แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - 8

หน้า: [1]
1
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / อนูโมทนา
« เมื่อ: 13 ส.ค. 2557, 02:26:38 »
                                         





                                   
อนุโมทนากถา

 สัพพะโรคะวินิมุตโต
 สัพพะสันตาปะวัชชิโต
 สัพพะเวระมะติกกันโต
นิพพุโต จะ ตุ วัง ภะวะฯ
 สัพพีติโย วิวัชชันตุ
 สัพพะโรโค วินัสสะตุ
 มา เต ภะวัตวันตะราโย
 สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
 อภิวาทะนะสีลิสสะ
 นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน
 จัตตาโร ธัมมา วัฑฒ้นติ
 อายุ วัณโณ สุขัง พะลังฯ
 

2
                          
สวัสดีวันปีใหม่พา
ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม
ต่างสุขสมนิยมยินดี

ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า
ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี
ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย

ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์
ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่
ผองชาวไทยจงสวัสดี

ตลอดปีจงมีสุขใจ
ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์
สวัสดีวันปีใหม่เทอญ
(ที่มา เพลงพรปีใหม เพลงพระราชนิพนธ์อันดับที่ ๑๓ ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ เมื่อเสด็จนิวัตพระนครและประทับ ณ พระตำหนัก จิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง 'พรปีใม่' และทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็จศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีให่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี ๒ วง คือ วงดนตรี นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๕)


     

                             

3
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / ไหว้ครู
« เมื่อ: 26 ธ.ค. 2556, 04:11:56 »
                               

4
                        

                        


                                                      สาธุ สาธุ สาธุ
                              สมทบทำบุญถวายกุศลหลวงพ่อเปิ่่น วันที่ 12 สิงหาคม 2556













5
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / อนุโมทนา
« เมื่อ: 23 ก.ค. 2556, 09:12:24 »
                                                              อนุโมทนาบญแด่ผู้รวมบุญในวันที่ 12 สิงหาคมปีนี้
+พระอาจารย์ต้อย  วัดบางพระ                   50,000.-
+คุณสุปรียา รุ่งเจริญไพศาลและครอบครัว      14,000.-
+อ.เจตน์(บ้านโป่ง)สามแยกกระจับและคณะศิษย์  15,469.-
+คุณอ้อม*คุณหรั่ง*คุณชาญ                    30,000.-
+พระครูสรพาจน์โฆสิต(พระอาจารย์หนุ่ม วัดบางแวก)  10,000.-

6
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / 2556
« เมื่อ: 18 ก.ค. 2556, 05:15:03 »

ขอบคุณ

7



**กราบขอบพระคุณ พระอาจารย์โด่ง ที่นำสัปปะรดมาเลี้ยง(และอนุโมทนาแด่ศิษย์ที่มาช่วยปอกสัปปะรดทุกท่าน)
**อนุโมทนาแด่ อ.หวอ จากมีนบุรี ที่นำก๋วยจั๊บมาเลี้ยง
**อนุโมทนาแด่ อ.เอ้ จากสำนักศิลป์ไสยเวทย์ ที่นำหมูย่างและข้าวเหนียวมาเลี้ยง
**อนุโมทนาแด่ ปลัดบั๊บ ที่นำน้ำอัดลมมาเลี้ยง(เป็นประจำ)
**อนุโมทนาและขออำนวยพร ให้ญาติโยม ศิษย์ ศิษยานุศิษย์ที่มาร่วมงาน
ขอให้เจริญยิ่งในธรรม และจิตแห่งเมตตา ตลอดไป
                                               เจริญพร
                                                 8

8
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / อนุโมทนา
« เมื่อ: 07 ม.ค. 2555, 04:57:36 »
ขออนุโมทนา ชาวคณะศิษย์หลวงพ่อเปิ่น เอลมานูเอล ได้ทำบุญเลี้ยงพระประจำปี เมื่อวันที่ ๑  มกราคม  ๒๕๕๕
ได้ร่วมกันถวายผ้าป่าเป็นจำนวนเงิน  ๔๕,๔๗๑.๗๕ บาท
จึงขอเจริญพร และอนุโมทนา ณ ที่นี้ อีกวาระหนึ่ง



9
************
        ขอนมัสการ และกราบขอบพระคุณ พระอาจารย์เมสัน(โด่ง)
 ได้จัดสร้างย่ามพระถวายในงานบุญหลวงพ่อเปิ่น โดยโยมสาธิต โยมสนองและเพื่อน
รับเป็นธุระนำมาถวาย
       ขออนุโมทนา และขอให้บรรลุธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป
                                            **นมัสการ**


10
**ขออนุโมทนา แด่ อาจารย์หนวด และศิษย์ ศิษยานุศิษย์ในหลวงพ่อเปิ่น
ที่ประกอบพิธีไหว้ครูที่ตำหนักหนองปรือ ค่าบูชาครูในวันนั้นท้งหมด 14,069.-
จะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของพระอาจารย์ต่อไป**

                                              ขออนุโมทนา

11
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / อนุโมทนา
« เมื่อ: 02 ก.พ. 2553, 06:11:22 »
************ขออนุโมทนา คุณเผือก วัดนก ที่ได้ชักชวนเพื่อน ๆ ร่วมทำบุญสมทบสร้างพระรูปพระเจ้าตากสินมหาราช
เพีืิ่อประดิษฐาน ณ วัดนก เป็นจำนวนเงิน 20,000.-บาท
                                                            **ขออนุโมทนา**

12
ที่มาhttp://school.obec.go.th/nongjabtao/New_Web/pra_rat_pra_vut.htm




                            

       ในหลวงของเราชาวไทย
         •  วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๗๐ ตรงกับวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีเถาะ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช พระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ และหม่อมสังวาลย์ ประสูติ ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาซูเสตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เหตุที่ประสูติที่อเมริกา เพราะขณะนั้น พระบรมราชชนก เสด็จทรงศึกษาและปฏิบัติหน้าที่ราชการในต่างประเทศ ทรงมีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล    

 
         •  พระนาม “ ภูมิพลอดุลยเดช ” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานมาจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ มีความหมายว่า “ ผู้ทรงกำลังอำนาจไม่มีอะไรเทียบในแผ่นดิน ”
 
         •  หลังจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงประกาศสละราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้กราบทูลเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งเป็นพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๘ แห่งราชจักรีวงศ์ จากนั้นในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๗๘ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงได้รับเฉลิมพระนามเป็น “ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ” ในครั้งนั้นทั้งสองพระองค์ยังประทับอยู่ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
 
         •  ในปี ๒๔๘๐ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช สายพระเนตรสั้นลง เป็นเหตุให้ต้องทรงฉลองพระเนตรนับตั้งแต่นั้นมา
 
         •  ในปี ๒๔๘๘ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งขณะนั้นทรงพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา เสด็จกลับมาประทับเป็นมิ่งขวัญของประชาชนชาวไทย ในการเสด็จนิวัตสู่ประเทศไทยครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะพระเจ้าน้องยาเธอฯ ได้เสด็จกลับมาด้วย โดยได้เสด็จถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๘๘ อันตรงกับวันพระราชสมภพ ขณะมีพระชนมายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์
 
         •  ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ ประชาชนชาวไทยต้องประสบกับความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง เมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต อย่างกระทันหันด้วยพระแสงปืน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง และในวันเดียวกันนี้เอง พระบรมวงศานุวงศ์และคณะรัฐมนตรีก็ได้กราบบังคมทูล อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และได้มีการประกาศเฉลิมพระนามว่า “ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ” แต่เนื่องจากในขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง ๑๙ พรรษา ยังไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองได้ อีกทั้งยังมีพระราชภารกิจเรื่องการศึกษา จึงได้มีการแต่งตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร และพระยามานวรราชเสวี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
 
         •  วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๘๙ ได้เสด็จกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์พร้อมสมเด็จพระราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธออีกครั้ง โดยก่อนจากประเทศไทยในครั้งนั้น ได้ทรงเสด็จไปถวายบังคมลาพระบรมศพพระบรมเชษฐาธิราชที่พระบรมมหาราชวัง ขณะที่ประทับรถยนต์พระที่นั่งไปยังสนามบินดอนเมือง ได้มีประชาชนคนหนึ่งตะโกนว่า “ อย่าละทิ้งประชาชน ” ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงมีพระราชนิพนธ์เรื่อง “ เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์ ” ว่าทรงอยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า “ ถ้าประชาชนไม่ “ ทิ้ง ” ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะ “ ละทิ้ง ” อย่างไรได้ แต่รถวิ่งเร็วและเลยไปไกลเสียแล้ว ..”
 
         • เมื่อเสด็จกลับไปยังประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพื่อศึกษาต่อ ก็ได้ทรงเปลี่ยนจากสาขาวิทยาศาสตร์ มาทรงศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์ เพื่อเตรียมพระองค์ในการเป็นพระประมุขของประเทศ
 
         •  ในปี ๒๔๙๓ เมื่อเสด็จนิวัตกลับประเทศไทยแล้ว ได้ทรงกำหนดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลตั้งแต่วันที่ ๑๘ มีนาคม จนถึงวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๔๙๓ อันเป็นวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ
 
         •  หลังจากนั้นใน วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯก็ได้ทรงจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งพระราชพิธีราชาภิเษกครั้งนี้ นับเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกสำหรับพระมหากษัตริย์ไทยในยุคประชาธิปไตย ที่ได้ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่นเดียวกับปวงชนชาวไทย
 
         •  ในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ได้ทรงจัด พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ปกครองแผ่นดินอย่างสมบูรณ์ โดยมีพระปรมาภิไธยว่า “ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ” ซึ่งในครั้งนั้นได้ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ” พร้อมกันนี้ได้ทรงสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสี ขึ้นเป็น “ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ”
 
         •  ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงผนวช ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง โดยมีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช (หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเป็นพระราชอุปชฌาย์ และสมเด็จพระสังฆราชได้ถวายพระสมณฉายานามว่า “ ภูมิพโล ภิกขุ ” ทรงประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงอยู่ในเพศบรรพชิตอยู่ ๑๕ วันจึงลาผนวชเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ในระหว่างทรงผนวช ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการทรงปฏิบัติราชการแผ่นดินแทนพระองค์ ซึ่งทรงปฏิบัติราชกรณียกิจในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้อย่างเรียบร้อยเป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี นาถ ในปีเดียวกันนี้เอง    

 
         •  ในปี ๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้ เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรัชกาล โดยเริ่มจากประเทศสาธารณรัฐเวียดนาม อินโดนีเซีย และสหภาพพม่า และในปี ๒๕๐๓ ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศในทวีปยุโรป รวม ๑๔ ประเทศ ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๐๓-วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๐๔ ซึ่งในการเสด็จฯเยือนต่างประเทศครั้งนั้น นอกจากจะช่วยกระชับความสัมพันธ์กับมิตรประเทศแล้ว ทั้งสองพระองค์ยังได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจจนบังเกิดผลสำเร็จ นำผลประโยชน์มาสู่ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยมากมาย ทรงเป็นที่กล่าวขานถึงพระบารมีเลืองลือขจรไกล
 
         •  ในปี ๒๕๐๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมายุเสมอด้วยสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก จึงทรงโปรดเกล้าฯให้มีพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลในวโรกาสมหามงคลข้างต้นตามโบราณราชประเพณี ที่นิยมเฉลิมฉลองวโรกาสที่พระเจ้าอยู่หัวฯทรงเจริญพระชนมายุเสมอด้วยสมเด็จพระบรมราชบุรพการี
 
         •  ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๑๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงกระทำ “ พระราชพิธีรัชดาภิเษก ” อันเป็นพิธีเฉลิม ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี และในปี ๒๕๒๐ คณะบุคคลอันประกอบด้วยประชาชนทุกสาขาอาชีพ ได้พร้อมกันแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยการน้อมเกล้าฯถวายพระราชสมัญญา “ มหาราช ” พร้อมจัดงานถวายพระพรและเฉลิมพระเกียรติในวันเฉลิมพระชนมพรรษา โดยใช้ชื่อว่า “ ๕ ธันวามหาราช ” ต่อมาเพื่อความพร้อมเพรียงในหมู่พสกนิกรชาวไทยในอันที่จะถวายพระราชสมัญญา “ มหาราช ” จึงได้มีการสำรวจประชามติทั่วประเทศ ปรากฎว่าประชาชนมีความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ถวายพระราชสมัญญา “ มหาราช ” เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
 
         •  วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญา “ อัครศิลปิน ” แด่พระองค์ ด้วยทรงเป็นเลิศในศิลปะหลายสาขา อาทิ ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์ และนฤมิตศิลป์ เป็นต้น คำว่า “ อัครศิลปิน ” หมายถึง ผู้มีศิลปะอันเลอเลิศ หรือผู้เป็นใหญ่ในศิลปินก็ได้ เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากจะทรงเป็นเลิศในศิลปะทั้งปวงแล้ว ยังทรงมีคุณูปการได้ทรงอุปถัมภ์แก่ศิลปินทั้งหลายด้วย
 
         •  วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑ ได้มีการจัด “ ราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ” อันเป็นพระราชพิธีเฉลิมฉลองเนื่องใน อภิลักษขิตสมัยที่ทรงครองราชสมบัติยาวนานกว่าสมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้าแห่งราชอาณาจักรไทยทุกพระองค์ในอดีต ซึ่งเป็นมหามงคลวโรกาสที่หาได้ยากยิ่ง คือ ทรงครองราชย์สมบัติเป็นเวลา ๔๒ ปี ๒๒ วัน ซึ่งเป็นเวลาจำนวนปีและวันเท่ากับสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระอัยยิกาธิราช
 
         •  วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๓๙ เป็นวันที่ ทรงครองราชย์สมบัติครบ ๕๐ ปี รัฐบาลได้จัดงานเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่เพื่อถวายเป็นราชสักการะและถวายพระพรชัยมงคล พระองค์ได้โปรดเกล้าฯพระราชทานชื่องานว่า “ พระราชพิธีกาญจนาภิเษก ” นับเป็นมหามงคลสมัยพิเศษอีกวาระหนึ่งที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทย
 
         •  วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ได้มีงาน “ พระราชพิธีสมมงคล พระชนมายุ ๗๓พรรษา เท่ากับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ” ( สมมงคล อ่านว่า สะ-มะ-มง-คล)คือวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระชนมายุได้ ๒๖,๔๖๙ วัน เท่ากับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
 
         •  วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ ปีนี้ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ได้ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่องานว่า “ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ” ซึ่งหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งพสกนิกรชาวไทยต่างร่วมใจกันจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อถวายเป็นราชสักการะ และร่วมเฉลิมฉลองวโรกาสมหามงคลครั้งนี้ทั่วประเทศ ที่สำคัญคือจะมีประมุขและพระบรมวงศานุวงศ์จากมิตรประเทศมาร่วมถวายพระพรด้วย    

 
         •  และใน วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ จะทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา ซึ่งได้โปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อมาแล้วว่า “ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ”ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น คือเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช “ ในหลวง ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ” ซึ่งตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์ นับตั้งแต่วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ตราบจนปัจจุบัน เป็นเวลา ๖๐ ปีเต็ม จนกล่าวได้ว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก ได้ทรงอุทิศพระวรกาย พระราชหฤทัย และพระสติปัญญาบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งปวงเพื่ออาณาประชาราษฎร์ของพระองค์อย่างมากมายมหาศาลตลอดมา จนยากยิ่งที่จะหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใด หรือประมุขของประเทศใดในโลกมาเทียบเคียงได้ ดังนั้น ในโอกาสมหามงคลสมัยนี้ จึงขอเชิญชวนพี่น้องชาวไทยทั้งในและนอกประเทศได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ด้วยการตั้งใจ “ ทำความดี ” และ “ รู้รักสามัคคี ” ถวายเป็นพระราชสักการะ ให้สมกับที่พวกเราได้มีบุญเกิดบนผืนแผ่นดินไทย ที่มี “ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ” เป็นพระประมุขของชาติ
 
ขอขอบคุณ  คุณอมรรัตน์  เทพกำปนาท
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นที่มาของบทความ
 


