล่าถึงสามเณรจามต่อไปนี้ คงจะไม่ถึงขนาดนั้น แต่ใครเล่าอยากจะเอาตัวไปเสี่ยงกับเหตุการณ์นั้น

คราที่หลวงปู่มั่นเดินทางจาริกจากไป ท่านได้ฝากสามเณรจามอยู่ในความดูแลของหลวงปู่กงมา จิรปุญโญ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่มหาปิ่น ปัญญาพโล เผอิญโยมได้นิมนต์พระเณรไปยโสธร ระหว่างทางต้องแวะพักแรมเป็นเหตุให้เหลือแต่สามเณรสิมกับสามเณรจาม พักปักกลดอยู่ที่ป่าช้า วันนั้นมีการเผาศพคนตาย ๒ ศพ สมัยนั้นต้องใช้สิ่งของอยู่ในป่าต้มน้ำดื่ม ก็ได้อาศัยไม้ไผ่หามศพ มาตัดเป็นกระบอกต้มน้ำดื่มพอพลบค่ำต่างก็เข้ากลด ซึ่งอยู่ห่างกันพอประมาณในป่าช้านั้น

ความมืดเริ่มเข้ามาเยือน พร้อมกับความเงียบวังเวง อากาศเย็นก็โชยมาตามกระแสลมไม่ได้ยินเสียงผู้คนเพราะหมู่บ้านอยู่ห่างไกลได้ยินแต่เสียงสัตว์บางครั้งก็เสียงแมลงบางชนิดฟังดูมีอาการเย็นที่เท้าที่มือ หลังจากได้สวดมนต์แล้วต่างก็เข้าที่หวังจะภาวนาเอาธรรมะเป็นเพื่อน ความที่จิตยังตื่นกวัดแกว่งประกอบกับสัญญาที่มองเห็นศพที่ถูกเผา สังขารเกิดปรุงขึ้นผสมสัญญาเก่าในเรื่องผี จะภาวนาอย่างไรจิตก็ไม่สงบฟุ้งซ่านพิกล อากาศก็เย็นลงอีกเกิดปวดปัสสาวะขึ้นมาอีก ความรู้สึกก็ทวีมากขึ้นจนท้องแข็ง โผล่จะออกจากกลดเพื่อไปปัสสาวะ จิตก็ปรุงต่อไปอีกว่า “ผีมันคงมานั่งเฝ้ากองไฟ ดูการไหม้ของร่างกายของมันแน่ๆ” ขยับแล้วขยับอีกก็ปวดหนักขึ้นมาอีก พยายามนิ่งไว้ให้ความปวดทุเลา เปิดมุ้งกลดเอาหัวโผล่ ๓-๔ ครั้งไม่กล้าออกจากกลด ครั้นจะเรียกสามเณรสิมออกมาเป็นเพื่อนก็เกรงเพื่อนจะว่าขี้ขลาดตาขาว

สามเณรจามตัดสินใจพุ่งตัวออกจากกลดเพราะฉี่จะราดแล้ว น้ำปัสสาวะซึมออกมาแล้ว รีบวิ่งไปที่โล่งแล้วก็ปล่อยออกทันที ด้วยอาการเหลียวหน้าเหลียวหลังเพราะความกลัวจนสุดขีด ปัสสาวะไม่สุดสักที ใช้เวลานานเพราะกลั้นไว้นาน

ขณะที่น้ำปัสสาวะกำลังออกมา ได้สติดีขึ้นโดยลำดับเกิดปัญญาออกมาว่า “เอ ก็ไม่เห็นมีอะไร ผีมาหลอกก็ไม่ทำร้ายให้ถึงตายได้” ถามตัวเองว่า “เรากลัวอะไร” และจะหาคำตอบของความกลัวนั้น “ใครทำให้เรากลัว” ตาก็มองไปดูที่กองไฟกำลังครุกรุ่นไหม้ศพอยู่ใกล้จะหมดแล้ว เมื่อปัสสาวะสุดดีแล้ว ขณะนั้นความกลัวลดลง แต่ยังหวาดผวาอยู่ จึงตัดสินใจเดินไปดูที่กองฟอน เพื่อให้แน่ใจและจะหาคำตอบของความกลัวนั้น จากนั้นเขี่ยดุ้นฟืนเข้าไปในเตาเผา ซึ่งเป็นเตาเผาศพบ้านนอกก่อแบบชาวบ้านง่ายๆ เมื่อเขี่ยฟืนเข้าไปทั้งสองเตาไฟก็ลุกโพลงขึ้น

ท่านพิจารณาทบทวนเหตุการณ์ตั้งแต่เกิดความรู้สึกกลัว จนถึงขณะนั้นจึงได้คำตอบว่า “ที่กลัวเพราะกลัวจิตตนเองที่กิเลสบังคับให้ปรุงแต่งให้จิตฟุ้งซ่านไป เพราะขาดสติปัญญา กิเลสเข้าครอบงำปัญญา ธรรมะจึงไม่เกิด เมื่อธรรมะเกิดเพราะมีสติปัญญามาทันก็ไม่กลัว” ท่านว่า “ธรรมะย่อมชนะกิเลส ถ้ามีสติปัญญาพร้อม” “กิเลสทำให้เรากลัว เราไม่ได้กลัวผีกลัวจิตของเราที่ปรุงแต่งไปต่างหาก” แต่ส่วนลึกของจิตใจยังมีข้อสงสัยว่า “ผีมีจริงหรือ” จะต้องพิสูจน์แต่ที่แน่ๆ คือ “เราไม่กลัวผี” แล้ว

ขณะที่สามเณรจามอยู่กับหลวงปู่มั่น สามเณรจามได้มีสหธรรมิกที่เป็นเพื่อนสามเณรด้วยกัน คือ สามเณรสิม (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) และมีศิษย์หลวงปู่มั่นที่จำพรรษาอยู่เท่าที่จำได้คือ หลวงปู่สิงห์ ขนฺยาคโม, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ, พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นต้น ต่อมาหลวงปู่มั่นจะปลีกตัวออกไปวิเวกที่อื่น จึงฝากสามเณรจามไว้ให้อยู่ในความดูแลของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม

หลวงปู่สิงห์ได้เดินทางไปสร้างวัดป่าบ้านเหล่างา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และนำกองทัพเผยแผ่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า สามเณรจามได้ติดตามไปช่วยงานสร้างวัดและได้รับฟังการอบรมธรรมะตามโอกาสขณะที่ไปเผยแผ่ธรรมะจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม เป็นต้น

ขบวนกองทัพธรรมนำโดยหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม นั้นมีครูบาอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถปัญญาบารมีเฉพาะตัวหลายอย่างแตกต่างกัน หลวงปู่สิงห์จะเน้นด้านปัญญา ด้านหลักธรรมไตรสรณาคมน์ เป็นหลัก หลวงปู่ดี ฉันโน จะเน้นด้านกสิณมีฤทธิ์ สามารถปราบความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องผี ได้รื้อศาลต่างๆ ที่นับถือผีอยู่เดิม ถ้ามีข่าวว่ามีผีเฮี้ยนที่ไหนท่านจะเดินทางไปปราบแล้วสั่งสอนชาวบ้านให้ยึดมั่นไตรสรณาคมน์ ทำให้สามเณรจามได้สนใจศึกษาทางสมถะภาวนาเพื่อให้มีพลังกสิณ และฝึกฝนจนประสบผลสำเร็จตามที่มุ่งหวัง

ด้วยความมุ่งมั่นพากเพียรปฏิบัติตามแนวทางพระกรรมฐานอย่างเด็ดเดี่ยว เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย เอาชีวิตเป็นเดิมพัน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สามเณรจามเป็นโรคเหน็บชาถึงขั้นวิกฤติเพราะได้บำเพ็ญในระดับขั้นอุกฤษฏ์ เพื่อมุ่งสู่ความพ้นทุกข์ในชาตินี้ ทั้งอดอาหาร ทั้งอดนอน อธิษฐานอดอาหาร ๓ วัน ๕ วัน ๗ วัน บางช่วงจะออกบิณฑบาตเพื่อฉันเฉพาะวันพระ และอดนอนเพื่อทำความเพียรภาวนาหลายวันติดต่อกันเป็นระยะๆ ตลอดไตรมาส จึงเป็นเหตุให้ร่างกายขาดอาหารและพักผ่อนน้อยเกินไป จนทำให้ร่างกายอ่อนเพลียอ่อนกำลัง คำนึงในใจว่าชีวิตนี้เราคงสิ้นหวังกระมัง


ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13090

20
ตอนที่ ๔
เรียนรู้ชีวิตปฐมวัย พ่อมอบสมบัติทิพย์ให้


เด็กชายจามมีอุปนิสัยใจร้อน ใจเร็ว ตัดสินใจเด็ดขาดอดทนมุ่งมั่น มุ่งสู่อนาคต ทำอะไรทำจริง ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนเมื่ออายุ ๙ ปี ที่โรงเรียนบ้านคำชะอี ห่างจากบ้านห้วยทรายประมาณ ๓ กิโลเมตร ได้ขี่ม้าไปโรงเรียนกับเด็กชายเจ๊กผู้พี่ชาย บางวันได้แกล้งพี่ชายให้เดินไปเองเสี่ยงภัยจากเสือ ตนเองได้ควบม้าหนีกลับบ้าน แต่พี่น้องก็รักกัน โดยเฉพาะนายเจ๊กรักเด็กชายจามมากทั้งสองพี่น้องมีสติปัญญาดี แต่เรียนได้แค่ ป. ๒ เนื่องจากทางราชการแจ้งระงับการเรียนของเด็กที่บ้านอยู่ห่างโรงเรียนเกิน ๒ กิโลเมตร เพราะเสือชุกชุมได้กัดคนตายอยู่บ่อย ทั้งๆ ที่เด็กทั้งสองรักการเรียน ก็ได้แต่ร้องไห้

เมื่อเด็กชายจามอายุย่างเข้า ๑๔ ปี ได้มีโอกาสขับเกวียนร่วมขบวน ๕ เล่ม บรรทุกอัฐบริขารและอาหารซึ่งมีนายกา ผิวขำ ผู้บิดาไปกับขบวนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พาโยมแม่ของท่านและคณะพระสงฆ์-สามเณรเดินทางไปโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ขบวนทั้งหมดต้องบุกป่าฝ่าดงไปด้วยความยากลำบาก แม้กระทั่งหมาที่เดินตามไปถึงกับหมดแรงต้องอุ้มหมาคู่ใจขึ้นเกวียนไปด้วย

ด้วยความสามารถเฉพาะตัวของเด็กชายจาม ทำให้พ่อกาเชื่อมั่นว่าจะสามารถช่วยเหลือตนเองได้ จึงให้ขับเกวียนบรรทุกสินค้าต่างๆ เช่น ไหม ฝ้าย และของป่าไปขายที่จังหวัดยโสธร เพื่อแลกเกลือ ปลาร้า และของกินนำไปขายที่คำชะอีเพื่อเลี้ยงชีพ

ต่อมานายจามอายุย่างเข้า ๑๖ ปี นายกาจึงนำไปฝากกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ก่อนที่หลวงปู่มั่นจะรับฝากได้ถามนายกาว่า “โยมรักลูกไหม” ท่านตอบว่า “ยังรักอยู่” หลวงปู่มั่นตอบว่า “ถ้ายังรักอยู่ก็ไม่รับ”

จากคำตอบเด็ดขาดของหลวงปู่มั่นทำให้นายกาต้องคิดหนัก เพราะผิดหวังแต่ก็ยังไม่ย่อท้อ ได้ปรึกษากับหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโมและศิษย์หลวงปู่มั่นท่านอื่น จึงได้รับคำแนะนำว่า “ถ้ามอบให้ท่านก็ให้เป็นลูกท่านเลย ไม่ต้องห่วงใย จะสมประสงค์” จึงเข้าไปกราบหลวงปู่มั่นอีกครั้งหนึ่งแล้วกราบเรียนว่า ขอมอบนายจามให้เป็นลูกโดยเด็ดขาดจะทำอย่างไรก็แล้วแต่หลวงปู่มั่นจะเห็นสมควร ท่านจึงยินยอมรับฝากตั้งแต่นั้นมาและหลวงปู่มั่นกล่าวยกย่องนายกาว่า “มีสติปัญญาดี ตัดสินใจถูกต้อง ไม่เสียแรงที่ได้อบรมธรรมะให้ตลอดที่อยู่ห้วยทราย” จึงถือว่าเป็นจุดแปรผันของชีวิตที่สำคัญยิ่งที่พ่อได้มอบสมบัติทิพย์ให้ด้วยมองเห็นอนาคตอันสดใส นายจามได้เป็นศิษย์นุ่งขาวห่มขาวอยู่ประมาณ ๙ เดือน ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น ที่บ้านหนองขอน อำเภอบุ่ง (อำเภอหัวตะพาน) จังหวัดอุบลราชธานี


ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13090

21
ตอนที่ ๓
กำเนิดเด็กชายจามในตระกูลสัมมาทิฎฐิ


บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร เป็นที่กำเนิดของเด็กชายจาม ผิวขำ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ

นายกา และนางมะแง้ ผิวขำ (ขณะเด็กชายจาม ก่อกำเนิดนั้นยังไม่มีนามสกุล เพิ่งได้รับการตั้งนามสกุลในรัชกาลที่ ๖) เป็นผู้ให้กำเนิดที่มีศรัทธาแรงกล้าต่อหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๙ หลวงปู่มั่น ได้มาจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่เสาร์ที่ภูผากูด อำเภอคำชะอี พ่อแม่ได้พาเด็กชายจาม อายุประมาณ ๖ ปี ไปกราบหลวงปู่ทั้งสอง พ่อแม่ให้กราบเด็กชายจามก็กราบทุกแห่งและพระกรรมฐานทุกองค์ตามที่แม่บอกด้วยความตั้งใจนับว่าแม่ได้สั่งสอนปลูกฝังนิสัยให้เป็นคนดีตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ จึงกล่าวได้ว่าเป็นตระกูลสัมมาทิฎฐิยึดมั่นในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก

ต่อมาช่วงปี พ.ศ. ๒๔๖๔ บรรดาศิษย์ของหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่น จำนวนประมาณ ๗๐ รูป ได้มารวมกันเป็นกองทัพธรรมสายพระกรรมฐานมากเป็นประวัติการณ์ ขณะเด็กชายจาม อายุได้ประมาณ ๑๑ ปี ได้ติดตามพ่อแม่ไปอุปัฏฐากดูแลรับใช้พระกรรมฐานอย่างใกล้ชิด แม่มะแง้ได้แกงขนุนอ่อนถวายพระสงฆ์-สามเณร แห่งกองทัพธรรมทั้งหมด เท่าที่ตรวจดูสอบถามได้มี หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม, หลวงปู่ดุลย์ อตุโล, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่กงแก้ว ขนฺติโก, หลวงปู่สิม พุทธาจาโร, หลวงปู่แว่น ธนปาโล, หลวงปู่กว่า สุมโน, หลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล, หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่กู่ ธมฺมทินโน, หลวงปู่ดี ฉนฺโน, หลวงปู่ซามา อจุตโต, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่เทสก์ เทสฺรังสี, หลวงปู่สาม อกิญจโน, หลวงปู่เกิ่ง อธิมุตโต, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และหลวงปู่คำ คมฺภีรญาโณ เป็นต้น

การบำเพ็ญสมณธรรมของกองทัพธรรมดังกล่าวได้ใช้ภูผากูดเป็นศูนย์กลาง เนื่องจากหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นพักประจำอยู่ที่ถ้ำจำปา ต่อมาจึงตั้งสำนักสงฆ์หนองน่องทางทิศใต้ของบ้านห้วยทราย ให้เป็นที่รวมประชุมพระกรรมฐานแห่งกองทัพธรรม และบรรดาศิษย์ได้กระจายกันอยู่หาสถานที่วิเวกบำเพ็ญจิตภาวนา ซึ่งมีภูต่างๆ บริเวณนั้นมากมาย เช่น ภูผาแดง, ภูเก้า, ภูจ้อก้อ, ภูค้อ, ภูถ้ำพระ, ภูกระโล้น, ภูผากวาง, ภูสร้างแก้ว, ภูบันได, ภูผาบิ้ง, ภูกอง, ภูผากูด, ภูผาชาน, ภูเขียว เป็นต้น

นายกา และแม่มะแง้ ผิวขำ ได้ให้กำเนิดบุตรร่วมอุทรเดียวกันจำนวน ๙ คน ได้แก่ นายแดง นายเจ๊ก นายจาม นายเจียง นายจูม นางจ๋า นายถนอม นายคำตา และนางเตื่อย

นายแดง ผิวขำ คือโยมบิดาของพระอาจารย์อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก นางเจียงได้บวชเป็นแม่ชีตลอดชีวิต นอกจากนั้นก็ได้ให้กำเนิดลูกหลานปลูกฝังอุปนิสัยจนได้บวชใต้ร่มกาสาวพัสตร์อีกหลายคน


ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13090

22
ตอนที่ ๒
วิถีชีวิตชาวภูไทในไทย


ตระกูลภูไทของหลวงปู่จาม มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ เป็นผู้มีปัญญานักปกครอง มีความเด็ดเดี่ยว รักสงบ ไม่รุกราน มีความยุติธรรม

โดยทั่วไป ประเพณีหลักจะยกย่องลูกผู้ชายคนแรก (ลูกกก) ให้ดูแลพ่อแม่ แต่ถ้าลูกชายคนแรกไม่มีความเหมาะสม พ่อแม่ก็จะเลือกลูกชายคนสุดท้อง (ลูกหล้า) ให้เป็นหลักของครอบครัว ดูแลเลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่าลักษณะฝากผีฝากไข้ ชาวภูไท ชอบอาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่มีลักษณะภูเขาผสมที่ราบ มีป่าไม้ รักธรรมชาติ เพราะมีที่ดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะที่จะทำมาหากิน ใช้ชีวิตเรียบง่าย รักสงบ แต่มีความกล้าหาญสมเป็นนักรบในจิตวิญญาณของชาวภูไท ประเพณีดั้งเดิม นับถือผี นับถือไสยศาสตร์ ถือว่าผีเหล่านั้นเป็นผีปู่ผีย่ามีการบ่วงสรวง เซ่นไหว้ ยึดถือผีปู่ผีย่าเป็นสรณะที่พึ่งโดยไม่ลึกซึ้งคำสอนในพระพุทธศาสนา

ต่อมาเมื่อ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้จาริกมาบำเพ็ญสมณธรรมแถวภูผากูด จังหวัดมุกดาหาร และที่อื่นๆ ในแถบนี้ จึงมีโอกาสได้ศึกษาเรียนรู้ธรรมะจากหลวงปู่ทั้งสองในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นต้นมา ท่านสั่งสอนให้ยึดมั่นในไตรสรณคมน์เป็นหลักใจ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไว้เป็นที่พึ่งที่ระลึก เป็นหลักในการดำเนินชีวิต ย่อมจะเจริญรุ่งเรือง ทำให้วิถีชีวิตของชาวภูไทเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ความสันติสุขเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ความศรัทธาในพระกรรมฐานจึงมีมากขึ้น ทำให้เกิดสำนักสงฆ์มากขึ้น และเป็นวัดในเวลาต่อมา พระกรรมฐานจึงเพิ่มขึ้นอย่างมาก วิถีชีวิตของภูไทจึงยึดมั่นในแนวทางสัมมาทิฎฐิไว้เป็นหลักใจของชุมชน

ชาวภูไทที่ได้บวชเป็นพระกรรมฐานที่มีชื่อเสียง มีปฏิปทาน่าเคารพเลื่อมใส กราบไหว้บูชาเป็นสิริมงคลแก่คน และฟังคำสั่งสอนอบรมย่อมได้ปัญญานำทางดำเนินชีวิตไปสู่ความสุขในปัจจุบัน และถ้าหากปฏิบัติตามอย่างจริงจังก็อาจพ้นทุกข์ได้ เท่าที่สามารถทราบได้ขณะเขียนก็ได้แก่ หลวงปู่คำ คมฺภีรญาโณ, หลวงปู่กงแก้ว ขนฺติโก ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่สิม พุทธาจาโร, หลวงปู่กว่า สุมโน, หลวงปู่แว่น ธนปาโล เป็นต้น ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต นอกจากนั้นก็มี หลวงปู่คูณ อธิมุตโม ที่จังหวัดมหาสารคาม ล้วนเป็นเชื้อสายภูไท และพระป่ากรรมฐานรุ่นกลางรุ่นถัดๆ ไปก็มีอีกมาก ผู้เขียนยังหาหลักฐานไม่ทัน ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย


ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13090

23
ขอขอบคุณ
:: ลานธรรมจักร ::
www.dhammajak.net
ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13090

ตอนที่ ๑ ต้นตระกูลภูไท บรรพบุรุษของหลวงปู่จาม
ตอนที่ ๒ วิถีชีวิตชาวภูไทในไทย
ตอนที่ ๓ กำเนิดเด็กชายจามในตระกูลสัมมาทิฎฐิ
ตอนที่ ๔ เรียนรู้ชีวิตปฐมวัย พ่อมอบสมบัติทิพย์ให้
ตอนที่ ๕ ชีวิตสามเณรน้อยที่เด็ดเดี่ยว
ตอนที่ ๖ สามเณรจาม เจอผีจริงเข้าแล้ว
ตอนที่ ๗ นิมิตสิ่งโบราณ
ตอนที่ ๘ ชีวิตวัยหนุ่มเรียนรู้ชีวิตทางโลก
ตอนที่ ๙ สงครามหัวใจ
ตอนที่ ๑๐ แม่วางเส้นทางชีวิต
ตอนที่ ๑๑ วิกฤติสร้างวีรบุรุษ
ตอนที่ ๑๒ อัศจรรย์เด็กผู้หญิง
ตอนที่ ๑๓ ทดสอบจิตใจตนเอง
ตอนที่ ๑๔ แสวงหามัชฌิมาเพื่ออริยมรรค
ตอนที่ ๑๕ เหตุการณ์ประหลาด
ตอนที่ ๑๖ ผีสางเทวดา
ตอนที่ ๑๗ เทพเป่าและนำทางไป
ตอนที่ ๑๘ ผจญผีที่ซากเจดีย์เก่า
ตอนที่ ๑๙ รู้แจ้งประจักษ์อนาคตอันไกลโพ้น
ตอนที่ ๒๐ ทำเพื่อชาติเพื่อแผ่นดินเพื่อพระพุทธศาสนา
ตอนที่ ๒๑ ชีวิตในบั้นปลาย
ตอนที่ ๒๒ (จบ) ส่งท้ายไว้ให้คิด


ตอนที่ ๑
ต้นตระกูลภูไท บรรพบุรุษของหลวงปู่จาม

“หลวงปู่จาม มหาปุญโญ” นามสกุล ผิวขำ มีต้นตระกูลเป็นชนเผ่าภูไท กลุ่มเจ้าครองนครหรือกลุ่มผู้ปกครองถิ่นฐานเดิมของภูไท อยู่ที่สิบสองปันนา สิบสองจุไท อาณาจักรน่านเจ้า มีสภาพภูมิอากาศหนาวจัด ต่อมาเมื่อมีประชากรมากขึ้น การทำมาหากินเริ่มอัตคัดขัดสนและขาดแคลน ส่วนหนึ่งได้อพยพมาหาแหล่งทำมาหากินโดยมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่เมืองแถง เขตประเทศเวียดนาม ซึ่งอยู่ห่างจากป้อมเดียนเบียนฟูประมาณ ๒๓ กิโลเมตร และที่เมืองอังคำ เขตประเทศลาว

ต่อมา ภูไทส่วนหนึ่งก็ได้อพยพต่อมาหาแหล่งที่ทำมาหากินที่เมืองพิน เมืองพะลาน เขตประเทศลาว ผู้ปกครองลาวสมัยนั้นคือเจ้าอนุวงศ์ ได้เกณฑ์ชาวภูไทไปเป็นทหารเพื่อขยายอาณาจักรและจัดกองทัพเพื่อมารบพุ่งกับชาวไทย (ชาวสยามประเทศ) แต่เนื่องจากชาวภูไทรักสงบ ไม่ต้องการรบพุ่งทำสงคราม จึงอพยพหนีมาอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง โดยข้ามมาทางเรณูนคร มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณดงบังอี่ (คำชะอี หนองสูงในปัจจุบัน)

ส่วนกลุ่มที่ข้ามมาทางท่าแขก จังหวัดนครพนมนั้น มาตั้งถิ่นฐานอยู่พรรณานิคม ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ชาวภูไทได้เข้ามาในประเทศไทย (สยาม) หลายระลอกในหลายรัชสมัยได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่แถวอำเภอกุสุมาลย์ อำเภอพรรณานิคม อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร และบางส่วนก็เลยไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคกลางอีกหลายแห่ง ชาวภูไท เรียกตัวเองว่า ภูไท หรือผู้ไท สำเนียงอาจเพี้ยนกันบ้าง จึงอนุโลมเรียกภูไทหรือผู้ไทก็ได้ เพราะเข้าใจความหมายว่า เป็นกลุ่มเผ่าเดียวกันโดยความหมายที่แท้จริง คือ เป็นคนไทย เพราะชาวภูไทเองนั้น ภาคภูมิในความเป็นคนไทย หรือเป็นไท แปลว่า อิสระ รักสงบ

ภูไทมีภาษาของตนเอง พูดภาษามีสำเนียงหางเสียงท่วงทำนอง ไพเราะน่าฟัง เป็นภาษาไทยแบบภูไท มีขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเอง แต่ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ถ้าหากพิจารณาเห็นว่าดีกว่า เหมาะสมกว่า เมื่อมาอยู่ในประเทศไทย (สยาม) ชาวภูไทมีความรักสามัคคีกัน สำหรับชาวภูไทตระกูลของหลวงปู่จาม ทางบ้านห้วยทรายเป็นเชื้อเจ้า ทางผู้หญิงอพยพมาจากเมืองวัง เรียนหนังสือเก่ง มีความคิดเฉียบคม ปัญญาเฉียบแหลม มีขุนบรมเป็นบรรพบุรุษต้นตระกูล เมื่อถูกจีนรุกรานจึงอพยพมาเรื่อยๆ ตามลำดับจากเมืองแถงสู่เมืองวัง เข้าสู่ประเทศไทย (สยาม) ตามลำดับ

24
หากไปไม่ได้ มีช่องทางให้โอนเงินไหมครับ

25

7

ขอบคุณภาพจาก
http://www.oknation.net/blog/nidnhoi/2011/07/26/entry-3

จบพระราชดำรัสก็ทรงลุกขึ้นเปิดพระมาลาขึ้นรับการปรบมืออันกึกก้องสนามม้าแห่งนั้น แล้วเสด็จพระราชดำเนินลงจากอัฒจันทร์ สู่ลู่ด้านล่างซึ่งขณะนั้นม้ายืนส่งเสียงร้องและเอากีบเท้าตะกุยจนหญ้าขาดกระจุยกระจาย

คำพยากรณ์ของพระปลัดเอี่ยมยังกึกก้องอยู่ในพระกรรณ ทรงก้มพระวรกายลงใช้พระหัตถ์ขวารวบยอดหญ้าแล้วดึงขึ้นมากำมือหนึ่ง ทรงตั้งจิตอธิษฐานถึงพระรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราชและพระปลัดเอี่ยม เจริญภาวนาพระคาถาอิติปิโสเรือนเตี้ยที่พระปลัดเอี่ยมถวายสามจบ ทรงเป่าลมจากพระโอษฐ์ลงไปบนกำหญ้านั้น แล้วแผ่เมตตาซ้ำ ยื่นส่งไปที่ปากม้า เจ้าสัตว์สี่เท้าผู้ดุร้ายสะบัดแผงคอส่งเสียงดังลั่นก่อนจะอ้าปากงับเอาหญ้าในพระหัตถ์ไปเคี้ยวกินแล้วก็กลืนลงไป

ผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศสโบกผ้าเช็ดหน้า เป็นสัญญาณให้แก้เชือกที่ตรึงเท้าม้าออกไปพ้นทั้งสี่เท้าบัดนี้เจ้าสัตว์ร้ายพ้นจากพันธนาการ และบรรดาผู้ที่จูงมันเข้ามาก็ผละหนี    เพราะเกรงกลัวในความดุร้ายของมัน พระปิยะมหาราชเจ้าทรงทอดสายพระเนตรจับจ้องอยู่ที่นัยน์ตาของม้านั้น ก็เห็นว่ามันมีแววตาอันเป็นปกติ มิได้เหลือกโปนดุร้าย ทรงเอื้อมพระหัตถ์ไปตบที่ขาหน้าของมันสามครั้ง เจ้าม้านั้นก็ก้มหัวลงมาดมที่พระกรไม่แสดงอาการตื่น  หญ้าเสกสำริดผลตามประสงค์

อาชาที่ดุร้ายกลับเชื่องลงเหมือนม้าลากรถ เจ้าชีวิตแห่งสยามประเทศยกพระบาทขึ้นเหยียบโกลนข้างหนึ่งแล้วหยัดพระวรกายขึ้นประทับบนอานม้าอย่างสง่างามไร้อาการต่อต้านของม้าที่เคยดุร้ายเสียงคนบนอัฒจันทร์ส่งเสียงตะโกนขึ้นเป็นเสียงเดียวกันว่า "บราโวส บราโวส" อันหมายถึงว่า "วิเศษที่สุด เก่งที่สุด ยอดที่สุด" ทรงกระตุ้นม้าให้ออกเดินเหยาะย่างไปโดยรอบสนาม  ผ่านอัฒจันทร์ที่มีผู้คนคอยชม  เปิดพระมาลารับเสียงตะโกนเฉลิมพระเกียรติบางคนก็โยนหมวก โดยมีดอกกุหลาบลงมาเกลื่อนสนามตลอดระยะทางที่ทรงเหยาะย่างม้าผ่านไปจนครบรอบ จึงเสด็จลงจากหลังม้ากลับขึ้นไปประทับบนพระที่นั่งตามเดิม

บรรดาพี่เลี้ยงม้าก็เข้ามาจูงม้านั้นออกไปจากสนาม คำพยากรณ์ข้อที่สองและคาถาที่พระปลัดเอี่ยมแห่งวัดโคนอนถวาย ได้สำริดผลประจักษ์แก่พระราชหฤทัย ทรงระลึกถึงพระปลัดเอี่ยมว่า เป็นผู้ที่จงรักภักดีโดยแท้จริง และได้ช่วยให้ทรงผ่านสถานการณ์อันเลวร้ายมาถึงสองครั้งสองครา  และทั้งหมดนี้คือจุดเล็ก ๆ    ในเกร็ดพระราชประวัติ เป็นปฐมเหตุแห่งพระบรมรูปทรงม้า หน้าพระราชวังดุสิต ที่เล่าขานกันต่อมาช้านาน และยังคงกึกก้องในโสตประสาทของปวงชนชาวไทยต่อไป ชั่วกาลปาวสาน


 :054: :054: :054: :054: :054:
ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-iam-wat-nung/lp-iam-wat-nung-hist-02.htm

26

6

ในช่วงที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนทวีปยุโรปครั้งแรก เมื่อ ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) นั้น สยามประเทศของเรายังคงมีกรณีพิพาทต่อกันในเรื่อง "สิทธิสภาพนอกอาณาเขต" กล่าวคือเราต้องยอมให้อังกฤษและฝรั่งเศสตั้งศาลกงสุลของตนในดินแดนไทย สำหรับตัดสินคดีความต่าง ๆ เมื่อคนของเขา หรือคนใดก็ตามแม้แต่คนไทยหัวใสบางคนที่ยอมตนจดทะเบียนเป็นคนในบังคับ  (คล้าย ๆ กับการโอนสัญชาติ แต่ไม่ใช่ เพราะยังไม่มีสิทธิที่จะพำนักในประเทศของเขา ) ซึ่งก็มีจำนวนไม่น้อย เพราะเวลาทำผิดแล้วไม่ต้องขึ้นศาลไทย ไม่ใช้กฎหมายไทยตัดสิน คนไทยเองก็เถอะ หากทำความผิดต่อคนของเขาแล้ว ต้องขึ้นศาลเขาและต้องยอมเขาทุกอย่าง แม้ศาลไทยจะตัดสินว่า "ถูก" หากเขาเห็นว่า "ผิด"  คนผู้นั้นก็ต้องถูกลงอาญา ซึ่งเป็นหนามยอกอกของคนไทยในสมัยนั้นมาก ต้องยอมให้คนต่างชาติต่างแดนมากดหัวเรา มาเอาเปรียบเรา เป็นการยั่วยุให้เราหมดความอดทน หากก่อสงคราม ก็มีหวังสูญเสียเอกราชของชาติแน่นอน

กรณี "พระยอดเมืองขวาง"  แขวงเมืองคำเกิดคำมวน วีรบุรุษไทยที่รักผืนแผ่นดินไทย รักในองค์พระมหากษัตริย์ไทย ได้ดับความอหังการ์ของทหารฝรั่งเศส ที่บุกรุกอธิปไตยของไทยที่เมืองขวาง จนต้องถูกจำคุกเสียหลายปี แม้ศาลไทยจะให้ปล่อยตัวเพราะเป็นการทำตามหน้าที่ แต่ศาลกงสุลของฝรั่งเศสในไทยตัดสินให้จำคุก ท่านก็ต้องติดคุกเพื่อชาติ เรื่องนี้คนไทยทั้งแผ่นดินในขณะนั้น แค้นแทบจะกระอักเลือดเลยครับ เกือบจะทำสงครามกันรอมร่ออยู่แล้ว  ดีแต่องค์พระปิยมหาราชเจ้า ท่านทรงดำเนินวิเทโศบายด้านต่างประเทศด้วยการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเสียก่อน แล้วพระองค์ก็ทรงทำสำเร็จเสียด้วย ผู้ที่แค้นแทบจะกระอักเลือดแทน ก็คงจะเป็น "เจ้าเศษฝรั่ง" น่ะเองซึ่งมันก็รอจังหวะและโอกาสที่จะล้างแค้นเหมือนกัน มันคิดว่า

"หากไม่มีล้นเกล้า ฯ ร.๕ เสียพระองค์หนึ่ง สยามประเทศเราก็เปรียบเสมือนมังกรที่ไร้หัว" ที่นี้คงมีโอกาสมากขึ้นหากจะฮุบประเทศชาติของเราไว้ในกำมือ และแล้วแผนการอันแยบยลก็อุบัติขึ้นเมื่อพระองค์เสด็จเยือนประเทศฝรั่งเศส แม้เขาจะต้อนรับพระองค์อย่างสมพระเกียรติก็ตาม แต่นั่นเป็นเพียงหน้าฉากเท่านั้น หลังฉากน่ะหรือ ?   ได้กำหนดขึ้นเพื่อต้อนรับพระองค์ไว้เรียบร้อยแล้ว ในสนามแข่งม้าชานกรุงปารีสนั่นเอง เมื่อพระองค์ได้รับคำทูลเชิญให้เสด็จทอดพระเนตรการแข่งม้านัดสำคัญนัดหนึ่งซึ่งมีขุนนาง ข้าราชการ พระบรมวงศานุวงศ์ฝรั่งเศสมาชมกันมาก พวกมันได้นำเอาม้าดุร้ายและพยศอย่างร้ายกาจมาถวายให้ทรงประทับ โดยถือโอกาสขณะที่อยู่ท่ามกลางมหาสมาคม แม้รู้ว่าม้านั้นดุร้าย พระปิยมหราชเจ้าก็จะไม่ทรงหลีกหนี ด้วยขัตติยะมานะที่ทรงมีอยู่ในฐานะผู้นำประเทศ หากทรงพลาดพลั้งนั่นคือ "อุบัติเหตุ" ใครก็จะเอาผิดหรือต่อว่าเจ้าเศษฝรั่งไม่ได้

 ม้าตัวนั้นเล่าลือกันว่า     เคยโขกกัดผู้เลี้ยงดูและผู้หาญขึ้นไปขี่ตายมาแล้วหลายคน จะเอาไปไหนต้องมีคนจูงด้วยเชือกล่ามเท้าทั้งสี่ไว้    เพื่อป้องกันการพยศและขบกัดผู้คน นัยว่าเป็นม้าของเจ้าชายแห่งฝรั่งเศสพระองค์หนึ่ง     เมื่อถูกนำเข้ามาในสนาม ทุกคนก็ส่งเสียงร้องด้วยความตกใจและหวาดกลัว ตัวแทนรัฐบาลฝรั่งเศสเริ่มวางหลุมพราง โดยกราบบังคมทูลว่า

 "ไม่ทราบเกล้าว่าเมื่ออยู่ในสยามประเทศเคยทรงม้าหรือไม่ พระเจ้าข้า"

"แน่นอน  ข้าพเจ้าเคยทรงอยู่เป็นประจำ เพราะในสยามประเทศก็มีม้าพันธุ์ดีอยู่มาก"

"โอ วิเศษ ขออัญเชิญพระองค์ทรงเสด็จขึ้นทรงม้า ตัวที่กำลังถูกจูงเข้ามานี้ให้ประจักษ์ชัดแก่สายตาของผู้คนในสนามม้านี้ด้วยเถิดพระเจ้าข้า"

ตัวแทนรัฐบาลฝรั่งเศสกราบทูลด้วยความกระหยิ่มใจ

"แน่นอน  ข้าพเจ้าจะแสดงให้ท่านทั้งหลายได้ดูว่า กษัตริย์แห่งสยามประเทศนั้นไม่เคยหวาดหวั่นกลัวแม้แต่อัสดรที่พยศดุร้าย หรือผู้คุกคามที่มีอาวุธพร้อมสรรพ "


ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-iam-wat-nung/lp-iam-wat-nung-hist-02.htm

27
5
ส่วนผู้ติดตามเสด็จนั้นอ้าปากค้างทำอะไรไม่ถูก จนทรงพับผ้ายันต์เก็บแล้วนั่นแหละ จึงค่อย ๆร้องว่า สาธุ สาธุ คำพยากรณ์ข้อแรกเป็นที่ประจักษ์แก่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า "แม่นยำยิ่งนัก"   คงเหลือแต่คำพยากรณ์ข้อที่สองซึ่งยังมาไม่ถึง แต่ก็ทรงเตรียมพระองค์รับสถานการณ์หากจะเกิดขึ้น

เส้นทางเสด็จพระราชดำเนินนั้น   มีช่วงที่รอนแรมในมหาสมุทรอินเดียยาวนานถึง ๑๕ วัน ๑๕คืน  คือเส้นทางระหว่างเมืองกอล (Galle) ประเทศศรีลังกา ไปยังเมืองเอเดน (Aden) เมืองท่าปากทางเข้าสู่ทะเลแดงของประเทศเยเมน ช่วงนี้แหละที่น่าจะเป็นช่วงอันตรายที่สุดและลำบากที่สุด เหตุการณ์ตามคำพยากรณ์ข้อที่ ๑ ข้างต้น    คงเกิดในช่วงเส้นทางนี้  คือระหว่างวันที่ ๒๓ เมษายน  ถึง ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ (ขอย้ำอีกครั้ง เป็นเรื่องเล่า ไม่ได้มีบันทึกไว้ในพระราชหัตถเลขา - เล็ก พลูโต)

ขอรวบรัดตัดตอนเส้นทางเสด็จ ไม่ขอนำความมากล่าวโดยละเอียด ณ ที่นี้ เมื่อพระองค์เสด็จถึงประเทศฝรั่งเศส  ประธานาธิบดี เฟลิกซ์ ฟอร์ ได้ถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ แม้จะไม่เต็มใจนัก แต่แรกไม่คิดจะต้อนรับขับสู้อย่างดีหรอกครับ     แต่สืบข่าวดูแล้ว ทุกประเทศที่พระองค์เสด็จผ่านมาก่อนหน้าที่จะเข้าฝรั่งเศส ไม่ว่าจะเป็นสวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี ออสเตรีย ฮังการี รัสเซีย เดนมาร์ก อังกฤษเบลเยี่ยม เยอรมัน ต่างก็ถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ โดยเฉพาะรัสเซีย พระเจ้าซาร์ นิโคลัสทรงยกย่องนับถือเสมือนหนึ่งพระอนุชาร่วมอุทรของพระองค์เอง มีการฉายภาพพระบรมฉายาลักษณ์คู่กัน เผยแพร่ไปทั่วยุโรป แล้วอย่างนี้ "เจ้าเศษฝรั่ง" จะทำเป็นทองไม่รู้ร้อนได้อย่างไร

ในช่วงที่ทรงพำนักในกรุงปารีส ฝรั่งเศส  ระหว่างวันที่ ๑๑ กันยายน ถึง ๑๗ กันยายน ๒๔๔๐นี่เอง ที่พระองค์ได้ประสบกับความแม่นยำในอนาคตังสญาณของพระปลัดเอี่ยม ข้อที่ ๒ หากไม่ได้เตรียมการ หรือเตรียมพระองค์ล่วงหน้าแล้ว มีหวังที่จะต้องเอาพระชนม์ชีพไปทิ้งเสียที่นี่กระมัง

 --------------------------------------------------------------------------------

               โบราณว่าไว้ "หากไม่เข้าถ้ำเสือ แล้วจะได้ลูกเสืออย่างไร ? " เป็นบทท้าทายคำพิสูจน์ให้เห็นเด่นชัดตอนที่ล้นเกล้า ร.๕ พระปิยมหาราชเสด็จพระราชดำเนินเหยียบดินแดนของผู้ที่ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นศัตรู ที่ร้ายกาจ หวังจะครอบครองแผ่นดินไทยให้ได้ทั้งหมด แม้จะได้เป็นบางส่วนแล้วก็ตามก็หาเป็นที่พอใจไม่

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-iam-wat-nung/lp-iam-wat-nung-hist-02.htm

28
4
 การเสด็จประพาสยุโรปในครั้งแรก เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ (ร.ศ. ๑๑๖) ได้ทรงเตรียมการทุกอย่างไว้เป็นอย่างดียิ่ง ในส่วนที่เป็นกิจการภายในประเทศ ได้ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อหน้ามหาสมาคม จากนั้นได้ทรงถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้ามหาสมาคมซึ่งประกอบไปด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เหล่าเสนามหาอำมาตย์ ข้าราชบริพาร และพระราชาคณะอันมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร บางลำภู กทม. มีใจความสำคัญ ดังนี้

๑. จักไม่เปลี่ยนแปลงจากพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาอื่น   

๒. จักเสวยน้ำจัณฑ์ (เหล้า) ต่อเมื่อไม่เป็นการผิดพระราชประเพณีต่อฝ่ายที่จะกระชับสัมพันธไมตรี และจะเสวยเพียงเพื่อไมตรีไม่ให้เสียพระเกียรติยศ

๓. จะไม่ล่วงประเวณีต่อสตรีไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติใด ตลอดเวลาที่พ้นออกไปจากพระราชอาณาเขตสยาม

ซึ่งท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่า การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ ไม่ได้เป็นไปเพื่อความสำราญส่วนพระองค์ แต่ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์เพื่อประเทศชาติโดยแท้ จากจดหมายเหตุและพระราชหัตถเลขา ที่ทรงมีมายังพระพันปีหลวงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ทรงบอกชัดเจนว่า

ทรงต้องผจญภัยในท้องทะเล กับคลื่นลมที่แปรปรวน ทรงพบกับความลำบากนานาประการอาทิ ต้องทรงงดเสวยพระโอสถหมากและพระโอสถมวน (หมาก พลู บุหรี่) และต้องให้ช่างมาขูดคราบพระทนต์ (ฟัน) ที่เกิดจากคราบหมากคราบปูนออกเพื่อให้พระทนต์ขาว ห้องพระบรรทมในเรือพระที่นั่งก็ไม่สะดวกสบาย อากาศร้อนเป็นที่สุด การเสวยก็ไม่เป็นไปตามที่ทรงพระประสงค์ ฯลฯ ซึ่งความยากลำบากเหล่านี้เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาแรมเดือน ในช่วงที่ต้องใช้ทะเล มหาสมุทร เป็นเส้นทางเสด็จและในช่วงที่เสด็จรอนแรมในท้องทะเลนั่นเอง คำพยากรณ์ข้อที่ ๑ ของหลวงปู่เอี่ยม วัดโคนอนก็เป็นจริง

เมื่อเรือพระที่นั่งแล่นอยู่ในบริเวณใกล้กับ สะดือทะเล หรือ "ซากัสโซ ซี" อันบริเวณนั้นมักจะเกิดน้ำวนเป็นประจำ และเรือลำใดบังเอิญหลงเข้าไปในวังน้ำวนนั้น ก็มีหวังจมลงอับปางเป็นแน่แท้ และแล้วเรือพระที่นั่งมหาจักรี ก็พลัดเข้าไปในวังวนนั้นจนได้   

กัปต้นคัมมิง (Commander Cumming) แห่งราชนาวีอังกฤษซึ่งไทยได้ขอยืมตัวมาเป็นผู้บังคับการเรือพระที่นั่งเป็นการชั่วคราว ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มสติกำลังความสามารถ บังคับเรือให้สู้กับแรงหมุนและดูดอย่างเต็มที่ ด้วยหากเรือพระที่นั่งเข้าปากวังวนแล้ว การรอดออกมานั้นหมดหนทาง

ในขณะที่วิกฤตินั้น ได้มีผู้เข้าไปกราบทูลให้ทรงทราบ เมื่อระลึกถึงคำพยากรณ์ของพระปลัดเอี่ยมข้อแรกขึ้นมาได้ ก็ทรงจัดฉลองพระองค์ให้รัดกุม อาราธนาผ้ายันต์ของพระปลัดเอี่ยมติดมาด้วย    เมื่อเสด็จมาถึงตอนหัวเรือ กัปตันกำลังแก้ไขสถานการณ์สุดกำลัง ทรงไม่รบกวนสมาธิของกัปตัน แต่เสด็จไปยืนอธิษฐานจิตถึงพระรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราช และบารมีทศพิธราชธรรม และการเลิกทาสที่ทรงพระวิริยะอุตสาหะในการช่วยเหลือพสกนิกรให้พ้นจากการเป็นทาส จบลงด้วยพระปลัดเอี่ยมและผ้ายันต์ ทรงโบกผ้ายันต์นั้นไปมาด้วยความมั่นพระราชหฤทัย แล้วปาฎิหาริย์ก็ปรากฎ เหตุการณ์ก็แปรเปลี่ยน   จู่ ๆ ก็เกิดลมมหาวาตะพัดมาในทิศทางที่อยู่ในแนวเดียวกับวังวน แรงลมทำให้เกิดกระแสคลื่นสะกัดกระแสวนของวังน้ำ ดันเรือพระที่นั่งให้พ้นจากแรงดูดสามารถตั้งเข็มเข้าสู่เส้นทางได้ ท่ามกลางเสียงร้องตะโกนว่า "ฮูเรย์" ของกัปตันและลูกเรือ


ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-iam-wat-nung/lp-iam-wat-nung-hist-02.htm

29
3

ขอบคุณภาพจาก
http://www.watnang.com/luangphu/luangphu_04.html

พระปลัดเอี่ยมลุกจากที่นั่งไปคุกเข่าลงหน้าพระประธาน ก้มลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ระลึกถึงองค์พระรัตนตรัย และหลวงปู่รอดผู้มรณภาพไปแล้ว ขอบารมีในการจะเข้า "ฌาน" เพื่อดูอนาคตด้วย "อนาคตังสญาณ"   จากนั้นก็กลับเข้ามาสู่ท่านั่งสมาธิตัวตรง เจริญอานาปานสติ แล้วเข้าสู่ฌานที่ ๔ ตามลำดับ จากนั้นเข้าสู่อนาคตังสญาณ โดยกำหนดจิตไว้มั่นเพื่อให้นิมิตเกิด

ในท่ามกลางความคะนองของท้องทะเล และคลื่นลมตลอดจนวังวนของทะเล เรือพระที่นั่งกำลังอยู่ในปากแห่งวังวนนั้น น้ำในวังวนเชี่ยวกราก และส่งแรงดูดมหาศาล ภายใต้วังวนนั้น ซากเรือใหญ่น้อยจมอยู่เป็นอันมาก พ้นจากทะเลมาสู่บก พลันภาพของกลุ่มคนที่นั่งกันอยู่เป็นชั้น ๆ ส่งเสียงจ้อกแจัก ด้านล่างเป็นผืนหญ้า  และมีผู้จูงม้าเข้ามาในที่นั้น ม้าตัวนั้นมีคนถือเชือกที่ล่ามขาทั้งสี่คอยดึงไว้ไม่ให้พยศ ดวงตาของมันเหลือกโปน น้ำลายฟูมปาก

ภาพของฝรั่งแต่งตัวด้วยเครื่องแบบประหลาด ผายมือให้พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าทรงเสด็จไปรับม้าเพื่อประทับ แล้วทุกอย่างก็ดับวูบหายไป ถึงวาระที่ออกจากญาณพอดีลุกขึ้นเดินมานั่งบนอาสนะที่เดิม ก่อนจะกราบทูลความถวายว่า

"มหาบพิตร การเสด็จพระราชดำเนินสู่ยุโรปครั้งนี้  จะต้องประสบภัยสองครั้ง ครั้งแรกในทะเลที่วังวน   อาตมาจะถวายผ้ายันต์พิเศษและคาถากำกับ เมื่อเข้าที่คับขันขอให้ทรงเสด็จไปยืนที่หัวเรือ แล้วภาวนาคาถากำกับผ้ายันต์แล้วโบกผ้านั้น จะเกิดลมมหาวาตะพัดให้เรือหลุดจากการเข้าสู่วังวนได้

ภัยครั้งที่สองเกิดจากสัตว์จตุบท (สี่เท้า) คืออัศดรชาติอันดุร้ายที่ฝ่ายตรงข้ามจะทดลองพระองค์อาตมาจะถวายคาถาพิเศษสำหรับภาวนาเวลาถอนหญ้าให้อัศดรอันดุร้ายนั้นกิน จะคลายพยศและสามารถประทับบังคับให้ทำตามพระราชหฤทัยได้เหมือนม้าเชื่อง" ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่เล่าลือกันมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง ปู่ย่าตายายได้เล่าสืบทอดกันมาอันมีส่วนหนึ่งเกี่ยวพันกับพระบรมรูปทรงม้าที่ลานพระราชวังดุสิต

คาถาเสกหญ้าให้ม้ากินที่หลวงปู่เอี่ยมถวายนั้น คือ "คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย" หรือ "มงกุฎพระพุทธเจ้า"  มีตัวคาถาว่า "อิติปิโส  วิเสเสอิ   อิเสเส พุทธะนาเมอิ    อิเมนา พุทธะตังโสอิ  อิโสตังพุทธะปิติอิ "

หลังจากได้ทรงมีพระราชดำรัสกับพระปลัดเอี่ยมพอสมควรแก่เวลาแล้ว ก็ทรงถวายจตุปัจจัยไทยทานแด่พระปลัดเอี่ยม จากนั้นได้เสด็จทอดพระเนตรโดยรอบวัดโคนอน ซึ่งตอนนี้มีผู้จดจำพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าได้แม่นยำ ได้บอกกันออกไป ทำให้มีผู้มาหมอบเฝ้ารับเสด็จกันเป็นจำนวนพอสมควร ครั้นทรงสำราญพระอิริยาบถพอสมควรแล้ว ก็เสด็จกลับสู่พระบรมมหาราชวัง เพื่อเตรียมพระองค์ไปทวีปยุโรปต่อไป


ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-iam-wat-nung/lp-iam-wat-nung-hist-02.htm

30
2
เมื่อล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๕    ได้รับคำแนะนำจากพระเจ้าน้องยาเธอ "กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์"ให้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ เข้านมัสการ "หลวงปู่เอี่ยม" วัดโคนอน เพื่อขอรับคำพยากรณ์ก่อนที่จะเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ นั้น ภายหลังที่กำหนดการเสด็จวัดโคนอนได้ถูกกำหนดขึ้นเป็นการส่วนพระองค์เรียบร้อยแล้ว   ก็ได้ส่งหมายกำหนดการไปถวายแด่หลวงปู่เอี่ยม เป็นการภายใน เพื่อที่จะได้เตรียมตัวรับเสด็จ

ขบวนเสด็จประกอบด้วย เรือพายสี่แจวที่ทรงประทับ   และขบวนเรือคุ้มกัน ควบคุมโดยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงนเรศวรฤทธิ์    ได้เคลื่อนที่เข้าคลองลัดสู่วัดโคนอน ชาวบ้านละแวกนั้นไม่ได้ไหวตัวหรือเอะใจแต่อย่างใด เพราะเห็นเป็นขบวนเรือธรรมดา มิได้ประดับประดาธงทิวให้แปลกไปกว่าเรือลำอื่นดูเหมือนกับเรือที่ขุนนางหรือเศรษฐีผู้มีทรัพย์ใช้กันทั่วไป และผู้ที่ขึ้นมาจากเรือสี่แจวต่างก็แต่งกายแบบธรรมดา  มีหมวกสวมไว้บนศีรษะ ใบหน้าบ่งบอกถึงเป็นผู้มีบุญ หนวดบอกถึงผู้มีอำนาจดวงตาฉายแววแห่งความเมตตาปราณีตลอดเวลา เวลาเดินมีคนล้อมหน้าล้อมหลัง ทุกคนไม่ได้เฉลียวใจเลยว่า "บุรุษผู้ขึ้นมาจากเรือสี่แจวนั้น คือ เจ้าชีวิตแห่งกรุงสยาม พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า ผู้ทรงประกาศเลิกทาสโดยสิ้นเชิง"

 พระปลัดเอี่ยมนั่งรออยู่บนอาสนะอันสมควรแก่ฐานานุรูป    ภายในพระอุโบสถอันแคบ แบบวัดราษฏร์ในเขตอันไกลจากพระบรมมหาราชวัง กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์ก้าวนำเสด็จเข้ามาภายในพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าทรงจุดธูปเทียนบูชาสักการะพระประธาน กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วจึงเสด็จกลับมาถวายนมัสการพระปลัดเอี่ยม ซึ่งกราบทูลให้ทรงประทับนั่งธรรมดาตามสบายพระองค์

"ที่รูปมาในวันนี้ ("รูป" เป็นคำที่พระมหากษัตริย์สมัยก่อนใช้แทนพระนามเมื่อมีพระราชดำรัสกับพระสงฆ์) เพื่อขอให้ท่านปลัดได้ช่วยตรวจดูเหตุการณ์ว่า การที่รูปจะเสด็จไปยุโรปเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักในยุโรปนั้น จักเป็นอย่างไรบ้าง ด้วยหนทางไกลและอันตรายมีอยู่รอบด้าน"

"มหาบพิตร อาตมาจักตรวจสอบให้ อย่าได้ทรงมีพระหทัยกังวล ทั้งนี้ด้วยพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสมมติเทพแบบพระองค์นั้น มีบุญญาธิการ สามารถผ่านพ้นความทุกข์ได้อย่างมั่นคง"


ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-iam-wat-nung/lp-iam-wat-nung-hist-02.htm

31
ขอขอบคุณ

หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง
ผู้ถวายคำพยากรณ์ แด่ ร.๕
 
คัดลอกจาก http://www.lekpluto.com/index01/special03.html
และ
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-iam-wat-nung/lp-iam-wat-nung-hist-02.htm
====================================
(ขออนุญาตตัดตอนมาบางส่วน)

ในการเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่หนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ นั้น  ไม่ได้เป็นการเสด็จเพื่อแสวงหาความสำราญแต่อย่างใด   แต่เป็นการเสด็จเพื่อดำเนินพระราชวิเทโศบายด้านการต่างประเทศอย่างชาญฉลาด  เป็นการเสด็จเพื่อเจริญพระราชไมตรีกับราชวงศ์ต่าง ๆ  ของยุโรป    โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัสเซียและเยอรมัน ซึ่งเป็นศัตรูคู่แค้นของอังกฤษ และฝรั่งเศส ด้วยหลักการที่ว่า "ศัตรูของเพื่อนก็คือศัตรูของเรา"  เมื่อผูกสัมพันธ์กับรัสเซีย เยอรมัน และกลุ่มประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ได้แล้ว อังกฤษ และฝรั่งเศสก็จะไม่กล้ารุกราน หรือยึดเอาประเทศไทยเป็น "อาณานิคม" อีกต่อไป ซึ่งส่งผลทำให้ไทยเราดำรงความเป็นเอกราชมาจนทุกวันนี้

การเสด็จประพาสยุโรปในสมัยนั้น  ทำได้ทางเดียว คือ "ทางเรือ" ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางแรมเดือน การออกทะเลหรือมหาสมุทรนั้น แม้ในปัจจุบันที่มีการพัฒนาการเดินเรือ มีเรือที่มั่นคงแข็งแรง ประสิทธิภาพสูง  มีการติดต่อสื่อสารที่ทันท่วงที ก็ยังไม่วายจะ "อับปาง" เลยครับ หากออกเดินทางในช่วงมรสุม หรือ "สุ่มสี่สุ่มห้า"  ล่ะก็  เป็นเสร็จทุกราย       คนโบราณจึงสอนเอาไว้ว่า "อย่าไว้ใจทะเลคืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล มีภยันตรายรอบด้าน ทุกเวลานาที"  ท่านผู้อ่านลองหลับตาวาดภาพการเดินเรือในสมัยเมื่อร้อยกว่าปีล่วงมาแล้วซิครับ ว่ายากลำบาก และมีอันตรายเพียงใด แต่ล้นเกล้า ฯ     รัชกาลที่ ๕ท่านก็ทรงเสด็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย เป็นการเสียสละพระองค์อย่างสูงสุด ที่ไม่มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกจะทำได้  ตอนหน้าจะได้กล่าวถึงคำพยากรณ์และการแก้ไขเหตุร้ายแรงที่ประสบตามคำพยากรณ์    เป็นเรื่องของความเชื่อถือในคุณพระ และคาถาอาคม หากท่านเห็นว่า "ไม่ไร้สาระ" จนเกินไป


32
ธรรมะ / ตอบ: กระรอกโพธิสัตว์ ^^
« เมื่อ: 17 ต.ค. 2555, 11:38:44 »
ขอบคุณครับ

33
เพิ่งได้เห็นรูปท่านตี๋ รู้สึกว่าร่างท่านช่างสมส่วมดีมากเลยครับ ลดจากปีก่อนไปเยอะมาก
ผมเพิ่งลดได้ 8 กก. เองครับ

34
บทความ บทกวี / ตอบ: ตำนานน้ำมนต์
« เมื่อ: 04 ส.ค. 2555, 10:30:19 »
ขอบคุณครับ
ขอนำไปอ่านต่อใน fb นะครับ

35
ขอบพระคุณครับท่าน จะบอกเพื่อนให้ครับ เค้ากำลังอยากได้อยู่

36
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้อย่างไร ?
 
เนสํ หิ น ภิกฺขเว ปณฺฑโก ปพฺพาเชตพฺโพ โย ปพฺพาเชยฺย อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺสาติ อาทินา ปพฺพชฺชา อุปสมฺปทา จ ปฏิกฺขิตฺตาฯ
 
แปลใจความว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสห้ามการบรรพชาและอุปสมบท แก่บุคคลเหล่านั้น  ด้วยคำเป็นต้นว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย กะเทยอันภิกษุไม่พึงให้บวช  ภิกษุใดให้บวช ภิกษุนั้นพึงทำไม่ดี   ฯลฯ 
 
ตสฺมา เตปิ ปาราชิกาฯ  ความว่า เพราะกะเทยแม้เหล่านั้น เป็นผู้พ่ายแพ้แล้ว คือเปรียบเหมือนเป็นปาราชิกตั้งแต่เขาเป็นคฤหัสถ์ (คือบวชไม่ได้ตลอดชีวิต)
 
ปพฺพชฺชาปิ เนสํ ปฏิกฺขิตฺตา ฯ  แม้การบรรพชาของคนพวกนั้นก็ทรงห้ามแล้ว
 
ปณฺฑโก ภิกฺขเว อนุปสมฺปนฺโน น อุปสมฺปาเทตพฺโพ อุปสมฺปนฺโน นาเสตพฺโพ ฯ   ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันที่เป็นกะเทย  ภิกษุไม่พึงให้บวช  ที่บวชแล้วพึงให้สึกเสีย ฯ

ที่มา
http://sites.google.com/site/watluangpreechakul/prohibit-to-monk

37
บุคคลผู้ห้ามให้บวชตามหลักฐานอรรถกถาจารย์
 
๑. ปณฺฑกาติ อุสฺสนฺสกิเลสา อวูปสนฺตปริฬาหา นปุสกา  บุคคลที่ไม่ใช่ชายหรือหญิง  มีกิเลสแน่นหนา  มีความเร่าร้อนกลัดกลุ้มอยู่เสมอ เรียกว่า “บัณเฑาะก์” หรือกะเทย
 
๒. เต ปริฬาหาภิภูตา เยน เกนจิ สทฺธึ มิตฺตภาวํ ปตฺเถนฺติ  กะเทยเหล่านั้น (ที่มีนิสัยชอบพวกเพศเดียวกัน)  เมื่อถูกราคะครอบงำแล้วปรารถนาเป็นมิตรกับพวกผู้ชายบางคน

อรรถกถาจารย์แบ่งกะเทยไว้  ๕ ประเภท คือ

๑. อาสิตตบัณเฑาะก์  (ยสฺส ปเรสํ องฺคชาตํ มุเขน คเหตฺวา อสุจินา อาสิตฺตสฺส ปริฬาโห วูปสมติ อยํ อาสิตฺตปณฺฑโก)  หมายความว่า กะเทยพวกที่ชอบใช้ปากอมองคชาตของผู้อื่น  ความเร่าร้อนสงบไปเมื่อถูกน้ำอสุจิรั่วรดแล้ว  พวกนี้เรียกว่า อาสิตตบัณเฑาะก์
 
๒. อุสสุยบัณเฑาะก์  (ยสฺส ปน ปเรสํ อชฺฌาจารํ ปสฺสโต อุสฺสุยยาย ปริฬาโห วูปสมติ อยํ อุสฺสุยฺยปณฺฑโก)  หมายความว่า กะเทยพวกที่เห็นคนอื่นเขาประพฤติล่วงประเวณี หรือเห็นคนอื่นเขาเสพสังวาสกันความเร่าร้อนด้วยราคะที่ฟุ้งขึ้นของเขาก็สงบไป พวกนี้เรียกว่า อุสสุยยบัณเฑาะก์ (พวกชอบแอบดู)
 
๓. โอปักกมิยบัณเฑาะก์  (ยสฺส อุปกฺกเมน พีชานํ อปนีตานิ อยํ โอปกฺกมิย ปณฺฑโก)  หมายความว่า กะเทยพวกที่ถูกตอนแล้ว  ถ้าเป็นประเพณีเก่าของจีนคือพวกขันที  คือคนพวกที่ถูกเขาควักเอาอัณฑะออกแล้ว (น่าจะตัดออก)  พวกนี้เรียกว่า โอปักกมิยบัณเฑาะก์
 
๔. ปักขบัณเฑาะก์  (เอกจฺโจ ปน อกุสลวิปาเกน กาฬปกฺเข ปณฺฑโก โหติ ชุณฺหปกฺเข ปนสฺส ปริฬาโห วูปสมติ อยํ ปกฺขปณฺฑโก)  หมายความว่า กะเทยพวกนี้เป็นกะเทยมีราคะกล้าเฉพาะวันข้างแรมไปจนถึงเดือนดับเพราะอกุศลวิบาก แต่พอข้างขึ้นก็สงบไป พวกนี้เรียกว่า ปักขบัณเฑาะก์
 
๕. นปุงสกบัณเฑาะก์  (อิตฺถีอุภโตพยญฺชนกสฺส อิตฺถีสุ ปุริสตฺตํ กโรนฺตสฺส อิตฺถี นิมิตฺตํ ปฏิจฺฉนฺนํ ปุริสนิมิตฺตํ ปากฏํฯ ปุริสอุภโตพยญฺชนกสฺส ปุริสานํ อิตฺถีภาวํ อุปคจฺฉนฺตสฺส ปุริสนิมิตฺตํ ปฏิจฺฉนฺนํ โหติ อิตฺถีนิมิตฺตํ ปากฏํ โหติฯ   อิตฺถีอุภโตพยญฺชนโก สยญฺจ คพฺภํ คณฺหาตีติ ปรญฺจ คณฺหาเปติฯ  ปุริสอุภโตพยญฺชนโก ปน สยํ น คณฺหาติ ปรํ คณฺหาเปติฯ)   
     หมายความว่า กะเทยพวกนี้มี ๒ เพศในร่างเดียวกัน คือ พวกอุภโตพยัญชนกเมื่อทำหน้าที่ของผู้ชายให้หญิง ก็ซ่อนรูปเพศหญิงไว้แต่เพศชายปรากฏ,  เมื่อทำหน้าที่เป็นหญิง เพศชายหายไปแต่เพศหญิงปรากฏ,  เรียกพวกนี้ว่า ปุริสอุภโตพยัญชนกฯ    ส่วนอิตถีอุภโตพยัญชนก ท้องเองก็ได้ และทำผู้อื่นท้องก็ได้  ส่วนปุริสอุภโตพยัญชนกไม่ได้ตั้งท้องเอง แต่ทำให้หญิงท้องก็ได้ (ผู้เขียนฯ เคยเห็นภาพในหนังสือคู่มือแพทย์)


ที่มา
http://sites.google.com/site/watluangpreechakul/prohibit-to-monk

38
ยังมีคนผู้ต้องห้ามอยู่อีก

จำพวกคนถูกห้ามไม่ให้รับบรรพชา (บวชเณร)  จัดเป็น ๘  พวก  ดังนี้ :-
 
๑. คนมีโรคอันจะติดต่อกัน  โรคไม่รู้จักหาย  โรคเรื้อรัง  ได้แก่โรคเรื้อน   มาว่าโรคฝี เช่นฝีดาษและสุกใส  หัด  โรคกลาก  โรคพยาธิ  โรคหืด  โรคลมบ้าหมู   โรคเป็นผลแห่งบาป  โรคเรื้อรังเช่นริดสีดวงและกามโรค  โรคอัมพาต  โรคเอดส์  คนเป็นโรคเหล่านี้ที่รักษาหายเป็นปกติแล้ว  รับให้บรรพชาได้.
 
๒. คนมีอวัยวะบกพร่อง คือ  มือขาด  เท้าขาด  ทั้งมือและเท้าขาด  หูขาด  จมูกขาด  ที่ทั้งหูทั้งจมูกขาด  นิ้วมือนิ้วเท้าขาด.
 
๓. คนมีอวัยวะไม่สมประกอบ  คนมีมือเป็นแผ่น คือนิ้วมือไม่ได้เป็นง่าม  มีหนังติดกันในระหว่าง  คนค่อมคือมีหลังโกง  คนเตี้ยคือเตี้ยกว่าคนปกติ  คนคอพอก  คนตีนปุก  คนแปลกประหลาดเพื่อน (ในทางเสีย) คือ สูงเกินบ้าง  ต่ำเกินบ้าง  ดำเกินบ้าง  ขาวเกินบ้าง  ผอมเกินบ้าง  อ้วนเกินบ้าง  มีศีรษะใหญ่เกินบ้าง  มีศีรษะหลิมเกิน  คนที่แก้หายเช่นคนมีมือเป็นแผ่น  เมื่อตัดหนังตกแต่งให้เป็นปกติ  ไม่ห้ามบรรพชา.
 
๔. คนพิการ  คนตาบอดตาใส  คนง่อย  คือมีมือหงิกบ้าง  มีเท้าหงิกบ้าง  มีนิ้วหงิกบ้าง  คือมีเท้าหรือขาพิการ  เดินไม่ปกติ  คนตาบอดมืด  คนใบ้  คนหูหนวก  คนทั้งบอดทั้งใบ้  คนทั้งบอดทั้งหนวก   คนทั้งใบ้ทั้งหนวก  คนทั้งบอดทั้งใบ้ทั้งหนวก.
 
๕. คนทุรพล  คือคนแก่ง่อนแง่น (ทำงานไม่ไหว)  คนเปลี้ย  คนมีอิริยาบถขาด หรือที่เรียกว่าเส้นประสาทพิการ.             
 
๖. คนมีเกี่ยวข้อง  คือคนที่พ่อแม่ไม่ได้อนุญาต  เป็นราชภัฏ  คือข้าราชการอันพระราชาเลี้ยง  ตรงกับข้าราชการอยู่ในตำแหน่งได้รับพระราชทานเงินเดือนหรือเบี้ยเลี้ยง  คนมีหนี้สิน  คนเป็นทาส   คนจำพวกนี้ทำหากภาระให้สิ้นสุดหรือสะสางแล้วก็สามารถบวชได้   เช่นบุตรได้รับอนุญาตจากมารดาบิดา  ราชภัฏได้รับอนุญาตจากพระราชาหรือเจ้าหน้าที่เหนือตน  คนมีหนี้สินใช้หนี้เสร็จแล้ว  คนเป็นทาสได้รับปลดเป็นไทแล้ว  รับบวชได้.           
 
๗. คนเคยถูกอาชญาหลวง  มีหมายปรากฏอยู่ คือคนถูกเฆี่ยนหลังลาย คือมีรอยแผลเป็นที่หลัง  คนถูกสักหมายโทษ.
 
๘. คนประทุษร้ายความสงบ  คือโจรผู้ร้ายที่ขึ้นชื่อโด่งดัง  คนโทษหนีเรือนจำ  คนทำผิดมีหมายไว้  คนเหล่านี้ถูกห้ามบรรพชาแล้ว  ก็เป็นอันถูกห้ามอุปสมบทด้วย.


ที่มา
http://sites.google.com/site/watluangpreechakul/prohibit-to-monk

39
บุคคลที่พระพุทธเจ้าห้ามบวชโดยเด็ดขาด
 
อภัพบุคคลเหล่านี้  ต้องห้ามบวชเพราะเพศบกพร่องก็มี  เพราะประพฤติผิดพระธรรมวินัยก็มี เพราะประพฤติผิดต่อ (ผู้ให้) กำเนิดของเขาเองก็มี.
 
จำพวกมีเพศบกพร่องนั้น คือ บัณเฑาะก์ ที่แปลว่ากะเทย,  อุภโตพยัญชนก ที่แปลว่าคนมีทั้ง ๒ เพศ 
 
กะเทย นั้นได้ความตามบาลีและอรรถกถาว่า  ได้แก่ชายมีราคะกล้า  ประพฤตินอกจารีตในทางเสพกามและยั่วยวนชายอื่นให้เป็นเช่นนั้น   
 
ชายผู้ถูกตอน (ขันที) ก็ห้ามอุปสมบทเหมือนกัน  คนชนิดนี้เป็นที่รังเกียจของคนอื่นในทางกามารมณ์
 
อุภโตพยัญชนก คือคนมี ๒ เพศ เป็นหญิงก็มี เป็นชายก็มี 
 
จำพวกคนทำผิดต่อพระศาสนา นั้นแสดงไว้ ๗ ประเภท คือ คนฆ่าพระอรหันต์,  คนผู้ข่มขืนภิกษุณี,  คนลักเพศ,  ภิกษุไปเข้ารีตเดียรถีย์ (ทั้งที่ยังเป็นภิกษุอยู่ สึกแล้วมาบวชใหม่ก็ห้าม),   ภิกษุต้องปาราชิกละเพศไปแล้ว, ภิกษุผู้ทำสังฆเภท, คนทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต   
 
คนลักเพศ นั้นคือถือเพศภิกษุเอาเองด้วยตั้งใจจะปลอมเข้าอยู่ในหมู่ภิกษุ  เช่นปลอมตัวว่าบวช ปลอมเข้าอยู่ในหมู่ภิกษุ 
 
ภิกษุไปเข้ารีตเดียรถีย์ นั้นเพ่งเอาผู้ไปเข้ารีตทั้งที่กำลังเป็นภิกษุ  คฤหัสถ์เข้ารีตหรือภิกษุสึกแล้วจึงเข้ารีต  ไม่จัดเข้าในข้อนี้
 
คนผู้ทำสังฆเภท หมายเอาภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกัน  ภายหลังแตกจากสงฆ์ไปตั้งคณะหนึ่งต่างหาก มีพระเทวทัตเป็นตัวอย่าง  การจัดภิกษุผู้ทำสังฆเภทเป็นอภัพบุคคลนั้น ความว่า แม้ภิกษุนั้นกลับใจมาขอบวชเข้าหมู่อีก ก็ห้ามมิให้รับเข้าบวชเป็นเด็ดขาด 
       
คนทำผิดต่อกำเนิดของตน นั้น  คือ  คนฆ่าพ่อฆ่าแม่
 
อภัพบุคคลเหล่านี้ ถ้ารู้มาก่อนก็ไม่พึงให้อุปสมบท(บวช)  แต่ถ้าให้บวชแล้วเพราะไม่รู้  เมื่อภายหลังรู้  พึงให้สึกเสีย 
 
มีปัญหาถามว่า ในบาลีห้ามไม่ให้อุปสมบท แต่จะให้เพียงบรรพชา (บวชเณร) จะได้ไหม?  มีคำเฉลยว่า การบรรพชาทรงอนุญาตสำหรับคนมีอายุหย่อน ๒๐ ปี  คือผู้ยังเป็นเด็กเท่านั้น  เป็นเบื้องต้นแห่งการบวช   ผู้ที่ถูกห้ามอุปสมบทจึงถูกห้ามไปถึงการบรรพชาด้วย
 
คนเคยต้องปาราชิก เมื่ออุปัชฌาย์ไม่รู้และให้บวชไปแล้ว ต่อมารู้ในภายหลังพึงให้สึกเสียจากเพศพระ.


ที่มา
http://sites.google.com/site/watluangpreechakul/prohibit-to-monk

40
บุคคลที่ถูกห้ามบวชเป็นพระภิกษุ
 
 
คำชี้แจง

 
อาตมาได้รับคำถามจากหลายท่านอยู่บ่อยๆ  ในทำนองว่าคนที่เป็นชายไม่สมบูรณ์หรือผู้ที่มีใจสับสน  เช่นกายเป็นชายแต่ใจเป็นหญิง  หรือพวกคนสองเพศ  หรือบางทีก็เรียกว่าเกย์  ภาษาไทยเราเรียกว่า  “กะเทย”  คนพวกนี้บวชได้ไหม?
 
อาตมาได้ชี้แจงว่า ตามพระวินัยกล่าวไว้ว่าบวชไม่ได้  แม้บวชแล้วก็ไม่เป็นพระหรือเณร  รู้เมื่อไรก็ให้เขาสึกเสีย  ถ้าเขามีศรัทธาก็ให้เขานุ่งขาวห่มขาวรักษาสิกขาบท ๕ - ๘  หรือรักษากุศลกรรมบถ ๑๐ ก็จะเกิดกุศลมหาศาล  เป็นเหตุเป็นปัจจัยในภายภาคหน้าต่อไป
 
เขาก็เล่าให้ฟังว่า  เห็นมีบวชกันอยู่ทั่วไปในที่ต่างๆ  บางแห่งอยู่กันเป็นหมู่เป็นกลุ่มก็มี  อาตมาก็บอกว่า นั่นเพราะว่าอุปัชฌาย์ไม่ทราบ หรือผู้ที่บวชไม่ทราบประเพณีของวินัยของพระพุทธเจ้าก็ได้  แต่เมื่อทราบก็ต้องชี้แจงให้เขาได้รับรู้  ให้เขาสึกเสียหรือสร้างกุศลกรรมอย่างอื่นยังมีทางที่ก่อให้เกิดบุญกุศลมากมาย  แต่ถ้าเขายังฝืนอยู่ในธรรมวินัยนี้มีแต่เสื่อม  และเป็นบาปมากๆ  เมื่อพระภิกษุผู้มีศีลต้องกราบไหว้หรือทำสามีจิกรรมเขาในเวลาเมื่อเข้าร่วมทำสังฆกรรมกับหมู่พระภิกษุ นอกจากจะทำสังฆกรรมให้วิบัติ  บวชพระไม่เป็นพระ  ทำสังฆกรรมเป็นคณะปูรกะ  ทำให้กรรมกำเริบคือเสียใช้ไม่ได้อีกด้วย   
 
ดังนั้นผู้ที่ทราบจงช่วยกันชี้แจงและบอกกล่าวให้รู้กัน เพื่อช่วยกันดูแลป้องกันพระศาสนา เพื่อสังฆมณฑลจะได้บริสุทธิ์ต่อไป.
“โพธิสัตตะ”
เรียบเรียงข้อความใหม่บางส่วนโดย พระวัชพล ปภาโต

.............................................................................................
ที่มา
http://sites.google.com/site/watluangpreechakul/prohibit-to-monk

41
ขอบคุณครับ เรื่องนี้น่าจะอยู่ในหมวดธรรมะ

42
ธรรมะ / ตอบ: อานิสงส์บวช
« เมื่อ: 04 พ.ค. 2555, 09:22:11 »
ขอถามว่า....ถ้าคนปรารภว่าจะบวชแล้วไม่ได้บวชตามปรารภ จะเกิดอะไรขึ้น :062:

43
วิญญาณที่ถูกลืม 2/2

เพราะปรากฏว่าวิญญาณของเบ็ตตี้ไม่ได้ไปผุดไปเกิดอย่างที่ทุกคนเข้าใจ แต่วิญญาณของเธอกำลังล่องลอยตามสามีและลูกมาต่างหาก โดยในคืนวันหนึ่ง ขณะที่โรเบิร์ตกำลังพาลูกชายของเขาเข้านอน จู่ๆก็มีลมพัดมาวูบใหญ่จนทำให้หน้าต่างบนห้องเปิดกว้างออก และสิ่งที่โรเบิร์ตกับลูกชายมองเห็นในขณะนั้นก็คือ ร่างของเบ็ตตี้กำลังลอยวนไปมาอยู่เหนือระเบียงห้องซึ่งอยู่บนชั้นสองของตัวบ้าน  สภาพของเบ็ตตี้ในตอนนั้นไม่ต่างอะไรไปจากเมื่อตอนที่โรเบิร์ตเห็นในขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจพาเขาไปดูศพของเธอ  แต่ที่น่ากลัวไปกว่านั้นก็คือ ใบหน้าของเธอเริ่มเน่าเฟะและส่งกลิ่นเหม็นตลบไปทั่วห้อง  และเมื่อลูกชายของเขามองเห็นหนอนที่ไต่ยั้วเยี้ยไปทั่วร่างกายของมารดา เด็กน้อยก็หันมากอดโรเบิร์ตไว้ซะแน่นด้วยความกลัว  ในขณะที่โรเบิร์ตเองก็เริ่มตื่นตระหนกยิ่งขึ้น  แม้สิ่งที่เขามองเห็นอยู่ตรงหน้าในขณะนั้นจะเป็นร่างภรรยาของเขาก็ตาม  แต่เธอก็ดูน่ากลัวเกินกว่าที่เขาจะทนมองต่อไปได้


ในตอนแรกนั้นโรเบิร์ตเข้าใจว่า วิญญาณของเบ็ตตี้คงยังรักและห่วงใยลูกน้อยวัย 5 ขวบของเธออยู่ จึงยังไม่สามารถไปผุดไปเกิดได้ แต่โรเบิร์ตอาจจะ ยังไม่ทราบว่า  ในเวลานั้น วิญญาณของเบ็ตตี้ไม่ใช่ภรรยาผู้อ่อนโยนและใจดีคนเก่าของเขาอีกต่อไปแล้ว  เธอได้ผ่านความรู้สึกที่ถูกทำร้ายอย่างทารุณ  ความรู้สึกที่ต้องถูกทอดทิ้งให้อยู่อย่างเดียวดาย  จนมันสั่งสมและได้กลายเป็นรอยแค้นที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจของเธอเสียแล้ว


ดังนั้น เมื่อเบ็ตตี้เห็นลูกน้อยแสดงท่าทีหวาดกลัวต่อวิญญาณของเธอผู้เป็นแม่  มันจึงได้สร้างความโกรธให้เธอเป็นอย่างมาก  พร้อมกับลั่นปากออกมาว่า  เธอจะฆ่าทุกคนที่ทอดทิ้งและทำให้เธอต้องทนทุกข์ทรมานอยู่เพียงเดียวดาย  และในวินาทีนั้น   เบ็ตตี้ก็ได้ยื่นมือของเธอมาจับร่างของโรเบิร์ตเหวี่ยงไปกระแทกเข้ากับฝาผนังห้อง  และหันมามองลูกชายของเธอที่ตัวสั่นงันงกอยู่บนเตียง พร้อมกับร้องเรียกให้เข้ามาหาเธอ แต่เมื่อเด็กน้อยส่ายหน้าปฏิเสธ  วิญญาณของเบ็ตตี้ก็ถึงกับกรีดร้องออกมาด้วยความโกรธ  เธอขว้างปาและทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้าจนย่อยยับด้วยอารมณ์แค้น  แต่มันก็เป็นเพียงชั่วขณะหนึ่ง  เพราะเมื่อเธอมองเห็นลูกน้อยร้องไห้ออกมาด้วยความตกใจกลัว  ความโกรธของเธอก็เริ่มอ่อนลง  และในไม่ช้าร่างของเธอก็ค่อยๆเลือนหายไป


ในเช้าวันต่อมา  โรเบิร์ตรีบพาลูกชายของเขากลับไปยังสุสานของเบ็ตตี้  เขาจัดการขุดเอาศพของเธอขึ้นมาเพื่อนำไปฝังใกล้ๆกับบ้านพักที่เขาและลูกอาศัยอยู่ในปัจจุบัน  ถึงแม้โรเบิร์ตและลูกจะไม่มีโอกาสได้รู้เลยว่าเมื่อไรที่วิญญาณของเบ็ตตี้จะยอมไปเกิดและพวกเขาจะต้องทนอยู่ในสภาพเช่นนี้ไปอีกนานแค่ไหน แต่อย่างน้อยมันก็คงเป็นทางออกที่ดีที่สุดแล้ว ที่จะช่วยยับยั้งไม่ให้วิญญาณของเบ็ตตี้ออกอาละวาดสร้างความหวาดผวาให้กับผู้คนอีกต่อไป


ที่มา
http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=ma_madee&jucId=2803&jnId=4075

44
วิญญาณที่ถูกลืม 1/2


 ว่ากันว่า  เมื่อร่างกายของคนเราสูญสลายไปแล้วนั้น  สิ่งที่จะยังคงเหลืออยู่ก็เป็นเพียงวิญญาณที่ล่องลอยรอเวลาไปเกิดใหม่ แต่ในบางครั้งอาจจะยังมีวิญญาณจำพวกหนึ่งซึ่งยังคงวนเวียนอยู่บนโลกนี้ โดยไม่มีโอกาสที่จะได้พบเจอกับความสุขครั้งใหม่ในชีวิตเลย  อะไรที่ทำให้วิญญาณเหล่านั้นต้องเผชิญกับชะตากรรมเช่นนี้  มันคือความผูกพันธ์ของวิญญาณเหล่านั้นที่มีต่อคนบนโลกมนุษย์ซึ่งไม่สามารถลบเลือนไปได้ หรือว่ามันจะหมายถึงความน่าสะพรึงกลัวบทใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้ากันแน่


 เรื่องราวดังกล่าวเกิดขึ้นกับครอบครัวของอัลเลน   โดยมีโรเบิร์ต เป็นหัวหน้าครอบครัว   ซึ่งอาศัยอยู่กับเบ็ตตี้  ภรรยาสาวและลูกชายวัย 5  ขวบ  ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชานเมืองแมนเชสเตอร์  ประเทศอังกฤษอย่างสงบมานาน จนกระทั่งในปี 1996 ที่ผ่านมา  ครอบครัวอัลเลนก็ต้องเจอะเจอกับเหตุการณ์อันน่าเศร้าสลดขึ้น  เมื่อเบ็ตตี้ ภรรยาสาวสวย ถูกฆาตกรใจอำมหิตฆ่าข่มขืนและนำศพไปหมกทิ้งในกอหญ้า  ห่างจากบ้านของเธอเพียงไม่กี่ร้อยเมตร  ซึ่งแม้ว่าในภายหลังฆาตกรจะถูกจับตัวมาลงโทษได้  แต่สิ่งที่ครอบครัวอัลเลนต้องสูญเสียไปนั้น มันยิ่งใหญ่เกินกว่าจะหาสิ่งใดมาทดแทนได้


 และนอกเหนือไปจากความเศร้าโศกเสียใจแล้ว สิ่งที่พวกเขาต้องประสบในเวลาต่อมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ความน่าสะพรึงกลัวอันเกิดจากวิญญาณของเบ็ตตี้ซึ่งตามมาหลอกหลอน และสร้างความเขย่าขวัญให้กับครอบครัวอัลเลนโดยที่พวกเขาไม่คาดคิดว่ามันจะเกิดขึ้น ทั้งที่หลังจากเบ็ตตี้เสียชีวิตไปได้ 2 ปี เหตุการณ์ทุกอย่างนั้นยังคงดูเงียบสงบปราศจากเหตุการณ์ร้ายแต่อย่างใด ทุกวันโรเบิร์ตจะพาลูกชายของเขาไปเคารพสุสานของเบ็ตตี้ ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านไปไม่กี่ร้อยเมตร และทำเช่นนี้เป็นประจำจนกระทั่งไม่นานโรเบิร์ตได้แต่งงานใหม่กับหญิงสาวชาวอังกฤษคนหนึ่ง และได้อพยพครอบครัวไปอยู่ทางตอนใต้ ซึ่งนับจากนั้นมาโรเบิร์ตก็ปล่อยให้สุสานของเบ็ตตี้ตั้งอยู่อย่างอ้างว้างโดดเดี่ยวปราศจากการเหลียวแล แม้กระทั่งลูกชายของเขาเองก็ไม่เคยถามถึงมารดาอีกเลย ซึ่งดูเหมือนว่าการที่วิญญาณของเบ็ตตี้ถูกทอดทิ้งให้อยู่อย่างเดียวดายเช่นนั้น มันได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวอันน่าสยดสยองที่ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้เลย


เหตุการณ์สยองขวัญดังกล่าว ได้เกิดขึ้นในหมู่บ้านใกล้เคียงที่โรเบิร์ตกับลูกชายพร้อมด้วยภรรยาใหม่ไปพักอาศัยอยู่  เรื่องราวมันเริ่มขึ้นมาจาก  ในตอนตีสองของทุกคืนซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับเวลาที่เบ็ตตี้ถูกฆาตกรรม มักจะมีคนเห็นหญิงสาวคนหนึ่งเดินร้องห่มร้องไห้ไปตามทางเดินของหมู่บ้าน ปากของเธอก็พร่ำร้องหาสามีและลูกชายตลอดระยะทางที่เธอเดินผ่านไป  และไม่ว่าเธอจะเดินผ่านไปทางไหน ทุกคนจะได้กลิ่นเหม็นสาปสางโชยมาตลอดเวลา  และเมื่อเป็นเช่นนี้หลายครั้งเข้า  ชาวบ้านก็เริ่มตื่นตระหนกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนไม่เป็นอันทำอะไร  พอตกดึกทุกคนก็จะปิดประตูบ้านไม่มีใครกล้าออกไปไหน  เป็นอย่างนี้อยู่นาน จนชาวบ้านละแวกนั้นเริ่มทนไม่ได้  จึงได้จ้างวานหมอผีชื่อดังคนหนึ่งมาปัดเป่าวิญญาณของเบ็ตตี้ให้พ้นออกไปจากหมู่บ้าน  ซึ่งหลังจากนั้นก็ไม่มีเหตุการณ์อันน่าสะพรึงกลัวมาคอยสร้างความหวาดผวาให้กับพวกเขาอีก  แต่มันก็เป็นเช่นนั้นอยู่ได้ไม่นาน

ที่มา
http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=ma_madee&jucId=2803&jnId=4075

45
กฎแห่งกรรม / ตอบ: ผีตุ๊กตา (ตปท.)
« เมื่อ: 02 เม.ย. 2555, 10:08:29 »
ผีตุ๊กตา (2/2)

ขณะเดียวกัน หลายครั้งที่ชาร์ลีน  มีความรู้สึกว่า  กำลังมีใครคอยเดินตามเธอไปทั่วบ้าน  และก็ยิ่งชัดเจนขึ้น  เมื่อเธอรู้สึกว่า  คนๆนั้นอยู่ใกล้เธอ  จนเธอได้ยินเสียงลมหายใจของเขา  แต่เมื่อหันไปมอง  ก็กลับไม่พบเห็นใครเลย
และทุกๆคืน  ชาร์ลีนก็จะได้ยินเสียงฝีเท้าของใครคนหนึ่ง   เดินโขยกเขยกขึ้นบันไดมา  และมาหยุดยืนอยู่ที่หน้าห้องนอนของเธอ     ชาร์ลีนพยายามข่มความกลัว   เพื่อที่จะเดินไปเปิดประตูห้อง  แต่เธอก็ไม่พบเห็นใครที่หน้าห้องเช่นเคย


ต่อมาเพื่อนของชาร์ลีน    ได้จัดพิธีเข้าทรงขึ้นที่บ้าน   เพื่อค้นหาความจริงของเรื่องราวลี้ลับที่เกิดขึ้น  ทำให้ชาร์ลีนทราบว่า  เมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา    บ้านหลังนี้เคยเป็นของครอบครัวแม็คคูเอน  ซึ่งมีลูกสาวคนเดียว แต่เธอป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม  พ่อกับแม่ของเธอจึงต้องขังเธอไว้ในห้อง  ซึ่งคาดว่าจะเป็นห้องเดียวกับ  ห้องนอนของชาร์ลีนในปัจจุบัน  จนกระทั่งเด็กหญิงคนนั้นตายไป  เธอก็ไม่เคยได้ออกมาจากห้องของเธอเลย


หลายคนเชื่อว่า  วิญญาณของเด็กผู้หญิงคนนั้น คงอาศัยอยู่ในร่างของตุ๊กตา  เนื่องจากเส้นผม ขนตา  และคิ้วของเธอไม่ได้ถูกเผาทำลายไป  จึงทำให้เธอไม่ได้ไปผุดไปเกิดเสียที  และการที่เธอถูกกักขังมาตลอดชีวิต  จึงทำให้วิญญาณของเธออาละวาด  เมื่อชาร์ลีนนำตุ๊กตาตัวแทนของเธอไปใส่กรอบกระจก


และการที่ชาร์ลีนมีความรู้สึกเหมือน      มีใครเดินตามเธอไปทั่วบ้านนั้น    คงเป็นเพราะ  เมื่อยังมีชีวิต   เด็กหญิงคนนั้น  ไม่มีโอกาสได้เดินไปไหนมาไหนภายในบ้านเลย    ชีวิตของเธอต้องจมปลักอยู่แต่ภายในห้องนอน  และแม้กระทั่งตาย  พ่อกับแม่ของเธอก็ยัง   กักขังวิญญาณของเธอไว้ในร่างของตุ๊กตาอีก  จนกระทั่งมันกลายมาเป็นตุ๊กตาผีสิงในที่สุด!!!


ที่มา
http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=ma_madee&jucId=2803&jnId=4007

46
กฎแห่งกรรม / ผีตุ๊กตา (ตปท.)
« เมื่อ: 02 เม.ย. 2555, 10:06:36 »

ผีตุ๊กตา(1/2)

เชื่อว่าเมื่อเล็กๆ     เด็กผู้หญิงทุกคนต้องเคยเล่นตุ๊กตากันมาบ้างแล้ว     แต่ถ้าสักวันหนึ่ง  ของเล่นชิ้นนี้ของคุณ ได้กลายสภาพเป็นตุ๊กตาผีสิง  คุณจะรู้สึกเช่นไร  เราไปฟังเรื่องราวอันน่าสยองขวัญ  ที่เกี่ยวกับตุ๊กตาผีกันดีกว่า
 ในปี ค.ศ. 1880 ที่หมู่บ้านโบเดก้า  ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของซานฟรานซิสโก  มีเด็กหญิงคนหนึ่งเสียชีวิตลง ในขณะที่มีอายุได้เพียง 8 ขวบ  สร้างความเศร้าโศกเสียใจให้กับผู้ที่เป็นพ่อแม่อย่างมาก   และก่อนที่ศพของเธอจะถูกนำไปทำพิธีทางศาสนา   พ่อกับแม่ของเด็กหญิงคนนี้  ได้ตัดสินใจพิมพ์รูปแบบใบหน้าของเธอ  แล้วนำมาทำตุ๊กตา เพื่อไว้เป็นที่ระลึก  เนื่องจากยังทำใจไม่ได้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น


 นอกจากนี้เส้นผมยาวสีบรอนซ์ของเด็กหญิงคนนี้  รวมทั้ง ขนตา  และคิ้ว  ก็ถูกถอนออกมา 
เพื่อใส่ให้กับหุ่นตุ๊กตา ที่เป็นตัวแทนของเธอนั่นเอง ก่อนที่ตุ๊กตาตัวนี้จะถูกตั้งไว้ภายในบ้าน อยู่เป็นเวลาหลายปี  แต่เมื่อพ่อกับแม่ของเด็กผู้หญิงคนนี้เสียชีวิตลง 

 ตุ๊กตาตัวแทนของเธอ ก็มีคนมานำเอาไปเก็บรักษาไว้  จนสุดท้าย จึงได้ตกทอดมาเป็นสมบัติของ   พิพิธภัณฑ์เตุ๊กตาและของเล่น  โดยมีชาร์ลีน เวเบอร์  เป็นผู้ดูแลพิพิธภํณฑ์แห่งนี้
 พิพิธภัณฑ์ตุ๊กตาและของเล่น แต่เดิมเป็นเพียงโรงนาเก่าๆหลังหนึ่ง  ก่อนที่ชาร์ลีนจะดัดแปลงให้มาเป็นพิพิธภัณฑ์  เพื่อเก็บตุ๊กตาและของเล่น  และเปิดให้ผู้คนทั่วไปเข้าชมได้  ภายในจะมีตุ๊กตาขนาดต่างๆ   ตั้งแต่สูงครึ่งนิ้ว    ไปจนถึงสูงเท่าคนจริง     และมีตั้งแต่ตุ๊กตาที่สร้างขึ้นในปี  ค.ศ. 1930  ไปจนถึงตุ๊กตาสมัยศตวรรษที่ 19  ทั้งที่ทำจากกระดาษอัด กระเบื้องเคลือบ  ไม้ เศษผ้า  ขี้ผึ้ง  และ ตุ๊กตาที่สร้างด้วยเส้นผม ขนตา  และคิ้วของเด็กหญิงคนนี้ด้วย


 เรื่องราวของอาถรรพ์ลี้ลับ  จึงได้เกิดขึ้นตั้งแต่ชาร์ลีนได้ตุ๊กตาตัวนี้มา  ในคืนวันหนึ่ง  ขณะที่ชาร์ลีนกำลังนอนหลับอย่างสบายอยู่ในบ้านหลังใหญ่     ก็มีเสียงคล้ายเสียงกระจกแตก  ดังขึ้นในห้องเก็บตุ๊กตา ภายในพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ห่างจากบ้านหลังใหญ่ ไปอีกประมาณ 100 ฟุต


เสียงของมันดังมาก  จนทำให้ชาร์ลีนสะดุ้งตื่น  จากนั้นเธอก็รีบวิ่งไปที่ห้องเก็บตุ๊กตาทันที  ที่นั่นเธอเห็นตุ๊กตาเด็กผู้หญิง  นอนหงายอยู่กับพื้น  รอบบริเวณมีเศษกระจกแตกหล่นอยู่ทั่ว  ชาร์ลีนไม่แน่ใจว่า  ตุ๊กตาตัวนั้นหล่นลงมาจากบนชั้นวางได้อย่างไร  ในเมื่อหน้าต่างทุกบานในห้องนี้ถูกปิดสนิท  จึงไม่น่าจะมีลมเล็ดลอดเข้ามาได้  และจะว่ามีใครเข้ามาขโมยตุ๊กตา แต่เผลอปัดตกลงมา  ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้  เพราะก่อนที่ชาร์ลีนจะเข้ามาในห้อง  ประตูและหน้าต่างทุกบานก็ปิดสนิท  ไม่มีร่องรอยการงัดแงะแต่อย่างใด


แต่สิ่งที่ทำให้ชาร์ลีน รู้สึกขนลุกขึ้นมาอย่างไม่รู้ตัว ก็คือ  ในขณะที่เธอกำลังจะนำตุ๊กตาขึ้นวางบนชั้นตามเดิมนั้น    เธอก็มีความรู้สึกว่า  ตุ๊กตาตัวนั้นกำลังจ้องมองเธออยู่  คล้ายกับถูกสายตาของคน  จ้องมองยังงัยยังงั้น  แต่ชาร์ลีนก็ไม่ได้เก็บเอามาวิตกอะไรมากมาย   เธอดิดว่าตัวเองคงตาฝาดไปเอง
แต่เหตุการณ์ประหลาด  ก็ยังคงเกิดขึ้นตามมาไม่มีหยุดหย่อน   ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นที่พิพิธภัณฑ์เท่านั้น  มันยังตามมาหลอกลอนเธอถึงที่บ้านอีกด้วย   เมื่ออยู่ดีๆ แมวที่ชาร์ลีนเลี้ยงไว้ก็ตายลงโดยไม่รู้สาเหตุ  แต่ก่อนที่มันจะตาย  เธอเห็นมันวิ่งพล่านไปมาทั่วบ้าน  คล้ายกับหนีอะไรบางอย่าง


ที่มา
http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=ma_madee&jucId=2803&jnId=4007

47

เวรกรรมตามลมปาก 2/2

แพง : ยาย ยายทำบ้าอะไรเนี่ย .. ยายรีดเสื้อประสาอะไร ทำไมมันไหม้อย่างนี้ล่ะ ...เสื้อตัวนี้ แพงซื้อมาตั้งเท่าไร รู้มั๊ย ...  โง่จริงๆ เลย แก่แล้วยังไม่เจียมอีก รีดไม่เป็นวันหลังก็ไม่ต้องมาทำสิ ...
แม่ : แพง โวยวายอะไรกับคุณยายน่ะลูก
แพง : ก็คุณยายน่ะสิคะ ทำเสื้อแพงไหม้เป็นรู อย่างงี้จะไม่ให้ด่าได้ยังไงล่ะ แพงจะใส่วันนี้ด้วย
แม่ : แพง คุณยายเขาอุตส่าห์รีดให้นะลูก ขอโทษคุณยายเดี๋ยวนี้
แพง : แม่พูดอย่างงี้ได้ยังไง คุณยายเป็นคนผิดนะ จะให้แพงขอโทษน่ะเหรอ ไม่มีวันซะหรอก
แม่ : แม่บอกให้แพงขอโทษคุณยายเดี๋ยวนี้
แพง : แม่ฝันไปเถอะว่าแพงจะขอโทษคุณยาย...งี่เง่า!!
(SFX: ฉาด)
แพง : แม่
แม่ : แม่ไม่เคยสอนให้หนูเป็นคนอย่างนี้เลย แต่ทำไมหนูถึงกลายเป็นคนก้าวร้าวเห็นแก่ตัวอย่างนี้ แม่ทนมานานแล้วนะแพง ทำไมหนูทำแบบนี้
แพง : แม่ แม่จำไว้เลยนะ แม่ตบแพง ... แม่ตบตีลูกตัวเอง แม่จะต้องได้รับกรรม
(SFX: เสียงวิ่งออกไป)

 และนั่น ก็เป็นเสียงสุดท้ายที่ฉันได้ยินจากลูก แพงหายออกจากบ้านไปเป็นเวลาหลายอาทิตย์หลังจากนั้น ฉันเองรู้สึกเสียใจ ที่ได้ทำกับลูกอย่างนั้น ... แต่ก็ยังดี ที่สามีของฉันไม่ถือโทษโกรธ และยังให้กำลังใจว่า สักวันลูกก็ต้องกลับมา ... และในที่สุด ในคืนหนึ่ง ฉันกับสามี ก็ได้รับโทรศัพท์จากตำรวจ ที่โทรมาบอกว่า ลูกของฉันกำลังถูกนำตัวส่งห้องไอซียู ... ฉันกับสามีรีบรุดไปดูลูกที่โรงพยาบาล และได้รับการบอกเล่ากับเพื่อนของลูกที่อยู่ในเหตุการณ์ว่า แพงกับเพื่อนได้ไปเที่ยวที่สถานบันเทิงแห่งหนึ่ง แต่โชคไม่ดี

ที่กลุ่มของแพงได้ไปเจอเด็กวัยรุ่นเมายาเข้า จึงเกิดมีปากเสียงและได้ลงไม้ลงมือกัน ขณะที่แพงกับเพื่อนผู้หญิงอีกหลายคนกำลังพยายามวิ่งหลบแก้วและขวดที่ถูกขว้างปากันอยู่นั้น ก็บังเอิญมีผู้ชายคนหนึ่งมาขัดขาแพงเข้า ทำให้แพงเซถลาไปข้างหน้าและปะทะกับเหล็กด้ามใหญ่ที่คู่อริกำลังเงื้อตีเข้ามา ... เหล็กท่อนนั้น ฟาดลงที่ช่วงคอของแพงพอดี (SFX: เสียงดังโพล๊ะ) และหลังจากนั้น แพงก็หมดสติล้มลงไป

 ฉันได้ฟังเพื่อนของลูกเล่าเหตุการณ์อย่างนั้นก็รู้สึกใจหายอย่างบอกไม่ถูก ... เพราะลำพังเวลาที่คอโดนกดหรือโดนใครเอามือบีบ ก็รู้สึกแย่พอแล้ว แต่นี่ลูกของฉันถูกเหล็กท่อนใหญ่ฟาดเข้าไปที่ลำคอ ... ฉันไม่อยากจะนึกภาพเลย ... ฉันกับสามีและแม่นั่งรอดูอาการของลูกอยู่อย่างนั้น จนในที่สุด คุณหมอก็ออกมาจากห้องไอซียู

แม่ : คุณหมอคะ ลูกสาวดิฉันเป็นอย่างไรบ้างคะ
หมอ : คุณต้องทำใจดีๆ นะครับ เพราะผมมีทั้งข่าวร้ายและข่าวดีมาบอก ... ข่าวดีของลูกคุณก็คือว่า แกปลอดภัยแล้ว แต่ข่าวร้ายก็คือ แกอาจจะพูดไม่ได้อีกเลยตลอดชีวิต เพราะกล่องเสียงของแกแตก ด้วยถูกเหล็กกระแทกอย่างรุนแรง

 กล่องเสียงแตก พูดไม่ได้ ... เป็นคำพูดที่สะท้อนอยู่ในหัวของฉันตลอดเวลา ฉันพยายามคิดหาเหตุผลมากมายว่าทำไมเหตุการณ์นี้ ต้องเกิดขึ้นกับครอบครัวของฉัน ... หรือว่าสาเหตุมันจะมาจากตัวฉัน ... ฉันวนเวียนคิดไปมาทั้งคืน จนในที่สุด คำตอบที่ได้ก็มาจากปากของแม่ฉันเอง ...
ยาย : มันเป็นกรรมยังไงล่ะนังหนู ... ลูกสาวเอ็งมันทำกรรมด้วยการด่าทอ ให้ร้ายบุพการีและผู้มีพระคุณ กรรมจึงตามลงโทษมัน ทำให้มันต้องเป็นแบบนี้  ... บาปกรรมน่ะ ไม่ต้องรอให้ถึงชาติหน้า เพราะแค่ชาตินี้  มันก็ตามเราทันแล้ว ... ทำใจซะเถอะลูก

 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ คงจะทำให้ลูกสาวของฉันคิดได้ ... เพราะแม้แกเองจะพูดอะไรไม่ได้ แต่น้ำตาที่ไหลออกมา ก็ทำให้ฉันรู้ว่า แกคงเสียใจกับการกระทำในอดีตไม่น้อย  ... ฉันเองก็ได้ปลอบใจลูก และได้แต่หวังว่า วันใดวันหนึ่งในอนาคตข้างหน้า บาปกรรมที่แกเคยได้ก่อไว้ อาจจะเบาบางและจางหายไป และวันนั้น อาการของลูกสาวฉันอาจจะดีขึ้นกว่านี้ก็เป็นได้   

อาหุเนยยา จะ ปุตตานัง   บิดามารดา เป็นที่นับถือของบุตร

ที่มา
http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=ma_madee&jucId=2803&jnId=3985

48
กฎแห่งกรรม เรื่อง เวรกรรมตามลมปาก

เรื่องที่ฉันจะเล่าให้คุณได้ฟังนี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับแพง ลูกสาวคนเดียวของฉัน  ฉันเองก็ไม่รู้ว่า ชาติที่แล้ว ตัวเองทำบาปทำกรรมอะไรไว้ ในชาตินี้ ฉันจึงได้มีลูกสาวที่ดื้อ ปากเก่งและเป็นคนเห็นแก่ตัวอย่างไม่น่าเชื่อ
แพง : แม่ แม่เอาเสื้อหนูไปไว้ไหนน่ะ เสื้อสีฟ้าที่หนูพึ่งซื้อมา แม่เอาไปไว้ไหน บอกมานะ!!!! โอ๊ย ยาย ยายไปห่างๆ ได้ไหม หนูบอกแล้ว ว่าตัวยายน่ะเหม็นมาก เหม็นจนอยากจะอ้วกเลยล่ะ ออกไปห่างๆ ไป ...


 นี่คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำในครอบครัวของฉัน บ้านของเราอาศัยอยู่ด้วยกันทั้งหมด 4 คน มี ฉัน สามี ลูก และแม่ของฉัน ... สามีของฉันทำงานเป็นข้าราชการ อยู่ที่กระทรวงแห่งหนึ่ง เงินเดือนที่ได้ก็ไม่ได้มากมายอะไรนัก แต่ก็นับว่ายังดี ที่พวกเราก็ไม่ได้ถึงกับขาดแคลน .... และด้วยความที่ฉันกับสามี มีลูกสาวเพียงคนเดียว เพราะฉะนั้นตั้งแต่เด็กๆ มา ไม่ว่าแกจะอยากได้อะไร ฉันกับสามีก็จะซื้อให้ หามาให้ ด้วยหวังว่าลูกจะได้รู้สึกถึงความรักและความห่วงใยที่เรามีต่อแก ... แต่ดูเหมือนว่า สิ่งที่ฉันเคยหวัง มันกลับไม่เคยเป็นอย่างที่หวัง


แพง : แม่...พรุ่งนี้หนูจะไปทัศนศึกษากับเพื่อน แต่หนูไม่มีเงินติดตัวเลย แม่เอาเงินให้หนู 500 ได้ไหม
แม่ : เอาไปทำไมตั้ง 500 ล่ะลูก หนูจะใช้อะไรเยอะขนาดนั้น
แพง : โอ๊ย 500 เนี่ยเหรอเยอะ ซื้อของชิ้นเดียวก็หมดแล้ว  ... แม่เอามาเหอะ อย่าพูดมากน่ะ หนู
ไม่อยากจะทะเลาะด้วย ... อ้อ แล้วพรุ่งนี้เย็นๆ เพื่อนหนูจะมากินข้าวด้วย อย่า
ลืมทำกับข้าวเผื่อนะคะ  แล้วก็บอกยายด้วยว่า ไม่ต้องมากินข้าวกับหนู เพราะยายกินข้าวหก
เลอะเทอะ หนูอายคนอื่นเขา ..


 นี่คือคำพูดที่ลูกใช้พูดกับฉัน  ... และเป็นคำพูดที่ลูกพูดถึงยายแท้ๆ ของแกเอง ... ฉันเองเคยห้ามปรามลูกด้วยการขู่ว่า ถ้าแกยังไม่เลิกพูดอย่างนี้ ชาติหน้า แกอาจจะมีปากเท่ารูเข็ม ...  แต่ผลที่ได้ตอบกลับมาก็คือ
แพง : ชาติหน้ามีจริงรึเปล่าก็ไม่รู้ แล้วถ้าหนูจะมีปากเท่ารูเข็มจริงๆ หนูไปฆ่าตัวตายดีกว่า ... หนูไม่อยู่ให้โง่หรอก
 วันเวลาผ่านไป เหตุการณ์ต่างๆ ก็ดูเหมือนจะหนักข้อขึ้นทุกวัน ลูกสาวของฉันใช้คำพูดแสบๆ ทิ่มแทงคนในครอบครัวกันเองอยู่เสมอ ... ทำให้ฉันและสามีรู้สึกหนักใจเป็นอย่างมาก ฉันกับสามีได้มานั่งปรึกษากัน ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และพยายามหาทางออก แต่ยิ่งคิดอย่างไร ก็ดูเหมือนว่ามันจะไม่มีทางออกทางไหนเลย แม่ของฉันเองก็ได้แต่เตือนว่า


ยาย : เอ็งต้องระวังนังแพงไว้ให้ดีนะนังหนู  ปากมันน่ะ ชอบพูดจาดูถูกคนอื่นเขา ไอ้ลำพังมันดูถูกข้า ข้าก็ไม่โกรธ เพราะยังไงมันก็หลาน แต่ไอ้การที่มันไปไล่ปากเก่งกับคนอื่นเขาน่ะ ระวังมันจะเป็นเรื่องเข้าสักวัน


 ฉันเองก็รู้สึกหนักใจกับเรื่องนี้เหมือนกัน แต่ก็ไม่คิดว่า เหตุการณ์ที่แม่บอกไว้ มันจะเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิด
 วันนั้น แพงและเพื่อนได้นัดกันออกไปเที่ยวข้างนอก แต่ก่อนที่แกจะออกไป แกก็โวยวายขึ้นมา ซึ่งนั่นเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ฉันเหลืออดจริงๆ

ที่มา
http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=ma_madee&jucId=2803&jnId=3985

49
ขอบคุณทุกความเห็นดีดีครับ 25;........คนเราบางครั้งรู้สึกแย่....มองทุกสิ่งรอบตัวแย่ไปไปหมด
ลองปรับความคิดนิดเดียว....เปลี่ยนมุมมอง แก้ที่ตัวเราเองก่อน ปัญหามีไว้แก้....ใช้ปัญญาแก้ไข
หวังว่าวันดีดี ต้องกลับมาหาคุณและทุกๆท่าน
ขอเป็นกำลังใจให้ด้วยคนนึง :090:

สาธุ

50
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ....

ปล. แต่หัวข้อผิดนะครับ...ต้องแรม 15 ค่ำ เดือน 4
ขอบคุณครับ ผมดูผิดจริงๆด้วย

51
ถ้าอย่างนั้นใจมันกลัว มันก็ตั้งใจดี ที่นี่มีหมู่บ้านพอบิณฑบาตได้ห่างๆ เอาปักหลักที่นั่นละ อยู่ที่นั่นถ้าหากยังไม่บรรลุคุณธรรมเมื่อใด เราจักไม่กลับบ้าน เราจักไม่ย้อนมาตุภูมิเป็นอันขาด เด็ดเดี่ยวลงไป ทำความเพียรที่นั่นหลายปีดีดัก พอทำความเพียรไปใจสงบ จะถึงที่ได้อัปปนาสมาธิ เท่านั้นแหละเสียงแว่วเข้ามาที่หู บวชได้แล้ว ได้บุญแล้ว ก็จงสึกนะลูก ขึ้นมาที่หุ ใจมันก็สะดุ้งออกมา เสียงแม่เราชัดๆ

ออกมาทำความเพียรไป ทำความเพียรไปวันหนึ่งๆ ก็ตั้งหลายครั้งจะให้มันสงบถึงจุดให้มันวิมุติหลุดพ้นจากอาสวะให้ได้ พอถึงจุดสงบลงไปถึงอัปปนาเข้าไปลึกๆ แว่วขึ้นมาเสียงน่ะ ทำให้ใจถอนทุกครั้ง ถ้าอยู่เฉยๆ ไม่ทำความเพียรอะไร ทำข้อวัตรอย่างอื่นน่ะไม่เป็นไร ไม่มีนิวรณธรรมมาแว่วที่หูเลยก็อยู่ที่นั่น นั่นล่ะ อยู่กับหมู่พวกที่ป่านั่นเอง ไม่ได้ย้อนกลับบ้านมั่นใจว่าจะทำให้ได้มันได้ ให้ได้บรรลุ

แต่มาย้อนถึงมาตุภูมิของท่าน ตระกูลของท่าน พอดีลูกไปบวชแล้ว ต่อมาฝนแล้ง มันเกิดแห้งแล้ง แล้ง ๗ ปี ปลาย ๗ เดือนอะไรนี้แหละทั่วๆ ไป ในประเทศอินเดียไม่ได้ทำนาอะไรเลย มีนาตั้งหลายทุ่ง แต่ไม่ได้ทำนาเพราะฝนไม่ตก การทำนาทำไม่ได้ การค้าขาย เอาเกวียนมาตั้งหลายร้อยเล่มออกค้าขาย ขายก็ขายไม่ได้อีก เศรษฐกิจตกต่ำ ผลิตผลที่ทำไว้แล้วมันก็หมดไป หมดเนื้อหมดตัวลง หลายปีมา ผลิตผลใหม่ก็ไม่ได้ ข้าวยากหมากแพงขึ้นมา บริวารที่เคยรับใช้อยู่แต่ก่อนเป็นพ่อค้าเกวียนให้ตั้งหลายคนทำนาให้ตั้งหลายคน เขาก็ไม่อยู่แล้ว ลาไปทำมาหากินทางอื่นเขา ยังเหลืออยู่นิดหน่อยเพราะว่าเงินทองร่อยหรอลง สองตายายทำยังไง ยายเอ้ยปรึกษากันมันหลายปีแล้วนี่นะ ไม่ได้ทำไร่ทำนาเลย ผลิตผลก็หมดไปหมดไปอย่างนี้ เราจะได้อะไรมาเลี้ยงตัวล่ะ

เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน เอาคฤหาสน์หลังใหญ่นี้ล่ะไปจำนองไว้กับสหายผู้มีอันจะอยู่จะกินคนหนึ่งก็แล้วแต่จะเป็นแล้วแต่พ่อเป็นล่ะ ก็ไปพูดตกลงกันขอจำนองคฤหาสน์ ขอขายฝากกับสหายล่ะ ขอซื้อให้หน่อยเถอะ ข้าพเจ้าหมดเนื้อหมดตัวจริงๆ บริวารก็ตีตัวออกห่าง ถ้าได้ทำไร่ทำนาไม่เกินปีสองปี ก็ได้ถ่ายคืนหรอก บ้านน่ะ ตกลงราคาเท่าไหร่ ก็หลายพันกษาปณ์ เป็นหลายพันกษาปณ์ ตกลงแล้วก็เอาเงินให้กัน ทำสัญญา ๑๐ ปี นะสหาย สัญญากัน ๑๐ ปี ถ้าเกิน ๑๐ ปีไปคฤหาสน์ต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ใช่ไหม เอาเลยเอาเข้าใจว่า ๑๐ ปีก็จะมีโอกาสทำไร่ทำนา ขายของ ขายข้าว ขายปลา จะมาไถ่คืน ได้เงินได้ทองแล้วก็กลับบ้านไป สัญญากันไว้แล้วกลับบ้านไป คนสนิทบริวารเห็นนายมีเงินมีทองก็ตรูกันเข้ามาขออาศัยอยู่อีก ข้าเก่าเต่าเลี้ยงปฏิเสธกันไม่ได้ หลายปีเข้า หลายปีเข้าไม่มีทีท่าว่าจะทำไร่ ทำนาอะไรเลย ชาวบ้าน ชาวเมืองก็เดือดร้อนทั่วๆ ไป

ท่านคหบดีคิยะเศรษฐีเราเอาเงินเขามาจำนองบ้าน บ้านเขามา ไม่มีทีท่าจะได้ไถ่คืนเลย มันจวนจะเข้า ๑๐ ปีแล้ว คิดหนักนอนไม่หลับ นอนไปก็ผวาอยู่เรื่อยๆ กลัวคฤหาสน์นี้จะเป็นของคนอื่นเขาไป เลยเกิดโรคหัวใจ พูดภาษาง่ายๆ เกิดโรคหัวใจ คิดหนักอย่างนั้น มันเป็นอารมณ์หนักเหมือนกันนะ การคิดหนักเป็นโรคหัวใจโตขึ้นมา ผวาอยู่เรื่อยๆ นอนไม่หลับ ยิ่งกว่ากินกาแฟ ยิ่งกว่ากินลิโพ นอนไม่หลับเอาเสียเลย มันคิดหนัก หนักๆ เข้าหัวใจวายเรียกว่า หัวใจล้มเหลว หัวใจมันเป็นโรคมากขึ้นก็เกิดไม่ทำงานเต็มที่ ก็ล้มเหลว เรียกว่าหัวใจวายตาย ภรรยาท่านคหปตานีนั้นยังแข็งแรงดี ช่วยทำศพให้ ขอร้องให้ชาวบ้านชาวเมืองเขาให้มาช่วย เขาก็ไม่ขัดอะไร เพราะท่านเศรษฐีท่านคหบดีนี่ใจดีมาก เลี้ยงพี่เลี้ยงน้องดี เอาใจใส่พี่ป้าน้าอาดี เขาก็ไม่ขัด ก็พากันมาทำศพนั้น เอาไปเผาธรรมดา ธรรมเนียมอินเดียเขาล่ะ ในเมืองสาวัตถีเผาแล้ว

บัดนี้ก็ไม่มีทีท่าว่าจะทำไร่ทำนาอีกต่อมาเหลือแต่ยายๆ ได้แต่อยู่ที่บ้าน คิดหนักเหมือนกัน ทำไงน้อ สามีก็ตายแล้ว บ้านจะเป็นของเขา แน่นอนหนอต่อไปก็ได้ยินข่าวโคมลอยมา เขามาแจ้งว่าลูกชายที่ไปในป่านั้นน่ะ เกิดโรคไข้ป่าไข้มาลาเรียหนักเข้าสมองหรือลงกระเพาะอะไรทำนองนี้ล่ะ ไม่มีเยียวยารักษา แล้วมรณภาพในป่าแล้ว

ยายสามีก็ตายไปแล้ว ลูกชายก็ยังไปตายอีก บอกว่าให้สึกมาเลี้ยงแม่ มาดูแลทรัพย์สมบัติ ตายจนได้หรือนี่ โอ้ยสองกระทงแล้วเข้ามาทับท่วมหัวใจของยาย ใจยายก็ป้ำๆ เป๋อๆ ไปเลย ลืมหน้าลืมหลังบ้าง เรียกว่าอารมณ์มากระทบจิตใจสองอย่างแล้ว ต่อมา นี่มันเลยหลายสิบปีเข้ามาแล้ว สัญญามันเลยสัญญาไปแล้ว เขาก็เลยยื่นคำขาดขึ้นมาว่า ยายเอ้ย บ้านหรือคฤหาสน์นั่นน่ะหมดสัญญาแล้วยาย ถ้ายายจะอยู่บ้านนี้ก็จงอยู่อย่างคนใช้ จะมาอยู่อย่างเจ้าของบ้านก็อยู่ไม่ได้ ต้องอยู่อย่างคนใช้ของบ้านต่อไป จะมาเป็นใหญ่เป็นโตในบ้านไม่ได้แล้ว เพราะบ้านเป็นของคนอื่นไปแล้ว โหสามกระทงเข้ามาแล้ว เขายืนเข้ามานี่ สามกระทงเข้ามาว่าหมดอายุแล้ว ขออยู่ไปก่อนได้ไหมพ่อคุณ อยู่ได้แต่ต้องอยู่อย่างคนใช้ ถ้าไม่ทำอย่างนั้นก็จงหนีจากที่นี่ได้แล้วยาย ตามคำสัญญากัน

เอ๋คิดอะไรไม่ออกแล้ว ไปก็ไป คิดอะไรไม่ออกแล้ว ไปก็ไป ข้าพเจ้าก็จะไปขออาศัยสหายอยู่เหมือนกันแหละ มีสหายอยู่ปลายเมืองโน้น ด้วยอาติมานะพอสมควรนะ คนเคยรวยเคยมั่งมีมหาศาล เคยเป็นมหารานีมาแล้ว กลับมาจนลงอย่างนี้ล้มละลายลงอย่างนี้ ก็มีอติมานะอยู่บ้าง ไปก็ไป ขอเกวียน ขอล้อม้ามาขนของไปแล้ว ไปขออาศัยสหายทางโน้น พอไปถึงแล้วก็ไปเล่าเรื่องให้สหายทางโน้นฟัง


พระอาจารย์อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก-หลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก-หลวงปู่ท่อน ญาณธโร

ที่ีมา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=10700

52
ข้าวสาลีในไร่ ๑๖ จีบ ข้าพเจ้าขอบูชาภาษิตของอาจารย์นะ ๑๖ จีบ จงพาหมู่มากินจากนี้ไปนี่จากนี่ไปนี่ บริเวณนี้ๆ ลงมากินได้ ข้าพเจ้าไม่เอาโทษเลย อย่างสบาย นอกนั้นเอาไว้ให้ข้าพเจ้าเก็บเกี่ยวเอาไปขาย เอาไปเลี้ยงครอบครัว ตอนนี้ขอบูชาภาษิตนี้ มาตาปิตุอุปัฏฐานัง เป็นมงคลชีวิตแล้วทำให้ผู้อื่นเกิดศรัทธาเลื่อมใส ยกข้าวสาลีในไร่ให้กินสบายอย่างนี้ เป็นต้น นั่นแหละเป็นธรรมอันหนึ่งมาตาปิตุอุปฐานธรรม เป็นธรรมาภิสมัยเกิดในจิตในใจของมนุษย์เราแล้ว ก็ระลึกถึงบุญคุณผู้มีพระคุณได้ เป็นธรรมาภิสมัยเป็นธรรมน่าดู น่าชม ทุกยุคทุกสมัยมา ถ้าหามีคุณธรรมเลี้ยงดูบิดามารดาแล้ว

นักปราชญ์ทั้งหลาย สรรเสริญ เห็นแล้วชื่นอกชื่นใจ แต่ว่าเห็นตั้งแต่แม่นกคาบอาหารมาป้อนปากลูกนกแย่งกันกิน แต่ว่าลูกนกโตแล้วที่จะไปหาคาบอาหารมาป้อนปากแม่ให้แม่กินนี่ ยากนักที่จะได้ฟังได้เห็นได้ดูได้ชม ก็มีนกตัวเดียวนั่นล่ะ นกสุวรรณโพระดกนกแขกเต้า เพราะเป็นมหาสัตว์ มหาสัตว์ผู้ประเสริฐ ทำได้ทีเดียว ทำอย่างนั้นทำได้ ดีใจเสียด้วยได้ทำอย่างนั้น

ทีนี้เราเคยเห็น สัตว์ทั้งหลาย เลี้ยงลูกเลี้ยงเต้าด้วยความเอาใจใส่เป็นพิเศษ ไม่ว่าสัตว์น้ำไม่ว่าสัตว์บก พวกนกก็ดี พวกหนู พวกกระรอก กระแต ทุกอย่างวิ่งขวักไขว่แสวงหาอาหารมาเลี้ยงลูกที่ยังลืมตาอ้าปากไม่เป็น อาศัยแต่แม่เท่านั้นแม่มาหยิบยื่นให้ทุกสัตว์ทุกจำพวกเป็นเสียอย่างนี้ สัตว์ใหญ่ขึ้นไปเป็นช้าง เป็นเสือ หมีดีแต่แม่หาให้ลูก แม่มือยาวกว่ารูดเอาใบไม้ ยอดไม้สูงๆ ส่งให้ลูกเห็นแล้วก็ชื่นใจ เห็นแล้วก็ดีอกดีใจแม่มีเมตตาต่อลูก สัตว์ทุกจำพวกอย่างนี้เอง สาวกของพระบรมศาสดาองค์หนึ่ง ท่านได้ฟังมาตาปิตุอุปฐานธรรมบ่อยๆ แต่ก่อนยังไม่มีคุณธรรมอะไรหรอก มีแต่อยากบวชอย่างเดียวสาวก องค์นั้นเป็นตระกูลเศรษฐี

จำได้เป็นชื่อเราจำผิดหรือจำถูกก็ไม่รู้ แต่ว่าเอาเนื้อหาสาระแล้วฟังแล้วซึ้งใจดี สาวกองค์นั้นเกิดในตระกูลมีอันจะอยู่จะกิน เป็นเศรษฐีย่อมๆ เรียกว่าคหบดี คหปตานี เป็นผู้มั่งมีศรีสุข คฤหาสน์ใหญ่โต มีบริวารเป็นจำนวนมาก มีนาตั้งหลายทุ่งมีเกวียนตั้งหลายร้อยเล่ม มีสวนมีไร่หลายอย่าง ให้บริวารเป็นผู้ทำอยู่แต่ไม่มีบุตร เบื้องต้นไม่มีบุตรเลยอยู่แต่งงานกันมาหลายปีดีดัก ตั้ง ๔๐ ปี อายุย่างเข้า ๔๐ ปีแล้ว ยังไม่มีบุตร มีพิธีไหว้อ้อนวอน ขอวอนเทวดาอารักษ์ที่ไหนก็ไม่รู้ ธรรมเนียมเป็นอย่างนั้น คนไม่มีบุตรอยากได้บุตรจะต้องมีการไหว้การวอน ทำพิธีไหว้วอน แต่ก็ได้สมใจจริงๆ อายุ ๔๐ ปีแล้วจึงค่อยมีบุตรตั้งครรภ์ขึ้นมา เวลาถ้วนกำหนดทศมาส ก็คลอดออกมาเป็นชาย แหมสาใจของพ่อแม่เหลือเกิน ดีอกดีใจ ฟูมฟักรักษา ไกวเปลเห่กล่อม ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมา ด้วยความอุตส่าห์พยายามเพื่อหวังอยากจะให้ลูกนี่สืบตระกูล สืบสมบัตินั้นเอง

พอลูกชายเกิดขึ้นมาแล้วมีนิสัยไปทางอื่นไม่ใฝ่ใจในสมบัติเท่าไร ไม่ยินดีในสมมติ ที่มั่งมีเลยแต่มองเห็นว่ามันเป็นโทษ ถ้าผูกพันในสมบัติแล้วเราก็จะไปไหนไม่ได้ล่ะห่วงแค่สมบัตินี้ล่ะ มีความยินดีอยากจะบวชอยู่พอโตขึ้น ๒๐ ปี ล่ะมั้ง มารดาก็เลยขอร้องลูกเอ๋ยจงไปหาผู้หญิงที่ชอบใจ มาแต่งงานเสียเถอะ ถ้าแต่งงานแล้วพ่อแม่จะยกสมบัติให้ เรียกว่าทำพินัยกรรมยกให้เจ้าเป็นผู้ครองต่อไป ก็ตอบแม่ว่าอย่างไร แม่ลูกยังไม่พร้อม เรื่องเงินทองสมบัติ ลูกอยากบวช วันไหนๆ มานั่งดูชมพระผู้มีพระภาคหรือพระบรมศาสดาเดินบิณฑบาต ห้อมล้อมด้วยสาวกบริวาร งามเหลือเกิน ทำไมถึงงามอย่างนี้น้อ เหมือนดังพญาราชหงส์อันห้อมล้อมด้วยฝูงหงส์ฉะนั้น งามจริงๆ ไปสำรวมระวัง งามน่าชม

ในพระสูตรท่านว่า การได้ดูสมณะสารูปผู้สังวรระวังดีเป็นมงคลชีวิต นั่งมีความสุข บางวันแม่ขอร้อง ให้ช่วยจัดสิ่งของไปใส่บาตรแม่จะใส่ พ่อจะใส่ นี่ก็ยินดีทีเดียวล่ะ ได้ใกล้พระบรมศาสดาได้ใส่บาตรเสียเองก็มีบางครั้ง ดีใจภูมิใจวันนั้น หนักๆ เข้า พ่อแม่ไม่ใช้บวช บวชแล้วใครจะครองสมบัติ อย่าบวชเลยนะลูกถ้าลูกบวชแล้วสมบัติไหนก็ระเทระทายไปเท่านั้นเอง แม่ก็แก่แล้วพ่อก็แก่แล้ว แม่ก็ ๔๐ กว่าแล้ว พ่อจะย่างเข้า ๖๐ แล้วล่ะมั่ง แหม ทำอย่างไรหนอ ไม่ให้บวช ทำเป็นไม่กินข้าวกินน้ำไปเรียกประชด แล้วจะอยู่ไปทำไมจะไม่ได้บวชทำไมตายเสียดีกว่าจะทำประชดแม่ทำยังกับว่าไม่กินข้าวกินน้อเลย แม่ก็กลัวลูกเอาจริงเอาจังเพราะเป็นคนนิสัยจริงจัง แล้วขอร้องว่าถ้าจะบวชจริงๆ ก็ต้องกินข้าวกินน้ำเสียก่อนสิ ถ้าไม่กินข้าวกินน้ำมีกำลังวังชาเสียก่อนไปบวช แล้วมันจะทำข้อวัตรปฏิบัติอะไรได้ละลูก จริงหรือแม่ให้บวชจริงๆ หรือ ก็จริงนะสิ ถ้าอยากจะบวชก็จงกินข้าวกินปลาเสียเถอะ บำรุงกำลังร่างกายให้แข็งแรงเสียก่อน แม่จะไปมอบให้พระเถระท่าน ดีอกดีใจกินข้าวกินปลาอาหารมีกำลังวังชาดีพอสมควร

แม่ก็พาไปมอบเข้านาค ฝึกนาค ฝึกภาคปฏิบัติต่างๆ รู้ธรรมวินัย รู้จักอาหาร รู้จักอะไรประเคนได้ประเคนไม่ได้เสียก่อน รู้จักดีเสียก่อน พอมอบแล้วฝึกปรือเป็นนาคอยู่นั่น พอสมควรก็ได้บวช พอบวชไปแล้ว ก็ฟังเทศน์พระบรมศาสดาทุกวันล่ะ ตอนเย็นก็ไปฟังเทศน์พระบรมศาสดาทุกวันๆ พระบรมศาสดาอาจจะรู้นิสัย สาวกองค์นั้นเป็นอย่างนั้น องค์นี้เป็นอย่างนี้ ควรจะเน้นหนักให้วิเวกสถา เน้นหนักในวิเวกสถาแนะนำให้ออกวิเวกสงบสงัด ประพฤติปฏิบัติภาวนาถ้าอยู่ด้วยความคลุกคลีจิตใจจะไม่เป็นไป ไม่หลุดพ้นจากอาสวะ อาจจะคลุกคลีกันอยู่สนุกสนานในการคุย ในการเจรจา ในการดู การชมอย่างอื่นไป ไม่เป็นธรรม เป็นวินัย เอาเสียเลยต้องออกวิเวก ท่านว่าอย่างนั้นต้องหาสถานที่สงบสงัดเรียกว่าเสนาสนะสัปปายะ

หาสถานที่สัปปายะเสียก่อน จิตใจจึงจะสงบ หาสถานที่เหมาะๆ เสนาสนะสัปปายะแล้วยังไม่พอ ต้องให้อากาศสัปปายะ ไม่เป็นพิษเป็นภัยเสียก่อน ไปอยู่ที่เช่นนั้น อาหารสัปปายะ เสนาสนะสัปปายะ อาหารสัปปายะ แล้วะก็อากาศสัปปายะ บุคคลที่จะไปมาหาสู่นั้นก็สัปปายะอีกด้วย จนจะเกิดธรรมะเป็นที่สบาย ธรรมะก็เป็นสัปปายะ มีสัปปายะทั้ง ๕ แล้ว จึงจะดำเนินประพฤติก็ปฏิบัติได้บรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว ถ้ายังคลุกคลีตีโมงกันอยู่ ยังสนุกสนานในการอยู่ร่วมกันอยู่ ไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว ถ้ายังคลุกคลีตีโมงกันอยู่ ยังสนุกสนานในการอยู่ร่วมกันอยู่ไม่มีวันบรรลุข้ออรรถ ข้อธรรมอันใดแล้ว มีแต่จะหนาแน่นขึ้นด้วย โลภะ โทสะ โมหะ ราคะ โทสะ โมหะ จะแก่กล้าขึ้น ท่านก็แนะนำสั่งสอนหนักไปทางวิเวกสถา วันไหนก็แนะนำอย่างนี้

เอาวิเวกสถานเป็นใหญ่ เหตุที่จะได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมโพธิญาณ นี่ก็เพราะอยู่สถานที่สงบสงัด ถ้าอยู่กับหมู่คณะ กับหมู่กับพวกคนหมู่มาก คงไม่ได้ตรัสรู้หรอกนะ เราตถาคตนี่เหตุที่ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ก็ได้ที่วิเวกไกลจากชุน เข้าใจหรือเปล่า พระภิกษุทั้งหลายก็เข้าอกเข้าใจ ออกพรรษาแล้วก็ขอลาแยกย้ายกันไปภาวนา แห่งละองค์ สององค์ ที่วิเวกไกลๆ โน้น ส่วนพระโสณะนี่ ขอติดตามพระเถระเข้าไปในป่าเหมือนกัน หลังประเทศเนปาล ขึ้นไปหิมวันต์ หิมาลัยใกล้ภูเขาหิมาลัย ที่นั่นน้ำดีเหลือเกิน อากาศดีเหลือเกิน แต่ดึกๆ มาได้ยินเสียง สัตว์ร้อง พิลึกกึกกือ สัตว์ร้อง สัตว์ป่า สัตว์ร้องพวกเสือ พวกช้าง พวกหมี ชะนี สิงโต มันร้องในป่า น่ากลัวดี ใจมันสงบ

ที่ีมา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=10700

53

สมัยครั้งพระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นมหาสัตว์ เกิดเป็นสุวรรณโพระดกนกแขกเต้า เลี้ยงมารดาตาบอด นั่นเราฟังแล้วเราซึ้งใจอยู่เล่นเอาสะอึกเหมือนกัน ท่านเล่ามาในสมัยครั้งก่อนเกิดเป็นสุวรรณโพระดกนกแขกเต้า มารดาหาเลี้ยงตั้งแต่ลืมตาอ้าปากดูโลกมาบินไปหาอาหาร ได้อาหารแล้วก็รีบมาส่งลูก อย่างนี้ทุกวันจนลูกปีกกล้าขาแข็งแล้ว ต่อมาแม่ก็ชราภาพลง ตาก็ฝ้าฟางไม่เห็นหนทาง ไปโดนพิษต้นไม้หรือไปโดนพิษอะไรก็ไม่รู้ ฝ้าฟางลงผิดปกติมองไม่เห็นเครือเถาวัลย์เท่าไร บินไปก็มักชน ชนเครือเขาเถาวัลย์ ตกลงพื้นดินอย่างทุลักทุเล ลูกผู้เป็นมหาสัตว์ก็สังเกต เอ้ มารดาเราไม่เห็นเหมือนเก่า เวลาไปไหนมาไหนมักชนต้นไม้ กิ่งไม้เครือเขาเถาวัลย์อยู่เรื่อยๆ

ได้โอกาสดีจึงถามว่าแม่ทำไมจึงชนต้นไม้ เห็นแม่ชนหลายทีแล้วนะไม่ใช่ครั้งเดียว นี่แม่ผิดปกติ แต่ก่อนแม่ไม่เป็นอย่างนี้ ก็บอกลูก ตาแม่ไม่ค่อยเห็น มันฝ้าฟาง สังเกตว่าไปตรงนี้จะไม่มีอะไรก็ชนเข้ามันไม่เห็นถนัด มองไม่เห็นอะไร มันฝ้าฟาง เห็นลางๆ ไปอย่างนั้น ถ้าอย่างนั้นขอโทษขอโอกาสเถอะแม่ให้แม่อยู่กับรวงกับรัง ลูกจะหามาเลี้ยงเองได้ไหมแม่ โอ้ยเกรงใจลูก แม่พูดด้วยความเกรงใจลูก ลูกไหนจะหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง จะหาเลี้ยงภรรยาของตัว แม่ก็เกรงใจก็ไปอย่างนี้แหละ ไม่ได้หรอกแม่ ขอให้เป็นหน้าที่ของลูกเถอะ อันนี้ขอให้เป็นหน้าที่ของลูกเถอะ ไม่ต้องเกรงใจแม่เลี้ยงเรามา เรารู้ ตั้งแต่ลืมตาอ้าปากมาแม่ไม่ค่อยได้พักผ่อนอะไรเลย จนขนาดนี้และลูกก็ปีกกล้าขาแข็ง ขอให้เป็นหน้าที่ของลูกได้ไหมแม่ ขอร้องอย่าเกรงใจเลย ลูกว่าอย่างนั้นก็ไม่เอา

ในที่สุดก็ตกลงอยู่รวงอยู่รังคอยกินอาหารกับลูก ลูกทีแรกก็ลำบากเหมือนกันไปหาที่อื่นก็ไม่มี หาได้ยาก ต่อมาพอเขาปลูกข้าวสาลีมันแก่มันสุกมาแล้วก็เลยไปกินข้าวสาลี เจ้าของข้าวสาลีเขาก็ไม่ว่าอะไร ใจดีเห็นนกมากินก็ดีใจ เอ้อมันมากิน ให้มันกินซะ

หลายวันเข้าๆ ก็มาสังเกต เจ้าของไร่ข้าวสาลี มาสังเกตเห็นนกตัวหนึ่งมันผิดเขาพอกินอาหารเสร็จแล้ว กินข้าว กินอะไรอิ่มกันแล้ว เวลาบินไปกลับบ้าน กลับรวงกลับรัง เขาไม่บินไปเฉยๆ เขาคาบเอาข้าวสาลีในไร่บินกลับไปวันละรวง สองรวง เจ้าของไร่ข้าวสาลีแกเกิดความโลภ มัจฉิริยะขึ้นมาในใจ มัจเฉรธรรมความหวง ความตระหนี่ขึ้นมาในใจว่ามันจะหมด ถ้ามันเอาไป วันละรวง สองรวง สิบวันจะหมดกี่รวง ๒๐ วัน ๓๐ วันมันจะหมดไป ข้าวในไร่ของเรามันจะไม่พอมั้ง ไม่อยู่คงที่ เรียกว่ามันหมดเปลืองไป เพราะเขาคาบไปนี้เอง ก็เลยเกิดความโลภขึ้นจัด คิดอยากจะเอามาลงโทษหาตาข่ายมาดัก มันเคยออกตรงไหน ออกตรงรูนั่นนะ มันเคยกินที่นี่มันออกที่ต้นไม้ห่างๆ ต้นนั้นน่ะ ออกตรงนั้นทุกวัน ถ้ามาไล่ออกตรงนั้นทุกวันก็เลยเอาตาข่ายมาดักผูกเชือกขึงตาข่ายธรรมดา

วิธีการอย่างนั้น มาแอบอยู่ไม่ให้นกเห็น พอนกลงกินข้าว มันลงมาทุกตัวแล้วนี่นะไม่มีแล้ว ทุกตัวก็ตะเพิด เอ้ย ๆ เคาะไม้ ตบมือขึ้น ตีสัญญาณดังๆ ขึ้น ปัง ปัง นกก็ตกใจ ไม่คิดหาทางอะไรหรอกออกไปทะลุของเก่านั้นล่ะ เราเคยมาทางนี้ก็ไปทางนี้ล่ะ ปรู๊ดไปเลย สุวรรณโพระดกนกแขกเต้ามันเร็วปรู๊ดออกไป ก็ไปชนเอาตาข่ายพร้อมๆ กันเลย แล้วก็รูดเอาพอดีตาข่ายพอมันชนก็รูดลงมันเป็นถุงน่ะ รูดเข้ามาลูกเดียว ก็ตกลงที่พื้น เอ้าได้ตัวมันคราวนี้ล่ะ เจ้าของไร่ข้าวสาลีก็รีบมาตะครุบไว้ กลัวมันจะออกได้ ก็จะได้ตัวมันคราวนี้ ตัวที่ขี้โลภ ตัวที่เห็นแก่ตัวเห็นแก่ปากแก่ท้อง กินอิ่มแล้วยังไม่พอ ยังคาบของเราไป จะได้ตัวมาลงโทษวันนี้แหละนะ

เลือกพอเลือกไปตัวนี้ไม่ใช่ จำได้ปล่อยไป ตัวนี้ไม่ใช่ปล่อยไปอ้ายตัวนี้ ไม่ใช่ เลือกไปเลือกไปอยู่ จวนๆ จะสุดท้ายล่ะ อ๋าตัวนี้แน่นอนเราสังเกตเห็น จำได้ ปีกมันไม่เหมือนเขา เราจำได้ จำได้ ปีกมันไม่เหมือนเขา เราจำได้ที่ปีกมันไม่เหมือนเขานี่เอง ปีกทองๆ มีขาวปนๆ อยู่บ้าง ปลายปีกมันขาวตรงตัวกลางมันทองง หลังก็ทอง เราจำได้ตัวนี้แน่นอน จับไว้แกขี้โลภ ไม่เหมือนคนอื่น ตัวอื่นเขากินอิ่มแล้วก็ไปเฉยๆ แกมันขี้โลภ คนขี้โลภ ไม่ควรจะอยู่ ไม่ควรมีชีวิตอยู่ควรจะฆ่าทิ้งขู่ไว้ต่างๆ นานา

สัญชาติญาณของนกรู้หมดทุกอย่างคำพูดคำจาของเจ้าของไร่ข้าวสาลีนะก็เลยตอบเป็นภาษาออกไปว่า ข้าพเจ้าไม่โลภ ข้าพเจ้าไม่โลภ หือไม่โลภได้อย่างไง พูดได้ชัดดีเหลือเกิน ว่าไม่โลภ จริงๆ ข้าพเจ้าไม่โลภ ข้าพเจ้าเอาข้าวของท่านไปทำประโยชน์ เอาข้าวของท่านไปทำประโยชน์ แน้ยังพูดว่าไปทำประโยชน์ เอาไปแล้วมันก็หมดสิ จะเอาไปทำประโยชน์อะไร คุยกันไปคุยกันมารู้เรื่องดีทุกอย่าง ที่ว่าเอาไปทำประโยชน์ คืออย่างไร

อ๋อท่านผู้เจริญ ยังมีนางนกอันธะ ตัวหนึ่งบินไปหากินไม่ได้ เพราะตาบอด นกอันธะแปลว่านกตาบอด ตาฝ้าฟางบินไปก็ชนต้นไม้ เครือเขาเถาวัลย์ ข้าพเจ้าเลยรับอาสา ไม่ให้มา ขอให้จับอยู่ที่รวงที่รังนี่แหละ ข้าพเจ้ามาหาอาหารกินแล้วสำหรับตัวกินอิ่มแล้ว บางวันก็ไปหากินที่อื่นก็ได้อาหารให้พอเสียก่อน ข้าพเจ้ายังไม่กินก่อน ข้าพเจ้าได้อาหารแล้ว ผลหมากรากไม้ คาบแล้วรีบไปให้นางนกกินเสียก่อน เสียด้วยซ้ำไป แล้วก็ข้าวที่เอาไป เอาของท่านไปให้นางนกกินนั้น นางนกก็กินอิ่มแล้ว พอแล้ว เหลือจากนั้น ข้าพเจ้าก็ไปแจกลูกนก ทั้งหลายที่ยังไม่มีปีก หรือปีกยังไม่กล้าไม่แข็ง บินยังไม่ได้อยู่กับรวงกับรัง ข้าพเจ้าไปแจกจนหมดนี้ล่ะ เรียกว่าไปทำประโยชน์ ให้ผู้อื่นมีความสุขด้วย

เอ๋แล้วนางนกตาบอดที่ว่านี่น่ะเป็นอะไรกับเจ้าล่ะ เจ้าถึงอาสานักหนา โอ๋ยท่านผู้เจริญเอ๊ย นางนกตาบอด นางนกอัธะที่ว่านี้น่ะ ใช่อื่นไกลเลย เป็นมารดาบังเกิดเกล้าของข้าพเจ้าเอง พอพูดแค่นี้เจ้าของไร่ข้าวสาลีสะอึกเลยเพราะคิดถึงแม่ตัวเอง ตัวเองก็มีแม่เหมือนกันให้น้องชายเลี้ยงอยู่ทางบ้านอื่น เมืองอื่นโน้น เรามีครอบครัวอยู่ทางนี้ เราก็เลี้ยงบุตรภรรายาอยู่ทางนี้ หลายปีแล้วก็ไม่ได้ไปดูแม่เราเลย คิดในใจอย่างนั้นแต่นกตัวทำไมหนอจึงมีมาตาปิตุอุปถัมภ์อุปฐานธรรมขนาดนี้น้อ ไม่ใช่ความผิดของนกนะ ยกนกตัวนั้นขึ้นใส่หัว สาธุ สาธุ ตัวของเจ้าเป็นอาจารย์เป็นครูของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะถือเป็นอาจารย์เพราะ ภาษิตของเจ้าที่พูดออกมานั้น เตือนให้ข้าพเจ้าระลึกถึงแม่ได้เต็มเปาเลย ระลึกถึงแม่มากเลยจนทนไม่ไหว น้ำตาพังออกนี่เพราะคำพูดของเจ้าเป็นภาษิตที่ฟังแล้ว ชื่นใจระลึกถึงแม่ได้เต็มเปา มีความสุขด้วยเพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าขอบูชาๆ ภาษิตของอาจารย์ บูชาภาษิตของเจ้า ท่านผู้เป็นอาจารย์นี้แหละนะ

ที่ีมา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=10700

54



๏ พระธรรมเทศนาเรื่อง ธรรมาภิสมัย
วันที่ ๑๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๓

จะเอาพระบ้านนอกมาบรรยายธรรม อบรมจิตใจของชาวกรุง ปรากฏว่ามันก็ไม่เข้าท่าเท่าไหร่นะ พระบ้านนอกมาอบรมชาวกรุงมันไม่สมกันเลย ต้องพระในกรุงมาอบรมชาวกรุง มันจึงจะถูกต้อง ก็เหมือนอาหารนะ อาหารบ้านนอกอาหาร ภาคอีสาน จะเอามาแจกชาวกรุงก็คงไม่หมดแหละ ถ้าแจกชาวอีสานด้วยกัน อาจจะหมด

ธรรมะก็เหมือนกัน ธรรมที่ชาวอีสาน หรือพระบ้านนอกได้ศึกษามา ได้อบรมมาได้ฟังมาก็เป็นธรรมะป่าๆ ทั้งนั้นล่ะนะ มันจะถูกสเป็คกับชาวกรุงหรือเปล่าเน้อนะโยม ที่เคยมาเทศน์ ที่วัดเสนา วัดใหม่เสนานิคม หรือวัดอะไรนั่น หลวงปู่หลอด นั่นคราวหนึ่งและก็ไปเทศน์ที่วัดพระรามเก้านั่นครั้งหนึ่ง เทศน์อยู่แถวๆ บริเวณนอกๆ นี่แหละ แถวนี้เขาเห็นว่าจะได้ประโยชน์ในการบรรยายธรรม นั่นมันเกี่ยวกับงานวันเกิดของท่าน เลยพูดเรื่องวันเกิดกันไปพอสมควรแล้วก็เล่านิทานมาประกอบ มีคนออกปากว่าชอบอกชอบใจว่าอย่างนั้นอยากฟังเรื่อยๆ เพราะที่บรรยายไปนั้นมันเป็นธรรมาภิสมัยในหัวใจ ทำให้สังคมมนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

ถ้ามีธรรมาภิสมัย หรือว่าธรรมอำไพก็เรียกกัน ธรรมอันนั้นธรรมสำหรับชาวโลกที่อยู่รวมกัน เห็นว่าเป็นประโยชน์ เพราะว่าคนเราต้องเกิดมาก็ต้องมีพ่อมีแม่มีผู้ปกครอง ถ้าลูกไม่รู้จักบุญคุณของผู้มีพระคุณแล้ว ก็ขาดธรรมอำไพหรือขาดธรรมาภิสมัย ไม่น่าอยู่เลย ไม่น่าดูเลย พ่อแม่หวังพึ่ง ฝากผีฝากไข้กับลูก ถ้าลูกไม่มีธรรมาพิสมัยไม่ตอบแทนบุญคุณของพ่อของแม่ พ่อแม่ก็หมดหวังในชีวิต ไม่น่าอยู่ในโลกเลย เลี้ยงลูกยากเฉยๆ หวังพึ่ง ฝากผีฝากไข้ก็ไม่ได้ เขาไม่ดู ไม่แลอย่างนี้ เป็นเรื่องที่เศร้าใจมาก

มันก็ไม่ผิดอะไรกับสัตว์เดรัจฉาน เราเห็นสัตว์เดรัจฉานน่ะ สังเกตมาตั้งแต่น้อย ตั้งแต่ลืมตาอ้าปากดูโลกมาเห็นแม่ไปเที่ยวหาอาหารมาป้อน มาหย่อนใส่ปากลูกนกทั้งหลายก็ดี แต่ว่าลูกๆ ถ้าแม่เฒ่าชราลงไปแล้ว พวกนกทั้งหลายนี่จะไปหาอาหาร มาปล่อยใส่ปากแม่ เคยมีบ้างไหมน้อ ไม่เคยมีแล้ว สัตว์เดรัจฉาน เฉยไปเลย แต่ว่ามหาสัตว์มีนะ มหาสัตว์มี จะขอเล่าเรื่องมหาสัตว์ให้ฟังสักหน่อย พระพุทธเจ้านำมาแสดง เพื่อให้เกิดธรรมาภิสมัยแต่จิตใจของพุทธบริษัทของพระองค์นั่นเอง


ที่ีมา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=10700

55
การทำบุญ วันตรุษไทย

          ในการทำบุญประเพณี วันตรุษไทย ช่วงกลางวัน ก็จะมีการทำบุญตักบาตร และจัดทำข้าวเหนียวแดง และกาละแม ซึ่งเป็นขนมประจำเทศกาล วันตรุษไทย เพื่อทำบุญอุทิศให้กับญาติผู้อุทิศล่วงลับไปแล้วได้เก็บไว้กิน เพราะเก็บไว้ได้นาน มีการไหว้พระเจดีย์ตามวัดต่าง ๆ มีการละเล่นสนุกสนานต่าง ๆ เช่น ร้องเพลงอธิษฐาน เพลงมาลัย เพลงชาวงชัย และเล่นมอญซ่อนผ้า

          ยกตัวอย่างเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สมัยที่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีการเล่นรำวงกันเป็นที่ครึกครื้นของหนุ่มสาว ทำให้เกิดความ สามัคคีกันเป็นอย่างดี เมื่อมีกิจการใด ๆ ก็จะร่วมมือช่วยเหลือกันด้วยน้ำใจ ที่เรียกว่า "ลงแขก"  ซึ่งการละเล่นในยามตรุษ มีเนื้อเพลงที่ชาวบ้านแต่งร้องรำกันสนุนสนานรื่นเริงตอนหนึ่งว่า...

          ".....ตอนเช้า ทำบุญตักบาตร ทำบุญร่วมญาติ ตักบาตรร่วมญาติ กันเอย ตอนบ่ายเราเริงกีฬา เล่นมอญซ่อนผ้า เล่นสะบ้าเอย....."  และยังมีเพลงพื้นเมืองที่ควรจะบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ เพราะสมัยนั้นเป็น เวลาที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีเพลงที่เกี่ยวกับเสียงปืนที่หนุ่มสาวนำมาคิด ประดิษฐ์ร้องกันขึ้นว่า...

          "ครืน ครืน ครืน ได้ยินเสียงปืนกระทุกใจหวัง คิดไปหัวใจ เรายัง คิดถึงความหลังก็ยังเศร้าใจเขต แคว้นในแดนไทยเรา ถูกเขามายื้อแย่ง ไป คิดขึ้นมาน้ำตาหลั่งไหล คิดขึ้นมา น้ำตาหลั่งไหล ขึ้นชื่อว่าไทยไม่วายเขาลือ"

          ส่วนในช่วงกลางคืน วันตรุษไทย จะเป็นการเล่นเข้าทรงลงผีต่าง ๆ ตามทางสามแพร่ง สี่แพร่ง ก็มีการแขวนข้าวผอกกระบอกน้ำ ด้วยเพราะมีความเชื่อว่า การที่พระสงฆ์สวดบทอาฏานาฏิยสูตร หรือบทสวดภาณยักษ์ ป็นการสวดเพื่อให้ผีตกใจกลัว และผู้ที่มีปืนก็จะยิงปืนสนั่นหวั่นไหวเพื่อเป็นการไล่ผี (คล้ายพิธีหลวง) โดยผู้เฒ่าผู้แก่จะหยิบเอาปูนและขมิ้นวางไว้ข้างที่นอน เพื่อเอาไว้ให้พวกผีญาติผีเรือน ที่ตกใจกลัววิ่งกันชุลมุนล้มลุกคลุกคลาน จะได้หยิบเอาขมิ้นกับปูนนั้นมาทา และยังเชื่ออีกว่า ถ้าผู้ใดไม่สวดมงคลสูตร ผีอาจวิ่งมาชนล้ม หรือมาหลอกหลอน ทำให้เกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย เกิดการเพ้อคลั่งมีกิริยาต่าง ๆ ซึ่งก็ถือกันมาจนปัจจุบัน

          และทั้งหมดนี้คือ ประวัติ ความเป็นมา วันตรุษไทย วันที่คนไทยควรรู้และสืบสาน เพื่อให้ประเพณีดี ๆ วันตรุษไทย ดำรงอยู่คู่สังคมไทยไปอีกนาน

ที่มา
http://hilight.kapook.com/view/45859

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
panyathai.or.th, watyaichaimongkol.net, meeboard.com, kroobannok.com

56
  ประวัติ วันตรุษไทย

          ว่ากันว่า ประเพณี วันตรุษ แต่เดิมเป็นของพวกอินเดียฝ่ายใต้ เมื่อพวกทมิฬได้มาครองเมืองลังกา ก็ได้นำพิธีตรุษอันป็นวิถีปฏิบัติของลัทธิตนเข้ามาด้วย ทำให้มีการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนกระทั่งกลายเป็นงานนักขัตฤกษ์ใหญ่ มีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ในวันแรม 14 - 15 ค่ำ เดือน 4 และขึ้น 1 ค่ำ เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองของตน

          ส่วนในประเทศไทย มีปรากฎในตำนานนางนพมาศ หรือตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ว่า วันตรุษไทย มีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยพระมหากษัตริย์ผู้ครองประเทศในครั้งนั้นทรงรับเอาประเพณี วันตรุษ มาเป็นพระราชพิธี และทรงทำบุญบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นการประจำ เรียกว่า "พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์" คือ ทำบุญวันสิ้นปีหรือทำบุญส่งปีเก่า โดยกษัตริย์จะนิมนต์พระสงฆ์เข้ามาในพระราชวัง 3 วัน เพื่อทำการเจริญพระพุทธมนต์ และเมื่อสวดเจริญพระพุทธมนต์เสร็จแล้ว จะมีการยิงปืนไปทั่วพระนคร เหมือนกับไล่ผีไล่ปีศาจ ไล่สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายให้หมดไปกับปีเก่า

          หลังจากนั้น ประเพณี วันตรุษไทย หรือ พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ ก็กระทำสืบต่อกันมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทางราชการก็ได้มีการสั่งให้ยกเลิกประเพณี พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ หรือ พิธีวันตรุษไทยของหลวง โดยให้ยกเอาไปรวมกับพิธีสงกรานต์ เรียกรวมกันว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์ แต่ในส่วนของชาวบ้านก็ยังมีการประกอบพิธี วันตรุษไทย กันอยู่อย่างเดิม และยังทำอยู่ทั่วไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ

          อย่างไรก็ดี สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยถึงการเข้ามาของ ประเพณี วันตรุษ ว่า...

          1. อาจได้หนังสือที่เป็นตำรามา ซึ่งเป็นภาษาสิงหฬ และจารึกลงในใบลานด้วยอักษรสิงหฬ แล้วมาแปลออกเป็นภาษาไทยเรา

          2. อาจมีพระเถระชาวลังกา ซึ่งเป็นที่มีความชำนาญในการพิธีตรุษ ได้เข้ามาในเมืองไทย แล้วมาบอกเล่า และสอนให้ทำพิธีตรุษกันขึ้น

          3. อาจมีพระสงฆ์ของไทย ได้ไปเห็นชาวลังกาทำพิธีตรุษ และได้มีโอกาสได้ศึกษาทำพิธีตรุษนั้น จนมีความสามารถทำได้ แล้วก็ได้นำเอาตำรานั้นเข้ามาสู่ประเทศไทย



ที่มา
http://hilight.kapook.com/view/45859

57
วันตรุษไทย ประเพณีทำบุญวันสิ้นปี สมัยโบราณ



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก watyaichaimongkol.net, meeboard.com

          หากเอ่ยถึง วันตรุษไทย หลายคนคงไม่คุ้นเคยเท่ากับ วันตรุษจีน ทั้งที่ วันตรุษไทย ก็เป็นวันสำคัญของไทยที่มีประเพณีสืบต่อกันมา ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ว่าแล้ววันนี้ กระปุกดอทคอม จึงขอนำเรื่องราว วันตรุษไทย มาบอกกันต่อกันค่ะ

          วันตรุษไทย ตรงกับวันแรม 14 - 15 ค่ำ เดือน 4 และวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 รวม 3 วัน โดยถือเอาวันแรก คือ วันแรม 14 ค่ำ เป็นวันจ่าย เพื่อตระเตรียมสิ่งของไว้ทำบุญ และวันที่ 2 คือ วันแรม 15 ค่ำ เป็นวันทำบุญตักบาตร  มีการละเล่นสนุกสนานตามประเพณีท้องถิ่น ซึ่งจะเล่นกันจนถึงวันที่ 3 คือวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 4

          ทั้งนี้ คำว่า ตรุษ เป็นคำไทยที่แผลงมาจากภาษาสันสกฤต มี 2 ความหมาย โดยความหมายแรก แปลว่า ตัด หรือ ขาด หมายความถึง วันตรุษไทย ที่มีนัยว่า ตัดปีเก่าที่ล่วงมาแล้วให้ขาดไป ส่วนอีกความหมายหนึ่ง ตรุษ แปลว่า ความยินดี ความรื่นเริงใจ ความบันเทิงใจ ซึ่งหมายถึง วันตรุษสงกรานต์ หรือ วันสงกรานต์ ที่ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย ทำให้ วันตรุษไทย เปรียบเสมือนวันสิ้นปี หรือเป็นประเพณีทำบุญส่งท้ายปีเก่านั่นเอง

          แต่ด้วยความที่ วันตรุษไทย มักจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งใกล้กับ วันสงกรานต์ ทำให้ปัจจุบันการจัดงาน วันตรุษไทย ถูกรวบยอดไปจัดในวันสงกรานต์ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคนไทยจึงไม่ค่อยรู้จัก วันตรุษไทย


ที่มา
http://hilight.kapook.com/view/45859

58
จากท่านพระอาจารย์ รวี สัจจะ

...ตอบคำถาม "ความว่างเป็นอย่างไร "...
..." ความว่างทางจิตนั้น คือความว่างจากอารมณ์ยินดี ยินร้าย
แต่ไม่ว่างจากตัวรู้ ยังตามดูตามเห็น แต่จิตไม่ไปคิดปรุงแต่ง "...
...ด้วยความปรารถนาดีและไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร...
โดย: Ravee Sajja

ที่มา
http://www.facebook.com/profile.php?id=1059132528

59


หลวงปู่ท่อน ญาณธโร-หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร-หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ


๏ ร่มโพธิ์ร่มไทรของคณะศิษยานุศิษย์

นับแต่ปี พ.ศ.2528 เป็นต้นมา หลวงปู่ท่อน เริ่มมีกิจนิมนต์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นที่กรุงเทพฯ ภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคใต้ รวมถึงต่างประเทศ แทบจะหาเวลาว่างไม่ได้เลย แต่หลวงปู่ก็มิเคยขัดศรัทธาญาติโยมแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ.2536 หลวงปู่ได้อาพาธด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้หลวงปู่เกิดอาการวิงเวียนหน้ามืดเป็นประจำ

ล่วงมาถึงปี พ.ศ.2537 หลวงปู่อาพาธอีก ด้วยโรคเส้นเลือดในช่องท้องโป่งพอง ต้องเข้ารับการผ่าตัดจากคณะแพทย์โรงพยาบาลวิชัยยุทธ แม้การผ่าตัดจะประสบผลสำเร็จ แต่ส่งผลให้หลวงปู่ท่อนไม่สามารถเทศนาบรรยายธรรมได้นานดังแต่ก่อน เพราะสุขภาพไม่อำนวย ทุกวันนี้หลวงปู่ยังคงเดินทางเข้าไปตรวจเช็กสุขภาพที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ อย่างสม่ำเสมอ

หลวงปู่ท่อน มีความรู้ความสามารถในด้านวิทยาคม วิปัสสนากัมมัฏฐาน มีฌานสมาบัติแก่กล้า มีวิชาทำวัตถุมงคลตามตำรับโบราณคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงในยุคอดีต เป็นเหตุปัจจัยเสริมให้วัตถุมงคลทั้งหมดของท่านมีพุทธคุณศักดิ์สิทธิ์เข้มขลัง ท่านได้มีการสร้างวัตถุมงคลมากมาย อาทิ พระผงหลังโต๊ะหมู่บูชารุ่นแรก, พระผงหลังโต๊ะหมู่บูชารุ่นแรก (รุ่นสรงน้ำ) และอื่นๆ อีกมากมาย เป็นต้น

ด้วยกุศลผลบุญทั้งมวลอันเกิดจากความอุตสาหะแห่งการบำเพ็ญเพียร ส่งผลให้หลวงปู่ท่อน มีอายุยืนยาว เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของคณะศิษยานุศิษย์ เป็นกำลังอันสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา รวมทั้งเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนไปตราบนาน


หลวงปู่ท่อน ญาณธโร


ที่ีมา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=10700

60


หลวงพ่อมหาปิ่น ชลิโต

หลังจากช่วยงานการครูบาอาจารย์เสร็จสิ้น หลวงปู่คำดีได้นำหมู่คณะออกวิเวกไปทาง จ.เลย ตอนนั้นหลวงปู่ท่อนบวชได้ 7 พรรษาแล้ว

พ.ศ.2497 หลวงปู่คำดี นำคณะเข้าป่าและถ้ำต่างๆ ได้ภาวนาทำความเพียร ตลอดจนให้ศรัทธาญาติโยมมาฟังธรรมะ และในพรรษานี้หลวงปู่ท่อนได้อยู่จำพรรษา ณ วัดถ้ำผาปู่นิมิตร ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย กับหลวงปู่คำดีด้วย

หลวงปู่ท่อนอยู่ที่วัดถ้ำผาปู่นิมิตร ได้ 2 พรรษา ก็มีศรัทธาญาติโยมมาขอให้ไปโปรดที่วัดถ้ำตีนผา อ.เชียงคาน จ.เลย 1 พรรษา ต่อมาหลวงปู่คำดีเกิดอาพาธเจ็บป่วยด้วยโรคชรา ท่านจึงกลับมาเยี่ยมและช่วยสร้างวัดถ้ำผาปู่นิมิตรไปด้วย จวบกระทั่งหลวงปู่คำดีได้มรณภาพลงอย่างสงบ


๏ สร้างวัดศรีอภัยวัน

พ.ศ.2500 ศรัทธาญาติโยมได้นิมนต์ให้หลวงปู่ท่อนไปอยู่ที่ป่าช้านาโป่ง และได้สร้างเป็นวัดศรีอภัยวัน บนเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ รวมทั้งรักษาความเป็นป่าอย่างสมบูรณ์ไว้

จากนั้นมา หลวงปู่ท่อนได้จำพรรษาที่วัดศรีอภัยวัน จ.เลย ตราบจนถึงปัจจุบัน

เนื่องจากหลวงปู่ท่อนเป็นพระป่า ที่วัดจึงไม่มีสิ่งก่อสร้างใหญ่โต กุฏิเป็นเพียงกุฏิเล็กๆ ปัจจัยที่ได้รับจากญาติโยม ล้วนแบ่งเอาไว้ใช้เท่าที่จำเป็น ส่วนใหญ่จะแบ่งปันให้แก่สำนักสงฆ์ วัด ที่ขาดแคลนหรือทุรกันดาร


พระประธาน ณ วัดศรีอภัยวัน


๏ ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์

พ.ศ.2503 เป็นเจ้าอาวาสวัดวัดศรีอภัยวัน

พ.ศ.2510 เป็นเจ้าคณะตำบลเมือง เขต 2 (ธรรมยุต)

พ.ศ.2526 เป็นเจ้าคณะอำเภอเชียงคาน-ภูเรือ (ธรรมยุต)

พ.ศ.2532 เป็นเจ้าคณะอำเภอเชียงคาน-ปากชม (ธรรมยุต)

วันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2550 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดเลย (ธรรมยุต) ตามกฎของมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 23/2541 ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์


๏ ลำดับสมณศักดิ์

พ.ศ.2514 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ “พระครูญาณธราภิรัติ”

พ.ศ.2527 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2531 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2535 เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ครบ 5 รอบ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ “พระญาณทีปาจารย์” เป็นกรณีพิเศษ

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2550 เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ “พระราชญาณวิสุทธิโสภณ”

ที่ีมา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=10700

61


หลวงปู่คำดี ปภาโส

๏ การอุปสมบท

ช่วงวัยหนุ่มฉกรรจ์ เป็นคนติดเพื่อนฝูง กินเหล้าเมายา จีบสาวตามบ้านต่างๆ ในละแวกนั้น ทำให้โยมบิดา-โยมมารดา เป็นกังวลใจมาก หากเป็นเช่นนี้ต่อไป บุตรชายคงจะเสียคนเป็นแน่ จึงได้ปรึกษากันขอให้บุตรชายบวชเรียน โยมบิดาจึงนำตัวบุตรชายไปฝากกับหลวงปู่คำดี ปภาโส พระเกจิชื่อดังแห่งวัดป่าชัยวัน ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.ขอนแก่น แต่หลวงปู่คำดีมีข้อแม้ว่า ก่อนบวชจะต้องรักษาศีล นุ่งห่มขาว เจริญภาวนา กินข้าวมื้อเดียวก่อน

ครั้นอยู่ทดสอบจิตใจได้ 5 เดือน หลวงปู่คำดีได้อนุญาตให้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ขณะมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2491 ณ พัทธสีมาวัดศรีจันทร์ (พระอารามหลวง) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมีพระเทพบัณฑิต (มหาอินทร์ ถิรเสวี สินโพธิ์ ป.ธ.5) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระพิศาลสารคุณ วัดศรีจันทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูคัมภีรนิเทศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาสุพจน์ อุตฺตโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ภายหลังอุปสมบทแล้ว ท่านได้เดินทางไปพำนักจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่คำดี ณ วัดป่าชัยวัน โดยหลวงปู่คำดีเป็นอาจารย์กัมมัฏฐาน คอยสอนให้ทำภาวนา นั่งสมาธิกัมมัฏฐาน เน้นเรื่องสติ สมาธิ และปัญญา ระยะเวลาผ่านไปนานพอสมควร ท่านได้ช่วยครูบาอาจารย์แบ่งเบาภาระในการสอนคนที่จะมาบวช ด้วยการสอนขานนาค เป็นต้น ครั้นถึงช่วงออกพรรษา ได้เป็นหัวหน้าออกเดินธุดงค์เข้าป่าเป็นกิจวัตร


๏ ได้รับโอวาทจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ครั้งหนึ่งท่านได้มีโอกาสพบหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และได้รับโอวาทอันทรงคุณค่าอย่างหาที่เปรียบมิได้จากหลวงปู่มั่น “ให้เร่งทำความเพียร มิให้ประมาท ชีวิตนี้อยู่ได้ไม่นานก็ต้องตาย”

หลวงปู่ท่อน ยังได้มีโอกาสไปกราบเยี่ยมครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่หลุย จันทสาโร, หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงพ่อมหาปิ่น ชลิโต เป็นต้น


ที่ีมา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=10700

62
ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่ท่อน ญาณธโร


วัดศรีอภัยวัน
ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย



๏ อัตโนประวัติ

“อย่ามีอคติ...อย่าลำเอียงกับใครเลย และอย่าขึ้นๆ ลงๆ อย่าเอารัดเอาเปรียบกันอีกเลย”

ความตอนหนึ่งจากธรรมโอวาทของ “พระราชญาณวิสุทธิโสภณ” หรือ “หลวงปู่ท่อน ญาณธโร” ที่คอยอบรมสอนสั่งสาธุชนให้ปฏิบัติตาม ด้วยกุศโลบายอันแยบคายในการแสดงพระธรรมเทศนา ให้ผู้ฟังนำไปขบคิดพินิจพิจารณาด้วยปัญญา

ท่านเป็นพระเถราจารย์ผู้ใหญ่สายวิปัสสนาธุดงค์กัมมัฏฐาน เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านจิตตภาวนา การเทศนาธรรม และวิทยาคมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ

หลวงปู่ท่อน ญาณธโร มีนามเดิมว่า ท่อน ประเสริฐพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พุทธศักราช 2471 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะโรง ณ บ้านหินขาว ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายแจ่ม และนางทา ประเสริฐพงศ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 19 คน ท่านบุตรคนที่ 6 ปัจจุบัน สิริอายุได้ 79 พรรษา 59 (เมื่อปี พ.ศ.2550) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีอภัยวัน บ้านหนองมะผาง ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย และเจ้าคณะจังหวัดเลย (ธรรมยุต)


๏ การศึกษาเบื้องต้น

ในวัยเยาว์ สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนบ้านหินขาว ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น แต่ด้วยฐานะทางบ้านยากจน ท่านจึงได้ลาออกจากโรงเรียนมาช่วยบิดามารดาทำงานหาเลี้ยงครอบครัว

ต่อมาได้เรียนต่อที่โรงเรียนผู้ใหญ่ที่บ้านหินขาว สอบเทียบได้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

หลังจากจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้ว ท่านไม่ได้เข้าศึกษาต่อ เพราะต้องเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว จึงเป็นเหตุให้ต้องออกจากโรงเรียนอีกครั้ง เพื่อมาทำงานหาเลี้ยงครอบครัว

ที่ีมา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=10700

63
ธรรมะ / ...นิทานคนบ้าหาบหิน
« เมื่อ: 13 มี.ค. 2555, 10:31:12 »
...นิทานคนบ้าหาบหิน

นั้นมีอยู่ว่า บ้านั้นท่านว่าบ้า ๑๐๘ บ้า ๓๒ บ้า นับไม่ได้ มีบ้าชนิดหนึ่ง ไม่โหดร้ายประการใด ได้บุง ได้ตาด ได้อะไรมาก็หาบไป เมื่อเห็นไม้ เห็นก้อนหิน เม็ดกรวดอะไรก็ตาม เก็บใส่ข้างหน้าข้างหลัง แล้วก็หาบเรื่อยไป ไม่ว่าเห็นอะไรอยู่ข้างถนนหนทางก็เก็บมาใส่ทั้งนั้น เรียกว่าเก็บก้อนหิน ของหนักมาใส่ หาบไป จนกระทั่งหาบไปไม่ได้ ก็เก็บออก เก็บออกพอเบาไปได้ก็หาบไปอย่างนั้นแหละ..เขาให้ชื่อว่าคนบ้า

คนบ้าชนิดนั้นไม่มีเรื่องราวกับใคร แต่มีเรื่องราวกับหิน เห็นของหนักแล้วก็เอามาใส่ เจ้าของก็หาบไป เมื่อหาบไป มันก็เบา ก็เก็บมาใส่ใหม่ เห็นของใหม่ก็เก็บใส่ใหม่ เป็นอยู่อย่างนี้ ตลอดวันตลอดคืน แก ทำมาอย่างนั้น นี้เรียกว่าเป็นนิทานอันหนึ่ง..

นิทานคนบ้าหาบหินนี้ เปรียบอุปมาเหมือนจิตใจของคนเรา

ไม่ภาวนา ไม่สงบ ก็ไม่สละออกไปจากอารมณ์ต่าง ๆ ที่เก็บเข้ามา ตาเห็นรูป ก็เก็บเอามาไว้ มาคิด มานึก มาปรุงแต่งในทางที่จะยึดเอาถือเอาเหมือนคนบ้าหาบหิน รูปดีก็อยากได้ ดิ้นรนวุ่นวาย รูปสวย รูปงาม ไม่ว่ารูปวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้ไม้สอยก็ตาม รูปคน... เมื่อเห็นว่ารูปดี ก็อยากได้ ปรารถนา ดิ้นรนไปตามกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา มันเก็บเข้ามา ยึดเข้ามา..

ที่นี้ ในขณะที่รูปไม่ดี รูปน่าเกลียดน่ากลัว รูปน่าชัง ก็เก็บเข้ามาอีก ไปเกลียด ไปกลัว ไปชัง พาให้จิตใจไม่เป็นสมาธิภาวนา คือเป็นธรรมดาของจิตไม่สงบ ไม่มีภาวนาพุทโธอยู่ในดวงใจ เมื่อตาเห็นรูปในส่วนที่ดีก็หลงไปอีกอย่างหนึ่ง ในส่วนที่ไม่ดี ก็หลงไปอีกอย่างหนึ่ง วุ่นวายอย่างนั้นแหละ เหมือนกับว่า "คนบ้าหาบหิน"..

นอกจากตาเห็นรูป หูได้ฟังเสียง ก็คอยเก็บเข้ามา นอกจากเก็บเข้ามาแล้ว ตัวเองก็ชอบพูดชอบกล่าวแต่ในสิ่งที่ไม่นั้นแหละ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ธรรมะคำสั่งสอนมีตั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ก็ไม่ท่องบ่นสาธยาย เอามาจดมาจำ แต่คำดุคำด่า ว่าร้ายป้ายสีให้แก่กัน วันนี้ชอบเอามาคิด เอามานึก แม้สิ่งนั้นจะล่วงเลยมานานแล้วก็ตาม จำไว้ ไม่ให้ลืม เขียนไว้ไม่ให้ลืม เป็นอย่างนี้มาตลอดกัป ตลอดกัลป์ ตลอดภพ ตลอดชาติ ไม่ว่ามนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลาย...มันเป็นอยู่อย่างนี้ ไม่รู้จักปล่อยวาง..


หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

โดย: ธรรมโอสถ

64
กราบนมัสการหลวงพี่ต้อย...เปี่ยมเมตตา

65
ขอบคุณท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)
ที่นำภาพมาให้ชมกันครับ
แล้วจะติดตามตอนต่อไปครับ

66
ขอบพระคุณท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) เป็นอย่างยิ่งที่กรุณานำภาพและเรื่องราวดีดีมาฝากกันครับ :054:
สักวันหนึ่ง...ผมจะตามไปเที่ยวชมบ้างครับ :015:

67
ศักดิ์สิทธิ์อะไรเช่นนั้น

สิ่งที่พระท่านว่าวาสนานี้ เป็นความเคยชินชนิดที่แกะไม่ออก เป็นเรื่องไม่ดี แต่ภาษาไทยเอาคำว่าวาสนา มาใช้ในแง่ดี เช่น วาสนาบารมี มีวาสนาดี เป็นต้น ทางพระท่านกล่าวว่า พระอรหันต์นั้นละกิเลสได้ แต่ละวาสนาไม่ได้ เฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่ทรงละได้ทั้งกิเลสและวาสนา

เพราะเหตุนี้ จึงมีเรื่องเล่าว่าพระสารีบุตร หลังบรรลุธรรมและได้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาแล้ว ท่านก็ละวาสนาของท่านไม่ได้ เวลาท่านไปที่ไหน ที่บรรยากาศสวยงามท่านก็จะ "อิน" ในบรรยากาศนั้นมากขึ้นถึงกระโดดโลดเต้นด้วยความยินดี พระเล็กเณรน้อยก็นินทาว่า "อะไรกัน พระผู้ใหญ่ไม่สำรวมเลย กระโดดโลดเต้นยังกะเด็ก"

พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่อง จึงตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า "อย่าตำหนิสารีบุตรเลย นี้เป็นวาสนาของเธอ เพราะเธอเคยเกิดเป็นลิงหลายร้อยชาติติดต่อกัน"

ครับ ในกรณีพระปิลินทวัจฉะ ก็เช่นนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระปิลินทวัจฉะเคยเกิดเป็นพราหมณ์ติดต่อกันห้าร้อยชาติ มีความถือตัวในความเป็นพราหมณ์ วาจาเช่นนี้จนชิน มาชาตินี้คำพูดอย่างนี้จึงเป็นวาสนาของปิลินทวัจฉะแก้ไม่หาย แต่เธอไม่มีเจตนาพูดคำหยาบ



เขียนมาถึงตรงนี้ นึกถึงหลวงพ่อคูณท่านชอบใช้คำพ่อขุน คือ กูมึงจนติดปาก ไม่มีใครถือท่าน เพราะรู้ว่าท่านมิได้มีเจตนาจะให้เป็นคำหยาบ นี้แหละเป็นวาสนาของหลวงพ่อคูณ ใครอย่าไปเกณฑ์ให้ท่านพูดเป็นอย่างอื่น เดี๋ยวเกิดเรื่อง อย่างที่เคยเล่าต่อๆ กันมา (เล่าอย่างไร ลองกระซิบถามคนในวงการดูก็แล้วกัน ผมเคยเขียนถึงมาหลายครั้งแล้ว ไม่อยากจะฉายซ้ำอีก)

หลวงพ่อปิลินทวัจฉะ ถึงจะพูดไม่ค่อยไพเราะหู แต่ท่านมีเมตตากรุณาสูงยิ่ง ชอบช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก ดังวันหนึ่งได้ใช้อิทธิฤทธิ์เหาะไปนำเด็กสองคนที่โจรลักพาตัวไปมาคืนพ่อแม่ เป็นที่ชื่นชมโสมนัสของพ่อแม่เด็กและญาติวงศ์ในตระกูล

แต่ก็ไม่วายถูกพระเล็กพระน้อยค่อนแคะเอา หาว่าท่านปิลินทวัจฉะไปแย่งเอาทรัพย์สมบัติของพวกโจรต้องอาบัติ แน่ะ กล่าวหาอะไรเชยๆ อย่างนั้น จนพระพุทธองค์ตรัสว่า การที่ปิลินทวัจฉะจะไปนำเด็กคืนมามิใช่การลักขโมยของ เป็นการกระทำที่เกิดจากความกรุณา ต้องการช่วยเหลือคนที่ตกอยู่ในอันตรายหรือได้รับทุกข์ เป็นเรื่องที่พึงสรรเสริญมากกว่าตำหนิ นั้นแหละครับ เสียงซุบซิบ (หาเรื่อง) จึงสงบลง

ท่านปิลินทวัจฉะได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่น ในทางเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย

พระที่คนรักนั้นหาได้ง่าย แต่ที่ทั้งคนและเทวดารักนี้ หามิได้ง่ายๆ นะครับ

ที่มา
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327052647&grpid=no&catid&subcatid

68
วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 19:08:53 น.

บทความพิเศษ
 
เสฐียรพงษ์ วรรณปก


ท่านรูปนี้ เกิดในตระกูลพราหมณ์วัจฉโคตร นามเดิมว่า ปิลินทะ เรียกรวมกันว่า ปิลินทวัจฉะ เป็นชาวเมืองสาวัตถี

ท่านสนใจในเรื่องจิตเป็นพิเศษถึงกับออกบวชเป็นปริพาชกสำเร็จวิทยาการอันเรียกว่า "จูฬคันธาระ" นัยว่าทำให้มีฤทธิ์ และสามารถทายใจคนอื่นได้

ต่อมา วิชาจูฬคันธาระเสื่อม จึงคิดหาทางเรียนวิชามหาคันธาระ ตามที่ผู้รู้เล่าว่าผู้ที่เรียนสำเร็จแล้วจะไม่เสื่อม มีคนบอกว่าพระพุทธเจ้าทรงวิชาชั้นสูงนี้ จึงไปขอบวชเป็นศิษย์พระองค์

พระพุทธเจ้าตรัสบอกกรรมฐานที่เหมาะแก่จริตของท่านให้ไปบำเพ็ญ ท่านได้กรรมฐานจากพระพุทธเจ้า คิดว่าเป็นวิชามหาคันธาระ จึงตั้งอกตั้งใจปฏิบัติตาม ไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมปฏิสัมภิทา (ความแตกฉานในด้านต่างๆ)

คือแตกฉานในอรรถ แตกฉานในธรรม แตกฉานในนิรุตติ และแตกฉานในปฏิภาณ แตกฉานใน (อ่านในคำอธิบายใน พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของ ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎกเอาก็แล้วกัน ถ้าอยากได้รายละเอียด)



ท่านมีอิทธิฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศได้ แถมมีวาจาสิทธิ์อีกต่างหาก แต่ท่านมักมีคำพูดติดปาก ฟังไม่ค่อยไพเราะ คือคำว่า "ไอ้ถ่อย" (วสลิ) ไม่มีเจตนาพูดคำหยาบ แต่มันติดปากแก้ไม่หาย ภาษาพระเรียกว่า "เป็นวาสนา" ที่สั่งสมมายาวนานหลายภพหลายชาติ (คนละความหมายกับภาษาไทยที่ใช้กันอยู่นะครับ)

วันหนึ่ง มีพ่อค้าดีปลี ขนดีปลีผ่านหน้าท่านไป เพื่อเอาไปขายที่ตลาด ท่านปิลินทวัจฉะ จะถามว่า "บรรทุกอะไรมา ไอ้ถ่อย"

บุรุษเจ้าของดีปลีฉุนกึกเลย "พระอะไรวะ พูดจาไม่เข้ารูหูคน ไม่น่าเป็นพระเลย" จึงร้องตอบไปว่า "บรรทุกขี้หนูเว้ย ไอ้ถ่อย"

โต้ตอบสะใจแล้วก็ขับยานบรรทุกดีปลีต่อไป หารู้ไม่ว่าเกิดเหตุการณ์ประหลาดขึ้นกับตัวเอง พอไปถึงตลาดก็จอดยาน เตรียมขนดีปลีออกมาวางขาย ก็ตกตะลึงดุจถูกผีหลอกกลางวันแสกๆ

ดีปลีได้กลายเป็นขี้หนูไปหมดทั้งเล่มเกวียน

บุรุษหนุ่มร้องเสียงหลง จนผู้คนพากันมารุมล้อม ถามไถ่ว่าเกิดอะไรขึ้น เมื่อเขาเล่าเรื่องราวให้ฟัง บุรุษคนหนึ่งในกลุ่มชนนั้นกล่าวว่า

"พระที่ท่านว่านั้น คงจะเป็นพระคุณเจ้าปิลินทวัจฉะ เป็นแน่นอน ท่านผู้มีอิทธิฤทธิ์ วาจาสิทธิ์ เพราะคุณล่วงเกินพระอรหันต์เข้า คุณจึงประสบชะตากรรมเช่นนี้ ทางที่ดีไปขอขมาท่านเสีย"

บุรุษหนุ่มเจ้าของดีปลี กลับไปตามหาพระปิลินทวัจฉะ พบท่านแล้วก็กราบขอขมาที่ได้ล่วงเกินท่านโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ทันทีที่ท่านกล่าวว่า "ข้ายกโทษให้ ไอ้ถ่อย ขอให้ขี้หนูกลายเป็นดีปลีเหมือนเดิม เท่านั้น ขี้หนูทั้งเล่มเกวียนก็กลับกลายเป็นดีปลีตามคำพูดของท่านจริงๆ

ี่
ที่มา
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327052647&grpid=no&catid&subcatid

69
เห็นภาพแล้วชื่นใจครับ :090: :054:

72
ข้อมูลสนับสนุน

   การเจริญเมตตาในขณะที่จิตเปี่ยมด้วยสมาธินี้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เคยกล่าวเอาไว้ว่า เพียงทำแค่อึดใจเดียว ก็มีอานิสงส์มากกว่าการสร้างโบสถ์(วิหารทาน) เสียอีก หลายท่านอาจจะแย้งในใจว่า การเจริญเมตตาเกี่ยวอะไรกับอภัยทาน มันคนละส่วนกัน

เรื่องนี้ขออธิบายดังนี้ครับ หลักการแผ่เมตตาที่ผมเคยไปปฏิบัติธรรมมาที่วัดป่าม่วงไข่ อ.ภูเรือ จ.เลย (ลูกศิษย์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม) คือ อันดับแรกให้เราคิดถึงคนที่เรารักที่สุด แล้วตั้งจิตแผ่เมตตาให้เขามีความสุข ต่อมาคิดถึงคนที่รักน้อยลงมาแล้วแผ่เมตตาให้เขามีความสุข อันดับต่อมาให้คิดถึงคนที่เราไม่รักไม่ชังแล้วแผ่เมตตาให้เขามีความสุข อันดับต่อมาให้คิดถึงคนที่เราเกลียดหรือไม่ชอบหน้าแล้วแผ่เมตตาให้เขามีความสุข อันดับต่อมาคือให้คิดถึงคนที่เราเกลียดที่สุดแล้วตั้งใจแผ่เมตตาให้เขามีความสุข สุดท้ายให้ตั้งใจแผ่เมตตาไปทั่วจักรวาลไม่มีที่สิ้นสุด ท่านสอนว่าแรกๆ อาจจะฝืนใจหน่อย แต่หากทำได้ดังนี้อยู่เรื่อยๆ เราก็จะไม่มีคนที่เราเกลียดเลย ซึ่งจะสังเกตว่า การให้อภัยทานก็เป็น subset ของการเจริญเมตตานั่นเอง…
ผมเคยไปอ่านเจอในกระทู้หนึ่ง มีบางท่านแย้งว่า การให้ทานต้องมีผู้ให้และผู้รับ การให้ธรรมะเป็นทานยังมีผู้รับ ส่วนการให้อภัยไม่มีผู้รับ ดังนั้น การให้ธรรมะเป็นทานจึงน่าจะมีอานิสงส์มากกว่า ซึ่งเป็นคำกล่าวที่ไม่ถูกต้อง เพราะการทำบุญที่มีอานิสงส์มากที่สุด ตามคำสอนของพระศาสดาคือ การเจริญภาวนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ วิปัสสนาภาวนา ซึ่งจะสังเกตว่า บุญสูงสุดในพระพุทธศาสนาคือบุญที่ทำกับจิตเราเอง ไม่มีผู้รับแต่อย่างใด และการให้อภัยทาน จัดเป็นสมถกรรมฐาน เพราะเป็นการเจริญพรหมวิหารธรรม ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่อภัยทานจะมีอานิสงส์มากกว่าการให้ธรรมะเป็นทาน

นอกจากนี้ ยังมีบางท่านแย้งว่า การให้ธรรมะเป็นทานมีอานิสงส์มากกว่าอภัยทาน เนื่องด้วย การให้ธรรมะเป็นทาน จัดเป็นภาวนามัย เพราะเป็นการให้ปัญญา ซึ่งเป็นการกล่าวผิดหลักที่พระพุทธองค์ทรงสอน เพราะพระพุทธองค์ก็ได้จัดให้ธรรมะเป็นทานเอาไว้ในหมวดทานเท่านั้น ส่วนภาวนามัยคือ การเจริญสมถกรรมฐาน และการเจริญวิปัสสนา….
ทั้งหมดนี่เป็นบทสรุปที่่ผมค้นคว้ามาได้ ซึ่งอาจจะผิดหรือถูกผมก็ไม่รู้ ท่านผู้อ่านคงต้องพิจารณาเองครับว่าจะเห็นด้วยหรือไม่
 
ขอให้เจริญในธรรมครับ


ที่มา
http://www.dhammatan.net/2011/08/ อภัยทานกับธรรมทาน/

73
อภัยทาน ครอบคลุมถึงศีลและภาวนา

ตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 การทำบุญประกอบด้วย 3 หมวดคือ ทาน ศีล และภาวนา โดยสามารถแยกย่อยออกได้เป็น 10 อย่าง (บุญกิริยาวัตถุ 10) ตามมุมมองของผม คำว่าอภัยทานนี้ กินความหมายกว้าง สามารถจัดเข้าได้กับการทำบุญครบทั้งสามหมวด คือหมวดทาน ศีล และภาวนา ดังนี้

-  จัดว่าเป็นการทำทาน : เข้าได้กับธรรมทาน ดังเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นตามที่อรรถกถาจารย์ท่านกล่าวไว้
- จัดเข้าได้กับการทำบุญในหมวดศีล : เพราะคำว่าอภัยทาน แปลว่า การให้ความไม่มีภัย ใครเคยไปวัดป่า คงเคยสังเกตเห็นแผ่นป้ายที่ติดในเขตวัดว่า “เขตอภัยทาน” หมายถึง เป็นเขตรักษาศีล ไม่ให้ฆ่าสัตว์ เป็นต้น
- จัดเข้าได้กับหมวดภาวนา : เพราะการให้อภัย คือ การละโทสะในใจตน และเป็นการเจริญเมตตา อุเบกขา ซึ่งเป็นการเจริญพรหมวิหารธรรม อันเป็นหนึ่งใน กรรมฐาน 40 กอง (อันประกอบไปด้วย หมวดกสิน ๑๐ หมวดอสุภกรรมฐาน ๑๐ อนุสสติกรรมฐาน ๑๐ หมวดพรหมวิหาร ๔ หมวดอรูปฌาณ ๔ หมวดอาหาเรปฏิกูลสัญญา และ หมวดจตุธาตุววัฏฐาน)

ดังนั้นอภัยทานจึงมีอานิสงส์มากมาย มากเกินกว่าการให้ทานทั่วไป เพราะเป็นการทำให้จิตมีเมตตา คือขณะที่เราตั้งจิตคิดให้อภัยทานใครนั้น หากลองสังเกตจิตดูก็จะรู้ได้ว่าตอนนั้น จิตเรามีศีลคลุม จิตเราเปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรม จึงจะสามารถให้อภัยได้ ท่านผู้อ่านลองคิดเปรียบเทียบดูง่ายๆ ก็ได้ครับ สมมุติว่าเราเกลียดคนคนหนึ่งมาก ถ้าเจอหน้าแทบจะอยากฆ่าให้ตายเลย ถามว่า เราจะอยากให้ทานเขาหรือไม่ สมมุติเป็นให้ธรรมะเป็นทานก็ได้ ผมว่าคงไม่มีใครอยากจะให้ เพราะหน้ายังไม่อยากจะมองเลย เรื่องอะไรจะเอาของดีคือ ธรรมะไปให้มัน จริงมั้ยครับ ตราบใดที่เรายังให้อภัยเขาไม่ได้ เราก็คงให้ทานอย่างอื่นเขาไม่ได้ ถึงให้ก็ด้วยความฝืนใจ ซึ่งอานิสงส์คงน้อย ดังนั้นผมจึงเห็นด้วยกับที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนมาทุกประการว่า “ใครเป็นผู้มีอภัยทานประจำใจ คนนั้นก็เป็นผู้เข้าถึงปรมัตถบารมีแล้ว“


ที่มา
http://www.dhammatan.net/2011/08/ อภัยทานกับธรรมทาน/

74
อภัยทาน คือ อะไร

อภัยทาน เป็นคำที่ใช้กันแพร่หลายในยุคปัจจุบัน แต่ในพระไตรปิฎกกล่าวถึง อภัยทานไว้น้อยมาก เหมือนกับคำว่า เจ้ากรรมนายเวร ซึ่งชาวพุทธเรานำมาใช้กันภายหลัง หากลองค้นในพระไตรปิฎก จะเจอผลการค้นหาในพระไตรปิฎกเล่มที่ 15 ดังนี้
>ผลการค้นหาในพระไตรปิฎก คำว่า อภัยทาน
>>ส่วนที่กล่าวถึงอภัยทานในพระไตรปิฎก
ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

อภัยทาน หมายถึง ให้ความไม่มีภัย, ให้ความปลอดภัย

ที่มาของพุทธพจน์บทพระบาลี ที่ว่า สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ : การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง มีกล่าวใน ทานสูตร


ซึ่งกล่าวแต่เพียงว่า การให้ทานมี 2 แบบ คือ อามิสทาน กับ ธรรมทาน และธรรมทานเป็นเลิศกว่าทานอื่น ไม่ได้กล่าวถึง อภัยทานแต่อย่างใด
แต่ในส่วนของอรรถกถา ได้กล่าวไว้ว่า “ในอธิการนี้ อภัยทานพึงทราบว่า ทรงสงเคราะห์เข้ากันด้วยธรรมทานนั่นเอง”

>>อ่านบทอรรถกถาเรื่องทานสูตร
หากเรายึดหลักฐานในพระไตรปิฎกตามนี้ ก็จะเห็นด้วยที่ว่า พระพุทธองค์ทรงจัดให้ อภัยทาน อยู่ในหมวด ธรรมทานนั่นเอง ดังนั้นผมจึงเห็นด้วยกับคำสอนของหลวงพ่อฤาษีฯ ที่ยก link มาให้อ่านในตอนต้น ที่หลวงพ่อท่านสอนว่า อภัยทาน เป็น ทานอันสูงสุดในหมวดธรรมทาน โดยสรุปหลวงพ่อสอนว่า

ธรรมทาน = การให้ธรรม, คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นทาน และ การให้อภัยทาน

ทั้งนี้ทั้งนั้น นี่เป็นบทสรุปของผม โดยยึดหลักที่ว่า ผมเชื่อว่า อรรถกถาจารย์กล่าวถูกต้อง แต่หลายท่านอาจไม่เห็นด้วยกับผม เพราะมีหลายท่านที่ไม่เชื่ออรรถกถาจารย์ ดังนั้นจึงแล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละท่านครับ ที่จะเชื่ออย่างไร


ที่มา
http://www.dhammatan.net/2011/08/ อภัยทานกับธรรมทาน/

75
อภัยทานกับธรรมทานอย่างไหนอานิสงส์มากกว่ากัน

สวัสดีครับ กัลยาณธรรมทุกๆ ท่าน วันนี้ผมมีประเด็นที่ยังเป็นที่ถกเถียงและยังเป็นเรื่องที่หลายคนยังสงสัยคือ ระหว่างอภัยทานกับธรรมทานอย่างไหนได้บุญมากกว่ากัน เรื่องนี้ผมก็เคยสงสัยมานาน เพราะพระพุทธองค์ทรงสอนว่า สัพพะ ทานัง ธัมมะ ทานัง ชินาติ การให้ธรรมทานชนะการให้ทั้งปวง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่พระพุทธองค์จะสอนผิด แต่ก็มีอีกหลายท่านที่กล่าวว่า “อภัยทาน คือ ทานอันสูงสุด เป็นปรมัตถบารมี”
เรื่องนี้มีการถกเถียงกันมากในหมู่ชาวพุทธเรา หลายท่านมักหาทางออกง่ายๆ คือ สรุปว่าก็ดีทั้งสองอย่างนั่นแหล่ะ ทำทั้งสองไปเลย…อันนี้ก็เห็นด้วยครับ แต่ไม่ใช่คำตอบของคำถามนี้ ผมว่าเรามาหาคำตอบกันดีกว่าครับ
เรื่องอภัยทานกับธรรมทานนี้ แม้แต่อาจารย์ทางธรรมที่ผมนับถือ ก็ยังสอนไม่เหมือนกัน ท่านหนึ่งเป็นพระโสดาบัน ท่านสอนว่า ธรรมทานได้บุญมากกว่าอภัยทาน ส่วนอีกท่านหนึ่งเป็นพระอรหันต์ ท่านสอนว่า อภัยทาน ก็จัดเป็นธรรมทานประเภทหนึ่ง และเป็นทานสูงสุดในหมวดธรรมทาน ขออนุญาตนำ link มาให้ทุกท่านได้ลองพิจารณาก่อนครับ ว่าจะเชื่อหรือไม่อย่างไร…

อภัยทานคือทานอันสูงสุด-หลวงพ่อฤาษีฯ

ผมเคยไปอ่านบทความเรื่องนี้ในกระทู้ธรรมะตามเวบต่างๆ ก็มีผู้แสดงความคิดเห็นไปต่างๆ นานา หลายท่านสรุปว่า ธรรมทานได้บุญมากกว่า อภัยทาน เพราะยึดตามพุทธพจน์ที่ว่า “สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ “ คนที่กล่าวว่าอภัยทาน ได้บุญมากกว่าธรรมทาน ถือว่า ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งตัวผมเองไม่เห็นด้วยกับบทสรุปนี้ จึงตัดสินใจเขียนบทความนี้ขึ้น ทั้งๆ ที่จริงๆ ไม่อยากจะเขียนเรื่องที่เสี่ยงจะเป็นการโต้เถียงกับผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือดีไม่ดี เวบนี้อาจจะโดนด่า หาว่าสอนสิ่งที่ผิดๆ เป็นมิจฉาทิฏฐิก็เป็นได้ แต่ผมเองก็อดไม่ได้ที่จะแสดงบทสรุปที่ผมได้ศึกษามา เอาเป็นว่า ท่านผู้อ่านก็ลองพิจารณาดูเอาละกันนะครับ….

ที่มา
http://www.dhammatan.net/2011/08/ อภัยทานกับธรรมทาน/

76
มิวออนอายุยืนยาวขึ้น

ในการคำนวณครั้งแรกนี้ สมมุติว่า  ผมกับผู้อ่านอยู่บนโลก  สังเกตการณ์ชีวิตของคุณมิวออน  พอเกิดมาปุ๊บ แกก็ตั้งหน้าตั้งตาเดินทางมาโลก

มิวออนเดินทางได้เร็วมาก เกือบเท่าแสงเลยทีเดียว คือ ด้วยความเร็ว 0.998 เท่าของความเร็วแสง  สรุป ว่าช้ากว่าแสงนิดเดียว

จากความรู้ของทฤษฎีสัมพัทธภาพ เรารู้ว่า  ใครก็ตามถ้าเดินทางด้วยความเร็วใกล้ๆ แสง เช่น คุณมิวออนนี่แหละ  เวลาของเขาจะช้าลง  คือ แก่ช้า

การแก่ช้าก็คือ มีชีวิตยืนยาวไปด้วย  ด้วยความเร็วของมิวออน จึงทำให้ชีวิตของเขายืนยาวไป เท่ากับ 15.8 X 2 ไมโครวินาที ก็คือ 31.6 ไมโครวินาที

เมื่อมีอายุยืนยาวขึ้นตั้งหลายเท่าตัว จาก 2 ไมโครวินาที เป็น 31.6 ไมโครวินาที เพราะ คุณมิวออนเดินทางได้เร็วใกล้ๆ กับแสง ดังนั้น  มิวออนก็สามารถเดินทางได้ประมาณ 9.5 กิโลเมตร

จากที่กล่าวมาข้างต้น ก็พอสรุปสั้นๆ  ในช่วงนี้ได้ว่า  คุณมิวออน ถ้าแกเกิดมาปุ๊ป ขี้เกียจไปไหน  อยู่นิ่งๆ  มิวออนก็จะมีอายุได้ 2 ไมโครวินาที คือ เกิดมาปุ๊บก็ตายปั๊บเลย

ถ้ามิวออนขยัน อยากมาเที่ยวโลก  ด้วยความเร็วของเขา  ทำให้อายุยืนยาวมากขึ้น และสามารถเดินทางได้ถึง 9.5 กิโลเมตร

ดังนั้น การที่มิวออนเกิดบนฟ้าตั้งแต่ระยะ 6 กิโลเมตรขึ้นไป  มาปรากฏตัวอยู่ที่ระดับน้ำทะเลในโลกจึงเป็นไปได้ด้วยการคำนวณตามทฤษฎีสัมพัทธภาพ

มิวออนย่นระยะทาง

ในการคำนวณครั้งที่สองนี้ สมมุติว่า  ผมกับผู้อ่านอยู่ในจรวดที่มีความเร็วเกือบเท่าแสงเหมือนกันกับคุณมิวออน  แตกต่างกันที่ เราต้องไปด้วยจรวด แต่คุณมิวออนไปด้วยตัวของแกเอง และไปอยู่บนฟ้า ใกล้ๆ กับคุณมิวออนโน่น

ที่นี้การคำนวณของทฤษฎีสัมพัทธภาพต้องแตกต่างออกไป กล่าวคือ เราจะไปคิดว่า คุณมิวออนมีอายุยืนไม่ได้  คุณมิวออนจะต้องมีอายุแค่ 2 ไมโครวินาทีเท่านั้น  เพราะ เราอยู่คนละกรอบอ้างอิงของคนในโลก

ที่นี้จะใช้สูตรไหนคำนวณล่ะ

ก็ใช้สูตรเดียวกันกับสูตรที่ผ่านมา แต่ต้องเปลี่ยนวิธีคิด กล่าวคือ เราสามารถคิดได้ว่า เรากับมิวออนอยู่นิ่งๆ  แต่โลกเคลื่อนที่เข้าไปหาเรา [อย่าเพิ่งงง ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพคิดได้อย่างนี้จริงๆ]

ด้วยหลักการที่ว่า  การที่คุณมิวออนมีอายุแค่ 2 ไมโครวินาที  และสามารถเดินทางได้เพียง 600 เมตร  แต่มาปรากฏตัวบนโลกที่ระดับน้ำทะเลได้ ก็แสดงว่า คุณมิวออนย่นระยะทางได้นั่นเอง [สูตรการคำนวณในส่วนนี้ ขอให้อ่านรายละเอียดในหนังสือแฟนพันธุ์แท้ไอน์สไตน์ ของบัญชา  ธนบุญสมบัติ หน้า 36-38]

 สรุป

โดยสรุป จะเห็นได้ว่า  การย่นระยะทางสามารถทำได้จริงๆ และมีคุณมิวออนทำอยู่เป็นประจำ  ถ้าอยากจะรู้ก็ไปสังเกตไปพิสูจน์เอาเอง

ดังนั้น การที่พระอรหันต์ หรือเกจิอาจารย์ หรือผู้ทรงวิทยาคุณต่างๆ สามารถฝึกจิตของท่าน จนสามารถทำให้ท่านย่นระยะทางได้ ก็ควรจะเป็นความจริงที่ยอมรับได้

วิธีการย่นระยะทางจะทำกันอย่างไรนั้น ก็ไปศึกษากันเองครับ  ผมเองก็ยังทำไม่ได้เหมือนกัน  ถ้าทำได้แล้วละก้อ น้ำมันลิตรละ 100  บาท ผมก็ไม่เดือดร้อน

ขอขอบคุณ :054:

ดร. มนัส โกมลฑา  (Ph.D. Integrated Sciences)

สาขาวิชามนุษยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

E-mail: komoltha4299@gmail.com;komoltha4299@yahoo.com

Web: https://sites.google.com/site/manaskomoltha

Blog: http://manaskomoltha.blogspot.com/


77
(ฤทธิ์ต่างๆข้างต้น น่าจะนำมาขยายความต่อนะครับ)

การย่นระยะทางเรียกว่า สันติเดภาพฤทธิ์ซึ่งอยู่ในข้อที่ 1 อธิษฐานฤทธิ์ เป็นฤทธิ์ที่ต้องอธิษฐานจิตเสียก่อน  พูดให้ง่ายๆ ก็คงต้องว่า ใครที่มีฤทธิ์นี้อยู่ ต้องอธิษฐานจิตเสียก่อน แล้วจึงจะเดินทางได้เร็วขึ้น ถึงจะใช้ความเร็วเท่าเดิม

เปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนเราไปเดินบนทางเลื่อนแถวๆ มาบุญครอง  ถึงแม้เราจะเดินด้วยความเร็วธรรมดา เราก็เดินทางได้เร็วกว่าเดิม และเร็วกว่าคนที่เดินอยู่ข้างๆ ทางเลื่อน ทำนองนั้น

มิวออน: ผู้ย่นระยะทางได้

มิวออน (muon) เป็นชื่อเล่นหรือ nickname ของอนุภาคมิว-เมซอน (mu-meson) มิวออนนี่  นักวิทยาศาสตร์ตรวจพบได้ที่ระดับน้ำทะเล

สิ่งที่จะพิสูจน์ได้ว่า มิวออนสามารถย่นระยะทางได้ก็คือ มิวออนนี่มันไม่ได้เกิดที่ระดับน้ำทะเล แต่มันเกิดที่ความสูงจากโลกอย่างต่ำต้อง 6 กิโลเมตรเป็นต้น  พูดง่ายว่า มิวออนมันเกิดบนฟ้า แล้วลงมาเที่ยวที่ระดับน้ำทะเล

บางคนอ่านแล้ว ไม่เห็นจะแปลกประหลาดอะไรเลย

สิ่งที่แปลกประหลาดก็คือ คุณมิวอออนนี่แกอายุสั้นครับ  มีอายุเฉลี่ยประมาณ 2 ไมโครวินาที (micro second) ดังนั้น  ถ้าคุณมิวออนแกสามารถเดินทางด้วยความเร็วแสงคือ 186,000 ไมล์ต่อวินาที หรือ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที  คุณมิวออนแกก็จะเดินทางได้เพียงประมาณ 600 เมตรเท่านั้น

ดังนั้น เมื่อดูอายุของคุณมิวออน และระยะทางที่คุณมิวออนสามารถทำได้แล้ว  คุณมิวออนแกมาเที่ยวเตร่อยู่แถวระดับน้ำทะเลให้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบได้อย่าง ไร

การคำนวณด้วยทฤษฎีสัมพัทธภาพ

ทฤษฎีสัมพัทธภาพนี่  หลักพื้นฐานขัดกับหลักของวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนอย่างฟ้ากับ ดินเลยทีเดียว  คือ วิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนเห็นว่า "ความจริง" นั้น เป็นสิ่งที่อยู่นอกตัวมนุษย์  ความจริงหนึ่งๆ นั้น ใครก็สามารถเข้าไปค้นหาได้  และผลที่ออกมาก็ต้องตรงกัน

อิทธิพลของวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนทำให้เกิดคำว่า  [objective/วัตถุวิสัย/ปรนัย] กับ [subjective/จิตวิสัย/อัตนัย]

การศึกษาแบบวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนต้องเป็นแบบ [objective/วัตถุวิสัย/ปรนัย]  การศึกษาแบบไหนที่เป็น [subjective/จิตวิสัย/อัตนัย]  มักจะได้รับการดูถูกว่า เป็นการศึกษาที่ไม่สามารถจะให้ความจริงแท้ได้ เพราะติดกับความลำเอียงของแต่ละบุคคล

แต่หลักพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพหรือของฟิสิกส์ใหม่นี่ ยืนยันชัดๆ ว่า ความจริงต้องขึ้นกับตัวบุคคล ไม่อย่างนั้น จะรู้ได้อย่างไรว่า จรวดลำไหนเร็ว ลำไหนช้า  และปรากฏการณ์เดียวกัน  สามารถมีความจริงได้หลายแบบหลายอย่างได้  ขึ้นอยู่กับตัวผู้สังเกตการณ์

ดูเหมือนกับว่า หลักพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพหรือของฟิสิกส์ใหม่จะมั่ว  แต่ไม่มั่วครับ  เพราะ สามารถพิสูจน์ได้ด้วยสูตรของทฤษฎีสัมพัทธภาพ

ในการศึกษาปัจจุบันก็พบเห็น เหตุการณ์ที่ยืนยันว่า หลักพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพหรือของฟิสิกส์ใหม่ดังกล่าวเป็นความจริงที่ ยอมรับได้โดยทั่วไป

muon ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก...http://en.wikipedia.org/wiki/Muon

ที่มา
https://sites.google.com/site/manaskomoltha/withyasastr-kab-sasna/yn-raya-thang-thadi-cring

78
ตัวอย่างที่ 2  การย่นระยะทางของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท

เรื่องนี้ก็ยังคงเกี่ยวข้องกับหลวงพ่อกลั่น ซึ่งเรื่องนี้ต้องเรียกหลวงปู่กลั่น กล่าวคือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และหลวงปู่กลั่น วัดพระญาติการาม จังหวัดอยุธยา ทั้ง 3 รูปท่านเป็นเพื่อนกัน ไปมาหาสู่กันเสมอๆ

เหตุการณ์ที่จะเล่าต่อไปนี้ มีตัวละครแค่หลวงปู่ศุขกับหลวงปู่สี กล่าวคือ ครั้งหนึ่งหลวงปู่สีไปเยี่ยมหลวงปู่ศุขที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า และอยู่สนทนาธรรมกัน  เมื่อเยี่ยมเยียนกันพอสมควรแล้ว หลวงปู่สีก็ดำริว่าจะออกเดินธุดงค์ต่อไป แต่หลวงปู่ศุขก็ขอร้องให้หลวงปู่สีรออยู่ที่วัดก่อน

เช้าวันนั้นหลวงปู่ศุขออกไปบิณฑบาตตามปกติ  ฝ่ายหลวงปู่สี พอเห็นหลวงปู่ศุขไปแล้วท่านก็เก็บของของท่านที่จำเป็น แล้วออกเดินทางไป

เมื่อหลวงปู่ศุขกลับจากบิณฑบาต ทราบจากพระในวัดว่าหลวงปู่สีท่านไปแล้ว หลวงปู่ศุขจึงให้พระเณรฉันข้าวก่อน เดี๋ยวจะกลับมาฉันด้วย

ต่อจากนั้นท่านก็เข้ากุฏิ นำพระคัมภีร์ 3 เล่ม ตามไปให้หลวงปู่สี  ปรากฏว่าพระอาจารย์ทั้งสองรูปมาพบกันที่ตาคลี จากนั้นหลวงปู่ศุขท่านก็เดินทางกลับวัดที่ชัยนาท ไปฉันอาหารร่วมรับพระเณรจนเสร็จ

ระยะทางจากวัดปากคลองมะขามเฒ่าถึงตาคลีนี่ประมาณ 40-50 กิโลเมตร ถ้าหลวงปู่ทั้ง 2 รูปย่นระยะทางไม่ได้  ท่านก็ไม่สามารถทำเวลาได้ขนาดนั้น  และหลวงปู่ศุขก็คงไม่ได้ฉันเพลทั้ง 2 วันเลยก็อาจเป็นได้

โดยสรุป หลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ จังหวัดอยุธยา หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท และหลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ สามารถย่นระยะทางได้ทั้ง 3 รูป

การย่นระยะทางของพระพุทธเจ้า

จากหัวข้อที่ผ่านมา ขนาดพระภิกษุในสมัยต้นๆ กรุงรัตนโกสินทร์ยังสามารถย่นระยะทางได้  ดังนั้น พระพุทธเจ้าก็ต้องย่นระยะทางได้เช่นเดียวกัน  แต่ไม่มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจนเท่านั้น

มีผู้คนผู้ช่างสังเกตจะเห็นว่า ในการเผยแพร่ศาสนาของพระพุทธเจ้านั้น น่าจะมีการบันทึกผิด เพราะ แต่ละแคว้นที่พระพุทธเจ้าไปเทศนานั้น มันห่างกันมาก ไม่มีทางที่จะเดินทางได้ภายในวันเดียว

แคว้นที่พระพุทธเจ้าเผยแพร่ศาสนาอยู่ก็มีดังนี้ แคว้นโกลิยะ แคว้นสักกะ แคว้นมัลละ แคว้นวัชชี แคว้นมคธ แคว้นกาสี แคว้นวังสะ แคว้นโกศล เป็นต้น

เมื่ออ่านบทความชิ้นนี้จบแล้ว ผู้อ่านก็คงจะมีแนวคิดใหม่ขึ้นว่า คนที่ไม่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าย่นระยะทางได้ อาจจะเข้าใจผิดก็ได้ เพราะ การย่นระยะทางมันทำกันได้จริงๆ และสามารถพิสูจน์ได้ด้วยทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์เสียด้วย

การย่นระยะทางทำกันอย่างไร

เท่าที่ศึกษามา กลุ่มบุคคลที่เห็นการย่นระยะทางของเกจิอาจารย์ต่างๆ ต่างก็บอกว่า เกจิอาจารย์เหล่านั้นก็เดินด้วยความเร็วปกติของท่าน  แต่คนอื่นๆ ตามท่านไม่ทันเอง

ก็น่าจะเป็นกรณีที่คล้ายกับตอนที่องคุลีมาลย์ไล่ตามพระพุทธเจ้าเพื่อจะตัด เอานิ้วมาร้อยมาลัยคล้องคอ พระพุทธเจ้าก็ทรงเดินธรรมดา แต่องคุลีมาลย์ก็ตามไม่ทัน

ที่ทำได้เช่นนั้น เพราะ พระภิกษุเหล่านั้น ซึ่งรวมถึงพระพุทธเจ้าด้วยมีฤทธิ์ ซึ่งหนังสือทิพยอำนาจ ของอดีต พระอริยคุณาธาร (เส็งปุสโส) อธิบายว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงฤทธิ์ว่ามี 10 ฤทธิ์ด้วยกัน คือ

1) อธิษฐานฤทธิ์ ฤทธิ์ที่ต้องอธิษฐานจิตเสียก่อน

2) วิกุพพนาฤทธิ์ เป็นฤทธิ์ที่แสดงอย่างโลดโผนผาดแผลง

3) มโนมัยฤทธิ์ ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วย

4) ญานวิปผาราฤทธิ์ ฤทธิ์ที่แสดงด้วยติลังญาณ หรือวิปัสสนาญาณ

5) สมาธิผาฤทธิ์ ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยอำนาจสมาธิ

6) อริยฤทธิ์ ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยอริยธรรม

7) กัมมวิปากชาฤทธิ์ ฤทธิ์ที่เกิดแต่ผลกรรม

8) ปุญญฤทธิ์ ฤทธิ์ของผู้มีบุญ

9) วิชชามัยฤทธิ์ สำเร็จด้วยวิทยา

10) สัมปโยคปัจจัยยิชฌนฤทธิ์ หมายถึงการรวบรวมกำลังใจเอาความดีชนะความชั่วได้

ที่มา
https://sites.google.com/site/manaskomoltha/withyasastr-kab-sasna/yn-raya-thang-thadi-cring

79
การย่นระยะทางของเกจิอาจารย์

เท่าที่ได้รับฟังในปัจจุบันนี้ จะได้รับฟังแต่เพียงว่า มีเกจิอาจารย์ท่านนั้นท่านนี้ สามารถย่นระยะทางได้ คือ เราไม่รู้ว่า มีพระอรหันต์อยู่หรือไม่ หมายความถึง ในป่าในเขาลึกๆ ดังนั้น ก็จะยกตัวอย่างสัก 2-3 ตัวอย่างจากการย่นระยะทางของเกจิอาจารย์  ดังนี้

ตัวอย่างที่ 1 การย่นระยะทางของหลวงพ่อกลั่น

หลวงพ่อกลั่นท่านสังกัดวัดพระญาติการาม จังหวัดอยุธยา ครั้งหนึ่งเจ้าภาพที่อยู่บ้านม้านิมนต์ท่านไปเป็นพระคู่สวด โดยนิมนต์พระญาณไตรโลก (ฉาย คงฺคสุวณฺโณ) เจ้าอาวาสวัดพนัญเชิง และเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นพระอุปัชฌาย์

การเดินทางสมัยนั้นต้องใช้รถไฟเป็นหลัก สถานีบ้านม้านี่ห่างจากสถานีรถไฟพระนครศรีอยุธยาไปเพียงสถานีเดียว  สถานีบ้านม้านี่แหละทำให้เกิดสำนวนที่ว่า “บ้านม้ากับภาชีก็คือกัน”

ที่อยุธยา มีทั้งสถานีบ้านม้าที่จะเล่าในเรื่องนี้ กับสถานีชุมทางบ้านภาชี ซึ่งห่างกันพอสมควร  สถานีชุมทางบ้านภาชีนี่ รถไฟที่จะไปสายอีสานจะมาแยกตรงนี้

มีเรื่องเล่ากันว่า มีคนอีสานจะไปสถานีบ้านภาชี  คนนี้แกเก่งภาษาพอตัวเหมือนกัน  แต่ไม่ได้เก่งเรื่องอื่นๆ ด้วย  พอรถไฟวิ่งมาถึงสถานีบ้านม้า ก็หลุดปากออกมาว่า “บ้านม้ากับภาชีก็คือกัน” แล้วก็ชวนเพื่อนๆ ลงที่สถานีบ้านม้ากันหมด

แต่ถึงแม้ว่า "ภาชี" จะแปลว่า "ม้า"  แต่มันก็เป็นคนละสถานีกัน  สรุป ทั้งผู้ที่เก่งภาษากับเพื่อนๆ ก็ต้องเดินจนเหงื่อตก พร้อมถูกพรรคพวกด่าไปอีกนานกว่าจะถึงสถานีบ้านภาชี

กลับมาเข้าเรื่อง

คณะของพระญาณไตรโลกรอหลวงพ่อกลั่นที่สถานีพระนครศรี อยุธยาจนรถไฟออกก็ยังไม่เห็นหลวงพ่อกลั่น  เมื่อรถไฟแล่นออกจากสถานีแล้ว จึงเห็นหลวงพ่อกลั่นเดินดุ่มๆ อยู่ไกลๆ

ในเรื่องเล่าไม่ได้บอกว่า เดินอยู่เหนือสถานีรถไฟหรือใต้สถานีรถไฟ คือ ยังเดินมาไม่ถึง หรือไม่สนรถไฟคือ ท่านจะเดินไปทำนองนั้น  เมื่อเห็นดังนั้น พระญาณไตรโลก (ฉาย) ก็กล่าวขึ้นว่า "เออ...อาจารย์กลั่น มั่วงกๆ เงิ่นๆ อยู่นั่นแหละ วันนี้ไม่ต้องฉันเพลกันล่ะ"

แต่เมื่อพระญาณไตรโลก (ฉาย) มาถึงวัดที่จัดงานบวช ก็เห็นหลวงพ่อกลั่นนั่งเอกเขนกเหงื่อชุ่มกายอยู่บนบ้านเรียบร้อยแล้ว  คือ คนเดินมาน่าจะถึงช้ากว่าคนที่มารถไฟ แต่ปรากฏว่า คนเดินมา มาถึงก่อน

สอบถามได้ความว่า หลวงพ่อกลั่นเดินทางมาถึงได้สักครู่หนึ่งแล้ว พระญาณไตรโลก (ฉาย) เห็นดังนั้น  จึงรู้ว่า หลวงพ่อกลั่นสามารถย่นระยะทางได้ มีบุญบารมีมากว่าตัวเอง  จึงได้อาราธนาให้หลวงพ่อกลั่นนั่งเป็นพระอุปัชฌาย์แทนท่าน   ส่วนท่านก็ลดตำแหน่งมานั่งเป็นพระคู่สวด

เรื่องนี้ถ้าให้พุทธวิชาการลงความเห็น  ท่านก็คงว่า มีคนรับหลวงพ่อกลั่นมา อาจจะเป็นขี่ม้า ขี่ช้าง ฯลฯ  ท่านก็จะเดามั่วตามหลักของท่านไป 

แต่ท่านมีการศึกษาสูง  การเดามั่วของท่านจึงได้รับการยอมรับอยู่ในยุคของท่าน  แต่สมัยนี้ คนไม่เชื่อท่านแล้ว ดังที่จะพิสูจน์ต่อไปข้างหน้า


ที่มา
https://sites.google.com/site/manaskomoltha/withyasastr-kab-sasna/yn-raya-thang-thadi-cring

80
มีเรื่องที่เคยกล่าวก่อนนี้คือ เรื่อง....

วิชาย่นระยะทางของท่านพระป่าอาจารย์ในดง
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=23341.0



ย่นระยะทางทำได้จริง

โดย  ดร. มนัส โกมลฑา  (Ph.D. Integrated Sciences)
สาขาวิชามนุษยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

เรื่อง การย่นระยะทางนี้  พุทธศาสนิกชนในเมืองไทยคงได้รับรู้กันมาบ้างไม่มากก็น้อย

ในกรณีที่ว่านี้ ถ้าเป็นพุทธทั่วไปกับพุทธปฏิบัติธรรมก็จะมีความเชื่อว่า การย่นระยะทางพระอรหันต์  พระเกจิอาจารย์  หรือผู้ทรงวิทยาคุณสามารถทำได้จริงๆ   แต่กลุ่มที่เป็นพุทธวิชาการซึ่งเรียนมาก  เลยหลงเชื่อวิทยาการสมัยใหม่มากตามไปด้วย  ซึ่งส่งผลให้เลือกเชื่อพระไตรปิฎกในบางส่วนเท่านั้น

พุทธวิชาการหรือพวกที่บ้าปริยัติ จะเลือกเชื่อเฉพาะส่วนที่ยอมรับได้ของวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอน

หลายๆ ส่วนในพระไตรปิฎก พูดได้ว่า ส่วนใหญ่ของพระไตรปิฎกเลย พุทธวิชาการเหล่านี้ไม่เชื่อว่าเป็นความจริง  ยกตัวอย่างที่จะเขียนต่อไปก็คือ เรื่องย่นระยะทางนี้  พุทธวิชาการไม่เชื่อว่าจะมีคนทำได้จริงๆ

แต่อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนี้ ความรู้ที่ว่าฟิสิกส์ใหม่ โค่นทฤษฎี (theory) หรือกฎ (law) ของวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนไปหมดแล้ว  เริ่มส่งผลในวงวิชาการของไทย

ในต่างประเทศเขารู้กันมานานแล้ว ว่า ทฤษฎี (theory) หรือกฎ (law) ของวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนเป็นความรู้แคบๆ  ไม่ได้ยิ่งใหญ่อย่างที่เคยหลงเชื่อกัน  แต่ความรู้ที่ว่านี้ เริ่มมาส่งผลในเมืองไทย  คือ มาช้าหน่อย ก็ดีกว่าไม่มา

องค์ความรู้ของฟิสิกส์ใหม่ที่ยอมรับกันในปัจจุบัน มีลักษณะที่เหมือนกันกับองค์ความรู้ในศาสนาพุทธหลายอย่างหลายประการ  ที่สอดคล้องกับมากที่สุดก็คือ  ความจริงของฟิสิกส์ใหม่กับศาสนาพุทธขัดกับสามัญสำนึก (common sense) ของมนุษย์

เรื่องของการย่นระยะทางนี่ก็เช่นเดียวกัน  นักฟิสิกส์รุ่นใหม่เชื่อว่าทำได้จริง และสามารถพิสูจน์ได้ให้เห็นแบบจะจะ โดยทฤษฎีสัมพัทธภาพ (relative theory) ของไอน์สไตน์

ก่อนที่จะอธิบายถึงการย่นระยะทางแบบฟิสิกส์ใหม่ ต้องขออธิบายเรื่องความหมายของคำว่า “ย่นระยะทาง” เสียก่อน เพราะ คนจำนวนมากที่คิดว่า การย่นระยะทางเป็นไปไม่ได้เนื่องจากว่า เข้าใจความหมายของคำศัพท์แตกต่างกัน

คำว่าย่นระยะทางนี่ไม่ได้หมายถึง การทำให้หนทางหดสั้นลง หรือย่อโลกให้หดสั้นลง แต่หมายถึงว่า ใช้เวลาในการเดินทางน้อยลงกว่าเดิมที่เคยทำกันมา

คือ ย่นเวลา ไม่ใช่ย่นทาง

ตัวอย่างที่ 1

ในสมัยที่ผมเป็นเด็กๆ การจะเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดชัยนาทบ้านเกิดของผม จะต้องใช้ถนนพหลโยธิน ออกจากกรุงเทพฯ ก็ไปสระบุรี ลพบุรี โคกสำโรง ตากฟ้า ตาคลี ถึงจะไปชัยนาทได้  แต่เมื่อมีการตัดถนนสายเอเชียขึ้น ทำให้เป็นการย่นระยะทางได้มาก

จากกรุงเทพฯไปชัยนาทปัจจุบันใช้เวลาประมาณ 2 -3 ชั่วโมงก็ถึงแล้ว ถ้าเป็นสมัยก่อนต้องใช้เวลาเป็นวันๆ  นี่ก็หมายถึงว่า การย่นระยะทางไม่ได้เป็นการทำให้ถนนพหลโยธินมันหดสั้นลง แบบย่นย่นโลกแบบนั้น  แต่มีการทำทางใหม่

การเดินทางด้วยถนนเส้นใหม่นั้น ใช้เวลาน้อยลงจากเดิม จึงเรียกว่าการย่นระยะทาง

ตัวอย่างที่ 2

เอาตัวอย่างทางน้ำบ้าง  ผมนี่เรียนปริญญาโทกับปริญญาเอกอยู่ที่ธรรมศาสตร์ จึงคุ้นกับเรื่องนี้เป็นอย่างดี

แม่น้ำเจ้าพระยาจากปากคลองบางกอกน้อยตรงข้างสถานีรถไฟบางกอกน้อย  ซึ่งตรงข้ามกับธรรมศาสตร์ ไปจนถึงปากคลองบางกอกใหญ่ข้างๆ วัดอรุณฯ นี่เมื่อก่อนเป็นพื้นดินนะครับ  ไม่ได้เป็นแม่น้ำเจ้าพระยาเหมือนปัจจุบัน

แม่น้ำเจ้าพระยาตัวจริงเสียงจริง เลี้ยวเข้าคลองบางกอกน้อยโค้งเป็นรูปเกือกม้าแล้วมาวกมาออกที่ปากคลอง บางกอกใหญ่ แถวๆ กรมอู่ทหารเรือ

ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2077-2089) มีการขุดคลองลัดตรงนี้

พอมีการขุดคลองลัดให้น้ำไหลตรงๆ  จากคลองที่เล็กๆ แคบๆ จึงถูกน้ำกัดเซาะใหญ่ขึ้นมาเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาตัวจริงเสียงจริงในปัจจุบัน  ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมก็กลายเป็นคลองบางกอกน้อยกับคลองบางกอกใหญ่ไป

การขุดคลองลัดนี่ก็ทำให้ย่นระยะทางได้มากอีกเช่นเดียวกัน

จะเห็นได้ว่า การย่นระยะทางที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นการใช้เวลาเดินทางในเวลาที่น้อยลงกว่าเดิม ไม่ได้หมายถึงว่า จะทำให้ผิวโลกย่นสั้นลง

ถ้าทำแบบนั้น บ้านช่องของคน ฯลฯ ตรงส่วนรอยย่นจะไปอยู่ที่ไหน คงจะถูกบีบอัดตายไปกันหมด


ที่มา
https://sites.google.com/site/manaskomoltha/withyasastr-kab-sasna/yn-raya-thang-thadi-cring

83
ขอบคุณท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) อีกครั้งสำหรับแนวคิดดีๆ ที่เราลืมกันไป

ถ้ายาวไปให้อ่านช่วงสองวรรคสุดท้ายก็พอ :001:

ปีใหม่ ลดได้ มีสุข
วันอังคารที่ 3 มกราคม 2555 เวลา 00:00 น.
   

เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เป็นเทศกาลของการท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ ของผู้คนในสังคมเพื่อเป็นการให้กำไรและความสุขแก่ชีวิตหลังจากที่เหน็ดเหนื่อยกับภารกิจ
เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เป็นเทศกาลของการท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ ของผู้คนในสังคมเพื่อเป็นการให้กำไรและความสุขแก่ชีวิตหลังจากที่เหน็ดเหนื่อยกับภารกิจและหน้าที่การงานมาตลอดปี แต่ละคนอาจจะมีทางเลือกที่แตกต่างกันออกไปตามเหตุและปัจจัยที่เกิดขึ้นกับตัวเอง บางท่านพักผ่อนอยู่กับครอบครัวอย่างเงียบ ๆ บางท่านวุ่นวายอยู่กับการเก็บกวาดขยะมูลฝอยที่มากับภัยน้ำท่วม บางท่านออกไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจตามที่สามารถไปได้เพราะถือว่าปีใหม่มีเพียงครั้งเดียวในรอบปี แต่ดูแล้วเทศกาลปีใหม่ในครั้งนี้ดูเหมือนจะเงียบเหงาไปอย่างถนัดตาเพราะผู้คนส่วนมากต่างได้รับผลกระทบจาก “ภัยน้ำท่วม”  มีทั้งได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจนกลายเป็นความเดือดร้อนและความทุกข์เป็นลูกโซ่ บางคนสุขภาพไม่อำนวยจึงอยู่กับที่ บางคนค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวและฉลองปีใหม่หมดและไม่มีจึงต้องอยู่กับที่ บางคนพอจะมีกำลังเพื่อการท่องเที่ยวอยู่บ้างแต่ไม่ทำเพราะในใจลึก ๆ แล้วความสุขและความสดใสยังไม่เกิดขึ้นมาเลย ปีใหม่จึงน่าจะสดใสสำหรับบางคนแต่น่าจะหงอยเหงาสำหรับบางคน

คนเราเกิดขึ้นมาในโลกนี้ต่างได้พบกับสิ่งที่พึงพอใจและไม่พึงพอใจด้วยกันทั้งนั้น สิ่งที่พึงพอใจนับตั้งแต่ได้ลาภ ได้ยศถาบรรดาศักดิ์ ได้รับการสรรเสริญเยินยอ ได้รับความสุข สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับบุคคลใดแล้วบุคคลนั้นย่อมมีความสุข มีกำลังใจและเกิดพลังที่จะผลักดันให้เกิดการต่อสู้ดิ้นรนให้เจริญก้าวหน้าต่อไป แต่สิ่งที่ไม่พึงพอใจนับตั้งแต่เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกติฉินนินทา ได้รับความทุกข์ สิ่งเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นกับบุคคลใดแล้วบุคคลนั้นย่อมได้รับทุกข์ ขาดกำลังใจและไม่มีพลังที่จะเดินหน้าต่อไป มีความคิดที่ท้อถอย ไม่อยากทำ ไม่อยากช่วย ไม่อยากเกี่ยวข้อง ไม่อยากสนับสนุนใด ๆ ทั้งสิ้น จนกลายเป็นชีวิตที่ไร้ความหวังไร้ความสุขโดยสิ้นเชิง

แต่เมื่อมองในความเป็นจริงแล้วสิ่งเหล่านั้นทั้งแปดประการคือได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ ได้รับการสรรเสริญ ถูกติฉินนินทา ได้รับความสุข ได้รับความทุกข์ รวมเรียกว่า “โลกธรรม” คือธรรมะที่อยู่คู่กับโลกตลอดไป ทุกคนจะต้องได้พบและได้สัมผัสโดยไม่มีการยกเว้น จะมีเพียงว่าใครได้รับข้อใดหรือส่วนใดมากน้อยแตกต่างกันเท่านั้น ดังนั้นเมื่อได้รับสิ่งที่พึงพอใจก็ขอให้มีความสุขอย่างมีสติและมีปัญญาคอยควบคุมและพิจารณาไตร่ตรองอยู่ตลอดเวลา ในขณะเดียวกันเมื่อได้รับสิ่งที่ไม่พึงพอใจก็ขอให้ทำใจและเข้าใจในความเป็นจริงของชีวิต ใช้สติและปัญญาของตนเองบริหารและควบคุมให้ได้ ขอให้ระลึกอยู่เสมอว่าเมื่อทุกข์มาให้เราอดทนอีกหน่อยอีกไม่นานสิ่งร้ายก็จะผ่านไป อย่าได้ตกเป็นทาสของสิ่งชั่วร้ายเหล่านั้นจนเอาชีวิตไม่รอด ชีวิตคนเราเมื่อมีมืดก็ย่อมมีสว่าง มีตกต่ำก็ย่อมมีรุ่งโรจน์ มีจนก็ย่อมจะมีรวย มีทุกข์ก็ย่อมจะมีสุขคละเคล้ากันไป จึงขอให้ใช้ชีวิตของเรานี้อย่างมีสติคอยควบคุมและใช้ปัญญาแก้ไข จากร้ายก็จะกลายเป็นดี จากที่ดีอยู่แล้วก็จะดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ถ้าทำได้เช่นนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า “เรามีธรรมะครองใจ” โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปปฏิบัติธรรมที่วัดวาอารามเสียอีก

ปีใหม่ทุกคนต่างหวังความสุขสิ่งที่ดีและเป็นมงคลแก่ชีวิตด้วยกันทั้งนั้น สิ่งที่ดีและสิ่งที่ใหม่จะเกิดขึ้นกับชีวิตของเราก็ควรจะเกิดขึ้นจากผลของการกระทำของเรา คิดดี พูดดี ทำดี สิ่งที่ดีก็จะติดตามมา แต่ถ้าคิดก็ชั่ว พูดก็ชั่ว ทำก็ชั่ว ความลำบาก และความเดือดร้อนก็จะติดตามมา ทำอะไรก็ตามที่ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น แต่เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น นั่นเป็นการกระทำที่ดี แต่ในทางตรงกันข้ามทำอะไรก็ตามที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่นแล้ว นั่นเป็นการกระทำที่ไม่ดี บางคนรู้ว่าทำลงไปแล้วมันไม่ดีแต่ยังกลับทำลงไปก็เพราะเขาถูกกิเลสคือความโลภ ความโกรธ ความหลงเข้าครอบงำจิตใจ คนเช่นนั้นอาจจะมีนิสัยหรือสันดานที่ต่ำทรามจึงมีแต่กระทำกรรมที่ชั่วช้า ส่วนคนที่ชนะความโลภได้ ชนะความโกรธได้ ชนะความหลงได้ คนเช่นนั้นได้ชื่อว่าชนะตนเองซึ่งถือว่าเป็นการชนะสิ่งทั้งปวง ถือว่าเป็นยอดของมนุษย์ สมควรยกให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้คนในสังคม การไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นและกับตนเอง การใช้สติและปัญญาสร้างสิ่งที่ดีให้กับตนเองและผู้คนในสังคม การชนะใจตนเอง ควบคุมจิตใจมิให้ตกต่ำ มิให้ตกอยู่ในอำนาจของความโลภ ความโกรธและความหลงได้ นับว่าเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐ ดังนั้นปีใหม่จะพบแต่ความสุขและความเจริญจึงอยู่ที่การกระทำของเรา จงสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม อย่าตกอยู่ภายใต้อำนาจที่ตกต่ำยกจิตใจของตนเองให้ประเสริฐ ให้เลิศให้งามแล้วความสุขปีใหม่ก็จะเกิดขึ้นกับตัวเรา กับครอบครัวของเรา กับสังคมของเรา และกับประเทศชาติของเรา ปีใหม่นี้จะมีสุขหรือมีทุกข์ก็อยู่ที่การกระทำของตัวเรานี่เอง

การเที่ยวเตร็ดเตร่ที่ขาดสติ การดื่มของมึนเมาจนขาดสติ นับว่าเป็นมหันตภัยของชีวิต การเดินทางหรือการท่องเที่ยวที่ผสมผสานไปกับความคึกคะนอง เป็นการดำเนินชีวิตที่ประมาท อาจจะกลายเป็นหนทางแห่งความตายหรือเป็นหนทางที่นำไปสู่ความหายนะของชีวิต ขอให้ระลึกอยู่เสมอว่าทุกชีวิตล้วนต้องการความสุขด้วยกันทั้งนั้น จะทำอะไรขอให้ระลึกและเห็นใจเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกเดียวกัน เรามีความสุขแล้วแต่อย่าไปสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นหรือผู้คนที่อยู่ใกล้เคียง ขอให้แบ่งปันความสุขที่เรามีนี้ให้เกิดกับเพื่อนบ้านหรือผู้คนที่อยู่รอบข้าง ความสุขของเราก็จะกลายเป็นความสุขที่ยั่งยืนและมีความสุขจริง ๆ การดื่มของมึนเมาชนิดต่าง ๆล้วนเป็นการประพฤติผิดศีลข้อที่ห้าซึ่งถือว่าเป็นศีลของพุทธศาสนิกชนผู้ครองเรือน การจะมีความสุขสนุกสนานรื่นเริงในเทศกาลอันสำคัญเช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้ของมึนเมามาเป็นองค์ประกอบของการสร้างความสุขสนุกสนานก็ได้ รอยยิ้ม เสียงหัวเราะอันเกิดขึ้นจากการสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับครอบครัวกับเพื่อนบ้านกับผู้คนในชุมชนหรือในหมู่บ้าน  มันเป็นความสุขที่แท้จริง เป็นความสุขที่จีรังยั่งยืน ดังนั้นการเที่ยวเตร็ดเตร่และการตกเป็นทาสของสิ่งมึนเมาจึงเป็นสิ่งที่ไม่ดีที่ไม่ควรเกิดขึ้นกับผู้คนในเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เช่นนี้

ปีเก่ากำลังจะผ่านไปและปีใหม่กำลังจะเข้ามานี้ ขอให้ท่านจงมีชีวิตอยู่บนความไม่ประมาท มีความสุขอย่างมีสติ เดินทางอย่างมีสติ เมื่อมีความสุขก็ขอให้สุขพอประมาณ คิดถึงวันที่จะทุกข์บ้าง มีใช้จ่ายวันนี้ขอให้คิดถึงวันพรุ่งนี้ด้วย  อย่าได้มีความสุขเพียงตัวเราคนเดียว ขอให้คิดถึงสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนบ้านกันบ้าง ขอจงร่วมกันสร้างความสุขอันแท้จริงบนพื้นฐานแห่งความรักและความอบอุ่นในครอบครัว ในชุมชน ในหมู่บ้าน ในสังคมไทยเราเถิด

ปีใหม่ไม่ได้ทำอะไรมากก็ขอให้คิดถึงและห่วงใยผู้ด้อยโอกาสในสังคมกันบ้าง คนชรา คนพิการ เด็กด้อยโอกาสที่มีอยู่ในสถานสงเคราะห์ต่าง ๆ ยังมีอยู่จำนวนมากและต้องการการยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ เครื่องอุปโภคเครื่องบริโภคที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตหรือแม้แต่ทรัพย์สินเงินทองถ้าพอจะแบ่งปันเพื่อผู้ด้อยโอกาสก็คงจะเป็นการทำบุญทำทานให้เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในเทศกาลขึ้นปีใหม่ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

ปีใหม่ขอให้ลดความเห็นแก่ตัว อย่าตกอยู่ภายใต้อำนาจของความโลภ ความโกรธและความหลง ขอให้ใช้สติควบคุมตนเอง ขอให้ใช้ปัญญาแก้ปัญหาชีวิต ขออย่าได้ตกเป็นทาสของสิ่งมึนเมา ขอให้รักษาศีลและประพฤติธรรมแล้วความสุขในเทศกาลปีใหม่ก็จะเกิดขึ้นกับตัวเราและครอบครัวของเราอย่างแท้จริง ขอจงเป็นคนรู้จักทำใจและเข้าใจในความเป็นจริงของชีวิต สิ่งที่ชั่วร้ายเมื่อเกิดขึ้นกับเราก็ขอจงมีความอดทน กล้าเผชิญ กล้าต่อสู้ อีกไม่นานสิ่งชั่วร้ายก็จะหายไป ความทุกข์ก็จะหายไปเพราะเรามีความอดทนและเข้าใจจนเราชนะมันได้ เมื่อทุกข์หายไปแล้วความสุขก็จะติดตามมาแล้วช่วยรักษาความสุขที่เกิดขึ้นกับเรานี้ให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

ปีใหม่ขอให้ลดสิ่งที่ไม่ดี เพิ่มพูนสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นในตัวเรา ในครอบครัวของเรา ในที่ทำงานของเรา ในชุมชนหรือหมู่บ้านของเรา ความเป็นสิริมงคลก็จะเกิดขึ้น ความสดใสก็จะติดตามมา ความสุขทั้งวันปีใหม่ ตลอดทั้งปีใหม่ก็จะติดตามมาให้เกิดความสุขด้วยกันทั่วทุกคน...

ปีใหม่ ลดได้ มีความสุข แต่ถ้าปีใหม่ก็ยังไม่ลดการเห็นแก่ตัว ไม่ลดความโลภ ความโกรธ ความหลงเสียแล้ว จะมีปีใหม่สักกี่ครั้งตัวเราก็ยัง “ทุกข์เหมือนเดิม”.


พระมหาสมัย  จินฺตโฆสโก
มูลนิธิกลุ่มแสงเทียน วัดบางไส้ไก่  ธนบุรี
ที่มา
http://dailynews.co.th/education/5770

84
ขอบคุณครับ :054:
เก็บไว้อ่านก่อนนอน

85
มีปรกติไม่แวะเกี่ยว

         อยู่รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่เป็นเวลานานสามสิบกว่าปี  จนถึงวาระสุดท้ายของท่านนั้น  เห็นว่าหลวงปู่มีปฏิปทา ตรงต่อพระธรรมวินัย ตรงต่อการปฏิบัติ เพื่อพ้นทุกข์อย่างเดียว  ไม่แวะเกี่ยวกับวิชาอาคม  ของศักสิทธิ์  หรือสิ่งชวนสงสัยอะไรเลยแม้แต่น้อย  เช่น  มีคนขอให้เป่าหัวให้ ก็ถามว่า เป่าทำไม  มีคนขอให้เจิมรถ ก็ถามเขาว่า เจิมทำไม  มีคนขอให้บอกวันเดือนหรือฤกษ์ดี ก็บอกว่าวันไหนก็ดีทั้งนั้นฯ   หรือเมื่อท่านเคี้ยวหมาก  มีคนขอชานหมากฯ

         หลวงปู่ว่า

         "เอาไปทำไมของสกปรก."

[Webmaster-แสดงให้เห็นสีลัพพตปรามาสในการปฏิบัติหรือยึดถือ]


ทำโดยกริยา

         บางครั้งอาตมานึกไม่สบายใจ  เกรงว่าตัวเองจะมีบาป  ที่เป็นผู้มีส่วนทำให้หลวงปู่ต้องแวะเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ได้สนใจหรือไม่ถนัดใจครั้งแรก  คือ วันนั้นหลวงปู่ไปร่วมงานเปิดพิพิธภัณฑ์บริขารท่านอาจารย์มั่น ที่วัดป่าสุธาวาส สกลนคร  มีพระเถระวิปัสสนามากประชาชนก็มาก  เขาเหล่านั้นจึงถือโอกาสเข้าหาครูบาอาจารย์ทั้งหลายเพื่อกราบเพื่อขอ  จึงมีหลายคนที่มาขอให้หลวงปู่เป่าหัว  เมื่อเห็นท่านเฉยอยู่ จึงขอร้องท่านว่า  หลวงปู่เป่าให้เขาให้แล้วๆไป ท่านจึงเป่าให้  ต่อมาเมื่อเสียไม่ได้ก็เจิมรถให้เขา  ทนอ้อนวอนไม่ได้ก็ให้เขาทำเหรียญ และเข้าพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ฯ

         แต่ก็มีความสบายใจอย่างยิ่งเมื่อฟังคำหลวงปู่ว่าฯ

         "การกระทำของเราในสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงกริยาภายนอกที่เป็นไปในสังคม  หาใช่เป็นกริยาที่นำไปสู่ภพ ภูมิ หรือมรรคผลนิพพานแต่ประการใดไม่."


ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule2.htm

86
ผมฟังพระสวดทางหน้าเวป http://www.bp.or.th/webboard/index.php
 :054:

87
ทำจิตให้สงบได้ยาก

         การปฏิบัติภาวนาสมาธินั้น  จะให้ผลเร็วช้าเท่าเทียมกันเป็นไปไม่ได้  บางคนได้ผลเร็ว  บางคนก็ช้า  หรือยังไม่ได้ผลลิ้มรสแห่งความสงบเลยก็มี  แต่ก็ไม่ควรท้อถอย  ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรทางใจ  ย่อมเป็นบุญกุศลขั้นสูงต่อจากการบริจาคทานรักษาศีล  เคยมีลูกศิษย์จำนวนมากเรียนถามหลวงปู่ว่า  อุตส่าห์พยายามภาวนาสมาธินานมาแล้ว  แต่จิตไม่เคยสงบเลย  แส่ออกไปข้างนอกอยู่เรื่อย  มีวิธีอื่นใดบ้างที่พอจะปฏิบัติได้ ฯ

         หลวงปู่เคยแนะวิธีอีกอย่างหนึ่งว่า

        "ถึงจิตจะไม่สงบก็ไม่ควรให้มันออกไปไกล  ใช้สติระลึกไปแต่ในกายนี้  ดูให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา  หาสาระแก่นสารไม่ได้  เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว  จิตก็จะเกิดความสลดสังเวช  เกิดนิพพิทา  ความหน่าย  คลายกำหนัด  ย่อมตัดอุปาทานขันธ์ได้เช่นเดียวกัน."


หลักธรรมแท้

         มีอยู่อย่างหนึ่งที่นักปฏิบัติชอบพูดถึง  คือ  ชอบโจษขานกันว่า นั่งภาวนาแล้วเห็นอะไรบ้าง[Webmaster-หมายถึงนิมิตที่ย่อมรวมโอภาสด้วย]  ปรากฎอะไรออกมาบ้าง  หรือไม่ก็ว่า ตนนั่งภาวนามานานแล้วไม่เคยเห็นปรากฎอะไรออกมาบ้างเลย  หรือบางคนก็ว่า ตนได้เห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่เสมอ  ทำให้บางคนเข้าใจผิดคิดว่า ภาวนาแล้วตนจะได้เห็นสิ่งที่ต้องการเป็นต้น ฯ

         หลวงปู่เคยเตือนว่า  การปรารถนาเช่นนั้นผิดทั้งหมด  เพราะการภาวนานั้นเพื่อให้เข้าถึงหลักธรรมอย่างแท้จริง

         "หลักธรรมที่แท้จริงนั้น  คือ  จิต  ให้กำหนดดูจิต  ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง  เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้ว  นั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม."


ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule2.htm

88
ขอบคุณท่าน....ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

ผมก็คิดนะว่า...ในสมัยพุทธกาล...คงไม่มีการเฉลิมฉลองอะไรกันให้เอิกเกริก
และที่สำคัญตอนนั้น ยังไม่มี พ.ศ. ด้วยซ้ำไป

ขอบคุณท่านอีกครับสำหรับคำอวยพรและการเตือนสติ :015: :025:

90
นักปฏิบัติลังเล

         ปัจจุบันนี้  ศาสนิกชนผู้สนใจในการปฏิบัติฝ่ายวิปัสสนา  มีความงงงวยสงสัยอย่างยิ่งในแนวทางปฏิบัติ  โดยเฉพาะผู้เริ่มต้นสนใจเนื่องจากคณาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาแนะแนวปฏิบัติไม่ตรงกัน  ยิ่งไปกว่านั้นแทนที่จะอธิบายให้เขาเข้าใจโดยความเป็นธรรม  ก็กลับทำเหมือนไม่อยากจะยอมรับคณาจารย์อื่น  สำนักอื่น ว่าเป็นการถูกต้อง  หรือถึงขั้นดูหมิ่นสำนักอื่นไปแล้วก็เคยมีไม่น้อย ฯ

         ดังนั้น  เมื่อมีผู้สงสัยทำนองนี้มากแลัวเรียนถามหลวงปู่อยู่บ่อยๆ  จึงได้ยินหลวงปู่อธิบายให้ฟังอยู่เสมอๆว่า

        "การเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนาภาวนานั้น  จะเริ่มต้นโดยวิธีไหนก็ได้  เพราะผลมันก็เป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว   ที่ท่านสอนแนวปฏิบัติไว้หลายแนวนั้นเพราะจริตของคนไม่เหมือนกัน  จึงต้องมีวัตถุ  สี  แสง  และคำสำหรับบริกรรม เช่น พุทโธ  อรหัง  เป็นต้น  เพื่อหาจุดใดจุดหนึ่งให้จิตรวมอยู่ก่อน  สงบ  แล้ว คำบริกรรมเหล่านั้นก็หลุดหายไปเอง   แล้วก็ถึงรอยเดียวกัน  รสเดียวกัน  คือมีวิมุตติเป็นแก่น  มีปัญญาเป็นยิ่ง."

อยู่  ก็อยู่ให้เหนือ

         ผู้ที่เข้านมัสการหลวงปู่ทุกคนและทุกครั้ง  มักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า  แม้หลวงปู่จะมีอายุใกล้ร้อยปีแล้วก็จริง  แต่ดูผิวพรรณยังผ่องใส  และสุขภาพอนามัยแข็งแรงดี  แม้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดท่านตลอดมาก็ยากที่จะได้เห็นท่านแสดงอาการหมองคลํ้า  หรืออิดโรย  หรือหน้านิ่วคิ้วขมวดให้เห็น  ท่านมีปรกติสงบเย็น  เบิกบานอยู่เสมอ  มีอาพาธน้อย  มีอารมณ์ดี  ไม่ตื่นเต้นตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  ไม่เผลอคล้อยตามไปตามคำสรรเสริญ  หรือคำตำหนิติเตียนฯ

         มีอยู่ครั้งหนึ่ง  ท่ามกลางพระเถระฝ่ายวิปัสสนา สนทนาธรรมเรื่องการปฏิบัติกับหลวงปู่ ถึงปรกติจิตที่อยู่เหนือความทุกข์ โดยลักษณาการอย่างไรฯ

        หลวงปู่ว่า

        "การไม่กังวล  การไม่ยึดถือ  นั่นแหละวิหารธรรมของนักปฏิบัติ."     

ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule2.htm

91
อยากรู้ต้องศึกษาเยอะๆ

http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=23325.0

อ้างถึง
แต่จริงๆแล้ว พระอาฏานาฏิยปริตร นั้น เวลาเรานิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์เย็น พระท่านก็จะสวดอยู่แล้ว
เพราะพระปริตรดังกล่าวนั้นได้รวมอยู่ทั้งในจุลราชปริตร (สวด ๗ ตำนาน) และมหาราชปริตร (สวด ๑๒ ตำนาน) อยู่แล้ว

     การสวดภาณยักษ์นั้น ถือกันว่าเป็น “พุทธโอสถ” ที่จะช่วยขจัดปัดเป่าอัปมงคลออกไปจากร่างกาย ทำนองเดียวกับการทำบุญสวดบ้านเมื่อมีเรื่องร้าย แต่ต่างกันที่สวดภาณยักษ์ เป็นการชักชวนคนจำนวนมากมาร่วมทำในพิธีคราวเดียวกัน

93
ธรรมะ / ตอบ: ธรรมะสร้างเสน่ห์
« เมื่อ: 30 ธ.ค. 2554, 05:55:53 »
ธรรมะสร้างเสน่ห์  2/2

ข้อต่อไป คือ สังคหวัตถุ ๔ หมายถึง ธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจคนและประสานให้คนเกิดความรักความสามัคคีต่อกัน ได้แก่ ทาน คือ การให้ปัน การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้อื่น ปิยวาจา คือ พูดจาสุภาพ ไพเราะน่าฟัง แนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ มีเหตุมีผล พูดจาให้กำลังใจแก่ผู้อื่น พูดให้เกิดความรักความสามัคคีต่อกัน พูดให้ถูกกาละเทศะ ฯลฯ อัตถจริยา คือทำประโยชน์แก่ผู้อื่น อาจจะเป็นการช่วยเหลือด้วยแรงกาย หรือช่วยบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่างๆ รวมถึงช่วยคนอื่นแก้ปัญหา สมานัตตตา คือ วางตัวเสมอต้นเสมอปลาย ปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ ไม่เอารัดเอาเปรียบใคร ธรรมข้อนี้แค่เรื่องพูดดี มีประโยชน์เรื่องเดียวก็ช่วยให้คนปฏิบัติเป็นที่ชื่นชอบของคนอื่นอยู่แล้ว เมื่อรวมกับการทำตัวให้มีค่า ไม่นิ่งดูดายต่อความทุกข์ยากหรือปัญหาของคนอื่น และยังทำตัวเสมอต้นเสมอปลาย นั่นคือ ไม่ยกตนข่มท่าน รวมถึงการรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตนด้วยแล้ว ก็ยิ่งจะเป็นเสน่ห์ให้คนรักเรามากยิ่งขึ้น

              ต่อไปคือ อิทธิบาท ๔ คือ หลักธรรมที่จะนำไปสู่ความสำเร็จแห่งกิจการทั้งปวง ได้แก่ ฉันทะ คือ การมีใจรักและพอใจในการทำสิ่งนั้นๆ คือ ทำอะไรก็ให้ทำด้วยใจรัก วิริยะ คือ ความพากเพียร ที่จะหมั่นกระทำสิ่งนั้นๆด้วยความพยายาม อดทน เอาธุระ ไม่ทอดทิ้ง ไม่ท้อถอย แต่จะทำจนประสบความสำเร็จ จิตตะ คือ การเอาใจฝักใฝ่ รู้ในสิ่งที่กระทำ ทำด้วยความคิด ไม่ฟุ้งซ่านเลื่อนลอย ทำงานนั้นๆอย่างอุทิศให้ทั้งกายและใจ และ วิมังสา คือ การใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ หาเหตุผล และข้อบกพร่องต่างๆ เพื่อหาวิธีแก้ไขปรับปรุง ที่นำหลักธรรมข้อนี้มาเป็นการสร้างเสน่ห์อีกข้อก็เพราะว่า คนเราไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใด หากแต่ละคนทำหน้าที่ของตนด้วยหลักอิทธิบาท ๔ ก็จะทำให้กิจการนั้นๆเกิดผลสำเร็จเป็นที่ภาคภูมิใจแก่ตนเองและผู้เกี่ยวข้อง เช่น เมื่อเป็นนักเรียน ก็ย่อมจะเป็นนักเรียนที่ขยันหมั่นเพียร และเรียนดี ทำให้พ่อแม่และครูชื่นชม เพื่อนฝูงก็พึ่งพาอาศัยได้ เช่นเดียวกับครู ถ้ามีอิทธิบาท ๔ ก็ย่อมจะทำการสอนได้ดี เป็นที่รักของนักเรียน หรือหากเป็นลูกน้องทำแล้ว ผู้บังคับบัญชา ก็ย่อมยินดีว่า มีลูกน้องที่ดี ขยันทำงาน ไปอยู่ไหนๆใครๆก็ชอบ เพราะทำงานไม่เหลาะแหละ หากเป็นนายงาน ลูกน้องก็ชื่นชม ว่าเก่ง ว่าดี เป็นตัวอย่างให้ทำตาม เป็นต้น ธรรมข้อนี้จึงเป็นธรรมที่ทั้งสร้างเสน่ห์และยังผลสำเร็จต่อการทำงานทุกเรื่องของผู้ปฏิบัติ

              ธรรมอีกข้อที่จะช่วยเสริมสร้างเสน่ห์คือ ธรรมที่เรียกว่า ฆราวาสธรรม ๔ อันเป็นหลักธรรมสำหรับการครองชีวิตของคนโดยทั่วไป ประกอบด้วย สัจจะ คือ การดำรงตนตั้งมั่นในความซื่อตรง จริงใจ พูดจริงทำจริง ทำอะไรก็ให้เป็นที่เชื่อถือได้ ทมะ คือ การฝึกตน หมายถึง รู้จักบังคับควบคุมตนเองได้ รู้จักปรับตัว แก้ไขตนให้ก้าวหน้าดีขึ้นอยู่เสมอ ขันติ คือ ความอดทน หมายถึง มุ่งทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร อดทน ไม่หวั่นไหว ไม่ท้อถอยในจุดมุ่งหมาย และ จาคะ คือ การเสียสละ หมายถึง ความมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ ละโลภ และละทิฐิมานะ ทำงานร่วมกับคนอื่นได้ ไม่ใจแคบ เห็นแก่ตัว การที่ธรรมข้อนี้สร้างเสน่ห์ให้เรา ก็เพราะว่าใครๆก็ย่อมชอบและชื่นชมคนที่มีสัจจะ พูดคำไหนคำนั้น ไม่โกหก หลอกลวง คนที่รู้จักควบคุมตนเองได้ ก็ย่อมจะไม่ปล่อยให้โทสะจริต หรือกิริยาวาจาที่ไม่ดีมาทำร้ายผู้อื่น และยิ่งรู้จักปรับตัวให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ ก็ย่อมทำให้คนอยากรู้จักมากขึ้น เพราะเป็นคนมีความรู้ความสามารถ และคนที่ไม่เห็นแก่ตัว อีกทั้งยังมีความอดทน ก็จะทำให้คนรอบข้างมีความสุข และมีกำลังใจเพราะเห็นคนนั้นๆเป็นแบบอย่างที่ดี

              นอกจากนี้ธรรมที่ชื่อว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ หรือ ประโยชน์ปัจจุบัน ๔ อย่าง ได้แก่ อุฏฐานสัมปทา คือ การถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียรในการเลี้ยงชีวิต และทำหน้าที่การงาน อารักขสัมปทา คือ ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือ รักษาทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความหมั่นมิให้เป็นอันตราย หรือรักษาการงานของตนมิให้เสื่อมเสีย กัลยาณมิตตตา คือ ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว สมชีวิตา คือ การลี้ยงชีวิตตามกำลังทรัพย์ ไม่ให้ฝืดเคืองหรือฟุ่มเฟือยเกินไป ธรรมข้อนี้อ่านแล้ว ดูเหมือนไม่เกี่ยวกับการสร้างเสน่ห์ให้ตัวเราเอง แต่จริงๆเป็นธรรมที่มีผลให้ผู้อื่นอยากคบหาสมาคมกับเราหรือไม่ด้วย กล่าวคือ หากเราประกอบอาชีพหรือทำงานใดที่ดี รู้จักใช้เงินทองที่หามาได้ และคบเพื่อนฝูงดี ย่อมจะทำให้เราอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี เกื้อกูลให้เราพบแต่สิ่งดีๆที่เป็นประโยชน์ต่อเรา เช่น ทำให้เรารู้จักมารยาทสังคม รู้อะไรควรปฏิบัติหรือละเว้น สิ่งนี้ก็จะเป็นการเพิ่มพูนเสน่ห์ให้เกิดขึ้นได้ด้วย แต่หากเราไม่รู้จักทำมาหากิน คบเพื่อนชั่ว ใช้เงินไม่เป็น ก็คงไม่มีใครอยากคบ อยากเข้าใกล้เรา เพราะกลัวเราจะไปขอกู้หนี้ยืมสิน หรือชักพาเขาไปในทางที่เสื่อมเสีย ดังนั้น ธรรมข้อนี้จึงเป็นธรรมที่สร้างเสน่ห์ให้เราอีกข้อหนึ่ง

              จะเห็นได้ว่าธรรมทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเป็นหลักธรรม ธรรมดาๆที่เป็นสิ่งที่ใกล้ตัว ทำได้ไม่ยาก หลายๆเรื่องก็เป็นสิ่งที่เราประพฤติปฏิบัติอยู่แล้ว เพียงแต่ถ้าเราจะปฏิบัติให้เข้มข้นขึ้น และมีความตั้งใจมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ก็คือ วิธีการสร้าง “ เสน่ห์ ” ดึงดูดให้เพื่อนฝูง คนรู้จัก และคนรอบข้างนิยมชมชอบเราเพิ่มขึ้นนั่นเอง

อมรรัตน์ เทพกำปนาท
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

ที่มา
http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=1642

94
ธรรมะ / ธรรมะสร้างเสน่ห์
« เมื่อ: 30 ธ.ค. 2554, 05:54:23 »
ธรรมะสร้างเสน่ห์


คนเราเกิดมาทุกคนก็อยากมีรูปร่างหน้าตาสวยงาม หล่อเหลาเป็นที่ต้องตาต้องใจแก่ผู้พบเห็นทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ สถานเสริมความงาม และเครื่องสำอางค์ต่างๆจึงขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แต่การมีหน้าตาดีอย่างเดียว ก็ใช่ว่าจะทำให้ผู้อื่นชื่นชอบเราได้ อีกทั้งรูปกายภายนอกก็เป็นสิ่งที่ไม่จีรังยั่งยืน ดังนั้น จึงมีผู้ค้นคิดวิธีการต่างๆนานาที่จะปรับปรุง แก้ไข และสร้างเสริมให้เราเป็นที่ชื่นชมและยอมรับของผู้อื่น ซึ่งสิ่งนี้จะเรียกว่า “ ความมีเสน่ห์ ” ก็ได้ “ เสน่ห์ ” ก็คือ ลักษณะที่ชวนให้รัก ให้ชอบ เชื่อว่าคนเราทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชาย หรือผู้อยู่ในวัยไหนๆ ต่างก็อยากให้ตนเป็นที่รักที่ชอบของคนอื่นทั้งนั้น

              “ การสร้างเสน่ห์ ” เป็นเรื่องของการประพฤติปฏิบัติที่จะทำให้คนนิยมชมชอบเรา ซึ่งต่างจากการ “ ทำเสน่ห์ ” อันเป็นเรื่องของไสยาศาสตร์ ที่อิงอยู่กับความเชื่อและเครื่องลางของขลัง ดังนั้น คนเราแม้จะไม่สวยไม่หล่อ ก็สามารถเป็น “ คนมีเสน่ห์ ” ได้ ส่วนวิธีการจะสร้างเสน่ห์ให้กับตัวเอง จะทำได้อย่างไร กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ขอนำเสนอ หลักธรรม บางประการที่ทุกคนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้กลายเป็น “ คนมีเสน่ห์ น่ารัก ” เพิ่มขึ้นได้ ดังจะได้กล่าวต่อไป

              เมื่อพูดถึง “ หลักธรรม ” หรือ “ ธรรมะ ” คนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะวัยรุ่นจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องเชย ไกลตัว ใกล้วัด บางคนก็คิดว่าเป็นเรื่องของคนสูงอายุ ใกล้หมดไฟ ดูคร่ำครึ ไม่ทันโลก แต่โดยแท้จริง วิธีการสร้างเสน่ห์หรือผูกใจคนในหนังสือ How to หรือจิตวิทยาของต่างประเทศที่คนทั้งหลายคิดว่าเป็นเรื่องใหม่ ทันสมัย ถ้าอ่านจริงๆแล้ว ก็จะพบว่าไม่ได้ต่างจากหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีก่อนเลย จะไม่เหมือนกันก็เพียงการสื่อสารและภาษาที่ใช้เท่านั้น อีกทั้งหลักธรรมที่ว่าก็ยังมีอย่างหลากหลาย สามารถเลือกใช้กับบุคคลตามระดับสติปัญญา และสถานการณ์ต่างๆได้ด้วย แต่ในที่นี้ เราจะเลือกมาแต่ในส่วนที่จะช่วยเสริมสร้าง “ เสน่ห์ ” ให้เกิดขึ้นกับตัวเราเท่านั้น คือ

              ข้อแรก คนที่จะมีเสน่ห์ได้นั้น ท่านว่าต้องมี พรหมวิหารสี่ อันเป็นธรรมประจำใจของผู้ประเสริฐหรือผู้มีจิตใจดี ซึ่งประกอบด้วย เมตตา คือ ความรักและปรารถนาดีต่อผู้อื่น กรุณา คือ ความสงสาร อยากจะช่วยเหลือผู้อื่น เห็นใครเดือดร้อนก็อยากบำบัดทุกข์ยากให้แก่เขา มุทิตา คือความเบิกบานพลอยยินดีเมื่อเห็นคนอื่นได้ดีมีสุข พร้อมที่จะสนับสนุนส่งเสริมเขา ไม่อิจฉาริษยาเขา อุเบกขา คือ ความมีใจเป็นกลาง มองโลกตามความเป็นจริง ว่าใครทำดี ทำชั่วก็ได้รับผลกรรมตามนั้น พร้อมวางตนและปฏิบัติตามหลักการ เหตุผลและความเที่ยงธรรม หลักธรรมเรื่องนี้จะทำให้เราเป็นคนยิ้มแย้มแจ่มใสกับทุกคนอย่างจริงใจ และยังมีจิตใจดีพร้อมจะช่วยเหลือผู้อื่นอย่างจริงจัง ทำให้ใครก็อยากมาใกล้ มารู้จัก เพราะอยู่ใกล้แล้วรู้สึกร่มเย็น สบายใจ ดูอย่างท่านท้าวมหาพรหม ด้วยเมตตาของท่าน ใครขออะไรท่านก็ให้ ทำให้คนจากทั่วสารทิศไปกราบไปไหว้ท่านมิได้ขาด แต่คนอย่างเราๆคงไม่ต้องถึงกับใครมาขออะไรก็ให้ เพราะเช่นนั้นเราคงเดือดร้อนเอง เพียงแค่มีความรัก ความเมตตากับคนรอบข้าง แค่นี้ก็เป็นเสน่ห์เหลือเฟือแล้ว


ที่มา
http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=1642

95
อย่าตั้งใจไว้ผิด

         นอกจากหลวงปู่จะนำปรัชญาธรรมที่ออกจากจิตของท่านมาสอนแล้ว  โดยที่ท่านอ่านพระไตรปิฎกจบมาแล้ว  ตรงไหนที่ท่านเห็นว่าสำคัญและเป็นการเตือนใจในทางปฏิบัติให้ตรงและลัดที่สุด  ท่านก็จะยกมากล่าวเตือนอยู่เสมอ เช่น หลวงปู่ยกพุทธพจน์ตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสเตือนว่า

         "ภิกษุทั้งหลาย  พรหมจรรย์นี้  เราประพฤติ  มิใช่เพื่อหลอกลวงคน  มิใช่เพื่อให้คนมานิยมนับถือ  มิใช่เพื่ออานิสงค์ลาภสักการะและสรรเสริญ  มิใช่อานิสงค์เป็นเจ้าลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้ฯ  ที่แท้พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติ เพื่อสังวระ-ความสำรวม   เพื่อปหานะ-ความละ   เพื่อวิราคะ-ความหายกำหนัดยินดี   และเพื่อนิโรธะ-ความดับทุกข์   ผู้ปฏิบัติและนักบวชต้องมุ่งตามแนวทางนี้  นอกจากแนวทางนี้แล้วผิดทั้งหมด."


พระพุทธพจน์

         หลวงปูว่า  ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ ตราบนั้นย่อมมีทิฎฐิ  และเมื่อมีทิฎฐิแล้วยากที่จะเห็นตรงกัน  เมื่อไม่เห็นตรงกัน ก็เป็นเหตุให้โต้เถียงวิวาทกันอยู่รํ่าไป   สำหรับพระอริยเจ้าผู้เข้าถึงธรรมแล้วก็ไม่มีอะไรสำหรับมาโต้แย้งกับใคร  ใครมีทิฎฐิอย่างไร ก็ปล่อยเป็นเรื่องของเขาไป  ดังพุทธพจน์ตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า

         ภิกษุทั้งหลาย  สิ่งใดอันบัณฑิตทั้งหลายในโลกกล่าวว่ามีอยู่ แม้เราตถาคตก็กล่าวสิ่งนั้นว่ามีอยู่   สิ่งใดอันบัณฑิตทั้งหลายในโลกกล่าวว่าไม่มี แม้เราตถาคตก็กล่าวสิ่งนั้นว่าไม่มี   ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่โต้แย้งเถียงกับโลก  แต่โลกย่อมวิวาทโต้เถียงกับเรา (ปุปผสูตร)


ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule.htm

96
ปรารภธรรมะให้ฟัง

         จบพระไตรปิฎกหมดแล้ว  จำพระธรรมได้มากมาย  พูดเก่งอธิบายได้อย่างซาบซึ้ง  มีคนเคารพนับถือมาก  ทำการก่อสร้างวัตถุไว้ได้อย่างมากมาย  หรือสามารถอธิบายถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้อย่างละเอียดแค่ไหนก็ตาม  "ถ้ายังประมาทอยู่  ก็นับว่ายังไม่ได้รสชาติของพระศาสนาแต่ประการใดเลย  เพราะสิ่งเหล่านี้ยังเป็นของภายนอกทั้งนั้น  เมื่อพูดถึงประโยชน์  ก็เป็นประโยชน์ภายนอกคือเป็นไปเพื่อสงเคราะห์สังคม  เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น  เพื่อสงเคราะห์อนุชนรุ่นหลัง  หรือเป็นสัญญลักษณ์ของศาสนวัตถุ  ส่วนประโยชน์ของตนที่แท้นั้น  คือ  ความพ้นทุกข์  "จะพ้นทุกข์ได้ต่อเมื่อรู้ จิตหนึ่ง."

คิดไม่ถึง

         สำนักปฏิบัติแห่งหนึ่ง  ซึ่งเป็นสาขาของหลวงปู่นี่นเอง  อยู่ด้วยกันเฉพาะพระประมาณห้าหกรูป  อยากจะเคร่งครัดเป็นพิเศษ  ถึงขั้นสมาทานไม่พูดจากันตลอดพรรษา  คือ  ไม่ให้มีเสียงเป็นคำพูดออกมาจากปากใคร  ยกเว้นการสวดมนต์ทำวัตร  หรือสวดปาติโมกข์เท่านั้น  ครั้นออกพรรษาแล้ว  พากันไปกราบหลวงปู่  เล่าถึงการปฏิบัติอย่างเคร่งของพวกตนว่า  นอกจากปฏิบัติข้อวัตรอย่างอื่นแล้วสามารถหยุดพูดได้ตลอดพรรษาด้วย ฯ

         หลวงปู่ฟังฟังแล้วยิ้มหน่อยหนึ่ง พูดว่า

         "ดีเหมือนกัน  เมื่อไม่พูดก็ไม่มีโทษทางวาจา  แต่ที่ว่าหยุดพูดได้นั้นเป็นไปไม่ได้หรอก  นอกจากพระอริยบุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติชั้นละเอียดดับสัญญาเวทนาเท่านั้นแหละที่ไม่พูดได้  นอกนั้นพูดทั้งวันทั้งคืน  ยิ่งพวกที่ตั้งปฏิญาณว่าจะไม่พูดนั่นแหละยิ่งพูดมากกว่าคนอื่น  เพียงแต่ไม่ออกเสียงให้คนอื่นได้ยินเท่านั้น."



ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule.htm

97
ปรารภธรรมะให้ฟัง

         คราวหนึ่ง  หลวงปู่กล่าวปรารภธรรมะให้ฟังว่า  เราเคยตั้งสัจจะจะอ่านพระไตรปิฎกจนจบ  ในพรรษาที่ ๒๔๙๕  เพื่อสำรวจดูว่าจุดจบของพระพุทธศาสนาอยู่ตรงไหน  ที่สุดแห่งสัจจธรรม  หรือที่สุดของทุกข์นั้น  อยู่ตรงไหน   พระพุทธเจ้าทรงกล่าวสรุปไว้ว่าอย่างไร  ครั้นอ่านไป  ตริตรองไปกระทั่งถึงจบ  ก็ไม่เห็นตรงไหนที่มีสัมผัสอันลึกซึ้งถึงจิตของเราให้ตัดสินใจได้ว่า  นี่คือที่สิ้นสุดแห่งทุกข์  ที่สุดแห่งมรรคผล  หรือที่เรียกว่านิพพาน ฯ

         มีอยู่ตอนหนึ่ง  คือ  ครั้งนั้นพระสารีบุตรออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ  พระพุทธเจ้าตรัสเชิงสนทนาธรรมว่า  สารีบุตร  สีผิวของเธอผ่องใสยิ่งนัก  วรรณะของเธอหมดจดผุดผ่องยิ่งนัก  อะไรเป็นวิหารธรรมของเธอ  พระสารีบุตรกราบทูลว่า "ความว่างเปล่าเป็นวิหารธรรมของข้าพระองค์"  (สุญฺญตา)

         ก็เห็นมีเพียงแค่นี้แหละ  ที่มาสัมผัสจิตของเรา.


ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule.htm

98
คนละเรื่อง

         มีชายหนุ่มจากต่างจังหวัดไกลสามสี่คนเข้าไปหาหลวงปู่  ขณะที่ท่านพักผ่อนอยู่ที่มุขศาลาการเปรียญ  ดูอากัปกิริยาของเขาแล้วคงคุ้นเคยกับพระนักเลงองค์ใดองค์หนึ่งมาก่อนแล้ว  สังเกตุจากการนั่งการพูด  เขานั่งตามสบาย  พูดตามถนัด  ยิ่งกว่านั้นเขาคงเข้าใจว่าหลวงปู่นี้คงสนใจกับเครื่องรางของขลังอย่างดี  เขาพูดถึงชื่อเกจิอาจารย์อื่นๆ  ว่าให้ของดีของวิเศษแก่ตนหลายอย่าง  ในที่สุดก็งัดเอาของมาอวดกันเองต่อหน้าหลวงปู่  คนหนึ่งมีหมูเขี้ยวตัน  คนหนึ่งมีเขี้ยวเสือ  อีกคนมีนอแรด  ต่างคนต่างอวดอ้างว่าของตนดีวิเศษอย่างนั้นอย่างนี้  มีคนหนึ่งเอ่ยปากว่า  หลวงปู่ฮะ  อย่างไหนแน่ดีวิเศษกว่ากันฮะ ฯ

        หลวงปู่ก็อารมณ์รื่นเริงเป็นพิเศษยิ้มๆ แล้วว่า

        "ไม่มีดี  ไม่มีวิเศษอะไรหรอก  เป็นของสัตว์เดียรัจฉานเหมือนกัน."


ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule.htm

99
ก่อนนอนให้สวดบทนี้ครับ

[youtube=425,350]yXtIcAP63ao[/youtube]

อภยปริตร

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
(นิมิตลางร้ายและอวมงคลอันใด)
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
(เสียงนกหวีดที่น่าหวาดหวั่นใจอันใด)
ปาปัคคโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
(ทั้งเคราะห์ร้ายและฝันร้าย ซื่งไม่น่าปราถนาอันใด)
พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
(จงวินาศเสื่อมสูญไปด้ายพุทธานุภาพเถิด)
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
(นิมิตลางร้ายและอวมงคลอันใด)
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
(เสียงนกหวีดที่น่าหวาดหวั่นใจอันใด)
ปาปัคคโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
(ทั้งเคราะห์ร้ายและฝันร้าย ซื่งไม่น่าปราถนาอันใด)
ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
(จงวินาศเสื่อมสูญไปด้ายธัมมานุภาพเถิด)
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
(นิมิตลางร้ายและอวมงคลอันใด)
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
(เสียงนกหวีดที่น่าหวาดหวั่นใจอันใด)
ปาปัคคโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
(ทั้งเคราะห์ร้ายและฝันร้าย ซื่งไม่น่าปราถนาอันใด)
สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
(จงวินาศเสื่อมสูญไปด้ายสังฆานุภาพเถิด).........
 
ที่มา

100
จริง ตามความเป็นจริง

         สุภาพสตรีชาวจีนผู้หนึ่ง  ถวายสักการะแด่หลวงปู่แล้ว  เขากราบเรียนถามว่า  ดิฉันจะต้องไปอยู่ที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรมย์เพื่อทำมาค้าขายอยู่ใกล้ญาติทางโน้น  ทีนี้ทางญาติๆก็เสนอแนะว่า  ควรจะขายของชนิดนั้นบ้าง  ชนิดนี้บ้าง  ตามแต่เขาจะเห็นดีว่าอะไรขายได้ดี   ดิฉันยังมีความกังวลใจตัดสินใจเอาเองไม่ได้ว่าจะเลือกขายของอะไร  จึงให้หลวงปู่ช่วยแนะนำด้วยว่า  จะให้ดิฉันขายอะไรจึงจะดีเจ้าคะ ฯ

        "ขายอะไรก็ดีทั้งนั้นแหละ  ถ้ามีคนซื้อ."


ไม่ได้ตั้งจุดหมาย

         เมื่อจันทร์ ๘ พฤษภาคม ๒๕๒๒  คณะนายทหารประมาณ ๑๐ กว่านายเข้านมัสการหลวงปู่เมื่อเวลาคํ่าแล้ว  ก็จะเดินทางต่อเข้ากรุงเทพ ฯ  ในคณะนายทหารเหล่านั้น  มียศพลโทสองท่าน  หลังสนทนากับหลวงปู่เป็นเวลาพอสมควร  ก็ถอดเอาพระเครื่องจากคอของแต่ละท่านรวมใส่ในพานถวายให้หลวงปู่ช่วยอธิษฐานแผ่เมตตาพลังจิตให้  ท่านก็อนุโลมตามประสงค์  แล้วก็มอบคืนไป  นายพลท่านหนึ่งถามว่า  ทราบว่ามีเหรียญหลวงปู่ออกมาหลายรุ่นแล้ว  อยากถามหลวงปู่ว่ามีรุ่นไหนดังบ้าง ฯ

         หลวงปู่ตอบว่า

         "ไม่มีดัง"
36;

ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule.htm

101
ทิ้งเสีย

         สุภาพสตรีท่านหนึ่ง เป็นชนชั้นครูบาอาจารย์  เมื่อฟังธรรมปฏิบัติจากหลวงปู่จบแล้ว  ก็อยากทราบถึงวิธีไว้ทุกข์ที่ถูกต้องตามธรรมเนียม  เขาจึงพูดปรารภต่อไปอีกว่า  คนสมัยนี้ไว้ทุกข์กันไม่ค่อยจะถูกต้องและตรงกัน  ทั้งๆที่สมัย ร.๖ ท่านทำไว้เป็นแบบอย่างดีอยู่แล้ว เช่น เมื่อมีญาติพี่น้องหรือญาติผู้ใหญ่ถึงแก่กรรมลง ก็ให้ไว้ทุกข์ ๗ วันบ้าง ๕๐ วันบ้าง  ๑๐๐ วันบ้าง  แต่ปรากฎว่าคนทุกวันนี้ทำอะไรรู้สึกว่าลักลั่นกันไม่เป็นระเบียบ  ดิฉันจึงขอเรียนถามหลวงปู่ว่า  การไว้ทุกข์ที่ถูกต้อง  ควรไว้อย่างไรเจ้าคะ ฯ

         หลวงปู่บอกว่า

         "ทุกข์  ต้องกำหนดรู้   เมื่อรู้แล้วให้ละเสีย   ไปไว้มันทำไม."

ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule.htm

102
ง่าย  แต่ทำได้ยาก

         คณะของคุณดวงพร ธารีฉัตร จากสถานีวิทยุทหารอากาศ ๐๑ บางซื่อ นำโดยคุณอาคม ทันนิเทศ  เดินทางไปถวายผ้าป่า  และกราบนมัสการครูบาอาจารย์ตามสำนักต่างๆทางอีสาน  ได้แวะกราบมนัสการหลวงปู่ หลังจากถวายผ้าป่า  ถวายจตุปัจจัยไทยทานแด่หลวงปู่  และรับวัตถุมงคลเป็นที่ระลึกจากท่านแล้ว  ต่างคนต่างก็ออกไปตลาดบ้าง  พักผ่อนตามอัธยาศัยบ้าง

         มีอยุ่กลุ่มหนึ่งประมาณสีห้าคน  เข้าไปกราบหลวงปู่แนะนำวิธีปฏิบัติง่ายๆ  เพื่อแก้ไขความทุกข์ความกลุ้มใจ  ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเป็นประจำ  ว่าควรปฏิบัติอย่างไรจึงได้ผลเร็วที่สุด ฯ

         หลวงปู่บอกว่า

         "อย่าส่งจิตออกนอก."

ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule.htm

103
รู้ให้พร้อม

         ระหว่างที่หลวงปู่พักรักษา  ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ  ในรอบดึกมีจำนวนหลายท่านด้วยกัน  เขาเหล่านั้นมีความสงสัยและอัศจรรย์ใจอย่างยิ่ง  โดยที่สังเกตว่า  บางวันพอเวลาดึกสงัดตีหนึ่งผ่านไปแล้ว  ได้ยินหลวงปู่อธิบายธรรมะนานประมาณ ๑๐ กว่านาที  แล้วสวดยถาให้พร  ทำเหมือนหนึ่งมีผู้มารับฟังอยู่เฉพาะหน้าเป็นจำนวนมาก ครั้นจะถามพฤติการที่หลวงปู่ทำเช่นนั้นก็ไม่กล้าถาม  ต่อเมื่อหลวงปู่ทำเช่นนั้นหลายๆครั้ง  ก็ทนสงสัยต่อไปไม่ได้  จึงพากันถามหลวงปู่ตามลักษณาการนั้นฯ

        หลวงปู่จึงบอกว่า

        "ความสงสัยและคำถามเหล่านี้  มันไม่ใช่เป็นแนวทางปฏิบัติธรรม"


ประหยัดคำพูด

         คณะปฏิบัติธรรมจากจังหวัดบุรีรัมย์หลายท่าน  มีร้อยตำรวจเอกบุญชัย สุคนธมัต อัยการจังหวัด เป็นหัวหน้า  มากราบหลวงปู่ เพื่อฟังข้อปฏิบัติธรรมแลเรียนถามถึงการปฏิบัติยิ่งๆขึ้นไปอีก  ซึ่งส่วนมากก็เคยปฏิบัติกับครูบาอาจารย์แต่ละองค์มาแล้ว  และแสดงแนวทางปฏิบัติไม่ค่อยจะตรงกัน  เป็นเหตุให้เกิดความสงสัยยิ่งขึ้น  จึงขอกราบเรียนหลวงปู่โปรดช่วยแนะแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง  และทำได้ง่ายที่สุด  เพราะหาเวลาปฏิบัติธรรมได้ยาก  หากได้วิธีที่ง่ายๆ แล้วก็จะเป็นการถูกต้องอย่างยิ่ง ฯ

         หลวงปู่บอกว่า

         "ให้ดูจิต  ที่จิต"[/size]
ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule.htm

104
มี  แต่ไม่เอา

         ปี ๒๕๒๒ หลวงปู่ไปพักผ่อน และเยี่ยมอาจารย์สมชายที่วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี  ขณะเดียวกันก็มีพระเถระอาวุโสรูปหนึ่งจากกรุงเทพฯ  คือพระธรรมวราลังการ วัดบุปผารามเจ้าคณะภาคทางภาคใต้ไปอยู่ฝึกกัมมัฏฐานเมื่อวัยชราแล้ว  เพราะมีอายุอ่อนกว่าหลวงปู่เพียงปีเดียว ฯ

         เมื่อท่านทราบว่าหลวงปู่เป็นพระฝ่ายกัมมัฏฐานอยู่แล้ว  ท่านจึงสนใจและศึกษาถามถึงผลของการปฏิบัติ  ทำนองสนทนาธรรมกันเป็นเวลานาน  และกล่าวถึงภาระของท่านว่า มัวแต่ศึกษาและบริหารงานการคณะสงฆ์มาตลอดวัยชรา  แล้วก็สนทนาข้อกัมมัฏฐานกับหลวงปู่อยู่เป็นเวลานาน  ลงท้ายถามหลวงปู่สั้นๆว่า  ท่านยังมีโกรธอยู่ไหม ฯ

หลวงปู่ตอบเร็วว่า

         "มี  แต่ไม่เอา"

ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule.htm

105
อยากได้ของดี

         เมื่อต้นเดือนกันยายน ๒๕๒๖ คณะแม่บ้านมหาดไทย โดยมีคุณหญิงจวบ จิรโรจน์ เป็นหัวหน้าคณะ ได้นำคระแม่บ้านมหาดไทยไปบำเพ็ญสังคมสงเคราะห์ทางภาคอีสาน  ได้ถือโอกาสแวะมนัสการหลวงปู่ เมื่อเวลา ๑๘.๐๐ น.ฯ

         หลังจากกราบมนัสการและถามถึงอาการสุขสบายของหลวงปู่และรับวัตถุมงคลเป็นที่ระลึกจากหลวงปู่แล้ว  เห็นว่าหลวงปู่ไม่ค่อยสบาย  ก็รีบออกมา  แต่ยังมีสุภาพสตรีท่านหนึ่ง  ถือโอกาสพิเศษกราบหลวงปู่ว่า  ดิฉันขอของดีจากหลวงปู่ด้วยเถอะเจ้าค่ะ ฯ

         หลวงปู่จึงเจริญพรว่า  ของดีก็ต้องภาวนาเอาจึงจะได้  เมื่อภาวนาแล้ว  ใจก็สงบ  กายวาจาก็สงบ  แล้วกายก็ดี  วาจาใจก็ดี  เราก็อยู่ดีมีสุขเท่านั้นเอง

        ดิฉันมีภาระมาก  ไม่มีเวลาจะนั่งภาวนา  งานราชการเดี๋ยวนี้รัดตัวมากเหลือเกิน  มีเวลาที่ไหนมาภาวนาได้คะ ฯ


        หลวงปู่จึงต้องอธิบายให้ฟังว่า

         "ถ้ามีเวลาสำหรับหายใจ  ก็ต้องมีเวลาสำหรับภาวนา"


ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule.htm

106
พุทโธเป็นอย่างไร

         หลวงปู่รับนิมนต์ไปโปรดญาติโยมที่กรุงเทพฯ เมื่อ ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๑  ในช่วงสนทนาธรรม  ญาติโยมสงสัยว่าพุทโธ เป็นอย่างไร  หลวงปู่ได้เมตตาตอบว่า

         เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก  ความรู้อะไรทั้งหลายทั้งปวงอย่าไปยึด  ความรู้ที่เราเรียนกับตำหรับตำรา   หรือจากครูบาอาจารย์  อย่าเอามายุ่งเลย  ให้ตัดอารมณ์ออกให้หมด แล้วก็เวลาภาวนาไปให้มันรู้  รู้จากจิตของเรานั่นแหละ  จิตของเราสงบเราจะรู้เอง  ต้องภาวนาให้มากๆเข้า  เวลามันจะเป็น  จะเป็นของมันเอง  ความรู้อะไรๆให้มันออกมาจากจิตของเรา

         ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละเป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้ออกมาจากจิตนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ

         ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว  อย่าส่งจิตออกนอก  ให้จิตอยู่ในจิต  แล้วให้จิตภาวนาเอาเอง  ให้จิตเป็นผู้บริกรรมพุทโธ  พุทโธอยู่นั่นแหละ  แล้วพุทโธ  เราจะได้รู้จักว่า  พุทโธ  นั้นเป็นอย่างไร  แล้วรู้เอง...เท่านั้นแหละ  ไม่มีอะไรมากมาย.

ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule.htm

107
อุทานธรรม

         หลวงปู่ยังกล่าวธรรมกถาต่อมาอีกว่า  สมบัติพัสถานทั้งหลายมันมีประจำอยู่ในโลกมาแล้วอย่างสมบูรณ์  ผู้ที่ขาดปัญญาและไร้ความสามารถ  ก็ไม่อาจจะแสวงหาเพื่อยึดครองสมบัติเหล่านั้นได้  ย่อมครองตนอยู่ด้วยความฝืดเคืองและลำบากขันธ์   ส่วนผู้ที่มีปัญญาความสามารถ ย่อมแสวงหายึดสมบัติของโลกไว้ได้อย่างมากมายอำนวยความสะดวกสบายแก่ตนได้ทุกกรณีฯ   ส่วนพระอริยเจ้าทั้งหลายท่านพยายามดำเนินตนเพื่อออกจากสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด  ไปสู่ภาวะแห่งความไม่มีอะไรเลย  เพราะว่า

         "ในทางโลก  มี สิ่งที่ มี   ส่วนในทางธรรม มี สิ่งที่ ไม่มี"

อุทานธรรมต่อมา

         เมื่อแยกพันธะแห่งความเกี่ยวเนื่องจิตกับสรรพสิ่งทั้งปวงได้แล้ว  จิตก็จะหมดพันธะกับเรื่องโลก  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส  จะดีหรือเลว  มันขึ้นอยู่กับจิตที่ออกไปปรุงแต่งทั้งนั้น  แล้วจิตที่ขาดปัญญาย่อมเข้าใจผิด  เมื่อเข้าใจผิดก็หลง ก็หลงอยู่ภายใต้อำนาจของเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ทั้งทางกายและทางใจ  อันโทษทัณฑ์ทางกายอาจมีคนอื่นช่วยปลดปล่อยได้บ้าง  ส่วนโทษทางใจ มีกิเลสตัณหาเป็นเครื่องรึงรัดไว้นั้น ต้องรู้จักปลดปล่อยตนด้วยตนเอง

         "พระอริยเจ้าทั้งหลาย  ท่านพ้นจากโทษทั้งสองทางความทุกข์จึงครอบงำไม่ได้"


อุทานธรรมข้อต่อมา

         เมื่อบุคคลปลงผม หนวด เคราออกหมดแล้ว  และได้ครองผ้ากาสาวพัสตร์เรียบร้อยแล้ว  ก็นับว่าเป็นสัญญลักษณ์แห่งความเป็นภิกษุได้  แต่ยังเป็นได้แต่เพียงภายนอกเท่านั้น  ต่อเมื่อเขาสามารถปลงสิ่งที่รกรุงรังทางใจ  อันได้แก่อารมณ์ตกตํ่าทางใจได้แล้ว ก็ชื่อว่าเป็นภิกษุในภายในได้ฯ

         ศีรษะที่ปลงผมหมดแล้ว  สัตว์เลื้อยคลานเล็กน้อยเช่นเหา  ย่อมอาศัยอยู่ไม่ได้ฉันใด   จิตที่พ้นจากอารมณ์ ขาดจากการปรุงแต่งแล้ว  ทุกข์ก็อาศัยอยู่ไม่ได้ฉันนั้น  ผู้มีปกติเป็นอยู่อย่างนี้ควรเรียกได้ว่า "เป็นภิกษุแท้"

ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule.htm

108
เมื่อถึงปรมัตถ์แล้วไม่ต้องการ

         ก่อนเข้าพรรษาปี ๒๔๘๖ หลวงพ่อเถาะ ซึ่งเป็นญาติของหลวงปู่ และบวชเมื่อวัยชราแล้ว  ได้ออกธุดงค์ติดตามท่านอาจารย์เทสก์  ท่านอาจารย์สาม ไปอยู่จังหวัดพังงาหลายปี  กลับมาเยี่ยมนมัสการหลวงปู่  เพื่อศึกษาข้อปฏิบัติทางกัมมัฎฐานต่อไปอีกจนเป็นที่พอใจแล้ว  หลวงพ่อเถาะพูดตามประสาความคุ้นเคยว่า  หลวงปู่สร้างโบสถ์  ศาลาได้ใหญ่โตสวยงามอย่างนี้  คงได้บุญได้กุศลอย่างใหญ่โตทีเดียว ฯ

         หลวงปู่กล่าวว่า

         "ที่เราสร้างนี่ก็สร้างเพื่อประโยชน์ส่วนรวม  ประโยชน์สำหรับโลก  สำหรับวัดวาศาสนาเท่านั้นแหละ  ถ้าพูดถึงเอาบุญเราจะมาเอาบุญอะไรอย่างนี้."

ทุกข์เพราะอะไร

         สุภาพสตรีวัยเลยกลางคนผู้หนึ่ง เข้านมัสการหลวงปู่ พรรณาถึงฐานะของตนว่าอยู่ในฐานะที่ดี  ไม่เคยขาดแคลนสิ่งใดเลย  มาเสียใจกับลูกชายที่สอนไม่ได้  ไม่อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดี  ตกอยู่ภายใต้อำนาจอบายมุขทุกอย่าง  ทำลายทรัพย์สมบัติและจิตใจของพ่อแม่จนเหลือที่จะทนได้  ขอความกรุณาหลวงปู่ให้ช่วยแนะอุบายบรรเทาทุกข์  และแก้ไขให้ลูกชายพ้นจากอบายมุขนั้นด้วย ฯ

        หลวงปู่ก็แนะนำสั่งสอนไปตามเรื่องนั้นๆ  ตลอดถึงแนะอุบายทำใจให้สงบ   รู้จักปล่อยวางให้เป็น ฯ

        เมื่อสุภาพสตรีนั้นกลับไปแล้ว  หลวงปู่ปรารภธรรมะให้ฟังว่า

        "คนเราสมัยนี้  เขาเป็นทุกข์เพราะความคิด."

ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule.htm

109
เป็นของภายนอก

         เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๒๔ หลวงปู่อยู่ในงานประจำปี วัดธรรมมงคล สุขุมวิท กรุงเทพฯ  มีแม่ชีพราหมณ์หลายคนจากวิทยาลัยครูพากันเข้าไปถาม  ทำนองรายงานผลของการปฏิบัติวิปัสสนาให้หลวงปู่ฟังว่า  เขานั่งวิปัสสนาจิตสงบแล้ว  เห็นองค์พระพุทธรูปในหัวใจของเขา  บางคนว่า ได้เห็นสวรรค์เห็นวิมานของตนเองบ้าง  บางคนว่าเห็นพระจุฬามณีเจดีย์สถานบ้าง  พร้อมทั้งภูมิใจว่าเขาวาสนาดี  ทำวิปัสสนาได้สำเร็จ

         หลวงปู่อธิบายว่า

         "สิ่งที่ปรากฎเห็นทั้งหมดนั้น  ยังเป็นของภายนอกทั้งสิ้นจะนำเอามาเป็นสาระที่พึ่งอะไรยังไม่ได้หรอก."

หยุดเพื่อรู้

         เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๐๗ มีพระสงฆ์หลายรูป ทั้งฝ่ายปริยัติและฝ่ายปฏิบัติได้เข้ากราบหลวงปู่เพื่อรับโอวาทและรับฟังการแนะแนวทางธรรมะที่จะพากันออกเผยแผ่ธรรมทูตครั้งแรก  หลวงปู่แนะวิธีอธิบายธรรมะขั้นปรมัตถ์  ทั้งสอนผู้อื่นและเพื่อปฏิบัติตนเอง ให้เข้าถึงสัจจธรรมนั้นด้วย  ลงท้ายหลวงปู่ได้กล่าวปรัชญาธรรมไว้ให้คิดด้วยว่า

         คิดเท่าไรก็ไม่รู้    ต่อเมื่อหยุดคิดได้จึงรู้    แต่ต้องอาศัยความคิดนั้นแหละจึงรู้

ทั้งส่งเสริมทั้งทำลาย

         กาลครั้งนั้น  หลวงปู่ได้ให้โอวาทเตือนพระธรรมทูตครั้งแรกมีใจความตอนหนึ่งว่า ฯ

         "ท่านทั้งหลาย การที่จะออกจาริกไปเพื่อเผยแผ่ ประกาศพระศาสนานั้น เป็นได้ทั้งส่งเสริมศาสนาและทำลายพระศาสนา ที่ว่าเช่นนี้เพราะองค์ธรรมทูตนั่นแหละตัวสำคัญ คือ เมื่อไปแล้วประพฤติตัวเหมาะสม มีสมณสัญญาจริยาวัตร งดงามตามสมณวิสัยผู้ที่ได้พบเห็น หากยังไม่เลื่อมใส ก็จะเกิดความเลื่อมใสขึ้น  ส่วนผู้ที่เลื่อมใสแล้ว  ก็ยิ่งเพิ่มความเลื่อมใสมากขึ้นเข้าไปอีกฯ  ส่วนองค์ที่มีความประพฤติและวางตัวตรงกันข้ามนี้  ย่อมทำลายผู้ที่เลื่อมใสแล้วให้ถอยศรัทธาลง สำหรับผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสเลย ก็ยิ่งถอยห่างออกไปอีกฯ  จึงขอให้ทุกท่านจงเป็นผู้พร้อมไปด้วยความรู้และความประพฤติ  ไม่ประมาท  สอนเขาอย่างไร  ตนเองต้องทำอย่างนั้นให้ได้เป็นตัวอย่างด้วย"

ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule.htm

110
หลวงปู่เตือนพระผู้ประมาท

         ภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท  คอยนับจำนวนศีลของตนแต่ในตำรา  คือมีความพอใจภูมิใจกับจำนวนศีลที่มีอยู่ในพระคำภีร์  ว่า ตนนั้นมีศีลถึง ๒๒๗ ข้อ

         "ส่วนที่ตั้งใจปฏิบัติให้ได้นั้น  จะมีสักกี่ข้อ"

จริง  แต่ไม่จริง

         ผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐาน  ทำสมาธิภาวนา  เมื่อปรากฎผลออกมาในแบบต่างๆ  ย่อมเกิดความสงสัยขึ้นเป็นธรรมดา เช่น  เห็นนิมิตในรูปแบบที่ไม่ตรงกันบ้าง   ปรากฎในอวัยวะของตนเองบ้าง   ส่วนมากมากราบเรียนหลวงปู่เพื่อให้ช่วยแก้ไข  หรือแนะอุบายปฏิบัติต่อไปอีก  มีจำนวนมากที่ถามว่า  ภาวนาแล้วก็เห็น นรก  สรรรค์  วิมาน เทวดา  หรือไม่ก็เป็นองค์พระพุทธรูปปรากฎอยู่ในตัวเรา  สิ่งที่เห็นเหล่านี้เป็นจริงหรือ ฯ

         หลวงปู่บอกว่า

         "ที่เห็นนั้น เขาเห็นจริง  แต่สิ่งที่ถูกเห็น ไม่จริง"

แนะวิธีละนิมิต

         ถามหลวงปู่ต่อมาอีกว่า  นิมิตทั้งหลายแหล่ หลวงปู่บอกยังเป็นของภายนอกทั้งหมด  จะเอามาทำอะไรยังไม่ได้  ถ้าติดอยู่ในนิมิตนั้นก็ยังอยู่แค่นั้น  ไม่ก้าวต่อไปอีก  จะเป็นด้วยเหตุที่กระผมอยู่ในนิมิตนี้มานานหรืออย่างไร  จึงหลีกไม่พ้น  นั่งภาวนาทีไร  พอจิตจะรวมสงบก็เข้าถึงภาวะนั้นทันที  หลวงปู่โปรดได้แนะนำวิธีละนิมิตด้วยว่า  ทำอย่างไรจึงจะได้ผล

         หลวงปู่ตอบว่า

        เออ นิมิตบางอย่างมันก็สนุกดี  น่าเพลิดเพลินอยู่หรอก  แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้นมันก็เสียเวลาเปล่า  วิธีละได้ง่ายๆก็คือ  อย่าไปดูสิ่งที่ถูกเห็นเหล่านั้น   "ให้ดูผู้เห็น  แล้วสิ่งที่ไม่อยากเห็นนั้นก็จะหายไปเอง"


ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule.htm

111
ต่อจาก
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=19021.msg163400#msg163400
โดย นายธรรมะ เมื่อ ๑๘ ก.ย. ๕๓

มีไฟล์เสียงให้ฟัง

จาก http://www.fungdham.com/book/dule-gift.html

ข้อคิดข้อธรรมใน "หลวงปู่ฝากไว้"ของพระอริยเจ้า หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ที่บันทึกถ่ายทอดมาโดยพระโพธินันทะมุนี (สมศักดิ์ ปฺณฑิโต)นั้นเป็นข้อคิดข้อธรรม ตลอดจนปริศนาธรรมที่สั้นกระชับแต่กินความหมายอันลึกซึ้ง ซึ่งถ้ากระทำการโยนิโสมนสิการด้วยความเพียรแล้ว จะทำให้เข้าใจในสภาวธรรม ตลอดจนแนวการปฏิบัติได้เป็นอย่างดี

ปรารภธรรมะเรื่องอริยสัจสี่

        พระเถระฝ่ายกัมมัฏฐานเข้าถวายสักการะหลวงปู่ในวันเข้าพรรษาปี ๒๔๙๙  หลังฟังโอวาทและข้อธรรมะอันลึกซึ้งข้ออื่นๆ  แล้วหลวงปู่สรุปใจความอริยสัจสี่ให้ฟังว่า

จิตที่ส่งออกนอก    เป็นสมุทัย

ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก   เป็นทุกข์

จิตเห็นจิต    เป็นมรรค

ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต   เป็นนิโรธ

สิ่งที่อยู่เหนือคำพูด

         อุบาสกผู้คงแก่เรียนผู้หนึ่ง  สนทนากับหลวงปู่ว่า  "กระผมเชื่อว่า  แม้ในปัจจุบันพระผู้ปฏิบัติถึงขั้นได้บรรลุมรรคผลนิพพานก็คงมีอยู่ไม่น้อย  เหตุใดท่านเหล่านั้นจึงไม่แสดงตนให้ปรากฎ  เพื่อให้ผู้สนใจปฏิบัติทราบว่าท่านได้บรรลุถึงคุณธรรมนั้นแล้ว  เขาจะได้มีกำลังใจและความหวัง  เพื่อเป็นพลังเร่งความเพียรในทางปฏิบัติให้เต็มที่" ฯ

         หลวงปู่กล่าวว่า

         "ผู้ที่เขาตรัสรู้แล้ว  เขาไม่พูดว่าเขารู้แล้วซึ่งอะไร  เพราะสิ่งนั้นมันอยู่เหนือคำพูดทั้งหมด"[/size]

ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule.htm

112
แนวการพิจารณา และแนวทางปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
โดยอาศัยการพิจารณาในธรรม "อเหตุกจิต" ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล


การป้องกันทุกข์ที่จะเกิดจากกายทวารทั้ง ๕ นั้น เราจะต้องสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๕ ไม่เพลิดเพลินในอายตนะเหล่านั้น หากจำเป็นต้องอาศัยอายตนะทั้ง ๕ นั้น ประกอบการงานทางกาย ก็ควรจะกำหนดจิตให้ตั้งอยู่ในจิต เช่น เมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็นไม่คิดปรุง, ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่คิดปรุง   ดังนี้ เป็นต้น (ไม่คิดปรุงหมายความว่า ไม่ให้จิตเอนเอียงไปในความเห็นดีชั่ว) [ถืออุเบกขาไม่คิดนึกปรุงแต่งเอนเอียงเข้าไปแทรกแซงนั่นเอง]

        ส่วนกิริยาจิตที่แฝงอยู่ที่มโนทวาร(ใจ) มีหน้าที่ผลิตความคิดนึกต่างๆ นานา คอยรับเหตุการณ์ภายในภายนอกมากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเอาไว้ จะห้ามจิตไม่ให้คิดในทุกๆ กรณีย่อมไม่ได้    เพราะความคิดชนิดไม่ปรุงแต่งนั้นก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตและการงาน  ดังนั้นเมื่อจิตคิดนึกสิ่งใดขึ้นมาย่อมเกิดกริยาจิต ตามที่กล่าวข้างต้นเป็นธรรมดา  แล้วอย่าคิดปรุง

        เมื่อจิตคิดปรุงไปในเรื่องราวใดๆ ถึงวัตถุ สิ่งของ บุคคลอย่างไร ก็ให้กำหนดรู้ว่าจิตคิดถึงเรื่องเหล่านั้น ก็สักแต่ว่าความคิด ไม่ใช่สัตว์บุคคล เราเขา ไม่ยึดถือวิจารณ์ความคิดเหล่านั้น    [ไม่คิดปรุง หรือ ถืออุเบกขานั่นเอง]  ทำความเห็นให้เป็นปกติไม่คิดปรุง, ไม่ยึดถือความเห็นใดๆ[อุเบกขา]ทั้งสิ้น จิตย่อมไม่ไหลตามกระแสอารมณ์เหล่านั้น ไม่เป็นทุกข์
 
         การที่สติเห็นเวทนาเหล่านี้  ขณะเกิดขึ้นบ้าง หรือเห็นในขณะเสื่อมแปรปรวนบ้าง หรือเห็นในขณะดับไปบ้าง แล้วไม่คิดปรุง[อุเบกขา] ต่างล้วนเป็นการปฏิบัติเวทนานุปัสสนา(สติตามดูรู้ทันเวทนา)อันถูกต้องดีงาม
หรือ
        การที่สติเห็นสังขารหรือความคิด  ขณะเกิดขึ้นบ้าง หรือเห็นในขณะเสื่อมแปรปรวนบ้าง(ขณะกำลังคิดปรุง) หรือเห็นในขณะดับไปบ้าง แล้วไม่คิดปรุง[อุเบกขา] ต่างก็ล้วนเป็นการปฏิบัติจิตตานุปัสสนา(สติตามดูรู้ทันจิตสังขาร)อันถูกต้องดีงามเช่นกัน
       
        เหตุที่ต้องไม่คิดปรุง ก็เพราะว่าการคิดปรุงก็คือ การเกิดของขันธ์๕ขึ้นอีกครั้งหนึ่งนั่นเอง จึงเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาขึ้นอีกครั้งเช่นกัน อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาท อันยังให้เกิดทุกข์ขึ้นนั่นเอง
        หรืออาจพิจารณาจากข้อเขียนข้างบน ที่กล่าวว่า ใจ  ไปกระทบกับ  ความคิด เกิด มโนวิญญาณ คือการรับรู้ความคิดนั้น  จะห้ามไม่ให้ ใจรับรู้ความคิด ไม่ได้  จึงย่อมต้องเกิดเวทนา(ความรู้สึกรับรู้)ชนิด  สบายใจ ไม่สบายใจ หรือเป็นกลางๆ ขึ้นเป็นธรรมดา แล้วเกิดสังขารต่างๆนาๆ ดังนั้นเมื่อเราคิดปรุงต่อเนื่องเข้าไปอีกก็ย่อมต้องรับผลที่เกิดขึ้นต่อเนื่องไปไม่จบสิ้น จึงเกิดเป็นวงจรที่เกิดๆดับๆอย่างต่อเนื่องอันเป็นทุกข์


ที่มา
http://nkgen.com/522.htm

113
ต่อจากข้อธรรมะ.....อเหตุกจิต ๓......หลวงปู่ดูลย์
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=25775

แนวทางพิจารณา และ แนวทางปฏิบัติ โดยอาศัยธรรม "อเหตุกจิต"

แนวการพิจารณา และแนวทางปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
โดยอาศัยการพิจารณาในธรรม "อเหตุกจิต" ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

กิริยาจิตที่แฝงอยู่ตาม อายตนะ หรือทวารทั้ง ๕ และ มโนทวาร มีดังนี้

                 ตาไปกระทบกับรูป เกิด จักขุวิญญาณ คือการเห็น จะห้ามไม่ให้ ตาเห็นรูป ไม่ได้  จึงย่อมเกิดความจำได้และเข้าใจ(สัญญา)ในรูปนั้น  เป็นผลให้เกิดเวทนา(ความรู้สึกรับรู้)ชนิด  สบายใจ ไม่สบายใจ หรือเป็นกลางๆ ขึ้นเป็นธรรมดา แล้วเกิดสังขารต่างๆนาๆ(เช่นความคิด)   (ขอให้พิจารณาดูสภาวะธรรม หรือสภาวะแห่งธรรมชาตินี้ที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วเป็นจริงดังนี้เป็นธรรมดาหรือไม่)  แล้วไม่คิดปรุง

                 หูไปกระทบเสียง เกิด โสตวิญญาณ คือการได้ยิน จะห้ามไม่ให้ หูได้ยินเสียง ไม่ได้  จึงย่อมเกิดความจำได้และเข้าใจ(สัญญา)ในรูปนั้น  เป็นผลให้เกิดเวทนา(ความรู้สึกรับรู้)ชนิด  สบายใจ ไม่สบายใจ หรือเป็นกลางๆ ขึ้นเป็นธรรมดา แล้วเกิดสังขารต่างๆนาๆ  แล้วไม่คิดปรุง

                 จมูกไปกระทบกับกลิ่น  เกิด ฆานวิญญาณ คือการได้กลิ่น จะห้ามไม่ให้ จมูกรับกลิ่น ไม่ได้  จึงย่อมเกิดความจำได้และเข้าใจ(สัญญา)ในรูปนั้น  เป็นผลให้เกิดเวทนา(ความรู้สึกรับรู้)ชนิด  สบายใจ ไม่สบายใจ หรือเป็นกลางๆ ขึ้นเป็นธรรมดา แล้วเกิดสังขารต่างๆนาๆ  แล้วไม่คิดปรุง

                 ลิ้นไปกระทบกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ คือการได้รส จะห้ามไม่ให้ ลิ้นรับรู้รส ไม่ได้  จึงย่อมเกิดความจำได้และเข้าใจ(สัญญา)ในรูปนั้น  เป็นผลให้เกิดเวทนา(ความรู้สึกรับรู้)ชนิด  สบายใจ ไม่สบายใจ หรือเป็นกลางๆ ขึ้นเป็นธรรมดา แล้วเกิดสังขารต่างๆนาๆ  แล้วไม่คิดปรุง

                 กายไปกระทบกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ คือการสัมผัส จะห้ามไม่ให้ กายรับสัมผัส ไม่ได้  จึงย่อมเกิดความจำได้และเข้าใจ(สัญญา)ในรูปนั้น  เป็นผลให้เกิดเวทนา(ความรู้สึกรับรู้)ชนิด  สบายใจ ไม่สบายใจ หรือเป็นกลางๆ ขึ้นเป็นธรรมดา แล้วเกิดสังขารต่างๆนาๆ  แล้วไม่คิดปรุง

                 ใจไปกระทบกับความคิด เกิด มโนวิญญาณ คือการรับรู้ความคิดนั้น  จะห้ามไม่ให้ ใจรับรู้ความคิด ไม่ได้  จึงย่อมเกิดความจำได้และเข้าใจ(สัญญา)ในรูปนั้น  เป็นผลให้เกิดเวทนา(ความรู้สึกรับรู้)ชนิด  สบายใจ ไม่สบายใจ หรือเป็นกลางๆ ขึ้นเป็นธรรมดา แล้วเกิดสังขารต่างๆนาๆ  แล้วไม่คิดปรุง
 
วิญญาณทั้ง๖  นี้ เป็นกิริยาที่แฝงอยู่ในกาย และใจ ตามทวารนั้นๆ  ทำหน้าที่รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มากระทบ เป็นสภาวะแห่งธรรมชาติของมันเป็นอยู่เช่นนั้น  ก็แต่ว่า เมื่อจิตอาศัยทวารทั้ง ๖ เพื่อเชื่อมต่อรับรู้เหตุการณ์ภายนอกและภายใน ที่เข้ามากระทบ แล้วส่งไปยังสำนักงานจิตกลางเพื่อรับรู้ เราจะห้ามมิให้เกิดมีเป็นเช่นนั้น ย่อมกระทำไม่ได้

ที่มา
http://nkgen.com/522.htm

114


๒. มโนทวาราวัชชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ที่มโนทวาร มีหน้าที่ผลิตความคิดนึกต่างๆ นานา คอยรับเหตุการณ์ภายในภายนอกมากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเอาไว้ จะห้ามจิตไม่ให้คิดในทุกๆ กรณีย่อมไม่ได้
        ก็แต่ว่าเมื่อจิตคิดปรุงไปในเรื่องราวใดๆ ถึงวัตถุ สิ่งของ บุคคลอย่างไร ก็ให้กำหนดรู้ว่าจิตคิดถึงเรื่องเหล่านั้น ก็สักแต่ว่าความคิด ไม่ใช่สัตว์บุคคล เราเขา ไม่ยึดถือวิจารณ์ความคิดเหล่านั้น    [ถืออุเบกขาเสียนั่นเอง-webmaster]
         ทำความเห็นให้เป็นปกติ ไม่ยึดถือความเห็นใดๆ[อุเบกขา - webmaster]ทั้งสิ้น จิตย่อมไม่ไหลตามกระแสอารมณ์เหล่านั้น ไม่เป็นทุกข์
         ๓. หสิตุปบาท คือ กิริยาที่จิตยิ้มเอง โดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม หมายความว่าไม่อยากยิ้มมันก็ยิ้มของมันเอง กิริยาจิตอันนี้มีเฉพาะเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น ในสามัญชนไม่มี
         สำหรับ อเหตุกจิต ข้อ ๑ และ ๒ มีเท่ากันในพระอริยเจ้า และในสามัญชน นักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เมื่อตั้งใจปฏิบัติตนออกจากกองทุกข์ควรพิจารณา อเหตุกจิต นี้ให้เข้าใจด้วย เพื่อความไม่ผิดพลาดในการบำเพ็ญปฏิบัติธรรม
         อเหตุกจิต นี้ นักปฏิบัติทั้งหลายควรทำความเข้าใจให้ได้ เพราะถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะพยายามบังคับสังขารไปหมด  ซึ่งเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติธรรมมาก เพราะความไม่เข้าใจใน อเหตุกจิต ข้อ ๑ และ ๒ นี้เอง
         อเหตุกจิต ข้อ ๓ เป็นกิริยาจิตที่ยิ้มเองโดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม เกิดในจิตของเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น ในสามัญชนไม่มี เพราะกิริยาจิตนี้เป็นผลของการเจริญจิตจนอยู่เหนือมายาสังขารได้แล้ว จิตไม่ต้องติดข้องในโลกมายา เพราะความรู้เท่าทันเหตุปัจจัยแห่งการปรุงแต่งได้แล้ว เป็นอิสระด้วยตัวมันเอง

ที่มา
http://nkgen.com/521.htm

115
อเหตุกจิต ๓


จากหนังสือ
"อตุโล ไม่มีใดเทียม"
บันทึกโดย พระโพธินันทะมุนี (สมศักดิ์ ปฺณฑิโต)
รวบรวมและเรียบเรียงโดย รศ. ดร.ปฐม นิคมานนท์
                                     

         ๑. ปัญจทวาราวัชชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ตาม อายตนะ หรือทวารทั้ง ๕ มีดังนี้
                 ตา ไปกระทบกับรูป เกิด จักขุวิญญาณ คือการเห็น จะห้ามไม่ให้ตาเห็นรูป ไม่ได้
                 หู ไปกระทบเสียง เกิด โสตวิญญาณ คือการได้ยิน จะห้ามไม่ให้หูได้ยินเสียง ไม่ได้
                 จมูก ไปกระทบกับกลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ คือการได้กลิ่น จะห้ามไม่ให้จมูกรับกลิ่น ไม่ได้
                 ลิ้น ไปกระทบกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ คือการได้รส จะห้ามไม่ให้ลิ้นรับรู้รส ไม่ได้
                 กาย ไปกระทบกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ คือการสัมผัส จะห้ามไม่ให้ กายรับสัมผัส ไม่ได้
        วิญญาณทั้ง ๕ อย่างนี้ เป็นกิริยาที่แฝงอยู่ในกายตามทวาร ทำหน้าที่รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มากระทบ เป็นสภาวะแห่งธรรมชาติของมันเป็นอยู่เช่นนั้น  ก็แต่ว่า เมื่อจิตอาศัยทวารทั้ง ๕ เพื่อเชื่อมต่อรับรู้เหตุการณ์ภายนอก ที่เข้ามากระทบ แล้วส่งไปยังสำนักงานจิตกลางเพื่อรับรู้ เราจะห้ามมิให้เกิดมีเป็นเช่นนั้น ย่อมกระทำไม่ได้
        การป้องกันทุกข์ที่จะเกิดจากทวารทั้ง ๕ นั้น เราจะต้องสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๕ ไม่เพลิดเพลินในอายตนะเหล่านั้น หากจำเป็นต้องอาศัยอายตนะทั้ง ๕ นั้น ประกอบการงานทางกาย ก็ควรจะกำหนดจิตให้ตั้งอยู่ในจิต เช่น เมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็นไม่คิดปรุง, ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่คิดปรุง   ดังนี้ เป็นต้น (ไม่คิดปรุงหมายความว่า ไม่ให้จิตเอนเอียงไปในความเห็นดีชั่ว) [ถืออุเบกขาไม่คิดนึกปรุงแต่งเอนเอียงเข้าไปแทรกแซงนั่นเอง - webmaster]


ที่มา
http://nkgen.com/521.htm

116
แท็กซี่ผีสิง (2/2)

แต่ยังงัยผมก็ยังไม่ละความพยายามหรอกนะ  นึกในใจว่าเราคงไม่โชคร้ายซะทีเดียวหรอก ว่าแล้วผมก็ลองขับไปแถวถนนพระราม 9 ดู เพราะแถวนั้นมีสถานบริการที่เปิดตอนกลางคืนอยู่มากมาย  เผื่อจะได้ผู้โดยสารบ้าง แล้วก็เป็นจริงดังคาด   มีผู้โดยสารวัยรุ่นชายหญิง 3 คน  เรียกให้ผมไปส่งแถวถนนสุขาภิบาล  ซึ่งในซอยนั้นมันก็ค่อนข้างเปลี่ยวแหละนะ  แต่คงเพราะผมเห็นแก่เงินมั๊ง ก็เลยยอม ส่วนอีกใจหนึ่ง ก็คิดว่าคงไม่มีอะไรหรอก
หลังจากส่งผู้โดยสารเรียบร้อยแล้ว  ขณะที่ผมกำลังจะวนรถกลับ ทันใดนั้น ผมก็ได้ยินเสียงคนทะเลาะกันดังขึ้นมาอีก  แต่คราวนี้มีนมีเสียงคนร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวดดังแทรกขึ้นมาด้วย

 เล่นเอาผมขวัญผวาไปเลย แต่ก็ยังทำใจดีสู้เสืออยู่ ผมค่อยๆชำเลืองมองขึ้นไปทางกระจกส่องหลัง  คุณรู้มั๊ย ผมเห็นอะไร ผมเห็นผู้ชายสามคน นั่งอยู่ที่เบาะหลังรถ  คนที่นั่งกลางนั่งแน่นิ่งไม่ไหวติง มีเลือดเปรอะเปื้อนเต็มตัวไปหมด  โดยมีผู้ชายอีกสองคนนั่งขนาบข้างและช่วยกันจับตัวเขาไว้   โดยคนทางขวา ในมือเขาถือมีดอยู่ด้วย  ก่อนที่เขาจะค่อยๆหันหน้ามายิ้มให้ผมอย่างช้าๆส่วนผมน่ะเหรอ นั่งตาค้าง ตัวสั่นด้วยความตกใจกลัว  แต่ผมก็ยังพอมีสติอยู่นิดหน่อย

 จึงก้มลงไปหยิบสร้อยพระของหลวงปู่ทวดที่ผมนับถืออยู่ขึ้นมาคล้องคอ  จากนั้นก็เริ่มต้นสวดมนต์ ท่องนะโมอยู่หลายจบ  ก็ยอมรับแหละครับว่า  ตอนนั้นท่องไม่ได้รู้เรื่องเลย  ปากคอสั่นไปหมด  แต่ก็ดูเหมือนจะได้ผลนะครับ เพราะพอผมเงยหน้าขึ้นมาอีกที ชายหนุ่มทั้งสามคน ก็หายไปแล้ว  แต่เพื่อความแน่ใจ ผมก็เลยหันไปดูอีกที และก็สำรวจอย่างถ้วนถี่ ทั้งบริเวณบนเบาะและใต้เบาะว่าไม่มีใครซ่อนตัวอยู่แน่ๆ  นึกแล้วก็ยังขำนะครับ  ทั้งที่ผมรู้อยู่แก่ใจว่า  สิ่งที่ผมเห็นเมื่อสักครู่  มันไม่ใช่คนอย่างแน่นอน  แต่มันเป็นผี  แล้วผีที่ไหนจะไปซ่อนอยู่ใต้เบาะรถกันเล่า

พอเริ่มหายกลัวลงไปบ้าง  ผมก็รีบนำรถไปคืนที่อู่ทันทีทั้งที่ยังไม่หมดกะ เสี่ยโชคแกคง(งง)เลยถามว่า ทำไมผมถึงรีบเอารถมาส่ง  ผมก็เลยเล่าเหตุการณ์ที่ผมเพิ่งเจอมาสดๆร้อนๆให้แกฟัง  แล้วก็อดถามแกต่อไม่ได้ว่า  รถคันนี้มีประวัติอะไรไม่ดีรึเปล่า  ก็ดูเหมือนเสี่ยโชคแกจะอ้ำอึ้งไม่ยอมบอกอะไร  แถมยังไล่ให้ผมรีบกลับบ้านอีกด้วย

พอเช้า ผมก็ไม่ได้ไปขับรถหรอก แต่รีบไปหาคนขับแท็กซี่ที่อยู่ข้างบ้าน และก็เล่าเรื่องสยองขวัญที่ผมเพิ่งเจอมาให้แกฟัง  แล้วก็ถามว่า  แกเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้หรือเปล่า   ตอนแรกแกก็บอกว่าไม่เคย แต่สักพัก แกคงนึกอะไรขึ้นมาได้  จึงเล่าให้ผมฟังว่า  ตอนที่แกยังขับแท็กซี่อยู่นั้น  ก็มีข่าวออกมาว่า เคยมีคนเช่ารถแท็กซี่ของอู่เสี่ยโชคไปขับ  โดยรับผู้โดยสารวัยรุ่นสามคน จากแถวถนนรัชดาไปส่งแถวถนนสุขาภิบาล บริเวณเดียวกับที่ผมเจอดีเข้านั่นแหละ

ตอนแรก คนขับก็ไม่คอยอยากไปหรอก เพราะรู้สึกกลัวๆขึ้นมายังงัยไม่รู้  ยิ่งผู้โดยสารมากันสามคน  หน้าตาก็ไม่น่าไว้ใจ  แต่เพราะแกวิ่งรถมานานยังไม่มีผู้โดยสารก็เลยยอม   พอเริ่มออกรถไปได้ไม่เท่าไหร่  วัยรุ่นทั้งสามคนก็เริ่มทะเลาะกันเสียงดัง คนขับแกได้ยินว่าเกี่ยวกับเงินๆทองๆนี่แหละ แต่แกทำเป็นไม่สนใจ  สักพัก ก็เริ่มมีเสียงทุบต่อยกัน  ไม่ทันไรแกก็ได้ยินเสียงร้องโอ๊ยดังขึ้นมา  ซึ่งแกก็ระวังตัวอยู่แล้ว  จึงเหยียบเบรกจอดรถทันที  แต่ยังไม่วายหันไปมอง  ก็เห็นชายหนุ่มคนที่นั่งกลาง  ถูกเพื่อนอีกสองคนใช้มีดแทงเข้าที่ลำตัว  เลือดสาดเต็มเบาะ

คราวนี้คนขับแกรีบเปิดประตูเผ่นแน่บออกจากรถทันที โชคดีที่มีรถสายตรวจผ่านมา แกก็เลยโบกมือเรียกและเล่าเหตุการณ์ให้ฟัง พร้อมพาไปดูที่เกิดเหตุ แต่ก็พบแค่ร่างไร้วิญญาณของเด็กหนุ่มผู้เคราะห์ร้าย นอนตายจมกองเลือดอยู่  ส่วนเพื่อนอีกสองคนหลบหนีไปได้รถแท็กซี่คันนั้นก็เลยถูกยึดไปเป็นหลักฐานประกอบคดีอยู่นานเป็นเดือน  พอหมดคดี เสี่ยโชคแกก็เลยไปรับรถคืน  และเอามาทำความสะอาดซะหมดจด นำกลับมาให้เช่าตามเดิม

 แต่คนที่รู้ประวัติของรถคันนี้ดี  ก็ไม่มีใครยอมเช่าไปขับ  มีอยู่คนหนึ่งคงไม่รู้เรื่องอะไร มาขอเช่าไปขับแค่คืนเดียวก็เอามาคืน เขาบอกว่าขับไปขับมา  ก็ได้ยินเสียงประหลาดดังแว่วมาจากเบาะหลัง  เขาก็เลยไปเช่ารถจากอู่อื่นแทน
รถแท็กซี่คันนั้นก็เลยจอดอยู่เฉยๆ  กลายเป็นแท็กซี่ผีสิงที่ไม่มีใครกล้าเข้าใกล้  ซึ่งเพื่อนบ้านของผมก็ไม่แน่ใจว่า   จะใช่รถคันเดียวกับที่ผมเช่าไปขับหรือเปล่า   แต่ผมมั่นใจว่า ต้องใช่รถคันนั้นอย่างแน่นอน พอผมรู้อย่างนี้ ก็เลยไปขอเงินประกันจากเสี่ยโชคคืน  แล้วก็สัญญากับตัวเองว่า  จะบอกลาอาชีพคนขับแท็กซี่ไปจนวันตายเลย……

ใครที่คิดที่จาซื้อรถมือสองมาขับ เพราะว่าประหยัดเงิน ก็ต้องลองคิดดูให้ดีนะ ไม่แน่คุณอาจจะมีของแถมติดมาด้วย!!!!

ที่มา
http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=ma_madee&jucId=2803&jnId=4105

117
ประสบการณ์วิญญาณ / แท็กซี่ผีสิง
« เมื่อ: 24 ธ.ค. 2554, 10:48:23 »
แท็กซี่ผีสิง (1/2)


จนบัดนี้  ผมยังไม่เคยลืมเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับผมในครั้งนั้นเลย แม้มันจะผ่านมานานหลายปี แต่เหตุการณ์เหล่านั้น  ก็ยังตามมาหลอกหลอนผมมาจนกระทั่งทุกวันนี้  ผมยังจำได้ในปีที่ถือว่า ชีวิตของผมตกต่ำสุดขีด  ในช่วงที่ประเทศไทยประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจอย่างหนัก  ต้องกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ  หลายบริษัทประสบภาวะขาดทุน จนต้องปิดกิจการลง  สถาบันการเงินที่ผมทำงานอยู่ ก็พลอยโดนหางเลขไปด้วย  ผมและเพื่อนๆอีกหลายร้อยคน  ต้องกลายเป็นคนตกงาน โดยที่ไม่มีใครยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเลย


 เพื่อนๆของผมบางคนทำใจไม่ได้กับชีวิตที่พลิกผันอย่างหนักขนาดนี้  และที่แย่ไปกว่านั้น  พวกเขายังมีครอบครัวที่ต้องดูแล ส่งเสียเงินทอง  พอไม่มีรายได้ขึ้นมา  ก็เลยไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร   ซึ่งผมเองก็ยังต้องรับผิดชอบชีวิตเมียและลูกอีกสองคน  จึงไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้มากมาย


ผมยังโชคดีที่มีเงินเก็บอยู่บ้าง  แต่มันคงช่วยประทังชีวิตครอบครัวของผมไปได้อีกไม่นาน  เพราะลูกสองคนของผมก็ยังต้องเรียนหนังสือ  ไหนจะค่าเทอม  ค่าหนังสือหนังหา  อุปกรณ์การเรียนอีกตั้งมากมาย  ยังไม่รวมค่าเช่าบ้าน  ค่าน้ำ ค่าไฟ ที่ผมเป็นผู้รับภาระอยู่เพียงคนเดียว  เนื่องจากภรรยาของผมสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง  ผมจึงไม่อยากให้เธอออกไปทำงานหนัก   แค่คิดขึ้นมาผมก็เริ่มปวดหัวแล้วหล่ะ  เพราะไม่รู้ว่าถ้าเงินเก็บหมด  ผมจะหาเงินที่ไหนมาเป็นค่าใช้จ่ายภายในบ้านต่อไป  แถมตอนนั้นผมก็ยังหางานทำไม่ได้  แม้จะออกเดินสมัครงานเกือบทุกวัน  แต่ก็ไม่มีบริษัทไหนยอมรับผมเข้าทำงานเลย


จนวันหนึ่ง   ผมเดินผ่านหน้าอู่ซ่อมรถแท็กซี่ ก็เลยเกิดความคิดขึ้นมาว่า  ผมน่าจะลองมาขับรถแท็กซี่ดู  เผื่อจะหาเงินเข้าบ้านได้บ้าง  เพราะความรู้อย่างอื่นผมก็ไม่มี นอกจากวิชาการบัญชีที่ร่ำเรียนมา  นอกนั้นที่ผมพอจะทำได้ก็คือการขับรถนี่แหละ  เมื่อคิดได้ดังนั้น ผมก็เลยไปปรึกษาภรรยา  ซึ่งผมรู้ว่าเธอจะต้องเห็นด้วยอย่างแน่นอน  เพราะเราคงไม่มีทางเลือกอย่างอื่น


หลังจากบอกกล่าวภรรยาเรียบร้อยแล้ว  ผมจึงออกไปหาเช่ารถแท็กซี่มาขับ  พอดีมีคนข้างบ้านเขาเคยขับแท็กซี่มาก่อน  เขาจึงแนะนำให้ผมไปเช่ารถที่อู่เสี่ยโชค  โดยให้บอกว่าเขาแนะนำมา  ผมจึงทำตามที่เขาบอก  ซึ่งพอเสี่ยโชค รู้ว่าใครแนะนำผมมา  แกก็เลยเริ่มไว้ใจผมมากขึ้นและตกลงให้ผมเช่ารถมาขับ  โดยผมต้องเสียเงินประกันให้แกจำนวนหนึ่ง


ช่วงแรกผมต้องนั่งหลังขดหลังแข็งอยู่หลังพวงมาลัยทั้งวัน  กว่าจะได้เงินพอค่าเช่ารถและค่าน้ำมัน  ส่วนที่เหลือก็เป็นรายได้ ซึ่งก็ไม่มากเท่าไหร่  พอส่งรถตามกะแล้ว ผมก็กลับบ้านนอน  เป็นอย่างนี้ประจำทุกวัน ต่อมาผมเห็นว่าขับรถเพียงกะเดียว  รายได้ยังไม่เพียงพอ  จึงเพิ่มเป็นสองกะ ทั้งกลางวันและกลางคืน
เพียงแค่คืนแรก  ผมก็ถูกต้อนรับน้องใหม่ซะแล้ว  หรือเรียกง่ายๆ ก็เจอดีงัยล่ะ  ขณะที่ผมกำลังขับรถตระเวนหาผู้โดยสารอยู่นั้น ผมก็ได้ยินเสียงเหมือนคนทะเลาะกันดังแว่วมาจากเบาะหลัง  ผมเลยหันไปมอง  ก็ไม่เห็นใคร เจอแต่เบาะว่างเปล่า  ถ้าเห็นก็คงจะแปลกหล่ะ  ก็ผมยังไม่ได้รับผู้โดยสารขึ้นมาบนรถเลยแม้แต่คนเดียว  แล้วจะไปเห็นใครได้ยังงัยล่ะ

สักพักรถก็มาติดไฟแดงตรงสี่แยกอสมท.  เสียงนั้นก็เงียบไป แต่ทันทีที่ผมเร่งเครื่องเตรียมออกรถ เมื่อเห็นสัญญาณไฟเขียว   เสียงทะเลาะกันก็ดังแข่งกับ   เสียงเครื่องยนต์ขึ้นมาอีก     คราวนี้ผมชักใจไม่ดีแล้วหล่ะ  จึงค่อยๆชำเลืองมองทางกระจกส่องหลัง  ก็ยังไม่เห็นใครอยู่ดี  จะว่าเป็นเสียงจากวิทยุ ผมก็ไม่ได้เปิดนี่นา  แล้วเสียงนั้นมันดังมาจากไหนกันล่ะ


ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ เวลาผ่านมาจนจะเที่ยงคืนอยู่แล้ว  ผมยังไม่ได้ผู้โดยสารเลยซักคน ผมก็พยายามสอดส่ายสายตามองตลอดสองข้างทางแล้วนะ พอมองเห็นคนทำท่าเหมือนจะยืนรอรถแท็กซี่อยู่  ผมก็รีบโฉบเข้าไปใกล้ทันที แต่พอไปถึง ผู้โดยสารก็ไม่ยอมโบกมือเรียก  ตอนแรกผมก็นึกว่า เอ!! สัญญาณไฟว่างหน้ารถเราเสียรึเปล่า  แต่ลงไปดูแล้ว  มันก็ยังทำงานได้ปกติดีนี่นา

ที่มา
http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=ma_madee&jucId=2803&jnId=4105

118
ออกแนวโฆษณาไปหน่อย...อ่านเล่นๆ เพื่อ(ใช้ปัญญา)พิจารณากันนะครับ :027:

119
วิญญาณในทะเลสาบ (2/2)

แต่ในขณะที่หลายคนต่างจับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่นั้น  ก็มีชายคนหนึ่งในกลุ่มของเหล่าฝีพายโวยวายขึ้นมา  พร้อมกับชี้มือไปที่เรือลำใหญ่ซึ่งใช้ประกอบในพิธี  และเมื่อทุกคนหันไปมองตามมือของฝีพายคนนั้น   พวกเขาก็เห็นร่างดำทะมึนของชายคนหนึ่ง   ยืนอยู่บนหัวเรือและกำลังหัวเราะด้วยความสะใจแต่ในตอนแรกไม่ได้มีใครสนใจชายคนที่ยืนอยู่บนเรือเลยแม้แต่น้อย  ทุกคนต่างคิดว่าเขาก็คงเป็นผู้ที่มาร่วมในพิธีคนหนึ่งเท่านั้น

จนกระทั่งชายคนที่ร้องโวยวายขึ้นมา  ตะโกนบอกให้ทุกคนทราบว่า  ชายคนที่ยืนอยู่บนเรือคนนั้น  เป็นเพื่อนของเขาซึ่งเสียชีวิตไปแล้วเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เท่านั้นเองชาวบ้านที่มาเข้าร่วมพิธีต่างก็ลุกฮือด้วยความหวาดกลัว  บางคนรีบถอยหนีออกมาให้ห่างจากเรือลำที่เกิดเหตุ บางคนก็เริ่มสวดมนต์ขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ขณะที่บางคนรวมทั้งชายคนที่ร้องโวยวายขึ้นมา  ต่างอาศัยความกล้าเดินเข้าไปใกล้เรือลำนั้น  แต่ยังไม่ทันที่พวกเขาจะเข้าไปถึงตัวชายลึกลับ จู่ๆท้องฟ้าก็กลายเป็นสีแดงเพลิง และทันใดนั้นเอง ร่างของชายลึกลับคนดังกล่าว  ก็ค่อยๆเลือนหายไปพร้อมกับสายฝน ที่เริ่มกระหน่ำลงมาอย่างไม่ลืมหูลืมตา

หลังจากเหตุการณ์ระทึกขวัญผ่านพ้นไปได้ไม่นาน ชาวบ้านก็ต่างเข้ามารุมซักถามชายคนที่อ้างว่า เป็นเพื่อนของบุรุษลึกลับคนนั้นด้วยความสนใจ   แล้วพวกเขาก็ได้ทราบความจริงว่า  บุรุษลึกลับคนดังกล่าว มีชื่อว่า นาซิม  เป็นหนึ่งในฝีพาย   ที่กำลังจะได้เข้าร่วมการแข่งเรือในพิธีครั้งนี้  แต่เมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา  ก่อนจะถึงวันงาน  นาซิมซึ่งมุ่งมั่นที่จะเข้าร่วมในพิธีครั้งนี้เป็นอย่างมาก  เพราะเชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะนำพาโชคลาภมาให้  เขาจึงมักจะนำเรือลำเล็กออกไปฝึกพายตามลำพังเป็นประจำ

จนกระทั่งวันหนึ่ง นาซิม  เกิดพายเรือเข้าไปชนกับหินโสโครกกลางทะเลสาบ  จนเรือของเขาพลิกคว่ำ  และที่โชคร้ายไปกว่านั้น หัวของเขายังไปกระแทกเข้ากับขอบเรือจนสลบเหมือด  ทำให้เขาไม่สามารถพยุงร่างของตัวเองขึ้นมาจากน้ำได้  ในที่สุดวิญญาณของนาซิม ก็หลุดลอยออกจากร่าง
 และยังคงวนเวียนอยู่ใน ณ ผืนน้ำอันกว้างใหญ่แห่งนี้   และเชื่อว่าการที่เขามาปรากฏร่างในพิธีครั้งนี้ คงจะเป็นเพราะความผิดหวังที่ตัวเองไม่ได้เข้าร่วมงานตามที่ตั้งใจไว้

และนับตั้งแต่นั้นมา ชาวเมืองเคราล่าในหมู่บ้านคอทตายัมก็มักจะเห็นวิญญาณของ นาซิม มาปรากฏตัวยังบริเวณชายฝั่งของทะเลสาบเวมนาบาดเป็นประจำ  แม้ว่าชาวบ้านจะช่วยกันทำพิธีสวดส่งวิญญาณของเขาให้ไปผุดไปเกิดแล้ว  แต่ดูเหมือนว่า  ความผูกพันธ์ที่นาซิมมีต่อหมู่บ้านแห่งนี้ดูจะยิ่งใหญ่มาก  และคงจะทำให้วิญญาณของเขายังล่องลอยอยู่ในทะเลสาบแห่งนี้ไปจนชั่วนิรันดร์

ที่มา
http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=ma_madee&jucId=2803&jnId=4084

120
วิญญาณในทะเลสาบ (1/2)



   ทุกๆกลางเดือนกรกฎาคม  ซึ่งเป็นเดือนที่มีฝนตกหนักมากที่สุดในประเทศอินเดีย  ณ เมือง  เคราล่า  รัฐหนึ่งทางตอนใต้สุดของอินเดียตะวันตก ชาวเมืองจะต่างพากันหยุดงาน เพื่อออกมาฉลองเทศกาลปุราม  หรือพิธีเฉลิมฉลองก่อนเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลินั่นเอง แต่เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ชาวเมืองเคราล่าในหมู่บ้านคอทตายัม  กลับต้องประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขา  ท่ามกลางเหตุการณ์สยองขวัญสั่นประสาท  ที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะได้เจอ

 โดยปกติแล้ว  ทุกๆเดือนกรกฎาคม  ชาวเมืองเคราล่าในแต่ละหมู่บ้าน  จะเตรียมเรือของพวกเขาเพื่อนำไปแข่งขันกันในพิธีฉลองเทศกาลปุราม  ซึ่งในวันเทศกาลนั้น   ชาวบ้านในหมู่บ้านคอทตายัมทั้งหญิงและชายต่างมุ่งหน้ามายังทะเลสาบเวมนาบาด  เพื่อเข้าร่วมพิธีอันศักดิ์สิทธิ์  พร้อมกับนำหม้อดินเปล่าๆติดตัวมาด้วย
เนื่องจากพวกเขาหวังว่าสายฝนจะโปรยปรายลงมา สร้างความชุ่มฉ่ำและนำพาโชคลาภมาให้แก่พวกเขา ซึ่งก่อนที่จะมีการแข่งขันพายเรือ  จะต้องมีพิธีสังเวยเรือโดยใช้ไก่เป็นเครื่องบูชา  จากนั้นชาวบ้านที่เป็นฝีพายก็จะลงไปนั่งประจำที่  ทุกคนต่างนุ่งโจงกระเบนและโพกหัวกันด้วยผ้าสีขาว  โดยมีนายเรือกางร่มสีแดงยืนคอยสั่งการอยู่กลางลำ

ในขณะที่ชาวเมืองต่างพากันวุ่นวาย  กับพิธีกรรมที่จะเริ่มขึ้นตรงหน้าในไม่ช้า ดูเหมือนว่าไม่มีใครได้ทันสังเกตเห็น  บุรุษลึกลับคนหนึ่ง  ซึ่งเข้าไปร่วมอยู่ในขบวนฝีพายบนเรือลำหนึ่งด้วย  นั่นคงเป็นเพราะการแต่งกายของชายคนนั้น  ไม่ได้แตกต่างจากคนอื่นเลยแม้แต่น้อย  จึงทำให้ไม่มีใครรู้สึกผิดปกติ

แต่ในขณะที่เรือลำนั้นกำลังจะแล่นออกจากฝั่ง จู่ๆ  ก็เกิดคลื่นขนาดยักษ์พัดเข้ามากระแทกเข้ากับเรืออย่างจัง ส่งผลให้เรือลำใหญ่ถึงกับเอียงวูบ และพาร่างของฝีพายหลายสิบนาย จมหายลงไปในทะเลสาบทันที  ท่ามกลางความตกตะลึงของชาวบ้านที่ยืนมุงดูอยู่ริมฝั่ง

ไม่กี่นาทีต่อมา  ทั่วทั้งท้องทะเลสาบก็ปรากฏร่างของชายหนุ่มกว่า 30 คน  โผล่พรวดขึ้นมาบนผิวน้ำ  พร้อมกับตะโกนร้องขอความช่วยเหลือ  จากนั้นไม่นาน นักประดาน้ำกว่า 10 นายก็มาพร้อมกันที่ชายฝั่ง  และโดดลงไปช่วยเหลือพวกเขาทันที ในขณะที่ชาวบ้านที่อยู่บนฝั่งก็ต่างหาอุปกรณ์เท่าที่พอจะหาได้  โยนลงไปให้พวกเขาเหล่านั้นเกาะพยุงตัวเองเอาไว้

ทันทีที่ฝีพายกลุ่มแรกขึ้นมาจากน้ำได้ พวกเขาก็ละล่ำละลักบอกกับเจ้าหน้าที่ที่อยู่บนฝั่งว่า ในทะเลสาบนั้นจะต้องมีสิ่งผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นแน่นอน เพราะขณะที่พวกเขาลอยคออยู่ในน้ำนั้น ต่างรู้สึกเหมือนกับว่า  มีมือของใครคนหนึ่งมาดึงขาของพวกเขาเอาไว้  ทั้งที่ทุกคนในนั้นต่างว่ายน้ำเป็น  แต่มือลึกลับดังกล่าวกลับมีแรงมาก  จนทำให้พวกเขาไม่สามารถพยุงตัวเองเอาไว้ได้   ยังดีที่ความช่วยเหลือมาทันท่วงทีไม่เช่นนั้นพวกเขาอาจจะต้องจบชีวิตอยู่ใต้ท้องทะเลสาบแห่งนี้อย่างแน่นอน

หลังจากที่นักประดาน้ำช่วยเหลือเหล่าฝีพายขึ้นมาจากทะเลสาบได้หมด  โดยที่ไม่มีใครเป็นอะไร  เพียงแต่บางคนอาจจะได้รับบาดเจ็บ  ขณะที่แย่งกันว่ายเข้าฝั่งบ้างเล็กน้อย  แต่ก็ยังถือว่าโชคดีที่ไม่มีใครเสียชีวิต 
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ สร้างความตกตะลึงให้กับผู้คนที่อยู่ในพิธีเป็นอย่างมาก เพราะโดยปกติแล้ว ในระหว่างประกอบพิธีฉลองเทศกาลปุราม ที่จัดขึ้นเป็นประจำมานานหลายปี  น้ำในทะเลสาบจะสงบเงียบปราศจากคลื่นลม ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าเป็นเพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดลบันดาลให้เป็นเช่นนั้น  แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้   ทำให้พวกเขาต่างพากันสงสัยว่า  มันเกิดขึ้นได้อย่างไร

ที่มา
http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=ma_madee&jucId=2803&jnId=4084

121
กฎแห่งกรรม เรื่อง ตัดชีวิต (2/2)

แต่ก็ตอบกลับไปว่า “ไม่เอาหรอก เรากินข้าวกันแล้ว  นายเอาไปทำกับข้าวเถอะ” จากนั้น แบงค์ก็ยืนนิ่งๆ สักพักแล้วก็ตอบกลับมาว่า  “งั้นก็ไม่เป็นไร  เราไปแล้วนะ แล้วต่อจากนี้ เราคงไม่ได้ตกปลาอีกแล้วล่ะ โชคดีนะเพื่อน” จากนั้นก็เดินออกไป โดยไม่รอฟังคำใดๆ จากฉันเลย ฉันเองมองตามแบงค์ที่เดินถือปลา เดินตรงไปทางลิฟท์อย่างงงๆ  ... ฉันมองตามไปสักพัก แล้วอยู่ๆ ก็ต้องขนลุกซู่ .... แทบไม่น่าเชื่อว่า สายตาของฉันจะมองเห็นแต่ร่างของคนที่ไม่มีหัว มีแต่ช่วงลำตัวมาถึงลำคอ ... ฉันคิดว่าฉันตาฝาดจึงขยี้ตาและมองอีกครั้ง ภาพทั้งหมดก็ยังเป็นเช่นเดิม ฉันจึงวิ่งตามไปดู แต่ก็ปรากฎว่า ไม่มีวี่แววของแบงค์เลย ทีแรกฉันคิดว่า แบงค์คงลงลิฟท์ไปแล้ว และได้แต่ภาวนาในใจ ว่าขออย่าให้เกิดอะไรขึ้นเลย ....

แล้วจากนั้น ฉันก็กลับเข้าห้อง ฉันเดินเข้าห้องได้เพียงครู่เดียว ก็มีเสียงเคาะประตูดังขึ้น พอเปิดประตูออกมา ก็เจอสุกับพิมพ์ยืนหน้าตาตื่นแล้วบอกฉันว่า “แบ้งค์ถูกยิง” ฉันเองตกใจแทบช็อค รีบถามมันเป็นไปได้ยังไง ในเมื่อ เมื่อกี้แบงค์ยังมาหาฉันอยู่เลย สุบอกฉันว่า แบงค์โดนนักเลงดักยิง ส่วนโจก็โดนเหมือนกัน แต่ยังไม่หนักเท่า และทั้งคู่ยังอยู่ในห้องไอซียู ... ฉันเองตกใจมาก แต่ก็ไม่ได้พูดอะไร และพวกเราก็รีบออกไปที่โรงพยาบาลกัน ...

กว่าที่พวกเราจะไปถึงที่นั่น ก็สายเสียแล้ว  เพราะแบ้งค์ เพื่อนของฉัน กลายเป็นเพียงร่างที่ไร้วิญญาณ นอนอยู่บนเตียง  ร่างกายของแบงค์ถูกคลุมด้วยผ้าสีขาว ที่หัวมีผ้าพันแผลพันไว้ เพราะเลือดไหลออกมาก  ส่วนแขนซ้ายก็หัก ลำตัวถูกทุบจนเขียวช้ำ  เพื่อนที่เห็นเหตุการณ์บอกว่า หลังจากที่โจกับแบ้งค์กลับจากตกปลา  ได้ขี่มอเตอร์ไซค์ผ่านไปเส้นทางที่ค่อนข้างจะมืด และระหว่างทางก็ไปเจอกับพวกนักเลงขี้เมาเข้า ซึ่งคนพวกนั้น ก็ได้มากั้นทางเอาไว้ เพื่อจะปล้นเอาเงินทองไป โจกับแบงค์พยายามขัดขืนต่อสู้ แต่ก็โชคร้าย ที่ถูกพวกนั้นใช้ปืนยิงเข้าใส่   ซึ่งกว่าที่ชาวบ้าน จะผ่านมาช่วยได้ ก็สายเสียแล้ว

 ... ฉันฟังเรื่องนั้น แล้วก็น้ำตาไหล รู้สึกเสียใจ ที่วันนั้นแบงค์ไม่ฟังฉัน ... แต่อย่างไรก็ดี ฉันเองก็พยายามปลอบใจตัวเองว่า เรื่องที่เกิดขึ้นนี้ มันก็คงเป็นเรื่องของเวรกรรม สิ่งใดที่แบงค์กับโจได้เคยทำกับสัตว์ทั้งหลายไว้ มันก็คงย้อนกลับเข้ามาให้ผล ... และการที่แบงค์มาปรากฎให้ฉันเห็นนั้น ก็คงเพื่อบอกลาเป็นครั้งสุดท้าย ขอให้ไปสู่สุคติเถอะเพื่อน


*** กัมมุนา วัตตะตี โลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

ที่มา
http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=ma_madee&jucId=2803&jnId=3981

122
กฎแห่งกรรม เรื่อง ตัดชีวิต (1/2)

ฉันชื่อปอ เป็นนักศึกษาชั้นปีสี่ของมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งหนึ่งทางภาคเหนือ   ฉันไม่ขอบอกนะคะว่าเป็นมหาวิทยาลัยอะไร  เพราะอาจทำให้ใครบางคนไม่กล้าเอนทรานซ์เข้าไปเรียน ... ฉันเองเป็นอีกคนหนึ่งที่ไม่เคยคิดเลยว่าตัวเอง จะต้องเจอเรื่องลี้ลับเหล่านี้ แต่แล้ว ฉันก็ต้องมาเจอจนได้ ... บางคนบอกว่าฉันเป็นคนมีบุญ  ฉันเองพยายามคิดว่าก็อาจจะจริง เพราะคนทั่วไปคงจะไม่เจอกันง่ายๆ  และอีกอย่าง ใครคนนั้นที่มาบอกฉัน เขาก็มีเจตนาดี และต้องการให้ฉันนำเรื่องของเขาไปเล่าต่อ เพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนใจ ไม่ให้คนที่รับฟังทำบาปทำกรรมกันอีก


เมื่อช่วงภาคเรียนซัมเมอร์ของปี 2545 ที่ผ่านมานี้ ฉันและเพื่อนอีกหลายคนได้ลงเรียนวิชาบังคับซึ่งวันๆ หนึ่ง ก็เรียนเพียงแค่ 2 ตัวเท่านั้น และเวลาที่เหลือ พวกเราก็จะได้ไปเที่ยวกัน “เฮ้ย ปอ  พิมพ์  สุ ไปเที่ยวกันไหม ?”  เสียงตะโกนดังมาจากข้างล่างหอพัก  ทำให้ฉันและเพื่อนอีกสองคนโผล่หน้าไปดูทางระเบียง“ไปไหนเหรอ ?” สุตะโกนถาม เมื่อเห็น โจ กับ แบ้งค์  เพื่อนร่วมรุ่น กำลังยืนข้างมอเตอร์ไซค์ ถือเบ็ดตกปลา และเงยหน้ามายังระเบียงห้องของพวกเรา “ไปตกปลาน่ะสิ ไม่เห็นเหรอ


ถือเบ็ดจะให้ไปซักผ้าหรือไง” แบ้งค์ตอบ “ไม่ไปหรอก ถ้าไปตกปลาน่ะ  พวกฉันไม่ชอบทำบาปย่ะ” ฉันตะโกนออกไป พร้อมกับเดินเข้าห้อง ฉันเองรู้สึกเคืองๆ พวกมันเล็กน้อย เพราะเคยเตือนไปหลายครั้งแล้ว ว่ามันเป็นบาปกรรม แต่พวกนั้นก็ไม่เคยเชื่อกันเลย ... ฉันเดินกลับเข้ามาได้สักพัก ก็ได้ยินเสียงสตาร์ทมอเตอร์ไซค์และบึ่งออกไป ซึ่งคาดว่า คงจะเป็นโจกับแบงค์ที่ออกไปตกปลากันนั่นเอง ... ซึ่งสถานที่ประจำ ก็คงจะเป็นอ่างเกษตรแน่ๆ เพราะเคยได้ยินโจบอกว่าถ้าไปทางด้านหลัง เป็นป่ารกๆหน่อย ก็จะไม่มีใครเห็นและไม่มีใครมาเอาผิดทั้งคู่ได้แล้ว ...


เย็นวันนั้น ระหว่างที่ฉันและเพื่อนกำลังจะออกไปกินข้าว ฉันก็นึกขึ้นมาได้ว่า น่าจะชวนพวกโจกับแบงค์ไปด้วย .... ฉันและเพื่อนเลยเดินไปเคาะประตูห้องของ 2 คนนั้น  เพราะคิดว่าน่าจะกลับกันมาแล้ว แต่เคาะอยู่สักพัก ก็ไม่มีเสียงตอบอะไร พวกเราก็เลยคิดกันว่า ทั้งคู่คงจะออกไปหาอะไรกินกันแล้วแน่ๆ  จึงออกไปข้างนอก ... หลังจากนั้น เวลาประมาณ 5 ทุ่ม ฉันก็กลับเข้ามาในห้อง ส่วนสุกับพิมพ์ขอแยกตัวเข้าไปในมหาวิทยาลัย ฉันเปิดทีวีและนั่งดูรายการไปได้สักพัก ก็ได้ยินเสียงเคาะประตู  (SFX: ก๊อกๆๆ) ฉันจึงรีบเดินไปเปิดประตู... แล้วก็พบว่า คนที่ยืนอยู่ข้างหน้าก็คือ แบงค์นั่นเอง ...แบ้งค์มายืนอยู่หน้าห้องด้วยสีหน้าที่เศร้าสร้อย ตาเหม่อลอย  ที่มือมีปลาที่ถูกขอเกี่ยวไว้ 2-3 ตัว แล้วแบงค์ก็ถามฉันว่า  “อยากกินปลาไหม เราเอาปลามาฝากเยอะเลย” ฉันรู้สึกประหลาดใจอยู่เล็กน้อย


ที่มา
http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=ma_madee&jucId=2803&jnId=3981

123
ขออภัยหากเรื่องนี้ซ้ำ แต่ชื่อเรื่องไม่ซ้ำ
อ่านเองมาหลายครั้ง...เลยแบ่งปัน

124
เวรกรรมตามลมปาก (2/2)


และนั่น ก็เป็นเสียงสุดท้ายที่ฉันได้ยินจากลูก แพงหายออกจากบ้านไปเป็นเวลาหลายอาทิตย์หลังจากนั้น ฉันเองรู้สึกเสียใจ ที่ได้ทำกับลูกอย่างนั้น ... แต่ก็ยังดี ที่สามีของฉันไม่ถือโทษโกรธ และยังให้กำลังใจว่า สักวันลูกก็ต้องกลับมา ... และในที่สุด ในคืนหนึ่ง ฉันกับสามี ก็ได้รับโทรศัพท์จากตำรวจ ที่โทรมาบอกว่า ลูกของฉันกำลังถูกนำตัวส่งห้องไอซียู ... ฉันกับสามีรีบรุดไปดูลูกที่โรงพยาบาล และได้รับการบอกเล่ากับเพื่อนของลูกที่อยู่ในเหตุการณ์ว่า แพงกับเพื่อนได้ไปเที่ยวที่สถานบันเทิงแห่งหนึ่ง แต่โชคไม่ดี

ที่กลุ่มของแพงได้ไปเจอเด็กวัยรุ่นเมายาเข้า จึงเกิดมีปากเสียงและได้ลงไม้ลงมือกัน ขณะที่แพงกับเพื่อนผู้หญิงอีกหลายคนกำลังพยายามวิ่งหลบแก้วและขวดที่ถูกขว้างปากันอยู่นั้น ก็บังเอิญมีผู้ชายคนหนึ่งมาขัดขาแพงเข้า ทำให้แพงเซถลาไปข้างหน้าและปะทะกับเหล็กด้ามใหญ่ที่คู่อริกำลังเงื้อตีเข้ามา ... เหล็กท่อนนั้น ฟาดลงที่ช่วงคอของแพงพอดี (SFX: เสียงดังโพล๊ะ) และหลังจากนั้น แพงก็หมดสติล้มลงไป


 ฉันได้ฟังเพื่อนของลูกเล่าเหตุการณ์อย่างนั้นก็รู้สึกใจหายอย่างบอกไม่ถูก ... เพราะลำพังเวลาที่คอโดนกดหรือโดนใครเอามือบีบ ก็รู้สึกแย่พอแล้ว แต่นี่ลูกของฉันถูกเหล็กท่อนใหญ่ฟาดเข้าไปที่ลำคอ ... ฉันไม่อยากจะนึกภาพเลย ... ฉันกับสามีและแม่นั่งรอดูอาการของลูกอยู่อย่างนั้น จนในที่สุด คุณหมอก็ออกมาจากห้องไอซียู


แม่ : คุณหมอคะ ลูกสาวดิฉันเป็นอย่างไรบ้างคะ
หมอ : คุณต้องทำใจดีๆ นะครับ เพราะผมมีทั้งข่าวร้ายและข่าวดีมาบอก ... ข่าวดีของลูกคุณก็คือว่า แกปลอดภัยแล้ว แต่ข่าวร้ายก็คือ แกอาจจะพูดไม่ได้อีกเลยตลอดชีวิต เพราะกล่องเสียงของแกแตก ด้วยถูกเหล็กกระแทกอย่างรุนแรง


 กล่องเสียงแตก พูดไม่ได้ ... เป็นคำพูดที่สะท้อนอยู่ในหัวของฉันตลอดเวลา ฉันพยายามคิดหาเหตุผลมากมายว่าทำไมเหตุการณ์นี้ ต้องเกิดขึ้นกับครอบครัวของฉัน ... หรือว่าสาเหตุมันจะมาจากตัวฉัน ... ฉันวนเวียนคิดไปมาทั้งคืน จนในที่สุด คำตอบที่ได้ก็มาจากปากของแม่ฉันเอง ...
ยาย : มันเป็นกรรมยังไงล่ะนังหนู ... ลูกสาวเอ็งมันทำกรรมด้วยการด่าทอ ให้ร้ายบุพการีและผู้มีพระคุณ กรรมจึงตามลงโทษมัน ทำให้มันต้องเป็นแบบนี้  ... บาปกรรมน่ะ ไม่ต้องรอให้ถึงชาติหน้า เพราะแค่ชาตินี้  มันก็ตามเราทันแล้ว ... ทำใจซะเถอะลูก


 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ คงจะทำให้ลูกสาวของฉันคิดได้ ... เพราะแม้แกเองจะพูดอะไรไม่ได้ แต่น้ำตาที่ไหลออกมา ก็ทำให้ฉันรู้ว่า แกคงเสียใจกับการกระทำในอดีตไม่น้อย  ... ฉันเองก็ได้ปลอบใจลูก และได้แต่หวังว่า วันใดวันหนึ่งในอนาคตข้างหน้า บาปกรรมที่แกเคยได้ก่อไว้ อาจจะเบาบางและจางหายไป และวันนั้น อาการของลูกสาวฉันอาจจะดีขึ้นกว่านี้ก็เป็นได้   


อาหุเนยยา จะ ปุตตานัง   บิดามารดา เป็นที่นับถือของบุตร


ที่มา
http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=ma_madee&jnId=3985

125
กฎแห่งกรรม / เวรกรรมตามลมปาก
« เมื่อ: 24 ธ.ค. 2554, 09:54:51 »
เวรกรรมตามลมปาก (1/2)


เรื่องที่ฉันจะเล่าให้คุณได้ฟังนี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับแพง ลูกสาวคนเดียวของฉัน  ฉันเองก็ไม่รู้ว่า ชาติที่แล้ว ตัวเองทำบาปทำกรรมอะไรไว้ ในชาตินี้ ฉันจึงได้มีลูกสาวที่ดื้อ ปากเก่งและเป็นคนเห็นแก่ตัวอย่างไม่น่าเชื่อ
แพง : แม่ แม่เอาเสื้อหนูไปไว้ไหนน่ะ เสื้อสีฟ้าที่หนูพึ่งซื้อมา แม่เอาไปไว้ไหน บอกมานะ!!!! โอ๊ย ยาย ยายไปห่างๆ ได้ไหม หนูบอกแล้ว ว่าตัวยายน่ะเหม็นมาก เหม็นจนอยากจะอ้วกเลยล่ะ ออกไปห่างๆ ไป ...


 นี่คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำในครอบครัวของฉัน บ้านของเราอาศัยอยู่ด้วยกันทั้งหมด 4 คน มี ฉัน สามี ลูก และแม่ของฉัน ... สามีของฉันทำงานเป็นข้าราชการ อยู่ที่กระทรวงแห่งหนึ่ง เงินเดือนที่ได้ก็ไม่ได้มากมายอะไรนัก แต่ก็นับว่ายังดี ที่พวกเราก็ไม่ได้ถึงกับขาดแคลน .... และด้วยความที่ฉันกับสามี มีลูกสาวเพียงคนเดียว เพราะฉะนั้นตั้งแต่เด็กๆ มา ไม่ว่าแกจะอยากได้อะไร ฉันกับสามีก็จะซื้อให้ หามาให้ ด้วยหวังว่าลูกจะได้รู้สึกถึงความรักและความห่วงใยที่เรามีต่อแก ... แต่ดูเหมือนว่า สิ่งที่ฉันเคยหวัง มันกลับไม่เคยเป็นอย่างที่หวัง


แพง : แม่...พรุ่งนี้หนูจะไปทัศนศึกษากับเพื่อน แต่หนูไม่มีเงินติดตัวเลย แม่เอาเงินให้หนู 500 ได้ไหม
แม่ : เอาไปทำไมตั้ง 500 ล่ะลูก หนูจะใช้อะไรเยอะขนาดนั้น
แพง : โอ๊ย 500 เนี่ยเหรอเยอะ ซื้อของชิ้นเดียวก็หมดแล้ว  ... แม่เอามาเหอะ อย่าพูดมากน่ะ หนู
ไม่อยากจะทะเลาะด้วย ... อ้อ แล้วพรุ่งนี้เย็นๆ เพื่อนหนูจะมากินข้าวด้วย อย่า
ลืมทำกับข้าวเผื่อนะคะ  แล้วก็บอกยายด้วยว่า ไม่ต้องมากินข้าวกับหนู เพราะยายกินข้าวหก
เลอะเทอะ หนูอายคนอื่นเขา ..


