ผู้เขียน หัวข้อ: ...รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒...  (อ่าน 363 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ เว็บมาสเตอร์...

  • ผู้ดูแลระบบ
  • *****
  • กระทู้: 571
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • www.bp.or.th
...รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒...
« เมื่อ: 03 มี.ค. 2565, 06:41:39 »


...รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒...

...การปฏิบัติธรรม เป็นการกระทำที่
เริ่มจากจิต จากความคิด แล้วแสดง
ออกมาซึ่งทางกาย การปฏิบัติธรรมนั้น
มิใช่เป็นไปเพื่อความโอ้อวด เพื่อให้
ผู้อื่นเขายกย่องสรรเสริญชื่นชม
แต่เป็นการอบรมกายและจิตของเรา
โดยมีสติและสัมปชัญญะควบคุมอยู่
มีความระลึกรู้และมีความรู้ตัวทั่วพร้อม
ในกายในจิตในความคิดและการกระทำ
เพิ่มพูนคุณธรรมให้แก่จิต ปรับเปลี่ยน
ความคิดเพื่อให้จิตเป็นบุญกุศล
ไม่เอาแต่ความคิดตนมาเป็นใหญ่
เปิดจิตเปิดใจ ให้เปิดกว้าง พิจารณา
ทุกอย่างโดยเหตุและผล ไม่เห็นแก่
ประโยชน์ตนจนเกินไป รู้จักการให้
และการแบ่งปัน สิ่งที่กล่าวมานั้นคือ
การปฏิบัติธรรม...
๐ มีคำถาม มากมาย ให้ขบคิด
ถามเรื่องจิต เรื่องกาย เพราะอยากรู้
จงบอกว่า ถ้าสงสัย ให้ทำดู
แล้วจะรู้ กายจิต คิดอย่างไร
๐ อจินไตย คิดไป ก็ปวดหัว
มาดูตัว ดูจิต แล้วคิดใหม่
ดูให้รู้ ดูให้เห็น เป็นอย่างไร
ให้รู้ใจ รู้กาย รู้จิตตัว
๐ จิตส่งออก สมุทัย ให้เกิดทุกข์
จิตเป็นสุข เพราะรู้พร้อม น้อมไปทั่ว
มีสติ ระลึกรู้ อยู่กับตัว
รู้ดีชั่ว สิ่งที่จิต ควรคิดทำ
๐ อันกายนี้ อยู่ไม่นาน ก็ต้องดับ
เหมือนอาทิตย์ ลาลับ ในยามค่ำ
ต้องเวียนว่าย ตายเกิด อยู่ประจำ
สิ่งที่นำ ติดตัวไป ใช่เงินทอง
๐ สิ่งที่ตาม ติดไป ในดวงจิต
คือนิมิต แห่งกรรม นำสนอง
ถ้าจิตดี ก็มีสุข อยู่คุ้มครอง
จิตเศร้าหมอง ก็ต้องทุกข์ ไม่สุขใจ
๐ รู้อะไร ก็ไม่สู้ เท่ารู้จิต
รู้ถูกผิด ดีและชั่ว แล้วแก้ไข
เจริญจิต ภาวนา พาสุขใจ
ทำจิตไร้ อกุศล เป็นต้นทุน
๐ คือต้นทุน ชีวิต นิมิตหมาย
เมื่อยามตาย ความดี มีเกื้อหนุน
มีกรรมดี คือกุศล เป็นผลบุญ
ช่วยค้ำจุน ส่งจิต นิมิตดี
๐ อย่าสงสัย ในสิ่ง ไร้สาระ
ควรลดละ ความคิด ชนิดนี้
ความสงสัย คือนิวรณ์ ถอนความดี
จิตไม่มี สมาธิ เพราะนิวรณ์
๐ เมื่อสงสัย ก็ต้องทำ นำพิสูจน์
อย่าเพียงพูด เพียงคิด จิตสังหรณ์
ต้องลองทำ ศึกษา ตามขั้นตอน
เพื่อจะถอน ความสงสัย ให้มันคลาย
๐ ไม่มีใคร รู้ซึ้ง เท่าหนึ่งจิต
สิ่งที่คิด จิตใจ ในเป้าหมาย
คิดอะไร ก็ให้รู้ อยู่กับกาย
ไม่วุ่นวาย ควบคุมจิต ให้คิดดี
๐ คิดให้ดี คิดให้เห็น เช่นที่คิด
ไม่เป็นพิษ เป็นภัย ในทุกที่
ควบคุมจิต ให้คิด แต่สิ่งดี
ทำอย่างนี้ แล้วจิต จะสบาย
๐ สบายใจ คือสบาย ทั้งกายจิต
นั่นคือกิจ ที่ทำ ตามเป้าหมาย
เพราะคิดดี มีสติ อยู่กับกาย
ไม่วุ่นวาย เพราะจิต นั้นคิดดี...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๓ มีนาคม ๒๕๖๕...