13



                                                     



14
ที่มาhttp://www.tongzweb.com/10-23.asp

(ภาพจากgoogle)
23 ตุลาคม วันปิยมหาราช
วันปิยมหาราช เป็นวันที่เหล่าพสกนิกรชาวไทย นำดอกไม้ธูปเทียนพวงมาลา มาถวายบังคมต่อพระบรมราชานุสรณ์ ของพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระปิยมหาราชเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหาธิคุณนานาประการ ที่พระองค์มีต่อปวงชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศืรินทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ตรงกับวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 คํ่า ปีฉลู ณ พระตำหนัก ตึกด้านหลังองค์พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ครั้นมีพระชนมายุ 15 พรรษา ทรงได้รับเลื่อนกรมขึ้นเป็น กรมขุนพินิจประชานาถ
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิจประชานาถ จึงได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ขณะนั้นพระองค์มีชนมายุย่างเข้า 16 พรรษา นับเป็นพระมหากษัริตย์องค์ที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงค์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
หลังจากที่ขึ้นครองราชย์แล้วพระองค์ได้ทะนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าเพื่อหวังให้ทัดเทียมกับบรรดานานาอารยประเทศ ทรงโปรดให้มีการจัด การปฏิรูประเบียบแบบแผนการปกครอง เปลี่ยนแปลงแก้ไขจัดระเบียบราชการบริหารเสียใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับความ ต้องการของกาลสมัย ได้มีการแต่งตั้งตำแหน่งเสนาบดีและกระทรวงเพิ่มขึ้นใหม่ โดยแบ่งเป็น 12 ส่วน คือ กระทรวงมหาดไทย กรมพระกลาโหม กรมทำ กรมวัง กรมเมือง กรมนา กรมพระยาคลัง กรมยุติธรรม กรมยุทธนาธิการ กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ และกรมมุรธาธิการ
นอกจากนี้ยังได้มีการให้ชำระกฏหมายและสร้างประมวลกฏหมายขึ้นมา สำหรับการศาลนั้นให้มีการตั้งกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434 การศาสนาได้ให้มีการชำระและพิมพ์พระไตรปิฏก โดยโปรดให้สร้างพระไตรปิฏกฉบับทองทึบด้วคัมภีร์ใบลาน เมื่อปี พ.ศ. 2431 ตราพระราชบัญญติลักษณะการปกครองสงฆ์ ในปี พ.ศ. 2445 และโปรดให้มีการสร้างวัดสำคัญๆเช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดเทพศิรินทราวาส วัดราชาธิวาส (โปรดให้รื้อใหม่หมด ) วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ (บางปะอิน) วัดอัษฎางคนิมิตร และวัดจุฐาทิศธรรมสภาราม (อยู่ที่เกาะสีชัง )
อีกทั้งโปรดให้มีการบูรณะวัด ได้แก่ วัดศรีรัตนศาสดาราม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ วัดมงกฏกษัตริยาราม พระพุทธบาทสระบุรี วัดสุวรรณดาราม ( พระนครศรีอยุธยา ) พระปฐมเจดีย์ทรงสร้างต่อมาจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ
สำหรับการสาธารณูปโภค ได้มีการตั้งธนาคารไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2447 โดยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ร่วมกับกลุ่มบุคคลคณะหนึ่ง ก่อตั้งะนาคารไทยแห่งแรกขึ้น เรียกว่า บุคคลัภย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2445 ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจดทะเบียนเป็น บริษัท แบงค์สยามกัมมาจลทุน จำกัด ดำเนินกิจการตามแบบสากล โดยคนไทยทั้งคณะ
นอกเหนือจากนี้ยังมีกิจการ การไฟฟ้า เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลของพระองค์ ในปี พ.ศ. 2433 การประปา ในปี พ.ศ. 2452 การพยาบาลและสาธารณสุข พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนประเดิมให้สร้างโรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลศิริราช โดยเริ่มเปิดดำเนินงานในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431
การขนส่งและการสื่อสาร โปรดให้มีการสำรวจพื้นที่สร้างทางรถไฟ จากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2431 และในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์ เริ่มสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมา นับเป็นรถไฟหลวงสายแรก (ทางรถไฟราษฎร์สายแรก คือ สายกรุงเทพ - ปากนํ้า ดำเนินงานโดยชาวเดนมาร์กคณะหนึ่ง เริ่มเปิดบริการเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2436 ระยะทาง 21 กม. )
การไปรษณีย์ โปรดให้ตั้งกรมไปรษณีย์เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2426 เปิดกิจการเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 โดยเปิดใน พระนครเป็นปฐม ส่วนการโทรเลข ได้เริ่มงานในปี พ.ศ. 2412 โดยโปรดให้ชาวอังกฤษ 2 นายประกอบการขึ้น แต่ไม่สำเร็จ ทางราชการกระทรวงกลาโหมจึงรับช่วงมาทำเอง เมื่อปี พ.ศ. 2418 โทรเลขสายแรก คือ สายระหว่างกรุงเทพฯ กับ สมุทรปราการ ซึ่งยาว 45 กม. และยังมีสายใต้นํ้าที่วางต่อไปจนถึงประภาคารที่ปากนํ้าเจ้าพระยา
การโทรศัพท์ กรมกลาโหมได้นำมาใช้ในขั้นทดลองเมื่อปี พ.ศ. 2424 โดยติดตั้งจากกรุงเทพ ฯ ถึงสมุทรปราการ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2429 กรมโทรเลขได้รับโอนงานมาจัดตั้งโทรศัพท์กลางขึ้นในพระนคร และเปิดให้ประชาชนเช่าใช้โทรศัพท์ ติดต่อสื่อสารกันด้วย
ด้านการศึกษา โปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ. 2141 โดยมีหลวงสารประเสริฐ (น้อย อาจาริยางกูร ) เป็นอาจารย์ใหญ่ ปี พ.ศ. 2422 โปรดให้ตั้งโรงเรียนขึ้นที่พระราชวังนันทอุทยาน สวนอนันต์ ธนบุรี ปี พ.ศ. 2424 โปรดให้ตั้งโรงเรียน กรมมหาดเล็กแล้วยกเป็นโรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก ในปี พ.ศ. 2425 ย้ายไปอยู่พระตำหนักสวนกุหลาบ จึงเรียกกันว่า โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ นอกจากนี้ยังส่งเสริมเกี่ยวกับการศึกษาในต่างประเทศโดยทุนหลวง ฯลฯ
ในด้านวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ไกลบ้าน เงาะป่า ลิลิตนิทราชาคริต ฯลฯ และในรัชสมัยของ พระองค์ได้เกิดกวีนักปราชญ์คนสำคัญมากมาย อาทิเช่น พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย ) ผู้ประพันธ์แบบเรียนภาษาไทย 6 เล่ม และพรรณพฤกษากับสัตววาภิธาร ซึ่งแต่งใกล้ๆกันทั้งสองเรื่องในระยะ พ.ศ. 2427 เพื่อเป็นแบบสอนอ่นภาษาไทย นอกจากนี้ยังมี พระองค์เจ้าบรมวงค์เธอ กรมพระนราธิปประพันธพงค์ ซึ่งสร้างผลงานวรรณกรรมช้นเอกไว้มากมาย เช่น สาวเครือฟ้า อาหรับราตรี จดหมายเหตุลาลูแบร์ ทรงใช้พระนามแฝงว่า " ประเสริฐอักษร " กวีท่านอื่นๆ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ พระะยาดำรงราชานุภาพ ผู้ทรงพระนิพนธ์ไทยรบพม่า นิราศนครวัด และ เทียนวรรณ ผู้มีผลงานทางวรรณคดีหลายเรื่อง
พระองค์ทรงโปรดให้มีการตั้งหอพระสุมดสำหรับพระนคร โดยรวมหอพระสมุดเดิม 3 นคร ในปี พ.ศ. 2417 ตั้งโบราณคดีสโมสร ในปี พ.ศ. 2450
ด้านการต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงขึ้นครองราชย์ในช่วงที่กำลังมีการล่าอาณานิคม แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นมาได้ แม้จะต้องเฉือนแผ่นดินบางส่วนให้ปไเรียกว่าเป็นการเสียแผ่นดิดแดน บางส่วน แต่ก็ยังสามารถรักษาเอกราชไว้ได้
การเลิกทาส
พระราชกรณียกิจอีกชิ้นหนึ่ง ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ คือ การเลิกทาส โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ โดยเริ่มให้มี ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท ขึ้นในปี พ.ศ. 2417 โดยกำหนดให้ลูกทาสที่เกิดแต่ปีมะโรง พ.ศ. 2411 อันเป็นปีแรกที่พระองค์ครองราชย์ให้ใช้อัตราค่าตัวใหม่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติ พออายุครบ 8 ปี ก็ถือว่าค่าตัวเต็มค่าแล้วการเป็น ทาสอีก และระบุโทษแก่ผู้ซื้อขายไว้ด้วย
ในปี พ.ศ. 2420 เมื่อพระองค์มีชนมายุครบ 2 รอบ ได้บริจาคพระราชทรัพย์ไถ่ตัวทาสที่ขายตัวอยู่กับนายเงินคนเดียวมาครบ 25 ปี รวมทั้งลูกหลานทาสนั้น อีกทั้งพระราชทานที่ให้ทำกินด้วย พระราชดำริอันนี้มีผู้เจริญรอยตามมาก ช่วยให้ทาสเป็นอิสระได้เร็วขึ้น อีกทางหนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2443 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะทาสนณฑลตะวันตกเแยงเหนือ ร.ศ. 119 ขึ้น โดยให้ลดค่าตัวทาสเชลย ทั้งปวงในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ คือ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ให้เป็นอัตราเดียวกันหมด และเมื่ออายุครบ 60 ปีแล้ว ก็ให้เป็นไทแก่ตัว ส่วนทาสสินไถ่ถ้ามีอายุครบ 60 ปีแล้ว ยังหาเงินมาไถ่ไม่ได้ ก็โปรดให้เป็นไทเช่นกัน
ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2447 ทรงประกาศลดค่าตัวทาสในมณฑลบูรพา โดยให้นายเงินลดค่าตัวทาสลงเดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด และห้ามการซื้อขายทาสกันต่อไป
ในปี พ.ศ. 2448 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 125 ขึ้น เพื่อใช้บังคับทั่วพระราชอาณาจักร
ด้วยพระปรีชาสามารถและการมีสายพระเนตรอันยาวไกล ในอีก 30 ปีต่อมา นับแต่มีพระราชดำริให้มีการเลิกทาส ในเมืองไทยก็ปราศจากทาสโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ประเทศไทยก็เจริญรุ่งเรืองเทียมเท่าบรรดาอารยประเทศ และรักษาความเป็นเอกราช ไว้ได้ตราบเท่าทุกวันนี้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชของปวงชนชาวไทย เสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เมื่อมีพระชนมายุ 58 พรรษา รวมเวลาอยู่ในสิริราชสมบัตินับไดถึง 42 ปีเศษ การจากไปของพระองค์ยังความโศกเศร้ามาสู่พสกนิกร ของพระองค์โดยทั่วหน้า เมื่อถึงวันคล้ายวันสวรรคต จึงพร้อมใจกันนำพวงมาลาไปถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ เพื่อรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณ เป็นประจำทุกปี

15
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / อนุโมทนา
« เมื่อ: 13 ส.ค. 2552, 06:10:00 »
แด่ทุกท่าน

ศัพท์ธรรมคำวัด : อนุโมทนา

มีคำอยู่คำหนึ่งที่ชาวพุทธพูดกันจนติดปาก คำนั้นก็คือ ?อนุโมทนา? ความหมายของอนุโมทนาคืออะไร และเมื่อไหร่ที่ควรใช้คำนี้ คำตอบก็คือ...

ในหนังสือ ?คำวัด? โดยพระธรรมกิตติวงศ์ ได้อธิบายความหมายของคำนี้ไว้ว่า

อนุโมทนา หมายถึง การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ การอนุโมทนานั้นอาจทำได้ด้วยการพูด เขียนหนังสือ หรือแสดงกิริยาก็ได้ เช่น เมื่อได้ยินเสียงย่ำฆ้องกลองที่วัดในตอนเย็น แสดงว่าพระท่านทำวัตรเย็นจบ ก็ยกมือขึ้นประนมไหว้ เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญ แล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วก็ยกมือขึ้นสาธุ เป็นการอนุโมทนาบุญของเขาด้วย

เรียกการพูดแสดงความยินดีในความดีของผู้อื่นว่า ?อนุโมทนากถา?

เรียกหนังสือรับรองการบริจาคที่วัดออกให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์ทำบุญว่า ?อนุโมทนาบัตร หรือใบอนุโมทนา?

เรียกบุญที่เกิดจากการอนุโมทนาตามตัวอย่างข้างต้นว่า ?อนุโมทนามัยบุญ?

และการที่ภิกษุกล่าว สัมโมทนียกถา อันแปลว่า ถ้อยคำอันเป็นที่บันเทิงใจ ใช้เรียกการที่ภิกษุพูดแสดงความขอบคุณหรือกล่าวถึงประโยชน์และอานิสงส์ของความดี ของบุญกุศล ที่ทายกทายิกาได้ทำ เช่น ถวายอาหาร สร้างกุฏิ สร้างหอระฆัง เป็นต้น ไว้ในบวรพระพุทธศาสนา บางทีเรียกว่า อนุโมทนากถา

ส่วนในหนังสือศาสนพิธี เล่ม ๒ ฉบับมาตรฐาน โดยคณาจารย์แห่งโรงพิมพ์เลี่ยงเชียง ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า

ธรรมเนียมของพระภิกษุสามเณร เมื่อได้รับถวายปัจจัยสี่ ไม่ว่าจะเป็นภัตตาหาร หรือทานวัตถุใดๆ ก็ตามจากทายกทายิกา จะต้องทำพิธีอนุโมทนาทานนั้น ไม่ว่าจะได้รับรูปเดียวหรือหลายรูปก็ตาม ต้องอนุโมทนาทุกครั้ง จะละเว้นเสียมิได้ถือว่าผิดพระพุทธานุญาต ต่างแต่ว่าอนุโมทนาต่อหน้าหรือลับหลังเท่านั้น

ธรรมเนียมนี้ปฏิบัติกันมาแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว ฉะนั้นการอนุโมทนาทานจึงเป็น ประเพณีมานานในหมู่สงฆ์ การประกอบพิธีอนุโมทนาลับหลังทา ยกทายิกามีวิธีเดียว คือ การบิณฑบาตที่ต้องออกรับในสถานที่ต่างๆ ทั่วไปไม่จำกัด กรณีเช่นนี้ไม่ต้อง อนุโมทนาต่อหน้าขณะที่รับบิณฑบาต แต่กลับมาถึงวัดฉันอาหารเรียบร้อยแล้ว จึงอนุโมทนา หรือยกไปอนุโมทนาในช่วงทำวัตรสวดมนต์ เช้า - เย็นก็ได้

ส่วนพิธีอย่างอื่นนอกจากนี้ควรจะอนุโมทนาต่อหน้าเสมอไปจึงจะสมควร พิธีอนุโมทนาแบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ ๒ หัวข้อคือ

๑. สามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาที่นิยมใช้ปฏิบัติกันโดยทั่วไป ไม่จำกัดงานหนึ่งงานใด ก็คงใช้คำอนุโมทนาแบบเดียวกัน

๒. วิสามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาด้วยบทสวดพิเศษคือ อนุโมทนาเฉพาะทาน เฉพาะกาล และเฉพาะเรื่อง

สำหรับคำว่า ?สาธุ? แปลว่า ?ดีแล้ว ชอบแล้ว? ดังนั้นการเปล่งวาจาว่าสาธุก็เพื่อแสดงความเห็นชอบด้วยชื่นชม หรือยกย่องสรรเสริญ เพื่ออนุโมทนาในบุญ หรือความดีที่ผู้อื่นทำนั่นเอง

ในพระไตรปิฎก ได้พูดเรื่องผลบุญของการอนุโมทนาที่ทำให้ไปเกิดในวิหารวิมานว่า

ท่านพระอนุรุทธเถระได้ถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่า เหตุใดมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ มีเสียงอันเป็นทิพย์น่าฟัง รื่นรมย์ใจ มีกลิ่นทิพย์อันหอมหวนยวนใจ เสียงของเครื่องประดับผมก็ดังเสียงไพเราะดุจเสียงดนตรี แม้พวงมาลัยบนศีรษะก็มีกลิ่นหอมชวนให้เบิกบานใจ หอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ขอท่านจงบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร ?