 นี่คือคำพูดที่ลูกใช้พูดกับฉัน  ... และเป็นคำพูดที่ลูกพูดถึงยายแท้ๆ ของแกเอง ... ฉันเองเคยห้ามปรามลูกด้วยการขู่ว่า ถ้าแกยังไม่เลิกพูดอย่างนี้ ชาติหน้า แกอาจจะมีปากเท่ารูเข็ม ...  แต่ผลที่ได้ตอบกลับมาก็คือ
แพง : ชาติหน้ามีจริงรึเปล่าก็ไม่รู้ แล้วถ้าหนูจะมีปากเท่ารูเข็มจริงๆ หนูไปฆ่าตัวตายดีกว่า ... หนูไม่อยู่ให้โง่หรอก
 วันเวลาผ่านไป เหตุการณ์ต่างๆ ก็ดูเหมือนจะหนักข้อขึ้นทุกวัน ลูกสาวของฉันใช้คำพูดแสบๆ ทิ่มแทงคนในครอบครัวกันเองอยู่เสมอ ... ทำให้ฉันและสามีรู้สึกหนักใจเป็นอย่างมาก ฉันกับสามีได้มานั่งปรึกษากัน ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และพยายามหาทางออก แต่ยิ่งคิดอย่างไร ก็ดูเหมือนว่ามันจะไม่มีทางออกทางไหนเลย แม่ของฉันเองก็ได้แต่เตือนว่า


ยาย : เอ็งต้องระวังนังแพงไว้ให้ดีนะนังหนู  ปากมันน่ะ ชอบพูดจาดูถูกคนอื่นเขา ไอ้ลำพังมันดูถูกข้า ข้าก็ไม่โกรธ เพราะยังไงมันก็หลาน แต่ไอ้การที่มันไปไล่ปากเก่งกับคนอื่นเขาน่ะ ระวังมันจะเป็นเรื่องเข้าสักวัน


 ฉันเองก็รู้สึกหนักใจกับเรื่องนี้เหมือนกัน แต่ก็ไม่คิดว่า เหตุการณ์ที่แม่บอกไว้ มันจะเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิด
 วันนั้น แพงและเพื่อนได้นัดกันออกไปเที่ยวข้างนอก แต่ก่อนที่แกจะออกไป แกก็โวยวายขึ้นมา ซึ่งนั่นเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ฉันเหลืออดจริงๆ


แพง : ยาย ยายทำบ้าอะไรเนี่ย .. ยายรีดเสื้อประสาอะไร ทำไมมันไหม้อย่างนี้ล่ะ ...เสื้อตัวนี้ แพงซื้อมาตั้งเท่าไร รู้มั๊ย ...  โง่จริงๆ เลย แก่แล้วยังไม่เจียมอีก รีดไม่เป็นวันหลังก็ไม่ต้องมาทำสิ ...
แม่ : แพง โวยวายอะไรกับคุณยายน่ะลูก
แพง : ก็คุณยายน่ะสิคะ ทำเสื้อแพงไหม้เป็นรู อย่างงี้จะไม่ให้ด่าได้ยังไงล่ะ แพงจะใส่วันนี้ด้วย
แม่ : แพง คุณยายเขาอุตส่าห์รีดให้นะลูก ขอโทษคุณยายเดี๋ยวนี้
แพง : แม่พูดอย่างงี้ได้ยังไง คุณยายเป็นคนผิดนะ จะให้แพงขอโทษน่ะเหรอ ไม่มีวันซะหรอก
แม่ : แม่บอกให้แพงขอโทษคุณยายเดี๋ยวนี้
แพง : แม่ฝันไปเถอะว่าแพงจะขอโทษคุณยาย...งี่เง่า!!
(SFX: ฉาด)
แพง : แม่
แม่ : แม่ไม่เคยสอนให้หนูเป็นคนอย่างนี้เลย แต่ทำไมหนูถึงกลายเป็นคนก้าวร้าวเห็นแก่ตัวอย่างนี้ แม่ทนมานานแล้วนะแพง ทำไมหนูทำแบบนี้
แพง : แม่ แม่จำไว้เลยนะ แม่ตบแพง ... แม่ตบตีลูกตัวเอง แม่จะต้องได้รับกรรม
(SFX: เสียงวิ่งออกไป)

ที่มา
http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=ma_madee&jnId=3985

126
สำรวจตัวเองหรือยัง

 สำรวจตัวท่านเองให้ดีว่าทำไมทุกวันนี้มีแต่จนลงมีแต่ความทุกข์มีแต่หนี้สินใช้หนี้ไม่มีวันหมด
    ครอบครัวไม่ทีความสุขพยายามหาทางแก้ไขก็ไม่มีใครช่วย พอมีคนจะช่วยก็เหมือนมีอะไรมา
    ปิดหูปิดตามบังไม่ให้เห็นทางแก้ปัญหา ไหวพระขอพรและบนบาลศาลกล่าวก็ไม่ประสบผล
    สำเร็จ

 ตราบใดที่เจ้ากรรมนายเวรยังไม่มีความสุขยังรับทุกข์ทรมานอยู่ ตราบนั้นตัวท่านจะไม่มี
    วันที่จะมีความสุขได้เลยปัญหาครอบครัว ปัญหาหนี้สิน ปัญหาการทำงาน ปัญหาค้าขาย
    มีแต่ขาดทุน จะยิ่งทวีความรุ่นแรงมากขึ้น จนท่านคิดที่จะฆ่าตัวตาย

 ผมไม่ใช่เทวดาจะแก้กรรมให้ใครได้ แต่ผมรู้วิธี "หยุดเวรต่อเวร หยุดกรรมต่อกรรม"

 

ไม่เชื่ออย่าลบหลู่
วิธีหยุดเวรต่อเวร หยุดกรรมต่อกรรม

 วิธีหยุดเวรต่อเวรหยุดกรรมต่อกรรม เริ่มจาก
 หมั่นใส่บาตรพระกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้มากขึ้น ,รักษาศีล ๕ ให้ได้
 ทำสังฆทานในโอกาสที่ทำได้
 ทำทานกับทุกคน ปล่อยนกปล่อยปลาและสัตว์ที่ทุกข์


ที่มา
http://www.thailawyer.net/jaekrrnayva/jaekrrnayva/jaekrr.php

127


ที่มา
http://www.thailawyer.net/jaekrrnayva/jaekrr.php

129
น่าปฏิบัติอย่างยิ่ง :015:

130
ตำนวนบ้านผีสิง


ในขณะที่ทุกคนกำลังสนุกกับการสังสรรค์หลากหลายวิธี บ้างก็จัดงานเลี้ยง บ้างก็ไปหาเพื่อน บ้างก็ไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ ซึ่งไม่เคยรู้กันมาก่อนเลยว่า

ประวัติของสถานที่นั้นๆเป็นมาอย่างไร วันหนึ่งกลุ่มเด็กวัยรุ่นได้ทำการเลี้ยงส่งเพื่อนๆด้วยการพาไปเที่ยวในสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งไม่สามารถออกนามได้

สถานที่แห่งนั้น มีอุปกรณ์สร้างความสนุกหลากหลายชนิด ซึ่งก็มีบ้านมีผีสิงตามเคยเหมือนสวนสนุกอื่นๆ บ้านผีสิงแห่งนี้ไม่เป็นที่นิยมนักเพราะตั้งอยู่

บนบริเวณมุมอับของสวนสนุกซึ่งยากนักจะมองเห็นถ้าไม่สังเกตุจริงๆ นานทีจะมีผู้เล่นมาใช้บริการบ้านผีสิงนี้ บ้านผีสิงแห่งนี้ไม่มีใครทราบว่าประวัติเป็นมา

เช่นไร บ้างก็ว่าสั่งทำหุ่นต่างๆจากต่างเมือง ต่างประเทศบ้าง บ้างก็ว่าเก็บศพจากต่างเมืองมาทำความสะอาดและนำมาดัดแปลงและนำมาโชว์

กลุ่มวัยรุ่นที่เดินผ่านมาไม่มีใครสนใจเลยซักนิด ยกเว้นเพื่อนคนหนึ่งที่ได้ยินเสียงเด็กหัวเราะคิกคัก วิ่งหลบเข้าไปในบ้านผีสิง จึงสร้างความสงสัยมากให้

แก่เด็กหนุ่มวัยรุ่น เขาจึงชวนเพื่อนๆ พากันเดินไปออกันอยู่หน้าบ้านผีสิง ในขณะที่กลุ่มเด็กหนุ่มกำลังเกี่ยงกันว่าใครจะเป็นผู้ที่เข้าไปก่อน มีมือซีดเซียว

เล็กเรียวโผล่ลอดออกมาจากประตูทางเข้าโทรมๆ และกระชากมือเพื่อนคนหนึ่งเข้าไปด้วยแรงมหาศาล

เด็กหนุ่มตัวปลิวกระเด็นเข้าไปในกระแทกประตูกำแพงเสียงดังโครมคราม และ กึกก้อง เพื่อนๆต่างตระหนกและทำอะไรไม่ถูกจึงพากันวิ่งตามเข้าไป

ทางเดินข้างในไฟสลัวมาก ! กลุ่มเด็กหนุ่มยังคงตระหนกกับเหตุการณ์นั้น เพื่อนคนหนึ่งบอกว่าได้ยินเสียงเพื่อนของเขาร้องครวญครางอยู่ทางมุมห้องด้าน

ซ้าย เขาจึงไปเดินเข้าไป ! กลุ่มเด็กหนุ่มเดินต่อไปตามทางเดิน ในขณะนั้นเพื่อนคนที่สองก็บอกว่า เหมือนจะได้ยินเสียงเพื่อนของเขาร้องห่มร้องไห้

เหมือนเสียใจอะไรซักอย่างแบบหนักอึ้งในขณะที่เพื่อนๆไม่มีใครได้ยินเลย เขาจึงเดินเข้าไป ! เหลือเด็กหนุ่มอีกสองคนที่ยังไม่มีปฏิกิริยาอะไร และไม่ได้

ยินเสียงอะไรเลย เขาเดิน เดิน และเดินต่อไปจนเห็นทางแยกซึ่งเป็นทางสามแยก คนหนึ่งไปทางซ้าย อีกคนหนึ่งไปข้างหน้า

ก่อนหน้านันเด็กหนุ่มที่ปลีกตัวไปทางด้านหน้าสะกิดใจว่า เพื่อนเค้าต้องอยู่ข้างมุมขวานั้นแน่ๆ เพราะเค้าเห็นคนวิ่งผ่านไปอย่างรวดเร็วเกินจะมองทัน แต่ในเ

เสี้ยววินาทีนั้นเขาสังเกตุเห็น เด็กผู้หญิงวิ่งตามเพื่อนเขาไปด้วย เขาจึงเกิดความกลัวและเห็นแก่ตัวตามสัณชาติญาณ

เป็นเวลานานมากกว่าเพื่อนๆจะมาพบกันในทางออกของบ้านผีสิง

เหลืออีกคนหนึ่ง...ซึ่งยังเดินวนเวียนไปวนเวียนมา จนมาเจอ

ผีตัวที่ 1 เป็นผีผูกคอ เมื่อเดินผ่านก็มีเสียงจากเครื่องขยายเสียงทำงาน

ผีตัวที่ 2 เป็นผีคนคุก ผีตัวที่ 3 เป็นผีผมยาวปิดหน้าปิดตา เขาเดินต่อไป ต่อไปเป็นเวลานานจนมาถึงผีตัวสุดท้าย

ผีตัวที่ 13 ลักษณะของผีตัวนี้แปลกๆ เป็นเด็กสาวผมยาวสลวย อยู่ในห้องคนคุกเดินวนไปวนมาอยู่ในคุก เขาสงสัยมากว่าทำไมกลไกของผีตัวนี้ดูน่าสนใจ

ยิ่งนัก เมื่อเดินเข้าไปใกล้ๆ เธอหยุดนิ่ง และท่าทางดูสงบ เธอค่อยๆหันหน้าขึ้นมาและถามว่า "เธอต้องการอะไร" เด็กหนุ่มตอบไปอย่างทันควันว่า

"ผมอยากออกไปจากที่นี่ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด" ผีเด็กสาว ยิ้ม เธอยิ้มและขำเสียงดังจนดูเหมือนเส้นเสียงในคอของเธอจะปิดปกติจนเธอสำรอกออกมาเป็น

เลือด !!

และทันใดนั้นเอง เด็กสาวเดินมาอย่างรวดเร็วและจับแขนเด็กหนุ่มพาวิ่งไปหาแสงจ้าซึ่งดูเหมือนจะเป็นทางออกแต่ ไม่ใช่ !!~ มันไม่ใช่

...

เคยมีตำนานว่า บ้านผีสิงทุกแห่งจะมีผีตัวจริงซุกซ่อนอยู่ ซึ่งตามหลักของศาสนาคริสต์แล้ว เลข13 เป็นเลขอัปมงคล

นั่นก็คือ ทุกบ้านผีสิง..........ผีตัวที่ 13 คือ ตัวจริง !!!!!!   


ที่มา
http://board.narak.com/topic.php?No=452365

131
หญิงชรากับบ้านปิดตาย ของจริง


ยามที่คุณเดินผ่านบ้านไม้เก่าๆที่ไม่มีคนอาศัยอยู่ ในยามราตรีคุณรู้ศึกยังไง แต่สำหรับผมมีความรู้เหมือนมีคนจองมองผมอยู่ที่บ้านไม้หลังนั้น แต่ผมไม่กล้าพอที่จะกลับหันไปมองบ้านไม้หลังนั้น เพราะความหวาดกลัวสิ่งที่ไม่ใช้มนุษย์ และผมก็พญายามเดินหน้าต่อไป ด้วยอาการสั่นๆ และในที่สุดสิ่งที่ผมไม่อยากได้ยินก็เกิดขึ้น ผมได้ยินเสียงร้องโหยหวนของผู้หญิง เสียงนั้นมันดังมากๆ จงทำให้ผมสะดุ้งตกใจและวิ่งกลับบ้านอย่างรวดเร็ว...............................

เรื่องเกิดขึ้นที่จังหวัดชัยภูมิ อำเภอภูเขียว ตำบลxxxxx
มันเป็นงานเลี้ยงสังสรรค์ของชาวบ้านมีประมาน100คนได้และผมก็ต้องมาด้วยเพราะพ่อผมเป็นเจ้าภาพ จัดงานอยู่ที่สวนไกลออกจากหมู่บ้านเล็กน้อยเวลาประมาน 4 ทุ้มทุกคนที่นั้นก็กินอิมหนำสำราญกันอยู่ตามปกติ แต่สำรับพวกผม7คนนั้นก็เป็นพวกสำรวจชอบไปป่าบ้างไปหนองน้ำบ้าง และในที่สุดเวลาก็ลวงเลยมานานมากกับการสำรวจ นาฬิกาที่อยู่บนข้อมือของผมบอกเวลาว่า ตีหนึ่ง ผมก็เลยบอกทุกคนว่า"พี่จะเล่นผีถวยแก้ววะ ใครจะเล่นด้วย" มีคนประติดเสด3คน คือ ฟลุ๊ก แนน และแพ(กระเทย ทอม ทั้งนั้น)ผมก็เลยไม่ห้ามแต่กฎมีอยู่ว่าถ้าใครที่ไม่ได้เล่นเกมผีถ้วยแก้วนั้นห้ามมองดูหรืออยู่ด้วย ผมก็เลยบอกพวกเขาให้กับไปที่งาน และพวกผมก็เริมเล่นกัน 4 คนมี พิษ นน ฟรีม และผม(คิม)วิธีการล่นต้องกระดานให้พร้อมและก็จุดธูปเชินวิญาณและก็เอาควันธูปไส้เข้าไปในแก้วแต่เล่นไปมากวิญาณก็ไม่เข้าแก้วสักที่ จงเราจะเลิกเล่นแต่อยู่ดีๆ ก็มีคนเดินมาทางที่พวกผมกำลังเล่นกันอยู่ และเดินเข้าพูดว่าอยากเล่นแบบเจอผีไหม พวกผมทุกคนก็พูดว่า"อยากๆครับ" สภาพของชายแก่คนนั้นเหมือนกับคนจรจัดไม่มีผิดอายุราว 80 แต่ผมก็ไม่ได้นึกอะไรเขาบอกว่าตามมา แต่ก็มีไอ้ นน บอกว่า"ไม่ไว้ใจเลยพี่กลัวมันจับไปฆ่า" ผมก็เลยบอกว่าไม่ไปครับ เขาก็อยากให้พวกเราไป เขาก็เลยให้เราค้นตัวว่ามีอาวุธไหม และ ให้ดูบัตรประชาชนแต่ผมเห็นบัตรนั้นมันนานมากและหมดอายุไปนานแล้ว ผมก็เลยถามว่า"ตาทำไหมไม่ไปต่ออายุ"ชายแกคนนั้นบอกว่า"ตาไม่มีเวลาไปสักที่" ผมก็เลยไม่สนใจอะไร ทุกคนตัดสินใจว่า:ไปก็ดีไหนไหนก็เคยไปบ้านร้างมาแล้วตาแกแก่มากทำอะไรเราไม่ได้หลอก" และทุกคนก็ไปกันประมานครึ่งกิโลเมตรได้ และมาถึงบ้านร้างเก่าๆ และเราก็เริ่มเล่นกัน แต่ตาไปไหนไม่รู้ และในที่สุด ฟรีมก็พูดขึ้นว่า"คนอยู่ตรงหน้าต่าง"ผมก็เลยไม่เชื้อคิดว่าคงเป็นสัตว์มากกว่าคน เพราะสภาพบ้านนั้นไม่มีมนุษย์คนไหนสามารถอาศัยอยู่ได้ เพราะเป็นบ้านร้างไม้เก่าที่อยู่ในป่าทึม แต่มันหน้ากลัวเกินกลัวคนจะมาอยู่ได้ ผมก็เลยบอกว่า"หน้าจะเป็นแมวมากกว่าวะ"และฟริมพูดอีก"คนๆไม่ใช้แมว"ผมก็เลยมองเข้าไปที่หน้าต่างก็เห็นฆญิงชรากำลังมองดูพวกผมอยู่ในตัวบ้านผมก็เลยร้องกรีดและกระโดดไปมา และทุกคนในนั้นก็เห็นเหม์อนผม และก็บอกว่า"ห้ามวิ่ง เดินไปด้วยกันจับมือกันไว้และเดินไปข้างหน้าช้า"ความรู้สึกต้องนั้นกลัวมากคิดอยู่ในใจ "มาได้ยังไงวะ"แต่เสียงหญิงชราก็ร้องขึ้นว่า"พวกมึนจะไปไหน กูพูดได้ยินไหม กูบอกว่ามาหากู กูจะเอามพวกมึนมาตายแทนกู"พูดอยู่อย่านั้นไปเรื่อยๆ พวกผมก็ร้องไห้(เขียนไปหน้ากลัวมากครับ)แต่ว่าลุงที่พาพวกผมมานั้นก็บอกว่า"จะไปไหนไปตายแทนเมียกูเดียวนี้"และหญิงชราคนนั้นมาทางด้านผมหน้าตามีเลือดเต็มตัวตาแดงผิวขาวเสื้อลายดอก แต่พวกผมก็ไปต่อไม่ได้ได้แต่ร้องไห้ จนมีร่างของคนแกคนหนึงไส้ชุดสีขาว เป้นผู้ชายพูดว่า"ปล่อยพวกเขาไปเถะฉันขอร้องเขายังเด็กอยู่นะฉันของ"ผมมีความรู้สึกเชื้อเรื่องผีขึ้นมาเลย และแล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็หายไปมีแต่ตาแกจรจังที่พาพวงเรามา ในต้องนั้นเหมือนมีพลังที่จะวิ่งออกไปจากที่นั้นได้ และพวกผมก็วิ่งไปสวนกับชายแกจรจัง และวิ่งต่อไปจงถึงงานเลียงเวลาประมานตี 4 ทุกคนในงานลวนกับกันเกือบหมดแล้ว ผมก็เลยเราเรื่องทั้งหมดให้ ตาจอม ฟัง ตายเขาบอก"สมัยก็บ้านหลังนั้นเป็นบ้านชาวสวนสองผัวเมียชราคู่หนึ่งอยู่อย่างมีความสุด แต่อยู่มาวันหนึ่งมีโจรมาปล้นบ้านและฆ่าหญิงชราทิ้งด้วยการเผาทั้งเป็น และสามีของหญิงชรากับไม่สามารถช่วยอะไรได้เลยแม้แต่นิเดียว และสุดท้ายเขาก็ตามหาคนที่จะไปตายแท้หญิงชรา เพื่อให้ได้ไปผุกไปเกิด" เรื่องนี้เป็นเรื่องผมไม่อยากจะเล่าเลยที่เพือนอยากให้เขียน ติดตามตอนต่อไปได้เลย เรื่อง คำสาปแห่งความรัก ลาก่อนนะครับของให้ไม่เจอผีหลอกเหมือนผม      

ที่มา
http://board.narak.com/topic.php?No=453659

132
ประสบการณ์วิญญาณ / ผีในคุก
« เมื่อ: 21 ธ.ค. 2554, 09:14:12 »
ผีในคุก


เรื่องราวนี้เกิดขึ้นในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งที่อดีตเคยเป็นเรือนกักขังนัก โทษเก่ามาก่อน จึงไม่แปลกที่จะกลายเป็นดินแดนที่ใช้ประหารนักโทษมากมายหลายศพจนนับไม่ถ้วน!! นักเรียนชมรมสังคมต้องอยู่ศึกษาประวัติที่โรงเรียนจนดึก กว่าอาจารย์จะปล่อยกลับก็ล่วงเลยเวลามาเกือบสี่ทุ่ม ห้องสังคมนั้นตั้งอยู่ที่ตึก 5 ชั้น 3 บริเวณมุมด้านหลังสุด ดังนั้น เมื่อจะกลับก็ต้องเดินจากด้านหลังมาลงบันไดด้านหน้า ขณะที่ตามรายทางก็มีไฟเพียงไม่กี่ดวง

ระหว่างที่เหล่านักเรียนสังคมต่างรีบเดินออกมาเพื่อกลับบ้าน ปรากฏว่า “ลิง” ดันลืมโทรศัพท์มือถือไว้จึงต้องเดินกลับไปเอา พร้อมบอกให้ “นัด” เพื่อนสนิทรออยู่ตรงนี้อย่าไปไหน จะรีบไปรีบกลับ ขณะที่ครู และเพื่อนคนอื่นๆ ต่างรีบกลับจึงขอตัวไปก่อน ขณะที่ “นัด” รอเพื่อนอยู่เพียงลำพังนั้น ก็เกิดได้ยินเสียงเพลงคล้ายๆ รำสวด แล้วก็เสียงคนตะโกนโวยวาย “อย่าๆๆๆ ผมไม่ไป ปล่อยผม !!!! อย่าทำผมเลย” วินาทีนั้น “นัด” เริ่มแปลกๆ ที่ดึกแล้วจะมีใครมาตะโกนร้องแบบนี้ได้

เวลาผ่านไปสักพัก เสียงทุกอย่างเงียบไปจนน่าวังเวง “นัด” เริ่มรู้สึกกลัว พยายามมองซ้ายมองขวา แต่เพื่อนที่ไปเอาของก็ยังไม่กลับมา ตอนนี้เริ่มมีเสียงคล้ายๆ คนลากอะไรซักอย่างคล้ายโซ่แว่วมา มันเริ่มดังขึ้นๆ ๆ แล้วก็ใกล้เข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ ๆ จังหวะนั้น “นัด” ทนไม่ไหวจึงคิดที่จะวิ่งหนีออกไป แต่พรึ่บบบ มีมือหนึ่งมาจับที่แขนของเธอไว้ แต่พอหันไปก็พบว่าคนที่มาจับมือคือ “ลิง” เพื่อนสนิทของเธอเอง.. “นัด” รีบถาม “ลิง” ว่าได้ยินเสียงคนลากอะไรหรือเปล่า ? ซึ่ง “ลิง” ก็ตอบกลับมาทันทีเลยว่า “ได้ยิน เสียงคล้ายโซ่ใช่ไหม” เท่านั้นแหละทั้งสองคนต่างจับมือวิ่งลงตึกแบบไม่คิดชีวิต

ระหว่างที่วิ่งลงตึกอยู่ดีๆ “นัด” สะบัดมือ “ลิง” ออกอย่างกระทันหัน!! แล้วเดินกลับไปทางเดิมราวกับเหมือนโดนสะกด “ลิง” รู้แล้วว่าเพื่อนต้องโดนอะไรบางอย่างแน่ๆ จึงวิ่งไปหาพร้อมเขย่าตัว และตบหน้าเรียกสติเพื่อนอย่างนัด” กับ “ลิง” ไม่รีรออะไรแล้ว ทั้งคู่รู้แก่ใจแล้วว่าเป็นสิ่งลี้ลับแน่นอน จึงรีบวิ่งลงตึกแบบไม่คิดชีวิตจนกระทั่งไปชนกับใครคนหนึ่ง โครมมม !! พอตั้งสติได้ก็รู้ว่าคนที่ชนนั้นคือ “คงพ่อของลิง” คนเก่าแก่ของโรงเรียน ทั้งสองจึงเล่าเรื่องที่เจอให้ลุงคงฟังทันที

หลังจากที่ได้ฟังเรื่องจากนักเรียนทั้งสอง ลุงคงถึงกับตกใจ พร้อมเตือนว่า “ทำไมถึงไม่รีบลงมาพร้อมกันเยอะๆ ที่นี่เฮี้ยนมาก ลุงยังไม่กล้าขึ้นไปเลย หลายปีก่อนเคยมีเด็กหายไปไม่มีแม้กระทั่งศพ” สองสาวได้ฟังถึงกับสั่นผวา ด้าน “นัด” ก็เล่าให้ฟังอีกว่า ตอนที่สะบัดมือ “ลิง” เพราะระหว่างวิ่งได้หันกลับไป เห็น “ลิง” ยืนอยู่ จึงสะบัดมือออกเพราะคิดว่าเป็นมือผี แต่พอเดินไปหา “ลิง” ร่างของลิงก็กลับเปลี่ยนเป็นผู้ชายเหมือนนักโทษมีโซตรวนคล้องขาอยู่ จากนั้นก็ไม่รู้เรื่องอีกเลย มารู้สึกตัวอีกทีถูกตบหน้า

นับแต่เหตุการณ์ในวันนั้นเป็นต้นมา ก็ไม่มีใครได้พบเห็นสองสาวนักเรียนสังคมนั้นอีกเลย เพราะอาจจะลาออกไปเรียนที่อื่น แต่เรื่องนี้ก็ยังคงถูกบอกเล่าจากปากต่อปากสู่รุ่นน้องที่เข้ามาเรียนโรงเรียนแห่งนี้อยู่เรื่อยๆ..

ที่มา
http://board.narak.com/topic.php?No=460486

133
ธรรมวิจยะ พระอาจารย์ชา สุภัทโท : ตอนที่ 3
วันที่ 09 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 15:51:25 น.


  เงาสะท้อน “วัตถุ” กับ “จิต” 
 
มีความแตกต่างกันอย่างแน่นอนระหว่างไก่ป่า กับ แมงมุม
 
ไม่เพียงเพราะอย่างแรกอยู่บนพื้นดิน ไม่เพียงเพราะอย่างหลังอยู่บนต้นไม้ อยู่ตามอาคารบ้านเรือน
หากที่สำคัญ ๒ สัตว์นี้มีภาวะแห่งการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมือนกัน
 
อย่างหนึ่งจรไปในไพรกว้างและหาอาหาร อย่างหนึ่งสงบนิ่งอยู่ในที่ตั้ง รอคอยอย่างนิ่งเงียบ เยือกเย็น
จากไก่ป่า เมื่อสัมผัสเข้ากับแมงมุม ก็มองเห็นทวิลักษณะ
 
เพียงแต่เป็นทวิลักษณะแห่งการไหวเคลื่อน เสมือนกับว่าไก่ป่าเดินหน้าไปอย่างไม่พรั่นพรึง ขณะที่แมงมุมใช้ความสงบเข้าสยบการเคลื่อนไหว
 
กระนั้น ไม่ว่าจะเป็นไก่ป่าไม่ว่าจะเป็นแมงมุม ในที่สุดแล้วก็นำไปสู่ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับจิต
ดังพระอาจารย์ชา สุภัทโท เล่า ณ ที่ประชุมสงฆ์วัดหนองป่าพงระหว่างพรรษาปี ๒๕๑๙ ดังนี้
 
ได้เห็นแมงมุมเป็นตัวอย่าง แมงมุมทำรังของมันเหมือนข่ายมันสานข่ายไปขึงไว้ตามช่องต่างๆ
เราไปนั่งพิจารณาดู มันทำข่ายขึงไว้เหมือนจอหนัง เสร็จแล้วมันก็เก็บตัวมันเองเงียบอยู่ตรงกลางข่าย
ไม่วิ่งไปไหน
 
พอมีแมลงวันหรือแมลงอื่นๆ บินผ่านข่ายของมัน พอถูกข่ายเท่านั้นข่ายก็จะสะเทือน พอข่ายสะเทือนปุ๊บ มันก็วิ่งออกจากรังทันทีไปจับตัวแมลงไว้เป็นอาหาร
 
เสร็จแล้วมันก็เก็บตัวมันไว้ที่กลางข่ายตามเดิม
 
ไม่ว่าจะมีผึ้งหรือแมลงอื่นใดมาถูกข่ายของมัน พอข่ายสะเทือนมันก็วิ่งออกมาจับแมลงนั้นแล้วก็กลับไปเกาะนิ่งอยู่ที่ตรงกลางข่าย
 
ไม่ให้ใครเห็นทุกทีไป
 
อายตนะทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี้ ใจอยู่ตรงกลาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แผ่พังพานออกไป
อารมณ์นั้นเหมือนแมลงต่างๆ
 
พอรูปมาก็มาถึงตาเสียงมาก็มาถึงหู กลิ่นมาก็มาถึงจมูก รสมาก็มาถึงลิ้น โผฏฐัพพะมาก็มาถึงกาย
ใจเป็นผู้รู้จัก มันก็สะเทือนถึงใจ
 
เราจะอยู่ด้วยการเก็บตัวไว้เหมือนแมงมุม ที่เก็บตัวไว้ในข่ายของมัน ไม่ต้องไปไหน พอแมลงต่างๆ มันผ่านข่ายก็ทำให้สะเทือนถึงตัว รู้สึกได้ก็ออกไปจับแมลงไว้ แล้วก็กลับไปอยู่ที่เดิม
 
ไม่แตกต่างอะไรกับใจของเราเลย
 
อยู่ตรงนี้ ให้อยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ อยู่ด้วยความระมัดระวังอยู่ด้วยปัญญา อยู่ด้วยความคิดถูกต้อง
เราอยู่ตรงนี้ เมื่อไม่มีอะไรเราก็อยู่เฉยๆ แต่ไม่ใช่อยู่ด้วยความประมาท
 
ดูแมงมุม แล้วก็น้อมเข้ามาหาจิตของเรา มันก็เหมือนกันนั่นแหละ ถ้าจิตเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันก็วาง
ไม่เป็นเจ้าของสุข ไม่เป็นเจ้าของทุกข์ อีกแล้ว
 
ระหว่างแมงมุมกับแมลง  จึงเห็นได้ว่ามีตาข่ายเป็นตัวกลาง
 
เหมือนกับตัวเรากับปัจจัยภายนอก เหมือนใจของเรากับธรรมารมณ์ อันก่อให้เกิดขึ้นหลังจากอายตนะทั้ง ๖ ได้ประสบ
 
อยู่ๆ จิตจะผุดพร่างเผยแสดงตัวตนได้ละหรือ
 
ที่สำคัญ ต้องมีปัจจัยจากภายนอกเข้ามาสัมผัส เข้ามาสัมพันธ์กับอายตนะ ๖ อย่างที่ปรากฏ นั่นก็คือ พอรูปมาก็มาถึงตา เสียงมาก็มาถึงหู กลิ่นมาก็มาถึงจมูก รสมาก็มาถึงลิ้น โผฏฐัพพะมาก็มาถึงกาย
 
ขณะที่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหมือนกับปัจจัยภายนอกอันมามีผัสสะกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ตาข่ายแห่งแมงมุมจึงเท่ากับเป็นเงาสะท้อนระหว่างวัตถุกับจิตด้วยประการฉะนี้

ที่มา
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323421341&grpid=no&catid=&subcatid=

134
ขอบคุณครับ

135
4วิธีดึงสติสร้างสมาธิ
วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2554 เวลา 00:00 น.



ปรารถนาจะเรียนหนังสือเก่ง ทำงานดี มีความจำเลิศ อย่าละเลยการสร้าง “สมาธิ” ตัวช่วยสำคัญหยุดจิตสับสน ว้าวุ่น ทำสมองปลอดโปร่ง ฝึกง่าย ๆ ด้วย 4 วิธี

สร้างสมาธิก่อนเรียน หรือ ทำงาน โดยนั่งบนเก้าอี้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องหลับตา เพียงให้มีสติรู้ลมหายใจเข้า-ออก กำหนดจุดเพ่งมอง ปฏิบัติประมาณ 5-10 นาที ช่วยขจัดความยุ่งเหยิงทางใจ สมองคลายเครียด พร้อมใช้ความคิด ทั้งยังรับรู้ และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น

ลดความเร็วในการเดิน ให้จิตใจจดจ่ออยู่กับการก้าว สลับกับพิจารณาสิ่งแวดล้อมรอบตัว ช่วยผ่อนคลายความเครียด และกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต สามารถประยุกต์ใช้เมื่อเดินเล่น เดินไปเรียน และทำงานได้

รับประทานช้าลง โดยค่อย ๆ ตักอาหาร และเคี้ยวให้ละเอียด ไม่เพียงลดอาการท้องอืด และลดการทำงานหนักของกระเพาะอาหาร ยังเป็นการฝึกรวบรวมสมาธิให้จดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำด้วย

เลี่ยงคาเฟอีนเข้มข้น แม้คาเฟอีนจัดเป็นสารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ลดความง่วง เหนื่อยล้า เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า ทำให้กลไกการคิดรวดเร็ว และมีสมาธิขึ้น แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับในปริมาณไม่มากเกินไป โดยเฉพาะวัยเรียน อาจลดความเข้มข้นจากการดื่มกาแฟเป็นชาแทน

หากต้องการกำจัดความฟุ้งซ่าน เข้าสู่โหมดสงบ มีสติ ลองสร้างสมาธิด้วยวิธีข้างต้น สามารถฝึกปฏิบัติได้ทุกที่ เมื่อสติมาปัญญาย่อมเกิดแน่นอน.

ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
http://www.dailynews.co.th/citizen/2804

136
ขออนุญาตนำบทความของท่านพระอาจารย์มาแจมด้วย จาก fb

อ้างถึง
Ravee Sajja
‎.......การคิดและพิจารณาธรรมนั้น จะรู้ว่าสิ่งที่เรารู้และเข้าใจนั้นถูกต้องหรือไม่
ก็ต้องใช้การสงเคราะห์เข้าหาหลักธรรมทุกหมวดหมู่ในธรรมที่คิดว่ารู้และเข้าใจ
เพราะธรรมทั้งหลายนั้นจะไม่มีการขัดแย้งกัน ธรรมจะสงเคราะห์และอนุเคราะห์
ซึ่งกันและกันในทุกหมวดหมู่ และเมื่อได้ลองเทียบดูแล้วเกิดความขัดแย้งกัน
ให้หันกลับมาพิจารณาที่ความคิดของเราว่ามีความคิดเห็นคลาดเคลื่อนจากความ
จริงในจุดไหน มีอะไรเป็นเหตุและปัจจัยที่ทำให้เรามีความคิดเห็นเป็นอย่างนั้น
อย่าไปวิจารณ์ธรรมตีความหมายขยายความในหัวข้อธรรมเพื่อให้รองรับความคิด
เห็นของเรา จงกลับมาดูที่ความคิดเห็นของเรา อย่าได้เข้าไปปรับเปลี่ยนหลักธรรม
หลักธรรมนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่กับธรรมชาติอยู่ก่อนแล้ว แต่ความคิดเห็นของเรานั้น
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นความรู้และความเข้าใจที่เกิดจากทิฏฐิอัตตา
อย่าไปปรับหลักธรรมเข้าหาความคิดเห็นของเราเพื่อให้รองรับความคิดเห็นของเรา
จงปรับความคิดของเราเข้าหาหลักธรรม ความรู้ความเห็นทั้งหลายที่สงเคราะห์เข้า
ได้กับทุกหมวดหมู่ของหลักธรรมนั้น คือความคิดเห็นที่ถูกต้องตามหลักแห่งธรรม
ที่จะนำไปสู่ความรู้และเข้าใจในธรรมที่ยิ่งขึ้นไปในข้อธรรมทั้งหลาย....

137
ตายแล้วไปไหน โดยหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง (ุ9/9)

เต่าให้การว่า “ครั้งหนึ่งที่เขามีชีวิตเป็นเต่า มีคนชอบดื่มสุราจับเอาไปหวังจะฆ่าเพื่อทำอาหารแกล้มสุรา คนๆ นี้ได้ช่วยให้เขารอดชีวิต คือขอซื้อจากนักเลงสุรานั้น แล้วเอาเขาไปปล่อยไว้ในสระวัดหนึ่ง เมื่ออยู่ในสระนั้น พระท่านเอาอาหารมาเลี้ยงอิ่มหนำสำราญ เขาอยู่มาจนสิ้นอายุขัย จึงตายตามสภาพของการสิ้นอายุ”

พยายมถามว่า “มีหลักฐานอะไรเป็นเครื่องยืนยัน”
 
เต่าบอกว่า “เขาเขียนชื่อติดไว้ที่อก” เขาจึงนอนหงายเพื่อแสดงหลักฐาน
 
เมื่อเจ้าหน้าที่ดู ปรากฎว่าเป็นชื่อพี่สาวท่าน แต่ทว่าพี่สาวเป็นคนออกเงิน ท่านเป็นคนซื้อและนำไปปล่อย นายบัญชีเปิดบัญชีพบตามนั้น เป็นอันว่าท่านได้อาศัยเต่าช่วยไว้ ไม่ต้องไปเกิดเป็นไก่และนกกระจาบให้เขาฆ่ากินชั่วคราว ใครจะว่าสงเคราะห์สัตว์ไม่ดีก็ตามใจเถิด ท่านว่าท่านเห็นคุณในการสงเคราะห์สัตว์แล้ว สมัยที่ท่านเล่าเรื่องนี้ ท่านว่าท่านปล่อยสัตว์ทุกปี ปีละหลาย ๆ คราว คราวละมาก ๆ ท่านว่าสัตว์เคยช่วยท่าน ท่านไม่ยอมฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอีกเลย

ท่านพระยายมเมื่อเห็นหลักฐานอย่างนั้น ก็บอกท่านว่า “เธอกลับไปได้ เมื่อกลับแล้ว จงอย่าทำบาปกรรมทำชั่วอีกนะ ถ้าขืนทำไม่มีใครช่วยได้ จะต้องรับผลกรรมเป็นทุกข์ โดยเฉพาะสัตว์ที่มีอายุมาก เช่นจระเข้ เสือ ช้าง เต่า สัตว์พวกนี้มีอายุมาก จะต้องเกิดชดใช้ตามอายุสัตว์ มีเวลานานมากกว่าจะไปรับผลความดีเป็นเทวดา”

ท่านมีกำลังใจขึ้น ถามพระยายมว่า “ทำบุญอะไรไว้จึงได้มาเกิดในที่นี้ มีบ้านเรือนสวยงามมาก มีคนรับใช้ก็มากมาย”

พระยายมตอบว่า “ต้องสร้างสาธารณะสถาน เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ เป็นต้น เมื่อใช้กรรมชั่วหมดแล้ว ก็จะต้องมีโอกาสมาอยู่ที่นี้”

ต่อจากนั้นก็สั่งให้คนนำไปชมสถานที่ต่างๆ ไปดูคนที่จะไปเกิดเป็นมนุษย์ ท่านเดินตามเจ้าหน้าที่ไป ได้เห็นสวนต้นไม้สวยสดตระการตา มีสีสันคล้ายแก้ว ดูระยิบระยับแพรวพราว ไม่เหมือนต้นไม้บ้านเรา เห็นชายหญิงกลุ่มใหญ่ หาคนแก่ไม่ได้ แต่ละคนมีเครื่องแต่งกายสวยงามมากมีความสุขสันต์หรรษา


ถามเขาว่า “คนพวกนี้เป็นใคร”

คนนำเขาบอกว่า “พวกนี้กำลังรอเวลาจะไปเกิดเป็นมนุษย์ มีความสุขมาก ไม่ต้องบริโภคอาหาร มีความอิ่มหนำสำราญเป็นปกติ”

ท่านถามเขาว่า “พวกนี้เป็นเทวดาใช่ไหม”

เขาตอบว่า “ใช่”

ท่านถามเขาว่า “พระพุทธเจ้าที่ท่านเข้าสู่นิพพานนั้น ท่านอยู่ที่ไหน”

เจ้าหน้าที่ให้แหงนหน้าขึ้น มองเห็นฟ้าเตี้ยๆ สูงจากพื้นที่ยืนประมาณไม่ถึงกิโลเมตร เห็นดวงดาวใหญ่มีแสงสว่างมาก และมีดาวดวงเล็กๆ ล้อมรอบ เจ้าหน้าที่บอก

“ดาวดวงใหญ่คือพระพุทธเจ้า ดาวดวงเล็กคือพระสาวก ท่านไม่ต้องรับผลตามกฎของกรรมอีกแล้ว เพราะจิตท่านบริสุทธิ์”

ท่านถามเขาว่า “เขาว่าพระเข้านิพพานแล้วมีสภาพสูญ ไม่มีปรากฎการณ์ ทำไมพระที่เข้านิพพานท่านจึงว่ามีองค์ปรากฎ”

เจ้าหน้าที่ฟังแล้วยิ้ม ท่านบอกว่า “ที่เข้าใจอย่างนั้นเพราะยังไม่รู้จักนิพพานจริงๆ กระมัง”

ต่อจากนั้นเขาก็นำท่านมาส่ง ท่านสลบไปเมื่อเวลา ๑๙.๐๐ น. ท่านรู้สึกตัวขึ้นเมื่อเวลา ๒๐.๐๐ น. เมื่อรู้สึกตัวคราวนี้ อาการโรคหายหมด มีกำลังดีมาก คล้ายเด็กรุ่นหนุ่ม ท่านปฏิญาณตนว่า ไม่ยอมมอบใจให้เป็นทาสของกรรมชั่วตลอดชีวิต

วันนี้ ได้เล่าเรื่องของท่านศิริมาพอสมควร ขอยุติเรื่องของท่านไว้เพียงนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ท่านพุทธบริษัททุกท่าน สวัสดี


ที่มา  http://www.prakammatanputtoe.com/board/board.php?id=000291
ที่มา http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=22898.0

138
ตายแล้วไปไหน โดยหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง (ุ8)

เจ้านกกระจาบนั้นท่านว่าในปีอายุ ๑๗ นั่นเอง ท่านไปยิงที่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ท่านใช้ปืนลูกซองยิงนกกระจาบคราวละครึ่งปีบน้ำมันหลายคราว

ถามท่านว่า “คิดที่จะปฏิเสธบ้างหรือไม่”

ท่านบอกว่า “อารมณ์ที่จะปฏิเสธไม่มีเลย เมื่อเขากล่าวหาตรงตามความเป็นจริงมันก็หมดกำลังใจที่จะคิดต่อสู้แล้ว”

ท่านว่า ท่านมีโจทก์ฟ้องรายการเท่านั้น นอกนั้นไม่มีใครเป็นโจทก์อีก
 
เมื่อถามท่านว่า “หลังจากตายวาระแรก สมัยอายุ ๑๙ ปีแล้ว ท่านทำบาปกรรมอะไรบ้างหรือเปล่า”

ท่านบอกว่า “ไม่เคยทำบาปเลย เจ้ากรรมฆ่าสัตว์นี้มันเป็นกรรมสมัยก่อนตายวาระแรกทั้งนั้น”


เมื่อเจ้าไก่และนกกระจาบโจทก์ฟ้องแล้ว ท่านพระยายมท่านก็กล่าวว่า  “เจ้าทำกรรมชั่วไว้มาก ถึงเวลาแล้วที่จะต้องชดใช้กรรม”

ความจริงท่านไม่ดุ ไม่ตวาด ท่านพูดอย่างคนมีเมตตา คือน้ำเสียงนิ่มนวล พูดเพราะพริ้ง แสดงว่าท่านมีเมตตาปรานี แต่กรรมที่ท่านทำนี้มันเป็นกฎลงโทษ พระยายมช่วยไม่ได้ คล้ายผู้พิพากษาเมืองมนุษย์ แม้จะมีความเมตตาปรานีจำเลยเพียงใดก็ตาม ถ้าปรากฎว่ามีพยานหลักฐานยืนยัน ก็จำต้องพิพากษาตามกฎหมาย พระยายมก็เหมือนกัน ท่านได้บอกว่า

“เมื่อถึงวาระชดใช้กรรม ก็ต้องจำต้องชดใช้ตามกฎของกรรม เรื่องการที่จะมีโทษมีทุกข์ประการใดนั้น มิใช่ใครจะเป็นคนบัญญัติให้ลงโทษอย่างนั้นอย่างนี้ กรรมที่ทำมาเองนั่นแหละเป็นผู้บังคับให้เป็นไป เธอต้องไปเกิดเป็นไก่ เป็นนกกระจาบ แล้วถูกเขาฆ่าเท่าอายุสัตว์แต่ละตัวจนกว่าจะครบกำหนด หมายความว่าถ้าสัตว์มีอายุสองปีต่อหนึ่งตัว ก็ต้องเกิดเป็นสัตว์ตัวนั้นให้เขาฆ่าสองครั้ง จนกว่าจะครบอายุและจำนวนสัตว์ที่ถูกฆ่า”

เสียดายที่พระยายมไม่ได้บอกมาว่า คนที่ฆ่านั้นจะไม่ต้องมีโทษเนื่องในการฆ่าสัตว์ น่าแปลกที่สัตว์ต่างๆ เกิดมาเพื่อถูกฆ่า แต่คนฆ่ากลับมีโทษ ไม่รู้จะเอาอย่างไรดี เล่าต่อไปดีกว่า พระยายมยังบอกต่อไปว่า

“ความดีของเจ้าก็มีมาก หลังจากชดใช้กรรมชั่วแล้ว เจ้าจะได้เกิดเป็นเทวดา เพราะผลบุญที่เจ้าทำไว้ เมื่อหมดวาระจากเทวดา เจ้าจะได้เกิดเป็นมนุษย์ใหม่”

มันยุ่งจริงนะ ให้เป็นเทวดาตลอดกาลก็ไม่ได้ จะได้ไม่ต้องมาเสี่ยงเวรเสี่ยงกรรมอีก ดีไม่ดีเกิดมาใหม่ ถ้าดันไปชอบเนื้อสดนอกกฎหมายเข้า จะต้องไปไต่ต้นงิ้วเข้าอีกจะลำบากใหญ่ ท่านพูดแล้วก็หัวเราะชอบใจ ต่อนั้นท่านพระยายมก็มีบัญชาให้เจ้าหน้าที่นำไปเพื่อเกิดเป็นไก่ เมื่อท่านกำลังเดินเพื่อออกนอกสถานที่นั้นเอง มีเสียงดังมาทางหลังว่า

“ช้าก่อน ๆ ๆ อย่าพึ่งลงโทษเขา ความดีของเขายังมีอยู่”

ท่านเหลียวหลังไปดู เห็นเต่าตัวหนึ่งคลานมา และร้องว่ามาตามที่กล่าวแล้ว ท่านพระยายมถามว่า “เขามีความดีอะไร”

ที่มา
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=22898.0
มีต่อ

139
ตายแล้วไปไหน โดยหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง (ุ7)

ในระยะต่อมา ท่านไปพบต้นไม้มีหนาม ต้นไม้ต้นนี้ไม่ต้องบอกก็พอจะรู้กระมัง ศัพท์ภาษาวัดท่านเรียก ฉิมพลีนรก แปลว่า นรกมีต้นไม้ชนิดหนึ่งที่เรียกว่าต้นงิ้ว ต้นไม้ต้นนี้ไม่ว่าใครทั้งนั้นที่มีอารมณ์ชอบเนื้อสดนอกกฎหมาย เป็นมีหวังได้ไปแสดงงิ้วบนต้นงิ้วนี้ทุกคน มันมีหนามแหลมคม ในภาพเหมือนสปริง มีคนไต่อยู่บนต้นงิ้วมากมาย ต้นไม้นี้เขาปลูกไว้เป็นระเบียบเรียบร้อย แต่หาใบสักใบไม่ได้เลย มีแต่หนาม คนที่จะขึ้นก็แสนสบาย เพราะถ้าไม่อยากขึ้นเอง เจ้าหน้าที่ก็ช่วยส่งขึ้นให้ วิธีส่งก็คือเอาหอกแทงเข้าที่ใดที่หนึ่ง แล้วก็ยกขึ้นไปบนต้นงิ้ว

เมื่อขณะที่คนพวกนั้นไต่อยู่บนต้นงิ้ว หนามทั้งแหลมคมก็ทิ่มแทงเอาจนเลือดไหลทั่วกาย เมื่อไต่ขึ้นไปถึงยอดแล้ว เจ้าหน้าที่ก็บังคับให้ไต่ลงมา เมื่อได้ระยะหอกแกก็เอาหอกแทงสอยขึ้นไป บังคับให้ไต่ขึ้นไปอีก ทำอยู่อย่างนี้ ไม่ได้ถามคนมารับว่าเมื่อไรจะได้พักกันเสียที และก็ไม่ได้ถามเขาด้วยว่าทั้งสองรายนี้มีโทษเพราะบาปอะไร ด้วยรู้อยู่แก่ใจแล้วว่า กระทะต้มนั้นตามความรู้บอกว่า เพราะชอบฆ่าสัตว์ที่มีชีวิตกินเป็นอาหาร รายที่สองนั้นเป็นนักนิยมเนื้อสดนอกกฎหมาย หรือนอกใจผัวนอกใจเมีย เป็นอันว่ารู้กันทั่วแล้วไม่ต้องอธิบาย ท่านพูดแล้วก็หัวเราะชอบใจ ท่านที่นิยมเหตุทั้งสองประการ โปรดรับทราบไว้ด้วยไหนๆ ก็จะถูกลงโทษ ถ้ายั้งได้ก็ยั้ง ถ้ายั้งไม่ได้จะขยุกใหญ่ก็ตามใจเถิด ผู้เล่าไม่ขอขัดคอใคร

เมื่อผ่านสถานลงทัณฑ์ทั้งสองแห่งไปแล้ว ท่านว่า ท่านเดินขึ้นบันไดต่ำๆ ก็บันไดเดิมนั่นเอง ที่เคยขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่ง เรื่องการผ่านไม่เล่ากันดีกว่า มันก็แบบเดิม ตอนที่เดินผ่านไปนั้น คราวนี้ไม่เหมือนคราวก่อนก็คือ เห็นไก่อูยืนอยู่ ๒-๓ ตัว กำลังหาอาหารกินเหมือนกัน มันอยู่กันที่สนามบัลลังก์พระยายมนั่นเอง คิดในใจว่าพระยายมนี่ก็ชอบเลี้ยงนกเลี้ยงไก่เหมือนกัน แต่พอเข้ามาถึงสำนักพระยายม ปรากฎว่าวันนี้ท่านมานั่งรออยู่ก่อนแล้ว เมื่อยืนหน้าบัลลังก์ เจ้าไก่อูฝูงนั้นที่คิดว่าเป็นไก่ที่พระยายมเลี้ยงไว้ และนกกระจาบก็เหมือนกัน มันกลายเป็นโจทก์ไป


ท่านเองตกเป็นจำเลยของไก่และนกกระจาบ เจ้าไก่อูตัวใหญ่เข้ามาก่อน มันพูดภาษาคนได้คล่องแคล่วและชัดเจน มันฟ้องว่า  “ท่านศิริฆ่ามันสองครั้งสองหน”

และเจ้าไก่ทุกตัวก็ฟ้องทำนองเดียวกัน มันรายงานว่า  “ท่านศิริใจคอโหดร้ายมาก เอามันเชือดเป็นอาหาร”

ฝ่ายเจ้านกกระจาบก็รายงานว่า “ท่านศิริเอาปืนยิงพวกมัน”

ท่านว่า ตายคราวนี้แย่กว่าคราวก่อน เพราะคราวก่อนไม่มีโจทก์ คราวนี้โจทก์มากมายเหลือเกิน ต่างก็ยืนยันว่าจำท่านได้

ถามท่านว่า เมื่อเจ้าพวกนั้นกล่าวโจทก์ท่าน ท่านมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง ท่านบอกว่า พอสัตว์พวกนั้นโจทก์ขึ้นมา ท่านเองก็นึกเหตุการณ์ต่างๆ ได้หมด คือเมื่อท่านอายุ ๑๗ ปี ก่อนที่ท่านตายครั้งแรก ๒ ปี ท่านฆ่าไก่อูตัวนั้นจริง ท่านเชือดหลอดลมขาดแล้วมันยังวิ่งไปได้ ท่านจึงไปจับมาเชือดใหม่จนมันตายจึงทำอาหารกิน ส่วนไก่อื่นๆ ท่านก็ฆ่าจริง


ที่มา
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=22898.0
มีต่อ

140
ตายแล้วไปไหน โดยหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง (ุ6)

เป็นอันว่า เรื่องการตายเป็นกฎธรรมดาที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ ถ้ายอมรับว่าตัวจะต้องตาย และคิดไว้ว่าเมื่อเป็นคนก็อยากเป็นคนดี มีความสุข เป็นผีก็อยากเป็นผีดี เป็นผีที่มีความสุข คนที่เมื่ออยู่เป็นสุข ตายแล้วก็เป็นสุข จะทำอย่างไรจะไม่อธิบาย ท่านจะได้ทราบในเรื่องของท่านศิริ ตอนที่ท่านตายในวาระที่สอง ดังจะเล่าให้ฟังต่อไปนี้

เมื่อถึงกำหนดที่ท่านพระยายมบอกมาว่า อายุ ๒๗ ปี เจ้าต้องตาย เมื่ออายุย่างเข้า ๒๗ ปี ๕ เดือน ก็เริ่มป่วยเจ็บออดๆ แอดๆ ตลอดมา เป็นอย่างนั้นประมาณปีเศษ โรคที่เป็นก็คือโรคกระเพาะอักเสบ แพทย์แนะนำให้ผ่าท้องเพื่อตัดกระเพาะส่วนที่เสียทิ้ง อาการได้ดีขึ้น และจะพ้นจากการทรมานจากโรคร้าย ท่านและญาติทุกคนก็เห็นชอบด้วย เมื่อถึงกำหนดเวลาที่หมอจะทำการผ่าตัดคือเวลา ๙.๓๐ น. หมอเอายาสลบวางเพื่อให้หมดความรู้สึก เป็นการสะดวกต่อการผ่าตัด

เมื่อหมอให้ยาสลบแล้ว ก็ปรากฎว่าพบสหายเก่าทั้งสอง คือชายร่างใหญ่ตัวดำสองนายนั้นมายืนคอยอยู่แล้ว ท่านว่าตอนนั้นท่านมีความรู้สึกว่า สัญญาใดที่พระยายมให้ไว้มาถึงท่านแล้ว เพราะจำเจ้านายตำรวจผีสองนายนั้นได้ดี เขาเริ่มชักชวนตามแบบเดิม ท่านก็ไม่ขัด เพราะยังจำคำของพระยายมได้ว่า อายุ ๒๗ ปี เธอจะต้องตาย

คำว่า ตาย แปลว่า วิญญาณออกจากร่างเดิม ไม่ใช่ตายแล้วไม่รู้เรื่อง คราวนี้ท่านบอกว่า ก็ไปตามแบบเดิม แต่ไม่ต้องไปยืนให้ทหารหน้ามุ่ยร่างกายกำยำขนาบข้าง เขาพาเข้าเฝ้าเลยทันที พอถึงพบพระยายมท่านนั่งคอยอยู่แล้ว แต่ทว่าระหว่างที่เดินไปก่อนจะถึง จะเป็นเพราะชินต่อทางเดินหรืออย่างไรไม่ทราบ รู้สึกปกติ ไม่หวั่นไหวเหมือนคราวก่อน

ก่อนจะถึงสำนักพระยายม ท่านได้เห็นการลงโทษสัตว์นรก คือคนที่ทำชั่วในเมืองมนุษย์แล้วตายไป สิ่งที่ท่านเดินผ่านและเห็นนั้นคือกระทะต้มน้ำร้อนใบใหญ่มาก มีน้ำร้อนเดือดพล่าน น้ำนั้นไม่ใส มีสภาพคล้ายน้ำหลอมทอง มีความร้อนสูงมาก มีเจ้าหน้าที่สองคนยืนอยู่ใกล้กระทะ มีคนที่ถูกลงโทษยืนเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบหลายคนด้วยกัน ในกระทะมีคนที่ถูกต้มลอยอยู่ในนั้นหลายคน ในน้ำร้อนมีเปลวไฟแลบอยู่ตลอดเวลา

ข้างๆ กระทะมีคนที่ถูกต้มจวนจะสิ้นแรง ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่เอาขึ้นมา แล้วให้นั่งอยู่ใกล้ๆ กระทะนั่งร้องครวญครางอย่างน่าสงสารอยู่หลายคน คนที่กำลังลอยอยู่ในกระทะนั้น ดูเหมือนจะร้องครวญครางอย่างน่าสงสารอยู่หลายคน คนที่กำลังลอยอยู่ในกระทะนั้น ดูเหมือนจะร้องเหมือนกันแต่คงร้องไม่ทัน พอจะได้ยินเสียงร้องก็ต้องหมุนตัวกลับลงก้นกระทะเพราะความแรงของน้ำที่เดือดพล่าน ทำให้ทรงตัวอยู่ไม่ได้ มองดูตัวเห็นเนื้อหนังเปื่อยยุ่ยแต่ไม่มีใครตาย

สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมนั้นก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติคือ เมื่อเห็นว่าคนที่กำลังถูกต้มสลบไสลคอพับคออ่อนหมดกำลังดิ้นแล้ว แกก็เอาสามง่ามเหล็กแทงคนที่มีสภาพอย่างนั้นขึ้นจากกระทะทีละคน ทำแบบสบายใจ ไม่รีบร้อน แล้วก็เอาสามง่ามเหล็กนั่นแหละแทงคนที่เอามาพักไว้ ให้ลงไปในกระทะทีละคน คล้ายกับคนทอดกล้วยทอด ดูแกไม่มีความรู้สึกสงสารเลย ทำเหมือนคนพวกนั้นไม่มีชีวิต คิดๆ ไปก็คล้ายกับคนต้มสัตว์ มีปลาเป็นต้น ปลาจะร้อนหรือไม่ ไม่มีความห่วงใย ค่อยๆ จับใส่หม้อทีละตัวสองตัว แทนที่จะสงสาร กลับมีปีติคือคิดว่า อีกประเดี๋ยวเถอะฉันจะกินแกให้อร่อย สมกับที่ตั้งใจไว้ แต่พวกพนักงานในเมืองนรกไม่ได้กินสัตว์นรกเหมือนคนกินปลา คงทำตามหน้าที่เท่านั้น ถ้าหากมีสิทธิกินได้ด้วย คงจะลดค่าครองชีพได้มากทีเดียว

เมืองนรกนี้แปลกไม่รู้จักหากิน เมืองเราคนเก่งกว่าผี คนที่มีฟันดีดีสามารถกินจอบกินเสียมกินหินกินทรายได้ทุกอย่างที่ต้องการ เรื่องของคนที่มีความสามารถไม่สิ้นสุด พูดไปก็เป็นภัยแก่ปาก ถ้าขืนพูดมากปากจะมีเลือด ไม่พูดดีกว่า ว่ากันถึงเรื่องของผีดีกว่า

ที่มา
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=22898.0
มีต่อ

141
ตายแล้วไปไหน โดยหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง (5)

เรื่องของผีที่ตายจากความเป็นคน แล้วคิดถึงห่วยใยคนที่มีชีวิตอยู่นี้ ท่านคงจะทราบจิตใจของผีแล้วว่า ทุกคนที่ตายจากความเป็นคนแล้ว ไม่มีใครลืมสภาพเมื่อยังไม่ตาย และเรื่องการตายที่คิดว่าสิ้นทุกข์ก็ไม่ตรงตามความเป็นจริง ทุกเรื่องที่ท่านอ่านมาแล้ว ท่านเคยเห็นไหมว่ามีเรื่องใดบ้างที่คนตายไปแล้วมีสภาพสลายตัว ไม่มีความรู้สึกเย็นร้อนทุกข์สุข หาไม่ได้เลย ทุกท่านที่ตายแล้วกลับฟื้นคืนมา หรือตายแล้วเกิดใหม่ ทุกท่านรายงานเหมือนกันหมดว่า ทุกอย่างมีสภาพตามเดิม หมายถึงความรู้สึกของจิตใจ มีสุขมีทุกข์เหมือนเดิม

ที่ว่าตาย ก็ปรากฎว่าตายแต่สังขารร่างกาย อีกส่วนหนึ่งกลับมีสังขารร่างกายใหม่เกิดขึ้นมาทดแทนร่างกายเดิม มีทุกอย่างเหมือนกัน ความรู้สึกก็เท่าเดิม มีทุกข์มีสุขเหมือนกัน ท่านอ่านแล้วท่านสงสัยหรือไม่ว่า เจ้าสังขารที่มีมาแทนสังขารที่สิ้นลมปราณแล้วนั้นมันมาจากไหน ถ้าสงสัยก็คิดเอาเพียงง่าย ๆ ว่า เมื่อเวลาที่ท่านนอนหลับ แล้วฝันว่าไปทางไหนทำอะไร มันมีร่างกายตามสภาพเดิม ทำอะไรได้ทุกอย่าง มีความรู้สึกนึกคิดเหมือนสังขารที่นอนหลับปุ๋ยอยู่นั้นทุกอย่าง สังขารอันนั้นมันมาจากไหน ถ้ายังสงสัยก็ต้องขอผ่านไปก่อน


ตอนนี้พูดถึงเรื่องของท่านศิริต่อไป เพราะเรื่องของท่านยังไม่จบ ท่านยังจะตายให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบถึงการตายวาระที่สองต่อไป ท่านเล่าให้ฟังว่า เมื่อท่านขอร้องให้นายตำรวจผีมาส่งท่าน เขาก็ไม่ขัดใจ เขาพาเดินมาเพื่อส่งให้ถึงบ้าน เมื่อเดินได้เล็กน้อย เขาก็บอกว่า

“ต่อไปนี้เธอไปเองเถิด อีกไม่ไกลก็ถึงบ้าน”

ท่านบอกว่า ท่านพยายามขอร้องให้เขาเดินมาส่งอีก เขาไม่ยอม เขาบอกว่า

“เดินไปเถอะ ประเดี๋ยวก็ถึง”

ว่าแล้วเขาก็หันหลังกลับ ท่านไม่รู้จะขอร้องให้เขาพาไปส่งได้อย่างไร ก็ตั้งใจหันกลับเพื่อจะเดินทางต่อไป ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าทางที่จะไปบ้านนั้นไปทางไหน พอหันหลังหวังจะเดินต่อไป ก็ปรากฎว่าเท้าไปสะดุดรากไม้เข้า ท่านล้มลง ต่อนั้นก็มีอาการคล้ายหวิวเหมือนตกจากที่สูง แล้วก็รู้สึกตัวว่ามาปรากฎอยู่ในร่างเดิม มีอาการคล้ายหลับแล้วฝันไป และตื่นขึ้นมา เมื่อลืมตาขึ้น เห็นคนที่บ้านมีพี่สาวหลายคน ทุกคนมีอาการคล้ายร้องไห้ เมื่อเห็นท่านรู้สึกตัว ต่างก็พูดว่า

“ฟื้นแล้ว ๆๆ”

เมื่อรู้สึกตัวขึ้นมา ท่านว่ารู้สึกกระหายน้ำมาก ขอน้ำเขาดื่ม และหิวข้าวเป็นกำลัง ได้ขออาหารมารับประทาน รู้สึกว่าอาหารมื้อนั้นอร่อยมาก อาการที่ปวดฟันก็หายไปสิ้น ไม่มีอาการเจ็บหรือปวดเลย ต่อมาก็ได้เล่าเรื่องที่ผ่านมาให้ทุกคนฟัง ทุกคนต่างพากันแปลกใจและดีใจที่ท่านไม่ตาย ตอนนี้เป็นการตายครั้งแรก ยังมีการตายวาระที่สองต่อไป

เมื่อท่านอายุ ๒๗ ปี ๕ เดือน ท่านต้องตายตามคำที่ท่านพระยายมบอกว่า เรื่องตายตามกำหนดนี้ นี่น่าคิดมากเพราะตามเรื่องของบุญชู ก็มีคนตายตามกำหนดที่เขาบอกมา มารายนี้ก็เป็นเช่นเดียวกัน ดูเหมือนว่าคนและสัตว์ที่เกิดมาแล้วนี้ ไม่มีอะไรเป็นของตัวเลย ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในอำนาจของกรรมหรือตามบัญชาของท่านที่มีอำนาจเหนือ ที่เราชอบเรียกว่าพญามัจจุราช หรือพระกาล เมื่อถึงวาระแล้วไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ แม้แต่ศาตราจารย์นักคิดทั้งหลายที่นิยมคิดฝืน คือคิดไม่อยากให้แก่ ไม่อยากป่วย ไม่อยากตาย ทุกท่านคิดได้อย่างอิสระเสรี แต่ว่าผลที่ท่านคิดนั่นสิ ไม่มีอะไรสมหวังเลย ท่านเองนั่นแหละในที่สุดก็หัวหงอก ฟันหัก สิ้นความผ่องใส แล้วก็ตายในที่สุด 

ที่มา
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=22898.0
มีต่อ

142

ตายแล้วไปไหน โดยหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง (4)

แปลกใจนิดหนึ่ง ที่แกเทศน์เอา ๆ แล้วแทนที่แกจะคิดว่าท่านศิริเป็นศัตรูที่ท่านคิดจะลงโทษ โดยที่จะผิดหรือไม่ผิดก็ลงโทษ เพราะไหน ๆ ก็ได้ลงทุนลงแรงจับมาแล้ว แกไม่เป็นเช่นนั้น พอค้านว่าไม่ใช่อย่างนั้น กรรมชั่วนอกจากขว้างไก่ตายไม่เคยทำอะไรเท่านั้น ใบหน้าที่เคยเห็นเข้มข้นน่ากลัว ก็กลายเป็นใบหน้าที่เต็มไปด้วยความเมตตาปรานี น้ำเสียงที่เปล่งออกมาก็แสดงออกให้เห็นว่าเมตตาอย่างสุดซึ้ง ทำให้มีกำลังใจขึ้นอักโข เมื่อท่านหันมาแล้วถามถึงอายุปัจจุบัน ได้เรียนท่านว่า

“ขณะที่เขาไปเอานี้อายุ ๑๙ ปีเศษ แต่ชื่อไปตรงกับคนที่เขาให้ไปเอามา”

ตอนนี้ท่านพระยายมตกใจมาก ท่านรีบเรียกคนที่ไปรับมาว่า

“เจ้านี่ชุ่ยมาก ทำไมไม่ตรวจตราดูให้ดี ไปจับผิดจับถูกอย่างนี้มีความเสียหายมาก ต้องรีบเอาตัวเขาไปส่งโดยเร็ว ถ้าทางบ้านเขาจัดการเผาร่างกายหรือเอาไปฝังจะมีเรื่องใหญ่ ต่อไปต้องทำงานด้วยความระมัดระวัง ถ้าขืนทำชุ่ย ๆ แบบนี้อีกจะถูกลงโทษอย่างหนัก”

เรื่องนี้เป็นบทเรียนอีกอย่างหนึ่งว่า เรื่องชุ่ย ๆ นี้ไม่ใช่จะมีแต่เมืองมนุษย์เท่านั้น เมืองผีก็ชุ่ยเหมือนกัน ต่างกันอยู่นิดหนึ่งที่เมืองผียอมรับนับถือผลประโยชน์ของจำเลย เมื่อจับไปแล้วปรากฎว่าไม่มีความผิด เพราะจับตัวผิดก็ไม่ขังฟรีเพราะสอบสวนไม่สำเร็จ และไม่ลงโทษตามอารมณ์ เหมือนเมื่อสมัยอินโดจีนเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส สมัยนั้น ถ้าลงชาวเมืองขึ้นถูกจับแล้ว ถ้าสอบสวนจำเลยหรือผู้ต้องหาไม่รับ เขาจะสั่งขังคุกขี้ไก่หรือตอกเล็บ คือเอาเหล็กตอกสวนปลายเล็บเข้าไป แล้วมีวิธีการต่าง ๆ เป็นการทรมานให้ยอมรับ ผู้ต้องหาทนการทรมานไม่ไหวก็ต้องจำยอมรับผิดทั้ง ๆ ที่เขาผู้นั้นไม่มีความผิด

ที่พูดนี้ ไม่ใช่จะยุท่านให้เกลียดฝรั่งเศสหรือเกลียดใครในเมืองมนุษย์ เพียงแต่เอามาเปรียบเทียบกันว่า ใครจะมีความเที่ยงตรงมากกว่ากัน เรื่องของท่านศิรินี้แสดงให้เห็นว่า เมืองผีมีความยุติธรรมมากกว่าเมืองมนุษย์ ถ้าท่านสงสัยก็ไม่ต้องพยายามสอบสวน เพราะอีกไม่นานอย่างช้าไม่เกินร้อยปี ทุกท่านก็ต้องไปเมืองผีเหมือนผู้เล่า มาว่าเรื่องของท่านศิริต่อไป เมื่อท่านพระยายมผู้น่าเคารพที่เต็มไปด้วยความยุติธรรม และเปี่ยมไปด้วยความเมตตาปรานี ได้สั่งให้คนนำกลับมาส่งตอนจะออกเดิน ท่านสั่งว่า

“นี่เจ้าโคล่ ก่อนที่จะนำเขาไปส่ง ไหน ๆ เขาก็ได้มีโอกาสมาในที่นี้แล้ว พาเขาชมการลงโทษคนที่สร้างความชั่วไว้สมัยเมื่อเป็นมนุษย์ เพื่อจะได้ทราบตามความเป็นจริงว่า คนที่เกิดมาแล้วมีความประมาท ไม่คิดว่าตัวจะตาย ทั้ง ๆ ที่คนอื่นเขาตายให้เห็นเป็นปกติ แล้วประกอบกรรมทำความชั่ว ไม่เคารพในทาน ศีล ภาวนา ต้องมีโทษทัณฑ์อย่างไรบ้าง พาเขาไปชมให้ทั่ว แล้วจึงค่อยนำเขาไปส่ง”

เมื่อท่านมีบัญชาให้นายตำรวจผีนำท่านไปชมแล้ว ท่านศิริเล่าให้ฟังต่อว่า ท่านพระยายมท่านหันมาพูดด้วยอัธยาศัยไมตรีเป็นอย่างดี ท่านสั่งมาว่า

“คนทุกคนเมื่อสิ้นลมปราณตายจากมนุษย์แล้ว ต้องผ่านมาเพื่อให้สอบสวนก่อน ทั้งนี้เว้นไว้แต่ท่านที่อารมณ์เข้าถึงระดับฌานและตายในฌาน ท่านพวกนั้นไม่ต้องผ่านการสอบสวน เมื่อออกจากร่างมนุษย์แล้วก็ไปสู่สถานที่สมควรคือสวรรค์หรือพรหมทันที คนที่เกิดเป็นมนุษย์สร้างแต่ความดี คือทำบุญกุศลมากก็จะมีโอกาสได้รับความสุข และได้กลับไปเกิดเป็นมนุษย์เพื่อสั่งสมบารมีเร็วเข้า ถ้าสร้างแต่ความชั่วก็จะถูกทรมาน นานมากกว่าจะได้เกิดเป็นมนุษย์ เพราะชดใช้กรรมชั่วที่ตัวทำไว้กว่าจะสิ้นกฎของกรรม”


ท่านได้กรุณาสั่งว่า

“เธอ ต่อไปเมื่ออายุได้ ๒๗ ปี เธอจะต้องตายจากมนุษย์เพราะครบกำหนดตามเวลาที่เจ้าจะเกิดเป็นมนุษย์ เจ้าจงอย่าทำกรรมชั่วใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าขืนสร้างกรรมชั่ว จะต้องถูกลงโทษตามกฎของกรรม”

เมื่อท่านสั่งเสร็จ ก็มีบัญชาให้นายตำรวจผีนำไปชมการลงโทษชาวเมืองนรก ท่านนายตำรวจผีแสนจะชุ่ย เพราะจับท่านไปอย่างไร้การพิจารณา ก็พาท่านขึ้นไปบนตึกสามชั้น บนตึกนั้นมีห้องเป็นลูกกรงเหล็ก มีคนถูกขังอยู่มากมาย แต่เงียบสงัดหาเสียงพูดไม่ได้เลย ตอนนี้เป็นที่น่าเสียดายอยู่หน่อยหนึ่งที่ท่านศิริบอกให้ทราบขณะที่เล่าให้ฟังว่า ตอนนั้นท่านไม่มีกำลังใจจะดูอะไรเลย มีความหวาดกลัวเป็นกำลัง มีความประสงค์อย่างเดียว คืออยากให้คนที่เขาพามาส่งนั้น ส่งให้ถึงที่อยู่อย่างเดียว เขาจะเตือนว่าท่านพระยายมกรุณาให้ชมก็ควรชมให้ตลอด เพราะยากนักที่จะได้มาเห็นตามความเป็นจริง แต่ท่านก็ไม่ยอมเพราะคิดถึงบ้านและญาติพี่น้องจนเหลือทน

ที่มา
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=22898.0
มีต่อ

144
ตายแล้วไปไหน โดยหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง (3)



เมื่อท่านเห็นคณะทหารโบราณ หรือนัยหนึ่งที่ท่านเรียกว่าทหารพระยายม มายืนเข้าแถวเป็นกองเกียรติยศอย่างนั้น ท่านรู้สึกหวาดกลัวมาก แต่ก็ไม่มีทางใดที่จะหนีได้ ก็จำต้องยืนให้หน่วยทหารตั้งแถวขนาบตามความพอใจ ครั้นมองไปข้างหน้า เห็นบริเวณนั้นที่มีรูปคล้ายเวทีละคร มีม่านสีดำกั้นอยู่ เหมือนกับฉากโรงมหรสพ เมื่อม่านถูกรูดออก แลเห็นเก้าอี้ตั้งอยู่สามตัว มีชายคนหนึ่งถือบัญชีมีรูปคล้ายสมุดข่อยเดินออกมา แล้วนั่งเก้าอี้ตัวที่หนึ่ง พอแกนั่งแล้วแกก็ไม่พูดกับใคร แกเปิดบัญชีตรวจอยู่คนเดียว ทุกคนในที่นั้นเงียบสงัด เขาตรวจสอบบัญชีอย่างพิถีพิถัน สักครู่หนึ่งชายอีกคนหนึ่งก็เดินออกมานั่งเก้าอี้ตรงกันข้าม คนนี้มือไม่ได้ถืออะไร มาเฉยๆ แล้วคนที่สามก็เดินออกมา คนนี้รูปร่างใหญ่กว่าทุกคน แต่งตัวภูมิฐานกว่าสองคนนั้น ดูท่าทางเป็นคนมีอำนาจ ออกมานั่งเก้าอี้ตัวกลางทำท่าทางเหมือนตุลาการ พอนั่งเรียบร้อย แกก็เริ่มเทศนาโปรดโดยไม่ต้องมีใครนิมนต์

พระเทศน์หรือคนแสดงปาฐกถายังต้องหาคนนิมนต์หรือได้รับเชิญ นี่ว่ากันตามระเบียบเมืองมนุษย์ แต่ที่เมืองผีนี่ไม่ต้องเชิญ แกออกมานั่งได้ก็เทศน์ทันที แต่ทว่าลีลาการเทศน์ของแกไม่เหมือนพระที่เคยได้ยิน พอเริ่มอารัมภบท แกก็เอาเรื่องของท่านศิริมาว่าเลย แกหันหน้ามาทางท่านศิริ แกก็เริ่มด้วยคำว่า

“เอ็งนี่ เป็นคนใจบาปหยาบช้ามาก เมื่อตอนเป็นเด็กเคยเอาก้อนดินขว้างลูกไก่ตาย”

พอท่านนักเทศน์สาธารณะท่านเริ่มแสดงออกมาอย่างนั้น ท่านเล่าว่าสมองของท่านมันมีความรู้สึกจดจำเหตุการณ์ตามที่ท่านนักเทศน์เมืองผีขึ้นมาได้ เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อสมัยเป็นเด็กยังอายุน้อยประมาณ ๙ หรือ ๑๐ ปี ตอนนั้นเล่นกับเพื่อน เห็นลูกไก่เดินมา ด้วยความคะนองเอาก้อนดินขว้างไป พอดีถูกลูกไก่ตาย ด้วยใจจริงแล้วไม่คิดจะฆ่า ทำเพื่อหวังการหยอกเย้าด้วยความคะนองเท่านั้น เมื่อความจำปรากฎก็อดสงสัยไม่ได้ คิดในใจว่า เราทำกรรมมาเกือบสิบปีแล้ว และเราก็ทำที่เมืองมนุษย์ ทำไมตาผีใหญ่คนนี้จึงรู้ได้

เมื่อเห็นเขาทราบตามความจริงโดยไม่ต้องบอก ก็ชักหวาดหวั่นใจ พอนึกเท่านั้น ท่านตุลาการใหญ่เมืองผีก็หันมายิ้มอย่างเมตตา แล้วพูดว่า
 
“เอ็งไม่ต้องสงสัย ไม่ว่าจะทำดีหรือชั่วในที่ลับตาคนหรือทำที่ไหน ๆ ก็ตาม ทางเมืองผีนี้รู้ทุกอย่าง ไม่มีทางปกปิดได้”

เมื่อได้ยินเขาพูดและตรงตามที่ใจนึก ก็สงสัยใหญ่และหวาดหวั่นมากขึ้น คิดว่าเขารู้อาการความนึกคิดได้อย่างไร พอนึกเท่านี้แกก็หันมาพูดว่า
 
“รู้ใจคนและสัตว์ได้เสมอ เพราะพวกเราทำบุญมาพอ”

แล้วท่านเทศน์ต่อไปอีกมากมาย ตอนนี้ไม่ตรงตามความเป็นจริง เมื่อท่านนักเทศน์หรือพระยายมเทศน์จบ ท่านก็ค้านทันที โดยรายงานว่า

“ข้อแรกที่ท่านว่า ข้าทำไก่ตายเมื่อเป็นเด็กเล็ก ข้อนั้นเป็นความจริง ส่วนข้อกล่าวหานอกนั้นไม่มีความจริงเลย ข้าไม่เคยชั่วหยาบอย่างนั้น”

เมื่อท่านศิริท่านคัดค้านขึ้นมา คราวนี้ก็เกิดความวุ่นวาย แทนที่เขาจะหวนกลับมาดุหรือตวาดแหวๆ อย่างท่านนักสอบสวนขี้โมโหทั้งหลาย แกกลับหันหน้าไปหานายบัญชีคนที่ดูตำราตลอดเวลา แล้วถามว่า
 
“นี่เรื่องมันยังไงกัน คนที่ให้ไปเอามานั้นอายุเท่าไร”

นายบัญชีเรียนว่า “อายุ ๑๓ ปีเจ้าค่ะ”

ท่านตุลาการใหญ่ (ขอเรียกว่าพระยายม ตามศัพท์ทางศาสนา) หันมาถามท่านศิริว่า

“นี่พ่อหนู เวลานี้เธออายุเท่าไร”

ที่มา
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=22898.0

145
ตายแล้วไปไหน โดยหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง (2)


เมื่อเดินไกลมานิดหน่อยก็เหลียวหลังเพื่อดูต้นทางที่ผ่านมา เมื่อเหลียวมาข้างหน้าก็แลเห็นประตูใหญ่ที่ตั้งอยู่ที่กำแพงใหญ่มหึมา เมื่อผ่านประตูเข้าไปเห็นศาลาคล้ายศาลาวัด มีพระกำลังเทศน์ มีคนฟังทั้งชายและหญิงไม่กี่คน ท่านก็นั่งลงยกมือพนม คิดถึงคุณพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อผ่านสถานที่นั้นไปแล้วก็เข้าไปประตูชั้นที่สอง เขาพาไปยืนอยู่ข้างบันไดตึกเตี้ยๆ เขาบอกว่า
 
“ไอ้หนู เอ็งยืนอยู่ตรงนี้ก่อนนะ คอยฉันอยู่ตรงนี้”


ขณะนั้นเขาคือคนที่มารับก็ยืนอยู่ด้วย คล้ายกับว่าจะคอยใครสักคนหนึ่ง สักครู่หนึ่งก็มีชายรูปร่างสูงใหญ่แต่งเครื่องแบบคล้ายทหารโบราณ มีหลายคนด้วยกัน บางคนถือหอก บางคนถือขวาน เข้าแถวมายืนขนาบท่านอยู่ทั้งสองข้าง ปรากฎว่าทั้งหมดตามที่เขาจำได้มีจำนวน ๖ คน คือคนถือหอก ๓ คน ถือขวาน ๓ คน เขาเข้ามายืนขนาบสองข้างท่าน ตอนนี้ท่านเล่าว่ารู้สึกกลัวขึ้นมา เพราะอยู่ๆ ก็เกิดมาคุมตัวกันเฉยๆ ไม่ยอมแจ้งข้อหาเสียด้วย ไม่เหมือนตำรวจเมืองไทยหรือเมืองจีน เมืองแขกฝรั่งก็คงจะเหมือนๆ กัน คือเมื่อก่อนจะจับเขาต้องแจ้งข้อหาก่อน เป็นต้นว่า

“นี่ไอ้หนู เธอมีความผิด เพราะเมื่อสามสิบปีก่อนโน้นเธอด่าฉัน”


ถ้าเราบอกว่า “เมื่อสามสิบปีก่อนโน้น ผมยังไม่เกิดครับ ผมจะด่าท่านได้อย่างไร”

เขาก็อาจจะแจ้งข้อหาที่สมควรใหม่ในทำนองว่า “เธอยังไม่เกิด ด่าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ก็พ่อเอ็งด่าข้านี่หว่า”

ถ้าจะแก้ตัวว่า “เรื่องของพ่อทำไมผมจึงจะต้องรับผิด”

เขาก็อาจจะตอบตามหลักการของนักกฎเกณฑ์ว่า “ ก็ทีสมบัติเอ็งทำไมยังมีสิทธิรับมรดก ทีเรื่องความผิดเอ็งจะไม่ยอมรับไม่ได้ ข้าต้องจับ”


นี่ว่ากันตามประเพณีเมืองมนุษย์ เมื่อจะจับกันเขาก็ต้องแจ้งข้อหาก่อน แต่เมืองผีนี่แปลก อยู่ ๆ ก็มาชวนไป เมื่อไปแล้วก็ไม่บอกว่าจะให้ไปทำไม ไปไหนก็ไม่บอก เมื่อถึงสถานที่แล้วก็ส่งตำรวจผีออกมายืนคุมเอาดื้อ ๆ แปลก ท่านที่ยังไม่เคยตายต้องระวังไว้ เรื่องตายนี้หนีไม่พ้นแน่ ไม่ต้องไปหาฤาษีหรือเทวดาองค์ใดช่วยหรอก เทวดาท่านก็ตายจากคนไปเกิดเป็นเทวดา ฤาษีท่านก็กำลังรอความตายที่เข้ามาเล่นงานท่านอยู่ทุกขณะลมหายใจเข้าออก แล้วท่านยังคิดว่าท่านจะไม่ตายอย่างนั้นหรือ

เรื่องของความตาย ฟังท่านที่ตายเล่าให้ฟังรู้สึกไม่หนักใจ เพราะคนตายมีอาการคล้ายหลับแล้วฝัน แต่ไม่ดีอยู่หน่อย ตอนที่ตายแล้วมีการลงโทษ เมื่อรับโทษ ความรู้สึกเจ็บนี่สิไม่น่าตาย

คนที่ตายเพื่อหลบหนีเจ้าหนี้ต้องระวังไว้ หนีเจ้าหนี้เมืองมนุษย์นั้นหนีได้ อย่าคิดว่าจะหนีกฎของกรรมที่ตำรวจผีเป็นผู้มีอำนาจควบคุมได้  


ที่มา
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=22898.0

146
ตายแล้วไปไหน โดยหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง (1)




คราวนี้ก็จะได้นำเรื่องตายแล้วไปไหนมาเล่าอีกตามเคย เรื่องที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ เป็นเรื่องของพระที่ป่วยแล้วตาย เมื่อตายแล้วได้มีโอกาสพบเห็นทางที่มีความสุขและความทุกข์ ที่เรียกว่านรก สวรรค์ และนิพพาน ท่านเจ้าของเรื่องท่านรับรองว่าเป็นความจริงทุกประการ


ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะสงสัยว่า สวรรค์ นรก นั้นเป็นเรื่องที่น่าจะมีได้ แต่คำว่า นิพพานนี้ ตามที่เข้าใจกันตามตำราว่ามีสภาพสูญ คือสลายตัว ไม่มีอะไรเหลือ ความคิดเห็นนี้เป็นความเข้าใจของนักศึกษาทางศาสนามานานแล้ว แต่เมื่อมาพบเรื่องมีผู้ไปนิพพานเข้า ท่านอาจจะสงสัยว่าเรื่องกุขึ้น หรือเป็นอารมณ์ฝัน ตามที่ทางวัดเรียกว่าอุปาทาน คือยึดถือเกินไป เรื่องนี้จะมีอะไรเป็นเหตุผล ควรเชื่อหรือไม่เพียงใด ก็ขอยกให้เป็นภาระของท่านผู้อ่าน สำหรับผู้เล่าเรื่องนี้ขอเล่าตามที่ได้รับฟังมา


เรื่องที่จะนำมาเล่าต่อไปนี้ รับฟังมาจาก พระธนะศิริ กันตะศิริ พระวัดราชประดิษฐ์ จังหวัดพระนคร เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๗ เรื่องราวของท่านมีดังนี้

เมื่อปี ๒๔๘๘ ท่านมีอายุ ๑๙ ปี ท่านตายไปครั้งหนึ่ง และ พ.ศ. ๒๔๙๗ ท่านตายอีกครั้งหนึ่ง รวมการตายของท่านที่ตายแล้วฟื้นในชีวิตของท่านสองครั้งด้วยกัน เมื่อสมัยท่านอายุ ๑๙ ปี ท่านได้ติดตามญาติของท่านคนหนึ่งไปอยู่ทางภาคอีสานของประเทศไทย ท่านไม่ได้บอกไว้ว่าจังหวัดไหน เมื่อท่านเล่าให้ฟังก็มัวสนใจเรื่องที่ท่านเล่าให้ฟัง ไม่ได้ถามว่าจังหวัดไหนแน่ เอากันว่าท่านอยู่ภาคอีสานชั่วคราวก็แล้วกัน

วันหนึ่งท่านมีอาการปวดฟัน เนื่องจากโรคฟันหรือเหงือกเป็นฝี ที่เรียกว่าโรครำมะนาด ท่านมีอาการปวดมากจนเหลือที่จะทน ท่านจึงไปหาหมอรักษาและทำฟันที่ตั้งร้านรับรักษาและทำฟันในตลาดใกล้ ๆ บ้าน เพื่อให้หมอถอนฟันซี่นั้นออก เมื่อหมอถอนฟันแล้วท่านก็กลับบ้าน หมอที่ถอนฟันเป็นหมอจีน พวกหมอจีนนี้รู้สึกว่ามีวิชารอบรู้มาก มาถึงเมืองไทยแล้วเป็นทุกอย่าง เป็นช่างตัดผมก็ได้ ช่างทองก็เป็น ช่างปรุงอาหารให้คนไทย ทั้ง ๆ ที่อาหารที่คนไทยชอบแกก็ไม่ชอบกิน แต่แกก็สามารถทำให้คนไทยกินพากันติดอกติดใจในฝีมือปรุงอาหารของแก เป็นหมอปลูกฟัน หมอถอนฟัน หมอเสริมทรงเสริมสวย

เรื่องความสามารถของชาวจีนนี้เราทราบกันดี ไม่ว่าที่ไหนที่คนไทยด้วยกันเข้าไม่ถึง พี่แกเข้าถึงทุกด้าน ปริญญาที่ชาวจีนเรียนมานี้ คือปริญญาสามารถโดยไม่ต้องเข้ามหาวิทยาลัย น่าจะขอเรียนต่อจากแกบ้าง จะเป็นประโยชน์มาก

เอาแล้ว ว่าจะเล่าเรื่องของท่านศิริ แอบมายุ่งเรื่องเจ๊กให้อีก ขออภัยท่านผู้อ่านด้วย มาว่ากันเรื่องของท่านศิริต่อไป เมื่อท่านมาถึงบ้านแล้ว ก็เข้ามาพักตามปกติ (ท่านว่าอย่างนั้น) ครั้นเมื่อถามว่า อาการปวดหายสนิทดีแล้วหรือ ท่านบอกว่าปวดบ้างแต่ไม่มาก รู้สึกปวดเล็กน้อย มันปวดตุบ ๆ นิดหน่อย มีอาการคล้ายจะง่วงนอน ก็เลยเอนกายลงนอน ปรากฎเหมือนมีอะไรวิ่งซู่ซ่าตามมือและเท้า จะว่าลมพัดก็ไม่ชัด ว่าพิษความปวดก็ไม่เชิง มีอาการคล้ายมีตัวอะไรสักอย่างหนึ่ง วิ่งจากปลายเท้าและปลายมือ เข้ามารวมจุดกันที่หัวใจ ก็มีอาการคล้ายเคลิ้มหลับ แต่ไม่ใช่หลับสนิท มีอาการเหมือนฝัน

ตามความรู้สึกในขณะนั้น รู้สึกว่าตนเองนอนอยู่ในสภาพเดิมที่นอนอยู่ แต่ทว่าถูกปลุกให้รู้สึกตัวขึ้นด้วยน้ำมือของชายสองคน ชายสองคนนี้มีรูปร่างใหญ่โต ผิวดำล่ำสัน คนหนึ่งยืนอยู่ทางด้านศีรษะ อีกคนหนึ่งยืนอยู่ทางด้านปลายเท้า คนที่ยืนทางด้านศีรษะถือคบเพลิงทองเหลืองจุดแสงสว่างมาก ทั้งสองคนนั้นประมาณอายุก็เห็นจะราว ๆ ๓๐ ปี ทั้งคู่ เขาทั้งสองออกปากชวนว่า

 
“ไปกันเถอะ” ท่านถามว่า “จะไปไหน” เขาก็ชวนว่า “ไปเถอะน่า ไปด้วยกัน”


เมื่อเขาชวน ความจริงตามความรู้สึกแล้วก็ไม่อยากไปกับเขา แต่ดูเหมือนมีอำนาจอะไรในตัวเขาทำให้ท่านต้องลุกจากที่นอน แล้วก็เดินตามเขาไปอย่างคนว่าง่าย เมื่อท่านเดินตามเขาออกจากบ้าน คนที่ยืนทางด้านศีรษะเป็นคนถือคบเพลิงนั้น บอกกับเพื่อนเขาว่า

“นี่ไอ้เกลอ เอ็งนำไปคนเดียวก็แล้วกันนะ มันคนเดียวและยังเป็นเด็กคงไม่หนีหรอก ส่วนข้าจะไปธุระที่อื่นสักครู่”

เพื่อนเขารับคำแล้วเขาก็แยกทางไป ไม่ทราบว่าเขาไปไหน ท่านเล่าว่า เมื่อขณะที่ถูกคุมตัวมานั้น คนคุมเขาไม่ได้ดุด่าว่าหรือฉุดกระชากลากตัวแต่อย่างใด เขาให้เดินตามเขาไปตามปกติ พอถึงทางสามแพร่ง ตอนนี้ท่านชักไม่ไว้ใจตัวเอง เกรงว่าจะกลับบ้านไม่ถูก เมื่อเข้าถึงทางแยก ท่านพยายามสังเกตุทางที่เดินไว้ทุกระยะ ทั้งนี้เพื่อว่าเมื่อเวลากลับจะได้ไม่หลงทาง พยายามเหลียวซ้ายแลขวาไว้เสมอ


ที่มา
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=22898.0

147
ผีสาง ขมังเวทย์ ทำสวย รวยทางลัด ความเชื่อที่สังคมต้องทบทวน (2/2)


ทุกวันนี้ปัญหาอันเนื่องมาจากความรักมีให้เห็นมากมายในบ้านเมือง บางคนที่ไม่สมหวัง ในรักหากตัวเองจิตใจอ่อนแอไม่มีภูมิคุ้มกัน ก็มักจะหาทางออกง่ายๆ ด้วยการทำร้ายตัวเอง หรือกับบางคนที่ไม่ได้ถูกขัดเกลานิสัยมาตั้งแต่เด็กเมื่อไม่สมหวังในความรัก ก็มักหาวิธีทำร้ายคนที่ตนรักให้ถึงกับชีวิตก็มีให้รับรู้มากมายในสังคม

แต่สำหรับใครบางคนที่ต้องการแย่งชิงรักหักสวาทผู้อื่นมาเป็นของตน ก็มักเชื่อว่า วิชาขมังเวทย์หรือไสยศาสตร์ จะเป็นทางออกที่ช่วยให้ตนเองสมหวังในความต้องการได้ ความเชื่อที่กล่าวมาคงเป็นเรื่องที่ไม่น่าสนับสนุนให้ถือปฏิบัติกันในสังคม เพราะนอกจากจะเป็นความเสี่ยงที่อาจจะเกิดความเสียหายกับตนเองแล้วยังเป็นความเชื่อที่งมงายไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้คนสมัยนี้ด้วย

และเป็นที่ยอมรับกันว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นจากสติปัญญาของคนได้ช่วยให้คนมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าสมัยก่อนๆที่ผ่านมามาก หลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นในยุคนี้หากย้อนกลับไปยังอดีตคงเป็นความมหัศจรรย์ใจยิ่งนัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่คนเราสามารถเดินทางออกไปนอกโลกขึ้นไปยืนเหยียบบนพื้นผิวของดวงจันทร์ หรือกับรถไฟที่ใช้เป็นพาหนะเดินทางของผู้คนปัจจุบันก็วิ่งด้วยความเร็วสูงไม่ต่างอะไรกับเครื่องบินแม้แต่น้อยก็เป็นไปได้ในสมัยนี้

สำหรับ การทำสวย เสริมแต่งให้รูปลักษณ์ภายนอกของคนดูงดงาม ก็สามารถแต่งเติมเพิ่มความงามได้มากกว่าที่ธรรมชาติให้มาและยังสามารถทำตามใจที่คนปรารถนาจะเป็น เช่น การแปลงเพศ การเสริมเติมแต่งหน้าตา รวมถึงหน้าอกหน้าใจ ซึ่งคนส่วนมากที่ทำกันเพราะเชื่อว่าความสวย สามารถบันดาลสิ่งที่ตนปรารถนาได้ โดยลืมไปว่าที่จริงแล้วจิตใจที่งดงามต่างหากที่เป็นความจิรังยั่งยืนของคน

คนเราเกิดมาในโลกนี้มีทั้งยากดีมีจนคละเคล้ากันไป บางคนโชคดีมีฐานะร่ำรวยมีชีวิตที่สุขสบาย และกับบางคนที่เกิดมามีฐานะยากจนดำรงชีวิตด้วยความยากลำบากแสนเข็ญต้องต่อสู้ดิ้นรนชนิดปากกัดตีนถีบ แต่ทั้งคนที่ร่ำรวยและยากจนต่างก็มีโอกาสที่จะพบกับความสุขและความทุกข์ที่ตนเองเป็นผู้เลือก และหาทางออกให้กับชีวิตที่ไม่ต่างกัน

บ่อยครั้งจะพบว่าทั้งคนจนและคนรวยมีความโลภอยากรวยทางลัดจึงค้ายาเสพติด เลือกเดินในถนนสายเดียวกันทำให้ต้องได้รับโทษทัณฑ์ เข้าไปใช้ชีวิตในคุกก็มี หรือกับบางคนมีชีวิตที่ผูกพันกับการพนัน เล่นม้า แทงหวย และพนันบอล ก็มักจะเชื่อในโชคลางจนขาดความเป็นตัวของตัวเอง ท้ายที่สุดก็ต้องตกอยู่ในวงจรของความโลภ ความหลง จนทำลายความสุขในชีวิตต้องจมปลักอยู่ความมีชีวิตที่เสี่ยงต่อการสิ้นเนื้อประดาตัว

หลักธรรมของทุกศาสนาล้วนสอนให้ผู้คนยึดมั่นในการกระทำความดีไม่เบียดเบียนกันและกัน สอนให้เชื่ออย่างมีเหตุผลไม่งมงาย โดยมีหลักคิดว่าหากทำดีย่อมได้รับผลตอบแทนที่ดี ในทางกลับกันหากทำชั่วก็ได้รับในสิ่งที่กระทำเช่นกัน

ที่มา
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=1578.0

148
ผีสาง ขมังเวทย์ ทำสวย รวยทางลัด ความเชื่อที่สังคมต้องทบทวน


ห้ามขึ้นบ้านใหม่ในวันเสาร์ ห้ามเผาผีในวันศุกร์ ห้ามแต่งงานในวันพุธ ห้ามโกนจุกในวันอังคาร หรือที่ท่องบ่นกันจนติดปากว่า ?วันพุธห้ามตัดพฤหัสห้ามถอน?(ตัดผม ตัดเล็บ ตัดต้นไม้ ถอนเสาเรือน หรือทำการโยกย้ายสิ่งของใดๆที่สำคัญ ) ที่กล่าวมาล้วนแล้วแต่เป็นความเชื่อของคนรุ่น ปู่ ย่า ตา ยายแต่ทุกวันนี้ดูเหมือนว่าความเชื่อเช่นนี้จะยังอยู่คู่สังคมไทย ขนานกับ ความเชื่อใหม่ๆที่เกิดขึ้นในโลกยุคไซเบอร์ดิจิตอลไร้พรมแดนสมัยนี้

เป็นที่รับรู้กันดีว่าเรื่องความเชื่อเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้วตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ในครั้งที่คนเรายังไม่มีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ โดยผู้คนในยุคสมัยนั้นต่างมีความเชื่อที่ผูกติดอยู่กับธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นสำคัญ บ้างก็เชื่อว่าพระอาทิตย์และพระจันทร์คือผู้ให้ชีวิตที่ดีแก่ชาวโลก

และเพื่อให้การดำเนินชีวิตปลอดภัยจากภยันตรายทางธรรมชาติทั้งปวง รวมถึงการระลึกถึงบุญคุณที่ธรรมชาติบันดลบันดาลสิ่งดีๆให้กับชีวิตผู้คนในโลก ความเชื่อโดยผ่านพิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้คนจึงเกิดขึ้นโดยกระบวนการคิดของคนในสมัยนั้นๆ

ไม่ว่าจะเป็นการบูชาพระอาทิตย์ พระจันทร์ แม่น้ำ แผ่นดิน หรือแม้แต่ลม จนสมัยต่อมาผู้คนจึงได้มีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจเป็นหลักในการดำเนินชีวิต สอนให้คนทำในสิ่งที่ดีงามจึงจะได้รับผลจากการกระทำนั้นๆ

ปัจจุบันถึงแม้ว่าโลกจะแปรเปลี่ยนไปจากอดีตชนิดไม่เห็นหลังก็ตาม ด้วยกาลเวลาที่ได้ปรับเปลี่ยนพัฒนาผู้คนจากสังคมเกษตรแบบพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันก็กลายเป็นสังคมอุตสาหกรรมจึงทำให้วิถีชีวิตของผู้คนเริ่มมีการแข่งขันและเอารัดเอาเปรียบกันและกัน เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนต้องการและอยู่เหนือผู้อื่น ความเชื่อเดิมๆจึงถูกปรับเปลี่ยนไปตามกระแสด้วยเช่นกัน จากที่เชื่อในวิถีแบบธรรมชาติที่สงบก็เปลี่ยนเป็นความเชื่อในวัตถุ แข่งขันกันแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน และนับถือ?เงินคือพระเจ้า?

หลังจากนั้นการดำเนินชีวิตของผู้คนบนโลกใบนี้ก็ใช่ว่าจะหยุดนิ่งเพียงเท่านั้น แต่กลับพัฒนาไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น มีการประดิษฐ์คิดค้นให้เกิดสิ่งแปลกใหม่ต่างๆที่จะสนับสนุนให้ผู้คนมีชีวิตที่สะดวกและสบายกว่าที่เคยเป็นในโลกของข้อมูลข่าวสารไซเบอร์ดิจิตอลที่ไร้พรมแดน

ความเชื่อเรื่อง ผีสางนางไม้ เป็นหนึ่งในความเชื่อที่มีมานานแล้วในสังคมโลกถึงแม้ว่าโลกจะพัฒนาไปมากน้อยเพียงไรแต่ความเชื่อเรื่องผีก็ยังเป็นความเชื่อที่อมตะ นิรันดร์ ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ในแต่ละรุ่นแต่ละสมัยจะยังคงกล่าวขานและเชื่อว่าผีมีจริง ผีหรอกคนได้ จนมักจะมีความเห็นและคำพูดที่ติดปากกันเสมอๆว่า ?ผีหลอก ผีดุ ผีสิง ผีเข้า?

ผีเป็นวิญญาณหลังความตายแล้ว ซึ่งมีทั้งผีดี และผีร้าย โดยในส่วนผีดีนั้นจะหมายถึงผีบ้านผีเรือนที่คอยปกปักษ์รักษาผู้คนในครอบครัวและชุมชนให้อยู่ดีมีสุข ส่วนผีร้ายก็มักจะเข้าใจได้ว่าหมายถึงผีที่เป็นวิญญาณเร่ร่อนพเนจรไปตามที่ต่าง ๆ ตายแล้วไม่ได้ไปผุดเกิด ซึ่งอาจทำร้ายผู้คนให้เกิดความเจ็บป่วยได้ โดยเฉพาะผู้ที่ไปล่วงเกินโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจก็ได้

แต่ในสถานการณ์โลกปัจจุบันนอกจากผีดีและผีร้ายที่กล่าวมายังมี ?ผีพนัน?เกิดขึ้นในสมัยนี้ด้วย ซึ่งผีประเภทนี้จะเข้า สิงร่างของคนที่อ่อนแอไม่มีภูมิคุ้มกันและขาดรากฐานในการดำเนินชีวิต โดยท้ายที่สุดก็จะทำลายคนๆนั้นให้ได้รับซึ่งความทุกข์ที่แสนสาหัสจนถึงขั้นหายนะกับชีวิตกลายเป็นอาชญากรที่ต้องไปใช้ชีวิตในคุกตารางก็มีให้พบเห็นกันบ่อยๆ

ที่มา
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=1578.0

149
แทนที่จะโพสต์ถาม...คุณลองเสาะหาข้อมูลเก่าในเวปก่อนก็ดี

150
ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม :001:

นามท่าน......โอภาสี 

151
ขอบคุณที่ถามครับ :002:

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน   
คำเผดียงสงฆ์
ความหมาย

น. ญัตติ, คำประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจของสงฆ์ร่วมกัน.

http://guru.sanook.com/dictionary/dict_royals/ คำเผดียงสงฆ์/

   ๓. เผดียงสงฆ์ คือ แจ้งความประสงค์ที่จะถวายทานนั้น ๆ ให้สงฆ์ทราบ ถ้าเป็น ภัตตาหาร หรือ จีวร คิลานเภสัช ซึ่งมีจำนวนจำกัดไม่ทั่วไปแก่สงฆ์ ผู้รับให้ตามจำนวนต้องการ และนัดแนะสถานที่กับกำหนดเวลาให้เรียบร้อยด้วย

http://www.dhammathai.org/practice/practice3.php

เผดียง

(ขม.) ก. นิมนต์, เชื้อเชิญ, ใช้ว่า ประเดียง ก็มี.
source : อ.เปลื้อง ณ.นคร

เผดียง : [ผะเดียง] ก. บอกให้รู้, บอกนิมนต์, ใช้ว่า ประเดียง ก็มี.

http://www.online-english-thai-dictionary.com/definition.aspx?data=2&word= เผดียง

152
ขอเพิ่มเติมเรื่อง ทานจากพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก ดังนี้…
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
รายละเอียดอ่านได้ตาม link นี้นะครับ
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=9161&Z=9310&pagebreak=1

เนื้อหาพอจะสรุปได้ดังนี้
ปาฏิปุคคลิกทาน หมายถึงทานที่ให้ต่อบุคคล มี ๑๔ อย่าง คือ
ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ
ให้ทานในพระปัจเจกสัมพุทธ
ให้ทานในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง
ให้ทานแก่พระอนาคามี
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
ให้ทานแก่พระสกทาคามี
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง
ให้ทานในพระโสดาบัน
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง
ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม
ให้ทานในบุคคลผู้มีศีล
ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล
ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน
อานิสงส์ของปาฏิบุคลิกทาน
“บุคคลให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้พันเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า ให้ทานในบุคคล
ภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่า ให้
ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาจนนับไม่ได้
จนประมาณไม่ได้ จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำ
สกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
ในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็น
พระอรหันต์ ในพระปัจเจกสัมพุทธ และในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ฯ”
ทานแด่สงฆ์ (สังฆทาน) มี 7 ประเภท
ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง คือ
ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว
ให้ทานในภิกษุสงฆ์
ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์
เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน
เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน
เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน
ถวายสังฆทานแด่พระทุศีลก็ได้อานิสงส์มากเหมือนกัน
“ดูกรอานนท์ ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู มีผ้ากาสาวะพันคอ เป็นคนทุศีล
มีธรรมลามก คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะสงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น
ดูกรอานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้น เราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้
แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่ามีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไรๆ เลย ฯ”

ที่มา
http://www.dhammatan.net/2010/06/ การทำสังฆทาน/

153
ผู้ถาม   
แล้วอย่าง การใส่บาตรโดยเราลงมือใส่เองกับให้ลูกจ้าง คือเด็กของเราใส่แทน อย่างไหนจะได้บุญมากกว่าคะ..?

หลวงพ่อ
   เราไปไม่ได้แต่ให้คนอื่นไปได้ บุญเท่ากัน แต่เราใส่เองเกิดความปลื้มใจอันนี้ได้กำไรอีกนิด แต่ผลของทานมันเสมอกัน

ผู้ ถาม   เวลาเราใส่บาตรไปแล้ว ถ้าหากว่าพระไม่ได้ฉันอาหารของเรา เราจะได้บุญไหมคะ..?

หลวงพ่อ
   บุญ มันเริ่มได้ตั้งแต่คิดว่าจะให้แล้วนะ พระจะฉันหรือไม่ฉันไม่ใช่ของแปลก คือการให้ทาน ตัวให้นี่มันตัดความโลภ และตัวให้นี่กันความจนในชาติหน้าอันดับรองลงมา”ทานัง สัคคโส ทานัง” “ทานเป็นบันไดให้เกิดในสวรรค์”
ทีนี้พอเราเริ่มให้ปั๊บ มันเริ่มได้ตั้งแต่เราตั้งใจ การตั้งใจน่ะ มันตัดสินใจเด็ดขาดแล้วนะ เช่น คิดว่าพรุ่งนี้จะใส่บาตร ข้าวขันนี้เราไม่กินแน่นอนคิดว่าเราจะไม่กินเอง ตั้งแต่วันนี้ คิดว่าจะใส่บาตรนี่บุญมันเกิดตั้งแต่เวลานี้ แต่พอถึง พรุ่งนี้ต้องใส่จริง ๆ นะ อย่านึกโกหกพระไม่ได้นะ ไม่ใช่แกล้งนึกทุกวัน ๆ คิดว่านึกได้บุญ เลยไม่ได้ใส่บาตรสักที นี่ดีไม่ดีฉันพูดไปพูดมาเสียท่าเขานะ
แต่คิดว่าจะทำจริง ๆ นะ คือพรุ่งนี้จะใส่บาตรแน่ ๆ แต่ว่าวันนี้เกิดตายก่อน นี่ได้รับ ๑๐๐ % เลย ก็อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านบอกนั่นแหละ
“เจตนาหัง ภิกขเว ปุญญัง วทามิ”
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าตัวตั้งใจเป็นตัวบุญ”
พระพุทธเจ้าบอกว่ามันมีผลตั้งแต่การตั้งใจ เริ่มสละออก พอคิดว่าเริ่มจะทำ อารมณ์มันตัดตั้งแต่ตรงนั้นแล้ว ถือว่าไม่ได้เป็นของเราแล้ว มันได้ตั้งแต่ตอนนั้น


ที่มา : หลวงพ่อตอบปัญหาธรรมเล่ม8
http://www.dhammatan.net/2010/06/ การทำสังฆทาน/

154
ผู้ถาม
   เห็น พระบางองค์ดูลักษณะไม่สำรวม ท่านวนเวียนคอยรับบาตรบ้านคนโน้นคนนี้แล้วก็ถ่ายใส่ถัง ถ้าเราไม่ใส่บาตรพระแบบนี้เราจะเป็นบาปไหมคะ……?

หลวงพ่อ
   “บาป เขาแปลว่าชั่ว บุญแปลว่าดี ถ้าเราไม่ใส่ก็ไม่ชั่วตรงไหนนี่ เพราะว่ามันเป็นทรัพย์สินของเรา ถ้าเราให้เขาเขาแสดงอาการ ไม่เป็นที่เลื่อมใส เราไม่ให้ก็ไม่เห็นจะแปลก เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสว่า การให้ทานก็จะต้องเลือกให้เหมือนกัน เพราะผู้รับถือว่าเป็น”เนื้อนาบุญ” ถ้าหว่านพืชลงในนาลุ่มก็ท่วมตาย ถ้าดอนเกินไปน้ำไม่ถึงก็ตายต้องหว่านในเนื้อนาที่เหมาะ ถ้าเราเห็นนามันไม่ควรเราก็ไม่ให้ ทำไม่เหมาะไม่สม ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ถ้าให้ก็เป็นการเลี้ยงโจร
แต่ว่าถ้าพูดถึงทานการให้เจตนาเราจะตั้งอย่างไรก็ตาม ตัวนี้มันเป็นผล ตัดโลภะอยู่ตลอดเวลา ส่วนใหญ่จริง ๆ ที่มีอานิสงส์สูงสุดคือตัดโลภะ ความโลก เพราะคนที่มีความโลภนี้ให้ทานไม่ได้ เงินที่จะให้ทานได้นี่มันตัดความสุขของเจ้าของ หากว่าเจ้าของเขาไม่ให้ เขากินเขาใช้ก็มีความสุข เขาอุตส่าห์ตัดความสุขของเขาส่วนนี้ออกไป เป็นการตัดโลภะ ความโลกเป็นก้าวหนึ่งที่จะถึงพระนิพพาน อันนี้เขาไม่ต่ำ มันเป็นจาคานุสสติกรรมฐาน จาคานุสสติกรรมฐาน นี่ไม่ต้องไปภาวนา จิตคิดว่าจะให้ทานทุกวัน ๆ นี่นะ จิตคิดว่าถึงเวลานั้นเราจะใส่บาตรมากหรือน้อยก็ตาม อันนี้เป็นจาคานุสสติกรรมฐาน และการใส่บาตรหน้าบ้าน เขาถือว่าเป็นสังฆทาน ถ้าพระองค์ไหนมีจริยาไม่สมควร เราไม่ให้มันก็๋ไม่แปลกการถวายสังฆทานมันก็มีผลสำหรับพระผู้รับ ถ้าผู้รับไม่ดีก็ลงอเวจีไปเอง”

ที่มา
http://www.dhammatan.net/2010/06/ การทำสังฆทาน/

155
อานิสงส์ถวายสังฆทานและ วิหารทาน


ผู้ถาม   
ถ้าเราตั้ง จิตจะถวายสังฆทาน แต่ว่าไม่ได้บอกเล่าคะ ?

หลวงพ่อ
   ถ้า ตั้งจิตแต่ไม่ได้บอกก็ไม่ได้ยิน เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ถ้าพระนั่งฉันอยู่ตั้งแต่ ๔ องค์ขึ้นไปหนูเอาของไปถวายเอาน้ำไปถวายถ้วยเดียว ก็เป็นสังฆทานทันที ไม่ต้องบอก ถ้ามีพระตั้งแต่ ๔ องค์ขึ้นไปนะ ถ้าองค์เดียวต้องบอก แล้วเขาจะเก็บไว้เป็นสังฆทานเลย จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ถ้าเป็นอย่างอื่นคนรับก็ไปนรกซิ ผู้ให้ไปสวรรค์เพราะว่าถวายทานเป็นส่วนบุคคลกับถวายเป็นสังฆทาน อานิสงส์มันต่างกันหลายแสนเท่า แล้วก็ยังมีอีกเวลาหนึ่ง ถ้าพระออกจากสมาบัติ นี่คูณหนักเข้าไปอีกไม่รู้เท่าไร การถวายสังฆทานนี้มีอานิสงส์มาก ความจริงถ้าจะพูดถึงอานิสงส์กันจริง ๆ ละก็ รู้สึกว่าจะมากกว่าจัดงานที่บ้านที่วัดตั้งเยอะแยะ ทั้งนี้เพราะว่าอะไร เพราะว่าถวายสังฆทาน เราทำกันแบบเงียบ ๆ ไม่มีกังวลการบำเพ็ญกุศลแต่ละคราว ถ้ามีกังวลมากอานิสงส์มันก็น้อย ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าจิตที่เราเข้าสู่กุศล มันห่วงงานอื่นมากกว่า ไม่ตั้งจิตโดยเฉพาะและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการถวายสังฆทาน คำว่าสังฆทานก็หมายความว่า ถวายสงฆ์ในหมู่ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ตามพระวินัยท่านเรียกกันว่าคณะสงฆ์ ถ้าต่ำกว่านั้นเป็นคณะบุคคล ถ้าบุคคลเดียวเป็นปาฏิปุคคลิกทาน ทานโดยเฉพาะ ทีนี้การถวายสังฆทานแก่พระสงฆ์เป็นหมู่นี้มีอานิสงส์มาก

ผู้ถาม
   การที่เราทำบุญใส่บาตร ตามหน้าบ้านกับพระที่เรารู้จักตามวัด แล้วไปทำที่วัด อันไหนจะมีอานิสงส์มากกว่ากันเจ้าคะ…..?

หลวงพ่อ
   ถ้า ฉันตั้งแต่ ๔ องค์ขึ้นไป เป็นสังฆทานมีอานิสงส์เหมือนกัน แต่ถ้าหากท่านฉันตั้งแต่ ๑ องค์ ถึง ๓ องค์ อย่างนี้เป็น”ปาฏิปุคคลิกทาน

ผู้ถาม
   มี อานิสงส์มากไหมคะ……?

หลวงพ่อ
   “มีโยม ถ้าเป็นปาฏิปุคคลิกทาน ถ้าวัดกันตามลำดับแย่นะ ไล่เบี้ยตั้งแต่ให้ทานกับ คนไม่มีศีล จนถึง พระอรหันต์ มีอานิสงส์ไม่เท่ากัน แต่จะพูดสรุปโดยย่อว่า
ให้ทานกับพระอรหันต์ ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับ พระพุทธเจ้า ๑ ครั้ง ให้ทานกับพระพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายสังฆทาน ๑ ครั้ง
และถ้า ถวายสังฆทาน ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับ ถวายวิหารทาน ๑ ครั้ง
คือสร้างวิหาร มีการ ก่อสร้างเช่นสร้างส้วม ศาลา การเปรียญ กุฏิ โบสถ์ วิหาร เป็นต้น
การถวายสังฆทาน ๑ ครั้งในชีวิต และก็ถวายด้วยจิตที่บริสุทธิ์มีศรัทธาแท้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า ผลของสังฆทานนี้จะดลบันดาลให้แก่บุคคลผู้ถวายเกิดไปทุกชาติขึ้นชื่อว่าความ ยากจน เข็ญใจไม่มี ในแดนใดที่เต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำบากขัดสน คนที่ถวายสังฆทานแล้ว จะไม่เกิดในที่นั้นผลที่ให้ไปไกลมาก กล่าวว่า แม้ แต่พระพุทธญาณเองก็ยังไม่เห็นผลที่สุดของการถวายสังฆทาน
คำว่าไม่เห็นที่สุดของ การถวายสังฆทาน หมายความว่า แม้แต่บุคคลผู้เป็นเจ้าของสังฆทาน บำเพ็ญบารมีแล้ว แล้วเกิดไปอีกกี่แสนชาติก็ตาม จนกระทั่งเข้าพระนิพพาน อานิสงส์นั้นก็ยังไม่หมด คำว่าอานิสงส์ ยังไม่หมดก็เพราะว่าถ้าบุคคลใดบูชาบุคคลผู้ควรบูชา นี่เป็นอำนาจของการถวายสังฆทาน
ทีนี้การถวายสังฆทานแก่พระ มีผลไม่เสมอกันอยู่อย่างหนึ่งคือ หมายความว่าถวายทานแก่พระที่มีจิตกำลังฟุ้งซ่านไปด้วยอำนาจของนิวรณ์ ๕ ประการ อย่างนี้เราถวายกี่หมื่นกี่แสน อานิสงส์มันก็ไม่มาก ถ้าหากว่าถวาย แก่ท่านผู้ปฏิบัติกรรมฐาน ถ้าหากเข้าถึงจิตบริสุทธิ์ เรื่องบริสุทธิ์แค่ไหนก็ช่าง อย่างน้อยที่สุดก็มีขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ บางท่านก็เข้าถึงฌานสมาบัติ บางท่านที่เป็นพระอริยเจ้า ก็เข้าถึงผล สมาบัติ เป็นต้นอย่างนี้มีผลมาก”

ที่มา
http://www.dhammatan.net/2010/06/ การทำสังฆทาน/

156
ง่ายๆ...ก็ต้องพิสูจน์กันทุกฝ่าย
ทั้งเจ้าของทรัพย์ ผู้กล่าวหา พยาน หลักฐานและผู้ถูกกล่าวหา

หากสองคนแรกพิสูจน์ไม่ได้ กล่าวหาลอยๆ ต้องรับผิดไปนะครับ

158
ขอบคุณครับ...ชอบมาก :015:

159
มีบทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้....ลองใช้การค้นหาแล้วจะเจอบทความของท่านพระอาจารย์
เช่น
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=14047.msg127959#msg127959

160

ภาพล่างซ้าย

พระอาจารย์ฯท่านให้มาครับ :054:

Ravee Sajja> นะมามีมา มะหาลาภา นะมามีมา มีมามาก มาก อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหินะชาลีติ มานิมามา โชคลาภจงมาหาข้าพเจ้า



161
ขอเพิ่มเติมนิดครับ ถ้าจุดภายในห้อง อย่าจุดมากดอก เพราะควันธูปจะส่งผลเสียต่อสุขภาพคนที่จุดและคนรอบข้าง รวมทั้งผนังห้องจะเปลี่ยนสีได้ หากจุดในที่โล่งแจ้งก็ตามสบายเลยครับ


*** ส่วนตัว ตอนที่ไปเจริญพุทธมนต์ หรือ สวดมนต์ในงานต่างๆ ขนาดเจ้าภาพจุดแค่ 3 ดอก พอควันเข้าจมูกในขณะสวดฯ ก็จะเกิดอาการหายใจไม่ออก เพราะขณะสวดจะต้องเปล่งเสียงทำให้หายใจไม่คล่อง บางทียังสำลักควันธูปก็มี+++
:054:

162

ขั้นตอนการฝึกจิตเบื้องต้น(2/2)

แนะความคิดเพื่อการฝึกจิต

หันเหความคิดและจิตใจของท่านเข้าสู่ภายในตัวตน

ที่แท้จริง ฉัน... คือ ดวงวิญญาณ... เป็นจุดแห่งแสง

ดุจดวงดาวเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยพลัง ฉันอยู่ตรงกลาง

หน้าผากระหว่างคิ้ว นี่คือ ตัวฉันที่แท้จริง

ร่างกายของฉัน คือเครื่องนุ่งห่ม สำหรับฉันผู้มีชีวิตใช้

แสดงบุคลิกลักษณะของฉันออกมา

เวลานี้ ฉันได้ตระหนักถึงลักษณะที่แท้จริงของตนเอง

ฉันได้เปิดล็อคประตูห้องขังออกมา ฉันรู้สึกเป็นอิสระ

เช่นเดียวกับนก ฉันสามารถโบยบิน ได้อีกครั้ง

บัดนี้ ธรรมชาติที่แท้จริงของฉันเริ่มปรากฏออกมา

เป็นธรรมชาติที่สงบ ในความสงบนั้นฉันรู้สึกว่า

ฉันได้กลายเป็นความสงบ ฉัน...คือ ความสงบ

ฉันรู้สึกว่า ในธรรมชาติที่เป็นแสงสว่าง

ฉันได้กลายเป็นแสงสว่างนั้น ฉัน... คือ แสงสว่าง....

ฉันรู้สึกถึงธรรมชาติที่แท้จริงของตนเอง ธรรมชาติของ

ความรัก ฉันกลายเป็นความรักนั้น ฉัน... คือ ความรัก...

เวลานี้ ดวงวิญญาณมีอำนาจอย่างเต็มเปี่ยม ความเบา

สบายกลายเป็นธรรมชาติของฉัน ฉันไม่ใช่ทาสอีกต่อไป

แต่เป็นนายเหนือร่างกายนี้ ฉันกระจายรัศมีที่สว่างไสวออกไป




ตัวอย่างภาพและเสียงสำหรับแนะความคิดเพื่อการฝึกจิต
บอกบท ความสงบ
บอกบท ความปิติ
บอกบท อมตะ
บอกบท แสง
บอกบท รักสิ่งสูงสุด
เฉพาะเสียงเพลงบรรเลง(คิดเอง)


นี่คือตัวอย่างเบื้องต้นของวิธีการฝึกจิต หากท่านต้องการฝึกจิตในขั้นที่สูงขึ้น
กรุณาศึกษาความรู้ทางจิตอย่างถูกต้อง ซึ่ง บราห์มา กุมารี ได้มีหลักสูตร ราชาโยคะ
ให้ทุกท่านสามารถเรียนรู้และฝึกจิตได้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ

โปรดอ่านต่อในlink ข้างล่างนี้
ที่มา
http://www.iamspiritual.com/chai/meditation.html

163
ห้องประสบการณ์การฝึกจิต
แนะนำ
ขั้นตอนการฝึกจิตเบื้องต้น


เวลานี้ แม้กระทั้งหมอก็กล่าวว่า โรคภัยทั้งหมดเป็นผลมาจากอารมณ์หรือความรู้สึกที่ถูกรบกวน
และเกิดการตึงเครียดในจิตใจ ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นการดีถ้าทุกคนอยู่ในความสงบ
และฝึกฝนจิตใจพร้อมกัน
Raja Yogi B.K. Jagdish Chander

ประโยชน์และความหมายของการฝึกจิต
ทุกคนควรมีการฝึกฝนจิตใจเป็นกิจวัตรซึ่งเป็นยาแก้ความเครียดที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นวิธีการผ่อนคลายได้อย่างง่ายดาย
การฝึกจิตทำให้ท่านสร้างทัศนคติและตอบสนองชีวิตแบบใหม่ ท่านสามารถเข้าใจจิตใจของตนเองได้อย่างกระจ่าง
การฝึกจิตคือขบวนการฟื้นฟูชีวิต สร้างความพอใจ และใช้พรสวรรค์หรือความชำนาญพิเศษของตนเอง ในทางที่ดี
การฝึกจิต ต้องอาศัยการฝึกฝนเพื่อได้รับสิ่งที่ดีงาม และมีผลลัพธ์ที่พอใจ
โดยการฝึกจิตวันละนิดทุก ๆ วัน ไม่นานจะกลายเป็นธรรมชาติ และนิสัยได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเป็นผลมาจากการสร้างความเพียรพยายามที่เข้มข้น

ขั้นตอนการฝึกจิตพื้นฐาน:

หาเวลาว่างสำหรับตนเองทุก ๆ เช้าและเย็น 10 หรือ 20 นาที
หาสถานที่ ที่สงบเพื่อให้มีการผ่อนคลาย ใช้แสงไฟหรี ๆ และใช้เสียงเพลงเบา ๆ ช่วยสร้างบรรยากาศที่เหมาะสม
นั่งตัวตรงในท่าที่สบายๆบนพื้นหรือบนเก้าอี้
ไม่หลับตา และไม่เปิดตาเกินไป มองไปยังจุดใดจุดหนึ่งข้างหน้า
หันความสนใจของท่านจากการเห็นและการได้ยินเพื่อเข้าไปสู่ภายในตนเองอย่างช้า ๆ
เฝ้าสังเกตการณ์ความคิดของท่านเอง
ไม่ควรพยายามที่จะหยุดคิด เพียงแต่เป็นผู้สังเกตการณ์ ไม่วิจารณ์หรือขจัดความคิดออกไป เพียงแต่เฝ้าดู
ค่อย ๆ ทำให้ความคิดช้าลง และแล้วท่านจะเริ่มรู้สึกสงบมากขึ้น
สร้างความคิดเกี่ยวกับตนเอง ให้มีเพียงความคิดเดียว เช่น ฉันคือดวงวิญญาณที่สงบ
นำความคิดนั้นไปสู่ฉากของจิตใจ จินตนาการว่าตนเองเต็มไปด้วยความสงบ เงียบ และนิ่ง
อยู่ในความคิดนั้นให้นานเท่าที่ทำได้ อย่าได้ต่อสู้กับความคิดอื่น หรือความทรงจำที่อาจเข้ามารบกวน เพียงแต่เฝ้าดูมันผ่านไป และกลับมาสร้างความคิดของท่านอีกครั้ง ฉันคือดวงวิญญาณที่สงบ
ยอมรับและพอใจในความคิดและความรู้สึกที่เป็นบวก ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากเพียงหนึ่งความคิด
มั่นคงอยู่ในความรู้สึกเหล่านี้ซักครู่ จงระวังความคิดที่ไม่เกี่ยวข้อง
สิ้นสุดการฝึกจิตของท่านโดยปิดตาของท่านซักครู่หนึ่ง และสร้างความสงบในจิตใจของท่านอย่างสมบูรณ์

ที่มา
http://www.iamspiritual.com/chai/meditation.html

164
อีก 12 เดือน ก็รู้........

165
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง

166
วิธีฝึกจิตให้มีพลัง  (5/5)

เพราะฉะนั้น ใน ริโรธ ที่พระองค์ทรงแสดงว่า สัจฉิกา ตะ ปัณติ เม ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิโรธ ควรทำให้แจ้ง ก็แจ้งอย่างนี้ พอแจ้งแล้วมันไม่มีมืด มันพบแสงสว่างแล้ว มันก็ไม่มีมืด มันก็ได้หนทาง รู้แน่ คือว่าตายแน่ คือว่าเจ็บแน่ คือว่าร่างกายนี้เป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม แน่ แล้วก็ไม่กลับคืนมาไม่แน่อีก มันจะต้องแน่อยู่อย่างนั้นตลอด

ทีนี้เมื่อเป็นเช่นนี้ มันก็อยู่ที่ว่าเราจะทำให้สำเร็จมากน้อยแค่ไหน จะเอาแค่ชั้นประถม หรือจะเอาแค่ชั้นมัธยม หรือจะเอาแค่มหาวิทยาลับ หรือจะเอาถึงขั้นดอกเตอร์ มันก็สุดแล้วแต่ความสามารถของแต่ละบุคคล ด้วยเหตุนี้ ในข้อสุดท้าย พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ภาเว ตะ ปัณติ เม ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มรรค ควรเจริญให้มาก

ทีนี้ก็อยู่เป็นหน้าที่ที่ มรรค หมายความว่าเรารู้หนทางแล้ว มองหนทางได้ชัดเจนแล้ว อันนี้ก็จะเป็นหนทางดำเนินต่อไป สุดแล้วแต่ความสามารถ แต่ว่าเราเดินทางถูกแล้ว เรามาทางถูกแล้ว เราก็เดินต่อไปในทางที่ถูก เมื่อเดินทางถูกแล้วนี่ วันหนึ่งก็ถึง คือหมายความว่าถึงที่หมายปลายทาง

ในชีวิตของคนเรานี้ ถ้าหากว่ามีการปฏิบัติ หรือได้ทำการปฏิบัตินี่ ถือว่าเป็นสิ่งที่ให้เกิดผลประโยชน์อันยิ่งใหญ่ไพศาล ไม่มีผลใดที่จะยิ่งไปกว่านี้ ในบรรดาการกระทำทั้งปวง เพราะมนุษย์เราเกิดมาแล้วตายไป ทรัพย์สินสมบัติอะไรก็เอาตามไปไม่ได้ สามี ภรรยาสุดที่รัก ก็ตามเราไปไม่ได้ ลูกสุดที่รัก ก็ตามเราไปไม่ได้ ทรัพย์สินสมบัติสุดที่รัก มันก็ตามเราไปไม่ได้

เมื่อเราตายไปแล้ว สิ่งที่อยู่ในโลกนี้ มันก็ต้องอยู่ในโลก ก็เป็นของคนอื่นต่อไป มันไม่ใช่เป็นของเรา เราจะใช้มันอยู่ได้ก็เพียงชั่วชีวิตนี้ พอเลยจากชีวิตนี้เราก็ใช้มันไม่ได้ ชีวิตนึงมันก็หมุนเวียนเปลี่ยนกันไปอยู่เพียงแค่นี้ เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็เป็นเด็ก พอเป็นเด็กแล้วก็เป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นหนุ่มเป็นสาวแล้วก็แก่ลงไป แก่ลงไปแล้วก็ตาย แล้วก็เกิดมาเป็นเด็กใหม่ มันก็เวียนไปอยู่อย่างนี้นี่ ก็มีแค่นั้น

เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะวิเศษกว่าที่เราจะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่เสียเปล่าๆ นั้น ก็คือการมาฝึกในเรื่องจิตใจนี้ เพราะว่าการฝึกเรื่องจิตใจนี้ เป็นการฝึกที่เราต้องอาศัยระยะเวลาอันยาวนาน เรียกว่าใช้เวลา เมื่อเราใช้เวลาตามสมควรแล้วนี่ มันเกิดผลสำเร็จ เรียกว่าเป็นผลสำเร็จ

การเกิดผลสำเร็จนั้น เราจะรู้ได้ในเมื่อเราสำเร็จผลสิ่งนั้นๆ ขึ้นมา อย่างที่เราเรียนสำเร็จ ชั้นประถม 1 เราก็รู้แล้ว เราเรียนสำเร็จชั้นประถมสุดท้าย เราก็รู้แล้ว เราเรียนสำเร็จชั้นมัธยม เราก็รู้แล้ว เราเรียนสำเร็จปริญญาตรี เราก็รู้แล้ว ปริญญาโท เราก็รู้แล้ว ปริญญาเอก เราก็รู้แล้ว ใครจะรู้กับเราล่ะ เราก็เป็นคนที่จะรู้ว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นมานั้น เกิดขึ้นโดยเฉพาะ

ยิ่งการปฏิบัติจิตก็เหมือนกัน พอไปถึงขั้นสำเร็จ ก็เรียกว่าเกิดขึ้นมาโดยเฉพาะ ผู้นั้นก็รู้ รู้ถึงความสำเร็จอันนี้ขึ้นมา มันจะต้องเป็นความจริงที่เรียกว่าสำเร็จขึ้นมา เหมือนกันกับคนที่รับประทานอาหารอิ่ม เค้าก็ต้องรู้ว่าเค้าอิ่ม ใครจะไปรู้ให้เค้าได้ เค้าก็รู้ว่าเค้าอิ่ม เราจะไปบอกคนอื่นได้เหมือนกันว่าชั้นอิ่มแล้ว แต่ว่าคนอื่นเค้าก็ อย่างงั้นๆ แหละ แต่ตัวของเราเองต่างหากที่เป็นผู้ที่รู้ว่าเกิดความอิ่ม อันนี้เป็นข้อเปรียบเทียบในเรื่องการปฏิบัติจิต

ต่อไปนี้ก็นั่งสมาธิกันต่อไป…

http://tripteam.exteen.com/20110418/meditation

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/misc/lp-viriyang-03.htm

167
วิธีฝึกจิตให้มีพลัง  (4/5)

แต่ถ้าหากว่าจิตที่มันเป็นสมาธิขึ้นมาจริงจังแล้ว จะไม่เห็นอย่างนั้น จะเห็นตามความเป็นจริงไปเลย เมื่อเห็นตามความเป็นจริงขึ้นมาเมื่อไร มันจะมีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นกับใจ สิ่งที่เกิดขึ้นกับใจนั้น ก็ได้แก่ นิพพิทา คือความเบื่อ หรือเรียกว่าความเบื่อหน่าย

ความเบื่อหน่ายอันนี้ ถ้าเกิดขึ้นมาได้เมื่อใด เมื่อนั้นแหละ ผู้นั้นก็ถือว่าดำเนินจิตเข้าสู่อริยสัจจะแล้ว จิตนี้เข้าสู่สัจจธรรมแล้ว เพราะว่าจิตนี้ปลงตกไปแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น ตัณหา ที่เรียกว่ากิเลสตัณหาสมุทัย พระพุทธเจ้าตรัสว่า สมุทัยนั้น ปหา ตะ ปัณติ เม ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมุทัยควรละ

สมุทัยควรละนั้น ถ้าหากว่าเราจะไปตั้งอกตั้งใจละเอาอย่างนี้ คิดละเอาอย่างนี้ มันละไม่ได้ เหมือนกันกับความหิวอย่างนี้ เราจะไปคิดละเอา หรือว่าจะไปทำอย่างหนึ่งอย่างใดละให้มันหมดความหิวไปย่อมไม่ได้ แต่หากว่าความหิวจะหมดไปนั้น ก็อาศัยการรับประทาน เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปแล้ว ความหิวหายไปเอง โดยที่เราไม่ต้องไปคิดอยากจะให้มันหาย แต่มันก็หายไปเอง

เหมือนกันกับที่มาพิจารณาดูตัวทุกข์ เห็นแล้วว่าอันนี้เป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม จะไปหลงรักหลงชังมันทำไม เกิด นิพพิทาญาณ ขึ้นมาอย่างนี้ ก็เป็นอันว่าละลงไปในตัวเสร็จ คือไม่จำเป็นต้องไปพูดว่าละ สมุทัย ก็เป็นอันว่าถูกขจัด ละออกไปได้ เป็นอัตโนมัติ เหมือนกันกับรับประทานอาหาร เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว มันอิ่มมันก็หายไปเป็นอัตโนมัติ

ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ในข้อที่ 3 พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า สัจฉิกาตะ ปัณติ เม ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คำว่าทำให้แจ้งนั้น คือ หมายความว่า รู้แจ้ง และเห็นจริง นิโรธ แปลว่าความดับ หรือเรียกว่าดับทุกข์ ก็เหมือนกันกับที่ว่า พิจารณาเห็นแล้วว่านี่คือธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม ในที่สุด จิตมันก็ละ คือดับ

การดับนั้น ไม่ใช่ว่าคิดดับเอา จำเป็นอยู่เองที่จะต้องให้เกิดตามความเป็นจริง เพราะว่าความเป็นจริงนั้น ย่อมเป็นความเป็นจริงตลอด ในข้อนี้ก็เปรียบเหมือนกันกับเด็กที่เรียนหนังสือ เรียนไป เรียนไป มันก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง ตัว ก. ตัว ข. เอาหัวขึ้น เอาหัวลง ตัว ง. ตัว จ. ก็เอาตีนขึ้น เอาหัวลง มันก็เขียนไปของมันเรื่อยไป

เพราะอะไรมันจึงเขียนอย่างนั้น เพราะมันไม่รู้ เพราะมันยังไม่รู้แจ้งเห็นจริง แต่มันก็พยายามเขียน เขียนจนกระทั่งถึง ป.4, ป.5, ป.6 มันก็เขียนได้ ทีนี้มันก็ไม่เอาหัวลงหัวขึ้นแล้ว มันก็เขียนได้ตามความประสงค์ ตัว ก. เป็นตัว ก. ตัว ข. เป็นตัว ข. อย่างนี้เป็นต้น

ทำไมมันจึงเขียนได้ ก็เพราะมันฝึก มันฝึกจนกระทั่งมันเกิดความชำนาญ เกิดความชำนาญแล้ว มันก็เกิดสมองที่จะจำเอาไว้ได้ ในความชำนาญนั้น ทีนี้เมื่อเวลาที่มันอ่านออกและเขียนได้แล้ว มันจะกลับไปเป็นคนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้อีก มันก็กลับไปไม่ได้ มันจะต้องอยู่ของมันอย่างนั้น มันจะต้องสว่างของมันอย่างนั้น คือสว่างในใจของมัน ทั้งกลางวันกลางคืนมันจะใสสว่างของมันอยู่ตลอด

ไอ้เด็กน่ะ ที่มันเรียนถึง ป.6 หรือว่ามัธยมแล้วอย่างนี้ ทีนี้มันก็ไม่รู้ตัวเองหรอกว่ามันสว่างอยู่ของมัน แต่มันก็สว่าง ถ้ามันไม่สว่าง มันก็ลืมหมด แต่เพราะมันสว่างโร่อยู่ในใจของมัน มันก็เลยไม่ต้องลืม ก็เปรียบเหมือนกับว่า นิโรธ ที่จะต้องทำให้แจ้ง ก็เช่นเดียวกัน ในเมื่อทำให้แจ้งแล้ว มันก็ไม่ดับแล้ว คือมันไม่กลับไปเป็นคนหลงอีก

เหมือนกันกับนักเรียนที่มันอ่านออกเขียนได้แล้วนี่ มันก็กลับไปเป็นคนที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ไม่ได้ ถึงจะแกล้งทำแค่ไหน มันก็แกล้งทำเท่านั้นแหละ แต่ความจริงมันอ่านออกเขียนได้ไปแล้ว มันจะกลับคืนมาเป็นคนโง่อีก ไม่ได้


ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/misc/lp-viriyang-03.htm

168
วิธีฝึกจิตให้มีพลัง  (3/5)

ถ้าเราไม่ทดสอบ เราก็ไม่รู้ ไม่รู้ว่าจิตของเรานี้ เมื่อไหร่เรามาทำ เราก็ทำไป อย่างนั้นๆ แหละ อย่างนั้นมันก็ไม่ค่อยถูกต้อง มันจำเป็นที่จะต้องทดสอบ การทดสอบก็คือการพิจารณาตามความเป็นจริงว่าเราได้เห็นจริงชัดลงไปหรือไม่ เมื่อเราหลับตาพิจารณาลงไปแล้วนี่ เราเห็นจริงชัดแค่ไหน ความชัดเจน หรือว่าความสว่าง หรือว่าความซึ้ง มันจะถึงแค่ไหนนั้น ตัวของตนก็รู้ได้

เพราะฉะนั้น ความก้าวหน้าของจิต หรือเรียกว่าการพัฒนาจิตนั้น จึงอยู่ที่ตัวของเรารู้ตัวของเราเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้นั้นก็จะเกิดความเจริญ ภาวิโต เจริญให้มาก พะหุลีกะโต กระทำให้มาก อภิญายะ ก็จะเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง สัมโพธายะ ก็จะเป็นไปเพื่อความรู้ดี นิพพานายะ ก็จะเป็นไปเพื่อความดับสนิท หรือเรียกว่าเป็นไปเพื่อพระนิพพาน อย่างนี้เป็นต้น

เพราะเหตุที่ว่าหนทางที่จะดำเนินเข้าไปสู่อริยสัจธรรมนี้ เป็นสิ่งที่มีความจริงที่ไม่มีความจริงที่ไหนจะจริงเท่า ฉะนั้นจึงเรียกว่า อริยสัจจ์ 4 อริยสัจจ์ 4 นั้นคืออะไร อริยสัจจ์ 4 ก็คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ทุกข์นั้น ได้แก่ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย สมุทัยนั้น ได้แก่ ตัณหาทั้ง 3 นิโรธนั้นได้แก่การดับตัณหา มรรคนั้น ได้แก่หนทางที่จะดับตัณหา ทุกข์นั้น คือ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ เรียกว่าความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์

ความเกิด แก่ เจ็บ ตายนั้น ใครเป็นผู้เกิดมา แล้วใครเป็นผู้ตาย เราก็ไม่ต้องเถียง ร่างกายนี้เป็นผู้เกิดมา ร่างกายนี้เป็นผู้แก่ ร่างกายนี้เป็นผู้ตาย เพราะฉะนั้น ตัวทุกข์ก็ไม่ใช่อื่นไกล ก็คือร่างกายอันนี้ จึงไปตรงกับที่พระพุทธเจ้าแนะนำให้พิจารณาถึงสติปัฏฐาน จึงเรียกว่าร่างกายนี้เป็นตัวทุกข์

เมื่อร่างกายนี้เป็นตัวทุกข์แล้ว ในอริยสัจจ์ท่านก็แสดงว่า ปริโยยันติ เม ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ควรกำหนดรู้ ท่านไม่ให้ทำอะไรในร่างกายอันนี้ ให้ทำความรู้ ให้รู้ตามความเป็นจริง คือให้รู้ตามความเป็นจริงว่าร่างกายอันนี้ เมื่อพูดกันตามความเป็นจริงแล้วมันก็คือธาตุ ธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม

สิ่งใดในร่างกายที่มันแข็งๆ อยู่ ก็เรียกว่า ธาตุดิน สิ่งใดที่มันเหลวๆ อยู่ ก็เรียกว่า ธาตุน้ำ สิ่งใดที่พัดไปพัดมา ก็เรียกว่า ธาตุลม สิ่งใดที่ทำร่างกายให้รุ่มร้อน อบอุ่น ก็เรียกว่า ธาตุไฟ อันนี้คือการพิจารณาตามความเป็นจริง แล้วความเป็นจริงมันก็จะต้องเกิดมาในเบื้องต้น คร่ำคร่าไปในท่ามกลาง แตกสลายไปในที่สุด

นี่ความจริง เค้าเรียกว่า ทุกขสัจจ์ ในทุกขสัจจ์นี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ปริโย ยันติ เม ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ควรกำหนดรู้ การกำหนดรู้นั้น จำเป็นต้องศึกษา ถ้าไม่ศึกษาซะก่อนนี่ เรากำหนดรู้ไม่ได้ อย่างเราจะกำหนดดูตัวหนังสือ ตัวหนังสือนี่อ่านว่ายังไง จำเป็นต้องศึกษามาตั้งแต่ต้น

ถ้าไม่ศึกษาแล้ว เปิดหนังสือขึ้นมา เราก็อ่านไม่ได้ ไม่รู้เรื่อง ถ้าเราไม่ศึกษาแล้ว เราจับปากกาออกมาเขียน มันก็เป็นตัวหนังสือไม่ได้ แต่ถ้าเราศึกษาแล้วนี่ เปิดหนังสือออกมาเราก็อ่านรู้เรื่อง จับปากกามาถึงก็เขียนได้ตามความมุ่งหมาย อันนี้

ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ว่า ปริโย ยันติ เม ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ควรกำหนดรู้นั้น ก็ให้กำหนดรู้อย่างนี้ ทำยังไงถึงจะรู้อย่างนี้ลงไปได้ ถึงจะเรียกว่าสัจจธรรม ถ้าหากว่าเรากำหนดลงไปนี่ มันยังสวยยังงามอยู่ มันไม่ใช่สัจจธรรม หรือกำหนดลงไปนี่ ตรงนี้ก็งาม ตรงนั้นก็สวย แขนก็สวย ขาก็สวย คอก็สวย หน้าก็สวย ผมก็สวย มันก็เลยไม่ใช่สัจจธรรม อันนั้นเรียกว่าเป็นโลกีย์ หรือเรียกว่ากิเลสตัณหา


ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/misc/lp-viriyang-03.htm

169
วิธีฝึกจิตให้มีพลัง  (2/5)

ในกายนี้ ถ้าหากว่าเป็นกายในอดีต ท่านก็ให้พิจารณาถึงว่า เมื่อเรา 50, 40, 30, 20, 10 ปี 9, 8, 7, 6, 5, 4, 3, 2, 1 นี่เรียกว่าเราดูกายของเราตั้งแต่นี้ไปจนกระทั่งถึงเด็ก มันเป็นยังไง รูปร่างลักษณะ

และต่อนี้ไปก็ อนาคตัง วา คือกายในอนาคต ที่ต้องพิจารณาดูว่า จาก 50 แล้วเป็น 60 จาก 60 เป็น 70 จาก 70 เป็น 80 จนกระทั่งถึงตาย ลักษณะของการมีกายในอนาคตนั้น คือความแก่ และความตาย ลักษณะเป็นอย่างไร นี่เป็นกายในอนาคต ในการที่จะพิจารณาให้เห็นเป็นการส่งเสริมสติ

และ ปัจจุปันนัง วา กายในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าแนะนำว่ากายในปัจจุบันนั้น อะยังโข เม กาโย กายของเรานี้แล อุททัง ปาทะ ตะลา เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา อะโท เกสะ มัทถะกา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป ตะจะ ปริยันโต มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ ปุโร นานัปปะการัสสะ อสุจิโน เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ อัตถิ อิมัสสมิง กาเย มีอยู่ในกายนี้ เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ เรียกว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ในร่างกายอันนี้

หนังนั้นเป็นอย่างไร เนื้อนั้นเป็นอย่างไร กระดูกนั้นเป็นอย่างไร จนกระทั่ง ท่านได้แสดงว่า อัญเญนะ ชังคะถิกัง กระดูกแข้งจะกระเด็นไปทางอื่น อัญเญนะ พาหัตถิกัง กระดูกแขนจะกระเด็นไปทางอื่น เป็นต้น คือท่านให้แยกแยะออกไปว่า อันนี้คือ โครงกระดูก อันนี้คือกระดูกแขน อันนี้คือลำไส้ อันนี้คือน้ำเลือด อันนี้คือน้ำเหลือง อันนี้คือร่างกายส่วนต่างๆ จะเป็นกระดูกเท้า กระดูกแขน กระดูกมือ ก็ว่าไป

อันนี้เรียกว่า ปัจจุปันนัง วา กายในปัจจุบัน การพิจารณาอย่างนี้ถือว่าได้ดำเนินจิตเข้าสู่มหาสติปัฏฐาน สติ แปลว่าสติ ฐานะ แปลว่าความมั่นคง จึงเรียกว่าสติปัฏฐาน ทีนี้ท่านก็ใส่ข้างหน้าไว้ว่าเป็น มหา แปลว่าใหญ่ จึงเรียกว่ามหาสติปัฏฐาน คือเป็นฐานที่ตั้งแห่งสติใหญ่ ความใหญ่ ความยิ่ง ก็ถือว่าเป็นความสำคัญ

เพราะฉะนั้น เมื่อต้องการจะเสริมสติ ในเมื่อจิตนี้มันเข้าไปสู่ภวังค์ หรือจิตนี้มันเข้าไปสู่ความสงบ เราก็นำจิตอันนี้เข้ามาดูร่างกาย จะเป็นร่างกายในอดีต หรือจะเป็นร่างกายในอนาคต หรือจะเป็นร่างกายในปัจจุบันนั้น ก็สุดแล้วแต่ว่าเราจะกำหนดลงไปตรงไหน เมื่อกำหนดลงไปแล้ว ไม่ใช่ว่าจะให้กำหนดอยู่แต่ตรงนั้น อย่างเดียว

เมื่อกำหนดพิจารณาไปเห็นตามสมควรแล้ว เราก็ย้อนจิตกลับคืนมาที่ตั้งของจิต เหมือนกันกับคนที่เค้านั่งอยู่ เมื่อเวลาที่นั่งอยู่นั้น ต้องการอยากจะมองดูสิ่งใด ก็มองไป เห็นหน้าต่าง เห็นประตู แต่ว่าเรานั่งอยู่ในที่นี้ เมื่อเห็นแล้วเราก็หลับตา เราไม่ต้องการที่จะมองให้เห็นอีก เราก็เอาจิตนี้มานั่งอยู่ที่เรานั่ง

เหมือนกับเรามองดูกายในอดีต อนาคต ปัจจุบัน เมื่อเรามองไป ในที่สุด เราก็ย่อกลับคืนมาหาจิต คือมาตั้งอยู่ที่จิต ในขณะที่เราพิจารณาร่างกายอันนั้น เรามองไปเห็น มันจะชัดเจนขึ้นตามลำดับ ถ้าหากว่าความชัดเจนที่เกิดขึ้นนี้ เกิดขึ้นโดยที่ สันทิฎฐิโก ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นเอง คือเห็นเองที่ว่า เมื่อเรามองลงไปแล้ว ความชัดเจนนี้มันจะชัดเจนเพิ่มขึ้น

ถ้าความชัดเจนเพิ่มขึ้น แสดงว่าจิตนี้เกิดความผ่องใส หรือว่าจิตนี้มีความก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ และก็จิตนี้มีสติอันเข้มแข็งขึ้นตามลำดับ เพราะว่าความสว่างหรือความเห็นแจ้งลงไปในร่างกายอันนี้นั้น มันจะไม่ชัดเจน เริ่มต้นด้วยความไม่ชัดเจน จนกระทั่งไปหาความชัดเจน ไปถึงความชัดเจน ก็ไปจนถึงความแจ้งสว่าง จากความแจ้งสว่าง ก็เรียกว่าถึงความลึกซึ้ง

อันนี้ก็เป็นไปด้วยอำนาจ หรือเรียกว่าพลังของจิต อำนาจและพลังของจิตนั้น ย่อมจะแสดงให้เห็นถึงกิริยา เพราะว่าอำนาจจะมีแค่ไหนนั้น ก็สุดแต่ฐานที่ตั้ง หรือเรียกว่าสติปัฏฐานนี่แหละ เมื่อสติปัฏฐานนี้ มันเป็นของธรรมดา เราก็ไม่ใส่ มหา ลงไป ใส่แต่ว่าสติปัฏฐานอย่างเดียว แต่ถ้าหากว่าเกิดความยิ่งใหญ่ขึ้นมา ทีนี้จึงจะเรียกว่าเป็นมหา เรียกว่ามหาสติปัฏฐาน

ก็คือเกิดความแจ่มแจ้ง เกิดความชัดแจ้ง ความชัดแจ้งอันนี้ มันไม่ใช่เป็นสิ่งเดา หรือไม่ใช่เป็นสิ่งคิด คือคิดขึ้นมาก็ไม่สว่าง หรือถ้าเดาไปมันก็ไม่สว่าง แต่ว่ามันจะต้องเกิดความจริงขึ้น อันนี้เป็นเครื่องทดสอบว่าจิตของเรานั้น มีความเจริญก้าวหน้าไปแค่ไหนแล้ว

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/misc/lp-viriyang-03.htm

170
วิธีฝึกจิตให้มีพลัง  (1/5)
พระธรรมเจติยาจารย์
(พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร)
วัดธรรมมงคล
โพสท์ในลานธรรมเสวนา หมวดสติปัฏฐาน ๔ กระทู้ 16491 โดย: จอม 07 ก.ย. 48

ต่อไปนี้ขอให้ท่านทั้งหลายตั้งใจที่จะทำความสงบกันต่อไป ในเบื้องต้นนี้อาตมาจะเป็นผู้นำ ทุกๆ คนให้ว่าตาม

ข้าพเจ้า ระลึกถึง คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ จงมาดลบันดาล ให้ใจของข้าพเจ้า จงรวมลงเป็นสมาธิ พุทโธ ธัมโม สังโฆ (3ครั้ง) พุทโธ พุทโธ พุทโธ

นี่ก็ให้นึกไว้ในใจ นั่งขัดสมาส ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาหงายทับมือซ้าย วางไว้บนตัก หลับตา นึก พุทโธในใจ กำหนดใจของเราไว้ที่ใจ การทำสมาธิ ต้องการความเป็นหนึ่ง ความเป็นหนึ่งเป็นต้นเหตุของการที่จะให้เกิดพลังจิต พลังจิตนั้นก็คือ กระแสธรรม ทำอย่างไรพลังจิตของเราจะเกิดขึ้นได้

การทำจิตให้เป็นหนึ่ง คือการที่จะทำจิตนี้ให้เกิดพลังจิต พลังจิตนี้ ที่จะเป็นกำลังที่จะทำวิปัสสนาต่อไปในกาลข้างหน้า แต่การที่จะเป็นหนึ่งได้นั้น ต้องอาศัยคำบริกรรม คำบริกรรมนั้น อย่างที่เราบริกรรมว่าพุทโธๆ เป็นคำบริกรรม ผู้ที่นึกพุทโธได้แล้ว ถือว่าจิตนั้น เริ่มที่จะเข้าเป็นหนึ่ง เมื่อจิตเป็นหนึ่งได้แล้ว พุทโธก็ไม่ต้องนึก

เมื่อเราไม่นึกพุทโธ แต่ว่าจิตของเราเป็นหนึ่งได้ ก็ถือว่าจิตของเราได้เลื่อนไปอีกขั้นนึง การที่เรากระทำสมาธินั้น เราจะต้องรู้ว่าเมื่อเวลาทำจิตของเราได้ผลอย่างไร เราจะต้องทำอย่างนั้นไปเสมอๆ เพราะว่าต่างคนก็ต่างมีนิสสัยวาสนาบารมีต่างกัน

เมื่อใครจะกำหนดจิตอย่างไรที่เป็นผลเป็นประโยชน์แก่ตนนั้น เราก็จะต้องกำหนดจิตอย่างนั้น และเมื่อกำหนดจิตอย่างนั้นอยู่ตลอดไป ความชำนาญเกิดขึ้น ความชำนาญนั้น ในภาษาบาลีท่านกล่าวว่า วสี

วสี แปลว่าความชำนาญ ความชำนาญนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการบำเพ็ญจิต เหมือนกันกับผู้ที่เขียนหนังสือเกิดความชำนาญ เค้าย่อมจะต้องเขียนได้อย่างสบาย แม้จะหลับตาเขียนก็ได้ เพราะความชำนาญ และเขาก็ได้ประโยชน์จากการเขียนนั้น อย่างรวดเร็ว

ผู้ที่บำเพ็ญจิตก็เช่นเดียวกัน ต้องแสวงหาความชำนาญให้เกิดขึ้น หรือเรียกว่าแสวงหาวสี การที่เราตั้งจิตนั้น เมื่อเราตั้งได้อย่างนี้ เราทำอย่างนี้ ก็เป็นอันว่าถูกต้อง เพราะความถูกนั้น อยู่ที่จิตเราตั้งได้ เมื่อจิตตั้งได้ ความตั้งของจิตนั้น ถือว่า สติ

สตินั้น เป็นสิ่งที่ทุกๆ คนจะต้องมี ถ้าสตินั้นขาดเมื่อไร การตั้งก็ตั้งไม่อยู่ เหมือนกันกับสิ่งที่เราจะตั้งขึ้นมาเป็นเสา หรือจะตั้งขึ้นมาเป็นสิ่งของ เป็นโต๊ะ เป็นเตียง ถ้าหากว่าขามันหัก หรือว่าขาไม่ดี เตียงก็ตั้งอยู่ไม่ได้ ก็ต้องล้มกันลงไป ขาของเตียงก็ดี ขาของเก้าอี้ หรือเสาก็ดี ล้วนแล้วแต่เราสมมุติกันขึ้น แต่ถ้าหากว่าจะเปรียบเทียบ ก็เปรียบได้ด้วยสติ

สตินั้น คือความระลึก หรือเรียกว่าความตั้งอยู่ ความไม่วอกแวก จิตมันวอกแวกไปไม่ได้ในเมื่อมันมีสติ แต่พอขาดสติมันก็วอกแวกออกไป อย่างนี้เป็นลักษณะธรรมดา เมื่อเป็นเช่นนี้ การที่เราจะทำสิ่งที่เรียกว่าสมาธิให้เข้มแข็ง หรือเป็นกำลังต่อไปนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องเสริม คือเสริมสตินี้ ให้มีกำลังยิ่งๆ ขึ้นไป

วิธีการที่จะเสริมสติ พระพุทธเจ้าแนะนำไว้ 4 ประการ คือ สติปัฏฐาน 4 มีกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นต้น กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หนึ่ง เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน สอง จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สาม ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน สี่

สี่ประการนี้เป็นหลัก หรือเรียกว่าเป็นหน่วยของการส่งเสริมสติของเรานี้ให้มั่นคง ในจำนวนสติปัฏฐาน 4 นั้น พระพุทธเจ้ายกกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นอันดับหนึ่ง อันดับหนึ่งก็คือกาย จึงเป็นสิ่งที่เราเห็นกันอยู่ ทุกวันๆ และเป็นสิ่งเราได้สัมผัสอยู่ ทุกวันๆ เราจึงรู้และเข้าใจง่ายในการที่จะเอากายนี้มาเป็นการส่งเสริม หรือเรียกว่าเสริมสติของเราให้แก่กล้ายิ่งขึ้น วิธีการที่ท่านให้เอากายนี้เป็นการเสริมสตินั้น ท่านทำอย่างไร

ในบาลีท่านแสดงไว้ว่าให้เราพากันมีสติมองดูกายในอดีต อนาคต และปัจจุบัน กายในอดีตเป็นอย่างไร กายในอนาคตเป็นอย่างไร กายในปัจจุบันเป็นอย่างไร เรากำหนดจิตไว้ที่นั่น จะเป็นระยะหนึ่ง หรือว่านาน หรือไม่นาน ก็สุดแล้วแต่ แต่ถ้าหากว่าเรากำหนดลงไปได้ จะเป็นการเสริมสติขึ้นมาทันที

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/misc/lp-viriyang-03.htm

171
คาถาข้างพระที่ : คาถาของพระมหากษัตริย์


คาถาข้างพระที่หรือคาถาเจริญธาตุ เป็นคาถาของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยโบราณ ทรงเจริญพระคาถาเพื่อให้เจริญพระชนมายุ ป้องกันโภยภยันตรายต่างๆ ผู้ใดเจริญพระคาถานี้จะทำให้มีอายุยืนนาน ป้องกันสารพัดโรคาพยาธิครับ ตัวพระคาถามีดังนี้

พุทธัง ชีวิตัง อายุวัฒนัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ธัมมัง ชีวิตัง อายุวัฒนัง ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

สังฆัง ชีวิตัง อายุวัฒนัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิฯ


เขียนโดย ทศพรรษ พชร
ที่มา
http://roikamhom.blogspot.com/search/label/ ไสยศาสตร์

172
การแก้อาถรรพณ์ในเคหสถานบ้านเรือน

ภายในเคหสถานบ้านเรือนซบเซาเศร้าหมอง เกิดเจ็บกระเสาะกระแสะ มีเรื่องทำให้เดือดร้อนรำคาญ สูญเสียทรัพย์สินอยู่เป็นเนืองนิตย์ผิดปกติ มีวิธีแก้ไขให้ร้ายคืนกลับเป็นดีดังนี้คือ

ให้ทำความสะอาดฝาบ้าน เพดานบ้าน ตามซอกตามมุมที่มีหยากไย่และฝุ่นละอองให้หมด เอาหยากไย่และฝุ่นละอองกองรวมไว้ที่แห่งเดียวกัน แล้วห่อด้วยผ้าขาวให้มิดชิด นำห่อผ้านี้ไปทิ้งที่บริเวณเมรุหรือที่ฌาปนสถานวัดใดวัดหนึ่ง ทิ้งแล้วห้ามเหลียวหลังดูเป็นอันขาด จากนั้นให้เอาน้ำพระพุทธมนต์ซึ่งขอมาจากพระสงฆ์ผู้ใหญ่ หรือน้ำพระพุทธมนต์หน้าพระประธานในพระอุโบสถพรมตามเพดานบ้าน ฝาบ้านและบริเวณให้ทั่ว รุ่งเช้าให้ตักบาตรอุทิศกุศลให้แก่สรรพสัตว์และภูติทั้งปวง


อ้างอิงจาก หนังสือตำราแก้อาถรรพณ์ ฉบับหลวงราวีไพริน
เขียนโดย ทศพรรษ พชร
ที่มา
http://roikamhom.blogspot.com/search/label/ ไสยศาสตร์

173
จากแท่นจารึกคำอุทิศ ทำให้ทราบว่าพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระบรมราชานุญาตและพระราชานุเคราะห์จัดสร้าง สระนี้ขึ้นเพื่อบำเพ็ญกุศลเป็นสาธารณประโยชน์ จึงได้มีการเรียกสระนี้ว่า สระพระองค์อรไทย

แต่มีหลักฐานบางแห่งให้ข้อมูลต่างออกไปว่า สระแห่งนี้สร้างขึ้นภายหลังที่พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญาสิ้นพระชนม์แล้ว โดยมีเหตุคือ หลังจากที่พระเจ้าน้องนางเธอพระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญาสิ้นพระชนม์ลงด้วยประชวรพระโรคเรื้อรังกระเสาะกระแสะ ซึ่งกล่าวกันว่า ทรงเป็นพระโรคประสาท ทรงกระทำวัติธิพิฆาตกรรมพระองค์ ( ฆ่าตัวตาย ) ได้มีข่าวโจษจันว่ามีผู้ได้ยินเสียงเปรตร้องโหยหวนในยามวิกาล และกล่าวขวัญกันต่อไปในทางที่ไม่เป็นมงคลต่าง ๆ เหมาเอาว่าเป็นเพราะพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์นั้นพึ่งจะสิ้นพระชนม์ลงไปไม่นาน คงจะไปทนทุกเวทนาอยู่ ซึ่งข่าวโจษจันนี้เป็นที่กล่าวขานกันทั่วไปและไม่อาจยุติได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำริให้แก้ไขข่าวโจษจันอันไม่เป็นมงคลนี้ ด้วยบำเพ็ญพระราชกุศลถวายสังฆทาน แล้วทรงสั่งให้ขุดสระน้ำนี้ขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลส่งไปโปรดพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์นั้นให้พ้นทุกข์ เมื่อวันที่สระน้ำสร้างเสร็จตามพระบรมราชโองการได้มีพิธีฉลองสระนั้น โดยให้มีการลอยสลากเป็นกุศลทานลงในสระเป็นที่ครึกครื้น ตั้งแต่นั้นมาเรื่องโจษจันอันไม่เป็นมงคลก็ค่อยเงียบหายไป

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะสร้างสระพระองค์อรไทย ขึ้นเพื่อลบล้างข่าวโจษจันอันไม่เป็นมงคลหรือไม่ การที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างสระนี้ขึ้น นับว่ามีส่วนทำให้สาธารณูปโภค เกี่ยวกับเรื่องน้ำ ภายในเขตราชสำนักฝ่ายในมีความสะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้พบว่าตำหนักที่ประทับและเรือนที่พักของบรรดาเจ้านายและข้าราชสำนักฝ่ายในแล้ว อยู่ในสภาพแออัดประชิดติดกันตามจำนวนผู้อาศัยที่มากขึ้น หากยังมีส่วนประกอบที่เป็นไม้จำนวนมาก ถ้าเกิดอัคคีภัยขึ้นมาก็อาจจะลุกลามติดต่อถึงกันโดยง่าย ซึ่งภายในเขตราชฐานชั้นใน ในช่วงเวลานั้นยังไม่มีสระน้ำเลย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชประสงค์เพื่อประโยชน์ในการนี้ด้วย



พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเจ้าจอมมารดาบัว ประสูติเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2402 และสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2449 รวมพระชันษา 47 ปี

เขียนโดย ทศพรรษ พชร
ที่มา
http://roikamhom.blogspot.com/search/label/ ไสยศาสตร์

174

เรื่องผีในวังหลวง (สระพระองค์อรไทย)

สระนี้สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่บริเวณแถวนอก หลังเต๊งแดงตรงกับประตูกัญญาวดี อยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน ในพระบรมมหาราชวัง เป็นสระน้ำสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้าง 10.00 เมตร ยาว 15.00 เมตร ลึก 4.00 เมตร ภายในสระก่ออิฐฉาบปูนโดยรอบ ที่ขอบสระทำเป็นทางเดินปูด้วยกระเบื้องซีเมนต์ มีบันได้ก่ออิฐฉาบปูนลงไป สามารถตักน้ำได้ 2 ทาง มีรั้วไม้ฉลุลายตามแนวทางเดินโดยรอบ มีประตูเข้า-ออก 2 ทาง สระนี้มีหลังคาคลุมเป็นโครงหลังคามุงด้วยสังกะสี ที่ขอบชายประดับด้วยไม้แผ่นฉลุลายโดยรอบทางเข้า ด้านทิศตะวันออก มีแท่นปูนจารึกคำอุทิศดังนี้



" ศุภมัสดุรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๔ สุริยคติกาลที่ ๙ เดือนมีนาคม จันทรคตินิยม วันศุกร์ เดือนสี่ขึ้นสิบห้าค่ำ ปีมเสงสัปตศก จุลศักราช ๑๒๖๗ พระเจ้าน้องนางเธอพระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา ทรงพระดำริห์ว่า จะใคร่บำเพ็ญอุทกทานให้เป็นสาธารณประโยชน์ทั่วไปในบรรดาผู้ซึ่งอยู่ในพระบรมมหาราชวังอันตั้งอยู่ ณ ที่ห่างไกลจากฝั่งน้ำ จึงนำพระประสงค์ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระบรมราชานุญาตแลพระราชานุเคราะห์ให้ได้ขุดสระดังความประสงค์ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้กองโยธาในกระทรวงวัง จัดการสร้างสระนี้ กว้าง ๕ วา ยาว ๗ วา ๒ ศอก ลึก ๒ วา ได้ลงเขื่อนถือปูนสิเมนมีบันไดลาดศิลาขึ้นลง ปลูกสร้างหลังคาครอบแลรั้วกั้นแล้วสำเร็จเงิน ๘,๖๖๑ บาท ๘ อัฐ จึ่งได้อาราธนาพระสงฆ์เจริญพระปริตพุทธมนต์รับอาหารบิณฑบาตรเป็นเบื้องต้นแห่งทาน แล้วได้มีการแจกสลากต่าง ๆ มีช้างแลกระบือเป็นอาทินับจำนวนถ้วน ๕,๐๐๐ สลาก ทรงบริจาคทั่วไปในบรรดาผู้ซึ่งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ด้วยหวังพระทัยให้เป็นประโยชน์แลยินดีทั่วหน้า ดังอำนาจพระเมตตาแลสาธารณทานอันได้ทรงบำเพ็ญครั้งนี้ จงเป็นอุปการวิธีกางกั้นสรรพพิบัติอันตราย ให้พระโรคเสื่อมคลายทรงพระเจริญศุขศิริสวัสดิ์สิ้นกาลนาน ทรงอุทิศพระกุศลส่วนสาธารณทานนี้แด่ท่านทั้งหลายผู้ได้อนุโมทนาจงสำเร็จความปรารถนาในทางธรรม ทั้งประจุบันแลภายน่านั้นเทอญ "


ที่มา
http://roikamhom.blogspot.com/search/label/ ไสยศาสตร์

175
แถม

พิธีเสริมสิริมงคลอย่างง่ายที่คุณสามารถทำได้เอง

พิธีเสริมมงคลที่ผมจะแนะนำให้ เป็นวิธีที่ทุกท่านสามารถทำกันเองได้เลย และมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก สะดวกทำวันไหน ช่วงไหนก็ได้ครับอุปกรณ์ที่ต้องจัดเตรียมมีดังนี้


1. น้ำเปล่า 1 ขัน


2. กำเช่า (ชะเอม) จำนวน 5 ก้าน ใน สมัยก่อนการผสมตัวยาแรงๆ เข้าด้วยกัน จะใช้กำเช่าเป็นตัวช่วยครับ ดังนั้นกำเช่า จึงมีหน้าที่เปลี่ยนศัตรูเป็นมิตร ส่วนจำนวน 5 ก้าน มีความหมายถึง ครบธาตุทั้ง 5 ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุทอง ธาตุน้ำ ธาตุไม้ และธาตุไฟ


3. ก้านทับทิม ต้องมีใบติดมาด้วย

เมื่อ ได้อุปกรณ์ครบแล้ว ให้นำกำเช่าใส่ลงในขันน้ำ ทิ้งไว้สักพัก แล้วใช้ก้านทับทิมจุ่มลงไปในน้ำ พรมให้ทั่วตัวบุคคลและสถานที่ หลังจากเสร็จเรียบร้อยแล้ว นำกำเช่า และก้านทับทิมไปทิ้งใต้ต้นไม้กำเช่า สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาจีนทั่วไปครับ จะขายเป็นขีด สามารถแบ่งมาใช้ส่วนที่เหลือใช้ครั้งต่อไปได้

เขียนโดย ทศพรรษ
ที่มา
http://roikamhom.blogspot.com/search/label/ ไสยศาสตร์

176
สาระดีเรื่องของจำนวนธูปบูชาพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ใช้กี่ดอกดี




ความหมายของ จำนวนธูป


ธูป 1 ดอก วิญญาณธรรมดา ที่ไม่ได้ขึ้นชั้นเทพ

ธูป 2 ดอก ใช้บูชาเจ้าที่เจ้าทาง

ธูป 3 ดอก ใช้บูชาพระรัตนตรัย (พระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณ และพระเมตตาคุณ)

ธูป 5 ดอก ใช้บูชาพระฤาษี องค์เซียน เทพเจ้า ธาตุทั้งห้า หรือทิศทั้งห้า บูชาเสด็จพ่อ ร. 5

ธูป 7 ดอก ไหว้พระพรหม บูชาพระอาทิตย์ ถือคติคุ้มครองทั้ง 7 วันในสัปดาห์

ธูป 8 ดอก บูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของชาวฮินดู

ธูป 9 ดอก บูชาพระพุทธคุณ ทั้งเก้า และพระเทพารักษ์

ธูป 11 ดอก บูชาพระโพธิ์สัตว์ และสมมุติเทพ

ธูป 10 ดอก ใช้บูชาเจ้าที่ เจ้าป่า เจ้าเขา ตามความเชื่อของชาวจีน

ธูป 12 ดอก บูชาเจ้าแม่กวนอิม บูชาพระคุณของแม่

ธูป 16 ดอก บูชาเทพชั้นครู หรือ พิธีกลางแจ้ง ที่มีการอัญเชิญเทวดา ที่สำคัญหมายถึงสวรรค์ 16 ชั้น

ธูป 19 ดอก บูชาเทวดาทั้ง 10 ทิศ

ธูป 21 ดอก บูชาพระคุณของพ่อ

ธูป 32 ดอก ใช้สวดชุมนุมเทวดาทั้ง 4 ทิศ

ธูป 108 ดอก บูชาทุกสัพสิ่งสูงสุดทั่วทั้งโลกทุกชั้นฟ้า

หมอพิธีทั่วไปจะอิงตามตำรา และเสี่ยงทายโดยโยนหัวก้อย เป็นต้น ส่วนผู้มีญาณจะใช้วิธีไต่ถามกับเทพดาโดยตรง

**จริงๆ แล้ว ไม่ได้อยู่ที่ จำนวนธูปที่ เราจุดหรอก น่าจะอยู่ที่ จิตใจของคนที่ต้องการจะทำบุญมากกว่า ว่า เค้าคนนั้นมีจิตใจดี หรอไม่ !!!


เขียนโดย ทศพรรษ
http://roikamhom.blogspot.com/search/label/ ธรรมะ

177
ปัญหา พระพุทธเจ้าทรงอธิบายเปรียบเทียบความสุข อันเกิดแต่กามไว้อย่างไรบ้าง ? (2/2)

“..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบเหมือนหลุมถ่ายเพลิง มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง

“..... ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงฝันเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์ ภาคพื้นอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ บุรุษนั้นตื่นขึ้นแล้ว ไม่พึงเห็นอะไร ฉันใด....

“..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยความฝัน มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง

“..... ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงยืมโภคสมบัติ มีแก้วมณีและกุณฑลอย่างดีบรรทุกยานไป เขาแวดล้อมด้วยทรัพย์สมบัติที่ตนยืมมา พึงเดินไปภายในตลาด คนเห็นเขาเข้าแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญบุรุษผู้นี้มีโภคสมบัติหนอ ได้ยินว่าชนทั้งหลายผู้มีโภคสมบัติ ย่อมใช้สอยโภคสมบัติอย่างนี้ดังนี้ พวกเจ้าของพึงพบบุรุษนั้น ณ ที่ใด ๆ พึงนำเอาของตนคืนไปในที่นั้น ๆ ฉันใด....

“..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยของยืม มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง

“..... ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนราวป่าใหญ่ที่ไม่ไกลบ้านหรือนิคม ต้นไม่ ในราวป่านั้น พึงมีผลรสอร่อย ทั้งมีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว บุรุษผู้ต้องการผลไม้ พึงมาเที่ยวเสาะแสวงหาผลไม้ เขาแวะยังราวป่านั้น เห็นต้นไม้อันมีผลรสอร่อย มีผลดกนั้น เขาพึงคิดอย่างนี้ว่าต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย มีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว แต่เรารู้เพื่อขึ้นต้นไม้ ไฉนหนอ เราพึงขึ้นต้นไม้นี้แล้วกินพออิ่ม และห่อพกไปบ้าง เราขึ้นต้นไม้นั้นแล้ว กินจนอิ่มและห่อพกไว้ ลำดับนั้นบุรุษคนที่สองต้องการผลไม้ ถือขวานอันคมเที่ยวมาเสาะแสวงหาผลไม้เขาแวะยังราวป่านั้นแล้ว เห็นต้นไม้มีผลรสอร่อย มีผลดกนั้น เขาพึงคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว และเราก็ไม่รู้เพื่อขึ้นต้นไม้ ไฉนหนอ เราพึงตัดต้นไม้นี้แค่โคนต้นแล้วกินพออิ่ม และห่อพกไปบ้าง เขาพึงตัดต้นนั้นแค่โคนต้น ฉันใด....

“..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยผลไม้ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง.....”

โปตลิยสูตร ม. ม. (๔๘-๕๓)
ตบ. ๑๓ : ๔๑-๔๕ ตท.๑๓ : ๔๐-๔๓
เขียนโดย ทศพรรษ พชร

ที่มา
http://roikamhom.blogspot.com/search/label/ ธรรมะ

178
ปัญหา พระพุทธเจ้าทรงอธิบายเปรียบเทียบความสุข อันเกิดแต่กามไว้อย่างไรบ้าง ? (1/2)



“..... ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนสุนัขอันความเพลียเพราะความหิวเบียดเบียนแล้ว พึงเข้าไปยืนอยู่ใกล้เขียงของนายโคฆาต นายโคฆาตหรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ฉลาด พึงโยนร่างกระดูกที่เชือดชำแหลออกจนหมดเนื้อแล้วเปื้อนแต่เลือดไปยังสุนัข ฉันใด....

“..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง

“..... ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนแร้งก็ดี นกตะกรุมก็ดี เหยี่ยวก็ดี พาชิ้นเนื้อบินไป แร้งทั้งหลาย หรือนกตะรุมทั้งหลาย หรือเหยี่ยวทั้งหลายจะพึงโผเข้ารุมจิกแย่งชิ้นเนื้อนั้น ฉันใด....

“..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง

“..... ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงถือคบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว เดินทวนลมไปฉันใด.....

“..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยคบเพลิง มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง

“..... ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงลึกกว่าชั่วบุรุษหนึ่ง เต็มด้วยถ่านเพลิงอันปราศจากเปลว ปราศจากควัน บุรุษผู้รักชีวิต ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ พึงมา บุรุษมีกำลังสองคนช่วยกันจับแขนบุรุษนั้นข้างละคน ฉุดเข้าไปยังหลุมถ่านเพลิง ฉันใด....

ที่มา
http://roikamhom.blogspot.com/search/label/ ธรรมะ

179
คาถาอาคม / บทสวดพิจารณาอาหาร
« เมื่อ: 10 ธ.ค. 2554, 12:05:39 »
บทสวดพิจารณาอาหาร

ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาทัง ปะฏิเสวามิ เรายอมพิจารณาโดยแยบคาย แล้วฉันบิณฑบาต

เนวะ ทวายะ ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน

นะ มะทายะ ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามัน เกิดกำลังพลังทางกาย

นะ มัณฑะนายะ ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ

นะ วิภูสะนายะ ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง

ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา แต่ให้เป็นเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้

ยาปะนายะ เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ

วิหิงสุปะระติยา เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย

พรัหมะจะริยานุคคะหายะ เพื่ออนุเคราะห์แห่งการประพฤติพรหมจรรย์

อิติ ปุรานัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ ด้วยการทำอย่างนี้ เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาเก่า คือความหิว

นะวัญจะเวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ และไม่ทำทุกเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น

ยาตรา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติ อนึ่ง ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วยความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วยจักมีแก่เรา ดังนี้

โดยสรุปการรับประทานแบบพุทธะ คือ มีสติกับการรับประทานอาหาร ดังนี้

ไม่เพลิดเพลิน สนุกสนานกับการรับประทานอาหาร ไม่คำนึงว่าอาหารจะทำให้สวยงามหรือเกิดกำลังกายแข็งแรง
แต่ รับประทานเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้อย่างสะดวก สบาย และเพียงเพื่อระงับเวทนา คือความหิว และไม่สร้างเวทนาอื่นขึ้นมาเพิ่ม เช่น อาการแน่นอึดอัดหรือสะสมเป็นไขมัน คือเกิดโรคอ้วนตามมา
จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า การเจริญสติ ทำให้การทำงานของสมองด้านขวาเด่นชัดขึ้น ซึ่งอาจมีผลทำให้ระบบการควบคุมในสมองกลับสภาพปกติ ดังนั้นการฝึกสติโดยสวดบทพิจารณาอาหารอย่างเข้าใจความหมายก่อนรับประทาน อาหารจะมีอานิสงค์จะช่วยควบคุมน้ำหนัก ป้องกันโรคอ้วนได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ


ที่มา
http://roikamhom.blogspot.com/search/label/ ธรรมะ

180
สะเดาะเคราะห์ตามความเชื่อ 2/2

การทำบุญเพื่อสะเดาะเคราะห์แบบเฉพาะกิจ


          การทำบุญเพื่อสะเดาะเคราะห์แบบเฉพาะกิจ หมายถึงการทำบุญเมื่อตัวคุณเองกระทำบาปบางอย่างขึ้นในอดิต แล้วต้องการจะสะเดาะเคราะห์เพื่อผ่อนทุกข์เหล่านั้นจากหนัก ให้ผ่อนคลายเบาบางลง ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ถือเป็นความเชื่ออย่างหนึ่งที่คนโบราณถือปฏิบัติสืบต่อกันมา

          คนแท้งบุตร การทำแท้งเป็นสิ่งที่ถือว่าเป็นการทำบาปอย่างมหันต์ เชื่อกันว่าผู้ที่ไปทำแท้งมานั้นชีวิตจะตกต่ำย่ำแย่ มีแต่เรื่องทุกข์ร้อนหรือไม่ก็จะพบกับช่วงชีวิตที่ลำบาก ไม่อาจจะเจริญรุ่งเรืองได้สักที เหมือนกับจะมีอะไรคอยมาถ่วงอยู่ และจะล้มลุกคลุกคลานไปนานถึง 7 ปีทีเดียว แต่ก็มีความเชื่อกันอีกว่า คุณสามารถสะเดาะเคราะห์เรื่องราวดังกล่าวเพื่อให้ผ่อนคลายเบาบางลงไปได้บ้างโดยมีวิธีดังต่อไปนี้...

          - ไปซื้อปลาในตลาดสด แล้วนำไปปล่อยที่แม่น้ำ อย่าปล่อยในบึง คลองเล็ก จะกี่ตัวก็ตามแต่กำลังทรัพย์
          - ต้องปล่อยปลาให้ครบตามอายุของตน
          - ต้องนับจำนวนปลาแยกกับอีกฝ่ายหนึ่ง เช่นถ้าภรรยาอายุ 25 ปี สามีอายุ 30 ปี ก็แสดงว่าคุณทั้งคู่จะต้องปล่อยปลาทั้งสิ้น 55 ตัว คือฝ่ายหญิงปล่อย 25 ฝ่ายชายปล่อย 30

          การทำบุญดังกล่าวไม่กำหนดระยะเวลา คุณจะทำให้เสร็จภายใน 1 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปี ก็ได้ ถ้าทำครบโดยเร็วก็จะหมดเคราะห์ได้เร็วเช่นกัน

          คนทำร้ายผู้อื่นให้ตายหรือพิการ สำหรับผู้ที่กระทำผิด โดยทำให้ผู้อื่นพิการ หรือตายโดยที่มิได้ตั้งใจ(รวมถึงสัตว์ต่างๆ) เช่นขับรถชนคนโดยไม่ได้เจตนา จนทำให้เขาผู้นั้นต้องพิการ หรือถึงกับเสียชีวิตก็ตาม การกระทำดังกล่าวถึงแม้ว่าจะไม่ได้เจตนาก็ตาม แต่ก็จะมีผลทางบาปกรรมได้เช่นเดียวกัน การจะสลัดบาปเคราะห์เหล่านี้ หรือผ่อนหนักให้เป็นเบาได้นั้น คนโบราณมีความเชื่อให้กระทำดังนี้..

          - ไปไหว้พระ ให้ครบ 7 วัด และนำน้ำมนต์ของ วัดนั้นๆ มารดศีรษะ และอาบทั้งร่างกาย
          - เติมน้ำมันตะเกียงตามวัดต่างๆให้ครบ 7 วัด
          - ทำบุญปล่อยเต่า ให้ครบเท่าอายุของตน
          - ถือศีลกินเจอย่างน้อย 29 วัน

          สิ่งต่างๆที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงความเชื่อส่วนหนึ่งที่ ตกทอดกันมาแต่โบราณกาล ไม่มีใครสามารถจะยืนยันได้ถึงผลที่จะตามมาหลังจากที่คุณได้กระทำตามความเชื่อเหล่านี้แล้ว แต่อย่างหนึ่งที่คุณจะได้รับก็คือการกระทำที่เสริมสร้างกำลังใจให้เกิดขึ้นแก่ตัวคุณเอง เพื่อดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมั่นคงในอนาคต

ที่มา
http://guru.sanook.com/pedia/topic/ สะเดาะเคราะห์ตามความเชื่อ/

181
สะเดาะเคราะห์ตามความเชื่อ

          คนไทยเรานั้นเชื่อถือเรื่องโชคลางและบาปกรรมกันมาเป็นเวลานานมาแล้ว ส่วนหนึ่งเชื่อกันว่าเมื่อเรามีเคราะห์หรือทุกข์ร้อนต่างๆ นาๆ วิธีหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาสิ่งเลวร้ายต่างๆ ให้ทุเลาเบาบางลงไปบ้าง ก็คือการไปทำบุญ เข้าวัดเข้าวา และที่ขาดไม่ได้สำหรับคนไทยในสมัยก่อนนั้นก็คือการสะเดาะเคราะห์

          แต่การสะเดาะเคราะห์ดังกล่าวนี้ มีมากมายหลายอย่างที่เป็นสิ่งสืบทอดจนมาถึงปัจจุบัน บางครั้งเราเองก็เคยไปสะเดาะเคราะห์โดยการปล่อยสัตว์ต่างๆให้เป็นอิสระ แต่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้ด้วยซ้ำไปว่าการกระทำดังกล่าวส่งผลแก่ตัวเราอย่างไร ในทำนองเดียวกัน ถ้าเราต้องการสะเดาะห์เคราะห์เพื่อผลบางอย่างเราจะต้องทำอย่างไร ลองอ่านบทความข้างล่างดู แล้วคุณจะทราบถึงเหตุผลที่คุณเองอาจจะไม่เคยทราบมาก่อน


การทำบุญโดยปล่อยสัตว์ต่างๆ
          1. การปล่อยปลาไหล เป็นการทำบุญสะเดาะเคราะห์เพื่อให้การกระทำใดๆ หรืองานบางอย่างที่เรามุ่งหวัง ราบลื่น ลื่นไหลเหมือนดังชื่อของปลาไหล ไม่มีติดขัด และอุปสรรคใดๆขัดขวาง

          2.การปล่อยเต่า เป็นการทำบุญสะเดาะเคราะห์เพื่อให้ตนหรือใครบางคนที่เราอธิษฐานถึง มีอายุมั่นขวัญยืน หรือถ้าเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่ก็ขอให้หายจากการเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นๆ

          3. การปล่อยหอยขม เป็นการทำบุญสะเดาะเคราะห์เพื่อขอให้ความทุกข์ ความขมขื่นที่เป็นอยู่ และเป็นเรื่องที่สร้างความกังวลใจให้กับตัวเองจง หมดไป หรือหายไปพร้อมกับหอยขมที่เราปล่อยไป

          4. การปล่อยนก เป็นการทำบุญสะเดาะเคราะห์เพื่อขอให้ตัวเราจงพ้นจากความทุกข์ที่ผูกพันอยู่ในชีวิต พ้นจากปัญหา หรือเคราะห์ร้ายใดๆ ที่เหนี่ยวรั้งจิตวิญญาณของคุณให้เป็นทุกข์ ไร้อิสระ การปล่อยนกเป็นเสมือนกับการขอให้ตนได้เริ่มชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเดิม

          5. การปล่อยปลาทั่วๆไป เป็นการทำบุญสะเดาะเคราะห์เพื่อขอให้มีความสุขร่มเย็นในชีวิต ทุกข์ใดๆที่ทำให้เดือดเนื้อร้อนใจ ขอให้หมดสิ้นไป แต่โดยความเป็นจริงแล้ว ถ้าคุณทำบุญโดยการซื้อสัตว์อะไรมาปล่อยก็ตาม คุณก็จะได้ผลบุญหนุนนำให้ชีวิตรุ่งเรือง หมดเคราะห์หมดโศกอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าถ้าคุณมีเรื่องทุกข์ร้อน หรือปรารถนาถึงเรื่องใดเป็นพิเศษ ก็ลองทำตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณเหล่านี้ดู เพราะอย่างน้อยที่สุดก็สร้างความสบายใจให้เกิดขึ้นแก่ตัวคุณได้

ที่มา
http://guru.sanook.com/pedia/topic/ สะเดาะเคราะห์ตามความเชื่อ/

182
ดารากับธรรมมะ บางส่วนกับชีวิต สรพงศ์ ชาตรี (2/2)

เขาได้ยกตัวอย่างให้ฟังเกี่ยวกับช่วงเวลาหนึ่งที่ชีวิตต้องประสบกับความทุกข์ แต่เมื่อนำธรรมะมาปรับใช้แก้ปัญหา ทุกข์ก้อนใหญ่ที่เคยแบกไว้และทำให้ต้องหนักอกหนักใจ ในที่สุดกลับสามารถปล่อยวางได้

“ประมาณปี 2530-2532 ช่วงนั้นวิดีโอเข้ามาใหม่ๆ หนังก็มีน้อยลง แต่ค่าใช้จ่ายมันไม่น้อยตาม เผลอเอาเช็คที่เราเซ็นแล้วหนึ่งเล่มให้เพื่อนไปกรอกตัวเลขเอง ปรากฏว่า คนโทรมาทวงเช็คเราเต็มเลย ตอนนั้นมีบ้านอยู่บนเนื้อที่ 2 ไร่ที่ลาดพร้าว ก็ต้องขายบ้านที่อยู่ ลูกก็ยังเล็ก เป็นทุกข์มาก ต้องขายบ้าน ถ้าไม่ขายบ้านไม่มีทางใช้หนี้ได้เลย เพราะหนี้ประมาณ 10 ล้าน”

จึงไปหาหลวงพ่อรูปหนึ่ง เล่าให้ท่านฟังว่าผมจะต้องย้ายบ้าน ผมจะต้องขายบ้าน ซึ่งผมเพิ่งสร้าง และอยู่มาได้ไม่กี่ปีเอง ท่านจึงถามว่า ย้ายบ้านมากี่ครั้งแล้ว ผมบอกว่า หลายครั้งเหมือนกัน ท่านจึงถามว่าแล้วบ้านใหญ่ไหม ...ใหญ่ แล้วมีความสุขไหม... ไม่สุขครับ มันทุกข์

หลวงพ่อบอกว่า ถ้า เราอยู่ในแม่น้ำใหญ่ แต่ไม่มีปลาให้กิน มันทุกข์ไหม.. ทุกข์ และถ้าอยู่ในคลองเล็กๆแต่มีปลาชุกชุม จะกินเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะปลามีอยู่เต็มหัวบันได มีความสุขไหม...สุข แค่นี้ ผมก็สว่างแล้ว จึงขายบ้าน 2 ไร่ มาอยู่บ้าน 120 ตารางวา และมีความสุข เพราะเมื่อก่อน บ้าน 2 ไร่ อยู่ลาดพร้าว ลูกๆ เรียนสาธิตเกษตร รถติด ทะเลาะกันทุกวันเลย เพราะต้องตื่นเช้า แต่พอมาอยู่บ้านเล็กแถวถนนวิภาวดี ใกล้โรงเรียนลูก ทุกคนก็แฮปปี้กัน”

การไม่ยึดติดกับสิ่งที่เคยมีเคยเป็น คือสิ่งที่เขาหาคำตอบให้กับตัวเองได้จากปัญหาครั้งดังกล่าว

บางครั้งศักดิ์ศรีหรือการยึดติด มันทำให้เราทุกข์ ถ้ามีคนชี้ทางออกให้เรา และมีธรรมะ เราจะรู้ว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้น มันตั้งอยู่ และดับไป เคยย้ายบ้านมาหลายครั้ง จะย้ายอีกครั้งก็ไม่เห็นเป็นไร ถึงตอนนี้ชีวิตผมจะอยู่ที่ไหนก็ได้ อยู่ในห้องแคบๆก็ได้ เพราะคับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก เชื่อแบบนั้นจิตใจก็สบาย ชีวิตก็เป็นสุขfont เราจะได้มีคำตอบไปบอกกับยมบาลไง ถ้าท่านถามว่า ตอนเป็นมนุษย์ได้ทำความดีอะไรมาบ้าง ผมจะตอบว่าผมสร้างหลวงปู่โต ผมสร้างพระพุทธเจ้า ผมทอดผ้าป่า ผมทอดกฐิน ผมสร้างกุศล ผมเคยทำชั่วมาบ้าง แต่ทำดีมากกว่าครับ(หัวเราะ)”

เขียนโดย ชัยวัฒน์ ทองพริก
http://chaiwat201149.blogspot.com/2011_03_01_archive.html

183
ดารากับธรรมมะ บางส่วนกับชีวิต สรพงศ์ ชาตรี

ไม่เพียงแต่จะเป็นดาวที่ไม่เคยอับแสง แม้จะผ่านการแสดงภาพยนตร์มาแล้วเกือบ 500 เรื่อง สำหรับ‘สรพงศ์ ชาตรี’ หรือ ‘กรีพงศ์ เทียมเศวต’ อดีตพระเอกยอดนิยมและนักแสดง ผู้ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2551 สาขาศิลปะการแสดง ประเภทนักแสดงภาพยนตร์และละครโทรทัศน์

เพราะชีวิตในวัยย่างเข้า 60 ปีของเขา ยังเป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยพลัง พร้อมจะทำสิ่งที่ตั้งใจให้บรรลุเป้าหมาย และปฏิญาณตนว่าจะขอทำหน้าที่นักแสดงผู้ซื่อสัตย์ต่อผู้ชมต่อไป ดังเช่นที่เขากล่าวไว้ในวันที่ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติว่า

“ผมเป็นเด็กท้องทุ่ง พ่อแม่ปู่ย่า ตายาย ไม่เคยมีใครเป็นดารา ไม่เคยได้เรียนมหาวิทยาลัยที่สอนการเป็นดารา ดังนั้นสิ่งที่ได้มาต้องอาศัยความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ทำความดีทั้งต่อหน้าและลับหลัง ไม่หวังผลตอบแทน”

ภายหลังว่างเว้นจากการเตรียมงานเพื่อทำบุญ 7 วัน 7 คืน ณ บ้านโนนกุ่ม ต.มิตรภาพ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา อันเป็นสถานที่ซึ่งเขาได้เป็นโต้โผ สร้างอุทยานและรูปปั้นหลวงปู่โต องค์ใหญ่ที่สุดในโลกขึ้นที่นั่น

นักแสดงผู้เป็นลูกหลานชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและเวลานี้ทำหน้าที่เป็นประธาน ‘มูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมตตาบารมี’ ได้บอกเล่าถึงสิ่งหนึ่งที่เขาต้องการสานต่อและทำให้สำเร็จภายใน 20 ปี เพื่อเป็น การตอบแทนพระพุทธศาสนา และเป็นสัญญลักษณ์ให้ ชาวพุทธได้กราบไหว้ คือการสร้างพระนอนองค์ใหญ่ที่สุดในโลก

ชีวิตของนักแสดงผู้นี้ไม่ได้มาข้องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเอาในวัยที่สังขารของชีวิตเริ่มร่วงโรย เพราะนับแต่วัยเด็กเขามักติดตามพ่อแม่ไปทำบุญที่วัดอยู่เป็นประจำ

“จำความได้ก็ตามพ่อแม่ไปวัดแล้ว พ่อแม่ชอบไปทำบุญ ถึงวันโกนก็ต้องไปนอนวัด ตื่นเช้าขึ้นมาก็ต้องช่วยทางวัดล้างถ้วยล้างชาม ขัดกระถางธูป ล้างคณโฑมาใส่น้ำใส่ยาอุทัย ใส่ดอกมะลิ และยกตะลุ่ม (สำรับอาหารของชาวอยุธยา)ไปถวายพระ เหลือจากพระฉันเราก็ทาน แล้วก็ช่วยล้างเก็บ”

กิจวัตรดีงามเหล่านี้เป็นสิ่งที่เขาบอกว่าได้รับการปลูกฝังไว้ในวิถีชีวิต

“เป็นเรื่องปกติของคนอยุธยา และคนบ้านนอกทุกบ้าน ที่ถึงวันพระต้องไปทำบุญ และวันธรรมดาต้องใส่บาตร จัดเตรียมอาหารและขนมสารพัด”

ในวัย 11 ขวบ เขาได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร กระทั่งอายุ 19 ปี จึงได้สึกออกมา และได้รับการชักชวนให้เข้าสู่วงการบันเทิงและมีชื่อเสียงในที่สุด

จากชีวิตสามเณรที่ต้องรักษาศีล 10 ไม่บกพร่อง ส่งผลให้ชีวิตฆราวาสของนักแสดงผู้นี้ เป็นชีวิตที่พยายามประคองตนให้อยู่ในกรอบของศีลธรรมเรื่อยมา

“เวลาไปถ่ายหนัง หรือถูกเชิญไปร้องเพลงที่ไหนก็ต้องแวะไปวัด เวลาพักกองถ่าย คนอื่นเขาจะกินเหล้ากันเราก็ไปวัด หรือตกเย็นถ่ายหนังเสร็จ ก็ไปคุยกับ พระ ติดนิสัยมาตั้งแต่ตอนเป็นเณร อยู่กับพระมาตั้งแต่อายุ 11-19 ปี จึงทำให้คุยกับคนอื่นไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะเราไม่กินเหล้ากับเขา ไม่สูบบุหรี่ ไม่เล่นสนุ้ก ไม่เล่นม้า ไม่เล่นหวย ชอบคุยกับพระมากกว่า ได้ถามปัญหาเกี่ยวกับธรรมะ มันได้ประโยชน์กับชีวิต”

ทีมา
http://chaiwat201149.blogspot.com/2011_03_01_archive.html

184
เอาไว้สอนวัยรุ่น คนหนุ่มสาวได้เลย


เรื่องสั้นแง่คิดดีๆ
อุบาย คลายความคิดถึง ของ หลวงพ่อชา สุภัทโท
วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

จากหนังสือ “ชวนม่วนชื่น” ของพระอาจารย์พรหม



ในปีแรกที่อาตมาบวชเป็นพระที่ภาคอีสานของไทย
อาตมากำลังนั่งอยู่ใน ตอนหลังของรถคันหนึ่งกับพระฝรั่งอีกสองรูป
หลวงพ่อชาท่าน อาจารย์ของอาตมานั่งที่เบาะหน้า

จู่ๆหลวงพ่อชาก็หันหน้ามาข้างหลัง
และจ้องดูพระหนุ่ม ชาวอเมริกันซึ่งเพิ่งบวชใหม่ๆ ที่นั่งอยู่ข้างๆอาตมา
แล้วท่านก็พูดอะไรบางอย่างเป็นภาษาไทย

พระฝรั่งอีกรูป หนึ่งที่นั่งอยู่ในรถที่ท่านพูดภาษาไทยได้คล่อง จึงแปลให้พระฝรั่งรูปที่หลวงพ่อพูดด้วยว่า
“หลวงพ่อบอกว่า คุณกำลังคิดถึงแฟนของคุณที่อยู่ที่แอลเอนู่น”

พระบวชใหม่ชาวอเมริกันถึงกับอ้าปากค้างด้วย ความงงงัน..........

หลวงพ่อรู้ วาระจิตของท่าน
รู้ ว่าท่านกำลังคิดอะไรอยู่ แถมยังแม่นยำเสียด้วย.........

หลวงพ่อชายิ้ม แล้วพูดต่อว่า
“ไม่ต้องห่วง เรื่องนี้จัดการได้ ให้เขียนจดหมายไปหาเธอ
ขอให้เธอส่งของส่วนตัว บางอย่างมาให้คุณ
เอา สิ่งที่ใกล้ชิดกับตัวเธอมากที่สุด
ที่คุณจะสามารถเอาออกมาชื่นชมได้ เมื่อคุณคิดถึงเธอ เพื่อจะเตือนคุณให้ระลึกถึงเธอ”

พระบวชใหม่ถามด้วยความประหลาดใจว่า
“โอ้ ! พระเจ้าเราทำได้หรือครับ”
หลวงพ่อชาตอบว่า “ทำได้”

เห็นทีพระท่านก็เข้าอกเข้าใจในเรื่องรักๆใคร่ๆ กระมัง……

สิ่งที่หลวงพ่อชากล่าวต่อไปนั้นต้องใช้เวลาอยู่หลายนาที

กว่าพระ ฝรั่งรูปที่เข้าใจภาษาไทยจะแปลออกมาได้
ล่ามของเราถึงกับต้องกลั้น หัวเราะให้อยู่และรวบรวมสมาธิเสียก่อน

“หลวงพ่อบอก ว่า…………………..”
ท่านพยายามที่จะเอ่ยคำออกมา
พลางปาดน้ำตาที่เล็ดจากการหัวเราะทิ้ง

“หลวงพ่อบอก ว่า................
คุณควรจะขอให้เธอส่งขี้ใส่ ขวดมาให้

แล้ว เมื่อไหร่ที่คุณคิดถึงเธอ
คุณก็จะได้หยิบขวดขี้ของ เธอออกมาสูดดม !

 :004:
เขียนโดย ชัยวัฒน์ ทองพริก :015:
http://chaiwat201149.blogspot.com/2011/03/blog-post_10.html

185
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

ปริวาส :

การอยู่ชดใช้ เรียกสามัญว่าอยู่กรรม, เป็นชื่อวุฏฐานวิธี (ระเบียบปฏิบัติสำหรับออกจากครุกาบัติ) อย่างหนึ่ง ซึ่งภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้ จะต้องประพฤติเป็นการลงโทษตนเองชดใช้ให้ครบเท่าจำนวนวันที่ปิดอาบัติ ก่อนที่จะประพฤติมานัตอันเป็นขั้นตอนปกติของการออกจากอาบัติต่อไป, ระหว่างอยู่ปริวาส ต้องประพฤติวัตรต่างๆ เช่น งดใช้สิทธิบางอย่าง ลดฐานะของตนและประจานตัวเป็นต้น ;

ปริวาส มี ๓ อย่าง คือ ปฏิจฉันนปริวาส สโมธานปริวาส และ สุทธันตปริวาส ; มีปริวาสอีกอย่างหนึ่งสำหรับนักบวชนออกศาสนา จะต้องประพฤติก่อนที่จะบวชในพระธรรมวินัย เรียกว่า ติตถิยปริวาส ซึ่งท่านจัดเป็น อปฏิจฉันนปริวาส

ที่มา
http://www.dhammathai.org/newspr/parivas.php

186

พระพุทธศาสนา กับคำสอนเรื่องเทวดา นรก และสวรรค์ ว่ากันอย่างไร? (5/5)

นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นคว้าเรื่องไก่ ได้พยายามติดตามค้นคว้าโรคไก่ชนิดหนึ่งชื่อนิวคาสเซิล อันเป็นไวรัสชนิดเล็กถึงกับลอดเครื่องกรองได้ ไวรัสชนิดนี้ต้องใช้กล้องจุลทัศน์ที่มีสมรรถนะ (ความสามารถ) สูงจึงเห็นได้ เพราะจะต้องขยายให้ใหญ่กว่าเดิมตั้งหมื่นหรือแสนเท่า คราวนี้เรามองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และเราไม่ยอมใช้เครื่องมือแบบนักวิทยาศาสตร์ เราก็ไม่มีทางอื่นนอกจากเชื่อว่าไม่มีเพราะมองไม่เห็น หรือถ้าเชื่อว่ามีตามอย่างนักวิทยาศาสตร์ความเชื่อนั้นก็ไม่พิเศษอะไรไปกว่าความเชื่อตามเขาว่าในเรื่องอื่น ๆ แม้ในเรื่องนรกสวรรค์ ถ้าต้องการพิสูจน์จริง ๆ ก็ต้องสร้างเครื่องมือ คือ ทิพยจักษุซึ่งมีวิธีการสร้างให้เกิดได้ แต่เรามักจะใช้วิธีลัด คือไม่ยอมสร้างเครื่องมือแล้วจะเรียกร้องให้เห็นด้วย จึงเป็นเรื่องที่ช่วยอะไรไม่ได้

นักดาราศาสตร์จะช่วยคลี่คลายปัญหานี้ได้ดีพอใช้ เพราะกล่าวตามเหตุผลทางดาราศาสตร์ โลกอื่นจากโลกเรายังมีอยู่อีกหลายล้านหลายโกฏิโลก หรือมีผู้ที่มีความสุขสูงกว่ามนุษย์เรา คือ อาจมีความเจริญเทียมเทวดาในสวรรค์ หรือในอีกบางโลกจะมีมนุษย์หรือสัตว์อยู่กันอย่างลำบากยากเข็ญ ทนทุกข์ทรมานดั่งตกนรก และความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น อาจวิจิตรพิสดารไปกว่าในโลกเราเท่าไรก็ได้ เพราะแม้แต่ในโลกเราเองก็มีสัตว์มากมายหลายแสนหลายล้านชนิด ตั้งแต่ตัวเล็กที่สุดจนมองไม่เห็นกับตัวใหญ่ที่สุด มีรูปร่างต่างกัน กินอาหารต่างกัน อาศัยอยู่ในน้ำในดินหรือในต้นไม่บนพื้นดินแผกกันตามชนิด เหตุนี้นรกสวรรค์ซึ่งมีอยู่ในโลกอื่นก็อาจมีได้ แม้ในการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์

                    แต่นรกสวรรค์ จริง ๆ เป็นเรื่องเห็นได้ยาก เราอาจเข้าใจเรื่องสวรรค์ในอกนรกในใจ หรือนรกสวรรค์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ในความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่ดีเลวต่าง ๆ กันนี้เองได้ดีกว่า เราจะได้เว้นเหตุชั่ว ประกอบกระทำแต่เหตุที่ดีเพื่อจะได้ไม่ต้องตกนรกทั้งเป็น แม้เราจะไม่เชื่อเรื่องนรกสวรรค์จริง ๆ ก็ไม่ทำให้กระทบกระเทือนต่อหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพราะยังมีนรกสวรรค์ปัจจุบันให้เราเห็นอยู่อีก ข้อสำคัญขอให้เราเว้นชั่วประพฤติดีเป็นใช้ได้ ทางพระพุทธศาสนาไม่ได้สอนให้มนุษย์คิดได้ดีเพียงแต่จะไปสวรรค์ หากสอนไว้สูงกว่านั้นโดยสอนให้บรรจุนิพพาน ซึ่งสูงกว่าสวรรค์ คือ ไม่มีการกลับกลอกแปรปรวนต่อไปอีก เพราะสวรรค์ยังมีความไม่ยั่งยืน ผู้อยู่ในสวรรค์ก็ยังไม่หมดกิเลส ท่านจึงสอนเรื่องนิพพานอันเป็นเรื่องของการดับกิเลสและทุกข์ทั้งปวง

                    ในบทนี้ขอตั้งประเด็นเป็น 2 ประการ คือ พระพุทธศาสนาสอนเน้นหนักในเรื่องการใช้สติปัญญาอย่างหนึ่ง กับอีกอย่างหนึ่งพระพุทธศาสนาสอนให้รู้จักแก้ไขความทุกข์อย่างถูกทาง ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวโยงต่อเนื่องกัน คือ เมื่อใช้สติปัญญาก็เป็นเหตุให้แก้ความทุกข์ความเดือดร้อนได้.

เขียนโดย ชัยวัฒน์ ทองพริก
ที่มา
http://chaiwat201149.blogspot.com/2011/03/blog-post_28.html

187
พระพุทธศาสนา กับคำสอนเรื่องเทวดา นรก และสวรรค์ ว่ากันอย่างไร? (4/5)

ประเภทที่ 3
                  นรกสวรรค์จริง ๆ ที่เห็นไม่ได้ด้วยตา


                เราคงจะเคยได้ฟังคำพรรณนาถึงเรื่องนรกสวรรค์ว่ามีสภาพวิจิตรพิสดารอย่างน่าสนใจ แต่ก็รวมความได้อย่างหนึ่งว่า นรกมีไว้สำหรับลงโทษคนชั่ว สวรรค์มีไว้ให้รางวัลแก่คนดี ปัญหาที่สำคัญก็คือ นรกสวรรค์ดังกล่าวนี้มีจริงหรือ ถ้ามีเราทำไมจึงไม่เห็น ถ้าพูดเพียงเรื่องเห็นหรือไม่เห็นแล้ว อย่าว่าแต่นรกสวรรค์ซึ่งอยู่คนละโลกกับเราเลย แม้เมืองที่อยู่ห่างไกลคนละเมืองกับเรา เราก็มองไม่เห็นต้องอาศัยฟังคำบอกเล่าของคนอื่น เรื่องนรกสวรรค์จริง ๆ นั้นผู้บำเพ็ญคุณธรรมทางจิตใจสูง จนสามารถเห็นได้ด้วยตาภายใน ได้บอกกล่าวไว้ว่ามี ส่วนคำพรรณนารายละเอียดนั้น เป็นเรื่องที่กล่าวสืบ ๆ กันมา เราไม่ควรติดใจอะไรมากนักมาพิจารณากันในขั้นว่า มีหรือไม่มีก่อนดีกว่า และในการวินิจฉัยเรื่องนรกสวรรค์มีจริงหรือไม่นี้ ถ้าสามารถอาศัยวิชาวิทยาศาสตร์มาช่วยอธิบายได้เราก็น่าจะลองวินิจฉัยดู

                   เราลองสอบสวนข้างฝ่ายผู้ไม่เชื่อก่อนว่า มีเหตุผลอย่างไร ก็มักจะได้รับคำตอบว่า เพราะไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ปรากฏ หรือนำมาแสดงไม่ได้ ในการวินิจฉัยปัญหาใด ๆ ก็ตาม เราจะอ้างเพียงความไม่รู้ไม่เห็นมาเป็นเหตุผลว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้หรือเหตุการณ์นั้นนี้ไม่มีจริงหาได้ไม่ การละเมิดกฎหมาย โดยอ้างว่าไม่รู้กฎหมายย่อมไม่ทำให้เป็นข้ออ้างที่มีน้ำหนัก การที่เราไม่รู้ว่าไฟเป็นของร้อนแล้วยื่นมือเข้าไปในไฟนั้น ไฟจะยอมรับรู้กับข้ออ้างของเราแล้วไม่ทำให้มือเราร้อนได้หรือ ในการโต้ตอบปัญหาใด ๆ เราจะใช้ข้ออ้างเพียงว่าไม่รู้ไม่เห็นมาเป็นเหตุผล ก็จะทำให้คำกล่าวของเราปราศจากน้ำหนักมากขึ้น เพราะการวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ เราจำเป็นต้องให้ข้อวินิจฉับนั้นมีรากฐานอยู่บนความรู้ ไม่ใช่บนความไม่รู้ แม้ไม่รู้ประจักษ์ก็ให้เป็นความรู้ที่ประกอบด้วยเหตุผลก็ยังดี ส่วนในข้อที่นำมาแสดงไม่ได้ อย่าว่าแต่เรื่องเช่นนั้นเลย แม้เรื่องในโลกเราเช่นมีผู้เล่าเรื่องภูเขาหิมาลัยให้ฟัง เราไม่เชื่อว่ามีเพราะเราไม่รู้ไม่เห็น และนำภูเขานั้นมาแสดงแก่เราไม่ได้ ดังนี้เราก็เห็นได้ว่า ความไม่รู้ไม่เห็น หรือการที่ไม่สามารถยกภูเขาหิมาลัยไปแสดงแก่ใคร ๆ ได้นั้น ย่อมไม่ทำให้ภูเขานั้นพลอยไม่มีไปตามข้ออ้างของผู้ไม่เชื่อไปด้วย

                  นรกสวรรค์ตามคำอธิบายของท่านผู้ฝึกฝนอบรมจิตชั้นสูงว่า มีความเป็นอยู่ต่างไปจากมนุษย์ และมีเอกเทศอยู่ส่วนหนึ่ง ผู้จะรู้จะเห็นต้องมีเครื่องมือ คือ ทิพยจักษุ (ตาทิพย์) อันต้องอาศัยการฝึกหัดอบรมจึงสามารถรู้เห็นได้ นักวิทยาศาสตร์ทางจิตใจในปัจจุบัน เช่น ดร. เทาเลสส์, ดร.ไทเรล, ดร.คาริงตัน, ดร.โซล, ดร.เฮตติงเกอร์ แห่งอังกฤษ และ ดร.ไรน์ แห่งอเมริกา ได้พยายามพิสูจน์ความสามารถในเรื่องทิพยจักษุ (ตาทิพย์) เรื่อง เจโตปริยญาณ (กำหนดรู้ใจผู้อื่น) ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ชี้ให้เห็นว่าถ้าเราฝึกหัดแล้ว ก็จะเกิดความสามารถรู้เห็นสิ่งต่าง ๆ เรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างแปลกประหลาด ซึ่งมนุษย์ธรรมดาไม่อาจรู้เห็นได้ (ดู The Personality of Man ของ G.N.M. Tyrell หน้า 106-128, และดู Guide to Modern Thought ของ C.E.M. Joad ตอนที่ว่าด้วย Abnormal Psychical Phenomena)
                      

            
ที่มา
http://chaiwat201149.blogspot.com/2011/03/blog-post_28.html

188
พระพุทธศาสนา กับคำสอนเรื่องเทวดา นรก และสวรรค์ ว่ากันอย่างไร? (3/5)

ต่อไปนี้ขอเชิญท่านอ่านบทความเรื่องนรกสวรรค์มีจริงหรือไม่เป็นลำดับไป :-
                   
นรกสวรรค์มีจริงหรือไม่?

                    ปัญหาเรื่อง นรกสวรรค์ มีจริงหรือไม่นี้ นับว่าน่าสนใจ เพราะถ้าเราทำความเข้าใจกันให้แจ่มแจ้งก็จะชื่อว่านับถือศาสนาอย่างใช้ความพิจารณารอบคอบ และไม่ต้องทำให้เกิดความสงสัยบ่อย ๆ ในศาสนาที่ตนนับถือว่าจะมีเหตุผลหรือไม่ เพียงไร?

                   เราอาจแบ่งนรกสวรรค์ออกเป็นชั้น ๆ ได้ดังนี้
                  ๑. นรกสวรรค์ในจิตใจของเราเอง อย่างที่พูดกันว่าสวรรค์ในอกนรกในใจ
                  ๒. นรกสวรรค์ในโลกปัจจุบันที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า
                  ๓. นรกสวรรค์ที่มองเห็นไม่ได้ด้วยตา เป็นเรื่องของอีกโลกหนึ่งต่างหาก

                  ต่อไปนี้จะอธิบายเรื่องนรกสวรรค์ ตามที่จำแนกประเภทไว้นั้นโดยลำดับ

ประเภทที่ 1

               นรก สวรรค์ ในจิตใจของตนเอง


              ทางพระพุทธศาสนาถือว่า จิตใจของเรานี้เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะบังคับบัญชาร่างกายให้ทำอะไรได้ทั้งในทางดีทางชั่วตามลักษณะของจิตใจนั้น กาย วาจา เป็นเพียงหุ่นให้ในชักหรือเชิดให้แสดงอาการต่าง ๆ และจิตใจนั้นก็เป็นตัวรับรู้รับทราบและรับผิดชอบแทนร่างกายทั้งหมด แม้มีใครมาด่าว่าเสียดสีร่างกาย จิตใจก็เป็นผู้ออกรับแทนร่างกาย ในเวลานอนหลับจิตใจพักงาน แม้จะมีใครมาด่าว่าก็ไม่รู้สึกโกรธเคือง เพราะจิตใจไม่รู้ตกลงว่าร่างกายที่ปราศจากจิตใจก็ไม่ผิดอะไรกับท่อนไม้ เมื่อจิตใจเป็นตัวรับผิดชอบการกระทำต่าง ๆ ซึ่งตนสั่งงานไปทางกายกับวาจาเช่นนี้ ทางพระพุทธศาสนาจึงสั่งสอนให้ศึกษาเรื่องของจิตใจเป็นพิเศษ
                  จิตใจที่เต็มไปด้วยความรู้สึกใฝ่ต่ำ คือ คิดแต่ทางชั่วช้าเลวทราม เมื่อสั่งงานให้กายวาจาแสดงอาการอะไรออกมา ก็ย่อมเป็นไปในทางชั่วช้าเลวทรามเช่นเดียวกัน จิตใจชนิดนี้ย่อมเต็มไปด้วยความเดือดร้อน เพราะความชั่วช้าภายในเผาอย่างหนึ่ง เพราะผลความชั่วที่ทำลงไปคอยตามรบกวนจิตใจอีกอย่างหนึ่ง คนทุกจริตฉ้อโกงผู้อื่นหรือคนที่มากไปด้วยความโกรธความริษยา ย่อมมีจิตใจเร่าร้อนอยู่เนืองนิตย์ เหมือนกับตกนรกทั้งเป็นและเป็นการตกนรกทางจิตใจ และโดยประการตรงกันข้ามถ้าจิตใจประกอบด้วยคุณธรรม เช่น เมตตากรุณาความคิดเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความพลอยยินดีในความเจริญของผู้อื่นไม่ริษยาและความรู้จักรังเกียจความชั่วต่าง ๆ จิตใจใฝ่สูงนี้จะเต็มไปด้วยความสุขสงบ ชื่นบาน เป็นสวรรค์ ไปในตัว เพราะฉะนั้น ด้วยจิตใจนี้ บุคคลอาจตกนรก ขึ้นสวรรค์ เป็นสัตว์นรก สัตว์เดียรัจฉานเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหม เป็นพระอริยเจ้าได้ สุดแต่ว่าจะประกอบส่วนชั่วหรือส่วนดีมากน้อยเพียงไร

ประเภทที่ 2
                  นรกสวรรค์ที่มองเห็นได้ด้วยตา


                 ผู้เคยเข้าไปดูในคุกตะรางห้องขังแล้ว คงได้เห็นคนตกนรกทั้งเป็นไปถูกขังทนทุกข์ทรมานอยู่ในลักษณะต่าง ๆ กัน นานบ้าง ไม่นานบ้าง ตามควรแก่โทษานุโทษ และทำนองเดียวกัน เราก็คงได้เห็นผู้ประพฤติตัวเป็นพลเมืองดี ไม่ละเมิดกฎหมายบ้านเมือง อุตสาหะทำมาหากินตั้งเนื้อตั้งตัวได้เป็นหลักฐาน มีความเป็นอยู่ดี มีบ้าน มีที่ดินและยวดยานพาหนะใช้สอยพรั่งพร้อมผาสุกไปด้วยทรัพย์สมบัติและสิ่งที่ปรารถนา ผู้เป็นเช่นนี้เมื่อเทียบกับนักโทษดังกล่าว ก็จะเห็นได้ว่าต่างกันอย่างชัดเจน เป็นนรกสวรรค์ที่สอนให้มนุษย์มองเห็นผลแห่งความดีความชั่ว ว่าต่างกันอย่างไรในปัจจุบันทันตาเห็น


ที่มา
http://chaiwat201149.blogspot.com/2011/03/blog-post_28.html

189
พระพุทธศาสนา กับคำสอนเรื่องเทวดา นรก และสวรรค์ ว่ากันอย่างไร? (2/5)

 นอกจากนั้นในศาสนาพราหมณ์ได้มีการสอนและพรรณนารูปลักษณะของพระพรหมไว้ว่ามี 4 หน้า นั่งเหนือดอกบัว ทางพระพุทธศาสนาก็ไม่ขัดคอ แต่ได้แสดงใหม่ในลักษณะ Reinterpretation คือ แปลความหมายใหม่ว่า ได้แก่ บุคคลผู้ประกอบด้วยคุณธรรม 4 ประการ ที่เรียกว่า พรหมวิหาร คือ
                   ๑. เมตตา ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขถ้วนหน้า (ปราศจากความพยาบาท)
                   ๒. กรุณา เอ็นดูหรือสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุก (ปราศจากความโหดร้ายหรือความคิดเบียดเบียน)
                   ๓. มุทิตา พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี (ปราศจากความริษยา)
                   ๔. อุเบกขา วางใจเป็นกลาง (ปราศจากความลำเอียง)

                  คุณธรรมทั้ง 4 ประการนี้ เป็นคุณธรรมของผู้ใหญ่โดยแท้ ผู้ใดประกอบด้วยคุณธรรมชนิดนี้ ได้ชื่อว่าเป็นพรหมซึ่งเป็นเทวดาชั้นสูง และท่านได้ยกตัวอย่างว่า มารดาบิดามีความรู้สึกเช่นนี้ต่อบุตร จึงชื่อว่าเป็นพรหมของบุตร เมื่อทางพระพุทธศาสนาโยงมาให้ประพฤติปฏิบัติได้จึงชื่อว่าได้ช่วยให้คนสมัยใหม่เข้าใจศาสนานี้ดีขึ้น และมองเห็นความทันสมัยไม่เก่าแก่ของพระพุทธศาสนา เพราะทุกคนอาจนำคติธรรมเรื่องเทวดานี้ไปประพฤติปฏิบัติให้เกิดผลดีแก่ตนและส่วนรวมได้โดยทั่วกัน การกล้าตัดสินอย่างตรงไปตรงมาโดยชี้ไปที่คุณความดีว่า อาจทำให้คนธรรมดาดีเลิศยิ่งกว่าเทวดาโดยสมมติ หรือเทวดาจริง ๆ บนสวรรค์นั้น ทำให้หมดความยุ่งยากไปได้ เพราะส่วนที่ดีเลิศเป็นของกลางที่ทุกคนอาจนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนได้แล้ว ไฉนจะตะเกียกตะกายเพื่อเป็นเทวดาจริง ๆ บนสวรรค์ ซึ่งจะต้องรอให้ตายเสียก่อน และตายแล้วก็ไม่แน่ว่าจะได้เป็น เพราะเราอาจก่อกรรมทำชั่วอื่น ๆ ไว้ อาจไปนรกก่อนก็ได้ ท่านผู้อ่านหนังสือนี้ผ่าน บทก่อน ๆ มาแล้วคงจะเห็นได้ว่า ผู้เขียนได้เคยกล่าวไว้แล้ว เมื่ออ้างถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่สรรเสริญว่า คนที่มีความรู้ดีและความประพฤติดีชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทวดาและมนุษย์ ซึ่งแสดงว่าเทวดาจริง ๆ ก็อาจต่ำกว่ามนุษย์ ถ้าเทวดานั้นยังไม่เป็นเทวดาที่ดี ยังมีใจต่ำหรือเกะกะเกเร การได้เป็นเทวดาก็เป็นเพียงได้รับผลดีของกรรมเก่าเท่านั้น ถ้าไม่ประพฤติตนให้ดีสมเป็นเทวดาก็สู้มนุษย์ที่ประพฤติดีไม่ได้ ฉะนั้น คุณลักษณะพิเศษแห่งพระพุทธศาสนาที่กล้าชี้ว่ามนุษย์อาจดีกว่าหรือสูงกว่าเทวดานี้ จึงนับเป็นลักษณะพิเศษจริง ๆ ที่จะหาไม่ได้ในคำสอนอื่น เพราะในคำสอนอื่นเทวดาล้วนสูงกว่ามนุษย์ทั้งนั้น ที่จะหาไม่ได้ในคำสอนอื่น เพราะในคำสอนอื่นเทวดาล้วนสูงกว่ามนุษย์ทั้งนั้น ซ้ำบ้างทีก็มองไม่ค่อยเห็นทางด้วยว่าทำอย่างไรมนุษย์จึงจะยกฐานะของคนให้เท่าเทียมได้บ้าง เพราะเป็นเรื่องผูกขาดฐานะ ส่วนพระพุทธศาสนาไม่ถือว่าตำแหน่งอะไร เช่น เทวดา หรือพระพุทธเจ้าจะเป็นตำแหน่งลอย ๆ ที่มีไว้เพื่อผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ จะต้องมีเหตุผลเพียงพอคือผู้ได้รับตำแหน่งนั้น จะเป็นใครก็ได้ที่ลงมือประพฤติปฏิบัติชอบตามควรแก่เหตุผล จึงจะได้รับผลเช่นนั้น อันนี้เองที่พระพุทธศาสนากลายเป็นวิทยาศาสตร์ไป ซึ่งทุกคนผู้ใช้ปัญญาพิจารณาเหตุผลย่อมเว้นเสียมิได้ที่จะชื่นชมในหลักธรรมอันตรงไปตรงมา ไม่มีอภิสิทธิ์พิเศษใด ๆ แฝงอยู่เลย

                  เพื่อที่จะให้ท่านผู้อ่านเรื่องนี้ได้อ่านข้อวินิจฉัยเรื่องนรกสวรรค์เทียบเคียงกับเรื่องเทวดาที่ผ่านมาแล้ว ผู้เขียนขอแสดงบทความเรื่องนรกสวรรค์มีจริงหรือไม่ ซึ่งเคยเขียนวินิจฉัยเรื่องนรกสวรรค์ไว้เป็นทางพิจารณาโดยเหตุผลสืบไป

                  อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่า เราพยายามพิจารณาหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเราอย่างใช้เหตุผล หรือข้อพิสูจน์ตามแนวทางวิทยาศาสตร์มากเพียงใด ก็จะเป็นประโยชน์ให้เราได้ชื่อว่านับถือศาสนาด้วยปัญญามากเพียงนั้น และการนับถือศาสนาแบบใช้ปัญญาพิจารณาเหตุผลนี้เป็นที่พึงประสงค์อย่างยิ่งในพระพุทธศาสนา

ที่มา
http://chaiwat201149.blogspot.com/2011/03/blog-post_28.html

190

สาระธรรมอันอุดม

พระพุทธศาสนา กับคำสอนเรื่องเทวดา นรก และสวรรค์ ว่ากันอย่างไร



คำสอนเรื่องเทวดา

                 ในพระพุทธศาสนามีคำสอนเรื่องเทวดาไว้หลายประเภทรวมทั้งประเภทที่นับว่าสำคัญที่สุด คือที่ทุกคนอาจเป็นไปได้ในชาตินี้ โดยไม่ต้องรอให้ตายเสียก่อน นั้นก็คือการเป็นเทวดาได้โดยมีคุณธรรมอันเป็นคำสอนที่ต้องการให้ได้ประโยชน์และได้ผลจริง ๆ ในหมู่ผู้ฟัง เพราะการฟังเรื่องเทวดาบนสวรรค์ว่ามีสุขสมบัติอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ไม่ผิดอะไรกับฟังนิทาน พอเลิกแล้วก็แล้วไป ไม่รู้จะปฏิบัติอย่างไรได้ หรืออาจปฏิบัติด้วยเชื่อว่าตายแล้วจะได้เป็นอย่างนั้นบ้าง แต่ก็รู้สึกว่าจะเลื่อนลอยเกินไป ต้องทุ่มความเชื่อลงไปจนเต็มที่จึงจะปลอบใจให้สบายได้ ด้วยเหตุนี้จึงสู้คำสอนที่ให้เป็นเทวดาด้วยคุณธรรมในชาตินี้ไม่ได้ เพราะตรงไปตรงมาและมีเหตุผลในหลักคำสอนที่ให้เกิดผลดีแก่เอกชนและแก่ส่วนรวมอย่างน่าพอใจ
                  ประเภทแห่งเทพหรือเทวดาที่แสดงไว้ในพระพุทธศาสนามีดังนี้ :-
                  ๑. สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ ได้แก่ พระราชา พระราชินี พระราชกุมาร และพระราชกุมารี
                  ๒. อุปปัตติเทพ เทวดาโดยกำเนิด ได้แก่ เทวดาจริง
                  ๓. วิสุทธิเทพ เทวดาโดยความบริสุทธิ์ อย่างสูง ได้แก่ พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระพุทธเจ้า

                  เทวดาทั้ง 3 ประเภทนี้ พอจะเห็นความได้ชัด คือ ในประเภทแรกสมมติเทพนั้น มนุษย์เราได้ยกย่องหัวหน้าขึ้นเทียบด้วยเทวดา
ทั้งนี้เป็นไปตามระบบราชาธิปไตยหรือประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์ การใช้ถ้อยคำแสดงคารวะก็เป็นไปโดยพิเศษ แต่เทวดาโดยสมมติอย่างนี้ ใคร ๆ จะเลือกเป็นตามชอบใจไม่ได้ เพราะจะต้องเป็นไปตามการสืบสกุลตามกฎมณเฑียรบาล ส่วนเทวดาประเภทที่ 2 ที่เรียกว่า อุปปัตติเทพนั้น ได้แก่ เทวดาจริง ๆ ซึ่งจะได้วินิจฉัยในตอนสุดท้ายที่ว่าด้วยสวรรค์นรกมีจริงหรือไม่ เทวดาประเภทนี้ กล่าวตามหลักพระพุทธศาสนาได้แก่ผู้เคยประกอบคุณงามความดีไว้ แล้วผลแห่งคุณงามความดีนั้นส่งสนองให้ได้ประสบสุขในเทวโลก ซึ่งดูเหมือนจะมีกล่าวไว้ในทุกศาสนา แต่คนสมัยใหม่ไม่ค่อยเชื่อ หาว่าเป็นเรื่องปดหรือเอาสวรรค์มาล่อให้คนทำความดี ฉะนั้นจึงควรได้รับการพิจารณาในลำดับต่อไป อย่างไรก็ตามเมื่อมาถึงเทวดาประเภทที่ 3 แล้ว จะเห็นได้ว่าพระพุทธศาสนาได้ใช้หลักตัดสินที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในการวินิจฉัยเรื่องเทวดาโดยให้หลักไว้ว่า ยังมีเทวดาอีกประเภทหนึ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าเทวดาประเภทอื่น 2 ข้อข้างต้น คือ วิสุทธิเทพหรือเทวดาโดยความบริสุทธิ์ ความบริสุทธิ์ในที่นี้หมายถึงความบริสุทธิ์ทางกาย วาจา ใจ อันได้แก่ความประพฤติตนเป็นคนดีพร้อมนั้นเอง

                 คนที่ประพฤติตนดี มีความบริสุทธิ์ ย่อมชื่อว่าเป็นเทวดาสูงกว่าเทวดาโดยสมมติ สูงกว่าเทวดาบนสวรรค์ นี่แสดงว่าพระพุทธศาสนาไม่ได้ให้เกียรติเทวดาบนสวรรค์ยิ่งกว่ามนุษย์ที่ประพฤติปฏิบัติตนให้บริสุทธิ์สะอาดทางกายวาจาใจแต่ประการไร อาจกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแรกในโลกที่สอนเรื่องเทวดาบนพื้นโลกซึ่งทุกคนอาจเป็นได้ อันสูงกว่าเทวดาทุกประเภทซึ่งมีกล่าวไว้ในศาสนาต่าง ๆ ทั้งเป็นเรื่องที่มีเหตุผลอันอาจตรองตามและลงมือประพฤติปฏิบัติได้ด้วย

                  เทวดาโดยความประพฤติประเภทนี้ ที่ว่าอย่างสูง ได้แก่พระอรหันต์ผู้ละกิเลสได้ เป็นอันแสดงว่าอย่างต่ำก็มี ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ผู้ประกอบด้วยหิริความละอายแก่ใจ โอตตัปปะความเกรงกลัวต่อบาปทุจริต ประพฤติธรรมฝ่ายขาว คือ คุณงามความดี ชื่อว่ามีธรรมของเทวดา”

ที่มา
http://chaiwat201149.blogspot.com/2011/03/blog-post_28.html

191
       6.   อยู่ปริวาสกรรม  ,  ได้ประโยชน์   6   อย่าง  อยู่
1.       ได้ปฏิบัติตามกิจวัตร
2.       ได้กำจัดอาบัติโทษ
3.       ได้โปรดญาติโยม
4.       ได้ข่มมานะและทฏิฐิ
5.       ปิติปราโมทย์
6.       ได้ประโยชน์ในการแพร่ศาสนา


        7.   โกนผม   โกนหนวด   ตัดเล็บ  ,  ได้ประโยชน์   3   อย่าง  โกน
1.       เป็นการประหยัด
2.       ขจัดความสกปรก
3.       ยกย่องธรรมเนียม

       8.   ศึกษาและปฏิบัติครูอาจารย์  ,   ได้ประโยชน์   6   อย่าง   ศึก
1.       เข้าใจในหลักของตน
2.       พ้นความสงสัย
3.       ป้องกันภัยจากอาบัติ
4.       ยืนหยัดกตัญญู
5.       เคารพครูอาจารย์
6.       สืบสานวัฒนธรรม

       9.   เทศนาบัติ  ,  ได้ประโยชน์   6   อย่าง  เท
1.       เป็นผู้ไม่ประมาท
2.       ปราศจากมลทิน
3.       มีศีลบริสุทธิ์
4.       หยุดความวิปฏิสาร
5.       ทำการบอกอาบัติ
6.       กำจัดความรังเกียจ

     10. พิจารณาปัจจเวกขณะ  ,  ได้ประโยชน์   3   อย่าง  พิ
1.       ไม่เป็นหนี้ชาวบ้าน
2.       ฉันอาหารไม่เป็นโทษ
3.       เป็นประโยชน์แก่กัมมัฏฐาน

ต้องขอยอมรับตัวเองว่าบางข้อต้องใช้พลังกายและใจฝึกจริงๆ แต่ก็ต้องพยายามฝึก เพื่อความเป็นพระในหน้าที่ กิจวัตรสิบข้อนี้ คือ รูปแบบของคนที่จะเป็นพระที่ดี ถึงบางข้อจะห่างเหินการปฏิบัติ แต่เราก็ต้องพยายามรักษากิจวัตร ข้ออื่นๆที่มีโอกาสกระทำให้ได้ เพื่อความเป็นพระที่คนอื่นๆจะกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ และไมเป็นบาปกับตัวเรา บวชพระเพื่อสละลดกิเลศ และเรา คือพระเสขะ ที่ ขจัดขัดถูกิเลศที่กัดใจอยู่เรื่อยไป เพื่อ สุดท้าย เป็นพระอเสขะ
ปัญหา พระอริยสาวกเช่นไรเรียกว่าพระเสขะ พระอริยสาวกเช่นใดเรียกว่าพระอเสขะ ?

พระอนุรุทธะตอบ “ดูก่อนท่านผู้มีอายุ บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้เป็นส่วน ๆ ...บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้บริบูรณ์...”  สติปัฏฐานสี่ คือการกระทำ ที่มีสติ รู้ตัว ทั่วพร้อม อยู่กับปัจจุบัน
 การทำกิจวัตรของพระเป็นการฝึกอยู่กับปัจจุบัน ในทางที่ขจัดขัดเกลากิเลศ นี้คือ หนทาง สู่สิ่งสูงสุดหรับชีวิตที่เราควรจะได้รับ.

เขียนโดย ชัยวัฒน์ ทองพริก
ที่มา
http://chaiwat201149.blogspot.com/2011/03/blog-post_5876.html

192
พอดีได้อ่านเรื่อง...เล่าสู่กันฟัง...การอยู่ปริวาสกรรม
โดยพระอาจารย์ รวี สัจจะ...

http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=14047.msg127959#msg127959
ซึ่งมีการกล่าวถึง....กิจวัตร 10 ประการของพระสงฆ์
อยากรู้ว่ามีอะไรบ้าง จึงมาแบ่งกันกันครับ
=======================
กิจวัตร ๑๐ อย่างของพระสงฆ์ ที่ควรอ่านและปฏิบัติ

ของฝากสำหรับตัวข้าพเจ้าเองและเพื่อนพระภิกษุ
ประโยชน์ของกิจวัตร ๑๐ อย่าง

        1.   ลงอุโบสถ  ,  ได้ประโยชน์   6   อย่าง   อุ
1.       ได้ส่งเสริมพระธรรมวินัย
2.       ทำให้เกิดความสามัคคี
3.       มีความบริสุทธิ์
4.       มุตตกนิสัย
5.       คนเลื่อมใสศรัทธา
6.       พาให้เป็นแบบอย่างที่ดี

       2.   บิณฑบาต  เลี้ยงชีพ  ,  ได้ประโยชน์   6   อย่าง   บิณ
1.       ได้เจริญรอยตามยุคลบาท
2.       ได้โอกาสออกกำลังกายตอนเช้า
3.       ได้เข้าถึงความสำนึกในพระคุณแม่
4.       ได้เห็นทุกข์ในการแสวงหาอาหาร
5.       ได้เห็นความต้องการของประชาชน
6.       ได้ทำตนให้เป็นเนื้อนาบุญยิ่งขึ้น

        3.   สวดมนต์ไหว้พระ  ,  ได้ประโยชน์   6   สวด
1.       ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า
2.       เข้าใจศาสนพิธี
3.       มีจิตเป็นกุศล
4.       ทำตนให้แกล้วกล้า
5.       ชาวบ้านศรัทธา
6.       รักษาสัทธรรม

        4.   กวาดวิหารลานเจดีย์  ,  ได้ประโยชน์   6   อย่าง  กวาด
1.       ได้ออกกำลังกาย
2.       ทำให้สถานที่สะอาด
3.       ปราศจากโรคภัย
4.       จิตใจคลายเครียด
5.       เสนียดจัญไรลดลง
6.       คงไว้ซึ่งศรัทธา

        5.   รักษาผ้าครอง  ,  ได้ประโยชน์   6   อย่าง   รัก
1.       ได้ตื่นแต่เช้า
2.       เอาใจใส่ในกิจวัตร
3.       ฝึกหัดจิตใจ
4.       ทำให้สุขภาพดี
5.       มีความจำเยี่ยม
6.       เตรียมตารางชีวิต

เขียนโดย ชัยวัฒน์ ทองพริก
ที่มา
http://chaiwat201149.blogspot.com/2011/03/blog-post_5876.html

193
ธรรมวิจยะ พระอาจารย์ชา สุภัทโท : ตอนที่ 2
วันที่ 02 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 11:30:53 น.

ภิกขุ ภิกขาจาร

พจนานุกรมให้ความหมายโดยพื้นฐานของ ภิกขุ ว่า ผู้ขอ นี่ย่อมสัมพันธ์กับภิกขาและภิกขาจาร
เพราะว่า ภิกษา มีพื้นฐานมาจาก ภิกขา เหมือนกับ ศิกษา หรือ สิกขาเพียงแต่เมื่อภิกษาหมายถึงการขออาหาร อาหารที่ขอมา

ดังนั้น ภิกษาจาร จึงเท่ากับ การเที่ยวขอ การเที่ยวขออาหาร

เพราะว่าวัตรปฏิบัติ ภิกขาของพระภิกษุเริ่มขึ้นในสมัยพุทธกาลจึงเหมือนกับเมื่อพระอาจารย์ชา สุภัทโท จาริกไปพร้อมกับสุเมโธภิกขุยังมหานครลอนดอน

นั่นก็คือ เป็นสภาวะแปลกใหม่และแปลกแยกอย่างยิ่งกับสังคม

ดังได้สดับมาจากพระอาจารย์ชา สุภัทโท เช่นนี้

พระอานนท์กับพระพุทธเจ้าของเราในสมัยก่อนไปบิณฑบาตบ้านมิจฉาทิฐิ พอไปถึงหน้าบ้าน พระพุทธองค์ก็สะพายบาตรยืนเฉย

ท่านก็อาย

เพราะท่านเข้าใจว่า เรายืนอยู่เฉยๆ มันไม่บาปหรอก เขาจะให้ก็ไม่เป็นไร เขาจะไม่ให้ก็ไม่เป็นไร
ท่านยืนอยู่เฉยๆ

พระอานนท์เดินย่ำเท้าไปมา อายเขา คิดว่าพระพุทธองค์นี้อยู่ทำไม ถ้าเขาไล่ก็น่าจะหนีไป เขาไม่ให้ก็ยังทนอยู่ ไม่ก่อประโยชน์อะไรเลย

พระพุทธองค์ก็เฉย

จนกว่าสุดวิสัยแล้วก็ไป บางทีเขาก็ให้ ให้ในฐานที่ไม่เคารพ พระพุทธเจ้าก็เอา เขาให้พระพุทธเจ้าก็เอา ท่านไม่หนีไปไหน

ไม่เหมือนพระอานนท์

พอกลับมาถึงอาราม พระอานนท์ก็กราบพระพุทธองค์แล้วถามว่า

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรงไหนที่เขาไม่ใส่บาตรให้เรา เราจะไปยืนอยู่ทำไม มันเป็นทุกข์ อายเขา เขาไม่ให้ก็รีบไปที่อื่นเสียดีกว่า”

พระพุทธองค์ตรัส

“อานนท์ ตรงนี้ถ้ายังไม่ชนะมัน ไปที่อื่นก็ไม่ชนะ ถ้าเราชนะอยู่ที่นี่ ไปที่อื่นเราก็ชนะ”

พระอานนท์ว่า “ชนะไม่ชนะไม่รู้เรื่องแหละ อายเขา”

“อายทำไม อานนท์ อย่างนี้มันผิดหรือเปล่า เป็นบาปไหม เรายืนอยู่ เขาไม่ให้ก็ไม่เป็นไร”

พระอานนท์บอกว่า “อาย”

“อายทำไม เรายืนอยู่เฉยๆ มันเป็นบาปที่ไหน อานนท์ เราจะต้องทำอยู่อย่างนี้ ถ้าเราชนะมันตรงนี้ ไปที่ไหนมันก็ชนะ แต่ถ้าเขาไม่ให้ เราก็ไปที่โน่น ถ้าไปที่โน่นแล้วเขาไม่ให้ เราจะไปไหน อานนท์”

“ไปอีก ไปบ้านโน้นอีก”

“ถ้าหากบ้านโน้นเขาไม่ให้ เราจะไปตรงไหน”

“ไปตรงโน้นอีก”

“เลยไม่มีที่หยุดเลย อานนท์ ถ้าเราไม่ชนะตรงนี้ ไปข้างหน้ามันก็ไม่ชนะ ถ้าเราชนะอยู่ที่นี่แห่งเดียว ไปที่อื่นมันก็ชนะทั้งนั้น อานนท์ เข้าใจผิดแล้ว ไม่ต้องอายสิ”

กระนั้น ในความเป็นจริง ความหมายของ “ภิกษุ” มิได้มีแต่เพียงว่าผู้ขอเท่านั้น

ตรงกันข้าม หากพลิกไปยังหน้า ๑๗๓ ของหนังสือ “พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์” ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)ฉบับตีพิมพ์เล่มใหญ่ ๓๗๖ หน้า ก็จะประจักษ์ในความหลากหลายแห่งความหมายนอกเหนือไปจากผู้ขอ

นั่นก็คือ ๑ ผู้มองเห็นภัยในสังขาร นั่นก็คือ ๑ ผู้ทำลายกิเลส

ดังที่พระอาจารย์ชา สุภัทโทเห็นว่า อย่างคำสอนที่ท่านสอนว่าภิกขุ ท่านแปลว่าผู้ขอ ถ้าแปลอย่างนี้การปฏิบัติมันก็ไปรูปหนึ่ง ถ้าใครเข้าใจอย่าพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ภิกษุ แปลว่า ผู้เห็นภัยในสงสาร นี่มันก็ลึกซึ้งกว่ากัน
ผู้เห็นภัยในสงสารก็คือ เห็นโทษของวัฏฏะ ในวัฏสงสารนี้มันมีภัยมากที่สุด แต่ว่าคนธรรมดาสามัญ ไม่เห็นภัยในสงสารนี้

ที่มา
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1322800384&grpid=no&catid=&subcatid=

194
ธรรมวิจยะ พระอาจารย์ชา สุภัทโท : ตอนที่ 1/2
วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 15:35:13 น.



เมื่อ “ไก่ป่า” เห็นธรรม

หนองป่าพงเมื่อปี ๒๔๙๗ ยังเป็นดงดิบหนาทึบ ชาวบ้านเรียกว่าดงหนองป่าพง อยู่ห่างจากบ้านก่ออันเป็นบ้านเกิดของพระอาจารย์ชา สุภัทโทประมาณ ๒-๓ กิโลเมตร

วันที่ ๘ มีนาคม ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง เวลาบ่าย คณะของพระอาจารย์เดินทางไปถึง เช้าวันรุ่งขึ้นเมื่อคณะธุดงค์ออกสำรวจ ก็ทราบว่าเป็นสถานที่รกทึบแทบหาที่วางบริขารไม่ได้
รกทึบเพราะว่าเป็นป่าดงดิบ

เมื่อพระอาจารย์ชา สุภัทโท ตัดสินใจตั้งสำนักปฏิบัติธรรมขึ้นและลงมือหักร้างถางพงในเช้าวันต่อมา นั่นหมายถึงบาทก้าวแรกของวัดหนองป่าพง

เวลาผ่านมาจากปี ๒๔๙๗ จนถึงปี ๒๕๑๙ เป็นเวลา ๒๒ ปี

กระนั้น ภาพของหนองป่าพงอันปรากฏผ่านการบรรยายโดยพระอาจารย์ชา สุภัทโท แก่ที่ประชุมสงฆ์หลังสวดปาฏิโมกข์ในระหว่างพรรษา ๒๕๑๙ ก็ยังเป็นภาพอันสัมพันธ์กับไก่ป่าอย่างจำหลักหนักแน่น
เป็นภาพอันสะท้อนถึงการเรียนรู้จากไก่ป่า เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างพระรูปหนึ่ง กับไก่ป่าตัวหนึ่ง ดังได้สดับผ่านธรรมบรรยาย “สองหน้าของสัจธรรม” เช่นนี้

เรารู้กันทุกคนว่าไก่ป่านั้นเป็นอย่างไร สัตว์ในโลกนี้ที่จะกลัวมนุษย์ยิ่งไปกว่าไก่ป่านั้นไม่มีแล้ว
เมื่อมาอยู่ในป่านี้ครั้งแรก ก็เคยสอนไก่ป่า เคยเฝ้าดูมัน แล้วก็ได้ความรู้จากไก่ป่าหลายอย่าง
ครั้งแรก มันมาเพียงตัวเดียว เดินผ่านมา

เราก็เดินจงกรมอยู่ในป่า มันจะเข้ามาใกล้ ก็ไม่มองมัน มันจะทำอะไร ก็ไม่มองมัน ไม่ทำกิริยาอันใดกระทบกระทั่งมันเลย

ต่อไปก็ลองหยุดมองดูมัน พอสายตาเราไปถูกมันเข้า มันวิ่งหนีเลย แต่พอเราไม่มอง มันก็คุ้ยเขี่ยอาหารกินตามเรื่องของมัน แต่พอมองเมื่อไร ก็วิ่งหนีเมื่อนั้น

นานเข้าสักหน่อย มันคงเห็นความสงบของเรา จิตใจของมันก็เลยว่าง แต่พอหว่านข้าวให้เท่านั้น ไก่มันก็หนีเลย
ก็ช่างมัน ก็หว่านทิ้งไว้อย่างนั้นแหละ

เดี๋ยวมันก็กลับมาที่ตรงนั้นอีก แต่ยังไม่กล้ากินข้าวที่หว่านไว้ให้ มันไม่รู้จัก นึกว่าเราจะไปฆ่าไปแกงมัน
เราก็ไม่ว่าอะไร กินก็ช่าง ไม่กินก็ช่าง ไม่สนใจกับมัน

ไม่ช้ามันก็ไปคุ้ยเขี่ยหากินตรงนั้น มันคงเริ่มมีความรู้สึกของมันแล้ววันต่อมามันก็มาตรงนั้นอีก มันก็ได้กินข้าวอีก
พอข้าวหมดก็หว่านไว้ให้อีก มันก็วิ่งหนีอีก

แต่เมื่อทำซ้ำอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ ตอนหลังมันก็เพียงแต่เดินหนีไปไม่ไกล  แล้วก็กลับมากินข้าวที่หว่านไว้นั้น
นี่ก็ได้เรื่องแล้ว

ตอนแรกไก่มันเห็นข้าวสารเป็นข้าศึกเพราะมันไม่รู้จัก เพราะมันดูไม่ชัด มันจึงวิ่งหนีเรื่อยไป ต่อมา มันเชื่องเข้า

จึงกลับมาดูตามความเป็นจริง ก็เห็นว่า นี่ข้าวสาร นี่ไม่ใช่ข้าศึกไม่มีอันตราย มันก็มากิน จนตลอดทุกวันนี้
นี่เรียกว่าเราก็ได้ความรู้จากมัน

เราออกมาอยู่ในป่า ก็นึกว่ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ในบ้านเป็นข้าศึกต่อเราจริงอยู่ เมื่อเรายังไม่รู้ มันก็เป็นข้าศึกจริงๆ

แต่ถ้าเรารู้ตามความเป็นจริงของมันแล้ว ก็เหมือนไก่รู้จักข้าวสารว่าเป็นข้าวสาร ไม่ใช่ข้าศึกข้าศึกก็หายไป

เรากับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็เหมือนกันฉันนั้น มันไม่ใช่ข้าศึกของเราหรอก แต่เพราะเราคิดผิด เห็นผิด พิจารณาผิด จึงว่ามันเป็นข้าศึก ถ้าพิจารณาถูกแล้วก็ไม่ใช่ข้าศึก แต่กลับเป็นสิ่งที่ให้ความรู้ ให้วิชา ให้ความฉลาดแก่เราต่างหาก

แต่ถ้าไม่รู้ก็คิดว่าเป็นข้าศึก เหมือนกับไก่ที่เห็นข้าวสารเป็นข้าศึกมัน ถ้าเห็นข้าวสารเป็นข้าวสารแล้วข้าศึกมันก็หายไป พอเป็นอย่างนี้ก็เรียกว่าไก่มันเกิดวิปัสสนาแล้ว มันจึงเชื่อง ไม่กลัว ไม่ตื่นเต้น

ที่มา
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1322123954&grpid=&catid=&subcatid=

195
ธรรมวิจยะ พระอาจารย์ชา สุภัทโท : ตอนที่ 1/2
วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 16:28:11 น.


http://www.matichonbook.com/index.php/newbooks/-855.html

บิณฑบาตเอาคนไม่เอาอาหาร

ระหว่างวันที่ ๕ พฤษภาคม ถึงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๒๐ พระอาจารย์ชา สุภัทโท เดินทางไปยังสหราชอาณาจักร

เป็นการเดินทางไปพร้อมกับพระสุเมโธ และพระเขมธัมโม

เป็นการเดินทางขณะที่พระอาจารย์ชา สุภัทโท มีอายุครบ ๕๙ ปี ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๒๐

เป็นการเดินทางขณะอยู่ในพรรษาที่ ๓๘ ของการอุปสมบท

นอกเหนือจากที่ได้เขียนเอาไว้ในหัวข้อ “บันทึกเรื่องการเดินทางไต่างประเทศ” แล้ว ครั้งหนึ่งระหว่างบรรยายแก่พุทธบริษัทที่วัดหนองป่าพง ภายใต้หัวข้อที่ตั้งขึ้นในภายหลังว่า “ธรรมที่หยั่งรู้ยาก”

พระอาจารย์ชา สุภัทโท ได้เล่าเรื่องบางเรื่องของการเดินทางไปยังสหราชอาณาจักรอย่างเปี่ยมด้วยความมีชีวิตชีวา
ดังได้สดับมา ดังนี้

อาตมาออกไปเมืองนอกซึ่งเขาไม่มีพระเหมือนบ้านเรา ก็เป็นเหตุให้มองเห็นพระพุทธเจ้าเสียแล้ว
พอเราออกไปบิณฑบาต เขามองไม่เห็นพระเลย เขามองเป็นตัวอะไรก็ไม่รู้

คนที่คิดจะใส่บาตรสักคนหนึ่งก็ไม่มี มีแต่เขาพากันมองว่าตัวอะไรน่ะมานั่น โอ้โฮ...นึกถึงพระพุทธองค์
อาตมากราบท่านเลย

มันแสนยาก แสนลำบาก ที่จะฝึกคน เพราะเขาไม่เคยทำ ผู้คนที่ไม่เคยทำไม่รู้จัก นี่มันลำบากมาก

พอมานี่ นึกถึงเมืองไทย เราออกจากป่าไปบิณฑบาตเท่านั้นแหละ ไม่อดแล้ว ไปที่ไหนมันก็สบายมาก แต่เมื่อเราไปเมืองนอกอย่างนั้น มองๆ ดูไม่มีใครตั้งใจมาตักบาตรพระ บาตรเขายังไม่รู้จักเลย

เราสะพายบาตรไป เขานึกว่าเป็นเครื่องดนตรีเสียอีก

ถึงอย่างนั้นอาตมาก็ยังดีใจในสิ่งที่ได้ทำมาแล้ว โดยมากพระท่านไปเมืองนอกท่านไม่บิณฑบาตหรอก อาตมามองเห็นข้อนี้นึกถึงพระพุทธเจ้า

อาตมาต้องบิณฑบาต ใครจะห้ามก็จะบิณฑบาต

ไปทำกิจอันนี้ที่กรุงลอนดอนได้ ดีใจเหลือเกิน พวกพระไปด้วยกันก็ว่าบิณฑบาตทำไม มันไม่ได้อาหาร

“อย่าเอาอาหารสิ ไปบิณฑบาตเอาคน เอาคนเสียก่อน ขนมมันมากับคน”

ก็เหมือนท่านพระสารีบุตร ท่านไปบิณฑบาต อุ้มบาตรอยู่ในบ้านตั้งหลายครั้ง เขาก็ไม่ใส่บาตรสักขันเลย
เขามองดูแล้วเขาก็เดินหนี

มาถึงวันหนึ่งเขาก็ว่า “พระสมณะนี่มาอย่างไร ไป หนีไป”

พระสารีบุตรท่านก็ดีใจแล้ว ได้บิณฑบาตแล้ววันนี้ เพราะเขาสนใจเขาจึงไล่เรา ถ้าเขาไม่สนใจเขาไม่ไล่หรอก เขาไม่พูดกับเราหรอก

อาตมานึกถึงข้อนี้แล้วก็ไม่อาย เพราะพระพุทธเจ้าของเราท่านตรัสว่า
“ให้อายแต่สิ่งที่มันเป็นบาป ไม่เป็นบาปไม่ต้องอาย”

ก็เลยออกบิณฑบาตได้สัก ๗ วัน ตำรวจก็จ้องสะกดรอยตามมาห้ามให้หยุดเดินบิณฑบาต บอกว่าผิดกฎหมายในเมืองเขา

เราไม่รู้นี่ว่ามันผิด เราก็หยุด ที่ผิดเพราะเขาหาว่าเป็นขอทานบ้านเขาห้ามขอทาน

เราก็บอกว่า อันนั้นมันเป็นเรื่องของคน แต่นี่มันเรื่องของศาสนาพระพุทธศาสนาไม่ใช่ขอทาน ขอทานประการหนึ่ง การบิณฑบาตอีกอย่างหนึ่ง

ที่มา
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1321955820&grpid=no&catid=&subcatid=

196
ขอบคุณครับ....กดLike :015:

204
อ่านแล้วอาจจะปวดหัวกับภาษาของผู้เขียนบ้างนะครับ :092:

ทำกรรมกับงู : งูพยาบาท

วันต่อมา  เจ้าM เอาของมาให้ ที่ไหนได้….. แว๊กกก!! เพิ่งจะรู้ว่าเด็กเดี๋ยวนี้ไม่รู้จักเทียนหนัก 1 บาท (เค้าก็ยังไม่แก่นะ ยังรู้จักเลย)  เจ้า M ดันเอาเทียนไขขาวมาซะงั้น (ไม่เหมือนกันเทียนขาวนะ) แล้วบ้านเราก็ไม่ได้มีเทียนขาวด้วยนะ หาไปหามาเจอเทียนน้ำมนต์ แง่งๆ ใช้เทียนทำน้ำมนต์ไปก่อนก็ได้

พวกนี้พอจะทำแล้วไม่ใช่ว่าทำได้เลยนะ  นอกจากไหว้ครูมันต้องบอกเจ้าที่เจ้าทางให้กันตัวเราด้วย เราก็สำคัญที่สุดคือบอกเจ้ากรรมนายเวรของเขา (ไอ้จิตอาฆาตสีแดงๆ แผ่ฟุ้งกระจายเต็มหลังนั่นล่ะ) อันนี้สำคัญ จะรักษาใครต้องบอกให้เจ้ากรรมนายเวรเขารับรู้ก่อน ถ้าเขาไม่อนุญาตก็รักษาไม่ได้ ถ้าฝืนไปพี่ทั่นจะมาเล่าเราแทนอ่ะเด้

พอทำ… ก็เห็นว่าเมื่อคืน (คืนวันองคารที่ 26 ม.ค. 2010 ค่ะ เรื่องนี้เดิมบันทึกไว้เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2010 ค่ะ แห่ะ แห่ะ) มันเป็นวันอังคารง่ะ วันแรงดีก็เลยจัดการซะเมื่อคืนนี้แหล่ะ ทำตอนกลางคืน เจ้า M ไม่อยู่หรอก (เค้าก็อยู่บ้านเค้าสิ จะมาบ้านเราทำไม) เราก็ต้องคุยกับเจ้ากรรมนายเวรเขา เลยต้องตั้งอกตั้งใจดู (ที่ผ่านมาไม่ได้ตั้งใจจริงๆ รับสารภาพ55555) มองผ่านไอ้จิตอาฆาตแดงเถือกไป แล้วก็…..เห็น….

งูอาฆาตที่ไหนเนี่ยมารัดเอวน้อง M อยู่ซะงั้น!

เราดูแล้วเป็นวิญญาณกรรมหนักอีกต่างหาก เพราะตัวมันมืด แต่ก็ดูรู้ค่ะว่าเจ้างูนี้เป็นงูเขียว สีออกเขียวทองๆ

เอาเว้ย… งา่นมันใหญ่กว่าที่คิดแฮะ… แต่ก็เหมือนจะเล็กกว่าืที่คิด (เอ๊ะ! เอาไงกันแน่) เลยให้คุณม่ามี๊โทรไปหา M จังให้ที คุณม่มี๊ก็ต่อสายทันควันค่ะ พอ M รับก็ถาม M ว่าไปทำอะไรงูไหนเอาไว้ เจ้า M ก็นึกไม่ออก  เราก็ถามต่อว่าคนในบ้านที่ไม่ใช่ตัวเองอ่ะ มีคนอื่นรึเปล่าที่เคยไปทำอะไรงูเอา M ก็นึกๆ แล้วบอกว่า

“มีพ่อตีงูในบ้านเลย แต่ไม่ใช่งูเขียวนะ”

อ้าว…ได้ไง ก็ที่เราเห็นมันงูเขียวนี่หว่า เราก็ว่ามันงูเขียวแน่ๆ เพราะมองอยู่เนี่ยเห็นเป็นงูเขียวแล้วมันจะกลายเป็นงูจิ้งจกไปได้ยังไง แล้วแถม…ดูยังไงๆ มันก็เจ้า M นี่แหล่ะ บี้หัวงูเละเลย แล้วมันก็ไม่ใช่เรื่องของอดีตชาติด้วย ทำไมมันจำไม่ได้ฟร้าาาาา >_<

นี่นะคะ… เวลาดูกรรมให้ใครหรืออะไรมันมึนที่สุดก็คือคนทำจำไม่ได้แล้วจะปฏิเสธออกมาก่อนทันทีนี่แหล่ะค่ะ  บางเรื่องก็เป็นเรื่องนานมากตั้งแตาสมัยเด็ย บางคนเคยทำอะไรโหดๆ เอาไว้เยอะแยะตัวเองจำไม่ได้ แต่เจ้ากรรมนายเวรเขาจำได้นะคะ เพราะงั้นเวลามีปัญหาอะไรที่พึีงหมอไม่ได้แล้วคิดว่ามันเป็ฯโรคเวรโรคกรรมจริงๆ ตรงนี้ต้องคิดให้ดีเลย นึกให้ออกให้ได้ว่าตัวเองไปทำอะไรเค้าเอาไว้ ไม่อย่างนั้นเจ้ากรรมนายเวรเขาไม่ปล่อยง่ายๆ หรอกค่ะ

ไอ้ตอนนั้นเราก็เลยบอกน้อง M ไปว่า
“นึกดูดีๆ แต่ก่อนเลยนะ สมัยก่อนๆ เลยนะ”

เจ้า M ก็นึก นึกไปนึกมานึกได้ว่า เออ…แฮะ เจ้า M เคยนั่งรถไปต่างจังหวัด แล้วรถที่นั่งอ่ะ มันถอยไปทับงูเละเทะเลย แล้วตั้งแต่นั้นมานั่นแหล่ะที่เริ่มปวดท้องมาเรื่อยๆ แล้วมาหนักสุดๆ เอาช่วงเนี้ย ซึ่งพอรู้อย่างนั้นเจ้าตัวก็โวยวาย

“ไม่ยุติธรรมนี่ นั่งรถไปตั้งหลายคน ทำไมโดน M คนเดียวล่ะ”

เราก็สวนว่า  “อ้าว? แล้วไอ้คนอื่นที่นั่งรถไปด้วยตอนนี้มันอยู่สุขสบายดีไม่เจ็บไม่ป่วยหรือไง?”

เจ้า M ก็ “……………………” เงียบ
ก็งูมันอาฆาต ตอนโดนก็โดนกันหมดนั่นล่ะ  แล้วน้า…. กรณีนี้ต้องบอกว่าเขาไม่ได้ตั้งใจแท้ๆ แต่พี่งูก็ยังอาฆาต (อ่ะนะ… งูเรา เวลาโกรธแล้วไม่เลือกหน้าเลือกตาหรอกค่ัะ)

เราก็คุยกับคุณงูอ่ะนะ (คุยกับงูก็รู้เรื่องด้วยแฮะเรา ) อันนี้เป็นธรรมเนียมของพวกมองเห็นกรรมได้ มันต้องมีการเจรจาต่อรองกับเจ้ากรรมนายเวรก่อน ว่าเขาอยากได้อะไร ไม่อย่างนั้นถ้าเจ้ากรรมนายเวรไม่ยอมเราก็จะรักษาไม่ได้อ่ะค่ะ ต้องใ้ห้เค้ายอมอโหสิกันก่อน

 

ตรงนี้แอบเตือนนิดก่อน:: กรณีนี้ใครที่เคยเจอแบบว่าจ่ายมา 2 หมื่น เดี๋ยวตัดกรรมให้ อันนั้นให้ด่าบิดาอีกฝ่ายไปได้เลยค่ะ ไม่ต้องไปจ่ายเงิน คือมันเป็ฯค่าซื้อโง่อ่ะจ้ะ ถ้าเราไม่โง่อย่าไปจ่ายเลยเชียว  เพราะกรรมเนี่ยนะคะ กรรมใครกรรมมัน ทำอย่างไรก็ต้องชดใช้ไปอย่างนั้น ไม่ใช่กระดาษ ตัดไม่ได้ ตัดไปก็ไม่ขาด ต้องชดใช้ลูกเดียว! 

(ต่อแก้กรรมอีกนหน่อย…) แล้วหลายท่านที่ชอบเถียงเรื่อง แก้กรรม ว่ากรรมมันแก้ไม่ได้  อันนั้นถูกต้องค่ะ แต่อย่าเถียงกันแปลความหมายแบบเลี่ยงบาลี เพราะจริงๆ แล้วคำว่าแก้กรรมที่เค้าใช้ๆ กันนั้นมันเป็นศัพท์เทคนิคที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาล่ะ (มั๊ง) คล้ายๆ กับคำว่า ‘วันหลัง’ ที่ทุกรู้ว่าวันหลังมันไม่มี มีแต่วันที่จะถึงข้างหน้าหรือ ‘วันหน้่า’ แต่คนก็ยังเลือกใช้คำว่า วันหลัง คำว่า แก้กรรม ก็ประมาณเดียวกันค่ะ ทุกคนที่ใช้คำนี้ก็รู้ว่ากรรมันแก้ไขไม่ได้  แต่การเจรจาของอโหสิกรรมคุยกับเจ้ากรรนายเวรอะไรพวกนี้เค้าก็ยังใช้คำว่า แก้กรรม เพราะมันเป็นศัพท์เทคนิค อยากรู้ว่าแก้กรรมจริงๆ แล้วทำยังไง แบบไหน จะได้หรือไม่ ก็อ่านต่อไปเลยค่ะ ^_^.

เคร! กลับมาเข้าเรื่องต่อ!!

พอเราลองเจรจากับเจ้ากรรมนายเวรของ m ซึ่งก็คืองูคงแล้ว คุณงูคุงก็บอกว่า

‘จะทานไข่ต้ม’

เราเลยบอกให้ M เอาไข่ต้ม 13 ฟอง ไปไหว้กลางแจ้งให้งูคุงหน่อย (พิธีกรรมอันนี้งูคุงเขาก็บอกมานะคะ เปล่าตรัสรู้ได้เอง) แล้วงคุงก็บอกมาอีกว่า  ต่อไป นี้ห้าม M และคนในบ้าน M ทานเนื้องู ไอ้เราก็งง ถาม M ว่ามีด้วยเหรอฟะ ในบ้านตัวเองใครทานเนื้องูอ่ะ  M ก็บอกว่า สงสัยจะพ่อ ก็รับปากว่าจะบอกพ่อให้ แล้วงูก็บอกว่า…

ถ้ายอมให้แล้วต้องไปถือศีลให้ด้วย 8 วัน ก็บอก M ไป เจ้านี่ก็ทำงานอยู่บ้านเราง่ะ ก็บอกว่าต้องลางานอ่ะดิ๊ เราก็เลย ลาๆ ไปเถอะน้อง ผู้ชายยังลาบวชได้เลยผู้หญิงก็ต้องลาไปถือศีลได้เหมือนกัน 555555

ส่วนใหญ่เจ้ากรรมนายเวรถ้าเขายอมให้มักจะมาแบบนี้แหล่ะค่ะ ให้ปฏิบัติให้ ทำบุญให้พวกนี้เป็นส่วนใหญ่  พอทำบุญให้เค้าเราก็กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้  ตรงนี้ถือเป็นการชดใช้ให้เขาค่ะ เราเป็นลูกหนี้เขานี่ เขาจะเอาอะไร อยากได้อะไรก็ต้องให้ แล้วก็อโหสิกรรมอภัยให้กันไป เวรกรรมมันก็จะจบตรงที่เลิกจองเวรกัน อันนี้แหล่ะค่ะที่เรียกว่าแก้กรรม คือการกระทำชดใช้ขออโหสิกรรมกัน (เงื่อนไขตามแต่ตกลงกับเจ้ากรรมนายเวร)  ไม่ใช่จ่ายเงินสองหมื่อสามหมื่นแล้วแก้กรรมได้ครอบจักรวาล อันนั้นไม่ใช่ล่ะ

นี่พูดถึงในกรณีที่แก้ได้เจ้ากรรมนายเวรยอมเจรจาด้วยนะคะ แต่ถ้าเจอแบบที่ไม่ยอมนะ… พี่เรียกชนิดกะล่มจม ให้สร้างวัดใหญ่ สร้างพระให้ <<<อะไรเบบเนี้ย ซึ่งเจ้าชะตาเขาจะไม่มีเงินทำให้ไง แบบนี้ก็ถือว่าเขาไม่ยอม อย่าง M จังนี่ถือว่ายังดี (เราก็รอดตัวที่คุยกันได้ง่าย 55555)

ทีนี้มันก็มีข้อปฏิบัติอยู่ ก็บอก M ไปว่าปวดท้องอย่ามาเรียกหาพี่ (เรียกตูไปไมฟร้า>_<) ปวดท้องปุ๊บให้แผ่เมตตาซะ ถ้าพออาการดีขึ้นก็ไปกรวดน้ำเลย (อันนี้สำคัญ เราทำยาให้ M เสร็จก็ต้องกรวดน้ำให้เหมือนกัน เพราะงูคุงขอ ไม่ให้เดี๋ยวจะเข้าตัว) แล้วยาที่เสกให้ไปก็คือให้ต้มทาน 3 วัน ข้อแม้ของการทานยาให้ได้ผลก็คือก่อนทานยาก็ต้องกรวดน้ำให้เขาก่อน ตอนเช้าก็ให้ใส่บาตร กรวดน้ำให้เขาด้วยทุกเช้า ใช้เวลาหน่อย แต่ถ้าทำได้อย่างนี้ก็รับรองว่าหายแน่ๆ ล่ะ

ซึ่งนั่นแหล่ะ พอบอกมาถึงตอนใส่บาตรเจ้า M ดันบอกว่า
“จะใส่ตั้งหลายทีแล้วพี่ แต่พอเห็นพระแล้วกลัว ไม่กล้าใส่” <<<เว๊ง!! แกเป็นผีเหรอยะ นัง M !!! เห็นพระแล้วเผ่นซะงั้น!

อ่ะนะ… บางทีเวลาเจอเจ้ากรรมนายเวรที่เขาจองหนักๆ แล้วยังไม่คิดจะอภัยให้เขาก็เล่นไม้นี้แหล่ะค่ะ  ขวางบุญไปซะงั้น (ถึงได้ว่าไง พวกนี้ใกล้เคียงกับมาร แต่มารนี่ชั่วกว่า ชอบขวางบุญอย่างไร้เหตุผล<<<ต้องเจอปางกระทืบมาร 55555)

แต่นะ…ถึงงูจะอาฆาตแต่โดยส่วนใหญ่แล้วไม่มีใครเขาอยากอาฆาตใครหรอก ถ้าทำบุญให้เขาเยอะๆ กรวดน้ำให้เยอะๆ ถ้าเขาได้รับกุศลจนอิ่นเมื่อไหร่เขาก็ไปเอง เลิกอาฆาตไปเอง (บางทีเจ้ากรรมนายเวรไปเกิดไม่ได้เพราะกุศลไม่พอก็มีนะ ต้องแผ่เมตตาให้) แต่ทีนี้กรณีน้อง M ไม่ค่อยได้ทำไง หรือบางทีบางคนทำบ่อยแต่ทำไม่ถูกจุดที่เขาอยากจะได้ก็มี ตรงนี้บางทีมีคนที่สื่อได้ คุยได้ก็ถือว่าดีอยู่เหมือนกัน เพราะจะได้รู้ว่าควรทำให้อีกฝ่ายยังไงถึงจะหลุดพ้นกันทั้งสองฝ่าย

แต่ก็โอเชแหล่ะนะ เจ้าชะตากับเจ้ากรรมนายเวรตกลงกันได้แล้วเราก็หมดเรื่องเล่า จนถึงปัจุบันตอนนี้เจ้า M ก็หายปวดท้องไปแล้วล่ะค่ะ เงียบกริบไม่เห็นมาบ่นให้เราฟัง เลยไม่รู้จะเล่าอะไรแระ ไปดีกว่า จุ๊บๆ

ที่มา
http://ghost.renrengang.com/ghost73

205
ทำกรรมกับงู : งูพยาบาท

น้อง M มาปรึกษาเราว่า เป็นอะไรก็ไม่รู้ปวดท้อง  ทีแรกก็ฟังไปเรื่อยไม่ค่อยสนใจ ไอ้เราว่า ปวดท้องแล้วมาบอกตูยะหยังวะ  เลยไล่ไปหาหมา เอ้ย!! หาหมอ  แต่ M ก็ว่าไปหาแล้ว หมอบอกว่าไม่เป็นอะไร ในท้องทุกอย่างปกติดีหมด แต่ปวดมาตั้งหลายปีแล้ว เดี๋ยวก็ปวดๆ จนเข้าหมาลัยปีหนึ่งที่ปวดหนักขึ้น ปวดทีตัวงอ นอนกองพื้น ทำอะไรไม่ได้เลย  ถึงได้มาถามเราว่าตัวเองเป็น โรคเวรโรคกรรมรึเปล่า

อ่ะนะ… ถ้าถามมาอย่างนี้คืออยากให้เราดูกรรมให้ ก็เลยลองดูให้ค่ะ ซึ่งก็… เออว่ะ M จัง ไม่ได้ปวดท้องอาการธรรมดาๆ แล้วแบบนี้  เพราะจากที่เรามอง  M  มีจิตอาฆาตแปลกๆ ฟุ้งกระจายอยู่ด้านหลังด้วย เลยถามน้องเขาไปว่า

“เวลาปวดเนี่ย มันจะปวดช่วงเอว เริ่มตั้งแต่กระดูกสันหลังแผ่มาจนถึงท้องใช่ไหม” (เอามือจับเอวน้อง M ด้วย กลมอป๊อกหาส่วนขอดไม่เจอเลย 555555)

M ก็ตอบมาว่า
“ใช่ๆ พี่ ใช่อย่างนี้เลย”

“แล้วมันจะจุกขึ้นมาจนถึงหน้าอกใช่ไหม”

M ก็ตอบว่า
“ใช่ๆ พี่รู้ได้ยังไงอ่ะ?” <<< อ้าว…ไม่รู้เรอะ ตูนี่แหล่ะกูรู รู้ทุกเรื่องเป็นรองแค่กูเกิ้ล 55555

ตอนนั้นไม่ได้ตั้งใจดูให้ (เพราะขี้เกียจ 55555) แต่เห็นว่าจิตอาฆาตแรงฟร่ะ ก็ไม่อยากยุ่ง (ก็เค้ากลัวเข้าตัวนี่) M ก็ถามต่อมาว่า

“ไม่รู้ Mโดนของรึเปล่า”

เราก็ว่า “ของอ่ะไม่โดนหรอก  แต่ขนาดนี้มันหนักเกินมือพี่ว่ะ”
อ่า…นะ ถ้าแดงเถือกมาเต็มหลังขนาดนี้คุณพี่ก็เผ่นเอาตัวรอดก่อนล่ะค่ะ 555555 อ่ะนะ… ก็เปล่าใจจืดใจดำ (แต่ขี้เกียจให้ เข้าตัวง่ะ) เลยบอก M ไปว่า ถ้าปวดท้องก็ให้แผ่เมตตาให้เขาไป แล้วก็หาเวลาไปหาหลวงพ่อซะ  เกินมือพี่แล้ว อย่างนี้ (หลวงพ่อที่พูดถึงคือพระที่เก่งมากมายค่ะ ไล่ผีก็ได้ แก้คุณไสย์ก็ได้ ทำครีมหน้าเด้งก็ได้ สบู่สมุนไพรก็สุดยอด สร้างห้องน้ำวัดได้เองอีก เก่งสุดๆ ไปเลยค่ะ อิ อิ)

ก็บอกเจ้า M ไปตามนั้นล่ะ หลังๆ เวลาสาวเจ้าป่วยก็จะแผ่เมตตา ก็จะเบาไปได้ช่วงหนึ่ง ทว่า… แค่ช่วงหนึ่งเท่านั้น  เพราะเจ้า M ก็ไม่ยอมไปหาหลวงพ่อสักที  ซึ่งก็แบบ… อันนี้เราก็พอรู้อยู่อ่ะค่ะว่า หลวงพ่อท่านไม่ได้อยู่กรุงเทพ แถมท่านก็ยุ่งมากๆ เลยหาตัวจับไม่ค่อยได้เท่าไหร่ ขนาดนัดท่านแล้วบางวันไปหาไม่เจอยังมีเลย

ซึ่งช่วงหลังๆ นี่เจ้า M ก็อาการหนักใช่ย่อย… ที่ว่าหนักนี่คือไม่ได้ปวดท้องหนักนะคะ (เรื่องปวดท้องอ่ะ เขาเป็นอยู่แล้ว) แต่ที่ว่าหนักก็คือ เวลาปวดท้องแล้วน้องเขาจะหาตัวช่วยไง  ด้วยความว่าไอ้น้องรู้ว่าคุณพี่นั่งอยู่บ้านเฉยๆ ก็รู้ได้ว่าน้องปวดท้องยังไงแบบไหน  แล้วเวลามีใครตั้งจิตถึงเราเราก็จะรู้  ระยะหลังเวลาปวดท้องนะ แทนที่จะแผ่เมตตาตามเราบอก ไอ้เจ้า M มาดันเรียกหาเราเฉยเลย  <<<<แล้วช๊านจะไปทามอารายด๊ายยยยย >_<

ในส่วนของเรานี่…เวลามีใครตั้งจิตเรียก มันจะมีอาการปวดหัวค่ะ  บางทีจุก หอบขึ้นมาก็มี เลยจะรู้ได้ว่ามีใครกำลังตั้งจิตถึงเราอยู่ บางทีก็รู้ว่าใคร แต่บางทีก็ไม่รู้  มีอยู่วัน…เราก็ว่าเหมือนเราจะเป็นลม แล้วก็ปวดหัวมาก  ทำยังไงๆ ก็ไม่หาย  ที่ไหนได้อีกวันเจ้า M ดันมาเล่าให้ฟังเฉยเลยว่าปวดท้อง เลยเรียกหาตูทั้งคืน

M เล่นของ(ด้วยกระแสจิต 555) ขนาดนี้เราเลยคิดว่าไม่ไหวแล้ว ขืนรอ M ไปเจอหลวงพ่อ ไม่ใช่ M หรอก เรานี่แหล่ะท่าจะตายก่อน ก็เลยว่าจะจัดยาให้สักชุด ล้างพิษ ล้างลำไส้อะไรไปก่อน สุดท้ายก้ยอมแพ้ บอก M ไปว่า เอาดอกบัวมา 3 ดอก หนวดข้าวโพดกำมือหนึ่ง (พวกนี้เป็นยาสมุนไพรค่ะ) แล้วก็ธูปแหนบหนึ่ง เทียนขาวหนัก 1 บาท 3 เล่ม เงินพานครู 6 บาท (แบบว่าถ้าจะทำต้องไหว้ครู ถ้าผิดครูก็เรื่องใหญ่อยู่ <<< ลองมาแล้ว ถึงขั้นเข้า รพ.) เลย

วันต่อมา  เจ้าM เอาของมาให้ ที่ไหนได้….. แว๊กกก!! เพิ่งจะรู้ว่าเด็กเดี๋ยวนี้ไม่รู้จักเทียนหนัก 1 บาท เจ้า M ดันเอาเที่ยนไขขาวมาซะงั้น (ไม่เหมือนกันเที่ยนขาวนะ) แล้วบ้านเราก็ไม่ได้มีเทียนขาวด้วยนะ หาไปหามาเจอเทียนน้ำมนต์ แง่งๆ ใช้เทียนทำน้ำมนต์ไปก่อนก็ได้

..
ที่มา
http://ghost.renrengang.com/ghost73

206


ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน สวนพุทธธรรม วัดชายนา


เลขที่ ๑๙๓ ถนนพัฒนาการทุ่งปรัง
ต.ในเมือง
อ.เมือง
จ.นครศรีธรรมราช
80000

    watchaina@msn.com

207
ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน สวนพุทธธรรม วัดชายนา

วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๙   ทางกรมการศาสนาโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม  ได้ประกาศยกวัดชายนาร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา       และในวันที่  ๑๕  พฤษภาคม  พ.ศ.๒๕๓๙   พระราชปฎิภาณโสภณ เจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราชได้แต่งตั้งให้พระครูสมุห์แจ้ง  จนฺทวณฺโณ   ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดชายนา
       ด้วยผลงานการเผยแผ่การสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานให้กับเยาวชน  ประชาชน  ตลอดมา  จึงได้รับประทานปสาทนียบัตร เป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์อบรมสั่งสอนนิสิตฯ จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ในปีพ.ศ.๒๕๓๓ และ ๒๕๓๔ 
ในปีพ.ศ.๒๕๓๕ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจการทางวิปัสสนาธุระ ของศูนย์ส่งเสริมการศึกษาและปฏิบัติธรรม จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก และพระธรรมธีรราชมหามุนี 
       วันที่  ๕  ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔   รับพระราชทานสมณศักดิ์-พัดยศ เป็นพระครูสัญญาบัตร  เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท   ฝ่ายวิปัสสนาธุระ  ที่ พระครูภาวนาจันทคุณ
       และเมื่อวันที่  ๕  ธันวาคม  พ.ศ.๒๕๕๐  ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์-พัดยศ เป็นพระครูสัญญาบัตร  เทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระอารามหลวงชั้นเอก  ฝ่ายวิปัสสนาธุระ 

       
               พระอาจารย์แป้น  ธมฺมธโร หรือพระครูภาวนานุศาสก์ กับศิษยานุศิษย์ชาวต่างประเทศที่มาศึกษาธรรม ณ วัดชายนา

       
                      พระอาจารย์แป้น  ธมฺมธโร หรือพระครูภาวนานุศาสก์ ท่ามกลางศิษยานุศิษย์พระภิกษุและคฤหัสถ์


ที่มา
http://www.watchaina.com/index.php?option=com_content&task=view&id=25&Itemid=36

208

ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน สวนพุทธธรรม วัดชายนา

การเผยแผ่เจริญภาวนาตามหลักมหาสติปัฏฐาน สี่ ในบทสัมปชัญญะบรรพของพระอาจารย์แป้น ต้องอาศัยอธิษฐานบารมีและขันติบารมีเป็นอย่างมาก เนื่องจากท่านอาศัยหลักในมหาสติปัฏฐานสูตรที่ว่า “สมฺมิญฺชิเต  ปสาริเต  สัมฺปชานการี  โหติ”  ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะในการคู้อวัยวะเข้า เหยียดอวัยวะออก จึงได้กำหนดสอนดังภาพ


   
และการอธิบายข้อธรรมว่า  “อิติ  อชฺฌตฺตํ  วา  กาเย  กายานุปสฺสี  วิหรติ”  “อาตาปี  สมฺปชาโน สติมา  วิเนยฺย  โลเก  อภิชฌาโทมนสฺสํ”   เป็นต้นนี้แตกต่างจากคำอธิบายของพระอาจารย์ท่านอื่น  ได้มีการจัดการประชุมสัมมนาพระวิปัสสนาจารย์ขึ้นเพื่อสัมมนาระหว่างพระวิปัสสนาจารย์ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชปุ่น ปุณสิริ  ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นพระวันรัต ประทานเมตตามาเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาพระวิปัสสนาจารย์ ครั้งที่ ๑ ปีพ.ศ.๒๕๑๒    มีพระวิปัสสนาจารย์มาจากจังหวัดต่างๆ นับเป็นหลายร้อยรูป     ด้วยการยืนหยัดในการเผยแผ่ธรรมของพระอาจารย์แป้น ธมฺมธโร  ได้พิสูจน์ให้ผู้ปฏิบัติตามสามารถรู้แจ้งเห็นจริงตามคำสอนของพระพุทธองค์จนเป็นที่ยอมรับของพระเถระคณะสงฆ์รวมถึงพุทธศาสนิกชน  มีศิษยานุศิษย์มากมายที่เป็นชาวต่างประเทศดังเช่น พระมหานาคเสน พระภิกษุชาวอินเดีย   พระมหาโฆษนันทะ พระสังฆราชชาวเขมร (มรณภาพเมื่อปี ๒๕๕๐)  ชาวตะวันตกอีกหลายรูป  หลายคน   และศิษยานุศิษย์ที่ตั้งสำนักปฏิบัติธรรมต่างๆ ต่อมาได้แก่
       พระอาจารย์จำเนียร   สีลเสฏโฐ     แห่งศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน   วัดถ้ำเสือ    จ.กระบี่
       พระครูญาณวิวัฒน์   ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดไร่ดอน (เขากิ่ว)  ต.ไร่ส้ม  อ.เมือง   จ.เพชรบุรี
       พระอาจารย์สุทัศน์    โกสโล   ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน  วัดกระโจมทอง   อ.บางกรวย  จ.นนทบุรี
       พระครูเกษมวรกิจ     ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐานวัดถ้ำผาจม   ต.เวียงพางคำ  อ.แม่สาย  จ.เชียงราย
       พระอาจารย์วิเรนทร์   วิโรจโน  ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน  เกษตรใหม่  ต.หนองหาน  อ.สันทราย  จ.เชียงใหม่
       พระครูอุดมภาวนานุสิฐ     ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน   วัดป่าคูเมือง  อ.คูเมือง  จ.บุรีรัมย์
                      เป็นต้น
       ต่อมาพ.ศ.๒๕๑๗  พระอาจารย์แป้น  ธมฺมธโร  ได้รับอาราธนาเป็นประธานสงฆ์ ณ สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานวัดไทรงามธรรมธราราม  จ.สุพรรณบุรี  จึงแต่งตั้งพระแจ้ง  จนฺทวณฺโณ  (พระครูภาวนาจันทคุณ, ๒๕๔๔) ผู้เป็นศิษยานุศิษย์ให้เป็นประธานสงฆ์วัดชายนา  สืบทอดการสอนการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานในมหาสติปัฏฐาน สี่   กระทั่งคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนปรารภที่จะยกวัดชายนา (ร้าง) ให้เป็นวัดที่มี คณะสงฆ์อยู่ปกครองและจำพรรษาที่สมบูรณ์แบบต่อไป


ที่มา
http://www.watchaina.com/index.php?option=com_content&task=view&id=25&Itemid=36

209
ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน สวนพุทธธรรม วัดชายนา

 เป็นวัดมหานิกาย
       เลขที่  ๑๙๓   ถนนพัฒนาการทุ่งปรัง   ต.ในเมือง  อ.เมือง  จ.นครศรีธรรมราช
      มีอาณาเขตทิศเหนือติดกับวัดโคกธาตุ  ทิศใต้จรดซอยมงคล  ทิศตะวันออกจรดถนนพัฒนาการทุ่งปรัง     ทิศตะวันตกจรดคลองสวนหลวง    มีเนื้อที่  ๑๒ ไร่  ๕๕ ตารางวา  



       วัดชายนาเป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยา   โดยพิจารณาจากถาวรวัตถุอันสำคัญคือ โบสถ์  ซึ่งมีลักษณะเป็นโบสถ์ยุคแรกทางพระพุทธศาสนาที่นิยมทำขนาดความยาวไม่เกิน ๗ ก้าว กว้างพอจุพระครบองค์สังฆกรรมตามบัญญัติในพุทธศาสนาได้เท่านั้น   มีประตูเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียว  ไม่มีหน้าต่างแต่มีช่องหรือ    รูระบายอากาศที่ฝาผนัง   ผนังด้านหลังพระพุทธรูป เสาติดผนังและผนังด้านข้างมีร่องรอยภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังแต่ลบเลือนไปมาก  จากหลักฐานดังกล่าวนี้พร้อมด้วยกระเบื้องหลังคาเก่าที่ฝังจมดิน   ทรงหลังคา  ภาพเขียนสี  พระประธาน  และปราณีตศิลป์ที่ปรากฎบนบัวหัวเสาและฐานชุกชีนั้นเป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยา     กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘   ตอนที่ ๑๒๗ง. วันที่  ๒๑  ธันวาคม  ๒๕๔๔ เป็นโบราณสถานวัดชายนามีพื้นที่ประมาณ ๙๐ ตารางวา

       มีหลักฐานทางราชการปี ๒๔๗๓   ซึ่งมีการจัดทำบัญชีสำรวจที่ดินวัดร้างในแผนกสรรพากรจังหวัดนครศรีธรรมราช อันดับที่ ๒๓ ว่าวัดชายนา(ร้าง) ตั้งอยู่ใน ต.นา  อ.เมืองนครศรีธรรมราช  ไม่มีผู้เช่า   ต่อมามีการแจ้งสิทธิ์ครอบครองรับเอกสาร ส.ค.๑ เลขที่ ๑๐๐ ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๘
       จากการเป็นพื้นที่ว่างเปล่ามีโบสถ์เป็นจุดสำคัญและอยู่ไม่ไกลจากวัดพระมหาธาตุ  สภาพจึงเป็นดังสำนักสงฆ์มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาบ้างและบางขณะถูกปล่อยร้างสลับกันไป   หลักฐานที่ชัดเจนในการใช้อาณาบริเวณนี้เป็นที่ประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนา คือ  พ.ศ.๒๔๗๗  พุทธธรรมสมาคม สาขานครศรีธรรมราช  พยายามจัดหาสถานที่วิเวกสำหรับพระภิกษุสามเณรเพื่อปฏิบัติธรรมขั้นสูงโดยสะดวก และได้เลือกวัดชายนาซึ่งเป็นวัดร้างเปิดเป็นสถานที่วิปัสสนาธุระในวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๗      โดยนิมนต์พระมหาเงื่อม (พุทธทาสภิกขุ) เป็นผู้ทำพิธีเปิด ท่านได้แสดงพระธรรมเทศนาและได้ตั้งชื่อเรียกสถานที่วัดชายนานั้นว่า “สวนพุทธธรรมปันตาราม” แปลว่า สวนหรือป่าสงัดอันเป็นปัจจัยแห่ง    การบรรลุพุทธธรรม  จากนั้นสมาคมฯ ก็ได้นิมนต์พระมหาจุนท์ จากสวนโมกข์พลารามมาจำพรรษาเป็นองค์แรกสอนตามระบบ “อาณาปานสติ” อยู่ชั่วระยะหนึ่งแล้วก็จาริกไปสอนที่อื่นต่อไป

       ต่อมาพระอาจารย์ศรีนวล  จากสำนักนครพนม สอนแบบ “พุทโธ” อยู่ระยะหนึ่งแล้วจาริกไปสอนที่อื่นอีก
พระอาจารย์นุ่ม  จากสำนักภาคกลาง  สอนแบบ “อรหันต์” แล้วจาริกไปที่อื่น
พระอาจารย์สำคัญ  จากสำนักปากน้ำภาษีเจริญ จังหวัดนนทบุรี  สอนแบบ “สัมมาอรหันต์”  มีผู้สมัครเป็นศิษยานุศิษย์เป็นจำนวนมาก  แล้วก็จากไปที่อื่น
       พระอาจารย์เลื่อน  จากสำนักสงขลา  สอนแบบ “ยุบหนอพองหนอ”  อยู่ระยะหนึ่งแล้วจากไป
ดังนี้วัดชายนาจึงมีสภาพเป็นสำนักสงฆ์ที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาและบางขณะถูกปล่อยร้างสลับกันไป   จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๐๕   พระอาจารย์แป้น  ธมฺมธโร  (พระครูภาวนานุศาสก์, ๒๕๓๒)  มาจากสำนักสุพรรณบุรี   ได้เข้าบุกเบิกงานสอนการเจริญมหาสติปัฏฐานสี่อย่างจริงจัง  จนเป็นที่ยอมรับของพุทธศาสนิกชน  และได้ใช้ชื่อว่า “สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน สวนพุทธธรรม วัดชายนา” เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อเดิมว่า “สวนพุทธธรรมปันตาราม” และ “วัดชายนา”    

ที่มา
http://www.watchaina.com/index.php?option=com_content&task=view&id=25&Itemid=36

210
ขโมยของพระกับผู้หญิงหัวขาด(จบ)

ในคืนหนึ่งอยู่ๆ ก็มีเหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้น…

คืนนั้นไม่รู้เป็นอะไร หนูเรนนอนไม่ค่อยจะหลับทั้งคืน นอนไม่หลับเท่านั้นไม่พอ ไอ้คุณหมาที่บ้านก็ดันอนไม่หลับพอกัน เป็นอะไรก็ไม่รู้ หอนห๊อนหอนเสียงดังลั่นตลอดคืน  ทุกคนก็ได้ยินกันหมดเลยนะ เสียงหมาหอนอ่ะ แต่ไม่มีใครสนใจ คาดว่าคงชินกันเสียแล้วเพราะที่นี่มีเรื่องประหลาดเกิดขึ้นบ่อยดีเหลือนเกิน

ทีนี้ก็อย่างที่ว่า เรานอนไม่หลับง่ะ พอไม่หลับแล้วก็เลยลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำกลางดึก หันไปดูนาฬิกาก็ตีสามพอดิบพอดี คือทางไปห้องน้ำมันจะผ่านระเบียงด้านทิศตะวันออกของตัวตึกด้วย… คือจริงๆ แล้วห้องน้ำก็อยู่ตรงระเบียงทิศตะวันออกนั่นแหล่ะ (ทำไมไปสร้างห้องน้ำไว้ที่ทิศตะวันออกทางนี้ก็ไม่เข้าใจคนสร้างเหมือนกัน) จากระเบียงตรงนั้นมองลงไปที่ชั้นล่างจะเป็นสนามเด็กเล่นอนุบาล และส่วนหนึ่งของสนามก็คือกุฏิของหลวงลุงท่านนั่นล่ะ

ที่สนามเด็กเล่นก็จะมีเครื่องเล่นเด็กอนุบาลอยู่เต็มไปหมด เครื่องเล่นบ้านเราซึ่งก็สงสัยมานานว่ามันอาจจะมีระบบออโตเมติกบ้างอ่ะนะ เพราะวันดีคืนดีบางทีเครื่องเล่นมันก็สามารถเล่นได้ด้วยตัวเอง อย่างชิงช้านี่ไม่ต้องมีคนไปนั่ง ลมก็ไม่ต้องพัด อยู่ๆ ก็แกว่งไกวได้เอง หรือบางทีไม่แกว่งเองก็มีเสียงเอี๊ยดๆ ที่เหมือนกับว่ากำลังคนแกว่งชิงช้าดังขึ้นเอง ไม่รู้ว่าเพราะอะไร หาสาเหตุทางวิทยาศาสตร์ไม่เจอเหมือนกัน

อ้าวเฮ้ย! นอกเรื่องซะงั้น มาเข้าเรื่องต่อก่อน…!!
ก็คือกลางดึกระหว่างที่เราเดินไปที่ห้องน้ำนั่นแหล่ะ  อยู่ๆ ให้มีเหตุจูงใจ (เหตุอะไรไม่รู้อาจเป็นแค่แรงบรรดาลใจก็ได้) ให้ชะโงกหน้าลงไปดูที่สนาม
บอกก่อนว่าถ้าเป็นปกตินี่ไม่กล้ามองลงไปนะคะ  เห็นอย่างนี้ตอนเด็กๆ ก็ผ่านช่วงเวลาที่เคยกลัวผีมาแล้วเหมือนกัน (ก่อนจะเห็นผีเป็นตัวเป็นตนได้อย่างทุกวันนี้อ่ะนะ) ยังรู้จักกลัวอยู่ เพราะสนามบ้านเรา… ตอนนั้นนะ  เวลามองลงไปที่สนามตอนดึกๆ ทีไรก็จะเห็นมีผู้หญิงชุดดำ ไม่มีหัว มานั่งอยู่ที่ชิงช้าเรื่อยเลย   <<< ไม่ได้ล้อเล่น  เธอมาจริงๆ เป็นใครมาจากไหนก็ไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ ไม่ได้มีแค่เราคนเดียวที่เห็น คนอืนๆ (อาทิเช่น ท่านพี่) ที่บางทีตื่นมาเข้าห้องน้ำ มองลงไปก็เห็นเหมือนกัน (ไอ้พี่เรามันไม่เชื่อเรื่องผีทั้งๆ ที่เคยเจอผี สาเหตุเพราะมันกลัวผีเลยไม่เชื่อเรื่องผีไปซะงั้น)
อยากจะบอกว่าเรื่องคุณหัวขาดเนี่ย… ความจริงแล้วไม่กลัวหรอก ที่กลัวคือเดี๋ยวพอรู้ว่าเราดูอยู่ ศีรษะที่ขาดหายไปของคุณเธอจะโผล่มายิ้มให้ก็เท่านั้นเอง มานนนนหลอนนนน!!

แต่คืนนั้นก็ไม่รู้ว่าเพราะผู้หญิงศีรษะหายคนนี้เธอเรียกเรารึเปล่าอ่ะนะ เพราะจากหลอนๆ อยู่ดีๆ ก็อยากชะโงกหน้าลงไปมองซะงั้น  ซึ่งพอชะโงกหน้าลงไปดูก็ปรากฏว่าเห็นที่กุฏิหลวงลุงท่านมีไฟเปิดสว่างอยู่ จ้าเลยอ่ะ
ก็ว่าเอ๊ะ… แปลกๆ แฮะ เพราะปกติตอนกลางคืนหลวงลุงท่านจะนอนปิดไฟตลอด นอกจากจะมีเหตุฉุกเฉินอะไรเท่านั้นท่าถึงจะเปิดไฟแล้วกดออดเรียกคนให้ไปหาท่าน

และแล้ว… สายตาเจ้ากรรมนั่นมันดันไม่อยู่สุข กะว่าจะชะโงกไปมองกุฏิหลวงลุง แต่หัวเด็ดตีนขาดก็จะไม่เหลือบไปยังชิงช้าอันเจ้ามีที่อยู่แน่นอน  แต่ก็นั่นล่ะ โลกนี้เขาว่ายิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ไอ้ลูกกะตาอยู่ไม่สุขดันเหลือบไปมองตรงชิงช้าอีกล่ะ แล้วก็ฟอร์มเดิม…. จ๊ะเอ๋คุณผีคุงพอดิบพอดี

ณ. ชิงช้าในสนามบ้านเรา… หึ หึ หึ หึ หึ ยังมีพี่สาวหัวขาดเจ้าเดิมนั่งประจำอยู่ที่เดิมเลยขอรับ แต่คราวนี้มีเพิ่มอ็อปชั่น ชิงช้าแกว่งไกวเล็กน้อย

มันฮะแหม… เห็นอย่างนั้นแล้วเด็กที่ไหนจะมามีเวลาไปสนใจเรื่องไฟสว่างที่กุฏิหลวงลุงกันเล่า!  ถึงเป็นเราก็เผ่นเป็นเหมือนกันนะเฟ้ย!!  แล้วก็นั่นแหล่ะ รีบเผ่นก่อนแหงอยู่แล้น!!  รีบดิ่งตรงเข้าห้องนอนเลย  แต่ที่ไหนได้พอตื่นเช้ามา…

 

พอตื่นมาก็ได้เรื่องเลยคับทั่น คุณม่ามี๊รีบเล่าให้ฟังก่อนเลย (มารดาของเราเป็นเจ้ากรมข่าวลือ ผู้สื่อข่าวประจำครอบครัว) ว่าเงินของหลวงลุงที่ท่านใส่ไว้ในอังสะหายไป รู้สึกว่าน่าจะประมาณ 300 กว่าบาทได้ <<< สรุป!! เมื่อคืนมีโจรขึ้นกุฏิหลวงลุง กริ๊ดดดดด!!!

พอเป็นอย่างนั้นก็เลยเล่าให้คุณม่ามี๊ฟังเรื่องที่เราตื่นขึ้นมากลางดึก ก็เดาๆ เอาอ่ะนะตอนที่โจรขึ้นกุฏิคงจะเป็นตอนที่เราเห็นไฟเปิดสว่างอยู่แน่ๆ เลย <<แล้วเลยสงสัยว่าสงสัยพี่สาวหัวขาดเขาจะฟ้องเราให้รู้นั่นแหล่ะว่ามีโจรขึ้นกุฏิพระ (ก็ดันฟ้องผิดคน ตูซื่อบื้อจะตาย จะไปรู้อะไรกับเค้าเล่า!)

ซึ่งก็ไม่รู้เป็นไงมาไงล่ะนะ สืบไปสืบมาเขามารู้กันที่หลังว่าคนขับรถนั่นแหล่ะเป็นคนขโมยไป แต่หลวงลุงท่านก็ไม่ได้ว่าอะไรนะคะ ก็เป็นพระนี่น่า ก็เลยใจดี กรวดน้ำให้ไป
แต่อีกนั่นแหล่ะ… ไม่รู้ว่าทำไม ต่อมาเพราะว่าคนขับรถคนนี้สุดท้ายก็ต้องลาออกไปซะงั้นเลย  ไม่ได้มีใครเชิญออกนะคะ ออกไปเองจริงๆ บอกว่าอยู่ที่นี่ไม่ได้ ไม่รู้ว่าเพราะอะไรสิ (เพราะมันขโมยของไง นิสัยไม่ดีอ่ะ) แต่เบื้องลึกเบื้องหลังจะไปถามพี่สาวหัวขาดเอาตอนนี้… ก็ไม่รู้ว่าเธอหายไปไหนแล้วล่ะ เพราะว่าไม่เจอเธอเลย รู้สึกตั้งแต่ช่วงที่เราขึ้นชั้น ม.ปลาย อยู่ดีๆ พี่สาวคนนี้เธอก็หายไปเฉยเลย (หายไปล่ะดีแล้ว ไม่งั้นบ้านตูมานนนจาหลอนนนน!!) สงสัยคงจะไปเกิดแล้วล่ะมั้ง (เดาเอานะ) ก็อนุโมทนากับพี่สาวหัวขาดด้วยก็แล้วกันนะคับพ้ม!!


ที่มา
http://ghost.renrengang.com/ghost76-

211
ขโมยของพระกับผู้หญิงหัวขาด

หลวงลุงที่เล่าถึงนี้ท่านคือ ‘หลวงปู่ศุข’ คับ…. ง่า…. แต่ไม่ใช่หลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่านะ <<< ถ้าวัดปากคลองฯ ท่านเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อที่เรานับถืออยู่ รู้จักเหมือนกัน แต่ไม่ใช่หลวงปู่ศุขที่กำลังกล่าวถึง (เรื่องของเรื่องคือชื่อเหมือนกันไง)

หลวงปู่ศุขหรือที่เราเรียกว่าหลวงลุง  ปัจจุบันยามนี้ท่านมรณะภาพไปนานมากแล้ว  ตอนยังมีชีวิตอยู่นั้นท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดเจริญวราราม (วัดน้อยคลองด่าน) และเรียกได้ว่าเป็นเกจิอาจารย์ที่มีวิชชา มีอภิญญาติดตัว มีญาณมองเห็นภูต ผี วิญญาณ เทพ เทวดา แถมทอล์คกิ้งเซฮัลโหลกันได้สบายๆ (สงสัยเราจะได้รับสืบทอด DNA ส่วนนี้มาอ่ะนะ) นอกจากจะมองเห็นพูดคุยกับสปีชี่ย์ต่างมิติ (ก็คุณผีนั่นแหล่ะ) ได้แล้ว ท่านยังรักษาโรคให้ป่วยได้ด้วย  เก่งแค่ไหนนั้นก็ขนาดรักษาคนเป็นมะเร็งหายได้นั่นแหล่ะ

วิธีการรักษาของหลวงลุงท่านจะใช้วิธีคุยกับเจ้ากรรมนายเวร ขอนุญาตกันก่อนว่าเขาจะยอมให้รักษาหรือไม่ จะยอมอโหสิกรรมให้คนป่วยได้ไหม ถ้ายอมเขาจะเอาอะไรบ้าง บางทีก็ต้องทำพิธีแก้กรรมกันก่อนถึงจะรักษาได้ ก็แล้วแต่ไปเคสไป<<<เก่งกว่าเรามากๆ เพราะข้าพเจ้ามีปัญญาแค่คุยกับเจ้ากรรมนายเวรเฉยๆ

ว่าแล้วก็นึกถึงได้อีกเรื่่องของหลวงลุง เป็นเรื่องก่อนที่เราจะเกิด (สมัยคุณป๋ายังหนุ่ม) คุณป๋าเล่าให้ฟังว่าไอ้คนบ้านข้างๆ มันลื่นล้มหรืออะไรยังไงเนี่ยแหล่ะ  ก็ไปนอนรพ.  หมอบอกว่าป่วยชิวๆ รักษาได้ ไม่ตายยาก  ตอนนั้นหลวงลุงยังไม่ได้บวช ไม่ได้รู้เรื่องอะไรกับเขาเลยนะ ท่านนั่งเล่นอยู่ตรงท่าน้ำ คุณป๋าไปเรียก อยู่ดีๆ หลวงลุงก็บอกว่า

“ไอ้…(ชื่อคนข้างบ้าน)… มันตายคืนนี้แหล่ะ” เสร็จแล้วก็เดินกลับบ้าน คุณป๋าอย่างงงๆ เหวอๆ เลยว่าหลวงลุงรู้ได้ยังไงหว่าว่าเจานั้นอยู่ รพ. <<< แล้วก็นั่นแหล่ะ ไปแช่งเค้า คนนั้นเลยตายเลยในคืนนั้นนั่นแหล่ะ

ทีนี้ตอนที่หลวงลุงท่านมาอยู่บ้านเรา เป็นประมาณช่วงที่เรนอยู่ ป.3 หรือ ป.5 ได้ ความทรงจำไม่ค่อยเที่ยงตรงเท่าไหร่(<<ออกแนวเที่ยงบ่ายเป็นส่วนใหญ่) แต่คิดว่าน่าจะ ป.3 มากกว่า (ถ้าจำไม่ผิดนะ) คือช่วงนั้นหลวงลุงท่านอาพาธ ต้องเข้ามารักษาตัวในกรุงเทพฯ คุณป้าท่านก็เลยรับหลวงลุงเข้ามาให้มาอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน แล้วก็เลยสร้างบ้านหลักเล็กๆ อีกหลังให้หลวงลุงท่านอยู่โดยเฉพาะ

บ้านหลังนั้นตอนที่สร้างจะไปติดกับต้นมะม่วงต้นใหญ่อยู่หนึ่งต้น (ที่บ้านโรงเรียนตอนนั้นมีต้นมะม่วงเยอะมาก  คุณปู่ปลูกเอาไว้เกือบครบทุกสายพันธุ์มะม่วงเลย<<ปัจจุบันโดนคุณป้าตัดออกไปเกือบหมด วันที่ตัดตรงมะม่วง<<ทั้งที่เราห้ามแล้วนะ เพราะแต่ละต้นมีคนคุ้มครองอยู่ แล้ววันที่ตัดนั่นแหล่ะ หลังคาห้องน้ำำถล่ม แถมคุณป้ายังลื่นล้ม เจ็บรอบเอวผ่ากลางลำตัวเลย<<กรรมดีแท้ ห้ามแล้วแต้ๆ เลย เฮ้อ—) ตอนสร้างบ้านตอนนั้นคุณป้าก็จะตัดต้นมะม่วงต้นนี้ออกไปทีแล้ว แต่หลวงลุงท่านไม่ยอม บอกให้สร้างเว้นๆ ไปเพราะต้นมะม่วงมีเทวดาคุ้มครองอยู่ ดังนั้นบ้านเล็กๆ ที่สร้างขึ้นมาก็เลยมีรูให้ต้นมะม่วงอยู่ด้วย 1 รู

ช่วงนั้นหลังจากที่หลวงลุงท่านมรณะภาพไปแล้วบ้านหลังเล็กนี้เลยเกิดอาการน้ำท่วมยามฝนตก ก็สืบเนื่องมาจากรูที่ต้นมะม่วงนี้แหล่ะ แต่น่าแปลก เพราะตอนที่หลวงลุงท่านยังมีชีวิตและพักอยู่ที่นี่กลับไม่มีฝนรั่วลงมาเลย

บ้านหลังเล็กพอสร้างเสร็จหลวงลุงท่านก็ทำพิธี ให้บ้านหลังนั้นเป็นเขตวัดเสีย พวกเรา (คือเรนและพวกญาติๆ) ก็เลยเรียกบ้านเล็กหลังนั้นว่า ‘ กุฏิ ’

หลังจากกุฏิสร้างเสร็จก็เป็นเรื่องของการย้ายศาลพระภูมิ  (จุดเริ่มของการย้่ายศาลแต่ดันลืมย้ายบริวารไปด้วยไง) ศาลพระภูมินี่ทีแรกอยู่ส่วนหน้าบ้านค่ะ แต่พอหลวงลุงท่านมาสงสัยพระภูมิท่านจะเฮฮา (พระภูมิบ้านโรงเรียนท่านเฮอาปาร์ตี้ดีมากเลย) อยากมีเพื่อนคุย ท่านก็เลยขอย้ายมาอยู่หน้ากุฏิหลวงลุง (ท่านบอกผ่านมากับหลวงลุง<<คนเอ๊ย! พระที่ฟังท่านพูดรู้เรื่องอ่ะ) พอย้ายศาลมาที่ดินตรงศาลเดิมก็ว่างเป็นหลุม เลยเอาต้นพลับพลึงมาปลูกไว้ (ก็คือเรื่องผีมันอยู่ในต้นพลับพลึงค่ะ)

ทีนี้ก็ช่วงนั้นนั่นแหล่ะ ช่วงที่หลวงลุงท่านมาพักรักษาตัวอยู่ที่กุฏิ ตอนนั้นที่บ้านมีคนขับรถมาอยู่ด้วยคนหนึ่ง เป็นคนขับรถโรงเรียน (เหตุที่เรื่องผีในบ้านเค้าโดนจัดอยู่ในหมวด เรื่องผีในโรงเรียน ก็เพราะว่าบ้านเค้าเป็นโรงเรียนนี่แหล่ะค่ะ) คนขับรถก็มีลูกด้วยอีกหนึ่งคน  ปกติแล้วเรื่องดูแลหลวงลุงท่านตอนกลางวันๆ คุณม่ามี๊เราท่านจะเป็นผู้ดูแลรับใช้ใกล้ชิด ขาดเหลืออะไรก็จะจัดหาให้ แต่ตอนกลางคืนไม่ได้ ก็หลวงลุงท่านเป็นพระอ่ะ จะให้ผู้หญิงไปค้างด้วยได้ยังไง ตอนกลางคืนท่านก็เลยต้องอยู่รูปเดียวไปตามระเบียบ

และแล้ว… (เออวุ้ย!… ร่ายมาตั้งยาวเพิ่งจะเริ่มเข้าเรื่อง) คืนวันหนึ่งที่ไม่มีพระอาทิตย์ขึ้น (ก็แน่ล่ะ ประเทศไทยนะ พระอาทิตย์จะขึ้นตอนกลางคืนได้ยังไง เดี๋ยวปั๊ด!!) สรุปคือในคืนหนึ่งอยู่ๆ ก็มีเหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้น…

 

ที่มา
http://ghost.renrengang.com/ghost76-

212
ตอน คุณชุดแดง [2]

…
ในวินาทีที่เปลวเพลิงลุกลามจนยากจะควบคุมนั้น เด็ก ม.5 คิดว่าตนเองคงจะถูกไฟคลอกตายแล้วแน่ๆ หากทันใดคุณชุดแดงก็ปรากฏกายขึ้น กลุ่มเด็ก ม.5 ได้แต่ตกตะลึง และในวินาทีนั้นเอง ไฟแดงฉานที่ลุกท่วมทั่วห้องก็ดับลงสนิท สี่คนนั้น รอดตายมาได้เพราะปาฏิหาริย์อันศักดิ์สิทธิ์ของคุณชุดแดง…!

ไม่เพียงแค่โบว์ แต่เด็กหอหน้าใหม่คนอื่นๆ ต่างก็ได้ยินเรื่องราวของคุณชุดแดงตั้งแต่วันแรก
ที่เข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในหอ ทว่า ในบรรดาเด็กใหม่เหล่านี้ ไม่มีใครเคยเห็น ‘คุณชุดแดง’

ว่าไป… แม้คุณชุดแดงจะคอยดูแลช่วยเหลือหอพักแห่งนี้ แต่เหล่าเด็กหอก็ไม่มีใคร
อยากจะมองเห็นเธอนักหรอก ทว่า

ประธานหอบอกว่าคุณชุดแดงนั่งอยู่ที่หน้าห้องน้ำของทุกชั้น…?

จะเป็นไปได้อย่างไร คุณชุดแดงความจริงแล้วมีกี่คนกันแน่ถึงสามารถไปนั่งอยู่หน้าห้องน้ำข
องทุกชั้นได้ตลอดเวลา … ไม่ใช่สิ! คุณชุดแดงจะนั่งอยู่ที่หน้าห้องน้ำได้อย่างไร ในเมื่อตั้งแต่ย่างเท้าเข้ามาในหอพักแห่งนี้ หน้าใหม่ ม.4 แต่ละคนใช้บริการห้องน้ำ เดินเข้าเดินออกห้องน้ำตั้งไม่รู้กี่รอบ แต่ไม่มีใครเคยเห็นคุณชุดแดงที่ว่านั้นเลยสักคน หรือว่า…

คุณชุดแดงอาจจะนั่งอยู่ในที่ของเธอตลอดเวลา หากแต่อยู่ในคนละมิติ คนละภพภูมิกับโลกมนุษย์ อยู่ในภพภูมิที่ตาเนื้อของมนุษย์ไม่สามารถมองเห็นเธอได้…?

“ไม่ต้องฮือฮาทำท่ากลัวขนาดนั้นหรอกน่า”
ประธานหอรินรวีกล่าวพร้อมตบมือเปาะแปะสองสามครั้ง ปรามเสียงจ้อกแจ้กของเหล่าน้อง ม.4 ให้กลับเงียบลง

“แค่อยากจะบอกว่า หรือเวลาขึ้นลงหอ… ห้องน้ำจะอยู่ตรงบันไดของทุกชั้นใช่ไหม พวกเราก็ช่วยให้ความสนใจกับเธอบ้างแล้วกัน คุณชุดแดงเธออยู่ที่นี่มานานก่อนพวกเราอีก เวลามีเรื่องเดือดร้อนเกิดอุบัติเหตุอะไรก็ให้นึกถึงเธอเอาไว้บ้าง เธอจะได้มาช่วยเหลือได้”

เด็กหอ ม. 4 กรูกันออกมาจากห้งอประชุมภายหลังพิธีปฐมนิเทศน์เสร็จสิ้นลง โบว์เดินจับมือน้อยตั้งใจจะกลับไปยังห้องพักของตนเองด้วยท่าทางหวาดผวา

คุณชุดแดง…

หากเป็นไปตามที่รินรวีเล่า เธอคือบางสิ่งที่อาศัยอยู่ที่นี่มากว่าเด็กหอหน้าใหม่อย่างโบวฺ์และน้อย บางทีเธอคงเป็นเจ้าที่ที่คอยพิทักษ์ปกป้องผู้คนในหอ ทว่า สำหรับโบว์และน้อยแล้ว คุณชุดแดง จะเป็นผี เทวดา หรือเจ้าที่ ก็ไม่ได้ลดความหวาดกลัวที่พวกเธอมีต่อคุณชุดแดงลงไปสักเท่าไหร่เลย เพราะอย่างไรก็ตาม สำหรับโบว์แล้ว จิตวิญญาณที่ไม่สามารถมองเห็นได้ตัวตาเนื้อของมนุษย์ สิ่งเหล่านั้นก็มีค่าเท่ากับผีทั้งหมดทั้งสิ้นนั่นแหล่ะ!

“ทำไงดีล่ะโบว์ เราปวดฉี่อ้ะ” น้อยกระซิบบอกเพื่อนเสียงสั่น
“เราก็เหมือนกันล่ะน่า” โบว์ตอบ
“แง๊!! เค้าอยากเข้าห้องน้ำนี่” น้อยเดินบิดตัวไปมาทำท่าสุดอั้นประกอบคำพูด
“ความจริงแค่จะกลับห้องเราก็ต้องเดินผ่านห้องน้ำตรงหัวบันไดแล้วนา”
“นั่นดิ” น้อยพยักหน้าเห็นด้วย

โบว์มองท่าทางบิดไปมาของเพื่อนแล้วกลับเหลือบสายตาตรงไปยังสุดทางเดิน สุดทางที่สายตาของเธอจ้องมองอยู่นั้นคือบันไดทางขึ้นกลับไปยังห้องพัก
และใต้บันไดคอห้องน้ำ… สถานที่ที่คุณชุดแดงนั่งอยู่ตามคำบอแกเล่าของประธานหอ

“เฮ้ย แต่คนมุงกันเยอะเลยนะ” น้อยบอกกับเพื่อน

“นั่นสิ ถ้าเราเนียนๆ เข้าห้องน้ำกันตอนนี้คุณชุดแดงคงไม่ออกมาให้เห็นหรอก
ก็คนเยอะขนาดนั้น” โบว์พยักหน้าอย่างตัดสินใจ

คิดได้ดังนั้น ม.4 ทั้งสองคนก็รีบจ้ำเดินไปทั้งใต้บันไดสุดทางเดิน หลังนิเทศน์เด็กหอดูหน้าห้องน้ำจะมีคนมามุงเยอะเป็นพิเศษ หรือจะมารอดูคุณชุดแดง? ยัยพวกนี้ท่าจะบ้า มารุมซะขนาดนี้ผีที่ไหนจะกล้าโผล่มาให้เห็น ต่อให้เป็นคุณชุดแดงก็เถอะ

“ดูอะไรกันอยู่เนี่ย”
โบว์ถามเหล่า ม.4 มุงด้วยน้ำเสียงกึ่งรำคาญ ถึงจะดีว่ามีเพื่อนเยอะทำให้เธอไม่ต้องหวาด
กับคุณชุดแดงก็เถอะ แต่มุงกันซะจนโบว์กับน้อยแทรกกายเข้าไปในห้องน้ำลำบาก
ขนาดนนี้เป็นใครก็ต้องมีหงุดหงิดกันบ้างล่ะ

“นั่นสิ มุงดูอะไรน่ะ” น้อยถามขึ้นถาม

“คุณชุดแดง” หรือในกลุ่ม ม.4 มุงตอบ โบว์และน้อยหันมองหน้าสบสายตากันทันควัน

“ว่าไงนะ?” โบว์เป็นฝ่ายตั้งถามด้วยน้ำเสียไม่แน่ใจในสิ่งที่ตนได้ยินเท่าไรนัก

“บอกว่าดูคุณชุดแดง” คนตอบย้ำคำตอบอีกครั้ง

“ห๊ะ!?” น้อยอุทานเกือบจะขึ้นเสียงดัง

“มองเห็นกันด้วยเหรอ” โบว์ถามทั้งที่เริ่มกลัวจนแทบจะสลบ

“ใครไม่เห็นได้ก็ตาบอดแล้ว” คนตอบว่าพร้อมชี้นิ้วตรงไปยังเบื้องหน้า

โบว์และน้อยหันมองสบสายต่อกันอีกครั้ง คุณชุดแดง… ทั้งที่ทั้งสองคนไม่อยากจะเห็น ไม่อยากจะเจอเลยแม่แต่น้อย ทว่า… ราวกับมีบางสิ่งบางอย่างมาดลใจให้เด็กสาวทั้งสองต้องค่อยๆ หันมองตามไปยังทิศทางที่ปลายนิ้วของเพื่อน ม.4 คนนั้นชี้ตรงไป
ท่ามกลางความหวาดกลัว… ท่ามกลางความหวาดวิตก… สิ่งที่เด็กสาวทั้งสองพบเมื่อสายตาจับจ้องไปนั้น…
หน้าห้องน้ำตามคำบอกเล่าของประธานหอ ปรากฏเด่นชัดอยู่บนกำแพงสีขาวครีม…
.

.
.
.
.

.
.
.

.
.

.
.
.
.
.

.
.
.

.

คือ ตู้อุปกรณ์และถังดับเพลิงสีแดง ขนาดใหญ่!!

ที่มา
http://ghost.renrengang.com/ghost71

213
ตอน คุณชุดแดง

…
วันนี้เป็นวันเปิดเทอมวันแรกของชีวิตนักเรียน ม.ปลาย ที่โบว์เฝ้ารอมานาน โรงเรียนใหม่ของโบว์กว้างใหญ่จนแทบไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ ณ ใจกลางกรุงเทพมหานคร โบว์รู้จากหนังสือนิเทศน์ของโรงเรียนว่า โรงเรียน จปญ.(ชื่อเต็มคือโรงเรียนจนปัญญา) แห่งนี้เป็นโรงเรียนเก่าแก่ที่ก่อตั้งมานานนับแต่สมัยรัชกาลที่ 5 นักเรียนในโรงเรียนส่วนหนึ่งเป็นนักเรียนไป-กลับที่มีผู้ปกครองมารับ-ส่ง ส่วนหนึ่งเป็นนักเรียนบ้านไกลและนักเรียนจากต่างจังหวัดที่อาศัยอยู่ในหอพักของโรงเรียน
และโบว์…  คือหนึ่งในนักเรียนทุนจากต่างจังหวัดที่ต้องพักอยู่กับคนมากหน้าหลายตา
ในหอพักของโรงเรียน

ความมากหน้าหลายตาของผู้คนหลากหลายในหอพักแห่งนี้ไม่ใช่สิ่งที่โบว์กังวลเลยแม้แต่น้อย เพราะโบว์มั่นใจว่าตนเองเป็นคนที่มนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนอื่นได้ง่าย ดังนั้น สิ่งที่โบว์กำลังหวาดกังวลเป็นที่สุดภายในบ้านหลังใหม่หรือหอพักนักเรียนหญิงที่เธอจะต้อง
ใช้ชีวิตอยู่ในที่แห่งนี้ต่อไปเป็นเวลาอีก 3 ปีนั้นก็คือ  ประวัติศาสตร์อันยาวนานของตึกหอพัก
ที่ก่อสร้างมานานพร้อมๆ กับก่อตั้งโรงเรียนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 นั้นต่างหาก

“โรงเรียนเราเป็นโรงเรียนเก่าแก่ มันก็เป็นธรรมดาที่จะต้องมีเจ้าที่เจ้าทางอาศัยอยู่ เป็นธรรมดาที่จะมีผู้อาศัยที่อยู่ที่นี่มาก่อนพวกเรานานนัก”
รินรวี ประธานหอพัก นักเรียนชั้นมัธยม 6 กล่าวกับรุ่นน้อง ม.4 สมาชิกใหม่ของหอพัก
ในพิธีปฐมนิเทศน์เด็กหอ

“พี่ท่านจะพูดไปทำไมเนี่ย แค่เห็นสภาพตึกหอเก่ามืดขนาดนี้ก็น่ากลัวจะแย่แล้ว”
เสียงค่อนเล็กเสียงหนึ่งดังขึ้นข้างที่นั่งของโบว์ เด็กสาวหันไปมอง ปรากฏคือน้อย เพื่อนเด็กหอที่เป็นรูมเมทของเธอนั่นเอง

“แม่เราก็บอกว่าตึกเก่าๆ มักจะมีอาถรรพณ์”
โบว์กระซิบตอบเพื่อน หากเพียงแค่นั้นก็กลับเงียบลง เพราะเหลือบไปเห็นสายตาอาฆาตของประธานหอพักที่จ้องเขม็งมายังพวกเธอ

“ห้องน้ำในหอเราเป็นห้องน้ำรวม” รินรวีกล่าวต่อเมื่อรุ่นน้องทั้งสองพากันเงียบเสียงซุบซิบลง

“ที่หน้าห้องน้ำของทุกชั้นจะมี คุณชุดแดง นั่งอยู่”

เสียงฮืออากลับดังขึ้นเมื่อประธานหอกล่าวถึงชื่อ ‘คุณชุดแดง’ นักเรียนใหม่ชั้น ม.4 แต่ละคนต่างหันมองหน้าสบสายตาต่อกันด้วยความหวาดหวั่น
คุณชุดแดง… จินตนาการภาพตามแล้วคนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าต้องคือผู้หญิงใส่ชุดสีแดงเป็นแน่ ทว่า แม้วันนี้จะเป็นวันเปิดเทอมวันแรก แต่ไม่ใช่วันเปิดหอวันแรก สาวๆ เด็กหอพวกนี้จากบ้านมาอยู่หอพักอย่างต่ำๆ ก็ก่อนเปิดเทอม 3 วัน หรือบางคนมาพักที่หอก่อนล่วงหน้าเป็นอาทิตย์ก็ยังมี

นับแต่วันแรกที่มาถึงหอ น้อง ม.4 แต่ละคนต่างได้ยินคำร่ำลือถึง คุณชุดแดง จากพวกรุ่นพี่ที่อยู่หอมาก่อน  น้อง ม.4 ต่างคาดเดา… คุณชุดแดง…น่าจะเป็นเจ้าที่เจ้าทางตนหนึ่งของหอพักแห่งนี้ เพราะจากที่ได้ยินพวกรุ่นพี่เล่าให้ฟัง คราวที่มีเรื่องเดือดร้อน มีเหตุไม่ดีเกิดขึ้นภายในหอพัก คุณชุดแดงจะต้องปรากฏกายขึ้นมาทุกครั้ง

โบว์จำได้แม่นยำเชียวว่าเธอได้ยินเรื่องราวของคุณชุดแดงนี่จากรุ่นพี่คนหนึ่งตั้งแต่วันแรกที่มาถึงหอ รุ่นพี่คนนั้นเล่าถึงความศักดิ์สิทธิ์ของคุณชุดแดงให้โบว์ฟังว่า เมื่อตอนก่อนปิดเทอมใหญ่ มีอยู่วันหนึ่งที่ชั้น 3 ของหอพัก เด็ก ม.5 สี่คนที่เพิ่งจะเสร็จจากการสอบวันสุดท้ายต่างพากันมาจับกลุ่มเล่นผีถ้วยแก้ว ม.5 พวกนั้นคงลองดีกับประวัติของตึกหอพักอันเก่าแก่แห่งนี้ถึงได้กล้ามาเล่นผีถ้วยแก้วในตึกที่อายุมากกว่าร้อยปี แน่นอนว่า… ตึกหอพักแห่งนี้มีดีให้ลอง!

รุ่นพี่คนนั้นเล่าให้โบว์ฟังว่า ไม่รู้เป็นเพราะอาถรรพณ์ของเจ้าที่ดลบัลดาลให้เป็นไปหรืออย่างไร บางที เจ้าที่ของตึกคงอยากสั่งสอนกลุ่มเด็กลองของพวกนั้นก็ได้ เพราะในกลุ่มเด็ก ม.5 สี่คนที่เล่นผีถ้วยแก้วอยู่นั้น ไม่รู้ว่าด้วยเหตุใด แต่อยู่ๆ คนหนึ่งก็เกิดพลาดเอามือไปปัดโดนเทียนที่จุดเอาไว้ให้ล้มลง ไฟจากเทียนลุกติดกระดาษแผ่นผีถ้วยแก้ว ลามไปโดนผ้าม่านใกล้ๆ แล้วเกิดไฟลุกไปทั่วห้อง ทันใดนั้นเอง…!

..

ที่มา
http://ghost.renrengang.com/ghost-

214
คุณยายนักเดิน

สวัสดีครับ ผมนายVaga (วกะ)ครับชื่อนี้เป็นามแฝงครับ  มีเรื่องหนึ่งที่จะเล่าให้ฟัง เป็นเรื่องของคุณยายนักเดินคนหนึ่งครับ

เรื่องนี้มันเกิดขึ้นตอนนั้นเด็กมาก แต่จำเหตุการณ์นี้ได้แม่นมาก เมื่อก่อนครอบครัวของผม อยู่บ้านพักข้าราชการแห่งหนึ่งซึ่งบ้านหลังนั้น เป็นบ้านไม้ 2 ชั้นและบ้านเป็นลักษณะหลังติดกันเป็นแถวยาวๆ

เหตุการณ์นี้มันเกิดขึ้นในทุกคืน หลังจากที่ปิดไฟทั้งบ้านเพื่อเข้านอน จะมีเสียงเดินขึ้นเดินลงบันไดบ้านเป็นประจำ แรกๆก็นึกว่าข้างบ้านเค้าเดินขึ้นบันไดเพราะบันไดบ้านจะอยู่ติดกันเพียงแต่มีพนังบ้านกั้น

แต่ลองคิดดูซิครับว่าใครที่ไหนมันจะเดินขึ้นเดินลงบันไดได้ทั้งคืนจนเช้า

ตอนเด็กๆ ผมเป็นคนอยากรู้มาก วันหนึ่งก็เลยขอแม่นอนข้างล่างหน้าทีวีซึ่งเตียงนอนจะอยู่ติดกับบันไดเกิดเหตุเลย แต่แม่จะไล่ขึ้นไปนอนข้างบนให้ได้ไม่ทราบเพราะอะไร แต่ก็ต้องยอมความดื้อของผมให้นอนอยู่ข้างล่าง แม่ก็เลยกล่อมให้ผมหลับ แล้วก็ปิดไฟขึ้นไปข้างบน

สักพักเสียงเดินขึ้นลงบันไดมันก็เกิดขึ้นอีกจนผมต้องตื่นมามองหาต้นเสียง ผมมองไปที่บันไดเพราะเสียงมันมาจากตรงนั้น ผมเห็นเพียงแค่เงาของคนเดินขึ้นไปข้างบนและเดินลงมาข้างล่าง
ผมเห็นเพียงแต่เงาคนเป็นลักษณะคนตัวเล็กๆ และผมก็ไม่ทราบหลับไปครั้งไหนอีกครั้ง

เช้ามาก็เล่าให้แม่ฟัง แม่ก็บอกว่าฝันไป แต่ก็ยืนยันว่าเห็นจริงๆ แต่ก็ไม่มีใครเชื่อ ผมอยู่บ้านหลังนั้นไม่กี่ปีก็ย้ายมาอยู่อีกหลังหนึ่ง

เสียงเดินขึ้นเดินลงบันไดก็ยังแคลงใจผมอยู่ รู้แต่ว่าคนเดินขึ้นเดินลงเค้ากลายเป็นสมาชิกคนหนึ่งในบ้านไปแล้ว
จนกระทั้งผมย้ายบ้านครั้งที่ 3 ออกมาอยู่บ้านหลังปัจจุบัน ผมก็ถามแม่ถึงเรื่องนี้อีก แม่คงคิดว่าผมโตแล้วจึงเล่าให้ฟัง

แม่เป็นอีกคนหนึ่งในบ้านที่เห็นเหมือนผมที่ท่านว่าผมฝันเพราะกลัวผมจะกลัว ท่านบอกว่าคนที่เดินขึ้นลงบันไดเป็นคุณยายคนหนึ่งซึ่งอยู่ที่นั้นมานานแล้วก่อนที่ครอบครัวเราจะย้ายเข้าไป คุณยายแกจะเดินบันไดแบบนี้ทุกคืน และที่ๆ แกอยู่เป็นใต้หิ้งพระซึ่งอยู่ชั้นบนตรงหัวนอนพอดี

คุณแม่ก็ถามว่าไปเห็นยายแกได้ไง ผมก็ว่าไม่รู้เหมือนกันแต่มันเห็น

ครั้งหนึ่งน้าเขยผมก็มานอนที่บ้านหลังนั้นก็เจอยายแกนั่งอยู่ใต้หิ้งพระ แต่น้าผมก็ไม่กลัวเท่าไหร่ก็มาบอกแม่ แม่ก็ว่าอย่าไปกวนแก แม่ยังว่าก็ที่จะย้ายออกมาก็ชวนแกมาอยู่ที่บ้านหลังใหม่ด้วย
แต่แกบอกว่าแกจะอยู่ที่นี้แหละไม่ไปไหน ที่อยู่ใหม่เค้าก็มีคนอยู่ อยู่แล้วจะไม่ไปอยู่หรอก ขอให้โชคดีก็แล้วกัน ผมจึงถึงบางอ้อว่า ยายแกเป็นเจ้าที่ๆ อยู่บ้านหลังนั้นเอง

แต่ยายแกเดินเก่งมากเลยครับ มีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับผมและครอบครัวอีกเยอะแล้วจะเล่าให้ฟังอีกครับ ขอบคุณครับ

ขอขอบคุณ…
คุณ Vaga (วกะ)

ขอบคุณที่มา
http://ghost.renrengang.com/

215
จบแล้วครับ.........

หากไม่ต้องการอ่าน สามารถฟังได้ที่นี่
http://www.fungdham.com/download/read/prasangkharad/howtogetboon.wma

216
วิธีสร้างบุญบารมี  หน้าที่14
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙

(๔) มีจิตใคร่ครวญถึงธาตุกรรมฐาน คือนอกจากจะมีจิตใคร่ครวญถึงความเป็นจริงของร่างกายดังกล่าวมาในข้อ (๓) แล้ว พึงพิจารณาแยกให้เห็นความเป็นจริงที่ว่า อันที่จริงร่างกายของเราเองก็ดี ของผู้อื่นก็ดี ไม่ใช่ตัวเราของเราแต่อย่างใดเลย เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ มาประชุม เกาะกุมรวมกันเพียงชั่วคราวเท่านั้นเอง ได้แก่ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ แล้วสิ่งเหล่านี้ก็ทนอยู่ในสภาพที่รวมกันเช่นนั้นไม่ได้ นานไปก็เก่าแก่แล้วแตกสลายตายไป ธาตุน้ำก็กลับไปสู่ความเป็นน้ำ ธาตุดินก็กลับไปสู่ความเป็นดิน ธาตุลมก็กลับไปสู่ความเป็นลม และธาตุไฟก็กลับไปสู่ความเป็นไฟตามเดิม เนื้อตัวร่างกายของเราเมื่อได้แยกส่วนออกมาดูแล้ว ก็มิได้มีตัวตนที่ตรงไหนแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงเนื้อ กระดูก ตับ ไต ไส้ กระเพาะ เส้น เอ็น หนัง พังผืด เนื้อเยื่อ มันสมอง ไขข้อ ฯลฯ มาเกาะกุมกัน ตัวตนของเราไม่มี ครั้นเมื่อแยกแยะอวัยวะย่อยๆดังกล่าวออกไปจนถึงหน่วยย่อยๆของชีวิต คือเซลล์เล็กๆ ที่มาเกาะกุมรวมกัน ก็จะเห็นว่าเซลล์เองก็เนื่องมาจากแร่ธาตุทั้งหลายซึ่งไม่มีชีวิตจิตใจ มารวมกันเป็นกลุ่มก้อนเล็กๆ ไม่มีตัวตนของเราแต่อย่างใด แม้แร่ธาตุต่างๆนั้น ก็เนื่องมาจากพลังงานโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่านั้น หาใช่ตัวตนของเราแต่อย่างใดไม่ ที่หลงกันอยู่ว่า ตัวเราของเราหาที่ไหนมิได้เลย ทุกสรรพสิ่งที่ดิ้นรนแสวงหา สะสมกันเข้าไว้ ในที่สุดก็ต้องทิ้ง ต้องจาก ซึ่งป่วยการที่จะกล่าวไปถึงสมบัติที่จะนำเอาติดตัวไปด้วย แม้แต่เนื้อตัว ร่างกายที่ว่าเป็นของเรา ก็ยังเอาติดตัวไปไม่ได้ และก็เป็นความจริงที่ได้เห็นและรู้กันมานานนับล้ายๆปี คนแล้วคนเล่า ท่านทั้งหลายที่ได้เคยยิ่งใหญ่ด้วยยศศักดิ์อำนาจวาสนาและทรัพย์สมบัติในอดีตกาล จนเป็นถึงมหาจักรพรรดิ มีสมบัติที่สร้างสมมาด้วยเลือดและน้ำตาของผู้อื่นจนค่อนโลก แต่แล้วในที่สุดก็ต้องทิ้งต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของท่านที่เคยยิ่งใหญ่ จนถึงกับเป็นผู้ที่ไม่อาจจะแตะต้องได้ แต่แล้วก็ต้องทอดทิ้งจมดินและทราย จนในที่สุดก็สลายไปจนหาไม่พบว่าเนื้อหนัง กระดูก ขน เล็บ ตับ ไต ไส้ กระเพาะของท่านอยู่ที่ตรงไหน คงเหลืออยู่แต่สิ่งที่เป็นดิน น้ำ ลม และไฟ ตามสภาพเดิมที่ก่อเกิดกำเนิดมาเป็นตัวของท่านเพียงชั่วคราวเท่านั้น แล้วตัวของเราท่านทั้งหลายก็เพียงเท่านี้ มิได้ยิ่งใหญ่เกินไปกว่าท่านในอดีต จะรอดพ้นจากสัจธรรมนี้ไปได้หรือ เมื่อความเป็นจริงก็เห็นๆ กันอยู่เช่นนี้แล้ว เหตุใดเราท่านทั้งหลายจึงต้องพากันดิ้นรนขวนขวายสะสมสิ่งที่ในที่สุดก็จะต้องทิ้งจะต้องจากไป ซึ่งเท่ากันเป็นการทำลายวันเวลาอันมีค่าของพวกเราซึ่งก็คงมีไม่เกินคนละ ๑๐๐ ปี ให้ต้องโมฆะเสียเปล่าไปโดยหาสาระประโยชน์อันใดมิได้ เหตุใดไม่เร่งขวนขวายสร้างสมบุญบารมีที่เป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐ ซึ่งจะติดตามตัวไปได้ในชาติหน้า แม้หากสิ่งเหล่านี้จะไม่มีจริง ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ อย่างเลวพวกเราก็เพียงเสมอตัว มิได้ขาดทุนแต่อย่างใด หากสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนไว้มีจริง ดังที่ปราชญ์ในอดีตกาลยอมรับ แล้วเราท่านทั้งหลายไม่สร้างสมบุญและความดีไว้ สร้างสมแต่ความชั่วและบาปกรรมตามติดตัวไป เราท่านทั้งหลายมิขาดทุนหรือ เวลาในชีวิตของเราที่ควรจะได้ใช้ให้เป็นประโยชน์กลับต้องมาโมฆะเสียเปล่า ก็สมควรที่จะได้ชื่อว่าเป็น "โมฆบุรุษ" โดยแท้.