นางเทพธิดาตอบว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นางวิสาขามหาอุบาสิกา เป็นสหายของดิฉัน อยู่ในเมืองสาวัตถี ได้สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์ ดิฉันเห็นมหาวิหารนั้น แล้วมีจิตเลื่อมใสอนุโมทนา ก็วิมานอันเป็นที่รักนี้อันดิ ฉันได้แล้ว เพราะการอนุโมทนาด้วยจิตบริสุทธิ์แต่อย่างเดียวเท่านั้น วิมานนี้เป็นวิมานอัศจรรย์น่าดูน่าชม โดยรอบสูง ๑๖ โยชน์ เลื่อนลอยไปในอากาศ ได้ตามความปรารถนาของดิฉัน ดิฉันมีปราสาทเป็นที่อยู่อา ศัย อันบุญกรรมจัดแจงเนรมิตให้เป็นส่วนๆ งามรุ่งโรจน์ตลอดร้อยโยชน์โดยรอบทิศ วิมานอันมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ น่าอัศจรรย์ น่าดูน่าชมเช่นนี้ เกิดแต่ดิฉันเพราะกุศลกรรมทั้งหลาย ควรทำบุญโดยแท้

สรุปแล้วการอนุโมทนาเป็นสิ่งดี แต่สิ่งที่ดีกว่าก็คือ การลงมือทำความดี สร้างบุญกุศลนั้นๆ ด้วยตนเอง



.............................................................
ที่มาhttp://www.dhammajak.net/board :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114:
 
 
 

16
congratulation


Google   การค้นหาขั้นสูง
การตั้งค่า
ค้นหา:  เว็บ  หน้าที่เป็นภาษาไทย  เว็บจากประเทศไทย 

เว็บ ผลการค้นหา 1 - 10 จากประมาณ 2,880,000 รายการ สำหรับคำว่า ผู้การเสือ (0.16 วินาที)
หรือคุณหมายถึง: ผู้การเรือ 


ผลการค้นหา๕๕๕ ผู้การเสือ(ภาค 5)...ลพ.เปิ่นกับตำรวจ ๕๕๕
ปัจจุบัน ใครๆก็เรียกผมว่า ?ผู้การเสือ? ?ปัจจุบัน ผมเป็นรองผู้ว่าการ เทียบได้ ?พลตำรวจจัตวา? สมัยก่อนก็ขึ้น ?เจ้าพระยา? ครับ. ...
www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=8239.0 - แคช - ใกล้เคียง
๘๘๘ ผู้การเสือ(ภาค 8) แจกพระให้สมาชิกชมรม๘๘๘
งงๆ กรุงเทพฯ นี่ คนพลุกพล่าน) ร่วมนั่งปรกด้วยครับ... (ผู้การเสืออยู่ในพิธีนี้ด้วยครับ และลป.ทิม เมตตาปลุกเศกพระห้อยคอมาไว้ในมือท่าน...ตลอดพิธี ....... ครับ) ...
www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=8742.0 - แคช - ใกล้เคียง
ผลการค้นหาเพิ่มเติมจาก www.bp.or.th »
สั่ง ผบช.ภ.-ผู้การชลบุรี กลับถิ่น ไม่พบเอี่ยวเสื้อแดงล้มอาเซียนซัม ...
ผู้การชลบุรี กลับถิ่น ไม่พบเอี่ยวเสื้อแดงล้มอาเซียนซัมมิต! สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีคำสั่งให้ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 และผู้บังคับการจังหวัดชลบุรี ...
www.thaiblognews.com/สั่ง-ผบชภ-ผู้การชลบุรี-ก/ - แคช - ใกล้เคียง
โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ/ผศ.นพ.ณัฐวุฒิ รอดอนันต์ ...
25 มิ.ย. 2009 ... เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากการเสื่อมของบริเวณจุดภาพชัดของจอตา ทำให้สูญเสียการมองเห็นส่วนกลางของภาพ หากพบในผู้มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป ...
onknow.blogspot.com/2009/06/blog-post_159.html - แคช - ใกล้เคียง
ผู้การพะเยาคาดเสื้อแดงร่วมชุมนุม17มิ.ย.อาจมีแค่100คน
ผู้การพะเยาคาดเสื้อแดงร่วมชุมนุม17มิ.ย.อาจมีแค่100คน.
news.sanook.com/politic/politic_369259.php - แคช - ใกล้เคียง
คนเสื้อแดงบุกบ้านผู้การฯชม.
16 เม.ย. 2009 ... กลุ่มคนเสื้อแดงที่ให้การสนับสนุนวิทยุชุมชนคนรักเชียงใหม่ เอฟเอ็ม 92.5 เมกะเฮิร์ต ของกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ประมาณ 50 คน ...
76.nationchannel.com/playvideo.php?id=34468 - แคช - ใกล้เคียง
ผู้การปทุมธานีสั่งคุ้มกัน พล.อ.เปรม กันคนเสื้อแดง :- ข่าวด่วน
9 เม.ย. 2009 ... ผู้การปทุมธานีสั่งคุ้มกัน พล.อ.เปรม กันคนเสื้อแดง ข่าวด่วน ข่าววันนี้ ค้นหาข่าว อ่านข่าว อ่านข่าวย้อนหลัง สำนักข่าวทั่วไทย.
breakingnews.quickze.com/readnews-70680-+ผู้การปทุมธานีสั่งคุ้มกัน+พล.อ.เปรม+กันคนเสื้อแ... - แคช - ใกล้เคียง
รองผู้การฯสั่งระดมตร.นับพันรับมือเสื้อแดงชุมนุม 8 มี.ค.นี้ คมชัด ...
7 มี.ค. 2009 ... คมชัดลึก :รองผู้การฯขอนแก่น สั่งระดมตำรวจ 1000 นาย รับมือคนเสื้อแดงชุมนุมหน้าศาลากลางจังหวัด 8 มี.ค.นี้ มั่นใจไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น ...
www.komchadluek.net/.../รองผู้การฯสั่งระดมตร.นับพันรับมือเสื้อแดงจัดชุมนุมพรุ่งนี้.html - แคช - ใกล้เคียง
ข่าว ผู้การพะเยาคาดเสื้อแดงร่วมชุมนุม17มิ.ย.อาจมีแค่100คน พล.ต.ต ...
ข่าว ผู้การพะเยาคาดเสื้อแดงร่วมชุมนุม17มิ.ย.อาจมีแค่100คน พล.ต.ต.ปราศรัย สังขะทรัพย์ ผบก.ภ.จว.พะเยา กล่าวเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ...
news.mjob.in.th/politic/cat3/news29959/ - แคช - ใกล้เคียง
รองผู้การภาค2แจงอนุฯพัทยายันไม่เห็นคนเสื้อน้ำเงิน
มีการเผชิญหน้ากันระหว่างกลุ่มมวลชนในพื้นที่กับกลุ่มคนเสื้อแดง จนมีการปะทะ มีผู้บาดเจ็บ 2 คน และผู้บาดเจ็บ ก็ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนแล้ว จากนั้นวันที่ 11 ...
www.serichon.com/board/index.php?topic=26181.0 - แคช - ใกล้เคียง
หรือคุณตั้งใจจะค้นหาคำว่า : ผู้การเรือ 



 1  2
  3
  4
  5
  6
  7
  8
  9
  10
  ถัดไป

 
ค้นหา ภายใน ผลการค้นหา - เครื่องมือภาษา - เคล็ดลับ การค้นหา - ไม่พอใจหรือ ช่วยเราปรับปรุงสิ

หน้าแรก Google - โปรแกรมโฆษณา - ทางออกทางธุรกิจ - ข้อมูลส่วนบุคคล - เกี่ยวกับ Google ทั้งหมด

 

17
ข่าวฝากจากวัดพระขาว

ขอเชิญร่วมงานบำเพ็ญกุศลศพครบ ๑๐๐ วัน หลวงปู่ทิม

๒๘ ๒๙ ๓๐ มิถุนายนนี้ครับ

๒๘มิถุนายน ปลุกเสกใหญ่ วัตถุมงคลชุดครบ ๑๐๐ วันการมรณภาพ โดยพระเกจิชื่อดัง ร่วมพลังเพื่อหลวงปู่และวัดพระขาว

และจะมีพิธีเททองหล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริง ของหลวงปู่ทิม ไว้ให้ได้กราบสักการะกัน

๓๐ มิถุนายน ทำบุญครบ ๑๐๐ วัน เชิญร่างหลวงปู่ประดิษฐาน ในหีบแก้ว ไว้บนมณฑปต่อไป






http://www.luangputim.com/webboard/viewtopic.php?t=620 :090:

18
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / 23 พ.ค. 2552
« เมื่อ: 05 พ.ค. 2552, 06:20:56 »
ในวันที่ 23 พ.ค. 2552
คณะศิษย์หลวงพ่อเปิ่น โดย พระครูอนุกูลพิศาลกิจ
ได้เป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม หลวงปู่ทิม วัดพระขาว
ในเวลาประมาณ 19.00 น. ณ ศาลาการเปรียญ วัดพระขาว
ขอเชิญท่านที่เคารพ ศิษย์ ศิษยานุศิษย์ ร่วมเป็นเจ้าภาพร่วมกัน
**การเดินทาง ตามสดวกอัทธยาศัย**




                                 

19
ขอกราบคารวะ
และอาลัยยิ่งแด่ หลวงปู่ทิม พระผู้เมตตา ณ ที่นี้อีกวาระหนึ่ง






20
ขอแสดงความยินดี
กับ ลูกสาวผู้การ
ที่ได้รับเป็น ฝ่ายปฏิคมของบอร์ด
ขอให้เจริญยิ่งในความเสียสละนี้



:053: :053: :053: :053: :053: :053: :053: :053: :053: :053: :053: :053:
 :100:

22
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / อนุโมทนา
« เมื่อ: 03 มี.ค. 2552, 06:36:39 »
ขออนุญาติประกาศ และอนุโมทนา
ศิษยานุศิษย์ในหลวงพ่อเปิ่น ตลอดจนกระทั้ง ท่านทั้งหลายที่ศรัทธาเลื่อมใส
ในพระเดชพระคุณ หลวงพ่อเปิ่น ที่ได้ร่วมกันนำอาหารและเครื่องดื่ม
มาเลี้ยง สาธุชนทั้งหลายในโอกาส ไหว้ครูปีนี้ 7 มีนาคม 2552
(เท่าที่ทราบ ณ เวลานี้ ผิดพลาดขออภัย และน้อมรับผิดแต่ผู้เดียว(ไม่ชอบปัด โยนฯลฯ))
*หลวงพ่อเจตน์วัดนก                 5,000- บาท
*หมูปิ้งจากศิษย์วัดนก วัดบางพระ
*หอยทอดคุณฟู่บางแค และเพื่อน ๆ
*เจ๊แมว สุรินทร์ สมทบอาหารเครื่องดื่ม วันที่ 5 กุฏิหลวงพ่อติ่ง  10,000-
                    เครื่องดื่มกุฏิหลวงพ่อต้อย หลวงพี่ญา วันที่ 7- 10,000-
                    ร่วมทำบุญเลี้ยงพระวันที่ 8 กุฏิหลวงพี่ญา        20,000-
     และนำ กะเพาะปลา หอยทอด เย็นตาโฟ ข้าวมันไก่ มาเลี้ยงในวันที่ 7
     และมอบค่าผลไม้แจกในพิธี 10,000- (จัดซื้อแอ๊ปเปิ้ลไปแล้ว)*****
*คุณสุรินทร์ ตรงต่อศักดิ์  และเพื่อน ๆ  ก๋วยเตี๋ยว ไอศครีม
*คุณอ๊อด บางแค และเพื่อน ๆ  ข้าวหมูทอด ลูกชิ้นปิ้ง
*น่ำแข็งใส ลุงหวง คุณกุ้ง คุณเหมี่ยว  คุณเดช
*คุณเย็นจิตร บุญชัยศรี (เจ๊แดงวัดราชฯ) แกงส้ม ทอดมัน ลอดช่อง
*คุณแกละ ท่าน้ำศิริราช   ข้าวโพดคั่ว
*ลูก หลาน คุณแกละ      นำลูกชิ้นมาช่วย
*คุณทราย และคุณยอด     สมทบ น้ำมันพืช น้ำจิ้มไก่
*คุณฉันทร์ บางแค  เครื่องดื่มมาเลี้ยง
*อาจารย์เอ้ วัดดอกไม้ ข้าวต้มคืนวันที่ 6
**พระอาจารย์หนุ่ม วัดบางแวก ถวายปัจจัย 500-ดอลล่าห์สิงค์โปร์
**คุณตือปากน้ำ  สมทบค่าเครื่องดื่ม  3,000-


*คณะศิษย์หลวงพ่อเปิ่น ถวายปัจจัยเป็นค่าเครื่องบวงสรวงในพิธีวันที่ 7 มี ค   15,000- มอบให้ทางวัดไปแล้ว
***************คณะศิษย์ถวายค่าเครื่องบวงสรวงในพิธีเพิ่มเติม         5,000-**********
...         







อรุณสวัสดิ์   วันที่ 7 ชงกาแฟอร่อยให้หลวงปู่กาหลง อีกองค์

23
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / ในวันงาน
« เมื่อ: 22 ก.พ. 2552, 07:10:08 »
เนื่องด้วยในวันงานวัดแต่ละปี มีผู้สนใจมาร่วมงานในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก

ในคนหมู่มากก็ย่อมมีนิสัยใจคอต่างกันไป มีทั้งดี และฉวยโอกาส

โปรดระวังทรัพย์สิน และสิ่งที่มีค่าจากมิจฉาชีพ

และ โปรดระวัง คนของขึ้นตะครุบแต่สาว ๆ และกระเป๋าสตางค์

ขอให้พวกเราช่วยกันดูแลกันด้วย

   เจริญพร


  :114: :058: :114:

24
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / *-*
« เมื่อ: 07 ก.พ. 2552, 07:07:24 »
*-*



*-*

25
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / happy chinese newyear
« เมื่อ: 24 ม.ค. 2552, 06:43:17 »
happy chinese newyear
ขอให้ทุก ๆ ท่านมีความสุขตลอดไปตราบนานเท่านาน







26
โดย หลวงพ่อติ่ง วัดบางพระ



27
 :050:



 :050: :050:




 :050: :050: :050:










29
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / วัดพระขาว
« เมื่อ: 14 ต.ค. 2551, 05:52:52 »
http://www.oknation.net/blog/somboontiew/2008/09/07/entry-1










30
ขอแสดงความเสียใจ
สำหรับการจากไปของโยมมารดา  พระอาจารย์ชออม(ผช.เจ้าอาวาส)

31
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / ไหว้ครู
« เมื่อ: 30 ก.ค. 2551, 03:42:47 »
ขอเชิญร่วมพิธีไหว้ครู
สายหลวงพ่อพิมมาลัย 
อาจารย์ประคอง
ณ วัดบางแวก (ติดกับพณิชยการธนบุรี)
ในวันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม 2551
เวลา 08.39 น. เป็นต้นไป[
ประกอบพิธี โดยพระอาจารย์หนุ่ม

32
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / 1 พฤษคาคม 2551
« เมื่อ: 07 เม.ย. 2551, 06:33:57 »
หลวงรวย
วัดเขาวงศ์หนองม่วง
จ.ลพบุรี
กำหนดงานไหว้ครูในวันที่ 1 พ.ค.2551
ท่สนผู้สนใจขอเชิญร่วมงานดังกล่าว
:002:

33
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / ขอเชิญ
« เมื่อ: 19 มี.ค. 2551, 06:16:59 »
วัดหนองม่วงแจ้งข่าวมา
ขอเชิญร่วมงานไหว้ครู หลวงพ่อพิมพ์มาลัย
หลวงพ่อสวัสดิ์
สายวิชาฝังเข็มทอง
ในวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๑
เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น.
ณ วัดหนองม่วง โพธาราม ราชปุรี

โดยพระอาจารย์ป้อม
[/size]

34
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / วันแรก
« เมื่อ: 14 มี.ค. 2551, 06:06:14 »
ขอเชิญร่วนงานประจำปี
หลวงปู่ทิม วัดพระขาว   วันนี้เป็นวันแรก
มีตะกรุดลูกอมอุดผงขนาดกำลังดี ฯลฯ

35
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / happy chiness newyear
« เมื่อ: 06 ก.พ. 2551, 06:30:56 »





?

วันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่ของจีน (วันที่ 1 เดือน 1 ของวันจีน) ถือเป็นเทศกาลใหญ่ ที่ประหนึ่งรวมเทศกาลวันตรุษ และอาจรวมเทศกาลไหว้สิ้นปี เข้ากับเทศกาลวันตรุษ ซึ่งจะต่างกับวันไทย และวันสากล ในขณะที่วันของไทย เป็นวันข้างขึ้น และข้างแรม เดือนหนึ่งมี 30 วัน ของจีนจะเป็นเดือนสั้น และเดือนยาว เดือนสั้นมี 29 วัน เดือนยาวมี 30 วัน
 วันจีนจะช้ากว่าวันข้างขึ้น ข้างแรม ในปฏิทินอยู่ 2 เดือน ยกตัวอย่าง วันไหว้พระจันทร์ ตรงกับวันที่ 15 เดือน 8 เมื่อดูในปฎิทินจะเป็นขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 หรือสมมติว่าวันที่ 31 ธันวาคม 2535 ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 2 ก็คิดกลับเป็นวันจีนจะเป็นวันที่ 8 เดือน 12 จากนั้นนับต่อจากวันที่ 8 ไปเป็นวันที่ 9 เดือน 12 ของจีน คือ วันที่ 1 มกราคม 2536 นับไปเรื่อยๆ จนครบวันที่ 30 เดือน 12 ของจีน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 22 มกราคม 2536 ของไทย ดังนั้นวันตรุษจีน คือ วันที่ 1 เดือน 1 ของจีน ก็จะตรงกับวันที่ 23 มกราคม 2536

 วันสิ้นปีจะมีการไหว้ หลายอย่าง นิยมเรียกว่า "วันไหว้" มักเรียกวันก่อนหน้าวันไหว้ว่า "วันจ่าย" เพราะเป็นวันสุดท้ายที่จะจับจ่ายซื้อของไหว้ของใช้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าจะปิดธุรกิจหลายวัน

 การไหว้ตรุษจีนจะนิยมเรียกกันว่า "วันชิวอิด" แปลว่า วันที่ 1 มีความน่าสนใจตรงที่ว่า คนจีนจะไหว้ "ไช้ซิ้งเอี๊ย" หรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภ"ในเวลากลางดึก เมื่อเวลาย่างเข้าวันตรุษหรือวันชิงอิดไช้ แปลว่า โชคซิ้ง และเอี๊ย แปลว่า เจ้า

นอกจากนี้เวลาไหว้ยังมีฤกษ์ยาม และทิศที่จะตั้งโต๊ะไหว้ ยังเป็นทิศ และเวลาเฉพาะในแต่ละปี เพื่อความเป็นสิริมงคล ของไหว้จะไหว้ง่ายๆ ด้วยส้ม และโหงวเส็กทึ้งกับนำชา ส้ม คนจีนเรียกว่า กา หรือ "ไต้กิก" แปลว่า โชคดี เพื่ออวยพรให้ลูกหลานโชคดี และใช้ให้เป็นของขวัญ...นำโชคมามอบให้แก่กันโหงวเส็กทึ้ง แปลว่า ขนม 5 สี ได้แก่? ถั่วตัด งาตัด ข้าวพอง ถั่วเคลือบน้ำตาล และฟักเชื่อม บางทีก็เรียกว่า "ขนมจันอับ" หรือ "แต่เหลียง" บางบ้านมีการไหว้อาหารเจแห้ง ให้แก่บรรพบุรุษด้วย บางบ้านนิยมเปิดไฟไว้ที่ศาลเจ้าที่ "ตี่จู่เอี๊ย" เพื่อรอรับวันที่เจ้าที่จะเสด็จกลับลงมาจากสวรรค์ในวันที่ 4 เดือน 1 ของจีน

 ในวันตรุษจีน หรือวันชิวอิด ในหมู่คนจีนจะทราบกันว่า นี่คือ "วันถือ" ถือที่จะทำในสิ่งที่ดี และไม่ทำในสิ่งที่ไม่ดี ใส่เสื้อผ้าชุดใหม่สวยงาม ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดแต่ "หออ่วย" แปลว่า คำดีๆ ไม่อารมณ์เสียหงุดหงิด ไม่ทำงานหนัก เพื่อที่ว่าตลอดปีจะได้ไม่ต้องทำงานหนักนัก ไม่กวาดบ้าน เพราะอาจปัดสิ่งดีๆ มีมงคลออกไป แล้วกวาดความไม่ดีเข้ามา เริ่มต้นเช้าวันตรุษ คนในบ้านก็จะทักทายกันด้วยคำอวยพร "ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้" หมายถึง เวลาใหม่ให้สมใจ ปีใหม่ให้สมปรารถนา

อั้งเปา" ในวันตรุษจีน มีคำจีนโบราณเรียกว่า "เอี๊ยบซ้วยจี๊" เป็นเงินสิริมงคลที่ผู้ใหญ่ให้แก่ลูกหลาน เพื่ออวยพรให้มีสุขภาพแข็งแรง และเจริญก้าวหน้า? ธรรมเนียมหนึ่งในวันตรุษจีนคือการไป "ไป๊เจีย" หรือการไปไหว้ขอพร และอวยพรผู้ใหญ่ หรือญาติมิตร โดยส้มสีทอง 4 ผลห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าผู้ชาย ที่นิยมใช้กันแต่ส้มสีทอง ไม่ใช้ส้มเขียว เพราะสีทองเป็นสีมงคล ทองอร่ามเรืองจะอวยพรให้รุ่งเรือง เช่นเดียวกับส้ม ที่คนจีนเรียกว่า ไต้กิก แปลว่า โชคดี ส้มสีทองที่มอบแก่กันคือ นัยอวยพรให้ "นี้นี้ไต้กิก" แปลว่า ทุกๆ ปีให้โชคดีตลอดไป

ส้มสีทอง 4 ใบ เมื่อเจ้าบ้านรับไป จะเป็นการรับไปเปลี่ยนว่าเปลี่ยนส้ม 2 ใบของแขกกับ 2 ใบของที่บ้าน แล้วคืนส้ม 4 ใบคืน ให้แขกนำกลับไป 2 ใบของที่บ้าน แล้วคืนส้ม 4 ใบ คืนให้แขกนำกลับไป หมายถึง การที่ต่างฝ่าย ต่างให้โชคดีแก่กัน

 การติดฮู้ เป็นธรรมเนียมที่นิยมถือทำในวันตรุษจีน เช่น การติด "ฮู้" หรือยันต์แผ่นใหม่ เพื่อคุ้มครองบ้าน ติด "ตุ้ยเลี้ยง" หรือแผ่นคำอวยพรที่ปากทางเข้าบ้าน

 

ย้อนรอยมังกร

เขตสัมพันธวงศ์เป็นชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ตามหลักฐานสามารถสืบขึ้นไปได้ถึงเมื่อครั้งสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีการบันทึกไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พวกชาวจีนออกจากพื้นที่ไปอยู่ที่สามเพ็ง หรือสำเพ็งปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นพื้นที่ทำการก่อสร้างพระราชวัง

ภายหลังจากมีการลงนามในสนธิสัญญาบาวริ่งในสมัยรัชกาลที่ 4 แล้ว กรุงเทพฯ ก็มีกิจการค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้นตามลำดับ จึงมีการสร้างโกดังสินค้าขึ้นเป็นจำนวนมาก แหล่งค้าขาย และย่านคนจีนแห่งนี้มีอาณาเขตตั้งแต่บริเวณคลองโอ่งอ่าง
ไปจนถึงคลองผดุงกรุงเกษมซึ่งที่นี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของย่านธุรกิจแห่งแรกของกรุงเทพฯ

ในช่วงรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 มีการตัดถนนหลายสายในเขตนี้ เริ่มจากถนนเจริญกรุง ในปี พ.ศ.2405 และถนนอื่นๆ อาทิ ถนนสามเพ็ง(สำเพ็ง หรือ ถนนวานิช1 ในปัจจุบัน) ถนนราชวงศ์ ๔นนอนุวงศ์ และถนนทรงวาด แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ การตัดถนน เยาวราช เมื่อปี พ.ศ. 2434 เพราะนับจากนั้นมา ถนนสายนี้ก็ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อคนจีน และคนไทย ทั้งในด้านการค้าขาย และการดำเนินชีวิตประจำวันจนตราบเท่าทุกวันนี้

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.china2learn.com/
(เรียนภาษาจีน พูดภาษาจีน ศึกษาที่ประเทศจีนได้ที่นี่)

? สิ่งที่ไม่ควรทำตอนวันขึ้นปีใหม่ (วันตรุษจีน)?
ควรหลีกเลี่ยงการทำงานบ้านในวันขึ้นปีใหม่(วันตรุษจีน)
เนื่องจากการทำงานบ้าน เช่น การซักล้าง หรือ การกวาดบ้านปัดฝุ่น จะเป็นการขับไล่ความโชคดีออกไป ดังนั้นการทำความสะอาดบ้านจึงควรเริ่มทำตั้งแต่ก่อนที่วันขึ้นปีใหม่จะมาถึง
ไม่ควรสระผมในวันเริ่มต้นและวันสุดท้ายของวันขึ้นปีใหม่ เนื่องจากการสระผมถือเป็นการชะล้างความโชคดีที่มาถึงในวันขึ้นปีใหม่
 
ไม่ควรใช้ของมีคมในวันขึ้นปีใหม่ ของมีคมต่างๆ เช่น มีด , กรรไกร , ที่ตัดเล็บ เนื่องจากถือว่าการกระทำของของมีคมนี้จะเป็นการตัดสิ่งหรืออนาคตที่ดี ที่จะนำมา ในวันขึ้นปีใหม่
ควรระมัดระวังในการใช้คำพูดที่มีความหมายไปในทางลบรวมทั้งหลีกเลี่ยงการโต้เถียงกัน คำที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยหรือความตายเป็นคำที่เราควรหลีกเลี่ยงในวันขึ้นปีใหม่
หลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานศพ และการฆ่าสัตว์ปีก
ควรระมัดระวังในการทำสิ่งใดๆ ไม่ควรที่จะให้เกิดการสะดุด หรือ ทำสิ่งของตกแตก ซึ่งนั่นจะหมายถึงการนำความโชคไม่ดีเข้ามาในอนาคต
การเฉลิมฉลองในวันขึ้นปีใหม่ของจีนทั้ง 15 วัน
ในวันแรกของวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ คือวันแห่งการต้อนรับเทพเจ้าแห่งสวรรค์และ โลกมนุษย์ ในวันแรกนี้คนส่วนใหญ่ จะละเว้นจากการรับประทานเนื้อสัตว์ เพราะเชื่อว่าการทำเช่นนี้ จะทำให้พวกเขามีชีวิตที่ยืนยาว และมีความสุข
 
ในวันที่สองของวันขึ้นปีใหม่ ชาวจีนจะสวดอ้อนวอนต่อ บรรพบุรุษและต่อเทพเจ้า พวกเขาจะปฏิบัติต่อสุนัขและเลี้ยงมันเป็นอย่างดี เนื่องว่าชาวจีนเชื่อว่า วันที่สองนี้เป็นวันเกิดของสุนัขทุกตัว
ในวันที่สามและสี่ จะเป็นวันสำหรับลูกหลานจะไปเคารพอวยพรต่อบิดามารดา
ในวันที่ห้า จะเรียกวันนี้ว่าวัน Po Woo ในวันนี้ประชาชนจะอยู่กับบ้านเพื่อรอต้อนรับ เทพเจ้าแห่งความเงินทอง และจะไม่มีใครที่จะออกไป เยี่ยมครอบครัวและเพื่อนๆในวันนี้ เพราะจะเป็นการนำความโชคร้าย ไปสู่พวกเขาทั้งสองฝ่าย
ในวันที่หกจนถึงวันที่สิบของวันขึ้นปีใหม่ จะเป็นช่วงที่ชาวจีนออกไปเยี่ยม ญาติและเพื่อนๆ ตามอิสระ รวมไปถึงการไปสวดมนต์ที่วัดเพื่อให้มีสุขภาพและอนาคตที่ดี
ในวันที่สิบถึงวันที่สิบสอง จะเป็นวันที่เพื่อนและญาติ จะเชื้อเชิญกันไป รับประทานอาหารเย็น
? ?

 

 
 

?


ภาพจากการค้นหา www.google.com
 



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

36
http://www.thairath.co.th/news.php?section=specialsunday02&content=77470

37
กำหนดการครอบครูใหญ่




38
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / ส ค ส ๒๕๕๑
« เมื่อ: 23 ธ.ค. 2550, 05:26:30 »


39
วันนี้ได้รับเมตตาจากหลวงปู่ทิม  วัดพระขาว
รับอาราธณา มาอธิษฐานจิต ภาวนาปลุกเสก
วัดตถุมงคล  ณ  วัดบางพระ


ขอน้อมกราบคารวะ ณ ที่นี้กครั้งหนึ่ง
และถือโอกาสกราบของพระคุณ พระอาจารย์หม่อง ผช,เจ้าอาวาส/เลขาของหลวงปู่ ณ ที่นี้ด้วย
ที่เป็นธุระรับกิจนิมนต์
และขอขอบคุณ คุณทิวา คนขับรถประจำหลวงปู่ด้วย 
 

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

40
http://www.banfun.com/culture/loykrathong.html




 :002: :002: :002:

 ประเพณีลอยกระทง? ?
? ?
เทศกาลลอยกระทง

 
? ?
ประวัติความเป็นมา
 
? ? ? ? ? คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้
1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล?
? ?
ประวัติการลอยกระทงในเมืองไทย
 
? ? ? ? ? การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือ ลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา
? ?
การลอยกระทงเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท
 
? ? ? ? ? รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ที่ไปปรากฏอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที มีความเป็นมาเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ คือ ครั้งหนึ่งพญานาคทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ เมื่อพระองค์จะเสด็จกลับ พญานาคทูลขออนุสาวรีย์ไว้กราบไหว้บูชา พระพุทธองค์จึงทรงประดิษฐานรอบพระพุทธบาทไว้ที่หาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที เพื่อให้บรรดานาคทั้งหลายได้สักการะ บูชา
การลอยกระทงที่มีความเป็นมาเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ยังมีอีก 2 เรื่อง คือ
 1. การลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ และ
 2. การลอยกระทงเพื่อต้อนรับพระพุทธองค์ในวันที่เสด็จกลับจากเทวโลก
? ?
ตำนานการลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณี
 
? ? ? ? ? ?เมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกจากพระนครกบิลพัสดุ์ในเวลากลางคืนด้วยม้ากัณฐกะ พร้อมนายฉันทะมหาดเล็กผู้ตามเสด็จ ครั้นรุ่งอรุณก็ถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที เจ้าชายทรงขับม้ากัณฐกะกระโจนข้ามแม่น้ำไปโดยสวัสดี
เมื่อทรงทราบว่าพ้นเขตกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว เจ้าชายสิทธัตถะจึงเสด็จลงประทับเหนือหาดทรายขาวสะอาด ตรัสให้นายฉันทะนำเครื่องประดับและม้ากัณฐกะกลับพระนคร ทรงตั้งพระทัยปรารภจะบรรพชา โดยเปล่งวาจา "สาธุ โข ปพฺพชฺชา" แล้ว จึงทรงจับพระเมาลีด้วยพระหัตถ์ซ้าย พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ตัดพระเมาลี แล้วโยนขึ้นไปบนอากาศ พระอินทร์ได้นำผอบทองมารองรับพระเมาลีไว้ และนำไปบรรจุยังพระจุฬามณีเจดียสถานในเทวโลก
พระจุฬามณีตามปกติมีเทวดาเหาะมาบูชาเป็นประจำแม้พระศรีอริยเมตไตรยเทวโพธิสัตว์ซึ่งในอนาคต จะมาจุติบนโลกและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งก็ยังเสด็จมาไหว้ การลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณี จึงถือเป็นการไหว้บูชาพระศรีอริยไตรยด้วย
? ?
ตำนานการลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากเทวโลก
 