ที่มา
http://www.fungdham.com/book/prasungkarad.html

217
วิธีสร้างบุญบารมี  หน้าที่13
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙


นอกจากสิ่งที่ขับถ่ายออกมาจะน่ารังเกียจดังกล่าวแล้ว แม้แต่สังขารร่างกายของคนเราเมื่อได้แยกแยะพิจารณาไปแล้ว ก็เห็นเป็นความเป็นจริงที่ว่า เป็นที่ประชุมรวมกันของอวัยวะชิ้นต่างๆที่เป็นตา หู จมูก ลิ้น เนื้อ ปอด ตับ ม้าม หัวใจ กระเพาะอาหาร ลำไส้ หนัง พังผืด เส้นเอ็น เส้นเลือด น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำตา น้ำปัสสาวะ ฯลฯ รวมเรียกกันว่าอาการ ๓๒ ซึ่งต่างก็ห้อยแขวนระเกะระกะยางโตงเตงอยู่ภายใน เมื่อแยกหรือควักออกมาดูทีละชิ้น จะไม่มีชิ้นใดที่เรียกกันว่าสวยงาม น่ารัก น่าพิศวาสเลย กลับเป็นของที่น่าเกลียด ไม่สวย ไม่งาม ไม่น่าดู แต่สิ่งเหล่านี้ก็รวมประกอบอยู่ภายในร่างกายของเราทุกผู้คน โดยมีหนังหุ้มห่อ ปกปิดอยู่โดยรอบ หากไม่มีผืนหนังหุ้มห่อและสามารถมองเห็นภายในได้แล้ว แม้จะเป็นร่างกายของคนที่รักสุดสวาทขาดใจ ก็คงจะต้องเบือนหน้าหนี อกสั่นขวัญหาย บางทีอาจจะต้องถึงขั้นจับไข้ไปเลย ซึ่งอาจจะต้องถึงขั้นทำพิธีปัดรังควานเรียกขวัญกันอีก หากตะถือว่าน่ารัก น่าเสน่หาอยู่ที่ผืนหรือแผ่นหนังรอบกาย ก็ลองลอกออกมาดูก็จะเห็นว่าไม่สวยงามตรงไหนแต่อย่างใด แต่ที่นิยมยกย่องรักใคร่หลงกันอยู่ ก็คือผิวหรือสีของหนังชั้นนอกสุดเท่านั้น ถ้าได้ลอกหรือขูดผิงชั้นนอกสุดออก ให้เหลือแต่หนังแท้แดงๆแล้ว แม้จะเป็นหนังสดสวยของนางงามจักรวาล ผู้คนก็คงจะต้องเบือนหน้าหนี จึงเป็นที่แน่ชัดว่า คนสวย คนงาม ก็คงสวยและงามกันแค่ผิวหนังชั้นนอกสุด รักและเสน่หากันที่ผิวหนัง ซึ่งเป็นของฉาบฉวยนอกกาย หาได้สวยงามน่ารักไปเข้าถึงตับ ปอด หัวใจ ม้าม กระเพาะ ลำไส้ น้ำเลือด น้ำเหลือง อุจจาระ ปัสสาวะ ภายในร่างกายด้วยไม่ ส่วนผู้ที่ผิวหรือสีของหนังดำด่าง ไม่สดใสน่าดู ก็พยายามทาลิปสติก แต่งหน้า ทาสี พอกแป้ง ย้อม และดึงกันเข้าไปให้เต่งตึง และออกเป็นสีสันต่างๆ แล้วก็พากันนิยมยกย่องชวนชมกันไป แท้ที่จริงแล้วก็เป็นความหลง โดยหลงรักกันที่แป้ง และสีที่พอก หลอกให้เห็นฉาบฉวยอยู่แค่ผิวภายนอกเท่านั้น เมื่อมีสติพิจารณาเห็นความเป็นจริงอยู่เช่นนี้ หากจิตมีกำลังก็จะทำให้นิวรณ์ ๕ ประการค่อยๆสงบระงับลงทีละเล็กละน้อย โดยเฉพาะจิตจะไม่เดือดร้อนกระวนกระวายแส่ว่ายไปในอารมณ์รักๆใคร่ๆ ในที่สุดจิตก็จะสงบเยือกเย็นลงจนถึงขั้นอุปจารสมาธิได้ หากสติมีกำลังพอก็อาจถึงขั้นปฐมฌานได้

กายคตานุสสติกรรมฐานนั้น ความจริงก็เป็นเพียงสมถภาวนาที่ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ถึงขั้นปฐมฌาน แต่ก็เป็นสมถภาวนาที่เจือไปด้วยวิปัสสนาภาวนา เพราะเป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผลตามสภาพเป็นจริงของสังขารธรรมหรือสภาวธรรม ซึ่งหากได้พลิกการพิจารณาอาการ ๓๒ ดังกล่าว ให้รู้แจ้งเห็นจริงว่า อาการ ๓๒ ดังกล่าวนั้นไม่มีการทรงตัว เมื่อเกิดเป็นอาการ ๓๒ ขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจจะตั้งมั่นอยู่ได้ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวเราและของเราแต่อย่างใด ร่างกายไม่ว่าของตนเองและของผู้อื่น ต่างก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ดังนี้เป็นวิปัสสนา กายคตานุสสติกรรมฐานเป็นกรรมฐานที่เมื่อได้พิจารณาไปแล้ว ก็จะเห็นความสกปรกโสโครกของร่างกายจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า ไม่น่ารัก ไม่น่าใคร่ จังเป็นกรรมฐานที่มีอำนาจทำลายราคะกิเลส และเมื่อได้รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวมากๆเข้า จิตก็จะมีกำลังและเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายทั้งของตนเองและของผู้อื่น จึงเป็นการง่ายที่ "นิพพิทาญาณ" จะเกิดขึ้น และเมื่อได้เกิดขึ้นแล้ว จนมีญาณทัสสนะเห็นแจ้งอาการพระไตรลักษณ์ว่า ร่างกายเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขาแต่อย่างใด จิตก็จะน้อมไปสู่ "สังขารุเปกขาญาณ" ซึ่งมีาอารมณ์อังวางเฉย ไม่ยินดียินร้ายในร่างกาย และความกำหนัดในรูปนามขันธ์ ๕ เรียกว่าจิตปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ ซึ่งจะนำไปสู่การละ "สักกายทิฐิ" อันเป็นการละความเห็นผิดในร่างกายนี้เสียได้ และถ้าละได้เมื่อใด ก็ใกล้ที่จะบรรลุความเป็นพระอริยเจ้าเบื้องต้นในพระพุทธศาสนา คือเป็น "พระโสดาบัน" สมจริงตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า การเจริญกรรมฐานกองนี้จะไม่ห่างจากมรรค ผล นิพพาน

ฉะนั้น กายคตานุสสติกรรมฐาน จึงเป็นกรรมฐานที่จะทำให้บรรลุพระอรหันต์ได้โดยง่าย ซึ่งในสมัยพระพุทธกาล ท่านที่บรรลุแล้วด้วยพระกรรมฐานกองนี้มีเป็นอันมาก ในสมัยที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ ได้เสด็จไปพบพราหมณ์สองสามีภรรยา ซึ่งมีบุตรที่สุดสวย ชื่อว่า "นางมาคัณฑิยา" พราหมณ์ทั้งสองชอบใจในพระพุทธองค์ จึงได้ออกปากยกนางมาคัณฑิยาให้เป็นภรรยา พระพุทธองค์ไม่ทรงรับไว้และมองเห็นนิสัยของพราหมณ์ทั้งสองที่จะได้บรรลุมรรคผล จึงได้ทรงแสดงพระธรรมให้ฟัง โดยยกเอากายคตานุสสติกรรมฐานขึ้นมาเทศน์ ซึ่งได้ตรัสตำหนิโทษแห่งความสวยงามแห่งรูปกายของนางมาคัณฑิยาว่า พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเป็นของปฏิกูล มูตรคูถ เน่าเหม็น หาความสวยงามใดๆมิได้เลย พราหมณ์ทั้งสองพิจารณาตามก็ได้ดวงตาเห็นธรรม ส่วนนางมาคัณฑิยาผูกโกรธ ต่อมาเมื่อนางได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทน กรุงโกสัมพี ก็ได้จองล้างจองผลาญพระพุทธองค์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะแรงพยาบาท อีกท่านหนึ่งก็คือนางอภิรูปนันทาซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าเขมกะศากยะ ก็จัดว่ามีรูปงามที่สุดในสมัยนั้น และพระนางทรงภาคภูมิหลงใหลในความงดงามของพระนางยิ่งนัก แต่ด้วยบุญบารมีที่ได้เคยสร้างสมอบรมมาแล้วเป็นอันมากในอดีตชาติ เป็นเหตุให้พระนางได้สดับพระธรรมของพระพุทธองค์จากพระโอษฐ์ ซึ่งได้ทรงเทศน์กายคตานุสสติกรรมฐานควบคู่ไปกับมรณัสสติกรรมฐาน แล้วทรงเนรมิตรูปกายของสาวงามที่งามยิ่งกว่าพระนางให้ปรากฏขึ้น ให้พระนางได้มองเห็น แล้วบันดาลให้รูปเนรมิตนั้นค่อยๆเจริญวัย แก่ แล้วชราโทรมๆลงจนตายไปในที่สุด แล้วก็เน่าเปื่อย สลายไปต่อหน้า พระนางก็น้อมเอาภาพนิมิตนั้นเข้ามาเปรียบเทียบกับร่างกายของพระนางจนเห็นว่าอันร่างกายอันงดงามของพระนางนั้นหาได้งามจริงไม่ ทั้งเป็นอนิจจังและอนัตตา หาสาระแก่นสารที่พึ่งอันถาวรอันใดมิได้เลย จนพระนางได้บรรลุพระอรหันต์ในขณะนั้นเอง และพระนางเขมาเทวีที่ยิ่งด้วยรูปโฉม และเป็นพระมเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้าพิมพิสารแห่งเมืองราชคฤห์ ก็ได้บรรลุพระอรหันต์ในทำนองเดียวกันนี้เอง


ที่มา
http://www.fungdham.com/book/prasungkarad.html

218
วิธีสร้างบุญบารมี  หน้าที่12
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙


(๒) มีจิตใคร่ครวญถึงอสุภกรรมฐาน อสุภ ได้แก่สิ่งที่ไม่สวย ไม่งาม เช่น ซากศพ คือมีจิตพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงที่ว่า ร่างกายของคนและสัตว์อันเป็นที่นิยมรักใคร่ เสน่หา และเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหาราคะ กามกิเลส ว่าเป็นของสวยของงาม เป็นที่เจริญตาและใจ ไม่ว่าร่างกายของตนเองและของผู้อื่นก็ตาม แท้ที่จริงแล้วก็เป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้ แน่นอน ทุกขัง คือทนอยู่ในสภาพเช่นนั้นไม่ได้ วันเวลาย่อมพรากความสวยสดงดงามให้ค่อยๆจากไปจนเข้าสู่วัยชรา ซึ่งจะมองหาความสวยงามใดๆหลงเหลืออยู่มิได้อีกเลย และในทันใดที่ตายลงนั้น แม้แต่ผู้ที่เคยสนิทสนมเสน่หารักใคร่ อันรวมถึงสามี ภริยาและบุตรธิดา ต่างก็พากันรังเกียจในทันใด ไม่ยอมเข้าใกล้ บ้านของตนเองที่อุตส่าห์สร้างมาด้วยความเหนื่อยยากก็ไม่ยอมให้อยู่ ต้องรีบขนๆออกไปโดยไวไว้ที่วัด แล้วซากเหล่านั้นก็เน่าเปื่อยสลายไป เริ่มตั้งแต่เนื้อหนังค่อยๆพองออก ขึ้นอืด น้ำเลือด น้ำเหลืองก็เริ่มเน่า แล้วเดือดไหลออกจากทวารทั้งหลาย เนื้อหนังแตกปริแล้วร่วงหลุดออก จนเหลือแต่กระดูก ส่งกลิ่นเน่าเหม็น เป็นที่น่าเกลียดกลัว สะอิดสะเอียน หาความสวยงามน่ารักเสน่หาใดๆมิได้อีกเลย ทั้งไร้คุณค่าและประโยชน์ คงมีค่าแค่เป็นอาหารแก่หมู่หนอนเท่านั้น แล้วในที่สุดกระดูกก็กระจัดกระจายเรี่ยราดอยู่ตามดินและทราย แตกละเอียดผุพังเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยแก่พืชผักต่อไป หาตัวหาตนของเราของเขาที่ไหนมิได้เลย สังขารของเราในที่สุดก็เป็นเช่นนี้ ไม่มีอะไรคงเหลือไว้เลย

(๓) มีจิตใคร่ครวญถึงกายคตานุสสติกรรมฐาน บางทีเรียกกันง่ายๆว่า "กายคตาสติกรรมฐาน" เป็นกรรมฐานที่มีอานิสงส์มาก เพราะสามารถทำให้ละ "สักกายทิฐิ" อันเป็นสังโยชน์ข้อต้นได้โดยง่าย และเป็นกรรมฐานที่เกี่ยวกับการพิจารณาร่างกายให้เห็นตามสภาพความเป็นจริง ซึ่งมักพิจารณาร่วมกับอสุภกรรมฐาน มรณัสสติกรรมฐาน ซึ่งพระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ที่จะบรรลุพระอรหัตผลได้จะต้องผ่านการพิจารณากรรมฐานทั้งสามกองนี้เสมอ มิฉะนั้นแล้วจะเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนามิได้ ทั้งนี้เพราะบรรดาสรรพกิเลสทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นความโลภ โกรธ และหลง ต่างก็เกิดขึ้นที่กายนี้ เพราะความยึดมั่นถือมั่นด้วยอำนาจอุปาทานว่าเป็นตัวตนและของตน จึงได้เกิดกิเลสดังกล่าวขึ้น การพิจารณาละกิเลสก็จะต้องพิจารณาละที่กายนี้เอง มรรค ผล และนิพพาน ไม่ต้องไปมองหาที่ไหนเลย แต่มีอยู่พร้อมให้รู้แจ้งเห็นจริงได้ที่ร่างกายอันกว้างศอกยาววาและหน้าคืบนี่เอง การพิจารณาก็คือให้มีจิตใคร่ครวญให้เห็นตามสภาพความเป็นจริงที่ว่า อันร่างกายของคนและสัตว์ที่ต่างก็เฝ้าทะนุถนอมรักใคร่ ว่าสวยงาม เป็นที่สนิทเสน่หาชมเชยรักใคร่ซึ่งกันและกันนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นของปฏิกูล สกปรกโสโครก ไม่สวย ไม่งาม ไม่น่ารักใคร่ทะนุถนอม เป็นมูตร คูถ เพราะเป็นที่บรรจุไว้ซึ่งสรรพสิ่งทั้งหลายที่เป็นพืชผักและบรรดาซากศพของสัตว์ที่บริโภคเข้าไป ภายในกระเพาะนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นที่รวมฝังซากศพของบรรดาสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง พืชและสัตว์ที่บริโภคเข้าไป ก็ล้วนแต่เป็นของที่สกปรก ที่ขักถ่ายออกมาจากทวารทั้งหลาย ก็เป็นของที่สกปรก โสโครก ซึ่งต่างก็พากันรังเกียจว่าเป็น "ขี้" มีสารพัดขี้ ซึ่งแม้แต่จะเหลือบตาไปมองก็ยังไม่ก้าที่จะมอง แต่แท้ที่จริงแล้วในท้อง กระเพาะ ลำไส้ภายในร่างกายของทุผู้คนก็ยังคงมีบรรดาขี้เหล่านี้บรรจุอยู่ เพียงแต่มีหนังห่อหุ้มปกปิดไว้ ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกเท่านั้น แต่เราท่านทั้งหลายก็พากันกกกอดคลึงเคล้า เฝ้าชมเชยก้อนขี้เหล่านี้ว่าเป็นของสวยงาม น่ารักใคร่ น่าเสน่หายิ่งนัก เมื่อมีการขับถ่ายออกจากทวารหูก็เรียกกันว่าขี้ของหู คือ "ขี้หู" ที่ขับถ่ายออกทางตาก็เรียกกันว่าขี้ตา ที่ติดฟันอยู่ก็เรียกว่าขี้ฟัน ที่ออกทางจมูกก็เรียกว่าขี้ของจมูก คือ "ขี้มูก" รวมความแล้ว บรรดาสิ่งที่ขับถ่ายออกมาพอพ้นจากร่างกายในทันใดนั้นเอง จากเดิมที่เป็นของน่ารัก น่าเสน่หา ก็กลายเป็นของที่น่ารังเกียจไปโดยพลัน กลายเป็นสิ่งไม่มีใครอยากรักอยากเสน่หา เพราะเป็นขี้ และไม่มีใครอยากจะเป็นเจ้าของด้วย เมื่อไม่มีใครยอมรับเป็นเจ้าของ สิ่งที่ขับถ่ายออกมาทางผิวหนังจึงหาเจ้าของมิได้ ซึ่งต่างก็โทษกันว่าขี้ของใครก็ไม่ทราบ นานมาก็กลายเป็น "ขี้ไคล" ดังนี้เป็นต้น

ที่มา
http://www.fungdham.com/book/prasungkarad.html

219
วิธีสร้างบุญบารมี  หน้าที่11
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙

ต่อไปนี้เป็นการเจริญสมถะและวิปัสสนาอย่างง่ายๆประจำวัน ซึ่งควรจะได้ทำให้บ่อยๆ ทำเนืองๆ ทำให้มากๆ ทำจนจิตเป็นอารมณ์แนบแน่น ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทใด คือไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ก็คิดและใคร่ครวญถึงความเป็นจริง ๔ ประการ ดังต่อไปนี้ หากทำแล้วพระพุทธองค์ตรัสว่า "จิตของผู้นั้นไม่ห่างจากวิปัสสนา และเป็นผู้ที่ไม่ห่างจากมรรค ผล นิพพาน" คือ

(๑) มีจิตใคร่ครวญถึงมรณัสสติกรรมฐาน หรือมรณานุสสติกรรมฐาน ซึ่งก็คือการใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์ อันความมรณะนั้นเป็นธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครสามารถที่จะเอาชนะได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทรงบรรลุถึงพระธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ตาย แต่ก็ยังต้องทรงทอดทิ้งพระสรีระร่างกายไว้ในโลก การระลึกถึงความตายจึงเป็นการเตือนสติให้ตื่น รีบพากเพียรชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ก่อนที่ความตายจะมาถึง พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญมรณัสสติว่า "มรณัสสติ (การระลึกถึงความตาย) อันบุคคลทำให้มากแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่พระนิพพานเป็นที่สุด ฯลฯ" อันมรณัสสติกรรมฐานนั้น แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย ซึ่งแม้จะได้บรรลุมรรคผลแล้ว ก็ยังไม่ยอมละ เพราะยังทรงอารมณ์มรณัสสตินี้ควบคู่ไปกับวิปัสสนา เพื่อความอยู่เป็นสุข ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า "ตถาคถนึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าและออก ฯลฯ"

มรณัสสติกรรมฐานนั้น โดยปกติเป็นกรรมฐานของผู้ที่มีพุทธิจริต คือคนที่ฉลาด การใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์ ก็คือการพิจารณาถึงความเป็นจริงที่ว่า ไม่ว่าคนและสัตว์ทั้งหลาย เมื่อมีเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญวัยเป็นหนุ่มสาว เฒ่าแก่ สูง ต่ำ เหลื่อมล้ำกันด้วยฐานันดรศักดิ์อย่างใด ในที่สุดก็ทันกันและเสมอกันด้วยความตาย ผู้ที่คิดถึงความตายนั้น เป็นผู้ที่ไม่ประมาทในชีวิต ไม่มัวเมาในชีวิต เพราะเมื่อคิดถึงแล้วย่อมเร่งกระทำความดีและบุญกุศล เกรงกลัวต่อบาปกรรมที่จะติดตามไปในภพชาติหน้า ผู้ที่ประมาทมัวเมาต่อทรัพย์สมบัติยศศักดิ์ตำแน่งหน้าที่นั้นเป็นผู้ที่หลง เหมือนกับคนที่หูหนวกและตาบอด ซึ่งโบราณกล่าวตำหนิไว้ว่า "หลงลำเนาเขาป่ากู่หาพอได้ยิน หลงยศอำนาจย่อมหูหนวกและตาบอด" และกล่าวไว้อีกว่า "หลงยศลืมตาย หลงกายลืมแก่" และความจริงก็มีให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ที่บางท่านใกล้จะเข้าโลงแล้ว ก็ยังหลงและมัวเมาในอำนาจ วาสนา ตำแหน่งหน้าที่ จนลืมไปว่าอีกไม่นานตนก็จะต้องทิ้ง ต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป แล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนได้หลงมัวเมาเฝ้าแสวงหาหวงแหนเกาะแน่นอยู่นั้น ก็จะต้องสลายไปพร้อมกับความตายของตน สูญเปล่าไม่ได้ตามติดกับตนไปด้วยเลย แล้วไม่นานผู้คนที่อยู่เบื้องหลังก็ลืมเลือนตนไปเสียสิ้น ดูเหมือนกับวันเวลาทั้งหลายที่ตนได้ต่อสู้เหนื่อยยากขวนขวายจนได้สิ่งดังกล่าวมานั้น ต้องโมฆะสูญเปล่าไปโดยหาสาระประโยชน์อันใดมิได้เลย

มรณัสสติกรรมฐานนั้น เมื่อพิจารณาไปนานๆ จิตจะค่อยๆสงบระงับจากนิวรณ์ธรรม ๕ ประการ ในที่สุดจิตก็เข้าถึงอุปจารสมาธิ และความจริงกรรมฐานกองนี้เป็นเพียงสมถภาวนาเท่านั้น แต่ก็ใกล้กับวิปัสสนา เพราะอารมณ์จิตที่ใช้นั้นเป็นการพิจารณาหาเหตุและผลในรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งหากพลิกการพิจารณาว่า อันชีวิตของคนและสัตว์ ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่อาจทรงตัวตั้งมั่นอยู่ได้ เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมมีความตายเป็นที่สุด เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้แล้ว ก็เป็นวิปัสสนาภาวนา

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อใกล้จะเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานอีก ๓ เดือน ได้ทรงปลงอายุสังขาร แล้วตรัสสอนพระอานนท์พร้อมหมู่ภิกษุทั้งหลายว่า "อานนท์ ตถาคถได้เคยบอกเธอแล้วมิใช่หรือว่า สัตว์จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น สัตว์จะได้ตามปรารถนาในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า การที่จะขอให้สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว ที่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว และที่จะต้องมีการแตกดับเป็นธรรมดาว่าอย่าฉิบหายเลย ดังนี้ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะมีได้ เป็นได้ การปรินิพพานของเราตถาคตจักมีในกาลไม่นานเลย ถัดจากนี้ไปอีก ๓ เดือน ทั้งที่เป็นพาลและบัณฑิต ทั้งที่มั่งมีและยากจน ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้า เปรียบเหมือนภาชนะ ดินที่ช่างหม้อได้ปั้นแล้ว ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกและที่ยังดิบ ล้วนแต่มีการแตกทำลายไปในที่สุดฉันใด ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลายก็ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้าฉันนั้น วัยของเราแก่หง่อมแล้วชีวิตของเราริบหรี่แล้วเราจักต้องละพวกเธอไป ที่พึ่งของตนเอง เราได้ทำแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีล มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี ตามรักษาซึ่งจิตของตนเถิดในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาท ก็สามารถที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้" และในวันมหาปรินิพพาน พระพุทธองค์ได้ตรัสพระปัจฉิมโอวาท ที่เรียกกันว่า "อัปปมาทธรรม" สั่งสอนพระสาวกเป็นครั้งสุดท้าย จนดูเหมือนว่าพระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่ทรงสั่งสอนมานานถึง ๔๕ พรรษา ได้ประมวลประชุมรวมกันในพระปัจฉิมโอวาทนี้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ตถาคตขอเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด"

ที่มา
http://www.fungdham.com/book/prasungkarad.html

220
วิธีสร้างบุญบารมี  หน้าที่10
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙

สมาธิย่อมมีกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ ซึ่งผู้บำเพ็ญอาจจะใช้กรรมฐานบทใดบทหนึ่งตามแต่ที่ถูกแก่จริตนิสัยของตนก็ย่อมได้ ส่วนวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียว คือมี ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ เรียกสั้นๆว่า มีแต่รูปกับนามเท่านั้น ขันธ์ ๕ นั้นได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสภาวธรรมหรือสังขารธรรมเกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเช่นนั้นไม่ได้ และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างใด อารมณ์ของวิปัสสนานั้น เป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผลในสังขารธรรมทั้งหลาย จนรู้แจ้งเห็นจริงว่าเป็นพระไตรลักษณ์ คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา และเมื่อใดที่จิตยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาจริง เรียกว่าจิตตกกระแสธรรมตัดกิเลสได้ ปัญญาที่จะเห็นสภาพความเป็นจริงดังกล่าว ไม่ใช่แต่เพียงปัญญาที่นึกคิดและคาดหมายเอาเท่านั้น แต่ย่อมมีตาวิเศษหรือตาใน ที่พระท่านเรียกว่า "ญาณทัสสนะ" เห็นเป็นเช่นนั้นจริงๆ ซึ่งจิตที่ได้ผ่านการอบรมสมาธิมาจนมีกำลังดีแล้ว ย่อมมีพลังให้เกิดญาณทัสสะหรือปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวได้ เรียกกันว่า "สมาธิอบรมปัญญา" คือสมาธิทำให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น และเมื่อวิปัสสนาญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถ่ายถอนกิเลสให้เบาบางลง จิตก็ย่อมจะเบาและใสสะอาดบางจากกิเลสทั้งหลายไปตามลำดับ สมาธิจิตก็จะยิ่งก้าวหน้าและตั้งมั่นมากยิ่งๆขึ้นไปอีก เรียกว่า "ปัญญาอบรมสมาธิ" ฉะนั้นทั้งสมาธิและวิปัสสนาจึงเป็นทั้งเหตุและผลของกันและกันและอุปการะซึ่งกันและกัน จะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นโดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนมิได้เลย อย่างน้อยที่สุดก็จะต้องใช้กำลังของขณิกสมาธิเป็นบาทฐานในระยะแรกเริ่ม สมาธิจึงเปรียบเหมือนกับหินลับมีด ส่วนวิปัสสนานั้นเหมือนกับมีดที่ได้ลับกับหินคมดีแล้ว ย่อมมีอำนาจถากถางตัดฟันบรรดากิเลสทั้งหลายให้ขาดและพังลงได้ อันสังขารธรรมทั้งหลายนั้นล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวเราของเราแต่อย่างใด ทุกสรรพสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นแค่ดิน น้ำ ลม และไฟ มาประชุมรวมกันชั่วคราวตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น ในเมื่อจิตได้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว จิตก็จะละคลายจากอุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่น โดยคลายกำหนัดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุขทั้งหลาย ความโลภ ความโกรธ และความหลงก็เบาบางลงไปตามลำดับปัญญาญาณจนหมดสิ้นจากกิเลสทั้งมวล บรรลุซึ่งพระอรหัตผล

ฉะนั้น การที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน หากทำสมาธิยังไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะเกิดวิปัสสนาปัญญาขึ้น สมาธิจึงเป็นเพียงบันไดขั้นต้นที่จะก้าวไปสู่การเจริญวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้วว่า "ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจนจิตเป็นฌานได้นานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม" ดังนี้ จะเห็นได้ว่า วิปัสสนาภาวนานั้น เป็นสุดยอดของการสร้างบุญบารมีโดยแท้จริง และการกระทำก็ไม่เหนื่อยยากลำบาก ไม่ต้องแบกหาม ไม่ต้องลงทุนหรือเสียทรัพย์แต่อย่างใด แต่ก็ได้กำไรมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบการให้ทานเหมือนกับกรวด และทราบ ก็เปรียบวิปัสสนาได้กับเพชรน้ำเอก ซึ่งทานย่อมไม่มีทางที่จะเทียบศีล ศีลก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับสมาธิ และสมาธิก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับวิปัสสนา แต่ตราบใดที่เราท่านทั้งหลายยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็ต้องเก็บเล็กผสมน้อย โดยทำทุกๆทางเพื่อความไม่ประมาท โดยทำทั้งทาน ศีล และภาวนา สุดแต่โอกาสจะอำนวยให้ จะถือว่าการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้นลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้กำไรมากที่สุด ก็เลยทำแต่วิปัสสนาอย่างเดียว โดยไม่ยอมลงทุนทำบุญให้ทานใดๆไว้เลย ก็เลยมีแต่ปัญญาอย่างเดียวไม่มีจะกินจะใช้ ก็เห็นจะเจริญวิปัสสนาให้ถึงฝั่งพระนิพพานไปไม่ได้เหมือนกัน

อนึ่ง พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ว่า "ผู้ใดมีปัญญาพิจารณาจนจิตเห็นความจริงว่า ร่างกายนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน คน สัตว์ แม้จะนานเพียงชั่วช้างยกหูขึ้นกระดิก ก็ยังดีเสียกว่าผู้ที่มีอายุยืนนานถึง ๑๐๐ ปี แต่ไม่มีปัญญาเห็นความเป็นจริงดังกล่าว" กล่าวคือแม้ว่าอายุของผู้นั้นจะยืนยาวมานานเพียงใด ก็ย่อมโมฆะเสียเปล่าไปชาติหนึ่ง จัดว่าเป็น "โมฆบุรุษ" คือบุรุษที่สูญเปล่า

ที่มา
http://www.fungdham.com/book/prasungkarad.html

221
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน :054:

222
ต้องหาไว้บ้างแล้ว...ขอบคุณครับ

223
วิธีสร้างบุญบารมี  หน้าที่9
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙


(๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)
เมื่อจิตของผู้บำเพ็ญตั้งมั่นในสมาธิจนมีกำลังดีแล้ว เช่นอยู่ในระดับฌานต่างๆ ซึ่งจะเป็นฌานในระดับใดก็ได้ แม้แต่จะอยู่แค่เพียงอุปจารสมาธิ จิตของผู้บำเพ็ญเพียรก็ย่อมมีกำลังและอยู่ในสภาพที่นุ่มนวล ควรแก่การเจริญวิปัสสนาต่อไปได้ อารมณ์ของวิปัสสนานั้น แตกต่างไปจากอารมณ์ของสมาธิ เพราะสมาธินั้นมุ่งให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแต่อารมณ์เดียว โดยแน่นิ่งอยู่เช่นนั้น ไม่นึกคิดอะไรๆ แต่วิปัสสนาไม่ใช่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้น แต่เป็นจิตที่คิดและใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลาย และสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ "ขันธ์ ๕" ซึ่งนิยมเรียกกันว่า "รูป-นาม" โดยรูปมี ๑ ส่วน นามนั้นมี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ขันธ์ ๕ ดังกล่าวเป็นเพียงอุปาทานขันธ์ เพราะแท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงสังขารธรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง แต่เพราะอวิชชา คือความไม่รู้เท่าสภาวธรรม จึงทำให้เกิดความยึดมั่นด้วยอำนาจอุปาทานว่าเป็นตัวตนและของตน การเจริญวิปัสสนาก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า อันสภาวธรรมทั้งหลาย อันได้แก่ขันธ์ ๕ นั้น ล้วนแต่มีอาการเป็นพระไตรลักษณ์ คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา โดย

(๑) อนิจจัง คือความไม่เที่ยง คือสรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สมบัติ เพชร หิน ดิน ทราย และรูปกายของเรา ล้วนแต่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ไม่อาจจะให้ตั้งมั่นทรงอยู่ในสภาพเดิมได้ เช่นคนและสัตว์ เมื่อมีการเกิดขึ้นแล้ว ก็มีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาว และเฒ่าแก่ จนตายไปในที่สุด ไม่มีเว้นไปได้ทุกผู้คน แม้แต่องค์สมเด็กจพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย พรหมและเทวดา ฯลฯ

สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ที่เรียกว่าอุปาทานขันธ์ ๕ เช่น รูปกาย ล้วนแต่เป็นแร่ธาตุต่างๆ มาประชุมรวมกันเป็นหน่วยเล็กๆของชีวิตขึ้นก่อน ซึ่งเล็กจนตาเปล่ามองไม่เห็น เรียกกันว่า "เซลล์" แล้วบรรดาเซลล์เหล่านั้นก็มาประชุมรวมกันเป็นรูปร่างของคนและสัตว์ขึ้น ซึ่งหน่วยชีวิตเล็กๆ เหล่านั้นก็มีการเจริญเติบโตและแตกสลายไป แล้วเกิดของใหม่ขึ้นแทนที่อยู่ตลอดเวลา ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้แน่นอน

(๒) ทุกขัง ได้แก่ "สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้" ทุกขัง ในที่นี้มิได้หมายความแต่เพียงว่าเป็นความทุกข์กายทุกข์ใจเท่านั้น แต่การทุกข์กายทุกข์ใจก็เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของทุกขังในที่นี้ สรรพสิ่งทั้งหลายอันเป็นสังขารธรรมเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจที่จะทนตั้งมั่นอยู่ในสภาพนั้นๆได้ตลอดไป ไม่อาจจะทรงตัว และต้องเปลี่ยนแปลงไป เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น เมื่อได้เกิดมาเป็นเด็กจะให้ทรงสภาพเป็นเด็กๆเช่นนั้นตลอดไปหาได้ไม่ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นหนุ่มและสาว แล้วก็เฒ่าแก่ จนในที่สุดก็ต้องตายไป แม้แต่ขันธ์ที่เป็นนามธรรมอันได้แก่เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ไม่มีสภาพทรงตัวเช่นเดียวกัน เช่นขันธ์ที่เรียกว่าเวทนา อันได้แก่ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ และความไม่สุข ไม่ทุกข์ ซึ่งเมื่อมีเกิดเป็นอารมณ์ดังกล่าวอย่างใดขึ้นแล้ว จะให้คงทรงอารมณ์เช่นนั้นให้ตลอดไปย่อมไม่ได้ นานไปอารมณ์เช่นนั้นหรือเวทนาเช่นนั้นก็ค่อยๆจางไป แล้วเกิดอารมณ์ใหม่ชนิดอื่นขึ้นมาแทน

(๓) อนัตตา ได้แก่ "ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ" โดยสรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็น "รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ" ล้วนแต่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เช่น รูปขันธ์ย่อมประกอบขึ้นด้วยแร่ธาตุต่างๆ มาประชุมรวมกันเป็นกลุ่มก้อน เป็นหน่อยชีวิตเล็กๆขึ้นก่อน เรียกในทางวิทยาศาสตร์ว่า "เซลล์" แล้วเซลล์เหล่านั้นก็ประชุมรวมกันเป็นรูปใหญ่ขึ้น จนเป็นรูปกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งพระท่านรวมเรียกหยาบๆ ว่าเป็นธาตุ ๔ มาประชุมรวมกัน โดยส่วนที่เป็นของแข็งมีความหนักแน่น เช่น เนื้อ กระดูก ฯลฯ เรียกว่า ธาตุดิน ส่วนที่เป็นของเหลว เช่น น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำดี น้ำปัสสาวะ น้ำไขข้อ น้ำมูก ฯลฯ รวมเรียกว่า ธาตุน้ำ ส่วนสิ่งที่ให้พลังงานและอุณหภูมิในร่างกาย เช่น ความร้อน ความเย็น เรียกว่า ธาตุไฟ ส่วนธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว ความตั้งมั่น ความเคร่ง ความตึง และบรรดาสิ่งเคลื่อนไหวไปมาในร่างกาย เรียกว่า ธาตุลม (โดยธาตุ ๔ ดังกล่าวนี้มิได้มีความหมายอย่างเดียวกับคำว่า "ธาตุ" อันหมายถึง แร่ธาตุในทางวิทยาศาสตร์) ธาตุ ๔ หยาบๆเหล่านี้ได้มาประชุมรวมกันเป็นรูปกายของคน สัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลายขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อนานไปก็ย่อมเปลี่ยนแปลงแล้วแตกสลายกลับคืนไปสู่สภาพเดิม โดยส่วนที่เป็นดินก็กลับไปสู่ดิน ส่วนที่เป็นน้ำก็กลับไปสู่น้ำ ส่วนที่เป็นไฟก็กลับไปสู่ไฟ ส่วนที่เป็นลงก็กลับไปสู่ความเป็นลม ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของคนและสัตว์ที่ไหนแต่อย่างใด จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นรูปกายนี้ว่าเป็นตัวเราของเราให้เป็นที่พึ่งอันถาวรได้

ที่มา
http://www.fungdham.com/book/prasungkarad.html

224
วิธีสร้างบุญบารมี  หน้าที่8
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙

๓. การภาวนา
การเจริญภาวนานั้น เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก การเจริญภาวนานั้น มี ๒ อย่าง คือ (๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ) และ (๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา) แยกอธิบายดังนี้ คือ


(๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ)
สมถภาวนา ได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิ หรือเป็นฌาน ซึ่งก็คือการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่นๆ วิธีภาวนานั้น มีมากมายหลายร้อยชนิด ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ ๔๐ ประการ เรียกกันว่า "กรรมฐาน ๔๐" ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ตามแต่สมัครใจ ทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมีที่ได้เคยสร้างสมอบรมมาแต่ในอดีตชาติ เมื่อสร้างสมอบรมมาในกรรมฐานกองใด จิตก็มักจะน้อมชอบกรรมฐานกองนั้นมากกว่ากองอื่นๆ และการเจริญภาวนาก็ก้าวหน้าเร็วและง่าย แต่ไม่ว่าจะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนเสียก่อน คือหากเป็นฆราวาสก็จะต้องรักษาศีล ๕ เป็นอย่างน้อย หากเป็นสามเณรก็จะต้องรักษาศีล ๑๐ หากเป็นพระก็จะต้องรักษาศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อให้บริบูรณ์ ไม่ให้ขาดและด่างพร้อย จึงจะสามารถทำจิตให้เป็นฌานได้ หากศีลยังไม่มั่นคง ย่อมเจริญฌานให้เกิดขึ้นได้โดยยาก เพราะศีลย่อมเป็นบาทฐาน (เป็นกำลัง) ให้เกิดสมาธิขึ้น อานิสงส์ของสมาธินั้น มีมากกว่าการรักษาศีลอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า "แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมานานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบนานเพียงชั่วไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู" คำว่า "จิตสงบ" ในที่นี้หมายถึงจิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ ที่พระท่านเรียกว่า "ขณิกสมาธิ" คือสมาธิเล็กๆ น้อยๆ สมาธิแบบเด็กๆ ที่เพิ่งหัดตั้งไข่ คือหัดยืนแล้วก็ล้มลง แล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่ ซึ่งเป็นอารมณ์จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น สงบวูบลงเล็กน้อยแล้วก็รักษาไว้ไม่ได้ ซึ่งยังห่างไกลต่อการที่จิตถึงขั้นเป็นอุปจารสมาธิและฌาน แม้กระนั้นก็ยังมีอานิสงส์มากมายถึงเพียงนี้ โดยหากผู้ใดจิตทรงอารมณ์อยู่ในขั้นขณิกสมาธิแล้วบังเอิญตายลงในขณะนั้น อานิสงส์นี้จะส่งผลให้ได้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นที่ ๑ คือชั้นจาตุมหาราชิกา หากจิตยึดไตรสรณคมน์ (มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันสูงสุดด้วย ก็เป็นเทวดาชั้น ๒ คือ ดาวดึงส์)

สมาธินั้น มีหลายขั้นตอน ระยะก่อนที่จะเป็นฌาน (อัปปนาสมาธิ) ก็คือขณิกสมาธิและอุปจารสมาธิ ซึ่งอานิสงส์ส่งให้ไปบังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น แต่ยังไม่ถึงชั้นพรหมโลก สมาธิในระดับอัปปนาสมาธิหรือฌานนั้น มีรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลให้ไปบังเกิดในพรหมโลกรวม ๒๐ ชั้น แต่จะเป็นชั้นใดย่อมสุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌานที่ได้ (เว้นแต่พรหมโลกชั้นสุทธาวาสคือ ชั้นที่ ๑๒ ถึง ๑๖ ซึ่งเป็นที่เกิดของพระอนาคามีบุคคลโดยเฉพาะ) รูปฌาน ๑ ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้น ๑ ถึงชั้น ๓ สุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌาน ๑ ส่วนอรูปฌานที่เรียกว่า "เนวสัญญา นาสัญญายตนะ" นั้น ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นสูงสุด คือชั้นที่ ๒๐ ซึ่งมีอายุยืนยาวถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป เรียกกันว่านิพพานพรหม คือนานเสียจนเกือบหาเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดมิได้ จนเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นนิพพาน

การทำสมาธิเป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุด เพราะไม่ได้เสียเงินเสียทอง ไม่ได้เหนื่อยยากต้องแบกหามแต่อย่างใด เพียงแต่คอยเพียรระวังรักษาสติ คุ้มครองจิตมิให้แส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่นๆ โดยให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น การทำทานเสียอีกยังต้องเสียเงินทอง การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาโรงธรรมยังต้องเสียทรัพย์ และบางทีก็ต้องเข้าช่วยแบกหามเหนื่อยกาย แต่ก็ได้บุญน้อยกว่าการทำสมาธิอย่างที่เทียบกันไม่ได้

อย่างไรก็ดี การเจริญสมถภาวนาหรือสมาธินั้น แม้จะได้บุญอานิสงส์มากมายมหาศาลอย่างไร ก็ยังไม่ใช่บุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบกับต้นไม้ก็เป็นเพียงเนื้อไม้เท่านั้น การเจริญวิปัสสนา (การเจริญปัญญา) จึงจะเป็นการสร้างบุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบก็เป็นแก่นไม้โดยแท้


ที่มา
http://www.fungdham.com/book/prasungkarad.html

225
วิธีสร้างบุญบารมี  หน้าที่7
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙

๒. การรักษาศีล
"ศีล" นั้น แปลว่า "ปกติ" คือสิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ ศีลนั้นมีหลายระดับ คือ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และ ศีล ๒๒๗ และในบรรดาศีลชนิดเดียวก็ยังจัดแยกออกเป็นระดับธรรมดา มัชฌิมศีล (ศีลระดับกลาง) และอธิศีล (ศีลอย่างสูง ศีลอย่างอุกฤษฏ์)

คำว่า "มนุษย์" นั้น คือผู้ที่มีใจอันประเสริฐ คุณธรรมที่เป็นปกติของมนุษย์ที่จะต้องทรงไว้ให้ได้ตลอดไปก็คือศีล ๕ บุคคลที่ไม่มีศีล ๕ ไม่เรียกว่ามนุษย์ แต่อาจจะเรียกว่า "คน" ซึ่งแปลว่า "ยุ่ง" ในสมัยพระพุทธกาลผู้คนมักจะมีศีล ๕ ประจำใจกันเป็นนิจ ศีล ๕ จึงเป็นเรื่องปกติของบุคคลในสมัยนั้น และจัดว่าเป็น "มนุษยธรรม" ส่วนหนึ่งในมนุษยธรรม ๑๐ ประการเป็นปกติ (ซึ่งรวมถึงศีล ๕ ด้วย) รายละเอียดจะมีประการใดจะไม่กล่าวถึงในที่นี้

การรักษาศีลเป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกายและวาจา อันเป็นเพียงกิเลสหยาบมิให้กำเริบขึ้น และเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน ทั้งในการถือศีลด้วยกันเอง ก็ยังได้บุญมากและน้อยต่างกันไปตามลำดับต่อไปนี้คือ
๑. การให้อภัยทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๕ แม้จะได้ถือแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม
๒. การถือศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๘ แม้จะถือแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม
๓. การถือศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๑๐ คือการบวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะบวชมาได้แต่เพียงวันเดียวก็ตาม
๔. การที่ได้บวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แล้วรักษาศีล ๑๐ ไม่ให้ขาด ไม่ด่างพร้อย แม้จะนานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนา มีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ แม้จะบวชมาได้เพียงวันเดียวก็ตาม

ฉะนั้น ในฝ่ายศีลแล้ว การที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนาได้บุญบารมีมากที่สุด เพราะเป็นเนกขัมมบารมีในบารมี ๑๐ ทิศ ซึ่งเป็นการออกจากกามเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติธรรมขั้นสูงๆ คือการภาวนาเพื่อมรรค ผล นิพพาน ต่อๆไป ผลของการรักษาศีลนั้นมีมาก ซึ่งจะยังประโยชน์สุขให้แก่ผู้นั้นทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เมื่อได้ละอัตภาพนี้ไปแล้วย่อมส่งผลให้ได้บังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น ซึ่งแล้วแต่ความละเอียดประณีตของศีลที่รักษาและที่บำเพ็ญมา ครั้งเมื่อสิ้นบุญในเทวโลกแล้ว ด้วยเศษของบุญที่ยังคงหลงเหลืออยู่แต่เพียงเล็กๆ น้อยๆ หากไม่มีอกุศลกรรมอื่นมาให้ผล ก็อาจจะน้อมนำให้ได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ที่ถึงพร้อมด้วยสมบัติ ๔ ประการ เช่นอานิสงส์ของการรักษาศีล ๕ กล่าวคือ
(๑) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๑ ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อน้อมนำมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะทำให้มีพลานามัยแข็งแรง ปราศจากโรคภัย ไม่ขี้โรค อายุยืนยาว ไม่มีศัตรูเบียดเบียนให้ต้องบาดเจ็บ ไม่มีอุบัติเหตุต่างๆที่จะทำให้บาดเจ็บหรือสิ้นอายุเสียก่อนวัยอันสมควร
(๒) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๒ ด้วยการไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เจ้าของมิได้เต็มใจให้ ด้วยเศษของบุญที่นำมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมทำให้ได้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวย การทำมาหาเลี้ยงชีพในภายหน้ามักจะประสบช่องทางที่ดี ทำมาค้าขึ้นและมั่งมีทรัพย์ ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปด้วยภัยต่างๆ เช่น อัคคีภัย วาตภัย โจรภัย ฯลฯ
(๓) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๓ ด้วยการไม่ล่วงประเวณีในคู่ครอง หรือคนในปกครองของผู้อื่น ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะประสบโชคดีในความรัก มักได้พบรักแท้ที่จริงจังและจริงใจ ไม่ต้องอกหัก อกโรย และอกเดาะ ครั้นเมื่อมีบุตรธิดา ก็ว่านอนสอนง่าย ไม่ดื้อด้าน ไม่ถูกผู้อื่นหลอกลวงฉุดคร่าอนาจารไปทำให้เสียหาย บุตรธิดาย่อมเป็นอภิชาตบุตร ซึ่งจะนำเกียรติยศชื่อเสียงมาสู่วงศ์ตระกูล
(๔) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๔ ด้วยการไม่กล่าวมุสา ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อนำมาเกิดเป็นมนุษย์ จะทำให้เป็นผู้ที่มีสุ้มเสียงไพเราะ พูดจามีน้ำมีนวลชวนฟัง มีเหตุมีผล ชนิดที่เป็น "พุทธวาจา" มีโวหารปฏิภาณไหวพริบในการเจรจา จะเจรจาความสิ่งใดก็มีผู้เชื่อฟังและเชื่อถือ สามารถว่ากล่าวสั่งสอนบุตรธิดาและศิษย์ให้อยู่ในโอวาทได้ดี
(๕) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๕ ด้วยการไม่ดื่มสุราเมรัยเครื่องหมักดองของมึนเมา ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อนำมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมทำให้เป็นผู้ที่มีสมอง ประสาท ปัญญา ความคิดแจ่มใส จะศึกษาเล่าเรียนสิ่งใดก็แตกฉานและทรงจำได้ง่าย ไม่หลงลืมฟั่นเฟือนเลอะเลือน ไม่เสียสติวิกลจริต ไม่เป็นโรคสมอง โรคประสาท ไม่ปัญญาทราม ปัญญาอ่อนหรือปัญญานิ่ม

อานิสงส์ของศีล ๕ มีดังกล่าวข้างต้น สำหรับศีล ๘ ศีล ๑๐ และ ศีล ๒๒๗ ก็ย่อมมีอานิสงส์เพิ่มพูนมากยิ่งๆขึ้นตามระดับและประเภทของศีลที่รักษา แต่ศีลนั้นแม้จะมีอานิสงส์เพียงไร ก็ยังเป็นแต่เพียงการบำเพ็ญบุญบารมีในชั้นกลางๆในพระพุทธศาสนาเท่านั้น เพราะเป็นแต่เพียงระเบียบหรือกติกาที่จะรักษากายและวาจาให้สงบ ไม่ให้ก่อให้เกิดทุกข์โทษขึ้นทางกายและวาจาเท่านั้น ส่วนทางจิตใจนั้น ศีลยังไม่สามารถที่จะควบคุมหรือทำให้สะอาดบริสุทธิ์ได้ ฉะนั้น การรักษาศีลจึงยังได้บุญน้อยกว่าการภาวนา เพราะการภาวนานั้น เป็นการรักษาใจ รักษาจิต และซักฟอกจิตให้เบาบางหรือจนหมดกิเลส คือความโลภ โกรธ และหลง อันเป็นเครื่องร้อยรัดให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ การภาวนาจึงเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงที่สุด ประเสริฐที่สุด ได้บุญมากที่สุด เป็นกรรมอันยิ่งใหญ่ เรียกว่า "มหัคคตกรรม" อันเป็นมหัคคตกุศล


ที่มา
http://www.fungdham.com/book/prasungkarad.html

226
วิธีสร้างบุญบารมี  หน้าที่6
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้ คือ
๑. ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีบุญวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์ และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี

๒. ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๓. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล ๘ แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๔. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้ที่มีศีล ๑๐ คือสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๕. ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์ ซึ่งมีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ

พระด้วยกันก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น "พระ" แต่เป็นเพียงพระสมมุติเท่านั้น เรียกกันว่า "สมมุติสงฆ์" พระที่แท้จริงนั้น หมายถึงบุคคลที่บรรลุคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันเป็นต้นไป ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวชหรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น "พระ" ทั้งสิ้น และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับชั้น จากน้อยไปหามากดังนี้คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

๖. ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระโสดาบัน  แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม (ความจริงยังมีการแยกเป็นพระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อพอให้ได้ความเท่านั้น)

๗. ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๘. ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามีแม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๙. ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๐. ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๑. ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

 ๑๒. ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะได้ถวายสังฆทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๓. การถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายวิหารทาน แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม วิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทาน อันเป็นสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน อนึ่ง การสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน

๑๔. การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง (๑๐๐หลัง) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ธรรมทาน แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้ได้รู้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆขึ้น ให้ได้เข้าใจในมรรค ผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์การแจกหนังสือธรรมะ

๑๕. การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "อภัยทาน" แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทาน ก็คือการไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อละ "โทสกิเลส" และเป็นการเจริญ "เมตตาพรหมวิหารธรรม" อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ย่อมเป็นผู้ทรงฌาน ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง "พยาบาท" ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานทั้งปวง

อย่างไรก็ดี การให้อภัยทาน แม้จะมากเพียงใด แม้จะชนะการให้ทานอื่นๆทั้งมวล ผลบุญนั้นก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า "ฝ่ายศีล" เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นต่างกัน

ที่มา
http://www.fungdham.com/book/prasungkarad.html

227
วิธีสร้างบุญบารมี  หน้าที่5
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙

๓. ร่ำรวยปัจฉิมวัย คือร่ำรวยในบั้นปลายชีวิตนั้น สืบเนื่องมาจากผลทานที่ผู้กระทำมีเจตนางามไม่บริสุทธิ์ในระยะแรกและระยะที่ ๒ แต่งามบริสุทธิ์เฉพาะในระยะที่ ๓ กล่าวคือ ก่อนและในขณะที่ลงมือทำทานอยู่นั้น ก็มิได้มีจิตโสมนัสยินดีในการทำทานนั้นแต่อย่างใด แต่ได้ทำลงไปโดยบังเอิญ เช่นทำตามๆพวกพ้องไปอย่างเสียไม่ได้ แต่เมื่อได้ทำไปแล้ว ต่อมาหวนคิดถึงผลทานนั้น ก็เกิดจิตโสมนัสร่าเริงยินดีเบิกบาน หากผลทานชนิดนี้จะน้อมนำให้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเกิดในตระกูลที่ยากจนคับแค้น ต้องต่อสู้ดิ้นรนศึกษาเล่าเรียนและขวนขวายสร้างตนเองมากตั้งแต่วัยต้นจนล่วงวัยกลางคนไปแล้ว กิจการงานหรือธุรกิจนั้นก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ เช่นต้องล้มลุกคลุกคลานตลอดมา แต่ครั้นถึงบั้นปลายชีวิตก็ประสบช่องทางเหมาะ ทำให้กิจการงานนั้นเจริญรุ่งเรืองทำมาค้าขึ้นและร่ำรวยอย่างไม่คาดหมาย ซึ่งชีวิตจริงๆของคนประเภทนี้ก็มีให้เห็นเป็นตัวอย่างอยู่มาก

องค์ประกอบข้อ ๓. "เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์"
คำว่า "เนื้อนาบุญ" ในที่นี้ได้แก่บุคคลผู้รับการทำทานของผู้ทำทานนั้นเอง นับว่าเป็นองค์ประกอบข้อที่สำคัญที่สุด แม้ว่าองค์ประกอบในการทำทานข้อ ๑ และ ๒ จะงามบริสุทธิ์ครบถ้วนดีแล้ว กล่าวคือวัตถุที่ทำทานนั้นเป็นของที่แสวงหาได้มาด้วยความบริสุทธิ์ เจตนาในการทำทานก็งามบริสุทธิ์พร้อมทั้งสามระยะ แต่ตัวผู้รับการทำทานเป็นคนที่ไม่ดี ไม่ใช่ผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญที่บริสุทธิ์ เป็นเนื้อนาบุญที่เลว ทานที่ทำไปนั้นก็ไม่ผลิดอกออกผล เปรียบเหมือนกับการหว่านเมล็ดข้าวเปลือกลงในพื้นนา ๑ กำมือ แม้เมล็ดข้าวนั้นจะเป็นพันธุ์ดีที่พร้อมจะงอกงาม (วัตถุทานบริสุทธิ์) และผู้หว่านคือกสิกรที่มีเจตนาจะหว่านเพื่อทำนาให้เกิดผลิตผลเป็นอาชีพ (เจตนาบริสุทธิ์) แต่หากที่นานั้นเป็นที่ที่ไม่สม่ำเสมอกัน  เมล็ดข้าวที่หว่านลงไปก็งอกเงยไม่เสมอกัน โดยเมล็ดที่ไปตกในที่เป็นดินดี ปุ๋ยดี มีน้ำอุดมดีก็จะงอกเงยมีผลิตผลที่สมบูรณ์ ส่วนเมล็ดที่ไปตกบนพื้นนาที่แห้งแล้ง มีแต่กรวดกับทรายและขาดน้ำ ก็จะแห้งเหี่ยวหรือเฉาตายไป หรือไม่งอกเงยเสียเลย

การทำทานนั้น ผลิตผลที่ผู้ทำทานจะได้รับก็คือ "บุญ" หากผู้ที่รับการให้ทานไม่เป็นเนื้อนาที่ดีสำหรับการทำบุญแล้ว ผลของทานคือบุญก็จะได้เกิดขึ้น แม้จะเกิดก็ไม่สมบูรณ์ เพราะแกร็นหรือแห้งเหี่ยวเฉาไปด้วยประการต่างๆ ฉะนั้น ในการทำทาน ตัวบุคคลผู้รับของที่เราให้ทานจึงเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุด เราผู้ทำทานจะได้บุญมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับคนพวกนี้ คนที่รับการให้ทานนั้นหากเป็นผู้ที่มีศัลมีธรรมสูง ก็ย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่ดี ทานที่เราได้ทำไปแล้วก็เกิดผลบุญมาก หากผู้รับการให้ทานเป็นผู้ที่ไม่มีศีลไม่มีธรรม ผลของทานก็ไม่เกิดขึ้น คือได้บุญน้อย ฉะนั้น คติโบราณที่กล่าวว่า "ทำบุญอย่าถามพระ หรือตักบาตรอย่าเลือกพระ" เห็นจะใช้ไม่ได้ในสมัยนี้ เพราะในสมัยนี้ไม่เหมือนกับท่านในสมัยก่อนๆ ที่บวชเพราะมุ่งจะหนีสงสาร โดยมุ่งจะทำมรรคผล และนิพพานให้แจ้ง ท่านจึงเป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ แต่ในสมัยนี้มีอยู่บางคนที่บวชด้วยคติ ๔ ประการ คือ "บวชเป็นประเพณี บวชหนีทหาร บวชผลาญข้าวสุก บวชสนุกตามเพื่อน" ธรรมวินัยใดๆ ท่านไม่สนใจ เพียงแต่มีผ้าเหลืองห่มกาย ท่านก็นึกว่าตนเป็นพระและเป็นเนื้อนาบุญเสียแล้ว ซึ่งป่วยการจะกล่าวไปถึงศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ แม้แต่เพียงแค่ศีล ๕ ก็ยังเอาแน่ไม่ได้ว่าท่านจะมีหรือไม่ การบวชที่แท้จริงแล้วก็เพื่อจะละความโลภ โกรธ และหลง ปัญหาว่าทำอย่างไรจึงจะได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ ข้อนี้ย่อมขึ้นอยู่กับวาสนาของเราผู้ทำทานเป็นสำคัญ หากเราได้เคยสร้างสมอบรมสร้างบารมีมาด้วยดีในอดีตชาติเป็นอันมากแล้ว บารมีนั้นก็จะเป็นพลังวาสนาน้อมนำให้ได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ ทำทานครั้งใดก็มักโชคดี ได้พบกับท่านที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไปเสียทุกครั้ง หากบุญวาสนาของเราน้อยและไม่มั่นคง ก็จะได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญบ้าง ได้พบกับอลัชชีบ้าง คือดีและชั่วคละกันไป เช่นเดียวกับการซื้อสลากกินแบ่งกลากกินรวบ หากมีวาสนาบารมีเพราะได้เคยทำบุญให้ทานฝากกับสวรรค์ไว้ในชาติก่อนๆ ก็ย่อมมีวาสนาให้ถูกรางวัลได้ หากไม่มีวาสนาเพราะไม่เคยทำบุญทำทานฝากสวรรค์เอาไว้เลย ก็ไม่มีสมบัติสวรรค์อะไรที่จะให้เบิกได้ อยู่ๆ ก็จะมาขอเบิก เช่นนี้ก็ยากที่จะถูกรางวัลได้

ที่มา
http://www.fungdham.com/book/prasungkarad.html

228
วิธีสร้างบุญบารมี  หน้าที่4
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙

ผลหรืออานิสงส์ของการทำทานที่ครบองค์ประกอบ ๓ ประการนั้น ย่อมมีผลให้ได้ซึ่งมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติเอง แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งเจตนาเอาไว้ล่วงหน้าก็ตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากเหตุ เมื่อทำเหตุครบถ้วนย่อมมีผลเกิดขึ้นตามมาเอง เช่นเดียวกับปลูกต้นมะม่วงเมื่อรดน้ำพรวนดินและใส่ปุ๋ยไปตามธรรมดาเรื่อยไป แม้จะไม่อยากให้เจริญเติบโตและออกดอกออกผล ในที่สุดต้นไม้ก็จะต้องเจริญและผลิตดอกออกผลตามมา สำหรับผลของทานนั้น หากน้อยหรือมีกำลังไม่มากนักย่อมน้อมนำให้บังเกิดในมนุษย์ชาติ หากมีกำลังแรงมาก ก็อาจจะน้อมนำให้ได้บังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น เมื่อได้เสวยสมบัติในเทวโลกจนสิ้นบุญแล้ว ด้วยเศษของบุญที่ยังคงเหลืออยู่บ้างประกอบกับไม่มีอกศลกรรมอื่นแทรกให้ผล ก็อาจจะน้อมนำให้มาบังเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง และเมื่อได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ก็ย่อมทำให้ได้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวย มั่งคั่ง สมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์ หรือไม่ก็เป็นผู้ที่มีลาภผลมาก ทำมาหากินขึ้นและร่ำรวยในภายหลัง ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปเพราะวินาศภัย โจรภัย อัคคีภัย วาตภัย ฯลฯ แต่จะมั่งคั่ง ร่ำรวยในวัยใดย่อมสุดแล้วแต่ผลทานแต่ชาติก่อนๆจะส่งผล คือ

๑. ร่ำรวยตั้งแต่วัยต้น  เพราะผลของทานที่ได้ตั้งเจตนาไว้บริสุทธิ์ดีตั้งแต่ก่อนจะทำทาน คือก่อนที่จะลงมือทำทานก็มีจิตเมตตาโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานที่ตนจะได้ทำเพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น แล้วก็ได้ลงมือทำทานไปตามเจตนานั้น เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ย่อมโชคดี โดยเกิดในตระกูลที่ร่ำรวย ชีวิตในวัยต้นอุดมสมบูรณ์พูดสุขไปด้วยทรัพย์ ไม่ยากจนแร้นแค้น ไม่ต้องขวนขวายหาเลี้ยงตนเองมาก แต่ถ้าเจตนานั้นไม่งามบริสุทธิ์พร้อมกันครบ ๓ ระยะแล้ว ผลทานนั้นก็ย่อมส่งผลให้ไม่สม่ำเสมอกัน คือแม้ว่าจะร่ำรวยตั้งแต่วัยต้น โดยเกิดมาบนกองเงินกองทองก็ตาม หากในขณะที่กำลังลงมือทำทานเกิดจิตเศร้าหมองเพราะหวนคิดเสียดายหรือหวงแหนทรัพย์ที่จะให้ทานขึ้นมา หรือเกิดหมดศรัทธาขึ้นมาเฉยๆ แต่ก็ยังฝืนใจทำทานไป เพราะเสียไม่ได้หรือเพราะตามพวกพ้องไปอย่างเสียไม่ได้ เช่นนี้ผลทานย่อมหมดกำลังให้ผลในระยะที่ ๒ ซึ่งตรงกับวัยกลางคน ซึ่งจะมีผลทำให้ทรัพย์สมบัติวิบัติหายนะไปด้วยประการต่างๆ แม้จะได้รับมรดกมาก็ไม่อาจจะรักษาไว้ได้ หากเจตนาในการทำทานนั้นเศร้าหมองในระยะที่ ๓ คือทำทานไปแล้วหวนคิดขึ้นมาทำให้เสียดายทรัพย์ ความหายนะก็มีผลต่อเนื่องมาจนถึงบั้นปลายชีวิตด้วย คือทรัพย์สินคงวิบัติเสียหายต่อเนื่องจากวัยกลางคนตลอดไปจนถึงตลอดอายุขัยชีวิตจริงของผู้ที่เกิดบนกองเงินกองทองก็มีให้เห็น เป็นตัวอย่างที่เมื่อได้รับทรัพย์มรดกแล้วก็วิบัติเสียหายไป หรือนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในวัยต้น แต่ก็ต้องล้มละลายในวัยกลางคน และบั้นปลายชีวิต แต่ถ้าได้ตั้งแจตนาในการทำทานไว้บริสุทธิ์ครบถ้วนพร้อม ๓ ระยะแล้ว ผลทานนั้นย่อมส่งผลสม่ำเสมอ คือร่ำรวยตั้งแต่เกิด วัยกลางคน และจนปัจฉิมวัย

๒. ร่ำรวยในวัยกลางคน การที่ร่ำรวยในวัยกลางคืนนั้นสืบเนื่องมาจากผลของทานที่ได้ทำเพราะเจตนางามบริสุทธิ์ในระยะที่ ๒ กล่าวคือไม่งามบริสุทธิ์ในระยะแรก เพราะก่อนที่จะลงมือทำทานก็มิได้มีจิตศรัทธามาก่อน ไม่คิดจะทำทานมาก่อน แต่ก็ได้ตัดสินใจทำทานไปเพราะเหตุบางอย่าง เช่นทำตามพวกพ้องอย่างเสียไม่ได้ แต่เมื่อได้ลงมือทำทานอยู่ก็เกิดโสมนัสรื่นเริงยินดีในทานที่กำลังกระทำอยู่นั้น ด้วยผลทานชนิดนี้ ย่อมทำให้มาบังเกิดในตระกูลที่ยากจนคับแค้น ต้องต่อสู้สร้างตนเองมาในวัยต้น ครั้นเมื่อถึงวัยกลางคน กิจการหรือธุรกิจที่ทำก็ประสบความสำเร็จรุ่งเรือง และหากเจตนาในการทำทานได้งานบริสุทธิ์ในระยะที่ ๓ ด้วย กิจการหรือธุรกิจนั้น ย่อมส่งผลรุ่งเรืองตลอดไปจนถึงบั้นปลายชีวิต หากเจตนาในการทำทานไม่บริสุทธิ์ในระยะที่ ๓ แม้ธุรกิจหรือกิจการงานจะประสบความสำเร็จรุ่งเรืองในวัยกลางคน แต่ก็ล้มเหลวหายนะในบั้นปลาย ทั้งนี้เพราะผลทานหมดกำลัง ส่งผลไม่ตลอดจนถึงบั้นปลายชีวิต

ที่มา
http://www.fungdham.com/book/prasungkarad.html

229
วิธีสร้างบุญบารมี  หน้าที่3
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙

เมื่อเจตนาในการให้ทานบริสุทธิ์ผุดผ่องดีพร้อมทั้งสามระยะดังกล่าวมาแล้ว ทั้งยังประกอบไปด้วยวิปัสสนาปัญญาดังกล่าวมาแล้วด้วย เจตนานั้นย่อมบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทานที่ได้ทำไปนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญมากหากวัตถุทานที่ได้ทำเป็นของที่บริสุทธิ์ตามองค์ประกอบข้อ ๑ ด้วย ก็ย่อมทำให้ได้บุญมากยิ่งๆขึ้นไปอีก วัตถุทานจะมากหรือน้อย เป็นของเลวหรือประณีตไม่สำคัญ เมื่อเราได้ให้ทานไปตามกำลังทรัพย์ที่เรามีอยู่ย่อมใช้ได้ แต่ก็มีข้ออันควรระวังอยู่ ก็คือ การทำทานนั้นอย่างได้เบียดเบียนตนเอง เช่นมีน้อย แต่ฝืนทำให้มากๆ จนเกินกำลังของตนที่จะให้ได้ เมื่อได้ทำไปแล้ว ตนเองและสามี ภริยา รวมทั้งบุตรต้องลำบาก ขาดแคลน เพราะไม่มีจะกิน จะใช้ เช่นนี้ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง แม้วัตถุทานจะมากหรือทำมาก ก็ย่อมได้บุญน้อย ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ทำทานด้วยเจตนาอันไม่บริสุทธิ์ คือ

ตัวอย่าง ๑ ทำทานเพราะอยากได้ ทำเอาหน้า ทำอวดผู้อื่น เช่น สร้างโรงเรียน โรงพยาบาลใส่ชื่อของตน ไปยืนถ่ายภาพลงโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อให้ได้รับความนิยมยกย่องนับถือ โดยที่แท้จริงแล้วตนมิได้มีเจตนาที่จะมุ่งสงเคราะห์ผู้ใด เรียกว่าทำทานด้วยความโลภ ไม่ได้ทำเพื่อขจัดความโลภ ทำทานด้วยความอยากได้ คืออยากได้หน้า ได้เกียรติ ได้สรรเสริญ ได้ความนิยมนับถือ

ตัวอย่าง ๒ ทำทานด้วยความฝืนใจ ทำเพราะเสียไม่ได้ ทำด้วยความเสียดาย เช่นมีพวกพ้องมาเรี่ยไร ตนเองไม่มีศรัทธาที่จะทำ หรือมีศรัทธาอยู่บ้าง แต่ทรัพย์น้อย เมื่อมีพวกมาเรี่ยไรบอกบุญ ต้องจำใจทำทานไปเพราะความเกรงใจพวกพ้อง หรือเกรงว่าจะเสียหน้า ตนจึงได้สละทรัพย์ทำทานไปด้วยความจำใจ ย่อมเป็นการทำทานด้วยความตระหนี่หวงแหน ทำทานด้วยความเสียดาย ไม่ใช่ทำทานด้วยจิตเมตตาที่มุ่งจะสงเคราะห์ผู้อื่น ซึ่งยิ่งคิดก็ยิ่งเสียดาย ให้ไปแล้วก็เป็นทุกข์ใจ บางครั้งนึกโกรธผู้ที่มาบอกบุญ เช่นนี้จิตย่อมเศร้าหมอง ได้บุญน้อย หากเสียดายมากๆ จนเกิดโทสจริตกล้าแล้ว นอกจากจะไม่ได้บุญแล้ว ที่จะได้ก็คือบาป

ตัวอย่าง ๓ ทำทานด้วยความโลภ คือทำทานเพราะอยากได้นั่น อยากได้นี่ อยากเป็นนั่น เป็นนี่ อันเป็นการทำทานเพราะหวังสิ่งตอบแทน ไม่ใช่ทำทานเพราะมุ่งหมายที่จะขจัดความโลภ ความตระหนี่หวงแหนในทรัพย์ของตน เช่น ทำทานแล้วตังจิตอธิษฐานขอให้ชาติหน้าได้เป็นเทวดา นางฟ้า ขอให้รูปสวย ขอให้ทำมาค้าขึ้น ขอให้ร่ำรวยนับล้าน ขอให้ถูกสลากกินแบ่งสลากกินรวบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสมบัติสวรรค์ หากชาติก่อนไม่เคยได้ทำบุญใส่บาตรฝากสวรรค์เอาไว้ อยู่ๆก็มาขอเบิกในชาตินี้ จะมีที่ไหนมาให้เบิก การทำทานด้วยความโลภเช่นนี้ ย่อมไม่ได้บุญอะไรเลย สิ่งที่จะได้พอกพูนเพิ่มให้มากขึ้นและหนาขึ้น ก็คือ "ความโลภ"

ที่มา
http://www.fungdham.com/book/prasungkarad.html

230

วิธีสร้างบุญบารมี  หน้าที่2
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙


ตัวอย่าง ๒ ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์รวมตลอดถึงการทุจริตฉ้อราษฏร์บังหลวง อันเป็นการได้ทรัพย์มาในลักษณะไม่ชอบธรรม หรือโดยเจ้าของเดิมไม่เต็มใจให้ทรัพย์นั้นย่อมเป็นของไม่บริสุทธิ์ เป็นของร้อน แม้จะผลิดอกออกผลมาเพิ่มเติม ดอกผลนั้นก็ย่อมเป็นของไม่บริสุทธิ์ด้วย นำเอาไปกินไปใช้ย่อมเกิดโทษ เรียกว่า "บริโภคด้วยความเป็นหนี้" แม้จะนำเอาไปทำบุญ ให้ทาน สร้างโบสถ์วิหารก็ไม่ทำให้ได้บุญแต่อย่างใด สมัยหนึ่งในรัชกาลที่๕ มีหัวหน้าสำนักนางโลมชื่อว่า "ยายแฟง" ได้เรียกเก็บเงินจากหญิงโสเภณีในสำนักของตนจากอัตราที่ได้มาครั้งหนึ่ง ๒๕ สตางค์ แกจะชักเอาไว้ ๕ สตางค์ สะสมเอาไว้เช่นนี้จนได้ประมาณ ๒,๐๐๐ บาท แล้วจึงจัดสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งด้วยเงินนั้นทั้งหมด เมื่อสร้างเสร็จแล้วแกก็ปลื้มปีติ นำไปนมัสการถามหลวงพ่อโตวัดระฆังว่าการที่แกสร้างวัดทั้งวัดด้วยเงินของแกทั้งหมดจะได้บุญบารมีอย่างไร หลวงพ่อโตตอบว่า ได้แค่ ๑ สลึง แกก็เสียใจ เหตุที่ได้บุญน้อยก็เพราะทรัพย์อันเป็นวัตถุทานที่ตนนำมาสร้างวัดอันเป็นวิหารทานนั้น เป็นของที่แสวงหาได้มาโดยไม่บริสุทธิ์ เพราะเบียดเบียนมาจากเจ้าของที่ไม่เต็มใจจะให้ ฉะนั้น บรรดาพ่อค้าแม่ขายทั้งหลายที่ซื้อของถูกๆ แต่ขายแพงๆ จนเกินส่วนที่ควรจะได้ ผลกำไรที่ได้มาเพราะความโลภจัดจนเกินส่วนนั้นย่อมเป็นสิ่งของที่ไม่บริสุทธิ์โดยนัยเดียวกัน

วัตถุทานที่บริสุทธิ์เพราะการแสวงหาได้มาโดยชอบธรรมดังกล่าว ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นของดีหรือเลย ไม่จำกัดว่าเป็นของมากหรือน้อย น้อยค่าหรือมีค่ามาก จะเป็นของดี เลว ประณีต มากหรือน้อยไม่สำคัญ ความสำคัญขึ้นอยู่กับเจตนาในการให้ทานนั้น ตามกำลังทรัพย์และกำลังศรัทธาที่ตนมีอยู่

องค์ประกอบข้อ ๒. "เจตนาในการให้ทานต้องบริสุทธิ์"
การให้ทานนั้น โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่เหนียวแน่น ความหวงแหน หลงใหลในทรัพย์สมบัติของตน อันเป็นกิเลสหยาบ คือ "โลภกิเลส" และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วยเมตตาธรรมของตน อันเป็นบันไดก้าวแรกในการเจริญเมตตาพรหมวิหารธรรมในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น ถ้าได้ให้ทานด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว เรียกว่าเจตนาในการทำทานบริสุทธิ์ แต่เจตนาที่ว่าบริสุทธิ์นั้น ถ้าจะบริสุทธิ์จริงจะต้องสมบูรณ์พร้อมกัน ๓ ระยะ คือ

(๑) ระยะก่อนที่จะให้ทาน ก่อนที่จะให้ทานก็มีจิตโสมนัส ร่าเริงเบิกบานยินดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สิ่งของของตน
(๒) ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน ระยะที่กำลังลงมือทำทานอยู่นั้นเอง ก็ทำด้วยจิตโสมนัสร่าเริงยินดีและเบิกบานในทานที่ตนกำลังให้ผู้อื่น
(๓) ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว ครั้นเมื่อได้ให้ทานไปแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ดี นานมาก็ดี เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใดก็มีจิตโสมนัสร่าเริงเบิกบาน ยินดีในทานนั้นๆ

เจตนาบริสุทธิ์ในการทำทานนั้น อยู่ที่จิตโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานที่ทำนั้นเป็นสำคัญ และเนื่องมาจากเมตตาจิตที่มุ่งสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นความทุกข์และให้ได้รับความสุขเพราะทานของตน นับว่าเป็นเจตนาที่บริสุทธิ์ในเบื้องต้น แต่เจตนาที่บริสุทธิ์เพราะเหตุดังกล่าวมาแล้วนี้จะทำให้ยิ่งๆบริสุทธิ์มากขึ้นไปอื่นหากผู้ให้ทานนั้นได้ทำทานด้วยวิปัสสนาปัญญา กล่าวคือไม่ใช่ทำทานอย่างเดียว แต่ทำทานพร้อมกับมีวิปัสสนาปัญญา โดยใคร่ครวญถึงวัตถุทานที่ให้ทานนั้นว่า อันบรรดาทรัพย์สิ่งของทั้งปวงที่ชาวโลกนิยมยกย่องหวงแหนเป็นสมบัติกันด้วยความโลภนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นเพียงแต่วัตถุธาตุประจำโลก เป็นสมบัติกลาง ไม่ใช่ของผู้ใดโดยเฉพาะ เป็นของที่มีมาตั้งแต่ก่อนเราเกิดขึ้นมา และไม่ว่าเราจะเกิดขึ้นมาหรือไม่ก็ตาม วัตถุธาตุดังกล่าวก็มีอยู่เช่นนั้น และได้ผ่านการเป็นเจ้าของของผู้อื่นมาแล้วหลายชั่วคน ซึ่งท่านแต่ก่อนนั้นต่างก็ได้ล้มหายตายจากไปทั้งสิ้น ไม่สามารถนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลย จนในที่สุดก็ได้ตกทอดมาถึงเรา ให้เราได้กินได้ใช้ได้ยึดถือเพียงชั่วคราว แล้วก็ตกทอดสืบเนื่องไปเป็นของคนอื่นๆ ต่อๆไปเช่นนี้ แม้เราเองก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้ จึงนับว่าเป็นเพียงสมบัติผลัดกันชมเท่านั้น ไม่จากไปในวันนี้ก็ต้องจากไปในวันหน้า อย่างน้อยเราก็ต้องจากต้องทิ้งเมื่อเราได้ตายลง นับว่าเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นว่านั่นเป็นของเราได้ถาวรตลอดไป แม้ตัววัตถุธาตุดังกล่าวนี้เอง เมื่อมีเกิดขึ้นเป็นตัวตนแล้ว ก็ตั้งอยู่ในสภาพนั้นให้ตลอดไปไม่ได้ จะต้องเก่าแก่ ผุพัง บุบสลายไป ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนแต่อย่างไร แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของเราเองก็มีสภาพเช่นเดียวกับวัตถุธาตุเหล่านั้น ซึ่งไม่อาจจะตั้งมั่นให้ยั่งยืนอยู่ได้ เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็จะต้องเจริญวัยเป็นหนุ่มสาวแล้วก็เฒ่าแก่และตายไปในที่สุด เราจะต้องพลัดพรากจากของอันเป็นที่รัก ที่หวงแหน คือทรัพย์สมบัติทั้งปวง

ที่มา
http://www.fungdham.com/book/prasungkarad.html

231
วิธีสร้างบุญบารมี หน้าที่1
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙
วัดบวรนิเวศวิหาร



บุญ ความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) กล่าวว่า บุญ คือ เครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฑติชอบทางกาย วาจา และใจ กุศลธรรม

บารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง

วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๓ ขั้นตอน คือการให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา ที่นิยมเรียกกันว่า "ทาน ศีล ภาวนา" ซึ่งการให้ทานหรือการทำทานนั้น เป็นการสร้างบุญที่ต่ำที่สุด ได้บุญน้อยที่สุด ไม่ว่าจะทำมากอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากไปกว่าการถือศีลไปได้ การถือศีลนั้นแม้จะมากอย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากเกินไปกว่าการเจริญภาวนาไปได้ ฉะนั้น การเจริญภาวนานั้น จึงเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด ได้มากที่สุด ในทุกวันนี้เรารู้จักกันแต่การให้ทานอย่างเดียว เช่นการทำบุญตักบาตร ทอดกฐินผ้าป่า สละทรัพย์สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ส่วนการถือศีล แม้จะได้บุญมากกว่าการทำทาน ก็ยังมีการทำกันเป็นส่วนน้อย เพื่อความเข้าใจอันดี จึงขอชี้แจงการสร้างบุญบารมี อย่างไรจึงจะเป็นการลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้บุญบารมีมากที่สุดดังนี้คือ

๑. การทำทาน
การทำทาน ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตน ทานที่ได้ทำไปนั้นจะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ ๓ ประการ ถ้าประกอบหรือถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบ ๓ ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ

องค์ประกอบข้อ ๑. "วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์"
วัตถุทานที่ให้ ได้แก่สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทานนั้นเอง จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ ที่จะเป็นของบริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนได้แสวงหา ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยทุจริต ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ

ตัวอย่าง ๑ ได้มาโดยการเบียดเบียนชีวิตเลือดเนื้อสัตว์ เช่นฆ่าสัตว์ต่างๆ เป็นต้นว่า ปลา โค กระบือ สุกร โดยประสงค์จะนำเอาเลือดเนื้อของเขามาทำอาหารถวายพระเพื่อเอาบุญ ย่อมเป็นการสร้างบาปเอามาทำบุญ วัตถุทานคือเนื้อสัตว์นั้นเป็นของที่ไม่บริสุทธิ์ แม้ทำบุญให้ทานไป ก็ย่อมได้บุญน้อย จนเกือบไม่ได้อะไรเลย ทั้งอาจจะได้บาปเสียอีกหากว่าทำทานด้วยจิตที่เศร้าหมอง แต่การที่ได้เนื้อสัตว์มาโดยการซื้อหาจากผู้อื่นที่ฆ่าสัตว์นั้น โดยที่ตนมิได้มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจในการฆ่าสัตว์ก็ดี เนื้อสัตว์นั้นตายเองก็ดี เนื้อสัตว์นั้นย่อมเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์ เมื่อนำมาทำทานย่อมได้บุญมากหากถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบข้ออื่นๆด้วย

ที่มา
http://www.fungdham.com/book/prasungkarad.html

232
อานิสงส์ของการมีสัจจะ  2/2
พระภาวนาวิสุทธิคุณ


พอพูดกันสักพัก ก็มีเสียงเรียกให้ช่วย ตำรวจก็มองหา เอ...อยู่ที่ไหนแปลก อยู่ใต้เตียงเวลาเข้าได้ออกไม่ได้ สะโพกตั้งศอก เลยเข้าไปยกเตียงไม่ชิงชันออกมา ไก่ยังอยู่ในปาก จะกลืนก็ไม่กลืน ไม่มีพองหนอ ยุบหนอ เตี่ยกับแม่ทำ ลูกสาวไม่ได้ทำ ในที่สุดก็ได้ของคืนหมด แต่เตี่ยกับแม่ในที่สุดก็บอกตำรวจว่าไม่เอาเรื่องเอาความ ไม่ติดตามฝากหลวงไป แล้วแต่เถอะว่าเสียสละแล้ว บอกว่าจะติดคุกติดตะราง อโหสิกรรม แล้วพวกขโมยก็มากราบตาแป๊ะกราบยายซิ้ม แล้วตำรวจก็ถามว่า เป็นยังไงถึงยิงไม่ออก มีพระอะไร ตาแป๊ะบอกมีพระพองหนอยุบหนอ ลื้อเอาไปใช้เถอะยิงไม่ออกแน่ พระพองหนอ พระยุบหนอ

ในที่สุด ตำรวจมาที่วัดนี่ เดี๋ยวนี้เป็นนายพันเอก เป็นนายพลตรีไปแล้ว ตำรวจบอกเอาพระตาแป๊ะพองหนอยุบหนอขลังจริง ๆ ปืนยังยิงไม่ออก เพราะว่าคุณนายชื่อว่าสะโพกศอกกว่า ๆ นี้นะเข้าไปได้บอกว่าคุณนายเข้าไปได้ยังไง บอกว่าฉันก็ไม่รู้ ตกอกตกใจพรวดเข้าไปใต้เตียง เตียงไม้ชิงชัน เวลาออกออกไม่ได้ สะโพกติดก็ต้องไปช่วยกันยกเตียงไม้ชิงชันออกมาเห็นไหม มันก็เป็นได้อย่างนี้

ปืนยิงไม่ออกก็คือสัจจะ ความจริง และก็ว่าคล้องพระไปเป็นกิโลนะ โป้งตายไปหลายราย เพราะไม่นึกถึงคุณพระอยู่ในใจเลย ไม่มีสัจจะ เสียสัจจะ เอาพระไปคล้องเสียเวลาเปล่า ๆ พระพุทธเจ้าไม่ช่วยแน่ อาตมาขอยืนยัน

อาตมาไปชายแดน ถามหัวหน้าหน่วยเป็นพันตรี บอกมีไหมปืนยิงไม่ออกยิงไม่เข้า มีคนเดียว นอกนั้นตายเรียบ โดนปืนตายทั้งนั้น แต่คนนี้ไม่ตาย โดนเอ็ม ๑๖ หล่นจากเข้าค้อเป็นเวลานานแล้ว ตอนนั้นเป็นสิบโท เดี๋ยวนี้เป็นร้อยเอกแล้ว อาตมาบอกขอมาสัมภาษณ์ซิ แต่นายพันตรีก็ไม่รู้หรอกว่ามันอยู่ด้วยอะไร

อาตมาก็มากล่าวอีกถึงอิสลาม เป็นชาวอิสลาม พ่อเขาเป็นแขกแม่เป็นชาวพุทธ ก็เอาตะกรุดมาให้อาจารย์ดู ถักเสียสวยเลยคล้องคอไว้ นายพันตรีก็ไม่รู้ว่ามีอะไรดีเป็นอิสลาม ทำไมมันเหนียว ทำไมทหารไทยตายซะเรียบ ในเขาค้อนี่เองเลยเพชรบูรณ์ไปนี่ ติดต่อกับพิษณุโลก อาตมาไปมา ที่ไปนี่ก็เอาของไปแจกไม่ใช่เอาเหรียญไปแจกนะ เอาขนมเอากระยาสารท ขนมเปี๊ยะ เอาพวกน้ำปลาไปแจกทหารชายแดน ๒๔ ลังเรียบไม่พอแจก ทหารชอบไม่ใช่ไล่แจก อาตมาถามบอกขอดูซิ อิสลามบอกหลวงพ่ออย่าจับ เอาไม่จับได้ไง คนละศาสนาถือหรือ ไม่ใช่หรอกครับ เดี๋ยวผมจะเล่าถวาย

พอผมจะมาสนามรบนี้ผมก็ไปลาลุง ๆ ผมเป็นทายกพระ แต่ทีนี้แม่ผมได้กับป๋าที่มาจากเมืองนอก ก็ต้องตามป๋าไปอิสลาม แล้วก็บอกมาขอของดีลุงจะให้อะไร ลุงบอกเอาผ้านุ่งแม่เจ้ามา แล้วลุงจะทำให้ เอาผ้านุ่งมาตัด ๆ เข้าแล้วก็เอาเชือกถักเสียสวยเลย แล้วก็ให้คล้องคอ แล้วบอกให้หลานตั้งนะโมเอาแบบพุทธ ท่อง นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ๓ หน แล้วนึกถึงพระเจ้าของเจ้าก็ตามใจ บิดามารดาปกปักรักษา คุณครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณทั้งหลายแค่นี้แหละแล้ว เจ้าอิสลาม ๑. เหล้าหยดเดียวไม่กิน ๒. การพนันไม่เล่น ๓. ผู้หญิงไม่เที่ยว สามอย่างเท่านั้น หล่นจากภูเขาก็ไม่เป็นไร เขาเลิกเสื้อให้ดู บอกบอบช้ำไปเลย แต่ทีนี้เพื่อนทหารของผมก็กินเหล้าเข้าไปในหมู่บ้าน กลับไปก็ไปเหยียบกับระเบิดตาย

นี่แค่ผ้านุ่งแม่ ปืนยังยิงไม่เข้า เขาไปทำเป็นตะกรุดคล้องคอ อาตมาจับเขาถึงไม่ให้จับ บอกว่านี่เป็นผ้านุ่งแม่ผม เลยให้นายพันตรี บอกอยู่ด้วยกันมานาน ไม่รู้ไม่เห็นเล่าให้ฟัง กลัวทหารจะล้อว่าเอาผ้านุ่งมาคล้องคอ ว่าอย่างนี้ เดี๋ยวทหารบางคนก็ว่าไม่ใช่ผ้านุ่งแม่ เอาผ้านุ่งเมียมาคล้องคอ นี่บางทีแม่มาหาก็หาว่าเมียมาหา ทหารที่นั่นเป็นอย่างนี้เขาเล่าให้อาตมาฟัง นี่ก็เรื่องจากชีวิตปฏิบัติธรรม ถึงจะเป็นอิสลามหรือไม่ก็ตามเขามีสัจจะของเขา เหล้าไม่กันเลยแม้แต่หยดเดียว พระเจ้าก็ช่วยได้ นี่ผ้านุ่งแม่ก็ช่วยได้ เดี๋ยวนี้ไม่เอาแล้ว ผ้านุ่งแม่ก็ซักให้ไม่ได้ ทีผ้านุ่งเมียซักได้นะ เห็นบางคนเขาพูดกัน ข้อเท็จจริงอย่างไรไม่รู้ เห็นบางคนเขาพูดกัน บางคนถูกผ้าผู้หญิงไม่ได้เพราะกลัวเสื่อม อาตมาว่าไม่จริง อยู่ที่ใจ เสื่อมไม่เลื่อมอยู่ที่ใจ ไม่อยู่ที่ผ้านุ่งผู้หญิงหรอก


ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

233
อานิสงส์ของการมีสัจจะ  1/2
พระภาวนาวิสุทธิคุณ


มีสองตายายเขาพากันเดินจงกรมบนนอกชานเรือนตอนเดือนหงาย ไอ้ขโมยมาลักควาย นี่เรื่องตก ๓๐ ปีแล้ว สองคนตายายเดินจงกรมที่นอกชานเดือนหงาย ถ้าไม่ได้ชั่วโมงไม่เลิก ต้องได้ชั่วโมง ก็ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ช้า ๆ ใครจะไปเหนือมาใต้ข้าไม่สนใจ ใครจะเรียกข้าก็ไม่รับปาก แหมเดินดี เดินจงกรมมีสัจจะว่าเดินหนึ่งชั่วโมง ควายอยู่ใต้ถุน ขโมยมา ๔ คนก็มาลักควาย คนหนึ่งก็เฝ้าเจ้าของไว้ คนหนึ่งก็ไปเฝ้าทางปากตรอกไว้ คนหนึ่งตัดคอกใต้ถุนแล้วเอาควายออก มีความ ๓ ตัว ควายอ้วน ๆ เอาควายไปแล้วเปิดเลย คนที่มันเฝ้าเจ้าของมันยังอยู่ สุนัขหลับหมด ไม่รู้มันใช้สะกดหรืออย่างไรเราก็ไม่ทราบ หรือดาวหมามันขึ้นเราไม่รู้ เรียนหรือเปล่าดาวหมาขึ้นลักขโมยตอนนั้น ถ้าไม่เรียนจะบอกให้เอาไหม ดาวหมาขึ้นหลับหมดเลย ลักของได้ตอนนั้นนะ

อานิสงส์การเดินจงกรม ความออกนอกบ้านไปแล้ว คนที่มันเฝ้าอยู่ใต้ถุนบ้านเจ้าของดูว่าเจ้าของจะตื่นหรือเปล่า เดือนมันหงายนี่มันก็อะไรไม่รู้ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ เอ๊ะ ผีสิงหรือยังไง ก็เดินดูจนควายออกไปตั้งเยอะแล้ว ออกปากตรอกไปแล้ว เอ อะไรกัน นี่ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ขโมยที่เฝ้าคอกมันก็ถอยหลังเรื่อย มันอยากดู ถอยหลังมาเรื่อย ๆ ถอยหลังออกมาจากใต้ถุนเรื่อย ๆ ก็ดู อะไรกัน นึกว่าผีเรือนหรือยังไง เพราะไปลักควายมาหลายเจ้าไม่เคยมีผีอย่างนี้ ขโมยไม่ได้เรียนเดินจงกรม ถ้าขโมยมาเรียนซะแล้วก็ไม่เป็นอะไรนะ จะได้รู้ว่าเขาเดินจงกรม มันไม่รู้นี่ ถอย ๆ มาเหยียบเอาหมาเข้า หมาตื่นหมดบ้าน หมามีอยู่ ๑๐ ตัวเห่ากันใหญ่ เลยควายที่เอาไปแตกกันหมด ควายไม่หาย นี่อานิสงส์เดินจงกรมนะ มีข้าวของอะไรไม่ต้องไปจ้างใครเขาเฝ้า สองคนตายายก็เดินจงกรมไปซี ถ้าไม่เดินก็หลับเลย อันนี้เรื่องจริงที่ผ่านมา ๓๐ ปีแล้ว

มีเรื่องแปลกอีกเรื่องหนึ่ง เรื่องคล้ายกัน บ้านตาแป๊ะแก่คนหนึ่ง อยู่กันสองคนกับยายซิ้ม เขานัดหมายกันนั่งชั่วโมงหรือสองชั่วโมงจำไม่ได้ เวลานั่งแล้ว ใครจะเรียกมาหาใครจะมาลักขโมยไม่สนใจไม่ต้องฟังเสียง ถ้านาฬิกาไม่กริ๊งไม่เลิก ตั้งสัจจะและพระที่คล้องคอก็ไม่มี เมียนั่งโน้นผัวนั่งนี่ บ้านนั้นมีเครื่องลายครามเยอะแยะหมด แล้วก็มีลูกสาวคนหนึ่งผอม สะโพก ๒ ศอกได้มั้ง ขณะนี้ลูกสาวน่ะ สามีเป็นนายพันเอก อย่าไปออกชื่อเขาเลย เป็นลูกอาจารย์กองทัพอากาศ เดี๋ยวนี้ยังอยู่แต่ปลดเกษียณแล้ว

ก็ได้ความว่าลูกสาวมาเยี่ยมเตี่ยกับแม่ แล้วทีนี้เตี่ยกับแม่ก็นั่งบริกรรมพองหนอยุบหนอ ถ้าไม่ได้กำหนดไม่ออก ถือสัจจะ พอดีรถปิคอัพเข้ามา ขโมยปล้นมีเอ็ม ๑๖ มาก็ยิง ยิงเลย ยิงไม่ออก ยิงโด่งออก แล้วโจรก็มาคลำดูที่คอ สองคนก็ภาวนาพองหนอยุบหนอตลอด ลูกสาวกำลังรับประทานอาหารอยู่ กำลังจิ้มไก่ย่างใส่ปาก เคี้ยวไปยังไม่ทันกลืนนะ พอเสียงปืนโป้งปั้งทำไง ก็รีบเข้าไปใต้เตียง ไม่ชิงชันสูงคืบเดียวนะ เข้าไปได้สะโพกเบ้อเร่อเข้าได้สบายมาก แล้วก็ไก่ย่างยังอยู่ในปาก

มันเป็นเรื่องอัศจรรย์อันหนึ่ง ยิงก็ไม่ออก มันจะมาฆ่าตาแป๊ะคนนี้ มีเครื่องลายครามขนใส่รถหมด ข้าวของเงินทองขนใส่รถ ยายซิ้มพองหนอยุบหนอ คิดหนอ ๆ ก็พองหนอยุบหนอต่อไป แหมเขาแน่จริง ๆ ขโมยก็ขึ้นรถไปออกไปถึงตรอกนั้น ร้อนถึง จักรินเทวราช สั่งมาตุลีเทพบุตรบอกให้สารวัตรใหญ่เข้าไปในตรอกนี้ให้ได้ เกิดสังหรณ์ในใจ ตำรวจสารวัตรใหญ่เป็นพันตำรวจโทก็สั่งลูกน้องเข้าในตรอกนี้ซิ มันสงสัย ก็สวนกันรถขโมยพอดีเลย พอสวนรถขโมย มันเปิดไฟเห็นตำรวจมันก็โดด ตำรวจโดดตาม พอตำรวจโดดตามจับได้หมด

เลยผลสุดท้ายก็ถามว่า เอามาจากบ้านใคร โจรก็บอกกับตำรวจว่าเอามาจากบ้านตาแป๊ะนี่ เลยถอยหลังกลับไป พอรถขโมยไปจอดรถ รถสารวัตรใหญ่ไปจอด สองคนนั่งพองหนอยุบหนอ ยังไม่ออกจากกรรมฐานเลย เลยตำรวจก็ปลุกตาแป๊ะ ไม่ลุก สักประเดี๋ยวนาฬิกากริ่ง ตาแป๊ะก็ออกพอดีเจอตำรวจบอกว่า เอ...ไอ้ผู้ร้ายบอกว่าเอาปืนยิงไม่ออก เลยคลำที่คอบอกว่าไม่มีพระ ไม่มีพระเครื่องรางของขลังแต่ยิงไม่ออก บอกนี่โดนปล้นรู้ไหม ตาแป๊ะบอกรู้ แต่กำหนดได้ว่าอย่างนี้นะ รู้นะไม่ใช่ไม่รู้ ไม่ใช่เข้าพลสมาบัติ รู้เลยอย่าได้เอาไป รู้หนอ ๆ พองหนอ ยุบหนอต่อไป อยากได้เอาไป ๆ ถ้าเป็นของลื้อ ๆ เอาไป ถ้าเป็นของอั๊วอยู่ พองหนอ ยุบหนอ ๆ อยากได้เอาไป ๆ


ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

234
อานิสงส์ของการแผ่เมตตา   1/2


ยายผิงกับแมว

มี ยายผิง อยู่คนหนึ่ง อยู่ที่กุฏิอาตมา เดี๋ยวนี้ตายไปแล้ว อาตมาก็มีแมวมีหมาอย่างนี้แหละ ตอนที่แกอยู่เอาตาลปัตรตีแมว ยายคนนี้น่ะก็ลูกเขาไม่เลี้ยง อาตมาส่งลูกเรียนเป็นใหญ่เป็นโตแล้วนะ แล้วก็มีลูกสะใภ้ ไล่แม่ออกมา เราก็ต้องเลี้ยงแม่เขาด้วยซี ลูกไม่เอาไหน พอได้เมียก็ลืมแม่เลย แม่เลยต้องมาอยู่กับอาตมา เอาเข็มขัดทองมาฝาก เอาสร้อยมาฝากอาตมาไว้ ก็มารับใช้ที่วัด พอแมวเข้ามาตีเลย ทั้งตีทั้งเตะ แล้วแมวก็ยิ่งขี้ใหญ่ เห็นไหม แมวนี่แปลก ถ้าด่า มันยิ่งขี้ มันขี้เปรอะเลอะพรมหมด อาตมาวันนั้นเห็นลงมาจากข้างบน ก็ลงมานั่ง ๆ อยู่ข้างล่าง แล้วแมวทำอย่างไร มันเกลียดยายผิงที่ด่ามัน มันไปชวนเพื่อนมาช่วยขี้ ให้ยายผิงเช็ด เห็นไหมแมวที่บ้านใครไม่รู้ มันชวนเป็นแถวหมดแล้วมาถึงขี้เอา ๆ แล้ววิ่งเลย อาตมาเห็นกับตาแล้ว โอย เห็นไหมมันขี้ทีเดียวไม่พอนะ มันไปชวนเพื่อนชวนสมัครพรรคพวก มันมาช่วยขี้ที่กุฏิอาตมาแล้วให้ยายผิงเช็ด ยายผิงก็ด่าไปเช็ดไป ด่าไป อะไรอย่างนี้นะ เดี๋ยวอีกวันไปชวนเพื่อนมาอีก ชวนเพื่อนยังไม่พอ ชวนหมามาขี้ แหม แมวนี่สำคัญ เอายังไงนี่เรื่องจริงที่นี่นะ ถามคนที่นี่ดู

อาตมาก็เปลี่ยนใหม่พอไม่มีแขก เรียกยายผิงมานี่ ยายผิงแกแก่แล้วบอกอาตมาขอบิณฑบาต “นี่โยมไปด่าแมว มันยิ่งขี้เห็นไหม นี่เห็นไหม” “เห็นเจ้าค่ะ” “และฉันจะทำยังไงเจ้าคะ ก็แผ่เมตตาไม่ออก อยากจะกระทืบเสียเลย อยากจะกระทืบแมว” “แหมหลวงพ่อ เอาอย่างงี้เหอะ หาตะคอกให้ฉันสักลูกเถอะ จะจับไปปล่อยแถวพรหมบุรี” บอก “อย่า บ้านแตกสาแหรกขาดอย่าไปปล่อย วิธีของเราอย่างนี้ โยมนั่งกรรมฐานเสียซี”

ยายผิงไม่เคยนั่งกรรมฐาน มีใครมา เอ้าโยม คุณน้าคุณลุงคุณป้านั่งกรรมฐาน หลวงพ่อคนเขาถามว่า แกเอาบ้างหรือเปล่า ข้าเปล่าเลย นึกดูซิ ไม่เอาไหนเลย ในที่สุดอาตมาก็บอกให้โยมทำอย่างนี้ได้ไหม บอกว่า แม่แมวเอ๋ย อย่าขี้เลยนะ เรากวาดลำบากไปขี้ที่อื่นเถิด ต่อไปนี้ฉันจะไม่ด่าแก ฉันจะไม่ตีแก ให้สัญญากับแก ไปขี้ที่อื่นนะ พูดให้เพราะ ๆ ยายผิงพูดกับแมวจ๊ะจ๋าหน่อยซี แมวมันก็มีชีวิตชีวา แมวตามบ้านที่มาปล่อยวัดเพราะอะไร ขี้รดหัวเตา ก็เจ้าของบ้านไม่มีราศี ไม่มีสกุลรุนชาติ แมวจึงขี้รดหัวเตา เอ้าลองดูซิ พอขี้รดหัวเตาแล้วทำไง เอามาปล่อยวัดแล้วที่หมามันไม่ขี้ตามถนนหนทางนี่น่ะ เพราะมันมีระเบียบมันชวนกันขี้ที่ท่าโน้น ไม่เหมือนวัดสุทัศน์ นกกระจาบขี้ตามถนนเต็มไปหมด นี่มีขี้ตามถนนไหม ไม่มีหรอก มันขี้ที่ท่า ถามมันดูซิ ลองไปตีไปเตะ ไม่ช้าก็ขี้ตามถนนหรอก ที่ขี้ตามนี้ไม่ใช่หมาที่วัด มีคนมาปล่อยไว้ ๒ วันนี้ยังไม่ได้หัดมัน

ในที่สุดยายผิงก็พูดเพราะ ๆ แม่แมวต้องพูดอย่างนี้ อย่าไปตีมัน เตะมัน เสียสกุลรุนชาติ เอาตีนเตะแมวเตะหมานี่นะ แมวหมาเสียแมวเสียหมา กลับมาขี้รดเป็นกาลกิณีประจำบ้าน บางบ้านมันออกลูกกรอกให้เลย แม่แมวจ๋ามาทานเสียตรงนี้ แมวบางตัวมันขี้ในส้วม อาตมาเห็นบางตัวมันเข้าไปในส้วมเลย เอ๊ะ แมวมันเข้าไปทำไมหว่า อ้อ ไปถ่ายลงบ่อนะพอดีเลย ลงโถพอดีเลย บางคนเห็นแมวไปตีไปเตะ เสียสกุลรุนชาติ ไม่ใช่เสียแมว เสียที่คน คนไม่มีสกุลรุนชาติ แมวก็ขี้ให้เช็ดเสียดูนะ อันนี้เรื่องจริงนะ เลยพูดกับมันดี ๆ แมวก็ไปบอกกับเพื่อนมัน นี่ต่อนี้ไปยายผิงเขาดีนะ ไม่ต้องมาขี้ที่นี่ เอ๊ะ มันมีบอกกันได้ใช่ไหม แล้วตั้งแต่นั้นมา แมวไม่เคยมาขี้ที่กุฏิอาตมาเลย

ยายผิงบอก โอยหลวงพ่อ ตั้งแต่นั้นมาไม่ต้องเช็ดขี้แมวเลย แหมมีตัวเดียวอุตส่าห์ทำเรา ไปบอกเพื่อนมาขี้ได้ เห็นไหม ลองดูซี ตอนอาตมาเป็นเด็กเคยไปเที่ยวตามบ้าน บ้านโยมเขามีลูกสาวสวย อยากจะไปชอบลูกสาวเขา อาตมาก็ไป ไปเห็นหมาเยอะ เออ หมาบ้านพ่อตานี่เยอะจัง ขว้างมันเลย วันหลังเราไปเห่าเราคนเดียว มันจำแม่น สิบปีมันยังจำได้ จะบอกเทคนิคโยมที่จะไปบ้านลูกสาวใคร สมมติว่า ติดพันลูกสาวบ้านใครเอาลูกชิ้นไป ห่อไปให้ได้ หมามันชอบลูกชิ้น โอยมันจำหน้าไว้เลย วันหลังไปมันเชิญ ๆ เอาลูกชิ้นมาหรือเปล่า เลียแข้งเลียขาลูกชิ้นมาหรือเปล่า อั้นแน่ ลูกชิ้นไม่ได้เอามา วันหน้ามาต้องกัด เอ้าลองดูซี ถ้าไม่เชื่อตามใจนะ ถ้าไปขว้างหมา ไม่ต้องคนหรอก แค่หมามันก็เกลียด หมาก็เกลียด เราไปขว้างมัน ไปไล่มัน ไปด่ามัน พูดวาจาสามหาว ไม่มีสัจจะวาจา พูดจาไม่ดี แมวก็เกลียดหมาก็เกลียด ยังอุตส่าห์มาช่วยขี้นะ ว่าจะเย็บหมอนไปถวายวัดโน้นวัดนี้ แกก็เย็บ ปากก็รับแขก แกก็หน้าสำคัญเหมือนกัน แกดูหน้าคนแต่งตัวสวย ๆ ยายผิงชงกาแฟทำอะไรให้กิน แต่งตัวปอน ๆ มายายผิงหันก้นให้ทำไม่รู้ไม่ชี้ นี่ซีแมวถึงขี้รด รับแขก ยังเอาสวย ๆ นะ คนไม่สวยไม่รับนะ นี่เรื่องจริงที่วัดนี้เอง เดี๋ยวนี้แกตายไปแล้ว เล่าได้เต็มที่ แกอยู่เล่าไม่ได้เดี๋ยวแกไม่ต้มน้ำร้อน เอ้าเรื่องจริงนะลองเอาไปใช้ดูได้

สรุปแล้ว ไม่มีอะไรดีเท่าแผ่เมตตา ได้จากการเจริญวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น ถึงจะตัดใจได้ และเสียสละได้ด้วยเมตตาของตน แก่บุคคลอื่นได้ โดยเฉพาะแก่สัตว์เดรัจฉาน เราจะเห็นพระธุดงค์ไปปักกลดไก่ป่ามันเชื่อง เขาเรียกว่า สมเด็จพระสังฆราชไก่เชื่อง ไงล่ะ ก็เพราะเมตตาไม่ใช่หรือ ไม่ได้ไปฆ่ามัน นี่แมวน่ะ เราไปเตะมันเข้าไม่มีสกุลรุนชาติ มันเป็นกาลกิณีของเจ้าของที่มีจิตใจเลวร้าย ไม่มีมารยาทเลย ก็ทำให้แมวไม่มีมารยาทไปด้วย แมวที่ขี้รดบ้านเลอะเทอะเปรอะเปื้อนนั้น เจ้าของไม่ดีนะ ถ้าเจ้าของมีราศี มันก็จะออกลูกกรอกให้

อย่างที่จังหวัดสิงห์บุรี นี่เขาร่ำลือกันว่าแมวที่วัดนี้ออกลูกกรอกมีตาเพชร เพชรตาแมวก็ขอไปเลี้ยงอย่างดีเลย แล้วออกลูกกรอกให้บ้านอื่นเลย บ้านนี้ไม่ออกให้ บ้านนี้ไม่มีราศี เลยหนักเข้าเจ้าของเคืองเรื่องนี้เลยใส่ชะลอมลูกทั้งคอก แล้วก็ห่อซะดี ฝากเรือเมล์มาขึ้นหน้าวัด แล้วเรือมาตอนบ่าย ๒ โมงนี้ ก็จะฝากผักหญ้าปลามันมาให้พระสงฆ์องค์เจ้าในวัด ก็ต้องไปรับ ก็ไปเอาชะลอมนั้นมา ก็นึกว่าคงจะเป็นผัก พอมาก็ดูเป็นแมวตั้ง ๑๔ ตัว บ้านที่เอาแมวเราไป

แล้ววันหลังก็จดหมายมาว่า หลวงพ่ออย่าโกรธเคืองเลย ก็ฉันเอาไปกลับออกลูกกรอกให้บ้านอื่นเขาร่ำรวยกัน ฉันเลยก็ต้องรวบรวมมาคืน ก็ราศีตัวไม่ดี แล้วด่าแมวทุกวัน มันก็ออกลูกกรอกให้นะ มันท้องจริง แต่มันออกให้ร้านโน้นร่ำรวยจนบัดนี้ ดูซี เลี้ยงไว้แท้ ๆ มันไปให้คนอื่นรวย ก็บ้านนี้รวยได้อย่างไร ไม่มีกุศลเลย ไม่มีเมตตาเลย มันก็ไปให้บ้านอื่นเขา จะเอาอย่างไรกันแน่ บ้านอื่นเขาจะรวยกันแล้วบ้านนี้ไม่มีสิริขวัญมงคลอยู่ในบ้านของตนเลย วาจาก็ไม่ดี พูดจาพาทีก็แย่มาก ไม่มีธรรมะเลยแม้แต่น้อย ตี ๔ ลุกขึ้นมาสวดมนต์แล้วที่บ้านนี้นะ ตี ๔ ลุกขึ้นมาสวดมนต์เลยด่าลูกด่าหลานที่ตี ๔ ไม่ใช่โยโสภควานะ อาห่ามาอาเหียมา เอ๊ะ ตั้งแต่ตี ๔ เลย

แล้วแมวมันจะออกลูกกรอกได้ไง ก็ออกให้ร้านโน้นเลย ร้านโน้นก็สวดมนต์ทุกวัน ไม่ต้องเลี้ยงแมวก็ยังได้บุญ เห็นไหมแล้วบ้านนั้นมีรถตั้งหลายคัน ร้านก็เลยรุ่งเรืองขึ้นมา อุตส่าห์ไปเอามาจากวัดดันไปออกลูกให้บ้านอื่นเขา กระทั่งแมวก็ไม่อยากมาหาหมาก็ไม่มาสู่จนสะบัด ยังไงลองไปคิดดูเอาเอง คนไหนมีเมตตา นกก็มา หมาก็มา แมวก็มา คนก็มา ดูซี อย่างนี้มีเหตุผลที่น่าฟัง

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

235
อานิสงส์ของการแผ่เมตตา   1/2
พระภาวนาวิสุทธิคุณ

อาตมาเมื่อหลายปีผ่านมานี้ ๕-๖ ปีแล้ว มีลูกประคำอยู่สายหนึ่ง เคยสวดมนต์รัตนมาลาเมื่อสมัยเดินธุดงค์ ลูกประคำสายนี้รักมาก อาตมาก็มีหมอนมีอะไรที่กุฏิอาตมานะ หนูนี่ไปกัดหมอนกัดอะไรเกลื่อนกลาดหมดเลยนะ กัดเต็มไปหมดที่บนกุฏิอาตมานี่น่ะ อาตมาก็พูดเล่น ๆ แต่จิตใจก็เคืองเหมือนกันนะ “ไอ้หนูไม่มีดีฆ่ามันเลย ให้เด็กไปซื้อกรงมาดักเลย หนูไม่ดี เดี๋ยวคืนนี้จะฆ่ามันให้หมด” พูด ๆ ลอย ๆ ออกมาอย่างนี้แหละ แต่จิตใจเราอาจไม่ถึงขนาดนั้น ก็พูดด้วยความโมโห ต้องเอามันเลย หนูมันไม่ดีกัดหมอนกัดพรมหมดไม่มีเหลือ แล้วลูกประคำอาตมาวางไว้ข้างที่อาตมาจำวัด

คืนนั้นแหละกัดลูกประคำแหลกเลย หนูกัดแล้วเอาไปลงร่องไปเลย ๘-๙ เม็ดหายไปแล้ว มานับดูไม่พอร้อยแปด ขาดไป ๘-๙ เม็ดแล้วยังไง ให้พระมาช่วยหา หาไม่เจอ บอกหลวงพ่ออยู่ใต้เพดานใต้ฝ้า เอาไม่ได้ ล้วงไม่ได้ ถ้าจะเอาได้ต้องงัดพื้นออกเอาไง เอ...งัดก็เสียหมดนะซี เขาตอกตะปูไว้แน่นนี่จะงัดอย่างไร มีร่องนิดเดียว พอเม็ดลูกประคำลงได้เห็นแต่ล้วงก็ไม่ได้ ลูกประคำอยู่ข้างล่าง ติดฝ้าทำยังไงดี

คืนนั้นถ้าใครเห็นเขาก็คงว่าอาตมาท่าจะยังไงเสียแล้ว อาตมาก็จุดธูปจุดเทียน เดินจงกรม นั่งสมาธิ ๆ เสร็จเรียบร้อยดีแล้ว ก็พูดว่า “พ่อหนูเอ๋ย พ่อหนู เมื่อคืนวานนี้ที่เราพูดกับเจ้าว่าหนูไม่มีดีจะฆ่าให้หมดเลยนั้น ขอโทษด้วยเหอะ จงอโหสิกรรมให้เราหน่อยนะ เราขอแผ่เมตตาให้เจ้า เดี๋ยวพรุ่งนี้จะเอากล้วยให้กิน อย่ามากัดหมอนกัดเสื่อกัดพรมเป็นของสงฆ์เป็นบาปเป็นกรรมนะพ่อหนูนะ ขอแผ่เมตตาเจ้า จงอโหสิกรรมให้แก่เราเถิด ที่เราพูดพลั้งเผลสติไป”

เช้าขึ้นมาเป็นยังไงโยม ลูกประคำได้คืนหมด หนูคาบมาให้ที่นอนเลย เลยอาตมาก็มามีหมอตำรวจคนหนึ่งที่สิงห์บุรีนี่น่ะ มาอยู่กับอาตมาเป็นแรมปี แกก็มานั่งนอนอยู่ข้างล่าง รับใช้ในวัดนี้ แกรู้เรื่องนี้ดี เพราะเคยหาลูกประคำด้วยกัน เอาไฟส่องไปตามรู ว่ามันไปอยู่ข้างล่าง พอเช้าอาตมายังไม่ได้โยกย้ายลูกประคำวางหนูกัดบิ่นไป ๔-๕ ลูก บิ่นไป มันไปขบ มันมีรูยังพอจะใช้ได้ ก็ไปเรียก พระปลัดประสิทธิ์ มา เรียกลูกศิษย์มา แล้วก็เรียกหมอเยื้อน ชโลปถัมภ์ ที่เป็นสมาชิกสมาคมสิงห์บุรี เดี๋ยวนี้แก่มากแล้ว เป็นหมอตำรวจ ให้แกมาดู แกก็บอกว่า “แน้ มาได้ไง” ก็เอาไฟส่องดู ก็ขึ้นมาหมดแล้ว หนูเอามาคืน ด้วยการแผ่เมตตาน่ะ โยมจำไว้ หนูเอามาคืน

ผลสุดท้ายอาตมาก็ไปซื้อสายซอทอมาร้อยเรียบร้อย หมอเยื้อนอยู่กับอาตมาอีก ๒-๓ เดือน บอกหลวงพ่อไม่ให้อะไรผมไม่ว่าอะไร ผมขอลูกประคำได้ไหม แล้วอธิบดีสมพรก็อยากได้ คนโน้นก็อยากได้ คนนี้ก็อยากได้ จะให้ใครดี ก็พิจารณาคนใกล้ตัวก่อน ก็หมอเยื้อนมารับใช้เราเป็นปี ๆ ก็ให้หมอเยื้อนไป นี่ลูกประคำลูกนี้นะ หมอเยื้อนยังไปรักษาอยู่จนบัดนี้ นี่อำนาจเมตตาลองดูนะ ตั้งแต่นั้นมาหนูไม่เคยมากัดหมอนมุ้งเลยจดบัดนี้ นี่หนูก็เยอะ อาตมาก็ต้องให้กล้วยกิน แผ่เมตตากับมัน เอ้าลองดูนะ แล้วจะไม่มากัดของเราเลย


ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

236
สติปัฏฐาน ๔ ปิดอบายภูมิได้....2/2
พระภาวนาวิสุทธิคุณ


อาตมาก็มาบอกเจ๊เจียว่า ตาเล่งฮ่วยบอกให้เจริญกรรมฐาน แต่กลับถูกว่า บ้าบอคอแตกเสียอีก ตาเล่งฮ่วยบอกว่า ที่อั๊วผูกคอตายนี่ไม่ใช่อะไร อาเจียไม่ให้เงินอั๊วกินยาฝิ่น อั๊วกินวันละ ๕ บาท ตักน้ำให้ทำขนมขาย ไม่ตักให้ก็ไม่ให้อั๊วกินยาฝิ่น อั๊วก็เสียใจผูกคอตาย ตายไปแล้วก็ไม่มีใครให้กิน ฮ่วยเซียเถ้าบอกให้ลูกหลานเจริญวิปัสสนาจึงจะได้ อาตมาถามว่า “ฮ่วยเซียเถ้า บวชเป็นสมภารเจ้าวัด ทำไมไม่เจริญกรรมฐาน มาผูกคอตาย” เขาบอกว่า “ไม่ได้ทำ ๆ” อาตมาจดและจดจำไว้จนบัดนี้ อาตมาถามว่า “ลื้ออยู่วัดไหนล่ะ” “อั๊วอยู่ตรงนี้เอง อั๊วเห็นลื้อทุกวัน ลื้อเดินไปอั๊วก็ทักลื้อว่า อีไปไหนนะ แต่ลื้อไม่พูดกับอั๊ว” อาตมาถามว่า “ขุดถนนที่ไหน” ก็ชี้ไปตรงนั้น แต่ไม่เห็นมีถนน ก็ได้ความว่าเราเดินไปตลาดบ้านเหนือบ้านใต้ เขาเห็นเราหมดเขาทัก แต่เราไม่รู้เรื่อง อาตมาถามต่อไปว่า “ลื้อมีความเป็นอยู่อย่างไร” เขาบอกว่า “ถ้าถึงวันโกนวันพระ เขาให้หยุดงาน ที่มานี่เป็นวันโกน หยุดงานแล้ว เดี๋ยวอั๊วต้องรีบกลับ เดี๋ยวเขาจับได้ เขาตีอั๊ว หนีมาบอกหน่อยเท่านั้นเอง” และยายเภานั้น พอถึงวันโกนสารทก็พายเรือมาจอดที่ตลาดปากบาง มีน้ำไหลเข้าทุ่ง ตอนนั้นชลประทานไม่มี ไปจอดเรือตรงที่เขาผูกคอตาย มาซื้อของจะไปกวนกระยาสารท ตาเล่งฮ่วยบอกเขาให้หยุดงาน อั๊วเลยกระโดดขึ้นเรือมาเลยมาเข้ายายเภา ซึ่งนุ่งผ้าโจงกระเบน ใส่เสื้อเตี่ยว พอผีออกแล้ว อาตมาบอก “ยายเภาโอ๊ย เจี๊ยะปึ้ง ฮ้อนะ” ยายเภายังไม่รู้เจี๊ยะปึ้งเลย พูดจีนไม่ได้ อยู่บางสำโรง เขตสวี อำเภอท่ากุ้ง จังหวัดลพบุรี อาตมาอยากรู้ว่า ผีมีจริงไหม ก็เป็นหมอผีเสียเอง นี่เล่าให้ญาติโยมฟัง
สรุปได้ความว่า การที่ฆ่าตัวตาย ผูกคอตาย ญาติพี่น้องทำบุญให้ไม่ได้ผลแน่ ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานแผ่ส่วนกุศลจึงจะได้รับผล เพราะผีมาบอกอย่างนี้ โยมจะเชื่อหรือไม่เชื่อไม่เป็นไรนะ ก็นึกว่าทำวิปัสสนากรรมฐานไปก็จะได้รับผลว่าบุญบาปมีจริง นรกสวรรค์มีจริง หรือไม่ประการใด

เหมือนคนเรือนจำในวันนี้ ไปกระตุกสายสร้อยเขาและเอาเท้าถีบ เพราะสร้อยเส้นใหญ่ เขาลืมไปแล้ว พอนั่งวิปัสสนาเข้าก็ปวดคอ คอเขียว ปวดขา กำหนด “ปวดหนอ ๆ” ก็นึกถึงกรรมที่ตนทำไว้ ที่ได้ไปกระตุกสร้อยเขา พอนึกได้ปั๊บ ขออโหสิกรรมทันที ต่อไปนี้ข้าพเจ้าจะไม่ทำอีกแล้ว ปรากฏว่าหายปวดทันที นี่แสดงว่าเห็นกฎแห่งกรรมด้วยเวทนา
ขอฝากญาติโยมไว้ด้วย มีพยานหลักฐาน เดี๋ยวนี้ออกจากเรือนจำไปแล้ว เป็นไทแล้ว ทำตามตัวอย่างที่อาตมาพูดตรงกับใจเขา บอกว่า

“หลวงพ่อ ที่พูดนี่มันซึ้งใจผมคิดไว้แล้ว ออกไปนี้ต้องเอาธูปเทียนแพไปอโหสิกรรมที่ได้ไปทำเขาไว้ แล้วจะไปบูชาพ่อหแม่ หาลูกหาภรรยาดำเนินงานกันต่อไป”

วันนี้อาตมาก็ขออนุโมทนาสาธุการส่วนกุศล ท่านทั้งหลายมาบำเพ็ญกุศล เจริญวิปัสสนากรรมฐานให้แก่ตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เจริญกาย เวทนา จิต ธรรม ตั้งพิจารณาโดยปัญญา ตลอดกระทั่ง ยืน เดิน นั่ง นอน จะคู้เหยียด ๆ ขาทุกประการ ก็มีสติครบ

รับรองได้เลยว่า ถ้าโยมทำถึงขึ้น ปิดประตูอบายได้เลย นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน โยมจะไม่ไปภูมินั้นอย่างแน่นอน เพราะเหตุใด เพราะอำนาจกิเลสทั้งหลาย โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้น โยมก็กำหนดได้ ไม่มีโลภะ ขณะมีโลภะ ก็กำหนด โลภะหายไป

จิตวิญญาณตายขณะมีโลภะตายไปเป็นเปรต กำลังมีโทสะตายไปขณะนั้นลงนรก มีโมหะรวบรวมอยู่ในจิตใจไว้มากต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานอย่างแน่นอน

ถ้ามีสติปัฏฐาน ๔ มีสติสัมปชัญญะดี อบายภูมิก็ไม่ต้องไป ปิด นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉานทางอายตนะธาตุ อินทรีย์ ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ทุกประการ

ขอกุศลที่ญาติโยมได้บำเพ็ญไปแล้ว ๒-๓ วาระที่ผ่านมา จงเป็นพลวปัจจัย ดลบันดาลย้อนกลับเป็นบุญกุศลให้ญาติโยมทั้งหลาย ประสบความสุขสันต์นิรันดรทุกท่าน และจงพยายามก้าวหน้าผ่านเกาะแก่งทุรกันดาร ผ่านอุปสรรคถึงฝั่งฟากคือ พระนิพพาน โดยทั่วหน้ากัน ณ โอกาสบัดนี้เทอญ...

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

237
สติปัฏฐาน ๔ ปิดอบายภูมิได้....1/2
พระภาวนาวิสุทธิคุณ

ญาติโยมเอ๋ย โปรดได้ทราบไว้เถอะ บุญกรรมมีจริง บาปกรรมมี ยมบาลจดไม่มี จิตนี้เป็นผู้จด จดทุกวันคือ อารมณ์ เรื่องจริงแน่ จดทุกกระเบียดนิ้ว บาปบุญคุณโทษบันทึกเข้าไว้ พอวิญญาณออกจากร่างไป มันก็ขยายออกมาใช้กรรมไป ถ้าเราทำดีก็ไปบังเกิดในสวรรค์ ทำชั่วก็ลงนรกไปแบบนี้

อาตมามาคิดดูนะว่าสวรรค์อยู่บนฟ้า นรกอยู่ใต้ดินก็คงไม่ใช่ ดูตัวอย่างที่เคยเล่าให้ญาติโยมฟัง
ตาเล่งฮ่วย ผูกคอตาย วิญญาณไปเข้ายายเภา ยายเภาเป็นคนไทยแท้ ๆ เกิดพูดภาษาจีนได้ ตอนนั้นอาตมาอยู่วัดพรหมบุรี อาตมาเป็นหมอไล่ผีแต่ไม่มีคาถา ถ้าเป็นหมอผีไม่ต้องใช้คาถา ทำปากขมุบขมิบ เทน้ำมนต์ราดส่งไป ผีจริงก็ร้อง ผีปลอมก็ร้อง พวกนี้โดนน้ำไม่ได้ร้องหมด อาตมาจับผีได้หมดแล้ว จริงปลอมรู้หมด

คนที่เป็นลมเพลมพัดไม่ต้องเสกคาถาหรอก เอาน้ำพ่นไปยังร้องเลย ร้องหวีดหวาด ๆ คนสติไม่ดี ไม่ใช่อะไรหรอก คนไม่มีสติเขาสวดภาณยักษ์กัน คนไม่มีสติดิ้นกันจะตาย คนมีสติเขาเฉย นี่จำไว้ มีสตินี่มีประโยชน์ คนไม่มีสติผีเข้าเจ้าสิง มีคนมาตามอาตมาไป พอไปถึงยายเภาพูดภาษาจีน เลยต้องให้เรือไปตาม ตาแป๊ะเลี่ยงเกี๊ยก ไว้ผมเปีย เป็นลุงเขยอาตมาให้มาเป็นล่าม
เขาบอกไม่ต้องไล่เขา เขาอยู่กับ ฮ่วยเซียเถ้า อยู่ตรงใกล้วัดพรหมบุรีนี่เอง

อาตมาถามว่า “ฮ่วยเซียเถ้า” คือใคร ทำไมถึงไปอยู่กับ “ฮ่วยเซียเถ้า” เขาบอกว่า “ชื่อ หลวงตามด เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดกลางพรหมนคร อยู่เหนือตลาดปากบางนี่เอง อยู่ด้วยกัน ๒ คน ขุดดินถมถนนทุกวัน ถ้าไม่ขุดดินเขาเฆี่ยนตี และฮ่วยเซียเถ้าก็ขุดดินด้วย”
อาตมาได้ถามคนเฒ่าคนแก่ชื่อ บัวเฮง อยู่ตลาดปากบางบอกว่า ฮ่วยเซียเถ้ามีจริง ชื่อ สมภารมด อยู่วัดกลาง เป็นสมภารวัด จะสร้างถาวรวัตถุของวัด แต่เงินทองถูกมัคทายกโกงไปหมด ไม่รู้จะทำอย่างไร เสียใจเลยผูกคอตาย นี่เห็นไหมสมภารผูกคอตาย ไม่ได้เคยเจริญกรรมฐานเลย ตายมาตั้งห้าหกสิบปีแล้ว เดี๋ยวนี้ยังอยู่ ตาเล่งฮ่วยเล่าว่า อยู่กับฮ่วยเซียเถ้า ชื่อมด ก็ตรงกัน อาตมาถามว่า “อยู่ตรงไหนล่ะ ทานข้าวที่ไหน ลื้อมาทำไมล่ะ”
“อั๊วมาบอกให้ลื้อไปบอกหลานสาวอั๊วนะ ทำบุญไปให้อั๊วไม่ได้นะ อย่าทำเลย”
“แล้วกินที่ไหนล่ะ”
“อั๊วกับฮ่วยเซียเถ้าไปกินตามกองขยะ ที่เขาเอาเศษอาหารมาทิ้งกินกับหนอน”
“เอ้า! ที่ดี ๆ ทำไมไม่กินล่ะ”
“ไม่มีใครให้กิน มีอีกพวกหนึ่งขุดถนนเหมือนกัน แต่เขามีข้าวกิน พวกอั๊วไม่มีข้าวกิน ต้องไปกินที่มันเหลือ ๆ จึงจะกินได้ ไปบอกหลานสาวอั๊วชื่อ เจีย นะ บอกว่าไม่ต้องทำบุญไป อั๊วไม่ได้ ถ้าลื้ออยากทำบุญให้อั๊วนะ ฮ่วยเซียเถ้ามดบอกับอั๊ว บอกให้ลูกหลานเจริญวิปัสสนานะ และอั๊วจะได้”


ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

238
ขอบคุณท่าน....: ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

หลวงปู่ทวดฯกล่าวไว้เช่นกันว่า.........สุดยอดของนิพพาน คือ "ละ"จนถึงที่สุด  :054:

คติธรรมจากหลวงปู่ทวดฯ.....มนุษย์จะรู้ตนและเข้าใจตน คือต้องให้มนุษย์หยุดและพิจารณาตนโดยใช้สติสัมปชัญญะควบคุมตนให้สงบ(ศีลและมรรค8)

นี่คือการกำจัดอวิชชาใช่ไหมครับ :062:

239
ป ฏิ จ จ ส มุ ป บ า ท

อวิชชาปัจจะยา สังขารา ( เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี )
สังขาระปัจจะยา วิญญานัง ( เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี )
วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง ( เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี )
นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง ( เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี )
สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส ( เพราะสฬายตนเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี )
ผัสสะปัจจะยา เวทนา ( เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี )
เวทะนายะปัจจะยา ตัณหา ( เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี )
ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง ( เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี )
อุปาทานะปัจจะยา ภะโว ( เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี )
ภะวะปัจจะยา ชาติ ( เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี )
ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง ( เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี )
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ
( ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม )
เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ สะมุทะโย โหติ
( การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้ ฯ )


อวิชชายะ เตววะ อะเสสะวิราคะนิโรธา สังขาระนิโรโธ
( เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ )
สังขาระนิโรธา วิญาณะนิโรโธ ( เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ )
วิญญาณะนิโรธา นามรูปะนิโรโธ ( เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ )
นามะรูปะนิโรธา สะฬายะตะนะนิโรโธ ( เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ )
สะฬายะตะนะนิโรธา ผัสสะนิโรโธ ( เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ )
ผัสสะนิโรธา เวทนานิโรโธ ( เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ )
เวทนานิโรธา ตัณหานิโรโธ ( เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ )
ตัณหานิโรธา อุปาทานะนิโรโธ ( เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ )
อุปาทานะนิโรธา ภะวะนิโรโธ ( เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ )
ภะวะนิโรธา ชาตินิโรโธ ( เพราะภพดับ ชาติจึงดับ )
ชาตินิโรธา ชะรามะระณัง ( เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ )
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา นิรุชฌันติ
( ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจจึงดับ )
เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ นิโรโธ โหติ
( การดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้ ฯ )


http://www.oknation.net/blog/phaen/2007/10/05/entry-1

ฟังเสียงร้องปฏิจจสมุปบาทได้ที่
http://www.oknation.net/blog/buddhamantra/video/6539

240


ภาพที่ ๓  เป็นภาพกบ ภายในท้องกบมีช้าง  ซึ่งมีน้ำ ๓ สระอยู่ภายในท้องช้างนั้น  มีคำอธิบายประกอบภาพว่า กบ คือ โลภะกลืนชาติ  ชาติกลืนตัณหาทั้งสาม



          ภาพที่ ๔  เป็นภาพงู ภายในท้องงูมีกบ ซึ่งมีช้างอยู่ในท้องกบ และมีน้ำสามสระอยู่ในท้องช้างนั้น  มีคำอธิบายประกอบภาพว่า งู คือ โทสะกลืนโลภะ  กลืนชาติ  กลืนตัณหาทั้งสาม



          ภาพที่ ๕  เป็นภาพนกไส้ ภายในท้องนกมีงู ซึ่งมีกบอยู่ในท้องงู มีช้างอยู่ในท้องกบ และมีน้ำสามสระอยู่ในท้องช้างนั้น  มีคำอธิบายประกอบภาพว่า  นกไส้คือโมหะกลืนทั้งนั้นบินไปจับต้นอ้อ




          ภาพที่ ๖  เป็นภาพต้นอ้อ ซึ่งนกไส้บินไปเกาะอยู่นั้น และมีหนู ๔ ตัวกำลังกัดกินโคนต้นอ้อนั้น  มีคำอธิบายภาพว่า  ต้นอ้อคือตัวอาตมา  หนู ๔ ตัว คือ  ชาติ  ชรา  พยาธิ  มรณะ

          การถ่ายทอดบทธรรมปฏิจจสมุปบาท เป็นภาพเปรียบเทียบให้เห็นกิเลสที่ปรุงแต่งเป็นปัจจัยต่อ ๆ กันไป  เป็นร่างกายที่มีจิตประกอบด้วยกิเลสเป็นความทุกข์  เนื่องจากกิเลสซ้อนกันอยู่เช่นนั้น

          ภาพปริศนาธรรมดังกล่าวนี้  ในสมัยโบราณนิยมเขียนภาพลงในสมุดไทย  นอกจากนั้นยังพบในงานลายรดน้ำบนตู้พระธรรม  และในงานจิตรกรรมฝาผนังตามโบสถ์ วิหาร ก็มีบ้าง  ซึ่งบรรพบุรุษไทยสร้างสรรค์ขึ้น

          ใช้เป็นอนุศาสน์สำหรับให้คนทั้งหลาย ได้รำลึกถึงความเป็นไปอันไม่แน่นอนของชีวิต  ดังเช่นต้นอ้อเป็นไม้ไม่มีแก่น  เป็นที่ตั้งที่อาศัยของจิตอันประกอบด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน  ซ้อนกันอยู่มีความแก่  ความเจ็บ  ความตายเบียดเบียนกัดแทะเป็นนิจ 

          ฉะนั้น ควรที่คนทั้งหลายพึงพิจารณา และเตรียมพร้อมไว้ไม่ให้เกิดความประมาทในชีวิตนั่นเอง

*********************

ภาพที่ ๑,๒,๓ และ ๖ จากสมุดไทยขาววัดพระรูป อ.เมือง จ.เพชรบุรี  ภาพที่ ๕ จากสมุดไทยขาววัดลาด อ.เมือง จ.เพชรบุร๊.
ที่มา
http://www.oknation.net/blog/phaen/2007/10/05/entry-1

241
ภาพปริศนธรรม : ปฏิจจสมุปบาท
Posted by สอนสุพรรณ ,

  ... ช้างสารซ่านซับมัน    รันแรงร้ายเกินกำหนด
          ลือชาทั่วปรากฏ    มาลดกายให้กบกิน ...


                                               หนังสือสุภาษิตภาคใต้

          จากข้อความข้างต้น  หลาย ๆ ท่านอาจจะคิดสงสัยว่า  ช้างตัวใหญ่ยอมให้กบตัวเล็กนิดเดียวกินได้อย่างไร  คำถามนี้ยากเป็นความที่มีนัยแห่งข้อธรรมที่ลึกซึ้ง  ซึ่งผู้ประพันธ์สุภาษิตถอดความมาจากภาพปริศนาธรรม

          ภาพปริศนาธรรม เป็นการถ่ายทอด หรือ อธิบายข้อธรรมด้วยภาพมีองค์ประกอบเป็นภาพสัตว์ชนิดต่าง ๆ ทั้งประเภทจตุบาท ทวิบาท และสัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ ช้าง กบ นก งู  สาระในภาพสื่อให้เกิดความคิดในเชิงเปรียบเทียบ  เพื่อให้เห็นความเป็นไปตามสภาพธรรมของโลกโดยลำดับ 

          เนื้อหาของภาพเป็นเป็นตอน ๆ ต่อเนื่องกันเป็นชุด  ภาพปริศนาธรรมชุดนี้มี ๖ ตอน  ถ่ายทอดมาจากบทธรรมปฎิจจสมุปบาท



          ภาพที่ ๑  เริ่มต้นด้วยภาพสระน้ำ ๓ สระ  มีคำอธิบายประกอบภาพว่า  น้ำ ๓ สระคือตัณหาทั้งสาม ได้แก่

          ๑.  กามตัณหา หมายถึง ความทะยานอยากในกาม ได้แก่  กามคุณซึ่งสนองความต้องการทางประสาททั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย

          ๒.  ภวตัณหา หมายถึง ความทะยานอยากในภพ ได้แก่  ความอยากในภาวะของตัวตนที่  จะได้  จะมี  จะเป็น

          ๓.  วิภวตัณหา หมายถึง ความทะยานอยากในวิภพ ได้แก่  ความอยากในความพรากพ้นไปแห่งตัวตน  จากความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่ปรารถนา



ภาพที่ ๒  เป็นภาพช้างมีน้ำ ๓ สระอยู่ภายในท้อง  มีคำอธิบายประกอบภาพว่า ช้างสาร คือ ชาติ  กลืนน้ำ ๓ สระ คือ ตัณหาทั้งสาม


ที่มา
http://www.oknation.net/blog/phaen/2007/10/05/entry-1

242

ต่อมาราว พ.ศ.2532 มีพระสงฆ์รูปหนึ่ง ผู้เป็นพระบวชในนิกายดั้งเดิมมหานิกาย ได้แสดงตนตอบปัญหา เฉลยปริศนาธรรมนี้มีนามว่า “หลวงพ่อสาวกโลกอุดร ธัมมปาโล” แสดงคำเฉลยไว้อย่างอาจหาญ ความว่า

มีเรือน ไม่มีผู้อยู่ หมายถึง วัดวาอารามเรือนกุฎีที่โยมสร้างอุทิศถวายไว้ ในบวร พระพุทธศาสนา ไม่มีผู้อยู่ คือ ผู้ที่เป็นพระอรหันต์มาอยู่ ตามที่ผู้
สร้างปรารถนา

มีข้าว ไม่มีผู้กิน หมายถึง คำข้าวอันปราณีตอุทิศไว้ที่โยมนำมาใส่บาตรทุกวันนั้น
ไม่มีผู้กิน คือ ผู้ที่บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มารับมาฉัน

มีทาง ไม่มีผู้เดิน หมายถึง ทางแห่งมรรคของอริยเจ้า ไม่มีผู้เดิน หมายถึงสาวก ตถาคต ทั้งภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ดำเนินตามอย่างถึง
ที่สุด

นี่คือ สองปัญญาของนักปฏิบัติธรรมทั้งคู่ ย่อมบ่งบอกอะไรบางอย่างบ้าง ไม่มากก็น้อยว่า ใครคือ ผู้เข้าถึงผลแห่งการปฏิบัติอันแท้จริง

สำเนียงบอกภาษา กริยาบอกตระกูล

บัณฑิตจะรู้กันได้ ด้วยการสนทนาปสาทะ เพราะอย่างน้อยหลวงตาเทพสัมมา ก็ขอเลือกศึกษาธรรมของหลวงพ่อสาวกโลกอุดร ธัมมปาโล ด้วยเหตุผลการตอบปัญหาข้อหลังนี้ ยิ่งหนังสือ “หยั่งลงก้นมหาสมุทร”ของท่านแล้ว ยิ่งกลับโลกใหญ่ เรียกว่าสะเทือนไปถึงชั้น”ภวคพรหม”โน่น แต่เมืองพุทธนี่ ที่ประเทศไทย ไม่ยักกะรู้เรื่อง สู้ข่าวพระอรหันต์มีเมียออกลูกมาเป็นกระต่ายไม่ได้ อนิจจา…….
หลวงพ่อท่านเล่าว่า มี “มหาเชื้อ”มาถามปัญหาว่า”……เมื่อมีทุกข์เกิดขึ้น เราจะทำอย่างไร?”
ท่านเจ้าคุณผู้โด่งดังทางปักษ์ใต้ตอบว่า
“ต้องตั้งสติ …..รักษาสติไว้ให้มั่น “

หลวงพ่อโลกอุดร ตอบมหาเชื้อว่า

“ต้องดับสติ”

พระมหาเชื้อก็ซักว่า อ้าว…..แล้วจะดับสติอย่างไร? หลวงพ่อโลกอุดร ก็ย้อนถามว่า……แล้วให้ตั้งสติอย่างไร? ท่านมหาเชื้อ ก็อธิบายอย่างที่ได้รับรู้จากท่านเจ้าคุณใหญ่ว่า เมื่อเราเห็นทุกข์ ก็เหมือนไฟ ก้อนถ่านแดงอยู่ เราก็ตั้งสติ รีบจับ รีบวาง เราก็ไม่ร้อนมาก หลวงพ่อโลกอุดร ก็ถามย้อนอีกว่า….”.แม้รีบจับ รีบวาง ก็ต้องถูกไฟร้อนอยู่ ใช่หรือไม่ล่ะ? ……ก็เอาอย่างนี้ซิ …..เมื่อเห็นไฟร้อน เราไม่จับ เราก็ไม่ร้อน และก็ไม่ต้องวางอะไรทั้งนั้น…….นี่คือ การดับสติ ดับการระลึกรู้แต่แรก เราไม่ใส่ใจเสียแต่แรกไม่ดีกว่ารึ ท่านมหา “

ท่านมหาเชื้อ ถึงกับตาค้าง ก้มลงกราบอย่างใจน้อมยอมรับในคำเฉลยธรรมนั้น
เอาละ…..บัดนี้ พอจะยอมรับ ฟังคำของหลวงตาเทพสัมมาหรือยังว่า หลวงพ่อสาวกโลกอุดร มีความรู้เฉลยธรรมลึกซึ้งเพียงไหน ว่าที่พอจะเป็นอาจารย์ของหลวงตาเทพสัมมาได้อย่างดีเยี่ยมหรือไม่?………..


ที่มา
http://www.buddhapoem.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=73890&Ntype=5

243
***เมื่อหลวงปู่เทพโลกอุดรเฉลยปริศนาธรรม***




มีเรือน แต่ไม่มีผู้อยู่…….
มีข้าวแต่ไม่มีผู้กิน……..
มีทาง แต่ไม่มีผู้คน……..


ปริศนาธรรมนี้ มีผู้กล่าวว่า เป็นคำสืบทอดมาจากพระกัสสปะเถรเจ้า จริงเท็จอย่างไรยากจะสืบสาว แต่ขอให้ศึกษาด้วยเหตุของภาวะธรรมเถิด
สมัยหนึ่ง มีคำเล่าว่า พระอรหันต์ผู้แตกนิกายออกไป ผู้ตกตายแล้วหรือปรินิพพานแล้ว มีกระดูกสารีริกธาตุ เป็นแก้วเพชรพลอย เฉลยความไว้ว่า

มีเรือน ไม่มีผู้อยู่………..เพราะโลกเกิดสงคราม คนจึงละบ้านช่องหลบภัย
มีข้าว ไม่มีผู้กิน…………เพราะระหว่างเกิดสงคราม คนหนีภัย จึงขนข้าวไปได้แต่น้อย
ส่วนเหลืออยู่ในเรือนร้าง จึงไม่มีคนกิน
มีทาง ไม่มีผู้เดิน……….เพราะสมัยโลกเจริญ มีแต่การตัดถนนหนทาง มีรถลามาก คนจึงเดิน
ทางด้วยพาหนะ ไม่ต้องเดินด้วยเท้าเช่นแต่ก่อน


ที่มา
http://www.buddhapoem.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=73890&Ntype=5

244
อานิสงส์ของการบวช 3/3



 เมื่อผู้บวชนี่ได้ทดแทนบุญคุณพ่อแม่ พี่น้อง ผู้มีพระคุณ เป็นอานิสงส์สูงสุด นางวิสาขาได้สร้างกุฏิ ๑ พันห้องถวายพระอรหันต์ผู้บริสุทธิ์ทั้งหมดและก็ทำการฉลอง มีพระอนุรุทเป็นประธาน นางวิสาขาได้ถามว่า เมื่อข้าพเจ้าได้ถวายกุฏิถึงพันห้องแก่พระอรหันต์ จะได้เป็นญาติกับพระศาสดาหรือไม่ พระอนุรุทบอกว่า พระพุทธองค์ตรัสอยู่เสมอว่า การทำบุญให้ทานด้วยวัตถุมากมายแค่ไหนก็ตาม จะหาว่าเป็นญาติต่อพระองค์ก็หาไม่ ต้องบวชลูกบวชหลานจึงจะได้เป็นญาติกับพระศาสดาและพระศาสนา นางวิสาขา เมื่อได้รับฟังดังนั้นก็บวชลูกหลานจำนวนมากเพื่อได้อานิสงส์ แม่บวชลูกบวชหลานจะได้เป็นญาติกับพระศาสนาและพระศาสดา ส่วนผู้บวชที่บวชแล้วนั้น จะได้บุญมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับการประพฤติปฏิบัติเฉพาะพ่อแม่ญาติก็ได้เฉพาะวันบวช และบวชเสร็จแล้ว ส่วนตัวผู้บวชนั้นจะต้องรักษาศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริสุทธิ์คือตั้งมั่นอยู่ในอนุบุพพิกถา คือ มีศีล มีทาน เรียกว่า สีลกถา สัคคกถาฯลฯ และทำให้ถึงวิมุตติกถาด้วย ให้หลุดพ้นจากบาป จากอธรรม มีปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่ในศีลธรรมให้บริสุทธิ์ เพื่อจะได้อานิสงส์มาก อานิสงส์ตัวเองพอบวชเสร็จก็ได้ ๑๖ อสงไขย คำว่า อสงไขย ก็มหาแสนกัป กัปหนึ่งก็บัณฑิตอุปมาไว้ว่า ภูเขาทั้งโลกเอาผ้าขาวเนื้อดีมาลากไป ลากมา คือ ถู ผัดไปปัดมา ให้ภูเขานั้นหายไปเลยทั้งโลก ซึ่งเรียกว่า กัปหนึ่งด้วยความยาวนาน หรืออุปมาให้สั้นกว่านั้นว่า ขุดสระลึก ๔ ร้อยเส้น กว้าง ๔ ร้อยเส้น ครบ ๑ ปี เทวดาเอาเมล็ดงาไปทิ้ง ๑ เมล็ดให้เต็ม เรียกว่ากัปหนึ่ง หนึ่งมหาแสนกัปจึงได้ ๑ อสงไขย คำว่า อานิสงส์ หมายถึง ผู้บวชนั้น ได้ปัจจัย เนกขัมมะ ผู้สละออกบวช และบุคคลอื่นก็พลอยได้ด้วย การทำบุญได้บุญมากในพุทธศาสนานั้น
 ข้อที่ ๑ คือ บวช
 ข้อที่ ๒ ถวายสังฆทาน
 ข้อที่ ๓ สร้างโบสถ์ สร้างสาธารณะ


 ทำบุญกับส่วนรวม ผู้ทำบุญจริง ๆ ก็เห็นอานิสงส์จริง ๆ
 ในปัจจุบันการปฏิบัติพิเศษที่ไม่มีใครเหมือนนั้น จะได้อานิสงส์มากมาย การทำบุญให้ได้บุญที่สมบูรณ์ ผู้ทำผู้ถวายต้องบริสุทธิ์ใจ ไม่เศร้าหมองในการให้ ให้แล้วเกิดปีติ เกิดศรัทธา เกิดอิ่มอกอิ่มใจ สบายใจ บุญนั้นเกิดมามหาศาล ถ้าทำบุญให้ทานแล้วเสียใจภายหลัง น้อยใจในการกระทำก็บุญน้อยลง ส่วนอานิสงส์ทานนั้นเท่าเดิม แต่ว่าบุญทางใจนั้นลดลงในการบวชวันเดียว ๓ วัน ๗ วันแล้วสึก อานิสงส์เท่ากัน แต่บวชอยู่ได้อานิสงส์มากกว่านั้นคือ เนกขัมมะ ยาวนานได้อานิสงส์มากในการอยู่ การบวชในพรรษากับนอกพรรษาเหมือนกัน แต่การบวช เข้าพรรษา ๓ เดือน เพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และจะได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของตนเท่าที่ตนทำได้นั้นยาวมาก บางคนก็บวชแก้บน แต่อยู่ได้ตลอดชีวิตก็มี การทำบุญแล้วต้องอธิษฐานกับไม่อธิษฐานต่างกัน เหมือนกับบวชแล้วไม่รับกฐินต่างกัน



 การรับพระกฐินจะได้อานิสงส์พระกฐินเพิ่มเข้าไปอีก จะได้อานิสงส์ไม่ต้องครองผ้าอยู่ช่วง ๔ เดือน อานิสงส์อื่น ๆ ก็เกิดมากมาย การทำบุญอธิษฐานกับไม่อธิษฐานต่างกัน พระภาคระ ทำบุญแล้วอธิษฐาน ขอไม่ให้มีโรค เกิดทุกภพทุกชาติไม่มีโรค จนชาติสุดท้าย พอคลอดแล้วแม่-มารดาไปล้างในน้ำคงคา ปลาโบตัวใหญ่กินเข้าไป ชาวประมงดักปลาได้เอาไปขายเศรษฐี ผ่าท้องปลาได้เด็กไม่ตาย ปลากินก็ไม่ตาย แล้วโรคก็ไม่มีตลอดชีวิต ส่วนคนอื่นก็ทำบุญเหมือนกัน แต่ไม่อธิษฐานว่า ไม่มีโรค ตั้งใจไว้อย่างนั้น ก็ไม่ขี้โรคทั้งหมด เรียกทำบุญอธิษฐาน นางปชาบดีโคตรมี ทำบุญอธิษฐานว่า เกิดชาติหนึ่งภพใดขออายุยืนตามอายุขัย ให้มีสติปัญญาดี มีอภิญญา ๖ ประการ เป็นสัมมาทิฐิตลอด เมื่ออธิษฐานว่าให้นางปชาบดีโคตรมีในปัจจุบันชาติก็ ๑๒๐ ปี และได้อภิญญา ๖ นางวิสาขาทำบุญทุกครั้ง อธิษฐานว่า เมื่อข้าพเจ้าเกิดชาติหนึ่งภพใดขอให้ได้พบพระรัตนตรัย มีศรัทธา เป็นสัมมาทิฐิ ขอให้ข้าพเจ้าอย่าได้ลำบากยากจนเข็ญใจ ขอให้ข้าพเจ้ามีอายุยืนตามอายุขัยชาตินี้ก็ ๑๒๐ ปี อานิสงส์ถวายดอกไม้ ธูปเทียน ของคาวหวาน อาหารทุกชนิด ขอให้ข้าพเจ้าอย่าได้เป็นคนขี้เจ็บไข้ได้ป่วย ขอผมอย่าได้หงอก ฟันอย่าได้หลุดหักหาย หนังไม่เหี่ยวย่น หลังไม่คู้ อายุ ๑๒๐ ปี ผมไม่หงอก ฟันไม่หัก หนังไม่เหี่ยวย่น เหมือนเด็กสาวธรรมดาทั่วไป แล้วอธิษฐานว่า ขอได้เป็นเบญจกัลยาณี เป็นผู้หญิงที่สมบูรณ์ด้วยกิริยามารยาท ก็ได้ดั่งที่ตนปรารถนาไว้ ส่วนคนอื่นทำบุญเหมือนกัน แต่ไม่อธิษฐานปรารถนาว่า จะให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ก็ได้เพียงอานิสงส์ทาน ก็ได้ทรัพย์สินสมบัติมาก อานิสงส์ศีลก็อายุยืน สวยงาม อานิสงส์สมาธิก็ได้อภิญญาและได้อย่างอื่นมากมาย แต่ต้องอธิษฐานเอาไว้ จึงจะได้สมกับเป้าหมายที่ความตั้งใจ มหาสาวกผู้เอตทัคคะผู้เลิศในสาวกทั้งหลายก็อธิษฐานไว้ทั้งหมด ตั้งใจไว้ทั้งหมด พระพุทธเจ้าแต่ละองค์ก็ตั้งใจไว้ว่าขอได้เป็นสัมมาสัมพุทธะทำบุญให้ทาน ทำอะไรก็ปรารถนาเป็นพุทธทั้งหมด จึงได้เป็นพุทธะ

ที่มา
http://www.oknation.net/blog/My-fais/2009/12/10/entry-45

245
อานิสงส์ของการบวช 2/3



 ชาวบ้านก็ถามนายลอยว่า เธอไปพบแม่อย่างไร ยายบอกว่า นี่น่ะ เธอรับปากแล้วว่า จะทอดผ้าป่าให้เรา แล้วแม่เธอ เธอต้องบวชให้นะ เธอรับปากแล้วเราจะไป พอยายของนายลอยออกจากร่างน้องสาวของนายลอยชื่อนางละอองนั้น คนทุกคนเห็นนางละอองไม่เห็นยายของนางละออง นางละอองเลยถามว่า นี่มากันมาก มาทำไม ทำไมไม่รู้เรื่อง บอกว่า ยายมาอยู่ที่เธอ เจ้าตัวก็ไม่รู้เรื่องทั้งหมด ใครถามก็ไม่รู้เรื่อง เหมือนกับหลับแล้วตื่น ไม่รู้เรื่อง นายลอยบอกว่า ตนได้นอนฝันว่า เดินทางไปเรื่อย ๆ ลึกลงไปๆ ได้ยินเสียงร้องครวญครางได้รับทุกขเวทนา ก็เดินไปข้างหน้าว่าเป็นใคร เป็นอะไร ทำไมมาร้องครวญครางอยู่ในขณะนั้นเห็นเป็นหลุม เป็นควัน ทุกหลุมมีจำนวนมาก ที่บางหลุมไม่มีควันก็มี ก็เดินผ่านไปทั้งมีควันและไม่มีควัน ตรงไปที่เสียงร้อง เหมือนถูกเผาทั้งเป็นพอไปถึงนายลอยก็เห็นทันที เอ้า...แม่ทำไมมาอยู่ที่นี่ แม่นายลอยบอกว่า ลูกลอย แม่มาตกนรกอยู่ ตอนที่น้องเธอบวชเป็นสามเณร แม่ตกนรกขุมใหญ่ ๕ ขุมใหญ่ พอน้องของเจ้าบวชเณร แม่ได้หลุดมาอีก ๒ ขุม อีก ๓ ขุมนี้ใหญ่มาก ต้องอยู่ ๒ หมื่นปีเมืองมนุษย์ กว่าจะได้ไปผุดไปเกิด นายลอยถามว่า ให้ช่วยอย่างไรละ แม่บอกว่า ลูกลอยกลับไปถึงให้บวชพระ พอบวชแม่ถึงหลุดทันที อานิสงส์การบวชนี้ พอบวชถึงแม่ พ่อ พี่น้อง ลูกเมีย ได้อานิสงส์ทันที การอยู่นานไปได้กี่วันนั้นเป็นเรื่องของเจ้านาค และพระผู้บวชแล้วแต่อานิสงส์ของเณรนี่ แม่ก็ได้มา ๒ ขุม ยังเหลืออีก ๓ ขุม


 แม่นายลอยเลยบอกว่า ลอยรีบไปบวชนะ แม่จะได้ไม่ต้องทรมาน ไปใช้กรรมในเมืองมนุษย์ดีกว่าเธอดูนะหลุมที่ไม่มีควันเมื่อก่อนก็มีควัน แต่พอลูกเขาบวช หลานบวชหรือเป็นเจ้าภาพให้เขาบวช เขาก็ไม่ต้องมา หลุมนั้นก็หายไป ควันนั้นหายไปมีแต่หลุม ถ้าตำแหน่งคนอื่นมา ก็มีควันขึ้นมากอีก บางคนมาตกอยู่แล้ว แต่ลูกบวชพระก็เลยออกจากหลุมนั้นไปเลย ไปใช้กรรมในเมืองมนุษย์ หลุมที่ไม่มีควันนั้นเป็นหลุมที่แทนที่จะมาตกก็ไม่ได้มาตก ไม่ตกเพราะลูกหลานบวช ตัวเองบวช เมื่อนายลอยไปถึงอย่างนั้น ก็รับปากแม่ว่า แม่ผมจะดึงขึ้นมาเอง แม่เลยบอกว่า ลอยอย่าดึงเลย กรรมธรรมดาไม่มีใครช่วยได้ จนกว่าจะหมดกรรม นายลอยเอื้อมมือลงไปจะดึงแม่ขึ้นมาก็ลึกลงไป หายลงไป มีแต่เสียงบอกว่า ให้ลูกไปบวชเสีย ช่วยแม่ไม่ได้หรอก เป็นเรื่องผลกรรม นายลอยก็เลยหักใจกลับบ้าน พอลอดขอนไม้ก็ตื่นขึ้นมา ก็นึกว่า ฝันว่า แม่ตกนรก เรียกอุสุตะนรก จำเหตุการณ์ได้ดีตั้งแต่เจอแม่แล้วกลับ จึงไปเล่นไพ่ต่อ อุสุตะนรกนี้ มนุษย์ทำบาปหยาบช้าไม่มาก
 อยู่มาอาตมาไปเทศน์ทุกงานว่า เรื่องแม่นายลอยขอร้องให้นายลอยบวช

นายลอยเกิดอายก็เลยบวช ๑ พรรษา พอบวชถึงแม่ก็หลุดทันที อานิสงส์ที่จะได้นั้น ได้ทันที พอบวชแล้วก็หมดแล้วโยม อันนี้วิธีบวช บวชไม่ได้ศรัทธาหรอก เมื่อบวชแล้วก็บวชสักพรรษาหนึ่ง ก็ได้อุปนิสัยปัจจัยไป ๔ อสงไขย แสนมหากัป เรียกว่า ๘ อสงไขย ตัวเองก็ได้หมด นี่บวชเพื่อได้อานิสงส์ให้กับแม่และตัวเองก็ได้ด้วย การบวชเพื่อแก้บนนั้น เมื่อบวชแล้วก็บวช บางคนอยู่ได้ตลอดชีพ บางคนได้เป็นพระเป็นใหญ่เป็นดี บางคนก็มีปัญญาเฉลียวฉลาด และบวชแก้บนจำเป็นต้องบวช ถ้าไม่บวชติดสินบนอยู่


 และก็ย้อนกลับไปหาเรื่องแม่นายลอยกับยายนายลอย วันรุ่งนี้นายลอยและญาติโยมทั้งหมดที่อยู่ในเหตุการณ์ก็ได้นิมนต์อาตมากับพระที่วัดสุคนธาวาสทั้งหมดหลายองค์ ไปรับผ้าป่าที่บ้านของนายลอย คนทั้งหมดก็ไปรวมกันทอดผ้าป่า อาตมาเห็นคนมาอยู่กันเต็มก็ถือโอกาสถามว่า แม่นายลอยกับยายนายลอยนั้นแตกต่างกันคือแม่นายลอยนั้นตกนรก แต่ยายนายลอยไม่ตกนรก ทั้ง ๒ คนนี้ ก็ไม่เข้าวัดเข้าวาอาราม ไม่ทำบุญให้ทาน ไม่รักษาศีล ทำไมไม่เหมือนกัน

ระหว่างแม่กับลูก ก็เลยถามโยมทั้งหมดที่ไปในงานทอดผ้าป่าว่า ทุกคนรู้จักกับแม่นายลอยไหม ทุกคนบอกว่ารู้จักยายเขาก็รู้จัก ส่วนแม่ของนายลอยนั้นบอกว่า หาปลาขายเป็นประจำ แต่ก็มีทรมานสัตว์ เช่น เผาเต่า นก ไก่ สัตว์ ทุกชนิด ความเมตตามีน้อย ความเหี้ยมโหดมีมาก ส่วนยายของนายลอยนั้น มีความเมตตาปรานี หาปลาขายบ้าง กินบ้าง แต่ใจดีต่อคนไม่ว่าทำอะไรลงไปเห็นแก่ส่วนรวม แม้แต่ขนำ (ที่พัก) กลางทุ่งนาก็ยังปลูกที่พักให้คนอื่นได้ไปพักอาศัยและทานอาหาร มีน้ำพร้อม อยู่ที่บ้านก็หากุ้ง ปลามาแบ่งพรรคพวก เพื่อนบ้าน มีเมตตาปรานีต่อมนุษย์และสัตว์ทั้งไม่ทำบาปและใจบุญ
 เมื่อญาติโยมเขาเล่าเรื่องยายนายลอยให้ฟัง ตายแล้วไม่ตกนรกยังไปเที่ยวนรก กลับมาได้สบายเฉพาะอุสุตะนรก
 โดยสรุปได้ความว่า แม่ของนายลอยนั้นตกนรก เพราะมีใจเหี้ยมโหดทารุณ และก็มีใจปราศจากเมตตาปรานีและขี้เหนียว ไม่แบ่งปันให้ผู้อื่น ไม่มีการให้ทานกับผู้อื่น มีจิตอยากให้สัตว์ตาย มีความเคียดแค้นต่อสัตว์ทั้งหลาย


ที่มา
http://www.oknation.net/blog/My-fais/2009/12/10/entry-45

246
กฎแห่งกรรม / อานิสงส์ของการบวช
« เมื่อ: 30 พ.ย. 2554, 09:35:26 »
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=21981.msg180602#msg180602
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=23200
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=10216
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=8477

อานิสงส์ของการบวช


 ๒๕๐๙ ย่างเข้า ๒๕๑๐ อาตมาได้ย้ายจากวัดชายนา ตำบลคลัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชไปอยู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อไปถึงก็ได้รับข่าวเรื่องน่าสนใจขึ้น คือที่ตำบลพรุพี อำเภอบ้านนาสาร หมู่ที่ ๕ เรียกกันว่าหมู่บ้านห้วยบอน เหตุการณ์เกิดขึ้นทำให้คนจำนวนมากมาที่วัดสุคนธาวาสที่อาตมาอยู่ เพื่อมานิมนต์ให้ไปทอดผ้าป่าให้กับยายนายลอยผู้ตายไป ก็มีการเล่าและการเชื่อกันว่า เป็นความจริง เหตุการณ์นี้คือ แม่ของนายลอยได้สิ้นชีวิตไปแล้ว และยายก็สิ้นชีวิตไปแล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้น่าเชื่อถือ คือ นายลอยเป็นคนชอบเล่นไพ่ ไม่ชอบเรื่องธัมโมธรรมะ หลังจากเล่นไพ่มา ๓ วัน ๓ คืน ในงานหนึ่งก็กลับไปนอนบ้าน การนอนนั้น หลับไปตั้งแต่ตอนบ่าย และก็ไปตื่นเอาตอนเที่ยงวัน และก็ไปเล่นไพ่ต่อ ไม่สนใจเรื่องสิ่งที่ตนได้พบเห็นในความคิดความฝัน ก็ไม่เล่าให้ใครฟัง ไม่พูดให้ใครฟัง


 อยู่มาช่วงหนึ่ง ยายของนายลอยที่ตายไปแล้ววิญญาณไปเจอลูกสาวคือแม่ของนายลอยตกนรกอยู่เรียกว่า อุสุตะนรก เป็นนรกขุมแรกของเมืองมนุษย์ ถัดจากมนุษย์ไป ยายคนนั้นเลยถามว่า ลูกสาวทำไมมาอยู่ที่นี่ ลูกสาวตอบจากในหลุมขุมนั้นว่า ลูกมาตกนรกอยู่ แต่แม่ต้องช่วยด้วย ลูกลอยมันโกหกว่า จะบวชให้แม่ แต่กลับไปเห็นยังไม่บวช ฉันทรมานมาก ขอให้แม่ไปช่วยบอกหลานของแม่ด้วย มันโกหก รับปากว่าบวช ยังไม่บวช ไปเล่นไพ่ต่อ



 อยู่ในเมืองนรกยังรู้ว่าลูกเล่นไพ่ต่ออีกยายเลยถามว่า จะให้ไปบอกได้อย่างไร เราเป็นวิญญาณ เขาเป็นมนุษย์ แม่ของนายลอยตอบว่า ให้แม่ไปประทับทรงที่หลานของแม่เอง คือนางละออง (นางละอองเป็นน้องของนายลอย) นายนายลอยก็รับปากลูกสาวว่า จะไปบอกให้และกลับจากขุมนรกนั้น มาถึงบ้านของนายลอย ซึ่งมีแต่น้องสาวอยู่บ้าน คือนางละออง ก็ได้มีการประทับทรงทันที

การประทับทรงนั้น เมื่อประทับทรงแล้ว นางละอองไม่รู้สึกตัว แต่คนผ่านหน้าบ้านมาเห็นยายนายลอยนั่งอยู่ก็แปลกใจว่า ยายนายลอยตายไปแล้ว ทำไมมานั่งอยู่ได้ หรือผีหลอก พอเดินผ่าน ยายนายลอยเลยถามว่า เอ้ย...มึงไปบอกไอ้ลอยที บอกให้มาบ้านด่วน มันไปโกหกแม่มันในเมืองนรกว่า จะบวชให้ แต่ไม่บวชไปเล่นไพ่ต่อช่วยบอกที คนที่เดินผ่านมาจำนวนมาก ก็ได้รับการฝากไปบอกทั้งหมด เมื่อทุกคนไปถึงบ้านงานศพ ไปบอกนายลอยว่า “ลอย ๆ ยายมึงมารอคอยอยู่ที่บ้าน มึงโกหกแม่มึงว่า มึงจะบวชให้ แต่ไม่บวช แม่มึงตกนรกอยู่นายลอยจึงว่า

“ยายมาได้อย่างไรล่ะ”  “บอกว่าโน้น ไปดูสิ นั่งรออยู่ที่บ้าน นายลอยก็นึกได้ว่า เอ...มิใช่ฝันแล้ว รับปากกับแม่แล้ว มิใช่ฝันแล้ว ก็เลยรีบเลิกจากการเล่นไพ่ไปบ้านทันที แต่มีคนหลายคนมาบอก ในงานศพว่า ยายนายลอยมารอคอยอยู่เช่นนั้น ทุกคนก็พากันแปลกใจ เลิกจากการเล่นไพ่ทั้งหมดไปบ้านนายลอย ไปถึงเห็นยายนายลอยนั่งอยู่ ทุกคนที่รู้จัก จำได้ แต่ไม่เห็นเป็นน้องสาวนายลอยคือนางละออง เห็นเป็นยายของนายลอย พอเห็นหน้านายลอยโผล่เข้าไปถึง ยายว่า “ลอย ๆ มึงโกหกแม่มึงว่า มึงจะบวช แต่ทำไมมึงไม่บวชล่ะ แม่มึงตกนรกอุสุตะนรก” ยาย ๆ มาได้อย่างไรนี่ ผมคิดว่าผมฝัน




 “ไม่ใช่ฝันซะแล้ว หลานลอยกูไปเจอแม่มึงแล้ว ตกนรกอยู่”
 นายลอยก็ได้บอกยายว่า แล้วยายมาได้อย่างไร เดี๋ยวนี้ยายอยู่ที่ไหน กินอยู่อย่างไร ยายบอกว่า ยายมีบ้านอยู่หลังหนึ่ง มุงหลังคาใบถัง มีน้ำอยู่ไหหนึ่ง มีขันน้ำด้วย แล้วก็มีข้าวกิน แต่ตอนนี้หลังคาได้พังไปหมดแล้ว ไปช่วยทำให้ที นายลอยก็ได้ถามว่าจะให้ไปทำได้อย่างไร และบ้านอยู่ที่ไหนไปทำได้อย่างไรละ ยายบอกว่า ลอยบ้านเกิดด้วยบุญ เขาสร้างหนำไว้ลูกหนึ่งคนไปกินน้ำที่นั่นแหละ หนำน้ำนั่นแหละ กินข้าวกินน้ำ ยายได้อานิสงส์ มีบ้านอยู่ มีน้ำ มีข้าว อาหารพร้อม การไปทำไม่ใช่ไปทำไปสร้างเหมือนบ้านมนุษย์ ให้เธอทอดผ้าป่าต่อพระสงฆ์ แล้วอุทิศบุญกุศลให้กับยาย ยายจะได้ทันทีเพราะลูกหลานเป็นผู้ทำให้ นายลอยว่าถ้าอย่างนั้นจะได้นิมนต์พระมาทอดผ้าป่า “แล้วลอยมึงไม่สงสารแม่มึงหรือ มึงก็ได้เห็นเขาด้วยตาเองมาแล้ว ทำไมต้องทำเฉยไม่บวชละ” ยายว่า
 นายลอยบอกว่า ยาย ผมไม่อยากบวช ผมไม่ศรัทธา ก็ไม่ใช่บวชด้วยศรัทธา ด้วยความชอบของตนเองบวชให้แม่ตนเอง บวชให้แม่พ้นทุกข์

ที่มา
http://www.oknation.net/blog/My-fais/2009/12/10/entry-45

247
คนโพสต์กระทู้ควรไปตรวจสภาพจิตประสาททั้งครอบครัวนะ :004:

248
เรื่องนี้อาจจะซ้ำ.....เลยไม่เปิดหัวข้อใหม่...อ่านเพื่อความบันเทิง...และวิจารณญาณตรึกตรองประกอบกัน

มหาสมบัติ

 ปีที่ไปค้นหาถ้ำเสือเป็นปี ๒๕๑๘ แอ่งน้ำย้อยนี้ก็คือถ้ำลูกธนู หรือที่เรียกกันในเวลานี้ว่าถ้ำคนธรรพ์
 ตอนที่พบนั้นปากถ้ำยังพอลอดเข้าไปได้ แต่มันลึกลงไป เมื่อเอาไฟฉายส่องลึกเข้าไปเห็นมีหินย้อยสวยมาก
 ตอนที่ไปพบแอ่งน้ำย้อยหรือปากถ้ำคนธรรพ์นั้น อาตมามาพบชายผู้หนึ่งยืนอยู่ที่นั่น นุ่งกางเกงตัวเดียว ไม่ใส่เสื้อ ร่างสันทัด ผิวคล้ำ ตาคม ท่าทางบ๊อง ๆ ที่แรกอาตมาคิดว่า เป็นชาวบ้านไม่เต็มบาท หรือคนขาด ๆ เกิน ๆ สติไม่ดี เขาถามอาตมาว่า
 “ท่าน มาทำไม”
 อาตมาก็ตอบว่า “เข้ามาสำรวจในที่นี่ โยมอยู่ไหน”
 “อยู่ที่นี่แหละ” เขาตอบพลางชี้มือเข้าไปในป่าแล้วถามว่า
 “ท่านอยากจะเข้าไปดูสมบัติโบราณในถ้ำนี้ไหม
 สมัยเมื่อสร้างพระบรมธาตุมหาเจดีย์ที่นครศรีธรรมราช ผู้คนเอาพระพุทธรูป เอาเงินทองเพชรนิลจินดาจำนวนมากใส่เรือเดินทะเลมาหลายลำ แต่แล้วก็เจอพายุใหญ่ เรือไปไม่ถึงเมืองพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช เรือเหล่านั้นได้แวะเข้าจอดที่อ่าวลูกธนู แล้วขนเอาพระพุทธรูป ตลอดจนเงินทองเพชรนิลจินดา มากมีเข้ามาเก็บซ่อนไว้ในถ้ำนี้
 มหาสมบัติโบราณอยู่ข้างบนจำนวนมาก ส่วนที่อยู่ในถ้ำข้างล่างไม่มาก กาลเวลาทำให้หินย้อยหินงอกปิดบังมหาสมบัติเอาไว้
 ถ้าท่านจะเอามหาสมบัติทั้งหมดจะต้องทำการระเบิดหินย้อยหินงอกออกให้หมดเสียก่อน จึงจะพบมหาสมบัติจำนวนมหาศาลของคนโบราณ
 ท่านขึ้นขี่หลังผมซี ผมจะพาเข้าไปดูชมมหาสมบัติบางส่วนในถ้ำนี้”
 อาตมาก็ตอบไปว่า “เป็นพระสงฆ์องค์เจ้าขี่หลังโยมได้รึ ไม่เอาหรอกน่าเกลียด”
 แต่ชายผู้นั้นก็ยืนยันว่า เขาสามารถจะพาเข้าไปดูชมสมบัติโบราณได้จริง ๆ พระทองคำก็มีเยอะ เขาจะพาเที่ยวดู
 อาตมาก็คิดไปว่า เจ้าคนนี้สงสัยจะสติไม่ดีแน่ หน้าตาท่าทางไม่น่าไว้ใจเลย หมอคงจะอาศัยบารมีอาตมาซึ่งเป็นพระ เพื่อให้เป็นเพื่อนพาเข้าไปค้นหาทรัพย์สมบัติโบราณที่ปู่โสมหวงแหน ถ้าปู่โสมจะทำอันตรายก็คงจะทำได้ไม่ถนัด เพราะมีพระคืออาตมาเข้าไปในถ้ำด้วย
 อาตมาจึงหาทางเลี่ยงหนีออกจากคน ๆ นี้ โดยบอกเขาว่า จะเดินไปสำรวจทางอื่น
 ขณะนั้นเป็นเวลาตอนเที่ยงแดดแจ่มใส อาตมาจำหน้าตาชายผู้นี้ได้ชัดเจน ก็ยังคิดว่าเป็นคนชาวบ้านที่สติไม่ดีเข้ามาเที่ยวอยู่ในป่า ยังไม่ได้เอะใจสงสัย
 หลายวันต่อมา อาตมาพร้อมด้วยพวกลูกศิษย์มี นายชัยยะ นายยิ่ง นายห้อย ครูไกรศรี นั่งรถส่วนตัวของครูไกรศรีจากตลาดเมืองกระบี่ไปที่ถ้ำเสืออีกครั้ง เพื่อจะออกสำรวจป่าเขาลำเนาไพรย่านนั้นให้ทั่วถึง ตรงที่เป็นทางขึ้นสูง ๆ ก็ช่วยกันเอาเชือกมาผูกไม้ทำบันไดขึ้นไปชั่วคราว พอไปถึงปากถ้ำคนธรรพ์อีกครั้ง อาตมาก็แปลกใจเพราะได้พบชายผู้นั้นอีก
 “เอ๊ะ เจ้าคนนี้ทำไมมายืนอยู่ตรงนี้อีก หรือว่าจะหาทางเข้าไปลักเอาสมบัติโบราณในถ้ำ” อาตมานึกสงสัย ก็เลยถามเขา
 เขาก็บอกว่า บ้านเขาอยู่ในป่าแถว ๆ นั้น เขาชอบมาเที่ยวดูอะไรต่ออะไรอยู่เสมอ และเขายังได้ชวนอาตมาเข้าไปเที่ยวดูชมสมบัติในถ้ำคนธรรพ์อีก แต่อาตมาไม่อยากจะเข้าไป พวกลูกศิษย์ของอาตมาก็ไม่กล้าเข้าไปเพราะกลัวว่าในซอกหลืบหรือในรูถ้ำอาจจะมีงูเหลือมกินคน มีงูพิษร้ายหลายชนิด ตลอดจนเสือโคร่ง เสือดาวอยู่ในนั้น เมื่อเข้าไปเจอเข้าอย่างจังหน้าก็ไม่มีทางหนีรอดได้เลย
 ตอนที่อาตมายืนคุยกับชายลึกลับท่าทางสติไม่ดีอยู่นี้ แสงแดดแจ่มจ้าทำให้เห็นหน้าตาชัดเจนว่า เขาเป็นคนจริง ๆ ไม่ใช่ภาพลวงตา พูดจากันด้วยภาษาปักษ์ใต้รู้เรื่องทุกถ้อยคำ อาตมาก็บอกเขาว่า
 “ถ้ำนี้มีมหาสมบัติของคนโบราณ ถ้าปล่อยปากถ้ำไว้อย่างนี้คงมีสักวันหนึ่งที่จะถูกคนโลภพากันมาค้นหาเอามหาสมบัติโบราณไปกินหมด เอาอย่างนี้ก็แล้วกันนะ อาตมาจะขอร้องให้พี่ชายช่วยจัดการปิดปากถ้ำไว้ชั่วคราวก่อน เอาไม้มาทำเป็นประตูถ้ำ เอากุญแจมาใส่ สำหรับค่ากุญแจอาตมาจะเอาสตางค์มาให้ทีหลัง”
 ชายท่าทางบ๊อง ๆ ลึกลับนี้พูดอย่างไรรู้ไหม เขาตอบว่า
 “ไม่ต้องทำหรอกครับ ถ้ำนี้มีพวกคนธรรพ์เฝ้าปกปักรักษาอยู่แล้ว มันเป็นหน้าที่ของพวกเขา ผมไม่มีหน้าที่ไปทำประตูปิดถ้ำได้หรอกครับ”
 อาตมาได้ฟังคำตอบแล้วก็นึกในใจว่า “เออ อย่าไปวุ่นวายเรื่องนี้เลย เจ้าหมอนี่ท่าทางมันไม่เต็มบาท”
 เมื่อคิดอย่างนี้แล้วอาตมาก็เดินเลี่ยงไปสำรวจทางอื่น พบว่าป่าเขาลำเนาดงย่านนี้เป็นป่าพรหมจรรย์ที่สมบูรณ์ที่สุด คือยังไม่มีพวกตัดไม้ทำลายป่าเข้ามาทำให้เสียหาย ป่ายังบริสุทธิ์สดชื่นเหมือนสมัยดึกดำบรรพ์ ที่มันได้ก่อกำเนิดขึ้นมา เช่น ต้นไม้อายุล้านปีในหิน ต้นจิกมหึมาอายุพันปีเป็นต้น
 ต่อมาเมื่อดำเนินการเรื่องต่าง ๆ เรียบร้อยบ้างแล้ว อาตมาก็อพยพพระภิกษุจำนวน ๕๓ รูปและแม่ชีจำนวน ๕๖ รูป ออกมาจากสำนักวิปัสสนาวัดสุคนธาวาส ตำบลพรุพี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เดินทางมาอยู่ที่สำนักสงฆ์ถ้ำเสือวิปัสสนากรรมฐานเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๘
 ทันทีที่ไปถึง อาตมาก็ร้อนใจรีบปีนป่ายขึ้นภูเขาไปก่อนใคร เพื่อจะดูว่ามีใครขัดขวางหรืออิจฉาริษยาแอบมาปลูกสร้างถาวรวัตถุตัดหน้าอาตมาหรือเปล่า ถ้ามีอย่างนั้นก็แปลว่า ต้องมีปัญหาในการตั้งสำนักวิปัสสนาขึ้นที่ถ้ำเสือ ยุ่งยากแน่
 ตอนนั้นยังไม่มีบันไดทางขึ้นถาวรเหมือนเดี๋ยวนี้ ยังใช้บันไดเชือกผูกติดกับไม้เป็นการชั่วคราวที่ นายปลั่ง นายภูผา ซึ่ง หม่อมหลวงวรวัฒน์ นวรัตน์ ส่งมาช่วย ได้ช่วยกันทำบันไดชั่วคราวนี้
 อาตมาก็ปีนป่ายขึ้นบันไดชั่วคราวนี้ไป เมื่อไปถึงถ้ำคนธรรพ์ อาตมาก็ต้องสะดุ้ง เพราะได้พบเจ้าคนท่าทางบ๊อง ๆ ไม่เต็มบาทคนนั้นยืนอยู่ที่เดิม คือยืนอยู่ปากถ้ำ นุ่งกางเกงตัวเดิม ไม่ใส่เสื้อเหมือนเดิม
 เอ้า คนนี้อีกแล้ว เขาต้องไม่ใช่คนธรรมดาแล้ว ถ้าเป็นคนธรรมดาต้องไม่มายืนอยู่ในป่าอันตรายอย่างนี้หรอก เป็นเวลาตั้งสองเดือนแล้วที่เราได้พบคนนี้ครั้งหลังสุด เมื่อพบกันอีกวันนี้หมอก็ยังนุ่งกางเกงตัวเก่าอยู่
 “ถ้าไม่ใช่คน ก็ต้องเป็นผี”
 อาตมาบอกตัวเองในใจ และคิดอยากจะพิสูจน์ดูว่า เป็นคนหรือเป็นผีกันแน่ ถ้าเป็นผีจะต้องมีแต่รูปร่าง เป็นมายาลวงตา แต่เนื้อหนังมังสาที่แท้จริงไม่มี หรือพูดตรง ๆ ก็ว่า ผีที่ปรากฏให้เห็นนั้น เป็นเพียง “เงา” เหมือนเงาในกระจกไม่มีตัวตนที่แท้จริง
 เมื่อคิดอย่างนี้แล้ว อาตมาก็ทำเป็นชวนคุยพลางเดินเข้าหาจะหาทางจับมือถือแขนดูซิว่ามีเนื้อหนังมังสาไหม
 “พี่ชายทำประตูปิดปากถ้ำแล้วหรือยัง”
 อาตมาถามเจตนาจะให้เผลอตัวเพื่อจะได้กระโดดเข้าจับแขน ขณะเดียวกันก็จับตามองสำรวจรูปร่างหน้าตาก็เห็นว่า เป็นชายรูปร่างหน้าตาเหมือนคนปักษ์ใต้ทั่วไปนั่นเอง
 ดินฟ้าอากาศภาคใต้ที่ได้รับกระแสลมจากทะเลทั้งสองด้าน คือทะเลด้านอ่าวไทยกับทะเลอันดามันประกอบกับภูมิประเทศของภาคใต้ อันชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์มีฝนตกเกือบตลอดปี จึงทำให้ผู้คนมีผิวคล้ำ ตาคมคล้ายพวกแขกมาเลย์
 ชายผู้นี้ก็เช่นเดียวกันผิวคล้ำ ตาคม อายุอยู่ในราว ๔๐ ปี อ่อนกว่าอาตมา
 พออาตมาเดินเข้าหาชวนคุยด้วย พร้อมกับยื่นมือจะจับ เขาก็รีบถอยหลังหนีทันทีพร้อมกับตอบมาว่า
 “หนทางเข้าถ้ำปิดเรียบร้อยแล้ว”
 “ปิดยังไง”
 อาตมาถามพลางเดินเข้าหา และเขาก็ถอยกรูด ๆ ตอบว่า
 “พวกคนธรรพ์เอาหินปิดปากถ้ำไว้ครับ”
 อาตมาก็เดินเข้าไปสู่ที่ปากถ้ำเอาไฟฉายส่องดูให้ชัด ๆ เพราะเงามืดบัง ก็เห็นว่าเป็นสีขาว ๆ คล้ายปูนโบกปิดปากถ้ำไว้ ก็เลยเอามีดพับเคาะ ๆ ดู มันยังเปียก ๆ อยู่ แต่เป็นหินไม่ใช่ปูน ดมกลิ่นดูก็เป็นกลิ่นหินไม่ใช่กลิ่นปูน ไม่มีทราย ไม่มีปูนซีเมนต์ มันเป็นหินล้วน ๆ เอามาโบกปิดปากถ้ำได้ยังไง น่าอัศจรรย์แท้
 อาตมาก็ถอยออกจากปากถ้ำเดินมาหาเจ้าคนนั้น แล้วถามว่า “หินอะไรถึงเหลวจนเอามาอุดปากถ้ำได้”
 เขาก็ถอยหลังตอบว่า “เป็นหินแบบเดียวกันกับหินที่ย้อยลงมาเป็นหินงอกในถ้ำอย่างนั้นแหละ”
 เขาตอบพลางถอยหลังพลางอาตมาก็ทำเป็นถามไปเรื่อย ๆ เดินเข้าหา พอได้จังหวะจะกระโดดกอดมันไว้ แต่ราวกับหมอนั่นรู้ใจ ถอยหลังหนีพลางตอบพลาง
 ตอนนี้อาตมามั่นใจแล้วว่า หมอนี่ไม่ใช่มนุษย์ แต่เป็นพวกวิญญาณแน่ ๆ เพรานอกจากจะเดินถอยหลังหนีไม่ยอมให้เข้าใกล้แล้ว นัยน์ตายังแข็งไม่กะพริบเลย ผิดมนุษย์ทั่วไป
 เขาถอยไปจนติดแอ่งน้ำที่ไหลมาจากซอกภูเขาซึ่งมีต้นไม้ขึ้นรกชัฏ เขาพลิ้วตัวหลบแอ่งน้ำราวกับมีนัยน์ตาอยู่ข้างหลังยังงั้นแหละ พอพลิ้วตัวหลบแอ่งน้ำก็วูบเข้าหาต้นไม้ อาตมาเห็นผิดท่าก็กระโดดตามจะคว้าตัวไว้
 อ้าว หายวับไปเสียแล้วราวกับล่องหน
 ทำเอาอาตมางวยงง รีบเดินค้นหาและวิ่งสกัด ซึ่งถ้าเป็นคนธรรมดาจะหนีไปไม่พ้น เพราะป่ารกชัฏเป็นหย่อม ๆ ถ้าก้มลงมองลอดไปก็จะเห็นอะไรได้ไกล แต่หมอนั่นไม่รู้หายไปได้ยังไง อาตมาวิ่งไปหานายภูผา นายปลั่ง ที่ช่วยกันทำบันได ขึ้นลงภูเขาถามว่า
 “เห็นคนนุ่งกางเกง แต่ไม่ได้ใส่เสื้อวิ่งหนีมาทางนี้ไหม”
 คนทั้งสองบอกว่าไม่เห็นเลย อาตมาจึงวิ่งย้อนกลับไปค้นหาแถวนั้นอีกแต่ก็ไม่พบ หมอนั่นหายไปได้ในพริบตาก็ว่าได้ อัศจรรย์แท้ ไม่ใช่คนแน่ ต้องเป็นผี เป็นวิญญาณเด็ดขาด ที่แปลงร่างเป็นคนมาสนทนากับอาตมา
 คืนนั้นทำวัตรสวดมนต์ไหว้พระเรียบร้อยแล้ว อาตมาก็บอกพวกพระสงฆ์ทั้งหลายว่า ขอให้พวกท่านไม่ต้องเป็นห่วง จากนั้นอาตมาก็เดินฝ่าความมืดบุกป่าไปเรื่อย ๆ
 ป่าย่านนั้นมีเสือมีงูพิษและสัตว์ร้ายหลายชนิดแต่อาตมาเฉย ๆ ไม่นึกกลัวเลย คิดว่าการเดินตัวคนเดียวในตอนกลางคืนเช่นนี้อาจจะพบหมอนั่นซึ่งเป็นผี หรือพบพวกผีทั้งหลายที่สิงสู่อยู่ในป่าเขาย่านนั้นแต่ไม่พบอะไรเลย
 ถ้ำคนธรรพ์ ซึ่งชายลึกลับไม่ใส่เสื้อเล่าให้ฟังว่า เป็นที่เก็บซ่อนมหาสมบัติส่วนใหญ่ไว้นั้น จากการตรวจสอบด้วยกระแสญาณของพระและแม่ชีตรงกันว่า ถ้ำนี้ในอดีตเคยมีพระธุดงค์มาบำเพ็ญธรรม ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อยู่ ๔ องค์ เป็นถ้ำที่งดงามวิจิตรพิสดารมาก มีเทวดาเฝ้ารักษาแต่น่าเสียดายที่พวกวิญญาณชั้นสูงหรือเทพคนธรรพ์ได้ใช้หินปูนโบกปิดปากถ้ำเสียแล้ว
 ส่วนในเขานั้นเมื่อก่อนคนธรรพ์เดินเรียกพระลุกขึ้น เรียกหลายองค์
 ครั้งหนึ่งอาจารย์วิลาส ตอนนี้สึกไปเป็นฆราวาสแล้วบวชมาหลายพรรษาพูดกันเรื่องคนธรรพ์เรียกเรื่องอะไรต่าง ๆ กันอยู่ข้างใน อบรมพระเสร็จแล้วก็คุยพิเศษอาจารย์วิลาสว่าตาฝาดบ้าง เห็นเองบ้าง มันเป็นไปไม่ได้ ถ้าผมเห็นผมจึงเชื่อ
 อาตมาก็ว่า “คุณก็ต้องได้เห็นเองล่ะจึงเชื่อ คุยกันในหมู่ผู้ที่เห็น คุณไม่เกี่ยวไม่ได้พูดให้คุณเชื่อนี่” ก็พูดว่าหลายคำ พอท่านออกเดินไปกุฏิ คนธรรพ์ถือไม้ดุ้นหนึ่งด้วย มาถึง
 “คุณวิลาส คุณระวังปากไว้พูดทีหลังให้ระวังไม่ดี สิ่งใดในโลกนี้ลึกลับมาก มีหรือไม่มีไม่จำเป็นต้องพูดประมาทให้คุณระวังตัวนะคุณจะเดือดร้อน”
 พูดในทางขู่และทำท่าว่าจะตีด้วยไม้ ท่านวิลาสก็วิ่งไปหาเพื่อนบอกว่า
 “เจอแล้ว ๆ เห็นแล้วถือไม้จะตี”
 ก็มานอนอยู่กับเพื่อนในหอประชุม พอรุ่งเช้าอาจารย์วิลาสก็หนีไปอยู่ที่ปัตตานี ไม่อยู่แล้ว เลยบอกพระด้วยว่าให้ไปบอกอาจารย์จำเนียรว่าเจอแล้ว แต่เขาถือไม้แล้วเราสบประมาทเขา เขาก็เตือนว่าทีหลังให้ระวังคำพูดคิดว่าอยู่ไปก็คงจะเดือดร้อนอันตรายก็เลยไม่อยู่ ท่านวิลาสตั้งแต่นั้นมาไปอยู่ปัตตานีตลอดจนสิกขาลาเพศไปแล้ว
 อันนี้ทำให้เราคิดว่าคนธรรพ์นี่คงมีเนื้อมีหนัง ไม่ใช่มีแต่วิญญาณอย่างเดียว คงจะมีเนื้อหนังสังขารเพราะการที่เห็นกายชัดว่าเป็นเนื้อจับตัวได้
 ครั้งแรกถามคนธรรพ์ว่าบ้านอยู่ไหน คนผู้ชายก็บอกบ้านอยู่ไปทางคลองใหญ่ อาชีพก็บอกว่า ทำไร่และออกจ่ายตลาด ตอนนั้นเราเข้าใจว่าเป็นคนที่ไม่เต็ม ไม่สมบูรณ์หรือสติไม่สมบูรณ์ก็เลยไม่สนใจมากครั้งที่สองนี่สนใจแต่จับตัวเขาไม่ได้

ที่มา
http://www.oknation.net/blog/My-fais/2009/12/10/entry-52

249
ธรรมะ / ตอบ: คุณค่าของเต๋า
« เมื่อ: 28 พ.ย. 2554, 05:42:42 »
แถมนิทานนี้ให้ท่าน saken6009 และสหายทั้งปวง


นิทานเซน : ความว่างเปล่า

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   23 พฤศจิกายน 2554 08:37 น.   


ภาพจาก nipic.com
《四大皆空》

       
       มีนิทานเซนที่น่าสนใจหลายเรื่อง เกี่ยวกับ "ซูตงโพ(苏东坡)" ยอดนักกวีและนักปกครองในสมัยซ่งใต้ เรื่องหนึ่งเล่าเอาไว้ว่า...
       
       ครั้งหนึ่งซูตงโพได้ยินว่า อาจารย์เซนฝออิ้น ณ วัดจินซานขึ้นแสดงธรรมเทศนา เขาจึงรีบเดินทางมาฟังธรรมที่วัด ทว่าเมื่อมาถึง ปรากฏว่าศาสนิกชนล้วนมาจับจองที่นั่งฟังธรรมกันจนเต็มบริเวณไปหมดแล้ว เมื่ออาจารย์เซนฝออิ้น เห็นซูตงโพจึงเอ่ยทักว่า "ผู้คนนั่งเต็มแล้ว ในที่นี้ไม่มีที่นั่งสำหรับท่านแล้ว"
       
       ซูตงโพพอได้ฟังก็โต้ตอบอาจารย์เซนโดยเหน็บแนมแฝงธรรมมะที่คิดว่าตนเองเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งกลับไปว่า "ในเมื่อไม่มีที่ว่างให้นั่ง งั้นข้าขอนั่งบน ธาตุ4 ขันธ์5 ของท่านอาจารย์ก็แล้วกัน" (ธาตุ4 หมายถึงวัตถุอันเป็นที่ตั้งมูลฐานของสิ่งทั้งปวงประกอบด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ส่วนขันธ์5 หรือ เบญจขันธ์ หมายถึง กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้าหมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นชีวิต ประกอบด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์)
       
       อาจารย์เซนฝออิ้น จึงตอบกลับมาว่า "อาตมามีคำถามข้อหนึ่ง หากท่านตอบได้ พระชราเช่นอาตมาจะยอมให้ท่านนั่งบนร่างกายของอาตมา แต่หากตอบไม่ได้ ท่านจงมอบชิ้นหยกประดับเข็มขัดของท่านให้กับวัดเป็นที่ระลึกเถิด"
       
       ซูตงโพได้ยินดังนั้นก็รับคำท้าทันทีเพราะมั่นใจในสติปัญญาของตนว่าอย่างไรก็ต้องชนะ
       
       อาจารย์เซนฝออิ้นจึงเอ่ยถามขึ้นทันที่ว่า "ในเมื่อธาตุทั้ง4 ล้วนว่างเปล่าอยู่แต่เดิม ขันธ์5 ก็ไม่มีอยู่ แล้วท่านจะนั่งที่ใดกันเล่า?"
       
       ซูตงโพได้ฟังคำถามจึงค่อยเข้าใจว่าตนเองพลาดพลั้งให้กับอาจารย์เซนแล้ว สุดท้ายจึงได้แต่มอบหยกประดับเข็มขัดให้กับทางวัดเป็นที่ระลึกไป
       
       ปัญญาเซน : ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่ง ล้วน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปอยู่ทุกขณะ ตามหลักไตรลักษณ์ นั่นคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
     

       
       ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028-2995-4

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000149102

250
ธรรมะ / ตอบ: ธรรมะอินเทรนด์......2
« เมื่อ: 28 พ.ย. 2554, 05:02:12 »
ธรรมะอินเทรนด์ : น้ำทุกหยดล้วนสำคัญ
วันพุธ ที่ 05 ตุลาคม 2554 เวลา 0:00 น 



ก่อนที่น้ำจะเต็มแก้ว ย่อมมีน้ำมากมายหลายร้อยหยดถูกรินลงไปในแก้วอยู่ก่อนแล้ว แต่ตัวที่จะทำให้น้ำเต็มแก้วจริง ๆ ก็คือ น้ำหยดสุดท้าย
   
น้ำหยดสุดท้ายทำให้น้ำเต็มแก้ว แต่ไม่ได้หมายความว่า น้ำหยดสุดท้ายนั้นสำคัญที่สุด เพราะหากไม่มีน้ำอีกหลาย ๆ หยดก่อนหน้านั้นมาเป็นส่วนหนึ่งรออยู่แล้ว น้ำหยดสุดท้ายก็แทบจะไม่มีความสำคัญอะไรเลย
   
เรื่องน้ำหยดสุดท้ายเป็นอย่างไร
   
เรื่องการทำงานก็เป็นอย่างนั้น
   
เวลาที่ใครสักคนหนึ่งทำงานและประสบความสำเร็จอย่างงดงาม บางทีพอประสบความสำเร็จแล้ว ก็มักอดคิดไปไม่ได้ว่า ตัวเองเป็นคนสำคัญที่สุด ทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จได้ก็เพราะความรู้ความสามารถของตัวเองล้วน ๆ
   
คนที่คิดอย่างนี้ ไม่เพียงแต่จะเป็นการคิดที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น ทว่ายังเป็นการมองข้ามความสำคัญของเพื่อนร่วมงานซึ่งเป็นส่วนร่วมที่สำคัญที่สุดอีกด้วย เพราะกว่างานชิ้นหนึ่งจะเดินทางมาถึงจุดสำเร็จอย่างงดงามนั้น ย่อมต้องมีคนที่อุทิศตนเป็น “เพื่อนร่วมงาน” อยู่มากมาย บางคนก็อยู่แนวหน้า บางคนก็อยู่แนวหลัง บางคนก็อยู่เบื้องบน บางคนก็อยู่เบื้องล่าง หรือบางคนแทบไม่เป็นที่ปรากฏว่ามีส่วนอย่างไร แต่คนเช่นนี้ บางทีเขาก็กลายเป็นส่วนสำคัญที่สุดเพราะเขาอาจเป็นบุคคลที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจให้คนทำงานเอาแนวคิดหรือบางสิ่งบางอย่างจากเขาไปเป็นแนวทางในการทำงานก็เป็นได้
   
เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแอปเปิลที่ผลิตจากแนวคิดของสตีฟ จ๊อบส์นั้น อุปกรณ์บางตัวเขาก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากหม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่วางขายเกลื่อนอยู่ในแผนกเครื่องครัวเสีย
ด้วยซ้ำ นวัตกรรมชั้นยอดไม่จำเป็นต้องเป็นผลงานจากมันสมองอันเลิศเลอของนักออกแบบชั้นเซียนเพียงคนเดียวเสมอไป เพราะบางทีแรงบันดาลใจนั้นก็มาจากการผสมผสานของสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตของคนเราโดยบังเอิญเสียด้วยซ้ำ แต่เวลาประสบความสำเร็จแล้ว บางทีเราก็มองข้าม “สิ่งเล็ก ๆ” เหล่านี้ไป
   
ทุกครั้งที่ประสบความสำเร็จในการทำงาน จึงไม่ควรอหังการ ว่างานทั้งผองล้วนกลั่นจากมันสมองของตัวเองล้วน ๆ ภูมิใจ ยินดีปรีดาได้ แต่ไม่ควรหลงตัวเอง
   
วันหนึ่งมีนักข่าวคนหนึ่งไปสัมภาษณ์ท่านติช นัท ฮันห์ ปรมาจารย์เซนชาวเวียดนามระหว่างที่ท่านกำลังพรวนดินอยู่ในสวนว่า ทำไมท่านจึงมาเสียเวลาอยู่ในสวนอย่างนี้เล่า ทำไมไม่เอาเวลาไปนั่งเขียนบทกวีธรรมะ ท่านตอบนักข่าวคนนั้นไปว่า การทำสวนของท่านก็เป็นการเขียนกวีอยู่แล้วในตัว นักข่าวไม่เข้าใจถามว่า มันเกี่ยวกันได้อย่างไร
   
ท่านอธิบายว่า บทกวีนั้นเกิดจากองค์ประกอบที่ไม่ใช่กวีมากมาย ไม่ใช่จู่ ๆ กวีนิพนธ์จะหลั่งไหลออกมาเองโดยไม่มีที่มาที่ไปเสียเมื่อไหร่ แต่กวีนิพนธ์ ก็คือ ผลรวมของการตกผลึกจากความเข้าใจโลกเข้าใจชีวิตอย่างลึกซึ้ง การตกผลึกนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในนาทีเดียวของการใช้ชีวิตหรือจากการตวัดปากกาเขียนบทกวี แต่มันเกิดจากการสั่งสมจากประสบการณ์ในชีวิตทีละเล็กทีละน้อย จากสิ่งต่าง ๆ มากมายนับไม่ถ้วน การทำสวน แม้เป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่ก็เป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
   
ส่วนการเขียนบทกวีนั้นเป็น “น้ำหยดสุดท้าย” เท่านั้น หากไม่มีการทำสวนพรวนดินมาก่อนหน้านั้น ความลุ่มลึกจะมาจากไหน
   
บทกวีเกิดจากองค์ประกอบที่มิใช่กวีมากมาย ฉันใด
   
ความสำเร็จของการทำงาน ก็ไม่ได้เกิดจากการทำงานคนเดียวล้วนๆ ฉันนั้น
   
แท้ที่จริง ทุกความสำเร็จล้วนมีองค์ประกอบมากมาย คนบางคนที่ถือว่าตัวเองประสบความสำเร็จในการทำงานนั้น หากจะกล่าวให้ถูกก็ควรจะกล่าวว่า เป็นเพียง “ตัวแทน” ที่คนอื่นสมมุติให้ว่าเป็นเจ้าของความสำเร็จมวลรวมของคนและเหตุปัจจัยอีกมากมายต่างหาก
   
เวลาทำงานไม่ว่าจะทำเป็นทีมหรือทำคนเดียว อย่าลืมสัจธรรมข้อนี้เป็น
อันขาด
   
น้ำหยดสุดท้ายทำให้น้ำเต็มแก้ว แต่ไม่ใช่น้ำหยดที่สำคัญที่สุด จริงไหม?.

ว.วชิรเมธี

ที่มา
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=671&contentID=167565

251
ธรรมะ / ตอบ: ธรรมะอินเทรนด์......2
« เมื่อ: 28 พ.ย. 2554, 04:59:44 »
ธรรมอินเทรนด์ : ธรรมดาของชีวิต
วันพุธ ที่ 16 พฤศจิกายน 2554 เวลา 0:00 น 



น  จาหุ  น  จ  ภวิสฺสติ    น  เจตรหิ  วิชฺชติ
   
เอกนฺตํ  นินฺทิโต  โปโส    เอกนฺตํ  วา  ปสํสิโต
   
คนที่ถูกนินทาเพียงอย่างเดียวก็ดี

คนที่ได้รับการสรรเสริญเพียงอย่างเดียวก็ดี

ไม่เคยมีมาแล้วในอดีต

จักไม่มีในอนาคต

แม้ในปัจจุบันนี้ก็ไม่มี

(พุทธศาสนสุภาษิต ๒๕/๒๗)
       
ถูกนินทาเพียงอย่างเดียวเชียวชีวิต
   
ชมเป็นนิตย์เสื่อมไม่มีช่างดีเหลือ
   
ทั้งสรรเสริญทั้งนินทามาจากเครือ
   
ธรรมะเชื้อโลกธรรมประจำวัน
       
ในอดีตปัจจุบันอนาคต
   
อย่ากำสรดเสียน้ำตาอย่าโศกศัลย์
   
เคยเป็นมาเป็นอยู่คู่กัปกัลป์
   
และจะเป็นเช่นนั้นไปในนิรันดร์.

ว.วชิรเมธี

ที่มา
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=671&contentID=176195

252
ธรรมะ / ธรรมะอินเทรนด์......2
« เมื่อ: 28 พ.ย. 2554, 04:58:24 »
ธรรมะอินเทรนด์ : วิถีบัณฑิต
วันพุธ ที่ 23 พฤศจิกายน 2554 เวลา 0:00 น 



อตฺตานํ  ทมยนฺติ  ปณฺฑิตา

บัณฑิตย่อมฝึกตน

(พุทธสุภาษิต ๒๕/๑๖)


อัสดรหัตถีปักษีชาติ    แม้เปรื่องปราดปรีชาไวอยู่ไพรสณฑ์   

หากคนไม่ฝึกหัดไม่ดัดตน    ก็เก่งวนแต่กินอยู่สมสู่กัน
   
ครั้นมนุษย์นำมาพากันฝึก    สัตว์สำนึกเปลี่ยนไปใฝ่สร้างสรรค์

ปลาโลมาเปิดแสดงโชว์แข่งกัน    แต่ละวันหาเงินได้ไม่น้อยเลย
   
อัสดรหัตถียิ่งดีกว่า    เป็นดาราในหนังบ้างละเหวย

ดีเด่นดังอย่างโดดเด่นเสียจนเคย    บางตัวเลยได้ยศช้างอย่างฤาชา
   
สัตว์ประเสริฐเพราะคนฝึกสำนึกใหม่           จึงเติบใหญ่แตกต่างอย่างสัตว์สา

บัณฑิตชนฝึกตนบ้างสร้างวิชชา    พัฒนายิ่งกว่านั้นนับพันนัย

จากปุถุชนคนต่ำนำมาฝึก    ค่อยค่อยตรึกพัฒนาอัชฌาสัย

จากเห็นผิดเป็นเห็นถูกปลูกวินัย    จากพงษ์ไพร่เป็นพงษ์ปราชญ์ฉลาดชนม์
   
จากคนป่าเป็นคนเมืองผู้เรืองฤทธิ์    จากมืดมิดเป็นสว่างกระจ่างหน

จากกิเลสเกรอะกรังค่อยล้างตน    จึงหลุดพ้นเหนือกิเลสวิเศษไป
   
บัณฑิตชนเฝ้าฝึกตนทุกเวลา    จึงปรีชาประโชติดวงอย่างช่วงใส

ส่องสว่างกว่าดวงจันทร์ตะวันไว    เป็นเลิศไร้ผู้ปานเปรียบเทียบไม่ทัน.

ว.วชิรเมธี

ที่มา
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=671&contentID=177420

253
ธรรมะ / ตอบ: ธรรมะอินเทรนด์......1
« เมื่อ: 28 พ.ย. 2554, 04:50:38 »
ธรรมะอินเทรนด์ : 1.ยอมรับความแตกต่าง
วันพุธ ที่ 12 ตุลาคม 2554 เวลา 0:00 น 



ยถา  น  สกฺกา  ปฐวี สมายํ       
   
กาตุ  มนุสฺเสน ตถา  มนุสฺสา
   
เราไม่อาจทำแผ่นดินนี้ให้เรียบเสมอกันได้  ฉันใด
   
ก็ไม่อาจทำให้มนุษย์ทั้งหลายเหมือนกันได้ทั้งหมด  ฉันนั้น

(พุทธทาสสุภาษิต ๒๗/๗๓๑)

แผ่นดินนี้ยังมีที่สูงต่ำ

ไม่เรียบร่ำเสมอกันทุกสรรพ์ส่วน

คนทั้งหลายในโลกนี้กี่กระบวน

เธอจะชวนให้เหมือนกันอย่าฝันไป

จงยอมรับความแตกต่างอย่างที่เป็น

อย่าขยายประเด็นให้ยุ่งใหญ่

ความแตกต่างคือความงามความวิไล

คือจิตใจที่เปิดกว้างอย่างรู้ทัน

เพราะโลกมีความแตกต่างระหว่างคน

จึงน่ายลน่าสนุกน่าสุขสันต์

ความแตกต่างช่วยเติมเต็มระหว่างกัน

โลกจึงบรรลุล่วงถึงช่วงชัย.

ว.วชิรเมธี

254
ธรรมะ / ตอบ: ธรรมะอินเทรนด์......1
« เมื่อ: 28 พ.ย. 2554, 04:48:26 »
ธรรมะอินเทรนด์ : 2.ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ
วันพุธ ที่ 19 ตุลาคม 2554 เวลา 0:00 น


ทุลฺลโภ  องฺคสมฺปนฺโน

ยากเหลือเกินที่จะมีคนดีพร้อม

(พุทธศาสนสุภาษิต บทที่ ๒๗/๓๐๐)
       
ยากเหลือเกินที่จะมีคนดีพร้อม    ยากจะหอมไปทุกอย่างเหมือนดั่งฝัน
   
ยากจะสมปรารถนาสารพัน    ยากจะบรรลุล่วงทุกห้วงคิด
       
ไม่มีใครสมบูรณ์ไปในทุกสิ่ง    ไม่มีใครดียิ่งอย่างวิจิตร
   
ไม่มีใครแพรวพราวราวนิรมิต    ไม่มีใครโสภิตทุกประการ
       
ธรรมดาปุถุชนคนของโลก    มีสุขโศกเกิดดับกับสังสาร
   
จะหาคนผุดผ่องก่องตระการ    เฉกบัวบานใสพิสุทธิ์หยุดเสียที
       
บางคนรูปร่างดี-วาทีร้าย    บางคนกายงามสง่าแต่บ้าผี
   
บางคนป่วยหนักหนาชั่วตาปี    แต่ใจดีเหมือนไม่ป่วยไม่รวยแรง
       
บางคนดำทั้งตัวหัวจดเท้า    แต่กลับขาวที่ใจคล้ายจันทร์แสง
   
บางคนสูงแต่ใจต่ำทำตะแบง    หาเรื่องแช่งชักกระดูกผูกเวรคน
       
นี่คือคนธรรมดาประสาโลกย์    เชิญชะโงกให้รู้ทันกันสับสน
   
อย่าคาดหวังไว้สูงกับฝูงชน    เข้าใจคนเข้าใจโลกโชคชีวิต.

ว.วชิรเมธี

ที่มา
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=671&contentID=170526

255
ธรรมะ / ตอบ: ธรรมะอินเทรนด์......1
« เมื่อ: 28 พ.ย. 2554, 04:45:47 »
ธรรมะอินเทรนด์ : 5.พาลบัณฑิต
วันอังคาร ที่ 08 พฤศจิกายน 2554 เวลา 0:00 น 



อุชฺฌตฺติพลา  พาลา

นิชฺฌตฺติพลา  ปณฺฑิตา

จ้องจับผิดคนอื่นอย่างแข็งขัน นั่นแหละคือ พรสวรรค์ของคนพาล

ไตร่ตรองมองตนอย่างพินิจ  นั่นแหละคือ ความงามวิจิตรของปัญญาชน

(พุทธศาสนสุภาษิต ๒๓/๑๑๗)

โทษคนอื่นคืออาหารหวานโอชะ

ใส่ใจจะจ้องจับนับไม่ไหว

มีความสุขกับความเสื่อมกระเพื่อมไว

คือหลักใจของพาลชนคนอัปรีย์

       
รู้จักเตือนตัวตนด้วยตนก่อน


ไม่คลายคลอนฝึกตนไม่บ่นหนี

ดูตนออกบอกตนได้ใช้ตนดี

คือหลักที่บัณฑิตผองท่านมองตน.

ว.วชิรเมธี


ที่มา
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=671&contentID=174574

256
ธรรมะ / ตอบ: ธรรมะอินเทรนด์......1
« เมื่อ: 28 พ.ย. 2554, 04:43:34 »
ธรรมะอินเทรนด์ : ๓.บูชาคนดีกว่าบูชายัญ
วันพุธ ที่ 26 ตุลาคม 2554 เวลา 0:00 น 


มาเส มาเสน  สหสฺเสน

โย  ยเชถ  สตํ  สมํ

เอกญฺจ  ภาวิตตฺตานํ

มุหุตฺตมปิ  ปูชเย

สา  เยว  ปูชนา  เสยฺโย

ยญฺเจ  วสฺสสตํ  หุตํ

(แปลพุทธศาสนสุภาษิต บทที่ ๒๕/๑๘)

ผู้ใดใช้ทรัพย์นับพันประกอบพิธีบูชาทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ ตลอดเวลาร้อยปีการบูชาเช่นนี้ นับว่าป่วยการเปล่าส่วนผู้ใด เชิดชูบูชาอารยชนผู้ฝึกตนดีแล้วคนหนึ่ง  แม้เพียงชั่วครู่การบูชาเช่นนี้ย่อมดีกว่า.

ว.วชิรเมธี


ที่มา
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=671&contentID=171990

257
ธรรมะ / ธรรมะอินเทรนด์......1
« เมื่อ: 28 พ.ย. 2554, 04:41:30 »
ธรรมะอินเทรนด์ : 4.พาลลักษณ์
วันพุธ ที่ 02 พฤศจิกายน 2554 เวลา 0:00 น  



โย  พาโล  มญฺญติ  พาลฺยํ    ปณฺฑิโต  วาปิ  เตน  โส
    
พาโล  จ  ปณฺฑิตมานี    ส  เว  พาโลติ  วุจฺจติ
    
คนโง่  ที่ยังรู้ตัวว่าเป็นคนโง่  
    
ก็ยังพอมีโอกาสเป็นคนฉลาดได้บ้าง
    
ส่วนผู้ใดเป็นคนโง่ แต่กลับสำคัญตนว่าเป็นคนฉลาด  
    
คนนั้นปราชญ์ท่านเรียกว่า “จอมโง่”

(พุทธศาสนสุภาษิต ๒๕/๑๕)
    
เป็นคนเขลารู้ว่าเขลาเข้าทีอยู่    ยังมีลู่ทางฉลาดเป็นปราชญ์ได้

แต่คนเขลาสำคัญผิดตั้งจิตไว้    ว่าตนไซร้ช่างฉลาดเป็นปราชญ์จริง

คนเช่นนั้นปราชญ์ตำหนิดำริผิด    เขาลิขิตตนไม่ดีถูกผีสิง

ตัวของตัวไม่รู้จักไร้หลักอิง    ปราชญ์ท่านติงว่า “จอมโง่” โอ้คนพาล.

ว.วชิรเมธี


ที่มา
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=671&contentID=173349

258
ความสุขที่แท้จริง ... อยู่ที่ใจนี่เอง ...3/3
(จาก fwd mail)

ท่านได้กล่าวเปรียบเทียบลักษณะของคนที่มีตัณหาไว้ว่า
 
ธรรมดาไฟย่อมไม่พักพอ   ไหม้เชื้อ

ทะเลใหญ่ไม่ปรากฏว่า   เบื่อน้ำ

มฤตยูไม่อิ่มหนำ  ประชาสัตว์

คนละโมบสมบัติ  ก็ไม่รู้สึกจุใจในสิ่งใด


ได้ความว่าไฟ ๑ ทะเล ๑ มฤตยูคือความตาย ๑ คนที่มีตัณหา ๑ ให้อิ่มให้เต็มได้ยาก
ไฟยิ่งให้เชื้อยิ่งลุก ทะเลจะได้น้ำมากมายเท่าไหร่ไม่รู้จักเต็ม ฉันใด
ใจที่ประกอบด้วยตัณหา ก็ฉันนั้น
มีพระพุทธภาษิตอยู่บทหนึ่งว่า นตฺถิ ตณฺหา สมา นที แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี
แสดงให้เห็นว่าไฟก็ดี ทะเลก็ดี มฤตยูก็ดี
แม้จะมีฤทธิ์มีอำนาจ หรือมีความกว้างใหญ่ไพศาลอย่างไรก็ตาม
ก็ยังสู้ฤทธิ์เดชและความยิ่งใหญ่ไพศาลของตัณหาไม่ได้
ด้วยเหตุผลที่แสดงมา บุคคลที่แสวงหาความสุขด้วยการตามใจตัวเอง
พยายามเสนอสนองตามที่ใจต้องการทุกอย่าง อยากกินให้กิน อยากนอนให้นอน
อยากจะเที่ยวให้เที่ยว อยากจะได้ลาภยศ พยายามหาให้ทุกวิถีทาง
ได้แล้วอยากจะได้อีก มีแล้วอยากจะมีอีก รวยแล้วอยากจะให้รวยอีก
บุคคลผู้นั้นจะมีลักษณะอาการเหมือนกับสุมกองไฟไว้ในใจ
ยิ่งพยายามสนองลาภ ยศ สรรเสริญ เท่าไหร่
ไฟคือกิเลสตัณหา มันก็จะลุกโหมเป็นไฟกองใหญ่ขึ้นทุกที
 
ความพยายามเพื่อหาเหยื่อเชื้อไฟมาเสนอสนองก็เป็นทุกข์พออยู่แล้ว
ถ้าไม่อาจจะหาเหยื่อคือเชื้อไฟมาป้อนให้ ใจจะเป็นทุกข์ร้อนเพียงใด
ความสุขที่เกิดจากเหยื่อคือเชื้อไฟนี้
ทางพระพุทธศาสนาไม่จัดว่าเป็นความสุข แต่จัดเป็นความทุกข์
เมื่อความทุกข์เกิดขึ้น ท่านไม่ให้โทษผู้อื่น วัตถุสิ่งของ หรือสถานที่
ท่านให้พิจารณาถึงสมุฏฐานของความทุกข์ที่มันเกิดกับใจ
เมื่อพบสมุฏฐานแล้ว ให้ดับที่ใจ
คือแทนที่จะทำตามใจปรารถนา แต่กลับหักห้ามใจ
 
ตัวอย่างเช่น คนที่เบื่อบ้าน เบื่องาน เบื่อคน
แทนที่จะให้หนีออกจากบ้าน จากงาน จากคน
แต่กลับให้พิจารณาถึงความเบื่ออันเป็นอาการของใจ
อาจจะมีเหตุสืบเนื่องมาจากความเกียจคร้านก็ได้
อาจจะมีเหตุสืบเนื่องมาจากความทะเยอะทะยานที่เรียกว่ามักใหญ่ใฝ่สูง
ทำให้มองข้ามความดีของบ้านของตน การงานของตน ลูกเมีย เพื่อนฝูงของตนไป ก็เป็นไป
หากเห็นข้อบกพร่องที่ควรแก้ไข ก็ให้รีบแก้ไข
เมื่อแก้ไขแล้ว ยังไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่าบ้านของตน การงานของตน และคนของตนแล้ว
ต้องแก้ไขที่ใจคือปรับปรุงใจตัวเอง
ให้เหมาะกับบ้าน ให้เหมาะกับงาน และให้เหมาะกับตน
โดยปฏิบัติตามหลักที่ว่า “เมื่อไม่มีสิ่งที่เราพอใจ ก็ต้องพอใจในสิ่งที่เรามี”
สิ่งที่เรามีอาจจะเป็นบ้านที่เราเบื่อ บ้านที่เราเกลียด หรือคนที่เราไม่ชอบ
อาการเบื่อ อาการเกลียด อาการไม่ชอบ เป็นอารมณ์ที่เป็นฝักฝ่ายเสนาพระยามาร
ทำจิตใจให้เสื่อมจากความดี และคอยลิดรอนใจให้หมดความสุข
 
ปรกติการทำความดีต้องฝืนใจ
เปรียบเหมือนการขึ้นที่สูงต้องใช้แรง ต้องออกกำลังจึงจะขึ้นได้
การทำความชั่วไม่ต้องทำอะไรก็ทำความชั่วได้
เปรียบเหมือนคนขับรถยนต์
เป็นแต่เพียงวางมือจากพวงมาลัย รถก็คว่ำเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ ฉะนั้น
 
พระพุทธองค์ตรัสเป็นพุทธโอวาทไว้ว่า
“ทุกสิ่งทุกอย่างมีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นประธาน สำเร็จมาแต่ใจ”
ดังนั้นคำถามที่ว่า “จะได้ความสุขมาจากไหน?” จึงตอบได้ว่า
“ได้ความสุขมาจากใจ
ความยินดีในสิ่งที่ตนได้และความพอใจในสิ่งที่ตนมี คือที่มาของความสุข”

259
ความสุขที่แท้จริง ... อยู่ที่ใจนี่เอง ...2/3
(จาก fwd mail)


จะเห็นได้ว่าทัศนะของคนที่มีต่อสิ่งที่ได้เห็น ได้ฟัง มีไม่เหมือนกัน
บางคนอาจจะต้องการร่มไม้ที่ร่มรื่น พร้อมกับกระแสน้ำที่กำลังไหลไปตามลำน้ำ
เขาอาจจะเพ่งมองอยู่กับธรรมชาติเช่นนั้นด้วยความเป็นสุขใจ
บางคนต้องการชมโบราณสถาน บางคนต้องการนมัสการปูชนียวัตถุ
เมื่อได้ชมได้นมัสการแล้วก็มีความสุขใจ
บางคนชอบดูหนังฟังเพลง บางคนชอบสนทนาพบปะเพื่อนฝูงตามร้านกาแฟ
บางคนชอบสนุกเฮฮา ร่วมวงสุรากับญาติมิตร
ใครชอบอะไร เมื่อได้ตามใจในสิ่งนั้นก็ถือว่ามีความสุข
สิ่งที่ให้ความสุขใจแก่คนคนหนึ่ง แต่กลับให้ความทุกข์ใจแก่อีกคนหนึ่งก็มี
จึงกล่าวได้ว่าสุขทุกข์ไม่ได้อยู่ที่สิ่งของหรือสถานที่
แต่สุขทุกข์อยู่ที่ใจ ใจเป็นแดนแห่งความสุขและความทุกข์
เหมือนข้าวอยู่ในนา ปลาอยู่ในน้ำ ฉะนั้น
 
คนในโลกนี้มีอาชีพไม่เหมือนกัน บางคนทำนา บางคนทำสวน
บางคนค้าขาย บางคนรับราชการ บางคนเป็นตำรวจ บางคนเป็นทหาร
แต่ละอาชีพก็มีทั้งผู้ที่มีความสุขและมีทั้งผู้ที่มีความทุกข์
จะกล่าวว่าอาชีพไหนมีความสุขกว่าอาชีพไหนไม่ได้
เพราะแต่ละอาชีพต่างก็มีความสุขความทุกข์ด้วยกัน
ความสุขจึงไม่ได้อยู่ที่อาชีพ แต่อยู่กับใจคน
ใครมีความพอใจในอาชีพไหน ก็มีความสุขใจในอาชีพนั้น
“ปัญหาจึงมีว่า คนที่เบื่อหน่ายในอาชีพการงานของตน
จะทำความพอใจในอาชีพการงานนั้นได้อย่างไร?”
ในเรื่องนี้มีท่านผู้รู้แนะนำไว้ว่า “เมื่อไม่มีสิ่งทีเราพอใจ ก็จงพอใจในสิ่งที่เรามี”
และอีกประโยคหนึ่งว่า “จงยินดีในสิ่งที่ตนได้ และจงพอใจในสิ่งที่ตนมี”
เนื่องจากโลกนี้ไม่ได้เป็นสมบัติของเราโดยเฉพาะ จึงไม่อาจทำอะไรตามใจชอบ
 
นับแต่วันเกิดมา มีใครบ้างที่เลือกเกิดได้ตามใจชอบ
บางคนเกิดมาในตระกูลพ่อแม่ที่มั่งคั่งสมบูรณ์
บางคนเกิดมาในตระกูลพ่อแม่ที่ยากจนแสนเข็ญ
บางคนเกิดอยู่ในป่าบนยอดเขา บางคนเกิดในเมือง ยังแถมอยู่ในวังเสียอีก
การเกิดมาในตระกูลต่างๆ กันนี้ หาใช่เพราะเราเลือกเกิดเองไม่
เกิดเองเป็นเองตามบุญตามกรรมของแต่ละคนต่างหาก
ถ้าคนเราสามารถจะเลือกเกิดเอาเองได้แล้ว
ใครเล่าจะไปเลือกเกิดในที่ทุรกันดาร ต้องทนทรมานด้วยภัยธรรมชาตินานาประการ
พอลืมตาเห็นโลกก็บอกตัวเองได้ว่า ในโลกนี้จะเลือกให้ได้อย่างใจทุกสิ่งไม่ได้
บ้านที่ไม่อยากอยู่ก็ต้องอยู่ อาหารที่ไม่อยากกินก็ต้องกิน
งานที่ไม่อยากทำก็ต้องทำ คนที่ไม่อยากเห็นก็ต้องเห็น
 
วิธีแก้ที่จะให้ถูกใจเรา เราจะแก้ที่อื่นไม่ได้ เราต้องแก้ที่ตัวเอง
ถ้าเราจะพยายามแก้ที่อื่น จะมีสภาพเหมือนเราพยายามจับเงาของเราในกระจก
หรือเหมือนกับคนที่พยายามจะเข้าไปจับพยับแดด
แม้จะพยายามสักเพียงใด ก็ไม่อาจจะจับได้เลย
เมื่อเราแก้ปัญหาที่อื่นไม่ได้ จำเป็นที่เราจะต้องย้อนมาดูที่ตัวของเรา
ประการแรกที่เราจะต้องรู้ไว้ก่อนคือ
โลกนี้ไม่ใช่สมบัติของเรา และมิใช่ของใครทั้งสิ้น
แม้แต่ตัวเราก็หาใช่ตัวเราจริงๆ ไม่ เราต้องรู้เอาไว้เพื่อจะได้กันเอาไว้ก่อน
 
หากจะมีผู้เข้าใจว่าโลกนี้หาใช่จะมีเพียงความผิดหวังเท่านั้น
หามิได้ ผู้ที่เขามีความสมหวังก็มีอยู่มากมาย
ข้อนี้หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาก็ไม่ปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง
ในโลกธรรมสูตร พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงได้ว่า
มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ เป็นของคู่กัน
คือจะหมุนเวียนเปลี่ยนกันเกิดดับ เหมือนมืดกับสว่าง หรือเหมือนกลางคืนกับกลางวัน
ฉะนั้นสิ่งที่ควรจะทำความเข้าใจต่อไป คือเมื่อได้ลาภ ยศ สรรเสริญ แล้ว
ให้ระวังกิเลสตัณหา มันจะมายั่วยุให้เกิดความย่ามใจ
เนื่องจากกิเลสตัณหาเป็นภาคพื้นจิตใจทำให้เคลิบเคลิ้มหลงใหล
ในเมื่อได้ประสบสิ่งสมปรารถนา
ชาวโลกทั่วไปถือว่าความปรารถนาเป็นยอดของความสุข
แต่หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา
ถือว่านั่นคืออารมณ์ที่เจือด้วยตัณหา ที่จะพาใจให้เป็นทุกข์สืบไป
คำว่าตัณหาพาใจให้เป็นทุกข์นั้น เพราะใจที่ประกอบด้วยตัณหาเป็นใจที่ไม่มีขอบเขต
ถ้าจะเปรียบกับความกว้างโลกทั้งโลกนี้ ยังแคบกว่าใจที่ประกอบด้วยตัณหา

260
ความสุขที่แท้จริง ... อยู่ที่ใจนี่เอง ...1/3
(จาก fwd mail)

จะหาความสุขได้จากที่ไหนๆ
 
พระธรรมเทศนา โดยพระพุทธพจนวราภรณ์ (หลวงปู่จันทร์ กุสโล)
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
 
ความสุขคือความสบายกายสบายใจ เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการปรารถนา
ไม่ว่าจะทำกิจการงานอะไร จุดหมายปลายทางรวมอยู่ที่ความสุขทั้งนั้น
ความสุขเกิดจากไหน?
ก่อนจะให้คำตอบ จะขอเล่าเรื่องประสบการณ์ที่ได้ประสบมาให้ฟัง
คือเมื่อประมาณ ๑๐ กว่าปีผ่านไปแล้ว เวลาประมาณ ๔ ทุ่มเศษ
หลังจากที่ข้าพเจ้าอ่านหนังสือจนรู้สึกเมื่อย ข้าพเจ้าจึงลงไปเดินเล่นรอบๆ วิหาร
พอเดินไปถึงหน้าวิหาร ใกล้กับวิหารอินทขิล
โดยปรกติบริเวณรอบๆ แถวนี้ ไม่ค่อยจะมีใครไปเดินเพราะกลัว
“ทำไมถึงกลัว?”
เพราะสถานที่ตรงนั้นมีโบราณวัตถุเก่าแก่และชำรุดปรักหักพัง
เวลากลางคืนเป็นที่เปลี่ยว ทำให้เป็นสถานที่น่ากลัว
วันนั้น ข้าพเจ้าเดินไปหยุดอยู่สักครู่หนึ่ง ได้ยินเสียงกุกๆ กักๆ
ข้าพเจ้าสะดุ้ง ขนหัวลุก รีบเดินกลับกุฏิทันที นึกในใจว่าโดนผีหลอกเข้าแล้ว
กว่าจะสงบจิตใจได้ตั้งนาน ไม่ได้บอกเรื่องที่เกิดขึ้นแก่ใคร เก็บเรื่องไว้ในใจ แล้วเข้านอน
 
รุ่งขึ้น ได้เวลาก็ออกบิณฑบาต เมื่อผ่านวิหารอินทขิล
ข้าพเจ้าจึงแวะไปดูที่ที่ได้ยินเสียงกุกๆ กักๆ เมื่อคืนวานนี้
ปรากฏว่าที่ตรงนั้นมีชายคนหนึ่งเป็นคนพเนจร ได้มานอนหลับอยู่อย่างสบาย
ข้าพเจ้าได้บทเรียนจากประสบการณ์ครั้งนี้ว่า
“ที่ที่ข้าพเจ้าหวาดหวั่นสะดุ้งกลัวที่สุดนั้น กลับเป็นที่ที่สุขสบายที่สุดของชายคนนั้น”
ข้าพเจ้ามีปัญหาต่อไปว่า “ทำไมสถานที่ที่เดียวกันทำให้เกิดความรู้สึกแก่คนได้ไม่เหมือนกัน
คนหนึ่งเกิดความรู้สึกสะดุ้งกลัว อีกคนหนึ่งได้อาศัยพักผ่อนหลับนอนได้อย่างสบาย?”
ความรู้สึกนี้เกิดกับข้าพเจ้าอยู่นาน ต่อมาภายหลังได้รับความเข้าใจในเรื่องนี้ว่า
วัตถุสถานที่เป็นเพียงสิ่งที่ทำให้เกิดอารมณ์
การที่เห็นวัตถุสถานที่ที่ใดที่หนึ่ง แล้วจะเกิดอารมณ์ดี อารมณ์เสีย
อารมณ์กลัว อารมณ์กล้า หรืออารมณ์รัก อารมณ์เกลียด อย่างไรนั้น
แล้วแต่พื้นจิตใจของคนที่เห็น
 
บ้างเห็นซากศพแล้วเกิดอารมณ์หวาดหวั่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ
เป็นภาพติดตาหลอกใจตัวเองให้กลัวอยู่ตลอดเวลา
ตรงกันข้าม คนบางคนเมื่อได้เห็นซากศพแล้วเกิดธรรมสังเวช
ได้คติสอนใจ มีอุตสาหะในการที่จะเว้นชั่ว ประพฤติดี
ข้าพเจ้ารู้จักกับชายคนหนึ่ง เขาเป็นชาวกสิกร
อาชีพของเขาคือทำเตาบ่มใบยาและทำสวนชา
เขาเล่าให้ฟังว่าเวลาที่เขามีความสุขใจที่สุด
คือเวลาที่เขาเข้าไปในโรงงาน ได้เห็นเครื่องจักรกำลังเดินเครื่องทำงานอยู่
เขาให้เหตุผลว่าเครื่องจักรที่กำลังเดินเครื่องอยู่
มันแสดงถึงความเคลื่อนไหว ผลิตผลประโยชน์อยู่ตลอดเวลา
ทำให้ชีวิตมีประโยชน์ เห็นแล้วสบายใจ

261
ธรรมะ / ตอบ: คุณค่าของเต๋า
« เมื่อ: 15 พ.ย. 2554, 05:21:43 »
ในโลกนี้จะสร้างสิ่งใดสำเร็จสักอย่าง จำต้องผ่านกาลเวลาเนิ่นนานจึงจะสำเร็จ จะเป็นคนยิ่งใหญ่เช่นกัน จำต้องผ่านการทดสอบของกาลเวลา และนิสัยใจคอ จึงจะสามารถประสบความสำเร็จได้

รถยนต์เวลาวิ่งหรือเครื่องบิน ขณะบินอยู่มีเสียงดัง จักรวาลก็มีเสียงดังเช่นกัน คนอาศัยอยู่ในจักรวาล ก็เหมือนคนนั่งอยู่ภายในเครื่องบิน แต่ไม่ได้ยินเสียงของเครื่องบิน

สิ่งที่รูปร่างความใหญ่ย่อมมีจำกัด มีแต่สิ่งไร้รูปร่างความใหญ่จึงไม่จำกัด เช่น ความกว้างใหญ่ไพศาลแห่งอนันตจักรวาล ( บีอเก๊ก)

เขียนโดย :อมิตตาพุทธ

ที่มา
http://www.firodosia.com/showdetail.asp?boardid=4504

262
ธรรมะ / ตอบ: คุณค่าของเต๋า
« เมื่อ: 15 พ.ย. 2554, 05:20:37 »

ผู้รู้ในกาลก่อนได้กล่าวคำปรัชญาไว้ว่า

1 ผู้รู้แจ้งในเต๋า มักทำตัวเป็นคนโง่

2 ผู้บำเพ็ญธรรม ( เต๋า ) มักไม่สนใจทางโลกีย์

3 ผู้มีคุณธรรม มักไม่พูดหรือทำเรื่องไร้สาระ

4 ผู้มีคุณธรรมสูง น้ำใจกว้างขวางดี่งหุบเขาที่รองรับ

สรรพสิ่ง

5 ผู้ที่มีจิตใจสะอาด เหมือนดั่งดอกบัวโผล่พ้นโคลนตม

6 ผู้สร้างคุณธรรมความดี มักไม่โอ้อวด

น้ำใจของปราชญ์ซื่อตรงและกว้างขวางดุจจักรวาลอันไร้ขอบเขต

เขียนโดย :อมิตตาพุทธ

ที่มา
http://www.firodosia.com/showdetail.asp?boardid=4504

263
ธรรมะ / คุณค่าของเต๋า
« เมื่อ: 15 พ.ย. 2554, 05:18:44 »
คุณค่าของเต๋า

คนปัญญาระดับสูง พอได้ฟัง ..เต๋า.. ก็พากเพียรปฏิบัติ

คนปัญญาระดับกลาง แม้นมีวาสนาได้ฟัง ..เต๋า..แต่มักพากเพียรในเต๋าไม่ตลอด

คนปัญญาระดับต่ำ เนื่องจากความรู้น้อย จึงไม่แจ้งความสำคัญของเต๋า ประกอบด้วยจิตหลงมัวเมา ดีแต่แสวงหาความสุขทางโลก พอได้ฟัง..เต๋า..ก็หัวร่อเยาะ

555 ถ้าคนโง่พวกนี้ไม่หัวร่อย่อสิ ก็ไม่รู้ว่า คุณค่าของ.เต๋า..อยู่ที่ไหน
เขียนโดย : อมิตตาพุทธ

ที่มา
http://www.firodosia.com/showdetail.asp?boardid=4504

264
คือผมอยากทราบว่าพระอาจารย์โด่งท่านอยู่สุราษฏร์ใช่ไหมครับ
แล้วอยู่วัดอะไรครับ ผมอยู่สุราษฎร์จะได้เข้าไปสักกับท่านบ้างครับ :001: :001: :001:

ท่านไม่ได้ประจำที่สุราษฏร์ครับ เพียงแต่ท่านเป็นคนที่นั่น
ล่าสุดท่านเพิ่งกลับจากสุราษฏร์ หลังจากไปสอนปริวาสกรรมอยู่ประมาณ 10 วัน
แต่ท่านลงไปสุราษฏร์ปีละสองสามครั้งครับ


265
พระอาจารย์โด่งท่านอยู่สุราษฏร์หรือเปล่าครับ :002:
ส่วนใหญ่ท่านอาจารย์ฯจะอยู่ที่บ้านบึง ชลบุรี
ช่วงนี้ออกพรรษา ท่านมีกิจไปหลายที่ครับ รวมทั้งไปสอนพระด้วยกัน

266
สำหรับภาพหลวงปู่สดที่ไม่ไหม้ไฟในภาพข่าวนี้ คือภาพชูบังตั้งได้

เป็นภาพที่ระลึกถึงบุญหล่อรูปเหมือนพระมงคลเทพมุนี(หลวงปู่สด วัดปากน้ำภาษีเจริญ)ด้วยทองคำน้ำหนัก ๑ ตัน

เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๑ อันเป็นวันคล้ายวันเกิดของพระเดชพระคุณหลวงปู่สดครบ ๑๒๔ ปี ครับ.

ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูล
ภาพในข่าวค่อนข้างเล็กไปหน่อย

อ้างถึง
ภาพชูบังตั้งได้
คือ อะไรครับ ถ้าให้เดาคือ ภาพที่สามารถนำไป ชู-บัง-ตั้ง (เป็นกิริยา)

267
ฮือฮาหลวงพ่อสดเพลิงเผาบ้านวอดภาพถ่ายไม่เป็นไร
วันจันทร์ ที่ 14 พฤศจิกายน 2554 เวลา 10:12 น 



ฮือฮาปาฏิหาริย์ ภาพถ่ายหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ อริยสงฆ์เมืองไทย ผู้ค้นพบวิชาธรรมกาย หล่นในกองเพลิงที่กำลังลุกโชนไหม้ห้องเช่าเผาผลาญ เตียงนอน ชั้นวางหนังสือ ตู้เย็น โทรทัศน์กลายเป็นเถ้าถ่าน แต่แสงเพลิงกลับไม่ทำลายภาพถ่ายได้แม้แต่น้อย เชื่อเป็นบุญบารมีแสดงอานุภาพ ทำให้ไม่มอดไหม้
   
เมื่อเวลา 01.00 น. วันที่ 13 พ.ย. พ.ต.ท.ประสิทธิ์ มั่นศรี พนักงานสอบสวน สภ.เมืองพัทยา จ.ชลบุรี รับแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ที่ห้องแถวเลขที่ 57/15 พัทยาใต้ ซอย 6 หมู่ 10 ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จึงประสานขอรถน้ำจากหน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเมืองพัทยา 2 คัน ไปตรวจสอบเป็นการด่วน
   
ที่เกิดเหตุเป็นห้องแถวให้เช่าชั้นเดียวปลูกติดกัน 5 ห้อง ภายในห้องพักเลขที่ 2 พบแสงเพลิงและกลุ่มควันสีดำพวยพุ่งออกมาเป็นจำนวนมาก จนต้องงัดประตูห้องและฉีดน้ำเข้าไปสกัดเพลิง ใช้เวลาประมาณ 20 นาที จึงสงบ จากนั้นได้เข้าตรวจสอบภายในห้องเกิดเหตุพบว่าทรัพย์สินภายในห้อง ประกอบด้วย เตียงนอน ชั้นวางหนังสือ ตู้เย็น และโทรทัศน์ ถูกเพลิงไหม้ได้รับความเสียหายกองเป็นเถ้าถ่าน แต่ขณะที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบจุดเกิดเหตุอยู่นั้นถึงกับต้องประหลาดใจ เมื่อพบว่าภาพถ่ายหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ ขนาดกว้าง 25 ซม. ยาว 30 ซม. ตกอยู่ที่พื้นข้างผนังห้อง แต่ไม่ถูกเพลิงไหม้เสียหายแต่อย่างใด
     
จากการสอบสวนนางกุณา ภูศรี อายุ 56 ปี เจ้าของห้องแถว ให้การว่า ต้นเพลิงเกิดจากห้องเช่าห้องที่ 2 ซึ่งมีชายไม่ทราบชื่อ อายุประมาณ 50 ปี ทราบเพียงว่ามีอาชีพเดินเร่ขายนาฬิกามาเช่าอยู่ โดยขณะเกิดเหตุไม่อยู่ภายในห้อง เบื้องต้นเจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่า สาเหตุน่าจะมาจากเจ้าของห้องจุดธูปเทียนบูชาพระไว้ก่อนออกจากห้อง แต่ธูปหรือเทียนอาจล้มไปไหม้ชั้นวางหนังสือ ก่อนลุกลามไหม้ทรัพย์สินต่าง ๆ มีเพียงภาพหลวงพ่อสด ที่ติดไว้ที่ผนังห้องเท่านั้นที่ไม่ถูกไฟไหม้ ทำให้ผู้ที่มาดูเหตุการณ์ต่างวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องราวราวปาฏิหาริย์และเป็นที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากภาพตกอยู่ในกองเพลิงแต่กลับไม่ถูกเปลวเพลิงเผาไหม้ได้รับความเสียหายแม้แต่นิดเดียว
   
สำหรับชาติภูมิพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เดิมชื่อ สด มีแก้วน้อย เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2427 ตรงกับวันศุกร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีวอก ฉศก จุลศักราช 1246 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ณ บ้านสองพี่น้อง ต.สองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่สองของนายเงินและนางสุดใจ มีแก้วน้อย มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา 5 คน
   
เมื่ออายุได้ 14 ปีโยมบิดาได้ถึงแก่กรรมท่านจึงรับภาระดูแลการค้าทางเรือแทนและเจริญรุ่งเรืองโดยลำดับ จนเป็นผู้มีฐานะดีคนหนึ่ง วันหนึ่งเมื่อท่านนำเรือเปล่ากลับบ้านพร้อมเงินรายได้จากการขายข้าวผ่านลัดคลองเล็กซึ่งชาวบ้านเรียกว่า คลองบางอีแท่น มีโจรผู้ร้ายชุกชุมท่านนึกถึงความตายขึ้นมา และได้อธิษฐานจิตว่า “ขอบวชจนตลอดชีวิต”
   
ครั้นอายุได้ 22 ปี ได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี มีฉายาว่า จนฺทสโร โดยมี พระอาจารย์ดี วัดประตูสาร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โหน่ง อินฺทสุวณฺโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบท ท่านจึงเริ่มปฏิบัติสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์เนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ได้จำพรรษาอยู่วัดสองพี่น้อง 1 พรรษาเมื่อออกพรรษาที่วัดสองพี่น้องแล้ว ท่านจึงเดินทางมาจำพรรษา ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อศึกษาด้านคันถธุระและฝากตัวเป็นศิษย์อดีตพระเถราจารย์ยุคเก่าอีกหลายรูป
   
หลวงพ่อสด หรือหลวงพ่อวัดปากน้ำ เป็นผู้ค้นพบวิชาธรรมกายจากการปฏิบัติธรรมขั้นสูง เป็นหนึ่งในพระอริยสงฆ์ประเทศไทยที่ได้รับการเคารพนับถือจากพุทธศาสนิกชนทั่วไป ซึ่งท่านเคยทำนายวันและเวลามรณภาพล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำเหลือเชื่อ โดยในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 เวลา 15.05 น. ท่านได้มรณภาพอย่างสงบ ณ ตึกมงคลจันทสร วัดปากน้ำภาษีเจริญ สิริอายุ 74 ปี 3 เดือน 24 วัน 53 พรรษา.

ที่มา เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=38&contentID=175899

268
ขอบคุณครับ

เมตตาค้ำจุนโลกจริงๆ :077:

269
ขอบคุณครับท่าน :015:

270
ขอบคุณท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่นำความรู้ธรรมะมาแบ่งปันกันครับ :002:

271
อู่ท่วมหรือยังครับพี่...
ยังเลยครับ แต่โดนล้อมหน้าล้อมหลังไปหมดแล้ว :063:

272
ฝึกนามรูป ฝึกธรรมกาย

 พรรษาที่ ๕ ปฏิบัติแบบ “นามรูป” ศึกษาจากฆราวาสบ้าง ศึกษาจากพระภิกษุบ้างและจากที่อื่นบ้าง ก็ได้มาศึกษาเรื่อง “นามรูป” ติดต่อกันนาน ทำได้สะดวกดี
 ทั้งนี้เพราะพิจารณานามรูปนี้ กำหนดไม่ยาก กำหนดว่า เห็นเป็นรูป-รู้เป็นนาม, รักเป็นรูป-รู้เป็นนาม, เดินเป็นรูป-รู้เป็นนาม, ย่างเป็นรูป-รู้เป็นนาม, เกลียดเป็นรูป-รู้เป็นนาม, รักเป็นรูป-รู้เป็นนาม



 ฉะนั้นอะไรเกิดขึ้นเป็นรูปทั้งหมด และตัวรู้เป็นนามทั้งหมดด้วย เพราะไม่ใช่ตัวเรา ของเราทั้งหมดแยกออกไป
 พอย่างเข้าพรรษาที่ ๖ อาตมาปฏิบัติแบบ “ธรรมกาย” ตอนนั้น พระอาจารย์แจ้ง สอนบ้างและศึกษากับพี่ชายบ้าง ซึ่งตอนหลังพระอาจารย์แจ้งก็สึกออกมา
 ขณะที่ศึกษากับพระอาจารย์แจ้ง อาตมาไปติดเพียง “กายทิพย์” แล้วก็เห็นว่าถึงทำไปก็ไม่ใช่เป็นพระอรหันต์ เป็นเพียงดวงของพระอรหันต์ เช่นดวงพระโสดา ดวงพระสกิทาคามี ดวงพระอนาคามี นี่เรียกว่าสำเร็จดวง แต่คนยังไม่ได้เป็น ก็เลยเลิก
 หลังจากนั้นผ่านนานแล้ว อาตมาก็ได้เข้าปริวาสกรรมที่วัดตโปทาราม จังหวัด ชลบุรี ได้เจอกับอาจารย์แก้ว ซึ่งเป็นฆราวาสเป็นผู้สอบอารมณ์ให้ผ่านพ้นไป จนถึง “ดวงพระอรหันต์” เมื่อถีงดวงพระอรหันต์ก็ดวงเป็น แต่คนยังไม่เป็น
 สรุปว่าวิชาธรรมกายนี้ ถึงแม้ว่าจะได้เพียง “กายทิพย์” ก็สามารถเอา “ดวง” ไปรักษาคน โดยทำดวงให้ใหญ่ก็ได้ เล็กก็ได้ แล้ววางไว้ที่หัวคนให้หายปวดหัว พอดวงหายแว๊บ แล้วก็หายปวด หายเมื่อย หายอาการต่าง ๆ คนก็นิยมให้อาตมารักษาอยู่ช่วงหนึ่ง
 อาตมาเห็นว่าหากทำอย่างนี้ต่อไปจะถูกรบกวนตลอด โดยไม่ได้มรรคผลอะไรเลย
 ความจริงวิชาธรรมกายนี้สามารถระลึกชาติหนหลังได้ เมื่อถึงกายทิพย์ดวงกำเนิด พอถึงดวงกำเนิดนี้ สามารถอธิษฐานให้รู้ว่าชาติก่อนเป็นอะไร พูดอย่างไร เสียงอย่างไร
 ฉะนั้นเมื่อได้ดวงแล้วใช้ให้มีกำลังก็ได้ ใช้ให้คนกลับใจก็ได้ แต่จะให้เป็นถึง “พระอรหันต์” คงไม่เป็น

http://www.oknation.net/blog/My-fais/2009/12/10/entry-36

273
ผีขึ้นจากหลุม


 พระอาจารย์จำเนียร สีลเสฏโฐ บวชพรรษาที่ ๑ วัดนารีประดิษฐ์ จำวัดในป่าช้า มีพระบวชใหม่ในพรรษานั้น แต่ท่านยังกลัวผี หลวงพ่อจำเนียรจึงต้องการฝึกพระบวชใหม่ ไม่ให้กลัวผีเมื่อกลัวสิ่งใดต้องเข้าไปหาสิ่งนั้น อยู่ใกล้สิ่งนั้นจึงจะหายกลัว ท่านจึงพาพระบวชใหม่ ใครบ้างที่อยากไปจำวัดในป่าช้าคืนนี้ มีผีตายท้องกลมมาฝังไว้ ซึ่งกิตติศัพท์ผีตายท้องกลมเขาว่าดุนักหนา


 ในหนังผีก็กล่าวถึงบ่อย ๆ ได้อาสาสมัครที่จะไปนอนในป่าช้า ๔ องค์ หลวงพ่อพาพระบวชใหม่เข้าป่าช้าจัดให้นอนใกล้ ๆ หลุมผีตายท้องกลม พอดีมีคนมาตามพระอาจารย์จำเนียรให้ไปไล่ผี เพราะผีมาเข้าคน พระอาจารย์จำเนียรจึงออกจากป่าช้ามาทำพิธีไล่ผีที่สิงอยู่ในคน จากนั้นจึงกลับเข้าไปในป่าช้าเพื่อจำวัดตามปกติ เดินไปได้ครึ่งทาง พบพระบวชใหม่ ๔ องค์วิ่งหน้าตาตื่น ละล่ำละลักบอกผีหลอก




 “ผีมันกำลังขึ้นมาจากหลุมพวกผมเลยวิ่งก่อน”
 พระใหม่กลับไปจำวัดที่กุฎิ พระอาจารย์จำเนียรเดินไปที่หลุมผีตายท้องกลมยืนดูอยู่ว่า เมื่อไหร่จะลุกออกมาจากหลุมก็ไม่เห็นมีทีท่าอะไร นั่งสมาธิอยู่ข้าง ๆ หลุม รอให้ลุกมาจากหลุมก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ราจนเมื่อยจึงล้มตัวลงนอน ก็ได้ยินเสียงประหลาดดังขึ้น เสียงนั้นดังฟืดฟืด ปุดปุด ๆ มันเอาราแน่หรือ รีบลุกขึ้นนั่งเพ่งมองดูที่หลุมมีอะไรเกิดขึ้นหรือเปล่า


 เหตุการณ์เป็นปกติอีกลองนอนใหม่ ก็ได้ยินเสียงดังเหมือนเดิมอีก จึงนอนฟังพิจารณาหาเหตุผลของเสียง ก็ความจริงว่าเป็นเสียงศพขึ้นอืด น้ำเหลืองน้ำหนองดันขึ้นออกจากศพ แต่ถูกดินกดทับไว้ จึงแทรกตัวซึมกระจายไปตามดิน ยิ่งใกล้สว่างเสียงยิ่งดังมากขึ้น ดังชัดขึ้นก็เพราะศพบวมอืดมากขึ้นนั่นเอง
 ฟ้าสว่างแล้วจึงออกจากป่าช้าไปบอกพระบวชใหม่ ให้ท่านมาดูว่าผีไม่ได้ลุกมาจากหลุม อย่างที่ท่านเข้าใจ แท้ที่จริงมันเป็นเสียงอะไรกันแน่
 สาเหตุที่นอนจะได้ยินเสียงชัดก็เพราะศพอยู่ใต้ดิน หรือผิวดินเสียงจึงใกล้หูมากกว่าตอนนั่งหรือยืน

http://www.oknation.net/blog/My-fais/2009/12/10/entry-33

274
พบผีกลางวัน 3/3
พระอาจารย์จำเนียร วัดถ้ำเสือ กระบี่



อาตมาก็เดินต่อไป ข้ามภูเขามาออกเชียงราย ใช้เวลาเดินทาง ๓ วันก็ถึงเชียงราย
ทีหลังไม่เอาแล้ว เพราะอาตมาเดินป่าไม่ค่อยชำนาญ เย็นก็เย็นมากยิ่งเวลากลางคืนหนาวเย็นน่าดูจนนอนแทบไม่ได้ ต้องลุกขึ้นออกกำลังกาย
พอถึงเชียงรายแล้ว อาตมาก็ขอถุงพลาสติก เพราะเอาผ้าคลุมไม่อยู่มันเย็นเฉียบเข้าไปข้างใน อาตมาเลยเอาถุงพลาสติกมารัดที่มือที่เท้า พอร้อนก็ต้องเอาออก ทำสลับกันไปเรื่อย
 อาตมาเดินทางผ่านหมู่บ้านกะเหรี่ยง ชาวบ้านเตือนว่าในหุบเขาข้างหน้านั้นงูดุมาก ไปถึงก็เจองูจงอางจริง ๆ มันชูคอยกหัวขึ้นขู่ สูงมาก อาตมาก็เอาผ้าชุบน้ำมันถือไว้ คอยดูพอมาใกล้ก็จุดไฟเหวี่ยงแล้ววิ่งเลย เจอครั้งเดียวเท่านั้นไม่เจอมาก ก็วิ่งหนี
 อาตมาเดินทางเรื่อยมาจนถึงหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง พวกกะเหรี่ยงบอกว่าท่านไปที่แห่งอื่นได้ทุกที่ แต่อย่าไปหุบเขานั่น พระหลายองค์เดินไปหาย ไม่กลับมาเลย ในป่ารกนั้นน่ะ ไม่มีใครกล้าเข้าไปเลย พวกกะเหรี่ยงก็ไม่กล้า พวกมูเซอก็ไม่กล้าเข้าไป ใครเข้าไปหายไม่ได้กลับมาเลยไม่รู้เป็นอย่างไร อาถรรพณ์อย่างไรไม่รู้
 อาตมาว่า “ต้องไป อยากรู้ว่าทำไม”
 ชาวบ้านก็ว่า “พวกอยากรู้น่ะที่ว่าอยากรู้ก็ไปตายกันทั้งนั้น ท่านอยากรู้เป็นองค์ที่เท่าไรก็ไม่รู้แล้ว”
 อาตมาก็นึกถึงว่าสมัยญี่ปุ่นเข้า เขาเล่าว่า มีงูใหญ่อยู่แล้วทหารญี่ปุ่นเดินผ่านเข้าไป ตายเป็นแถวเกือบหมด แต่คนหนึ่งเอาปืนไปพิงไว้เพราะดูว่ามันหายไปไหน ก็เลยสลับลงมาพอดีถูกปืนเกิดเลือดไหลลงมาจึงรู้ว่างู ก็เอาระเบิดไปทิ้งจนขาดเป็นท่อน ๆ ๆ เขาเล่ากันมาอย่างนั้น
 อาตมาคิดว่าต้องเป็นงูแน่ ก็เลยให้เด็กกระเหรี่ยงคนหนึ่งตัดไม้ไผ่ยาวมาให้ เดินค้ำไปข้างหน้า ค้ำไปเรื่อยคิดว่าเจองูมันยับก่อนน่ะ แทงไปทางโน้นแทงไปทางนี้ แทงลงดิน
 พอไปถึงริมป่าริมเขาที่เขาบอกว่า พระไปแล้วหาย พอแทงลงไปในดินมีตัวต่อบินขึ้นมาเป็นหมื่น ๆ ตัว เลย น่ากลัวมาก ตัวใหญ่ยาว ๆ ตัวใหญ่เกือบเท่าหัวแม่เท้า ใหญ่กว่าหัวแม่มือสักนิด ก็ยาวน่ากลัว สีดำขึ้นแล้วลงวุ๊บหายไป เอาใบไม้มาปิดทันที อะไรวะ ก็เอาไม้แหย่ลงไปอีกทีก็ขึ้นตูมบินว่อนออกมา แล้วลงวุ๊บหายไปใต้ดินและดับใบไม้เร็วมากปิดปากหลุมไว้
 อาตมาเห็นดังนั้นก็วิ่งไปหากะเหรี่ยงบอกว่า “มีต่อ มีต่อ ตัวใหญ่ ๆ”
 เขาถามว่า “อยู่ที่ไหนต่อหอยน่ะ”
 “อยู่ในรูดินเอาไม้แยงปุ๊บขึ้นมาเลย ขึ้นมาเป็นหมื่น ๆ ตัว”
 พวกเขาก็ว่า “ต่อหอย ต่อหอย ๆ ๆ” ดังกันลั่นหมด มาหมดหมู่บ้านเลย
 มาถึงก็บอกให้อาตมาออกมาเสียอย่าไปยืนดู อาตมาก็ออก เขาก็จูงมือออกมาอยู่ห่าง ๆ เขาไม่ให้ดูว่าทำอะไร เขาเอาใบไม้ไปสุมไว้ใส่เข้าไปเป็นกองแล้วเอาไฟจุด พอสุมไฟมันก็บินขึ้นมาถูกไฟตายหมด ความร้อนข้างในทำให้อากาศไม่มี ต่อหอยจึงตายหมดทั้งรัง
 พอตายหมดแล้วเขาพาอาตมาไปดูและเขาเอาไม้พาดไว้ให้อาตมาลงไปดู ก็เห็นเป็นอุโมงค์กว้างใหญ่เป็นชั้น ๆ แต่ว่าทำไม่พระหายไป บาตรก็ไม่เหลือทีแรกก่อนที่จะเผาเขาก็ว่าอยากดูไหม เอากระดูกไปพันผูกกับไม้ แล้วก็แทงใส่ลงไป มันกัดกินจนหมด ไม้ก็แหว่งไปด้วย แม้แต่ลวดเหล็กก็ยังเป็นรอย
 พอแทงไม้ลงไป กระดูกหายไปเลย แสดงว่าเป็นหมื่น ๆ พันๆ ตัวมันแย่งกันกิน ถึงบอกว่า ถ้าคนตกลงไปก็ไม่เหลือ ช้างก็ตาย เสือก็ตาย ถ้าลงไปแล้ว มันช่วยกันกินเร็วมาก
 พวกกะเหรี่ยงบอกว่า “หมูตัวไก่ตัวหรือหมาตัวหนึ่งทิ้งลงไป ตุ้มเดี๋ยวก็หายหมดเลย มันแย่งกินกันหมด เนื้อที่เหลือมันพาไปไว้ในรู้ ก็หลุมที่เขาเผาต่อหอยมันลงไปเป็นชั้น ๆ ๆ”
 อาตมาไม่ได้ลงไปหรอก ดูอยู่ที่ปากหลุม เขาก็ทำกระไดลงกันไป เขาบอกว่ากินกันทั้งหมู่บ้านไม่หมดหรอก กินกันได้เป็นเดือน ๆ ต่อหอยน่ะอันตราย อาตมาก็รอดไปได้อีก ทีหลังใครไปที่นั่นอีกไม่ตายแล้ว

http://www.oknation.net/blog/My-fais/2009/12/10/entry-46

275
พบผีกลางวัน 2/3
พระอาจารย์จำเนียร วัดถ้ำเสือ กระบี่

 แล้วหลวงพ่อก็พูดต่ออีกว่า
 “อยากเห็นอีกไหม ต้องค้างคืนที่นี่ หรือย้อนหลังไปก็ได้ แล้ววันพรุ่งนี้ออกเดินทางก็จะเจออีก (ผีกระเหรี่ยงตนนี้เป็นผู้หญิงอายุประมาณ ๓๐ ปี วิธีดูว่าคนนี้เป็นผีหรือคน เป็นอมนุษย์หรือไม่ให้ดูตา ถ้าเป็นมนุษย์ต้องกะพริบตา แต่ถ้าเป็นวิญญาณเขาจะไม่กะพริบตา ถ้าแปลงกายมาเป็นมนุษย์ตาจะสีแดงกว่าตามนุษย์ ถ้าเป็นพญานาคแปลงกายเป็นมนุษย์ ตาจะมีสีฟ้า ถ้าเป็นเทวดาแปลงกาย ตาเหมือนมนุษย์ แต่ทุกประเภทถ้าเป็นวิญญาณแล้วจะไม่กะพริบตา อีกประการหนึ่งคือเท้าจะไม่ติดพื้นจะลอยอยู่สูงจากพื้นนิดหนึ่ง)
 อาตมาก็บอกท่านว่า
 “เย็นมากแล้วหลวงพ่อ ไปพม่ากันดีกว่า”
 ตกลงเดินทางกันต่อ ระยะทางก็ห่างจากหมู่บ้านกะเหรี่ยงมากแล้ว จวนจะมืดพอดี ก็เลยหาที่ปักกลดกัน
 หลวงพ่อท่านว่า
 “จะปักกลดตรงนี้ล่ะ”
 อาตมาก็ว่า
 “จะปักตรงนี้หรือ มันมีรอยช้างนี่แล้วรอยเท้าช้างก็มีขนาดใหญ่ ช้างคงตัวใหญ่มาก
 หลวงพ่อครับ พ่อผมเป็นพระธุดงค์มาก่อน ท่านบอกว่าเวลาปักกลดอย่าไปปักที่ทางช้างเดิน ทางลม พัดแรง”
 หลวงพ่อก็ว่า
 “...ผมเดินป่ามานานมากกว่าคุณ ราว ๆ ๕๐ ปีได้แล้ว ดูซิว่า มีแมลงมุมชักใยที่รอยช้างแล้ว ช้างไม่ผ่านมานานแล้ว”
 อาตมาพูดต่อไปอีกว่า
 “ก็ถูกอย่างที่หลวงพ่อว่า แต่พ่อผมบอกว่า ถ้ามันกลับมา มันก็จะเดินเส้นทางที่เคยเดิน มันจะไม่เดินนอกทาง”
 “เรื่องของคุณ นิมนต์ๆ ผมปักตรงนี้แล้ว”
 อาตมาก็เลยไปปักกลดอยู่อีกแห่งหนึ่งตรงจอมปลวก แล้วบนจอมปลวกนั้นมีต้นไม้อยู่ ก็เลยเอาเหล็กขอเกี่ยวเข้ากับกิ่งไม้แล้วขึงลงมาแขวนกลด ซึ่งอยู่ห่างจากบริเวณที่หลวงพ่อปักกลดมากพอสมควร
 พอตกดึกเกือบเที่ยงคืนแล้ว เสียงดังลั่นไปหมด มีเสียงไม้หักดังสะเทือนไปหมด เดินใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ พอมาใกล้ ๆ จึงแลเห็นเป็นช้าง
 อาตมาก็คอยดูว่าถ้าช้างมันหันหัวมาทางอาตมาก็จะวิ่งอย่างเดียว แต่ไม่เห็นหลวงพ่อถอยไปไหน ยังคงอยู่ในกลด
 พอช้างไปหมดแล้วเงียบไปหมด กลดหลวงพ่อก็มืด อาตมาก็คิดว่าช้างทั้งโขลงเหยียบยิ่งกว่าทำนาเสียอีก แน่นอนต้องตาย แต่ก็จะลองเรียกท่านดู หากท่านยังไม่ตายก็จะหาว่าเราไม่มีเมตตา ก็เรียกท่าน
 “หลวงพ่อครับๆ”
 พอเรียกหลายคำท่านก็ขานว่า
 “ครับ ๆ”
 อาตมาก็หาหลวงพ่อว่าอยู่ตรงไหนได้ยินแต่เสียง ก็เลยเอาไฟฉายส่องดูเห็นกลดของท่านม้วนกลมเลยหลวงพ่อเล่าว่า
 “ช้างตัวหัวหน้ามาถึงก่อน แล้วก็จับกลดและตัวท่านม้วนไปทั้งกลด และก็วางไว้ข้างทาง แล้วมันหันหน้ามามองมันยืนเฝ้าเลย มันสะบัดหูปุ๊กปั๊กได้ยินชัดเจนดี แต่เห็นไม่ชัด เห็นแต่งายาวขาว ๆ จนโขลงช้างเดินไปหมด หัวหน้าช้างจึงไป แล้วเป็นอย่างที่คุณเห็นนี่แหละ”
 อาตมาเลยตัดสินใจตัดกลดเอาท่านออกมา ปรากฏว่าขาและแขนหักท่านเดินไม่ได้ ปวดบวมและเจ็บมาก
 รอจนรุ่งสว่างแล้ว อาตมาก็ไปตามพวกกะเหรี่ยงลูกศิษย์ท่าน เพื่อให้ช่วยรักษา เขาบอกว่ามียาดีไม่เกิน ๗ วัน ก็หาย เดินได้เหมือนเดิม
 ส่วนอาตมาก็ขอเดินทางต่อไปคนเดียว เลยไปพม่าไม่ได้ เพราะไม่มีใครนำทาง กลับไปเชียงรายดีกว่า ก็ถามทางเขาว่าทางไหนไปเชียงราย ก็ต้องเดินตัดภูเขา
 อาตมาก็เดินไปเรื่อย ๆ จนถึงต้นไม้ใหญ่ นึกว่าจะนั่งดีหรือจะนอนดี แต่พอมองผ่านต้นไม้ใหญ่ก็เห็นเสือลายพาดกลอนแม่ลูกอ่อน ตัวใหญ่มาก
 สัญชาตญาณกลัวตายก็เอากลดที่แบกปักลงไป แล้วเอามือป้องกันตัว ก็ว่าถ้าเสือมาทางไหนก็ถูกกลดก่อนล่ะ
 สำหรับเสือแม่ลูกอ่อนก็มอง แล้วถอยหลังนิดหนึ่ง พอลูกมันวิ่งมันก็วิ่งตามลูกไปเลย


http://www.oknation.net/blog/My-fais/2009/12/10/entry-46

276
พบผีกลางวัน


 ขณะที่อยู่ วัดสุคนธาวาส ช่วงออกพรรษาแล้ว อาตมาได้เดินธุดงค์ทุกปี ไปไหนระหว่างออกพรรษาเงินก็ไม่เอา ไปไหนก็เดินหรือจะมีญาติโยมช่วยจ่ายค่ารถให้เป็นตอน ๆ บางครั้งมีพระติดตามช่วยจ่ายค่ารถให้ บางแห่งได้มีลูกศิษย์รับส่งให้เป็นช่วง ๆ บ้าง
 ตอนนั้นอาตมาไม่จับเงิน เพิ่งมาจับเงินที่วัดถ้ำเสือนี่เอง เพราะเป็นประธานสงฆ์ ต้องรับผิดชอบมากมายในกิจที่ต้องใช้เงิน



 อาตมาได้ออกเดินธุดงค์ทุกปี บางปีก็ได้เจอเสือเจอช้าง บางปีไปถึงเชียงราย เชียงของ ไปเพื่อศึกษาหาความรู้ต่าง ๆ จากผู้รู้ไปอยู่วัดนั้นคืนหนึ่ง วัดนี้คืนหนึ่ง แล้วเดินธุดงค์ต่อไป
 ครั้งหนึ่งอาตมาเจอพระภิกษุแก่องค์หนึ่งเดินป่ามานาน ชำนาญในเส้นทางเขมร ลาว และพม่า
 อาตมาได้ถามหลวงพ่อว่า
 “ท่านจะไปทางไหน”
 หลวงพ่อท่านท่านก็บอกว่า
 “ผมจะไปทางพม่า”
 อาตมาก็ขอร่วมเดินธุดงค์ไปด้วย จนกระทั่งจะเข้าพม่ากับท่าน ๆ ก็บอกว่า
 “อย่าโกนคิ้วนะ อยู่เป็นพระพม่าไปเลยแล้วเที่ยวได้หมด เพราะพระทางการก็ไม่เกี่ยวด้วยไม่ต้องทำพาสปอร์ตเดินทางอะไรเขาไม่เกี่ยว ขอให้ท่านอย่าโกนคิ้ว”
 ทั้งนี้วันหนึ่งพอฉันเช้าเสร็จก็เดินทางต่อ ท่านก็พูดว่า
 “ระหว่างเชียงของ เขตเชียงรายต่อแดนพม่า แถวนี้มีพวกผีกะเหรี่ยงอยู่ คุณอยากเห็นไหม
 ผีกระเหรี่ยงมันจะเดินนำหน้า ช่วงตอนเย็นพระอาทิตย์กำลังจะตก ผีพวกนี้จะเดินนำหน้าทันที คุณอย่าทัก อย่าพูดนะ แต่ดูได้ ถ้าพูดด้วยจะหายทันที”
 อาตมาก็เดินตามหลังท่านไป ก็คุยเรื่องอื่นบ้าง อะไรบ้าง แล้วท่านก็ชีให้อาตมาดู บอกว่า
 “เห็นหรือยังล่ะ”
 อาตมาบอกว่า
 “เห็นแล้ว”
 “แต่งตัวเหมือนพวกกะเหรี่ยงน่ะเต็มยศเลย ตานี้ไม่ปิด ลืมตาไปตลอดไม่กะพริบ เดินหันหลังให้ เราเดินไล่ไปเลย ไล่ไปให้ทัน”
 พอผีกระเหรี่ยงเดินออกข้างทางก็หายแวบไปเลย ไปไหนก็ไม่รู้ มองหาก็ไม่เห็น ก็เลยถามหลวงพ่อไปว่า
 “หลวงพ่อครับ มันหายไปไหนหาไม่เจอ”
 หลวงพ่อก็บอกว่า
 “เห็นเหมือนกันว่ามันเดินออกข้างทาง แล้วหายไปทันทีเลย”

http://www.oknation.net/blog/My-fais/2009/12/10/entry-46

277

เทวดาสร้างบันได 3/3
(หลวงพ่อจำเนียร วัดถ้ำเสือ กระบี่)



ต่อมาได้มีวิศวกรมาเยี่ยมอาตมาที่วัด พูดว่า
 “อาจารย์ทำไปถึงไหนแล้ว ผมเป็นวิศวกรที่เคยเขียนแปลนให้อาจารย์น่ะ”
 อาตมาก็ว่า
 “อ๋อ...เสร็จแล้ว ไปดูซิ”
 เมื่อวิศวกรได้ไปเห็นบันไดปูนก็บอกว่า
 “อยู่ได้เป็นพันปีไม่พังแน่นอน เพราะทำด้วยหิน ส่วนปูนที่ถูกกับหินและทรายนั้นก็กลายเป็นหินไปหมด เพราะความเย็นของหิน
 นี่เป็นความมหัศจรรย์ที่อาตมาพบมา ก็เล่าสู่กันฟังเพื่อยืนยันว่า
 “เทวดามีจริง”

 เมื่อสร้างบันไดปูนเสร็จแล้ว อาตมายังไม่ได้สร้างศาลให้ เทวดาก็ไปทวงกับพระเณร ซึ่งตกใจกันหมดจะวิ่งหนี เขาก็ว่า

 “ไม่ต้องหนี เราเป็นเทวดาอยู่ที่นี่ให้บอกอาจารย์จำเนียรด้วยว่า บันไดเสร็จแล้วภายใน ๓ เดือน อาจารย์จำเนียรไม่ทำศาลให้เลย ให้บอกด้วย”

 พระเณรก็วิ่งมาบอกอาตมาทันทีอาตมาก็สั่งไปว่าเทวดามาบอกกับอาจารย์จำเนียรเอง เทวดาเขามีทิฐิไม่มาบอก เพราะอาตมาเป็นผู้รับปากว่าจะสร้างศาลให้ เทวดาไม่ได้ร้องขอ
 ตั้งแต่วันนั้นพออาตมาขึ้นไปบนเขาด้านใน เทวดาดับไฟระหว่างทางทุกครั้ง แต่คนอื่นขึ้นไปไม่ดับพออาตมาขึ้นไปก็ดับไฟทันที เป็นเวลา ๑ เดือน
 ต่อมาอาตมาได้ประชุมพระภิกษุในวัดทุกองค์ ซึ่งต่างก็ยอมรับว่า “เทวดาดับไฟ”
 แล้วอาตมาก็ว่า

 “พรุ่งนี้ผมจะไปซื้อศาลมาตั้งพอขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๖ ก็จะตั้งศาลเทวดาให้เลย ถ้าไม่คัดค้าน ผมขอนิมนต์ท่านทุกองค์ไปสวดชะยันโตตอนยกศาลขึ้น”
 อาตมาพูดจบก็ไม่มีใครคัดค้าน เรื่องเลยจบลงด้วยดี
 ทีแรกว่าทำอะไรเสร็จแล้วจะทำศาลให้ แต่ก็ยังไม่ได้ทำ บอกว่าให้ทำบ่อน้ำเก็บน้ำสูง ๔ เมตร จัดหินโดยรอบอีกประมาณ ๒ เมตรรอบ ๆ ด้าน หาช่างเทศบาลมาดูเขาบอกว่า ทำ ๒ เดือนไม่เสร็จ ต้องใช้เงินเกือบแสนบาท เพราะว่าทำอย่างนี้สูงมาก ต้องใช้หินด้วย ใช้เหล็กด้วย ทั้งแรงงานด้วย ต้องใช้ทุนมาก


 เทวดาก็บอกอีกว่า
 “ถ้าให้เทวดามาทำให้ จะเสร็จภายในสิบวัน”
 ยังไม่ถึงสิบวันก็เสร็จแล้ว จัดหินจัดอะไรด้วยก้อนใหญ่ ๆ ก็จัดไปได้ ทำให้เราเชื่อว่า
 “อานุภาพของผู้ช่วยเหลือทำกับผู้มีบุญ ทำกันได้แน่นอน ทำให้เกิดผลเร็ว” ก็เลยทำบ่อน้ำเสร็จเรียบร้อยที่ขังน้ำเดี๋ยวนี้ยังอยู่ ยังใช้อยู่ทุกวัน

ที่มา
http://www.oknation.net/blog/My-fais/2009/12/10/entry-54
ภาพจาก http://www.photoontour.com/Articles_HTML/Wat%20Tum%20Sur/Wat%20Tum%20Article.htm

278
เทวดาสร้างบันได 2/3
(หลวงพ่อจำเนียร วัดถ้ำเสือ กระบี่)


ภาพจาก http://www.tripdeedee.com/traveldata/krabi/krabi16.php

ข้อความในจดหมายมีใจความว่า
        นครศรีธรรมราช
     ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๑๙
เรียน  พระอาจารย์ ทราบ
 ดิฉันจะเดินทางกลับกรุงเทพฯคืนนี้ พร้อมด้วย หลวงพ่อพระมหาวีระ (ฤาษีลิงดำ) หลวงปู่ครูบาธรรมชัย และคณะ ก่อนออกเดินทางได้หาโอกาสฝากหนังสือพระอาจารย์ของดิฉันคือ หลวงพ่อพระมหาวีระมาให้ท่าน ๓ เล่ม เผื่อจะมีประโยชน์กับลูกศิษย์ของท่านที่จะศึกษา
 หลวงปู่ครูบาธรรมชัยได้ขอร้องให้ดิฉันเขียนจดหมายถึงท่าน เพื่อเตือนให้ท่านทราบว่า สำนักสงฆ์ถ้ำเสือของท่านเป็นสถานที่สำคัญยิ่งนักในศาสนาของเรา เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาก
 ในวันที่หลวงพ่อพระมหาวีระและหลวงปู่ครูบาธรรมชัยไปเยี่ยมท่าน หลวงปู่ครูบาธรรมชัยได้พบเทพที่สำคัญในที่นั้น ๒ องค์ องค์หนึ่งชื่อ เจ้าศากยเวระ อีกองค์หนึ่ง เจ้ากรุงสยามราชเทวา พร้อมด้วยบริวารนับไม่ถ้วนทรงเครื่องสวยงาม สวมชฎาทองแวววาวไปหมด
 ถ้าพระอาจารย์สร้างบันไดคอนกรีตขึ้นไป ให้คนขึ้นไปสะดวก ๆ แสถานที่แห่งนั้นจะหมดความศักดิ์สิทธิ์ลงทันทีภายในระยะเวลาไม่นาน พระอาจารย์จะสูญเสียสิ่งที่ดีงามที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมด ขอให้พระอาจารย์เชื่อท่านเถิด ดิฉันเองมีความเห็นเช่นเดียวกัน ขอให้ท่านอาจารย์เลิกสร้างบันไดคอนกรีตเสียเถิดเจ้าค่ะ ที่แล้วก็ให้แล้วกันไป กรุณาอย่าทำเพิ่มเติม บันไดไม้อย่างที่มีนั้นดีแล้ว พยายามซ่อมอย่าให้ชำรุดเป็นพอ
 คนที่ไม่พึงปรารถนาต่าง ๆ จะได้ไม่ขึ้นไปจุ้นจ้านทำลายสมาธิของผู้ทรงศีล ผู้ที่ยอมปีนบันไดจะเป็นผู้ที่ต้องการจะไปเห็นจริง ๆ ไม่ใช่พวกทัศนาจรเละเทะจุ้นจ้าน
 ว่างเมื่อไหร่จะขอไปเยี่ยมพระอาจารย์อีก รอที่จะไปค้างในถ้ำกับแม่ชีสักคืน  ชอบเหลือเกิน
        นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
         วิภาวดี


เมื่ออาตมาอ่านจดหมายเสร็จก็คิดว่าจะทำอย่างไรดี ท่านหญิงร้องขอแต่คิดว่าไม่ยอมดีกว่า ทำบันไดปูนละทีนี้
 เมื่ออาตมาว่าจ้างให้ช่างและคนงานทำปูน เทวดาก็ลงโทษคนที่อาตมาจ้างให้เขาทำบันไดปูนทั้ง ๓ คน
 อาตมาก็เลยให้ไปตามคนแก่ผู้ชายมาคนหนึ่ง มานั่งประทับทรง ซึ่งเทวดาก็บอกโดยผ่านร่างว่า
 “เอาอย่างนี้ดีกว่า ถ้าอาจารย์ตั้งใจทำจริง อาจารย์ลงมือทำเองเลยดีกว่า อย่าจ้างช่างเขาเลย ให้พวกเราทำ เพราะเราเป็นช่าง ถ้ายอมให้ทำจะเสร็จภายใน ๓ เดือน ลงทุนไม่มากแล้วก็อยู่ได้เป็นพันปี
 พวกเรามี ๒๐๐ กว่าองค์ เทวดาพวกนี้เคยสร้างนครธม ปราสาทหินพิมาย และเขาพระวิหารก็เคยทำมามากแล้ว
 แต่ตอนนี้พวกเรามาขอพักทำความเพียรที่ถ้ำเสือมาหลายปีแล้ว พวกเราก็เลยช่วยอาจารย์สักครั้งหนึ่ง ซึ่งพวกเราจะเป็นผู้ดำเนินการเองขอเพียงแต่ให้อาจารย์ช่วยหาพระกับแม่ชีมาก็พอ แต่มีข้อแม้ว่าอย่าเอาคนที่เป็นช่างมาทำ เพราะเราเป็นช่างอยู่แล้ว”
 อาตมาบอกว่า
 “ถ้าทำบันไดเสร็จภายใน ๓ เดือน จะสร้างศาลให้หลังหนึ่ง”
 หลังจากนั้นอาตมาก็เลือกแม่ชีได้ ๓ คน คือ คนแรกชื่อ แม่ชีปรีดา อายุ ๑๖ ปี เป็นยอดขี้เกียจ ซักผ้าก็ไม่เสร็จ คนที่สองชื่อ แม่ชีนงเยาว์ ขี้โรคมากที่สุดในวัด หาหมอไม่หยุด ผอมน่าสงสาร ไปไหนก็ไม่ค่อยได้เพราะขี้โรค ส่วนคนที่สามชื่อ แม่ชีหญิง ขาเสียข้างหนึ่งเดินชักเประ ๆ พอมีงานชอบปลีกเอาตัวรอด
 ทีนี้หาฝ่ายพระองค์หนึ่งคุยโม้เก่ง พอมีงานชอบปลีกตัว องค์ที่สองชอบหนี พอมีงานลาไปบ้านก่อน พอเสร็จแล้วถึงกลับมา สำหรับคนที่สามทำบ้างไม่ทำบ้าง ชอบเลิก  ทำอะไรไม่ค่อยสำเร็จ
 เมื่อถึงเวลาที่เริ่มทำบันไดปูนจนครบ ๓ เดือน ก็เสร็จลงได้อย่างน่าอัศจรรย์ ทั้ง ๆ ที่กำลังคนก็มีน้อยและเครื่องมือก็ไม่มีทำไปตามยถากรรมทุกอย่าง
[/color]
ที่มา
http://www.oknation.net/blog/My-fais/2009/12/10/entry-54

279
กฎแห่งกรรม / เทวดาสร้างบันได
« เมื่อ: 04 พ.ย. 2554, 03:19:44 »
เทวดาสร้างบันได 1/3
(หลวงพ่อจำเนียร วัดถ้ำเสือ กระบี่)


http://www.tripdeedee.com/traveldata/krabi/krabi16.php

 อาตมาก็จะขอเล่าถึงเทวดามาช่วยสร้างบันไดหินได้อย่างน่าอัศจรรย์ เพราะเป็นงานใหญ่ใช้พลังมากหินผาก็หนัก ถ้าจ้างเขาทำ ๓ ปี ก็ไม่เสร็จ แต่แปลกที่สร้างเสร็จภายใน ๓ เดือน เรื่องนี้หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดีรังสิต ได้บอกกับอาตมาว่าจะเชิญในหลวงเสด็จมาทอดพระเนตรถ้ำเสือ
 คือว่าทีแรกอาตมาให้ทำบันไดไม้ไว้ก่อนพอขึ้นลงเข้าไปในหุบเขาได้ ซึ่งบันไดนี้ใช้ได้ชั่วคราว
 อาตมาก็ว่าบันไดทำกับไม้เล็ก ๆ อย่างนี้ เดี๋ยวในหลวงเสด็จมาแล้วก็ย่อมมีคนมาก พอคนมากบันไดก็จะหักเสียหายหมด ให้ทำบันไดปูนเสียก่อน ขอให้ท่านหญิงช่วยติดต่อปูนที่โรงปูนราคาพอสมควรเพื่อมาทำบันไดก่อน
 ท่านหญิงก็รับว่าช่วยได้ อาตมาก็ตัดสินใจสร้างบันไดปูนก่อน แต่เทพเขาไม่ยอมให้สร้าง เขาอยากให้สร้างบันไดไม้ให้แข็งแรง
 พอท่านหญิงเสด็จกลับไปพักที่ทุ่งสง ที่ค่ายตำรวจตระเวนชายแดน ขณะนั้นท่านหญิงได้ปิดประตูใส่กลอนเรียบร้อยแล้วและกำลังเขียนหนังสือ ทันใดนั้นมีทั้งหญิงชาย เข้าไปในห้องเต็มไปหมด ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้เปิดประตู

 ท่านหญิงก็ตกใจ จึงได้ถามว่า
 “ใคร...มาทำไม เอ...ปิดประตูอยู่แล้วเข้ามาได้อย่างไร”
 พวกนั้นก็บอกว่า
 “อย่าตกใจ พวกเราเป็นเทวดาอยู่ที่ถ้ำเสือ”
 ท่านหญิงถามว่า
 “แล้วพวกท่านมาทำไม”
 เทวดาก็บอกว่า
 “ช่วยบอกอาจารย์จำเนียรด้วยว่าให้ทำบันไดไม้ อย่าทำบันไดปูนได้ไหม ขอร้องแค่นี้ เพราะอาจารย์จำเนียรเกรงใจท่านหญิงมาก”
 ท่านหญิงก็ว่า
 “ได้ เพราะฉันก็รักธรรมชาติเหมือนกัน”
 แล้วพวกเทวดาก็กลับไป ส่วนท่านหญิงก็เอากระดาษมาเขียนจดหมาย เพื่อให้ตำรวจตระเวนชายแดนมาส่งให้อาตมา ยังไม่ทันสว่างเลยตำรวจก็ไปถึงวัดถ้ำเสือ
 อาตมาก็ถามว่า
 “มาทำไม”
 ตำรวจก็บอกว่า
 “ท่านหญิงให้เอาจดหมายมาให้อาจารย์”

ที่มา
http://www.oknation.net/blog/My-fais/2009/12/10/entry-54

280
โค่นต้นไม้ใหญ่ด้วยพลังจิต


 หลวงพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ วัดพระธาตุน้อย ตำบลช้างกลาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้ริเริ่มในการสร้างถนนจากจันดีไปนครศรีธรรมราช มีต้นไม้ใหญ่อยู่ ๑ ต้นที่ขวางเส้นทางของถนน


 ชาวบ้านตัดขาดแล้ว แต่ทำอย่างไรก็ไม่ยอมโค่นดึงก็ไม่ล้มจึง ไปนิมนต์หลวงพ่อท่านคล้ายมา ท่านบอกให้ทุกคนหนีออกมาให้พ้นรัศมีของต้นไม้ซึ่งจะล้มไปทางที่หลวงพ่อกำหนดให้ล้ม เมื่อประชาชนหลบไปหมดแล้ว หลวงพ่อหยิบผ้าผูกเงื้อนตาย นิ่งสักครู่ก็ดึงผ้าในมือขาดเป็น ๒ เส้น ทันทีที่ผ้าในมือหลวงพ่อท่านคล้ายขาดต้นไม้ใหญ่ ล้มไปในทิศทางที่หลวงพ่อท่านบอกว่า





 “มันจะล้มไปทางนี้ขอให้ถอยออกมาให้หมด” ก็เป็นความจริงทุกประการ
 ประชาชนที่เห็นเหตุการณ์มีหลายสิบคนที่ยังมีชีวิตอยู่ แม่ชีอิ่มวัดถ้ำเสือ จังหวัดกระบี่เป็นผู้หนึ่งที่ไปดูหลวงพ่อท่านคล้ายโค่นต้นไม้ด้วยพลังจิตของพระอรหันต์ทรงอภิญญา ๖ ปัจจุบันแม่ชีอิ่มยังมีชีวิตอยู่


ที่มา
http://www.oknation.net/blog/My-fais/2009/12/10/entry-49

281
ประลองกับจระเข้ 2/2


สถานที่จริงในอดีตที่ปะลงกับจระเข้


 นอกจากนั้นยังต้องเรียนรู้เคล็ดลับในการป้องกันจระเข้กัดเวลาอยู่ในน้ำ และบนบกอีกด้วย คือให้พยายามทำใจให้กล้าหาญไม่กลัวตาย ทรงตัวเราไว้ตรง ๆ ถ้าอยู่ในน้ำก็พยายามยืนตรง ๆ ใช้เท้าทั้งสองพยุงตัวไว้
 ถ้าอยู่บนบกก็ยืนตรง ๆ จระเข้มันไม่ชอบตะแคงตัวงับเหยื่อ ไม่ถนัดมันจะงับตรง ๆ ถ้าเราทรงตัวตรง ๆ มันจะงับไม่ได้


 แต่ถ้าเราว่าน้ำ มันจะงับได้ง่าย จระเข้มันมีจุดอ่อนตรงมุมปากของมัน ถ้าเราสามารถขึ้นนั่งคร่อมหลังมันได้ ให้รีบใช้สองมือกดตรงมุมปาก โดย ๔ นิ้วทั้งสองข้างกดมุมปาก แล้วใช้หัวแม่มือ ๒ ข้างกดที่ลูกตา ๒ ข้างของจระเข้ เราจะลากดึงมันไปทางไหนมันก็จะหางลู่ตามเหมือนงูเหลือมแพ้เชือกกล้วยนั่นเอง
 นอกจากนี้อาตมายังได้มีโอกาสเรียนวิชาการจับจระเข้ จากอาจารย์ท่านหนึ่ง เป็นคนนครศรีธรรมราช อยู่ใกล้วัดชะเมา เป็นอาจารย์ของนายเย้านักจับจระเข้ ปัจจุบันอยู่ฟาร์มจระเข้ จังหวัดสมุทรปราการ


 ต่อมาเมื่ออาตมาเรียนรู้วิชาจับจระเข้แล้ว อาตมาก็จับจระเข้ขาย พอได้เงินมาจุนเจือครอบครัว ขายตัวหนึ่ง ๔๐๐ บาท ถึง ๕๐๐ บาท วันหนึ่งมันไม่ได้มาก เพราะยังเด็กตัวเล็ก สู้นายเย้าไม่ได้
 ต่อมานายเย้าจับจระเข้ตัวใหญ่ ๆ ได้ ส่วนอาตมาจับได้แต่ตัวย่อย ๆ ไมใหญ่นัก แต่คนเขาก็ร่ำลือกันว่า อาตมาจับจระเข้เก่ง
 สำหรับจระเข้ตัวใหญ่นั้นดุ พออาตมาจับได้แล้ว แต่ก็ผูกปากไม่ได้เพราตัวมันใหญ่ ถ้าจะแทงมันตายก็กลัวว่ากรรมจะตามสนอง ส่วนอาตมาจับจระเข้เป็นไปขายแล้วคนอื่นฆ่าไม่เป็นไร
 คนแก่ก็ขอร้องว่า


 “จำเนียรอย่าไปฆ่ามันนะ เดี๋ยวตายกับจระเข้ เขาว่าหมองูตายเพราะงู หมอจระเข้ตายเพราะจระเข้”


 จระเข้น้ำลึกน่ากลัวมาก แต่มันไม่กล้ากัดอาตมา เพราะท่องคาถา ๔ ตัว คือ “อะ อึ ลึก ลือ”
 ตอนลงน้ำก็ว่า “อะ” คือตัวเรา “อึ” คือจระเข้
 เมื่ออยู่ในน้ำก็ว่า “ลึก” คือสะกดไว้ แล้วเข้าไปเพื่อจับจระเข้จะอยู่เฉยไม่ได้ แต่ตอนว่าคาถานี้อาตมาต้องเอาพระหรือก้อนหินมาอม เพื่อหุบปาก กันการอ้าปาก ถ้าอาตมาอ้าปากมันกัดทันที
 ถ้าอาตมาขึ้นมาถึงว่า “ลือ” แล้วมันผุดหนีอาตมาไปได้ แต่ถ้าอาตมาไม่ว่า “ลือ” มันก็นอนอยู่อย่างนั้น บางทีลืม สั่งคนหนึ่งคนใดไปบอกด้วยคาถาว่า “ลือ” ซึ่งเขาจะบอกหรือไม่ก็ตาม แต่จระเข้ก็มีสิทธิ์ไปหากินได้แล้ว ตั้งแต่อาตมาเริ่มออกคำสั่ง ไม่อย่างนั้นมันจะนอนอยู่อย่างนั้นเป็นวัน ๆ ไม่ไปไหนมันแพ้ตบะอะไรก็ไม่รู้ “อะ อึ ลึก ลือ” คาถา๔ตัวนี้
 วิธีฝึกจับจระเข้ จระเข้ดุมากต้องฝึก ถ้าเอาไม้ไปแหย่นิดเดียวมันกัดเลย ที่อาจารย์เขาฝึก เขามีบ่อให้อาตมาไปขี่หลังมัน จระเข้มันหันมากัดไม่ได้ เพราะคอมันแข็ง


 ทีนี้พอวิ่งไปขี่มัน มันก็ไปหน้าแต่ถ้าอยู่หลัง หางมันจะฟาดอาตมา ถ้าอาตมาอยู่ในน้ำตัวตรง ๆ มันจะฟาดอาตมาให้ล้มแล้วมันก็จะกัด มันตะแคงไม่เป็น
เวลาอาตมาลงไปในน้ำไปหามันนี่ จะลงไปตัวตรง ๆ เพราะจะทำให้มันกัดไม่ได้ แต่ถ้ามันฟาดเอา ถูกเข้าก็ทำให้คอหักเหมือนกัน แต่อาตมาหลบทัน ทำตัวกลมม้วนแล้วยืนตัวตรงอีก มันก็กัดไม่ได้ ทีหลังมันไม่กล้ากัดอีกแล้ว
เวลาขึ้นฝั่ง ถ้าอาตมาก้ม มันกัดทันที มันฉลาด อาตมาต้องถอยหลังขึ้น มันไม่กล้ากัด มันเห็นอาตมาสุ้มันก็เลยไม่กล้ากัด


อาตมาเคยเรียนมาหมด เช่น “วิธีต่อสู้ วิธีจับ” ที่มุมปากมันไม่มีเขี้ยว อาตมาเอามือจับไว้ที่มุมปากมัน มันงับกรึ้ม ๆ แต่ไม่ถูกมืออาตมาหรอก เพราะข้างในไม่มีเขี้ยว แล้วให้พยายามเอามือกดลูกตาทั้งสองข้าง พออาตมาจับได้มันพาลงน้ำลึก อาตมาก็กดลูกตา หาหัวเชิดขึ้นแล้วก็พาเข้าฝั่ง มันหมดแรงก็พาเข้าฝั่ง แต่ยังมัดปากมันไม่ได้ ตัวมันยาว ปากมันยาว เลยต้องปล่อยไป


พวกเพื่อน ๆ หนีหมดเลย ไม่มีใครช่วยมัดปาก อาตมาก็เลยไม่เคยจับตัวใหญ่ได้เลย ตัวอาตมา ๙-๑๐ ขวบเท่านั้น ตัวอาตมาเล็กกว่า ตัวมันใหญ่กว่า แต่ตัวเล็กอาตมาจับได้หลายตัว ดีใจว่าได้เงินมาเลี้ยงครอบครัวทั้งบ้าน เพราะความจำเป็นบังคับว่าต้องทำ

พอมีน้ำใจ ก็เกิดน้ำอดน้ำทน ที่จะทำสิ่งดี ๆ ให้ผู้อื่น

ที่มา
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=533545

282
ประลองกับจระเข้ 1/2




 พอตอนอายุได้ ๕ ขวบเศษ พ่อได้สอนคาถาป้องกันจระเข้ ป้องกันสัตว์ร้ายและบุคคลอื่นให้เกิดเมตตาต่อเรา เรียกว่า คาถาเมตตาพุทโธ           อาตมาก็ท่องจำจนขึ้นใจ


 ต่อมาวันหนึ่งมีชาวบ้านไปตักน้ำในคลอง ซึ่งคลองนั้นก็มีจระเข้อาศัยอยู่ด้วย ปรากฏว่าชาวบ้านคนหนึ่งถูกจระเข้ฟาดอาการสาหัส ฝูงจระเข้ได้พากันลอยคอโผล่หัวสลอนเลย น่ากลัวมาก พ่อรู้เรื่องจึงรีบมา อาตมากับพี่ชายก็ตามมาด้วย
 พอมาถึงพ่อได้แกล้งโยนขวานลงไปในคลอง แล้วบอกพี่ชายอาตมาว่า
     “เองลงไปงมเอาของขึ้นมาให้ข้า”


 พี่ชายผวาหน้าซีด บอกว่าไม่กล้าเพราะกลัวจระเข้คาบเอาไปกิน พ่อจึงหันมาบอกให้อาตมาลงไป
 อาตมาก็ผวาเหมือนกัน มีใครบ้างที่ไม่กลัวจระเข้คาบเอาไปกิน อาตมาจึงเกี่ยงให้ท่านลงไปงมเอาเอง แต่ท่านกลับบังคับให้อาตมาลงไป


 “ข้าสอนคาถาป้องกันสัตว์ร้ายทุกชนิดให้เอ็งแล้วจำไม่ได้หรือ คาถานั้นจะป้องกันจระเข้ได้ด้วย เองท่องคาถาแล้วลงไปงมเอาของขึ้นมาเลย ข้ารับรองจระเข้ไม่กล้าทำอะไรเอ็ง”


 ถ้าอาตมาไม่ลงไป ต้องถูกดุว่าทุกตีหนักแน่ มีความกลัวท่านมากกว่ากลัวความตาย อันที่จะเกิดจากจระเข้ในน้ำเสียอีก
 อาตมาจึงหลับตาพนมมือบริกรรมคาถาป้องกันสัตว์น้ำ ปลุกใจตัวเองให้เกิดความกล้าหาญ แล้วอาตมาก็กระโจนลงไปในน้ำดังตูม แต่ก็แปลกมากน่าอัศจรรย์ จระเข้มันไม่ทำอะไรมันมองดูเฉย ๆ

ที่มา
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=533545

283
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:

อ้างถึง
รู้อะไร    นั้นไม่สู้      รู้กายจิต
                    รู้ความคิด   ของตน  ตั้งต้นใหม่
                   มาดูกาย     มาดูจิต   มาดูใจ
                   ทำอะไร    คิดอะไร  ให้รู้ทัน

ชอบบทนี้...เข้าถึงได้ง่ายครับ :054:

284



ที่มา
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=210315605702486&set=a.124742444259803.20230.100001721440806&type=1&theater

287
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:

อ้างถึง
ถ้าจิตของเราเป็นกุศลจิต มันก็จะดูดเอาสิ่งที่ดีๆเข้ามา

อยากให้วันนี้ดี ก็ต้องปรับจิตให้ดีก่อน :054:

288
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:

อ้างถึง
ควบคุมความรู้สึกต่ออารมณ์กระทบทั้งหลายได้เร็วขึ้น มีสติและสัมปชัญญะ

สติมาปัญญาเกิด

289
10/10/2011
16:05 น.

นครปฐมจ่อคิวท่วม น้ำท่าจีนล้น เฉพาะบางเลนจม14ตำบล
แม่น้ำท่าจีนเริ่มล้นในเขต ต.บางหลวง อ.บางเลน ที่เป็นต้นน้ำ โดยน้ำท่วม 2 ฝั่งแม่น้ำแล้ว 14 ตำบล โดยน้ำเข้าเมืองสูงกว่า 30 ซม. ด้าน อบจ.นครปฐมไฟเขียว ใช้เครื่องจักรตักทำคันดิน

ข่าวสั้นครับ
http://www.thairath.co.th/feed/9

290
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:


อ้างถึง
การปฎิบัติธรรมที่ให้เริ่มต้นจากการให้ทานนั้น ก็๋เพื่อให้เป็นพื้นฐานในการปรับจิต
ให้รู้จักคิดเสียสละ ลดละซึ่งความเห็นแก่ตัว เพื่อให้มีจิตใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟือเผื่อแผ่
มีพรหมวิหาร ๔ เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต จิตนั้นจะอ่อนโยนลง ไม่หยาบแข็งกระด้าง
เป็นการสร้างคุณธรรมให้แก่จิต แต่ก็ไม่ให้ไปยึดติดในทานนั้นจนเกินไป จนกลายเป็นทิฏฐิมานะ
และอัตตา โดยคิดว่าเราดี เราเด่นกว่าผู้อื่น " แม้นน้อยนิดด้วยปัจจัย แต่ยิ่งใหญ่ด้วยอานิสงส์
ถ้าจิตจำนงค์นั้นบริสุทธิ์ "

ทำบุญทำทานแล้วใจเป็นสุขดีครับ :002:

291
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:


อ้างถึง
"จิตที่ส่งออก เป็นสมุทัย ผลอันเกิดจากจิต
ที่ส่งออกนอกเป็นทุกข์  จิตเห็นจิตเป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ "   
การเจริญวิปัสสนาคือการเจริญสติปัฏฐานสี่ คือการบำเพ็ญภาวนากุศล การฝึกตน
ให้มีสติอยู่กับรูปและนาม คือความเป็นผู้ไม่ประมาทไม่อยู่ปราศจากสติ ผู้นั้นจึงได้ชื่อว่า
ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติเป็นมัชฌิมาคือสายกลาง ปฏิบัติถูกต้องตามพุทธพจน์
ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ชอบแล้ว..........
:054:

292
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:

อ้างถึง
หลักคือ ศีล สมาธิ ปัญญา

คือหลัก :054:

293
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:

อ้างถึง
การฝึกฝนปฏิบัติ เจริญสติเพื่อให้มีสมาธิจิตที่สงบนิ่ง นั่นคือการเจริญ
ภาวนาปฏิบัติกรรมฐานตามที่ครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอนมา ตามแนววิชากรรมฐาน
ของแต่ละสำนัก เมื่อสมาธิเกิดขึ้นแก่นักปฏิบัติแล้ว ก็ต้องรักษาทรงไว้ซึ่งสมาธินั้น
ให้มั่นคง มีความชำนาญแคล่วคล่องในการเข้าออกในอารมณ์สมาธินั้น

ต้องฝึกบ่อยๆ :054:

294
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:

อ้างถึง
...อย่ากินของร้อน (ราคะ โทสะ โมหะ)
...อย่านอนบนไฟ (โลภ โกรธ หลง)
...ให้ไปอย่างแร้ง (ไม่ยึดติด ไม่สะสม)
 ...แสวงหาบริสุทธิ์ (ของที่ชอบธรรม)

จำง่ายดีครับ :001:

295
ขอบคุณครับ
บทความนี้ จักเป็นประโยชน์แก่มวลสมาชิกและศิษย์วัดบางพระครับ

296
ขอบคุณท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

พระพุทธองค์ยังได้แบ่งมนุษย์ เป็น4เหล่า คนที่คุยไม่รู้เรื่องท่านก็เพิกเฉยเสีย

ผิดถูกประการใด ต้องขออภัย :054:

ที่มา
http://www.oknation.net/blog/bigbabe/2009/02/04/entry-2

297
ธรรมะ / ตอบ: สุจริต 3 ทุจริต 3
« เมื่อ: 04 ต.ค. 2554, 12:30:34 »
ทุจริต 3 อย่าง 

   ความหมาย -ทุจริต คือ ความประพฤติชั่ว ทางกาย วาจา และใจ ซึ่งขัดต่อประเพณีและศีลธรรม
-ทุจริต คือ พฤติกรรมก่อให้เกิดความทุข์เดือดร้อน ท่านผู้รู้รังเกียจตำหนิ เป็นกิจไม่ควรทำ 3 ประเภท และมีส่วนประกอบ 10 อย่าง คือ
1. กายทุจริต พฤติกรรมไร้มนุษยธรรม ทำโดยพังทางกาย 3 อย่าง
1.1 ทรมานเบียดเบียน หรือทำลาย ฆ่าสิ่งมีชีวิตให้ถึงตาย (ปาณาติบาต)
1.2 ประพฤติเยี่ยงโจร ลักขโมยทรัพย์สินของผู้อื่น (อทินนาทาน)
1.3 ล่วงประเวณีทางเพศ ฝืนจารีตนิยม และไม่ชอบด้วยกฎหมาย (กาเมสุมิจฉาจาร)

2. วจีทุจริต พูดจาภาษาไม่สุภาพ ไร้สมบัติผู้ดี มี 4 อย่าง
2.1 พูดเท็จ หลอกลวงทำให้คนอื่นหลงเชื่อ เลี่ยงความจริงผลาญประโยชน์ผู้อื่น
2.2 พูดคำหยาบ เยาะเย้ย เสียดสี เพื่อให้ผู้ฟังเดือดร้อน และแค้นใจ
2.3 พูดส่อเสียด ยุยงฝ่ายนี้ให้เข้าใจผิดฝ่ายโน้น แกล้งให้สองฝ่ายบาดหมางกันและกัน
2.4 พูดเพ้อเจ้อ ใช้ภาษาพล่อยๆ เหลวไหล ไม่เหมาะแก่บุคคลและสถานที่

3. มโนทุจริต อุปนิสัยใจคอป่าเถื่อน เกิดแต่จิตสำนึก 3 อย่าง
3.1 คิดโลภจัด เห็นแก่ตัว ดิ้นรนเพื่อครอบครองสิ่งของ ของผู้อื่น
3.2 พยาบาทปองร้าย จองเวรผูกเวร หมายจะผลาญชีวิต และทำลายสมบัติของผู้อื่น
3.3 มีทัศนคติผิดคลองธรรม คิดเห็นขัดแย้งต่อปราฎการณ์แท้จริง ฝืนกฎแห่งกรรม

http://www.thumma.cjb.net/

298
ธรรมะ / สุจริต 3 ทุจริต 3
« เมื่อ: 04 ต.ค. 2554, 11:00:49 »
สุจริต 3  ทุจริต 3

อาจารย์ไกรวิท วงศ์อามาตย์ สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม  

สุจริต 3

สุจริต หมายถึง การประพฤติชอบ ประพฤติดี ส่งผลให้ผู้ประพฤติประสบกับสิ่งที่ดี? เช่น ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน พูดความจริง พูดจาไพเราะ ปรารถนาดีต่อผู้อื่น เป็นต้น

ความประพฤติชอบเกิดได้ 3 ทาง คือ
1.? กายสุจริต คือ การทำความดีทางกาย เช่น แบ่งปันสิ่งของให้เพื่อน
บริจาคเงินสร้างวัด บริจาคสิ่งของแก่ผู้ที่เดือดร้อน ช่วยครูถือหนังสือ เป็นต้น
2.? วจีสุจริต คือ การทำความดีทางวาจา เช่น พูดจาไพเราะ พูดแต่ความจริง พูดยกย่องเพื่อน??? พูดให้กำลังใจผู้อื่น เป็นต้น
3.? มโนสุจริต คือ การทำความดีทางใจ เช่น ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข คิดแต่สิ่งที่ดีงามถูกต้อง เป็นต้น

ความประพฤติชอบทั้ง 3 ทางนี้ เป็นสิ่งที่ดี ควรทำ เพราะเมื่อกระทำลงไปแล้วจะทำให้ตนเองและผู้อื่นมีความสุข และส่งผลให้สังคมส่วนรวมมีความสงบสุข

ทุจริต 3

ทุจริต หมายถึง การประพฤติชั่ว ประพฤติไม่ดี ส่งผลให้ผู้ประพฤติประสบกับสิ่งที่ไม่ดี และอาจทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนได้ เช่น หยิบเงินของพ่อแม่มาใช้โดยไม่ได้บอกกล่าว
โกหกเพื่อน พูดจาหยาบคาย เป็นต้น

ความประพฤติชั่วเกิดได้ 3 ทาง คือ
1.? กายทุจริต คือ การทำความชั่วทางกาย เช่น การลักขโมย การประพฤติผิดในกาม การทำร้ายผู้อื่น การฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
2.? วจีทุจริต คือ การทำความชั่ว ความไม่ดีทางวาจา หรือการพูดไม่ดี พูดโกหกพูดหลอกลวง? พูดโป้ปดมดเท็จ เป็นต้น
3.? มโนทุจริต คือ การทำความชั่วทางใจ เช่น จิตคิดอิจฉาริษยา คิดปองร้าย? คิดโกรธเกลียด??? คิดอาฆาต พยาบาท โมโหฉุนเฉียว
เป็นต้น

ความประพฤติชั่วทั้ง 3 ทางนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ควรทำ ควรหลีกเลี่ยง เพราะเมื่อกระทำลงไปแล้วจะทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน ไม่มีความสุข และอาจส่งผลให้สังคมส่วนรวมเดือดร้อน


ที่มา
http://sassanapor4.com/th/index.php?option=com_content&view=article&id=94:-3-3-&catid=43:-2--&Itemid=99

299
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:

อ้างถึง
จิตนั้นสงบเป็นสมาธิ มีแต่ความ โปร่ง โล่งเบา เอิบอิ่ม สบายใจ
เป็นพอ :054:

300
กราบขอบพระคุณครับ :054:

301
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ฯ :054:
ที่กรุณาสั่งสอน

เมื่อวานประชุมกัน เพื่อรวบรวมปัจจัยร่วมพิมพ์หนังสือพระไตรปิฏก กับมูลนิธิพุทธโฆษณ์ วัดนาป่าพง พระอาจารย์คึกฤทธิ์
หนึ่งชุดมี 33 เล่ม เพื่อนำไปไว้ในห้องสมุดธรรมะให้ญาติโยมได้ศึกษากัน ที่ ตถตา ชลบุรี  :054:

302
กราบนมัสการท่านพรอาจารย์ฯ :054:

วานนี้ได้ฝากของและCDธรรมะไปกับ อ.ไซ ถวายท่านพระอาจารย์ฯเพื่อเข้าห้องสมุดธรรมะแล้วครับท่าน :054:

303
ขอบพระคุณครับ

เป็นเรื่องที่น่าปลงทุกวันคืน :015:

304
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:

ผมขอแค่นี้ก่อน....

อ้างถึง
ศรัทธาในการปฏิบัติเกิดขึ้นในจิตตั้งแต่รู้สึกตัวตื่นนอน พยายามรักษา
ทรงไว้ซึ่งศรัทธาแห่งกุศลจิต.....

305
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:


อ้างถึง
การปฏิบัติธรรมนั้น ไม่ใช่แต่เพียงการนึกคิดและจินตนาการ แต่มันเป็นเหตุการณ์
ที่เกิดขึ้นจริงในจิตของเรา ที่มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปทุกขณะจิต ไม่ใช่อดีตหรือว่าเป็นอนาคต
แต่มันเป็นปัจจุบันธรรมที่เรากำลังสัมผัส เรียนรู้จากของเก่าเพื่อเอามาใช้ในปัจจุบัน.....

306
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:

อ้างถึง
การปฏิบัติธรรมนั้นทำให้เราเห็นกิเลสของเรา ที่เรายังไม่เคยเห็นหรือไม่เคยสนใจ
ทำให้เรารู้เท่าทันกิเลสที่เกิดขึ้นและกิเลสที่มีอยู่แล้ว ในกายในจิตในความคิดของเรา
 ซึ่งเมื่อก่อนนั้นเราคิดว่าการปฏิบัติธรรม ทำให้เราฉลาดขึ้น.......

307
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:

เรื่องนี้สำคัญมาก...ต้องหัดฝึกบ้างครับ

อ้างถึง
เอาจิตถามจิต ว่าทำไมต้องคิดต้องปรุงแต่ง
คิดแล้วได้อะไร คิดแล้วทำได้หรือไม่ สิ่งที่คิดนั้นเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล คิดแล้วมีผลเป็นอย่างไร
มีคุณหรือไม่ อะไรเป็นต้นเหตุที่ทำให้คิด เอาจิตถามจิต หาคำตอบที่จิตของเราเอง เอาจิตถามจิต
จนเห็นที่เกิดของจิต คือเห็นต้นเหตุแห่งความคิด จึงจะเข้าใจในความคิด เข้าใจจิตและเข้าใจในธรรม
ซึ่งต้องหมั่นทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ จนเกิดเป็นความเคยชินของจิต เมื่อมีสิ่งมากระทบและทำให้เกิด
ความคิดจิตแปรเปลี่ยนไป ตามดู ตามรู้ ตามเห็นให้ทันกับสิ่งเหล่านั้นที่เกิดขึ้น  โดยใช้สติสัมปชัญญะ
เป็นตัวควบคุมดูแล  คุ้มครองจิตนั้น โดยเอาปัจจุบันธรรมทั้งหลายมาเป็นอารมณ์กัมมัฏฐานในการ
ที่จะคิดและพิจารณา เพื่อปรับเข้าหาธรรม ดั่งคำที่ว่า...รู้กาย รู้ใจ รู้จิต รู้ทันความคิด ก็เห็นธรรม.......


308
ขอบคุณครับ :002:

309
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ครับ :054:

อ้างถึง
จิตปรุงแต่งในกิเลส คือจิตเริ่มคิดก่อน คิดชอบ คิดไม่ชอบ เมื่อความคิดเกิดจึงปรุงแต่งให้เกิด
กิเลส ความโกรธ โลภ หลง เมื่อกิเลสเกิดขึ้นและเราไม่มีสติสัมปชัญญะพอจะดับกิเลส มันก็ปรุงแต่งจิต
ให้คิดวุ่นวายไปเรื่อย ไม่ผ่องใส พอจิตมันคิดปรุงแต่ง มันก็จะปรุงให้กิเลสเพิ่มขึ้นๆ จนกว่าเราจะได้สติ
มันจึงจะหยุดปรุง.......

ของผมเกิดขึ้นบ่อยมากๆ

311
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:

อ้างถึง
การปฏิบัติธรรม คือการสร้างปิติจากภายนอกเพื่อเข้าสู่ปิติตัวใน
เรามีวิธีที่จะทำได้หลายประการ มันอยู่ที่การฝึกฝนและการทดลองทางจิต  ไม่มีคำว่าผิด
ในการปฏิบัติ ถ้าเรานั้นมีความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา ว่าเราทำสิ่งนี้เพื่ออะไร
เราจะไม่หลงในอารมณ์ที่เกิดขึ้น แต่ถ้าเราทำไปโดยไม่รู้และสำคัญผิดโดยคิดว่าใช่

312
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ครับ :054:

อ้างถึง
การสอบอารมณ์ที่ดีที่สุด ก็คือการทำงาน ที่ใช้กำลังแรงงานร่วมกับผู้อื่น เพราะเราจะได้เจอผัสสะ
(สิ่งที่มากระทบ)ทั้งภายนอกและภายใน  เรา จะได้เห็นความหวั่นไหวและความสงบนิ่งของเรา
ซึ่งมันคือของจริง คือสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่  แล้วเราจะได้รู้ว่าการปฏิบัติธรรมของเรานั้น มันก้าวหน้าไปถึงไหน
 รู้ได้ เมื่อภัยมา ปัญหาไม่มา ปัญญาไม่มี  บารมีไม่เกิด ไม่ใช่นั่งคิดนั่งฝันว่ามันเป็นอย่างนั้น มันเป็นอย่างนี้
มันต้องมีของจริงมาพิสูจน์  มาทดสอบอารมณ์ของเรา.....
  แด่การทำงานที่สอนให้เข้าใจถึงการปฏิบัติธรรม 

313
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ครับ :054:

เครื่องคอมฯเป็นไปตามกฏของไตรลักษณ์...กำลังจะดับไป เลยไม่ค่อยเข้ามาอ่านธรรมะจากท่านฯครับ

314
ควรมีสติตลอดเวลาที่พูด(และคิด) และไม่ควรพูดครับ

315
5. บัณฑิตแห่งมิถิลานคร

              ในอดีตกาล พระเจ้าวิเทหราชเสวยราชย์ในกรุงมิถิลา พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นบุตรของสิริวัฒกเศรษฐีและนางสุมนาเทวี อาศัยอยู่ ณ บ้านปาจีนยวมัชฌคาม ซึ่งอยู่ทางทิศปราจีนของมิถิลานคร ท่านมหาเศรษฐีตั้งชื่อบุตรว่า มโหสถๆ มีเพื่อนเล่นพันคน ซึ่งเกิดในวันเดียวกัน เมื่ออายุ ๗ ขวบ ได้ให้สร้างศาลาเป็นที่เล่นและให้อาคันตุกะพัก ให้สร้าง สระโบกขรณีและอุทยาน มโหสถได้แสดงสติปัญญาให้เป็นที่ประจักษ์ แก่คนทั้งหลาย ดังเรื่องที่เป็นอุทาหรณ์ต่อไปนี้

              เรื่องชิ้นเนื้อ วันหนึ่งมโหสถไปที่สนามเล่น พวกเด็กเห็นเหยี่ยว ตัวหนึ่งคาบชิ้นเนื้อบินมา ก็ติดตามไปด้วยคิดว่าจะให้เหยี่ยวทิ้งเนื้อชิ้นนั้น พวกเด็กวิ่งไปข้างโน้นข้างนี้ แลดูแต่เบื้องบน จึงหกล้มเพราะสะดุดหินหรือตอไม้ ได้รับความลำบาก มโหสถพูดกับเด็กเหล่านั้นว่า กันจะให้เหยี่ยวนั้นทิ้งชิ้นเนื้อ พวกเด็กขอให้ลองดู มโหสถวิ่งไปด้วยกำลังเร็วดังลมโดยไม่แลดูเบื้องบน พอเหยียบเงาเหยี่ยวก็ตบมือร้องเสียงดังลั่น เหยี่ยวตกใจกลัวก็ทิ้งชิ้นเนื้อ มโหสถรู้ว่าเหยี่ยวทิ้งชิ้นเนื้อแล้ว แลดูเงารับชิ้นเนื้อในอากาศไม่ให้ตกถึงพื้น

              เรื่องโค บุรุษชาวปาจีนยวมัชฌคามคนหนึ่งคิดว่า เมื่อฝนตกเราจักไถนา จึงไปซื้อโคจากหมู่บ้านอื่นนำมาไว้ในบ้าน รุ่งขึ้นพาไปกินหญ้าในทุ่ง ตัวเองนั่งหลับที่โคนต้นไม้เพราะความเหน็ดเหนื่อย โจรคนหนึ่งลักพาโคหนีไป ชายเจ้าของโคตื่นขึ้น ไม่เห็นโค ก็เที่ยวตามหา เห็นโจรจึงวิ่งไล่ไปโดยเร็ว กล่าวว่า แกจะนำโคของข้าไปไหน โจรตอบว่า แกพูดอะไร โคของข้า ชาวบ้านพากันมามุงดูอย่างเนืองแน่น มโหสถอยู่ในศาลาที่ตนสร้าง ได้ยินเสียงที่คนทั้งสองวิวาทกัน จึงให้เรียกคนทั้งสองมาสอบถาม เมื่อทราบเรื่องแล้วมโหสถถามชายทั้งสองคนว่า เราจักวินิจฉัยความโดยยุติธรรม พวกท่านจักยอมรับหรือไม่ คนทั้งสองก็ยอมรับ

              มโหสถ : โคนี้พวกท่านให้ดื่มอะไร ให้กินอะไร

              โจร : ข้าพเจ้าให้โคดื่มยาคู (ข้าวต้ม) ให้กินงา แป้ง และขนมกุมมาส (ขนมสด)

              เจ้าของโค : อาหารเช่นนั้น คนจนอย่างข้าจะได้ที่ไหนมา ข้าพเจ้าให้กินหญ้าเท่านั้น

              มโหสถฟังคำของคนทั้งสองแล้ว จึงให้คนของตนนำใบประยงค์มาตำในครก ขยำด้วยน้ำให้โคดื่ม โคก็อาเจียนออกมาเป็นหญ้า มโหสถบัณฑิตพิสูจน์ให้มหาชนเห็น แล้วถามโจรว่า เจ้าเป็นโจรหรือมิใช่ โจรก็รับสารภาพ มโหสถจึงตักเตือนว่า ต่อไปอย่าทำอย่างนี้อีก ฝ่ายบริวารของมโหสถก็ทุบตีโจรด้วยมือและเท้าทำให้บอบช้ำ

              ลำดับนั้นมโหสถได้กล่าวสอนโจรว่า เจ้าจงเห็นทุกข์ของเจ้าในภพนี้เพียงนี้ แต่ในภพหน้า เจ้าจักเสวยทุกข์ใหญ่ในนรก แต่นี้ไปเจ้าจงละกรรมชั่วนี้เสีย แล้วให้เบญจศีลแก่โจรนั้น

              เรื่องท่อนไม้ วันหนึ่งพระเจ้าวิเทหราชทรงดำริจะทดลอง มโหสถบัณฑิต ทรงให้ตัดท่อนไม้ตะเคียนยาว ๑ คืบ ให้นายช่างกลึงให้เสมอกัน ส่งไปยังชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคาม ด้วยพระราชอาณัติว่า ท่อนไม้ตะเคียนนี้ ข้างไหนปลาย ข้างไหนโคน ถ้าไม่มีใครรู้จะปรับพัน กหาปณะ

              พวกชาวบ้านไม่รู้จึงไปหาสิริวัฒกเศรษฐี ๆ ให้ตามตัวมโหสถบัณฑิตมา ส่งท่อนไม้ให้มโหสถบัณฑิต แล้วแจ้งเรื่องให้ทราบ มโหสถบัณฑิตให้นำภาชนะน้ำมา แล้วเอาด้ายผูกกลางท่อนไม้ ถือปลายด้ายไว้ วางท่อนไม้บนน้ำ โคนก็จมลงก่อนเพราะหนัก ชาวบ้านก็ทูลพระราชา ได้ว่า ข้างไหนปลาย ข้างไหนโคน

              เรื่องแก้วมณี พระเจ้าวิเทหราชทรงมีแก้วมณีดวงหนึ่งมีเกลียว ๘ เกลียว ด้ายเก่าของดวงแก้วมณีนั้นขาด ไม่มีใครสามารถนำด้าย เก่าออกแล้วร้อยด้ายใหม่เข้าไป พระองค์ทรงให้ส่งข่าวไปว่า ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามจงนำด้ายเก่าออกจากดวงแก้วมณีนี้ แล้วร้อยด้ายใหม่เข้าแทน ถ้าร้อยด้ายไม่ได้จะปรับพันกหาปณะ

              ชาวบ้านไม่อาจทำได้จึงแจ้งแก่มโหสถบัณฑิต ๆ ให้นำน้ำผึ้งมาทาช่องแก้วมณีทั้ง ๒ ข้าง เอาน้ำผึ้งทาปลายด้ายใหม่ ร้อยเข้าไปในช่องหน่อยหนึ่ง วางไว้ในที่มดแดงทั้งหลายจะออก เหล่ามดแดงพากันออก จากที่อยู่ กินน้ำผึ้งที่ปากทางหนึ่ง แล้วคลานเข้าไปในช่องกัดด้ายเก่าซึ่งกีดขวางทาง ตรงไปกินน้ำผึ้งที่อีกปลายหนึ่ง แล้วคาบปลายด้ายใหม่ที่ทา น้ำผึ้งกลับมาทางเดิม เป็นอันว่าพวกมดแดงช่วยร้อยด้ายให้ใหม่จนสำเร็จ

              เรื่องชิงช้า วันหนึ่งพระราชาทรงให้ส่งข่าวไปยังชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคาม เพื่อทดลองมโหสถบัณฑิตว่า พระราชาใคร่จะทรงเล่นชิงช้า ห้อยด้วยเชือกทราย เชือกทรายเก่าในราชสกุลขาดเสียแล้ว ให้ชาวบ้านนั้นฟั่นเชือกทรายหนึ่งเส้นส่งมาถวาย ถ้าส่งมาถวายไม่ได้จะปรับพัน กหาปณะ

              พวกชาวบ้านจนปัญญาจึงแจ้งแก่มโหสถบัณฑิตๆ คิดว่า เรื่องนี้ต้องย้อนปัญหา คิดแล้วก็เรียกชาวบ้านที่ฉลาดมา ๒-๓ คน สอนให้ไปทูล พระราชาว่า ข้าแต่สมมุติเทพ ชาวบ้านไม่ทราบขนาดเชือกว่าเล็กใหญ่ เท่าไร ขอพระองค์โปรดให้ส่งท่อนเชือกทรายเก่าสักคืบหนึ่งเป็นตัวอย่าง ชาวบ้านจะได้ฟั่นเชือกตามตัวอย่างนั้น ถ้าพระราชารับสั่งว่า ไม่เคยมีเชือกทรายในพระราชฐานของเรา พวกท่านจงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช เมื่อเชือกทรายไม่มี ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามจักทำอย่างไรเล่า พวกชาวบ้านกระทำตามที่มโหสถแนะนำ พระราชาตรัสถามว่า ย้อนปัญหานี้ใครคิด เมื่อทรงทราบว่ามโหสถคิดก็ทรงยินดี
                                                                      (อรรถกถามโหสถชาดก มหานิบาต)

              สาระที่ควรกล่าวถึงมีดังนี้
              ๑. ในเรื่องโค การที่มโหสถบัณฑิตทราบว่า การดื่มน้ำใบประยงค์ ทำให้โคอาเจียน จัดเป็นสุตมยปัญญา การคิดต่อไปว่า เมื่อโคอาเจียนก็ เห็นสิ่งที่โคกินเข้าไป เมื่อรู้ว่าโคกินอะไรก็ตัดสินได้ว่าใครเป็นเจ้าของโค การคิดค้นเช่นนี้เป็นจินตามยปัญญา การแก้ปัญหานี้จึงใช้สุตมยปัญญา และจินตามยปัญญาร่วมกัน

              ๒. แสงอาทิตย์แม้จะสว่างเพียงไร ก็ไม่อาจส่องให้เห็นสิ่งที่อยู่ภายในร่างกายได้ แต่แสงเอกซเรย์อันเกิดจากสติปัญญาของมนุษย์ สามารถส่องให้เห็นสิ่งที่อยู่ภายในร่างกายได้ ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี

              ๓. โจรลักโคต้องการปกปิดความชั่วของตนจึงต้องกระทำชั่วซ้ำอีกด้วยการกล่าวมุสา แต่ก็ไม่อาจปกปิดได้ ต้องถูกลงโทษอย่างทันตาเห็นด้วยการถูกทุบตี เมื่อสิ้นชีพก็มีหวังได้รับโทษในอบายภูมิอีก ดังนั้นจึงควรระลึกไว้เสมอว่า ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า


ที่มา
http://www.dhammajak.net/book/panya/panya05.php
ยังมีต่ออีก 15 บท

316
4. หนามบ่งหนาม

            ในอดีตกาล ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งของชาวกาสี มีตระกูลหนึ่ง มีบุตรคนเดียวชื่อ สวิฏฐกะ เขาเลี้ยงดูบิดามารดาอย่างดี เมื่อมารดาล่วงลับไป บิดาได้หาหญิงสาวนางหนึ่งให้เขาเพื่อช่วยทำงานบ้าน นางได้เป็นแม่เรือนที่ดี มีความเคารพยำเกรงพ่อผัวและผัว สวิฏฐกะเห็นนางปรนนิบัติบิดาของตนอย่างดี เมื่อได้ของที่ดีๆ ก็นำมามอบให้นาง นางก็นำไปให้พ่อผัวทั้งหมด

            ต่อมา นางคิดว่า สามีของเราได้อะไรมาก็มิได้ให้แก่บิดา ให้แก่เราผู้เดียว เขาคงไม่รักบิดา เราจะทำอุบายให้ตาแก่นี้เป็นที่เกลียดชังแห่งสามีเรา แล้วให้ขับเสียจากเรือน แต่นั้นมา นางก็พยายามยั่วให้พ่อผัวโกรธ เช่น ให้น้ำเย็นหรือร้อนเกินไปบ้าง ให้อาหารเค็มจัดหรือจืดเกินไป ให้ข้าวแฉะหรือสุกๆ ดิบๆ เมื่อพ่อผัวโกรธ นางก็กล่าวคำหยาบว่า ใครจักอาจปฏิบัติตาแก่นี้ได้ แล้วทะเลาะกับพ่อผัว แกล้งบ้วนน้ำลายเลอะเทอะไปทั่ว เมื่อสามีกลับมาก็ฟ้องว่า ท่านจงดูการกระทำของบิดา เถิด เมื่อฉันกล่าวว่าอย่าทำอย่างนี้ๆ ก็โกรธ บิดาของท่านหยาบคาย ก่อเรื่องทะเลาะอยู่เรื่อย แกแก่แล้วถูกโรคภัยเบียดเบียน ไม่ช้าก็ตาย ฉันไม่อาจอยู่ร่วมเรือนกับแกได้ ใน ๒ วันนี้แกต้องตายแน่ ท่านจงนำแกไปป่าช้า ขุดหลุม แล้วเอาแกใส่หลุม เอาจอบทุบศีรษะให้ตาย ฝังให้มิดชิด แล้วกลับมาบ้าน

            สวิฏฐกะถูกภรรยารบเร้าบ่อยๆ จึงกล่าวว่า การฆ่าคนเป็นกรรมหนัก ฉันจักฆ่าบิดาได้อย่างไร นางกล่าวว่า ท่านจงบอกบิดาว่า ลูกหนี้ของพ่อมีอยู่ที่บ้านโน้น เมื่อฉันไปเพียงลำพังเขาจะไม่ให้ เมื่อพ่อล่วงลับไปแล้วเงินจักสูญ พรุ่งนี้เราจะนั่งบนยานไปด้วยกันแต่เช้า จากนั้นท่านก็พาแกไปที่ป่าช้า ขุดหลุม แล้วทำเป็นเสียงโจรปล้น ฆ่าแกฝังในหลุมแล้วอาบน้ำกลับมาเรือน สวิฏฐกะรับคำแล้วตระเตรียมยานที่จะไป

            สวิฏฐกะมีบุตรคนหนึ่งอายุ ๗ ขวบ เป็นเด็กฉลาด เขาฟังคำของมารดาจึงคิดว่า มารดาของเรามีธรรมลามก ยุบิดาเราให้ทำปิตุฆาต เราจักไม่ให้บิดาเราทำปิตุฆาต ครั้นเวลาเช้า สวิฏฐกะเทียมยานแล้วชวนบิดานั่งบนยานไปทวงหนี้ บุตรได้ขึ้นยานก่อนแล้ว สวิฏฐกะไม่อาจห้ามบุตรได้จึงพาไปด้วย เมื่อถึงป่าช้าก็ให้บิดาและบุตรพักอยู่บนยาน ตนเองลงจากยาน ถือจอบและตะกร้า ขุดหลุม ณ ที่ลับแห่งหนึ่ง บุตรได้ติดตามมาและกล่าวกับสวิฏฐกะ

            บุตร : มันนก มันเทศ มันมือเสือ และผักทอดยอด ก็มิได้มี พ่อต้องการอะไร จึงมาขุดหลุมอยู่คนเดียวกลางป่าช้าเช่นนี้เล่า

            สวิฏฐกะ : ปู่ของเจ้าทุพพลภาพมากแล้ว ถูกกองทุกข์อันเกิดจากโรคภัยหลายอย่างเบียดเบียน วันนี้พ่อจะฝังปู่เจ้าเสียในหลุม เพราะพ่อไม่ปรารถนาจะให้ปู่ของเจ้ามีชีวิตอยู่อย่างลำบาก ความตายของปู่ประเสริฐกว่าการมีชีวิตอยู่อย่างลำบาก

            บุตร : การที่ท่านคิดว่า เราจักเปลื้องทุกข์ของบิดาด้วยความตาย ชื่อว่ากระทำกรรมอันหยาบช้าและไร้ประโยชน์ (กล่าวแล้วก็ฉวยจอบจากมือสวิฏฐกะ ตั้งท่าจะขุดหลุมอีกหลุมหนึ่งในที่ใกล้ๆ กัน)

            สวิฏฐกะ : เจ้าจะขุดหลุมทำไม

            บุตร : เมื่อพ่อแก่ลงก็จักได้รับกรรมเช่นนี้ ในหลุมที่ขุดไว้นี้จากลูกบ้าง แม้ลูกเองก็จะทำตามพ่อ คือเมื่อเจริญวัยแล้ว อยู่กินกับภรรยา ก็จักฝังพ่อในหลุมบ้าง

            สวิฏฐกะ : เจ้ากล่าวกระทบกระเทียบขู่เข็ญพ่อด้วยวาจาหยาบคาย เจ้าเป็นลูกที่เกิดแต่อกพ่อ แต่ไม่มีความอนุเคราะห์เกื้อกูลแก่พ่อ

            บุตร : มิใช่ว่าฉันจะไม่มีความอนุเคราะห์เกื้อกูลแก่พ่อ แต่ฉันไม่กล้าห้ามพ่อผู้ทำบาปกรรมโดยตรงได้ จึงพูดกระทบกระเทียบเช่นนั้น ผู้ใดเบียดเบียนมารดาบิดาผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้นั้นครั้นตายไป ย่อมเข้าถึงนรกโดยไม่ต้องสงสัย ผู้ใดบำรุงเลี้ยงมารดาบิดาด้วยข้าวน้ำ ผู้นั้นครั้นตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโดยไม่ต้องสงสัย

            สวิฏฐกะ : เจ้าชื่อว่าเป็นผู้อนุเคราะห์เกื้อกูลพ่อแล้ว แต่พ่อถูกแม่ของเจ้ายุยงจึงได้กระทำกรรมที่หยาบคายเช่นนี้

            บุตร : ธรรมดาสตรีเมื่อเกิดโทสะขึ้นข่มไว้ไม่ได้เลย จึงทำชั่วบ่อยๆ ควรที่พ่อจะขับไล่แม่ของฉันไปเสีย ไม่ให้ทำชั่วเช่นนี้อีก

            สวิฏฐกะฟังคำของบุตรผู้เป็นบัณฑิตแล้วก็ดีใจ จากนั้นก็นำบิดาและบุตรขึ้นนั่งบนยานกลับบ้าน

            ฝ่ายหญิงอนาจารนั้นก็ร่าเริงยินดีว่า คนกาลกิณีออกจากเรือนเราไปแล้ว จึงเอามูลโคสดมาทาเรือน หุงข้าวปายาส แล้วคอยแลดูทางที่ผัวจะมา ครั้นเห็นมาทั้ง ๓ คนก็โกรธ จึงด่าผัวว่า เจ้าพาคนกาลกิณีกลับมาทำไม

            สวิฏฐกะนิ่ง ปลดยานแล้วจึงพูดว่า คนอนาจารเจ้าว่าอะไร แล้วทุบนางนั้นเสียเต็มที่ พลางกล่าวว่า แต่นี้ไปเจ้าอย่าเข้ามาเรือนนี้อีก แล้วจับเท้าลากออกไป ครั้นไล่ภรรยาไปแล้ว ก็อาบน้ำให้บิดากับบุตร แม้ตนเองก็อาบ แล้วบริโภคข้าวปายาสพร้อมกันทั้ง ๓ คน

            เวลาผ่านไป ๒-๓ วัน บุตรกล่าวกับสวิฏฐกะว่า แม่ฉันคงยังไม่รู้สำนึกด้วยการถูกลงโทษเพียงเท่านี้ พ่อจงแกล้งพูดว่า จะไปขอลูกสาวลุงในตระกูลโน้น เพื่อทำให้แม่ฉันเก้อ แล้วถือเอาของหอมและดอกไม้ขึ้นยานเที่ยวไปตามท้องนา แล้วกลับมาในเวลาเย็น สวิฏฐกะก็กระทำตาม

            ฝ่ายภรรยาเข้าใจว่าสวิฏฐกะจะหาหญิงอื่นมาเป็นภริยา ก็ร้อนใจ แอบไปหาบุตร อ้อนวอนว่า เจ้าจงช่วยเหลือแม่ให้ได้กลับมาอยู่ในเรือนอีก คราวนี้จะปฏิบัติพ่อและปู่ของเจ้าราวกับพระเจดีย์ทีเดียว บุตรก็พานางไปขอขมาโทษผัวและพ่อผัว แต่นั้นมานางก็ปฏิบัติผัวและพ่อผัวกับลูกเป็นอย่างดี
(อรรถกถาตักกลชาดก ทสกนิบาต)

            สาระที่ควรกล่าวถึงมีดังนี้
            ๑. พระโพธิสัตว์แม้เป็นเด็กอายุเพียง ๗ ขวบ ก็ฉลาดพอที่จะหาอุบายสั่งสอนให้บิดารู้สำนึกเลิกล้มการกระทำปิตุฆาต บุคคลที่มีความ ฉลาดมาแต่กำเนิดนี้ สำนวนไทยเรียกว่า หนามแหลมไม่มีใครเสี้ยม หมายถึง คนที่มีไหวพริบหรือปฏิภาณของตัวเองโดยไม่มีใครสอน

            ๒. สวิฏฐกะต้องการจะฆ่าบิดาด้วยเหตุซึ่งเรียกกันว่า Mercy Killing หมายถึง การฆ่าด้วยเมตตา โดยทั่วไปการฆ่ามีเหตุมาจากอกุศลมูล คือโทสะกับโมหะ จัดเป็นกรรมชั่ว การกระทำที่ประกอบด้วยเมตตาเป็นกรรมดี การกล่าวว่า ฆ่าด้วยเมตตาจึงเป็นไปไม่ได้ เพราะจิตที่จะฆ่าย่อมไม่มีเมตตา เมื่อเห็นบุคคลที่เรารักต้องทนทุกข์ทรมานโดยที่เราช่วยเหลืออะไรไม่ได้ แทนที่จะฆ่า พุทธศาสนาสอนให้ทำใจเป็นอุเบกขา โดยพิจารณาว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน เมื่อทำกรรมใดไว้ก็ต้องรับผลของกรรมนั้น

            ๓. สวิฏฐกะกล่าวว่า ความตายประเสริฐกว่าการมีชีวิตอยู่อย่างลำบาก คำพูดนี้ยังไม่ถูกต้องนัก การมีชีวิตอย่างสุขสบายหรือลำบากไม่สำคัญ ความดีสิสำคัญ ถ้ามีชีวิตอยู่อย่างลำบากแต่มีโอกาสบำเพ็ญคุณงามความดีแก่ตนหรือผู้อื่น ก็ควรมีชีวิตอยู่ต่อไป หากมีชีวิตอยู่อย่างชั่วช้าปราศจากความดี แม้จะยังมีลมหายใจอยู่ แต่ก็เหมือนกับคนตายแล้ว

            ๔. การฆ่าบิดามารดาเป็นกรรมหนัก ผู้กระทำต้องไปนรกแน่นอน แก้ไขไม่ได้เลย อรรถกถาธรรมบทกล่าวถึงประวัติพระโมคคัลลานะว่า เคยฆ่าบิดามารดา ต้องหมกไหม้ในนรกเป็นเวลานานหลายแสนปี เมื่อพ้นจากนรกมาเกิดเป็นมนุษย์ ด้วยเศษของกรรมที่ยังเหลือ จึงถูกทุบจนตายถึง ๑๐๐ ชาติ แม้ในชาติสุดท้ายเป็นพระอัครสาวกผู้เลิศด้วยฤทธิ์ ก็ยังถูกโจรทุบจนแหลกทั้งตัว เพราะเมื่อกรรมให้ผล อำนาจฤทธิ์ก็ช่วยไม่ได้ ดังนั้น การฆ่าบิดามารดาจึงบาปหนักที่สุด เป็นของต้องห้ามสำหรับมนุษย์ทุกเชื้อชาติศาสนา สำหรับชาวพุทธแม้เพียงแค่คิดก็ไม่ควร


ที่มา
http://www.dhammajak.net/book/panya/panya04.php

317
3. ขว้างงูไม่พ้นคอ

               ในอดีตกาล พระราชาจุลนีครองราชย์ในอุตรปัญจาลนคร วันหนึ่ง บุรุษคนหนึ่งถือข้าวสาร ๑ ทะนาน ข้าวสุก ๑ ห่อและกหาปณะ ๑ พัน ว่ายข้ามแม่น้ำ เมื่อถึงกลางแม่น้ำก็อ่อนกำลัง ไม่อาจจะว่ายข้ามไปได้ จึงร้องตะโกนว่า ข้าพเจ้ามีข้าวสาร ๑ ทะนาน ข้าวสุก ๑ ห่อ และกหาปณะ ๑ พัน ผู้ใดช่วยพาข้าพเจ้าไปถึงฝั่งได้ ข้าพเจ้าจะมอบสิ่งที่ชอบใจที่มีอยู่ให้ผู้นั้น

               ลำดับนั้น มีบุรุษผู้แข็งแรงคนหนึ่ง นุ่งผ้าให้มั่นคง กระโดดลงแม่น้ำ ว่ายไปโดยเร็ว เมื่อถึงตัวก็คว้าแขนของบุรุษผู้หมดแรงพาว่ายข้ามฟาก จากนั้นก็ทวงรางวัล ก็ได้รับคำตอบว่า ท่านจงถือเอาข้าวสาร ๑ ทะนาน หรือข้าวสุก ๑ ห่อ

               บุรุษผู้พาข้ามฟากกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่คิดถึงชีวิตพาท่านข้ามฟาก ข้าพเจ้าไม่ต้องการของ ๒ สิ่งนั้น ท่านจงให้กหาปณะแก่ข้าพเจ้า

               บุรุษผู้จะให้ของที่ชอบใจกล่าวว่า ข้าพเจ้าจะให้สิ่งที่ชอบใจจากของ ๓ อย่าง บัดนี้ข้าพเจ้าก็ให้สิ่งที่ข้าพเจ้าชอบใจแก่ท่าน ท่านอยากได้ก็จงถือเอา

               บุรุษผู้พาข้ามฟากจึงถามคนที่ยืนอยู่ใกล้ๆ ก็ได้รับคำตอบว่า ท่านจงรับเอาเถิด บุรุษผู้พาข้ามฟากไม่ยอมรับจึงพาคู่กรณีไปศาล เมื่อผู้พิพากษาฟังเรื่องที่เกิดขึ้นก็ตัดสินให้ยอมรับเอาข้าวสาร ๑ ทะนานหรือข้าวสุก ๑ ห่อ บุรุษผู้พาข้ามฟากไม่พอใจคำตัดสินจึงกราบทูลพระราชาจุลนี ๆ ก็ทรงตัดสินเหมือนเดิม บุรุษผู้พาข้ามฟากจึงพูดขึ้นหน้าพระที่นั่งว่า พระองค์ทรงทำข้าพระองค์ผู้สละชีวิตลงสู่แม่น้ำให้มีโทษ

               ขณะนั้น พระนางสลากเทวีผู้เป็นพระชนนีแห่งพระราชาจุลนี ประทับนั่งอยู่ใกล้ ได้ตรัสเตือนพระราชาว่าพระองค์ทรงวินิจฉัยผิด พระเจ้าจุลนีจึงทูลพระราชมารดาให้ทรงวินิจฉัยคดีเสียใหม่ พระนางสลากเทวีจึงรับสั่งกับบุรุษผู้จะให้ของที่ชอบใจว่า จงวางของ ๓ อย่างไว้บนพื้น แล้วตรัสว่า เจ้าจงไปเสีย ถือเอาของที่ชอบใจไปด้วย

               บุรุษนั้นถือถุงกหาปณะ ๑ พันแล้วเดินไป พอเดินไปได้หน่อยหนึ่ง พระนางก็ตรัสว่า เจ้าชอบกหาปณะ ๑ พันหรือ บุรุษผู้นั้นก็ยอมรับ พระ นางตรัสว่า เจ้าพูดกับบุรุษผู้พาข้ามฟากว่า จะให้ของที่ชอบใจจากของ ๓ อย่างนี้แก่เขาหรือไม่ได้พูด บุรุษผู้นั้นก็ยอมรับ พระนางจึงรับสั่งว่า ถ้าอย่างนั้นเจ้าจงให้กหาปณะ ๑ พันแก่บุรุษที่พาเจ้าข้ามฟาก บุรุษผู้นั้น ก็จำใจมอบกหาปณะ ๑ พันให้คู่กรณีด้วยน้ำตานองหน้า
(อรรถกถามโหสถชาดก มหานิบาต)

สาระที่ควรกล่าวถึงมีดังนี้
               ๑. บุรุษผู้จะให้ของที่ชอบใจเป็นคนเจ้าเล่ห์ ใช้ปัญญาคิดอุบายเพื่อเอาเปรียบคนอื่น ในที่สุดก็ถูกกระทำตอบแทนด้วยอุบายอย่างเดียวกันจากผู้ที่มีปัญญาเหนือกว่า ลักษณะเช่นนี้สำนวนไทยเรียกว่า ขว้างงูไม่พ้นคอ หมายถึงทำอะไรแล้วผลร้ายกลับสู่ตัวเอง

               ๒. วิธีที่จะแก้อุบายของบุรุษผู้จะให้ของที่ชอบใจมีแต่การย้อนเกล็ด พระนางสลากเทวีจึงรับสั่งให้บุรุษเจ้าเล่ห์เลือกของที่ชอบใจ ถ้าเลือกกหาปณะก็แสดงว่าเขาชอบกหาปณะ หากเลือกสิ่งอื่นพระนางก็จะปล่อยให้เขาไปพร้อมด้วยสิ่งนั้น แล้วมอบกหาปณะให้แก่บุรุษผู้พาข้ามฟาก

               ๓. ในเรื่องนี้บุรุษเจ้าเล่ห์ได้รับผลจากการกระทำของตนทันที ถ้าในเวลานั้นพระนางสลากเทวีไม่ได้ประทับอยู่ในที่นั้นด้วย เขาก็จะรอดพ้นไปได้ชั่วคราว การให้ผลของกรรมจึงขึ้นกับองค์ประกอบหลายอย่างเช่น ความหนักเบาของกรรม บุคคล เวลา และสถานที่

               ๔. การทำดีแล้วไม่ได้ผลดี (ด้านวัตถุ) ในทันที เพราะว่าทำดียังไม่ถึงขนาดที่จะให้ผลทันที หรือว่าบุคคล เวลา สถานที่ ไม่อำนวย อย่างไรก็ตามเมื่อทำดีหรือชั่ว ย่อมได้รับผลดีหรือชั่วทางใจในทันที กล่าวคือ ถ้าทำดี ใจก็ผ่องใสทันที ถ้าทำชั่ว ใจก็เศร้าหมองทันที


ขอบคุณที่มา
http://www.dhammajak.net/book/panya/panya03.php

318
2. เกลือจิ้มเกลือ

            ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เป็นอำมาตย์ผู้วินิจฉัยคดีในศาลกรุงพาราณสี ในครั้งนั้นพ่อค้าบ้านนอกฝากผาล ๕๐๐ ไว้กับพ่อค้าชาวกรุง ซึ่งเป็นมิตรกัน พ่อค้าชาวกรุงขายผาลเหล่านั้นเก็บเงินไว้ แล้วเอาขี้หนูมาโรยไว้แทน ครั้นพ่อค้าบ้านนอกมาขอผาลคืน พ่อค้าชาวกรุงชี้ให้ดูขี้หนูแล้วกล่าวว่า ผาลถูกหนูกินหมดแล้ว พ่อค้าบ้านนอกกล่าวว่า ช่างเถิด เมื่อหนูกินแล้วจะทำอย่างไรได้ จากนั้นก็พาบุตรของพ่อค้าชาวกรุงไปอาบน้ำ แล้วนำเด็กไปไว้ที่เรือนของสหายผู้หนึ่ง กำชับว่า อย่าให้เด็กแก่ใครเป็นอันขาด ส่วนตนเองก็อาบน้ำแล้วกลับไปเรือนพ่อค้าชาวกรุง

            พ่อค้าชาวกรุง : ลูกของเราไปไหน

            พ่อค้าบ้านนอก : ขณะที่เราวางบุตรของท่านไว้ริมฝั่งแล้วดำลงไปในน้ำ เหยี่ยวตัวหนึ่งบินมาแล้วโฉบบุตรของท่านไปสู่อากาศ แม้เราพยายามปรบมือร้องก็ไม่สามารถให้มันปล่อยได้

            พ่อค้าชาวกรุง : ท่านพูดโกหก เหยี่ยวคงไม่สามารถโฉบเอาเด็กไปได้

            พ่อค้าบ้านนอก : สหายจะว่าถูกก็ได้ จะว่าไม่ถูกก็ได้ แต่เราจะทำอย่างไรได้ เหยี่ยวเอาบุตรของท่านไปจริงๆ

            พ่อค้าชาวกรุง : เจ้าโจรใจร้ายฆ่าคน เราจะไปศาลให้พิพากษา ลงโทษท่าน

            พ่อค้าบ้านนอก : ทำตามความพอใจของท่านเถิด

            พ่อค้าทั้งสองได้ไปที่ศาล

            พ่อค้าชาวกรุงกล่าวกับพระโพธิสัตว์ : พ่อค้าผู้นี้พาบุตรของข้าพเจ้าไปอาบน้ำ เมื่อข้าพเจ้าถามว่าบุตรของเราไปไหน เขาบอกว่าเหยี่ยวพาเอาไป ขอท่านได้โปรดวินิจฉัยคดีของข้าพเจ้าเถิด

            พระโพธิสัตว์ถามพ่อค้าบ้านนอก : ท่านพูดจริงหรือ

            พ่อค้าบ้านนอก : ข้าพเจ้าพาเด็กนั้นไปจริง

            พระโพธิสัตว์ : ในโลกนี้ธรรมดาเหยี่ยวจะนำเด็กไปได้หรือ

            พ่อค้าบ้านนอก : ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า เหยี่ยวไม่สามารถพาเด็กไปในอากาศได้ แต่หนูกินผาลเหล็กได้หรือ

            พระโพธิสัตว์ : นี่เรื่องอะไรกัน

            พ่อค้าบ้านนอก : ข้าพเจ้าฝากผาลไว้ ๕๐๐ ที่เรือนของพ่อค้านี้ เขาบอกว่าผาลถูกหนูกินแล้วชี้ให้ดูขี้หนูว่า นี้คือขี้ของหนูที่กินผาล ถ้าหนูกินผาลได้ เหยี่ยวก็จะนำเด็กไปได้ ถ้าหนูกินผาลไม่ได้ เหยี่ยวก็จะนำเด็กไปไม่ได้ ท่านจงทราบเถิดว่า ผาลเหล่านั้นถูกหนูกินจริงหรือไม่ ขอได้โปรดพิพากษาคดีของข้าพเจ้าเถิด

            พระโพธิสัตว์ทราบว่า พ่อค้าบ้านนอกนี้คงจะคิดอุบายเอาชนะคนโกง จึงกล่าวว่า ท่านได้คิดอุบายตอบอุบายดีแล้ว ถ้าหนูกินผาลได้ เหตุไฉนเหยี่ยวจะเฉี่ยวเด็กไปไม่ได้เล่า ถ้าท่านไม่ให้ผาลแก่เขา เขาก็จะไม่นำบุตรมาให้แก่ท่าน

            ในที่สุด พ่อค้าบ้านนอกก็ได้ผาลคืนมาด้วยปัญญาของตน ส่วนพ่อค้าชาวกรุงก็ได้บุตรคืน
                                                            (อรรถกถากูฏวาณิชชาดก ทุกนิบาต)

            มีนิทานอินเดียเรื่องหนึ่งเล่าว่า บิดาของชายคนหนึ่งตายไปพราหมณ์ซึ่งเป็นอริกับผู้ตายกล่าวโพนทนาว่า ผู้ตายนั้นทำบาปต้องไปเกิดเป็นลา ถึงคราวทำพิธีศราทธ์ (สาด คือพิธีทำบุญให้ผู้ตายโดยเชิญพราหมณ์มากินเลี้ยง ต้องจัดหาผ้าและไทยธรรมต่างๆ ทำบุญให้แก่พราหมณ์ด้วย) ลูกของผู้ตายเชิญพราหมณ์มากินบุญ เมื่อพราหมณ์มาถึง แทนที่จะเห็นของกินมีนมเนย กลับเห็นแต่กองหญ้า

            ลูกของผู้ตายกล่าวว่า ท่านว่าพ่อของข้าพเจ้าตายไปเกิดเป็นลา ถ้าจะทำบุญอุทิศอาหารพวกนมเนยไปก็ไม่มีประโยชน์ ลาคงกินนมเนยไม่เป็น ข้าพเจ้าจึงจัดหญ้าอันเป็นอาหารชอบของลาแทน ขอท่านโปรดกินหญ้าตามสบายเถิด เพื่อจะได้เป็นเนื้อนาบุญอุทิศไปถึงบิดาข้าพเจ้าได้
                                                           (เล่าเรื่องในไตรภูมิ โดย เสฐียรโกเศศ)

            สาระที่ควรกล่าวถึงมีดังนี้
            ๑. พ่อค้าบ้านนอกเป็นบุคคลประเภท น้ำนิ่งไหลลึก หมายถึงคนที่ดูหงิมๆ แต่มีความคิดลึกซึ้ง เมื่อขอผาลคืนไม่ได้ ก็ฉลาดพอที่จะ ไม่เอะอะโวยวาย รู้จักเก็บเอาน้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก แม้ไม่พอใจก็ไม่ แสดงให้ปรากฏออกมา กลับแสดงท่าทีว่าไม่ถือสาหาความ พ่อค้าชาวกรุงจึงตายใจไม่ระวังตัว พอได้โอกาสก็พาบุตรของพ่อค้าชาวกรุงไปซ่อน เพื่อใช้เป็นเครื่องต่อรองให้พ่อค้าชาวกรุงคืนผาลให้ เป็นการแก้เผ็ดอย่างสาสม สำนวนไทยเรียกว่า เกลือจิ้มเกลือ

            ๒. ถ้าพ่อค้าบ้านนอกไม่ทำเฉยไว้ แสดงความไม่พอใจให้ปรากฏออกมา พ่อค้าชาวกรุงก็จะระวังตัว การแก้เผ็ดด้วยอุบายก็จะกระทำได้ยาก หรือไม่ก็ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกัน เรื่องก็จะบานปลายออกไป ความเสียหายก็จะมากขึ้น

            ๓. คำพูดของพราหมณ์เปรียบเหมือนหอกซึ่งไปทิ่มแทงลูกผู้ตายให้เจ็บใจ แต่เขาก็อดกลั้นไว้ เมื่อได้โอกาสอันควร ลูกผู้ตายก็ใช้ปัญญาทำการแก้เผ็ดอย่างสาสม โดยไม่ต้องใช้ความรุนแรง ไม่ต้องใช้วาจาหยาบคาย ใช้คำพูดสุภาพแต่ฟังแล้วเจ็บแสบ เป็นการด่าอย่างผู้ดี และเป็นการส่งหอกนั้นกลับไปทิ่มแทงพราหมณ์ให้รู้สำนึกเสียบ้าง

 
ขอบคุณที่มา
http://www.dhammajak.net/book/panya/panya02.php

319
1. สารพันปัญญา
ปัญญา


           เมื่อมองทางด้านวัตถุ ประเทศชาติกำลังเจริญก้าวหน้ามาก ถ้าต่างชาติมีของแปลกใหม่ เช่น รถยนต์ ในไม่ช้าบ้านเราก็มีบ้าง แต่มีโดยการนำเข้า ไม่ได้ผลิตเอง หรือผลิตภายใต้เทคโนโลยี (ปัญญา) ของต่างชาติ เพราะเรายังขาดแคลนปัญญา ต้องสั่งซื้อปัญญาจากต่างประเทศ เสียเงินปีละมากมาย (และปัญญานั้นก็อาจล้าสมัยแล้ว) จึงต้องรีบพัฒนาการศึกษา หมั่นฝึกฝนอบรมปัญญา แล้วบ้านเมืองก็จะเจริญก้าวหน้าอย่างแท้จริง ไม่ใช่เจริญแต่เพียงเปลือกนอก ถ้าเราไม่เห็นคุณค่าของการศึกษา ไม่ฝึกฝนอบรมปัญญา ในไม่ช้าแม้แต่ปัญญาในทางธรรมก็คงต้องนำเข้าแทนส่งออกเป็นแน่

           ปัญญา หมายถึง ความฉลาด ความรอบรู้ ความเข้าใจชัดในสิ่งต่างๆ ผู้มีปัญญาย่อมรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จักเหตุผล คือ รู้จักสืบสวนจากผลไปหาเหตุ และจากเหตุไปหาผล รู้จักฐานะ (เช่น ความรู้ อายุ ตระกูล ทรัพย์) ของตนและผู้อื่น สามารถประพฤติตนให้เข้ากับสังคมได้ รู้จักประมาณ คือทำให้พอดี ไม่ขาด ไม่เกิน รู้จักกาลเทศะ ฯลฯ

           ในมิลินทปัญหา พระนาคเสนได้กล่าวถึงลักษณะของปัญญา ๒ ประการ คือ

           ๑. ปัญญามีการตัดเป็นลักษณะ ข้อนี้มีอุปมาว่า ในการเกี่ยวข้าว ชาวนาจะจับกอข้าวด้วยมือข้างหนึ่ง จับเคียวด้วยมืออีกข้าง แล้วตัดให้ขาดด้วยเคียวที่ถือไว้ ฉันใด ในการเจริญภาวนา ผู้บำเพ็ญเพียรควบคุมใจไว้ด้วยโยนิโสมนสิการ แล้วตัดกิเลสด้วยปัญญา

           ๒. ปัญญามีการทำให้สว่างเป็นลักษณะ ข้อนี้มีอุปมาว่า เมื่อบุคคลส่องประทีปเข้าไปในที่มืด แสงประทีปย่อมกำจัดความมืด ทำให้เกิดแสงสว่าง รูปทั้งหลายย่อมปรากฏชัด ฉันใด เมื่อปัญญาเกิดขึ้น ก็กำจัดความมืด คืออวิชชา ทำให้เกิดแสงสว่าง คือวิชชา ทำให้เกิดแสงสว่าง คือญาณ ทำอริยสัจทั้งหลายให้ปรากฏขึ้น ฉันนั้น

           ในวิสุทธิมรรค ปัญญานิเทศ กล่าวถึงปัญญา ๒ คือ

           ๑. โลกิยปัญญา ปัญญาของปุถุชนซึ่งยังวนอยู่ในโลก

           ๒. โลกุตตรปัญญา ปัญญาของพระอริยบุคคลผู้ข้ามพ้นจากโลก

           ในสังคีติสูตร (บาลีเล่ม ๑๑ ข้อ ๒๒๘ ย่อว่า ๑๑/๒๒๘) กล่าวถึง ปัญญา ๓ คือ

           ๑. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิด (เองไม่ได้ฟังมาจากคนอื่น)

           ๒. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟัง (การอ่าน หรือการศึกษาเล่าเรียน)

           ๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการอบรมจิตใจ (ละกิเลสได้ด้วยปัญญาชนิดนี้)

           ในสังคีติสูตร กล่าวถึงปัญญา ๓ อีกหมวดหนึ่ง คือ

           ๑. อายโกศล รอบรู้ในความเจริญ (รู้เหตุที่ทำให้อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ)

           ๒. อปายโกศล รอบรู้ในความเสื่อม (รู้เหตุที่ทำให้กุศลธรรมเสื่อม อกุศลธรรมเจริญ)

           ๓. อุปายโกศล รอบรู้ในความเจริญและความเสื่อม

           ในอวกุชชิตสูตร (๒๐/๔๖๙) กล่าวถึงบุคคล ๓ จำพวก คือ

           ๑. ผู้มีปัญญาดังหม้อคว่ำ ได้แก่ ผู้ที่รับฟังหรือเรียนอะไรแล้วก็ไม่เข้าใจ เปรียบเหมือนหม้อคว่ำซึ่งไม่อาจรองรับน้ำที่เทลงมาได้เลย

           ๒. ผู้มีปัญญาดังหน้าตัก ได้แก่ ผู้ที่รับฟังหรือเรียนอะไรแล้วพอเข้าใจได้ แต่หลังจากนั้นก็ลืมหมด เปรียบเหมือนผู้ที่กำลังนั่งเคี้ยวกินขนมต่างๆ ซึ่งวางอยู่บนหน้าตัก แต่เมื่อเขาเผลอตัวลุกขึ้น ขนมก็หล่นลงพื้นหมด

           ๓. ผู้มีปัญญามาก ได้แก่ ผู้ที่รับฟังหรือเรียนอะไรแล้วเข้าใจและจำได้ไม่ลืม เปรียบเหมือนหม้อหงายซึ่งรองรับน้ำที่เทลงมาได้หมด

           ในสังคีติสูตร กล่าวถึงปัญญา ๔ คือ

           ๑. ทุกขญาณ ความรู้ในทุกข์

           ๒. ทุกขสมุทยญาณ ความรู้ในเหตุให้ทุกข์เกิด

           ๓. ทุกขนิโรธญาณ ความรู้ในความดับทุกข์

           ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ ความรู้ในการปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

           พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในธรรมบท (๒๕/๓๐) ว่า ปัญญาย่อมเกิดจากการประกอบความเพียร (ไม่ใช่เกิดเองโดยบังเอิญ) ปัญญาที่เกิดจากการประกอบความเพียรเรียกว่า โยคปัญญา แม้เชาวน์ หรือไหวพริบที่มีติดตัวมาแต่กำเนิดซึ่งเรียกว่า สชาติกปัญญา ก็คือปัญญาบารมีที่เกิดจากการอบรมในชาติก่อน

           หลักธรรมสำหรับอบรมปัญญาให้เจริญขึ้น เรียกว่า ปัญญาวุฒิธรรม (๒๑/๒๔๘) มี ๔ คือ

           ๑. คบสัตบุรุษ คือ หาแหล่งวิชาหรือครูที่มีความรู้และคุณธรรมดี

           ๒. ฟังสัทธรรม คือ ใส่ใจเล่าเรียนโดยฟังจากครูหรืออ่านจากตำรา

           ๓. คิดให้แยบคาย คือ พิจารณาให้ทราบถึงเหตุและผล คุณและโทษ ของสิ่งที่เรียนรู้

           ๔. นำสิ่งที่ได้ไตร่ตรองแล้วมาปฏิบัติให้ถูกต้องตามความมุ่งหมาย

           ปัญญาหรือความรอบรู้เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากราวกับแก้วสารพัดนึกประจำชีวิต เพราะเมื่อมีอุปสรรคหรือปัญหาเกิดขึ้น ผู้มีปัญญาย่อมวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำว่า สาเหตุเกิดจากอะไร เมื่อทราบสาเหตุแล้วก็ใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังเรื่องราวต่างๆ ที่นำมา สาธก ดังต่อไปนี้


ขอบคุณที่มา
http://www.dhammajak.net/book/panya/
http://www.dhammajak.net/book/panya/panya01.php

320
เป็นหนังสือธรรมะที่อ่านง่ายย่อยง่าย อ่านสนุกด้วยครับ เลยนำมาให้ชาวเวปบางพระได้อ่านกันครับ
ในหนังสือมีทั้งหมด 20 ตอน จะทะยอยลงจนครบให้อ่านกันนะครับ

ขอบคุณที่มา
http://www.dhammajak.net/book/panya/

สารพันปัญญา (ธมฺมวฑฺโฒ ภิกฺขุ)

คำนำ

           พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีเหตุผล ไม่บังคับให้เชื่อถืออย่างงมงาย แต่สอนให้ใช้ปัญญาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต เมื่อมีความทุกข์เกิดขึ้นก็ใช้ปัญญาค้นคว้าหาสาเหตุ แล้วพิจารณาหาทางแก้ไขที่ถูกต้อง ความทุกข์ก็ลดน้อยลง ชีวิตก็มีความสุขเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้น ชีวิตของผู้ที่เป็นอยู่ด้วยปัญญาจึงเป็นชีวิตที่ประเสริฐ

เนื้อหาของหนังสือนี้ว่าด้วยการใช้ สารพันปัญญา แก้ไขปัญหาต่างๆ จนสำเร็จลุล่วงด้วยดี นำมาเสนอเพื่อให้ท่านผู้อ่านเห็นคุณค่าของปัญญา อันเปรียบได้กับแก้วสารพัดนึกประจำชีวิต

ขออนุโมทนาท่านที่บริจาคทรัพย์ ท่านเจ้าของบทความ คติหรือข้อคิดที่ปรากฏในหนังสือนี้ รวมทั้งท่านที่ให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำต่างๆ ทำให้การพิมพ์หนังสือนี้สำเร็จด้วยดี ท่านเหล่านี้ย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของธรรมวิทยาทานนี้ด้วย หากมีความผิดพลาดใดๆ ในหนังสือนี้ ขอท่านผู้รู้ช่วยแนะนำแก้ไขหรือท้วงติงด้วย

ขออำนาจคุณพระรัตนตรัยและอำนาจแห่งธรรมวิทยาทานนี้ จงเป็นพลวปัจจัยให้สรรพสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีปัญญา รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จักผิดชอบชั่วดี นำปัญญามาเป็นประทีปส่องทางชีวิต แล้วก้าวเดินไปในทางที่ควรเดิน เว้นทางที่ควรเว้น บรรลุจุดหมายอันประเสริฐแห่งชีวิต่ของตน โดยทั่วหน้ากันเทอญ


ธมฺมวฑฺโฒ ภิกฺขุ
๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕

.........................

321
ธรรมะ / ตอบ: พระอภิธรรม
« เมื่อ: 14 ก.ย. 2554, 12:59:00 »
จาก..........ประวัติการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศไทย


เนื่องจากพระอภิธรรมเป็นธรรมชั้นสูง ถ้าเปรียบได้กับการเรียนแพทย์ศาสตร์ ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการเรียนเตรียมแพทย์ศาสตร์ แล้วเรียนปรีคลีนิค ได้แก่เรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยาซึ่งเป็นวิชาพื้นฐานของวิชาแพทย์เสียก่อน ก่อนที่จะไปศึกษาเรื่องโรคภัย ไข้ เจ็บในตัวคนต่อไป นอกจากนั้นการเรียนพระอภิธรรมซึ่งเป็นปรมัตถธรรมมีการแสดงเรื่อง จิต เจตสิก รูป และนิพพานเท่านั้น เป็นการศึกษาชีวิตคนที่ลึกซึ้งมาก บุคคลผู้จะศึกษาต้องมีศรัทธาสนใจที่จะรู้ว่าชีวิตคืออะไรปัญหาของชีวิตมีอะไร ตายแล้วไปไหน และการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏเป็นความทุกข์ของชีวิต และจักแก้ปัญหาของชีวิตได้อย่างไร ฯลฯ จำนวนนักศึกษาพระอภิธรรมจึงมีจำนวนน้อย ก็เช่นเดียวกัน ในมหาวิทยาลัยย่อมมีนักเรียนแพทย์จำนวนน้อยกว่านักศึกษาวิชาอื่นๆ ทั้งสิ้น

 ผลการศึกษาพระอภิธรรมในปีแรกๆ นั้นมีจำนวนน้อยมาก เพราะยังไม่มีการวัดผลของการศึกษาที่ดี ต่อมา “อภิธรรมมหาวิทยาลัย” ได้จัดให้มีการสอบขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ มีผู้จบหลักสูตรการศึกษาพระอภิธรรมเป็น “ อภิธรรมบัณฑิต ” เป็นรุ่นแรกของการศึกษา เป็นพระภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกาต่างๆ เท่าที่มีการศึกษาและการสอนพระอภิธรรมเป็นเวลา ๖๐ ปี ที่แล้วมานี้ มีนักศึกษาที่สอบไล่สำเร็จอภิธรรมตรี โท เอก ประมาณกว่าหนึ่งพันคน และที่ได้ “อภิธรรมบัณฑิต” ประมาณ ๒๐ ท่าน แม้ปัจจุบันนี้ ก็มีนักศึกษาพระอภิธรรมในกรุงเทพฯ ไม่กี่ร้อยคน รวมกับต่างจังหวัดด้วยแล้วมีประมาณพันกว่าคน สำหรับครูอาจารย์ที่สอนพระอภิธรรมนั้นก็มีเป็นจำนวนไม่ถึงร้อย เนื่องจากเป็นการศึกษาเกี่ยวกับจิต จึงมีคนสนใจน้อยในยุคปัจจุบัน....

 แม้พระอภิธรรมจะเป็นเรื่องที่ศึกษาได้ยาก หากให้ความสนใจ และเห็นถึงประโยชน์ในการเข้าถึงสัจธรรมชีวิต ตามหลักพระพุทธศาสนา ทางมูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ นำโดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร บุตรสาวของท่านพระอาจารย์บุญมี เมธางกูร ได้ดำเนินการนำพระอภิธรรมทั้ง ๙ ปริจเฉท เข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้สนใจใฝ่ธรรมทั้งหลาย ได้เข้ามากอบโกยผลประโยชน์ทางปัญญา เพื่อแสวงหาสัจธรรมให้แก่ชีวิต อันจะนำความผาสุกสวัสดีมาให้ ทั้งในภพนี้และภพหน้า ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย จงดลบันดาลให้ทุกท่าน ประสบแต่ความสุข ความเจริญ เป็นผู้เปี่ยมล้นไปด้วยปัญญา มากด้วยบุญบารมี ตราบสิ้นอายุขัย ด้วยเถิด...

ที่มาและศึกษาได้ที่นี่

http://www.abhidhamonline.org/aphi/p0/start.html

322
ผีอำ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ผีอำ คือ คำเอ่ยของคนที่คิดว่าถูกผีหลอกในขณะนอนครึ่งหลับครึ่งตื่น มีอาการที่รู้สึกแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก หรือขยับตัวไม่ได้ในขณะนอน หรือนั่งเหมือนมีคนมานั่งทับบนตัว ว่ากันว่า เกิดจากการนั่ง หรือนอนผิดท่า ทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาท ทำให้ขยับตัวไม่ได้
ทางแพทย์อธิบายว่าเกิดจากการ ที่สมองตื่นไม่พร้อมกัน
สมองเรานั้นมีบริเวณต่างๆ ที่ทำหน้าที่ต่างๆ บริเวณด้านหน้าจะทำหน้าที่สั่งให้เคลื่อนไหว ส่วนรับความรู้สึกนี่จะเป็นแกนกลาง กับด้านค่อนมาหลังหน่อย
เวลาเราตื่นสมองจะมีกระแสไฟฟ้าเป็นตัวทำงาน เวลาเราหลับกระแสเหล่านี้ก็ลดลง (เข้าสู่ระยะพัก) ดังนั้นเมื่อเราตื่น ถ้าบริเวณรับความรู้ตัวตื่น แต่บริเวณสั่งการเคลื่อนไหวยังไม่ตื่น ก็เป็นอาการผีอำ แต่ก็มี โรคบางโรคที่มีลักษณะเหมือนกันนี้เรียกว่า Lockin Syndrome จะรู้ตัวแต่ขยับอะไรไม่ได้ ได้แต่กลอกลูกตาไปมา
[แก้]อาการของผู้ที่ถูกผีอำ

ว่ากันว่า เวลาที่เราใช้หลับนอนในตอนกลางคืนนั้น ระยะเวลาครึ่งแรกของกลางคืน คือระยะตั้งแต่หัวค่ำถึง 2 ยาม เป็นเวลาที่นอนหลับสนิทแล้วจะได้พลังงานและเป็นสุขมากกว่าระยะเวลานอนในครึ่งหลังของเวลากลางคืน
เวลานอนตั้งแต่ 2 ยามล่วงไปแล้ว จะนอนหลับไม่ค่อยสนิทนัก คนเราจึงมักจะฝันในระยะครึ่งหลัง ของเวลากลางคืน และส่วนมากจะฝันได้มากในเวลาก่อนใกล้รุ่ง ความฝันมักเกิดขึ้นเมื่อเวลานอนหลับไม่ค่อยสนิท ซึ่งจะเป็นการแสดงออกมาของจิตใจ ความฝันจะช่วยให้ได้สิ่งซึ่งต้องการที่เวลาตื่นอยู่ไม่อาจได้ ความฝันจะช่วยให้ เราเป็นผู้มีอำนาจ มีเงิน บางทีความฝันก็แสดงออกมาถึงจิตใจและอารมณ์ที่มีอยู่ เช่น ความวิตกหวาดกลัว ความไม่พึงพอใจ ความเศร้าสลด ฯลฯ ก็จะมีฝันร้าย
ถ้านอนฝันแล้วออกเสียงมาด้วยก็เรียกกัน ละเมอ มีการนอนฝันที่ครึ่งหลับครึ่งตื่น อีกอย่างหนึ่งเรียกกันว่า ผีอำ คงมีคนเคยถูกผีอำมาบ้าง เวลาที่นอนอใกล้จะหลับ หรือหลับแล้วกำลังจะตื่น เป็นตอนที่รู้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้าง เกิดความฝันลางเลือน เหมือนมีของมาทับอก หายใจไม่ออก ชาไปทั้งตัวรู้สึกตัวว่าตัวลืมตาเห็นอะไรๆอยู่ แต่กระดุกกระดิกตัวไม่ได้ ร้องเรียกให้ใครช่วยก็ไม่มีใครได้ยิน ต่อมาสักครู่หนึ่งจึงจะรู้สึกตัว ลักษณะอาการดังกล่าวนี้เรียกกันว่า ผีอำ
[แก้]ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผีอำ

ความจริง ไม่มีผีสางอะไรมาอำหรือมาทำอย่างไรทั้งนั้น
ถ้าจะเข้าใจเรื่องถูกผีอำนี้ ควรเข้าใจก่อนว่า ตามปรกติแล้วเลือดของเราจะมีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ และมีฤทธิ์คงที่เสมอในเลือดจะมี โซเดียมไบคาร์บอเนตซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง และกรดคาร์บอนิค ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดอยู่ โดยมีอัตราส่วนคงที่ที่จะทำให้เลือดอยู่ในสภาพเป็นด่างอ่อนๆ ตามปรกติตลอดเวลา
ผีอำ มักจะเกิดขึ้นในคนที่มีอารมณ์เครียด โดยมี โกรธ โลภ หลง เศร้าสลด วิตกกังวล หวาดระแวง กลัว อิจฉาริษยา ฯลฯ เมื่อเวลานอนเคลิ้มๆ(จะหลับหรือตื่น) ก็จะเกิดความฝันจากอารมณ์ไม่ดีของตน การมีอารมณ์ไม่ดีจะทำให้หายใจเข้าออกยาวๆเหมือนหอบ การหายใจเข้าออกเหมือนหอบสักพักหนึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์จะสลายตัวออกมาจากกรดคาร์บอนิคในเลือด เมื่ออกมามาก กรดคาร์บอนิคลดน้อยลง อัตราส่วนของด่างก็จะมีมากกว่ากรด เลือดก็จะมีฤทธิ์ด่างเพิ่มขึ้น
เมื่อเลือดมีฤทธิ์ด่างมากขึ้น ก็จะมีอาการอึดอัดในอกเหมือนมีของทับอก หายใจไม่ค่อยออก เหมือนหอบ ชามือชาเท้า มึนและเวียนศีรษะ รู้สึกหมดเรี่ยวแรงจนเหมือนจะขยับเขยื้อนตัวไม่ได้
สำหรับใครที่อยากลองดูว่าผีอำเป็นอย่างไร ลองหายใจเข้าออกยาวๆเร็วๆให้เหมือนหอบสักพักหนึ่ง ก็จะรู้สึกมึนศีรษะ มือชา หน้ามืด ฯลฯ พอกลั้นหายใจสักครู่ก็จะหาย เพราะกรดคาร์บอนิคจะเพิ่มขึ้นมาเป็นปกติ
คนร้องไห้มากๆสะอึกสะอื้นหายใจเข้าออกยาวๆเร็วๆก็จะมีอาการเช่นเดียวกัน ยิ่งร้องมากยิ่งชาไปทั้งตัว มึนศีรษะ หน้ามืดเป็นลมไปได้ ก็เพราะเหตุผลเดียวกันนี้
ใครถูกผีอำบ่อยๆ ควรจะได้ตรวจรักษาเรื่องจิตใจและอารมณ์เลวร้ายของตัวเอง จิตใจตัวเองนั่นแหละ เป็นผีที่อำตัวเอง


ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/ผีอำ

323

ความฝันที่เกี่ยวข้องกับตนเอง หรือกับฐานะและสมบัติของตนเอง ในตำราทำนายฝัน มักทำนายไว้ตรงข้ามเสมอ เช่นฝันว่าเป็นเศรษฐี ทายว่าจะยากจนลง หรือฝันว่าได้เงิน มักจะเสียเงิน ฝันว่าถูกตัดศีรษะหรือถูกแทงไส้ไหล กลับถือว่าเป็นฝันดีจะได้ลาภหรือหมดเคราะห์

      โดยเหตุนี้ การที่จะถือว่า ฝันชนิดใดเป็นฝันร้ายหรือฝันชนิดใดเป็นฝันดี จึงไม่อาจจะกำหนดแน่นอนในทันทีที่ตื่นจากฝันได้ แต่ส่วนมากการ “ฝันร้าย” ในฝัน เช่น ฝันร้องไห้ หรือฝันถูกตัดหัว ซึ่งในคำทำนายว่า จะมีลาภดังที่กล่าวมานี้ ผู้ที่ฝันมักจะเป็นทุกข์กังวล เกรงว่าการฝันของตนจะฝันเป็นร้าย เพราะจิตใจตื่นตระหนกตั้งแต่อยู่ในความฝันแล้ว แต่แท้จริงจากคำทำนายกลับปรากฏว่าเป็นนิมิตบอกเหตุการณ์ล่วงหน้าว่าจะได้รับโชค ซึ่งแปลว่า “ฝันดี” นั่นเอง

      ไทยเรามีวิธีแก้ฝันอยู่อย่างหนึ่งซึ่งแตกต่างกับคนต่างชาติ หรือฝรั่ง คือใช้วิธีเอาความฝันของตนไปเล่าให้ใครคนใดคนหนึ่งฟัง จะเป็น “ฝันดี” หรือ “ฝันร้าย” ก็ตาม คนที่รับฟังจากเรานั่นแหละจะเป็นคน “แก้ฝัน” ให้เราเอง คือพอเราเล่าจบ เขาก็จะต้องให้พรว่า “ฝันดีจะมีลาภ” ผู้ที่ฝันหรือไปให้เขาแก้ฝันจะต้องยกมือไหว้แล้วตอบว่า “สมพรปากเถิด” วิธีนี้คนเก่าๆ หรือคนไทยในชนบทยังนิยมใช้เป็น “เคล็ด” แก้ฝันของตนเองอยู่จนถึงทุกวันนี้ส่วนมาก เพราะถือว่าเมื่อให้อีกคนเป็นผู้แก้ฝันแล้ว ถ้าเป็นฝันร้ายก็จะกลายเป็นดี ถ้าฝันดีจะดียิ่งขึ้น

      แต่วิธีการหรือ “ เคล็ด” ในการแก้ฝันที่ถือตามตำนานหรือความเข้าใจของตนเอง เท่าที่ได้รับคำบอกเล่าว่าเป็น “ฝันร้าย”นั้น ไทยเราก็มีวิธีแก้อยู่อย่างวิจิตรพิสดารเหมือนกันและถือเป็น “ประเพณี” กันมานมนานแล้วทีเดียว ซึ่งถ้าหากคุณๆ ผู้สนใจจะลองนำไปใช้ดูบ้าง ก็คงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายอะไรนักเพราะอย่างน้อยก็เป็นการ “ ปลอบจิตใจ” ของตนเอง หรือ “ผู้ฝัน” ได้อย่างหนึ่งเหมือนกัน และวิธีการแก้ฝันนี้ เมื่อพิเคราะห์ดูแล้วก็มีเหตุอันควรนับเนื่องเข้าในข่ายของการ “หักกลบลบล้าง” อยู่ได้บ้างเหมือนกัน ดังที่จะได้กล่าว

      เช่นฝันเห็น “ไฟ” หรือ “ไฟไหม้” ซึ่งตามคำทำนายก็ว่าจะได้รับความเดือดเนื้อร้อนใจนัก ตำราเคล็ด ในการแก้ฝันของโบราณ ก็แนะนำให้ไปแก้กับ “แม่น้ำ” หรือ “คงคา” หรือใช้ “น้ำ” เป็น “เคล็ด” ในการดับ “ไฟ” เสีย ก็จะทำให้เรื่องราว หรือเหตุการณ์ร้าย ที่จะเกิดล่วงหน้า มีอันบันเทาลงไป

      และคนโบราณก็คือว่า “เคล็ด” วิธีนี้ดีที่สุด ในการแก้ฝันชนิดนี้ แต่ถ้าจะให้ดีขึ้นไปกว่านั้น คนโบราณ หรือเจ้าตำรับคำทำนายฝัน เขาแนะว่า เมื่อสะดุ้งตกใจตื่นจากฝันร้าย ไม่เฉพาะแต่จะฝันเรื่องไฟอย่างเดียว แม้ฝันอื่นๆ ก็ตาม ที่ทำให้ตกอกตกใจนั้น ให้รีบลุกขึ้นนั่งกราบหมอน รำลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเสียสามครั้ง แล้วสวดมนต์ภาวนาเท่าที่สามรถจะสวดได้ ทำนองขอคุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ให้ช่วยปกปักรักษาและขจัดเหตุร้ายต่างๆ ที่จะเกิดแก่ตัวเราให้หมดสิ้นไป

      ซึ่งนับว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดและถูกต้องที่สุดถ้าเราสามารถจะปฏิบัติตามได้ และการสวดมนต์นี้ ก็ควรจะสวดทุกคืนก่อนนอนด้วยยิ่งดี

ที่มา
http://www.zabzaa.com/dream/

324
เมตตปริตร

หรือ กรณียเมตตปริตร หรือ กรณียเมตตสูตร
ทำให้หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย เทพพิทักษ์รักษา ไม่มีภยันตราย จิตเป็นสมาธิง่าย ใบหน้าผ่องใส มีสิริมงคล ไม่หลงสติในเวลาเสียชีวิต และเป็นพรหมเมื่อบรรลุเมตตาฌาน


๑. กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ . . . . . . . ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ . . . . . . . . . . . . สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
กิจที่คนฉลาดในสิ่งที่มีประโยชน์ และมุ่งหมายจะบรรลุทางสงบ จะพึงทำก็คือ เป็นคนกล้า, เป็นคนซื่อ, เป็นคนตรง, ว่าง่าย, อ่อนโยน, ไม่เย่อหยิ่ง

๒. สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ . . . . . . . .อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินท์ริโย จะ นิปะโก จะ . . . . . . . . อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
เป็นผู้สันโดษ, เลี้ยงง่าย, มีภาระกิจน้อย, คล่องตัว, ระมัดระวังการแสดงออก, รู้ตัว, ไม่คะนอง, ไม่คลุกคลีในตระกูลทั้งหลาย

๓. นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ . . . . . เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ . . . . . . . . . . . . สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ไม่ประพฤติสิ่งที่วิญญูชนตำหนิติเตียนได้, พึงแผ่เมตตาจิตว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงมีความสุขกายสบายใจ มีความเกษมสำราญเถิด

๔. เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ . . . . . . . . . . . . .ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา . . . . . . . . . . .มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ขอสัตว์ทั้งหลายบรรดามี ที่เป็นสัตว์ตัวอ่อน หรือตัวแข็งก็ตาม เป็นสัตว์มีลำตัวยาว หรือลำตัวใหญ่ก็ตาม มีลำตัวปานกลาง หรือตัวสั้นก็ตาม ตัวเล็กหรือตัวโตก็ตาม

๕. ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา . . . . . . . . . เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา . . . . . . . . . . . . .สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ที่มองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ตาม ที่อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ก็ตาม ที่เกิดแล้ว หรือกำลังหาที่เกิดอยู่ก็ตาม ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงนั้นจงสุขกายสบายใจเถิด

๖. นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ . . . . . . . . .นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พ์ยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา . . . . . . .นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
บุคคลไม่พึงหลอกลวงผู้อื่น ไม่ควรดูหมิ่นเหยียดหยามใคร ๆ ไม่ควรมุ่งร้ายต่อกันและกัน เพราะมีความขุ่นเคืองโกรธแค้นกัน

๗. มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง . . . . . . . . . . อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ . . . . . . . . . . . . . . มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
คนเราพึงแผ่ความรักความเมตตา ไปยังสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ดุจดังมารดาถนอม และปกป้องบุตรสุดที่รักคนเดียวด้วยชีวิตฉันนั้น

๘. เมตตัญจะ สัพพะโลกัส์มิง . . . . . . . . .มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ . . . . . . . . . . อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
พึงแผ่เมตตาจิต ไม่มีขอบเขต ไม่คิดผูกเวร ไม่เป็นศัตรู อันหาประมาณไม่ได้ ไปยังสัตว์โลกทั้งปวงทั่วทุกสารทิศ

๙. ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา . . . . . . . . . . . สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ . . . . . . . . . . พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ตลอดเวลาที่ตนยังตื่นอยู่ พึงตั้งสติ อันประกอบด้วยเมตตานี้ให้มั่นไว้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า การอยู่ด้วยเมตตานี้ เป็นพรหมวิหาร (การอยู่อย่างประเสริฐ)

๑๐. ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา . . . . .ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง . . . . . . . . . . . . . .นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ
ท่านผู้เจริญเมตตาจิต ที่ละความเห็นผิดแล้ว มีศีล มีความเห็นชอบ ขจัดความใคร่ในกามได้ ก็จะไม่กลับมาเกิดอีกเป็นแน่แท้

(คำแปลของ ศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต)


ที่มา
http://th.wikisource.org/wiki/เมตตปริตร

325
อภยปริตร ทำให้พ้นจากภัยพิบัติและไม่ฝันร้าย

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ ยันทุนนิมิตตัง อะวะมัง คะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน เอตตาวะตา จะ อัมเหหิ สัมภะตัง ปุญญะสัมปะทัง สัพเพ เทวา นุโมทันตุ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา ทานัง ทะทันตุ สัทธายะ สีลัง รักขันตุ สัพพะทา ภาวะนาภิระตา โหนตุ คัจฉันตุ เทวะตาคะตา ฯ สัพเพ พุทธา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญจะ ยัง พะลัง อะระหันตานัญจะ เตเชนะ รักขัง พันธามิ สัพพะโสฯ


ที่มา
http://th.wikisource.org/wiki/อภยปริตร

326
ความรู้เรื่องฝัน

      ฝัน หรือ ความฝัน คือ ประสบการณ์ของภาพ เสียง ข้อ ความ ความคิด หรือความรู้สึก ในขณะที่กำลังนอนหลับ โดยผู้ที่ฝันส่วนใหญ่ ไม่สามารถควบคุมได้

      คนเรานั้นเมื่อหลับ อาจจะมีนิมิต (ฝัน) มาปรากฏในฝันไปในเรื่องต่างๆ อาจจะมีทั้งให้คุณ และเกิดโทษจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง นิมิตบอกโชคลาภบ้าง บอกลางร้ายให้รู้ล่วงหน้าก็มี       
      
ต้นเหตุของความฝัน

     1. บุรพนิมิต ความฝันเกิดจากเรื่องราวในอดีตมาปรากฏให้คนนั้นฝันไป มักเป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นจริงมาปรากฏบอกลางหรือโชคลาภ
     2. จิตนิวรณ์ ความฝันเกิดเพราะมีอารมณ์จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความฝันอย่างนี้เป็นเพราะอารมณ์จิตใจของผู้ฝันได้ ผูกพันกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่อย่างมากตลอดเวลา เมื่อหลับไปก็เกิดความฝันในสิ่งนั้น ในเรื่องนั้น ที่ผู้ฝันฝักใฝ่อยู่ หรือได้ พบเห็นแล้วจดจำโดยไม่มีวันลืม
     3. เทพสังหรณ์ ความฝันเกิด ขึ้นเพราะเทวดาบันดาล ความฝันเช่นนี้เป็นเพราะเทวดาผู้ปกปักรักษาคุ้มครองธรรมะ ได้ดลบันดาลให้ผู้ฝันเกิดความฝันไป เพื่อสำแดงแจ้งเหตุการณ์ล่วงหน้า โดยเฉพาะเรื่องมงคล แต่ถ้าเป็นฝันร้าย เรื่องร้ายก็เป็นเหมือนการตักเตือน ผู้ฝันให้ระวังภัยและป้องกัน
     4. ธาตุโขภะ ความฝันเกิดเพราะกินมาก นอนมาก จนท้องไส้อืด ท้องขึ้นท้องเฟ้อ ธาตุไม่ย่อย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำ ให้เวลานอนหลับไม่สนิทจึงฝันไปไร้สาระไม่มีมูลความจริง หรือให้ประโยชน์แต่อย่างใด



เคล็ดแก้ฝันร้าย

      หากคุณฝันร้ายหรือฝันไม่เป็นมงคล ให้ท่องหรือภาวนาคาถานี้ แล้วเรื่องร้ายๆ จะกลับกลายเป็นดีหรือเรื่องร้ายๆ จะบรรเทาเบาบางลง
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโธ
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ


หรือใช้บทสวดมนต์สั้นๆ ว่า

พุทธัง นิมิตตัง
ธัมมัง นิมิตตัง
สังฆัง นิมิตตัง


ที่มา
http://www.zabzaa.com/dream/

327
นอนดึกอาจส่งผลให้ฝันร้าย

จากการศึกษาล่าสุด พบว่าผู้ที่นอนดึก อาจทำให้ฝันร้ายระหว่างการนอนได้มากกว่าผู้ที่นอนเร็ว

ปกติแล้ว ผู้ใหญ่ร้อยละ 80 จะพบกับการฝันร้ายระหว่างนอนหลับ 1 ครั้งใน 1 ปี โดยเฉลี่ย แต่หากเป็นผู้ที่นอนดึกแล้วอาจทำให้พบกับการฝันร้ายมากกว่านั้น

จากการศึกษาของ Yuzuncu Yil University ในเมือง Van ประเทศตุรกี ซึ่งได้ทำการสำรวจนักศึกษากว่า 264 คนเกี่ยวกับลักษณะการนอน และความถี่ในการเจอกับฝันร้าย พร้อมกับการให้อาสาสมัครจำกัดความรุนแรงของความฝันผ่าน Van Dream Anxiety Scale และได้สรุปผลการศึกษาเกี่ยวกับหัวข้อนี้ผ่านทางวารสาร Sleep and Biological Rhythms ในสัปดาห์ที่ผ่านมา

เหตุผลที่การนอนดึกจะสร้างฝันร้ายให้มากกว่าการนอนเร็วยังไม่มีการสรุปออกมาอย่างแน่ชัด แต่เหล่านักวิชาการเปิดเผยว่า อาจเกี่ยวกับฮอร์โมน Cortisol ในร่างกาย ซึ่งจะถูกปล่อยออกมาในช่วงเช้า ทำให้ผู้ที่นอนดึกจะหลับไม่สนิท และฝันถึงเหตุการณ์แปลกๆและเลวร้ายได้

เว็บไซต์ LiveScience ยังกล่าวอีกว่า จากอีกการศึกษาหนึ่งซึ่งศึกษาผู้คนกว่า 4,000 คน พบความเกี่ยวข้องกันระหว่างการนอนดึกและการฝันร้ายของผู้หญิงในช่วงอายุ 20-30 ปี

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องทรมานกับฝันร้าย เว็บไซต์สุขภาพ WebMD กล่าวว่าอาจมีสาเหตุมาจากความเครียดเช่นกัน โดยเว็บไซต์ดังกล่าวยังแนะนำว่า การออกกำลังกาย การเล่นโยคะ การทำสมาธิ การหายใจเข้าออกลึกๆ จะช่วยลดความตึงเครียด และอาจช่วยลดการฝันร้ายระหว่างการนอนหลับได้เช่นกัน



Source : AFP Relax News / Dreamstime
http://campus.sanook.com/นอนดึกอาจส่งผลให้ฝันร้าย-941366.html

328
สาเหตุของการฝันร้าย วิธีแก้ไขไม่ให้ฝันร้าย

# เดลิเมล์ – หลายคนคงเคยฝันร้ายว่าสูญเสียคนรัก ผีหลอก ฯลฯ แต่อีกหลายคนกลับหลับสบายตลอดคืน ไม่เคยฝันสยดสยองแม้แต่ครั้งเดียว

นักวิจัยพยายามไขความหมายเบื้องหลังฝันร้ายที่ทำให้เราผวาตื่นขึ้นมากลางดึก และเชื่อว่าฝันร้ายเหล่านั้นไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับชีวิตยามตื่น แต่อาจสะท้อนอารมณ์และความวิตกกังวลของคนๆ นั้น

ฝันร้ายที่พบบ่อยที่สุดคือ หกล้ม ถูกตามล่า รู้สึกเหมือนขยับเขยื้อนตัวไม่ได้ ไปโรงเรียนหรือไปทำงานสาย และคนที่รักเสียชีวิต

ฝันร้ายอื่นๆ ยังรวมถึงผมร่วง ฟันหัก นั่งทำข้อสอบ แม้บางคนเด็กเกินกว่าจะกลัวผมร่วง และบางคนแก่เกินกว่าจะต้องนั่งสอบแล้วก็ตาม

รายงานที่อยู่ในวารสารยูโรเปียน อาร์ไคฟ์ส ออฟ ไซเคียทรี แอนด์ คลินิคัลระบุว่า ผู้ชายมีแนวโน้มสูงที่จะฝันร้ายเกี่ยวกับความรุนแรงหรือถูกไล่ออกจากงาน ขณะที่ผู้หญิงมักฝันว่าสูญเสียคนรักหรือเพื่อนสนิท ถูกลวนลาม

ดร.ไมเคิล ชเรดเดิล จากอินเตอร์เนชันแนล แอสโซซิเอชัน ฟอร์ เดอะ สตัดดี้ ออฟ ดรีมส์ กล่าวว่าเรื่องต่างๆ เช่น การหกล้ม ถูกตามล่า ขยับตัวไม่ได้ ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับชีวิตจริงแต่อย่างใด

“ปีศาจที่ตามล่าคุณในฝันอาจสะท้อนความกลัวภารกิจสำคัญบางอย่างที่รออยู่และเป็นสิ่งที่คุณพยายามหลีกเลี่ยง”

ส่วนการฝันว่าผมร่วง ฟันหลุดที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชายนั้น อาจสะท้อนความกังวลเกี่ยวกับรูปลักษณ์

การค้นพบนี้มาจากการศึกษากลุ่มตัวอย่างชาย-หญิง 2,000 คนที่ถูกสอบถามเกี่ยวกับความฝัน ซึ่งพบว่า 48% ไม่เคยฝันร้ายมาก่อนเลยในชีวิต, 1 ใน 10 ฝันร้ายหลายครั้งในรอบปี และเกือบ 1 ใน 20 ผวาตื่นขึ้นมากลางดึกอย่างน้อยสองสัปดาห์ครั้ง

“ฝันร้ายเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อบางสิ่งที่ไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งอาจถูกกระตุ้นให้รุนแรงขึ้นจากความเครียด

“แต่ถ้าคุณจัดการกับปัญหาที่มีอยู่ ฝันร้ายเหล่านั้นก็จะหายไป

“คุณอาจหลอกตัวเองได้ตอนลืมตาตื่น แต่ไม่ใช่ในฝันแน่นอน” ดาวินา แม็กเคล คอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์เดลิเมล์ของอังกฤษ และผู้เชี่ยวชาญด้านความฝันสรุปทิ้งท้าย

From : Fortune Stars

ที่มา
http://www.board.fortunestars.com/board.php?newsId=1028

329
(2). 8 ทำ

ทำ... ใช้ห้องนอนสำหรับนอน และเรื่องบนเตียง (เช่น หายใจช้าๆ ก่อนนอน สวดมนต์ ฯลฯ)... เรื่องอื่นควรทำข้างนอก เช่น ใช้อินเตอร์เน็ต เขียนบล็อก ทำงาน โทรศัพท์ ฯลฯ
ทำ... ถ้าไม่มีห้องแยก (ทำทุกอย่างในห้องนอนห้องเดียว) ควรปรับแสงไฟ เช่น มีไฟสลัวๆ ดวงพิเศษสำหรับสร้างบรรยากาศห้องนอน แล้วปิดไฟดวงอื่นๆ ให้หมด เปิดไฟดวงนี้ก่อนนอนอย่างน้อย 15 นาที ฯลฯ
...

ทำ... ออกกำลังเป็นประจำ จะเป็นเวลาไหนก็ได้ถ้าออกกำลังเบาๆ จนถึงแรงปานกลาง แต่ถ้าออกกำลังหนัก... ควรทำก่อนเวลานอน 1-2 ชั่วโมงขึ้นไป (ยกเว้นคนที่ร่างกายฟิตจริงๆ จะหายเหนื่อยเร็ว และหลับได้ตามปกติ)
ทำ... นอนและตื่นตรงเวลา ทั้งวันธรรมดาและวันหยุด
...

ทำ... วอร์มดาวน์ (warm down = ทำให้เครื่องเย็นลง ตรงกันข้ามกับอุ่นเครื่อง = warm up) หรือปรับสภาพก่อนนอน เช่น อาบน้ำ สวดมนต์ ฟังเพลงช้าๆ ทำท่ายืดเส้นยืดสายหรือโยคะเบาๆ (ท่าเบาๆ ไม่ใช่ท่าโหดๆ) ฯลฯ ก่อนนอน15-30 นาที
ทำ... สมาธิ (ควรฝึกในสำนักที่ไม่เห็นแก่เงิน เช่น สำนักที่สนับสนุนให้บริจาคมากๆ ฯลฯ) ฝึกหายใจช้าๆ นาทีละไม่เกิน 10 ครั้ง วันละ 10-15 นาที (จะทำแบบท่านติช นัท ฮันน์ง่ายๆ ก็ได้ เช่น หายใจช้าๆ พร้อมกับคิดว่า "หายใจเข้า-เราเป็นสุข" , "หายใจออก- เรารู้สึกผ่อนคลาย" หรืออะไรทำนองนี้ ฯลฯ
...

ทำ... จัดห้องนอนให้เงียบ มืด และเย็นหน่อย (ถ้าเป็นไปได้ควรปิดแสงจากภายนอก และไม่เปิดไฟนอน)
ทำ...  หาทางลดเสียงรบกวนจากภายนอก ถ้าลดเสียงรบกวนไม่ได้... อาจเปิดพัดลม หรืออัดเสียงเรียบๆ เรื่อยๆ (white noise) เช่น เสียงคลื่นกระทบฝั่ง ฯลฯ ไว้ ใช้เครื่อง MP3 เล็กๆ เปิดเพื่อกลบเสียงรบกวน


ที่มา
http://health2u.exteen.com/20090503/entry-5

330
ขอบคุณ นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์

20 วิธีเพื่อการนอนหลับดี ป้องกันฝันร้าย+ผีอำ

อาจารย์แห่งเว็บไซต์สุขภาพ 'RealAge' มีคำแนะนำดีๆ เพื่อการนอนหลับแสนสบาย ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ RealAge ]
...

(1). '12 ไม่'

ไม่กินอาหารที่มีกาเฟอีนหลังอาหารกลางวัน เช่น กาแฟ ชา ชอคโกแล็ต โกโก้ น้ำอัดลมชนิดน้ำดำ เครื่องดื่มบำรุงกำลัง ฯลฯ
ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ) 6 ชั่วโมงก่อนนอน (เหล้าทำให้กรนมากขึ้น หลับเร็วขึ้น แต่หลับตื้น และตื่นง่ายขึ้น)
...

ไม่ดู TV ก่อนนอน (ประมาณ 1-2 ชั่วโมง)... ถ้าเป็นรายการ TV เบาๆ ดูได้ เช่น สารคดี นิทานก่อนนอน ข่าวต่างประเทศ ฯลฯ ถ้าเป็นรายการเครียดๆ เช่น ข่าว 3 จังหวัดภาคใต้ ข่าวกลุ่มประท้วง 2 สีในไทย ฯลฯ ไม่ควรดู
ไม่สูบบุหรี่ก่อนนอน (บุหรี่ทำให้หัวใจเต้นแรง-เร็ว นอนหลับยากขึ้น)
...

ไม่เข้านอนทั้งที่หิว (หิวมากนอนหลับยาก อาจใช้วิธีเบาๆ สบายๆ เช่น ดื่มนมไขมันต่ำหรือนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม 1/2 แก้ว ผลไม้ เช่น กล้วย แอปเปิล 1/2 ผล ฯลฯ)
ไม่กินอาหารมื้อใหญ่ 1-3 ชั่วโมงก่อนนอน (วิธีที่ดีคือ กินมื้อเย็นเป็นมื้อเล็กๆ มื้อเช้า-เที่ยงเป็นมื้อใหญ่)... ถ้าเป็นโรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease / GERD) ควรกินมื้อเย็นให้น้อยลงไปอีก
...

ไม่รอจนง่วงแล้วค่อยเข้านอน ทางที่ดีคือ เข้านอนก่อนง่วง... การเข้านอนหลังง่วงเต็มที่อาจทำให้ร่างกายปรับสภาพไม่ทัน เช่น ลุยทำงานดึกทำให้ร่างกายตื่นตัว อาจทำให้นอนดึกขึ้นเรื่อยๆ ฯลฯ
ไม่ออกกำลังหนักใกล้เวลานอน ให้ห่างออกไปสัก 1-3 ชั่วโมงน่าจะดี
...

ไม่ทำงานหน้าจอ (คอมพิวเตอร์) ก่อนนอน 1-2 ชั่วโมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรเขียนบล็อกเรื่องตื่นเต้นก่อนนอน (เรื่องเบาๆ เขียนได้ เช่น นิทานก่อนนอน ฯลฯ)
ไม่เปิดจอ (คอมพิวเตอร์) สว่างจ้าหลังพระอาทิตย์ตกดิน ควรปรับจอคอมฯ ตามเวลากลางวัน-กลางคืน กลางวันเปิดหน้าจอสว่างหน่อยได้ หลังพระอาทิตย์ตกดินควรเปิดไฟในบ้านให้สว่างน้อยลง เปิดจอคอมฯ ให้สว่างน้อยลง
...