? ? ? ? ? ?เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวชจนได้บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว หลังจากเผยพระธรรมคำสั่งสอนแก่สาธุชนโดยทั่วไปได้ระยะหนึ่ง จึงเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาธรรมโปรดพระพุทธมารดา ครั้งจำพรรษาจนครบ 3 เดือน พระองค์จึงเสด็จกลับลงสู่โลกมนุษย์ เมื่อท้าวสักกเทวราชทราบพุทธประสงค์ จึงเนรมิตบันไดทิพย์ขึ้น อันมี บันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้ว ทอดลงสู่ประตูเมืองสังกัสสนคร บันไดแก้วนั้นเป็นที่ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลง บันไดทองเป็นที่สำหรับเทพยดาทั้งหลายตามส่งเสด็จ บันไดเงินสำหรับพรหมทั้งหลายส่งเสด็จ
ในการเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ครั้งนี้ เหล่าทวยเทพและประชาชนทั้งหลาย ได้พร้อมใจกันทำ การสักการบูชาด้วยทิพย์บุปผามาลัย การลอยกระทงตามคตินี้ จึงเป็นการรับเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากดาวดึงส์พิภพ (เป็นตำนานเดียวกับประเพณีการตักบาตรเทโวรับเสด็จพระพุทธองค์ลงจากดาวดึงส์)
 
การลอยกระทง เพื่อบูชาพระนารายณ์บรรทมสินธุ์
 
? ? ? ? ? ยังมีพิธีการลอยกระทงตามคติพราหมณ์อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งกระทำเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้า คือ พระนารายณ์ที่บรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร นิยมทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 หรือ วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 เป็น 2 ระยะ จะทำในกำหนดใดก็ได้
? ?
ตำนานการลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม
 
? ? ? ? ? นิทานต้นเหตุเกี่ยวกับอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นนิทานชาวบ้าน กล่าวถึงเมื่อครั้งดึกดำบรรพ์ มีกาเผือกสองตัวผัวเมียทำรังอยู่บนต้นไม้ในป่าหิมพานต์ใกล้ฝั่งแม่น้ำ วันหนึ่งกาตัวผู้ออกไปกากินแล้วหลงทานกลับรังไม่ได้ ปล่อยให้นางกาตัวเมียซึ่งกกไข่อยู่ 5 ฟองรอด้วยความกระวนกระวายใจ จนมีพายุใหญ่พัดรังกระจัดกระจาย ฟองไข่ตกลงน้ำ แม่กาถูกลมพัดไปทางหนึ่ง
? ? ? ? ? เมื่อแม่กาย้อนกลับมามีรังไม่พบฟองไข่ จึงร้องไห้จนขาดใจตาย ไปเกิดเป็นท้าวพกาพรหมอยู่ในพรหมโลก ฟองไข่ทั้ง 5 นั้นลอยน้ำไปในสถานที่ต่างๆ บรรดาแม่ไก่ แม่นาค แม่เต่า แม่โคและแม่ราชสีห์ มาพบเข้า จึงนำไปรักษาไว้ตัวละ 1 ฟอง ครั้งถึงกำหนดฟักกลับกลายเป็นมนุษย์ทั้งหมดไม่มีฟองไหนเกิดมาเป็นลูกกาตามชาติกำเนิดเลย กุมารทั้ง 5 ต่างเห็นโทษภัยในการเป็นฆราวาสและเห็นอานิสงส์ในการบรรพชา จึงลามารดาเลี้ยงไปบวชเป็นฤาษีทั้ง 5 ได้มีโอกาสพบปะกันและถามถึงนามวงศ์และมารดาของกันและกัน จึงทราบว่าเป็นพี่น้องกัน ฤาษีทั้ง 5 มีนามดังนี้
? ? ? ? ? คนแรก ชื่อ กกุสันโธ (วงศ์ไก่)
? ? ? ? ? คนที่สอง ชื่อ โกนาคมโน (วงศ์นาค)
? ? ? ? ? คนที่สาม ชื่อ กัสสโป (วงศ์เต่า)
? ? ? ? ? คนที่สี่ ชื่อ โคตโม (วงศ์โค)
? ? ? ? ? คนที่ห้า ชื่อ เมตเตยโย (วงศ์ราชสีห์)
? ? ? ? ? ต่างตั้งจิตอธิษฐาน ว่าถ้าต่อไปจะได้ไปเกิดเป็นพระพุทธเจ้า ขอให้ร้อนไปถึงมารดา ด้วยแรงอธิษฐาน ท้าวพกาพรหมจึงเสด็จมาจากเทวโลก จำแลงองค์เป็นกาเผือก แล้วเล่าเรื่องราวแต่ทนหลังให้ฟัง พร้อมบอกว่าถ้าคิดถึงมารดา เมื่อถึงเพ็ญเดือน 11 เดือน 12 ให้เอาด้ายดิบผูกไม้ตีนกา ปักธูปเทียนบูชาลอยกระทงในแม่น้ำ ทำอย่างนี้เรียกว่าคิดถึงมารดา แล้วท้าวพกาพรหมก็ลากลับไป
? ? ? ? ? ตั้งแต่นั้นมา จึงมีการลอยกระทงเพื่อบูชาท้าวพกาพรหม แล้วเพื่อบูชารอยพระบาท ซึ่งประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ส่วนฤาษีทั้ง 5 ต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้
? ? ? ? ? ฤาษีองค์แรก กกุสันโธ ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระกกุสันโธ
? ? ? ? ? ฤาษีองค์ที่สอง โกนาคมโน ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระโกนาคมน์
? ? ? ? ? ฤาษีองค์ที่สาม กัสสโป ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระกัสสปะ
? ? ? ? ? ฤาษีองค์ที่สี่ โคตโม ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระสมณโคดม
? ? ? ? ? ฤาษีองค์ที่ห้า เมตเตยโย ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรย
พระพุทธเจ้า 3 พระองค์แรก ได้มาบังเกิดบนโลกแล้วในอดีตกาล พระพุทธเจ้าองค์ที่ 4 คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน พระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 คือ พระพุทธเจ้าที่จะมาบังเกิดบนโลกในอนาคต ได้แก่ พระศรีอาริยเมตไตรย
? ?
ตำนานการลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตต์
 
? ? ? ? ? การลอยกระทงเพื่อบุชาพระอุปคุตต์นี้ เป็นประเพณีของชาวเหนือและชาวพม่า พระอุปคุตต์เป็นพระอรหันต์เถระหลังสมัยพุทธกาล โดยมีตำนานความเป็นมาดังนี้
เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้โปรดให้สร้างพระสถูปเจดีย์และพุทธวิหารขึ้นทั่วชมพูทวีป มหาวิหารที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ "อโศการาม" ซึ่งตั้งอยู่ในเขตแคว้นมคธ หลังจากที่สร้างพระสถูปเจดีย์ถึง 84,000 องค์สำเร็จแล้ว พระเจ้าอโศกทรงมีพระราชประสงค์จะนำพระบรมสารีริกธาตุของสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปบรรจุในในพระสถูปต่างๆ และบรรจุในพระมหาสถูปองค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นใหม่มีความสูงประมาณครึ่งโยชน์ และประดับประดาด้วยแก้วต่างๆ ประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาให้ปาฎลีบุตร อีกทั้งต้องการให้มีการเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่เป็นเวลา 7 ปี 7 เดือน 7 วัน
แต่ด้วยเกรงว่าพญามารจะมาทำลายพิธีฉลอง มีเพียงพระอุปคุตต์ที่ไปจำศีลอยู่ในสะดือทะเลเพียงท่านเดียวเท่านั้น ที่จะสามารถปราบพญามารได้ เมื่อพระอุปคุตต์ปราบพญามารจนสำนึกตัวหันมายึดเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งแล้ว พระอุปคุตต์จึงลงไปจำศีลอยู่ในสะดือทะเลตามเดิม
พระอุปคุตต์นี้ไทยเรียกว่า พระบัวเข็ม ชาวไทยเหนือหรือชาวอีสานและชาวพม่านับถือพระอุปคุตต์มาก ชาวพม่าไม่ว่าจะมีงานอะไรเป็นต้องนิมนต์มาเช้าพิธีด้วยเสมอ ไทยเราใช้บูชาในพิธีขอฝนหรือพิธีมงคล ฯลฯ
 
? ?
ไปหน้า 2

--------------------------------------------------------------------------------
 

 

อ้างอิง : ประเพณี พิธีมงคล และวันสำคัญของไทย เรียบเรียงโดย ธนากิต


 
 BanFun.Com? Contacts : webmaster :: banfun@gmail.com ::
 
 

?


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

42
http://www.dhammajak.net/


            วันออกพรรษา เป็นวันที่พุทธบริษัททั้งชาววัดและชาวบ้าน ได้พร้อมใจกันกระทำบุญกุศลต่าง ๆ ตามคติประเพณีที่เคยประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาแต่โบราณกาล เช่นมีการตักบาตรเทโว หรือเรียกตักบาตรดาวดึงส์ เป็นต้น "วันออกพรรษา" มีสาเหตุเนื่องมาจาก "วันเข้าพรรษา" ที่มีมาแล้วเมื่อวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ อันเป็นวันที่พระภิกษุทั้งหลายอธิษฐานใจเข้าอยู่พรรษาครบไตรมาส คือ ๓ เดือน ตามพระพุทธบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมค้างคืนนอกสถานที่ที่ท่านตั้งใจอยู่ไว้ เมื่อมีวันเข้าพรรษาก็จำเป็นต้องมีวันออกพรรษา ซึ่งวันออกพรรษา ซึ่งวันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ (เพ็ญเดือน ๑๑) ของทุกปี วันออกพรรษา เป็นวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ได้จำพรรษาครบกำหนดไตรมาส ตามพระพุทธบัญญัติแล้ว ท่านมีสิทธิ์ที่จะจาริกไปพักค้างคืนที่อื่นได้ ไม่ผิดพระพุทธบัญญัติและยังได้รับอานิสงส์ (ผลดี) คือ
๑.ไปไหนไม่ต้องบอกลา
๒.ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
๓. ลาภที่เกิดขึ้นแก่ท่านมีสิทธิ์รับได้
๔. มีโอกาสได้อนุโมทนากฐินและได้รับอานิสงส์คือได้รับการขยายเวลาของอานิสงส์นั้นออกไปอีก ๔ เดือน
            อนึ่ง มีชื่อเรียกวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งว่า " วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา" มีความหมายว่าพระภิกษุทั้งหลายทั้งพระผู้ใหญ่และพระผู้น้อยต่างเปิดโอกาสอนุญาตแก่กันและกัน ให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้มีคำกล่าวปวารณาเป็นภาษาลี ว่า "สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ"

            แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี

            การที่พระท่านกล่าวปวารณา (ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน) กันไว้ ในเมื่อต่างองค์ต่างต้องจากกันไปองค์ละทิศละทางท่านเกรงว่าอาจมีข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีไม่งามเกิดขึ้น โดยตัวท่านเองรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือมองไม่เห็นเหมือนผงเข้าตาตัวเอง แม้ผลจะอยู่ชิดติดกับลูกนัยน์ตา เราก็ไม่สามารถมองเห็นผลนั้นได้ จำเป็นต้องไหว้วานขอร้องผู้อื่นให้มาช่วยดูหรือต้องใช้กระจกส่องดู เพราะฉะนั้น พระท่านจึงใช้วิธีการกล่าวปวารณาตัดไว้เพื่อท่านรูปอื่นได้เห็นหรือแม้แต่ได้ยินได้ฟัง เรื่องดีไม่ดีไม่งามอะไรก็ตามให้กล่าวแนะนำตักเตือนได้ โดยไม่ต้องเกรงใจกันทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยด้วยเจตนาดีต่อกัน คือ พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถกล่าวชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โดยที่พระผู้ใหญ่คือผู้มีอาวุโสท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง

            การกล่าวปวารณา เท่ากับเป็นการช่วยระมัดระวังข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีของพระรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดน้อยๆ นี้ที่จะลุกลามก่อความเสื่อมเสียไปถึงพระหมู่มาก และลุกลามไปถึงพระพุทธศาสนาอันเป็นจุดศูนย์ที่ใหญ่ได้ ท่านจึงใช้วิธีป้องกันไว้ก่อน ดีกว่าการแก้ไขในภายหลัง

            ตัวอย่าง วันออกพรรษาหรือวันมหาปวารณาที่พระภิกษุทั้งหลายกระทำเช่นนี้ เป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวร คือ ตามระวัง ไม่ประมาท ไม่ยอมให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นได้ เหมือล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหายไม่ว่าจะอยู่ในเทศกาลเข้าพรรษาหรือออกพรรษา พระท่านจะประพฤติดี ปฏิบัติชอบตามระบอบของพระธรรมวินัยอยู่ตลอดเวลา

            ส่วนพิธีของฆราวาสนั้นควรจะนำเอาพิธีปวารณาของพระท่านมาใช้ดูบ้าง ซึ่งจะมีผลดีที่เกิดขึ้นแก่กลุ่มชนที่อยู่รวมกัน ไม่ว่าครอบครัวและสังคมต่าง ๆ และมีพิธีกรรมของฆราวาสที่เกี่ยวเนื่องกันในวันออกพรรษานี้ก็ได้แก่การบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ เช่น การทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังธรรม ณ วัดที่อยู่ใกล้เคียง

            มีการทำบุญอันเป็นประเพณีที่นิยมกระทำกันมานานแล้วในวันออกพรรษา ซึ่งเรียกว่า " ตักบาตรเทโว" หรือเรียกชื่อเต็มตามคำพระว่า "เทโวโรหนะ" แปลว่าการหยั่งลงจากเทวโลก หรือการตักบาตรนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" และการตักบาตรเทโวนี้ จะกระทำในวันขึ้น ๑๕ เดือน ๑๑ หรือวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ก็ได้สุดแท้แต่จะเห็นพร้อมกัน

            การทำบุญตักบาตรเทโวนี้ ท่านจัดเป็นกาลนาน คือ หนึ่งปีมีหนึ่งครั้ง และการกระบุญเช่นนี้ โดยยึดถือว่าเป็นวันคล้ายกับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ตามตำนานกล่าวว่า


            เมื่อก่อนพุทธศักดิ์ราช ๘๐ ปี พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปจำพรรษา ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนา "พระสัตตปรณาภิธรรม" คือพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ โปรดพระพุทธมารดา (ซึ่งทรงบังเกิดอยู่ในสวรรคชั้นดุสิต)

            ครั้นครบกำหนดการทรงจำพรรษาครบ ๓ เดือน พระพุทธเจ้าทรงปวารณาพระวัสสาแล้วเสด็จลง จากดาวดึงส์เทวโลกมาสู่มนุษย์โลก ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ โดย เสด็จลงทางบันไดแก้วทิพย์ ซึ่งตั้งระหว่างกลางของนับไดทองทิพย์อยู่เบื้องขวาบันไดเงินทิพย์อยู่เบื้องซ้ายและหัวบันไดทิพย์ที่เทวดาเนรมิตขึ้นทั้ง ๓ พาด บนยอดเขาพระสิเนรุราช อันเป็นที่ตั้งแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วนเชิงบันไดตั้งอยู่บนแผ่นศิลาใหญ่ใกล้ประตูเมืองสังกัสสนคร และสถานที่นั้นประชาชนถือว่าเป็นศุภนิมิตรสร้างพระเจดีย์ขึ้นเป็น "พุทธบูชานุสาวรีย์" เรียกว่า "อจลเจดีย์"