ไม่เปิดเพลงเร็วๆ เร้าใจ หรือเพลงดังๆ ก่อนนอน 1-2 ชั่วโมง ควรปรับเสียงต่ำ (เบส) ตามเวลากลางวัน-กลางคืน กลางวันเปิดเบสดังหน่อยได้ (ไม่ควรดังจนรบกวนคนอื่น) หลังพระอาทิตย์ตกดินควรลดเสียงเบสให้เบาลง
ไม่นอนกอดอก (อาจทำให้ฝันร้าย หรือรู้สึกคล้ายผีอำได้จากแรงกดของมือและแขน)


ที่มา
http://health2u.exteen.com/20090503/entry-5

331
๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ

ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความรู้ในข้อปฏิบัติที่ถูกในการเห็นแจ้ง อันเป็นเครื่องดำเนินไป สู่มัคคปฏิปทาโดยส่วนเดียว เป็นหนทางที่จะเดินไปในธรรมที่บริสุทธิ์ คือ พระนิพพาน
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ซึ่งเป็นวิสุทธิที่ ๕ นั้น เป็นปัญญาที่ชำระวิปัสสนูปกิเลสได้หมดสิ้น

จะเห็นได้ว่าในวิสุทธิที่ ๕ นั้น ยังมีอุปกิเลสเข้าไปอาศัยเกิดในอารมณ์ของวิปัสสนาได้ ผู้ปฏิบัติจึงต้อง ทำความเข้าใจอารมณ์ที่ถูกและอารมณ์ที่ไม่ถูก จึงจะชำระกิเลสที่เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลสได้

ฉะนั้นผู้ปฏิบัติวิปัสสนาจนเกิดปัญญาเข้าใจในข้อปฏิบัตินั้นว่าถูกต้องดี และปราศจากความเข้าใจผิดโดยประการทั้งปวงแล้ว จึงจะดำเนินเข้าสู่ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิได้
 
๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ
ญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค มรรคญาณทั้ง ๔ มีโสดาปัตติมรรคญาณ เป็นต้น
ชื่อว่าญาณทัสสนวิสุทธิ เพราะชำระใจให้พ้นจากมลทิน คือ ตัวโมหะ ความหลง
ญาณทัสสนวิสุทธินี้ เป็นปัญญาที่เกิดต่อมาจาก ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิที่เดินถูกทางแล้ว เรื่อยมาจนบรรลุพระนิพพาน

เมื่อรู้จักหนทางแห่งปัญญา คือวิสุทธิ ๗ แล้ว ผู้ใคร่ต่อการปฏิบัติต้องดำเนินตามทางแห่งปัญญาในวิสุทธินั้นๆ ให้ได้ตามลำดับ

เมื่อทราบถึงหนทางแห่งปัญญา ทราบการเจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ก็ต้องปฏิบัติอยู่เสมอๆ เนืองๆ และในระหว่างการปฏิบัตินั้น ก็ต้องสังเกตจิตใจ สังเกตอารมณ์ที่กำลังเจริญ ซึ่งผลของการปฏิบัติจะเกิดขึ้นอย่างถูกต้องนั้นก็มีสิ่งที่สังเกตได้ ได้แก่ ลักษณะ ๓ อนุปัสสนา ๓ ซึ่งจะได้ศึกษากันต่อไป


บรรณานุกรม
๑) ปรมัตถโชติกะ หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะโท : พระสัทธัมมโชติกะ
: อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
: โรงพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทิพยวิสุทธิ์ ; พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๓๙
๒) วิมุตติมรรค พระอุปติสสเถระ รจนา
พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ แปลจาก ฉบับภาษาอังกฤษ ของพระเอฮารา พระโสมเถระ และพระเขมินทเถระ
๓) วิสุทธิมรรค ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ)
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง
๔) พระสูตร และ อรรถกถาแปล ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่มที่ ๗ ภาคที่ ๑- ๒

ขอบคุณที่มา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3669.msg13317#msg13317

332
๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ

กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ คือ ญาณ(ปัญญา)ที่ข้ามพ้นจากความสงสัย เช่น สงสัยใน ชาตินี้ ชาติหน้า สงสัยว่าตายแล้วจะเกิดหรือไม่เกิด
ปัญญาที่ เกิดจากการพิจารณานามรูป ทำให้เข้าใจได้ถูกต้องว่า นามรูปนี้มีอยู่จริง แต่สัตว์บุคคลนั้นไม่มีในโลกทั้ง ๓ คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลก มีแต่รูปกับนามเท่านั้น แล้วรูปนามนี้มาจากไหน ใครเป็นคนสร้างรูปนามนี้ คำตอบในเรื่องนี้ก็ต้องเจริญปัญญาให้ถึงขั้นกังขาวิตรณวิสุทธิ  จึงจะหมดความสงสัยได้

การปฏิบัติ คือ การกำหนดรูปนามต่อมาจากทิฏฐิวิสุทธิ กำหนดต่อไปอยู่เนืองๆ ก็จะทราบว่า รูปนามนี้เกิดขึ้นด้วยเหตุอะไร รูปใดเกิดขึ้นก็จะรู้ว่าเกิดขึ้นด้วยเหตุอะไร นามใดเกิดขึ้นก็จะรู้ได้ว่า นามนี้เกิดขึ้นเพราะเหตุอะไร

ปัญญาความรู้ในขั้นกังขาวิตรณวิสุทธินี้จะรู้มากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับความแตกฉานในปริยัติ ก็สามารถรู้ปัจจัยได้มาก เช่น รู้โดยวัฏฏะว่า รูปนามขันธ์ ๕ มาจากกรรม กิเลส วิบาก หรือรู้ไปตามนัยของปฏิจจสมุปบาท คือปัจจัยให้เกิดรูปนามในปฏิสนธิ ได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน

ผู้ปฏิบัติในขั้นกังขาวิตรณวิสุทธิแล้ว จะรู้เหตุปัจจัยของธรรมว่า ธรรมนี้เกิดขึ้นเพราะเหตุนี้ จิตแต่ละดวงเกิดขึ้น เช่น โทสะจิตเกิดขึ้นเพราะอะไร เกิดขึ้นเพราะเห็นรูปแล้วปรุงแต่งว่ารูปที่เห็นนั้นไม่ชอบใจ
โทสะก็เกิดขึ้น โทสะที่เกิดขึ้นแล้วนั้นก็ดับไปสิ้นไปเมื่อสิ้นเหตุสิ้นปัจจัย แล้วโทสะดวงใหม่ก็สามารถเกิดขึ้นอีกเมื่อมีเหตุปัจจัย เมื่อเหตุดับ ธรรมนั้นๆ ก็ดับ

๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ

มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความรู้ในหนทางทั้งทางถูกและทางผิด เห็นความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งสังขาร และมีอุปกิเลส ๑๐ อย่างๆ ใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น

ปัญญาที่กำหนดวินิจฉัยลักษณะว่า วิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ไม่ใช่มรรค
เพราะเป็นเหตุเป็นที่ตั้งแห่ง ตัณหา มานะ ทิฏฐิ โดยแท้
แต่วิปัสสนาญาณที่ดำเนินไปตามวิถี ซึ่งพ้นจากวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ แล้ว เป็นปัญญาที่รู้หนทางที่ถูกต้อง

การเห็นตามความเป็นจริงทั้ง ๒ นี้ เป็นมรรค
ชื่อว่ามัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เพราะ รู้เห็นทางพ้นทุกข์ และมิใช่ทางพ้นทุกข์
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นปัญญาที่เกิดต่อมาจากกังขาวิตรณวิสุทธิ

ถ้าวิสุทธิที่ ๔ ไม่มีแล้ว วิสุทธิที่ ๕ คือ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิก็มีไม่ได้ ที่ผ่านมาในกังขาวิตรณวิสุทธินั้นเพียงรู้ถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้รูปนามเกิด แต่ยังไม่เห็นความดับของรูปนามที่เกิดขึ้นในขณะปัจจุบันนั้นได้ เพราะว่าปัญญาในขั้นนี้ยังอ่อนอยู่

วิธีการปฏิบัติ คือ ต้องกำหนดรูป-นาม ต่อไปอีกเนืองๆ จนกระทั่งเห็นความดับของรูปนาม แต่ความดับของรูปนามที่ตนเห็นในตอนนี้ยังไม่ได้เห็นความดับของรูปนามจริงๆ เพียงแต่เห็นการเกิดใหม่ของรูปนามอยู่เนื่องๆ เห็นฝุ่ายเกิดอยู่เนืองๆ
 
จึงทำให้ทราบถึงความดับไปของรูปนามเก่าก่อนที่รูปนามใหม่จะเกิดขึ้น ปัญญาในขั้นนี้ยังมีกิเลสเกิดได้ คือ เป็นอารมณ์ของวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ที่เกิดจากกำลังของสมาธิ

กิเลสที่จะเกิดขึ้นได้ในขณะนั้นเป็นกิเลสที่ละเอียดมากและกำลังปัญญายังอ่อนอยู่ จึงรู้ไม่เท่าทัน ปัญญาจึงไม่สามารถจะปรับอินทรีย์ให้เสมอกันได้

เพราะขณะนั้นกำลังสมาธิแรงกว่าปัญญา ทำให้เกิดมีแสงสว่าง มีความสุข มีความสงบเยือกเย็น เป็นต้น เกิดขึ้นได้ เหล่านี้เป็นสิ่งขัดขวางความก้าวหน้าของปัญญา ทำให้หลงติดอยู่ในทางที่ไม่ใช่หนทางแห่งมรรค (เรื่องวิปัสสนูปกิเลสมีอธิบายในหน้า ๕๒)


ขอบคุณที่มา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3669.msg13317#msg13317

333
๕. อะไรเป็นเครื่องปิดบังความเป็นจริงของรูปนาม?
 
เครื่องปิดกั้นความจริงของนามรูป มีหลายประการ ดังนี้
๕.๑ ฆนสัญญาหมายถึง ความเป็นกลุ่มเป็นก้อนของรูปนามนั้นปิดบังอนัตตา  ทำให้เราเห็นว่ารูปนามนั้นเป็นก้อนเป็นแท่ง เช่น เห็นว่ารูปก็มีรูปเดียว นามก็มีนามเดียว ทั้งรูปทั้งนามก็คือตัวตนของเรานี้เอง
เมื่อถูกความเป็นกลุ่มก้อนปิดบังไว้เช่นนี้ ความรู้สึกว่าไม่ใช่เราก็ไม่เกิดขึ้น

๕.๒ สันตติ หมายถึง ความสืบต่อ จึงทำให้เห็นติดกัน ทำให้ปิดบังอนิจจัง คือความไม่เที่ยงไว้ ทำให้เห็นเป็นของเที่ยง เพราะความสืบต่อที่รวดเร็วจนไม่เห็น ความขาดช่วงขาดตอนของรูป ของนาม

๕.๓ อิริยาบถปิดบังทุกข์ เพราะเหตุที่ไม่ได้พิจารณาอิริยาบถ จึงไม่เห็นว่ารูปนามนั้นเป็นทุกข์ เพราะอิริยาบถที่เปลี่ยนไปเช่น จากอิริยาบถเดิน เปลี่ยนเป็นนั่ง ในขณะที่นั่งใหม่ๆ ก็จะรู้สึกสุขสบาย แต่พอนั่งไปนานๆ ก็ทุกข์อีกต้องเปลี่ยนอิริยาบถอีก อันที่จริงในขณะที่นั่งใหม่ๆ ตอนนั้นก็ทุกข์เหมือนกันแต่ทุกข์เกิดน้อยเพราะเพิ่งเปลี่ยนอิริยาบถใหม่ๆ แต่พออยู่ในอิริยาบถเดิมนานๆ ทุกข์ก็มากขึ้นๆ

จะเห็นได้ว่าอิริยาบถนั้นปิดบังทุกข์ไว้ ทำให้เห็นว่าเป็นสุข
แท้ที่จริงแล้ว ตอนที่สุขนั้นนั่นก็เป็นทุกข์เหมือนกัน เพราะสภาพเช่นนี้ ก็จะไม่คงอยู่ต้องมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงนี้เองคือสภาพของทุกข์จริงๆ คือ มีสภาพที่ทนอยู่ในไม่ได้

ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติวิปัสสนา ที่จะเห็นอนัตตาว่ารูปนามนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน จะต้องเข้าใจ ในอุบายที่จะทำลาย
ฆนสัญญาให้กระจายออกมาเสียก่อน จึงจะเห็นอนัตตาได้


ขอบคุณที่มา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3669.msg13317#msg13317

334
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:

อ้างถึง
การที่จิตจะตื่นนั้นต้องมีกำลังของศรัทธาเต็มที่
มีความปิติยินดีในบุญกุศล เมื่อปิติเกิดขึ้นจิตก็จะตื่นและเบิกบานอยู่ในธรรม
เราต้องสร้างปิติภายนอก เพื่อจะเข้าสู่ปิติภายใน
คือ จุดเริ่มต้น :097:

335
คำถาม-ตอบ เพื่อให้รู้จักรูปนาม

๑. จะเข้าใจนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง ได้อย่างไร ?
การที่จะพิจารณาจนเห็นว่านามรูปนี้ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของตน เป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของ ไม่อยู่ในอำนาจของใคร และไม่ใช่สัตว์ บุคคล ต้องเป็นปัญญาที่รู้และเข้าใจในสภาพธรรมของรูปและนามจริงๆ

๒. จะเอาปัญญาจากไหนมาเข้าใจ ?
ต้องเป็นทิฏฐิขั้นวิสุทธิที่เข้าใจถูกรู้ถูกในรูปนาม

๓. จะมีทิฏฐิวิสุทธิได้อย่างไร ?
ต้องได้มาจากการพิจารณารูปนาม

๔. การพิจารณานามรูปนั้นพิจารณาอย่างไร ?
ต้องพิจารณาตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔
แต่ก่อนที่ผู้ปฏิบัติจะเจริญมหาสติปัฏฐาน ๔ จะต้องศึกษารูปและนามให้เข้าใจให้ดีก่อน จึงจะสามารถกำหนดได้ ถ้ายังไม่เข้าใจว่าอะไรเป็นรูปอะไรเป็นนามก็กำหนดไม่ถูก

เช่น ต้องรู้ว่าลมหายใจเป็นรูป จิตที่กำหนดระลึกรู้ลมหายใจเป็นนาม

หรือการพิจารณาอิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน
จะต้องพิจารณาอิริยาบถเหล่านั้นว่าเกิดขึ้นได้เพราะอะไร ?

เมื่อพิจารณาได้ถูกต้องแล้วก็จะพบว่า เพราะจิตเป็นปัจจัยทำให้อิริยาบถเป็นไปได้ และอิริยาบถจะเกิดขึ้นได้ก็เนื่องด้วยกายที่เกี่ยวกับธาตุ ๔

เมื่อจิตคิดจะเดิน ธาตุ ๔ นี้ก็ทำงาน เมื่อจิตคิดจะนั่งธาตุ ๔ ก็ทำงาน เมื่อจิตคิดจะยืน ธาตุ ๔ ก็ทำงาน เพราะว่าธาตุ ๔ ทำงานปรุงแต่งต่างกัน อิริยาบถก็เป็นไปต่างกัน และธาตุ ๔ ก็เกิดขึ้นได้ด้วยเจตนาที่เข้าปรุงแต่งจิต

เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาได้อย่างนี้ ก็จะทราบว่าจิตนี้สามารถจะเป็นปัจจัยให้ธาตุทั้ง ๔ เป็นไปได้ตามเจตนา ที่ปรุงแต่งจิตนั่นเอง

เวลาจะเดิน ธาตุทั้ง ๔ ก็จะทำงานโดยธาตุเบา คือ ธาตุลมกับธาตุไฟจะมีกำลัง
ส่วนธาตุหนัก คือ ธาตุดินกับธาตุน้ำจะอ่อนกำลัง
ทำให้เท้ายกขึ้นแล้วเคลื่อนไปข้างหน้าได้ด้วยกำลังของธาตุไฟกับธาตุลม

เมื่อวางเท้าลงธาตุไฟกับธาตุลมก็จะอ่อนกำลัง
แต่ธาตุดินกับธาตุน้ำก็มีกำลัง ทำให้หย่อนเท้าเหยียบลงพื้นไว้ได้ เป็นต้น

ต้องกำหนดรู้ว่าธาตุทั้ง ๔ เป็นรูป จิตและเจตสิกที่พิจารณาธาตุ ๔ เป็นนาม

ฉะนั้น ทิฏฐิวิสุทธิต้องเป็นปัญญาที่เกิดจากการเจริญสติปัฏฐานและพิจารณารูปนามได้ถูกต้อง จนปราศจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ได้จริงๆ
ปัญญาในทิฏฐิวิสุทธินี้เป็นปัญญาขั้นภาวนา ไม่ใช่ปัญญาขั้นการศึกษา
แต่ต้องปฏิบัติพิจารณารูปนามจนทำลายความเข้าใจผิด ความสำคัญผิดว่าเป็นเราออกไปจากจิตใจให้ได้


ขอบคุณที่มา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3669.msg13317#msg13317

336
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:

อ้างถึง
เรามีวิธีที่จะทำได้หลายประการ มันอยู่ที่การฝึกฝนและการทดลองค้นคว้าทางจิต
ไม่มีคำว่าผิดในการปฏิบัติ ถ้าเรารู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา ว่าเราทำสิ่งนี้เพื่ออะไร

เมื่อวานตอนปลูกมะละกอ ผมก็นึกถึงแต่...ปลูกมะละกอๆๆๆๆๆ :002:

337
ยังมีต่อครับท่าน
===========

ศีลเหตุที่ทำให้สำเร็จ

๑. ปาติโมกขสังวรศีล สำเร็จได้ด้วยศรัทธา ตัวอย่างเช่น พระเถระที่ถูกโจรมัดด้วยเถาหญ้านาง (ท่านมีศรัทธาในการรักษาศีลข้อห้ามตัดทำลายของเขียว แม้ต้องแลกด้วยชีวิตก็ยอม) ท่านนอนเจริญวิปัสสนาอยู่อย่างนั้นตลอด ๗ วัน ได้บรรลุพระอนาคามีผล แล้วมรณภาพในดงนั่นเอง

๒. อินทรียสังวรศีล สำเร็จได้ด้วยสติ ถ้ามีสติในอินทรีย์ทั้งหลาย คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ บาปอกุศลทั้งหลายก็จะไม่เกิดขึ้น

๓. อาชีวปาริสุทธิศีล สำเร็จได้ด้วยวิริยะ เพราะวิริยะที่ปรารภธรรมโดยชอบแล้วก็เป็นการประหาณมิจฉาอาชีวะได้

๔. ปัจจยสันนิสสิตศีล สำเร็จได้ด้วยปัญญา ผู้มีปัญญาจึงจะสามารถมองเห็นโทษและอานิสงส์ของปัจจัยทั้งหลายได้



๒. จิตตวิสุทธิ
จิตตวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์แห่งจิต การชำระจิตใจให้ปราศจากมลทินเครื่องเศร้าหมอง คือ นิวรณ์


จิตตวิสุทธิมี ๒ อย่าง คือ

๑. สมถสมาธิ ได้แก่ สมาธิ ๒ อย่าง คือ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ
เพราะเป็นสมาธิที่มีความบริสุทธิ์เป็นพิเศษ ชำระจิตใจของพระโยคีให้ปราศจากมลทิน คือ นิวรณ์ ๕ จัดเป็นจิตตวิสุทธิโดยตรง
 
อุปจารสมาธิ เป็นสมาธิที่อยู่ในมหากุศลหรือมหากิริยา ที่มี สมถกรรมฐานเป็นอารมณ์
ส่วนอัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิที่อยู่ในมหัคคตฌาน ๙ มีบัญญัติ ปรมัตถ์ ที่เนื่องด้วยสมถกรรมฐาน ๓๐ เป็นอารมณ์

๒. วิปัสสนาสมาธิ ได้แก่ ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะที่อยู่ในมหากุศล หรือมหากิริยา จัดเป็นจิตตวิสุทธิโดย
อ้อม จะเกิดขึ้นกับผู้ที่เจริญวิปัสสนาล้วนๆ มีการพิจารณาอารมณ์ โดยรูปนาม โดยความเป็นไตรลักษณ์ โดยอริยสัจจ์ ๔ เป็นต้น

๓. ทิฏฐิวิสุทธิ
ทิฏฐิวิสุทธิ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นถูก หรือปัญญาที่รู้ถูก เข้าใจถูก คือ ความรู้ความเข้าใจนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง เป็นเหตุให้ข่มความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์บุคคลเสียได้

เป็นญาณที่สามารถรู้รูปนามได้ โดย
๑. ลักษณะ คือ รู้ลักษณะเฉพาะตนของรูปนาม
๒. รส คือ รู้หน้าที่หรือกิจของรูปนาม
๓. ปัจจุปัฏฐาน คือ รู้ผลหรืออาการปรากฏของรูปนาม
๔. ปทัฏฐาน คือ รู้เหตุที่ใกล้ชิดของรูปนาม

ทิฏฐิวิสุทธิ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ ที่มีรูปนาม เป็นอารมณ์

การกำหนดรู้แม้จะไม่ครบทั้ง ๔ ข้างต้น เพียงแต่รู้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ได้ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ
ทิฏฐิวิสุทธิเมื่อว่าโดยญาณ ๑๖ จัดเป็นนามรูปปริจเฉทญาณ


ขอบคุณที่มา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3669.msg13317#msg13317

338
๑.๓ อาชีวปาริสุทธิศีล คือ ศีลที่เกี่ยวกับการหาเลี้ยงชีพโดยบริสุทธิ์ เป็นการประกอบอาชีพโดยสัมมาอาชีวะ สำหรับฆารวาสคือการเว้นมิจฉาชีวะต่างๆ สำหรับพระภิกษุ สามเณร คือเว้นจากการประจบประแจง การเป็นทูตให้แก่ญาติโยม เป็นต้น

๑.๔ ปัจจยสันนิสสิตศีล คือ ศีลที่อาศัยการบริโภคปัจจัย ๔ อันบริสุทธิ์ด้วยการพิจารณา
ดังพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้มีอาทิว่า
 “ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยจีวร เพียงเพื่อกำจัดเสียซึ่งความเย็น...”

ความแยบคายในการใช้สอยในการบริโภคนั้นมีความสำคัญ เพราะจะได้ไม่ตกเป็นทาสของสิ่งเหล่านั้น ไม่หลงใหลได้ปลื้มกับทรัพย์ภายนอกเกินควร ใช้สอยอย่างรู้คุณค่าและประโยชน์ที่ตรงชัดที่จะได้รับ มิใช่ใช้สอยเพื่อประกาศฐานะยศฐาบรรดาศักดิ์

ส่วนในด้านของภิกษุก็ได้แก่ ก่อนที่จะ รับประเคนอะไรก็ต้องพิจารณาก่อนว่าควรรับไหม รับมาเพื่ออะไร ถ้าเป็นอาหารบิณฑบาตเมื่อเวลาจะฉันก็ต้องพิจารณาว่าฉันเพื่ออะไร ถ้าไม่พิจารณาก็ไม่บริสุทธิ์ เป็นต้น


อินทรียสังวร กับปาติโมกขสังวร ต่างกันอย่างไร ?
ถ้ามีปาติโมกขสังวร ไม่ต้องมีอินทรียสังวรได้ไหม ?

อินทรียสังวรเป็นการสังวรในขณะที่ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง เป็นต้น แต่ปาติโมกขสังวรนั้นเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อไม่ให้ไปรับรูป เสียง เป็นต้น เช่น ข้อห้ามในศีล คือ ไม่ให้ดูฟังการฟู้อนรำขับร้อง แต่เมื่อเวลาเห็นได้ยินแล้วถ้าไม่มีอินทรียสังวรกำกับไว้ก่อน กิเลสก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้

ฉะนั้น ถ้ามีปาติโมกขสังวรแล้วก็ควรปฏิบัติควบคู่กับอินทรียสังวรด้วย จะทำให้ผู้ปฏิบัติทำลายความชอบใจและความไม่ชอบใจได้ อินทรียสังวรสามารถชำระกิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง ละอภิชฌา(โลภ) และโทมนัส(โทสะ) ที่เกิดทางใจได้ และสามารถทำลายกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานได้ มีทิฏฐิ เป็นต้น

ส่วนปาติโมกขสังวรศีล ทำลายได้แต่กิเลสอย่างหยาบ คือกิเลสทางกายกับวาจา
เหตุที่ทำให้ ศีลทั้ง ๔ อย่าง สำเร็จสรุปได้ดังนี้


ขอบคุณที่มา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3669.msg13317#msg13317

339
๑.๒ อินทรียสังวรศีล คือ ศีลที่สำรวมในอินทรีย์ ๖ คือการมีสติสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

จากพระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค สามัญญผลสูตร พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
“มหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.”

มหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักขุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำ
นั้นชื่อว่า รักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์

ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต...ดมกลิ่นด้วยฆานะ...ลิ้มรสด้วยชิวหา...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้เเจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม มนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น
ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ภิกษุประกอบด้วยอินทรียสังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน

มหาบพิตร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล.



อธิบายโดยสรุปได้ดังนี้ คำว่า เห็นรูปด้วยจักษุนั้นโดยแท้จริงแล้ว คือเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ จักษุนั้นเห็นรูปไม่ได้เพราะไม่มีจิต จิตก็เห็นรูปไม่ได้เพราะไม่มีจักษุ
แต่เพราะทวารกับอารมณ์กระทบกัน บุคคลจึงเห็นรูปได้ด้วยจิตที่เกิดขึ้นที่จักษุนั้นเอง

การไม่ยึดถือซึ่งนิมิต คือ การไม่ยึดถือนิมิตเครื่องหมายว่าเป็นหญิงเป็นชาย หรือความสวยงามซึ่งเป็นสิ่งที่
ทำให้กิเลสเกิดขึ้นได้ง่าย ให้หยุดอยู่เพียงแค่เห็นเท่านั้น

การไม่ยึดถือซึ่งอนุพยัญชนะ คือ ไม่ยึดถือในกิริยาอาการต่างๆ เช่นเห็นว่า ยิ้มสวย เวลายิ้มมีลักยิ้มที่แก้ม กิริยาที่หัวเราะก็น่ารัก เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้กิเลสเกิดขึ้นได้ง่าย ให้หยุดอยู่เพียงแค่เห็นเท่านั้น

อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำ
อภิชฌา คือ โลภะ โทมนัส คือ โทสะ
เมื่อมีการสำรวมอินทรีย์ในทวารทั้งหลายแล้ว อกุศลธรรมอันลามกก็จะไม่เกิดขึ้น

เมื่อบุคคลมีสติในการสำรวมสังวรระวังอยู่ ก็จะสามารถกั้นอกุศลที่จะเกิดขึ้นจากการเห็น การได้ยิน เป็นต้นได้ บุคคลที่ไม่สำรวมอินทรีย์ก็เหมือนคนที่มุงหลังคาไม่ดี ฝนย่อมรั่วรดถูกตัวเสมอ คล้ายกับกิเลสที่รั่วไหลเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ย่อมรั่วรดจิตใจเสมอ ตนก็จะต้องเช็ดน้ำตาเรื่อยไป

ถ้าหากว่าผู้ที่มีการสำรวมอินทรีย์ก็เหมือนกับคนที่มุงหลังคาดีแล้ว ฝนย่อมไม่รั่วลงมารดตัว ตนก็ไม่ต้องเช็ดน้ำฝน นี้ก็เช่นเดียวกัน ถ้ามีการสำรวมอินทรีย์แล้วกิเลสก็ไม่รั่วเข้ารดใจ เมื่อเห็นหรือได้ยินแล้ว อกุศลธรรมต่างๆ ก็ไม่เกิดขึ้น


ขอบคุณที่มา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3669.msg13317#msg13317

340
๑.๑ ปาติโมกขสังวรศีล คือ ศีลที่สำรวมระวังไม่ล่วงละเมิดทางกายทางวาจา ความระวังนี้เองคือการสังวร บุคคลผู้ประกอบด้วยศีล ๕ , ๘ , ๑๐ , ๒๒๗ , ๓๑๑ ย่อมยังความถึงพร้อมในการสังวร

บุคคลที่ไม่มีความสำรวมระวังในการอยู่ ในการไป ในการอาศัย ย่อมทำให้ทุกข์เกิดขึ้นได้

การสำรวมในการโคจรที่ดี มี ๓ อย่าง คือ
อุปนิสสยโคจร
อารักขโคจร
อุปนิพันธโคจร

๑.๑.๑ อุปนิสสยโคจร คือ การโคจรซึ่งประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ ได้แก่
- พิจารณาว่า ทำแล้วย่อมได้ฟังพุทธวจนะที่ยังไม่เคยฟัง
- พิจารณาว่า ทำแล้วย่อมทำพุทธวจนะที่ฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง
- พิจารณาว่า ทำแล้วย่อมสิ้นความสงสัย
- พิจารณาว่า ย่อมทำทฤษฎีให้ถูกต้อง
- พิจารณาว่า ย่อมทำจิตใจให้ผ่องใส
- พิจารณาว่า กัลยาณมิตรย่อมยังให้เจริญด้วยศรัทธา
- พิจารณาในศีล
- พิจารณาในสุตะ คือการฟังการศึกษาเล่าเรียน
- พิจารณาในจาคะ คือการบริจาค
- พิจารณาในปัญญา

การงานต่างๆ ของบุคคลที่พิจารณาในข้อปฏิบัติ ๑๐ ประการนี้ จะเป็นการช่วยทำให้การรักษาศีลในขั้นปาติโมกขสังวรศีลเป็นไปได้สะดวกดี เพราะพิจารณาในทุกๆเรื่องก่อนว่าสิ่งใดกระทำแล้ว เป็นไปเพื่อละกิเลส
จึงกระทำ สิ่งใดกระทำแล้วเป็นการบำรุงกิเลส ก็งดเว้นเสีย

๑.๑.๒ อารักขโคจร คือ การไปในที่ต่างๆ ก็ให้กำหนดไม่ให้มองสอดส่าย สังวรระวัง เดินอย่างสำรวม ไม่เหลียวดูสิ่งล่อตาล่อใจต่างๆ ไม่ดูสตรี ไม่ดูบุรุษ อย่างนี้ คือ มีความอารักขาดูแลตนในการไปในที่ต่างๆ

๑.๑.๓ อุปนิพันธโคจร คือ การโคจรไปในที่ต่างๆ โดยสำรวมระวังผูกจิตไว้ โดยการกำหนดสติปัฏฐาน ๔


ขอบคุณที่มา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3669.msg13317#msg13317

341
วิสุทธิ ๗

๑. สีลวิสุทธิ
สีลวิสุทธิ หมายถึง ศีลเพื่อละกิเลส ไม่ใช่ศีลเพื่อบำรุงกิเลส เพราะว่าศีลนั้นกิเลสก็อาศัยเกิดได้ เช่นการรักษาศีลเพื่อต้องการได้บุญ อยากได้ไปเกิดอีก อยากร่ำรวย การรักษาศีลหรือทำบุญใดๆ ที่มีเจตนาที่เป็นไปเพื่อความสุข เพื่อความร่ำรวย ศีลอย่างนี้ก็ไม่ใช่ศีลเพื่อทำลายกิเลส

ส่วนศีลบริสุทธิ์ที่จะเป็นสีลวิสุทธิต้องเป็น ศีลที่ประพฤติเพื่อปรารถนาพระนิพพาน ศีล หมายถึง ธรรมชาติใดที่ประกอบด้วยเจตนาของบุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น หรือของบุคคลผู้บำเพ็ญวัตรปฏิบัติ

ที่ชื่อว่าศีล เพราะว่า เป็นความปกติ คือ เป็นปกติอย่างเรียบร้อย มีกิริยาทางกาย ทางวาจาที่ประกอบด้วยความสุภาพเรียบร้อย หรือหมายความว่า เป็นความรองรับ เป็นฐานรองรับกุศลธรรมทั้งหลาย

ศีลมีหลายประการ เช่น ศีล ๕ ,ศีล ๘ , ศีล ๑๐ ,ศีล ๒๒๗ ,ศีล ๓๑๑ เพราะถึงแม้ศีลจะต่างกันโดยประเภทแห่งเจตนิเป็นต้น ก็ไม่พ้นไปจากความทรงอยู่อย่างเรียบร้อย และความรองรับกุศลธรรมนั้นเอง

ศีลมีจำแนกไว้หลายหมวดหลายนัย ในที่นี้จะแสดงเพียงหมวดเดียวคือ ศีล ๔ อย่าง

หมวด ๔ คือ
ปาติโมกขสังวรศีล
อินทรียสังวรศีล
อาชีวปาริสุทธิศีล
ปัจจยสันนิสสิตศีล


ขอบคุณที่มา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3669.msg13317#msg13317

342
วิสุทธิ ๗ ความบริสุทธิ์ของ ศีล สมาธิ ปัญญา

คัดลอกมาจาก
บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ชุดที่ ๑๐
เรื่อง วิปัสสนากรรมฐาน
บทที่ ๒ วิสุทธิ ๗

วิสุทธิ แปลว่า ความบริสุทธิ์ อันหมายถึงความบริสุทธิ์จากกิเลสที่เป็นไปทางกาย ทางใจ และทางปัญญา

กล่าวโดยย่อได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เป็นไปโดยบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสทั้งปวง ความหมดจดจากกิเลส มี ๓ ระดับ คือ หยาบ กลาง ละเอียด ทั้งทางกายทางจิตและปัญญา

ถ้าหมดจดจากกิเลสโดยศีล ก็หมดจดจากกิเลสอย่างหยาบ
โดยสมาธิ ก็หมดจดจากกิเลสอย่างกลาง
โดยปัญญา ก็หมดจดจากกิเลสอย่างละเอียด

วิสุทธิเป็นธรรมที่ละเอียดมากและเป็นธรรมชนิดนำไปสู่แดนเกษม คือพระนิพพาน
ผู้ที่จะบรรลุพระนิพพานได้นั้นต้องดำเนินไปด้วยวิสุทธิ คือ
ต้องดำเนินไปด้วยความหมดจดจากกิเลส วิสุทธิ ๗ นี้มีการดำเนินไปที่เกี่ยวเนื่องกับญาณ ๑๖

ดังนั้น จึงแสดงตารางความสัมพันธ์กันของวิสุทธิ ๗ และญาณ ๑๖ ไว้ที่หน้าสุดท้าย

วิสุทธิมี ๗ คือ
๑.สีลวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งศีล
๒.จิตตวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งจิต
๓.ทิฏฐิวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งความเห็นที่ถูกต้อง
๔.กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ของญาณที่ข้ามพ้นความสงสัย
๕.มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งของญาณว่า
เป็นทางปฏิบัติถูกและทางปฏิบัติไม่ถูก
๖.ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งของญาณในทางปฏิบัติถูก
๗.ญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ของความรู้ความเห็น

ขอบคุณที่มา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3669.msg13317#msg13317

343
ธรรมะ / ตอบ: อภิญญา 6
« เมื่อ: 12 ก.ย. 2554, 10:49:06 »
อภิญญา6

พระอรหันต์ คือผู้ที่ดับกิเลส จนสิ้นเชื้อไม่เหลือหรอ ไม่สามารถมีอะไรปรุงแต่งจิตของท่านได้อีกต่อไป จึงทำให้ ไม่ต้องไปเกิดในภพใดๆ อีกต่อไป เป็นการสิ้นสุด การเดินทางในวัฏฏสังสารอันยาวนาน พระอรหันต์เอง ก็มีหลายแบบ สามารถแบ่งได้ ตาม option หรือสิ่งที่ได้มาด้วยพร้อมการบรรลุอรหันต์คือ
1) พระอรหันต์แบบสุขวิปัสสโก คือ บรรลุอรหันต์ได้ด้วยการ เน้นการเจริญวิปัสสนา พอบรรลุอรหันต์แล้วก็จะไม่มี option พิเศษใดๆติดมาพร้อมการบรรลุเลย
2) พระอรหันต์แบบเตวิชโช คือ ได้ วิชชา 3 มาพร้อมกับการบรรลุอรหันต์
วิชชา 3 ได้แก่
- บุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ญาณในการระลึกชาติได้
- จูตูปปาตญาณ คือ ญาณในการรู้เห็นการเกิด การตายของสัตว์ทั้งหลาย
- อาสวขยญาณ คือ ญาณในการกำจัดกิเลสให้สิ้นไป
3) พระอรหันต์ปฏิสัมภิทัปปัตโต คือ ได้ ปฏิสัมภิทาญาณ 4 อย่างมาพร้อมกับการบรรลุอรหันต์ ปฏิสัมภิทาญาณทั้ง 4 ได้แก่
- ความแตกฉานใน อรรถ
- ความแตกฉานใน ธรรม
- ความแตกฉานใน ภาษา
- ความแตกฉานใน ปฏิภาณ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า แม้แต่พระอรหันต์เองก็ยังมีความแตกต่าง อันนี้ก็ขึ้นกับ บุญญาธิการของท่านที่ท่านได้สร้างไว้ใน ชาติก่อนๆ ด้วย ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่พระอรหันต์บางรูปท่านไม่รู้และไม่แตกฉานในพระอภิธรรมปิฏก
4) พระอรหันต์แบบฉฬภิญโญ คือ ได้ อภิญญา 6 มาพร้อมกับการบรรลุอรหันต์ อภิญญา 6 ได้แก่
- แสดงอิทธิฤทธิ์ได้เช่น เหาะเหิร เดินอากาศ หายตัว ฯลฯ
- มีหูทิพย์ (ทิพยโสต)
- ระลึกชาติได้ (บุพเพนิวาสานุสติญาณ)
- รู้วาระจิตผู้อื่นได้ หรือ อ่านใจคนอื่นได้ว่าคิดอะไร (เจโตปริยญาณ)
- มีตาทิพย์ (ทิพยจักขุ)
- อาสวขยญาณ
อภิญญา 5 อย่างแรกนั้น พวกฤาษี ชีไพรทั้งหลายก็สามารถทำได้ แต่ อาสวขยญาณนั้นจะเกิดกับพระอรหันต์เท่านั้น

ที่มา
http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=12966

344
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ฯ :054:

จะหาโอกาสไปกราบเยี่ยมท่านอีกครับ :054:

เรียนคุณberm.....เมื่อวานผมไปหาท่านพระอาจารย์...ได้จังหวะฝนหยุดตกพอดี...บรรยากาศหลังฝนตกมีหมอกปกคลุมทั่วบริเวณ ช่างงดงามดีแท้ครับ :015:

345
ธรรมะ / ตอบ: อภิญญา 6
« เมื่อ: 12 ก.ย. 2554, 09:57:04 »
ญาณทัศนะ, ญาณทัสสนะ การเห็น กล่าวคือ การหยั่งรู้, การเห็นที่เป็นญาณ หรือเห็นด้วยญาณ อย่างต่ำสุดหมายถึง วิปัสสนาญาณ

       นอก นั้นในที่หลายแห่งหมายถึง ทิพพจักขุญาณบ้าง มรรคญาณบ้าง และในบางกรณีหมายถึง ผลญาณบ้าง ปัจจเวกขณญาณบ้าง สัพพัญญุตญาณบ้าง ก็มี ทั้งนี้สุดแต่ข้อความแวดล้อมในที่นั้นๆ

ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

วิชชา ๘ (ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ)

๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่เป็นวิปัสสนา คือปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขารคือนามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกัน)
๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ, ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ ดุจชักไส้จากหญ้าปล้อง ชักดาบจากฝัก หรือชักงูออกจากคราบ)
๓. อิทธวิธา หรือ อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้)
๔. ทิพพโสต (หูทิพย์)

๕. เจโตปริยญาณ (ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้ )
๖. ปุพเพนิวาสานุสสติ (ระลึกชาติได้)
๗. ทิพพจักษุ (ตาทิพย์)
๘. อาสวักขยญาณ (ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ)

ข้อที่ ๒ โดยมากจัดเข้าในข้อที่ ๓ ด้วย ข้อที่ ๓ ถึง ๘ (๖ ข้อท้าย) ตรงกับอภิญญา ๖.

อ้างอิง ที.สี.๙/๑๓๑๑๓๘/๑๐๑-๑๑๒.
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

จากวิชชา ๘ จะเห็นว่า ญาณแบ่งได้สองส่วน คือ ส่วนที่เป็นอิทธิฤทธิืปาฏิหารย์ หรือ โลกียญาณ

อีกส่วน คือ การสิ้นกิเลส หรือ โลกุตรญาณ


ในภาคโลกียะ จะใช้สมาธิล้วนๆ(สมถกรรมฐาน)

ในภาคโลกุตระ ใช้สมาธิและวิปัสสนาร่วมกัน

ที่มา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3757.0;wap2

346
ธรรมะ / อภิญญา 6
« เมื่อ: 12 ก.ย. 2554, 09:42:49 »
อภิญญา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่ง หมายถึงปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน

อภิญญาในคำวัดหมายถึงคุณสมบัติพิเศษของพระอริยบุคคลซึ่งเป็นเหตุให้มีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ มี 6 อย่าง คือ

1.อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้
2.ทิพพโสต มีหูทิพย์
3.เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
4.ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
5.ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
6.อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป
อภิญญา 5 ข้อแรกเป็นของสาธารณะ (โลกียญาณ) ข้อ 6 มีเฉพาะในพระอริยบุคคล
ถ้าพบผู้แสดงฤทธิ์ได้ อย่าพึ่งหมายว่าผู้นั้นจะเป็นอริยบุคคล

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/อภิญญา

347
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ. เคยได้พูดคุยกับหลายๆคนที่ต้องเลิกนั่งสมาธิเพราะความกลัว พวกเค้าเหล่านั้นไม่สามารถก้าวผ่านความกลัวไปได้ครับ พอพูดถึงการนั่งสมาธิเค้าจะพูดเรื่องความน่ากลัวที่เค้าได้พบมาทันที
เพราะดำริความคิดเริ่มแรกของเขาเหล่านั้นมันผิด
มีความปรารถนาลามก คือการคาดหวังผลในโลกธรรม ๘
เพื่อให้ได้มาซึ่งชื่อเสียงคำยกย่องคำชมเชย อยากดี อยากเด่น
อยากให้คนเคารพบูชา เมื่อเจตนาดำริผิดไป ผลจึงออกมาเป็นเช่นนั้น
แต่ถ้าเราเชื่อมั่นในจิตที่บริสุทธิ์และคุณธรรมของเราที่ได้สะสมมา
ความกลัวเหล่านั้นจะไม่เกิดขึ้นแก่เรา....

พวกนั้นคล้ายกับนักบวชนอกศาสนา

ขออนุญาตขยายความโลกธรรม 8 ด้วยครับ
================
ความหมายของโลกธรรม 8
โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องของ โลกมีอยู่ประจำกับชีวิต สังคมและโลกของมนุษย์เป็นความจริงที่ทุกคนต้องประสบ
ด้วยกันทั้งนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ข้อแตกต่างคือ ใครประสบมาก ประสบน้อย
ช้าหรือเร็ว โลกธรรมแบ่งออกเป็น 8 ชนิด จำแนกออกเป็น 2 ฝ่ายควบคู่กันและมีความหมายตรงข้ามกัน คือ

1. โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์พอใจมี 4 เรื่อง คือ
- ได้ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเงินทอง ได้บ้านเรือนหรือที่สวน ไร่นา
- ได้ยศ หมายความว่า ได้รับแต่งตั้งให้มีฐานันดรสูงขึ้น ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต
- ได้รับสรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ
- ได้สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ได้ความเบิกบาน ร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ

2. โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์ไม่พอใจมี 4 เรื่อง คือ
- เสียลาภ หมายความว่า ลาภที่ได้มาแล้วเสียไป
- เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดอำนาจ
- ถูกนินทา หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี มีใครพูดถึง ความไม่ดีของเราในที่ลับหลังเรียกว่าถูกนินทา
- ตกทุกข์ คือ ได้รับความทุกข์ทรมานกายทรมานใจ

ที่มา
http://www.learntripitaka.com/scruple/rokatham8.html

348


 กราบ นมัสการ พระอาจาร์ย ครับ รักษาสุขภาพ ด้วย ครับผม

 แนวทาง ธรรม ของคำว่า อุทานธรรม พออ่านแล้วธรรมะบังเกิดเลยครับ

ยินดีด้วยครับ :015:

349
“เราไม่ได้ปฏิบัติเพื่อดับสังขารขันธ์
หรือเวทนาและสัญญาขันธ์
แต่ปฏิบัติเพื่อจะรู้ทันความเกิดดับของมัน
ด้วยจิตที่เป็นกลาง ถ้าคิดจะดับมัน จิตจะเกิด
ความรำคาญใจขึ้นมาเล็กๆแบบไม่รู้ตัวครับ
เรียกว่ากิเลสเกิดขึ้น แต่เรารู้ไม่ทัน
จิตจึงไปปฏิเสธสภาพธรรมที่กำลังปรากฏอยู่”


อ่านทั้งหมดได้ที่นี่ฟรี!!
http://02.learndhamma.com/pramote/books/vidhi.pdf

ถ้าท่านผู้ใดประสงค์จะพิมพ์แจกเป็นธรรมทาน
โปรดพิมพ์ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
หากพิมพ์เพื่อจำหน่าย ขอสงวนสิทธิ์

350
คํานํา

วิถีแหงความรูแจงถึงพระสัทธรรมทางพระพุทธศาสนา  ไดแกการเจริญสติ
นอกจากการเจริญสติแลว  ไมมีหนทางแห่งความรู้แจ้งทางที่สอง


การเจริญสติหรือการทําความรูตัว  เปนวิถีทางที่ตรงไปตรงมาที่สุด  ที่จะพาเรา
แหวกออกจากโลกของความปรุงแตง  หรือความคิดนึกทั้งหลาย  ซึ่งปดกั้นเราไวจากสัจธรรมที่แท้จริง 
ทันทีที่เราแยกตนเองออกจากโลกของความคิดปรุงแตงได  จิตของเราจะ
มีคุณภาพที่จะมองเห็นปรมัตถธรรมที่กําลังปรากฏและเกิดดับ  ไดแกจิตและเจตสิก  อัน
เปนฝายนามธรรมและรูปธรรมทั้งปวง  เมื่อจิตรูแจงและปลอยวางปรมัตถธรรม  ฝายรูปธรรมและนามธรรมไดแลว
เราก็จะบรรลุถึงสัจจะอันแทจริง  ซึ่งอยูเหนือความปรุงแต่งทั้งปวง

การบรรลุถึงสัจจะที่จะเหนือความปรุงแตง  จะกระทําไมไดดวยการปฏิบัติที่เปนความปรุงแตง 
อาทิ การทำทาน  การถือศีล  และการทําสมาธิที่ถูกตอง  (ไมตองกลาวถึงการทำทาน  การถือศีล 
และการทําสมาธิที่ผิด  คือเจือดวยโมหะและโลภะ)  ตัวอยางเชน  เมื่อเกิดความตระหนี่ก็ทําทานเพื่อลดความตระหนี่  เมื่อถูกราคะและโทสะครอบงําจิตใจ  จนลนออกมาเปนการทําผิดทางกายและวาจา  ก็ถือศีลเพื่อเปนกรอบกั้นการทําผิดทาง
กายและวาจาไวกอน  หรือเมื่อจิตฟุงซานก็ทําความสงบ  เมื่อมีกามราคะก็พิจารณาอสุภะฯลฯ
  สิ่งเหลานี้  แมจะเปนประโยชนมากและควรทํา  แตก็เปรียบเหมือนกับการแก
อาการของโรคเท่านั้น  ยังไมถึงขั้นการขจัดต้นตอหรือสาเหตของโรค ุ
การจะปฏิบัติจนจิตเขาใจถึงสภาพธรรมที่เหนือความปรุงแตง  จะกระทําไดดวย
การลืมตาตื่นออกจากโลกของความคิดฝนปรุงแตง  แลวหันหนามาเผชิญกับปรมัตถธรรม
ที่กําลังปรากฏดวยจิตที่เป็นกลาง  พนจากความหลงยินดียินรายแม้แต่กับกิเลสบาป
ธรรม  ไมเพงจอง  และไมเผลอเติมความคิดปรุงแตงลงในการรับรู  นี้คือวิถีที่จะรีด
กระแสความคิดปรุงแตงใหเรียวเล็กจนขาดลง  เมื่อกระแสของความปรุงแตงขาดลง 
สภาพธรรมที่พนจากความปรุงแต่งก็ จะปรากฏออกมาเอง
 
การทําความรูตัว  เปนสิ่งที่เราไมคุนเคย  เพราะเราคุนเคยแตกับความไมรูตัวแลว
หลงอยูในโลกของความคิดฝน  จึงจําเปนที่เราจะตองศึกษา  ทําความเขาใจ  แลวลงมือ
ปฏิบัติอย่างจริงใจ หนังสือเลมนี้  ไดนําเสนอขอเขียนบางสวนของอุบาสกนักปฏิบัติผูหนึ่งคือ 
นาย ปราโมทย สันตยากร / “สันตินันท” / “อุบาสกนิรนาม”  ทั้ง 4 เรื่อง  มีสาระเดียวกันคือ 
นํา เ ส น อ แ น ว ท า ง ก า ร เ จ ริญส ติ   เ พีย ง แ ต มีค ว า ม ย า ก งา ย ใ น ก า ร อ ธิบ า ย แ ต ก ตา ง กัน 
นับตั้งแต(1)  เรื่อง “แดเธอผูมาใหม:  เรื่องเรียบงายและธรรมดาที่เรียกวาธรรมะ”    จะเปนการนําเสนอสําหรับผูที่ไมคุนเคยกับศัพททางพระพุทธศาสนา  (2)   เรื่อง “แนวทางปฏิบัติธรรมโดยสังเขป”    เปนการขยายความใหลึกลง  (3)  เรื่อง  “แนวทางปฏิบัติธรรมของพระราชวุฒาจารย  (หลวงปูดูลย  อตุโล)”   เปนการแจกแจงการปฏิบัติแบบหนึ่ง ของศิษยผูหนึ่ง  ซึ่งไดรับการชี้แนะแกนคําสอนในเชิงปฏิบัติจากหลวงปูดูลย  (ควรเขาใจ
วา  ศิษยทานอื่นก็อาจมีวิธีการปฏิบัติตามแกนคําสอนของหลวงปู แตกตางกันบางตามจริตนิสัย)  และ (4)  เรื่อง “การดูจิต :  ความหมาย  วิธีการ  และผลของการปฏิบัติ”  เปนการอธิบายในเชิงวิชาการ   เพื่อสร้างความเข้าใจที่ ตรงกันระหว่างนักปริยัติกับนักปฏิบัติ
ขอชาวพุทธจงรูจักวิถีแหงความรูแจง  และมีสวนแหงความรูแจงตามรอยบาทของพระศาสดาโดยทั่วถึงกันเทอญ
(1 พฤศจิกายน 2544)

ที่มา
http://02.learndhamma.com/pramote/books/vidhi.pdf

351
วิถีแห่งความรู้แจ้ง 1-2 ฉบับสมบูรณ์ ของ พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช         



ผู้เขียน พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช นามเดิม นายปราโมทย์ สันตยากร อุปสมบทที่วัดบูรพาราม
อ.เมือง จ.สุรินทร์ เมื่อ พ.ศ.2544 ช่วงก่อนอุปสมบทท่านได้เขียนบทความเกี่ยวกับการเจริญสติ เจริญวิปัสสนา หรือการดูจิต จากประสบการณ์ที่ได้รับการศึกษาและปฏิบัติมาจากหลวงปู่ดูลย์ อตุโล โดยใช้นามปากกาว่า อุบาสกนิรนามและสันตินันท์ หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้แสดงธรรมและเขียนหนังสือเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติภาวนา เพื่อพิมพ์แจกเป็นธรรมทานอีกหลายเล่ม
หนังสือวิถีแห่งความรู้แจ้ง แบ่งเป็นสองภาค คือ วิถีแห่งความรู้แจ้ง 1 พิมพ์แจกเป็นธรรมทานครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 และวิถีแห่งความรู้แจ้ง 2 พิมพ์แจกเป็นธรรมทานครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2545 เป็นงานเขียนที่มุ่งชี้แนวทางการปฏิบัติธรรมอันลัดสั้น ตามหลักวิปัสสนากรรมฐาน หนังสือนี้ไม่ใช่เพื่อความรอบรู้ในทางวิชาการเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเสมือนแผนที่บอกวิถีทางสู่ความ
พ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง จนถึงขณะนี้หนังสือทั้งสองภาคได้รับการตีพิมพ์เป็นธรรมทานมาแล้วเกือบแสนเล่ม และเมื่อปีพ.ศ.2549 สำนักพิมพ์พรีม่า พับลิชชิ่ง ได้รับอนุญาตให้นำมาจัดพิมพ์และจัดจำหน่าย
วิถีแห่งความรู้แจ้ง 1 เป็นการรวบรวมงานเขียนของพระปราโมทย์ ปาโมชฺโช ครั้งยังเป็นฆราวาส แบ่งเป็น 4 บท ได้แก่ 1) แด่เธอผู้มาใหม่ ที่กล่าวถึงเรื่องเรียบง่ายและธรรมดาที่เรียกว่าธรรมะ 2) แนวทางปฏิบัติธรรมโดยสังเขป กล่าวถึงการเจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้อง โดยมีเครื่องมือในการปฏิบัติธรรม อันได้แก่ สติ และสัมปชัญญะ 3) แนวทางปฏิบัติธรรมของพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) กล่าวถึงเหตุผลที่ท่านเน้นการศึกษาที่จิต โดยวิธีดูจิต และ 4) การดูจิต กล่าวถึงความหมาย วิธีการ และผลของการปฏิบัติ ซึ่งเป็นการอธิบายในเชิงวิชาการ
ส่วนวิถีแห่งความรู้แจ้ง 2 นั้นเป็นงานเขียนเมื่อได้อุปสมบทแล้ว หนังสือเล่มนี้ ได้กล่าวถึงสิ่งที่เป็นจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา อันได้แก่ความพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง มีเนื้อหาที่กล่าวถึงว่าทุกข์คืออะไร ความทุกข์เกิดจากอะไร และอะไรคือทางแห่งความดับทุกข์ รวมถึงการแจกแจงเรื่องของการเจริญสติ อันได้แก่การเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ของรูปและนาม โดยการระลึกรู้ ถึง สภาวะธรรมที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง เจริญสติรู้ทันความปรุงแต่ง จนพ้นจากความปรุงแต่ง เข้าถึงความพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง
ประเด็นหลัก/คุณค่าที่คู่ควรกับจิตตปัญญาศึกษา: หนังสือทั้งสองเล่มนี้ มีรายละเอียดอย่างสมบูรณ์ ในเรื่องของการเรียนรู้ศึกษาจิตใจตัวเอง ด้วยการมีสติ มีสัมปชัญญะ เป็นการเรียนรู้จิตใจตัวเองจากประสบการณ์ตรง ด้วยการใช้ภาษาที่เรียบง่ายในการอธิบายเรื่องราวต่างๆ ในหนังสือ จึงทำให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจเนื้อหาได้ด้วยตัวเอง และสามารถปฏิบัติตามได้ไม่ยาก และเมื่อได้เรียนรู้จิตใจตัวเองจนเกิดปัญญา เข้าใจความจริงตามหลักของพุทธศาสนา คือเข้าใจความเป็นไตรลักษณ์ของจิตใจตัวเองได้แล้ว ปัญญาอันเป็นจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของพุทธศาสนา ก็จะส่งผลไปสู่การพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือการเข้าถึงความสุขที่แท้จริงต่อไป

ที่มา
http://www.jittapanya.com/index.php?option=com_content&view=article&id=202:-1-2-&catid=50:2010-03-01-08-40-53&Itemid=79

352
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ฯ :054:

อ้างถึง
" อุทานธรรม " เพราะว่าจิตนั้นกำลังพิจารณาอยู่กับปัจจุบันธรรม
ทำให้อกุศลจิตไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ ก็เพราะใจของเรานั้นเป็นกุศล
 ความเป็นมงคลก็ย่อมมีแก่เรา...

353
'พ่อคูณ'แจ่มใส ขึ้นเครื่องบินไปศิริราช สั่งลูกศิษย์ท่องคาถา

เช้านี้ "หลวงพ่อคูณ" มีสีหน้าสดชื่น แต่มีอาการอ่อนเพลียเล็กน้อย ขึ้นเครื่องบินของสำนักฝนหลวงเดินทางจากโคราชไปยัง รพ.ศิริราช เพื่อรักษาอาการอาพาธแล้ว
http://www.thairath.co.th/feed/1
=========
ไม่มีรายละเอียดในข่าวมากกว่านี้
แต่คิดว่า การสวดมนต์หรือท่องคาถา ก็จะเอื้อประโยชน์ที่ดีดี :001:

354
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:

อ้างถึง
ต้องรวมจิต ให้ไปอยู่ ณ จุดเดียว เมื่อจิตเข้าถึงความสงบจิตนั้นจึงจะมีพลัง ที่เรียกว่าพลังจิต
แล้วพิจารณาในพลังจิตนั้นอย่างแยบคาย เราก็จะได้เห็นธรรม ธรรมอันเกิดจากจิต ที่พิจารณาในอารมณ์สมาธิ
เห็นกาย เห็นจิต ก็เห็นธรรม......

355
ขอบคุณท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

สรุปสั้นๆง่ายๆ ว่าควรสวดมนต์ออกเสียง(รู้ความหมายก็ยิ่งดี) สวดยาวๆบ่อยๆดีกว่า

356

4. สัทธาจริต
      ท่านที่เกิดสัทธาความเชื่อ ท่านให้เจริญกรรมฐาน 6 อย่าง คือ อนุสสติ 6 ประการ คือ

พุทธานุสสติกรรมฐาน
ธัมมานุสสติกรรมฐาน
สังฆานุสสติกรรมฐาน
สีลานุสสติกรรมฐาน
จาคานุสสติกรรมฐาน
เทวตานุสสติกรรมฐาน

     ทั้ง 6 อย่างนี้จะทำให้จิตใจของท่านที่ดำรงสัทธาผ่องใส
5. พุทธิจริต
      คนเฉลียวฉลาดรู้เท่าทันเหตุการณ์ มีปฏิภาณไหวพริบดี ท่านให้เจริญกรรมฐาน 4 อย่าง

มรณานุสสติกรรมฐาน
อุปมานุสสติกรรมฐาน
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัฏฐาน
      กรรมฐานที่เหมาะแก่จริตทั้ง 6 ท่านจัดไว้เป็น 5 หมวด รวมกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต โดยเฉพาะจริตนั้น ๆ รวม 30 อย่าง หรือ 30 กอง ที่เหลืออีก 10 กอง คือ อรูป 4 ภูตกสิณ 4(ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ อาโปกสิณ) และอาโลกกสิณ 1 อากาสกสิณ 1 รวมเป็น 10 อย่าง ซึ่งเป็นกรรมฐานเหมาะแก่จริตทุกอย่าง แต่สำหรับอรูปนั้น ถ้าใครต้องการเจริญ ท่านให้เจริญฌานในกสิณให้ได้ ฌาน 4 เสียก่อน แล้วจึงเจริญในอรูปได้ มิฉะนั้นแล้วจะไม่เป็นผลสำหรับผู้ฝึกสมาธิใหม่เพราะอรูปละเอียดเกินไป


ที่มา
http://www.larnbuddhism.com/grammathan/jarit2.html

357
แบ่งกรรมฐาน 40 ให้เหมาะแก่จริต

      สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึง ความเหมาะสมในกรรมฐานต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับอารมณ์จิตที่มีความข้องอยู่ในขณะนั้น ว่า เมื่อใดอารมณ์จิตของท่านผู้ใดข้องอยู่ในอารมณ์ชนิดใด ก็ให้เอากรรมฐานที่พระองค์ทรงประทานไว้ว่าเหมาะสมกันเข้าพิจารณา หรือภาวนาแก้ไขเพื่อความผ่องใสของอารมณ์จิต เพื่อการพิจารณาวิปัสสนาญาณ เพื่อมรรคผลนิพพานต่อไป กรรมฐาน 40 กองที่ท่านได้จำแนกไว้ เพื่อเหมาะสมกับจริตมีดังนี้

1. ราคจริต
      ราคจริตนี้ กรรมฐานที่เหมาะคือ อสุภกรรมฐาน 10 กับกายคตนานุสสติ 1 เมื่ออารมณ์รักสวยรักงามเกิดขึ้นแก่อารมณ์จิต จิตข้องอยู่ในกามารมณ์เป็นปกติ ก็เอากรรมฐานนี้พิจารณาเป็นปกติ จนกว่าอารมณ์จะสงัดจากกามารมณ์ เห็นคนและสัตว์และสรรพวัตถุที่ชมชอบว่าสวยงดงาม กลายเป็นของน่าเกลียดโสโครกโดยกฎของธรรมดา จนจิตใจไม่มั่วสุมกับความงามแล้ว ก็พิจารณาวิปัสสนาญาณโดยยกเอาขันธ์ 5 เป็นอารมณ์ ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา

2. โทสจริต
      คนมักโกรธ หรือขณะนั้นมีอารมณ์โกรธพยาบาทเกิดขึ้น ท่านให้เอากรรมฐาน 8 อย่าง คือ พรหมวิหาร 4 วัณณกสิณ 4 (วัณณกสิณ 4 ได้แก่ นีลกสิณ เพ่งสีเขียว โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว) ทั้ง 8 อย่างนี้เป็นกรรมฐานระงับดับโทสะ เลือกที่เหมาะสมมาเพ่งและใคร่ครวญพิจารณา อารมณ์โทสะจะค่อย ๆ คลายตัวระงับไป

3. โมหะ และ วิตกจริต
      อารมณ์ที่ตกอยู่ในอำนาจของความหลง และครุ่นคิดตัดสินใจไม่ค่อยได้นั้น ท่านให้เจริญอานาปานานุสสติกรรมฐานอย่างเดียว อารมณ์ความลุ่มหลงฟุ้งซ่านก็จะสงบระงับไป


ที่มา
http://www.larnbuddhism.com/grammathan/jarit2.html

358
ประโยชน์ของการรู้อารมณ์จริต

      นักปฏิบัติควรรู้อาการของจริตที่จิตของตนคบหาสมาคมอยู่ เพราะการรู้อารมณ์จิตเป็นผลกำไรในการปฏิบัติ เพื่อการละด้วยการเจริญสมาธิก็ตาม พิจารณาวิปัสสนาญาณก็ตาม ความสำคัญอยู่ที่การควบคุมความรู้สึกของอารมณ์ ถ้าขณะที่กำลังตั้งใจกำหนดจิตเพื่อเป็นสมาธิ หรือพิจารณาวิปััสสนาญาณอารมณ์จิตเกิดฟุ้งซ่าน ก็จะได้น้อมนำเอาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มาประคับประคองใจให้เหมาะสมเพื่อผลในสมาธิ หรือหักล้างด้วยอารมณ์วิปัสสนาญาณเพื่อให้ได้ฌานสมาบัติ หรือมรรคผลนิพพาน พระธรรมเพื่อผลของสมาบัติ ท่านเรียกว่า "สมถกรรมฐาน" มีทั้งหมด 40 อย่าง

อสุภกรรมฐาน 10
อนุสสติกรรมฐาน 10
กสิณ 10
อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1
จตุธาตุววัฏฐาน 1
พรหมวิหาร 4
อรูป 4

ที่มา
http://www.larnbuddhism.com/grammathan/jarit2.html

359
จริตของคนประเภทต่างๆ (จริต หรือ จริยา 6)         

จริต หรือ จริยา 6 (ความประพฤติปกติ, ความประพฤติซึ่งหนักไปทางใดทางหนึ่ง อันเป็นปกติประจำอยู่ในสันดาน, พื้นเพของจิต, อุปนิสัย, พื้นนิสัย, แบบหรือประเภทใหญ่ๆ แห่งพฤติกรรมของคน)
ตัวความประพฤติเรียกว่า "จริยา" บุคคลผู้มีความประพฤติอย่างนั้นๆ เรียกว่า "จริต"
1.ราคจริต (ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปฏิบัติ, ประพฤติหนักไปทางรักสวยรักงาม) กรรมฐานคู่ปรับสำหรับแก้ คือ อสุภะและกายคตาสติ
2.โทสจริต (ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปฏิบัติ, ประพฤติหนักไปทางใจร้อนหงุดหงิด) กรรมฐานที่เหมาะ คือ พรหมวิหารและกสิณ โดยเฉพาะวัณณกสิณ
3.โมหจริต (ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปฏิบัติ, ประพฤติหนักไปทางเขลา เงื่องงง งมงาย) กรรมฐานที่เกื้อกูล คือ อานาปานสติและพึงแก้ด้วยมีการเรียน ถาม ฟังธรรม สนทนาธรรมตามกาล หรืออยู่กับครู
4.สัทธาจริต (ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปฏิบัติ, ประพฤติหนักไปทางมีจิตซาบซึ้ง ชื่นบานน้อมใจเลื่อมใสโดยง่าย) พึงชักนำไปในสิ่งที่ควรแก่ความเลื่อมใส และความเชื่อที่มีเหตุผล เช่น พิจารณาอนุสติ 6 ข้อต้น
5.พุทธิจริต หรือ ญาณจริต (ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางใช้ความคิดพิจารณา) พึงส่งเสริมด้วยแนะนำให้ใช้ความคิดในทางที่ชอบ เช่น พิจารณาไตรลักษณ์ กรรมฐานที่เหมาะ คือ มรณสติ อุปสมานุสติ จตุธาตุววัฏฐานและอาหาเรปฏิกูลสัญญา
6.วิตกจริต (ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปฏิบัติ, ประพฤติหนักไปทางนึกคิดจับจดฟุ้งซ่าน) พึงแก้ด้วยสิ่งที่สะกดอารมณ์ เช่น เจริญอานาปานสติ หรือเพ่งกสิณ เป็นต้น

ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ผู้แต่ง พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) หน้า 189-190
http://www.buddha4u.org/index.php?option=com_content&view=article&id=75&Itemid=74

360
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:

ชัดเจนครับ

361
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ที่เมตตาสั่งสอน  :054:

....อานิสงส์แห่งเมตตา ๑๑ ประการ....  

363
ขอบคุณท่าน Jakkrit
สำหรับภาพและเรื่องราวครับ

364
ขอบพระคุณครับ

ช่วงเวลาที่ท่านโพสต์กระทู้
ผมกำลังชม VDO ประวัติหลวงพ่อสดอยู่พอดีเลยครับ :002:

365
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:


ท่านที่สนใจโปรดอ่านเพิ่มเติมเรื่อง จิตคือพุทธะ
จิตหนึ่ง นั่นแหละ คือ พุทธ
จิตเป็นเหมือนกับความว่าง
http://goldfish.wimutti.net/tesana/ajdul01.html

ควรมิควรโปรดพิจารณา

366
ใครเป็นคนดีที่ควรคบและใครเป็นคนเลวที่ควรหลบ

การรู้จักวิเคราะห์ หลักของเหตุผลจะทำให้น้องๆพัฒนาการหยั่งแท้ หยั่งถึง ในการสังเกตว่าใครเป็น คนดีที่ควรคบใครเป็นคนเลวที่ควรหลบ เพื่อนำไปใช้ประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ คำถาม-คำตอบต่อไปนี้จะ    เป็นแกนแก่นยึดเพื่อน้อง ๆ จะได้ศึกษาและนำไปใช้เพื่อเลือกคบเพื่อน เพื่อนำพาตนเองให้หลุดพ้นจากปัญหา    และสิ่งเลวร้ายทั้งปวงที่จะมาจากคนเลวหรือเพื่อนผู้ร่วมงาน เจ้านาย ลูกน้อง ในอนาคตข้างหน้าเพื่อต้องเติบโต    รอดต่อไปในสังคมที่วุ่นวายอย่างทุกวันนี้   

เราสังเกตคนได้อย่างไรว่าใครเป็นคนดีหรือคนเลว

คนจะดีหรือเลวมันขึ้นอยู่ที่ใจของเขาถ้าใจของเขา คิดดีก็จะมีผลให้พูดดี ทำดี ถ้าใจของเขาชั่ว ก็ส่งผล ให้พูดชั่ว ทำชั่ว โดยทั่วไปแล้วมีคนบางคนชอบคิดชั่วตลอดเวลาแต่แสร้งทำเป็นพูดดี ทำดีต่อหน้าคนอื่น แต่ถ้าลับ    หลังระหว่างอยู่ในกลุ้มคนเลว ๆ ด้วยกันเขาก็พูดเลว ๆ คนประเภทนี้ถ้าคบกันเผิน ๆ เราก็จะหลงเข้าใจว่าเขาเป็น    คนดีวิธีสังเกตคนดีหรือเลววิธีง่าย ๆ โดยที่เขาเองก็ไม่รู้ตัวและเราเองก็ไม่จำเป็นจะต้องมีฤทธิ์ มีอำนาจพิเศษถึงกับ    อ่านใจตนได้ คือ สังเกตว่าเท่าที่ผ่านมาคนนั้นมีความกตัญญูรู้คุณหรือเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขารู้ถึงพระคุณพ่อ    แม่แค่ไหน ถ้าเขาเป็นคนที่ยังมีความกตัญญรู้คุณพ่อแม่ รู้พระคุณผู้มีอุปการระต่อเขา ถึงแม้เขาอาจโง่ไปบ้าง การ    ศึกษาต่ำไปบ้าง สะเพร่าไปบ้างแม้ที่สุด จะมีนิสัยเกะกะเกเรไปบ้าง ก็อย่าไปตั้งข้อรังเกียจ เพราะนั้นยังแสดงว่า ธาตุแท้จริง ๆ ของเขายังดี ความกตัญญูของเขายังมีอยู่ มีทางฝึกให้เป็นคนดี ถ้าจะรับเอาไปเป็นเพื่อนเป็นผู้ร่วม    งานเป็นลูกน้อง เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ก็ยังมีแววเอาดีได้ พยายามอดทนฝึกฝนถ่ายทอดนิสัยดี ๆ ให้กันไปแต่ตรง    กันข้ามใครก็ตาม ถึงแม้จะมีความรู้ความสามารถ มีฝีมือเก่งกาจแค่ไหน แต่ไม่รู้คุณคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณพ่อ    คุณแม่ คนประเภทนี้เป็นประเภทเลวแท้ เพราะไม่ว่าใคร ๆ จะทำดีกับเขายังไงก็ไม่มีเกินพ่อแม่เขาได้ ขนาดพ่อ    แม่เขายังไม่เห็นความดี เขาก็ไม่มีทางเห็นความดีของใครได้ อย่างนี้คบด้วยก็อันตรายไม่ควรคบและเข้าใกล้

ที่มา
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m3-4/no09-24-32-38/page07.html

367
หลักในการคบเพื่อนและคุณธรรมแห่งบัณฑิต

คนเราเกิดมาต้องมีเพื่อนกันทุกคน เพราะว่า เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่กันเป็นสังคม มีสัมพันธภาพเป็น สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตของบุคคลหนึ่งอย่างที่สุด

คำสอนที่ว่า " คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล "

นั้นยังคงใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย การที่เด็กคนหนึ่งเกิดมาในสังคมหนึ่ง ซึ่งมีทั้งคนดีและ    ไม่ดีปะปนผสมกันไปนั้น ย่อมต้องส่งผลต่อเส้นทางเดินของเด็กคนนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ถ้าเราสังเกตดูให้ดี ให้ลึก และมีจิตใจเป็นกลาง เราจะพบว่าบุคคลที่ประสบความสำเร็จบนโลกใบนี้ล้วนมีเพื่อนดีกันทุกคน เพื่อนที่    ดีที่ว่านี้คือ บุคคลซึ่งปิดทองหลังพระคอยตักเตือนชี้แนะ คอยนำพาเราไปพบแต่สิ่งดี ๆ และนำสิ่งดี ๆ มาให้เรา    เสมอโดยโดยไม่หวังผลตอบแทน การที่เด็กสมัยนี้จะเป็นคนดีมีคุณธรรมได้นั้น นอกจากต้องได้รับความดูแลเอา    ใจใส่และให้การอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ครูอาจารย์แล้ว เพื่อนก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะนำพาให้เขาถึงฝั่งฝันสมใจ    ปองของทุก ๆ คนได้ง่าย ลองดูหลักในการคบเพื่อน และ ความหมายของการคบบัณฑิตกันดีกว่า เผื่อจะได้ความ    หมายของคำว่า มีศตรูเป็นบัณฑิต ดีกว่ามีมิตรที่เป็นพาลและนำไปไช้ในชีวิตประจำวันอย่างเกิดประโยชน์เราควร    มีหลักการคบเพื่อนอย่างไรบ้าง   

1)  คนพาลชอบชักนำไปในทางที่ผิด เช่นชักชวนไปกินเหล้าเมายา เที่ยวกลางคืน

2)  คนพาลไม่ชอบวินัย ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมืองและประพฤติผิดศีลธรรม

3) คนพาลชอบแต่สิ่งที่ผิด ชอบเห็นความพินาศของผู้อื่นเมื่อเวลาตัวเองทำผิดก็ภูมิใจ

4) คนพาลชอบทำในสิ่งทีไม่ใช่ธุระของตนคือ ชอบไปก้าวก่ายธุระหน้าที่ของผู้อื่น ปล่อยปละละเลย ชีวิตของตน   

5) คนพาลแม้พูดจาดี ๆ ด้วยก็โกรธ

เมื่อเห็นใครทีมีลักษณะเลวทรามเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง 5 ประการ ให้ตั้งข้อสงสัยเลยว่า เขาเป็นคนพาลไม่ควรคบหาด้วย สำหรับบัณฑิตนั้นในทางธรรมหมายถึง ผู้รู้ดี รู้ชั่ว รู้ผิด รู้ถูก รู้บุญ รู้บาป ซึ่ง    อาจรับปริญญาหรือไม่ก็ตามแต่สามารถดำเนินชีวิตด้วยความรู้เหล่านั้นด้วยดี เมื่อเราคบบัณฑิตเป็นเพื่อน เราจะ    ได้รับการถ่ายทอดความประพฤติและนิสัยที่ดีจากบัณฑิต ทำให้เรามีโอกาสเจริญก้าวหน้าได้ง่ายขึ้น ทั้งด้านการ    งานเงินและชีวิตส่วนตัว ถึงแม้เราจะมีศัตรูเป็นบัณฑิตกับความเห็นผิดของเราเท่านั้น เมื่อเรากลับตัวเป็นคนดี บัณฑิตย่อมไม่ถือโทษโกรธเคือง แต่จะกลับเป็นมิตรแท้ให้แก่เราจนวันตาย เพราะฉะนั้นมีศัตรูเป็นบัณฑิตจึงดี    กว่ามิตรทีเป็นพาล

จัดทำโดย
นางสาวเฉลิมขวัญ ฉัตรทวีอุดม นางสาวประภัสสร พูลเกษม นางสาวสุทธ์สินี กิจแสงทอง นางสาวเขมจิรา เชษฐ์ชัยอมรกุล
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

ที่มา
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m3-4/no09-24-32-38/page06.html

368
ลองศึกษาเพิ่มเติมในเรื่อง"บัณฑิตสามเณร"นะครับ

ในระหว่างที่พระสารีบุตรกับบัณฑิตสามเณรกำลังเที่ยวบิณฑบาตในตอนเช้า บัณฑิตสามเณรสังเกตเห็นสิ่งต่างๆระหว่างเดินบิณฑบาตกับพระเถระ

น้ำในคันนา ๑(มนุษย์ทำคันกั้นบังคับให้น้ำเข้านาได้), ลูกศรธนู ๑(มนุษย์ใช้ไฟช่วยดัดลูกศรธนูให้ตรงได้),กำล้อเกวียน ๑(มนุษย์ใช้มีดเหลาล้อเกวียนไม้ให้เข้รูปร่างได้)

จากนั้นบัณฑิตสามเณรได้เรียนสอบถามพระสารีบุตร ๓ สิ่งนั้นมีจิตหรือไม่ พระเถระกล่าวตอบว่าสิ่งเหล่านั้นไม่มีจิตหรอกสามเณร

สามเณรจึงคิดด้วยปัญญาว่า ๓ สิ่งนั้นไม่มีจิต แต่มนุษย์สามารถบังคับทั้ง ๓ สิ่งนั้นได้ มนุษย์เองมีจิตแท้ๆ ทำไมจะบังคับจิตตัวเองไม่ได้เล่า

บัณฑิตสามเณรจึงถวายบาตรให้กับพระเถระ แล้วกลับมายังพระอาราม ตั้งใจแน่วแน่บำเพ็ญสมณะธรรม

ในที่สุดบัณฑิตสามเณรก็บรรลุอรหัตตผล.
ขอบพระคุณท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ครับ :015:

369
ธรรมะ / ตอบ: ....ตัณหา.......
« เมื่อ: 23 ส.ค. 2554, 10:16:05 »
หมวดกิเลสตัณหา [Craving]

1.  ยถาปิ  มูเล อนุปฺปทฺทเว ทฬฺเห
ฉินฺโนปิ  รุกฺโข ปุนเรว รูหติ
    เอวมฺปิ  ตณฺหานุสเย  อนูหเต
       นิพฺพตฺตตี  ทุกฺขมทํ  ปุนปฺปุนํ ฯ

            เมื่อรากยังแข็งแรง ไม่ถูกทำลาย
            ต้นไม้ที่ถูกทำลายแล้วก็งอกได้ใหม่ได้ฉันใด
            เมื่อยังทำลายเเชื้อตัณหาได้ไม่หมด
            ความทุกข์นี้ก็ยังเกิดขึ้นร่ำไป ฉันนั้น ฯ

            As a tree cut down sprouts forth again
            If its toots remain undamaged and firm,
            Even so, while latent craving is not removed
            This sorrow springs up again and again.

2.          ยํ  เอสา   สหเต  ชมฺมี             ตณฺหา โลเก  วิสตฺติกา
             โสกา ตสฺส  ปวฑฺฒตนฺติ          อภิวุฏฺฐํว    วรีณํ  ฯ

             ตัณหาอันลามก มีพิษร้าย ครอบงำบุคคลใด ในโลก
             เขามีแต่โศกเศร้าลสดใจ เหมือนหญ้าถูกฝนรด ย่อมงกงาม .

            Whoso in the world is overcome
            By this craving poisonous and base
            For him all sorrow increases
            As Virana  grass that is watered well .

3.         โย  เจตํ   สหเต  ชมฺมี           ตณฺหา  โลเก   ทุรจฺจยํ
            โสกา    ตณฺหา  ปปตนฺติ         อุทวินฺทุว   โปกฺขรา ฯ

            ผู้ใดเอาชนะตัณหาอันลามกที่ยากจะเอาชนะได้นี้
            ความโศกย่อมหายไปจากผู้นั้น เหมือนหยาดน้ำตกจากใบบัว .

            But whoso in the world overcomes
            This base craving , difficult ot overcome
            His sorrow falls away from him
            As water drops from a lotus leaf.

4.          ตสิณาย   ปุรกฺขตา  ปชา
             ปริสปฺปนฺติ   สโสว  พาธิโต
             สํโยชนสงฺคสตฺตา
             ทุกฺขมุเปนฺติ ปุนปฺปุนํ จิราย ฯ

             เหล่าสัตว์ติดกับตัณหา กระเสือกกระสนดุจกระต่ายติดบ่วง
             สัตว์ทั้งหลายติดอยู่ในกิเลสเครื่องผูกผัน ย่อมประสบทุกข์บ่อย ๆ ตลอดกาลนาน .

             Enwrapped in lust, beings run about
             Now here now there like a captive hare
             Held fast by fetters they suffer
             Again an again for long.

5.         โย นิพฺพนฏฺโฐ วนาธิมุตฺโต        วนมุตโต วนเมว ธาวติ
             ตํ ปุคฺคลเมว ปสฺสถ                   มุตฺโต พนฺธนเมว ธาวติ ฯ

              บุคคลใดสละเพศผู้ครองเรือน ถือเพศบรรพชิตปราศจากเรือน
              พ้นจากป่าคือกิเลสแล้วยังวิ่งกลับไปหาป่านั้นอีก
              พวกเธอจงดูบุคคลนั้นเถิด เขาออกจากคุกแล้วยังกลับวิ่งเข้าคุกอีก .

             Released from jungle of the household life
             He turns to  the bhikkha jungle-life
             Though freed froom the household wilds
             He runs back to that very wilds again
             Come indeed and behould such a man
             Freed he turns to that bondage again.

6.         น  ตํ  ทฬฺหํ   พนฺธนมาห  ธีรา
            ยทายสํ   ทารุชปพฺพชญฺจ
            สารตฺตรตฺตา   มณิกุณฺฑเลสุ
            ปุตฺเตสุ   ทาเรสุ  จ  ยา  อเปกฺขา ฯ

            เครื่องจองจำที่ทำด้วยเหล็กไม้และปอป่าน
            ผู้รู้กล่าว่า ยังไม่ใช่เครื่องจองจำที่มั่นคง
            แต่ความกำหนดยินดีในเครื่องเพชร บุตร ภริยา
            เป็นเครื่องจองจำที่มั่นคงยิ่งนัก .

            Not strong are bonds made of iron
            Or wood, or hemp.thus say the wise
            But attachment to jeweeled ornaments
            Children and wives is a strong tie .

7.         วิตกฺกมถิตสฺส    ชนฺตุโน       
             ติพฺพราคสฺส   สุภานุปสฺสิโน
             ภิยฺโย   ตณฺหา  ปวฑฺฒติ
             เอส   โข  ทฬฺหํ  กโรติ พนฺธนํ ฯ

             ผู้ตกเป็นทาสวิตกจริต มีจิตกำหนัดยินดี
             ติดอยู่ในสิ่งที่สวยงาม
             มีแต่จะพอกความอยากให้หนา ทำเครื่องพันธนาการให้แน่นเข้า.

             For him who is of restless mind
             Who is of powerful passions
             Who sees but the pleasurable
             Craving increases all the more
             Indeed he makes the bond strong.

8.          หนนฺติ   โภคา  ทุมฺเมธํ          โน   จ ปารคเวสิโน
             โภคตณฺหาย ทุมฺเมโธ           หนฺติ   อญฺเญว  อตฺตานํ ฯ

             โภคทรัพย์ ทำลายคนโง่ แต่ทำลายคนที่แสวงหาพระนิพพานไม่ได้
             เพราะโลภในทรัพย์ คนโง่ย่อมทำลายคนอ่น และตนเอง .

             Riches ruin the fool
             But not those   seeking Nibbana
             Craving for wealth, the foolish man
             Ruins himself by destroying others.

9.          สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ       
             สพฺพรสํ ธมฺมรโส  ชินาติ
             สพฺพรตึ ธมฺมรตึ ชินาติ
             ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ ฯ

              ธรรมทานชนะการให้ทุกอย่าง รสพระธรรมชนะรสทุกอย่าง
              ความยินดีในธรรมชนะความยินดีทุกอย่าง ความสิ้นตัณหาชนะความทุกอย่า

ที่มา
http://satuk.tripod.com/supasit/supasit10.htm

370
ธรรมะ / ตอบ: ....ตัณหา.......
« เมื่อ: 23 ส.ค. 2554, 09:45:11 »
ประโยชน์ของการรู้อารมณ์จริต

      นักปฏิบัติควรรู้อาการของจริตที่จิตของตนคบหาสมาคมอยู่ เพราะการรู้อารมณ์จิตเป็นผลกำไรในการปฏิบัติ เพื่อการละด้วยการเจริญสมาธิก็ตาม พิจารณาวิปัสสนาญาณก็ตาม ความสำคัญอยู่ที่การควบคุมความรู้สึกของอารมณ์ ถ้าขณะที่กำลังตั้งใจกำหนดจิตเพื่อเป็นสมาธิ หรือพิจารณาวิปััสสนาญาณอารมณ์จิตเกิดฟุ้งซ่าน ก็จะได้น้อมนำเอาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มาประคับประคองใจให้เหมาะสมเพื่อผลในสมาธิ หรือหักล้างด้วยอารมณ์วิปัสสนาญาณเพื่อให้ได้ฌานสมาบัติ หรือมรรคผลนิพพาน พระธรรมเพื่อผลของสมาบัติ ท่านเรียกว่า "สมถกรรมฐาน" มีทั้งหมด 40 อย่าง

อสุภกรรมฐาน 10
อนุสสติกรรมฐาน 10
กสิณ 10
อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1
จตุธาตุววัฏฐาน 1
พรหมวิหาร 4
อรูป 4


แบ่งกรรมฐาน 40 ให้เหมาะแก่จริต

      สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึง ความเหมาะสมในกรรมฐานต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับอารมณ์จิตที่มีความข้องอยู่ในขณะนั้น ว่า เมื่อใดอารมณ์จิตของท่านผู้ใดข้องอยู่ในอารมณ์ชนิดใด ก็ให้เอากรรมฐานที่พระองค์ทรงประทานไว้ว่าเหมาะสมกันเข้าพิจารณา หรือภาวนาแก้ไขเพื่อความผ่องใสของอารมณ์จิต เพื่อการพิจารณาวิปัสสนาญาณ เพื่อมรรคผลนิพพานต่อไป กรรมฐาน 40 กองที่ท่านได้จำแนกไว้ เพื่อเหมาะสมกับจริตมีดังนี้

1. ราคจริต
      ราคจริตนี้ กรรมฐานที่เหมาะคือ อสุภกรรมฐาน 10 กับกายคตนานุสสติ 1 เมื่ออารมณ์รักสวยรักงามเกิดขึ้นแก่อารมณ์จิต จิตข้องอยู่ในกามารมณ์เป็นปกติ ก็เอากรรมฐานนี้พิจารณาเป็นปกติ จนกว่าอารมณ์จะสงัดจากกามารมณ์ เห็นคนและสัตว์และสรรพวัตถุที่ชมชอบว่าสวยงดงาม กลายเป็นของน่าเกลียดโสโครกโดยกฎของธรรมดา จนจิตใจไม่มั่วสุมกับความงามแล้ว ก็พิจารณาวิปัสสนาญาณโดยยกเอาขันธ์ 5 เป็นอารมณ์ ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา

2. โทสจริต
      คนมักโกรธ หรือขณะนั้นมีอารมณ์โกรธพยาบาทเกิดขึ้น ท่านให้เอากรรมฐาน 8 อย่าง คือ พรหมวิหาร 4 วัณณกสิณ 4 (วัณณกสิณ 4 ได้แก่ นีลกสิณ เพ่งสีเขียว โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว) ทั้ง 8 อย่างนี้เป็นกรรมฐานระงับดับโทสะ เลือกที่เหมาะสมมาเพ่งและใคร่ครวญพิจารณา อารมณ์โทสะจะค่อย ๆ คลายตัวระงับไป

3. โมหะ และ วิตกจริต
      อารมณ์ที่ตกอยู่ในอำนาจของความหลง และครุ่นคิดตัดสินใจไม่ค่อยได้นั้น ท่านให้เจริญอานาปานานุสสติกรรมฐานอย่างเดียว อารมณ์ความลุ่มหลงฟุ้งซ่านก็จะสงบระงับไป

4. สัทธาจริต
      ท่านที่เกิดสัทธาความเชื่อ ท่านให้เจริญกรรมฐาน 6 อย่าง คือ อนุสสติ 6 ประการ คือ

พุทธานุสสติกรรมฐาน
ธัมมานุสสติกรรมฐาน
สังฆานุสสติกรรมฐาน
สีลานุสสติกรรมฐาน
จาคานุสสติกรรมฐาน
เทวตานุสสติกรรมฐาน

     ทั้ง 6 อย่างนี้จะทำให้จิตใจของท่านที่ดำรงสัทธาผ่องใส
5. พุทธิจริต
      คนเฉลียวฉลาดรู้เท่าทันเหตุการณ์ มีปฏิภาณไหวพริบดี ท่านให้เจริญกรรมฐาน 4 อย่าง

มรณานุสสติกรรมฐาน
อุปมานุสสติกรรมฐาน
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัฏฐาน

      กรรมฐานที่เหมาะแก่จริตทั้ง 6 ท่านจัดไว้เป็น 5 หมวด รวมกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต โดยเฉพาะจริตนั้น ๆ รวม 30 อย่าง หรือ 30 กอง ที่เหลืออีก 10 กอง คือ อรูป 4 ภูตกสิณ 4(ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ อาโปกสิณ) และอาโลกกสิณ 1 อากาสกสิณ 1 รวมเป็น 10 อย่าง ซึ่งเป็นกรรมฐานเหมาะแก่จริตทุกอย่าง แต่สำหรับอรูปนั้น ถ้าใครต้องการเจริญ ท่านให้เจริญฌานในกสิณให้ได้ ฌาน 4 เสียก่อน แล้วจึงเจริญในอรูปได้ มิฉะนั้นแล้วจะไม่เป็นผลสำหรับผู้ฝึกสมาธิใหม่เพราะอรูปละเอียดเกินไป

ที่มา
http://www.larnbuddhism.com/grammathan/jarit2.html

371
ยังมีสิ่งที่เราไม่รู้อีกมากมายเลยครับ.....เช่น ขณะนี้...พูดถึง..ความตรึก

372
ถ้ามีโอกาส.....จะแวะไปชมและนมัสการท่านครับ :054:

373
ธรรมะ / ตอบ: ....ตัณหา.......
« เมื่อ: 23 ส.ค. 2554, 09:33:29 »
ตัณหาเกิดจากอะไร
โ ด ย : พระราชสังวรญาณ ( พุธ ฐานิโย ) วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา


         พระพุทธเจ้าถามพระอานนท์ว่า "อานนท์ เธอว่าตัณหาเกิดจากอะไร ?"
"ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรม"
พระองค์ก็ทรงตอบว่า "ตัณหาเกิดจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เกิดได้ เพราะตาเห็นรูป หูได้
ยินเสียง จมูกได้กลิ่นลิ้นได้รส กายสัมผัส"
"มันจะดับที่ตรงไหน ?"
"มันเกิดที่ไหน มันก็ดับที่ตรงนั้น คือมันจะดับที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ"
"ทำอย่างไร มันจึงจะดับ ?"

[shake]"ฝึกสติ" [/shake]

อันนี้หลักฐานยืนยันชัดเจน เพราะฉะนั้น ผู้ที่ฝึกสติ ไม่ต้องไปคำนึงว่า เราจะไปนั่งสมาธิที่ไหน
ในวัดใด สมาธิจะได้ลึกตื้นหนาบางเพียงใด แค่ไหน ขอให้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา

จาก ครอบครัวตัวละคร ธรรมะติดปีก
[/color]
ที่มา
http://variety.teenee.com/foodforbrain/5090.html

374
ประโยชน์ของการรู้อารมณ์จริต


      นักปฏิบัติควรรู้อาการของจริตที่จิตของตนคบหาสมาคมอยู่ เพราะการรู้อารมณ์จิตเป็นผลกำไรในการปฏิบัติ เพื่อการละด้วยการเจริญสมาธิก็ตาม พิจารณาวิปัสสนาญาณก็ตาม ความสำคัญอยู่ที่การควบคุมความรู้สึกของอารมณ์ ถ้าขณะที่กำลังตั้งใจกำหนดจิตเพื่อเป็นสมาธิ หรือพิจารณาวิปััสสนาญาณอารมณ์จิตเกิดฟุ้งซ่าน ก็จะได้น้อมนำเอาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มาประคับประคองใจให้เหมาะสมเพื่อผลในสมาธิ หรือหักล้างด้วยอารมณ์วิปัสสนาญาณเพื่อให้ได้ฌานสมาบัติ หรือมรรคผลนิพพาน พระธรรมเพื่อผลของสมาบัติ ท่านเรียกว่า "สมถกรรมฐาน" มีทั้งหมด 40 อย่าง

อสุภกรรมฐาน 10
อนุสสติกรรมฐาน 10
กสิณ 10
อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1
จตุธาตุววัฏฐาน 1
พรหมวิหาร 4
อรูป 4


ที่มา
http://www.larnbuddhism.com/grammathan/jarit2.html

375
ธรรมะ / ตอบ: ธรรมสมาธิ ๕
« เมื่อ: 23 ส.ค. 2554, 09:23:11 »
ขอบคุณสำหรับบทความครับ
ขอบคุณสำหรับคำขอบคุณครับ

376
จิตของเราบังคับยากนะ
มีทั้งยากและง่าย
ลองเอาไปไว้ที่ลมหายใจสิครับ กำหนดไว้ที่......ลิ้นปี่ ช่องท้อง หรือภาพกสิณต่างๆ

ผิดถูกประการใด ช่วยแก้ไขและเสริมเติมด้วยครับ

377
จริต 6

      จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตชอบท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มี 6 ประการคือ

ราคจริต จิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม คือ พอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะ

โทสจริต มีอารมณ์มักโกรธ เป็นคนขี้โมโหโทโส จะเป็นคนที่แก่เร็ว พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว

โมหจริต มีอารมณ์จิตลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบสะสมมากกว่าจ่ายออก มีค่าหรือไม่มีค่าก็เก็บหมด นิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น แต่ของตนไม่อยากให้ใคร ไม่ชอบบริจาคทานการกุศล เรียกว่า เป็นคนชอบได้ ไม่ชอบให้

วิตกจริต มีอารมณ์ชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่กล้าตัดสินใจ คนประเภทนี้เป็นโรคประสาทมาก มีหน้าตาไม่ใคร่สดชื่น แก่เกินวัย หาความสุขสบายใจได้ยาก

สัทธาจริต มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุผล พวกนี้ถูกหลอกได้ง่าย ใครแนะนำก็เชื่อโดยไม่พิจารณา

พุทธิจริต เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ การคิดการอ่าน ความทรงจำดี

      อารมณ์ที่กล่าวมา 6 ประการนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง 6 อย่างนี้ครบถ้วน บางรายก็มีไม่ครบ มีมากน้อยกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในชาติอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้ายคลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกันนั้น เพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน


ที่มา
http://www.larnbuddhism.com/grammathan/jarit.html

378
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ฯ :054:
ที่นำธรรมะมาสอนเป็นประจำ

379
ธรรมะ / ตอบ: ....ตัณหา.......
« เมื่อ: 23 ส.ค. 2554, 07:28:34 »
ขยายความเล็กน้อยในข้อหก แห่งตัณหา ๖

คติธรรมคำสอน หลวงปู่ทวด - ธรรมารมณ์



การอยู่อย่างมีธรรมารมณ์

คือ การอยู่เหนือความรู้สึกทั้งปวง

อยู่อย่างรู้หน้าที่การเป็นคน และรู้หน้าที่ในการงาน

คือ รู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้น เป็นสิ่งที่เราต้องทำ

ไม่ใช่ทำเพื่อหวังผลตอบแทน

เพราะถ้าเราทำงานเพื่อหวังผลตอบแทนต่าง ๆ

แล้วถ้าสิ่งต่างๆไม่สัมฤทธิ์ผลตามความหวังนั้น

เราย่อมเกิดความโทมนัส เสียใจน้อยใจ เป็นทุกข์

ที่มา
http://www.oknation.net/blog/times/2010/07/17/entry-1

380
ธรรมะ / ตอบ: ....ตัณหา.......
« เมื่อ: 22 ส.ค. 2554, 09:42:30 »
อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา


ตัณหา คือ ความดิ้นรนทะยานอยากของใจ จึงได้แต่สร้างความไม่สงบและความทุกข์ต่างๆ ให้บังเกิดขึ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอนให้ปฏิบัติ เพื่อละตัณหา คือความดิ้นรนทะยานอยากปรารถนานั้นเสีย สำหรับผู้ที่ต้องการจะพบกับความสงบ

และในขั้นสามัญก็ได้มีคำสอนอันแสดงไว้ว่า “ให้อาศัยตัณหาละตัณหาเสีย” ความตัณหาละตัณหานั้น ก็หมายความว่า ให้ใช้ความดิ้นรนทะยานอยากในทางที่พบกับความสิ้นทุกข์ คือให้อยากพบความสิ้นทุกข์ อยากบรรลุมรรคผลนิพพาน

อันความอยากดังกล่าวนี้ ถ้าเป็นความพอใจใคร่ที่จะปฏิบัติกระทำท่านเรียกว่า “ฉันทะ” เป็นอธิบาท คือธรรมที่ให้บรรลุถึงความต้องการที่มาก ฉันทะนี้ก็เป็นตัณหา และเมื่อแสดงอย่างละเอียดแม้ฉันทะดังกล่าวนั้นก็เป็นตัณหาอย่างละเอียดอย่างหนึ่ง แต่เป็นตัณหาในทางที่ดี ก็ให้อาศัยตัณหาในทางที่ดีเพื่อละตัณหาในที่สุด

ในข้อนี้ได้มีการแสดงถึงการอาศัยฉันทะเพื่อละฉันทะ ดังที่ท่านพระอานนทเถระได้ตอบปัญหาที่มีผู้ถามว่า “ประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออะไร”

ท่านตอบว่า “เพื่อละฉันทะ”

ผู้ถามก็ถามต่อไปว่า “การละฉันทะนั้นจะทำอย่างไร”

ท่านก็ตอบว่า “ให้อบรมทำฉันทะให้บังเกิดขึ้น”

ผู้ถามจึงแย้งว่า “คำตอบเช่นนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะทีแรกตอบว่าประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละฉันทะ แล้วทำไมจึงมาตอบอีกว่าให้ปฏิบัติอบรมทำฉันทะ”

ท่านพระอานนท์จึงได้แสดงอุปมาว่า “การที่จะมาสู่อารามนี้ ผู้มาก็ต้องมีฉันทะที่จะมา ต้องมีความเพียรที่จะมา ต้องมีจิตตะที่จะมา ต้องมีความใคร่ครวญที่จะมา แต่ว่าครั้นมาถึงอารามนี้แล้ว ฉันทะนั้นก็สงบ ความเพียรก็สงบ จิตใจที่มาก็สงบ วิมังสา คือความใคร่ครวญพิจารณาที่จะมาก็สงบ ฉะนั้นจึงละฉันทะอย่างนี้”

ตามคำตอบของท่านนี้ ก็คือต้องอาศัยฉันทะในการที่จะทำกรณียะ คือกิจที่ควรทำ ครั้นทำเสร็จแล้ว ฉันทะนั้นก็สงบ ก็เป็นอันว่าละฉันทะ

อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหาก็เช่นเดียวกัน อาศัยตัณหา คือความอยากเพื่อที่จะทำกรณียะ คือกิจที่ควรทำ ครั้นทำเสร็จแล้ว ตัณหานั้นก็สงบ แต่ว่าต้องละตัณหาจึงจะพบกับความสงบ อันหมายถึงความสิ้นสุดกิจที่จะพึงทำนั้นได้

ฉะนั้น เมื่อยังมีตัณหาอยู่ก็ให้เป็นนายของตัณหา อย่าให้ตัณหาเป็นนาย ตัณหาเป็นนายนั้นเรียกว่า “ตณฺหาทาโส” แปลว่าเป็นทาสของตัณหา ความเป็นทาสของตัณหานั้นก่อให้เกิดความทุกข์ อันเป็นความไม่สงบด้วยประการทั้งปวง

แต่ความเป็นนายของตัณหานั้น แม้ว่าจะมีความไม่สงบเพราะตัณหา แต่ก็สามารถควบคุมตัณหาได้ ไม่ให้ตัณหานำไปในทางที่ผิด เพราะว่าเมื่อมีความดิ้นรนทะยานอยากบังเกิดขึ้นก็ควบคุมได้ เพราะพิจารณารู้ว่าที่ดิ้นรนทะยานอยากไปอย่างนั้นถูกหรือผิด

ถ้าเป็นไปในทางที่ผิด ก็งดเว้นไม่กระทำ สงบความอยากนั้นเสีย
ถ้าเป็นไปในทางที่ถูกก็กระทำ

ก็เป็นอันว่าเป็นนายของตัณหาควบคุมตัณหาได้ และเป็นการอาศัยตัณหาเพื่อละตัณหาเสียด้วย ก็เพราะว่าเมื่ออยากจะทำกรณียะ คือกิจที่ควรทำอันใดอันเป็นกิจที่ดีที่ชอบ เมื่อกระทำเสร็จลงไปแล้ว ตัณหาในเรื่องนั้นก็สงบ เป็นอันละตัณหานั้นได้ พบความสงบไปชั้นหนึ่งๆ ดังนี้


: ความสงบ
: พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=8632

381
ธรรมะ / ตอบ: ....ตัณหา.......
« เมื่อ: 22 ส.ค. 2554, 09:35:33 »
ตัณหา 6

ตัณหา 6 หมวด ได้แก่

รูปตัณหา คือ อยากได้รูป (ที่มองเห็นด้วยตา)

สัททตัณหา คือ อยากได้เสียง

คันธตัณหา คือ อยากได้กลิ่น

รสตัณหา คือ อยากได้รส

โผฏฐัพพตัณหา คือ อยากได้โผฏฐัพพะ (ความรู้สึกทางกายสัมผัส)

ธัมมตัณหา คือ อยากในธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด)

ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งตัณหาทั้ง6นี้ เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์

ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความสูญแห่งตัณหาทั้ง6นี้ เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์

ตัณหาทั้ง 6 นี้ ไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด

ธรรมะที่เกียวข้อง

จาก ตัณหาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 17
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน รูปตัณหา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัททตัณหา ฯลฯ ใน คันธตัณหา ฯลฯ ในรสตัณหา ฯลฯ ในโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ในธรรมตัณหา ฯลฯ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ 6 นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
จาก ตัณหาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 23
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล 9 ประการ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล 9 ประการเป็นไฉน การแสวงหาเพราะอาศัยตัณหา 1 การได้เพราะอาศัยการแสวงหา 1 การวินิจฉัยเพราะอาศัยการได้ 1 ฉันทราคะเพราะอาศัยการวินิจฉัย 1 ความหมกมุ่นเพราะอาศัยฉันทราคะ 1 ความหวงแหนเพราะอาศัยความหมกมุ่น 1 ความตระหนี่เพราะอาศัยความหวงแหน 1 การจัดการอารักขาเพราะอาศัยความตระหนี่ 1 ธรรมอันเป็นบาปอกุศลหลายประการ คือ การจับท่อนไม้ จับศาตราการทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท กล่าววาจาส่อเสียดว่ามึงๆ และพูดเท็จย่อมเกิดขึ้น 1 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมมีตัณหาเป็นมูล 9 ประการนี้แล ฯ


ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/ตัณหา

382
ธรรมะ / ....ตัณหา.......
« เมื่อ: 22 ส.ค. 2554, 09:32:47 »
ตัณหา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตัณหา เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนา หมายถึง ความติดใจอยาก ความยินดี ยินร้าย หรือติดในรสอร่อยของโลก
ตัณหา ประกอบด้วย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ และ ตัณหาย่อมเจริญแก่ผู้ประพฤติประมาท
ตัณหา ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดังนั้น ความทุกข์ย่อมเกิดขึ้นบ่อยๆ เมื่อบุคคลยังถอนเชื้อตัณหาไม่ได้

ในหลักปฏิจจสมุปบาท ตัณหาเกิดจากเวทนาเป็นปัจจัย โดยมี อวิชชาเป็นมูลราก
ควรเห็นตัณหา เป็นดังเครือเถาที่เกิดขึ้น แล้ว จงตัดรากเสียด้วยปัญญา

ตัณหาแบ่งออกเป็น 3 อย่าง

กามตัณหา คือ ความอยากหรือไม่อยาก ใน สัมผัสทั้ง 5
ภวตัณหา คือ ความอยากทางจิตใจ เมื่อได้สิ่งนั้นมาแล้ว ไม่ต้องการให้มันเปลี่ยนแปลง
วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากทางจิต ความอยากดับสูญ
ควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา 3 อย่างนี้


อ่านเพิ่มเติมได้ในหัวข้อ...ตัณหา ๓...โดย คุณ ~@เสน่ห์เอ็ม@~
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=17788.msg155611

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/ ตัณหา

383
จริต ๖ ศาสตร์ในการอ่านใจคน (โทสะจริต) 4/4

ถ้ามีลูกน้องเป็นจริตนี้จะทำอย่างไร


คนจริตนี้เป็นลูกน้องที่ดีและเพื่อนร่วมงานที่ดี เชื่อถือได้ ไม่โกง เป็นคนมีสัมมาคารวะให้การเคารพเชื่อฟังผู้มีอำนาจมากกว่าหรือตำแหน่งสูงกว่า และถ้าเราสามารถได้ใจเขาก็จะสบายเพราะจะได้แม่ทัพที่ค่อนข้างเข้มแข็ง มีวินัย คอยรักษากฎเกณฑ์ของสำนักงาน ทำงานใหญ่ได้เนื่องจากเป็นคนที่อุทิศทั้งแรงกายและแรงใจอยู่แล้วตามธรรมชาติ งานมักออกมาค่อยข้างเรียบร้อย ไว้วางใจได้ นอกจากนี้ มักมีนิสัยชอบเป็นครู ชอบแนะนำสอนคนอื่นอยู่เสมอ
หากท่านมีลูกน้องที่เป็นโทสะจริต ประการแรกท่านต้องมีปิยะวาจา ต้องทำใจ ลดความเป็นตัวตนลง และพูดด้วยน้ำเสียงเย็นนิ่งในการโน้มน้าวหรือสั่งการ ท่านอาจต้องพูดแบบมธุรสวาจามากหน่อย เพราะคนที่เป็นโทสะจริตชอบกินขนมหวาน แม้พูดหวานเขาก็รู้สึกธรรมดา ค่อยๆ พูดอย่างละมุนละไม แม้ผู้พูดเองจะรู้สึกหวานมาก แต่สำหรับคนที่เป็นโทสะจริตจะดูว่า เป็นเรื่องธรรมดาและเห็นว่าโลกควรจะปฏิบัติต่อเขาเช่นนี้ ให้คิดถึงนิทานเรื่องโคนันทวิศาล ซึ่งหากใช้คำพูดไม่เพราะหู นอกจากจะไม่ยอมเดิน อาจจะขวิดท่านได้ การพูดจาไม่ไพเราะจะบีบคั้นจิตใจเขามาก
ต้องใช้กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์เข้าคุยกัน ทุกอย่างทุกเรื่องว่ากันไปตามกฎเกณฑ์ เพราะตัวเขาเป็นคนเคารพหลักการและกฎเกณฑ์อยู่แล้ว ห้ามใช้อารมณ์อำนาจบาตรใหญ่ไปบีบบังคับเขาให้ทำโน่นทำนี้ เพราะถ้าไม่มีหลักไม่มีเกณฑ์ เขาก็ไม่ทำ หากไปบีบเขา เขาจะเป็นคนประเภทยอมหักแต่ไม่ยอมงอ
ต้องมีความจริงใจ มีความซื่อตรงเป็นอารมณ์ คนจริตนี้มีความตรงไปตรงมาสูง บางครั้งก็ตรงเสียจนน่าตกใจ เวลาคุยกับลูกน้องท่านที่เป็นจริตนี้ต้องพูดตรงไปตรงมา ถ้าไม่
ต้องไม่ควบคุมเขาทุกขั้นตอน เพราะเขามีความรับผิดชอบสูง มิฉะนั้น หากจะจู้จี้ จะนำไปสู่การทะเลาะความขัดแย้ง

ถ้ามีหัวหน้าเป็นโทสะจริตจะรับมืออย่างไร
หากมีหัวหน้าที่เป็นโทสะจริต เราจะต้องให้ความเคารพนอบน้อม ระวังกริยา ระวังคำพูดเป็นพิเศษ เพราะพูดผิดหรือทำผิดนิดหนึ่งก็เป็นการจุดชนวนระเบิดได้ ดังนั้น ต้องพูดนิ่มนวล เอาน้ำเย็นเข้าลูบ อย่าทำให้เขาโกรธ และห้ามใช้โทสะเป็นอันขาด ถึงแม้ว่าเขาจะมีเสียงดังมา เราต้องระงับอารมณ์ของเราไว้ก่อน อาจต้องทำหน้าเศร้าๆ นิดหนึ่ง จะช่วยให้เขาสงบเร็ว เราต้องทราบว่าหัวหน้าที่เป็นโทสะจริตแทบจะควบคุมตัวเองไม่ได้เวลาโกรธ แต่พอเหตุการณ์ผ่านไปแล้วจะเสียใจในสิ่งที่ตัวเองได้พูดหรือได้ทำลงไป
คนที่มีลักษณะโทสะจริตจะมีสมาธิแรงอยู่แล้ว และยิ่งอยู่ในอารมณ์โกรธแล้วความรุนแรงจะเพิ่มพูนขึ้น ดังนั้น เราต้องเตรียมสติและเร่งสมาธิให้ดี ที่สำคัญคือ ต้องพูดจาด้วยเหตุด้วยผล ต้องคิดไตร่ตรองมาก่อนให้ละเอียดรอบคอบ มีการคิดอย่างดีก่อนพูดแต่ละคำแต่ละประโยค เจ้านายประเภทนี้จะถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติหากมาพูดโดยไม่คิดให้ถี่ถ้วนล่วงหน้า นอกจากนี้ เราต้องมีการเตรียมประเด็น พูดให้ตรงประเด็นเพราะเขาไม่มีความอดทนพอจะฟังความคิดที่วกวนไม่ตรงประเด็น และมีเหตุผลหนักแน่น มาก่อน มิฉะนั้นจะยิงทันที และห้ามใช้เหตุผลอย่างข้างๆ คู ๆ เพราะหัวหน้าที่เป็นโทสะจริตจะดูถูกคนไม่มีเหตุผล และเราจะถูกสับเป็นชิ้นเล็กๆ

เวลาคุยกับหัวหน้าประเภทนี้ ห้ามทำท่ากลัวหรือประหม่า เพราะเขาจะมีน้ำเสียงติเตียนอยู่แล้วเป็นนิสัยและมักจะมีความโกรธเป็นควันหลงจากเรื่องอื่นในอดีตอยู่บ้าง แต่ถ้าเรายิ่งไปทำท่าทางกลัวจะทำให้เขาดูถูกมากกว่าสงสาร ต้องทำใจให้เสมือนเป็นน้ำ มีความสงบ พูดด้วยน้ำเสียงราบเรียบ ยิ้มแย้มแจ่มใส

ขอบคุณ: www.drboonchai.com

ที่มา
http://www.yimtamphan.com/?p=135

384
จริต ๖ ศาสตร์ในการอ่านใจคน (โทสะจริต) 3/4

ถ้าท่านเป็นโทสะจริตต้องทำอย่างไร


ถ้าท่านเป็นโทสะจริต จุดเดือดของท่านจะต่ำ ท่านจะโมโหง่าย รำคาญคนง่าย หากท่านเริ่มรู้ตัวว่า เริ่มโกรธเริ่มโมโหเริ่มรำคาญใจ ให้ทำตัวเป็นขอนไม้ นิ่ง ต้องหยุดมโนกรรม วจีกรรม และกายกรรมที่เป็นอกุศลก่อน เพราะจะนำมาซึ่งความเสียหายทั้งต่อตัวเองและคนอื่น การสร้างความเจ็บปวดให้ผู้อื่นไม่ว่าจะโดยวจีกรรมหรือกายกรรมก็ตาม ในที่สุดแล้วจะส่งผลกลับมาให้ตัวเราเอง ดังนั้น หากอารมณ์ท่านเริ่มขยับด้วยความโกรธแล้ว ให้ทำตัวเป็นขอนไม้ มิฉะนั้นจะสร้างกรรมเพิ่มมากขึ้น

คนที่เป็นโทสะจริตจะอยู่ในอารมณ์ เมื่อเกิดความโกรธหรือโมโหก็มักไม่ค่อยรู้ตัวว่า กำลังโกรธหรือโมโหอยู่ จะรู้อีกทีก็เมื่อหายโมโหแล้ว ซึ่งในขณะนั้น ท่านอาจจะพูดหรือทำอะไรไปแล้วมากมายโดยไม่ได้ตั้งใจ และอาจต้องเสียใจภายหลัง จึงขอให้ท่านหัดลองสังเกตดูอารมณ์ของตัวเองเป็นประจำ ถามตัวเองอยู่เสมอว่า ตอนนี้รู้สึกอะไร รู้สึกดีใจ รู้สึกเสียใจ รู้สึกรำคาญ รู้สึกโกรธ ท่านจะสังเกตุเห็นว่า อารมณ์ของทางจะค่อนข้างมีแต่ความขุ่นเคือง รำคาญ อึดอัด มากกว่าความรู้สึกอื่น เพราะส่วนหนึ่งเป็นเพราะท่านได้สร้างกรอบตัวเองไว้ขังตัวเองค่อนข้างมากอยู่แล้ว ท่านได้ขีดเส้นให้ตัวเองเดินซ้ายเดินขวาอยู่ตลอดเวลา แต่การที่ท่านฝึกถามไปเรื่อยๆ จะทำให้เริ่มเห็นอารมณ์ของท่าน ในยามที่ความโกรธกำลังจะครอบหงำจิตใจของท่านนั้น หากท่านเห็นเริ่มเห็นอารมณ์ในยามนั้น เห็นความโกรธเกรี้ยวของสภาวะอารมณ์ในยามนั้นแล้ว ก็จะช่วยดึงสติกลับมาก่อนที่ท่านจะทำอะไรรุนแรงไป เป็นการเตือนสติให้รู้จักความผ่องใส ให้รู้จักการปล่อยวาง ทำให้อารมณ์ที่กำลังจะเพิ่มระดับความรุนแรง พอคลายลงมาได้บ้าง
เจริญเมตตาให้มาก คนในจริตนี้มักจะทำร้ายผู้อื่นได้ง่ายกว่าจริตอื่นๆ คนซึ่งมีการขัดเกลาทางด้านจิตใจน้อยหน่อย ก็อาจจะทำร้ายผู้อื่นทางร่างกาย แต่ผู้มีการขัดเกลาทางจิตใจมากขึ้นหน่อยก็จะทำร้ายผู้อื่นทางวาจา แต่ไม่ว่าท่านจะทำร้ายด้วยวิธีใดโดยจะรู้ตัวหรือไม่ หากเริ่มโมโหหรือโกรธ ขอให้รีบเจริญเมตราต่อผู้อื่น เพราะความโมโหหรือโกรธจะหยุดด้วยความเมตรา หากโมโหมากๆ ให้เหลือบดูสีหน้าของบุคคลที่อยู่รอบข้าง ซึ่งมีความทุกข์และความเศร้าพอเพียงอยู่แล้ว ท่านไม่ควรซ้ำเติมให้เขามีความทุกข์กายทุกข์ใจมากกว่านี้ ให้คิดว่า การทำร้ายด้วยวจีกรรม ก็ไม่กับต่างกับการทำร้ายด้วยพละกำลัง การเจ็บกายอาจหายได้ แต่การทำให้คนอื่นเจ็บใจนั้น จะฝังอยู่เนินนาน ซึ่งนับว่าเป็นการสร้างกรรมที่รุนแรงกว่าการกระทำเสียอีก
ฟังเสียงที่ตัวเองพูด ว่าเป็นอย่างไร น้ำเสียงชวนให้เป็นมิตรหรือสร้างศัตรู น่าติดตามฟัง น่าเชื่อถือ หรือว่าน่าเบื่อ ชวนรำคาญ และฟังว่าคำพูดที่ออกมาง่ายต่อการเข้าใจหรือเปล่า ปกติคนที่เป็นโทสะจริตมักไม่ค่อยฟังเสียงตัวเอง หากเราฟังเสียงของเราที่เปล่งออกมาแล้ว เราก็จะ เลิกสงสัยเสียทีว่า ทำไมเราพูดอย่างนี้แล้วเขาถึงยังไม่เข้าใจเรา หรือทำไมเขาถึงไม่ชอบเรา ทำเขาถึงโกรธหรือโมโหเรา

ให้เริ่มคิดว่าโลกนี้ไม่ต้องจริงจังมากนัก โลกนี้ก็เป็นอย่างนี้ คนที่เป็นโทสะจริตมักจะพยายามสร้างกรอบ ขีดเส้นให้กับตัวเอง ในแง่ดีแล้วทำให้เป็นคนมีวินัย แต่ในแง่เสียคือ มีความอึดอัดเป็นอารมณ์ ไม่สามารถแสดงความรู้สึก ความปรารถนาของตัว ไม่สามารถทำอะไรอย่างที่ตัวเองต้องการ เพราะโดนจำกัดด้วยความคิดที่ว่า ควรจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่เพียงแต่จะพยายามวางกรอบให้กับตัวเอง คนในจริตนี้จะพยายามวางกรอบให้กับคนอื่นไปด้วย กล่าวง่ายๆ เหมือนกับจะพยายามควบคุมโลกให้เป็นไปอย่างที่ตัวเองต้องการ ดังนั้น เมื่อบุคคลอื่นเข้าใกล้ผู้เป็นโทสะจริตจะรู้สึกอึดอัดไปด้วยและโดยปกติแล้วมักพยายามหลีกเลี่ยง หนทางแก้ไขประการหนึ่งก็คือ ขอให้ปล่อยๆ วางๆ บ้างอย่างไปจริงจังมาก การมีวินัยเป็นสิ่งดี แต่การสร้างกรอบการขีดเส้นให้กับชีวิต ก็เหมือนการถูกพันธนาการ เหมือนกับการเอาจิตใจตัวเองล่ามพันธนาการเอาไว้ จิตใจจึงเหมือนถูกบีบถูกกดเอาไว้ตลอดเวลา ทำให้จิตไม่ผ่องใส ไม่เบิกบาน และทำให้ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จะอยู่แต่ในกรอบเก่าๆ ของตัวเองตลอดเวลา

ต้องใจกว้างรับความคิดใหม่ๆ ไปพิจารณา เนื่องจากคนจริตนี้มักมีกรอบมีระเบียบบางประการ และใช้ชีวิตอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เหล่านั้น หากกรอบความคิดดังกล่าวถูกต้องก็ดีไป นำพาชีวิตไปสู่ความก้าวหน้า แต่ถ้ากรอบดังกล่าวไม่ถูกต้องชีวิตก็จะติดหล่มกับดักของความคิดตัวเอง คนที่เป็นโทสะจริตต้องพยายามพิจารณาทบทวนกฏเกณฑ์ของตัวเองที่ว่าต้องทำนั่นต้องทำนี่ ว่ามันถูกต้องและใช่ได้เหมาะสมกับกาละและเทศะมากน้อยเพียงใด และต้องเปิดใจกว้างรับฟังความคิดใหม่ๆ เพื่อนำไปคิดไปพิจารณา มิฉะนั้น ชีวิตจะไม่สามารถออกจากวังวนของพฤติกรรมเดิมได้

ต้องคิดก่อนพูด คิดให้นานๆ เข้าไว้ เพราะโทสะจริตจะเริ่มจากพูดไปก่อนและค่อยมาคิดทีหลัง และมักจะเสียใจภายหลังในสิ่งที่ตัวเองได้พูดได้ทำไปแล้วอยู่เสมอ
ให้พิจารณาว่าความโกรธทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของร่างกาย ส่งผลต่อระบบการย่อยอาหาร ระบบฮอร์โมน และโรคเก๊าท์


ที่มา
http://www.yimtamphan.com/?p=135

385
จริต ๖ ศาสตร์ในการอ่านใจคน (โทสะจริต) 2/4

จุดแข็งจุดอ่อนของโทสะจริต

จุดแข็งของบุคคลที่เป็นโทสะจริตคือ จะผู้อุทิศทุ่มเทให้กับการงานสูง สามารถทำงานได้รวดเร็ว และเป็นไปตามที่ได้รับมอบหมายไม่ผิดพลาด เนื่องจากเป็นคนที่มีสมาธิสูงอยู่แล้ว และไม่ปรุงแต่งฟุ้งซ่าน จึงฟังอะไรไม่ผิดพลาด และทำงานไม่ผิดพลาด ประกอบกับการเป็นผู้มีระเบียบวินัย เคารพกฏเกณฑ์ทำให้เป็นใหญ่เป็นโตในหน้าที่การงานได้อย่างไม่ยากเย็นโดยเฉพาะในหน้าที่การงานที่เน้นกฏเกณฑ์ ข้อบังคับต่างๆ การตรวจสอบความถูกต้อง เช่นผู้ตรวจสอบบัญชี ผู้ดูแลด้านปฏิบัติการ (operation) หรืองานของระบบราชการ
เป็นคนมีระเบียบวินัยสูง ตรงต่อเวลา หากนัดหมายกับคนที่เป็นจริตนี้ ต้องตรงเวลา เพราะเขาจะมาตรงเวลาและจะดูถูกพวกที่ไม่มีวินัยไม่เคารพสัญญา และไม่ตรงเวลา
เป็นนักวิเคราะห์ที่เก่ง เพราะมองอะไรตรงไปตรงมาไม่ปรุงแต่ง จึงสามารถมองเห็นเหตุมองเห็นผลได้ชัดเจน จึงเหมาะเป็นผู้ร่วมวางแผน
เป็นผู้ที่สามารถพึ่งพาได้ เนื่องจากเป็นผู้มีหลักการ ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ไม่มั่วไม่ใช้อารมณ์หรือเล่นพวกเล่นพ้อง
มีความจริงใจต่อผู้อื่นพูดอะไรเป็นคำไหนคำนั้น ไม่เป็นคนแทงคนข้างหลัง แต่อาจแทงข้างหน้าเลย หากจะด่าก็จะด่าต่อหน้าไม่ด่าลับหลัง และจะด่าทันทีท่ามกลางที่ประชุมหรือสาธารณชนได้โดยไม่หวั่นเกรงหรือหวั่นไหวต่อสายตาหรือความรู้สึกใดเหมือนคนจริตอื่นๆ การที่มีลํกษณะดังกล่าวทำให้คนที่เป็นโทสะจริตจะเป็นที่เกรงขามหรือเกรงกลัวของคนอื่นโดยธรรมชาติ
เป็นคนตรงไปตรงมา ไม่มีน้ำผึ้งผสม ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม พูดคำไหนเป็นคำนั้น ทำให้เป็นผู้ที่แม้ไม่น่าคบแต่ก็น่าทำธุรกิจด้วย
เป็นคนไม่ค่อยโลภเพราะอยู่ในโลกของความคิด โลกของความน่าจะเป็น โลกของหลักการและ กฏเกณฑ์มากกว่าโลกของวัตถุสิ่งของ
คนที่มีลักษณะเป็นโทสะจริตจะมีจุดอ่อนสำคัญคือ โกรธทั้งวัน อะไรผิดหูนิดๆ หน่อยไม่ได้ ทำให้อารมณ์ขุ่นมัวเป็นนิจ ไม่ค่อยไม่เป็นที่น่าคบค้าสมาคมของผู้อื่น
อารมณ์ที่ขุ่นมัวขุ่นเคืองอยู่เสมอนำมาสู่ซึ่งโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย จึงทำให้คนจริตนี้มักจะมีโรคภัยไข้เจ็บซึ่งเป็นผลจากอารมณ์โกรธและความไม่ผ่องใสของจิตได้ง่าย
การใช้คำพูดที่ก้าวร้าวรุนแรง ตลอดจนเสียดสีจิตใจผู้อื่นเป็นการสร้างวจีกรรมอยู่ตลอดเวลา สร้างความขุ่นเคืองใจให้กับผู้อื่น เกลียดชัง และอาจทำไปสู่การทะเลาะวิวาทค่อนข้างบ่อย นอกจากนั้น การชอบจับผิดคนอื่น หรือมองคนอื่นว่าไม่เก่งหรือมีความสามารถเท่าตัวเอง มีนิสัยค่อยข้างเหย่อหยิ่งอวดดี ทำให้ความสัมพันธ์กับคนอื่นไม่ค่อยราบรื่น มักจะต้องอยู่คนเดียวไม่มีเพื่อนหรือต้องอยู่เป็นโสด ไม่แต่งงานเพราะหาคนที่ดีพอเท่าตัวเองหรือมีระเบียบเท่าตัวเองไม่ได้ ถ้าแต่งงานก็ไม่ค่อยมีความสุขเท่าไร เพราะอีกฝ่ายรู้สึกว่าเหมือนเข้าอยู่โรงเรียนประจำ
การที่อยู่ในโลกของกรอบ โลกของหลักการและหลักเกณฑ์ทำให้ไม่ค่อยมีความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีความคิดริเริ่มอะไรที่แหวกแนว การที่พูดจาตรงไปตรงมาไม่สนใจความรู้สึกคนฟังทำให้แทบไม่มีความถนัดด้านการตลาด
นอกจากนี้ คนที่มีลักษณะโทสะจริตมักจะตกอยู่ในหลุมกลของนิสัยตัวเอง เพราะการที่แสดงความโมโหเกรี้ยวกราดมักจะนำมาสู่ความเกรงกลัว นำมาสู่อำนาจเหนือผู้อื่น และมักจะนำมาสู่สิ่งที่ตัวเองประสงค์อยู่เสมอ ทำให้เป็นการบ่มเพาะนิสัยช่างโมโหของตัวเองอยู่ตลอดเวลา และยากที่แก้นิสัยดังกล่าวได้

ที่มา
http://www.yimtamphan.com/?p=135

386
จริต ๖ ศาสตร์ในการอ่านใจคน (โทสะจริต) 1/4

โทสะจริต


หากเราเป็นโทสะจริต
คนที่อยู่กลุ่มโทสะจริต หรือมีสภาวะอารมณ์เป็นอารมณ์โกรธ คนที่อยู่ในกลุ่มนี้โดยธรรมชาติแล้วเป็นบุคคลผู้มีหลักการของตนเองในการทำงานและในการกระทำต่างๆ และมักเป็นผู้เคารพกฎเกณฑ์และมีวินัยสูงกว่าจริตอื่นๆ และการที่ตัวเองมีหลักเกณฑ์ ระเบียบวินัยค่อนข้างสูง จึงทำให้ทนไม่ได้เมื่อมาเจอผู้ที่ไม่มีระเบียบวินัย ไม่มีเคารพหลักเกณฑ์ นอกจากนี้จะเป็นคนที่รักษาคำพูดรักษาเวลา จึงทำให้ทนไม่ได้มาเมื่อกับคนที่ไม่รักษาคำพูดไม่รักษาเวลา

กลุ่มโทสะจริตมักคาดหวังว่าโลกจะเป็นอย่างที่ตัวเอง และจากการที่ตัวเองมักจะมีระเบียบวินัยสูงกว่าคนปกติ ก็มักจะคิดว่าโลกควรจะเปลี่ยนไปเหมือนตัวเอง แต่เมื่อพบว่าโลกไม่ได้เป็นอย่างนั้น และไม่สามารถเปลี่ยนโลกได้ ก็เกิดความขุ่นเคืองลึกๆ อยู่ในใจอยู่เสมอ และพร้อมจะระเบิดออกมาได้เมื่อเจอกับผู้ที่ไม่มีความเป็นระเบียบวินัย หรือความไม่ถูกต้อง

การที่ยึดมั่นในหลักการและกฏเกณฑ์ต่างมากกว่าคนอื่นๆ ทำให้เป็นคนตรงไปตรงมา ทำให้บุคคลที่เป็นโทสะจริงมีสมาธิแรงมาก แต่ในทางกลับคนที่มีพื้นฐานจิตเป็นโทสะจริตมักมีสติค่อนข้างอ่อน เพราะไม่ได้ดูโลกตามความเป็นจริง ไม่ได้ดูว่าคนอื่นเขาคิดอย่างไร แตกต่างกันเราอย่างไร อันที่จริงแล้วคนกลุ่มก็แทบไม่สนใจดูคนอื่นหรือดูโลกเท่าไรเลย เพราะคิดว่าโลกหรือทุกคนควรจะเปลี่ยนตัวเองไปตามหลักการหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง นั้นคือ ทุกคนควรมีวินัย ควรตรงต่อเวลา ควรเคารพกฏเกณฑ์ โลกของกลุ่มโทสะจริตเป็นโลกที่ควรจะเป็น ไม่ใช่เป็นโลกที่เป็นอยู่จริง คนที่ไม่สามารถทำได้จะถูกดูว่าไม่มีความสามารถ และมีท่าทางเย้ยหยันโลก ดูถูกโลก กลุ่มโทสะจริตจึงไม่ค่อยมีความเมตรากับคนอื่นมากนัก เพราะมองว่า คนพวกนี้ทำตัวของตัวเอง ไม่รักษาคำพูด ไม่มีระเบียบวินัยเอง ดังนั้น เขาจึงได้รับผลจากกระทำของตัวเองดังกล่าว
คนประเภทโทสะจริตลึกๆ แล้วก็เป็นคนอ่อนข้างในเพราะไม่ค่อยได้รับความรักความอบอุ่น จึงมีความน้อยใจหรือต้องการความรักความอบอุ่นอยู่ลึกๆ แต่เมื่อไม่ได้รับการตอบสนอง เลยจำต้องยึดกรอบเกณฑ์ระเบียบเป็นเสมือนเป็นเกราะป้องกันความอ่อนแอภายใน และไม่ต้องการให้ใครได้เห็นความอ่อนแอดังกล่าว แต่การที่มีเกราะขึ้นมาป้องกันมากทำให้ไม่สามารถแสดงความรักความรู้สึกได้มากเท่าไร ทำให้จิตใจค่อนข้างขุ่นเคืองเป็นประจำ

เราจะสังเกตคนกลุ่มโทสะจริตได้อย่างไร

คนที่อยู่ในกลุ่มโทสะจริตจะมีวิธีการพูดที่ตรงๆ ไม่กลัวใคร การพูดจาจะมีพลัง เสียงดังฟังชัด ฟังแล้วน่าเกรงขาม เพราะมีสมาธิแรง แต่คำพูดค่อนข้างแรงและหนัก ฟังแล้วไม่รื่นหูคำพูดอาจไม่ไพเราะ เพราะไม่คำนึงถึงความรู้สึกของคนฟังเท่าไร นอกจากนี้ จะพูดค่อนข้างเร็ว เพราะไม่ได้ยินเสียงตัวเอง ทำให้ผู้อื่นรับรู้ พฤติกรรมดูหยาบและดูหนัก
นอกจากนี้ยังเป็นคนพูดชี้ถูกชี้ผิด เพราะคนที่เป็นโทสะจริตเป็นคนที่คิดว่าตัวเองมีหลักการ และยึดกฏเกณฑ์เป็นที่ตั้ง ดังนั้นจะมีสิ่งที่ตัวเองคิดว่าถูกต้องอยู่ในใจเสมอ สิ่งไหนที่ไม่เป็นไปตามหลักการและกฏเกณฑ์ของตนเองแล้วย่อมไม่ใช่สิ่งที่ถูก เนื่องจากคนประเภทนี้มักจะเชื่อว่าตัวเองมีคุณธรรม มีวินัยสูง มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นประเภทเจ้าระเบียบ เจ้ากฏเกณฑ์ จึงมักจะใช้หลักเกณฑ์ของตนเองเข้าชี้ผิดชี้ถูกคนอื่นอยู่เสมอ เป็นคนที่เคารพกฏเกณฑ์จึงมักทนไม่ได้ที่เห็นใครละเมิดกฏเกณฑ์ขององค์กรหรือของสังคม ทำให้คนอื่นมองว่าเป็นพวกชอบจับผิด
หากจะดูวิธีการแต่งกายของคนที่มีลักษณะโทสะจริตจะเห็นได้ว่า ค่อนข้างเป็นระเบียบ การแต่งตัวค่อนข้างประณีต สะอาด สำหรับสีที่ชอบจะเป็นสีฉูดฉาดหรือไม่ก็สีเข้ม เช่น แดง สีส้มสด เหลืองสด เพราะทำให้อารมณ์นิ่งสงบและเข้าสู่ภาวะปกติ
คนในกลุ่มนี้จะมีการเดินที่รวดเร็วและตรงแน่ว เพราะเขารู้ชัดเจนว่าจะเดินไปทางไหน เนื่องจากเป็นคนที่เคารพเวลาและมีวินัย จึงไม่ค่อยวอกแวก และรู้สักตัดบทเก่ง ไม่เออระเหยลอยชาย
ดวงตาจะสว่างไสวและเป็นประกาย เพราะสมาธิสูง หน้าจะมีสีสันต์และพลังงาน แต่หน้าตาอาจไม่สวยไม่หล่อนัก เพราะจิตมีความขุ่นเคืองเป็นอารมณ์ ไม่แจ่มใสเบิกบาน ประกอบกับไม่มีความเมตราทำให้ไม่มีเสน่ห์และบารมีมากนัก


ที่มา
http://www.yimtamphan.com/?p=135

387
ส่วนที่เป็น ตัวตน จริงๆ นั้น ไม่ได้ ทำให้เรากลัวนาน หรือ มากเท่าสิ่งที่ใจสร้างขึ้นเอง
มันมักเป็น เรื่องเป็นราวลุล่วงไปเสียในไม่ช้านัก <--- ถูกใจตรงนี้  :016: :090: :015:

แต่ทว่า เค้าก็ยังกลัวผี อยู่ดีแหละค่ะ  :063:
เรามาศึกษาหาความรู้กันครับ ลองปฏิบัติดูครับ อาจเจอของดีดี :077:

388
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ฯ  :054:

ผมเชื่อใน..กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 เลยทำให้ไม่ค่อยเชื่อในหลายๆเรื่องครับ

389
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ฯ :054:

-------------------
โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องของ โลกมีอยู่ประจำกับชีวิต สังคมและโลกของมนุษย์เป็นความจริงที่ทุกคนต้องประสบ
ด้วยกันทั้งนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ข้อแตกต่างคือ ใครประสบมาก ประสบน้อย
ช้าหรือเร็ว โลกธรรมแบ่งออกเป็น 8 ชนิด จำแนกออกเป็น 2 ฝ่ายควบคู่กันและมีความหมายตรงข้ามกัน คือ


1. โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์พอใจมี 4 เรื่อง คือ
- ได้ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเงินทอง ได้บ้านเรือนหรือที่สวน ไร่นา
- ได้ยศ หมายความว่า ได้รับแต่งตั้งให้มีฐานันดรสูงขึ้น ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต
- ได้รับสรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ
- ได้สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ได้ความเบิกบาน ร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ

2. โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์ไม่พอใจมี 4 เรื่อง คือ
- เสียลาภ หมายความว่า ลาภที่ได้มาแล้วเสียไป
- เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดอำนาจ
- ถูกนินทา หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี มีใครพูดถึง ความไม่ดีของเราในที่ลับหลังเรียกว่าถูกนินทา
- ตกทุกข์ คือ ได้รับความทุกข์ทรมานกายทรมานใจ
ที่มา
http://www.learntripitaka.com/scruple/rokatham8.html

390
เสียงอ่านหนังสือ ใต้ร่มกาสาวพักตร์

http://www.ideaforlife.net/dhamma/book/09.html

391
ผมฟังทั้งเวลาทำงานและเวลาก่อนนอน
บางครั้งฟังไปจนหลับ......สุขสงบและปัญญาเกิดขึ้น...ดีครับ :025:

392
กราบขอบพระคุูณทีมงานฯ.....ที่ตอนนี้ มีเสียงธรรมให้ฟังให้ได้ศึกษา
ชอบฟัง ฟังแล้วได้ความรู้มากมาย
ฟังซ้ำก็ได้ ก็ดี ฟังได้เสมอครับ

ขอบพระคุณครับ :054:

393
ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับท่าน นันท์นภัส

ผมเป็นแค่นักศึกษา จึงนำมาแบ่งปันกันครับ

394
ขอขอบพระคุณท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

ที่ได้ให้ความรู้เสริมเพิ่มเติมครับ  :025:

395
กาสาวพัสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กาสาวพัสตร์ (อ่านว่า กาสาวะพัด) แปลว่า ผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาด เป็นคำเรียกผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งห่ม ผ้านุ่งห่มของพระสงฆ์ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง สีแก่นขนุนหรือสีกรัก ก็เรียกว่าเป็นผ้ากาสวพัสตร์ทั้งสิ้น ถือว่าเป็นของสูง เป็นของพระอริยะ เป็นเครื่องนุ่งห่มของพระพุทธเจ้าที่ทรงประทานอนุญาตให้พระสาวกใช้ได้ จัดเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง
คำว่า กาสาวพัสตร์ ในความหมายรวมๆ ก็คือผ้าเหลืองซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา เช่น แม่พูดกับลูกว่า “ลูกเอ๋ย บวชให้แม่ได้เห็นชายผ้าเหลืองสักพรรษานะลูก” คำว่า ผ้าเหลือง ในที่นี้ก็คือผ้ากาสาวพัสตร์ นั่นเอง


ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/กาสาวพัสตร์

396
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ฯ :054:

ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา
ใครทำคนนั้นรู้เอง :015:



397
การพยายามรื้อฟื้นภิกษุณีสายเถรวาทในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน มีความเชื่อว่ายังมีภิกษุณีสายเถรวาทเหลืออยู่ และอ้างหลักฐานยืนยันว่าภิกษุณีทางสายมหายาน วัชรยานนั้นสืบสายไปจากภิกษุณีสายเถรวาท โดยถือกันว่าหากภิกษุณีสายเถรวาทสืบสายไปเป็นมหายานได้ (ภิกษุณีจากลังกาไปบวชให้คนจีน) ภิกษุณีมหายานก็สืบสายมาเป็นเถรวาทได้เช่นกัน


ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้บวชเป็นภิกษุณี (เถรวาท) หลายรูป โดยบวชมาจากคณะภิกษุณีสงฆ์ในประเทศศรีลังกา เช่น ภิกษุณีธัมมนันทา (ในภาพ) มีสำนักภิกษุณีป็นเอกเทศคือ วัตรทรงธรรมกัลยาณี

ในกรณีนี้เคยมีประเด็นถกเถียงอยู่ช่วงหนึ่งว่าปัจจุบันนี้สามารถบวชภิกษุณีได้หรือไม่ มีข้อสรุปจากทางพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทว่าพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้มีการบวชเป็นภิกษุณีได้ก็ต่อเมื่อบวชต่อสงฆ์ทั้ง 2 ฝ่าย คือต้องบวชทั้งฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์เป็นการลงญัตติจตุตถกรรมวาจาทั้งสองฝ่าย จึงจะสามารถเป็นภิกษุณีได้ ดังนั้นในเมื่อภิกษุณีสงฆ์เถรวาทได้เสื่อมสิ้นลงไม่มีผู้สืบต่อ จึงทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถทำการบวชผู้หญิงเป็นภิกษุณีฝ่ายเถรวาทได้ การที่มีข้ออ้างว่าสายมหายานสืบสายวงศ์ภิกษุณีสงฆ์ไปก็ไม่สามารถอ้างได้ เพราะการสืบสายทางมหายานมีข้อวินัยและการทำสังฆกรรมบวชภิกษุณีที่ไม่ถูกต้องกับพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท

ปัจจุบันศรีลังกาพยายามฟื้นฟูภิกษุณีสงฆ์ จนมีหลายร้อยรูป ที่เมืองไทยเองก็มีคนบวชเป็นภิกษุณีหลายรูปแล้วเช่นกัน แต่คณะสงฆ์ไทยไม่ยอมรับเป็นภิกษุณีสงฆ์เพราะสาเหตุดังกล่าวมาแล้วข้างต้น

บริขารอังสะมิใช่บริขารของภิกษุ สามเณรแต่เดิม เป็นของภิกษุณี สามเณรี และสิกขมานาเนื่องจากเป็นสตรีจึงต้องมีเสื้อหรืออังสะใส่เพื่อปกปิดถันเอาไว้ และยังมีผ้าพันถัน รวมถึงผ้านิสีทนะผ้า3ชาย(ที่มักอธิบายกันว่าเป็นผ้าปูนั่งหรือสันถัต)นุ่งเช่นเดียวกับผ้าเตี่ยว(เหมือนกางเกงใน)เมื่อมีประจำเดือนจะใช้ห่อผ้าซับเลือด (ดุจผ้าอนามัยสมัยนี้)

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/ภิกษุณี

398
การบวชเป็นภิกษุณีฝ่ายเถรวาท

การบวชเป็นสิกขมานา

ก่อนที่ผู้หญิงจะบวชเป็นภิกษุณีได้นั้น ต้องบวชเป็น "สิกขมานา" เสียก่อน สิกขมานาเป็นสามเณรีที่ต้องถือศีล 6 ข้ออย่างเคร่งครัดเป็นเวลา 2 ปี หากศีลขาดแม้แต่ข้อเดียวจะต้องเริ่มนับเวลาใหม่
การบวชเป็นสิกขมานา จะบวชได้ต้องอายุครบ 18 ปี เพราะว่าคนที่จะบวชเป็นภิกษุณีได้นั้นต้องอายุครบ 20 แต่สำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว พระพุทธองค์อนุญาตให้บวชเป็นสิกขมานาได้ตั้งแต่อายุ 12 เพราะว่าคนที่แต่งงานจะได้เรียนรู้ความยากลำบากของชีวิต รู้จักสุข ทุกข์ เมื่อรู้จักทุกข์ก็จะรู้จักสมุทัย นิโรธ มรรค ได้ จนนำไปสู่การบรรลุในที่สุด


รูปพระภิกษุณี พระนางปชาบดีโคตมี วัดเทพธิดาราม
การบวชเป็นภิกษุณี

เมื่อผู้ที่ประสงค์จะบวชเป็นภิกษุณี ได้เป็นสิกขมานา ถือศีล 6 ข้อครบ 2 ปีแล้ว แล้วจึงมีสิทธิ์ที่จะเข้าพิธีอุปสมบท โดยต้องอุปสมบทในฝ่ายของ ภิกษุณีสงฆ์ ก่อน แล้วไปเข้าพิธีอุปสมบทในฝ่าย ภิกษุสงฆ์ อีกครั้งหนึ่งจึงจะเป็นภิกษุณีได้โดยสมบูรณ์ (บวชในสงฆ์สองฝ่าย)



การสูญวงศ์ของภิกษุณีฝ่ายเถรวาท

ปัจจุบันผู้หญิงผู้ศรัทธาออกบวชในฝ่ายเถรวาทนิยมโกนหัวนุ่งขาวห่มขาวถือศีลอุโบสถบวชเป็น แม่ชี แทน
ก่อนที่ภิกษุณีสงฆ์จะหมดไปจากอินเดียนั้น พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระธรรมทูตออกไป 9 สาย 1 ในนั้นคือ พระมหินทรเถระ ผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์เอง ในสายพระมหินทรเถระนี้ไปศรีลังกา การเผยแพร่ศาสนาพุทธประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง พระนางอนุลา น้องสะใภ้ของกษัตริย์ศรีลังกา ทรงอยากผนวช จึงนิมนต์ พระนางสังฆมิตตาเถรี พระธิดาของพระเจ้าอโศก มาเป็นปวัตตินีให้ ("ปวัตตินี" คือพระอุปัชฌาย์ที่เป็นผู้หญิง)
จากศรีลังกา ภิกษุณีสงฆ์ได้ไปสืบสายไว้ในจีน ไต้หวัน และอื่น ๆ อีกมาก จนกระทั่งพุทธศาสนาที่อินเดียและศรีลังกาเสื่อมลงลงไปในช่วงหลัง ทำให้ภิกษุณีฝ่ายเถรวาทซึ่งมีศีลและข้อปฏิบัติที่ยุ่งยากไม่สามารถรักษาวงศ์ของภิกษุณีเถรวาทไว้ได้ จึงทำให้ไม่มีผู้สืบทอดการบวชเป็นภิกษุณีสายเถรวาทในปัจจุบัน

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/ภิกษุณี

399
ประวัติการเกิดภิกษุณีสงฆ์


ภาพวาดพระพุทธประวัติ ตอนพระนางปชาบดีโคตมีทูลขอบวชเป็นพระภิกษุณี

ในสมัยพุทธกาลนั้น แรกเริ่มเดิมที สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีได้ เนื่องจากเห็นว่าจะทำให้อายุของพระพุทธศาสนาไม่ยั่งยืน[3]
ต่อมา พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ผู้เป็นพระน้านางและพระมาตุจฉา หรือพระมารดาเลี้ยงของเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านได้มีศรัทธาอยากออกบวชจึงทูลอ้อนวอนขอบวชต่อพระพุทธเจ้าถึงสามครั้งสามครา แต่ก็ไม่เป็นผล จนกระทั่งพระอานนท์ได้ทูลขอให้ พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาต โดยมีเงื่อนไขว่า พระนางปชาบดีโคตมีจะต้องรับเอาครุธรรมแปดประการ (แปลว่าข้อปฏิบัติที่หนักและทำได้ยาก) ไปปฏิบัติ
ดังนั้นภิกษุณีที่ทรงอุปสมบทให้องค์แรกได้แก่ พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ซึ่งบวชเป็นภิกษุณีรูปแรกในโลกด้วยการรับ ครุธรรมแปดประการ (ท่านเป็นรูปเดียวที่บวชด้วยวิธีเช่นนี้)
ต่อมาพระพุทธองค์ได้ทรงวางหลักเกณฑ์ในการรับผู้ประสงค์จะบวชเป็นภิกษุณี และวางวินัยของภิกษุณีไว้มากมาย เพื่อกลั่นกรองผู้ที่ประสงค์จะบวชและมีศรัทธาจริง ๆ [4]เช่น ภิกษุณี เมื่อบวชแล้วต้องถือศีลถึง 311 ข้อ มากกว่าพระภิกษุ[5] ซึ่งถือศีลเพียง 227 ข้อ (วินัยของภิกษุณีที่มีมากกว่าพระภิกษุ เพราะผู้หญิงมีข้อปลีกย่อยในการดำรงชีวิตมากกว่าผู้ชาย เช่น ต้องมีผ้ารัดถัน (ผ้ารัดอก) ซึ่งผู้ชายไม่จำเป็นต้องมี เป็นต้น) [6]

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/ภิกษุณี

400
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / ภิกษุณี
« เมื่อ: 20 ส.ค. 2554, 01:46:27 »
เห็นว่าท่านsaken6009 ไม่รู้จักภิกษุณี เลยขออนุญาตนำมาฝากให้อ่านกันครับ
=================
ภิกษุณี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของศาสนาพุทธ

ภิกษุณี (บาลี: ภิกฺขุณี; สันสกฤต: ภิกฺษุณี; จีน: 比丘尼) เป็นคำใช้เรียกนักบวชหญิง ในพระพุทธศาสนา คู่กับ ภิกษุ ที่หมายถึงนักบวชชายในพระพุทธศาสนา คำว่า ภิกษุณี เป็นศัพท์ที่มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา โดยเป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชหญิงในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่ใช้เรียกนักบวชในศาสนาอื่น
ภิกษุณี หรือ ภิกษุณีสงฆ์ จัดตั้งขึ้นโดยพระบรมพุทธานุญาต ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนาคือพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี โดยวิธีรับคุรุธรรม 8 ประการ ในคัมภีร์เถรวาทระบุว่าต่อมาในภายหลังพระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตวิธีการอุปสมบทภิกษุณีให้มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น จนศีลของพระภิกษุณีมีมากกว่าพระภิกษุ โดยพระภิกษุณีมีศีล 311 ข้อ ในขณะที่พระภิกษุมีศีลเพียง 227 ข้อเท่านั้น เนื่องจากในสมัยพุทธกาลไม่เคยมีศาสนาใดอนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นนักบวชมาก่อน และการตั้งภิกษุณีสงฆ์ควบคู่กับภิกษุสงฆ์อาจเกิดข้อครหาที่จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อการประพฤติพรหมจรรย์และพระพุทธศาสนาได้ หากได้บุคคลที่ไม่มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นนักบวช
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ปรากฏว่ามีการตั้งวงศ์ภิกษุณีเถรวาทขึ้นในประเทศไทย อย่างไรก็ตามในประเทศพุทธเถรวาทที่เคยมี2หรือไม่เคยมีวงศ์ภิกษุณีสงฆ์ในปัจจุบัน3 ต่างก็นับถือกันโดยพฤตินัยว่าการที่อุบาสิกาที่มีศรัทธาโกนศีรษะนุ่งขาวห่มขาว ถือปฏิบัติศีล 8 (อุโบสถศีล) ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า แม่ชี เป็นการผ่อนผันผู้หญิงที่ศรัทธาจะออกบวชเป็นภิกษุณีเถรวาท แต่ไม่สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีเถรวาทได้[1] โดยส่วนใหญ่แม่ชีเหล่านี้จะอยู่ในสำนักวัดซึ่งแยกเป็นเอกเทศจากกุฎิสงฆ์
ภิกษุณีสายเถรวาทซึ่งสืบวงศ์มาแต่สมัยพุทธกาลด้วยการบวชถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท ที่ต้องบวชในสงฆ์สองฝ่ายคือทั้งภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ ได้ขาดสูญวงศ์ (ไม่มีผู้สืบต่อ) มานานแล้ว คงเหลือแต่ภิกษุณีฝ่ายมหายาน (อาจริยวาท) ที่ยังสืบทอดการบวชภิกษุณีแบบมหายาน (บวชในสงฆ์ฝ่ายเดียว) มาจนปัจจุบัน ซึ่งจะพบได้ในจีน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น และศรีลังกา1
ปัจจุบันมีการพยายามรื้อฟื้นการบวชภิกษุณีในฝ่ายเถรวาท โดยทำการบวชมาจากภิกษุณีมหายาน และกล่าวว่าภิกษุณีฝ่ายมหายานนั้น สืบวงศ์ภิกษุณีสงฆ์มาแต่ฝ่ายเถรวาทเช่นกัน[2] แต่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าฝ่ายมหายานมีการบวชภิกษุณีสืบวงศ์มาโดยมิได้กระทำถูกตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีศีลที่แตกต่างกันอย่างมากด้วย ทำให้มีการไม่ยอมรับภิกษุณี (เถรวาท) ใหม่ ที่บวชมาแต่มหายานว่า มิได้เป็นภิกษุณีที่ถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีการยกประเด็นนี้ขึ้นเป็นข้ออ้างว่าพระพุทธศาสนาจำกัดสิทธิสตรีด้วย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะพระพุทธเจ้าได้อนุญาตให้มีภิกษุณีที่นับเป็นการเปิดโอกาสให้มีนักบวชหญิงเป็นศาสนาแรกในโลก เพียงแต่การสืบทอดวงศ์ภิกษุณีได้สูญไปนานแล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถบวชสตรีเป็นภิกษุณีตามพระวินัยเถรวาทได้


ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/ภิกษุณี

401
พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ เขียนในหนังสือ มหาบุรุษว่า

สิ่งหนึ่งที่บุคคลสำคัญของโลกมีก็คือ

"ความเป็นผู้มีหัวใจเข้มแข็ง (Strongmindedness)"


คนที่มีหัวใจเข้มแข็งนั้น ย่อมไม่รู้จักฉุนเฉียวหรือโกรธง่าย

คนที่โกรธง่าย คือคนอ่อนแอ ไม่สามารถจะบังคับตัวของตัวเองได้

หลวงวิจิตวาทการได้สรุปลักษณะของมนุษย์ที่เข้มแข็งเอาไว้ 4 ประการ คือ

1. ไม่รู้จักบ่นหรือร้องทุกข์

2. ไม่ต้องการทราบว่าคนอื่นจะคิดเห็นว่าตัวเป็นอย่างไร

3. ไม่บอกความลับของตนให้แก่ใคร และไม่ต้องการรู้ความลับของคนอื่น

4. ไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนเคราะห์ร้าย สามารถจะนำเอาเหตุการณ์ต่างๆ มาทำประโยชน์แก่ตนได้ทั้งสิ้น

เหนือสิ่งอื่นใดก็คือคนที่มีหัวใจเข็มแข็งย่อมจะยิ้มได้เมื่อภัยมา

************************************

ที่มา
http://www.watcharina.com/board/index.php?topic=1784.0

402
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ครับ :054:

อ้างถึง
........ความจริงแท้ธรรมชาติของจิตนั้นก็จะปรากฏชัดขึ้นมา กิเลส ตัณหา ทิฏิมานะ อัตตา ทั้งหลาย
ที่มีอยู่ในจิตใจของเรานั้น ก็จะเห็นได้เด่นชัดขึ้น มันเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของจิต

403
อ้างถึง
..... การปฏิบัติธรรมนั้นทำให้เราเห็นกิเลสของเรา ที่เรายังไม่เคยเห็นหรือไม่เคยสนใจ ทำให้เรารู้เท่าทัน
กิเลสที่เกิดขึ้นและกิเลสที่มีอยู่แล้วในกายในจิตในความคิดของเรา...

กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:

405
ร้านแม่กิม ลาดปล้าเค้าก็อร่อยนะ..ร้านเดียวกับท่านทรงกลดหรือปล่าวไม่รู้ ขายตอนเย็นๆ-ตี4
ใช่ครับ
ผมจำชื่อผิด

406
“ เพียงคุณเปลี่ยนความคิด ชีวิตคุณก็จะเปลี่ยนไป “... :054:

407
นมัสการท่านพระอาจารย์ฯ :054:

..........แนวทางที่จะปฏิบัตินั้น ต้องเหมาะสมกับจริตของเรา " ธรรมะสัปปายะ " อันมี " ฉันทะ " ความพึงพอใจในสิ่งที่ทำ เป็นพื้นฐาน.........

408
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ฯ :054: ท่านได้ให้แนวคิดการปฏิบัติง่ายๆ ทำได้ง่ายๆ :054:

สมาธิจะจัดระเบียบความคิดให้เป็นระบบ
เป็นไปตามขั้นตอน ตามเหตุผลและปัจจัยในขณะนั้น

409
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ฯ  :054:

“ ปัตจัตตัง “
ใครทำใครรู้

410
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ฯ :054:

ผมชอบแนวเซ็น ชอบศึกษา และชอบแนวที่ท่านสอนครับ ชอบทำตัวตามสบาย :001:

411
ผลกรรมของหลวงพ่อ 4/4

กรรมต้มเต่ามาซ้ำ

พอดีตรงนั้นเขาทำอิฐ เถ้าแก่เขาก็ขับรถมา อาตมามือยังดีอยู่อกข้างก็เสยค้างไว้ มันไม่มีความรู้สึก พอรถแล่นถึงวิทยาลัยเกษตร ได้ยินเสียงแว่วแผ่วมาแต่ไกล เสียงดังนี้ สมน้ำหน้า ๆ ได้ยินมาเรื่อย ๆ เดี๋ยวต้องซ้ำ ๆ คอหักแล้วยังไม่สงสาร
จะมาซ้ำ สักประเดี๋ยวเห็นเต่า พอเห็นเต่าเท่านั้นแหละฝาหม้อน้ำรถอยู่ตรงนั้นหลุดพรวดลวกเอาเราคนเดียว ตายจริงเปียกหมดเลย ไอ้แขนยังดีอยู่ก็ร้อนนะซิ แล้วกระเด็นไปถูกคนขับ ไอ้คนที่ประคองอาตมาไปบอกว่าหยุด ๆ เดี๋ยวคนหลังจะตาย ไอ้เต่ามาซ้ำเราอีก สงสัยใช้หนี้ตอนนั้นยังไม่หมด รถไปถึงโรงพยาบาลน้ำแห้งพอดีหมดพอดีเลย อาตมาก็ขออธิษฐานว่า ข้าพเจ้าขอให้ไปสบาย
รู้แล้วเข้าใจแล้ว ขออโหสิกรรมทุกอย่างกับโลกมนุษย์ ในเมื่อข้าพเจ้ายังใช้หนี้ในโลกมนุษย์ไม่หมดขอให้ข้าพเจ้าไปใช้ในชาติ
ต่อไป ประการที่ ๒ ถ้าข้าพเจ้าใช้หนี้ในโลกมนุษย์หมดแล้ว อย่าได้ทรมานต่อไป อธิษฐาน ๒ ข้อ วันนั้นพอดี ผู้อำนวยการ
โรงพยาบาลไม่อยู่ เขาไปบ้านเขาทางวัดเกษ อยู่แต่นายแพทย์ใหญ่หมอสมหมาย ก็วิ่งไปจากบ้านรู้ข่าวว่ารถชนอาตมาก็เอาเข้าห้องฉายเอ๊กซเรย์ เขาพูดกันได้ยินแว่ว ๆ บอกไม่มีทางหมอใหญ่บอกไม่มีทาง หมอใหญ่สั่งให้อาตมานอนตรง ๆ บนรถ ซึ่งมีลูกล้อเล็ก ๆ ให้บุรุษพยาบาลเอาเข้าห้อง ไอ.ซี.ยู. โดยด่วน จัดการเย็บหนังที่มันถลกไปนี่ก่อน อาตมาก็อธิษฐานไปเรื่อย ๆ มือดียังมีอยู่อีกมือหนึ่ง นอกนั้นตายหมดแล้ว แต่ยังหายใจได้ที่ท้องพองหนอ ยุบหนอตลอด ก็แบ่งวาระบุรุษพยาบาล ๒ คนก็ไสรถเต็มที่
รถก็เกิดตกร่องประตูเหล็ก โครม! ล้อพังหมดแพทย์อีกคนบอกตายเสียแล้วละมังหว่า เปล่าเลย คอลั่นกร๊วบเข้าที่เลย คือติดเลย
ลืมตาเห็นเลย หายใจไม่ออก พอคอติด ปวดก้นแทบหลุด เลยทำให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีก ๒ ข้อ ได้ความรู้ยังไง หมายความว่าถูก
จุดประสาท ประสาทคอกับประสาทก้นเป็นเส้นเดียวกัน เข้าไปในห้องฉุกเฉิน เขาก็เริ่มดึงหนังมาเย็บ หมอก็สงสัยว่าอาตมาจะเป็นอัมพาตไม่ดีขึ้น บุรุษพยาบาลบอกว่าเป็นเพราะอั๊วนะ ถ้าอั๊วไม่ไสรถตกร่องคอจะต่อติดหรือกลับมีบุญคุณเสียอีก อาตมาก็นึกว่าเราใช้เวรใช้กรรม ในเวลาต่อมาหมอไม่สามารถจะรักษาได้ เพราะมีแรงขาแข็งถีบได้ทั้งนั้น นางพยาบาลหมอ ก็ให้เราลองบีบมือ หากว่าเราจะไม่มีแรง อันนี้ก็เป็นบุญวาสนา

พอรุ่งเช้า คุณชาญมา ถือหนังสือโทรจิตมาด้วย บอกนี่ท่านทำไมต้องเขียนหนังสือมาวันก่อนผมไปพบ ท่านทำไม
ไม่บอกผม ทำไมต้องเขียนหนังสือฝากเขาไป อาตมาบอกเปล่าว่าไม่ได้เขียน เขาว่านี่ไงละลายมือท่าน! ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิงห์บุรีก็ไม่รู้จะทำยังไงก็โทรศัพท์ไปหาผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน อาจารย์เขาคือ หมอประดิษฐ์ ถามว่าหลวงพ่อองค์นี้
คอหักแล้วไม่ตายทำไงดี หมอประดิษฐ์บอก ผมก็ไม่เคยเห็น ขอให้เอาตัวมาดู รุ่งขึ้นเขาก็หามอาตมาขึ้นรถไปโรงพยาบาลเลิดสิน หามไปอาตมาพลิกไม่ได้ ยกแข้งยกขาได้ลุกไม่ได้ก็หามขึ้นไปชั้น ๒ หมอประดิษฐ์ก็มาตรวจเอาแพทย์มาวิจัยกันใหญ่
หมอประดิษฐ์ก็บอกขอทำเอง ก็เอาผ้ามาแช่น้ำ มาพันใส่เฝือก ๑๕ นาที อาตมาเดิน ลุกขึ้นได้ ขากลับขึ้นรถกลับจังหวัดสิงห์บุรี
มันก็แปลกดี แขกมาเยี่ยมกันมากมาย ต่างจังหวัดมากันเยอะ เขาลือกันว่า อาตมาคอหักไม่ตาย ขนมนมเนยเยอะแยะไปหมด อาตมานึก เวลากินได้ไม่มาเยี่ยม เวลาจะตายจะซื้อมาทำไม รู้ว่ากินไม่ได้ก็เอามาให้กิน คนกินได้ไม่ค่อยให้
พอกลับมาวัดได้ อาตมาก็คุยทั้งวัน เพราะมีคนมาเยี่ยมมากมาย หมอประดิษฐ์ก็สั่งมาบอกว่า อย่าให้คุยมาก คุยมากแล้วแผลจะหายช้า ให้ฉันยานอนหลับก็นอนไม่หลับ ฉีดยานอนหลับก็ไม่หลับ จนนางพยาบาลว่า หลวงพ่อสู้ยา หมอประดิษฐ์รู้ก็ออกอุบายว่าให้เขามาโรงพยาบาลเลิดสินจะถอดเฝือกให้ อาตมาก็ดีใจรีบไป พอไปถึงก็ถอดเฝือกให้จริง ๆ พอตัดเฝือกออกก็เลยเป็นลมครั้นพอพัก
สักประเดี๋ยว หมอบอกหลวงพ่อเดี๋ยวใส่ใหม่ ผมหลอกท่านมาไม่งั้นท่านไม่มาเลยใส่ใหม่ เพิ่มอีก ๔ กิโล พอใส่ได้สัก ๑๕ นาที
อ้าปากไม่ออกเป็นฤาษีเลย

เปรตปากเท่ารูเข็ม

พอกลับไปถึงสิงห์บุรี เราก็จะแย่อ้าปากไม่ขึ้น ผลสุดท้ายก็หิวน้ำเหลือเกิน กินไม่ได้ต้องหยอดด้วยหลอดกาแฟ ต้องดูด ดูดก็ไม่เข้า เวลาฉันเช้าก็ใส่เข้าไปข้าง ๆ เลยมานึกในใจ นึกถึงยายได้ เจ้าต้องเป็นเปรต ปากเท่ารูเข็ม กินอะไรไม่ได้จริง ๆ
ตั้ง ๕๐ วัน นอกเหนือจากกินไม่ได้แล้ว พูดไม่ได้ด้วย พออ้าปากมาก ๆ ไอ้ข้างบนขบแล้วเลือดไหล จะกินอะไรก็ต้องป้อนเราต้องมาทรมานเป็นเปรต ก็เลยนึกถึงคำยายว่าต้องเป็นเปรตเพราะไปกินข้าวที่ให้ไปถวายพระ หลังจากที่อาตมากลับจากโรงพยาบาลแล้ว ๕๐ วันเท่านั้น กลับมานึกในใจว่า เราต้องใช้หนี้โลกมนุษย์ก็เริ่มถมดินรอบวัด ก็เริ่มสร้างหอประชุมนี้เพื่อจะอบรมต่อไป
ตั้งใจไว้อย่างนั้น ต้องใช้หนี้โลกมนุษย์ด้วยการเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า จะไม่ขอสร้างวัตถุต่อไปแล้ว ในที่สุด
มีการทำบุญรับขวัญ โยมก็มาทำบุญกันมาก ในครั้งสุดท้าย นายชาญ กรศรีทิพา กับนายสุเมธ เตชะไพบูลย์ ทั้งสองท่านนี้ก็มา
ทำบุญรับขวัญให้อาตมา แล้วนำเอากระดาษที่มีตัวหนังสือมาด้วย วันนั้นแกก็พับอย่างดีมา พอทำบุญเสร็จเรียบร้อยอุทิศกุศล
เรียบร้อยดีแล้ว แกก็เอากระดาษออกมาว่าจะเอามาอ่านให้เขาฟัง ปรากฏว่าตัวหนังสือไม่มี มีแต่กระดาษเปล่า เดี๋ยวนี้ก็ยังเก็บ
ใส่กรอบไว้ดูเป็นที่ระลึก

.........................

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

412
ผลกรรมของหลวงพ่อ 3/4

ใช้หนี้ค่าเรือจ้างยายนวม

อยู่มาอีก ๒-๓ เดือน อาตมานั่งสมาธิตั้งสติ นึกต่อกันไปได้ว่าเคยโกงค่าเรือจ้างยังอยู่อีกท่าหนึ่ง ชื่อยายนวม อาตมาก็ไปแกก็จะตายเสียอีกแล้วขึ้นไปกระซิบที่หูบอกโยม อาตมาเมื่อเป็นเด็กเคยโกงค่าเรือโยม อาตมามาขอให้อโหสิกรรมอาตมาด้วยนะ เสร็จแล้วก็ให้ ๒๐๐ บาท พร้อมกับนม โอวัลตินตามเดิม วันหลังเขาทำบุญ ๗ วัน ยังเอาสตางค์มาถวายเราอีก ได้มากว่า ๒๐๐ อีก พอกลับมาได้ ๒ วัน โยมนวมก็ตาย อาตมาก็ได้ใช้หนี้ตลอดนี่มันเป็นบุญเป็นกรรมของเราโดยเฉพาะ
เวลาผ่านมา พอดีจะไปเยี่ยมร้านเบ๊เต็กเส็งที่บางปะอิน เคยแวะไปกินอาหารบ่อย ๆ ต่อมาก็ไม่เอาสตางค์ เพราะทุกครั้งไปอาตมาก็จ่ายสตางค์ เขาบอกว่า ตั้งแต่อาตมาไปฉันร้านเขานี่ทำให้ร้านเขาขายดีเลยไม่เอาสตางค์ ก็ชอบพอกันอยู่ด้วย
มาตอนหลังมีคนไปผ่าท้องที่สุขศาลาอนามัยชั้น ๑ บางปะอิน ที่ริมน้ำ อาตมาก็ตั้งใจว่าจะไปเยี่ยมเขา พอดีคืนนั้น
อาตมาก็แผ่เมตตา อโหสิกรรม สติบอกอีกแล้วว่าจะต้องไปใช้หนี้เต่าที่รับจ้างต้ม เต่าตัวละ ๑ บาท ให้พวกขี้เมา ปรากฏว่าเต่า
มันมีความสามัคคี ดิ้นเสียจนหม้อดินแตกหนีเข้ากอไผ่ไปหมด กรรมเหล่านี้เราลืมไปหมดแล้ว สติอันหนึ่งก็บอกว่า ระวังพรุ่งนี้
อย่าเอาใครไป อาตมาก็ไปกับคนขับรถปิคอัพ ถ้าไปก็ตายหมดเลย ตายหมดแน่นอน อาตมาก็หาเรื่องเพทุบาย เขาก็โกรธอย่างร้ายแรงว่าไปชวนเขามาแล้วก็ไม่เอาเขาไป อาตมาก็บอกกะคนขับรถว่า ไปเยี่ยมเขานี่เจ้าคอยตั้งเวลาไว้ว่าแค่ ๑๕ นาทีนะ คอยเตือน อาตมาให้รีบกลับด่วน โดยเราคิดแล้วถ้าไม่กลับตามเวลา ๑๕ นาที รถจะคว่ำที่พระนครศรีอยุธยาและเราจะต้องตาย เลยผลสุดท้ายไม่เอาใครไปเลย พอได้ ๑๕ นาทีก็บอกเจ๊ชื่อศรีนวล ร้านเบ๊เต็กเส็ง อาตมาขอลาละ บอกมีธุระ รีบกลับ ขึ้นรถได้ก็บึ่งเลยความเร็วขนาด ๑๒๐ ก.ม./ ชั่วโมง ขับเป็นการใหญ่ถนนเอเชียเพิ่งสร้างเสร็จใหม่ ๆ ฝนตกฟ้าร้องเป็นการใหญ่ มาถึงอ่างทองฝนก็หยุด
ฝนที่อำเภอพรหมฯ มันยังตกอยู่ถนนมันลื่น ตรงโค้งตรงวัดคูรถมาด้วยความเร็วก็หมุนเลย รถเสียหลักพวงมาลัยหลวมหมดเลย คว่ำ ๘ รอบ ศีรษะโดนทั้งบนทั้งล่าง ล็อคประตูไว้ จีวรขาด รถบี้ ถลอกปอกเปิดหมด ต้องมาปวดแสบปวดร้อนอยู่เป็นเวลาแรมเดือน อาตมาไม่กล้าไปโรงพยาบาลเพราะอายเขา รถบี้หมดต้องเอาแชลงงัด พวกรถมาจอดดูเป็นแถว ดีว่ารถข้างหน้าไม่สวน
ถ้าสวนก็คงตายหมด เสียค่าซ่อม ๓-๔ หมื่นบาท ปวดแสบปวดร้อนไปทั้งตัวเลย มันถลอกหมด อันนี้ก็ได้ใช้หนี้เต่าแต่ยังใช้ไม่หมด

ใช้หนี้หักคอนก

ในเวลาต่อมา อาตมาก็นั่งสมาธิ ๖ เดือนเศษที่จะถึงวาระแห่งความตายก็มีนิมิตบอกอาตมาให้ทราบว่า พระเดชพระคุณท่าน วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๑ เที่ยงสี่สิบห้าต้องจากวัด ตายไปใช้หนี้นกที่หักคอ วันที่ ๑๖ ตุลาคมออกพรรษา อาตมาก็มานึกดูว่าเราต้องลาเขา ก็ประชุมสงฆ์มอบอัฐบริขาร เสียสละปลงบริขารให้หมด มอบให้องค์อื่น เงินวัดมีเท่าไรมอบให้มัคทายกแล้วก็องค์ไหนจะเป็นสมภารต่อไปก็มอบ อาตมาก็บอกให้พวกโยมผู้หญิงมานั่งกรรมฐานคนละเดือน พอโยมหญิงกลับแล้ว เอาโยมผู้ชาย
มานั่งแทน ต่อไปก็จะไม่มีคนสอน จะขอลาแน่นอน วันที่ ๑๔ ตุลาคม นี่มันรู้ล่วงหน้าได้ มันมีประโยชน์มากนะ ท่านทั้งหลาย
ถ้ารู้ล่วงหน้าไม่ได้ลำบากมาก สติตัวนี้เป็นการรวมผลงาน สัมปชัญญะมันบอกได้ดังนี้ อาตมาก็ขอลาเขาหมดแล้ว แบ่งงาน
แบ่งภาระหน้าที่แล้ว อาตมาก็คิดว่าตามหลักพระพุทธเจ้าสอนไหน ๆ เราจะตายแล้วก็ขอลาเขาเสีย แล้วคนที่มาเราก็บอกได้
คนที่ไม่มาจะทำยังไงเขาจึงจะรู้ได้ ก็เจริญกรรมฐานเดินจงกรม นั่งกรรมฐาน มีโยมท่านหนึ่งชื่อโยมชาญ กรศรีทิพา ที่รู้จักอาตมาเนื่องจากว่า บริษัทนายสุเมธ เตชะไพบูลย์ คุณชาญ กรศรีทิพา เขามีโรงงานน้ำตาลที่สิงห์บุรี เขาก็ฝันว่า รัชกาลที่ ๕ ไปเข้าฝันบอกให้เขามาที่วัดนี้ พระบรมฉายาลักษณ์ของท่านที่วัดนี้ เขาก็พูดลักษณะได้ถูกต้องโดยที่ ร.๕ เคยเสด็จทางชลมารคสมัย ร.ศ. ๑๒๕ และพระองค์ได้ถวายพระบรมฉายาลักษณ์ตอนพระองค์ขึ้นเสวยราชย์ในวันนั้นท่านสมภารก็อยู่ด้วย คุณชาญ พร้อมด้วยคุณสุเมธ ก็เดินเข้ามา อาตมาก็ไม่รู้จัก บอกโยมมีธุระอะไร เมื่อทั้งสองมาเห็นรูปก็เลยเล่าเรื่องที่ฝันให้ฟัง ก็เลยรู้จักกันเป็นเวลาหลายปี
ในเวลาต่อมาอาตมาเห็นว่าคนนี้มีประโยชน์ต่อวัด ถ้าหากเราจะเป็นอะไรไป เราต้องบอกเขาเสียก่อน อันนี้เอาไปใช้ได้เวลาจะแผ่เมตตา กระแสจิตนี่เป็นพลังงานอันหนึ่ง อาตมาพิสูจน์ได้ เช่นเอาผ้าขาวมากอง แล้วเราเอากระดาษสีมาทับแล้วเอา
พลังงานกระแสแดดหรือไฟฟ้าส่องจะทำให้กระแสนี่ไปติดผ้าขาวได้ เหมือนอย่างแผ่ส่วนกุศล ขอให้ท่านทำจิตดี ๆ ติดได้
แต่ก็หาคนทำไม่ได้ง่าย ๆ นัก ต้องทำจิตใจให้ถึงก่อน

ส่งกระแสจิตลาตายกลายเป็นตัวหนังสือ

อาตมาก็เริ่มต้นว่าใกล้วันที่ ๑๔ ตุลาคมแล้ว เราก็มาสวดมนต์ไหว้พระแล้วแผ่เมตตาบอกโยมชาญ ว่าโยมกับอาตมา
ก็ชอบกันมาหลายปีแล้ว อาตมาขอลานะ วันที่ ๑๔ ตุลาคม อาตมาคอหักแน่ ตายอยู่โรงพยาบาลสิงห์บุรี ก็บอกเขาอย่างนั้น ขอลา ในเวลาต่อมาคุณชาญเขาก็ไปทำงานบริษัท ไปนั่งเขียนหนังสือ ไอ้ข้อความที่เราแผ่เมตตาไป ไปติดที่กระดาษเขา ลายมืออาตมาด้วยตามที่เราแผ่เมตตาตรงกับตัวหนังสือ วิธีการแผ่ส่วนกุศลท่านทั้งหลายจำตารานี้ไว้ให้ดี สามารถทำเป็นตัวหนังสือได้สามารถติดที่โน่นที่นี่ได้ ครั้นถึงวันที่ ๑๔ ตุลาคม เที่ยงสี่สิบห้านาที อาตมาก็จำเป็นต้องไปประชุมที่วัดกวิศราราม จังหวัดลพบุรีในวันนั้นด้วย หลวงพ่อธรรมญาณ เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี ท่านมีหนังสือมาว่า เขาจะประชุมเจ้าคณะอำเภอกันทั้งหมดที่จังหวัดลพบุรี พอดีวันนั้นนายแพทย์ศิริราชมาเลี้ยงเพลที่วัด พอเลี้ยงเพลเสร็จ อาตมาก็เตรียมตัว รู้แล้วว่าวันนี้เราไม่ได้กลับวัดแน่นอนตามที่เรามีสติรู้ล่วงหน้า ๖ เดือน ว่าเราต้องใช้หนี้นก จะใช้อย่างไรกันแน่ คงจะไม่ได้กลับ มอบหมายการงานเรียบร้อยแล้ว โยมผู้หญิงมานั่งกรรมฐาน ๑ เดือนแล้วโยมผู้ชายด้วยมาแทนหลังจากโยมผู้หญิงกลับไปแล้ว โยมผู้ชายจะได้ช่วยกันเอาศพไปไว้วัดเตรียมงานครัวทำนองนี้เป็นต้น
อาตมาก็ลาเขาหมดแล้วก็ขึ้นรถเที่ยงกว่าแล้ว จะตกเที่ยงสามสิบ เปลี่ยนจีวรใหม่หมด เตรียมหนังสือขึ้นรถ คิดว่าไม่ได้กลับ แล้วมีนาวาตรีวาด เกษแก้ว ใส่เสื้อขาวกางเกงขาวก็อาศัยรถไปด้วย ก็คงจะตายพร้อมกับอาตมา ออกจากวัดเลี้ยวขวาเข้าลพบุรี ถึงหลังตลาดปากบาง ตอนนั้นพอถึงปั๊มน้ำมันรถเขาก็เปิดไฟเลี้ยวขวารถตามหลังมา ๓ คัน แซงซ้ายรถทัวร์ทันจิตออกจากปั๊มน้ำมันวิ่งเข้าชนทันที เที่ยงสี่สิบห้า พอดีนาวาตรีวาด เกษแก้ว ลอยขึ้นหลังรถทัวร์ไปเลย พวกตลาดนึกว่าหนังสือพิมพ์ลอยไปก็เนื่องจากแกใส่เสื้อขาวกางเกงขาวนี่หลังหัก
อาตมาไหล่ชนเหล็กหักไปเลย แล้วกระจกครูดเอาหนังหัวไปอยู่ตรงท้ายทอยหมด หัวขาวเลย คอพับไปที่หน้าอก หมุนได้เลยเลือดเต็มจมูก กระจกมันบาด อาตมาก็บินออกไปแบบนก ออกห่างรถไปประมาณ ๒๐ วา แต่เดชะบุญว่ามือดีอยู่มือนึงจับขึ้นมา อาตมาก็ลองคลำว่าเราคอหักไปหรือนี่ตาไม่สัมผัส หูไม่สัมผัส ตายหมดแล้วทั้งตัว แต่มือดีสติดี แต่กลับไปหายใจได้ที่ท้อง
พองหนอ ยุบหนอ ใช้ได้นะ ใครอยากจะรู้ว่าสะดือหายใจได้ลองไปคอหักดูนะ คนขับก็สลบ อาตมายังพูดได้เพราะสติดีอยู่ที่ลิ้นปี่
จำไว้ แล้วหายใจทางสะดือได้ ทำไมหายใจได้ นึกถึงในท้องได้ที่เราอยู่ในท้องแม่กินอาหารทางสะดือแน่นอน หายใจได้ พองหนอ ยุบหนอ ตลอดเวลาเลย ได้ตำราเพิ่มขึ้น แต่ต้องทำได้ก่อนนะต้องมาฝึกกันให้รู้สติ ตื่นมีสติ หลับมีสติ รู้แน่ อาตมาก็พูดว่าโยมช่วยอุ้มหน่อย ไอ้พวกที่ไปมุงดูกันก็ไม่ยอมอุ้ม หัวเละแต่ยังพูดได้ ที่เข้าใจว่าหัวเละเพราะหนังไม่มี จนตำรวจทางหลวงมาบอกว่า
ไม่ตาย ถ้าตำรวจไม่มาเราก็คงจะจมอยู่ตรงนั้น

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

413
ผลกรรมของหลวงพ่อ 2/4

ใช้หนี้ค่าก๋วยเตี๋ยว

เริ่มมารักษาการเจ้าอาวาสที่วัดนี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่นี่ ก็เริ่มใช้กรรมมาตามลำดับ โดยที่ว่าในปีต่อมาใช้เรื่องก๋วยเตี๋ยวก่อน เรามานั่งสมาธิของเรา มันก็เกิดไปเข้าญาณวิถีของเขาชื่อว่า นางกลุ่ม
นางกลุ่มมีสามีชื่อตากิ๊ม เขาไม่รู้ว่าเราโกงก๋วยเตี๋ยวเขา แม่กลุ่มกับตากิ๊มเกิดฝันพร้อมกัน ฝันว่าเทวดามาบอกว่าถ้าต้องการให้
ลูกชายหายเกเร แล้วกลับมาเรียนหนังสือละก้อ ให้ไปตามลูกชายมาแล้วให้ไปบวชเณรที่วัดอัมพวัน รับรองแก้ได้แน่ เมื่อเป็น
เช่นนี้แล้ว โยมกลุ่มก็เอาลูกมา ตากิ๊มมาด้วย อาตมาก็จำได้คลับคล้ายคลับคลาเดินขึ้นมาสามคน บอกว่าจะเอาลูกมาฝากบวชเณร อาตมาก็ถามว่า ทำไมไม่บวชที่วัดอื่น โยมกลุ่มก็เลยเล่าให้ฟังว่าที่พาลูกมานี่เพราะฝันไปว่าเทวดามาบอกว่าให้มาบวชที่นี่ ช่วยรับไว้หน่อย เรานึกแล้วว่าจะต้องได้ใช้หนี้ค่าก๋วยเตี๋ยวเขาแน่ แต่ไม่บอกก็เลยบอกว่าเดี๋ยวจัดการให้ แล้วก็จัดการส่งโยมทั้งสอง
กลับแล้ว ก็จัดแจงโกนหัวเลย เรามีเรือยนต์ลำหนึ่งก็วิ่งไปตามพระอุปัชฌาย์ ซื้อผ้าไตร ซื้อรองเท้า ซื้อเสื่ออ่อน ซื้อบาตร ซื้อร่ม
ทั้งหมด ๒๐๐ บาทแล้ววิ่งไปหาอุปัชฌาย์บอกเอาเด็กมาบวชเณรครับ บวชเสร็จแล้วก็กลับมาให้นั่งกรรมฐานเดินจงกรม
พอได้ ๗ วัน ก็เลยเล่าเรื่องเของอาตมาให้เณรฟังว่าอาตมานี่โกงค่าก๋วยเตี๋ยวแม่เจ้า แม่เจ้าก็ไม่รู้ แล้วไอ้ผ้าไตรที่นะ อะไรต่ออะไร ๒๐๐ นี่ กระซิบบอกแม่นะบอกว่าเจ๊ากันไปนะ ไม่ต้องเอามาให้ ถือว่าใช้ค่าก๋วยเตี๋ยวกันไป พอเล่าเสร็จแล้วเณรบอกว่าผมเกิดศรัทธาเสียแล้ว ก็ตั้งใจปฏิบัติ

ต่อมาก็ขอสึกว่าจะไปเรียนหนังสือแล้ว ก็สอบได้ในปีนั้นแล้วไปเป็นทหารอากาศต่อมาก็ได้เลื่อนเป็นนายทหารอากาศ
ไปเลย นี่คือใช้หนี้ค่าก๋วยเตี๋ยว ถ้าไม่ได้ใช้ในชาตินี้ก็ต้องใช้ดอกชาติหน้านะ กฎแห่งกรรมมีจริง แต่กฎแห่งกรรมที่อาตมา
ประเมินผลและได้ประสบการณ์มารู้ล่วงหน้าได้ เพราะใช้สติระลึกก่อนเป็นตัวรู้ล่วงหน้า ตัวสัมปชัญญะตัวผลักดันทำให้แก้ไข
เหตุการณ์ได้ทันเฉพาะหน้า เรียกว่า ตัวสัมปชัญญะ ที่อาตมารู้นี้ก็เนื่องจากว่าเราเจริญสมาธิ เจริญสติอยู่ตลอดเวลา ขอให้ท่าน
ไปพิจารณาด้วยตนเอง ด้วยเจริญกุศลภาวนาไปเรื่อย ๆ ไม่จำเป็นต้องมีเวลาว่าง เวลาที่ท่านทำงานก็ภาวนาไป หูได้ยินเสียงภาวนาไว้ เขียนหนังสือภาวนาไว้ ตั้งสติไว้ตลอดกาล กรรมฐานมีความสำคัญต่อหน้าที่การงาน

ในเวลาต่อมา อาตมาก็นั่งเจริญภาวนาโดยไม่ได้ขาด แล้วก็มีการอโหสิกรรม และแผ่เมตตา ขอให้ท่านเอาไปใช้กัน
ทุกท่าน ก่อนที่จะแผ่เมตตาออกไปต้องอโหสิกรรมก่อนนะ ถ้าไม่อโหสิกรรมออกก่อนท่านจะแผ่ไม่ออก อโหสิกรรมให้ใจสบาย
ไม่โกรธใคร ไม่เกลียดใคร ไม่อิจฉาริษยาใคร แผ่เดี๋ยวนั้นถึงเดี๋ยวนั้น แล้วก็มีการรับตอบด้วยนะ อันนี้มันเป็นของใครของมัน อาตมาจะบอกกรรมวิธีแบบวิชาการนั้นคงไม่ได้ เพียงแต่แนะแนววิธีปฏิบัติเท่านั้น จากอำนาจของจิตด้วยการใช้สตินั่นเอง มันอยู่ในวงแคบของการปฏิบัติกว่างเข้ามาหาแคบโดยวิธีนี้

ในเวลาต่อมาที่อาตมามาอยู่ที่นี่แล้วก็เจริญภาวนาและก็แผ่เมตตา แต่ควรจะมีหลักการแผ่เมตตา แล้วก็อโหสิกรรมให้ได้ ที่เราทำวัตรสวดมนต์นั่นมีความหมายมาก กาเยนะวาจา ทั้งกาย วาจาใจ ขออโหสิกรรมต่อคุณพระศรีรัตนตรัย ที่หมิ่นเหม่ต่อ
คุณพระศรีรัตนตรัยกำหนดอโหสิกรรม แล้วแผ่ออกไปได้ผลแน่

ใช้หนี้ค่าเรือจ้างตาก้อย

พอมาเจริญสมาธิ จิตสงบก็นึกขึ้นมาได้บอกรีบใช้หนี้ค่าเรือจ้าง นึกไปนึกมาถูกต้องที่เคยโกงเขามา อาตมาก็ไม่ได้ไปบ้านเขานาน จนมาบวชเป็นสมภารเจ้าวัด ก็เอานมไป เอาโอวัลตินไป เอาสตางค์ใส่ซอง ๒๐๐ บาท ถือราคาก๋วยเตี๋ยวเป็นเกณฑ์ ชื่อตาก้อย แก่แล้ว อาตมาเอาเรือจอด เขาก็ตกใจว่าพระมาทำไม แกเจ็บหนักเป็นอัมพาตจะตายแล้ว ก็เอาสตางค์ไปใส่มือกระซิบบอกที่หูว่า โยมก้อย อาตมาตอนเป็นเด็กเคยโกงค่าเรือจ้างโยม เดือนละ ๓๐ สตางค์จำได้มั๊ย แล้วเอานมโอวัลตินมาด้วย
บอกลูกสาวว่าช่วยชงให้โยมด้วย อโหสินะโยมนะ อาตมาเป็นเด็กรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แหมบุญของเราเหลือเกินเขาแปลกใจกันว่า พระก็มาหลายวัดแล้วมีแต่มาบอกบุญ องค์นี้แปลกเอาสตางค์มาให้ วันหลังลูกสาวเอาข้าวสารมาให้ที่วัดเรานี่ เรียกว่าบุญงอกได้ คนที่มีจิตดีต้องมีมารต้องใช้หนี้ มีอุปสรรคตลอดเวลากาล คนที่มีความดีต้องมีอุปสรรคแน่นอน ไม่ใช่ดีไปตลอด เราเข้าใจผิด
คิดกันว่า เราสร้างกรรมดีเหมือนมีกรรมมาบัง ข้อเท็จจริงก็คือใช้เวรใช้กรรม เป็นความดีแล้ว

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

414
ผลกรรมของหลวงพ่อ 1/4
พระครูภาวนาวิสุทธิ์

อาตมา มี ประสบการณ์เกี่ยวกับกฎแห่งกรรม ที่เราจะต้องรับใช้ เมื่อเรามีจิตมีปัญญาเกิด จะรู้กฎแห่งกรรมทันที
จากการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เวรกรรมตามสนองอาตมา จึงรู้บุญบาป เมื่อก่อนนี้อยู่กับยาย อาตมาไม่สนใจกับพระตลอดกาล เวลาไปวัดหาบของไปทำบุญที่วัด ยายก็ต้องให้เก็บเอาก้อนดินไปด้วย ใส่กระบุงไปข้างละ ๓ ก้อน ไปถึงวัดแล้วให้ไปโยนไว้ที่มันเป็นบ่อ เป็นหลุมอยู่ในวัด ยายบอกได้บุญ อาตมาบอกว่าคนอื่นเขาไม่หาบดินไปวัดกันหรอก มีบ้านเราบ้านเดียวอายเขาตาย
ยายบอกว่าเราไปวัดเหยียบดินติดเท่ามานี่เป็นกรรมนะ เป็นบาป ใช้หนี้สงฆ์ เป็นหนี้สงฆ์มากเป็นบาปเป็นกรรม แต่แกก็ไม่ได้อธิบาย เขาเล่ากันมาอย่างนี้แกก็จำมาอย่างนี้ ก็ทำมาอย่างนี้ไม่เหมือนคนเดี๋ยวนี้ว่าไม่บาป บาปได้ยังไงเหยียบแค่นิดเดียว
พระก็ถมเอาเองซิ นี่คนรุ่นใหม่เข้าใจอย่างนี้ แต่คนรุ่นเก่าถือนักถือเชื่อเข้าไว้ก่อนมันมีประโยชน์ มันได้กำไรชีวิต
คือเชื่อกฎแห่งกรรม อาตมาเป็นเด็กเมื่อมาบวชใหม่ ๆ ไปบ้านญาติที่เขาเป็นนักเลง เป็นโจร เป็นเสือ เขากินเหล้ากัน พอเห็น
พระมาเขาเก็บแก้วหมดเลย เอาหล้าแอบเลย ยังกลัวบาปนะ เดี๋ยวนี้ไม่ต้อง กินต่อหน้าพระเลยสบายมาก แถมงานศพเล่นไพ่
หน้าศพอุทิศส่วนกุศล แล้วพระก็สวดไป ไม่ได้เกรงกลัวต่อบาปกรรมแต่ประการใด เขาว่าบาปกรรมไม่มีแน่นอนเข้าใจอย่างนี้

สร้างกรรม-กินอาหารที่ยายถวายพระ

ตอนอยู่ที่โรงเรียนมัธยม ยังอยู่กะยาย ยายให้เอาอาหารไปถวายพระ แล้วเราก็เอาไปทานเสียเองทั้งคาว ทั้งหวาน
แล้วก็บอกว่าไปถวายสมภาร เดินจากบ้านไปไม่มีรถหรอก เดินไปเป็นระยะทาง ๑ กิโลเมตร อาตมาไปก็ไปเจอเพื่อนนักเรียน
ที่สร้างความดีมาด้วยกัน หนีโรงเรียนกันสะบัด เพื่อนบอกว่ายังไม่ได้กินข้าวเลย เราก็นึกเลยว่าจะเอาไปให้พระทำไม เราก็ยัง
ไม่ได้กินเลย พรรคพวก ๔-๕ คนด้วยกัน ก็เห็นด้วย เลยตั้งวงกินกันเสียเลยเรียบร้อยล้างปิ่นโตเสร็จกลับบ้าน ยายถาม ไปวัดเจอสมภารไหมล่ะ บอกยายว่าผมไม่ได้ขึ้นกุฏิหรอก ให้เด็กมันถ่ายปิ่นโตให้แล้วผมก็มา ยายบอกว่าต่อนี้ไปต้องรับพรด้วยนะ
รับพรสมภารมาแล้วก็มาบอกยาย ยายจะได้ชื่นใจแล้วบอกท่านด้วยว่ายายให้เอาอาหารมาถวาย วันหลังเอาอีกแล้ว ให้ไปอีกก็เจอเพื่อนอีก โรงเรียนปิด ก็แบบเดิม กินเสร็จแล้วไปตีผึ้งต่อ ยายถามว่า “เจอสมภารมั้ย” เจอครับ รับพรเสร็จผมก็มา แท้ ๆ สมภาร
ดันมาอยู่บนบ้านเรา มาไม่บอกเราเลย มานั่ง นั่งตั้งนานแล้ว วันนั้นสมภารไปฉันบ้านใต้ ฉันเสร็จแล้วก็มานั่งคุยกับยาย แวะมาเยี่ยมยาย เราไม่รู้ ไม่บอกเรา เราไม่ทันแหงนดูบนบ้าน สมภารนั่งยิ้ม ยายเป็นคนใจบุญ พระชอบมาเยี่ยม แต่อาตมารำคาญ
พอสมภารกลับไปแล้วโดนหนัก บอกว่าบาป ถามว่านี่กี่เที่ยวแล้ว เราบอกว่า ๒ เที่ยวแล้วครับ ยายบอกว่า นี่ต้องเป็นเปรต ปากเท่ารูเข็ม กินข้าวไม่ลง เราก็ถามว่าเปรตสูงกว่าต้นตาลมั้ย ยายบอกว่าไม่เห็น เราไม่เชื่อหรอก ว่าหลอกเราแต่เราไม่พูด เถียงไม่ได้

โกงค่าเรือจ้าง
ในเวลากาลต่อมาไปโรงเรียนต้องนั่งเรือจ้างข้ามฟากเดือนละ ๒๕ สตางค์ อาตมาโกงค่าเรือจ้างไม่ให้ค่าเรือจ้าง
กินก๋วยเตี๋ยวผัดไทย แถมเลี้ยงเพื่อนด้วยนะ ก็โกงค่าก๋วยเตี๋ยวเขาอีก

ยิงนก-หักคอ-หักขานก

ในเวลาต่อมา โรงเรียนปิดหลายวันเทอมสุดท้ายแล้ว ครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลเขามาขอแรงอาตมาไปยิงปืน ไปยิงนก เราก็ไม่รู้บุญบาปมันมีจริงอย่างไร สนุกดีก็เอาปืนลูกซองดาวกระจาย ๕ นัด บอกกับโยมว่าจะไปติดวิชาตอนโรงเรียนปิด อยู่สัก
๗ วันจะกลับมา ขอสตางค์สัก ๑๐๐ แม่ก็ให้ตังค์ไป เราจะเอาปืนไปได้ยังไง ก็เอาที่นอนไปด้วยเอาเสื่อออกมาเอาปืนไว้ข้างใน
เช้ากินข้าวแล้วก็ออกตามทุ่งตามหนองยิงนกเป็ด นกกระสา พอยิงได้จับหักคอใส่ตะข้อง พอนกมันจิก จิกก็ถลกหนังเลย ทรมานเหลือเกิน เราไม่ทราบว่ามันจะมีบาปกรรมแต่ประการใด ล่วงมาอีกวันหนึ่ง ก็ไปยิงนกกระสาถูกปีกมันหักแล้วมันบินไม่ได้
เราก็ขับมัน เหนื่อยมาก แล้วก็จับได้ ทำไง หักขาเลย นกก็ดิ้นร้องไห้ตาย สรุปให้ฟังที่อาตมาทำบาปกรรม ต่อมาได้บวชใน
พระพุทธศาสนา พ่อแม่ให้บวชโดยไม่ได้เลื่อมใส ไม่ได้คิดว่าจะมาอยู่อย่างนี้ก่อนที่จะบวชก็ไปเรียนหนังสืออยู่ที่กรุงเทพฯ ไปอยู่โรงเรียนหลายโรงเรียนอยู่วัดก็ตั้งหลายวัด พอเสร็จจากเรียนหนังสือก็มาบวช กะว่าจะบวชสักพรรษาเดียวท่องเรียนหนังสือ
ไปจนจบหลักสูตร ก็ไปเจริญพระกรรมฐานออกป่าดงพงไพร

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

415
ปลาดุกย่าง เป็นเหตุ 3/3


เรื่องนี้ชี้ให้เห็นได้ว่า หญิง ๒ ร่าง นาง ๒ ชาติ บาปกรรมนักหนา แล้วเมืองนรกก็มีการสวดมนต์ไหว้พระ นางสอิ้งก็ถึงแก่ความตายตามสัญญา ๒๐ ปีพอดี วัดนี้ก็ได้กุฏิกรรมฐานของแม่สอิ้ง อาตมาก็กลัวเกรงไปว่า บาปกรรมจะติดพันมา เดี๋ยวจะให้อภัยโทษไม่ได้เลยสร้างกุฏิกรรมฐานเป็นการใหญ่ สร้างเป็นห้องแถวให้ท่านพัก บอกลูกหลานไว้ด้วยว่าอยากปัญญาดีมั้ย ขัดส้วมรับรองปัญญาดีทุกคน ไม่ใช่เรื่องโกหก อาตมาไปซื้อบานประตูหน้าต่างจากกำแพงเพชร ไปเจอเด็กคนหนึ่ง บอกหลวงพ่อหลานคนนี้หัวไม่เอาไหนเลย สอบตกอยู่เรื่อยอยากจะเรียนหนังสือ ทำไงจะมีปัญญาบอกว่ามาบวชเณรที่นี่ พอบวชแล้วเณรขัดส้วม บอกผมอยู่ที่บ้านไม่เคยขัด ตื่น ๘ โมงเช้า ใครหาข้าวให้กิน บอกแม่ ก็ขัดส้วมขัดไปขัดมาก็รักความสะอาด อยู่มาได้หน่อยสึก แล้วไปเรียนหนังสือต่อ เรียนไปเรียนมากลายเป็นผู้พิพากษาไป สอบได้ที่หนึ่งเลย นี่ขัดส้วม...
หมด ๓๗ ปาก ข้าพเจ้าคิดในใจว่า ถ้าสืบพยานครั้งละ ๑ ปาก ปีหนึ่งก็จะได้ประมาณ ๒๔ ปาก กว่าจะเสร็จคดีก็คงราว ๆ ปีกว่า หรือ ๒ ปี ทางทนายของข้าพเจ้าแนะนะให้เตรียมพยานเอาไว้บ้าง และให้ติดต่อกับเขาเสียแต่เนิ่น ๆ ข้าพเจ้านึกถึงนายโกสุมคนขับรถของข้าพเจ้า ว่าเขาคงจะเป็นพยานให้ข้าพเจ้าได้ดี เพราะเขาอยู่ใกล้ชิดกับข้าพเจ้าตลอดมา ไม่ว่าข้าพเจ้าจะไปไหนเขาก็มักจะไปด้วยเสมอ ข้าพเจ้าจึงคิดว่า ควรอ้างเขาเป็นพยานสักคนหนึ่ง เมื่อออกจากศาลแล้ว ข้าพเจ้าก็ไปหาเขาที่บ้านพัก บ้านพักของเขาอยู่ในบริเวณจวนผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ข้าพเจ้าเคยพักอยู่นั่นเอง เมื่อไปถึงไม่พบเขาอยู่ที่บ้าน ได้สอบถามภรรยาเขาว่า
เขาไปไหน ภรรยาเขาบอกว่า “โกสุมไปวิดปลาลอกสระอยู่หลังจวน” ข้าพเจ้าจึงเดินอ้อมไปทางหลังจวนจนถึงสระใหญ่ สระแห่งนี้มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยใดไม่ปรากฏ สมัยโบราณไม่มีน้ำประปา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมัยก่อนได้ใช้น้ำในสระนี้อาบกิน แต่เมื่อมีน้ำประปาแล้ว สระนี้ก็ทิ้งไว้เฉย ๆ มีต้นบัวอยู่เต็มสระ พอถึงหน้าแล้งเดือนมีนา-เมษา น้ำก็จะแห้งจนถึงก้นสระ โกสุมจึงถือโอกาสลอกสระแล้วเอาปล่าที่อยู่ในสระจำนวนมากมากินเป็นอาหาร ต้มบ้างแกงบ้าง ย่างบ้างตามแต่จะชอบ เมื่อข้าพเจ้าไปถึงปากสระ โกสุมเห็นเข้าก็รีบตะกายขึ้นมาบนของสระชี้ให้ข้าพเจ้าดูปลาดุกปลาช่อนตัวขนาดเท่าแขนหลายตัวซึ่งนอนแอ้งแม้งอยู่ในถัง
แต่ละตัวล้วนอ้วน ๆ ทั้งนั้น ปลาดุกอุยแต่ละตัวเนื้อเหลืองท้องเหลืองอ๋อยน่ารับประทานเป็นอย่างมาก ถ้าได้ย่างน้ำจิ้มปลาพริกมะนาวซอยหอมใส่นิดหน่อย กินกับข้าวร้อน ๆ ก็คงจะอร่อยดีไม่น้อย คิดแล้วก็น้ำลายไหลด้วยความอยาก “ปลาดุกอุยตัวโต ๆ ทั้งนั้น” ข้าพเจ้ากล่าวขึ้นลอย ๆ “ปีกลายนี้ผมก็วิดบ่อหนหนึ่งแล้ว ตอนนั้นท่านยังเป็นผู้ว่าอยู่ ผมยังเอาปลาไปให้ท่านกิน
ตั้งหลายตัว ท่านคงจะจำได้ตอนนั้นมีทั้งปลาดุก ปลาช่อน และปลาหมอ ท่านยังบอกว่าปลาดุกย่างอร่อยดี” โกสุมชี้แจง ข้าพเจ้าพยายามนึกทบทวนเหตุการณ์เมื่อปีที่แล้วมา จำได้ว่าเมื่อข้าพเจ้าย้ายมาเมืองตราดใหม่ ๆ ข้าพเจ้าได้ไปตลาดและได้ซื้อลูกปลาดุก ปลาหมอ ปลาช่อนเป็นจำนวนมาก มาปล่อยลงในสระแห่งนี้เพื่อสะเดาะเคราะห์ ตามคำทำนายของซินแสหมอดูจากจังหวัดระนอง ที่ทายว่าข้าพเจ้ากำลังมีเคราะห์ ให้รีบสะเดาะเคราะห์เสีย

หลังจากนั้นต่อมาอีกหลายเดือน ประมาณ ๖-๗ เดือนเห็นจะได้ ผู้บัญชาการเรือนจำได้นำนักโทษหลายคนมาขออนุญาตข้าพเจ้าขุดลอกสระหลังจวน โดยอ้างว่าสระตื้นเขินมากแล้ว ตอนนี้น้ำแห้งขอด ควรจะได้ขุดลอกเสีย พอถึงหน้าฝนก็จะได้น้ำ
เต็มสระ และเป็นน้ำที่ใสสะอาดดี กว่าที่จะปล่อยเอาไว้ให้ตื้นเขินอย่างนั้น ข้าพเจ้าผู้บัญชาการเรือนจำมีเหตุผลดี จึงได้อนุญาต
ให้ขุดลอกสระแห่งนี้ได้ ซึ่งเขาได้นำนักโทษมาขุดลอกสระในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น บังเอิญวันนั้นข้าพเจ้าจำได้ว่า มีราชการไปออกท้องที่ประชุมราษฎรที่กิ่งอำเภอบ่อไร่กลับมาเย็นมากแล้ว จึงได้ชวนพรรคพวกมานั่งตั้งวงดื่มสุรากันอยู่ที่บนนอกชานที่จวนนั่นเอง การดื่มสุราของพวกราก็ไม่ได้ดื่มจนเมามายไม่ได้สติ แต่เป็นการดื่มเพื่อเรียกน้ำย่อยก่อนรับประทานอาหารเย็นคนละแก้ว
สองแก้วก็เลิกกัน ขณะที่นั่งดื่มเหล้ากันอยู่นั้น โกสุมก็เดินขึ้นมาบนจวนถือจานใบใหญ่มาหนึ่งใบ ในจานมีปลาดุกย่างตัวโต ๆ
เนื้อเหลืองอ๋อย ประมาณ ๓-๔ ตัว ข้าพเจ้ายังจำได้ติดตา ว่าเย็นวันนั้นข้าพเจ้ากินข้าวกับปลาดุกย่างจิ้มน้ำปลาอย่างเอร็ดอร่อยเป็นกำลัง เมื่อนึกได้ดังนั้น ก็เกิดเฉลียวใจแว่บขึ้นมาทันทีจึงได้ถามโกสุมว่า“ปลาดุกที่ลื้อเอาไปให้อั๊วกินเมื่อปีกลาย เป็นปลาดุกที่วิดจากสระนี้หรือ”“ใช่แล้วครับ วันนั้นพวกผู้คุมเขาเอานักโทษมาขุดลอกสระ ผมเลยถือโอกาสผสมโรงผลัดผ้าขาวม้าลงจับปลากับเขาด้วย ผมได้ปลามาขังโอ่งไว้ตั้งหลายสิบตัว ผมเห็นปลาดุกตัวโต ๆ เนื้อเหลืองดี เลยย่างเอาไปให้ท่านรับประทาน”
เขากล่าวจบก็มองหน้าข้าพเจ้า คล้ายจะถามว่าข้าพเจ้ามาถามเขาทำไม “ตายแล้ว ถ้าอย่างงั้นก็คงเป็นปลาดุกที่ผมเอามาปล่อย
ตอนที่ย้ายมาเป็นผู้ว่าใหม่ ๆ ละซี ปล่อยเขาแล้วเอาเขามากินอีก ยิ่งบาปกรรมหนักยิ่งขึ้น แล้วนี่ผมจะทำยังไงดี” ข้าพเจ้าบอกโกสุมด้วยความกังวลใจ

“แฮ่ะ แฮ่ะ ผมก็ไม่รู้จะว่ายังไง เพราะเห็นว่ามันเนื้อเหลือง ๆ ตัวโต ๆ ก็คิดว่าท่านคงชอบ ผมเองก็ไม่ทราบว่าท่านเอามาปล่อยไว้ตั้งแต่เมื่อไหร่ กินเข้าไปแล้วก็แล้วกันเถอะครับ เมื่อเราไม่เจตนาก็คงจะไม่บาปมากนัก” เขากล่าวปลอบใจข้าพเจ้า
“ไม่บาปกะผีอะไร หลวงพ่อท่านว่าแบบนี้บาปหนักมาก ต้องรับเคราะห์กรรมไปอีกนาน” ข้าพเจ้าบอกเขา “หลวงพ่ออะไรครับ”
“หลวงพ่ออ้า...เอ อย่าไปรู้เลย ชั่งมันเถอะ” พูดจบข้าพเจ้าก็ลาเขากลับ ส่วนเรื่องที่จะขอให้เขาเป็นพยานก็ลืมไปสนิท เหมือนมีอะไรมาบังหัวใจเอาไว้ ที่คิดว่าจะพูดก็เลยไม่ได้พูด ตอนขากลับจากจังหวัดตราดวิ่งรถเข้ากรุงเทพฯ ข้าพเจ้าครุ่นคิดมาตลอดทาง นึกถึงคำพูดโต้ตอบของข้าพเจ้ากับหลวงพ่อที่วัดอัมพวัน “เป็นไปไม่ได้หรอกครับหลวงพ่อ ที่ผมปล่อยชีวิตเขาไปแล้ว จะไปจัดเขา
มากินอีก ผมจะไปรู้ได้อย่างไรว่าปลาตัวไหนเป็นปลาที่ผมปล่อยไป จะได้จับมากินได้ถูก ยิ่งกว่านั้นผมยังปล่อยปลาครั้งละเป็นร้อย ๆ ตัว ยิ่งไม่มีทางจะเป็นไปได้เลย” “เป็นไปได้แน่นอน และก็เป็นแล้วด้วย อาตมานั่งทางในเห็นชัดเจนและก็ยังสงสัยอยู่ ว่า ทำไมโยมถึงทำเช่นนั้น” ข้าพเจ้าคิดสับสน จนบอกไม่ถูกว่าทำไมเรื่องราวในชีวิตของเราเองจึงได้ยุ่งเหยิงสับสนวุ่นวายถึงขนาดนี้

.........................

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

416
ปลาดุก ย่าง เป็นเหตุ 2/3


เมื่อเป็นเช่นนี้ พอ ๑๑ ปีผ่านก็รำลึกชาติได้ เตี่ยหนูนี่ไม่ใช่ลูกนะ ฉันนี้เป็นนางสอิ้งภรรยาตาปุ่น ตำบลโน้น เตี่ยก็ยังไงกันก็ไปปรึกษาตำบลโน้น ตำบลนี้ เอาอย่างนี้ให้มันลืมเรื่องเสียว่าจะจริงเท็จยังไงไม่ทราบ ก็เอาไข่หลงรัง ไข่ที่ตายโคม ไข่ข้าว
เพราะที่นั่นมีพระภูมิเจ้าที่แรง ท่านคอยคุ้มกันทำให้คนที่ไปดักยิงมันมองไม่เห็นตัว มันเลยยิงไม่ได้ ความจริงมันไปเฝ้าอยู่นอกรั้วบ้านหลายวัน ไม่มีโอกาสเห็นตัวโยมคนนี้ มันเลยเลิกล้มความตั้งใจ มิฉะนั้นดวงชะตาขาดไปแล้ว ยังมีหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์เป็นพระเก่าแก่ซึ่งแขวนอยู่ที่คอคอยคุ้มกันอยู่อีกองค์หนึ่ง ทำให้คนคิดร้ายทำอันตรายได้ยาก แต่ระยะนี้พ้นเคราะห์เหล่านั้นมาแล้ว
คงไม่เป็นไร หมั่นทำบุญ สุนทานมาก ๆ หน่อย ปล่อยสัตว์มีชีวิตเช่น นก ปลา มาก ๆ ก็จะดี” หลวงพ่ออธิบาย “แล้วเหตุที่มีเคราะห์ถึงขนาดนี้ มันเนื่องมาจากอะไรกันล่ะครับหลวงพ่อ” ข้าพเจ้าถามท่านบ้าง เพราะปล่อยให้คุณอำนวยถามมานานแล้ว “มันเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อ แต่อาตมานั่งหลับตาดู ทบทวนอยู่ถึงสองสามครั้งผลออกมาเหมือนกัน ซึ่งอาตมาก็ยังงง ๆ อยู่เหมือนกัน” “งงเรื่องอะไรล่ะครับหลวงพ่อ”“งงเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้น่ะซิโยม” “เรื่องอะไรล่ะครับที่เป็นไปไม่ได้ ในโลกนี้มีเรื่องที่จะเป็นไปได้เสมอ” ข้าพเจ้าว่า“คือตามเรื่องมีว่า โยมรู้ตัวว่ากำลังมีเคราะห์กรรมก็พยายามซื้อลูกปลาตัวเล็ก ๆ ไปปล่อยลงน้ำ เพื่อช่วยชีวิตของลูกปลาเหล่านั้น เรื่องนี้โยมทำมากตั้งแต่ปีที่แล้วใช่หรือไม่ บอกอาตมาตรง ๆ” หลวงพ่อถามข้าพเจ้าแล้วมองหน้า “ใช่ครับ ผมรู้ว่าตัวเองกำลังมีเคราะห์ ดวงไม่ดีก็พยายามปล่อยนกปล่อยปลามาตั้งแต่ปีที่แล้ว การปล่อยนกปล่อยปลาเป็นการช่วยชีวิตสัตว์ ไม่เห็นจะผิดบาปอะไรนี่ครับหลวงพ่อ” “ถ้าเพียงเอาไปปล่อยนอกจากไม่บาปแล้ว ยังได้บุญอีกด้วย แต่เรื่องนี้มันไม่ยุติเท่านั้น มันยังมี
เรื่องยืดเยื้อต่อมาอีกนะซี” พูดจบหลวงพ่อถอนหายใจใหญ่ “ยืดเยื้อยังไงครับ” “คือหลังจากเอาเขาไปปล่อยแล้วโยมก็ไปจับเขามากินอีกนะซี ตอนนี้แหละที่บาปหนัก จวนจะแก้ไม่ตกอยู่แล้วรู้ไหม เท่ากับเราอธิษฐานเมื่อเวลาจะปล่อยเขาลงน้ำว่าจงไปอยู่เป็นสุขเป็นสุขเถิด เราปล่อยชีวิตเจ้าแล้ว เราช่วยชีวิตเจ้าให้ยั่งยืนต่อไปแล้ว เจ้าจงไปอยู่เป็นสุขเป็นสุขเถิด เจ้าเวรนายกรรมขอให้มารับส่วนกุศลในการปล่อยชีวิตในครั้งนี้ด้วย เสร็จแล้วหลังจากนั้นไม่นานโยมก็ไปจับเขามากินอีก เท่ากับกลับคำสัตย์ อธิษฐานที่ให้ไว้แก่เจ้าเวรนายกรรม ทำให้เจ้าเวรนายกรรมเขาโกรธมาก เขาจึงอาฆาตพยาบาท โยมจึงต้องรับเคราะห์กรรมอยู่ขณะนี้ยังไงล่ะ

นี่แหละที่อาตมาว่ามันไม่น่าจะเป็นไปได้ อาตมาดูคนมาแยะ ๆ หลายต่อหลายคนไม่เคยพบเห็นเรื่องอย่างนี้เลย” หลวงพ่อพูดจบคว้าบุหรี่มาดูดวาบ ๆ (หลวงพ่อไม่สูบบุหรี่ แต่หลวงพ่อนัดยานัตถุ์) ข้าพเจ้าบอกหลวงพ่อเรื่องนี้ไม่จริง ข้าพเจ้าปล่อยนกปล่อยปลาเมื่อปีกลายจริง แต่เมื่อปล่อยลงน้ำลงคลองแล้วก็แล้วกันไม่เคยไปตามจับมากินอีก เพราะจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวไหนคือตัวที่ข้าพเจ้าปล่อยไปจะได้จับมากินได้ถูก เพราะข้าพเจ้าไม่ได้ทำเครื่องหมายไว้ และเวลาปล่อยก็ปล่อยครั้งละมาก ๆ ลูกปลาดุก ปลาช่อน ปลาหมอ ครั้งละจำนวนร้อย ๆ ตัว จะไปจำปลาแต่ละตัวได้อย่างไร เพราะฉะนั้น เรื่องที่หลวงพ่อว่า จึงไม่มีทางจะเป็นไปได้อย่างแน่นอน สงสัยหลวงพ่อดูผิดเสียแล้ว หลวงพ่อหัวเราะอย่างคนอารมณ์ดี “อาตมาไม่ได้ว่าโยมตั้งใจจะจับปลาที่ปล่อยสะเดาะเคราะห์มากิน แต่อาตมาหมายความว่า โยมกินปลาที่โยมสะเดาะเคราะห์เข้าไป จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ อาตมาไม่ทราบเหมือนกัน แต่สรุปว่าโยมกินเขาเข้าไปแน่ ๆ โดยปราศจากข้อสงสัย ลองไปนึกทบทวนดูให้ดีเถิด แล้ววันหลังค่อยมาคุยกันใหม่”
 “แล้วเรื่องที่ผมมีเคราะห์กรรมอยู่เวลานี้ล่ะครับจะเป็นอย่างไรบ้าง” ข้าพเจ้าอยากรู้เหตุการณ์ในอนาคต “ตอนนี้พ้นระยะเคราะห์หนักแล้ว ที่เหลืออยู่เป็นส่วนน้อย และค่อย ๆ หมดไปราว ๆ เดือนเมษายน-พฤษภาคม ปีหน้าก็คงพ้นเคราะห์เด็ดขาด ไม่เป็นไร ขอชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิดให้อาตมาไว้ แล้วอาตมาจะนั่งบริกรรมภาวนาให้เจ้าเวรนายกรรมเขาเห็นใจเลิกจองเวรจองกรรมเสีย” ท่านหันไปคุยกับคุณอำนวยและคนอื่น ๆ ที่มาคณะเดียวกัน วันนั้นข้าพเจ้าไม่ได้อยู่กินข้าวเย็นที่วัดอัมพวัน เพราะเกรงจะกลับกรุงเทพฯ ค่ำ เพราะกำลังมีเคราะห์อยู่ด้วย ต้องระวังตัวเกรงเกิดอุบัติเหตุ ในระหว่างทางขณะขับรถกลับกรุงเทพฯ

 ข้าพเจ้าได้ครุ่นคิดไปตลอดทางว่าข้าพเจ้าไปจับปลาที่ปล่อยสะเดาะเคราะห์ไปแล้วเอามากินได้อย่างไร ข้าพเจ้าไม่เคยประพฤติเช่นนั้นเลย ไม่น่าจะเป็นไปได้ การปล่อยปลาแต่ละครั้งก็ปล่อยจำนวนมาก ๆ และปล่อยในลำคลองหนองบึงเป็นส่วนใหญ่ และเมื่อปล่อยไปแล้วก็แล้วกัน ไม่เคยติดตามเอามากินอีกเลย หลวงพ่อคงจะเลอะเลือนดูทางในผิดไปแน่ ๆ แต่ก็ใจไม่ดี คิดว่าบางทีปลาตัวที่เราปล่อยต่อมา พวกจับปลามันจับได้เอาไปขายที่ตลาด เด็กบ้านเราไปจ่ายกับข้าว ซื้อมาแกงเข้าพอดี ถ้าเป็นอย่างนี้ก็มีทางเป็นไปได้เหมือนกัน แต่โอกาสมีหนึ่งในร้อยหรือหนึ่งในพัน

ต่อมาอีกหลายวันข้าพเจ้าจำได้ว่า ทางอัยการเขาได้นัดส่งฟ้องข้าพเจ้าต่อศาลจังหวัดตราด ซึ่งข้าพเจ้าในฐานะจำเลย
ก็จะต้องเดินทางไปจังหวัดตราด เพื่อไปฟังคำฟ้องในศาล หลังจากที่อัยการฟ้องเสร็จแล้วศาลก็นัดสืบพยาน โดยสืบพยานโจทก์ก่อนในชั้นต้น ศาลได้นัดเดือนละ ๒ ครั้ง ก็เป็นอันตกลงกันทั้งอัยการ โจทก์ และทนายฝ่ายข้าพเจ้า ทางฝ่ายโจทก์ก็ยื่นระบุพยานทั้ง....(ไม่มีคำต่อเนื่อง)

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

417
ปลาดุก ย่าง เป็นเหตุ 1/3
ปัญญา ฤกษ์อุไร

เมื่อเรารดน้ำมนต์หลวงพ่อแพเสร็จแล้ว คุณอำนวย ก็บอกข้าพเจ้าว่า ออกจากนี่เราจะไปวัดอัมพวันกัน วัดอัมพวัน
อยู่ไม่ไกลจากที่นี่ ออกไปทางถนนพหลโยธิน วัดตั้งอยู่ริมทางเลี้ยวเข้าไปประมาณ ๕๐๐ เมตรเท่านั้น ไหน ๆ ก็มาทำบุญ
วัดหลวงพ่อแพแล้ว ก็ควรจะเลยไปวัดอัมพวันสักหน่อยก็จะดี“ หลวงพ่อองค์นี้ดีทางไหน ”ข้าพเจ้าถามคุณอำนวยผู้แนะนำ
“ท่านเก่งทางนั่งทางใน และทางวิปัสสนากรรมฐาน” คุณอำนวยชี้แจง“ท่านเก่งทางวิปัสสนาก็เป็นเรื่องของท่านไม่เกี่ยวอะไรกะเราผู้เป็นฆราวาส” ข้าพเจ้ายังไม่หายสงสัย “เกี่ยวซิ ทำไมจะไม่เกี่ยว ยิ่งคนซวย ๆ อย่างผู้ว่ายิ่งเกี่ยวมากขึ้น เพราะอย่างน้อยก็จะได้รู้ว่าเรื่องที่ซวยอยู่เวลานี้มันเป็นมาอย่างไร” คุณอำนวยชักฉุนเพราะความขี้สงสัยของข้าพเจ้า “รู้แล้วจะมีประโยชน์อะไร ไปพบท่านแล้วจะหายซวยกระนั้นหรือ” คุณอำนวยเกาหัวยิกยัก คงจะโมโหที่ข้าพเจ้าสงสัยไม่หยุด “อย่างน้อยเราก็รู้ว่าเรื่องราวมันเป็นมาอย่างไร จึงได้รับเคราะห์กรรมถึงปานนั้น พระที่นั่งทางในได้นั้นย่อมมองเห็นอดีตและอนาคตของสัตว์โลกทุกชนิด เขาเรียกว่า มีทิพยจักษุ หรือญาณจักษุ อะไรทำนองนี้แหละ เข้าใจหรือยัง” เขาอธิบายจบพร้อมกับถอนหายใจเฮือกใหญ่ “ซาบซึ้งแล้วครับ” ข้าพเจ้าตอบยิ้ม ๆ คุณอำนวยค้อนประหลับประเหลือก คงนึกในใจว่าไม่ควรพาข้าพเจ้ามา ดูจะมีปัญหามากเหลือเกิน

  เราออกจากวัดพิกุลทองของหลวงพ่อแพ มุ่งตรงไปออกทางเข้าสิงห์บุรีตรงตัดกับถนนพหลโยธิน แล้ววิ่งมาตามถนนพหลโยธินมุ่งเข้ากรุงเทพฯ จากปากทางเข้าเมืองสิงห์บุรีมาได้ประมาณ ๘ ก.ม. ก็จะถึงวัดอัมพวัน วัดนี้ถ้ารถยนต์มุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ จะอยู่ทางด้านขวามือ ที่ปากทางมีป้ายเขียนไว้ว่า ทางเข้าวัดอัมพวัน หน้าวัดมีโรงเรียนหลังใหญ่อยู่หลังหนึ่งชื่อโรงเรียนวัดอัมพวัน เมื่อผ่านโรงเรียนไปแล้วก็จะถึงตัววัด บริเวณวัดกว้างขวางและสะอาดสะอ้าน มีต้นไม่ใหญ่ ๆ หลายต้นร่มรื่นสมกับ
เป็นที่อยู่ของบรรพชิต

   เมื่อพวกเราไปถึง ท่านอยู่พอดีมีอุบาสกอุบาสิกานั่งอยู่ก่อนแล้ว ๔-๕ คน พอคณะของพวกเราประมาณสิบกว่าคนไปถึง บรรดาท่านเหล่านั้นก็ลาหลวงพ่อไป คุณอำนวยนำพวกเราไปนั่งใกล้ ๆ สำหรับข้าพเจ้านั้นให้ไปนั่งข้างหน้าใกล้ ๆ กับหลวงพ่อ หลวงพ่อมีตำแหน่งเป็น พระครูภาวนาวิสุทธิ์ ชาวบ้านแถบนั้นเรียกท่านว่า พระครูจรัญ เข้าใจว่าคงจะเป็นชื่อเดิมท่าน อายุประมาณ ๕๐ เศษ ดูท่าทางเป็นคนเคร่งศีลและวินัย การพูดจาตรงไปตรงมาไม่เกรงใจใครทั้งนั้น ทำถูกท่านก็ว่าถูก ทำผิด ท่านก็ว่าผิด อาศัยเหตุผลเป็นหลักในการพูด เมื่อคุณอำนวยไปหาท่านโอภาปราศรัยดี แสดงว่าคุณอำนวยเป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิ คนหนึ่ง “มาวันนี้ก็ดีแล้ว อยู่ให้ถึงเย็น อาตมาจะให้เขาหุงอาหารไว้ให้กิน” ว่าแล้วท่านก็สั่งแม่ชีจัดการหุงข้าวทำกับข้าวเลี้ยงคณะคุณอำนวย โดยที่คุณอำนวยไม่ทันจะพูดว่ากะไร “ผมมาวันนี้ นอกจากมากราบนมัสการท่านแล้ว ก็ยังได้แนะนำเพื่อนมาคนหนึ่ง ที่เขาประสบเคราะห์กรรม อยากจะให้หลวงพ่อช่วยนั่งทางในดูสักทีว่าเรื่องราวมันไปยังไงมายังไงกัน ถึงได้มาประสบเคราะห์กรรมเช่นนี้” คุณอำนวยบอกหลวงพ่อ “ไหนคนไหน” “คนนี้ครับ” ว่าแล้วคุณอำนวยก็ชี้มือมายังข้าพเจ้า “อ้อคนนี้เรอะ ท่าทางดีนี่ไม่เลวเลย แต่หน้าตาดูจะหมองคล้ำไปสักหน่อย คนกำลังมีเคราะห์ก็เป็นแบบนี้แหละ เดี๋ยวอาตมาจะนั่งหลับตาดูซิว่า
มันเรื่องอะไรกัน” พูดจบท่านก็นั่งหลับตาอยู่ครู่หนึ่ง พอลืมตาคุณอำนวยก็ถาม “เป็นไงหลวงพ่อ พอไหวไหม” “เฮ้อ! รายนี้อาการหนักมาก ความจริงดวงชะตาจะขาดอยู่แล้วตั้งแต่เดือนก่อนโน้น มีคนจะมาดักยิงที่บ้านพักแต่ยิงไม่ได้

ยมบาลก็ให้อภัยโทษอีก ๔๐ ปี บอกว่าสามีของเธอได้บวชในพระศาสนา ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานอุทิศส่วนกุศลมาขอให้
อภัยโทษ ๔๐ ปี เหลือ ๒๐ ปีนี้เพราะเธอมีโทษ หนึ่งลักทองแล้วโยนความผิดไปให้คนอื่น สองที่บาปหนักคือ ลักข้าว ให้อภัยไม่ได้
เธอจะเอาอย่างนี้ไหม ก็เห็นว่าเธอมีคุณงามความดีสวดมนต์ไหว้พระเป็นหัวหน้าในเมืองนรกเจริญกรรมฐานในที่สุด จะให้กลับไปอยู่เมืองมนุษย์ ๒๐ ปี ไปใช้หนี้ผัว และจะต้องไม่กลับมาที่นี่ แต่ให้สัญญานะเจ้าจะต้องรักษาอุโบสถทุกวันพระ ทำได้หรือไม่ ประการที่สอง จะต้องไปสร้างกุฏิกรรมฐานเงิน ๑ ชั่ง ไม่เกินไม่ขาดเพื่ออุทิศส่วนกุศล มิฉะนั้นจะต้องกลับมาเมืองนรกอีก อย่างนี้นางก็รับปาก ก็มาเกิดใกล้บ้านตาปุ่นประมาณ ๒ กิโลกว่า ๆ มาเกิดเป็นลูกตาแป๊ะแก่ อยู่คนละตำบล แต่รู้จักกัน แป๊ะแก่ได้ภรรยามา ๑๕ ปี ไม่มีบุตร ภรรยาสาว แต่ผัวก็ ๕๐ กว่าแล้ว แต่เกิดมามีบุตรตอน ๑๕ ปีผ่านไป บุตรนั้นได้แก่นางสอิ้งนั่นเอง นางสอิ้งคนเดิมรูปร่างเหมือนยักษ์ขะหมูขีมีไฝฝีขี้แมลงวันเม็ดเบ้อเร่อ แล้วจอนตัดทัด ใบหู ดำปี๋ นุ่งผ้าโจงกระเบน ผอมเกร็ง อาตมารู้ เพราะดูรูปที่เขาแต่งงานกับตาปุ่น


ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

418
ธรรมะ / ตอบ: เทวดามีจริงหรือ?........
« เมื่อ: 11 ส.ค. 2554, 07:06:11 »
ขอบคุณท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) และ ท่าน saken6009 ครับ

419
ธรรมะ / ตอบ: เทวดามีจริงหรือ?........
« เมื่อ: 10 ส.ค. 2554, 11:05:49 »
เทวดามีจริงหรือ? 3/3

เขาเห็นจริง เชื่อจริง มาตามลำดับ ว่า ทาน ศีล ให้เกิดสวรรค์, สวรรค์ มีลักษณะ อย่างนั้นๆ ประกอบไปด้วย อาทีนพ-คือโทษ ทำให้โง่ ให้หลง ให้วนเวียน ในวัฏฏสงสาร อย่างนั้นๆ จึงมีจิตใจ พร้อมที่จะรู้เรื่อง อริยสัจจ์ หรือ เรื่องของ โลกุตตระ.

อุบายวิธี ทางธรรม เช่นนี้ เราจะเรียกว่า พระพุทธเจ้า ท่านฉลาดในการสวมรอย หรือ อะไรก็ตามเถิด แต่ว่า ความจำเป็น มันบังคับให้ทำได้เพียงเท่านั้น
จะไปพิสูจน์ เรื่องนรก สวรรค์ กันมากกว่านั้น ก็ไม่มีเวลา ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น ทั้งไม่ได้ประโยชน์อะไร;

เพราะเรื่องที่สำคัญนั้น ต้องการจะสอน ให้เห็น ความทุกข์ เดี๋ยวนี้ ให้เห็น เหตุให้เกิดทุกข์ เดี๋ยวนี้ กล่าวคือ เรื่องอริยสัจจ์สี่ นั่นเอง

เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงทรงมีอุบาย ลัดๆ สั้นๆ ชำระของเกรอะกรัง ในจิตใจของประชาชน เรื่องนรก สวรรค์ เสียพอสมควรก่อน ได้แก่ ทรงแสดงเรื่อง ทาน เรื่องศีล แล้วเรื่องสวรรค์ แล้วย้ำเรื่อง โทษของสวรรค์ แล้วจึงถึง เรื่องการออกไปเสีย จากสวรรค์ ที่เรียกว่า เนกขัมมะ การออกไปเสียจาก กามคุณ ว่าจะมีผลดีอย่างนั้นๆ

พอมาถึงขั้นนี้แล้ว คนนั้นที่เรียกได้ว่า มีหัวใจเคยเกรอะกรัง ไปด้วย ตะกอนต่างๆ มาแต่กาลก่อนๆ ถูกชำระล้างหมดสิ้นดีแล้ว ก็พร้อมที่จะรู้ อริยสัจจ์สี่ คือ ทุกข์ มูลเหตุให้เกิดทุกข์ สภาพที่ ไม่มีความทุกข์ เลย และวิธีปฏิบัติ ที่จะให้ลุถึงสภาพชนิดนั้น พระพุทธเจ้า ท่านก็สอนเรื่องของท่านโดยตรงเอาตอนนี้เอง.

ส่วนตอนเรื่อง นรกสวรรค์อะไรนั้น เป็นตอนที่ไม่ใช่ใจความของพุทธศาสนา

เขาเชื่อกัน อยู่อย่างนั้นแล้ว เขาทำกัน อยู่อย่างนั้นแล้ว ก่อนพระองค์เกิด

ถ้าไปตู่เรื่องนี้ มาว่าเป็นพุทธศาสนา ก็เรียกว่า ไม่ยุติธรรม

พระพุทธเจ้า ท่านไม่ขี้ตู่ อย่างนั้น เรื่องของท่าน จึงมีแต่เรื่อง โลกุตตระ คือ อริยสัจจ์ เป็นพื้น.

เพราะฉะนั้น จึงเห็นได้ว่า เรื่องสวรรค์หรือนรก นี้ ไม่ใช่ประเด็นของพุทธศาสนา แต่มันพลัดมาอยู่ใน คำของ พระพุทธเจ้าได้ เพราะความจำเป็นอย่างนี้;

ฉะนั้น เราไปสนใจกับ ตัวพุทธศาสนา โดยตรงเสีย ปัญหาเรื่องนรกสวรรค์ ก็จะหมดสิ้นไปในตัวเอง หมดความจำเป็นไปในตัวเอง

เพราะ ถ้าขืนเชื่อ งมงายไปตามผู้อื่นว่า มีจริง เป็นจริง อย่างนั้น ก็เป็นการถูกหลอก;

หรือ แม้แต่ เขาจะบังคับกระแสจิตให้เห็นได้ทางปาฏิหาริย์ ก็ยังเป็นการ ถูกหลอกอย่างลึกซึ้งอยู่นั่นเอง.

พุทธบริษัท ไม่ทำอย่างนี้ จึงพิสูจน์เรื่อง ความทุกข์ และ เรื่องความดับทุกข์ โดยตรง เป็นเรื่องของ พุทธศาสนาแท้.

ตุลา-๑ ๑๖/๕๙๐-๕๙๓

ที่มา
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/tevada83.html

420
ธรรมะ / ตอบ: เทวดามีจริงหรือ?........
« เมื่อ: 10 ส.ค. 2554, 11:00:14 »
เทวดามีจริงหรือ? 2/3

เลิกพูดถึงมนุษยโลกหรือเทวโลก ซึ่งไม่ใช่ประเด็นสำคัญ.

ทีนี้ อาตมา อยากจะชี้แจงต่อ ถึงข้อที่ว่า

ทำไม คำว่า เทวดา หรือ คำว่า สวรรค์นี้ มามีอยู่ในพระพุทธภาษิต และอยู่ในพระไตรปิฎก โดยตรง.

ทั้งนี้ ก็เพราะว่า ในประเทศอินเดีย สมัยนั้น มีความเชื่อเรื่องเทวดา เรื่อง นรก เรื่องสวรรค์ นี้อยู่โดยสมบูรณ์แล้ว มีรายละเอียดชัดเจน เหมือนที่กล่าวนี้ ทุกอย่างมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น

พอพระพุทธเจ้า มีขึ้นในโลก เรื่องเหล่านี้ มันมีอยู่แล้ว จะไปเสียเวลาหักล้าง ก็ไม่ไหว พิสูจน์ให้คนโง่ เห็นไม่ได้

เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า ท่านจึงพลอยตรัส เอออวย ไปตามคำที่พูดๆ กันอยู่ แต่แล้ว ก็ทรงแสดง สิ่งที่ดีกว่า ให้เขาเลิกละ ความสนใจหรือ ติดแน่นในสิ่งนั้นเสีย ให้เลิกละ ความติดแน่น ในนรก ในสวรรค์ ในเทวโลก พรหมโลก เหล่านั้นเสีย โดยมาเอา สิ่งที่ดีกว่า คือ เรื่องโลกุตตระ หรือ นิพพาน;
ทั้งๆ ที่ไม่ต้อง เสียเวลา พิสูจน์ เรื่องเทวดา เรื่องนรกสวรรค์ ชนิดนั้น ว่ามันมี ข้อเท็จจริง โดยแท้จริงอย่างไร.

มีอยู่ในพระไตรปิฎก บางแห่ง พระพุทธเจ้าตรัสว่า เรื่องเทวดานี้ เขาพูดกันอย่าง เอิกเกริก ทั่วไปอยู่แล้ว เสียเวลา ที่จะไปฝืน ความรู้สึกของเขา;
แล้วเราเอง ก็ต้องการ อีกอย่างหนึ่ง ต่างหาก สิ่งที่ต้องการ ไม่ได้เป็นอันเดียวกับ ที่ต้องการให้เขาหลงใหลในสวรรค์

ไม่จำเป็นที่จะต้อง อธิบายเรื่อง นรก สวรรค์ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะ พิสูจน์กัน เดี๋ยวนั้น ไม่ได้.

ถ้าหากว่า ผู้นั้นจะมีปาฏิหาริย์มาก ถึงกับบังคับจิตผู้คน หรือกลุ่มประชาชน ให้เห็นนรกเห็นสวรรค์ด้วยอำนาจจิตได้อย่างแท้จริง;

ซึ่งสวรรค์และนรก จะจริงไม่จริงไม่ทราบ; แต่ว่า สามารถบังคับด้วยปาฏิหาริย์ ให้พากันเห็นชัดเจนแท้จริง จนมีความเชื่ออย่างนี้ก็ทำได้;

พระพุทธเจ้า ท่านก็ทำได้ เป็นของง่ายๆ แต่ท่านก็ไม่ประสงค์ จะทำอย่างนั้น; กลับเอออวย ไปในบางส่วนว่า ให้ทาน รักษาศีล นี่แหละ จะเป็นทางให้ได้สวรรค์ แล้วเมื่อได้สวรรค์ มาแล้ว เป็นอย่างไร ท่านก็ชี้ให้เห็นว่า สวรรค์นั้น มันเต็มไปด้วยโทษ คือ ความหลงใหลอย่างไร แล้วจึง ทรงแสดงโทษของสวรรค์ ผู้นั้นก็พร้อมที่จะรู้เรื่องโลกุตตระ

ที่มา
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/tevada83.html

421
ธรรมะ / เทวดามีจริงหรือ?........
« เมื่อ: 10 ส.ค. 2554, 10:54:27 »
เทวดามีจริงหรือ? 1/3

ปัญหามีอยู่ว่า: ตามบาลีมีอยู่ว่า

เทวดาที่ปรารถนาสุคติ ปรารถนามาเกิดในโลกมนุษย์นั้น ย่อมเป็นการรับรองว่า เทวดามีตัวจริง และ สวรรค์ก็มีตัวจริง.

ถ้าเชื่อว่ามีจริงเช่นนี้ จะไม่เป็นเรื่องเหลวไหล ตามคติในยุคปัจจุบันไปหรือ?

ปัญหานี้ ผู้ถามได้ยึดเอาหลักที่อาตมาได้บรรยายไปในวันก่อนๆ ถึงตอนที่กล่าวว่า เทวดาที่ปรารถนาสุคติ หาที่อื่นไม่ได้ ไม่พบ ต้องมาหาในมนุษยโลก ซึ่งมีพระรัตนตรัย;

เลยยึดเอาว่า ถ้าอย่างนั้น บาลีก็ยืนยันว่า ตัวเทวดามีจริง สวรรค์มีจริง? อาตมาอยากจะขอตอบว่า ในบาลี มีกล่าวเช่นนั้นจริง และมีในรูปพระพุทธภาษิตจริง;

แต่ความหมายนั้น หมายถึง เทวดาเป็นตัวบุคคลาธิษฐาน เช่นนั้นจริงหรือไม่ เป็นอีกปัญหาหนึ่ง.

เรื่องเทวดานี้ ก็อยู่ในหลักเกณฑ์เดียวกันที่ว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ว่า ถ้าไม่ "มองเห็น" ได้ด้วยตนเองแล้ว อย่าไปเชื่อตามดีกว่า เพราะฉะนั้น ส่วนที่พูดถึงตัวเทวดา หรือ สวรรค์นั้น ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ.

ประเด็นสำคัญ มันอยู่ที่ว่า คนที่มัวเมาอยู่ด้วยกามคุณอย่างเทวดา และ จะเป็นเทวดาอยู่ที่ไหนก็ตาม ผู้ที่มัวเมาอยู่แล้ว ยากที่จะมีจิตใจที่โปร่งหรือแจ่มใสเพียงพอ ที่จะเข้าใจเรื่องดับทุกข์ หรือ เรื่องนิพพาน

เพราะฉะนั้น เทวดาเมื่อสำนึกถึงความที่ตนมัวเมาอยู่ในกามคุณ หรือในสวรรค์ได้ ก็เกิดความสลดสังเวชตัวเอง ว่าที่นี่ ไม่ใช่ที่เอาตัวรอดเสียแล้ว;

ควรจะเป็นในที่ที่ไม่มัวเมา ในกามคุณมากถึงเช่นนั้น; ควรจะเป็นที่ที่จะหาเรื่องราวของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือเรื่องดับทุกข์นั้นได้โดยง่าย.

เพราะฉะนั้น โลกที่ดีที่น่าเกิด ก็ควรจะเป็นมนุษยโลก แทนที่จะเป็นเทวโลก.

เพราะฉะนั้น ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ว่า ควรจะอยู่ในที่ที่หาพบพระรัตนตรัยได้ง่าย หรือ ทำการดับทุกข์ได้ง่าย;


ที่มา
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/tevada83.html

422
ความกลัว 5/5

อุปาทาน ผูกมัดเรา ทำเข็ญให้เรา ยิ่งกว่าที่หากเราจะถูกแกล้งหาเรื่องจับจองจำในคุกในตะรางเสียอีก เพราะปรากฏว่ามันไม่เคยผ่อนผันให้เราเป็นอิสระ หรือพักผ่อน แม้ชั่วครู่ชั่วยาม

เมื่อมี "ฉัน" ขึ้นมาในสันดานแล้ว "ฉัน" ก็อยากนั่น อยากนี่ อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อยากไม่ให้ เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ซึ่งเมื่อพิจารณาดู ซ้ำอีกทีหนึ่งแล้ว จะเห็นว่า เต็มไปด้วย ความเห็นแก่ตนเอง หรือ "ฉัน" นั้น ร้อยเปอร์เซ็นต์ "ฉัน" ไม่อยากเจ็บปวด ไม่อยากตาย หรือแหลก ละลายไปเสีย ฉัน จึงกลัวเจ็บกลัวตาย เป็นสัญชาตญาณ ของ "ฉัน" เมื่อกลัวตายอย่างเดียว อยู่ภายในใจแล้ว ก็กลัวง่าย ไปทุกสิ่งที่เชื่อกันว่า มันจะทำให้ตาย หรือทำให้เจ็บป่วย ซึ่งเป็นน้องของตาย ทำให้ฉันกลัว ผีจะหักคอฉัน กินฉันหลอกฉันขู่ฉัน กลัวเสือซึ่งไม่เคยปรากฏว่าเป็นเพื่อนกันได้ และกลัวสัตว์อื่นๆ แม้แต่งูตัวนิดๆ กลัวที่มืดซึ่งเป็นที่อาศัยของสิ่งน่ารังเกียจเหล่านั้น กลัวที่เปลี่ยว ซึ่งไม่มีโอกาส ที่ตนจะต่อสู้ป้องกันตัวได้ กลัวคู่เวร จะลอบทำฉันให้แตกดับ กลัวฉันจะอับอายขายหน้าสักวันหนึ่ง เพราะฉัน มีความผิดปกปิดไว้  บางอย่าง ฉันกลัว เพราะไม่เข้าใจว่า สิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ไม่รู้ เช่น ผลไม้ดีๆ บางอย่าง แต่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ถ้ารูปร่าง หรือ สีมันชอบกลแล้ว ฉันก็กลัว ไม่กล้ากิน หรือแม้แต่จะชิมก็ขนลุก และในที่สุดเมื่อ "ฉัน" ปั่นป่วน ในปัญหาการอาชีพ หรือ ชื่อเสียงเป็นต้นของฉัน กลัวว่า ฉันจะเสื่อมเสียอยู่เสมอ ฉันก็เป็นโรคใจอ่อน หรือโรคประสาท สะดุ้งง่าย ใจลอย ความยึดถือว่า ฉันเป็นฉัน เหล่านี้เป็น มูลเหตุของความกลัว ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ก็กวาดความสดใส ชุ่มชื่นเยือกเย็น ให้หมดเตียนไปจากดวงจิตนั้น

เมื่อพบว่า ต้นเหตุ ของความกลัว คืออะไร ดังนี้แล้ว เราก็มาถึง ปัญหา ว่าจะตัดต้นเหตุนั้นได้อย่างไร เข้าอีกโดยลำดับ ในตอนนี้เป็นการจำเป็น ที่เราจะต้องแบ่งการกระทำ ออกเป็นสองชั้น ตามความสูงต่ำ แห่งปัญญา หรือความรู้ ของคนผู้เป็นเจ้าทุกข์ คือถ้าเขามีต้นทุนสูงพอ ที่จะทำลายอุปาทาน ให้แหลกลงไปได้ ก็จะได้ ตรงเข้าทำลาย อุปาทาน ซึ่งเมื่อทำลายได้แล้ว ความทุกข์ทุกชนิด จะพากันละลายสาบสูญไปอย่างหมดจดด้วย นี้ประเภทหนึ่ง
และอีกประเภทหนึ่ง คือ พยายาม เพียงบรรเทาต้นเหตุให้เบาบางไปก่อน ได้แก่ การสะสางมูลเหตุนั้น ให้สะอาดหมดจด ยิ่งขึ้น

ประเภทแรก สำเร็จได้ด้วยการปฏิบัติธรรมทางใจ ให้ก้าวหน้าสูงขึ้นตามลำดับๆ จนกว่าจะหมดอุปาทาน ตามวิธีแห่งการปฏิบัติธรรม อันเป็นเรื่องยาวอีกเรื่องหนึ่ง ผู้สำเร็จ ในประเภทนี้ คือ พระอรหันต์ จึงเป็นอันว่า จักงดวิธีนี้ไว้ก่อน เพราะไม่เป็นเรื่องที่สาธารณะแก่บุคคลทั่วไป และเป็นเรื่องที่เคยอธิบายกันไว้อย่างมาก ต่างหากแล้ว

ส่วนประเภทหลัง นั้นคือ การพยายาม ประพฤติ ความดี ทั้งทางโลก และทางธรรม ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ จนตนติเตียนตนเองไม่ได้ ใครที่เป็นผู้รู้ แม้จะมีทิพยโสต หรือทิพยจักษุ มาค้นหา ความผิด เพื่อติเตียนก็ไม่ได้ เป็นผู้เชื่อถือ และเคารพตัวเองได้เต็มเปี่ยม ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนท่าน
ไม่มีเวรภัยที่ผูกกันไว้กับใครรู้กฏความจริงของโลกศึกษาให้เข้าใจในหลักครองชีพ หาความ หนักแน่น มั่นใจให้แก่ตัวเอง ในหลักการครองชีพ และรักษา ชื่อเสียง หรือคุณความดี พยายามทำแต่สิ่งที่เป็นธรรมด้วย ความหนักแน่น เยือกเย็น ไม่เปิดโอกาสให้ใครเหยียดหยามได้ ก็จะไม่ต้องเป็นโรคใจอ่อน หรือโรคประสาท เพราะมีความ แน่ใจตัวเอง เป็นเครื่องป้องกัน และสำเหนียก อยู่ในใจ เสมอว่า สิ่งทั้งปวงเป็น อนัตตา เป็นไปตามเรื่อง คือ เหตุปัจจัยของมัน ไม่เป็นของแปลก หรือได้เปรียบ เสียเปรียบ อะไรแก่กัน ในเรื่องนี้

เมื่อเป็นเช่นนี้ ความกลัว ก็หมดไป ใจได้ที่พึ่ง ที่เกษม ที่อุดม ยิ่งขึ้น สมตาม พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสการเห็นแจ้ง อริยสัจ สี่ประการ ไว้ในรองลำดับ
แห่งการถือ ที่พึ่งด้วยการถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ อริยสัจ ก็คือการรู ้ เหตุผลของความทุกข์ และของความพ้นทุกข์ ความกลัว ก็รวมอยู่ในพวกทุกข์ เห็นอริยสัจอย่างเพลา ก็คือ การเห็น และตัดต้นเหตุแห่งความกลัว ประเภททีหลังนี้ เห็นอริยสัจ เต็มที่ถึงที่สุด ก็คือ พระอรหันต์ หรือ การตัดต้นเหตุประเภทแรก ได้เด็ดขาด ข้าพเจ้าขอจบ เรื่องนี้ลง ด้วย พระพุทธภาษิต ที่เราควร สำเหนียก ไว้ในใจ อยู่เสมอ อันจะเป็นดุจ เกราะ ป้องกันภัย จาก ความกลัว ได้อย่างดี ดังต่อไปนี้

"มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกความกลัว คุกคาม เอาแล้ว   ย่อม ยึดถือเอา ภูเขาบ้าง ป่าไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง   สวนที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง รุกขเจดีย์บ้าง เป็นที่พึ่งของตนๆ
  นั่นไม่ใช่ ที่พึ่ง อันทำความ เกษม ให้ได้เลย   นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด ผู้ใดถือสิ่งนั้นๆ เป็นที่พึ่งแล้ว   ก็ยังไม่อาจ หลุดพ้น ไปจากความทุกข์ ทั้งปวงได้

  ส่วนผู้ใดที่ถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว   เห็นอริยสัจทั้งสี่ ด้วยปัญญาอันถูกต้อง คือ เห็นทุกข์ เห็นเหตุ   เครื่องให้เกิดทุกข์ เห็นการก้าวล่วงไปเสียได้จากทุกข์ และ   เห็นหนทาง อันประกอบด้วยองค์แปดประการ อันประเสริฐ   อันเป็นเครื่องยังผู้นั้น ให้เข้าถึง ความรำงับแห่งทุกข์ นั่นแหละ
  คือ ที่พึ่งอันเกษม นั่นแหละ คือที่พึ่งอันสูงสุด   ผู้ใด ถือเอา ที่พึ่ง นั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้น จากทุกข์ทั้งปวงได้ (ธ. ขุ. ๔๐)

  ความโศก ย่อมเกิดแต่ความรัก   ความกลัว ย่อมเกิดแต่ความรัก   สำหรับผู้ที่พ้นแล้ว จากความรัก   ย่อมไม่มีความโศก   ความกลัว จักมีมาแต่ที่ไหนเล่า

  ความโศก ย่อมเกิดมาจาก ตัณหา (ความอยากอย่างนั้นอย่างนี้)
  ความกลัว ย่อมเกิดมาจาก ตัณหา (เพราะกลัวไม่สมอยาก)
  สำหรับผู้ที่พ้นแล้วจาก ตัณหา ย่อมไม่มีความโศก
  ความกลัว จักมีมา แต่ที่ไหนเล่า " (ธ. ขุ. ๔๓)

ขอให้ความกลัว หมดไปจากจิต ความสุข จงมีแต่ สรรพสัตว์ เทอญ

พุทธทาสภิกขุ
๑ สิงหาคม ๒๔๗๙

ที่มา
http://www.buddhadasa.com/shortbook/fearghost.html

423
ความกลัว 4/5

แต่พึงทราบว่า ทั้งนี้เป็นเพียงข่มไว้เท่านั้น เชื้อของความกลัว ยังไม่ถูกรื้อถอนออก เมื่อใดหยุดข่ม มันก็เกิดขึ้นตามเดิม อีกประการหนึ่ง ไม่ใช่วิธีที่ง่ายสำหรับคนทั่วไป สำหรับการข่มด้วยสมาธิ คนธรรมดาเหมาะสำหรับเพียงแต่เปลี่ยนเรื่องคิดนึกของใจเท่านั้น  หาอาจทำ การหยุด พฤติการของจิต ให้ชะงักลงได้ง่ายๆ เหมือน นักสมาธิไม่ และค่อนข้าง จะเป็นการแนะให้เอา ลูกพรวน เข้าไปแขวนผูกคอแมวไป ในเมื่อสอนให้ คนธรรมดาใช้วิธ๊นี้

และน่าประหลาดใจอีกอย่างหนึ่งว่า วิธีที่สาม ที่จะกล่าวต่อไปข้างหน้า ฃึ่งเป็นวิธีที่สูงนั้น กลับจะเหมาะสำหรับคนทั่วไป และได้ผลดีกว่าเสียอีก
วิธีนั้น คือ ตัดต้นเหตุ แห่งความกลัวเสีย ตามแต่ที่กำลังปัญญาความรู้ของผู้นั้น จะตัดได้มากน้อยเพียงไร ดังจะได้พิจารณากันอย่างละเอียด กว่าวิธีอื่น ดังต่อไปนี้

เมื่อมาถึงประการ ที่สามนี้ ขอให้เราเริ่มต้นด้วย อุทาหรณ์ง่ายๆ ของท่านภิกขุ อานันท เกาศัลยายนะ
[เขียนไว้ในเรื่อง คนเราเอาชนะความกลัวได้อย่างไร ในหนังสือพิมพ์มหาโพธิ และบริติชพุทธิสต์ แต่เขียนสั้นๆ เพียงสองหน้ากระดาษเท่านั้น และกล่าวเฉพาะการประพฤติ กายวาจาใจ ให้สุจริตอย่างเดียว ว่า เป็นการตัดต้นเหตุแห่งความกลัว]
เขียนไว้เรื่องหนึ่งเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายในข้อที่ว่า การสะสางที่มูลเหตุ นั้นสำคัญเพียงไร อุทาหรณ์ นั้น เป็นเพียงเรื่องที่ผูกขึ้นให้เหมาะสมกับความรู้สึกของคนเราทั่วไป เรื่องมีว่า เด็กคนหนึ่งมีความกลัวเป็นอันมาก ในการที่จะเข้าไปใน ห้องมืดห้องหนึ่ง ในเรือนของบิดาของเขาเอง เขาเชื่อว่า มีผีดุตัวหนึ่งในห้องนั้น และจะกินเขา ในเมื่อเขาเพียงแต่เข้าไป บิดาได้พยายามเป็นอย่างดีที่สุด ที่จะทำได้ ทุกๆ ทาง เพื่อให้บุตรของตน เข้าใจถูกว่า ไม่มีอะไร ในห้องนั้น เขากลัวไปเองอย่างไม่มีเหตุผล แต่เด็กคนนั้น ได้เคยนึกเห็นตัวผีมาแล้ว เขาเชื่อว่า ไม่มีทางใดที่จะช่วยบุตรของตน ให้หลุดพ้นจากการกลัวผี ซึ่งเขาสร้างขี้นเป็นภาพใส่ใจของเขาเองด้วยมโนคติได้จริงแล้ว ก็คิดวางอุบาย มีคนใช้คนหนึ่ง เป็นผู้ร่วมใจด้วย ฤกษ์งามยามดีวันหนึ่ง
เขาเรียกบุตร คนนั้นมา แล้วกล่าวว่า "ฟังซิ ลูกของพ่อ ตั้งนานมาแล้ว ที่พ่อเข้าใจว่า พ่อเป็นฝ่ายถูก เจ้าเป็นฝ่ายผิด ก่อนหน้านี้ พ่อคิดว่า ไม่มีผีดุ ในห้องนั้น บัดนี้ พ่อพบด้วยตนเองว่า มันมีอยู่ตัวหนึ่ง และเป็นชนิดที่น่าอันตรายมาก เสียด้วย พวกเราทุกคน จักต้องระวังให้ดี"

ต่อมาอีกไม่กี่วัน บิดาได้เรียกบุตรมาอีก ด้วยท่าทาง เอาจริงเอาจัง กล่าวว่า "หลายวันมาแล้ว ผีพึ่งปรากฏตัววันนี้เอง พ่อคิดจะจับและฆ่ามันเสีย
ถ้าเจ้าจะร่วมมือกับพ่อด้วย ไปเอาไม้ถือ ของเจ้า มาเร็วๆ เข้าเถิด ไม่มีเวลาที่จะรอ แม้นาทีเดียว เพราะมันอาจหนีไปเสีย" เด็กน้อยตื่นมาก
แต่ไม่มีเวลาคิด ไปเอาไม้ถือมาทันที พากันไปสู่ห้องนั้น เมื่อเข้าไปก็ได้พบผี (ซึ่งเรารู้ดีว่า เป็นฝีมือของคนใช้ทำขึ้น และคอยเชิดมันในห้องมืดนั้น)
สองคนพ่อลูกช่วยกันระดมตีผี ด้วยไม้ถือ และไม้พลอง จนมันล้มลง มีอาการของคนตาย พ่อลูกดีใจ คนในครอบครัวทั้งหลาย มีการรื่นเริง กินเลี้ยงกันในการปราบผี ได้สำเร็จ ฉลองวันชัย และเป็นวันแรก ที่เด็กนั้น กล้าเข้าไปในห้องนั้น โดยปราศจากความกลัวสืบไป นี่เราจะเห็นได้ว่า เพียงทำลายล้างผี ที่เด็กสร้างขึ้น ด้วยมันสมองของเขาเอง บิดาต้องสร้างผี ขึ้นตัวหนึ่งจริงๆ จึงทำลายได้สำเร็จ โดยอาศัยความฉลาด รู้เท่าทันการ รู้จักตัดต้นเหตุ คนโง่ กับคนฉลาด นั้น ผิดกันในส่วนที่ ระงับเหตุร้าย ลงไปจากทางปลาย หรือตัดรากเหง้า ขึ้นมาจากภายใต้

เสือย่อมกระโดด สวนทาง เสียงปืน เข้าไปหาผู้ยิง ในเมื่อรู้สึกว่า ตนถูกยิง แต่สุนัข ย่อมมัว ขบกัด ตรงปลายไม้ ที่มีผู้แหย่ ตนนั่นเอง หาคิดว่าต้นเหตุสำคัญ อยู่ที่ผู้แหย่ไม่
เมื่อเราพบจุดสำคัญว่า การตัดต้นเหตุเป็นวิธีที่ดีที่สุด ดังนี้แล้ว เราก็ประจัญกันเข้ากับปัญหาว่า อะไรเล่า ที่เป็นต้นเหตุแห่งความกลัว ?

เมื่อเราคิดดูให้ดีแล้ว อาจตอบได้ว่า เท่าที่คนเราส่วนมาก จะคิดเห็นนั้น ความกลัวผี มีต้นเหตุมากมาย คือ ความไม่เข้าใจในสิ่งนั้นบ้าง การมีความกลัวติดตัวอยู่บ้าง ใจอ่อนเพราะเป็นโรคประสาทบ้าง อาฆาตจองเวรไว้กับคนไม่ชอบพอกันบ้าง รักตัวเองไม่อยากตายบ้าง เหล่านี้ ล้วนเป็น เหตุแห่งความกลัว

มูลเหตุอันแท้จริง เป็นรวบยอด แห่งมูลเหตุทั้งหลาย คืออะไรนั้น ค่อนข้างยากที่จะตอบได้ เพราะเท่าที่เห็นกันนั้น เห็นว่า มันมีมูลมากมายเสียจริงๆ
แต่แท้ที่จริงนั้น ความกลัวก็เป็นสิ่งที่ เกิดมาจากมูลเหตุอันสำคัญอันเดียว เช่นเดียวกับ ความรัก ความโกรธ ความเกลียด และ ความหลง เพราะว่า ความกลัว ก็เป็นพวกเดียวกันกับ ความหลง (โมหะ หรือเข้าใจผิด) มูลเหตุอันเดียวที่ว่านั้น ก็คือ อุปาทาน ความยึดถือต่อตัวเองว่า ฉันมี ฉันเป็น นั่นของฉัน นี่ของฉัน เป็นต้น อันเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัสมิมานะ (เรื่องนี้ ข้าพเจ้าเคย อธิบายไว้บ้างแล้ว ในเรื่อง "สุขกถา" ที่คณะธรรมทาน เคยพิมพ์โฆษณาแล้ว)

ความรู้สึก หรือ ยึดถืออยู่เอง ในภายในใจ ตามสัญชาตญาณนั้น มันคลอดสิ่งที่เราเรียกกันว่า "ฉัน" ขึ้นมา และความรู้สึกนั้น ขยายตัวออกสืบไปว่า
ฉันเป็นผู้ทำเช่นนั้น เช่นนี้ ฉันจะได้รับนั่น รับนี่ หรือเสียนั่น เสียนี่ไป นั่นจะส่งเสริมฉัน เป็นมิตรของฉัน นี่จะตัดรอนฉัน ทำลายฉัน เป็นศัตรูของฉัน
"ฉัน" สิ่งเดียวนี้ เป็นรากเหง้า ของความรัก โกรธ เกลียด กลัว หลงใหล อันจักทำลาย ความผาสุก และอิสรภาพ ของคนเรา ยิ่งไปกว่าที่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันทำแก่เรา มากกว่ามากหลายเท่า หลายส่วนนัก

ที่มา
http://www.buddhadasa.com/shortbook/fearghost.html

424
ความกลัว 3/5

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า วิธีนี้ ไม่ใช่ ที่พึ่ง อันเกษม คือ ทำความปลอดภัยให้ได้อย่างแท้จริง ไม่ใช่ วิธีสูงสุด, เนตํ สรณํ เขมํ เนตํ สรณมุตฺตมํ

ประการที่สอง สูงขึ้นมาสักหน่อย พอที่จะเรียกได้ว่า อยู่ในชั้นที่จัดว่า เป็นกุศโลบาย หลักสำคัญอยู่ที่ส่งความคิดนึก ของใจไปเสียที่อื่น

ซึ่งจะเป็นความรักใครที่ไหน โกรธใครที่ไหน เกลียดใครที่ไหน ก็ตาม หรือหยุดใจเสียจากความคิดนึก ทุกอย่าง (สมาธิ) ก็ตาม เรียกว่า ส่งใจไปเสียในที่อื่น คือจากสิ่งที่เรากลัวนั้นก็แล้วกัน ที่เราเห็นกันได้ทั่วไป เช่น กำลังเมารัก บ้าเลือด เหล่านี้เป็นต้น จะไม่มีความกลัวผี กลัวเสือ กลัวเจ็บ
แม้เรื่องราวในหนังสือข่าวรายวัน ก็เป็นพยาน ในเรื่องนี้ได้มาก แต่เรื่องชนิดนี้ เป็นได้โดย ไม่ต้องเจตนา ทำความรู้สึก เพื่อส่งใจไปที่อื่น เพราะมันส่งไปเองแล้ว ถึงกระนั้นทุกๆ เรื่อง เราอาจปลูกอาการเช่นนี้ขึ้นได้ในเมื่อต้องการ และมันไม่เป็นขึ้นมาเอง การคิดนึกถึงผลดีที่จะได้รับ คิดถึงสิ่งที่เรารักมาก จนใฝ่ฝัน คิดถึง ชาติประเทศ คิดถึงหัวหน้าที่กล้าหาญ ดูสิ่งที่ยั่วใจให้กล้า เช่น ระเบียบให้มองดู ธงของผู้นำทัพ ในเมื่อตนรู้สึกขลาด อันปรากฏอยู่ในนิยาย เทวาสุรสงคราม ในพระคัมภีร์ เป็นต้น เหล่านี้ ล้วน แต่ช่วยให้ใจแล่นไปในที่อื่น จนลืมความกลัว ได้ทั้งนั้น ในชั้นนี้ พระผู้มีพระภาคทรงสอนให้ระลึกถึงพระองค์ หรือพระธรรม หรือพระสงฆ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในเมื่อภิกษุใดเกิดความกลัวขึ้นมา ในขณะที่ตนอยู่ในที่เงียบสงัด เช่นในป่าหรือถ้ำ เป็นต้น

อาการเช่นนี้ทำนองค่อนไปข้างสมาธิ แต่ยังมิใช่สมาธิแท้ทีเดียว แต่ถ้าหากว่า ผู้ใดแม้ระลึกถึง พระพุทธองค์ก็จริง แต่ระลึกไปในทำนองเชื่อมั่น มันก็ไปตรงกันเข้ากับประการต้น คือความเชื่อ เช่น เชื่อพระเครื่อง หรือคนป่าเชื่อปู่เจ้าเขาเขียว ต่อเมื่อระลึก ในอาการเลื่อมใสปิติในพระพุทธคุณ เป็นต้น
จึงจะเข้ากับประการที่สองนี้

ส่วนอาการที่สงบใจไว้ด้วยสมาธินั้น เป็นอุบายข่มความกลัว ได้สนิทแท้ เพราะว่า ในขณะแห่งสมาธิ ใจไม่มีการคิดนึก อันใดเลย นอกจากจับอยู่ที่สิ่งซึ่งผู้นั้น ถือเอาเป็นอารมณ์ หรือนิมิต ที่เกาะของจิตอยู่ในภายในเท่านั้น

แต่ว่าใจที่ เต็มไป ด้วยความกลัว ยากที่จะเป็นสมาธิ เพราะฉะนั้น ต้องเป็นสมาธิ ที่ชำนาญ อย่างยิ่งจริงๆ จนเกือบกลายเป็นความจำอันหนึ่งไป พอระลึกเมื่อใด นิมิตนั้นมาปรากฏเด่นอยู่ที่ "ดวงตาภายใน" ได้ทันทีนั่นแหละ จึงจะเป็นผล แม้ข้อที่ พระองค์สอนให้ระลึกถึงพระองค์ หรือพระธรรม พระสงฆ์ ตามนัยแห่งบาลี ธชัคคสูตรนั้น ก็หมายถึง พุทธานุสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ อยู่แล้ว แม้ว่าจะเป็นเพียง อุปจารสมาธิ ยังไม่ถึงขึดฌาณก็ตาม
ล้วนแต่ต้องการความชำนาญ จึงอาจเปลี่ยนอารมณ์ที่กลัวให้เป็นพุทธานุสสติ เป็นต้นได้

ส่วนสมาธิ ที่เป็นได้ถึงฌาณ เช่น พรหมวิหาร เป็นต้น เมื่อชำนาญแล้ว สามารถที่จะข่มความกลัว ได้เด็ดขาดจริงๆ ยิ่งโดยเฉพาะ เมตตา พรหมวิหาร ยิ่งเป็นไปได้ง่ายที่สุด

ที่มา
http://www.buddhadasa.com/shortbook/fearghost.html

425
ความกลัว 2/5


เด็กๆ จะกลัวที่มืด หรือการถูกทิ้ง ไว้ผู้เดียว ทั้งที่ เขายังไม่เคย มีเรื่องผูกเวร กับใครไว้ อันจะนำให้กลัวไปว่า จะมีผู้ลอบทำร้าย เพียงแต่ผู้ใหญ่ ชี้ไปตรงที่มืด แล้วทำท่ากลัว ให้ดูสักครั้งเท่านั้น เด็กก็จะกลัว ติดอยู่ในใจไปได้นาน คนโตแล้วบางคน นั่งฟังเพื่อนกันเล่าเรื่องผีเวลากลางคืน มักจะค่อยๆ ขยับๆ จนเข้าไป นั่งอยู่กลางวง โดยไม่รู้สึกตัว และยังไปนอนกลัว ในที่นอนอีกมาก กว่าจะหลับไปได้

เดินผ่านป่าช้าโดยไม่รู้ เพิ่งมารู้และกลัวเอาที่บ้านก็มี สำหรับบางคน ทั้งหมดนี้ เป็น เครื่องแสดงว่า ความกลัว เป็นเรื่องของจิต มากกว่า วัตถุ ผู้ใด ไม่มี ความรู้ ในการควบคุม จิตของตน ในเรื่องนี้ เขาจะถูกความกลัวกลุ้มรุมทำลายกำลังประสาทและความสดชื่นของใจเสียอย่างน่าสงสาร

ในทำนอง ตรงกันข้าม สำหรับผู้ที่มีอุบายข่มขี่ความกลัว ย่อม จะได้รับ ความผาสุก มากกว่า มีกำลังใจ เข้มแข็งกว่า เหมาะที่จะเป็น หัวหน้าหมู่ หรือ ครอบครัว

เมื่อปรากฏว่า ความกลัว เป็นภัย แก่ความผาสุก เช่นนี้แล้ว บัดนี้ เราก็มาถึง ข้อปัญหาว่า เราจะเอา ชนะความกลัว ได้อย่างไร สืบไป เพราะเหตุว่า การที่ทราบแต่เพียงว่า ความกลัว เป็นภัย ของความผาสุกนั้น เรายังได้รับผลดีจากความรู้นั้น น้อยเกินไป เราอาจปัดเป่า ความกลัวออกไปเสียจากจิต โดยวิธีต่างๆ กัน

แต่เมื่อจะสรุปความ ขึ้นเป็นหลักสำคัญๆ แล้ว อย่างน้อย เราจะได้สามประการ คือ

๑. สร้างความเชื่ออย่างเต็มที่ ในสิ่งที่ยึดเอาเป็นที่พึ่ง
๒. ส่งใจไปเสียในที่อื่น ผูกมัดไว้กับสิ่งอื่น
๓. ตัดต้นเหตุ ของความกลัวนั้นๆ เสีย

ในประการต้น อันเราอาจเห็นได้ทั่วไป คือ วิธีของ เด็กๆ ที่เชื่อตะกรุด หรือ เครื่องราง ฯลฯ ตลอดจน พระเครื่ององค์เล็ก ที่แขวนคอ และเป็นวิธีของผู้ใหญ่บางคน ที่มีความรู้สึกอยู่ในระดับเดียวกับเด็กด้วย

คนในสมัยอนารยะ ถือภูเขาไฟ ต้นไม้ ฟ้า หรือ สิ่งที่ตนเห็นว่า มีอำนาจน่ากลัว ควรถือเอา เป็นที่มอบกายถวายตัว ได้อย่างหนึ่ง นี่ก็อยู่ในประเภทเดียวกัน ที่ยังเหลือมาจนทุกวันนี้ เช่น พวกที่บนบานต้นโพธิ์ พระเจดีย์ เป็นต้น
เพื่อความเบาใจของตน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง วิธีนี้ เป็นผลดีที่สุด ได้ตลอดเวลา ที่ตน ยังมีความเชื่อมั่นคงอยู่ ความเชื่อที่เป็นไปแรงกล้า อาจหลอกตัวเอง ให้เห็นสิ่งที่ควรกลัวกลายเป็นสิ่งที่ไม่ควรกลัวไปก็ได้ ถ้าหากจะมีอุบายสร้างความเชื่อชนิดนั้น ให้เกิดขึ้นได้มากๆ

เมื่อใดความเชื่อหมดไป หรือมีน้อย ไม่มีกำลังพอที่จะหลอกตัวเองให้กล้าหาญแล้ว วิธีนี้ ก็ไม่มีประโยชน์ กลายเป็นของน่าหัวเราะเท่านั้น

เล่ากันมาว่า เคยมีคนๆ หนึ่ง อมพระเครื่อง เข้าตะลุมบอน ฆ่าฟันกัน เชื่อว่า ทำให้อยู่คง ฟันไม่เข้า เป็นต้น ดูเหมือนได้ผล เป็นที่น่าพอใจ เขาจริงๆ
ขณะหนึ่ง พระตกจากปากลงพื้นดิน ในท้องนา ตะลีตะลานคว้าใส่ปากทั้งที่เห็นไม่ถนัด แทนที่ จะได้พระ กลับเป็นเขียดตัวหนึ่ง เข้าไปดิ้นอยู่ในปาก
ก็รบ เรื่อยไป โดยยิ่งเชื่อมั่นขึ้นอีกว่า พระในปาก แสดงปาฏิหาริย์ ดิ้นไปดิ้นมา เมื่อเลิกรบ รีบคายออกดู เห็นเป็นเขียดตาย ก็เลยหมดความเชื่อ ตั้งแต่นั้นมา ไม่ปรากฏว่า พระเครื่ององค์ใด ทำความพอใจ ให้เขาได้อีก

ที่มา
http://www.buddhadasa.com/shortbook/fearghost.html

426
ความกลัว 1/5

 ความกลัว เป็นสิ่งที่มีอำนาจมากสิ่งหนึ่ง ในบรรดา สิ่งที่ทำลาย ความสุข สำราญ หรือ รบกวนประสาท ของมนุษย์ เป็นอย่างยิ่ง ด้วยกัน

ความกลัวนี้ ย่อมมีลักษณะ และพิษสง มากน้อยกว่ากัน เป็นขั้นๆ ตามความรู้สึก อันสูงต่ำ ของจิต

เด็กๆ สร้างภาพ ของสิ่งที่น่ากลัว ขึ้นในใจ ตามที่ผู้ใหญ่ นำมาขู่ หรือได้ยิน เขาเล่า เรื่อง อันน่ากลัว เกี่ยวกับผี เป็นต้น สืบๆ กันมา แล้วก็กลัว เอาจริงๆ จนเป็นผู้ใหญ่ ความกลัวนั้น ก็ไม่หมดสิ้นไป


ความกลัว เป็นสัญชาตญาณ อันหนึ่งของมนุษย์ เหมือนกันหมด แต่ว่า วัตถุที่กลัว นั่นแหละต่างกัน ตามแต่เรื่องราวที่ตนรับ เข้าไว้ในสมอง

วัตถุอันเป็น ที่ตั้งของความกลัว ที่กลัวกันเป็นส่วนมากนั้น โดยมากหาใช่วัตถุ ที่มีตัวตน จริงจัง อะไรไม่ มันเป็นเพียงสิ่งที่ใจสร้างขึ้น สำหรับกลัวเท่านั้น ส่วนที่เป็น ตัวตน จริงๆ นั้น ไม่ได้ ทำให้เรากลัวนาน หรือ มากเท่าสิ่งที่ใจสร้างขึ้นเอง มันมักเป็น เรื่องเป็นราวลุล่วงไปเสียในไม่ช้านัก

บางที เราไม่ทันนึก กลัว ด้วยซ้ำไป เรื่องนั้นก็ได้มาถึงเรา เป็นไปตามเรื่องของมันและผ่านพ้นไปแล้ว มันจึงมิได้ทรมานจิตของมนุษย์มากเท่าเรื่องหลอกๆ ที่ใจสร้างขึ้นเอง

เด็กๆ หรือคนธรรมดา เดินผ่านร้านขายโลง ซึ่งยังไม่เคย ใส่ศพเลย ก็รู้สึกว่า เป็นที่น่ารังเกียจ หรือเป็นที่ อวมงคล เสียจริงๆ เศษกระดาษ ชนิดที่เขา ใช้ปิดโลง ขาดตก อยู่ในที่ใด ที่นั้น ก็มี ผี สำหรับเด็กๆ

เมื่อเอาสีดำ กับกระดาษ เขียนกันเข้า เป็น รูปหัวกระโหลก ตากลวง ความรู้สึกว่าผี ก็มาสิง อยู่ใน กระดาษ นั้นทันที

เอากระดาษฟาง กับกาวและสี มาประกอบกัน เข้าเป็น หัวคนป่า ที่น่ากลัว มีสายยนต์ ชักให้แลบลิ้น เหลือกตา ได้ มันก็พอที่ทำให้ใคร ตกใจเป็นไข้ได้ ในเมื่อนำไปแอบ คอยที่ชักหลอกอยู่ในป่า หรือที่ขมุกขมัว และแม้ที่สุด แต่ผู้ที่เป็นนายช่าง ทำมันขึ้นนั่นเอง ก็รู้สึกไปว่า มันมิใช่กระดาษฟาง กับกาวและสี เหมือนเมื่อก่อน เสียแล้ว ถ้าปรากฏว่า มันทำให้ใคร เป็นไข้ ได้สักคนหนึ่ง


เราจะเห็นได้ ในอุทาหรณ์ เหล่านี้ ว่า ความกลัวนั้น ถูกสร้างขึ้น ด้วยสัญญาในอดีตของเราเอง ทั้งนั้น เพราะปรากฏว่า สิ่งนั้นๆ ยังมิได้เนื่องกับผีที่แท้จริง แม้แต่นิดเดียว และสิ่งที่เรียกว่า ผี ผี , มันก็ เกิดมาจากกระแส ที่เต็มไปด้วย อานุภาพอันหนึ่ง อันเกิดมาจาก กำลังความเชื่อแห่งจิต
ของคนเกือบทั้งประเทศ หรือ ทั้งโลก เชื่อกันเช่นนั้น อำนาจนั้นๆ มัน แผ่ซ่าน ไปครอบงำจิตของคนทุกคน ให้สร้าง ผีในมโนคติ ตรงกันหมด
และทำให้เชื่อ ในเรื่องผี ยิ่งขึ้น และผีก็มีชีวิต อยู่ในโลกนี้ได้

จนกว่าเมื่อใด เราจะหยุดเชื่อเรื่องผี หรือ เรื่องหลอก นี้กันเสียที ให้หมดทุกๆ คน ผีก็จะตายหมดสิ้นไปจากโลกเอง จึงกล่าวได้ว่า ความกลัวที่เรากลัวกันนั้น เป็นเรื่องหลอก ที่ใจสร้างขึ้นเอง ด้วยเหตุผล อันผิดๆ เสียหลายสิบเปอร์เซ็นต์

ความกลัว เป็นภัยต่อความสำราญ เท่ากับความรัก โกรธ เกลียด หลงใหล และอื่นๆ หรือบางที จะมากกว่าด้วยซ้ำ ดูเหมือนว่า ธรรมชาติ ได้สร้างสัญชาตญาณ อันนี้ให้แก่สัตว์ ตั้งแต่ เริ่มออกจากครรภ์ ทีเดียว, ลูกนก หรือ ลูกแมว พอลืมตา ก็กลัวเป็นแล้ว แสดงอาการหนี หรือป้องกันภัย ในเมื่อเราเข้าไปใกล้

ที่มา
http://www.buddhadasa.com/shortbook/fearghost.html

427
ผมชอบทานที่ร้านเจ๊จง ตลาดลาดปลาเค้า อร่อยดี

428
ตอนนี้ยังไม่มีคำถาม แต่ขออนุญาตนำบทเพลงนี้มานำเสนอ
อาจสะท้อนบางอย่างได้

ขอบคุณครับ

[youtube=425,350]v-wKIjFm4Tc[/youtube]

ที่มา
http://www.youtube.com/

429
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ฯที่สั่งสอนครับ

อ้างถึง
๑.ฉันทาคติ  ลำเอียงเพราะรักใคร่ชอบพอ
   ๒.โทสาคติ  ลำเอียงเพราะความไม่ชอบทั้งหลาย
   ๓.ภยาคติ    ลำเอียงเพราะความหวาดกลัว
   ๔. โมหาคติ ลำเอียงเพราะความหลง ความเชื่อและสำคัญผิด

430
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ฯ ที่กรุณาสั่งสอน :054:

431
ลาก่อน...เพื่อนรัก!

ขนหัวลุก
ใบหนาด

"บุ๋ม" เล่าประสบการณ์ขนหัวลุกจากห้องเช่า

"ไอ้แป๋มมันโทร.มาลาเค้า บอกว่าชาติหน้ามีจริงคงจะได้พบกัน! เฮ้ย...มันพูดยังงี้หมายความว่า ยังไงวะแก?"

นุชพูดเสียงกระหืดกระหอบ หน้าตาท่าทางอย่างที่เขาเรียกกันสมัยก่อนว่า "เจ๊กตื่นไฟ" นั่นแหละค่ะ แต่ดิฉันกำลังอบสปาเกตตีที่ซื้อจากเซเว่นฯ มาเป็นอาหารมื้อเย็น รู้นิสัยของเพื่อนข้างห้องดีว่าเป็นยังไง ก็เลยไม่ค่อยสนอกสนใจเท่าไหร่

"เรอะ?" เลิกคิ้วทำหน้าตาย แต่นุชก็ปราดเข้ามาจับมือเขย่าแรงๆ หน้าตาซีดเซียว ทำท่าว่ากำลังตระหนกอกสั่นเต็มที่

"โธ่! จริงๆ นะแก เค้าไม่ได้มาอำเล่นหรอก ช่วยคิดหน่อยเถอะว่ามันเกิดอะไรขึ้นน่ะ ไอ้แป๋มมันเพิ่งกลับบ้านที่ชุมพรไปเมื่อวันก่อนนี่เอง แล้วจู่ๆ ก็โทร.มาพูดอะไรบ้าๆ ยังกะจะลาตายงั้นแหละ!"

"ทำไมไม่โทร.กลับไปถามมันล่ะ?"

"โทร.แล้ว..." นุชเสียงอ่อย ทำหน้าเหมือนจะร้องไห้ "แต่ไม่ยักมีคนรับสายหรอก โทร.ตั้งหลายครั้งแน่ะ ก่อนจะมาเคาะประตูห้องแกน่ะ"

คราวนี้ดิฉันชักงง...จัดการเอาอาหารมื้อค่ำออกจากเตาอบ นุชทิ้งตัวลงนั่งที่เก้าอี้ข้างฝา บ่นพร่ำไปเรื่อยตามนิสัย คิดๆ ก็น่าเห็นใจเหมือนกัน เพราะสองสาวนี่อยู่ด้วยกัน ทำงานที่เดียวกันแถวถนนอโศก ดิฉันเสียอีกที่มาเช่าห้องอยู่ทีหลังพวกเธอ แต่เราก็สนิทสนมกันได้อย่างรวดเร็ว

แป๋มเป็นคนเงียบๆ เฉยๆ ตรงข้ามกับนุชที่ช่างพูดช่างคุยได้สารพัดเรื่อง ชนิดรอบรู้อะราวด์เดอะเวิลด์จริงๆ แต่หลายๆ เรื่องก็พอจะรู้ว่าเจ้าหล่อนมั่วไปเรื่อย อย่างที่เขาเรียกว่าระดับ "มั่วได้ถ้วย" นั่นละค่ะ!

แต่คิดอีกทีก็ดีเหมือนกัน ตรงที่การพูดคุยจ๋อยๆ แทบไม่หยุดปากของเธอทำให้ดิฉันหายเหงาไปตั้งพะเรอ โดยเฉพาะตอนค่ำๆ กับเสาร์อาทิตย์ ที่แป๋มกับนุชมักจะซื้อนั่นซื้อนี่มาทำอะไรกินด้วยกัน เป็นเพื่อนพูดคุยให้สนุกสนานจนกว่าจะถึงเวลาหลับนอน

เรื่องที่นุชเอามาเล่าก็น่าคิดเหมือนกัน แม้ว่าจะเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งก็ตาม ดิฉันได้แต่ปลอบโยนไปตามเรื่อง บอกว่าเดี๋ยวลองโทร.หาแป๋มดูใหม่...นุชทำตามคำแนะนำแต่ก็ไร้ผลค่ะ

คืนนั้น เธอเลยขออาศัยนอนด้วยเพราะบอกว่าเสียวสันหลังยังไงชอบกล

รุ่งขึ้น นุชตื่นแต่เช้ามืด นั่งหน้าซีดตัวสั่นอยู่บนเตียง ทำหน้าเหมือนจะร้องไห้ออกมา พอเห็นดิฉันตื่นก็รีบเล่าให้ฟังว่าฝันเห็นแป๋มเข้ามาหาในห้องของเธอ...ในฝัน นั้นเธอนอนคนเดียว ได้ยินเสียงสะอื้นเบาๆ อยู่ข้างเตียง ก่อนจะมองเห็นแป๋มเข้ามายืนอยู่ใกล้ๆ แล้วชะโงกเข้ามาหา

"ลาก่อนนะ นุช...ถ้าชาติหน้ามีจริง..."

แป๋มพูดไม่ทันจบ เธอก็ยกมือปิดหน้า แทบจะขาดใจตายด้วยความหวาดกลัวเมื่อเห็นร่างของเพื่อนรักเปรอะไปด้วยเลือด สดๆ แดงฉาน หน้าตาก็เละเทะยับเยินและเต็มไปด้วยเลือดเช่นกัน!

"เค้าจำได้ว่าพยายามกลั้นเสียงร้องอย่างเต็มที่ จนกระทั่งตกใจตื่นขึ้นมา จะปลุกแกก็เกรงใจ เห็นยังหลับเพลินๆ น่ะซี"

"เพราะแกคิดถึงเรื่องโทร.แล้วแป๋มไม่ได้รับสายต่างหาก..."

คราวนี้นุชน้ำตาไหลพราก ยกหลังมือขึ้นปาดป้อยๆ ก่อนจะพูดเสียงขาดเป็นห้วงๆ ด้วยก้อนสะอื้นที่ประดังขึ้นมา

"พอเค้าตื่นขึ้นก็พอดีไอ้แป๋มโทร.มาหาอีก เสียงมันเย็นๆ ยังไงไม่รู้ บอกว่า...ลาก่อนนะ เพื่อนรัก ถ้าชาติหน้ามีจริงเราคงได้พบกันอีก..."

"ทำไมฉันไม่ได้ยินเลยล่ะ?" ดิฉันสงสัย นุชก็สั่นหน้าบอกว่าไม่รู้เหมือนกัน...

บอกตรงๆ ว่าตอนนั้นดิฉันคิดว่านุชประสาทหลอนไปเอง หรือไม่แป๋มก็อาจจะเล่นตลกกับเพื่อนก็ได้...จนกระทั่งแยกย้ายกันไปทำงานแล้ว ตกบ่ายนุชก็โทร.มาหา ร้องห่มร้องไห้จนน่าตกใจ ก่อนจะเล่าว่าเพิ่งได้รับโทรศัพท์จากญาติแป๋ม ว่าเมื่อเย็นวานแป๋มเกิดอุบัติเหตุ ขี่มอเตอร์ไซค์ไปชนกับรถกระบะจนเสียชีวิตคาที่

ข่าวร้ายนี้ทำให้ดิฉันตกตะลึงตัวชาไปหมด แต่อะไรก็ไม่น่าสยดสยองเท่ากับเรื่องที่นุชเล่าว่าแป๋มโทร.มาล่ำลาถึงสอง ครั้ง หลังจากวิญญาณหลุดลอยออกจากร่างไปแล้ว

นุชไม่มีโอกาสได้ไปงานศพเพื่อน แต่มาขออาศัยนอนกับดิฉันหลายคืน ซึ่งดิฉันก็ยินดีต้อนรับอย่างเต็มอกต็มใจ...โธ่! อย่าว่าแต่นุชเลย ดิฉันเองก็ขนหัวลุกเหมือนกันนี่ค่ะ!

ที่มา
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hPREF6TVRJMU1nPT0=ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHhNaTB3TXc9PQ==

432
ล่าวิญญาณ

ขนหัวลุก
ใบหนาด

"มหาห่วง" เล่าประสบการณ์ขนหัวลุกจากข่าวลือยักษ์กินคน

ตั้งแต่ กึ่งพุทธกาลมาจนถึงสมัยนี้ มักจะมีข่าวร้ายเกี่ยวกับ "ยักษ์กินคน" หรือ "ยมบาล" จะมาเอาชีวิตผู้คนไปเมืองผี รวมทั้งอิทธิฤทธิ์ของพระราหูที่เชื่อกันว่าร้ายกาจนักหนาต้องเซ่นบูชาด้วย "ของสีดำ 8 ประการ เช่น ไก่ดำ, เหล้าดำ, ผลไม้สีดำ เป็นต้น จึงจะเอาตัวรอดปลอดภัยได้

แต่ครั้งที่ร้ายแรงที่สุดเกิดขึ้นในปี 2508 ว่าจะมียักษ์ หรือพญามัจจุราชมาคร่าชีวิตคนที่เกิดในปีกุน, ปีขาล และปีเถาะ ไปเป็นจำนวนมาก

บ้างก็ว่ารวมทั้งคนที่เกิดในปีชวดและปีฉลูอีกด้วย

ข่าว ร้ายกาจนี้ว่ากันว่ามาจากข่าวลือที่น่าเชื่อถือได้ นั่นคือยักษ์มาเข้าฝันบุคคลสำคัญ เพื่อให้ป่าวประกาศไปทั่วบ้านทั่วเมือง...โดยมีข้อยกเว้นสำหรับผู้ที่ไม่ อยากอายุสั้น หรือถูกยักษ์จับไปกินก่อนถึงเวลาอันสมควร

เรียกว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์ และค่อนข้างแปลกประ หลาดกว่าข่าวลือที่เคยเกิดขึ้น รวมทั้งในเวลาต่อมาโดยสิ้นเชิง

นั่น คือ ให้ไปขอข้าวสารจากเพื่อนบ้านมา 7 บ้าน แล้วหุงข้าวทำบุญตักบาตรหรือถวายสังฆทานแก่พระสงฆ์ แล้วให้ถวายดอกบัวอีก 3 ดอก ก็จะเป็นการสะเดาะเคราะห์ได้โดยสมบูรณ์แบบ ผู้คนส่วนใหญ่ก็แตกตื่นไปกระทำการสะเดาะเคราะห์เป็นอลหม่านไป

"ลุง ออ" เป็นช่างไม้เมียตายอยู่ใกล้ๆ วัดตรีทศเทพ เชิงสะพานเฉลิมวันชาติ ร่างเล็กแกร็น ผิวดำ ผมขาวตัดเกรียนติดหนังหัว แต่ยังแข็งแรงไม่แพ้หนุ่มๆ แกอยู่กับลูกชายคนเดียวชื่ออ่อง มีอาชีพเป็นช่างเรียงอยู่ที่โรงพิมพ์แถวพานถม ตอนเย็นๆ แกมักจะแวะซดเหล้าที่ร้านปากซอยเป็นประจำ

เมื่อข่าวยักษ์กินคน ระบาดไปทั่วกรุง แม้แต่หนังสือพิมพ์ประชาธิปไตยยังลงข่าวในเดือนสิงหาคม พร้อมกับคำแถลงของบุคคลสำคัญที่ตกเป็นข่าว ยืนยันว่าไม่เคยฝันอะไรที่น่า สะพรึงกลัวเหมือนข่าวลือแต่ประการใดทั้งสิ้น

ชาวบ้านร้านช่องกลับถือว่าเป็นคำปลอบใจ ความหวาดกลัวนั้นก็ยิ่งเพิ่มพูนขึ้นทุกที ไม่มีอะไรจะมาห้ามปรามได้

ชาว บ้านที่ไม่เคยรู้จักกันก็ไปเคาะประตูขอข้าวสารกันจนกว่าจะได้ครบ 7 บ้าน ตัวเองก็ตระเตรียมข้าวสารไว้แจกจ่ายเพื่อนบ้าน อย่างน้อยก็ไม่ต่ำกว่า 2-3 รายที่จะมาขอไปหุงเพื่อทำบุญตักบาตรเช่นกัน

ยกเว้นแต่ลุงออกับเจ้า อ่องที่ไม่ได้สนใจเรื่องนี้ ตอนแรกๆ ก็คิดว่าลุงออคงจะเกิดปีอื่นที่ไม่ตกอยู่ในข่ายคนเคราะห์ร้าย แต่ช่างไม้วัยห้าสิบเศษก็บอกกล่าวในร้านเหล้าอย่างชัดเจน

"ข้าเกิดปี ขาลเลยแหละ! เสือน่ะมันไม่กลัวอะไรง่ายๆ หรอกโว้ย คนเราถ้ามันถึงคราวตายเสียอย่าง ต่อให้หนีไปอยู่ที่ไหนก็หนีไม่พ้น...พวกเอ็งลองคิดดูซิว่าปีๆ หนึ่งน่ะ คนเกิดปีกุน, ปีขาล, ปีเถาะ ต้องล้มตายลงไปปีละกี่ร้อยกี่พันคน ถึงจะไม่มียักษ์หรือยมบาลขึ้นมาเรียกวิญญาณก็เถอะเอ้า!"

ไม่มีใครเถียงแกออก แต่ลุงเปล่งเพื่อนร่วมก๊วนถามถึงลูก ชายลุงออว่าเกิดปีอะไร? ก็ได้รับคำตอบว่า...ปีมะโรง! เป็นอัน ว่าหมดปัญหาไป

"เอ็ง อย่าเพิ่งนอนใจไปนะเว้ยไอ้ออ" ลุงเปล่งขัดขึ้น หน้าตาส่อแววกังวลได้ชัด "ไอ้อ่องมันวัยเบญจเพสพอดี คนสมัยใหม่เขาอาจจะไม่ถือ แต่คนรุ่นเราน่ะเขาว่ามันแรงนัก...ยิ่งไอ้อ่องมันชอบเที่ยวเตร่อยู่ด้วย นักเลงบางลำพูน่ะขี้ไก่หยอกอยู่เสียเมื่อไหร่ล่ะ?"

ลุงออโบกมือคล้ายรำคาญเต็มที ก่อนจะพูดตัดบท

"อย่า ไปสนอกสนใจเรื่องไม่เป็นเรื่องเลยวะ ข้าเองน่ะวันๆ คิดแต่เรื่องทำมาหากินมากกว่า...หมดงานนี้แล้วจะมีงานใหม่หรือเปล่า? ที่ไหน? ขืนมัวแต่ใส่ใจเรื่องไกลตัวมีหวังไม่เป็นอันทำมาหากินกันพอดี"

คืนนั้นดึกแล้ว...

เสียง หมาหอนโหยหวนมาจากเชิงสะพานเฉลิมวันชาติ ดังเข้าซอยมาทุกที...หมาเจ้ากรรมในวัดตรีฯ ก็เกิดปากเปราะ โก่งคอหอนรับเสียงเยือกเย็น...ก่อนจะช่วยกันเห่าหอนไปทั้งซอยเหมือนพวกมัน กำลังประสบพบเห็นอะไรบางอย่างที่ทำให้ ขนลุกขนพองอย่างเหลือประมาณ

รุ่ง เช้า บ้านลุงออยังตกอยู่ในความเงียบเชียบ ไม่มีใครเห็นพ่อหรือลูกออกมาจากบ้าน ลุงเปล่งเป็นคนชักชวนเพื่อนบ้านไปดูก็ไม่พบเจ้าอ่อง แสดงว่าคืนนั้นมันไปเที่ยวเตร่กับเพื่อนจนไม่ได้กลับบ้าน...

มี แต่ร่างลุงออนอนหงายตัวแข็งทื่ออยู่ในห้องชั้นบน นัยน์ตาเหลือกลานเหมือนกับแกได้พบเห็นภาพน่าเกลียดน่ากลัวสุดขีด...ก่อนจะ สิ้นลมหายใจ!

ที่มา
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hPREEwTVRJMU1nPT0=ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHhNaTB3TkE9PQ==

433
ประสบการณ์วิญญาณ / หลอนสุดขีด
« เมื่อ: 04 ส.ค. 2554, 10:28:39 »
หลอนสุดขีด

ขนหัวลุก
ใบหนาด

"นิศานาถ" เล่าประสบการณ์ขนหัวลุกของคนขี้ลืม

ดิฉัน มีเพื่อนข้างห้องที่เป็นโรคขี้หลงขี้ลืมอย่างร้ายกาจ และเพราะโรคเจ้ากรรมนี้เองค่ะที่ทำให้เกิดเรื่องสยองขวัญอย่างแทบจะเป็นไป ไม่ได้

ไม่ต้องคิดไปไกลถึงคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือคนชราที่นับวันก็ยิ่งเป็นโรคขี้หลงขี้ลืมตามอายุขัย อย่างที่พูดกันติดปากว่า "หลงๆ ลืมๆ ตามประสาคนแก่" เพียงแค่เอ่ยถึงคนที่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาวนี่ก็พอค่ะ

ทุกคนย่อมเคย รู้จักคนขี้ลืมกันทั้งนั้น และทุกคนที่ยอมรับความจริงก็ต้องพบว่าตัวเองเคยเป็นคนขี้ลืม จะมีข้อแตกต่างกันตรงที่มีอาการมากหรือน้อยเท่านั้นแหละ

ตั้งแต่วางของใช้ เช่น ปากกาหรือแว่นตาไว้แล้วจำไม่ได้ว่าวางไว้ที่ไหน

ลืมกุญแจบ้าน ลืมกุญแจรถ กระทั่งลืมกุญแจไว้ในรถที่ล็อกเรียบร้อยแล้ว

จำ ไม่ได้ว่าปิดไฟ ปิดแก๊สไว้หรือเปล่า? หลายๆ ครั้งถึงกับต้องย้อนกลับไปดูให้รู้แน่ ไม่งั้นก็ไม่สบายใจ กลัวจะเกิดอุบัติเหตุ จนถึงเข้าห้องนอนแล้วนึกไม่ออกว่าใส่กลอนหรือล็อกประตูเรียบร้อยหรือยัง?

ลืมลูกเล็กๆ ไว้ในรถประจำทาง แม้แต่ในรถแท็กซี่ก็เคยเป็นข่าวหลายครั้ง

ขนาดจะเดินทางไปต่างประเทศ พอถึงสนามบินแล้วเพิ่งนึกได้ว่าไม่ได้นำหนังสือเดินทางมาด้วยก็มีนี่คะ!

"เปิ้ล" เป็นเพื่อนข้างห้องเช่าที่ดินแดงนี่เอง นิสัยเราตรงกันตรงที่ชอบอยู่คนเดียว ไม่อยากชวนใครมาเป็นเพื่อนเพื่อแชร์ค่าห้อง ถือว่ารักอิสระเสรีเหนืออื่นใด ...แต่สิ่งที่แตกต่างกันสุดขั้วก็คือเปิ้ลเป็นโรคขี้หลงขี้ลืมขนาดหนัก ตอนที่รู้จักกันใหม่ๆ ยังคิดว่าเธอแกล้งทำด้วยซ้ำ

เดี๋ยวลืมกุญแจ ห้อง เดี๋ยวลืมกุญแจรถ เดี๋ยวลืมกระเป๋าสตางค์...ทั้งในห้องและที่ทำงาน เดี๋ยวลืมรหัสเอทีเอ็ม เดี๋ยวลืมว่ารุ่งขึ้นเป็นวันหยุด เดี๋ยวลืมว่านัดกับเพื่อนที่ศูนย์การค้าจนเพื่อนโทร.มาต่อว่า ขณะที่เปิ้ลเข้ามานั่งคุยจ๋อยๆ อยู่ในห้องดิฉัน แต่ไม่มีใครถือโกรธมากมายอะไรเพราะรู้นิสัยขี้ลืมของเธอดี

"ขวัญ" เพื่อนสนิทคนหนึ่งถึงกับแซวว่า....นี่เปิ้ล! ฉันว่าเธอเขียนชื่อแขวนคอไว้ดีกว่าว่ะ เผื่อเกิดลืมว่าตัวเองชื่ออะไรจะได้ดูป้ายไงล่ะ!

เปิ้ลได้แต่ยิ้ม แหยๆ ดูแล้วก็น่าสงสาร เพราะวันนั้นขวัญมาค้างที่ห้องเปิ้ล หาซื้ออะไรมากินกันสามคน พูดคุยปากกว้างเรื่อยเปื่อยไปเรื่อยๆ แต่ขวัญแซวซะจนดิฉันอดสงสารเปิ้ลไม่ได้ ...เราแนะนำให้เธอไปหาหมอเพื่อปรึกษาโรคลืมฉกาจฉกรรจ์ แต่เปิ้ลกลับค้อนควักให้

"จะบ้าเรอะ? จู่ๆ จะให้ฉันไปหาจิตแพทย์ เดี๋ยวใครก็นึกว่าฉันเป็นบ้าน่ะซี!"

ต้องยอมรับว่าคนไทยเรายังแยกไม่ออกหรอกค่ะ ทำให้คนที่มีปัญหาทางอารมณ์หรือจิตใจที่อาจรักษาได้ แต่ไม่กล้าไปพบจิตแพทย์เป็นส่วนใหญ่

จน กระทั่งวันหนึ่งก็เกิดเหตุร้าย เมื่อขวัญโดนรถเก๋งชนตายคาที่หน้าบริษัทที่สีลมนั่นเอง ขณะรีบร้อนจะออกไปหาอาหารกลางวันกินกับเพื่อนๆ แต่เธอเคราะห์ร้ายเพียงคนเดียว

เปิ้ลร้องห่มร้องไห้จนนัยน์ตาบวม เล่าว่าวันนั้นเธอไปกับเพื่อนอีกกลุ่มหนึ่ง ทั้งที่ส่วนมากจะไปกับขวัญ...พวกเราไม่มีโอกาสได้ไปงานศพเธอ เพราะญาติๆ จากภาคเหนือมารับศพไปบำเพ็ญกุศลที่บ้านเกิด

ความตายอาจจะเป็นการ เปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติ หรือไม่ก็เป็นการสาบสูญไปเลย ตามความเชื่อของคนบางกลุ่มก็ได้ค่ะ เพราะไม่มีวี่แววว่าใครจะพบเห็นหรือฝันถึงเธอเลยแม้แต่คนเดียว

จนกระทั่งวันเสาร์ถัดมา...

ขณะ ที่ดิฉันนอนตื่นสายจนตะวันโด่ง เพราะไม่ต้องรีบไปทำงานตามปกติ หลังจากทำธุระส่วนตัวแล้วก็ออกมาชงกาแฟ เปิดทีวีดูข่าว...เสียงเคาะประตูก็ดังขึ้น

เปิ้ลก้าวเข้ามาดูข่าวนิด หน่อย แล้วเหลียวซ้ายแลขวา ก่อนจะถามโพล่ง...ไอ้ขวัญล่ะ? หายไปไหน? เข้าห้องน้ำเหรอ? เล่นเอาดิฉันงุนงงไปพักหนึ่ง...ขวัญไหน? เปิ้ลก็มองเหมือนจะค้อนให้

"ยังจะแกล้งถามอีก ก็ไอ้ขวัญเพื่อนเปิ้ลไง! เมื่อคืนมันมานอนด้วย เม้าธ์กันจนดึก แต่ตื่นเช้ามานี่ไม่รู้ว่าหายไปไหน ...เลยนึกว่ามาคุยที่ห้องเธอน่ะซี!"

ดิฉัน ยอมรับว่าตกใจจนแข็งทื่อ อ้าปากค้าง ขนลุกเกรียวไปทั้งตัว จ้องหน้าเปิ้ลก่อนจะหลุดปากแบบโพล่งออกมาว่า ...ขวัญตายไปตั้งหลายวันแล้ว จะมานอนค้างกับเธอได้ยังไง?

เท่านั้นแหละค่ะ เปิ้ลก็เบิกตากว้าง กรีดร้องสุดเสียง ก่อนจะเป็นลมล้มฮวบลงกองกับพื้น...อยู่ดีๆ นิสัยขี้หลงขี้ลืมของเธอ จำไม่ได้ว่าเพื่อนตายไปแล้ว ก็ทำให้ดิฉันหวิดจะหัวใจวายไปเลย...ขนหัวลุกค่ะ!

ที่มา
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hPREEzTVRJMU1nPT0=ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHhNaTB3Tnc9PQ==

434
วันที่ 04 กันยายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6854 ข่าวสดรายวัน


เสือกินคน

ขนหัวลุก
ใบหนาด

"มัธยันต์" เล่าเรื่องขนหัวลุกของต้นเหตุของเสือสมิง

ที่เชื่อกันว่าเสือชอบกินเนื้อมนุษย์นั้น ความจริงอาจจะเป็นเพราะล่ามนุษย์ที่เผลอได้ง่ายกว่าเหยื่อชนิดอื่นๆ ยิ่งเป็นผู้หญิงหรือเด็กที่เข้าป่าไปหาผักหญ้า หาหน่อไม้ หรือไม่ก็ไปตักน้ำ อาบน้ำอยู่คนเดียว ก็ยิ่งเป็นเรื่องง่ายสำหรับเจ้าป่าที่จะกระโจนโฮกเข้าใส่ คนเคราะห์ร้ายอาจไม่ทันได้ร้องสักคำ หรือไม่ก็ตกใจตายไปเรียบร้อย

หนักเข้าก็ใจกล้า ถึงกับเข้ามารอเหยื่อในซุ้มไม้ใกล้ๆ บ้าน สบโอกาสเป็นโดดแผล็วเข้าขย้ำ แล้วลากเหยื่อไปสวาปามสำราญใจ เป็นสาเหตุของการกำเนิด "เสือสมิง" ขึ้นมา! นั่นคือที่กินคนเข้าไปหลายๆ คน วิญญาณผู้ตายก็จะสิงสู่อยู่ในร่างของเสือตัวนั้น กระทั่งบารมีแก่กล้าขึ้นมาเรื่อยๆ ก็อาจจะแปลงร่างเป็นคน...อยากเป็นผู้หญิงผู้ชายก็สบายมาก

ก็เพราะความเฉลียวฉลาดกว่าน่ะซีครับ ถึงได้สิงสู่เสือจนกลายเป็นเสือสมิง...แต่ถึงยังไงก็เป็นผี! แล้วผีก็รู้จักหิวโหย อยากกินเครื่องเซ่นเครื่องสังเวย เหมือนมนุษย์ที่ชอบกินส่วยนั่นแหละน่า จนกระทั่งมีพลังแรงกล้า ปรากฏร่างเป็นมนุษย์โดยกำบังร่างเสือเอาไว้มิดชิด

พูดก็พูดเถอะครับ พรานป่าหรือชาวบ้านรุ่นเก่าๆ หลายคน ยืนยันมั่งคงว่าเสือสมิงที่มีพลังแข็งกล้าจริงๆ ต้องการจะจำแลงแปลงร่างกายแบบไหน? ยังไง? เป็นเด็ก เป็นคนแก่ เป็นสาวเซ็กซี่ขี้เล่นขนาดน้องหยาด น้องชมพู่ น้องอั้ม...ก็ทำได้สบายสาวสมิง เอ๊ย! เสือสมิงอยู่แล้ว

ยิ่งกินคนมากยิ่งแปลงตัวได้มาก! หนักเข้าก็มีอิทธิฤทธิ์เหลือหลาย แทบจะมุดน้ำดำพสุธาได้ตามใจชอบซะด้วยซ้ำ

หรือจะลองนึกถึงเรื่องราวคล้ายๆ กันที่พวกฝรั่งอั้งม้อเชื่อถือ ก็คือ "จิ้งจอกปีศาจ" เอามาแต่งเป็นนิยายก็ขายดี เคยสร้างเป็นหนังใหญ่เรื่อง "แวร์ วูฟล์ อิน ลอนดอน" สาเหตุเพราะชาวอังกฤษในชนบทเชื่อถือเรื่องราวประเภทนี้กันมากหน้า

ปรากฏว่าได้รับความสำเร็จ เพราะเทคนิคถ่ายทำให้เห็นคนค่อยๆ กลายเป็นหมาป่าได้สมจริงสมจัง...ดูแล้วน่าขนหัวลุกพิลึก

ฮอลลีวู้ดจับเส้นถูก จัดการต่อเติมให้หมาป่าเข้ามาอาละวาดในเมืองหลวงซะเลยต่อมาก็มีการสร้างต่อภาค 2 กับเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับจิ้งจอกปีศาจ เหมือนกับเสือสมิงเกือบทุกอย่าง ยกเว้นแต่คนที่ถูกหมาผีกัดแต่ไม่ถึงตายคาที่เหมือนเหยื่อเสือสมิง ตกกลางคืนเมื่อพระจันทร์เต็มดวง ร่างกายจะทุรนทุราย เล็บยาว หน้ายื่น ขนงอก เขี้ยวเริ่มยาวโง้ง เนื้อตัวเปลี่ยนเป็นหมาจิ้งจอกเต็มรูปแบบ แล้วกระโจนแผล็วออกไปหาเหยื่อ ไม่ว่าในป่าดงหรือหมู่บ้าน

ดูดดื่มเลือดอิ่มหนำแล้วก็เผ่นกลับที่พัก...กลายเป็นมนุษย์ธรรมดาตามเดิม!

ในหนังกับหนังสือบอกตรงกันว่า วิธีกำจัดจิ้งจอกปีศาจนี่มีอยู่ทางเดียว คือจะต้องยิงด้วยกระสุนเงินถึงจะเดดซะมอเร่ อาวุธอื่นๆ น่ะไม่ได้กินหรอก จะบอกให้

...ย้อนกลับมาคุยกันต่อถึงเรื่องเสือกินคนจนถูกวิญญาณเข้าสิง มีฤทธิ์เดชเดชาขนาดแปลงตัวหลอกเหยื่อให้ตายใจ เดินต้อยๆ มาให้ขย้ำคอหอยซะดีๆ ทำไมเรียกว่าเสือสมิง?

นั่นน่ะซี ทีพวกสัตว์ชนิดอื่นๆ ยังเรียกว่า งูผี, ค้างคาวผี หรือแม้แต่แมวผี, หนูผี...แล้วเสือกินคนที่โดนผีสิงนับไม่ถ้วน ดุร้ายกว่าสัตว์ผีชนิดอื่นๆ ตั้งพะเรอ ทำไมไม่เรียก "เสือผี"

เรื่องนี้ ท่านผู้รู้เรื่องสัตวศาสตร์และปีศาจวิทยา ท่านอธิบายว่าเสือนั้นไม่ใช่สัตว์กระจอกงอกง่อย แต่อยู่ในระดับเจ้าป่าโน่น ขนาดนายพรานผูกหมาผูกวัวเอาไว้เป็นเหยื่อล่อ พอเจ้าป่าเยื้องย่างเข้ามาแต่ไกล แค่ได้กลิ่นเท่านั้นยังร้องโหยหวนด้วยความหวาดกลัวแทบจะเป็นบ้า

ยิ่งใกล้เข้ามาถึงกับดิ้นรนตูมตามแทบเชือกขาด เพื่อจะหนีความตายขนาดขี้เยี่ยวแตกไปเลย...จะเรียกว่า "เสือผี" ก็เท่ากับไม่ให้เกียรติกันเท่าที่ควร

คำว่า "เสือสมิง" จึงเหมาะเจาะที่สุด ในการเรียกพญาแห่งสัตว์ที่แปลงเป็นคนได้

ส่วนนักภาษาศาสตร์ก็มีความเห็นไปอีกอย่าง ฟังแล้วก็เข้าเค้าอยู่เหมือน คือท่านอธิบายว่า...เสือถูกผีสิง เอาเสือกับสิงมาสนธิกันเข้าก็จะได้คำว่า "สมิง" ในความหมายองอาจแกล้วกล้า ไม่กลัวใครหน้าไหนทั้งสิ้น

ก่อนนั้นนิยมเรียกว่า "สมิง" สั้นๆ แต่ต่อมามีคนใช้สมิงกันเกร่อ ไอ้นั่นก็สมิง ไอ้นี่ก็สมิง ดูดาษดื่นนัก...พิจารณาแล้วเห็นว่าจะกลายเป็นคำเฝือแน่แท้ จึงเรียกขานให้เต็มยศว่า "เสือสมิง" คนรุ่นหลังจะได้เข้าใจแจ่มแจ้ง ว่าระบุถึงเสือกินคนจนแปลงร่างได้ ไม่เป็นที่คลุมเครืออีกสืบไป!

ที่มา
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hPREEwTURrMU1nPT0=

435
คาถาพญาเสือโคร่ง

 "พยัคโฆ พยัคฆสัญญา ลัพพะติ อิติหิหัมหึม"



คาถาพญาเสือมหาอำนาจ
ตั้งนะโม ๓ จบ

"ตะมัตถัง ปะกาเสนโต ตัวกูคือ พญาพยัคโฆ
สัตถาอาหะ พยัคโฆ จะ วิริยะ อิมังคาถามะหะ อิติ
ฮ่ำ ฮึ่ม ฮึ่ม"

*** เคล็ดลับในการภาวนาพระคาถา ให้ภาวนา

ตั้งแต่ "ตะมัตถัง มาจนถึง อิมังคาถามะหะ" ให้กลั้นลมหายใจภาวนาให้มั่น ทำจิตให้ดุเหมือนเสือ
แล้วจึงย้ำว่า "อิติ ฮ่ำ ฮึ่ม ฮึ่ม" จึงผ่อนลมหายใจ

ควายธนู

       ควายธนู เป็นเครื่องรางตามความเชื่อทางไสยศาสตร์ สะท้อนให้เห็นระบบความเชื่อทางไสยศาสตร์ของสังคมเกษตรกรรม อันมีความผูกพันกับวัฒนธรรมข้าว ซึ่งเลี้ยงวัวควายไว้ใช้งานในด้านการเกษตร วิชาเหล่านี้เป็นการทำหุ่นพยนต์รูปแบบหนึ่ง หุ่นพยนต์สามารถทำได้ทั้งรูปคนและสัตว์ ที่นิยมมีทั้งวัวธนูและควายธนู สามารถสร้างได้หลายวิธี เช่น สานจากไม้ไผ่ ปั้นด้วยดินผสมมวลสาร ปั้นจากขี้ผึ้ง ไปจนถึงหล่อขึ้นด้วยโลหะอาถรรพ์ เช่น ตะปูโลงศพเจ็ดป่าช้า ,เหล็กขนันผีพราย ,เหล็กยอดเจดีย์ เป็นต้น เอามาหลอมรวมกันหล่อเป็นรูปควาย

       บางสำนักใช้โครงเป็นไม้ไผ่แล้วพอกด้วยครั่งที่ได้จากต้นพุททรา เมื่อทำสำเร็จแล้วต้องปลุกเสกตามพิธีกรรม แล้วเลี้ยงไว้ให้ดี ต้องหาหญ้าและน้ำเลี้ยงเสมอ เชื่อว่าสามารถใช้ให้เฝ้าบ้านหรือไร่นา ใช้งานได้ตามความประสงค์ ทั้งป้องกันภูตผีและโจรผู้ร้าย และสามารถสั่งให้ไปสังหารคู่อริได้อีกด้วย มี

คาถาใช้เสกเมื่อทำควายธนูว่า

โอมปู่เจ้าสมิงไพร ปู่เจ้ากำแหงให้กูมาทำควาย เชิญพระอีศวรมาเป็นตาซ้าย เชิญพระอาทิตย์มาเป็นตาขวา เชิญพระนารายณ์มาเป็นเขา เชิญพระอินทร์เจ้าเข้ามาเป็นหาง เชิญพระพุทธคีเนตร์ พระพุทธคีนายมาเป็นสีข้างทั้งสอง เชิญพระจัตตุโลกบาลทั้งสี่มาเป็นสี่เท้า เชิญฝูงผีทั้งหลายเข้ามาเป็นไส้พุง นะมะสะตีติ


ที่มา
http://men.mthai.com/content/952
ที่มารูปภาพ http://jackkydorson.igetweb.com/index.php?mo=3&art=245827

436
ขอบคุณท่าน NONGEAR44

เห็นด้วยครับ เคยคิดมากจนนอนไม่หลับ แต่กลับมาคิดอีกทีว่า...คิดแล้วได้อะไร ไม่คิดดีกว่า
สู้นอนกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกไป ไม่นานก็หลับสบาย :015:


437
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ฯ :054:

ตอนนี้แม่ผมมีปัญหาเดินๆแล้วล้มบ่อย หมอตรวจและรักษาอยู่ หมอบอกว่าเส้นเลือดในสมองตีบตัน
ผมก็กลัวผลจากการล้ม(บาดเจ็บ)และการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตมากครับ
ท่านอาจารย์มีข้อแนะนำไหมครับ
ผมจะเอาหนังสือโพชฌังคปริตร ไปให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้ท่านจะอ่านเห็นไหม
กำลังจะไปกราบท่านวันที่ 12 นี้ เสร็จแล้วท่านก็เดินทางมากรุงเทพมารักษาตัวด้วยครับ

438
ประสบการณ์วิญญาณ / ตอบ: คนดวงขาด
« เมื่อ: 02 ส.ค. 2554, 10:55:53 »
ทัวร์นรก

"นายหนุ่ม" เล่าประสบการณ์ขนหัวลุกบนถนนกำแพงเพชร 6

ผมเคยเล่าเรื่องโดนผีหลอกที่นิคมรถไฟ ก.ม.11 มา สองครั้ง ทั้งเห็นลุงม้วน คนขับตุ๊กตุ๊ก มาซดยาดองที่หน้าเพิงชุมชนภักดีตอนเย็น ทั้งที่แกนอนตายแหงแก๋อยู่ที่วัดเสมียนนารีแล้ว แต่ผมไม่รู้มาก่อน...กับเรื่องหนุ่มสาวเกี่ยวก้อยเข้าไปนั่งจู๋จี๋กันที่โต๊ะม้าหินใต้ร่มไทรตอนดึก พอผมกับเพื่อนตามไปดูเพราะเจ้าหงหาว่าผมตาฝาด...

อ้าว? หนุ่มสาวที่หันมามองน่ะไม่ยักมีหน้าตาหรอกแฮะ!

วันต่อมา เจ้าหงพาผมเลยไปชุมชนพัฒนา อยู่ถัดสามแยกรถไฟไปนิดเดียว...บ้านช่องแออัดยัดเยียดไม่แพ้ชุมชนภักดี ตอนเย็นๆ มีผู้คนมานั่งๆ นอนๆ รับลมกันคึกคัก

อารามกลัวผีทำให้ไม่อยากไปแถวนั้นกลางค่ำกลางคืน แต่วัยหนุ่มคะนองอย่างพวกเรามักลืมง่าย รักสนุก ชอบเที่ยวเตร่เฮฮา ยิ่งตอนกลางคืนมีแสงสีสวยๆ งามๆ ล่อตาล่อใจ จะว่าเหมือนแมงเม่าบินเข้ากองไฟก็คงไม่ผิดหรอกครับ

วันดีคืนร้ายก็โดนผีหลอกเข้าอีกจนได้!

คืนนั้นตรงกับวันเสาร์ เราสามคนนัดแนะกันไปเที่ยวผับที่หน้าอ.ต.ก. จุดนัดพบก็ที่หน้าชุมชนภักดีตามเคย พอเจ้าหงรับเจ้าตี๋ซ้อนท้ายมาแถวหน้าเพิงยาดองพวกเราก็เลี้ยวซ้ายข้ามทางรถไฟไปออกถนนกำแพงเพชร 6 เลี้ยวขวาผ่านอู่รถทัวร์ที่คงวิ่งสายอีสานโดยเฉพาะ เห็นมีแต่ป้ายว่าไปขอนแก่น, อุดรฯ, หนองคาย, เลย, นครพนม ฯลฯ จอดอยู่เป็นสิบๆ คัน ผมเคยแวะไปกินก๋วยเตี๋ยวไก่มะระที่หน้าอู่ ยอมรับว่าอร่อยติดลิ้นเอาการ

คราวนี้บึ่งรวดเดียวไปร้านขาประจำที่มี "น้องสวย" สาวเสิร์ฟอวบอึ๋มเป็นอาหารตาของเสือหนุ่มและสิงห์เฒ่า ถือว่าเป็นกับแกล้มชนิดวิเศษ...ซดเหล้าอุ่นเครื่องกันที่นั่นไปก่อน คืนนั้นคุณเธอสวมเสื้อรัดรูปคอกว้าง เจ้าตี๋มองเห็นเนินอกขาวผ่องเบียดเสียดกันเป็นร่องลึกก็ทำท่าเหมือนจะรากเลือดลงแดงซะให้ได้

อ้าว? เจ้าหงดันมีเรื่องผีในรถทัวร์มาเล่าให้ฟังอีกแล้วซีครับ!

แถวสถานีขนส่งหมอชิต 2 แยกไปถนนกำแพงเพชรนั่นแหละ ตอนดึกๆ มีคนเห็นรถทัวร์แล่นผ่านไปช้าๆ เปิดไฟสว่างโร่ ผู้โดยสารนั่งตัวแข็งทื่อหันมามอง... หน้าตามีแต่เลือดแดงเถือก แถมเหวอะหวะน่าสยด สยองสิ้นดี

ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าโดนผีหลอกเต็มเปา คนที่เห็นน่ะขี่มอเตอร์ไซค์อย่างพวกเราร้องจ๊าก...รถเผ่นพรวดตกถนนลงไปแอ้งแม้งอยู่ในพงหญ้า ไม่แข้งขาหักก็ถือว่าบุญแล้ว

เจ้าตี๋มีอุปนิสัยกลัวผีสุดๆ สังกัดบริษัทตาแหกเหมือนผม ละสายตาจากหน้าอกหน้าใจมหึมาของน้องสวย หันมาคำรามว่ามึงจะเล่าเรื่องผีไปหาสามง่ามอะไรวะ?

เจ้าหงยักคิ้วตอบหน้าตาเฉยว่า...กูเล่าเพื่อเบรกอารมณ์มึงไงล่ะ! เห็นจ้องส้มโอสองลูกของน้องสวยจนนัยน์ตาหวิดถลนออกมานอกเบ้าแน่ะ! เจ้าตี๋เลยยิ้มแหยๆ ก่อนจะหันไปมองบั้นท้ายงอนงามของน้องสวยที่กำลังเดินยักคิ้วผ่านไป คว้า เหล้ามาซดฮวบใหญ่

ราว 4 ทุ่มเราก็ย้อนไปทางหน้าอ.ต.ก.ฝั่งตรงข้ามมีผับดังๆ หลายแห่ง ลูกค้าส่วนมากเป็นวัยรุ่น แต่เราไปหาความสุขไม่ได้ไปหาเรื่องก็เลยไม่เคยเกิดปัญหาอะไรซักที...จนกระทั่งขากลับตอนตีหนึ่งเศษ...

ต้องยอมรับว่าค่อนข้างมึนกันตามสมควร ร้องเตือนกันว่าขับรถช้านิด ระวังเอาไว้หน่อย ถึงทางกลับไม่มีด่านก็เถอะ อย่าประมาทเป็นดีที่สุด!

ลมเย็นๆ ที่พัดวูบเข้าปะทะทำให้หูตาสว่างขึ้น จนใกล้จะถึงทางลัดข้ามทางรถไฟเข้าชุมชนภักดี ผมเหลือบไปทางอู่รถทัวร์เหมือนมีอะไรดลใจ

แสงไฟสะดุดตาชอบกล ร้ายก๋วยเตี๋ยวไก่ปิดเงียบ แต่มีรถทัวร์คันหนึ่งจอดอยู่ริมถนน เปิดไฟสว่างทั้งคัน เห็นผู้โดยสารนั่งอยู่เต็ม...ที่นี่ไม่ใช่สถานีขนส่งนี่นา แถมไม่ใช่ทางผ่านอีกต่างหาก...ผมเรียกเจ้าหงที่ตีคู่กันมาด้านใน ก่อนจะชะลอรถลงโดยไม่รู้ตัว

นรกเป็นพยาน! ผู้โดยสารริมหน้าต่างทุกคนหันหน้ามาทางเราเป็นจุดเดียวกัน...ดูแน่นิ่ง เยือกเย็น เลือดเปรอะ นัยน์ตาเบิกถลน...ผมแว่วเสียงเพื่อนทั้งสองคนด่าทอเต็มสองหูอื้ออึง ตามด้วยเสียงเร่งเครื่องสนั่น เคล้ากับเสียงหัวเราะแหบโหยดังไล่หลังเขย่าขวัญสิ้นดี

เจ้าหงเลี้ยวพรวด ส่วนผมห้อตะบึงไปข้างหน้าด้วยความตกใจจนลืมตัว

ตอนนั้นไม่มีใครห่วงใครนอกจากตัวเอง! ผมกลับไปนอนจับไข้อยู่ 3 วัน เพื่อนทั้งสองก็มีอาการปางตายพอๆ กัน...ไม่ช็อกตายคาที่ก็นับว่าเป็นบุญกุศลแล้วละครับ!

ขอบคุณเรื่องเล่าจากข่าวสด
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hPREEzTURVMU13PT0=

439
ประสบการณ์วิญญาณ / ตอบ: คนดวงขาด
« เมื่อ: 02 ส.ค. 2554, 10:47:24 »
สิ้นเสียงซอ

"บุญนำ" เล่าประสบการณ์ขนหัวลุกจากถนนแปลงนาม

ผมเป็นเด็กเยาวราชมาแต่อ้อนแต่ออก ใครเป็นนักกินนักเที่ยวขอเชิญได้เลย รับรองว่าไชน่าทาวน์มีต้อนรับทุกอย่าง โดยเฉพาะเป็นชุมทางอาหารจานเด็ดของกรุงเทพฯ ก็ว่าได้ครับ...ข้อสำคัญคือผีดุอีกต่างหาก!

อ้าว? พูดจริงๆ นะครับ ย่านนี้เป็นศูนย์สินค้าขาเข้ามาเกือบร้อยปี มีผู้คนล้มตายทับถมกันนับไม่ถ้วน ทั้งประสบอุบัติเหตุจากรถราขวักไขว่ ทั้งกลุ้มอกกลุ้มใจจนเบื่อโลกเลยผูกคอตาย ยิงตัวตาย กระโดดน้ำตาย รุ่งขึ้นก็ลอยตุ๊บป่องๆ มีทั้งนั้นแหละ

ไหนจะเคยมีอั้งยี่, มาเฟีย ที่เคยโด่งดังในอดีตอีกล่ะ

ต่อมาเปลี่ยนรูปแบบที่มีทั้งเจ้าถิ่นกับคนมีสี ผลประโยชน์อื้อซ่า มีการคุมบ่อน คุมซ่อง รีดไถสารพัดรูปแบบ...การฆ่าฟันจนมีคนล้มตายมากมายก็เช่นกัน!

ยิ่งตอนกลางคืน เสียงวงมโหรีสีซอตามตึกเก่าๆ ทั้งน่าเพลิดเพลินกับชวนให้เยือกเย็นวังเวงใจเอาการ

คนเป่าปี่สีซอที่ว่ามักเป็นคนแก่ๆ ที่รักธรรมชาติและเสียงเพลง ส่วนพวกหนุ่มๆ สาวๆ รุ่นหลังน่ะหันไปหาดนตรีวัยรุ่นประเภทเกากีตาร์ ขย่มกลองเอามันส์มา 20-30 ปีแล้ว แต่ไม่ใช่กลองแบบโรงงิ้วนะครับ คนละเรื่องกันเลย

ทำไมถึงชวนให้เยือกเย็นน่าวังเวงใจล่ะ?

เสียงปี่เสียงซอ รวมทั้งเสียงพิณ โดยเฉพาะพิณดอกเหมย หรือ "เช้ง อิ๋ม" เป็นพิณชาวแต้จิ๋ว รูปร่างหยักๆ เหมือนดอกไม้ไงครับ ถึงได้ชื่อว่า พิณดอกเหมย คนเล่นเก่งๆ ฟังแล้วซาบซ่านสะท้านทรวงจริงๆ เอ้า!

ซอเอ้อหูคล้ายๆ กับซอด้วง ที่มีทั้งหน้าซอแบบ 6 เหลี่ยม 8 เหลี่ยม หรือแบบหน้ากลม เสียงแหลมสูงโหยหวนไปถึงหัวใจ บางทีก็ทำให้ขนลุกขนชันได้ง่ายๆ

บางวันมีเพื่อนรุ่นพี่พาไปเที่ยวถนนแปลงนามที่ทะลุออกเจริญกรุงได้ ตรงหัวมุมมีร้านขายใบชา ทั้งแบบใส่กระป๋องและใส่ถุง แถมมียานัตถุ์ขายอีกต่างหาก...เป็นยานัตถุ์ฝรั่ง ทั้งอังกฤษ, ฝรั่งเศส, สเปน มีหมด ราคาขวดละหลายร้อยหลายพันบาท พวกคอยานัตถุ์เขาเอามาแตะโคนนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ แล้วสูดดมกันอย่างมีความสุข

สมัยนั้นในซอยแปลงนามมีร้านตะเกียงอยู่หลายเจ้า ทั้งตะเกียงหลอด ตะเกียงรั้ว ตะเกียงลาน ตะเกียงเจ้าพายุมีทั้งนั้น ลูกค้าเข้าๆ ออกๆ เป็นประจำ มีทั้งมาซื้อตะเกียงไปใช้ ทั้งหิ้วตะเกียงมาซ่อม

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ...หลายๆ คนดูท่าทางเสี่ยมาซื้อตะเกียงเก่าๆ ไปสะสมกันครับ...เกิดมาเพิ่งเคยรู้เคยเห็นว่ามีคน "เล่นตะเกียง" กันจริงๆ จังๆ มากมายเอาการ

อ้อ! ในซอยนี้มีร้านข้าวต้มกุ๊ยแบบโบราณด้วย เป็นห้องแถวคูหาเดียว มีกระดานแผ่นยาวทอดไปถึงหลังร้านเลย ให้คนกินนั่งหันหน้าเข้าหาโต๊ะยาว นั่งพุ้ยข้าวต้มใส่ปากตามสบาย แถมมีเก้าอี้เตี้ยๆ ให้รองนั่งอีกต่างหาก

แถวหน้าร้านข้าวต้มมีร้านชำอับๆ ทึบๆ ชอบกล มีตาแป๊ะหนวดยาวเคราขาวนั่งซดน้ำชา สีซอเอ้อหูหน้ากลมเสียงหวานซึ้งเชียว แต่บางทีก็ฟังดูเศร้าๆ โหยหวนเยือกเย็นจับใจ

บางทีเราผ่านไปแวะฟังเหมือนคนอื่นๆ เพราะเสียงซอไม่โฉ่งฉ่างบาดหูเร้าใจเหมือนเสียงปี่เสียงกลอง ฟังแล้วเย็นใจดีแท้ อาแปะแกไม่สนใจไยดีใคร ก้มหน้าก้มตาสีซออย่างเพลิดเพลินคล้ายจะกล่อมตัวเองมากกว่า

จบเพลงก็หยุดพักจิบน้ำชา พูดคุยกับคนคุ้นๆ หน้ากัน ไม่ช้าก็เริ่มต้นเพลงใหม่ บางคนเดินจากไป คนใหม่ก็เข้ามายืนฟังแทนจนมืดค่ำไม่รู้ตัว

วันหนึ่งก็เกิดเรื่องขึ้นเมื่อเราไปเที่ยวสวนกวางตุ้ง เดินกลับมาทางซอยแปลงนามราวสามทุ่ม มึนเมาเล็กน้อย...เห็นร้านชำปิดเงียบเชียบ ข้างในดับไฟมืดเพราะอาแปะหลับไม่ตื่นตลอดกาล ลูกหลานนำศพไปทำพิธีที่วัดตามประเพณี

จู่ๆ เสียงซอเอ้อหูก็กรีดแหลมเข้ามากระทบหู ผมกับเจ้าหน่ำชะงักกึก ตัวแข็งทื่อ อ้าปากค้างหันมองสบตากัน ก่อนจะจ้ำอ้าวเป็นควายหายไปออกเยาวราช...ตั้งแต่นั้นมาเราไม่ยอมผ่านไปตอนกลางคืนอีกเลย

กลัวจะเห็นอาแปะแกมานั่งสีซอที่หน้าร้านน่ะซี มีหวังขนหัวลุก หัวใจล่มสลายกันพอดี!

ขอบคุณเรื่องเล่าจากข่าวสด
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hPREV3TURVMU13PT0=

440
ประสบการณ์วิญญาณ / คนดวงขาด
« เมื่อ: 02 ส.ค. 2554, 10:44:27 »
คนดวงขาด

"เมธิชัย" เล่าประสบการณ์ขนหัวลุกเมื่อคนเมา ขับรถ

สงกรานต์ปีนี้ทำให้ผมนึกถึงสงกรานต์ปีก่อน โดยเฉพาะเรื่องราวสยดสยองของอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทำให้คนบาดเจ็บล้มตายปีละหลายร้อยหลายพัน...ไม่นึกว่าจะต้องประสบกับญาติมิตรตัวเองมาก่อนเลย

คำขวัญต่างๆ ล้วนออกมาปลุกเร้าให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเพิ่มความระมัดมากยิ่งขึ้นทุกๆ ปี

"ดื่มแล้วขับ ถูกจับแน่"

"ดื่มไม่ขับ-ขับไม่ซิ่ง"

เคยเห็นคำขวัญทำนองนี้ที่ต่างจังหวัด กระทบใจสุดๆ

"ขับคะนอง-จองโลง!!"

เรื่องสยองขวัญวันสงกรานต์เกิดกับ "พี่แพ็ต" เพื่อนบ้านผมที่คลองประปา บางซื่อนี่เองครับ

พี่แพ็ตเป็นหนุ่มใหญ่ อาชีพรับราชการทั้งผัวทั้งเมีย นิสัยดี อารมณ์รื่นเริงคุยสนุก ข้อเสียอย่างเดียวของพี่แพ็ตคือชอบดื่มเหล้าขนาดหนัก ถึงจะไม่ดื่มตอนกลางวันจนเสียงาน แต่ตกเย็นเป็นร่ำสุราจนน่ากลัวใจ

ยิ่งรุ่งขึ้นเป็นวันหยุดด้วยแล้ว พี่แพ็ตกระหน่ำเหล้าชนิดไม่ยับยั้งจริงๆ เอ้า!

คนเมาขับรถก็น่ากลัวอยู่แล้ว แต่พี่แพ็ตขับซิ่งชนิดบ้าระห่ำ ผมเคยนั่งด้วยหนเดียวเข็ดจนตาย ถึงแม้พี่แพ็ตจะยืนยันว่าตั้งแต่ขับรถมาสิบกว่าปี ยังไม่เคยประสบอุบัติเหตุรุนแรงแม้ครั้งเดียวก็ตาม

เขาว่าพวกคอเหล้ามักจะมีเพื่อนฝูงมาก คงจะเป็นความจริงนะครับ เพราะเห็นพี่แพ็ตมีเพื่อนมากมายเหลือเกิน ขนาดผมอยู่บ้านรั้วติดกันยังรู้จักไม่หมด!

ระยะหลังๆ สังเกตว่าร่างกายของพี่แพ็ตชักจะอ่อนแอลง หรือเพราะดื่มหนักกว่าเดิมก็ไม่ทราบแน่ชัด บางคืนขับมาจอดหน้าบ้านแล้วขับรถเข้าประตูไม่ได้ ต้องทิ้งรถแล้วเดินโซเซเข้าไป บางคืนก็หลับผล็อยคาพวงมาลัย...เมียมาปลุกบ้าง หลับไปจนสว่างบ้าง ถึงจะไม่เกิดอุบัติเหตุก็น่าห่วงใยเต็มที

ผมเคยเตือน "เมาไม่ขับ" เป็นดีที่สุด ถ้าไม่นั่งแท็กซี่ก็ให้เพื่อนฝูงที่ไม่เมาขับให้ เมื่อถึงบ้านก็มีเพื่อนที่ขับรถตามมารับโชเฟอร์จำเป็นกลับไปด้วยก็จะดีมากๆ

พี่แพ็ตก็เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง จนกระทั่งเหตุร้ายอุบัติขึ้นมา!

สงกรานต์ปีนั้น ผมกับพี่แพ็ตไม่ได้ออกไปเที่ยวต่างจังหวัด ก็เหมือนกับทุกปีน่ะแหละครับ คือเราไม่ชอบไปเที่ยวหน้าเทศกาล ไม่อยากแย่งกันใช้ถนน แย่งกันอยู่ แย่งกันกิน...แต่หลายๆ คนก็ชอบ บอกว่าไปเที่ยวทั้งทีไม่ได้แย่งอยู่แย่งกินก็ไม่สนุกน่ะซี

ผมอยู่บ้านกับครอบครัวจริงๆ แต่พี่แพ็ตไม่มีโอกาสเพราะเพื่อนมาก ต้องไปดื่มกับคนนั้น ต้องไปเฮกับคนนี้ จนถึงวันหยุดสุดท้ายแกบอกผมว่า เรามาฉลองสงกรานต์กันที่บ้านดีกว่า! แต่ไม่วายมีเพื่อนพี่แพ็ตมาหาอีกสามคน รถยนต์หนึ่งคัน

ยินดีต้อนรับเต็มที่ ทั้งเหล้าและกับแกล้มเหลือเฟือ เมียพี่แพ็ตก็นำอาหารมาเพิ่มเติม...ทำท่าว่าจะเมาให้หมดสติอยู่ที่บ้านนั่นแหละ รุ่งขึ้นก็ไปทำงานแล้ว

ราวสองทุ่มเศษก็มีเพื่อนโทร.มาตามพี่แพ็ต บอกว่านัดไว้จะไปฉลองกันที่ร้านซีฟู้ดริมแม่น้ำบางปะกง เพื่อนอีกสามคนก็นึกขึ้นได้...พี่แพ็ตเลยต้องขอตัวไปพบเพื่อน ผมบอกให้นั่งรถเพื่อนไปเลย แต่พี่แพ็ตบอกว่าเอารถไปดีกว่า อยากกลับจะได้กลับทันที

ผมย้ำให้เพื่อนที่ชื่อโจ้ช่วยขับรถให้ พี่แพ็ตก็หัวเราะ โบกมือล่ำลา...

คืนนั้นผมใจคอหงุดหงิดวุ่นวายบอกไม่ถูก กว่าจะขึ้นนอนก็ราวห้าทุ่ม...ฝันเห็นพี่แพ็ตขับรถตะบึงมาในความมืดน่ากลัว เสียงโครมสนั่น! เล่นเอาสะดุ้งตื่น...เมื่อลุกไปดูที่หน้าต่างก็เห็นพี่แพ็ตเดินโซซัดโซเซเข้าบ้าน

ก่อนจะลับตา ดูเหมือนแกจะหันมาเงยหน้ามองผมในแสงไฟเยือกเย็น...

รุ่งขึ้นก็ได้ข่าวว่าพี่แพ็ตเกิดอุบัติเหตุตอนขากลับ รถพุ่งชนเสาไฟคอหักตายคาที่กับเพื่อนชื่อโจ้...พี่แพ็ตเมามากจนนอนอยู่เบาะหลัง โจ้ต่างหากล่ะครับที่เป็นคนขับน่ะ...ไม่รู้ว่าผีพี่แพ็ตมองผมอย่างตัดพ้อหรือเปล่า? ที่แน่ๆ คือขนหัวลุกครับ!


ขอบคุณเรื่องเล่าจากข่าวสด
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hPREV5TURVMU13PT0=

441
นิมิตแก้กรรม
ทศพล  ใจตั้ง

   ตั้งแต่เด็กจนถึงอายุ ๑๕ ปี ผมอยู่จังหวัดแพร่ พ่อแม่ยากจนต้องหาเช้ากินค่ำ เด็กบ้านนอกส่วนมากจะชอบยิงนกและสัตว์ต่าง ๆ มาเป็นอาหาร พอผมจบ ป.๖ พ่อแม่ไม่มีเงินส่งเสียให้เรียนก็ให้ไปเลี้ยงควาย ทุกวันที่ไปเลี้ยงควายจะมีหนังสติ๊กคู่กาย เจอนกยิงนก เจอหนูยิงหนู แม้กระทั่งไก่ หมา วัว ควาย ยิงหมด โดยไม่คิดว่าสัตว์ทั้งหลายจะเจ็บปวดและรักชีวิตเหมือนคนเราเหมือนกัน เมื่ออายุได้ประมาณ ๑๕ ปี ผมได้ไปล่าหมูกับชาวบ้านประมาณ ๘๐ – ๙๐ คน ในป่าลึกแห่งหนึ่ง ผมไม่ใช่มือปืนแค่เป็นตัวส่งเสียงไล่ให้หมูวิ่งออกมาให้มือปืนยิง และก็ได้ผล หมูถูกยิงแล้วก็วิ่งไปตายไกลเกือบหนึ่งกิโลเมตร พอแล่เนื้อเสร็จก็แย่งเนื้อกัน ผมกับพี่เขยได้คนละ ๒ กอง บางคนที่ไม่ได้ก็ไม่พอใจ

   จากนั้นผมมาอยู่กรุงเทพฯกับพี่สาว มาทำงานทำเครื่องประดับ เริ่มจากเป็นลูกน้องมาเป็นเถ้าแก่ในปัจจุบัน ผมเป็นคนชอบทำบุญ เช่นถวายสังฆทานทุกเดือน พิมพ์หนังสือสวดมนต์แจก ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน ฯลฯ

   ปี ๒๕๔๖ ผมได้ไปปฏิบัติกรรมฐานที่วัดอัมพวัน ในวันที่สองหลังจากรับศีล ๘ ผมก็ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติอย่างจริงจัง ตามที่ครูศิษยาสอนให้ปฏิบัติแบบยุบหนอ-พองหนอตามวิธีของหลวงพ่อจรัญ โดยหากมีเวทนาเกิดขึ้นตรงไหน ผมก็จับเวทนาตรงนั้น แล้วก็เอาจิตไปจับบริกรรมว่ารู้หนอ รู้หนอ เรื่อยๆ  ความเจ็บปวดนั้นรุณแรงขึ้นจนผมควบคุมไม่ได้ แต่ใจรู้สึกอยู่ที่ลิ้นปี่เสมอว่ารู้หนอ เจ็บหนอ พอรู้หนอเจ็บหนอไปเรื่อย ๆ ความรู้สึกมันก็จี๊ดขึ้นสมอง อาการนี้เป็นเพราะเราได้ทำอะไรกับสัตว์ตัวใดมา มันจะรู้โดยอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นหนู นก หมา ไก่ หรือควาย ผมได้ใช้กรรมรวมไปถึงกบ เขียด ปลา และสัตว์เล็ก ๆ ทั้งหลายด้วย สำหรับควายนั้นผมไม่ได้ฆ่า เพียงแต่ยิงหนังสติ๊กใส่เท่านั้น ส่วนหมูนั้นผมต้องชดใช้กรรมนานมาก

ผมขอขอบพระคุณหลวงพ่อ ตลอดจนถึงแม่ใหญ่ครูศิษยา และครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ที่ทำให้ผมสำนึกถึงผลกรรมของการกระทำในอดีตของผม

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

442
ปาฏิหาริย์การขออโหสิกรรม 2/2

   การปฏิบัติธรรมนอกจากทำให้ดิฉันมีชีวิตครอบครัวที่ดีขึ้นแล้ว ยังทำให้ดิฉันได้ระลึกถึงกรรมที่ได้ทำไว้กับผีเสื้อเมื่อ ๓๐ ปีที่แล้ว ดิฉันได้จับผีเสื้อมา ๔ ตัว และให้เพื่อนคนหนึ่งฉีดยากลางหลังทุกตัวเพื่อสต๊าฟไว้ส่งครูในวิชาชีวะ  แต่หลังจากนั้นไม่นาน  ดิฉันก็ฝันเห็นผีเสื้อยักษ์ตัวใหญ่บินเข้ามาหาดิฉันเพื่อจะมาทำร้าย  จนดิฉันตกใจตื่น โดยไม่ทราบว่านี่คือความอาฆาตแค้นที่ผีเสื้อเหล่านั้นมีต่อดิฉัน  จนกลายเป็นกรรมที่ดิฉันต้องชดใช้นานถึง ๑๐ ปี  กับอาการปวดหลัง  ที่ต้องทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส ทุกครั้งที่ปวดหลังดิฉันจะเดินไม่ได้  จะนั่งจะนอนก็ทรมานไปหมด  กว่าจะดีขึ้นก็ต้องทำกายภาพบำบัดเป็นเวลา ๑ สัปดาห์  จนกระทั่งได้มานั่งกรรมฐาน  จึงระลึกได้ว่า ที่ปวดหลังมาเป็นเวลา ๑๐ ปีนั้นเป็นเพราะกฎแห่งกรรมที่ทำไว้กับผีเสื้อ  ดิฉันจึงขออโหสิกรรมและแผ่เมตตาให้กับผีเสื้อเหล่านั้น  หลังจากนั่งกรรมฐานติดต่อกันเป็นเวลาหลานเดือน  ในที่สุดพวกเขาก็ยอมอโหสิให้กับดิฉัน  เพราะอาการปวดหลังของดิฉันได้หายเป็นปลิดทิ้งตั้งแต่ตอนนั้นเป็นเวลา ๔ ปีแล้ว  สิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนปาฏิหาริย์ที่เกิดจากการขออโหสิกรรมโดยการเจริญกรรมฐาน

  ดิฉันขอสรุปว่า  ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรามีทางออกที่ดีได้  ถ้าเรายอมลดทิฐิลง  มองดูตัวเองก่อนเพื่อแก้ไขความบกพร่อง  ให้อภัยและอโหสิกรรมผู้อื่น  เรื่องในอดีตอย่าไปรื้อฟื้น  ขอให้ตั้งสติเพื่อแก้ไขปัญหาในปัจจุบันการที่จะทำเช่นนั้นได้ ก็โดยการเจริญกรรมฐานเท่านั้น  จากประสบการณ์ชีวิตของดิฉันเอง  การที่จะได้ของดีมักจะมีอุปสรรค  ขอให้อดทน  เริ่มจาก สวดมนต์  อโหสิกรรม  และแผ่เมตตาทุกวัน  แล้วธรรมะก็จะจัดสรรเป็นขั้นเป็นตอนให้ได้มีโอกาสเจริญกรรมฐานในที่สุด  ถึงแม้ต้องต่อสู้กับตัวเองและใช้ความอดทนอย่างสูงเพื่อทำให้เป็นกิจวัตร   แต่พอทำได้แล้วจะรู้สึกไม่ยากเลย   และจะพบแต่สิ่งดีๆที่รู้ได้เฉพาะตนจริงๆ (ปัจจังตัง  เวทิตัพโพ  วิญหิติ)

    ตัวเองและแก้ไขสิ่งที่ตัวเองบกพร่อง ซึ่งแต่ก่อนมักจะโทษว่าปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะคนอื่นทำมากกว่า โดยเฉพาะปัญหาสามีติดเหล้า  จะโทษว่าเป็นเพราะเขาที่ทำให้เราเป็นทุกข์   และจะโกรธเขาทุกข์ครั้งที่เห็นเขาดื่มเหล้า  แต่หลังจากได้สวดมนต์ปฏิบัติธรรม  และฟังธรรมจากหลวงพ่อทำให้ดิฉันอยู่กับตัวเองมากขึ้น  กลับมองปัญหาที่เกิดขึ้นว่า คงเป็นกฎแห่งกรรมที่เราทำไว้ชาติที่แล้ว จึงต้องมาประสบปัญหาเช่นนี้  ฉะนั้นเราควรอดทนใช้กรรมที่เราทำไว้ในอดีตอย่างมีสติ และไม่ควรเพิ่มกรรมใหม่ที่ไม่ดีในปัจจุบัน ดิฉันได้เริ่มต้นโดยขออโหสิกรรมจากสามี  และอโหสิกรรมให้เขาเช่นกัน  ไม่รื้อฟื้นสิ่งที่ไม่ดีในอดีต  ปรับปรุงตัวเอง ลดทิฐิ พูดจาดีๆกับเขา ไม่เอ่ยถึงเรื่องที่จะให้เขาเลิกเหล้า หลังจากที่ดิฉันปรับปรุงแก้ไขตัวเองไม่นาน สามีของดิฉันก็ค่อยๆลดการดื่มเหล้าลง  จนถึงขณะนี้เขาเลิกดื่มแล้วและกลับมาเป็นคุณพ่อที่ดีของลูกๆ และเป็นสามีที่ดีของดิฉัน

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

443
ปาฏิหาริย์การขออโหสิกรรม 1/2
สุวิไล บุญธวัชชัย

    ก่อนอื่นดิฉันขอขอบคุณสามีที่อนุญาตให้นำเรื่องนี้มาเล่า เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่มีคู่ครองติดสุราหรืออบายมุขอื่นๆ ที่กำลังท้อแท้กับชีวิต ได้มีกำลังใจสู้ชีวิตต่อไป

    ชีวิตของดิฉันตั้งแต่เล็กจนโต มีแต่ความสุขสบาย ได้รับความอบอุ่นจากคุณพ่อคุณแม่ ได้เรียนหนังสือในโรงเรียนดีๆจนจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี หลังจากจบการศึกษาไม่นาน ก็ได้แต่งงานกับสามีซึ่งมีฐานะและพื้นฐานทางครอบครัวที่ใกล้เคียงกัน คุณพ่อของสามีมีกิจการค้าส่วนตัว เมื่อเข้าไปเป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัวสามี คุณพ่อคุณแม่และน้องสาวของสามีดีต่อดิฉันมาก สามีก็ช่วยกิจการค้าของคุณพ่อ
ชีวิตสมรสของดิฉันราบรื่น ขณะที่มีลูกสาว ๓ คนที่น่ารัก (ลูกชายคนเล็กเกิดภายหลังวิกฤตการณ์ของครอบครัว) สามีเป็นคุณพ่อที่ดีของลูกๆ ไปไหนมาไหนจะไปทั้งครอบครัว วันหยุดส่วนใหญ่จะทำกิจกรรมร่วมกัน ไปเที่ยวต่างจังหวัด ไปเที่ยวสวนสนุก แต่ความสุขทางโลกเป็นความสุขที่ไม่ยั่งยืน มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเกิดมารวยหรือจน ต้องมาใช้กรรมที่ทำไว้ทั้งนั้น ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดิฉันก็เช่นเดียวกัน หนีกฎแห่งกรรมไม่พ้น เหตุการณ์ที่ทำให้ดิฉันเป็นทุกข์อยู่หลายปีเกิดขึ้นหลังจากแต่งงานประมาณ ๑๐ ปี สามีไปเข้าหุ้นทำการค้ากับเพื่อนๆ ตัวเขาไม่ได้เข้าไปบริหารแต่เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ให้กับบริษัท ทำไปได้ไม่นานก็เกิดขาดทุน ไม่มีใครเข้าไปรับผิดชอบ สามีดิฉันซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้จึงต้องเข้าไปสะสางหนี้สินทั้งหลาย

   ชีวิตของดิฉันแปรเปลี่ยนไปชั่วข้ามคืน เพราะสามีต้องไปทำงานที่บริษัทใหม่ หน้าที่การงานที่เขาเคยรับผิดชอบอยู่ที่กิจการของคุณพ่อก็ต้องโอนให้ดิฉันดูแลแทนทั้งหมด ตอนกลางวันดิฉันต้องดูแลร้าน มีปัญหาเกี่ยวกับการค้าก็ต้องหาทางแก้ไขเอง เพราะคุณพ่อป่วยเป็นโรคถุงลมโป่งพอง เข้าออกโรงพยาบาลเป็นประจำ ไม่สามารถเป็นที่ปรึกษาได้ ตอนกลางคืนก็ต้องดูแลลูกสาว ๓ คน และลุกชายคนเล็กซึ่งยังเล็กอยู่
เหตุการณ์ยิ่งเลวร้ายเข้าไปอีก เมื่อสามีดิฉันเข้าไปสะสางปัญหาต่างๆมากมายในบริษัทใหม่ ความเครียดกับงานก็เพิ่มมากขึ้น เขาเริ่มดื่มเหล้าเพื่อให้หลับในตอนกลางคืน จนกลายเป็นคนติดเหล้า ต้องดื่มทุกวัน เริ่มขาดสติและมีอารมณ์แปรปรวนเป็นประจำ บ่อยครั้งที่เขาไปงานสังคมและกลับบ้านดึก ดิฉันจะเป็นห่วงและไม่เข้านอนจนกว่าเขาจะกลับมา โรคปวดหลังที่เคยเป็นมาก่อนก็รุมเร้าดิฉันหนักขึ้น ถึงกลับเดินไม่ได้ต้องไปโรงพยาบาล ต้องทำกายภาพบำบัดเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ถึงจะหาย ดิฉันได้แต่ทุกข์กายทุกข์ใจอยู่คนเดียว ทุกครั้งที่กลุ้มใจมากๆก็จะเข้าห้องพระ จุดธูปอธิฐานขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยดิฉัน แม้จะสวดมนต์บทชินบัญชรคาถา เพื่อให้คลายทุกข์ ก็ยังช่วยอะไรไม่ได้ เนื่องจากดิฉันไม่ทราบวิธีการสวดมนต์ที่ถูกต้อง และไม่เข้าใจว่าสวดมนต์เพื่ออะไร ขณะที่ดิฉันแทบจะหมดอาลัยตายอยาก
อาจจะเป็นเพราะได้ทำบุญกุศลร่วมกับพี่สาวของดิฉัน อยู่มาวันหนึ่งพีสาวโทรศัพท์มาเล่าว่า ตั้งแต่ลูกๆเขาไปเรียนเมืองนอก เขาว่างมาก จึงหยิบหนังสือสวดมนต์เล่มหนึ่งที่ได้จากงานศพของคนรู้จัก มาสวดทุกเย็นหลังเลิกงาน เป็นเวลาหลายเดือนแล้ว และรู้สึกว่าตัวเองใจเย็นลง จิตใจแจ่มใสขึ้น ตั้งแต่นั้นมาดิฉันก็หยิบหนังสือสวดมนต์ที่ได้รับจากงานศพเดียวกันมาสวดบ้าง (เป็นบทสวดมนต์เดียวกับที่หลวงพ่อจรัญแนะนำให้สวด)

   การสวดมนต์และแผ่เมตตาที่จะทำให้เป็นกิจวัตรประจำวันนั้น ทำได้ยากมาก เพราะการที่จะสำรวมกายสำรวมใจสวดมนต์ในตอนแรกๆ ต้องอดทนและฝืนใจตัวเองอย่างมากๆ คนส่วนใหญ่รวมทั้งตัวดิฉันเองมักจะพูดว่าไม่มีเวลาสวดมนต์ ทำงานเหนื่อยทั้งวัน สวดมนต์ทีไรง่วงทุกที แต่อย่างที่เขาพูดว่า เมื่อใดมีทุกข์เมื่อนั้นก็จะพบธรรมะ เมื่อความทุกข์เพิ่มทวีคูณ ดิฉันก็พยายามหาทางขจัดทุกข์ให้เร็วที่สุด จากที่เคยสวดบทง่ายๆและไม่เคยแผ่บทเมตตา ในช่วงแรกๆก็ได้เริ่มสวดบทพาหุงมหากา บทพุทธคุณ (อายุของตัวเองบวกหนึ่งจบ)  พร้อมทั้งอโหสิกรรมและแผ่เมตตาทุกครั้ง อานิสงฆ์จากการสวดมนต์ ทำให้ดิฉันมีสติอยู่กับตัวเองมากขึ้นและคลายจากความทุกข์ความกังวลเกี่ยวกับสามีลงมาก แต่ที่น่าอัศจรรย์คือ อานิสงฆ์จากการสวดมนต์ ทำให้ดิฉันได้พบวิธีการปฏิบัติธรรมเพื่อเจริญสติเป็นขั้นเป็นตอนเหมือนกับธรรมะจัดสรรให้
   
   หลังจากได้สวดมนต์ไม่นาน พี่สาวของดิฉันก็ได้นำหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” ของคุณสุทัสสา อ่อนค้อม มาให้อ่าน มีหลายอย่างในหนังสือเล่มนั้นที่เป็นพลังผลักดันให้ดิฉันใฝ่หาความรู้ทางธรรมะมากขึ้น ความศรัทธาต่อหลวงพ่อจรัญจากหนังสือเล่มดังกล่าว ทำให้พี่สาวและดิฉันขับรถไปที่วัดอัมพวันเพื่อฟังธรรมะจากหลวงพ่อโดยตรง ทุกครั้งที่ได้ฟังธรรมจากท่าน ดิฉันจะนำคำสอนจากท่านมาประยุกต์ใช้กับชีวิตตัวเอง ดิฉันเริ่มมอง ตัวเองและแก้ไขสิ่งที่ตัวเองบกพร่อง ซึ่งแต่ก่อนมักจะโทษว่าปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะคนอื่นทำมากกว่า โดยเฉพาะปัญหาสามีติดเหล้า  จะโทษว่าเป็นเพราะเขาที่ทำให้เราเป็นทุกข์   และจะโกรธเขาทุกข์ครั้งที่เห็นเขาดื่มเหล้า  แต่หลังจากได้สวดมนต์ปฏิบัติธรรม  และฟังธรรมจากหลวงพ่อทำให้ดิฉันอยู่กับตัวเองมากขึ้น  กลับมองปัญหาที่เกิดขึ้นว่า คงเป็นกฎแห่งกรรมที่เราทำไว้ชาติที่แล้ว จึงต้องมาประสบปัญหาเช่นนี้  ฉะนั้นเราควรอดทนใช้กรรมที่เราทำไว้ในอดีตอย่างมีสติ และไม่ควรเพิ่มกรรมใหม่ที่ไม่ดีในปัจจุบัน ดิฉันได้เริ่มต้นโดยขออโหสิกรรมจากสามี  และอโหสิกรรมให้เขาเช่นกัน  ไม่รื้อฟื้นสิ่งที่ไม่ดีในอดีต  ปรับปรุงตัวเอง ลดทิฐิ พูดจาดีๆกับเขา ไม่เอ่ยถึงเรื่องที่จะให้เขาเลิกเหล้า หลังจากที่ดิฉันปรับปรุงแก้ไขตัวเองไม่นาน สามีของดิฉันก็ค่อยๆลดการดื่มเหล้าลง  จนถึงขณะนี้เขาเลิกดื่มแล้วและกลับมาเป็นคุณพ่อที่ดีของลูกๆ และเป็นสามีที่ดีของดิฉัน

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

444
ขอบคุณ คุณ NONGEAR44 ทีนำธรรมมะมาให้ศึกษากันครับ

มาชมคลิปประวัติของ

พระอริยสงฆ์ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
[youtube=425,350]oCNDNhwj3ms[/youtube]
มีทั้งหมด 10 ตอน

มาจาก http://www.youtube.com/

445
ขอบคุณครับท่าน saken6009

วันแม่ปีนี้ ผมต้องไปกราบพ่อแม่ :054:

446
ขอบพระคุณครับท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)
ที่มาให้ความกระจ่างครับ

447
บทชัยมงคลคาถา (พาหุง)
[youtube=425,350]pM57DvM-av8[/youtube]
พาหุง แปล
[youtube=425,350]5HNsxJb-p4M[/youtube]
ที่มา
http://www.youtube.com/

448
คำแปล มหาการุณิโก

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้าขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อที่มาและอานิสงส์ของบทสวดมนต์ ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหาการุณิโก ที่มาของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา อาตมาได้ตำราเก่าแก่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นใบลานทองคำจารึกของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ปัจจุบันเรียกว่า วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา ได้รจนาถวายพระพรชัยมงคลคาถาแก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระพนรัตน์เป็นอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อานิสงส์ของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่เคยแพ้ทัพ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ไม่เคยแพ้ทัพ พระชัยหลังช้างของ ร.๑ นั้นมาจากบทพาหุง มหากา ผู้ใดสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากา เป็นประจำทุก ๆ วันแล้ว มีแต่ชัยชนะทุกประการ เรียนหนังสือก็เกิดปัญญา มีแต่ความเก่งกล้าสามารถ ผู้ใดสวดทุกเช้า ค่ำ คิดสิ่งใดที่ดีเป็นมงคล จะสมความปรารถนาทุกประการ

ที่มา
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=19911.0

449
เมื่ออาตมา(หลวงพ่อจรัญ)ได้พบกับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว



   คืนวันหนึ่งอาตมานอนหลับแล้ว ฝันไปว่า อาตมาได้เดินไปในสถานที่แห่งหนึ่งได้พบกับพระสงฆ์รูปหนึ่งครองจีวรคร่ำ สมณสารูปเรียบร้อยน่าเลื่อมใส อาตมาเห็นว่าเป็นพระอาวุโสผู้รัตตัญญูจึงน้อมนมัสการท่าน ท่านหยุดยืนตรงหน้าอาตมาแล้วกล่าวกับอาตมาว่า "ฉันคือสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา ฉันต้องการให้เธอได้ไปที่วัดใหญ่ชัยมงคล เพื่อดูจารึกที่ฉันได้จารึกถวายพระเกียรติแก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้เป็น เจ้า เนื่องในวาระที่สร้างพระเจดีย์ฉลองชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาแห่งพม่าและ ประกาศความเป็นอิสระของประเทศไทย จากหงสาวดีเป็นครั้งแรก เธอไปดูไว้แล้วจดจำมาเผยแพร่ออกไป ถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว" ในฝันอาตมารับปากท่าน ท่านก็บอกตำแหน่งให้แล้วก็ตกใจตื่นนอนใกล้รุ่ง อาตมาก็ทบทวนความฝันก็นึกอยู่ในใจว่าเราเองนั้นกำหนดจิตด้วยพระกรรมฐานมีสติ อยู่เสมอเรื่องฝันฟุ้งซ่านก็เป็นไม่ อาตมาก็ได้ข่าวในวันนั้นแหละว่า ทางกรมศิลปากรทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใหญ่ในวัดใหญ่ชัยมงคล และจะทำการบรรจุบัวยอดพระเจดีย์ อันเป็นนิมิตหมายการสิ้นสุดการบูรณะ และจะรื้อนั่งร้านทั้งหมดออกเสร็จสิ้น อาตมาจึงได้ขอร้อง ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร ให้เลื่อนการปิดยอดบัวไปอีกวันหนึ่งเพื่อที่อาตมาจะได้นำพระซุ้มเสมาชัย ซุ้มเสมาขอ ที่อาตมาได้สร้างขึ้นตามแบบดั้งเดิมที่พบในเจดีย์ใหญ่ใกล้กับวัดอัมพวัน ซึ่งพังลงน้ำ ที่ก๋งเหล็งเป็นคนรวบรวมเอาให้อาตมาตั้งแต่เมื่อเริ่มมาพัฒนาวัดใหม่ๆ แต่แตกหักผุพังทั้งนั้น หลายสิบปี๊บ อาตมาได้ป่นเอามาผสมสร้างเป็นองค์พระใหม่ ไปร่วมบรรจุไว้ที่ยอดพระเจดีย์บ้าง

   วันนั้นอาตมาเดินทางไปถึงก็ได้เดินขึ้นไปบนเจดีย์ตอนที่สุดบันไดแล้ว มองเห็นโพรงที่ทางเขาทำไว้สำหรับลงไปด้านล่างมีร้านไม้พอไต่ลงไปภายใน ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าลงไปคราวนี้ ถ้าพลาดตกลงไปจากนั่งร้านม้าก็ยอมตายคนที่ร่วมเดินทางมาเขามัวแต่ไปบนลาน ชั้นบน อาตมาก็ดิ่งลงไปชั้นล่าง มีไฟฉายดวงหนึ่ง เวลานั้นประมาณ ๐๙.๐๐ น. อาตมาลงไปภายในแล้วก็พบนิมิตดังที่สมเด็จพระพนรัตน์ได้บอกไว้จริง ๆ อาตมาจึงได้พบว่าแท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วท่านได้จารึกถวายพระพร ก็คือบทสวดที่เรียกว่า "พาหุงมหาการุณิโก" ท้ายของนิมิตนั้นระบุว่า "เราสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วศรีอโยธเยศ คือผู้จารึกนิมิตรจนาเอาไว้ถวายพระพรแด่มหาบพิตรเจ้าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช"

พาหุงมหากาก็คือบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วก็พรพาหุงอันเริ่มด้วย "พาหุงสหัสไปจนถึงทุคคาหทิฏฐิ แล้วเรื่อยไปจนถึงมหาการุณิโกนาโถหิตายะและจบลงด้วยภาวะตุ สัพพะมังคะลัง สัพพะพุทธา สัพพะธัมมา สัพพะสังฆา นุภาเวนะสะทาโสตถี ภะวันตุเต" อาตมา เรียกรวมกันว่าพาหุงมหากา อาตมาจึงเข้าใจในบัดนั้นเองว่า บทพาหุงนี้คือบทสวดมนต์ที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วได้ถวายให้พระบาท สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไว้สวดเป็นประจำเวลาอยู่กับพระมหาราชวังและในระหว่างศึกสงคราม จึงปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้าทรงรบ ณ ที่ใด ทรงมีชัยชนะอยู่ตลอดมามิได้ทรงเพลี่ยงพล้ำเลยแม้จะเพียงลำพังสองพระองค์กับ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ท่ามกลางกองทัพพม่าจำนวนนับแสนคนก็ทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพพม่าด้วยการกระทำ ยุทธหัตถีมีชัยเหนือพระมหาอุปราชาที่ดอนเจดีย์ปูชนียสถานแม้ข้าศึกจะยิงปืน ไฟเข้าใส่พระองค์ในตอนที่เข้ากันพระศพของพระมหาอุปราชาออกไปราวกับห่าฝนก็มิ ปานแต่ก็มิได้ต้องพระองค์ ด้วยเดชะพาหุงมหากาที่ทรงเจริญอยู่เป็นประจำนั่นเอง

อาตมาพบนิมิตแล้วก็ไต่ขึ้นมา ด้วยความสบายใจถึงปากปล่องที่ลงไปเกือบสามชั่วโมง เนื้อตัวมีแต่หยากไย่ เดินลงมาแม่ชีเห็นเข้ายังร้องว่า หลวงพ่อเข้าไปในโพรงนั่นมาหรือ แต่อาตมาไม่ตอบ ตั้งแต่นั้นมา อาตมาจึงสอนการสวดพาหุงมหากาให้แก่ญาติโยมเป็นต้นมา เพราะอะไร เพราะพาหุงมหากานั้นเป็นบทสวดมนต์ที่มีค่าที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดาจากพญาวัสวดีมาร จากอาฬาวกะยักษ์ จากช้างนาฬาคิรี จากองคุลีมาล จากนางจิญมาณวิกา จากสัจจะกะนิครนถ์ จากพญานันโทปนันทนาคราช และท่านท้าวผกาพรหม เป็นชัยชนะที่พระพุทธองค์ทรงได้มาด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ และด้วยอำนาจแห่งบารมีธรรมโดยแท้ ผู้ใดได้สวดไว้ประจำทุกวัน จะมีชัยชนะมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน มีสติระลึกได้ จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ ขอให้ญาติโยมสวดพาหุงมหากากันให้ทั่วหน้า นอกจากจะคุ้มตัวแล้ว ยังคุ้มครอบครัวได้ สวดมากๆ เข้า สวดกันทั้งประเทศก็ทำให้ประเทศมีแต่ความรุ่งเรือง พวกคนพาลสันดานหยาบก็แพ้ภัยไปอย่างถ้วนหน้า ไม่ใช่แต่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้นที่พบความมหัศจรรย์ของบท พาหุงมหากา แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงพบเช่นกัน โดยมีบันทึกโบราณบอกไว้ว่าดังนี้

"เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้วก็ทรงเห็นว่าสงครามกู้ชาติ ต่อจากนี้ไปจะต้องหนักหนา และยืดยาวจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้นแล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลายมาสวดบทพาหุง มหากาบรรจุไว้ในองค์พระและพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระนเรศวร มหาราชด้วยการเจริญพาหุงมหากาจึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ"

   สวดพาหุงมหากากันให้ได้ทุกบ้าน สวดให้ได้มากๆ จะมีแต่ความรุ่งเรือง สวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึงสวดชินบัญชร เพราะชินบัญชรนั้นเจ้าประคุณสมเด็จท่านได้สวดบูชาพระอรหันต์ของท่าน ต้องสวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึงมาถึงชินบัญชรให้จดจำกันเอาไว้ นั่นแหละมงคลในชีวิต อันที่จริงถ้าเราทำบุญ เราจะได้ยินพระสวดคาถา "พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา" ให้เราฟังทุกครั้ง บางทีเราจะเคยได้ยินพระสวดเจนหูเกินไปจนไม่นึกว่ามีความสำคัญ แท้จริงแล้วคาถาดังกล่าวนี้ มีของดีอยู่ในตัวให้เราใช้มากทุกบททุกตอน เป็นเรื่องของพระพุทธเจ้า อ้างอานุภาพของพระพุทธเจ้า เพื่อนำชัยมงคลมาให้แก่เรา ทุกตอนลงท้ายว่า "ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ" เวลาพระสวดให้เรา ท่านต้องใช้คำว่า "เต" ซึ่งแปลว่า "แก่ท่าน" แต่ถ้าเราจะเอามาสวดหรือภาวนาของเราเอง เพื่อให้ชัยชนะเกิดแก่ตัวเราเอง เราก็จะต้องใช้ว่า "เม" ซึ่งแปลว่า "แก่ข้า" คือสวดว่า "ตันเตชะสา ภะวะตุเม ชะยะมังคะลานิ"

ที่มา
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=19911.0

450


คำแปล "พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา" มีอยู่ ๘ บท และมีความมุ่งหมายแตกต่างกันทั้งแปดบท กล่าวคือ

 บทที่ ๑ สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ
บทที่ ๒ สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์
บทที่ ๓ สำหรับเอาชนะสัตว์ร้ายหรือคู่ต่อสู้
บทที่ ๔ สำหรับเอาชนะโจร
บทที่ ๕ สำหรับเอาชนะการแกล้ง ใส่ร้ายกล่าวโทษหรือคดีความ
บทที่ ๖ สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ
บทที่ ๗ สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย
บทที่ ๘ สำหรับเอาชนะทิฏฐิมานะของคน

เราจะเห็นได้ว่า ของดีวิเศษอยู่ในนี้ และถ้าพูดถึงการที่จะเอาชนะหรือการแสวงหาความมีชัย ก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไรนอกเหนือไปจาก ๘ ประการที่กล่าวข้างต้น ก่อนที่จะนำเอาตัวคาถาบทสวดมนต์และคำแปลมาไว้ให้จำจะต้องทำความเข้าใจคำ อธิบายบทต่างๆ
ไว้พอสมควรก่อน เพราะความในคาถาเองเข้าใจยาก ถึงจะแปลออกมาก็ยังเข้าใจยากอยู่นั่นเอง เมื่อเราไม่เข้าใจเราอาจจะไม่เกิดความเลื่อมใส จึงควรจะหาทางทำความเข้าใจกันให้แจ่มแจ้งไว้ก่อน

ในบทที่ ๑. เป็นเรื่องผจญมาร ซึ่งมีเรื่องว่าพระยามารยกพลใหญ่หลวงมา พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถเอาชนะได้
จึงถือเป็นบทสำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ
คำแปล - พระยามารผู้นิรมิตแขนได้ตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่ช้างชื่อ ครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องมาองค์พระจอมมุนีก็เอาชนะมารได้ ด้วยทานบารมีด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๒. เรื่องเล่าว่า มียักษ์ตนหนึ่ง ชื่ออาฬะวกะ เป็นผู้มีจิตกระด้างและมีกำลังยิ่งกว่าพระยามาร พยายามมาใช้กำลังทำร้ายพระองค์อยู่จนตลอดรุ่ง ก็ทรงทรมานยักษ์ตนนี้ให้พ่ายแพ้ไปได้จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะปฏิปักษ์หรือ คู่ต่อสู้
คำแปล - อาฬะวกะยักษ์ผู้มีจิตกระด้าง ปราศจากความยับยั้ง มีฤทธิ์ใหญ่ยิ่งกว่าพระยามารเข้ามาประทุษร้ายอยู่ตลอดรุ่ง องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยขันติบารมี ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๓. มีเรื่องว่าเมื่อพระเทวทัตทรยศต่อพระพุทธเจ้า ได้จัดการให้คนปล่อยช้างสาร ที่กำลังตกมันชื่อนาฬาคีรี เพื่อมาทำร้ายพระพุทธเจ้า แต่เมื่อช้างมาถึงก็ไม่ทำร้าย จึงถือเป็นบทที่เอาชนะสัตว์ร้าย
คำแปล - ช้างตัวประเสริฐ ชื่อนาฬาคีรี เป็นช้างเมามัน โหดร้ายเหมือนไฟไหม้ป่า มีกำลังเหมือนจักราวุธ และสายฟ้า องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยพระเมตตาบารมีด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๔. เป็นเรื่องขององคุลีมาล ซึ่งเรารู้กันแพร่หลาย คือ องคุลีมาลนั้นอาจารย์บอกไว้ว่าถ้าฆ่าคนและตัดนิ้วมือมาร้อยเป็นสร้อยคอ ให้ได้ครบพัน ก็จะมีฤทธิ์เดชยิ่งใหญ่ องคุลีมาลฆ่าคนและตัดนิ้วมือได้ ๙๙๙ เหลืออีกนิ้วเดียวจะครบพัน ก็มาพบพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าทรงสามารถเอาชนะถึงกับองคุลีมาลเลิกเป็นโจรและ ยอมเข้ามาบวช กลายเป็นสาวกองค์สำคัญองค์หนึ่งจึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะโจรผู้ร้าย
คำแปล - โจร ชื่อ องคุลีมาล มีฝีมือเก่งกล้า ถือดาบเงื้อวิ่งไล่พระองค์ไปตลอดทาง ๓ โยชน์
องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยการกระทำปาฏิหาริย์ ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๕. หญิงคนหนึ่งมีนามว่า จิญจมาณวิกา ใส่ร้ายพระพุทธเจ้า โดยเอาไม้กลมๆ ใส่เข้าที่ท้องแล้วก็ไปเที่ยวป่าวข่าวให้เล่าลือว่าตั้งครรภ์กับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ให้ความจริงปรากฏแก่คนทั้งหลายว่าเป็นเรื่องกล่าวร้ายใส่โทษพระองค์โดยแท้ จึงถือเป็นบทที่เอาชนะคดีความหรือการกล่าวร้ายใส่โทษ
คำแปล - นางจิญจมาณวิกาใช้ไม้มีสัณฐานกลมใส่ที่ท้อง ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์ เพื่อกล่าวร้ายพระพุทธเจ้าองค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยวิธีสงบ ระงับพระทัยในท่ามกลางหมู่คน ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๖. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะสัจจะกะนิครนถ์ ซึ่งเป็นคนเจ้าโวหาร เข้ามาโต้ตอบกับพระพุทธเจ้าจึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะในการโต้ตอบ
คำแปล - สัจจะกะนิครนถ์ ผู้มีนิสัยละทิ้งความสัตย์ใฝ่ใจจะยกย่องถ้อยคำของตนให้สูงประหนึ่งว่ายกธง เป็นผู้มืดมัวเมาองค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยรู้นิสัยแล้วตรัสเทศนาด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๗. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า ให้พระโมคคัลลาน์ อัครมหาสาวกไปต่อสู้เอาชนะพระยานาคชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้มากหลาย จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย
คำแปล - องค์พระจอมมุนี ได้โปรดให้พระโมคคัลลาน์เถระ นิรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานพระยานาคชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีฤทธิ์มากให้พ่ายแพ้ด้วยวิธีอันเป็นอุปเท่ห์แห่งฤทธิ์ ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๘. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ผกาพรหม ผู้มีทิฏฐิแรงกล้าสำคัญว่าตนเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถทำให้ผกาพรหมยอมละทิ้งทิฏฐิมานะ และยอมว่าพระพุทธเจ้าสูงกว่า จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะทิฏฐิมานะของตน
คำแปล - พรหม ผู้มีนามว่า ท้าวผกา มีฤทธิ์และสำคัญตน ว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์มีทิฏฐิที่ถือผิดรัดรึงอยู่อย่าง แน่นแฟ้น องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ด้วยวิธีเทศนาญาณ ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ที่มา
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=19911.0

451
คาถาพาหุง
พุทธคุณ พาหุง มหากา

จากคำสอนหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน


หลวงพ่อจรัญ " พระพุทธคุณ อาตมาสังเกตมาว่า บางคนเขาไปหาหมอดูเคราะห์ร้ายก็ต้องสะเดาะเคราะห์ อาตมาก็มาดูเหตุการณ์โชคลางไม่ดีก็เป็นความจริงของหมอดู อาตมาก็ตั้งตำราขึ้นมาด้วยสติ บอกว่าโยมไปสวดพุทธคุณเท่าอายุให้เกินกว่า ๑ ให้ได้ เพื่อให้สติดี แล้วสวด "พาหุงมหากา" หายเลยสติก็ดีขึ้นเท่าที่ใช้ได้ผลสวดตั้งแต่ นะโม พุทธัง ธัมมัง สังฆัง พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุงมหากา จบแล้วย้อนกลับมาข้างต้น เอาพุทธคุณห้องเดียว ห้องละ ๑ จบ ต่อ ๑ อายุ อายุ ๔๐ สวด ๔๑ ก็ได้ผล "

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

๑. พุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

๒. ธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ

๓. สังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ


ที่มา
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=19911.0

452
จากสวดพาหุงมหากา  สู่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน 2/2


วันแรกของการปฏิบัติธรรม เดินครึ่งชั่งโมง นั่งครึ่งชั่งโมง จิตเริ่มสงบ เริ่มทบทวนชีวิตที่ผ่านมา ความผิดพลาดใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการกระทำขอตัวเองโดยรู้บ้างไม่รู้บ้าง ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกผิด ข้าพเจ้าโชคดีที่ได้พบหลวงพ่อ ที่เป็นผู้ชี้แนวทางให้ข้าพเจ้าพบพระธรรมในพระพุทธศาสนา ทำให้รู้สึกซาบซึ้งจนน้ำตาไหลออกมาดดยไม่รู้ตัว วันที่สี่ของการปฏิบัติธรรม ความเจ็บปวดเกิดขึ้นขณะนั่งกรรมฐาน ปวดเข่า ปวดแขน ปวดขา ข้าพเจ้าคิดลำพองในใจว่า ปวดแล้วกำหนดคงหายเหมือนเมื่อวาน ด้วยความที่ตั้งใจอยากจะชดใช้กรรม ข้าพเจ้าอธิษฐานจิตว่า เวรกรรมใด ๆ ที่ข้าพเจ้าทำมา ข้าพเจ้าขอชดใช้กรรมให้หมด ขอให้เจ้ากรรมนายเวรจงมารับเอาด้วยเถิด สิ้นคำอธิฐานได้ไม่นาน ความปวดเพิ่มทวีความรุนแรง ปวดหัวปวดแขน ปวดทั่วสกลกาย ตั้งสติไม่ได้ ไม่รู้จะกำหนดอะไรก่อน ข้าพเจ้ารู้สึกมึนงง วิงเวียนศีรษะ ใจสั่นอย่างรุนแรง เหงื่อเริ่มแตกเป็นเม็ด ๆ เหมือนคนใกล้จะตาย คิดว่านาทีตายคงรออยู่เบื้องหน้า แต่ข้าพเจ้าไม่ยอมลืมตาออกจากกรรมฐาน เพราะหลวงพ่อเคยบอกไว้ว่า ไม่เคยมีใครตายเพราะกรรมฐาน ข้าพเจ้ากำหนตั้งสติว่า “รู้หนอ” ”รู้หนอ” รู้ว่ายังมีสติอยู่กับตัวและบอกกับตัวเอง จะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม ข้าพเจ้าจะทดแทบบุญคุณของหลวงพ่อให้จงได้ ทันทีที่คิดถึงหลวงพ่อ เสียงกริ่งเตือนบอกหมดเวลา ข้าพเจ้าจึงออกจากกรรมฐาน แล้วต่อด้วยอโหสิกรรมแล้วค่อยแผ่เมตตา ทุกครั้งที่มีการแผ่เมตตาและแผ่ส่วนกุศล ข้าพเจ้ามีความปลื้มปีติขนลุกขนผอง ในขณะที่แผ่ส่วนกุศลออกไป

มาถึงวันที่ห้าวันที่หกของการปฏิบัติธรรม ข้าพเจ้ามีความรู้สึกอึดอัด หายใจไม่ค่อยสะดวก หนักเนื้อหนักตัวเหมือนมีอะไรมารัดตัวไว้ พลันนึกถึงคำของหลวงพ่อที่ว่า “มารไม่มี บารมีไม่เกิด” ”ทำความดีต้องฝึกใจ” ข้พเจ้าจึงทำสติให้หมั่นคง ตั้งมั่น อดทน นึกถึงหลวงพ่อแล้วมีกำลังใจอดทนต่อความยากลำบากได้ ในที่สุดข้าพเจ้าก็ปฏิบัติธรรมได้ครบเจ็บวัน ได้สร้างความดีให้กับตัวเอง บุญกุศลที่เกิดขึ้นข้าพเจ้าขอน้อมถวาบแด่ “หลวงพ่อจรัญ” ที่ข้าพเจ้าศรัทธาและเทิดทูลอย่างสูงสุด

ชีวิตของข้าพเจ้ายังต้องดิ้นรนต่อสู้ต่อไป แต่ข้าพเจ้าจะไม่หวั่นไหวกับสิ่งใด ถ้าตราบใดที่ข้าพเจ้าใช้สติในการดำรงชีวิตอยู่ ข้าพเจ้าตั้งใจไว้ว่าจะละชั่วประพฤติดี และทำหน้าที่ของแม่และของมนุษย์คนหนึ่งให้ดีที่สุด

ลูกสำนึกในพระคุณของหลวงพ่อที่ชี้ทางบรรเทาทุกข์ให้ลูก ในยามที่ลูฏอ่อนแอและท้อแท้หมดกำลังใจ หลวงพ่อทำให้ลูกเกิดแสงสว่างแห่ปัญญษ มีสติ มีความอดทนและเข็มแข็ง เพื่อต่อสู่กับปัญหาที่เกิดขึ้น

เนื่องในวันเกิดครบ ๗๖ ปี ของหลวงพ่อในปีนี้ บุญกุศลใดที่ลูกกระทำมาขอน้อมถวายแด่หลวงพ่อ ลูกขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย ช่วยปกป้องคุ้มครองให้หลวงพ่อมีร่างการที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็ฐ อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของลูฏและปวงชนตลอดชั่วกาลนานเทอญ

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

453
จากสวดพาหุงมหากา  สู่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน 1/2
ชลธิชา ชาญวิชา

ในกฎแห่กรรมเล่มที่ ๑๗ ข้าพเจ้ากล่าวถึงความมหัศจรรย์ของข้าพเจ้าคือ นายสมศักดิ์ ชาญวิชา ผู้ช่วยนายสถานีรถไฟลพบุรี ได้สวดพหุงมหากา และเกิดความเจริญรุ่งเรือง มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เป็นแรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้าปฏิบัติตามด้วยความศัทธาอย่างแรงกล้า

ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าสวดมนต์เสร็จจะอธิษฐานจิตว่า “ขอให้ข้าพเจ้าได้มีช่องทางทำมาหากิน เพื่อช่วยภาระค่าใช้จ่ายในบ้านเพราะบ้านที่สร้างยังต้องผ่อนอยู่ และขอให้พบกับญาติทางธรรม มาช่วยเหลือเกื้อกูลข้าพเจ้าด้วยเถิด” ไม่นานคำอธิฐานจิตเป็นไปดังปรารถนา ข้าพเจ้าได้มีโอกาสรู้จักกับคุณณัฐวัชร – ศรินยา เมธารมณ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคนที่ ๓ ของโลก ในบริษัทขายตรงแห่งหนึ่ง ทั้งสองคนเคยฝึกปฏิบัติธรรมกับคุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย


จากแม่บ้านธรรมดาคนหนึ่ง ข้าพเจ้าได้ตัดสินใจทำงานกับบริษัทขายตรงแห่งนี้ หลวงพ่อทราบแล้วให้พรว่า “ให้อดทน ตั้งในทำงาน ก่อนสบายต้องลำบากก่อนเสมอ” หลวงพ่อจะแผ่เมตตาให้ ข้าพเจ้ารับพรจากหลวงพ่อแล้วทำงานด้วยความตั้งใจ พร้องทั้งไม่ลืมสวดมนต์แล้วแผ่เมตตาไปด้วย

งานของข้าพเจ้าเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ เดือนแรกขึ้นตำแหน่งผู้จัดการ เดือนที่สองขึ้นตำแหน่งผู้จัดการอาวุโส ขายสินค้าทะลุเป้ามากมาย การทำงานครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้ารู้สัจธรรมของชีวิตว่า “ตนเท่านั้นที่เป็นที่พึ่งแห่งตน” เรียนให้รู้ ดูให้จำ ทำให้จริง ที่หลวงพ่อเคยสอยไว้ ข้าพเจ้านำมาปฏิบัติ ข้าพเจ้าทำงานด้วยคาวมจริงจัง กินน้อย นอนน้อย พักผ่อนน้อย ข้าพเจ้าเหนื่อยมาก ไม่มีอะไรได้มาง่าย ๆ เลย ความสบายต้องลงทุนด้วยความลำบากก่อนเสมอ เป็นจริงดังที่หลวงพ่อพูด บางวันกลับถึงบ้านด้วยร่างกายเหนื่อยล้า ทำให้ไม่ได้สวดมนต์ไหว้พระ สวดบ้างไม่สวดบ้าง ทำให้หน้าที่การงานมีปัญหาและอุปสรรค ช่วงที่ข้าพเจ้ายังแก้ปัญหาไม่ได้รู้สึกสับสนมืดมนอยู่นั้น คืนหนึ่งข้าพเจ้าฝันไปว่า ได้เดินไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง เคว้งคว้างมาก มีผู้คนมากมาย มีหลวงพ่อเดินนำพาไป และมีเสียงหนึ่งมากระซิบที่ข้างหูหลายครั้งว่า “ต้องมาเจริญกรรมฐานเจ็ดวัน ชีวิตถึงจะเจริญรุ่งเรือง”

ข้าพเจ้าตื่นขึ้นมาทบทวนความฝัน ตื้นตันใจจนน้ำตาไหลในความเมตตาปราณีของครูบาอาจารย์ ที่ถึงคราวลูกศิษย์อยู่ในฐานะลำบาก หลวงพ่อมีเมตตาเตือนสติ และส่องแสงสว่างแห่งปัญญามาให้

วันหนึ่งมีญาติธรรมโทรศัพท์มาถามข้าพเจ้าว่า จะเข้าปฏิบัติธรรมในโครงการปฏิบัติธรรมถวายเป็นกุศลแด่หลวงพ่อ เนื่องในโอกาสครบรอบ ๗๕ ปีของหลวงพ่อ ในวันที่ ๕ – ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๖ นี้หรือไม่ ข้าพเจ้ารีบตอบรับทันที ตั้งใจไปปฏิบัติกรรมฐานเจ็ดวัน เพื่อทดแทนคุณของครูบาอาจารย์ ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยอยู่ถึงเจ็ดวันเลย ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะอดทนเพียงไร

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

454
การปฏิบัติธรรมมีผลจริงไม่ต้องสงสัยอีกแล้ว 3/3


   แต่ถ้าเรามีวิชาของพระพุทธเจ้าแล้ว เราก็จะสามารถมองหรือทำความทุกข์ให้เป็นทุกขัง (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)ได้ กล่าวคือ รู้เท่าทันความทุกข์ รู้จักความทุกข์ตามความเป็นจริงแห่งเหตุปัจจัย ถ้าจะอุปมาเหมือนคนเฝ้าประตูบ้าน ถ้ารู้เท่าทัน รู้จักคนเข้า-ออกประตูว่าเป็นใคร เป็นอย่างไร ก็ไม่มีใครทะอะไรได้ และเมื่อสามีดิฉันได้รับการตรวจอย่างละเอียดโดยการเจาะไขกระดูกไปตรวจ ผลปรากฏว่าปกติดี สมดังที่หลวงพ่อท่านเคยบอกกับสามีดิฉันเรื่องโพรงในกระดูกว่า “ไม่เป็นไร” เมื่อคราวที่สามีดิฉันได้กราบเรียนให้ท่านทราบ หลวงพ่อท่านก็ตอบเกือบจะทันทีเลยว่า “ไม่เป็นไร” และก็ไม่เป็นไรสมดังที่หลวงพ่อท่านกล่าวจริงๆ

ดิฉันคิดว่าผู้ปฏิบัติธรรมนั้นควรจะสามารถนำธรรมะของพระพุทธองค์มาใช้ในการดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาณขั้นพื้นฐาน อย่างน้อย  ๒ สภาวะ คือ เมื่อตัวเราเอง หรือคนที่เรารักจะต้องจากไป ซึ่งเวลานั้นต้องมีมาแน่นอนไม่วันใดก็วันหนึ่ง เราควรเตรียมใจพร้อมที่จะยอบรับและสามารถจัดการสิ่งต่างๆตามเหตุปัจจัยของมันได้อย่างเหมาะสม มีสติ และดำเนินชีวิตของตนเองด้วยความไม่ประมาทถึงสภาวะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงนี้

   ผลของการปฏิบัติธรรมของดิฉันนั้น ทำให้ดิฉันมีความสงบสุข มีสุขภาพแข็งแรงขึ้น ดิฉันมีชีพจรที่ช้าลงมาก โดยวัดล่าสุดขณะพัก กึ่งนั่ง-กึ่งนอน ได้ประมาณ ๕๘ ครั้ง/นาที การหายใจก็ละเอียดเบา และจำนวนครั้งลดลงมาก ก่อนการปฏิบัติธรรมดิฉันเป็นคนหลับยากและตื่นง่าย อาจเป็นเพราะเหตุให้ดิฉันรู้สึกเหนื่อยเพลีย แต่หลังจากการปฏิบัติธรรมช่วงต้น ดิฉันเพียงแค่จับพอง-ยุบ ไม่กี่ครั้ง ดิฉันก็วูบหลับไปได้สบาย แม้บางคืนดิฉันเกิดมีทุกขเวทนา เช่น ปวดศรีษะไมเกรน ซึ่งคืนหนึ่งมีอากาศร้อนจัด ดิฉันรู้สึกปวดศรีษะมากจนรู้สึกคลื่นไส้จะอาเจียนดิฉันก็กำหนดจิตอธิษฐานขอให้คุณพระค้มครองให้หลับสบาย ไม่มีอาการปวดทรมานตลอดคืนจนกระทั่งตื่นเช้า

    ในด้านการปฏิบัติงานนั้น ดิฉันได้รับมอบหมายให้ทำงานที่ดิฉันคิดว่ายากและคงต้องใช้เวลานานจึงจะทำได้สำเร็จ ดิฉันได้นั่งสมาธิโดยไม่ได้ตั้งใจจะทำสมาธิเพื่อจะมาทำงาน แต่เป็นการทำสมาธิช่วงสั้นๆในเวลาว่าง แล้วดิฉันก็ลองเอางานชิ้นนั้นมาลองทำดู ปรากฏว่าดิฉันสามารถทำงานชิ้นนั้นได้เสร็จอย่างง่ายดาย รวดเร็ว (ใช้เวลาประมาณ ๑๕-๓๐ นาที่เท่านั้น) ได้อย่างน่าอัศจรรย์ และผลงานนั้นดิฉันคิดว่าดีมาก จนดิฉันก็รู้สึกประหลาดใจ ดิฉันทำได้ขนาดนี้หรือ และแม้ในงานออกข้อสอบวัดทัศนคติ ซึ่งดิฉันดิคว่ายาก แต่เมื่อดิฉันได้รับมอบหมายให้เป็นคนออกข้อสอบ ดิฉันสามารถทำได้อย่างดีมาก จนอาจารย์แพทย์ท่านอื่นๆชื่นชมและบางคนกล่าวชมว่า “ดีมากๆเลย” จากนั้นดิฉันก็ได้รับมอบหมายให้ออกข้อสอบอย่างนี้ในปีต่อๆมา

   ดิฉันคิดว่านี่เป็นความอัสจรรย์ของจิตที่ได้รับการฝึกฝนปฏิบัติธรรม ทำให้มีสภาพพร้อมในการทำงาน มีพลัง มีความสงบ ใส เหมาะแก่การทำงานให้เกิดปัญญาต่างๆได้

   ที่กล่าวมานี้เป็นตัวอย่างของผลแห่งการปฏิบัติธรรมซึ่งเป็นผลจริง ไม่มีข้อสงสัยใดๆ มีบางคนเคยกล่าวอย่างท้อใจกับการปฏิบัติธรรมว่าทำไมไม่เห็นผล ดิฉันคิดว่าการปฏิบัติมีผลจริงเสมอ และมีผลทั้งนั้น แต่จะมีผลแค่ไหน ระดับไหน จนเกิดเป็นผลสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหลายอย่าง ดิฉันขออนุญาตเปรียบเทียบการปฏิบัติธรรมเหมือนกับการต้มน้ำในกาน้ำให้น้ำเดือดระเหยไปจนหมดนั้นต้องอาศัย

๑.อุณหภูมิความร้อนต้องสูงพอ คือ อย่างน้อยต้องถึงจุดเดือดของน้ำ
๒.ต้องนำกาไปตั้งบนเตา
๓.ต้องต่อเนื่อง ไม่ใช่ยกขึ้นยกลงๆ
๔.ต้องนานพอ

  ฉะนั้นเมื่อใครปฏิบัติธรรมแล้วท้อใจว่าไม่เป็นผลนั้น ก็ต้องดูว่าอุณหภูมิความร้อนสูงเพียงพอหรือยัง (บารมีที่สั่งสมมา) ถ้ายังไม่พอก็ต้องเพียรพยายามสั่งสมความดีความเพียรต่อไป จนในที่สุดอุณหภูมิความร้อนสูงขึ้นพอ ได้ปฏิบัติถูกต้องถูกทางหรือไม่ ต่อเนื่องหรือไม่ และนานพอแล้วหรือยัง

   จึงขอให้กำลังใจแก่ท่านผู้อ่านผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่านว่าการปฏิบัติที่ถูกต้องตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้ผลจริงอย่างแน่นอน ไม่ต้องสงสัยเลย ขอให้พยายามสั่งสมความดี ความเพียร อย่าพึ่งท้อใจ ต้องมีตถาคตโพธิสัทธาเป็นพื้นฐานตั้งมั่น เพราะเรามีพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกเป็นแบบอย่างให้เห็นว่า เมื่อเจริญรอยตามคำสั่งขององค์สมเด็จพระสัมมัมพุทธเจ้า ตามมรรคมีองค์ ๘ ย่อมมีโอกาสในการบรรลุจุดหมายปลายทางในอนาคตกาลแน่นอน

  ดิฉันขอกราบนอบน้อมอาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยบุญบารมีของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม และด้วยคุณความดีทั้งหลายที่ดิฉันได้กระทำมาแล้วในอดีต กระทำในปัจจุบันและจะกระทำต่อไปในอนาคต โปรดดลบันดาลให้หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงอย่างดียิ่ง มีอายุยืนนานเกิน ๑๐๐ ปี เพื่อช่วยค้ำจุนพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวร เพื่อประโยชน์สุข-ความสงบสุขของชาวโลกทั้งหลายตลอดไปด้วยเทอญ

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

455
การปฏิบัติธรรมมีผลจริงไม่ต้องสงสัยอีกแล้ว 2/3

ดิฉันเองได้เริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจริงจังครั้งแรก เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๔๔ ที่ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย โดยมีสามีของดิฉันและท่านอาจารย์พันเอก(พิเศษ)ทองคำ ศรีโยธิน ซึ่งเป็นอดีตนายกสมาคมและเป็นนายกกิตติมศักดิ์ของยุวพุทธิกสมาคมฯ เป็นกัลยาณมิตร ช่วยเหลือ ส่งเสริมสนับสนุนแก่ดิฉันเป็นอย่างดี

   ก่อนการปฏิบัติธรรมนั้น เมื่อดิฉันดูตารางการปฏิบัติธรรมเห็นว่ามีการปกิบัติธรรมวันละหลายรอบ รอบละเป็นชั่วโมงๆ ก็รู้สึกท้อใจว่าจะไหวเหรอ ดูใช้เวลานานจังเลยแต่พอปฏิบัติธรรมเข้าจริงๆ ดิฉันรู้สึกว่า”เป็นไปเอง” ดิฉันบอกตัวเองภายในว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร เช่น เดินจงกรมละเอียดแค่ไหน อย่างไร และดูเหมือนเวลาได้ผ่านพ้นไปเร็ว บางครั้งรู้สึกอยู่ในสมาธิยังไม่พอเลยก็หมดเวลาแล้ว ประสบการณ์และสภาวะธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น กับดิฉันเป็นไปอย่างค่อนข้างราบรื่น และเป็นลำดับขั้นตอนอย่างอัศจรรย์ดิฉันเองมีนิสัยหรือหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นนิสัยติดตัวมาตั้งแต่อดีตชาติ ที่ไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือก่อนล่วงหน้า ดิฉันมักจะอ่านเมื่อ เกิดมีประสบการณ์หรือสภาวะธรรมเกิดขึ้นแล้ว จึงอ่านหนังสือดูว่าเป็นอะไรเป็นอย่างไร จึงทำให้คิดว่าประสบการณ์หรือสภาวธรรมที่เกิดขึ้นกับดิฉันเป็นเรื่องจริงไม่ได้คิดจิตนาการไปเองอย่างแน่นอน (นิสัยของดิฉันที่ไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือก่อน บางครั้งก็ทำให้คนที่หวังดีที่คอยแนะนำและนำหนังสือมาให้ดิฉันอ่านนั้น ต้องเกิดความรู้สึกขัดเคืองไปบ้างเมื่อเห็นว่าดิฉันไม่สนใจที่จะอ่าน)  
                                                                                                                                                                                                      
   ในระหว่างการปฏิบัติธรรมมีอยู่บ่อยครั้ง(ร่วมสิบครั้ง) ที่ดิฉันรู้สึกว่า ประสบการณ์บางอย่างดิฉันเคยรู้จักค้นเคยมีประสบการณ์มาก่อนแล้ว ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า Déja vu คือภาวะที่เกิดความรู้สึกค้นเคยเหมือนว่าสิ่งนั้นเคยเกิดกับตนเองมาก่อนแล้ว ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์และหลวงพ่อท่านเคยกล่าวว่า ดิฉันเคยทำและมีประสบการณ์การปฏิบัติธรรมมาก่อนในอดีตชาติแล้ว หลังจากครบกำหนดเวลาประมาณ ๗ วันของการปฏิบัติธรรมที่ยุวพุทธิกสมาคมฯ ดิฉันก็กลับมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต่อที่บ้านอย่างต่อเนื่องทุกวัน วันละหลายชั่วโมง (เฉลี่ย ๓-๔ชั่วโมง) ดิฉันรู้สึกเหมือนว่าอยู่ในห้วงทางธรรม และการปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับดิฉัน มีเวลาว่างก็ปฏิบัติธรรม ได้เกิดมีสภาวะธรรมที่อัศจรรย์เกิดขึ้นกับดิฉันหลายอย่าง และหลังจากปฏิบัติธรรมที่บ้านในวันที่ ๗ ก็เกิดสภาวธรรมที่อัศจรรย์ที่สุดในชีวิตของดิฉัน ดิฉันได้เล่าสภาวธรรมต่างๆให้ท่านอาจารย์ทองคำ ศรีโยธิน ทราบท่านบอกว่า “อย่างนี้ต้องไปกราบหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน(เท่านั้น)”  จากนั้นท่านอาจารย์ทองคำและภริยาของท่านอาจารย์ได้พาดิฉันพร้อมสามีของดิฉันมากราบหลวงพ่อที่วัดอัมพวันโดยค่อนข้างรีบด่วน เมื่อมาถึงวัดก็มีลูกศิษย์วัดมาแจ้งว่าหลวงพ่อท่านให้เขามารอรับพวกเรา ท่านอาจารย์ทองคำจึงพูดขึ้นว่า หลวงพ่อท่านมีสิ่งอัศจรรย์ที่รู้ว่าพวกเราจะมาถึงเมื่อไร จึงสั่งให้คนมารอรับ

   เมื่อพวกเราได้พบและกราบนมัสการหลวงพ่อแล้วหลวงพ่อได้สอบอารมณ์ดิฉัน ซึ่งดิฉันก็เล่าสภาวธรรมที่เกิดขึ้นให้ท่านทราบ(ดิฉันคิดว่าหลวงพ่อท่านทราบได้เอง และได้ก่อนที่ดิฉันจะเล่าสภาวธรรมของดิฉันให้ท่านทราบ) เมื่อดิฉันเล่าเสร็จหลวงพ่อ
ท่านก็กล่าวกับพวกเราด้วยความยินดีว่า “ปฏิบัติได้ดีนี่ และนี่ไม่ได้อ่านหนังสือมาก่อนด้วย ทุกอย่างเป็นไปตามคัมภีร์เป๊ะเลย” จากนั้นหลวงพ่อท่านก็บอกให้ดิฉันไปห้องน้ำ ดิฉันเองก็ไม่ได้คิดอะไร จึงปฏิบัติตามที่ท่านบอก เมื่อดิฉันกลับเข้ามา หลวงพ่อท่านก็แนะนำให้ดิฉันปฏิบัติธรรมต่อไปอย่างไร และท่านได้มองดูดิฉันด้วยสายตาที่มีแต่ความเมตตาอยู่ครู่หนึ่งดิฉันรู้สึกซาบซึ้งใจในความเมตตาของท่าน และสำนักในพระคุณท่านอย่างยิ่ง

   หลังจากพวกเราออกจากวัด ดิฉันก็ได้ถามคนอื่นที่มาด้วยกันว่า หลวงพ่อท่านทราบได้อย่างไรว่าดิฉันไม่ได้อ่านหนังสือมาก่อน ซึ่งก็ไม่มีใครได้แจ้งหรือบอกให้หลวงพ่อท่านทราบเลย นี่เป็นความอัศจรรย์ในอิทธิฤทธิ์ของหลวงพ่อท่าน และเมื่อดิฉันได้เรียนถามท่านอาจารย์ทองคำและคนอื่นที่อยู่สนทนากับหลวงพ่อในขณะที่ดิฉันไปห้องน้ำว่าหลวงพ่อท่านกล่าวอะไรบ้างในขณะที่ดิฉัน ไม่อยู่ สามีของดิฉันยิ้ม และท่านอาจารย์ทองคำก็ตอบด้วยมุทิตาจิตว่า หลวงพ่อท่านกล่าวชมการปกิบัติธรรมของดิฉันอนุโมทนากับดิฉัน และกล่าวรับรองผลการปฏิบัติธรรมของดิฉันด้วย ท่านอาจารย์ทองคำเคยบอกพวกเราว่า การกล่าวชมใครของหลวงพ่อท่านเป็นการกล่าวชมแบบบัณฑิตที่มักกล่าวชมใครกับผู้อื่น ต่างจากคนทั้วไปอื่นๆที่มักจะชมต่อหน้า แต่ไปว่าลับหลัง

   หลังจากที่ดิฉันได้ปกิบัติธรรมแล้วระยะหนึ่ง ก็มีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับดิฉัน เมื่อสามีดิฉันได้ตรวจพบโดยบังเอิญด้วยคอมพิวเตอร์แม่เหล็ก (MRI)  พบว่ามีโพรงในกระดูกขา-แขน ทั้ง ๔ ข้าง เมื่อได้รับการผ่าตัดเอาชิ้นกระดูกไปตรวจทางพยาธิวิทยา แพทย์ทางพยาธิวิทยาบอกว่ามีเซลล์อ่อนมากกว่าปกติ สงสัยว่าอาจจะเป็นมะเร็งดิฉันเองได้รับทราบจากแพทย์ทางโลหิตวิทยาที่มาดูแลสามีดิฉัน ขณะนั้นสามีของดิฉันยังไม่ทราบทำให้ดิฉันได้เห็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นอยู่ตรงหน้า เห็นตัวทุกข์แล้วจริงๆ สมดั่งกับคำที่กล่าวว่า

   ทุกฺโขติณฺณา เป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว
    ทุกฺขปเรตา   เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว


ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

456
การปฏิบัติธรรมมีผลจริงไม่ต้องสงสัยอีกแล้ว 1/3
รศ.พญ.ฐิตวี แก้วพรสวรรค์

   ดิฉันขอนอบน้อมระลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม ที่ดิฉันเคารพบูชาอย่างสูงด้วยบทความนี้ และเพื่อป็นการสร้างเสริมศรัทธาแก่ผู้อ่านให้มั่นคงในพระรัตนตรัย อันเป็นสรณะที่เคารพบูชาสูงสุดของเราทั้งหลาย หากมีสิ่งใดผิดพลาด บกพร่องล่วงเกินประการใด ดิฉันกราบขออภัย ขออโหสิกรรม และขอน้อมรับไว้เพื่อพิจารณาแก้ไขต่อไป

      การที่คนเราจะมีโอกาสมาปฏิบัติธรรมวิปัสนากรรมฐานนั้นยากมาก มีน้อยคนนักที่จะมีโอกาสเช่นนี้เพราะผ้ที่จะปฏิบัติธรรมได้นั้นต้องมีความพร้อมทั้งร่ายกาย (ต้องสมบูรณ์แข็งแรง) จิตใจ (มีสุขภาพจิตไม่เป็นปัญหาต่อการปฏิบัติธรรม) และต้องมีกัลยาณมิตรชี้แนะสนับสนุน และถึงแม้จะมีความพร้อมทั้ง ๓ ด้าน คือ ร่างกาย จิตใจ และมีกัลยาณมิตรก็ตาม บางคนก็ยังไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติธรรม เช่นตัวดิฉันเองเป็นตัวอย่าง


     ดิฉันเป็นจิตแพทยท์ และเป็นอาจารย์แพทย์ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์สาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นผู้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงพอ มีสุขภาพจิตปกติ และมียอดกัลยาณมิตร คือสามีของดิฉัน ที่คอยชักชวนสนับสนุนให้ดิฉันไปปฏิบัติธรรมมาเป็นเวลานานมาก (สามีของดิฉันเริ่มปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๗-๒๕๒๘ และได้ปฏิบัติต่อเนื่องทั้งที่ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ที่วัดอัมพวัน และได้จัดโครงการปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวันทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๒ เป็นต้นมา) แต่ดิฉันก็ไม่เคยไปปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานจริงจังสักที ถามว่าดิฉันทราบไหมว่าเป็นสิ่งที่ดี ก็ต้องตอบว่าทราบแน่นอน แต่ถ้าจะให้ไปปฏิบัติจริงๆก็ไม่ไป ดิฉันได้ลองคิดวิเคราะห์ถึงเหตุติดขัด-ขัดข้องของดิฉัน คิดว่ามีความติดขัด ๔ ประการ

๑.ติดธุระ
การเป็นแพทย์กับเรื่องติดธุระดูแล้วเป็นเรื่องสมเหตุสมผลมาก แต่ดิฉันคิดว่าเรื่องติดธุระเป็นเพียงข้ออ้างมากกว่า เพราะถ้าเมื่อคนเราให้ความสำคัญกับสิ่งใดแล้ว เราจะมีเวลาให้กับสิ่งนั้นเสมอ เพราะฉนั้นการที่เราอ้างว่าติดธุระ ไม่ว่าง ก็แสดงว่าเรายังให้ความสำคัญกับสิ่งนั้นน้อย (ดั้นนั้นถ้าคุณจะมาปฏิบัติอย่ารอให้ว่าง เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นคุณจะไม่มีเวลาว่างสำหรับการปฏิบัติธรรม ต่อเมื่อคุณมาปฏิบัติธรรมแล้วนั่นแหละคุณถึงจะเห็นความว่างได้เอง)

๒.ติดสบาย
ความสะดวกสบายที่คันเคยส่วนตัวเป็นเหตุอุปสรรคขัดข้องสำหรับบางคน รวมถึงตัวดิฉันเองด้วย เมื่อคิดว่าต้องมาอยู่รวมกันหลายคน การทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ จะไม่มีความสะดวกสบายที่คันเคยนานประการ ก็ทำให้ดิฉันติดขัดไม่อยากมาปฏิบัติธรรม

๓.ติดสุข
ดิฉันเคยกล่าวกับผู้อื่นอยู่บ่อยครั้งว่า ดิฉันคิดว่าชีวิตของดิฉันมีความสุขแล้ว ดิฉันมีโชคถึง ๓ ชั้น ชั้นที่ ๑ คือ
มีครอบครัวดี อบอุ่น ชั้นที่ ๒ คือ มีสามีดี เป็นกัลยาณมิตร ยอดเยี่ยม และชั้นที่ ๓ คือ มีอาชีพการงานที่ดี ดิฉันเป็นแพทย์และเป็นอาจารย์สอนแพทย์ซึ่งหลวงพ่อท่านเคยกล่าวว่า อาชีพที่บุญและเป็นอาชีพที่น่าสนันสนุนมี ๒ อย่างคือ อาชีพแพทย์และครูบาอาจารย์ ดังนั้นการที่ดิฉันเป็นแพทย์และอาจารย์แพทย์  จึงได้เป็นรวมทั้ง ๒ อย่าง

๔.ติดดี
ดิฉันคิดว่าดิฉันเองเป็นคนดีคนหนึ่งในสังคม เป็นจิตแพทย์ที่คอยแนะนำวิเคราะห์จิตใจของคนอื่น และอาจจะหลงตัวเองว่าเก่งแล้ว ดีแล้ว ซึ่งอาจเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ดิฉันไม่ค่อยมีความกระตือรือร้นที่จะต้องปฏิบัติธรรมพัฒนาจิตใจ-ปัญญาของตัวเอง

แต่หลังจากได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ดิฉันจึงเกิดปัญญารู้ว่าสิ่งที่ดิฉันเคยคิดมาก่อนนั้นผิดพลาดอย่างมหันต์ หากดิฉันยังติดอยู่กับสิ่งแหล่านี้ว่าเป็นความสุขความดีแล้วละก็ วันหนึ่งข้างหน้า ซึ่งต้องมีวันนั้นแน่นอน ดิฉันจะต้องเจ็บปวดสาหัส

จะเห็นได้ว่าผู้มีปัญญานั้นไม่จำเป็นต้องเป็นคนมีความรู้ความสามารถทางโลกสูง หรือมีฐานะร่ำรวยอะไร ในทางกลับกันคนที่มีความรู้ความสามารถสูงบางคนยังแสดงให้เห็นถึงความอ่อนด้อยทางปัญญาก็มีอยู่มากมาย

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

457
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ฯ :054:

อตฺตานํ  ทมยนฺติ  ปณฺฑิตา

459
การปฏิบัติธรรมนำทางสู่ชีวิตที่ดีขึ้น
มนตรา ผึ้งเทศ

    ครอบครัวของดิฉันเป็นครอบครัวใหญ่ มีอาชีพทำนา อยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชร ดิฉันเป็นคนสุดท้อง มีพี่น้องทั้งหมด ๗ คน ตอนท้องดิฉันคุณแม่อายุสี่สิบกว่าแล้ว ตอนเด็กดิฉันเป็นคนขี้โรคเลี้ยงยาก เคยหยุดเรียนรักษาตัวเป็นเดือน พอโตรู้ความบ้างดิฉันก็ได้รับรู้ถึงปัญหาที่ทางบ้านประสบ โดยเฉพาะปัญหาทางเศษฐกิจ พวกพี่ ๆ ต้องแยกย้ายกันออกไปทำงานนอกบ้าน เราอยู่กันอย่างประหยัด มีอยู่ครั้งหนึ่งอาหารที่หาได้มีเพียงปลาตัวเล็ก ๆ หัวโต ๆ ๑ ตัว คุณพ่อกินหัวปลาให้ดิฉันกินตัวปลา ผักก็กินแต่ก้านเก็บยอดไว้ให้ดิฉันกิน คิดทีไรก็น้ำตาไหลทุกที

   พอดิฉันเรียนมัธยม ทางบ้านก็เลิกทำนาเพราะคุณพ่อคุณแก่มากแล้วไม่มีแรงทำนา จึงหันมาค้าขายแทน ตอนนั้นดิฉันยังไม่รู้จักการสวดมนต์ไหว้พระ อย่ามากก็แค่กราบพระก่อนนอน ไปทำบุญวันพระและใส่บาตร แต่จะเป็นที่เชื่อเรื่องกฏแห่งกรรมมาก เพราะคุณพ่อมักจะเล่านิทานเรื่องนรกสวรรค์ให้ฟังอยู่เสมอ ๆ จะสอนเรื่องกรรมดีกรรรมชั่วไปพร้อม ๆ กับเล่าเรื่องกฎแห่กรรมไปด้วย ว่าทำอย่างไรถึงจะได้ไปสวรรค์ และทำอย่างไรถึงต้องไปตกนรก ทำให้ดิฉันเชื่อเรื่องนรกสวรรค์มาก แต่ก็ยังไม่ได้สนใจไหว้พระสวดมนต์ปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง เพียงแค่มีความกลัวต่อบาป ช่วงที่เรียนอยู่มัธยมศึกษา โรงเรียนได้จัดอบรมปฏิบัติธรรมสองคืนสามวัน มีพระธุดงค์มาสอน ดิฉันได้สมัครเข้าปฏิบัติธรรมในครั้งนั้นด้วย แต่ก็ยังไม่เข้าใจลึกซึ้งนัก หลังจากมาก็ไม่เคยได้ปฏิบัติธรรมอีกเลย

  จนเมื่อประมาณปี  คุณแม่ปวยเป็นโรคหอบหืด ต้องฉีดยาเกือบทุกวัน จนต้องพามารักษาตัวที่กรุงเทพฯ  ดิฉันไม่ค่อยสบายใจ เห็นว่าปีนี้คุณแม่เป็นมากเหลือเกิน จึงนึกอยากสวดมนต์ขึ้นมา ซึ่งไม่เคยสวดมาก่อน แต่ชอบอ่านหนังสือธรรมะอยู่แล้ว ที่บ้านมีหนังสือสวดมนต์อยู่บ้าง จึงเริ่มสวดมนต์ตั้งแต่วันนั้น และก็ได้แผ่เมตตาให้กรรมนายเวรของแม่ด้วย พอได้สวดมนต์แล้วรู้สึกสบายใจขึ้น จิตใจดีขึ้น จากนั้นก็สวดมนต์ทุกวัน ช่วเช้าก่อนทำงาน ช่วงกลางวันหลังกินข้าว และก่อนนอน

   วันหนึ่งเล่นอิเตอร์เน็ตแล้วเข้าในเว็บ (Web) ของวัดอัมพวัน ได้เข้าไปอ่านสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม รู้สึกอยากไปวัดอัมพวันมาก และได้อ่านเรื่องเกี่ยวกับกรรมฐานช่วยแม่ได้ ทำให้ดิฉันมุ่งมั่นที่จะปฏิบัตธรรมที่วัดนี้มากทั้ง ๆ ที่ไม่เคยรู้จักวัดนี้มาก่อน แต่ด้วยจิตศรัทธาและอยากช่วยแม่จึงได้ชวนเพื่อนที่ทำงานไปด้วย พอได้ปฏิบัติก็ตั้งจิตอธิษฐานว่าการปฏิบัติธรรมครั้งนี้ขอให้คุณแม่หายจากโรคหอบหืด

   ตั้งแต่ได้มาปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวันครั้งนั้น ดิฉันก็ตั้งใจปฏิบัติเรื่อยมา สวดมนต์เป็นประจำทุกวัน แต่การเดินจงกรม นั่งสมาธิ นั่งสมาธินั้นไม่ได้ทำทุกวัน ดิฉันรู้จักใช้เหตุผลใช้สติและปัญญาในการดำเนินชีวิตมากขึ้น และลดความใจร้อนลงมาได้

   ปี ๒๕๔๖ ดิฉันได้ไปปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวันช่วงวันเกิดของดิฉัน หลังจากกลับจากวัด ดิฉันก็ได้ตั้งจิตว่าตั้งแต่นี้เป็นต้นไปดิฉันจะปฏิบัติธรรม สวดมนต์ เดินจงกรม และนั่งสมาธิทุกวัน และดิฉันก็ทำได้จริง ๆ ผลการปฏิบัติที่ได้รับนั้นคุ้มค่าเหลือเกิน จิตใจของดิฉันนิ่งขึ้น ว่างขึ้น รู้จักปล่อยวางกับปัญหารอบด้านมากขึ้น ปัญหาทางเศรษฐกิจก็ค่อยดีขึ้น ดิฉันและพี่ ๆ บางคนช่วยกันหาเงินสร้างบ้านให้คุณแม่คุณพ่อซึ่งขณะนั้นอายุ ๗๕ ปีแล้วได้อยู่ ดิฉันมีความสำเร็จในหน้าที่การงาน การศึกษา มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ทุกใจเหมือนที่ผ่านมา พบแต่กัลยาณมิตรชี้นำทางที่ดีงาม ชักชวนกันทำแต่สิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศล

ชีวิตของดิฉันจากนี้ไปจะประกอบแต่กุศลกรรม เพื่อทดแทนบุญคุณผู้มีำพระคุณและพระพุทธศาสนา

ขอให้พระพุทธศาสนาอยู่คู่พุทธศาสนิกชนชาวไทยชั่วกาลนาน

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

460
กรรมที่ต้องชดใช้ 2/2


คราวนี้ตั้งใจเต็มที่ ไม่พูดกับใคร ปฏิบัติจริงๆ ได้ศีล ๘ พร้อมกับกินเจ และก็ดีเกินคาดจริงๆ จิตใจสงบ และมีสมาธิมากกว่าที่ผ่านมา

กลับจากวัดได้ประมาณสัปดาห์เศษๆ ดิฉันก็เกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่อีกจนได้ คือ ถูกรถชน เป็นอุบัติเหตุที่ไม่น่าจะเกิด รถของดิฉันเองเคยขับเอง แต่วันนั้นคนอื่นขับ ดิฉันออกมานั่งกระบะท้ายรถกับครูที่สอนโรงเรียนเดียวกัน ให้อาจารย์ใหญ่และผู้อาวุโสนั่งหน้าแทน รถชนกัน ดิฉันกระเด็นตกจากรถสลบอยู่กลางถนน และสลบไปนานเป็นชั่วโมง เมื่อ ดิฉันรู้สึกตัวพยาบาลได้ใส่ท่อยางปัสสาวะเสร็จเรียบร้อยแล้ว ยังคิดว่าเราโชคดีที่หมดสติไป เมื่อเขานำไปเอ็กซ์เรย์และสอดสายยางเข้าท่อปัสสาวะ เพราะตอนนั้นถ้ารู้สึกตัว คงจะเจ็บปวดมาก เนื่องจากว่าดิฉันกระดูกซี่โครงหลังซี่ที่ ๒-๓-๔ หัก และกระดูกสันหลังข้อที่ ๗ ยุบตัว กระดูกไหปลาร้าหักและหลุด ในท้องก็นิ่มไปหมด ไม่ทราบว่าตับหรือไตเป็นอย่างไรบ้าง ส่วนที่ศีรษะก็เป็นก้อน บวมปูดขึ้นมา เกรงจะมีอาการเลือดคั่งในสมอง ต้องเตรียมผ่าตัดฉุกเฉิน งดน้ำงดอาหาร คืนนั้นดิฉันขยับตัวไม่ได้เลย ทรมานมาก แต่ก็คิดว่าเราต้องใช้กรรมอีกแล้ว ก็เริ่มสวดมนต์อีก บทพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ ส่วนบทพาหุงมหากาจำไม่ได้ สวดไปหลับๆตื่นๆเพราะฤทธิ์ยาด้วย หรือแรงจากการตกรถลงมาด้วยก็ไม่ทราบ ทำให้หลับไปได้ เมื่อถึงเวลาหมอมาตรวจตอนเช้าปรากฏว่า อาการที่หมอกลัวจะไม่มีเลย เหลืออยู่อย่างเดียวคืออาการทางสมอง ต้องรอ ๒๔ ชั่วโมงก่อน แขนขาไม่ชา ขยับได้ตามปรกติ ระหว่างนั้นดิฉันมาทบทวนดูว่า ก่อนที่จะหมดสติไปนั้นดิฉันเห็นพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ท่านนั่งสมาธิอยู่ ใจยังคิดอยู่ว่าเรามาวัดอัมพวันกันหรือไงนะ แต่ก็จำได้เลือนรางเต็มที่
สิ่งที่เกิดนี้เป็นไปตามกรรมที่กำหนดไว้ ดิฉันคงต้องชดใช้กรรมด้วย เพราะเมื่อ ๒ ปี ที่แล้วดิฉันได้ขับรถชนรถกระบะคันหนึ่งตกถนน มีคนเจ็บ ๔ คน เจ็บไม่มากนัก แต่ ๑ ใน ๔ คนนั้นเป็นผู้หญิงคนหนึ่งไหปลาร้าหัก แต่เขาไม่ได้นอนโรงพยาบาล เพราะไม่หนักมากอะไร ส่วนดิฉันคงต้องใช้เขาทั้งต้นทั้งดอก ต้องผ่าตัดไหปลาร้าใช้เหล็กเชื่อม

ดิฉันเข้าผ่าตัดที่โรงพยาบาลอ่างทอง โดยนายแพทย์พยางค์ เมฆกระจ่าง เมื่อ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๖ อยู่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล ๗ วันเท่านั้น ก็กลับมาพักผ่อนที่บ้านได้ ดิฉันสวดมนต์เสมอพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แม้แต่เวลาเข้าห้องผ่าตัดก็สวดในใจตลอดเวลา ดิฉันไม่เจ็บปวดไม่กระวนกระวายมากมายเพราะคิดว่าเราใช้กรรม ยิ่งใช้เร็วก็หมดเร็วเหมือนที่ใช้หนี้เขา และเมื่อวันที่ ๒๔มกราคม ๒๕๔๗ ดิฉันก็เข้ามาปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวันอีก ผ่าตัดได้ครึ่งเดือนเท่านั้นเอง ดิฉันคิดว่าปีใหม่แล้วชีวิตคงจะดีขึ้น กรรมต่างๆก็ทยอยชดใช้เขาไป และคงไม่มีอะไรที่จะหนักหนาสาหัสกว่านี้อีกแล้ว

อุบัติเหตุครั้งนี้ นอกจากเจ็บตัวแล้ว ดิฉันยังต้องสูญเสียเงินในกระเป๋าหลายพันบาท และโทรศัพท์มือถืออีก ๑ เครื่อง แต่ดิฉันปลงตกว่า เราคงเคยไปเอาเงินใครเขามาแล้วเขามาเอาคืน

   มีคนถามดิฉันหลายคนว่า ทำไมไปปฏิบัติธรรมมาแล้ว จึงมีแต่เรื่องเจ็บตัว เสียเงินเสียทอง ทำไมบุญไม่ช่วยล่ะ ดิฉันคิดว่าจริงๆแล้ว บุญน่ะช่วยเราคือ ใช้ให้เราใช้หนี้กรรมเขาให้ไวขึ้น จะได้หมดเร็วๆ เหมือนเราเป็นหนี้เขาอยู่ ถ้าไม่ใช้เก็บไว้นานๆก็มีดอกเยอะแยะ เมื่อเราค้าขายได้กำไรมาก็รีบใช้หนี้เขาไป เหมือนเรามาสร้างบุญสร้างกุศล คงจะช่วยให้เราหมดหนี้กรรมไวขึ้น จะได้สบาย ทำอะไรก็จะดีไปทุกอย่าง และถ้าไม่ได้มาปฏิบัติธรรมเราอาจจะพบกับอะไรที่มันหนักหนากว่านี้ก็ได้ ใครจะรู้ ทำหนักให้เป็นเบา จากเรื่องใหญ่ก็เล็กลง ดิฉันคิดว่าปีใหม่ได้มาปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อ ก็น่าจะเป็นนิมิตหมายที่ดี ได้มีโอกาสทำบุญสะสมไว้ใช้ในวันข้างหน้า ดิฉันคิดว่าต่อไปนี้คงพบแต่สิ่งที่ดีๆมีความสุข ปราศจากโรคภัยอันตรายทั้งปวง แล้วชีวิตของดิฉันคงดีขึ้นเป็นลำดับ ทำมาหากินก็เจริญรุ่งเรือง มีโชคมีลาภตามคำให้พรของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ

ดิฉันขอให้หลวงพ่อมีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรงและสมบูรณ์ มีอายุยั่งยืนนาน เป็นที่พึ่งของพุทธศาสนิกชนสืบไป

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

461
กฎแห่งกรรม / กรรมที่ต้องชดใช้
« เมื่อ: 01 ส.ค. 2554, 07:33:50 »
กรรมที่ต้องชดใช้ 1/2
เฉลา ขำวงษ์

   ดิฉันมีอาชีพรับราชการครู อยู่โรงเรียนกระทุ่มราย อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ไม่ไกลกับวัดอัมพวันเท่าไร แต่ไม่มีโอกาสได้มาปฏิบัติธรรม มีแต่ฟังธรรมจากท่านทางโทรทัศน์บ้าง จากเทปบ้าง อ่านหนังสือของท่านบ้าง และเมื่อครั้งที่บิดาของดิฉันป่วยหนัก ดิฉันได้มีโอกาสสวดมนต์บทพาหุงมหากา ดิฉันได้รับบทสวดมนต์เป็นลายมือของญาติผู้ป่วยที่ไปรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลอ่างทอง เมื่อบิดาเสียชีวิตได้ไม่นาน สามีของดิฉันก็เสียชีวิตอีกคนหนึ่งระยะเวลาห่างกันเพียง ๑ ปี ตลอดเวลาที่บุคคลทั้งสองป่วยด้วยโรคมะเร็ง ดิฉันดูแลปรนนิบัติอย่างดี พร้อมกันนั้นก็สวดมนต์ไปเรื่อยๆเท่าที่โอกาสจะอำนวย สวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ และพาหุงบางครั้งก็สวดคาถาชินบัญชรบ้าง

   หลังจากทำศพสามีแล้ว ตัวดิฉันเองก็แทบจะป่วยตายไปด้วย แต่เมื่อมีลูกต้องดูแลอีก ๒ คน ดิฉันจึงต้องหางานพิเศษทำ ดิฉันไปธุรกิจขายตรงกับบริษัทแห่งหนึ่ง ดิฉันทำมาค้าขึ้นได้ใช้หนี้สิน ซื้อรถยนต์ป้ายแดง ซื้อบ้าน และมีโอกาสไปต่างประเทศหลายประเทศ เที่ยวเมืองไทยเกือบทั่ว ได้ไปเป็นนักจัดรายการวิทยุหลายสถานี จนมีคนรู้จักดิฉันมากมาย ดิฉันเชื่อว่าเกิดจากอานิสงส์ของการทำความดี และสวดมนต์ไหว้พระ ใส่บาตรเกือบทุกวัน ยิ่งให้ยิ่งได้

   ต่อมาดิฉันได้มีโอกาสเข้ามาปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน หลังจากที่กลับมาอยู่บ้านได้ประมาณเดือนเศษๆก็ประสบอุบัติเหตุ น้ำมันร้อนๆในกระทะที่ทอดปลาอยู่หกราดมือและแขนทั้ง ๒ข้าง อาการปวดแสบปวดร้อนนั้นสุดที่จะบรรยายได้ มันทรมานมาก ดิฉันปฐมพยาบาลตัวเองแล้วพันผ้าไว้เพราะร้อนและปวดมาก ดิฉันข้นไปห้องพระ อาราธนาพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ขอบารมีจากท่านขอให้แผ่เมตตาช่วยดิฉันด้วย สวดมนต์ก็ผิดๆถูกๆ เปิดหนังสือสวดมนต์ใหม่ สวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ สวดคาถาชินบัญชร อาราธนาหลวงพ่อโต ช่วยอีก ก็ยังปวดและร้อนเหลือเกิน อธิฐานจิตขอคาถาดับพิษไฟจากหลวงพ่อและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในห้องพระ  เมื่อเปิดหนังสือคู่มือชาวพุทธของหลวงพ่อที่แจก ก็พบคาถาดับพิษไข้ แต่ดิฉันขอดับพิษไฟ คือบทที่ว่า “อมอัคคี คงคานัง ระงับดับหาย สวาหะ” ดิฉันก็ว่าไปเป่าไปเรื่อยๆ ประมาณ ๑ ชั่วโมงเศษ ดิฉันสบายขึ้น และคืนนั้นนอนหลับสนิท อาจจะเป็นเพราะกำลังใจส่วนหนึ่ง และความมีสมาธิมากขึ้น และมาหยุดคิดว่ากรรมนี้เราต้องใช้เขาแล้วนะ เพราะว่าสมัยสาวๆทำกับข้าวเสร็จเคยสาดน้ำร้อนถูกสุนัขใต้ถุนบ้านบ่อยๆ เขาก็คงเจ็บปวดแบบนี้เหมือนกัน เขาถูกน้ำร้อน เราถูกน้ำมัน ใช้ทั้งต้นทั้งดอกเลย ดิฉันคิดถึงพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญว่า ท่านเองบวชเรียนมีบุญบารมีขนาดนี้ ท่านยังต้องใช้กรรมเลย ก็แล้วเราล่ะเป็นใครถึงจะหนีกรรมพ้น ก็เลยไม่ทุกข์ทรมานและกระวนกระวายเกินไป

   เมื่อรักษาแผลน้ำมันลวกแล้ว ประมาณเดือนเศษๆ ดิฉันก็ฝันเห็นหลวงพ่อจรัญ พอตื่นขึ้นก็มาคิดว่า ทำไมเราเห็นหลวงพ่อนะ ท่านมาเพื่อจะบอกอะไรหรือว่าให้เราดีใจที่ได้ชดใช้หนี้กรรมไปส่วนหนึ่งแล้ว เราน่าจะไปวัดอัมพวันอีก อย่างน้อยก็จะได้ไปปฏิบัติธรรมเพื่อแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรบ้าง ไม่รู้ว่าเราทำอะไรไว้ และเขาจะมาทวงเราเมื่อไรอีก จะช้าหรือเร็วไม่ทราบได้ ต้องไปสะสมบุญไว้ก่อน

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

462
กรรมฐานช่วยพัฒนาจิต
จินตนา ชยวัฑโฒ

   ข้าพเจ้ามีอาชีพขายเสื้อผ้าอยู่ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ข้าพเจ้าเริ่มอ่านหนังสือกฎแห่กรรมเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๔๖ จนกระทั่งปลายเดือนมิถุนายน จึงได้ไปวัดอัมพวันกับพี่ช่อลดาเป็นครั้งแรก

  เมื่อได้ไปปฎิบัติข้าพเจ้าก็ตั้งใจปฎิบัติ และเมื่อกลับบ้านข้าพเจ้าก็ปฏิบัติต่อ ปลายเดือนกันยายน ข้าเจ้าได้ไปวัดอีกครั้งหนึ่ง การปฏิบัติของข้าพเจ้าก็พัฒนาดีขึ้น เมื่อจิตใจเป็นสมาธิก็เกิดปัญญา สิ่งที่เข้าพเจ้าได้จากการนั่งวิปัสสนากรรมฐานที่เห็นได้ชัดคือ ใจเย็น ไม่ค่อยหงุดหงิด สุขุมรอบคอบ ก่อนหน้านี้ข้าพเจ้าเอาแต่ใจตัวเอง ไม่มีเหตุผล หงุดหงิดง่าย ชอบเถียงพ่อแม่ พ่อแม่ของข้าเจ้าก็มีความสุขที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในตัวข้าพเจ้า และข้าพเจ้าจะกราบเท้าพ่อแม่ ทุกครั้งที่กลับจากวัด ส่วนเพื่อนที่ไม่ได้พูดกันมาหลายปีเวลาเจอข้าพเจ้าเขาก็ยิ้มให้และโทรศัพท์มาหาข้าพเจ้า กิจการก็ดีขึ้น การเงินก็ไม่ติดขัด ข้าพเจ้าได้นำสิ่งที่เรียนรู้จากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมาใช้ในชีวิตประจำวันและเล่าให้คนในครอบครัวและคนที่รู้จักฟัง  การปฏิบัติวิสัสนากรรมฐานช่วยให้พบตัวตนที่แท้จริงของเรา สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง มีสติรู้อยู่ตลอดเวลา อาการปวดหัวของข้าพเจ้าก็หายไปครอบครัวก็อยู่เย็ยเป็นสุข

  ข้าพเจ้าขอยืนยันว่า การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและปฏิบัติตามคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อทำให้ชีวิตดำเนินไปได้อย่างมีความสุข และประสบความสำเร็จแน่นอน สิ่งที่ข้าพเจ้าปฏิบัติมา ข้าพเจ้าได้ของจริงจากวัดอัมพวัน ขอขอบพระคุณพี่ช่อลดา สวัสดิมงคล และพี่พาณิชย์ ซึ่งพี่พาณิชย์ได้ให้ความเมตตากับข้าพเจ้าในทุก ๆ เรื่อง

ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก และพระรัตนตรัย คุ้มครองหลวงพ่อ ขอให้หลวงพ่ออยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของลูกศิษย์ด้วยสุขภาพแข็งแรง

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

463
กรรมฐานสร้างชีวิตใหม่ 2/2


ครั้งนั้นดิฉันเรียนรู้เรื่องการปฏิบัติกรรมฐาน 9 วัน ด้วยใจที่มุ่งมั่นมาก ได้ปิดวาจา เพียรพยายามทำตามเวลาที่ทางวัดกำหนดทุกอย่าง ช่วงพักเราก็จะนำหนังสือของหลวงพ่อขึ้นมาอ่าน ได้รับความรู้ความเข้าใจอย่างมาก วันสุดท้ายดิฉันได้พูดกับเพื่อนว่า “ใช่เลย ส่งที่ดิฉันเคยพยายามเรียนรู้ เป็นสิ่งที่ดิฉันค้นหามานาน เป็นบุญของดิฉันที่ได้มาพบมาเจอ ไม่ต้องพึ่งหมอดู เจ้าเข้าทรง แต่พึ่งตนเองและเห็นผลด้วย”

     เมื่อกลับมาจากวัดอัมพวัน ดิฉันก็มาปฏิบัติที่บ้านตลอด3 เดือน ช่วงนี้ลูกชายเพยามากขึ้น ไม่หลับไม่นอนเป็นอาทิตย์ ไม่กินข้าวกินปลา ซูบผอม อิดโรย  หน้าดำหมองคล้ำ หากวันไหนนอนก็จะนอน 2 วัน 2 คืน หงุดหงิด หาเรื่องทะเลาะกับน้องกับแม่แทบทุกวัน บางครั้งก็หนีตำรวจหัวซุกหัวซุน ดิฉันเริ่มลังเลว่ากรรมฐานจะช่วยได้หรือ คุณพาณิชย์ก็จะเตือนสติดิฉันว่า “ยิ่งปฏิบัติมาก กรรมก็จะเข้ามาเร็ว จะได้ใช้กรรมได้ไว จะได้หมดกรรมเร็ว แล้วอย่าไปสร้างกรรมใหม่อีก”
     ในช่วงเดือนมิถุนายน รัฐบาลทำสงครามกับยาเสพติด มีการกวาดล้างเอาจริงเอาจัง ลูกชายดิฉันก็ไม่สามารถหายามาเสพได้ จึงหันมาดมกาวแทน จนกระทั่งเดือนสิงหาคม 2546 ลูกชายเลิกทุกอย่าง เลิกเอง และให้ดิฉันช่วยหางานให้ทำ ดิฉันสุขใจ ภูมิใจ ดิฉันเริ่มมีรอยยิ้ม ดิฉันเห็นว่ากรรมฐานสามารถใช้กรรมได้จริง ตามคำที่หลวงพ่อกล่าวครั้งแรกที่ดิฉันได้เข้าไปพบ

     ดิฉันขอกราบเท้าหลวงพ่อที่ทำให้ดิฉันได้เห็นกรรมและการใช้หนี้กรรม ดิฉันจะไม่ละทิ้งของดีสิ่งนี้แน่นอน

     ขอกราบขอบพระคุณหลวงพ่อ ขอบคุณคุณพาณิชย์สมาบุตร ที่ให้คำแนะนำ และคุณดวงกมล ยิ่งวรากุล ที่ชักชวนให้ดิฉันมาวัดอัมพวัน

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

464
กรรมฐานสร้างชีวิตใหม่ 1/2
สวลักษณ์ ฉายาบรรณ

        ดิฉันเป็นครู อายุ 49 ปี มีบุตรชาย 2 คน ดิฉันแต่งงานเมื่ออายุ 26 ปี ชีวิตคู่มีปัญหา ดิฉันจึงต้องพึ่งหมอดู ไม่ว่าหมอดูที่ไหนแม่น ฉันก็จะกระเสือกกระสนดั้นด้นไปดูให้ได้ ไม่ว่าจะใกล้หรือไกลถูกหรือแพงจะดูหมด เรียกว่าบ้าหมอดูเลยที่เดียว แต่ก็ไม่ได้ทำให้ดิฉันดีขึ้นเลยมีแต่เสียเงินเสียเวลา ความทุกข์ที่เกิดจากสามีเจ้าชู้ก็ไม่ได้ลดน้อยลงเลย กลับยิ่งมีมากขึ้น

     ดิฉันมีลูกชายคนแรกปี พ.ศ. 2542 และลูกชายคนที่ 2 ปี 2529 ชีวิตของดิฉันก็ดำเนินมาเรื่อย ๆ มีสุขบ้างแต่มีความทุกข์มากกว่า บางครั้งเคยถามตัวเองเหมือนกันว่า คนเราเกิดมาเพื่ออะไร แต่ก็ไม่สามารถหาคำตอบได้

     เมื่อลูกชายคนแรกมีอายุ 15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่อยากรู้อยากลอง เขาก็เริ่มมีพฤติกรรมก้าวร้าวเป็นนักเลง ชกต่อยกับคนอื่นจนเลยเถิดไปติดยา ในช่วงนี้ดิฉันได้ประสบกับมรสุมชีวิตหนักที่สุด มากกว่าปัญหาเรื่องความเจ้าชู้ของสามี เราหย่าร้างกัน ดิฉันได้เลี้ยงลูกทั้งสอง ดิฉันต้องรับภาระแก้ปัญาแต่เพียงผู้เดียวด้วยความสมัครใจของดิฉันเอง ลูกชายเริ่มนำของในบ้านไปขาย อะไรแลกเป็นเงินได้เป็นเอาหมด เพื่อจะได้เสพยา ดิฉันก็พยายามซื้อของคืน ลูกไปเป็นหนี้สินที่ตรงไหนก็ตามใช้หนี้ให้ ปัญหาก็ไม่ได้จบสิ้นกลับทวีความรุนแรงมากขึ้น ดิฉันไม่ทราบจะพึ่งใครได้ เคยคิดจะยิงตัวตายเพื่อประชดลูก จนดิฉันไปได้หนังสือสวดมนต์ของหลวงพ่อมาจากเพื่อนครูคนหนึ่ง เขาไม่ได้อธิบายอะไร บอกเพียงว่าลองสวดมนต์ดูซิ

     ดิฉันก็เริ่มสวดมนต์ด้วยความศรัทธาเพราะหวังว่าช่วยลูกของดิฉันได้ ดิฉันเป็นคาธอลิก การสวดมนต์จึงยากสำหรับดิฉัน แต่ในยามที่ดิฉันมีทุกข์อย่างนี้ อะไรก็ได้ที่คิดว่าเป็นหนทางช่วยลูกดิฉันจะทำหมด ดิฉันสวดมนต์ของหลวงพ่อโดยไม่ทราบว่าต้องมีการแผ่เมตตาอย่างไรเวลาผ่านไปได้ 3 เดือนเต็ม ๆ ผลก็ยังไม่เห็น ดิฉันไปตักบาตรทุกวัน เหตุการณ์ก็ไม่ดีขึ้นมาเลย

     เมื่อดิฉันเริ่มไม่มีเงินที่จะให้ลูกชาย เขาก็หันจากเป็นผู้เสพมาเป็นผู้ส่งของเสียเอง จนในที่สุดก็ถูกตำรวจจับ ต้องไปเสียค่าปรับในชั้นศาล เป็นครั้งแรกที่ต้องเห็นลูกชายถูกใส่กุญแจมือ และนั่งท้ายรถกระบะตำรวจเพื่อไปศาล หัวใจของแม่แทบแตกสลาย น้ำตาไหล ในสมองคิดว่าจะช่วยลูกอย่างไร มันเป็นภาพที่ตรึงอยู่ในใจของดิฉัน เมื่อได้ไปเสียค่าปรับที่ศาลก็กลับมาบ้าน ดิฉันคิดว่าลุกคงจะเข็ดขยาด แต่ลูกกลับไปมั่วสุมหนักกว่าเก่า ดิฉันได้พยายามบอกเขาว่า ไม่มีเงินจะไปเสียค่าปรับอีกนะ เขาเข้าออกจากทัณฑสถาน 5 ครั้ง บางครั้งอยู่ 1 เดือนก็ไปเสียค่าปรับออกมา ในที่สุดเมื่อหมดเงินก็ต้องปล่อยให้อยู่เช่นนั้น แต่ในใจมีแต่ความเศร้าหมอง คิดหาทางช่วยเหลือลูก

     วันเวลาผ่านไป ชีวิตของดิฉันมีแต่ความทุกข์ ดิฉันเหมือนตกอยู่ในนรก ใจหดหู่ ตั้งแต่แต่งงานจนถึงระยะลูกติดยามานี้ เป็นระยะเวลาหาความสุขในชีวิตไม่ได้

     จนกระทั่งในเดือนธันวาคม 2545 ได้คำชักชวนจากเพื่อนรักคือ คุณดวงกมล ยิ่งวรากุล ว่าไปวัดเถอะชีวิตจะได้ดีขึ้น จึงตัดสินใจไปวัดอัมพวัน ตอนนั้นดิฉันคิดว่าพระที่วัดนี้คงดูหมดแม่น และมีญาณพิเศษช่วยปัดเป่าทุกข์สุขของชาวบ้านที่ไปหาได้ ดิฉันเคยบ้าหมอดู จึงยิ่งมีความมุ่งมั่นที่จะไปพบหลวงพ่อ

     เมื่อดิฉันไปกราบหลวงพ่อที่กฏิ หลวงพ่อพูดกับเพื่อนที่กราบเรียนหลวงพ่อเรื่องสามีไปติดผู้หญิงว่า “สามีที่ดีต้องอยู่กับเรา สามีไม่ดีก็ไม่อยู่กับเรา  ก็ปล่อยเขาไป คนไม่ดีจะเอามาทำไม ทำกรรมฐานซิ สามีคนดีก็จะกลับมา” และหลวงพ่อก็หันมามองดิฉันและพูดว่า  “ลูกที่ติดยาก็จะดี” ดิฉันแปลกใจมากว่าหลวงพ่อทราบได้อย่างไรว่าดิฉันมีปัญหาเรื่องลูก

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

465
กรรมฐานช่วยคุณแม่ได้
เกื้อกูล  สุขปิติ

ข้าพเจ้าเป็นอาจารย์ ๓ ระดับ ๔ โรงเรียนพนัสพิทยาคาร  อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี  อายุ ๔๕ ปี มีบุตร ๒ คน สามีรับราชการในตำแหน่งนิเทศ ๗ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมโครงการนำนักเรียนไปปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน  ตั้งแต่รุ่นที่ ๑  เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖  จนถึงปัจจุบันเป็นรุ่นที่   ๒๑   (๓๐ พฤศจิกายน– ๔ ธันวาคม ๒๕๔๖)    เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

   เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ คุณแม่ของข้าพเจ้าป่วยหนัก  เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลรามาธิบดี  กรุงเทพฯ เป็นเวลา ๑ เดือนเต็มๆ  ตอนนั้นคุณแม่อายุ  ๖๗ ปี วันหนึ่งคุณแม่เล่าว่าฝันเห็นผู้ชาย ๔ คน จะพยายามมาเอาตัวท่านไปท่านบอกว่า “รอลูกสาวก่อน เดี๋ยวลุกสาวจะมา ”

   วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ หมอบอกว่าอาการของคุณแม่ไม่ค่อยดีนักให้เตรียมใจเพราะโอกาสมีแค่  ๕๐%  แต่ต่อมาอีกประมาณ ๔ วันอาการดีขึ้นบ้าง  หมอแนะนำให้กลับบ้านและซื้อเครื่องช่วยหายใจเวลาหอบและขาดอากาศ

   ข้าพเจ้ารับคุณแม่กลับไปพักฟื้นที่บ้านพี่สาว ข้าพเจ้านอนเฝ้าท่าน  เวลาท่านนอนจะทรมานกระสับกระส่าย พอท่านหลับ
ข้าพเจ้าจะสวดมนต์ไหว้พระและนั่งสมาธิ  แผ่เมตตาอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรแทนท่าน

   หลังจากคุณแม่นอนหลับสนิทจนรุ่งเช้า  ท่านอยากถวายสังฆทานเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร  ข้าพเจ้าไปทำสังฆทานให้ท่านที่วัดใหม่สิริกมลาวาส  กรุงเทพฯ   หลังจากนั้นอาการก็ดีขึ้นตามลำดับ   ตั้งแต่นั้นมาคุณแม่ใส่บาตรตอนเช้าสวดมนต์ไหว้พระ  ฟังเทศน์ปัจจุบันคุณแม่แข็งแรงเดินทางไปไหนมาไหนคล่อง

.........................
ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

466
กรรมฐานคือเทียนส่องนำทางให้พ้นทุกข์ 2/2

  มีอยู่ช่วงหนึ่งหลังจากปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง  ทำให้ดิฉันได้คำตอบว่าทำไมเราจึงหมดเงินอยู่ตลอดทั้งที่ใช้เงินอย่างประหยัดและอยู่อย่างเพียงพอ   หมดไปกับหนี้สินและภาระที่ตัวเรามิได้สร้างขึ้นมาเลย  จนนับครั้งไม่ถ้วน  คำตอบที่ได้ก็คือ  สมัยที่ยังเรียนหนังสือมีผู้ชายที่อายุมากแล้วคนหนึ่งมาติดพันฉัน  แต่ดิฉันไม่สนใจเลยแม้แต่น้อย  จึงไปปรึษาเพื่อนๆช่วยกันคิดแผนแกล้งลุงคนนั้นให้หมดเงินจะได้หลาบจำไม่กล้ามายุ่งอีก  โดยขอเงินไปเลี้ยงเพื่อนๆ  ลุงบอกว่าไม่มีเงินเพราะเงินเดือนยังไม่ออก มีแต่เงินจากซองกฐิน  แม้ใจก็รู้สึกกลัวบาปอยู่บ้าง  เพื่อนของดิฉันรับซองกฐินไปแกะดึงเงินออกมาจนหมดทุกซอง   ดิฉันยังกำชับให้ลุงคนนั้นเอาเงินเดือนของลุงใส่คืนในซองด้วย    ใจก็ยังคิดและกังวลอยู่ตลอดกลัวจะบาป    แต่เหตุการณ์นี้ผ่านพ้นมานานมากแล้ว   จึงรู้สึกแปลกใจว่าทำไมเหตุการณ์นี้จึงได้ย้อนขึ้นมาปรากฏในความทรงจำอีก  ที่สำคัญมาปรากฏในขณะปฏิบัติกรรฐานด้วยนี่สิ  ทำให้อดคิดไม่ได้ว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องเงินและภาระที่แบกรับที่ผ่านมา    น่าจะมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากผลกรรมของเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ด้วยชีวิตของเพื่อน ๒ คนที่ฉีกซองและยุในวันนั้นก็ย่ำแย่ไม่แตกต่างจากดิฉันเลย  เพื่อนคนหนึ่งถึงขนาดกิจการที่บ้านเกือบล่มสลาย  บ้านถูกยึด  แล้วครอบครัวก็แตกแยก เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ทำให้ดิฉันกลัวบาปมากขึ้น  ทุกวันนี้ดิฉันบริจาคเงินมากขึ้นเพื่อช่วยเหลือคน  และทำบุญให้กับวัดและสถานปฏิบัตืธรรมต่างๆ  ไม่ว่าใครชวนทำบุญอะไรหากมีปัจจัยพอก็จะรีบทำเลยทันที  พร้อมกับบอกตัวเองอยู่เสมอว่าจะนำเหตุการณ์ครั้งนี้ไปสิอให้คนอื่น ๆ  ได้ทราบ  เพื่อให้เกิดความละอายและเกรงกลัวต่อผลกรรม

   ยังมีอืกเรื่องที่ทำให้ดิฉันมุ่งมั้นมากขึ้นที่จะสร้างแต่คุณงามความดี  เพื่อชดใช้บาปที่ได้สร้างไว้  นั่นคือในงานเผาศพของยายที่ดิฉันรักมาก  ดิฉันโกรธพระรูปหนึ่งที่เคลื่อนศพคุณยายขึ้นเมรุโดยไม่รอดิฉัน  ดิรู้สึกโกรธเสียใจที่สุด นั่งจ้องหน้าพระรูปนั้นแบบโกรธจัด  นั่งจ้องอยู่นานพอสมควร  จนกระทั่งญาติคนหนึ่งได้เดินมาดึงตัวดิฉันขึ้นไปที่เมรุเพื่อมองรูปภาพยายหน้าโลง  เมื่อเห็นภาพยายจึงได้สติจากเหตุการณ์นั้นทำให้ดิฉันทราบคำตอบที่ว่า ทุกวันนี้ดิฉันไม่ได้ทำร้ายใครเลย  ไม่ว่าจะต่อหน้าหรือลับหลังแต่ดิฉันต้องประสบเคราะห์กรรมด้วยการถูกรังเกียจจากคนอื่นๆอยู่ตลอดเวลา    บางคนไม่ชอบหน้าดิฉันเอามากๆทั้งที่ไม่เคยพูดคุยกันเลยด้วยซ้ำ  ไม่ว่าดิฉันจะทำอะไรก็จะถูกกลั่นแกล้งอยู่ตลอดเวลาทั้งจากหัวหน้างาน  เพื่อนร่วมงาน  และคนในองค์กร

   สองเรื่องที่ยกตัวอย่างมานี้   เป็นกรรมที่ต้องชดใช้เพราะสร้างไว้อย่างหนัก    ต้องชดใช้คืนด้วยความเต็มใจ  และถือเป็นแบบฝึกหัดให้กับตัวเอง  ในการใช้สติเอาชนะปัญหาและอุปสรรคต่างๆ  ไม่คิดโทษโชคชะตาฟ้าดิน  จะมองทุกเรื่องให้เป็นแง่บวกที่สำคัญไม่ลืมที่จะเร่งสร้างบุญให้มากขึ้น  เพื่อเป็นเส้นใยที่แข็งแกร่งนำพาชีวิตให้ได้ไปเกิดในร่มพระพุทธศาสนาอีกครั้ง คิดเพียงเท่านี้ก็มีกำลังใจที่จะมีชีวิตสร้างความเพียรอย่างถึงพร้อมทั้งทางโลกและทางธรรม
   
   อีกสิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นกรรมดีนั่นคือ  ความกตัญที่มีต่อพ่อและแม่  สำหรับฉันไม่ว่าท่านจะมีปัญหาเรื่องหนี้สินหรือเรื่องใดๆขึ้นมาก็ตาม ดิฉันก็จะหาทางช่วยเหลือท่านอย่างถึงที่สุด ผลบุญที่ดิฉันได้รับในทุกวันนี้ก็คือ  ทุกๆปัญหาที่เข้ามาดิฉันก็จะมีทางออกในการแก้ไขทั้งสิ้น  บางครั้งอยู่เฉยๆก็มีคนยื่นมือเข้ามาช่วยเหลืออยู่ตลอด  ไม่มีคำว่าตกอับเลยสักครั้ง

   ในปัจจุบันก็ยังมีปัญหาและความทุกข์เข้ามาในชีวิตเรื่อยๆ  แต่ทว่าไม่ทุกข์ใจเหมือนเมื่อก่อนแล้ว  เพราะดิฉันรู้จักปล่อยวางเป็น   คิดหาทางแก้ไขเป็น  และมองทุกอย่างในแง่บวกมากขึ้น   ส่งผลให้เรามีกำลังใจที่จะต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคนั้นๆ ได้อย่างแข็งแรง

   ความสุขใจที่เกิดขึ้น   ความปล่อยวางที่เกิดขึ้น   และความเพียรที่เกิดขึ้นนี้เอง   ทำให้ดิฉันมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างสมแต่ความดีตลอดไป  และหากมีโอกาสก็จะแนะนำและนำพาคนรอบข้างได้สร้างสมความดีอย่างต่อเนื่องมากขึ้น

             กรรมฐานเปรียบเสมือนแสงเทียนที่จะนำส่องเส้นทางการดำเนินชีวิตของเราให้ก้าวไปสู่ที่ดีที่งามทั้งทางโลกและทางธรรม  
เพราะการปฏิบัติกรรมฐาน    ก็คือการฝึกสร้างสตินั่นเอง  คนที่มีสติไม่ว่าจะคิดจะพูดหรือจะทำสิ่งใดก็จะเป็นไปด้วยความถูกความควรไม่เป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น   ที่สำคัญบุญบารมีที่ได้จากการปฏิบัติกรรมฐานนั้นมีคุณค่าอนันต์ที่จะทำให้เราเจริญทั้งทางโลกและทางธรรมมากขึ้น

   ขอบุญกุศลทั้งหลายทั้งปวง  จงได้เป็นบัจจัยน้อมถวายแด่พระคุณหลวงพ่อจรัญด้วยเทอญ

.........................

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

467
กรรมฐานคือเทียนส่องนำทางให้พ้นทุกข์ 1/2
สุกัญญา  รัตนบูรณะ

  ดิฉันศรัทธาและปฏิบัติตมาแนวทางของพระพุทธศาสนามาตั้งแต่เด็ก   เนื่องจากคุณปู่คุณย่า  คุณตาคุณยายรวมถึงคุณพ่อคุณแม่ได้แนะนำและนำให้ปฏิบัติ   เริ่มจาการหัดใส่บาตร   เข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรม   ตอนแรกก็เป็นการถูกบังคับแกมเต็มใจปฏิบัติบ้าง   ตามประสาเด็กๆที่ต้องทำเพื่อไม่ให้โดนดุ   นานเข้ากลับกลายซึมซับเข้าสู่จิตใจกลายเป็นพฤติกรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างต่อเนื่องโยมิต้องมีใครมาคอยเคี่ยวเข็ญให้ทำ

   ดิฉันเริ่มปฏิบัติธรรมจริงจังมากขึ้นเมื่ออายุประมาณ ๑๕ ปี  โดยไปถือศีลและปฏิบัติธรรมที่วัด  และแต่ละครั้งก็ชอบที่จะบำเพ็ญบุญอยู่ที่โรงครัว  เพราะรู้สึกเป็นสุขอย่างมากที่จะทำให้ผู้มาถือศีลปฏิบัติธรรมได้เกิดความสะดวกสบายในการกินอยู่  เห็นชุดขาวก็จะเป็นสุขเหลือเกิน  ได้ยินเสียงสวดมนต์ก็จะยิ่งมีความสุขมากขึ้น  ดิฉันไม่เคยทิ้งการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเลย  บางช่วงตั้งใจว่าจะให้ตัวเองได้เห็นทุกข์อย่างชัดเจน   และถือเป็นการทดสอบฝึกความอดทนของกายและใจด้วย   ดังนั้นหากมีเวลาไม่ว่าเป็นการไปปฏิบัติธรรมตามวัดต่างจังหวัดที่ทุรกันดาร   ไปทอดกฐินหรือผ้าป่าตามจังหวัดต่างๆ   หรือแนวปฏิบัติใดที่เป็นแนวของพระพุทธองค์ดิฉันปฏิบัติหมด โดยไม่ได้ยึดติดแนวใดเลย แต่จะนำหลักของแต่ละแนวมาปฏิบัติและยึดถือเพื่อมุ่งควบคุพฤติกรรมของตัวเองให้อยู่ในกรอบธรรมให้มากที่สุดเท่านั้น

   ขณะนี้ดิฉันอายุ ๓๐ ปีแล้ว  ระหว่างอายุ ๑๕ ปีถึง  ๒๐ ปีที่ผ่านมานี้  มีมรสุมชีวิตมากมายเหลือเกินเข้ามาให้ขบคิดแก้ไขและหาทางออกให้กับตัวเอง  ครอบครัว  รวมถึงคนรอบข้างอยู่ตลอดเวลา   ทุกข์มีมากกว่าสุข   เพราะทุกๆวันเต็มไปด้าวคำว่าต้องอดทนเมื่อมองย้อนไปถึงเหตุการณ์ต่างๆที่ผ่านมา   ก็อดภาคภูมิใจในความอดทนของตัวเองไม่ได้   ส่วนหนึ่งก็รู้สึกขอบใจตัวเองที่นำพาตนเข้าสู่การสร้างสมบุญอย่างจริงจัง  สร้างความอดทนให้กับกายและจิตอยู่ตลอดขณะปฏิบัติธรรม  จึงทำให้คำว่าอดทนนั้นมีประโยชน์เหลือเกินเมื่อประสบทุกข์

   ปัญหาที่เกิดขึ้นกับครอบครัวดิฉันส่วนใหญ่มาจากปัญหาเรื่องเงินและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์   ในการตัดสินใจของผู้เป็นพ่อและแม่ในการลงทุนเพื่ประกอบอาชีพ  ผลที่ได้รับก็คือกลายเป็นภาระหนี้ผูกพันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการเป็นหนี้ ๑ รายก็เพิ่มเป็น ๒ ราย ๓ ราย   และต่อๆไปมากขึ้นทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย   จิตใจเกิดความหวาดระแวงเมื่อถูกทววงเงิน   เกิดความทุกข์ใจเศร้าใจอย่างหนัก  ส่งผลให้สุขภาพย่ำแย่ลง  ครอบครัวขาดความอบอุ่น  มีแต่ความเครียดอยู่ตลอดเวลา  ทะเลาะกันเป็นระยะๆ บ้านมิต่างอะไรกับไฟเลย   และไหนจะปัญหาภาระการผ่อนชำระนาคารที่มีค่างวดสูงจนธนาคารกำลังจะยึดบ้าน    ผนวกกับภาระเรื่องการเรียนของน้องชายซึ่งอยู่ระหว่างหัวเลี้ยวหัวต่อ  เพราะกำลังจะจบปริญญาตรีซึ่งต้องใช้เงินเพิ่มในการทำวิทยานิพนธ์

   ช่วงเวลานี้พี่สาวและน้องชายต่างออกจากบ้านไปอาศัยอยู่กับเพื่อนเพื่อไปให้พ้นจากปัญหา เหลือดิฉันคนเดียวที่ต้องรับรู้และแก้ไขปัญหาทุกเรื่อง  นอกจากนั้นดิฉันยังถูกหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานไม่เข้าใจ  พยายามที่จะสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นตลอดเวลา  โดยกดดันดิฉันทุกเรื่องที่จะทำได้  ไหนจะปัญหาสุขภาพอีกที่ป่วยโดยไม่มีสาเหตุอยู่หลายครั้ง   ซึ่งอาจเกิดจากความเครียดที่ดิฉันประสบอยู่ก็เป็นได้ ทุกปัญหาวิ่งเข้ามาในเวลาเดียวกันหมดเลย ทำให้สงสัยว่าคนทำดีต้องประสบอะไรเช่นนี้ด้วย ยิ่งคิดก็ยิ่งท้อทั้งทางโลกและทางธรรม

   ดิฉันต้องทำงาน ๗ วัน  ไม่มีวันหยุดเลย  เพื่อหาเงินมาผ่อนหนี้สินให้พ่อและแม่  ส่งธนาคารและส่งน้องเรียน  จนกระทั่งมันทุกข์ที่สุด  นั่นคือหาทางออกไม่ได้แล้ว    แก้ปัญหาไม่ได้แล้ว    ปลงตกแล้ว  คิดอยู่ในใจว่าบ้านจะถูกยึดก็ให้ยึดไปพ่อแม่จะถูกเจ้าหนี้แจ้งตำรวจจับหรือน้องจะเรียนไม่จบหรือตนเองจะถูกให้ออกจากงาน  ก็ต้องปล่อยไป  จะป่วยจนตายไปเลยก็ต้องปล่อยตามนั้น เมื่อคิดได้เช่นนั้นทำให้ดิฉันกลายเป็นคนนิ่งสงบ  ความเงียบเข้ามมาแทนที่ความสบสันและน้ำตา  จนงงกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อจิตนิ่งอยู่ได้สักพักก็ทำให้ดิฉันได้ข้อคิดขึ้นมาอย่างหนึ่งว่าเมื่อทุกข์จนถึงที่สุดจนชินกับความทุกข์นั้นแล้ว     จิตก็สงบนิ่งไปเองอาจเป็นเพราะทุกข์จนเกิดการปล่อยวางไปโดยไม่ตั้งใจกระมัง  จึงจารณาได้ว่าการปล่อยวางนี่เองที่นำมาซึ่งความสงบของจิต ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าในช่วงที่ทุกข์หนักนั้นกลับทำให้ดิฉันสุขใจมากกว่าทุกข์ใจ  เมื่อเทียบกับทุกข์ครั้งที่ผ่านมาทำให้เกิดกำลังใจที่ลุกขึ้นมาต่อสู้กับปัญหาใหญ่อีกครั้งค่อยๆแก้ไขปัญหาไปเรื่อยๆเท่าที่จะทำได้

   ประมาณปลายปี ๒๕๔๔ ดิฉันมีโอกาสได้ไปถือบวชที่วัดอัมพวันตามคำชักชวนของเพื่อน ซึ่งได้อ่านประวัติของหลวงพ่อและวัดอัมพวันทางอินเตอร์เน็ท  แล้วเกิดความศรัทธาอยากไปกราบหลวงพ่อและอยากได้ถือบวช เมื่อได้ไปถึงวัดดิฉันได้มีโอกาสได้พบหลวงพ่อจรัญ  ได้ฟังธรรมจากท่าน  ซึ่งได้ข้อคืดทางธรรมเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมากทีเดียว  ดิฉันได้ถือบวชอยู่ที่นั่น ๓ วัน  รู้สึกศรัทธาหลวงพ่อและแนวปฏิบัติกรรมฐานอย่างมาก  หลังจากเสร็จสิ้นการบวชดิฉันได้นำแนวกรรมฐานมาปฏิบัติต่อที่บ้านอย่างต่อเนื่องมากบ้างน้อยบ้างตามความสามารถของสภาพกายและใจในขณะนั้น   ด้วยคิดว่าเราย่อมช่วยเหลือตัวเราเองก่อนไม่ว่าจะทางธรรมหรือทางโลก   หลายครั้งรู้สึกท้อต่อการปฏิบัติแต่ก็ไม่เคยคิดที่จะหยุดปฏิบัติ  ไม่ว่าจะเหนื่อยงานหรือท้อแท้กับปัญหาขนาดไหนก็จะปฏิบัติกรรมฐานอย่างต่อเนื่องทุกวัน ทำให้ดิฉันเริ่มมีสติมากขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวัน มีทางออกในการแก้ไขปัญหาให้กับตัวเองมากขึ้น  เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะรู้จักเรียงลำดับปัญหาที่สำคัญมากไปจนถึงสำคัญน้อยจาก  นั้นก็จะนำเอาทุกปัญหามาคิดหาทางออก  ซึ่งบางปัญหาจะมีทางออกให้เลือกมากกว่า ๑ ทาง เมื่อได้ทางออกแล้วก็จะใจเย็นมากข้นในการแก้ไขโดยไม่คาดหวังมากนัก  นั่นคือหากแก้ไขได้ก็ดีไป  หากแก้ไขไม่ได้ก็จะไม่ฟูมฟาย  จะค่อยๆหาทางออกไปเรื่อยๆจนกว่าจะแก้ไขได้

   ทุกวันนี้ดิฉันไม่ละทิ้งการปฏิบัติกรรมฐานเลย  ในช่วงนี้จะเน้นที่การปฏิบัติในชีวิตประจำวันควบคู่ไปด้วย  นั่นคือการนำสติเข้ามาควบคุม กาย วาจา ใจ คือตามดูตามรู้เพื่อให้จิตละเอียดมากขึ้น  และเพื่อไม่ให้เกิดการสร้างอกุศลกรรมขึ้นอีก รู้สึกใจเย็นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด   ปล่อยวางสุขและทุกข์ได้มากขึ้น  รู้จักบริจาคทานมากขึ้น  มีความรักความเมตตาให้กับคนรอบข้าง  รู้จักให้อภัยมากขึ้น  และทำให้รู้จักมีความเกรงใจทุกคนมากขึ้น

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

468
กรรมฐานคือแก่นของชีวิต
นัฐฐา    ศิริเจริญไชย

   ปัจจุบันข้าพเจ้าอายุ ๓๒ ปี  มีอาชีพรับราชการสนใจพระพุทธศาสนาตั้งแต่เด็ก  รู้สึกมีความสุขและสนุกที่ได้อ่านหนังสือธรรมะ  เมื่ออยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ข้าพเจ้าโชคดีที่ได้อาจารย์ประจำชั้นสนใจปฏิบัติธรรม  ท่านได้สอนการทำสมาธิอย่างง่ายๆและสอนแผ่เมตตา  ตอนนั้นข้าพเจ้ายังไม่มีอาจารย์สอนกรรมฐานอย่างจริงจัง  ได้แต่ฝึกนั่งสมาธิจากการแนะนำของครู   และจากการอ่านแล้วมาหัดเอง  ต่อมาเมื่อเรียนต่อในระดับมัธยมปลาย  มีอาจารย์ที่สอนวิชาพุทธศาสนาให้หัดทำสมาธิ (สมถกรรมฐาน)ในชั่วโมงวิชาพระพุทธศาสนา จนเมื่อข้าพเจ้าข้าพเจ้าอายุ ๒๒ ปีมีโอกาสเข้ารับการอบรมอานาปานสติหลักปัฏฐาน ๔ซึ่งจัดโดยชมรมพุทธของจุฬางลงกรณมหาวิทยาลัย    ที่เสถียรธรรมสถาน    แม่ชีศันสนีย์   เสถียรสุต   เป็นผู้จัดกิจกรรม  มีการบรรยายธรรมโดย อุบาสิการัญจวน  อิทรกำแหง (ตอนนั้นทานยังไม่บวชชี) ท่านสามารถบรรยายธรรมที่ลุ่มลึกให้เป็นที่เข้าใจง่าย ซึ่งนับเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ข้าพเจ้าเห็นว่า  ความรู้ในพระพุทธศาสนาสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นมีคุณค่ามหาศาล

   ข้าพเจ้าได้ยินชื่อหลวงพ่อจรัญครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔   จากอาจารย์ที่สอนวิชาปรัชญา  ต่อมาแม่ของข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือที่ลงคำสอนของหลวงพ่อและรู้สึกศรัทธาท่านเพราะท่านกล่าวถึงเรื่องกฎแห่งกรรม และอยากไปกราบท่าน ภายหลังข้าพเจ้าก็ได้ปฏิบัติกรรมฐานที่วัดอัมพวันรู้สึกซาบซึ้งในเมตตาบารมีของหลวงพ่อที่ท่านมีต่อทุกคน โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย   ทุกคนเข้าพบท่านได้  ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติกรรมฐานที่วัดอีกหลายครั้ง   เมื่อข้าพเจ้าจบปริญญาตรีและรับราชการอยู่ระยะหนึ่ง  จนต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๕  ข้าพเจ้าเข้าศึกษาต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยมหิดล  ทำให้ได้มีโอกาสไปปฏิบัติกรรมฐานที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ในระหว่างวันที่ ๒๒ – ๓๐ มกราคม ๒๕๔๗

   ข้าพเจ้าเห็นว่าการอ่าน ฟัง และสนทนาธรรมะมากๆ ช่วยเพิ่มปัญญาก็จริง  แต่ก็ต้องปฏิบัติกรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน๔  ด้วย  เพื่อให้เราได้รู้แจ้งเห็นจริง  ให้เกิดปัญญาผุดขึ้นในตัวเอง  ดังที่หลวงพ่อจรัญท่านได้กล่าวไว้  และจะสามารถใช้แก้ปัญหาชีวิตได้   ข้าพเจ้าเป็นคนโชคดีที่ได้เกิดในเมืองไทย  ได้นับถือพระพุทธศาสนา  มีแม่ที่สวดมนต์อวยพรให้ทุกวัน  สอนให้เป็นคนดี ปูพื้นฐานความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม  มีพ่อที่สอนให้หยิ่งในศักดิ์ศรี  มีอาจารย์ทางธรรมหลายท่านที่เป็นบัณฑิตมีความรอบรู้และชี้แนวทาง  และที่สำคัญที่สุดคือมีอาจารย์ทางกรรมฐานเป็นพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ผู้มีเมตตาจิตที่ยิ่งใหญ่ เป็นอาจารย์ทางจิตวิญญาณที่ชี้แนวทางปฏิบัติอย่างละเอียด     จึงกราบอาราธนาพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ    ได้เมตตาสอนวิปัสสนากรรมฐานให้ข้าพเจ้าและบุคคลผู้ใคร่ได้ประสบธรรมะของจริง  ให้ได้บรรลุกันถ้วนหน้าเทอญ

.........................
ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

469
กรรมฐานคือกิจวัตรประจำวัน3/3

ในระหว่างปฏิบัติธรรมที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวันนั้น ข้าพเ้จ้าได้พบคุณอนงค์ โททำ เป็นชาวนา มาจากจังหวัดมหาสารคาม นำลูกชายอายุประมาณ ๑๐ ปีไปปฏิบัติธรรมด้วย เธอเคยไปปฏิบัติธรรมที่ศูนย์เวฬุวันแล้ว ๒ ครั้ง และเมื่อกลับไปบ้านก็นำเอากรรมฐานไปปฏิบัติต่อ เธอจะตื่นแต่เช้ามืดสวดมนต์ไหว้พระ เดินจงกรม และนั่งสมาธิเสมอ ขณะที่เดินไปยังที่นาก็กำหนดเดินจงกรมไป หรือเวลาปลูกข้าวก็กำหนด ปลูกข้าวหนอ...ปลูกข้าวหนอ...ไปด้วย เธอบอกว่าได้ผลดีมาก ทำให้มีสติอยู่ตลอดเวลา

ข้าพเจ้าประทับใจในตัวคุณอนงค์มาก และคิดว่าตัวข้าพเจ้าเองได้รับวิธีการปฏิบัติกรรมฐานอย่างถูกต้องมาจากวัดอัมพวันแล้ว แต่พอกลับไปบ้านก็ไม่ปฏิบัติให้ต่อเนื่องทำให้จิตตกอีก พี่อนงค์มีภาระต้องทำนา ทำขนมขาย ทำงานบ้าน ดูแลครอบครัว แต่ก็ยังมีความพากเพียรในการปฏิบัติกรรมฐานอย่างสม่ำเสมอ ข้าพเจ้านึกถึงประโยคที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อกล่าวว่า “เวลาเป็นสิ่งเดียวในโลกที่ทุกคนได้รับเสมอหน้ากัน ไม่มีใครได้เปรียบเทียบหรือเสียเปรียบกัน” ทำให้ข้าพเจ้าตั้งใจว่า ต่อไปนี้จะพยายามปฏิบัติกรรมฐานให้สม่ำเสมอเป็นประจำ

หลังจากที่ปฏิบัติกรรมฐานสม่ำเสมอ และพยายามกำหนดสติตามรู้ให้ทันปัจจุบัน แม้เวลานั่งรถเมล์ กินข้าว ทำงาน ทำให้มีสติและสมาธิในการทำงานดีขึ้น มีความสบายใจ เห็นถึงคุณค่ามหาศาลของการปฏิบัติกรรมฐาน

ข้าพเจ้าขอน้อมกราบขอบพระคุณหลวงพ่อ ที่เมตตาผู้เข้าปฏิบัติกรรมฐานใหม่เช่นข้าพเจ้า กราบขอบพระคุณท่านพระครูวินัยธรรวัฒน์ ฐานุตฺตโร พระอาจารย์ทุกท่านที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน และญาติธรรมทุกท่านรวมทั้งมารดาบิดาของข้าพเจ้า

ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญเพียรมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โปรดส่งผลให้พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ และผู้มีพระคุณทุก ๆ ท่าน ประสบแต่ความสุขความเจริญเทอญ

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

470
กรรมฐานคือกิจวัตรประจำวัน2/3

  กลับไปบ้านข้าพเจ้าสบายใจขึ้นมาก มีสมาธิและมีสติในการเผชิญปัญหาและแก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น สามารถให้อภัยคนที่ตนเองเสียใจได้ ทั้ง ๆ ที่แต่ก่อนมีความโกรธและเกลียดเขามาก ต่อมาในช่วงเดือนกันยายน ๒๕๔๖ ข้าพเจ้าก็ชักชวนเพื่อนอีก ๒ คนไปปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวันอีกเป็นครั้งที่ ๒ ระยะเวลา ๓ วันเช่นกัน ข้าพเจ้ารู้สึกว่าเวลาที่เดินจงกรมมีสติมากขึ้น เดินไม่ค่อยเซ เวลาที่นั่งสมาธิเมื่อใดที่มีสติอยู่กับกาอารพองหนอ – ยุบหนอได้ดี ะสามารถทนกับอาการปวดขาได้ โดยอาการปวดขาไม่ได้หายไปไหน ยังเท่าเดินเหมือนเดิม แต่ข้าพเจ้ากลับเบาใจและอยู่กับอาการปวดขานั้นได้ ทำให้ได้รู้ว่า เมื่อจิตของเราว่างเฉย ไม่ไปรับอารมณ์ความปวดนั้นเข้ามาปรุงแต่ง จิตของเราก็ไม่ได้กระวนกระวายและปวดตามไปกับกายของเราด้วย

  อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าก็ยังไม่ได้ปฏิบัติกรรมฐานอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้จิตตก ตัวอย่างเช่น มีวันหนึ่งน้องสาวได้พูดในทำนองล้อเล่นกับข้าพเจ้า แต่ตอนนั้นข้าพเจ้ากลับรู้สึกเป็นจริงเป็นจังและหงุดหงิดขึ้นมา คิดว่าน้องสาวกำลังว่าข้าพเจ้าอยู่ จึงได้ตอบสวนกลับไปอย่างมีอารมณ์โกรธ น้องสาวก็พูดย้อยมาว่า ”อ้าว...พูดแค่นี้เอง ทำไมถึงโกรธล่ะ ไปปฏิบัติธรรมมาแล้วนี่” อีกคราวหนึ่งข้าพเจ้าพูดคุยกับเพื่อนคนหนึ่ง แล้วเพื่อนได้พูดขัดขึ้นมา ข้าพเจ้าไม่พอใจถึงกับตวาดเพื่อนเสียงดัง เพื่อนคนนั้นพูดว่า “เธอไปปฏิบัติธรรมยังไงกัน ทำไมถึงยังเป็นแบบนี้อยู่ล่ะ” ช้าพเจ้าได้สติก็ขอโทษเพื่อนเป็นการใหญ่ พร้อมทั้งเริ่มต้นตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราเป็นอะไรนี่ ทำไมตัวเรายังเป็นแบบนี้อยู่ ไม่เห็นดีขึ้นเลย เวลามีเรื่องราวที่ไม่สบายใจเข้ามายังตามรู้ไม่ทันสภาวะอารมณ์ของตนเอง ทำให้ยิ่งหดหู่ใจเพิ่มขึ้น

  จนกระทั่งข้าพเจ้าได้ไปรับการอบรมปฏิบัติธรรมที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน จังหวัดขอนแก่น ทำให้ได้ข้อคิด และวิธีปฏิบัติฑรรมที่ถูฏต้องมากขึ้น ในงานทอดกระฐินที่ศูนย์ฯพระเดชพระคุณหลวงพ่อได้เมตตาเทศนาอบรมผู้เข้าปฏิบัติธรรม มีอยู่ประโยคหนึ่งที่ข้าพเจ้าจำได้จนถึงทุกวันนี้ และนึกถึงเสมอเวลาปฏิบัติกรรมฐานคือ “อย่าไปมองคนอื่น ให้มองตัวเราเองเท่านั้น” หลังจากปฏิบัติธรรมครั้งนี้ข้าพเจ้าได้สติสำนึกย้อนไปรู้ว่า การกระทำและเรื่องที่ผ่านมาในชีวิตนั้น เป็นเพราะตัวข้าพเจ้าประมาท ขาดสติในการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ให้รอบครอบ แก้ปัญหาไม่ถูกจุด ทำให้ตังเองเป็นทุกข์ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่าการปฏิบัติกรรมฐานนั้น เราต้องมีสติรู้ตัวตลอดเวลา เมื่อใดที่เราขาดสติกิเลสต่าง ๆ จะเข้ามาในจิตใจทันที  บางครั้งเพียงชั่งพริบเดียว กิเลสทั้ง ๓ ตัวคือ โลภะ โทสะ โมหะ ก็เข้ามาในจิตใจเราเรียบร้อย โดยไม่รู้ตัว



ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

471
กรรมฐานคือกิจวัตรประจำวัน1/3
ธนรัตน์ เลปนานนท์

  ข้าพเจ้าอายุ ๓๑ ปี กำลังศึกษาต่อระดับปริญาโท ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ข้าพเจ้าไม่เคยรู้จักวัดอัมพวัน และ พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญมาก่อน แต่เป็นคนที่สวดมนต์ไหว้พระอยู่แล้ว แม้จะไม่สม่ำเสมอเท่าใด อยากจะฝึกนั่งสมาธิมานานแล้วแต่ไม่มีโอกาศ จนกระทั่งถึงจุดเปลี่ยนแปลงในชีวิต

  ระหว่างอายุ ๒๕ – ๒๗ ปี ข้าพเจ้าปฏิบัติงานในตำแหน่งนักกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพฯ มีผู้ป่วยมาขอบคุณที่ได้ช่วยทำกายภาพบำบัดเขาจนดีขึ้น และไดมอบหนังสือเล่มหนึ่งให้ข้าพเจ้า ที่หน้าปกมีรู)พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ข้าพเจ้ารับหนังสือนั้นมาแล้วไม่ได้สนใจจะหยิบอ่าน

  หลังจากนั้นไม่นาน ข้าพเจ้าได้รู้จักและคบหากับผู้ชายคนหนึ่ง ซึ่งภาพหลังทราบว่าเขาเป็นคนมีครอบครัวแล้ว ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจมาก จนมีผลต่ออารมณ์และจิตใจ รวมทั้งสมาธิในการปฏิบัติงานเป็นนักกายภาพบำบัดด้วย ไม่ทราบว่าจะจัดการกับจิตใจอย่างไรให้ดีขึ้น ก็ได้แต่อาศัยการสวดมนต์ไหว้พระเป็นที่พึ่งทางใจ มีผู้แนะนำให้สวดมนต์บทพาหุงฯด้วยจะได้พ้นจากเรื่องทุกข์ใจ พยายามสวดมนต์มาสักระยะหนึ่ง รู้สึกว่าจิตใจสงบขึ้น ปัญหาก็เริ่มคลี่คลายไป แต่จิตใจยังไม่ได้รับการแก้ไขเท่าใดนัก

  ปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้าพเจ้าสอบเข้าศึกษาต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้ จึงหันมาใส่ใจกับการศึษา ทำให้จิตใจดีขึ้นบ้าง แต่ถ้าหากอยู่คนเดียวก็มักจะคิดย้อนไปถึงเรื่องอดีตที่ผ่านมาอีก ทำให้ยังคงเสียใจอยู่ และคิดว่าทำไมต้องมาพบกับเหตุการณ์เช่นนี้ด้วย ข้าพเจ้ากลายเป็นคนหงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน วู่วาม คิดจะทำอะไรอยากจะทำสิ่งใด ต้องให้ได้เดี๋ยวนั้น บางครั้งทำไปเลยโดยไม่คิดไตร่ตรองให้รอบคอบ ทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวเองมาก เวลามีเรื่องราวอะไรมากระทบจะวิตกกังวลเศร้าโศกอยู่นานหลาย ๆ วัน

  ต่อมาประมาณปี ๒๕๔๕ – ๒๕๔๖ ข้าพเจ้าประสบปัญหาการคบกับเพื่อนชายอีกคนหนึ่ง ความที่จิตใจของตนเองยังไม่ได้รับการแก้ไข ยังเป็นคนหงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตัวเอง มีอะไรเกิดขึ้นนิดหน่อยก็โวยวายเป็นเรื่องใหญ่โต ทำให้มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกันบ่อยมาก คุณแม่เตือนก็ไม่ค่อยเชื่อฟัง จะเดื้อเงียบ ช่วงนั้นข้าพเจ้าไม่สบายใจมากร้อนรนกระวนกระวาย ไม่มีสมาธิในการเรียน ร้องไห้เสียใจบ่อย ๆ และนึกถึงคุณพ่อที่เสียชีวิตไปหลายปีแล้วเป็นอันมาก จึงต้องการที่จะบวชปฏิบัติธรรมอุทิศบุญกุศลให้ท่าน และเพื่อจิตใจของตัวเองสงบด้วย

   เพื่อนพาข้าพเจ้าไปบวชเนกขัมมะปฏิบัติ ถือศิล ๘ นุ่งขาวห่มขาว ที่วัดแห่หนึ่งเป็นเวลา ๓ วัน ตอนนั้นข้าพเจ้ารู้สึกว่าตนเองเพียงแต่เปลี่ยนเสื้อผ้าจากชุดปกติมาใส่ชุดขาวเท่านั้น ไม่ได้ความสงบของจิตใจเท่าใด พอกลับบ้านไปอารมณ์และจิตใจก็ยังไม่ได้รับการเยียวยาแก้ไข จนกระทั่งประมาณเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๖ คุณศุภรัตน์ ปรศุพัฒนา เพื่อนรุ่นพี่ืที่ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเดียวกันกับข้าพเจ้า ได้ชักชวนให้ไปปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวันเป็นเวลา ๓ วัน (ศุกร์ – เสาร์ - อาทิตย์) ข้าพเจ้าได้วิธีการปฏิบัติกรรมฐาน การเดินจงกรม และการนั่งสมาธิที่ถูกต้อง ทำให้ข้าพเจ้าสามารถกำราบจิตใจของตนเองที่สับสนวุ่นวายไม่สงบสุขและเศร้าหมองลงได้มาก

  แม้ได้อยู่ปฏิบัติเพียงแค่ ๓ วัน แต่ข้าพเจ้าถือว่าได้พบสิ่งมีค่าอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ ในขณะปฏิบัติกรรมฐานนั้น ต้องประสบกับทุกขเวทนาตลอดทั้ง ๓ วัน เช่น เวลาเดินจงกรมก็มีอาการปวดหัวไหล่ เวลานั่งสมาธิก็ปวดขามาก มิหนำซ้ำยังมีความฟุ้งซ่านด้วย แต่ข้าพเจ้ากับรู้สึกว่าทุกขเวทนาและความฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้นนั้น เป็นอาจารย์ที่มาสอนข้าพเจ้า ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจสภาวะจิตใจของตนเองมากขึ้นว่า จิตที่มีความทุกข์และความร้อนกระวนกระวายนั้นเพราะเราคิดเราปรุงแต่และยึดมั่นถือมั่น ต่อเมื่อเราหยุดคิดหยุดปรุงแต่ปล่อยวาง จิตนั่นจะสงบนิ่ง และไม่หวั่นไหวต่อสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบจิตใจ ทั้งนี้จะต้องมีสมาธิมาคอยควบคุมจิตของเราด้วย

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

472
อานิสงส์การเลี้ยงดูมารดาบิดา 3

  พ่อเรียกแม่ สอนให้รู้ว่าคนไหนเป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นปู่ย่า เป็นตายาย เป็นลุง ป้า น้า อา สอนให้รู้จักสิ่งที่ควรทำไม่ควรทำ รู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ส่วนอาจารย์อื่น ๆ เป็นอาจารย์ทีหลัง สอนทีหลังพ่อแม่ทั้งนั้น
คำว่า เป็นผู้ควรบูชาของบุตร หมายความว่า มารดาบิดาเป็นเขตแห่งอุปการคุณ เหมือนพระสงฆ์เป็นเขตแห่งบุญ คือท่านมีพรหมวิหารธรรมต่อบุตรธิดาหาประมาณมิได้ จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรับซึ่งสิ่งของ มีเสื้อผ้าอาหาร เงินทองที่บุตรธิดานำมา แลผู้ให้ย่อมได้รับผลคุ้มค่าไม่เสียเปล่า คำว่า เป็นผู้อนุเคราะห์หมู่สัตว์ หมายความว่า สงเคราะห์บุตรธิดาให้รู้ให้เห็นทั้งสิ่งที่น่าต้องการ ไม่น่าต้องการ เลี้ยงดูบุตรธิดาให้เจริญเติบโต ขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่ามารดาบิดาเป็นผู้อนุเคราะห์แก่หมู่สัตว์ คุณของบิดามารดาซึ่งมีต่อบุตร เมื่อจะกล่าวให้สั้นพอจำง่ายมีดังนี้คือปลอบโยนลูกผู้ร้องไห้ด้วยน้ำนม ด้วยเพลงขับ และด้วยเครื่องกก คืออ้อมกอดของท่าน ให้ลูกได้รับความอบอุ่น การสัมผัสอ้อมกอดของแม่ แล้วนอนหลับไปอย่างเป็นสุข ไม่ให้ลมและแดดถูกลูก พยายามปกปักรักษาไว้เป็นอย่างดี คุ้มครองป้องกันทรัพย์สมบัติของตนไว้เพื่อลูก ได้รับความทุกข์ยากลำบากในการเลี้ยงดูลูก ด้วยประการต่าง ๆ เป็นพระพรหมของลูก เพราะเต็มเปี่ยมด้วย เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา เป็นเทวดาของลูก เป็นอาจารย์คนแรกของลูก เป็นพระของลูก เป็นผู้อนุเคราะห์ลูกด้วยปัจจัย ๔ ห้ามลูกไม่ให้ทำความชั่ว ให้ลูกตั้งอยู่ในความดี ให้ลูกศึกษาศิลปวิทยาต่าง ๆ หาสามีภรรยาที่สมควรให้มอบทรัพย์สมบัติให้ในสมัย ในมาตาปิตุคุณสูตร พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า แม้ลูกจะให้แม่นั่งบนบ่าขวา ให้พ่อนั่งบนบ่าซ้าย ถ่ายอุจจาระลงไปบนบ่าลูก ลูกเป็นผู้เช็ดให้ หาอาหารมาป้อนให้ จนลูกตายหรือพ่อแม่ตาย ก็ไม่สามารถจะตอบแทนพระคุณค่าข้าว ป้อนน้ำนม ที่ได้ถนอมกล่อมเกลี้ยงบำรุงเลี้ยงมาเป็นอย่างดี


อานิสงส์การเลี้ยงดูมารดาบิดา 4
การบำรุงมารดาบิดา มี ๒ อย่างคือ บำรุงภายนอกและบำรุงภายใน


  บำรุงภายนอก ได้แก่ นอบน้อมด้วยกาย แสดงความเคารพด้วยวาจา สักการะด้วยอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย เฝ้ารักษาพยาบาลในเวลาไม่สบาย เลี้ยงท่าน ทำการงานของท่าน

  บำรุงภายใน ได้แก่ ดำรงวงศ์ตระกูล ประพฤติตนให้สมควรที่จะรับทรัพย์มรดก รักษาน้ำใจท่าน ชักนำให้ท่านตั้งอยู่ในศรัทธา ในศีล ในการฟังธรรม
ลูกอกตัญญูไม่รู้จักคุณพ่อแม่ ต้องเสื่อมจากประโยชน์ที่ควรได้ควรถึงดังเรื่องตัวอย่างต่อไปนี้

มิตตวินทกุมารเป็นลูกเศรษฐีมีทรัพย์มาก ในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป แม่ห้ามไม่ให้ไปค้าขายทางเรือ แต่ไม่เชื่อฟัง แม่จับไว้ก็ไม่ยอมฟัง
สลัดแม่ให้ล้มลง ทำให้แม่ลำบาก พอไปถึงกลางทะเลถูกจับลอยแพ ว่ายไปที่เกาะแห่งหนึ่ง เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ถูกกงจักรหมุนหัวอยู่ในแดนของเปรตได้รับทุกข์ทรมานแสนสาหัส ท่านสาธุชนทั้งหลาย ถ้าพ่อและแม่ของท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็ควรเลี้ยงดู บำรุงท่านทั้งภายนอกและภายในดังกล่าวมานั้น ถ้าท่านหาชีวิตไม่แล้วควรทำบุญอุทิศส่วนกุศลเครื่องเสริมสุขสมบัติส่งไปให้ท่านตามควรแก่ฐานะ ก็จะมี ความเจริญงอกงามในหน้าที่การงาน และเจริญด้วยยศศักดิ์ เพราะผลแห่งความกตัญญูรู้คุณและกตเวทีตอบสนอง ดังวิสัชนามาด้วยประการฉะนี้


ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

473
อานิสงส์การเลี้ยงดูมารดาบิดา

พระธรรมสิงหบุราจารย์

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร ปุพฺพาจริยาติ อุจฺจเร
อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ ปชาย อนุกมฺปกาติ.

บัดนี้จักแสดงพระธรรมเทศนา พรรณนาอานิสง์ที่บุตรธิดาจะพึงได้จากการเลี้ยงมารดาบิดา เพื่อเตือนใจท่านผู้ฟัง ให้เกิดสำนึกในเรื่องนี้สืบต่อไป
คำว่า มารดา
แปลว่า ผู้นับถือบุตร คือ นับถือว่าเป็นลูกของตน
แปลว่า ผู้รักษาบุตร คือ รักษาลูกของตนให้มีความสุขกายสุขใจ
แปลว่า ผู้ยังลูกให้ดื่ม คือ ดื่มน้ำนม ดื่มเครื่องดื่มและดื่มรสอื่น ๆ
แปลว่า ผุ้อันบุตรพึงนับถือ คือลูกๆ ทุกคนต้องนับถือมารดาของตนยิ่งกว่าคนอื่น

คำว่า บิดา
แปลว่า เป็นที่ตั้งแห่งความยินดีของสัตว์โลกทั้งหมด หมายความว่า สัตว์โลก
คือผู้เกิดมา ทุก ๆ คนต้องมีพ่อ เมื่อเห็นพ่อก็ต้องดีใจชื่นใจด้วยกันทั้งนั้น
แปลว่า ผู้รักษาสัตว์โลกทั้งปวง หมายความว่า พ่อของลูกทุก ๆ คน ต้องรักษา
คุ้มครองป้องกันลูกของตนทุกวิถีทาง เพื่อให้ปลอดภัยมีความสุขทุกประการ
แปลว่า ผู้รักใคร่บุตร หมายความว่า พ่อทุกคนต้องรักใคร่นับถือ เอ็นดู สงสารลูกของตน

มารดาบิดามีพระคุณแก่บุตรธิดามาก ดังพุทธภาษิตที่ยกขึ้นเป็นหัวข้อเทศนาว่า พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร เป็นต้น
แปลว่า มารดาบิดาท่านว่าเป็นพรหม เป็นบุรพาจารย์ เป็นผู้ควรบูชาของบุตร


อานิสงส์การเลี้ยงดูมารดาบิดา 2

และเป็นผู้อนุเคราะห์หมู่สัตว์ฯ ซึ่งจะได้วิสัชนาต่อไป
คำว่า มารดาบิดาเป็นพรหมของบุตร หมายความว่า มารดา บิดาย่อมประกอบด้วยพรหมวิหารธรรมหรือธรรม ๔ ประการคือ เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา ในบุตร คือ ท่านปรารถนาให้บุตรธิดามีความสุข จึงอุตส่าห์ทะนุถนอมเลี้ยงดูเป็นอย่างดี ตั้งใจคอยสอดส่องหาอุบายที่จะให้บุตรธิดา
ประสบสุขทุกเมื่อ เมื่อได้ทราบว่ากิจการใดจักเป็นไปเพื่อประโยชน์และสุขแก่ บุตรธิดา แม้จะต้องพร่าประโยชน์และสุขส่วนตนก็ยอม มุ่งความสุขสำราญแก่บุตรธิดาเป็นเบื้องหน้านี้คือท่านมีความเมตตาความรัก ท่านปรารถนาให้บุตรธิดาพ้นทุกข์ คอยสอดส่องถึงเหตุการณ์อันเป็น ที่ตั้งแห่งความเสื่อมเสีย อันจะพึงมีแก่บุตรธิดาเสมอ เมื่อทราบว่ามีทุกข์ขึ้นก็รีบ ขวนขวายแก้ไขป้องกันจนสุดความสามารถ นี้คือท่านมีกรุณาความสงสาร เมื่อท่านได้ทราบว่าบุตรธิดาของตนมีความสุขสำราญได้รับผลสำเร็จจากการงาน ได้ตำแหน่งหน้าที่ ท่านไม่อิจฉาริษยา มีแต่พลอยยินดีด้วยความจริงใจ ต้องการให้บุตรธิดาเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป นี้ท่านมีมุฑิตาความยินดีตาม เมื่อได้ทราบว่าบุตรธิดามีความสุขความเจริญตามสมควรแก่ฐานะแล้ว ก็ไม่จัดการแก้ไข หรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญใจแก่บุตร ธิดา แต่คอยเพ่งดูอยู่ว่าจะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างใด ถ้าเปลี่ยนแปลงไปในทางไม่ดีจะได้ป้องกันและแก้ไข หาใช่วางเฉยโดยมิได้ทำอะไรก็หาไม่ นี้ท่านมี อุเบกขาคือความวางเฉย บิดามารดามีคุณธรรมคือ เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา ทั้ง ๔ นี้ประจำใจ จึงเรียกว่าท่านเป็นพรหมของบุตร คำว่า เป็นบุรพาจารย์ หมายความว่า ท่านเป็นอาจารย์คนแรกของบุตรก่อนอาจารย์อื่นทุกคน ท่านสอนให้นั่ง ให้เดิน ให้กิน ให้เรียก

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

474
วิปัสสนากรรมฐานแก้กรรม 4/4

พระธรรมสิงหบุราจารย์
________________________________________


รับจ้าง ๕ บาท  จากบางงามานี่รถไม่มี  และบางงา มาปากบางนี่ สะพานก็ไม่มี  ยังไม่ได้สร้างสะพาน  สร้าง สะพานไม้ขึ้น เมื่อสมัยจอมพล  ป.พิบูลสงคราม  และสมัยจอมพลถนอม  จึงจะเป็นสะพานคอนกรีต

   ผลสุดท้ายตาคนนี้ก็มาถึง พอตกลง ๕ บาท  ก็จ่ายเงินก่อน  ไม่อย่างนั้นไม่มาส่ง ร้านนั้นก็แน่เหมือนกัน  พอให้ ๕ บาทแล้ว รถติดเลย  ก็คันเดิมนั่นแหละเห็นไหม  พอมาถึง นายไกรน้ำตาร่วงเลย

   นายไกรน้ำตาร่วงนี่ไม่ได้เสียใจแต่ดีใจมาก  ก็มากราบและเล่าให้อาตมาทราบว่า  เจ้านายให้มาตามด่วนภายใน ๗ วันนี้ ถ้าไม่ไปพบมีคดี  ให้ไปพบให้ได้  นายไกรก็ได้นั่งเจริญพระกรรมฐานบอกเป็นความจริงแล้วที่เขาได้มานั่งเจริญวิปัสสนา  ๗ วัน  สามารถแก้กรรมของเขาได้สิ้นสุดอย่างแน่นอน มั่นใจเหลือเกิน

   แล้วก็กราบเรียนให้อาตมาทราบว่า  “หลวงพ่อครับ  ถ้าผมกลับไปงานการได้ดิบได้ดีเข้าอย่างรูปเดิมแล้วผมจะทอดกฐินทอดผ้าป่า ๗ วัด  และก็เลี้ยงเช้าเลี้ยงเพลพระ ๗ วัน  แล้วผมจะนิมนต์หลวงพ่อไป”  แล้วเขาก็ขอลาไปตลาดไปซื้อตะเกียงเจ้าพายุ  เมื่อก่อนไม่มีไฟฟ้าใช้  บอกว่ามาได้รับแสงสว่างที่นี่  แล้วก็ถวายไว้ ๑ ดวง  และเขาก็กลับไปกับตาลุงนั้น  ก็ได้ความออกมาว่า  เจ้านายสอบสวน  เห็นอกเห็นใจ  เลยให้นายไกรเข้าทำงานได้  แต่ผู้จัดการให้พักงานและย้าย

   นายไกรได้ทำงานตามเดิม  เพียงถูกตัดเงินเดือน ๒ ขั้นเท่านั้นเอง  นี่เห็นไหมแผ่เมตตาไปนี้  เจ้านายทราบหมดเลย  ไม่ต้องถามอะไรมากมาย  ทำให้เจ้านายเข้าใจนายไกรได้ดีมากด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน  และแผ่เมตตาหลังจากออกจากการเจริญพระกรรมฐานแล้ว  เป็นความจริง  เดี๋ยวนี้นายไกรยังมีชีวิตอยู่ด้วย  ลูกเล็กๆ แบเบาะได้ปริญญาไปหมดแล้ว

   นี่อาตมาเล่าเรื่องเก่าให้ฟังว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์  เขาไม่เคยรู้จักกับอาตมาเลยมาแต่เดิมที  หลังจากแม่สะอิ้งสร้างกุฏิพระกรรมฐานไว้ และเขาก็มาประเดิมใช้  เรื่องก็จบด้วยเหตุการณ์ดังกล่าวมา

   เขาก็นิมนต์อาตมาไปเพชรบูรณ์  และก็ได้มีโอกาสไปนมัสการเจ้าคณะจังหวัดอยู่ที่วัดชนแดน  ซึ่งจอมพล ป.พิบูลสงคราม  นิมนต์ท่านไปเป็นเจ้าคณะจังหวัด  แล้วเจ้าคณะจังหวัดนั้นก็มรณภาพไปแล้ว  อาตมาไปค้างกับท่าน  บ้านนั้นเขาเลยเลี้ยงเพลเลี้ยงเช้า  ประชาชนมาคุยกับอาตมามากมาย  ว่านายไกรรอดตายได้อย่างไร  ผลสุดท้ายเจ้าคณะอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ มานั่งเจริญพระกรรมฐานที่วัดอัมพวันมากันเยอะทีเดียว  แล้วกลับไปสอนต่อไปจนทุกวันนี้

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

475
วิปัสสนากรรมฐานแก้กรรม 3/4

พระธรรมสิงหบุราจารย์
________________________________________


อาตมาบอก “เดี๋ยวฟังโอวาทก่อน”  อาตมาก็ให้โอวาท  ไปตรงเรื่องเขาหมดเลย  ร้องห่มร้องไห้  อาตมาก็จับได้  “บอกเสียตรงๆนะ มีเรื่องอะไรในใจ”

     ก็เล่าเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ  เล่าให้อาตมาฟัง  เรารู้เรื่องเขาหมดแล้วก็บอก “เอาอย่างนี้แล้วกัน อยู่ ๗ วัน รักษาศีล ๘  เดี๋ยวนี้”  อาตมาก็ให้พระกรรมฐาน  พอให้พระกรรมฐานเสร็จแล้ว  เดินจงกรม เอาเลย  ไม่ใช่ ๓๐ นาทีหรอก ต้อง ๑ ชั่วโมงนะ  เดิน ๑ ชั่วโมง  นั่ง ๑ ชั่วโมง  และให้ไปนั่งกับอาตมาในโบสถ์เพราะกุฏิมีอยู่ ๓ หลัง  ยังไม่มีพระมาอยู่ทางนี้  พระยังไม่ค่อยมีมาก  ก็ให้นั่งในโบสถ์  นั่งเสร็จแล้วก็ให้แผ่เมตตา  แผ่เมตตาถึงเจ้านาย

     นี่เล่าเรื่องหมดแล้ว  อาตมาก็สอนว่าจะต้องปักหลักสู้  และก็เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน  เราเป็นผู้มีกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ  จะให้การตามจริง เจ้านายก็จะติดคุก  จะให้การไม่จริงก็เป็นการโกงรัฐบาล  ข้าพเจ้าจะขอบวชเจริญวิปัสสนากรรมฐาน  แต่ไม่ได้บวชพระอย่างนี้  นุ่งขาวห่มขาวแล้วก็รับศีล ๘  แล้วนั่งเจริญพระกรรมฐานแผ่เมตตาออกไปให้กรรมการผู้สอบสวนและเจ้านาย ได้ทราบด้วยญาณวิถี  ขอให้ท่านมีความสุขความเจริญ และขอให้ผู้จัดการของข้าพเจ้ามีความสุข  ขอให้รองผู้จัดการที่หาเรื่องหาราวเป็นความจริงนั้น  ขอให้มีความสุขความเจริญ  แผ่เมตตา  ถ้าหากว่าข้าพเจ้าเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้ครบถ้วนกระบวนการแล้ว ขอให้บุญกุศลจงช่วยข้าพเจ้าด้วยเถิด  ทำอย่างนี้ทุกวันเลย

   ครบวันที่ ๖ แล้ว  วันที่ ๗  เขาจะขอลากลับ  วันที่ ๖      เขาขอว่า “ข้าพเจ้าหาทางออกไม่ได้แล้ว มีทางเดียวคือตายอับอายขายหน้าเขาเหลือเกิน  ลูกก็ยังเล็กๆ  แบเบาะอยู่ก็มี  ขอให้บุญกุศลนี้ร้อนถึงเจ้านายของข้าพเจ้า  ณ บัดนี้  จงเห็นใจข้าพเจ้า  ข้าพเจ้าจะให้การตามความจริงก็ไม่ได้เพราะท่านเป็นเจ้านายเป็นผู้มีพระคุณ ตัดสินใจอะไรไม่ได้แล้ว” 

   เป็นเรื่องที่แปลกมากที่เกิดจากการอุทิศส่วนกุศล  เพราะร้อนถึงเจ้านายทันที

   ในที่สุดเจ้านายที่กรุงเทพฯก็โทรเลขด่วนไปที่บ้าน  บอกว่าให้นายไกรไปพบโดยด่วนภายใน ๗ วัน ถ้าไม่ไปพบ ภายใน ๗ วันถือว่ามีความผิดคดีอาญาอย่างร้ายแรง  พอ ภรรยาทางบ้านทราบ  ก็ไม่รู้จะไปตามที่ไหน  ทราบแต่มากรุงเทพฯ  มาตามที่กรุงเทพฯ  ก็ไม่พบ

   เขามีลุงคนหนึ่ง  อาตมาก็จำชื่อเขาไม่ได้ เป็นลุงข้างภรรยา  เขาโทรศัพท์ตามบ้านญาติแล้วก็ไม่มี  ช่วยไปตามทีเถอะ  แต่ตาลุงก็เป็นนักวิปัสสนาเสียอีก  ก่อนที่จะเดินทางมาตามก็เดินจงกรม  นั่งวิปัสสนาและขออธิษฐานจิต  ให้กุศลบันดาลให้พบหลานเขยให้จงได้ ว่าแล้วก็เดินทางขึ้นรถไฟมาถึงลพบุรี  ก็ลงที่ลพบุรีอีกเห็นไหมนี่  ทำให้เกิดสังหรณ์ในใจ  ลงลพบุรีเลย  แบกหีบเสื้อผ้าเทิ่งๆไป  มีกระเป๋าเล็กๆ ใบหนึ่ง เสร็จแล้วก็เดินไปทางท่าโพธิ์  เที่ยวถามเขาเรื่อยๆไป  รถคันเดิมนั่นแหละ  สิงห์  สิงห์  สิงห์  ยกหีบตาลุงคนนี้ขึ้นรถไปเลย  ขึ้นรถไปถึงบางงารถเสียอีก  นี่เรื่องอัศจรรย์เล่าให้โยมฟัง

   ตาคนนี้ก็ลงมาร้านกาแฟร้านเดิม  รถก็ไม่ติด  ลงมาร้านกาแฟก็ถามเขาเรื่อยมา  แกบอกว่าสติบอก  สติพระกรรมฐาน เพราะตาคนนี้แกเจริญพระกรรมฐานตั้งแต่อยู่วัดบวชมา ๑๕ พรรษา  แล้วก็มานั่งร้านกาแฟ  และก็ถามร้านกาแฟว่าเมื่อ ๗ วันก่อนโน้น  มีคนมาแถวนี้บ้างไหม  รูปร่างอย่างนั้น  อ๋อ  มี  มี มี บอกเลย  มีหีบรูปร่างอย่างนั้นๆ เชียว อยากจะไปเจอหรืออย่างไร


ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

476
วิปัสสนากรรมฐานแก้กรรม 2/4

พระธรรมสิงหบุราจารย์
________________________________________


  นายไกรก็มาคิดว่า เอ! เราจะมากินยาตายคิดสั้นๆอย่างนี้หรือ?    พ่อเราก็เป็นมัคนายกวัด  อยู่จังหวัดแพร่  เป็นคนใจบุญสุนทาน  เราจะทำอย่างไรดี  คืนนั้นก็ไม่ได้นอนตลอดคืน  แล้วก็คิดตกลงใจว่า  อย่าเลย  เราจะไปหาที่สำนักวิปัสสนา  จะไปที่ไหนดี  ก็ตรึกตรองอยู่จนสว่าง  แล้วก็จ่ายค่าโรงแรมแบกหีบเสื้อผ้าเทิ่งๆ ไปกินกาแฟแก้วหนึ่งแก้หิว  ข้าวปลาไม่เอา  แบกหีบไปถึงท่าโพธิ์

      ตอนนั้นรถประจำทางไม่มีรถบัสหรอก  มีแต่รถคอกหมู  มีรถม้านั่ง  แล้วก็นั่งๆกัน ไปสิงห์บุรี-ลพบุรี  ก็ไม่ทราบว่าจุดหมายปลายทางจะไปที่ไหนประการใด  นายไกรก็แบกหีบ  พวกท้ายรถก็ช่วยแบกหีบ  ปากก็ร้องว่า สิงห์  สิงห์  สิงห์  แบกหีบขึ้นหลังคามัดไว้  ก็ใจลอยอยู่แล้วสติสตังไม่มีก็ขึ้นส่งไปเลย  เก็บบาทหนึ่ง  ลพบุรี-สิงห์ บาทหนึ่ง นี่สมัยนั้น ขึ้นไปแล้วทำอย่างไร  พวกกระเป๋ารถมาเก็บสตางค์ก็ถามไปไหน  นายไกรตอบ “ไม่รู้” “ไม่รู้ได้อย่างไร แล้วผมจะเก็บตังค์ถูกหรือ  ไปท่าวุ้งหรือลงไหน  สิงห์ก็แล้วกัน เก็บบาทหนึ่ง”  เสียตังค์ค่าโดยสารรถมาถึงตลาดปากบางที่จะเข้ามาวัดอัมพวัน ถึงบางงา รถเสีย  แก้ไม่ติด ทำอย่างไรก็ไม่ติด

   นายไกรก็ลงจากรถ  นั่งกอดอกอยู่ที่ร้านกาแฟ  มีร้านกาแฟอยู่ร้านเดียว  เดี๋ยวนี้เจริญแล้วที่บางงาตรงนี้เอง  นั่งกอดเข่าอยู่  เจ้าของร้านกาแฟถามว่า  “นี่คุณจะไปไหน”

   นายไกรตอบ “ไม่รู้ เอ! ไม่รู้จะไปไหน  เอาโอวัลตินมาถ้วยหนึ่งเถอะ”  พอดื่มโอวัลตินแล้วรถก็ยังไม่ติด  รถไม่ติดเลย  สักประเดี๋ยวก็เกิดสังหรณ์ใจขึ้นมา  บอกว่า “นี่กระเป๋าเอากระเป๋าผมลง  เดี๋ยวผมขอคุยกับแม่ค้าก่อน”

   แม่ค้าก็ถามว่า “คุณมาจากไหน”  นายไกรก็ไม่บอกและถามว่า “นี่แม่คุณเอ๋ย  วัดไหนมีสำนักกรรมฐานบ้าง  อยากให้พาไป”

     พอดีร้านกาแฟเขารู้จักอาตมา  บอกว่า “เอ้า เดี๋ยวจะพาไป เอา ๕ บาท”  แล้วผลสุดท้ายก็แบกหีบเสื้อผ้ามาให้  พอตกลง ๕ บาท  จ่ายเงินเลย  ต้องให้เงินก่อนไม่อย่างนั้นไม่พาไป  พอจ่ายเงินเสร็จเรียบร้อยรถติดเลย ไม่ได้เสียอะไรแล่นต่อไปได้

     อาตมาจำวัดอยู่ในโบสถ์  โบสถ์หลังเก่าไม่ใช่หลังนี้  เป็นป่าดงพงทึบเป็นป่าแฝก  ป่าหญ้าคาแน่นหมด  มีกุฏิพระกรรมฐานอยู่ ๓ หลัง  ที่แม่สะอิ้งสร้างไว้หลังแรก

   นายไกรมาพร้อมกับคนรับจ้างแบกหีบ  เขาส่งแค่  หน้าโบสถ์บอกว่า “กลับก่อนนะครับ”  แล้วเขาก็กลับ

   อาตมาก็ถามว่า “โยมมาจากไหนนี่”

   เขาไม่บอก  แต่บอกว่า “ผมชื่อนายบุญพัฒนา”  โกหกอาตมาว่าชื่อ นายบุญพัฒนา  มาจากไหนก็ไม่รู้

   อาตมารู้แล้ว  “เดี๋ยวไปอาบน้ำเสียก่อน จะมานั่งเจริญพระกรรมฐานใช่ไหม?”

   “ใช่”  และเขาก็ไปอาบน้ำอาบท่าแล้วก็จะมานั่ง

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

477
วิปัสสนากรรมฐานแก้กรรม 1/4

พระธรรมสิงหบุราจารย์
________________________________________
   
      วันนี้จะเล่าเรื่องให้ฟังสักเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องการปฏิบัติเจริญวิปัสสนาแล้วสามารถแก้กรรมได้

   กล่าวถึงนายไกร  พัฒนทายาท  บ้านเดิมอยู่จังหวัดแพร่  เป็นลูกของมัคนายกวัด  สำเร็จการศึกษาแค่มัธยม ๖  ก็มาเข้างานที่สำนักงานไร่ยาสูบที่จังหวัดเพชรบูรณ์

   นายไกรเข้ามาทำงานโดยผู้จัดการคนก่อนรับไว้และช่วยเหลืออุปการะ ตั้งแต่เป็นเสมียนจนเลื่อนขึ้นมาเป็นหัวหน้าพัสดุ  ต่อมาเกิดมีการก่อสร้างโรงเรือนต่างๆ เพิ่มขึ้น         ผู้จัดการคนใหม่กับรองผู้จัดการไม่ถูกกันอย่างมากเลยทีเดียว

   นายไกรก็ทำบัญชีตะพึด  โกงหรือไม่โกงเขาไม่รู้         ผู้สอบบัญชีมาตรวจพบว่าผู้จัดการทุจริตในหน้าที่การก่อสร้าง เอาสิ่งของวัตถุก่อสร้างไปใช้ผิดประเภท

   ทางการก็สั่งพักงานผู้จัดการทันที  ข้างนายไกรก็กลุ้มอกกลุ้มใจเหลือเกิน  “เอ เราเป็นพยานจะต้องให้การ  อย่างไร ถ้าให้การไปตามจริง  เจ้านายจะติดคุก เราจะต้องติดร่างแหด้วย แต่ท่านก็เป็นเจ้านายเรานี่ แหม! พะอืดพะอมเหลือเกิน เราอุตส่าห์ตั้งใจทำงาน ตั้งแต่เป็นเสมียนจนเลื่อนขึ้นมาเป็นหัวหน้าพัสดุ เงินเดือนสูงขึ้น และลูกยังเล็กๆ ๓ คน  จะออกใหม่อีกคนเป็น ๔ คน ถ้าจะให้การตามจริงก็จะเป็นการแฉความผิดของผู้จัดการผู้มีพระคุณและเป็นเจ้านาย  ถ้าเราจะให้การโดยเล่ห์เพทุบายก็เป็นการโกงรัฐบาล” นายไกร    กลุ้มอกกลุ้มใจมาก

   ในที่สุดนายไกรก็ตัดสินใจตาย  บอกกับภรรยาและลูกเล็กๆ ว่าจะเข้ากรุงเทพฯนะ ก็เตรียมหีบเสื้อผ้า เตรียมยาไปเสร็จ ขึ้นรถยนต์ไปลงตะพานหิน ซื้อตั๋วรถไฟไปลงกรุงเทพฯ  แต่คงเป็นบุญวาสนาของเขา ก็เกิดร้อนอกร้อนใจลงเสียที่สถานีลพบุรี  ไม่ไปกรุงเทพฯ  แต่ได้บอกกับภรรยาไว้ว่าจะไปธุระราชการที่กรุงเทพฯ  ติดต่องานนิดหน่อยเท่านั้น  ด้วยความกลุ้มใจว่าตัวจะต้องโดนติดคุกด้วย  เสียอกเสียใจข้าวปลาไม่รับประทาน  มาลงที่สถานีลพบุรีเสร็จแล้วก็แบกหีบเทิ่งๆ ไป

   ตอนนั้นไฟฟ้าภูมิภาคไม่มีนะ  มีโรงไฟฟ้าเทศบาลอยู่ที่สวนสัตว์โน่น  ไปทางวัดไก่มีโรงไฟฟ้าของเทศบาล  สมัยเก่าไฟฟ้ายังไม่เข้า  เขาก็มีวิกอยู่ ๒ วิก  วิกนารายณ์กับวิกท่าขุนนาง  วิกท่าขุนนางเป็นวิกลิเก  วิกนารายณ์เป็นวิกหนัง  และนายไกรก็ไปพักโรงแรมทหารบก  ไฟฟ้าก็หรี่ตอนหัวค่ำ  แล้วก็นั่งเขียนหนังสือว่าจะกินยาตาย และก็ขอตายที่โรงแรมนี้  เขียนหนังสือว่าเขาเป็นใคร ชื่ออะไร อยู่ที่ไหน  ทำไมต้องมากินยาตายที่นี่ด้วย ขอให้ทางโรงแรมได้รับทราบในเรื่องนี้ของเขาในค่ำคืนวันนั้น  แต่เขาก็ยังมีบุญอยู่  พอจะเอายาขึ้นมาจะดื่ม  ไฟฟ้าซึ่งริบหรี่อยู่เกิดสว่างพรึบขึ้นมาทันที  สว่างโล่งเลย ตกใจ! ยาหกไปหน่อยหนึ่งแล้วก็วางตั้งสติ  เขาเล่าให้ฟังอย่างนี้  ตั้งสติอารมณ์ใหม่ เอ! เมื่อตะกี้ไฟมันหรี่  มัน ๖ ทุ่มกว่า จะตี ๑ แล้ว หนังเลิกคนก็ใช้ไฟฟ้าน้อยลง  ไฟก็สว่างพรึบขึ้น

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

478
กฎแห่งกรรม / ตอบ: พระญวนแก้กรรม
« เมื่อ: 31 ก.ค. 2554, 11:47:38 »
๗. สติปัฏฐานวิภังค์ - สุตตันตภาชนีย์ - เวทนานุปัสสนานิเทส
พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน

เวทนานุปัสสนานิเทส [เห็นเวทนาในเวทนาภายใน]

[๔๔๑] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
  ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา เมื่อเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา เมื่อเสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือเมื่อเสวยสุขเวทนาไม่มี อามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส เมื่อเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวย
ทุกขเวทนามีอามิสหรือเมื่อเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิสหรือเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส

ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุนั้นครั้นเสพเจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าไปในเวทนาภายนอก

[เห็นเวทนาในเวทนาภายนอก]
[๔๔๒] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
  ภิกษุในศาสนานี้ รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยสุขเวทนาว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยสุขเวทนา รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยทุกขเวทนาว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยทุกขเวทนา รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนา รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยสุขเวทนามีอามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยทุกขเวทนามีอามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส

ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นภิกษุนั้น ครั้นเสพเจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าไปในเวทนาทั้งภายในและภายนอก
[เห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอก]
[๔๔๓] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอกเนืองๆอยู่ เป็นอย่างไร
  ภิกษุในศาสนานี้ รู้ชัดสุขเวทนาว่า เป็นสุขเวทนา รู้ชัดทุกขเวทนาว่าเป็นทุกขเวทนา รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนาว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนา รู้ชัดสุขเวทนามีอามิสว่า เป็นสุขเวทนานีอามิส รู้ชัดสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็นสุขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดทุกขเวทนามีอามิสว่า เป็นทุกขเวทนามีอามิส รู้ชัดทุกขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็นทุกขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนามีอามิสว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนามีอามิส รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอกเนืองๆอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก
[๔๔๔] ในบทเหล่านั้น บทว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ มีนิเทสว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ
บทว่า อยู่ มีนิเทสว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่าอยู่
บทว่า มีความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่ามีความเพียร
บทว่า มีสัมปชัญญะ มีนิเทสว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่ามีสัมปชัญญะ
บทว่า มีสติ มีนิเทสว่า สติ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติ
บทว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก มีนิเทสว่า โลก เป็นไฉน
เวทนานั้นเอง ชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่า โลก นี้เรียกว่าโลกอภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใดนี้เรียกว่า อภิชฌาโทมนัส เป็นไฉน
ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่าโทมนัสอภิชฌาและโทมนัสดังกล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบระงับ เข้าไประงับดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไปแล้ว ในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก
เวทนานุปัสสนานิเทส จบ

ที่มา http://th.wikisource.org/wiki/ ๗._สติปัฏฐานวิภังค์_-_สุตตันตภาชนีย์_-_เวทนานุปัสสนานิเทส

479
กฎแห่งกรรม / ตอบ: พระญวนแก้กรรม
« เมื่อ: 31 ก.ค. 2554, 11:32:42 »
พระญวนแก้กรรม 4/4

พระธรรมสิงหบุราจารย์
________________________________________
 
    หลังจากนั้น  พระบัวเฮียวก็พาญาติโยมมา ๒-๓ คันรถบัส  อาตมาก็รับเลี้ยง  พักที่วัดนี้ ๑ คืน  ก็พาโยมมาดูว่าแก้กรรมได้ที่ไหน  ก็มาที่ต้นสัตบรรณให้ญาติโยมดู  มาชี้ที่พระบัวเฮียวมาปักกลดตรงนั้น  แล้วก็กลับไป หายเงียบไปอยู่ได้สัก ๑ ปี  ญาติโยมชุดนั้นมาที่นี่  บอกอยากจะกราบเรียนถามหลวงพ่อว่าพระบัวเฮียวของฉันนั้น  ท่านสร้างวัดเสร็จแล้ว  สอนเรียบร้อยดี มีตัวแทนแล้วท่านหายไปเลย ธุดงค์ไปอยู่ที่ไหนก็ไม่ทราบจนบัดนี้  อาตมาก็พยายามสืบทราบหาต่อไป  ก็รู้ว่าเดี๋ยวนี้ท่านไปอยู่ภาคเหนือ เปลี่ยนชื่อไม่ใช่ชื่อบัวเฮียว อาตมาก็ยังไม่ได้ไปพบท่าน

     นอกจากพระบัวเฮียว ยังมีเรื่องคนอื่นๆอีก อย่างทหารมาอบรมที่นี่ไว้หนวดหน่อย เป็นสิบเอก  นั่งไปนั่งมา บอกให้กำหนดเวทนา  แต่ก็จะลุกไปลุกมา  พอบังคับหนักเข้า นั่งเวทนาได้ก็กำหนดได้ แสดงออกแล้วพร่ำๆ เดินๆ รอบวัดเลย  เสียอกเสียใจ  อาตมากำลังบรรยายก็เลยให้ไปเรียกมาหาที  จับได้ว่าเคยไปฆ่าเขาหลายศพ  มันมาปรากฏในเวทนาทันที เวทนานี่ตัวสำคัญ  เมื่อบอกวิธีปฏิบัติให้แล้วหนักเข้านึกได้ว่า เคยทำอะไรมา จะรู้จากเวทนา เช่น เมาเหล้า พ่อก็มาห้ามทะเลาะกับภรรยา  เตะตกท่อลงใต้ถุนไป  หรือเคยไปฆ่าเขาเมื่อตอนหนุ่มๆ  ตอนนี้อายุมากแล้ว  จำไม่ได้  แต่มาได้เวทนาที่นี่  กำหนดเวทนาได้ปั๊บก็นึกเหตุการณ์ขึ้นได้โดยอัตโนมัติว่าตนเองเคยไปฆ่าเขามา

     อีกคนหนึ่งผ่าไปอยู่ในกอไผ่  เห็นไหม พอรู้ตัวทุกข์ขึ้นมา  เห็นกรรมของตัวที่ทำมาก็ออกเดินไปเลย  เดินไปอยู่ในกอไผ่  อนุศาสนาจารย์ก็กลุ้มอกกลุ้มใจ  มาปรารภว่า       “เขาไม่ตกน้ำตายไปแล้วหรือนี่”  อาตมาบอกว่า  “เฉยๆ กินข้าวซะก่อน  เดี๋ยวไปตามจะเจออยู่ในกอไผ่  ต้องผ่ากอไผ่ออกมา”  ผ่าไปอยู่ในกอไผ่ที่อยู่เหนือสุดเขตบ้านที่พระไปบิณฑบาต  เดินไปตอนกลางคืน  ไม่รู้เข้าไปอย่างไร  ออกลำบาก  ผ่าเข้าไปในกอไผ่  นี่เป็นเวรกรรมต้องใช้  เคยเอาเขาเข้าไปในกอไผ่  ตัวก็เลยต้องเข้าไปอยู่ในกอไผ่บ้าง

     นี่คนลืมนึกกฎแห่งกรรมไม่ได้  เข้าไปประสบทุกข์มีเวทนา  วิปัสสนาสติปัฏฐาน  รู้กรรมตอนเวทนา  ถ้านั่งสบายไม่ทนต่อเวทนา จะไม่รู้ว่าทำกรรมอะไรไว้  ขอฝากเทคนิควิธีปฏิบัติด้วย  ถ้าทนต่อเวทนาไม่ได้เลยเลิกปฏิบัติ โยมจะรู้กรรมและใช้กรรมไม่ได้  นายจ่าคนนี้บอกหลวงพ่อว่าผมรู้แล้ว  ผมเสียใจมาก แล้วก็เอาหัวไปชนกับลูกกรง เสียใจมากๆ ตี ๔ พังประตูไปเลย  คอกกรรมฐานพังเลย  นี่เป็นกฎแห่งกรรมต้องระวัง  เพราะฉะนั้นการปฏิบัตินี้  บางอย่างมันชวนให้ท้อถอย  อย่าม้วนเสื่อหนี

     เพราะฉะนั้นญาติโยมที่เป็นวิทยากรสอนเขาต้องควบคุมดูแลไว้ก่อน ถ้าคนไหนมีกรรมมากต้องควบคุมให้มาก เดี๋ยวมันแสดงฤทธิ์อย่างนี้  ถ้าคนไม่เคยสร้างกรรมมาไม่เป็นไร  ถ้าคนไหนสร้างกรรมไว้ในอดีตชาติหรือในปัจจุบันนี้ ต้องควบคุมให้ดี  หนีได้ง่าย  ฟุ้งซ่านได้ง่าย  บ้าบอคอแตกไปก่อน  บ้างก็ไปชนโน่นชนนี่  โดดโน่นโดดนี่  นี่กรรมชัดต้องใช้เขาก่อน  วิทยากรต้องควบคุมอย่างดี

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

480
กฎแห่งกรรม / ตอบ: พระญวนแก้กรรม
« เมื่อ: 31 ก.ค. 2554, 11:27:47 »
พระญวนแก้กรรม 3/4

พระธรรมสิงหบุราจารย์
________________________________________
 
   กำหนดสติแก้...คืนต่อมานักศึกษามาเข้าประชุมแล้วรับพระกรรมฐานก็ไปนั่งปฏิบัติ  พระบัวเฮียวก็แสดงอีก  วิ่งมาตรงนี้ที่ต้นสัตบรรณ  วิ่งชน  เอาศีรษะชนโป๊กๆ  ถอยหลังไปถอยหลังมา  จีวรสบงขาดหมด  แล้วก็ร้องเป็นวัวเป็นควาย  เลือดไหลเป็นกองๆ  เลือดก็มาออกทางตาบ้าง  ทางหูบ้าง   ทางปากบ้าง  อาเจียนออกมาบ้าง  แล้วถ่ายอุจจาระเป็นเลือดตลอด ๓ คืน  ๓ วัน ไม่ได้นอน  อาตมาไปดูท่านแล้วก็บอกว่าพอได้สติก็ให้กำหนดไปๆ  วันที่ ๓ ที่ ๔  ก็ลุกนั่งได้แล้ว  ลุกนั่งได้เจริญสมาธิสติปัฏฐาน ๔  เข้าผลสมาบัติได้ทันที

     พอเข้าผลสมาบัติออกมาแล้ว ก็เล่าถวายอาตมาถึง ๓ ชั่วโมง  บอกพระเดชพระคุณหลวงพ่อครับ ผมจะเล่าเหตุการณ์ของผมถวาย  ผมเป็นญวนครับ  ไม่ใช่คนไทย  ก็เล่าเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นตามที่อาตมาได้เล่าไปแล้ว  เล่าว่าได้ไปฆ่าวัวฆ่าควายนี่เป็นกรรมต้องใช้  พอได้สติขึ้นมา  กำหนดเวทนา  เพราะฉะนั้นโยมอย่าได้ทิ้งเวทนา

     มีนักศึกษาเคยมาที่นี่  เวลาปฏิบัติบอกปวดจะตายแล้วเจ้าข้า   บ้านอยู่อุดรธานี  เขามาเรียนวิทยาลัยครูที่อยุธยา  เดี๋ยวนี้สำเร็จไปแล้ว  เลยบอกให้กำหนดเวทนา  กำหนดหนักเข้าๆ  จึงรู้ว่าเคยไปหักขาเขียดขากบเป็นๆ  เอามาทำอย่างนั้นๆ  เขาเล่าละเอียด  พอรู้เรื่องว่าตัวทำกรรมมาแล้วกำหนดและแผ่เมตตาแล้วหายทันที  และจะไม่ปวดแข้งปวดขาอีก

     ย้อนมาเล่าถึงพระบัวเฮียว  พอท่านได้สติดีบอกว่าผมเองนี่ปฏิบัติมา ๑๐ ปี  แก้กรรมอะไรมิได้เลย  ก็นั่งนิ่งไปเฉยๆ  และไม่รู้เวทนาในเวทนา  ท่านก็บอกว่าผมทราบแล้วครับว่าเวทนาในเวทนาเป็นอย่างไร  เราไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเราจะต้องทรมานอย่างนี้แหละหนอ  พอได้สมาธิผลสมาบัติ  แผลที่คอไม่มี  เลือดหยุดไหล  และศีรษะที่เป็นแผลก็หายไปทันที  มันเป็นเรื่องแปลกอยู่เหมือนกัน

     วันสุดท้ายพวกนักศึกษาเห็นว่าแก้กรรมได้  เลยสามารถจะบรรยายได้อย่างสวยงาม  ทำให้นักศึกษาตื่นเต้น ในเรื่องการปฏิบัติธรรม พระบัวเฮียวก็มาทำเป็นตัวอย่างให้  นักศึกษาได้ทราบว่าวิปัสสนาแก้กรรมได้ ด้วยวิธีรับใช้กรรม โดยที่เอาหัวไปชนโน้นชนนี่

     อันนี้ขอเจริญพรว่า เวทนาสำคัญมากนะ  จับให้ได้กำหนดให้ได้  บางครั้งมันเป็นกรรมที่เราไปทำเขาไว้  กำหนดให้หายโดย สติสัมปชัญญะ โดย สติปัฏฐาน ๔ พระบัวเฮียว ลากลับไปถึงบ้าน  ชวนญาติโยมไปสร้างวัด  ญาติโยมนุ่งขาวปฏิบัติวิปัสสนาเจริญสติปัฏฐาน ๔  ท่านก็เลยเลิกใช้พุทโธ ใช้เวทนากำหนดเป็นการใหญ่  เป็นการแก้กรรมด้วยเวทนาจึงรู้กฎแห่งกรรม  ถ้าคนไหนไม่ทนต่อเวทนา  กำหนดไม่ได้    อย่าไปหนีเวทนา  หนีไม่ได้


ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

481
กฎแห่งกรรม / ตอบ: พระญวนแก้กรรม
« เมื่อ: 31 ก.ค. 2554, 11:20:29 »
พระญวนแก้กรรม 2/4

พระธรรมสิงหบุราจารย์
________________________________________

    นิมิตเกิด...ในที่สุดมาปักกลดอยู่ทางภาคอีสาน  จะเป็นสกลนครหรือหนองคายหรือจังหวัดใดก็ไม่ทราบ  ก็เดินธุดงค์ไปเรื่อยๆ  วันหนึ่งท่านนั่งสมาธิก็เกิดนิมิตขึ้นมาว่า “นี่คุณจะแก้กรรมเอาไหม ที่คุณทำบาปทำกรรมเอาไว้นี้คุณยังแก้กรรมไม่ได้เลย”

    “ทำอย่างไรจะแก้กรรมได้” ถามตามนิมิต นิมิตก็ว่า “วันที่ ๑๖ เขาจะเปิดอบรมนักศึกษากันที่วัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี รูปร่างวัดเป็นอย่างนี้...  ให้เดินทางไปโดยด่วน  แล้วพระคุณเจ้าจะแก้กรรมได้  จากการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน  รูปร่างสมภารเป็นอย่างนี้...”  ว่าอย่างนี้  มันก็เป็นเรื่องอัศจรรย์ดลบันดาล  ท่านเลยมาธุดงค์ เมื่อก่อนไม่เคยเดินผ่านทางภาคกลางนี้เลย  ไปแต่ภาคอีสาน  ภาคใต้  และภาคเหนือ

   รุ่งเช้าท่านก็ไปบิณฑบาต  ฉันเสร็จแล้วก็มุ่งตรงมาวัดอัมพวัน  ถามเขาเรื่อยมา  จากนครราชสีมา  มาสระบุรี  เดินเรื่อยมาไม่ขึ้นรถ  มืดที่ไหนก็ปักกลดนอนที่นั่น  นับได้ ๓ วัน มาถึงวัดอัมพวัน  พอถึงก็มานมัสการอาตมาเล่าเหตุการณ์ให้ฟัง  ยังไม่ได้เล่าละเอียด  บอกเพียงผมมีนิมิตเล่าถึงวัดนี้ว่า “จะมีการอบรมนักศึกษาจริงหรือไม่” บอกว่า “จริง  นี่เตรียมแล้วปักกลดแล้วรอนักศึกษามาวันมะรืนนี้” พระบัวเฮียว มาถึงก่อนกำหนดที่นักศึกษาจะเข้าวัด ๓ วัน  ท่านก็ปักกลดตรงที่มีศาลพระภูมิ  เดิมทีตรงนี้เป็นต้นสัตบรรณ  อีกต้นเป็นต้นพิกุลที่เทวดาเคยมาสอนแม่ชีสวดมนต์  ต้นเล็กนี้อายุตั้งร่วมพันปี  หลวงสมานวนกิจ  อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ท่านบอก  มีต้นสัตบรรณต้นสูงมาก แล้วมีมะม่วงอยู่ ๔ แถว

    ในพิธีเปิดการอบรมนักศึกษา ได้นิมนต์พระเถรานุเถระผู้ใหญ่มา  มีอธิบดีสมพร  เทพสิทธา  แล้วยังมี  นายอภัย  จันทวิมล

    พระบัวเฮียวมาถึงก็เล่าให้อาตมาฟังว่า  ท่านนิมิตว่าจะมาแก้กรรมที่นี่  แต่ยังไม่เล่ารายละเอียดว่าท่านเคยทำบาปอะไร  เพียงแต่ว่าจะมาแก้กรรม  จะแก้อย่างไรก็ไม่ทราบ ท่านก็ขอรับพระกรรมฐาน  อาตมาก็ให้แนวสติปัฏฐาน ๔  บอกว่า พุทโธก็ดี  แต่ใช้สติแทรกเข้าไป  บอกให้ท่านตั้งสติปัฏฐาน ๔  ท่านก็เข้าใจ  ก็เริ่มปฏิบัติเลยที่กุฏิหลังเล็ก  ที่ให้ท่านอยู่

     พอนั่งปฏิบัติได้คืนนั้นผ่าน   คืนที่ ๒  สติดีเข้า  ร้องเป็นหมู  เป็นวัว  เป็นควาย  หมดเลย  ร้องวิ่งมาชนเสากุฏิแล้วชนต้นสัตบรรณหัวร้างข้างแตกเลือดไหลออกมา  ไหลใหญ่เลย แล้วก็ทำท่าถูกมัดเป็นหมู  นอนงอเป็นหมู แล้วร้องอี๊ดๆอย่างหมูเลย  เลือดไหล  เห็นกันหลายองค์  พอดีนักศึกษาเข้ามา ก็มายืนดูเป็นกลุ่ม พวกอาจารย์สมเดชด้วย  ตอนนั้นยังเป็นนักศึกษา ปกศ.อยู่  ที่ยืนดูก็ท้อใจบอก โอ! พระ     ปฏิบัติเป็นอย่างนี้ ไม่เอาแล้ว  เราเสียภาพพจน์เสียแล้ว  อาตมาก็ยังไม่ทันรู้  เขาก็เลยตามหมอมาตรวจ หมอบอกว่าหัวใจก็ดี  ความดันก็ปกติ ไม่มีโรค  หมอบอกว่าไม่เป็นอะไร

   นักศึกษาก็คิดกันว่า  ถ้านั่งวิปัสสนาเป็นอย่างนี้  น่ากลัว  บอกว่าไม่เอาแล้ว จะกลับบ้าน  พอดีอาจารย์วิศาลก็มาห้ามไว้ว่ายังกลับไม่ได้  ต้องประชุมชี้แจงให้เข้าใจ


ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

482
กฎแห่งกรรม / พระญวนแก้กรรม
« เมื่อ: 31 ก.ค. 2554, 11:10:59 »
พระญวนแก้กรรม 1/4

พระธรรมสิงหบุราจารย์
________________________________________
   
     วิปัสสนากรรมฐานแก้กรรมได้อย่างไร  กรรมเก่าต้องใช้หนี้ทั้งนั้น  แต่เรื่องใหม่นี่เราคงไม่ได้ทำกันอีก คนที่สร้างกรรมไว้แล้ว เมื่อสำนึกได้  ยอมรับผิด  ก็ต้องยอมรับชดใช้กรรม  ไม่ใช่บุญบาปล้างกันได้นะ  เราทำบุญไปแล้วล้างบาปที่ทำไว้คงไม่ได้ เป็นกฎตายตัว บุญไปตามบุญ  บาปไปตามบาป น้ำกับน้ำมันเข้ากันไม่ได้  ต้องแก้อย่างไร อาตมาจะเล่าให้โยมฟัง  เรื่องของพระญวนมาแก้กรรมที่วัดอัมพวัน โดยที่ไม่รู้จักอาตมามาก่อนเลย  เขาคงมีปุพเพกตปุญญตา เมื่อชาติก่อนคงจะมาแก้กรรมกันที่วัด  เพราะวัดอัมพวันนี้เก่าแก่

     เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อประมาณ ๓๐ กว่าปีมาแล้ว  ยุวพุทธิก - สมาคมฯ  จัดการฝึกอบรมพัฒนาจิต  โดยให้ชวนเชิญนักศึกษามาเข้าค่ายกันที่วัดอัมพวัน คุณสมพร  เทพสิทธา เป็นประธาน  อาจารย์วิศาล  อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยครูมหาสารคาม  ปลดเกษียณแล้วก็มาช่วยยุวพุทธฯ จัดงานอบรมพัฒนาจิต

     ที่วัดอัมพวันนี้  ตอนนั้นยังไม่มีหอประชุม  ก็ใช้ผ้าใบขึง  ศาลาก็ยังไม่เรียบร้อย  ห้องน้ำห้องส้วมก็ยังมีน้อย ไม่เหมือนปัจจุบันนี้  ให้นักศึกษาอยู่กลด  ยุวพุทธฯ ซื้อให้คนละอัน  เดี๋ยวนี้ยังฝากไว้ที่นี่

     นายบัวเฮียว  เป็นชาวญวน  อยู่ทางสกลนคร  รับจ้างฆ่าวัว  ฆ่าควาย  เงินเดือนก็ไม่พอเลี้ยงชีพ  ก็ไปอยู่กับเถ้าแก่คนจีน  รับจ้างฆ่าหมูต่อไป  ฆ่าวันละ ๔ ตัว ๕ ตัว  เขาเล่าให้อาตมาฟังว่าทางภาคอีสานถ้ามีงานเลี้ยงก็ต้องฆ่าวัว

    เริ่มหมดกรรม...วันหนึ่งเขาจะหมดเวรหมดกรรมของเขา  เขาก็เดินกลับไปที่พัก  ก็ไปเจอพระธุดงค์องค์หนึ่งปักกลดอยู่  เขาไม่เคยมีศรัทธากับพระ  แต่วันนั้นเห็นพระธุดงค์เกิดนึกเลื่อมใสอยากจะไปไหว้  เมื่อไปถึงแล้วก็กราบพระธุดงค์  ตักน้ำถวายท่าน  พระธุดงค์องค์นั้นก็ถามว่า  คุณชื่ออะไร  มีอาชีพการงานอะไร  บัวเฮียวก็เล่าถวายทุกประการ  พระท่านคงสงสารว่ามีอาชีพฆ่าวัวฆ่าควายฆ่าหมู ท่านก็แสดงธรรมให้ฟัง  ชี้ให้เห็นผิดถูก  ชี้บุญบาป  บัวเฮียวก็ซึ้งในธรรมะ  พระท่านก็แนะนำบอกว่าไปหาอาชีพอย่างอื่นเถิด  เป็นบาปเป็นกรรมเหลือเกิน ถ้าเชื่อก็ควรปฏิบัติตาม  บัวเฮียวเล่าว่า  นึกเลื่อมใสพระธุดงค์องค์นี้มาก  ไม่เคยไหว้พระ  ไม่เคยเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  อาตมาก็ไม่ได้ถามว่า ท่านนับถือศาสนาอะไร กลับไปบ้านนอนไม่หลับ  คืนนั้นฆ่าหมูไม่ลงต้องแข็งใจฆ่าไปสักคืนหนึ่ง  รุ่งเช้าขอลาออก ไปบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา

     บวชแล้วก็ไปเดินธุดงค์ ๑๐ กว่าปี ศึกษาวิปัสสนา เจริญอานาปานสติ  พุท หายใจเข้า   โธ หายใจออก  ทำมาโดยมีสมาธิคร่าวๆ  ดิ่งเข้าไปโดยเอกัคคตารมณ์  เวลานั่งแล้วจะเห็นแต่หมูเห็นแต่วัวแต่ควายที่เคยฆ่า  ทำให้จิตใจเศร้าหมองตลอดเวลา ไม่สามารถจะแก้ได้เลย  ท่านก็เดินธุดงค์ไปเรื่อย  จากภาคอีสานไปกระทั่งเชียงใหม่  ถ้ำเชียงดาวท่านก็ไป  เจออาจารย์องค์โน้นองค์นี้มากมาย

ที่มา
http://www.fungdham.com/rule-of-fate.html

483
นมัสการท่านพระอาจารย์ :054:
อ้างถึง
......ความคิดเห็นของแต่ละคนนั้​น เกิดจากวัยวุฒิ คุณวุฒิ พื้นฐานของครอบครัว
สังคมรอบข้าง และอารมณ์ความรู้สึกของเขาในขณะ​นั้น ถ้าเราเข้าใจในเรื่อง
"จิตวิทยาของมนุษย์"เราจะเข้าใจ​ในเหตุผลของแต่ละคนที่แตกต่างกั​น
และสิ่งนั้นจะไม่สร้างความแตกแย​ก จากความเห็นที่แตกต่าง
แต่จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนไป​สู่ความก้าวหน้า เพราะว่าเราจะได้มุมมองใหม่ๆ
ในความที่แตกต่างกัน และมันจะเกิดการพัฒนาทางความคิด​ขึ้นต่อไป...

484
อ้างถึง
....พุทธัง อะระหังพุทโธ ธัมมัง อะระหังพุทโธ สังฆัง อะระหังพุทโธ เท่านั้นเอง ก็ให้เข้าโลกุตระ ถ้าคุณเสกประจำ คุณเป็นพระอรหันต์ด้วยในชาตินี้.....

485
อ้างถึง
"วิชาทางอาคมไสยเวทย์หนังเหนียว อยู่ยงคงประพัน เป็นวิชาของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งขัดขวางการปฎิบัติวิปัสสนา ถ้าท่านจำเนียรจะอยู่ปฎิบัติวิปัสสนาที่สำนักของผมจะต้องปล่อยวางเรื่องไสยเวทย์วิทยาคมให้หมดจึงจะเรียนปฎิบัติปัสสนาได้ผล ท่านจำเนียรเลิกได้ใหมละ? อาตมานั่งคิดอยู่นานเพราะถ้าทิ้งหมดเลยก็แปลว่าเลิกสงเคราะห์ช่วยเหลือศรัทธาญาติโยม คือไสยศาสตร์เป็นวิชที่สงเคราะห์ชาวบ้านได้ตามที่รู้ ๆ กันอยู่แล้ว นั่งคิดอยู่นาน ในที่สุดก็ตัดสินใจกราบเรียนท่านไปว่า "ผมคงเลิกวิชาไสยศาสตร์ไม่ได้ครับท่าน" ท่านพระอาจารย์ธัมมธโรพอใจ ท่านสอนมหาสติปัฎฐาน๔ อธิบายละเอียดมาก มรรค๔ ก็สอนละเอียดลึกซึ้งน่าอัศจรรย์ อาตมาศรัทธามากยกให้ท่านเก่งจริง ๆ อาตมาเรียนทั้งภาควิชาการและการปฎิบัติควบคู่กันไป แต่หนักไปทางปฎิบัติ

ขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือทิพย์ ชุดผู้มีญาณวิเศษ ๑
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=11024.0

486
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ ที่นำธรรมะมาให้พิจารณาศึกษาไตร่ตรองเตือนตนทุกวันครับ :054:

487
ดวงตราพุทโธมหาลาภ
ดวงตราพุทโธมหาลาภเป็นวัตถุมงคลของวัดทุ่งเว้า บ้านท่าไคร้-นาแล ต.นาสีนวน อ.เมือง จ.มุกดาหาร
จัดสร้างโดยพระอาจารย์เมสันติ์ คมฺภีโร(พระอาจารย์โด่ง)เพื่อเป็นพุทธานุสติสำหรับญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา ร่วมสร้างพระธาตุเจดีย์ศรีมุกดา
โดยด้านหน้าตรงกลางเป็นอักขระภาษาขอมคำว่า"พุท"ล้อมรอบด้วยองค์พระนะลือชารอบนอกล้อมด้วยคาถามงกุฏพระเจ้า
ด้านหลังตรงกลางเป็นอักขระภาษาขอมคำว่า"โธ"ล้อมรอบด้วยองค์พระนะมหาลาภรอบนอกล้อมด้วยคาถามหาลาภ
 คาถาบูชาดวงตราพุทโธมหาลาภ
นะมา มีมา มะหา ลาภา นะมา มีมา มีมา มากมาก
อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ นะชาลีติ มานิ มามา
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ประสิทธิ์ด้วยพุทโธ
อิติปิโสวิเสเสอิ  อิเสเสพุทธะนาเมอิ
อิเมนาพุทธะตังโสอิ  อิโสตังพุทธะปิติอิ
วิธีบูชาดวงตราพุทโธ
ให้ภาวนาพุทโธ 9 ครั้งแล้วภาวนาคาถาบูชาจนจบ แล้วทำจิตให้สงบ อธิษฐานขอในสิ่งที่ต้องการโยสิ่งที่ปารถนานั้นต้องเป็นไปโดยชอบประกอบด้วยกุศลและเป็นมงคลต่อชีวิต ไม่ผิดศีลธรรม ปฏิบัติเป็นประจำจะสมความปรารถนาในสิ่งที่ต้องการ
หมายเหตุ....
ถ้าไม่ภาวนาดวงตราพุทโธมหาลาภก็จะไม่มีความเข้มขลัง
ที่มา
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=7357.msg62708#msg62708

488
มองเป็นก็เห็นสุข (1/2) พระไพศาล วิสาโล
[youtube=425,350]jyekw7Fe4iw[/youtube]


489
ขอบคุณครับท่าน NONGEAR44

ได้ติดตามอ่านเรื่องราวดีดี จากท่านมาไม่น้อย
ยินดีมากที่ท่านนำของดีมาแบ่งปันกันครับ :015:



ภาพจาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=bporchids&month=15-10-2010&group=17&gblog=5

490
อันนี้ fwd mail เก่าแก่
ไม่รู้ว่าจะเป็นเรื่องจริงขนาดไหน :062:

แต่....หวังว่าเรื่องนี้มันคงไม่เกิดขึ้นจริงๆ.....แต่ผมเคยได้รับรู้เรื่องคล้ายๆแบบนี้....ลูกชั่วทำกับพ่อแม่อย่างไม่น่าจะเกิดขึ้นในเมืองไทยเมืองพุทธแบบนี้
เข้าใจว่าคนที่ทำแบบนี้ได้ ไม่ใช่ชาวพุทธแน่นอน และคงเป็นพวกไม่มีศาสนาด้วยซ้ำ

491
ขอบคุณครับ
ดูแล้วซึ้งมาก

492
ธรรมะ / ตอบ: ...กายคตานุสติ...2
« เมื่อ: 28 ก.ค. 2554, 12:03:13 »
เจริญกายคตานุสสติ



493
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ครับ :054:

อ้างถึง
วางแผนงานไว้
และมีแนวทางของการแก้ไข้ไว้ล่วงหน้า ถ้าเกิดมีอุปสรรค์และปัญหาขึ้นมา
ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากการฝึกคิด ฝึกพิจารณา โดยการมีสติและสมาธิเป็นพื้นฐาน
คือการทำจิตให้นิ่ง แล้วจะมองเห็นทุกสิ่งอย่างละเอียดและชัดเจน
ทุกอย่างสามารถที่จะฝึกฝนกันได้ ไม่ได้ยากอย่างที่คิด
ขอเพียงเราเริ่มต้นและลงมือทำ.........

494
ธรรมะ / ตอบ: ...กายคตานุสติ...2
« เมื่อ: 28 ก.ค. 2554, 11:07:32 »
กายคตานุสติ 7/8
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ


[youtube=425,350]uu6nUsfTfok[/youtube]


495
ธรรมะ / ตอบ: ...กายคตานุสติ...2
« เมื่อ: 28 ก.ค. 2554, 07:55:15 »
กายคตานุสติ 6/8

 เกิดมาเมื่อไร ก็มีแต่ร่างกาย ที่สกปรกโสโครกอย่างนี้ เกิดมาเมื่อไร ก็จะพบคนพบสัตว์ ที่มีแต่ความสกปรกโสโครกอย่างนี้ ถ้าหากว่าเราไม่ต้องการมัน ก็จงเลิกความปรารถนาในมัน
              ไม่ว่าจะเป็นร่างกายของตนเอง ร่างกายของคนอื่น ร่างกายของสัตว์อื่น เมื่อไม่ปรารถนาในตัวตนของเรา ไม่ปรารถนาในตัวตนของผู้อื่น ก็ต้องไม่ปรารถนาในการเกิด เพราะว่าเกิดเมื่อไร เราก็ต้องพบกับมันอย่างนี้อีก
              มีแต่ร่างกายที่สกปรกโสโครก หาความดีไม่ได้ อยู่ไปก็มีแต่ความทุกข์ เพราะว่าร่างกายคือรังของโรค มีความทุกข์เป็นปกติ มีความสกปรกเป็นปกติ เป็นสมบัติของโลกนี้ ในเมื่อมันเป็นสมบัติของโลก ถึงวาระถึงเวลาก็ต้องคืนให้กับโลกไป
              มันพยายามที่จะทวง ที่จะดึง ที่จะเอาคืนอยู่ตลอดเวลา คือมันทรุดโทรมไปตลอดเวลา หมดสภาพลงไปตลอดเวลา นี่คือความไม่เที่ยงของมัน ถ้าเราไปยึดถือมั่นหมาย หวังจะให้มันดี หวังจะให้มันทรงตัว มันไม่เป็นไปตามนั้น เราก็มีแต่ความทุกข์

              ในเมื่อเราเห็น สภาพความเป็นจริงแล้ว ว่าร่างกายนี้มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ ไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้ ท้ายสุดสภาพร่างกาย ที่สกปรกโสโครกนี้ มันก็ยังตาย ยังพัง ยังเน่าเปื่อย ผุพังเป็นดินไป
              ไม่เหลืออะไรไว้เลย กลายเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ คืนให้กับโลกไป สภาพของเราก็ดี ของเขาก็ดี ของคนหรือสัตว์ก็ตาม เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง สลายไปในที่สุดดังนี้ ไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้
              เกิดใหม่เมื่อไร ก็เป็นอย่างนี้เมื่อนั้น ดังนั้น ขึ้นชื่อว่าการเกิดใหม่ ไม่ควรจะมีสำหรับเราอีก เราก็เอาใจเกาะพระนิพพานเข้าไว้ ตั้งใจว่า เราตายเมื่อไร ขอไปพระนิพพานแห่งเดียว ตายเมื่อไร ขึ้นชื่อว่าการเกิดมา มีร่างกายแบบนี้ จะไม่มีสำหรับเราอีก การเกิดมาในโลก ที่ทุกข์ยากเร่าร้อนนี้ ไม่มีสำหรับเราอีก ตั้งใจว่า ตายแล้วเราขออยู่พระนิพพานแห่งเดียว
              เอาใจเกาะพระนิพพานให้มั่นคง ภาวนาให้อารมณ์ทรงตัว ก็ขึ้นชื่อว่าเราปฏิบัติในกายคตานุสติกรรมฐาน ตามที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า สอนเรามา
              ถ้าเรารู้แจ้งเห็นจริง สภาพจิตของเรายอมรับว่า ร่างกายนี้ ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา ขึ้นชื่อว่าการเกิด เราไม่พึงปรารถนา ขึ้นชื่อว่าร่างกายนี้ โลกนี้ เราไม่พึงปรารถนา เราก็จะได้อยู่ในพระนิพพานจริงๆ
              ให้รักษาอารมณ์ใจอย่างนี้ไว้ ให้อยู่กับเราให้ได้ ทุกวัน ทุกเวลา เมื่อถึงวาระ ถึงเวลา เราจะได้ก้าวพ้นความเกิด ไปอย่างที่เราต้องการ เราจะได้อยู่ในพระนิพพานอย่างที่เราต้องการ ?


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
วันเสาร์ที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๗

ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html

496
ธรรมะ / ตอบ: ...กายคตานุสติ...2
« เมื่อ: 28 ก.ค. 2554, 07:00:20 »
กายคตานุสติ 5/8

 ส่วนใหญ่ที่เราเห็น ที่เราพบคือ เขาทำการขัดสีฉวีวรรณมาดีแล้ว เราก็คิดว่าสะอาด เขาเอาน้ำอบ น้ำหอม มากลบกลิ่นเหม็นของร่างกาย เราก็ไปชอบกลิ่นนั้น เอาเสื้อผ้ามาปิดมาบังในร่างกาย เราก็ไปชอบความสวยของเสื้อผ้านั้นๆ
              ถ้าเราลองเอาเสื้อผ้าออก เอาหนังออก ถลกไปถึงเนื้อ อวัยวะภายใน มันจะไม่มีอะไรเป็นสาระ เป็นแก่นสาร มีแต่เลือด น้ำเหลือง ไขมัน เนื้อ เส้นเอ็น กระดูก เส้นเลือด เส้นประสาท
              สภาพความเป็นจริงของร่างกาย มันเป็นอย่างนี้ ตัวเราก็เป็นอย่างนี้ คนอื่นก็เป็นอย่างนี้ ผู้หญิงก็เป็นอย่างนี้ ผู้ชายก็เป็นอย่างนี้ สัตว์ทั้งหลายก็เป็นอย่างนี้ มีแต่ความสกปรกเป็นปกติ
              แล้วร่างกายก็ยังมีกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งบรรจุเต็มไปด้วยน้ำปัสสาวะ มีลำไส้ใหญ่ที่ประกอบไปด้วยกากอาหารคืออุจจาระ ทั้งหมดที่เรากินลงไปดีๆ แท้ๆ แต่พอผ่านการย่อยสลายเหลือกากออกมาแล้ว บางทีถ่ายออกมาเหม็นไปสามบ้านแปดบ้าน


              เราเองเคยนึกถึงตรงนี้ไหม ? เออ ถ้าเป็นเพศตรงข้าม หน้าตาสวยๆ หล่อๆ แต่เวลาเข้าส้วมทีเหม็นไปสามบ้านแปดบ้าน มันมีอะไรให้น่าใคร่ น่ายึดถือ สภาพความเป็นจริงของมันเห็นๆ อยู่ แต่ว่าทุกคนก็พยายามปิดบังมัน
              สภาพร่างกายของเรานี้ มันเหมือนกับถุง ที่บรรจุเอาไว้ด้วยของสกปรก พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า เหมือนกับถุงที่บรรจุไปด้วยเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าว เป็นถั่ว เป็นงา ถึงวาระมัดปากถุงเอาไว้ ก็เห็นว่าถุงมันสวยงาม
              แต่พอเปิดถุงเทออกมา ให้เห็นความจริงว่า ข้างในเป็นข้าว ข้างในเป็นถั่ว ข้างในเป็นงา สิ่งที่ไปยึดไปถือว่าถุงนั้นสวยก็ไม่มี คราวนี้นั่นมันเป็นเพียงพืช เป็นข้าว เป็นถั่ว เป็นงา แล้วถุงที่เราอาศัยมันอยู่นี้ มันไม่ใช่ธัญพืช

              มันประกอบไปด้วยเลือด ด้วยเนื้อ ด้วยน้ำเหลือง น้ำหนองต่างๆ ด้วยอุจจาระ ด้วยปัสสาวะ มีแต่ความเหม็นเน่า มีแต่ความสกปรกเป็นปกติ ถ้าหากว่าเราเปิดถุงไถ้นี้ออกมา เราก็จะวิ่งหนี เพราะทนความโสโครกของมันไม่ได้
              ยังไม่ทันจะตายเลย มันก็เน่าแล้ว มันก็เหม็นแล้ว ร่างกายที่ประกอบไปด้วยทวารทั้ง ๙ มีแต่ความสกปรก หลั่งไหลออกมาทุกวัน ถ้าไม่ดูแล ไม่อาบน้ำ ไม่ขัดสีฉวีวรรณ ไม่ล้าง ไม่ชำระมัน แม้กระทั่งเราเองก็ทนไม่ได้
              สิ่งสกปรกทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นอุจจาระ ปัสสาวะ ก็ดี ขี้หัว ขี้หู ขี้ตา ขี้ฟัน ขี้ไคล อะไรก็ตาม ถึงเวลาถ้ามันกองอยู่ตรงหน้า เราก็รังเกียจ ทนมันไม่ได้ หนีมันไปเสีย หลีกมันไปเสีย แล้วลองนึกดูว่า ในร่างกายของเรา ก็มีสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ แล้วเรายังจะไปยินดี อยากมีอยากได้ในมันอยู่อีกหรือ ?
              ร่างกายของคนอื่น ของสัตว์อื่นก็เป็นอย่างนี้ ไม่ว่าหญิง ไม่ว่าชาย ก็เป็นอย่างนี้ เรายังจะไปยินดีมันอีกหรือ ? ยังไปอยากได้มันมา ประคับประคองเอาไว้อยู่หรือ ?
              ลักษณะของมัน ก็คือถุงที่บรรจุเอาไว้ด้วยขี้และเยี่ยว คืออุจจาระปัสสาวะนั่นเอง แล้วมันก็ซึมออกมานอกถุงอยู่ตลอดเวลา ส่งความเหม็นอยู่ตลอดเวลา เรายังอยากได้มันอยู่อีกหรือไม่ ? ยังต้องการมันอยู่หรือไม่ ?

ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html

497
ธรรมะ / ตอบ: ...กายคตานุสติ...2
« เมื่อ: 27 ก.ค. 2554, 09:50:47 »
กายคตานุสติ 4/8

ร่างกายของเรา มันปกปิดเอาไว้ด้วยหนัง เราดูเมื่อไร ก็ไปติดอยู่ที่หนัง เราก็จะยินดีกับมัน พอใจกับมัน เราลองนึกถึงสภาพร่างกายของเราก็ดี ของคนอื่นก็ดี ของสัตว์อื่นก็ดี ว่าสภาพความเป็นจริงของมันเป็นอย่างไร
              ลองค่อยๆ นึกไปว่า ถ้าเราลอกหนังออกไปชั้นหนึ่ง สภาพข้างในมันมีอะไร พอเราถลกหนังมันออก พวกเลือด น้ำเหลืองก็ไหลโทรมไป ผ่านใต้หนังกำพร้า ต่อไปก็เป็นหนังแท้ มีความหนามากกว่าหนังกำพร้า เป็นสีขาว
              ใต้หนังแท้ลงไป เป็นเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งประกอบไปด้วยเลือด น้ำเหลือง ลักษณะเป็นมัดกล้าม แทรกเอาไว้ด้วยไขมัน ลักษณะของมัดกล้ามก็จะยาวเรียว ไปตามลักษณะของร่างกายส่วนนั้นๆ
              มีชั้นของไขมันแทรกอยู่ มีเส้นเลือดแทรกอยู่ มีเส้นประสาทแทรกอยู่ ถ้าหากว่า ยกเอาเนื้อออกไป เอาเส้นเลือดออกไป เอาเส้นประสาทออกไป มันก็จะไปถึงกระดูก ที่มีเส้นเอ็นรัดอยู่ มัดอยู่
              ถ้าหากว่า ยกเส้นเอ็นออก กระดูกมันก็หลุดสลายไป ไม่สามารถจะคุมเป็นรูปเป็นร่างอยู่ได้ คราวนี้เรามาดูว่า ตรงกลางของร่างกาย มันประกอบไปด้วยอวัยวะภายในใหญ่น้อย ลักษณะเป็นเครื่องจักรกล ทำงานของมันอยู่ตลอดเวลา


              มีหัวใจ มีปอด มีตับ มีม้าม มีไต มีถุงน้ำดี มีกระเพาะอาหาร มีกระเพาะปัสสาวะ มีลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก มีหลอดอาหาร มีหลอดลม ถ้าหากว่าในลักษณะนี้ อยู่ๆ เราเดินไปเจอตอนกลางคืน มีใครมีรูปร่างลักษณะนี้เดินมา เรามั่นใจได้เลยว่าผีหลอก
              แต่ว่าเจ้าผีนี่อยู่กับเราตลอดเวลา ไม่ว่าผู้หญิง ไม่ว่าผู้ชาย ไม่ว่าสัตว์ทั้งหลาย เจ้าพวกผีนี่มันอยู่ด้วยตลอดเวลา มันหลอกเราอยู่ตลอดเวลา มันเอาหนังมาคลุมเข้าไป ไม่ให้เราเห็นเลือด ไม่ให้เราเห็นเนื้อ ไม่ให้เราเห็นน้ำเหลือง
              ไม่ให้เราเห็นอวัยวะภายใน ที่กำลังเต้นอยู่ กำลังทำงานของมันอยู่ เราก็หลงไปยึด ไปติดอยู่กับมัน ติดอยู่แค่หนัง หนังมันประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ก็ประกอบไปด้วยเส้นขน มีต่อมเหงื่อ มีต่อมไขมัน
              ถึงวาระ ถึงเวลา ร่างกายมันก็จะหลั่งไขมัน ออกมาหล่อเลี้ยงผิวกาย หลั่งเหงื่อออกมา เพื่อที่จะหล่อร่างกายให้มันเย็น ไม่ให้มันร้อนจนเกินไป ความสกปรกต่างๆ นี้ จับอยู่ที่ร่างกายเป็นปกติ
              ตั้งแต่ศีรษะจรดไปถึงปลายเท้า ตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมาถึงศีรษะ มีแต่ส่วนของความสกปรกทั้งนั้น มีแต่ขี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะ ขี้หัว ขี้หู ขี้ตา ขี้ไคล ขี้ฟัน กระทั่งขี้เล็บ มากมายเต็มไปหมด
              ไม่อาบน้ำสักวันหนึ่ง ตัวเราเองก็จะทนไม่ได้แล้ว อย่าว่าแต่คนอื่นเลย สภาพร่างกายของเรา ไม่ว่าจะหญิงหรือชายก็มีสภาพดังนี้ ถ้าไม่อาบน้ำสักสองวันสามวัน ก็เหม็นจนทนไม่ได้
 

ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html

498
ธรรมะ / ตอบ: ...กายคตานุสติ...2
« เมื่อ: 27 ก.ค. 2554, 09:01:51 »
กายคตานุสติ 3/8

   ถ้าเรายังทำไม่ได้ เรายังปฏิบัติไม่ได้ เราจะเอาอะไรไปสอนญาติโยมเขา สอนตัวเองยังไม่สำเร็จ สอนคนอื่นมันจะสำเร็จได้อย่างไร ? ตราบใดที่เรายังทำไม่ได้ ยังไม่รู้จริง ตราบนั้นสิ่งที่เราพูด ก็ไม่แน่ว่าจะถูกต้อง สิ่งที่เราสอน ก็ไม่แน่ว่า จะเป็นไปตามพระสัทธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
   
           ปัจจุบันนี้ นักบวชต่างๆ ตลอดจนกระทั่งฆราวาส ทำให้พระธรรมคำสั่งสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตกต่ำเหลือเกิน แต่ละคนอ้างสิทธิ อ้างเสรีภาพ ในการที่จะวิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
              มันเป็นการใช้การวิเคราะห์ วิจารณ์ วิจัย ด้วยโลกียปัญญาในลักษณะของปริยัติ คือศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลเท่านั้น ไม่ใช่การปฏิบัติ จนตีราคาคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตกต่ำลงไปทุกวัน ไร้ค่าลงไปทุกวัน

              หน้าที่ของเราคือ ต้องทำให้ได้ เมื่อถึงวาระ ถึงเวลา เราจะได้ยืนยันกับเขา เราจะได้มีหลักฐานบอกเขาว่า ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่แท้จริงเป็นอย่างนี้
              ถ้าเราทำอย่างนี้ได้ เราถึงจะเป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส คือเป็นลูกที่พระพุทธ เจ้าท่านรักมาก แต่ถ้าเราทำไม่ได้ สักแต่ว่าอาศัยผ้าเหลือง ให้โยมเขาสงเคราะห์ไปวันหนึ่งวันหนึ่ง สักแต่ว่าอาศัยพระศาสนาเป็นที่อาศัย เป็นที่อยู่ที่กินไปวันหนึ่งวันหนึ่ง

              เราตายเมื่อไร เรามีหวังลงอเวจีมหานรก อบายภูมิเปิดรอเราอยู่ ดังนั้น ในแต่ละวัน เราต้องทบทวนศีลของเรา ให้บริสุทธิ์ เราต้องรักษาสมาธิของเรา ให้ตั้งมั่นทรงตัว เราต้องมีปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงสภาพร่างกายนี้ และสภาพของโลกนี้
              จงถอนความยินดี อยากได้ใคร่มี ในร่างกายนี้ ในโลกนี้เสีย เพื่อจะได้หลุดพ้น ไปพระนิพพานให้ได้ เพื่อที่เราจะได้เป็นบุคคล ที่ญาติโยมเขาสงเคราะห์แล้ว ได้อานิสงส์มาก เพื่อที่เราจะได้เผยแผ่ พระธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ขจรขจายออกไป เพื่อที่ญาติโยมทั้งหลายจะได้รู้ว่า นักบวชที่ดีจริงๆ ยังมีอยู่

              แม้มันจะดีถึงที่สุดไม่ได้ ก็ให้มันดีในลักษณะของพระโยคาวจร คือ ผู้ตั้งใจปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น แม้จะไม่ได้เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี หรือพระอรหันต์ ขึ้นชื่อว่าพระโยคาวจร ก็ยังไม่ขาดทุนมาก
              คราวนี้ การที่เราจะรู้เท่าทันร่างกาย รู้เท่าทันในโลกนี้ เราต้องรู้จักคิด รู้จักพิจารณา ศึกษาตามคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนำมาปฏิบัติให้เห็นผล

              สำหรับวันนี้ จะกล่าวถึงกายคตานุสติกรรมฐาน คือการระลึกถึงสภาพความเป็นจริงของร่างกายนี้ กายคตานุสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่สำคัญมาก ผู้ที่จะเป็นพระอริยเจ้าทุกท่าน ต้องผ่านกรรมฐานกองนี้
              ถ้าไม่เคยปฏิบัติ ในกายคตานุสติกรรมฐาน เราจะเป็นพระอริยเจ้าไม่ได้ กายคตานุสติ การตามระลึกถึงกาย คือ ดูให้รู้ ให้เห็น ในสภาพความเป็นจริงของร่างกาย ดูว่าสภาพที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร ?

           

ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html

499
เมื่อใจยอมรับสภาพความเป็นจริงของธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ ใจนั้นก็ไม่มีความทุกข์
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ ในระยะหลังของชีวิต ความทุกข์ลดน้อยลงไปมากสาเหตุเพราะใจยอมรับความเป็นจริงมากขึ้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย รวย จน สมหวัง ผิดหวัง ถ้ายอมรับและมีสติกับสิ่งที่เกิดขึ้น ก็คงบอกลาความทุกข์และทักทายกับความสุขได้กับทุกวันของชีวิต

เห็นจริงด้วยครับท่าน :015:

500
ธรรมะ / ตอบ: ...กายคตานุสติ...2
« เมื่อ: 27 ก.ค. 2554, 08:38:52 »
กายคตานุสติ 2/8

   ในขณะที่บิณฑบาต ต้องมีสติระมัดระวังอยู่เสมอ กำลังใจให้ทรงตัวอยู่กับภาพพระให้เป็นปกติ กำลังใจให้ทรงตัวอยู่กับการภาวนาให้เป็นปกติ เมื่อโยมเขาสงเคราะห์ ก็ใช้เสขิยวัตรในการบิณฑบาตของเรา คือ สายตาลดต่ำ เหลือบดูอยู่แต่ในบาตร
   
           เมื่อถึงวาระของการเดิน ให้มองไปข้างหน้าแค่ชั่วแอก คือ ถ้าหากว่าเราอยู่บนเกวียน ก็มองไปสุดปลายแอก คือ แค่คอวัวเท่านั้น ถ้าในปัจจุบันนี้ก็คือ ทอดสายตาต่ำลงมองไปข้างหน้า ระยะประมาณสองเมตร
              ไม่ใช่สอดส่ายสายตาไปทั่ว ขาดการสำรวมระวัง ญาติโยมที่เป็นผู้หญิงเขาใส่บาตร แทนที่ใจของเราจะอยู่กับพระ แทนที่ใจของเราจะนึกอวยพรให้เขา ว่าขอให้เขาทั้งหลายมีความสุข มีความปรารถนาที่สมหวังทุกประการ

              เราก็จะไปยินดียินร้ายกับเขาอีก เห็นโยมผู้หญิงแก่หน่อยก็ อ้าว...ทำไมแก่จัง ? เห็นโยมผู้หญิงอ้วนหน่อยก็ อ้าว...ทำไมอ้วนจัง ? ไม่พอใจ เห็นโยมผู้หญิงหน้าตาดีหน่อย ใจก็ไปคิด เออ...หน้าตาดีนะ น่ารัก น่าปรารถนา น่าจะเป็นแฟนของเรา
              ถ้าในลักษณะนี้ เราจะขาดทุนมาก เพราะว่าราคะกับโทสะ จะกินใจเราอยู่ตลอดเวลา มันกินลึก มันซึมลึก กว่าเราจะรู้ตัว มันพาเราลงนรกไปนานแล้ว เราไปให้ญาติโยมเขาสงเคราะห์ ได้ข้าว ได้กับ ได้น้ำมา เพื่อที่จะเป็นเครื่องอาศัย
              คือฉันลงไปแล้ว ให้อัตภาพร่างกายนี้มันคงอยู่ได้ ไม่เกิดอาการกระวนกระวายมากนัก เราจะได้ปฏิบัติธรรมของเรา ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป ได้ข้าว ได้กับ ได้น้ำ ได้ขนมแล้ว ยังคิดจะไปเอาตัวของเขาอีก มันก็เกินไป

              เพราะฉะนั้น ต้องมีความสำรวมระวังให้เป็นปกติ ตลอดระยะทาง ควรจะทำอย่างไร ควรจะปฏิบัติอย่างไร เรารู้อยู่ ถ้ากำลังใจของเราทรงตัวอยู่ในด้านดี สามารถรักษาความแจ่มใสของจิต ไม่ให้กิเลสมันเข้ามาแทรกได้ ญาติโยมที่ทำบุญกับเราก็จะมีบุญมาก
              ในแต่ละวัน เราฉันข้าวที่ญาติโยมเขาเลี้ยง ใช้สอยปัจจัย ๔ ที่ญาติโยมเขาสงเคราะห์ เท่ากับว่าชีวิตนี้ไม่ใช่ของเรา มันกลายเป็นของโยมไปแล้ว ในเมื่อชีวิตของเราก็เป็นของโยมเขาไปแล้ว จะเรียกง่ายๆ ว่า เป็นทาสของเขาไปแล้ว

              ลักษณะของทาส หรือว่าลูกจ้าง หรือคนที่เขาเลี้ยง คนที่เขาสงเคราะห์ ก็ต้องทำตัวให้ดีที่สุด เพื่อให้นายทาส หรือว่านายจ้าง หรือบุคคลผู้ให้การสงเคราะห์ เขาจะได้เมตตาสงเคราะห์เราไปเรื่อย
              ไม่ใช่ว่าออกไปในลักษณะที่ กำลังใจมันใช้ไม่ได้ เราเป็นพระ เป็นปูชนียบุคคล กำลังใจอย่างน้อยๆ ก็ต้องเป็นเทวดา เป็นพรหม หรือกำลังใจเป็นพระได้ยิ่งดี

              ไม่ใช่กำลังใจของเรา เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน แล้วไปให้มนุษย์เขาสงเคราะห์
              ถ้าลักษณะนั้น เขาสงเคราะห์เรา อานิสงส์เขาก็น้อย ขาดทุน เราก็จะไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งความปรารถนาไว้
              เราเป็นพระภิกษุสงฆ์ หน้าที่ของเราคือ อันดับแรก ชำระจิตใจของเราให้ผ่องใส ให้มีกิเลสอยู่ในใจให้น้อยที่สุด ถึงหมดไปได้เลยยิ่งดี อันดับที่สองก็คือ สงเคราะห์ญาติโยมเขา ตามกำลังตามความสามารถของตน

              ไม่ว่าจะเป็นการสงเคราะห์ ในลักษณะเนื้อนาบุญก็ดี สงเคราะห์ในการ สอนญาติโยมให้รู้ธรรมก็ดี การสงเคราะห์ข้อหลังนี้ จัดเป็นการเผยแผ่พระศาสนา ให้กว้างไกลออกไปด้วย

ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html

501
ธรรมะ / ตอบ: ...กายคตานุสติ...2
« เมื่อ: 27 ก.ค. 2554, 08:31:12 »
กายคตานุสติ 1/8

              สำหรับวันนี้ ในเบื้องต้นขอกล่าวถึง ความมีสติสัมปชัญญะของเรา สติ คือความระลึกนึกได้ สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว
              เราบวชเข้ามา เป็นพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนา เรามีความรู้ตัวบ้างหรือไม่ ว่า ตอนนี้ เราเป็นปูชนียบุคคลแล้ว เป็นบุคคลที่ชาวบ้านเขากราบไหว้ เขาให้การเคารพบูชา เขาให้การเลี้ยงดูเป็นปกติ

              ถ้าหากว่าเรามีสติระลึกได้ ก็นับว่าเข้าถึง แต่ถ้าเราไม่มีสติ ระลึกได้ตรงนี้ เราจะขาดทุนมาก เพราะว่า ถ้าเราระลึกได้เฉยๆ ว่าเป็นปูชนียบุคคล มันจะประกอบไปด้วยตัวมานะ ถือตัวถือตนอีกต่างหาก

              เราต้องนึกไปถึง ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บัญญัติศัพท์ขึ้นมาเรียกพวกเรา ท่านใช้คำว่าภิกขุ คือ ผู้ขอ หรือ ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร การเป็นผู้ขอ เพราะว่า เรามีปกติบิณฑบาตเลี้ยงชีพ ท่านใช้คำว่าสัมมาอาชีวะ อาชีพที่ถูกต้อง
              พระของเรามีงานประจำ เกี่ยวกับการเลี้ยงชีพ เพียงอย่างเดียว คือ ขอเขากิน เราเป็นขอทาน งานอื่นไม่ใช่งานของพระ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการหาเงินหาทอง แบบไหนก็ตาม ไม่ใช่งานของพระทั้งหมด
              งานประจำมีอย่างเดียวคือ เช้าขึ้นมาออกบิณฑบาต ถ้าเราไม่มีความระลึกได้ตรงนี้ เราก็อาจจะไปในลักษณะ ทำตัวเป็นเจ้านายเขา ไปให้โยมเขาสงเคราะห์ เหมือนกับว่าเป็นหน้าที่โยมที่จะต้องเลี้ยงเรา

              ถ้าเป็นดังนี้ เราจะขาดทุนมาก เพราะว่าโบราณท่านใช้คำว่า โปรดสัตว์ คือ เราต้องรักษากาย วาจา ใจของเราให้ดีที่สุด ให้สะอาดบริสุทธิ์ที่สุด เท่าที่จะทำได้ เมื่อถึงวาระ ถึงเวลาแล้ว การที่ญาติโยมเขาสงเคราะห์เรา เขาจะได้อานิสงส์สูงสุดเท่าที่เขาจะพึงได้

              การทำบุญของญาติโยมส่วนใหญ่ คือ หวังผลเพื่อความสุขสบายในเบื้องหน้า ถ้าหากว่าศีล สมาธิ ปัญญาของเราดี มีความแจ่มใส มีความผ่องใส บริสุทธิ์เป็นปกติ ญาติโยมที่ทำบุญ ท่านก็จะได้บุญใหญ่ สมกับความตั้งใจของเขา
              สมกับที่โบราณท่านบัญญัติ ใช้คำว่าโปรดสัตว์ แต่ถ้ากำลังใจของเราไม่ดี ศีล สมาธิ ปัญญาของเราบกพร่อง เราออกไปในแต่ละวัน มันจะไม่ใช่การโปรดสัตว์ มันเป็นการไปให้สัตว์เขาโปรด โทษใหญ่ก็จะเกิดขึ้นกับเรา

              ทุกวันตัวเราขวนขวายหาความดีใส่ตัว แล้วในตอนเช้าๆ ญาติโยมก็จะมาเอาความดีไปจากเรา ถ้าเราไม่สามารถรักษาความดีให้ทรงตัวได้ มีความดีเพียงเล็กน้อย ญาติโยมจำนวนมากด้วยกัน ต่างคนต่างเอาไป ต่างคนต่างคว้าไป เราก็จะไม่มีอะไรเหลือ
              ไม่เหลือยังไม่ว่า อาจจะขาดทุน ติดลบอีกต่างหาก ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของเรา ที่จะต้องทรงสติสัมปชัญญะ ให้สมบูรณ์อยู่เสมอ เหลือบเห็นผ้าเหลืองเมื่อไร ให้รู้ตัวว่า ตอนนี้ เราเป็นพระแล้ว คลำศีรษะไม่มีผมหรือผมสั้น เราต้องรู้ตัวว่า เราเป็นพระแล้ว

              ท่านว่า บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว กริยาอาการใดๆ ที่เป็นของสมณะ เราต้องทำกริยาอาการนั้นๆ คือ ต้องมีความสำรวมในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นปกติ

ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html

502
ธรรมะ / ...กายคตานุสติ...2
« เมื่อ: 27 ก.ค. 2554, 08:27:53 »
ภาค 1 เป็นเรื่องที่ท่านพระอาจารย์ฯได้ได้บันทึกไว้นานแล้ว
ดังข้อความข้างล่างนี้
เนื่องจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาปฏิบัติแล้ขยายความ จึงได้นำบทความอื่นๆมาให้อ่านกัน

"ยสฺสกสฺสจิ กายคตาสติ อภาวิตา อพหุลีกตา
ลภติ ตสฺส มาโร โอตารํ ลภติ ตสฺส มาโร อารมฺมณํ"

   ภิกษุไม่เจริญกายคตาสติอยู่ประจำแล้ว
ย่อมตกเป็นทาสของมาร มารอยู่เหนืออารมณ์
              ...กายคตาสติสูตร ๑๕/๑๘๖...

ทบทวนในสติปัฏฐาน ๔...
เริ่มจากฐานกายในแต่ละบรรพ
โดยเจริญกายคตาสติควบคู่กันไปในบางอารมณ์
เริ่มจากกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก รู้ลมสั้น รู้ลมยาว รู้ลมหายใจปกติ
เจิญอยู่ในอานาปานบรรพจนจิตพบความสงบระงับแห่งลมหายใจ
จดจำทางเดินของจิตในแต่ละขั้นของอารมณ์ธรรมกรรมฐาน
เวลาเราเปลี่ยนอิริยาบทของกายก็ให้มีสติกำหนดรู้อยู่ตลอด
เป็นการเจริญสติพิจารณาอยู่ในอิริยาบทบรรพทุกขณะ
มีสัมปชัญญะรู้ตัวในการเคลื่อนไหวจิตอยู่ในสัมปชัญญะบรรพ
จิตพิจารณากายให้เห็นถึงความน่าเกลียดของร่างกาย
จนเกิดความจางคลายเบื่อหน่ายในตัวตนเป็นการเจริญสติในปฏิกูลปนสิการ
แยกกายของเราให้เห็นเป็นอาการสามสิบสอง ซึ่งประกอบมาจากธาตุทั้ง ๔
คืนร่างกายของเรานี้สู่ธรรมชาติเห็นกายเป็นเพียงธาตุที่จิตมาอาศัย
ไม่นานก็ต้องทิ้งไปตามกาลเวลาพิจารณาอยู่ในธาตุบรรพ
เมื่อจิตออกจากกายด้วยความสลายเสื่อมไปของธาตุที่รวมกัน
กายนั้นย่อมมีความเสื่อมสลายกลายเป็นซากศพมีลักษณะต่างๆ
๙อย่างของการเสื่อมสลายจนเกิดความจางคลายในกายนี้
จิตพิจารณาในนวสีถิกาบรรพลักษณะของกายที่เป็นซากศพ
จิตก็พบกับความเป็นจริงของกายนี้ที่จิตเข้ามาอยู่อาศัย
เกิดความรู้ความเข้าใจ จิตจางคลายจากการยึดถือในตัวตน
ฝึกฝนพิจารณาในฐานกายให้มีความช่ำชองในทุกบรรพของฐานกาย
เมื่อพื้นฐานหนักแน่นมั่นคงแล้วความเสื่อมในธรรมทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้น
มีแต่ความเพิ่มพูนงอกงามเจริญในธรรมเพราะมีพื้นฐานที่ดีและถูกต้องมั่นคง
การปฏิบัติธรรมทั้งหลายต้องเริ่มจากพื้นฐานซึ่งคือกายของเรานี้เอง....
 :059:แด่กายคตานุสติกรรมฐานที่เป็นพื้นฐานแห่งสติปัฏฐาน ๔ :059:
                  เชื่อมั่น-ศรัทธา-ปรารถนาดี-ด้วยไมตรีจิต
                            รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม
๒๗ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๒.๑๘ น. ณ ศาลาน้อยริมน้ำโขง ชายแดนประเทศไทย
ที่มา
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=12608.0

503
ธรรมะ / ตอบ: สีลานุสติ
« เมื่อ: 27 ก.ค. 2554, 07:09:37 »
เพลง สีลานุสสติกัมมัฏฐาน

ที่มา

504
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ฯ :054:

ท่านเปรียบเทียบน้ำในถังได้เห็นภาพชัดเจนมากครับ

505
ยอดเยี่ยมเลยครับ :015:

ขอแสดงความนับถือ

506
ธรรมะ / ตอบ: สีลานุสติ
« เมื่อ: 27 ก.ค. 2554, 06:43:36 »
สีลานุสสติ (7/18) หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ืที่มา

507
ธรรมะ / ตอบ: สีลานุสติ
« เมื่อ: 26 ก.ค. 2554, 10:29:05 »
สีลานุสติ 8/9

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย


ศีล ๕ ข้อนั้นจะจาระไนก็ยืดยาว คงเข้าใจกันดีแล้วทุกคน เรื่องศีลท่านพูดไว้มีอรรถ ๔ คือ

สีลนฏโฐ แปลว่า ปกติ ผู้รักษาศีลมีปกติ กาย วาจา ใจ ไม่ให้กำเริบ คือไม่ทำ กาย วาจา ใจ ให้ผิดปกตธรรมดา คนเราเกิดมามิใช่เกิดเพื่อมาฆ่า เพื่อจะขโมยของ กันและกัน เพื่อประพฤติผิดประเพณี เพื่อพูดเท็จหลอกลวง หรือเพื่อดื่มสุราเมรัย ของเหล่านี้ล้วนแต่มาฝึกหัดเอาใหม่ทั้งนั้น

สีลฏโฐ แปลว่า หินแข็ง หินแข็งเป็นหินปกติ ไม่หวั่นไหว ผู้รักษาศีลก็เช่นนั้นเหมือนกัน คือมีใจกล้าแข็งไม่ยอมทำตามอำนาจความชั่วให้ผิดจากศีล

สีตลฏโฐ แปลว่า เย็น ผู้รักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้ว ย่อมได้รับความเยือกเย็น ไม่มีวิปฏิสาร คือ ความเดือดร้อนใจในการติเตียนเราเองด้วยศีลข้อนั้น ๆ ไม่บริสุทธิ์

สีสฏโฐ แปลว่า ยิ่ง เป็นของสูง ศีลนี้เป็นของสูง ยากที่จะมีผู้รักษาได้ เมื่อผู้ใดรักษาได้แล้ว ผู้นั้นก็เป็นผู้สูงด้วยคุณธรรมคือ ศีลนั้น ศีลเป็นของเลิศประเสริฐในโลกนอกจากศีลแล้วไม่มีอะไร

สิรฏโฐ แปลว่า วิเศษ หรือยอด (เหมือนสีสฏโฐ)

ศีลเป็นของวิเศษอยู่ในตัว ถ้ามารักษาศีล คือมีศีลอยู่ในตัวเข้าก็วิเศษไปด้วย วิเศษจนสามารถกระทำให้พ้นจากความชั่วช้าได้เป็นขั้น ๆ นอกจากศีลแล้วมีสิ่งใดที่จะขจัดความชั่วในตัวคนเราได้

   ชนชั้นต่ำคือคนมีความเลวทรามอยู่ในตัว ไม่สามารถจะจับเอาศีลนี้ไว้ในตัวได้ คนไม่ศรัทธา ไม่กอปรด้วยปัญญาจะรักษาศีล ๕ ไม่ได้ ถึงรักษาก็ไม่อยู่ในตัวของเรา บางคนบอกว่ารักษาศีล ๕ เป็นของยาก ขอบอกไว้เลยว่า ถ้าเรามีศรัทธาแล้วเป็นของไม่ยากเลย เจตนา “งดเว้น” ตัวเดียวเท่านั้นแลเป็นศีลแล้ว เหมือนกฎหมายบ้านเมือง ถ้าคนไม่ทำผิดอย่างเดียวตำรวจ ทหาร และตุลาการก็ไม่ต้องมี นี่ก็เหมือนกัน เพราะมีคนประพฤติผิดนั่นแหละพระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้รักษาศีล อย่างเด็กเกิดมาใหม่ ๆ มันไม่รู้ภาษาอะไร มันไม่ทำอะไร นอนอยู่บนผ้าอ้อมดิ้นแด่ว ๆ อยู่อย่างนั้น มันจะมีศีลอะไร ศีลอยู่ที่เจตนา เจตนางดอันนั้นแหละเป็นศีล

เรางดเว้นจากฆ่าสัตว์ เราระลึกถึงว่าเราเคยฆ่าสัตว์เดี๋ยวนี้เรางดเว้นได้แล้วจิตใจมันก็เบิกบานแช่มชื่น เราเคยเป็นขโมยลักฉกสิ่งของเขาต่าง ๆ เวลานี้เรางดเว้นการลักขโมยได้แล้วจิตใจก็แช่มชื่นเบิกบาน แต่ก่อนเราเคยประพฤติผิดในมิจฉาจารกล่าวมุสาวาท ดื่มสุราเมรัย เราเคยประพฤติผิดเป็นอาจิณ หรือประพฤติเป็นบางครั้งบางคราวโดยเราไม่กลัวโทษ เห็นว่าเป็นการสนุกเฮฮา เมื่อมีสติครอบงำคุ้มครองจิตได้แล้ว มันเลยไม่กล้าทำความสนุกอันนั้น เมื่อไม่กล้าทำก็เกิดความละอาย งดเว้นจากโทษอันนั้น จิตใจมันก็เบิกบาน

  เราเกิดขึ้นมาได้ชื่อว่ามาสร้างคุณงามความดี ถ้าไม่มีศีลแล้วจะไปสร้างอะไร ชีวิตวันหนึ่ง ๆ ก็หมดไปเปล่า ๆ อย่างน้อยที่สุดมีศีลสักข้อหนึ่งก็ยังดี ถึงแม้ไม่เต็มไม่สมบูรณ์ เปรียบเหมือนกับคนพิการขาหักไปข้างหนึ่ง แขนด้วนไปข้างหนึ่ง มันไม่สมบูรณ์ แต่ยังดีกว่าไม่มีศีลเลย

  การรักษาศีลนี้ ขอให้พากันตั้งใจรักษาจริงๆ เถิดไม่ใช่ของยาก รักษาข้อหนึ่งให้ได้จริงๆ เมื่อมันสมบูรณ์จริง ๆ จัง ๆ แล้ว ข้อต่อ ๆ ไปก็เป็นของง่ายนิดเดียว บางคนเกิดขึ้นมาตั้ง ๔๐-๕๐ ปี หรือจนเฒ่าตายไปเสียเปล่า ๆ ศีลไม่เคยสมบูรณ์เลยสักที จะต้องขาดไป ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ หรือข้อใดข้อหนึ่งให้ได้ เข้าวัดเข้าวาก็พากันสมาทานศีล พอกลับไปยังไม่ทันพ้นเขตวัด ศีลก็กลับคืนมาหาพระเสียแล้ว ให้เข้าใจว่าศีลไม่ใช่ข้อรักษา เป็นข้องดเว้น เป็นข้องดเว้นต่างหาก

ผู้มีศีล ๕ ประการได้ชื่อว่าเป็นอุบาสก อุบาสิกา ที่สมบูรณ์แล้ว ถือพุทธศาสนาสมบูรณ์บริบูรณ์แล้ว

ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่มี ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้นที่ตัวของเรา ถ้าปฏิบัติแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ก็จะเกิดขึ้นที่ตัวของเรา ท่านสอนให้ระลึกถึงศีล จะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๒๒๗ ก็แล้วแต่ ตามฐานะของตน เมื่อมีศีลแล้วพึงระลึกถึงศีลของตนให้แน่วแน่เป็นอันหนึ่งอันเดียว นั่นแหละเรียกว่า สีลานุสติ


จากหนังสือ ธรรมลีลา ฉบับที่ 40 มีนาคม 2547

ที่มา
http://www.dhammadelivery.com/teaching-detail.php?tea_id=51

508
ธรรมะ / ตอบ: สีลานุสติ
« เมื่อ: 26 ก.ค. 2554, 10:14:39 »
สีลานุสติ 7/9

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย


เมื่อเราระลึกตามศีลที่เรารักษาว่า ข้อนั้น ๆ เรางดเว้นไปแล้ว มันเป็นการระลึกถึงความดีของเรานั่นแหละ

สีลานุสติ ก็ระลึกถึงความดีของศีลที่มีอยู่ในตัวของเรานั่นเอง ระลึกถึงศีลในที่นี้ไม่ได้หมายถึงศีลทีอยู่ภายนอก หมายถึง ศีลที่อยู่ในตัวของเรา รักษาตัวของเราให้เป็นคนดีขึ้นมา

ผู้นับถือพุทธศาสนาต้องมีศีล ๕ เป็นฐาน ศาสนาจะตั้งอยู่ได้มั่นคงเพราะคนปฏิบัติตามหลักของศีล ถ้าเราไม่มีศีล ๕ เสียแล้ว จะเอาอะไรมารักษาพุทธศาสนา เราต้องรักษาศีล ๕ นี้เป็นพื้นเสียก่อน

พื้นฐานจริง ๆ ของพุทธศาสนานั้นมี ๕ ประการ คือ


๑. นับถือพระพุทธเจ้า

๒. นับถือพระธรรม

๓. นับถือพระสงฆ์

๔. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว ไม่ถือโชคลาภเครื่องรางของขลัง คือ เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าทำดีได้ดีกับตนเอง

๕. ไม่นับถือศาสนาอื่น ลัทธิอื่น ไม่ถืออะไรทั้งหมดนอกจากพุทธศาสนา

อุบาสก อุบาสิกา ต้องมี ๕ ประการนี้เป็นเครื่องอยู่เสียก่อน แล้วจึงค่อยมีศีล ๕ เป็นนิตย์ เป็นข้อที่ ๖

ถ้าหากถือศีล ๕ ประจำเป็นนิตย์ไม่ขาดตกบกพร่องเลย ท่านให้เกียรติยศชื่อว่า โสดาบันบุคคล อีกด้วยแน่นอนทีเดียว เมื่อเชื่อกรรม เชื่อผลของกรรมแล้ว ที่จะไม่รักษาศีล ๕ ไม่มี เพราะความชั่วที่ทำผิดในศีลนั้น ๆ ก็เป็นกรรมอยู่โดยตรง

เมื่อเราเชื่อกรรมอย่างลึกซึ้ง เข้าถึงจิตเข้าถึงใจจริง ๆ แล้ว การรักษาศีล ๕ ย่อมทำได้ง่าย จะรู้สึกว่าศีล ๕ ไม่ใช่ของยาก เป็นของรักษาง่ายนิดเดียว และศีลย่อมตามรักษาตัวเราอีกด้วย เลยไม่ต้องรักษาศีล ศีลกลับมาคุ้มครองรักษาตัวเราเองให้อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากอุปัทวอันตรายทั้งปวง



ที่มา
http://www.dhammadelivery.com/teaching-detail.php?tea_id=51

509
ธรรมะ / ตอบ: สีลานุสติ
« เมื่อ: 26 ก.ค. 2554, 10:01:20 »
สีลานุสสติกรรมฐาน 6/9

จาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน

สีลานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์ คำว่าศีล แปลว่า ปกติ สิกขาบทของ ศีล เป็นสิกขาบทที่บังคับให้เป็นไปตามปกติของความรู้สึกและพอใจของมวลชนโลก ทั้งที่เป็นสัตว์ และมนุษย์ จะได้พูดให้ฟังแต่โดยย่อ

ปกติของสัตว์และมนุษย์ที่เกิดมาร่วมโลกนี้ แม้จะต่างชาติ ต่างภาษา ต่างศาสนา ต่างเพศ ต่างตระกูลกันเพียงใดก็ตาม สิ่งที่มีความปรารถนาเสมอกันเป็นปกติ มีอยู่ ๕ ข้อ คือ

๑. ไม่ต้องการให้ใครมาฆ่าตน และไม่ปรารถนาให้ผู้ใดมาทำร้ายร่างกาย แม้ไม่ถึงตาย ก็ตาม

๒. ไม่ต้องการให้ใครมาลักขโมย หรือยื้อแย่ง หลอกลวงเอาทรัพย์ของตนไปโดยที่ตนไม่ เต็มใจอนุญาต

๓. ไม่มีความประสงค์ให้ใครมาทำลายหัวใจในด้านความรัก จะเป็นสามีภรรยา บุตร หลาน หรือแม้แต่คนในปกครองที่มิใช่บุตรหลาน โดยที่ตนเองยังไม่เห็นชอบด้วย

๔. ไม่ปรารถนาให้ใครมาใช้วาจาที่ไม่ตรงความจริง ในเมื่อในขณะนั้นต้องการรู้เรื่องราว ตามความเป็นจริง

๕. ไม่ต้องการให้ใครเห็นว่าตนเป็นคนบ้า ๆ บอ ๆ ด้วยอาการที่เป็นคนคุ้มดีคุ้มร้ายเพราะ เหตุใดก็ตาม

เมื่อความต้องการของปวงชาวโลกทั้งที่เป็นมนุษย์และสัตว์ มีความปรารถนาเสมอกันเป็น ปกติอย่างนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบทตามความต้องการเป็นปกติของ ชาวโลกไว้ ๕ ข้อ ที่เรียกว่า ศีล ๕ หรือปกติศีล

ส่วนศีล ๘ หรือเรียกว่าศีลอุโบสถ มีสิกขาบท ๘ เหมือนกันหรือศีล ๑๐ ของสามเณร ศีล ๒๒๗ ของพระ ศีล ๓๑๑ ของนางภิกษุณี ก็เป็นศีลที่บัญญัติตามปกติของท่านนั้นๆ

การที่ท่านสอนให้ระลึกถึงศีลเนืองๆ นั้น หมายถึงให้สำรวมใจ ระมัดระวังความประพฤติศีล เพื่อมิให้ศีลบกพร่อง เพราะศีลเป็นบาทที่จะสนับสนุนใจให้เข้าถึงสมาธิ ศีลนี้ผู้ใดปฏิบัติไม่ขาดตกบกพร่องแล้วย่อมมีอานิสงส์คือ จะไม่ได้รับความเดือดร้อน เพราะอำนาจอกุศลกรรม จะเป็นที่รักของ ปวงชน จะมีเกียรติคุณความดีฟุ้งไปในทิศานุทิศ จะเป็นผู้แกล้วกล้าอาจหาญ ในเมื่อมีคนโจษจันถึง เรื่องศีล เมื่อใกล้จะตายอารมณ์จิตจะผ่องใส อกุศลกรรมไม่สามารถเข้ามาข้องได้ เมื่อตายแล้วจะได้ เกิดในสวรรค์

ก่อนตายศีลนี้จะเป็นสะพานใหญ่ให้อารมณ์สมาธิหลั่งไหลมาสู่จิต จะทำให้จิตตั้งมั่นใน สมาธิ เป็นพื้นฐานให้ได้วิปัสสนาญาณ ได้ถึงพระนิพพานในที่สุด ท่านที่คิดถึงศีลและระมัดระวังรักษา ศีลเป็นปกติ แล้วใคร่ครวญพิจารณาศีลเป็นปกติอย่างนี้ ท่านว่าจะมีอารมณ์สมาธิถึงอุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิเป็นที่สุด


เมื่อเข้าถึงสมาธิตามที่กล่าวแล้ว ถ้าท่านน้อมเอาวิปัสสนาญาณมาพิจารณา ท่านก็จะได้ บรรลุมรรคผลภายในไม่ช้า

(ขอยุติสีลานุสสติไว้แต่โดยย่อเพียงเท่านี้)


ที่มา
http://www.luangporruesi.com/485.html

510
ธรรมะ / ตอบ: สีลานุสติ
« เมื่อ: 26 ก.ค. 2554, 09:57:03 »
สีลานุสติ 5/9

  ให้ท่านตั้งใจว่า เรารักษาศีลเพราะเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เรารักษาศีล เพราะเราต้องการไปพระนิพพาน พอกำลังใจทรงตัว ก็ประคับประคองรักษากำลังนั้นเอาไว้ มีใจจดจ่อแน่วแน่อยู่กับภาพของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งใจว่าพระพุทธเจ้าไม่อยู่ที่หนึ่งที่ใดเลย นอกจากพระนิพพาน เราเห็นท่านคือเราอยู่กับท่าน เราอยู่กับท่านคือเราอยู่บนพระนิพพาน
 
            ตั้งใจว่า อานิสงส์ของศีลที่เราตั้งใจพิจารณานี้ ที่เราตั้งใจปฏิบัติด้วยการงดเว้นนี้ ขอให้เป็นปัจจัย ส่งผลให้เราเข้าสู่พระนิพพานแห่งเดียว หายใจเข้า ศีลทุกข้อของเราก็สมบูรณ์บริบูรณ์ หายใจออก ศีลของเราก็สมบูรณ์บริบูรณ์

              ให้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของเรา อยู่กับศีล ให้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของเรา อยู่กับพระ ให้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของเรา อยู่กับนิพพาน พยายามทรงกำลังใจแบบนี้ให้เป็นปกติ จึงจะชื่อว่า ท่านปฏิบัติในสีลานุสติกรรมฐานได้ทรงตัว


              การปฏิบัติกรรมฐาน กองใดกองหนึ่งก็ตาม ถ้าเราทำได้แล้ว ก่อนที่จะขึ้นกรรมฐานกองอื่น ให้เราทวนของเก่าเสียก่อน ถ้าเราทำในพุทธานุสติ ก็จับภาพพระพร้อมกับคำภาวนา ให้ทรงตัว แจ่มใส

              ถ้าเราปฏิบัติในธัมมานุสติ ก็จับภาพของดอกมะลิแก้ว หรือดอกมะลิทองคำ ที่เราใช้แทนธัมมานุสติกรรมฐาน ให้เป็นปกติ ทรงตัว แจ่มใส ถ้าปฏิบัติในสังฆานุสติ ก็จับภาพหลวงปู่หลวงพ่อ องค์ใดองค์หนึ่ง ที่เราเคารพท่าน จนภาพปรากฏชัดเจนแจ่มใส อย่างนี้เป็นต้น
              พอกำลังใจทรงตัวเต็มที่แล้ว ค่อยถอยกำลังใจออกมา เริ่มต้นปฏิบัติกรรมฐานกองใหม่ เราต้องมีการย้อน ทวนหน้าทวนหลัง ซักซ้อมเพื่อความคล่องตัว อย่างนี้อยู่เสมอ เพื่อว่า ถึงวาระถึงเวลา กำลังใจมันมีจริตไหนปรากฏขึ้น จะได้ใช้กรรมฐานกองนั้น ๆ ต่อสู้กับมันได้ทันท่วงที

              ดังนั้น เมื่อทำได้แล้ว ของเก่าห้ามทิ้ง ต้องทบทวนไว้ตลอดเวลา ในขณะเดียวกัน เมื่อกำลังใจทรงตัวแล้ว ก็ทำกองใหม่ต่อไป หรือถ้าเราไม่มีความจำเป็น ต้องศึกษามันให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เราชอบใจกองไหน ให้เรายึดมั่นกองนั้นของเราไป

              ให้ทำดังนี้อยู่เป็นปกติทุกวันๆ ถือเป็นภาระเป็นหน้าที่ ที่เราจะต้องทรงกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง ให้ได้ในแต่ละวัน อย่าให้จิตของเรา ไปฟุ้งซ่านกับความรัก โลภ โกรธ หลง เพื่อรักษาอารมณ์แจ่มใสของจิตให้เป็นปกติ

             ถ้าทำได้ดังนี้ ถึงเวลาเราตาย เราก็ไปสู่สุคติ ถ้าเราไม่ต้องการการเกิด ไม่มีความปรารถนาในร่างกายนี้ ไม่มีความปรารถนาในโลกนี้ เราก็จะไปสู่พระนิพพานตามความต้องการของตน
              ตอนนี้ ขอให้ทุกคน รักษากำลังใจ ให้ทรงตัวอยู่กับอารมณ์ที่เราทำได้ แล้วแบ่งกำลังใจส่วนหนึ่ง ควบคุมร่างกายไว้ตามปกติ เพื่อจะได้สวดมนต์ทำวัตรของเราต่อไป ?


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๔๗

ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html

511
ธรรมะ / ตอบ: ธรรมโอสถ...(2)
« เมื่อ: 26 ก.ค. 2554, 09:48:36 »
ธรรมะสำหรับผู้ป่วย2


512
ธรรมะ / ตอบ: ธรรมโอสถ...(2)
« เมื่อ: 26 ก.ค. 2554, 09:45:13 »
ธรรมะสำหรับผู้ป่วย1


513
ธรรมะ / ตอบ: สีลานุสติ
« เมื่อ: 26 ก.ค. 2554, 09:41:12 »
สีลานุสติ 4/9

ถ้าเคยฆ่าคนฆ่าสัตว์ไว้เป็นปกติ ก็จะอายุสั้นพลันตาย หรือถ้าหากว่ายังดำรงชีวิตอยู่ ก็จะมีแต่ความเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เสมอ ต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการต่าง ๆ ที่มันเกิดขึ้นกับตน เพราะเศษของกรรมมันตามมา

              ถ้าหากว่าเคยลักขโมยเขาเอาไว้ เกิดมาทรัพย์สินจะเสียหาย จะโดนไฟไหม้บ้าง โดนทำลายด้วยลมด้วยน้ำบ้าง เกิดแผ่นดินไหวบ้าง ทรัพย์สมบัติทั้งหมด จะสลายตัวไป ทรงตัวอยู่ไม่ได้ เพราะเศษกรรมมันเกิดขึ้น มันตามมาสนอง

              ถ้าหากว่าเคยละเมิดลูกเขาเมียใคร คนที่เขามีคนรักมีคนเขาหวง เกิดมาชาติใหม่ เศษกรรมก็จะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ บังคับบัญชาคนอื่นไม่ได้ เป็นคนไม่มีอำนาจ ไม่มีใครเชื่อฟัง

              ถ้าโกหกคนอื่นเป็นปกติ เกิดเป็นมนุษย์ เศษกรรมก็จะทำให้เรา ไม่มีโอกาสจะได้ฟังความเป็นจริง พูดอะไรคนก็ไม่เชื่อ ถ้าเราไม่ต้องการให้เศษกรรมข้อนี้ สร้างความลำบากให้กับเรา เราก็อย่าพูดปด

              ถ้าเราดื่มสุราเมรัย หรือว่าเครื่องดองของเมาอะไร ที่ทำให้ขาดสติสัมปชัญญะ ทำแต่น้อย เกิดเป็นมนุษย์ เศษกรรมก็จะทำให้มีโรคปวดศีรษะเป็นปกติ ถ้าหากว่าปานกลาง ก็จะเป็นโรคประสาท สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์

              ถ้าหากว่าทำมากเป็นปกติ ทุกวัน ๆ เศษกรรมตัวนี้ จะทำให้เมื่อเราเกิดมาเป็นมนุษย์ ก็จะอยู่ในลักษณะไม่มีสติสัมปชัญญะ คือ กลายเป็นคนบ้า
              ถ้าเรารักษาศีลได้บริสุทธิ์สมบูรณ์ อบายภูมิทั้งหลาย ไม่สามารถจะนำเราไปได้ อย่างน้อยเกิดเป็นมนุษย์ ก็มีอวัยวะครบถ้วนสมบูรณ์ มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม เป็นที่ชอบใจ และเศษกรรมทั้งหลาย ก็ไม่ปรากฏแก่เรา
              นี่คือคุณของศีลขั้นต้น และกำลังของศีล ยังจะส่งผลให้เรา เกิดเป็นเทวดาได้ เกิดเป็นพรหมได้ ไปสู่พระนิพพานได้ ถ้าเรามีศีลเป็นปกติ ตายจากมนุษย์ ก็จะเป็นเทวดาชั้นใดชั้นหนึ่ง
              ถ้าหากว่าศีลของเรา ทรงตัวอยู่ตลอดเวลา เรียกว่าทรงศีลเป็นฌาน เราก็จะเกิดเป็นพรหมตามกำลังของฌานที่เราทรงอยู่ หรือถ้าเราตั้งใจรักษาศีล เพราะจะไปพระนิพพาน ถ้าจิตไม่ยึดไม่เกาะร่างกายจริง ๆ เราก็จะสามารถเข้าสู่พระนิพพานได้
              ดังนั้น ในแต่ละวัน ให้ทุกคนใคร่ครวญศีล ตามสภาพของตน เป็นฆราวาสก็รักษาศีล ๕ เป็นอุบาสกอุบาสิกาก็ศีล ๘ หรือถ้ารักษากรรมบถ ๑๐ ได้ก็ยิ่งดี เป็นสามเณรก็ศีล ๑๐ เป็นพระก็ศีล ๒๒๗ ข้อพร้อมอภิสมาจาร
              หากว่าเราสร้างสติสัมปชัญญะของเรา ได้สมบูรณ์ เพียงแค่ขยับตัว เราก็รู้แล้วว่าศีลจะขาด จะพร่องหรือไม่ ? ให้เราทบทวนศีลตามสภาพของตนอยู่ทุกวัน อาจจะประเภทว่า ตื่นเช้าขึ้นมาก็เริ่มใคร่ครวญ ทบทวนไปเลย


              มีสิกขาบทไหนที่ยังพร่องไม่สมบูรณ์ ให้ตั้งใจว่า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ศีลทุกสิกขาบทของเราจะสมบูรณ์บริบูรณ์ แล้วตั้งหน้าตั้งตารักษาไป ในขณะที่สติสัมปชัญญะยังไม่สมบูรณ์ การพร่องในศีลย่อมมีเป็นปกติ แต่ว่าอย่าให้พร่องโดยเจตนาของเรา
              เพราะว่าเจตนานั้น เป็นตัวกรรมใหญ่ ที่จะพาเราไปสู่อบายภูมิ หรือไปสู่สุคติ ถ้าเจตนาของเราละเว้น ไม่ละเมิดศีลเป็นปกติ เราก็ไปสู่สุคติแน่นอน แต่ถ้าหากว่าเจตนาของเราตั้งใจละเมิด อบายภูมิก็เป็นที่ไปของเราแน่นอนเช่นกัน

              เมื่อเราใคร่ครวญในศีลเป็นปกติแล้ว มั่นใจแล้วว่า วินาทีนี้เป็นต้นไป ศีลทุกข้อของเราจะสมบูรณ์บริบูรณ์ ก็ให้เราจับลมหายใจเข้าออก ภาวนาต่อไปเลย
              จะเป็นการจับภาพของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมลมหายใจเข้าออกก็ได้ ใช้คำภาวนาว่าพุทโธ ธัมโม สังโฆก็ได้ แล้วแต่เราถนัด เมื่ออารมณ์ใจของท่านตั้งมั่น ก็แปลว่าท่านทรงฌานในสีลานุสติกรรมฐาน



ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html

514
ธรรมะ / ตอบ: สีลานุสติ
« เมื่อ: 26 ก.ค. 2554, 09:28:27 »
สีลานุสติ 3/9

การปฏิบัติกรรมฐานของเรานั้น มีสิ่งที่มาขวาง ก็คือมารทั้งหลาย เขามีความฉลาด จะทำให้เราเกิดอารมณ์กระทบ ไม่พอตา ไม่พอใจก็ดี ชอบอกชอบใจก็ดี แล้วเราก็จะพลาดไปจากจุดที่เราปรารถนา ที่เราต้องการ

              ให้สังเกตว่า เมื่อเราปฏิบัติไปถึงจุดหนึ่ง รู้สึกว่ามันดีเหลือเกิน ทาน ศีล ภาวนาของเรา มีความก้าวหน้ามาก มีความคล่องตัวมาก แล้วอยู่ๆ มันก็พังไปเฉย ๆ
              ถ้าเราสังเกตตรงจุดนี้ หมั่นจับตรงจุดนี้บ่อย ๆ จะเห็นได้ว่า ทันทีที่เราปฏิบัติแล้ว ความดีเริ่มทรงตัว อยู่ ๆ มันก็จะพังไปทุกที มันจะเอาโลภะ โทสะ โมหะ เข้ามาอยู่ในใจแทน ก่อนกรรมฐานนั้น ๆ นี่คือฝีมือของมาร คือผู้ขวาง

              ขอให้ทุกท่านทราบไว้ว่า ขณะที่กำลังใจท่านฟุ้งซ่านที่สุด ความจริงแล้วเป็นเวลาที่ท่านใกล้ความดีที่สุด มารเขารู้ว่าเราจะพ้นจากมือเขาแล้ว เขาก็พยายามที่จะดึงเรา ให้เป๋ไปจากจุดที่เรามุ่งไป
              มันเหมือนกับเรายืนอยู่หน้าประตูแล้ว แค่เอื้อมมือไปเปิดประตู เราก็จะก้าวพ้นไปแล้ว แต่ว่าทุกครั้ง เขาสามารถหลอกให้เราสนใจสิ่งอื่นได้ แล้วก็เลี้ยวตามเขาไป จนกระทั่งพอรู้ตัวขึ้นมา เอ๊ะ..ก่อนหน้านี้ทำไมเราทำแล้วรู้สึกดีเหลือเกิน ? ทำไมตอนนี้กำลังใจมันถึงแย่ขนาดนี้ ? ทำไมมันถึงเลวขนาดนี้ ?
              ถ้าท่านรู้จักตรอง โดยการคิดย้อนกลับไป ให้รู้ว่าตัวเองตอนนั้นคิดอย่างไร ? พูดอย่างไร ? ทำอย่างไร ? อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบไหน ? กำลังใจเราถึงได้ดี ถึงได้ทรงตัว ก็ให้คิดแบบนั้น พูดแบบนั้น ทำแบบนั้น สร้างสิ่งแวดล้อมแบบนั้นขึ้นมา
              เราก็จะก้าวไปสู่จุดที่เคยทำได้อีก แล้วคราวนี้ ให้ใช้สติระมัดระวัง ควบคุมเอาไว้ อย่าให้คล้อยตามกำลังของมาร ที่มาหลอกลวงและดึงเราไปอีก ถ้ารู้จักพินิจพิจารณา ในลักษณะนี้บ่อย ๆ เราก็จะเริ่มชนะเขาได้บ้าง
              หลังจากนั้นก็จะชนะมากขึ้น มาอยู่ในลักษณะก้ำกึ่งกัน ตอนนี้ จะเป็นตอนที่สนุกที่สุดของการปฏิบัติ คือมันจะช่วงชิงไหวชิงพริบกันว่า คะแนนต่อไปจะเป็นของเราหรือของเขา


              ถ้ามาถึงตรงจุดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดูหนัง ดูละคร จะสิ่งใดก็ตาม ไม่มีความน่าสนใจไปกว่าการดูใจตัวเอง การสร้างกำลังใจตัวเอง ต่อสู้กับกิเลส ถ้าเรายิ่งใช้สติ ใช้ปัญญา ควบคุมมันให้มากขึ้น หมั่นพินิจพิจารณา สร้างกำลังของตนให้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น เราก็จะชนะมากกว่าแพ้ แล้วในที่สุดก็จะก้าวไปสู่จุดที่ไม่แพ้อีก
              สิ่งต่างๆ รอบข้าง มันล่อลวงเราอยู่ตลอดเวลา เรื่องของราคะ มันเห็นรูปสวย มันก็พลอยยินดีด้วย ไปคลุกคลีตีโมง ไปฟุ้งซ่านอยู่ตรงจุดนั้น กำลังใจเราก็เสีย
              มันได้ยินเสียงเพราะ มันก็พลอยยินดีด้วย มันก็ใฝ่ฝันที่อยากจะฟัง พยายามที่จะเสาะหามา หรือไปอยู่ใกล้สิ่งนั้น ก็เสียผลการปฏิบัติ
              มันได้กลิ่นหอม มันก็พลอยยินดีด้วย มันได้รสอร่อย มันก็พลอยยินดีด้วย มันได้สัมผัสที่นุ่มนวลชอบใจ มันก็พลอยยินดีด้วย
              ทำให้เราไปหลง ไปยึด ไปติดอยู่ตรงจุดนั้น สิ่งที่เราปฏิบัติมาตั้งแต่ต้น มันก็พังไป หรือว่าเราเห็น เราได้ยิน เราได้กลิ่น เราได้รส เราสัมผัส ไม่ชอบใจสักอย่างเดียว โทสะมันก็เกิด ในเมื่อความชั่วมันเกิด ความดีก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่าความชั่ว มันมาอาศัยอยู่แทนเสียแล้ว เราก็เสียผลการปฏิบัติเช่นกัน

              ดังนั้นการปฏิบัติกรรมฐาน นอกจากจะทำอย่างสม่ำเสมอ จริงจังแล้ว ยังต้องมีสติสัมปชัญญะ ยังต้องมีปัญญา ต้องคอยตามดู ตามรู้ ตามระมัดระวัง อย่าให้กิเลสมันมาชักจูงเราไปได้
              สำหรับวันนี้ เรามาศึกษาเรื่องของสีลานุสติกรรมฐาน เราจะมาดูว่าศีลมีคุณสมบัติอย่างไร ? มีความดีอย่างไร ? ศีลก็คือความเป็นปกติ ปกติของปุถุชนทั่วๆ ไป ต้องมีศีลอย่างน้อย ๕ ข้อ เรียกว่ามนุษยธรรม
              คือจะต้องเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักขโมย เว้นจากการละเมิดคนที่มีเจ้าของ เว้นจากการพูดปด เว้นจากการดื่มสุราเมรัย หรือสิ่งของที่ทำให้เมามายขาดสติสัมปชัญญะ ถ้าเราละเมิดข้อใดข้อหนึ่งก็ตาม อบายภูมิจะรอเราอยู่ข้างหน้า ตายเมื่อไหร่ได้ไปแน่ ๆ ศีลเป็นเครื่องกั้นเราจากอบายภูมิ กั้นไม่ให้เราเป็นสัตว์นรก ไม่ให้เป็นเปรต ไม่ให้เป็นอสุรกาย ไม่ให้เป็นสัตว์เดรัจฉาน
              นี่คือทุนของศีลขั้นต้น รักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปสู่ทางที่ชั่ว ถ้าเราตกลงไปในทางที่ชั่ว คือลงสู่อบายภูมิแล้ว เมื่อสิ้นกรรมอันนั้น มาเกิดเป็นคน เศษกรรมอันนั้นก็ยังมาทำอันตรายเราได้อีก

ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html

515
มรณานุสตินุสรณ์ พระศรีญาณโสภณ
[youtube=425,350]1MAS5MgkbEw[/youtube]

ที่มา

516
ธรรมะ / ตอบ: สีลานุสติ
« เมื่อ: 26 ก.ค. 2554, 09:03:28 »
สีลานุสติ 2/9

ถ้าใช่ เราก็เป็นพุทธิจริต เรามีความรักสวยรักงามเป็นปกติหรือไม่ ? ถ้าหากว่ามีความรักสวยรักงามเป็นปกติ จิตมีความปราณีตละเอียด ทำอะไรทำแล้วทำอีก ถ้าหากว่าไม่ดีไม่เลิก อันนี้แสดงว่า เราประกอบไปด้วยราคะจริต

              ถ้าหากว่าเขาว่าอะไรดี ที่ไหนดี เราก็เชื่อ และต้องการไปยังสถานที่นั้น ไปกระทำสิ่งนั้น ๆ อันนี้เป็นศรัทธาจริต ถ้าเป็นคนมักโกรธ ฟังอะไร กระทบอะไร เห็นอะไรไม่ได้ เกิดโทสะขึ้นมาโดยพลัน อันนี้เป็นโทสะจริต

              ถ้าเราเป็นคนที่คิดไม่ตก ตรองไม่ตก กังวลอยู่เสมอหรือไม่ ? ถ้าเป็น อันนี้ก็จัดเป็นวิตกจริต หรือว่าเป็นคนที่หาปัญญาไม่ได้ คนอื่นเขามองเห็นช่องทางง่าย ๆ ของเราเองทำแล้วทำอีก ควานแล้วควานอีก ไม่ตรงเป้าเสียที อันนี้ก็จัดเป็นโมหะจริต
              ในแต่ละจริตวิสัยนั้น ท่านกำหนดกองกรรมฐานเอาไว้ สำหรับปฏิบัติให้ตรงกับกำลังใจของตน เพื่อจะได้เกิดความคล่องตัว ทำให้ถูกต้องตรงกับจริต เพื่อจะได้ผลเร็ว
              พุทธิจริตนั้น ท่านให้ใช้ กายคตานุสติ มรณานุสติ คือการระลึกถึงความเป็นจริงของร่างกายนี้ ตลอดจนกระทั่งความตาย และอุปสมานุสติ คือการระลึกถึงพระนิพพานอยู่เสมอ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เหมาะแก่ท่านผู้ที่เป็นพุทธิจริต เพราะว่าปัญญาท่านมาก สิ่งที่คนอื่นมองเห็นได้ยาก ท่านก็เห็น

              ศรัทธาจริต ท่านให้ระลึกใน พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นปกติ ว่ามีคุณความดีอย่างไร ? ในสีลานุสติ จาคานุสติ ให้ระลึกถึงคุณของการรักษาศีล การบริจาคให้ทานเป็นปกติ
              ราคะจริต ท่านให้ใช้ อสุภกรรมฐานทั้ง ๑๐ กอง พิจารณาให้เห็นว่า สภาพร่างกายของเรา ที่แท้จริงมันมีความไม่สวยไม่งามอย่างไร คนอื่นมันมีความไม่สวยไม่งามอย่างไร
              และให้ใช้กายคตานุสติกรรมฐาน คือให้เห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกายนี้ ว่ามันไม่สวยไม่งาม มีแต่ความสกปรกเป็นปกติ ประกอบไปด้วยอวัยวะภายนอก ภายใน ใหญ่น้อยทั้งปวง ไม่ดูแล ไม่รักษา ไม่ขัดสีฉวีวรรณมัน แค่วันสองวัน กลิ่นมันก็เหม็นจนทนไม่ได้
              โทสะจริต ท่านให้ใช้ พรหมวิหารทั้ง ๔ ข้อ คือให้มีความรักเขา เสมอตัวเรา ความสงสาร อยากให้เขาพ้นทุกข์ ความยินดี เมื่อเขาได้ดีมีสุข และเมื่อไม่สามารถที่จะทำอะไร ตามกำลังความสามารถได้แล้ว ก็ให้ปล่อยวาง
              หรือใช้วรรณกสิณทั้ง ๔ คือเพ่งสีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาวเป็นปกติ เพื่อที่จะรักษาอารมณ์ทรงตัว ต่อต้านอารมณ์ของโทสะได้

              วิตกจริตกับโมหะจริต ท่านให้ใช้อานาปานสติกรรมฐาน คือ ดูลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว เพราะว่าสองจริตนี้ ถ้าให้ทำอย่างอื่น กำลังใจของท่าน จะก้าวไม่ถึงจุดนั้น เราเองก็มาพิจารณาดูว่า ตัวเราเหมาะกับจริตไหน สมควรแก่กรรมฐานกองไหน
              เพราะว่าจริตทั้งหกนี้ มันมีครบถ้วน ขึ้นอยู่กับว่า อันไหนที่มันเด่นออกมา เมื่อพิจารณาเห็นแล้ว ถ้ามีกรรมฐานหลายกอง ที่เหมาะกับจริตของเรา ให้เลือกกองที่เราชอบใจที่สุด รักมากที่สุด แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาทำกองนั้นไป มันก็จะได้ผล

              จากการที่เรากล่าวเอาไว้ข้างต้นว่า ส่วนใหญ่แล้ว พวกเราจะอยู่ในลักษณะ ทำทำ ทิ้งทิ้ง ไม่สม่ำเสมอ เปรียบเหมือนกับ การขุดบ่อเพื่อจะหาน้ำ พอขุดลงไปได้สักสองวาสามวา ยังไม่ถึงน้ำเสียที คนอื่นบอกตรงโน้นดี ก็เปลี่ยนที่ไปขุดตรงโน้น
              ขุดลงไปได้สักวาสองวา คนอื่นบอกว่าตรงโน้นดี ก็เปลี่ยนที่ไปอีก การที่เราขาดความจริงจังสม่ำเสมอ ในทำการกรรมฐาน ทำให้มันไม่เกิดผล ดังนั้น เมื่อมันไม่เกิดผล หรือว่าเกิดผลน้อย เหมือนกับขุดบ่อแล้วไม่ได้น้ำเสียที เราอาจจะท้อ แล้วก็เลิกขุด
              เพราะฉะนั้น เมื่อท่านทรงอารมณ์กรรมฐานได้แล้ว ทรงตัวแล้ว ให้พยายามประคับประคองอารมณ์นั้น ให้อยู่กับเราให้นานที่สุด ให้ยาวที่สุด เพื่อความเคยชินของกำลังใจ มันจะได้ยอมรับอารมณ์นั้น ๆ ต่อไปมันก็จะทรงอารมณ์นั้น ได้ยาวนานยิ่งกว่าเดิม และถ้ามีความคล่องตัวจริง ๆ ก็จะทรงได้ตลอดเวลาที่ต้องการ


ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html

517
กราบเรียนท่าน เผ่าพงษ์พระกฤษณะ

ยินดีมากที่ท่านได้นำเสนอเรื่องราวในมุมมองที่เรา(คนส่วนใหญ่)ไม่รู้ ได้รู้ได้เห็น ด้วยเรื่องราวพร้อมภาพถ่ายงดงามประกอบกัน
จะติดตามงานของท่านและขอเป็นกำลังใจให้ท่านด้วยครับ

ขออาราธนาพระรัตนตรัย โปรดได้คุ้มครองท่านฯ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ชี และพุทธมามกะ ชาวไทยพลัดถิ่นทุกท่านด้วยเทอญ :054:


518
ธรรมะ / สีลานุสติ
« เมื่อ: 26 ก.ค. 2554, 08:19:21 »
สีลานุสติ 1/9


              มาว่าเรื่องกรรมฐานของเราต่อ จริงๆ แล้วการปฏิบัติกรรมฐานนั้น เราต้องเป็นคนจริงจัง สม่ำเสมอ และต้องมีปัญญาประกอบด้วย การที่เราจริงจังสม่ำเสมอ ผลของการปฏิบัติถึงจะมี
              เพราะว่าการที่เรามาปฏิบัติกรรมฐานกัน เป็นการฝืนกระแสโลก เหมือนกับการว่ายทวนน้ำ ถ้าหากว่าเราไม่พยายามว่ายเข้าไว้ ให้ตลอดเวลาอย่างสม่ำเสมอ มันก็จะลอยตามกระแสไป
              การปล่อยให้ลอยตามกระแสไปนั้น ถ้าเรากำลังยังดีอยู่ ถึงเวลาตะเกียกตะกาย ว่ายขึ้นมาใหม่ มันยังมีกำลังที่จะว่าย แต่ระยะทางอาจจะไม่ได้เพิ่มขึ้น เพราะว่าเราปล่อยลอยไป สมมติว่าหนึ่งวัน แล้วเราก็ตั้งหน้าตั้งตาว่ายกลับมา
              พยายามที่จะทำ พยายามที่จะว่าย เป็นเวลาหนึ่งวัน ระยะห่างอาจจะได้เท่าเดิม แล้วเราปล่อยลอยไปอีก ว่ายใหม่ก็จะได้แค่เดิม หรือถ้าหากว่ามันล้าเสียแล้ว เราเองก็อาจจะได้ระยะทางไม่เท่าเดิม หรือน้อยกว่าเดิม
              ถ้าปล่อยให้มันลอยไปอีก คราวนี้ระยะทางมันก็จะยิ่งไกลมากขึ้น กลายเป็นว่าเราเป็นคนขยัน ทำงานทุกวัน แต่ผลงานไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยแม้แต่นิดเดียว พอทำไป ทำไป หลายท่านก็หมดกำลังใจ ท้อ และก็เลิกทำไปโดยปริยาย

             บรรดากรรมฐานต่าง ๆ นั้น ที่พระพุทธเจ้าท่านสอนเอาไว้ มีถึง ๔๑ แบบ คือสมถกรรมฐาน ๔๐ กอง แล้วก็มีมหาสติปัฏฐาน ๔ อีกแบบหนึ่ง เพื่อให้มีกรรมฐาน ที่เหมาะกับจริต นิสัยของแต่ละคน ซึ่งมันแตกต่างกันไป

              จริต คือ ความเป็นไปของจิต มี ๖ อย่าง ด้วยกัน คือ


              พุทธิจริต ประกอบไปด้วยความฉลาดเป็นปกติ
              ศรัทธาจริต ประกอบไปด้วยน้อมใจเชื่อเป็นปกติ
              โทสะจริต เป็นคนมักโกรธเป็นปกติ
              วิตกจริต เป็นคนที่คิดไม่ได้ตรองไม่ตก ละล้าละลังเป็นปกติ
              โมหะจริต เป็นบุคคลที่มีกำลังใจมืดมนเป็นปกติ
              ราคะจริต เป็นบุคคลที่มีความรักสวยรักงามเป็นปกติ

             ในแต่ละจริตนั้น มันล้วนแล้วแต่มีอยู่ในใจของเรา ครบถ้วนสมบูรณ์ทั้ง ๖ ประการ เพียงแต่ว่า อย่างใดอย่างหนึ่งที่มันจะเด่นขึ้นมา อันนี้ต้องสังเกตเอง เราเป็นคนฉลาด ฟังอะไรครั้งเดียวจำได้ สามารถที่จะทำอะไรได้คล่องตัว มีความเข้าใจแตกฉาน ในสิ่งต่าง ๆ หรือไม่ ?

ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html

519
มรณานุสตินุสรณ์  หลวงพ่อปราโมทย์
[youtube=425,350]p4CeIZTGAdc[/youtube]
ที่มา

520
อะวัสสัง มะยา มะริตัพพัง หมั่นภาวนาพร้อมพิจารณาคำแปลแล้วจะเกิดปัญญาครับ

แปลว่า - เราจะต้องตายแน่ๆ.

ขอบพระคุณท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ครับ :015:

521
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ฯ :054:

ธรรมะที่ท่านสอนช่างง่ายดาย เข้าใจและเข้าถึงได้ง่าย ปฏิบัติได้จริงๆครับ

อ้างถึง
การตามดู ตามรู้ ตามเห็น ความเป็นไปของปัจจุบันธรรมนั้น คือการเจริญสติ
และสัมปชัญญะ คือหลักธรรมะที่ว่าด้วยการน้อมเข้ามาสู่ตัว คือการเอาสติมาระลึกรู้
อยู่กับกาย อยู่กับจิต อยู่กับความคิดของตัวเราเอง รู้ในสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น รู้ในสิ่งที่
กำลังเป็นอยู่ รู้ในสิ่งที่กำลังจะดับไป รู้จักการหักห้ามใจไม่คล้อยตามกิเลสฝ่ายต่ำทั้งหลาย
แยกแยะกุศลและอกุศลออกจากกันได้ ดำรงทรงไว้ซึ่งจิตที่เป็นสัมมาทิฏฐิทั้งหลายให้เกิดขึ้น
ดำเนินชีวิตไปตามแนวทางแห่งอริยมรรค ๘ เป็นการฝึกหัดขัดเกลาชำระจิตใจ สร้างความเคย
ชินตัวใหม่ให้กับจิต ฝึกให้คิดและพิจารณา น้อมจิตเข้าหาธรรม รักษาทรงไว้ซึ่งสภาวธรรม
ทั้งหลายที่เป็นกุศล เมื่อเรารักษาธรรม แล้วธรรมนั้นจะรักษาเรา...

522
กราบขอบพระคุณ :054: ท่านเผ่าพงษ์พระกฤษณะ และ ท่าน  เหล่ากอพระกฤษณะ (คงเป็นท่านเดียวกัน :002:) ที่นำเรื่องราวและภาพงดงามมาแบ่งปันกันให้ชมครับ

523
นึกถึงความตายมีประโยชน์

จาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน


   ประโยชน์ของการนึกถึงความตาย ทำให้เป็นคนไม่ประมาท เพราะรู้ตัวว่าจะตายจะได้แสวงหา ความดีใส่ตัว โดยรู้ตัวว่าชาตินี้จนเพราะชาติก่อนให้ทานไว้น้อย ถ้าชาติหน้าไม่ยากจนอีก ก็พยายามให้ ทานเสมอ ๆ ตามกำลังทรัพย์ที่พอจะให้ได้ และอย่าให้จนหมดตัว จะเกินพอดี ต้องให้พอเหมาะพอดี ไม่เดือดร้อนภายหลังนั่นแหละจึงจะควรรู้ตัวว่ามีโรคมาก ป่วยไข้ไม่สบายเสมอ ๆ ของหายบ่อย ๆ รูปร่างสวยน้อยไป คนในบังคับ บัญชาดื้อด้าน วาจาไม่ศักดิ์สิทธิ์ อารมณ์ความจำเสื่อม ถ้าต้องการให้สิ่งบกพร่องเหล่านี้สมบูรณ์ใน ชาติหน้า จะได้พยายามรักษาศีล ๕ให้บริสุทธิ์ครบถ้วนแล้ว ก็จะได้รับอานิสงฆ์ มีอายุยืน รูปสวย ไม่มี โรคภัยรบกวน ไม่มีภัยจากโจรรบกวนทรัพย์สมบัติ คนในบังคับบัญชาอยู่ในโอวาทเป็นอันดี ไม่มีใคร ดื้อด้านมีวาจาศักดิ์สิทธิ์ พูดอะไรเป็นนั่น มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ก็ตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์

ถ้าเห็นว่า มีปัญญาน้อย ไม่ใคร่ทันเพื่อน ก็พยายามเจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน พอมีฌานมีญาณเล็กน้อย ในชาติต่อไปก็จะเป็นคนมีปัญญาเลิศ

ถ้าเห็นว่า ความเกิดเป็นโทษเป็นทุกข์ เพราะการเกิด ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร มีตระกูลสูงส่ง ประการใดก็ตาม ต้องประสบกับความทุกข์อย่างมหันต์ และหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ต้องการความเกิดอีกก็ เร่งรัดเจริญสมถะให้ได้ฌานต้น แล้วเจริญวิปัสสนาญาณให้จบกิจพระศาสนา ซึ่งเป็นของไม่หนักเลย สำหรับท่านที่นึกถึงความตายเป็นปกติ หรือที่เรียกว่าเจริญมรณานุสสติกรรมฐาน เพราะกรรมฐานกองนี้ เป็นกรรมฐานหลักสำหรับเจริญวิปัสสนาญาณ ท่านจะได้ดี เป็นเทวดา เป็นพรหม เป็นพระอรหันต์ ก็ต้อง อาศัยการปรารภความตายเป็นปกติ แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง พระองค์แม้แต่จะเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ไม่ทิ้งมรณานุสสติกรรมฐาน คือนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ วันหนึ่งพระองค์ ตรัสถามพระอานนท์ว่า อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เธอนึกถึงความตายวันละกี่ครั้ง พระอานนท์กราบทูล ตอบว่า นึกถึงความตายวันละเจ็ดครั้งพระเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า ยังห่างมากอานนท์ ตถาคตนึกถึง ความตายทุกลมหายใจเข้าออก การนึกถึงความตายเป็นปกติเป็นของดี แม้แต่พระพุทธเจ้ายังเฝ้าคิดถึง ความตาย เพราะผู้ที่คิดถึงความตายรู้ตัวว่าจะตายแล้วย่อมไม่สั่งสมความชั่ว คอยปลีกตัวออกจากความชั่วและมีอารมณ์ไม่หวั่นไหวในเมื่อความตายมาถึงแล้ว เพราะคิดอยู่รู้อยู่เสมอแล้วว่า เราต้องตายแน่ ความตายนี้หานิมิตเครื่องหมายไม่ได้ กำหนดการเกิดหมอบอกได้ แต่กำหนดเวลาตายไม่มีใครกำหนด ได้แน่นอนสำหรับปุถุชนคนธรรมดา สำหรับพระอริยเจ้าหรือท่านที่ชำนาญในอานาปานุสสติกรรมฐาน ท่านสามารถบอกเวลาตายที่แน่นอนของท่านได้ พระอริยาเจ้าที่จะบอกเวลาตายได้ ก็ต้องเป็นท่านที่ได้ วิชชาสามเป็นอย่างน้อย ถ้ามีความรู้พิเศษต่ำกว่านั้น ท่านก็กำหนดเวลาตายไม่ได้เหมือนกันท่านเปรียบ ชีวิตไว้คล้ายกับขีดเส้นบนผิวน้ำ ขีดพอปรากฏว่ามีเส้น แล้วในทันทีเส้นที่ขีดนั้นก็พลันสูญไป ชีวิตของ สัตว์ที่เกิดมาก็เช่นเดียวกัน ความตายรออยู่แค่ปลายจมูก ถ้าสิ้นลมปราณเมื่อไร ก็สิ้นภาวะเมื่อนั้น เอาความยั่งยืนไม่ได้เลย

ท่านเจริญมรณานุสสติกรรมฐาน เมื่อท่านคิดถึงความตายเป็นปกติ จนเห็นความตายเป็น ปกติธรรมดา เตรียมพร้อมเพื่อรับสถานการณ์คือให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาพอสมควรแก่ความ ต้องการแล้ว ถ้าคิดให้ไกลไปอีกสักนิดว่า ความตายเป็นของมีแน่ เราไม่หนักใจแล้ว ความเกิดต่อไปก็ มีแน่ จะเกิดเป็นอะไรก็ตามเต็มไปด้วยความทุกข์ หนีทุกข์ไม่พ้น เราไม่ต้องการความเกิดอันเป็น เหยื่อของวัฏฏะอีก แม้แต่ร่างกายอันเป็นที่หวงแหนยิ่ง จะต้องพังทลายเรายังไม่มีเยื่อใย ก็สมบัติอะไร ในโลกีย์ที่เราต้องการ เราไม่ต้องการอะไรอีก เทวโลก พรหมโลก เราไม่ต้องการ สิ่งที่พอใจที่สุดก็คือ พระนิพพาน ทำใจให้ว่างจากความเกิด ความเกาะในชาติภพ ปรารภพระนิพพานเป็นปกติ อย่างนี้ ท่านมีหวังสิ้นชาติสิ้นภพ ประสบผลอย่างยอด คือถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบันแน่นอน

(ขอยุติมรณานุสสติไว้แต่โดยย่อเพียงเท่านี้)

ที่มา
http://www.luangporruesi.com/501.html

524

จาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน คำสอน พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ)

         วันหนึ่ง บิดามารดาพาท่านเมื่อยังเกิดไม่กี่เดือนไปหาพระพุทธเจ้า (ขอเล่าลัด ๆ) เมื่อบิดาลาพระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า "ทีฆายุโก โหตุ" แปลว่า ขอเธอจงมีอายุยืนนาน พอแม่เข้าลาท่านก็ว่าอย่างนั้น ตอนท้าย สองผัวเมียให้ลูกชายกราบลาท่าน ท่านไม่พูด คือท่านเฉยเสีย สองผัวเมียแปลกใจ ถามว่า เมื่อเกล้ากระหม่อมฉันสองผัวเมียกราบลา พระองค์ให้พรว่าขอเธอจงมีอายุยืนนาน แต่พอเกล้ากระหม่อมฉันให้ลูกชายลา พระองค์ทรงนิ่ง เหตุอะไรจะมีแก่บุตรชายเกล้ากระหม่อมฉันทั้งสองหรือพระพุทธเจ้าข้า

         พระองค์ตรัสตอบว่า เพราะบุตรชายของเธอจะตายภายใน ๗ วันนี้ ตถาคตจึงไม่กล่าวอย่างนั้น สองผัวเมียฟังแล้วตกใจ ขอให้พระองค์ช่วยเหลือ พระองค์สั่งให้ไปปลูกโรงพิธีกลางลานบ้าน แล้วให้เอาพระไปนั่งล้อมเด็กสวดพระปริตครบ ๗ คืน ๗ วัน พอวันที่ ๗ เป็นวันตายของเด็ก เพราะยักษ์จะมาเอาชีวิตวันนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จเอง เมื่อพระองค์เสด็จ พรหมและเทวดาผู้ใหญ่มามาก ยักษ์เข้าไม่ถึง พอครบเวลาที่ยักษ์จะเอาชีวิต หมายความว่า ถ้าเลยเวลาเขาทำไม่ได้ เขาทำตามกฎของกรรมว่าจะให้ตายเวลาเท่าใด เวลาเท่านั้นเขาจะต้องทำให้ได้ ถ้าเลยเวลาแล้วเขาก็ไม่ทำ พอเลยเวลาที่เด็กจะต้องตาย พระพุทธเจ้าท่านก็พาพระกลับ เลิกพิธี ก่อนกลับพระองค์ให้พรแก่เด็กว่าทีฆายุโกโหตุต่อมาเด็กคนนั้นมาบวชเณรเมื่ออายุ ๗ ปี ได้สำเร็จพระอรหันต์ ท่านมีอายุครบ ๑๒๐ปี จึงนิพพาน

         พวกอกาลมรณะนี้ต่อได้อย่างนี้ แต่การต่อต้องเป็นผู้รู้จริง ทำถูกต้องจริง และการทำให้ต้องไม่ปรารภสินจ้างรางวัล ทำเพื่อการสงเคราะห์จริงๆ จึงเกิดผลว่า จะพูดเรื่องตายเป็นกรรมฐานแอบมาเป็นหมอต่ออายุเสียแล้วขอวกกลับไปเรื่องมรณานุสสติใหม่


ที่มา
http://www.luangporruesi.com/500.html

525
มรณานุสติกรรมฐาน

         มรณานุสสติ แปลว่า นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ เรื่องของความตายเป็นของธรรมดาของสัตว์และมนุษย์ที่เกิดมา เมื่อมีความเกิดมาได้แล้ว ก็ต้องตายในที่สุดเหมือนกันหมด ความตายนี้รู้สึกว่าเป็นปกติธรรมดาของคนและสัตว์ทั่วไป ท่านผู้อ่านจะสงสัยว่า เมื่อความตายเป็นของ
ธรรมดาที่ใคร ๆ ก็ทราบว่าตัวจะต้องตาย แล้วพระพุทธเจ้ามาสอนให้นึกถึงความตายเพื่อประโยชน์อะไร ? ปัญหาข้อนี้ตอบไม่ยาก เพราะธรรมดาของคนที่มีกิเลสทั่วไป รู้ความตายว่าเป็นของธรรมดาจริง แต่ทว่า เห็นว่าเป็นธรรมดาสำหรับผู้อื่นตายเท่านั้น ถ้าความตายจะเข้ามาถึงตนเองหรือญาติ คนที่รักของตนเข้า ก็ดิ้นรนเอะอะโวยวายไม่ต้องการให้ความตายมาถึงตนหรือคนที่ตนรัก พยายามทุกทางที่จะไม่ยอมตายปกติของคนเป็นอย่างนี้ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่า เกิดมาแล้วต้องตาย ไม่ว่าใครจะหนีความตายไม่ได้ การดิ้นรน เอะอะโวยวายต้องการให้ความตายไปให้พ้นนี้เป็นการดิ้นรนเหนือธรรมดาไม่มีทางทำได้สำเร็จ จะทำอย่างไร ความตายก็ต้องจัดการกับชีวิตแน่นอน เมื่อกฎธรรมดาเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงสอน คือย้ำตามความเป็นจริงว่า ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความตายนั้นเป็นสิ่งปกติธรรมดาไม่มีใครจะหลีกหนีพ้น ความตายนี้แบ่งออกเป็นสาม
อย่างด้วยกัน คือ

         ๑. สมุจเฉทมรณะ ความตายขาดตอน หมายถึงความตายของพระอรหันต์ท่านเสร็จกิจแห่งพรหมจรรย์ คือสิ้นกิเลสแล้ว เหตุที่จะต้องทำให้เกิด คือกิเลสและตัณหาที่จะควบคุมบังคับท่านให้เกิดอีกไม่มี ท่านมรณะแล้วท่านไม่ต้องกลับมาเกิดอีก เรียกว่า สมุจเฉทมรณะ แปลว่าตายขาดตอนไม่กลับมาเกิดอีก

         ๒. ขณิกมรณะ แปลว่า ตายเล็กๆ น้อย ๆ ท่านหมายเอาความตาย คือ ความดับ หรือการเคลื่อนไปของชีวิต ที่มีการเคลื่อนไปวันหนึ่ง ๆ วันเวลาล่วงไป ชีวิตก็เคลื่อนไปใกล้จุดจบสุดยอดคือ  ตายดับทุกขณะ การผ่านไปของชีวิตท่านถือเป็นความตาย คือ ตายทุกลมหายใจออกและเกิดต่อทุกๆ ลมหายใจเข้า อาหารเก่าที่บริโภคเข้าไปเป็นการหล่อเลี้ยงชีวิตชั่วคราวเมื่อสิ้นอำนาจของอาหารเก่า ร่างกายต้องการอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงแทนแต่ถ้าไม่ได้อาหารใหม่เข้าไปทดแทนชีวิตก็จะต้องดับ ชีวิตที่ทรงอยู่ได้ก็เพราะอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงไว้ เมื่อสิ้นสภาพของอาหารเก่า ท่านถือว่าร่างกายต้องตายแล้วไปยุคหนึ่ง พอได้อาหารใหม่มาทดแทน ชีวิตก็เกิดใหม่อีกวาระหนึ่ง การเกิดการตายต่อเนื่องกันทุกวันเวลาอย่างนี้ ถ้าอาหารเก่าหมดสภาพไม่บริโภคใหม่ หรือลมหายใจออกแล้ว ไม่หายใจเข้า สภาพของร่างกายก็จะสิ้นลมปราณ คือตายทันที ที่ทรงอยู่ได้อย่างนี้ก็เพราะได้ปัจจัยบางอย่างค้ำจุนทดแทนกันเข้าไป ท่านสอนให้มองเห็นสภาพของสังขารร่างกายว่ามีความตายเป็นปกติทุกวันเวลาอย่างนี้ท่านเรียกว่า ขณิกมรณะ แปลว่า ตายทีละเล็กละน้อย หรือตายเล็ก ๆ น้อย ๆ

         ๓. กาลมรณะ และ อกาลมรณะ กาลมรณะ แปลว่า ตายตามกาลตามสมัยที่ชาวโลกนิยม เรียกว่า ถึงที่ตาย คือสิ้นอายุ อย่างชนิดที่ไม่มีการแก้ไขได้ อกาลมรณะ แปลว่า ตายในโอกาสที่ยังไม่ถึงกาลควรตาย แต่ต้องตายเพราะกรรมบางอย่างที่เป็นอกุศลเข้ามาบีบคั้นให้ตาย การตายประเภทหลังนี้พอมีทางต่อให้อายุยืนยาวต่อไปได้ตามสมควรแก่กรรมในอดีต จะต่อให้เลยพอดีนั้นไม่ได้ พวกตายตามแบบกาลมรณะตายไปแล้วเสวยผลกรรมทันที แต่พวกที่ตายตามแบบอกาลมรณะนี้ ตายแล้วยังไม่ไปเสวยผลกรรมทันที ต้องไปเป็นสัมภเวสี แสวงหาที่เกิดก่อน คือรอกาลที่จะถึงกาลมรณะก่อน เมื่อถึงเวลาแล้วจึงจะได้รับผลกรรมดีและกรรมชั่วที่ทำไว้ขณะที่ยังไม่ได้รับผลกรรมที่ทำไว้นั้นต้องลำบากในเรื่องอาหารและที่อยู่ ท่องเที่ยวไปตามความต้องการ พวกตายแบบอกาลมรณะนี้ ที่ชาวโลกนิยมเรียกว่า ตายโหงนั่นเอง เช่น ถูกฆ่าตายคลอดลูกตาย รถทับตาย ฟ้าผ่าตาย ฆ่าตัวตาย งูกัดตาย รวมความว่าตายแบบผิดปกติ ไม่ใช่ป่วยตายตามธรรมดาเรียกว่า อกาลมรณะ คือตายก่อนกำหนด ตายทั้งนั้น การตายแบบนี้ ถ้ามีท่านผู้รู้ช่วยเหลือสามารถช่วยให้พ้นตายได้ เช่น ที่นิยมเรียกกันว่า สะเดาะเคราะห์หรือต่ออายุ การสะเดาะเคราะห์หรือต่ออายุนั้น ต้องทำโดยธรรมจริง ๆ และรู้จริงจึงใช้ได้แต่ถ้าต่อแบบหมอต่อยังมืดมนท์ด้วยกิเลสแล้วไม่มีทางสำเร็จผล ไม่ต่อดีกว่า ขืนต่อก็เท่ากับไปต่อชีวิตหมอให้มีความสุข  ส่วนผู้ต่อกลายเป็น ผู้ต่อทุกข์ไป เรื่องต่ออายุนี้มีเรื่องมาในพระสูตรคือเรื่องของท่าน อายุวัฒนสามเณร

ที่มา
http://www.luangporruesi.com/499.html

526
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:

อ้างถึง
......ในการทำงานนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสติและมีสมาธิในการทำงาน
เพราะในการทำงานแต่ละอย่างนั้น ย่อมมีอุปสรรคและปัญหาอยู่ตลอดเวลา
การที่เรามีสตินั้นจะช่วยให้เราเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นและสามรถที่จะควบคุม
อารมณ์ความรู้สึกได้ และทำให้สามารถที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้เสมอ
เพราะว่าเรามีสมาธิในการทำงานจึงสามารถที่จะควบคุมอารมณ์ความรู้สึกได้
ไม่ตื่นตกใจหรืออารมณ์เสียเมื่อเจอปัญหา ทำให้สามารถที่จะแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้

527
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:
อ้างถึง
ความเป็นสมาธิโดย
ธรรมชาติก็จะเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นั้น เพราะว่าสมาธินั้นคือจิตที่จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เป็นเวลานาน เป็นพื้นฐานที่จะยกจิตเข้าสู่การเจริญภาวนานั้นได้ง่าย หากรู้จักจะปรับใช้
โดยการเพิ่มกำลังของสติและองค์แห่งคุณธรรมเข้าไป ให้มีสติระลึกรู้ ละอายและเกรงกลัว
ต่อบาปกรรมอันเป็นอกุศลทั้งหลาย....

เหมือนดั่งนักกีฬาที่ฝึกฝนมาดีและเคารพกฏกติกา :015:

529
ธรรมะ / ตอบ: ธรรมสมาธิ ๕
« เมื่อ: 23 ก.ค. 2554, 10:14:25 »
การวัดผลการปฏิบัติธรรม

การปฏิบัติธรรม มักถูกเข้าใจผิดว่า เป็นการปลีกตัวไปหาที่สงบเพื่อทำสมาธิ หากในความเป็นจริง คือการนำธรรมะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น การเล่าเรียน หรือ การทำงานโดยใช้องค์ธรรม อิทธิบาท ๔ มาเป็นแนวทางในการศึกษา หรือในการปฏิบัติงานอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข โดยประพฤติตนตามองค์ธรรมใน สังคหวัตถุ ๔ ,สัปปุริสธรรม ๗ ,มรรคมีองค์ ๘ เป็นต้น

การพัฒนาจิต ทั้งเพื่อชีวิตปัจจุบัน และเพื่อให้หลุดพ้น โดยการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘ (ที่หมุนวนจนโลกิยะมรรค กลายเป็นโลกุตตระมรรค)เหล่านี้เป็นต้น

การนำธรรมะมาปฏิบัติ เกิดจาก เมื่อเรามีความคิดอยากพัฒนาตนเองแล้ว (ในที่นี้คือกุศลฉันทะ บางท่านเข้าใจว่า"ความอยาก" เป็นตัณหาไปเสียทั้งหมด แต่ในความจริง ไม่ได้เป็นเช่นนั้น) และมีศรัทธาในปัญญาของพระพุทธองค์ หรือก็คือเชื่อมั่นในศักยภาพในการพัฒนาของมนุษย์ (ตถาคตโพธิสัทธา) จึงเกิดกระบวนการทั้ง ๗ ในการแสวงหาความรู้ ครูผู้สอน การสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ถูกต้องตามธรรมชาติ ไล่เรื่อยไปจนถึงสามารถคิดตามธรรมเองได้ (บุพนิมิต) จึงเริ่มนำทางสายกลาง คือ มรรคมีองค์ ๘ หรือหนึ่งในอริยสัจ ๔ มาใช้เป็นหลักในการดำรงชีวิต

เมื่อเรานำธรรมมะมาใช้ในชีวิตประจำวัน หรือเมื่อฝึกปฏิบัติการทางจิตแล้ว เราคงอยากรู้ว่าเราก้าวหน้าไปหรือไม่ อย่างไร แล้วจะเอาอะไรมาวัดผล

พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ.ปยุตฺโต ) ได้บรรยายถึงหลักพิจารณาไว้ดังนี้ค่ะ

“ พระพุทธเจ้าทรงเห็นแล้วว่า คนเรานี่จะเขวได้ง่าย จึงตรัสหลักในการตรวจสอบไว้ การตรวจสอบด้วยประสบการณ์ตรงก็คือ ให้ดูใจของตนเอง ว่ามีโลภ โกรธ หลง ไหม แล้วละคลายไปได้แค่ไหน มีความก้าวหน้าในเรื่องนี้แค่ไหน เพียงไร มีความคิดประทุษร้ายต่อผู้อื่นหรือไม่ มีความเกลียดชังผู้อื่นหรือไม่ มีความต้องการในทางที่เห็นแก่ตนมากมายแค่ไหนเพียงไร มีความลุ่มหลง เพลิดเพลิน มัวเมา แค่ไหนเพียงไร ใจตัวเองรู้

ถึงจะปฏิบัติมีศีลเคร่งครัดแค่ไหนเพียงไร หรือได้ฌานสมาบัติ มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อะไร หรือจะได้สมาธิดื่มด่ำอะไรก็ตาม ก็ไม่ใช่เครื่องวินิจฉัย ”
     
นี่เป็นหลักตรวจสอบคร่าวๆ แต่หลักตรวจสอบโดยละเอียดนั้นสามารถวัดได้ 3 วิธีดังนี้
๑. วัดด้วยหลักอริยวัฒิ ( หลักวัดความเจริญของอริยชน )
เป็นการวัดด้วยกุศลธรรมที่งอกเงย งอกงาม แทนที่อกุศลธรรม โดยมีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ประการ
ประการที่ ๑ ศรัทธา ดูว่ามีความศรัทธาในสิ่งดีงาม หรือแม้แต่ความมั่นใจในศักยภาพในการพัฒนาตนเองตามโพธิสัทธา อันเป็นสิ่งที่ดี ดูว่าสิ่งเหล่านี้มีเพิ่มขึ้นหรือไม่
ประการที่ ๒ ศีล ดูว่ามีศีลเพิ่มขึ้นหรือไม่ หรือก็คือดูว่าการปฏิบัติตนต่อสังคม สภาพแวดล้อมดีขึ้น ราบรื่นขึ้น มีวินัยขึ้นหรือไม่
ประการที่ ๓ สุตะ ดูว่ามีความรู้เพิ่มขึ้นหรือไม่ นำประสบการณ์มาเพิ่มพูนเป็นความรู้ในการพัฒนาตนมากขึ้นหรือไม่
ประการที่ ๔ จาคะ ดูว่ากิเลสต่างๆลดลงบ้างหรือไม่ โดยเฉพาะความโลภ โกรธ หลง มีน้ำใจเสียสละเพื่อส่วนรวมมากขึ้นหรือไม่
ประการสุดท้าย ปัญญา มีความรู้ ความเข้าใจสิ่งต่างๆถูกต้องตามความเป็นจริง ตามเหตุปัจจัยเพิ่มขึ้นหรือไม่ และนำความรู้ที่มีอยู่มาใช้แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หรือไม่
๒ วัดด้วยการดูการทำหน้าที่ต่อธรรมต่างๆตามอริยสัจ ๔ 
อริยสัจ ๔ อันประกอบด้วยทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ( หรือก็คือมรรคมีองค์ ๘ ) นั้น ในการนำมาใช้งานจริงๆ ต้องนำมาหมุนวน ( ปริวัฏฏ์ ) พิจารณา ๓ รอบ
คือรอบแรก  รู้คำจำกัดความตามความเป็นจริงของทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ว่าคืออะไร (สัจญาณ หยั่งรู้สัจจะ )
รอบสอง รู้ว่าเรามีหน้าที่ หรือควรปฏิบัติต่อทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อย่างไร ( กิจญาณ หยั่งรู้กิจ )
รอบสาม ดูว่าหน้าที่ต่อทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เราได้ทำไปแล้วแค่ไหน ( กตญาณ หยั่งรู้การทำสำเร็จ )
อริยสัจ ๔ เมื่อหมุนวนพิจารณาครบทั้ง ๓ รอบ จึงเรียกว่า อริยสัจ ๔ ปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการเป็น ๑๒
๓ ดูสภาพจิตที่เดินถูกทาง
สภาพจิต หากฝึกฝนถูกต้อง ควรเกิดองค์ธรรม ตามกันมาเป็นลำดับนั่นคือ
ปราโมทย์ ร่าเริง เบิกบานใจ อันนำไปสู่ ปิติ ความอิ่มใจ ปลาบปลื้มใจ
ปิติที่เกิดอย่างสม่ำเสมอนี้เอง เป็นตัวนำไปสู่สมาธิ
ปิตินั้นมีอำนาจอยู่ในตัวอย่างหนึ่ง คือทำให้เกิด ปัสสัทธิ ความสงบระงับ เมื่อมีความสงบระงับ ก็ย่อมเกิด สุข  ไม่มีภาวะบีบคั้น จิตมีความสงบ อันนำไปสู่ สมาธิ หรือความตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน
(องค์ธรรมเหล่านี้เรียก ธรรมสมาธิ ๕ เป็นองค์ธรรมที่เกิดต่อเนื่อง ตามกันมาเป็นชุด คือ ปราโมทย์ -ปีติ-ปัสสัทธิ-สุข-สมาธิ)
เมื่อสมาธิเกิด จิตอยู่ในลักษณะที่เรียกว่า กัมมนีย์ ก็พร้อมที่จะนำจิตที่มีพลัง นุ่มนวล ควรแก่งานนี้ ไปใช้พิจารณาธรรมต่อไป หรือแม้แต่ใช้เพื่อคิดค้นสิ่งใหม่ๆ

 .................................................
อ้างอิง
พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ.ปยุตฺโต ) ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง ( หน้า ๔๒ ) สำนักพิมพ์ระฆังทอง นครปฐม
พุทธทาสภิกขุ วิธีชนะความตาย ธรรมสภา ๑ / ๔-๕ ถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
ที่มา
http://www.women40plus.com/women40plus-blog/a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a--665.html

530
มีข้อมูลความรู้มาเสริมครับ

"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์

ที่มา
http://www.mindcyber.com/story/buddhismday/ 16-วันเข้าพรรษา-วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา.html

อนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ

ถาม............หากเกิน 7 วัน จะเกิดอะไรขึ้นและแก้ไขได้อย่างไรครับ

ขอบคุณครับ

531
กราบขอบพระคุณท่าน เผ่าพงษ์พระกฤษณะ :054:

ที่นำเรื่องราวพร้อมภาพ ของสังคมไทยในต่างแดนมาให้ชมกันครับ
เรื่องคนไทยพลัดถิ่น เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจมากๆครับ
ศาสนาพุทธ คงเป็นที่พึ่งอย่างดีเลยครับ :054:


532
ขอบพระคุณท่าน เผ่าพงษ์พระกฤษณะ
ที่นำภาพงดงามและเล่าเรื่องราวต่างๆให้อ่านครับ :054:

เรื่องราวต่างๆน่าสนใจมากครับ ถ้ามีโอกาส ผมจะไปเที่ยวและเยี่ยมท่านด้วยครับ :054:

533
ขอบพระคุณท่าน เผ่าพงษ์พระกฤษณะ
ที่นำภาพงดงามและเล่าเรื่องราวต่างๆให้อ่านครับ :054:

ท่านถ่ายภาพได้สื่อถึงเรื่องราวต่างได้ดีเลยครับ

534
ขอบพระคุณท่าน เผ่าพงษ์พระกฤษณะ
ที่นำภาพงดงามและเล่าเรื่องราวต่างๆให้อ่านครับ :054:

535
อ้างถึง
ศิษย์มีครูจะทำอะไรก็สัมฤทธิ์ผลอยู่ที่ไหนก็เป็นสุขแคล้วคลาดปลอดภัยโชคดีมีชัยเสมอๆจริงๆครับ

เห็นด้วยครับ :015:

536
[youtube=425,350]O00ZN_p25Is[/youtube]
ที่มา

537
ธรรมะ / ตอบ: มรรค ๘ อินทรีย์ ๕
« เมื่อ: 23 ก.ค. 2554, 04:53:17 »
วิธีปฏิบัติเพิ่มอินทรีย์พละ

   เพราะฉะนั้นอินทรีย์พละนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งผู้ปฏิบัติธรรมก็ไม่ควรที่จะรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจตัวเอง ว่ายังมีอินทรีย์มีพละน้อยปฏิบัติไม่ได้
เพราะว่าวิธีที่จะเพิ่มอินทรีย์พละให้แก่กล้าขึ้นนั้น ก็ต้องฝืนปฏิบัติอาศัยขันติ คือความอดทนนี่แหละ ทำให้ยิ่งๆ ขึ้นไปโดยลำดับ แล้วจะเป็นพละอินทรีย์มาปลูกขึ้น เติบโตเจริญขึ้นในจิตใจเอง แก่กล้าขึ้นเอง แล้วการปฏิบัติก็จะดียิ่งขึ้น สะดวกยิ่งขึ้น และจะเข้าทางยิ่งขึ้น แต่ข้อสำคัญนั้น ไม่มุ่งออกไปในภายนอก แต่มุ่งเข้ามาที่ภายในคือที่จิต พร้อมทั้งกายวาจาใจนี้เอง ปฏิบัติที่จิตที่กายที่วาจาที่ใจนี้แหละ

   การปฏิบัติทำสติกำหนดลมหายใจเข้าออกอันเป็นอานาปานสตินั้น ก็กำหนดที่ลมหายใจ ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนเอาไว้ และพระอาจารย์ก็ได้สอนอธิบายไปในทางต่างๆ ก็สุดแต่ใครจะเลือกปฏิบัติตามวิธีไหน ซึ่งจะได้อธิบายในโอกาสต่อไป

ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป

ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/mrrkh-8-xinthriy-5

538
ธรรมะ / ตอบ: มรรค ๘ อินทรีย์ ๕
« เมื่อ: 23 ก.ค. 2554, 12:53:13 »
อินทรีย์ ๕

    และเมื่อก่อพลังขึ้นในจิตได้แล้ว ก็จะปรากฏเป็นอินทรีย์คือเป็นใหญ่ ศรัทธาก็จะเป็นใหญ่ เป็นใหญ่เหนือความไม่เชื่อ ความดื้อถือรั้นไปในทางที่ผิดต่างๆ วิริยะคือความเพียรก็จะเป็นใหญ่เหนือความเกียจคร้าน เอาชนะความเกียจคร้านได้ สติก็จะเป็นใหญ่เหนือความหลงลืมสติ คือสติเองก็จะตั้งมั่นยิ่งขึ้น สมาธิก็จะเป็นใหญ่เหนือความฟุ้งซ่าน จิตจะได้ความสงบ จะข่มจิตให้สงบได้ ปัญญาก็จะเป็นใหญ่เหนือทุปัญญาคือความรู้ชั่วรู้ผิด เหนือความหลงเข้าใจผิด อันนี้แหละเรียกว่าอินทรีย์

    อินทรีย์นี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ก็หมายความว่าธรรมปฏิบัติที่ทุกคนได้ปฏิบัติมาแล้วนั่นแหละ ปฏิบัติขึ้นปลูกขึ้นในจิต มีขึ้นในจิต และก็สั่งสมเพิ่มพูนขึ้นโดยลำดับ ก็ปรากฏเป็นพละคือกำลัง เป็นกำลังฝ่ายดี จนถึงเป็นอินทรีย์คือเป็นใหญ่ เป็นใหญ่เหนือความชั่วได้ เมื่อเป็นดั่งนี้แล้วกำลังของกิเลสต่างๆ อันเป็นฝ่ายมารผู้ฆ่าผู้มุ่งร้ายก็ลดน้อยลงไป เมื่อฝ่ายกิเลสฝ่ายมารถอยกำลังลง กำลังฝ่ายดี คือพละอินทรีย์นี้ก็ทวียิ่งขึ้น นี่แหละการปฏิบัติก็จะสะดวกขึ้น จะดีขึ้น และบุคคลก็จะน้อมไปในฝ่ายดี คือในฝ่ายศีล ในฝ่ายสมาธิ ในฝ่ายปัญญายิ่งขึ้น

  คือจิตก็จะน้อมไปในฝ่ายดีดังกล่าวนี้ดียิ่งขึ้นไปโดยลำดับ เพราะฉะนั้นจึงปรากฏในพุทธประวัติมากแห่งว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมะสั่งสอน ย่อมทรงกำหนดทราบถึงพละอินทรีย์ดังกล่าวของ เวไนยะ คือผู้ที่พึงอบรม เมื่อมีอินทรีย์ยังอ่อนก็ทรงอบรมไปในเบื้องต้น ให้ปฏิบัติเพิ่มอินทรีย์ให้แก่กล้าขึ้น และเมื่อมีอินทรีย์แก่กล้าขึ้นในระดับใด ก็ทรงแสดงธรรมะสั่งสอนให้เหมาะแก่ระดับนั้น และให้ยิ่งขึ้นไป จนถึงเมื่อมีอินทรีย์แก่กล้าถึงที่สุด จึงจะทรงแสดงธรรมะสั่งสอนให้ความสว่าง เกิดปัญญาเห็นธรรรมะขึ้นในที่สุด

ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/mrrkh-8-xinthriy-5

539
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:

อ้างถึง
สิ่งที่ควรกระทำนั้นต้อง ไม่เป็นภัยต่อชีวิตตนเอง ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อผู้อื่น
ไม่ฝ่าฝืนพระธรรมวินัยและกฎระเบียบของสังคม.....

540
ขอบคุณท่าน  ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่ไขข้อข้องใจ

พอดีไปเจอมาเลยนำมาเพิ่มเติมข้อมูลข้างต้น
--------------------------------------

วันเข้าพรรษา กำหนดเป็น 2 ระยะ คือ ปุริมพรรษา และปัจฉิมพรรษา

        1. ปุริมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาต้น ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี หรือราวเดือนกรกฎาคม และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ราวเดือนตุลาคม
        2. ปัจฉิมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาหลัง สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง หรือราวเดือนกรกฎาคม และจะออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ราวเดือนตุลาคม ความหมายของวันเข้าพรรษา คือ เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนมีกำหนด 3 เดือนตามพระวินัยบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมในที่อื่น เรียกกันโดยทั่วไปว่า "จำพรรษา"


ที่มา
http://www.mindcyber.com/story/buddhismday/ 16-วันเข้าพรรษา-วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา.html

คราวนี้ขอถามว่า ในเมื่อมีการแบ่งพรรษาเป็น 2 ช่วงดังกล่าว จะมีความหมายเช่นไร

541
ธรรมะ / ตอบ: มรรค ๘ อินทรีย์ ๕
« เมื่อ: 23 ก.ค. 2554, 09:07:46 »
กำลังของศรัทธาความเพียร

ฉะนั้นจึงต้องมีความอดทน ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยความเพียรเป็นต้น เอาจริงเอาจัง ไม่ยอมที่จะตามใจกิเลส หรือว่าตามใจใจของตัวเอง ก็คือตามใจกิเลสนั้นเอง
ฝืนที่จะปฏิบัติในศีลในสมาธิในปัญญาไปตามที่กำหนดไว้ หรือตามที่ได้ตั้งใจเอาไว้ และเมื่อหัดปฏิบัติอยู่ดั่งนี้บ่อยๆ แล้ว กำลังของศรัทธาของความเพียรเป็นต้นก็จะแรงขึ้น กำลังของศรัทธาของความเพียรเป็นต้นนี้ก็คือว่าพละ ๕ นั่นแหละ ศรัทธาพละกำลังศรัทธา วิริยะพละกำลังความเพียร สติพละกำลังของสติ สมาธิพละกำลังของสมาธิ ปัญญาพละกำลังของปัญญา ก็คือที่อดทนปฏิบัติไปนั่นแหละ และเมื่อปฏิบัติอยู่บ่อยๆ แล้ว ก็จะได้ศรัทธาได้ความเพียรได้สติได้สมาธิได้ปัญญา มาเป็นพื้นฐานในจิต ก็เริ่มเป็นพลัง ก่อพลังขึ้นในจิตไปโดยลำดับ

ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/mrrkh-8-xinthriy-5

542
ธรรมะ / ตอบ: มรรค ๘ อินทรีย์ ๕
« เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 10:33:52 »
อำนาจของกิเลส

   แต่ว่ามีเหตุที่ทำให้เกิดความล่าช้า ก็คือกิเลสนี้เอง เป็นต้นว่า  ตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก ราคะโทสะโมหะที่ตั้งขึ้นในอารมณ์คือเรื่องทั้งหลาย ที่เข้ามาสู่จิตนี้ทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจของทุกๆ คน อยู่ทุกขณะ ก็มาเป็นอารมณ์ จิตก็จับอารมณ์เหล่านี้ก่อกิเลสตัณหาต่างๆ ขึ้นมา ก็เป็นนิวรณ์ที่ปล้นจิตใจ

   กลุ้มรุมจิตใจ อันทำจิตใจให้กลัดกลุ้ม ทำจิตใจให้ไม่สงบ ทำจิตใจให้ฟุ้งซ่าน ถ้าหากว่าบรรดาอารมณ์และกิเลสเหล่านี้แรง การที่จะปฏิบัตินำจิตสู่มรรคมีองค์ ๘ จะเป็นหมวดศีลก็ตาม หมวดสมาธิก็ตาม หมวดปัญญาก็ตาม ก็ทำได้ยาก แต่ถ้าหากว่ามีกำลังแห่งศรัทธา แห่งความเพียร แห่งสติ แห่งสมาธิ แห่งปัญญา ที่ตนได้ปฏิบัติอบรมสั่งสมมา มีกำลังแรงก็สามารถที่จะควบคุมจิตได้ นำจิตให้สละอารมณ์อันเป็นที่ตั้งของกิเลส พร้อมทั้งกิเลสเหล่านั้น ให้มาตั้งอยู่ศีลในสมาธิในปัญญาได้

   เพราะฉะนั้น จึงปรากฏว่าทุกๆ คนนั้นก็บ่นกันว่า ทำสมาธิไม่ค่อยได้ ปฏิบัติในศีลไม่ค่อยได้ หรือปฏิบัติทางปัญญาก็ไม่ค่อยจะเห็นจริงอะไร ทั้งนี้ก็เพราะว่ากำลังของอารมณ์และกิเลสต่างๆ นั้นยังแรง แต่ว่ากำลังของศรัทธาความเพียรเป็นต้นยังอ่อนอยู่ ฉะนั้นจึงต้องอาศัยที่มีขันติความอดทน อดทนใจของตัวเองนี่แหละสำคัญ อดทนปฏิบัติในศีลในสมาธิในปัญญาไป

   หากว่าจะเกิดมีความเบื่อหน่าย มีความอิดหนาระอาใจต่างๆ ก็ให้ทำความรู้สึกว่านั่นเป็นด้วยอำนาจของกิเลส กิเลสย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมปฏิบัติ เพราะธรรมปฏิบัตินั้นเป็นไปเพื่อข่มกิเลสเพื่อละกิเลส ในขณะที่กิเลสครองจิตอยู่ ก็ดึงเอาจิตไปเป็นฝ่ายกิเลส เมื่อดึงเอาจิตไปเป็นฝ่ายกิเลส จึงทำให้ไม่มองเห็นประโยชน์ในธรรมปฏิบัติ ให้เบื่อหน่ายในธรรมปฏิบัติ

ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/mrrkh-8-xinthriy-5

543
อ้างถึง
“ เพียงคุณเปลี่ยนความคิด
ชีวิตคุณก็จะเปลี่ยน “ น้อมจิตเข้ามาพิจารณาตัวของเราเอง ให้เห็นกาย เห็นจิต เห็นความคิด
เห็นการกระทำ โดยการมีสติและสัมปชัญญะที่เป็นสัมมาทั้งหลายคุ้มครองกายจิตอยู่ วางจิต
ให้เป็นกลางไม่เข้าข้างอัตตา แล้วดวงตาเห็นธรรมก็จะเกิดขึ้นแก่ตัวคุณ...

กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:....
บรรยากาศ...ที่ ตถตาอาศรม ช่างเหมาะแก่การศึกษา ปฏิบัติธรรมมากเลยครับ
ผมเคยเห็นช่วงหมอกที่ลง ดูงามเหลือเกินครับ :077:

545
ในพรรษา.....พระจะปฏิบัติธรรมเข้มงวดกว่านอกพรรษาหรือไม่ เช่น...นอนวันละ 3-4 ชั่วโมง
ไม่รวมการศึกษาปริยัติ

546
The Last page....วิถีไทยกับความเป็นหนึ่งเดียวในอาเซียน
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา( มีนาคม 2552)

ภาพซึ่งนำมาประกอบเนื้อหาในหน้านี้ เป็นกลุ่มคนไทยในชุมชนหนึ่ง ซึ่งผมไปพบมาเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ขณะที่ประเทศไทยกำลังขะมักเขม้นกับการเตรียมการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน

คนไทยกลุ่มนี้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดเตรียมสถานที่ภายในวัดประจำชุมชน เนื่องจากในช่วงบ่ายของวันนั้นจะมีงานบุญ

กลุ่มผู้หญิงเตรียมมัดดอกไม้ ธูป เทียน เพื่อเตรียมไว้ถวายพระ ขณะที่ผู้ชายทำหน้าที่ทำความสะอาดเชิงเทียนหน้าองค์พระที่มีผู้ศรัทธา มากราบไหว้เป็นประจำ

ถือเป็นวิถีไทยที่มีมายาวนาน ในการร่วมแรงร่วมใจกันของคนในชุมชน เพื่อทำบางสิ่งบางอย่างที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของชุมชนนั้นๆ

แต่เป็นวิถีไทยที่พบเห็นน้อยลงทุกทีในสังคมไทยปัจจุบัน

กลุ่มคนไทยที่เห็นในภาพ เป็นคนเชื้อชาติไทย สัญชาติมาเลเซีย ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองบาลิง รัฐเคดาห์ ของมาเลเซีย!!!

คนไทยกลุ่มนี้ยังคงยึดแน่นอยู่กับขนบธรรมเนียมวิธีปฏิบัติที่เป็นวิถีไทยแท้ๆ ที่เคยเป็นมานับแต่อดีต

พวกเขาไม่ใช่ผู้อพยพ ตรงข้ามพวกเขา เกิด และอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้มานาน นับตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นย่า

เพียงแต่บังเอิญว่า เมื่อ 100 กว่าปีที่ผ่านมา ช่วงลัทธิการล่าอาณานิคมได้แพร่ขยายเข้ามาในพื้นที่ตอนใต้ของประเทศไทย ทำให้ราชอาณาจักรสยามจำเป็นต้องยอมเสียพื้นที่บางส่วนในรัฐกลันตัน ตรังกานู และปะริส ให้ไปอยู่ในเขตปกครองของอังกฤษ

ต้นตระกูลของคนไทยกลุ่มนี้จึงกลายเป็นคนในอาณานิคมของอังกฤษไปโดยปริยาย

เห็นวิถีไทยของคนไทยในต่างแดน แล้วย้อนกลับมาดูสังคมไทยปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นข้อเท็จจริงบางอย่างที่เจ็บปวด

กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ มีประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติใดมาก่อน

คนไทยในประเทศไทยถูกปลูกฝังให้ภาคภูมิใจมาตั้งแต่เด็ก ถึงสถานะความเป็นประเทศเอกราช แต่เราไม่เคยถูกปลูกฝังให้เห็นถึงข้อดีของการมีวิถีชีวิตแบบไทยแท้ๆ ที่เรียบง่าย สมถะ ตรงข้ามกับคนที่อยู่ในประเทศซึ่งเคยตกเป็นอาณานิคม สิ่งที่คนรุ่นปู่ รุ่นย่าของเขาแสวงหา และต่อสู้มาตลอดคือความพยายามสร้างเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของชาติตนเอง และเมื่อประเทศเหล่านี้ได้รับเอกราชในภายหลังแล้ว ก็ยังคงปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่ มองเห็นถึงข้อดีของเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของชาติที่คนรุ่นก่อนหน้าต้องต่อสู้แลกมาด้วยเลือด

ดังนั้นเมื่อกระแสวัฒนธรรมจากต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาในประเทศเหล่านี้ในภายหลัง คนในประเทศอย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย แม้กระทั่งลาวหรือกัมพูชา จึงมิได้โอนอ่อน ทำตัวไหลอย่างเรื่อยเปื่อยไปกับวัฒนธรรมใหม่ๆ ที่ถาโถมเข้ามาโดยง่าย

ผิดกับเด็กไทยรุ่นใหม่ที่หากไม่คลั่งไคล้ดารา นักร้องจากเกาหลีใต้ หรือญี่ปุ่น ก็อาจจะมีพฤติกรรมที่รักอิสระจนเกินตัวเหมือนเด็กในประเทศตะวันตก

อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ วิถีชีวิตแบบไทยๆ เด็กรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ไม่รู้จัก

เด็กไทยยุคปัจจุบันรู้จักความเป็นเอกราชแต่เพียงกายภาพ แต่จิตใจกลับตกเป็นอาณานิคมของต่างชาติ

ผิดกับคนไทยพลัดถิ่นในต่างแดน ที่ในทางกายภาพ เขาไม่แตกต่างจากคนที่เคยตกอยู่ในอาณานิคม แต่จิตใจเขากลับมีเอกราช กล้า และเต็มใจที่จะแสดงออกถึงความเป็นคนไทยอย่างเต็มภาคภูมิ

ที่มา
http://www.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=78044

547
ธรรมะ / ตอบ: ธรรมสมาธิ ๕
« เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 09:44:06 »
ข้อควรทราบที่๓(นิวรณ์๕ องค์ฌาน๕ ธรรมสมาธิ๕)

ภาษา   ไทย
อยู่ในชุด   จากจิตวิทยา สู่จิตภาวนา
ที่มา   จาก เทศน์ บรรยาย แก่ นิสิตในโครงการฝึกปฏิบัติทางจิตตามแนวพุทธศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ สถานพำนักสงฆ์สายใจธรรม เขาสำโรง-ดงยาง อ. พนมสารคาม จ. ฉะเชิงเทรา
เรื่องที่ควรฟังก่อน   ข้อควรทราบที่๒(สังขาร๓)
เรื่องที่ต่อเนื่อง   ลำดับการปฏิบัติ



ที่มา
http://www.watnyanaves.net/th/clip_detail/117

548
ธรรมะ / ตอบ: มรรค ๘ อินทรีย์ ๕
« เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 09:40:08 »
สมาธิในพุทธศาสนา

   จึงควรที่จะพิจารณาว่า สมาธิในพุทธศาสนานั้นเป็นสมาธิอีกลักษณะหนึ่ง และลักษณะอันใด อันเป็นลักษณะพิเศษแห่งสัมมาสมาธิในพุทธศาสนา โดยปริยายคือทางอันหนึ่งที่จะพึงเห็นได้ก็คือว่า จะต้องเป็นสมาธิที่ประกอบด้วยองค์มรรคอื่นๆ ในมรรคมีองค์ ๘ อันองค์มรรคอื่นๆ ในมรรคมีองค์ ๘ สนับสนุนสัมมาสมาธินี้ และสัมมาสมาธินี้ก็สนับสนุนองค์มรรคอื่นๆ ในมรรคมีองค์ ๘ นั้น กล่าวคือจะต้องประกอบด้วยความเห็นชอบความดำริชอบอันเป็นทางปัญญา จะต้องมีปัญญานำสมาธิและสมาธิก็จะต้องนำปัญญา สนับสนุนปัญญา จะต้องประกอบด้วยวาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ อันเป็นส่วนศีล จะต้องมีศีลหนุน และก็จะต้องหนุนศีล ต้องประกอบด้วยความเพียรชอบและสติชอบ จะต้องมีความเพียรชอบสติชอบสนับสนุน ทั้งก็สนับสนุนเพียรชอบสติชอบด้วย จึงเป็นอันว่าจะต้องประกอบกันเป็นมรรคมีองค์ ๘

   แต่ว่าในขณะปฏิบัติที่ยังไม่สมบูรณ์นั้น ก็จะต้องเข้าทางอันถูกต้องที่เรียกว่าชอบนั้น คือว่าเป็นไปเพื่อความสิ้นกิเลสและกองทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสั่งสมกิเลสและกองทุกข์ด้วยกัน และต่างก็สนับสนุนซึ่งกันและกัน ขึ้นไปโดยลำดับ ก็จะมียิ่งบ้างหย่อนบ้างกว่ากันไปตามเรื่องในขณะที่กำลังปฏิบัติ แต่ว่าในที่สุดก็จะต้องบรรลุถึงความสมบูรณ์ด้วยกัน ร่วมกันเป็นอันเดียวกัน ที่เรียกว่าเป็น มรรคสมังคี ความพร้อมเพรียงกันขององค์มรรค
ฉะนั้น สมาธิในพุทธศาสนาที่เป็นสัมมาสมาธิ ตลอดจนถึงปัญญาที่เป็นความรู้แจ้งเห็นจริงนั้น จึงต้องเป็นส่วนที่ชอบด้วยกัน ประกอบกันดังกล่าว พร้อมกับศีล ก็เป็นอันว่าทั้งศีล ทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา แยกกันไม่ได้ ต่างก็อบรมสนับสนุนซึ่งกันและกันเป็นไป และก็เป็นไปเพื่อความสิ้นกิเลสและกองทุกข์

อันความสิ้นกิเลสและกองทุกข์ก็อยู่ที่จิตนี้เอง ฉะนั้น การปฏิบัติศีลก็ต้องปฏิบัติจิตนี่แหละให้เป็นศีล การปฏิบัติสมาธิก็ต้องปฏิบัติจิตนี่แหละให้เป็นสมาธิ การปฏิบัติปัญญาก็ต้องปฏิบัติจิตนี่แหละให้เป็นปัญญาขึ้นมา เพื่อวิมุติคือความหลุดพ้น บรรลุนิพพาน คือความสิ้นกิเลสและกองทุกข์ด้วยประการทั้งปวงในที่สุด เพราะฉะนั้นจึงต้องรวมเข้ามาในภายใน ศีลก็ต้องดูเข้ามาที่ภายใน ดูจิตพร้อมทั้งกายวาจาใจของตนเองว่าเป็นศีลหรือไม่ สมาธิก็ต้องรวมเข้ามาที่จิต ดูที่จิตนี้เอง ให้จิตนี้สงบตั้งมั่นอยู่ในทางที่ดีที่ชอบ


ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/mrrkh-8-xinthriy-5

549
ธรรมะ / ตอบ: มรรค ๘ อินทรีย์ ๕
« เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 09:14:26 »
มิจฉาสมาธิ สัมมาสมาธิ

   ดั่งนี้ ก็จะพึงเห็นได้ว่า แม้ว่าจะเรียกว่าสมาธิอย่างเดียวกัน เรียกว่าฌานอย่างเดียวกัน แต่ว่าย่อมมีความแตกต่างกัน สมาธิหรือฌานบางอย่างไม่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ แต่สมาธิหรือฌานบางอย่างเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ อันฌานหรือสมาธิที่ไม่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้นั้น อันจะพึงเรียกตรงกันข้ามกับสัมมาสมาธิ ว่ามิจฉาสมาธิคือสมาธิที่ผิด แต่ก็เป็นสมาธิเป็นฌานเหมือนกัน จิตก็แน่วแน่ แนบแน่นเหมือนกัน และก็เป็นจิตที่บรรลุถึงญาณคือความหยั่งรู้ อันเป็นอุตริมนุษธรรม ธรรมที่ยิ่งของมนุษย์ หรือธรรมของมนุษย์ที่ยิ่งได้ทำนองเดียวกัน แต่ว่าไม่เป็นไปเพื่อปัญญาที่ตรัสรู้ อันเป็นเหตุให้สิ้นกิเลสและกองทุกข์

   แต่ว่าสมาธิที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทาข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางกลาง ประกอบอยู่ในมรรคมีองค์ ๘ นั้น ก็เป็นสมาธิเป็นฌานนั่นแหละ แต่ว่าเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ได้ จึงเรียกว่าสัมมาสมาธิ สมาธิชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ ก็คือว่าให้ตรัสรู้พระธรรมได้

ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/mrrkh-8-xinthriy-5

550
ธรรมะ / ตอบ: ธรรมสมาธิ ๕
« เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 09:11:18 »
ธรรมสมาธิ สามารถนำมาใช้ในชีวิตได้เลย

องค์ธรรม ธรรมสมาธิ 5 ประกอบด้วย
ปราโมทย์ – ปีติ – ปัสสัทธิ – สุข – สมาธิ


   เมื่อองค์ธรรมเกิดจะเกิดตามกันเป็นชุด โดยเริ่มจากปราโมทย์ (ความพอใจ) แล้วปราโมทย์ก็พัฒนาเป็น ปิติ (ความอิ่มใจ) เมื่อปิติสงบ (ปัสสัทธิ)  ความสุข (สุข) ก็ตามมา เมื่อสุขดับ จิตก็สงบ ตั้งมั่น (สมาธิ )

เราสามารถใช้จิตที่เป็นสมาธินี้ ไปพิจารณาธรรมใดๆ(วิปัสสนา) ก็ได้ต่อไป

การวิปัสสนานั้น ทำได้ 2 วิธี คือ โดยวิธีใช้จิตที่เป็นสมาธิตามธรรมชาติ และโดยในสมาธิจัดตั้ง (คือการฝึกกรรมฐานตามวิธีใดวิธีหนึ่งในทั้ง 40 วิธี)

วิปัสสนาโดยวิธีธรรมชาติ จึงเริ่มต้นจาก การนึกถึงความดีที่ทำ หรือนึกถึงศีลที่รักษาอย่างไม่ด่างพร้อย หรือพอใจกับผลงานที่สร้าง เป็นต้น จิตก็จะเกิดปราโมทย์ขึ้นจนถึงจบกระบวนธรรมที่สมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ จึงแจ่มใส นุ่มนวล ควรการนำไปใช้งานทางปัญญา เพื่อรู้เห็นธรรมได้ตามที่เป็นจริง (ตามระดับญาณของตน)

การพัฒนาทักษะด้านมิติสัมพันธ์

1 เขียนอัตชีวประวัติเกี่ยวกับปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ เช่น เคยวาดการ์ดเพื่อส่งให้คุณแม่ เคยวาดรูปประกอบบทเรียน เคยวาดภาพทิวทัศน์เพื่อประดับฝาผนังในห้องนอน เป็นต้น เพื่อค้นหาความสามารถและความสามารถของตนที่พัฒนาขึ้น

2 ฝึกวาดวงกลม โดยอาจเริ่มที่วงกลมขนาดประมาณเหรียญห้าบาท วาดใหม่ๆอาจจะยังไม่กลม ไม่เป็นไรค่ะ เราเพียงฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ และฝึกการควบคุมทิศทาง เมื่อวาดไปเรื่อยๆ จะพบว่าวงของเราค่อยๆกลมมากขึ้นค่ะ อาจเปลี่ยนขนาดของวงกลมให้เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง

3 พัฒนาทักษะการสังเกตด้วยสายตา เช่น การวาดภาพในแนวพฤกษศาสตร์ ที่ต้องใช้การสังเกตอย่างถี่ถ้วนถึงรูปทรง สีสัน รายละเอียด เพื่อให้ถ่ายทอดออกมาได้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด

4 พัฒนาความแม่นยำเรื่องทิศทาง เช่น ฝึกวาดแผนที่ง่ายๆ

5 ฝึกเขียนหนังสือกลับหัว (การเขียนหนังสือกลับหัว เราต้องจำภาพตัวหนังสือปกติแล้วนึกถึงการกลับบนลงล่าง และการกลับซ้ายเป็นขวาไปด้วยในคราวเดียวกัน )

6 วาดภาพตนเองกำลังทำงานโดยกำลังใช้ปัญญาด้านคิดถึงมิติสัมพันธ์ เพื่อเป็นการเตือนตนเองว่าเป็นสิ่งที่ตนต้องทำให้สำเร็จ

ด้วยความอดทนต่อการพัฒนา ผลคือ ศักยภาพของตนเองที่เพิ่มขึ้น และความนับถือตนเองที่ตามมา และเป็นอีกเหตุปัจจัยให้เกิดองค์ธรรม ธรรมสมาธิ 5

เหล่านี้เป็นการฝึกทักษะและแผนการพัฒนาทักษะด้านมิติสัมพันธ์อย่างง่ายๆ ส่วนการวาดภาพแนวพฤกษศาสตร์ในบล็อคนี้ ก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยพัฒนาทักษะด้านนี้

ที่มา
http://kv-lit.heroku.com/blog/nadrda/424604

551
ธรรมะ / ตอบ: มรรค ๘ อินทรีย์ ๕
« เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 09:05:46 »
วัตรปฏิบัติก่อนตรัสรู้

   ครั้นเมื่อพระองค์ได้เสด็จออกทรงพระผนวช และได้เสด็จจาริกไปทรงศึกษาในสำนักของสองคณาจารย์เจ้าลัทธิ ก็มีแสดงว่าได้ทรงศึกษาจบ และทรงปฏิบัติได้เท่าเทียมพระอาจารย์ทั้งสองนั้น คือทรงได้สมาบัติ ๗ สมาบัติ ๘ อันเป็นอัปปนาสมาธิ สมาธิที่แนบแน่นอย่างละเอียด แต่ก็ทรงพิจารณาเห็นว่ามิใช่ทางแห่งโมกขธรรม คือธรรมะเป็นเครื่องหลุดพ้น จึงได้เสด็จออกจากสองสำนักพระอาจารย์นั้น และก็ได้ทรงปฏิบัติในทุกรกิริยา ทรมานพระกายให้ลำบากต่างๆ ก็ทรงเห็นว่ามิใช่ทางอีก ก็ทรงหยุดทุกขกิริยา

  ก็ทรงระลึกได้ถึงสมาธิจิตที่ทรงได้ในขณะเมื่อเป็นพระราชกุมารน้อยครั้งนั้น จึงได้ทรงเริ่มจับทำสมาธิตามวิธีที่ทรงเคยได้ครั้งนั้น ก็เป็นอันว่าได้ทรงพบทางอันถูกต้อง เพื่อพระปัญญาตรัสรู้ ก็ได้ทรงปฏิบัติไปในทางอันถูกต้องนั้น ซึ่งพระองค์ได้ทรงประกาศไว้ในปฐมเทศนา โดยเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางกลาง อันได้แก่มรรคคือทางมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ สัมมาวายามะ เพียรชอบ สัมมาสติ ระลึกชอบ สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นชอบ
จึงได้ตรัสรู้พระธรรม อันได้แก่อริยสัจจ์ทั้ง ๔ เพราะฉะนั้นจึงเท่ากับว่า มัชฌิมาปฏิปทาที่ทรงพบนั้น อันที่จริงได้ทรงเริ่มพบแล้วตั้งแต่เป็นพระราชกุมารน้อยนั้น และก็ได้ทรงแสวงหาไปในสำนักของคณาจารย์ต่างๆ ในวิธีต่างๆ


ที่ได้นับถือและปฏิบัติกัน ก็ได้ทรงพิจารณาเห็นได้ไปโดยลำดับว่าไม่ใช่ทาง เพราะไม่ทำให้ได้ปัญญาที่ตรัสรู้พระธรรม อันเป็นเหตุให้ละกิเลสและกองทุกข์ได้ กิเลสก็ยังมีอยู่ กองทุกข์ก็ยังมีอยู่

แม้ว่าจะได้สมาบัติ ๗ สมาบัติ ๘ ในสำนักของท่านสองคณาจารย์นั้น ในที่สุดก็ทรงกลับไปหาวิธีที่ได้ทรงพบเองเมื่อเป็นพระราชกุมารนั้น จึงอาจจะกล่าวเหมือนอย่างว่า พระองค์เองก็ได้เป็นครูของพระองค์เองนั้นเอง ก็คือพระราชกุมารน้อยนั้นก็คือพระองค์เอง และเมื่อทรงพระเจริญ และทรงหาทางแห่งความตรัสรู้ ก็ทรงแสวงหาไปๆ ในที่สุดก็กลับไปหาพระองค์เอง คือหาวิธีแห่งสมาธิที่ทรงได้ในขณะที่เป็นพระราชกุมารดังกล่าว

ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/mrrkh-8-xinthriy-5

552
ธรรมะ / มรรค ๘ อินทรีย์ ๕
« เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 08:58:25 »
มรรค ๘ อินทรีย์ ๕

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศวิหาร
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

   บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

   สติปัฏฐานเป็นหลักปฏิบัติทั้งเพื่อสมาธิ และทั้งเพื่อปัญญา แต่ว่าก็ต้องเป็นสติปัฏฐานที่ปฏิบัติให้ตั้งขึ้นในจิต ให้จิตเป็นสติปัฏฐาน จึงจะเป็นสมาธิและเป็นปัญญาได้ ทางปฏิบัตินั้นพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงสั่งสอนไว้ และก็ปรากฏในพุทธประวัติ ว่าพระองค์ได้ทรงปฏิบัติมาแล้ว ดังที่มีเล่าว่าตั้งแต่เป็น ..ตั้งแต่ทรงเป็นพระราชกุมาร ได้ตามเสด็จพระพุทธบิดาไปในพระราชพิธีแรกนาขวัญ ขณะที่พระพุทธบิดาทรงประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญอยู่ พระราชกุมารน้อยได้ประทับรออยู่ภายใต้ร่มหว้า ในขณะนั้นพระหทัยของพระองค์ก็รวมเข้ามา กำหนดลมหายใจเข้าออกของพระองค์เอง ก็ทรงได้สมาธิที่ท่านแสดงว่า ปฐมฌาน อันแปลว่าฌานที่ ๑ ซึ่งก็เป็นอัปปนาสมาธิ สมาธิที่แนบแน่น แต่ว่าสมาธิที่ทรงได้นั้นก็เสื่อมไป

ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/mrrkh-8-xinthriy-5

553
ธรรมะ / ตอบ: ธรรมสมาธิ ๕
« เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 08:35:48 »
หากท่านพากเพียรบากบั่นแล้ว
ไม่มีสิ่งใดจะเป็นความยากสำหรับท่าน
ท่านจึงต้องพากเพียรอย่างสุดกำลัง
และจงทำตนให้เสมือนกับหยดน้ำเล็ก ๆ ที่หยดอยู่เสมอไม่ขาดระยะ
ย่อมสามารถเจาะหินให้ทะลุเป็นทางไปได้ฉันนั้น

จากหนังสือ ของฝากการเดินทาง
หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม
วัดหนองป่าพง


การเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนาภาวนานั้น
จะเริ่มต้นด้วยวิธีไหนก็ได้
เพราะผลมันเป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว
ที่ท่านสอนแนวปฏิบัติไว้หลายแนวนั้น
เพราะจริตของคนไม่เหมือนกัน
จึงต้องมีวัตถุ สี แสง และคำสำหรับบริกรรมเช่น พุทโธ อรหัง เป็นต้น
เพื่อหาจุดใดจุดหนึ่งให้จิตรวมอยู่ก่อน
เมื่อจิตรวมสงบแล้ว คำบริกรรมนั้นก็หลุดหายไปเอง
แล้วก็ถึงรอยเดียวกัน รสเดียวกัน
คือมี วิมุตติ เป็นแก่น มีปัญญาเป็นยิ่ง

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/

554
ธรรมะ / ตอบ: ธรรมสมาธิ ๕
« เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 05:27:03 »
พระวรคติธรรม
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก


“ชีวิตนี้น้อยนัก แต่ชีวิตนี้สำคัญนัก
เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ
เป็นทางแยก
จะไปสูงไปต่ำ จะไปดีไปร้าย
เลือกได้ในชีวิตนี้เท่านั้น
พึงสำนึกข้อนี้ให้จงดีแล้วจงเลือกเถิด
เลือกให้ดีเถิด”


โอวาทธรรมหลวงปู่ทา จารุธัมโม

"รู้ซื่อ ๆ รู้จิตซื่อ ๆ
อาการของจิตมันเป็นอย่างไรก็รู้มันตรง ๆ
อย่าไปอยากให้มันเป็นอย่างไร ให้รู้ซื่อ ๆ
อันนี้เป็นทางเดินของมรรค
รู้ซื่อ ๆ นี่แหละคือปัจจุบัน
จิตมันเป็นอย่างไรก็รู้มันในขณะนั้น
นี่เป็นทางเดินของพระอรหันต์ทั้งหลาย
เราอย่าไปอยาก
พอจิตมันไม่ดีก็อยากให้จิตมันดี
พอจิตมันเป็นอย่างนั้น อยากให้เป็นอย่างโน้น
อันนี้ท่านว่ามันเป็นกิเลสตัณหา
ซึ่งเป็นทางตรงกันข้ามกับพระนิพพาน
ไม่ใช่ทางปฏิบัติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และของพระอรหันต์สาวก"

ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/

555
ตายแล้วฟื้นของคุณครูบุญชู บันทึกสภาพเมืองนรก 2/2

  เดินพักใหญ่ก็พบลานกว้างมีต้นไทรขนาด ๒ คนโอบ มีแท่นหินและโต๊ะหินอยู่โคนต้นไทร มีชายคนหนึ่งตัวดำ ผมหยิกตาพอง รูปร่างใหญ่โตนั่งอยู่บนแท่นหินนั้น ชายทั้งสี่และฉันเดินมาถึงตรงนี้ ก็ถูกเรียกว่า “ เฮ้ย .. พามาตรงนี้ซิ มาถามไถ่กันดูก่อน อีนี่ดื้อนักเรียกไม่ค่อยจะมา ” ฉันและชายทั้งสี่จึงเดินเข้าไปหยุดตรงหน้าพอเงยหน้าขึ้นดูก็รู้สึกดีใจว่ายมบาลคนนี้รูปร่างเหมือนนายสิงห์หมี ผู้ใหญ่บ้านที่รู้จักกัน

จึงถามว่า “ อ้าว ..ตาเชย มาเมื่อไรเล่า ? ” แต่กลับตวาดว่า “ เชย..เชยอะไร เอ็งรู้จักข้าตั้งแต่เมื่อไหร่? ” ทำให้ฉันเงียบเสียงทันที แต่ยังนึกสงสัยว่า ยมบาลนี้ถ้าไม่ชื่อเชย ทำไมรูปร่างเหมือนผู้ใหญ่เชยจริง ๆ คล้ายกับจะเป็นลูกฝาแฝดทีเดียว แต่ยมบาลตัวใหญ่มาก ฉันจะพูดกับยมบาลต้องแหงนหน้า ฉันยืนอยู่ตรงหน้าคล้ายกับเอาลูกหนูไปยืนอยู่ตรงหน้าวัว ตัวเขือง ๆ ทีเดียว

 ต่อไปยมบาลถามฉันว่า “ เอ็งทำไมดื้อนัก ..ข้าให้คนไปรับยังวิ่งหนี ” ฉันตอบไปว่า “ ฉันห่วงลูก เพราะลูกยังเล็กอยู่ ” คราวนี้ยมบาลสะดุ้งทันทีร้องว่า “ อ้าว ..พวกมึงทำไมทำ***อย่างนี้เล่า ผิดตัวเสียแล้ว อีนี่มันไม่มีลูกนี่หว่า ” เสร็จแล้วก็ไปพลิกบัญชีดูและบอกว่า “ อีคนนั้นชื่อบุญชู จิตทอง บ้านต้นโพธ์ หมู่ ๑ จ.สิงห์บุรี ตายเวลาตีหนึ่งครึ่ง เป็นไข้ทับระดูตาย อีนี่ตายตั้งแต่ห้าโมงเย็น เป็นลมตาย ไม่ใช่ ๆ ผิดตัว

  เอ็งจัดแจงเตรียมตัวไปเอาอีคนนั้นมา ” พอสี่คนนั้นเตรียมตัวไปยมบาลก็หันหน้ามาบอกฉัน “ จะดูอะไรก็ดูเลย ประเดี๋ยวจะให้เขาเอากลับไปส่ง ” ฉันจึงเดินดู พบชายคนหนึ่ง ซึ่งฉันเคยรู้จักชื่อนายเปรื่อง ถูกตัดนิ้วมือด้วนกุดหมด ถามได้ความว่าชอบยิงนกในวัด
บางคนก็เคยทุบหัวควายก็ถูกล่ามโซ่และถูกเชือดเนื้อเสียงร้องอู้ ๆ น่ากลัวมาก ฉันมองดูด้วยความหวาดเสียว เมื่อฉันเดินออกมายมบาลก็โยนบัญชีมาให้ฉันดู ในบัญชีนั้นมีหนังสือตัวใหญ่ ๆ แผ่นกระดาษใหญ่เท่ากับแผ่นกระดานดำที่สอนเด็ก ฉันมองดูมีชื่อคนมาก

แต่ฉันพยายามจำแต่คนที่ฉันรู้จักจำมาได้ดังนี้คือ (๑) นางบุญชู จิตทอง ตีหนึ่งครึ่ง ไข้ทับระดู ๕ ก.พ. ๒๔๙๕ (๒) นางหล่ำ ๗ ก.พ. ๒๔๙๕ (๓) นางฉาย บุญวงศ์ ๔ มี. ค. ๒๔๙๕ (๔) นานแม่น ทองสติ ๔ ก. ค. ๒๔๙๕ (๕) นายปลอด สีสิงห์ ๔ ก.พ. ๒๔๙๗ (อีกสองปี)

ฉันเปิดขอดูอีกแต่เขาไม่ยอมให้เปิด เขาบอกว่า “ เอ็งหมดสิทธิ์ที่จะเปิดแล้ว เอ็งเป็นคนใจบุญเปิดดูไม่ได้หรอก เดี๋ยวไปเที่ยวบอกเขาหมด เมื่อก่อนนี้เอ็งเป็นคนทำบัญชีให้ข้า ข้าคิดถึงเอ็ง อีกห้าปีข้าจะให้ไปรับเพราะเอ็งจะลำบากอีกมาก ” ฉันบอกว่า “ อีกห้าปีฉันไม่มาหรอก ” ยมบาลหัวเรอะแล้วพูดว่า “ เอ็งอยากลำบากก็ตามใจเอ็ง แต่ถ้าเอ็งไม่มาเอ็งต้องบวชลูกให้ข้า ข้าก็ไม่ไปรับเอ็ง 

แต่ข้าจะให้คาถาเอ็งไว้ป้องกันตัวบทหนึ่ง เอ็งพยายามท่องอยู่เสมอ อันตรายและความลำบากจะลดน้อยลงไป คาถานี้เอ็งบอกให้ทั่ว ๆ ไปเถิด เพราะต่อ ๆไปในเมืองมนุยษ์จะยุ่งกันใหญ่ เอ็งคอยจำนะข้าจะบอกให้ ” แล้วเขาบอกว่า “ ก่อนท่อง ตั้งนะโมสามจบเสียก่อนนะแล้วท่อง จะออกจากบ้านหรือจะนอนนะท่องอยู่เสมอ ๆ จะคุ้มภัยเอ็งได้ ”
             ปะโตเมตัง ปะระชิวินัง สุขะโต จุติ
                จิตะเมตะ นิพพานัง สุขะโต จุติ


ฉันจำไว้เพื่อนำมายังมนุษย์โลกต่อไป และก็เป็นที่น่าแปลกว่า ฉันได้ฟังเพียงครั้งเดียวก็จำได้และก็พอดีเขานำบุญชู จิตทองมา บุญชูคนนี้กับฉันรูปร่างเหมือนกันมาก ฉันได้ยินเสียงยมบาลดุบุญชูว่า “ เอ็งนี่จะตายแล้วยังก่อเวรไปลักพุทราเขามากินและผิดสำแดงพุทราจึงตาย ” แล้วเขาสั่งให้ตีบุญชู ฉันรู้สึกกลัวจริง ๆ เมื่อบุญชูคนโน้นถูกตีด้วยหวายแล้ว ยมบาลก็สั่งให้ชายทั้งสี่นำฉันมาส่ง

พอมาถึงหน้าบ้านฉันเข้าบ้านไม่ได้เพราะล้อมสายสิญจน์และซัดข้าวสารไว้ จนกระทั้งคนที่ท่าทางคล้ายกับเป็นหัวหน้าแกจึงจับฉันเหวี่ยงโครมขึ้นมาบนบ้านทำให้บ้านไหวยวบ คนหนีกันหมดเหลือแต่ลูกสาวฉันได้อายุได้สี่ปี นั่งอยู่และถามฉันว่า “ แม่ไม่ตายหรือ ..” พอบอกว่าไม่ตายหรอก จึงได้เรียกคนขึ้นมาบนบ้าน ฉันรู้สึกใจหาย เพราะตอนที่ฟื้นมานี้เป็นเวลา ๐๘. ๐๕ น. เศษ และต่อโลงเสร็จเรียบร้อยแล้ว พวกชาวบ้านและพระขอร้องให้ฉันเล่าให้ฟัง ผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีฉันก็นำมาเล่าให้ชาวบ้านและพระฟังจนหมด

และต่อมาเมื่อวันที่ ๗ นางหล่ำตาย วันที่ ๔ มี.ค. นางฉายตาย วันที่ ๔ ก.ค. นายแม่นตาย ต่อมาคนสุดท้าย นายปลอด สี่สิงห์ กำหนด ๒ ปี พอครบพอดีก็ตาย แต่ก่อนตายแกไปเที่ยวขุดละลายหัวคนที่แกเคยรุกที่เขาคืนให้เจ้าของหมด

    ต่อมานายคนหนึ่งทางห้วยคันแหลม ( ต. ห้วยคันแหลม ) ได้สั่งลูกหลานไว้หลังฉันฟื้นมาแล้ว “กูตายไปละก้อ มึงเอาขวานใส่โลงไปให้กูด้วยกูจะเอาขวานไปโค่นต้นงิ้วในนรก” พอตาย ลูกหลานก็เอาขวานใส่โลงไปให้จริง ๆ ต่อมาแกกลับมาเข้าทรงเด็ก ๆ ให้ไปขุดขวานขึ้น แกบอกว่า “ ไม่ไหวละ มันเอาขวานทุบหัวเสียอีกด้วยซี แทนที่จะเอาขวานไปโค่นต้นงิ้ว” ในที่สุดพวกลูกต้องไปขุดเอาขวานขึ้น ”
** ทั้งหมดนี้เป็นบันทึกของนาง บุญชู ศรีผ่อง ** ขอกุศล นี้จงเกื้อหนุน ให้ท่าน พ้นทุกข์ หากสุขแล้ว ขอให้ ดีเลิศ ขึ้นไป



ที่มา
http://www.oknation.net/blog/WRITE/2010/11/18/entry-1

556
ตายแล้วฟื้นของคุณครูบุญชู บันทึกสภาพเมืองนรก 1/2

   วันนั้นเป็นวันที่ ๕ ก. พ ๒๔๙๕ ฉันได้ไปทำกิจวัตรประจำวันของฉันคือเป็นครูน้อยประจำโรงเรียนประชาบาล ต. สามโก้ ๔ (วัดมงคลธรรมนิมิตร) อ.วิเศษไชยชาญ จ. อ่างทอง ตามปกติ แต่วันนั้นเป็นวันที่ฉันรู้สึกเกียจคร้าน ไม่มีกำลังใจที่จะสอนเด็กประกอบกับความง่วงผิดปกติ ซึ่งฉันก็ไม่ได้ไปอดนอนที่ไหนมา แต่เป็นเพราะเหตุใดไม่ทราบทำให้ฉันง่วงนอนอยากจะหลับ เป็นเหตุทำให้จิตใจของฉันไม่เป็นปกติ แต่ฉันก็ทนสอนต่อไปจนหมดเวลา ๑๕.๑๕ น. ซึ่งเป็นวันเวลาเลิกทำการสอน

   พอปล่อยเด็กกลับบ้านแล้วฉันก็เดินมาบ้านซึ่งห่างจากโรงเรียนประมาณ ๓ เส้นเศษ ฉันมาถึงบ้านก็ผลัดเปลี่ยนเครื่องแต่งตัว และปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน คือหุงข้าว กวาดบ้าน ถูบ้าน อาบน้ำ ตนเองและบุตร เมื่อเสร็จงานบ้านแล้ว ฉันก็นำเสื่อมาปูและนอนเล่นกับบุตร ๒ คน ในขณะนั้นเวลา ๑๖. ๓๐ น. เศษต่อมาฉันก็หลับไปเมื่อไรไม่ทราบมารู้สึกตัวต่อเมื่อตัวของฉันเองมายืนอยู่ใต้ร่มไม้ มีร่มมะพร้าว ขนุน มองดูสวยงามมาก มะพร้าวและขนุนกำลังมีผลดก แต่ก็ไม่ทราบว่าที่ฉันยืนอยู่นี้เป็นที่ใด

   ฉันมองไปรอบ ๆ ตัวบังเอิญสายตามองไปบนถนนสายหนึ่ง ยาวเหยียดไปข้างหน้า ด้วยความอยากรู้ฉันยกเท้าจะขึ้นไปเที่ยวถนนสายนั้น  แต่ยังมิทันที่เท้าของฉันจะถูกพื้นถนนก็ต้องสะดุ้ง เพราะได้ยินเสียงพูด แต่เสียงดังเหลือเกิน ดังคล้ายตวาด มาจากทางข้างหน้าของฉันว่า
“ อ้อ...บุญชู เหมอะเลยมาเถิด นายให้มารับ ถึงเวลาแล้ว ” ฉันได้ยินดังนั้นก็บอกเขาไปว่าไม่ไปหรอก พร้อมกับผละวิ่งหนีทันที
แต่ชายทั้งสี่คนก็เดินตามและพูดว่า “ ถึงเวลาแล้ว ไม่ไปไม่ได้ ”
ฉันก็หันไปบอกเขาว่า “ ลุงไปบอกนายเถิดว่า ฉันผัดไปก่อน ฉันยังไม่ไปไหนหรอก ”
แต่เขาก็ตอบมาอีกว่า “ผัดกับข้าไม่ได้ เอ็งต้องไปผัดเอง”
เมื่อหมดหนทางเลี่ยงฉันจึงบอกว่า “ ถ้าเช่นนั้นต้องคอยก่อน ฉันต้องไปบอกคนทางบ้านเสียก่อน เพราะที่มาเที่ยวนี้ไม่มีใครรู้ ”
แล้วฉันก็เดินมาหน้าบ้านและเดินเข้ารั่วบ้านขึ้นบันไดไป ก็พบว่าบนบ้านสว่างไปด้วยตะเกียงเจ้าพายุและมีชาวบ้านมานั่งกันอยู่เต็มบ้านพร้อมทั้งร้องไห้ ฉันขึ้นบันไดได้ก็ผละวิ่งจากตรงบันไดไปหาสามีของฉัน ซึ่งนั่งอยู่ข้าง ๆหมอ ฉันเสียหลักสะดุดชายเสื่อล้มลงไป
เมื่อฉันลุกขึ้นมา ชาวบ้านใกล้เคียงที่มานั่งอยู่บนบ้านข้าง ๆ ฉันนั้นต่างพากันถอยหนีไปรวมกันอยู่หน้าครัวหมดและต่างก็ชิงกันถามว่า
“ ครูฟื้นแล้วหรือ ครูไม่ตายหรือ ครูไม่ได้หลอกพวกฉันไม่ใช่หรือ”
ฉันก็บอกพวกนั้นว่า “ อย่ากลัวฉันเลย ฉันอยากจะพูดอะไรด้วยสักหน่อย แล้วก็จะไปเพราะเขามารับฉันแล้ว ฉันอยู่ไม่ได้ฉันยังไม่อยากตาย ขอผัดเขา เขาไม่ยอมบอกให้ไปผัดกับยมบาลเองฉันจึงจะต้องไป และฉันขอร้องด้วยขอให้เก็บศพฉันไว้ ๓ วันก่อน ถ้าไม่กลับหมายความว่าเขาไม่ยอม จึงค่อยเผา”

พอดีได้ยินเสียงสุนัขหอนขึ้นและได้ยินเสียงเรียก ฉันจึงบอกว่า “ โน้นเขาเรียกเร่งมาแล้ว ฉันไปล่ะ ลาก่อนทุก ๆ คน ” นายเจ๊กที่เป็นหมอแกจึงเอาธูปเทียนมาให้ฉัน และบอกว่า “ พระอรหํ พระอรหํ” ตอนนี้ฉันเกือบจะหมดสติแล้ว รับคำพระอรหํได้สองครั้งก็หมดสติวูบไป มาารู้สึกตัวว่าตัวของฉันเองได้เดินอยู่บนถนนสายนั้นเสียแล้ว

    ในระยะที่ฉันฟื้นและตายไปใหม่นี้คือฟื้นตอนประมาณ ๒๒. ๐๐ น. และตายไปใหม่ประมาณ ๒๒ . ๐๖ น. ตลอดทางที่เดินไปนั้นฉันอยู่ตรงกลาง มีคนขนาบข้าง ๒ คน เดินมาพักใหญ่จึงมาพบโต๊ะตั้งข้างทางเดินมีอาหารหลายชนิดตั้งอยู่บนโต๊ะ มีเหล้า ข้าว หมู ไก่ ขนมจีนน้ำยาและขนมอีกหลายชนิดคนทั้งสี่ตรงเข้าไปที่โต๊ะและเรียกฉัน “บุญชูยังไม่ได้กินข้าว มากินเสียซิ”
ฉันก็ตรงเข้าไปกินกับเขา เมื่ออิ่มแล้วก็ถามเขาว่า “ ของใครนี่เรามากินของเขาไม่ว่าเอาหรือ ”
คนที่มีท่าทีว่าจะเป็นหัวหน้าบอกฉันว่า “ ไม่มีใครว่าหรอกเพราะเขาเซ่นผี ไว้อีกสองวันข้าจะกลับมาเอา” ฉันถามว่าบ้านใครเล่า
เขาบอกว่า “ โน้นไงเล่า บ้านนางหล่ำ หัวตะพานเขาทำบุญต่ออายุไว้ อีกสองวันเถิดข้าจะมาเอาตัวไป” ฉันมองตามมือก็เห็นบ้านหลังนี้อยู่ข้าง ๆ บ้านมีลูกกรงสีเขียวต่อจากบ้านนางหล่ำมาอีกพักใหญ่ จึงพบขบวนคนยืนอยู่สองฟากถนนต่างไชโยโห่ร้องรับฉัน และร้องบอกกันว่า “ พวกเรามาอีกคนแล้วโว้ย ”ฉันบอกกับเขาว่า “ ฉันไม่มาเป็นพวกแกหรอก ” พวกนี้ส่วนมากไม่นุ่งผ้ากันเลย

   จากพวกนี้ไปก็ถึงสวนดอกไม้ใหญ่ ดอกสวยมากเป็นทองคำทั้งดอก ใบสีเขียวเป็นมันเหมือนมรกต ฉันตรงเข้าไปจะเก็บก็ถูกห้ามไม่ให้เก็บ เขาบอกว่าถ้ายังอยากจะกลับละก้ออย่าเก็บ ถ้าเก็บแล้วเอ็งจะกลับไม่ได้ ฉันต้องเดินผ่านมาด้วยความเสียดาย

ที่มา
http://www.oknation.net/blog/WRITE/2010/11/18/entry-1

557
ธรรมะ / ธรรมสมาธิ ๕
« เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 09:29:50 »
ธรรมสมาธิ ๕
 
       ธรรมที่ทำให้เกิดความมั่นสนิทในธรรม เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติธรรมถูกต้อง กำจัดความข้องใจสงสัยเสียได้ เมื่อเกิดธรรมสมาธิ คือความมั่นสนิทในธรรม ก็จะเกิดจิตตสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิต

       ห้าประการได้แก่
       ๑. ปราโมทย์ (ความชื่นบานใจ ร่าเริงสดใส)       
       ๒. ปีติ (ความอิ่มใจ, ความปลื้มใจ)
       ๓. ปัสสัทธิ (ความสงบเย็นกายใจ, ความผ่อนคลายรื่นสบาย)
       ๔. สุข (ความรื่นใจไร้ความข้องขัด)
       ๕. สมาธิ (ความสงบอยู่ตัวมั่นสนิทของจิตใจ ไม่มีสิ่งรบกวนเร้าระคาย)

       ธรรม หรือคุณสมบัติ ๕ ประการนี้ ตรัสไว้ทั่วไปมากมาย เมื่อทรงแสดงการปฏิบัติธรรมที่ก้าวมาถึงขั้นเกิดความสำเร็จชัดเจน ต่อจากนี้ ผู้ปฏิบัติจะเดินหน้าไปสู่การบรรลุผลของสมถะ (คือได้ฌาน) หรือวิปัสสนา แล้วแต่กรณี ดังนั้น จึงใช้เป็นเครื่องวัดผลการปฏิบัติขั้นตอนในระหว่างได้ดี และเป็นธรรมหรือคุณสมบัติสำคัญของจิตใจที่ทุกคนควรทำให้เกิดมีอยู่เสมอ
 
 
 พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/

558
อ้างถึง
ใช้จิตถามจิตเมื่อมีความคิดฟุ้งซ่านเกิดขึ้น ถามว่าคิดทำไม คิดแล้วได้อะไร
สิ่งที่คิดเป็นไปได้หรือไม่ สิ่งที่คิดนั้นเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต สิ่งที่คิดนั้นมี
คุณ มีโทษ มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ มากน้อยเพียงใดและเป็นเช่นไร
เป็นเวลาที่ควรจะคิดถึงเรื่องเหล่านี้หรือไม ใจถามใจ จิตถามจิต หาคำตอบ....

กราบนมัสท่านพระอาจารย์ :054:

เรื่องนี้น่าจะเหมาะกับตอนนอนไม่หลับดีเลยครับ :002:


559
สวดอะไร....ในงานศพ

ปุจฉา (21)

เวลาไปงานศพ บ้างก็ว่าที่พระสวดนั้น พระสวดให้ผู้ตาย ฟัง คนที่ไปงานไม่ต้องพนมมือ บ้างก็ว่าท่านสวดให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ฟัง เลยต้องพนมมือ ความจริงแล้วในงานศพ พระท่านสวดอะไร ให้ใครฟัง ก็คงจะไม่มีใครรู้เรื่องอยู่ดี เพราะสวดเป็นภาษาบาลี แล้วดังนั้นที่ถูกต้องจะต้องพนมมือหรือไม่ เพราะเหตุใดเจ้าคะ (ทำไมท่านอาจารย์ไม่แปลบทสวดมนต์ทั้งหลายให้เป็นภาษาไทย ทำนองเพราะๆ ที่ฟังเข้าใจง่ายแบบชาวคริสต์บ้างล่ะเจ้าคะ คนฟังจะได้รู้เรื่อง และจะได้ Get ในบทสวดมนต์มากยิ่งขึ้นค่ะ ตอนงานคุณแม่ พระที่วัดชลประทานฯ สวดมนต์จบเดียวแล้วก็แสดงธรรมเลย ชอบพิธีกรรมแบบนั้นมากค่ะ นั่งฟังเพลินดี ได้ประโยชน์ในการดึงสติตัวเองด้วย)

ปริษา/กรุงเทพฯ


วิสัชนา (21)

ขอตอบเป็นข้อๆ ดังนี้

(1) ความจริงถ้าสังเกตให้ดีปัญหาที่ถามมานั้น ก็มีคำตอบอยู่แล้วในตัวเอง เพราะคนที่จะสามารถ 'ฟัง' ได้นั้น จะต้องเป็นคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งในกรณีนี้ก็หมายถึงคนที่ไปร่วมงานศพนั่นเอง ไม่ใช่คนที่นอนอยู่ในโลง

(2) บทสวดมนต์ที่พระนำมาสวดนั้นเรียกว่า 'พระอภิธรรม' มี 7 บทคือ 1.สังคิณี 2.วิภังค์ 3.ธาตุกถา 4.ปุคคลบัญญัติ 5.กถาวัตถุ 6.ยมก 7.ปัฏฐาน แต่ละบทเป็นเนื้อหาธรรมะเชิงวิชาการล้วนๆ ยากแก่การเข้าใจของคนทั่วไป หรือบางทีแม้แต่พระผู้สวดเองก็มีน้อยรูปที่จะเข้าใจ แต่ทั้งๆ ที่เข้าใจยากอย่างนั้น แต่ทำไมท่านก็ยังนำมาสวด หลายคนคงอยากทราบเหตุผลข้อนี้เป็นแน่ ในทัศนะของผู้เขียน (ซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็ได้) เข้าใจว่าเพื่อให้คนทั่วไปได้ฟังไว้เป็นอุปนิสัยปัจจัยในภายหน้ า หรือเป็นเพราะว่าท่านต้องการรักษาแก่นธรรมเอาไว้ไม่ให้สูญ เพราะการที่พระจะต้องนำพระอภิธรรมมาสวดอยู่เสมอนั้น เป็นการบังคับอยู่ในตัวว่า พระจะต้องจดจำ หรือจะต้องศึกษาพระอภิธรรมให้ได้ มองในแง่นี้ก็ต้องถือว่าเป็นกุศโลบายที่แยบคายของบุรพาจารย์ท่า นแต่ก่อนที่น่ายกย่อง เพราะหากไม่นำพระอภิธรรมมาบัญญัติไว้ให้เป็นบทสวดในงานศพ บางทีพระอภิธรรมอาจถูกลืมไปแล้วก็ได้ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระธรรมด้วยเหมือนกัน

(3) การฟังสวดพระอภิธรรมนั้น แม้เราจะยังไม่เข้าใจ แต่การได้ฟังไว้บ้างก็ยังเป็นผลดีอยู่นั่นเอง เพราะขณะฟัง หากตั้งใจฟังอย่างดี ก็ย่อมมีสมาธิได้เหมือนกัน การตั้งใจฟังสวดด้วยดี จนเกิดสมาธิจัดเป็นบุญชั้นสูงอย่างหนึ่ง เรียกว่า 'ภาวนามัย' คือบุญที่เกิดจากการฝึกจิต เมื่อเราตั้งใจฟัง เราก็ได้บุญ และน้อมอุทิศบุญที่เกิดจากการตั้งใจฟังสวดนี้เอง อุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตายอีกทีหนึ่ง คนที่มาร่วมงานศพ แต่ไม่ตั้งใจฟังสวด จะเอาบุญจากที่ไหนมาอุทิศให้ผู้วายชนม์

(4) การฟังสวดพระอภิธรรม หรือบทสวดมนต์อื่นๆ ก็ตาม ควรจะพนมมือไว้เสมอ เพื่อแสดงความเคารพต่อพระพุทธ พระธรรม และต่อพระสงฆ์ผู้สวด รวมทั้งเพื่อแสดงความเคารพ (หรือให้เกียรติ) แก่ผู้วายชนม์ แต่อย่างไรก็ตาม ในระหว่างฟังสวดพระอภิธรรม หากพนมมือจนเมื่อย ก็สามารถเอามือวางลงบนตักชั่วคราว แล้วอยู่ในอาการอันสงบสำรวม ฟังสวดพระอภิธรรมต่อก็ได้

(5) ว่าโดยหลักการแล้ว หลังสวดพระอภิธรรมจบ พระก็ควรจะเทศน์หรือแสดงพระธรรมเทศนา เพราะพิธีกรรมต่างๆ นั้น ท่านวางเป็นแบบแผนไว้ก็เพื่อใช้เป็นสื่อในการดึงคนเข้าหาธรรม แต่การแสดงธรรมนั้นไม่ใช่จะทำได้ง่าย หากไม่ใช่ภิกษุผู้มีความรู้ความสามารถจริงๆ แล้ว ยิ่งพยายามแสดงธรรมอาจจะยิ่งทำให้คนฟังเบื่อการฟังธรรมไปเลยก็เ ป็นได้ ดังนั้น ในบางวัดที่ขาดพระภิกษุผู้สามารถในการแสดงธรรม ท่านจึงไม่เน้นการแสดงธรรม หากแต่เน้นการสวดเป็นหลัก เมื่อพระภิกษุผู้สามารถในการแสดงธรรมหายาก การสวดพระอภิธรรมก็เลยเน้นแต่การสวดแล้วก็จบแค่นั้น ล่วงกาลนานไป ก็เลยเกิดเป็นความเข้าใจขึ้นมาว่า ในงานศพจะมีแต่การสวดเป็นหลัก ไม่เน้นการเทศน์ ซึ่งนับว่านี่เป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดอย่างหนึ่งของชาวพุทธในเ มืองไทย

(6) ที่วัดชลประทานฯ นั้น พระเดชพระคุณเจ้าอาวาส คือ พระธรรมโกศาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทะ) เป็นพระปัญญาชน เป็นพระนักปราชญ์ ที่ศึกษาพระพุทธศาสนามาเป็นอย่างดี มีฐานันดรเป็นดังน้องชายในทางธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุองค์หนึ่ง จึงมีความรู้พระพุทธศาสนาที่หนักแน่นเป็นแก่นสาร จับสาระของพระพุทธศาสนาได้แม่นทั้งทางปริยัติและปฏิบัติ พร้อมทั้งยังสอนให้ศิษยานุศิษย์ในวัดเป็นพระชั้นนำเช่นตัวท่านเ องด้วย ด้วยเหตุนี้ที่วัดชลประทานฯ จึงไม่ขาดพระนักเทศน์ผู้สามารถ งานศพที่จัดขึ้นในวัดชลประทานฯ จึงไม่เน้นการสวดมากนัก หากเน้นการแสดงธรรมเป็นสำคัญ กิจกรรมอย่างนี้นับว่าน่าอนุโมทนายิ่งนัก เพราะพิธีกรรมต่างๆ นั้นมีขึ้นก็เพื่อต้องการ 'นำคนเข้าสู่ธรรม' หากพิธีกรรมไม่สื่อธรรม พิธีกรรมนั้นก็แทบไร้ความหมาย แม้จะมีคุณค่าก็นับว่าน้อยนัก

การที่ทางวัดวางเป็นหลักไว้ว่า พระจะต้องเทศน์ได้ ทำให้พระต้องตั้งหน้าศึกษาพระธรรมวินัยให้รู้จริง การที่คฤหัสถ์มาวัดแล้วได้ฟังเทศน์ ทำให้ได้เรียนรู้ธรรมะไปในตัว ซึ่งนับว่าเป็นกำไรชีวิต และเป็นการปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายที่แท้ของพิธีกรรมซึ่งทำหน้าที ่เป็น 'สื่อ' นำคนเข้ามาสู่ธรรมดังกล่าวแล้ว

ย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า

พิธีกรรม คือ สื่อที่จะนำคนเข้าสู่ธรรม

ถ้าพิธีกรรม ไม่นำคนเข้าสู่ธรรม หรือไม่เปิดโอกาสให้คนได้รู้จักธรรม พิธีกรรมนั้นๆ ก็ไร้ความหมาย พิธีกรรมอาจเป็นได้แค่ 'พิธีพราหมณ์' ที่ไม่มีแก่นสารอะไรในทางธรรมเอาเลย คงมีแต่การทำไปอย่างนั้นเองพอเป็นพิธี ไม่รู้ว่าเพื่อใครและเพื่ออะไร การที่คนไทยส่วนใหญ่เบื่อพิธีกรรมในวัดก็เพราะพระ (รวมทั้งชาวพุทธของเราเองด้วย) ไม่สามารถสอดใส่สาระลงไปในพิธีกรรมเหล่านั้นนั่นเอง

ทุกวันนี้ คนไทยก็เลยพากันไปติดอยู่ที่พิธีกรรมอันเป็นสื่อของธรรมเท่านั้ น พากันหลงลืมธรรมอันเป็นแก่นสารไปอย่างน่าเสียดาย ยามเราไปฟังสวดพระอภิธรรมในงานศพ จึงไม่สู้ได้อะไรมากมายนัก นอกจากฟังสวดจบแล้วก็กลับบ้าน หรือบางงานก็มีเลี้ยงข้าวต้มแล้วก็จบพิธีกรรมอย่างห้วนๆ ไม่มีอะไรในทางจรรโลงใจให้สูงส่งขึ้นมาเลย บางวัดมีคนไปร่วมงานศพเป็นพัน ทั้งๆ ที่เป็นงานของผู้มีชื่อเสียง นั่นเป็นโอกาสดีที่สุดที่พระจะได้แสดงธรรมแก่คนหมู่มาก แต่พระก็เฉยเสีย ไม่เพียงแต่ไม่แสดงธรรมเท่านั้น บางทีแม้แต่ญาติโยมท่านก็ไม่เอ่ยปากทักทายด้วยซ้ำไป เสียดายโอกาสในการแสดงธรรมเหลือเกิน

ทำไมจึงเป็นอย่างนี้

หนึ่ง เป็นเพราะวัดนั้นขาดพระสงฆ์ผู้สามารถในการแสดงธรรม

สอง เพราะเราละเลยแก่นสารตรงนี้มานาน จึงไม่มีใครมองเห็นคุณค่า ก็เลยเข้าใจกันว่า มางานศพเพื่อฟังสวดก็จบแล้ว ไม่มีอะไรมากกว่านั้น

(7) เรื่องการแปลบทสวดมนต์เป็นภาษาไทยให้ไพเราะและมีสาระนั้น ตั้งใจว่าจะทำอยู่แล้ว เคยคิดชื่อไว้ล่วงหน้าด้วยซ้ำไปว่า 'สวดเป็นก็เห็นธรรม' คำถามแกมขอร้องข้อนี้ ผู้เขียนยินดีรับคำอาราธนา แต่คงต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะเสร็จเป็นรูปร่างอย่างที่อยากเห็ นกัน

ที่มา
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=210098

560
ในพรรษา....พระภิกษุ รับกิจนิมนต์(นอกอาวาส)ได้หรือไม่ หรือไม่ควรรับ
ในพรรษา....เหมาะไหม หากญาติโยมจะนิมนต์พระไปนอกอาวาส

561
ธรรมะ / ตอบ: พระอภิธรรม
« เมื่อ: 20 ก.ค. 2554, 08:42:54 »
อภิธรรม คือธรรมะขั้นสูง หัวใจของอภิธรรมจะกล่าวถึงเรื่องของ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน สำหรับอภิธรรมส่วนใหญ่พระท่านจะสวดบทพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

มีอุปมาเอาไว้ว่า พระอภิธรรมปิฎกมีความสำคัญเปรียบเสมือนรากแก้ว พระวินัยปิฏกประหนึ่งลำต้น พระสุตตันตปิฎกเหมือน กิ่งก้านสาขา บรรดาปิฎกทั้ง ๓ นี้ พระอภิธรรมจึงมีความสำคัญที่สุด เป็นความรู้ระดับสูง ที่ท่านเรียกว่า ปรมัตถธรรม


คำอาราธนาธรรม

พรัหมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะตี กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา เทเสตุ ธัมมัง อนุกัมปิมัง ปะชัง ฯ

พระสังคิณี

กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา, กะตะเม ธัมมา กุสะลา, ยัสมิง สะมะเย กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติ โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง รูปารัมมะณัง วา สัททารัมมะณัง วา คัณธารัมมะณัง วา ระสารัมมะนัง วา โผฏฐัพพา รัมมะณังวา ธัมมา รัมมะณัง วา ยัง ยัง วา ปะนะรัพภะ ตัสมิงสะมะเย ผัสโส โหติ อะวิเข โป โหติ เย วา ปะนะ ตัสมัง สะมะเย อัญเญปิ อัตถิ ปฏิจจะสะมุปปันนา อรูปิโน ธัมมา อิเม ธัมมา กุสะลา.

พระสังคิณี (แปล)

ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล ธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากฤต ธรรมเหล่าไหนเป็นกุศล ในสมัยใด กามาวจรกุศลจิตที่สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุคด้วยญาณเกิดขึ้น ปรารภอารมณ์ใดๆ จะเป็นรุปารมณ์ก็ดี สัททารมณ์ก็ดี คันธารมณ์ก็ดี รสารมณ์ก็ดี โผฏฐัพพารมณ์ก็ดี ธรรมารมณ์ก็ดี ในสมัยนั้น ผัสสะ ความฟุ้งซ้านย่อมมี อีกอย่างหนึ่งในสมัยนั้น ธรรมเหล่าใดแม้อื่น มีอยู่ เป็นธรรมที่ไม่มีรูป อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล.


พระวิภังค์

ปัญจักขันธา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ สังขารักขันโธ วิญญาณักขักขันโธ, ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ, ยังกิญจิ รูปัง อะตีตานาคะ ตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตัง วา พะหิตธา วา โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา ทีนัง วา ปะณีตัง วา ยัง ทูเร วา สันติเก วา ตะเทกัชฌัง อภิสัญญูหิตวา อภิสังขิปิตวา อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ.

พระวิภังค์ (แปล)

ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ บรรดาขันธ์ทั้งหมด รูปขันธ์เป็นอย่างไร รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุปัน ภายในก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม อยู่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม นั้นกล่าวรวมกันเรียกว่ารูปขันธ์


พระธาตุกะถา

สังคะโห อะสังคะโห, สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง สัมปะโยโค วิปปะโยโค, สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง อะสังคะหิตัง.


พระธาตุกะถา (แปล)

การสงเคราะห์ การไม่สงเคราะห์ คือ สิ่งที่ไม่ให้สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้ สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ได้ สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้ การอยู่ด้วยกัน การพลัดพรากคือ การพลัดพรากจากสิ่งที่อยู่ด้วยกัน การอยู่ร่วมกับสิ่งที่พลัดพรากไปจัดเป็นสิ่งที่สงเคราห์ไม่ได้.


พระปุคคะละปัญญัตติ

ฉะ ปัญญัตติโย ขันธะปัญญัติ อายะตะนะปัญญัตติ ธาตุปัญญัตติ สัจจะปัญญัตติ อินทริยะปัญญัตติ ปุคคะละปัญญัตติ, กิตตาวะตา ปุคคะลานัง ปุคคะละปัญญัตติ, สะมะยะวิมุตโต อะสะมะยะวิมุตโต กุปปะธัมโม อะกุปปะธัมโม ปะริหานะธัมโม อะปะริหานะธัมโม เจตะนา ภัพโพ อนุรักขะนาภัพโพ ปุถุชชะโน โคตระภู ภะยูปะระโต อะภะยูปะระโต ภัพพาคะมะโน อะภัพพาคะมะโน นิยะโต อะนิยะโต ปฏิปันนะโก ผะเลฏฐิโต อะระหา อะระหัตตายะ ปฏิปันโน.

พระปุคคะละปัญญัตติ (แปล)

บัญญัติ ๖ คือ ขันธบัญญัติ อายตนบัญญัติ ธาตุบัญญัติ สัจจบัญญัติ อินทรีย์บัญญัติ บุคคลบัญญัติ บุคคลบัญญัติของบุคคลมีเท่าไร มีการพ้นจากสิ่งที่ควรรู้ การพ้นจากสิ่งที่ไม่ควรรู้ ผู้มีธรรมที่กำเริบได้ ผู้มีธรรมที่กำเริบไม่ได้ ผู้มีธรรมที่เสื่อมได้ ผู้มีธรรมที่เสื่อมไม่ได้ ผู้มีธรรมที่ควรแก่เจตนา ผู้มีธรรมที่ควรแก่การรักษา ผู้ที่เป็นปุถุชน ผู้รู้ตระกูลโคตร ผู้เข้าถึงภัย ผู้เข้าถึงอภัย ผู้ไม่ถึงสิ่งที่ควร ผู้ไม่ถึงสิ่งที่ไม่ควร ผู้เที่ยง ผู้ไม่เที่ยง ผู้ปฏิบัติ ผู้ตั้งอยู่ในผล ผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้ปฏิบัติเพื่อพระอรหันต์.


พระกถาวัตถุ

ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ อามันตา, โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, นะ เหวัง วัตตัพเพ, อาชานาหิ นิคคะหัง หัญจิ ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ เตนะ วะตะ เร วัตตัพเพ โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, มิจฉา.

พระกถาวัตถุ (แปล)

(ถาม) ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ ความหมายที่แท้จริงหรือ
(ตอบ) ใช่... ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ โดยความหมายที่แท้จริง
(ถาม) ปรมัตถ์ คือ ความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ ค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือโดยความหมายอันแท้จริงอันนั้นหรือ
(ตอบ) ท่านไม่ควรกล่าวอย่างนี้ ท่านจงรู้นิคคะหะเถิด ว่าท่านค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ โดยความหมายอันแท้จริงแล้ว ท่านก็ควรกล่าวด้วยเหตุนั้นว่า ปรมัตถ์คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือโดยความหมายอันแท้จริงนั้น คำตอบของท่านที่ว่า ปรมัตถ์คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์คือ โดยความหมายอันแท้จริงนั้นจึงผิด.