            อนึ่งในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาสู่มนุษย์โลกนั้น ประชาชนพร้อมกันไปทำบุญตักบาตรเป็นจำนวนมากสุดจะประมาณ พิธีที่กระทำกันในการตักบาตรเทโว ซึ่งถือตามประวัตินี้ก็เท่ากับทำบุญตักบาตร รับเสด็จพระพุทธเจ้าในคราวเสด็จลงมาจากเทวโลกนั่นเอง บางวัดจึงเตรียมการในคฤหัสถ์แต่งตัวเป็นเทวดาบ้าง เป็นพรหมบ้างแล้วอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่มีล้อเคลื่อน และมีบาตรตั้งอยู่ข้างหน้าพระพุทธรูปใช้คนลากนำหน้าพระสงฆ์ พวกทายกทายิกาตั้งแถวเรียงรายคอยใส่บาตร เป็นการกระทำให้ใกล้กับความจริงเพื่อเป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้า ส่วนอาหารที่นำมาทำบุญตักบาตรในวันนั้น มีข้าว กับข้าวต้มมัดใต้ ข้าวต้มลูกโยนที่ห่อด้วยใบมะพร้าวหรือใบลำเจียกไว้หางยาวและข้าวต้มลูกโยนนี้มี ประวัติมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะตั้งใจอธิษฐานแล้วโยนไปให้ลงบาตรของพระพุทธเจ้า เนื่องจากมีคนมากเข้าไปใส่บาตรไม่ได้

ความมุ่งหมายของการปวารณากรรม
            ปวารณากรรม มีความมุ่งหมายชัดเจนปรากฏอยู่ในคำที่สงฆ์ใช้ปวารณาซึ่งกันและกัน ดังนี้
            - เป็นกรรมวิธีลดหย่อนผ่อนคลายข้อขุ่นข้องคลางแคลงที่เกิดจากความระแวงสงสัย ให้หมดไปในที่สุด

            - เป็นทางประสานรอยร้าว ที่เกิดจากผลกระทบกระทั่งในการอยู่ร่วมกัน ให้มีโอกาสกลับคืนดีด้วยการให้โอกาสได้ปรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน

            - เป็นทางสร้างเสริมความสามัคคีในหมู่ให้กลมเกลียวอยู่ร่วมกันอย่างสนิทใจ

            - เป็นแนวปฏิบัติให้เกิดความเสมอภาคกันในการแสดงความคิดว่ากล่าวตักเตือนได้โดยไม่จำกัดด้วย ยศ ชั้น พรรษา วัย

            - ก่อให้เกิด "ภราดรภาพ" รู้สึกเป็นมิตรชิดเชื้อปรารถนาดี เอื้อเฟื้ออาทรเป็นพื้นฐาน นำไปสู่พฤติกรรมอันพึงประสงค์ที่ดีงานคล้าย ๆ กัน เรียกว่า ศีลสามัญญุตา

พิธีตักบาตรเทโว(วันพระเจ้าเปิดโลก)
            มีปรากฎในอรรถกถาธรรมบทว่าในขณะนั้นพระพุทธเจ้าจำพรรษาอยู่ในนครสาวัตถี พรรษาที่ ๒๕ ผู้คนในชมพูทวีปหันมาเลื่อมในพระพุทธศาสนาทำให้นักบวชของศาสนา อิจฉาเพราะเขาเหล่านั้นเดือดร้อนในการขาดผู้ค้ำจุนดูแลและขาดลาภสักการะจึงทำการกลั่นแกล้ง พระพุทธศาสนาโดยประการต่าง ๆ โดยเฉพาะในเรื่องฤทธิ์พระองค์และเหล่าสาวกของพระองค์เอง ศาสนาอื่นปลุกปั่นจนพระองค์ทรงห้ามเหล่าสาวกทั้งหลายแสดงฤทธิ์ พระองค์ก็งดแสดงฤทธิ์เช่นกัน จึงทำให้ศาลามีจุดที่จะทำให้ศาสนาอื่น เช่น อาจารย์ทั้ง ๖ และศาสนาเชน ทำการโฆษณาชวนเชื่อว่า พระพุทธศาสนานั้นมีพระพุทธเจ้า และสาวกสิ้นฤทธิ์หมดแล้วอย่าไปนับถือเลยสู้พวกตนไม่ได้ยังมีฤทธิ์เหนือกว่า ควรจะมานับถือพวกตนดีกว่าพระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า ถือขืนปล่อยไว้เฉยต่อไป โดยไม่ตอบโต้บ้าง อาจเป็นผลเสียต่อพระพุทธศาสนา ดังนั้นวันเพ็ญอาสาฬหะ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ คือแสดงฤทธิ์เป็นคู่ ๆ ซึ่งก็มีปรากฎเพียงครั้งเดียวในครั้งนั้นทำให้ผู้คนที่เคลือบแครงสงสัย หันมานับถือศาสนาอย่างมั่นคงอีกครั้ง ในวันรุ่งขึ้นแรม ๑ ค่ำ เดือนอาสาฬหะ เป็นวันอธิฐานเข้าพรรษา พระพุทธเจ้าทรงประกาศจำพรรษาที่สรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตามธรรมเนียมที่พระพุทธเจ้าทำกันมาเมื่อลาพระพุทธเจ้าทรงลาบริษัทแล้วก็เสด็จไป ณ ดาวดึงส์เทวโลกเพื่อโปรดพุทธมารดาด้วยพระอภิธรรม ๗ พอครบเวลา ๓ เดือนของการโปรดพระพุทธมารดาด้วยพระอภิธรรมทั้ง ๗ ในวันเพ็ญเดือน ๑๑ ก็เสด็จกลับลงมายังโลกมนุษย์ ณ ที่ประตูเมือง สังกัสสนคร ท้าวสักกเทวราชพร้อมด้วยบริวารตามลงมาเสด็จทางบันใดสวรรค์จนถึงขั้นพิภพ พระพุทธเจ้าทรงใช้อิทธิฤทธิ์บรรดาลให้โลกทั้ง ๓ มี เทวโลก , มนุษย์โลก , สัตว์นรก มองเห็นกันทั้งหมด จึงเรียกวันนั้นว่า วันพระเจ้าเปิดโลกพอวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ผู้คนในชมพูทวีปพากันมาใส่บาตรพระสงค์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข การตักบาตรในครั้งนั้นไได้นัดหมายกันมาก่อนเลยต่างคนก็ต่างมาด้วยศรัทธาจึงทำให้คนมามากมาย เมื่อมีมามากทำให้ไม่ถึงบาตรพระภิกษุสงฆ์ จึงเอาข้าวของตนห่อหรือปั้นเป็นก้อน โยนใส่บาตรพระด้วยเหตุนี้ต่อมาภายหลังจึงนิยมทำข้าวต้มลูกโยนใส่บาตรพระในวันเทโวณหณะ
 
พิธีตักบาตรเทโวโรหณะในสมัยปัจจุบัน

 
 
             ตอนรุ่งอรุณของวันตักบาตรเทโว พระภิกษุสามเณรลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่า พระลงมาจากบันใดสวรรค์ บางที่ก็มีดนตรีบรรเลงเพลงไทยเดิม สมมุติว่าเป็นพวกเทวดาบรรเลง ขับกล่อมตามส่งพระพุทธเจ้า ยังมีพวกแฟนตาซีอีก แต่งเป็นพวกยักษ์ เทวดา พระอินทร์ พรหม นางเทพธิดา นำหน้าขบวนพระภิกษุสามเณร ชาวบ้านก็จะใส่บาตรด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัดจึงเป็นสัญลักษณ์ของพิธีนี้
 

พิธีตักบาตรเทโวโรหณะในสมัยปัจจุบัน
            ตอนรุ่งอรุณของวันตักบาตรเทโว พระภิกษุสามเณรลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่า พระลงมาจากบันใดสวรรค์ บางที่ก็มีดนตรีบรรเลงเพลงไทยเดิม สมมุติว่าเป็นพวกเทวดาบรรเลง ขับกล่อมตามส่งพระพุทธเจ้า ยังมีพวกแฟนตาซีอีก แต่งเป็นพวกยักษ์ เทวดา พระอินทร์ พรหม นางเทพธิดา นำหน้าขบวนพระภิกษุสามเณร ชาวบ้านก็จะใส่บาตรด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัดจึงเป็นสัญลักษณ์ของพิธีนี้
ภาคกลาง
            จังหวัดนครปฐม ที่พระปฐมเจดีย์ พระภิกษุสามเณรจะมารวมกันที่องค์พระปฐมเจดีย์ แล้วก็เดินลงมาจากบันใดนาคหน้าวิหารพระร่วง สมมติว่าพระเดินลงมาจากบันใดสวรรค์ชาวบ้านก็คอยใส่บาตร

            จังหวัดอุทัยธานีซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ณ วัดสะแกกรัง พระภิกษุจะเดินลงมาจากเขารับบิณฑบาตรจากชาวบ้าน อนึ่ง ขบวนพระภิกษุสงฆ์นั้นที่ลงมาจากบันใดนั้นนิยมให้มีพระพุทธรูป นำหน้าสมมติว่าเป็นพระพุทธเจ้าจะใช้พระปางอุ้มบาตร ห้ามมาร ห้ามสมุทร รำพึง ถวายเนตรหรือปางลีลา โดยตั้งบนรถ หรือตั้งบนคานหาม มีที่ตั้งบาตรสำหรับอาหารบิณฑบาตร

            สำหรับบางที่ไม่นิยมตักบาตรเทโว แต่นิยมตักบาตรตอนเช้าถวายอาหารพระภิกษุแล้ว ฟังเทศน์รักษา อุโบสถศีล

            สำหรับที่นิยมตักบาตรเทโว จะทำบุญเป็น ๒ วันคือวันออกพรรษากับวันเทโว ในวันแรม 1 ค่ำเดือน ๑๑ ในวันออกพรรษานั้น ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ก็มีการฟังเทศน์ตอนสาย และรักษาอุโบสถศีล


ภาคใต้
            ประเพณีชักพระ (พระพุทธรูป) ทางภาคใต้เรียกว่า พิธีลากพระมีสองกรณี คือ ชักพระทางบก และชักพระทางน้ำ

            ถึงแม้ภาคนี้จะมีความแตกต่างไปจากภาคอื่น ภาคใต้ ก็มีจุดประสงค์ปรารภเหตุ การเสด็จลงมาของพระพุทธเจ้าจากเทวโลกมาถึงพื้นโลก ในวันปวารณาออกพรรษาเช่นเดียวกัน ก็จัดให้มีประเพณีแห่พระพุทธรูป ในวันแรม 1 ค่ำเดือน ๑๑ จึงนำมากล่าวในที่นี้ด้วยประเพณีชักพระ มี ๒ ประเภท คือ ชักพระทางบก กับชักพระทางน้ำ

            พิธีชักพระทางบก
            จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนวันชักพระ ๒ วันจะมีพิธีใส่บาตรหน้าล้อ นอกจากอาหารคาวหวาน ยังมีสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของงาน " ปัด" คือข้าวต้มผัด น้ำกะทิห่อด้วยใบมะพร้าว บางที่ห่อด้วยใบกะพ้อ (ปาล์มชนิดหนึ่ง) ในภาคกลางเขาเรียกว่า ข้าวต้มลูกโยน ก่อนจะถึงวันออกพรรษา ๑ - ๒ สัปดาห์ทางวัดจะทำเรือบก คือเอาท่อนไม้ขนาดใหญ่ ๒ ท่อนมาทำเป็นพญานาค ๒ ตัว เป็นแม่เรือที่ถูกยึดไว้อย่างแข็งแรง แล้วปูกระดาน วางบุษบก (ร้านม้า)บนบุษบกจะนำพระพุทธรูปยืนรอบบุษบกก็วางเครื่องดนตรี ไว้บรรเลงเวลาเคลื่อนพระไปสู่บริเวณงานพอเช้าวัน ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ชาวบ้านจะช่วยกันชักพระ โดยถือเชือกขนาดใหญ่ ๒ เส้นที่ผูกไว้กับพญานาคทั้ง ๒ ตัวเมื่อถึงบริเวณงานจะมีการสมโภช และมีการเล่นกีฬาพื้นเมืองต่าง ๆ กลางคืนมีงานฉลองอย่างมโหฬาร การชักพระที่ปัตตานี มีอิสลามร่วมด้วย

            พิธีชักพระทางน้ำ
ก่อนถึงวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ทางวัดที่อยู่ริมน้ำ ก็จะเตรียมการต่าง ๆ ก็จะนำเรือมา ๒ - ๓ ลำ มาปูด้วยไม้กระดานเพื่อตั้งบุษบก หรือพนมพระประดับประดาด้วยธงทิว ในบุษบกก็ตั้งพระพุทธรูปในเรือบางที่ ก็มีเครื่องดนตรีประโคมตลอดทางที่เรือเคลื่อนที่ไปสู่จุดกำหนด คือบริเวณงานท่าน้ำที่เป็นบริเวณงานจะมีเรือพระหลาย ๆ วัดมาร่วมงาน ปัจจุบันจะนิยมใช้เรือยนต์จูง แทนการพาย เมื่อชักพระถึงบริเวณงานทั้งหมดทุกวัดที่มาร่วม จะมีการฉลองสมโภชพระ มีการเล่นต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน เช่นแข่งเรือปาโคลน ซัดข้าวต้ม เป็นต้น เมื่อฉลองเสร็จ ก็จะชักพระกลับวัด บางทีก็จะแย่งเรือกัน ฝ่ายใดชนะก็ยึดเรือ ฝ่ายใดแพ้ต้องเสียค่าไถ่ให้ฝ่ายชนะ จึงจะได้เรือคืน

            พิธีรับพระภาคกลาง
พิธีรับพระเป็นพิธีบูชาพระพุทธเจ้า ในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากการจำพรรษา ณ ดาวดึงส์เทวโลก พิธีนี้มักจะปรากฏในภาคกลางที่อยู่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง ที่เป็นคมนาคมทางน้ำ เช่น อำเภอบางบ่อ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ทางวัดจะอัญเชิญพระพุทธรูปยืนลงบุษบกในตัวเรือแล้วแห่ไปตามลำคลอง ชาวบ้านก็จะโยนดอกบัวจากฝั่งให้ตกในเรือหน้าพระ-พุทธรูป แล้วโยนข้าวต้ม ยังมีการแข่งขันเรือชิงรางวัลอีกด้วย

            ประเพณีตักบาตรพระร้อย
            "ประเพณีตักบาตรพระร้อย" หรือ ใส่บาตรพระร้อยรูป เป็นบุญประเพณีของชาวประเพณีโดยเฉพาะ ส่วนมากจัดพิธีขึ้นทางน้ำเนื่องด้วยแต่เดิมบ้านอยู่ติดริมน้ำลำคลอง จึงใช้เรือสัญจร พระส่วนมากจึงใช้เรือบิณฑบาต

            เนื่องมาแต่ความเชื่อเดิมว่าหลังวันเสด็จลงจากเทวโลก คือวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ หรือวันตักบาตรเทโว พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงนำพระภิกษุสงฆ์จำนวนเป็นร้อยออกบิณฑบาต ชาวประชาจึงหลั่งไหลมาถวายสักการะต้อนรับด้วยดอกไม้และบิณฑบาตทาน จึงมีพิธีตักบาตรเทโวขึ้น แต่ชาวปทุมธานีนิยมกำหนดเอาพระบิณฑบาตจำนวนร้อยรูป จึงเรียกว่า ตักบาตพระร้อยสืบมา

            ประโยชน์ของพิธีออกพรรษา
            ๑. เมื่อวันออกพรรษามาถึงเป็นการเตือนใจชาวพุทธว่า เวลาที่ผ่านไป ชีวิตก็ใกล้ตายเข้าไปทุกขณะแล้ว ควรเร่งทำกุศล และยังได้ถึงความปีติ ที่ได้บำเพ็ญกิจมาตลอดพรรษาและเป็นการเตือนสติอย่าให้จิตของตนละเลิกการทำกุศลไม่ให้ตกไปสู่ทางอบายมากเกินไป