พระยะมะกะ

เย เกจิ กุสะลา ธัมมา สัพเพ เต กุสะลามูลา, เย วา ปะนะ กุสะละมูลา สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา, เย เกจิ กุสะลา ธัมมา สัพเพ เต กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา, เย วา ปะนะ กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา.

พระยะมะกะ (แปล)

ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีกุศลเป็นมูล อีกอย่าง ธรรมเหล่าใดมีกุศลเป็นมูล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดก็เป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีอันเดียวกับธรรมที่มีกุศลเป็นมูล อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่เป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศล.


พระมหาปัฏฐาน

เหตุปัจจะโย อารัมมะณะปัจจะโย อธิปะติปัจจะโย อนันตะระปัจจะโย สะมะนันตะระปัจจะโย สะหะชาตะปัจจะโย อัญญะมัญญะปัจจะโย นิสสะยะปัจจะโย อุปะนิสสะยะปัจจะโย ปุเรชาตะปัจจะโย ปัจฉาชาตะปัจจะโย อาเสวะนะปัจจะโย กัมมะปัจจะโย วิปากาปัจจะโย อาหาระปัจจะโย อินทริยะปัจจะโย ฌานะปัจจะโย มัคคะปัจจะโย สัมปะยุตตะปัจจะโย วิปปะยุตตะปัจจะโย อัตถิปัจจะโย นัตถิปัจจะโย วิคะตะปัจจะโย อะวิคะตะปัจจะโย.

พระมหาปัฏฐาน (แปล)

ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย ธรรมที่มีปัจจัยหาที่สุดมิได้ ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน ธรรมที่เกิดพร้อมกับปัจจัย ธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและกัน ธรรมที่มีนิสัยเป็นปัจจัย ธรรมที่มีธรรมเกิดก่อนเป็นปัจจัย ธรรมที่มีธรรมเกิดภายหลังเป็นปัจจัย ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย ธรรมทีมีฌานเป็นปัจจัย ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย ธรรมที่มีปัจจัย ธรรมที่ไม่มีปัจจัย ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย ธรรมที่ไม่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย.


นำมาจากงานเขียน คุณชงโค

ที่มา
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=wbj&month=18-06-2007&group=24&gblog=3

562
ธรรมะ / ตอบ: พระอภิธรรม
« เมื่อ: 20 ก.ค. 2554, 07:26:40 »
บทสวดพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ พร้อมคำแปล

พระอภิธรรมปิฎก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พระอภิธรรม เป็นหมวดที่ประมวลพุทธพจน์อันเกี่ยวกับหลักธรรมที่เป็นวิชาการว่าด้วยเรื่องของปรมัตถธรรม (มี ๔ ประการ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน) (สภาวธรรม) ล้วน ๆ ยกตัวอย่าง เช่นเมื่อกล่าวถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทางพระอภิธรรมถือว่าบุคคลนั้นไม่มี มีแต่สิ่งซึ่งเป็นที่ประชุมรวมกันของ จิต เจตสิก รูป เท่านั้น ส่วนที่เรียกชื่อว่า นาย ก นาย ข นั้นเรียกโดยสมมุติโวหารเท่านั้น ดังนั้น ธรรมะในหมวดนี้จึงไม่มีเรื่องราวของบุคคล เหตุการณ์ หรือสถานที่ซึ่งเป็นสิ่งสมมุติเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย

พระอภิธรรมปิฎกมีอยู่ทั้งสิ้น ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น ๗ คัมภีร์ เรียกโดยย่อว่า สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ (หัวใจพระอภิธรรม) ได้แก่


๑ คัมภีร์ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะที่ประมวลไว้เป็นหมวดเป็นกลุ่ม เรียกว่า กัณฑ์ มี ๔ กัณฑ์ คือ

๑) จิตตวิภัตติกัณฑ์ แสดงการจำแนกจิตและเจตสิกเป็นต้น

๒) รูปวิภัตติกัณฑ์ แสดงการจำแนกรูปเป็นต้น

๓) นิกเขปราสิกัณฑ์ แสดงธรรมที่เป็นแม่บท (มาติกา) ของปรมัตถธรรม

๔) อัตถุทธารกัณฑ์ แสดงการจำแนกเนื้อความตามแม่บทของปรมัตถธรรม

๒ คัมภีร์วิภังค์ แสดงการจำแนกปรมัตถธรรมออกเป็นข้อ ๆ แบ่งออกเป็น ๑๘ วิภังค์ เช่น จำแนกขันธ์ (หมายถึง ขันธ์ ๕ อันประกอบด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ รูปขันธ์ ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เป็นเจตสิก ส่วนวิญญาณขันธ์ ก็คือ จิต ดังนั้น ขันธ์ ๕ ก็คือ จิต เจตสิก รูป นั่นเอง) เรียกว่า ขันธวิภังค์

๓ ธาตุกถา แสดงการจัดหมวดหมู่ของปรมัตถธรรมโดยสงเคราะห์ด้วย ธาตุ (ธรรมชาติที่ ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน)

๔ คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยบัญญัติ ๖ ประการและแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติอัน เกี่ยวกับบุคคล

๕ คัมภีร์กถาวัตถุ ว่าด้วยคำถามคำตอบประมาณ ๒๑๙ หัวข้อ อันถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรมวินัย

๖ คัมภีร์ยมก ในคัมภีร์นี้จะยกหัวข้อปรมัตถธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ

๗ คัมภีร์มหาปัฏฐาน แสดงเหตุปัจจัยและแสดงความสัมพันธ์อันเป็นเหตุ เป็นผลที่อิงอาศัยซึ่งกันและกันแห่งปรมัตถธรรมทั้งปวงโดยพิสดาร

สรุปแล้ว พระอภิธรรมก็คือ ธรรมะหมวดที่ ๓ ในพระไตรปิฎกที่สอนให้รู้จักธรรมชาติอัน แท้จริงที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลายอันได้แก่จิต เจตสิก รูป และรู้จักพระนิพพานซึ่งเป็นจุดหมาย อันสูงสุดในพระพุทธศาสนา

ธรรมชาติทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพานนี้รวมเรียกว่า ปรมัตถธรรม หากแปลตามศัพท์ คำว่า อภิธัมม หรือ อภิธรรม แปลว่า ธรรมอันประเสริฐ ธรรมอันยิ่ง ธรรมที่อยู่แท้จริงปราศจากสมมุติ เนื้อความในพระอภิธรรมเกือบทั้งหมด จะกล่าวถึงปรมัตถธรรมล้วน ๆ โดยไม่มี บัญญัติธรรม (สมมุติโวหาร) เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงอยากให้ทำความเข้าใจไว้ในเบื้องต้นก่อนว่า ปรมัตถธรรมและบัญญัติธรรม นั้นต่างกันอย่างไร


จาก http://www.dharma-gateway.com
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=wbj&month=18-06-2007&group=24&gblog=3

563
ธรรมะ / ตอบ: พระอภิธรรม
« เมื่อ: 20 ก.ค. 2554, 01:14:47 »
พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน

    เนื่องจาก พระอภิธรรม เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย ในการศึกษา พระไตรปิฎก   เพราะถือว่าเป็นหัวใจของคำสอนของพระพุทธเจ้า   แต่ก็เข้าใจได้ยากถ้าปราศจากการชี้แนะ    ทางเราเห็นว่าหนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" โดย  Nina Van Gorkom (แปลโดย  ดวงเดือน   บารมีธรรม) ของ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการปูพื้นฐานก่อนจะศึกษาพระอภิธรรมอย่างลึกซึ้งต่อไป   จึงขอนำมาเสนอไว้นะที่นี้    โดยจะทยอยลงทีละบทโดยไม่ตัดทอน จนครบทั้ง 24 บท  ดังต่อไปนี้
สารบัญ

คำนำ
1.   ปรมัตถธรรม 4
2.   ขันธ์ 5
3.   ลักษณะประการต่างๆของจิต
4.   ลักษณะของโลภะ
5.   โลภะขั้นต่างๆ
6.   ลักษณะของโทสะ
7.   อวิชชา
8.   อเหตุกจิต
9.   อเหตุกจิตที่ไม่มีใครรู้ในชีวิตประจำวัน
10.  จิตขณะแรกในชีวิต
11.  ปฏิสนธิจิตประเภทต่างๆ
12.  กิจของภวังคจิต
13.   กิจของจิตที่เป็นปัญจทวารวิถีและมโนทวารวิถี
14.  ชวนกิจ
15.   กิจของตทาลัมพณจิตและจุติจิต
16.  อารมณ์และทวาร
17.  ทวารและวัตถุที่เกิดของจิต
18.  ธาตุ
19.  โสภณจิตในชีวิตของเรา
20.  ภูมิของสัตว์
21.  สมถภาวนา
22.  ฌานจิต
23.  โลกุตตรจิต
24.  การตรัสรู้อริยสัจจธรรม

 
คำนำ

พระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคที่รวบรวมไว้ในพระไตรปิฎก   คือ  พระวินัย (ระเบียบปฏิบัติสำหรับพระภิกษุ)   พระสูตร  และพระอภิธรรม

ทั้งสามปิฎกเป็นแหล่งบันดาลใจให้เราอาจหาญร่าเริงที่จะประพฤติ   ปฏิบัติธรรมเพื่อดับความเห็นผิดและกิเลสทั้งปวงได้ในที่สุด

พระธรรมวินัยทั้งสามปิฎกสอนให้เราเข้าใจ   "ธรรมะ"  คือ ทุกอย่างที่มีจริง    การเห็นเป็นธรรมอย่างหนึ่ง   เป็นสิ่งที่มีจริง    สีเป็นธรรมอย่างหนึ่ง   เป็นสิ่งที่มีจริง    ความรู้สึกเป็นธรรมอย่างหนึ่ง   เป็นสิ่งที่มีจริง    กิเลสเป็นธรรมอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่มีจริง

เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้อริยสัจจธรรม   พระองค์ทรงประจักษ์แจ้งธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริง   พระองค์ทรงแสดงธรรมเพื่อเราจะได้ประจักษ์แจ้งสัจจธรรมตามความเป็นจริงเช่นเดียวกับพระองค์

ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงแสดงพระธรรม   เราก็ไม่รู้เรื่องสภาพธรรม   เรามักยึดถือสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง   สิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข   สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน    จุดประสงค์ของพระไตรปิฎก   คือ  สอนให้อบรมเจริญมัคค์ 8 ซึ่งนำไปสู่ความดับกิเลส

พระวินัยปิฎกเป็นระเบียบปฏิบัติสำหรับพระภิกษุเพื่อดำเนินชีวิต "พรหมจรรย์"    จุดมุ่งหมายของชีวิตพรหมจรรย์   คือ  การดับกิเลสเป็นสมุจเฉท

ไม่เพียงแต่ภิกษุเท่านั้น   แม้คฤหัสถ์ก็ควรศึกษาพระวินัย    มีตัวอย่างมากมายที่แสดงให้เห็นว่า   มีภิกษุที่หันเหจากชีวิตพรหมจรรย์    เมื่อมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น   พระผู้มีพระภาคก็ทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อป้องกันพระภิกษุไม่ให้ตกอยู่ในความประมาท    ขณะที่ศึกษาพระวินัยก็เตือนสติให้รู้โลภะ   โทสะ  โมหะ ของเราเอง    สภาพธรรมเหล่านั้นมีจริง   ตราบใดที่สภาพธรรมเหล่านั้นยังไม่ดับเป็นสมุจเฉท   สภาพธรรมเหล่านั้นจะเกิดเมื่อใดก็ได้    พระวินัยเตือนให้รู้ว่ากิเลสเหนียวแน่นเพียงใด และนำไปสู่โทษภัยอะไร เมื่อพิจารณาอย่างนี้   เราก็จะเร่งรีบอบรมเจริญมัคค์มีองค์ 8   ซึ่งนำไปสู่ความดับความเห็นผิด   ความริษยา  ความตระหนี่   ความสำคัญตน  และกิเลสอื่นๆ

พระสูตรเป็นเรื่องราวต่างๆ ของบุคคลต่างๆ ณ สถานที่ต่างๆ    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเรื่องสภาพธรรมที่ปรากฏทางทวารทั้ง 6  กรรมและวิบาก   และหนทางซึ่งนำไปสู่ความดับทุกข์

พระอภิธรรมเป็นปิฎกที่กล่าวถึงสภาพธรรมทั้งปวงอย่างละเอียด    คำว่า "อภิ"  หมายถึง "ยิ่งใหญ่"    ฉะนั้น "อภิธรรม" หมายถึง "พระธรรมที่ยิ่งใหญ่"    การแสดงธรรมในพระอภิธรรมปิฎกแม้จะต่างจากสองปิฎก   แต่จุดมุ่งหมายก็เหมือนกัน คือ   เพื่อการดับความเห็นผิดและดับกิเลสทั้งหมดเป็นสมุจเฉท    ฉะนั้น   เมื่อเราศึกษาสภาพธรรมซึ่งจำแนกเป็นประเภทต่างๆ   ก็ไม่ควรลืมจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการศึกษาพระธรรม    ปริยัติธรรมเกื้อกูลแก่การปฏิบัติธรรมซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการประจักษ์แจ้ง
สัจจธรรม (ปฏิเวธ)    ขณะที่ศึกษาและไตร่ตรองนามธรรมและรูปธรรมนั้น   สติอาจเกิดขึ้นระลึกรู้นามธรรมและรูปธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก็ได้ด้วยหนทางนี้เราก็จะรู้ว่าพระอภิธรรมเป็นเรื่องทุกอย่างที่มีจริง   นั่นก็คือ   โลกที่กำลังปรากฏทางทวาร 6


จุดมุ่งหมายที่เขียนหนังสือเล่มนี้   คือ   เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาพระอภิธรรม    ดิฉันหวังว่า   แทนที่ท่านผู้อ่านจะท้อใจที่เห็นตัวเลขและคำภาษาบาลีมากมาย   ก็คงจะหันมาสนใจสภาพธรรมที่ปรากฏที่ภายในและรอบๆท่านผู้อ่านเอง

คุณสุจินต์  บริหารวนเขตต์   ได้ช่วยเหลือและเป็นกำลังใจอย่างมากให้ดิฉันได้ศึกษาพระอภิธรรม
คุณสุจินต์ส่งเสริมให้ดิฉันรู้ด้วยตนเองว่า   พระอภิธรรมเป็นเรื่องสภาพธรรมที่รู้ได้   ทางตา  ทางหู  ทางจมูก   ทางลิ้น  ทางกาย  และทางใจ    ดิฉันจึงได้ตระหนักว่า   การศึกษาพระอภิธรรมนั้นเป็นสิ่งที่จะต้องพัฒนาไปเรื่อยๆตลอดชีวิต    ดิฉันหวังว่าท่านผู้อ่านจะมีความรู้สึกอย่างเดียวกัน   มีความกระตือรือร้นและความสุขใจทุกครั้ง ที่ได้ศึกษาสภาพธรรมที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง

ดิฉันยกข้อความในพระสูตรหลายแห่งเพื่อแสดงให้เห็นว่า   คำสอนในพระอภิธรรมไม่ต่างจากคำสอนในปิฎกอื่นๆ      ข้อความที่ยกมา   ส่วนใหญ่จากพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ   ฉบับแปล ของสมาคมบาลีปกรณ์    ส่วนข้อความจากวิสุทธิมัคค์   ดิฉันใช้ฉบับแปลของท่านพระภิกษุญาณโมลี (โคลัมโบ  ประเทศศรีลังกา 2507)

ท่านพระภิกษุธัมมธโร (แอแลน   ไดรเวอร์)   ได้ช่วยแก้ไขและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเขียนหนังสือเล่มนี้   ด้วยความอนุเคราะห์อย่างขันแข็งจากท่าน   การเรียบเรียงและการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้จึงสำเร็จได้

ที่มาและอ่านทั้งหมดได้...........
http://buddhiststudy.tripod.com/abhidhamma.htm

564
ธรรมะ / ตอบ: พระอภิธรรม
« เมื่อ: 20 ก.ค. 2554, 10:46:19 »
พระอภิธรรมปิฎก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย

คำสอนของพระพุทธเจ้า เดิมเรียกว่า "ธรรมวินัย" ทั้งหมด ยังมิได้แยกเป็นปิฎกสามปิฎก ดังพระพุทธวจนะว่า "ธรรมและวินัยใดที่เราตถาคตแสดงไว้แล้วบัญญัติไว้แล้ว ธรรมและวินัยนั้นจะเป็นศาสดาของพวกเธอเมื่อเราตถาคตล่วงลับไปแล้ว" ต่อมาในการสังคายนาครั้งที่ 3 ธรรมวินัยได้รับการแบ่งแยกออกเป็นปิฎกสามปิฎก คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก
อรรถกาอัตถสาลินี อันเป็นอรรถกาที่อธิบายคัมภีร์สังคณีแห่งพระอภิธรรมปิฎก และอรรถกาธัมมปทัฏฐกถา อันเป็นอรรถกถาที่อธิบายคัมภีร์ธรรมบทแห่งพระสุตตันตปิฎก ว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จขึ้นไปเทศน์พระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 หลังจากทรงตรัสรู้ และได้ทรงถ่ายทอดพระอภิธรรมนั้นแก่พระสารีบุตรในเวลาต่อมา

สำนวนในการเขียนพระอภิธรรมปิฎกเป็น "ภาษาหนังสือ" แตกต่างจากสำนวนภาษาในพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก จึงมีผู้สันนิษฐานว่าพระอภิธรรมปิฎกนี้เป็นของแต่งขึ้นใหม่ภายหลัง

สำหรับพระอภิธรรมปิฎกนั้นแบ่งออกเป็นเจ็ดคัมภีร์ ซึ่งเรียกย่อว่า สํ. วิ. ธา. ปุ. ก. ย. และ ป. ตามลำดับ ประกอบไปด้วย
1. สังคณี หรือธัมมสังคณี (เรียกโดยย่อว่า "สํ.") - รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภท
2. วิภังค์ (เรียกโดยย่อว่า "วิ.") - ยกหมวดธรรมขึ้นตั้งเป็นหัวข้อเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด
3. ธาตุกถา (เรียกโดยย่อว่า "ธา.") - สังเคราะห์หรือจัดประเภทข้อธรรมต่าง ๆ เข้าเป็นหมวดเป็นหมู่ดังต่อไปนี้ คือ ขันธ์ อายตนะ และธาตุ
4. ปุคคลบัญญัติ (เรียกโดยย่อว่า "ปุ.") - บัญญัติความหมายบุคคลประเภทต่าง ๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่
5. กถาวัตถุ (เรียกโดยย่อว่า "ก.") - แถลงและวินิจฉัยทัศนะที่ขัดแย้งกันของนิกายต่าง ๆ ในสมัยสังคายนาครั้งที่ 3 โดยเน้นความถูกต้องของฝ่ายเถรวาท คัมภีร์นี้เป็นบทนิพนธ์ของพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ
6. ยมกะ (เรียกโดยย่อว่า "ย.") - ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ
7. ปัฏฐาน หรือมหาปกรณ์ (เรียกโดยย่อว่า "ป.") - อธิบายปัจจัย 24 และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมทั้งหลายอย่างละเอียด

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/ พระอภิธรรมปิฎก

565
ธรรมะ / ตอบ: พระอภิธรรม
« เมื่อ: 20 ก.ค. 2554, 06:41:08 »
ประโยชน์จากการศึกษาพระอภิธรรม

เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
คัดลอกจาก http://www.geocities.com/gogfox/aphithum2.html

ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพระอภิธรรมมีอยู่มากมายหลายประการ แต่ที่สำคัญมี โดยสังเขปดังนี้

๑ การศึกษาพระอภิธรรมจะทำให้เข้าถึงแก่นของพระพุทธศาสนา เพราะพระอภิธรรมเกิดจากพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์ การเข้าถึงพระอภิธรรมจึงเท่ากับเข้าถึงพระปัญญาคุณของ พระพุทธองค์อย่างแท้จริง

๒ การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือศึกษาธรรมชาติการทำงานของกายและใจซึ่งเป็นธรรมชาติ ที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลายเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องจิต (วิญญาณ) เรื่องเจตสิก เรื่องอำนาจจิต เรื่องวิถีจิต เรื่องกรรมและการส่งผลของกรรม เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เรื่องสัตว์ใน ภพภูมิต่างๆ และเรื่องกลไกการทำงานของกิเลส ทำให้รู้ว่าชีวิตของเราในชาติปัจจุบันนี้มาจากไหนและ มาได้อย่างไร มีอะไรเป็นเหตุมีอะไรเป็นปัจจัย เมื่อได้คำตอบชัดเจนดีแล้วก็จะรู้ว่าตายแล้วไปไหนและ ไปได้อย่างไร อะไรเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างชาตินี้กับชาติหน้า ทำให้หมดความสงสัยแล้วเกิดอีกหรือไม่ นรก สวรรค์ มีจริงไหม ทำให้มีความเข้าใจเรื่องกรรม และการส่งผลของกรรม (วิบาก) อย่างละเอียด ลึกซึ้ง

๓ ผู้ศึกษา พระอภิธรรมจะเข้าใจเรื่องของปรมัตถธรรม หรือสภาวธรรมอันจริงแท้ตาม ธรรมชาติ ในพระอภิธรรมจะแยกสภาวะออกให้เห็นว่าทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลอะไร ทั้งนั้น คงมีแต่สภาวธรรมคือ จิต เจตสิก รูป ที่วนเวียนอยู่ในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยอุดหนุนซึ่งกันและกัน เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นใหม่แล้วก็ดับไปอีก มีสภาพเกิดดับอยู่เช่นนี้ โดยไม่รู้จักจบจักสิ้น แม้ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม สภาธรรมทั้ง ๓ นี้ก็ทำงานอยู่เช่นนี้โดยไม่มีเวลาหยุด พักเลย สภาวธรรมหรือธรรมชาติเหล่านี้มิใช่เกิดขึ้นจากพระผู้เป็นเจ้า พระพรหมพระอินทร์ หรือสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ เป็นผู้บันดาลหรือเป็นผู้สร้าง แต่สภาวธรรมเหล่านี้เป็นผลอันเกิดมาจากเหตุ คือ กิเลสตัณหานั่นเองที่เป็นผู้สร้าง

๔ การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจสภาวธรรมอีกประการหนึ่ง อันเป็นจุดมุ่งหมาย สูงสุดในพระพุทธศาสนาที่ต้องการให้เข้าถึงนั่นก็คือนิพพาน นิพพาน หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา ผู้ที่ปราศจากกิเลสตัณหาแล้วนั้น เมื่อหมดอายุขัย ก็จะไม่มีการสืบต่อของ จิต + เจตสิก และรูป อีกต่อไป ไม่มีการสืบต่อภพชาติ หยุดการเวียนว่ายตายเกิด พ้นจากทุกข์ทั้งปวงโดยสิ้นเชิง จึงกล่าวว่านิพพานเป็นธรรมชาติที่ปราศจากกิเลสตัณหา เป็นธรรมชาติที่ดับทุกข์โดยสิ้นเชิงและเป็นธรรมชาติที่ พ้นจากจิต เจตสิก รูป นิพพานมิใช่เป็นแดนสุขาวดีที่เป็นอมตะและเพียบพร้อมด้วยความสุขล้วน ๆ ตลอดนิรันดร์กาลตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ

๕ การศึกษาพระอภิธรรมจะทำให้เข้าใจคำสอนที่มีคุณค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา เพราะ แค่การทำทาน รักษาศีล และการทำสมาธิก็ยังมิใช่คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นเหตุให้ต้องเกิดมารับผลของกุศลเหล่านั้นอีก ท่านเรียกว่า วัฎฎกุศล เพราะกุศลชนิดนี้ยังไม่ทำให้พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนาคือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวมหาสติปัฎฐาน ๔ เพื่อให้เห็นว่าทั้งนามธรรม (จิต + เจตสิก) และรูปธรรม (รูป) มีสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ มีการเกิดดับ เกิดดับ ตลอดเวลา หาแก่นสาร หาตัวตน หาเจ้าของไม่ได้เลย เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้แล้วก็จะนำไปสู่ การประหาณกิเลสและเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด

๖ การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจเรื่องอารมณ์ของวิปัสสนาซึ่งต้องใช้นามธรรม (จิต + เจตสิก) และรูปปรมัตถ์เป็นอารมณ์ เมื่อกำหนดรู้อารมณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ ถูกต้อง การปฏิบัติก็ย่อมได้ผลตามที่ต้องการ

๗ การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการสั่งสมปัญญาบารมีที่ประเสริฐที่สุดไม่มีวิทยาการใด ๆ ในโลกที่ศึกษาแล้วจะทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งโลกเท่ากับการศึกษาพระอภิธรรม

๘ การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการช่วยกันรักษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ไว้ ให้อนุชนรุ่นหลังและเป็นการช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรตลอดไป

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/dhamma/abidhamma-08.htm

566
ธรรมะ / ตอบ: พระอภิธรรม
« เมื่อ: 19 ก.ค. 2554, 11:41:53 »
พระอภิธัมมัตถสังคหะคืออะไร ?

เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
คัดลอกจาก http://www.geocities.com/gogfox/aphithum2.html

    ต่อมาประมาณปี พ.ศ ๙๐๐ มีพระเถระผู้ทรงความรู้ในพระไตรปิฎก ท่านหนึ่งมีนามว่า พระอนุรุทธเถระ (พระอนุรุทธาจารย์) ท่านเป็นชาวกาวิลกัญจิ แขวงเมืองมัทราช ภาคใต้ของประเทศอินเดีย ท่านได้มาศึกษาพระอภิธรรมอยู่ที่สำนักวัดตุมูลโสมาราม เมืองอนุราชบุรี ประเทศลังกา จนมีความแตกฉานและได้รับยกย่องว่าเป็นปราชญ์ทางพระอภิธรรมท่านหนึ่ง ต่อมาท่านได้รับอารธนาจากนัมพะอุบาสกผู้เป็นทายกให้ช่วยเรียบเรียงพระอภิธรรมปิฎกซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ละเอียดลึกซึ้งมากนั้น ให้สั้นและง่ายเพื่อสะดวกแก่การศึกษาและจดจำ ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาพระอภิธรรมทั้งหลายในอนาคต พระอนุรุทธาจารย์จึงได้อาศัยพระบาลี อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา มาเป็นหลักในการเรียบเรียงพระอภิธรรมฉบับย่อและเรียกชื่อคัมภีร์นี้ว่า พระอภิธัมมัตถสังคหะ

อภิธัมมัตถสังคหะ แยกออกเป็น อภิ + ธรรม + อัตถะ + สัง + คหะ

อภิ = อันประเสริฐยิ่ง
ธรรมะ = สภาพที่ทรงไว้ไม่มีการผิดแปลกแปรผัน
อัตถะ = เนื้อความ
สัง = โดยย่อ
คหะ = รวบรวม

อภิธัมมัตถสังคหะ จึงหมายถึง คัมภีร์ซึ่งรวบรวมเนื้อความของพระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ ไว้โดยย่อ อันเปรียบเสมือนแบบเรียนเร็วพระอภิธรรมแบ่งเป็น ๙ ปริจเฉท (๙ ตอน) แต่ละปริจเฉทมี เนื้อหาโดยสรุปดังนี้

ปริจเฉทที่ ๑ จิตตสังคหวิภาค แสดงเรื่อง ธรรมชาติของจิต ประเภทของจิต ทั้งโดยย่อและโดยพิสดาร ทำให้เข้าใจถึงจิตประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต มหัคคตจิต และโลกุตตรจิต

ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค
แสดงเรื่องเจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิตเพื่อปรุงแต่งจิตมีทั้งหมด ๕๒ ลักษณะ แบ่งเป็น เจตสิกที่ประกอบกับจิตได้ทุกประเภทเจตสิกฝ่ายกุศล และเจตสิกฝ่ายอกุศล

ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค
แสดงการนำจิตและเจตสิกมาสัมพันธ์กับธรรม ๖ หมวด ได้แก่ ความรู้สึกของจิต (เวทนา) เหตุแห่งความดีความชั่ว (เหตุ) หน้าที่ของจิต (กิจ) ทางรับรู้ของจิต (ทวาร) สิ่งที่จิตรู้ (อารมณ์) และที่ตั้ง ที่อาศัยของจิต (วัตถุ)

ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค
แสดงวิถีจิต อันได้แก่กระบวนการทำงานของจิตที่เกิดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เมื่อได้ศึกษาปริจเฉทนี้แล้วจะทำให้รู้กระบวนการทำงานของจิตทุกประเภท บุญบาปไม่ได้เกิด ที่ไหน เกิดที่วิถีจิตนี้เอง ก่อนที่จะเกิดจิตบุญหรือจิตบาป มีจิตขณะหนึ่งเกิดก่อน คอยเปิดประตูให้เกิด จิตบุญหรือจิตบาปจิตดวงนี้เกี่ยวข้องกับการวางใจอย่างแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) หรือการวางใจ อย่างไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) หากเราได้เข้าใจก็จะมีประโยชน์ในการป้องกันมิให้จิตบาป เกิดขึ้นได้

ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค
แสดงถึงการทำงานของจิตขณะใกล้ตาย ขณะตาย (จุติ) และขณะเกิดใหม่ (ปฏิสนธิ) กล่าวถึงเหตุแห่งการตาย การเกิดของสัตว์ในภพภูมิต่าง ๆ โดยแบ่งได้ถึง ๓๑ ภพภูมิ (มนุษยภูมิเป็นเพียง ๑ ใน ๓๑ ภูมิ) ขณะเวลาใกล้จะตายภาวะจิตเป็นอย่างไร ควรเตรียมใจอย่างไรจึงจะไปเกิดในภพภูมิที่ดี
พระพุทธองค์ทรงอธิบายไว้อย่างชัดเจนว่าตายแล้วต้องเกิดทันทีไม่ใช่ตายแล้ววิญญาณ (จิต) ต้องเร่ร่อนเพื่อไปหาที่เกิดใหม่ และยังได้อธิบายเรื่องของกรรม ลำดับแห่งการให้ผลของกรรมไว้อย่างละเอียดลึกซึ้งอีกด้วย)

ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค และนิพพาน
เมื่อได้ศึกษาทำความเข้าใจเรื่องจิต และเจตสิก อันเป็นนามธรรมมาแล้ว ในปริจเฉทที่ ๖ นี้ พระอนุรุทธาจารย์ ได้แสดงองค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย นั่นก็คือเรื่องของรูปร่างกาย (รูปธรรม) โดยแบ่งรายละเอียดออกเป็นรูปต่าง ๆ ได้ ๒๘ ชนิด และอธิบายถึง สมุฎฐาน (เหตุ) ในการเกิดรูปต่าง ๆ ไว้อย่างละเอียดพิสดาร ในตอนท้ายได้กล่าวถึง เรื่องพระนิพพาน ว่ามีสภาวะอย่างไร อันจะทำให้เข้าใจเรื่องของ พระนิพพานได้อย่างถูกต้องชัดเจน

ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
เมื่อได้ศึกษาปรมัตตธรรม ๔ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน มาจากปริจเฉทที่ ๑ ถึง ๖ แล้ว ในปริจเฉทนี้จะแสดงธรรมที่เป็นฝ่ายกุศลซึ่งให้ผลเป็นความสุข และธรรมที่ฝ่ายอกุศลซึ่งให้ผล เป็นความทุกข์ในสภาวะความเป็นจริงแล้วกุศลจิต (จิตบุญ) และอกุศลจิต (จิตบาป) จะเกิดสลับสับเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา ส่วนจะเกิดจิตชนิดไหนมากน้อยเพียงใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับคุณธรรมและจริยธรรม ของแต่ละบุคคล คนเราทั่วไปมักไม่เข้าใจและไม่รู้จักกับกุศลและอกุศลเหล่านี้ จึงทำให้ชีวิตตกอยู่ใน วัฏฏทุกข์ไม่รู้จักจบสิ้น ในปริจเฉทที่ ๗ นี้ได้แสดงธรรมที่ควรรู้ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ อุปาทานขันธ์ (ขันธ์ที่ถูกอุปาทานยึดมั่นอย่างเหนียวแน่น) อายตนะ ๑๒ (สิ่งเชื่อมต่อเพื่อให้รู้อารมณ์) ธาตุ ๑๘ (ธรรมชาติ ที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน) อริยสัจ ๔ (ความจริงของพระอริยะ) และโพธิปักขิยธรรม (ธรรมที่เกื้อกูล การตรัสรู้ ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค) มี ๓๗ ประการ คือ สติปัฎฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ และมรรคมีองค์ ๘

ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
ในปริจเฉทนี้ ท่านได้แสดงเรื่องปฎิจจสมุปบาท (เหตุและผลที่ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด ในสังสารวัฎฎ์) และปัจจัยสนับสนุน ๒๔ ปัจจัย ในตอนท้ายยังได้แสดงความหมายของบัญญัติธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่ไม่ใช่เป็นความจริงแท้ แต่เป็นจริงตามสมมุติ (สมมุติสัจจะหรือสมมุตโวหาร) ตามกติกาของชาวโลก

ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฎฐานสังคหวิภาค
ในปริจเฉทนี้ ท่านกล่าวถึงความแตกต่างของสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เห็นว่าสมถกรรมฐานหรือการทำสมาธินั้นเป็นการปฏิบัติเพื่อให้จิตเกิดความสงบ และเกิดอภิญญา (เกิดอิทธิฤทธิ์ต่าง) เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่จุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา เพราะผลของการทำสมาธิ หรือสมถกรรมฐานนั้นเป็นการข่มกิเลสไว้ชั่วขณะเท่านั้น ไม่สามารถทำลายกิเลสได้ ถึงแม้จะเจริญ สมถกรรมฐานถึงขั้นอรูปฌานจนได้เสวยสุขอยู่ในอรูปพรหมภูมิเป็นเวลาอันยาวนาน แต่ในที่สุดก็ ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบจักสิ้น
จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงว่า จิต + เจตสิก และรูป ซึ่งเป็นองค์ประกอบของชีวิตต่างก็มี การเกิดขึ้น  ตั้งอยู่  ดับไป  เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  ดับไป ต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา เป็นสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนอะไรของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้ เมื่อมีกำลังแก่กล้าก็จะสามารถประหาณกิเลสและเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/dhamma/abidhamma-06.htm

567
ธรรมะ / พระอภิธรรม
« เมื่อ: 19 ก.ค. 2554, 11:18:22 »
ประวัติพระอภิธรรม

เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
คัดลอกจาก http://www.geocities.com/gogfox/aphithum2.html

     ในสัปดาห์ที่ ๔ หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรูแล้ว พระองค์ทรงพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับพระอภิธรรมซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับปรมัตถธรรม (จิต เจตสิก รูป นิพพาน) อันเป็นแก่นของธรรมะใน พระพุทธศาสนาอยู่ตลอด ๗ วัน ในขณะที่ทรงพิจารณาเรื่องของเหตุ เรื่องของปัจจัยในปรมัตถธรรม อันเป็นที่มาของคัมภีร์มหาปัฎฐานอยู่นั้นก็ปรากฎฉัพพรรณรังสี (รัศมี ๖ ประการ) มีสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีเทา สีเงิน และสีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก แผ่ออกมาจากพระวรกายอย่างน่าอัศจรรย์
 
    ในช่วง ๖ พรรษาแรกของการประกาศศาสนา พระพุทธองค์ยังมิได้ทรงตรัสสอนพระอภิธรรมแก่ผู้ใด เพราะพระอภิธรรมเป็นธรรมะที่เกี่ยวข้องกับปรมัตถธรรมล้วน ๆ ยากแก่การที่จะอธิบายให้เข้าใจได้โดยง่าย บุคคลที่จะรับอรรถรสของพระอภิธรรมได้นั้นต้องเป็นบุคคลที่ประกอบด้วยศรัทธาอันมั่นคงและได้เคยสั่งสมบารมีอันเกี่ยวกับปัญญาในเรื่องนี้มาบ้างแล้วแต่กาลก่อน แต่ในช่วงต้นของการประกาศศาสนานั้นคนส่วนใหญ่ยังมีศรัทธาและมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาน้อย ยังไม่พร้อมที่จะรับคำสอนเกี่ยวกับปรมัตถธรรมซึ่งเป็นธรรมะอันลึกซึ้งได้  พระองค์จึงยังไม่ทรงแสดงให้ทราบ เพราะถ้าทรงแสดงไปแล้วความสงสัยไม่เข้าใจหรือความไม่เชื่อย่อมจะเกิดแก่ชนเหล่านั้น เมื่อมีความสงสัยไม่เข้าใจหรือไม่เชื่อแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้เกิดการดูหมิ่นดูแคลนต่อพระอภิธรรมได้ ซึ่งจะเป็นผลร้ายมากกว่าผลดี

    ล่วงมาถึงพรรษาที่ ๗ พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงพระอภิธรรมเป็นครั้งแรก โดยเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทดแทนคุณของพระมารดาด้วยการแสดงพระอภิธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา ซึ่งได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ประสูติประองค์ได้ ๗ วัน และได้อุบัติเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตมีพระนามว่า สันตุสิตเทพบุตร ในการแสดงธรรมครั้งนี้ได้มีเทวดาและพรหมจากหมื่นจักรวาลจำนวนหลายแสนโกฎิมาร่วมฟังธรรมด้วย โดยมีสันตุสิตเทพบุตรเป็นประธาน ณ ที่นั้น

   พระพุทธองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมแก่เหล่าเทวดาและพรหมด้วย วิตถารนัย คือ แสดงโดยละเอียดพิสดารตลอดพรรษา คือ ๓ เดือนเต็ม สำหรับในโลกมนุษย์นั้นพระองค์ได้ทรงแสดงแก่พระสารีบุตรเป็นองค์แรก คือในระหว่าง ที่ทรงแสดงธรรมอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นพอได้เวลาบิณฑบาต พระองค์ก็ทรงเนรมิตพุทธนิมิตขึ้นแสดงธรรมแทนพระองค์แล้วพระองค์ก็เสด็จไปบิณฑบาตในหมู่ชนชาวอุตตรกุรุ เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้ว ก็เสด็จไปยังป่าไม้จันทร์ ซึ่งอยู่ในบริเวณป่าหิมวันต์ใกล้กับสระอโนดาต เพื่อเสวยพระกระยาหาร โดยมีพระสารีบุตรเถระมาเฝ้าทุกวัน หลังจากที่ทรงเสวยแล้วก็ทรงสรุปเนื้อหาของพระอภิธรรมที่พระองค์ได้ทรงแสดงแก่เหล่าเทวดาและพรหมให้พระสารีบุตรฟังวันต่อวัน (พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่พระสารีบุตรด้วย สังเขปนัย คือ แสดงอย่างย่นย่อ) เสร็จแล้วพระองค์จึงเสด็จกลับขึ้นสู่ดาวดึงส์เทวโลกเพื่อแสดงธรรมต่อไป ทรงกระทำเช่นนี้ทุกวันตลอด ๓ เดือน เมื่อการแสดงบนเทวโลกจบสมบูรณ์แล้ว การแสดง พระอภิธรรมแก่พระสารีบุตรก็จบสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน เมื่อจบพระอภิธรรมเทศนา เทวดาและพรหม ๘๐๐,๐๐๐ โกฎิ ได้บรรลุธรรมและสันตุสิตเทพบุตร (พุทธมารดา) ได้สำเร็จ เป็นพระโสดาบันบุคคล เมื่อพระสารีบุตรได้ฟังพระอภิธรรมจากพระบรมศาสดาแล้ว ก็นำมาสอนให้แก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านโดยสอนตามพระพุทธองค์วันต่อวันและจบบริบูรณ์ในเวลา ๓ เดือนเช่นกัน การสอนพระอภิธรรมของพระสารีบุตรที่สอนแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้เป็นการสอนชนิดไม่ย่อเกินไป ไม่พิสดารเกินไป เรียกว่า นาติวิตถารนาติสังเขปนัย

   ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนี้ เคยมีอุปนิสัยมาแล้วในชาติก่อน คือในสมัยศาสนาของพระกัสสปสัมมา สัมพุทธเจ้า ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนี้เป็นค้างคาวอาศัยอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ขณะนั้นมีภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรม ๒ รูปที่อาศัยอยู่ในถ้ำนั้นเช่นกัน กำลังสวดสาธยายพระอภิธรรมอยู่ เมื่อค้างคาวทั้ง ๕๐๐ ตัวได้ยินเสียงพระสวดสาธยายพระอภิธรรม ก็รู้เพียงว่าเป็นพระธรรมเท่านั้นหาได้รู้ความหมายใด ๆ ไม่ แต่ก็พากัน ตั้งใจฟังตั้งแต่ต้นจนจบ เมื่อสิ้นจากชาติที่เป็นค้างคาวแล้วก็ได้ไปเกิดอยู่ในเทวโลกเหมือนกันทั้งหมด จนกระทั่งศาสนาของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นจึงได้จุติจากเทวโลกมาเกิดเป็นมนุษย์และได้บวชเป็นภิกษุในศาสนานี้ตลอดจนได้เรียนพระอภิธรรมจากพระสารีบุตรดังกล่าวแล้ว นับแต่นั้นมา

   การสาธยายท่องจำและการถ่ายทอดความรู้เรื่องพระอภิธรรมก็ได้แพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ภายหลังที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลังจาก ถวายพระเพลิงได้ ๕๒ วัน ท่านมหากัสสปเถระ พระอุบาลีเถระ พระอานนทเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์รวมทั้งสิ้น ๕๐๐ องค์ ซึ่งล้วนเป็นปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ปฏิสัมภิทัปปัตตะ = ผู้ที่ได้ปฏิสัมภิทา ๔ คือผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจธรรมะอย่างแตกฉาน สามารถแยกแยะและขยายความได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง มีปฏิภาณไหวพริบ มีโวหารและวาทะที่จะทำให้ผู้อื่นรู้ตามเข้าใจตามได้โดยง่าย) ฉฬภิญญะ (ผู้มีอภิญญา ๖ อันได้แก่ ๑ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ ๒ มีหูทิพย์ ๓ ทายใจผู้อื่นได้ ๔ ระลึกชาติได้ ๕ มีตาทิพย์ ๖ สามารถทำลายอาสวะกิเลสให้สิ้นไป) และเตวิชชะ (ผู้ที่ได้วิชชา ๓ อันได้แก่ ๑ ระลึกชาติได้ ๒ รู้การจุติและการอุบัติของสัตว์ ๓ มีปัญญาที่ทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไป) ได้ช่วยกันทำสังคายนา พระธรรมวินัย ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และได้กล่าวยกย่องพระอภิธรรมว่าเป็นหมวดธรรมที่สำคัญมากของพระพุทธศาสนา การทำสังคายนาครั้งนี้ มีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/dhamma/abidhamma-05.htm

568
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ ที่เมตตากรุณาสั่งสอน :054:

อ้างถึง
การปฏิบัติธรรมนั้นคือการเจริญสติและการเจริญสัมปชัญญะ
เพื่อให้มีการระลึกรู้และมีความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ทุกขณะจิต กับสิ่งที่
คิด สิ่งที่ทำและสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยมีองค์แห่งคุณธรรมคุ้มครอง
จิตอยู่ องค์แห่งคุณธรรมที่ว่านั้นคือ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป

หิริโอตัปปะ :054:

569
เกิดปัญหาแล้วครับพี่น้อง....ผมหาไก่ป่าตัวดังกล่าวไม่เจอ.... :086: :086: :086:
นานๆจะออกมาทีนึงครับ  :002:
หน้าตาแบบนี้เลยครับ

ขอบคุณภาพจาก...http://www.siamphotography.com/_album/photo.php?pid=3164

เพราะมันเป็นไก่ป่าครับ เมื่อเลยชอบอยู่ห่างๆคนครับ
อีกไม่นานคงมีลูกเจี๊ยบออก รอลุ้นกันต่อไปครับ

570
เรื่องพระอภิธรรมค่อนข้างยาว(มาก)
ขอย่อยเป็นเรื่องๆไว้เพื่อศึกษากันนะครับ
========================

การสวดพระอภิธรรมในงานศพ
เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
คัดลอกจาก http://www.geocities.com/gogfox/aphithum2.html

     ทุกท่านคงจะพบคำว่า สวดพระอภิธรรม หรือ ตั้งศพสวดพระอภิธรรม ในบัตรเชิญหรือในหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อเชิญไปร่วมงานบำเพ็ญกุศลแด่ท่านผู้วายชนม์อยู่บ่อย ๆ ที่ว่า สวดพระอภิธรรม นั้น เมื่อท่านอ่านมาถึงตรงนี้ย่อมทราบดีแล้วว่าหมายถึงอะไร
ตามหลักฐานของท่านผู้รู้กล่าวว่ามีการนำเอาพระอภิธรรมมาสวดในพิธีศพของพุทธศาสนิกชนชาวไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและท่านได้ให้ความเห็นไว้ว่าการบำเพ็ญกุศลในงานศพเพื่ออุทิศให้ ผู้วายชนม์นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรัก ความกตัญญูต่อผู้วายชนม์ซึ่งจากไปไม่มีวันกลับ การที่ พุทธศาสนิกชนชาวไทยนำเอาคัมภีร์พระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเพณีนี้นั้นตามข้อสันนิษฐาน คงจะเกิดจากเหตุผลประการต่าง ๆ ดังนี้

ประการแรก เป็นเพราะ พระอภิธรรม ไม่กล่าวถึงสัตว์ ไม่กล่าวถึงบุคคล ไม่มีตัวตน เรา เขา แต่ทรงจำแนกธรรมออกเป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต (ธรรมที่ไม่ใช่กุศลและไม่ใช่อกุศล) ทรงกระจายสรีระกายซึ่งเป็นกลุ่มก้อนออกเป็นขันธ์ ๕ บ้าง อายตนะ ๑๒ บ้าง ธาตุ ๑๘ บ้าง อินทรีย์ ๒๒ บ้าง อัน เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยซึ่งต้องมีการเสื่อมสลายไปตามสภาวะมิสามารถตั้งอยู่ได้ตลอดไป การได้ฟังพระอภิธรรมจะทำให้ผู้ฟังน้อมนำมาเปรียบเทียบกับการจากไปของผู้วายชนม์ ทำให้เห็นสัจจธรรมที่ แท้จริงของชีวิต ท่านโบราณบัณฑิตคงจะเห็นว่าในงานเช่นนี้เป็นโอกาสอันดีที่ท่านผู้ฟังและท่านผู้ ร่วมบำเพ็ญกุศลในงานศพจะสามารถพิจารณาเห็นความจริงของชีวิตได้โดยง่าย จึงได้นำเอาพระอภิธรรมมาแสดงให้ฟัง

อีกประการหนึ่ง เพราะเห็นว่าในการตอบแทนพระคุณพุทธมารดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ท่านได้เสด็จขึ้นไปทรงแสดงพระอภิธรรมเทศนาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดาซึ่ง สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ดังนั้น เมื่อบุพพการีอันได้แก่ มารดา บิดา ถึงแก่กรรมลง ท่านผู้เป็นบัณฑิตจึงได้นำเอาพระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องในการบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ โดยถือว่าเป็นการสนองพระคุณมารดา บิดา ตามแบบอย่างพระจริยวัตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมา แม้ว่าท่านผู้วายชนม์จะมิใช่มารดาบิดาก็ตาม แต่การนำเอาพระอภิธรรมมาแสดงในงานศพก็ถือเป็นประเพณีไปแล้ว

ประการสุดท้าย เพราะเชื่อว่า พระอภิธรรมเป็นคำสอนขั้นสูงที่มีเนื้อหาละเอียดลึกซึ้ง เกี่ยวกับปรมัตถธรรม ๔ ประการ หากนำมาแสดงในงานบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์แล้ว ผู้วายชนม์จะได้บุญมากการสวดพระอภิธรรมก็คือการนำเอาคำบาลีขึ้นต้นสั้น ๆ ในแต่ละคัมภีร์ของพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์มาเรียงต่อกัน การสวดพระอภิธรรมนี้บางทีเรียกว่า สวดมาติกา ถ้าเป็นงานพระศพบุคคลสำคัญในราชวงศ์เรียกว่า พิธีสดับปกรณ์ ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า สัตตปกรณ์ อันหมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ นั่นเอง (สัตต = เจ็ด ปกรณ์ = คัมภีร์ ตำรา)
ต่อมาภายหลังมีผู้รู้ได้นำเอาคาถาในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ของพระอนุรุทธาจารย์มาสวดเป็นทำนอง สรภัญญะ (คือการสวดเป็นจังหวะสั้น  ยาว) เรียกว่า สวดสังคหะ โดยนำเอาคำบาลีในตอนต้นและตอนท้ายของแต่ละปริจเฉท ซึ่งมีทั้งหมด ๙ ปริจเฉทมาเรียงต่อกันเป็นบทสวด

571
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:

การจากกันเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อวานตอนเย็น ผู้ใหญ่ที่ผมนับถือท่านก็จากไปอย่างไม่มีวันกลับ

อ้างถึง

คุณธเนศร์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ได้เสียชีวิตแล้ว ในวันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม 2554 เวลาประมาณ 17.15 น. จะตั้งศพที่พระศรีมหาธาตุวรมหาว​ิหาร รดน้ำศพ วันจันทร์ที่ 18/7 นี้

ตั้งศพที่ศาลากลางน้ำ ศาลาสุวพีร์ฯ วัดพระศรีฯ บางเขน รดน้ำเวลา 17.00 น. สวดศพ 18.00 น.


ด้วยความอาลัย จากหลาน

572
ขอบคุณภาพที่งดงาม

ได้เห็นไก่ป่าไหมครับ...ตัวผู้หูขาว

573
ขอบคุณครับ :054:

ผมพิมพ์ผิดและท่านเข้าใจถูก "การสึกกลางพรรษา...." (จิตหลุด :075:)

ขอถามเพิ่มเติมอีกครับ อาจไม่เกี่ยวกับเข้าพรรษา
แต่ผมไปยืนอ่านระเบียบของวัดแห่งหนึ่ง กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะบวชพระ ไว้พอเข้าใจดังนี้

1.ต้องมีอายุไม่เกิน....ปี
2.ต้องไม่เคยบวชพระมาก่อน
3.ไม่เคยต้องคดีอาญา
4.ไม่สักยันต์(สี)
5.......
(จะหาโอกาสถ่ายระเบียบมาให้ชม)


ทางวัดสามารถกำหนดระเบียบเช่นนั้นได้ด้วยหรือครับ :062:

ขอบคุณครับ

574
สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน
พระอาจารย์ของสมเด็จโต พรหมรังสี


   สมัยเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พระอาจารย์โต พรหมรังสี) ท่านบวชเป็นพระภิกษุใหม่ ๆ ยังไม่มีสมณศักดิ์ใดๆ นั้น ท่านเรียนพระปริยัติจนแตกฉานที่วัดมหาธาตุ สนามหลวง โดยมีพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน เป็นพระอาจารย์ วิธีการเรียนของท่านก็แปลกกว่าวิธีของพระภิกษุรูปใด ๆ นั่นคือ ท่านจะกำหนดล่วงหน้ามาว่า วันนี้ท่านจะเรียนจากหน้าไหนถึงหน้าไหนในหนังสือ พอมาถึงสำนักเรียน ก็จะเปิดหนังสือออกแล้วแปลไปเรื่อยโดยไม่ติดขัดจนจบหน้าที่กำหนดไว้ ต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระสังฆราชสุกฯ พอจบท่านก็กราบแล้วกลับวัดระฆัง จนกระทั่งวันหนึ่ง สมเด็จพระสังฆราชสุก ฯ มีรับสั่งว่า
“พอแล้ว หยุดเรียนเสียที คุณแตกฉานพอแล้ว” เจ้าอาวาสวัดระฆัง คือสมเด็จพระพุทธโกษาจารย์ (นาค) สงสัยเห็นภิกษุโต ไม่ข้ามไปเรียนที่วัดมหาธาตุอีก ท่านก็ร้อนใจข้ามฝั่งมาเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชสุกฯ เพื่อถามสาเหตุ สมเด็จพระสังฆราชสุกฯ มีรับสั่งว่า'

“ขรัวโต ลูกศิษย์เธอ เขามาแปลหนังสือให้ฉันฟัง เขาไม่ได้มาเรียนหนังสือกับฉันหรอก”

  นี่แสดงถึงภูมิปัญญาของสมเด็จโตฯ ว่าเลิศเพียงใด และเมื่อไม่ได้ข้ามฝั่งไปเรียนพระปริยัติแล้ว ท่านก็เรียนด้วยตัวเองของท่านเองโดยวิธีพิศดารคือ ตอนสายของทุกวัน หลังจากเสร็จกิจทำวัตรแล้ว ท่านจะถือหนังสือเข้าไปในพระอุโบสถวัดระฆัง ไปถึงก็วางหนังสือกับพื้น แล้วกราบพระประธาน ๓ ครั้ง จากนั้นก็หยิบหนังสือออกมากาง เปิดหน้าที่กำหนดไว้แล้วแปลเรื่อยไปจนจบ ท่านก็ปิดหนังสือก้มกราบพระประธาน ๓ ครั้ง แล้วกลับขึ้นกุฏิ ท่านแตกฉานในพระปริยัติอย่างยิ่ง แต่ท่านไม่เคยคิดเข้าสอบเอาเปรียญ แต่กลับมุ่งศึกษาทางด้านวิปัสสนาธุระ ซึ่งสมัยก่อนผู้ที่ศึกษาทางด้านนี้ก็มักจะมีชื่อเสียงทางด้านวิปัสสนาธุระ ที่เต็มไปด้วยคาถาอาคม มีอภินิหารมหัศจรรย์ที่แสดงออกด้วยอิทธิวัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง ที่ท่านได้สร้างกันขึ้น


   ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวาสถิตที่วัดมหาธาตุ จะแตกฉานทางด้านคันถธุระหรือทางด้านปริยัติ ส่วนฝ่ายซ้ายจะสถิต ณ วัดป่าแก้ว ซึ่งเชี่ยวชาญทางวิทยาคม มีเวทมนต์คาถาศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสมัยนั้น มีเกจิอาจารย์สำคัญที่มีชื่อจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ อาทิ หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด สมเด็จพระวันรัต (วัดป่าแก้ว) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นต้น

   ซึ่งการศึกษาด้านวิปัสสนาธุระของพระภิกษุสงฆ์ไทยนั้น ได้สืบทอดมาจนถึงรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงโปรดส่งเสริมการศึกษาทางด้านนี้มาก (สายวิชชากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ) ได้เจริญรุ่งเรื่องที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๒ สมเด็จโตฯ ผู้สร้างพระเครื่องพระสมเด็จอันเลื่องลือยิ่งนักนั้น ท่านก็ได้ศึกษาด้านวิปัสสนาธุระมาอย่างเชี่ยวชาญ ท่านเก่งทั้งทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ เรียนพระปริยัติจนไม่มีอาจารย์สอนได้ และเก่งวิปัสสนา ซึ่งหาได้ยากยิ่งในพระภิกษุรูปเดียวกัน เพราะปกติทั่วไป มักจะเก่งคนละอย่าง ไม่มีพระภิกษุรูปใดที่เก่งทั้ง ๒ ด้านเฉกท่าน

   พระอาจารย์ที่สอนวิทยาคมให้แก่สมเด็จโตฯ องค์แรก ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังเป็นสามเณรอยู่ก็คือ พระอริญญิก (แก้ว) เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร พระอาจารย์องค์ต่อมาคือ สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน ที่ท่านได้สมญานามนี้ เพราะท่านสามารถแผ่เมตตาจนกระทั่งไก่ป่าที่เปรียวและตื่นง่าย เชื่องเป็นไก่บ้านเข้ามาจิกข้าวที่ท่านเสกให้กินได้ สมัยนั้นสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน มีชื่อเสียงเลื่องลือมาก ท่านทรงเป็นพระกรรมวาจารย์ของ รัชกาลที่ ๒ และเป็นอุปัชฌาจารย์ของ รัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ เมื่อทรงผนวชเป็นสามเณรด้วย

คัดจาก : หนังสือ “ประวัติสมเด็จโตฯ” จากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโยธา (สอน โลหนันท์) และหนังสือ “อภินิหาร สมเด็จโตฯ” โดย ฟ้า วงศ์มหา, ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ
ที่มา
http://board.palungjit.com/

575
พุทธคุณของพระสมเด็จอรหัง

   สำหรับเรื่องพุทธคุณการใช้จากผู้ได้ประสบการณ์กับพระสมเด็จพิมพ์นี้มาแล้วนั้นถึงแม้ว่าจะไม่ดังกระฉ่อนเช่นพระสมเด็จวัดระฆังฯ หรือสมเด็จบางขุนพรหมก็ตาม ได้มีนักเผชิญโชคผู้ได้มีประสบการณ์อันมหัศจรรย์จากพระสมเด็จอรหังมาแล้ว ถึงกับตื่นตะลึงและหวงแหนกันยิ่งนัก เพราะพระสมเด็จพิมพ์นี้ดีทางเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดเหมือนเช่นพระสมเด็จวัดระฆังฯทุกอย่าง ยกเว้นพระสมเด็จอรหังสีแดงเท่านั้นซึ่งนอกจากจะมีมหานิยมแล้วยังเพิ่มด้านกระพันชาตรีไว้อีกทางหนึ่งด้วย

   เพื่อให้เรื่องพระสมเด็จอรหัง ยอดพระ ต้นสกุลพระสมเด็จ ของ สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน ได้จบลงอย่างสมบูรณ์ ต่อไปนี้ผมจึงขอเสนอเรื่องราวตอนหนึ่งที่คุณ เฉลิม แก้วสีรุ้ง ซึ่งเป็นชาวนนทบุรี ได้เผชิญกับอิทธิปาฏิหาริย์จากพระสมเด็จอรหังจนถึงกับตะลึงงันอยู่กับที่มาแล้ว เป็นเรื่องทิ้งท้ายไว้ดังต่อไปนี้...

   เรื่องก็มีอยู่ว่า เมื่อ พ.ศ. 2508 คุณเฉลิมมีอาชีพรับซื้อขายผลไม้เป็นประจำอยู่ที่เมืองนนท์ วันหนึ่งมีชาวสวนข้างบ้านมาบอกจะขายทุเรียนส่วนหนึ่งให้ และขอร้องให้ไปดูด่วนด้วย คุณเฉลิมรักทุเรียนมากจนลืมลั่นกุญแจบ้าน และลืมจนกระทั่ง พระสมเด็จอรหัง พร้อมด้วยสร้อยคอทองคำหนัก 3 บาท กับกระเป๋าเงินซึ่งมีเงินอยู่ในนั้นถึงแปดพันบาทด้วย
คุณเฉลิมมานึกขึ้นได้ก็เหตุการณ์ได้ผ่านไปแล้วถึง 3 ชั่วโมง เขาจึงรีบกลับบ้านทันทีแต่ก็ต้องถึงกับตะลึงงันอยู่กับที่เมื่อมาถึงบ้าน เพราะขณะนั้นประตูบ้านได้เปิดอ้า ข้าวของในบ้านถูกรื้อกระจัดกระจายเกลื่อน เสื้อผ้าส่วนหนึ่งและเข็มขัดนาคของภรรยาเขาได้ถูกคนร้ายลักไป แต่...คุณพระช่วย ครับ, คุณพระได้ช่วยคุณเฉลิมไว้อย่างปาฏิหาริย์จริง ๆ ด้วย ที่ว่าปาฏิหาริย์ก็เพราะทั้งสร้อยคอรวมทั้งพระและเงินอีกแปดพันบาท ที่กองอยู่หน้าโต๊ะเครื่องแป้งอย่างชนิดที่ใครโผล่เข้าไปในบ้านก็ต้องมองเห็นได้อย่างถนัดตาทีเดียวนั้น ของดังกล่าวยังคงอยู่ ณ ที่นั้นโดยไม่มีใครมาขยับไปไหนเลย
เรื่องนี้คุณเฉลิมบอกกับผู้เขียนว่า นั่นคือผลแห่งการแคล้วคลาด อันเกิดจากอิทธิปฏิหาริย์ของพระสมเด็จอรหังได้พรางตาคนร้ายไว้แน่ ๆ หรือถ้าใครว่าไม่แน่ละก้อคนร้ายกลุ่มนั้นก็คงจะตาบอดเท่านั้นเอง
คุณเฉลิมบอกว่า ขณะนี้ผมได้ย้ายบ้านและเป็นเจ้าของสวนลำไยอยู่ที่เชียงใหม่แล้ว สาเหตุที่ได้เปลี่ยนอาชีพ จนพอจะมีกินกับเขาบ้างแล้วนี้ ก็เรื่อง พระสมเด็จอรหัง ท่านช่วยผมอีกเหมือนกัน ผมได้อาราธนาบูชาขอโชคลาภท่าน เพื่อขอทุนไปซื้อลำไย ด้วยการไปซื้อลอตเตอรี่ที่จังหวัด 2 ใบ คุณเฉลิมยืนยันว่า ไม่ชอบและไม่เคยซื้อกับเขาเลย นอกจากครั้งนี้เท่านั้น พอถึงเวลาหวยออก ทั้งเขาและภรรยาดีใจจนแทบเป็นลมเป็นแล้งเอาทีเดียว ทั้งนี้ก็เพราะสลากลอตเตอรี่ทั้ง 2 ใบนั้น ใบแรกถูกรางวัลที่ 3 และอีกใบหนึ่งก็ถูกเลขท้าย 3 ตัวด้วย
นี่คือเรื่องราวที่คุณเฉลิม แก้วสีรุ้ง ได้เล่าให้กับผู้เขียนฟังเมื่อ พ.ศ. 2512 ซึ่งขณะนั้นเขาและครอบครัวได้ครองเรือนกันอย่างผาสุกด้วยฐานะที่มั่นคงพอสมควรแล้ว และสิ่งเดียวที่ไม่มีใครมาพรากจากคอเขาได้เลยคือ พระสมเด็จอรหัง เนื้อผงสีขาวองค์เดียวที่เขารักหวงแหนราวกับชีวิตติดตัวเขาอยู่ตลอดเวลาทีเดียว

   เดี๋ยวนี้เราก็รู้แล้วว่า พระสมเด็จอรหัง นอกจากผู้สร้างจะเป็นสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระบรมราชาจารย์ของในหลวงทั้ง 3 พระองค์แล้ว ยังเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ อีกด้วย และสำหรับด้านพระเครื่องฯ พระสมเด็จอรหัง ก็คือพระต้นสกุลพระสมเด็จทั้งหมด อันเปรียบได้ดั่ง จักรพรรดิพระสมเด็จ ซึ่งเปี่ยมด้วยพุทธาคมมนต์ขลังด้านมหานิยมและแคล้วคลาด จากสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน ผู้เลี้ยงไก่ป่าให้เชื่องได้ดังไก่บ้านไว้เต็มลานนั่นเอง

คัดลอกจาก
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/monk-raja/monk-raja-04-hist.htm

576
การกำเนิดพระสมเด็จ อรหัง

    นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงโปรดให้พระอาจารย์สุกหรือพระญาณสังวรเถระ มาอยู่ที่วัดราชสิทธารามหรือวัดพลับ ที่ อ. บางกอกใหญ่ นครหลวงฝั่งธนบุรี แล้ว ต่อมาวัดนี้ก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ การทรงผนวชของพระราชวงศ์แต่ละพระองค์นั้น ภายหลังมักจะเสด็จไปศึกษาวิปัสสนา ที่สำนักพระญาณสังวร ณ วัดราชสิทธารามอยู่เสมอ เช่นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น พระญาณสังวร สุก ไก่เถื่อน ก็ได้เป็นพระบรมราชาจารย์ของพระมหากษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์นี้ด้วย
จากการที่สมเด็จฯ ท่านยิ่งใหญ่ด้านอาคมขลังจนเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่วนั้นจะเป็นด้วยทนการวิงวอนจากบรรดาสานุศิษย์หรือผู้คนที่นับถือท่านมากราย อยากจะได้พระเครื่องของท่านไว้คุ้มครองบ้างก็ได้
ด้วยเหตุนี้เอง, พระเครื่องพิมพ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบชิ้นฟัก ซึ่งสร้างด้วยผงวิเศษสีขาวนั้น สมเด็จพระสังฆราชองค์นี้ จึงได้ให้กำเนิดพระสมเด็จดังกล่าวนี้ขึ้นมาเป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2360

    เล่ากันว่า พระสมเด็จอรหัง ที่สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อนได้เริ่มสร้างเป็นครั้งแรกนั้น ท่านยังดำรงตำแหน่งเป็นพระราชาคณะอยู่ที่วัดพลับ พระเครื่องพิมพ์สมเด็จฯส่วนหนึ่งเมื่อได้รับการปลุกเสกแล้ว ท่านก็แจกจ่ายให้ไปบูชากันโดยถ้วนทั่วและเป็นที่เข้าใจกันว่า พระสมเด็จอรหัง พิมพ์ปฐมฤกษ์นั้นก็คือ พิมพ์ เกศเปลวเพลิง ซึ่งด้านหลังจะไม่ปรากฏมีอักขระคำว่า อรหัง จารึกลงไว้เลย

  สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน ท่านได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการสร้างพระพิมพ์สมเด็จอรหังต่อมาอีก มีหลายพิมพ์ที่เสร็จแล้วท่านก็แจกสานุศิษย์ต่อไปโดยมิได้ลงกรุ แต่พระอีกจำนวนหนึ่งนั้น เมื่อท่านได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช และได้ย้ายมาอยู่ที่วัดมหาธาตุแล้ว ก็เข้าใจว่าพระสมเด็จอรหังส่วนหลังนั้น ท่านคงได้นำมาบรรจุไว้ในเจดีย์ที่วัดมหาธาตุแห่งนี้ไว้เป็นจำนวนมากทีเดียว

คัดลอกจาก
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/monk-raja/monk-raja-04-hist.htm

577
ขอเรียนถามเพิ่มเติม

หากคนไฝ่รู้ธรรมะ ไฝ่ปฏิบัติและศึกษา บวชเรียนในพรรษา พอครบพรรษาแล้วลาสิกขาออกไปเป็นฆราวาส 9 เดือน พอเข้าพรรษาแล้วมาบวชใหม่ ทำหลายๆครั้ง อย่างนี้จะได้ไหม แล้วที่ว่าชายสามโบสถ์คบไม่ได้....มันเป็นเช่นไร

การนับพรรษา หากบวชปีนี้ 1 พรรษา(3 เดือนและสึก) แล้วปีหน้าบวชอีก 1 พรรษา(อีก 3 เดือน) จะนับรวมเป็นสองพรรษาได้หรือไม่

การสึกการพรรษาจะไม่ดีอย่างไร(ทั้งในบทบัญญัติและคติความเชื่อ) ทั้งมีเหตุจำเป็นและไม่จำเป็น

พระอรัญวาสี ออกธุดงควัตร จำเป็นต้องกลับมาเข้าพรรษาในวัดในสำนักหรือไม่ ถ้าไม่...จะต้องทำเช่นไร

ขอความกระจ่างด้วยครับ

578
http://www.tumnan.com/miracle/miracle_l.html
พระประวัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพระเครื่อง

พระสมเด็จ อรหัง วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร


    ก่อนกำเนิดพระเครื่อง พิมพ์สมเด็จวัดระฆังฯ นั้น พระสมเด็จอรหัง นับว่าเป็นยอดพระเครื่อง ต้นสกุลพระ ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือ แบบชิ้นฟัก มาก่อนนานแล้วผู้ริเริ่มพระเครื่องที่เรียกเราเรียกกันจนติดปากมาจนทุกวันนี้ว่า พระสมเด็จฯ และเป็นผู้สร้างพระสมเด็จ อรหัง ด้วยนั้นก็คือ สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน

   พระสมเด็จพระสังฆราช หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า พระสังฆราชไก่เถื่อน นี้นับเป็นพระอาจารย์ผู้ยิ่งยงในวิทยาคมด้านเมตตามหานิยมผู้เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี และยังเป็นพระบรมราชาจารย์ของล้นเกล้าฯ ในรัชกาลที่ 2, ที่ 3 และที่ 4 อีกด้วย

   พระสังฆราชญาณสังวร สุก ไก่เถื่อน ผู้ให้กำเนิดต้นสกุล พระพิมพ์สมเด็จ องค์นี้ ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 2 ขึ้น 10 ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช 1095 หรือ พ.ศ. 2276 ซึ่งตรงกับสมัยอยุธยา ในรัชกาลของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ท่านเป็นชาวกรุงเก่าชื่อ สุก และเข้าใจว่าก่อนถึงอายุ 34 ปี คือ พ.ศ. 2310 ซึ่งเป็นระยะที่กรุงศรีอยุธยาแตกครั้งสุดท้ายนั้น ท่านได้บวชมาก่อนแล้วหลายพรรษา จนปรากฏชัดจากพงศาวดารว่า ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่ วัดท่าหอย เมื่อสมัยกรุงธนบุรี นี่เอง

   พระอาจารย์สุก หรือ พระญาณสังวรเถระ หรือ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 ของราชวงศ์จักรีนี้ นับว่าเป็นผู้หนึ่งที่ยืนดูการกระทำอันโหดร้ายของพม่าเมื่อคราวกรุงแตกมาแล้ว เหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้อาราธนาลงมาอยู่ที่วัดราชสิทธารามนั้น ก็เห็นจะเป็นด้วย พระองค์ประสูติ เมื่อ  พ.ศ. 2279 ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์เช่นกัน
นับแต่พระองค์ได้รับราชการเมื่อปลายสมัยอยุธยาจนกรุงแตกแล้วนั้น ก็ได้ทราบถึงเกียรติคุณของ พระอาจารย์สุก มาบ้างแล้ว จึงได้อาราธนาท่านลงมาอยู่ที่วัดพลับเมื่อประมาณ พ.ศ. 2325

   สมเด็จพระสังฆราช ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 ของกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2363 ตรงกับวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น 2 ค่ำปีมะโรง และได้ย้ายจากวัดพลับมาอยู่ที่วัดมหาธาตุได้เพียงปีเศษก็สิ้นพระชนม์ ณ วัดมหาธาตุ พระนคร เมื่อวันศุกร์เดือน 10  แรม 4 ค่ำ ปีมะเมีย ในรัชกาลของพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงนับว่าเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์เดียว ที่ได้เห็นเหตุการณ์พม่าเผากรุงศรีอยุธยาและผนวชอยู่ในพระบวรพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยอยุธยา, สมัยกรุงธนบุรี, จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์, รวมพระชนมายุได้ถึง 90 ปี

   พระญาณสังวร สุก ไก่เถื่อน ระหว่างอยู่ที่วัดราชสิทธารามนั้น ปรากฏว่าได้เป็นที่นับถือของชาวบ้านตลอดขึ้นไปจนถึงเจ้านายเชื้อพระวงศ์ ต่างก็พากันไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ท่านเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ก็เห็นจะเป็นเพราะบรรดาสานุศิษย์เหล่านั้นต่างก็ได้เห็นกฤตยาคมอันขลังด้านเมตตาพรหมวิหารของท่าน ซึ่งสามารถเรียก ไก่เถื่อน จากป่าเป็นฝูง ๆ มารับการโปรยทานจากท่านเต็มลานวัดทุก ๆ วันนั้นเอง
เหตุนี้ชาวบ้านสมัยนั้นจึงพากันเรียกท่านว่า พระสังฆราชไก่เถื่อน เพราะท่านสามารถเรียกไก่เถื่อนออกมาจากป่าด้วยแรงอาคม และยิ่งได้ลิ้มรสอาหารเสกจากท่านด้วยแล้ว ไก่เถื่อนที่ว่าถึงกับไม่ยอมกลับเข้าป่า และเชื่องเป็นไก่บ้านไปเลย

คัดลอกจาก
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/monk-raja/monk-raja-04-hist.htm

579
พระประวัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)

http://www.soonphra.com/geji/putachan/

    เรื่องประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ อันเนื่องด้วยการศึกษาพระปริยัติธรรมนั้น ได้ฟังผู้หลักผู้ใหญ่เล่ากันมาว่า ท่านได้เล่าเรียนในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) เปรียญเอก วัดระฆัง เป็นพื้น และได้เล่าเรียนต่อสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุบ้าง นอกจากนี้จะได้เล่าเรียน ที่ใดอีกบ้าง หาทราบไม่ เล่าว่าเมื่อเป็นนักเรียนท่านมักได้รับคำชมเชยจากครูบาอาจารย์เสมอว่ามีความทรงจำดี ทั้งมีปฏิภาณอันยอดเยี่ยม ดังมีเรื่องเล่าขานกันว่า........

    เมื่อท่านเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักสมเด็จพระสังฆราช (สุก) นั้น ก่อนจะเรียนท่านกำหนดว่า วันนี้ท่านจะเรียนตั้งแต่นี่ถึงนั่น ครั้นถึงเวลาเรียนท่านก็เปิดหนังสือออกแปลตลอด ตามที่กำหนดไว้ท่านทำดังนี้เสมอ จนสมเด็จพระสังฆราชรับสั่งว่า "ขรัวโตเขามาแปลหนังสือให้ฟัง เขาไม่ได้มาเรียนหนังสือกับฉันดอก" ยังมีข้อน่าประหลาดอีกอย่างหนึ่ง ที่ท่านเรียนรู้ปริยัติธรรมแต่ไม่เข้าแปลหนังสือเป็นเปรียญ (ในสมัยก่อนนั้น การสอบพระปริยัติธรรมไม่ได้ออกเป็นข้อสอบเหมือนทุกวันนี้ การสอบในครั้งนั้นต้องสอบพระปริยัติธรรมต่อพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นการสอบด้วยปากเปล่า สุดแต่ผู้เป็นประธานกรรมการ และกรรมการจะสอบถามอย่างใด ต้องตอบให้ได้ ถ้าตอบไม่ได้ก็หมายความว่าตกเพียงแค่นั้น)

     พระอาจารย์องค์สำคัญที่สุดของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ คือสมเด็จพระสังฆราช "ไก่เถื่อน” (สุก) (สมเด็จพระสังฆราช (สุก) พระองค์นี้ เดิมอยู่วัดท่าหอย ริมคลองคูจาม ในแขวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดูพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑) เมื่อรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงอาราธนามาตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระญาณสังวร ด้วยทรงเห็นว่าเป็นผู้มีชื่อเสียงในทางวิปัสสนาธุระเป็นที่นับถือของชนทั้งหลาย ถึงกับกล่าวกันว่า ทรงไว้ซึ่งเมตตาพรหมวิหารแก่กล้าถึงกับสามารถเลี้ยงไก่เถื่อน ให้เชื่อง ได้เหมือนไก่บ้าน ทำนองเดียวกับที่สรรเสริญพระสุวรรณสาม โพธิสัตว์ในเรื่องชาดก ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อพ.ศ. ๒๓๖๓ คนทั้งหลายจึงพากันถวายพระฉายานามว่า "พระสังฆราชไก่เถื่อน" และได้เสด็จมาประทับ ณ วัดมหาธาตุเพียง ๑ ปี ก็สิ้นพระชนม์ทรงพระชันษาได้ ๙๐ เมื่อถวายพระเพลิงศพแล้ว โปรดฯ ให้ปั้นรูปบรรจุอัฐิไว้ในกุฏีหลังหนึ่ง ด้านหน้าพระอุโบสถ


    อัจฉริยภาพ ในการสร้างพระสมเด็จฯ นั้น เข้าใจว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รับการศึกษามาจากพระอาจารย์พระองค์นี้ กล่าวคือ พระวัดพลับ ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) นี้ (สร้างตอนดำรงสมณศักดิ์เป็นพระญาณสังวร ครองวัดพลับ วัดนี้อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ฝั่งเหนือ จังหวัดธนบุรี เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ตัววัดเดิมอยู่ทางด้านริม เดี๋ยวนี้ค่อนไปทางตะวันตก ) เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงอาราธนา พระอาจารย์สุก (สังฆราชไก่เถื่อน) มาจากวัดหอย จังหวัดพระนาคศรีอยุธยานั้น ท่านขออยู่วัดอรัญญิก จึงโปรดให้อยู่วัดพลับแล้วสร้างพระอารามหลวงเพิ่มเติมขยายออกมาอีก
 
    สมเด็จพระญาณสังวรนี้ ทรงเป็นพระอาจารย์ทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระเจ้านายมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ก็ดี ล้วนเคยศึกษาวิปัสสนาธุระ ในสำนักสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ทั้งนั้น ที่วัดนี้ยังมีตำหนักจันทร์ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เมื่อทรงผนวช นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ยังโปรดให้ซ่อมพระอาราม แล้วพระราชทานเปลี่ยนนามวัดเสียใหม่ว่า "วัดราชสิทธาราม" ถึงในรัชกาลที่ ๔  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดให้สร้างพระเจดีย์ ทรงเครื่องไว้ข้างหน้าพระอาราม ๒ องค์ ๆ หนึ่งนามว่า "พระศิราศนเจดีย์" (พระเจดีย์องค์นี้ทรงอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ อีกองค์หนึ่ง ทรงขนานนามว่า "พระศิรจุมภฎเจดีย์" (พระเจดีย์พระองค์นี้ทรงสร้างเป็นส่วนพระองค์เอง ทั้งนี้เพื่อเป็นที่ระลึกว่า ได้เคยมาทรงศึกษาพระวิปัสสนา ในสำนักสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) )

    เมื่อพิเคราะห์ดูแล้วจะเห็นได้ว่า มีลักษณะของเนื้อ เหมือนเนื้อของพระสมเด็จฯ (ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ) ที่สุด แต่พระวัดพลับมีอายุในการสร้างสูงกว่าพระสมเด็จฯ ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เอาแบบอย่างส่วนผสมผสานมาดัดแปลง และยิ่งพระสมเด็จฯ พิมพ์ทรงหลังเบี้ยด้วยแล้วก็ยิ่งสังเกตได้ว่า ดัดแปลงเค้าแบบมาจากพระวัดพลับทีเดียว

    อนึ่ง การทรงไว้ซึ่งความเมตตากรุณา อันเป็นที่รักแห่งมนุษย์และสัตว์เดรัจฉานนั้นเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีคุณลักษณะคล้ายคลึงสมเด็จพระสังฆราชพระอาจารย์พระองค์นี้มาก เข้าใจว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีความเลื่อมใสและเจริญรอยตามพระอาจารย์แทบทุกอย่าง................

คัดลอกจาก
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/monk-raja/monk-raja-04-hist.htm

580
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054: ธรรมะของพระพุทธองค์ไม่เคยล้าสมัยเลย

สังคหวัตถุธรรม ๔ ประการ คือธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ย​วจิตใจหมู่คณะ
และประสานหมู่คณะทั้งหลายให้เกิ​ดความสามัคคีรักใคร่ซึ่งกันและก​ัน
อันเป็นการสงเคราะห์ด้วยธรรม

ส่วนข้อ ๔. สมานัตตา...ทำตนเสมอต้นเสมอปล​าย
ถ้าต้นร้ายขอให้ปลายดี  :015:

581
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054: ที่เมตตากรุณาบอกเล่าและสั่งสอน

582
อารมณ์ของพระปีติ 5 และ พระยุคลธรรม 6

  อารมณ์ของพระปีติธรรม ๕ ประการ

 
๑.พระขุททกาปีติ ปิติเล็กน้อย สมาธิเล็กน้อย ขณิกสมาธ ขั้นที่ ๑
๒.พระขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ สมาธิชั่วขณะ ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๒
๓.พระโอกกันติกาปีติ ปีติเป็นพักๆ สมาธิเป็นพักๆ ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๓
๔.พระอุพเพงคาปีติ ปีติโลดโผน สมาธิเต็มที่ ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๔
๕.ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน สมาธิแผ่ซ่าน ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๕[/color]

เข้าสับปีติห้าเป็นอนุโลม เข้าสับปีติห้าเป็นปฏิโลม
     รวมตั้งที่นาภี             รวมตั้งที่นาภี

๑.ขุททกาปีติ (ดิน) ๑.ผรณาปีติ (อากาศ)
๒.โอกกันติกาปีติ(น้ำ) ๒.โอกกันติกาปีติ (น้ำ)
๓.ขณิกาปีติ (ไฟ) ๓.อุพเพงคาปีติ (ลม)
๔.อุพเพงคาปีติ (ลม) ๔.ขณิกาปีติ (ไฟ)
๕.โอกกันติกาปีติ(น้ำ) ๕.โอกกันติกาปีติ (น้ำ)
๖.ผรณาปีติ (อากาศ) ๖.ขุททกาปีติ (ดิน)

 เข้าคืบพระปีติห้าเป็นอนุโลม เข้าคืบพระปีติห้าเป็นปฏิโลม
          รวมตั้งที่นาภี            รวมตั้งที่นาภี

๑.ขณิกาปีติ (ไฟ) ๑.ผรณาปีติ (อากาศ)
๒.อุพเพงคาปีติ (ลม) ๒.โอกกันติกาปีติ (น้ำ)
๓.ขุททกาปีติ (ดิน) ๓.ขุททกาปีติ (ดิน)
๔.โอกกันติกาปีติ (น้ำ) ๔.อุพเพงคาปีติ (ลม)
๕.ผรณาปีติ (อากาศ) ๕.ขณิกาปีติ (ไฟ)

เข้าวัดออกวัดสะกดเป็นอนุโลม เข้าวัดออกวัดสะกดเป็นปฏิโลม

๑.ขุททกาปีติ (ดิน) ๑.ผรณาปีติ (อากาศ)
๒.ขณิกาปีติ (ไฟ) ๒.อุพเพงคาปีติ (ลม)
๓.โอกกันติกาปีติ (น้ำ) ๓.โอกกันติกาปีติ (น้ำ)
๔.อุพเพงคาปีติ (ลม) ๔.ขณิกาปีติ (ไฟ)
๕.ผรณาปีติ (อากาศ) ๕.ขุททกาปีติ (ดิน)

             การเข้าสับ เข้าคืบ เข้าวัด ออกวัด พระปีติห้า เป็นอนุโลมปฏิโลม ทำให้จิตชำนาญ แคล่วคล่อง เป็นวสี ในเบื้องต้น

อารมณ์ของพระยุคลธรรม ๖ ประการ

๑.กายปัสสัทธิ จิตปัสสัทธิ กายสงบ จิตสงบ อุปจารสมาธิ สมาธิสงบ ขั้นที่ ๑
๒.กายลหุตา จิตลหุตา กายเบา จิตเบา อุปจารสมาธิ สมาธิเบา ขั้นที่ ๒
๓.กายมุทุตา จิตมุทุตา กายอ่อน จิตอ่อน อุปจารสมาธิ สมาธิอ่อน ขั้นที่ ๓
๔.กายกัมมัญญตา จิตกัมมัญญตา กายควรแก่การงาน จิตควรแก่การงาน
    อุปจารสมาธิ สมาธิควรแก่การงาน ขั้นที่ ๔
๕.กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา กายแคล่วคล่อง จิตแคล่วคล่อง
    อุปจารสมาธิ สมาธิแคล่วคล่อง ขั้นที่ ๕
๖.กายุชุคคตา จิตตุชุคคตา กายตรง จิตตรง อุปจารสมาธิ สมาธิตรง ขั้นที่ ๖

เข้าสับพระยุคลหกเป็นอนุโลม         เข้าสับพระยุคลหกเป็นปฏิโลม
รวมลงที่นาภี                                รวมลงที่นาภี

๑.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน) ๑.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน)
๒.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) ๒.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา (ลม)
๓.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ) ๓.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา (อากาศ)
๔.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา (ลม) ๔.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ)
๕.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) ๕.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา (ลม)
๖.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา (อากาศ) ๖.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ)
๗.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา (ลม) ๗.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ)
๘.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน) ๘.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน)

เข้าคืบยุคลหกเป็นอนุโลม                    เข้าคืบยุคลหกเป็นปฏิโลม
รวมลงที่นาภี                                    รวมลงที่นาภี

๑.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน) ๑.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน)
๒.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) ๒.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา(ลม)
๓.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา(อากาศ) ๓.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ)
๔.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ) ๔.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา(อากาศ)
๕.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา(ลม) ๕.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ)
๖.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน) ๖.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน)

เข้าวัดออกวัดสกดยุคลหก             เข้าวัดออกวัดสะกดยุคลหก
เป็นอนุโลม                                          เป็นปฏิโลม

๑.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน) ๑.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน)
๒.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ) ๒.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา (อากาศ)
๓.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) ๓.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา (ลม)
๔.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา(ลม) ๔.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ)
๕.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา (อากาศ) ๕.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ)
๖.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน) ๖.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน)

สุขสมาธิ ๒ ประการ

๑.กายสุข จิตสุข กายเป็นสุข(สบาย) จิตเป็นสุข(สบาย) อุปจารสมาธิขั้นประณีต    เป็นอุปจารฌาน หรือรูปเทียม ของปฐมฌาน
๒.อุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ อุปจารสมาธิเต็มขั้น เป็น อุปจารฌาน เต็มขั้น

          เข้าวัดออกวัด เข้าสะกดพระสุขพระพุทธา เข้าวัดออกวัดเข้าสะกดพระสุขพระพุทธาเป็นอนุโลม เป็นปฏิโลม

๑.พระกายสุข-จิตสุข ๑.พระอุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ
๒.อุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ ๒.พระกายสุขจิตสุข
           เมื่อปีติ ดำเนินไปถึงที่เต็มที่แล้ว ย่อมได้ความสงบแห่งจิตคือ ปัสสัทธิ เมื่อปัสสัทธิดำเนินไปถึงที่แล้ว เต็มที่แล้ว ย่อมได้ ความสุข คือสุขสมาธิ สุขดำเนินไปถึงที่แล้ว เต็มที่แล้ว จิตย่อมตั้งมั่น เป็นสมาธิคงที่
          อันห้องพระพุทธานุสสติ ขั้นแรกให้อาราธนาองค์พระกัมมัฏฐาน เอายัง พระลักษณะของ พระปีติ ๕ แต่ละองค์ พระยุคลธรรม๖ แต่ละองค์ พระสุขสมาธิ ๒ แต่ละองค์ เมื่อครบพระลักษณะกัมมัฏฐาน แล้วให้นั่งทวนอีกเที่ยวหนึ่ง เอายังพระรัศมี องค์พระปีติ ๕ แต่ละองค์ องค์พระยุคล ๖ แต่ละองค์ องค์พระสุขสมาธิ ๒ แต่ละองค์

          พระลักษณะ หรือ รูปนั้น เป็น บัญญัติ อาจ แปรปรวนเปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน นิมิตที่เกิดขึ้นอาจเป็นนิมิตลวง นิมิตหลอน นิมิตหลอก หรือนิมิตอันเกิดจากอุปาทานได้
          ฉะนั้นพระอาจารย์เจ้าแต่ปางก่อน ท่านให้อาราธนานั่งเอายัง พระรัศมี ดวงธรรม หรือ สี อันเป็นรูปารมณ์ เป็นปรมัตถะ คือ จริงแท้แน่นอน ไม่แปรผัน การนั่งเอายังพระรัศมีองค์พระ เพื่อปรับจิต กันนิมิตหลอก นิมิตลวง กันนิมิตอุปาทาน ทำให้จิตมีอุปาทานในนิมิตน้อยลง เพราะพระพุทธานุสสติกัมมัฏฐานนี้มีแต่ อุคคหนิมิตประการเดียว หามีปฏิภาคนิมิตไม่, อุคคหนิมิตนี้ ย่อมเกิดในมโนทวาร ฉะนั้นนิมิตอาจเป็นนิมิตที่นึกขึ้นเอง คิดขึ้นเองก็ได้

ลักษณะอาการ ของปีติ ยุคล สุข

๑.พระขุททกาปีติ เกิดขุนลุก หนังศรีษะพองสยองเกล้า
๒.ขณิกาปีติ เกิดในจักขุทวาร เป็นประกายเหมือนตีเหล็กไฟ เหมือนสายฟ้าแล็บ
๓.พระโอกกันติกาปีติ เกิดดังขี่เรือต้องระลอกคลื่น เกิดลมพัดไปทั่วกายก็มี
๔.พระอุพเพงคาปีติ เกิดให้กายเบา ให้กายลอยขึ้น หกคะเมน
๕.พระผรณาปีติ เกิดให้กายประดุจอาบน้ำ เย็นซาบซ่านทั่วสกลกาย
๖.กายปัสสัทธิ จิตปัสสัทธิ เกิดกายใจสงบระงับ ไม่กระวนกระวายฟุ้งซ่าน
๗.กายลหุตา จิตลหุตา ความเบากาย เบาใจไม่ง่วงเหงาหาวนอน
๘.กายมุทุตา จิตมุทุตา ความอ่อนไม่กระด้างของกาย และ จิต เริ่มข่มนิวรณ์ธรรมได้บ้าง
๙.กายกัมมัญญตา จิตกัมมัญญตา กายจิตควรแก่การงาน ไม่มีกามฉันท์ วิจิกิจฉา
๑๐.กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา ความแคล่วคล่องแห่งกาย และ จิตไม่เฉี่อยชา
๑๑.กายุชุคคตา จิตตุชุคคตา ความเป็นสภาพตรงกาย และ จิต
๑๒.กายสุข จิตสุข ความสบายกาย ความสบายใจนำพาให้เกิดความตั้งมั่นของจิต คือสมาธิ
๑๓. อุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ จิตตั้งมั่นเป็นอุปจารพุทธานุสสติ สามารถข่ม
       นิวรณธรรมเป็น กามาวจรจิต เป็นอุปจารฌาน มีศีล เกิดปราโมทย์ เกิดปีติ ๕ ประการ เกิดยุคลธรรม ๖ ประการ เกิดสุขสมาธิ ๒ ประการ ย่อมทำให้สัมมาสมาธิสมบูรณ์ ปีติ เป็นราก เป็นเง่า เป็นเค้า เป็นมูล ของสมาธิ


ที่มาของเว็บและเนื้อหา
http://www.oocities.com/weera2548/tamnan/peeti.htm

583
เมื่อคืนตอนตีสองครึ่งเกิดอาการคล้าย.....เช่นนี้

5.6  กายหนาวสั่นตัวงอ   และหนักหางตาเป็นดังอาบน้ำในฤดูหนาว

จนต้องปิดแอร์(ตั้งแอร์ไว้ที่ 25 องศาซี)และห่มผ้านอน ไม่รู้ว่ามันใช่หรือมันเกี่ยวกันไหม
เป็นอาการที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นเลย

584
ธรรม   ๑๑   ประการ     ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปีติคือ

ระลึกถึงพระพุทธคุณ   ๑
ระลึกถึงพระธรรมคุณ   ๑
ระลึกถึงพระสังฆคุณ   ๑
ระลึกถึงศีล   ๑   
ระลึกถึงการบริจาค   ๑   
ระลึกถึงเทวดา  ๑   
ระลึกถึงคุณพระนิพพาน  ๑ 
ความหลีกเว้นคนเศร้าหมอง   ๑   
ความคบหาคนผ่องใส   ๑   
ความพิจารณาแห่งพระสูตรอันชวนให้เกิดความเลื่อมใส   ๑ 
ความน้อมใจไปในปีตินั้น  ๑.

ปีติที่ท่านจัดไว้ก็มีอยู่   5   ลักษณะคือ

1.   ขุททกาปีติ     ปีติเล็กน้อยพอขนลุกชัน – น้ำตาไหล
2.   ขณิกาปีติ       ปีติชั่วขณะรู้สึกเหมือนฟ้าแลบ
3.   โอกกันติกาปีติ    ปีติที่เกิดขึ้นเป็นเหมือนระลอกคลื่นซัดเข้าหาฝั่ง
4.   อุพเพคาปีติ      ปีติโลดลอย    ที่ทำให้ร่างกายเบาหรือไม่สามารถที่จะเก็บเอาไว้ภายในได้ต้องเปล่งอุทานออกมา
5.   ผรณาปีติ     ปีติซาบซ่าน    เอิบอาบไปทั่วร่างกาย

ปีติก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการบำเพ็ญเพื่อมรรค – ผล       
ทั้งในสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน    เมื่อทำเหตุในการเกิดขึ้นของปีติเป็นไปอย่างถูกต้อง
ปีติก็จะส่งผลสนัีบสนุนให้จิตใจเชื่อมั่นในธรรมขั้นสูงๆขึ้นไปเรื่อยๆ 
จนถึงการรู้เห็นอย่างชัดเจนในธรรมแต่ละขั้น    จิตก็สามารถปล่อยวางกิเลสตัณหาทั้งหลายได้     ด้วยความรู้ที่ถูกต้อง

และปีติก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งโดยตรงของโพชฌงค์   
คือ  โพชฌงค์นี้   แปลว่า   องค์ประกอบแห่งการตรัสรู้มรรค - ผล

ที่มา
http://www.samyaek.com/board2/index.php?topic=947.0

587
ปีติ    5

1.    ขุททกาปิติ   มีลักษณะ   คือ


   1.1     เกิดอาการคล้ายหนังหัวพองและขนลุก  เป็นดังอาบน้ำในเวลาหนาว
   1.2     เกิดปรากฏเป็นดังเส้นผมดำละคายเพียงเล็กน้อย
   1.3    เกิดในหทัยวัตถุให้สั่นระรัวเป็นดั่งปั่นผลหมาก
   1.4    เกิดในกายเนื้อตัวหนักมึนตึงและเวียนอยู่

2.    ขณิกาปิติ   มีลักษณะ   คือ

   2.1    ให้ปรากฏในจักขุทวารเป็นดังฟ้าแลบและเป็นประกายดังตีเหล็กไฟ
   2.2    เกิดในกายทวารเป็นดังปลาซิวตอดในเวลาอาบน้ำ
   2.3    เกิดเนื้อเต้นและเอ็นกระดูก
   2.4    เกิดในกายให้ตัวร้อนทั่วไป
   2.5    เกิดแสบทั่วกาย  ให้กายแข็งอยู่
   2.6    เกิดเป็นดั่งแมลงเม่าไต่ตอมตามตัว
   2.7    เกิดในอกให้หัวใจและท้องร้อน
   2.8    เกิดในใจสั่นไหว
   2.9    เกิดในกายให้เห็นกายเป็นสีเหลือง   สีขาว  เป็นไฟไหม้   น้ำมันยางลามไปในน้ำ


3.     โอกกันติกาปิติ   มีลักษณะ   คือ

   3.1   กายไหวดังคลื่นกระทบฝั่ง
   3.2   เป็นดั่งน้ำกระเพื่อมเกิดเป็นฟองน้ำ
   3.3  เกิดเป็นดั่งขี่เรือข้ามน้ำมีระลอก
   3. 4  กายและใจเป็นดังไม้ปักไว้กลางสายน้ำไหล สั่นระรัวอยู่
   3.5   เป็นดังน้ำวน
   3.6   เป็นดังหัว   อก   ไหล่  และท้องน้อยหนัก  ผัดผันอยู่
   3.7   เกิดวาบขึ้นเป็นดังไฟลุก
   3.8   เกิดเป็นลมพัดขึ้นทั่วกาย

4.   อุพเพงคาปิติ   มีลักษณะ  คือ

   4.1   เกิดพองกายเนื้อตัวทั้งมวลหวั่นไหวอยู่
   4.2   เกิดเต้นเหยง ๆ ขึ้น  และลุกแล่นไป
   4.3   เกิดร้อนทั่วตัวและทั่วสันหลัง   ศรีษะ   สะเอว  และท้องน้อย
   4.4   เกิดแสบร้อนเป็นไอขึ้นทั้งตัว   เป็นดังไอข้าวสุกร้อน
   4.5  เกิดปวดท้องและปวงน่องเป็นดังลงท้องเป็นบิด
   4.6  กายและเนื้อตัวเบาและสูงขึ้น
   4.7  หนักขาแข้ง   บั้นเอว  ศรีษะ   เป็นดังไข้จับ
   4.8  เกิดเป็นสมาธิหนัก  และเย็นอยู่


5.   ผรณาปิติ   มีลักษณะ   คือ

   5.1   เกิดในจักขุทวาร  ดูกายเนื้อตัวนั้นแผ่ไป  ดูใหญ่และสูงขึ้น
   5.2  เกิดแผ่ไปทั่วกาย  ให้ตัวเย็นเป็นดังลงแช่น้ำ
   5.3  กายยิบ ๆ แยบ ๆ  เป็นดังไรไต่
   5.4  เป็นดังประกายไฟพุ่งออกจากกระบอก
   5.5  กายเบาเป็นดังนั่งและนอน อยู่เหนือสำลี
   5.6  กายหนาวสั่นตัวงอ   และหนักหางตาเป็นดังอาบน้ำในฤดูหนาว
   5.7  กายอุ่นและไอขึ้น
   5.8  กายเย็นซาบซ่านทั่วตัว

ที่มา
http://www.navagaprom.com/oldsite/con1.php?con_id=408

588
 พระองค์ที่ ๔ : สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)


ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13252

589
พระกรรมฐาน 40-พระปีติทั้ง 5-พระวิปัสสนาญาณ 9

กรรมฐาน-ที่ตั้งแห่งการงาน อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ อุบายทางใจ วิธีฝึกอบรมจิต มี 2 ประเภท คือ 1)สมถกรรมฐาน-อุบายสงบใจ 2)วิปัสสนากรรมฐาน-อุบายเรืองปัญญา.....

กรรมฐาน 40-คือ กสิณ 10-อสุภะ 10-อนุสสติ 10-พรหมวิหาร 4-อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1-จตุธาตุววัตถาน 1-อรูป 4....

ปีติ 5-ความอิ่มใจ ความดื่มด่ำในใจ ได้แก่ 1)ขุททกาปีติ-ปีติเล็กน้อยพอขนชัน น้ำตาไหล 2)ขณิกาปีติ-ปีติชั่วขณะ รู้สึกแปลบๆดุจฟ้าแลบ 3)โอกกันติกาปีติ-ปีติเป็นระลอก รู้สึกซู่ลงมาๆดุจคลื่นซัดฝั่ง 4)อุพเพคาปีติ-ปีติโลดลอย ให้ใจฟู ตัวเบาหรืออุทานออกมา 5)ผรณาปีติ-ปีติซาบซ่าน เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์กาย ซึ่งเป็นของประกอบกับสมาธิ

ญาณ-ความรู้ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้

ฌาน-การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก

วิปัสสนาญาณ 9-ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา หรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนา มี 9 อย่าง คือ 1)อุททัพพยานุปัสสนาญาณ-ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป 2)ภังคานุปัสสนาญาณ-ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา 3)ภยตูปัฏฐานญาณ-ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว 4)อาทีนวานุปัสสนาญาณ-ญาณคำนึงเห็นโทษ 5)นิพพิทานุปัสสนาญาณ-ญาณคำนึงเห็นความหน่าย 6)มุจจิตุกัมยตาญาณ-ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย 7)ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ-ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง 8)สังขารุเปกขาญาณ-ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร 9)สัจจานุโลมิกญาณ-ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์ 4...

ที่มา
http://www.buddhapoem.com/index.php?

590
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

[226] ปีติ 5 (ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำ — joy; interest; zest; rapture)
       1. ขุททกาปีติ (ปีติเล็กน้อย พอขนชูชันน้ำตาไหล — minor rapture; lesser thrill)
       2. ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ ทำให้รู้สึกแปลบๆ เป็นขณะๆ ดุจฟ้าแลบ — momentary or instantaneous joy)
       3. โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นระลอกหรือปีติเป็นพักๆ ให้รู้สึกซู่ลงมาๆ ในกาย ดุจคลื่นซัดต้องฝั่ง — showering joy; flood of joy)
       4. อุพเพตาปีติ หรือ อุพเพงคาปีติ (ปีติโลดลอย เป็นอย่างแรงให้รู้สึกใจฟูแสดงอาการหรือทำการบางอย่างโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น หรือให้รู้สึกตัวเบา ลอยขึ้นไปในอากาศ — uplifting joy)
       5. ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน ให้รู้สึกเย็นซ่านแผ่เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ ปีติที่ประกอบกับสมาธิ ท่านมุ่งเอาข้อนี้ — suffusing joy; pervading rapture)

Vism.143   วิสุทฺธิ. 1/182.

ที่มา
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=226

591
ขอบพระคุณท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)  เป็นอย่างยิ่งที่นำความรู้มาให้ศึกษาครับ

592
ค้นข้อมูลในเวปบางพระแล้ว มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมครับ

สวยดีครับ
ปู่ฤาษีนารอดท่านจะมีบาตรตั้งไว้ข้างหน้าท่านเสมอครับ
เพราะท่านเป็นหมอยาและท่านรดน้ำมนต์ครับ
นารทก็ชื่อภาษาอืนเดียว่า นาโรดะปรากฎอยู่ทั้งในคำภีร์ ภควาตะปุรานะ และ รามยานะ เหาะในอากาสได้ (ซึ่งเป็นผลของการเข้าอรูปฌานและปิติ5 - เป็นผู้ประดิษฐ์ เครื่องบรรเลงซึ่งเรียกว่า พิณ (ภาษาฮินดูว่า Vina) ดนตรีที่ท่านได้แต่งก็ใช้ควบกับการท่องคาถาอาคม และสวดบทสรรเสริญเทพเทวา วึ่ง ส่วนใหญ่ ท่านก็จะอุทิศให้พระนารายณ์นะครับ. พระฤาษีนารท ก็เชี่ยวชานในการบัญญัติกฏหมายอีกด้วยนะครับ
นักเล่นดนตรีและศิลปินร้องเพลงแต่งเพลงก็นับถืบูชาพระนารอทกันเป็นครูบาอาจารย์ พระนารท ก็มีชื่ออื่น ว่า มานัสบุตร Manasabutra (โทษทีว่า อาตมาไม่ทราบว่าสะกดตัวอย่างไรเป็นภาาาไทยครับ)
เป็นฤาษีชั้นเทพ (เทวฤษี), เรียกว่า "มหาฌาน"


นี้ก็พระนารทตัวจริงของพราหมร์ฮินดูครับผม
อย่าลืมว่า ศาสนาพราหมร์กับพุทธก็ไม่ไช่สิ่งเดี่ยวกันครับ พระพุทธศาสนาไทยก็ชอบเอาของพราหมณื (เทพนิยม) มาแทรกในศาสนาพุทธ เป็นการบูชาเทพทีต้องเวียนว่ายตายเกิด เป็นสรณะ ที่แท้จริงก็ไม่ใช่นะครับ แตพระพุทธองค์ก็ไม่ได้ห้ามนะครับ การบูชาพวกพระฤษีก็คือการบูชาคนที่ตายแล้วนัครับ อันว่า บุคคลก็คือสังขาร ซึ่งเป็น อนิจจัง (ทุกขัง และ อนัตตา) นะคับ
อีกอย่างนึงก็คือ การบูขาวิญญานผีนะครับ คนที่บูชาครูที่เราไม่ได้ทราบจริงว่า ท่านคือใครจริง ก็มีอันตรายที่ว่า อาจคิดว่าพวกท่านก็คุ้มครองเราในระหว่างที่เรามีชีวิตอยู่ แต่พอเราก็ตายแล้วดับสังขารก็อาจตกเป็นบ่าวทาสเค้า ก็เป็นไปได้นะครับ
ขอใช้สามาญสำนึก และวิจารณญานในการเลือกสิ่งที่เราจะนิยมบูชาและรับใช้นะคับ
ขอให้ชาวพุทธอย่าลืมกันว่า สิ่งที่ได้มีเป็นที่พึ่งที่ถาวรและจะพาเราไปสวรรค์ ก็คือ พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ บวกการพระพฤติตัวในศีลปฏิบัติธรรมนะครับ
สัตว์ที่ได้บำเพญตบะฌานสมาบัติได้ฤทธิ์ก็ไม่จำเป็นว่าเป็นคนอยู่ในศีล ว่าฌานก็มาจาก จิตวิสุทธิ์มากกว่าศีลวิสุทธิ ก็ยังโกรธลงมือทำปาบแล้วตกนรกได้นะครับ
แต่ว่า การประพฤติพรหมมจรรย์ก็พาไปแต่สวรรค์นะคับ
ฤทธ์สามารถเกิดได้กับนักปฏิบัติทังสองฝ่ายได้ แต่การเล่นของอย่างไม่มีการถือศีลก็ไปนรกได้ง่ายนะครับ ต้องมีความบริสุทธิ์ในการปฏิบัติธรรม ถึงจะเป็นการบูขาครูที่พาไปสวรรค์ได้อย่างแน่นอนครับ
ขออัภัยในการวิเคราะวิจารย์ด้วยนะคับ ว่า ตัวอาตมาได้ศึกษาเรื่องนี้เป็นอย่างมากแล้วก็ห่วงเกี่ยวกะเรื่องนี้ ว่าสาธุชนก็ชอบบูชาเหล่าเทพโดยไม่สืบสานก่อนว่า ท่านครูคนนั้น ก็คือใคร .. ที่มา ฯฯ
ที่มา
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=9065.msg84616

593
อ้างถึงคำสอนของท่านพระอาจารย์และข้อความที่ท่านเคยเขียนไว้ดังนี้

ในหัวข้อ    สภาวะธรรม...ปิติ...
:054:"ปิติ" เป็นสมมุติบัญญัติที่ให้ความจำกัดความของสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นในขณะเจริญภาวนา  อาการปิตินั้นคือการปรับธาตุในตัวเราให้มีความเหมาะสมกับสภาวะจิตที่จะเกิดขึ้นในขณะนั้น ซึ่งจะปรากฏออกมาได้มากมายหลายอย่าง หลายประการ แต่จะสรุปเป็นหัวข้อใหญ่จำกัดไว้ได้ 5 ประการ ตามที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนไว้ ซึ่งอาการของปิตินั้น ที่แสดงอกมาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับธาตุในกายและจิตในขณะนั้นว่าเป็นอย่างไร จึงไม่เป็นไปเหมือนกันในแต่ละครั้งและแต่ละคน ปิติคือการเริ่มต้นที่จะเข้าสู่ความสงบ
 :059:ถ้าอยากจะศึกษาเรื่องอารมณ์ของปิติให้ละเอียดเราต้องไปศึกษาแนวการปฏิบัติของพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)คือการปฏิบัติแบบปิติ5
ซึ่งสมัยก่อนครูบาอาจารย์ท่านเคยปฏิบัติกันมา ก่อนที่จะหันมาภาวนา"พุทโธ"ในสมัยหลวงปู่มั่น และอานาปานุสติในสมัยหลวงพ่อพุทธทาส
ซึ่งแนวปฏิบัติกรรมฐานปิติ5นั้นจะแสดงอย่างละเอียดเรื่องอาการของปิติทั้งหลาย(ฝากไว้เป็นข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการแสวงหาความรู้)

 :054:อาการที่เรารู้สึกคล้ายกับกายเราโยกคลอนนั้นเกิดจากธาตุลมในกายของเรากำลังปรับให้มีความพอดี และจิตของเราในขณะนั้นเข้าไปจับอยู่กับลมในกาย คือการหายใจของเรา และเรากำลังรวมจิตเราเข้ากับลม ซึ่งสภาวะของธาตุลมนั้นมันพัดไหวเคลื่อนที่ไปตลอดเวลา มันจึงทำให้เรารู้สึกคล้ายว่า ร่างกายของเรากำลังโยกคลอน เอนไปเอนมา ทั้งที่กายของเรายังตั้งตรงอยู่ตามปกติ (อาจจะมีอาการก้มหน้าลงและเงยหน้าขึ้นบ้างในบางครั้ง)ถ้าเราไปตามลมทีหายใจเข้าและหายใจออก
 :059:เราอย่าไปกังวลใจว่าใครจะคิดอย่างไรในการปฏิบัติของเรา ขอให้เรามีสติระลึกรู้ว่าเรากำลังทำอะไร และสิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นอย่างไร
รู้เท่าทันอารมณ์ ไม่หลงไปในอารมณ์ที่เกิดขึ้น(ไปยินดีและพอใจอยากจะให้มันเกิดขึ้นอีก) ไม่ไปยึดติดในอารมณ์เหล่านั้น เพราะทุกอย่างตั้งอยู่ในพระไตรลักษณ์"เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป..อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"อารมณ์ปิติเหล่านั้นไม่เที่ยงแท้ ถ้าเข้าไปยึดถือก็เป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่ยึดถือไม่ได้เพราะแปรเปลี่ยนไปตามเหตุและปัจจัย "จังหวะ เวลา โอกาศ สถานที่ และบุคคล" จงฝึกฝนปฏิบัติต่อไปอย่าหวั่นไหวและย่อท้อ และขอให้ความเจริญในธรรมจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลายผู้ใฝ่ธรรม...
 :059:เชื่อมั่น-ศรัทธา-ปรารถนาดี-ไมตรีจิต-แด่มิตรผู้ใฝ่ธรรม :059:
                          รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม
๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๒๖ น. ณ ศาลาน้อยริมน้ำโขง ชายแดนประเทศไทย

ที่มา
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=10614.0

594
ขอเรียนถามท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

พอดีวันนี้ ไปกราบท่านพระอาจารย์ฯ :054: เพื่อถวายเทียนพรรษาพร้อมทั้งน้ำผึ้ง...
แล้วคุยกับน้ิองท่านหนึ่ง น้องบอกว่า ในพรรษาพระท่านจะไม่บิณฑบาต แต่ผมคิดว่าถ้าไม่บิณฑบาตพระท่านจะเอาอะไรขบฉัน
ส่วนท่านพระอาจารย์ฯ ในพรรษาท่านจะไม่ฉันข้าว จะฉันแต่ผลไม้และน้ำผึ้ง เป็นต้น วันนี้ผมก็นำภัตตาหาร(ข้าวและกับข้าว)ไปถวายท่าน
ท่านบอกไม่ฉันแล้วครับ :054: กำลังปรับกระเพาะร่างกายเพื่อฉันผลไม้

ทั้งสองประการมีที่มาเช่นไรครับ ใคร่ขอทราบเป็นความรู้ครับ

ขอบคุณครับ

595
บทความ บทกวี / ตอบ: ถืออุโบสถศีล
« เมื่อ: 14 ก.ค. 2554, 07:11:34 »
พรุ่งนี้ วันพระใหญ่ วันอาสาฬหบูชา
ขอโมทนาบุญกับน้อง jidarsarika ผู้ถืออุโบสถศีลด้วยครับ

วันนี้ ผมก็จะนำน้ำผึ้งไปถวายท่านพระอาจารย์ ไม่รู้ว่าได้น้ำผึ้งมาจริงแท้ขนาดไหน

ปล..คุณน้องตรวจเมล์บ็อกซ์ด้วย ตอนนี้ มันเต็มแล้วครับ ลบของเก่าทิ้งไปบ้างนะครับ

596
ขอบคุณหลายๆครับ

597
ขอบคุณครับ

อ่านไม่เป็นด้วยครับ  :086:

598
โอกาสมาถึงเรา ให้เราได้มีโอกาสเป็นผู้สร้างแล้วครับพี่  :002:
งานนี้และงานหน้าของพระอาจารย์ ผมขอร่วมด้วยครับ

599

ขอจบด้วยภาพสุดท้าย ภาพนี้ครับ
ขอบคุณครับ คุณที
ผมเองก็ยังไม่เคยขึ้นไปบนยอดเขาเลย ที่นั่นเป็นอดีตวัด สร้างปลูกสร้างต่างๆแทบไม่เหลือให้เห็นแล้ว
วัดร้าง ต่อไปคงได้พัฒนาเป็นวัดใหม่  :054:

600
นมัสการท่านพระอาจารย์ :054:
และโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ

ภาพส่วนใหญ่อยู่ ที่ อ.ไซ รอชมกันต่อไปครับ

601
อนุโมทนาบุญผู้มาร่วมงานด้วยครับ บุญใหญ่ซะด้วย

ขอบคุณมากครับพี่ สำหรับของดี  :002:
โมทนาบุญกับญาติธรรมชาววัดบางพระด้วยครับ
ขอบพระคุณขนมจีนและก๋วยเตี๋ยว เครื่องดื่ม อร่อยที่แบกขึ้นเขามาให้รับประทานด้วยครับ :054:
งานนี้ สำเร็จได้ด้วยแรงกายแรงใจจากทุกท่านครับ :054:

602
พี่ทรงกรดครับ พรุ่งนี้เจอกันถ้าผมไม่หยิบของให้เตือนผมเลยน่ะครับผมไว้ในรถแล้วกลัวลืมครับ
มีของผมบ้างไหมครับพี่ :002:
ผมยกให้คุณทีเลยครับ
นำไปภาวนาตามที่ท่านderbyrock บอก แล้วดูการเปลี่ยนแปลง :048:

603
พี่ทรงกรดครับ พรุ่งนี้เจอกันถ้าผมไม่หยิบของให้เตือนผมเลยน่ะครับผมไว้ในรถแล้วกลัวลืมครับ
ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ :002:
พยายามอย่าลืมของไว้ในรถนะครับ ขึ้นลงเขารอบนึงมีหน้ามืดด้วยครับ :092:

604
งานทอดผ้าป่า ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยครับ 36; 36;
                 
กราบขอบารมี หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ คุ้มครองท่านทรงกลด และ พี่น้องศิษย์วัดบางพระทุกๆท่าน
                                                                                                                                                       
ให้เดินทางไปถึงที่หมาย และ กลับมาอย่างสวัสดิภาพปลอดภัยด้วยครับ :033: :033:
                                                                                                                                                                 
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน ขอบคุณมากครับ) :033: :033:
ไว้คราวหน้าหากมีหรือไม่มีงานบุญก็ตาม ถ้าท่านsaken6009 มีความประสงค์จะไปเยี่ยมพระอาจารย์ฯ ผมขออาสาอุ้มท่านไปครับ ไปได้ทั้งครอบครัวเลยครับ :002:

606
น่าจะไปไม่ได้แล้ว
   มีผู้แทนพระองค์มางานในพื้นที่ครับ
ยามท่านว่าง ลองไปเยี่ยมพระอาจารย์ :054: พักค้างคืนปฏิบัติธรรมะดูครับ :015:

607
คำพูดที่หลวงพ่อผินะได้กล่าวไว้

มนุษย์เกิดมาจากตรงนี้......
พระโพธิ์สัตว์ก็เกิดมาจากตรงนี้....
พระพุทธเจ้าก็เกิดมาจากตรงนี้.....
ไม่มีสูง ไม่มีต่ำ ไม่มีเรา ไม่มีเขา
ไม่มีหญิง ไม่มีชาย มีแต่รูป เวทนา
สัญญา สังขาร และวิญญาณ ไว้เพื่อพิจารณา "

“ปรมัตถ โวหาร เป็นโมนัย ปิบัติ”
“สพฺเพเต ธมฺมา นามรูปํ อนิจฺจํ ทุกขํ อนตฺตา”
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวไว้ว่า นาม-รูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน สัตว์-บุคคล-เราเขา-ไม่มี ชายหญิงทั้งหลายเอ๋ย
อาศัย สมมุต ให้ละ สมมุต เสีย
อาศัย ตัณหา ให้ละ ตัณหา เสีย
อาศัย เมถุน ให้ละ เมถุน เสีย
จะได้หลุดพ้น โลกีย์ ถึงโลกอุดร ไม่ต้องเกิด-แก่-ตายเวียนว่าย ในวัฎสงสารหญิง-ชาย อุปมาดังว่า บุปผา ยุพาพาน จะไม่ยืนนานสักควารแผ่นดิน จะไม่เป็นไปตามปราถนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า แม่น่ำยังมีเวลาเต็ม แต่ใจชาย-หญิง ไม่มีเวลาเต็ม จึงกล่าวว่า สู จงมาดูโลกนี้อันมืดตระการ ไม่รู้อะไรเป็นเรา หลงอยู่ช้านาน สังขาร หลอกลวง เอาห่วงผูกคอ ถูกจองจำกลับยินดี สู้ไพรี ไม่มีอาวุธ เหมือนนอนหลับฝันไปตื่นแล้ว ไม่มีอะไรติดไป กายเรานี้ ประดุจดั่ง หลุมฝังศพ หรือสุสานเคลื่อนที่ของผีตายโหง วัว-ควาย-เป็ด-ไก่ ทั้งหลายที่รับประทานไปล้วนตายโหง จงคิดพินิจตามจะเห็นด้วยปัญญา
ดังว่า อุบลนาฯ เกิดจากตม ทั้งใบและดอก เบ่งบานโสภาละกลิ่นตมเสียฉันใด เป็นที่นิยมแห่งหมู่ภุมรินทร์ เพราะไม่มีกลิ่นตม พร้อมทั้งสายบัวและใบ กดลงไปไม่เปียกน้ำฉันใด ผู้มีปัญยาก็ฉันนั้น ชื่อว่าอาศัยเมถุน ก็ละเมถุนเสีย ฉันนั้น นี่และเรียกว่า อสุภกรรมฐาน พ้นแก่งอันกันดาร พ้นจากหมู่อันพาล รู้จักเลือกกินเลือกใช้ เหมือนดั่งคนกินผลไม้-ทุเรียน-รางสาด เป็นต้น กินเปลือกและเม็ดเข้าไป หาว่า ผลไม้ไม่ดี นี้เรียกว่า โมนัย ปฏิบัติขอจบ ปรมัตถ์ ย่อๆ เพียงเท่านี้

ที่มา
http://anontm17.blogspot.com/

608
ชายคนแรก ได้แบกฟางมาถึงยังกองเกวียนของพวกพ่อค้าอยู่หน้าเมือง ก็ได้ขายฟางให้กับพวกกองเกวียนได้ราคาถึง ๔ เท่า เพราะฟางมีน้อยไม่พอที่จะให้โคกิน จึงได้ราคาตั้ง ๔ ตำลึง จึงได้เดินทางกลับไปก่อน และได้แลเห็นพวกกันแบกปอ แบกป่านเดินผ่านไป จึงกลับมานินทาเพื่อนและนินทาหัวหน้าบ้านว่า จะบ้ากันแล้ว ถ้าเอาฟางไปขายด้วยกันป่านนี้ก็ได้เงินกลับมาบ้านแล้วไมต้องเหนื่อย มัวแต่แบกกันไปอยู่นั่นแหละ จะขายกันได้หรือเปล่าก็ไม่รู้

ชายคนที่สอง ได้แบกปอมาถึงกองเกวียน เขาก็ไม่ซื้อ จึงได้แบกปอเดินทางต่อไปถึงในตลาด พวกในตลาดเขาก็ได้ซื้อปอเอาไปทำเชือกและทำสายตะพายควาย จึงได้เงินตั้ง ๘ ตำลึง แล้วก็ได้เดินทางกลับไปยังบ้าน และได้เห็นเจ้าเพื่อนกันแบกป่านเดินผ่านไปพร้อมกับเจ้าหัวหน้าบ้านซึ่งตะพายถุงแก้วไปขาย ๑ ตะพาย

ชายคนที่สาม ได้แบกป่านเข้าไปในเมือง และได้ขายป่านวให้กับพวกที่ซื้อไปทำสายธนู ทำหน้าไม้ จึงได้ราคาเป็นอย่างดี คือได้ถึง ๑๖ ตำลึง แล้วจึงได้เดินทางกบับบ้านไป

ส่วนชายผู้เป็นหัวหน้าบ้าน ได้ตะพายแก้ว เข้างเวียงมาเดินทางเข้าไปถึงในวัง ทีนี้ชาววังก็ได้ดูแก้ว เห็นแล้วเป็นที่ถูกใจยิ่ง จึงให้ราคาอย่างงาม ชายผู้เป็นหัวหน้าบ้านจึงได้ขายแก้วไปเป็นเงินตั้งหลายแสนตำลึง

เรื่องนี้อุปมาเหมือนกับว่าแก้วคือ มรรค-ผล ควรที่น่าจะยินดีเป็นอย่างยิ่ง

เรื่อง งูเหลือมกินเก่า

พระอาจารย์มั่นฯ ได้หันหน้ามาทางพระภิกษุผินะฯ และได้เอ่ยขึ้นว่า สมัยข่อยฯ ทอเจ้าหนี่ ขอ่ยฯได้ย่างเข่าป่าไป่ใสบ่จัก ได้พ่องูเหลือมโตนึงลงเดือยคอยเหลื่อยมาต้องซักพักนึงได้ มีเต่าโตนึงคลานมา มาซุนเอ่าคิงงูเหลือมเข่า เต่ามันก่ะหดหัวหดเขาเหมิด งูเหลือมก่ะอ้าปากงับ กลืนเอาเต่าเข่าไป่ในท้อง บัดหนี่ เต่ามันก่ะเอ่าหัวออกจากกระดอง แล้วกางขาออกนำเต่ามันก่ะยังมองบ่เห็น หยังมิดเหมิดเต่ามันก่ะคลานไป่ข้างหน้า ตีนมันก็ขูดข่วนไส้งูเหลือม (มันกางตีนออกเล็บมันมีตืนละ ๕ เล็บ ๔ ตีนได้ ๒๐ เล็บ) ไส้งูก่ะเป็นชิ้นๆ ได้ ๒๐ ชิ้น ฮ่าหนี่ เต่ามันคลานไป่ทางหน้างู มันผัดทางตัน เต่าก่ะหาทางออกบ่ได้ มันก่ะหันกลับมาทางหัวงู ฮ่าหนี่ เต่ามันก่ะคลานไป่ทางเทื่อละ ๕ ฮอยๆ ละ ๕ เล็บ ใส้งูก่ะขาดเป่นต่อนๆ ได้ ๑๐๐ ต่อน

พระอาจารย์มั่นฯ พูดว่า เคยเห็นบักพร้าวแวบ่ เอ่าเหล็กมีคมงอๆ มาขูดออกไป่เป่นต่อนๆ
พระภิกษุผินะ ตอบว่า เคยเห็นครับ
พระอาจารย์มั่น พูดต่อว่า เต่าก่ะหาทางออกยังบ่ได้ ไส้งูก่ะขาดเหมิด งูก่ะดิ้นขบเจ้าอยู่ข่างนอก ผั่วะ ผั่วะ เต่าก่ะยังออกจากงูบ่ได้ ฮัดจังได๋ เต่ามันหิวตี๊ เต่าก่ะกัดกินงูกินพุง กินตับงูเหลือม ทอนั่นแหลวกินเหมิดแล้ว จังได้กัดหนังงูซอดออกมาได้ มันก่ะกินงูเข่าอีก กิ่นเนื้องู หนังงูเหมิด งูเหลือมก่ะตายไป่ เหลือแต่เต่าบักใหญ่ มันก่ะคลานอุ้ยอ๊ายๆ ย่างไป่

เรื่องนี้พระอาจารย์มั่นฯ ให้พิจารณาเปรียบเทียบเหมือนคนกินเหล้า หรือเหล้ากินคน

ที่มา
http://khuntalebuddha.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3057

609
มีแบบนี้เป็นพอเลยครับ :054:


http://www.watpaknam.org/

ผมเคยไปเช่าที่+สนง.แล้วในห้องทำงาน มีรูปของหลวงพ่อฯอยู่ด้วย
ปีนั้นเฮงสุดๆ ทำอะไรก็ดี
แต่พอย้ายออกมา กลับแย่ลง ภาพนั้นไม่ใช่ของผม เลยเอามาไม่ได้........แต่ตอนนี้ได้ภาพจากท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) และหลวงพ่อเปิ่น มาประจำ สนง.ก็ดีขึ้นเห็นๆเลยครับ :054:

610
เรื่อง เมืองพุงพะวาย

ท่านพระอาจารย์มั่นฯ ก็ได้ชี้นิ้วมือมาทางพระภิกษุผินะฯ พร้อมกล่าวว่า สมัยข่อยทอเจ้าหนี่ ไปเดินธุดงค์ไป่พ่อเมืองๆ นึงซือเมืองพุงพะวาย มีประตูเมืองสองประตู คือประตูหน้ากับประตูหลัง มีพระเจ้าโมหจิตราช เป่นเจ้าเมือง มีมเหสีชื่อว่า พระนางตัณหาราชาเทวี มีสนม ๖ นาง มีปราสาทให้กับทุกพระนางฯ ฮวมเป็น ๖ หลัง มีอำมาตรย์อยู่สองคน มีหมู่บ้านฮ้านค้าอยู่ในเมืองหนี่หล๊ายหลาย

เซ้ามื่อนึง ฮ่าหนี่ ขอ่ยเข้าไปหน้าประตูเมือง ถามอำมาตย์ ๒ คนว่า เห็นโยมข้าวกับโยมกับ ผ่านมาทางผี้เดบ๊อ

อำมาตย์ตอบว่า ผ่านเข่าไปหลัวะๆ ไป่หนี่ติ๊
พระอาจารย์มั่นฯ ตอบว่า บอกว่า ข่อยก่ะย่างเข่าไปถึงพุงพะวาย โพ่นแล้วก่ะได้ถามเขาว่าพวกบักข้าวกับกับกับ เข่าหนี่บ๊อ
พวกพุงพะวายตอบว่า มื่อคืนมาค้างหนี่คืนติ๊ เซ้าสุยออกไป่หนี่
พระอาจารย์มั่นฯ พูดต่อว่า นำไป่เบิ่ง หนอนกิ่นเหมิดแหล่ว เห็นแมงวันตอมอยู่ และได้ย้อนถามพระภิกษุผินะฯ เจ้าเคยไปบ่เมืองนี เจ้าฟังออกบ่

เรื่อง ไอ้บ้าแบกฟาง

มีชาย ๔ คน เป็นสหายและเพื่อนบ้านกัน มีอาชีพทางกสิกรรม อาศัยอยู่นอกเมืองออกไป ได้เสร็จจากการงานของตนแล้ว ในทั้งสี่คนนี้ก็มีหัวหน้าบ้านอยู่คนหนึ่ง และทั้ง ๔ คนได้ปรึกษากันว่า อยู่ว่างๆ เราจะทำอะไรกันดี หัวหน้าบ้านได้เอ่ยขึ้นว่า “ มีพวกพ่อค้านำสินค้ามาขายหลายร้อยเล่มเกวียน พวกเราอยู่ว่างๆ มาเอาฟางไปขายให้พวกพ่อค้า ซื้อให้โคกินน่าจะดีกว่านะ และเขาให้ราคาฟ่อนละตำลึงเชียวล่ะ “

ทั้ง ๔ คนตกลงแบกฟางไปคนละฟ่อน เดินทางไปขายให้พวกพ่อค้าขนสินค้ามาขายที่หมู่กองเกวียน เมื่อเดินทางมาได้พักเดียว ก็ได้พบกับกองปอที่เขาทิ้งไว้ ชายหัวหน้าบ้านก็ได้บอกให้ทุกคนที่แบกฟางมาทิ้งฟางเสีย มาเอาปอ
ไปขายกันจะดีกว่า

ชายคนหนึ่ง บอกว่า ไม่เอาดอก เพราะว่าปอจะมีราคาหรือเปล่าก็ไม่รู้ ส่วนฟางนี้ที่แน่ๆ เขาให้ราคาแล้วฟ่อนละ ๑ คำลึง เป็นที่ต้องได้แน่นอน ฉันไม่เอาด้วยหรอกปอน่ะ ว่าเสร็จแล้วจึงได้แบกฟางเดินไป ส่วนชายอีก ๓ คนรวมทั้งหัวหน้าบ้าน ได้ทิ้งฟางทั้งหมดแล้วแบกเอาปอไปคนละแบก เดินทางต่อไป พอมาอีกสักพักหนึ่งทั้ง ๓ คน ก็ได้พบกองป่านทิ้งอยู่ ชายผู้เป็นหัวหน้าจึงได้สั่งให้คนทั้งหมดทิ้งปอลงเสีย แต่ชายคนที่สองไม่ยอมทิ้งปอ โดยบ่นว่า แบกปอมาตั้งนาน จวนจะถึงที่ขายแล้ว และไม่เข้าใจว่าป่านจะขายได้หรือเปล่า จึงได้แบกปอเดินทางต่อไป

ชายผู้เป็นหัวหน้าบ้านกับชายคนที่สาม ก็ได้แบกเอาป่านเดินทางต่อมาคนละแบก พอมาได้นิดหนึ่ง ก็ได้พบกับกองแก้วที่ยังไม่ได้ขัดทิ้งอยู่ ชายผู้เป็นหัวหน้าก็ได้บอกให้ทิ้งป่านกันเสียเถอะ มาเก็บเอาแก้วนี้ไปขายกันดีกว่า ชายคนที่สามบ่นหนักเลยทีนี้ว่า ไม่เอาดอก แก้วบ้าบออะไร ฉันอุตส่าห์ทิ้งทั้งฟาง ทิ้งทั้งปอ มาแบกเอาป่านอันนี้ เจ้าหัวหน้านี่คงจะต้องบ้าแน่ๆ อะไรๆ ก็ทิ้งหมด ฉันไม่เอาด้วยหรอก ว่าเสร็จ ชายคนที่สามก็ได้แบกเอาป่านเดินจากไป ส่วนชายผู้เป็นหัวหน้าบ้าน ได้ทิ้งป่านลงเสียแล้ว และได้เก็บเอาก้อนแก้วไปด้วยจำนวน ๑ ตะพาย มุ่งหน้าเดินต่อไป
_____

ที่มา
http://khuntalebuddha.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3057

611
ข่าวที่ชัดเจนมาแล้วครับ 36; 36;
                                                 
ท่านอาจารย์หนวด มาสักยันต์ที่วัดบางพระ เสาร์ที่9 อาทิตย์ที่10 จันทร์ที่11 กรกฏาคม 2554 ครับ
                                                                                                                                               
(ขออนุญาตเข้ามาตอบ ขอบคุณมากครับ) :033: :033:
ขอบคุณครับพี่ saken6009
ขอบคุณแทนมากมายครับ

612
เจ้าลิงมันก่ะมาเบิ่งโตมันเองว่า แต่กี้แต่ก่อน มันโตทอกอบมื่อหนี่เดี๋ยวนี้ มันหยั่งจั่งใหญ่ออก ทอคืบทอศอก มันมองไปมองมา นึกว่าแม่นมันบ่น๊อ มองไป่ก่ะแกะกิ่งไม้ที่ติดไปถิ่มแกะใบไม่ออกถิ่ม เอ่าขึ้นดินออกถิ่มแด มันก่ะง่วนอยู่ผู้เดียว มันฮั่นหนะ

ฮาหนี่ เจ้าหู้บ่ มื่อแฮก “ ตัง “ นึ่งกระบั้ง มื่อสอง “ สองกระบั้ง ฮวมเป๋นทอได๋ “

พระภิกษุผินะฯ ตอบว่า รวมเป็น ๓ กระทั้งครับ
พระอาจารย์มั่นฯ เอ้อ แม่นๆๆๆ ฮาหนี่ พ่อออกผู้นั่นคึดเสียดายหล๊ายหลายแต่หากบ่ะละความตั้งใจสิจับเจ้าลิงให้ได้ จั๊กถือพร้าโต้ ย่างเข่าไป่ในป่าอีก เทือนี่ ตัดไม้ไผ่เฮ้ดกระบั้งฮอด ๓ กระบั้ง มาเฮ็ดเป็น ตัง เซ้ามาก่ะเอา ตัง ไป่ยองเทิงต่อไปไม้อีกคื่อเก่า เจ้าลิงก่ะลงมาผิงแดดบอนเก่าอีก เจ้าลิงมันก่ะได้ไป่ติด ตัง เข่าอีกฮ่านี่ถือ ๓ กระบั้งโลด
เอ้อฮ่าหนี่ ตัง มันก่ะติดพันเจ้าลิงทั่วไป่เหมิด ไป่ติดฮอดหัว ฮอดโต ฮอดแขน ฮอดขา ฮอดหาง ก่ะดิ้ก ตกลงข่างล่าง ตัง ที่มันติดโตเจ้าลิง ก่ะได้ไป่ติดเอาก้อนกวด ก้อนขี่หิน กิ่งไม้ ใบหญ้า ดินซาย เข่าไป่อีก โตเจ้าลิงมันก่ะใหญ่ขึ่น ๆๆ มันโตทอผี้ (ท่านพระอาจารย์กางแขนออกสองข้าง) ฮาหนี่ มันบ่แม่นลิงแหล่ว มันควยเด้ แล้วไผสิซ่อยมันได้ เสือมาเสือก่ะสิกิ่น งูมางูก่ะสิกิ่น ไผซ่อยมันได้ อย่าเข่าไปใกล้มันเด้ มันสิขบเอา เฮ็ดจังได๋สิซ่อยมันได้ ต้องเอ่าไฟดังมัน จังสิซ่อยมิได้

พระภิกษุผินะฯ ถามว่า แล้วมันไม่ตายหรือขอรับ
พระอาจารย์มั่นฯ ตอบว่า บ่ต่ายดอก
พระภิกษุผินะฯ ถามต่อว่า เป็นไรถึงไม่ตาย
พระอาจารย์มั่นฯ ตอบว่า ไฟที่ดั่งมันบ่แม่นไฟธรรรมดาซือๆ เด้ เป่นไฟพุทธอัคคิ ธัมมอัคคิ สังฆอัคคิ ๓ กองสุมใส่ ตัง ให่วอดไป่เหมิดเลยแหล่วฮาหนี่เจ้าลิงมันก่ะไต่ขึ่นเทิงต้นไม้ใหญ่ได้ซำบาย ทอนั่นดัว

ทีนี้เรื่องตอไม้ที่อยู่กลางแดดนั้น ท่านพระอาจารย์มั่นฯ ท่านให้เขียนเป็นตัวหนังสือดูว่า “ แดด “ เขียนยังไง บอกว่า “ สระแอ ดอเด็ก สะกดด้วยดอเด็ก (แดด) อ่านว่า แดด “ ทีนี้ท่านพระอาจารย์มั่นฯ ให้เอาตัวดอเด็กอยู่กลางแดดออกตัวหนึ่ง และเอา “ ต “ (ต่อเต่า) ใส่เข้าไปแทนสะกดได้ว่า “ สระแอ ตอเต่า ดอเด็ก (แตด) “

พระอาจารย์มั่นฯ พูดต่อว่า ฮาหนี่ แตงเขียวมันบ่ติดดอก มันไป่ติดเอ่า “ แตงแดด “
พระภิกษุผินะฯ คิดไปคิดมาใครครวญแล้ว นึกขึ้นได้จึงอุทานออกมาว่า “ ใครอยู่ใครตาย ใครไปใครก็รอด “

ที่มา
http://khuntalebuddha.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3057

613
พระครูอุภัยภาดาธร หรือที่รู้จัดกันดีในนาม "หลวงพ่อขอม" อดีตเจ้าอาวาส วัดไผ่โรงวัว ต.บางตาเถร อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธโคดม" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหล่อโลหะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๐ เมตร สูง ๒๖ เมตร
 
ภาย ในบริเวณวัด มีสิ่งก่อสร้างเกี่ยวกับพุทธศาสนา เช่น วังสามฤดู ของเจ้าชายสิทธัตถะ สถานที่แสดงปฐมเทศนา ตรัสรู้ และปรินิพพาน เมืองนรก เป็นต้น

หลวงพ่อขอม ท่านมักได้รับนิมนต์ไปร่วมพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสกในงานพุทธาภิเษกตามวัดต่างๆ จนนับครั้งไม่ถ้วน ยิ่งงานใหญ่ๆ ต้องมีท่านด้วยเสมอ ขณะไปปลุกเสกในการสร้างพระให้วัดอื่นๆ ท่านมีปณิธานว่า จะสร้างพระจำนวนโกฏิ (สิบล้านองค์) โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ปี ๒๔๗๓ จนถึงปี ๒๕๐๐ จำนวนการสร้างไม่แน่ชัด แต่ทราบเพียงว่า ท่านก็ยังสร้างอีกเรื่อยมา มีจำนวนหลายร้อยตุ่ม  แม้จะสร้างมาก แต่พระของท่านก็มีประสบการณ์ดีเช่นกัน คือ คนนำไปลองยิงแล้วมีผลเป็นมหาอุตด้วย

พระเครื่องและวัตถุมงคลที่ หลวงพ่อขอมสร้างไว้นั้น มีมากมายหลายแบบ หลายพิมพ์ แต่มีเพียง ๔ รุ่น หรือ ๔ พิมพ์เท่านั้น ที่ได้รับความนิยม คือ ๑.เหรียญทรงรูปไข่ รุ่นแรก (บล็อกตาแตก) ๒.เหรียญทรงรูปไข่ รุ่นสอง (บล็อกหน้าหนุ่ม)  ๓.รูปเหมือนหล่อ รุ่นแรก ได้รับความนิยมทั้งพิมพ์ใหญ่-พิมพ์เล็ก และ ๔.พระกำแพงศอก ซึ่งมีทั้งหมด ๗ พิมพ์

ที่มา
http://www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538710412&Ntype=40

614
ประวัติของหลวงพ่อขอม เดิมท่านชื่อ เป้า แต่เพื่อนๆ เรียกท่านว่า ขอม เมื่อได้ก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์แล้ว พระขอม หรือ อนิโชภิกษุ ได้จำพรรษาอยู่ที่ วัดบางสาม ได้ตั้งหน้าตั้งตาศึกษาพระธรรมวินัย ด้วยความเอาใจใส่อย่างยิ่ง และปฏิบัติตนในศีลาจารวัตรเป็นอย่างดี อยู่หลายปี

 จนกระทั่งเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงมาถึง ได้มีสำนักสงฆ์สร้างขึ้นใหม่แห่งหนึ่ง มีชื่อเรียกตามความนิยมของชาวบ้านว่า “วัดไผ่โรงวัว”

ด้วย เหตุที่นี่ไม่มีสมภารเจ้าวัด บรรดาชาวบ้านย่านนั้นซึ่งจับตาดูพระขอมมาตั้งแต่ต้น ลงความเห็นพ้องต้องกันว่า ผู้ที่สมควรได้รับตำแหน่งสมภารวัดใหม่นี้ ไม่มีท่านใดเหมาะเท่า พระขอม

เมื่อลงความเห็นดังนี้ ต่างก็พากันกันไปนิมนต์ พระขอม ให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดไผ่โรงวัว พระขอมซึ่งเคยเป็นที่คุ้นเคยกับพุทธบริษัทที่นั่น ไม่อาจขัดศรัทธาได้ จึงย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดนั้นเป็นเวลา ๒ ปี

 ชีวิตของท่านในช่วงนี้ หากจะขาดก็คือขาดสถานศึกษาเล่าเรียนพระพุทธศาสนา เพราะวัดไผ่โรงวัวเป็นวัดใหม่ สิ่งนี้ทำให้พระขอมพิจารณาตนเอง และเห็นว่าอันธรรมวินัยของพระศาสดานั้น ท่านยังเข้าไม่ถึงพอที่จะเป็นสมภารเจ้าวัดได้ หากผู้ศรัทธายังประสงค์จะให้ท่านเป็นผู้นำของวัดนี้อยู่ ท่านก็จำต้องเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม

ดังนั้นท่านจึงขอย้ายไปจำ พรรษาที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งอยู่ในตัวเมืองสุพรรณบุรี แล้วไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่ วัดประตูสาร ใกล้ๆ กับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่ท่านจำพรรษาอยู่นั่นเอง  การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระขอมดำเนินไป ๓ ปี ก็สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก อันเป็นความรู้ชั้นเถรภูมิ

 คราวนี้ท่านกลับมาสู่วัดไผ่โรงวัวอีกครั้งหนึ่ง อย่างสมภาคภูมิ กลับมาอย่างผู้พร้อมที่จะบริหารภารกิจให้พระศาสนาอย่างเต็มที่

ดัง ได้กล่าวแล้วว่า วัดไผ่โรงวัวเป็นวัดใหม่ จึงยังไม่ถึงพร้อมในทุกๆ ด้าน  คือไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย  กุฏิที่อยู่จำพรรษาของพระภิกษุสามเณร ก็เป็นกระต๊อบมุงจากเก่าๆ มีอยู่เพียง ๒ หลัง  ศาลาการเปรียญที่เป็นที่บำเพ็ญกุศลของทายกทายิกา เป็นเพียงเรือนไม้ไผ่หลังคามุงจาก อาศัยพื้นดินเป็นพื้นของศาลา น่าอนาถใจยิ่ง

 ภาระของพระขอม คือต้องปรับปรุงศาสนสถานแห่งนี้ให้น่าพักพิงสมกับเป็นวัดก่อน เพื่อจะได้เป็นหนทางนำไปซึ่งการปรับปรุงจิตใจของชาวบ้านผู้ศรัทธาเป็นชั้น ที่สอง และเนื่องจากบรรดาชาวบ้านต่างมีศรัทธาพระขอมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว งานปรับปรุงก่อสร้างชั้นแรกจึงผ่านไปได้ไม่ยาก เริ่มด้วยการถมดินไม่ให้น้ำท่วมวัดได้ เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นที่ลุ่มมาก ถึงฤดูฝนคราใดน้ำท่วมทุกปี และท่วมมากขนาดเรือยนต์เรือแจวแล่นถึงกุฏิได้

เมื่อ ถมดินเสร็จ ท่านได้จัดการขุดสระน้ำสำหรับเป็นที่สรงน้ำ และน้ำดื่มของพระภิกษุสามเณร และเพื่อชาวบ้านทั้งหลายจะได้อาศัยอาบกินโดยทั่วไป แล้วซ่อมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรม สร้างศาลาการเปรียญ สร้างโบสถ์ จัดสรรให้เหมาะสมเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม สมกับคำว่า “วัด” ทำให้ศรัทธาของชาวบ้านก็เพิ่มมากขึ้น

 นับตั้งแต่พระขอมได้บวชเป็นพระสงฆ์ ท่านมีความตั้งใจมั่น ดังที่เรียกว่ามโนปณิธาน เรื่องนี้ท่านกล่าวกับผู้ใกล้ชิดว่า

“... อาตมาได้ฟังพระท่านเทศน์ว่า บุคคลผู้ใดเลื่อมใส ได้สร้างพระพุทธรูป จะเล็กเท่าต้นคาก็ดี โตกว่าต้นคาก็ดี ผู้นั้นจะได้เป็นพรหม เป็นอินทร์ หมื่นชาติแสนชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หมื่นชาติแสนชาติ ผู้นั้นจะไม่เป็นผู้ตกต่ำเลย จนตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน ถ้าผู้ใดสร้างพระพุทธรูปด้วยทองคำ ผู้นั้นจะได้เกิดเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า...”

ด้วยมโนปณิธานนี้เอง ทำให้ท่านขอมคิดเริ่มสร้าง พระพุทธโคดม ด้วยทองสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

พ. ศ. ๒๕๐๐ หลวงพ่อขอมเริ่มบอกบุญแก่ญาติโยม ใช้เวลา ๒ ปี กว่าจะเริ่มสร้างได้ เนื่องจากเป็นงานใหญ่นั่นเอง ถึงต้องใช้เวลาสร้างทั้งหมด ๑๒ ปี จนแล้วเสร็จ พ.ศ. ๒๕๑๒



หลังจาก นั้น ท่านก็เริ่มสร้างสิ่งก่อสร้างอีกหลายอย่าง เช่น สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล แดนสวรรค์ นรกภูมิ เมืองกบิลพัสดุ์ และอีกหลายๆ อย่างด้วยกัน ดังที่เห็นกันในทุกวันนี้

 มีลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดเคยถามหลวงพ่อขอมว่า จะสร้างสิ่งก่อสร้างไว้มากมายเพื่ออะไร ท่านตอบว่า "อาตมาสร้างไว้เพื่อให้ผู้ศรัทธา และอนุชนรุ่นหลัง ได้ศึกษาเรื่องราวของพุทธประวัติ"

นอกจากงานก่อสร้างแล้ว หลวงพ่อขอมท่านยังเป็นนักเขียน นักแต่ง ที่มีความสามารถไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าด้านงานก่อสร้าง ผลงานของท่านปรากฏอยู่หลายเรื่อง เฉพาะที่จัดพิมพ์แจกเป็นธรรมทานไปแล้วก็มีเรื่อง ธรรมทูตเถื่อน พุทธไกรฤกษ์ สมถะและวิปัสสนา

จนถึงวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๓๓ เวลา ๑๖.๕๕ หลวงพ่อขอมก็มรณภาพลงด้วยโรคหัวใจล้มเหลว รวมสิริอายุ ๘๘ ปี พรรษา ๖๘  ทำให้นึกถึงคำปฏิญาณของหลวงพ่อขอม ที่ท่านได้กล่าวไว้ ๕ ข้อ คือ

๑. ชีวิตของเราที่เหลือ ขอช่วยพระพุทธองค์ไปจนตาย  ๒.เมื่อมีชีวิตอยู่ ถ้าเรามีเงินส่วนตัวสัก ๑ บาท เราจะอายพุทธบริษัทเป็นอย่างยิ่ง  ๓.เราจะให้รูปพระองค์เกลื่อนไปในพื้นธรณี  ๔.โอ...โลกนี้ไม่ใช่ของฉัน  และ ๕.เราต้องตาย ตายใต้ผ้าเหลืองของเรา

ที่มา...http://www.komchadluek.net

615

ที่มา http://anontm17.blogspot.com

ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้เข้าไปที่วัดป่าสุทธาวาส บ้านหนองผือในนา อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร เรียนธรรมและปฏิบัติธรรมอยู่กับพระอาจารย์มั่นฯ เป็นเวลา ๑ เดือน ในระหว่างที่ได้รับใช้และปฏิบัติท่านพระอาจารย์มั่นฯ อยู่นั้น ท่านพระอาจารย์มั่นฯ จะสอนธรรมเวลาประมาณ ๒๑.๐๐ น. เป็นอย่างน้อย พระภิกษุผินะฯ ได้นวดพระอาจารย์มั่นฯ เมื่อนวดไปท่านพระอาจารย์มั่นฯ ก็ได้ผายลมออกมา และได้เอ่ยต่อทางพระภิกษุผินะฯ ว่า “ เหม็น บ่ “

พระภิกษุผินะฯ ตอบว่า    ไม่เหม็น ขอรับ
พระอาจารย์มั่นฯ ตอบว่า    บ๊ะ ตดหน่ะ ไผสิบ่เหม็น บีมีดอกมาแกล้งย่อมกั๋นนี่

ในขณะที่นังพังบรรยายธรรมอยู่นั้น ได้มีพระภิกษุร่วมฟังบรรยายด้วยประมาณ ๒๐ รูป รวมทั้งพระอาจารย์บุตรฯ ด้วย เมื่อขณะที่ได้ปฏิบัติพระอาจารย์มั่นฯ อยู่นั้น ก็ได้ฟังนิทานธรรม คดีอุปมาอุปมัยด้วยกันหลายเรื่องคือ

เรื่อง ลิงติดตัง

พระอาจารย์มั่นฯ ได้สนทนาธรรมกับรรดาลูกศิษย์อยู่นั้น พระอาจารย์ก็ได้ชี้นิ้วมือมาทางพระภิกษุผินะฯ พร้อมกับกล้าวขึ้นว่า

สมัยข่อย ทอเจ้าหนี่ ข่อย พอลิงโตนึงมานั่งผิงแดดฮ่านี่ มีพ่อออกผู้นึงถือพร้าโต้มานำ พ่อลิงเข่าก่ะอยากสิได้ พ่ออกผู้นั้น เกิดความคึกขึ่นจังว่าคว้าพร้าโต้เข่าไป่ในป่า ไปตัดเอาไม้ไผ่มาเฮ็ดเป็นกระบั้ง (กระบั้งสำหรับใส่น้ำ) ตัดมาได้ ๑ กระบั้ง แล้วฮ่าหนี่ ก่ะไปตัดเอายางคุย เขาเอิ้นย่าน หู้จักบ่ ย่านน่ะ แม่นว่า เฮาตัดเทิงกกน้ำมันบ่ออกดอก ต้องตัดทางปลายแล้วยกขึ้น น้ำไหล ซ่า ใส่กระบั้งนำมา ๑ กระบั้ง แล้วมาผสมกับน้ำมันยางใส ใส่ขี่กุ เอาไฟดังเอาใส่คุเคล้าให้เหนียวเป็น ตัง (สำหรับดักสัตว์) เสร็จแล้วพ่ออ่อนผู้นั้น ก่ะเอ่า ตังไป่ยองเทิงตอไฟไหม้ฮั่น สวยมาแดดก่ะส่อง เจ้าล้องน้อยก่ะได้ไต๋ลงมาจากกกไม้ใหญ่ มานั่งผิงแดดเทิงต่อไม้ไฟไหม้กลางแดดตามเคย เมื่อปีนขึ๋ไป่เทิงต่อไม้แล้ว เจ้งลิงมันก่ะไปนั่งถืก ตัง เจ้าลิงมันก่ะเอามือไปบาย ตัง ผัดดิดมือขึ๋นมานำเข้าลิง่ะเลยแกะเอามาดมเล่น ตัง ก่ะไป่ติดมือ ติดแขน เข้าลิงมั้นก่ะป้ายไป่ทั่ว ป้ายไป่ก่ะติดขน ติดขา ติดโตทั่วไปเหมิด พ่ออกผู้นั้นเห็นยังสั้น จังย่างซือเข่าไป่สิจับเจ้าลิงฮั่น เจ้าลิงมันก่ะเติ๊กใจ ฟ่าวกระโดดหนีลงไป่จากต่อไม้ ตกดิน อานั่น ตัง ที่ติดโตเจ้าลิงก่ะได้ไป่ติดเอ่าขี่ดิน กิงไม้ ใบหญ้า เข่าอีกจำนอีหลักอีเหลื่อ แทบสิขึ่นต้นยางใหญ่บ่ไหว แต่เจ้าลิงมันก่ะปีนขึ่นไป่ได้

มันก่ะไป่มองโตมันเองว่า เป็นหยังจั่งใหญ่ขึ้น แต่กี้ โตหน่อยนึง เดี๋ยวนี้ โตใหญ่ขึ่นมาทอ (พระอาจารย์มั่นฯ ทำท่ากอบมือให้ดู) หนี่หากเจ้าลิงมันอยู่เทิงกกไม้ใหญ่ มองเบิ่งโตมันแล้วก่ะแกะกิ่งไม้แด ใบไม้แด ที่ติดโตมันขึ่นไป่ออกถิ่ม ทีละชิ้นสองชิ้น

พ่อออกผู้นั้น คิดเสียดายว่าเกือบสิจับเจ้าลิงได้อยู่แล้ว จั่งได้ถือพร้าโต้ย่างเข่าป่าใหญ่อีก ครานี่ ก่ะได้ไป่ตัดเอ่าไม้ไผ่มาเฮ็ดกระบั้งอีก ๒ กระบั้ง ตัดเอ่าย่านมานำ ๒ กระบั้ง เอ่ามาเฮ็ดเป็น ตัง อีก เช้าขึ่นมาเมื่อใหม่ ก่ะได้เอ่า ตัง ที่เกรียมไว้ไป่อีก ๒ กระบั้ง ไปยองเทิงต่อไม้ไฟไหม้กลางแจ้งคื่อเก่า แหล่วยามมื่อสวยของมื่อฮั่น เจ้าลิงก่ะได้ลงมาจากต้นยางใหญ่ แล้วไป่ผิงแดดบ่อนเก่า เมื่อเจ้าลิง ขึ่นไป่เทิงต่อไม้แล้ว ก่ะได้ไปนั่งทับ ตัง เข้าอีกเจ้าลิงก่ะหยิบ ตัง ขึ่นมาเบิ่งอีกก่ะได้แกะ ตัง ออกเล่น ฮ่านี่ ตัง ก่ะเลยติดมือ ป้ายไป่ก่ะติดขน ติดแขน ติดโต ตัวหัว ติดอีก ต่อไป๋เหมิด พ่อออกเห็นจั่งสั้น ก่ะฟ่าวสิเข่าไปจับ เจ้าลิงก่ะกระโจนลงจากต่อไม้ สิหนีขึ่นต้นไม้ใหญ่ เลยตกไปข่างล่าง พาเอ่า ตัง ที่ติดโตไปคลุกเอ่าก้อนขี่ดินกิ่งไม้ ใบหญ้า ก้อนกวด ดินซาย แทบสิไต่ขึ่นต้นไม้บ่ไหว พ่อออกก่ะเกือบสิจับเจ้าลิงได้อีกแล้ว เจ้าลิงก่ะหนีไป่พ่นขึ้นต้นรไม้ใหญ่ไป่ได้อีก

ที่มา
http://khuntalebuddha.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3057

616
ยินดีครับ ได้อะไรมาฝากบ้างครับ :027:

617

ที่มา http://www.senghobangkok.com/product.php?id=966

เมื่อสนทนากับพระหลวงตาอ่อนฯ ได้พอสมควร จึงขออนุญาต และขอโอกาสกราบลาท่านเดินทางต่อไปยังที่เขาพระพุทธบาท อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี จึงได้พบกับพระหลวงพ่ออ่อนฯ (เป็นคนไทย) มากราบไหว้พระพุทธบาท จึงได้เข้าไปกราบขออนุญาตกราบลงแทบเท้าเอามือลูบที่เท้าท่าน แล้วน้อมขึ้นใส่กระหม่อม และได้เอ่ยถามท่านว่า

พระภิกษุผินะฯ ถามว่า    หลวงพ่อครับช่วยดูหน่อยว่าอะไรเป็นของผม
พระหลวงพ่ออ่อนฯ ตอบว่า    แล้วใครเป็นคนถามผมล่ะ
พระภิกษุผินะฯ ตอบว่า    ผมเอง
พระหลวงพ่ออ่อนฯ จึงตอบต่อว่า    คนที่ถามผมเป็นท่าน ฯลฯ

พระภิกษุผินะฯ ได้พักอาศัยอยู่กับพระหลวงพ่ออ่อนฯ ที่พระพุทธบาทเป็นเวลา ๗-๘ วัน จึงกราบขออนุญาต ขอโอกาสเดินทางต่อมายังเขานกพิลาบ จ.สระบุรี เดินทางมาตามหาโยมมารดามาเรื่อยๆ ว่า ขณะนี้อยู่ที่ใด ผ่านมาจนวถึงเขานกพิราบ อ.เมือง จ.สระบุรี ตั้งใจบำเพ็บเพียรเพื่อที่จะหาโยมมารดาให้พบ ระหว่างบริเวณเขานกพิราบ มีบ้านคนแค่ ๔ หลังคาเรือนเท่านั้น ได้ตั้งใจค้นหามารดา และค้นหาตัวของพระภิกษุผินะฯ ว่าอยู่ที่ไหน มีหรือไม่ เป็นประการใด อยู่ที่เขานกพิราบนี้เป็นเวลา ๑๘ วัน และได้พบกับเหตุการณ์ที่แปลกอันหนึ่ง คือได้พบกับอุคคหนิมิตเข้าโดยบังเอิญ คือ

วันแรก หลังจากที่ได้ทำความเพียรค้นหาโยมมารดาแล้ว ได้พบผู้หญิงสาวคนหนึ่งเดินมา และจูงเด็กมาด้วย จึงได้เอ่ยถามว่า

พระภิกษุผินะฯ ถามว่า    หนูชื่ออะไร
หญิงสอบ ตอบว่า    ชื่อยี่สุ่น
พระภิกษุผินะ ฯ ถามว่า บ้านหนูอยู่ที่ไหน
หญิงสาว ตอบว่า    อยู่ทางโน้น

(เธอได้ชี้นิ้วมือไปทางด้านหน้า แต่ปรากฏว่า ไม่เห็นมีบ้านคนเลย เธอได้นำอาหารมาใส่บาตรด้วย พร้อมกับจูงมือเด็กเดินจากไป และทำท่าทำทางคล้ายกับจะฟ้อนรำ และร้อว่า จะอื้อ....จะอื้อ.....จะอื่อ ดูลักษณะและท่าทางแล้ว ยั่วยวนชวนพิศวาสมาก ขนาดทำให้อสุจิเคลื่อน

พระภิกษุผินะฯ จึงได้เดินทางตัดผ่านป่าออกมายังเขาคอก อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เมื่อพ้นป่าออกมาได้ ก็ได้พบหมู่บ้านคน จึงได้ถามเขาว่า ในป่าที่ผ่านมานั้น มีบ้านคนอาศัยอยู่บ้างไหม ชาวบ้านบอกว่าไม่มีบ้านคนเลย จึงได้หายสงสัย แล้วก็เชื่อว่าเจอ “ อุคคหนิมิต “ เล่นงานเข้าแล้ว ดังนั้นจึงได้มุ่งหน้าเดินทางกลับไปยังถ้ำวัดถ้ำตะโก จ.ลพบุรี เพื่อเข้าอยู่ “ ปริวาสกรรม “ต่อไป

เมื่อเข้าอยู่ ปริวาสกรรม ครบ ๑๕ วันแล้ว ก็ได้พาบรรดาน้องๆ เดินทางออกจากวัดถ้ำตะโก มุ่งหน้าไปยังวัดเกาะเทโพ จ.ชัยนาท และได้พักอยู่ที่นี้เป็นเวลา ๑ พรรษา เพื่อรอให้พระภิกษุเสริมเกียรติ์ ได้สอบนักธรรมตรี และทำเรื่องยกเว้นทหาร เมื่อเสร็จธุระทุกๆ อย่างของพระภิกษุสมเกียรติ์ แล้วก็พากันออกเดินทางไปยังวัดหมากแข้ง จ.อุทัยธานี เพื่อไปพบกับพระอาจารย์แสวงฯ เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม อยู่ได้ไม่นานก็ออกจากวัดหมากแข้ง เดินธุดงค์ต่อมาถึงที่พระพุทธบาท จ.สระบุรี และก็ได้เดินทางไปที่เขานกพิราบอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ไม่ได้พบกับอคคหนิมิตที่ชื่อ ยี่สุ่น อีกเลย จึงได้เดินทางต่อมาที่บ้านหินซ้อน อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เดินทางรอนแรมมาเรื่อยๆ จนมาโผล่ที่บ้านปะหรุ อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา (เดินทางจากเขานกพิราบ มาจนถึงบ้านปะหรุ อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา ใช้เวลาไปทั้งสิ้น ๒๑ วัน) และก็ได้เดินทางต่อไปจนถึง อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

ที่มา
http://khuntalebuddha.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3057

618

ภาพจาก http://2doawyannawa.tarad.com/product.detail_420012_th_2978384

พระภิกษุผินะฯ ได้เดินทางไปยังวัดหนองเต่า จ.อุทัยธานี และได้ไปปรึกษากับน้องๆ ทั้ง ๔ คนที่อยู่บ้านว่า เพื่อที่จะไม่ให้ยึดติดในสมบัติ อันที่จะเป็นห่วงกังวลเสียเปล่าๆ ก็จะให้ขายสมบัติของโยมบิดา และโยมมารดา ทั้งหมดเสีย และจะได้เอาเงินไปรักษาพยาบาลโยมมารดา จึงได้พาน้องๆ ทั้ง ๔ คนไปบวชที่วัดหนองเต่า อ.เมือง จ.อุทัยธานี

เมื่อบวชน้องทั้ง ๔ คนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คืนที่ ๒ บวชเป็นพระภิกษุ, คนที่ ๓ บวชเป็นชี, คนที่ ๔ บวชเป็นสามเณร และคนที่ ๕ บวชเป็นตาปะขาว วันรุ่งขึ้นก็ให้โยมมารดาขึ้นเกวียนไปที่แม่น้ำแควตากแดดซึ่งอยู่ห่างจากวัดหนองเต่าไป ๓๐ กิโลเมตร ดังนั้นทั้ง ๖ ชีวิตก็ได้จ้างเรือล่องมาตามแม้น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. จนกระทั้งถึงเวลา ๐๙.๐๐ น.ของวันรุ่งขึ้น จึงได้มาถึงยังจ.สิงห์บุรี

ขณะนั้น ได้ปลดโซ่ที่ล่ามโยมมารดาออก แล้วได้ซื้อเข่งไม้ไผ่ที่เขาใช้สำหรับใส่พลู เอาใบตองกล้วยรองก้นเข่ง แล้วพาโยมมารดาเดินทางต่อไปยังเขาสมอคอน ถึงวัดถ้ำตะโก จ.ลพบุรี ขณะนั้นมีพระภิกษุรูปหนึ่งชำนาญและรู้จักสมุนไพรประกอบยา และมีฐานะเป็นน้องของท่านเจ้าอาวาสวัดถ้ำตะโก ชื่อพระอาจารย์ผ่องฯ เป็นภาระดูแลรักษาโยมมารดาให้อยู่ประมาณ ๑๕ วัน อาการป่วยของโยมมารดาก็หายเป็นปกติ แต่เวรกรรมของท่านยังไม่หมด ก็ได้มีโรคแทรกซ้อนขึ้นอีก คือ มีฝีขึ้นที่บริเวณขากรรไกรเข้าใจว่าเป็นฝีธรรมดา สุดท้ายฝีก็ได้แตกออก มีเลือดไหลออกมาก พร้อมกับกระดูกหลุดออกมาจากขากรรไกรยาวประมาณ ๑ นิ้ว เมื่อเห็นอาการป่วยของโยมมารดา ก็คิดว่าไหนๆ โยมมารดาคงไม่รอดแน่ ในที่สุดจึงได้เรียกน้องๆ ทั้ง ๔ คนมาเพื่อปรึกษาว่า เอาปัจจัยที่ขายทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้กับโยมมารดาเพื่อถวายวัด อุทิศส่วนกุศลไปให้กับโยมบิดาที่เสียชีวิตไปก่อน น้องๆ ทั้งหมดก็ไม่ขัดข้อง ได้อนุโมทนา แต่โยมมารดาค้านว่า “ ถ้าถวายวัดหมดแล้วจะเอาอะไรใช้กัน “ บรรดาพวกลูกๆ ก็ตอบไปว่า สมบัติที่โยมบิดา และโยมมารดาให้มานั้นก็ใช้ไม่หมดแล้ว (ความหมายก็คือ ร่างกายที่สมบูรณ์)

จากนั้นจึงได้เอาปัจจัยทั้งหมดใส่มือโยมมารดา ให้อธิษฐานเป็นมหากุศล แล้วก็ได้นิมนต์ท่านเจ้าอาวาสวัดถ้ำตะโก มารับเอาปัจจัยดังกล่าว ท่านสมภารก็ได้จัดการเอาปัจจัยที่ได้รับถวายนั้น ไปซื้อนาเข้าเป็นสมบัติของสงฆ์ อีกทีหนึ่ง ตอนนั้นราคาไร่ละ ๓๐๐ บาท

ต่อมาไม่นานโยมมารดาก็ได้เสียชีวิตลง จึงได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับโยมมารดาที่ล่วงลับไป หลังจากทำบุญ ๗ วันอุทิศส่วนกุศลให้กับโยมมารดาแล้ว ก็ได้วิตกวิจารณ์ดูว่าโยมมารดาที่ตายไปแล้วนี้ไปอยู่ ณ ที่ใด ทำบุญกรวดน้ำไปให้จะได้รับหรือเปล่า จึงได้ออกติดตามค้นหาโยมมารดา แต่นั้นเป็นต้นมา และได้เดินทางออกจากวัดถ้ำตะโก จ.ลพบุรีมาแต่เพียงลำพังผู้เดียว เที่ยวเสาะแสวงหาโยมมารดา จนกระทั่งมาถึงย้ำถ้ำประทุน ที่บ้านหนามจั้น จ.ลพบุรี จึงได้พบกับพระหลวงตาอ่อนฯ (ท่านเป็นชนชาติเขมร) ก็ได้เข้าไปกราบขอโอกาส ขออนุญาต โดยก้มลงกราบเอามือลูบเท้าท่าน แล้วน้อมขึ้นใส่ศรีษะเหนือเกล้า และได้กราบเรียนถามท่านพระหลวงตาอ่อนฯ ว่า

พระภิกษุผินะถามว่า    หลวงตาครับ ผมอยากทราบว่า อะไรเป็นผมครับ
พระหลวงตาอ่อนฯ ตอบว่า    ไม่รู้สิ ท่านถามแบบนี้ไม่รู้หรอก มันเป็นปรมัตถ์ ไม่ได้เรียนมา
และพระหลวงตาอ่อนฯ ก็ย้อนถามว่า   แล้วท่านคิดว่าท่านเป็นใครล่ะ

ที่มา
http://khuntalebuddha.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3057

619

ภาพมาจาก http://www.patiharn.com/teerasak/

   ครั้งต่อมา หลังจากที่ท่านพระอาจารย์มั่นฯ พระอาจารย์เสาร์ และพระมหาบัวฯ ได้บิณฑบาตเสร็จแล้ว ก็ได้กลับไปนั่งบริเวณหน้าถ้ำตรงทางขึ้นเขาวงกต วันนั้นโยมสุขได้เอามันเพิ่ม (มันเสาร์) ที่ต้มแล้ว ไปถวายให้กับพระอาจารย์ทั้งสามรูป เมื่อประเคนเสร็จแล้ว พระอาจารย์มั่นฯ ได้เลื่อนจานมันเพิ่มไปทางพระมหาบัวฯ และเอ่ยว่า “ ถ้ามีน้ำตาลจิ้มคงสิดีน๊อ “ เสร็จแล้วท่านพระอาจารย์มั่นฯ ได้สั่งให้โยมสุขไปหยิบเอาน้ำตาลที่อยู่ในปิ่นโต ที่แขวนอยู่บนไม้พระองค์ มีอยู่เถาหนึ่งซึ่งมี ๕ ชั้น โยมสุขได้เดินไปที่ไม้พระองค์ที่มีปิ่นโตแขวนอยู่ได้หยิบปิ่นโตขึ้นดู รู้สึกว่าเบาๆ และก็ได้เปิดดู ก็ไม่เห็นมีน้ำตาลเลย จึงได้กลับมาเรียนท่านอาจารย์มั่นฯ ว่า “ ไม่มีน้ำตาลในปิ่นโตในเถาเลยสักชั้นเดียว “ ขอรับ ท่านพระอาจารย์มั่นฯ ได้เอ่ยขึ้นด้วยน้ำเสียงอันเย็นว่า “ บ๊ะ ของมีอยู่เป็นหยังว่าบ่มี เฒ่าสุข “ ไป๊ ท่านพระอาจารย์มั่นฯ หันไปสั่งทางพระมหาบัวฯ “ มหาท่านไป๋เอ่ามา “ พระมหาบัวฯ ได้ลุกขึ้นเดินไปหยิบปิ่นโตที่แขวนอยู่ ได้หยิบปิ่นโตขึ้นและยกออกมาจากเถา ๑ ชั้น ก็เห็นมีน้ำตาลทรายเต็มชั้นไปหมด โยมสุขเห็นเช่นนั้นก็นึกแปลกใจเป็นอย่างมาก จึงได้รำพึงแต่ในใจว่า “ อี๊ ของไม่มีกลับเป็นมี “

เมื่อท่านพระมหาบัวฯ นั่งลงแล้ว ท่านพระอาจารย์ทั้งสามรูปก็ได้ฉันอาหารบิณฑบาตจนเป็นที่เรียบร้อย ท่านพระอาจารย์มั่นฯ ได้เอ่ยกับโยมสุขขึ้นว่า “ มื่อหนี่ ข่อยสิให้เจ้าฮับศีล ๘ เมื่อเจ้าฮับแล้ว ต้องเข่าไปในถ้ำ ให่นั่งซือๆ หายใจเข้าออก จ่มว่า พุทโธ พุทโธ เทิงมื่อเน้อ “ โยมสุขได้ตรึก นึกอยู่ในเรื่องที่ว่า “ ของไม่มีแต่กลับเป็นมีขึ้นมาได้ “ ก็เลยเกิดปิติ จึงรับคำของพระอาจารย์มั่นฯ ที่จะเข้าไปปฏิบัติในถ้ำ และนั่งอยู่ ณ ที่อันควรในความมืด ได้ภาวนาตามที่ท่านพระอาจารย์มั่นฯ สั่ง ประมาณสักพักใหญ่ ได้เกิดแสงสว่างขึ้นในดวงตา และโยมสุขได้เห็นเป็นอ่างน้ำใบหนึ่ง มีเลือดเต็มไปหมด สีเลือดก็ค่อยๆ กลายเป็นสีน้ำล้างเนื้อ และน้ำนั้นก็ค่อยๆ วนจนเล็กลงเท่าไข่ ทันใดนั้น ก็เห็นเป็นเด็กหญิงอยู่ในไข่ สักประเดี๋ยวก็ได้โตขึ้นเป็นสาว อีกพักเดียวต่อมาก็กลายเป็นเมียโยมสุขนั่นเอง อยู่ไม่นานนักก็กลายเป็นคนแก่ชราและก็ตายไป ทีนี้ก็มีขึ้นอืด มีกลิ่นเหม็นอบอวลไปหมด เหม็นจนโยมสุขทนไม่ไหว และก็ได้ออกมาจากถ้ำ กราบขออนุญาตจากพระอาจารย์มั่นฯ ว่า ขอให้แกได้บวชในพระพุทธศาสนาจะได้ไหม พระอาจารย์มั่นฯ บอกว่า “ บ่ได้ดอก ถ้าบวชเดี๋ยวตาย ได้แค่ถือศีล ๘ ไปก่ะแล้วกั๋น “
ตั้งแต่นั้นโยมสุขก็ได้ถือศีล ๘ ตลอดชีวิต และปฏิบัติธรรมตลอดมา

พระภิกษุผินะฯ ได้สอบถามโยมสุขว่า ท่านพระอาจารย์ทั้งสามนั้นอยู่ที่ไหน โยมสุขบอกว่า ท่านพระอาจารย์ทั้งสามรูปได้เดินทางกลับไปยังสำนักแล้ว อยู่ทางจังหวัดสกลนครโน่นแหละ ดังนั้นพระภิกษุผินะฯ จึงได้เดินทางต่อมายังวัดถ้ำตะโก เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เพื่อศึกษาพระไตรปิฎกกับท่านพระหลวงพ่อเภาฯ และท่านพระหลวงพ่อคงฯ แต่ท่านพระอาจารย์ทั้งสองรูปได้มรภาพเสียแล้ว คงเหลือแต่พระหลวงพ่ออุ่มฯ กับหลวงพ่อดำฯ และได้ศึกษาพระไตรปิฎกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ อยู่ที่วัดถ้ำตะโก อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรีแห่งนี้

ขณะที่ท่านได้ศึกษาพระไตรปิฎกอยู่นั้น สงครามมหาเอเชียบูรพาก็ได้เริ่มขึ้น (สงครามญี่ปุ่น) กำลังมีศึกสงครามไม่ทราบว่าใครเอาข่าวไปบอกโยมมารดาว่า “ พวกทหารญี่ปุ่นเอาพระเครื่องไปต้มให้ทหารเค้ากิน “ โยมมารดาเข้าใจผิดคิดว่าพวกญี่ปุ่นจับเอาพระไปต้มกิน โยมมารดาถึงกับคุ้มคลั่งคุมสติไม่อยู่ สงสารพระลูกชาย และคิดว่าเขาจะจับพระลูกชายไป จนถึงกับต้องถูกล่ามโซ่ไว้ทีเดียว ทีนี้พระภิกษุผินะฯ ได้เดินทางกลับไปที่บ้านเกิด และพักที่วัดเกาะเทโพ อ.มโนรมณ์ จ.ชัยนาท

ที่มา
http://khuntalebuddha.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3057

620

ขอบคุณภาพจาก..http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=26055


    เวลาล่วงไป ๓๐ วัน ก็ได้ตั้งจิตอธิษฐาน สมาทานถวายตนเป็นผู้ถือเพศพรหมจรรย์ไปจนตลอดชีวิต ทีนี้นึกขึ้นได้ว่า โยมมารดาคตงคอยอยู่ จึงได้กราบลาพระหลวงตาคำ กลับไปบ้านเพื่อพบวกับโยมมารดา พอไปถึงบ้าน พบกับโยมมารดาและได้เรียนท่านให้ทราบว่าจะไม่ลาสิกขาบทเพศอย่างเด็ดขาด โยมมารดาก็ต่อว่า จะตัดช่องน้อยแต่พอตัว และได้แต่ร้องไห้ พระภิกษุผินะได้ลาโยมมารดามาอยู่ที่วัดหนองเต่า ต.โนนขี้เหล็ก อ.เมือง จ.อุทัยธานี เพื่อที่จะได้เรียนพระปริยัติธรรม จะได้เอาใบประกาศนียบัตรนักธรรมตรี เพื่อนำไปเป็นหลักฐานแสดงต่อทาง สัสดีอำเภอ กรณี ยกเว้นการเกณฑ์ทหาร ต่อจากนั้นก็ได้เดินทางไปที่วัดทุ่งแก้ว เพื่อไปพบกับเจ้าคุณ เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีศักดิ์เป็นเจ้าคุณลุง เพื่อปรึกษาและรับข้อชี้แนะในการที่จะสอบนักธรรมตรีผ่านให้ได้โดยไม่ต้องการที่จะเป็นทหาร

    ต่อมาได้สอบนักธรรมตรีได้ ก็ได้โล่งใจ จึงได้เอาประกาศนียบัตรนักธรรมตรีไปยื่นต่อสัสดีอำเภอทัพทัน จ.อุทัยธานี ท่านสัสดีอำเภอทัพทัน ได้บอกกับพระภิกษุผินะฯ ว่า พระคุณเจ้าจะต้องบวชไปอีก ๑๐ พรรษา จึงจะพ้นการเกณฑ์ทหารได้ พระภิกษุผินะฯ จึงได้ยืนยันว่า " ให้ถึง ๒๐ พรรษา " เลย

    ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้ไปกราบเรียนต่อท่านเจ้าคุณลุง เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี เพื่อขออนุญาตเดินทางจาริกฯ เจ้าคุณลุง ก็ได้ออกหนังสือเดินทางจากริกฯ ให้ ตอนนั้นตั้งใจที่จะมาศึกษาค้นคว้าในพระไตรปิฎกกับท่านพระหลวงพ่อเภาฯ และพระหลวงพ่อคงฯ และเลื่อมสนในปฏิปทของท่านพระหลวงพ่อเภาฯ ประกอบทั้งได้รับคำบอกเล่าว่า ท่านพระหลวงพ่อเภาฯ ได้สร้างเรือสำเภาให้เป็นอนุสรณ์สำหรับโยมมารดาของท่าน (ที่ฝันเห็น) ไว้ ณ บนยอดเขาวงกต อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี จึงได้เดินทางจากจ.อุทัยธานี ผ่านมายัง อ.โคกสำโรง มุ่งตรงมายัง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี แล้วตั้งใจตรงไปยังเขาวงกต ขณะมาถึงยังทางเข้าเขาวงกต ได้พักอยู่ที่หน้าบ้านของโยมสุข ซึ่งบ้านของแกอยู่บริเวณทางที่เข้าไปยังเขาวงกตแห่งนั้น (การเดินทางจากจ.อุทัยธานีมาถึงที่บริเวณทางขึ้นเขาวงกตแห่งนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น ๕ วัน ๖ คืน) จึงได้พบกับโยมสุข และได้สนทนากับโยมสุข

มาตอนหนึ่ง โยมสุขได้พูดถึง มีพระอาจารย์รูปหนึ่งคงมีคาถาดี สามารถคุยกับมดรู้เรื่อง และก็ได้เสกให้มดหายไปหมดโดยโยมสุขบอกว่าอยากจะเรียนคาถาหายตัวได้ เหมือนกันกับพระอาจารย์รูปนั้นที่เสกให้มดหายไปหมด (จะได้หายตัวและเข้าไปขโมยเงินในธนาคาร ตามความคิดของโยมสุข) พระภิกษุผินะฯ ก็ได้ถามโยมสุขว่า พระคุณท่านพระอาจารย์รูปนั้นมีนามว่ากระไร โยมสุขก็ได้เล่าให้ฟังว่า

     เช้าวันหนึ่ง พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์เสาร์ฯ พระมหาบัย ญาณสมปนฺโน ได้ออกบินฑบาต เสร็จแล้วเดินทางมายังหน้าบ้านของโยมสุข และโยมสุขได้ใส่บาตรกับพระอาจารย์ทั้งสามรูปด้วย แต่แกก็ได้ดื่มเหล้ามาบ้างในวันนั้น พระอาจารย์ทั้งสามรูปได้เลือกเอาลานดินว่างๆ ตรงเยื้องหน้าบ้านของโยมสุขเป็นที่นั่งฉันอาหารบิณฑบาต และพระอาจารย์มั่นฯ ก็ได้ใช้ให้พระมหาบัวฯ ไปตามโยมสุขให้ไปพบที่นั่นถึง ๓ หน หนที่ ๓ โยมสุขได้บ่นว่า " พระรูปนี้หิวเหล้ารึไง " จะขอเหล้าเรากินหรือ จึงได้ตามอยู่ได้ บ่นเสร็จ โยมสุขก็ได้เดินไปที่ลานดินบริเวณที่ท่านพระอาจารย์ทั้งสามนั่งอยู่ เมื่อไปถึงที่นั่น โยมสุขก็ได้เห็นมดง่ามขึ้นที่สำรับกับข้าวของพระอาจารย์ทั้งสาม โยมสุขก็เพียงแต่มองดู เห็นและได้ยินท่นพระอาจารย์มั่นฯ พูดกับมดว่า " ไป ไป สูเจ้าจงฮีบไป่ เดี๋ยวคนเขาสิทำฮ้ายเอา " เสร็จแล้วมดก็ได้หายไปหมด " โยมสุขก็ได้แต่คิดว่า " บ๊ะ พระรูปนี้คงไม่ใช่พระธรรมดาเสียแล้ว "

   พระอาจารย์มั่นฯ ได้เอ่ยถามโยมสุขขึ้นว่า " เฒ่าสุข เจ้ากินเหล้าเหมิดมื่อละทอได๋ " โยมสุขตอบว่า " กินวันละ ๒ บาท กับแกล้มด้วย " (สมัยนั้นเหล้าขวดละ ๑ สลึง) ทีนี้ท่านพระอาจารย์มั่นฯ ได้บอกกับโยมสุขว่า จะช่วยให้โยมสุขสบายมากกว่านี้และเร็วขึ้น โดยจะให้เงินแก่โยมสุขไว้ซื้อเหล้ากินวันละ ๒ บาทเอาไหม โดยจะฝากเงินเอาไว้ให้ แต่มีข้อแม้ว่า............
เฒ่าสุขต้องถือศีล ๓ ข้อนี้ให้ได้เสียก่อน ศีล ๓ ข้อที่ว่านี้ต้องทำให้ได้ก่อนคือ

ข้อ ๑ ไม่ต้องทำบุญใส่บาตร และห้ามเข้าวัดฟังธรรม
ข้อ ๒ ให้ด่าโคตรพ่อโคตรแม่พระ (ด่าค่อยๆ ก็ได้ถ้าพระได้ยินเดี๋ยวจะฆ่าเอา)
ข้อ ๓ ให้กินเหล้าให้หมดวันละ ๒ บาท

โยมสุขบ่น โอ๊ย ไม่เอาแล้ว แค่กินเหล้าก็ตกนรกหมกไหม้อยู่แล้ว แถมไม่ให้เข้าวัดฟังธรรม ให้ด่าพระอีก มันนรกชัดๆ นั่นเลว ไม่เอาดอก ไม่เอาทั้งนั้น ทั้งเหล้าทั้งยาทั้งเงินหลวงพ่อไม่เอาดอก เมื่อโยมสุขเปล่งอุทานออกมาเช่นนั้น พระอาจารย์มั่น จึงได้ให้โยมสุขรับศีล ๕ และสมาทานศีล ๕ แต่วันนั้น


ที่มา
http://khuntalebuddha.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3057

621
เกร็ดประวัติฯ
   
    ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ เมื่ออายุครบบวชบิดาขอให้บวชให้ ๗ วัน เพราะว่าเวลาช่วงนั้น บิดาท่านเป็นไข้หนัก และก็ได้ตายลงในเวลาต่อมา หลังจากที่ทำบุญ ๗ วัน อุทิศส่วนกุศลให้กับบิดาเสร็จแล้วพระมหาอำนวยฯ ได้เป็นธุระในการอุปสมบทให้ ณ วัดหนองเต่า ต.โนนขี้เหล็ก อ.เมือง จ.อุทัยธานี และให้นามว่า " พระภิกษุผินะ นามฉายาว่า มหาปญฺโญ " มีพระมหาอำนายฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูอุดมฯ ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอทัพทัน จ.อุทัยธานีเป็นพระอุปัชฌาย์ พออุปสมบทได้เพียง ๕ วัน โยมมารดามาขอร้องให้อยู่ต่ออีก ๒๐ วัน บอกว่า ผมยังสั้นอยู่สึกออกมาแล้วเดี๋ยวจะอายหัวโล้น อยู่มาได้ ๑๑ วัน โยมมารดาของเพื่อนได้ตายอีก ทีนี้ เขามาเจาะจงเอาเฉพาะพระภิษุผินะ มหาปญฺโญ ไปจูงศพให้ได้ จากที่บ้านศพไปยังวัดระยะทางก็ประมาณ ๒ กิโลเมตร พอศพมาถึงวัด เขากลัวว่าจะเป็นโรคกรรมพันธุ์ เพราะเป็นโรคฝีในท้อง หรือที่เรียกว่า วัณโรค สัปเหร่อได้ทำการผ่าท้องศพ และทำความสะอาดพร้อมทั้งสาธิตบรรยาย เพราะโดยสมัยนั้นไม่มียาฉีดป้องกันเหมือนอย่างสมัยนี้ ศพจึงเหม็นมาก เมื่อเวลาจะสวดศพ พระภิกษุผินะฯ ฉันอาหารอยู่ไม่ได้ถึง ๓-๔ วัน พอเวลาค่ำมืดลงก็ไม่กล้าที่จะออกจากกุฏิเลย เวลานอนก็นอนไม่ค่อยจะหลับ จึงได้ขอลาพระกรรมวาจาจารย์ไปพกที่อื่นสัก ๕ วัน และจะกลับมาลาสิกขาเพศ

จึงได้เดินทางออกจากวัดหนองเต่า ไปพักที่วัดบ้านกลาง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุทัยธานี พอไปถึงยังวัดบ้านกลาง ท่านเจ้าอาวาสก็ได้อนุญาตให้อยู่ด้วย ต่อมาอีก ๑ ชั่วโมงก็ได้ยินโยมมาอาราธนาไปสวดมาติกาบังสุกุล ทีนี้พอเอาศพเข้ามาวัด ญาติโยมเขาก็ได้ผ่าศพอีก เหมือนกับวัดที่บวชมา ตอนนี้พระภิกษุผินะ เลวได้ขึ้นไปกราบล่าท่านเจ้าอาวาสวัดบ้านกลาง และออกจากวัดไปเดี๋ยวนั้นเลย
เมื่อเดินทางมาถึงยังแม่น้ำแควตากแดด เห็นแม่ค้าขายผักกำลังเคาะกระบอกไม้ไผ่เรียกเรือมาให้ช่วยรับข้ามฟากที พระภิกษุผินะ มหาปญฺโญ ได้ลงเรือไปก่นและไปนั่งอยู่หัวเรือ โยมแม่ค้าคนแก่ก็ลงเรือมาอีก บัดนั้น ได้มีแม่ค้าขายผักเช่นกัน แต่เป็นหญิงสาว ได้ลงเรือเป็นคนสุดท้าย และเมื่อเรือได้ออกจากท่าแล้ว ทันใดนั้นไม้คานของหญิงสาวขายผักก็ได้ตกลงไปในน้ำ เธอได้ร้องอุทานว่า " อุ้ย .... ควยพระตกน้ำ " พระภิกษุผินะฯ ได้บอกว่า " หนู....เก็บให้หลวงพี่ด้วย หลวงพี่มีอยู่อันเดียวเอาไว้เยี่ยว " เมื่อเรือมาถึงฝั่ง จึงได้อายแก่หญิงสาวคนนั้นมากรีบเดินจากไปโดยเร็ว หญิงสาวขายผักคนนั้นก็ได้เดินตามมาติดๆ และร้องถามว่า " หลวงพี่จะไปไหน " พระภิษุผินะฯ ได้ตอบว่า " ไม่รู้จะไปที่ไหน เพราะหนีผีมา " หญิงสาวคนนั้นออกปากชวนว่า " หลวงพี่ไปอยู่วัดหนูมั้ย " มีหลวงตาอยู่วัดองค์เดียว และมีเด็กคนหนึ่งชื่อ " โต้ง "

หญิงสาวคนนั้นได้พาไปพักที่วัดเกาะเทโพ อ.มโนรมณ์ จ.ชัยนาท วัดนี้ดีมากๆ มีพระภิกษุอยู่ในอารามเพียง ๑ รูป เท่านั้น จึงเล่าความในใจให้พระหลวงตาที่วัดนั้นฟังว่า " กลัวผีมาก " อยู่กับพระหลวงตาสัก ๕ วัน แล้วจะกลับไปลาสิกขาเพศ เพราะยังห่วงว่ามีน้องๆ อีกหลายคน โยมมารดาท่านไม่ยอมให้บวชนาน (โยมมารดาเป็นคนมีเชื้อสายจีน) โยมมารดาบอกว่า " คนอื่นๆ ที่เขาไม่บวชก็ดีๆ มีถมไป เสียเวลาทำมาหากินเปล่าๆ "

ท่านพระหลวงตาคำ (ทราบชื่อเมื่อภายหลัง) ได้บอกว่า การกลัวผีนั้นไม่ถูกต้อง ตับ ไต ไส้ พุง ฯลฯ ที่ท่นดูและเห็นมานั้น ก็มีอยู่ด้วยนกันทั้งนั้นทุกคน แล้วพระหลวงตาคำก็ได้สอนในสติปัฏฐาน ๔ และให้เรียนภาษาขอมด้วย เมื่อได้รับคำแนะนำเช่นนั้น พระภิกษุผินะฯ ก็ได้ลองมาปฏิบัติดู จึงได้รู้และเข้าใจดีว่า " คน " กับ " ผี " ก็คืออันเดียวกัน คือให้น้อมเป็น " เอ้โก - ธัมโม " แต่ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าสิ่ที่ได้รู้เข้าไปนั้น คือ ปฐมฌาณ ก็นึกรังเกียจตัวเองขึ้นมา


ที่มา
http://khuntalebuddha.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3057

622
ขอร่วมแจมด้วย
==========================

หลวงพ่อผินะ ท่านเป็นพระผู้ทรงอภิญญา มีฤทธิ์ทางใจเป็นอัศจรรย์ วัตถุมงคลยอดขลัง ประสบการณ์มหัศจรรย์ ท่านสำเร็จกสิณ 10 สามารถ แสดงฤทธิ์ต่างๆได้ ตามประสงค์ รู้วาระจิตของคนอื่น ปลุกเสกวัตถุมงคลขึ้นมาเหมือนมีชีวิตจิตใจ สามารถบนบอกได้ ขอได้ พูดกันรู้เรื่อง ขอให้มีของท่าน อะไรก็ได้ ใช้ได้เหมือนกัน



คำบูชาหลวงพ่อผินะ ปิยธโร

จุดธูป 5 ดอก ตั้งนะโม 3 จบ

อะหัง สุขโต ผินะ ปิยะธะโร นามะเต อาจาริโยเม ภันเต โหหิ (ว่า 3 จบ)

คาถาบูชาวัตถุมงคลของพ่อผินะ

“นะเตสุเต” สวดเท่าอายุ ปิดท้ายด้วย “มหาสุเตนะชา”


อธิษฐานตามจิตปรารถนา


ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=26055

623
มิติแห่งสัจธรรม

   โรงพยาบาลทหารที่โคราช บางเตียงที่มีคนไข้ตายอยู่นั่น คนไข้คนหลังไปนอนนี่มันกระชากขาตกเตียง หัวหน้าพยาบาลเขามาปรึกษา ทำอย่างไรหลวงพ่อ "เออ.. ฉันจะไปแผ่เมตตาให้มัน"

เพราะฉะนั้น เรื่องภูติผีปีศาจอย่าไปใช้เวทมนต์ขับไล่เป็นอันขาด แผ่เมตตากับอุทิศส่วนกุศลให้
เวลานี้หลวงพ่อจึงแนะนำให้ชาวบ้านทั้งหลายสวดมนต์ไหว้พระอยู่ที่บ้าน นั่งสมาธิอยู่ที่บ้าน และที่สำคัญที่สุดก็แผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลไปให้พวกพเนจรทั้งหลาย ที่ล่องลอยหากิน

  คนใดที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้บ่อยๆ คนนั้นแหละเป็นคนมีบุญ เรามีบุญเขาจึงมาหาเรา เขามาขอความช่วยเหลือจากเรา แต่เรากลัวเขาแล้วไปคิดร้ายต่อเขา หาหมอเวทย์หมอมนต์มาขับไล่เขา ถ้าหากว่ามนต์เก่ง เขาก็หนีไปพักหนึ่ง พอฤทธิ์ของมนต์เสื่อมเขาย้อนกลับมาทีหลัง เขาจะเล่นงานเราหนักกว่าเก่าอีก ธรรมชาติของมันเป็นอย่างนั้น

   ความแตกต่างของลัทธิศาสนาและคำสอนของแต่ละศาสนาจะมีความแตกต่างอยู่ในภพภูมิของมนุษย์เท่านั้น เมื่อมนุษย์ทั้งหลายตายไปแล้ว ยังเหลือแต่กฎของกรรม เป็นสัจธรรม ใครจะไปสอนกันว่าฆ่าสัตว์ไม่บาป หรือสัตว์เกิดมาเป็นอาหารของมนุษย์ก็ตาม ฆ่าสัตว์บูชายัญพระเจ้าไม่บาปก็ตาม เมื่อตายไปเขาจะได้รับผลกรรมที่เขาทำ เขาจะได้ความรู้สึกว่า พระสมณโคดมสอนถูกต้อง ศาสดาของเขาสอนผิด เขาจะได้ความอย่างนี้ทุกราย เพราะว่ากฎแห่งกรรมเป็นกฎธรรมชาติ ไม่ใช่พระเจ้าองค์ใดมาเสกสรรปั้นแต่งเอา พระพุทธเจ้าสอนเรา เรื่องอดีตคือปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติหนหลังได้ สิ่งที่พระองค์นำมาสอน ฆ่าสัตว์บาป พระองค์ก็เคยฆ่าสัตว์ตกนรกมาแล้ว ทำบุญอย่างนั้นได้บุญ พระองค์ก็เคยทำและขึ้นสวรรค์มาแล้ว บำเพ็ญเพียรภาวนา ทำสมาธิจิตได้ฌานจนไปเกิดในพรหมโลก พระองค์ก็ได้เคยเป็นมาแล้ว พระองค์เอาสิ่งที่พระองค์เป็นมาแล้ว ...มันเป็นสิ่งที่พระองค์ได้ลองของมาแล้ว เอาแต่ความจริงทั้งนั้นมาสอนเรา

   ศาสนาพุทธไม่ใช่ศาสนาที่มานั่งหลับตานึกเอาคิดเอา แล้วก็มาจัดเป็นศาสนา มันเป็นความรู้สึกที่พระองค์ได้ทดสอบมาด้วยตนเอง เช่นอย่างว่า ทำสิ่งนี้มันเป็นบาป พระองค์ก็ได้ทดสอบมาแล้ว พระองค์ได้ทำมาด้วยตนเอง แล้วก็ไปรับผลบาปมาด้วยตนเอง ทำสิ่งนี้เป็นบุญ พระองค์ก็ทำมาด้วยตนเอง แล้วก็ได้รับผลบุญด้วยตนเองมาแล้ว เอาสิ่งที่พระองค์เคยผ่านมาแล้วมาสอนเรา

   พระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องอดีตคือปุพเพนิวาสานุสติญาณว่า ในอดีตพระองค์เคยทำอะไรมาแล้วได้รับความทุกข์ความสุขอย่างไร ตรัสรู้เรื่องปัจจุบัน ในปัจจุบันประพฤติธรรมอะไรเป็นหลักจึงจะอยู่ด้วยกันโดยสันติสุข พระองค์รู้แล้ว พระองค์ได้ประทานศีล ๕ กับเมตตาพรหมวิหารให้ ถ้าใครอยากอยู่เย็นเป็นสุขในภพปัจจุบันให้ยึดธรรม ๒ ข้อนี้เป็นหลักปฏิบัติ


ที่มา
http://www24.brinkster.com/thaniyo/dhamma0943.html

624
เดรัจฉานวิชา

   ผู้ใดไปเล่นเสน่ห์นี่..บาป ทำมาหากินไม่ขึ้น มันแพ้ตัวเอง คาถาอาคมนี่ สวดอิติปิโสบทเดียว อย่าไปเอาอย่างอื่น จบแล้ว.. สวากขาโต.. สุปะฏิปันโน.. อะหัง สุขิโต โหมิ.. สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ นั่นแหละมนต์ดีที่สุดในโลก เหนือกว่าทุกสิ่งทุกอย่าง

   นี่เราไปเที่ยวเชื่อคาถาอาคม ทีนี้ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ท่านเห็นพวกเราเชื่อ ท่านก็ไปหาเรียนมา มาแล้วก็มาหลอกลวงพวกเรา บางทีไปบางสำนักแจกสีผึ้งให้คนละตลับๆๆ ตลับละสี่ซ้าห้าร้อย เสร็จแล้วเอาไปสีปาก สีแล้วเป็นไง มันจะรวยๆ พระท่านไม่ได้โกหกหรอก เราเอาของท่านไป เราให้เงินท่าน ท่านเองรวย แต่เราไปสีจนสีปากมันด้านมันก็ไม่รวย เพราะฉะนั้น เลิกเชื่อพระเสียเถอะ ต่อไปนี้ให้เชื่อแต่พระที่สอนให้รู้จักคุณพ่อคุณแม่ปู่ย่าตายาย รู้จักบุญคุณ รู้จักกตัญญูกตเวที รู้จักให้สร้างแต่ความรัก ความเมตตาปรานีต่อกัน ถ้าใครมาสอน ให้เชื่อเครื่องรางของขลังละก็.. อย่าไปไหว้ เลิกไหว้
เหรียญไม่มี ไม่แจกทั้งนั้น แจกแต่ธรรมะ ของดีนี่ให้เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ ถ้ามีปู่ย่าตายาย เลี้ยงปู่ย่าตายาย มีครอบครัวเลี้ยงลูกเลี้ยงเมียให้ดี เมตตาสงสารกันให้มากๆ มันอยู่ที่นี่.. ของดี ถ้าผัวเมียทะเลาะกัน ครุฑอยู่ในกระเป๋ามันตีปีกปุ๊บ ๆ ๆ ๆ มันจะบินหนี

เคล็ดลับสำหรับคนอยากรวย

ใครอยากร่ำอยากรวย


๑. ให้หยุดกินเหล้า
๒. หยุดเล่นการพนัน
สองอย่างนี้ ถ้าทำได้ จะอยู่เย็นเป็นสุขสบาย
คนไทยเราที่ตั้งตัวไม่ค่อยได้เพราะการพนันกับเหล้า เพราะฉะนั้น ขอร้องให้หยุดสองอย่างนี้ มันไม่แซ่บหรอก เหล้ากินแล้วมันเมา ปวดหัวอย่างกับเป็นไข้หวัด อย่าไปกินมันเลย

ทีนี้หลักธรรมะที่จะยึดเป็นหลัก
๑. หมั่นขยันในการประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพ
๒. หัดตระหนี่ให้มากๆ คนไม่ตระหนี่ไม่มีทางได้เป็นเศรษฐี
๓. ทำความดีกับเพื่อนบ้าน ให้เพื่อนบ้านเขารัก
๔. เลี้ยงตนเองและครอบครัวให้มีความสุขสบายตามสมควร
อันนี้เป็นหลักธรรมะที่ควรจะยึดไว้เป็นหลักสร้างตนเอง
หนึ่ง.. งดกินเหล้า สอง.. งดเล่นการพนัน

   หลวงพ่อช่วยเหลือเด็กเรียนหนังสือ ถ้าสอบถามว่าพ่อแม่มันกินเหล้าเป็นไหม เล่นการพนันเป็นไหม ถ้ากินเหล้าเล่นการพนันแล้วไม่ช่วย เงินไปซื้อเหล้ากินมันยังมี เงินเล่นการพนันยังมี เงินจะจ่ายให้ลูกเรียนหนังสือไม่มี ไม่ช่วย ถ้าคนใดพ่อแม่ไม่กินเหล้า ไม่เล่นการพนัน ช่วยทุกคน

ที่มา
http://www24.brinkster.com/thaniyo/dhamma0943.html

625
กำลังใจรักษาไข้

     ผู้เฒ่าคนหนึ่ง อายุตั้ง ๗๐ เขาจะผ่าท้อง เส้นโลหิตมันพองโต ลูกสาวเขากลัวว่าพ่อเขาจะไม่ได้เห็นหน้าพระ ก็มานิมนต์ให้หลวงพ่อไปเยี่ยม หลวงพ่อก็ไป ก็ไปทำน้ำมนต์ให้ เป็นการให้กำลังใจ เสร็จแล้วก็ให้เขาเอาน้ำมนต์ลูบท้อง เอานะ.. จะเป่าให้หายเดี๋ยวนี้แหละ เสร็จแล้วกำหนดจิตนึถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา ครูบาอาจารย์ อธิษฐานจิตแล้วก็เป่าพรวดลงไป พอเป่าเสร็จ คนไข้ว่า.. ไม่ต้องผ่าก็ได้แล้วหลวงพ่อ เออ มาหาหมอต้องเชื่อหมอซิ พอตื่นเช้าเขาจะเอาเข้าห้องผ่าตัด เขาไปฉายเอ็กซเรย์ เส้นโลหิตหน้าท้องที่มันพอง โตขึ้นวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ ๘ ซม. มันยุบลงเหลือ ๕ ซม. หมอเลยบอกว่าไม่ต้องผ่า เดี๋ยวมันจะหายเอง แต่ก็ไม่ได้นึกว่าตัวเองจะเป็นหมอรักษาโรคภัยไข้เจ็บอะไร เป็นแต่เพียงแค่ว่าไปให้กำลังใจคนไข้เท่านั้น

    อย่างบางทีคนเป็นลมชักแง้กๆๆ เขามาเรียกไปดู ไปแทนที่จะไปทำอะไร พอไปถึงกระทืบเท้าปังๆๆ ๓ ที เอ้อ.. มันจวนจะตายแล้ว มัวแต่ร้องอยู่นั่น ทำไมไม่นึกถึงพุทโธ ธัมโม สังโฆ ขาดคำ.. เงียบ แล้วก็เดินหนี อีกสักพักเขาไปตาม หลวงพ่อไปดูหน่อย มันเป็นอะไรอีกล่ะ ไปดูเองก็แล้วกัน พอไปที่ไหนได้ ลุกขึ้นมาคุยฉอดๆ อยู่ หายแล้ว มันหลายแบบหลายอย่าง

   ทีนี้ผู้ที่รักษาโรคด้วยพลังจิตนี่มันหายได้จริงไหม คำตอบ...หมอวิเศษแค่ไหนเป็นหมอเทวดาก็รักษาได้เฉพาะแต่คนที่จะไม่ตาย โรคบางอย่างรักษาก็หาย ไม่รักษาก็หาย โรคบางอย่างรักษาจึงหาย ไม่รักษาไม่หาย โรคบางอย่างรักษาก็ตาย ไม่รักษาก็ตาย นี่คือกฎความจริงและคำตอบที่ถูกต้องที่สุด ถ้าใครท้าทายว่าฉันสามารถจะรักษาโรคทางจิตทางใจให้หายได้ อันนั้นเป็นการอวดอุตริมนุสสธรรม ถ้า พระสงฆ์ไปคุยก็อวดอุตรีมนุสสธรรมเป็นอาบัติ ทีนี้เวลาหมอหลวง หมอโรงพยาบาลไปตรวจ คุณหมอ.. ฉันจะไม่ตายหรือ ไม่เป็นไร หมอจะรักษาให้หาย นี่คือการให้กำลังใจ

อุบายเลิกเหล้า

(มีคนติดเหล้าอุตส่าห์เดินทางมาจากจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อมาขอแนวทางในการเลิกเหล้าจากหลวงพ่อ หลวงพ่อให้อุบายว่า)

   การทำมาหาเลี้ยงชีพไม่รู้จักหา ไม่รู้จักทำ มีแต่กินท่านเดียว มีสตางค์มาก็วิ่งเข้าร้านขายเหล้า ลงผลสุดท้ายเราก็จะลำบาก เรายังน้อยยังหนุ่ม รีบพยายามที่จะพิจารณาตัวแล้วรีบ เลิกละมันเสีย นึกถึงตอนแก่นั่นซิ ตอนแก่แล้วเรามัวแต่เมาไม่ประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพ งานการไม่ทำมีแต่เมามีแต่กิน เมื่อแก่ลงมาเราหาอยู่หากินไม่ได้ พ่อแม่ล้มหายตายจากไปหมด เราจะไปพึ่งพา อาศัยใคร ถ้าเราไม่ดีพี่น้องก็พึ่งพาอาศัยไม่ได้ พยายามนึกถึงเรื่องนี้ให้มากๆ ประเดี๋ยวใจมันก็ค่อยๆ แข็งขึ้น มันก็ค่อยๆ เลิกไปเอง

 ...เรากำลังหนุ่มแน่น กำลังจะเจริญ พยายามทำใจให้แข็งเสีย วิธีฝึกตนก็พยายาม ทีแรกนี่ เวลาว่างๆ ก็ไปจำศีลอยู่กับพระกับเจ้าเสีย ทีละอาทิตย์สองอาทิตย์ มันจะค่อยห่างไปๆ.. ทางโปรดของหลวงพ่อก็มีอย่างนี้แหละ ให้พยายามทำใจให้แข็ง อดทน ใครมาหลวงพ่อก็เทศน์ให้ฟังอย่างนี้ ใครเอาจริงเขาก็เลิกได้ อยู่ที่ใจ.. ไม่มีอะไรแก้ อยู่ที่ใจเรา ถ้าเราเห็นความชั่วความไม่ดี ของการกินเหล้า เวลาปกติที่เราสร่างเมาแล้ว ก็ค่อยๆ พิจารณาดูโทษของมัน

   น้องชายของหลวงพ่อคนหนึ่ง เมาหัวราน้ำเหมือนกัน กลับมาบวช ๒ ครั้ง ครั้งแรกอยู่ไม่ได้ ทนไม่ไหว สึกออกไป มาทีหลังนี่มาบวชอีก มาบวชคราวหลังนี่เลิกเหล้าได้ บวชจนตายในผ้าเหลืองเลย
..กินก็กินเวลาจำเป็นเข้าสังคม แต่ว่าเลิกสังคมแล้วอย่า.. อย่าไปนึก อย่าไปกินมัน ให้อดเอา ก็มีแต่ตัวเองนั่นแหละต้องพยายามช่วยตัวเองให้มาก คนอื่นก็ช่วยไม่ได้ดอก
พยายามรีบๆ ปรับปรุงตัว อดมันเสีย ตั้งใจให้มันเด็ดขาดแล้วก็อย่าไปสบถสาบาน ตั้งใจให้มันแข็ง ให้นึกถึงใจพ่อแม่พี่น้องทั้งหลายที่เขาก็เป็นห่วงเป็นใยเรา กลัวเราไม่ได้ดิบได้ดี นึกถึงความหวังดีของพ่อแม่พี่น้องทั้งหลาย..


ที่มา
http://www24.brinkster.com/thaniyo/dhamma0943.html

626
อดีตอย่าหมายมั่น ปัจจุบันสำคัญกว่า

    (ชายคนหนึ่ง เข้าใจว่าตัวเองระลึกชาติได้ว่าเคยเป็นพระธุดงค์ และมีวิชาติดตัวมาคือ หนุมาน ลิงลม แล้วก็จระเข้ หลวงพ่ออธิบายว่า..)

   มันบอกลักษณะของเราว่ามันก็เป็นเหมือนอย่างนั้นแหละ จิตของเรามันเหมือนลิงลม ลิงลมเมื่อลมมามันก็กระโดดไปตามต้นไม้ เวลาไม่มีลมมันก็อยู่นิ่งๆ จิตของคนเราเมื่ออารมณ์มันผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ มันก็กระโดดเหมือนลิงลมนั่นแหละ มันเป็นปริศนาธรรมที่แสดงให้เรารู้ ทีนี้มีทั้งจระเข้ จระเข้ในเมื่อโลภมันเกิดขึ้นมาก มันก็ฮุบหมดน่ะซิ เวลาจระเข้มันฮุบกินอาหารนี่มันไม่เลือก มันอ้าปากเอาไว้ให้แมลงวันมาขี้ใส่ปากมัน มันลงไปในน้ำมันก็อ้าปาก ปลาก็มารุมจิกกินไข่แมลงวัน พอเสร็จแล้วไม่รู้ล่ะ จะเป็นปลาหรือสาหร่ายอะไรไม่รู้ มันหุบปากลงกลืนกินหมด ในเมื่อความโลภมันเกิดขึ้นก็ฮุบเอาหมดนั่นแหละ มันเป็นปริศนาธรรมที่ส่อแสดงให้เรารู้ธรรมเห็นธรรม อย่าไปสำคัญมั่นหมายว่าเราเห็นอะไรแล้วเราเคยเป็นสิ่งนั้น จิตเมื่อมันสงบเป็นสมาธิแล้ว สารพัดที่มันจะปรุงแต่งขึ้นมา

   บางทีหลวงพ่อเวลาจิตสงบเป็นสมาธิ บางที โน่น.. มันไปมองเห็นตัวเองแต่งตัวเป็นพระมหากษัตริย์นั่งอยู่บนบัลลังก์โน่น แต่ก็ยังไม่เคยคิดว่าตัวเองเคยเป็นพระมหากษัตริย์มา ใครจะเป็นอะไรมาเกิดมันไม่สำคัญหรอก มันสำคัญอยู่ที่ว่าปัจจุบันนี้เราจะเอาดีได้หรือเปล่า เท่านั้นเอง สิ่งที่คนธรรมดาสามัญไม่รู้ไม่เห็นด้วยนี่ นักปฏิบัติเขาไม่พูดกันหรอก ถ้าพูดแล้วมันจะหลงติด อ้าว.. ประเดี๋ยวก็สาวๆ คนนี้เคยเป็นลูกเป็นเต้าเรายังงั้นยังงี้ ทีนี้เขาเชื่อพระ เขาก็หลงเชื่อว่ามันเป็นจริงอย่างนั้น ก็มาติดพันกับพระเข้า อีกสักหน่อยคุณพ่อกับคุณลูกก็จูงแขนกันลงนรก เพราะฉะนั้นอย่าไปสนใจกับมันเลยเรื่องอดีตชาตินี่

   ปัจจุบันนี้สำคัญที่สุด เราเกิดมาเป็นพลเมืองของประเทศไทย เราเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติบ้านเมืองเพียงพอหรือยัง อยู่ที่ตรงนี้ เราเกิดมาเป็นลูกพ่อลูกแม่ เราเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่เพียงพอแล้วหรือยัง อยู่ที่ตรงนี้ พระมหากษัตริย์ ผู้ปกครองแผ่นดิน เราไปลบหลู่ดูหมิ่นท่านหรือเปล่า ดูกันที่ตรงนี้ เรามีความเคารพ ทีนี้เวลาทำราชการมีผู้บังคับบัญชา เราซื่อสัตย์ เคารพระเบียบกฎเกณฑ์วินัยของข้าราชการ หรือเคารพผู้บังคับบัญชาเพียงพอหรือยัง มันอยู่ที่ตรงนี้ อย่าลืมว่า ศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าสอนให้เราสร้างความรักความเมตตาปรานี จุดแรกที่สุดนี้ให้สร้างความรักก่อน ทำไมจึงต้องสร้างความรัก คนเรารักกันแล้วมันจับมือกัน ช่วยกันสร้างสรรค์ประเทศชาติบ้านเมืองให้เจริญ ในทางคณะสงฆ์ ถ้าคณะสงฆ์มีความรักมีความเมตตาปรานีกัน ก็ร่วมกันทำงานพระศาสนาให้เจริญ เพราะฉะนั้นความรักจึงเป็นยอดปรารถนาของสังคม ทีนี้ในวงการหนึ่งๆ สถาบันหนึ่งๆ ถ้าเราไปรุมเกลียดคนสักคนหนึ่ง หรือคนทั้งหลายต่างคนต่างเกลียดขี้หน้ากัน ชวนกันทำงาน มันก็ไม่ร่วมมือกัน ทีนี้สิ่งที่จะได้รับคืออะไร บ้านเมืองล่มจม คณะสงฆ์ต่างคนต่างขัดผลประโยชน์กัน ต่างทะเลาะวิวาทกัน ผลลัพธ์ คืออะไร คือศาสนาล่มจม นี่สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ เราควรจะคิดให้มากๆ

ที่มา
http://www24.brinkster.com/thaniyo/dhamma0943.html

627
วิธีแก้ดวงไม่ดี

   ใครว่าดวงดีดวงไม่ดี จะไปแก้ดวงกันได้อย่างไรนอกจากปฏิบัติดีเท่านั้น วิธีแก้ดวงไม่ดีเอาอย่างนี้ซิ ให้ไหว้พระสวดมนต์ เริ่มต้นด้วย อะระหัง.. สวากขาโต.. สุปะฏิปันโน จบแล้วก็ นะโม ๓ จบ สวดอิติปิโส.. สวากขาโต.. สุปะฏิปันโน จบแล้วแผ่เมตตาพรหมวิหาร มาอธิษฐานจิตขอบารมีของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจงช่วยดลบันดาลให้ดวงข้าพเจ้าดีขึ้น แล้วก็สำรวมจิต สวดเฉพาะบทอิติปิโสบทเดียว สวดให้ได้เท่าอายุตัวเอง หรือจะชักลูกปะคำสวดให้มันได้ ๑๐๘ จบ ยิ่งดี ทีแรกเราสวด ๓ บทต่อเนื่องกันไปก่อน พออธิษฐานจิตแล้วเราสวดเฉพาะบทอิติปิโสบทเดียว สวดทุกวันๆ เอาบทนี้แหละแทนบทภาวนาเลย ทีนี้พอสวดไปๆ ถ้าเราสวดทุกวัน สวดหนัก ๆ เข้า เราจะมีอาการกายเบาจิตเบา กายสงบจิตสงบ บางทีจิตวูบไปนิ่งสว่าง... หยุดสวดมนต์ปล่อยให้มันหยุดอยู่อย่างนั้น ไม่ต้องสวดอีก จิตหยุดนิ่ง ...สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน

    อิติปิโสนี่เป็นพุทธคุณ พรรณนาคุณของพระพุทธเจ้า เมื่อเราสวดไม่หยุด จิตเราถึงพุทธคุณแล้ว นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน คุณของพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นที่จิตของเราแล้ว เราหยุดสวดทันที กำหนดรู้อยู่เฉย ๆ ทำใจเฉย ๆ อยู่ ทีนี้ในช่วงนั้นถ้าหากว่าจิตมันจะละเอียดลงไปจนกระทั่งถึงร่างกายตัวตนหาย ช่างมัน ปล่อยไป... พอมันนิ่งไปสุดช่วงแล้วจิตมันจะถอนออกมาเอง


    ถ้าในขณะที่มันนิ่งที่เรารู้อยู่เฉพาะที่จิต ไม่รู้เรื่องภายนอกนี่ คนอื่นเขาอาจเข้าใจว่าเราเป็นอะไรไป แล้วเขาจะมาทุบมาตีมาปลุก เมื่อปลุกแล้วเราไม่รู้ตัว ถ้าในขณะนั้นจิตยังไม่ถอนเอง บังเอิญเราตื่นขึ้นมาเพราะการปลุก เราจะรู้สึกไม่สบาย ถ้ากลัวมันจะเลยเถิดกำหนดเวลาเอาไว้ว่า ถ้าจิตของข้าพเจ้าเป็นสมาธิแล้ว ข้าพเจ้าจะอยู่ในสมาธิ ๑ ชั่วโมง ถ้าเรากำหนดไว้อย่างนี้ แม้จิตของเราจะสงบแค่ไหน ถึงเวลาแล้วเขาออกมาเอง... นี่คือบทภาวนาที่วิเศษที่สุด

    ถ้าหากว่าใครมีคนเป็นหนี้เป็นสิน สวดไปแล้วอย่างที่ว่านั้นแล้วมาอธิษฐานจิต ขอบารมีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจงดลใจลูกหนี้ให้เอาหนี้มาคืนข้าพเจ้า แล้วก็สวดอยู่นั่นแหละ สวดอิติปิโสนี่แหละ เสร็จแล้วลูกหนี้จะเอาหนี้มาคืน

    ที่แปดริ้ว อาซิ้มคนหนึ่งมา.. "หลวงพ่อ เขาเป็นหนี้อั๊ว ทำไงจะได้คืน อั๊วไปทวงทีไรเขาด่าแล้วก็ไล่ลงจากบ้านทุกที" "ไปสวดอิติปิโสซิซิ้ม" ก็แนะวิธีให้ไปสวด หลังจากนั้นประมาณเดือนหนึ่ง หลวงพ่อไปที่โน่น พอแกรู้ว่าหลวงพ่อไปแกก็รีบมารายงาน พอมาก็.. "อิติปิโสของหลวงพ่อนี่ดีจริงๆ น่ะ" "มันดียังไงซิ้ม" "อั๊วสวดแล้วเขาเอาหนี้มาคืนให้อั๊วหมดเลย โดยที่อั๊วไม่ต้องไปทวงเลย"

   บางคนสวดไปๆ จิตมันเป็นสมาธิเอง เขาถึงบอก โอ๊ย.. เมื่อก่อนนี้ไปไขว่คว้าวิ่งสำนักโน่นวิ่งสำนักนี่ เอ้า ไปภาวนาพุทโธก็ไม่แน่ใจ สัมมาอรหัง ยุบหนอพองหนอ ก็ไม่แน่ใจ ใจมันรวนเรอยู่ พอมาสวดอิติปิโสนี่ได้สมาธิ

   เพราะฉะนั้น ถ้าใครสงสัยว่าหลักวิธีการสมาธิที่ท่านสอนทุกวันนี้ จะเอาแบบไหนดี ถ้าตัดสินใจไม่ลง ให้ตัดสินใจสวดอิติปิโสบทเดียวเท่านั้น
วันนี้มีหนุ่มใหญ่ท่านหนึ่ง เป็นข้าราชการสรรพสามิต มาบอกว่า ผมสวดมนต์แล้วทำไมตัวสั่น สวดชินบัญชรก็สั่น นั่นแหละจิตของคุณเข้าถึงคุณธรรม จิตมันสงบ มันจดจ่อกับบทสวดมนต์แล้วมันก็สั่น มันเป็นอาการของปีติ ปีติบางอย่างทำให้ตัวสั่น ทำให้ตัวโยก บางอย่างทำให้รู้สึกเหมือนตัวลอยขึ้นบนอากาศ บางอย่างทำให้ขนหัวลุกขนหัวพอง บางอย่างทำให้หัวเราะ ร้องไห้ ปีตินี่เป็นความปลื้มปีติ ดีอกดีใจ ทีนี้คนใจอ่อน พอเกิดปีติแล้วใจมันลิงโลด เรียกว่ามันดีใจล้นพ้น ซึ่งอันนี้มันเกิดจากจิตสงบเป็นสมาธิอ่อนๆ


ที่มา
http://www24.brinkster.com/thaniyo/dhamma0943.html

628
ต่อจากตอนที่ 5
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=23685
==========================================

จิตหลอก

    ตอนใดที่จิตของเรามีความแน่วแน่บริสุทธิ์แท้จริง ความรู้มันก็จริง ถ้าช่วงใดที่จิตของเราไม่แน่วแน่และมีกิเลสเจือปน หรือเราอยากรู้อยากเห็น มันจะโกหกเราทันที เพราะฉะนั้น ทางผิดทางถูกอย่าไปสำคัญมั่นหมายในสิ่งรู้ทั้งหลายเหล่านั้น อะไรมันจะมีก็มี อะไรมันจะเป็นก็เป็น เช่นอย่างรู้ว่าคนโน้นเขาจะเป็นอย่างนี้ คนนี้เขาจะเป็นอย่างนั้น มันก็เป็นแต่เพียงอารมณ์สิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติเท่านั้น เราอย่าไปยึด ถ้าหากว่าเราไปสำคัญมั่นหมายว่าเรารู้จริงเห็นจริงแล้ว ทีหลังมันจะโกหกเรา

   หลวงพ่อเคยทดลองดูแล้วตอนที่เขากำลังเล่นหวยกัน ทีแรกมีโยมอุปัฏฐากคนหนึ่งเขาก็นับถือว่าหลวงพ่อนี่คือลูกของเขาคนหนึ่งเหมือนกัน วันหนึ่งไปเยี่ยม เขาพูดขึ้นมาอย่างนี้ ทีลูกบ้านลูกเมืองเขาบอกหวยบอกเบอร์พ่อแม่ได้ ทีลูกเรานี่ไม่เห็นบอกสักที หลวงพ่อก็เลยบอกว่า โยมเอาจริงไหม ถ้าเอาจริงแล้ว มาสัญญากันไว้ก่อน ถ้าหลวงพ่อไม่บอกแล้วอย่าไปซื้อ ทีนี้พอสัญญากันเรียบร้อย หลวงพ่อก็มานั่ง แล้วมันก็เกิดนิมิตขึ้นมาทีเดียว ๕ งวด งวดแรกหลานมาจังหันก็เขียนใส่ซองส่งไปให้ พอหลานเอาไป ก็เอาไปให้พ่อมันดู อันนี้มันไม่ออกหรอก ฉีกทิ้ง ใบที่สอง อันนี้มันไม่ออกหรอก ฉีกทิ้ง ทีนี้แกทนไม่ไหว มันผ่านมางวดสองงวดแล้ว แกทนไม่ไหว แกอยากเล่น พอเสร็จแล้วแกก็มาเอง หลวงพ่อบอกว่าเที่ยวนี้ให้ซื้อ ๐๖ กับ ๔๒ แกก็ไปซื้อแต่ ๔๒ มันก็ออก ๐๖ เที่ยวหลังไปขออีก เอา เที่ยวนี้ให้ซื้อ ๔๒ แกก็บอกว่า ๔ กับ ๒ มัน เป็น ๖ มันออกมาแล้ว มันจะออกมาได้อย่างไร ใครไปตั้งกฎหมายบังคับ พอเสร็จแล้วมันก็ออก ๔๒

   มาภายหลังนี่.. เอาล่ะ หลวงพ่อเลิกบอกแล้ว แต่ว่าไม่บอกโยม แต่เราก็มาทำเพื่อพิสูจน์ทดสอบของเราเอง มานั่งเข้าได้ตั้ง ๕ งวดอีกเหมือนกัน ตอนนี้ไม่บอกใคร เขียนใส่แผ่นกระดาษแล้วก็เอาใส่ไว้ในลิ้นชักว่ามันจะออกไหม พอผ่านไปแล้วมันออกหมดทุกตัว เอาละ ทีนี้จะบอกญาติบอกโยมบ้างล่ะ ไปนั่ง..มันมาสวยกว่าเก่า แล้วก็มามากด้วย มาตั้ง ๑๐ งวด เป็นคู่ ๆ มาตั้ง ๑๐ คู่ มาตอนนี้ บอกปั๊บ งวดแรก ไม่ออก งวดที่ ๒ ก็ไม่ออก งวดที่ ๓ ไม่ออก งวดที่ ๔ ที่ ๕ ไม่ออก เอ้า หยุดบอก พองวดที่ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ออกหมดทุกงวด นี่มันเล่นตลกเรา อย่างนี้แหละ

   สิ่งที่เรารู้อย่างอื่นๆ ก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น จะรู้จริงหรือไม่จริงไม่สำคัญ เราอย่าไปสำคัญมั่นหมาย เอาตรงที่ว่ามันรู้ปัจจุบันนี้จิตของเราเป็นอย่างไร มันเศร้าหมองหรือมันผ่องแผ้ว แล้วมัน มีแนวโน้มไปทางบาปหรือไปในทางบุญ แล้วมันมุ่งที่ยึดมั่นในคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์แน่วแน่หรือเปล่า ดูกันที่ตรงนี้ ส่วนจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไรอย่าไปสำคัญมั่นหมาย แม้แต่ความรู้ในธรรมะนี่ พอมันโผล่ขึ้นมา เอ๊ะ.. อันนี้มันอะไรนี่ อย่าไปสนใจ เอาเพียงแต่รู้ว่า เรามีความคิด มีอารมณ์จิตเท่านั้น ผิดถูกอย่าไปสำคัญมั่นหมาย ความผิดความถูกมันมีสิ่งที่ตัดสิน อันใดที่เรารู้แล้วมันไม่ชวนเราไปทำผิดศีล ๕ ข้อใดข้อหนึ่ง นั่นแหละถูกต้อง

   เดี๋ยวนี้นักปฏิบัติมาเถียงกันเฉพาะว่า สมาธิขั้นนั้นเป็นอย่างไร ญาณขั้นนั้น ฌานขั้นนั้นเป็นอย่างไร มัวอยู่เฉพาะตรงนี้ แต่ตัวใน ตัวจิตนี่ไม่ดู อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือก็ไปเที่ยวกล่าวตู่แต่ชาวบ้านเขา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่จิต อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี่ไม่ดู สิ่งอื่นๆ นอกจากจิตของเราแล้วมันไม่มีอะไรเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตของเรานี้เอง พอเรากระทบอารมณ์ที่ทำให้โกรธ พอจิตของเราเที่ยงมันก็ไม่หวั่นไหว กระทบอารมณ์ที่ทำให้รักให้ชอบ ถ้าจิตของเราเป็นปกติ ไม่หวั่นไหว มันก็เที่ยง ถ้ามันหวั่นไหวเมื่อไรก็ไม่เที่ยง เขาด่ามามันโกรธ มันก็ไม่เที่ยง ถ้าด่ามาแล้วมันไม่โกรธไม่เคียดอันนั้นมันเที่ยง


ที่มา
http://www24.brinkster.com/thaniyo/dhamma0943.html

629
เราจะเตรียมน้ำผลไม้ปั่น เป็นน้ำแตงโม กับสัปรด ศรีราชา ไว้รับคณะชาวบางพระ แก้กระหายคลายร้อนกันนะครับ :002:

ถ้ายังไม่คลายร้อน ต้องไปกินกันต่อที่พัทยาไหมพี่  :002: :002: :002:
น่าจะคลายร้อนได้นะครับ :017:
ไปพัทยา...กลัวกลับมาแล้วศีลไม่ครบ :075:

630
ท่านที่สนใจโปรดอ่านต่อ



ประวัติและปฏิปทาคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20386

631

แม่ชีบุญเรือนมีคณะบุญของท่านชื่อ "สามัคคีวิสุทธิ" วัตรปฏิบัติทั่วไปที่บ้านสามัคคีวิสุทธิ วันธรรมดาคุณแม่จะสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ ทำกัมมัฏฐาน และรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ผู้ป่วยที่มาหา

วันเสาร์ จะอธิษฐานด้วยสัจวาจา และสิ่งของให้ผู้ป่วย เช่น ปูน ไพล ผลไม้ พริกไทย หลังจากนั้น 14.00 น. ท่านจะนำสานุศิษย์สวดมนต์เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นทำกัมมัฏฐานเป็นเวลา 15 นาที กว่าจะเสร็จก็ประมาณ 15.00 น. เป็นเช่นนี้ทุกวันเสาร์

ก่อนวันขึ้นปีใหม่ทุกปี แม่ชีบุญเรือนจะอธิษฐานธรรมอวยพรให้บรรดาสานุศิษย์ ผู้ร่วมประกอบการบุญกับท่าน ท่านได้อธิษฐานธรรมประจุพระพุทธรูป และพระเครื่องสำคัญรวมทั้งร่วมสร้างด้วย คือ

พระพุทโธองค์ใหญ่ ซึ่งได้จัดทำพิธีหล่อสร้างที่วัดสัมพันธวงศ์ จนถวายพระประธานสำเร็จ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2496 แล้วสมโภช ต่อมาได้สมโภชที่วัดสัมพันธวงศ์อีก เมื่อวันที่ 4 ถึง 13 มีนาคม 2499 อัญเชิญไปวัดสารนารถธรรมาราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2499 เคลื่อนขบวนเวลา 06.09 น. ถึงวัดสารนารถธรรมารามเวลา 16.00 น.ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดสารนาถธรรมารามจนถึงปัจจุบัน แม่ชีบุญเรือนได้อธิษฐานธรรมในการก่อสร้างรวมทั้งการนำไปประดิษฐานโดยตลอด

พระพุทโธองค์เล็ก หรือพระพุทโธน้อย ซึ่งได้แก่ พระเครื่องที่สร้างขึ้นที่วัดอาวุธวิกสิตาราม บางพลัดนอก ธนบุรี โดย พระอาจารย์สงวน โฆสโก เจ้าอาวาสวัดอาวุธฯ ในขณะนั้น คุณแม่บุญเรือนได้ร่วมสร้างและทำพิธีอธิษฐาน เมื่อ 11-12-13 กันยายน 2494 รวมจำนวน 100,000 องค์

พระทั้งสองอย่างนี้ปรากฏว่าได้กลายเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ในระยะต่อมาเป็นอันมาก ทั้งด้านเมตตามหานิยม ป้องกันภัย แคล้วคลาด เจริญโภคสมบัติ กำจัดโรคร้าย

ไม่ต่างอะไรกับเครื่องรางของขลัง "ถุงเขียวเหนี่ยวทรัพย์" ที่แม่ชีบุญเรือนอธิษฐานมอบให้แก่ลูกๆ และสานุศิษย์ เมื่อต้นปี 2498

"พระพุทโธน้อย" เป็นพระเครื่องขนาดเล็กที่แม่ชีบุญเรือน สร้างขึ้นและอธิษฐานจิตให้ไว้แก่วัดอาวุธวิกสิตาราม ตำบลบางพลัดนอก ธนบุรี เมื่อปี 2494 เมื่อคราวช่วยสร้าง "พระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี" พระประธานวัดสารนารถธรรมาราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ได้อนุญาตให้ "พระอาจารย์สงวน โฆสโก" เจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม ในขณะนั้น ซึ่งเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกันจัดสร้างพระพุทโธน้อย เพื่อแจกจ่ายแก่คณะผ้าป่าสามัคคี ปี 2494 แม่ชีบุญเรือนได้อนุโมทนาและอธิษฐานธรรมให้พร้อมทั้งขอให้สร้างเผื่อให้ด้วยจำนวนหนึ่ง เพื่อที่จะถวายพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดสัมพันธวงศ์ ซึ่งเป็นองค์อาจารย์อีกด้วย

การสร้างพระครั้งนั้น แม่ชีบุญเรือนเขียนบันทึกด้วยลายมือไว้ว่า "นมัสการเรียนพระเดชพระคุณทราบ ดิฉันได้อธิษฐานมา 4 วัน ตั้งแต่วันศุกร์มาถึงวันจันทร์กลางคืน ได้อัญเชิญธรรม ที่พระเดชพระคุณอธิษฐานเมื่อครั้งตั้งพระประธาน และสวมพระรัศมี วันนั้นเทวดาได้ถอนมาให้ แต่ของพระเดชพระคุณได้ลอยอยู่บนนภากาศ ดิฉันได้อัญเชิญประจุองค์พระพุทโธองค์นี้ ให้พระเดชพระคุณแล้ว แต่พระเดชพระคุณจะปรารถนาให้โบสถ์แล้วเร็วๆ แต่พระพุทโธองค์นี้ดิฉันถวายพระเดชพระคุณ เพื่อช่วยในด้านศาสนาให้เจริญด้วย ขอให้พระเดชพระคุณอาราธนาไปพร้อมกับทอดผ้าป่าด้วย เพื่อจะได้ประโยชน์กับวัดสารนารถและพระเดชพระคุณด้วย พุทธบริษัท 4 จะได้เจริญรุ่งเรือง สุกใสตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป กราบนมัสการมาด้วยความเคารพยิ่ง บุญเรือน โตงบุญเติม"


รูปและข้อมูล จากหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก
ที่มา
http://kumarntalk.net/webboard-id10494.html

632
เราจะเตรียมน้ำผลไม้ปั่น เป็นน้ำแตงโม กับสัปรด ศรีราชา ไว้รับคณะชาวบางพระ แก้กระหายคลายร้อนกันนะครับ :002:

633
พระคาถาศักดิ์สิทธิ์จากวิปัสสนาญาณ
ของ คุณแม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม
วัดอาวุธวิกสิตาราม บางพลัด กรุงเทพ

พระคาถาพระฉิม

๏ นะชาลีติ ฉิมพาลี จะ มหาเถโร สุวรรณะมามา โภชนะมามา วัตถุวัตถามามา พลาพลังมามา โภคะมามา มหาลาโภมามา สัพเพชะนา พหูชะนา ภวันตุเม ฯ.

พระคาถานี้คุณแม่บุญเรือนได้จากสมาธิเมื่อวันศุกร์ที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ท่านให้สวดตามกำลังวันเพื่อบูชาพระสิวลีมหาเถระหรือพระฉิมพลีจะเป็นมหาลาภ มหาโชค มหาโภคทรัพย์อย่างยิ่ง

กำลังวันมีดังนี้ วันอาทิตย์ ๖ วันจันทร์ ๑๕ วันอังคาร ๘ วันพุธ ๑๗ วันพฤหัสบดี ๑๙ วันศุกร์ ๒๑ และวันเสาร์ ๑๐



แม่ชีบุญเรือน ได้อธิษฐานไปเขาวงพระจันทร์ พบพระผู้วิเศษ ขอพระธาตุท่านท่านก็ให้มา 1 องค์ แล้วได้กลับมาที่เดิมตามคำอธิษฐานพร้อมพระธาตุ การสามารถทำปาฏิหาริย์ดังกล่าวที่ปรากฏขึ้นได้เป็นผลแห่งความสำเร็จครั้งแรก ทำให้ท่านอธิษฐานเมื่อเข้าสมาธิ ผ่านที่ปิดล้อม หรือไปที่ไกลๆ ได้ชั่วระยะเวลาลัดนิ้วมือเดียว ในขณะนั้นท่านมีอายุเพียง 33 เท่านั้น

การอธิษฐานด้วยสัจวาจา ด้วยความที่แม่ชีเป็นผู้บรรลุฌาน 4 และอภิญญา 6 ทำให้วาจาของท่านมีอิทธิฤทธิ์ ที่จะพูดหรือสั่งการสิ่งใดในทางที่ชอบเกิดผลได้ เช่น อธิษฐานให้หายโรค ให้ร่ำรวยในทางที่ชอบ ให้ปลอดภัยจากอันตราย หรืออาจอธิษฐานให้เป็นไปตามคำอธิษฐานของท่านได้ เช่น ให้ฝนตก หรือให้ฝนหยุด อธิษฐานถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

อธิษฐานสิ่งของทั่วไป ได้แก่ การนำสิ่งของต่างๆ มาให้ท่านอธิษฐาน เช่น น้ำ ปูน ไพล เกลือ พริกไทย การอธิษฐานต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่นำไปใช้ได้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ เช่น อธิษฐานปูนกินหมาก ให้เป็นยาทิพย์ รักษาโรคให้หาย แก้โรคนานาชนิด เช่น มะเร็ง วัณโรค โรคไต เป็นต้น

อธิษฐานของพิเศษเป็นครั้งคราว เช่น อธิษฐานกรวด ทราย กันไฟไหม้ อธิษฐานก้อนหิน ศิลาน้ำ เพื่อใช้ป้องกันภัยบางประการ โดยเฉพาะศิลาน้ำ ใช้แทนคำอธิษฐานของท่าน เวลาวายชนม์ไปแล้ว เมื่อใช้ศิลาน้ำใส่ในน้ำ ก็กลายเป็นน้ำอธิษฐาน ไว้รับประทานแก้และป้องกันโรค ทั้งใช้ป้องกันอันตรายต่างๆ ได้ด้วย

ที่มา
http://kumarntalk.net/webboard-id10494.html

634
ตอนจบ

คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ท่านเป็นผู้มีจิตอันเป็นกุศลอย่างยิ่ง นอกจากนั้นท่านยังใช้จิตอันมหัศจรรย์ของท่าน ในการอธิษฐานเพื่อช่วยคนในหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรักษาโรคภัยต่าง ๆ จนหายขาด ดังเรื่องราวที่มีผู้บันทึกไว้ในหนังสือ “คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม อนุสรณ์”

รักษาด้วยวาจาสิทธิ์

เป็นบันทึกของ นายจำรัส สุขประเสริฐ อยู่ จ.อุดรธานี มีใจความว่า "อุบาสิกาบุญเรือน โตงบุญเติม เดินทางโดยขบวนรถไฟด่วนถึง จ. อุดรธานี เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2496 เวลา 7.15 น. ก่อนหน้ารถไฟด่วนจะเทียบเข้าชานสถานีประมาณ 20 นาที ได้มีหมอกลงที่สถานีรถไฟและบริเวณตัวเมืองอุดรธานีหนามืดไปหมด อยู่ห่างกันประมาณ 10 วา ยังแลไม่เห็นกันเลย รถยนต์แล่นตามถนนต้องเปิดไฟหมอกหนามืดเช่นนี้ไม่เคยมีมาก่อนเลย พอรถไฟถึงสถานีประมาณ 10 นาที หมอกก็ค่อยๆจากหายไป ชาวอุดรธานีต่างพิศวงงงงวย ต่างโจษจันกันต่างๆนานา

เมื่ออุบาสิกาบุญเรือน ลงรถไฟแล้ว มีผู้คนไปรับเป็นจำนวนมากอุบาสิกาบุญเรือนได้พักที่บ้านผมค่ำของวันนี้ได้มีผู้มาหาเป็นจำนวนมาก นายครรชิต สกลคลัง พนักงานธนาคารกสิกรไทยได้มาหา และบอกกับอุบาสิกาบุญเรือนว่า ตัวเขาป่วยเป็นโรคปวดท้องมาเป็นเวลานาน เวลานี้ก็ยังปวดอยู่ได้รักษาตัวหมดเงินมากมายแล้ว อุบาสิกาบุญเรือนได้ฟังจึงสั่งในขณะนั้นว่า "อย่าปวด ให้หายปวดเดี๋ยวนี้" แล้วอุบาสิกาบุญเรือนก็ถามนายครรชิตว่า “หายปวดหรือยัง?” นายครรชิตตอบว่า “หายปวดแล้ว” อุบาสิกาบุญเรือนจึงสั่งว่า “คืนวันนี้อย่าปวด” (เพราะนายครรชิตบอกว่ากลางคืนปวดแทบไม่ได้นอนทุกคืน)

ครั้นรุ่งเช้านายครรชิตมาบอกอุบาสิกาบุญเรือนว่า เมื่อคืนนี้ไม่ปวดเลย นอนได้สบายตลอดคืน และในระหว่างที่อุบาสิกาบุญเรือนพักอยู่ที่ จ.อุดรธานีนี้ ตอนเช้าอุบาสิกาบุญเรือนได้ไปอธิษฐานจิต ให้พลังจิตแก่ประชาชนที่วัดโพธิสมภรณ์ทุกวัน มีประชาชนนำน้ำ ปูน ไพล พริกไทย สาคู มาให้อุบาสิกาบุญเรือนอธิษฐานจิตอย่างคับคั่งทุกวันมีคนหลังโกงคนหนึ่ง เวลาเดินต้องใช้ไม้เท้าค้ำได้มาหาอุบาสิกาบุญเรือนขอให้รักษา อุบาสิกาบุญเรือนได้ออกคำสั่งต่อหน้าประชาชนจำนวนมากว่า “ให้ทิ้งไม้เท้า!” ชายหลังโกงคนนั้นก็ขว้างไม้เท้าทิ้ง อุบาสิกาบุญเรือนจึงสั่งต่อไปให้ยืนตรง ๆ ชายหลังโกงก็ค่อย ๆ ยืดตัวและยืนตัวตรงได้ แล้วอุบาสิกาบุญเรือนก็สั่งให้ออกเดินและเด่น ชายคนนั้นก็เดินได้ เลยหายเป็นปรกติ เดินกลับบ้านได้เช่นคนดี ๆ นับเป็น
เรื่องอัศจรรย์นิ่วในถุงน้ำดี

ม.ร.ว.ไกรเทพ เทวกุล บันทึกไว้ดังนี้เมื่อปี พ.ศ. 2494 ข้าพเจ้าป่วยมีอาการแน่นจุกเสียดทุกเดือน บางที 2 ถึง 3 เดือนต่อครั้ง ครั้นถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2495 รู้สึกว่าอาการเช่นนี้มีมากขึ้นจนทนแทบไม่ได้เช่น หายใจไม่ออก ข้าพเจ้าจึงได้ไปปรึกษาแพทย์ปริญญาที่ข้างบ้าน นายแพทย์ผู้นั้นได้ฉีดยาและให้ยารับประทาน อาการก็ค่อยทุเลา ต่อมาจากนั้น 2 ถึง 3 วันก็เป็นอีก นายแพทย์ผู้นั้นแนะนำว่าควรไปเอกซเรย์ดู เพราะสงสัยในอาการนั้นคงเนื่องมาจากถุงน้ำดีอักเสบ ข้าพเจ้าก็ปฏิบัติตาม ปรากฏตามฟิล์มเอกซเรย์โดยนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแผนกนี้ ลงความเห็นว่าเป็นนิ่วในถุงน้ำดี แนะนำให้ทำการผ่าตัดทันทีข้าพเจ้าได้มาปรึกษาคุณป้าบุญเรือนถึงอาการเจ็บป่วย คุณป้าได้เอ็ดข้าพเจ้ามากมายว่า ทำไมไม่มาปรึกษาฉันตั้งแต่แรก ถ้าอยากตายก็เชิญไปผ่าได้ คุณป้าจึงให้ข้าพเจ้ารับประทานไพล และน้ำอธิษฐาน กับทั้งได้ให้ปูนอธิษฐานไปทาตามบริเวณหน้าอกและท้อง เว้นวันสองวัน ท่านก็นวดให้ข้าพเจ้าหนหนึ่ง ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด อาการก็ค่อยทุเลาและหายภายในเดือนนั้นเองคุณป้าบุญเรือนให้ไปฉายเอกซเรย์ดูใหม่ ข้าพเจ้าก็ปฏิบัติตาม กับได้นำฟิล์มทั้งเก่าและใหม่มาเทียบกันดู ปรากฏว่าในแผ่นแรกมีวงกลมสีขาวประมาณเท่าเหรียญสองสลึง ส่วนในแผ่นเอกซเรย์ทีหลังไม่มี นายแทพย์บอกว่าในบริเวณถุงน้ำดีไม่มีก้อนนิ่วแล้ว

ยาวิเศษ

พลตรี ยุทธ สมบูรณ์ บันทึกไว้ว่า บางท่านที่มาทำความรู้จักกับ คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม มักจะเรียกท่านว่า คุณแม่หมอ คุณยายหมอ หรือคำอื่น ๆ ลงท้ายว่า “หมอ” แต่คุณแม่บุญเรือนไม่เคยรับหรืออวดอ้างว่าท่านเป็นหมอแม้แต่ครั้งเดียว อย่างไรก็ดีชื่อเสียงของคุณแม่บุญเรือนก็หอมไปทั่วประเทศไทยในฐานะผู้วิเศษ ก็เพราะท่านอธิษฐานวัตถุสิ่งของต่างๆให้เป็นยารักษาโรคได้อย่างน่าอัศจรรย์ที่สุดคุณหมอปรีดา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระประแดง ทำยาผงแก้โรคผิวหนังออกจำหน่ายด้วยตัวยาที่คุณแม่บุญเรือนเป็นผู้บอกให้ ตัวยาเหล่านี้ล้วนแต่เป็นชื่อภาษาอังกฤษ ไม่ทราบว่าคุณแม่บุญเรือนไปทราบมาได้อย่างไร เพราะการศึกษาของคุณแม่ก็เพียงอ่านออกเขียนได้ นอกจากนั้นคุณหมอปรีดายังได้ตำรายาอีกอย่างหนึ่งคือน้ำมันโพธิ์งาม ซึ่งคุณหมอปรีดาได้ผสมขาย ผมสีขาวใส่น้ำมันแล้วกลายเป็นสีเทาและเข้มขึ้นทุกที ยาขนานที่ 3 คือ ยาสีฟันวิเศษนิยมของโรงงานวิเศษนิยม ซึ่งเป็นยาสีฟันที่ทำรายได้อย่างดีตลอดมา ...ยาสีฟันวิเศษนิยมนี้ “คุณแม่บุญเรือนก็เป็นผู้บอกตัวยาให้”คุณธรรมอันสูงส่งของ “คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเรือน” อุบาสิกาผู้ใจบุญท่านนี้ยิ่งใหญ่ ท่านเป็นผู้เสียสละ ชอบการทำบุญ ให้ทาน ไม่ยึดติดสะสมในทรัพย์สมบัติ มีแต่เป็นผู้ให้ตลอดมา และทั้งชีวิตท่านยังได้บำเพ็ญธรรมอย่างสม่ำเสมอตราบจนวาระสุดท้ายที่ท่านได้จากโลกนี้ไปอย่างสงบด้วยโรคหัวใจ ไต และโลหิตจาง แม้จะมีลูกศิษย์ต้องการให้ท่านมีชีวิตอยู่ต่อโดยการอธิษฐานขอแต่ท่านก็ไม่ทำ ท่านบอกว่า “สังขารร่างกายและใจ หรือขันธ์ห้านี้ไม่ใช่ตัวของเรา มันเป็นเพียงเครื่องอยู่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น เป็นเรือนทุกข์ ท่านจึงต้องการออกจากเรือนทุกข์นี้”ในปัจจุบันมีรูปปั้นของคุณแม่บุญเรือนอยู่บนศาลา คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ในวัดอาวุธวิกสิตาราม หรือวัดบางพลัดนอก กรุงเทพฯซึ่งเป็นวัดที่ท่านเคยอยู่บำเพ็ญศีลสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ ทุกวันนี้ยังมีสานุศิษย์และผู้ศรัทธา ไปกราบไหว้รูปปั้นท่านและยังมีผู้ไปอธิษฐานจิตขอปูน ไพล เพื่อไปรักษาโรคจากท่านมากมายหลายราย ซึ่งแม้ว่าท่านจะจากไปนานแล้วแต่คุณงามความดี ชื่อเสียงในทางธรรมที่ท่านเพียรสร้างไว้ ขณะยังมีชีวิตอยู่ก็ยังมีผู้กล่าวถึงอยู่ตลอดไป

ที่มา
http://kumarntalk.net/webboard-id10494.html

635

ประสบการณ์ลี้ลับคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม อุบาสิกาผู้มีพลังจิตมหัศจรรย์

ตอนที่ 1
“อิทธิปาฏิหาริย์” เป็นเรื่องที่ดูเหนือธรรมชาติ ชวนพิศวงสำหรับผู้ที่ยังอยู่ในวังวนของกิเลส สำหรับผู้ปฏิบัติทางจิตที่กำลังจะล่วงพ้นบ่วงกิเลส “ปาฏิหาริย์” ดูจะเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ปฏิบัติสามารถทำได้ทุกคนในอดีตหลายสิบปีผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไปคงจะเคยคุ้นชื่อของอุบาสิกาท่านหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวถึงอย่างมาก สำหรับสานุศิษย์ท่านคือ “อุบาสิกาบุญเรือน โตงบุญเติม” ผู้สำเร็จจตุตถฌาณ (ฌานที่ 4) จึงมี “อภิญญา” ปรากฏเป็นปาฏิหาริย์จนเลื่องลือในทางปาฏิหาริย์ตาทิพย์ รู้วาระจิตผู้อื่น ล่องหนหายตัว และใช้พลังจิตรักษาโรคให้คนทั่วไปจนหายอุบาสิกาบุญเรือน โดยทั่วไปคนที่เคารพท่านมักเรียกท่านว่า “คุณแม่บุญเรือน” เพราะความเมตตากรุณา ที่ท่านมีให้กับทุกคนไม่เลือกชั้นวรรณะ พื้นเพเดิมของคุณแม่บุญเรือนท่านเป็นชาวอำเภอมีนบุรี กรุงเทพฯ มีฐานะค่อนข้างยากจน พ่อแม่เป็นชาวสวน ซึ่งต่อมาได้ย้ายไปอยู่แถวบางปะกอก ธนบุรี ในวัยเด็กคุณแม่บุญเรือนได้รับการศึกษาพออ่านออกเขียนได้ และมีนิสัยฝักใฝ่ในทางธรรมมาแต่เด็ก โดยได้รับการสั่งสอนให้รู้จักธรรมะ ในพระพุทธองค์จาก “หลวงตาพริ้ง” วัดบางปะกอก พระสายวิปัสสนากรรมฐาน ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น จนทำให้คุณแม่บุญเรือนเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ฝักใฝ่ในบุญกุศล หมั่นเพียรในทางธรรมตลอดมา

เมื่อมีอายุในวัยครองเรือนคุณแม่บุญเรือนได้สมรสกับ สิบตำรวจโท จ้อย โตงบุญเติม แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน ภายหลังจึงรับเด็กหญิงมาอุปการะเป็นบุตรบุญธรรมคนหนึ่ง ขณะเดียวกันคุณแม่บุญเรือน ก็ยังมีโอกาสได้ปฏิบัติและศึกษาธรรมมากขึ้น โดยมีท่านพระมหารัชชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสสัมพันธวงศ์สมัยนั้นเป็นอาจารย์สอนสมถะวิปัสสนากรรมฐานให้ จนกระทั่งปี 2470 คุณแม่บุญเรือนจึงลาสามี เพื่อมาบวชที่วัดสัมพันธวงศ์อยู่ระยะหนึ่งแล้วจึงลาสึกไป และเมื่อสามีถึงแก่กรรมแล้ว จึงมีศรัทธากลับมาบวชอีกในปี 2482ความเพียรในการฝึกจิตและเรียนรู้ทางธรรมของคุณแม่บุญเรือน ปรากฏเรื่องราวอันเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ ที่จะสำเร็จได้ก็ด้วยอำนาจสามาธิซึ่งเป็น “พลังจิต” อันมหัศจรรย์ จึงมีเรื่องเล่ามากมายจากคนเก่าแก่ และผู้ประสบเหตุเรื่องราวพิศวง อันเกิดจากอำนาจทิพย์ของอุบาสิกาท่านนี้...

ล่องหนหายตัว
การล่องหนหายตัวจากสถานที่หนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่ง เป็นผลจากการปฏิบัติทางจิตจนได้ “อภิญญา” ซึ่งคุณแม่บุญเรือนสามารถอธิษฐานจิตให้หายตัวได้ เรื่องนี้ “เจ้าคุณพระรัชชมงคลมุนี” วัดสัมพันธวงศ์ ท่านได้บันทึกไว้ว่า เมื่อเดือน 6 ขึ้น 14 ค่ำ พ.ศ. 2470 คุณแม่บุญเรือนท่านอยู่ที่บ้านพักตำรวจกับครอบครัว ในคืนดังกล่าวคุณแม่นอนไม่หลับจนดึก สามีและบุตรบุญธรรมหลับกรน และกัดฟันกรอดๆ รู้สึกเกิดธรรมสังเวชเบื่อหน่ายต่อสภาพอย่างนั้น ท่านอยากหลีกหนีเสียชั่วคราว จึงตั้งจิตอธิษฐาน เข้าไปในศาลาที่วัดสัมพันธวงศ์ ซึ่งศาลานี้เป็นที่อยู่ของแม่ชีนักปฏิบัติธรรม คุณแม่เองก็เคยอาศัยบำเพ็ญธรรมที่ศาลานี้ พอสิ้นอธิษฐานก็ปรากฏตัวเองอยู่ที่ศาลานี้แล้ว ไม่ทราบว่าเข้าศาลาทางไหน และที่บ้านพักตำรวจกับศาลาวัดสัมพันธวงศ์ก็ไกลกันพอสมควรแม่ชีฟักเพื่อนปฏิบัติธรรม พักอยู่เป็นประจำที่ศาลานี้ ขอให้คุณแม่บุญเรือนอธิษฐานมาเข้าศาลาอีกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 โดยให้แม่ชีผู้อยู่ศาลาอีก 3 คนดูแลปิดประตูหน้าต่างลงกลอนให้เรียบร้อย และดูให้รู้เห็นเป็นพยานด้วยคุณแม่บุญเรือนก็อธิษฐานให้หายวับจากบ้านพัก เข้าไปปรากฏตัวในศาลาได้เช่นเดียวกับคราวก่อน พวกที่คอยอยู่ก็แปลกใจและแน่ใจว่า หายตัวผ่านเข้ามาได้จริงๆ และมองเห็นผลสำเร็จทางสมาธิ ที่มีแก่ผู้ปฏิบัติด้วยวิริยอุตสาหะ ต่อมาคุณแม่บุญเรือน ท่านได้อธิษฐานหายตัวจากศาลา ไปเขาวงพระจันทร์ ท่านได้พบพระผู้วิเศษที่นั่น และได้รับพระธาตุ 1 องค์ จากพระองค์นั้น กลับมาพระธาตุยังกำอยู่ในมือ เป็นพยานแก่ตัวท่านเองว่ามิได้ฝันไป


ทิพพโสตญาณ (หูทิพย์)
อภิญญาในด้านหูทิพย์ของคุณแม่บุญเรือนนี้ มีบันทึกของคุณหญิงเงียบ บุนนาค เขียนไว้ว่า ครั้งหนึ่งคุณแม่บุญเรือน ไปรักษาโรคขาบวมให้น้องสาวคุณหญิงเงียบ บุนนาค ข้างวัดอนงคาราม ธนบุรี ตอนขา
กลับ น้องสาวคุณหญิงเงียบมอบค่ารถให้ 20 บาท คืนวันนั้นสามีของน้องสาวคุณหญิงกลับบ้าน ทราบว่าภรรยาจ่ายเงินค่ารถให้คุณแม่บุญเรือน 20 บาท (สมัยเงินแพง) เขาเอะอะว่า คุณแม่บุญเรือนเป็นหมอไม่จริง หลอกเอาสตางค์พอรุ่งเช้า 6 โมงเศษ คุณแม่บุญเรือนไปถึงบ้านน้องสาวคุณหญิงข้างวัดอนงค์ นำเงิน 20 บาท ไปคืนให้บอกว่า “เป็นเงินของคุณผู้ชายเขา ดิฉันคืนให้ ดิฉันไม่โกรธคุณหรอก คุณต้องรับเงินนี้ไว้”นี่แสดงว่าคุณแม่บุญเรือนหูทิพย์ ได้ยินคำพูดของสามีน้องสาวคุณหญิงเงียบ พร้อมทั้งรู้วาระจิต ของคนพูด ว่าหมายถึงตัวคุณแม่บุญเรือนที่ไปรักษาขาบวม คุณแม่จึงรีบนำเงินไปคืนให้ เพื่อรักษาน้ำใจของน้องสาวคุณหญิง และสามีมิให้ขุ่นข้องหมองใจ

ที่มา
http://kumarntalk.net/webboard-id10494.html

636
ช่วงท้ายของชีวิต

         ในปี พ.ศ. 2501 ท่านเริ่มปฏิญาณไม่รับรักษาโรคด้วยวิธีการนวดให้แก่ผู้ชาย เว้นไว้แต่ธรรมจะบันดาล การรักษาโรคในระยะนี้จะเป็นการรักษาโดยอธิษฐานเพียงอย่างเดียว ส่วนการสั่งสอนและอบรมธรรมะยังคงปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่อง จนถึงวันก่อนที่ท่านวายชนม์ 1 วัน

         ประมาณปี พ.ศ. 2506 ท่านเริ่มมีอาการป่วยบ้าง หายบ้าง แต่ก็ยังคงบำเพ็ญการบุญอย่างต่อเนื่อง


         การวางสังขารทิ้งร่างวายชนม์

         นับแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2507 เป็นต้นมา คุณแม่มีอาการป่วยเป็นโรคไต หัวใจอ่อน โลหิตจาง และความดันโลหิตสูง ติดต่อกันมาเป็นลำดับ อาการมีแต่ทรงกับทรุด ท่านไม่ยอมรับการรักษาจากแพทย์ แม้ว่านายแพทย์ปรีดา ล้วนปรีดา กับ แพทย์หญิงวัฒนา ดวงจันทร์ ซึ่งเป็นศิษย์ใกล้ชิดได้อ้อนวอนขอให้รับการรักษาจากแพทย์ โดยวีฉีดยา ให้น้ำเกลือ และกลูโคส และให้รับประทานยาแผนปัจจุบันบ้างเป็นครั้งคราว ท่านก็ไม่ยอม จะพาไปโรงพยาบาลท่านก็ไม่ไป ท่านต้องนอนป่วยลุกนั่งไม่ได้เป็นเวลา 9 เดือน

         บรรดาศิษย์ได้พากันอ้อนวอนว่า “ คุณแม่ได้อธิษฐานธรรมด้วยสัจจวาจา รักษาโรคร้ายของลูก ๆ หลาน ๆ และคนอื่นให้หายได้ ทำไมเล่าคุณแม่จึงไม่อธิษฐานเพื่อตนเองบ้าง”

         ท่านตอบว่า “ ถ้าแม่อธิษฐานเพื่อตนเอง ก็เท่ากับว่าแม่ยากมีชีวิตอยู่ อยากมีความสุข อยากพบสิ่งใหม่ ๆ บนพื้นพิภพล้วนเป็นกิเลส แม่ทำเช่นนั้นไม่ได้”
บรรดาบุคคลในคณะสามัคคีวิสุทธิ์ เมื่อได้ยินคำพูดของท่านแล้ว เต็มไปด้วยความเศร้าใจ สะเทือนใจอย่างคาดไม่ถึง นี่ละคือผู้สิ้นอาสวะกิเลศ ผู้บรรลุ อาขยญาณโดยแท้ สมแล้วที่ท่านเป็นนักบุญ เป็นผู้นำในงานบุญของชาวคณะ สามัคคีวิสุทธิ์ที่ท่านก่อตั้งขึ้นมา

         เมื่อวันที่ 3-4-5 กันยายน พ.ศ. 2507 ท่านมีอาการอ่อนเพลียมาก เหนื่อยในเวลาพูด เบื่ออาหาร มีเสมหะเหนียว ๆ ในลำคอ รับประทานอาหารได้เพียง 2-3 คำเท่านั้น

         ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2507 คุณแม่ก็ยังคงทักทายทุกคนอย่างแจ่มใส การสวดมนต์ก็ยังคงปฏิบัติกันเป็นปกติ ไม่เคยมีใครรู้สึกสงสัย และเอะใจเลย ก่อนหน้านี้ประมาณ 1 สัปดาห์คุณแม่ได้สั่งให้หยุดนาฬิกาเรือนใหญ่ไว้ในเวลา 11 นาฬิกาเศษทั้งสองเรือน โดยท่านให้เหตุผลว่า “หนวกหู”

         แล้ววันสำคัญที่ชาวคณะสามัคคีสุทธิ ได้ประสบความเศร้าโศกรันทดใจ อย่างใหญ่หลวงก็มาถึง เพราะในเวลา 11.20 นาฬิกา ของวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2507 คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ได้วางสังขารทิ้งร่างจากไปอย่างไม่มีวันกลับ

         คุณบุญเนื่อง ชิตะโสภณ ได้บันทึกเหตุการณ์ดังกล่าว ไว้ด้วยความเศร้าสลดดังนี้

         “ เช้าวันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2507 ก่อนเวลา 11.00 น.คุณแม่ยังพูดคุยกับคุณอุไรและหลานนิดาอย่างเคย แต่อาหารไม่ยอมรับประทาน เวลาประมาณ 10.00 น.พี่ละมัย มาเยี่ยมพบว่าอาการอ่อนเพลียมาก หายใจตื้น ไม่คุยหลับตา เอามือขวากุมศีรษะ หายใจช้าลง ชีพจรอ่อนคลำไม่พบ หายใจออกกว่าเข้าระยะสั้น หยุดหายใจสนิทเมื่อเวลา 11.20 นาฬิกา โดยปราศจากอาการทุรนทุรายแต่ประการใด นับว่าท่านไปอย่างสงบจิง ๆ ไม่มีการสั่งเสียใด ๆ”

         เมื่อคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม วายชนม์แล้ว บรรดาคณะสามัคคีวิสุทธิรับแจ้งข่าว ทราบข่าว ต่างหลั่งไหลมากราบศพ เคารพศพ สวดอภิธรรมบำเพ็ญกุศลที่บ้านพระโขนงทุกคืน ได้ร่วมแห่ขบวนศพไปวัดธาตุทอง วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2507 เวลา 13.00 น. และร่วมบำเพ็ญกุศลศพถึงวันที่ 13 กันยายน และต่อมาทุกวันอาทิตย์อย่างคับคั่งตลอดมาจนกระทั่ง วันที่ 23-24และวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2507 อันเป็นวันประชุมเพลิง

         ที่มา อนุสรณ์ คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม หน้า 105-132 หจก.เกษมการพิมพ์ พระนคร
ที่มา http://kumarntalk.net/webboard-id10494.html

637
งานบุญสำคัญที่บ้านสามัคคีวิสุทธิ

         คุณแม่อยู่ที่บ้านสามัคคีวืสุทธิ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 ถึง พ.ศ.2489 เป็นเวลา 7 ปี นอกจากการบำเพ็ญการบุญธรรมดาแล้ว ท่านยังได้อธิษฐานธรรมประกอบงานบุญสำคัญ ๆ อีกมากมายหลายครั้ง เช่น

         1.ก่อนวันขึ้นปีใหม่ทุกปี คุณแม่จะอธิษฐานธรรมอวยพรให้บรรดา สานุศิษย์ ผู้ร่วมประกอบการบุญกับท่าน

         2. ท่านได้อธิษฐานธรรมประจุพระพุทธรูป และ พระเครื่องสำคัญรวมทั้งร่วมสร้างด้วย คือ

         ก. พระพุทโธองค์ใหญ่ ซึ่งได้จัดทำพิธีหล่อสร้างที่วัดสัมพันธวงศ์ จนถวายพระประธานสำเร็จ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 แล้วสมโภช ต่อมาได้สมโภชที่วัดสัมพันธวงศ์อีก เมื่อวันที่ 4 ถึง 13 มีนาคม พ.ศ. 2499 อัญเชิญไปวัดสารนาถธรรมาราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พงศ. 2499 เคลื่อนกระบวนเวลา 06.09 น. ถึงวัดสารนาถธรรมารามเวลา 16.00 น.ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดสารนาถธรรมารามจนถึงปัจจุบัน คุณแม่ได้อธิษฐานธรรมในการก่อสร้างรวมทั้งการนำไปประดิษฐานโดยตลอด

         ข.พระพุทโธองค์เล็ก ซึ่งได้แก่พระเครื่องที่สร้างขึ้นที่วัดอาวุธกสิตาราม บางพลัดนอก ธนบุรี คุณแม่ได้ร่วมสร้าง และทำพิธีอธิษฐาน เมื่อ 11-12-13 กันยายน พ.ศ. 2494 รวมจำนวน 100,000.องค์

         พระทั้งสองอย่างนี้ปรากฏว่าได้กลายเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ ในระยะต่อมาเป็นอันมาก ทั้งด้านเมตตามหานิยม ป้องกันภัย แคล้วคลาด เจริญโภคสมบัติ กำจัดโรคร้าย ( นอกจากโรคกรรมโรคเวร )

         3. อธิษฐานถุงเขียวเหนี่ยวทรัพย์ แก่ลูก ๆ และ สานุศิษย์ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2498
นอกจากนี้ก็ยังมีการสรงน้ำพระพุทโธที่บ้านในวันสงกรานต์ทุกปี

         การช่วยรักษาโรคร้ายสำคัญ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ แผลปวดบวมต่าง ๆ อัมพาต ในทุกภาคของประเทศไทย จนชื่อเสียงของท่านกระจายไปอย่างกว้างขวาง

        ไปอยู่บ้านนาซาจังหวัดระยอง

         ราวเดือนมีนาคม พ.ศ. 2498 คุรแม่ได้พาพวกลูก ๆ ไปพักอยู่ที่บ้านพักของนางสาววาย วิทยานุกรณ์ ตำบลปากน้ำประแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เพื่อปฏิบัติธรรมและอธิษฐานธรรมบางประการ ได้ห้ามสานุศิษย์จากกรุงเทพฯตามไปจนกว่าจะครบเวลา 1 ปี

         และเมื่อวันที่ 8 มียาคม พ.ศ. 2499ลูกหลานและศิษย์ได้ไปรับท่านกลับ โดยไปที่วัดสารนาถธรรมาราม ได้เช่ารถยนต์โดยสารขนาดใหญ่จำนวน 2 คันไปกันประมาณ 80 คน ได้ร่วมทำบุญสร้างโบสถ์ที่นั่น ค้างที่วัด 1 คืน รุ่งเช้าวันที่ 9 มีนาคม 2499 เวลา 06.00 น . จึงได้เดินทางกลับกรุงเทพฯ

         อยู่บ้านพระโขนง

         หลวงแจ่มวิชาสอน เจ้าของบริษัทยาสีฟันวิเศษนิยม ได้สร้างบ้านใหม่ เป็นอาคารไม้หลังใหญ่ มีบริเวณกว้างขวาง เพื่อเป็นที่ปฏิบัติธรรมให้คุณแม่ที่บ้านพระโขนง หลังกลับจากบ้านนาซา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง คุณแม่ก็ได้เข้าอยู่ที่บ้านหลังใหม่ในวันที่ 10 มีนาคม และทำพิธีเปิดป้ายเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2499 หลังจากนั้น คุณแม่ท่านก็ได้อาศัยอยู่ที่บ้านหลังนี้จนกระทั่งถึงวันวายชนม์

         ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญอย่างมากมายที่บ้านหลังนี้ เช่น อธิษฐานธรรมบรรจุที่พระพุทโธองค์กลาง ให้ลูก ๆ และศิษย์ร่วมกันสร้าง พระพุทธรูปทองเหลืองหน้าตักกว้าง 6 นิ้ว

         และยังมีพิธีเก็บศิลาน้ำ เมื่อ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2499 อธิษฐานศิลาน้ำศักดิ์สิทธืเพื่อป้องกันอันตรายต่าง ๆ ซึ่งในวันดังกล่าวมีผู้ไปร่วมงานประมาณ 400 คน
กิจกรรมต่าง ๆ เช่นการอธิษฐาน การรักษาโรค ท่านทำให้โดยที่ไม่เคยเรียกร้องใด ๆ และกระทำอย่างนี้เรื่อยมาเป็นเวลา 20 กว่าปี บรรดาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ก็ได้บรรดาเหล่าสานุศิษย์และลูก ๆ ช่วยกันถวายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

ที่มา
http://kumarntalk.net/webboard-id10494.html

638
การอธิษฐานของคุณแม่บุญเรือน

         1. การอธิษฐานด้วยสัจจวาจา ด้วยความที่แม่ชีเป็นผู้บรรลุ ฌาน 4 และอภิญญา 6 ทำให้วาจาของท่านมีอิทธฤทธิ์ ที่จะพูดหรือสั่งการสิ่งใดในทางที่ชอบเกิดผงได้ เช่น อธิษฐานให้หายโรค ให้ร่ำรวยในทางที่ชอบ ให้ปลอดภัยจากอันตราย หรืออาจอธิษฐานให้เป็นไปตามคำอธิษฐานของท่านได้ เช่น ให้ฝนตก หรือให้ฝนหยุด อธิษฐานถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

         2. อธิษฐานสิ่งของทั่วไป ได้แก่การนำสิ่งของต่าง ๆ มาให้ท่านอธิษฐาน เช่น น้ำ ปูน ไพลเกลือ พริกไทย การอธิษฐานต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ที่นำไปใช้ได้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ เช่น อธิษฐานปูนกินหมาก ให้เป็นยาทิพย์ รักษาโรคให้หาย แก้โรคนา ๆ ชนิด เช่น มะเร็ง วัณโรค โรคไต เป็นต้น

         3. อธิษฐานของพิเศษเป็นครั้งคราว เช่น อธิษฐาน กรวด ทราย กันไฟไหม้ อธิษฐานก้อนหิน ศิลาน้ำ เพื่อใช้ป้องกันภัยบางประการ โดยเฉพาะศิลาน้ำ ใช้แทนของอธิษฐานของท่าน เวลาวายชนม์ไปแล้ว เมื่อใช้ศิลาน้ำใส่ในน้ำ ก็กลายเป็นน้ำอธิษฐาน ไว้รับประทานแก้และป้องกันโรค ทั้งใช้ป้องกันอันตรายต่าง ๆ ได้ด้วย

         ณ โรงพักกลางนี่เอง ท่านได้ปวารณาตัวในทำนอง ขอช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ให้พ้นจากโรคร้าย และท่านได้เริ่มแนะนำ สั่งสอนธรรม แก่ผู้เลื่อมใสศรัทธา ท่านได้แสดงความปรารถนาที่จะไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทั่วประเทศ ด้วยเหตุนี้ ราว พ.ศ. 2472 ท่านได้ไปอยู่เชียงใหม่ชั่วคราว

         การไปอยู่จังหวัดเชียงใหม่ ท่านไปพำนักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง ท่านได้ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญการบุญ และช่วยเหลือผู้ทุกข์ร้อนของผู้มาขอร้อง และได้ช่วยรักษาโรคด้วยการอธิษฐาน ปูนและน้ำ พริกไทย และสิ่งอื่น ๆ อีกมากมาย เช่นมีอยู่คนหนึ่ง อุจจาระผูกมาเป็นแรมปี ถ่ายอุจจาระไม่ออก รักษาแผนปัจจุบันและแผนโบราณเป็นเวลานานก็ไม่หาย ได้มาหาท่าน คุณแม่บุญเรือนได้อธิษฐานพริกไทยให้รับประทาน 3 เม็ดรุ่งขึ้นปรากฏว่า อุจจาระถ่ายคล่อง หายเป็นปกติ ด้วยการบำเพ็ญตัวที่จังหวัดเชียงใหม่นี่เอง ส่งผลให้ชื่อเสียง และเกียรติคุณของคุณแม่โด่งดังเป็นอันมาก จนมีหนังสือพิมพ์นำท่านไปลงข่าวอยู่หลายครั้ง


        กลับกรุงเทพฯ และย้ายไปอยู่บ้านวิสุทธิกษัตริย์

         ด้วยเหตุที่คุณแม่บุญเรือน ต้องทำการบุญ และอธิษฐานจิตอยู่บ่อยครั้ง ทำให้บรรดาสานุศิษย์เห็นว่าเมื่อกลับจากเชียงใหม่แล้ว จะไปอยุ่ที่โรงพักกลางอีกคงไม่เหมาะสม ทั้งไม่สะดวก เมื่อเวลามีผู้ไปหาบำเพ็ญการบุญกับท่าน เป็นการสมควรที่จะอยู่อย่างเอกเทศ ในที่สุด คุณนายพัธนี ได้ร่วมกับศิษย์ที่ใกล้ชิดช่วยกันเป็นผู้สร้างอาคารหลังเล็กขึ้นมาหลังหนึ่ง ในที่ดินคุณนายพัธนีเอง ณ ถนนวิสุทธิกษัตริย์ อยู่ใกล้กับโรงพิมพ์วิบูลย์กิจ บ้านอยู่ลึกจากถนนไป 2 ถึง 3 เส้น เป็นที่สงัดเงียบ และมีบริเวณกว้างขวางเพียงพอ

         อาคารที่สร้างขึ้นนี้เป็นเรือนไม้มีขนาดพอสมควร มีห้องนอน ห้องพระ ห้องครัว ห้องโถงสำหรับผู้บำเพ็ญการบุญ จะร่วมสวดมนต์จำนวนราว 50 คนได้
เมื่อสร้างเสร็จได้เชิญคุณแม่ให้มาอยู่หลังจากท่านกลับมาจากเชียงใหม่ท่านได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านวิสุทธิกษัตริย์ เมื่อราวต้นปี พ.ศ. 2492

        ก่อตั้งสามัคคีวิสุทธิ

         เนื่องจากผู้มาร่วมการบุญกับท่านที่บ้านนี้มากมาย มีผู้เจ็บป่วยที่มาขอให้ท่านรักษา จนหายจากโรคภัยไข้เจ็บเป็นจำนวนมาก คนจำนวนมาก จึงมายอมตัวเป็นศิษย์ เป็นลูก เป็นหลาน ฟังธรรมคำสั่งสอนจากท่าน เมื่อปฏิบัติตามก็ปรากฏว่า ได้รับความสุขทางใจอย่างประหลาด ผู้คนที่มาหาจึงคับคั่งขึ้นตามลำดับ และเพื่อให้ผู้ร่วมการบุและสานุศิษย์ มีความเป็นปึกแผ่น มีชื่อเรียกที่เหมาะสม คุณแม่บุญเรือนจึงขนานนามคณะของท่านว่า “ สามัคคีสุทธิ” และเรียกบ้านที่ท่านอยู่ว่า บ้านสามัคคีวิสุทธิ แต่คนที่คุ้นเคยบางคนจะเรียกว่า”บ้านวิสุทธิกษัตริย์” ก็มี

         วัตรปฏิบัติทั่วไปที่บ้านสามัคคีวิสุทธิ วันธรรมดา คุณแม่ จะสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ ทำกัมมัฏฐาน และรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ผู้ป่วยที่มาหา

         วันเสาร์ จะอธิษฐานด้วยสัจจวาจา และสิ่งของให้ผู้ป่วย เช่น ปูน ไพล ผลไม้ พริกไทย หลังจากนั้น 14.00 น.ท่านจะนำสานุศิษย์สวดมนต์เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นทำ กัมมัฏฐานเป็นเวลา 15 นาที กว่าจะเสร็จก้ประมาณ 15.00 น. เป็นเช่นนี้ทุกวันเสาร์ ตลอดช่วงเวลาที่คุณแม่มีชีวิตอยู่

ที่มา
http://kumarntalk.net/webboard-id10494.html

639
ผลสำเร็จของงานบุญ

         ในระหว่างที่บวชเป็นชีนี่เอง ด้วยความตั้งใจจริง ในการบำเพ็ญเพียร หัดวิปัสสนากัมมัฏฐาน ทำใจให้สงบระงับ ฝึกใจให้แข็งแกร่งแก่กล้า มองเห็นธรรมอันวิเศษของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังผลให้เป็นที่ทราบในหมู่ผู้ร่วมวิปัสสนาด้วยกัน ว่าคุณแม่บุญเรือนได้สำเร็จแล้วอย่างแท้จริง คือสำเร็จใน จตุตถฌาน หรือ ฌาน4 อันประกอบด้วย

         ปฐมฌาน หมายถึง ฌาน ขั้นแรก มีองค์ 5 คือ ยังมีตรึก เรียกว่า วิตก และ ตรอง เรียกว่า วิจารณ์ เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ ซ้ำยังมีปิติ คือ ความอิ่มใจ มีความสุข คือความสบายใจ เกิดแต่ความวิเวก คือ ความเงียบสงบ ประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปได้ เรียกว่า “ เอกัคตา”

         ทุติยฌาน หมายถึง ฌาน ชั้นสอง ซึ่งละวิตกและวิจารณ์ ในปฐมฌานลงไปได้ คงเหลือแต่ ปิติ และ สุขอันเกิดแก่สมาธิกับเอกัคตา

         ตติยฌาน เป็น ฌาน ชั้นสาม คงเหลือแต่องค์สอง คือละปิติเสียได้ คงเหลือแต่สุขและเอกัคตา

         จตุตถฌาน เป็น ฌานสำคัญชั้น 4 มีองค์ 2 คือละสุขเสียได้กลายเป็น อุเบกขาคือวางเฉย คู่กับเอกัคตา ฌาน 4 จัดเป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าไปในรุปาวจรภูมิ

         ฌานทั้ง 4 นี่แหละที่เชื่อกันว่า แม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม ได้บำเพ็ญเพียรฝึกปฏิบัติจนประสบความสำเร็จ และด้วยเหตุที่ปรากฏต่อมาว่า แม่ชีบุญเรือน มีความเชี่ยวชาญในวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนสามารถจะเข้าวิปัสสนาเมื่อใดก็ได้ และไม่จำเป็นต้องยึดสิ่งมีรูปเป็นอารมณ์ ทั้งอาจเข้าวิปัสสนาโดยลืมตาก็ได้โดยเร็วพลันด้วยเหตุนี้ ทางด้านอรูปฌาน ก็เชื่อว่าท่านสันทัดและบรรลุโดยลักษณะเดียวกัน

         ด้วยความสำเร็จใน จตุตถานนั่นเอง เป็นเหตุให้แม่ชีบุญเรือน เป็นนักเสียสละชั้นยอด มีอารมณ์วางเฉย เป็น อุเบกขา สละความโลภ ความอยากได้ในทรัพย์สินต่าง ๆ อย่างสิ้นเชิง ดังนั้นคนที่รู้จักแม่ชีบุญเรือนมาก่อนก็ดี หรือเพิ่งจะมารู้จักก็ดี จะทราบคติธรรมข้อหนึ่งว่า “ คนที่จะไปหาท่าน จงไปหาด้วยการเป็นผู้รับ ส่วนท่านเป็นผู้ให้ เป็นผู้เสียสละ เป็นผู้บริการ” ท่านไม่ต้องการสิ่งใดของใคร แม้แต่ดอกไม้ ธูปเทียน ทรัพย์สินเงินทองใด ๆ ทั้งสิ้น

         บรรลุอภิญญา 6

         นอกเหนือจากการสำเร็จใน ฌาน ทั้ง4 แล้ว แม่ชีบุญเรือน ได้เพียรพยายามฝึกจิต และสมาธิอย่างแรงกล้า ทั้งได้ประกอบการบุญอันเป็นอานิสงศ์แห่งชีวิตอย่างสูงส่ง จนกล่าวว่าท่านสำเร็จรอบรู้ใน อภิญญา 6 กล่าวคือ

         1. อิทธิวิธี คือแสดงฤทธิ์ได้ ปรากฏว่าแม่ชีบุญเรือนได้กระทำมาแล้วหลายวิธี เช่น อธิษฐานต้นมะม่วง ต้นเล็ก ๆ ให้ออกดอกได้ภายในคืนเดียว ย่นหนทางยาวให้สั้น เดินตากกลางฝนไม่เปียก เรียกฝนให้ตกได้ ขอให้ฝนหยุดตกได้ เป็นต้น

         2. ทิพโสต หรือที่เรียกว่าหูทิพ แม่ชีบุญเรือน สามารถบอกเล่าเรื่องราวที่คนอยู่ใกล ๆ พูดกัน ให้คนใกล้ชิดท่านฟังได้อย่างถูกต้อง

         3. เจโตปริยญาณ อันได้แก่การกำหนดจิตให้แก่ผู้อื่น ในเวลาที่แม่ชีบุญเรือน สนทนากับใคร ไม่ว่าใครจะคิดหรือจะพูดอะไรกับแม่ชี ท่านก็สามารถทราบได้ด้วย ฌานวิเศษของท่าน

         4. บุพเพนิวาสานุสสติ ได้แก่การระลึกชาติได้ เรื่องนี้แม่ชีบุญเรือนได้เคยเล่าเรื่องราว ชาติภพก่อน ๆ ของท่าน ให้ลูก ๆ และคณะศิษย์ ได้ฟัง รวม 3 ชาติ หากจะว่าไปแล้วเรื่องระลึกชาติ เป็นเรื่องที่พิสูจน์ยาก แต่เห็นว่า แม่ชีบุญเรือนเป็นผู้ยึดมั่นในศีล 5 ละปฏิบัติธรรม เป็นอาจินต์ ก็ทำให้เชื่ออย่างมั่นคงว่าสิ่งที่ท่านพูดนั้นเป็นความจริง

         5. ทิพจักษุ หรือตาทิพย์ การมองเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่พึงประสงค์ แม้ว่าวิ่งนั้นจะอยู่ห่างใกล ต่างบ้านต่างเมืองก็ตาม แต่เรื่องตาทิพย์นี้ แม่ชีบุญเรือน ได้บอกเล่าให้ลูก ๆ ละคณะศิษย์ฟังว่าแม้นว่าท่านจะได้ไว้ แต่ท่านก็คืนให้ไป มิได้นำมาใช้ ทั้งนี้เพราะหากใช้ตาทิพย์แล้ว จะมองเห็นสิ่งปฏิกูลมากมาย ท่านจึงงดเว้นเสีย โดยถือว่าคืนให้ทางธรรม จะมีการนำมาใช้บ้างในยามจำเป็นเท่านั้น
6. อาสวักขยญาณ คือ ทำให้พ้นจาก ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทำให้ตนพ้นจากสิ่งอันไม่เป็นมงคลทั้งปวง ผู้พ้นจากอาสวะ ย่อมหมายถึงปราศจาก รัก โลภ โกรธ หลง แม่ชีบุญเรือนได้สำเร็จในข้อนี้ จะเห็นได้จากผู้ที่เดินทางมาหาท่านไม่ว่าจะใกล้หรือไกล จะยากดีมีหรือจน ก็จะได้รับความปรานีเสมอเท่าเทียมกัน


         ความสำเร็จในการบำเพ็ญเพียรครั้งแรก

         การบำเพ็ญเพียร ในพระพุทธศาสนา จนสำเร็จ จตุตถฌาน และ อภิญญาฌาน ปรากฏว่าท่านได้ทำสำเร็จครั้งแรก ตั้งแต่ยังบวชเป็นแม่ชีอยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ และ ได้ผลเป็นอิทธฤทธิ์อันเกิดจากการอธิษฐานเป็นครั้งแรกเมื่อราววันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2470 โดยในวันดังกล่าว แม่ชีบุญเรือน ได้กลับไปที่บ้านพักข้าราชการ ที่สถานีตำรวจสัมพันธวงศ์ คืนนั้นเข้านอนไม่หลับจนดึก สามีและบุตรบุญธรรมหลับมีอาการกัดฟันและกรน รู้สึกเกิดธรรมสังเวช และนึกเบื่อ จึงตั้งสัตย์อธิษฐานเข้าไปในศาลา พอสิ้นคำอธิษฐาน ตัวแม่ชีบุญเรือนก็เข้าไปอยู่ในศาลา ดังคำอธิษฐาน โดยที่ตัวท่านเองก็ไม่ทราบว่า ได้ออกจากห้องทางไหน และ เข้าศาลาทางไหน ในครั้งนั้นเพื่อนแม่ชีด้วยกัน ไม่ค่อยจะเชื่อกันนัก จนต่อมา อุบาสิกาฟัก ขอให้อธิษฐานใหม่ และได้ให้นางเล็ก นางคำ นางเทียบ ซึ่งดูเหมือนเป็นเพื่อนแม่ชีดูเป็นพยาน ได้ใส่กลอนประตูหน้าต่างศาลาเสียในคืนวันแรม 1 ค่ำเดือน 6 เวลาดึกสงัดปีเดียวกันนั้นเอง แม่ชีบุญเรือนก็ได้อธิษฐานจากสถานีตำรวจสัมพันธวงศ์เข้าไปศาลาได้เช่นเดียวกับคราวก่อน พวกที่คอยดูก็พากันแปลกใจไปตาม ๆ กัน

         ต่อมา แม่ชีบุญเรือน ได้อธิษฐาน ไปเขาวงพระจันทร์ พบพระผู้วิเศษ ขอพระธาตุท่าน ๆ ก็ให้มา 1 องค์ แล้วได้กลับมาที่เดิมตามคำอธิษฐานพร้อมพระธาตุ การสามารถทำปากิหารย์ดังกล่าวที่ปรากฏขึ้นได้เป็นผลแห่งความสำเร็จครั้งแรก ทำให้ท่านอฺธิษฐานเมื่อเข้าสมาธิ ผ่านที่ปิดล้อม หรือไปที่ ไกล ๆ ได้ชั่วระยะเวลาลัดนิ้วมือเดียว ในขณะนั้นท่านมีอายุเพียง 33 เท่านั้น

ที่มา
http://kumarntalk.net/webboard-id10494.html

640
ประวัติแม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม

ฆราวาสผู้เปี่ยมด้วยธรรม


         คุณแม่บุญเรือน กลิ่นผกา เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 4 ปีมะเมียขึ้น 15 ค่ำเวลา 11.20 น. หรือตรงกับวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2437 ท่านได้กำเนิดในครอบครัว ที่มีฐานะค่อนข้างยากจน มีนายยิ้ม กลิ่นผกา เป็นบิดา และมี นางสวน กลิ่นผกา เป็นมารดา สถานที่เกิดอยู่ที่คลองสามวา อำเภอมีนบุรี จังหวัดพระนคร

         ต่อมาบิดามารดาของท่านได้ย้ายไปอยู่ที่ตำบลบางปะกอก อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี อยู่ในละแวกบ้านชาวสวน และมีฐานะเป็นชาวสวนในเวลาต่อมา คุณแม่บุญเรือน ท่านก็ได้เติบโตมาในละแวกบ้านชาวสวน ที่ตำบลบางปะกอกใหญ่นั่นเอง

         นายยิ้ม บิดาของคุณแม่บุญเรือน มีภรรยาทั้งสิ้น 3 คน คนแรกก็ได้แก่ นางสวน มีบุตรด้วยกันสองคน คนโตคือ นางทองอยู่ ได้เสียชีวิตไปนานแล้ว คนที่สองก็ได้แก่ คุณแม่บุญเรือน กลิ่นผกานั่นเอง

         ภรรยาคนที่สอง ชื่อนางเทศ มีบุตรด้วยกันสามคน ได้แก่ นายเนื่อง นางทองคำ และนางทิพย์ ซึ่งทั้งสามคนนี้ ถือเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน
ภรรยาคนที่สาม ไม่มีใครจำชื่อได้ และไม่มีใครยืนยันว่า นายยิ้ม ได้มีบุตรกับภรรยาคนนี้หรือไม่

         การศึกษาเล่าเรียนและชีวิตในครอบครัว

         ชีวิตในวัยเยาว์ คุณแม่บุญเรือน เป็นผู้ได้รับความรักความทะนุถนอมจากบิดามารดา เป็นอันมาก พอเหมาะสมกับฐานะของครอบครัว ท่านได้รับการศึกษาให้รู้ภาษาไทย พออ่านออกเขียนได้ และเชื่อว่าท่านได้รับการฝึกสอน จากบิดามารดา ให้มีความรอบรู้ และ สามารถทำหน้าที่เป็นแม่บ้านแม่เรือนเป็นอย่างดี พอเหมาะสมกับสมัย เนื่องจากปรากฏต่อมาในภายหลังว่า คุณแม่บุญเรือน มีความสามารถในการทำกับข้าวมีรสอร่อยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นน้ำพริก อาหารจำพวกแกง และ ต้ม ท่านก็สามารถทำได้อย่างดี นอกจากนี้ก็ยังมีความสามารถในการเย็บจักร ตัดเสื้อผ้าได้

         เหล่านี้เป็นความสามารถที่เป็นที่ประจักษ์แก่คนที่รู้จักทุกคน

         ฝึกหัดเป็นหมอนวดและสนใจในงานบุญ

         เมื่ออายุราว ๆ 15 ปี ท่านได้รับการฝึกสอนจากในครอบครัว ให้รู้จักการนวด ซึ่งท่านได้ให้ความสนใจอยู่เป็นอันมาก จนในที่สุด ท่านได้รับครอบวิชาหมอนวด และ ตำราหมอนวด จากปู่ของท่าน คืออาจารย์กลิ่น ซึ่งในขณะนั้นถือว่า เป็นหมอนวดผู้มีชื่อเสียง

         จากการได้รับมอบตำราหมอนวด ทำให้ท่านได้ศึกษาวิธีการนวด จากตำราดังกล่าวจนเกิดความชำนาญ และกลายเป็นแม่หมอผู้มีชื่อเสียงในการนวดต่อมาในภายหลัง

         ขณะเป็นวัยรุ่น ท่านได้รู้จักกับคุณลุงของท่าน คือหลวงตาพริ้ง ซึ่งเป็นพระภิกษุ อยู่ที่วัดบางปะกอก ด้วยความคุ้นเคยกับหลวงตาพริ้ง ผู้เป็นลุงนั่นเอง ท่านได้เริ่มนำอาหารไปถวายอยู่บ่อย ๆ ทำให้ท่านได้รับการอบรมสั่งสอนให้รู้จักธรรมะ และ คุณธรรมในการดำเนินชีวิต ตามแนวคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้เริ่มเลื่อมใสศรัทธา และมีใจรัก ในงานบุญงานกุศลมากขึ้นอันน่าจะถือได้ว่า นี่เป็นปฐมเหตุสำคัญที่ทำให้ท่านบำเพ็ญกรณียกิจเป็นนักบุญในพระพุทธศาสนาในเวลาต่อมา หลวงตาพริ้ง จึงเป็นพระภิกษุที่คุณแม่บุญเรือนมีความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก และวัดบางปะกอกนี้ก็น่าจะเป็นวัดที่ทำให้ท่านเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จนนำไปสู่การบำเพ็ญภาวนาในเวลาต่อมา


         ชีวิตสมรสและบุตรธิดา

         เมื่อมีอายุพอสมควร ก็ได้ทำการสมรสกับ ส.ต.ท.จ้อย โตงบุญเติม ซึ่งขณะนั้นเป็นตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลสัมพันธวงศ์ ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาที่ดีตลอดมา แต่ก็ไม่มิบุตรธิดาด้วยกัน และเนื่องจากไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน ทำให้คุณแม่ บุญเรือน โตงบุญเติมได้รับอุปการะเด็กหญิงชายอื่นบ้าง แต่มีผู้ที่ท่านรับอุปการะแต่มีอายุได้ 6 เดือนจนเติบใหญ่เป็นเวลายาวนานคนหนึ่งในฐานะบุตรบุญธรรมคือ นางอุไร คำวิเทียน จนกระทั่ง นางอุไร มีอายุ ได้ 19 ปีจึงได้สมรสกับ ร.ต.ท.เต็ม คำวิเทียน นางอุไร กับ ร.ต.อ.เต็ม อยู่กินกันมาจนมีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อว่า นิดา คำวิเทียน นับว่าเป็นหลานยายที่คุณแม่บุญเรือนให้ความเมตตาเป็นอย่างยิ่ง

         ชีวิตสมรสระหว่างคุณแม่บุญเรือน และ ส.ต.ท.จ้อย โตงบุญเติม อยู่กินกันมา จนกระทั่งในปี 2479 ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้ 42 ปี ส.ต.ท.จ้อย ได้ถึงแก่กรรมลง เนื่องจากได้เข้าไปช่วยดับเพลิง เมื่อครั้งเพลิงไหม้ใหญ่ตลาดน้อย อำเภอบางรัก ต่อจากนั้นมา คุรแม่บุญเรือนก็ได้ครองความเป็นโสด บำเพ็ญงานบุญ และได้ใช้นามสกุล โตงบุญเติม ของสามีตลอดมา และได้อุปการะเลี้ยงดูนางอุไร คำวิเทียน จนกระทั่งอายุ 19 ปี และได้สมรสกับ ร.ต.ท.เต็ม คำวิเทียน ซึ่งขณะนั้นเป็นตำรวจประจำอยู่ที่โรงพักกลาง ดังนั้นจึงมีอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ที่คุณแม่บุญเรือน ได้ไปอาศัยอยู่ที่บ้านพักของทางราชการ ที่โรงพักกลาง

         ในระหว่างครองชิวิตร่วมกับ ส.ต.ท.จ้อย โตงบุญเติม คุณแม่บุญเรือน ได้ประกอบอาชีพตัดเย็บผ้า เป็นการช่วยสามีอีกแรงหนึ่ง และรับรักษาโรคโดยเป็นหมอนวด ซึ่งการเป็นหมอนวดเพื่อรักษาโรคนั้น ท่านทำเป็นการกุศลไม่มีสินจ้าง นอกจากนั้นท่านยังมีความสามารถในการทำคลอด หรือเป็นหมอตำแยแผนโบราณด้วย ซึ่งทำให้ท่านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากในขณะนั้น

         ด้านการตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยจักรท่านก็ทำได้อย่างดี จนทำให้ครอบครัวท่านมีฐานะที่มั่นคงพอสมควร ในระหว่างนี้ท่านก็ใช้เวลาในการบำเพ็ญบุญ ถือศีล สวดมนต์ ฟังธรรม ด้วยความเคารพเลื่อมใสอย่างแท้จริง ท่านได้ไปประกอบการบุญที วัดสัมพันธวงศ์ เป็นประจำ และได้เริ่มฝึกหัดวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตั้งแต่มีอายุประมาณ 30 ปี หลัง ส.ต.ท.จ้อย ถึงแก่กรรม ท่านได้ไปพักอยู่ที่โรงเรียนช่างกลสมบุญดี มักกะสันอยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่ง นางอุไร คำวิเทียน บุตรบุญธรรม ได้ทำการสมรสแล้ว ท่านจึงได้ย้ายไปอยู่ บ้านพักของทางราชการ ที่โรงพักกลางต่อไป

         ขณะที่ยังใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับ ส.ต.ท.จ้อย ด้วยความเลื่อมใสในพุทธศาสนา ได้ไปฟังพระสวดมนต์ ฟังธรรมที่วัดสัมพันธวงศ์อยู่บ่อย ๆ ทั้งได้ฝึกหัดทำวิปัสสนากัมมัฐานที่วัดนี้ด้วย ต่อมา ส.ต.ท.จ้อย ผู้เป็นสามี ได้ลาอุปสมบท ที่วัดสัมพันธวงศ์ เป็นเวลา 1 พรรษา ทำให้คุณแม่บุญเรือน ได้มีความใกล้ชิดและผูกพันในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เมื่อสามีสึกออกมาแล้ว คุณแม่บุญเรือน ก็ได้ลาสามีบวชเป็นชีและอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัด สัมพันธวงศ์ ได้พากเพียรพยายามฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้อยู่ปฏิบัติที่ศาลาวัดสัมพันธวงศ์ จนทำให้เกิดความเข้าใจ และ ปลอดโปร่งในธรรมะ รักความสงบประกอบการกุศลต่าง ๆ ช่วยปักหมอนสำหรับธรรมาสน์พระสวดปาฏิโมกข์เป็นต้น

ที่มา
http://kumarntalk.net/webboard-id10494.html

641
ขอบคุณท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)
ของไม่เคยเห็นทั้งนั้นเลยครับ :054:

642
GPS coordinate บริเวณลานจอดรถไว้ คือ N13-8-55
E101-10-32


ของผมเป็นของติดรถแคมรี ค่าอาจไม่ตรงกับยี่ห้อ Garminหรือยี่ห้ออื่น นะครับ แตกต่างกันได้ ถึงหลงก็หลงไม่ไกลครับ :069:

จึงเรียนมาเพื่อทราบและระวังกันด้วยครับ :001:

643
อ้างถึง
มีน้ำปั่น จากพี่ทรงกลด
แหะแหะ :001: คุณที น้ำปั่นนั่น นำเสนอโดย(ภรรยา)เพื่อนผม งานนี้ เค้าลงทุนซื้อเครื่องปั่นตั้งหมื่นห้าถวายท่านอาจารย์
ส่วนผมคงได้ช่วยโยธากรรมฐาน(แรงงาน)และน้ำเป-ล่า น้ำก้อน(น้ำแข็ง) อะไรทำนองนั้นหละตรับ :002:

อ้างถึง
สำหรับท่านที่จะไปกราบนมัสการท่านฯ และมี GPS
เมื่อวานนี้ผมบันทึก coordinate บริเวณลานจอดรถไว้ คือ N13-8-55
E101-10-32

จากมอเตอร์เวย์ เมื่อผ่านด่านพานทอง แล้วประมาณ 2-3 กม. ก็ถึงทางออกไปบ้านบึง ให้ชิดซ้ายเตรียมตัวออก
ออกวิ่งตามเส้นทาง 344 จนไปถึง 4 แยกใกล้ตลาดหนองปรือ ในแผนที่จะเห็นว่าเป็นหนองไม้แก้ว ให้เลี้ยวขวาไป



เมื่อเลี้ยวขวาเข้าเส้น 331 วิ่งไปประมาณ 9 กม. ก็จะเจอ สนามกอล์ฟ เทรชเชอร์ฮิล อยู่ซ้ายมือ แสดงว่าใกล้ถึงแล้ว


จากเทรชเชอร์ฮิล วิ่งไปอีก 1 กม. ก็จะถึงทางเข้าสังเกตุซ้ายมือ มีศาลาหลังคาสีเหลือง มีทางเข้า เลี้ยวซ้ายเข้าไป จะเห็นร้านขายอาหารและร้านรับซื้อของเก่าตามลำดับ ขับรถขึ้นเขาไป ประมาณ 900 ม.จะเห็นสำนักปฏิบัติธรรมฯอยู่ซ้าย ให้จอดรถบริเวณ แล้วเดินขึ้นเขาไปตรงข้ามลานจอด ตอนนี้ ยังไม่มีป้าย ทางขึ้นเขาเห็นไม่ชัด ให้ถามพระหรือคนแถวนั้น


http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=21627

644
จากประสบการณ์ถ้าเหรียญใดนำมาภาวนาพุธโธ ตอนนั่งสมาธิ สักระยะหนึ่ง เหรียญนั้นจะมีสีที่ต่างจากเหรียญอื่นครับ เคยสอบถามพระอาจารย์ท่านบอกว่าเป็นพลังจากการภาวนาครับ
ปล.พี่ทรงกลดครับ เดี๋ยววันที่10 ผมนำไปให้พี่น่ะครับ (พอดีมีอยู่ครับ)

ขอบพระคุณท่านderbyrockครับ  :054:

645
บางคนเรียก จ้าวน้ำเงิน

แร่จ้าวน้ำเงิน บางท่านว่าเป็น แร่พลวง บางท่านบอกว่า แร่ไพไรท์ แต่เท่าที่ผมเคยเห็นของรุ่นพี่ที่เอามาให้ดู เป็นลักษณะคล้ายกับแร่ไพไรท์ คล้ายกับแร่เพชรหน้าทั่ง คือสีสันคล้ายกัน(น่าจะจัดอยู่ในตระกูลเดียวกัน) แต่จะมีความเปราะกว่ามาก และเวลาที่ช่างหล่อจะผสม เวลาเทพระนั้นช่างเขาจะใส่แร่ตัวนี้ทีหลังสุด และจะไม่ใส่มากเกินไป เพราะจะทำให้เนื้อเปราะ คุณสมบัติของแร่ชนิดนี้ว่ากันว่า มีความศักดิ์สิทธิในตัวเพราะเคยเห็นผู้ที่ได้ไปเอาไปให้อาจารย์ตรวจพลังดู(ผู้ตรวจพลังรู้สึกจะบวชจะเป็นฤษีด้วย) บอกว่าแร่ตัวนี้มีพลังงานธาตุสะสมดีมาก แต่คุณสมบัติอีกทางคือ จะทำให้เนื้อผิวพระ มีความมัน เงางามมาก แต่ถ้าใส่ผสมมากเกินไปเนื้อพระจะปริ(เปราะ) อย่างเช่นกริ่งเจริญลาภของหลวงปู่หมุน ใส่แร่จ้าวน้ำเงินมากจึงทำให้เนื้อพระบริเวณส่วนที่บอบบางที่สุด(คอ)จะเกิดรอยราน(ร้าว)จึงต้องนำไปแต่งซ่อมกันเกือบครึ่ง(สร้าง 999)แต่ทุกองค์เข้าพิธีเหมือนกันหมดนะครับ)..
ส่วนสถานที่พบแร่จ้าวน้ำเงินนั้น เท่าที่ฟังมาจะพบแถว สุพรรณบุรี บ้างก็บอกว่าอุบลราชธานี ก็มีพบครับ แต่ไม่ได้พบกันง่ายๆ หลายๆปีจึงจะพบสักครั้งครับ....เพราะเป็นแร่ศักดิ์สิทธิ์ เคยอ่านตำราเล่มเก่าๆว่าเป็นธาตุชนิดหนึ่งที่เรียกมาได้ด้วยวิทยามนต์....

แต่อย่างไรก็ตาม ตามตำราหล่อพระท่านบอกไว้...ถ้าหากว่า หาแร่จ้าวน้ำเงินไม่ได้ ให้ใช้ แร่พลวงแทนได้คนจึงเข้าใจว่า จ้าวน้ำเงินคือแร่พลวง แต่ไม่ใช่ครับ และเห็นบางท่านก็ใช้แร่ไพไรท์ใส่แทนก็มีแต่ ผลออกมาจะเป็นอย่างไร อันนี้ไม่ทราบครับ....(ก็ลองใช้วิจารณญานดูนะครับ..)

ที่มา
http://board.palungjit.com/f229/

ท่านใดมีข้อมูล โปรดนำบอกเล่ากันด้วยครับ

646
ของพระอาจารย์ดีจริงๆ ขอย้ำ ข้าพเจ้ามี 5 องค์ใส่กรอบแล้วหนึ่ง เหลือ 4 องค์ พกติดตัวตลอดขึ้นเหนือ หรือ ลงใต้ แม้กระทั่งไปต่างประเทศ เรื่องโชคลาภด้านการเงิน ปกป้องคุ้มครองกันภัยที่สุดเหนือคำบรรยาย ขอขอบ พระคุณพระอาจารย์โด่ง ที่เมตตาให้มา ทุกอย่างยังอยู่ครบถ้วนเก็บรักษาไว้อย่างดี สวดมนต์นึกถึงพระคุณพ่อแม่ ครู อาจารย์ รักษาศีล ทำบุญ ให้ทาน เกรงกลัวต่อการทำบาป ทุกๆคำสั่งสอนศิษย์ปฎิบัติอยู่สม่ำเสมอ.....ขอให้พระอาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง

วันอาทิตย์ที่ 10 นี้ ไปทอดผ้าป่ากันไหมครับ ที่ ตถตาอาศรม ชลบุรีครับ :001:

647
สาหร่ายเขียนพระไตรปิฎก


648



"ธรรม"...
สามารถแก้ปัญหาของโลกได้
ทุกปัญหา ทุกชนิด ทุกระดับ
...และทุกกาล.


(เพราะธรรมคือความรู้เรื่องธรรมชาติ กฎของธรรมชาติ หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ
และผลจากหน้าที่ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นไปตามกฎอิทัปปัจจยตา) *"เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี"

พุทธทาสภิกขุ :054:

ที่มา
http://www.tairomdham.net/index.php?topic=367.0

649
แถมครับ อ่านแล้วชอบ...........ได้ข้อคิด
======================

ดีพะยะค่ะ (นิทานเพื่อการมองโลกในแง่ดี)

กาลครั้งหนึ่ง มีนครอยู่นครหนึ่ง และมีกษัตริย์ครองนคร กษัตริย์ทรงโปรดปรานการท่องป่าล่าสัตว์เป็นอันมาก กษัตริย์ทรงมีมหาดเล็กคู่ใจเป็นที่ปรึกษาอยู่คนนึง

วันหนึ่งได้เกิดกบฏขึ้นภายในพระนคร มีคนลุกฮือขึ้นจะโค่นอำนาจกษัตริย์ ซึ่งก็มีแววจะชนะซะด้วย เมื่อกองทัพกบฏประชิดเมือง กษัตริย์ก็ได้ปรึกษากับคนสนิทเป็นการใหญ่ ซึ่งรวมไปถึงมหาดเล็กคู่ใจของเขาด้วย กษัตริย์ถามว่า

"เจ้าคิดยังไงกับเรื่องนี้"
"ดีพะยะค่ะ"
"ดียังไง"
"สถานการณ์เวลานี้แม้จะดูไม่สู้ดีนัก แต่อย่างน้อยเราก็จะได้รู้ว่า ใครบ้างที่จะจงรักภักดีกับเรา ใครที่คิดจะแปรพรรคไปด้านโน้น ซึ่งหากเราปราบกบฏครานี้ลงได้ ท่านก็จะเหลือแต่ลูกน้องที่จงรักภักดีกับท่าน ทำให้ไม่ต้องกังวลพระทัยอีกต่อไปพะยะค่ะ"
"อืม นั่นสินะ"

หลังจากนั้นกษัตริย์ก็มีกำลังใจเป็นอันมาก และปราบกบฏลงสำเร็จ หลังจากนั้นไม่นานพอย่างเข้าหน้าฝนฝนก็ตกหนักจนท่วมลามเข้าในพระนคร
ทำให้การคมนาคมติดขัด ไม่สามารถเดินทางออกนอกพระนครได้ กษัตริย์ที่ปกติจะออกป่าล่าสัตว์ก็เกิดอาการหงุดหงิด กษัตริย์ก็ปรึกษามหาดเล็กอีกครั้ง

"เจ้าคิดยังไงกับเรื่องนี้"
"ดีพะยะค่ะ"
"ดียังไง"
"ถึงแม้ตอนนี้เราจะไม่สามารถสัญจรไปไหนมาไหนได้ ก็ไม่เป็นไรพะยะค่ะ เนื่องจากตอนนี้เป็นหน้าฝน อย่างไรเสียการเสด็จออกป่าก็คงไม่สนุก
เป็นแน่แท้ และเป็นการดีเสียอีกที่พอน้ำลด เกษตรกรเราก็จะได้ทำการเพาะปลูกได้ผลผลิตงอกงาม และสามารถกักตุนเสบียงได้ในยามจำเป็น
พะยะค่ะ"
"อืม นั่นสินะ"

พอเสร็จสิ้นหน้าฝนและน้ำลดแล้ว กษัตริย์ก็ทรงออกป่าล่าสัตว์ตามที่พระองค์ชอบเหมือนเดิม ซึ่งมหาดเล็กคนเดิมก็ติดตามไปด้วย แต่แล้วขณะที่พระองค์ทรงอยู่บนหลังม้า ปลอกพระขันธ์หรือมีดพกที่เหน็บเอว ได้รั่วทำให้มีดหล่น เฉือนนิ้วก้อยของกษัตริย์ขาดไปต่อหน้าต่อตากลายเป็นคนนิ้วด้วน กษัตริย์จึงถามมหาดเล็กเช่นเดิม

"เจ้าคิดยังไงกับเรื่องนี้"
"ดีพะยะค่ะ"
"ดียังไง หา(ใส่อารมณ์โกรธสุดๆ)"

"ยังไงก็ดีกว่าตายพะยะค่ะ" :074:

กษัตริย์โกรธเลือดขึ้นหน้ามาก :043: สั่งทหารนำมหาดเล็กคนนั้นไปขังลืมในคุกขี้ไก่และแล้ว 10 ปี ผ่านไปกษัตริย์ได้ออกล่าสัตว์เหมือนเดิม ขณะที่มหาดเล็กก็ยังถูกลืมอยู่ในคุกขี้ไก่เหมือนเดิม ครานี้เป็นโชคร้ายของกษัตริย์เมื่อเข้าป่าไปเจอกับเผ่ากินคน ซึ่งมีจำนวนมากกว่าจำนวนทหารที่ติดตามไปด้วยมาก ทหารทั้งหมดจึงถูกจับและถูกต้มกินเป็นๆหมดเกลี้ยง จนเหลือแต่กษัตริย์คนเดียว

เมื่อเผ่ากินคนเตรียมจะเชือดกษัตริย์ลงหม้อ ได้สังเกตเห็นว่ากษัตริย์ไม่มีนิ้วก้อยเท้า ซึ่งทางเผ่ากินคนได้มีความเชื่อถือว่าเป็นตัวกาลกินี กินเข้าไปแล้วจะเกิดภัยพิบัติใหญ่หลวงแก่เผ่า จึงสั่งปล่อยตัวกษัตริย์ไปซะ
กษัตริย์ดีใจมาก :002:

เมื่อกษัตริย์ดีใจที่รอดตายกลับเมืองได้ จึงนึกถึงคำเมื่อ 10 ปีก่อนของมหาดเล็กคู่ใจ จึงลงไปที่คุกขี้ไก่และสั่งปล่อยตัวมหาดเล็กคู่ใจทันที และทรงเล่าเหตุการณ์ที่เจอมาด้วยความดีใจที่รอดชีวิตมาได้

"อืม คำเจ้าเมื่อ 10 ปีก่อนเป็นจริง ยังไงนิ้วก้อยด้วนก็ยังดีกว่าตายจริงๆ"
"พะยะค่ะ"
กษัตริย์จึงถามต่อ

"แล้วอยู่ในคุกขี้ไก่เป็นไงบ้างล่ะหือ"
"ดีพะยะค่ะ"

กษัตริย์ทำหน้างง

"ดียังไง"
"ถ้ากระหม่อมไม่อยู่ในคุก ก็ทรงเสด็จตามท่านไปในวันนั้นด้วย
และคงจะโดนเผ่ากินคนกินไปแล้วพะยะค่ะ"
:004:

ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/read5433.html?No=347

650
สาหร่ายเขียนพระไตรปิฎก


เส้นสาหร่ายก่านกันหนาหนั่นนัก เป็นลวดลายย้ายยักหลายหมื่นท่า
ประสานสอดทอดไปไม่ลดลา  จนทั่ววารีใสในบึงบัว

คือมันเขียนคัมภีร์ที่ครบครัน ทั้งวินัยสุตตันต์ภิธรรมทั่ว
สภาพธรรมสัจจธรรมประจำตัว ธรรมชาติพันพัวทั่วถึงกัน

เป็นหลักชี้ชีวิตไม่ผิดพลาด แสดงชึ้งถึงขนาดประสิทธิ์สันติ์
อยู่ในเส้นสาหร่ายที่ก่ายกัน สาระพันสัญลักษณ์หลักพระธรรม

ตาผู้ใดไม่บอดสอดส่องดู ก็จะรู้ความหมายได้ยังค่ำ
ดั่งศึกษาปิฎกไตรได้ประจำ เป็นเครื่องนำสัตว์รอดตลอดเอย ฯ

ภาพปริศนาธรรมจากสวนโมกข์ บทกลอนโดยหลวงพ่อพุทธทาส

     พระไตรปิฎก, พระพุทธวจนะทั้งหมดนั้น ถูกบันทึกไว้ คือความแปรเปลี่ยนเรื่อย, ไม่มีอะไรต้าน, ว่างจากตัวตนถาวร เป็นพระไตรปิฎกที่ตัวหนังสือ.

ส่วนสาหร่ายเขียน "สัจจะ" นี้อย่างลึกซึ้ง และชัดเจนด้วยตัวของมันเอง ไม่ต้องผ่านทางสัญลักษณ์อักษรแต่อย่างใด. แต่ลวดลายแห่งสาหร่ายนั้นแสดงเพื่อให้คนเรา
"รู้ทั่วกฎของธรรมชาติ" ข้อเดียวนี้ คือ "แจ้งจบไตรปิฎก".

ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/read73fc.html?No=349

651
นตฺถิ สตํ ปรมํ ทุกฺขํ ไม่มีสตางค์เป็นทุกข์อย่างยิ่ง

ความจนเป็นทุกข์ในโลก

จนเงิน จนทรัพย์ ก็เป็นทุกข์ย่อยยับหนักอยู่แล้ว ถ้าจนใจเข้าอีก ก็จะทุกข์ถึงปางตายเชียวแหละ

หลวงพ่อปัญญานันทะได้กล่าวถึงความทุกข์เพราะจนเงิน พร้อมด้วยอุบายแก้ทุกข์ชนิดนี้ไว้ว่า

“เราจะใช้เครื่องมือชั้นไหน ก็ต้องดูความทุกข์ของเราก่อน”

ยกตัวอย่างเช่นว่า คนเรามีความทุกข์เพราะไม่มีเงินใช้ หรือว่าเพราะความยากจนที่เกิดขึ้นในชีวิต
ครอบครัวที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ในสมัยหนึ่ง คนแก่ ๆ เขามานั่งสนทนากับท่านผู้หนึ่งได้เป็นเปรียญมาก่อน ต่อมาก็สึกไปสนเนติบัณฑิตได้ ไปเป็นผู้พิพากษา เป็นคุณหลวงเวลามานั่งประชุมกัน แกก็พูดว่า

“ทุกข์อะไร มันไม่ทุกข์เท่ากับไม่มีสตางค์”

เขาก็ว่ามีอะไรเป็นเครื่องอ้าง แกก็อ้างพุทธภาษิตว่า
“นตฺถิ สตํ ปรมํ ทุกฺขํ หมายความว่า ไม่มีสตางค์เป็นทุกข์อย่างยิ่ง” (ฮา)

คนที่ฟังก็เชื่อตามนั้นเพราะแกเป็นเปรียญ

ความจริง ภาษิตที่อ้างนั้น ไม่ได้มาจากพุทธพจน์สักหน่อยหรือไม่มีที่มาในคัมภีร์ใด ๆ เป็นสิ่งผุดขึ้นในหัวสมองของคุณหลวงเปรียญคนนั้นว่า

“นตฺถิ สตํ ปรมํ ทุกฺขํ หมายความว่า ไม่มีสตางค์เป็นทุกข์อย่างยิ่ง”

อันนี้ก็เป็นความจริงอยู่เหมือนกัน คนเราละก็ ถ้าไม่มีสตางค์ก็เป็นทุกข์ เพราะว่าเราจะต้องการกินต้องการใช้ ของกินของใช้ในสมัยนี้ต้องแลกด้วยเงิน
ถ้าไม่มีสตางค์ไม่มีเงินจะไปแลกกันได้อย่างไร ผู้ไม่มีจึงเป็นทุกข์เป็นธรรมดา

เพราะฉะนั้น เมื่อเรารู้ว่า ไม่มีสตางค์เป็นทุกข์ เราก็อย่าอยู่อย่างคนไม่มีสตางค์ แต่อยู่อย่างคนมีสตางค์เสีย

ทำอย่างไร มันจึงจะมีขึ้นมาเล่า เราก็ต้องรู้ว่า สตางค์เป็นของรู้ มันเป็นของมีอยู่ในโลก เหมือนคำโบราณเขาสอนว่า

“ทรัพย์นี้มีบ่ไกล ใครปัญญาไวหาได้ไม่นาน ทั่วแคว้นแดนดินมีสิ้นทุกสถาน ผู้ใดเกียจคร้านไม่พานพบเลย”
แปลว่า “ผู้ในเกียจคร้านก็ไม่พบสมบัติ แต่ผู้ในขยันขันแข็ง ผู้นั้นก็ย่อมจะหาเงินได้”


ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/read46eb.html?No=350

652
อวยพร..ขอให้ตาย !

พระผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเป็นพระที่มีชื่อเสียงมาก ลูกศิษย์ลูกหาก็เต็มบ้านเต็มเมือง ผู้หลักผู้ใหญ่ของญี่ปุ่นในขณะนั้นก็มักนิมนต์ท่านมาในพิธีสำคัญต่างๆ

เศรษฐีผู้หนึ่งมีความกังวลในทรัพสมบัติของตน กลัวว่าตายไปแล้ว ลูกหลานจะไม่สามารถรักษาไว้ได้ดีดังตน พอซื้อบ้านใหม่ สบโอกาส จึงนิมนต์ท่านพระอาจารย์ผู้นั้นมาทำพิธีให้

พอพิธีจะสิ้นสุด เศรษฐีก็ขอให้ท่านอาจารย์ช่วยเขียนข้อความอันเป็นศิริมงคลให้ตระกูล

พระท่านจึงหยิบพู่กันมาเขียนๆ ไม่นานก็ยื่นคืนให้แก่เศรษฐี

เศรษฐีคลี่กระดาษออกมาดูด้วยความตื่นเต้น แต่เมื่อเห็นข้อความข้างในก็ถึงกับหน้าเจี๋ยน

ข้อความมีอยู่ว่า

"ตาย ตาย ตาย ปู่ตาย พ่อตาย ลูกตาย"

เศรษฐีถึงกับหน้าซีด บรรดาผู้ร่วมงานก็หน้าซีดกันหมด ด้วยความสงสัยจึงถามไปว่าเหตุใดพระผู้ใหญ่อย่างท่าน จึงกระทำล้อเล่นอย่างนี้

พระท่านจึงเฉลยไปว่า...
"ดูก่อนประสก อันทรัพย์สมบัตินั้นมันเป็นของไกลตัว
ความตายมิใช่หรือที่ท่านมิอาจหลีกเลี่ยง
แต่จะดีกว่าใหม ถ้าปู่ตายก่อน พ่อจึงตายตาม แล้วลูกตายทีหลัง
เป็นไปตามนี่มิใช่หรือ ไม่มีทุกข์ใดหนักหนากว่าบุตรต้องมาลาจากก่อนญาติผู้ใหญ่อีกแล้ว "


ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/read7082.html?No=352

653
วิธีแก้กลุ้มแบบเซ็น


ถ้าสังเกตให้ดี นิทานเซ็นที่มีผู้รวบรวมและแปลออกเป็นภาษาต่าง ๆ หลายเล่ม ก็คือบันทึกเทคนิควิธีการสอนธรรมอันหลากหลายของอาจารย์เซ็นนั้นเอง

สอนสิบคนก็สิบวิธี ไม่เคยปรากฏว่าอาจารย์เซ็นท่านใช้เทคนิควิธีเดียวกับคนทั่วไป เพราะถ้าทำเช่นนั้นจะประสบความล้มเหลวในการสอนคน

อาจารย์เซ็นท่านไม่ทำตนเหมือนชาวนาที่โง่ ที่ไถนาไปแล้ว เห็นกระต่ายตัวหนึ่งวิ่งมาชนตอไม้ตายโดยบังเอิญ แล้วก็คิดว่าการจะได้กระต่ายกินนั้นไม่ยาก เพียงแต่นั่งรออยู่แถว ๆ นี้ เดี๋ยวก็มีกระต่ายวิ่งมาชนตอไม้ตายอีก เขารอตั้งหลายวันก็ไม่มีกระต่ายตัวที่สองวิ่งมาชนตอไม้ตายเลย
ต่อให้รอจนตายก็จะไม่มี

อาจารย์เซ็นท่านจะไม่รอใช้เทคนิคเดิม ขึ้นอยู่กับศิษย์แต่ละคนว่ามีข้อด้อยข้อเด่นในด้านไหน ท่านจะเลือกใช้วิธีสอนให้เหมาะ เป็นคน ๆ ไป
บางคนชอบท่องพระสูตร ท่านก็บอกให้ท่องพระสูตรให้ฟัง แล้วก็พูดแรง ๆ สองสามคำ เพื่อให้คน ๆ นั้นสลดใจหรือได้คิด ในที่สุดศิษย์ก็ได้บรรลุธรรม

บางคนมาลาอาจารย์เพื่อไปศึกษาต่อสำนักอื่น (คิดว่าตนอยู่สำนักอาจารย์ได้รู้อะไรมากแล้วอยากรู้มากกว่านี้)
พอไปกราบลาอาจารย์ก็เอาเท้ายันยอดอกศิษย์จนหงายหลังตึง แล้วศิษย์ก็บรรลุธรรม!

ท่านพุทธทาสก็มีความเป็นเซ็นไม่น้อย
ดังครั้งหนึ่งก็มีโยมคนหนึ่งพกความกลุ้มเต็มอกเข้าไปกราบท่าน
บอกว่ากลุ้มเหลือเกินจนสมองจะระเบิดแล้ว

ท่านบอกว่าถ้าอย่างนั้นโดยถอยไปยืนกลางแจ้ง
ยืดกายตรงแล้วตะโกนให้สุดเสียงว่า “กูกลุ้มจริงโว้ย” สามครั้ง

นายคนนั้นถอยออกไปทำตามที่ท่านสั่ง แล้วกลับเข้ามา
ท่านถามว่า “เป็นไงบ้าง”
“ค่อยยังชั่วแล้วครับท่าน” เขาตอบ
หลวงพ่อพุทธทาสตอบยิ้ม ๆ ว่า “ใช่สิ ก็เอาไอ้ตัวกลุ้มออกแล้วนี่”


++++++++++++++++
ที่มา.... หนังสือ " สองอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ หลวงพ่อพุทธทาส และ หลวงพ่อชา"
ของ เสฐียรพงษ์ วรรณปก
ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/read9405.html?No=363

654
  เจ้าน้ำเงิน...คำนี้ไม่มีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่เกิดมีอยู่ในคำอธิบายคำว่า นวโลหะ...เป็นหนึ่งในโลหะทั้งเก้า ส่วนผสมพระพุทธรูปสำคัญ หรือพระกริ่ง

เจ้าน้ำเงิน เชื่อกันว่าเป็นโลหะเรียกเงินได้ เกิดจากหินในป่า แถวเมืองสุพรรณ

วิธีตรวจสอบ...ให้เอาเหรียญเงินหลายๆเหรียญโปะทับ เอาชามครอบ วางที่น้ำค้างตก...รุ่งเช้าเปิดชามดู ถ้าก้อนโลหะนั้น โผล่ไปอยู่บนกองเหรียญ สิทธิการิยะ ..........ท่านว่า เจ้าน้ำเงินแท้

แร่กายสิทธิ์ หายากที่สุด คือสุวรรณเขต หรือขีด ยังไม่มีใครบอกได้ว่า รูปพรรณเป็นฉันใด บอกได้แต่คุณสมบัติว่า ขีดไปที่โลหะอะไร โลหะนั้นจะกลายเป็นทอง (คำ)


ในสมัยรัชกาลที่ 3 ร่ำลือกันว่า สุวรรณขีด ฝังอยู่ในบริเวณพระเศียรหลวงพ่อโต (หน้าตัก 9 ศอก 21 นิ้ว) พระประธานวัดสระตระพาน เมืองเพชรบุรี (ตอนนี้เป็นวัดร้าง)

นักเลงประวัติศาสตร์โบราณคดีรุ่นอาจารย์ล้อม สืบเสาะจนได้ความ ตามโฉนดที่ดิน ชื่อเดิมวัดนี้คือ วัดสัตตพาน ชื่อพระองค์นี้ มีสองชื่อ พระศรีสรรเพชญ์สัตตะพันพาน ชื่อหนึ่ง

พระพุทธสุวรรณเขต (หรือขีด) อีกชื่อหนึ่ง

ชื่อแรก เล่าสืบกันมาว่า โลหะที่หล่อองค์หลวงพ่อ ใช้พานถึงเจ็ดพันใบ

ชื่อสอง พระพุทธสุวรรณเขต (หรือขีด) บอกนัยว่า ช่างหล่อได้ฝัง “สุวรรณขีด” ก้อนแร่กายสิทธิ์ไว้

ชื่อสองนี่เอง ก่อเหตุเภทภัยให้กับองค์หลวงพ่อ

ผู้มีบุญบารมีในยุคนั้น เกิดอยากนิมนต์ท่านจากเพชรบุรีไปไว้ในกรุงเทพฯ ตอนอยู่เมืองเพชร เม็ดพระศกสัญลักษณ์ศิลปะสมัยทวาราวดี ก็สวยงามดีอยู่ แต่มาอยู่กรุงเทพฯ ก็มีช่างฝีมือทักว่า เม็ดพระศกท่านใหญ่ไป...ไม่งาม
จัดการเลาะเม็ดพระศกเก่าออก แล้วเติมเม็ดพระศกใหม่ ขนาดเล็กกว่าแทน

ใครอยากดูว่า เม็ดพระศกหลวงพ่อโตองค์นี้ ใหญ่เล็ก งามไม่งามยังไง...ก็ไปขอพระท่านดูได้ ในโบสถ์วัดบวรนิเวศ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ที่อยู่หลังพระชินสีห์...องค์นั้นแหละ

การเลาะเม็ดพระศกหลวงพ่อโตครั้งกระนั้น จะพบแร่กายสิทธิ์หรือไม่? พบแล้วเอาไปขีดโลหะอื่นเป็นทองไปแล้วหรือเปล่า? เป็นเรื่องที่สืบหาไม่ได้
อาจารย์ล้อมท่านแค่ตั้งข้อสังเกต นี่คือตัวอย่างให้ประจักษ์ว่า

ความละโมบของคนนั้น...สามารถทำได้ทุกอย่าง

อาจเป็นเพราะข่าวการเลาะเม็ดพระศกเศียรพระ แต่ครั้งกระนั้นแพร่หลาย ชื่อและความเชื่อแร่กายสิทธิ์สุวรรณขีด ก็เริ่มสร่างซาและหายไป จนวันนี้ ไม่มีปรากฏอยู่ในพจนานุกรมฯ

เหล็กไหล ใครมีในตัวอยู่ยงคงกระพัน เจ้าน้ำเงิน ใครมีไว้เรียกเงิน หรือสุวรรณขีด...ขีดโลหะเป็นทอง นี่คือความเชื่อของผู้คนแต่โบราณ

ที่มา
http://www.gmcities.com/board/index.php?topic=118.0

655
ซ้อมไว้ล่วงหน้า


สิ่งทั้งหลายทั้งมวลล้วนไม่เที่ยง มีความเสื่อมความเสี่ยง คนเบี่ยงเบนไปเสมอ เพราะสรรพสิ่งล้วนตกอยู่ภายใต้กฎอนิจจังนั่นเอง

สัจธรรมข้อนี้ ถ้ามีการกระทำไว้ในใจอยู่เสมอ ยามเผชิญกับความจริงของชีวิตก็จะมั่นคง คงมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่ครั่นคร้าม
เราจะสามารถปลุกใจให้ฮึดสู้ได้ไม่ยาก แต่ใจจะฮึดสู้ขึ้นมาได้นั้น ใจต้องเคยฝึกฝนมาก่อน
:015:

หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ท่านเปรียบไว้ว่า

“การปลุกปลอบใจ มันต้องคิดไว้ล่วงหน้า เหมือนกับเราจะขึ้นชกมวยต้องซ้อมไว้ล่วงหน้า
จะไปซ้อมเอาที่ข้างเวที จะเริ่มชกลมตรงนั้น มันไม่ทันหรอก พอขึ้นไปถึง เพื่อนก็น็อคไม่ทันถึงยกเลย (ฮา)  :004:
เพราะเราไม่ได้ฝึกไว้ก่อน”

ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/readdf90.html?No=353

656
เคยไปวัดทุ่งเว้า แต่ไม่มี ดวงตาพุทโธมหาลาภ
ขอเซฟภาพลงเครื่อง ขอจำคาถาให้ขึ้นใจ ลาภผลคงต้องมาแน่ๆ  ผมเชื่อเช่นนั้น :015:

ขอบคุณ สำหรับคาถาและรูปภาพครับ  :054:

657
หลังพบภัยพิบัติ


ที่ภูเขาแห่งหนึ่งมีชายตัดฟืนคนหนึ่ง ได้สร้างบ้านด้วยตัวเองอย่างยากลำบาก ที่สุดก็ได้บ้านที่พอคุ้มลมและฝนได้หลังหนึ่ง

วันหนึ่งเขาหาบฟืนไปส่งขายในเมือง ขณะเมื่อเขากลับบ้านในช่วงเย็น ก็เห็นไฟกำลังลุกไหม้บ้านของเขาอยู่ ชาวบ้านใกล้เรือนเคียงต่างก็เข้ามา
ช่วยกันดับไฟ แต่เนื่องจากเป็นช่วงเวลาเย็น ลมจึงโหมแรงกว่าปกติ ดังนั้นจึงยากที่จะดับไฟที่ลุกโชนลงได้ จึงได้แต่ยืนมองอยู่ข้างๆ
ปล่อยให้ไฟลุกไหม้จนหมดทั้งหลังต่อหน้าต่อตา

  เมื่อไฟดับมอดลงแล้ว ก็เห็นชายตัดฟืนนั้น ถือกระบองไม้เข้าไป ในซากบ้านนั้นแล้วคุ้ยหาสิ่งของอยู่ บรรดาคนที่มามุงดู นึกว่าเขา คงจะคุ้ยหาสิ่งมีค่าที่แอบซ่อนไว้ จึงยืนมองดูการกระทำของเขา ด้วยความแปลกใจ

ผ่านไปเพียงชั่วครู่ ชายตัดฟืนคนนั้นร้องออกมาอย่างดีใจว่า
“ข้าหาเจอแล้ว ข้าหาเจอแล้ว” เพื่อนบ้านทั้งหลายจึงเข้าไปดู ที่แท้สิ่งที่อยู่ในมือนั้นคือขวานนั่นเอง ไม่ได้เป็นของมีค่าแต่อย่างใด
ชายตัดฟืนนั้นเอาด้ามไม้เสียบลงไปในหัวขวาน แล้วพูดอย่างเชื่อมั่นว่า
“ขอเพียงมีขวานเล่มนี้ ข้าก็จะสามารถสร้างบ้านที่แข็งแรง และทนทานได้มากกว่านี้”


คนที่ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่ว่าจะไม่เคยประสบความล้มเหลวมาก่อน
แต่เมื่อหลังจากผ่านความล้มเหลวแล้ว
ยังสามารถดิ้นรนขวนขวายเข้าไปหาหนทางทางแห่งความสำเร็จได้


ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/readb1cd.html?No=356

658
ยังร้องไห้เสียดายของอีกหรือ ?
สาระธรรมจาก..พระพรหมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญา) วัดชลประทานรังสฤษฎิ์ นนทบุรี

        มีผู้หญิงคนหนึ่ง หิ้วถังสังฆทานมาเพื่อถวายท่านหลวงพ่อ ใบหน้าของเธอหมองเศร้า ดวงตาตั้งสองแดงก่ำ บ่งบอกว่าเพิ่งจะผ่านการร้องไห้มา
“ถวายสังฆทานรึหนู?” ท่านหลวงพ่อเอ่ยถามหลังจากเธอก้มลงกราบเรียบร้อยแล้ว

“ค่ะหลวงพ่อ” เธอตอบด้วยน้ำเสียงที่ไม่ค่อยจะแจ่มใสนัก

“มีเรื่องอะไรไม่สบายใจล่ะ ถึงคิดจะถวายสังฆทาน ?” ท่านถาม
เพราะเห็นว่าคนส่วนใหญ่มักจะถวายสังฆทานกันก็ต่อเมื่อมีเหตุการณ์ให้ปรารภถึงเท่านั้น ประเภทว่าเกิดอยากถวายขึ้นมาเฉย ๆ นั้นไม่ค่อยจะมี

“ถวายให้สามีที่เสียไปค่ะ” เธอตอบ
พร้อมกับยกมือขึ้นป้ายน้ำตาที่รินไหลออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ เมื่อต้องเอ่ยถึงสามีที่จากไปอย่างไม่มีวันกลับ

“อ้อ ถวายให้สามีเองหรอกเรอะ หลวงพ่อเข้าใจว่าจะถวายให้พระเสียอีก” ท่านหลวงพ่อพูดปนตลก เพื่อหวังให้เธอคลายความเศร้าโศกลงบ้าง

แล้วก็ได้ผล เธอหัวเราะออกมาทั้ง ๆ ที่ยังมีน้ำตาอยู่
:004:

“ถวายให้พระนั่นแหละค่ะ แต่ขออุทิศส่วนบุญให้กับสามีที่ตายไป” เธอตอบ
“เขาเสียนานหรือยัง ?” ท่านชวนคุยต่อ
“เจ็ดวันแล้วค่ะ แต่หนูยังทำใจไม่ได้” เธอพูดคล้ายจะสารภาพผิด

สำหรับบางคนเมื่อมีความทุกข์มา ท่านหลวงพ่อก็จะพูดปลอบใจอย่างอ่อนโยนเพื่อให้ลืมความทุกข์โศกนั้น หรือหากยังมีการร้องไห้อยู่ ท่านก็จะพูดด้วยวิธีต่าง ๆ กันออกไป จนคนนั้นลืมร้องไห้ไปเลยก็มี อย่างเช่นกรณีของผู้หญิงคนนี้ ท่านได้พูดปลอบใจเธอว่า

“ทำใจบ้างเถอะหนู ถึงร้องไห้ไปก็เอาน้ำตาอุทิศไปให้แก่คนตายไม่ได้หรอก การร้องไห้ไม่ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งแก่ตัวเราและแก่วิญญาณของคนที่ตายไปแล้ว คนเราไม่มีใครทั้งนั้น ที่จะบอกได้ว่าจะอยู่ด้วยกันกี่ปี”

แล้วท่านก็บอกให้เธอยกเอาสังฆทานเข้ามาประเคน (ประเคน หมายถึง กิริยาที่ถวายของให้แก่พระ)
ตัวเธอก็ยังสะอื้นอยู่ไม่ยอมหยุด

ท่านหลวงพ่อจึงพูดเย้า ๆ อีกว่า “จะถวายให้พระแล้ว ยังจะร้องไห้เสียดายของอีกรึ ?”

คราวนี้เธอหัวเราะออกมาดัง ๆ จนลืมไปว่ากำลังร้องไห้อยู่
:004: :004:

ท่านหลวงพ่อมักจะมองเห็นปัญหาชีวิตเป็นเรื่องธรรมดา ๆ เช่นนี้เสมอ โลกนี้จึงไม่มีอะไรมาทำให้ท่านต้องเป็นทุกข์กับมันได้เลย

ผู้เขียนเคยได้ยินท่านพูดอยู่บ่อย ๆ เหมือนกันว่า
“จะเป็นทุกข์ให้โง่ทำไม คนเราไม่ได้เกิดมาเพื่อจะเป็นทุกข์ (สักหน่อย)”

เราเองก็น่าจะเอาอย่างท่านบ้าง ในเมื่อโลกมันไม่เคยยินดีกับความสุขและไม่เคยเสียใจกับความทุกข์ของเราเลย แล้วเราจะเป็นทุกข์กับโลกไปทำไม ?

:002: :004:
ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/read1486.html?No=364

659
หลวงพ่อครับ ผมหมดตัวแล้ว


มีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านหลวงพ่อปัญญาได้รับนิมนต์ให้ไปแสดงธรรม ที่อำเภออำเภอหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วันนั้นได้เกิดเหตุไฟไหม้ขึ้นในหมู่บ้านอื่น ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสถานที่ที่ท่านแสดงธรรมนั้นนัก

ดังนั้น เมื่อแสดงธรรมจบแล้ว ท่านหลวงพ่อจึงได้ไปเยี่ยมให้กำลังใจแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ หลายคนนั่งร้องไห้ฟูมฟาย หลายคนนั่งเหม่ออย่างคนสิ้นหวัง
หลายคนตกอยู่ในอาการตื่นตระหนก เนื่องจากคาดไม่ถึงว่าตนเอง จะต้องมากลายเป็นคนสิ้นเนื้อประดาตัวภายในพริบตา

ท่านหลวงพ่อได้เข้าไปพูดคุยให้กำลังใจแก่คนเหล่านั้น ให้เขาคลายความทุกข์โศกลงบ้าง
ในจำนวนนั้นมีผู้ชายคนหนึ่งอายุราว ๆ 60 กว่าปี ได้คลานเข้ามาซบหน้าลงแทบเท้าของท่าน พลางคร่ำครวญว่า
“หลวงพ่อครับ ผมหมดตัวแล้ว ไฟมันเอาของผมไปหมดเลย”

ท่านหลวงพ่อก้มลงเอามือลูบหัวของเขา พลางพูดให้กำลังใจว่า
“ยังไม่หมดหรอกโยม ! ทุนเดิมของโยมยังเหลืออยู่”

“หมดแล้วจริง ๆ ครับหลวงพ่อ ไม่มีเหลืออะไรอยู่อีกเลย ไฟมันเอาไปหมดแล้ว” เขายังคงคร่ำครวญอยู่เหมือนเดิม

ท่านหลวงพ่อจึงพูดกับเขาว่า “ไหนลองยกมือขวาของโยมขึ้นสิ !” เขาปฏิบัติตามอย่างว่าง่าย
“แล้วมือซ้ายล่ะ ?” ท่านสั่งอีก
เขาก็ยกมือซ้ายขึ้น
“นั่นเห็นไหม ว่าทุนเดิมของโยมยังเหลืออยู่ มันยังไม่หมด” ท่านหลวงพ่อพูด
คราวนี้เขาเงยหน้าขึ้นมองท่านด้วยแววตาที่สับสน

“วันนี้ แม้ไฟมันจะไหม้บ้านเรือน ข้าวของของโยมไปหมดแล้วก็จริง แต่สิ่งเหล่านี้ โยมได้มันมาเพราะใช้ทุนเดิมของโยมสร้างมันขึ้นภายหลังทั้งสิ้น
ไม่ใช่สมบัติที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด

“ทุนเดิมที่มันติดตัวมาก็คือ แขนสอง สมองหนึ่งของโยมนี่เอง และวันนี้มันก็ยังคงเหลืออยู่ ยังไม่ได้สูญหายไปไหน แล้วจะพูดว่าหมดตัวแล้วได้อย่างไร? เพียงแต่กำไรที่ได้มามันขาดไปเท่านั้นเอง ส่วนทุนนั้นยังเหลืออยู่ เราสามารถหาเอาใหม่ได้ อย่าไปคิดว่าเราหมดเนื้อหมดตัว
แต่ต้องคิดว่าแค่มันเปลี่ยนไปให้เราหาสิ่งใหม่มาทดแทนเท่านั้นเอง

“เราไม่ได้มีสิ่งเหล่านี้มาก่อน มาหาเอาทีหลังทั้งนั้น เมื่อมันหมดไปแล้ว ทำไมเราจะหาเอาใหม่ไม่ได้
อย่าร้องไห้ให้กลุ้มใจไปเลย น้ำตามันไม่ได้ช่วยดับไฟ ที่กำลังไหม้อยู่ให้มอดลงไปได้หรอก

“เราจะต้องคิดเพื่อให้มีกำลังใจต่อสู้เข้าไว้ ลุกขึ้นใหม่เพื่อวันพรุ่งนี้ ทรัพย์สมบัติในโลกนี้มันยังไม่หมด ยังมีเหลือให้เราหาได้อีก
เพียงแต่เราอย่าเพิ่งหมดกำลังใจที่จะหาไปก่อนเท่านั้น”

สรุปแล้ว ทุนเดิมของเรา (ตามที่ท่านหลวงพ่อพูดสอนเอาไว้)
ก็คือหนึ่งสมอง สองมือ และหนึ่งหัวใจของเรานี่เอง

ที่เรามีข้าวของเงินทองต่าง ๆ ก็เป็นผลกำไรอันเกิดจากทุนเดิมของเราหามาทั้งสิ้น
หากวันใดวันหนึ่ง (ซึ่งจะต้องมาถึงแน่นอน) จะต้องสูญเสียกำไรเหล่านั้นไป (บ้าง) ก็อย่าให้ทุนเดิมของเรานี้ต้องสูญเสียไปด้วย
มิฉะนั้นแล้ว เราจะหมดเนื้อหมดตัวกันจริง ๆ


ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/read1e7c.html?No=372

660
วาสนาของหมา...

...วันนี้ "ขออภัย" มิได้มีเจตนาจะล่วงเกิน "พูด-เขียน" ให้เกิดความหยาบคาย ต่ำช้า ขออนุญาตพูดเรื่อง "หมา" สักวัน

   ปกติคนกับหมา มีส่วนที่เกี่ยวพันใกล้ชิดกันมาตลอด เพียงแต่ว่า คนเป็นสัตว์ประเสริฐ ประเสริฐตรงที่มีคุณธรรมประจำใจ รู้ดีชั่ว บุณบาป รู้ว่าอะไรควรทำ อะไรควรเว้น รู้จักพัฒนาหาความเจริญก้าวไปข้างหน้า หาความสุขใส่ตน ส่วนหมาเป็นสัตว์เดรัจฉาน มีพฤติกรรมทำไปตามสัญชาตญาณของความโง่เขลา จึงจัดได้ว่า คนสูง หมาต่ำ สิ่งที่เรามองว่าต่ำนี่แหละ ถ้ารู้จักมองอีกมุมหนึ่งด้วยปัญญา มองอย่างมีศิลปะ บางทีเราอาจจะได้ข้อคิดจากเรื่องต่ำๆ หมาๆ นี้ก็ได้

เรื่องมีอยู่ว่า มีหมาตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในป่าลึก
ในค่ำของคืนวันหนึ่ง เป็นคืนวันเพ็ญเดือนหงายขึ้นสิบห้าค่ำ พระจันทร์เต็มดวง ทอแสงนวลใย ส่องโลกให้สวยงามยิ่งนัก
เจ้าหมาป่าเฝ้าแต่มองจ้องดวงจันทร์ ใจก็พลันคิดไป คิดทะเยอทะยานอยากใหญ่ใฝ่ฝันอันเจิดจ้า
ว่าข้านี่แหละหนา อยากจะเป็นดวงจันทร์ อยากจะทำหน้าที่ส่องโลก ให้สรรพสัตว์ทั้งหลายได้เชยชม
ด้วยแรงแห่งความปรารถนาสักครู่ใหญ่ต่อมา ปัญญาแบบหมาๆ ก็เกิดผุดขึ้นในใจ
ความฝันอันสูงส่งจะเป็นจริงได้จะต้องพึ่งพาอาศัยท่านผู้มีฤทธิ์ ท่านผู้มีความศักดิ์สิทธิ์ คงจะให้เราสถิตบนนภา รำพึงแล้วมิรอช้า
รีบมุ่งหน้าสู่อาศรมฤาษี รีบบอกเอ่ยเผยวจีว่า
ข้ามาครานี้ขอพึ่งพา ขอท่านจงโปรดเมตตา จงได้เนรมิตให้ข้าเป็นดวงจันทร์ ความฝันพลันเป็นจริง
เขาดีใจมากล้นในวาสนาของตนที่ได้ก้าวมาเป็นใหญ่เป็นโต โอ้โฮ...โอ้โฮ...นี่ หรือวาสนาเรา
เขาเพิ่งจะปลื้มมิทันนาน ได้พบพาลอุปสรรค ดวงจันทร์อันเป็นที่รักจำต้องแปรเปลี่ยนไป
เพราะเจ้าเมฆก้อนใหญ่ไหลพัดผ่านมา ปกคลุมแสงสว่างที่เคยผ่องใสนวลใยพลันมืดลง
คิดแล้วไม่ยอมปลงตรงไปหาท่านฤาษีอีกครา อย่ากระนั้นเลยพ่อท่าน ขอกรุณาจงเป่าเสก
อยากจะได้เป็นเอกขอเป็นเมฆเถิด คงจะเลิศกว่าดวงเดือน

ฤาษีท่านขยันรีบผลุนผลันแสดงฤทธิ์ธา ได้เป็นเมฆสมใจใครหรือจะมาสู้ข้า แม้นเจ้าหมู่ดารา ยังเกิดไฝฝ้าจนหมดงาม
ได้เป็นเมฆคะนองเมฆมิทันนาน มีเหตุการณ์เข้ามาใหม่ คือได้เกิดลมพายุใหญ่ พานพัดเมฆให้ต้องกระจาย
จิตใจเจ้าหมาต้องเร่าร้อน ต้องวิ่งว่อนพบฤาษี คุณพ่อครับ ช่วยลูกทีลูกอยากจะเป็นลม(พายุ) ที่ไหนร้อนระอุ ข้าจะพัดให้ร่มเย็น
พอเป็นลมสมใจหมายก่อความวุ่นวายไม่ยอมหยุด จนมาสะดุดย่อท้อเมื่อเจออุปสรรค
พัดผลักแล้วผลัก เจ้าลมยักษ์เกิดอ่อนแรง เมื่อได้เจอของแข็ง พัดจอมปลวกไม่ยอมพัง เป็นเหตุให้มานั่งจับเจ่าเป็นทุกข์ใจ

ซมซานไปพบพ่อฤาษีว่าลูกนี้จนปัญญา ขอเลื่อนอาสาขอเป็นจอมปลวกต่อไป
เป็นได้ไม่นานเท่าไหร่เจ้าควายใหญ่เข้ามาขวิด ขวิดแล้วขวิดจนหวุดหวิดพังทลาย
เป็นจอมปลวกนึกว่าดีแล้ว ยังไม่แคล้วมาแพ้ควายได้ เห็นทีจะเบื่อหน่ายขอเป็นควายเถอะเจ้าประคุณ
เจ้าควายเปลี่ยวแสนเกเรชอบเที่ยวเตร่อาละวาด ทำแบบไม่ฉลาดขวิดของขาดเสียหาย
ต้องเดือดร้อนถึงเจ้าของควาย ต้องวุ่นวายหาเชือกมะนิลามาใส่คอจนมั่นคง

หมดโอกาสทรนงได้ยืนงงเหงาหงอย ต้องเดือดร้อนท่านฤาษีช่วยอีกทีขอเป็นเชือก
ฤาษีไม่มีทางเลือกเสกให้เป็นเชือกต่อไป ได้เป็นเชือกสมใจหมายคงสบายแล้วแหละเรา
แม้แต่ควายยังโง่เขลา ยอมแพ้เราไปหนึ่งราย เหตุการณ์ไม่ใช่หยุดลงแค่นี้ สุดที่จะเดา
เพราะเจ้าหนูน้อยแวะเวียนมากัด เฝ้าเอาเขี้ยวมาแทะเล็ม เชือกใหญ่แสนใหญ่ ทนไม่ไหวกับเขี้ยวหนู
เห็นท่าจะทนไม่อยู่ถูกเจ้าหนูกัดไป คิดแล้วแค้นต้องวิ่งแจ้นสู่อาศรม บอกกล่าวพ่ออย่างตรอมตรมขมขื่นในอุรา
ช่วยลูกอีกทีเถิดหนาว่าเป็นหนูคงดี ออกจากเชือกขอเลือกมาเป็นหนู เป็นได้เพียงชั่วครู่ถูกแมวขู่กีดกิน
เฮ้อ...ขอเป็นแมวเถิดครับพ่อ (ขอตลอดเรื่อง) จะได้ไม่ท้อต่อฝีมือใคร คงฉลาดว่องไวป้องกันภัยได้ทุกแง่
พอเป็นแมวมิทันไร ถูกหมาใหญ่เข้ามารังแก เห็นท่าจะแย่เป็นแมวต่อไปไม่ไหว ตัดสินใจอำลา
วิ่งกราบบาทา ลูกขอเป็นหมาดังเดิม...

เฮ้อ...เหนื่อย...เป็นโน้นเป็นนี่...เสียจนเหนื่อยอ่อนเพลีย

นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า
ทะเยอทะยานอะไรกันนักหนา ขอให้ดูวาสนาของตน
ไม่ว่าหมาว่าคน ล้วนแต่เขาสมมติให้เป็น
บั้นปลายสุดท้าย เตี้ยลงๆ ปลงเสียเถิด


ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/readf615.html?No=383

661
ลื้อบวชมาแล้วกี่ปี

มีอยู่ครั้งหนึ่ง
ท่านหลวงพ่อได้เดินทางไปต่างประเทศ ตามคำนิมนต์ของญาติโยมแถบนั้น (คนไทยที่ตั้งรกรากอยู่ในประเทศนั้น) ที่ต้องการให้ท่านไปแสดงธรรมเพื่อเป็นขวัญกำลังใจบ้าง
พอคน (ไทย) รู้ข่าวเข้า ก็พากันมาเพื่อจะฟังธรรมจากท่านมากมาย (เนื่องจากมีการประชาสัมพันธ์ไว้ล่วงหน้าแล้วด้วย)

หลังแสดงธรรมจบแล้ว
ก็มีช่วงสนทนาระห่างท่านกับญาติโยมที่มา ซึ่งใช้เวลานานอยู่พอสมควร ก่อนพวกเขาจะลากลับ ท่านหลวงพ่อก็ได้ให้เทป – หนังสือธรรมะไว้เพื่อสำหรับศึกษาต่อไป
แต่มีผู้หญิงคนหนึ่ง ร่างท้วม ๆ ผิวขาว ๆ พูดไทยไม่ค่อยชัด อายุราว 50 เศษ ๆ ได้เข้ามากราบท่าน แล้วขอให้ท่านช่วยเขียนผ้ายันต์ให้

ท่านหลวงพ่อบอกว่า “อาตมาทำไม่เป็น”
“งั้นช่วยทำตะกรุดให้อั๊วะสักอัน !” เธอต่อรอง
“ตะกรุดก็ทำไม่เป็น” ท่านหลวงพ่อตอบ
“ทำตะกรุดไม่เป็น งั้นลื้อช่วยอาบน้ำนมต์ให้อั๊วะก็ได้” เธอยังไม่เลิกดื้อ
“ลื้อจะอาบน้ำมนต์ไปทำไม ?” ท่านใช้สรรพานามคำเดียวกับที่เธอใช้
“อาบ เพื่อให้โชคดี ทำมาค้าขึ้น ไม่เจ็บไม่ไข้” เธอตอบด้วยความเชื่อมั่นว่าจะเป็นจริงตามนั้น

ท่านหลวงพ่อตอบผู้หญิงคนนั้นไปว่า
“น้ำมนต์อย่างที่โยมว่า อาตมาก็อาบให้ไม่เป็น แล้วก็ไม่เคยอาบให้ใครด้วย อาบเป็นแต่น้ำธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น”

พูดหวังเพื่อให้เธอสงสัย และอยากจะรู้เรื่องของน้ำธรรมบ้าง แล้วท่านจะได้ช่วยอธิบายถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาให้เข้าใจ แต่....
“ลื้อนี้บวชมาแล้วกี่ปี ?” เธอแสดงสีหน้าผิดหวัง พร้อมถามขึ้นด้วยน้ำเสียงที่ไม่ค่อยจะพอใจนัก

ท่านหลวงพ่อก็บอกจำนวนปีที่ท่านบวชมา
ผู้หญิงคนนั้นถึงกับอุทานขึ้นมาทันที

“โอโห้ ! ลื้อบวชมาแล้วตั้งนาน แต่ทำอะไรไม่เป็นสักอย่าง ไปมัวทำอะไรอยู่ เมื่อสามเดือนก่อนมีพระอย่างลื้อนี่แหละ อีบวชมาแค่สามปีเอง อียังทำให้อั๊วะได้ตั้งหลายอย่าง”

ว่าแล้วเธอก็ลุกขึ้นเดินจากไป โดยไม่ยอมกราบลาท่านเลย :069: ท่านหลวงพ่อพอได้ฟังเช่นนั้น ก็อดสงสารเธอไม่ได้

+++++++++++++++++
คัดลอกจาก.... หนังสือ "ธรรมะอารมณ์ดี ง่าย ๆ สไตล์หลวงพ่อปัญญา" โดย บ.ส. ษิริ บุณยภาค

ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/readf42f.html?No=385

662
นกฺขตฺตํ  ปฏิมาเนนฺตํ      อตฺโถ  พาลํ  อุปจฺจคา
อตฺโถ  อตฺถสฺส  นกฺขตฺตํ   กึ  กริสฺสนฺติ  ตารกา.


"ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลาผู้มัวถือฤกษ์อยู่, ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวจักทำอะไรได้"
(โพธิสตฺต) ชุ. ชา . เอก. ๒๗/๑๖

ธัมโมเมนาโถ - พระธรรมเป็นที่พึ่งของเรา.
ขอบคุณครับ
คุณที่มีอายุ 26 ปี ขึ้นไป ล้วนผ่านจุดนั้นมาแล้ว ไม่น่าจะมีอะไรให้กังวลเลย

กลัวไปไย?

663
อนุญาตนำธรรมะข้อนี้มาฝากท่าน saken6009 ท่านปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)และญาติธรรมชาววัดบางพระทุกท่าน......ก่อนนอน

=================
ใจใส กายสุข

   ถ้าเราสามารถทำใจให้ว่างๆ ได้บ่อยๆ สุขภาพร่างกายจะแข็งแรงสมบูรณ์ เพราะใต้สมองของคนเรามันมีสารอยู่ตัวหนึ่ง ถ้าเวลาใจว่างมันจะกระจายออกมาทำงาน จะทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ หลวงพ่อนี่วิ่งอยู่ไม่หยุด ถ้าไม่อาศัยภาวนาแล้ว ล้มไปนานแล้ว ในร่างกายของคนเรานี่มันมีสิ่งที่ช่วยตัวของเขาเองอยู่ตลอดเวลา แต่เราไปมองข้าม มีอะไรนิดหน่อยวิ่งหาแต่หมอวิ่งหาแต่ยา มันก็เลยเคยตัว ยาทั้งหลายนี่ถ้ากินมากมันทำให้ติด ยาแก้ปวดนี่ไม่กินแล้วอยู่ไม่ได้ พระองค์หนึ่งติดยาแก้ปวด ตื่นเช้ามาลุกแทบไม่ไหว พอได้ยานี่เม็ดหนึ่ง ลุกขึ้นมาครองผ้าไปบิณฑบาตได้ แต่ไม่ได้กินแล้วลุกไม่ขึ้น ฉะนั้น หลวงพ่อนี่เป็นหวัดเป็นไข้นิด ๆ หน่อย ๆ ไม่ฉันยาหรอก นั่งสมาธิ ถ้าไม่หายจริงๆ นั่นแหละจึงจะยอมฉันยา ทุกวันนี้เป็นเบาหวาน ถ้าลำพังตัวเองแล้วไม่สนใจกับมันหรอก มีแต่คนอื่นมาเคี่ยวเข็ญให้ไปหาหมอ เอาหมอมาหาบ้าง ไปหาหมอบ้าง

 เพราะฉะนั้น ให้พยายาม ถ้าอยู่ว่าง ๆ นั่งดูนอนดูลมหายใจเฉย.. อย่าไปกังวลถึงอะไรเลย พุทโธก็ไม่ต้องว่า ยุบหนอพองหนอ สัมมาอรหังก็ไม่ต้องว่า ดูลมหายใจมันเฉยๆ นี่ ทีนี้จิตของเรามีพลัง ถ้าหากว่าเราตั้งใจกำหนดรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งในกายของเรา มันจะเกิดพลังงาน พลังจิตมันมาประสานกับวัตถุคือร่างกาย มันทำให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย

   หลวงพ่ออ่านคัมภีร์ธรรมะ ก็อ่านคัมภีร์หมอด้วย เพราะว่ามันใกล้กัน เรียนธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ เป็นหลักสูตรรักษาใจ วิชาแพทย์เป็นสูตรสำหรับรักษาร่างกาย เพราะฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจทั้งสองอย่างแล้วก็สบาย

   หลวงพ่อป่วยเป็นวัณโรคที่เมืองอุบลฯ เมื่ออายุ ๒๒ ปี ภาวนาลูกเดียว ภาวนาจนกระทั่งตัวหาย พอตัวหายบ่อย ๆ ใจมันก็ทะนงขึ้นมา โรคภัยไข้เจ็บมันเป็นที่กาย มันไม่ได้เป็นที่ใจ ภายหลังมา ถ้ามันหงุดหงิดรำคาญเพราะความเจ็บป่วย ใจมันมักจะนึกว่า ฉันไม่ได้จ้างแกมาเกิด ไม่ได้จ้างแกมาตาย อยากตายเชิญเลย มันท้าทายอย่างนี้ มันก็สบาย บางทีก็ลองตายเล่น ๆ ลองดู วิธีตายเล่นๆ นี้ทำยังไง ภาวนาจนกระทั่งจิตมันสงบ ต่างกายตัวตนหายไปหมด เหลือแต่จิตดวงเดียวสว่างไสวอยู่ อันนี้เขาเรียกว่าตายเล่นหรือหัดตายก่อนที่เราจะตายจริง เมื่อเราตายมันก็มีลักษณะอย่างนี้เหมือนกัน ถ้าจิตเข้าสมาธิ มันไม่สัมพันธ์ กับร่างกาย มันแยกตัวออกไปอยู่ต่างหาก นั่นคือตาย แต่ในช่วงนั้นเราไม่รู้หรอกว่าเราตาย คนเราทุกคนตายไม่รู้ตัวว่าตัวตาย ฉะนั้นบางคนไม่รู้ว่าตัวตายยังไม่ได้ไปไหน บุญบาปยังไม่ให้ผล จึงไปเที่ยวเคาะประตูบ้านก๊อกๆ แก๊กๆ อยู่นั่น เขาถือว่าเขาเป็นคนอยู่ คนตายธรรมดาพอวิญญาณออกจากร่างมีตัวมีตนเดินออกหนีไป ถ้าอยู่ในสมาธิ ละเอียด มีแต่จิตวิญญาณลอยออกไปเป็นดวงสว่าง เพราะฉะนั้นการปฏิบัติสมาธิคือการหัดตายเอาไว้ก่อนที่เราจะตายจริง

  การพักผ่อนในสมาธิมีคุณค่ากว่าการนอนหลับธรรมดา เมื่อก่อนนี้อยู่กับหลวงปู่เสาร์ ท่านนอนดึ้ก..ดึก แต่เสร็จแล้วเรานอนก่อนท่าน ท่านตื่นก่อนเราทุกที ถามว่าหลวงปู่นอนวันละกี่ชั่วโมง บางทีชั่วโมงเดียว บางทีก็ ๒ ชั่วโมง บางที ๓ ชั่วโมง แต่ไม่เคยเกิน ๓ ชั่วโมง อยู่ได้ยังไง


ที่มา
http://www24.brinkster.com/thaniyo/dhamma0943.html

664


โลภแต่ไม่บาป

   พระไปเทศน์ว่า โยม.. โยม อย่าโลภมากนัก อย่าไปเชื่อพระ พระสอนศาสนาผิด ถ้าใครบอกว่า โยม มีความโลภ อยู่ในใจนั่นน่ะจะหาผลประโยชน์อะไรอย่าลืมนึกถึงศีลถึงธรรมเน้อ อันนี้เชื่อได้ เราจะโลภแค่ไหน เราจะแสวงหาผลประโยชน์อันใด ถ้าไม่ผิดศีล ๕ ข้อใดข้อหนึ่ง เชิญตามสบาย ไม่ต้องเกรงใจ พระพุทธเจ้ามีแต่ยกย่อง ท่านไม่ด่าดอก ทำไมล่ะ ในคำสอนของ พระองค์ท่านมี เรามีหลักฐาน

   ใครต้องการผลประโยชน์ในปัจจุบัน อุฏฐานสัมปทา จงหมั่นขยันในการแสวงหาผลประโยชน์ ถ้าความโลภ มันไม่ดี ทำไมพระพุทธเจ้าจะสอนให้เราหมั่นขยันล่ะ พระองค์ให้ระวังเพียงแค่ว่า ต้องการผลประโยชน์อันใด อย่าทำผิดศีลธรรมและกฎหมาย ปกครองบ้านเมือง ถ้ามันไม่ผิด ใครจะทะเยอทะยานไปแค่ไหนจรดฟ้าจรดแขนก็เชิญตามสบาย พระองค์กลับจะยกย่องว่าเป็นคนรู้จักหา เอาผลประโยชน์โดยชอบธรรม

    ทีนี้พอได้มาแล้วพระองค์ว่า อารักขสัมปทา จงรู้จักรักษานะ แน่ะ... สอนให้เราตระหนี่ เพราะพระองค์รู้ว่า คนไม่ตระหนี่ไม่มีทางเป็นเศรษฐีได้ นี่เรียนธรรมะต้องส่องให้มันจบ
ในเมื่อพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ เกียรติยศ และอำนาจ กัลยาณมิตตตา จงสร้างความดีกับเพื่อนบ้าน ให้เพื่อนบ้านเขารัก เคารพบูชา เราจะได้มีกำลังช่วยรักษาชีวิตและทรัพย์สมบัติของเรา
สมชีวิตา เลี้ยงครอบครัว ตลอดจนบริวารที่เกี่ยวข้องให้สุขสบายตามสมควร อันนี้คือหลักของพระองค์ท่าน
พอท่านว่า อย่าโลภๆๆ วันนี้ไปทำงานจะได้เงินสักล้านสองล้าน ได้สักหมื่นสองหมื่นก็พอแล้ว ขืนไปทำมากกว่านี้มันผิดความโลภ พระพุทธเจ้าจะด่า นั่นเข้าใจผิด อันใดที่ไม่ผิดศีลธรรมกฎหมายปกครองบ้านเมือง ทำมันลงไป พวกหวังรวยด้วยการค้ายาเสพติด ค้ายาบ้าหรืออะไร ทุจริตด้วยประการต่างๆ นี่ อันนั้นมันผิดศีลธรรม เราอย่าไปเอา

แก้กรรม

   วิถีชีวิตของคนเราจะผิดหวังสมหวังมีสุขมีทุกข์มั่งมียากดีมีจนอย่างไร มันขึ้นอยู่กับกฎของกรรม แต่ถ้าไปหาหมอโหรเขาว่าดวงชะตามันตก แต่แท้ที่จริงกฎของกรรมอันเป็นบาปซึ่งเราอาจจะทำแต่ชาติก่อนภพก่อนมันให้ผล แล้วทีนี้เราจะไปแก้กรรม แก้ผลของกรรมนี่มันแก้ไม่ได้ ใครทำกรรมใดไว้ก็ต้องได้รับผลของกรรมนั้น จะดีก็ตามชั่วก็ตาม แต่พิธีกรรมที่เขาให้ทำนั้น บางอย่างถ้ามันถูกต้องเป็นแนวทางแห่งบุญกุศล พอเราทำแล้วมันได้บุญ บุญนี้ก็ต่อวิถีชีวิตของเราให้ยืนยาวไปอีกพักหนึ่ง เมื่อหมดบุญแล้วกรรมเก่าที่มันวิ่งตามอยู่เหมือนกับหมาไล่เนื้อ มันทันเมื่อไรมันก็กระโดดกัดเมื่อนั้น

   เพราะฉะนั้น การสะเดาะเคราะห์ การแก้กรรมแก้เวร เราจะตัดกรรมตัดเวรก็รักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ ทีนี้กรรมที่เราทำนั้น ผลของมันไม่มีใครตัดได้ แต่เวรคือความผูกพยาบาทอาฆาต อันนี้ เราสามารถตัดได้ถ้าหากว่าเราพูดจาตกลงกันได้ เช่นอย่างคนข้างบ้านเคยด่ากันอยู่ทุกวันๆ ๆ ต่างคนต่างก็อาฆาตพยาบาทจองเวรซึ่ง กันและกัน ถ้าหากว่าเราคุยกันรู้เรื่องแล้วเรายกโทษให้กัน อันนี้เรียกว่า ตัดเวร คือตัดความผูกพยาบาทอาฆาต แต่ว่าผลกรรมที่เราด่าเขา เขาด่าเรา นั่นมันตัดไม่ได้


ที่มา
http://www24.brinkster.com/thaniyo/dhamma0943.html

665
ตรวจสอบด้วยเมตตาดีกว่านินทาว่าร้าย

   การตรวจสอบไม่ใช่การลบหลู่ดูหมิ่น การตรวจสอบไม่ใช่เรื่องจับผิด ถ้าเห็นอะไรที่ผิดพลาดไม่สมควร เราพุทธบริษัทก็กล่าวตักเตือนกันได้ด้วยความเมตตาสงสาร แต่อย่าไปติฉินนินทา ถ้าติฉินนินทาแล้วบาป แต่ว่าการตักเตือนครูบาอาจารย์หรือผู้หลักผู้ใหญ่ อย่าไปตักเตือนโดยตรง ใช้วิธีถามปัญหา พระทำอย่างนั้นๆๆ ผิดหรือเปล่า ถ้ามันไปตรงกับความประพฤติของท่าน ถ้าท่านหวังดีต่อพระธรรมวินัย ท่านรู้สึกเอง คือว่าความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ นี่ อย่าว่าแต่ปุถุชน พระอรหันต์ก็ยังผิด นิสัยวาสนาพระสาวกละไม่ได้เด็ดขาด มีพระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้น พระสารีบุตรอรหันต์เดินตามหลังพระพุทธเจ้าไป ทุกองค์เขาเดินลุยน้ำไป แต่ร่องน้ำมันพอกระโดดข้ามได้ พอถึงพระสารีบุตรกระโดดข้ามปั๊บ พระภิกษุกระโดดนี่มันเป็นอาบัติทุกกฏ ทีนี้พระพุทธเจ้าหันมาทัก สารีบุตรนี่เคยเป็นลิงมาแต่ชาติก่อน นิสัยลิงยังติดอยู่ ท่านก็เทศน์ว่า นิสัยวาสนาพระสาวกละไม่ได้เด็ดขาด มีพระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้น

ความรักคือยอดปรารถนาของสังคม

   ศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าสอนให้เราสร้างความรัก ความเมตตาปรานี จุดแรกที่สุดนี่ให้สร้างความรักก่อน ทำไมจึงต้องสร้างความรัก คนเรารักกันแล้วมันจับมือกัน ช่วยกันสร้างสรรค์ประเทศชาติบ้านเมืองให้เจริญ ในทางคณะสงฆ์ ถ้าคณะสงฆ์มีความรัก ความเมตตาปรานีกัน ก็ร่วมกันทำงานพระศาสนาให้เจริญ เพราะฉะนั้นความรักจึงเป็นยอดปรารถนาของสังคม ทีนี้ในวงการหนึ่ง ๆ สถาบันหนึ่งๆ ถ้าเราไปรุมเกลียดคนสักคนหนึ่ง หรือคนทั้งหลายต่างคนต่างเกลียดขี้หน้ากัน ชวนกันทำงานมันก็ไม่ร่วมมือกัน ทีนี้สิ่งที่จะได้รับคืออะไร บ้านเมืองล่มจม คณะสงฆ์ต่างคนต่างขัดผลประโยชน์กัน ต่างทะเลาะวิวาทกัน ผลลัพธ์คืออะไร คือศาสนาล่มจม นี่สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ เราควรจะคิดให้มากๆ


อย่านับขั้นสมาธิ

   สมาธิมีขั้นเดียว คือสมาธิ มันจะก้าวไประดับไหน ก็คือสมาธิอันเดียว อย่าไปนับขั้นนับตอนอะไร ขอให้มันเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วเราละบาปได้หรือเปล่า ศีล ๕ เราบริสุทธิ์หรือเปล่า เอากันที่ตรงนี้เป็นเครื่องตัดสิน เรื่องของสมาธิใครจะไปถึงขั้นใดตอนใด ถ้าจิตไม่บริสุทธิ์ไม่มีทาง

   ในสังคมของพุทธบริษัทที่เราต้องวุ่นวายกันอยู่นี่ เพราะศีลมันไม่เสมอกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระเจ้าพระสงฆ์นี่ องค์หนึ่งกินนมตอนเย็นได้ แต่อีกองค์หนึ่งกินไม่ได้ พอมาเจอกันเข้าท่านก็เถียงกัน องค์หนึ่งจับจ่ายใช้สอยด้วยมือตนเองไม่ได้ แต่อีกองค์หนึ่งทำได้ มาเจอกันเข้าท่านก็เถียงกัน เพราะฉะนั้น ไม่ว่าการปกครองบ้านเมืองปกครองศาสนา บ้านเมืองกฎหมายรัฐธรรมนูญนั่นแหละเป็นหลักสำคัญ ทางศาสนาศีลคือวินัยเป็นหลักสำคัญ กฎหมายก็ดี ศีลคือวินัยก็ดี เป็นหลักที่เราจะปรับความประพฤติให้มีพื้นฐานเท่าเทียมกัน ถ้าเราไปยิ่งหย่อนกว่ากันแล้วก็มีการปรักปรำกัน

   แต่ทางกฎหมายปกครองบ้านเมือง ในเมื่อมีคดีเกิดขึ้นก็ต้องมีโจทก์มีจำเลย มีหลักฐานพยาน แต่ศีลคือวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัตินี่ ตัวเองเป็นโจทก์ตัวเอง ตัวเองเป็นจำเลยตัวเอง ตัวเองเป็นหลักฐานพยานตัวเอง คือตัวเองต้องพิจารณาตัวเองว่ามีความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ เพราะฉะนั้น เราปฏิบัติสมาธิ จิตของเราจะไปถึงสมาธิขั้นใดตอนใด กี่ขั้นกี่ตอนก็ตาม ผลลัพธ์ก็คือว่าเราละความชั่ว นี่มันอยู่ที่ตรงนี้ ทีนี้หลักการพิสูจน์ว่าเราละความชั่วได้หรือเปล่า ถ้าสมมติว่าเรามีครอบครัว เราไม่แอบไปหากำไรนอกบ้าน นั่นแสดงว่าเราบริสุทธิ์แล้ว ดูกันง่ายๆ อย่างนี้ อย่าไปดูให้มันลึกนัก สำคัญที่ปัจจุบัน

ต้นตำรับ

หลักศาสนาพุทธนี่แหละเป็นหลักประชาธิปไตยที่แน่นอนที่สุด แต่คนไทยเราไม่รู้จักเอาคุณค่าจากสิ่งที่ตัวมีอยู่ แม้แต่คัมภีร์การศึกษา ปรัชญา จิตวิทยา ตรรกวิทยา อะไรต่างๆ ที่ฝรั่งพิมพ์หนังสือมาขายให้เรานี่ มันไปจากคัมภีร์พระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนาทั้งนั้น


ที่มา
http://www24.brinkster.com/thaniyo/dhamma0843.html

666
แสวงหาอย่างมีขอบเขต

    ธรรมชาติของสังคม สังคมทั้งหลายตกอยู่ในอำนาจของโลกธรรม ความมีลาภ เสื่อมลาภ ความมียศ เสื่อมยศ มีสุข ทุกข์ สรรเสริญ นินทา สิ่งเหล่านี้ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการแสวงหา

    เราจะแสวงหาอย่างไร ในฐานะที่เราเป็นนักปฎิบัติ เป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า พระองค์ให้เรามั่นคงในศีล ๕ ข้อ ความโลภ ความโกรธ ความหลงมีอยู่ เป็นสิ่งกระตุ้นเตือนความรู้สึกของเราให้มีความทะเยอทะยานในความอยากได้อยากดีอยากมีอยากเป็น แต่ความทะเยอทะยานนั้นต้องมีขอบเขต ขอบเขตคืออะไร ขอบเขตก็คือศีล ๕ ข้อนั่นเอง เพราะฉะนั้น ศีล ๕ ข้อเป็นศีลที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นตามกฎของธรรมชาติ

   เรามีกายกับใจ ในกายของเรามีใจเป็นใหญ่ ใจเป็นผู้บงการให้กายทำทุกสิ่งทุกอย่าง ให้วาจาพูดทุกสิ่งทุกอย่าง ในเมื่อใจเป็นผู้บงการแล้ว กายทำอะไรลงไป พูดอะไรออกไป ใจเขาจะเก็บเอาไว้โดยอัตโนมัติ เขาจะเก็บผลงานของเขาบันทึกเอาไว้ การทำบาปทำกรรมต่างๆ นี่ ที่ว่าเป็นบาปเป็นกรรม ควรสังวรระวัง ควรงดเว้น ควรระวังรักษา มีแต่ละเมิดศีล ๕ ข้อเท่านั้น ศีล ๕ ข้อ นี่เป็นกฎธรรมชาติ คนศาสนาพุทธทำก็บาป ศาสนาคริสต์ทำก็บาป คนไม่มีศาสนาทำก็บาป บาปตัวนี้ใครเป็นผู้แต่งใครเป็นผู้สร้างขึ้น ไม่มีใครแต่ง ไม่มีใครสร้าง เป็นสิทธิหน้าที่ของแต่ละบุคคลสร้างขึ้นมาเอง เพราะเป็นผลงานของตัวเองที่ทำลงไป ในเมื่อเป็นผลงานที่ทำลงไปโดยใจเป็นผู้สั่ง ใจเขาจะต้องเก็บผลงานนั้นไว้โดยกฎธรรมชาติของเขา อย่างสมมุติว่าเราไปฆ่าใครตายสักคนหนึ่ง เรานึกว่าเราทำเล่นๆ เราไม่ต้องการผลงาน มันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ มันจะต้องวิ่งเข้ามา เป็นผลงานที่เก็บเอาไว้ภายในใจ

สำคัญที่ใจ

   บางคนทำอะไรมีพิธีรีตองอย่างเคร่ง แต่ว่าใจไปอยู่ที่อื่น มันก็ไม่เกิดประโยชน์ ก็เหมือนๆ กับอีตา ๒ คน เป็นเพื่อนทอดแหด้วยกัน เขาทำบุญมหาชาติ เลิกทอดแหสักวันเถอะ ไปเอาบุญกับเขาบ้าง ฉันไม่ไปหรอก ฉันจะไปทอดแห เออ..ถ้างั้นไปซะ กันจะไปฟังเทศน์ ไอ้หมอฟังเทศน์ เขาตีฆ้องโม้ง.. โอ๊ย.. พวกเวรเอาปลาตัวใหญ่ๆ ไปหมดแล้วน้อ ไอ้เจ้าหมอทอดแหยกมือไหว้ สา..ธุ นึกถึงบุญถึงกุศล เวลาตายไปแล้ว หมอไปฟังเทศน์ตกนรก หมอทอดแหขึ้นสวรรค์ นิยายปรัมปรานี่ ท่านว่าไว้เพื่อสอนเป็นคติเตือนใจให้พิจารณา อย่าทำอะไรอย่างงมงาย

เข้าใจให้ถูก

ถ้าใครยังคิดว่าสมาธิต้องนั่งขัดสมาธิหลับตาภาวนา คนนั้นยังโง่อยู่ ถ้าผู้ใดเข้าใจว่าสมาธิเราทำได้ตลอดเวลาทุกลมหายใจ ผู้นั้นเข้าใจถูก สมาธิคือการกำหนดสติรู้อยู่ในชีวิตประจำวัน ในปัจจุบันตลอดเวลา เมื่อเรามีสติรู้อยู่ตลอดเวลาว่าเราทำอะไร มันไม่ใช่ความประมาท เราปฏิบัติธรรมหามรุ่งหามค่ำ ผลลัพธ์ที่เราต้องการคือความมีสติอย่างเดียวเท่านั้น เราสร้างสติเพื่ออะไร เพื่อให้จิตของเรามีความเข้มแข้ง ถ้าเรามีสติแล้วจิตของเราแข็งเหมือนเหล็กกล้า


งานศพที่เป็นบุญ

งานศพที่ดีที่สุด..ที่ถูกต้องที่สุด เป็นบุญกับคนตายที่ลุด ส่วนอามิสก็ทำบุญอุทิศให้ ส่วนที่ดีที่สุดสวดมนต์ ภาวนา แผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลให้ แล้วจารีตประเพณีอะไรที่มันเอิกเกริกที่นอกเหนือไปจากทางบุญนั่น ถ้าเราตัดออกได้ยิ่งดี เช่น มหรสพมาฉลองในงานศพ อะไรต่างๆ เป็นต้น

อย่ายึดติด

    ฤกษ์งามยามดีมันก็มีทั้งคุณทั้งโทษ ทีนี้สังคมเขานิยมกัน เราจะไปขัดขวางเขาก็ไม่ได้ แต่ว่าเขาพาทำอะไรทำไป แต่เราอย่าไปยึด แม้แต่เขาชวนเข้าโบสถ์ คริสต์ อิสลาม เรากราบเราไหว้ใด้ แต่เรานึกถึงพระเจ้าของเรา กราบลงที่ไหนก็ถูกพระพุทธเจ้าที่นั่น


ที่มา
http://www24.brinkster.com/thaniyo/dhamma0843.html

667
ต่อจากตอนที่ 4
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=23320
====================================


ศีล ๕ เป็นกฎธรรมชาติ

   กิเลสแม้ว่ายังไม่หมด โลภ โกรธ หลง ยังมีอยู่ ผู้มีศีลเขาจะใช้กิเลสให้ถูกทาง พอจิตคิดจะทำผิดขึ้นมาพั๊บ! มันจะได้สติระลึกว่าสิ่งนี้ไม่ควรแก่เรา แล้วมันจะหยุดทันที เพราะฉะนั้น การปฎิบัติธรรมนี่ต้องให้จิตเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ อย่าไปแต่ง แต่ว่าให้มั่นคงในการฝึกสติ สติรู้ๆๆ จิตระลึกในสิ่งใดให้มีสติรู้อยู่กับสิ่งนั้นตลอดเวลา แล้วเราจะได้หลักปฏิบัติซึ่งไม่ขัดต่อการทำงาน ในเมืองไทยนี่เขาสอนกันว่า ผู้ภาวนาต้องสละกิจการงานหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ภาวนานี่ทำได้แต่ในวัดอย่างเดียวเท่านั้น ไปสอนคนให้เข้าใจผิดหมด คนที่เรียนหนังสือสูงๆ เรียนจบปริญญามา ทุกคนฝึกสมาธิมาแล้วทั้งนั้นแหละ ไม่มีสมาธิเรียนจบปริญญามาได้อย่างไร ไม่มีสมาธิทำงานโหญ่โตได้อย่างไร

   สมาธิเป็นหลักธรรมสาธารณะทั่วไป ไม่สังกัดศาสนาและลัทธิใดๆ ทั้งสิ้น ผู้ไม่มีศาสนาก็ทำสมาธิได้ แต่ความแตกต่างมันอยู่ตรงศีลเท่านั้น ในศาสนาคริสต์ เขาก็มีศีลของเขา ๑๐ ข้อ ในศาสนาพุทธมีศีลเบื้องต้น ๕ ข้อ ศีลปาณาติบาตของศาสนาพุทธ ฆ่าคน ฆ่าสัตว์ บาปทั้งนั้น แต่ศาสนาคริสต์ฆ่าสัตว์เป็นอาหารไม่เป็นบาป เพราะพวกนี้มันเกิดมาเป็นอาหารของมนุษย์ เขาว่าอย่างนี้ อันนั้นเป็นความเข้าใจของเขา แต่แท้ที่จริงขึ้นชื่อว่าการฆ่า ไม่ว่าสัตว์เดรัจฉานหรือมนุษย์ บาปด้วยกันทั้งนั้น อย่างศาสนาคริสต์ว่าล้างบาปๆ เราไปตำหนิเขาว่าบาปที่ทำแล้วจะล้างได้อย่างไร เราไม่เข้าใจในความหมายของเขา ล้างบาปนี่เหมือนกับพระแสดงอาบัติ เป็นการสารภาพบาปเมื่อเราได้ทำผิดอย่างนั้นๆ ต่อไปนี้เราจะสำรวมไม่ทำอีกแล้ว มันผิดเพียงแค่นั้นเอง เราในฐานะคนต่างศาสนา ก็ไปหาจุดด้อยของเขา ยกเป็นปัญหาขึ้นมาโจมตี อย่างของเขาก็หาจุดด้อยของเราเป็นจุดโจมตีอีกเหมือนกัน

    เขาเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกสร้างมนุษย์ เขามาพูดว่าพระพุทธเจ้าของเราเป็นแต่เพียงผู้มาประกาศธรรมะเท่านั้นเอง ไม่ใช่ผู้วิเศษอะไร และก็ไม่สามารถสร้างอะไรขึ้นมาได้บนโลกนี้ เขาว่าอย่างนั้น มันก็ถูกอย่างที่เขาว่า เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านก็ไม่เคยประกาศว่าท่านสร้างอะไร แต่ประกาศและยืนยันว่าเราสามารถรู้ความจริงของธรรมชาติและกฎของธรรมชาติ กายกับใจเป็นสภาวธรรม สถานการณ์และสิ่งแวดล้อมเป็นสภาวธรรม สิ่งนี้คือธรรมชาติ ทีนี้ธรรมชาติทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีกฎประจำ กฎธรรมชาติ สิ่งที่ว่านี้ก็คือ เกิดขึ้น ทรงอยู่ สลายตัว ภาษาทางแขกเรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ศีล ๕ พาพ้นภัย

   ถ้าเราจะปฎิบัติดี ปฏิบัติชอบ ศีล ๕ ข้อนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก คฤหัสถ์กินข้าวเย็น ไม่มีในคัมภีร์ใดที่พระพุทธเจ้าเทศน์เอาไว้ว่าตกนรก ถ้าหากละเมิดศีล ๕ ข้อ ข้อใดข้อหนึ่งล่ะตกนรกทันที ทำไมพระพุทธเจ้าจึงสอนให้รักษาศีล ๕ โดยวิสัยของพระพุทธเจ้า ทรงไว้ซึ่งพระกรุณาคุณ พระองค์ทรงปรารถนาให้มนุษย์มีความรักกัน นี่คือคำตอบ รักษาศีล ๕ ไปทำไม ต้องการความรัก ความรักที่เกิดขึ้นจากคุณธรรม เป็นความรักที่ประกอบไปด้วยความเมตตาปรานี รักได้ทุกคน เมื่อเรามีศีล ๕ ศีล ๕ ก็เป็นคุณธรรมประกันความปลอดภัยของสังคม การไม่ฆ่าเป็นการเคารพในสิทธิของผู้อื่น การไม่ลักขโมยเป็นการเคารพในสิทธิของคนอื่น กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาทก็เคารพในสิทธิของผู้อื่น สุราไม่มัวเมา เคารพในสิทธิของตัวเองและผู้อื่นด้วย เมื่อเป็นเช่นนั้นก็เป็นมูลฐานให้เกิดระบอบประชาธิปไตย

    เพราะฉะนั้น ในเมื่อมีศีล ๕ แล้วก็ไม่ต้องกังวล เป็นการตัดกรรมตัดเวร เมื่อเราไม่ฆ่าใคร ใครหนอจะมาคิดฆ่าเรา เมื่อเราไม่เบียดเบียนข่มเหงรังแก ใครหนอจะมาคิดร้ายต่อเรา เราก็อยู่สบาย อยู่ป่าก็สบาย

   คนมีศีลบริสุทธิ์นี่ แม้แต่เสือมันก็ไม่กัด หลวงตาสนอยู่เมืองอุบลเมื่อก่อนนี่ เดิมทีเดียวท่านเป็นนักเลงโตขนาดจี้ปล้นชั้นเสือ ภายหลังมากลับอกกลับใจ นึกถึงบาปบุญคุณโทษ เพราะไปติดคุกอยู่ ๑๔ ปี พอออกจากตะรางไปยกมือไหว้ขอบริขารเขา บอกว่า โอ๊ย เพิ่งออกจากคุกมาเดี๋ยวนี้ อยากจะบวช ไม่มีบริขารจะบวช ขอบริขารไปบวชหน่อย คนขายบริขารก็จัดให้ ถ้าไม่ให้ก็กลัวมันจะทำร้ายเอา พอได้แล้วแกก็ไปหาอุปัชฌาย์ อุปัชฌาย์ก็บวชให้ด้วยความจำใจเหมือนกัน พอบวชแล้วท่านก็ศึกษาพระธรรมวินัยข้อวัตรปฏิบัติ พอมีความรู้ความเข้าใจพอสมควรแล้วไปธุดงค์อยู่ในดงบั๊กอี่ ดงบั๊กอี่มีอาณาเขตตั้งแต่อำเภออำนาจเจริญไปถึงอำเภอมุกดาหาร เมื่อก่อนทางรถยนต์ก็ไม่มี มีแต่ทางเดินเท้า มีคนไปสร้างกรงเอาไว้ เอาไม้เป็นท่อนๆ ไปฝังๆ เรียงกัน จนสัตว์ใหญ่ๆ เข้าไม่ได้ ใครเดินทางมาจะต้องรีบเร่งให้ถึงที่ตรงนั้น มานอนอยู่ในกรงนั่น มิฉะนั้นเสือมันเอาไปกินหมด

    ทีนี้หลวงตาสนแกไป แกก็ไปนอนอยู่บนก้อนหิน กลดไม่กาง เดือนหงายๆ ตกกลางคืนเสือมันออกมาเป็นฝูง ท่านก็บอกว่า "เสือเอ๊ย! ... มากินมันเสีย บักอันนี้มันเป็นโจรฆ่าผู้ฆ่าคนมามากแล้ว มากินเสียให้มันหมดกรรมหมดเวรไปหน่อย" เสือมันก็ไม่กิน ท่านบอกว่า ธรรมดาเสือเมื่อมันเห็นคนเห็นสัตว์มันจะหมอบทำท่าขู่ แต่นี่มันมาแล้วมานั่งเฝ้าเหมือนหมาเฝ้าบ้าน นั่งยองๆ เหมือนหมานั่งเฝ้าบ้าน บางตัวเดินไปหัวมันสูงกว่าหัวเรา เวลามันนั่งอยู่ ท่านเดินเข้าไปหามัน จะเอามือไปตบหัวมัน มันก็กระโดดเข้าป่าไป แทนที่มันจะกัดท่าน มันไม่กัด ท่านจึงมาพูดเล่นๆ ตลกๆ ว่า "เออ! ไอ้ของที่เราสละทิ้งแล้วนี่ แม้แต่สัตว์เดรัจฉานมันก็ไม่เอา ของทิ้งแล้ว"

เพราะฉะนั้น ศีลนี่เป็นหลักธรรมประกันความปลอดภัย ตัดกรรมตัดเวร ตัดผลเพิ่มของบาปกรรม ทอนกำลังกิเลส

ที่มา
http://www24.brinkster.com/thaniyo/dhamma0843.html

668
ธรรมะ / ตอบ: นิทานเซน : กุศลผลบุญ
« เมื่อ: 02 ก.ค. 2554, 08:53:16 »
นิทานเซน : อุบาสิกาถวายดอกไม้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   20 เมษายน 2554 07:47 น.


ภาพจาก http://art.newexpo.com/  
       《心净是净》
      
       มีอุบาสิกาผู้หนึ่ง ทุกๆ วันต้องตัดดอกไม้นำไปถวายพระที่วัดมิเคยขาด วันหนึ่งบังเอิญพบอาจารย์เซนอู๋เต๋อ อาจารย์เซนจึงกล่าวกับนางว่า "หากยึดตามคัมภีร์ที่ได้มีการบันทึกไว้ การนำดอกไม้ที่สดหอมมาถวายพระอย่างสม่ำเสมอ ผลบุญจะส่งให้สีกามีรูปโฉมงดงามในชาติหน้า"
      
       อุบาสิกาผู้นั้นเล่าว่า "ทุกครั้งยามที่ดิฉันนำดอกไม้มาถวายพระ จะรู้สึกเสมือนจิตวิญญาณได้ถูกน้ำชำระล้างจนสะอาดหมดจด ทว่าเมื่อกลับไปถึงบ้านจิตใจกลับฟุ้งซ่านวุ่นวาย จึงอยากสอบถามท่านว่าทำอย่างไรดิฉันจึงจะรักษาความบริสุทธิ์ของจิตใจเอาไว้ได้ในท่ามกลางความสับสนวุ่นวายของโลกฆราวาส?"
      
       อาจารย์เซนอู๋เต๋อถามกลับไปว่า "สีกานำดอกไม้สดมาถวายพระ อยากทราบว่าสีกามีวิธีรักษาดอกไม้ให้สดอยู่ได้อย่างไร?"
      
      อุบาสิกาจึงตอบว่า "วิธีรักษาความสดของดอกไม้ ที่ดีที่สุดคือเปลี่ยนน้ำในแจกันทุกวัน และก่อนที่จะนำดอกไม้ไปใส่ในน้ำใหม่ ให้ตัดปลายก้านดอกส่วนที่แช่อยู่ในน้ำทิ้งไปก่อน เพราะส่วนนั้นเป็นส่วนที่ก้านเน่าเปื่อยจนไม่สามารถดูดซึมน้ำขึ้นมาเลี้ยงดอกได้ซึ่งจะทำให้ดอกไม้เหี่ยวเฉาง่าย"
      
       เมื่อได้ฟังดังนั้น อาจารย์เซนอู๋เต๋อจึงกล่าวว่า "การรักษาจิตใจดวงหนึ่งให้ใสบริสุทธิ์กลับมึหลักการเฉกเช่นกัน สิ่งแวดล้อมที่เราใช้ชีวิตอยู่ ณ ขณะนี้ก็เป็นดั่งน้ำในแจกัน ส่วนตัวเราเป็นเช่นดอกไม้ ที่ต้องหมั่นชำระจิตใจให้สะอาด พิเคราะห์ตนเอง ทำความดี ละเว้นความชั่ว จึงจะสามารถซึมซับธรรมมะเข้ามาในชีวิตได้"

      
      อุบาสิกาได้รับคำสั่งสอนก็ยินดียิ่ง จากนั้นจึงกราบลาอาจารย์เซนพลางกล่าวว่า "ขอบคุณท่านที่ชี้ทางสว่าง ดิฉันหวังว่าวันหนึ่งจะได้มีโอกาสใช้ชีวิตศึกษาพระธรรมที่วัดแห่งนี้ สดับรับฟังเสียงระฆังทำวัตรและการสวดมนต์ภาวนา ผ่านชีวิตด้วยความสงบสุข"
      
       ทว่าอู๋เต๋อไต้ซือกลับบอกนางว่า "ลมหายใจของสีกาคือเสียงสวดมนต์ ชีพจรคือเสียงย่ำระฆัง ร่างกายคืออารามศักดิ์สิทธิ์ สองหูคือพุทธะ เช่นนี้ยังมีที่ใดไม่สงบสุข ไม่จำเป็นต้องมาใช้ชีวิตในวัดก็สามารถรักษาจิตใจให้สงบพิสุทธิ์ได้ด้วยตนเอง ในทางกลับกัน หากจิตใจไม่อาจขจัดความฟุ้งซ่าน แม้ว่าร่างกายจะอยู่ ณ อารามลึกเร้นในหุบเขาก็มิอาจพบความสงบสุข ..."เซน" เน้นย้ำให้อยู่กับปัจจุบันขณะ ฉะนั้นใยต้องรอจนถึงวันพรุ่งนี้"
     
       ปัญญาเซน : ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จได้ด้วยใจของเรานี้เอง
    
 
      
       ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028-2995-4
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000048060

669
ธรรมะ / ตอบ: นิทานเซน : กุศลผลบุญ
« เมื่อ: 02 ก.ค. 2554, 08:23:54 »
นิทานเซน : คำอวยพรที่ดีที่สุด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   11 พฤษภาคม 2554 08:17 น.
       
       ยังมีมหาเศรษฐีผู้หนึ่งนิมนต์พระอาจารย์เซนเซียนหยา(仙崖)มาที่บ้าน ทั้งยังขอให้เขียนคำอวยพรเพื่อเป็นสิริมงคลส่งให้คนในวงศ์ตระกูลร่ำรวยเงินทอง เจริญรุ่งเรืองจากรุ่นสู่รุ่น ไม่มีวันอับจน
       
       อาจารย์เซนเซียนหยารับปาก พลางกางแผ่นกระดาษออก จรดพู่กันเขียนลงไปเพียง 3 คำว่า "บิดาตาย บุตรตาย หลานตาย"
       
       เมื่อมหาเศรษฐีอ่านข้อความทั้งหมด ก็บันดาลโทสะเป็นอันมาก กล่าวตำหนิอาจารย์เซนว่า "ข้าเพียงให้ท่านมาเขียนคำอวยพรเพื่อให้เป็นสิริมงคลกับครอบครัวของข้า เหตุใดท่านจึงต้องล้อเล่นรุนแรงเช่นนี้ด้วย?"
       
       "มิได้ล้อเล่น" อาจารย์เซียนหยากล่าวชี้แจง พลางอธิบายว่า "ความตายเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องพบเจอ สมมติว่าลูกชายของท่านสิ้นชีวิตก่อนหน้าท่าน ท่านย่อมต้องทุกข์ทรมานยิ่งนัก และถ้าหากหลานชายของท่านเสียชีวิตก่อนบิดาของเขา ทั้งท่านและบุตรชายของท่านย่อมต้องยิ่งทุกข์ทรมานมากขึ้นอีกเท่าทวี แต่หากว่าครอบครัวของท่านล้วนสิ้นอายุขัยไปตามธรรมชาติ จากรุ่นสู่รุ่นตามลำดับตามที่ข้าได้เขียนเอาไว้ ในความคิดของข้าจึงค่อยถือเป็นความสุขความเจริญ เป็นสิริมงคลต่อครอบครัว"
       
       "ความตาย" ไม่น่ากลัว ความตายเป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นสัจธรรมของชีวิต แม้สะสมทรัพย์สมบัตินอกกายมากมาย แต่สุดท้ายมิอาจนำติดตัวไป จงหมั่นเจริญมรณานุสติ ใช้ชีวิตดำรงตนอยู่ในความไม่ประมาท

     
       ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028-2995-4
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000056847

670
ธรรมะ / ตอบ: นิทานเซน : กุศลผลบุญ
« เมื่อ: 02 ก.ค. 2554, 08:21:02 »
นิทานเซน : ปุ่มเร่งเวลา
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   22 มิถุนายน 2554 07:59 น.


ภาพประกอบจาก http://hi.baidu.com/             
《时间纽扣》

       
       ตามปรัชญาเซน มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับเวลาที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง กล่าวถึงชายหนุ่มคนหนึ่ง ผู้ที่มีนิสัยใจเร็วด่วนได้ ไม่ว่าจะกระทำสิ่งใดล้วนไม่สามารถสงบจิตสงบใจ เพราะต้องการเร่งรัดให้ทุกสิ่งเป็นไปดั่งใจตน ครั้งหนึ่ง เขานัดพบคนรักที่ใต้ต้นไม้ แต่ทว่ามาก่อนเวลานัดมากเกินไป ด้วยนิสัยใจร้อนไม่ชอบรอทำให้เดินวนไปวนมา กระสับกระส่ายอยู่ใต้ต้นไม้แห่งนั้น
       
       ยามนั้นเอง ปรากฏอาจารย์เซนซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเซียนวิเศษผู้หนึ่ง เดินมาหยุดอยู่ตรงหน้าชายหนุ่มผู้นั้น พร้อมทั้งยื่นวัตถุทรงกลมชิ้นหนึ่งให้ พลางกล่าวว่า "นี่เป็นของวิเศษ หากเจ้าไม่ชอบการรอคอย ก็จงหมุนปุ่มนี้ไปทางขวาหนึ่งรอบ เจ้าก็สามารถที่จะย่นระยะเวลาจากความเป็นจริงให้เร็วขึ้นไปตามที่เจ้าต้องการ"
       
       เมื่อชายหนุ่มได้ฟังดังนั้น ยังคงเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง แต่เมื่อเขาลองหมุนปุ่มไปตามคำบอก พลันคนรักของเขาก็ปรากฏกายขึ้น ทั้งยังส่งสายตาหวานซึ้งให้กับเขา ในใจชายหนุ่มบังเกิดความอยากครอบครองจึงคิดว่าหากเร่งเวลาไปจนทั้งสองแต่งงานกันได้คงดียิ่ง จากนั้นหมุนปุ่มไปอีกรอบหนึ่ง ก็พลันพบว่าตนเองกลายเป็นเจ้าบ่าวอยู่ในงานแต่งงานอันเลิศหรูอลังการ ส่วนคนรักของเขาอยู่ในชุดเจ้าสาวงดงามรายรอบไปด้วยแขกเหรื่อมากมาย จากนั้นชายหนุ่มจึงคิดอยากใช้เวลาอยู่กับเจ้าสาวของเขาในห้องหอตามลำพังจึงได้หมุนปุ่มวนไปด้านขวาอีกครั้ง
       
       หลังจากนั้น ชายหนุ่มก็ยังคงหมุนปุ่มวิเศษไปเรื่อยๆ ไปถึงตอนที่เขามีบุตรชาย กระทั่งมีหลานชาย ทั้งยังมิใช่เพียงคนเดียวแต่มีบุตรหลานเต็มบ้าน กระทั่งบุตรหลานสร้างเนื้อสร้างตัวกลายเป็นขุนนางใหญ่ไปปกครองทั่วทุกสารทิศ ผู้คนต่างพากันเคารพนับถือ...ถึงตอนนี้ ในใจชายหนุ่มเต็มไปด้วยความปีติยินดี
       
       จากนั้นเมื่อหมุนปุ่มอีกรอบ ชายหนุ่มกลับกลายเป็นเฒ่าชรา โรคร้ายรุมเร้านอนรอความตายอยู่บนเตียง บรรดาบุตรหลานอกตัญญูบางส่วนพากันมาขนทรัพย์สินภายในบ้านออกไปจนเกลี้ยง ทั้งยังใจดำอำมหิตนำเฒ่าชราไปทิ้งยังชายป่า ชายที่ตอนนี้ทั้งชราทั้งป่วยไข้อดอยากหิวโหย ค่อยๆ อ่อนแรงลง ลมหายใจขาดช่วง ก้าวเข้าสู่ความตายทีละน้อย...ถึงตอนนี้ ชายหนุ่มแตกตื่นตกใจจนขนหัวลุก หยาดเหงื่อไหลโทรมกาย
       
       "เป็นอย่างไรบ้าง?" เสียงอาจารย์เซนดังขึ้น "พ่อหนุ่ม ท่านยังอยากให้เวลาหมุนไปอย่างรวดเร็วอยู่หรือไม่?"
       
       "ข้าจวนจะจบชีวิตแล้ว ยังจะต้องการให้เวลาหมุนไปเร็วอันใดอีกเล่า" ชายหนุ่มตอบอย่างทอดอาลัย
       
       อาจารย์เซนจึงรับของวิเศษจากมือของชายหนุ่มกลับคืนมา พลันทุกสิ่งล้วนกลับคืนสู่สภาพเดิม พาชายหนุ่มย้อนกลับไปตอนที่เขายังคงยืนรอคนรักอยู่ที่ใต้ต้นไม้ ในยามนั้น ชายหนุ่มจึงค่อยสัมผัสถึงความอบอุ่นของแสงแดดที่สาดส่องลงมา สดับเสียงร้องอันไพเราะของนกน้อย มองเห็นผีเสื้อโผบินเหนือมวลดอกไม้
       
       เป็นครั้งแรกที่ชายหนุ่มรู้สึกว่า การรอคอยอะไรบางอย่างนั้น ถือเป็นความสุขที่หอมหวานประการหนึ่ง

       
       ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028-2995-4
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000075572

671
ธรรมะ / นิทานเซน : กุศลผลบุญ
« เมื่อ: 02 ก.ค. 2554, 08:19:01 »
นิทานเซน : กุศลผลบุญ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   29 มิถุนายน 2554 07:18 น.

   
ภาพประกอบจาก http://blog.bandao.cn/
       《银华两记》
       
       ครั้งที่อาจารย์เซนเฉิงจัว(Seisetsu Shucho) จาริกธรรมยังวัดหงฝ่า(弘法寺) มณฑลเจ้อเจียง จนได้รับความเคารพศรัทธายิ่งนัก ทุกครั้งที่มีการแสดงธรรมเทศนา ล้วนมีผู้คนมารอฟังอย่างเนืองแน่นจนกลายเป็นแออัด จึงมีผู้เสนอให้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อสร้างหอแสดงธรรมแห่งใหม่ให้ใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับผู้มีศรัทธาในพุทธศาสนานิกายเซนจำนวนมากให้ได้มาร่วมกันฟังธรรม
       
       เมื่อเห็นตรงกัน อุบาสกผู้หนึ่งจึงนำถุงบรรจุเงินห้าสิบตำลึงทองมาถวายให้อาจารย์เซนเฉิงจัว โดยระบุว่าขอร่วมบริจาคเงินสร้างหอแสดงธรรมแห่งใหม่ อาจารย์เซนเฉิงจัวจึงรับเงินมาเก็บไว้ จากนั้นลงมือทำกิจวัตรประจำวันต่อไปตามปกติ
       
       อุบาสกผู้บริจาคเงินก้อนใหญ่เห็นดังนั้นรู้สึกไม่สบอารมณ์อย่างยิ่ง เนื่องเพราะเขาเห็นว่าเงินห้าสิบตำลึงทองจัดว่ามากโข คนธรรมดาสามัญสามารถใช้เงินจำนวนนี้ดำรงชีวิตได้หลายปีทีเดียว ทว่าอาจารย์เซนกลับรับเงินไปด้วยท่าทางเฉยเมย ไม่มีการให้ศีลให้พร แม้แต่คำว่า "ขอบคุณ" สักคำยังไม่ยอมเอ่ย เมื่อคิดได้ดังนั้น อุบาสถผู้นี้จึงเดินไปเน้นย้ำต่ออาจารย์เซนว่า "ท่านอาจารย์ ข้านำเงินมามอบให้ถึงห้าสิบตำลึงทองเชียวนะ"
       
       อาจารย์เซนเฉิงจัวได้ยินดังนั้น ก็ตอบกลับด้วยอาการสงบว่า "อาตมาทราบดี เพราะท่านบอกอาตมาแล้ว" จากนั้นจึงเดินต่อไปโดยไม่เหลือบแลกลับมาอีก อุบาสกเห็นดังนั้นจึงขึ้นเสียงสูง ร้องว่า "นี่ท่าน! วันนี้ข้ามอบเงินทำบุญถึงห้าสิบตำลึงทอง ไม่ใช่เงินน้อยๆ หรือว่าแค่คำขอบคุณสักคำท่านก็กล่าวเพื่อตอบแทนข้าไม่ได้เชียวหรือ?"
       
       ยามนั้น อาจารย์เซนจึงได้หยุดและกล่าวว่า "ท่านทำบุญเพื่อเพิ่มพูนศีลธรรมบารมีให้ตัวท่านเอง แล้วเหตุใดอาตมาต้องขอบคุณท่านด้วยเล่า"
       
       การทำบุญย่อมได้บุญ จิตผ่องใสนั่นเป็นบุญ :015:
       
       ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028-2995-4

ที่มา
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000078832

672
ทำยากให้ง่าย(สา - ระ - ขัน)

สมปองเข้าไปหาจิตแพทย์ด้วยสีหน้าหม่นหมอง

“หมอครับ ช่วยผมด้วย ผมนอนไม่หลับมาเป็นปีแล้ว ทุกครั้งที่นอนบนเตียง ผมจะรู้สึกว่ามีใครซ่อนอยู่ใต้เตียง พอผมลงไปนอนใต้เตียง ก็มักตงิด ๆ ว่ามีคนอยู่บนเตียง ผมเป็นอะไรรู้ไหมหมอ หมอช่วยผมที”

“คุณไม่เป็นอะไรมากหรอก คุณคิดมากไปเอง มาหาหมอทุกอาทิตย์ แล้วหมอจะช่วยคุณ แต่ระหว่างที่คุณอยู่บ้าน ขอให้คุณพูดกับตัวเองก่อนนอนสัก ๑๐๐ ครั้งทุกคืนว่าห้องนี้มีฉันคนเดียว ไม่มีใครอยู่ใต้เตียงหรือบนเตียงทั้งสิ้น”

อาทิตย์แล้วอาทิตย์เล่าที่สมปองทำตามที่หมอว่า ทั้งพูดกับตัวเองคนเดียวและไปคลินิกฟังหมอบรรยายนานนับชั่วโมง หนึ่งเดือนผ่านไปพร้อมกับเงินอีกหลายพันบาทที่จ่ายเป็นค่ารักษา สมปองก็หายหน้าไปจากคลินิก แล้ววันหนึ่ง หมอก็เจอสมปองโดยบังเอิญที่ห้างสรรพสินค้า

“คุณหายไปไหน ไม่เห็นไปหาผมอีกเลย”

“ผมหายแล้วครับ”

“หายได้ยังไง หมอยังรักษาไม่ครบคอร์สเลย”

“ผมไปเจอหลวงพ่อที่อยุธยา ท่านแนะว่าให้ผมตัดขาเตียงออกซะ ก็เท่านั้นเอง”

     สมปองมีปัญหาทางจิตใจ เขาเป็นคนคิดมาก อาจเป็นเพราะมีปมบางอย่างในใจ จิตแพทย์พยายามอธิบายให้เขาเข้าใจ และพาเขาสำรวจปมดังกล่าว ทั้งให้ทำแบบฝึกหัดมากมาย แต่ไม่เป็นผล ผิดกับหลวงพ่อซึ่งเข้าใจนิสัยของคนอย่างสมปองดี แทนที่ท่าน จะใช้เหตุผลอธิบายให้เขาหายวิตกกังวล ท่านแนะวิธีแก้ที่ง่ายกว่านั้น เมื่อตัดขาเตียง ก็ไม่ต้องห่วงว่าจะมีคนอยู่ใต้เตียง เป็นอันว่าหมดปัญหา

การอธิบายด้วยเหตุผลนั้น ใช้ได้กับบางคน หรือใช้ได้ในบางสถานการณ์ คนที่กำลังทุกข์ร้อนอย่างหนัก เอาเหตุผลหรือแม้ แต่ธรรมะมาพูดกับเขา มักจะไม่ได้ผล เพราะสมองไม่รับ คำพูดจึงไม่เข้าหัว แต่พอหลวงพ่อรดน้ำมนต์ให้หรือให้สายสิญจน์ เขากลับสงบและเป็นผู้เป็นคนมากขึ้น วิธีนี้แม้ไม่ช่วยให้เขามีปัญญามากขึ้น แต่ก็ดึงสติของเขาให้กลับมาและตั้งหลักได้เร็ว คนที่มีการศึกษามักดูถูกหลวงพ่อหลวงปู่ที่ใช้วิธีแบบนี้ หาว่าเป็นไสยศาสตร์ ทำให้หลง งมงาย นั่นเป็นเพราะเขายังไม่เข้าใจจิตวิทยาของชาวบ้าน

เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ววิธีของหลวงพ่อเป็นการทำเรื่องยาก ให้เป็นเรื่องง่าย ตรงกันข้ามกับวิธีการของจิตแพทย์ ซึ่งยุ่งยากซับซ้อน นอกจากใช้เวลานานแล้ว ยังสิ้นเปลืองทั้งเงินและคำพูด คนที่มีความรู้มาก มีการศึกษามาก แม้จะมีข้อได้เปรียบหลายอย่าง แต่บางครั้งก็ทำให้เรื่องง่ายกลายเป็นเรื่องยาก

ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/read2387.html?No=396

673
คุณพระช่วย

หญิงชราคนหนึ่ง ปลูกบ้านอาศัยอยู่ใกล้ชายป่าแห่งหนึ่ง ลูกชายของนางได้พาลูกสะไภ้มาอาศัยอยู่ด้วย ส่วนสามีของนางเสียชีวิตไปนานแล้ว

นับตั้งแต่ลูกสะไภ้ของนางได้เข้ามาอยู่ในบ้าน ชีวิตของนางก็เปลี่ยนไป โดยลูกสะไภ้ใจร้ายพยายามกลั่นแกล้งนางทุกอย่าง หาว่านางไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ เพื่อให้สามีขับไล่นางออกไปจากบ้าน

ลูกชายหูเบาเชื่อภรรยาทุกอย่าง ทั้งสองคนจึงได้นำนางเข้าไปในป่าลึกแล้วจับนางมัดไว้กับต้นไม้ใหญ่ หวังให้เสือมาพบแล้วกินนาง

พอตกกลางคืน เสือใหญ่ตัหนึ่งออกมาจะเข้าตะปบขบกินนาง แต่รุกขเทวดาบนต้นไม้ที่นางถูกมัดอยู่ ร้องบอกว่า

"เฮ้ สหาย อย่าเพิ่งกิน อยากให้สหายพิสูจน์ก่อนว่านางเป็นคนชนิดไหน สมควรจะกินไหม"
"พิสูจน์ยังไง" เสือถาม
เสือเข้าไปใกล้นาง แล้วส่งเสียงขู่คำราม "โฮก!"
นางตกใจสุดขีด ร้องออกมาว่า
"คุณพระช่วย"
"นั่นล่ะ นางมีพระอยู่ในใจ แม้ยามตกใจกลัวสุดขีด จิตสำนึกของนางก็นึกถึงพระ นางเป็นคนดี สหายอย่ากินนาง"

รุกขเทวดาพูดกับเสือ โดยที่หญิงชราไม่ได้ยิน เสือก็เดินจากไป

คืนนั้นหญิงชราหลับไปด้วยความเหนื่อยอ่อน เมื่อตื่นขึ้นมาตอนรุ่งเช้า พบว่าเชือกที่มัดตัวนางหลุดออก และมีทองคำหม้อหนึ่งวางอยู่ที่เท้า นางนำทองกลับไปซื้อบ้านอยู่อาศัยเองหลังหนึ่งอย่างสุขสบาย

ลูกสะไภ้ทราบว่านางยังไม่ตายและร่ำรวยมีเงินซื้อบ้าน จึงให้สามีมาสอบถามเรื่องราว ซึ่งนางก็เล่าให้ลูกชายฟัง ไม่ปิดบัง ด้วยความโลภของลูกสะไภ้อยากได้ทองบ้าง จีงบอกให้สามีมัดตนไว้กับต้นไม้ใหญ่ในป่า เช่นเดียวกับที่ทำกับแม่ของสามี

พอตกกลางคืนมีเสือออกมาจะกินลูกสะไภ้ เหตุการณ์ก็เป็นไปเหมือนที่เกิดขึ้นกับหญิงชรา พอเสือเข้าใกล้ขู่คำราม "โฮก!" ลูกสะไภ้ของนางก็ร้องออกมาว่า
"คุณพระช่วย หม้อทองของฉันอยู่ที่ไหน ฉันต้องการหม้อทอง"
"ผู้หญิงคนนี้ ร้องให้คุณพระช่วย แต่ไม่มีพระอยู่ในใจ จิตใจของนางมีแต่ความโลภและความเจ้าเล่ห์ เจ้ากินนางได้เลย " นางก็ถูกเสือกิน


มีคนจำนวนไม่น้อยที่ขอให้คุณพระช่วย หรือต้องการให้คุณพระช่วยเช่นเดียวกับลูกสะไภ้ของหญิงชราในเรื่องนี้ บางคนลงทุนมากถึงขนาดเอาเงินหมื่นเงินแสนเงินล้านเพื่อให้ได้พระเครื่องหรือพระพุทธรูปเก่าๆ มาคล้องคอ หรือมาเก็บไว้ที่บ้าน เรียกกันว่าเช่าพระ ความจริงก็คือซื้อขายกัน

นักเลงพระเครื่องหรือพระพุทธรูปต่างๆ มักอ้างว่า เพื่อเอาไว้เป็นที่พึ่งทางใจบ้าง เพื่อบูชาคุณของพระบ้าง เพื่อให้ได้มาซึ่งคุณพระบ้าง โดยเฉพาะที่สำคัญ คือ เพื่อให้คุณพระคุ้มครองให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ จากการเดินทาง ปลอดภัยจากศาสตราวุธต่างๆ ทำนองรถคว่ำก็ไม่ตาย เครื่องบินตกก็ไม่ตาย ใครจะยิงฟันแทงก็ไม่เป็นอะไร คุณพระจะช่วยคุ้มครองให้แคล้วคลาดปลอดภัย

หากคุณพระช่วยคุ้มครองได้ในลักษณะนี้จริงคนที่มีโอกาสได้คุณพระไปช่วยคุ้มครองมากที่สุด คือเศรษฐี มีเงินทั้งหลาย เพราะมีกำลังเงินทองมากมายที่จะหามาครอบครองเป็นเจ้าของได้มากกว่าคนอื่น

แต่ในความเป็นจริง นักเลงพระเครื่องชื่อดัง คนมีพระเครื่องชื่อดัง หรือเศรษฐีทั้งหลาย ก็ติดคุกบ้าง ถูกฆ่าตายบ้าง ประสบอุบัติเหตุบ้าง

ท่านอาจารย์พุทธทาส บอกว่า
"การที่จะให้คุณพระช่วยนั้นไม่ต้องลงทุนอะไร คนโง่เท่านั้นที่ลงทุนมากมาย เพื่อจะให้ได้มาซึ่งคุณพระ"

คุณพระที่แท้จริงนั้นเป็นของได้ฟรีได้เปล่าๆ ไม่ต้องเสียสตางค์เลย
เพียงแต่ให้รู้จักปฏิบัติทางกาย วาใจ ใจ ให้ถูกต้องตามคำสอนของศาสนาเท่านั้น

ที่มา....นิทานธรรมยุคไอที โดย..สุชา ธรรมชาติ

ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/read28b2.html?No=397

674
ธรรมะจากหมา


อันที่จริง ธรรมะนั้นมีอยู่ในทุกหนทุกแห่ง
ทุกสิ่งทุกอย่างเราสามารถหยิบมาเป็นข้อธรรมให้ขบคิดได้เสมอ
ถ้าเรารู้จักฉุกคิด รู้จักสะกิดใจตัวเองให้ตื่นตัวอยู่เสมอ
ดูอย่างกิริยาอาการของหมา สมเด็จโตฯ ท่านยังเอามาเป็นคำสอนได้
มีเรื่องเล่าว่า

มีพระสองรูปทะเลาะกัน แล้วเกิดความไม่สบายใจมาก
พระรูปหนึ่งได้ไปหาสมเด็จฯ ด้วยหวังจะได้รับคำสอนที่นำความสบายอกสบายใจมาให้

พระรูปนั้นได้กราบเรียนต่อสมเด็จฯ

“หมู่นี้เกล้ากระผมไม่ใคร่จะสบายใจเลย ทำอย่างไรจึงจะได้สบายใจบ้าง?”

สมเด็จฯ ท่านบอกว่า “อยากจะสบายก็ให้ทำอย่างหมาซิ
ธรรมดาหมาเมื่อกัดกันขึ้นแล้ว ถ้าหมาตัวหนึ่งทำแพ้แล้วนอนหงายเสีย
เจ้าตัวชนะก็ขึ้นคร่อมอยู่ข้างบนแล้วคำรามทำอำนาจ
เจ้าตัวข้างล่างนั้น บางทีมันก็แหนบกัด(น่าจะ....แอบกัด)เอาได้บ้างเสียอีก ไปทำอย่างนั้นซิจ้ะ”


นี่เป็นธรรมะง่ายๆ ที่เราน่าจะนำมาปฏิบัติกันในชีวิตประจำวัน คือ รู้จักแพ้เสียบ้าง

ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/readea6c.html?No=404

675
หลวงพ่อพรัดไม่พรือ

หลวงพ่อพรัดเป็นคนปักษ์ใต้โดยกำเนิด มีนิสัยรักความสงบมาตั้งแต่เด็ก ไม่มีนิสัยเกเร ทะเลาะเบาะแว้งเป็นปากเป็นเสียงกับใคร
โดยเฉพาะการชกต่อย ข่มเหง รังแกกับผู้อ่อนแอกว่า ยิ่งไม่มีเลย

ท่านเข้ามาบวชเมื่ออยู่ในวัยกลางคน หลังจากที่ลูกชาย 1 คน ลูกสาว 1 คนของท่านแต่งงานมีครอบครัวไปแล้ว
ส่วนภรรยาของท่านเสียชีวิตไปก่อน ขณะที่บุตรทั้งสองยังอยู่ในวัยเรียน

เมื่อมาบวชเป็นพระ ชาวบ้านเรียกท่านตามภาษาปักษ์ใต้ว่า พ่อหลวงพรัด ก็คือ หลวงพ่อพรัด ในภาษาไทยกลางนั่นเอง
คนพื้นบ้านปักษ์ใต้เรียกพระที่เป็นหลวงพี่ว่า พี่หลวง เรียกหลวงตาว่า ตาหลวง เรียกหลวงพ่อว่า พ่อหลวง บางทีหลวงพี่สึกออกมาแล้ว น้องๆยังเรียกว่า พี่หลวง

เมื่อย่างเข้าวัยชรามีพรรษามาก ประกอบกับความมีนิสัยรักสงบของท่าน เวลาชาวบ้านมีปัญหาขัดแย้งขัดใจกัน ท่านจะเป็นผู้ประสานไกล่เกลี่ย คลี่คลายให้เรียบร้อย เกือบทุกราย ท่านมักจะใช้คำพูดว่า “ไม่พรือ โยม ไม่พรือ ไม่พรือ”
คำว่า ไม่พรือ ในภาษาใต้ คือ ไม่เป็นไร ชาวบ้านจึงชอบเรียกท่านว่า พ่อหลวงพรัดไม่พรือ หรือเรียกสั้นๆว่า หลวงพรัดไม่พรือ


ครั้งหนึ่งอุบาสกท่านหนึ่งเจ็บใจที่ข้าวในนา ซึ่งเก็บเกี่ยวผูกมัดเป็น “เลียง” ไว้กลางนา ถูกขโมยไปจำนวนมาก
จึงมากราบระบายกับหลวงพ่อว่า
“เราทำกันเหนื่อยเกือบตาย มันขนไปสบายๆ”

หลวงพ่อบอกว่า
“มันก็ไม่สบายเท่าไหร่หรอก มันขนไปมันก็หนักเหมือนกัน ไม่พรือโยม มันขโมยไปได้แต่ข้าว ที่นาเรายังอยู่”

โยมอีกคนมาบอกว่า
“จอบเพิ่งซื้อมาใหม่ๆ ใช้ได้ไม่กี่วันก็หายแล้ว”

หลวงตาว่า
“ไม่พรือโยม จอบไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่เปลี่ยนมือผู้ใช้เท่านั้น”

อีกครั้งหนึ่ง มีคนมาบอกหลวงตาว่า
“ไปซื้อของในตลาด ถูกล้วงกระเป๋า เงินหายหมดเลย”

หลวงตาบอกว่า
“ไม่พรือโยม เงินไม่ได้หายไปหมด มันหายเฉพาะเงินในกระเป๋าเท่านั้น เงินที่บ้านที่ธนาคารยังอยู่ และที่จริงเงินไม่ได้หาย แต่เงินมันเปลี่ยนเจ้าของ”

นกมาจิกกินกล้วยต่อหน้าเณร เณรใช้ไม้ขว้างไล่นก พร้อมกับออกเสียงไล่
“ไป! ไปให้พ้นไอ้นกพวกนี้ กล้วยเขาเก็บไว้ถวายพระ ไม่ใช่พวกเอ็ง”

หลวงตาได้ยินบอกเณรว่า
“ไม่พรือเณร แบ่งให้มันกินบ้าง นกมันปลูกกล้วยไม่เป็น มันไม่มีเงินซื้อกล้วย ไม่มีใครถวายกล้วยให้มันด้วย”

มีคนมาบอกหลวงตาว่า
“มีคนนินทาพ่อหลวง”

หลวงตาบอกว่า
“ไม่พรือ เขาพูดถึงเรา เขาพูดเรื่องเรา แสดงว่าเราก็เป็นคนสำคัญ”

โยมมาฟ้องว่า
“พระอยู่กันยังไง เณรชกต่อยกันในวัด”

หลวงตาบอกว่า
“ไม่พรือ ชกต่อยกันในวัดดีกว่าชกต่อยกันนอกวัด จะได้ไม่น่าเกลียด”

หลวงตาเห็นแม่ชีจับแมวขังไว้ จึงถามแม่ชีว่า
“จับแมวขังไว้ทำไม แม่ชี?”

แม่ชีบอกว่า
“มันขโมยกินอาหารในครัววัด”

หลวงตาบอกว่า
“ปล่อยมันไปเถอะ แมวมันไม่รู้กฎหมาย ไม่รู้ศีล ๕”

โยมได้ข่าวหลวงตาอาพาธ จึงมาเยี่ยมและปรารภว่า
“เมื่อวานยังดูแข็งแรงอยู่เลย วันนี้ไม่น่าป่วย”

หลวงตาบอกว่า
“ไม่พรือโยม ไม่ป่วยวันนี้ วันหน้าก็ต้องป่วย”

เพียงแค่เปลี่ยนวิธีคิด ชีวิตเราก็เปลี่ยนได้

ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/readc770.html?No=408

676
พระเตะตะกร้อ

วันหนึ่งสมเด็จโตฯ เดินผ่านหลังโบสถ์ เห็นพระกำลังเตะตะกร้อกันอย่างสนุกสนาน

นายทศซึ่งเดินไปกับท่านด้วย รู้สึกแปลกใจที่ท่านไม่ว่าอะไร ทั้งๆ ที่การเตะตะกร้อมันผิดพระวินัย
จึงถามท่านไปว่า “ทำไมไม่ห้ามพระเตะตะกร้อ?”

“ถึงเวลาเขาก็เลิกเอง ถ้าไม่ถึงเวลาเขาเลิก เราไปห้ามเขา เขาก็ไม่เลิก” ท่านตอบนายทศอย่างนั้น
จะเลิกไม่เลิกมันอยู่ที่ใจของเขา

ต่อมาพระกลุ่มนั้นได้ใจ คิดว่าสมเด็จฯ ไม่ว่าอะไร จึงเล่นเตะตะกร้อกันอีก
แต่คราวนี้ สมเด็จฯ ท่านไม่ปล่อย เหมือนคราวก่อน
ท่านให้เด็กไปเรียกพระเหล่านั้นมา แล้วให้เด็กยกน้ำร้อนน้ำชาและน้ำตาลทรายมาถวาย

สักครู่สมเด็จฯ ได้ถามขึ้นว่า
“นี่คุณ! ตะกร้อนี่หัดกันนานไหม?”

พวกพระต่างมองตากัน รู้สึกอาการชักจะไม่ค่อยดี ไม่รู้ว่าสมเด็จฯ จะเล่นไม้ไหน ได้แต่นั่งทำตาปริบๆ

“ลูกไหนเตะยากกว่ากัน ลูกข้างลูกหลังน่ะ?” สมเด็จฯหยอดเข้าไปอีก

พระเหล่านั้นไม่พูดอะไร หน้าถอดสี รู้สึกละอายจนอยากจะแทรกแผ่นดินหนีเสียให้ได้

โดยปกติ สมเด็จฯ ท่านไม่ค่อยได้ว่ากล่าวอยู่แล้ว ท่านไม่เคยปากเปียกปากแฉะอย่างพระเจ้าอาวาสทั่วๆไป
นานๆ ครั้งจะว่ากล่าวกันที ยิ่งท่านไม่ค่อยได้ว่ากล่าวตักเตือน ยิ่งทำให้ละอายอย่างมาก

ปรากฏว่า ต่อมาพระวัดระฆังเลิกเตะตะกร้อกันอย่างเด็ดขาด

ที่มา...หนังสือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พฺรหฺมรํสี (ประวัติที่น่าสนใจของหลวงพ่อโต แห่งวัดระฆัง ผู้มีชื่อเสียง และมีเมตตาธรรมอันสูงยิ่ง)

ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/readf3b7.html?No=405

677
พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรือง จึงกล่าวกับพระอาจารย์สุกฯ ว่า
             "ดีนัก ดีนักแล และพระอริยเถราจารย์ ได้กล่าวอีกว่า ตามตำนาน เมืองเหนือ กล่าวถึงอุปเท่ห์ พระคาถาไก่เถื่อน ไว้ว่าพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ผู้ใดภาวนาได้สามเดือน ทุกๆวันอย่าให้ขาด ผู้นั้นจะมีปัญญา ดังพระพุทธโฆษาฯ"
            และไก่ป่านี้ ขันขานเพราะนัก ด้วยอำนาจแห่งพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ให้สวดสามจบ จะไปเทศ ไปสวด ไปร้อง หรือเจรจา สิ่งใดๆดีนัก มีตะบะเคชะนัก

            ถ้าแม้สวดได้เจ็ดเดือน อาจสามารถรู้ใจคน เหมือนไก่ป่า รู้กลิ่นตัวคนฉะนั้น
            ถ้าสวดครบหนึ่งปี มีตะบะเดชะยิ่งกว่าคนทั้งหลาย
            แม้จะเดินทางไกล ให้สวดแปดจบ เหมือนไก่ขันยาม เป็นสวัสดีกว่าคนทั้งหลาย
             ให้เสกหิน เสกแร่ ไว้สี่มุมเรือน โจรผู้ร้ายไม่เข้าปล้น เหมือนไก่ป่าไม่ทิ้งรัง แม้ผีร้ายเข้ามาในเขตบ้าน ก็คร้ามกลัวยิ่งนัก
            เสกข้าวสารปรายหนทางก็ดี ประตูก็ดี ผีกลัวยิ่งนักคนเดินไปถูกเข้าก็ล้มแล แพ้แก่อำนาจเรา

             พระคาถานี้แต่ก่อน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กะฐานธรรม แต่ภายหลัง ถึงยุคพระอาจารย์สุก พระคาถานี้จึงเรียกขานใหม่ว่า พระคาถาไก่เถื่อนบ้าง พระคาถาพระยาไก่เถื่อนบ้าง

ภาพจาก http://www.siamphotography.com/_album/photo.php?pid=3164

               พระคาถาบทนี้ทางภาคเหนือเรียกว่า พระคาถาไก่แก้ว กุกลูกพระอาจารย์สุก พระองค์ท่านทรงออกรุกข์มูลไปได้ ประมาณปีเศษก็เข้าสู่เขตป่าใหญ่ แขวงเมืองเชียงใหม่ ท่านใช้เวลาอยู่ที่ป่า แขวงเมืองเชียงใหม่ ป่าแขวงเชียงราย ป่าแขวงเชียงแสน เกือบปี พระองค์ท่านทรงพบพระมหาเถรวุฒาจารย์ ผู้ทรงอภิญญามากมาย ทั้งที่เชี่ยวชาญในด้านกสิณดิน กสิณไฟ กสิณลม กสิณน้ำ และเชี่ยวชาญทางวิปัสสนาธุระ

                ต่อมาพระอาจารย์สุกฯ มาถึงวัดท่าหอยแล้ว พระองค์ท่าน ก็ทรงแปลง พระคาถาพระยาไก่เถื่อน เป็นรูปยันต์ เรียกว่าพระยันต์ มหาปราสาท ไก่เถื่อน ตามนิมิตสมาธิเวลาลงพระคาถาพระยา ไก่เถื่อน ลงเป็นยันต์มหาประสาท ให้ลงด้วยเงินก็ดีทองก็ดี ผ้าก็ดี กระดาษก็ดี

              ลงแล้วเสกด้วย พระคาถาพระยาไก่เถื่อน ๓ จบ ไปเทศนาดีนัก เป็นเมตตาแก่คนทั้งหลาย เกิดความศรัทธาในตัวเรา (ไก่ร้อง เสียงฟังได้ไกล)เอายันต์นี้ ไปกับตัวค้าขายดีนัก เกิดลาภสักการะ มากกว่าคนทั้งหลาย เหมือนไก่ป่า ขยันหากินให้เขียนยันต์ปราสาทไก่เถื่อน ไว้กับเรือน เวลาเขียน ให้แต่งเครื่องบูชาครูสิ่งละ ๑๖ คือ ข้าวตอก ๑๖ ถ้วยตะไล ดอกไม้ ๑๖ ถ้วยตะไล เทียน ๑๖ แท่ง ธูป ๑๖ ดอกข้าวเปลือก ๑๖ ถ้วยตะไล สิ่งของเหล่านี้วางบนผ้าขาว ให้เสกด้วยพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ๑๐๘ จบ ๑๐๘ คาบ ให้อธิษฐานเอาตามแต่ปรารถนา กันโจรภัยอันตรายทั้งหลายมีชัยแก่ศัตรู ลงเป็นธงปักในนา กันแมลง มาเบียดเบียน เสกน้ำมันงาใส่แผล แลกระดูกหัก เสกข้าวปลูกงอกงามดี เสกน้ำมนต์พรมของกัมนัลพระยารักเราแล เสกเมตตาก็ได้ ถ้าต้องคุณโพยภัยใดๆ ให้เสกส้มป่อยสระหัวหายแล ใช้สารพัดตามแต่จะอธิษฐานเถิดฯ

              พระคาถา และยันต์ไก่เถื่อน นี้มีผู้คนเคารพเชื่อถือมาก และจะว่านำพระคาถาอื่นๆก่อนเสมอ โด่งดังมาจนถึงปัจจุบันนี้

            พระคาถานี้ ได้เมื่อ พระกกุสันโธ เป็นไก่ป่า เป็นอาการสามสิบสอง ของพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ ประองค์ คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระศรีอริยเมตไตยพระคาถาพระยาไก่เถื่อนนี้ ได้ในสมัยพระพุทธเจ้า พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระศรีอริยเมตไตย ยังเป็นพระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็น พญาไก่เถื่อน แม้พระอาจารย์สุก พระองค์ท่าน ก็เคยเกิดเป็น ไก่เถื่อน บำเพ็ญบารมีมา แต่การสร้างบารมีนั้น ต่างๆกัน

             และพระคาถาพระยาไก่เถื่อนนั้น ยังเป็นอาการสามสิบสอง ของพระอาจารย์สุกด้วย และเป็นตะปะเดชะ ของพระอาจารย์สุก ในเมตตาบารมีนี้ด้วยพระคาถาบทนี้ ถ้าจำเริญภาวนา จะมีอานุภาพมาก ผู้ใดภาวนาเป็นนิจสิน จะเกิดลาภ ยศ มิรู้ขาด ทำมาค้าขึ้น ทำนา ทำสวน ทำไร่ เจริญงอกงามดี ทั้งทำให้บังเกิดสติปัญญาด้วย ถ้าเดินทางไป ทางบก หรือเข้าป่า สวดภาวนาคลาดแคล้ว จากภัยอันตรายดีนักแล บั้นปลายก็จะ บรรลุพระนิพพาน ด้วยเมตตาบารมีนี้

คัดความจาก
           หนังสือ พระวัติสมเด็จพระสังราชสุก ไก่เกื่อน ยุคกรุงศรีอยุธยา บรมครูฝ่ายวิปัสสนาธุระ ประจำยุครัตนโกสินทร์ และพระธรรมทายาท คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (วัดพลับ) ศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

ที่มา
http://www.gotoknow.org/blog/rujroadk/29568

678
พระธรรมพระคาถาพระยาไก่เถื่อน (สมเด้จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน)

เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว

ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา

สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา

กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ


                  พระธรรมพระคาถาพระยาไก่เถื่อน เป็น พระคาถานำ พระคาถาทั้งปวง ใช้ในทางสำเร็จประโยชน์ ผู้ใช้พระคาถานี้ ต้องมีสมาธิจิตเป็นเอกัคตาจิตขั้นสูง ถึงเมตตาเจโตวิมุตติ จึงจะใช้พระคาถานี้ได้ เพราะเป็นพระคาถามหาเมตตา ปลดปล่อยสัตว์ และปลดปล่อยจิต ตัวเอง

                 พระธรรมพระคาถาพระยาไก่เถื่อน เกี่ยวเนื่องกับ ไก่ป่ามากมาย และทรงกล่าวกับ พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรือง ว่าไก่ป่านี้ปราดเปรียว คอยหนีคน หนีภัยอย่างเดียว

                เหมือนกับ จิต ของคน ไก่ป่าเชื่องคนยาก เหมือนจิตของคนเรา ก็เชื่องต่ออารมณ์ยากมาก

                เหมือนกัน ไก่ป่าแม้เสกข้าวด้วยเมตตาให้กิน แรกๆมันก็จะไม่กล้า เข้ามาหาคน นานๆเข้า จึงจะกล้าเข้าหาคนเหมือนจิตคนเรา ก็ชอบท่องเที่ยว ไปไกลตามธรรมารมณ์ต่างๆ ฝึกตั้งจิตเป็นสมาธิแรกๆนั้น จิตมักจะอยู่ พักเดียว ก็เตลิดไป

               ต่อนานๆไป เมื่อจิตชินต่ออารมณ์ดีแล้ว จึงจะเชื่อง และตั้งมั่นเป็นสมาธิ

               พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรือง ถามพระอาจารย์สุก อีกว่า

 "พระคาถาไก่เถื่อน ๔วรรค แต่ละวรรค กลับไป กลับมา เป็นอนุโลม ปฏิโลม หมายถึงอะไร"

              พระอาจารย์สุกตอบว่า

            "แต่ละวรรค หมายถึงโลกธรรมแปด

             วรรค ๑ หมายถึง มีลาภ เสื่อมลาภ

             วรรค ๒หมายถึงมียศ เสื่อมยศ

             วรรค๓หมายถึง มีสรรเสริญ ก็มีนินทา

             วรรค๔ หมายถึง มีสุข ก็มีทุกข์ ทุกอย่างย่อมแปรปรวน มีดี และมีชั่ว ไม่แน่นอน ไม่ควรยึดติด มีหยาบ มีละเอียด"

              ต่อมาพระอาจารย์สุก ทรงยกองค์คุณแห่ง ไก่ปา ในมิลินท์ปัญหา มาให้พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรืองฟังว่า ผู้ที่จะได้บรรลุมรรด ผล นิพพานต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอันเปรียบเทียบได้กับ องค์คุณแห่ง ไก่ หรือไก่ป่า มี ๕ ประการ ดังนี้คือ

๑.เมื่อเวลายังมืดอยู่ ก็ไม่บินลง หากิน

๒. พอสว่าง ก็บินลง หากิน

๓.จะกินอาหาร ก็ใช้เท้าเขี่ยเสียก่อน แล้วจึงจิกกิน

๔.กลางวันมีตาใสสว่างเห็นอะไรได้ถนัดแต่เวลากลางคืนตาฟางคล้ายคนตาบอด

๕. เมื่อถูกเขาขว้างปา หรือถูกตะเพิดไม่ให้เข้ารัง ก็ไม่ทิ้งรังของตน

             นี้เป็นองค์คุณ ๕ ประการของไก่ผู้มุ่งมรรค ผล ต้องประกอบให้ได้ กับคุณสมบัติ อันเปรียบเทียบได้กับองค์คุณเหล่านี้คือ

๑. เวลาเช้าปัดกวาดที่อยู่ และจัดตั้งเครื่องใช้สอย ไว้ให้เรียบร้อย อาบน้ำชำระกายให้สะอาด บูชากราบไหว้ ปูชณียวัตถุ และวัฒบุคคล

๒.ครั้นสว่างแล้ว จึงกระทำการหาเลี้ยงชีพ ตามหน้าที่แห่งเพศของตน

๓. พิจารณาก่อนแล้ว จึงบริโภคอาหาร ดังพุทธภาษิตว่า ผู้บริโภคอาหารพึงพิจารณา เห็นเหมือนคนบริโภคเนื้อบุตร ของตนในทางกันดาร แล้วไม่มัวเมา มุ่งแต่จะทรงชีวิตไว้ เพื่อทำประโยชน์สุข แก่ตน และผู้อื่น

๔. ตาไม่บอด ก็พึงทำเหมือนคนตาบอด คือไม่ยินดี ยินร้าย ดุจภาษิต ที่พระมหากัจจายนะ กล่าวไว้ว่า มีตาดี ก็พึง ทำเป็นเหมือนคนตาบอด มีหูได้ยิน ก็พึงเป็นเหมือนหูหนวก มีลิ้นเจรจาได้ ก็พึงเป็นเหมือนคนใบ้ มีกำลังก็พึง เป็นเหมือนคนอ่อนเพลีย เรื่องร้ายเกิดขึ้น ก็พึงนอนนิ่งเสีย เหมือนคนนอนเฉยอยู่ฉะนั้น

๕. จะทำ จะพูด ไม่พึงละสติ สัมปชัญญะ ประหนึ่งไก่ป่า ไม่ทิ้งรังฉะนั้น ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้จะบรรลุ มรรด ผล นิพพาน


ที่มา
http://www.gotoknow.org/blog/rujroadk/29568

679
เรื่องเก่าที่เกี่ยวข้อง
   
พลังลึก คาถา อาคม 2 โดย คุณ Chaiwat Prasurin

http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=7794.msg68373

680
พระคาถาพญาไก่เถื่อน(ตำรับสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถือน)

พระคาถาพระยาไก่เถื่อน


เริ่มต้นภาวนาให้ว่า นะโม ๓ จบ แล้วว่า

พุทธัง ชีวิตตัง ยาวะนิพพานัง สะระณังคัจฉามิฯ

(แล้วสวดบทพระพุทธคุณ ๑ จบ)
อิติปิโสภะคะวา อะระหังสัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ

แล้วจึงว่าตัวพระคาถา ๓ จบ, ๗ จบ, ๙ จบ ก็ได้ ดังนี้


เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว

ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา

สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา

กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ


ที่มา
http://www.buddhakhun.org/main/index.php?topic=3189.0

681
   
พระคาถาพญาไก่เถื่อน(ตำรับสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถือน)

พระคาถาพระยาไก่เถื่อน


เป็นคาถานำพระคาถาทั้งปวง ใช้ในทางสำเร็จประโยชน์ แต่ผู้ใช้พระคาถานี้ต้องเป็นผู้มีสมาธิจิตเป็นเอกัคตาจิตขั้นสูง ถึงเมตตาเจโตวิมุตติ จึงจะใช้พระคาถานี้ได้ เพราะเป็นคาถามหาเมตตา เพื่อปลดปล่อยสัตว์และปลดปล่อยจิตของตัวเอง

พระคาถาพระยาไก่เถื่อนนี้ ผู้ใดภาวนาได้สามเดือนทุกๆ วันโดยไม่ขาด ผู้นั้นจะมีปัญญาดั่งพระพุทธโฆษาฯ และไก่ป่านี้ขันขานไพเราะนัก ด้วยอำนาจแห่งพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ให้สวดสามจบ จะไปเทศน์ ไปสวด ไปร้อง หรือไปเจรจาสิ่งใดๆ ดีนัก มีตบะเดชะนัก ถ้าแม้นสวดได้เจ็ดเดือน อาจสามารถรู้ใจคน เหมือนดังไก่ป่ารู้กลิ่นตัวคนฉะนั้น ถ้าสวดครบหนึ่งปีจะมีตบะเดชะเหนือกว่าคนทั้งหลายทั้งปวง

แม้จะเดินทางไกล ให้สวดแปดจบเหมือนไก่ขันยาม เป็นสวัสดีกว่าคนทั้งหลาย ใช้เสกหิน เสกแร่ ไว้สี่มุมเรือน โจรผู้ร้ายไม่เข้าปล้นเหมือนไก่ป่าไม่ทิ้งรัง แม้ผีร้ายเข้ามาในเขตบ้าน ก็คร้ามกลัวยิ่งนัก เสกข้าวสารปรายหนทางก็ดี ประตูก็ดี ผีกลัวยิ่งนัก คนเดินไปถูกเข้าก็ล้มแล แพ้แก่อำนาจเรา

พระคาถานี้ได้เมื่อพระกกุสันโธเสวยพระชาติเป็นไก่ป่า เป็นอาการสามสิบสองของพระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระศรีอริยเมตไตย พระคาถาบทนี้ ถ้าจำเริญภาวนา จะมีอานุภาพมาก ผู้ใดภาวนาเป็นนิจสิน จะเกิดลาภยศมิรู้ขาด ทำมาค้าขึ้น ทำนา ทำสวน ทำไร่ เจริญงอกงามดี ทั้งทำให้บังเกิดสติปัญญาด้วย ถ้าเดินทางไปทางบกหรือเข้าป่า สวดภาวนาให้คลาดแคล้วจากภัยอันตรายดีนักแล ในบั้นปลายก็จะบรรลุพระนิพพานด้วยเมตตาบารมีนี้เอง


ที่มา
http://www.buddhakhun.org/main/index.php?topic=3189.0

682
คาถาอาคม / ตอบ: คาถาจินดามณี (3)
« เมื่อ: 02 ก.ค. 2554, 10:59:15 »
 คาถามหาจินดามณีมนต์ พระคาถานี้ใช้ได้ 108 ประการ ของ หลวงพ่อปลอด วัดในปากทะเล วิเศษนักแล เป็นรองหาได้ยาก ถ้าผู้ใดพบจงเอาไปใช้เถิด สุดแท้แต่เราจะปราถนา สิ่งอันใดทำเอาได้ทุกประการ
(พระคาถานี้ ถ้าท่านใดที่เก่งบาลี ตรวจสอบแล้วมีคำไหนผิดอักขระ ความหมาย ชอบแนะนำด้วยนะครับ)

ตั้ง นะโม 3 จบ

ฉะมัญญา สะพุทธคุณนัง คุณพระพุทธเจ้า 56
ธัมมะคุณนัง อัฏฐะติงสะติ คุณพระธรรมเจ้า 38
สังฆะคุณโน จาตุธะโสเจวะ คุณพระสงฆเจ้า 14
ตรีนิคุณา มะทาคุณนัง คุณแก้วสามประการ
นัตธิปะมาโสนา หาที่เสมอมิได้
สิเนรุจะ ปิตาคุณนัง คุณพระบิดาหนักกว่าเขาพระสุเมรุ
เมหะปิตะลัง มาตาคุณนัง คุณพระมารดาหนักกว่าแม่พระธรณี
สัตถาคุณนัง สมุทฐามิ คุณครูอุปัชฌาย์อาจารย์หนักกว่าท้องพระมหาสมุทร
หิมะวันตัง ญาติคุณนัง คุณพระญาติทั้งหลายหนักกว่าป่าหิมพานต์
จักกะวาสัง ราชาคุณนัง คุณพระมหากษัตริย์หนักกว่าอนันตจักรวาล
อัฎฐะระคุณนัง สมุทฐามิ คุณท่านทั้งหลายแปดประการ
โลกะเชษโฐ ในโลกนี้
อะหังวันทามิ สัพพะทา ขอเดชเดชะกุศลของข้าพเจ้า
ที่ข้าพเจ้าได้ระลึกถึงคุณของท่านทั้งหลายแปดประการ
ขอคุณท่านทั้งหลายแปดประการนี้ จงมาช่วยอุปถัมภ์ค้ำชูข้าพเจ้า
เมื่อข้าพเจ้าทำการสิ่งใดก็ขอให้การสิ่งนั้นจงสำเร็จ สมความมุ่งมาดปรารถนา
ทุกสิ่งทุกประการด้วยเถิดพระเจ้าข้าฯ


พุทธังเมตตา ธัมมังเมตตา สังฆังเมตตา
นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู
พระบิดาค้ำชู พระมารดาป้องกัน
พระอุปัชฌายะ พระกรรมวาจาจารย์ พระอนุสาวนาจารย์ จงมาเป็นกำแพงเพชรเจ็ดชั้น
กางกั้นโพยภัยอุปัทวะศัตรูทั้งหลายอย่าได้เข้ามากล้ำกราย
สัพพะรัตติง หิวัง การิยะเมตตัง กรุณาไมตรีอินทะโมกขัง
พิสสะวา มะนามัง ปิยังมะมะ
พุทธังเมตตา ธัมมังเมตตา สังฆังเมตตา
พุทธังกรุณา ธัมมังกรุณา สังฆังกรุณา
พุทธังละลวย ธัมมังละลวย สังฆังละลวย
สังฆังละลวย มะละลวย อะละลวย อุละลวย
อุละลวย อะละลวย มะละลวย
นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู
พระบิดาอุปถัมภ์ พระมารดาค้ำชู ประสิทธิแก่กู สวาโหม ฯ
สิทธิราชา มหามันตัง จินดาทิโส ภูมิยาโรรัง ทาตัสมิ๊ง
ทิกะทะจักขุ อะทิสะเร จันทะเก เอวะสะมุขขี
วัตถุติยา มะนีมิหัง มันทะนะ ปัสสะทัง
มาตาปุตตังวะโอระสัง มาตาโหนติ มะนุสสะเทวานัง
อะมะนุสสะเทวานัง สะมะยะจิตตัง อะสะมะยะจิตตัง
เอหิ เอหิ อาคัจฉันติ
จินดามะณี ปิยันมันจะทะนัง ยะสะ ทาสาทาสีโกมัง ปัสสันติสิเนหัง
มาตาปุตตังวะโอระสัง นะเวเทวะ นะชาลีติ
สิทธิลาภาสะทาโหนติ มาตาปุตตังวะโอระสัง
พุทธังเมตตา ธัมมังเมตตา สังฆังเมตตา
เทวาเมตตา อินทราเมตตา พรหมมาเมตตา
มะเมตตา อะเมตตา อุเมตตา
อุเมตตา อะเมตตา มะเมตตา
สะมะณะราชา อิตถีโยเสนาชะนา สัพพะสะเนจะปูชิโต
สัพพะโกธาวินาสสันติ มะณีจินดาปิยะปุตตัง อะหังสุตตะวา
เอกังอันยะมันยัง อิตถีมะมังทิสสะวา ปิยังทัตตะวา สะมาตะโตโม

คาถาคุณพ่อทอง วัดเขากระจิว
พุทธังพ่อรักลูก อันตรายอย่าให้ถูก สุขิโตโหหิ
ธัมมังแม่รักลูก อันตราอย่าให้ถูก สุขิโตโหหิ
สังฆังพี่รักน้อง อันตรายอย่าให้ต้อง สุขิโตโหหิ

ที่มา
http://www.pantown.com/board.php?id=27967&area=4&name=board2&topic=2&action=view

683
คาถาอาคม / ตอบ: คาถาจินดามณี (3)
« เมื่อ: 02 ก.ค. 2554, 09:46:49 »
คาถามหาจินดามณีมนต์ ของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์


"สิทธิวิชา มหามันตัง จิณตามณี ทิวากะรัง ภูมิยาโจระปาตัสสะมัง ทิพพะจักขุง ฐาวะทิสสะเร จันทาเทวี อะสะมุขขี ทุติยา ปะทะลักขะณา มณีจินตา ปัญจะ ทานังยะสังทาสีทาสัง มาตาปุตตัง วะโอระสัง
จิณตามณี สะหัสสะโกติ เทวานัง มนุสสะภาวัง สะมะณะจิตตัง ปุริสะจิตตัง อาคัจฉาหิ ปะริเทวันติ ปิยังมะมะ สัพเพชะนา พะหูชะนา มหามณีจินตา เอหิ พุทธัง ปิโยเทวะมนุสสานัง มหามณีจินตา เอหิ ธัมมัง ปิโย พรหมมานะมุตตะโม มหามณีจินตา เอหิ สังฆัง ปิโย นาคะสุปันนานัง ปินิน ทะริยัง นะมามิหัง พุทโธ โส ภะคะวา ธัมโมโส ภะคะวา สังโฆ โส ภะคะวา อินทะเสน่หา พรหมมะเสน่หา อิสะระเสน่หา อิตถี เสน่หา ราชาเทวี มนตรีรักขัง จิตตังมรณัง จิตตัง มะมะ "
 

พระคาถามหามนต์จินดานี้ ใช้ได้สารพัด ถ้าจะเรียกเนื้อ เรียกปลา ให้เอาศิลารองเท้าเสียก่อน ถ้าจะให้เป็นเมตตาให้เสกเครื่องหอมทาตัว เสกเครื่องนุ่งห่มแต่งตัว ถ้าจะทำน้ำมนต์รดทางเมตตาก็ได้ ใช้ได้ทั้งชาย และหญิง ถ้าท่องบ่นเอาไว้เป็นมหามงคลแก่ตัวเอง ฯ


ที่มา
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=12254.msg113690

684
คาถาอาคม / ตอบ: คาถาจินดามณี (3)
« เมื่อ: 02 ก.ค. 2554, 09:44:02 »
อ้างถึง
คาถาจินดามณี เป็น คาถาที่นางยักษ์ตนหนึ่งมอบให้สามีที่เป็นมนุษย์ ที่นางลักพาตัวมาอยู่ด้วยนานหลายปี แต่ด้วยวิสัยที่ยากจะอยู่ร่วมกันได้ ระหว่างยักษ์ กับ มนุษย์ สามีของนางยักษ์จึงได้พยายามหลบหนี ถึง 3 ครั้ง แต่นางยักษ์ก็สามารถตามตัวกลับมาได้ทุกครั้ง


จนมาถึงการหนีครั้งที่ 4 ครั้งสุดท้าย เมื่อตามไปเจอสามีอีก นางก็คิดได้ว่ายังไงคงไม่สามารถรั้งสามีสุดที่รักให้อยู่ร่วมกันได้ ก็เลยจำใจต้องปล่อยให้สามีกลับไปใช้ชีวิตในเมืองมนุษย์ตามที่ต้องการ แต่ด้วยความรัก และห่วงใยในสามี เกรงว่าเมื่อกลับไปแล้ว อาจจะประสบปัญหาต่างๆ นานา ยากที่จะดำเนินชีวิตให้สุขสบายเหมือนตอนอยู่กับนาง

นางจึงบอกคาถาจินดามณี ให้กับสามีพร้อมกับสั่งว่า ยามที่ชีวิตประสบปัญหา เดือดร้อน ให้ท่องคาถาจินดามณี ซึ่งเปรียบเสมือนแก้วสารพัดนึก ที่ให้ไป แล้วชีวิตจะผ่านอุปสรรค และประสบความสำเร็จ ทุกประการ

ผมเองไม่รู้ว่า คาถาจินดามณี ของนางยักษ์ที่ให้กับสามีเป็นอย่างไร แต่สำหรับผม ใช้คาถาจินดามณี ของหลวงพ่อกวย ดังนี้

นะสิวัง พรหมา มะอะอุ ( ภาวนาที่ใด จะเจริญด้วยโภคทรัพย์ )

เก็บความมาจากหนังสือพระเล่มหนึ่ง ได้กล่าวถึงที่มาของคาถาจินดามณี ที่ผมเองสงสัยมานาน จะค้นหาจากไหนก็ไม่ได้ ประจวบเหมาะที่ได้อ่านจากหนังเล่มดังกล่าว แต่ก็เสียดายที่จำชื่อหนังสือ – วันเวลา ที่ออกจำหน่ายไม่ได้ ต้องอภัยอย่างยิ่ง..

บทคาถาจินดามณี  บทเต็มครับ

( บูชาครู )   ตะมังถัง ปะกาเสนโต  สัทธาอะหะ  อิ มะ อะ วิ ตะ อุ อะ มิ มะ สะ นะ โม

จินดามณี  สะหะโกฏิ  สัตตังเทวานัง  มะนุสสะเทวานัง อะมะนุสสะเทวานัง
สะมณีจิตตัง  บุตรีจิตตัง  อาคัจเฉยหิ  ปะริเทวันติ  ปิยังมะมะ  มณีจินดา
ปัญจะทานัง  ทาสาโกมัง  ทาสีโกมัง  ปิลันทัสสะ นะมามิหัง

สัพเพชะนา  พะหูชะนา  มหาจินดา  เอหิพุทธัง
ปิยินซียัง  เทวะมานุสสานัง  ปิโยนาคะ สุปันนานัง
ปิยินซียัง  นะมามิหัง

พุทโธโส ภะคะวา  ธัมโมโส ภะคะวา สังโฆโส ภะคะวา
อินทะสะเหน่หา   พรหมมะสะเหน่หา  อิตถีสะเหน่หา
ราชาเทวี  มณีรักขัง  ปิยังมะมะ  พุทธะสังมิ  นะชาลีติ
พระอะระหัง  สัพพะลาภัง  ประสิทธิเม

บทย่อว่า  "  นะ สิ วัง พรหมมา มะ อะ อุ "


อ้างถึง
พระคาถาจินดามณีของหลวงปู่ศุข เกสโร วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท

    จินดามณี  สหโกฏิ  สัตตังเทวานัง  มนุสสะเทวานัง อะมนุสสะเทวานัง
สะมณีจิตตัง  บุตรีจิตตัง  อาคัจเฉยหิ  ปะริเทวันติ  ปิยังมะมะ  มณีจินดา
ปัญจะทานัง  ทาสาโกมัง  ทาสีโกมัง  ปิลันทัสสะ นะมามิหัง

สัพเพชะนา  พะหูชะนา  มหาจินดา  เอหิพุทธัง
ปิยินทรียัง  เทวะมนุสสานัง  ปิโยนาคะ สุปันนานัง
ปิยินทรียัง  นะมามิหัง

พุทโธโส ภะคะวา  ธัมโมโส ภะคะวา สังโฆโส ภะคะวา
อินทัสสะเหน่หา   พรหมมะสะเหน่หา  อิตถีสะเหน่หา
ราชาเทวี  มณีรักขัง  ปิยังมะมะ  พุทธะสังมิ  นะชาลีติ
พระอะระหัง  สัพพะลาภัง  ประสิทธิเม
 สวดทุกค่ำเช้าจะอยู่เย็นเป็นสุขมีกินมีใช้ตลอดไม่อดอยาก เป็นเมตตามหานิยมแก่คนสัตว์และเทวดา
[/color]

ที่มา
http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=1422.0

685
คาถาอาคม / คาถาจินดามณี (3)
« เมื่อ: 02 ก.ค. 2554, 09:39:27 »
กระทู้แรก เรื่อง    ผงยาวาสนาจินดามณี
โดยคุณ โยคี http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,1190.0.html
มีสูตรการสร้างยาจินดามณี

อ้างถึง
พระคาถาเสกยาจินดามณี

"จินดามณี ปิยังมันตัง ยะสังธาสังโกนัง อุปะสันติ สิเนหัง มาตาปิตาวะ โอระหัง ปะโพตันจะ
มหาราชา ตะวังมังโปสัตถุ โนทีปัง กาเรเทโว สุโป เสทิ กิญจิ เทโว เย สักโก ปัชชัง ทัสมิง กินเนวา
ทัตตาปิยัง กันตัง สาริปุตโต ภวันตุ เม สิทธิลาภัง ชนานะเย มณีจินดา ปิยัง จะ ธะนังสัพเพชะนา
พหูชะนา ปิยังมะมะ"

มนต์จินดาบทนี้มีคุณเป็นเอนกประการ ขอให้ผู้มีเม็ดยาหรือพระยาจินดามณี หมั่นท่องบนภาวนาเป็นประจำ
จะช่วยเสริมอิทธิฤทธิ์และบุญฤทธิ์ของยาให้บังเกิดสรรพคุณเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ แต่หากท่านยังไม่มีเม็ดยา
หรือพระยาจินดามณี ถ้าจะจดจำเอาไว้สวดภาวนาอยู่เป็นนิจก็ไม่ถือว่าเป็นความผิด พุทธคุณนั้นมากหลาย
=====================================
กระทู้ที่สอง เหมือนกระทู้แรก
มีสูตรสร้างยาและคาถา
   
หัวข้อ..ใ ค ร มี ค า ถ า จิ น ด า ม ณี บ้ า ง ค่ ะ ?? โดยคุณหมอนอิง
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=1675.msg9599
==================================
ส่วนกระทู้นี้เน้นเรื่องคาถาและเรื่องประกอบ
เห็นว่ามีหลายคาถา หลายมนต์ แตงต่างกันไป แต่เข้าใจว่ามีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกันมาก

686
ตัดสินใจออกไปปฏิบัติธรรม

หลวงพ่อเล่าว่า เมื่อหลวงพ่ออายุได้ 40 กว่าปี ท่านเลิกทำการค้าขายโดยเด็ดขาด ไม่มีงานการอะไรต้องทำ ท่านจึงเฝ้าแต่ครุ่นคิดไม่หยุดหย่อนว่า คนเราเกิดมาแล้วก็ตาย ไม่เห็นมีอะไรไปด้วย คนรวยก็ตาย คนจนก็ตาย ไม่เห็นมีอะไร มีแต่บาปกับบุญ ในที่สุดท่านจึงตัดสินใจออกปฏิบัติธรรม เพื่อหาทางพ้นทุกข์ให้ได้

ท่านได้บอกความตั้งใจของท่านกับภรรยา ภรรยาของท่านจึงได้จัดเสื้อผ้าใส่กระเป๋าให้ท่าน ท่านไม่ได้บอกภรรยาของท่านว่าจะไปอยู่ที่ใด และจะไปนานเท่าไร เพียงแต่บอกว่า หากท่านไม่ตายเสียก่อนก็จะกลับมาอีก

เมื่อหลวงพ่อไปถึงตำบลพันพร้าว อำเภอท่าบ่อ ซึ่งเป็นอำเภอศรีเชียงใหม่ในปัจจุบัน ท่านจึงได้ทราบว่า เพื่อนของท่านคือมหาศรีจันทร์ ที่ท่านตั้งใจจะมาศึกษาธรรมะด้วยนั้น ไปจำพรรษาอยู่ที่หลวงพระบาง มีแต่หลวงพ่อวันทอง ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นปลัดอำเภอ ปลดเกษียณแล้วจึงมาบวชเป็นพระ มีพระสงฆ์อีกรูปหนึ่งชื่ออาจารย์ปาน เป็นผู้สอบอารมณ์ปฏิบัติให้หลวงพ่อ อาจารย์ปานผู้นี้ท่านเป็นชาวลาว อยู่ที่สุวรรณเขต ได้ไปเรียนวิธีติงนิ่ง* และวิธีพองยุบมาจากพม่า

(ติงนิ่ง : การเจริญสติโดยวิธีการเคลื่อนไหว ประกอบคำบริกรรม ติง-นิ่ง เมื่อเคลื่อนมือให้บริกรรม “ติง” เมื่อหยุดให้บริกรรม “นิ่ง” และให้รู้ว่าเคลื่อนไหว หรือ นิ่ง ซึ่งแตกต่างจากวิธีที่หลวงพ่อทำ คือ เมื่อเคลื่อนมืออยู่หรือหยุดอยู่ก็ให้รู้สึกเท่านั้น ไม่มีการแยกแยะว่าเคลื่อนไหวอยู่หรือหยุดอยู่ หรือ ฯลฯ)

เมื่อหลวงพ่อมาถึง หลวงพ่อได้จ้างคนญวนซึ่งมาจากเวียงจันทน์ให้ปลูกกุฏิให้ โดยรื้อยุ้งข้าวมาปลูก ให้ทำกุฏิทำส้วมให้เรียบร้อย

หลวงพ่อเล่าว่า ท่านเป็นคนพยศ เสื้อผ้าที่จะนุ่งจะใส่ต้องรีดให้เรียบ ถ้าไม่รีด ท่านก็ไม่อยากนุ่งอยากใส่ ท่านจึงได้ว่าจ้างคนให้มาช่วยซักรีดเสื้อผ้า ทำอาหาร ส่งปิ่นโต โดยหลวงพ่อจ่ายเงินให้เดือนละ 300 บาท

แต่ในที่สุดทางสำนักที่หลวงพ่อไปปฏิบัติไม่ยินยอม ด้วยเหตุผลว่า การว่าจ้างคนมาทำงานให้ระหว่างปฏิบัติเช่นนี้ ทำให้คนอื่นอาจคิดไปว่า ถ้าใครไม่มีเงินก็ไม่สามารถมาปฏิบัติได้ จึงเสนอให้หลวงพ่อมอบเงินให้กับส่วนกลางเพื่อใช้เป็นค่าอาหารสำหรับพระเณรและญาติโยมที่มาปฏิบัติธรรมด้วย

หลวงพ่อท่านก็ยอมตามนั้น แต่ท่านขอให้มีคนซักรีดเสื้อผ้า และขอให้ส่งโอวัลตินกับขนมให้ทุกเช้า ทางสำนักก็ยินยอมตามความประสงค์ของท่าน

ผู้ที่ร่วมปฏิบัติธรรม

ในคราวที่หลวงพ่อไปปฏิบัติธรรมนั้น มีผู้ร่วมปฏิบัติ 30 กว่าคน เป็นพระ 23 รูป โยม 5 คน เป็นผู้ชาย 2 คน ผู้หญิง 3 คน ผู้หญิงคนหนึ่งอายุ 19 ปี อีก 2 คนอายุ 20 ปี

พระสงฆ์ที่มาปฏิบัติในครั้งนี้ล้วนบวชมาแล้วหลายพรรษา อย่างน้อยที่สุด 2 พรรษา บางรูปบวชมาแล้ว 5 พรรษา บางรูป 8 พรรษา บางรูป 12 พรรษา 15 พรรษาก็มี

หลวงพ่อเล่าว่ามีพระรูปหนึ่ง เป็นพระครูมาจากอำเภอท่าบ่อ ตีตะปูอยู่เรื่อย กุฏิที่เขาสร้างไปแล้ว ท่านก็ไปรื้อไปซ่อมตีตะปูดังโป๊ก ๆ หลวงพ่อท่านก็ได้แต่คิดว่า เมื่อไรจึงจะแล้วเสร็จสักที

โยมที่มาปฏิบัติธรรมอีกคนหนึ่งคือ นายฮ้อย * พ่อมุก ซึ่งมีความคุ้นเคยกับหลวงพ่อและเป็นผู้ให้ความรู้กับหลวงพ่อในเรื่องการทำมาหากิน จนถึงขนาดที่ท่านพูดว่า ทำให้ท่านสามารถทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวได้

(นายฮ้อย หรือ นายร้อย ในภาษาถิ่นอีสานใช้เรียกผู้ที่เป็นพ่อค้า)

หลวงพ่อเล่าว่า นายฮ้อยพ่อมุกชอบมาชวนท่านคุยในขณะที่ปฏิบัติ ภายหลังเมื่อท่านเห็นนายฮ้อยพ่อมุกเดินมาหา ท่านก็รีบเอาผ้าโพกศีรษะแล้วไปเดินจงกรมกลางแดด บริเวณนั้นเป็นท้องนาไม่มีร่มไม้ หลวงพ่อได้จ้างคนญวนยกท้องร่องให้ และทำถนนกลางท้องนา

หลวงพ่อทำเช่นนี้หลายครั้ง นายฮ้อยพ่อมุกจึงคิดว่าหลวงพ่อเกลียด แต่ความจริงแล้วหลวงพ่อไม่ได้รู้สึกเช่นนั้น ท่านเห็นว่า เมื่อมาปฏิบัติธรรมแล้วก็ควรจะปฏิบัติอย่างจริงจัง ไม่ควรเสียเวลาไปกับการคุยเล่น หรือทำสิ่งอื่นซึ่งไม่เกิดประโยชน์กับการปฏิบัติ

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-thien/lp-thien-hist-index.htm
http://www.fungdham.com/monk-history/history-tien.html

มีต่อ 2 ช่วงยาวๆ

687
อาชีพ

หลังจากลาสิกขาบทแล้วหลวงพ่อได้ยึดอาชีพทำนา ทำสวน และค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งหลวงพ่อได้เริ่มทำมาตั้งแต่สึกจากสามเณรแล้ว ต่อมาหลวงพ่อจึงมีเรือกระแชง 7 ลำ ค้าขายขึ้นล่องระหว่างหนองคายและเชียงคาน การค้าขายได้ผลดีขึ้นเรื่อย ๆ หลวงพ่อเล่าว่าบิดาของท่านชำนาญในการเดินเรือค้าขาย แต่ก็ได้เสียชีวิตลงตั้งแต่ท่านยังเป็นเด็ก

ภายหลังมีการตั้งกรมเกษตรขึ้น และมีการสั่งห้ามขนย้ายสินค้าเกษตรกรรมบางชนิด หลวงพ่อจึงได้ไปค้าขายอยู่ที่เมืองลาว แต่ครอบครัวของท่านยังคงอยู่ในเมืองไทย ท่านได้ทำการค้าฝ้ายมีกำไรงดงาม ได้ขายเรือกระแชงและซื้อเรือกลไฟ ทำการค้าขึ้นล่องตามลำแม่น้ำโขง หลวงพ่อเล่าว่า แม้ท่านจะประสบความสำเร็จในการค้าขายเป็นอย่างดี แต่ท่านก็ไม่มีความสุข แม้เวลาจะนอนก็มีแต่ทุกข์ คิดถึงแต่เรื่องเงินทอง และสินค้าที่จะซื้อจะขาย

เหตุที่ท่านออกแสวงหาสัจธรรม

หลวงพ่อเล่าว่าก่อนที่ท่านจะออกมาปฏิบัติธรรมจนได้รู้ธรรมะตามวิธีของท่านนั้น ท่านได้ทำกรรมฐานมาพอสมควร แต่กรรมฐานก็ไม่อาจช่วยให้หลวงพ่อหมดทุกข์ได้

ได้กราบเรียนถามหลวงพ่อว่า ก่อนที่หลวงพ่อจะออกมาปฏิบัติธรรมนั้นท่านมีความทุกข์อย่างไร

หลวงพ่อเล่าว่า ครั้งหนึ่งคนที่เมืองลาวมาขอให้ท่านนำกฐินไปทอดที่เมืองลาว ในครั้งนั้นมีการทำกฐินถึง 5 กอง เนื่องจากมีหลายบ้านขอร่วมไปทอดด้วย และในการทำกองกฐินจะต้องมีมหรสพ เช่น หมอลำ ภาพยนตร์ให้คนชม หลวงพ่อได้ตกลงกับภรรยาไว้แล้วว่า การใช้จ่ายต่าง ๆ และการจัดหาอาหารให้แขก ยกให้เป็นหน้าที่ของภรรยาท่าน ตัวท่านเองจะรับอุโบสถศีลและรับแขกทางไกล

ครั้นเวลาเช้า ภรรยาของท่านมาถามท่านว่า จะต้องจ่ายเงินค่าหมอลำเท่าไร ท่านรู้สึกโกรธมาก ท่านเล่าว่า “ มันหนักจนลุกแทบจะไม่ได้ มันตำเข้าในใจ” แต่ท่านข่มอารมณ์ไว้ มิได้แสดงให้ภรรยาของท่านทราบ กลับตอบด้วยใบหน้ายิ้มแย้มว่า เป็นหน้าที่ของภรรยาท่าน แต่ความโกรธนั้นยังอยู่ในใจของท่าน

หลังจากนำกฐินไปถวายที่ฝั่งลาว และกลับมารับประทานข้าวมื้อเย็นพร้อมกับภรรยาและบุตรทั้งสอง ท่านได้กล่าวเปรยถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในตอนเช้าว่า “คนไม่รู้จักเคารพนับถือก็อย่างนี้แหละ”

ท่านกล่าวซ้ำหลายครั้งจนภรรยาของท่านรู้สึกสะดุดใจ เมื่อภรรยาของท่านพาบุตรทั้งสองไปนอนแล้ว จึงมาถามว่า ท่านโกรธที่ถามเรื่องค่าหมอลำใช่หรือไม่ เมื่อท่านตอบว่าใช่ ภรรยาของท่านจึงพูดว่า สามีภรรยาถามกันเรื่องการจับจ่ายใช้สอยถือว่าผิดด้วยหรือ

หลวงพ่อเล่าว่า ท่านเห็นด้วยกับคำพูดของภรรยา ท่านรู้ว่าท่านผิด มีมานะทิฐิอยากจะเอาชนะ

ภรรยาของท่านพูดว่า “เจ้าไม่พอใจละสิ โอ ! ข้อยบ่รู้จักเจ้าไม่พอใจ ก็นั่งหน้าตาดีอยู่นี่นะ โอ ! เจ้าตกนรกแล้ว”

หลวงพ่อท่านเห็นจริงตามคำพูดของภรรยาท่าน คำพูดนี้กระทบใจท่านมาก จนท่านถือว่าภริยาของท่านเป็นครูท่าน มีบุญคุณต่อท่านที่สุด

แต่ก่อนท่านไม่เข้าใจว่า ความโกรธนี้เป็นความทุกข์ หนักเหมือนตกนรก ภรรยาของท่านเองก็ไม่เข้าใจแต่พูดไปตามอารมณ์ “เจ้าตกนรกแล้ว แม้ทำกองกฐินก็บ่ได้บุญดอกเจ้า”

หลวงพ่อท่านเล่าว่าท่านเองก็เข้าใจว่า ท่านคงจะไม่ได้บุญเพราะท่านหนักใจอยู่ทั้งวัน เมื่อภรรยาท่านพูดว่าท่านเช่นนี้ ทำให้ท่านสบายใจขึ้น ออกจากความคิดแบบนั้นได้ แต่ยังไม่รู้จักวิธีที่จะออกจากความคิด ท่านคิดในใจว่า หากท่านยังเอาชนะความทุกข์แบบนี้ไม่ได้ ก็จะไม่เลิกละในการปฏิบัติธรรม

หลวงพ่อคิดถึงเรื่องนี้อยู่เป็นเวลาหลายปี ท่านพยายามทำการซื้อขายให้น้อยลง ในที่สุดท่านตัดสินใจว่าจะไม่ทำมาหากินอีกต่อไป ท่านจึงได้สะสางบัญชีและเงินที่ตกค้างอยู่กับผู้ที่ค้าขายอยู่กับท่านให้เป็นที่เรียบร้อย

หลวงพ่อเล่าว่าเมื่อท่านจะทำอะไร ท่านต้องคิดเตรียมไว้นาน ๆ ไม่ใช่ปุบปับทำ กว่าท่านจะจัดการเรื่องเงินทองต่าง ๆ เรียบร้อยก็เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี

ในคราวที่หลวงพ่อกลับจากปากลายหรือล้านช้าง ซึ่งเป็นระยะที่หลวงพ่อจะเลิกทำการค้าขายแล้วนั้น หลวงพ่อได้มาพบเพื่อนคนหนึ่งซึ่งบวชเป็นพระอยู่ ชื่อพระมหาศรีจันทร์ ได้เปรียญ 5 ประโยค อายุอ่อนกว่าหลวงพ่อราว 2-3 ปี พระมหาศรีจันทร์ได้เคยเดินทางขึ้นล่องระหว่างเชียงคานและหนองคาย กับเรือกลไฟของหลวงพ่อ และได้ธุดงค์ไปตามถ้ำ ตามป่าช้า ท่านอยู่ที่ตำบลพันพร้าว ซึ่งเป็นอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคายในปัจจุบัน หลวงพ่อได้เคยอุปัฏฐาก ถวายจังหันถวายเพลแก่ท่าน เมื่อท่านเดินทางขึ้นล่องไปกับเรือกลไฟของหลวงพ่อ

เมื่อได้พบกันที่หนองคายครั้งหลังนี้ หลวงพ่อได้คุยกับพระมหาศรีจันทร์เรื่องการทำกรรมฐาน ตั้งแต่ 6 โมงเย็นถึง 6 โมงเช้า หลวงพ่อได้ถามปัญหาพระมหาศรีจันทร์หลายเรื่อง ในที่สุดพระมหาศรีจันทร์ท่านก็บอกหลวงพ่อว่า เรื่องวิปัสสนากรรมฐานนั้น หากจะถามไปเท่าไรก็ไม่มีวันจบสิ้น ผู้ใดอยากรู้ต้องลงมือปฏิบัติเอง

หลวงพ่อท่านได้ครุ่นคิดเรื่องการปฏิบัติที่พระมหาศรีจันทร์กล่าวกับท่านอยู่เป็นเวลากว่า 3 ปี เวลานั้นท่านยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติ ยังคงแสวงหาอาจารย์ต่อไป


ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-thien/lp-thien-hist-index.htm
http://www.fungdham.com/monk-history/history-tien.html

688
อุปสมบทครั้งแรก


หลวงพ่อเมื่อครั้งเป็นฆราวาส

    เมื่ออายุครบบวช หลวงพ่อก็ได้มาบวชอยู่กับหลวงน้าอีกครั้งหนึ่ง โดยมีพระครูวิชิตธรรมาจารย์ เจ้าคณะอำเภอเชียงคานเป็นอุปัชฌาย์ ท่านได้ฝึกวิชาต่าง ๆ กับหลวงน้าต่อไปเช่นเดิม คือฝึกกรรมฐานและเรียนเวทมนต์คาถาต่าง ๆ ท่านเล่าว่าไม่มีวิชาอะไรเพิ่มขึ้น แต่ทำที่สอนไว้ให้เจริญขึ้น นอกจากนั้นก็มีการเดินธุดงค์ ซึ่งเป็นการทำตามประเพณี ยังไม่เข้าใจว่าธุดงค์หมายถึงอะไร การธุดงค์ที่หลวงพ่อทำในขณะนั้นคือ ไปอยู่ตามป่าช้า ตามสวน ใกล้ ๆ บ้านคน หรือตามกระต๊อบปลายนาไม่ห่างจากบ้านคนมากนัก เพื่อให้ออกบิณฑบาตได้โดยไม่ลำบากจนเกินไป

ครองเรือน


นางหอมโยมผู้หญิงของท่าน

หลวงพ่อบวชเป็นพระอยู่ได้ 6 เดือน จึงลาสิกขาบท มารดาของท่านได้จัดการให้ท่านมีครอบครัวเมื่ออายุราว 21 หรือ 22 ปี ภรรยาของท่านชื่อหอม เป็นญาติกับท่าน มารดาของภรรยาท่านเป็นน้องของบิดาของท่าน ซึ่งท่านเรียกว่าแม่อา ทั้งท่านและภรรยาต่างก็เป็นกำพร้าบิดามาตั้งแต่เด็ก

ท่านอยู่กับภรรยามานานยังไม่มีบุตร จึงได้นำบุตรของพี่สาวภรรยาท่านซึ่งแยกทางกับพี่เขยมาเลี้ยง ต่อมาท่านจึงมีบุตรชาย 3 คน ชื่อ เนียม เทียน และเหียม เมื่อมีบุตรคนแรกชื่อเนียม ใคร ๆ จึงเรียกท่านว่า พ่อเนียม ตามประเพณีนิยมของคนในท้องถิ่นนั้นที่เรียกร้องกันตามชื่อลูกคนหัวปี ต่อมาบุตรคนแรกของหลวงพ่อ ที่ชื่อเนียม ถึงแก่กรรม เมื่ออายุได้เพียง 5 ปี ท่านจึงได้รับการเรียกขานตามชื่อลูกคนที่สองตราบเท่าทุกวันนี้ บุตรคนที่สองของท่านถึงแก่กรรมลงก่อนที่ท่านจะมรณภาพราว 2 ปีเศษ

เวทย์มนต์คาถา


หลวงพ่อกับนายเหียม บุตรคนสุดท้อง

หลวงพ่อเล่าว่า ช่วงระยะที่หลวงพ่อครองเพศฆราวาสอยู่นั้น ท่านได้ใช้เวทย์มนต์คาถาที่ร่ำเรียนมาจากหลวงน้าอยู่เนือง ๆ สมัยนั้นยังเชื่อเรื่องผีสางกันอยู่มาก บางครั้ง เพื่อนบ้านก็มาขอให้ท่านไปเป็นหมอมนต์ ไล่ผีให้คนเจ็บไข้ได้ป่วย สำหรับในครอบครัว ท่านก็เป็นผู้คุ้มครองคนในบ้าน และญาติพี่น้อง ที่เข้ามาให้คุ้มครอง ซึ่งเรียกว่ามาเข้าของรักษา

หลวงพ่อเล่าว่าในขณะนั้นท่านก็ยังพอใจคาถาอาคม เวทย์มนต์ต่าง ๆ อยู่ อยากมีฤทธิ์เดช อิทธิปาฏิหาริย์ หายตัว ดำดิน มุดน้ำ เหาะได้เหมือนนก ทั้งนี้เนื่องจากท่านได้รับอิทธิพลจากนิทานใบลานหลายเรื่อง อาทิ การะเกด สินชัย สุริวงศ์ แตงอ่อน ลิ้นทอง เป็นต้น

ท่านได้พยายามแสวงหาวิชาอาคมเรื่อยมา เมื่อเรียนกับหลวงน้าจนหมดสิ้นแล้ว ท่านก็แสวงหาครูบาอาจารย์อื่น ๆ ต่อไป หลังจากหลวงน้ามรณภาพแล้ว ท่านได้ข่าวว่ามีอาจารย์ที่เก่งกว่าหลวงน้าอยู่ที่เมืองลาวชื่อยาคูบุญมาดอนพุง ยาคูท่านนี้เลี้ยงนกยูงไว้ ท่านทำปลอกใส่ขานกยูงแล้วปล่อยไป ฝรั่งเอาปืนมายิงก็ยังยิงไม่ออก หลวงพ่อจึงไปอยู่กับยาคูบุญมาพรรษาหนึ่ง

หลวงพ่อเล่าว่าท่านได้ความรู้หรือจะเรียกว่าความโง่จากยาคูบุญมาหลายเรื่อง อันได้แก่ เวทย์มนต์คาถาอยู่ยงคงกะพันต่าง ๆ ที่หลวงพ่อจำได้คือ “โอม ธุลี ๆ นอกมีแผ่นทองกั้นพร้า หน้าผากกูแกร่งปานหิน ตีนกูแกร่งปานเหล็ก ขนแข้งกูเท่าหนามคา ขนขากูเท่าขนเม่น กูจักเต้นไปร้อยโยชน์พันวา พญามนต์ทั้งหลายจงมาบัง มากั้นตนกู”

เมื่อหลวงพ่อไปปฏิบัติธรรมะจนรู้ธรรมะแล้ว หลวงพ่อจึงเข้าใจว่าคอหลวงพ่อไม่มีแผ่นเหล็กแผ่นทอง หน้าผากหลวงพ่อชนโน่นชนนี้ก็ต้องแตก เท้าหลวงพ่อก็ไม่ได้แข็งเหมือนเหล็ก ถ้าเดินไปตามถนนหนทาง เหยียบขวดเหยียบแก้ว ก็ต้องบาด เหยียบหนามก็ต้องตำ ท่านว่า คนโง่สอนคนฉลาดไม่ได้ คนฉลาดสอนคนฉลาดหรือสอนคนโง่ ให้ฉลาดได้

อุปนิสัยในเรื่องการทำบุญู


บ้านเดิมของหลวงพ่อที่ตำบลบุฮม

หลวงพ่อได้เล่าให้ฟังว่าหลวงพ่อเป็นนักแสวงบุญตั้งแต่อายุยังน้อย และได้เป็นผู้นำชาวบ้านทำบุญเสมอมา ในขณะนั้นท่านเป็นผู้ใหญ่บ้านมีคนเคารพนับถืออยู่มาก ท่านเองอายุอยู่ในราว 27-28 ปี ท่านได้ชักชวนญาติพี่น้องเพื่อนบ้านในการทำบุญ แม้แต่ผู้ที่ได้ทำกรรมหนักถึงขั้นอนันตริยกรรม ท่านก็ได้หาโอกาสให้ได้ร่วมทำบุญด้วย

ท่านเล่าว่าการทำบุญที่บ้านของท่านมีหลายวิธี เช่นมีการแจกข้าวตอนพระจำพรรษา ถึงวันพระชาวบ้านจะนิมนต์พระไปแสดงธรรมที่บ้าน ชาวบ้านจะมาร่วมกันทำบุญที่บ้านนั้น มีการตัดใบตองห่อข้าวต้มมัดทำขนมมาแจกกันกิน คนหนุ่มคนสาวมีหน้าที่ทำขนมจีนแจกกันไปกินที่บ้าน มีการจีบหมากจีบพลู มวนบุหรี่ถวายพระ ซึ่งหลวงพ่อได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ท่านทำไปเพราะท่านยังไม่รู้ หลังจากปฏิบัติธรรมแล้วท่านจึงเข้าใจว่าการถวายหมากพลูบุหรี่แก่พระ ไม่ใช่เรื่องทำบุญ เป็นเรื่องพอกพูนความชั่วให้พระมีความผิด เรียกว่าเอากิเลสไปให้พระ เราอยากละกิเลส แต่เราไม่รู้จักกิเลส เรานึกว่าทำดี การทำดีนี้ หลวงพ่อพูดว่าคนอื่นว่าดีแต่เราเห็นว่ามันไม่ดี ไม่ต้องทำ คนอื่นว่าผิด แต่เราเห็นว่าดี เราต้องทำหลวงพ่อจึงเลิกถวายหมากพลูบุหรี่พระสงฆ์ พร้อมทั้งห้ามคนในครอบครัวของท่านถวายสิ่งของดังกล่าวแก่พระสงฆ์ด้วย สำหรับครอบครัวคนอื่นนั้นหลวงพ่อไม่ได้ห้าม และท่านมิได้สนใจว่าคนอื่นจะเห็นชอบหรือติฉินแต่อย่างใด

ในช่วงระยะเข้าพรรษาคนเฒ่าคนแก่ต้องไปจำศีลที่วัดในวันพระคนหนุ่มคนสาวบางคนก็ไป บางคนก็ไม่ไป ขึ้นอยู่กับศรัทธา ท่านเล่าว่าท่านเองชอบไปวัดเพราะหลวงน้าสอนไว้

เดือนสิบเอ็ด หลังออกพรรษาแล้ว มีการทอดกฐิน ชาวบ้านเริ่มทำกองกฐินกันตั้งแต่ขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ไปจนถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 บ้านไหนจะไปทอดกฐินต้องไปปักหมายไว้ที่วัด เรียกว่าไปจอง วัดที่จะรับกฐินได้ต้องมีโบสถ์ ถ้าไม่มีโบสถ์ต้องทำโบสถ์จำลองขึ้นกลางน้ำเรียกว่า สีมน้ำ (สิม : ภาษาถิ่นอีสานแปลว่าโบสถ์)

นอกจากทำบุญกองกฐินแล้วก็มีทำบุญประจำปี คือทำบุญบั้งไฟในเดือน 5 หรือเดือน 6 หลายบ้านมาร่วมกันทำบุญ เรียกว่าใช้ฎีกา ไปฎีกาเก้าบ้าน สิบบ้าน ยี่สิบบ้าน สามสิบบ้าน ปลุกถามรอบวัด มีทั้งคนหนุ่มคนสาวคนแก่คนเฒ่า ทุกบ้านไปรวมกัน นิมนต์พระมาเทศน์ ซึ่งหลวงพ่อเล่าว่าการเทศน์ดังกล่าวเป็นการอ่านจากใบลานเท่านั้น คนหนุ่มคนสาวเล่นหมอลำกันเป็นที่สนุกสนาน ผู้ชายถามปัญหา ผู้หญิงต้องตอบ ใครตอบไม่ได้ก็แพ้ การร้องหมอลำนี้ใช้แคนเป็นดนตรีประกอบ


บ้านที่อำเภอเชียงคาน ท่านย้ายเข้ามาอยู่ในตัวอำเภอเพื่อให้ลูก ๆ ของท่านได้เข้าโรงเรียน

บุญประจำปีเช่นนี้ต้องมีทุกหมู่บ้าน ตั้งแต่เดือน 5 เดือน 6 จนถึงเดือน 7 เดือน 8 จวนจะเข้าพรรษาจึงหยุด ที่เรียกว่าบั้งไฟนั้นเขาก็จุดเหมือนจรวดขึ้นไป เวลาจุดเสียงดังเหมือนเสียงเครื่องบิน บั้งไฟที่ใช้จุดทำขึ้นขนาดต่าง ๆ กัน เรียกว่า บั้งไฟมะกอก บั้งไฟห่อหมก บั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน เมื่อหลวงพ่อรู้ธรรมะแล้ว ท่านจึงให้เลิกการจุดบั้งไฟนี้ทั้งหมด เพราะหากยิงขึ้นไป แล้วตกใส่บ้านเรือนก็อาจเป็นอันตรายกับชีวิตหรือทรัพย์สินได้ ทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองเงินทองอีกด้วย

นอกจากนี้ก็มีการทำบุญมหาชาติ การเทศน์มหาชาตินี้ต้องเทศน์ให้จบภายในวันเดียว ถ้าไม่จบ ถือว่าได้บุญไม่มาก

หลวงพ่อได้เล่าถึงการทำบุญอีกแบบหนึ่งคือการทำบุญสังฮอม (สำรวม) ธาตุ ซึ่งถือกันว่าหากทำไม่ถูกไฟจะไหม้บ้าน หลวงพ่อไปทำบุญสังฮอมธาตุที่วัดภู ซึ่งเป็นวัดที่หลวงน้าของท่านเคยจำพรรษาอยู่ ปัจจุบันมีเชื่อว่าวัดบรรพตคีรี ของที่ถวายพระในการทำบุญนี้ได้แก่ ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง ผ้าไตร มีเทศน์ไม่ยาวนัก ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง เทศน์จากหนังสือใบลาน 4 ผูก พระที่นิมนต์มาเทศน์ต้องเป็นพระที่เทศน์เก่ง
ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-thien/lp-thien-hist-index.htm
http://www.fungdham.com/monk-history/history-tien.html

689
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

จากหนังสือปกติ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ และสิ่งที่ฝากไว้
เรียบเรียงและจัดพิมพ์โดย กลุ่มเทียนสว่างธรรม
มีนาคม 2532


หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

กำเนิด

   หลวงพ่อเกิดที่บ้านบุฮม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เมื่อวันที่5 กันยายน พ.ศ. 2454 ตรงกับวันอังคารเดือนสิบ ปีกุน ขึ้น 13 ค่ำบิดาของท่านชื่อจีน มารดาชื่อโสม นามสกุลอินทผิว

   หลวงพ่อมีนามจริงว่าพันธ์ อินทผิว เหตุที่ท่านเป็นที่รู้จักในนามหลวงพ่อเทียน ก็เนื่องจากท้องถิ่นของท่านนิยมเรียกชื่อกันตามชื่อของลูกคนหัวปี บุตรชายคนแรกของหลวงพ่อชื่อเทียน ญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านจึงเรียกท่านว่าพ่อเทียน ภรรยาของท่านชื่อหอม ก็ได้รับการเรียกขานว่าแม่เทียนเช่นเดียวกัน

    ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 6 คน คนแรกเป็นชายชื่อ สาย คนที่สองเป็นชายชื่อ ปุ้ย คนที่สามเป็นชายชื่อ อุ้น คนที่สี่เป็นหญิงชื่อ หวัน พิมพ์สอน ท่านเองเป็นคนที่ห้า และคนที่หกเป็นชายชื่อ ผัน พี่น้องของท่านที่ยังมีชีวิตอยู่คือพี่สาวคนเดียวของท่านชื่อ หวัน พิมพ์สอน หรือป้าหนอม พี่น้องคนอื่น ๆ ได้ถึงแก่กรรมไปแล้วทั้งสิ้น

ปฐมวัย

หลวงพ่อมีชีวิตในวัยเด็กเช่นเดียวกับเด็กชาวบ้านในท้องถิ่นชนบทห่างไกลความเจริญทั่วไป ตื่นเช้าท่านก็ออกไปช่วยพ่อแม่ทำนาเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ตกเย็นก็ไล่ต้อนวัวควายกลับบ้าน ท่านเล่าว่าท่านไม่เคยได้มีโอกาสเรียนหนังสือในโรงเรียน เนื่องจากในท้องถิ่นของท่านยังไม่มีโรงเรียน ถ้าจะเรียนก็ต้องเดินทางไปเรียนในท้องถิ่นที่เจริญกว่า ในสมัยนั้นการคมนาคมยังไม่สะดวก หลวงพ่อจึงไม่สามารถจะเดินทางไปเรียนในโรงเรียนที่อยู่ไกลจากบ้านท่านได้ ท่านเล่าว่าในท้องถิ่นของท่านไม่มีความเจริญทางวัตถุแต่อย่างใด รถไฟ รถยนต์ เครื่องบินหรือแม้แต่จักรยาน ท่านก็ยังไม่เคยเห็น สำหรับเครื่องบินนั้นแม้แต่ชื่อก็ยังไม่เคยได้ยิน

บรรพชาเป็นสามเณร


บริเวณที่หลวงพ่อเคยเดินจงกรมกับหลวงน้า
สมัยที่บวชเป็นสามเณรที่วัดภู หรือวัดบรรพตคีรี

   เมื่อหลวงพ่ออายุได้ราว 10 ขวบ หลวงน้าของท่านซึ่งไปเรียนหนังสือมาจากจังหวัดอุบลราชธานี ได้มาขอกับบิดามารดาของท่านให้ท่านบวชเป็นเณรคอยรับใช้หลวงน้า เรียกว่าเณรใช้ หลวงน้าของท่านชื่อยาคูผอง นามสกุลจันทร์สุข อุปสมบทเมื่ออายุยังน้อยและครองเพศบรรพชิตมาโดยตลอด หลวงพ่อเล่าว่าทางบ้านเกิดของท่านมีประเพณีรดน้ำพระภิกษุที่บวชมานาน รดครั้งแรกเรียกสมเด็จ รดครั้งที่สองเรียกซา รดครั้งที่สามเรียกยาคู และในพิธีรดน้ำครั้งต่อ ๆ ไปก็เรียกยาคูทั้งสิ้น

   ก่อนที่หลวงพ่อจะบรรพชาเป็นสามเณรนั้น หลวงพ่อไปวัดหลวงน้าอยู่เป็นประจำทุกเช้า เย็น วัดที่หลวงน้าจำพรรษาอยู่นั้นชื่อวัดภูหรือวัดบรรพตคีรี อยู่ไม่ห่างจากบ้านหลวงพ่อ ตอนเช้าหลวงพ่อต้องนำอาหารและดอกไม้ไปกราบหลวงน้าแล้วจึงไปนา ตอนเย็นหลังจากตักน้ำที่คลองน้ำแล้วท่านก็จะไปวัด

   ขณะที่บวชเป็นเณรอยู่กับหลวงน้า หลวงน้าสอนหลวงพ่อให้ท่องนะโม ตัสสะ ทำวัตรเช้า วัตรเย็น อาราธนาศีล อาราธนาธรรมดูฤกษ์ยาม ทำกรรมฐาน เดินจงกรม หลวงพ่อได้เรียนตัวลาวหรือตัวไทยน้อย และอักษรธรรมซึ่งเขียนบนใบลานกับหลวงน้า สำหรับการเรียนการสอนนี้เป็นแบบปากเปล่า ไม่มีการเขียน ใช้วิธีจดจำ เวลากลางคืนหลังจากเลิกเรียนหนังสือแล้ว หลวงน้าจะพาหลวงพ่อเดินจงกรม หลวงน้าเป็นพระที่ขยันปฏิบัติ บางครั้งท่านก็ลุกขึ้นเดินจงกรมในเวลาดึก ทางเดินจงกรมของหลวงน้ายาวราว 20 วา หลวงพ่อเดินห่างจากหลวงน้า 4-5 วา

   สำหรับการฝึกกรรมฐานนั้น หลวงน้าให้หลวงพ่อนั่งขัดสมาธิเพชรหลับตาแล้วภาวนา หายใจเข้าให้ว่า“ พุท” หายใจออกให้ว่า“ โธ” ในเวลานั้นหลวงน้ามีเพื่อนพระภิกษุที่สอนกรรมฐานอยู่หลายรูป หลวงพ่อจำได้ว่าเพื่อนหลวงน้ารูปหนึ่งที่สอนกรรมฐานให้หลวงพ่อชื่ออาจารย์เสา เมื่ออาจารย์เสาเห็นหลวงพ่อภาวนา “พุทโธ” ท่านให้ความเห็นว่า เวลาขึ้นต้นไม้จะขึ้นปลายที่เดียวไม่ได้ ต้องขึ้นตั้งแต่ต้น ๆ ท่านให้นับหนึ่ง สอง สาม หายใจเข้าให้ภาวนาว่า หนึ่ง หายใจออกให้ภาวนาว่า สอง เรื่อยไปจนถึงสิบ เมื่อถึงสิบให้นับย้อนหลังลงมาถึงหนึ่ง แล้วตั้งต้นจากหนึ่งถึงสิบ ทำเช่นนี้เรื่อยไป อาจารย์เสาท่านบอกว่า การภาวนาเช่นนี้ทำให้เกิดความขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ถ้าถูกของมีคมบาดเป็นแผล ให้ภาวนาตามวิธีการดังกล่าวแล้วเป่าที่แผลเลือดจะหยุดทันที เมื่อไปนอนตามป่าตามดง มีเสือมีผี ให้เสกก้อนหินด้วยการภาวนาดังกล่าว แล้วเอาก้อนกรวดก้อนหินวางเรียงรายไว้รอบตัว จะนอนได้อย่างปลอดภัย เสือและผีจะกลัวไม่กล้าเข้ามาใกล้


บนภูทอกน้อย อ. เชียงคาน จ.เลย

   หลวงพ่อเล่าว่าหลวงน้าได้สอนการเพ่งกสิณให้ท่าน โดยให้ใช้เท้าขีดวงกลมให้ห่างจากสายตาราว 1 เมตร เพ่งกสิณลงไปให้เห็นเป็นแสงเวลาเช้าให้จ้องดวงอาทิตย์โดยไม่กะพริบตา จนกระทั่งสายตาสู้แสงพระอาทิตย์ได้ หลวงน้าบอกท่านว่าถ้าทำได้จะเป็นฤษีตาไฟ ถ้าจ้องมองไปที่ใครคนนั้นจะล้มทันที หรือจะทำให้เป็นไฟไหม้ก็ยังได้ นอกจากนี้หลวงน้ายังมีคาถาย่อแผ่นดิน ซึ่งหลวงพ่อเล่าให้ฟังเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า หลวงน้าของท่านรูปร่างสูงและผิวขาวเหมือนฝรั่ง เวลาติดตามหลวงน้าไปไหน หลวงน้าเดินแต่หลวงพ่อต้องวิ่ง หลวงพ่อจึงมาคิดได้ในภายหลังว่า ที่หลวงน้าบอกว่ามีคาถาย่อแผ่นดินให้หดเข้านั้นเป็นอย่างนี้เอง เวลาเดินหลวงน้าท่านขายาว ท่านก็ก้าวเพียงก้าวเดียว ในขณะที่หลวงพ่อต้องก้าวถึงสามก้าวจึงจะเดินทันท่าน

   ครั้งหนึ่งหลวงพ่อได้ติดตามหลวงน้าไปอยู่ที่เมืองลาว แต่ด้วยความที่ยังเป็นเด็กเมื่อใครพูดถึงบ้าน ท่านก็ร้องไห้คิดถึงบ้าน ในที่สุดก็ต้องเดินทางกลับมาบ้านเกิดของท่าน

   หลวงพ่อบวชเป็นสามเณรอยู่กับหลวงน้าเป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน ได้เรียนมนต์คาถาจากหลวงน้าพอสมควร เนื่องจากขณะที่หลวงน้าไปเรียนมูลกัจจายน์ที่อุบลฯ ท่านได้เรียนเวทมนต์คาถาอาคมของเขมรด้วย เช่น คาถาไส้หนังบังควัน วัวธนูดูหน้าน้อย ซึ่งเป็นอาคมไล่ผี เมื่อหลวงพ่อลาสิกขาบทแล้ว ท่านยังรู้สึกเสียดายช่วงเวลาที่บวชอยู่กับหลวงน้า ด้วยในขณะนั้นท่านอยากมีความรู้ทางไสยศาสตร์ อยากมีหูทิพย์ ตาทิพย์เหาะได้ หายตัวได้ ย่อแผ่นดินได้ มีคาถาอาคม ฟันไม่เข้ายิงไม่ออกเหมือนกับหลวงน้า ในสมัยนั้นในท้องถิ่นที่หลวงพ่ออาศัยอยู่ยังมีความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจกันอยู่มาก ลูกผู้ชายต้องมีเวทมนต์ไว้รักษาตัวเองและคุ้มครองรักษาคนในครอบครัวรวมทั้งญาติพี่น้อง หลวงน้าจึงได้เมตตาอบรมสั่งสอนหลวงพ่ออย่างเข้มงวดกวดขัน เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์เมื่อสึกออกมาเป็นผู้ครองเรือน

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-thien/lp-thien-hist-index.htm
http://www.fungdham.com/monk-history/history-tien.html

690
ยาใจ

...ครั้งหนึ่งหลายปีมาแล้ว ข้าพเจ้าได้โดยสารเรือจ้างไปในกิจนิมนต์แห่งหนึ่ง คนแจวเรือเป็นชายชรา แต่ยังดูแข็งแรง เป็นคนร่าเริงคุยสนุก แจวพลางคุยพลางตลอดทาง

ตอนหนึ่งถามแกว่า "โยมมีครอบครัวหรือเปล่า ?"

"มีครับ ภรรยาก็มี ลูกก็มี แต่อย่าเอ่ยถึงเขาเลยครับ ฟื้นฝอยหาตะเข็บ"

"อ้าว...! เป็นอย่างไรเล่าโยม ?" ข้าพเจ้าซัก...

แกว่า "อุตส่าห์เลี้ยงเขามาจนโตด้วยเรือลำนี้ ส่งเสียจนได้ดิบได้ดีเป็นใหญ่เป็นโต แต่เขาลืมพ่อเหมือนต้นไม้ได้น้ำค้างแล้วก็ปลื้มลืมน้ำเดิม พูดแล้วมันช้ำใจ แต่บัดนี้ผมก็ตัดใจได้แล้ว เลือดก้อนหนึ่ง ผมตัดได้..."

ข้าพเจ้าฟังด้วยความเศร้าใจ ลูกหนอลูกทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เพื่อให้แกลืมความหลัง ข้าพเจ้าจึงเอ่ยชมแกว่า
"โยมทานยาอะไรถึงได้แข็งแรงอย่างนี้"

"ยาไม่มีดอกครับ" แกตอบ "แต่ผมมีคาถาสำหรับภาวนา หลวงพ่อท่านให้ไว้นานแล้ว ท่านว่าเสกอยู่เสมอ จะทำให้แข็งแรง อายุยืน"

ข้าพเจ้าชักสนใจ ออกปากขอทันที โดยชอบใจหัวเราะอย่างเบิกบาน พูดว่า "ได้ครับ คาถาของผมจำง่าย ใช้สะดวก"

ใจเย็น หน้ายิ้ม อายุยืน แข็งแรง ไร้โรค โชคดี

"นี่แหละครับ ดีจริงๆ ผมขอรับรองเอง เพราะผมใช้ได้ผลมาแล้ว"
จนกระทั่งบัดนี้ ข้าพเจ้ายังไม่ลืมชายชราคาถาขลังผู้นั้น

ที่มา... หนังสือ "นิทานบันเทิงธรรม" โดย พระพิจิตรธรรมวาที

ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/readfb7a.html?No=423

691
เจ็บหางไหม....

สาระธรรม คำขัน เรื่องนี้ เก็บมาจาก....อุบายธรรมของหลวงพ่อชาที่ให้ไว้กับโยมผู้หนึ่งผ่านบทสนทนาสั้น ๆ

หลวงพ่อชา **โยมเคยปวดหัวไหม
โยม * เคยเจ้าค่ะ

หลวงพ่อชา **โยมเคยเจ็บฟันไหม
โยม * เคยเจ้าค่ะ

หลวงพ่อชา **โยมเคยปวดท้องไหม
โยม * เคยเจ้าค่ะ

หลวงพ่อชา ** โยมเคยเจ็บหางไหม
โยม * ?????
โยม * ก็หางมันไม่มีนี่เจ้าค่ะ


มีในสิ่งใด แล้วยึดมั่นในสิ่งนั้น ก็ย่อมเจ็บ ย่อมทุกข์เอง เมื่อไม่มี ไม่ยึด จะเอาอะไรมาทุกข์


http://c.1asphost.com/jigko/dhamma/tesana.html

ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/read9b15.html?No=426

692
คนกับไก่

ไก่ชอบแต่ข้าวสาร ไม่ชอบเพชรพลอย มันมองเห็นเพชรพลอยเป็นแค่หินไร้ค่า

แต่คนเรากลับเอาหินเหล่านั้น มาประดับประดาตกแต่งร่างกาย แล้วพากันชื่นชมว่างามเลิศวิไล
แสดงว่าร่างกายคนเราแท้จริงไม่มีความงามอะไรเลย จึงต้องพึ่งพาสิ่งภายนอก ไก่ไม่อาบน้ำเดือนหนึ่งก็ยังอยู่ได้ปกติ

ส่วนคนเราสิ ลองเอานางงามที่ได้มงกุฎโลกคนปัจจุบัน ลองไม่อาบน้ำสัก 7 วัน ก็ไม่รู้ว่ากลิ่นตัวนางงามนั้นจะเหม็นหึ่งขนาดไหน

ความจริงแล้วองค์ประกอบทั้งห้าคือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง และ อารมณ์ทั้งห้า คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มันก็อยู่ของมันตามธรรมชาติ
แต่อุปาทานของคนเราไปยึด ปรุงแต่ง กลายเป็นอันนี้ ดี อันนี้ เลว คือเราไปสมมุติกันทั้งนั้น แล้วสมมุตินี้แหละก็เข้ามาบีบคั้นจิตใจให้เกิดแรงปรารถนา

ความดิ้นรน กระเสือกกระสนจึงตามมาอย่างไม่สิ้นสุด นี่คือบ่อแห่งทุกข์ขนาดใหญ่ ที่หลอกให้คนตกลงไปแล้ว หลง วนเวียน อยู่จนเราเคยชิน
เปรียบเหมือนปลาที่ไม่เห็นน้ำ นกไม่เห็นฟ้า จึงยากที่จะรู้สึกตัว และถอนตนขึ้นจากบ่อแห่งทุกข์นี้ได้

จากหลักคำสอนของหลวงพ่อพุทธทาส และ หลวงพ่อชา

ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/readeb74.html?No=439

693
ในตัวเรามีคนอยู่ "สามคน"

ณ วัดบ้านไร่แห่งหนึ่ง หลวงตาเพิ่งกลับจากการบิณฑบาตเห็นลูกศิษย์วัดนั่งร้องไห้สะอึกสะอื้น จึงเข้าไปถามไถ่ว่าเป็นอะไร ลูกศิษย์ตอบกลับมาว่า
 :070:
“ผมถูกใส่ร้าย ผมไม่ได้ขโมยเงินในหอพระ แต่ผมเข้าไปปัดกวาดเช็ดถูบ่อย ๆ ทุกคนก็หาว่าผมเป็นขโมย ไม่มีใครเชื่อผมเลย ฮือ ฮือ”

หลวงตานั่งลงข้าง ๆ พยักหน้าเข้าใจแล้วสอนลูกศิษย์ว่า

เจ้ารู้ไหม ในตัวเรามีคนอยู่ "สามคน"....

คนแรกคือ... คนที่เรา..อยากจะเป็น

คนที่สองคือ... คนที่คนอื่นคิดว่า..เราเป็น

คนที่สามคือ... ตัวเราที่เป็น..เราจริง ๆ"


ลูกศิษย์หยุดร้องไห้ นิ่งฟังหลวงตา

คนเราล้วนมีความฝัน ความทะยานอยาก ตามประสาปุถุชนทั่วไป ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย
บางครั้งความฝันก็เป็นสิ่งสวยงาม เป็นพลังที่ทำให้เราก้าวเดิน เช่น บางคนอยากเป็นนักร้อง เป็นนักมวย เป็นดารา

ถ้าถึงจุดหมายเราก็จะรู้สึกว่าโลกนี้ช่างสว่างไสวสวยงาม ดังนั้นเราควรมีความฝันไว้ประดับตน เพื่อเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงหัวใจ

มาถึงไอ้ตัวที่สอง.....จะเป็นเราแบบที่คนอื่นยัดเยียดให้เป็น

บางครั้งก็ยัดเยียดว่าเราดีเลิศ จนเราอาย เพราะจิตสำนึกเรารู้ดีว่ามันไม่จริงหรอก แต่เราก็ยิ้มรับ แต่บางครั้งไอ้ตัวที่สองนี้ก็มหาอัปลักษณ์ จนไม่อยากจะนึกถึง ซ้ำร้ายยังเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
....เพราะมันเป็นโลกใน...มือคนอื่น ....มันเป็นสิ่งแปลกปลอมที่คนอื่นยื่นให้

อย่างคนขับสิบล้อจอดรถอยู่ข้างทางเฉย ๆ เช้ามาพบศพใต้ท้องรถ ก็ต้องขับรถหนี ทั้งที่ศพนั้น ถูกรถชนตายอีกฝั่งแล้วดันถลามาใต้ท้องรถ แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นคนขับสิบล้อ บางคนก็ตัดสินไปแล้วว่าเขาเป็นฆาตกร..

สมัยที่หลวงตายังไม่ได้บวชเคยไปส่งเพื่อนผู้หญิงที่มีสามีแล้ว เพราะเห็นว่าบ้านเป็นซอยเปลี่ยว ส่งได้สองครั้งก็เป็นเรื่อง ชาวบ้านซุบซิบนินทา หาว่าเป็นชู้กับเมียชาวบ้าน
คนที่เห็นนั้นมองคนอื่นด้วยใจที่หยาบช้า ไร้วิจารณญาน ใจแคบ มองคนอื่นผ่านกระจกสีดำแห่งใจตัวเอง

...คนเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปในสังคม เจ้าต้องจำไว้นะ ทุกครั้งที่เราว่าคนอื่นเลว คนอื่นไม่ดี.. ก็เท่ากับเราประจานความมืดดำในใจตัวเองออกมา
เห็นสิ่งไม่ดีของใครจงเตือนตัวเองว่าอย่าทำ..อย่าเลียนแบบ.. นั่นแหละวิถีของนักปราชญ์ ถ้าเอาไปว่าร้ายนินทาเรียกว่าวิถีของ..คนพาล

..แล้วเราต้องทำตัวอย่างไรละครับในเมื่อเราต้องเจอคนเหล่านั้นเรื่อย ๆ.. ลูกศิษย์หยุดร้องไห้แล้ว เริ่มสนทนาโต้ตอบหลวงตา
เจ้าต้องทำความเข้าใจจิตใจมนุษย์ เรียนรู้ว่าความเข้าใจผิดเกิดขึ้นได้

เราห้ามใจใครไม่ได้ สิ่งใดที่เราไม่ได้ทำ ไม่ได้คิด ไม่ได้เป็น แต่คนอื่นคอยยัดเยียดให้เรา เราก็ไม่ควรให้ความสำคัญ ...เพราะเราสัมผัสได้ว่าสิ่งนั้นไม่มีอยู่จริง ใจเราควรสงบนิ่ง..ยังไม่ต้องชำระใจ คนอื่นต่างหาก..ที่ควรซักฟอกให้ขาวสะอาดกว่าที่เป็นอยู่ เขาเหล่านั้นเป็นบุคคลที่น่าสงสาร


มีเวลามองคนอื่น แต่ไม่มีเวลามองตัวเอง.....จงแผ่เมตตาให้เขาไป เข้าใจใช่ไหม...

“เข้าใจครับหลวงตา” เด็กน้อยยิ้มมีความสุขอีกครั้ง :002:

ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/read1cd2.html?No=444

694
พระองค์นี้ทำมาจากอะไร..?

นายแพทย์คนหนึ่งซึ่งร่ำเรียนมาไม่น้อย รักษาคนมาก็มากโข แต่หลงลืมรักษาใจของตัวเอง

วันหนึ่งมีโอกาสได้กราบนมัสการพระวิปัสสนาจารย์ใหญ่
นามหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ อย่างใกล้ชิด
นายแพทย์หยิบพระนางพญาราคาแพงอายุกว่า 700 ปีขึ้นมาอวด
ยังไม่ทันพูด.. หลวงพ่อก็ปุจฉา

“พระองค์นี้ทำมาจากอะไร”

“ ทำจากเนื้อดินเผาแกร่ง สีน้ำตาลเข้ม”


นายแพทย์ตอบด้วยความภาคภูมิ
หากหลวงพ่อกลับยิ้มแย้มไม่มีอาการตื่นเต้นหรือรู้สึกทึ่ง  ในกฤษฎาภินิหารของพระเครื่องแม้แต่น้อย

“ดินนั้นเกิดมาพร้อมกันตั้งแต่สร้างโลก
พระองค์นี้ไม่ได้เก่าแก่ไปกว่าดินที่เราเหยียบก่อนเข้ามาในบ้านนี้หรอก”


เก็บความบางส่วนจาก หนังสือ ธรรมะเกร็ดแก้ว โดย ว.วชิรเมธี

ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/read0ad8.html?No=447

695
เพลงประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

เพลงพุทโธหาย
http://www.tigertemplecharity.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=539313139&Ntype=18

696
พุทโธหาย....? (3/3)

   พวกชาวเขาเป็นคนซื่อโดยกำเนิด ถ้าเชื่อเลื่อมใสศรัทธาอะไรแล้วก็คิดเลื่อมใสเลยไม่มีอะไรสงสัยข้องใจ จิตของพวกเขาจึงเข้าถึงสมาธิได้รวดเร็วและเป็นที่อัศจรรย์ด้วยบารมีของพระพุทธเจ้า ปรากฏว่าไม่นานนัก ชาวป่าผู้หนึ่งซึ่งเดินท่องพุทโธนั่งท่องพุทโธตามหาดวงแก้วพุทโธนั้นบังเกิดประสบเข้ากับธรรมะ คือความสงบสุขทางใจด้วยอำนาจการนึกบริกรรมพุทโธตามวิธีสมาธิแยบยลที่พระอาจารย์มั่นใช้อุบายสอน เขารีบวิ่งออกจากหมู่บ้านมาเล่าให้พระอาจารย์มั่นฟังว่าก่อนหน้า 3 – 4 วันที่เขาจะประสบกับดวงแก้วพุทโธนั้น ได้นอนหลับและฝันไป ฝันเห็นพระอาจารย์มั่นเอาเทียนใหญ่จุดไฟสว่างไสวไปติดไว้บนศีรษะเขา ทำให้ร่างกายของเขาสว่างไสวไปหมดเขาดีใจมาก มีความสุขทางใจอย่างบอกไม่ถูก

   พระอาจารย์มั่นจึงได้เมตตาแนะนำสั่งสอนเพิ่มเติมให้ฝึกขั้นสูงต่อไปโดยลำดับ ปรากฏว่าเขาไปฝึกอยู่ได้ไม่กี่วันก็เข้าถึงสมาธิขั้นสูงสามารถบังคับดวงแก้วพุทโธให้สว่างไสวใหญ่และเล็กได้ ให้เป็นไปตามต้องการได้จนเกิดอำนาจจิตอภิญญาสามารถล่วงรู้ใจผู้อื่นได้ว่า ใจของใครคิดอะไร มีความเศร้าหมองและผ่องใสเพียงใด แถมยังบอกพระอาจารย์มั่นอย่างซื่อ ๆ ตรงไปตรงมาว่าเขาสามารถรู้เห็นสภาพจิตของพระอาจารย์มั่นและพระที่อยู่ด้วยได้อย่างชัดเจน

พระอาจารย์มั่นหัวเราะชอบใจจึงถามเป็นเชิงเล่น ๆ ว่า " จิตของเราเป็นยังไง มีบาปไหม? "

   เขารีบตอบทันทีว่า " จิตของตุ๊เจ้าไม่มีจุดไม่มีดวงเหลืออยู่แล้ว มีแต่ความสว่างไสวน่าอัศจรรย์เหมือนดาวประกายพรึกลอยสุกปลั่งอยู่ในอก ตุ๊เจ้าเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลกไม่มีใครเสมอเหมือน เฮาบ่ เคยเห็น แหม.....ตุ๊เจ้ามาอยู่ที่นี่นานตั้งร่วมปีแล้ว ทำไมไม่สอนเฮาบ้างก๊าแต่แรกมาอยู่ " (ก๊า แปลว่า เล่าหรืออะไร ๆ ได้อีกหลายอย่าง เป็นคำเหนือติดท้ายประโยคได้ทั้งคำถามคำตอบ)

   พระอาจารย์มั่นตอบว่า "จะให้เราสอนได้อย่างไรก็ไม่เคยเห็นพวกสูมาศึกษาไต่ถามเรานี่นา เขาตอบว่า เฮาบ่ฮู้ก๊าว่าตุ๊เจ้าเป็นผู้วิเศษ ถ้าฮู้ เฮาจะทนอยู่ได้อย่างไร ต้องรีบแล่นมาหาแน่ ๆ ทีนี้พวกเฮาฮู้แล้วว่าตุ๊เจ้าเป็นคนฉลาดมาก เวลาพวกเฮามาถามว่าตุ๊เจ้านั่งหลับตานิ่ง ๆ และเดินกลับไปกลับมาทำไม กำลังหาอะไรหรือ ? ตุ๊เจ้าก็บอกพวกเฮาว่า พุทโธหาย กำลังหาพุทโธ ขอให้พวกเฮาช่วยตามหาที

   เมื่อถามถึงพุทโธเป็นลักษณะอย่างไร ตุ๊เจ้าก็บอกว่าเป็นดวงแก้ววิเศษสว่างไสวความจริงตุ๊เจ้าเป็นพุทโธอยู่แล้ว มิได้ทำให้พุทโธสูญหายไปไหน แต่เป็นอุบายอันฉลาดของตุ๊เจ้าที่เมตตาสงสารพวกเฮาชาวป่าชาวดอย ให้พวกเฮาภาวนาพุทโธเพื่อให้จิตพวกเฮาสว่างไสวเหมือนจิตตุ๊เจ้าต่างหาก เฮาฮู้แล้วว่าตุ๊เจ้าเป็นผู้ประเสริฐเฉลียวฉลาด ปรารถนาให้พวกเฮาได้บุญใหญ่ มีความสุข พบพุทโธดวงแก้วประเสริฐที่ใจตัวเอง มิใช่ให้หาพุทโธให้ตุ๊เจ้าเลย !"

  อนึ่ง....ที่ชาวป่าผู้บรรลุสมาธิเข้าถึงฌานขั้นสูงนี้จนเกิดอำนาจจิตอภิญญาสามารถรู้เห็นจิตใจผู้อื่นได้ แต่โดยความเป็นจริงแล้ว เขาไม่สามารถจะรู้เห็นสภาวะจิตใจของผู้ที่มีภูมิธรรมสูงกว่าได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอาจารย์มั่นซึ่งเป็นพระอริยเจ้าชั้นสูง แต่ที่เขาสามารถเห็นสภาวะจิตของพระอาจารย์มั่นเป็นดวงแก้วประกายพรึกได้นั้นเป็นเพราะพระอาจารย์มั่นยินยอมให้เห็นได้

   ทีนี้นับตั้งแต่ชาวป่าคนนั้นได้เห็นพุทโธหรือธรรมกายในใจตนเองแล้ว เรื่องก็กระจายไปทั่วหมู่บ้านในไม่ช้า ทำให้ชาวบ้านต่างก็พากันเร่งภาวนาพุทโธไปตาม ๆ กันเพราะอยากจะได้ดวงแก้วพุทโธบ้าง เพราะเกิดความเชื่อถือเลื่อมใสพระอาจารย์มั่นมาก เรื่องที่สงสัยว่าท่านจะเป็นเสือเย็นหรือเสือสมิงก็หายไป ไม่มีใครกล้ากล่าวถึงอีกเลย

   นับแต่นั้นมา เวลาท่านออกบิณฑบาตพวกชาวบ้านต่างก็พากันใส่บาตรเป็นแถวและติดตามส่งบาตรรพากันขอศึกษาธรรมเพิ่มเติมกับท่านทุกวัน อาหารการขบฉันที่เคยขาดแคลนก็กลายเป็นความสมบูรณ์ขึ้น ชาวป่ายังช่วยกันสร้างกระท่อมมุงหลังคาใบไม้ให้เป็นกุฏิที่พักถากถางป่ารกรุงรังให้เป็นที่เดินจงกรม ปัดกวาดคลานกุฏิให้สะอาดกว้างขวางน่าอยู่อาศัยกว่าเดิม

   ลงพวกชาวป่าได้เชื่อถือและเคารพศรัทธาเลื่อมใสแล้วเป็นต้อง นับถืออย่างถึงใจจริง ๆ ถึงไหนถึงกัน เป็นก็เป็นด้วยกัน ตายก็ตายด้วยกัน แม้ชีวิตของพวกเขาก็ยอมสละได้ พระอาจารย์มั่นพูดอะไร พวกเขาเชื่อฟังและเคารพอย่างถึงใจ การบริกรรมภาวนาหาพุทโธ ท่านได้ค่อย ๆ สอนให้เขยิบขึ้นไปตามขั้นตามนิสัยของแต่ละคนซึ่งมีสติปัญญาไม่เหมือนกัน คนไหนฉลาดก็ได้รับการสอนวิปัสสนาสอดแทรกควบคู่ไปด้วยอุบายแปลก ๆ อันชาญฉลาดแยบยลให้เกิดความรอบรู้ชำนาญขึ้นตามลำดับ

   ชั่วเวลาไม่นาน ชาวบ้านหลายคนก็สำเร็จทางในได้พบดวงแก้วพุทโธเพิ่มขึ้นหลายคน ปีนั้นท่านเลยต้องจำพรรษาอยู่ที่นั่นไปไหนไม่ได้ เพราะชาวป่าไม่ยอมให้ไป รวมเวลาแล้วนับปีกว่า จึงได้ลาจากกันในที่สุด


ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/readbe4b.html?No=448

697
พุทโธหาย....? (2/3)

พอได้เวลาบ่ายวันนั้น ชาวบ้านก็พากันมาจริง ๆ พวกเขาถามว่า ตุ๊เจ้านั่งหลับตานิ่ง ๆ และเดินกลับไปกลับมาทั้งกลางวันกลางคืนมาเป็นเวลาหลายวันแล้ว ตุ๊เจ้านั่งและเดินหาอะไร

พระอาจารย์มั่นตอบว่า “พุทโธหาย เรานั่งและเดินหาพุทโธ”

“พุทโธ เป็นตัวยังไง รูปร่างสูงต่ำดำขาวยังไงจะให้ชาวบ้านช่วยหาให้ได้ไหม” หัวหน้าหมู่บ้านถามด้วยความสงสัย

พระอาจารย์มั่นตอบว่า “ พุทโธ ที่ว่านี้ เป็น ดวงแก้วอันวิเศษ สุดประเสริฐ ใครได้ไว้แล้วจะโชคดี ถ้าพวกสูจะช่วยเราหาให้พบก็ยิ่งดีใหญ่ จะได้เห็นพุทโธเร็ว ๆ”


“พุทโธ ของตุ๊เจ้าหายมานานแล้วหรือ” ผู้เฒ่าอาวุโสของหมู่บ้านถามบ้าง

“ไม่นานหรอก ถ้าพวกสูช่วยหาให้ยิ่งจะพบเร็วกว่าเราหาเพียงคนเดียว” พระอาจารย์มั่นตอบอย่างเป็นปริศนาธรรม

“พุทโธ เป็นดวงแก้วใหญ่ไหม” หัวหน้าหมู่บ้านถาม

“ไม่ใหญ่ไม่เล็ก พอดีกับเราและกับพวกสูนั่นแหละ ใครหา พุทโธ พบคนนั้นจะเป็นผู้ประเสริฐ มีตาทิพย์มองเห็นอะไรได้ตามใจหวัง” พระอาจารย์มั่นตอบ

“มองเห็นนรกสวรรค์ได้ไหมตุ๊เจ้า”

“มองเห็นซิ ถ้ามองไม่เห็นจะเรียกว่าเป็นดวงแก้ววิเศษได้ยังไง”

“ลูกตาย เมียตาย ผัวตาย มองเห็นได้ไหมตุ๊เจ้า”

“เห็นซี เห็นหมดทุกอย่างถ้าต้องการอยากเห็น”

“ดวงแก้วพุทโธนี้สว่างมากไหมตุ๊เจ้า”

“สว่างมาก สว่างยิ่งกว่าพระอาทิตย์ตั้งร้อยดวงพันดวงเพราะพระอาทิตย์ไม่สามารถส่องให้เห็นนรกสวรรค์ได้ แต่ดวงพุทโธสามารถส่องเห็นหมด” พระอาจารย์มั่นตอบอย่างอารมณ์ดี

“ผู้หญิงช่วยหาดวงแก้วพุทโธได้ไหมตุ๊เจ้า ” เขาถาม

“ได้ซี ผู้หญิงก็หาได้ เด็ก ๆ ก็ช่วยกันหาได้”

“ดวงแก้วพุทโธประเสริฐในทางใดบ้าง กันผีได้ไหม”

“ดวงแก้วพุทโธประเสริฐใช้ได้หลายทางจนนับไม่ถ้วน ผีสางเทวดาต้องยอมกราบพุทโธทั้งนั้น ไม่มีใครยิ่งใหญ่กว่าดวงแก้วพุทโธ ผีกลัวพุทโธมากต้องกราบพุทโธ ใครหาพุทโธแม้ยังไม่พบ ผีก็เริ่มกลัวแล้ว” พระอาจารย์มั่นตอบยิ้ม ๆ

“พุทโธเป็นดวงแก้วสีอะไรตุ๊เจ้า” หัวหน้าหมู่บ้านถาม

“พุทโธเป็นดวงแก้วสว่างไสว มีหลายสีจนนับไม่ถ้วน พุทโธนี้เป็นสมบัติอันวิเศษของพระพุทธเจ้า พุทโธเป็นองค์แห่งความรู้สว่างไสวไม่เป็นวัตถุ พระพุทธเจ้าท่านมอบไวให้เราหลายปีแล้ว แต่เราเองยังหาพุทโธที่ท่านมอบให้ยังไม่เจอ ไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหน แต่จะอยู่ที่ไหนไม่สำคัญนัก ที่สำคัญก็คือ ถ้าพวกสูจะพากันช่วยเราหาพุทโธจริง ๆ ให้พากันนั่งหรือเดินนึกในใจว่าพุทโธ ๆ ๆ อยู่ภายในใจโดยเฉพาะ ไม่ให้จิตส่งออกนอกกาย ให้รู้อยู่กับคำว่าพุทโธเท่านั้น ถ้าทำอย่างนี้พวกสูอาจเจอพุทโธก่อนเราก็ได้”

“การนั่งหรือเดินหาพุทโธจะให้นั่งหรือเดินนานเท่าไรถึงจะพบพุทโธแล้วหยุดได้ตุ๊เจ้า”
“ให้นั่งหรือเดินเพียงชั่วหม้อข้าวเดือดจนสุกหรือนานกว่านั้นก่อน สำหรับผู้ตามหาพุทโธทีแรก พุทโธท่านยังไม่อยากจะให้เราตามหาท่านนานนัก กลัวจะเหนื่อยแล้วตามพุทโธไม่ทัน เดี๋ยวจะขี้เกียจเสียก่อน ทีหลังจะอยากตามหาท่านแล้วเลยจะไม่พบท่าน เอาเพียงเท่านี้ก่อน ถ้าอธิบายมากกว่านี้จะจำวิธีไม่ได้แล้วตามหาพุทโธไม่พบ” พระอาจารย์มั่นให้อรรถาธิบาย

พวกชาวป่าได้ฟังแล้วก็ชวนกันกลับไปโดยไม่มีการยกมือไหว้ร่ำลาอะไร เพราะเป็นนิสัยของชาวป่ายังงั้นเอง เมื่อพวกเขาจะไปก็ลุกไปเฉย ๆ พระอาจารย์มั่นก็กำหนดจิตติดตามดูความเคลื่อนไหวต่อไปก็พบว่า เมื่อพวกเขาไปถึงหมู่บ้านแล้ว พวกชาวบ้านทั้งหลายก็แห่กันมารุมซักถามเป็นการใหญ่ หัวหน้าหมู่บ้านก็อธิบายให้ฟังตามที่พระอาจารย์มั่นสั่งสอนเรื่องดวงแก้วพุทโธ

พวกชาวบ้านต่างก็ตื่นเต้นอยากจะได้ดวงแก้วพุทโธเอะอะกันใหญ่ เพราะเป็นของดีของวิเศษ ต่างก็พากันแยกย้ายไปฝึกหัดนึกท่องพุทโธในใจโดยทั่วกันไม่นึกอย่างอื่น นึกแต่คำว่าพุทโธ ๆ ๆ นับตั้งแต่หัวหน้าหมู่บ้านลงมาถึงผู้หญิงและเด็ก ๆ ที่พอจะรู้วิธีนึกท่องในใจหาพุทโธได้

ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/readbe4b.html?No=448

698
ธรรมะ / ธรรมะหรรษา..........พุทโธหาย....?
« เมื่อ: 01 ก.ค. 2554, 08:52:32 »
พุทโธหาย....? (1/3)

            ครั้งหนึ่ง พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต กับพระลูกศิษย์รูปหนึ่ง เที่ยวธุดงค์แสวงหาที่วิเวกตามอำเภอต่าง ๆ ในเขตเชียงใหม่ ได้เดินธุดงค์ข้ามเขาหลายลูก และไปพักอยู่ชายเขาแห่งหนึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านชาวเขาราวสองกิโลเมตร โดยพักอยู่ใต้ร่มไม้ เวลาฝนตกลงมาก็เปียกโชกแต่ก็ทนเอาไม่เดือนร้อนไม่สนใจเพราะทนได้

ตอนเช้าพากันเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านชาวเขา พวกชาวเขาเห็นท่านเข้าไปบิณฑบาตก็ถามว่า ตุ๊เจ้ามาธุระอะไร? ท่านบอกว่ามาบิณฑบาต เขาถามว่า มาบิณฑบาตคืออย่างไร? พวกเขาไม่เข้าใจ เขาเคยรู้จักพระเหมือนกัน แต่ไม่รู้จักขนบธรรมเนียมของพระ ท่านบอกว่าบิณฑบาตก็คือพระมาขอแบ่งข้าวจากชาวบ้านไปกิน เขาถามว่าจะเอาข้าวสารหรือข้าวสุก? ท่านตอบว่าข้าวสุก

เขาก็บอกกันต่อ ๆ ไปให้เอาข้าวสุกมาใส่บาตรท่าน เมื่อได้ข้าวแล้วท่านก็พาพระลูกศิษย์กลับมายังร่มไม้ที่พัก และฉันข้าวเปล่า ๆ อยู่นานวัน ขณะที่ท่านพักอยู่ใต้ร่มไม้ใกล้หมู่บ้านแห่งนี้พวกเขาใส่บาตรให้ก็จริง แต่พวกเขาไม่มี ความเลื่อมใสและไว้ใจท่านเลย พอตกกลางคืนหัวหน้าชาวบ้านตีเกาะนัดให้ชาวบ้านมาประชุมกันแล้วประกาศว่า ขณะนี้มีเสือเย็นสองตัว (หมายถึงพระอาจารย์มั่นและพระลูกศิษย์) มาพักอยู่ที่ป่าใกล้หมู่บ้าน

คำว่า “เสือเย็น” หมายถึง “เสือสมิง” นั่นเอง ขอให้ชาวบ้านทั้งหลายอย่าได้ไว้ใจเสือเย็นสองตัวนี้ มันแปลงเป็นพระจะมาจับพวกเราไปกินเป็นอาหารห้ามไม่ให้เด็กและผู้หญิงเข้าไปในป่าเป็นอันขาด แม้ผู้ชายจะเข้าไปในป่าก็ควรจะมีพรรคพวกเป็นเพื่อนไปด้วยหลาย ๆ คนและต้องมีอาวุธป้องกันตัวไปด้วย ไม่ควรเดินป่าตัวคนเดียวเป็นอันขาดจะมีอันตรายถูกเสือเย็นสองตัวตะครุบกัดกิน


พวกชาวเขาได้จัดเวรยามครั้งละ 3 – 4 คน มีอาวุธมีดพร้าขวานและหน้าไม้ ให้มาคอยเฝ้าจับตาดูความเคลื่อนไหวของพระอาจารย์มั่นแหละพระลูกศิษย์อยู่ใกล้ ๆ ที่พักอยู่ตลอดเวลาทั้งวันและทั้งคืนเป็นผลัด ๆ

ไม่ว่าท่านจะเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิภาวนา พวกเขาจะคอยสอดส่ายสายตาจับตาดูความเคลื่อนไหวไม่ยอมให้คลาดสายตาไปได้เลย ไม่พูดไม่จาไม่ไถ่ถามอะไรทั้งนั้น เอาแต่จ้องมองทมึงทึงท่าเดียว แต่เวลาเข้าไปบิณฑบาตพวกเขาก็ใส่ให้อย่างเสียไม่ได้ ใส่ให้ด้วยความเกรงกลัวต้องการเอาใจไว้บ้างมากกว่า ถ้าไม่ใส่บาตรให้เสียเลย เดี๋ยวเสือเย็นจะโกรธใหญ่หาเรื่องทำร้ายเอาได้ง่าย ๆ

เหตุการณ์เป็นไปอย่างนี้อยู่หลายวันทีเดียว บรรยากาศภายในหมู่บ้าน ตึงเครียดมาก แต่พระอาจารย์มั่นก็หาได้หวั่นไหวไม่ ท่านกำหนดวาระจิตตรวจสอบดูจิตใจชาวบ้านทุกคนอยู่ทุกระยะ ในที่สุดหัวหน้าหมู่บ้านก็จัดให้มีการประชุมขึ้นอีก ได้มีการปรึกษาพิจารณาสถานการณ์ของหมู่บ้านอย่างเคร่งเครียดว่าจะเอายังไงกับพระสององค์นี้ต่อไป

พวกเวรยามที่มาคอยเฝ้าดูความเคลื่อนไหวของพระอาจารย์มั่นได้รายงานว่า ไม่เห็นพระสององค์มีอะไรผิดแปลกเลย เห็นแต่ท่านนั่งหลับตาบ้าง เดี๋ยวลุกขึ้นเดินไปเดินมาบ้าง นอนงีบเดียวแล้วก็ลุกขึ้นมาเดินอีก เดินพักหนึ่งแล้วก็นั่งหลับตา ไม่รู้ว่าท่านนั่งหลับตาทำไมและเดินกลับไปกลับมาหาอะไร จะหาว่าของหายก็ไม่เห็นหาเจอสักที (หมายถึงเห็นท่านเดินจงกรม)

หัวหน้าหมู่บ้านได้ฟังดังนั้นก็นิ่งอึ้ง มีชาวบ้านผู้อาวุโสคนหนึ่งเป็นผู้เฒ่าของหมู่บ้าน เคยเข้าไปในเมือง รู้ขนบธรรมเนียมประเพณีคนเมืองอยู่บ้าง รู้จักพระสงฆ์องค์เจ้าปฏิบัติธรรมพอสมควร แกได้พูดขึ้นว่า......

" พระสององค์นี้เห็นจะเป็นพระจริง ๆ ไม่ใช่เสือเย็นปลอมแปลงมาหรอก พระพวกนี้ชอบท่องเที่ยวอยู่ในป่าปฏิบัติตัวเป็นนักบุญ การที่พวกเราชาวบ้านไปสงสัยและกล่าวหาพระสององค์นี้ว่าเป็นเสือเป็นสางน่ากลัวจะไม่ถูกต้องเสียแล้ว จะทำให้พวกเรามีบาปหนักผีป่าผีปู่ย่าตาทวดจะโกรธเอาเปล่า ๆ ทางที่ควรจะพากันไปพบพระสององค์นี้แล้วไถ่ถามเอาให้รู้ต้นสายปลายเหตุว่า มานั่งหลับตาทำไม มาเดินไปเดินมาหาอะไร"

ที่มา
http://www.tamdee.net/sarakhun/data/readbe4b.html?No=448

700
เอ้า……ทีนี้ เราจะทำลมหายใจเข้าปกติยาว ออกปกติยาว โดยไม่เครียดและไม่เหนื่อยได้อย่างไร วิธีก็คือ……………

เริ่มสูดลมหายใจเข้าลึกๆ…………
แล้วก็ผ่อนคลายออกยาวๆ…………
สูดเข้าลึกๆ……………….
แล้วก็ผ่อนออกยาวๆ……………..
ทำอย่างนี้…….อย่างเนิบนาบ…….อย่างเชื่องช้า……..
อย่างมีศิลปะ……..ผ่อนคลาย…….เบาสบาย……………
แล้วก็รอบรู้ในระบบการเดินลม……………..


   ต้องหายใจปกตินะ ไม่ใช่ถี่เป็นหมาหอบแดด หายใจให้เป็นปกติ แล้วจับเวลาดู ต่อมาก็พยายาม ทำลมหายใจให้ยาวกว่าปกติบ้าง เข้าและออกปกติบ้าง สลับสับเปลี่ยนกันไป เพื่อไม่ให้เหนื่อยและเครียด คอยจับเวลาไว้ ดูว่าเราเหนื่อยมั๊ย ถ้าเหนื่อยก็พัก ถ้าไม่เหนื่อยก็ทำต่อไป…..

    ในขณะที่คุมลมหายใจให้เข้ายาวออกยาวนั้น เราจะต้องเอาความรู้สึกทั้งปวงจับที่ลมหายใจ ไม่มีอารมณ์อื่นใดปรากฏเลย…………..แล้วเมื่อใดที่มีอารมณ์ปรากฏ เราจะลืมหายใจ ก็แสดงว่า ระบบการหายใจเราจะล่มสลาย หรือไม่ได้ผลทันที เมื่อมันไม่ได้ผลก็แสดงว่า เราทำไม่สำเร็จ………………..

   ถ้าเราทำสำเร็จ เราจะรู้สึกว่า สุขภาพเรา ความเหนื่อยในการทำงาน ความเครียด ความเมื่อย ความล้า ความเพลีย จะผ่อนคลายได้ด้วยระบบลมหายใจ………….

   เวลาที่หลวงปู่ทำงานเหนื่อยๆอ่อนระโหยโรยแรง ขอเพียงเหนื่อยนักพักหน่อยก็หาย ร้อนนักอาบน้ำก็สบาย หิวนักกินข้าวก็หาย กระหายนักดื่มน้ำก็คลาย แต่สำหรับสามัญชน หิวก็กิน แต่บางทีกินก็ไม่หาย เหนื่อยพักก็ยังไม่คลาย อาบน้ำก็ยังไม่สบาย เพราะมันไม่รู้จักดื่มด่ำต่อธรรมชาติที่กำลังจะเกิดขึ้นในการสัมผัสนั้นๆ เช่น อาบน้ำ กิน นั่งพัก มันดื่มด่ำไม่ได้ มันรับสัมผัสอย่างละเอียดอ่อนไม่ได้ ได้ครึ่งทิ้งครึ่ง คุณค่าของอาหาร คุณภาพของความเย็นฉ่ำแห่งน้ำ ความโปร่งเบาสบายแห่งลม ความอบอุ่นหวั่นไหวของไฟ ความมั่นคง มั่งคั่งแห่งดิน คุณค่าของเวลาที่สูญเสีย เราอาจจักได้

  ประโยชน์ไม่เท่าเสีย แต่พวกที่รู้จักวิธีการฝึกปรือลมหายใจ จะได้อย่างคุ้มค่า คุ้มราคา อย่างหลวงปู่นี่ถ้าเหนื่อยก็จะนั่งพัก หรือจะนอน แต่เป็นการนอนนิดหน่อย ไม่ใช่นอนนาน แค่หลับตาให้สายตามันพัก แล้วก็ผ่อนคลายลมหายใจ เราจะตื่นมาอย่างกระปรี้กระเปร่า สดชื่น เหมือนคนที่นอนมาแล้ว 2 ชั่วโมงอย่างสบาย………..
 
   ถ้าถามว่าจำเป็นต้องมีท่าทางไหม ตอบว่าไม่จำเป็น กิริยาอย่างไรทำได้เสมอ นั่งอย่างไรก็ได้ เพราะนั่งก็หายใจ นอนก็หายใจ เดินก็ต้องหายใจ เพียงแต่เราคุมมันให้เข้ายาวและออกยาวเท่านั้นเอง เราก็สามารถจะผ่อนคลายอารมณ์ได้ แล้วมันจะทำให้เรามีความคิด มีสติปัญญา สมาธิ ที่สดชื่น อยู่ตลอดเวลา เป็นคนที่ควรค่าต่อการอนุรักษ์ เพราะมีค่าต่อการกระทำและความคิด………………

   ดังนั้น ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง และ นอน ถ้าเรามีสติในการกำกับลมหายใจ ให้มันเป็นขั้น เป็นตอน และผ่อนคลาย พอดีๆ มันจะมีพลังคงที่ ในขณะที่เราทำงาน มันจะเป็นความผาสุก ความเพลิดเพลิน และความสนุก ถ้าเรารู้จักระบายลมหายใจเป็น สูดลมหายใจเป็น และวิธีแก้ปัญหาที่เกิดจากการงานและหน้าที่ ไม่มีอะไรดีเท่ากับการเดินลมหายใจ…………….

เพราะฉะนั้น จงหาเวลาว่างอย่างน้อยสัก 5 นาที ต่อการทำงานที่แสนยุ่ง ออกมานอกสถานที่ แล้วสูดลมหายใจเข้าช้าๆ ออกช้าๆ 4-5 ครั้ง หรือ 10-20 ครั้ง ในขณะที่เราเลิกจากการผ่อนคลายลมหายใจ เราจะมีความกระชุ่มกระชวย รู้สึกกระฉับกระเฉง สดชื่น กระปรี้กระเปร่า อยากจะทำงานอย่างขยันและชาญฉลาด จะมีแต่ความสุขสมบูรณ์ต่อการมีชีวิต ในขณะเดียวกัน เมื่อเราเผชิญต่อปัญหาบีบคั้นทางอารมณ์ ทางเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เราสามารถเอาชนะมันได้ทุกขั้นตอน อย่างเป็นผู้ฉลาด สะอาด เราจะเป็นคนอารมณ์ดี หัวเราะได้ง่าย และผ่อนคลายทุกที่อย่างสบายๆและก็ไม่ตะกาย ไม่ทะยานอยากอะไร ชีวิตเราจะมั่งคั่ง มั่งมีต่อความสุขเฉพาะตัวอันเสรี……………..

   ศิลปะการเดินลมหายใจ ทำให้สมองเรากระฉับกระเฉง ว่องไว สดชื่น สั่งงานอวัยวะทั้ง 32 ได้อย่างมีคุณภาพและมีพลัง จะสังเกตว่า หลวงปู่ไม่เคยมึน  ไม่เคยงงต่อปัญหา ไม่เคยล่าช้าต่อการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของใคร มาอย่างไร ถามเรื่องอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ใครเป็นคนถาม ไม่เคยมีปัญหาอะไรที่ตอบไม่ได้ ถ้าอยากจะตอบ แต่ถ้าไม่อยากตอบ ต่อให้เทวดาถามก็ไม่ตอบ….

  เพราะฉะนั้น ศิลปะการหายใจและผ่อนคลาย มันทำให้เรามีพลังต่อการที่จะโต้ตอบ มีอำนาจ มีตบะ มีสมาธิที่อยู่เฉพาะหน้า ที่เราจะเผชิญต่อปัญหานั้นๆ แล้วชีวิตเราก็จะมีค่า มีราคา มีสาระ ที่ทำให้คนเรียกถามและเคารพบูชา…………..

………………..จบเรื่องการหายใจเป็น……………….

ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

701

   ศิลปะการหายใจไม่ใช่เพียงให้เรามีอำนาจพิเศษเพียงแค่นี้ มันยังทำให้เราสามารถสำรวจและสัมผัสรังสีที่เกิดจากคลื่นกระแสของความคิดที่ชาวบ้านมีต่อเรา คือ อิจฉา โกรธ โลภ หลง รัก ชอบ ชัง ยอมรับและปฏิเสธ เราสามารถที่จะสัมผัสได้ละเอียดอ่อนถึงอย่างนี้ในอารมณ์ของคนอื่น เราจะรู้ได้ทันทีว่า คนที่มาหาเรา จะมีความรู้สึก ความคิดอย่างไร สมองกำลังทำอะไร มีอารมณ์ปกติหรือผิดปกติอย่างไร โกรธหรือว่าชอบ รักหรือชัง การสัมผัสด้วยลมหายใจอันละเอียดอ่อน มันจะทำให้เราเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น อย่างทรงสติ แล้วเมื่อใดที่เราเหนื่อยอ่อน เมื่อยล้า จากการทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยและเจ็บปวดในอวัยวะทั้งหลายในบางที บางที่ บางตำแหน่ง บางส่วนของร่างกาย เราสามารถจะใช้ลมหายใจ เข้าไปผ่อนคลายความเครียดตรงนั้น ให้คลายความเจ็บปวด คลายความทุกข์ทรมานลงได้ จนเกือบที่จะหายสนิททีเดียว……………

    หลายครั้งที่หลวงปู่ ใช้ศิลปะในการเดินลมหายใจ เข้ามาผ่อนคลายความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ หรือจากการเบียดเบียนของสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น ตอนที่หลวงปู่ทำศาลา แล้วเกือบโดนหินกระแทก ตอนนั้นหลวงปู่ต้องทำมือให้ลีบ แล้วก็เกร็งพลัง เพื่อที่จะต้านพลังของหินสองก้อนที่มากระทบกัน ซึ่งมีมือเราอยู่ตรงกลาง มันเป็นศิลปะที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ ไม่ได้กำหนดโดยสมอง ไม่ใช่สมองสั่งงาน เรียกว่า เป็นอิริยาบถอัตโนมัติทันที เหตุเพราะเราได้ฝึกปรือลมหายใจจนเป็นปกติ เพราะฉะนั้น ทุกอย่างมันจะเป็นอัตโนมัติของมัน ถ้าเราฝึกถึงขั้นหนึ่งแล้ว…………..

   ถ้าเรายังไม่รู้ว่า การหายใจของเรานั้น เข้ายาวหรือออกสั้น เข้าสั้นหรือออกยาว ก็แสดงว่า เราไม่ได้ควบคุมการหายใจ เราก็ไม่ใช่ผู้ฝึกสมาธิ เราไม่เป็นสมาธิ ไม่รู้จักสมาธิ และนั่นก็ไม่ใช่สมาธิด้วย………………

   แต่ถ้าเมื่อใดที่เราสามารถระลึกรู้ได้ว่า ในขณะที่เรากำลังหายใจ และการหายใจของเรา มันสั้นหรือยาว ออกยาวหรือสั้น เราระลึกรู้ได้และตามติดมันได้ มันจะสามารถบอกเราได้ทันทีว่า ความสงบ สันติ จะเกิดขึ้น นั่นแหละคือสมาธิ เป็นสมาธิโดยไม่มีอะไรเข้ามาวุ่นวาย และคิดสับสนในขณะนั้น………………..

  คำว่า “สมาธิ “ ตัวนี้ แปลว่า ความคิดต้องรวมเป็นหนึ่ง หลวงปู่เคยสอน”วิชานิรรูป” ให้ลูกหลาน รวมกายกับใจ ผนึกรวมกันเป็นหนึ่ง เหมือนกับน้ำที่วิ่งแยกออกไปคนละสายสองสายในสายท่อเดียวกัน น้ำที่วิ่งออกจากตาเห็นรูป เป็นพลังที่สูญเสีย วิ่งจากหูฟังเสียง เป็นพลังที่สูญเสีย วิ่งจากลิ้นที่รับรส เป็นพลังที่สูญเสีย วิ่งออกจากกายไปต้องสัมผัส เป็นพลังที่สูญเสีย ถ้าสายน้ำในท่อไหลแยกออกที่รูรั่วตามจุดต่างๆ 5 แห่ง มันคงจะไหลไปถึงเป้าหมายอย่างอ่อนแรงเป็นแน่ แต่ถ้าเราอุดรูรั่วทั้งห้าให้หมด แล้วปล่อยให้มันไหลตรงๆไปข้างหน้า แน่ละมันย่อมทะลวงทำลาย และก็ทลายภูเขา หินผา ที่อยู่ข้างหน้า เพราะมีพลังที่แรงและมั่นคง……………

   ฉันใดก็ฉันนั้น พลังสมาธิของเราก็เหมือนกัน ถ้าปล่อยให้มันลื่นไหลไปกับความรู้สึกอื่นๆ ซึ่งจัดว่าเป็นอารมณ์ นั่นไม่ใช่สมาธิ เราจะสูญเสียพลัง……………

   พวกเราฝึกปรือและเรียนรู้ที่จะใช้พลัง แต่ไม่ฝึกปรือที่จะทำให้เกิดพลัง ตลอดชีวิตที่ผ่านมา เราพยายามที่จะเค้นเอาพลังจากส่วนนั้นส่วนนี้มาใช้ แต่เราไม่รู้ว่าพลังเหล่านี้เกิดมาจากอะไร เราจะอ้างว่า พลังเกิดจากร่างกาย แต่จริงๆแล้ว พลังไม่ใช่เกิดจากร่างกายโดยตรง มันเป็นผลทางอ้อมทั้งนั้น ไม่ว่าพลังจะเกิดจากอาหาร เกิดจากการผ่อนคลาย เกิดจากการพักผ่อน ไม่ใช่โดยตรง แต่พลังที่สุดยอดนั้นมันเกิดจากหัวใจที่รวมเป็นหนึ่งกับกาย และพักผ่อนได้อย่างสนิท เวลาเราง่วง เพลีย เราก็อยากจะพัก ใจก็อยากจะพัก สมองก็อยากจะพัก แต่เราไม่เคยพักสมอง เพราะแม้แต่ตอนนอนก็ยังฝัน ใครจะปฏิเสธว่าไม่จริง……………..

   เพราะฉะนั้น พลังที่ควรจะได้ ไม่ใช่ได้จากอาหารอย่างเดียว ไม่ใช่ได้จากการนอนหลับพักผ่อนอย่างเดียว ไม่ใช่ได้จากการที่ต้องไปดูหนังดูละคร พักผ่อนเล่นดนตรีอย่างเดียว แต่มันต้องได้มาจากความสงบและสันติของจิต ซึ่งไม่มีอะไรมากระทบรบกวน เรียกว่า “สมาธิ “นั่นแหละเป็นพลัง เราไม่ค่อยฝึกปรือที่จะสร้างพลัง มีแต่ฝึกปรือที่จะใช้พลัง และเพียรพยายามที่จะเค้นเอาพลัง ทั้งๆที่บางทีก็ไม่มีพลัง……………..
ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงต้องทรงสอน ให้เราพยายามเข้าถึงจุดกำเนิดแห่งพลัง และในจุดกำเนิดแห่งพลังอันนั้นก็คือ “ศิลปะของการหายใจ “……………
เรารู้กันมาแล้วว่า คนที่หายใจสั้น สัตว์ที่หายใจสั้น จังหวะสั้น เป็นคนที่ไร้พลัง เป็นสัตว์ที่ชีวิตสั้น เป็นผู้มีอายุสั้น คนที่หายใจยาว มีจังหวะเข้ายาวออกยาวเป็นคนมากพลัง มีชีวิตอันยาวไกล……………….

   เมื่อรู้อย่างนี้ เราก็ต้องกลับมาสร้างพลังให้เกิดขึ้นภายใน เรียกภาษาโบราณของจีนว่า กำลังภายในพลังปราณ เมื่อเรามีกำลังภายในเกิดขึ้น มันจะทำให้เกิดผลสะท้อนออกมาถึงพลังภายนอกอย่างกล้าแข็ง………………

   ลูกศิษย์ของหลวงปู่คนหนึ่ง เรียนลัทธิเต๋า ตอนหลังมาศึกษาวิชาชี่กง แต่ก็ยังไม่เข้าถึงขุมพลังแห่งร่างกาย ต่อมาหลวงปู่สอนให้เค้าเดินลม จนสามารถที่จะตบกำแพงตึกห้องที่หนึ่งสะเทือนไปถึงกำแพงตึกห้องที่สิบ คนอยู่ห้องที่สิบได้ยินเสียงตบด้วยฝ่ามือ กำแพงไม่ได้ทะลุหรอกนะ แต่มันกระเทือนไปถึงตรงนั้นได้ ซึ่งคนธรรมดาตบแล้วกระเทือนไม่ได้ กระแทกจนกำแพงทะลุก็ยังกระเทือนไม่ถึงห้องที่สิบ……………

   พลังชนิดนี้ มันเป็นพลังแฝงที่อยู่ภายใน เรียกว่า “พลังพันธาริณี” เป็นภาษาสันสกฤตโบราณ คนโบราณในอินเดียรู้จักจะฝึกปรือพลังชนิดนี้ เอามาใช้เมื่อยามจำเป็น เช่น นักมวยปล้ำ พวกที่จะต้องจับช้าง สู้กับเสือ กับกระทิง พวกนี้จะฝึกปรือพันธาริณี เพื่อที่จะสยบช้าง สยบสิงโต สยบเสือ ด้วยมือเปล่า ไม่ใช่ด้วยอาวุธ…………….

  พลังพันธาริณี ก็คือ ศิลปะการหายใจ มีการฝึกอย่างพิศดาร คือ ไม่นั่ง ไม่นอน ได้แต่ยืนดูดาว มองฟ้า มองดิน และก็พยายามจะทำการหายใจสั้น หายใจยาวอยู่ตลอด เอาพระจันทร์เข้ามาโคจรไว้ในกาย ดึงเอาดวงอาทิตย์เข้ามาไว้ในลูกตา จนตาบอดไปก็มี นี่คือ วิธีฝึกของการเข้าถึงพลังพันธาริณี แต่เราไม่ต้องไปเรียนหรอก เพราะเรียนแล้วก็มิได้ทำให้พ้นทุกข์ ไม่มีครูคอยแนะคอยสอนก็กลายเป็นคนบ้าบอไปก็มี………………


ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

702
พระศาสดาจึงยกย่องว่า……………

“ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอันใด อันเลิศเท่าอานาปานะ…………
ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอันใด อันเลิศเท่ากับ การเจริญสติในลมหายใจ………..
ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอันใดเลิศเท่ากับ การรู้จักจะผ่อนคลายลมหายใจ ให้เป็นจังหวะ สำหรับการมีชีวิตอย่างมีพลังและผาสุก”


   เทคนิคของลมหายใจ มิใช่เพียงแค่จะสามารถสัมผัสกับพลังพิเศษๆจากธรรมชาติอย่างเดียว มันสามารถซึมซับพลังพิเศษๆจากธรรมชาติได้ด้วย ในขณะเดียวกันเทคนิคของการหายใจเข้ายาวและออกยาวนั้น สามารถทำให้เราขับไล่พลังร้าย อารมณ์ร้าย แล้วก็พิษร้ายๆในร่างกายได้อีก ซึ่งเราไม่คิดว่ามันจะทำได้ แต่มันก็ทำได้ผลจริงๆเสียด้วย………….

    หลวงปู่เคยใช้วิชาลมหายใจขับพิษงูสามเหลี่ยมออกจากกาย สยบพิษตัวต่อ 14 ตัว ไม่ให้เข้าหัวใจ ใช้วิชาลมหายใจสกัดจุด โดยการระบายลม เดินลม 7 ฐาน ให้เลือดเสียออกมาทางจมูกและปาก พยายามบังคับพิษไม่ให้ซึมเข้าสู่ในสมอง ในสายเลือด ในการหมุนเวียนของเลือด แล้วก็ควบคุมรักษาความสมดุลของหัวใจและการทำงานของสมอง นอกจากนั้นก็ปล่อยให้พิษซ่านไปตามผิวหนัง เพราะแค่คุม 2 จุดนี้ ร่างกายของเราสามารถอยู่ได้ เราจะมีสติรู้ว่า หัวใจเราปกติมั๊ย
สมองปกติมั๊ย พิษถึงสมองหรือเปล่า…………….

   ฉะนั้น อำนาจของการหายใจ มิใช่เพียงแค่เราจะซึมซับพลังธรรมชาติ อณูของบรรยากาศเท่านั้น แต่ยังทำให้เราขจัดอำนาจของพิษร้าย ที่เกิดจากภัยของสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์มีพิษทั้งหลายได้ และมันทำให้เราพร้อมที่จะตายอย่างเป็นผู้กล้าได้ด้วย………..

   มีอยู่ครั้งหนึ่งหลวงปู่ป่วย ไอเป็นเลือดตลอดเดือนเต็มๆ แล้วมีเสลดหนา ไออยู่อย่างนั้น จนกระทั่งเสลดไปอุดหลอดลมไม่ให้หายใจ จึงหายใจไม่ออก ขลุกขลักๆ ร้องเรียกใครก็ไม่มีใครได้ยิน ตอนนั้นมันหมิ่นเหม่กับมัจจุราช แล้วความตายมันใกล้เคียงกันถึงขนาดเส้นผมบังเท่านั้นเอง แต่ด้วยพลังของลมหายใจที่เคยฝึกปรือจนเป็นปกติ จึงใช้หลักการหายใจ ขับเอาพลังเสลด ให้ไหลย้อนกลับลงไปในลำไส้ แล้วก็สูดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง พ่นออกมาเป็นก้อนๆ ตั้งแต่นั้นมาก็หายไอ…….

    ศิลปะการหายใจที่เป็นปกติ เข้ายาวและออกยาว ตอนฝึกใหม่ๆ เราจะรู้สึกอึดอัดและปวดหัว ทำให้หัวใจเต้นแรง แล้วก็เหนื่อย แต่อย่าไปเครียดกับการฝึก เราต้องสูดลมหายใจเข้าลึกๆช้าๆ แล้วก็ค่อยๆผ่อนออกมาช้าๆเป็นระบบ……………..
จริงๆแล้วพวกทหารสอนวิธีนี้ แต่เป็นการสอนชนิดที่ไม่รู้ว่ามันได้ประโยชน์อะไร สอนเพียงแค่จะให้ยกอกขึ้น ให้สูดลมหายใจเพียงแค่จะแบะอก แต่ศิลปะการหายใจ มิใช่เพียงแค่ให้แบะอก คนที่หายใจเข้ายาวออกยาวนั้น โครงสร้างของร่างกายจะผึ่งผายด้วย จะทำให้โครงสร้างดี ถ้าฝึกตั้งแต่เด็กๆ………………

   ทีนี้ ทำอย่างไรถึงจะหายใจเป็น ก็เริ่มต้นจากการฝึกหายใจเป็นปกติเสียก่อน เราเคยรู้มั๊ยว่า เราหายใจปกติอย่างไร เข้ากี่ที ออกกี่ที ใน 1 นาทีเข้ากี่ครั้ง ออกกี่ครั้ง ก็ทำให้มันช้าลงกว่านั้น แล้วเราจะรู้เทคนิคของมันเองว่า จะช้าได้อย่างไร ถ้าเราทำให้ยาวแล้ว มันก็จะยาวเป็นปกติ….
หลังจากที่เราเริ่มหายใจเป็น เพียงแค่หนึ่งชั่วโมงในหนึ่งวัน มันจะมีสิ่งผิดปกติในร่างกายของเราบ่งบอกให้เห็น ลูกตาจะเป็นประกาย สีหน้าจะมีแสงสว่าง ถ้าเรามีดวงตาอันสว่างไสวและมองเห็น จับได้ จะสามารถรู้สัมผัสว่า รัศมีรอบกายจะสว่างรุ่งเรืองแค่ไหน มันอยู่ที่การเดินลมหายใจ เรียกว่า “ฉัพพรรณรังสี”………………

   พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระสาวก มี “ฉัพพรรณรังสี” เพราะการฝึกปรือลมหายใจ วิชานี้ถ้าใครฝึกได้ ก็จะสามารถเปล่งพลังแสงในร่างกายให้สว่าง การเปล่งนั้น คนสามัญจะสัมผัสและจับไม่ได้ แต่คนที่มีตาวิเศษ มีหูวิเศษ มีการสัมผัสทางกายที่วิเศษ จะสามารถรู้ได้ว่า คนคนนี้สะอาดแค่ไหน บริสุทธิ์อย่างไร เหมือนกับคนที่รู้จักตัวหิ่งห้อยบินมาในความมืด คนที่ไม่รู้จักตัวหิ่งห้อย ก็จะมองว่า เอ๊ะ……นั่นแสงอะไร แต่สำหรับคนที่เคยเห็นตัวหิ่งห้อย ก็จะบอกได้ทันทีว่า นั่นแสงหิ่งห้อย………….

    เมื่อเราสามารถหายใจยาว เข้าออกยาว จนสามารถสกัดจุดต่างๆในร่างกายได้ สกัดพิษได้ และทำให้ร่างกายสดชื่น ในขณะที่สูญเสียพลังได้ เราจะแก่เพียงแต่อายุ เส้นผม ผิวหนัง สายตา แต่สิ่งแวดล้อมในตัวเราจะไม่แก่ตาม ร่างกายและสุขภาพเราจะยังสดใส มีพลัง มีสมดุล พอสมควรที่จะทำกิจกรรมได้………………

ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

703
การหายใจเป็น หลวงปู่พุทธะอิสระ

   จริงๆแล้ว ทุกคนหายใจได้ แต่รู้บ้างมั๊ยว่า เรายังหายใจกันไม่เป็น มาดูกันว่า ชีวิตที่มันยืนยาว กับชีวิตที่สั้น มีลมหายใจต่างกันอย่างไร……………
ลองสังเกตดูว่า ไม่ว่าจะเป็นนกก็ดี หมูก็ดี หนูก็ดี ปลาก็ดี ไก่ก็ดี หมาก็ดี แมวก็ดี มันจะมีลมหายใจถี่ และไม่เป็นจังหวะเข้า-ออกที่สม่ำเสมอ…………….

    ทางวิทยาศาสตร์ถือว่า ลมหายใจที่เข้า มันสูดเอาสิ่งที่ดีๆเข้าไป เพื่อจะปรุงเป็นโลหิต ไปหล่อเลี้ยงร่างกายให้มีพลัง การหายใจยาวๆ หมายถึง การได้สูดเอาของดีๆให้เข้าไปขับไล่ของเสียออกมาจากการหายใจออก ในขณะเดียวกัน มันก็ทำหน้าที่ปรุงพลังให้กับร่างกาย……………

   มีเรื่องพิสูจน์ยืนยันได้ว่า การหายใจเข้า-ออก ยาวกว่าคนปกติธรรมดา จะมีชีวิตยืนยาวได้เป็น 300 – 400 ปี หรือไม่ตายแม้กระทั่งฝังทั้งเป็น อย่างในประเทศอินเดีย มีโยคีนอกศาสนาเรียนวิชาโยคะ วิชาโยคะมี 38 ท่า ในท่าสุดท้าย จะมีวิธีการฝังตัวและหายใจแบบกบ เรียกว่า กบจำศีล มีอาจารย์โยคะท่านหนึ่ง สามารถที่จะฝังตัวเองได้เป็นสิบปี เมื่อถึงเวลาแล้ว ลูกศิษย์ไปขุดดู ปรากฏว่าอาจารย์ยังสบายดี ไม่ตาย ทั้งนี้ก็ได้มาจากการหายใจ ความละเอียดอ่อนของลมหายใจ และการรู้จักขั้นตอนในการระบายลมเข้าและออก…………..

   ฉะนั้น “ลมหายใจ” นอกจากจะมีประโยชน์ในการให้พลังต่อร่างกายแล้ว มันยังหล่อเลี้ยงให้เรามีชีวิต มีพลังความคิดและมีอำนาจต่างๆเกิดขึ้นมากมาย จากการที่คนหายใจเป็น สัตว์หายใจเป็น……………..

    แต่ผู้ที่หายใจไม่เป็น สัตว์ที่หายใจไม่เป็น เราจะเห็นว่าอายุจะสั้น เช่น แมวตายก่อนหมา หมาตายก่อนควาย ควายตายก่อนวัว วัวตายก่อนช้าง ช้างตายก่อนปลาวาฬ อะไรเหล่านี้ จะเห็นว่ามันมีการหายใจต่างกัน…………….
ถ้าถามว่าเกี่ยวกับระบบสรีระด้วยรึเปล่า? เกี่ยวกับปอด เกี่ยวกับถุงลม เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ด้วยรึเปล่า ?…………………

   สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยกรรมพันธุ์อย่างเดียว แต่มันเกิดขึ้นโดยการกระทำด้วยเหมือนกัน เช่น ถ้าเราฝึกปรือให้เด็กทารกรู้จักหายใจเข้ายาว ออกยาว เป็นจังหวะ มันก็สามารถที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมทางร่างกาย เปลี่ยนแปลงกรรมพันธุ์ทางร่างกายได้อย่างน่าอัศจรรย์ทีเดียว
เช่นในกรณีของคนที่มีพันธุ์หน้าอกเล็ก ปอดเล็ก ถุงลมเล็ก ถ้าเราฝึกให้รู้จักหายใจเป็น หายใจเข้าและออกยาวตั้งแต่เล็กๆ มันจะสามารถขยายทรวงอก ขยายโครงสร้างของร่างกายและขยายอวัยวะต่างๆในร่างกาย ให้ทำงานได้เหมือนกับคนที่มีร่างกายแข็งแรงใหญ่โต เรื่องนี้เป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์……………….

    หลวงปู่เคยใช้วิชาหายใจรักษาคนที่เป็นโรคปอด เป็นมะเร็งในปอด จนปอดเหลือข้างเดียว ตอนนั้นเค้าอายุ 40 กว่า จนอยู่มาได้ถึง 70 กว่า ด้วยวิธีการค่อยๆผ่อนลมหายใจให้เป็นปกติ
การหายใจเข้าลึกๆ และผ่อนคลายออกยาวๆนั้น มันจะสามารถขับความร้อนในกาย ที่เกิดจากการเสียดสีของการทำงาน มันจะขับของเสีย ที่มีอยู่ในกายออกไป ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องออกมาเป็นเหงื่อ……………..

    แน่นอนละ ทางการแพทย์ย่อมรู้ว่า การขับเหงื่อออกมาเป็นการดี เพราะสามารถจะระบายของเสียในร่างกาย แต่ของเสียในร่างกาย มิใช่ออกมาจากเหงื่ออย่างเดียว มันออกมา จากลมได้ก็มี…………..

พวกเราจะสังเกตเห็นว่า หลวงปู่ไม่มีเหงื่อหยดติ๋งๆ ไม่ใช่เพราะว่าต่อมต่างๆมันอุดตัน แต่หลวงปู่จะใช้วิธี การหายใจระบายของเสียโดยลม แต่ไม่ยอมให้ร่างกายเสียน้ำ เพราะถ้าเสียน้ำมาก จะเพลียมากกว่าเสียลม คนที่เหงื่อออกมากๆในเวลาทำงานนั้น เมื่อเลิกทำงานจะรู้สึกเพลียและกะปลกปะเปลี้ยไปหมด คือว่าร่างกายเสียน้ำ ขาดน้ำ แต่หลวงปู่พยายามทำให้เหงื่อออกน้อยที่สุด แล้วพยายามระบายลมให้คงที่ เป็นปกติ ความเหนื่อยของเรา ก็จะผ่อนคลายออกมากับลมหายใจที่พ่นออก พลังเราก็จะเข้าไปกับลมหายใจที่สูดเข้า และเมื่อถึงเวลา เราจะระบายของเสียอีกประเภทหนึ่งออกมา ก็คือ ปัสสาวะ ถ้าเราเหนื่อยจัด หรือว่ามีของเสียมาก เราจะรู้สึกปวดปัสสาวะ นี่คือเทคนิคของผู้ที่มีศิลปะในการกำจัดของเสีย…………….

   พวกที่รู้จักการหายใจ มีศิลปะในการระบายลมหายใจ นอกจากร่างกายจะมีพลังปกติ โคจรได้อย่างสมบูรณ์ ยังมีเคล็ดวิเศษในวิชานี้อีก คือสามารถดูดพลังจากธรรมชาติได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ถ้าไม่เชื่อ ลองถามลูกหลานที่เคยอยู่ใกล้หลวงปู่ว่า ถ้าหลวงปู่เป็นลมล้มลงไป จะไล่ทุกคนออกจากห้องทั้งหมด ขอเพียงอยู่ลำพังสัก 3 – 10 นาที หลวงปู่สามารถลุกขึ้นมาทำงานได้เป็นปกติทุกอย่าง เหมือนมีพลังเท่าเดิม เพราะสามารถจะดูดพลังจากไอของความชื้น ความร้อน สุริยัน จันทรา และสิ่งแวดล้อมได้…………….

   ใครจะปฏิเสธมั๊ยว่า ผิวหนังสามารถจะหายใจและระบายของเสีย พร้อมๆกับสูดเข้าได้ ถ้าปฏิเสธตรงนี้ ก็ต้องบอกว่า ถ้าอย่างนั้นเชื้อโรคและของที่เป็นพิษเข้าทางผิวหนังได้อย่างไร นี่แหละศิลปะในการหายใจ ทำให้เราสามารถหายใจทางผิวหนังได้ สูดของเสียและระบายของเสียออกจากผิวหนังได้ ในขณะเดียวกันก็สูดอากาศเข้าสู่ผิวหนังได้ ก็อย่างที่เล่าว่า โยคีที่ฝังตัวเองไว้เป็น 10 ปี ยังไม่ตาย เค้าหายใจทางไหน ได้รับน้ำกับความชื้นจากอะไร ก็จากผิวหนัง นี่คือ ศิลปะการสูดลมหายใจเป็นปกติและเทคนิคพิเศษ…………..

ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

704

ที่มา
http://taehome.blogspot.com/2010_04_18_archive.html

ศิลปะในการหายใจนี้ ถ้าทำได้ถึงขั้นแล้ว เราจะสามารถขยับกระดูกของเราได้ ข้อกระดูกของเราจะลั่น ดังกร๊อบ คือ มันจะลั่นเข้าที่ และมันจะทำให้เรารู้สึกหายเมื่อย หายปวด หายเครียด และหายเพลีย………….
หลวงปู่จำได้ว่า สมัยหลวงปู่ไปธิเบต ได้พบเพื่อนภิกษุสหธรรมิก ซึ่งท่านเป็นคุรุผู้เฒ่าองค์ที่ 5 องค์ที่ 6 และก็องค์ที่ 8 รู้มั๊ยว่า คุรุเหล่านั้นมีอายุเท่าไร 112 ปี 106 ปี แล้วก็ 114 ปี หลวงปู่ก็ไม่เชื่อหรอก เขาพูดให้ฟังเท่านั้น แต่ว่าสิ่งหนึ่ง ที่เราจะเห็นจากพวกเขาก็คือ พวกเขาอยู่ในถ้ำน้ำแข็ง ในเทือกเขาหิมาลัย ที่เป็นดินแดนแห่งหิมะ โดยไม่ต้องห่มผ้าหนาๆ แต่ห่มผ้าจีวรชั้นเดียวอย่างหลวงปู่นี่แหละ………..
วิธีฝึกโกลัมปะ ก็คือ การทำสมาธิ แบบการควบคุมลมหายใจ ให้สม่ำเสมอ ชัดเจน เป็นระบบ อย่างที่หลวงปู่ได้กล่าวไว้แล้วในเบื้องต้น ลำดับพิธีของพวกเขาก็คือ การเอาผ้าที่ทอด้วยขนจามรี ชุบน้ำให้เปียกแล้วก็หุ้มห่อตัว ผ้าที่ทอด้วยขนจามรีมันหนายิ่งกว่ากระสอบป่านใส่ข้าวของบ้านเราซะอีก เสร็จแล้วก็จุดธูปไว้ 1 ก้านธูป ทำอย่างไรให้ภายใน 1 ชั่วธูป ต้องทำให้ผ้านั้นแห้ง ลองคิดดูว่าผ้าหนา ชุ่มน้ำอย่างนั้น ตากแดดทั้งวันยังไม่แห้งเลย แต่เขาสามารถทำให้ผ้าที่ทอด้วยขนจามรีแห้งใน 1 ชั่วธูป วิชาที่กล่าวมานี้ ถ้าเปรียบกับวิชาพุทธศาสนาก็คงเป็น ศิลปะการหายใจ บวกกับกสิณไฟนี่เอง…………….
เข้าใจถึงความหมายของการหายใจที่เป็นศิลปะแห่งการผ่อนคลายแล้วหรือยัง…………


อยากจะสรุปว่า ทั้งหมดทั้งหลายทั้งปวงนี่แหละ เป็นเรื่องดีที่เราต้องค่อยๆซึมสิง ซึมซาบ และศึกษาจากายนี้อย่างจริงจัง และตั้งใจ จดจ่อ จับจ้องมันจริงๆ หลวงปู่ได้เรียนรู้ศิลปะในการหายใจครั้งนี้ในถ้ำพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นสถานที่บำเพ็ญพรต ของเหล่าพระโพธิสัตว์ เป็นเหมือนคลังแห่งสรรพวิทยา เป็นที่ฝึกฝน อบรม วิชาการต่างๆ ซึ่งจะมีบรรดาเหล่าพระมหาโพธิสัตว์ ผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนกันมาถ่ายทอดสรรพวิทยาทั้งปวง ให้แก่สามัญโพธิสัตว์ทั้งหลาย ด้วยสรรพวิทยาเหล่านั้น ทำให้หลวงปู่ชนะงูพิษ ชนะพิษภัยที่งูมันกัด ทำให้หลวงปู่รู้จักยืนหยัดอยู่ได้ อย่างไม่ง่วง อย่างไม่เพลีย ไม่ละเหี่ย และไม่เมื่อยล้า ในขณะที่ไม่ได้หลับไม่ได้นอนตลอด 2 ราตรี แถมกลางวัน ยังต้องทำภารกรรมต่างๆดังที่พวกเราได้เห็น เราจะเห็นว่า หลวงปู่ไม่เคยแม้แต่จะนั่งโงกง่วง หรือแสดงความท้อแท้ ท้อถอย ต่ออุปสรรคใดๆในการทำงาน ไม่เคยวิตกกังวล กลัดกลุ้ม ทุรนทุราย ต่อการบีบคั้นในกระบวนการใดๆ เพราะฉะนั้น ระบบการหายใจของเรา มันเป็นการบริหารกายนี้อย่างมีประสิทธิภาพ มากด้วยสาระ พร้อมทั้งยังเป็นการออกกำลังกายที่ยิ่งใหญ่ ที่ใครๆมักจะมองข้ามมันไป……………….
ศิลปะในการหายใจนี้ สำหรับหลวงปู่แล้ว มันเป็นความจำเป็นที่ยิ่งใหญ่จริงๆ
ลูกรัก………
ลมหายใจที่เข้าและออกในตัวของลูกนั้น มันมีความหมายและสำคัญต่อตัวลูกมาก เพราะนอกจากจะให้ชีวิตและพลังแล้ว ลมหายใจยังให้การเรียนรู้ ให้ความตั้งมั่น ให้ความสำเร็จ ให้ความสงบ ให้ความสุข และเป็นบทพิสูจน์คุณค่าของการมีชีวิตอีกด้วย………..

ลูกรัก………มีลมหายใจ มีชีวิต………………..
ได้พลัง ใช้พลัง สร้างสรรค์ผลงาน…………
หมดลมหายใจ ไร้ชีวิต……………….
สิ้นพลัง ไร้ผลงาน………………….
นี่มันเรื่องของคนตาย………………

ลูกรัก…………..
ความสำเร็จที่แท้จริง จะเกิดขึ้นจาก……………….
ความเพียรพยายาม อดทน อดกลั้น………………..
จริงจัง และ ตั้งใจ……………………
และลงไม้ลงมือกระทำ………………….

ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

705

    เอาละ…….ขยับโยกไปข้างหลังอีกหน่อย ตรวจสอบก้นกบ และโครงสร้างของเรา ต้องทำอย่างจริงจังและจับจ้องต่อมัน แล้วก็กลับมาอยู่ในท่าตรง ขยับหัวไหล่ แล้วแอ่นอกไปข้างหน้า แอ่นอกไปข้างหลัง จากนั้นตรวจสอบดูให้พร้อมว่า กระดูกส่วนใดมีความผิดปกติบ้าง บิดคอจากซ้ายไปขวา ขวาก็ไปซ้าย แล้วมองตรง เงยคอและหน้าขึ้นมองเพดาน และก็กลับมามองตรงเฉพาะหน้า สายตาทอดลงต่ำ……………..
เมื่อเราได้โครงสร้างที่เหมาะสมแล้ว เราก็ค่อยๆเริ่มหรี่เปลือกตาลงน้อยๆ ด้วยความสุขุมนุ่มนวล และสุภาพอ่อนโยน ไม่ใช่หลับจนเกร็งเปลือกตา จนหลับปี๋ จะกลายเป็นความถมึงทึง เครียด…………

    เสร็จเรียบร้อยแล้วก็ค่อยๆสูดลมหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆให้เต็มปอด ลึกสุดหยั่งเต็มที่ พร้อมตามดูลมไป จนกระทั่งมันพลุ่งพล่านอยู่ภายใน เปรียบประดุจดังน้ำที่เทเข้าขวด จนเต็มแน่นอัด ในขณะที่มันกำลังเต็ม ก็เกิดฟองคลื่น แล้วก็ล้นไหลนองออกมาจากขวด เราต้องปิดฝาขวดไว้สักพัก คือ กักลมทิ้งไว้ อย่าเพิ่งผ่อนลมออก นับในใจว่า 1,2,3,4,5,6 แล้วก็เปิดฝาขวดค่อยๆรินน้ำออก คือ ผ่อนลมออกอย่างแผ่วเบา สุภาพ ผ่อนคลาย และหมดจด แล้วพักไว้สักนิด หยุดกลืนน้ำลายลงคอหนึ่งครั้ง แล้วค่อยๆสูดเข้าไปใหม่อย่างสุขุมคัมภีรภาพ เบิกบาน เต็มสมบูรณ์ สูดให้เต็มปอด จนกระทั่งลมมันยกหน้าอกขึ้น แล้วก็กักลมทิ้งไว้ พร้อมกับนับใหม่………….

    เราอาจจะนับไม่ถึง 6 ก็ได้ หรือไม่นับก็ได้ เพื่อให้ลมมันได้พุ่งพล่านไปในกาย ปลุกเส้นประสาททั้งหลายให้ตื่นตัว เมื่อมันตื่นหมด จนคิดว่าทนไม่ไหวแล้ว ค่อยๆผ่อนออก พยายามอย่าไปกลั้นลม จนเราทนไม่ไหว ตรงนี้มันจะทำให้เหนื่อย ที่จริงไม่ต้องใช้คำว่า ทนไม่ไหว แต่ว่ามันเหลือกลั้น ก็ผ่อนออก ผ่อนด้วยความนิ่มนวล ผ่อนคลาย ผ่อนของเสียที่มีอยู่ในกายออกมา ดูดของดีเข้าไปใหม่ เพื่อปรุงชีวิตอินทรีย์ขึ้นใหม่ แล้วก็ขับของเสียออกมา ผ่อนออกแล้วต้องทิ้งไว้นิดหนึ่ง แล้วจึงจะสูดเข้าไปใหม่ เพราะถ้าสูดเข้าไปเลย มันจะทำให้เหนื่อย…………..


     การผ่อนลม จะผ่อนออกทางปากก็ได้ ไม่จำเป็นต้องผ่อนทางจมูกเสมอไป ไม่มีข้อห้ามว่าจะต้องออกทางจมูกเท่านั้น สูดเข้าทางจมูกและผ่อนออกทางปากก็ได้ เหมือนกับอักษร “จ” แต่เขียนหางตัว “จ”ก่อน แล้วมาจบที่หัว หรือจะสูดเข้าทางปากแล้วออกทางจมูกก็ได้ เหมือนอักษร “จ”ที่เขียนตามปกติ เสร็จแล้วลองสำรวจดูอารมณ์ว่า สงบไหม…..สงบ…….ทรงความสงบนั้นไว้ก่อน อย่าเพิ่งปล่อยให้เราแยกแตกออกจากกันกับความสงบนั้น จงรักษาความสงบนั้นต่อไป ขั้นแรกของวิชาลม 7 ฐาน เอาแค่นี้ก่อน อาจยังเรียกไม่ได้ว่าขั้นแรก แต่อาจบอกได้ว่า เป็นพื้นฐานของวิชา ลม 7 ฐาน พอได้ ช่วงนี้ขอเพียงพวกเรารู้จักถึงกลิ่นอาย รสชาติ ที่แท้จริงของสติ สงบ เท่านี้ก่อน เพียงแค่นี้ มันก็ทำให้เรารู้สึกดื่มด่ำ ชุ่มฉ่ำ แช่มชื่น และมีสันติสุข พอที่จะเป็นฐาน เป็นพลัง ให้เราได้ทำ พูด คิด อย่างสมบูรณ์ ถูกต้องแล้ว………….

   เข้าใจวิธีแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้น วิธีนี้คือวิธีที่เรียกว่า ศิลปะในการหายใจ เพื่อความผ่อนคลาย การที่เรากักลมทิ้งไว้ ลมที่กัก มันจะทำให้หัวใจเราเต้นแรง หลอดเลือดจะขยาย โลหิตจะไหลเวียนได้มากยิ่งขึ้น ใครที่เป็นโรคเส้นโลหิตอุดตัน เป็นโรคความดัน หรือเป็นโรคปลายประสาทฝ่อ จะแก้และรักษาได้ด้วยวิธีนี้……………..

    ฝึกใหม่ๆ แค่ 5 ครั้ง ก็น่าจะพอแล้ว ถ้า 10 ครั้ง มันจะเหนื่อยเกินไป แล้วค่อยๆเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ จะต้องทำติดต่อกันจนเป็นปกติของชีวิตเรา นี่เป็นวิธีการที่จะทำให้เราตั้งมั่นอยู่ได้ในทุกอิริยาบถ ถ้าหากเราฝึกจนถึงขั้นที่จะรู้เท่าทัน จตุธาตุวัฏฐาน หรือความเป็นไปของธาตุทั้ง 4 ภายในกาย เราก็สามารถจะควบคุมกายนี้ได้ เป็นนายกายนี้ถูก สมองทุกห้องของเรา จะใช้มันอย่างสมบูรณ์ ประสาททุกส่วนในตัวเรา จะได้รับการปลุกให้ตื่นได้ทุกเวลา ถ้าเราอยากตื่น……….

จริงๆแล้ว การหายใจ ไม่ควรที่จะต้องสูดลมหายใจแรงๆ เพราะจะทำให้เราเหนื่อย แถมจะทำให้ปอดขยายเร็วเกินไป ในกรณีของคนที่ปอดไม่แข็งแรง……………

   หลวงปู่เคยแนะนำวิธีหายใจอย่างนี้ กับคนที่มีปอดเหลือครึ่งเดียว เขาเป็นคนขับรถแท็กซี่ รถที่ขับเป็นรถที่ใช้แก๊ส เขานั่งดมแก๊สที่มันรั่วเข้าไปในรถ โดยที่ไม่รู้ตัวมา 7 ปีเต็มๆ จนในที่สุด ปอดเขาเหลืออยู่ครึ่งหนึ่งเท่านั้น ปกติปอดมี 2 ข้าง แต่เขาโดนมะเร็งทำลายปอด จนเยื่อหุ้มปอดเป็นขุย ปอด 2 ข้างนี้เหลือแค่ครึ่งหนึ่ง เพราะฉะนั้นเวลาเขาหายใจ ก็จะหายใจสั้นๆ จนในที่สุดเขาก็ทนไม่ไหว เมียเขาไปขอร้อง อ้อนวอนคุณหมอให้ช่วย เพราะว่าลูกเขายังเรียนไม่จบ คุณหมอก็พามาหาหลวงปู่ให้ช่วย……………..

    หลวงปู่ช่วยรักษาเขา โดยการสอนให้เขาเดินลมแบบนี้ล่ะ แต่ใช้ศิลปะเทคนิค ที่ไม่ต้องสูดลมเข้าให้เต็มปอด มันเหมือนปาฏิหาริย์นะ เพราะเยื่อหุ้มปอดที่เป็นขุย ที่ขังลมไม่ได้ กักลมไม่อยู่ มันกลายเป็นพังผืดที่เต็มแน่นสนิทเหมือนกับของเดิม มันไม่อาจจะงอกมาตลอดทั้ง 2 ข้างได้ แต่ที่คงไว้ ที่มีอยู่นั้น กลายเป็นปกติ เขาสามารถเอาชนะมันได้ หมอผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็ง เลยกลายเป็นลูกศิษย์หลวงปู่โดยปริยาย เพราะหมอเป็นคนพามา เขาเชื่อเรื่องวิธีการอย่างนี้……..

     ตามหลักวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์บอกว่าคนที่หายใจช้าและสม่ำเสมอ คือ คนที่มีชีวิตยืนยาวและมีพลังมากที่สุด เพราะฉะนั้นหลวงปู่ไม่ได้หวังว่า เราจะหายใจได้ตามหลวงปู่ถึง 36 หรือ 22 หรือ 23 ต่อวินาที อะไรนั่นไม่ใช่ แต่หลวงปู่หวังว่า มันจะทำให้เราตื่นได้ทุกเวลา ที่เราต้องการตื่น ช่วงปฏิบัติใหม่ๆ เราอาจจะทำได้สัก 15 , 7 ,3 , 2 แต่อย่าถึงขนาด 1 เลยนะ………….

ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

706
ศิลปะในการหายใจ  หลวงปู่พุทธะอิสระ

    มีการค้นพบกันว่า สัตว์ที่หายใจสั้นและถี่ จะมีชีวิตสั้น ส่วนสัตว์ที่หายใจยาวและเป็นระบบ จะมีอายุยืนยาว อวัยวะในกาย เซลล์ต่างๆในกาย จะตื่นตัวและเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีเสมอ สังเกตดูได้จากสัตว์รอบๆตัวท่าน………..

   ศิลปะในการหายใจ นี้ หลวงปู่เรียกมันว่า ลม7 ฐาน หรือใครจะเรียกมันว่า โยคะ หรือ โยคี อะไรก็แล้วแต่ มันมีอยู่แล้วในศิลปะการหายใจ มีอยู่ใน พุทธศาสนา นั่นคือ วิชา อานาปานสติกรรมฐาน นี้แหละ วิชาอานาปานสติกรรมฐาน คือ การค่อยๆผ่อนลมหายใจ หายใจด้วยความผ่อนคลาย ความรู้สึกดื่มด่ำ ซึมซาบ และซึมสิงกับกลิ่นอายธรรมชาติแวดล้อมที่สูดเข้าไป และไปเปลี่ยนเป็นพลังงานพร้อมกับขับถ่ายของเสียออกมากับลมหายใจที่ระบายออก คือ การตามดูลมที่เข้าและออก มีสติ จดจ่อ จับจ้อง จริงจัง และก็ตั้งใจ………..

   ศิลปะในการหายใจเพื่อการผ่อนคลาย หลวงปู่ไม่อยากจะเรียกมันให้เป็นวิชาสูงส่ง เพราะพระพุทธเจ้าทรงสูงส่งกว่าหลวงปู่มาก แต่ประสบการณ์ทางวิญญาณ ที่หลวงปู่ได้รับรู้จากการปฏิบัติ ที่นำมาเล่าสู่พวกท่านฟัง ก็คือ ระบบการหายใจ คำพูดประโยคหนึ่งที่หลวงปู่พูด คิด ทำ ที่พวกท่านได้ฟังบ่อยๆ ก็คือเรื่อง จัดระเบียบของกาย จนเป็นระบบของความคิด………..
 
  เพราะฉะนั้น เรามาเริ่มจัดโครงสร้างของกายให้เป็นระเบียบกันก่อน ที่จริงเราฝึกจิต ไม่ใช่ฝึกกาย แต่เมื่อกายเป็นที่อยู่แห่งจิต เราก็จำเป็นต้องปรับระบบโครงสร้างของกายให้โล่ง โปร่งเบา ผ่อนคลาย จนเป็นที่สบายของจิตเสียก่อน…………

    เริ่มจากการปรับโครงร้างของกายให้ตรง ไม่ว่าจะอยู่ในท่าไหนๆ ท่านั่งก็ได้ ท่ายืนก็ได้ ท่าเดินก็ได้ หรือท่านอนก็ได้ เสร็จเรียบร้อย แล้วก็ปรับโครงสร้างของตนให้มี อิริยาบถ 3 ประการคือ อิริยาบถสะอาด อิริยาบถสงบ อิริยาบถปกติ เมื่อเรามีอิริยาบถอันสะอาด อันได้แก่ อิริยาบถที่ปราศจากมลทิน อิริยาบถที่ปราศจากเครื่องร้อยรัด อิริยาบถที่ปราศจากความคั่งค้าง คาราคาซัง ไม่เสร็จ ไม่เสร็จในภาระกิจทั้งปวง ส่วนอิริยาบถสงบ คือ อิริยาบถที่ผ่านขั้นตอนในการชำระล้าง สะสาง ขจัด เครื่องร้อยรัดและมลทิน พร้อมกับภาระกิจทั้งปวง ได้ถูกปล่อยวาง จนหมดสิ้นแล้ว สำหรับอิริยาบถปกติ นั่นมันหมายถึง ความจริงจัง จริงใจ สนใจ สม่ำเสมอ ต่อการชำระสะสาง ขจัด ขัดเกลา ในภาระทั้งเก่าและใหม่ ให้หดหาย ผ่อนคลาย เบาสบาย ทีนี้ก็เริ่มที่จะจัดโครงสร้างภายในกาย…………….


   ก่อนอื่น ลองดูรูปโครงกระดูกที่มีให้ไว้นี้ รูปโครงกระดูกที่เห็นนี้ จะเป็นคู่มือในการจัดโครงสร้างของกาย เป็นรูปที่ช่วยป้องกันภัยพิบัติจากตาเห็น หูฟัง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส และกายสัมผัส……………….(ไม่มีรูป...แต่ให้นึกเอา)

ลำดับแรก เราน้อมเอารูปโครงกระดูกอันนี้ เข้ามาอยู่ในกายเรา ลำดับที่ 2 ก็คือ โยกขยับปรับโครงสร้าง ลองขยับดูให้ดี ตรงไหนมันบิดมันเบี้ยว ทับเส้นเอ็นเส้นประสาท จัดให้เข้าท่าเข้าทาง จนแน่ใจว่า ทำให้เราสบายในขณะที่นั่งอยู่ได้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องดี ส่วนมือไม้จะวางไว้ตรงไหน หลวงปู่ไม่จำเป็นจะต้องบอก ว่าจะต้องวางไว้ที่เข่าอย่างหลวงปู่ เพราะหลวงปู่ถนัดอย่างนี้ ก็วางอย่างนี้ แต่ถ้าเราถนัดอย่างไร ก็วางเอาไว้อย่างนั้น หรืออาจจะเอามาซ้อนไว้ตรงหน้าตักก็ได้ หรือวางทิ้งไว้ข้างขาก็ได้ จะหลับตาก็ได้ ลืมตาก็ได้ แล้วแต่ แต่ต้องไม่เกร็ง หรือข่มหนังตาและลูกตา………..

    ที่นี้ลองโยกตัวไปข้างหน้า โยกตรงๆ ไม่ใช่โยกเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง โดยทิ้งน้ำหนักตัวลงสู่ช่วงล่างของลำตัว เพื่อรักษาดุลถ่วง ตอนที่โยกตัวไปข้างหน้า ก็ให้ส่งความรู้สึกไปในโครงสร้างดูว่า กระดูกทุกส่วนของร่างกายมันมีอะไรบกพร่องบ้าง อะไรผิดพลาดบ้าง โยกตัวไปช้าๆ ให้ลำตัวเกือบขนานไปกับพื้น อย่างมีสติ แล้วค่อยๆโน้มขึ้นมาให้ตั้งตรง แล้วก็เอนไปทางขวา แล้วก็กลับมาตั้งตรงขึ้นมาอย่างช้าๆ จากนั้นเอนไปทางซ้าย แล้วก็ตั้งตรงขึ้นมาอย่างช้าๆ ถ้าเราส่งความรู้สึกมันลงไปในกาย แล้วคลุมอาการไหวของโครงสร้างภายในกายให้ตลอด แล้วเราก็จะสัมผัสได้ถึงความชัดเจน รู้จริง เห็นจริง ในอิริยาบถของตนเอง แล้วสิ่งหนึ่งที่จะปรากฏแก่เราก็คือ ความสงบ สงบไหม เริ่มรู้สึกตัวทั่วพร้อมแล้วใช่ไหม เช่นนี้แหละที่เรียกว่า สติปัฏฐาน นั่นคือ สติเป็นฐานที่ตั้งมั่นของพฤติกรรม เรื่องที่เราทำ คำที่เราพูด สูตรที่เราคิด จะถูกต้องชอบธรรมได้ก็ด้วยอาศัยฐานที่ตั้งอันนี้แหละ…………..

ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

707
(ถาม)5. เราไม่เคยเห็นเคยพบสิ่งนั้นแล้ว จะนึกถึงสิ่งนั้นได้อย่างไร?

(ตอบ)5. สิ่งนั้นในที่นี้ ก็คือ อมตะนิพพาน ธรรมชาติที่สงบละเอียด ที่ประณีตยอดเยี่ยม หรือที่เรียกว่าฝั่งโน้น จริงอยู่ เราไม่เคยเห็นเคยพบมาก่อนเลย แต่เราก็พอจะรู้ได้ โดยนัย เพราะธรรมดา มีให้เทียบให้รู้อยู่ตลอดกาล เช่น หนาวร้อน หนักเบา หยาบละเอียด สุขทุกข์ ดีเลว เราก็เทียบได้
ความสงบระงับเป็นอย่างไร เราไม่รู้ เราก็ย้อนดูสิ่งที่ตรงกันข้าม คือ ดูที่ความนึก ความคิด ดูที่ความเกาะ ความถือ ก็สิ่งที่ตรงกันข้ามนั้นอย่างไรเล่า ก็ต้องไม่ใช่นึกใช่คิดใช่เกาะใช่ถือ ความนึกความคิดเป็นทุกข์ ความเกาะความถือเป็นทุกข์ ที่ไม่นึกไม่คิดไม่เกาะไม่ถือ ก็ต้องเป็น อมตะ นิพพาน เป็นฝั่งโน้น เป็นที่ล่วงทุกข์ล่วงแดนเป็นสุข
เพราะฉะนั้น อมตะนิพพาน ที่เราไม่เคยเห็นเคยพบมาก่อน ก็พึงนึกเทียบเคียงแล้วทำภายในใจ ให้ถึงให้เป็นเช่นนั้น แต่เมื่อเราปล่อยวางไป มันก็ไม่ได้ไปไหนได้ และเส้นทางปฏิบัตินี้ ก็เหมือนกันว่ามีเครื่องหมายชี้บอกอยู่ตลอดทาง และสุดทางไม่สุดทาง ผู้ปฏิบัติจะรู้ด้วยตัวเอง เหมือนตัดท่อนไม้ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

(ถาม)6. ผู้อยู่กับบ้านกับเรือน ไม่ได้โกนหัว นุ่งห่ม ผ้าย้อมฝาดอยู่กับวัด จะปฏิบัติสมาธิแบบนี้ได้หรือไม่?

(ตอบ)6. ได้ จะเป็นสมาธิแบบนี้หรือแบบอื่น ก็ได้ทั้งนั้น ทุกคนมีสิทธิ์จะได้จะถึง ไม่เลือกเพศเลือกชั้น ส่วนจะไดจะถึงมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับตัวเอง ฯ

(ถาม)7. การทำสมาธิแบบนี้ เราจะเริ่มต้นที่ไหนหรือทำอย่างไร?

(ตอบ)7. เริ่มต้นที่ใจเรานี่แหละทันที ไม่ต้องรอเวลาหรือมีพิธีอะไร จะอยู่ป่า อยู่โคนไม้ ศาลาว่าง กุฏิ นั่งนอนหรือเดิน แม้ไปในยามหลับตาทำหรือลืมตาทำก็ได้ ขอแต่ว่าปลอดภัยและไม่มีโทษ และมีความจริงใจที่จะทำ ฯ


(ถาม)8. ถ้าทำจิตให้สงบว่างจากอารมณ์นึกคิดไม่ได้ ตามแบบข้างต้น จะมีวิธีใดบ้างที่เป็นมูลฐาน ช่วยให้จิตสงบมีความว่างแจ่มใสได้?

(ตอบ)8. มีเหมือนกัน คือ ให้นึกถึงรูปร่างดอกดวง สีแสงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้จิตรวมตัวเป็นอารมณ์ หยุดอยู่ในที่หนึ่งเสียก่อน จิตรวมตัวหยุดอยู่ที่หนึ่งนี้ จะเรียกว่า นิมิตก็ใช่ เมื่อจิตรวมกันเป็นอารมณ์หนึ่งแล้ว แล้วเราก็เบนจิตออกจากอารมณ์หนึ่งนั้น โน้มเข้าหาความว่าง ความสงบทั่วรอบ ที่เรียกว่า โน้มเข้าหาฝั่งเพื่อขึ้นฝั่ง
ที่ว่า ให้นึกถึงรูปร่างดอกดวงสีแสงนั้น เป็นต้นว่า ดูส่วนอันใดอันหนึ่ง ในร่างกายเราท่านหรือศพ หรือวัตถุขาวเขียวแดงอะไรก็ได้ แต่อย่าลืมว่าวิธีนี้ไม่ใช่วิธีย่อตัดตรง
อีกนัยหนึ่ง จะนึกถึงรูปร่างอัตภาพสังขาร ทั้งหลายภายนอกภายใน ว่าไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วย่อมสลายไป ไม่มีส่วนเหลือ จิตก็เข้าสู่ความสงบว่างเปล่า ล่วงสังขารทั้งหลายไป เข้าถึงฝั่งพ้นทุกข์ อันเป็นฝั่งพ้นทุกข์ที่เดียวกันนั่นเอง หลักในยอดธรรมยอดคาถาตอนท้ายก็แสดงไว้อย่างนี้…….

(ถาม)9. ผู้อยู่ครองเรือน จะถึงอมตะนิพพานได้หรือไม่?

(ตอบ)9. ผู้อยู่ครองเรือน แต่ไม่ยึดถือเรือน ก็ถึงอมตะนิพพานได้ แต่คำว่าอยู่ครองเรือน อาจแยกออกเป็น 2 คือ ปุถุชนและตั้งแต่โสดาบันบุคคลถึงสกิทาคามีบุคคล ชื่อว่าผู้ยังมีเรือน อนาคามีบุคคลกับอรหันตบุคคล ชื่อว่าผู้ไม่มีเรือน ผู้ไม่มีเรือน อาจอยู่ในสถานที่มุง ที่บังเหมือนชาวบ้านผู้มีเรือนก็ได้ และอยู่ในเพศที่มีผมยาวนุ่งห่มเหมือนชาวบ้านก็ได้ ฯ

……………………………….

ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

708
คำถามคำตอบ
พระคุณเจ้าหลวงพ่อดาบส สุมโน

(ถาม)1.สมาธิไม่มีอารมณ์ภาวนา จะเป็นสมาธิได้อย่างไร?

(ตอบ)1. เป็นสมาธิได้ ได้ดังนี้……..ขั้นต้น น้อมใจหมายเข้าหาธรรม ที่สงบละเอียดประณีต การน้อมใจ หมายถึง โน้มใจนี้นี่แหละ เป็นตัวสมาธิชี้ชัดอยู่แล้ว จะว่าใจเคลื่อนเข้าหาความสงบความละเอียดและความประณีต หรือมีทุกข์มีสังขารเป็นที่สิ้นไปก็ใช่ การโน้มใจถึงหรือโน้มใจหาธรรมชาติ ที่สงบละเอียดประณีตนี้นี่เอง อารมณ์อื่นๆ คือ อารมณ์นึก อารมณ์คิด ก็ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เหมือนถูกตัดตอน ย่อมสงบไปเอง นอกจากอารมณ์ต่างๆที่กล่าวมานี้สงบไปเองแล้ว ความยึดถือเกาะกำ ที่เป็นเสมือนรากยึด อันลึกเข้าไปที่มีอยู่ ก็จะถูกถอนออกตามไปด้วย เพราะการน้อมเข้านำออก มีทั้งส่วนต้นและส่วนลึก ที่ยึด คือ เกาะกำ ชื่อว่าเป็นส่วนลึก อารมณ์นึกคิด ชื่อว่าส่วนตื้น

สมาธิแบบนี้ แม้ไม่มีอารมณ์ภาวนา ไม่ต้องทำอารมณ์ แต่ก็เหมือนมี เหมือนทำ เพราะมีการกระทำภายในใจแทน และความหมายก็ไปอีกอย่างหนึ่ง
การทำสมาธิทั่วไปส่วนมาก เปรียบเหมือนการทำการผูกมัดวัวควาย ให้อยู่กับหลัก แต่แบบนี้จะเหมือนการทำการ ปลดปล่อยวัวควาย ที่ถูกผูกมัดอยู่กับหลัก ให้ออกจากหลักไป พร้อมทั้งถอนหลัก ที่เป็นหลักผูกล่ามทิ้ง เลิกสิทธิ์เป็นเจ้าของวัวควายต่อไป
ผู้ผูกมัด ก็คือ การทำ ผู้ปลดปล่อย ก็คือ การทำ เป็นผู้ทำเหมือนกัน แต่ทำกันไปคนละแบบ คนละความหมาย
เมื่อทำการปลดปล่อยอารมณ์ จิตว่างใจว่าง หรือ อารมณ์สงบ ใจผ่องใสดังแก้วมณีไม่มีรอยแล้ว อะไรเล่าที่เป็นของหยาบ จะเข้ามาจับต้องหรือปลิวมาติดมาค้างได้
ถ้าจะมีการย้อนถามอีกว่า การทำสมาธิแบบนี้ เปรียบเหมือน ทำการปลดปล่อยวัวควายที่ผูกมัดไว้แล้ว ในที่นี้ก็หมายถึง วัวควายที่ถูกผูกมัดไว้แล้วนั่นเอง วัวควายก็หมายถึงจิต ที่ไปแล้วในอารมณ์ ต่างมีรูปอารมณ์ เป็นต้น อันรู้ได้ยาก เห็นได้ยาก แต่จิตจริงๆแล้ว ไม่ได้ไปอย่างนั้น นั่นมันเป็นเพียงอารมณ์จิต ที่กระจายออกไป เราก็รู้ว่า ต้นตอจิต ที่แท้มันอยู่ภายในนี่เอง ตัวที่อยู่ภายในนี้ มันถูกมัดถูกล่ามอยู่แล้ว คือ ไปมัดติดกับอารมณ์ต่างๆ หย่อนยานบ้าง เคร่งเครียดบ้าง เราเมื่อมารู้ว่า จิตนี้มันถูกมัดถูกผูกล่าม อยู่กับอารมณ์ อยู่ตลอดเวลามาแล้ว เราก็ไม่จำเป็นจะต้องผูกมัดอีก เพราะฉะนั้น การทำสมาธิในแบบนี้ จึงตัดปล่อยทั้งต้นแล้วทั้งปลายไปทั้งหมดเลย ทำไม่ให้มีที่ภายในทั้งภายนอก ทั้งต้นทั้งปลาย
สมาธิแบบนี้ เป็นสมาธิย่อและรวบยอด เป็นองค์มรรค 8 หรือ ทั้งสมถะและวิปัสสนาพร้อม ที่ตั้งไม่มี ภพก็ขาดไป ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ก็ขาดไป ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงขาดไป เพราะจิตสงบจากสังขาร ข้ามพ้นล่วงแดน ฯ


(ถาม)2. จิตที่คลายอารมณ์ สละวางทุกสิ่ง ไม่เกาะอะไรแล้ว จิตจะยังมีรู้อะไรอยู่บ้างหรือไม่?

(ตอบ)2. ถ้าเข้านิโรธสมาบัติในขั้นสุด ความเสวยอารมณ์ไม่มี เพราะสัญญาความจำดับ แต่ถ้าไม่เข้านิโรธสมาบัติดังกล่าว ยังคงมีความรู้อยู่ แต่อยู่ในห้วงแห่งความสงบ เหนือความนึกคิด และรู้นี้จะอยู่กับความรู้เดิม และเป็นที่รู้ ที่รู้ทั่วพร้อม เป็นรู้เต็มเปี่ยมหรือเต็มรอบ เป็นรู้มีในทุกขุมขน ถ้าจะเปรียบก็เหมือนน้ำมีอยู่เต็มในสระใหญ่ ทั้งซึมซาบไปตามบริเวณรอบๆด้วยฉะนั้น ฯ

(ถาม)3. จิต ที่ไม่มีนอก ไม่มีใน ไม่มีที่ตั้ง ไม่เกาะเกี่ยวอะไร จิตจะอยู่ในแบบใด?

(ตอบ)3. จิต จะอยู่ได้ด้วยตัวเอง เหมือนฟ้า ไม่ต้องอาศัยแผ่นดิน หรือดวงดาวอะไรๆทั้งนั้น แต่จะพูดว่าอาศัยธรรมนั้นก็ได้อยู่
จะเปรียบให้ฟังง่าย ทารกน้อยแรกเกิดมา ไม่อาจนั่งยืนเดินได้ เอาเพียงจะพลิกคว่ำพลิกหงายในที่นอนอยู่ ก็ทั้งยาก หมายความว่า เป็นตัวของตัวเองไม่ได้ แต่ผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ซิ นั่งนอนยืนเดินหรือจะทำอะไร ก็ย่อมทำได้ คือหมายความว่า เป็นตัวของตัวเองได้ อุปมาเปรียบนี้ก็ฉันนั้น


(ถาม)4. พุทโธ พุทธบริษัท มีพุทธรัตนะเป็นที่พึ่ง เป็นต้น เริ่มต้นเราก็นึกถึงพุทโธ เป็นอารมณ์ แม้ทำสมาธิภาวนา เราก็นึกถึงพุทโธเหมือนกัน แต่การทำสมาธิภาวนา แบบสงบจิตปล่อยวางคลายอารมณ์นี้ บอกว่าไม่ต้องมีคำภาวนาใดๆ แม้คำว่าพุทโธ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะเอาอะไรมาเป็นที่หน่วงเหนี่ยวพึ่งพา มิเป็นการห่างไกลไปจากพุทโธหรือ?

(ตอบ)4. พุทโธ เป็นรัตนะอันประเสริฐ หาได้ยาก แม้เพียงพระนาม ก็หาได้ยินได้ยาก พุทโธ เป็นยิ่งกว่าแก้วทั้งหลายในโลก ผู้มีพุทโธ ย่อมไม่ไปอบาย ผู้ถึงพุทโธ ทุกข์ย่อมดับ การที่เราถึงพุทโธ นั้นก็ดีแล้ว แต่เรายังไม่ได้เข้าถึงพุทโธ การรู้เพียงพระนาม หรือเรียกพระนามถูก จะเป็นผู้เข้าถึงหามิได้ เรารู้กันหรือไม่ว่า พุทโธ นั้น ท่านเป็นอรหันต์ ไกลจากกิเลสแล้ว เป็นผู้ไปถึงฝั่งโลกุตรแล้ว ไปอยู่ฝั่งโน้นแล้ว
พระองค์ตรัสว่า…… โย ธัมมัง ปัสสะติ โส มังปัสสะติ…….ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดถึงธรรม ผู้นั้นถึงเรา………
ธรรม ณ ที่นี้ ไม่ใช่ธรรมที่เกิดที่ดับ ตามที่คนส่วนมากเข้าใจกัน ธรรม ณ ที่นี้ ก็คือ อมตะนิพพาน อันเป็นธรรมชาติสงบละเอียดประณีตยอดเยี่ยม ปัจจัยตกแต่งไม่ได้ เป็นอสังขตะธรรม

ในเมื่อเราอยากพ้นทุกข์ อยากถึงพุทโธ อยากเห็นพุทโธ อยากมีพุทโธ เป็นที่พึ่ง แต่เราอยู่ฝั่งนี้ พุทโธ อยู่ฝั่งโน้น ร้องหาพุทโธ หรือฝั่งโน้นให้มาหาเรา มารับเรา พุทโธ หรือฝั่งโน้น คงไม่มาหาเราแน่ หากจะมีบ้างก็เพียงฉายแสงวู่ๆวามๆ มาหาเรา เพื่อแสดงให้เรารู้ว่า พระองค์ท่านคอยเราอยู่ฝั่งโน้นแล้ว หากเรายังโง่ ไม่รีบติดตามข้ามฟากไป พุทโธ ก็คงช่วยอะไรเราไม่ได้……

การที่เราบางคน นั่งสมาธิภาวนาว่า พุทโธ หรือ นึกถึงพุทโธ ไปเรื่อยๆจนติด เราเหน็ดเหนื่อยงวยงง เฉยไปชั่วครู่บ้าง ว่างเปล่าไปบ้างเราก็เกิดมีความเบาสบายขึ้นมาเอง นี่ก็เหมือนกับว่า พุทโธร้องตอบร้องเรียกเรา ให้เราข้ามฟากไปสู่ฝั่งโน้น เพื่อจะได้เห็นพระองค์ถึงพระองค์
ตราบใด เราไม่ลงมือสละปล่อยคลายวาง หากเอาแต่เรียกร้องให้มากยิ่งขึ้นๆ จนเกินกว่าเหตุ ก็ซ้ำจะยิ่งเป็นการห่างไกลไปจากพุทโธหนักขึ้น การกล่าวว่าพุทโธ หรือ การนึกพุทโธ เป็นการปรุงสังขาร เมื่อใครมามัวปรุงสังขารอยู่ ก็จะถึงอมตะนิพพานไม่ได้ ผู้จะรู้จักอมตะนิพพาน ก็ต้องสงบสังขาร ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ……สังขารานัง ขะยังญัตตะวา อะกะตัญญู สิ พราหมะณะ…….ท่านรู้จักความสิ้นไปแห่งสังขารทั้งหลายแล้ว จะเป็นผู้รู้จักอมตะนิพพาน ที่ปัจจัยทำไม่ได้นะพราหมณ์ ฯ

ก็เป็นอันว่า การจะถึงพุทโธ หรือเห็นพระพุทโธ ณ ที่นี้ ก็ด้วยการสงบสังขาร ปล่อยวางสงบเมื่อใด ปล่อยเมื่อใด ก็ย่อมจะถึงหรือเห็นพุทโธเมื่อนั้น และก็ไม่ต้องสงสัยหรอกว่า การปล่อยการวาง จะเป็นการเดินทางผิด เพราะทางถึงทางพ้นทุกข์ มีทางเดียว ทางอื่นไม่มี ยิ่งปล่อยวางได้ยาก ก็ยิ่งใกล้พุทโธมาก ยิ่งนึกคิดมากยึดถือมาก ก็ยิ่งไกลพุทโธออกไป ปล่อยได้รอบก็เหมือนจันทร์เต็มดวง
จิตที่ปล่อยวาง ว่างสงบแล้วนี้นี่แหละ เป็นแก้วผุดผ่องวิเศษ คือแก้วพุทธรัตน์ แก้วธัมรัตน์ แก้วสังฆรัตน์ ไม่มีแก้วใดในโลกจะยิ่งไปกว่านี้แล้ว ฯ


ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

709
ขอบพระคุณครับ  :054:
ภาพต่างๆแทนคำบอกเล่ามากมายครับ

ยินดีที่ได้รู้จักสมาชิกคนงาม(แต่ภาพมืดไปหน่อย) :077:

710
สมาธิไม่ต้องทำอารมณ์แต่มีทำในใจ

ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสถามแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงมีได้หรือหนอ แลการที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ไม่ถึงมีความสำคัญ………
ในธาตุดิน ว่าเป็นธาตุดิน…………….เป็นอารมณ์
ในธาตุน้ำ ในธาตุไฟ ในธาตุลม………เป็นอารมณ์
ในอากาสานัญจายตนะ………………เป็นอารมณ์
ในวิญญานัญจายตนะ………………..เป็นอารมณ์
ในอากิญจัญญายตนะ………………..เป็นอารมณ์
ในเนวสัญญานา สัญญายตนะ……….เป็นอารมณ์
ในโลกนี้ ในโลกหน้า เป็นอารมณ์ ฯ
ไม่พึงมีความสำคัญ………..
ในรูป ที่ได้เห็น…………………………เป็นอารมณ์
เสียง ที่ได้ยิน ………………………….เป็นอารมณ์
กลิ่น ที่ได้ทราบ………………………..เป็นอารมณ์
รส ที่รู้แจ้ง……………………………..เป็นอารมณ์
โผฏฐัพพะ ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ที่ใจตรองตามแล้ว…….เป็นอารมณ์
ก็แต่ว่าถึง เป็นผู้มีสัญญาหมายรู้…………
ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่แจ่มแจ้งในเนื้อความนี้ ขอพระองค์ จงประทานวโรกาส แสดงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ แก่พวกข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้สดับแล้ว จะทรงจำไว้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงจำใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระพุทธพจน์ว่า พระเจ้าข้า ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า…….
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ไม่พึงมีความสำคัญ……….

ในธาตุดิน ในธาตุน้ำ ในธาตุไฟ ในธาตุลม………….
ในอากาสานัญจายตนะ
ในวิญญานัญจายตนะ
ในอากิญจัญญายตนะ
ในเนวสัญญานา สัญญายตนะ
ในโลกนี้ ในโลกหน้า………เป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญ………..
ในรูป ที่ได้เห็น
เสียง ที่ได้ยิน
กลิ่น ที่ได้ทราบ
รส ที่รู้แจ้ง
โผฏฐัพพะ ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ที่ใจตรองตามแล้ว……เป็นอารมณ์
ก็แต่ว่าถึง เป็นผู้มีสัญญา…….. หมายรู้ คือ ทำใจหมายรู้อย่างนี้ ว่า…………

(บาลี) เอตัง สันตัง เอตัง ปะณีตัง, ยะทิทัง สัพพะสังขาระ มะมะโถ สัพพูปะธิปะฏินิสสัคโค,ตัณหักขะโย,วิราโค,นิโรโธ นิพพานัง. ฯ

ธรรมชาตินั่นสงบละเอียด ฯ ธรรมชาตินั่นประณีตยอดเยี่ยม ฯ
คือ ความสงบจากอารมณ์นึกอารมณ์คิดทั้งหลาย ฯ
และ ความสละคืนสิ่งทั้งปวงที่เกาะที่ถือ ฯ
ความวกวนเร่าร้อนทั้งหลาย ย่อมหายไป ฯ
ย่อมมีความผ่องใสไพบูลย์ สะอาดสะอ้านเกิดขึ้น ฯ
ย่อมเป็นสุขแท้ เพราะสังขารทั้งหลายดับสนิท ฯ

นี่แหละ ฝั่งอมตะนิพพาน ที่ล่วงพ้นจากภัยทั้งหลายทั้งปวง ฯ

(บาลี) เอตัง สันตัง,เอตัง ปะณีตัง ฯ
ยะทิทัง สัพพะสังขาระสะมะโถ ฯ
สัพพูปะธิปะฏินิสสัคโค ฯ
ตัณหักขะโย ฯ
วิราโค ฯ
นิโรโธ ฯ
นิพพานัง ฯ

เนื้อความ หรือ ข้อความการปฏิบัติตามแนวพระสูตรนี้ ก็คือ การกระทำภายในใจหมายหา คือ โน้มใจหันเข้าหาความสงบอารมณ์ พร้อมทั้งมีการปล่อยอารมณ์ออกคู่กันไป เพื่อให้จิตเข้าถึงความเป็นจิตเดิม หรือเป็นตัวของตัวเอง ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ฯ

ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

711

อ้างถึง
มีพระเซ็นอยู่ 2 รูป กำลังเดินทางกลับวัดด้วยกัน
เดินมาถึงแม่น้ำ ซึ่งต้องเดินลุยข้ามไป เจอหญิงสาวผู้หนึ่งกำลังเดือดร้อน ต้องการข้ามแม่น้ำไปอีกฝั่ง แต่ไม่กล้าข้ามไป เพราะว่ายน้ำไม่เป็น
พระเซ็นผู้อาวุโสกว่า อาสาอุ้มหญิงสาวผู้นี้ข้ามแม่น้ำไป ทำให้พระอีกรูปรู้สึกตะขิดตะขวงใจเป็นอย่างมาก
กลับมาถึงวัด พระเซ็นผู้อาวุโสไม่ได้พูดถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาเลย ทำให้พระเซ็นหนุ่มอดรนทนไม่ได้ต้องเข้าไปถาม
"ท่านเป็นพระ แล้วไปอุ้มหญิงสาวผู้นั้น เป็นเรื่องถูกต้องหรือ" พระหนุ่มถาม
"นี่ท่านยังไม่วางนางผู้นั้นลงอีกหรือ" พระอาวุโสกล่าวตอบ "อาตมาวางนางลงที่ริมเม่น้ำนั่นตั้งนานแล้วนะ"

อ่านแล้วโปรดพิจาณา
http://medinfo.psu.ac.th/pr/WebBoard/readboard.php?id=241

712
แก้วในกองดิน

   เรื่องแก้วในกองดินนี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับ ฝั่งนี้ฝั่งโน้น ฝั่งโน้นมีอยู่ ที่จะข้ามไปถึงได้ แก้วในดินนี้ก็เหมือนกัน ผู้ประสงค์อยากจะได้แก้ว ก็ต้องขุดต้องคุ้ยเจาะเข้าไปในกองดิน ตามหมายบอกขุดคุ้ยเอาดิน ทั้งสิ่งที่ปิดกั้นนั้นออกเสีย ตราบใดที่ขุดเข้าไป ยังไม่พบแก้ว ก็ต้องขุดเข้าไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบนั้นแหละจึงจะหยุด
 
   จะขอนำเรื่องที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้ เรื่องมีอยู่ว่า พราหมณ์ผู้ถึงเวท เรียก สุเมธะ ผู้เป็นสายโลหิตมา แล้วบอกว่า พ่อสุเมธะ ณ ตำบลนี้ มีจอมปลวก คือ กองดินอยู่แห่งหนึ่ง มีช่องทาง 6 ช่องทาง กลางคืนเป็นควัน กลางวันลุกเป็นเปลว เจ้าจงมา จงเป็นผู้ฉลาด ขุดลงตามช่องทางแห่งจอมปลวกนี้  สุเมธะ ผู้ฉลาด จึงเอาของมีคม ขุดลงไปตามร่องรอยช่องทางจอมปลวกนั้น ก็ได้พบสิ่งต่างๆ 6 อย่าง สิ่งที่พบอันแรก คือ “ลิ่มสลัก” จึงบอกท่านพราหมณ์ว่า ท่านขอรับ พบลิ่มสลัก ท่านพราหมณ์จึงบอกว่า เจ้าจงนำลิ่มสลักนั้นออกเสีย แล้วสุเมธะ ก็ขุดเข้าไปอีก ตามเส้นทางๆก็พบ “อึ่ง” พบ”หม้อกรองน้ำด่าง” พบ”เต่า” พบ “เขียงหั่นเนื้อ” แล้วพบ “เนื้อ”ตามลำดับ แต่ละอย่างๆเมื่อพบ ท่านพราหมณ์ก็บอกให้นำออกเสียทั้งนั้น สุเมธะผู้ฉลาด ก็ขุดเข้าไปอีกจน”สุดเส้นทาง”……ก็พบ “นาค” สุเมธะก็บอกท่านพราหมณ์ว่า นาคขอรับท่าน ท่านพราหมณ์ก็บอกสุเมธะว่า เจ้าจง”หยุด” จงนอบน้อมบูชา”นาค”เถิด” ฯ

สาระ หรือสิ่งที่ประสงค์ในที่นี้ ก็ได้แก่ “นาค” …….นาค ก็คือ “จิตเดิม” หรือ “จิตของตัวเอง” จะเรียกว่า”พุทโธ”ก็ใช่ อมตะธรรม อมตะนิพพานก็ใช่ จิตนี้ ไม่มีรูปร่างที่จะจับต้องได้ เป็นธรรมชาติไม่ตาย อาศัยกายเป็นคูหา ผู้ใดพบจิตของตน ผู้นั้น ก็จะหมดความหลง ไม่ต้องอาศัยกายอันน่ากลัวอีกต่อไปอีก จะมีอาสวะกิเลสสิ้นไปแล สิ่งต่างๆ ที่สุเมธะ ผู้ฉลาดขุดพบและท่านให้นำออกเสียทั้งหมดนั้น ก็เพราะสิ่งเหล่านั้น เป็นจำพวกหมายถึง สังขตะธรรม ส่วนนาคที่ขุดพบนั้น หมายถึง อสังขตะธรรม เป็นแก้วประเสริฐ คือ แก้วมโนมัย เป็นจิตเดิม เป็นพุทโธ เป็นอมตะธรรม ไม่เกิดแก่เจ็บตาย ไม่มีการไปการมาการจุติ เป็นสิ่งประเสริฐเหนือโลก นาคที่พบในวาระสุดท้าย ท่านจึงบอกให้นอบน้อมบูชา ผู้เข้าถึงนาคแล้ว กิจทุกอย่างก็สุดลง ฯ

อุบายสู่ฝั่งโน้น

   อุบายสู่ฝั่งโน้น ก็คือ วิธีทำจิตทำใจ ที่เรียกว่าสมาธิ แต่การทำสมาธิแบบนี้ เป็นสมาธิไม่ต้องทำอารมณ์ ไม่ต้องมีคำภาวนาใดๆทั้งนั้น แต่มีการทำในใจ คือ ทำในใจ คลายอารมณ์ เป็นการตรงกันข้ามกับการทำอารมณ์ ความหมายของการทำสมาธิแบบนี้ ก็คือ ทำให้จิตสงบ ว่างจากอารมณ์ที่นึกที่คิด และสิ่งที่เกาะที่ถือทั้งปวง ให้จิตเป็นเสมือนอากาศว่าง ไม่มีอะไรเลย แต่ไม่ใช่ไปเพ่งอากาศว่างเปล่า หรือไปนึกถึงอากาศว่างเปล่า มันว่างเปล่า……..”มันว่างเปล่า เพราะจิตสงบ ปล่อยวางอารมณ์ต่างหาก”

   สมาธิแบบนี้ มีทั้งคลายออกและน้อมเข้าพร้อมกันไป …..คลายออก ก็คือ คลายอารมณ์นึกคิด และสิ่งที่เกาะที่ถือนั่นเองออก………น้อมเข้า ก็คือ เขยิบจิตเข้าสู่ความสงบ เมื่อคลายออก หรือ สลัดอารมณ์ออกทิ้งไปแล้ว จิตก็ว่างได้ ความวกวุ่นเร่าร้อนและมืดมน ก็จะหายไป ความหนักและความทุกข์ก็จะหายไป…… ขณะที่จิตว่างนี้ เราต้อง”มีสติ” และ “ความรู้ตัว”อยู่ด้วย ตราบใดจิตของเรา ยังไม่เป็นตัวของตัวเองได้ ตราบนั้น เราก็ยังจะต้องมีการคืบคลานเข้าและนำออกอยู่อีก จนกว่าจะสุดทาง ล่วงทาง คือ จิตของเรา เป็นตัวของตัวเองได้…….
สุดทาง หรือไม่สุดทาง เราจะรู้ได้เอง ไม่ต่างอะไรกับที่เราตัดทอนต้นไม้ออก ทีแรกก็ตัดทอนกิ่งใบ แล้วก็มาลำต้น แล้วก็มาตอและราก จะไปสุดลงที่รากนั่นแล จิต เป็นตัวของตัวเอง ย่อมไม่ต้องตั้งอยู่กับอะไรๆ เป็นจิตล่วงพ้นหรือล่วงแดน เป็นอยู่เองได้ ไม่อาศัยอะไรๆอยู่ ไม่มีนอก ไม่มีใน ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต ไม่มีปัจจุบัน สงบสงัดว่างเปล่า ผ่องใสดั่งน้ำในภาชนะ ปราศจากตะกอน เปือกตม หรือเหมือนผ้าขาว อันซักด้วยน้ำสะอาดดีแล้ว หรือเหมือนแก้ว อันช่างเจียรไนดีแล้ว มีความแจ่มใสเต็มเปี่ยม ไม่ใช่หลับหรือเคลิบเคลิ้มหลงลืม ฯ


ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

713
เป็นตอนต่อจาก......   บทสาธยายยอดธรรมยอดคาถา พระคุณเจ้าดาบส สุมโน
โดยคุณ powertom เมื่อ: ๐๕ ก.พ. ๕๓
ที่มา
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=15178.msg135532
=======================
แบบทำสมาธิดับทุกข์ ตอน 2
ในหลักยอดธรรมยอดคาถาสูตร ของอาศรมเวฬุวัน เชียงราย
โดยท่านเจ้าพระคุณเจ้าหลวงพ่อ ดาบส สุมโน


คำนำ

     หนังสือเล่มนี้ ถอดใจความและขยายความ จากหนังสือยอดธรรมยอดคาถาสูตร ที่ใช้ประจำในอาศรมเวฬุวัน ทั้งได้นำเอาพระสูตรบางสูตร ที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ เรื่องการทำสมาธิแบบนี้ มาประกอบยืนยันด้วย
หลักปฏิบัติ คือ การทำสมาธิในแบบนี้ ทั่วๆไปมักไม่ได้นำมาปฏิบัติกัน จึงไม่ค่อยปรากฏในวงการปฏิบัติ อาจจะเห็นว่าหลักนี้ไม่มีพิธีอะไร หรือเห็นว่ามันง่ายเกินไป ไม่มีหลักจับ หรือมิฉะนั้น ก็จะเห็นว่ามันสูงเกินไป เกินที่จะเอื้อมถึง
คนส่วนมาก มักจะเลื่อมใสและชอบไปในแบบที่มีพิธีต่างๆ หรือที่มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ จึงมองข้ามการทำจิตให้ผ่องใส สงบระงับกันไปเสีย
การปฏิบัติแบบนี้ แม้จะมีความหมายมุ่งไปสู่ฝั่งโน้น คือ ความสงบล่วงแดน แต่เมื่อไม่ถึงตามความหมาย ก็ไม่เกิดโทษอะไร คงได้ผลเท่าที่ได้ การทำแบบนี้ ทำได้เสมอ เพราะเป็นการทำจิต ซักฟอกจิตให้สะอาด มีแต่ได้ ไม่ต้องลงทุน แม้ไม่มีอาจารย์ควบคุมหรือสอบอารมณ์ก็ทำได้

หลักทำสมาธิภาวนา

การทำสมาธิภาวนา ในอาศรมเวฬุวัน หลักใหญ่ทำแบบในยอธรรมยอดคาถาสูตร
หลักในยอดธรรมยอดคาถาสูตร ก็คือ ทำจิตของเราให้ว่างจากความนึกความคิด และอารมณ์ที่เกาะที่ถือใดๆทั้งปวง
ไม่ให้มีที่ภายในและที่ภายนอก
ไม่ให้มีที่ล่วงไปแล้วและที่ยังมาไม่ถึง ไม่ให้มีแม้ที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบันเฉพาะหน้าขณะนี้
ด้วยวิธีทำในจิตในใจ สละปล่อยคลายวางอารมณ์ต่างๆ ที่นึกที่คิดและที่เกาะถือ ให้จิตว่าง เข้าถึงความสงบผ่องใส
ประหนึ่งผู้ขมักเขม้นทำความสะอาดดวงแก้ว อันเป็นที่รักที่ถนอมของตน หรือภาชนะเงินคำ(ทองคำ) ที่มีฝุ่นละอองเกาะกุมหนาแน่น ทำการปัดเป่าเช็ดถู ให้หมดจดสุกปลั่งใสสะอาดแวววาว โดยรอบฉะนั้น ฯ

การสละปล่อยคลายวาง เป็นทางดับทุกข์ ล่วงทุกข์ทั้งหลาย เป็นทางเข้าถึงฝั่งอมตะนิพพาน ที่คนทั้งหลายเข้าถึงได้โดยยาก ฝั่งอมตะนิพพานนี้ เป็นธรรมประเสริฐ เป็นธรรมยอดเยี่ยม ที่พระตถาคตผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแสดงไว้ดีแล้ว ฯ
เนื้อความหรือใจความ ในยอดธรรมยอดคาถาสูตร ก็มีเนื้อความใจความสำคัญ เท่านี้แล ฯ


การทำสมาธิภาวนา

ผู้ทำสมาธิภาวนา ก็เหมือนกับผู้จะข้ามฟาก จากฝั่งนี้ไปสู่ฝั่งโน้น ฝั่งนี้มีทุกข์ภัย ฝั่งโน้นไม่มีทุกข์ภัย
พระพุทธองค์ตรัสไว้ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้จะข้ามห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งข้างนี้น่าเกลียด มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า ฝั่งโน้นเกษมไม่มีภัย ถ้ากระไรเราถึงรวบรวมหญ้า กิ่งไม้และใบไม้ มาผูกเป็นแพ แล้วอาศัยแพนั้น พยายามด้วยมือและเท้าข้ามไป
บุรุษนั้น กระทำตามดำรินี้ พึงข้ามไปสู่ฝั่งโน้น ด้วยความสวัสดีได้ ฯ


ฝั่งนี้ฝั่งโน้น

ฝั่งนี้……..ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ หรือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ชื่อว่า ฝั่งนี้ หรือจะเรียกย่อๆว่า อารมณ์ทั้งหลายก็ใช่
ฝั่งโน้น……หมายถึงอมตะนิพพาน ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ชี้ไว้ คือ ธรรมชาตินั่นสงบละเอียด ธรรมชาตินั่นประณีตยอดเยี่ยม(เอตังสันตัง เอตังปะณีตัง) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่(อัตถิภิกขะเว ตะทายะตะนัง)
อมตะนิพพาน หมายถึงฝั่งโน้น คือ ฝั่งพ้นทุกข์ พ้นภัย อมตะ แปลว่า ไม่ตาย นิพพาน แปลว่า พ้นทุกข์ หรือ ไม่ทุกข์ อมตะก็ดี นิพพานก็ดี มักเข้าใจผิดกันว่า เป็นสภาพเปล่า สภาพสูญ ไม่มีอะไร แต่ความจริงตรงกันข้าม คือ หมายความว่ามีอยู่ และไม่เปล่า ไม่สูญ ทั้งไม่ตาย คือ มีอยู่ โดยเป็นธรรมชาติสงบละเอียด แลประณีตยอดเยี่ยม และเป็นอายตนะที่เหนืออายตนะใดๆทั้งนั้น และเป็นสุขอย่างยิ่ง

ฝั่งโน้นมี และผู้ที่ไปสู่ฝั่งโน้นแล้วก็มี มีพระพุทธเจ้า ทั้งสาวกสาวิกา นับจำนวนไม่ถ้วน
ปัจจุบัน ฝั่งโน้นก็ยังเป็นฝั่งโน้นอยู่เหมือนเดิม 2 พันกว่าปีมาแล้ว อย่างใดก็อย่างนั้น
แท้จริง อมตะนิพพาน ไม่มีอดีต อนาคต ไม่มีเบื้องต้นที่ตั้งขึ้นและเบื้องปลายที่ต้องสลาย เป็นกาลิโกและอนันตัง พระพุทธองค์จะพบธรรมนี้ได้ก็แสนยาก ครั้นเมื่อพบแล้ว ที่เรียกว่า ตรัสรู้ ก็ยังท้อพระหฤทัย ก็จะบอกจะสอนผู้อื่น เพราะมาทบทวนดูแล้ว เห็นว่าอมตะนิพพาน นี้เป็นธรรมล้ำลึก สงบประณีตยิ่งนัก ยากที่สัตว์ทั้งหลายจะรู้ได้ สอนไปแล้วเขาไม่รู้ ก็จะเป็นการลำบากเปล่า แต่แล้วภายหลังก็มาเห็นว่า เหมือนบัว4เหล่า ผู้ที่พอจะรู้ได้ก็มีอยู่ จึงกลับมีพระหฤทัยน้อมไปเพื่อจะโปรดสัตว์ตามปณิธาน ที่ได้สร้างพุทธบารมีมา 4 อสงไขยกับแสนกัลป์ อมตะนิพพาน หรือ ฝั่งโน้น อันเป็นฝั่งมีอยู่ และก็ไม่ใช่จะอยู่ไกล ที่จะต้องไปถึงได้ด้วยการเดินเท้าหรือด้วยยานใดๆ อยู่ใกล้ที่สุด คือ ที่ตัวเรา หรือ จิตของเรานี้เอง แต่เส้นผมบังภูเขา เราจึงมองไม่เห็น หมอกม่าน ฝ้าฟาง บังตาของเราอยู่ท่านผู้รู้บอกเราว่า ฝั่งอยู่ข้างหน้าเรานี้นี่แหละ เรามองไปข้างหน้าตามที่ท่านบอก ก็เห็นเพียงน้ำเขียวๆกับฟ้าสีครามเท่านั้น ไม่เห็นฝั่ง หากเราลงมือทำตามที่ท่านบอกไปตามทิศทางที่ท่านชี้ ย่อมไม่ผิดหวัง แม้จะยังไม่ถึงฝั่งโน้น ผลที่ได้ทันทีในขั้นแรก โดยไม่ทันรู้ตัว ก็คือ ความเบา ความปลอดโปร่ง ความเป็นตัวเอง ความอิ่มเอิบ ความเยือกเย็น เบิกบาน

ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

714

    ดังนั้น เจตนาในการรู้กระดูก ก็ต้องรู้กระดูกให้แจ่มชัด เจตนาในการรู้ผิวหนังและเนื้อ ก็ต้องรู้ให้แจ่มชัด ไม่ใช่ต้องการจะรู้ผิวหนัง แต่กระโดดไปรู้กระดูก รู้กระดูกก็กระโดดไปรู้ผิวหนังอะไรอย่างนี้ แต่ควรให้รู้เป็นเรื่องๆและรู้อย่างเข้มแข็ง เข้มข้น แจ่มชัดมากที่สุด เมื่อเรารู้อย่างแจ่มชัด กระบวนการทางความคิดไม่แตกแยก จิตวิญญาณของเราไม่สับสนวุ่นวาย สงบนิ่งอยู่กับการรับรู้นั้นแล้ว และก็รู้อย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างถนัดถนี่แล้ว ค่อยๆพัฒนาการรับรู้นั้น ให้เข้มข้นมากขึ้น เข้มแข็งมากขึ้น จนกระทั่งสามารถรู้ให้ได้ไปทั้งโครงสร้างของกาย แรกๆก็ฝึกรู้เป็นจุด ต่อไปก็ฝึกรู้เป็นท่อน รู้เป็นตำแหน่ง และสุดท้ายรู้ไปได้ทั้งโครงสร้าง พอหลับตาหรือลืมตา ใช้มโนนึก นึกถึงโครงกระดูก ให้เห็นปรากฏชัดตรงหน้าทันที เมื่อรู้ได้อย่างนี้ในขณะที่มีสติ เมื่อสติปรากฏในจิตทุกดวง ความปรุง ฟุ้งซ่าน หงุดหงิด รำคาญ สับสน วุ่นวาย รัก โลภ โกรธ หลง มันก็จะไม่ปรากฏ จิตเราก็จะละเอียด หมดจดจากเครื่องผูกพัน ร้อยรัดทั้งปวง………..

    การฝึกสติ มันเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ที่มีอุปการะทุกขณะจิต การฝึกสติทำได้ตลอดเวลา และไม่ใช่ว่ามีเฉพาะเวลานั่งหลับตา หรือสวดมนต์แล้วจะมีสติ……ไม่ใช่ แต่มันต้องมีทุกขณะ ทุกลมหายใจเข้า-ออก…………..
ถ้าเราไม่ฝึกสติ หากไปเจอคนที่ยั่วยวนอารมณ์ของเรา แล้วเราไม่รู้จักระงับสติของตัวเอง เราก็ต้องกลายเป็นอาชญากรหรือผู้ต้องหา คนที่ไม่ได้ฝึกการอบรมจิต ยากที่จะเผชิญต่อสถานการณ์ใดๆที่บีบคั้นแล้วจะทนได้ ยืนหยัดอยู่ได้ ตั้งมั่นได้ อย่างไม่โยกโคน ไม่สั่นคลอน ไม่ง่อนแง่น การฝึกสติ ทำให้เราตั้งมั่นในทุกกาลทุกสมัย…………
การที่เรามีหัวใจที่จะให้อภัย ด้วยการเอื้ออาทร การุณย์ และยอมรับสิ่งที่ดีมีประโยชน์ไปใช้ การจะให้อภัยก็ตาม เอื้ออาทรก็ตาม รับสิ่งดีมีประโยชน์ก็ตาม มันจะไม่สำเร็จ ไม่ได้ขึ้นมาเลย ไม่เกิดเลย ถ้าเราไม่มีสติ…………

ใครก็ตามที่บอกว่า ฉันไม่มีสติ ฉันไม่ต้องการสติ และปฏิเสธสติ และฉันไม่รู้จักแม้กระทั่งคำว่าสติ นั่นคือคนที่ไม่ใช่คน เพราะฉะนั้น คนที่ไม่มีสติ คือ คนที่ไม่ใช่คน คือคนบ้า คนประสาท และคนบ้า คนประสาทก็คือคนที่ทำอะไรตามอารมณ์ เพราะไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ หรือพวกไม่มีสติ คือคนเมา เสพยาเสพติด หลงระเริงไปตามกระบวนการฉุดกระชากลากถู และคนที่ตกเป็นทาสของอารมณ์………….
ผู้ขาดสติ คือ คนที่ทำความรู้สึกของตัวเองให้เกิดสาระไม่ได้ ทำชีวิตให้มีสาระไม่ได้ ทำสาระให้เกิดขึ้นในชีวิตนี้ไม่ได้ ทั้งที่เรายังมีชีวิตอยู่ ทั้งๆที่เรายังมีลมหายใจอยู่ แต่ไร้สาระในการดำรงชีวิต คนอย่างนี้เขาเรียกว่าขาดสติ ส่วนคนมีสติ ก็คือคนมีสาระ อย่างที่หลวงปู่เขียนบทโศลกไว้บทหนึ่งว่า………….
ลูกรัก…….. มีลมหายใจ มีชีวิต ได้พลัง ใช้พลัง สร้างสรรสาระ

นี่คือกระบวนการของสติในพุทธศาสนา แต่ถ้ามีลมหายใจ มีชีวิต ได้พลัง ไม่ใช้พลังให้เกิดสาระในทางดำรงชีวิต อย่างนี้เขาเรียกว่าขาดสติ………..
คนมีสติ ย่อมรักษากายตน รักษาจิตตน ให้พ้นจากไฟทั้งสาม คือโทสะ โมหะ และราคะ ได้อย่างอยู่รอดปลอดภัย ไม่เสียความเป็นไท
คนมีสติจะมีวิถีคิด วิถีทำ วิถีพูด วิถีชีวิต วิถีจิตที่ไม่ผิดพลาด ไม่บกพร่อง มีแต่เรื่องถูกต้อง คนมีสติจะตั้งมั่นได้ด้วยตัวเอง ไม่มีใครจะมาทำให้เราต้องโยกโคนสั่นคลอนไปตามกระบวนการใดๆที่จะมาฉุดกระชากลากถูไป……….
คนมีสติจะตั้งมั่นได้ในทุกถิ่นทุกฐาน ตั้งมั่นได้ทุกกาลทุกสมัย จะมีชีวิต จิตวิญญาณที่ไม่กระดกบนฟองน้ำลายที่อยู่บนปลายลิ้นชาวบ้าน ไม่ว่าใครจะด่าเรา จะชมเรา จะติเรา หลวงปู่เขียนบทโศลกสอนลูกหลานไว้บทหนึ่งว่า………


ลูกรัก……….
คนจริงไม่ไหวจริงต่อคำชม ไม่เยินยอนิยมต่อคำนินทาสรรเสริญ


เพราะฉะนั้น คนจริงคือคนมีสติตั้งมั่น เป็นผู้ยิ่งใหญ่ในหัวใจของเรา แล้วเราจะยิ่งใหญ่ในสายตาของชาวบ้านเอง………..
แต่ถ้าใจเรายังไม่ใหญ่ ยังมีอะไรมาใหญ่แทนตัวเราแท้ๆ อะไรตัวนั้นก็คือ โลภ รักโกรธ หลง ตะกละ ต้องการ ทะเยอทะยานอยาก มันมาใหญ่แทนใจเราซะแล้ว มันมาใหญ่แทนสติเราซะแล้ว เราก็ต้องมีชีวิตอยู่บนฟองน้ำลายของชาวบ้าน คือ กลัวเขาจะว่า กลัวเขาจะตำหนิ กลัวเขาจะชม กลัวเขาจะนิยม กลัวเขาจะยกย่อง กลัวไปหมด สุดท้ายชีวิตนี้มีอะไร ชีวิตนี้เป็นชีวิตได้อย่างไร ถ้าเป็นชีวิตมีชีวิต เราต้องควบคุมมันได้ เป็นนายมันสนิท เป็นเจ้าของมันถูก การที่เราจะทำอย่างนี้ได้ เราต้องมีสติ สติ ทำให้เราเป็นเจ้าของชีวิตนี้ สติทำให้เรามีอำนาจเหนือชีวิตนี้……….
คนมีสติ คือ คนที่อยู่ในโลกใบนี้ อย่างมีสมรรถนะ สร้างสรรค์ประสิทธิภาพ ทำให้เกิดประสิทธิผล ในขณะที่เรามีชีวิตทุกย่างก้าว ทุกลมหายใจเข้าออก……….

คนมีสติ จะเป็นเอกภาพของตัวเอง มีเอกลักษณ์ของตัวเอง เป็นเอกบุรุษถ้าเป็นผู้ชาย ถ้าเป็นผู้หญิงก็เป็นเอกสตรี…………
คนมีสติ คือคนที่มีศิลปะ คนมีศิลปะ คือคนมีธรรมะ คนมีธรรมะคือคนมีปัญญา คนมีปัญญาก็คือคนมีสมาธิ คนมีสมาธิคือคนมีสติ คนมีสติก็คือคนมีศิลปะ คนมีศิลปะ คือคนที่มีชีวิตสวยงาม งดงาม สง่างามและอาจหาญ………..
เพราะฉะนั้น ความหมายของสติมันคือทุกอย่างของชีวิตนี้ คือความสดชื่น สมหวัง กระฉับกระเฉง สง่างาม คือความชาญฉลาด คือความพร้อมมูล และคือความครบองค์ประกอบของชีวิต สติจึงเป็นความจำเป็น เป็นอุปการคุณแก่สรรพสัตว์ เป็นอุปการคุณอันยิ่งใหญ่……..


พระพุทธเจ้าเคยถามพระมหาเถระรูปหนึ่งที่จะไปอยู่ ณ เมืองอารวี ที่เมืองนี้เป็นเมืองที่มีคนโหดร้าย ขี้โมโห ขี้โกรธ พระพุทธเจ้าถามว่า ที่ท่านจะไปอยู่น่ะ ไม่กลัวเขาด่าว่า ทำร้ายทุบตีหรือ พระเถระรูปนั้นกล่าวว่า………
“ถ้าเขาด่ากระหม่อมฉัน ก็ดีกว่าเขาอาฆาตพยาบาท ถ้าเขาอาฆาตพยาบาท ก็ดีกว่าเขาทำให้บาดเจ็บ ถ้าเขาทำให้บาดเจ็บ ก็ดีกว่าเขาฆ่าให้ตาย ถ้าเขาฆ่าให้ตาย ก็ยังดีกว่าเขาทำให้เสียสติ “…………
เห็นมั๊ยว่า พระเถระรูปนี้ แม้แต่เสียชีวิตก็ไม่เป็นไร แต่ขอรักษาสติเอาไว้……….

ดังนั้น สติ จึงเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ ที่เราจะต้องนำมาใช้ให้เกิดในชีวิตปัจจุบันทันที เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ วันนี้ เวลานี้ และนาทีต่อๆไป เราต้องรักษาสติ เจริญในสติ เพื่อให้เป็นผู้มีสติ ทุกลมหายใจเข้า-ออก………และเมื่อเรามีสติทุกขณะจิต ทุกลมหายใจเข้า-ออก เราก็จะเป็นผู้ที่พร้อมและสามารถที่จะตรวจตราความสามารถทั้งถายนอกและภายในกายตนนี้ ให้อยู่รอดปลอดภัย เราจะเป็นคนที่สะอาด มีความสง่างาม องอาจ เป็นตัวของตัวเอง และก็มีชีวิตอย่างอิสระและมีเสรีภาพ มีความสมบูรณ์ เป็นไท ไม่มีชีวิตที่ตกอยู่บนฟองน้ำลายที่กระดกบนปลายลิ้นใคร แล้วเราก็จะกลายเป็นผู้ชนะในโลกในที่สุด………

………………สติ จบบริบูรณ์………………..

ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

715
อ้างถึง
ได้แต่บอกตัวเองว่ามันจำเป็น อย่าไปคิดมาก มันอยู่ที่ศรัทธา ครูบาอาจารย์ท่านคงเข้าใจ

ตามนั้นครับ

716
ขออภัยครับ

ท่านชื่อ หลวงปู่เปลื้อง ไม่ใช่...เปรื่อง


717
วันนี้วันสุดท้ายของการโอนเงินทำบุญแล้วนะครับ
พรุ่งนี้ ธนาคารหยุดกลางปี

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

718
   
     แต่ถ้าจะฝึกให้มันเข้มงวด เข้มแข็งมากขึ้น และเป็นการฝึกที่เป็นเรื่องเป็นราวมากขึ้น ก็ขยับบทบาทของตนในการฝึกสติให้เข้มแข็ง ดูเหมือนมีพลัง และตั้งใจได้มากขึ้น เช่น สมมติว่า ตอนเช้าพอนาฬิกาปลุก เรายังนอนเฉย แล้วกดให้มันหยุดปลุก แล้วนอนต่อไปอีก แทนที่จะรีบลุกขึ้นมา ถ้าอย่างนี้แสดงว่า เรายังไม่มีสติ เรากำลังมีสติที่เพลี่ยงพล้ำ มีสติที่อ่อนแอ เพราะผู้มีสตินั้น เมื่อถึงเวลาลุกจะมีพลังต่อต้านภัย ต่อต้านความครอบงำของอาการง่วงเหงาหาวนอน ผู้มีสติย่อมมีพลังพร้อมที่จะต่อต้านสภาวะที่จะทำให้เกิดความไม่เจริญได้ทุกขณะจิต สภาวะที่ทำให้เกิดความไม่เจริญ คือ ความเกียจคร้าน สันหลังยาว ง่วง งี่เง่า เศร้าหมอง ขุ่นมัว ฟุ้งซ่าน รำคาญ อึดอัด หรือขัดเคือง……….

     ผู้มีสติย่อมมีพลังพร้อมและพอที่จะสามารถแก้ไขและทำร้าย ทำลาย สิ่งที่เป็นสภาวะที่ทำให้เกิดความไม่เจริญได้อย่างฉับพลัน เหตุเพราะเวลาที่เราหลับอย่างมีสตินั้น จะทำให้เราเป็นผู้ซื่อตรงต่อตัวเอง รู้จักกำหนดให้อาณัติสัญญาณต่อสัญญาที่มีอยู่ทุกขณะจิตแก่ตนเองว่า เราจะตื่นเวลาใด และมันจะเป็นความตื่น….ตื่น…..และตื่น ด้วยกาย วาจา ใจ………

    เมื่อสร้างความรู้เนื้อรู้ตัวให้เกิดขึ้นทุกขณะ ทุกย่างก้าว ทุกกระบวนการ ทุกลมหายใจเข้าออก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เราทำ คำที่เราพูด สูตรที่เราคิด มันต้องเต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้เนื้อรู้ตัว เข้าใจ และแจ่มแจ้งต่อมันแล้ว จนกลายเป็นนิสัยอยู่ในหัวใจเรา มันจะกลายเป็นระบบของความคิด เราก็จะรู้ว่าอะไรควรคิดก่อน อะไรควรคิดหลัง………

    กระบวนการต่อไปคือ จะต้องซึมสิง ซึมทราบ พิสูจน์จนเข้าใจกระจ่างชัดว่า ไม่ว่าอิริยาบถใดๆทุกขณะจิต ทุกลมหายใจ เราต้องรับรู้ ไม่ต้องรู้เรื่องอื่น รู้เฉพาะตัวเรา พอรู้ตัวเราแล้ว ก็จะทำให้รู้เรื่องอื่นไปด้วยในตัว รู้ตัวเราอย่างไร ก็คือ มีความรู้สึกในอิริยาบถ ที่จะเดิน ยืน นั่ง นอน ขับถ่าย อย่าส่งความรู้สึกออกไปนอกตัว ถ้าเมื่อไหร่ที่ส่งความรู้สึกออกไปนอกตัว ท่าทางต่างๆของเราก็จะไม่ถูกต้อง เช่น การยืนแบบรู้เนื้อรู้ตัว ก็คือ เรารู้ว่า เราทิ้งน้ำหนักไปที่ขาขวาหรือขาซ้าย รู้ว่าขาข้างไหน กำลังรับน้ำหนักของตัวเราอยู่ รู้ว่ายืนตรง ยืนเอียง ยืนตะแคงอย่างไร การรับรู้สภาพรูปยืนของตน อย่างนี้ถือว่า เป็นการฝึกสติให้ตั้งมั่นอยู่ในกายนี้………..

    ขั้นต่อมา ต้องเริ่มต้น จากการให้เวลาสัก 5-10นาที หรือเท่าที่เราต้องการ ควรจะมีเวลาให้มันในวิธีนี้อย่างยิ่งยวด เพื่อความชัดเจน กล้าแข็งของสติภายในกายตน และเวลาที่ให้กับมันนั้น เราต้องตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว มั่นคง และเด็ดขาดอย่างแท้จริงว่า เรากับสติต้องเป็นหนึ่งเดียวกันให้ได้ในเวลาที่กำหนด เรากับสติต้องไม่พลัดพรากจากกันแม้แต่พริบตาเดียว เรากับสติต้องรวมกันทั้งกาย วาจา ใจอย่างชนิดที่ไม่แยกจากกัน อาจจะเริ่มจากการรวมกายให้ผนึกแนบแน่นกับใจ ให้รับรู้ถึงสภาวะแห่งความเป็นจริงในปัจจุบันนั้นๆว่า เริ่มต้นจากการรู้จักรูปของตนว่าเราจะฝึกในท่าไหน ท่ายืน ท่าเดิน ท่านอน หรือท่านั่ง ให้รู้รูปยืน รู้รูปเดิน รู้รูปนอน รู้รูปนั่ง นั้นอย่างชัดเจนในมโนนึก มโนภาพของตน เมื่อรู้ตามกระบวนการอย่างชัดเจนแล้ว ก็รู้ต่อไปถึงกระบวนการของหนังและเนื้อภายในกาย จากนั้น ก็ถลกหนังและเนื้อออก ให้เหลือไว้แต่โครงกระดูกภายใน ค่อยๆสำรวจตรวจดูกระดูกภายในกายตน อาจจะเริ่มโดย การใช้มือคลำ คลำให้ทะลุหนัง ทะลุเนื้อ เข้าไปถึงกะโหลก ศีรษะ หน้าผาก โหนกคิ้ว เบ้าตาทั้งสองข้าง คลำไปเรื่อยๆอย่างนี้ การฝึกสติขั้นนี้ค่อนข้างจะละเอียด ชัดเจน เข้มแข็ง และแน่นอน ไม่ต้องมีคำภาวนาใดๆ การฝึกสติประเภทนี้จะทำให้สติเราตั้งมั่นและกล้าแข็ง อาจหาญ และกล้าที่จะเผชิญกับทุกสถานการณ์ได้อย่างไม่หวาดหวั่น ไม่พรั่นพรึง และมีวิถีชีวิตอย่างสง่างาม…………


    แล้วในขณะที่รับรู้โครงสร้างภายในกาย คือ โครงกระดูก ขณะนั้นจะต้องไม่ปรากฏความรู้สึกนึกคิดใดๆ หรือไม่มีกระบวนการแบ่งแยกทางจิต จะรู้ได้เพียงกระดูกกับกระดูกเท่านั้น เหตุผลก็เพราะ เมื่อใดที่ปรากฏความรู้สึกนึกคิดออกไปนอกกระดูก แม้แต่กระทั่งขยับไปที่เนื้อหนัง มันก็กลายเป็นเรื่องคนละเรื่องที่เราจะกำหนดรู้ แสดงว่าเรากำลังจะเพลี่ยงพล้ำ กำลังจะพลั้งเผลอ และการตั้งมั่นของสติจะเลอะเลือนไปในที่สุด………..

ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

719
คำวัด - พระบรมสารีริกธาตุ
“วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเน สุปะติฏฐิตัง สารีริกะธาตุง พุทธะรูปัง สะกะลัง สะทา ตัสสานุภาเวนะ สัพพะสิทธิ ภะวะตุ เม”
 นี่เป็นคำบูชาพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานในพระบรมธาตุเจดีย์ของวัดต่างๆ ทั่วประเทศ และวัดหนึ่งที่มีพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานเช่นกัน คือ วัดคฤหัสบดี แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กทม.


 
สำหรับความหมายของ “พระบรมสารีริกธาตุ” (อ่านว่า พระ-บอ-รม-มะ-สา-รี-ริก-กะ-ทาด) พระเทพคุณาภรณ์ (ปธ.๙) รองเจ้าคณะภาค ๑๓ และเจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร ได้อธิบายความหมายไว้ว่า "กระดูกของพระพุทธเจ้าในจำนวน ๒๘ พระองค์ นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าทีปังกร มาจนถึงพระพุทธเจ้าพระนามว่า พระสมณโคดม” 
 "พระบรมสารีริกธาตุ" คือ พระธาตุส่วนย่อยที่บังเกิดแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะ ไม่ได้เป็นคำที่ใช้เรียก พระธาตุของพระอรหันตสาวก หรือพระธาตุเจดีย์ต่างๆ

 ประเภทของพระบรมสารีริกธาตุ เนื่องจากพระบรมสารีริกธาตุที่พบเกือบทั้งหมดในปัจจุบัน มีความแตกต่างจากอัฐิของบุคคลธรรมดาทั่วไปอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ยังพบลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุที่มีลักษณะเหมือนกระดูกคนเช่นกัน เท่าที่พบเห็นได้ตามพระธาตุเจดีย์ทั่วไป หรือตามพิพิธภัณฑสถานต่างๆ ทั่วโลก สามารถแบ่งได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
 ๑.พระบรมสารีริกธาตุ ลักษณะ "พระธาตุ" พระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ พบมากในประเทศศรีลังกา ไทย จีน พม่า ฯลฯ มีลักษณะตรงหรือใกล้เคียงตามลักษณะที่ปรากฏในอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี ในประเทศไทยมีประดิษฐานอยู่ที่พระธาตุเจดีย์ ตามวัดต่างๆ ทั่วไป
 ๒.พระบรมสารีริกธาตุ ลักษณะ "กระดูกคน" พระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ พบเฉพาะเขตโบราณสถานในประเทศอินเดีย สำหรับในประเทศไทย รัฐบาลอังกฤษได้มอบให้แก่ประเทศไทย ๒ ครั้ง ครั้งแรกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานอยู่ ณ เจดีย์ภูเขาทอง วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และครั้งที่ ๒ รัฐบาลได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ เจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน

ส่วนคำว่า "พระธาตุ" คือ กระดูก หรือส่วนของร่างกายต่างๆ เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โลหิต ฯลฯ ที่มีคุณลักษณะเป็นที่แตกต่างจากสามัญชนทั่วไป โดยมีลักษณะคล้าย "ธาตุ" ซึ่งหากมองโดยไม่สังเกตให้ดีแล้ว ก็คล้าย กรวด หิน แก้ว เพชร ฯลฯ
 นอกจากนี้แล้ว คำว่า "พระบรมธาตุ" และ "พระธาตุ" ยังอาจใช้หมายถึงพระสถูปเจดีย์ต่างๆ ได้อีกด้วย เช่น พระบรมธาตุไชยา พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุพนม ฯลฯ


ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110429/96095/ คำวัดพระบรมสารีริกธาตุ.html

720
คำวัด - ภัตตาหาร-สลากภัต


คำว่า “สลากภัต” มาจากภาษาบาลี คือ สลาก + ภตฺต สองคำมารวมกันเป็น “สลากภัต” แปลว่า อาหารถวายพระภิกษุสงฆ์โดยวิธีจับสลาก นับเข้าในสังฆทาน เพราะเป็นการถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป ไม่ได้จำเพาะเจาะจงแก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง มักกระทำกันในเดือนที่มีผลไม้อุดมสมบูรณ์ หรือปีที่เศรษฐกิจดี หรือมีการก่อสร้างศาสนวัตถุในวัดที่ขาดแคลน พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้ว่า เป็นอดิเรกลาภส่วนหนึ่งที่ภิกษุสามเณรจะได้รับถวายได้ไม่จำกัดกาล ทั้งทรงยกย่องการถวายทานแบบไม่เจาะจงนี้ว่า มีอานิสงส์มากแล

  ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า “ภัตตาหาร” (อ่านว่า ภัด-ตา-หาน) อาหาร คือ ภัต หมายถึง อาหารสำหรับพระสงฆ์ฉัน เช่น พูดว่าพระสงฆ์ฉันภัตตาหาร ก็หมายความว่า พระสงฆ์ฉันอาหาร นั่นเอง

 
 ภัต หมายถึง ข้าว อาหาร ของกิน เขียนว่า ภัตร ก็ได้
 ภัต หรือ ภัตตาหาร ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์รับ และฉันได้มีหลายประเภท เช่น
 สังฆภัต หมายถึง อาหารที่เขาถวายพระสงฆ์
 นิมันตนภัต หมายถึง อาหารที่เขาถวายในที่นิมนต์
 สลากภัต หมายถึง อาหารที่เขาถวายตามสลาก
 อาคันตุกภัต หมายถึง อาหารที่เขาถวายพระอาคันตุกะ
 นิตยภัต หมายถึง อาหารที่เขาถวายเป็นประจำ
 ส่วนคำว่า "สลากภัต" (อ่านว่า สะ-หลาก-กะ-พัด) เจ้าคุณทองดีให้ความหมายไว้ว่า อาหารที่เขาถวายตามสลาก
 สลากภัต  ใช้เรียกวิธีถวายทานอย่างหนึ่งที่ถวายโดยการจับสลาก นิยมทำกันในฤดูกาลที่ผลไม้ออกผล เช่น สลากภัตมะม่วง สลากภัตลิ้นจี่ ถือว่าได้บุญมาก และเป็นมงคลแก่สวนผลไม้ของตน


 วิธีการสลากภัต คือ ทายกทายิกาจัดอาหารคาวหวาน และผลไม้ประจำฤดูกาลนำไปรวมกันที่วัด จัดวางไว้เป็นส่วนๆ เขียนชื่อหรือหมายเลขประจำตัวของตน ใส่กระดาษแล้วม้วนไปให้พระภิกษุสามเณรจับ รูปใดจับได้ของผู้ใดก็ออกไปรับของผู้นั้น
 อีกแบบหนึ่งเขียนเลขประจำตัวของพระตามลำดับอาวุโส ใส่กระดาษแล้วม้วนให้ทายกทายิกาจับ ผู้ใดจับได้หมายเลขใดก็นำของไปถวายพระตามหมายเลขนั้น
"พระธรรมกิตติวงศ์ "

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110513/97383/ คำวัดภัตตาหารสลากภัต.html

721
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

เพิ่มเติมนะครับ
ผมว่าไม่น่าเกี่ยวกับพระเอกาทศรถนะครับ และวัดนี้สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย ผมคิดว่าอาจเป็นพระเจ้าเอกทัศน์ก็ได้นะครับ(ตรงนี้ผมคิดเอง)
คงไม่เกี่ยวกับพระเอกาทศรถครับ
--------------------------------------------

ประวัติวัดราชคฤห์วรวิหาร

แขวงบางยี่เรือ  เขตธนบุรี  กรุงเทพมหานคร
**********
ความเป็นมาของวัดราชคฤห์วรวิหาร


                             นามเดิม  ชื่อวัดวังน้ำวน   เพราะวัดตั้งอยู่ติดคลองน้ำ ๓ สาย  คือ ๑. คลองบางกอกใหญ่ (อยู่ด้านทิศเหนือคือของวัด) ๒. คลองบางน้ำชน (อยู่ทิศตะวันตกของวัด) ๓. คลองท่าพระ (อยู่ด้านทิศพายัพของวัด) มาจดชนติดกันเป็นเหมือนสี่แยก เวลานำทะเลหนุนขึ้น  น้ำเค็มไหลทะลักเข้ามาตามคลองบางกอกใหญ่บ้าง  ไหลทะลักเข้ามาทางคลองบางน้ำชนบ้าง ส่วนคลองบางกอกใหญ่ตามปกติน้ำจืดจะไหลมาตามคลองทางเขตภาษีเจริญ ก็ไหลมาชนกับน้ำเค็ม  ตรงกันข้ามระหว่างคลองท่าพระน้ำจืดก็ไหลมาชนกับคลองบางกอกใหญ่ จึงทำให้น้ำที่ไหลมานั้นชนกัน  ทำให้น้ำเกิดการหมุนเวียนเป็นวังวนขึ้น ชาวบ้านจึงเรียกสถานที่แถบนั้นว่าวังน้ำวน เมือชาวบ้านได้สร้างวัดขึ้นจึงเรียกวัดนั้นว่า "วัดวังน้ำวน" เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา  ตอนปลาย  โดยมีชาวมอญกลุ่มหนึ่งซึ่งได้อพยพม่าโดยทางเรือจากกาญจนบุรี เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารและสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่แทบริมคลองบางกอกใหญ่  และสถานที่แถบนี้เป็นชัยภูมิของทหารไทยได้ซุ่มยิงเรือข้าศึก  จึงเรียกสถานที่นี้ว่า  ตำบลบังยิงเรือ  ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่ว่าบางยี่เรือ  พอสงบศึกแล้วจึงได้ช่วยกันสร้างวัดขึ้น  โดยมีนายกองชาติรามัญ (มอญ) เป็นประธาน เพื่อจะได้ทำบุญกุศลและให้ลูกหลานเข้าเรียนหนังสือ"   แก้เป็นคำว่า   "เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารและสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่แถบริมคลองบางกอกใหญ่  แล้วได้ช่วยกันสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ทำบุญกุศลและให้ลูกหลานเข้าเรียนหนังสือกันที่วัด  โดยมีนายกองชาติรามัญ (มอญ) เป็นประธานในการสร้างวัด   ต่อมา  เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราช  ได้ตั้งค่ายรวมพลทหาร ณ สถานที่โพธิ์สามต้น เพื่อกู้ชาติ และเมื่อข้าศึกพม่ารู้ว่า ค่ายทหารพระเจ้าตากสินอยู่ที่โพธิ์สามต้น  จึงได้ยกทัพเรือมาเพื่อรบตีทหารให้แตก  พระเจ้าตากสินผู้รู้หลักตำราพิชัยสงคราม  จึงรับสั่งให้ทหารหารมีพระยาพิชัยดาบหักเป็นต้น แบ่งทหารออกเป็นกองๆ  เพื่อดักซุ่มโจมตีทหารพม่าที่มาตามคลองนำ โดยให้อยู่ตามจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ ริมข้างคลองนำทุกๆ สายที่มาทางโพธิ์สามต้น และพระยาพิชัยดาบหัก  พาทหารหารมาดักซุ่มโจมตีที่วัดราชคฤห์  โดยยิงปืนใส่ทหารพม่าที่มาจอดเรืออยู่ที่วังนำวน  จึงทำให้ทหารพม่าล้มตายบ้าง  บางท่านก็ลบหนีไปได้   เมื่อกอบกู้ชาติได้แล้ว   พระองค็จึงคิดบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้  โดยรับสั่งมอบหมายให้พระยาพิชัยดาบหัก ทหารเอกราชองค์รักษ์  มาควบคุมดูแลบูรณปฏิสังขรณ์การก่อสร้างวัด  ต่อมา เมื่อพระเจ้าตากสินสิ้นพระชนม์แล้ว  โดยอาศัยสถานที่นี้เป็นที่ยิงเรือรบของข้าศึก    และสถานที่แทบนี้เป็นชัยภูมิของทหารไทยได้ซุ่มยิงเรือข้าศึก  จึงเรียกสถานที่นี้ว่า  วัดบังยิงเรือ พอสงบศึกแล้วจึงได้ช่วยกันสร้างวัดขึ้น  โดยมีนายกองชาติรามัญ (มอญ) เป็นประธาน เพื่อจะได้ทำบุญกุศลและให้ลูกหลานเข้าเรียนหนังสือ  ต่อมาเนื่องจากมีวัดอยู่ใกล้กัน  ๓  วัด  จึงเรียกชื่อตามตำบล  วัดนี้ตั้งอยู่ทางเหนือน้ำไหลจึงเรียกว่า  วัดบางยี่เรือเหนือ (วัดราชคฤห์)  วัดบางยี่เรือกลาง  (วัดจันทาราม)  วัดบางยี่เรือใต้  (วัดอินทาราม)  แต่ชาวบ้านเรียกกันจนติดปากว่า “วัดมอญ”  สัณนิฐานว่าคนมอญช่วยกันสร้างและพระมอญอยู่จำพรรษาประจำอยู่วัดนี้มาก  จึงเรียกชื่อว่าวัดมอญ   


พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ


ภูเขาจำลอง  (ภูเขามอ)


                             ต่อมา  สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ได้กู้ชาติไทยได้เสร็จแล้ว  จึงได้สร้างเมืองขึ้นใหม่  ให้เป็นราชธานี สถาปนา ชื่อว่า  "กรุงธนบุรี"  และได้ขึ้นครองราชย์  จากนั้น  พระองค์พร้อมด้วยทหารคู่ใจ  คือพระยาสีหราชเดโช  (พระยาพิชัยดาบหัก)  ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบางยี่เรือเหนือ มีสร้างพระอุโบสถสร้างพระปรางค์เหลี่ยมย่อไม้ยี่สิบ  อยู่ทั้ง  ๔  ด้านของพระอุโบสถ สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุที่นำมาจากกรุงราชคฤห์แห่งประเทศอินเดียสร้างพระพุทธรูปปางถวายพระเพลิง และสร้างภูเขาจำลอง  (ภูเขามอ)  พร้อมทั้งสถูปนำเอาพระบรมธาตุมาบรรจุไว้ เพื่อให้เป็นที่สักการบูชาแก่พุทธศาสนิกชนสืบมา  ต่อมา  พระเจ้าตากสินมหาราชได้สวรรคต ส่วนพระยาสีหราชเดโช  ได้สิ้นชีวิตลงตามพระเจ้าตากสิน  ได้นำเอาศพบรรจุไว้ที่วัดบางยี่เรือ

ที่มา
http://www.watrajkrueh.com/History1.htm

722
สติ
 
   ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เรา ทำอะไรด้วยความสมัครใจ โดยมิต้องตกเป็นทาสของอะไรๆ แล้วทำทุกอย่างด้วยหัวใจ และพระองค์ก็ทรงแนะหลักการกระทำให้สำเร็จประโยชน์ทุกอย่าง มีอยู่ 4 ข้อ คือ อิทธิบาท4-ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา…...

ฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่ สร้างความรักขึ้นมาเหมือนอย่างที่พวกเรามานั่งฟังธรรม อย่าทำด้วยความรู้สึกแกนๆ เซ็ง เบื่อ มานั่งฟังอะไรก็ไม่รู้ อย่างนี้ไม่ได้อะไร หมดเวลาไปวันๆ นั่งเผาอากาศทิ้ง หายใจออกเฉยๆ ไม่ได้สาระอะไร แล้วชีวิตนี้จะมีความหมายอะไร มันไม่ตื่นเต้น ไม่กระตือรือล้น ไม่สดชื่น ไม่กระชุ่มกระชวยกระฉับกระเฉง มีชีวิตเหมือนผีตายซาก เหมือนต้นไม้ที่ยืนต้นตาย เหมือนหุ่นยนต์ที่โดนไขลาน ชีวิตอย่างนี้ ควรจะเป็นเจ้าของชีวิตหรือ แล้วชีวิตอย่างนี้ ควรจะเป็นผู้ที่เรียกว่า เราคือสิ่งมีชีวิตหรือ หลวงปู่อยากจะบอกว่า นั่นก็คือ ก้อนหิน หรือต้นไม้ที่ยืนต้นตายเท่านั้น !!!………
ชีวิตที่เป็นชีวิต คือ ชีวิตที่เป็นเจ้าของชีวิต คือชีวิตที่มีชีวา มีความสดชื่น แจ่มใส มีความกระตือรือล้นกระฉับกระเฉง มีความกระชุ่มกระชวยที่จะทำกิจการงาน และจัดสรรภาระ ธุระ ชีวิตตนและคนอื่น ให้เกิดประโยชน์สูง ประหยัดสุด และมีสาระ นั่นคือ สิ่งที่มีชีวิต เราไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่ใกล้จะหมดชีวิต……..
การที่เราจะปลุกปลอบจิตวิญญาณของเราให้มีฉันทะ คือความพอใจรักใคร่ ในสิ่งที่เราทำ คำที่เราพูด สูตรที่เราคิด เรื่องทั้งหมดของเราจะเป็นชีวิต วิญญาณ สดชื่น มีเสรีภาพ มีอิสระ มีความสง่างาม และงดงามอยู่ในที ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน พูด คิด มันสวยงาม สง่า มันเป็นธรรมชาติ แต่ถ้าทำอะไรแบบไร้ชีวิตสิ้นหวัง ขาดจิตวิญญาณ ความรู้สึก เหมือนกับหุ่นยนต์ แล้วมันจะมีประโยชน์อะไรกับชีวิตนี้ ทำไปแกนๆ ให้มันหมดไปวันๆ อย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิต………
ที่จะเป็นชีวิตได้ สดชื่นรื่นเริงได้ กระฉับกระเฉงกระชุ่มกระชวยได้ ถูกต้อง ไม่บกพร่อง ถูกขั้นตอน ถูกกาล ถูกสมัย ถูกที่ ถูกบุคคลได้ ก็เพราะเรามีสติ กระตุ้นเตือนบอกตัวเองว่า เวลานี้เรากำลังทำอะไร เราควรจะทำตัวอย่างไรกับสิ่งที่กำลังจะทำ ควรจะใช้วาจาอย่างไรกับสิ่งที่กำลังจะสอน ควรจะคิดอะไร พูดอะไร แสดงอะไร เหล่านี้เป็นกระบวนการทำงานของสติทั้งนั้น……..


นอกจากมีฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่แล้ว ต้องมี วิริยะ คือ ความเพียร เช่น หนุ่มรักสาว ต้องใช้ความรักให้เป็น เอาความรักอันนั้นมาพัฒนาให้เป็นศักยภาพของชีวิต โดยรักที่จะทำ รักที่จะแก้ไขปัญหา รักที่จะเรียนรู้ รักที่จะแบ่งปัน รักที่จะอาทร รักที่จะการุณย์ รักที่จะสร้างสรรค์ รักที่จะส่งเสริม รักที่จะชี้นำ รักที่จะเทิดทูน รักที่จะยอมรับ เมื่อเรามีความเพียรในความรักแบบนี้ และรักที่จะทำมันตลอดกาล ถือว่ามีความรักด้วยความเพียร มีความเพียรสนับสนุนความรัก ทำให้ความรักนั้นยิ่งใหญ่และสมหวังตามความปรารถนา………

เมื่อมีฉันทะ มีวิริยะ ก็ต้องเอา จิตตะ คือ จิตจับจ่อ จดจ้อง จริงจัง ตั้งใจ อย่างชนิดที่ใครๆก็สู้เราไม่ได้ ใครๆก็ไม่อาจคิดแทนเราได้ นอกจากตัวเราเอง………

ข้อสุดท้าย วิมังสา คือ ใช้ปัญญาใคร่ครวญพิจารณา ทุกขั้นตอน ก่อนทำ พูด คิด ซึ่งมันก็เป็นผลเกิดจากสติ……….
ทั้ง 4 ประการนี้ คือ อิทธิบาท 4 – คุณเครื่องยังให้สำเร็จประโยชน์ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา มันจะเกิดขึ้นได้ เราต้องมีสติ เราจะรักใครก็ต้องมีสติ เราจะมีความเพียรทำอะไรเราก็ต้องมีสติ เราจะเอาใจจดจ่อ จับจ้อง จริงจัง มันอย่างไร นั่นก็คือ กระบวนการของสติ คือตัวการสติ……….


ที่หลวงปู่บวช เพราะคิดว่าเราเป็นคนโง่ ไม่ค่อยมีสติ ปัญญาไม่ค่อยดี แล้วก็เป็นคนเชื่ออะไรง่าย หลงอะไรง่าย ใครมาทำให้เราโกรธ เราก็จะโกรธ ใครมาทำให้เรารัก เราก็จะรัก ใครมาทำให้เราเกลียด เราก็จะเกลียด เห็นอะไรที่สวยก็อยากได้ มีความโลภ……….

ตอนบวชใหม่ๆไม่มีคนดูแล ไม่มีโยมอุปฐาก เพราะไปบวชคนเดียว บวชใหม่ก็นอนป่วยอยู่ในห้อง จนนอนหมดสติอยู่ 3 วัน แล้วไม่ได้ฉันข้าว หมดแรง กินแต่น้ำ กำลังจะหมดความรู้สึกว่า เราคงตายแน่แล้ว เลยหมดกำลังใจ หันไปมองพระพุทธรูปเล็กๆ ที่อยู่ในกุฏิ ไม่รู้ว่าหลวงปู่หูฝาดไปหรือเปล่า ได้ยินพระพุทธรูปพูดว่า “อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ” แปลว่า “ตนเป็นที่พึ่งของตน”
ทำให้หลวงปู่มีสติ มีกำลังออกไปบิณฑบาตได้………

เพราะฉะนั้น สติมีอยู่ในตัวแล้ว นับตั้งแต่ออกจากท้องแม่ เมื่อเราขี้ แล้วดิ้นหนีจากขี้ เราเยี่ยวแล้วดิ้นหนี ขยับร้องเรียกแม่ ให้มาเปลี่ยนผ้าอ้อม เราใส่เสื้อเป็นเสื้อ ใส่กางเกงเป็นกางเกง

ทั้งหลายทั้งปวงนี้เป็นการใช้สติ เพราะถ้าไม่มีสติ เราต้องใส่เสื้อเป็นกางเกง ใส่กางเกงเป็นเสื้อ ถ้าไม่มีสติ คงต้องเอากางเกงในไว้ข้างนอก เอากางเกงนอกไว้ข้างใน ถ้าไม่มีสติก็ไม่รู้ว่าผมจะหวีอย่างไร และถ้าไม่มีสติ พอเห็นใบไม้ลอยมาแล้วก็นั่ง อุ๊ย…ตกแล้ว.…ตกแล้ว แล้วก็ตีมือชอบใจ อะไรอย่างนี้……….

เมื่อมีสติอยู่แล้ว ไม่ต้องไปหาที่อื่น เราจึงจำเป็นต้องมาจัดการ พัฒนา บริหารสติ ให้ทรงไว้ซึ่งสมรรถนะ และสร้างให้เกิดประสิทธิผลขึ้นในการ ทำ พูด คิด เราจะไม่ผิดพลาดบกพร่อง มีแต่เรื่องถูกต้อง………..


สติไม่มีกาลเวลา สติที่มีกาลเวลาคือสติของผีห่า ซาตาน มาร และความอยาก คืออยากถึงทำ ไม่อยากก็เลิกทำ อะไรอย่างนั้น นี่ไม่ใช่สติของพระพุทธเจ้า สติของพระพุทธเจ้าต้องมีอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่ว่าเราไปทำความรู้จักมันเข้าใจมัน แล้วก็ทำให้มันเกิดกับเรา อยู่กับเรา โตขึ้น เจริญขึ้น และอุปการะชีวิตเรา ตระหนัก สำนึกในหน้าที่ของเรา………

ดังนั้น สติจึงเป็นเครื่องอุปการะแก่สัตว์ แก่จิตนี้ แก่กายนี้ แก่ชีวิตนี้ แก่ใจนี้ แก่อนาคตของเรานี้………..
การฝึกสติไม่ใช่เป็นการมาสร้างขึ้นมาใหม่ ความหมายของ การฝึกสติก็คือฝึกสิ่งที่มีอยู่แล้ว ให้มันกล้าแข็งและแกร่งขึ้น เพื่อจะอุปการะกายนี้ วาจานี้ จิตนี้ ให้เป็นผู้ที่มีสมรรถนะให้ดีขึ้น สูงขึ้น เยี่ยมยอดขึ้น ยิ่งใหญ่ขึ้น มีอำนาจครอบคลุมพฤติกรรม ให้ไปสู่เป้าหมายและวิถีทางของผู้เจริญ………….

การฝึกสติ เป็นการจัดระเบียบของกาย จนเป็นระบบของความคิด ทำกายนี้ให้มีระเบียบต่อการซึมซับ ซึมสิง พิสูจน์ทราบ สัมผัสทราบต่อความหมายของการปฏิบัติตน ให้เป็นคนมีระเบียบวินัย ซื่อตรง ถูกต้อง ทำเรื่องทั้งหลายในชีวิตไม่บกพร่อง เหล่านี้เป็นการฝึกสติทั้งนั้น

วิถีทางในการฝึกที่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ได้ทรงถ่ายทอดและสั่งสอนกันมา ก็คือ การเจริญสติ หรือการทำให้เกิดความรู้เนื้อรู้ตัว……….
เริ่มจากการทำอะไรต้องทำด้วยกาย วาจา ใจ ต้องให้ทุกอย่างรวมอยู่ในการกระทำนั้น และทำมันด้วยความจดจ่อ จริงจัง ตั้งใจ และจับจ้อง แต่ไม่จำเป็นจะต้องทำให้ถึงกับเครียด เมื่อปรากฏการณ์ของสติเกิดขึ้น เราก็จะรับรู้ได้ว่า ความหมายของสติ มันจะทำให้เราทำไม่ผิด คิดไม่ผิด และพูดไม่ผิด ในกิจการที่ทำนั้นๆ………
เมื่อเราสามารถใส่ใจ เต็มใจ จริงใจ และตั้งใจ ต่อการกระทำ พูด คิด ของตน ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว เราก็จะสามารถสัมผัส สำเหนียก และพิสูจน์ทราบได้ถึงความหมายของผู้มีสติได้อย่างชัดเจนมากขึ้นว่า สติเป็นเครื่องพยุง เครื่องประคับประคอง เครื่องอุปการะต่อพฤติกรรม คำที่พูด และสูตรที่คิดอย่างจริงๆ อย่างชนิดที่ไม่มีการคุยโม้โอ้อวดกัน…….

ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

723



สติ

หลวงปู่พุทธะอิสระ

ปัจจุบันนี้ การศึกษาของชาติล้มเหลว ผลิตคนเก่ง เพื่อจะออกมาเบียดเบียนชาวบ้าน เพราะที่ผ่านมา เราสนับสนุนให้คนมีแต่ไอคิว โดยพยายามจะสอนกันให้เป็นคนเก่ง แล้วเอาความเก่งออกไปเบียดเบียนผู้อื่น ฉลาดที่จะเอาเปรียบคนอื่น แต่ไม่เคยฉลาดที่จะช่วยเหลือคนอื่น ไม่เคยฉลาดที่จะแก้ไขปัญหาให้คนอื่น ไม่เคยคิดจะแบ่งปัน อาทร หรือการุณย์ แบ่งปันความสุขของเราให้แก่คนอื่น สำนึกของความเป็นมนุษย์ของเขามันหายไปไหน เราไม่เคยสอนกันอย่างนี้มาเลย ส่วนใหญ่ก็มีแต่สอนให้เก่งๆ แล้วก็แข่งกัน เอาเปรียบกัน ชนะได้เป็นดี แพ้ไม่ได้ อยากถามกลับไปว่า คนไทยชนะคนไทย ประเทศไทยได้อะไร………..แล้วพ่อแม่อยู่ในบ้าน ก็จะสอนลูกว่า นั่นลูกบ้านนั้น เขายังสอบได้ที่1 ลูกก็ต้องแข่งกับเขาให้ได้ เป็นต้น สอนกันแบบนี้ แล้วพวกนี้ พอไปอยู่ในสังคม ก็จะไปเอาเปรียบกัน สังคมก็จะไม่มีความอาทรต่อกัน ไม่มีความรักต่อกัน ไม่มีความเมตตาต่อกัน ทุกคนเป็นศัตรูกัน แล้วจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร เพราะมีแต่คนเอารัดเอาเปรียบ เห็นแก่ตัวละโมบโลภมาก อิจฉาริษยาและคับแคบ สิ่งเหล่านี้มาจากอะไร มาจากความไม่รู้จริง ไม่เข้าใจเรื่องจริง ไร้สำนึกในความเป็นมนุษย์จริงๆ เหตุผลมาจาก”การขาดสติ” ไม่มีความยั้งคิด ไม่ละอายชั่ว กลัวบาป……….ที่เราเรียนท่องจำกันอยู่ทุกวันนี้ มันไม่ใช่”ปัญญา”แต่มันเป็น “สัญญา”

“สัญญา”คือการสะสม กักเก็บข้อมูล แล้วมันสามารถจะพัฒนาไปสู่ตัว”ปัญญา”ได้”ถ้าเรามีสติ” แต่ถ้าเราไม่มีสติ ก็ไม่มีสิทธิ์ ปัญญาคือสิ่งที่เราไม่รู้ ได้รู้ สิ่งที่ไม่เคยปรากฏ ได้ปรากฏ หรือที่ไม่เคยเห็น ได้เห็น ตัวอย่าง เช่น เขาบอกว่าหนึ่งบวกหนึ่ง เราไม่รู้ว่าหนึ่งบวกหนึ่งเป็นอะไร แต่ถ้าเรามาบวกกันแล้ว มันออกผลมาว่าเป็นสอง อย่างนี้เรียกว่า”ปัญญา” แต่โจทย์หนึ่งบวกหนึ่งมันเป็น”สัญญา” นี่คือตัวอย่างง่ายๆ………..ฉะนั้น ความหมายของ”ปัญญา”ที่ว่าหนึ่งบวกหนึ่ง ถ้าเราไม่มีสติ เราบวกได้มั๊ย คือไม่รู้จักอะไรมันเลย ไม่เข้าใจมัน และไม่รู้ว่าวิธีการมันจะทำอย่างไร อย่างนี้มันจะเป็นสองได้มั๊ย แต่ที่เราทำได้ถูก เพราะเรารู้เนื้อรู้ตัว รู้จักวิธีการ ความรู้เหล่านี้แหละคือตัว”สติ”………


สติ คือ ความรู้ตัว ทำหน้าที่ปลุกจิตของเราให้เป็น ผู้ตื่น ผู้รู้ รู้ชัด รู้แจ้ง รู้ทันสภาวะที่เกิดขึ้นกับตัวเองและก็เตรียมตัวเตรียมพร้อม ที่จะเผชิญกับทุกสถานการณ์ที่ปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า ความรู้ตัว ก็คือรู้ว่าปัจจุบันนี้ทำอะไรอยู่ แล้วตัวรู้นี้แหละมันเป็นเครื่องกำกับอิริยาบถ กาย วาจา ใจ ให้ทำ พูด คิด ไม่ผิด ตัวรู้ตัวนี้แหละเป็นตัวกระตุ้นความทรงจำคือ”สัญญา”ให้มีประสิทธิภาพเก็บข้อมูลได้มากมาย ดังนั้น ผู้มีสติ จึงเป็นผู้ที่ทำ พูด คิดไม่ผิดพลาด คนมีสตินั้น สามารถหาคำตอบจาก หนึ่งบวกหนึ่งออกมาเป็นสอง ได้อย่างไม่ผิดพลาด เรียกว่าทำก็ไม่ผิด พูดก็ไม่ผิด คิดก็ไม่ผิด อย่างนี้เรียกว่า เป็นการทำงานของสติบวกสมาธิ เกิดปัญญา……….

ปัญญา คือผลของสติจะเป็นสมาธิ ผลของสมาธิ เป็นปัญญา เพราะฉะนั้น”ฝึกสติ เกิดสมาธิ เป็นปัญญา” ปัญญาจะมีที่ตั้งได้ต่อเมื่อที่ตั้งนั้นมั่นคง “สมาธิ”แปลว่า ที่ตั้งแห่งความมั่นคง หรือฐานที่ตั้งแห่งความมั่นคง ฐานที่ตั้งแห่งความมั่นคงมันจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีสติเป็นเครื่องรองรับ………..
กระบวนการของสมาธิ ท่านให้มีไว้ใช้พิจารณาตามหลักของ”ไตรลักษณ์” อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงของโลก เห็นตามความเป็นจริงของสังขาร รู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย”ปัญญา” ปัญญาในที่นี้ เรียกว่า “อริยปัญญา” ปัญญาแห่งความรู้จริง รู้ยิ่ง ไม่ใช่รู้จำ เมื่อรู้จริง รู้ยิ่ง เป็น”ปัญญา”ล้วนๆ ที่ไม่มีอะไรทำลายให้เสียหายลงไปได้ ไม่มีใครทำร้ายทำลายปัญญาชนิดนี้ให้เสียหายลงไปได้ เราตายไปอีกกี่ชาติ ปัญญาชนิดนี้ ก็จะตามเราไป แต่ปัญญาที่ได้จากการท่องจำ ตายชาตินี้ก็จบชาตินี้ มันไม่มีโอกาสจะตามไป แต่ปัญญาที่ตายกี่ชาติๆก็จะตามเราไป ก็คือ ปัญญาที่รู้เห็นตามความเป็นจริง เป็นปัญญาที่โจรปล้นไม่ได้ น้ำท่วมไม่หาย ไฟไหม้ไม่หมด เป็นอริยทรัพย์ อริยปัญญา “ปัญญา เป็นทรัพย์ที่ยิ่งกว่าทรัพย์ทั้งปวง”………


เพราะฉะนั้น กระบวนการของปัญญา จำเป็นต่อชีวิต ถ้าชีวิตนี้ขาดปัญญา ก็เป็นคนที่ไม่ใช่คน เป็นคนที่โดนเขาจับมาคน ซึ่งก็แปลว่า กวนให้ทั่ว ไม่มีสิทธิ์ที่จะสอนคน และก็ไม่ควรจะอยู่ในสังคมแห่งความเป็นคน เพราะเราจะต้องโดนเขาเอาเปรียบ คนไม่มีปัญญาคือคนโง่ คนโง่คือคนที่โดนหลอกง่าย คนที่โดนหลอกง่ายคือ คนที่ทำผิด พูดผิด คิดผิด คนที่ทำผิด พูดผิด คิดผิด คือคนที่ต่ำทรามในสายตาสังคม คนใช้การไม่ได้ คนหมดสมรรถนะและคนไร้สภาพ คนใช้ไม่ได้ คนหมดสมรรถนะ คนไร้สภาพ คือคนไม่ใช่คน คือคนอ่อนแอ คนง่อยเปลี้ยเสียขา หรือคนที่ไม่มีสำนึกของความเป็นคน…………
กระบวนการแห่งปัญญา เรียกว่า เป็นผลแห่งการสันดาปของสติ เกิดสมาธิ แล้ว ปรากฏปัญญา ถ้าเข้าใจตามนี้ สิ่งที่ควรจะขวนขวายอันดับแรก จึงไม่ใช่ปัญญา ไม่ใช่สมาธิ แต่มันคือสติ

สติมี 2 ประเภท คือ สัมมาสติ กับ มิจฉาสติ
โจรที่ปล้นเขาสำเร็จมีสติมั๊ย…..มี แต่เป็น “มิจฉาสติ” คือสติที่ยังให้เกิดโทษ ไม่เกิดประโยชน์ เป็นสติชั้นต่ำ ไม่ใช่สติชั้นสูง สุดท้ายก็ต้องพ่ายแพ้ตัวเอง เพราะความชั่วนั้น มันหมักหมมโสโครก กัดกินจนกระทั่ง ต้องติดคุกตะราง หรือรับโทษทัณฑ์ทางใจ กินไม่ได้นอนไม่หลับและชีวิตไม่เป็นสุข

ส่วนสติที่เป็น “สัมมาสติ” คือ สติที่ทำให้เราเข้าใจสิ่งตามเป็นจริง รู้เห็นตามความเป็นจริง เข้าใจสิ่งที่เป็นเรื่องจริงและเป็นความถูกตรง ถูกต้องต่อความเป็นจริง สัมมาสตินี้ไม่ว่าต่อหน้าลับหลังอยู่ได้ นอนหลับเป็นสุขจนวันตาย วันสุดท้ายแห่งความตายก็ยังเป็นสุข เพราะมันเป็นสัมมาสติที่มีอุปการะไปถึงชาติโน้น ชาติไหน ชาติใดๆได้ด้วย ส่วนมิจฉาสติ ก็อุปการะเหมือนกัน แต่อุปการะสัตว์ในฐานะที่เหยียบให้ตกต่ำ คือทำให้ต่ำลง แต่สัมมาสติ พยุงสัตว์ให้สูงขึ้น ทำสัตว์ให้ปลดปล่อย หลุดลอย แล้วก็มีเสรีภาพอิสระ คนที่มีสัมมาสติ คือคนที่ยืนอยู่ได้อย่างมั่นคง องอาจ สง่างาม แล้วสัมมาสติที่ถูกตรง ก็คือ สติที่มีเอาไว้กำกับดู กาย เวทนา จิต และธรรม ทั้งภายในและภายนอก

ทั้งมิจฉาสติและสัมมาสติ มันเกิดขึ้นในจิตทุกดวง เราไม่มีอะไรที่จะไปแยกมันได้ เราต้องปล่อยให้มันเกิดขึ้น แล้วก็ต้องตามมันไป เต้นตามมันไป วิ่งตามมันไป สุดท้ายเราก็จะตายเพราะมัน ทุกข์ทรมานเพราะมัน เดือดร้อนเพราะมัน เศร้าโศกเพราะมัน เสียใจเพราะมัน และลำบากเพราะมัน แล้วอะไรคือมัน มันก็คือ สิ่งที่เข้ามาแอบแฝงอยู่ ครอบงำจิตวิญญาณและกายนี้ให้เศร้าหมองลง ทำให้หยาบ ตะกละ ต้องการ ละเมอเพ้อพก หลง โกรธ โลภ สิ่งเหล่านี้คือตัวมัน ตัวมันที่ไม่ใช่ตัวเรา ตัวมันที่เข้ามาอยู่กับเรา เพราะเราไม่มีสัมมาสติคอยกั้นกางมัน และตัวมันเหล่านั้นก็คือ อวิชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน………
ถ้าเราทำอะไรโดยไม่เต็มใจ ไม่ตั้งใจ ไม่พร้อมใจ ไม่สมัครใจ เหมือนเป็นหุ่นยนต์ เราไม่มีสมรรถภาพ ไม่มีสมรรถนะของตัวเราเอง ไม่มีประสิทธิผลของตัวเอง ไม่เป็นตัวของตัวเอง แล้วความเป็นมนุษย์มันอยู่ตรงไหน ถ้าทำอะไรโดนบังคับไปตลอด ต้องตกเป็นทาสของใคร อะไรที่เราไม่รู้จัก รู้แต่ว่าต้องทำตามคำสั่ง……..

ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

724
สิ่งที่ต้องเข้าใจ ก่อนการปฏิบัติกัมมัฏฐาน


มีคำกล่าวโบราณ ของท่านอาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้ให้ไว้เป็นหลักในการทำกัมมัฏฐานทั่วไป เพื่อเอาไว้พิจารณาแก่นักปฏิบัติว่า "คนมีปัญญา ยืนหยัดมั่นคงอยู่บนผืนแผ่นดิน ฉวยจับอาวุธที่คมด้วยมือ ลับที่หินแล้วมีความเพียร ถางป่าที่รกให้เตียนไปได้" ถ้อยคำโบราณดังกล่าวนี้ ถ้าพิจารณาให้ดี ดูจะเป็นหัวใจสำคัญของผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐานทั้งหลาย เราลองมาพิจารณาค้นหาถ้อยคำความหมาย ที่ซ่อนเร้นอยู่ในกลบทเหล่านี้ดูกัน ว่าจะมีความสำคัญประการใด………….

ท่านได้ให้คำอธิบาย คนมีปัญญา ไว้ว่า ปัญญาในที่นี้หมายถึง ปัญญาดั้งเดิมที่ติดตัวตนเองมาแต่อดีตชาติ ที่เรียกว่า “สหชาติปัญญา” แต่ยังเป็นปัญญาดิบ ที่ยังมิได้รับการพัฒนาขัดเกลา สร้างเสริมให้งอกงามสมบูรณ์ จึงยังไม่ควรเรียกว่า “วิปัสสนาปัญญา” รวมความว่า ผู้ที่จักทำกัมมัฏฐาน จำเป็นต้องมีสติปัญญาเดิม เป็นพื้นฐานพอสมควร แต่ถ้าเป็นคนโง่ คือคนขาดปัญญา หมดปัญญา ไม่มีปัญญา หรือมีก็มีเฉพาะสติปัญญาที่เอาไว้ใช้หากิน หาอยู่ ของอัตภาพตนไปวันๆ และถ้าเผอิญ นึกอยากจะปฏิบัติธรรม หรือมีผู้มาชวนให้ปฏิบัติธรรม ก็ทำได้แต่เพียงตามๆเขาไป หรือถ้าไม่ตาม จักแสวงหาด้วยตนเอง ก็เป็นการแสวงหาและปฏิบัติตามแต่ที่ตนเชื่อ โดยมิได้พิจารณาว่า การกระทำเช่นนี้ การปฏิบัติอย่างนี้ จะทำให้ตนฉลาด สะอาด สว่างขึ้นมาบ้างหรือไม่ หรือทำเพราะอาศัยอำนาจแห่งความพอใจ ถูกใจ ชอบใจเป็นพอแล้ว………

   ถึงแม้จักมีปัญญา ติดตามตัวมามากมายปานใดก็ตามที แต่ก็ยังต้อง ยืนหยัดให้มั่นคงบนแผ่นดิน แผ่นดิน ในที่นี้ ท่านอุปมาดัง ศีล ซึ่งเป็นเครื่องรักษา ส่งเสริมปัญญาให้มั่นคง ศีลเป็นรากฐานของชีวิต ศีลทำให้เราอยู่ห่างไกลความเลวร้าย ชั่วผิดบาปหยาบช้าทั้งปวง ศีลทำให้เราตั้งมั่น และอาจหาญคงที่ ศีลทำชีวิตให้อยู่ดีมีสุข ท่านจึงเปรียบศีล เป็นดั่งแผ่นดินที่หนักแน่น มั่นคง และพร้อมที่จะก่อเกิด สรรพชีวิต สรรพวัตถุได้มากมาย ทั้งยังสามารถให้สรรพชีวิตทั้งหลาย ได้ยืนหยัดอยู่อาศัย อย่างมิต้องหวาดผวาหรือหวั่นไหว ผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐาน จะต้องชำระศีลของตนให้บริสุทธิ์สะอาด เหมือนดังบุคคล ชำระแผ่นดินให้หมดจด เหมาะสำหรับที่จะใช้ยืน หรือทำการทั้งปวง………


แม้จักมีศีล เป็นเครื่องประคับประคองปัญญาแล้วก็ตาม แต่ยังวางใจไม่ได้ว่า ปัญญาที่มี จะมากพอที่จะพึ่งพิงอิงอาศัย นำพาไปสู่สาระอันยิ่งใหญ่ในชีวิตได้ ท่านจึงกล่าวว่า ฉวยจับ อุปมาดั่งการค้นหาเพิ่มเติมสะสม อาวุธที่คม คือ”ปัญญาภายนอก”รอบๆกายตน ได้แก่ การศึกษาเล่าเรียน สดับตรับฟัง พิจารณา………..
ด้วยมือ หมายถึง การทดลองทำด้วยตนเอง เพื่อให้แน่ใจว่า สิ่งที่ได้ศึกษาเล่าเรียน รับฟังมานั้น มีผลเป็นประการใด ถึงแม้ว่าจะมีปัญญาที่ได้มาจากการสะสมเพิ่มเติมแล้วก็ตามที แต่ก็ยังแน่ใจวางใจไม่ได้ว่า ปัญญาชนิดนี้จะพาตัวรอด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคัดเลือก ชำระล้าง ขัดเกลา พัฒนาปัญญาที่ได้ ซึ่งท่านเรียกว่า โลกียปัญญา ให้อยู่ในสถานะ อันเป็นที่พึ่งอาศัยได้อย่างแท้จริง และด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องพัฒนาลับปัญญา เครื่องลับนั้นท่านเรียกว่า หิน หมายถึง การมีสติอย่างจดจ่อจับจ้อง จริงจัง ตั้งมั่น จนกลายเป็นสมาธิ สองสิ่งนี้ถือได้ว่า มีคุณสมบัติในการขจัดขัดเกลา ชำระล้าง เกาะแกะ สรรพกิเลสทั้งปวง สรรพมลทินทั้งหลายที่แอบแฝงอยู่ในโลกียปัญญา ให้กลายเป็น โลกุตรปัญญาในทันทีทันใด ทำเดี๋ยวนี้ เห็นผลเดี๋ยวนี้ ทำเวลานี้ได้ผลทันที ได้ผลขณะที่ลงมือกระทำ จะดีหรือชั่ว ถูกหรือผิด ใช้ได้หรือไม่ได้ วิธีนี้เราจะรับรู้ได้ด้วยตนเองในทันที วิธีนี้ดูจะเป็นเครื่องหนุนนำให้ผู้ปฏิบัติ เป็นคนหนักแน่นมั่นคงในความรู้ที่ตนได้รับ จากการกระทำแล้วเห็นผลเช่นนี้ จึงถือว่า เป็นปัญญารู้จริง มิใช่รู้จำ อีกทั้งยังทำให้ตนพิสูจน์ได้ด้วยตนเองว่า ความรู้ที่มีหรือได้รับนี้ เป็นความรู้ที่ทำให้ตนเข้าถึงประโยชน์สูงสุดของการมีชีวิตหรือไม่ เช่นนี้จึงเป็น ปาริหาริกปัญญา คือปัญญาที่ทำให้ตนแน่ใจว่า วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด ถูกต้องที่สุดและได้ประโยชน์สูงสุด สำหรับสัตว์ที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร……….

   แล้วมีความเพียร หมายถึง การมีความรัก ความพอใจในสิ่งที่ตนกำลังกระทำ ถ้ายังไม่มี แต่คิดที่จะกระทำ จะด้วยความจำเป็นหรือจำยอมก็ตาม จักต้องพยายามสร้างความรัก ความพอใจในกิจกรรมการงานนั้นให้ได้เสียก่อน แล้วลงมือกระทำด้วยความเพียรพยายามอย่างจดจ่อ จริงจัง จับจ้อง ตั้งใจ พร้อมกับใช้วิจารณญาณ ปัญญา ใคร่ครวญ พิจารณา ด้วยความละเอียดถี่ถ้วนให้ถ่องแท้ เหล่านี้คือ อิทธิบาททั้ง 4 อันได้แก่ ฉันทะ(ความพอใจ) วิริยะ(ความเพียร) จิตตะ(ความเอาใจจดจ่อ) วิมังสา(การใช้ปัญญาใคร่ครวญพิจารณา)อันเป็นแม่บทในการกระทำ เป็นหัวใจของความสำเร็จทั้งปวง……….

ประโยคที่ว่า ถางป่าที่รก ให้เตียนไป หมายถึง สรรพกิเลสทั้งปวง สรรพทุกข์ทั้งปวง สรรพภัยทั้งปวง จะขจัดชำระล้างทำลายลงไปได้ ด้วยอาศัยความเพียรพยายามอย่างยิ่ง และท้ายที่สุด ต้องมี อริยปัญญาอันยิ่ง จึงจะสามารถทำลายสรรพกิเลสทั้งปวง ที่ติดแน่นนอนเนื่องอยู่ในสันดานมาเนิ่นนานยาวไกลลงได้……….


สรุป เมื่อเรามีปัญญาติดตัวมาแต่ปางก่อน ควรที่จักทำให้ปัญญานั้น ตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐาน คือ ศีลอันสมบูรณ์ อย่างไม่หวั่นไหว พร้อมทั้งเพิ่มเติม สะสม ปัญญานอกกาย แม้จะเป็น “โลกียปัญญา”ก็ตาม ถ้าผ่านกรรมวิธีในการตรวจสอบ ชำระล้าง ขัดเกลา พัฒนาอย่างละเอียดถี่ถ้วนสมบูรณ์ด้วย”สติ”และ”สมาธิ”(ลับด้วยหิน) โลกียปัญญานั้น ก็จักกลับกลายเป็น “โลกุตรปัญญา”ในฉับพลัน แต่ทั้งนี้กรรมทุกชนิด กิจทุกอย่าง ต้องกระทำด้วยความรัก ความพอใจ เพียรพยายาม
บากบั่น อดทน อดกลั้น ด้วยความจับจ่อ จับจ้อง จริงจัง ตั้งใจ ด้วยการใช้”สติปัญญา”ใคร่ครวญ พินิจ พิจารณ์ อย่างถ่องแท้ และละเอียดถี่ถ้วน จึงจะประสบผลอันควรแก่การปฏิบัติ………


ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

725
มหาสติปัฏฐานสูตร(ปฏิบัติ)ด้วยวิธีธรรมชาติ
มหาสติปัฏฐาน 4

“เฒ่าไม้แห้ง”

คำนำ

ด้วยสำนึกที่มีต่อศาสนาธรรมนี้ว่า ต้องรับผิดชอบสืบทอดอุดมการณ์แห่งพระศาสดาพระพุทธะ ผู้ประเสริฐหลายพระองค์นั้นให้ถูกต้อง ตรงแนว ชอบธรรม บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด อย่างชนิดว่า มีอยู่ทุกหยาดหยดของชีวิต ด้วยการทำดีให้เขาดู เป็นครูให้เขาเห็น ผู้อื่นจะได้ทำตามเป็น…….รวมทั้งเกิดกระแสการเรียกร้องให้บอก แสดง สอน ถึงวิธีการปฏิบัติบำเพ็ญ สติ สมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญารู้ทั่วถึงธรรม……..
ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นที่มาของข้อเขียน อันประกอบไปด้วยวลีของการบอกกล่าวเล่าสู่กันฟัง เป็นวลีถ้อยกระทงความ ที่มิอาจจะเอาไปเปรียบกับหลักวิชา หรือตำราใดๆได้มากนัก เกรงจะเป็นที่เสื่อมเสียต่อตำรับตำราวิชาเหล่านั้น………
ข้อเขียนทั้งหมดนี้ คงจะมีค่าเพียงแค่ คำพูด คำบอก คำชี้แจงของเพื่อนผู้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย คนหนึ่งเท่านั้น และเมื่อท่านกับผู้เขียนเป็นเพื่อนกัน จึงจำเป็นอยู่เองที่จะต้องพูด ต้องบอก ต้องเตือนกันตรงๆ ด้วยความจริงใจอย่างจริงจัง โดยมุ่งหวังให้เพื่อนได้รับประโยชน์สูงสุด ในการมีชีวิต ผู้เขียนหวังว่า เพื่อนผู้ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งหลาย คงจะไม่ถือสาในข้อผิดพลาดพลั้งไปต่อการทำ พูด คิด ที่เราลิขิตขีดเขียนมา หวังว่าเพื่อนผู้มีปัญญา จะพิจารณาเลือกเอาแต่ประโยชน์ที่ดี มีคุณ ถูกใจ เอาไปใช้ให้ได้สาระ……….
ความรู้ที่ผู้เขียน นำมาบอกกล่าวเล่าสู่กันฟังนี้ มันจะดูไร้ค่าเสียจริงๆ ถ้าเพื่อนๆเพียงแต่อ่าน แล้วก็ปล่อยให้มันผ่านๆไป แต่ถ้าจะให้ข้อเขียนนี้มีค่าราคาสาระขึ้น เพื่อนๆต้องทดลองปฏิบัติมันด้วยความจริงจัง พร้อมกายรวมใจ แล้วเพื่อนทั้งหลายคงจะมีคำตอบของตนเองว่า ไร้สาระหรือมีสาระ………..


ท้ายนี้ต้องขอบูชา พระธรรมของพระพุทธะ ผู้ประเสริฐหลายพระองค์นั้น ที่ทำให้ผู้เขียนมีความเพียร มีปัญญา ได้พบประสบการณ์ทางวิญญาณอันเยี่ยมยอดสุดบรรยาย ขอบพระคุณพ่อแม่ และกรรมที่ให้ชีวิต เลือดเนื้อ วิญญาณ จนได้พบพระธรรมอันวิเศษ หอมหวานในชาตินี้ ขอบคุณครูอาจารย์ที่ถ่ายทอดวิทยาการแต่เล็กๆ จนพออ่านออกเขียนได้ ขอบคุณญาติและท่านผู้มีคุณทั้งหลายที่ให้อาหาร ที่อยู่อาศัย ปัจจัย 4 ด้วยสำนึกในพระคุณครั้งนี้ เราจะไม่ทำให้ท่านลำบากใจ ไม่สบายใจ ขอบคุณลูกหลาน และสานุศิษย์ทั้งหลาย ที่ช่วยให้การบำเพ็ญบารมีครั้งนี้สัมฤทธิผล ขอบคุณภิกษุ สุธี ขันติชโย กับภิกษุ สนธิชัย ปุญญกาโม และภิกษุ ชูศักดิ์ ชาตปัญโญ ที่ช่วยหาข้อมูลและแก้คำผิด ทั้งยังช่วยเรียบเรียงลงเครื่องคอมพิวเตอร์ ขอบคุณหนังสืออานาปานสติภาวนา ของท่านพุทธทาส ที่ช่วยให้ข้อมูล ขอบคุณหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสน์ ของท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก ที่ช่วยให้ความกระจ่างเรื่องศัพท์แสงทางวิชาการ ขอบคุณมูลนิธิธรรมะอิสระและคณะกรรมการ ผู้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ขอบคุณท่านที่บริจาคและจ่ายกระตังค์ ขอให้โชคดี


หลวงปู่เทพโลกอุดร

ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

726
คำวัด - พระเจ้าเข้านิพพาน กับ นิพพาน

พระพุทธรูปปางพระพุทธเจ้าเข้านิพพาน หรือ "พระเจ้าเข้านิพพาน" นั้นถือเป็นพระพุทธรูปปางที่ไม่ค่อยพบเห็นในวัดทั่วๆ ไป เท่าที่ทราบ องค์ที่สมบูรณ์ที่สุดต้องยกให้พระเจ้าเข้านิพพาน ที่ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถหลังเก่า วัดท่าฬ่อ ต.ท่าฬ่อ อ.เมือง จ.พิจิตร ส่วนอีกองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารพระเจ้าเข้านิพพาน หรือวิหารแกลบ ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) อ.เมือง จ.พิษณุโลก

แต่ถ้าเป็นพระนอน สร้างเท่าขนาดคนจริงสมัยโบราณ คือ พระนอนหงาย วัดพระนอน ต.พิหารแดง อ.เมือง อันเป็นวัดเก่าแก่สมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ ในขณะที่พระนอนหงายที่ใหญ่สุด คือ หลวงพ่อสนอง พระนอนหงาย วัดทุ่งน้อย ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม มีขนาดยาว ๕.๗๐ เมตร กว้าง ๑.๕๐ เมตร ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดในโลก


 ส่วนประวัติพระพุทธรูปบรรทมหงาย วัดราชคฤห์วรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระเอกาทศรถ เมืองธนบุรีเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ เพราะมีการติดต่อการค้ากับต่างชาติ (ชาวจีน) ต่อมาเกิดการอาเพศขึ้น ทำให้ชาวบ้านชาวเมืองล้มตายด้วยโรคต่างๆ ขาดความสามัคคี ทำให้เกิดความเดือดร้อน เจ้าเมืองจึงไปขอคำปรึกษากับพระเอกาทศรถ โดยพระองค์ท่านบอกให้ไปกราบทูลสมเด็จพระสังฆราช

 ทั้งนี้ สมเด็จพระสังฆราช ตรัสบอกให้โหรได้ตรวจดูว่า เป็นเพราะวางหลักเมืองไว้ไม่ถูกต้อง ให้รีบแก้ไขดวงเมืองเสียใหม่ โดยหาฤกษ์ยามที่ดีวางเสาหลักเมือง แล้วสร้างพระบรรทมหงาย เป็นการแก้ว่าร้ายให้กลับกลายเป็นดี เจ้าเมืองกลับมาจึงรีบแก้ดวงเมืองทันที จากนั้นมาเมืองธนบุรีก็มีความรุ่งเรืองมาจนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้สถาปนาให้เป็นราชธานีชื่อว่า "กรุงธนบุรี" สืบมา

 อย่างไรก็ตาม เมื่อพระยาพิชัยดาบหักได้บูรณปฏิสังขรณ์วิหารเล็กแล้ว ก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปบรรทมหงายให้ใหญ่กว่าเดิม เพื่อเป็นการบำเพ็ญบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เพื่อนทหาร ทหารที่เป็นข้าศึก และชาวบ้านที่ล้มตายเป็นจำนวนมาก เพราะตนเป็นต้นเหตุ
 จากเหตุผลการสร้างดังกล่าว ปัจจุบันชาวบ้านมีคติความเชื่อว่า การกราบไหว้พระพุทธรูปบรรทมหงาย สามารถ ขอไถ่เวร ไถ่กรรม และขอพร เพื่อให้ประสบความสำเร็จ มีโชคลาภกันเป็นจำนวนมาก รวมทั้งใครปรารถนาสิ่งใด ก็ได้สิ่งที่ต้องการนั้นตามที่เล่าบอกกันมา

อย่างไรก็ตาม คำว่า "นิพพาน" พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙) ราชบัณฑิต และเจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความปราศจากกิเลสที่ร้อยรัด หมายถึง ความดับสนิทกิเลสและกองทุกข์ ภาวะที่กิเลสหมดไปโดยไม่เกิดขึ้นอีกเลย เหมือนไฟที่สิ้นเชื้อแล้ว ผู้ถึงภาวะนี้เรียกว่า พระอรหันต์
 นิพพาน ที่ใช้สำหรับพระสาวก แปลว่า ตาย เช่น สาวกนิพาน สำหรับพระพุทธเจ้าใช้ คำว่า ปรินิพพาน เช่น พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน
 นิพพาน มี ๒ อย่าง คือ สอุปาทิเสสนิพพาน คือ กิเลสดับ แต่เบญจขันธ์ยังเหลือ (ยังมีชีวิตอยู่) และ อุปาทิเสสนิพพาน กิเลสดับ และเบญจขันธ์ไม่เหลือ (นิพพานแล้ว)
 นอกจากนี้แล้วยังมีคำอื่นๆ ที่ใช้แทนคำว่า นิพพานอีกหลายคำ เช่น นิโรธ โมกขธรรม วิราคะ วิมุตติ วิโมกข์ สันติวรบท อมตธรรม อมตบท อสังขตธรรม เป็นต้น

"พระธรรมกิตติวงศ์ "

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110204/87799/ คำวัดพระเจ้าเข้านิพพานกับนิพพาน.html

727
คำวัด - ตักบาตรเทโวโรหนะ


ภาพพลังศรัทธาญาติโยมอย่างล้นหลาม ที่นำอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัด รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ อาจจะป็นดัชนีชี้วัดความ
สำเร็จของการโหมงบโฆษณาของ ททท.

   แต่เชื่อหรือไมว่า อาหารคาวหวานที่ญาติโยมเตรียมใส่ภาชนะไปเป็นอย่างดี ถูกจัดเตรียมมาล่วงหน้าเป็นวัน หลังจากใส่บาตรแล้วถูกถ่ายลงกระสอบปุ๋ยราวกับของไร้ค่า เรื่องที่พระจะนำไปฉันนั้นไม่ต้องพูดถึง บางแห่งถูกทิ้งอย่างไร้ค่า ที่ดีหน่อยก็ถูกนำไปมอบต่อยังสถานสงเคราะห์ต่างๆ
 
 มีคำพูดหนึ่งที่น่าคิด คือ "การทำบุญอยู่ที่เจตนาอันบริสุทธิ์ ไม่ได้อยู่ที่สถานที่ ตักบาตรเทโว ณ วัดใกล้บ้านก็ได้บุญไม่แพ้กัน"
 สำหรับที่นิยมตักบาตรเทโวของภาคกลาง จะทำบุญเป็น ๒ วัน คือ วันออกพรรษากับวันเทโว ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ และวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ในวันออกพรรษา ก็มีการฟังเทศน์ตอนสาย และรักษาอุโบสถศีล

 ในภาคใต้ก็มีประเพณีชักพระ (พระพุทธรูป) ทางภาคใต้เรียกว่า พิธีลากพระ มี ๒ กรณี คือ ชักพระทางบก และชักพระทางน้ำ ถึงแม้ภาคนี้จะมีความแตกต่างไปจากภาคอื่น ภาคใต้ก็มีจุดประสงค์ปรารภเหตุ การเสด็จลงมาของพระพุทธเจ้าจากเทวโลกมาถึงพื้นโลก ในวันปวารณาออกพรรษาเช่นเดียวกัน

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "ตักบาตรเทโว" หมายถึง การทำบุญตักบาตรในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก
 คำว่า "เทโว" ย่อมาจากคำว่า "เทโวโรหนะ" ซึ่งแปลว่า การเสด็จลงจากเทวโลก
 ความเดิมมีว่า ในพรรษาที่ ๗ นับแต่วันตรัสรู้พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อเทศน์โปรดพระพุทธมารดา จนบรรลุโสดาปัตติผล ครั้นออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ แล้ว จึงเสด็จลงจากเทวโลกที่เมืองสังกัสสะนคร ในกาลที่เสด็จลงจากเทวโลก ได้มีเนินเป็นอันเดียวกันจนถึงพรหมโลก

 เมื่อทรงแลดูข้างล่าง สถานที่นั้นก็มีเนินอันเดียวกันจนถึงอเวจีมหานรก ทรงแลดูทิศใหญ่และทิศเฉียง จักรวาลหลายแสนก็มีเนินเป็นอันเดียวกัน เทวดาก็เห็นพวกมนุษย์ แม้พวกมนุษย์ก็เห็นเทวดา สัตว์นรกก็เห็นมนุษย์และเทวดา ต่างก็เห็นกันเฉพาะหน้าทีเดียว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเปล่งฉัพพรรณรังสี ขณะที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

 รุ่งขึ้นวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ชาวเมืองจึงพากันทำบุญตักบาตรเป็นการใหญ่ เพราะไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้ามาถึง ๓ เดือน การทำบุญตักบาตรในวันนั้นจึงได้ชื่อว่า "ตักบาตรเทโวโรหนะ" ต่อมามีการเรียกกร่อนไป เหลือเพียง "ตักบาตรเทโว"

"พระธรรมกิตติวงศ์ "

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20101022/76972/ คำวัด-ตักบาตรเทโวโรหนะ.html

728
ดูแล้วครับ

ขอบคุณครับ

729
e ๕๙ f
น่าจะเป็นความอารมณ์ดีของท่าน

พระอาจารย์ประยุทธ ธมฺมยุตฺโต เล่าอีกตอนหนึ่งว่า มีอยู่ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ไปร่วมประชุมสงฆ์ในกรุงเทพฯ ท่านพระเถระนั่งกันอยู่พร้อมแล้ว ยังขาดแต่สมเด็จพระสังฆราช ที่จะเสด็จมาเป็นองค์ประธานของการประชุม
หลวงปู่ตื้อท่านไปถึงก่อน จึงเดินตรงจะไปนั่งตรงอาสนะที่เขาเตรียมไว้สำหรับสมเด็จฯ
เจ้าหน้าที่เข้ามาร้องห้ามว่า ที่นี่เป็นที่ประทับของสมเด็จฯ ที่เสด็จมาเป็นประธาน หลวงตามาจากไหน นั่งไม่ได้นะ”

หลวงปู่ตื้อตอบว่า “ไม่เป็นไรน่า เป็นเพื่อนกัน” แล้วท่านก็นั่งลงไปบนที่นั่งนั้น ทำแบบไม่รู้ไม่ชี้ เจ้าหน้าที่ก็ไม่รู้จะขับไล่อย่างไร

พระเถระทั้งหลายก็นั่งดูเฉย บางรูปก็อมยิ้มกัน เพราะรู้จักอุปนิสัยของหลวงปู่ตื้อดี
พอสมเด็จฯ ท่านเสด็จมาถึง หลวงปู่ตื้อท่านก็ลุกถวายที่ให้ ทำการกราบไหว้แก่ยศฐานะ พอกราบเสร็จ สมเด็จฯ ท่านก็ลุกขึ้นกราบคืนในฐานะที่หลวงปู่ตื้ออาวุโสกว่า

อีกเรื่องหนึ่ง คราวไปประชุมสงฆ์ที่วัดอโศการาม สมัยที่ท่านพ่อลี ธมฺมธโร ยังอยู่
หลวงปู่ตื้อ ท่านถามพระสงฆ์ที่มาร่วมประชุมว่า “ในที่ประชุมนี้มีพระเถระรูปใดมีอายุพรรษาถึง ๕๐ พรรษาบ้าง”
ที่ประชุมเงียบ ไม่มีใครตอบ หลวงปู่ตื้อจึงว่า “งั้นผมก็ต้องเป็นประธานซิ"

แล้วท่านก็หัวเราะชอบใจ ที่ประชุมก็หัวเราะ
--------------------------------------------------
หมายเหตุ : สมเด็จพระสังฆราชที่กล่าวถึงในเรื่องนี้ เมื่อตรวจสอบดูตามประวัติแล้ว ผู้เขียนเข้าใจว่า น่าจะเป็น สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี) วัดมกุฎกษัตริยาราม

                  มีบันทึกตอนหนึ่งว่า มีคุณหญิงคุณนายที่ได้ฟังเทศน์จากหลวงปู่ในงานแห่งหนึ่งพากันไปทูลฟ้อง สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฎกษัตริยาราม ซึ่งสมเด็จฯ ท่านก็คุ้นเคยกับหลวงปู่ตื้อเป็นอย่างดี

                เมื่อหลวงปู่เข้าเฝ้า สมเด็จฯ จึงถามท่านว่า “ท่านผู้หญิงมาฟ้องว่าท่านเทศน์หยาบคาย จริงไหม?”

                หลวงปู่ท่านตอบรับตรง ๆ ว่า จริง เพราะสิ่งที่ท่านเทศน์นั้นล้วนแต่เป็นธรรมะของจริง ไม่รู้จะยกไปซ่อนเร้นปิดบังไว้ที่ไหน แล้วท่านก็ย้อนทูลถาม สมเด็จ ฯ กลับไปว่า
                “สมเด็จฯ จะฟังไหม เกล้าฯ จะเทศน์ให้ฟัง”
                เหตุการณ์นี้นับว่าเป็นเรื่องฮือฮามากในครั้งนั้น

e ๖๐ f
เรื่องของพระอาจารย์ประยุทธ ธมฺมยุตฺโต

ผู้เขียนได้อ่านเรื่องของพระอาจารย์ประยุทธ จากนิตยสารโลกทิพย์ ฉบับที่ ๑๖๔ น่าสนใจมาก มีผู้เคยนำไปสร้างเป็นนิยาย ผู้เขียนจึงนำมาเสนอโดยย่อไว้ ณ ที่นี้
ในนิตยสารโลกทิพย์ ได้ขึ้นหัวเรื่องว่า “พระอาจารย์ประยุทธ ธมฺมยุตฺโต แห่งวัดป่าผาลาด อ.เมือง จ.กาญจนบุรี อดีตขุนโจรอิสไมล์แอ ผู้หันเหชีวิตเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ จนมรณภาพในสมาธิและอัฐิกลายเป็นพระธาตุ”
เรื่องของพระอาจารย์ประยุทธ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองหนังสือพิมพ์เคยลงข่าวเกรียวกราว เกี่ยวกับ “ขุนโจรอิสไมล์แอ สลัดทะเลหลวงผู้โหดเหี้ยม เสรีไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ฆ่าคนมานับไม่ถ้วนบางคราวก็ฆ่าอย่างโหดร้ายทารุณ..”

เรื่องของพระอาจารย์ประยุทธจริงๆ แล้วไม่เป็นที่เปิดเผย เพิ่งจะมีผู้สืบเสาะนำประวัติมาเผยแพร่หลังจากท่านมรณภาพไปแล้วถึง ๑๐ ปี โดยสอบถามเอาจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เรื่องที่ได้จึงยังเลือนลางอยู่
ท่านอาจารย์ประยุทธ ธมฺมยุตฺโต นามสกุลเดิม สุวรรณศรี เกิดที่จังหวัดเพชรบุรีในครอบครัวที่มีฐานะดีพอควร ทราบแต่ว่า ท่านเกิดวันเสาร์ เดือน ๕ ปีมะโรง พ.ศ.๒๔๗๑ มีพี่น้องรวมทั้งตัวท่านด้วย ๕ คน  ครอบครัวท่านอพยพไปอยู่ทางหัวหิน ท่านจึงเติบโตที่นั่น

พระอาจารย์เล่าว่า ชะตาของท่านต้องฆ่าคนเมื่ออายุ ๑๑ ปี โดยไม่เจตนา คือขว้างมีดเล่นๆ ไปถูกที่สำคัญทำให้ชายผู้หนึ่งตาย แต่ยังเป็นเด็กจึงยังไม่ถูกลงโทษฑัณฑ์ เมื่ออายุครบบวช โยมบิดาสิ้นชีวิตแล้ว โยมมารดาจึงจัดให้บวชตามประเพณีอยู่ ๑ พรรษา ท่านบอกว่าไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย เพราะบวชตามประเพณีจริงๆ หลังจากลาสิกขาแล้ว ก็จากครอบครัวไปทำมาหากินทางภาคใต้ประกอบอาชีพหลายอย่างในหลายจังหวัด เคยทำประมง เป็นกัปตันเรือหาปลา มีเพื่อนฝูงและลูกน้องมาก และเคยไปตั้งบาร์ไนท์คลับที่ประเทศมาเลเซีย

ระยะผกผันในชีวิต คือ มีพ่อค้าใหญ่ในกรุงเทพฯ ได้ว่าจ้างให้ขนฝิ่นไปส่งลูกค้าที่มาเลเซีย ในราคาเที่ยวละ ๒,๐๐๐ บาท ไปรับเงินที่ปลายทาง
ผู้มารับฝิ่นเป็นเจ้าหน้าที่ ๒ คนบอกว่าจ่ายเฉพาะค่าฝิ่น ๒,๐๐๐ บาทเท่านั้น ค่าขนเขาไม่เกี่ยว สรุปว่าโดนหักหลัง ทางเจ้าของฝิ่นทางกรุงเทพฯ คงไม่ไว้ใจท่านแน่ โทษฑัณฑ์ในวงการฝิ่นก็คือ การฆ่า ลูกเดียว แต่ที่สำคัญ เจ้าหน้าที่ ๒ คนนั้นขู่ว่า ถ้าไม่ตกลงตามราคาที่เสนอก็จะแจ้งตำรวจมาเลเซียจับ
เรียกว่าท่านไม่มีทางเลือก จึงตัดสินใจฆ่าเจ้าหน้าที่ ๒ คนนั้นแล้วโยนศพลงทะเลไป ปรากฏว่า ศพเกิดลอยน้ำมาติดอยู่ข้างเรือ ท่านจึงถูกจับฐานสงสัยว่าฆ่าคนตาย แต่ไม่มีเรื่องค้าฝิ่น
พระอาจารย์ประยุทธ ถูกขังในคุกมาเลเซียหลายเดือน ขึ้นศาลหลายครั้ง พอครั้งที่ ๖ มีผู้ชายบุคลิกดีอายุราว ๕๐-๖๐ พยายามขอเข้าเยี่ยม บอกว่า “ไม่เป็นไร ไม่ถึงตาย หรือติดคุกหรอกหลานชาย ลุงจะช่วย”

ลุงคนนั้นบอกคาถาสั้นๆ ให้ไว้บริกรรมเวลาขึ้นศาล ท่านไม่เชื่อแต่ก็ยอมทดลองดู ปรากฏว่าได้ผล “เพราะวันตัดสิน ศาลปล่อย แต่ห้ามเข้ามาเลเซียอีก รอดประหารไปได้อย่างปาฏิหาริย์”

พระอาจารย์ประยุทธ บอกให้ลูกศิษย์ฟังว่า ท่านมาทราบในภายหลังว่าคุณลุงคนนั้นเป็นเทพ มาช่วยปกปักรักษาท่าน เมื่อพ้นโทษจากมาเลเซีย พระอาจารย์ก็กลับเมืองไทย ยังวนเวียนอยู่ทางภาคใต้เช่นเดิมในช่วงนั้นอยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลไทยต้องเข้าร่วมกับญี่ปุ่นด้วยความจำเป็นบังคับ ขณะเดียวกัน ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมกับคนไทยจำนวนหนึ่ง จัดตั้งคณะเสรีไทย ทำงานใต้ดินเพื่อขัดขวางกองทัพญี่ปุ่นทุกวิถีทาง

พระอาจารย์ประยุทธ ได้เข้าร่วมกับคณะเสรีไทย อยู่ในกลุ่มที่คอยตัดกำลังญี่ปุ่น เรียกว่า กลุ่มไทยถีบ คือเมื่อญี่ปุ่นขนอาวุธยุทโธปกรณ์ เสบียงอาหาร ไปให้กองทัพของตนตามภาคต่างๆ ซึ่งส่งไปทางรถไฟ ก็จะถูกกลุ่มไทยถีบ ถีบของเหล่านี้ลง เพื่อไม่ให้ส่งไปถึงปลายทางได้ พระอาจารย์ประยุทธ ได้รวมสมัครพรรคพวก ได้ประมาณ ๒๐๐ คน ไปซ่องสุมอยู่เกาะตะรุเตา ส่วนหนึ่งเป็นโจรสลัดอยู่ในทะเล คอยปล้นเรือสินค้าและเสบียงทางเรือของกองทัพญี่ปุ่น แล้วนำไปแจกจ่ายให้ประชาชนที่กำลังอดอยากตามชายฝั่ง อีกส่วนหนึ่งกระจายกันอยู่บนฝั่งคอยเป็นหูเป็นตาให้โจรสลัดทะเลหลวงกลุ่มขุนโจรอิสไมล์แอโด่งดังมากในช่วงนั้น

เมื่อสงครามสงบลง การปล้นของโจรกลุ่มนี้ก็เปลี่ยนแผนใหม่ ในช่วงนั้นประชาชนทางภาคใต้มีข้าวไม่พอกิน ในตลาดก็ไม่มีขาย แต่มีเรือของผู้มีอิทธิพลขนข้าวไปขายทางมาเลเซีย ฮ่องกง สิงคโปร์ ซึ่งอยู่ในภาวะขาดแคลนเหมือนเมืองไทย แต่ขายสินค้าได้แพงกว่ามาก ขุนโจรอิสไมล์แอ เห็นว่าไม่ถูกต้อง จึงคุมสมัครพรรคพวกเข้าปล้นเรือขนส่งสินค้าเหล่านั้นหลายหน แล้วนำสินค้าเหล่านั้นออกแจกประชาชน เช่นเคย

ผู้มีอิทธิพลเจ้าของสินค้าพยายามเจรจาต่อรอง แต่กลุ่มโจรไม่ยอม ถ้าไม่หยุดส่งสินค้าไปขายต่างประเทศ พระอาจารย์ประยุทธ หรือ นายประยุทธ สุวรรณศรี คุมลูกน้องเป็นโจรสลัดในทะเลหลวงอยู่ ๕ ปี เป็นขุนโจรอิสไมล์แอที่โด่งดังที่ไม่มีใครปราบได้  เหตุการณ์พลิกผันในชีวิตอีกครั้งหนึ่ง เมื่อน้องสาวส่งข่าวว่าคุณแม่ตาย ก่อนตายคร่ำครวญหาแต่ “เล็กของแม่” จนกระทั่งสิ้นใจ พระอาจารย์ประยุทธ มากราบรูปถ่ายของแม่ ระลึกย้อนถึงเหตุการณ์แต่ครั้งหลัง ถึงความรักความห่วงใยของแม่ พลัน...จิตของท่านก็สงบลง และวูบลงไป

ปรากฏเป็นชายร่างกำยำ ๔ คน ตรงมาจับส่งท่านกระชากลงไปในนรก จับใส่เครื่องขื่อคา แล้วบังคับให้ลงไปในกระทะทองแดง ท่านหวาดกลัวมาก พลันคิดถึงแม่ จึงร้องเรียก
“แม่ช่วยลูกด้วย”
ปกติโยมแม่เป็นคนใจบุญ ชอบทำบุญ และอยู่ในศีลในธรรมเสมอมา พอท่านร้องว่า “แม่ช่วยด้วย” ก็มีใบบัวใหญ่เท่ากระด้งตากปลามาช้อนร่างท่านขึ้นไปบนที่สูง ได้ไปเห็นวิมานที่สวยงาม พบเหล่านางฟ้าเทพธิดาต่างๆ จำนวนมาก...

หลังจากท่องวิมานพอสมควร ก็มีนางฟ้าท่านหนึ่งพูดว่า “ไปเสียก่อนเถอะ ไปสร้างกุศลบารมีให้พอเสียก่อน จึงค่อยมาเจอกันใหม่”
แล้วท่านอาจารย์ประยุทธ ก็รู้สึกตัวอยู่ตรงหน้ารูปถ่ายของคุณแม่นั้น แต่ท่านก็งุนงงกับเหตุการณ์มาก ไม่รู้ว่าเป็นอะไร
หลังจากนั้นท่านก็บอกกับพี่สาว น้องสาว ว่าจะขอออกจากบ้านไปอีกครั้งหนึ่ง ไม่ทราบว่าจะไปนานเท่าใด พี่สาวเอาเงินมาให้ ๕,๐๐๐ บาท ท่านหยิบเอาเพียง ๕๐๐ บาท เหลือนอกนั้นบอกให้เอาไปทำบุญให้แม่

ความจริงท่านมีเงินมาก แต่ไม่กล้าบอกให้พี่น้องรู้ รับไว้เพียง ๕๐๐ บาท พอเป็นพิธีเท่านั้น
พระอาจารย์ประยุทธ มุ่งลงใต้ เพราะลูกสมุนยังมีอยู่มากและคุ้นเคยกับภูมิภาคแถบนั้นดี ท่านอยู่ที่นั่นนานพอสมควร ก็ได้พบกับ “หลวงปู่” องค์หนึ่ง ท่านเกิดความเลื่อมใส จึงแจกจ่ายเงินทองทรัพย์สินทั้งหมดให้ลูกน้อง แล้วท่านก็บวชเป็นพระอย่างเงียบๆ ไม่มีพิธีรีตองอะไรให้ยุ่งยาก เรียกว่า “โกนหัวเข้าวัด”

พระอาจารย์ประยุทธ ได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับ “หลวงปู่” ๑ ปี ได้ฝึกกรรมฐานและธุดงค์วัตรตามแบบพระป่า วันหนึ่ง “หลวงปู่” ก็บอกว่า ท่านหมดความรู้ที่จะสอนแล้ว ต้องไปหาอาจารย์อีกองค์หนึ่ง ตอนนี้อยู่ทางภาคเหนือ พระองค์นั้นแหละที่จะเป็นครูอาจารย์ของท่าน

“หลวงปู่” บอกว่าได้คุยฝากฝังกับพระอาจารย์องค์นั้นในทางจิตและรู้เรื่องกันหมดแล้ว

“หลวงปู่” ได้บอกรูปร่างลักษณะ และที่อยู่ของพระอาจารย์องค์นั้นอย่างละเอียด และสั่งว่า

“ข้อสาคัญ การไปหาท่านอาจารย์ จะขึ้นรถลงเรือไม่ได้ ต้องเดินธุดงค์ด้วยเท้าจากใต้ไปถึงภาคเหนือ จะนานเท่าไรก็ตาม”

พระอาจารย์ประยุทธ ใช้เวลาเดินธุดงค์ ๓ เดือนเต็มจึงได้ไปเป็นศิษย์ของหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ที่วัดป่าดาราภิรมย์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ตามที่นำเสนอแล้วในตอนต้น พระอาจารย์ประยุทธ อยู่ในสำนักหลวงปู่ตื้อ ๓ ปีท่านจึงได้ธุดงค์ต่อไป ท่านได้ไปสร้างสำนักสงฆ์ที่ถ้าผาพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลยและไปมรณภาพที่ วัดป่าผาลาด ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒

e ๖๑ f
หลวงพ่อเปลี่ยน เข้าไปเป็นลูกศิษย์


หลวงพ่อเปลี่ยน ปญฺญาปทีโป

หลวงพ่อเปลี่ยน ปญฺญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก บ้านปง ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ก็เป็นศิษย์สำคัญองค์หนึ่งของหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
หลวงพ่อเปลี่ยนได้เล่าถึงหลวงปู่ตื้อ พระอาจารย์องค์หนึ่งของท่าน ดังนี้ : -

ในระหว่างที่อาตมาพักอยู่ ณ วัดสันติธรรม (ในเมืองเชียงใหม่ ก็ได้ทราบข่าวว่า หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ในขณะนั้นพักอยู่ ณ วัดธรรมสามัคคี (วัดป่าสามัคคีธรรม ซึ่งต่อมาก็คือวัดป่าอาจารย์ตื้อ) อาตมาจึงเดินทางไปพบทันที อาตมาดีใจมาก เพราะเดินทางมาภาคเหนือนี้ได้ตั้งใจมากราบท่านโดยตรง เมื่อกราบนมัสการท่านเรียบร้อย และสอบถามความเป็นมาจนเข้าใจดีแล้ว เย็นวันนั้นอาตมาจึงได้เล่าสิ่งที่ภาวนาติดขัดอยู่ในจิตใจเป็นเวลานาน คือ เรื่องการตามจิตไม่ทัน อธิบายของท่านที่แนะนำก็แบบเดียวกับที่หลวงปู่เทสก์ และหลวงปู่ขาว เป็นผู้ชี้บอกให้นั่นเอง

หลวงปู่ตื้อ ท่านบอกว่า เรื่องนี้ไม่สำคัญหรอก เมื่อสติ สมาธิ ปัญญา มันพอดีกันเมื่อไร เมื่อนั้นจะเข้าใจเองนั่นแหละ ไม่นานหรอกให้ตั้งใจภาวนาไปเรื่อยๆ อาตมาได้รับกำลังใจมาก และได้อยู่จำพรรษากับท่านในปีนั้นจึงได้ปฏิบัติภาวนากับท่าน เพื่อหาทางพิจารณาเกี่ยวกับความจริงแห่งจิตใจ
การที่อาตมาได้อยู่ปรนนิบัติใกล้ชิดกับหลวงปู่ตื้อ ทำให้ได้เห็นปฏิปทาการปฏิบัติของท่านอย่างใกล้ชิด เคารพศรัทธาท่านเป็นอย่างมากหลวงปู่ท่านเป็นพระพูดจริง ทำจริง ปฏิบัติธรรมอย่างชนิดทุ่มเทกำลังทั้งหมด ยอมสละแม้กระทั่งชีวิต อาตมามีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ความเป็นผู้มีพลังจิตวิเศษของท่านให้มากเท่าที่จะมากได้ สมกับที่บุคคลทั่วไปกล่าวขวัญกันว่า ท่านสำเร็จปฏิสัมภิทาญาณ

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ท่านเป็นพระแท้ มีความสามารถในการสอนธรรมะอย่างยอดเยี่ยม อธิบายข้อสงสัยได้กระจ่าง อาตมาจึงปลื้มปิติมากที่ได้มาอยู่กับท่าน สมกับความเหน็ดเหนื่อย ที่สู้อุตสาห์บุกป่าฝ่าดงมา เพื่อถวายตัวเป็นศิษย์ท่าน ไม่มีผิดหวังเลย

ที่ีมา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tue/lp-tue-hist-04.htm

จบตอนที่ ๒/๔

730
e ๕๖ f
รู้ล่วงหน้าว่าใครจะมาหา

พระอาจารย์ประยุทธ ธมฺมยุตฺโต มีความเคารพเลื่อมใสในองค์หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม พระอาจารย์ของท่านมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านฤทธิ์อภิญญา
จากบันทึกของพระอาจารย์ประยุทธ บอกว่า วันหนึ่งพระเณรเข้ากุฏิกันเกือบหมดแล้ว หลวงปู่สั่งให้เณรไปต้มน้ำกาใหญ่
เณรย้อนถามด้วยความสงสัยว่า “ไม่มีใครอยู่ฉันน้ำแล้วหลวงปู่จะให้ต้มน้ำกาใหญ่ไปทำไม”

หลวงปู่พูดด้วยน้ำเสียงดุว่า “บอกให้ต้มก็ต้มเถอะ ต้มน้ำชงชา” แล้วสั่งในเณรเอาถ้วยชามาเตรียมไว้ ๕๐ ถ้วย

พระอาจารย์ประยุทธ ก็รู้สึกงงๆ หลวงปู่พูดขึ้นว่า “เดี๋ยวจะมีญาติโยมมาจากกรุงเทพฯ”

สักครู่ใหญ่ๆ ก็มีรถบัสเข้ามาจอดในบริเวณวัด หลวงปู่ ให้นำน้ำชาร้อนๆ มาเลี้ยงญาติโยม ปรากฏว่าถ้วยชา ๕๐ ด้วยที่เตรียมไว้ครบจำนวนคนพอดี

e ๕๗ f
เตรียมรอรับการนิมนต์

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม จะเรียกพระอาจารย์ประยุทธ ธมฺมยุตฺโตว่า ตุ๊ไทย
(ตุ๊ หรือ ตุ๊เจ้า เป็นภาษาเหนือ ใช้เรียกพระสงฆ์ ผู้เขียนเข้าใจว่าน่าจะมาจากคำว่า สาธุ ถ้าผิดก็ขออภัยด้วย)
(ตุ๊ไทย เข้าใจว่า ตุ๊ คือเรียกพระ ของชาวเหนือ ส่วนคำว่าไทย เป็นเรียกคำเรียก คนไทยภาคอื่น เพราะเดิมภาคเหนือคืออาณาจักรล้านนา....ผิดถูกประการโปรดแก้ไข...ทรงกลด)

คราวหนึ่ง ขณะที่นั่งกันอยู่ หลวงปู่ก็สั่งพระอาจารย์ประยุทธว่า “ตุ๊ไทย รีบไปสรงน้ำไวๆ”

สร้างความงุนงงสงสัยให้พระเณร ณ ที่นั้น แต่ไหนแต่ไรมาหลวงปู่ไม่เคยยุ่งกับการสรงน้ำท่าของใครเลย

พระอาจารย์ประยุทธได้เรียนถามว่า “หลวงปู่ให้กระผมไปสรงน้ำทำไม่?”