            ๒. ประโยชน์ที่โดดเด่น คือประโยชน์ของการปวารณาที่สงฆ์การกระทำกันในวันออกพรรษาเพื่อ ให้สงฆ์ดำรงค์ความเป็นปึกแผ่นแน่นเหนียวยากแก่การทำลาย ถ้าคนในชาติเราทุกฝ่ายหันมา ปวารณากัน คือเปิดใจกัน เปิดเผยซึ่งกันและกัน หันหน้ามารวมพลังกันพัฒนาประเทศความทุกข์ก็จะบรรเทาเบาบางลง

            จากพิธีออกพรรษา
            ๑. เตือนสติว่าเวลาที่ผ่านพ้นไปอีกพรรษาหนึ่งแล้วได้คร่าชีวิตมนุษย์ ให้ผู้คนนั้นดำรงค์อยู่ในความไม่ประมาทและหันมาสร้างกุศล

            ๒. การทำบุญออกพรรษาเปิดโอกาสให้ผู้อื่นชำระความผิดของตนได้ คือหลักปวารณา ปกติคนเราคบกันนาน ๆ ก็จะเผย "สันดาน" ที่แท้ออกมาอาจจะไม่ดีนักแต่ตนเองไม่รู้ตัวแล้วมองไม่เห็น แต่ผู้อยู่ข้าง ๆ มองเห็นแต่ไม่กล้าเตือน ดังนั้นตนเองต้องปวารณาตัวให้ผู้อื่นชี้แนะได้ ความสัมพันธ์ก็จะดีขึ้นและยั่งยืน

            ๓. ได้ข้อคิดที่ว่า คนเราส่วนใหญ่มักจะลำเอียงเข้าข้างตนเองเป็นฝ่ายถูก ความผิดของคนอื่นเห็นง่ายส่วนตนเองนั้นความผิดนั้นเห็นยาก นี่แหละสัญชาตญาณของคนเรา

            ๔. เป็นการให้รู้ถึงการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการเปิดใจซึ่งกันและกันโดยไม่มีเล่ห์เหลี่ยมลับลมคมในใด ๆ ต่อในการคบหาหรืออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข


--------------------------------------------------------------------------------

บรรณานุกรม
๑. จ. เปรียญ. ประเพณีและพิธีมงคลไทย. ธรรมบรรณาคาร. ๒๕๑๘ กรุงเทพ ฯ.
๒. สมปราชญ์ อัมมะพันธ์. ประเพณีและพิธีกรรมในวรรณคดี. โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้า.๒๕๓๖ กรุงเทพ ฯ.
๓. สุเมธ เมธาวิทยกุล. สังกัปพิธีกรรม. พริ้นติ้ง เฮ้า. ๒๕๓๒ . กรุงเทพ ฯ.
๔. แสงฉาย อนงคาราม. อานิสงค์จากพระไตรปิฎก. ส. ธรรมภักดี. กรุงเทพ ฯ.
๕. ประพันธ์ กุลวินิจฉัย เทศกาลและพิธีกรรมทางพุทธศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ ม.มจร กรุงเทพ ฯ.

............................
ข้อมูล และภาพจาก
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
http://www.onab.moe.go.th

 
 
 


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

43
กำหนดการทอดกฐินสามัคคีวัดบางพระปี ๒๕๕๐
ตรงกับวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
เวลา ๑๐.๐๐ น, ณ วัดบางพระ








44
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / donation
« เมื่อ: 29 ส.ค. 2550, 03:02:11 »
ในแต่ละปี มีเด็กนักเรียน เป็นจำนวนมาก ขาดแคลน อุปกรณ์การศึกษาฯลฯ
พระอาจารย์ที่วัด และคณะศิษย์บางกลุ่ม ก็ได้รวบรวมบริจาค ไปตามโรงเรียนต่าง ๆ เท่าที่จะหาได้
สมาชิกท่านใดเห็นคุณค่าในการทำกิจกรรมนี้
โปรดสละเล็ก ๆ น้อย ๆ อาทีเช่น สมุด 2-3 เล่ม ปากกาดินสอ
เครื่องกีฬา เช่น ลูกฟุตบอล ปิงปอง ฯลฯ
เพื่อที่จะได้รวบรวมไปมอบให้โรงเรียนต่างๆ ต่อไป
**ติดต่อได้ที่**
หลวงพ่ออางค์? ?พระอาจารย์ต้อย? หลวงพี่ญา และคณะสงฆ์ วัดบางพระ**
 

45
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / แจ้งข่าว
« เมื่อ: 25 ส.ค. 2550, 04:52:09 »
ในวันที่ 25 สิงหาคม 2550
ตรงกับวันครบ 100 วัน
ของการจากไป ของ ดร.ไมตรี บุญสูง
ในส่วนของผู้เคารพรักที่นี้ ได้จัดงานทำบุญ 100 วัน
ที่วัดบางพระ เป็นการระลึกถึงคุณความดี และในความเป็นลูกบุญธรรม และลูกศิษย์หลวงพ่อเปิ่น
เวลา ประมาณ 10.00 น เจริญพุทธมนต์
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?11.00 น. ถวายภัตตาหารเพล
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? เสริจแล้วอนุโมทนา
หลังจากนั้นรับประทานอาหาร ในงานมีวัตถุมงคลมอบเป็นที่ระลึก
ณ กุฏิ พระอาจารย์ต้อย วัดบางพระ
ขอเชิญร่วมงานโดยทั่วกัน?

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

46
วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา
วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา วันเข้าพรรษา          จากที่เกิดวันเข้าพรรษา เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษา เหตุเพราะสมัยก่อนฝนตกชุก การเดินทางสัญจรไปมาก็ไม่สะดวก อีกทั้งไปเหยียบต้นข้าวของชาวบ้าน ในสมัยที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว และได้ให้พระภิกษุสงฆ์ออกไปตามเขตต่าง ๆ เพื่อประกาศพระศาสนา จนมีผู้ขออุปสมบทมากขึ้น จึงทำให้มีพระภิกษุสงฆ์ออกไปเผยแพร่พระศาสนากันมากขึ้น แม้ในฤดูฝนก็มิได้หยุดพัก การเดินทางก็ไม่สะดวก ทั้งยังเหยียบข้าวกล้าให้เกิดความเสียหาย ทำให้สัตว์เล็กน้อยตาย ประชาชนจึงพากันติเตียนว่า "ไฉนเล่า พระสมณศากยบุตรจึงเที่ยวไปมาอยู่ทุกฤดูกาล เหยียบข้าวกล้าและติณชาติให้ได้รับความเสียหาย ทำให้สัตว์เล็กน้อยตาย พวกเดียรถีย์และปริพพาชกเสียอีกยังพากันหยุดพักในฤดูฝน ถึงนกยังรู้จักทำรังที่กำบังฝนของตน"
          พระพุทธองค์ได้ทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงทรงบัญญัติเป็นธรรมเนียมให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไปจนถึงกลางเดือน ๑๑ ห้ามมิให้เที่ยวสัญจรไปมา

          วันเข้าพรรษาที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้มีอยู่ ๒ วัน คือ
          ๑.ปุริมิกาวัสสูปนายิกา คือ วันเข้าพรรษาแรก ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไปจนถึงวันเพ็ญ กลางเดือน ๑๑
          ๒.ปัจฉิมมิกาวัสสูปนายิกา คือ วันเข้าพรรษาหลัง ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ไปจนถึงวันเพ็ญกลางเดือน ๑๒

          ภิกษุเข้าพรรษาแล้ว หากมีกิจธุระจำเป็นอันชอบด้วยพระวินัย พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้ไปได้ แต่จะต้องกลับมา ยังสถานที่เดิมภายใน ๗ วัน พรรษาไม่ขาด ที่เรียกว่า "สัตตาหกรณียะ" เหตุที่ทรงอนุญาตให้ไปได้ด้วยสัตตาหกรณียะนั้นมี ๔ อย่างดังต่อไปนี้
          ๑. สหธรรมิกหรือมารดาบิดาเจ็บไข้ รู้เข้าไปเพื่อรักษาพยาบาล
          ๒. สหธรรมิกกระสันจะสึก รู้เข้าไปเพื่อห้ามปราม
          ๓. มีกิจสงฆ์เกิดขึ้น เช่น วิหารชำรุดลงในเวลานั้น ไปเพื่อหาเครื่องทัพพสัมภาะมาปฏิสังขรณ์
          ๔. ทายกต้องการบำเพ็ญบุญกุศลส่งคนมานิมนต์ ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของเขาได้
          แม้ธุระอื่นนอกจากนี้ที่เป็นกิจจลักษณะอนุโลมเข้าในข้อนี้ด้วย

          ในเวลาจำพรรษาเมื่อมีอันตรายเกิดขึ้นจะอยู่ต่อไปไม่ได้ และไปเสียจากที่นั้น พรรษาขาด
          แต่ท่านไม่ปรับอาบัติ (ไม่เป็นอาบัติ) มีดังนี้ คือ
          ๑. ถูกสัตว์ร้าย โจร หรือปีศาจเบียดเบียน
          ๒. เสนาสนะถูกไฟไหม้ หรือน้ำท่วม
          ๓. ภัยเช่นนั้นเกิดขึ้นแก่โคจรคาม ลำบากด้วยบิณฑบาต ในข้อนี้ชาวบ้านอพยพจะตามเขาไปก็ควร
          ๔. ขัดสนด้วยอาหาร โดยปกติไม่ได้อาหารหรือเภสัชอันสบาย ไม่ได้อุปัฏฐากอันสมควร (ข้อนี้หากพอทนได้ก็ควรอยู่ต่อไป)
          ๕ .มีหญิงมาเกลี้ยกล่อม หรือมีญาติมารบกวนล่อด้วยทรัพย์
          ๖. สงฆ์ในอาวาสอื่นจวนจะแตกกันหรือแตกกันแล้ว ไปเพื่อจะห้ามหรือเพื่อสมานสามัคคีได้อยู่ (ในข้อนี้ ถ้ากลับมาทัน ควรไปด้วยสัตตาหกรณียะ)

          พระพุทธองค์ทรงอนุญาตการอยู่จำพรรษาในสถานที่บางแห่ง แก่ภิกษุบางรูปผู้มีความประสงค์ จะอยู่จำพรรษาในสถานที่ต่าง ๆ กัน สถานที่เหล่านั้น คือ
          ๑. ในคอกสัตว์ (อยู่ในสถานที่ของคนเลี้ยงโค)
          ๒. เมื่อคอกสัตว์ย้ายไป ทรอนุญาตให้ย้ายตามไปได้
          ๓. ในหมู่เกวียน
          ๔. ในเรือ

          พระพุทธองค์ทรงห้ามมิให้อยู่จำพรรษาในสถานที่อันไม่สมควร สถานที่เหล่านั้นคือ
          ๑. ในโพรงไม้
          ๒. บนกิ่งหรือคาคบไม้
          ๓. ในที่กลางแจ้ง
          ๔. ในที่ไม่มีเสนาสนะ คือไม่มีที่นอนที่นั่ง
          ๕. ในโลงผี
          ๖. ในกลด
          ๗. ในตุ่ม

          ข้อห้ามที่พระพุทธองค์ทรงห้ามไว้อีกอย่างหนึ่ง คือ
          ๑. ห้ามมิให้ตั้งกติกาอันไม่สมควร เช่น การมิให้มีการบวชกันภายในพรรษา
          ๒. ห้ามรับปากว่าจะอยู่พรรษาในที่ใดแล้ว ไม่จำพรรษาในที่นั้น

          อนึ่ง วันเข้าพรรษานี้ ถือกันว่าเป็นกรณียพิเศษสำหรับภิกษุสงฆ์ เมื่อใกล้วันเข้าพรรษาควรปัดกวาด เสนาสนะสำหรับจะอยู่จำพรรษาให้ดี ในวันเข้าพรรษา พึงประชุมกันในโรงอุโบสถไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาต่อกันและกัน หลังจากนั้นก็ประกอบพิธีอธิษฐานพรรษา ภิกษุควรอธิษฐานใจของตนเองคือตั้งใจเอาไว้ว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า

          "อิมสฺมึ อาวาเส อิมัง เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ แปลว่า ข้าพเจ้าจะอยู่จำพรรษาในอาวาสนี้ตลอด ๓ เดือน"

          หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้ว ก็นำดอกไม้ธูปเทียนไปนมัสการบูชาปูชนียวัตถุที่สำคัญในวัดนั้น ในวันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูปเทียนไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์และพระเถระผู้ที่ตนเองเคารพนับถือ

อานิสงส์แห่งการจำพรรษา

          เมื่อพระภิกษุอยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนได้ปวารณาแล้ว ย่อมจะได้รับอานิสงส์แห่งการจำพรรษา ๕ อย่าง ตลอด ๑ เดือนนับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป คือ
          ๑. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องบอกลา ตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค ปาจิตตีย์กัณฑ์
          ๒. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
          ๓. ฉันคณะโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้
          ๔. เก็บอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา
          ๕. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นเป็นของพวกเธอ

          และยังได้โอกาสเพื่อที่จะกราลกฐิน และได้รับอานิสงส์พรรษาทั้ง ๕ ขึ้นนั้นเพิ่มออกไปอีก ๔ เดือน ในฤดูหนาว คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ไปจนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ อีกด้วย

          ในวันเข้าพรรษานี้ตามประวัติ ชาวไทยเราได้ประกอบพิธีทางศาสนาเนื่องในวันเข้าพรรษา มาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ซึ่งมีทั้ง พิธีหลวง และ พิธีราษฎร์ กิจกรรมที่กระทำก็มีการเตรียมเสนาสนะให้อยู่ในสภาพที่ดี สำหรับจะได้จำพรรษาอยู่ตลอด 3 เดือน จัดทำ เทียนจำนำพรรษา เพื่อใช้จุดบูชาพระบรมธาตุ พระพุทธปฏิมา พระปริยัติธรรม ตลอดทั้ง 3 เดือน ถวายธูป เทียน ชวาลา น้ำมันตามไส้ประทีปแก่พระภิกษุสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาในพระอาราม

          สำหรับเทียนจำนำพรรษาจะมีการ แห่เทียน ไปยังพระอารามทั้งทางบกและทางน้ำตามแต่หนทางที่ไปจะอำนวยให้ เพื่อนำเทียนเข้าไปตั้งในพระอุโบสถหรือพระวิหาร แล้วก็จะจุดเทียนเพื่อบูชาพระรัตนตรัย

          สำหรับการปฏิบัติอื่น ๆ ก็จะมีการถวาย ผ้าอาบน้ำฝน การอธิษฐานตนว่าจะประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในกรอบของศีลห้า ศีลแปด ฟังเทศน์ฟังธรรม ตามระยะเวลาที่กำหนดโดยเคร่งครัด ตามกำลังศรัทธา และขีดความสามารถของตน นับว่าวันเข้าพรรษาเป็นโอกาสอันดีที่พุทธศาสนิกชน จะได้ประพฤติปฏิบัติตนในกรอบของพระพุทธศาสนาได้เข้มข้นยิ่งขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง

 
 

http://www.larnbuddhism.com/puttaprawat/day/khawpansa.html

47
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / วันนี้
« เมื่อ: 21 ก.ค. 2550, 09:12:47 »
001

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

48
ขอเชิญร่วมพิธี พุทธา เทวาภิเสก
09.00 น. วัดมารวิชัย อยุธยา
14.00 น.วัดนก กรุงเทพฯ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

49
ขอเชิญร่วมงานทำบุญ ระลึกถึง หลวงพ่อเปิ่น
ในวันที่ 12 สิงหาคม 2550
ในช่วงเช้า เวลาประมา 08.00 น.
หลวงปู่ทิมวัดพระขาว กดพิมพ์นำฤกษ์พระผงจตุคามรามเทพ รุ่นพิเศษ


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

50
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / กวนอิม
« เมื่อ: 23 พ.ค. 2550, 05:55:52 »
องค์จตุคามรามเทพ รุ่นเพชรสมุย
ยังพอมีให้บูชาในราคาชุดละ 900 บาท
ที่ กุฏิ พระอาจารย์ต้อย
เพื่อนำปัจจัยไปสมทบสร้าง พระแม่กวนอิม
ฯลฯ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