หลวงปู่ตอบว่า “ให้ไปสรงก็ไปเถอะ” แล้วท่านก็พูดต่อไปว่า “เย็นนี้๖ โมงเย็น จะมีโยมผู้ชายมานิมนต์ไปปัดรังควานให้ลูกเขาที่ตกต้นลำไย แต่เด็กมันต้องตายแน่ๆ ไม่รอดดอก จะให้ตุ้ไทยไปแทน”

พระอาจารย์ประยุทธ จึงรีบไปสรงน้ำ สรงเพิ่งเสร็จ ยังไม่ทันครองผ้า โยมที่ว่าก็ขับรถกระบะเข้ามาจอดในวัด รีบเข้ามากราบหลวงปู่ ขอนิมนต์ไปปัดรังควานให้ลูกชายตามที่หลวงปู่บอกไว้ไม่มีผิด


e ๕๘ f
หลวงปู่แกล้งพญานาค

พระอาจารย์ประยุทธ ธมฺมยุตฺโต ได้ถ่ายทอดเรื่องที่ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เคยเล่าให้ฟังในสมัยที่ท่านออกธุดงค์กับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ว่า
หลวงปู่มั่น ท่านเคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า ท่านเคยพบพญานาค หลวงปู่ตื้อคิดค้านในใจว่าไม่เชื่อ ใครๆ ก็พูดถึงพญานาคได้โดยไม่เคยเห็นตัวตน

หลวงปู่มั่น ท่านรู้วาระจิต จึงสั่งหลวงปู่บุญ ซึ่งจำมิได้ว่าฉายาอะไร ว่า “จงพาท่านตื้อ พระขี้ดื้อ ไปกรรมฐานบนเขา ให้อยู่กันคนละลูกเขานะ”

หลวงปู่บุญก็พาหลวงปู่ตื้อไป เมื่อถึงเขาที่จะนั่งกรรมฐานลูกแรก หลวงปู่ตื้อท่านพบรูดินใหญ่เข้ารูหนึ่ง คิดในใจว่าถ้าพญานาคมีจริงก็จะลองดู ท่านจึงแอบเอาก้อนหินใหญ่มาวางไว้ปากรู แล้วไปกับหลวงปู่บุญเพื่อไปดูที่ปักกลดยังเขาอีกลูกหนึ่ง

เมื่อส่งหลวงปู่บุญแล้ว หลวงปู่ตื้อก็กลับมายังที่เดิม ผลักก้อนหินให้กลิ้งลงไปในรู แล้วพูดว่า ถ้าพญานาคมีจริง หินตกถูกก็ขอโทษด้วย”
แล้วท่านก็เอาผ้ารองนั่งปิดรู กางกลดลง ณ ที่ตรงนั้น
คืนนั้น ขณะที่หลวงปู่ตื้อนั่งทำสมาธิภาวนาภายในกลด ก็ได้ยินเสียงขู่ฟู่ๆ อย่างขัดเคือง เสียงฟู่ๆ นั้นดังมาจากงูใหญ่จำนวนมากมาแผ่พังพานอยู่รอบๆ กลดของท่าน


หลวงปู่บุญทัน ฐิตปญฺโญ

หลวงปู่จึงหยิบก้อนหินมาปลุกเสก แล้วโยนออกไปนอกกลดได้ยินเสียงงูเลื้อยหนีกันเกรียวกราวกระจัดกระจายกันออกไป
พอรุ่งเช้า หลวงปู่บุญท่านมาบ่นให้ฟังว่า “เมื่อคืนผ่านไปเล่นอะไรกับพวกงู พวกเขาจึงไปฟู่ๆ อยู่กับผม ไม่ต้องหลับนอนกันละ”

ครั้นถอนกลด กลับไปหาหลวงปู่มั่น ขณะก้มกราบ ก็ถูกหลวงปู่มั่นชี้หน้าบอกว่า “ท่านไปเล่นกับงูมาละซิ”
-------------------------------------------
หมายเหตุ : จากการศึกษาประวัติครูอาจารย์ หลวงปู่บุญ ที่ระบุในเรื่องนี้ ผู้เขียนเข้าใจว่า น่าจะเป็น หลวงปู่บุญทัน ฐิตปญฺโญ วัดป่าประดู่ ต.เมืองเก่า อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ท่านเป็นชาวจังหวัดศรีสะเกษ มีประวัติโลดโผนและมีความอัศจรรย์ทางจิตอยู่มาก ติดตามท่านไปอยู่กับหลวงปู่มั่นที่เชียงใหม่ และร่วมปฏิบัติอยู่กับหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโมด้วย _____ถ้าผิดก็กราบขออภัยด้วย

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tue/lp-tue-hist-04.htm

731
e ๕๓ f
การแสดงธรรมของหลวงปู่

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม มีชื่อเสียงในการแสดงธรรมที่เป็นไปอย่างดุเดือด โลดโผน ใช้คำเทศน์ที่รุนแรงชนิดไม่เกรงกลัวใคร ผู้ที่รับไม่ได้ เห็นว่าท่านใช้คำหยาบคาย หรือเทศน์ไม่รู้เรื่องก็มี

ท่านพระภิกษุบูรฉัตร พรหมฺจาโร ผู้บันทึกเรื่องราวของหลวงปู่ ได้เขียนถึงเรื่องการแสดงธรรมของหลวงปู่ ดังนี้ (ในบันทึกใช้คำแทนท่านว่า หลวงตา ซึ่งผู้เขียนเปลี่ยนมาใช้คำว่าหลวงปู่เพื่อให้สอดคล้องกับการเรียกขานในหนังสือเล่มนี้__ผู้เขียน)

“ส่วนการแสดงธรรมนั้นท่านชอบพูดตรงไปตรงมา พูดความจริงที่มีอยู่ ยกอุทาหรณ์ในปัจจุบันให้เห็นได้ง่ายๆ ผู้ที่ฟังธรรมจากท่านโดยตรง แล้วนำไปพิจารณา จะเห็นว่า ล้วนแต่เป็นสัจจะหรือความเป็นจริงเท่านั้น วิธีการแสดงธรรมของท่าน ต้องการให้ความรู้จริงเข้าไปกระทบจิตของผู้ฟัง ท่านบอกว่าเพราะการรู้จริงแม้จะเพียงนิดเดียวก็มีประโยชน์ทั้งนั้น ดีกว่าการไม่รู้จริง แม้จะรู้มากๆ ก็ไม่สำเร็จประโยชน์อะไรได้

หลวงปู่ชอบพูดว่า ธัมมะธัมโมนั้นมีอยู่ดาษดื่น คนส่วนมากมองข้ามไปหมด

หลวงปู่ ท่านแปลบาลีก็ไม่เหมือนพระเถระองค์อื่นๆ การฟังธรรมะจากท่านจึงต้องฟังอย่างละเอียด ต้องพิจารณาและนำไปปฏิบัติตามให้เข้าถึงธรรม จะได้ชื่อว่าเป็นนักธรรม นักกรรมฐานที่แท้จริง ไม่เหลวไหล ไม่เลอะเทอะ

หลวงปู่ ชอบถามพระเณรที่ไปหาท่านเสมอว่า ที่พวกคุณภาวนานี้ พวกคุณได้พุทโธ หรือยัง?
ผู้ที่ยังไม่แน่ใจก็จะตอบว่า ยังขอรับ ผู้ที่ค่อนข้างแน่ใจก็ตอบท่านว่า ได้แล้วขอรับ แล้วหลวงปู่มักจะย้อนถามว่า ได้แน่จริงหรือ?
ถ้าหากว่าได้แล้ว ก็ให้ฟังและพิจารณาอย่างนี้ก่อน คือ ถ้าหากใครเขาด่าเราว่า ‘ไอ้หัวหงอก’ ให้เราลองนั่งชั่งดูใจของเราว่า เราโกรธเขาไหม

ถ้าเรายังโกรธอยู่ ก็หมายความว่า เรายังรับรู้การด่าของเขาอยู่ นั่นหมายถึง เราเอาจิตออกมารับคำด่า เรายังอดทนไม่ได้ เรายังโกรธ หมายถึง เรายังไม่ถึง หรือยังไม่ได้พุทโธอย่างแท้จริงนั่นเอง

ในการสอนกรรมฐานของหลวงปู่ สำหรับบางคนที่ไปขอฝึกกรรมฐานกับท่าน ท่านจะให้ท่องพุทโธจนขึ้นใจ ท่านว่า พุทโธยังไม่ซึ้งในใจของผู้นั้น เราจะต้องให้พุทโธมั่นในใจของเรา และมีความเชื่อมั่นจริงๆ
มีบางคนเหมือนกัน ที่ไปฟังธรรมคำสอนของหลวงปู่แล้วจะซุบซิบกันว่า ท่านเอาอะไรมาสอน ไม่เห็นเป็นธรรมเป็นหนทางเลยสักหน่อย นี่แสดงให้รู้ว่า จิตของผู้พูดเช่นนั้นยังไม่เข้าถึงธรรมคือความจริงนั่นเอง เพราะหลวงปู่ท่านเทศน์แบบไม่เคยยกย่องใคร ไม่เคยเทศน์เพื่อเอาใจใคร เทศน์แต่เรื่องที่เป็นความจริงและเป็นปัจจุบันโดยแท้จริง”

e ๕๔ f
แสดงธรรมเป็นประจำที่วัดอโศการาม สมุทรปราการ


พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

นอกจากหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม จะแสดงธรรมในจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ช่วงออกพรรษา ท่านมักจะได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมที่อื่นด้วย สถานที่ที่ท่านไปแสดงธรรมเป็นประจำได้แก่วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ ในสมัยนั้น ท่านพ่อลี ธมฺมธโร เป็นเจ้าอาวาส

หลวงปู่ตื้อไปแสดงธรรมและพักอยู่ที่วัดอโศการามเป็นเวลานานๆ เพราะมีญาติโยมนิมนต์ท่านไว้ให้อยู่โปรดนานๆ เนื่องจากท่านเป็นศิษย์อาวุโสของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต นับว่าเป็นศิษย์ใกล้ชิดและได้รับการถ่ายทอดธรรมปฏิบัติจากหลวงปู่มั่นโดยตรง
ศิษย์อาวุโสท่านหนึ่งของหลวงปู่ตื้อ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการแสดงธรรมของท่านดังนี้

“สำหรับการแสดงธรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของท่านพระอาจารย์ตื้อนั้น เห็นว่าท่านแสดงธรรมโดยตรง ตรงที่เราสงสัย แสดงตามจริง ไม่มีการอ้อมค้อม ตรงไปตรงมา แต่ลักษณะท่าทางอาจจะไม่ไพเราะ ทั้งนี้ก็เพราะว่า พวกเรายังไม่ชินกับเหตุการณ์เช่นนั้น เนื่องจากพระอาจารย์ท่านเดินธุดงค์กรรมฐานผ่านไปในที่หลายแห่ง มีประสบการณ์และอารมณ์แปลกๆ บางครั้งต้องเจอะเจอและสนทนากับผีสางนางไม้ บางครั้งก็พบกับพวกเทพ พวกเทวดาอารักษ์ บางครั้งก็พบพวกวิญญาณเจ้าที่เจ้าทาง ท่านต้องประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ ในระหว่างนั้นอารมณ์ท่าทาง คำพูด จะออกมาในรูปไหนนั้นยากที่จะกำหนดได้ สำหรับผู้ที่เคารพนับถือในท่านแล้วจะยิ่งมีความเคารพและเลื่อมใสในธรรมของท่านมากขึ้น”

e ๕๕ f
ได้ลูกศิษย์ที่มีอดีตเป็นขุนโจร


พระอาจารย์ประยุทธ ธมฺมยุตฺโต

ช่วงที่หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม พำนักอยู่ทางภาคเหนือได้มีผู้มาฟังธรรมด้วยจำนวนมาก รวมทั้งที่มาฝากตัวเป็นศิษย์ขอแนวปฏิบัติกรรมฐานก็มีเยอะ
ในปีที่หลวงปู่จำพรรษาที่วัดป่าดาราภิรมย์ อำเภอแม่ริม เชียงใหม่ในวันหนึ่งได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งเดินทางมาจากภาคใต้ ตั้งใจมาขอเป็นศิษย์เรียนกรรมฐานกับหลวงปู่

พระภิกษุรูปนั้นก็คือ พระอาจารย์ประยุทธ ธมฺมยุตฺโตแห่งสำนักวัดป่าผาลาด จังหวัดกาญจนบุรี ปัจจุบันท่านมรณภาพแล้ว เป็นพระป่าที่มีชื่อเสียงมากองค์หนึ่ง ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติดีงามน่าเลื่อมใสมาก หลังจากการเผาศพของท่านแล้ว อัฐิท่านได้กลายเป็นพระธาตุ ท่านได้รับฉายาว่าพระอรหันต์ผู้มีอดีตเป็นขุนโจรอิสไมล์แอ

ในประวัติของพระอาจารย์ประยุทธ ท่านบันทึกไว้ว่าท่านใช้เวลาเดินทางจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ ๓ เดือนเต็ม ตอนนั้นหลวงปู่ตื้อท่านกำลังก่อสร้างสำนักสงฆ์แห่งใหม่ในเขตอำเภอแม่ริม ซึ่งปัจจุบันก็คือวัดป่าดาราภิรมย์
กุฏิสงฆ์เป็นเพียงกุฏิไม้ไผ่ หลังคามุงแฝก พอได้อาศัยหลบแดดฝนเพื่อปฏิบัติธรรมเท่านั้น พระเณรก็มีอยู่ไม่กี่รูป
พระอาจารย์ประยุทธยังเป็นพระใหม่ บวชได้พรรษาเดียว ท่านบุกบั่นไปหาหลวงปู่ตื้อด้วยความทรหดอดทน สมกับที่เป็นอดีตขุนโจรผู้นำสมุนจำนวนมาก

พระอาจารย์ประยุทธ เดินเข้าไปในวัด เห็นพระนั่งอยู่ตามลำพังที่ศาลาโรงฉัน ดูจากท่าทาง มั่นใจว่าเป็นหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม จึงเข้าไปกราบ และเรียนท่านว่าเดินทางมาจากภาคใต้ ใช้เวลา ๓ เดือน ตั้งใจฝากตัวขอเป็นศิษย์ปฏิบัติธรรมด้วย

เพราะหลวงปู่ตื้อท่านพูดจาโผงผาง ตรงไปตรงมาไม่ชอบพูดยาวอ้อมค้อมหรือเกรงอกเกรงใจใคร หลวงปู่ได้ถามทันทีว่า “ก่อนบวชเคยทำอาชีพอะไรมา ให้บอกไปตามความจริง”

พระอาจารย์ประยุทธ ทำท่าอึกอัก ไม่รู้จะตอบท่านอย่างไรดี
หลวงปู่ก็ชี้หน้าว่า “ให้บอกมา ไม่เช่นนั้นจะไม่รับเป็นศิษย์”

พระอาจารย์ประยุทธ จึงพูดละล่ำละลักว่า “เป็นโจรครับ”
หลวงปู่พูดหนักแน่นว่า “การเป็นศิษย์ต้องมีข้อแม้ เมื่อท่านรับปากจะปฏิบัติตาม”

แล้วท่านก็ให้พระอาจารย์ประยุทธ ไปจุดธูปปักในกระถางหน้าพระประธานบนศาลาโรงฉัน แล้วให้พูดตามท่านว่า “ข้าพเจ้าจะบวชตลอดชีวิต ไม่ลาสิกขา”

พระอาจารย์ประยุทธ ธมฺมยุตฺโต ได้เป็นศิษย์ติดตามหลวงปู่ตื้ออยู่ ๓ ปีไม่ว่าหลวงปู่จะออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร ในท้องถิ่นใด ก็ได้ติดตามท่านไปด้วยเสมอ เว้นแต่เวลาบำเพ็ญเพียร ก็จะแยกไปปักกลดภาวนาในที่ไม่ห่างไกลนัก เมื่อมีปัญหาติดขัดในการปฏิบัติก็มากราบเรียนถามท่านได้

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tue/lp-tue-hist-04.htm

732
ผมนึกว่าท่านลงจนครบ(เต็ม)แล้วซะอีก :001:

733
e ๕๐ f
หัวหน้าเทพเมืองลับแลมานิมนต์หลวงปู่

เกี่ยวกับเรื่องเมืองลับแลที่เมืองหลวงพระบางนี้ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ท่านให้ความเห็นว่า

“วิญญาณพวกนี้เป็นพวกเทพที่มีอยู่เป็นทิพย์ พวกเขาจะไม่รบกวนมนุษย์เลย เขามีศีลธรรมดีมาก บางครั้งก็พบกันกับพวกเขา แต่เราไม่รู้ว่าเขาเป็นใครเท่านั้น”

หลวงปู่เล่าว่า ตกเย็นท่านได้นั่งสมาธิกำหนดดู ปรากฏว่าผู้เป็นหัวหน้าเทพเหล่านั้น ได้มากราบอาราธนาท่านให้ไปจำพรรษาอยู่ที่นั่นโดยกราบเรียนว่าที่ที่พวกเขาอยู่นั้นก็มีวัดพระพุทธศาสนาด้วย
หลวงปู่ไม่รับคำนิมนต์ โดยบอกเขาว่าท่านมีกิจธุระที่จะต้องประกาศพระพุทธศาสนาต่อไปยังเมืองเชียงใหม่ รับนิมนต์ไม่ได้เพราะขณะนี้ยังไม่อาจกำหนดที่อยู่ประจำได้ ยังต้องการแสวงหาพระธรรมต่อไปอยู่ แล้วหลวงปู่ได้แสดงธรรมให้เขาฟัง

มีผู้กราบเรียนถามหลวงปู่ว่า “ท่านหลวงตา แสดงธรรมอะไรโปรดพวกเทพเหล่านั้น”

หลวงปู่ตอบว่า “พวกเทพเหล่านี้เขามีกายทิพย์จึงไม่ค่อยเห็นความทุกข์ทางกาย จึงไม่เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หลวงตาก็พูดให้เขาฟังในแง่นี้ ให้เขามีความคิดว่าสภาพที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้ไม่แน่นอน ถึงจะมีอายุยืนเท่าไรก็ตกอยู่ในสภาพที่ว่านี้เสมอไป”

e ๕๑ f
หลวงปู่หยุดธุดงค์และสร้างวัด


พระอุโบสถ วัดป่าอาจารย์ตื้อ

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ใช้เวลาท่องธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ เป็นเวลายาวนาน ถ้ารวมเวลาทั้งหมดทั้งที่ท่านตระเวนในภาคอิสานและฝั่งลาว ออกธุดงค์ในภาคเหนือ ติดตามหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ตลอด ๑๒ ปี และออกธุดงค์ในภาคเหนือ ภายหลังที่หลวงปู่มั่นกลับภาคอิสานแล้ว รวมเวลาที่ท่านท่องธุดงค์ทั้งหมดก็ยาวนานกว่า ๕๐ ปี นับเป็นเวลาที่ยาวนานมาก ประสบการณ์และเรื่องราวการเดินธุดงค์ของท่านมากมายเกินกว่าลูกศิษย์ลูกหาจะสามารถรับรู้ได้ทั้งหมด ที่นำมาถ่ายทอดต่อกันมาเป็นเพียงบางแง่บางมุมเท่านั้นเอง

พระลูกศิษย์ใกล้ชิดที่อุปัฏฐากหลวงปู่ ก็ยอมรับว่าการที่จะบันทึกเรื่องราวของหลวงปู่ ให้หมดทุกแง่มุมเป็นเรื่องเหลือวิสัย แม้แต่จะกราบเรียนถามท่านเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ก็ยังไม่กล้า ต้องคอยจดจำเมื่อเวลาท่านยกมาเล่าให้ฟังในโอกาสต่างๆ เท่านั้น

เมื่อหลวงปู่หยุดการเดินธุดงค์ ท่านได้สร้างวัดที่เชียงใหม่หลายแห่งด้วยกัน แต่วัดที่ท่านจำพรรษาอยู่นานที่สุดได้แก่ วัดป่าสามัคคีธรรม อำเภอแม่แตง (ปัจจุบันชื่อ วัดป่าอาจารย์ตื้อ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ท่าน )

หลวงปู่ปรารภให้ฟังว่า การสร้างวัดป่าสามัคคีธรรมแห่งนี้ “เพื่อจะได้อยู่เป็นที่เป็นทาง เพราะชราภาพมากแล้ว”

หลวงปู่ ใช้วัดป่าสามัคคีธรรมแห่งนี้เป็นสถานที่ในการประกาศพระศาสนาด้วยการแสดงธรรมแก่ผู้ที่สนใจใคร่ธรรม ส่วนผู้ที่สนใจในด้านวิปัสสนากรรมฐาน หลวงปู่ก็ให้การอบรมสั่งสอนอย่างไม่รู้จักเบื่อหน่าย ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ จึงมีผู้สนใจใคร่ฟังธรรมและสนใจภาคปฏิบัติหลั่งไหลไปหาท่านไม่ขาดสาย


e ๕๒ f
วัดป่าดาราภิรมย์


วัดป่าดาราภิรมย์

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม พักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าดาราภิรมย์ติดต่อกันนานถึง ๙ ปี ก่อนที่จะย้ายไปจำพรรษาที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ อำเภอแม่แตง เชียงใหม่
วัดป่าดาราภิรมย์ในปัจจุบันตั้งอยู่ในตัวอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากถนนสายแม่ริม-น้ำตกแม่สา ไปทางทิศใต้ประมาณ ๒๕๐ เมตร มีเนื้อที่ ๒๖ ไร่ ๑ งาน ๓ ตารางวา

แต่เดิมสถานที่ตั้งวัดที่อยู่ในเขตบ้านข่วงเปา ตำบลริมใต้ ซึ่งปัจจุบันเป็นสนามยิงปืนของตำรวจตระเวนชายแดน และโรงเรียนแม่ริมวิทยาคม
วัดตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๑ มีชื่อในครั้งนั้นว่า วัดป่าวิเวกจิตตาราม

เนื่องจากสถานที่ตั้งวัดแต่เดิมไม่สะดวกในการคมนาคม ห่างไกลหมู่บ้าน และกันดารน้ำ ประกอบกับระยะนั้นไม่มีพระพักอยู่ คณะศรัทธาผู้สร้างวัด ซึ่งนำโดย นายแก้ว รัตนนิคม และนาย ศรีนวล ปัณฑานนท์จึงย้ายวัดมาตั้งแห่งใหม่ที่ป่าช้าต้นกอก อันเป็นป่าช้าร้าง เขตบ้านแพะติดกับตำหนักดาราภิรมย์ สวนเจ้าสบาย ของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๔๘๒ มีเนื้อที่ ๖ ไร่ และยังคงใช้ชื่อวัดว่าวัดป่าวิเวกจิตตาราม เหมือนเดิม

ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๔ ทายาทในกองมรดกของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี อันมีเจ้าหญิงลดาคำ ณ เชียงใหม่ เป็นหัวหน้า ได้ถวายที่ดินให้แก่วัดอีก ๖ ไร่ เพื่อเป็นพระราชกุศลอุทิศถวายแด่ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี และเพื่อเป็นพระราชอนุสรณ์ จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดป่าดาราภิรมย์ ตามนาม ตำหนักดาราภิรมย์ สวนเจ้าสบาย
ถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๑ คณะศรัทธาอันมี ตะก่า จองจิงนะ เป็นหัวหน้า ได้ถวายที่ดินให้วัดเพิ่มอีกประมาณ ๑๒ ไร่ ในสมัยที่หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นหัวหน้าสำนัก
ต่อมา เมื่อหลวงปู่ตื้อ ย้ายไปอยู่ วัดป่าสามัคคีธรรม (วัดป่าอาจารย์ตื้อ ในปัจจุบัน) ที่แม่แตง แล้ว คณะศิษย์จึงได้อาราธนาพระอาจารย์กาวงศ์ โอทาวณฺโณ จากวัดเจดีย์หลวง ในเมืองเชียงใหม่ มาเป็นเจ้าสำนัก เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ ภายหลังท่านได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูสังฆรักษ์ - กาวงศ์

พระครูสังฆรักษ์ - กาวงศ์ ได้สร้างความเจริญให้แก่วัดเป็นอย่างมาก ได้ดำเนินการจดทะเบียนวัดเป็นวัดประเภทสำนักสงฆ์ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ใน พ.ศ.๒๕๐๑


สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์)

พ.ศ.๒๕๐๔ พระครูสังฆรักษ์ กาวงศ์ ได้รับแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าดาราภิรมย์ นับเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดนี้
ก่อนหน้านี้ได้มีหัวหน้าสำนักมาแล้ว ๔ ท่าน คือ

๑.พระอาจารย์อ่อนตา อคฺคธมฺโม                ๑  ปี

๒.พระอาจารย์พุทธา                                    ๑  ปี

๓.พระญาณดิลก (พิมพ์ ธมฺมธโร)                 ๑  ปี

    ภายหลังเป็นที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพ ฯ

๔.หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม                               ๙  ปี

พ.ศ.๒๕๐๙ กรมชลประทาน โครงการแม่แตง ได้ขุดคลองส่งน้ำผ่านวัดในส่วนที่เป็นที่ตั้งศาลาโรงธรรม และกุฏิพระอันเป็นที่ดินที่เคยเป็นป่าช้าต้นกอก และที่ดินที่เจ้าหญิงลดาคำ ณ เชียงใหม่ ถวาย ทางวัดจึงย้ายศาลาโรงธรรมและกุฏิพระมาตั้งในเขตที่ดินที่ ตะก่า จองจิงนะ เป็นผู้ถวาย และยังได้ซื้อที่ดินเพิ่มเติมจาก นายหน่อแก้ว สอนไว้อีกส่วนหนึ่ง

พ.ศ.๒๕๑๐ ทางวัดได้จัดวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ โดยมีพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม เสด็จมาเป็นองค์ประธาน และเนื่องจากต่อมา พระครูสังฆรักษ์ - กาวงศ์ ได้ล้มป่วยลง จึงยังไม่มีการก่อสร้าง จนกระทั่งท่านมรณภาพในปี ๒๕๑๖


พระราชวินยาภรณ์ (จันทร์ กุสโล)

พระราชวินยาภรณ์ (จันทร์ กุสโล) จากวัดเจดีย์หลวง เจ้าคณะอำเภอจังหวัดเชียงใหม่ (ธรรมยุต)ได้เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสโดยมอบหมายให้ พระมหาละม้าย สิริวณฺโณ เป็นผู้ดูแลวัดแทน
เนื่องจากวัดป่าดาราภิรมย์ กำเนิดมาจากพระธุดงค์กรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นเจ้าสำนักอยู่นานถึง ๙ ปี จึงพยายามหาพระกรรมฐานศิษย์หลวงปู่ตื้อ มาเป็นเจ้าอาวาส ทางวัดได้ไปขอ พระอาจารย์ไท ฐานุตฺตโม ซึ่งเป็นศิษย์และหลานของหลวงปู่ตื้อ ซึ่งขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน มาเป็นเจ้าอาวาส แต่เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) ไม่อนุญาต

ประกอบกับทางวัดมีปัญหาเรื่องคนที่มาพักอาศัย ติดยาเสพติด ลักเล็กขโมยน้อย มีคนมาร้องเรียนประจำ พระราชวินยาภรณ์ จึงได้ย้ายองค์ท่านเองจากวัดเจดีย์หลวงมาจำพรรษาที่วัดป่าดาราภิรมย์ ตั้งแต่วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๒๑ เป็นต้นมา และได้พัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองมาจนปัจจุบัน

พระราชวินยาภรณ์ ได้เป็นเจ้าอาวาสปกครองทั้งวัดเจดีย์หลวงและวัดป่าดาราภิรมย์ ไปด้วยกัน ต่อมาภายหลังท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระเทพกวี พระธรรมดิลก และ พระพุทธพจนวราภรณ์ ในปีพ.ศ.๒๕๔๔

สำหรับเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน คือ พระครูปลัดสุวัฒนคุณ
นอกจากวัดป่าดาราภิรมย์ จะเป็นวัดที่ร่มรื่น สวยงามแล้ว ทางวัดยังมีพระพุทธบาทสี่รอย จำลองให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะด้วย
ผู้เขียนได้พาคณะมาทอดผ้าป่าที่วัดป่าดาราภิรมย์ ในวันสำคัญทางศาสนา ไม่น้อยกว่า ๓ ครั้ง นอกจากนี้จะแวะทุกครั้งที่ผ่าน เพื่อซื้อสินค้าหัตกรรม งานฝีมือ ผ้าทอ และผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่างๆ ที่ศูนย์หัตกรรมเมตตานารี เป็นโครงการหนึ่งของมูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบทตั้งอยู่ในบริเวณวัด

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tue/lp-tue-hist-04.htm

734
e ๔๗ f
เจ้าที่ยังไม่ยอมลดละ

หลังจากบรรดางูทั้งหลายหมดไปจากทางเดินจงกรมแล้ว หลวงปู่ก็เริ่มเดินจงกรมต่อไป เดินไปได้สักครู่ก็ได้ยินเสียงคนพูดคุยกันประมาณว่ามี ๔-๕ คน หลวงปู่ไม่ได้สนใจว่าเขาพูดอะไรกัน เพียงแต่สักว่าได้ยินเท่านั้น ท่านยังคงเดินจงกรมต่อไป สักครู่เดียวก็เห็นคนเดินถือคบไฟลงมาจากก้อนหินใหญ่ด้านหน้าแล้วก็เลี้ยวขึ้นไปทางหลังเขา มีคนเดินตามหลังไปจำนวนหนึ่ง ท่านคิดว่าน่าจะเป็นกลุ่มคนที่คุยกันเมื่อสักครู่นี้เอง คนเหล่านั้นเดินหายไป

หลวงปู่เดินจงกรมต่อไปจนได้อรุณวันใหม่ จึงเตรียมตัวเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน แล้วกลับมาฉันที่โรงฉันตามปกติรวมกับพระองค์อื่นๆ
ชาวบ้านได้เล่าให้พระอาจารย์ที่เป็นประธาน ณ ที่นั้นฟังว่า

“เมื่อคืนนี้ วิญญาณเจ้าปู่ได้เข้าลงชาวบ้าน พูดชัดถ้อยชัดคำว่ามีเจ้าหัวธรรมมารบกวนที่อยู่ ลูกหลานทั้งหลายเดือดร้อนมาก ไม่ได้หลับนอนตลอดทั้งคืน ต้องการให้เจ้าหัวธรรมหนีไปเสียจากที่นี่ ถ้าไม่หนีจะทำให้มีฝนและมีฟ้าผ่าลงมาให้ได้รับความเดือดร้อนกัน ทุกคน วิญญาณเจ้าปู่บอกอีกว่า เจ้าหัวธรรมชุดนี้ เราพยายามขับไล่อย่างไรก็ไม่หนี ถ้าเขาไม่หนีก็จะต้องทำฝนให้ตกจนอยู่ไม่ได้”

พระอาจารย์ผู้เป็นหัวหน้าพูดขึ้นว่า “ถ้าฝนตกและมีฟ้าผ่าลงมาจริง อาตมาจะยอมกินขวานเจ้าปู่เลย”
แล้วท่านก็พูดต่อไปว่า “ผีมันโกหกเฉยๆ พูดไม่จริงหรอก ไม่มีอะไรจะจริงเหมือนพระพุทธเจ้าเลยในโลกนี้”

เมื่อพระอาจารย์พูดหนักแน่นเช่นนี้ ชาวบ้านก็นิมนต์ให้พระสงฆ์พำนักอยู่ที่นั่นต่อไปอีก เพื่อพิสูจน์ความจริง พระสงฆ์เหล่านั้นได้พักปฏิบัติธรรมอยู่ที่นั้นอีกหลายราตรี ไม่มีอะไรเกิดขึ้นตามคำขู่ของวิญญาณเจ้าปู่ ชาวบ้านเหล่านั้นจึงหันมานับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก เลิกการนับถือผี แล้วพากันสร้างเสนาสนะให้เป็นที่พักสงฆ์เป็นการถาวรต่อไป

e ๔๘ f
หลวงปู่พูดถึงการเชื่อถือเรื่องวิญญาณ

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม  ได้พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการเผชิญภูตผีวิญญาณที่ผ่านมาว่า
“...หากวิญญาณเหล่านั้นได้รู้ความเป็นจริงแล้วก็จะไม่หลงวนเวียนอย่างนั้น กิเลส ทิฏฐิ มานะ นี่ร้ายกาจมาก มันสามารถดึงเอาคนตกเป็นทาสของมันให้วนเวียนอยู่ในวัฏสงสารได้อย่างง่ายดายมาก ในโลกนี้ คนที่ตกเป็นทาสของมันมีมาก เพราะขาดจากการเข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง การนับถือผีสางอันเป็นจำพวกวิญญาณที่หลงทางเดิน เมื่อตายแล้วนั้น เป็นการเชื่อแบบขอความอ้อนวอน จึงเป็นการเชื่อที่ไม่แน่นอนพระพุทธองค์จึงทรงแนะนำไม่ให้พุทธศาสนิกชนหลงเชื่อในเรื่องเช่นนี้ พระองค์สอนให้เชื่อเรื่องกรรมคือ เชื่อการกระทำของตนเองดีกว่า”

ลูกศิษย์ลูกหาผู้ใกล้ชิดต่างยืนยันว่า หลวงปู่ตื้อ ท่านก็สอนศิษย์และประชาชนทั่วไปในทำนองนี้มาโดยตลอด
พระบูรฉัตร พรหฺมจาโร ศิษย์ผู้บันทึกเรื่องราวของหลวงปู่ ได้บันทึกไว้ว่า

“ตอนหนึ่งท่านหลวงตา (หลวงปู่ตื้อ) ได้เล่าให้ฟังว่า เรื่องของวิญญาณต่างๆ ในโลกนี้มีหลายจำพวกเหลือเกิน บางพวกเป็นวิญญาณที่มีความเป็นอยู่ดีมาก มีศีลธรรม แต่พวกเราชอบเรียกรวมไปหมดว่า ผี ความจริงแล้ว ผีหรือวิญญาณต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรมเลย เพราะในโลกนี้มีทั้งน่ารัก น่าชังทั้งหัวเราะ ทั้งร้องไห้ ครบถ้วนอยู่แล้ว เหตุการณ์ทั้ง ๔ อย่างนี้ มีครบอยู่ในโลก และมีพร้อมๆ กันเลย มันก็น่าแปลก คนเราเวลาตาย เกิดอารมณ์ร้องไห้ ทำให้เศร้าใจแต่เวลาเกิด กลับหัวเราะชอบใจ ทำให้ดีใจ คนที่หัวเราะก็หลง คนที่ร้องไห้ก็หลง หลงในฐานะที่ไม่รู้อะไรเป็นเหตุเป็นผล ความจริงแล้ว ตายหรือเกิดก็อันเดียวกันนั่นเอง เป็นแต่ว่าเขาเปลี่ยนกันทำหน้าที่เท่านั้นเอง”


e ๔๙ f
เรื่องชาวลับแลที่เมืองหลวงพระบาง

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้เล่าเรื่องราวที่ท่านพบเห็นเมื่อครั้งไปธุดงค์ที่ฝั่งประเทศลาวให้ลูกศิษย์ฟัง ดังนี้

ในช่วงที่ท่านไปพักจำพรรษาอยู่ที่ วัดวิชนุธาตุแตงโม เมืองหลวงพระบาง ท่านบอกว่า นอกกำแพงวัดออกไปไม่เกิน ๑๐ วา ตรงนั้นมีเรื่องแปลกๆ เสมอ
พวกชาวบ้านชอบกราบเรียนถามหลวงปู่เสมอๆ ว่า “ท่านสาธุภาวนาอยู่ที่วัดนี้เป็นอย่างไร?”

หลวงปู่ไม่ได้สนใจกับคำถามดังกล่าว เมื่อถูกโยมถามบ่อยๆ ท่านจึงย้อนถามกลับไปว่า “ที่ตรงนั้นมีอะไรหรือ”

ชาวบ้านบอกท่านว่า มีผีเจ้าที่อยู่ตรงนั้น แต่เดี๋ยวนี้จะยังอยู่ หรืออย่างไรก็ไม่ทราบได้
หลวงปู่ตื้อ ได้เรียนถาม ท่านพระครูสาธุสิงห์ ซึ่งเป็นสมภารวัดนั้นมานาน เกี่ยวกับเรื่องราวความเป็นมา
ท่านพระครูสาธุสิงห์ เล่าว่า “ข้าเจ้ามาเป็นสมภารอยู่วัดนี้นับได้ ๓๐ ปีแล้ว ทราบว่าผีพวกนี้เป็นวิญญาณเฝ้ารักษาเมือง โดยมากเป็นทหารเฝ้ารักษาประตูวังธาตุแตงโม วิญญาณพวกนี้ไม่ยอมไหว้พระเลย เรื่องนี้เป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ของชาวเมืองหลวงพระบาง

ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า ตรงที่ป่าโน้น ไม่มีบ้านคนเลย มีธารน้ำไหลลงมาจากภูเขาไม่ขาดสาย ทั้งฤดูแล้งและฤดูฝน
พอค่ำลงจะได้ยินเสียงคนพูดกัน มีทั้งชายและหญิงหลายๆ สิบเสียง ได้ยินเสียงตักน้ำ ได้ยินเสียงบั้งทิง (กระบอกไม้ไผ่ใส่น้ำ) กระทบกัน ชาวบ้านพยายามแอบดูหลายๆ ครั้ง ก็ไม่เห็นอะไรผิดสังเกตเลย แต่ได้ยินเสียง

ตอนกลางวันเงียบสงัด ไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย
ห่างจากที่ตรงนั้นออกไป มีเขาลูกหนึ่ง ชาวบ้านเล่าว่าเคยเห็นคนรูปร่างสูงใหญ่อยู่ในถ้ำในภูเขาลูกนั้น ๗ วันจะปรากฏตัวให้เห็นที่หนึ่ง
มีสมภารวัดหลายองค์พยายามเข้าไปในถ้ำนั้น แต่ไปไม่ได้โดยตลอด เพราะข้างในมืดและอากาศเย็นมาก เมื่อเดินลึกเข้าไปจะรู้สึกแสบหูมาก พยายามเข้าไปอย่างไรก็ไม่สำเร็จ

หลังจากนี้มาได้ ๗-๘ ปี ได้มีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เดินธุดงค์มาจากเมืองไทย เคร่งครัดต่อระเบียบวินัยของพระกรรมฐานมากท่านเป็นที่เคารพนับถือ และเลื่อมใสของชาวเมืองหลวงพระบางมาก
พระภิกษุหนุ่มรูปนั้น พยายามเข้าไปในถ้ำ และสามารถเข้าไปได้โดยตลอด เดินเข้าไปนานถึง ๗ วันถึงออกมา

มีเรื่องเล่าว่า ท่านเดินเข้าไปเรื่อยๆ ก็ไม่ปรากฏว่าเห็นมีอะไรผิดปกติ เดินเข้าไปจนถึงที่สุด พอมองขึ้นไปข้างบน เห็นเป็นทางขึ้นไปมีรอยขึ้นลงใหม่ๆ บนก้อนหิน ท่านขึ้นไปตามทางนั้นก็ไม่พบอะไร ฆ้องใหญ่ที่ชาวบ้านได้ยินทุก ๗ วันก็ไม่มี

พระภิกษุจึงเดินกลับออกมาตามทางเดิม แต่ท่านต้องแปลกใจมากที่ตอนขากลับออกมาพบว่า ทางที่ท่านเดินเข้าไปนั้นกลับมีบ้านคนเต็มไปหมด มีชายคนหนึ่งมานิมนต์ให้ท่านนั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้
พระองค์นั้นแน่ใจว่าท่านไม่ได้เดินหลงทางเป็นแน่ เมื่อพิจารณาดูโดยละเอียดแล้ว ท่านจึงถามโยมว่า “พวกโยมมาอยู่ที่นี่นานแล้วหรือ?”

ชายผู้นั้นตอบรับด้วยการพยักหน้า พระจึงถามต่อไปว่า “เมื่ออาตมาเข้ามาก็เดินผ่านมาทางนี้ ทำไม่จึงไม่เห็นบ้านเมือง?”

ชายผู้นั้นไม่ตอบ กลับย้อนถามพระว่า “ท่านมาที่นี่ต้องการอะไร?”

พระตอบว่า “ไม่ต้องการอะไร แต่อยากจะเห็นฆ้องที่โยมตีอยู่ทุกเจ็ดวัน เพราะฆ้องใบนี้เสียงดังไกลเหลือเกิน”

โยมคนนั้นจึงเดินไปหยิบฆ้องมาให้ดู ใบก็ไม่ใหญ่เท่าไรพร้อมทั้งถวายให้พระอาจารย์ผู้นั้นเก็บไว้เป็นอนุสรณ์

จากนั้นโยมก็พาท่านเดินชมไปตามถ้ำ พบสิ่งแปลกตาหลายอย่างโยมคนนั้นบอกท่านว่า “สมบัติเหล่านี้เป็นของกลาง และจะมีอยู่อย่างนี้ตลอดไปชั่วกาลนาน”
พระภิกษุนั้นได้อำลาโยมคนนั้น ได้นำฆ้องใบนั้นกลับออกมาด้วย ได้เก็บไว้เป็นอนุสรณ์ที่คนในถ้ำมอบให้ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าเคยมีผู้เข้าไปในถ้ำและได้ฆ้องใบนั้นมา

เดี๋ยวนี้ฆ้องใบนั้นยังเก็บไว้ที่ วัดวิชนุธาตุแตงโม ในเมืองหลวงพระบางจนทุกวันนี้
ฆ้องใบที่ว่านั้นก็ไม่ใหญ่เท่าไร แต่มีเสียงดังกังวานกว่าฆ้องธรรมดาทั่วไปที่ขนาดใหญ่เท่ากันหรือใหญ่กว่า หรือที่มีน้ำหนักเท่าๆ กัน

มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า พระภิกษุนั้น หลังที่ได้ฆ้องมาแล้วท่านก็หายไป ไม่มีใครรู้ว่าท่านหายไปไหน มีความเชื่อกันว่าท่านหายเข้าไปอยู่จำพรรษาในเมืองลับแลแห่งนั้น

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tue/lp-tue-hist-03.htm

735
e ๔๔ f
เจ้าปู่ทีฆาวุโสมาบอกลา

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโมได้ทำความเพียรอยู่ที่บ้านภูดินต่อไปเรื่อยๆ  คืนหนึ่งมีเทพองค์หนึ่ง นามว่า ฑีฆาวุโส ได้ประกาศตนว่าชาติก่อนเป็นเจ้านครเวียงจันทน์ ได้เข้ามาหาท่าน
ท่านฑีฆาวุโสได้พูดกับหลวงปู่ตื้อว่า “เจ้าหัวลูก มาจากไหน? เจ้าปู่ได้เฝ้าดูเห็นว่าท่านเคร่งครัดในการปฏิบัติธรรมมาก น่าเลื่อมใส สมัยนครเวียงจันทน์ครั้งก่อนนั้น ชาวเมืองได้ตั้งใจบำเพ็ญกุศลกันดีมาก เจ้าเมืองก็ใส่บาตรทุกวันด้วย  เจ้าปู่เห็นท่านไปบิณฑบาตแล้ว ไม่ค่อยจะมีคนใส่บาตรเลย นับว่าท่านมีความอดทน น่ายกย่องสรรเสริญท่านมาก ที่ไม่ท้อถอยในการบำเพ็ญเพียร ไม่เห็นแก่ได้ บางวัน เจ้าหัวลูก ไม่ได้ฉันอาหารบิณฑบาตเลย น่านับถือในความอดทน และความตั้งใจของท่านจริงๆ...”

ต่อจากนั้น ท่านเจ้าปู่ฑีฆาวุโส ก็กล่าวอำลาว่า “วันนี้เป็นวันที่เจ้าปู่จะไปจากที่นี้แล้ว”

กล่าวเพียงเท่านั้น เจ้าปู่เทพองค์นั้นก็หายวับไปทันที

e ๔๕ f
เจอเจ้าที่ลองดี

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม มาพำนักที่พระพุทธบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี เป็นครั้งที่สอง ในขณะที่หลวงปู่กำลังเดินจงกรม เกิดมีก้อนหินตกลงมาจากที่สูงหลายสิบก้อน แต่ตกห่างจากที่เดินจงกรม หลวงปู่ไม่ได้ให้ความสนใจ ยังคงเดินต่อไป

ไม่นานก็มีก้อนหินตกมาอีก คล้ายกับถูกปาลงมา คราวนี้ใกล้กับทางเดินจงกรมมากกว่าเดิม หลวงปู่จึงพูดขึ้นดังๆ ว่า “ใครเก่งก็ให้ออกมาต่อสู้กันเลย”

คราวนี้ได้ยินเสียงก้อนหินตกรอบตัวหลายสิบก้อน หลวงปู่จึงได้หยุดการเดินจงกรม แล้วเข้ามุ้งกลดนั่งสมาธิภาวนาต่อไปเสียงก้อนหินก็ยังตกลงมาเรื่อยๆ โดยไม่รู้ว่าใครเป็นคนขว้างเข้ามา

ในคืนนั้น มีญาติโยมชาวบ้านมารักษาศีลอุโบสถด้วยกัน ๕ คนหลวงปู่ได้บอกให้พระอีกองค์หนึ่งที่ไปด้วยกันมาภาวนาอยู่ใกล้ๆ โยม
เสียงก้อนหินก็ยังตกมารอบๆ บริเวณนั้น ตกมาเป็นระยะๆ มองออกไปรอบบริเวณก็เห็นเป็นก้อนหินจริงๆ ถ้าโดนศีรษะใครก็จะต้องแตกอย่างแน่นอน
สักพักใหญ่ๆ ก็มีเสียงดังคล้ายกับมีคนออกแรงผลักก้อนหินขนาดใหญ่กลิ้งลงมาจากยอดเขา เสียงนั้นอยู่ห่างจากที่ๆ พระกับโยมพักพอสมควร
หลวงปู่ได้กำหนดจิตดู เห็นมีชายร่างใหญ่ผลักก้อนหินลงมาจากยอดเขาจริงๆ จะด้วยจุดประสงค์อันใดนั้นท่านไม่สามารถกำหนดรู้ได้
ในมุ้งกลดของพระอาจารย์ที่อยู่เป็นเพื่อนโยมได้จุดเทียนขึ้นสว่างไสว ท่านเฝ้าคอยสังเกตการณ์อยู่ตลอดทั้งคืน ทั้งหลวงปู่ และญาติโยมต่างไม่ได้หลับนอนกันเลย

หลวงปู่ท่านบอกภายหลังว่า “พอนึกถึงคำพูดของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นที่ว่า ผีมันปลุกให้ภาวนา แล้วก็มีกำลังแข็งแรงทั้งกายและจิตทุกครั้งไป”

พอสว่างหลวงปู่ก็เตรียมตัวออกไปบิณฑบาต วันนั้นได้ไปเที่ยวบิณฑบาตที่บ้านติ้ว อำเภอบ้านผือ พอฉันอาหารเสร็จ พระอาจารย์ที่เป็นเพื่อนอยู่ในคืนนั้นก็เก็บบริขาร เตรียมตัวจะย้ายไปอยู่ที่อื่น

หลวงปู่ถามพระองค์นั้นว่า “ท่านจะไปที่ไหน?” พระอาจารย์องค์นั้นตอบว่า “ผมอยู่ไม่ได้หรอก เพราะตลอดคืนมีแต่ก้อนหินตกลงมาจะภาวนาก็ไม่สะดวก”

หลวงปู่ตื้อจึงแก้ว่า “เมื่อสมัยพระพุทธเจ้าแสดงธรรมเรื่องเวสสันดรชาดก เมื่อพระองค์กล่าวคาถาขึ้นเท่านั้น ก็มีฝนเงินฝนทองตกลงมาเป็นพุทธบูชา
และเมื่อมีการแสดงธรรมเวสสันดรทุกวันนี้ พระท่านกล่าวคาถาพันเท่านั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายก็โปรยข้าวตอกดอกไม้เป็นเครื่องบูชาเช่นกัน
ก็เมื่อคืนนี้ ลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าภาวนาพุทโธ เทวดาเขาก็อนุโมทนาโปรยดอกไม้ทิพย์เป็นเครื่องสักการบูชา”

ท่านพระอาจารย์องค์นั้นกล่าวสวนว่า “ดอกไม้ทิพย์อะไรกัน เห็นมีแต่ก้อนหินเท่านั้น ก็เรื่องข้าวตอกดอกไม้นั้น เป็นสิ่งที่เห็นด้วยตาและรู้สาเหตุที่มาด้วย แต่นี่ไม่เห็นอะไรเลย”

ทุกคนที่อยู่ที่นั้นต่างพากันหัวเราะขบขัน แล้วต่างแยกย้ายไปสู่ที่พักบำเพ็ญเพียรของตน แล้วพระอาจารย์องค์นั้นก็กราบลาย้ายไปที่อื่น
หลวงปู่ตื้อ ยังคงพักอยู่ที่เดิม ตั้งใจว่าจะอยู่ที่นี่ไปก่อน “เพราะเพิ่งมาถึงคืนแรกเท่านั้นก็จะท้อถอยกลัวมันแล้ว เจ้าผีจะหัวเราะเยาะเอาว่าเรากลัวมัน
และเมื่อคืนนี้เราก็ไม่ได้เจ็บกายอะไรจากการกระทำของมันเลย เพียงแต่มันรบกวนให้เราได้รับความรำคาญเท่านั้นเอง
ถ้าหากเราไปอยู่ที่อื่นแล้ว เจอเจ้าที่ที่อื่นอีกก็ต้องถูกลองดีกันเรื่อยไป เราต้องทำความเข้าใจกันเป็นที่ๆ ไป”

หลวงปู่ตื้อ ก็พักบำเพ็ญภาวนาอยู่ ณ ที่นั้นต่อไป

e ๔๖ f
เจ้าที่ยังลองดีต่อไป

ในคืนต่อมาแค่เวลาเพียง ๓-๔ ทุ่ม เท่านั้นเอง หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโมกำลังนั่งภาวนาอยู่ภายในกลดธุดงค์ ก็ได้ยินคล้ายเสียงฝีเท้าม้า เดินไปเดินมารอบๆ บริเวณที่ท่านนั่งอยู่ เสียงม้าเดินดังอยู่ที่ก้อนหินเป็นจังหวะ เสียงฝีเท้าม้าหนักเข้า เดินเข้ามาหามุ้งกลดของท่าน เสียงใกล้จนชิดมุ้ง

หลวงปู่เลิกมุ้งกลดขึ้นดู ก็เห็นม้าสีขาวมีขนาดใหญ่เดินเสียงห่างออกไป ท่านเอามุ้งกลดลงแล้วนั่งภาวนาต่อไป
เสียงม้ายังดังรบกวนแบบเดิมอยู่อีก หลวงปู่จึงออกจากมุ้ง แล้วมาเดินจงกรมแทน
อีกไม่นานก็ได้ยินเสียงม้าเดินอีก แต่อยู่ห่างออกไป เสียงเดินยังดังอยู่รอบๆ ห่างๆ มันคงไม่กล้าเข้ามาใกล้ท่าน
หลวงปู่คงเดินจงกรมเป็นปกติ ไม่นานนักเสียงฝีเท้าม้านั้นก็เงียบหายไป

หลังจากนั้นอีกสักครู่ ปรากฏว่า ที่ทางเดินจงกรมของท่าน มีงูเลื้อยยั้วเยี้ยอยู่หลายสิบตัว จนหลวงปู่เดินจงกรมไม่ได้ พิจารณาดูงูเหล่านั้นล้วนมีสีดำสนิท ถ้าหากท่านเดินไป จะต้องเหยียบพวกมันอย่างแน่นอน

หลวงปู่ จึงหยุดเดิน และยืนดูเฉยๆ บนทางจงกรมนั้น หลับตาเพ่งดูพวกงูเหล่านั้นว่าจะพบอะไรบ้าง
หลวงปู่ ยืนนิ่งอยู่ตรงนั้นค่อนข้างนาน ปรากฏว่ามีงูมามากขึ้นกว่าเดิม แต่พวกมันไม่ได้เลื้อยมาใกล้ท่านเลย อยู่ห่างท่านในช่วง ๑ วาเศษ เท่านั้น
หลวงปู่ตั้งใจว่า จะต้องยืนอยู่ที่นั้นจนกว่าบรรดางูจะหนีไปหมด ท่านไม่ได้ให้ความสนใจกับพวกมันว่าจะมีมากหรือน้อยเพียงใด ยืนกำหนดจิตภาวนาอยู่อย่างนั้น
ปรากฏว่ามีบุรุษคนหนึ่งปรากฏตัวขึ้น มาบอกหลวงปู่ว่า ขอให้ท่านเดินจงกรมต่อไปเถิด กระผมจะจับงูเหล่านี้ไปให้หมด จะเอาไปให้เป็นอาหารพญาครุฑ

บุรุษนั้นเก็บเอางูทั้งหมดใส่ลงในถุงใบใหญ่ได้เกือบเต็มถุงแล้วก็เดินหายไป
หลวงปู่มองดูที่เดินจงกรม ก็ไม่มีงูเหลืออยู่แม้แต่ตัวเดียว ท่านจึงออกเดินจงกรมต่อไป ตั้งใจว่าคืนนี้จะไม่นั่งและไม่นอน จะเดินและยืนภาวนาอยู่ในที่เดินจงกรมนี้จนสว่าง

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tue/lp-tue-hist-03.htm

736
e ๔๐ f
เข้ากราบเรียนถามหลวงปู่มั่น

ถึงตอนเช้า หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ก็เดินไปหาหมู่คณะที่อยู่ห่างออกไป ซึ่งมีหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่เป็นประธานอยู่ ณ ที่นั้นด้วย
พอหลวงปู่ตื้อ เข้าไปถึง หลวงปู่มั่นก็กล่าวทักว่า “ท่านตื้อ เมื่อคืนนี้คุณทำอะไรอยู่?”
หลวงปู่ตื้อกราบเรียนว่า “กระผมรบกับผีขอรับ...กระผมทำอย่างไร เจ้าผีตนนั้นก็ไม่หนี จนได้อรุณ สว่างขึ้นเจ้าผีตนนั้นจึงขึ้นเขาไป”

หลวงปู่มั่นพูดขึ้นว่า “ดีแล้วท่านตื้อ ผีมันปลุกเราให้ภาวนา”

จากนั้นหลวงปู่มั่น หลวงปู่ตื้อ และพระเณรทุกองค์ก็แยกย้ายออกเที่ยวบิณฑบาตตามสมณกิจ เมื่อฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ต่างองค์ต่างก็แยกย้ายไปบำเพ็ญเพียรยังสถานที่ของตน
หลวงปู่ตื้อได้เล่าให้ลูกศิษย์ฟังในภายหลังว่า “ผีตนนั้นเป็นผีเจ้าที่ที่ยิ่งใหญ่จริงๆ เราชนะมันได้จึงไปรอด แต่ถ้าเราเอาชนะมันไม่ได้ ก็คงจะลำบาก ต่อจากนั้นเจ้าผีก็ไม่ปรากฏให้เห็นอีกเลย หากแพ้มันแล้ว มันคงจะมารบกวนทุกคืน ในเหตุการณ์เช่นนั้น ต้องอาศัยความอดทน อดกลั้นเป็นที่สุด จะท้อถอยไม่ได้เลย หายใจเข้าออกก็ต้องมีพุทโธเป็นประจำ ขาดไม่ได้ คำว่าพุทโธนี้เอง ผีกลัวเกรงมากที่สุด”


e ๔๑ f
อาจารย์เสือที่บ้านภูดิน

ในสมัยที่หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ท่องธุดงค์อยู่ทางฝั่งประเทศลาว มีช่วงหนึ่งได้พักปักกลดอยู่ที่บ้านภูดิน เพียงคืนแรกที่หลวงปู่ไปถึง ได้ยินเสียงเสือใหญ่ลายพาดกลอนมาร้องอยู่ใกล้ๆ บริเวณที่ท่านปักกลด และทราบจากชาวบ้านว่า เสือตัวนั้นเพิ่งฆ่าคนตายมาไม่นาน จัดเป็นเสือที่ดุร้ายที่ชาวบ้านหวาดกลัว

ในคืนนั้น ทั้งชาวบ้าน รวมทั้งวัว ควาย ต่างพากันตระหนกกลัวต่างเฝ้าคอยระวังตลอดคืน ไม่กล้าหลับนอน
ชาวบ้านได้มาบอกให้หลวงปู่ระมัดระวังตัว เพราะกลัวเสือจะมาทำร้ายท่าน ด้วยท่านปักกลดอยู่องค์เดียว ห่างไกลหมู่บ้านคน

หลวงปู่ไม่ได้แสดงอาการวิตกกังวลให้เห็น ท่านพูดกับโยมว่า“อาจารย์เสือมาช่วยสอนกรรมฐานให้หรือ?

หลวงปู่ท่านบอกว่า ท่านเองก็ไม่ประมาท คอยระมัดระวังเช่นกัน แต่จะไปแสดงอาการกลัวหรือกังวลมากก็ไม่ได้ ท่านต้องหนักแน่นเพราะต้องเป็นที่พึ่งทางใจให้ชาวบ้านได้
เสียงเสือร้องรอบๆ บริเวณที่ท่านปักกลดตั้งแต่หัวค่ำ หลวงปู่นั่งสมาธิภาวนาอยู่ภายในตลอด ไม่ได้นึกหวั่นไหวเลย พอตกดึกเสียงเสือก็เงียบหายไป ไม่มีอะไรเกิดขึ้น จิตท่านสงบแนบแน่นอยู่ในสมาธิไปจนถึงเวลาไก่ขันต้น ก็คงประมาณตี ๓ หรือ ตี ๔ เกือบจะแจ้งแล้ว

e ๔๒ f
วิญญาณพระอาจารย์คำบ้อมาหา

ในคืนนั้น หลวงปู่ นั่งสมาธิภาวนาอยู่ในกลดไปจนได้ยินเสียงไก่ขันครั้งแรก ประมาณตี ๓-๔ น่าจะได้ ได้มีวิญญาณของพระเข้าหาหลวงปู่ ในสมาธิ บอกว่าชื่อ พระอาจารย์คำบ้อ มาบอกท่านว่า

“ท่านหลวงทหาร และหลวงชา เอาของมาฝากไว้ที่ใต้ต้นค้อเมื่อครั้งสมัยเมืองเวียงจันทน์แตก ท่านพระอาจารย์จะเอาไปก็ได้ แต่ก่อนจะเอาไป ให้สวดมงคลสูตรเสียก่อน และไม่ต้องมีเครื่องบูชาอะไรหรอก...”

วิญญาณพระอาจารย์คำบ้อ ได้บอกสถานที่ซ่อนทรัพย์ให้และแนะ นำว่า
“เมื่อท่านเดินไปจากที่นี้ถึงต้นค้อแล้ว ให้ยกเอาหินที่วางซ้อนกัน ๓ ก้อนออก แล้วขุดลึกลงไปประมาณ ๓ ศอก เท่านั้นก็จะเจอ ในนั้นมีพระเงินและพระทองคำหลายองค์ เพราะในขณะนั้นท่านหลวงทหาร และหลวงชา ได้นำมาฝากไว้ แล้วไม่รู้ว่าท่านทั้งสองหายไปไหน และเจ้าปู่เอง (พระอาจารย์คำบ้อ) ก็จะไปที่อื่นแล้ว ต่อจากนี้จะไม่มีคนเฝ้ารักษาแล้ว”

หลวงปู่ตื้อท่านรับทราบเฉยๆ ไม่ได้โต้ตอบแต่อย่างใด สักครู่หนึ่งวิญญาณของพระอาจารย์คำบ้อก็หายไป


e ๔๓ f
วิญญาณชาวเผ่ากุยก่อมองกะเร

อีกครั้งหนึ่งที่ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม บำเพ็ญเพียรอยู่ที่บ้านภูดิน ในคืนหนึ่งได้ปรากฏนิมิตเป็นผู้ชายร่างสูงใหญ่และตัวดำมาก ท่านว่า ดำยิ่งกว่าถ่านไฟเสียอีก ได้มาปรากฏอยู่ข้างหน้าท่าน แล้วก็พูดว่าอย่างไรก็ฟังไม่ชัด

หลวงปู่ได้ถามกลับไปว่า “เจ้าเป็นชาติอะไร?

เขาตอบสั้นๆ ว่า “เป็นเผ่ากุยก่อมองกะเร”

หลวงปู่ไม่เข้าใจ จึงถามไปอีกว่า “เป็นเทวดาหรือ? เขาก็ตอกย้ำคำเดิม ฟังก็ได้ความว่าเป็นชาติอะไรกันแน่ พูดจากันไม่รู้เรื่อง หลวงปู่จึงบอกให้นั่งลงและกราบพระ
ี่
ผีตนนั้นได้แต่ยิ้ม ไม่ยอมไหว้พระ

หลวงปู่จึงพูดว่า “ถ้าไม่ไหว้พระก็จงหนีไปเถิด”

เขาทำท่าจะนั่งลง แต่ไม่นั่ง แสดงอาการย่อตัวเล็กน้อย แล้วก็หลีกหนีไป

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tue/lp-tue-hist-03.htm

737
e ๓๖ f
ถือเอาเสือเป็นอาจารย์กรรมฐาน

เกี่ยวกับการผจญกับสัตว์ร้ายต่างๆ เช่นเสือ เป็นต้น ซึ่งพระธุดงค์ที่เดินทางในป่าดงในสมัยก่อน มักจะต้องพบเห็นอยู่เสมอ

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ท่านถือว่า เสือเป็นอาจารย์ในการปฏิบัติกรรมฐาน คือมาช่วยสอน ช่วยเตือน ให้พระธุดงค์ไม่ประมาทในการบำเพ็ญเพียรของตน ต้องทำสมาธิภาวนาอย่างไม่ลดละ
หลวงปู่ท่านว่า เสือคือเทพเจ้าที่คอยรักษาเอาให้ปลอดภัยจากการเดินธุดงค์ในป่าเขา ไม่ว่าเสือจริงๆ หรือเสือเทพเนรมิต เพราะเสือที่ท่านพบมักแสดงเหมือนกับรู้ภาษาคน
หลวงปู่เล่าว่า “เวลาที่เสือมาหาเราในป่า เราก็เร่งภาวนาให้จิตยึดใน พุทโธ เป็นอารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านรำคาญ ทำให้การปฏิบัติกรรมฐานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยดี

เช้าขึ้นก็ออกเที่ยวบิณฑบาตตามสมณวิสัย ฉันอาหารบิณฑบาตแล้วก็นั่งสมาธิภาวนา พิจารณาอาการ ๓๒ ของร่างกายที่เราหลงใหลว่าเป็นของสะอาดงดงาม เมื่อรู้สึกง่วงก็เดินจงกรมภาวนา เพื่อป้องกันนิวรณ์มาครอบงำ
สำหรับเวลากลางคืนนั้น บำเพ็ญความเพียรโดยตลอด เวลาพักผ่อนจำวัดมีน้อยมาก ทำกิจวัตรอย่างนี้ไม่เคยขาด ทำอยู่เสมอและทำด้วยความพอใจที่สุด ไม่ได้ห่วงหน้าห่วงหลัง ยึดพุทโธ เป็นสรณะตลอด ไม่เคยประมาท”

หลวงปู่ท่านเน้นย้ำว่า “ตราบใดที่จิตของเรายังมีอารมณ์ยึดมั่นอยู่กับพุทโธ เสือนั้นจะไม่ทำอันตรายอะไรเรา ไม่ว่าจะเป็นเสือจริงหรือเสือเทพเนรมิตก็ตาม แต่ถ้าจิตเรามัวแต่รักตัวกลัวตาย จนลืมภาวนาพุทโธ และจิตห่างจากพุทโธคราวใด เสือนั้นก็จะจ้องคอยทำร้ายให้เป็นอันตรายแก่ชีวิตได้

ด้วยเหตุนี้ หลวงปู่ตื้อ ท่านจึงไม่กลัวเสือ ท่านถือว่าเสือเป็นอาจารย์สอนให้เราได้ภาวนา และรู้จักคุณของพุทโธ
หลวงปู่ท่านยังแนะอีกว่า ในเรื่องของภูตผีปีศาจก็ตาม ถ้าหากใครกลัวผี ก็ให้ไปอยู่ภาวนาในป่าช้า จิตจะได้ตื่นกลัว แล้วจะได้ตั้งใจภาวนาตลอดคืนจนจิตเกิดสมาธิและสงบลง ทำให้หายกลัวไปได้
เพราะอานุภาพของพุทโธ และจิตที่เป็นสมาธิ พวกภูตผีต่างๆ จึงไม่สามารถทำอันตรายใดๆ แก่เราได้ และเมื่อเราแผ่เมตตาให้ พวกนั้นก็ยินดีน้อมรับในส่วนบุญ กลายเป็นมิตรกับเราไปเสียอีก

เรื่องราวข้างต้นนี้ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม  ได้เมตตาเล่าให้พระเณรฟัง เป็นเหตุการณ์เมื่อครั้งท่านจำพรรษาอยู่ที่พระบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี ก่อนที่จะเดินทางมาบำเพ็ญเพียรที่เชียงใหม่

e ๓๗ f
พบกับงูใหญ่ขณะเดินจงกรม

บันทึกเหตุการณ์ส่วนนี้เกิดขึ้นในสมัยที่ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม บำเพ็ญเพียรอยู่ที่ พระพุทธบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในตอนกลางคืน ขณะที่หลวงปู่กำลังเดินจงกรมอยู่ ปรากฏมีงูใหญ่ตัวหนึ่งเลื้อยออกมาหยุดข้างทางเดินจงกรมของท่าน พอหลวงปู่เดินมาใกล้ งูตัวนั้นก็ชูคอจ้องดูท่านเดินจงกรมไปมา

หลวงปู่ เดินไป-กลับบนทางเดินอย่างปกติ แสดงว่าไม่ได้ให้ความสนใจมัน เจ้างูใหญ่ยังคงจ้องมองดูท่านอย่างไม่ลดละ คล้ายจะนึกสงสัยว่า “พระองค์นี้กำลังทำอะไรอยู่ เดินกลับไปกลับมาอยู่ได้ ไม่หันมามองดูเราเลย เราสู้อุตส่าห์มาเยี่ยมถึงที่ ท่านน่าจะต้อนรับพูดจาปราศรัยกับเราบ้าง”

เมื่อเจ้างูใหญ่เห็นหลวงปู่ไม่สนใจ จึงได้เลื่อนเข้ามาติดทางจงกรม แล้วก็ขดตัวซ้อนกันเป็นวง ชูคอจ้องมองมายังหลวงปู่ หลวงปู่ก็ยังเดินตามปกติ ไม่แสดงท่าว่าสนใจมัน แต่ความจริงแล้วท่านก็แอบสังเกตอยู่ในใจว่า เจ้างูใหญ่ตัวนั้นจะทำอะไรต่อไป

เจ้างูใหญ่เห็นหลวงปู่ไม่สนใจและไม่กลัวมัน มันเฝ้าดูอยู่ไม่นานก็คลายขนด แล้วเลื้อยหายเข้าป่า พ้นจากทางเดินจงกรมของท่านไป


e ๓๘ f
ผจญเปรตเจ้าที่

ในการเดินจงกรมครั้งเดียวกัน ที่พระพุทธบาทบัวบก
หลังจากงูใหญ่เลื้อยหายเข้าป่าไปแล้ว ทันใดนั้นเองก็ปรากฏเป็นคนร่างสูงใหญ่ กะว่าสูง ๑๐ วา มายืนกางขาที่ปลายทางจงกรมคล้ายกับจะคร่อมทางเดินไว้ แสดงท่าทางว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในถิ่นนั้น

หลวงปู่ตื้อ ท่านเดินจงกรมตามปกติ แสดงท่าว่าไม่สนใจกับมันท่านบอกว่ารู้สึกขนพองสยองเกล้าขึ้นบ้างเล็กน้อย ปรากฏว่าเริ่มมีกลิ่นสาบสางเหม็นขึ้นมา และก็เหม็นมากขึ้นทุกที จนรู้สึกว่าจะทนไม่ไหว ไม่สามารถดับเวทนาตัวนี้ได้

หลวงปู่ได้กำหนดจิตแผ่เมตตาให้มันก็ไม่เป็นผล ได้ออกปากไล่ให้มันหนีไป มันก็ยังทำเฉย แถมยังคงปล่อยกลิ่นสาบสางนั้นเช่นเดิม ท่านพยายามเดินจงกรมไปมา และกำหนดจิตไล่มันอยู่นานพอสมควร ก็ไม่ได้ผล ท่านยังยึดพุทโธอยู่ในอารมณ์ตลอดเวลา ตอนนี้จิตใจท่านไม่หวั่นไหวหรือเกรงกลัวมันเลย

ในที่สุดหลวงปู่ก็หยุดเดิน แล้วพูดขึ้นว่า

“ให้มึงรออยู่ตรงนี้ก่อน เดี๋ยวจะได้ลองดีกัน”

หลวงปู่เดินขึ้นไปบนเพิงที่พัก จุดเทียนไข เอาไปติดที่ปลายไม้เท้าแล้วเดินกลับมาที่ทางเดินจงกรม พูดดังๆ ออกไปว่า

“ให้มึงหนีไปเด้อ ถ้าบ่หนีจะเอาไฟจุดดาก (ก้น) มึงเดี๋ยวนี้ละ”

ผีเปรตตนนั้นยังยืนนิ่งเฉย และส่งเสียงหัวเราะเยาะท่าน
หลวงปู่เดินเข้าไปใกล้ แล้วก็พุ่งเทียนเข้าใส่มัน
ได้ผล ผีเปรตตนนั้นกระโจนหายไป แล้วไปปรากฏที่ต้นไม้ใหญ่ซึ่งอยู่ห่างออกไป แต่กลิ่นเหม็นสาบกลับมากขึ้นกว่าเดิม จนหลวงปู่ไม่สามารถข่มใจเดินจงกรมต่อไปได้

หลวงปู่ใช้ไฟเทียนไล่มันต่อไปอีก มันจึงหนีไป ดูท่าว่ามันจะหายไปแล้ว หลวงปู่จึงเข้าทางเดินจงกรมต่อไป พอได้เวลาพอสมควรท่านจึงหยุดพักการเดินจงกรมแล้วนั่งสมาธิภาวนาต่อไป

e ๓๙ f
โดนเปรตแกล้ง

เมื่อหลวงปู่หลับตานั่งสมาธิได้ประมาณครึ่งชั่วโมงเท่านั้น ท่านรู้สึกว่ามีใครบางคนมาเป่าลมเข้าไปในหูขวา ท่านรู้สึกสะดุ้งเล็กน้อยแล้วมันก็กลับมาเป่าทางหูซ้าย ท่านพยายามข่มใจนั่งสมาธิต่อไปแผ่เมตตาให้ก็ไม่เป็นผล มันยังคงรบกวนอยู่นั่นเอง

หลวงปู่ลืมตาขึ้น เอ่ยปากขับไล่มัน มันก็หัวเราะชอบใจแล้วก็หนีไป
หลวงปู่นั่งสมาธิต่อ ไม่นานมันก็กลับมาอีก แกล้งเป่าลมเข้าหูท่าน ทำล้อเล่นเช่นเดิม พอเอ่ยปากไล่ มันก็หนีไป ไม่นานมันก็กลับมาอีก ทำอยู่เช่นนั้น

หลวงปู่คิดอุบายที่จะขับไล่ โดยจะเอาน้ำมาสาดมัน ท่านลุกจากที่จะไปหยิบขันเพื่อตักน้ำ ปรากฏว่าไม่มีขันในที่ ที่หลวงปู่วางไว้ คิดว่าผีมันคงเอาไปซ่อน มันหัวเราะเยาะแบบรู้ทัน

หลวงปู่คิดจะเอาไม้ขีดมาเผาหัวมัน แต่ก็คว้าหากลักไม้ขีดไม่เจอมันเอาไปซ่อนอีก ดูมันเล่นตลกกับท่าน ท่านคิดจะทำอะไรรู้สึกว่ามันจะรู้ทันไปหมด เจ้าผีเปรตยิ่งหัวเราะได้ใจใหญ่

หลวงปู่หมดหนทางจะจัดการกับผีเปรตตนนั้น ท่านจึงดึงมุ้งกลดลงกาง แล้วนั่งภาวนาในมุ้งกลดโดยไม่ยอมนอนเลยตลอดคืน ท่านทำสมาธิไปจนได้อรุณวันใหม่ เจ้าผีเปรตตนนั้นจึงหนีขึ้นไปบนเขา แล้วส่งเสียงร้องบอกท่านว่า

“เรายอมแพ้ท่านแล้ว !”

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tue/lp-tue-hist-03.htm

738
ต่อจากตอนที่ 1
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=23638


ทีมารูปภาพ http://www.santidham.com/tatu1st/tatu/present/p-taou/p-taou.html
e ๓๓ f
อดีตพระราชาเมืองตองฮู้

วิญญาณที่มาในรูปชีปะขาวหนุ่มได้เล่าเรื่องราวในอดีตของตนถวายหลวงปู่ว่า

“แต่ก่อนข้าพเจ้าเป็นพระราชาอยู่เมืองตองฮู้ ระยะแรกได้เมินเฉยต่อพระธรรมคำสอน เพราะโลภมากในทรัพย์สมบัติ แต่ระยะหลังๆ ตอนบั้นปลายของชีวิตได้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
พระพุทธองค์เคยเสด็จมาโปรด ข้าพเจ้าก็ได้รับศีลรับพรจากท่าน ได้กราบทูลขอให้พระพุทธองค์ได้ประทับรอยพระบาทไว้เพื่อเป็นที่สักการบูชาแก่ชาวเมือง

พระองค์ได้ทรงประทับรอยพระพุทธบาทไว้อยู่ห่างจากที่นี่ไม่ไกล อยู่กลางแม่น้ำที่พนังหินกลางแม่น้ำ แม่น้ำนี้ลึกท่วมหลังช้างเท่านั้น ไม่ลึกมากเท่าไรแม่น้ำนี้อยู่ใกล้เมืองประดู่ขาว

ปัจจุบันแม่น้ำนี้เรียกชื่อว่า แม่น้ำปอน และเมืองประดู่ขาวเปลี่ยนเป็น เมืองรัว”

วิญญาณนั้นบอกย้ำอีกว่า “รอยพระพุทธบาทนั้นอยู่กลางแม่น้ำนั้น นิมนต์ท่านไปดูและนมัสการด้วย ถ้าท่านนับถือพระพุทธเจ้าจริงๆ แล้วก็จะบอกหนทางเดินให้ แต่ท่านอย่าลืมว่าตรงปากทางเข้าไปจะถึงแม่น้ำนั้น จะมีถ้ำอยู่ถ้ำหนึ่ง เมื่อเข้าไปในถ้ำนั้นจะเห็นหินยาวรีมีลักษณะคล้ายงู แต่เป็นก้อนหินธรรมดา มนุษย์ทั่วไปเข้าใจว่าเป็นงูเพราะมีแต่ความกลัวเป็นใหญ่ ให้ท่านเดินข้ามไปหรือเหยียบไปเลยก็ได้ และภายใต้หินก้อนนั้นมีไหเงินและทองคำอยู่ ๔ ไห ถ้าหากท่านพระอาจารย์จะเอาไปเพื่อเป็นการเมตตาต่อข้าพเจ้าแล้วก็ขอน้อมถวายท่านเลย”

เมื่อพูดเพียงนี้แล้ว ชีปะขาวหนุ่มนั้นก็กราบลาแล้วก็หายไป

e ๓๔ f
เดินทางไปดูรอยพระพุทธบาท

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโมได้พักภาวนาอยู่ที่นั่นเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ก็ออกเดินทางเพื่อไปดูรอยพระพุทธบาทตามที่วิญญาณอดีตพระราชาเมืองตองฮู้ ได้บอกไว้เมื่อคืนก่อน
หลวงปู่เล่าว่า ท่านใช้เวลาเดินทางตามที่วิญญาณบอก ๑ วันเต็มๆ ก็ไปถึงปากถ้ำทางเข้าไปเพื่อดูรอยพระพุทธบาทนั้น ท่านได้พบก้อนหินยาวเหมือนรูปงูจริงๆ ซึ่งมันก็เป็นก้อนหินธรรมดานั่นเอง เดินต่อไปเรื่อยๆ จนถึงริมแม่น้ำ ก็มองเห็นหินก้อนใหญ่เหมือนภูเขาทั้งลูกตั้งอยู่กลางแม่น้ำเลย และก็ได้พบรอยพระพุทธบาทตามคำบอกเล่าจริงๆ

รอยพระพุทธบาทนี้ยาวประมาณ ๘ ศอก กว้าง ๖ ศอก สูง ๔ ศอก โดยประมาณเห็นจะได้

เมื่อพิจารณาแล้ว เห็นว่าเป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธองค์ประทับไว้จริงๆ หลวงปู่ จึงได้กระทำการสักการะ แล้วก็จากสถานที่นั้นไป

ขณะที่หลวงปู่ตื้ออยู่ปฏิบัติภาวนาในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามดอยตามป่าต่างๆ นั้น ท่านมักจะเจอกับพวกกายทิพย์ และมีเหตุการณ์แปลกๆ มารบกวนการบำเพ็ญภาวนาของท่านเสมอ

หลวงปู่ได้ใช้ความอดทนอดกลั้นเอาชนะด้วยการบำเพ็ญภาวนาไปทุกครั้ง
พวกวิญญาณหรือกายทิพย์ทั้งหลายเหล่านี้ ส่วนมากมักจะเป็นพวกที่อยู่เฝ้าสมบัติมีค่าต่างๆ เมื่อได้ทดสอบความมั่นคงทางจิตใจของหลวงปู่แล้ว วิญญาณเหล่านั้นก็จะบอกถวายสมบัติที่พวกเขารักษานั้นให้ แต่หลวงปู่ก็ไม่เคยสนใจ คงมุ่งหน้าแต่การปฏิบัติพระธรรมกรรมฐานเพียงอย่างเดียว

e ๓๕ f
พุทโธช่วยให้พ้นภัยอันตรายได้

ลูกศิษย์ลูกหาต่างก็เชื่อมั่นว่า นับตั้งแต่หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ท่านบวชมาในพระพุทธศาสนาท่านก็ได้ดำเนินปฏิปทาในการปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ไม่เคยรู้สึกท้อแท้ หลวงปู่ท่านบอกว่า “จงสละไปเถิดวัตถุธรรม เพื่อความดี คือพระธรรม อันเป็นความดีที่สุดของชีวิต”

จากเรื่องราวชีวิตของหลวงปู่ จะเห็นได้ว่า นับตั้งแต่ท่านได้ออกธุดงค์ครั้งแรกเป็นต้นมา ก็จะพบเจ้าที่เจ้าทางและวิญญาณทั้งหลายมาทดสอบความเข้มแข็งทางจิตใจ เพื่อจะเอาชนะท่านเสมอ แต่ด้วยวิสัยของลูกศิษย์พระตถาคตแล้ว ท่านไม่เคยท้อแท้ หรือลดละความพยายามในการปฏิบัติธรรมเลย

การท่องธุดงค์ของหลวงปู่ มักจะเป็นการผจญภัยใกล้ต่ออันตรายในชีวิตเสมอ นับเป็นปกติที่หลวงปู่ไม่ได้ฉันอาหารติดต่อกันตั้งแต่ ๗-๑๕ วัน เพราะต้องท่องเที่ยวอยู่ในป่าเขาที่ไม่พบผู้คนเลย ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าหลวงปู่ตื้อ และพระธุดงค์ทั้งหลายท่านไม่มีความพึงพอใจในการกระทำเช่นนั้น ท่านเต็มใจทำไปเพื่อความเห็นแจ้งตามแนวทางธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง

เมื่อเวลาท่องธุดงค์ในป่าเขาที่ห่างบ้านผู้คน ท่านจะต้องนึกเอา พุทโธ เป็นอารมณ์ทำให้เกิดกำลังใจ จิตใจแช่มชื่น ทนต่อความหิวและความกระวนกระวายลงได้

ท่านทั้งหลายยอมสละตาย มอบกายถวายชีวิตเพื่อค้นหาพระธรรม จึงไม่มีอะไรที่จะเป็นอุปสรรคต่อการบำเพ็ญเพียรของท่านเลย ท่านมีใจเด็ดเดี่ยวมุ่งมั่นต่อการค้นหาพระธรรมอย่างแท้จริง
นิสัยของหลวงปู่ตื้อที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ท่านชอบรู้สิ่งต่างๆ ที่เร้นลับ เช่น พวกกายทิพย์ ผีสางเทวดา เปรต และวิญญาณต่างๆเป็นต้น

หลวงปู่เคยเล่าให้บรรดาศิษย์ฟังเสมอ เกี่ยวกับพวกกายทิพย์นี้ เรื่องที่ท่านบอกเล่าล้วนแต่น่าอัศจรรย์ เพราะเป็นเรื่องที่นอกเหนือที่มนุษย์ธรรมดาสามัญจะรู้ได้ แต่สำหรับผู้สนใจใฝ่รู้ในด้านการปฏิบัติตามแนวทางพระพุทธศาสนาแล้วก็เชื่อมั่นว่าเป็นความจริง

หลวงปู่ตื้อ ท่านยืนยันว่าเรื่องสิ่งเร้นลับต่างๆ เกี่ยวกับภพภูมิที่แตกต่างออกไป เช่นพวกกายทิพย์ เทวดา ผีสางนางไม้ สัตว์นรกและเปรตต่างๆ นั้นเป็นสิ่งที่มีจริง สามารถสัมผัสรู้เห็นได้ ถ้าเรามีการฝึกฝนด้านจิตใจจนมีความละเอียดเพียงพอ

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tue/lp-tue-hist-03.htm

739
e ๓๑ f
เทพยดาผู้บำเพ็ญบารมี

ในครั้งที่หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้ธุดงค์วิเวกไปทางอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ท่านได้พักบำเพ็ญเพียรอยู่ในสถานที่สัปปายะแห่งหนึ่ง

มีอยู่คืนหนึ่ง ขณะที่หลวงปู่ กำลังเดินจงกรมอันเป็นกิจวัตรปกติในการบำเพ็ญของท่าน ปรากฏร่างของเทพยดาตนหนึ่งมาในรูปของชีปะขาว เหาะลอยมาใกล้ทางเดินจงกรมของหลวงปู่
เทพยดาตนนั้นได้สำแดงตนลอยสูงขึ้นไป แล้วหยุดยืนนิ่งอยู่บนยอดไม้ เหนือทางเดินจงกรมขึ้นไป ลอยขึ้นไปยืนนิ่งอยู่เฉยๆ โดยไม่ได้ทำ อะไร
หลวงปู่ยังคงเดินจงกรมอยู่ตามปกติ เทพยดาก็ยังคงสงบนิ่งอยู่ ณ ที่นั้น

หลวงปู่จึงได้กำหนดจิตถามขึ้นว่า “ท่านเทพยดาผู้มีศีลธรรมอันดีงาม ทำไมท่านจึงไปยืนอยู่บนที่สูง คืออยู่สูงมากกว่าอาตมาผู้เป็นศิษย์ของพระตถาคตเจ้า ผู้กำลังปฏิบัติธรรมอยู่เล่า ทำไม่ท่านไม่ลงมากราบไหว้แสดงความเคารพเล่า?”

เทพยดาตนนั้นยังยืนนิ่งเฉย ไม่แสดงกิริยาอาการอย่างใด หลวงปู่จึงกำหนดถามอีกว่า “ท่านเทพยดาผู้มีศีลาจารวัตรอันงาม ท่านเป็นฤๅษีหรือ หรือว่าเป็นอรหันต์”

เทพยดาตนนั้นแสดงอาการกางแขนออก ทำอาการบุ้ยใบ้มาทางท่าน หลวงปู่กำหนดจิตดูจึงรู้ว่าเทพยดาตนนี้ คงจะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงได้กล่าวถามต่อไปว่า

“ท่านเทพยดาผู้เจริญ ท่านเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าหรืออย่างไรข้าพเจ้าขออาราธนาท่านมาสนทนาด้วย”

เทพยดาตนนั้นไม่ตอบ แต่ได้แสดงออกทางใจให้หลวงปู่รู้ได้แล้วเทพยดาก็แบมือออกให้หลวงปู่ได้เห็นรูปดอกบัวปรากฏอยู่ที่ฝ่ามือทั้งสองข้าง เทพยดาแสดงอาการเขินอายเล็กน้อย แล้วก็เหาะหนีไป

เมื่อมีโอกาส หลวงปู่ตื้อ ได้กราบเรียนถามเรื่องนี้กับพระอาจารย์ใหญ่ - หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
หลวงปู่มั่นได้ให้คำอธิบายว่า เทพยดาที่เห็นนั้น เป็นวิญญาณของผู้กำลังสร้างสมบารมี เพื่อความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าอยู่

นอกจากนี้ หลวงปู่มั่น ยังกล่าวถึงเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับผีสางเทวดา นางไม้ ที่หลวงปู่ตื้อได้พบเห็นในที่ต่างๆ อีก โดยหลวงปู่มั่นได้รับรองว่าเป็นเรื่องจริง และมีจริง

สำหรับเทพยดาตนที่มีรูปดอกบัวบนฝ่ามือนั้นเป็นผู้ที่กำลังสร้างบารมีเพื่อความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า และอีกไม่นานก็จะได้สำเร็จ
หลวงปู่มั่นบอกต่อไปว่า เรื่องเช่นนี้ นานๆ จึงจะได้พบสักครั้งหนึ่ง เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เทพยดาบางตนก็มีศีลธรรมอันดีงามเพราะเคยประพฤติปฏิบัติธรรมมาก่อนหลายชาติแล้ว เมื่อละจากร่างอันเน่าเหม็นของมนุษย์แล้วก็ยังประพฤติธรรมอยู่ เพราะมีสันดานที่เป็นศีลเป็นธรรมแล้ว เทพยดาตนที่มีดอกบัวบนฝ่ามือนี้ อีกไม่กี่ชาติก็จะได้สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

e ๓๒ f
วิญญาณทำฤทธิ์กับหลวงปู่

เกี่ยวกับเรื่องเทพยดา วิญญาณ ภูตผีปีศาจต่างๆ นั้น หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ท่านได้ประสบมามากหลายรูปแบบ จนได้รับการกล่าวขานว่าหลวงปู่ตื้อ ท่านเป็นพระกรรมฐานที่ผจญกับสิ่งเร้นลับต่างๆ มามากที่สุดและสามารถเอาชนะได้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นอยู่ในพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ เป็นที่ยิ่ง ท่านอุทิศตนให้กับการปฏิบัติความเพียรอย่างแท้จริง

หลวงปู่ตื้อ เคยเดินธุดงค์ไปแถวจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งถือว่าเป็นจังหวัดที่อยู่ห่างไกล และเส้นทางติดต่อทุรกันดารมากที่สุด
หลวงปู่ได้เล่าให้สานุศิษย์ฟังว่า ท่านเดินธุดงค์ด้วยเท้า จากเชียงใหม่ ไปแม่ฮ่องสอนใช้เวลาหลายวันจึงถึง เมื่อเจอสถานที่เหมาะก็พักบำเพ็ญภาวนา ทำความเพียรไปเรื่อยๆ ได้ปักกลดภาวนาหลายคืน ที่นั่นอากาศดี สถานที่ก็ดี มีความสงบเงียบ ห่างไกลจากผู้คน การภาวนาเป็นไปด้วยความเรียบร้อยดีมาก
มีวิญญาณพวกเทพยดา วิญญาณ โอปปาติกะ ทั้งหลายมาปรากฏตัว และทดสอบลองดีกับท่านอยู่บ่อยครั้งเหมือนกัน

ในช่วงที่ท่านไปพำนักปักกลดบริเวณ ถ้ำผาบ่อง ในคืนแรกได้มีวิญญาณมาลองดี ในคืนนั้นท่านกำลังนั่งสมาธิภาวนาอยู่ภายในมุ้งกลด ได้เกิดมีแสงเป็นสายรุ้งสีต่างๆ สว่างจ้ามาครอบมุ้งกลดของท่าน

หลวงปู่ บอกว่า ระยะนั้นรู้สึกกว่ากำลังของมันแผ่ปกคลุมบีบเข้าไปถึงจิตใจ มีทั้งหายใจฝืดและหายใจไม่ออก ลมมันตันไปหมด ร่างกายธาตุขันธ์อ่อนลงอย่างเห็นได้ชัด จิตของหลวงปู่ แนบแน่นอยู่กับการภาวนาอย่างไม่ลดละ จิตมั่นคงอยู่กับ พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ อยู่ไม่นานเท่าไร แสงประกายสายรุ้งนั้นก็ค่อยคลายความสว่างจ้าลง แล้วก็หายไป

สักครู่ต่อมา ก็ปรากฏเป็นนิ้วมือขนาดใหญ่มาก เทียบว่าเท่าลำตาลก็น่าจะได้ มาครอบลงบนกลดธุดงค์อีก ตอนนี้ท่านว่า ถึงกับรู้สึกว่าหัวใจสั่นหวิวๆ เกิดอาการกลัวขึ้นมาบ้าง เกือบจะหยุดทำความเพียรอยู่เหมือนกัน แล้วท่านก็ตั้งมั่นทำความเพียรต่อ ตั้งใจมั่นขอยอมตาย ใจมั่นอยู่กับคำบริกรรม พุทโธ ๆ จะตายขอให้ตายด้วยศีลด้วยธรรม แล้วใจค่อยสบายขึ้น หายใจได้คล่อง นิ้วมือยักษ์นั้นก็หายไป

อีกสักครู่ก็ปรากฏร่างเป็นคนตัวดำๆ สูงใหญ่ราว ๑๐ ศอกแต่งตัวเหมือนพระราชา เดินเข้ามาหยุดอยู่ใกล้กลดยืนนิ่งอยู่อย่างนั้น

หลวงปู่ จึงถามว่า “ใครอยู่ที่นั่น?”

ไม่มีเสียงตอบ ร่างนั้นยืนนิ่งเฉยอยู่ ครู่เดียวก็หายไป สักพักก็กลับมาอีก คราวนี้เปลี่ยนเป็นชีปะขาวอายุราว ๒๗-๒๘ ปี ดูท่าทางยังหนุ่มอยู่มาก

คราวนี้เขามาด้วยอาการสงบเสงี่ยมเรียบร้อย เมื่อมาใกล้ก็คุกเข่าลง กราบด้วยความเคารพ ดูท่าทางเลื่อมใสหลวงปู่อย่างแท้จริง เมื่อกราบไหว้แล้วก็ลงนั่งพับเพียบเรียบร้อย

หลวงปู่ถามว่า “ท่านเป็นใคร? ท่านมาจากไหน?”

ชีปะขาวหนุ่มตอบว่า “มาหาท่านพระอาจารย์”

หลวงปู่ ได้ถามต่อไปว่า “ใครเป็นผู้ทำสายรุ้งครอบมุ้งกลดของเรา ? ใครเป็นผู้ทำนิ้วมือใหญ่ครอบมุ้งกลดของเรา ? และใครแสดงตนเป็นพระราชา ?

เขายอมรับว่า “ทั้งหมดนี้ เราเป็นผู้ทำ”

“ทำเพื่อประโยชน์อันใด” หลวงปู่ซักต่อ

“ทำเพื่อทดลองจิตใจของท่านเล่นเฉยๆ” เขาตอบด้วยสำเนียงชาวเหนือ

หลวงปู่จึงพูดสั่งสอนเขาว่า “การที่จะทดลองลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าให้มีความกลัวนั้น ไม่มีผลเสียแล้ว เพราะสมณะอย่างเราไม่กลัวอะไร จะตายก็ไม่เสียดายอะไร เพราะว่าเราได้นับถือและมอบกายถวายชีวิตให้พระพุทธเจ้า รู้จักการเสียสละ การทำบุญสร้างบารมี แม้จะตายก็ไม่หลงตาย จะอยู่หรือจะตายก็เป็นประโยชน์ทั้งนั้นจะไม่เป็นผู้หลงตายเลย

ไม่ว่าเทพยดา มนุษย์ สัตว์นรก ล้วนรักเคารพต่อพระพุทธเจ้าทั้งนั้น และล้วนแต่รักนับถือต่อบุคคลผู้ปฏิบัติธรรมทั้งนั้น นอกจากวิญญาณที่หลงตายเท่านั้นที่จะมาหลอกกันให้ยืดยาว เสียเวลาในการสร้างบุญบารมี”

ในที่สุด ดวงวิญญาณนั้นก็กราบขอขมาท่าน ขอรับศีลรับพรจากท่านด้วยอาการเคารพนอบน้อม


ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tue/lp-tue-hist-02.htm

ประวัติหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ยังมีตอนยาวๆอีก 3 ตอนข้างหน้า อ่านแล้วสนุกดีได้สาระความรู้ด้วย ผมจักได้นำเสนอต่อไป :017:

740
e ๒๘ f
หลวงปู่ถูกกับอากาศทางภาคเหนือ

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม  ได้ชื่อว่าเป็นศิษย์เอก ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายกรรมฐาน

ในช่วงที่พระอาจารย์ใหญ่พำนักอยู่ในภาคเหนือยาวนานถึง ๑๒ ปี ได้ออกท่องธุดงค์เพื่อบำเพ็ญเพียรและเผยแพร่พระธรรมกรรมฐานโปรดญาติโยมในถิ่นต่างๆ หลวงปู่ตื้อ เป็นศิษย์ผู้หนึ่งที่ได้ติดตามไปแทบทุกหนทุกแห่ง ถือเป็นศิษย์ที่พระอาจารย์ใหญ่ ให้ความเชื่อถือมากที่สุดองค์หนึ่ง


พระธรรมเจดีย์ (จูม)

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต ได้เดินทางกลับอิสาน ตามคำอาราธนาของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนธุโล) เจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี เพื่อให้กลับไปเผยแพร่อบรมกรรมฐานแก่สานุศิษย์และประชาชนชาวอิสาน ที่รอคอยพระอาจารย์ใหญ่มาเป็นเวลานาน

เมื่อหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และคณะศิษย์ กลับไปภาคอิสานแล้ว ทางหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม และหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ก็ยังพำนักอยู่ในภาคเหนือต่อไป
ทั้งหลวงปู่ตื้อ และหลวงปู่แหวน ท่านชอบอากาศทางภาคเหนือท่านว่าเย็นสบายดี ถูกอัธยาศัยและธาตุขันธ์ของท่าน ภูมิประเทศก็เป็นป่าเขา สงบสงัด เหมาะที่จะบำเพ็ญเพียรแสวงหาความสงบทางใจ

e ๒๙ f
สร้างวัดหลายแห่งในภาคเหนือ

หลังจากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตพระอาจารย์ใหญ่ กลับไปภาคอิสานคืนแล้ว หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ยังคงพำนักปฏิบัติธรรมและโปรดญาติโยมอยู่ทางภาคเหนือต่อไป
หลวงปู่ตื้อ ได้สร้างวัดกรรมฐานขึ้นหลายแห่ง ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีก็ได้แก่ วัดป่าดาราภิรมย์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันหลวงพ่อพระพุทธพจนวราภรณ์ เป็นเจ้าอาวาส (ส่วนใหญ่ท่านอยู่ประจำที่วัดเจดีย์หลวง ในตัวเมืองเชียงใหม่)

อีกวัดหนึ่งที่หลวงปู่ตื้อท่านพักจำพรรษาอยู่เป็นเวลานาน ชื่อแต่เดิมว่า วัดป่าสามัคคีธรรม สมัยนั้นเป็นเพียงสำนักสงฆ์ ยังมิได้มีชื่อเป็นทางการ ครูบาอาอาจารย์บางท่านเรียกว่า วัดธรรมสามัคคี


หลวงปู่สังข์ สํกิจฺโจ

หลังจากหลวงปู่ตื้อ ท่านหยุดการเดินธุดงค์แล้ว ก็มาพักประจำที่วัดแห่งนี้ เพราะเป็นวัดที่สงบ มีความวิเวก
เมื่อหลวงปู่ตื้อท่านกลับไปอยู่บ้านเกิดที่จังหวัดนครพนมแล้วประชาชนทั่วไปก็เรียกวัดป่าสามัคคีธรรม เป็นวัดป่าหลวงตาตื้อ อจลธมฺโม เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่หลวงปู่ที่พำนักอยู่ภาคเหนือเป็นเวลานาน
ต่อมาภายหลังได้มีการขออนุญาตตั้งวัดถูกต้องและเปลี่ยนชื่อเป็นทางการว่า “วัดป่าอาจารย์ตื้อ” ตั้งอยู่ที่หมู่ ๗ ต.สันมหาพน อ.แม่แตง.เชียงใหม่ โดยมี หลวงปู่สังข์ สํกิจฺโจ พระหลานชายของท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

ผู้เขียนได้พาคณะไปทอดผ้าป่า ถวายเทียนพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน ในวันอาสาฬหบูชา วันเสาร์ที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ได้มีความประทับใจ และมีแรงบันดาลใจในทางธรรมหลายอย่าง จึงได้เกิดหนังสือ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เล่มนี้ขึ้นมา

e ๓๐ f
สำรวจภายในถ้ำเชียงดาว

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ท่านออกท่องธุดงค์กรรมฐานติดต่อกันยาวนานกว่า ๕๐ ปี เรื่องราวของท่านมีมาก แต่ขาดการรวบรวม และจดบันทึกอย่างเป็นหลักฐาน ลูกศิษย์ลูกหาของท่านได้เขียนไว้ในที่ต่างๆ รวมทั้งการเล่าสืบต่อกันมา ในส่วนที่ครูบาอาจารย์รุ่นหลังได้รู้ได้เห็น

ดังนั้น การนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินธุดงค์ของท่านในลำดับต่อนี้ไป จึงไม่ได้จัดเรียงตามลำดับก่อนหลัง รวมทั้งการระบุวันและสถานที่จึงไม่สามารถทำได้ชัดเจน คงนำเสนอได้เฉพาะเหตุการณ์และเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามที่มีการบอกเล่าสืบต่อกันมาเท่านั้น

มีเหตุการณ์ครั้งหนึ่ง ที่หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้ออกธุดงค์เพื่อไปสำรวจภายในถ้ำเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อไปดูสถานที่ว่ามีความเหมาะสมในการปฏิบัติบำเพ็ญเพียรมากน้อยเพียงใด
มูลเหตุสำคัญอีกประการหนึ่ง เกิดจากการชักชวนของพระอาจารย์อินทวัง ที่ต้องการไปเสาะหา แท่นหลวงคำแดง ซึ่งเป็นที่กล่าวขานของคนในแถบถิ่นนั้น ว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่อยู่ของชาวลับแล

ถ้ำเชียงดาวเป็นถ้ำที่มีความยาวมาก ภายในสลับซับซ้อน ยังไม่เคยมีใครสามารถเข้าไปตรวจดูภายในถ้ำโดยตลอดได้ เคยมีคนเข้าไปดูได้เพียง ๒-๓ กิโลเมตรเท่านั้น ถ้ำเชียงดาวจึงยังคงเป็นสถานที่ลึกลับอยู่แม้กระทั่งปัจจุบัน ถึงจะได้เปิดให้บริการแก่ผู้เข้าชม แต่ก็ทำไต้เพียงบางส่วนเท่านั้น ยังมีส่วนที่ยังเข้าไม่ถึงอีกมากมาย


ทางเข้าถ้ำเชียงดาว

หลวงปู่ตื้อ กับพระอาจารย์อินทวัง เข้าไปเพียงสององค์ มีการจัดเสบียงเดินทางจำพวกข้าวตู ข้าวแห้ง และเตรียมใบฉำฉาเพื่อโปรยเวลาเข้าถ้ำ ป้องกันการหลงทางโดยเฉพาะ ขาออกจะได้ออกมาตามทางที่โปรยใบฉำฉาไว้
ท่านพระอาจารย์อินทวัง เป็นหมองู สามารถจับงู สะกดงู ป้องกันงูกัด และเป่าแก้พิษงูได้อย่างชำนาญ แต่ถ้าเป็นเรื่องผีสางนางไม้แล้ว หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม จะเป็นผู้รับมือทั้งหมด ซึ่งเป็นที่เลื่องลือทั่วไปว่า หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม นั้น บรรดาผีสางนางไม้กลัวท่านเป็นที่สุด

เมื่อทุกอย่างพร้อม พระอาจารย์ทั้งสองก็ออกเดินทาง ภายในถ้ำนั้นมืดมาก พอเข้าถ้ำก็เริ่มโรยใบฉำฉาไปทีละใบสองใบไปเรื่อยๆ ท่านต้องระวังเรื่องงูเป็นพิเศษ เพราะในถ้ำมีงูชนิดต่างๆ ทั้งเล็กและใหญ่อาศัยอยู่จำนวนมาก

หลวงปู่ตื้อ เล่าว่า พอเข้าไปก็พบงูทันที แสดงว่ามีงูมากทีเดียวที่อยู่อาศัยในถ้ำ ตัวใหญ่ๆ ขนาดต้นเสาก็มี พระอาจารย์อินทวังบอกว่าไม่ต้องกลัว เดินข้ามไปเลย อย่าไปถูกต้องตัวมัน ในระหว่างเดินทางวันหนึ่ง ได้ไปพบลำน้ำไหลผ่านลัดเลาะไปตามถ้ำ ทางที่จะเดินต่อไปก็ต้องลุยน้ำไป เมื่อพิจารณาสภาพโดยรอบแล้วเห็นว่าน้ำไม่ลึก จึงพากันลุยข้ามไปอีกด้านหนึ่ง
เมื่อเดินต่อไปพบว่า มีอยู่ช่วงหนึ่ง ถ้าไม่สังเกตและจดจำให้ดีก็จะหลงทางได้ เพราะเดินไปตั้งนานแล้วก็วนกลับมาที่เดิม
ในการเดินทางต้องผ่านลำน้ำถึง ๗ แห่ง ทั้งสององค์เดินต่อไปจนถึงต้นโพธิ์ ในระหว่างนั้นใบฉำฉาก็หมด เสบียงก็หมด แต่ท่านก็เดินกันต่อไปอีก จนกระทั่งแน่ใจว่าไม่พบ แท่นหลวงคำแดง ตามที่เล่าลือกันก็พากันเดินกลับออกมาตามทางเดิม

รวมเวลาเดินทางทั้งไปและกลับ ๗ วัน ๗ คืน พอดี บางครั้งต้องเดินติดต่อกันไปเป็นเวลานาน โดยไม่รู้ว่าเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน
หลวงปู่ตื้อ บอกว่า ภายในถ้ำเชียงดาวนั้นมืดมาก ไม่เหมาะที่จะบำเพ็ญภาวนา ไม่เหมือนกับถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้าที่เคยไปสำรวจมาแล้ว

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tue/lp-tue-hist-02.htm

741
e ๒๕ f
สำรวจถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้า

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้พาคณะศิษย์ออกธุดงค์ไปทางเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ ไปถึงเขตอำเภอเชียงดาว ได้พำนักปฏิบัติอยู่ที่ถ้ำเชียงดาวระยะหนึ่ง
วันหนึ่ง หลวงปู่มั่น ได้นิมิตเห็น ถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้า อยู่บนดอยเชียงดาวสูงขึ้นไป เป็นถ้ำที่สวยงาม กว้างขวาง สะอาด อากาศโปร่ง เหมาะที่จะเป็นที่พักบำเพ็ญเพียรภาวนามาก
ถ้ำนั้นอยู่บนดอยที่สูงมาก ยากที่ใครจะขึ้นไปถึงได้ ต้องใช้ความอดทนพยายามที่สูงมาก รวมทั้งมีพลังใจที่กล้าแข็งจริงๆ จึงจะขึ้นไปได้

หลวงปู่มั่นต้องการให้พระลูกศิษย์ขึ้นไปสำรวจถ้ำแห่งนั้น เมื่อพิจารณาดูแล้วเห็นว่า นอกจากหลวงปู่ตื้อแล้วยังไม่เห็นใครเหมาะสมที่จะขึ้นไปได้ จึงได้บอกให้หลวงปู่ตื้อ เดินทางขึ้นไปสำรวจดูถ้ำแห่งนั้น
เช้าวันรุ่งขึ้น หลังจากฉันภัตตาหารแล้ว หลวงปู่ตื้อพร้อมกับพระอีก ๓ รูป ได้พากันออกเดินทางขึ้นสูยอดดอยเชียงดาว เพื่อสำรวจดูถ้ำตามภาระที่ได้รับมอบหมายจากพระอาจารย์ใหญ่
หนทางขึ้นสูยอดดอยสุดแสนจะลำบาก เพราะต้องปีนเขาสูง ไม่มีทางอื่นที่จะเดินลัดหรือเลาะเลี้ยวไปตามเชิงเขา ต้องปีนป่ายเหนี่ยวเกาะไปตามแง่หิน รั้งตัวขึ้นไป ซึ่งเสี่ยงอันตรายมาก

หลวงปู่ตื้อ เล่าให้สานุศิษย์ฟังว่า ยิ่งสายก็ยิ่งเหนื่อย บางแห่งทางแคบมากจริงๆ ต้องเดินเอี้ยวหลบเข้าไปได้ทีละคนเท่านั้น บางช่วงต้องปีนป่ายและห้อยโหนเพราะไม่มีทางเลี่ยงอื่น ต้องเสี่ยงชีวิตเอา
คณะของหลวงปู่ตื้อ ปีนป่ายถึงยอดเขาประมาณ ๕ โมงเย็น แต่ไม่มีวี่แววว่าจะพบถ้ำ และไม่ทราบว่าถ้ำอยู่ที่ไหน บริเวณรอบๆ ไม่ได้ส่อเค้าว่าจะเป็นถ้ำเลย
คณะต้องเดินอยู่บนเขาอีก ๔ ชั่วโมงกว่าๆ บนยอดเขามีลมพัดแรงมาก ตกกลางคืนยิ่งพัดแรงจนตัวแทบจะปลิวไปตามแรงลม จะหาถ้ำเล็กๆ พอจะหลบลมก็ไม่มี ในคืนนั้นไม่ได้หลับนอนกัน พระทุกองค์ต้องใช้เชือกตากผ้าที่เตรียมไป ผูกมัดตัวไว้กับต้นไม้ แล้วนั่งสมาธิภาวนากันทั้งคืน ยิ่งดึกลมยิ่งแรงดูผิดปกติธรรมชาติเป็นอย่างมาก

พอรุ่งเช้าได้อรุณแล้ว ปรากฏว่ามีญาติโยมจัดภัตตาหารมาถวาย คนพวกนั้นเป็นพวกชาวเขาแท้ อาศัยทำไร่อยู่บนยอดดอยอย่างถาวร
เมื่อฉันเสร็จก็พากันเดินทางต่อไป แม้จะเดินบนหลังเขา หนทางก็ยากลำบากมาก เหมือนกับการปีนป่ายขึ้นมาในตอนแรก คณะหลวงปู่ตื้อเดินอยู่จนถึงเที่ยงวัน ก็ถึงบริเวณหนึ่งที่เข้าใจว่าน่าจะเป็นที่ๆ ถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้าตั้งอยู่
บริเวณข้างหน้าเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ ต้องใช้ขอนไม้เกาะเป็นแพจึงจะข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งได้ พระที่ไปด้วยกันไม่มีใครกล้าข้ามไป หลวงปู่ตื้อจึงอาสาข้ามน้ำไปดูเพียงองค์เดียว

ก่อนจะข้ามน้ำไป หลวงปู่ได้นั่งสมาธิดูก่อน ปรากฏเป็นเสียงคนพูดเบาๆ พอเสียงนั้นเงียบหายไป ก็มีอีกเสียงหนึ่งพูดขึ้นว่า “งูใหญ่ๆ” พูดอยู่ ๒-๓ ครั้ง แล้วปรากฏเป็นผู้ชายรูปร่างบึกบึน สูงใหญ่ ผิวกายดำทมึนมายืนพูดกับหลวงปู่ว่า

“ท่านจะเข้าไปในถ้ำไม่ได้หรอกนะ ที่นั่นมีงูตัวใหญ่มากเฝ้ารักษาอยู่”

หลวงปู่ตื้อ ได้พูดกับชายผู้นั้นว่า “ที่พวกอาตมาขึ้นมาที่นี่ ไม่ได้มาเบียดเบียนใคร ไม่ได้มุ่งจะมาเอาอะไร แต่ประสงค์จะขึ้นมาดูถ้ำตามที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ใช้ให้มาเท่านั้น”

พอหลวงปู่กล่าวจบลง ชายผู้นั้นก็หายไป ท่านพิจารณาดูต่อไปเมื่อเห็นว่าไม่มีอะไรอีกแล้วจึงออกจากสมาธิ แล้วท่านก็จัดแจงหาขอนไม้มาทำเป็นแพ เอาเทียนจุดไว้ที่หัวแพ แล้วเกาะแพลอยข้ามน้ำไปยังฝั่งตรงข้าม ท่านลองหยั่งดูเห็นว่าน้ำลึกมากไม่สามารถหยั่งรู้ถึงได้
เมื่อหลวงปู่เกาะแพไปถึงอีกฝั่งแล้ว จึงได้พบถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้า ตามที่หลวงปู่มั่นได้พบเห็นในนิมิต เป็นถ้ำที่ใหญ่โต กว้างขวางและสวยงามมาก อากาศโปร่งสบาย พื้นถ้ำสะอาดสะอ้านเหมือนกับมีคนดูแลปัดกวาดเป็นอย่างดี

หลวงปู่ตื้อได้เข้าไปสำรวจภายในถ้ำ ในถ้ำนั้นมีแสงสว่างอยู่ในตัว แม้เดินลึกเข้าไปก็ไม่มืด ถ้ำนี้มีลักษณะพิเศษกว่าถ้ำอื่นจริงๆ
ลักษณะของถ้ำกว้างและยาวลึกเข้าไปข้างในเขา ด้านหลังถ้ำออกไปมีแอ่งน้ำธรรมชาติ น้ำใสสะอาดน่าดื่มกิน ด้านนอกถ้ำออกไปข้างหลังมีป่าไม้ประเภทไม้ผลที่อุดมสมบูรณ์ ใบเขียวชอุ่มเหมือนได้รับการดูแลอย่างดีด้านนอกถ้ำที่อยู่สูงที่สุดเป็นหน้าผาที่สูงชันมาก คงไม่มีใครขึ้นไปได้ หรือว่าถ้าขึ้นไปได้แล้วก็คงไม่คิดลงมาอีก

หลวงปู่ตื้อ ได้นั่งสมาธิภาวนาอยู่นาน พบว่ามีพวกกายทิพย์เข้ามาหาท่าน และพบวิญญาณชีปะขาวน้อยรูปหนึ่ง เป็นผู้เฝ้าดูแลรักษาถ้ำแห่งนี้ ชีปะขาวน้อยบอกหลวงปู่ว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า ท่านไม่ได้อยู่ที่ถ้ำนั้นแล้ว แล้วชีปะขาวน้อยก็หายไปทางหลังถ้ำ

e ๒๖ f
หลวงปู่มั่นบอกเรื่องบ่อน้ำทิพย์

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้พักบำเพ็ญภาวนาอยู่ภายในถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้า จนครบ ๕ วัน จึงได้พาหมู่คณะเดินทางกลับลงมาทางเดิม
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้ถามคณะที่ไปสำรวจถ้ำว่าเป็นอย่างไร? น่าอยู่จริงไหม?

หลวงปู่ตื้อได้กราบเรียนว่า “ในถ้ำสวยงามน่าอยู่จริงๆ แต่ไม่มีบ้านคนเลย พวกกระผมฉันใบไม้ตลอด ๕ วัน บ้านคนไม่มี ไม่รู้จะไปบิณฑบาตที่ไหน อีกประการหนึ่งที่เป็นปัญหาสำคัญ คือลมพัดแรงมาก พัดหูพัดตาอยู่ลำบาก ถ้าหากอยู่ในถ้ำก็สบายดีมากขอรับ”

หลวงปู่มั่น ได้พูดขึ้นว่า “ทำไม่พวกคุณถึงไม่เลยพากันขึ้นไปดูบ่อน้ำทิพย์ ที่อยู่ข้างหลังถ้ำนั้นด้วยละ บ่อน้ำทิพย์ศักดิ์สิทธิ์นั้น ถ้าหากใครได้อาบและดื่มเป็นการชุบตัวแล้ว จะมีอายุยืนถึงห้าพันปี สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ด้วย”

หลวงปู่ตื้อ กราบเรียนท่านพระอาจารย์ว่า “กระผมขึ้นไปเหมือนกันขอรับ แต่พอขึ้นไปบนหลังถ้ำนั้นปรากฏว่าเป็นหน้าผาที่สูงและชันมาก สูงราวๆ ๑๐-๑๕ วา ขึ้นไปมิได้ขอรับ เพราะหน้าผาชันจริงๆ ทางอื่นที่จะขึ้นไปก็ไม่มี กระผมเดินดูรอบๆ ตั้งสองสามรอบ ถ้าหากขึ้นไปได้ ก็คงลงมาไม่ได้”

ท่านพระอาจารย์ใหญ่ จึงตอบว่า “พวกเราคงไม่มีบุญวาสนาบารมีที่จะเหาะได้ละมั้ง จึงได้พากันเดินลงมาจนเท้าแตกหมด ถ้าหากว่าขึ้นไปได้ก็คงลงมาไม่ได้ แต่ขึ้นไปได้และลงมาได้อย่างนี้ก็สามารถมากแล้วละ”


e ๒๗ f
เจรจากับช้างป่า

เมื่อออกจากถ้ำเชียงดาวแล้ว หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้นำสานุศิษย์เดินธุดงค์ไปทางอำเภอพร้าว (ในบันทึกใช้คำว่า บ้านพร้าว ศิษย์ที่ร่วมเดินทางมีหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณและมีพระภิกษุ-สามเณรติดตามอีก ๒-๓ รูป

คณะของหลวงปู่มั่น เดินทางไปถึงที่แห่งหนึ่งซึ่งเป็นช่องแคบที่จะไต่ขึ้นเขา พอดีมีช้างเชือกหนึ่งกำลังกินใบไผ่ยืนขวางทางอยู่ตรงช่องแคบนั้น ทางคณะไม่มีทางอื่นจะเลี่ยงไปได้

ช้างกับพระอยู่ห่างกันประมาณ ๑๐ วา มีเสียงหนึ่งให้ความเห็นว่า “พวกเราน่าจะกลับถอยหลังไปก่อน แล้วจึงค่อยมาใหม่”

ท่านหลวงปู่มั่น หยุดพิจารณา แล้วพูดขึ้นว่า “ท่านตื้อ ลองพูดกับช้างดูบ้างซิ”

หลวงปู่ตื้อ จึงพูดกับช้างว่า “พี่ชาย เราขอพูดด้วย”

ฝ่ายช้างหยุดชะงักจากการกินใบไผ่ทันที

“พี่ชาย เราขอพูดด้วย” เป็นคำรบสอง

ช้างหันมาทางหมู่พระทันที หูทั้งสองข้างกางออก ยืนนิ่งไม่ไหวติง

หลวงปู่ตื้อ จึงพูดต่อไปว่า “พวกเราขอทางเดินหน่อย พี่ชายมายืนกินใบไผ่อยู่ที่นี้ พวกเราจึงไม่มีทางเดิน เพราะพี่ชายยืนปิดทาง พวกเรากลัวพี่ชายมาก ขอให้หลีกทางให้พวกเราด้วย”

พอท่านพูดจบลง ช้างก็รีบหันหน้าเข้ากอไผ่ข้างทาง แสดงให้เห็นว่าได้หลีกทางให้แล้ว คณะพระธุดงค์ก็ออกเดิน โดยหลวงปู่ตื้อเดินออกหน้า หลวงปู่มั่น เดินเป็นอันดับสอง แล้วพระเณรองค์อื่น หลวงปู่แหวน อยู่รั้งท้าย

เมื่อผ่านช้างไปแล้ว ทุกท่านก็พากันเดินต่อไปเรื่อยๆ บังเอิญทางหลวงปู่แหวน พอผ่านช้างไปได้เพียงวาเศษ ตาขอกลดของท่านเกิดไปเกี่ยวกับกิ่งไผ่พอดี ท่านพยายามปลดอยู่นานก็ไม่หลุด จะดึงแรงก็กลัวช้างตกใจตื่น ช้างเชือกนั้นยังแสดงอาการสงบนิ่งในท่าเดิม แต่ด้วยเหตุอะไรก็ไม่ทราบ หลวงปู่แหวนไม่สามารถปลดตาขอกลดให้หลุดจากกิ่งไผ่ได้

หลวงปู่มั่น หันกลับไปเห็นเหตุการณ์ จึงเรียกให้หลวงปู่ตื้อหยุดและให้กลับไปช่วยหลวงปู่แหวนจนปลดตาขอกลดออกได้ แล้วคณะก็ออกเดินต่อไป
เมื่อถึงที่นั่งพักเหนื่อย หลวงปู่มั่นได้พูดกับบรรดาศิษย์ว่าช้างเผือกนั้นเป็นสัตว์ที่แสนรู้ น่ารัก น่าเอ็นดู ทั้งน่าสงสารด้วย

พร้อมกันนั้น หลวงปู่มั่นก็ชมหลวงปู่ตื้อ ผู้ศิษย์ว่า “ท่านตื้อก็เก่งมาก สามารถพูดให้ช้างตัวใหญ่เก็บอาวุธร้าย แล้วรีบหลีกทางให้ แล้วพวกเราไม่กำหนดดูใจของมันดูบ้าง ช้างตัวนั้น เวลาท่านตื้อพูดขอทางจากมันจบลง ทีแรกมันก็ตกใจ รีบหันหน้ามาทางเราโดยเร็ว มันคงคิดว่าเป็นศัตรูของมัน แต่พอมันเห็นถนัดเป็นผ้ากาสาวพัสตร์ครองอยู่ ก็รู้ทันทีว่า เป็นเพศที่สงบเย็น ไม่เบียดเบียนใคร และเชื่อใจได้ก็หลีกทางให้แต่โดยดี”
----------------------------------------------------------
หมายเหตุ : ในประวัติหลวงปู่มั่น บอกว่าหลวงปู่ขาวกับท่านพระมหาทองสุกร่วมเดินทาง ก็ขอให้ผู้อ่านพิจารณาเองก็แล้วกัน

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tue/lp-tue-hist-02.htm

742
e ๒๒ f
คู่อรรถคู่ธรรมที่ต่างอุปนิสัย

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม และหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ร่วมเดินทางธุดงค์ไปจนถึงเมืองหลวงพระบาง แต่ทั้งสององค์ไม่ได้ไปด้วยกันโดยตลอด บางช่วงท่านก็แยกกันไป และบางโอกาสก็มาพักปักกลดด้วยกัน รวมทั้งบางโอกาสก็จำพรรษาร่วมกัน ทั้งสององค์จัดเป็นคู่อรรถคู่ธรรมที่แปลกมาก กล่าวคือทั้งสององค์ มีอุปนิสัยภายนอกที่แตกต่างกันอย่างมาก แต่ท่านก็ร่วมเป็นสหธรรมิกที่ไปด้วยกันได้เป็นอย่างดี

ทางด้านหลวงปู่ตื้อท่านเป็นพระที่ชอบพูด ชอบเทศน์ มีปฏิปทาผาดโผน พูดเสียงดัง ตรงไปตรงมาชนิดที่ไม่กลัวเกรงใคร
ทางด้าน หลวงปู่แหวน กลับเป็นพระที่พูดน้อย เสียงเบา ชอบอยู่เงียบๆ ท่านไม่ชอบเทศน์ มีแต่ให้ข้อธรรมสั้นๆ มีปฏิปทาเรียบง่าย ไม่โลดโผน

แม้หลวงปู่ทั้งสององค์ท่านมีอุปนิสัยภายนอกที่แตกต่างกัน แต่ท่านก็ร่วมเดินทางและเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดี จัดเป็นสหธรรมิกที่มีความใกล้ชิดกันที่สุด แม้ในภายหลัง เมื่อหลวงปู่มั่นได้เดินทางกลับไปภาคอีสานแล้ว หลวงปู่ทั้งสององค์ก็ยังพำนักอยู่ในภาคเหนือต่อไป จนเข้าสู่วัยชราภาพ สถานที่ที่องค์ท่านทั้งสองพำนักอยู่ก็ไม่ห่างไกลกัน พอไปมาหาสู่และถามไถ่ถึงกันได้ตลอด

e ๒๓ f
บันทึกการร่วมธุดงค์กับหลวงปู่แหวน

จากประวัติของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ซึ่งเรียบเรียงโดย อตฺถวโรภิกขุ (พระอาจารย์นาค) แห่งวัดสัมพันธวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้บันทึกการเดินธุดงค์ของหลวงปู่แหวน ในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่ตื้อ ดังต่อไปนี้ : -

“เมื่อสมัยหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ยังหนุ่ม ท่านชอบเที่ยวธุดงค์จาริกไปตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในประเทศและนอกประเทศ เท่าที่จะสามารถเดินไปได้ สมัยก่อน การคมนาคมยังไม่สะดวก จะไปไหนไม่ต้องกังวลเรื่องรถเรื่องเรือ ทางสะดวกมีอยู่ทางเดียวคือ เดินไปแล้วก็เดินกลับ”

“ในเขตภาคอิสาน นอกจากอุบลราชธานีแล้ว หลวงปู่ (แหวน) พำนักอยู่ที่อุดรธานีเป็นส่วนใหญ่ เช่นเมื่อครั้งไปตามหาท่านอาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่บ้านค้อ ดงมะไฟ และเคยไปจำพรรษาที่นาหมี นายูง... ต่อมาหลวงปู่ ไปจำพรรษาที่พระบาทบัวบก และเมื่อออกพรรษาก็ไปพักที่พระบาทหอนาง หรือพระบาทนางอุษา ซึ่งอยู่คนละฟากเขากับพระบาทบัวบก ส่วนเขตแดนอิสานอื่นก็มีที่ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย เมื่อหลวงปู่กลับมาพักผ่อนหลังจากจาริกไปลาว ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ๑๔ วัน ตั้งใจจะเที่ยวตามเมืองต่างๆ จนถึงสิบสองปันนา สิบสองจุไท ทางเหนือ แต่ทหารฝรั่งเศสไม่ให้ไป จึงไปพักที่วัดใต้หลวงพระบางระยะหนึ่ง แล้วก็กลับพร้อมด้วยหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม”

“หลังจากพักหายเหนื่อย จึงปรึกษากับหลวงปู่ตื้อ มุ่งเดินทางไปทางภาคเหนือ...เดินไปค่ำไหนก็นอนที่นั่น และไม่มีลูกศิษย์เล็กให้เป็นห่วง หลวงปู่ทั้งสองท่านออกจากท่าลี่ จังหวัดเลย ไปออกด่านซ้าย ข้ามป่าเข้าไปอำเภอน้ำปาด ผ่านเขตอำเภอนครไทย ไปถึงอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ แล้วตัดไปอำเภอนาน้อย แพร่ ผ่านหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเย้า แล้วลงมาพักกับหมู่บ้านคนเมืองตามคำนิมนต์ จากนั้นจึงเดินทางต่อไปสูงเม่น เด่นชัย เดินไปตามทางรถไฟจนถึงลำปาง  หลวงปู่ตื้อ แยกตัวไปพักที่อำเภอเถิน หลวงปู่แหวน เดินทางต่อไปยังเชียงใหม่ เที่ยวดูภูมิประเทศโดยรอบ ทั้งบนดอยสุเทพและที่อื่นๆ แล้วจึงเดินทางกลับมาพบหลวงปู่ตื้อ ที่ลำปาง”

หลังจากนั้น ในปี พ.ศ ๒๔๖๔ หลวงปู่ทั้งสองก็แยกทางกัน หลวงปู่แหวน ลงไปกรุงเทพฯ เพื่อรับฟังธรรมอบรมจากท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ที่วัดบรมนิวาส แล้วท่านก็จาริกไปพม่าและอินเดีย

ในตอนหลังทั้งหลวงปู่แหวน และหลวงปู่ตื้อ ได้ไปกราบหลวงปู่มั่น ที่เชียงใหม่ โดยหลวงปู่แหวน ได้ญัตติเป็นธรรมยุตก่อน ต่อจากนั้นทั้งสององค์ก็ท่องเที่ยวธุดงค์ติดตามหลวงปู่มั่น ไปยังที่ต่างๆ ในภาคเหนือติดต่อกันหลายปี


e ๒๔ f
ถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น

ท่านพระอาจารย์บูรฉัตร พรหฺมจาโร ผู้เป็นศิษย์ ได้บันทึกเรื่องราวตอนที่หลวงปู่ตื้อ เข้าถวายตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่มั่น ดังนี้ : -

“ในขณะนั้น ที่จังหวัดเชียงใหม่ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เพชรเม็ดเอกน้ำหนึ่งของพระพุทธศาสนา และท่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท) มาพำนักสอนกรรมฐานอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่

เมื่อได้ทราบข่าวเช่นนั้น (หลวงปู่ตื้อ) ก็ได้เดินธุดงค์กรรมฐานจากจังหวัดเลยขึ้นสู่จังหวัดเชียงใหม่ ไปทางหล่มสัก หลายคืนจึงถึงจังหวัดเชียงใหม่ ถ้าจะขึ้นรถยนต์รถไฟก็อัตคัดปัจจัย และปัจจัยก็หายากมาก แม้รถยนต์ก็มีน้อยมาก จนนับจำนวนได้ ในจังหวัดเชียงใหม่เวลานั้นมีรถยนต์ทั้งหมด ๒ คันเท่านั้น เป็นรถของหลวงอนุสารสุนทร และอีกคันหนึ่งเป็นของใครจำไม่ได้

“ท่านพระอาจารย์ตื้อ ได้เดินทางถึงจังหวัดเชียงใหม่ แล้วได้ไปกราบท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และได้พักอยู่กับท่านที่วัดเจดีย์หลวง ในเมืองเชียงใหม่ อยู่ไม่นานเท่าไรก็ได้ญัตติเป็นฝ่ายธรรมยุต โดยมีท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูพิศาลสารคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านพระครูนพีสีพิศาลคุณ (ทอง โฆสิโต) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

“ขณะนั้น ท่าน (หลวงปู่ตื้อ) ได้เดินทางถึงจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ได้ไปกราบท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และได้พักอยู่กับท่านที่วัดเจดีย์หลวง ในเมืองเชียงใหม่

ขณะนั้น ท่าน (หลวงปู่ตื้อ) อายุได้ ๓๗ ปี เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๘ ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖”

(จากประวัติการอุปสมบทในตอนต้น บันทึกไว้ว่าหลวงปู่ได้ญัตติเป็นฝ่ายธรรมยุติกนิกายในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ หลังจากบวชอยู่ในฝ่ายมหานิกายได้ถึง ๑๙ พรรษา __ผู้เขียน)

“เมื่อท่านได้บวชเป็นธรรมยุต และได้เป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต แล้วก็ได้พำนักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อคอยออกกรรมฐาน ติดตามท่านพระอาจารย์มั่นต่อไป

“ในระหว่างนี้ ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม ได้ตั้งหน้าตั้งตาอบรมกรรมฐานอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงเป็นเวลาหลายเดือน และในที่สุดท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และสานุศิษย์ก็ออกเดินกรรมฐานไปตามถ้ำต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ และท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม ได้ออกติดตามท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ไปในกองทัพธรรม ครั้งนั้นด้วย

ท่านได้ติดตามไปกับท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโตไปตามถ้ำต่างๆ หลายแห่ง เป็นลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดและเป็นผู้ที่พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ไว้ใจในการออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมกรรมฐานมาก ท่านพระอาจารย์มั่นมักจะถามและพูดด้วยเสมอ ดังนั้น ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม จึงเป็นลูกศิษย์เอกของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปในเวลานั้น”

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tue/lp-tue-hist-02.htm

743
e ๑๘ f
พบหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ


หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม กับ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เป็นสหธรรมิกที่รักใคร่ชอบพอกันมาก ท่านทั้งสองเคยร่วมธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ หลายต่อหลายแห่ง ในสมัยที่ยังเป็นพระหนุ่ม
พระธุดงค์หนุ่มทั้งสองรูปได้ไปพบกันครั้งแรกที่ป่าภูพาน ขณะนั้นหลวงปู่ตื้อ จาริกธุดงค์มาจากพระบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี หลวงปู่ทั้งสององค์ได้สนทนาธรรมแลกเปลี่ยนความรู้กัน เป็นที่ชอบอัธยาศัยถูกใจกันยิ่งนัก
หลวงปู่ตื้อ และหลวงปู่แหวนในสมัยเป็นพระธุดงค์หนุ่ม ท่านมีปฏิปทาที่ตรงกัน แม้บุคลิกภายนอกจะแตกต่างกันอย่างมาก แต่ก็เข้ากันได้ดี ทั้งสองท่านเป็นพระหนุ่มฝ่ายมหานิกาย ที่ท่องธุดงค์แต่ลำพังอย่างโดดเดี่ยวกล้าหาญโดยไม่มีครูอาจารย์ฝ่ายกรรมฐานคอยกำกับชี้ทางเลย

หลวงปู่แหวน ท่านเคยเข้ากราบ ได้ถวายตัวเป็นศิษย์และได้รับคำชี้แนะจากหลวงปู่มั่นมาก่อนแล้ว ในครั้งที่หลวงปู่มั่นท่องธุดงค์อยู่แถวจังหวัดอุดรธานี ครั้งที่หลวงปู่แหวนยังเป็นสามเณรอยู่ แต่พอหลวงปู่มั่นท่านไปธุดงค์ทางภาคเหนือ หลวงปู่แหวนก็ไม่มีครูบาอาจารย์กรรมฐานคอยชี้แนะท่านอีก ต้องดั้นด้นฝึกฝนปฏิบัติอยู่ตามป่าเขาตามลำพัง ด้วยตัวของท่านเอง

ทางด้านหลวงปู่ตื้อ ก็ใฝ่ใจปรารถนาอยากจะพบพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ให้ได้เหมือนกัน เพราะได้ยินกิตติศัพท์เลื่องลือเกี่ยวกับปฏิปทา จริยาวัตร ของพระอาจารย์มั่นมามาก แต่ก็ยังไม่ได้พบท่านสมใจหวังสักที ทั้งหลวงปู่ตื้อ และหลวงปู่แหวน ต่างก็ปรารถนาที่จะได้พบและได้รับการชี้แนะจากหลวงปู่มั่น พระอาจารย์ใหญ่สายกรรมฐาน หลวงปู่ทั้งสองตกลงกันว่า หากวาสนายังมีคงจะได้พบกับพระอาจารย์ใหญ่สมใจหวัง “เราอย่าเร่งรัดตัวเองและกาลเวลาเลย ถ้าไม่ตายเสียก่อน จะต้องได้สดับธรรมจากพระอาจารย์มั่นเป็นแม่นมั่น ในระหว่างนี้เราควรจะจาริกธุดงค์ไปตามมรรคาของเราก่อน”

หลวงปู่ตื้อ และหลวงปู่แหวน เริ่มต้นเดินธุดงค์เข้าไปทางฝั่งลาว ทางด้านอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย พอข้ามแม่น้ำโขงไปแล้วก็พบแต่ป่าทึบ ต้องเดินมุดป่าไปเรื่อยๆ เป้าหมายอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง
ในการเดินทางเท้านั้น ตลอดทางหลวงปู่ทั้งสองได้พบสัตว์ป่าจำนวนมาก อาศัยเดินมุดป่าไปตามรอยช้างไปเรื่อยๆ เพราะสะดวกสบายกว่าบุกเข้าไปในป่าที่รกชัฏ

e ๑๙ f
หาเรือข้ามแม่น้ำโขง

ตอนที่หลวงปู่ตื้อกับหลวงปู่แหวนพบกัน และเริ่มออกธุดงค์ด้วยกันใหม่ๆ ทั้งสององค์ได้มุ่งหน้าข้ามแม่น้ำโขงไปทางสุวรรณเขต ในประเทศลาว
ตอนจะข้ามแม่น้ำโขง หลวงปู่ตื้อได้แสดงอะไรบางอย่างให้หลวงปู่แหวนดู
เรื่องมีอยู่ว่าทั้งสององค์หาเรือข้ามฟากไม่ได้ แม่น้ำโขงก็ไหลเชี่ยวจัด เพราะเป็นคุ้งน้ำไหลผ่านช่องเขาค่อนข้างแคบ หมู่บ้านใกล้สุดก็อยู่ห่างออกไปไม่น้อยกว่าหนึ่งกิโลเมตร มองไม่เห็นเรือนแพอยู่แถวนั้นเลย

หลวงปู่ตื้อบอกว่า “ท่านแหวนไม่ต้องวิตก เดี๋ยวก็มีเรือมารับเราข้ามฟากไป” แล้วท่านก็ยืนนิ่งหลับตา บริกรรมคาถา เพียงอึดใจใหญ่ๆ ก็ลืมตาขึ้น พูดยิ้มๆ ว่า “เดี๋ยวเรือจะมารับ”
อีกสักพักก็มีเรือหาปลาพายผ่านมา พอเห็นพระหนุ่มทั้งสองรูปยืนอยู่ที่ท่าน้ำ ก็พายเรือเข้ามารับพาข้ามฟาก
ชายคนนั้นบอกว่า ขณะที่เขาหาปลาอยู่ กลางแม่น้ำรู้สึกสังหรณ์ใจว่ามีพระกำลังรอเรือข้ามฟาก จึงได้พายเรือมาดู ก็พบพระคุณเจ้าทั้งสองจริง นับว่าน่าอัศจรรย์มาก

หลวงปู่ตื้อ พูดยิ้มๆ ว่า “โยมได้บุญกองใหญ่แล้วคราวนี้ ที่เอาเรือมารับเราข้ามฟาก ขอให้หมั่นทำความดีไว้ ถ้าจะเลิกจับปลาฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเลยได้ก็จะดีมาก”
คนหาปลาถามว่า “ถ้าไม่จับปลา แล้วจะให้ข้าน้อยทำมาหากินอะไร?”

หลวงปู่ตื้อ บอกว่า ทำไร่ทำนาหากินโดยสุจริตก็ดีแล้ว ต่อไปชีวิตครอบครัวจะเจริญรุ่งเรืองอยู่ดีกินดี อาตมาขอให้พร”
คนหาปลามีความศรัทธาพระธุดงค์ทั้งสององค์เป็นอย่างมาก ต่อมาภายหลังทราบว่าเขาได้เลิกหาปลา แล้วหันมาทำนาทำไร่ เลิกการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ชีวิตครอบครัวเขามีความเจริญรุ่งเรืองทำมาค้าขายขึ้นจนมั่งมีเงินทอง สามารถสร้างวัดได้ ๒-๓ แห่ง

ทั้งนี้ คงเป็นด้วยอานิสงส์ผลบุญที่เขาเอาเรือมารับพระภิกษุผู้ครองศีลบริสุทธิ์ข้ามแม่น้ำ ตนเองเชื่อมั่นในพรที่พระท่านให้ และเลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิตโดยแท้จริง

e ๒๐ f
ชาวป่าถวายอาหารยามวิกาล

หลวงปู่ตื้อ กับ หลวงปู่แหวน ซึ่งเป็นพระหนุ่ม ร่วมเดินทางไปตลอดทั้งกลางวัน พอพลบค่ำก็เลือกอาศัยพักใกล้หมู่บ้านคน พอได้อาศัยโคจรบิณฑบาตในตอนเช้า
หลวงปู่ตื้อ ได้เล่าถึงชาวป่าเผ่าหนึ่ง ที่ท่านทั้งสองได้พบระหว่างทางในตอนใกล้พระอาทิตย์ตกดินในวันหนึ่ง ชาวป่าเหล่านั้นได้พากันเอากระติ๊บข้าวเหนียวมาถวาย เดินแถวเข้ามานับสิบ แสดงความประสงค์จะถวายอาหารด้วยความศรัทธา
ชาวป่าเหล่านั้นไม่ทราบว่าพระภิกษุรับอาหารยามวิกาล คือหลังเที่ยงวันไปแล้วไม่ได้ แต่พวกเขามีศรัทธา ร้องบอกท่านทั้งสองว่า “งอจ้าวเหนียว งอจ้าวเหนียว”

แม้ไม่รู้ภาษากันก็พอเดาความประสงค์นั้นได้ หลวงปู่ทั้งสองบอกด้วยอาการปฏิเสธว่า อาหารไม่ขอรับ ขอรับเพียงน้ำร้อนก็พอ ท่านพยายามสื่อความหมายด้วยท่าทางจนรู้เรื่องกันได้
พอรุ่งเช้า หลวงปู่ตื้อ และหลวงปู่แหวน ได้เข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ต้องทำการบิณฑบาตด้วยวิธีโบราณ คือ ไปหยุดยืนอยู่หน้าบ้าน ทำเป็นกระแอมไอเพื่อส่งเสียงให้เขาออกมาดู พวกเขาไม่เข้าใจ ก็ทำนิ้วชี้ลงที่บาตรจึงพอได้ข้าวมาฉัน

พวกคนป่าเผ่านั้นคงไม่เคยรู้จักพระมาก่อน จึงไม่รู้ธรรมเนียมพระ และไม่รู้วิธีอุปถัมภ์พระ

e ๒๑ f
สามเณรเชือดไก่แล้วย่างมาถวาย

ทั้งหลวงปู่ตื้อ และหลวงปู่แหวนได้เดินทางไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งมีวัดประจำหมู่บ้าน แต่ไม่มีพระสงฆ์อยู่ มีเพียงสามเณรอยู่รูปเดียว
สามเณรดีใจมากที่เห็นพระอาคันตุกะสองรูปมาแวะเยี่ยม ได้จัดหาที่พักนอน และหาน้ำร้อนมาถวาย เสร็จแล้วสามเณรก็หลบออกไป

สักพักหลวงปู่ทั้งสองก็ได้ยินเสียงไก่ร้องกระโต๊กกระต๊ากแล้วก็เงียบเสียงลง สักครู่ใหญ่ๆ ก็มีกลิ่นไก่ย่างโชยมาตามลม หลังจากนั้นไก่ย่างร้อนๆ ก็ถูกนำมาวางตรงหน้าหลวงปู่ทั้งสอง
สามเณรเข้าประเคนถาดอาหารด้วยความนอบน้อม “นิมนต์ท่านครูบาฉันไก่ก่อน ข้าวเหนียวก็กำลังร้อนๆ นิมนต์ครับ”

หลวงปู่ทั้งสองรับประเคนอาหารจากเณร ให้ศีลให้พรตามธรรมเนียม แล้วท่านจะฝืนพระวินัยฉันไก่ย่างร้อนๆ นั้นได้อย่างไร? เพราะเป็นอุทิศมังสะ เป็นการจงใจฆ่าสัตว์เพื่อทำอาหารถวายท่านโดยตรง ถึงแม้ท่านทั้งสองจะไม่เห็น แต่ท่านก็รู้และก็ได้ยิน ท่านจึงละเว้นการฉันไก่ย่าง ฉันแต่ข้าวเหนียวเปล่าๆ เท่านั้น

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tue/lp-tue-hist-02.htm

744
e ๑๑ f
เทวดามาบอกที่ซ่อนทองคำ

หลังจากที่ฝูงผึ้งกลับไปหมดแล้ว หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ก็นั่งสมาธิต่อ
เมื่อท่านนั่งไปได้สองชั่วโมงเศษๆ ได้นิมิตเป็นศีรษะคนมีขนาดใหญ่มาก มองเห็นแต่ไกล ค่อยๆ โผล่ขึ้นมาจนเห็นเต็มร่าง ซึ่งมีรูปร่างใหญ่โตมาก มาหยุดยืนดูท่านอยู่นานพอสมควรโดยไม่ได้พูดจาอะไร หลวงปู่ก็สงบนิ่งดูอยู่

บุรุษนั้นยืนจ้องท่านนานพอสมควร แล้วก็หันหลังกลับเดินออกไปในทิศทางที่โผล่มา ดูคล้ายกับเดินลึกลงไป ร่างกายส่วนล่างหายไปตามลำดับ แล้วศีรษะอันใหญ่โตก็ลับหายไปอย่างรวดเร็ว

หลวงปู่ไม่ได้มีอาการหวั่นไหวแต่อย่างใด ท่านนั่งสมาธิภาวนาอยู่ในที่เดิม นั่งอยู่ไม่นานก็ปรากฏเป็นเทวดา ๒ องค์ ใส่มงกุฎสวยงามเข้ามาหาท่าน
เทวดาองค์หนึ่งพูดขึ้นว่า “ท่านอาจารย์ ห่างจากนี้ไม่ไกลนักมีพระพุทธรูปทองคำ ๑๐ องค์ พระพุทธรูปเงิน ๑๕ องค์ฝังอยู่ ขอให้ท่านอาจารย์ไปเอาขึ้นมา เพื่อให้คนทั้งหลายได้กราบไหว้สักการบูชา เพราะตอนนี้ไม่มีใครอยู่เฝ้ารักษาแล้ว”

พูดบอกเท่านั้น แล้วเทวดาทั้งสองก็หายไป

หลวงปู่ ไม่ได้ออกค้นหาพระพุทธรูปตามที่เทวดาบอก เพราะท่านไม่มีความประสงค์ที่จะเสาะแสวงหาทรัพย์สมบัติ แต่มุ่งค้นหาสัจธรรม ตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


e ๑๒ f
ภาวนาบนเส้นทางช้างศึก

แถวใกล้นครเวียงจันทน์ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้ไปปักกลดภาวนาบนเส้นทางช้างศึกของเจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์ในประวัติศาสตร์ของลาว
ผู้เขียนเข้าใจว่าน่าจะเป็นเส้นทางเดินทัพของเจ้าอนุวงศ์ในอดีต หลวงปู่ได้ปักกลดภาวนาอยู่บนเส้นทางนั้นหลายคืน ไม่ทราบว่าท่านมีจุดประสงค์ภายในใจอะไร ความจริงพอจะเดาได้ แต่ไม่อยากเดา

หลวงปู่เล่าให้สานุศิษย์ฟังว่า มีคืนหนึ่ง ท่านได้นิมิตว่ามีวิญญาณหลงทางมาหามากมายจริงๆ ส่วนใหญ่เป็นทหารหนุ่มๆ ทั้งสิ้น เดินผ่านมาทางที่ท่านพักปักกลดอยู่  ที่ท่านเรียกว่าวิญญาณหลงทาง ก็คือ เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ ไม่รู้จักกราบพระไหว้พระ บางคนก็ยืนมองพระเฉยๆ บางคนก็สนุกสนานเฮฮาไปตามเรื่อง

หลวงปู่ ได้แผ่เมตตาอุทิศบุญกุศลไปให้ ปรากฏว่าไม่ได้ทำให้พวกเขาสามารถระลึกและคลายมานะทิฏฐิได้เลย วิญญาณเหล่านั้นได้แต่มาปรากฏให้เห็นเท่านั้น ก็ได้แสดงกริยาอะไรกับท่านเลย คล้ายกับเป็นวิญญาณที่มืดบอดจากคุณธรรมความดี ท่านจึงเรียกว่าเป็นวิญญาณหลงทาง ยังไม่สามารถชี้แนะในทางดีได้ ท่านก็ปล่อยให้วิญญาณเหล่านั้นผ่านไป

e ๑๓ f
เดินธุดงค์ไปทางหลวงพระบาง

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม  ได้ปักกลดภาวนาในที่ต่างๆ แถวนครเวียงจันทน์อยู่ ๔ เดือนเศษ มีโยมมาขอให้ท่านพักอยู่นานๆ พวกเขาจะสร้างกุฏิถวาย แต่ท่านไม่รับนิมนต์ บอกชาวบ้านเหล่านั้นว่า ท่านตั้งใจจะเดินธุดงค์ขึ้นเหนือไปเรื่อยๆ เป้าหมายอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งคนถิ่นนั้นรู้จักเชียงใหม่ว่าเป็น “เมืองเหนือของไทยใหญ่”

หลวงปู่ตื้อ ตั้งใจจะไปเสาะหาและฟังคำสอนของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่พำนักอยู่ตามป่าเขาแถบจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงรายในขณะนั้น
หลวงปู่ตื้อ เล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า การออกธุดงค์ครั้งนั้นไปกัน ๖ องค์ แต่ไม่ได้เดินทางไปด้วยกัน ต่างแยกย้ายกันไปแสวงหาที่บำเพ็ญภาวนาตามนิสัยของตน หลายๆ วันจึงจะพบปะกันบ้าง ไต่ถามเรื่องราวกันและกัน แล้วแยกกัน ต่างองค์ต่างไป
นอกจากพระไทยแล้ว บางครั้งก็พบกับพระพม่าซึ่งท่านเหล่านั้นก็ออกท่องเที่ยวธุดงค์ไปเหมือนกัน

ออกจากเวียงจันทน์ หลวงปู่ ธุดงค์ไปทางหลวงพระบาง หนทางเดินลำบากที่สุด สภาพทั่วไปเป็นป่าทึบและภูเขาสูงๆ มากมาย บางวันเดินขึ้นเขาสูงๆ แล้วเดินลงไปอีกด้านหนึ่งใช้เวลาทั้งวันก็มี พอตกเย็นค่ำมืด ท่านก็ปักกลดพักผ่อน ทำความเพียรภาวนา เมื่อได้อรุณก็ตื่นและออกเดินทางต่อไป
บางวันหลวงปู่ ไม่ได้บิณฑบาตและไม่ได้ฉันอาหารเลยเพราะไม่พบบ้านเรือน ต้องเดินทางไปข้างหน้าเรื่อยๆ ท่านบอกว่าถนนหนทางแถวนั้นยากที่สุด รถยนต์ไม่มีโอกาสเข้าไปได้เลย แม้จะเดินเท้าก็ยังยาก รถราไม่เคยมีในถิ่นนั้น

e ๑๔ f
พบชีปะขาวพาไปดูสมบัติในถ้ำ

จากบันทึกของลูกศิษย์บอกว่า ในช่วงที่หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เดินธุดงค์จากหลวงพระบาง ไปใกล้จะถึงเมืองแมด เมืองกาสี ท่านเดินออกจากเขาลูกหนึ่ง บริเวณเชิงเขาเป็นป่าละเมาะ มีต้นไม้เตี้ยๆ เดินทางไม่ลำบากเหมือนช่วงที่ผ่านมา
หลวงปู่ เดินไปเรื่อยๆ ไม่นานก็มองเห็นเขาอีกลูกหนึ่งข้างหน้า ไกลออกไปท่านมองเห็นชีปะขาวนั่งสมาธิอยู่บนก้อนหินใหญ่ก้อนหนึ่ง ท่านจึงเดินตรงเข้าไปหา พอหลวงปู่เดินเข้าไปใกล้จะถึง ก็มองเห็นชีปะขาวนั่งสมาธิอยู่ไกลออกไปเช่นเดิม ท่านก็เดินเข้าไปหาอีก นึกแปลกใจว่าทำไมหินก้อนนั้นจึงเคลื่อนที่ออกไปได้ ท่านเพ่งมองแล้วก็เดินเข้าไปหาต่อไป

เมื่อเข้าไปใกล้ ปรากฏว่าไม่ใช่ชีปะขาว แต่กลายเป็นก้อนหินที่มีรูปร่างเหมือนคนนั่งสมาธิอยู่ ใกล้ๆ กันนั้นมีแอ่งน้ำธรรมชาติ มีน้ำใสไหลเย็น ประกอบกับเป็นเวลาเย็นใกล้ค่ำ หลวงปู่ จึงตัดสินใจกางกลดเพื่อพักบำเพ็ญเพียร ณ ที่นั้น เพราะท่านรู้สึกเหนื่อยอ่อนมาหลายวัน
ตกกลางคืน ขณะที่ท่านนั่งสมาธิกำหนดจิตอยู่ ได้เกิดนิมิตเห็นชีปะขาวเหมือนที่พบเมื่อตอนกลางวัน เข้ามาหา แล้วบอกหลวงปู่ว่า

“ขอนิมนต์ท่านอยู่ที่นี่นานๆ ข้าน้อยจะสอนวิชาเดินป่าที่ไม่รู้จักอดอยากให้ และจะพาไปดูสมบัติต่างๆ ภายในถ้ำ ท่านอยากได้อะไรก็จะมอบให้หมด”

หลวงปู่ ได้ถามชีปะขาวว่า “เมื่อกลางวัน โยมนั่งสมาธิอยู่บนก้อนหินนั้นใช่ไหม?”
ชีปะขาวกราบเรียนว่าใช่ แต่ที่ทำหายตัวห่างออกไปเรื่อยๆ นั้นเพราะ “ต้องการให้ท่านได้มาหยุดพักผ่อนตรงนี้ พวกข้าน้อยนี้เป็นพวกกายทิพย์ มีวิมานอยู่ในสถานที่นี้”

หลวงปู่ได้กล่าวขอบใจ และอนุโมทนากับความหวังดีของชีปะขาวแล้วท่านบอกเขาว่า
“อาตมาเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า กำลังปฏิบัติตามรอยพระบาทของพระองค์ ไม่ต้องการสมบัติทั้งหลายที่ท่านจะมอบให้หรอก ขณะนี้เราต้องการรู้เพียงว่า จะเดินไปทางไหนจึงจะถึงบ้านคนได้ง่าย เพระเราไม่ได้ฉันอะไรเลยเป็นเวลา ๕ วันมาแล้ว”

ชีปะขาวตอบว่า “สิ่งที่ท่านต้องการยังอยู่ไกลมาก แต่ถ้าท่านพยายามเดินทางให้เร็ว ก็จะถึงเร็ว”
กราบเรียนดังนั้น แล้วชีปะขาวก็หายไป


e ๑๕ f
ได้ฉันอาหารวันแรกหลังออกจากหลวงพระบาง

เมื่อภาพนิมิตชีปะขาวหายไปแล้ว หลวงปู่ตื้อก็ยังอยู่ในสมาธิต่อไป พอลืมตาขึ้นท้องฟ้าก็สว่างได้อรุณวันใหม่
หลวงปู่ รีบออกเดินทางตามที่ชีปะขาวบอก เดินไปไม่ไกลก็พบหมู่บ้านชาวป่า มีประมาณ ๑๐ หลังคาเรือน เมื่อท่านหาที่พักบริขารได้แล้วก็เข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน มีคนมาใส่บาตรท่าน ๕-๖ คน แสดงว่าหมู่บ้านแห่งนี้เคยมีพระธุดงค์มาโปรดสั่งสอนแล้ว แม้พูดกันไม่รู้เรื่อง พวกเขาก็ยังรู้จักใส่บาตรพระ
นับเป็นวันแรกที่หลวงปู่ได้ฉันอาหาร นับตั้งแต่เดินทางออกจากหลวงพระบางเมื่อ ๕ วันที่แล้ว

พวกชาวบ้านป่าเรียกตนเองว่า “พวกข้า” พวกเขาได้แสดงอาการขอให้หลวงปู่พักอยู่ด้วยนานๆ แต่ท่านก็แสดงอาการให้รู้ว่า ท่านขอบอกขอบใจ และไม่สามารถอยู่ด้วยได้ ท่านมีกิจต้องเดินธุดงค์ต่อไปเรื่อยๆ

เมื่อฉันภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ ก็ออกธุดงค์ต่อไป


e ๑๖ f
ธุดงค์เข้าไปในเขตพม่า

เมื่อหลวงปู่ตื้อฉันอาหารจากการบิณฑบาตในวันนั้นแล้ว ท่านก็เดินทางต่อไป ท่านเดินไปตามภูเขาและดงไม้เข้าถึงเมืองทั้งห้าทั้งหก แล้วเข้าสู่เขตพม่า ในบริเวณเมืองเชียงตุง ในสมัยนั้น ประชาชนชาวพม่าเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก พระสงฆ์องคเจ้าก็มีมากและได้รับการอุปถัมภ์เลี้ยงดูจากประชาชนเป็นอย่างดี

หลวงปู่ออกธุดงค์ตามป่าเขา หลีกเร้นจากการเข้าพักบริเวณบ้านผู้คน นอกจากเข้าไปบิณฑบาตพอได้อาศัยเท่านั้น
หลวงปู่ ได้พบปะกับพระพม่าอยู่บ่อยๆ พระเถระผู้เฒ่าก็มี สามเณรก็มี พวกท่านเหล่านั้นกางกลดบำเพ็ญเพียรอยู่ตามป่าเขาห่างไกลบ้านผู้คน

บางครั้งหลวงปู่ได้ปักกลดภาวนาด้วยกันกับพระพม่าก็มี ท่านเล่าว่าชนชาวพม่าก็สนใจในธรรมกรรมฐานมากพอสมควร พระสงฆ์และสามเณรชาวพม่าบางท่านได้ออกเดินธุดงค์กรรมฐาน ชนิดไม่กลับวัดเลย คือหายสาบสูญไปเลยก็มีมาก
หลวงปู่ บอกว่า พระพม่านี้เก่งในทางคาถาอาคมมาก บางครั้งเมื่อพบกัน พระชาวพม่ามักสอนคาถาต่างๆ ให้ เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางในถิ่นทุรกันดาร

e ๑๗ f
เดินทางกลับประเทศไทย

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้เล่าให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังว่า ช่วงเดินธุดงค์ในเขตพม่านั้นเป็นการเดินทางที่ยากลำบากที่สุด รวมทั้งไม่สะดวกหลายอย่างเกี่ยวกับการถือเคร่งตามพระวินัย
เส้นการเดินทางที่สบายๆ ไม่มีเลย ถ้าวันไหนได้เดินไปตามเชิงเขาแล้วก็รู้สึกสบายบ้าง แต่มักจะเป็นระยะสั้นๆ แค่ ๒-๓ กิโลเมตรเท่านั้น ส่วนมากมีแต่ขึ้นเขา เข้าป่ารก เฉลี่ยการเดินทางในวันหนึ่งๆ ได้เพียง ๗-๑๐ กิโลเมตรเท่านั้น ถ้าหากสุขภาพไม่แข็งแรงและจิตใจไม่เข้มแข็งจริงๆ แล้ว ก็คงต้องอาพาธป่วยไข้ ทำให้ลำบากและทุกข์ทรมานมากขึ้น

หลวงปู่บอกว่า การภาวนาตามป่าเขานั้น จิตสงบดีมาก แม้การเดินทางจะลำบาก แต่ก็สัปปายะดี สำหรับเรื่องสัตว์ร้าย ผีสางเทวดานั้นไม่มีปัญหาอันใดเลย กลับได้อารมณ์กรรมฐานดีเสียอีก ได้ประโยชน์ในการบำเพ็ญภาวนาเป็นอย่างมาก

อุปสรรคสำคัญในการเดินธุดงค์ในเขตพม่าได้แก่ ความไม่สะดวกเกี่ยวกับเรื่องพระวินัยบางข้อ หลวงปู่จึงได้ธุดงค์มุ่งกลับมาเมืองไทย ท่านเข้ามาทางจังหวัดน่าน ลงไปเขตเมืองแพร่ แล้วเดินธุดงค์ไปบริเวณจังหวัดเลยตอนเหนือ ระยะการเดินทางนับร้อยๆ กิโลเมตร พบที่ใดเหมาะสมก็ปักกลดภาวนาที่นั่น บำเพ็ญเพียรอย่างไม่มีการลดละเลย เป็นช่วงที่บำเพ็ญเพียรได้ดีมาก สุขภาพก็แข็งแรงไม่เคยเจ็บไข้ได้ป่วยเลย

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tue/lp-tue-hist-01.htm

745
e ๗ f
เข้าเรียนในหลักสูตรนักปราชญ์

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม มีอุปนิสัยใฝ่เรียนใฝ่รู้อยู่ในตัวท่าน ต้องการศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาให้ลึกซึ้งกว้างขวางออกไป

การศึกษาธรรมะในทางพระพุทธศาสนาที่ถือว่าเป็นสุดยอดในสมัยนั้นเรียกกันว่า “เรียนสนธิ เรียนนาม มูลกัจจายน์” คือหัดอ่านเขียนภาษาบาลี ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการเผยแพร่ และจารึกคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ผู้ที่สนใจศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้ลึกซึ้งถึงแก่น จึงจำเป็นต้องรู้ภาษาบาลีอย่างแตกฉาน

“การเรียนสนธิ เรียนนาม มูลกัจจายน์” ซึ่งเป็นการเรียนที่ยากนั้น ผู้เขียนต้องมีความเฉลียวฉลาด ขยัน และอดทนอย่างแท้จริง ถ้าหากใครเรียนจบตามหลักสูตรดังกล่าวจัดว่าเป็น “นักปราชญ์” คือเป็นผู้มีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยอย่างแท้จริง


หลังจากออกพรรษาแรกได้เดือนเศษ อยู่ในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ หลวงปู่ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนธรรมที่สำนักเรียน วัดโพธิชัย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
วัดโพธิชัย เป็นสำนักเรียนสนธิ เรียนนาม มูลกัจจายน์ที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น มีท่านพระอาจารย์คาน เป็นเจ้าสำนักเรียน

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ออกเดินทางจากวัดบ้านเกิด เดินทางด้วยเท้าไปเป็นระยะทางกว่า ๕๐ กิโลเมตร ต้องบุกป่าฝ่าดงไปด้วยความยากลำบาก
หลวงปู่ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเอาจริงเอาจัง ใช้เวลารวม  ๔ ปี จึงจบตามหลักสูตร จัดว่าเป็น “นักปราชญ์” ที่มีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดีในสมัยนั้น

เมื่อเรียนความรู้จบตามที่ต้องการแล้ว หลวงปู่ ก็กราบลาพระอาจารย์เจ้าสำนัก เดินทางกลับมาอยู่ที่สำนักเดิม คือ วัดบ้านข่า บ้านเกิดของท่านนั้นเอง

e ๘ f
ตั้งใจศึกษาต่อทางปริยัติธรรม

ดังกล่าวแล้วว่า หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม มีนิสัยใฝ่เรียนใฝ่รู้อยู่ในสายเลือด ท่านประสงค์จะศึกษาค้นคว้าหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้ลึกซึ้งต่อไป
หลังจากที่ท่านกลับมาอยู่วัดบ้านข่าได้เพียง ๓ วัน เท่านั้น ท่านก็ออกเดินทางโดยมุ่งไปเรียนพระปริยัติธรรมที่บางกอก หรือกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของไทย ซึ่งเป็นแหล่งการศึกษาที่เจริญที่สุดของประเทศ

หลวงปู่ ออกเดินทางด้วยเท้า ร่วมกับพระภิกษุรุ่นราวคราวเดียวกันอีกรูปหนึ่ง ออกเดินธุดงค์ไปเรื่อยๆ ค่ำที่ไหนก็หยุดจำวัดและทำสมาธิภาวนาที่นั่น เดินทางหลายวัน แล้วไปหยุดพักที่จังหวัดอุดรธานีเป็นด่านแรก


พระอุโบสถวัดโพธิสมภรณ์ในปัจจุบัน

เมื่อเดินทางถึงอุดรธานีแล้ว พระภิกษุที่ร่วมเดินทางเกิดคิดถึงบ้าน เปลี่ยนใจอยากกลับบ้านมากกว่าที่จะเดินทางไปกรุงเทพฯ ตามที่ตกลงกันไว้ แม้จะพูดชี้แจงอย่างไร ท่านก็ไม่ยอม ต้องการเดินทางกลับบ้านอย่างเดียว

หลวงปู่จึงต้องจำใจเดินทางกลับไปส่งเพื่อนพระที่บ้านเดิม ท่านเดินทางไปส่งถึงอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เห็นว่าพระเพื่อนสามารถเดินทางกลับวัดบ้านข่าตามลำพังได้แล้ว จึงได้แยกทางกันหลวงปู่เดินทางกลับอุดรธานี ไปพักที่ วัดโพธิสมภรณ์ ซึ่งตั้งอยู่ในเมือง
วัดโพธิสมภรณ์ หรือแม้แต่ตัวจังหวัดอุดรธานีในสมัยนั้นยังมีสภาพเป็นป่าอยู่ ยังไม่มีบ้านเรือนมากมายเหมือนสมัยปัจจุบัน

e ๙ f
เปลี่ยนใจออกปฏิบัติธุดงค์กรรมฐาน

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ไปอาศัยพำนักที่วัดโพธิสมภรณ์ระยะหนึ่ง ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำสมาธิภาวนา การปฏิบัติธุดงค์กรรมฐาน รู้สึกว่าถูกกับอุปนิสัยของท่าน ท่านจึงเลิกล้มความตั้งใจที่จะเดินทางไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่กรุงเทพฯ เปลี่ยนมาเป็นการออกปฏิบัติกรรมฐานแทน


พระพุทธบาทบัวบก

หลวงปู่ มีความเห็นว่า การปฏิบัติกรรมฐาน เป็นการเดินทางเส้นตรงต่อการบรรลุธรรมอย่างแท้จริง

หลังจากที่หลวงปู่ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติภาวนาเรียนรู้ข้อวัตรูปฏิบัติเกี่ยวกับการเที่ยวธุดงค์กรรมฐานพอสมควรแล้วท่านก็พร้อมที่จะออกธุดงค์ต่อไป
เป้าหมายแรกท่านมุ่งออกธุดงค์ไปทางฝั่งประเทศลาว เพราะเป็นที่ที่พระธุดงค์ในสมัยนั้นไปกันมาก เพราะมีความเหมาะสมในการบำเพ็ญภาวนาหลายประการ
หลวงปู่ เดินทางออกจากจังหวัดอุดรธานี มุ่งหน้าไปทางจังหวัดหนองคาย แวะพักปฏิบัติภาวนา พร้อมกับโปรดญาติโยมชาวบ้านป่าไปเป็นระยะๆ ค่ำที่ไหนก็ปักกลดพักภาวนาที่นั่น

หลวงปู่ไปแวะพักที่พระบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี หยุดบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่นั่นหลายวัน แล้วจึงเดินทางมุ่งไปทางฝั่งประเทศ ลาว

--------------------------------------

ข้อมูลเพิ่มเติม : พระพุทธบาทบัวบก ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ประดิษฐานในพระธาตุเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยม คล้ายพระธาตุพนม พระพุทธบาทที่เห็นเป็นรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งสร้างขึ้นทับรอยพระพุทธบาทเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ของเดิมมีลักษณะเป็นแอ่งลึกลงไปประมาณ ๕๐ – ๖๐ ซม. ประทับบนแผ่นหิน ยาวประมาณ ๓ เมตร กว้าง ๙๐ เซนติเมตร เดิมก่อสร้างเป็นมณฑปครอบไว้ ต่อมาจึงรื้อสร้างเป็นพระธาตุ หรือเจดีย์ขึ้นแทน _____ ปฐม นิคมานนท์

e ๑๐ f
ได้ครูผึ้งมาสอนกรรมฐาน

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขงไปทางฝั่งลาวได้พักบำเพ็ญเพียรบริเวณนครเวียงจันทน์เป็นเวลาหลายเดือน
หลวงปู่ตื้อ เล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า ท่านได้ไปทำความเพียรที่เชิงภูเขาควายอยู่ ๔ เดือนเต็ม

คืนแรกที่ไปถึงภูเขาควาย ได้ไปนั่งภาวนาภายในถ้ำเล็กๆ แห่งหนึ่ง เมื่อเริ่มนั่งสมาธิไปได้หนึ่งชั่วโมงเศษ ก็ได้ยินเสียงดังอู้ๆ มาแต่ไกล คล้ายเสียงลมพัดอย่างแรง เมื่อลืมตาดูก็ไม่เห็นอะไร ท่านก็หลับตาทำสมาธิต่อ  ปรากฏว่ามีผึ้งเป็นหมื่นๆ แสนๆ ตัวมาบินวนเวียนเหนือศีรษะท่าน เสียงคล้ายกับเครื่องบิน อย่างไม่คาดคิด ทันใดนั้นฝูงผึ้งก็บินลงมาเกาะตามผ้าจีวรของท่านเต็มไปหมด ท่านต้องเปลื้องจีวรออก ถอดผ้าอังสะออก เหลือนุ่งผ้าสบงผืนเดียว รวบชายสบงด้านหน้า เอาลอดหว่างขาแล้วมาเหน็บไว้ที่ขอบเอวด้านหลัง คล้ายนุ่งผ้าโจงกระเบน รัดขอบขาให้ตึงเพื่อกันไม่ให้ผึ้งชอนไชเข้าไปในผ้าได้

ในบันทึกไม่ได้กล่าวว่า ท่านนั่งสมาธิต่อ หรือทำประการใด บอกแต่เพียงว่าฝูงผึ้งตอมไต่ยั้วเยี้ยไปตามเนื้อตัวของท่านเต็มไปหมด ไม่มีตัวใดต่อยเนื้อตัวท่านเลย ท่านสงบนิ่งไม่เคลื่อนไหว ใช้ความอดทนรอดูมัน ประมาณ ๒๐ นาที ฝูงผึ้งก็พากันบินจากไป จัดว่าผึ้งฝูงนี้มาเป็นครูสอนกรรมฐานฝึกความอดทนให้หลวงปู่ได้เป็นอย่างดี

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tue/lp-tue-hist-01.htm

746
e ๒ f
ชาติกำเนิด


บ้านโยมพ่อโยมแม่ของหลวงปู่

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ท่านพักจำพรรษาประจำที่และอยู่นานที่สุดที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ ต.สันมหาพน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่บนเส้นทางเชียงใหม่-เชียงดาว อยู่ตรงมุมทางแยกขวาเข้าเขื่อนแม่งัด ทางไปวัดอรัญญวิเวก ของหลวงพ่อเปลี่ยน ปญฺญาปทีโป นั่นเอง

ครั้งสุดท้ายท่านกลับไปจำพรรษาที่บ้านเกิด ที่วัดป่าอรัญญวิเวก บ้านข่า ต.บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม และมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๗ เวลา ๑๙.๐๕ ณ  สิริรวมอายุได้ ๘๖ ปี

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม นามเดิมว่า ตื้อ นามสกุล ปาลิปัตต์ เกิดในครอบครัวชาวนา เมื่อวันจันทร์ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๑ ตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐ ณ บ้านข่า ตำบลบ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

บิดาของท่านชื่อ นายปา มารดาชื่อ นางปัตต์

หลวงปู่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คน เป็นชาย ๕ หญิง ๒ คนโตเป็นหญิงชื่อ นางคำมี คนที่สองเป็นชาย ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเล็ก คนที่สามชื่อ นายทอง คนที่สี่ชื่อ นายบัว ส่วนหลวงปู่เป็นบุตรคนที่ห้า คนที่หกชื่อนายตั้ว และคนสุดท้ายเป็นหญิงชื่อ นางอั้ว ทีสุกะ พี่น้องทุกคนรวมทั้งหลวงปู่มรณภาพหมดแล้ว เป็นไปตามวัยและตามธรรมดาของสังขาร ที่ยังเหลืออยู่ก็มีแต่ความดี และความชั่ว ยังให้คนระลึกถึงพูดถึงไปอีกนาน

e ๓ f
ครอบครัวที่ใกล้ชิดกับวัด

ในบรรดาเครือญาติของหลวงปู่ตื้อ นับเป็นครอบครัวที่ใกล้ชิดกับวัด ใฝ่ใจต่อการศึกษาในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า บรรดาผู้ชายล้วนแต่ได้บวชเป็นพระภิกษุ และถ้าเป็นหญิงก็สละบ้านเรือน มาบวชชีจนตลอดชีวิตก็มีหลายคน

หลวงปู่ จึงได้รับการปลูกฝังให้สนใจการบวชเรียน สนใจศาสนาโดยสายเลือดก็ว่าได้

ท่านเป็นศิษย์วัด รับใช้พระเณรตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และเคยบวชเณรมาครั้งหนึ่ง ท่านจึงมีความคุ้นเคยกับวัด คุ้นเคยกับพระกับเจ้าเป็นอย่างดี และปรารถนาที่จะได้บวชเป็นพระภิกษุเมื่อถึงเวลาอันควร ท่านคิดเรื่องการบวชอยู่ตลอดเวลา

e ๔ f
ศุภนิมิตก่อนบวช

ก่อนที่หลวงปู่จะได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุนั้น ในคืนหนึ่ง ท่านฝันว่าได้มีชีปะขาว (ตาผ้าขาว) ๒ คนเข้ามาหาท่าน คนหนึ่งแบกครกหิน อีกคนถือสากหิน เอามาวางไว้ตรงหน้าท่าน

ตาผ้าขาวคนแรกพูดว่า “ไอ้หนู แกยกสากนี่ออกจากครกได้ไหม”

หลวงปู่ ตอบโดยไม่ต้องคิด ว่า “ขนาดเสาเรือนผมยังแบกคนเดียวได้ ประสาอะไรกับสากเพียงแค่นี้”

แล้วหลวงปู่ก็ลงมือยกทันที ยกสองครั้งสากก็ไม่เขยื้อน เมื่อพยายามครั้งที่สาม จึงยกสากหินนั้นขึ้นได้
หลวงปู่ มองเห็นมีข้าวเปลือกอยู่เต็มครก ท่านจึงลงมือตำจนข้าวเปลือกนั้นกลายเป็นข้าวสารไปหมด แล้วตาผ้าขาวทั้งสองก็หายไป
ทันใดนั้น ปรากฏว่าท่านเห็นภิกษุ ๒ รูป มีผิวพรรณผ่องใส กิริยาอาการน่าเคารพเลื่อมใส หลวงปู่มั่นใจว่าจะต้องเป็นพระผู้วิเศษจึงตรงเข้าไปกราบ

พระภิกษุองค์หนึ่งพูดกับหลวงปู่ว่า “หนูน้อย เจ้ามีกำลังแข็งแรงมาก ”

พูดเพียงแค่นั้น พระท่านก็หายไป แล้วหลวงปู่ก็ตื่น ท่านมั่นใจว่าเป็นฝันดี จะต้องมีเหตุการณ์ที่ดีเกิดขึ้นกับท่านอย่างแน่นอน หรือว่าท่านจะได้บวชตามที่ใจปรารถนา จะได้มีโอกาสประพฤติธรรมอย่างจริงจัง ต่อไป


e ๕ f
คุณปู่ขอร้องให้บวช

ในตอนเย็น เมื่อกลับจากท้องนา และต้อนวัวควายเข้าคอกเรียบร้อยแล้ว คุณพ่อของท่านก็บอกว่า

“ไอ้หนู เมื่อตอนกลางวัน ปู่จารย์สิม ท่านมาที่บ้าน ถามหาเจ้า เห็นว่ามีธุระสำคัญจะพูดด้วย กินข้าวอิ่มแล้วให้ไปบ้านปู่ ดูซิ ว่าท่านมีเรื่องอะไร ”

(คำว่า อาจารย์ พ่อจารย์ ปู่จารย์ ทางอีสาน หมายถึง ผู้ใหญ่ที่เคยบวชพระหลายพรรษา หรือเคยเป็นเจ้าอาวาสแล้วสึกออกมาครองเรือน ถือว่าเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม เป็นครู-อาจารย์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ)

เมื่อหลวงปู่ตื้อทานข้าวเสร็จแล้ว ก็รีบไปพบ ปู่จารย์สิม ทันที ปู่จารย์สิมเรียกให้หลานชายเข้าไปข้างในเรือน เมื่อเปิดประตูเข้าไปเห็นมีผ้าไตรจีวร บาตร และบริขารสำหรับบวชพระ เตรียมไว้อย่างเรียบร้อย

ปู่จารย์สิม ได้มอบขันดอกไม้ที่เตรียมไว้ให้หลานชายแล้วพูดว่า

“ปู่เห็นมีหลานคนเดียวเท่านั้นที่ควรจะบวชให้ปู่ ปู่ได้เตรียมเครื่องบวชไว้ให้เรียบร้อยแล้ว ปู่อยากให้หลานบวชให้ปู่สัก ๑ พรรษา หรือ บวชได้สัก ๗ วันก็ยังดี ก็ให้บวชให้ปู่ก็เป็นพอ จะนานเท่าไรก็ได้ ไม่เป็นไร

หลวงปู่ตื้อท่านปลื้มใจมาก ตอบรับปากปู่ของท่านในทันที แต่ต้องไปขออนุญาตและบอกลาพ่อแม่ก่อน
เมื่อคุณพ่อคุณแม่ของท่านทราบเรื่อง ก็รู้สึกดีใจกับลูกชาย ทั้งสองท่านอนุญาต และกล่าวคำอนุโมทนาสาธุการกับลูกชายของตน

e ๖ f
อุปสมบทเป็นพระภิกษุ

ต่อจากนั้น หลวงปู่ตื้อ ก็ได้เข้าไปอยู่เป็นศิษย์วัด ไปเรียนรู้ธรรมเนียมพระ และฝึกขานนาคเตรียมตัวที่จะบวช
ในบันทึกไม่ได้บอกถึงวันเวลาและสถานที่บวช ทราบแต่ว่า ท่านบวชในฝ่ายมหานิกาย บวชกับพระอุปัชฌาย์คาน ที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ตามประวัติ บอกไว้ว่า หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เมื่ออายุ ๒๑ ปี บวชครั้งแรกในฝ่ายมหานิกาย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๒ บวชอยู่นานถึง ๑๙ พรรษา จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๑ จึงได้ญัตติเป็นฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิศาลสารคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูนพีสีพิศาลคุณ (ทอง โฆสิโต) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลวงปู่ตื้อ อยู่ในฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ๔๖ พรรษาจวบจนท่านละสังขารเมื่ออายุ ๘๖ ปี รวมอายุพรรษาทั้งสองนิกาย ๖๕ พรรษา
หลังจากที่หลวงปู่ เข้าพิธีอุปสมบทที่อำเภอท่าอุเทนแล้ว ท่านก็กลับไปจำพรรษาที่วัดบ้านเกิด เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยขั้นต้น และท่องบ่นบทสวดมนต์ต่างๆ ตามที่พระเณรใช้สวดกันเป็นประจำ

เมื่อหลวงปู่ตื้อ บวชครบ ๗ วัน ปู่จารย์สิมของท่านได้มาที่วัด ถามพระหลานชายว่าต้องการจะสึกหรือยังไม่สึก ถ้าสึกจะได้กลับไปจัดเสื้อผ้ามาให้
หลวงปู่ตื้อ ท่านรู้สึกลังเลในตอนนั้น ใจหนึ่งก็อยากจะสึก ใจหนึ่งก็ไม่อยากสึก แต่มาคิดได้ว่า ถ้าสึกในขณะนั้น ชาวบ้านจะพากันเรียกว่า “ไอ้ทิด ๗ วัน” ทำให้อับอาย จึงบอกปู่จารย์สิมว่า

“อาตมายังไม่อยากสึก ขออยู่ไปก่อน รอให้ออกพรรษาก่อนเถิด”

หลวงปู่ตื้อ ท่านก็บวชอยู่ได้จนครบพรรษาแรก ได้หัดท่องหัดสวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน จนจำได้ขึ้นใจ ออกไปสวดงานต่างๆ ในหมู่บ้านรวมกับพระอื่นๆ ได้ พอออกพรรษาแรกได้เดือนเศษ ปู่จารย์สิมก็มาถามอีกว่าอยากจะสึกแล้วยัง พระหลานชายก็ทำเฉยเสีย เพราะรู้สึกว่าใจคอรู้สึกสงบสบายดีอยู่ ท่านคิดในใจว่า ท่านบวชเรียนแค่พรรษาเดียว การเล่าเรียนพระธรรมยังไม่ได้อะไรเลย การอาราธนาศีล ๕ ศีล ๘ อาราธนาเทศน์ ก็ยังทำได้ไม่คล่อง จำได้ผิดๆ ถูกๆ เมื่อสึกออกไป ถ้าถูกไหว้วานให้นำอาราธนาต่างๆ ถ้าว่าไม่ได้คงจะอายเขาแน่

หลวงปู่ตื้อ ท่านบอกปู่จารย์สิม ว่าตอนนี้ท่านยังรู้สึกสบายดีอยู่จะขอบวชไปเรื่อยๆ ก่อน

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tue/lp-tue-hist-01.htm

747
หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ในยุคปัจจุปัน


โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๒
รศ.ดร.ปฐม - ภัทรา นิคมานนท์ เรียบเรียง

e ๑ f

บรรดาศิษย์สายกรรมฐานส่วนใหญ่มักจะคุ้นชื่อและได้ยินกิตติศัพท์ของ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นอย่างดี ท่านมีปฏิปทาที่แปลก น้ำใจเด็ดเดี่ยว โผงผาง ตรงไปตรงมา มีแง่มุมต่างๆ ที่ครูบาอาจารย์มักจะกล่าวถึงเสมอๆ และเล่าถ่ายทอดต่อกันมา ครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นที่น่าสนใจทั้งผู้เล่าและผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง

จัดได้ว่า หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม  เป็นพระป่าที่ดังมากองค์หนึ่ง ในบรรดาศิษย์รุ่นแรกๆ ของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
หลวงปู่ตื้อ เป็นศิษย์องค์หนึ่งที่ออกธุดงค์ติดตามหลวงปู่มั่น ไปหลายปี ในแถบป่าเข้าทั้งทางภาคอีสานและภาคเหนือ

ท่านเป็นศิษย์องค์หนึ่งที่หลวงปู่มั่นไว้วางใจ และมักพูดกับสานุศิษย์ทั้งหลายว่า “ใครอย่าไปดูถูกท่านตื้อนะ ท่านตื้อเป็นพระเถระ”

บรรดาศิษย์รุ่นหลังจะรู้จักหลวงปู่ตื้อดี เพราะท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

หลวงปู่ตื้อ กับ หลวงปู่แหวน มักจะเดินธุดงค์ไปด้วยกันเป็นส่วนใหญ่ ทั้งๆ ที่อุปนิสัยของหลวงปู่ทั้งสององค์นี้ผิดกันไกล แต่ท่านก็ไปด้วยกันได้เป็นอย่างดี

หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่แหวน และหลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านสนิทสนมกันมากที่สุด นี่ว่าตามคำบอกเล่าของครูบาอาจารย์ ท่านว่าไว้อย่างนั้น

จุดเด่นที่ทำให้หลวงปู่ตื้อ เป็นที่กล่าวขวัญกันมากคืออุปนิสัยขวานผ่าซากในวาจา ท่านมีนิสัยโผงผางไม่กลัวใคร มีเทศนาโวหารที่ไม่เคยไว้หน้าใครไม่ว่าคนมั่งมีหรือยาจกท่านใช้คำพูดเหมือนกันหมด พูดตรงๆ ไม่ต้องเสกสรรปั้นแต่ง

ท่านบอกว่า ท่านเทศน์ตามความจริง ไม่ได้เทศน์เพื่อเอาสตางค์หรือเทศน์เพื่อเอาใจใคร ญาติโยมบางคนบอกว่า หลวงปู่ตื้อ เทศน์หยาบคาย รับไม่ได้ก็มี

มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ กำลังแสดงธรรมเทศนาอยู่ ท่านเทศน์ผ่านเครื่องขยายเสียง มีญาติโยมบางกลุ่มคุยกันจ๊อกแจ๊ก แข่งกับการเทศน์ของท่าน ในขณะที่ท่านหลับตาเทศนาอยู่ ท่านได้หยุดเทศน์ฉับพลัน แล้วพูดผ่านไมโครโฟนเสียงดังว่า

“เอ้า ! หลวงตาตื้อเทศน์ให้ฟัง พวกสูบ่ฟัง เอ้า ! ฟังตดซะ”

แล้วก็มีเสียงประหลาดดังผ่านลำโพงออกมาสองสามชุด ทุกคนเงียบกริบ โยมคนหนึ่งตั้งสติได้ก่อนเพื่อน จึงพูดเสียงดังว่า “ขอให้หลวงตามีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์”
แล้วโยมคนอื่นๆ ก็ยกมือ และกล่าวพร้อมกับว่า “สาธุ !”

ในการเทศน์อีกครั้งหนึ่ง ได้มีกลุ่มพระภิกษุหนุ่ม เป็นมหาเปรียญและได้รับการศึกษาที่ทันสมัย ตามมาฟังเทศน์ด้วยในระหว่างที่หลวงปู่ตื้อขึ้นเทศน์ พระภิกษุหนุ่มเหล่านั้นซุบซิบกันพอได้ยินในกลุ่ม ไม่สามารถได้ยินไปถึงหลวงปู่ได้อย่างแน่นอน

บรรดาพระหนุ่มซุบซิบกันว่า หลวงปู่ตื้อไม่พัฒนา เทศน์โบราณ มีแต่ของเก่าๆ ไม่ทันยุคทันสมัยเลย

หลวงปู่ ท่านหยุดเทศน์ เดินตรงไปยังพระรูปนั้น ท่ามกลางความงุนงงของบรรดาญาติโยม ท่านนิมนต์พระภิกษุหนุ่มรูปนั้นขึ้นเทศน์ แล้วท่านก็พูดเสียงดังชัดเจนว่า “เอ้า ! หลวงตาจะคอยฟังคุณเหลน คุณมหา ขอให้เทศน์เอาแต่ของใหม่ๆ นะ...”

พระมหาหนุ่มรูปนั้นก็เดินขึ้นธรรมาสน์ด้วยความมั่นใจ คงคิดที่จะเทศนาธรรมแบบใหม่ตามยุคสมัย ตามแบบพระผู้มีปริญญามหาเปรียญ
เมื่อพระมหาหนุ่มขึ้นต้นว่า “นะโม...” เท่านั้น หลวงปู่ตื้อ ท่านก็บอกให้หยุดเทศน์

“หยุด หยุด คุณเหลน หยุด ไม่เอา - ไม่เอา นะโม มันของเก่า มีมากว่าสองพันปีแล้วคุณเหลน...”
ญาติโยมทั้งศาลาหัวเราะกันฮาครืน ! :004:

หลวงปู่ตื้อ ท่านคุ้นเคยกับ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺธโร) แห่งวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน เวลาเข้ากรุงเทพฯ หลวงปู่จึงมาพักที่วัดแห่งนี้เสมอ

ท่านสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กล่าวถึงหลวงปู่ตื้อ ว่า “หลวงปู่ตื้อนี้ ท่านไม่กลัวใคร ไม่ว่าสมเด็จฯ หรือแม้แต่ท่านอาจารย์มั่น ท่านก็ไม่กลัว ท่านเป็นพระที่จัดว่าดื้อทีเดียว...”

เรื่องที่หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม  ชอบทำอะไรแปลกๆ ผิดไปจากสมณะรูปอื่นนี้ หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ได้เล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า

หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร

“พระอรหันต์นั้น เปลี่ยนวาสนาเดิมไม่ได้ นอกจากพระพุทธเจ้าเท่านั้น จึงจะเปลี่ยนวาสนาเดิมได้ แม้แต่พระสารีบุตร ท่านก็ยังเดินเหินไม่เรียบร้อย กระโดกกระเดก” (เพราะในอดีตชาติพระสารีบุตรเคยเป็นลิงป่ามาก่อน บุคลิกลักษณะเดิม หรือที่พระท่านเรียกว่า วาสนาเดิมจึงยังติดตัวอยู่ ละได้ไม่หมด__ผู้เขียน)

หลวงปู่หลุย ได้เล่าต่อไปว่า : -

“เมื่อครั้งพุทธกาล มีพระอรหันต์รูปหนึ่งไปเรียกผู้อื่นว่า บุรุษถ่อย ผู้ถูกเรียกก็พากันกราบทูลพระพุทธองค์ พระองค์ตรัสว่า มันเป็นนิสัยเดิม เปลี่ยนไม่ได้ แต่จิตของพระรูปนั้นท่านไม่มีเจตนาที่จะดูถูกใครว่าเป็นคนเลว ทว่ามันติดปาก เลิกไม่ได้”

ผู้เขียนเคยกราบเรียนถาม หลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโม ในปัญหาเดียวกันนี้ คำตอบโดยสรุปท่านว่า “พระอรหันต์ท่านไม่มีมายา ยังมีเหลือแต่กริยา ซึ่งไม่ต้องปรุงแต่ง แสดงออกไปตรงๆ ตามวาสนาเดิมของท่าน ไม่สามารถแก้ให้หายได้ นอกจากพระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้น...”

หลวงปู่เพ็งท่านยังยกตัวอย่างหลวงปู่บุดดา ถาวโรแห่งวัดกลางชูศรีเจริญสุข จังหวัดสิงห์บุรีว่า “...มีอีหนูพยาบาลคอยเช็ดเนื้อเช็ดตัว เช็ดขี้ เช็ดเยี่ยวให้ท่าน จะหาว่าท่านอาบัติไม่ได้หรอก เพราะจิตของท่านพ้นสมมุติไปแล้ว เรื่องเพศชาย-หญิงไม่สามารถทำให้ท่านเกิดกามกิเลสได้ ไม่เหมือนกับจิตปุถุชนทั่วไป...”

เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องน่าคิดสำหรับผู้สนใจใฝ่ธรรม เรื่องศีล เรื่องวินัย เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวดก็จริง แต่เมื่อดวงจิตหลุดพ้นจากสมมุติแล้ว เรื่องกรอบของศีลของวินัยก็มิใช่เรื่องจำเป็นสำหรับท่านแล้ว

แต่...ถ้าอยู่ในสังคมก็เป็นจุดที่ทำให้ผู้ที่ไม่รู้ยกขึ้นมาเป็นประเด็นตำหนิเพ่งโทษได้ ทำให้ผู้ไม่รู้บาปได้เหมือนกัน
จึงต้องระวัง ! :069:

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tue/lp-tue-hist-01.htm

748
ท่านไปสอนปริวาสกรรม ที่ อ.ลานสัก ตั้งแต่วันศุกร์ที่แล้วครับ :001:

749
คำวัด - อรหัง-อรหัต-อรหันต์


พระอรหันต์ทรงอภิญญา ๖ในสมัยพุทธกลา ที่มาประชุมพร้อมกันทั้ง ๑,๒๕๐ รูป นั้นได้มาประชุมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือ วันม

คมชัดลึก : พุทธศาสนิกชนมีคติความเชื่อมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลว่า เมื่อสรีระ หรือสังขราของพระสงฆ์ที่บรรลุมรรคผล นิพพาน สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว อัฐิเถ้าถ่านของท่านกลับกลายเป็น "พระธาตุ" ให้ได้เห็นอยู่หลายๆ พระอาจารย์ ซึ่งแตกต่างกันไปตามภูมิธรรมของแต่ละท่านที่ได้สั่งสมปฏิบัติมา

  หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอรัญวิเวก ต.บ้านป่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม พระอริยะสำคัญสายพระอาจารย์มั่น และเป็นสหายร่วมธุดงค์ของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ได้เคยกล่าวไว้ว่า "อำนาจตบะที่อริยบุคคลได้ตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรเพื่อขัดเกลากิเลสนั้น มิได้แผดเผาชำระล้างเฉพาะกิเลสเท่านั้น หากแต่ได้แผดเผา ชำระล้าง ซักฟอกกระดูกในร่างกายให้กลายเป็นพระธาตุไปด้วยในขณะเดียวกัน"

ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "อรหัง" อ่านว่า “อะ-ระ-หัง” หรือจะอ่านว่า “ออ-ระ-หัง” ก็ได้เช่นกัน แปลโดยทั่วไปว่า พระอรหันต์ เป็นพระเนมิตกนามของพระพรุทธเจ้า และเป็นบทพุทธคุณบทหนึ่งในจำนวน ๙ บท

 อรหัง มีความหมาย ๕ นัย คือ

 นัยที่ ๑ หมายความว่า ผู้ไกลจากกิเลส คือ ทรงละกิเลสได้แล้ว
 นัยที่ ๒ หมายความว่า ผู้กำจัดอริได้แล้ว คือ ทรงกำจัดข้าศึก คือ กิเลสได้แล้ว
 นัยที่ ๓ หมายความว่า ผู้หักซี่กำของวงล้อสังสารวัฏได้แล้ว ด้วยขวาน คือ พระญาณ
 นัยที่ ๔ หมายความว่า ผู้ควรแก่ปัจจัย ๔ แล ะการบูชาอันวิเศษทั้งหลาย
 นัยที่ ๕ หมายความว่า ผู้ไม่มีที่ลับ คือ ไม่มีที่ลับในการทำบาป

ส่วนคำว่า "อรหัต" อ่านว่า “อะ-ระ-หัด” หรือ “ออ-ระ-หัด” เจ้าคุณทองดี ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความเป็นพระอรหันต์ ความสำเร็จเป็นพระอรหันต์

 อรหัต หมายถึง ธรรมที่พระอรหันต์ได้บรรลุ คือ พระนิพพาน เรียกเต็มว่า พระอรหัต หรือ พระอรหัตผล


คำว่า อรหัต กับคำว่า พระอรหันต์ มีความหมายต่างกัน คือ อรหัต เป็นชื่อของคุณธรรม ส่วน อรหันต์ เป็นชื่อของบุคคลผู้บรรลุอรหัต

 ในขณะที่คำว่า "อรหันต์" อ่านว่า “อะ-ระ-หัน” หรือ “ออ-ระ-หัน” เจ้าคุณทองดี ได้ให้ความหมายไว้ว่า ผู้ห่างไกลจากกิเลสแล้ว ผู้หักกำของวงล้อสังสารวัฏได้แล้ว ผู้ควรแก่ปัจจัย ผู้ไม่มีความลับในเรื่องการทำบาป

 อรหันต์ หมายถึง ผู้บรรลุอรหัตผลแล้ว ผู้สิ้นกิเลสแล้ว เรียกเต็มว่า พระอรหันต์ ในคำไทยเรียกตามเสียงบาลีว่า พระอรหัง ก็มี

 คำว่า อรหัต กับ อรหันต์ มักใช้สับกัน เช่น ใช้ว่า
 “เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า พระเถระก็ได้บรรลุพระอรหันต์”
 ข้อความข้างต้นใช้ไม่ถูก ที่ถูกต้องใช้ว่า
 “เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า พระเถระก็ได้บรรลุพระอรหัต” หรือ
 “เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า พระเถระก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์”

"พระธรรมกิตติวงศ์"

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110311/91161/คำวัดอรหังอรหัตอรหันต์.html

750
ยินดีครับ :001:

ในเวปมีกระทู้แนะนำตัวอยู่ครับ ลองโพสต์ในนั้นด้วยครับ

751
เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมาผมก็เห็นพระ เช่นกันครับ

ลองอ่านทำนายฝันนี้ดูครับ

  ฝันว่าพระสงฆ์หรือพระพุทธรูป คิดทำสิ่งใดจะสำเร็จสมความปรารถนา ทำนายฝันว่าจะได้โชคลาภ มีความสจเกษม   
                         
       เลขฝัน เลขเด็ด ทำนายฝันชุดนี้ 89 19 18 889 ก่อนถูกหวย สลากกินแบ่งรัฐบาล ได้เลขเด็ด อย่าลื มไปทำบุญด้วยการให้ทานอะไรก็ได้ เช่นซื้อสัตว์ที่ตลาดไปปล่อย ถ วายสังฆทานอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร ฝู้ล่วงลับไปแล้ว ให ้เงินแก่คนยากไร้ ตามกำลังทรัพย์ที่พอดี   

http://www.goosiam.com/ทำนายฝัน/question.asp?gid=294

ปล.ที่ทายไม่ดีก็มี แต่เราควรยึดสิ่งดีๆไว้ดีกว่าครับ :027:

752
ธรรมะ / ตอบ: มิลินทปัญหา 1
« เมื่อ: 28 มิ.ย. 2554, 12:42:21 »
สำหรับผู้ที่ต้องการฟังแทนการอ่านเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนตาบอด สามารถฟังได้ที่นี้

วรรณกรรม เรื่อง มิลินทปัญหา โดย กรมศิลปากร

http://www.braille-cet.in.th/Braille-CET/index.php?option=com_content&view=article&id=1812%3A2011-06-20-16-28-56&catid=83&Itemid=69

753
สื่อที่เป็นเสียงอ่านสำหรับคนตาบอด แต่คนตาดีก็ฟังได้ ลองเปิดเข้าไปสิครับ มีสาระประโยชน์มากมาย

http://www.braille-cet.in.th/Braille-CET/index.php?option=com_content&view=article&id=171&Itemid=69

- วรรณกรรม เรื่อง กำลังความคิด โดย พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ

- วรรณกรรม เรื่อง มันสมอง โดย พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ

- เรื่อง ของดีในอินเดีย โดย พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ

- เรื่อง วิธีทำงานและสร้างอนาคต โดย พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ

- เรื่อง วิชชาแปดประการ โดย พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ
http://www.braille-cet.in.th/Braille-CET/index.php?option=com_content&view=article&id=505%3A2010-05-03-10-40-26&catid=83&Itemid=69
- เรื่อง พุทธานุภาพกับจิตตานุภาพ โดย พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ
http://www.braille-cet.in.th/Braille-CET/index.php?option=com_content&view=article&id=506%3A2010-05-03-11-00-32&catid=83&Itemid=69
- เรื่อง กุศโลบายสร้างความยิ่งใหญ่ โดย พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ

- เรื่อง มหาบรุษ โดย พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ

- เรื่อง ดวงหน้าในอดีต โดย พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ

- เรื่อง กำลังใจ โดย พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ
http://www.braille-cet.in.th/Braille-CET/index.php?option=com_content&view=article&id=633%3A2010-06-16-11-38-09&catid=83&Itemid=69
- เรื่อง รวมนวนิยาย 5 เรื่อง โดย พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ

- เรื่อง สร้างชีวิต โดย พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ

- วรรณกรรม เรื่อง กรุงแตก โดย พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ

754
ไม่ได้ลบหลู่นะครับ ผมสงสัยว่าทำไมฉายาหลวงปู่ทวด ต้องเหยียบน้ำทะเลจืดอะครับ ขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้านะครับ
ไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ท่าน แค่สงสัยเฉยๆอะครับ
ลองค้นประวัติของท่าน อ่านในเวปนี้ก็มี

755
คำวัด - อภินิหาร ปาฏิหาริย์ พุทธคุณ


ทดสอบพุทธคุณ -พระครูปลัดปริยัติวัฒน์ หรือหลวงพ่อบุญเลิศ เจ้าอาวาสวัดปราโมทย์ จ.สมุทรสงคราม ได้อธิษฐานจิตปลุกเสกด้วยเคล็ดวิชาเหล็กไหลกายสิทธิ์โดยได้นำน

คมชัดลึก :ในการสะสมและพกพาพระเครื่องและวัตถุมงคลนั้น มีคำอยู่ ๓ คำที่เกี่ยวข้องที่ผู้พกพาอยากให้คำเหล่านี้เกิดขึ้นกับตัวเองเสมอ คือ อภินิหาร ปาฏิหาริย์ และพุทธคุณ ขณะเดียวกันเรื่องเล่าเกี่ยวกับ อภินิหาร ปาฏิหาริย์ และพุทธคุณ ของพระเครื่องและวัตถุมงคลมีมาอย่างต่อเนื่อง

  ทั้งนี้พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า อภินิหาร หมายถึง อำนาจแห่งความดี อำนาจบารมี บุญอันยิ่งใหญ่ คือ พลังเหนือปกติธรรมชาติ ที่เกิดจากบุญกุศล ความดี หรือ บารมีที่ได้สั่งสมไว้ เช่นใช้ว่า

 บุญญาอภินิหาร หมายถึง บุญอันยิ่งใหญ่ที่ได้ทำไว้
 อภินิหาร ตรงกับไทยอย่างที่พูดกันว่า บุญบันดาล
 อภินิหาร เป็นความอัศจรรย์ที่บุญบารมีนำให้เกิด แต่ถ้าเป็นคนนำให้เกิด จัดเป็น ปาฏิหาริย์

ส่วนคำว่า “ปาฏิหาริย์” พระธรรมกิตติวงศ์ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความอัศจรรย์ สิ่งที่น่าอัศจรรย์ สิ่งประหลาดเหลือเชื่อ คือ สิ่งที่มีความพิเศษเหนือสิ่งอื่นๆ หรือ ปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมี ไม่เคยปรากฏมาก่อน เช่น ตกเครื่องบินแต่รอดตาย แสดงฤทธิ์ซึ่งคนทั่วไปทำไม่ได้ เป็นต้น

 ปาฏิหาริย์ ในคำวัดหมายถึง ความอัศจรรย์ หรือการกระทำซึ่งนำมาความอัศจรรย์ ปกติจะหมายถึง ความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า ซึ่งแบ่งได้ ๓ อย่าง คือ
 ๑.มีฤทธิ์เป็นอัศจรรย์
 ๒.ทายใจคนได้เป็นอัศจรรย์
 ๓.มีคำสอนเป็นอัศจรรย์

 ปาฏิหาริย์ เป็นความความอัศจรรย์ที่คนนำให้เกิด  แต่บุญบารมีนำให้เกิดเรียก อภินิหาร

 นอกจากนี้แล้วยังมีอีกคำหนึ่งที่เกี่ยวข้อง คือคำว่า “พุทธคุณ” นั้น คือ พระคุณของพระพุทธเจ้า โดยย่อมี ๓ ในบทสวดนมัสการที่ ว่า “นะโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ” นั้น เป็นการบ่งบอกถึง พระคุณทั้ง ๓ ประการนี้ คือ
 ภควโต  หมายถึง พระมหากรุณาธิคุณ
 อรหโต  หมายถึง พระบริสุทธิคุณ
 สัมมาสัมพุทธัสสะ หมายถึง  พระปัญญาคุณ


 ส่วนพุทธคุณโดยพิสดาร มี ๙ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นวหรคุณ อันแปลว่า พระคุณของพระอรหันต์ คือ คุณพระพุทธเจ้า ๙ ประการ ซึ่งมาจากบทสวด อิติปฺโสที่ว่า "อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ"
 ๑.อรหัง  เป็นพระอรหันต์   
 ๒.สัมมาสัมพุทโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ   
 ๓.วิชชาจรณสัมปันโน  ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ   
 ๔.สุคโต  เสด็จไปดีแล้ว   
 ๕.โลกวิทู  รู้แจ้งโลก   
 ๖.อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ  ฝึกคนผู้ควรฝึกได้เป็นเยี่ยม     
 ๗.สัตถา เทวมนุสสานัง  เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย   
 ๘.พุทโธ  เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน   
 ๙.ภควา  เป็นผู้มีโชค  เป็นผู้แจกธรรม

"พระธรรมกิตติวงศ์ "

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20101210/82240/คำวัดอภินิหารปาฏิหาริย์พุทธคุณ.html

756


นามปากกา
องคต เวทิก แสงธรรม

สรุปผลงาน
นวนิยาย : ห้วงรักเหวลึก พานทองรองเลือด ดอกฟ้าจำปาศักดิ์ ฟากฟ้าสาละวิน
สวรรค์ยังไม่ทอดทิ้งข้าพเจ้า ยอดเศวตฉัตร ผจญชีวิต ครุฑดำ เสน่ห์นาง กรุงแตก ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน เจ้าแม่จามรี เจ้าแม่สาริกา บ่มรัก ฯลฯ
บทละคร : เลือดสุพรรณ ราชมนู ศึกถลาง พระเจ้ากรุงธนบุรี มหาเทวี น่านเจ้า
พ่อขุนผาเมือง ดาบแสนเมือง เจ้าหญิงกรรณิการ์ ลานเลือด-ลานรัก ฯลฯ
บทเพลง : เพลงผู้แทน เลือดสุพรรณ รักเมืองไทย รักชาติ แหลมทอง ศึกถลาง
เดิน ต้นตระกูลไทย ตำรวจไทย กองทัพบกไทย นาวีไทย ฯลฯ
บทความและสารคดี : ความขบขัน ความหมายการศึกษา วิถีนักเขียน กำเนิดธนบัตร ฯลฯ

วิชาการ : ประวัติศาสตร์สากล (12 เล่ม) ประชุมพงศาวดารฉบับความสำคัญ
(8 เล่ม) ศาสนาสากล (5 เล่ม) วิชชาแปดประการ มหาบุรุษ มันสมอง ความฝัน พุทธานุภาพ กุศลโลบาย กำลังใจ กำลังความคิด ฯลฯ


ที่มา
http://www.thaiwriter.org/writers/wijit_watakarn/wijit.htm

ที่มา
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=175708

ท่านที่สนใจลองหามาอ่านกันดูนะครับ

758
สำหรับท่านที่สนใจ อ่านประวัติปฏิปทา ของท่านพระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
สามารถอ่านต่อได้จากลิ้งข้างล่างนี้ ยังมีอีกยาวและอ่านสนุกด้วยครับ

http://www.kanlayanatam.com/special/bio_praPlien.htm




759
แต่งงาน – ชีวิตครอบครัว

          ระหว่างดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร และเป็นรัฐมนตรีอยู่นั้น หลวงวิจิตรวาทการ
ได้แต่งงานกับนางสาวประภา (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นประภาพรรณ) รพิพันธุ์
อาจารย์โรงเรียนเบญจมราชาลัย บุตรีของขุนวรสาส์นดรุณกิจ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
เป็นการเริ่มชีวิตใหม่ที่เนื่องด้วยครอบครัว และความรัก หลวงวิจิตรวาทการเห็นจะได้ชื่อว่า
เป็นคนหวานต่อความรัก เป็นสามีที่ดีที่สุด และเมื่อมีลูกก็เป็นพ่อที่ดีที่สุดของลูก
ดังบทเสภาตอนหนึ่งที่หลวงวิจิตรวาทการแต่งขึ้น เพื่อขับร้องในวันเกิดของคุณหญิง
เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๒

"ขออุทิศเส้นประสาทพี่ทั้งสิ้น

เป็นสายพิณดีดโปรยให้โหยหวล

ขออุทิศใจพี่ที่รัญจวน

เป็นบายศรีชี้ชวนเชิญขวัญตา

ขออุทิศมือทั้งสองเป็นแว่นเทียน

โบกเวียนจากซ้ายแล้วไปขวา

ทำขวัญมิ่งมิตรวนิดา

ในสี่รอบชันษาของนวลน้อง"

เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโตเกียว – อาชญากรสงคราม
ชีวิตตอนสงคราม

ประเทศไทยต้องเข้าสงครามมหาเอเชียบูรพา หลวงวิจิตรวาทการ
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีส่วนรับผิดชอบในงาน "ประกาศสงคราม"
ร่วมกับคณะรัฐบาลชุดนั้น พอเสร็จสงครามก็ต้องหาเป็นอาชญากรสงคราม
          เจ้าของประวัติเคยบอกว่า การประกาศสงครามที่ตนต้องรับผิดชอบอยู่ด้วยนั้น ช่วยให้สมบัติ
และชีวิตของสัมพันธมิตร พ้นจากการถูกญี่ปุ่นยึดเอาไปเป็นทรัพย์เชลยได้เกือบหมด

     ตลอดการสงคราม ไทยก็ได้ใช้ประโยชน์เหล่านี้ให้เกิดแก่สัมพันธมิตรตลอดมา
และที่สำคัญที่สุดประเทศไทยรอดตัวมาได้จากการถูกยึดเป็นเมืองขึ้นของทั้งสองฝ่าย

          "หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าต้องหาฐานอาชญากรสงคราม และถูกเจ้าหน้าที่
ในกองทัพบกอเมริกัน ที่กรุงโตเกียวจับตัวไปคุมขัง ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๘

     ภายหลังได้ถูกส่งตัวเข้ากรุงเทพฯ ถูกขังอยู่ที่สันติบาล และที่เรือนลหุโทษ
จนถึงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๔๘๙ ศาลฎีกาจึงได้พิพากษาว่าพระราชบัญญัติอาชญากรโมฆะ
และได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้งหมด"

          ออกจากที่คุมขัง หลวงวิจิตรวาทการไม่มีงานทำ จึงจับงานละครใหม่
ตั้งคณะละครชื่อ "วิจิตรศิลป์" แต่คราวนี้ไม่ได้ผล คนไม่ต้องการ "ปลูกต้นรักชาติ" กันแล้ว
การละครขาดทุน จึงหันมาเขียนนวนิยายหลายสิบเรื่อง เช่น ห้วงรัก-เหวลึก พานทองรองเลือด
มรสุมแห่งชีวิต ดอกฟ้าจำปาศักดิ์ นวนิยายขนาดยาวก็เขียนขึ้นในยามนี้
และท่านยังให้มีการพิมพ์เผยแพร่ผลงานด้านวิชาการ ที่ท่านได้เขียนไว้แล้ว และเขียนขึ้นใหม่ เช่น
มันสมอง กำลังใจ กำลังความคิด มหาบุรุษ และอื่นๆ อีกมาก พ.ศ. ๒๔๙๑ รัฐบาลเก่าเปลี่ยนไป
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นมาตั้งรัฐบาลใหม่ หลวงวิจิตรวาทการกลับไปเป็นกำลังใหม่
ของรัฐบาลนี้อีกครั้งหนึ่ง

          รัฐบาลไทยสมัยนั้น เปิดการสัมพันธ์ทางการทูตใหม่กับนานาประเทศ
หลวงวิจิตรวาทการไปเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศอินเดีย (พ.ศ. ๒๔๙๕)
แล้วย้ายไปประจำที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และยูโกสลาเวีย (พ.ศ. ๒๔๙๖)
เป็นเวลานานถึง ๗ ปี

อวสานแห่งชีวิต
          จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งคณะรัฐบาลปฏิวัติขึ้นใหม่ในปลาย พ.ศ. ๒๕๐๐
หลวงวิจิตรวาทการได้เป็นกำลังของคณะปฏิวัติ เดินทางกลับจากยุโรปเข้ามาช่วยจัดการบริหารประเทศ
ในฐานะปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี
          ในช่วงนี้ ท่านก็ได้ทำสิ่งที่ท่านปรารถนาไว้นานแล้วสำเร็จ คือได้รับงบประมาณก่อสร้าง
โรงละครแห่งชาติปัจจุบัน โดยท่านเป็นประธานกรรมการก่อสร้าง และเป็นผู้วางศิลาฤกษ์
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๔
          ด้วยเหตุที่ต้องทำงานหนักมาก ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นต้นมา
ร่างกายที่ต้องทนงานตรากตรำอย่างหนัก ไม่มีเวลาพักผ่อน ก็เริ่มเสื่อมโทรมลง

          ปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรีล้มป่วยด้วยโรคหัวใจ เมื่อราวปลาย พ.ศ. ๒๕๐๔
และได้ถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ รวมอายุได้ ๖๔ ปี

          ชีวิตของหลวงวิจิตรวาทการ เป็นชีวิตของผู้มีวิริยะมานะกล้าในการทำความดี
ได้ต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต เพื่อให้ได้มาซึ่งความเจริญ ชีวิตของท่านได้ดำเนินมาหลายบทบาท
เริ่มจากการเป็นนักธรรม เป็นข้าราชการ นักการเมือง นักการทูต เป็นครู - อาจารย์
สอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็ยนักประพันธ์ เป็นนักปราชญ์ จากสามเณรเปรียญ ๕ ประโยค
ท่านได้รับพระราชทานปริญญาบัตรเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๔

ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางการทูต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปีเดียวกัน
และปริญญาบัตรอักษรศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕

          ชีวิตของผู้มีวิริยะมานะกล้าในการทำความดีได้ดับไปแล้ว แต่ชีวิตที่ประกอบความดีมานั้น
ย่อมมีธรรมคุ้มครอง ตราประจำตระกูลคือ "ดวงประทีปในเรือนแก้ว" จึงมิได้ดับไปตามชีวิตนั้น
แต่ยังคงส่งประกายสว่างไสวต่อไปชั่วกาลนาน

ที่มา
http://www.kingramamusic.org/history/p6.htm

760


ชาตินิยม
          ในระหว่างดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม
เริ่มปลูกฝังลัทธิชาตินิยมให้ฟุ้งเฟื่องอยู่ในหมู่ประชาชน ด้วยการคิดคำนึงกันขึ้น
ในบรรดาผู้เป็นคนชั้นหัวหน้าปกครองว่า ลัทธิชาตินิยมหรือลัทธิรักชาติลัทธิเดียว
จะเป็นเครื่องป้องกันภัยอันตรายที่จะบังเกิดแก่ชาติได้ทุกทาง
และพร้อมกันก็จะเป็นเครื่องมือสร้างชาติได้ดีกว่าเครื่องมืออย่างอื่น

      การจะปลูกฝังลัทธิชาตินิยมได้โดยสะดวก และมีทางเข้าถึงประชาชนได้ง่ายมีอยู่ทางหนึ่ง
ดีกว่าทางอื่นๆ คือปลูกทางดนตรี และละคร อันเป็นงานที่กรมศิลปากรจะต้องทำอยู่ตามหน้าที่
 
          หลวงวิจิตรวาทการได้รับมอบหมายให้มาทำงาน "ปลูกต้นรักชาติ" ขึ้นในหัวใจประชาชน
โดยการแต่งละครประวัติศาสตร์ และเพลงที่เป็นบทปลุกใจให้รักชาติขึ้นในระยะเวลาติดต่อกัน
อาทิ เช่น ละครอิงประวัติศาสตร์เรื่อง น่านเจ้า เลือดสุพรรณ ราชมนู พระเจ้ากรุงธน
อานุภาพแห่งความรัก ศึกถลาง เจ้าหญิงแสนหวี และอื่นๆ อีกมาก เรื่องปลูกต้นรักชาตินี้
หลวงวิจิตรวาทการทำมาไม่ลดละ ตั้งแต่ก่อนสงครามมหาเอเชียบูรพา จนกระทั่งเสร็จสงคราม
และทำมาจนใกล้สิ้นชีวิต แปลว่าตลอดชีวิตของเจ้าของประวัติ ทำงานเรื่องชาตินิยมมาตลอด
เมื่อใกล้จะเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา (พ.ศ. ๒๔๘๔) ในขณะที่เป็นอธิบดีกรมศิลปากร
และเป็นรัฐมนตรีลอยอยู่หลายปี ท่านก็ได้เลื่อนขั้นเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(พ.ศ. ๒๔๘๓) และเมื่อกิจการระหว่างประเทศพัวพันกันมากเข้า ก็ถูกย้ายไปเป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการต่างประเทศ (พ.ศ. ๒๔๘๔)
 
          โรงเรียนฟ้อนรำ และดนตรี ซึ่งเรียกว่า "โรงเรียนนาฏดุริยางค์" ได้ตั้งขึ้น
ท่ามกลางมรสุมแห่งการนินทาว่าร้าย การโจมตีทุกทิศทุกทางในหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับ
เพราะตั้งแต่เกิดมาเป็นประเทศไทย ก็ยังไม่เคยมีโรงเรียนชนิดนี้ งานเต้นกินรำกินถือว่าเป็นงานต่ำ
แม้จะรู้กันว่ามีอยู่ในนานาประเทศที่เจริญแล้ว ก็ยังเห็นกันว่าไม่เหมาะสมสำหรับประเทศเรา
 
          ความยากลำบากที่สุดนั้น ก็คือการที่ต้องทำอะไรโดยที่ไม่มีเงิน การของบประมาณ
กรมศิลปากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานละคร และดนตรีนั้น ร้ายยิ่งกว่าขอทาน
เพราะนอกจากจะไม่ได้แล้ว ยังถูกเย้ยหยันในการประชุมกรรมการพิจารณางบประมาณ
มีหลายครั้งที่ท่านเกิดความคิดจะขอกลับไปกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่เกิดของท่าน
และได้ทำงานมาโดยมิต้องถูกมรสุมความเย้ยหยันหรือความดูถูกดูหมิ่น แต่ท่านก็ต้องอยู่
อยู่สร้างสิ่งซึ่งท่านมีหน้าที่ต้องสร้าง การตั้งโรงเรียนฟ้อนรำ และดนตรี ซึ่งเรียกว่า
"โรงเรียนนาฏดุริยางค์" นั้น ได้อาศัยความช่วยเหลือของกระทรวงธรรมการ
ได้ครูมาสอนโรงเรียนนี้ โดยรับเงินเดือนทางกระทรวงไปพลาง จนกว่ากรมศิลปากร
จะมีเงินของตัวเอง
 
          ราวหนึ่งปีภายหลังที่ตั้งโรงเรียนนี้ขึ้น นักเรียนของโรงเรียนนี้ก็พอออกแสดงได้บ้าง
แต่ไม่มีโรงแสดง โรงละครในเวลานั้นก็หายากเต็มที และไม่สามารถจะนำนักเรียนไปแสดงที่อื่นได้
จำเป็นที่จะต้องแสดงในเขตที่ของกรมศิลปากร เมื่อไม่มีทางจะทำอย่างอื่น ท่านก็ปลูกโรงไม้ไผ่
เอาผ้าเต็นท์มาขึงเป็นหลังคา รวบรวมเก้าอี้เท่าที่จะหาได้ ละครของกรมศิลปากร
ได้ออกแสดงภายใต้หลังคาผ้าเต็นท์ และเสาไม้ไผ่ แต่เคราะห์ดีก็มีมา โดยที่ในการแสดงครั้งหนึ่ง
ท่านเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร์ ผู้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในเวลานั้น ได้มานั่งดูการแสดง
ท่านเจ้าคุณได้บอกให้หลวงวิจิตรวาทการตั้งงบประมาณสำหรับสร้างโรงละคร ท่านจะช่วยเหลือหาเงินให้
 
          หลวงวิจิตรวาทการตั้งงบประมาณไปสำหรับสร้างโรงละครเป็นจำนวนเท่าไหร่จำไม่ได้
แต่ได้รับอนุมัติเพียง ๖,๕๐๐ บาท สำหรับสร้างโรงละคร ไม่รู้จะสร้างอย่างไรได้ พอตั้งเสา
และมุงหลังคา เงิน ๖,๕๐๐ บาท ก็หมดไป ไม่มีทางที่จะขออีก และละครเรื่อง "เลือดสุพรรณ"
ได้กำเนิดขึ้นในโรงละครราคา ๖,๕๐๐ บาท นั้นนั่นเอง
 
          "เลือดสุพรรณ" ทำให้หมดทุกอย่าง ทำให้โรงละครมีฝารอบขอบชิด มีรูปร่างซึ่งเป็น
"หอประชุมศิลปากร" ที่ใช้มาจน ๒๕ ปีให้หลัง การละคร และดนตรีของกรมศิลปากร
ตั้งตัวขึ้นได้ด้วยละครเรื่อง "เลือดสุพรรณ"

ที่มา
 http://www.kingramamusic.org/history/p6.htm

761
ธรรมะ / ตอบ: ผมจะทำตัวใหม่
« เมื่อ: 27 มิ.ย. 2554, 10:08:03 »
อาจจะเข้ามาช้าไปหน่อย ในเว๊ปอื่นๆมีหลายวิธีมาก แต่เราลองหาแบบวิธีเข้าใจง่ายมาให้น้องลองทำดู

วิธีขอขมากรรม ล้างเท้าพ่อแม่ :054:
ของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

ซื้อเสื้อผ้า ใหม่ให้พ่อแม่ คนละ 1 ชุด

ผ้าเช็ดตัวผืนเล็กๆ 1 ผืน

ตื่นเช้ามาไหว้พระสวดมนต์จบแล้ว

จัดหาอาหาร อย่างดีที่สุดที่พ่อแม่ชอบ ให้พ่อแม่รับประทาน

เมื่อรับประทานแล้วให้ท่านนั่งบน เก้าอี้พร้อมกัน

เอากะละมังใส่น้ำอุ่นมาล้างเท้าพ่อแม่ เอาสบู่ฟอกให้สะอาดแล้วล้างด้วยน้ำให้ สะอาด เอาผ้าเช็ดตัวผืนเล็กๆ

ที่ซื้อมาเช็ดให้แห้ง เอาแป้งโรยให้ทั่วให้หอม


เอาเสื้อผ้าที่ซื้อมาให้ท่าน

เสร็จแล้วพูดว่า "กรรมใดที่ลูกได้ล่วงเกินคุณ พ่อคุณแม่ ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ขอให้คุณพ่อคุณแม่อโหสิกรรมให้แก่ลูกด้วย"

เสร็จแล้วกราบเท้าท่าน 3 ครั้ง เอาเท้าท่านทั้ง 2 คน คนละข้างเหยียบที่ศรีษะเรา แล้วให้ท่านให้พรเรา นั่นแหละถึงจะล้างกรรมกันได้

ที่มา...เรื่อง "หลวงพ่อทำให้ข้าพเจ้าพบชีวิตที่รุ่งเรือง" โดย คุณ เสรี ปิ่นทอง
จากหนังสือ กฎแห่งกรรม ธรรมปฏิบัติ (ฉบับคัดลอกของ) พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี

ขอบคุณครับ จะนำไปปฏิบัติครับ :015:

762
พล.ตรี หลวงวิจิตรวาทการ


 หลวงวิจิตรวาทการเห็นจะภูมิใจในตัวเอง ที่ผ่านการศึกษาในมหาวิทยาลัยสูงสุดมาแล้ว
๕ ปี ท่านเป็นคนเขียนรายงานการประชุมตั้งแต่ต้นจนปลาย รายงานการประชุมครั้งหนึ่งๆ
เป็นหน้ากระดาษพิมพ์ดีดไม่น้อยกว่า ๑๐๐ หน้า ท่านร่างเอง และพิมพ์เอง

          หลวงวิจิตรวาทการรับราชการอยู่ในสถานทูตปารีส ๖ ปีเต็ม กระทรวงการต่างประเทศ
จึงได้สั่งย้ายท่านไปรับราชการในสถานทูตไทยที่กรุงลอนดอน ท่านอยู่ลอนดอนได้ไม่นาน
ก็ได้ถูกเรียกกลับมารับราชการในกรุงเทพฯ และตำแหน่งที่หลวงวิจิตรวาทการได้รับในกรุงเทพฯ
ต่อจากนั้นมา ได้ช่วยให้ท่านเรียนรู้งานของกระทรวงการต่างประเทศอย่างทั่วถึง
เพราะถูกโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่ไม่หยุดหย่อน

     ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ท่านได้เป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ

อธิบดีกรมศิลปากร

          เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ หลวงวิจิตรวาทการ ได้ย้ายมาเป็นอธิบดีกรมศิลปากรเป็นคนแรก
เมื่อเข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ท่านได้รับความยากลำบากเป็นที่สุด
เพราะท่านไม่ได้เกิดมาเป็นนักศิลปะ ท่านเกิดในกระทรวงการต่างประเทศ
โดยไม่เคยเกี่ยวข้องกับงานศิลปากร มูลเหตุที่ให้ท่านเข้าไปเป็นอธิบดีกรมศิลปากรนั้น
ก็ดูเหมือนจะมีอย่างเดียวคือ ในบรรดางานศิลปากรในเวลานั้น งานที่สำคัญที่สุด
คืองานหอสมุดแห่งชาติ ท่านชอบหนังสือ ชอบการค้นคว้า และแต่งหนังสืออยู่มากแล้ว
ผลที่รัฐบาลหวังจากท่านในเวลานั้นก็คือ จะให้ท่านสร้างสรรค์งานหอสมุดให้ดีที่สุด
แต่เมื่อเข้าไปถึง ก็ได้พบงานอีกหลายอย่างที่หลวงวิจิตรวาทการไม่รู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ
งานสถาปัตยกรรม ช่างเขียน ช่างปั้น และยิ่งกว่านั้นก่อนท่านเข้าไป
ก็ได้มีกฎหมายระบุหน้าที่กรมศิลปากรไว้ว่า ต้องรับผิดชอบในเรื่องงานละคร และดนตรีด้วย
มีคนเข้าใจผิดเป็นอันมากว่าเรื่องละคร และดนตรีของกรมศิลปากรหรือโรงเรียนฟ้อนรำ และดนตรีนั้น
หลวงวิจิตรวาทการเป็นผู้คิดตั้งขึ้นด้วยความคิดริเริ่มของท่านเอง ความจริงเรื่องโรงเรียนฟ้อนรำ
และดนตรี ที่เป็นโรงเรียนศิลปากรอยู่เวลานี้ มีบัญญัติอยู่ในกฎหมายคือ
พระราชกฤษฎีกาแบ่งกองแบ่งแผนกสำหรับกรมศิลปากร ซึ่งได้ประกาศใช้แล้ว
ก่อนท่านเข้าไปเป็นอธิบดี หลวงวิจิตรวาทการไม่ได้คิดอะไรใหม่ ไม่ได้มีแผนการโลดโผน
อย่างหนึ่งอย่างใด ท่านเข้าไปด้วยความเคารพต่อทุกสิ่งทุกอย่าง งานหอสมุดก็ดี งานพิพิธภัณฑ์ก็ดี
งานช่างก็ดี เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือของชาวไทยทั่วไป ได้ทรงสร้างไว้ด้วยความเหนื่อยยาก
และอุตสาหะพยายามเป็นอย่างยิ่ง ท่านเข้าไปด้วยความเคารพบูชา และตั้งปณิธานอันแน่วแน่ว่า
สิ่งที่ท่านได้สร้างไว้แล้วจะไม่ยอมให้เสื่อมโทรมเลยเป็นอันขาด ท่านจะดำเนินเจริญรอย
และทำต่อไปตามแผนการ ให้งานเจริญก้าวหน้า และแตกกิ่งก้านสาขาออกไป โดยไม่รื้อทำใหม่
หรือเปลี่ยนแปลงอะไร
 
          เว้นแต่งานอันหนึ่ง ซึ่งได้ออกกฎหมายไว้ แต่ยังมิได้ลงมือทำ คืองานละคร และดนตรี
หลวงวิจิตรวาทการจะต้องทำในฐานะงานใหม่ของท่าน ซึ่งท่านเองก็ไม่มีวิชาความรู้ในเรื่องนี้มาก่อน
เคยสนใจในเรื่องละคร และดนตรีมาบ้างเมื่ออยู่ยุโรป แต่ก็สนใจแต่เพียงดูเพื่อความสนุกบันเทิงเท่านั้น
เมื่อจำต้องทำด้วยตัวเอง ก็ต้องค้นคว้าเล่าเรียนเอาเอง เป็นการเปลี่ยนชีวิตของท่าน
ท่านถูกความจำเป็นบังคับให้กลายเป็นนักศิลปะ ซึ่งไม่เคยนึกฝันมาแต่ก่อนว่าจะต้องเป็น ฯลฯ
 
          ถ้าหากหลวงวิจิตรวาทการได้สร้างความสำเร็จสิ่งหนึ่งสิ่งใดไว้ให้แก่กรมศิลปากร
ก็เป็นเพราะเหตุอย่างเดียวคือ ท่านไม่ได้รื้อของเก่า สิ่งไรที่มีอยู่เดิมแล้ว เช่น การหอสมุด
และพิพิธภัณฑ์ ท่านได้ทำต่อไป หอสมุดซึ่งเดิมมีเพียงในกรุงเทพฯ
ท่านได้จัดการเปิดสาขาหอสมุดในต่างจังหวัด และสำเร็จไปได้หลายสิบแห่ง งานพิพิิธภัณฑ์
และโบราณคดี ก็ได้ทำไปโดยอาศัยหลักเดิม แต่ได้ขยายให้มีผลไพศาลยิ่งขึ้น
 
          โดยเหตุดังว่านี้ หลวงวิจิตรวาทการจึงใคร่เสนอข้อแนะนำแก่ผู้ที่ทำงาน
โดยหวังจะขึ้นสู่ตำแหน่งหน้าที่เป็นผู้ใหญ่กว่า ความก้าวหน้าของกิจการทั้งหลายจะมีขึ้นได้
ก็โดยผู้รับหน้าที่ตำแหน่งต่อกันไปนั้น ได้ทำงานต่อไปจากที่คนเก่าเขาทำแล้ว
และไม่ด่วนลงความเห็นว่าคนเก่าเขาทำไว้เหลวไหล ถ้าทุกคนที่เข้าไปรับตำแหน่งใหม่
เริ่มงานกันใหม่ทั้งหมดแล้ว ก็ไม่มีวันที่งานจะก้าวหน้าไปได้เลย
 

ที่มา
http://www.kingramamusic.org/history/p6.htm

763
พล.ตรี หลวงวิจิตรวาทการ



ประวัติชีวิตตอนต้น

          หลวงวิจิตรวาทการ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๑ เจ้าของประวัติบันทึกไว้ว่า
"ข้าพเจ้าเกิดบนแพ ริมแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี เมื่อรู้ความ เห็นบิดามารดาของข้าพเจ้า
มีเรือพายม้าลำหนึ่ง แม่แจวหัว และพ่อแจวท้าย พวกข้าพเจ้าเป็นพวกมีลูกมาก
แม่ของข้าพเจ้ามีลูกถึง ๘ คน"

          "แม่ของข้าพเจ้าถึงแก่กรรมตั้งแต่ตัวข้าพเจ้ายังเล็ก ข้าพเจ้าเริ่มลำดับความต่างๆ
ได้ตั้งแต่อายุ ๕ ขวบ จำได้ว่าพ่อเคยเขียน ก. ข. ใส่กระดานชนวนไว้ให้ในเวลากลางคืน
และพอ ๔ นาฬิกา ก็ต้องแจวเรือไปค้าขายสองคนกับแม่ เวลานอนก็นอนกับย่า
ซึ่งเป็นคนจดจำนิยายต่างๆ ไว้ได้มาก และเล่าให้ฟังเสมอ จนกระทั่งเรื่องสังข์ทอง
เรื่องรามเกียรติ์ เรื่องอิเหนา เรื่องพระอภัยมณี และเรื่องขุนช้างขุนแผนเหล่านี้
อยู่ในสมองของข้าพเจ้าหมดก่อนที่จะลงมืออ่านได้เอง เมื่ออายุ ๘ ขวบ ได้เข้าโรงเรียนวัดขวิด
ตำบลสะแกกรัง สอบไล่ได้ชั้นประโยคประถม พ่อแม่ไม่มีทุนจะให้เข้าศึกษาต่อไป
จึงเปลี่ยนวิธีใหม่ ได้เข้าศึกษาในทางธรรมอยู่ในวัดมหาธาตุตั้งแต่อายุ ๑๓ ขวบ
จนถึงอายุ ๒๐ ปี สอบไล่ได้เปรียญ ๕ ประโยค จึงออกจากวัด"

          มีคนพูดกันแต่เดิมว่า หลวงวิจิตรวาทการ มีเชื้อสายเป็นจีน เพราะชื่อ "กิมเหลียง"
ซึ่งเป็นชื่อเดิม ข้อนี้ตามเอกสารของหลวงวิจิตรวาทการยืนยันไว้เองว่า

 "มีประเพณีพิเศษอยู่อย่างหนึ่งในจังหวัดอุทัยธานีเวลานั้น คือ บิดามารดามีชื่อเป็นไทยแท้ๆ
แต่ลูกต้องมีชื่อเป็นจีน บิดาของข้าพเจ้าชื่ออิน มารดาชื่อคล้าย ซึ่งเป็นชื่อไทยแท้ ๆ
ข้าพเจ้าเห็นบิดาของข้าพเจ้าบวชในบวรพุทธศาสนา ไม่เคยเห็นไหว้เจ้า และทุกสิ่งทุกอย่าง
เป็นไทย แต่ตัวข้าพเจ้ากลับได้ชื่อเป็นจีน น้องๆ คนหลังๆ เมื่อเกิดมาได้ตั้งชื่อเป็นไทย
แต่พอข้าพเจ้าไปยุโรปกลับมา เห็นเขาเปลี่ยนชื่อจีนไปหมด อิทธิพลของจีนในจังหวัดอุทัยธานี
นับว่าล้นเหลือ"

          เมื่อออกจากวัดแล้ว หลวงวิจิตรวาทการเริ่มเข้ารับราชการในกองการกงสุล
กระทรวงการต่างประเทศ ไม่เป็นการยากเลยสำหรับท่าน ที่จะเป็นคนเด่นคนดีขึ้นมาในกอง
ทั้งๆ ที่เป็นคนเข้ามาใหม่ เพราะเพียงแต่มาทำงานตรงเวลาเท่านั้น ก็เป็นคนเด่นคนดีได้แล้ว
บุคคลแรกที่ท่านไปยอมตัวเป็นสานุศิษย์ก็คือนายเวรผู้เฒ่านั่นเอง

     แทนที่จะรอให้เขาจ่ายงานมาให้ หลวงวิจิตรวาทการไปของานเขาทำ ขอให้เขาสอน
ให้เริ่มจากงานง่ายไปหางานยากขึ้นโดยลำดับ ก่อนที่คนอื่นจะมาพร้อม หลวงวิจิตรวาทการ
ทำงานเสร็จไปแล้วอย่างน้อยสองเรื่อง ชื่อของท่านจึงได้สะดุดตาผู้ใหญ่ มากขึ้นทุกวัน
ทั้งๆ ที่เป็นเสมียนชั้นต่ำที่สุด ท่านกล่าวว่าไม่เป็นการยากลำบากเกินไปเลย ที่จะสร้างความเด่น
ความสำคัญให้แก่ตัว ขอแต่เพียงให้มีความมักใหญ่ใฝ่สูงในการทำงาน และสร้างความดีเด่นของตน
ด้วย "งาน" ไม่ใช่ด้วยวิธีอื่น

 ภายหลังที่ได้ทำงานในกองการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ เป็นเวลา ๒ ปี
หลวงวิจิตรวาทการได้มีโอกาสออกไปยุโรป ในตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการสถานทูตไทย
ประจำกรุงปารีส ท่านมีส่วนได้เปรียบคนอื่นๆ โดยที่เป็นคนรู้ภาษาไทยดีกว่าคนอื่นในสถานทูต
ทำให้ท่านได้ทำงานอย่างกว้างขวาง จึงได้รับหน้าที่ตามเสด็จท่านราชทูตไปในการประชุม
หรือในงานเจรจาทุกแห่ง และที่สำคัญต้องทำรายงานส่งเข้ามาในกรุงเทพฯ เป็นภาษาไทย

          ในที่สุดหลวงวิจิตรวาทการก็ได้พบงานประจำสำหรับตัวท่าน คืองานสันนิบาตชาติ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร ได้ทรงเขียนไว้ที่หนึ่งว่า "การได้เข้าประชุม
และทำงานสันนิบาตชาตินั้น เท่ากับว่าได้ผ่านการศึกษาในมหาวิทยาลัยขั้นสูงสุด"

ที่มา
http://www.kingramamusic.org/history/p6.htm

764
หัวใจพระพุทธศาสนา
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   
หน้า ๑

            หัวใจพุทธศาสนาคืออะไร ว่ากันไปหลายอย่าง ถูกทั้งนั้น อันไหนก็ได้

            พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักการที่เรียกกันว่า "หัวใจพระพุทธศาสนา" เป็นคำไทยที่เราพูดกันง่ายๆ ถ้าพูดเป็นภาษาบาลี คือ "โอวาทปาฎิโมกข์" หลักที่ถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา คือคำไทยที่สรุปพุทธพจน์ง่ายๆ สั้นๆ ว่า "เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์" ภาษาพระหรือภาษาบาลีว่า.....

            " สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ "
            แปลให้เต็มเลยว่า "การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำความดีให้เพรียบพร้อม การชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย"


            คำลงท้ายว่า "นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย" ทำให้เราคิดว่านี่แหละเป็นคำสรุป แสดงว่าเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาอยู่ที่นี่ เราก็เลยเรียกว่า "หัวใจ" มาเป็นจุดเริ่มต้น แต่กระนั้นชาวพุทธผู้ได้ฟังพระสอนมามากๆ พระอาจารย์หรือพระเถระผู้ใหญ่บางท่านพูดถึงหลักการอื่นว่า อันโน้นสิ อันนี้สิ เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา บางทีโยมก็ชักงง จึงขอยกเอาเรื่องนี้มาพูดว่าอะไรกันแน่ที่เรียกว่าเป็น หัวใจพระพุทธศาสนา

            บางท่านบอกว่า "อริยสัจสี่" เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา เพราะว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดรวมอยู่ในอริยสัจสี่ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว เสด็จไปแสดงปฐมเทศนา พระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร

            ….. พระองค์ตรัสพุทธพจน์ตอนหนึ่ง มีความว่า ตราบใดที่เรายังไม่ (จตูสุ อริยสจฺเจสุ ติปริวฎฺฎํ ทวาทสาการํ ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ) มีญาณทัศนะที่มีปริวัฎ ๓ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจสี่ เราก็ยังปฏิญาณไม่ได้ว่า ได้ตรัสรู้ ต่อเมื่อเรามีญาณทัศนะนั้น จึงปฏิญาณได้ว่า ตรัสรู้ หมายความว่า ตรัสรู้อริยสัจสี่ครบ ๓ ด้าน คือรู้ว่าคืออะไร แล้วก็รู้ว่าหน้าที่ต่ออริยสัจสี่แต่ละอย่างนั้นคืออะไร และรู้ว่าได้ทำหน้าที่ต่ออริยสัจนั้นแล้ว เวียนไปทุกข้อเรียกว่า ๓ ปริวัฎ

            อธิบายว่า..... รู้ในอริยสัจสี่แต่ละอย่างเริ่มตั้งแต่รู้ว่าทุกข์คืออะไร เราจะต้องทำอะไรต่อทุกข์ แล้วก็รู้ว่าหน้าที่ต่อทุกข์นั้นเราได้ทำแล้ว ถ้ายังไม่รู้อริยสัจด้วยญาณทัศนะครบทั้ง ๓ ในแต่ละอย่าง (รวมทั้งหมดเป็น ๑๒ เรียกว่ามีอาการ ๑๒) ก็ยังไม่สามารถปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ

            ต่อเมื่อได้ตรัสรู้อริยสัจ โดยมีญาณในอริยสัจแต่ละข้อครบทั้ง ๓ รวมเป็น ๑๒ จึงปฏิญาณได้ว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจสี่ และการตรัสรู้อริยสัจสี่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า อริยสัจสี่จึงเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา

            บางท่านไปจับเอาที่พระไตรปิฎกอีกตอนหนึ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้กระทัดรัดมากว่า..... "ปุพฺเพจาหํ ภิกฺขเว เอตรหิ จ ทุกขญฺเจว ปญฺญาเปมิ ทุกขสฺส จ นิโรธํ " ภิกษุทั้งหลายทั้งในกาลก่อนแลบัดนี้ เราบัญญัติแต่ทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น ถ้าจับตรงนี้ก็แสดงว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนทั้งหมดนั้น หลักการของพระพุทธศาสนาก็มีเท่านี้ คือ ทุกข์และความดับทุกข์

            ท่านพุทธทาสกล่าวถึงหลักอีกข้อหนึ่งให้ถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา คือ..... "สพฺเพ ธฺมมา นาลํ อภินิเวสาย " แปลว่า "ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น" ..... คำว่า "นาลํ" แปลว่าไม่ควร หรือ ไม่อาจ ไม่สามารถ คำว่า "ไม่ควร " ในที่นี้หมายความว่า เราไม่อาจไปยึดมั่นมันได้ เพราะมันจะไม่เป็นไปตามใจเราแน่นอน เมื่อมันไม่อาจจะยึดมั่น เราก็ไม่ควรจะยึดมั่นมัน อันนี้ท่านถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา เมื่อได้พังอย่างนี้ ก็ทำให้เราสงสัยกันว่าจะเอาหลักอันไหนดีเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา ก็เลยขอให้ความเห็นว่าอันไหนก็ได้

ที่มา
http://www.dhammajak.net/book/dhamma3/page01.php

765
คำวัด - พระ กับ ปาง


พระพุทธเอกนพรัตน์ ประดิษฐานอยู่ที่วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ เขาโคกเผ่น ต.ทำนบ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ มีพระพุทธรูป ๓ องค์ ๓ สมัย ๔ อิริยาบถ ๑๐ ปาง โดยมีราย


คมชัดลึก :ปางพระพุทธรูป คือ ลักษณะของพระพุทธรูป (ท่าทางต่างๆ) ทำตามพระมหาปุริสลักษณะ ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา โดยชาวกรีกเป็นพวกแรกที่กำหนดรูปแบบปางพระพุทธรูป ประมาณ พ.ศ.๘๖๓-๑๐๒๓ ต่อมาช่างชาวอินเดียฝ่ายใต้ (ชาวกลิงคราฐข้างฝ่ายใต้) รวมทั้งในยุคสมัยต่างๆ ในภายหลังได้คิดปางพระพุทธรูปเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก แบ่งได้ตามแหล่งและยุคในประวัติศาสตร์ ดังนี้

   แคว้นคันธาระ มี ๙ ปาง ประเทศอินเดีย มี ๗ ปาง ประเทศศรีลังกา มี ๕ ปาง สมัยทวาราวดี มี ๑๐ ปาง สมัยศรีวิชัย มี ๖ ปาง สมัยลพบุรี มี ๗ ปาง สมัยเชียงแสน มี ๑๐ ปาง สมัยสุโขทัย มี ๘ ปาง สมัยอยุธยา มี ๗ ปาง สมัยรัตนโกสินทร์ มี ๕ ปาง ปัจจุบันมีพระพุทธรูปต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกรวมแล้วมากกว่า ๗๒ ปาง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "พระ" ไว้ว่า ตามรูปศัพท์มาจากคำว่า "วร" ที่แปลว่า "ประเสริฐ เลิศ วิเศษ" ก่อนที่จะแผลงมาเป็น "พระ"

พระ ในวงการศาสนา หมายถึง พระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คำพระ พระมาตรัส รวมทั้งหมายถึง นักพรต นักบวช เช่น พระไทย พระจีน พระญวน

 นอกจากนี้ยังหมายถึงสมณศักดิ์ระดับพระราชาคณะ หรือเจ้าคุณ เช่น พระศรีสุทธิวงศ์ พระราชเวที พระเทพเวที
 ขณะเดียวกันคำว่า พระ ยังใช้นำถาวรวัตถุที่สำคัญเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร พระมณฑป


 นอกจากนี้แล้วยังใช้นำหน้าสิ่งสำคัญ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ บุคคลสำคัญ และบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวเนื่องด้วยความยกย่อง เช่น พระธาตุ พระแท่น พระภูมิ พระเจ้า พระสงฆ์ พระภิกษุ พระอิศวร พระมหากษัตริย์ พระทัย เป็นต้น

ส่วนคำว่า "ปาง" ปกติมีความหมายว่า เมื่อ คราว ครั้ง จวนเจียน ที่พักชั่วคราวกลางป่า เช่น ปางเมื่อ ปางก่อน ปางหลัง ปางตาย ปางไม้

 ส่วนความหมายในคำวัด "ปาง" หมายความว่า "รูป แบบ ลักษณะ" โดยใช้เรียกพระพุทธรูปที่มีแบบต่างๆ กัน เช่น
 ปางสมาธิ หมายถึง พระพุทธรูปแบบนั่งสมาธิ
 ปางอุ้มบาตร หมายถึง พระพุทธรูปแบบอุ้มบาตร
 ปางนาคปรก หมายถึง พระพุทธรูปแบบนาคปรก

"พระธรรมกิตติวงศ์ "

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20101126/80790/คำวัดพระกับปาง.html

766
เคยมีคนถามหลวงพ่อหอม วัดบางเตยกลางว่า “วัตถุมงคลของหลวงพ่อใช้ในด้านไหน เมตตาหรือคงกระพัน”

หลวงพ่อหอมบอกว่า “อธิษฐานเอาเองใช้ได้ทุกอย่าง แต่ถ้าเราขาดการนึกถึงคุณบิดา คุณมารดา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็เหมือน

เราแขวนดิน” เพราะฉะนั้น หลวงพ่อหอมจะบอกให้นึกถึงและปฏิบัติต่อบิดา มารดา เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้ดี ชีวิตก็ดีขึ้นเจริญขึ้น

คัดลอกบทความจากเว็บวัดสุทธาวาสครับ ขอบคุณครับ
เห็นด้วยครับ :015:
แต่ยังมีอีกท่านนึง ที่เราควรเคารพยิ่ง คนที่ให้วิชาความรู้ รู้จักคิด รู้จักทำ ปฏิบัิติดี จนทำให้สามารถทำมาหากินสุจริตได้ ก็คือ "ครู" ครับ

ขอแสดงความนับถือ :054:

767
คำวัด-มงคลมงคลตื่นข่าว

คมชัดลึก : ในคืนก่อนวันหวยออก วัดใดที่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับต้นตะเคียน ไม่ว่าจะเป็น ต้นตะเคียนทั้งที่ยังยืนต้นเป็นอยู่ ขุดได้มาจากใต้พื้นดิน รวมทั้งงมได้จากแม่น้ำและน้ำลำคลอง จะมีความคึกคักกันเป็นพิเศษ เพราะถือว่าเป็นแหล่งรวมพลพรรคคนรักและคนแสวงหาเลขเด็ด เลขมหามงคล ซึ่งเป็นธรรมดาที่ปุถุชนอย่างมนุษย์เราที่ยังคงเปี่ยมไปด้วยกิเลสตัณหาและความอยากได้อยากมี


 พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้ให้ความหมายไว้ว่า มงคล แปลว่า เหตุนำความสุขเจริญมาให้ คือ สิ่งที่นำความโชคดี ความสวัสดี และความสุขมาให้ตามปรารถนา มงคลมี ๒ อย่าง คือ มงคลทางโลก กับมงคลทางธรรม

 มงคลทางโลก คือ สิ่งที่เป็นวัตถุซึ่งชาวโลกถือว่าเป็นมงคล ได้แก่ สิ่งของ สัตว์ และตนไม้บางชนิด เช่น มงคลแฝด ของขลัง ช้างเผือก ใบเงิน ใบทอง รวมถึง ชื่อ อักษร กาลเวลา หรือ ฤกษ์ยาม เป็นต้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มงคลนอก


 มงคลทางธรรม คือ มงคลที่เป็นข้อปฏิบัติ ต้องทำ ต้องปฏิบัติให้ได้จึงจะเป็นมงคล มี ๓๘ ประการ เช่น ไม่คบคนพาล คบแต่บัณฑิต การให้ทาน การประพฤติธรรม การให้ทาน การประพฤติธรรม ความกตัญญู เป็นต้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มงคลใน

 อัปมงคล อ่านว่า (อับ-ปะ-มง-คล) แปลว่า ปราศจากมงคล หรือ ไม่เป็นมงคล

 อัปมงคล หมายความว่า ไม่ดี ไม่เจริญ หาดีไม่ได้ เป็นลางร้าย เป็นเสนียด นิยมใช้ตามความรู้สึก หรือความเชื่อถือเป็นอย่างนั้น กล่าวคือใช้กับสิ่งที่คิดว่านำความเสื่อมเสียมาให้ นำความไม่สบายใจมาให้ สิ่งที่มีอัปลักษณ์ เช่น

 ฤกษ์ยามไม่ดี รูปร่างที่เป็นอัปลักษณ์ หน้าตาที่อัปลักษณ์ แม้ความประพฤติและการกระทำที่เสยหาย เป็นความชั่วความผิด ก็จัดเป็นอัปมงคลอย่างหนึ่ง เช่นใช้ว่า

 “ทำไม่ทำเรื่องที่เป็นอัปมงคลเช่นนี้ พ่อแม่เราจะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน” หรือ “เรื่องเป็นอัปมงคลพรรค์นี้อย่ามาเล่าเลย ทำให้เสียความรู่สึกเปล่าๆ”

ส่วนคำว่า “มงคลตื่นข่าว” เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึงการเชื่อตามข่าวลือ การตื่นเต้นไปกับเรื่องเหลือเชื่อที่บอกเล่าต่อๆ กันมา ด้วยความเข้าใจผิดว่าเป็นมงคล เช่น เชื่อเรื่องโชคลาง เชื่อเรื่องเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย ดวงดี ดวงเสีย เชื่อความศักดิ์สิทธิ์ของเครื่องรางของขลัง

 มงคลตื่นข่าว เป็นเหตุให้ปฏิเสธพระรัตนตรัย และปฏิเสธหลักกรรม ไม่เชื่อเรื่องกรรม ไม่เชื่อเรื่องกรรม คือ หลักทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว แต่เชื่อเรื่องการดลบันดาล หรือ อิทธิปาฏิหาริย์จากวัตถุต่างๆ


 มงคลตื่นข่าว เป็นวิบัติของอุบาสกอุบาสิกาอย่างหนึ่ง คือเป็นเหตให้ความเป็นอุบาสกอุบาสิกา เสียหายไร้ประโยชน์ เพราะทำให้เกิดความงมงายไร้สาระ บ่งบอกถึงศรัทธาในพระรัตนตรัยไม่มั่นคง

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110415/94717/คำวัดมงคลมงคลตื่นข่าว.html

768
คำวัด - พระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง




คมชัดลึก :คติความเชื่อในการสร้างพระเครื่องส่วนใหญ่ การสร้างให้มีขนาดเล็ก เพื่อที่จะสามารถสร้างได้จำนวนมาก สำหรับบรรจุในพระพุทธเจดีย์ เพื่อว่าในอนาคตเมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมลง วัตถุต่างๆ พังทลาย ยังสามารถพบรูปสมมติของพระพุทธเจ้า เพื่อแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา

   ใช้เป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกันในการออกศึกสงครามของคนโบราณ เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่ง ปัจจุบันนิยมนำมาห้อยคอเป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกัน และเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต

คำว่า "พระเครื่อง" ในประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ท่านสั่งเครื่องจักรจากยุโรปมาเพื่อผลิตเหรียญกษาปณ์ ทำให้มีการผลิตเหรียญของเกจิอาจารย์ขึ้น ทำให้เรียกว่าพระที่ทำจากเครื่องจักรว่า "พระเครื่อง" หรือเรียกพระองค์เล็กๆ ที่เป็นพระพิมพ์เรียกเหมือนกันว่า "พระเครื่อง"

 พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "เครื่องราง" คือ ของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล แม้พระเครื่องก็ถือว่าเป็นเครื่องรางเช่นกัน โดยเรียกว่า "พระเครื่องราง"

ส่วน "ของขลัง" คือของที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ มีพลัง มีอำนาจที่อาจบันดาลให้เป็นไป หรืออาจบันดาลสิ่งที่ต้องประสงค์สำเร็จได้

 สองคำนี้มักนิยมพูด หรือนิยมเขียนคู่กันเสมอ คือ เครื่องรางของขลัง
 เครื่องรางของขลัง ปกติเป็นเรื่องนอกคำสอนของพระพุทธศาสนา ถูกจัดอยู่ในประเภทไสยศาสตร์มากกว่า แต่เป็นที่นิยมกันมาแต่โบราณ ด้วยเห็นว่าพลังหรืออำนาจนั้น มาจากพุทธคุณ

 ในขณะที่คำว่า "พระเครื่อง" นั้น พระธรรมกิตติวงศ์ ได้อธิบายไว่ว่า ความหมายเดิม คือพระพุทธรูปองค์เล็กๆ ที่นับถือว่าเป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันอันตราย เป็นคำย่อมาจากคำว่า "พระเครื่องราง"

 พระเครื่อง ปัจจุบันหมายรวมทั้งพระพุทธรูป และรูปพระสงฆ์ที่เรียกกันว่าเกจิอาจารย์ซึ่งหล่อเป็นองค์เล็กๆ หรืออัดจากผงชนิดต่างๆ ดุนเป็นรูปนูนขึ้นมา มีรูปทรงต่างๆ เช่น ทรงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ที่ผ่านการปลุกเสกที่เรียกว่า "พุทธาภิเษก" มาแล้ว ถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ สามารถป้องกันอันตราย และนำโชคลาภมาให้ได้เป็นต้น

พระเครื่อง มีวิวัฒนาการมาก นอกจากนิยมในด้านความศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังนิยมในด้านศิลปะ และความเก่าด้วย บางองค์มีค่ามากกว่าเพชรพลอย โดยเรียกการซื้อขายแลกเปลี่ยนว่า "เช่า"

"พระธรรมกิตติวงศ์"

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20101217/82969/คำวัดพระเครื่องเครื่องรางของขลัง.html

769
เห็นแล้วชอบเลยครับ ที่พระท่าน อมยิ้ม :001:  :002:

770
คำวัด - อบายภูมิ-อบายมุข


ปูนปั้นเปรตวัดม่วง ต.หัวตะพาน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง

คมชัดลึก :คำว่า "อสุรกาย" นั้น ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเพียงแต่ชื่อ รายละเอียดภพของอสุรกายเป็นอย่างไร ท่านก็ไม่ได้แสดงเอาไว้ แต่ว่าจากความหมายของรูปศัพท์ ก็หมายถึงชีวิตชนิดหนึ่งเป็น อทิสสมานกาย คือบุคคลไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา เป็นจำพวกปีศาจ ที่บางครั้งบางคราวก็มีการหลอกหลอนคน ดังนั้นจึงมีส่วนหนึ่งที่อยู่ในโลกนี้ และมีอยู่ในโลกอื่นๆ ที่ท่านใช้คำว่า ปรโลก

   พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า อบาย (อะ-บาย ) ตามรูปศัพท์แปลว่า จากไป (ไปปราศ) ไปเป็นอย่างอื่น ใช้ในความหมายต่างๆ ที่มีลักษณะไปจากความสุข ไปจากความเจริญรุ่งเรือง ไปจากกำไร

อบาย ทั่วไปแปลว่า ความเสื่อม ความหายนะ ความฉิบหาย ความสูญเสีย ความรั่วไหล การขาดทุน นิยมใช้ในรูปคำเดียวคำนำหน้าคำอื่น เช่นใช้ว่า
 - เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
 - ผู้ใดระลึกชาติก่อนๆ ได้ เห็นสวรรค์และอบาย บรรลุถึงความสิ้นชาติ
 - อบายโกศล คือ ความฉลาดในความเสื่อม

ส่วนคำว่า “อบายภูมิ” (อะ-บาย-ยะ-พูม) เจ้าคุณทองดี ได้ให้ความหมายไว้ว่า ภูมิหรือดินแดนที่ปราศจากความเจริญ หมายถึง ภูมิที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน เป็นที่เกิดของผู้ทำบาปกรรมไว้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ผลแห่งบาปกรรมนั้นจะส่งเขาไปเกิดในอบายภูมิ หลังจากเขาตายแล้ว

 อบายภูมิ มี ๔ ตาระดับบาปกรรมของคน คือ
 - นรก เป็นที่เกิดของคนที่มากด้วยโทสะ ชอบฆ่าฟัน ชอบท้าผู้อื่น
 - เปรต เป็นที่เกิดของคนที่มากด้วยโลภะ ชอบฉ้อโกง ลักขโมย เบียดบังทรัพย์
 - อสุรกาย เป็นที่เกิดของคนที่มากด้วยโลภะ
 - ดิรัจฉาน เป็นที่เกิดของคนที่มากด้วยโมหะ หลงงมงาย อกตัญญูเห็นผิด
 
 ในขณะที่คำว่า “อบายมุข” (อะ-บาย-มุก) เจ้าคุณทองดี ได้ให้ความหมายไว้ว่า ทางแห่งความฉิบหาย ทางแห่งความเสื่อม สาเหตุให้ถึงความเสื่อมเสีย มี ๒ หมวด คือ

 อบายมุข ๔ ได้แก่ เป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลงสุรา เป็นนักเลงการพนัน และคบคนชั่วเป็นมิตร

 อบายมุข ๖ ได้แก่ ดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน เที่ยวดูการเล่น เล่นการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร และ เกียจค้านทำการงาน

อบายมุขทั้งหมดนี้ หากประพฤติเข้าแล้วก็เป็นเหตุให้เกิดความฉิบหาย ให้เกิดความเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สิน  แก่เกียรติยศชื่อเสียง หรือ แก่ชีวิตร่างกายได้เหมือนกันทุกข้อ

"พระธรรมกิตติวงศ์ "


ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110603/99298/คำวัดอบายภูมิอบายมุข.html

771
มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน(ปฐมบท 2/2)


 ระบบการศึกษาปัจจุบันกำหนดให้คนเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่จำเป็นจะต้องรู้มากกว่าสิ่งที่จำเป็นจะต้องรู้ จนลูกเด็กเล็กแดงต้องแบกหอบหิ้วหนังสือตำราจนหลังค่อมหลังโกง โดยผลที่แท้จริงแล้วสิ่งที่เล่าเรียนนั้นจะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้สักเท่าใด กลับไม่ได้คิดคำนึงถึง

            เราเสียเวลาเรียนชั้นประถมหลายปี ต่อชั้นมัธยมอีกหลายปี ยังไม่พอยังต้องต่อไปจนถึงชั้นอุดมศึกษา เลยเถิดไปถึงชั้นปริญญาโท ปริญญาเอก และอะไรต่อมิอะไร จนสุดที่จะคณานับ

            เราเสียเวลาเล่าเรียนในถิ่นเกิดยังไม่พอ ยังต้องเดินทางไปศึกษาเล่าเรียนต่อถึงต่างถิ่นต่างแดน

            ซึ่งไม่ผิดเพราะชีวิตคนก็คือชีวิตของการศึกษาเรียนรู้ เป็นแต่ว่าการศึกษาเรียนรู้นั้นควรจะได้ศึกษาเรียนรู้ในสิ่งที่ควรต้องรับรู้เพื่อเป็นประโยชน์ของชีวิตและเพื่อให้คุ้มกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์บ้าง แต่มนุษย์กลับเรียนรู้สิ่งที่ควรรู้และสิ่งที่จะพึงเป็นประโยชน์แก่ชีวิตน้อยกว่าน้อยนัก

            นั่นคือเราไม่เคยเรียนรู้ เราไม่เคยศึกษาเรื่องโลกภายใน และยิ่งไม่มีทางที่จะรับรู้หรือสัมผัสได้กับความมหัศจรรย์แห่งโลกภายใน มิหนำซ้ำยังไม่เฉลียวใจว่าโลกทั้งปวงนั้นหาได้มีอยู่แต่โลกหรือพิภพหรือโลกภายนอกแต่เพียงอย่างเดียวไม่ หากยังมีอีกโลกหนึ่งซึ่งอยู่กับตัวตนของเราเอง นั่นคือโลกภายใน

            มนุษย์ศึกษาเกี่ยวกับตัวตนของตัวเองก็เฉพาะแต่สิ่งซึ่งประกอบกันเข้าเป็นร่างกาย เวลานี้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพได้ก้าวรุดหน้ายิ่งกว่ายุคใดสมัยใด ถึงกระนั้นมนุษย์ก็ได้รู้จักแต่เพียงสิ่งที่เล็กที่สุดเท่าที่รู้จักในปัจจุบัน อันประกอบกันเข้าเป็นร่างกายและได้รู้ถึงระบบต่าง ๆ อันประกอบอยู่ในร่างกาย แต่กลับมีความรับรู้เพียงน้อยนิดในเรื่องความสัมพันธ์และการทำงานโดยเฉพาะระบบการควบคุมการทำงานขององคาพยพทั้งหมด

            วันนี้ระบบการศึกษาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพยังไม่สามารถบอกได้ว่าเด็กฝาแฝดสองคนที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกัน อยู่ในสังคมเดียวกัน รับการศึกษามาอย่างเดียวกัน แต่ไฉนเล่าคนหนึ่งเห็นว่าการเอาเปรียบผู้อื่นเป็นสิ่งผิด แต่อีกคนหนึ่งกลับเห็นว่าการเอาเปรียบผู้อื่นเป็นสิ่งประเสริฐ อะไรเล่าที่เป็นเหตุทำให้เกิดความแตกต่างนี้?

            มนุษย์แทบจะไม่ได้ตั้งความสังเกตว่าโลกหรือพื้นพิภพที่มีพื้นผิวที่ประกอบด้วยผืนดินและแผ่นน้ำที่มีสัดส่วนราว 2 ต่อ 5 นั้น หากจะเปรียบเทียบกับร่างกายของคนเราก็อาจจะพบถึงสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก

            ผลการศึกษาของมนุษย์ได้พบว่าต่ำใต้พื้นพิภพของเรานี้มีน้ำ มีไฟ แต่ก็ยังไม่รู้ว่ามันอยู่กันได้อย่างไร และอะไรมากกว่าอะไร หรือส่งผลกันอย่างไร อย่างมากมนุษย์ก็รู้แต่เพียงว่าพิภพของเรานี้ประกอบขึ้นด้วยสิ่งที่เรียกว่าธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ

            แต่มนุษย์ก็ยังไม่ได้ตระหนักหรือเฉลียวใจว่าในร่างกายของเรานี้ก็มีส่วนประกอบที่ไม่ต่างกันกับพิภพ นั่นคือเมื่อกล่าวรวมถึงที่สุดแล้วร่างกายของคนเราก็ประกอบด้วยสิ่งที่เรียกว่าธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟเช่นเดียวกัน

            มันเป็นความบังเอิญที่น่ามหัศจรรย์ยิ่งนัก แต่ไฉนเล่ามนุษย์จึงไม่ใฝ่ค้นให้ยิ่งไปกว่าที่จะเห็นแค่ว่าเป็นเพียงความบังเอิญ 

            ความรับรู้ของมนุษย์อาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ที่สัมผัสกับการสะท้อนของแสง คลื่นเสียง คลื่นกลิ่น รสชาติ ความร้อน หนาว และอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ แล้วก็พากันยึดถือว่าสิ่งที่สัมผัสเหล่านั้นเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ และยึดถือต่อไปว่านั่นคือความจริงแท้ที่รู้ได้ สัมผัสได้

            ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ถึงปัจจุบันนี้ได้ให้บทเรียนที่เจ็บปวดแก่มนุษย์ว่าอายตนะของมนุษย์ที่เป็นที่สัมผัสและเกิดความรับรู้คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนั้นมีความจำกัดอย่างยิ่งยวด ยังมีบางสิ่งบางอย่างซึ่งขอเรียกรวมกันว่า “สิ่ง” ซึ่งอายตนะเหล่านี้ไม่มีขีดความสามารถที่จะรับรู้สัมผัสได้ และสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถรับรู้ ไม่สามารถสัมผัสได้นั้น มีหรืออาจจะมีมากกว่าสิ่งที่รู้หรือสัมผัสได้เสียอีก

            ยกตัวอย่างในเรื่องผลของการมองเห็น มนุษย์มองเห็นได้เพราะคลื่นแสงกระทบวัตถุเข้าสู่ตา แต่ความสามารถของตาในการรับรู้สัมผัสภาพสะท้อนจากคลื่นแสงนั้นมีความจำกัดมาก ในห้วงคลื่นทั้งหมดของแสงจะมีเพียงห้วงเล็กน้อยเท่านั้นที่กระทบวัตถุแล้วสะท้อนให้ตามนุษย์สัมผัสได้ เปรียบเทียบได้ว่าห้วงคลื่นแสงทั้งหมดที่มีความยาว 100 เมตร มีห้วงของคลื่นแสงเพียง 5-10 เมตรเท่านั้นที่มีความถี่ที่มนุษย์สามารถรับรู้สัมผัสได้

            ดังนั้นคลื่นแสงที่เกินขีดความสามารถที่ตาจะรับรู้สัมผัสได้ แม้จะกระทบกับสิ่งใดและสะท้อนมาสู่ตา ตาก็ไม่สามารถมองเห็นได้ และว่าไปแล้วในบางกรณีสายตามนุษย์ยังสู้สายตานกเค้าแมวไม่ได้ นี่ก็เพราะความสามารถในการรับรู้สัมผัสของตามนุษย์นั่นเอง.


ที่มา
http://www.paisalvision.com/2008-11-06-05-16-28/182--1.html

772
มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน(ปฐมบท 1/2)


 สืบเนื่องมาจากการเขียนบทความเรื่องมาฆบูชาวิพากษ์ ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 25, 27 กุมภาพันธ์, 1, 3, และ 5 มีนาคม 2547 ได้มีท่านผู้อุปการคุณเสนอแนะว่าอยากจะให้เขียนบทความเกี่ยวกับการพระศาสนาให้มากขึ้น เพราะเกิดความร่มเย็นเป็นสุขทางจิตใจและได้ประโยชน์

            ได้น้อมรับและรับปากที่จะทำหน้าที่ของพุทธมามกะตามที่ท่านผู้มีอุปการคุณได้กรุณาแนะนำไว้นั้น เพราะแม้ว่าบางความเห็นถึงจะพอรู้ว่าเป็นท่านผู้มีอุปการคุณที่มีทัศนะทางการเมืองไม่ค่อยตรงกัน และไม่ประสงค์จะให้เขียนบทความในทางการเมืองเพราะอาจเกิดผลกระทบต่อทัศนะทางการเมืองหรือพรรคการเมืองบางพรรค แต่ก็ยังคงเห็นประโยชน์โดยรวมของการทำหน้าที่พุทธมามกะ และหน้าที่ในการรับใช้พระพุทธศาสนา จึงได้น้อมรับด้วยความยินดี และจะทำหน้าที่นี้ให้ดีที่สุดตามควรแก่สติปัญญาความสามารถที่จะกระทำได้

            จึงได้บอกกล่าวความตกลงใจนั้นโดยทางเว็บไซต์ www.manager.co.th เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547 พร้อมทั้งได้ชี้แจงถึงความตั้งใจว่าเมื่อรับปากกันแล้วก็จะเขียนเรื่องที่ไม่ค่อยมีผู้คนสนใจหรือกล่าวหรือเขียนถึง ทั้งๆที่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีความมหัศจรรย์ยิ่งนัก นั่นคือเรื่องมหัศจรรย์แห่งโลกภายใน ซึ่งเป็นโลกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ใช้ความพยายามตลอดพระชนม์ชีพในการอบรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ และจะบังเกิดประโยชน์แท้จริงแก่ผู้ศึกษาอบรมตน ไม่ว่าจะเป็นผู้คนในลัทธิศาสนาไหนหรือเพศวัยใดก็ตาม

            แต่ว่าเรื่องมหัศจรรย์แห่งโลกภายในนั้นคงจะมีความยาวหลายตอนจบ เพราะเหตุที่ว่าเป็นเรื่องที่มีความกว้างขวาง ละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง จึงย่อมไม่อาจทำให้จบลงในตอนเดียว ในเนื้อที่อันจำกัดได้ ตรงนี้แหละที่เป็นความจำกัดเพราะถ้าจะเขียนเป็นเรื่องยาวหลายตอนนักและลงตีพิมพ์ติดต่อกันก็จะเกิดผลกระทบอย่างอื่น ๆ

            เบื้องแรก กระทบต่อความปรารถนาของสิริอัญญาผู้น้อยเองที่ยังคงมีความสนใจในทางการเมืองและความเป็นไปของบ้านเมือง บางห้วงเวลาอาจเห็นว่ามีเรื่องสำคัญที่ควรออกความคิด ความเห็น หรือควรบอกกล่าวข่าวสารข้อมูลหรือความเห็นให้ได้รู้กัน ก็จะทำไม่ได้

            ถัดมาย่อมกระทบต่อความต้องการรับรู้เรื่องราวอื่น ๆ ของท่านผู้มีอุปการคุณที่ได้ติดตามบทความคอลัมน์นี้เพราะย่อมมีบางท่าน บางกลุ่ม ที่มีความสนใจในด้านอื่น ๆ ดังนั้นหากเขียนเรื่องการพระศาสนาต่อเนื่องกันนานเกินไปก็อาจเกิดความเบื่อหน่าย

            ที่สุดก็เกรงใจกองบรรณาธิการ เพราะถึงแม้ว่าจะได้รับความกรุณาให้สิริอัญญาผู้ต่ำต้อยเขียนเรื่องอะไรเรื่อยเปื่อยได้ตามอำเภอใจ แต่ใจก็ต้องเกรงใจเพราะคนนั้นย่อมมีใจ ไม่ใช่ใครเกรงใจใครให้ความกรุณาแล้วจะถือเอาเป็นวิสาสะทำการตามอำเภอน้ำใจมากขึ้น ก็ย่อมไม่สมควร



            ดังนั้นบทความชุดยาวเรื่องมหัศจรรย์แห่งโลกภายในจึงจำเป็นที่จะต้องลงตีพิมพ์เป็นครั้งคราว ตามควรแก่โอกาสและตามควรแก่วาระที่สมควร ขอท่านผู้มีอุปการคุณได้โปรดให้ความกรุณาติดตามก็แล้วกัน

            บทความวันนี้เป็นตอนแรก จึงอยากทำความเข้าใจสิ่งที่เรียกว่าโลกภายในเสียก่อน เพราะเป็นเรื่องควรต้องทำความเข้าใจเป็นปฐม เนื่องจากคนเรานั้นแม้ผ่านวันเวลามานานช้าเพียงใด แต่ระบบการศึกษาเรียนรู้และความเป็นอยู่ของคนเราได้ถูกกำหนดโดยสภาพแวดล้อมให้โน้มน้อมไปตามสภาพแวดล้อมนั้น

            เราได้เรียนรู้และถูกอบรมสั่งสอนกันตลอดมาถึงเรื่องของโลก และกว้างออกไปถึงระบบสุริยจักรวาล ไกลออกไปถึงระบบสุริยะอื่น ๆ แม้กระทั่งเหตุการณ์ที่จะเป็นไปในกาลข้างหน้าก็มีศาสตร์ให้ได้เล่าเรียนศึกษาดังที่เรียกว่าอนาคตศาสตร์นั้น

             แต่โลกภายในซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และหากจะกล่าวกันให้ถึงที่สุดแล้วยังคงมีฐานะและความสำคัญมากกว่าเรื่องของโลกภายนอก คนเรากลับเรียนรู้หรือศึกษาน้อยกว่าน้อยนัก ถามกันตรงนี้ก็ได้ว่าใครรู้จักโลกภายในบ้าง? หากซื่อตรงต่อตนเองแล้วก็จะมีคำตอบที่ไม่ต่างกันคือโลกภายในคืออะไรกันแน่?

            มนุษย์เสียเวลาทุ่มเทเงินตราและทรัพยากรนับไม่ถ้วนในการศึกษาเรื่องของโลก แต่ถึงวันนี้มนุษย์ก็ได้เรียนรู้แต่ว่าสิ่งที่เป็นพื้นผิวโลกนั้นเป็นอย่างไร ใต้ทะเลอันล้ำลึกก็เรียนรู้ได้เพียงบางระดับ ใต้ผืนพิภพก็เรียนรู้ได้เพียงบางระดับ บนอากาศถึงอวกาศก็ยังคงมีความรู้ที่จำกัด ยิ่งระบบสุริยะก็ยังห่างไกลจากความรู้ที่แท้จริง ความรู้ที่ห่างไกลจากความรู้ที่แท้จริงเพียงใดก็ต้องอาศัยการคำนวณทางคณิตศาสตร์ และตรรกะมากขึ้นเท่านั้น 

            ผลคำนวณทางคณิตศาสตร์และตรรกะเป็นคนละเรื่องกับความจริง อย่างใกล้เคียงที่สุดก็เป็นแค่การอนุมานที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดเท่านั้น

            มนุษย์ยังมีความกำเริบยิ่งไปกว่านั้น ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยสัมผัสและไปได้ถึงระบบสุริยะอื่น ๆ อันไกลโพ้นออกไป แต่ก็ยังสู้คิด สู้คำนวณ สู้เขียน สู้วาดขึ้นเป็นเรื่องเป็นราว จนราวกับว่าเป็นความจริง ทั้ง ๆ ที่สิ่งที่ทำนั้นยังคงเป็นเพียงความคิดฝันที่ยังไม่รู้ว่าความจริงเป็นอย่างไรเท่านั้น


ที่มา
http://www.paisalvision.com/2008-11-06-05-16-28/182--1.html

773
คำวัด - เปรต-อสุรกาย


ภาพประกอบข่าว

คมชัดลึก :คำพูดหนึ่งที่พูดกันติดปากเมื่อเอ่ยถึงชื่อวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดสระเกศ) และวัดสุทัศนเทพวราราม คือ "แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์" ซึ่งมีประวัติที่น่าสนใจ คือ เรื่องของวัดสระเกศ ในช่วงรัชกาลที่ ๒ เกิดโรคห่าระบาดเมือง มีคนตายชนิดที่ขุดและเผาไม่ทัน ต้องกองศพทิ้งไว้เน่าเหม็นมีแร้งนับพันตัวมากินศพ


  ส่วนที่วัดสุทัศน์ เล่ากันว่า วัดแห่งนี้มักมีเปรตปรากฏกายในเวลากลางคืนเป็นที่น่ากลัวอย่างยิ่ง ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว เรื่องเล่าเปรตวัดสุทัศน์นั้น มาจากภาพวาดบนฝาผนังในพระอุโบสถ ที่เป็นรูปเปรตตนหนึ่งนอนพาดกายอยู่ และมีพระสงฆ์ยืนพิจารณาอยู่ ซึ่งภาพนี้มีชื่อเสียงมากในสมัยอดีต เป็นที่เลื่องลือกันของผู้ที่ไปที่วัดแห่งนี้ว่าต้องไปดู และสิ่งที่ผู้คนเห็นว่าเป็นเปรตนั้น ผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณวัดแห่งนี้มายาวนานบอกว่า แท้ที่จริงแล้วเป็นเงาของเสาชิงช้าที่อยู่หน้าวัด ในสายหมอกยามเช้าต่างหาก

 ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "เปรต"  ไว้ว่า ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว ผู้ตายไปแล้ว

เปรต ในคำวัด หมายถึง สัตว์พวกหนึ่งที่เกิดในเปรตวิสัย ซึ่งเป็น ๑ ในอบายภูมิ ๔ มีหลายประเภท เช่น ประเภทหนึ่งเรียกว่า ปรทัตตูปชีวิเปรต คือ เปรตที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยส่วนบุญที่มีผู้ทำอุทิศให้ มีรูปร่างสูงโย่งเท่าต้นตาล ผมยาว คอยาว ผอมโซ ตัวดำ ท้องโต มือท่าใบตาล มีปากเท่ารูเข็ม

 หากไม่มีผู้อุทิศส่วนบุญให้ก็จะกินเลือดและหนองของตัวเองเป็นอาหาร มักจะร้องเสียงโหยหวนในเวลากลางคืนเพื่อขอส่วนบุญ


 เรียกการพลีกรรมแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว หรือการทำบุญอุทิศให้ผู้ตายว่า เปตพลี หรือ บุปเปตพลี
 ส่วนคำว่า “เปรตวิสัย” (อ่านว่า เปรด-วิ-ไส) เจ้าคุณทองดีให้ความหมายไว้ว่า ภูมิหรือที่กำเนิดของเปรต โลกของเปรต

 เปรตวิสัย ใช้ว่า เปรตวิษัย เปตวิสัย ก็มี
 เปรตวิสัย จัดเป็นอบายภูมิ ๑ ใน ๔ อย่าง คือ นรก เปรต อสุรกาย และเปรตวิสัยเปรตวิสัย ดิรัจฉาน เป็นดินแดนที่เกิดหลังจากล่วงลับ หรือตายไปแล้วของผู้มากด้วยโลภะ ผู้ที่ไม่เคยให้ทาน หรือเสียสละแก่ใคร เป็นดินแดนที่มีความอดอยาก ผู้เป็นเปรตมีแต่ความทุกข์ทรมานด้วยไม่มีอาหารจะกิน แม้มีอยู่ก็กินด้วยความยากลำบาก

 ผู้ที่เกิดเป็นเปรตอยู่ในเปรวิสัย เป็นอยู่ได้ด้วยข้าวน้ำที่มีผู้อุทิศไปให้ ที่เรียกว่า เปตพลี ถ้าไม่มีใครทำบุญไปให้ก็อดตายอยู่อย่างนั้น

ในขณะที่คำว่า “อสุรกาย” เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า อมนุษย์พวกหนึ่งเป็นเป็นศัตรูกับเทวดา ได้แก่ พวกอสูร มาร หรือ ยักษ์

 อสุรกาย ในคำวัดหมายถึง อบายภูมิอย่าง ๑ ในจำนวน ๔ อย่าง นอกจากนี้แล้วยังใช้เรียกสัตว์ที่เกิดในอบายภูมินั้นด้วย นัยว่าชอบเที่ยวหลอกหลอนคนเหมือนผี ป็นคู่กับพวกเปรต


"พระธรรมกิตติวงศ์"

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110422/95364/คำวัดเปรตอสุรกาย.html

774
คำวัด - ญาณ-ฌาน


ภาพวาดพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก ในวันอาสาฬหบูชา


คมชัดลึก :จริต คือ ลักษณะนิสัยพื้นฐานที่ประพฤติปฏิบัติ เป็นพฤติกรรมตามสภาพของจิตใจอันเป็นปกติของบุคคลนั้น โดยแบ่งออกเป็น ๖ แบบ คือ ๑.ราคจริต ๒.โทสจริต ๓.โมหจริต ๔.วิตกจริต ๕.ศรัทธาจริต และ ๖.พุทธิจริต

    การรู้จริตของตน ทำให้เกิดการรับรู้ว่า จะต้องพัฒนาตนเองอย่างไร มีสิ่งใดที่เหมาะสมอยู่แล้ว มีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของตนเอง และการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข ในด้านการปฏิบัติธรรมนั้น การรู้จริตสามารถเลือกแนวทางการปฏิบัติธรรมได้อย่างเหมาะสมกับจริตของตน

 
 อย่างไรก็ตาม ในการปฏิบัติธรรมมีคำอยู่ ๒ คำ ที่ออกเสียงคล้ายหรือใกล้เคียงกัน รวมทั้งมีคนมักเข้าใจมีความหมายคล้าย หรือเหมือนกัน คือ คำว่า "ญาณ" และ "ฌาน"

 ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "ญาณ" อ่านว่า “ยาน” ไว้ว่า ความรู้ คือปรีชาหยั่งรู้ หรือกำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการบำเพ็ญวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา

วิชชา แปลว่า ความรู้แจ้ง คือ ความรู้แจ่มแจ้ง ความรู้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “ตรัสรู้” ซึ่งเป็นความรู้ที่เกิดจากการบำเพ็ญวิปัสสนา มิใช่ความรู้ที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน หรือ การนึกคิดคาดคะเนเอา

 คำว่า “ญาณ” ในความหมายเฉพาะ หมายถึง พระปรีชาหยั่งรู้ของพระพุทธเจ้า ความรู้แจ้งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เรียกเต็มว่า โพธิญาณ หรือ สัมมาโพธิญาณ ซึ่งมีอยู่ ๓ อย่าง คือ

 ๑.บุพเพนิวาสานุสสติญาณ หมายถึง ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกถึงขันธ์ในอดีตได้ คือ ระลึกชาติได้นั่นเอง

 ๒.จุตูปปาตญาณ หมายถึง ความรู้ในจุติและอุบัติของสัตว์โลกได้ เรียกว่า ทิพพจักขุญาณ หรือ ทิพยจักษุญาณ

 ๓.อาสวักขยญาณ หมายถึง ความรู้ในการกำจัดอาสวกิเลสให้สิ้นไป

ส่วนคำว่า “ฌาน” อ่านว่า “ชาน” เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า การเพ่ง ซึ่งหมายถึง การเพ่งอารมณ์จนจิตสงบนิ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ หรือ ภาวะที่จิตสงบนิ่งอันเนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์

 ฌาน แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ รูปฌาน และอรูปฌาน ซึ่งมีความหมายดังนี้

 รูปฌาน คือ การเพ่งรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ ระดับ ตามอารมณ์ที่ประณีตขึ้นไปตามลำดับ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน

 อรูปฌาน คือ การเพ่งอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ ระดับ คือ  อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

 เรียกการที่ผู้ได้ฌานนั่งสงบจิตเพ่งอารมณ์นิ่งแนวอยู่ว่า เข้าฌาน


"พระธรรมกิตติวงศ์ "

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110408/94207/คำวัดญาณฌาน.html

775
มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน(3/3)

สิ่งที่เรียกว่าปาฏิหาริย์หรือความมหัศจรรย์ล่วงพ้นวิสัยมนุษย์ธรรมดานั้นมีสามประการคือ

            ประการแรก ได้แก่อิทธิปาฏิหาริย์ ได้แก่การกระทำความมหัศจรรย์โลดโผนต่าง ๆ ล่วงพ้นวิสัยของมนุษย์ เช่น คนเดียวทำเป็นหลายคน หลายคนทำเป็นคนเดียว หายตัวไป เหาะเหินเดินอากาศ เดินฝ่ากำแพงภูเขาได้ เดินไปบนน้ำได้ ดำดินได้ ลุยไฟได้ เป็นต้น

            ประการที่สอง ได้แก่อาเทศนาปาฏิหาริย์ คือการทายใจหรือการกำหนดรู้ใจผู้อื่นแล้วกระทำการที่ตรงกับใจเป็นที่อัศจรรย์ ทำให้เกิดความสว่างกระจ่างแจ้ง ตรงกับปัญหาค้างคาอยู่ในใจนั้น

            ประการที่สาม ได้แก่อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือการสอนเป็นที่อัศจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ด้วยอรรถะ พยัญชนะ งดงามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และได้รับผลของความรู้นั้นอย่างรวดเร็ว ดังที่ปรากฏคำสรรเสริญพระตถาคตเจ้าจากบรรดาผู้ฟังธรรมมากหลายในพระไตรปิฎกว่า “แจ่มแจ้งดังเปิดของคว่ำให้หงายขึ้น”

            ในบรรดาปาฏิหาริย์ทั้งสามประการนี้ พระตถาคตเจ้าทรงตรัสสรรเสริญเฉพาะอนุสาสนีปาฏิหาริย์เพราะเป็นความมหัศจรรย์ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขของเวไนยสัตว์ โต้แย้งไม่ได้ไม่ว่าในกาลไหน ๆ ต่างกับปาฏิหาริย์สองประเภทแรกซึ่งผู้ที่ไม่เห็นด้วยตาหรือผู้ที่ไม่เชื่ออาจตำหนิติเตียนได้ และทำให้เกิดข้อโต้เถียงวิวาทได้

            เพราะในอินเดียเวลานั้นมีวิชาพิสดารอยู่สองวิชา วิชาหนึ่งเป็นของชาวคันธาระ มีชื่อว่าคันธารวิชา และวิชาของชาวมณีปุระที่เรียกว่ามณีวิชา เป็นวิชาที่สามารถแสดงอิทธิฤทธิ์บางประการได้ สามารถทายดักใจได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้โยคีในอินเดียก็ยังใช้วิชาเช่นนี้อยู่ บางคนเข้ามาในประเทศไทยแล้วใช้วิชาดักทายใจให้ปรากฏมาแล้วมากมาย

            วิชาดังกล่าวนี้ไม่เป็นไปเพื่อความรู้แจ้งหรือเพื่อความดับทุกข์ เป็นวิชาเพื่อแสวงหาลาภสักการะที่ทำให้เกิดความละโมบโลภมากกระทั่งกลายเป็นเรื่องลวงโลก ดังนั้นพระตถาคตเจ้าจึงทรงตรัสสรรเสริญเฉพาะอนุสาสนีปาฏิหาริย์ซึ่งเป็นประโยชน์จริง เป็นประโยชน์แท้แก่เวไนยสัตว์

            เพื่อป้องกันการแปรผันจนกลายเป็นการลวงโลกและการถกเถียงโต้แย้ง พระตถาคตเจ้าจึงตรัสห้ามพระสาวกแสดงอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์ในลักษณะที่เป็นการโอ้อวด และถ้าไม่มีคุณสมบัตินี้ในตนแล้วอวดอ้าง หากเป็นพระภิกษุก็ทรงบัญญัติโทษสถานหนัก ถึงขั้นพ้นจากความเป็นภิกษุคือเป็นความผิดขั้นปาราชิก

            แต่ทว่าที่ทรงตรัสห้ามนั้นไม่ได้ทรงตัดผลที่เกิดขึ้นตามธรรมดาธรรมชาติ ไม่ได้ทรงห้ามกระทำในคราวหรือโอกาสอันจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ในการพระศาสนาดังที่ทรงตรัสสั่งให้พระสาวกกระทำอิทธิปาฏิหาริย์หลายครั้งหลายหน แม้พระองค์เองก็ทรงกระทำเช่นเดียวกัน เป็นแต่ทรงเลือกกาล เลือกสถานที่อันสมควรที่เหมาะสมและจำเป็น

            แต่คนในชั้นหลังห่างเหินออกไปจากการฝึกฝนอบรมจิต ไม่สามารถได้รับคุณวิเศษและกระทำคุณวิเศษดังกล่าวได้ กลับใช้เป็นข้ออ้างว่าทำอิทธิปาฏิหาริย์ไม่ได้เพราะพระตถาคตเจ้าทรงห้ามซึ่งคลาดเคลื่อนไปจากพุทธประสงค์โดยแท้

            อิทธิฤทธิ์และปาฏิหาริย์เป็นผลธรรมดาที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนอบรมจิตและเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความศรัทธาเพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่พระศาสนา ทั้งเป็นประจักษ์พยานแห่งความตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า ตลอดจนวิชชาแปดประการที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ ทรงแสดงไว้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่จะต้องฝึกฝนปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เวไนยสัตว์ให้มากที่สุด เพราะวิชชาทั้งแปดประการนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ตน เพื่อประโยชน์ท่านโดยเฉพาะ เพื่อประโยชน์ในการเผยแพ่รพระศาสนาให้บังเกิดประโยชน์สุขแก่มวลชนด้วย 

            ในภาคสามแห่งมหัศจรรย์แห่งโลกภายในนี้มุ่งเน้นพรรณนาเฉพาะอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์ โดยจะไม่ก้าวล่วงถึงอานุสาสนีปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นความมหัศจรรย์ในการสั่งสอนเผยแพร่พระธรรมคำสอนหรือความจริงอันประเสริฐซึ่งเป็นเรื่องอีกส่วนหนึ่ง และสำหรับผู้สนใจในเรื่องนี้ก็สามารถฝึกฝนและใช้ได้ตามแนวทางที่ทรงแสดงไว้ในส่วนที่ว่าด้วยเรื่องวิธีการสอนของพระตถาคตเจ้านั้น

            อิทธิปาฏิหาริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์คือการกระทำความมหัศจรรย์เหนือมนุษย์โดยอาศัยวิชชาห้าประการในแปดประการคือ อิทธิวิธี มโนมยิทธิ เจโตปริยญาณ ทิพยโสต และทิพยจักษุ ซึ่งจักได้พรรณนาต่อไปโดยลำดับ.


ที่มา
http://www.paisalvision.com/2008-11-06-05-16-28/616--71.html

776
มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน(2/3)




 การฝึกฝนอบรมโดยหนทางเจโตวิมุตจะทำให้ได้รับผลหรือบรรลุถึงวิชชาแปดประการ หรือได้รับสมาบัติ หรือฌานสมาบัติแปดประการ คือ

            ประการแรก อิทธิวิธิญาณ หรืออิทธิ ฤทธิ์ คือความรู้หรืออำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่กระทำให้เกิดความสำเร็จหรือความมหัศจรรย์ล่วงพ้นวิสัยมนุษย์ธรรมดา

            ประการที่สอง ทิพยโสตญาณ คือความรู้หรืออำนาจที่ทำให้หูเป็นทิพย์

            ประการที่สาม เจโตปริยญาณ คือความรู้หรืออำนาจในการรู้ความคิดจิตใจของผู้อื่น

            ประการที่สี่ ทิพยจักษุญาณ คือความรู้หรืออำนาจที่ทำให้ตาเป็นทิพย์

            ประการที่ห้า มโนมยิทธิญาณ คือความรู้หรืออำนาจในการกระทำความมหัศจรรย์ให้สำเร็จได้ด้วยใจ

            ประการที่หก บุพเพนิวาสานุสติญาณ คือความรู้หรืออำนาจในการหยั่งรู้อดีตชาติหรือชาติก่อน ๆ ได้

            ประการที่เจ็ด จุตูปปาตถญาณ คือความรู้หรืออำนาจในการหยั่งรู้การเกิด ดับ ของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป

            ประการที่แปด อาสวัคขยญาณ คือความรู้หรืออำนาจที่ทำให้หลุดพ้นจากกิเลสและอาสวะทั้งหลาย

            ในแปดประการนี้ที่เป็นวิชชาในระดับโลกียะ คือในระดับที่ยังไม่ดับทุกข์สิ้นเชิง หรือยังไม่เหนือพ้นไปจากโลกเจ็ดประการ คือประการที่หนึ่งถึงประการที่เจ็ด และอยู่ในระดับที่เหนือพ้นไปจากโลกหรือระดับโลกุตระคือในระดับขั้นที่ดับทุกข์สิ้นเชิงแล้วคือประการที่แปด

            สำหรับผู้ที่ยังไม่บรรลุถึงอาสวัคขยญาณ ระดับของญาณที่เข้าถึงจึงเป็นระดับของโลกียะ แต่เมื่อเข้าถึงอาสวัคขยญาณแล้วนอกจากระดับของญาณจะเป็นระดับโลกุตระในประการที่แปดแล้ว ยังยกระดับวิชชาหรือความรู้หรืออำนาจตั้งแต่ประการที่หนึ่งถึงประการที่เจ็ดให้เป็นญาณในระดับโลกุตระด้วย

            ญาณในระดับโลกียะนั้นหากยังไม่บรรลุถึงระดับโลกุตระตราบใดย่อมอยู่ในวิสัยที่จะเสื่อมถอยได้ ดังที่ปรากฏอยู่เสมอ ๆ ว่าผู้ที่มีคุณวิเศษบางคนนั้น ในห้วงเวลาหนึ่งสามารถแสดงคุณวิเศษได้จริง แต่เมื่อถูกลาภสักการะหรือกิเลสครอบงำมากขึ้นอำนาจหรือคุณวิเศษนั้นก็เสื่อมถอยจนกลายเป็นคนลวงโลกในที่สุด

            แต่ถ้าเป็นญาณที่ยกระดับถึงขั้นโลกุตระแล้วก็เป็นอันตัดขาดจากกระแสโลกและสังสารวัฏเด็ดขาดสิ้นเชิง เพราะเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการฟื้นกลับไม่เกิดขึ้นได้อีก ดังที่พระตถาคตเจ้ามักตรัสว่าเป็นดั่งตาลยอดด้วน ดังนั้นญาณทั้งหลายจึงดำรงคงอยู่เป็นนิรันดร์ ไม่หวนคืนกลับหรือเสื่อมถอยได้อีก

            คำตรัสสอนในเรื่องปฏิจสมุทบาทที่ว่าอวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารคือการปรุงแต่งนั้น อวิชชาที่ว่านี้ก็คือภาวะที่ตรงกันข้ามกับวิชชา ไม่ใช่ความไม่รู้ซึ่งถูกเพียงส่วนน้อยเท่านั้น และหากจะแปลอวิชชาว่าเป็นความไม่รู้ก็จะทำให้ไม่รู้เรื่อยไป  แต่ถ้าแปลอวิชชาว่าเป็นภาวะที่อยู่ตรงกันข้ามกับวิชชาแล้วก็จะทำให้เกิดความรู้ ความสว่าง และสามารถรับรู้ความจริงอันประเสริฐได้

            วิชชาที่ตัดสังสารวัฏในปฏิจสมุทบาทนั้นก็คือวิชชาแปดประการที่ว่านี้ในระดับที่เป็นโลกุตระโดยเฉพาะคืออาสวัคขยญาณนั่นเอง

            วิชชาเจ็ดประการที่ยังไม่บรรลุถึงอาสวัคขยญาณ แม้จะยังไม่ถึงขั้นโลกุตระก็จริงแต่ก็ทำให้ก้าวพ้นจากความเป็นเปรต ผี อมนุษย์ มนุษย์ ถึงซึ่งความเป็นเทพ พรหม และพระอริยะ แต่ถ้าเมื่อใดที่บรรลุถึงอาสวัคขยญาณเป็นวิชชาที่แปดแล้วก็จะถึงซึ่งความเป็นพระอรหันต์ ดังนั้นอาสวัคขยญาณจึงเป็นวิชชาเอกในการตัดสังสารวัฏถึงซึ่งความดับทุกข์สิ้นเชิง

            ทั้งยังส่งผลให้วิชชาเจ็ดประการข้างต้นหรือญาณเจ็ดประการข้างต้นสามารถเปล่งอานุภาพในระดับที่สูงขึ้นกว่าขั้นที่ยังไม่บรรลุถึงระดับโลกุตระ

            เพราะเหตุที่บรรลุถึงหรือทรงไว้หรือมีวิชชาแปดประการนั้นแล้ว จึงมีขีดความสามารถที่จะกระทำสิ่งที่น่ามหัศจรรย์ล่วงพ้นวิสัยมนุษย์หรือที่เรียกว่าปาฏิหาริย์ได้ และสามารถกระทำได้ในระดับสูงสุด ส่วนการบรรลุถึงวิชชาเจ็ดประการโดยที่ยังไม่บรรลุถึงอาสวัคขยญาณนั้น แม้มีขีดความสามารถที่จะกระทำปาฏิหาริย์ได้ทำนองเดียวกัน แต่ขีดความสามารถนั้นก็อาจเสื่อมถอยได้ดังที่ได้พรรณนามาแล้ว ความต่างกันจึงอยู่ที่ความเสื่อมถอยอย่างหนึ่ง และระดับของการกระทำปาฏิหาริย์อีกอย่างหนึ่ง

ที่มา
http://www.paisalvision.com/2008-11-06-05-16-28/616--71.html

777
มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน

บทความ    - วิมุตตะมิติ - มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน


   การฝึกฝนอบรมจิตเพื่อถึงซึ่งความมหัศจรรย์แห่งโลกภายในหรือวิมุตตะมิติโดยหนทางเจโตวิมุตนั้นมีผลหรือมีอานิสงส์ที่เป็นธรรมดาธรรมชาติของการฝึกฝนอบรมในหนทางสายนี้ คือ อิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ ผลโดยตรงตามธรรมดาธรรมชาตินี้เกิดขึ้นได้และต่างจากการฝึกฝนอบรมแบบปัญญาวิมุตก็เพราะว่าได้ตั้งอยู่บนฐานกำลังอำนาจของจิต

            กำลังอำนาจของจิตที่ได้รับการอบรมจนแกร่งกล้าขึ้นทำให้นามกายแปรเปลี่ยนเป็นทิพยกาย มีอินทรีย์และพละแก่กล้าขึ้น ทั้งมีรากฐานมาจากกัมมัฏฐานวิธีที่เกื้อกูลต่อการเกิด การกระทำ และการใช้อิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ด้วย

            ส่วนการฝึกฝนอบรมโดยหนทางปัญญาวิมุตนั้นแม้จะอาศัยปัญญาเป็นตัวนำ แต่กำลังอำนาจของจิต อินทรีย์และพละก็ได้พัฒนายกระดับตามไปด้วย เป็นแต่ว่าไม่มีจุดเด่นหรือไม่เด่นชัดเหมือนกับการฝึกฝนอบรมโดยหนทางเจโตวิมุต ทั้งการเดินหนทางปัญญาวิมุต ปัญญาจะแก่กล้าจึงก้าวข้ามพ้นจากการเห็นความสำคัญของอิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ ดังนั้นผู้ที่เดินหนทางสายนี้จึงมักที่จะไม่นิยมในการกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์

            แต่ใช่ว่าอิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ จะไม่เกิดขึ้น หรือกระทำไม่ได้ นั่นคือสามารถกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ได้ เป็นแต่ไม่อยากทำ ไม่สนใจที่จะทำ หรือฝึกฝนยกระดับพัฒนาความสามารถในทางนี้

            ดังตัวอย่างในระยะใกล้คือท่านเจ้าคุณพุทธทาสซึ่งแม้ว่าท่านจะเดินหนทางปัญญาวิมุต แต่ก็ปรากฏว่าท่านเจ้าคุณสามารถกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ได้ในบางระดับ เช่นการทดลองกระทำฤทธิ์ครั้งหนึ่งที่ทำให้ปลามาอยู่ในมือที่ชูขึ้นในอากาศ ซึ่งท่านเจ้าคุณเห็นว่าได้สัมผัสกับฤทธิ์แบบกระจุ๋มกระจิ๋มแล้วแต่เห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ จึงตั้งจิตว่าจะไม่กระทำเช่นนั้นอีกต่อไป เหตุนี้หลังจากท่านเจ้าคุณเริ่มเปิดการอบรมสั่งสอนแก่เวไนยสัตว์เป็นล่ำเป็นสันแล้วจึงไม่เคยปรากฏคุณสมบัติในเรื่องนี้

            สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเดินหนทางปัญญาวิมุตเช่นเดียวกัน แต่ก็มีหลายครั้งที่ทรงกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ เช่นการกระทำโทรจิตนิมนต์พระอริยสงฆ์ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอาราธนา หรือการเจริญอิทธิบาทเพื่อให้คลายจากอาการพระประชวรตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอาราธนาเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2547 เป็นต้น

            สำหรับหลวงตาพระมหาบัวนั้นได้เดินในหนทางเจโตวิมุตเช่นเดียวกับพระป่าในสายพระอาจารย์มั่น จึงสามารถกระทำอิทธิฤทธิ์ได้ตามธรรมดาธรรมชาติของผู้ฝึกฝนอบรมปฏิบัติในหนทางเจโตวิมุตนี้ ในห้วงเวลาอันเป็นปัจจุบันนี้ก็ปรากฏว่าเคยกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ให้ประจักษ์ถึงสองครั้ง คือการกระทำอิทธิฤทธิ์แปลงมวลสารโมเลกุลในเลือดเพื่อรักษาโรคร้ายของบุคคลสำคัญจนรอดพ้นจากเงื้อมมือมัจจุราชได้อย่างมหัศจรรย์ และการกระทำอิทธิฤทธิ์ช่วยเหลือชีวิตบุคคลสำคัญอีกคนหนึ่งให้รอดพ้นจากเหตุการณ์ระเบิดเครื่องบิน

            ในยุคต้นรัตนโกสินทร์ก็ปรากฏว่ามีพระมหาเถระหลายรูปที่เดินหนทางเจโตวิมุตและสำเร็จอภิญญาชั้นสูง เช่น สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) หลวงพ่อวัดมะขามเฒ่า ผู้เป็นพระอาจารย์ของเสด็จในกรม กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือแม้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ดังที่ปรากฏคำประกาศพระคุณว่า “เจ้าพระคุณฯ ผู้ทรงบำเพ็ญพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ สำเร็จพรหมวิหารชั้นสูง เป็นเอกพระมหาเถราจารย์ ทรงพระอิทธิปาฏิหาริย์อันศักดิ์สิทธิ์ …” เป็นต้น

ที่มา
http://www.paisalvision.com/2008-11-06-05-16-28/616--71.html

778
ผลแห่งการชักชวนให้คนสร้างกุศล..

ในทางพุทธศาสนา การชักชวนผู้อื่นทำความดีนั้น ผู้ชักชวนก็ได้บุญ และทำให้เป็นผู้มีบริวารมาก หากทำด้วยตัวเองด้วยก็ยิ่งจะได้ทั้งทรัพย์สมบัติและบริวาร ดังเรื่องที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาลว่า

กาลครั้งหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลได้รับสั่งให้สันตติมหาอำมาตย์ ไปปราบปรามโจรที่กำลังฮึกเหิมอย่างหนัก เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงทราบว่า มหาอำมาตย์ปราบโจรได้อย่างราบคาบแล้วทรงพอพระราชหฤทัยมาก จึงพระราชทานทรัพย์สมบัติให้เป็นจำนวนมากรวมทั้งหญิงสาวที่เก่งในการร้องเพลงและฟ้อนรำนางหนึ่ง อำมาตย์ได้ดื่มเหล้าฉลองชัยชนะจนเมามายถึงเจ็ดวันเจ็ดคืน ในวันที่เจ็ดเขาจัดแจงแต่งตัวด้วยอาภรณ์อย่างดีแล้วขี่ช้างตัวที่ดีที่สุดไปยังท่าอาบน้ำ เมื่อไปถึงก็เห็นพระศาสดากำลังเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมือง เขาจึงผงกศีรษะถวายบังคมด้วยความเคารพ ในขณะที่นั่งอยู่บนคอช้างนั่นเอง

เมื่อพระศาสดาทรงเห็น จึงทรงแย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์จึงทูลถามถึงสาเหตุที่พระองค์ทรงแสดงกิริยาเช่นนั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า "อานนท์ เธอจงดูสันตติมหาอำมาตย์ วันนี้เขาประดับด้วยอาภรณ์อย่างดี มาสู่สำนักเรา เขาจะบรรลุพระอรหัตเพียงเพราะไดัฟังธรรมเพียงนิดเดียวเท่านั้นเองและจะปรินิพพานในอากาศ"

บรรดาชาวบ้านที่ได้ฟังคำของพระศาสดา บางพวกที่เป็นมิจฉาทิฏฐิคิดว่า "ท่านทั้งหลาย จงดูกิริยาของพระสมณโคดม พระองค์ย่อมพูดสักแต่ปากเท่านั้น ในวันนี้สันตติมหาอำมาตย์นั้นเมาสุราอย่างหนักจะได้ไปฟังเทศน์ฟังธรรมที่ไหน พวกเราจักจับผิดพระสมณโคดมที่กล่าวมุสาวาท"

ส่วนพวกที่เป็นสัมมาทิฏฐิคิดกันว่า "น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอานุภาพมาก ในวันนี้ เราทั้งหลาย จักได้ดูการเยื้องกรายของพระพุทธเจ้าและการเยื้องกรายของสันตติมหาอำมาตย์"

ฝ่ายมหาอำมาตย์หลังลงเล่นน้ำตลอดทั้งวันที่ท่าอาบน้ำแล้ว จึงกลับไปสู่อุทยาน และไปนั่งในโรงดื่ม ขณะที่หญิงสาวที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานให้นั้นก็ขึ้นไปยืนอยู่ที่กลางเวทีเตรียมจะฟ้อนรำให้มหาอำมาตย์ดู แต่พอเริ่มจะแสดง นางก็กลับมีลมพิษเกิดขึ้นในท้องอย่างหนัก ปากอ้า ตาเหลือก และในที่สุดก็ขาดใจตาย สาเหตุเพราะกินอาหารน้อยมาตลอด ๗ วัน เพื่อให้ร่างกายอ้อนแอ้นน่าชมนั่นเอง

เมื่อมหาอำมาตย์รู้ว่านางตายแล้ว เขาก็เกิดความเศร้าโศกอย่างแรงกล้าขึ้นมา กระทั่งส่างเมาทันที พิษของสุราที่ดื่มมาตลอด ๗ วัน ได้เสื่อมหายไป เขาคิดว่าคงไม่มีใครที่จะสามารถระงับความโศกเศร้าของเขาได้ เขาจึงไปขอเข้าเฝ้า พระศาสดาในตอนเย็นพร้อมกับบริวารและกราบทูลถึงเหตุแห่งความโศกเศร้าที่เกิดขึ้นกับตน และเหตุที่มาเฝ้าพระพุทธเจ้า

ครั้นพระศาสดาได้ฟังเรื่องราวทั้งหมดแล้ว จึงตรัสว่า "ท่านมาหาเราผู้สามารถที่จะดับความโศกได้แน่นอน อันที่จริงน้ำตาที่ไหลออกของท่านผู้ร้องไห้ในเวลาที่หญิงนี้ตายด้วยเหตุอย่างนี้ มากกว่าน้ำของมหาสมุทรทั้ง ๔ ซะอีก" แล้วจึงตรัสพระคาถา ว่า

"กิเลสเครื่องกังวลใด มีอยู่ในกาลก่อน เธอจงยังกิเลสเครื่องกังวลนั้น ให้เหือดแห้งไป กิเลสเครื่องกังวล จงอย่ามีแก่เธอในภายหลัง ถ้าเธอจักไม่ยึดถือขันธ์ ในท่ามกลาง จักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป"

หลังจากพระองค์เทศน์จบ สันตติมหาอำมาตย์ก็บรรลุพระอรหัตผล แล้วพิจารณาดูอายุสังขารของตน ทราบว่าตัวเองจะหมดอายุขัยแล้ว จึงกราบทูลพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทรงอนุญาตการปรินิพพานแก่ข้าพระองค์เถิด"

พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "สันตติมหาอำมาตย์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงเล่ากรรมที่เธอเคยทำไว้ในอดีตแก่เรา แต่ก่อนจะเล่า จงอย่ายืนบนพื้นดิน จงยืนบนอากาศชั่ว ๗ ลำตาล"

มหาอำมาตย์จึงถวายบังคมพระศาสดา จากนั้นก็ขึ้นไปสู่อากาศชั่วลำตาลหนึ่ง แล้วลงมาถวายบังคมพระศาสดาอีก และขึ้นไปนั่งโดยบังลังก์บนอากาศ ๗ ชั่วลำตาลแล้ว จึงเล่าบุรพกรรมของตนเองว่า

ในกัลป์ที่ ๙๑ แต่กัลป์นี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ตนได้บังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง ในพันธุมดีนคร คิดอยู่ว่า อะไรหนอเป็นกรรมที่ไม่ทำการตัดรอนหรือบีบคั้นชนเหล่าอื่น เมื่อใคร่ครวญอยู่อย่างนี้ จึงรู้ว่ากรรมคือ การป่าวร้องบอกบุญ ชักชวนคนทำบุญ เป็นสิ่งที่ดี จึงชักชวนชาวบ้านทำบุญ เที่ยวเชิญชวนชาวบ้านทำบุญสมาทาน อุโบสถศีลในวันอุโบสถ ถวายทานและฟังเทศน์ฟังธรรม เพื่อให้เข้าถึงพระรัตนตรัย

ผลของการชักชวนชาวบ้านบำเพ็ญบุญบำเพ็ญกุศลนั้นมีมากมายยิ่งนัก ดังที่เกิดขึ้นกับตน คือ พระราชาผู้ใหญ่ทรง พระนามว่า ‘พันธุมะ' เป็นพระพุทธบิดา เมื่อได้ทรงสดับความดังนั้น จึงรับสั่งให้เรียกตนมาเฝ้า แล้วตรัสถามว่า กำลังทำอะไร ตนจึงทูลไปว่า ได้เที่ยวประกาศคุณของพระรัตนะตรัย ชักชวนชาวบ้านทำบุญ ทำกุศล

พระราชาได้ตรัสถามว่า นั่งอะไรไป ตนได้กราบทูลไปว่า เดินไป จึงตรัสขึ้นว่าไม่เหมาะที่จะเดินไปอย่างนั้นหรอก จงประดับพวงดอกไม้นี้แล้วขี่ม้าไปเถิด ตรัสแล้วก็พระราชทานพวงดอกไม้ และม้าที่ฝึกแล้วให้ ต่อมาพระราชาเห็นว่าม้าก็ไม่สมควร จึงได้พระราชทานรถที่เทียมด้วยม้าพันธุ์ดี และไม่นานพระราชาก็คิดว่ารถเทียมม้าก็ไม่สมควรอีก จึงได้พระราชทานทรัพย์สินเงินทองพร้อมทั้งเครื่องประดับเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังได้พระราชทานช้างเชือกหนึ่งด้วย ตนจึงนั่งบนคอช้าง ออกเที่ยวชักชวนคนทำบุญทำกุศลอยู่อย่างนี้สิ้นแปดหมื่นปี กลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากกาย กลิ่นอุบล ฟุ้งออกจากปากตลอดกาลมีประมาณเท่านี้"

หลังจากสันตติอำมาตย์กราบทูลบุรพกรรมของตนแล้ว ท่านก็ปรินิพพานบนอากาศนั่นเอง
........
วิธีการทำบุญที่สันตติอำมาตย์ได้ชวนผู้อื่นทำนั้น มีทั้งการให้ทาน รักษาศีล และฟังธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ ไม่มีทรัพย์สินเงินทองก็สามารถทำได้ เพราะวิธีการทำบุญมีมากมายหลายวิธี เราสามารถทำบุญด้วยการรักษาศีล ฟังธรรม และเจริญภาวนา เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่ให้อานิสงส์มากมายยิ่งนักแก่ผู้ปฏิบัติ ไม่ได้น้อยไปกว่าการทำบุญด้วยวัตถุสิ่งของเลย

จะเห็นว่าสันตติอำมาตย์ได้ทำบุญอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน แสดงให้เห็นถึงการมีจิตใจแน่วแน่เด็ดเดี่ยวในการทำความดี ดังนั้น หากเราคิดอยากจะได้บุญที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ ก็จงแน่วแน่ในการสร้างความดีต่างๆ อย่าท้อแท้หมดกำลังใจเมื่อมีมารมาขัดขวาง นอกจากนั้นจงใช้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวเป็นปัจจัยในการเข้าถึงสัจธรรม เพราะทุกอย่างที่อยู่รอบตัว สามารถเป็นบทเรียนให้เราได้ หากเรารู้จักใช้สติปัญญาพิจารณาอย่างจริงจัง และน้อมเข้ามาเปรียบเทียบกับตัวเอง และเมื่อเรามีปัญญาเห็นความจริงแล้ว ก็จงพยายามถ่ายทอดต่อไปยังคนอื่นๆ การชี้ทางให้แก่คนอื่น ก็เป็นบุญอันยิ่งใหญ่ เป็นธรรมทาน มีอานิสงส์มากมาย

(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 90 พ.ค. 51 โดย มาลาวชิโร)

779
คำวัด - ฉัน - หอฉัน


อาคารหอฉัน มจร วังน้อย พระนครศรีอยุธยา มูลค่าก่อสร้าง ๘๕ ล้านบาท

คมชัดลึก :พุทธศาสนิกชนจำนวนไม่น้อยคิดว่า ภิกษุจะฉันได้แค่ก่อน เวลาเพล หรือก่อนเที่ยงวันเท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว ในพระวินัยปิฎก หมวด มหาวรรค บทที่ ๖. เภสัชชขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องยาตลอดจนเรื่องกัปปิยะอกัปปิยะ และกาลิกทั้ง ๔) กล่าวไว้ว่า

   กาลิก เนื่องด้วยกาล, ขึ้นกับกาล, ของอันจะกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปซึ่งพระวินัยบัญญัติให้ภิกษุรับเก็บไว้และฉันได้ภายในเวลาที่กำหนด จำแนกเป็น ๔ อย่าง คือ

 ๑. ยาวกาลิก  รับประเคนไว้ และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของวันนั้นเช่น ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ ขนมต่างๆ

 ๒. ยามกาลิก รับประเคนไว้ และฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือก่อนอรุณของวันใหม่ ได้แก่ ปานะ คือ น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต

 ๓. สัตตาหกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ภายในเวลา ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕ คือ ๑.สัปปิ หมายถึง เนยใส ๒.นวนีตะ หมายถึง เนยข้น ๓.เตละ หมายถึง น้ำมัน ๔.มธุ หมายถึง น้ำผึ้ง และ ๕.ผาณิต หมายถึง น้ำอ้อย

 ๔. ยาวชีวิก รับประเคนแล้ว ฉันได้ตลอดไปไม่จำกัดเวลา ได้แก่ของที่ใช้ปรุงเป็นยา

 ทั้งพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า “ฉัน” ในคำวัดใช้ใน ๒ ความหมาย คือ

 ๑.ใช้แทนคำว่า กิน และ ดื่ม ของพระภิกษุสามเณร เช่นใช้ว่า “ฉันภัตตาหาร ฉันเช้า ฉันเพล” หรือ “ฉันน้ำปานะ ฉันน้ำส้ม”

 ๒.ใช้แทนตัวเองเมื่อพระภิกษุสามเณรพูดกับชาวบ้านที่คุ้นเคยกัน หรือ ไม่เป็นทางการ คือ ใช้แทนคำว่า อาตมา หรือ อาตมภาพ ซึ่งเป็นภาษาเขียน และค่อนข้างเป็นทางการ เช่นใช้ว่า "วันนี้ฉันไม่ว่าง ขอไปวันอื่นก็แล้วกัน" หรือ "ฉันขอร้องโยมละ ค่อยๆ พูดกันก็ได้"

 ฉัน ในความหมายหลังนี้ มาจากคำเต็มว่า ดีฉัน ซึ่งเป็นคำที่ผู้ชายพูดแทนตัวเองในสมัยก่อน ปัจจุบันคำว่า ดีฉัน ไม่นิยมใช้กันแล้ว ใช้ว่า ฉัน เฉยๆ

 ส่วนคำว่า “หอฉัน” เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า อาคารหรือศาลาที่สร้างไว้สำหรับเป็นที่ฉันอาหารของพระสงฆ์โดยเฉพาะ เรียกว่า โรงฉัน หรือ ศาลาหอฉันก็ได้

 หอฉัน ปกติจะเป็นศาลาโถงที่โปร่งไม่อับทึบ มองเห็นได้ทุกทิศทุกทาง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก นิยมสร้างเป็นสัดส่วนไว้ท่ามกลางวัด หรือ ท่ามกลางหมู่กุฏิหมู่ ใช้เป็นที่ฉันรวมกันของภิกษุสามเณรทั้งวัด หรือเฉพาะในแต่ละคณะสำหรับวัดที่มีหลายคณะ

 หอฉัน คำเดิมใช้ว่า อุปัฏฐานศาลา หมายถึง ศาลาเป็นอุปัฏฐากพระ  และ อาสนศาลา หมายถึง ศาลาสำรับนั่งฉัน

"พระธรรมกิตติวงศ์"

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110610/99975/คำวัด-ฉัน-หอฉัน.html

780
คำวัด - อนุโมทนา- อนุโมทนาบัตร


การยกมือไหว้เหนือหัวแล้วกล่าวคำว่า "สาธุ" เมื่อเห็นคนอื่นทำบุญก็ได้บุญแล้ว

คมชัดลึก :"สาธุ" มาจากรากศัพท์ว่า สาธฺ (หรือ สธฺ) ในความหมายว่า สำเร็จ และประกอบด้วย รู ปัจจัย (สาธ + รู = สาธุ) หมายถึง ผู้ใดยังประโยชน์ของตนและของผู้อื่น ย่อมให้สำเร็จ ดังนั้นผู้นั้นชื่อว่า สาธุ (ยังประโยชน์ของตนและชองผู้อื่นให้สำเร็จ) ดังเช่น ทายกที่ไปทำบุญมา เมื่อเจอญาติมิตรเพื่อนฝูง หลังจากเล่าเรื่องราวให้ฟังแล้วมักจะตามด้วยการให้ส่วนบุญว่า รับส่วนบุญด้วยนะ และโดยมากมักจะรับกันว่า สาธุ นั่นคือ การอนุโมทนา

   พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า อนุโมทนา (อะ-นุ-โม-ทะ-นา) แปลว่า ความยินดีตาม ความพลอยยินดี หมายถึง การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญ หรือความดีของผู้อื่นทำ

 อนุโมทนา อาจทำได้ด้วยคำพูด เขียนหนังสือ หรือแสดงกิริยาก็ได้ เช่น ได้ยินเสียงย้ำฆ้องกลองที่วัดในตอนเย็น แสดงว่าพระท่านทำวัตรเย็นจบ ก็ยกมือขึ้นประนมไหว้เปล่งวาจาว่า “สาธุ” เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วก็ยกมือสาธุ เป็นการอนุโมทนาบุญของเขาด้วย

 เรียกการพูดแสดงความยินดีในความดีของผู้อื่นว่า อนุโมทนากถา
 เรียกบุญที่เกิดจากอนุโมทนาตามตัวอย่างข้าต้นว่า อนุโมทนามัยบุญ

 ส่วนคำว่า “อนุโมทนาบัตร” (อะ-นุ-โม-ทะ-นา-บัด) เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า หนังสือรับรองการบริจาคที่วัดออกให้ผู้บริจาคทรัพย์ทำบุญ เรียกว่า “ใบอนุโมทนา” ก็มี

 อนุโมทนาบัตร เป็นหลักฐานแสดงการบริจาคทรัพย์ให้แก่วัด เพื่อบำรุงศาสนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ก่อสร้างเสนาสนะถาวรวัตถุ ตั้งทุนบำรุงการศึกษา ถวายเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร หรือ กิจกรรมอื่นใดในวัดนั้นๆ

 นอกจากเป็นหลักฐานสำหรับวัดแล้ว ยังเป็นการบำรุงศรัทธาสร้างวามปลื้มปีติแก่ผู้บริจาคเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่งด้วย เพราะแสดงถึงความบริสุทธิ์ในการรับ ขณะเดียวกันอนุโมทนาบัตรยังใช้เป็นหลักฐานการขอลดภาษี หรือขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้ด้วย

 อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกคำหนึ่งที่เกี่ยวข้อง คือ “สัมโมทนียกถา” (สัม-โม-ทะ-นี-ยะ-คา-ถา) แปลว่า ถ้อยคำอันเป็นที่บันเทิงใจ คำพูดที่ทำให้ประทับใจ เรียกว่า อนุโมทนากถา ก็ได้

 สัมโมทนียกถา ใช้เรียกการที่ภิกษุพูดแสดงความขอบคุณ หรือกล่าวถึงประโยชน์และอานิสงส์ของความดี หรือบุญกุศลที่ทายกทายิกาได้ทำ เช่น ถวายอาหาร สร้างกุฏิ สร้างหอระฆังไว้ในพุทธศาสนาว่า กล่าวสัมโมทนียกถา

"พระธรรมกิตติวงศ์"

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110617/100603/คำวัด-อนุโมทนา-อนุโมทนาบัตร.html

781
ฟัง..เรื่อง วิชชาแปดประการ โดย พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ



http://www.braille-cet.in.th/Braille-CET/index.php?option=com_content&view=article&id=505%3A2010-05-03-10-40-26&catid=83&Itemid=69


วิชชาแปดประการ
ผู้เขียน   หลวงวิจิตรวาทการ, พล.ต.

:: เนื้อหาโดยสังเขป
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ เป็นเรื่องราวของหลักธรรมชั้นสูงของพระพุทธเจ้า ในการฝึกจิต ฝึกสมาธิให้บรรลุธรรมชั้นสูง เนื้อหาอาจจะดูยากและหนัก แต่ถ้าทำความเข้าใจอย่างช้าๆ ก็จะเข้าใจหลักธรรมนี้ได้เป็นอย่างดี

:: สารบัญ
ก. หลักของโยคี
ข. หลักเรื่องกสิณและฌาณ
- วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา)
- มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ)
- อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้)
- ทิพโสต (หูทิพย์)
- เจโตปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น)
- ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
- ทิพยจักษุ (ตาทิพย์)
- อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป)

782
วิธีที่ ๒ การมองดูลูกแก้วนั้น ก็คือ อาโปกสิณนั่นเอง โดยที่ครั้งโบราณใช้วิธีมองในน้ำ ส่วนลูกแก้วนั้น เป็นของใหม่ที่ฝรั่งคิดทำขึ้นภายหลัง แท้จริงของอะไรที่ใส หรือมีเงา ก็เอาใช้ได้ทั้งนั้น ถึงในเวลานี้ ชาวอียิปต์และอินเดียก็ยังใช้น้ำใส่ในถ้วย พวกแอฟริกาใช้มองดูน้ำในบ่อ พวกนิวซีแลนด์ใช้หยดเลือดของสัตว์ แต่ชาวยุโรปเห็นว่า ลูกแก้วเป็นสิ่งที่ฝึกหัดได้เร็วที่สุด

วิธีฝึกหัดนั้น เขาวางแบบไว้ดังนี้

๑. ให้หัดในห้องที่เงียบ ๆ ซึ่งจะไม่ถูกรบกวนเลย และอากาศไม่ร้อนเกินไป ควรจะเป็นห้องเปล่า ไม่มีรูปภาพอะไรอยู่ในนั้น ไม่สว่างเกินไปและไม่มืดเกินไป ทั้งต้องให้แสงสว่างมาข้างหลัง มิให้แสงเข้ามาข้างหน้า

๒. สิ่งที่จะดูนั้น จะเป็นลูกแก้วหรือถ้วยแก้วธรรมดาบรรจุน้ำก็ตาม จะต้องมีผ้า หรือกระดาษดำรองข้างล่าง

๓. ห้ามมิให้ฝึกหัดทันทีที่รับประทานอาหารแล้ว ต้องรอให้อาหารย่อยเสียก่อน

๔. ให้นั่งอย่างสบายที่สุด มองดูข้างในลูกแก้วหรือถ้วยน้ำนั้น ไม่ใช่มองดูรอบนอก ไม่ให้เพ่งเกินไป ให้มองอย่างที่เรามองดูอะไรตามปรกติ และข้อสำคัญที่สุดก็คือ สมาธิ ทำให้ใจแน่วแน่อยู่ในลูกแก้วและถ้วยน้ำนั้น มิให้นึกถึงอย่างอื่นเลยเป็นอันขาด

๕. ใน ๑๐ ครั้งแรก คงจะไม่เห็นอะไรเลย และนับว่าถ้าใครเห็นในครั้งที่ ๒ ก็จะจัดเป็นอย่างเร็วที่สุด ในครั้งแรกให้นั่งเพียง ๑๕ นาที แล้วเก็บลูกแก้วหรือถ้วยนั้นไว้ในที่มืด มิให้ใครแตะต้อง วันรุ่งขึ้นให้นั่งในเวลาเดียวกันกับที่นั่งมาแล้วในวันก่อน ขยายเวลาให้นานขึ้นอีก ๕ นาทีทุกครั้งไป จนถึงหนึ่งชั่วโมง แต่มิให้นานมากกว่านั้น

๖. เมื่อใดเห็นว่า ภายในลูกแก้วหรือในถ้วยน้ำ เป็นหมอกหรือควัน และมีจุดกลมเท่าปลายเข็มหมุด เป็นสีขาววนเวียนอยู่กลางหมอกนั้น ก็เป็นอันว่าเราได้ชัยชนะแล้ว ในเวลานั้น ให้รวมกำลังใจทั้งหมด หันไปหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เราต้องการทราบ เช่นพี่น้องมิตรสหายของเราที่อยู่ห่างไกลกำลังทำอะไรอยู่ ตามธรรมดาจะมองเห็นทันที และการดูในครั้งหลัง ๆ จะเปลี่ยนดูคนอื่น ๆ ต่อ ๆ ไป จนในที่สุด ดูตัวเราเองสำหรับอนาคต หรือจะดูเหตุการณ์ใด ๆ ที่เราอาจตั้งปัญหากับหมอดูได้แล้ว เราอาจตั้งปัญหากับลูกแก้วได้เสมอ


วิธีการดังกล่าวข้างต้นนี้ เป็นแต่คัดลอกมาจากตำราเท่านั้น ไม่รับรองว่าจะทำได้ผลสำเร็จเพียงไร

ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น เป็นวิธีที่มองเห็นโดยการฝึก โดยความตั้งใจให้แลเห็น แต่นอกจากนั้นคนเรายังอาจเห็นได้ด้วยความบังเอิญ เช่นในอุทาหรณ์ ๒-๓ เรื่อง ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น (ดู “วิชชาทิพยจักษุ (Clairvoyance) ของฝรั่งและโยคี” - ผู้คัดลอก)

ส่วนในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้น ท่านบัญญัติให้ใช้อาโลกกสิณเป็นสำคัญ กล่าวคือ ให้กระทำให้เกิดความสว่าง ซึ่งสามารถจะทำลายความลี้ลับ และสิ่งกั้นกางทั้งหลาย ให้ดวงตาสามารถแลเห็นได้ตลอด จนกระทั่งเห็นสัตว์กำลังเกิด กำลังจุติ

เรื่องนี้ลัทธิโยคีเขาก็มีเช่นนั้น และเขากล่าวไว้ว่า ผู้บรรลุทิพยจักษุ ย่อมสามารถแลเห็นเจตภูต ซึ่งกำลังวิ่งพล่านซับซ้อนกันอยู่ในโลก แต่อรรถาธิบายของพระพุทธโฆษาจารย์นั้น ไม่ปรากฏว่าจะใช้ทิพยจักษุเป็นเครื่องรู้อดีต ทำนายอนาคตได้ อย่างวิธีของโยคีและฝรั่ง


.....................................................
คัดลอกโดย.......“ง้วนดิน”
จากหนังสือ.......วิชชาแปดประการ (ตีพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๗๑)
ผู้แต่ง.............พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ
http://www.puansanid.com/forums/showthread.php?t=4451

783
"วิธีฝึกทิพยจักษุของฝรั่งและโยคีในอินเดีย"
โดย...หลวงวิจิตรวาทการ


วิธีที่ฝรั่งและโยคีในอินเดียใช้สำหรับทำให้เกิดทิพยจักษุ มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ในอดีต, อนาคต และปัจจุบัน มีอยู่ ๓ วิธี คือ

วิธีที่ ๑ โดยแตะต้องวัตถุอันใดอันหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับบุคคล, สถานที่, หรือเหตุการณ์ที่ต้องการจะทราบนั้น
วิธีที่ ๒ โดยมองดูลูกแก้ว หรือถ้วยน้ำ
วิธีที่ ๓ โดยสะกดตัวเองให้หลับ อย่างวิธีเข้าฌานของเรา

วิธีที่ ๑ และวิธีที่ ๒ นั้น พอจะนำมาบรรยายไว้ในที่นี้ เพื่อเป็นเครื่องประกอบความดำริของผู้ที่ใฝ่ใจในวิชชานี้บ้าง แต่ส่วนวิธีที่ ๓ นั้น เป็นเรื่องสะกดดวงจิต ซึ่งอยู่นอกขอบเขตของหนังสือเล่มนี้
แต่วิธีที่ ๑ และ ๒ นั้น หาอันตรายมิได้ และแม้จะทำไม่สำเร็จ ก็เป็นประโยชน์ที่ยังเป็นเครื่องหัดความจำและมโนคติของเราให้ดีขึ้นอย่างหนึ่ง ทั้งปลูกสมาธิให้เกิดขึ้นได้อีกอย่างหนึ่ง
ความจำ มโนคติ และสมาธิ ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นประโยชน์แก่เราในกิจการทุกประเภท

ส่วนวิธีการนั้น เขาอธิบายไว้ดังต่อไปนี้

ขั้นแรกของวิธีที่ ๑ นั้น เขาให้ตั้งต้นที่ของง่าย ๆ ไปก่อน เช่น เอาจดหมายเก่า ที่มีคนเขียนถึงเราเป็นเวลานานมาแล้วมากำไว้ในมือ และพยายามนึกถึงคนที่เขียนนั้น ว่ามีลักษณะรูปร่างหน้าตา นิสัยใจคอเป็นประการใด พยายามทำเช่นนี้ จากคนที่เรารู้จักดีที่สุดก่อน จนถึงคนที่เรารู้จักน้อยที่สุด

ขั้นที่ ๒ เมื่อไปเที่ยวที่แห่งหนึ่งแห่งใด ต่างถิ่นต่างจังหวัด จงเก็บเอาก้อนดินก้อนหนึ่งมา ถือก้อนดินไว้ในมือ พยายามระลึกถึงที่นั้น จนเห็นภาพติดตาเราเกือบเป็นอุคคหนิมิต

ขั้นที่ ๓ เอาสิ่งของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งมาจากที่ที่เราไม่เคยเห็นเลย แต่เคยทราบเรื่องอยู่บ้าง เช่น เอาผ้าเช็ดหน้าผืนหนึ่ง ที่มาจากประเทศอังกฤษ ที่เราไม่เคยเห็นเลย แต่ได้ทราบจากหนังสือบ้าง โดยมีใครเล่าให้ฟังบ้าง ว่าประเทศนั้นเป็นอย่างไร เอาผ้าเช็ดหน้านั้นมาถือไว้ แล้วพยายามเขียนภาพประเทศอังกฤษลงในหัวเรา และใช้มโนคติให้แลเห็นเสมือนหนึ่งตัวเราอยู่ในที่นั้น ๆ

ขั้นที่ ๔ เอาของซึ่งมาจากที่ที่เราไม่เคยเห็น ไม่เคยทราบเรื่องราวเลยมาถือไว้ และพยายามนึกเอาเองว่า ของเหล่านั้นมาจากที่แห่งไร

ขั้นที่ ๕ ถ้าสามารถจะทำได้ ลองเก็บเอาของที่คนใดคนหนึ่งซึ่งเราไม่รู้จักเลย เขาโยนทิ้ง เป็นต้นว่ากล่องบุหรี่ กลักไม้ขีดไฟ หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ เอามาถือไว้ แล้วพยายามนึกถึงคนเหล่านั้น ว่านิสัยใจคอเป็นอย่างไร มีอาชีพในทางไร เวลานี้กำลังทำอะไรอยู่ ฯลฯ

ตามวิธีที่อธิบายมาเป็นขั้น ๆ นี้ จะเห็นได้ว่า มโนคติเป็นเครื่องช่วยอย่างสำคัญ และกระแสที่ติดอยู่กับสิ่งของนั้น ๆ เป็นเครื่องทำให้มโนคติของเราใกล้ความจริงมากขึ้นทุกที ถึงกับถูกต้องตามความจริงมากที่สุดในเมื่อฝึกหัดมาก ๆ เข้า ฝรั่งได้ใช้วิธีนี้ จับผู้ร้ายได้บางครั้ง ในกรณีที่เหลือวิสัยที่จะทราบตัวผู้ร้ายได้ แต่เผอิญผู้ร้ายทิ้งของบางอย่างไว้ในที่ที่กระทำผิด เอาของนั้นมาให้ผู้เชี่ยวชาญในวิชชานี้ลองทำ เมื่อผู้เชี่ยวชาญบอกตัวว่า คนไหนเป็นผู้ร้าย ตำรวจก็ลองเชิญตัวมาไต่ถาม และโดยอาศัยความฉลาดของผู้ที่ซักไซ้ไล่เลียง ในที่สุดจะทำให้ผู้ร้ายต้องรับสารภาพ หรือเป็นโอกาสให้ได้พิสูจน์ ที่กฎหมายต้องการขึ้นมาเอง


ที่มา
http://www.puansanid.com/forums/showthread.php?t=4451

784

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านมุ่งมั่นในเรื่องการอบรมธรรมปฏิบัติให้กับพระ ภิกษุสามเณร ศรัทธาญาติโยม และพุทธบริษัททั้งหลาย เสมอมา ท่าน หวังให้ทุกผู้ทุกคนได้เข้าใจถ่องแท้ถึงแก่นแห่งพระพุทธศาสนา สามารถ นำไปปฏิบัติได้อย่างถูกทางและถูกต้อง จะเห็นได้ว่า ท่านได้ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา เอาใจใส่ในอันที่จะชี้นำทางแห่งความสงบ สว่าง และหลุดพ้นจากอาสวกิเลสทั้งปวง ในทุกๆวิถีทาง และในทุกๆโอกาส โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย..เหนื่อยยาก แม้ว่าวัยของท่านจะสูงขึ้น สุขภาพของท่านเริ่มถดถอย แต่ภารกิจของท่านก็ยังคงมีมากมาย และ ดูเหมือนจะทยอยมีมาเพิ่มขึ้นเสมอๆ การดั่งนี้จึงเป็นที่เคารพบูชายกย่อง สรรเสริญจากพระภิกษุสามเณร และบรรดาศิษยานุศิษย์ทุกถ้วนหน้า สมดังพระหัตถเลขาของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปริณายก ในธรรมโมทนาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ จาก หนังสือ ฐานิยปูชา ฉบับครบ ๖ รอบ ของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ที่ว่า....

"ท่านเจ้าคุณพระราชสังวรญาณ เป็นพระเถราจารย์ผู้ทำประโยชน์แก่ พระศาสนาและประชาชนมามาก เป็นผู้ยินดีเอาใจใส่ในการอบรมสั่งสอน ธรรมะแก่พระภิกษุสามเณร ตลอดถึงสาธุชนผู้มาสู่สำนักด้วยเมตตา เป็นผู้ชี้นำในธรรมปฏิบัติ ทั้งเป็นผู้ปฏิบัติสำรวมตนในพระธรรมวินัย เป็นแบบอย่างอันดีแก่ศิษยานุศิษย์มาโดยตลอด กล่าวได้ว่าเป็นผู้ทรง เถรธรรมตามนัยแห่งพระพุทธภาษิต ที่ว่า...

ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ อหึสา สญฺญฺโม ทโม ส เว วนฺตมโล ธีโร โส เถโรติ ปวุจฺจติ

สัจจะ (ความจริง) ๑ ธรรม ๑ ความไม่เบียดเบียน ๑ ความสำรวม ๑ ความข่มใจ ๑ มีในผู้ใดผู้นั้นแล ท่านเรียกว่า ผู้มีปัญญา มีมลทินอัน คลายแล้วเป็นเถระ ดังนี้"

จากหนังสือพระธรรมเทศนา หลวงพ่อพุธ ฐานิโย โดยธรรมสภา

แหล่งที่มา :: www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-poot/lp-poot_hist.htm

785

วัดอรัญญวิเวก จ.เชียงใหม่

๏ พรรษาที่ 8 (พ.ศ. 2509) : จำพรรษา
วัดอรัญญวิเวก บ้านปง ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่


พระอาจารย์เปลี่ยนไปอยู่วัดอรัญญวิเวก บ้านปง เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 ได้ 5 เดือนเศษ อยู่องค์เดียวตลอดจนกระทั่งเหลือเวลาอีก 8 วัน จะเข้าพรรษา มีสามเณรสม จาก จ.เลย มาขออยู่จำพรรษา ต่อมาพระอาจารย์สมัย ทีฆายุโก จาก จ.สกลนคร กับศิษย์ของท่าน 3 องค์ คือ ท่านมหาปิ่น ท่านวัย ท่านสมพาน ก็มาขออยู่จำพรรษาเช่นกัน พระอาจารย์สมัยเคยอยู่วัดบ้านช่อแลมาก่อน ซึ่งเป็นที่ไม่สงบ จึงได้ย้ายมาอยู่วัดอรัญญวิเวก บ้านปง พระอาจารย์สมัยบวช 16 พรรษา จึงเป็นพระที่อาวุโสมากที่สุด (ปัจจุบันพระอาจารย์อยู่ที่วัดโนนแสงทอง บ้านสร้าง อ.พังโคน จ.สกลนคร)


๏ ขันธ์ 5

ในพรรษานี้พระอาจารย์เปลี่ยนได้ใช้สมาธิเป็นบาทในการพิจารณาธรรม ทำให้ปัญญาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีความละเอียดยิ่งขึ้น ท่านได้คิดถึงครูบาอาจารย์หลายองค์ที่สอนให้พิจารณาเรื่องขันธ์ 5 และให้ละทิ้งขันธ์ 5 ดังนั้นหากท่านปล่อยวางขันธ์ 5 หรือละทิ้งขันธ์ 5 ได้ด้วยตัวของท่านเองแล้ว ท่านคงไม่ต้องไปแสวงหาครูบาอาจารย์อีก เมื่อคิดดังนี้แล้วก็เกิดปัญญา มองพิจารณาอะไรก็เห็นเป็นกองกระดูกไปหมด เวลาออกบิณฑบาต มีคนใส่บาตร ท่านพิจารณามือผู้ที่กำลังใส่บาตรก็เห็นกระดูกแตก ร่วงลงไปในบาตรมองไม่เห็นข้าว ตัวผู้ใส่บาตรก็แตกลงไปกองกับพื้นด้วย


๏ ประเพณีงานศพ

การสอนธรรมะให้ชาวบ้านนั้น ท่านก็ถือเป็นกิจประจำจะสอนชาวบ้าน เมื่อมารักษาอุโบสถศีลที่วัดทุกครั้ง ท่านจะตอบปัญหาข้อข้องใจจากปัญญาของท่าน เช่น ประเพณีทางเหนือทำไมจะต้องมีธงขาวสามทางนำหน้าศพ ธงขาวสามทางหมายถึงวัฏฏะวนทั้งสาม การถือธงนำหน้าศพและชักให้สูงนั้นเป็นเครื่องประกาศว่า หากไม่ชำระกิเลสให้ลดน้อยจนเหมือนผ้าขาวแล้ว ก็ยังต้องวนเวียนอยู่ในวัฏฏะทั้งสาม คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ หรือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา นั่นเอง

การเดินเวียนเทียนเชิงตะกอนสามรอบ ก็มีความหมายเช่นเดียวกัน ตราบใดเรายังทำจิตใจให้บริสุทธิ์ไม่ได้ เราก็จะต้องเวียนเผาอยู่ที่เชิงตะกอนนี้ตลอดไป การเอาหีบศพไปชนเชิงตะกอนสามครั้ง ก็คือการสั่งสอนให้เข็ดหลาบ ถ้ายังไม่เข็ดหลาบก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะวนทั้งสามนี้ การเอาน้ำมะพร้าวล้างหน้าศพ ก็เพราะน้ำมะพร้าวเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ตามธรรมชาติ ขอให้ผู้ตายมีความสุข เกิดในสุคติภูมิ ให้มีความบริสุทธิ์เช่นเดียวกับน้ำมะพร้าว

ส่วนพิธีกรรมหรือความเชื่อถือบางอย่างในงานศพ เช่น การบวชจูงศพ การเคาะหีบศพ การเซ่นศพด้วยอาหาร ท่านไม่เชื่อว่าคนตายแล้ว เราจะไปจูงใจเขาได้ การชักจูงที่ควรทำคือการจูงคนให้เข้าถึงธรรมะ เทศน์สอนให้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ถ้าขณะยังไม่ตายไม่ยอมรับฟังพระเทศน์หรือสั่งสอนแล้ว เมื่อตายไปจึงป่วยการจะไปเรียกให้มาฟังเทศน์ถือศีล เมื่อครั้งงานศพคุณแม่ของท่าน ท่านไม่จูงศพคุณแม่ไปป่าช้า ไม่เวียนรอบเชิงตะกอน แต่ยอมให้เอาน้ำมะพร้าวล้างหน้าศพได้ เพราะท่านเห็นว่า ขณะที่คุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ ได้ทำบุญมากแล้ว มีการรักษาศีล ทำทาน แลภาวนา ทั้งไปปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น จึงไม่จำเป็นต้องให้ใครมาจูงท่านอีก

ท่านเห็นว่าการบวชพระคือการเข้ามารับการอบรมสั่งสอนเรื่องธรรมะ ให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ ให้รู้ว่าอะไรเป็นบาป อะไรเป็นบุญ อะไรเป็นประโยชน์ เราบวชเป็นพระ เราต้องศึกษาให้เข้าใจ เมื่อเข้าใจธรรมะชัดเจนแล้ว ก็เอาธรรมะนี้ไปสอนพ่อแม่ให้เข้าใจ ให้ท่านปฏิบัติทำบุญทำทาน รักษาศีล ภาวนา เมื่อพ่อแม่ทำได้แล้ว แสดงว่าท่านมีที่พึ่งของท่านแล้ว เพราะท่านทำบุญเป็น รักษาศีลภาวนาได้ จึงเรียกว่าการบวชเพื่อจูงพ่อแม่ เมื่อท่านตายไปท่านก็ไปดีมีสุข ไม่จำเป็นต้องไปจูงตอนตาย

พระอาจารย์เปลี่ยน ได้อธิบายให้ผู้ข้องใจได้ทราบและเข้าใจอย่างชัดเจน ผิดกับตอนพรรษาที่ 2 ท่านต้องขัดกับญาติพี่น้องเรื่องการทำศพมารดาของท่าน เพราะท่านตัดพิธีกรรมทั้งหลายออกหมด เป็นการทำศพที่ประหยัดและรวบรัดที่สุด จนญาติพี่น้องและผู้คนที่ไปในงานไม่พอใจท่าน แต่ในขณะนั้นท่านบวชได้เพียง 2 พรรษา จึงไม่สามารถจะหาเหตุผลมาอธิบายกับผู้สงสัยได้


๏ นรก-สวรรค์

ปัญหาเกี่ยวกับนรก-สวรรค์นั้น ท่านก็ได้เล่าอานิสงส์ของการถวายทานต่างๆ ที่ชาวบ้านได้ร่วมถวาย ตามที่ท่านได้พบในนิมิต เช่น ผู้สร้างโรงฉันถวาย ขณะนี้มีปราสาทเกิดอยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นปราสาท 6 ชั้น ผู้ร่วมสร้างบางรายได้เสียชีวิตแล้วก็ได้ขึ้นไปอยู่ในปราสาทด้วย แม้เป็นผู้ร่วมสร้างก็ยังได้อยู่ในปราสาทนั้น โรงฉันซึ่งสร้างด้วยไม้ แม้ไม้บางชิ้นจะเป็นรูทะลุได้ แต่เมื่อเป็นทิพยปราสาทก็ดูสวยงาม เพราะผู้ถวายทานได้ถวายด้วยความบริสุทธิ์ใจ ใช้ไม้เท่าที่หาได้และมีอยู่ไปก่อสร้าง ท่านได้พูดถึงผู้ที่เข้ามาช่วยงานวัด แต่มีความไม่บริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง คือมีชาวบ้านคนหนึ่งมาทำหน้าที่หิ้วปิ่นโตให้พระเณรออกบิณฑบาต แล้วชาวบ้านถวายกับข้าวใส่ปิ่นโตให้ คนผู้นั้นจะแอบเอากับข้าวดีๆ ในปิ่นโตเก็บกลับบ้าน ก่อนจะมาถึงวัด พระอาจารย์เปลี่ยนได้เห็นคนผู้นั้น เป็นเปรตตั้งแต่ก่อนตายมาหาท่านในนิมิต มีท้องใหญ่โตมาก มีปากเท่ารูเข็ม มีลูกอัณฑะใหญ่ยาวผู้นั้นก็ยอมรับว่า ขโมยของวัดจริง


๏ การออกธุดงค์ครั้งที่ 9 จ.เชียงใหม่

เมื่อออกพรรษาที่ 8 แล้ว พระอาจารย์เปลี่ยนได้เที่ยวธุดงค์อยู่ในละแวกนั้นเอง ท่านได้ไปหาหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม บ้าง หลวงปู่แหวน สุจิณโณ บ้าง ขึ้นไปถ้ำปากเพียง และกราบนมัสการหลวงปู่สิม พุทธาจาโร บ้าง พระอาจารย์เปลี่ยนจะเที่ยวธุดงค์เพื่อปฏิบัติธรรม และจะขอให้พระอาจารย์ทั้งหลายได้แก้ปัญหาธรรม และแนะแนวการปฏิบัติธรรมที่สูงขึ้นไปอีก


ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9335

786
๏ การออกธุดงค์ครั้งที่ 8 จ.เชียงใหม่

หลังออกพรรษาแล้ว ท่านได้อยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดป่าสะลวงนานพอสมควรแล้ว ก็กลับไปหาหลวงปู่ตื้อ ได้พักปฏิบัติหลวงปู่ตื้อและได้รับการอบรมสั่งสอนจากท่านอีกประมาณ 1 เดือน จึงย้อนกลับมาที่วัดป่าสะลวง เพราะเป็นสถานที่ที่ปฏิบัติภาวนาได้ดีอีกแห่งหนึ่ง วันหนึ่งท่านไปบิณฑบาต สังเกตเห็นสุนัขตัวเมียตัวหนึ่งอยู่กับเจ้าของบ้านที่เป็นผู้หญิง เมื่อท่านไปบิณฑบาตผ่านหน้าบ้านนี้ สุนัขจะวิ่งไปเตือนให้เจ้าของบ้านได้รู้ แล้วรีบนำอาหารออกมาใส่บาตร สุนัขทำเช่นนี้อยู่เป็นประจำ

พระอาจารย์เปลี่ยนจึงตั้งจิตดูสุนัข จึงรู้ว่า เมื่อก่อนสุนัขเคยเกิดเป็นลูกสาวของเจ้าของบ้าน แต่ผิดศีลข้อสามเพราะคบชู้ เมื่อสามีรู้ก็ไม่ยอมรับ พร้อมกับสาบานว่าถ้ามีชู้จริงขอให้เกิดเป็นสุนัขด้วย ผลของกรรมนี้เมื่อตายไปจึงเกิดเป็นสุนัขอาศัยอยู่กับหญิงเจ้าของบ้านนั้นเอง ท่านจึงบอกเจ้าของบ้านให้รู้และดูแลสุนัขให้ดี

ส่วนนิมิตรูปสัตว์ต่างๆ เช่น วัว ควาย สุนัข แมว มีผ่านเข้ามาให้ท่านเห็นประจำ เป็นเพราะจิตผู้นั้นยังต่ำหรือเคยเป็นสัตว์นั้นมาก่อน แต่ยังไม่หมดวิบากกรรม จึงพาให้เห็นในรูปเดิม เช่น คราวที่อยู่วัดป่าสะลวง มีพระจากผาแด่นมาพักที่วัด ท่านได้รับนิมิตว่ามีพระมา 2 องค์ มีลักษณะเป็นควายมานอนอยู่ที่ศาลา รุ่งขึ้นเช้าเตรียมตัวออกบิณฑบาตได้พบพระ 2 องค์นั้นจริง แต่ยังนอนหลับอยู่บนศาลา ได้ทราบภายหลังว่า พระทั้ง 2 องค์บวชได้ 10 พรรษาแล้ว แต่การภาวนายังไม่ก้าวหน้า เมื่อมีโอกาสเรียนถามหลวงปู่ตื้อ ท่านอธิบายว่าเป็นเพราะจิตไม่ถึงไหน ยังเป็นสัตว์อยู่ จึงเห็นนิมิตอย่างนั้น

ครั้งหนึ่งขณะนั่งภาวนา เห็นนิมิตผู้หญิงคนหนึ่งเดินยิ้มมาพอเข้ามาใกล้ก็เป็นสุนัข จากสุนัขเป็นแมว ก่อนจะถึงท่านก็กลับเป็นอีกคน เมื่อได้พบหญิงนี้จริง ท่านเห็นเป็นการไม่สมควรเพราะไม่มีผู้ชายอยู่จึงไล่ให้กลับก่อน เรื่องนี้ท่านให้คำอธิบายว่า ผู้หญิงคนนี้เคยเกิดเป็นสุนัข แล้วจึงเกิดเป็นแมว ต่อจากนั้นจึงเกิดเป็นคน แต่จิตยังไม่มีความแรงทางด้านกามารมณ์อยู่ จึงมีนิมิตออกมาให้เห็น การได้นิมิตมานี้ บางครั้งก็มาตักเตือนให้ระวังอันตรายจากการโดนทำร้ายร่างกายบ้าง จากการรบกวนจากเพศตรงกันข้ามบ้าง ท่านจึงต้องคอยตรวจสอบตลอดเวลา และทำให้พระอาจารย์เปลี่ยนมีความรู้ และเข้าใจในคำเทศน์ของหลวงปู่ตื้อที่ว่า พระหมา พระแมว ฯลฯ โดยไม่มีข้อสงสัยอีกเลย

นอกจากนั้นการที่มีความเกี่ยวข้องกับใครด้านต่างๆ ก็เป็นเพราะเมื่อชาติก่อนๆ พระอาจารย์เปลี่ยนเคยบวช บุคคลเหล่านี้เคยกราบไหว้เคารพท่าน มาในชาตินี้จึงยังมีความผูกพันอยู่ เช่น บางคนเคยใส่บาตรกับท่าน จึงชวนผู้ใกล้ชิดมาใส่บาตรด้วย บางคนเคยกราบไหว้ท่านในอดีตชาติ ในชาตินี้ก็มาแสดงความอ่อนน้อมต่อท่าน เมื่อออกพรรษาที่ 7 แล้ว พระอาจารย์เปลี่ยนได้ท่องเที่ยวธุดงค์เข้าและออกวัดป่าสะลวง อยู่จนวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2509 จึงออกจากบ้านสะลวงนอกไปสู่บ้านปง ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่


๏ บ้านปง (วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509)

ขณะอยู่ที่วัดป่าสะลวง พระอาจารย์เปลี่ยนได้นิมิตว่า ตัวท่านเองลอยอยู่บนท้องฟ้า แล้วมองลงมาเห็นหลวงปู่ชอบ ฐานสโม กำลังเดินเอาผ้าอาบน้ำคลุมศีรษะไว้ ท่านจึงลงมากราบนมัสการหลวงปู่ชอบ ได้ถามหลวงปู่ว่าจะไปไหน หลวงปู่ตอบว่าจะไปสรงน้ำแล้วก็เดินเลยไป ท่านจึงลอยขึ้นไปเบื้องบนอีกครั้งหนึ่ง ผ่านบ้านของชาวบ้านคนหนึ่งซึ่งออกมานั่งไหว้นิมนต์ให้ท่านลงมาพักที่สำนักแห่งหนึ่ง และจะถวายรองเท้าแก่ท่าน 4 คู่ ต่อจากนั้นท่านจึงลอยกลับไปวัดป่าสะลวง

หลังนิมิตได้ประมาณ 10 วัน พระอาจารย์เปลี่ยนก็ออกธุดงค์ไปวัดป่าอาจารย์ตื้อ ปากทางเข้าโครงการชลประทานแม่แฝก อ.แม่แตง ได้พบหลวงปู่ตื้อและเล่านิมิตให้หลวงปู่ฟัง หลวงปู่บอกว่า จะมีโยมมาอุปัฏฐากในภายภาคหน้า พระอาจารย์เปลี่ยนอยู่กับหลวงปู่ตื้อจนกระทั่งขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเมีย จึงเดินธุดงค์ต่อไป และได้ผ่านไปพบวัดร้าง คือ วัดอรัญญวิเวก (สำนักสงฆ์อรัญญวิเวก) บ้านปง ชาวบ้านเรียกว่า วัดดอยบ้านปง ดูสภาพวัดเหมือนนิมิตที่ท่านได้เห็นเมื่ออยู่ที่วัดป่าสะลวง

ท่านได้เดินสำรวจจนทั่วบริเวณ เห็นว่าเงียบสงัดดีมาก จึงตกลงใจพักปฏิบัติธรรม ณ สำนักนี้ ท่านเลือกกุฏิที่ดีที่สุดในขณะนั้นเป็นที่พัก มีสองห้องแต่ปลวกกินเสียหนึ่งห้อง อีกห้องหนึ่งมีสภาพพออยู่อาศัยได้ (ทราบภายหลังว่าเป็นกุฏิที่หลวงปู่แหวนเคยพักและจำพรรษา) พระอาจารย์เปลี่ยนอยู่กุฏิหลวงปู่แหวนได้ 2 วัน ตกกลางคืนขณะนอนได้นิมิตเห็นพระองค์หนึ่งไต่เสากุฏิขึ้นมา เอามือมาตีที่หน้าท่าน ท่านจึงตีตอบบ้าง พระองค์นั้นจึงลงจากกุฏิไป (ภายหลังท่านได้นั่งสมาธิดูจึงทราบว่า พระองค์นั้นคือ หลวงพ่อคำ ได้เสียชีวิตไปในสมัยที่จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่แหวน พ.ศ. 2490 และได้เห็นโครงกระดูกรของผู้อื่นอีกมากมายใต้กุฏินั้น) อยู่วัดอรัญญวิเวก บ้านปง ได้ 4 วัน ชาวบ้านในละแวกนั้น มีแม่บัวคำและสามีชื่อนายเมา หนานศรีธน และคนอื่นๆ ท่านได้จำพรรษาอยู่เพื่อโปรดเขาเป็นการชั่วคราว แม่บัวคำได้ซื้อรองเท้ามาถวายถึง 3 คู่ จากตลาดบ้านปงซึ่งมีแต่คู่เล็กๆ ท่านรับไว้แต่ใส่ไม่ได้ ในที่สุดแม่บัวคำได้วัดเท้าและสั่งตัดจากในเมืองเชียงใหม่ถวายอีก 1 คู่ แม่บัวคำจึงได้ถวายรองเท้าแก่พระอาจารย์เปลี่ยน 4 คู่ จริงตามที่ได้บอกไว้ในนิมิต



๏ การสร้างกุฏิ

พระอาจารย์เปลี่ยนมาพักอยู่ไม่นาน การปฏิบัติธรรมของท่านเจริญก้าวหน้า จึงได้รับความสงบมาก การทำความเพียรด้านอื่นๆ ก็ไม่ติดขัด เพราะสถานที่สงบเงียบและวิเวกดี การปฏิบัติธรรมของท่านเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ชาวบ้านมีศรัทธาในการปฏิบัติธรรมของท่าน จึงพร้อมใจกันสร้างกุฏิให้ท่านใหม่ โดยรื้อกุฏิหลังเก่าพร้อมกับโค่นต้นไม้ในวัดอีก 5 ต้น มาสร้างกุฏิ ภายหลังใช้เป็นศาลาโรงฉัน (พ.ศ. 2536 ได้รื้อออกแล้วสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กแทน) ครั้นโค่นต้นไม้ไปปลูกเป็นกุฏิแล้ว ได้มีชาวบ้านปงมาเรียนท่านว่า ได้ยินเสียงร้องไห้ดังมาจากวัด หลายวัน ต่อมาท่านได้นิมิตเห็นรุกขเทวดา 2 ครอบครัว ครอบครัวแรก 3 คน อีกครอบครัวหนึ่ง 4 คน มาหาท่านพร้อมกับแจ้งว่า พวกเขาเดือดร้อนเรื่องที่อยู่ เนื่องจากต้นไม้ที่เคยอยู่อาศัยถูกชาวบ้านโค่นมาสร้างกุฏิ จึงขอให้ท่านหาที่อยู่ให้ใหม่ พระอาจารย์เปลี่ยนจึงให้ไปอยู่ที่ต้นชาดซึ่งอยู่ทางเหนือของวัด ซึ่งมีรุกขเทวดาอยู่หลายครอบครัวแล้ว


๏ วัดอรัญญวิเวก บ้านปง ในอดีตชาติ

หลังจากอยู่วัดอรัญญวิเวก บ้านปง ได้ประมาณ 2-3 เดือน ก่อนเข้าพรรษา พระอาจารย์เปลี่ยนได้นั่งสมาธิตรวจดูวัดในอดีต จึงเห็นว่าใต้โบสถ์นั้นมีพระพุทธรูปทองสององค์ (ปัจจุบันมองไม่เห็นในนิมิตแล้ว) คุณแม่บัวใส ซึ่งเป็นพี่สาวของแม่บัวคำ (ปัจจุบันได้ถึงแก่กรรมไปแล้วทั้ง 2 ท่าน) เป็นผู้สร้างโบสถ์ และเป็นหัวแรงในการก่อสร้างสิ่งต่างๆ ในวัด ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันนี้ มีพระที่ร่วมมือในการก่อสร้าง 5 องค์ คือ หลวงพ่อคำอ้าย มีพรรษา 5 พรรษา พระอาจารย์เปลี่ยน มีพรรษา 4 พรรษา พระอีกสามองค์ มีพรรษาลดหลั่นกันลงมา โบสถ์ในอดีตแรกก่อสร้าง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อปูนขึ้นมาและตีไม้ขึ้นพอเป็นรูปร่างโบสถ์เท่านั้น ภายในมีพระพุทธรูปดินปั้น 3 องค์ ทองสัมฤทธิ์ 2 องค์ วางเรียงกัน เมื่อสร้างเสร็จแล้ว คุณแม่บัวใสได้เป็นประธานจัดงานฉลองโบสถ์ มีชาวบ้านมาร่วมงานประมาณ 300 คน

พระอาจารย์เปลี่ยนได้ถามพวกภพภูมิต่างๆ ที่อยู่ในวัดอรัญญวิเวก บ้านปง ถึงเรื่องอายุของวัดได้รับคำตอบว่า วัดสร้างมานาน 783 ปี ( ปัจจุบัน พ.ศ. 2546- วัดมีอายุ 818 ปี) พระอาจารย์เปลี่ยนบวชเป็นพระมาถึงปัจจุบันได้ 7 ชาติแล้ว ท่านได้ร่วมก่อสร้างวัดอรัญญวิเวก บ้านปง ในชาติที่ 2 แล้วชาติปัจจุบัน เป็นชาติที่ 7


๏ แม่บัวใส

เป็นผู้มีศรัทธาอันแรงกล้าได้อุปัฏฐาก วัดอริญญวิเวก บ้านปง และพระอาจารย์เปลี่ยน มาแต่ต้น พระอาจารย์เปลี่ยนจึงตรวจดูบุพกรรมก็ทราบว่า ครั้งหนึ่งตัวท่านเคยเกิดเป็นบุตรชายคนโตของแม่บัวใส และมีน้องชายอีกคน ซึ่งในชาตินี้เกิดเป็นบุตรชายของแม่บัวใส และเป็นครูอยู่ที่บ้านปง (ขณะนี้ได้เกษียณอายุราชการแล้ว) ในชาตินั้นเมื่อพระอาจารย์เปลี่ยนตั้งใจจะบวช แม่บัวใสมีศรัทธาเตรียมอัฐบริขารอย่างดี ให้ท่านใช้ในการบวช ในชาติปัจจุบันพระอาจารย์เปลี่ยนจึงเป็นผู้ชักจูงแม่บัวใสให้ยินดีและศรัทธาในการถือศีล และการก่อสร้างต่างๆ ของวัด ไม่ว่าจะเป็นกุฏิ ศาลา โบสถ์ เจดีย์ ฯลฯ แม่บัวใสจะทำด้วยความเต็มใจยิ่ง ทั้งนี้เพราะแม่บัวใสได้เป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดอรัญญวิเวกบ้านปง มาตั้งแต่ในอดีตชาติ เมื่อเกิดมาในชาติปัจจุบันก็ได้มาสร้างต่ออีก


ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9335

787

พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป


๏ พรรษาที่ 7 (พ.ศ. 2508) : จำพรรษา
วัดป่าสะลวง บ้านสะลวงนอก ต.สะลวง อ.แม่ริน จ.เชียงใหม่


ในระหว่างพรรษานี้ เมื่อถึงวันอุโบสถศีล ท่านจะให้ชาวบ้านที่มาปฏิบัติธรรมนั่งภาวนาและปฏิบัติเนสัชชิก สามเณรดำจึงต้องนั่งภาวนาอยู่ที่ศาลา นานเข้าก็เริ่มมีใจเบื่อหน่ายที่จะปฏิบัติธรรม จะแสดงอาการไม่พอใจ ที่ถูกพระอาจารย์เปลี่ยนบังคับให้นั่งสมาธิ ไม่มีเวลาทำงานอย่างอื่น

วันหนึ่งเสร็จจากการนั่งอบรมแล้ว พระอาจารย์เปลี่ยนนั่งภาวนาตามปกติ ได้นิมิตเห็นสามเณรดำถือมีดจะมาฟัน ท่านจึงลอยตัวขึ้นไปบนขื่อ สามเณรดำทำอันตรายไม่ได้ จึงใช้มีดฟันอยู่ข้างล่าง รุ่งขึ้นเช้าเมื่อไปพบกันที่ศาลา ก่อนออกบิณฑบาตท่านจึงบอกให้สามเณรดำปรับปรุงจิตใจให้ดี อย่าคิดร้ายกับอาจารย์ เมื่อสามเณรดำโดนทักเช่นนั้น จึงเกิดเกรงกลัวท่าน ไม่กล้าคิดร้ายอีก พยายามปรับปรุงตัวให้อยู่ในกรอบของบรรพชิตที่ดี


๏ กิจวัตรประจำวัน

พระอาจารย์เปลี่ยนจะตื่นนอนตอนเช้าประมาณ 03.30 น. สวดมนตร์ทำวัตรเช้า แล้วนั่งภาวนาและแผ่นเมตตาจนถึง 06.00 น. ท่านจะไปที่ศาลา เพื่อจัดที่นั่งและบาตรให้เรียบร้อย ต่อจากนั้นจะไปล้างหน้าและทำกิจส่วนตัว เรียบร้อยแล้วจะห่มจีวรคลุมสังฆาฏิแล้วเดินจงกรมต่อ จนถึงเวลา 07.00 น. จึงออกบิณฑบาต การออกบิณฑบาตจะใช้เวลา 1 ชั่วโมงเศษ แล้วแต่เส้นทางที่จะต้องไป ถ้าไปบ้านสะลวงใน ใช้เวลา 1 ชั่วโมงเศษ ถ้าไปบ้านสะลวงนอก ใช้เวลา 50 นาที ถ้าไปบ้านกาวฮาว จะใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที

กลับจากบิณฑบาตประมาณ 08.30 น. เอาสังฆาฏิและจีวรซึ่งเปียกเหงื่อและน้ำค้างออกตาก แล้วเดินจงกรมต่อ รอชาวบ้านที่จะตามเอาอาหารมาให้ที่วัด ท่านจะแบ่งอาหารไว้เท่าที่จะฉัน ที่เหลือคืนใช้ชาวบ้านไปรับประทานที่บ้าน ถ้าเป็นวันพระ ชาวบ้านผู้มีศรัทธาก็จะรับประทานที่วัด และอยู่รักษาอุโบสถศีลที่วัดร่วมกัน แบ่งอาหารเสร็จแล้ว ท่านจะสวดมนต์ให้พรแก่ชาวบ้าน แล้วจึงฉันอาหารของท่าน ฉันเสร็จก็จะกลับกุฏิเพื่อนั่งภาวนาต่อไปอีกระยะหนึ่งประมาณ 1- 2 ชั่วโมง จึงพักผ่อนช่วงสั้นๆ ในตอนเช้าแล้วนั่งภาวนาต่ออีกจนถึงเวลา 13.30 น. ถ้าไม่ดูหนังสือ ก็เดินจงกรมต่อไป เริ่มกวาดลานวัดเวลา 16.00 น.

กวาดลานวัดเสร็จจะสรงน้ำ และตักน้ำเพื่อใช้ในการล้างบาตรในตอนเช้า หรือเท่าที่จำเป็นที่จะใช้ในกุฏิ จัดที่ต่างๆ ที่ศาลาเตรียมไว้ในเวลาเช้า ทำงานเสร็จประมาณ 18.00 น. ท่านจะเดินจงกรมต่อไปอีกจนกระทั่ง 19.00 น. จึงสวดมนต์ทำวัตรเย็น ใช้เวลาสวดมนต์ประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง แล้วนั่งภาวนาต่อไปจนประมาณ 23.30 น. หลังจากนั้นเดินจงกรมต่ออีก 1 ชั่วโมง แล้วนั่งพิจารณาจนถึงเวลานอน จะนอนแบบสีหไสยาสน์ จนได้เวลาลุกขึ้นในตอนเช้าเพื่อสวดมนต์ทำวัตรเช้า

พระอาจารย์เปลี่ยนใช้เวลาในการปฏิบัติธรรมเกือบทั้งวัน ท่านใช้เวลานอนพักผ่อนประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งบางครั้งเหลือเพียง 30 นาทีเท่านั้น ท่านทำจนเป็นปกตินิสัยตามเวลาที่กำหนดได้ไม่ต้องดูนาฬิกาเลย หากเป็นวันพระ ท่านจะนำชาวบ้านที่ไปวัด รับศีล ถือธุดงควัตรเนสัชชิก ปฏิบัติอยู่ในอิริยาบถสาม คือ ยืน เดินจงกรม นั่งพิจารณา สลับกันไป แต่ของพระอาจารย์เปลี่ยนจะนั่งภาวนาในลักษณะเดียวเท่านั้น จนกระทั่งเวลา 05.00 น. นำชาวบ้านสวดมนต์ทำวัตรเช้าเป็นเสร็จพิธี


๏ กฎของไตรลักษณ์

ในพรรษานี้ พระอาจารย์เปลี่ยนได้พิจารณาการเกิด-ดับ เรื่องของสังขารร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย ว่าเป็นไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาเรื่องของไตรลักษณ์ ว่าเป็นแน่ใจไม่มีข้อสงสัย พิจารณาจนรู้แน่ว่าสิ่งของทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของที่ไม่เที่ยง ได้กำหนดดูรูปกายของเราเอง ของสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นทุกข์จริง ทำให้จิตใจเกิดการเบื่อหน่าย เป็นเหตุให้ท่านคิดว่าตัวท่านเองได้สำเร็จมรรคผลแล้ว เมื่อมีความเห็นเช่นนี้ เกิดความคิดว่าอาจจะเป็นความเห็นผิด แต่เมื่อหวนกลับมาพิจารณาว่า สังขารทั้งปวง ทั้งภายในภายนอกไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใดในโลก เกิดแล้วต้องดับแตกสลายเหมือนกันหมด ท่านได้นั่งพิจารณาจนเกิดสติปัญญาขึ้นมาเพื่อเตือนตนเองอยู่เสมอ

เรื่องสำเร็จมรรคผล เกิดการโต้เถียงขึ้นภายในใจของท่าน ใจหนึ่งมีความเห็นว่า ไม่มีอะไรในโลกที่ต้องมาห่วงใย ใจจึงไม่รับอะไรเลย ทำให้ท่านไม่อยากฉันข้าวฉันน้ำ ไปบิณฑบาตได้อาหารก็ตั้งไว้ตรงนั้น ไม่คิดอยากฉัน อยากภาวนาอยู่ตลอดเวลา แต่คราวนี้ท่านมองเห็นด้วยปัญญา ถึงไม่อยากฉันข้าว แต่เมื่อลองฉัน ก็ฉันได้ตามปกติ ผิดกับครั้งพรรษาที่ 2 ขณะอยู่ที่ จ.พังงา บังเกิดปิติจนไม่อยากฉันข้าวเลย ท่านได้พิจารณาเรื่องการบิณฑบาต ก็เพื่อรับอาหารจากชาวบ้านมาเกินประทังชีวิต มิได้กินเพื่อความอยากในรสของอาหารหรือเพื่อความต้องการของปากและท้อง มิได้คำนึงว่าได้มากหรือน้อย ใครจะใส่หรือ