51
วันที่ 15 พ.ค. 2550
กำหนดการโดยสังเขป
เวลา 10.00 น.พระสงฆ์เริญพระพุทธมนต์
         11.00 น.ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ทั้งวัด
                      และพระอาคันตุกะ
***************หลังจากนั้น ถวายผ้าป่าสามัคคี********
เสร็จแล้วขอเชิญรัปทานอาหารร่วมกัน***********************

52
ขอเชิญร่วมทอดผ้าป่า เพื่อสมทบทุนซื้อเครื่องมือแพทย์ให้กับโรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น
ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐
ณ   กุฏิ พระอาจารย์ต้อย  วัดบางพระ นครปฐม
เวลา ๑๐.๐๐ น.  ถวายผ้าป่า
เวลา ๑๑.๐๐ น.  ถวายภัตตาหารเพล
เสร็จพิธีขอเชิญร่วมรับประทานอาหาร
และรับวัตถุมงคลเป็นที่ระลึก
+++++++++++++ในงานครั้งนี้ขอขอบพระคุณ++++++++++++
++พระอธิการเมตไตร   เจ้าอาวาสวัดศิลางู
++ดร.ไมตรี  บุญสูง ศิษย์และลูกบุญธรรม หลวงพ่อเปิ่น
ที่ได้มอบวัตถุมงคล องค์จตุคามรามเทพ รุ่นเพชรสมุย
เพื่อมอบให้กับผู้ร่วมทำบุญในครั้งนี้ :054: :054: :054:

53
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / แจ้งให้ทราบ
« เมื่อ: 22 เม.ย. 2550, 05:37:01 »
สำหรับผู้ที่จอง หรือต้องการ
องค์จตุคามรามเทพ รุ่นเพชรสมุย
เพื่อสมทบทุนซื้อเครื่องมือแพทย์ให้กับ
โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น
มารับได้ในวันที่ 1 พ.ค. 2550
ที่วัดบางพระ กุฎิพระอาจารย์ต้อย และหลวงพี่ญา

54
กำหนดการฌาปนกิจศพ
คุณแม่หลวงพี่นันต์ ในวันที่ 21 มีนาคม 2550
ประมาณเวลา 14.00 -15.00 น.ทำพิธีที่วัดห้วยพลู
หลังจากนั้นเคลื่อนศพมาที่เมรุวัดบางพระ
เวลาประมาณ 16.00 น.ทำพิธีที่วัดบางพระ(เผาจริง)
จึงเรียนมาให้ทราบทั่วกัน

55
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / vcd
« เมื่อ: 05 มี.ค. 2550, 09:30:45 »
สมาชิกท่านใด สนใจอยากเป็นเจ้าของ vcd(ฉบับถ่ายทำกันเอง) ของงานไหว้ครูประจำปีนี้
โปรดแจ้งความประสงค์ไว้ที่ คุณ A บางแค

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

56
ขอแสดงความเสียใจ
ต่อการจากไปของ  คุณเฉลียว อุ่นศิริ (ป้าเหลียว /โยมเหลียว)
ในวันนี้เมื่อเช้า
สวดพระอภิธรรมคืนนี้เป็นคืนแรก
กำหนดฌาปนกิจศพ วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม 2550
เวลา 16.00 น.

57
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / jaturakam
« เมื่อ: 10 ม.ค. 2550, 07:45:43 »
001

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

58
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / happy newyear 2550****
« เมื่อ: 01 ม.ค. 2550, 06:33:23 »
there are better things waiting for you***********
i  wist you are loved***********
you are lucky******
you are healthy********
you are safe and happy
*****2550*********
and everytimes**********

59
001

60
ขอเชิญบริจาค สมุดดินสอปากกา เครื่องเขียน เพื่อนำไปมอบให้แก่เด็กนักเรียน
บริจาคทำบุญได้ที่
พระอาจารย์ต้อย
หลวงพี่ญา
ถ้าหลวงพ่อวัดห้วยขวางรับและสมทบบริจาคด้วยก็ยิ่งดี ขอกราบขอบพระคุณล่วงหน้า ao บอกหลวงพ่อด้วยนะ
**และเสื้อผ้าใช้แล้ว สภาพดี ใครมีเยอะไม่ได้ใช้แล้วก็ขอเชิญร่วมบริจาคได้นะครับ



61
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / คณะศิษย์
« เมื่อ: 08 ต.ค. 2549, 07:35:47 »
วันนี้คณะศิษย์หลวงพ่อเปิ่น ประกอบด้วย
เผ่า  คลองเตย   ทิดตุ้ย   แกละ  ข้าวโพด   เดช ชัย เพื่อน ๆ ชมรมมอเตอร์ไซด์
อ๊อด บางแค    เอ บางแค  และผองเพื่อน
โด้  กุ้ง  บางพระ ได้ร่วมกันทอดผ้าป่าถวาย หลวงพ่อเจตน์  วัดนก 
เพื่อสมทบทุนสร้างพระมหาเจดีย์วัดนกต่อไป :053: :053: :053: :053:
อิ่มท้อง และอิ่มบุญกัน   :052: :052: (วันนี้เจ้าเดิมไม่เมา5555) :007:

62
กำหนดการทอดกฐิน วัดบางพระ ประจำปี 2549
ตรงกับวันที่  23  ตุลาคม  2549 
เวลา 10.00 น.
ขอเชิญศิษย์ ศิษยานุศิษย์ ท่านที่เคารพ และผู้ใฝ่ใจงานบุญกุศล ร่วมทำบุญทอดกฐินสามัคคีโดยพร้อมเพรียงกัน


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

63
แจกครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

64
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / รายนาม
« เมื่อ: 03 ส.ค. 2549, 06:27:25 »
รายนานผู้ร่วมทำบุญวันที่ 12 สิงหาคม 2549
1.กำนันฉาย                                                                   10,000.-
2chaokok liong & family                                                     200.-
3โชคชัย  ลาภศิริมงคล/ตะวัน  ศรีภุมมา                            1,000.-
4จ่ายูร                                                                              1,000.-
5 อ.ต้อย  ศิษย์ s'pore                                                       10,000.-
6 อ.ต้อย ซองเล็ก2,000.ซองใหญ่9,500.รวม                       11,500.-

65
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / ปีนี้ 11 กค 49
« เมื่อ: 11 ก.ค. 2549, 06:26:46 »
 


 
http://www.watkoh.com/data/ssn_phitee/khawphansa.php :001:
 


 วันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา กำหนดเป็น 2 ระยะ คือ ปุริมพรรษา และปัจฉิมพรรษา
1. ปุริมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาต้น ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี หรือราวเดือนกรกฎาคม และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ราวเดือนตุลาคม
2. ปัจฉิมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาหลัง สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง หรือราวเดือนกรกฎาคม และจะออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ราวเดือนตุลาคม ความหมายของวันเข้าพรรษา คือ เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนมีกำหนด 3 เดือนตามพระวินัยบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมในที่อื่น เรียกกันโดยทั่วไปว่า "จำพรรษา"

"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ
หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์

เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้ โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระ ตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าจำนำพรรษา หรือผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา

การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์ การปฏิบัติตน ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส

ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลาน ของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง


กิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันเข้าพรรษา
๑. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา
๒. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิษุสามเณร
๓. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
๔. อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ

ประโยชน์ในการเข้าพรรษาของพระภิกษุ
1. เป็นช่วงที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา หากภิกษุสงฆ์เดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ อาจไปเหยียบต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อยให้ได้รับความเสียหายล้มตาย
2. หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน พระภิกษุสงฆ์จะได้หยุดพักผ่อน
3. เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนประชาชน เมื่อถึงวันออกพรรษา
4. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตรหล่อเทียนเข้าพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา


 ศาสนธรรม | ศาสนบุคคล | ศาสนวัตถุ | ศาสนพิธี 
วัดเกาะวาลุการาม ต.สวนดอก อ.เมือง จ.ลำปาง 52000 โทร.0-5432-3426, 0-5421-7528
Watkoh walukaram Lampang Thailand : webmaster@watkoh.com

 
 :001:

66
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / โปรดทราบ
« เมื่อ: 10 ก.ค. 2549, 07:29:57 »
 :001:
ในระยะเวลาเข้าพรรษาทุกปี โดยคำสั่งของพระเถระในเขตจังหวัดนครปฐม ได้สั่งไว้นานแล้วไม่ให้ทำการ สักยันต์ให้แก่ภิกษุ สามเณร  ในระยะเวลาเข้าพรรษา เพื่อจะได้ศึกษาหาความรู้
แต่สำหรับบุคคลทั่วไป ทำการสักปกติครับ
ขอเสริมเล็กน้อย ในวันพระถ้าไม่จำเป็นจะต้องสักหรือถ้าจะสักในเวลาเย็น ๆ ก็อย่าสักเลย หลวงพ่อ หลวงพี่ พระอาจารย์ จะได้ทำวัตร ฟังพระปาฏิโมกข์ ทำกิจวัตรในพรรษาได้เต็มที่

67
 :001: :001: :001: :001:อาสาฬหบูชา
         ประวัติความเป็นมา
     วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ก่อนวันเข้าพรรษา 1 วัน เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์
อาสาฬหเป็นชื่อเดือน ๘ อาสาฬหบูชาย่อมาจากคำว่าอาสาฬหบูรณ มีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็จะ เลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ หลัง

     หลังจาก สมเด็จพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน 6 แล้ว ได้ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมและทรงคำนึงว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม แต่อาศัยพระกรุณานี้เป็นที่ตั้ง จึงทรงพิจารณาแบ่งบุคคลออกเป็น 4 ประเภท(บัว 4 เหล่า) คือ
๑. อุคฆฏิตัญญู ดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ
๒. วิปัจจิตัญญู ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ
๓. เนยยะ ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ
๔. ปทปรมะ ดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม

      จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง 2 ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยาอยู่ พระธรรมที่ พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มี ชื่อ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งมี อริยสัจ ๔ หรือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการได้แก่
๑. ทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
๒. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ ความดับทุกข์
๔. มรรค ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับทุกข์

         และหลังจากแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นคนแรก ได้กราบฑูลขอบวชและพระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาต โดยทรงทำการอุปสมบทให้แบบ เอหิภิกขุอุปสัมปทา นับเป็น"ปฐมสาวก" ของพระพุทธเจ้า

         ดังนั้นในวันนี้จึงเป็นวันแรกที่มี พระรัตนตรัยครบองค์สาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงเทศนาเป็นกัณฑ์แรก จึงเรียกเทศฯกัณฑ์นี้ว่า "ปฐมเทศนา" หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่านับเป็นวันแรก ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา
 
     

จะเห็นได้ว่า ปรากฏการณ์สำคัญ ๆ ในวันนี้มีถึง 4 ประการ ด้วยกันคือ
1. เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา
2. เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงได้ปฐมสาวก
3. เป็นวันแรกที่พระสงฆ์เกิดขึ้นในโลก
4. เป็นวันแรกที่บังเกิดรัตนะครบสาม เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ

 
   
  กลับหน้าแรก วันเข้าพรรษา 
http://www.learntripitaka.com/History/asalha.html
 :001: :001: :001: :001: :001:

68
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / **30*1
« เมื่อ: 01 ก.ค. 2549, 06:02:50 »
**---**
   ..

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

69
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / 30 /06/49
« เมื่อ: 01 ก.ค. 2549, 05:41:36 »
001

70
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / ค่าครู
« เมื่อ: 07 มิ.ย. 2549, 04:30:03 »
พานครูวัดบางพระ ตามที่หลวงพ่อเปิ่นได้กำหนด มีดังนี้
-ดอกไม้-ธูป-เทียน
-บุหรี่
-ค่าครู 25 บาท
สำหรับการสักในแต่ละครั้ง
ไม่มีเรียกร้องมากกว่านี้
ส่วนผู้มารับการสักต้องการถวายส่วนตัว หรือทำบุญในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  แล้วแต่ศรัทธา
****ค่าครู 25 บาทนี้ หลวงปู่ได้กำหนดเมื่อครั้งสร้างโรงพยาบาล และก็จำนวนนี้จนกระทั่งปัจจุบัน
ในส่วนของค่าครูแต่เดิมหลวงปู่ก็จะนำไปสร้างสาสธารณะกุศลต่าง ๆ

71
:053: :053: :053: :016: :053: :015: :053: :053: :053:
ขออนุโมทนาผู้ที่ร่วมเป็นเจ้าภาพ สร้างย่ามถวายพระ และเป็นเจ้าภาพอาหารเลี้ยงญาติโยมในงานวันที่ 30 มิถุนายน 2549 (ในส่วนที่ทำบุญกับ พระอาจารย์ต้อย หลวงพี่ญา)
1 พระครูสุจิตตราถรณ์ เจ้าอาวาสวัดนก? ? ? ?5,000.-
2พระอาจารย์หนุ่ม วัดบางแวก กทม.? ? ? ? ? ?5,000.-
3เจ๊แมว สุรินทร์? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?5,000.-
4พ.ต.อ.สมพร(ผู้การเสือ) จารุมิลินทร์? ? ? ? ? 1,000.- (และได้ปวารณา ทำบุญกับหลวงพ่อเปิ่น ตลอดกาลนาน)
5พ.ต.อ.อดุลย์ รัตนภิรมย์ และกลุ่มพื่อน (29)? ?7,500.-
6ครูจ้อย เบิร์ด? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?1,000-
7 สาวสมชายและพี่สาว? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?1,000-


คุณสุรินทร์? ตรงต่อศักดิ์ และเพื่อน? ?รับเป็นเจ้าภาพเลี้ยงก๋วยเตี๋ยว เหมือนวันไหว้ครู
พี่อ๊อด และ อ๊อดบางแค? เขตภาษีเจริญ รับเป็นเจ้าภาพเลี้ยงกะเพาะปลา? ? ?

72
 :053: :053: :053:
วันนี้ประดิษฐาน? พระโพธิสัตย์กวนอิม


73
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / วันสงกรานต์
« เมื่อ: 11 เม.ย. 2549, 06:00:13 »
กำหนดการสรงน้ำพระ วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน 2549
เวลาประมาณ 13.30 น.
ณ ศาลาตักบาตร วัดบางพระ

74
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / ขอเชิญ
« เมื่อ: 15 มี.ค. 2549, 11:30:26 »
ได้รับแจ้งจาก หลวงพ่อเจ้าอาวาสว่า กำหนดการบำเพ็ญกุศล หลวงพ่อเปิ่น ตรงกับวันที่ 
30  มิถุนายน 2549

75
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / วัดบางพระ
« เมื่อ: 22 ก.พ. 2549, 06:01:34 »
 :058: ในวัดบางพระของพวกเราจะมีพิธีกรรม/กิจกรรมประมาณว่าทำกันมาจนเป็นปกติ
 :054: งานประจำปีกลางเดือนยี่ (หลวงปู่หิ่ม)ประมาณมกราคมทถกปี
 :058: งานกลางเดือน ๔ หรืองานไหว้ครูประจำปี
 :058: ๓๐ มิถุนายน วันคล้ายวันมรณภาพหลวงพ่อเปิ่น
 :058: ๑๒ สิงหาคม วันเฉลิมพระชนพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
 :058: ส่วนวันสำคํญทางศาสนาอาทิ วันเข้าพรรษาฯถือเป็นธรรมเนียมปฎิบัติปกติ :058:


76
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / 13/02/2549
« เมื่อ: 13 ก.พ. 2549, 05:44:57 »
http://www.dhammathai.org :100:




77
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / 10/02/2549
« เมื่อ: 10 ก.พ. 2549, 08:01:07 »
10/02/2549 :058:





78
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / chiness newyear to everybody
« เมื่อ: 27 ม.ค. 2549, 05:44:20 »
:052: :052: :052:

79
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / ของดี
« เมื่อ: 23 ธ.ค. 2548, 08:44:38 »
เอามาฝากนะครับ




80
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / เกริ่นนำ
« เมื่อ: 23 ธ.ค. 2548, 07:45:31 »
 :045:


หน้า: [1]