ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกธรรม...๒๗ ก.ย.๕๒...เตือนตน สอนตน...  (อ่าน 1166 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
       "บัณฑิตควรตั้งตนไว้ในคุณธรรมก่อน
แล้วจึงค่อยสอนผู้อื่นภายหลัง ตนจึงจะไม่มัวหมอง"
        "อตฺตานเมว  ปฐมํ  ปฏิรูเป  นิเวสเย
   อถญฺญมนุสาเสยฺย  น  กิลิสฺเสยฺย  ปณฺฑิโต"
          ......................................
วันนี้เป็นวันพระขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๑๑
ตื่นเช้าตามปกติทำภาระกิจส่วนตัวเสร็จลงไปช่วยพระจัดศาลา
เพราะจะมีญาติโยมมาทำบุญตักบาตรที่วัดกันเหมือนทุกวันพระที่ผ่านมา
เสร็จพิธีจากศาลาหอฉันเวลาก็ประมาณ ๐๙.๐๐น.แล้วจึงไปเข้าโบสถ์ขอขึ้นมานัตต์
เพื่อที่จะปฏิบัติในขั้นต่อไปตามพระวินัยที่กำหนด เพื่อความบริสุทธิ์ของศีล
ซึ่งการเข้าอยู่ปริวาสกรรมนั้นเป็นหนึ่งในกิจวัตร ๑๐ อย่างที่พระต้องกระทำ
กิจวัตร ๑๐ อย่างที่พระภิกษุจะต้องศึกษาให้ทราบความชัดและจำไว้เพื่อปฏิบัติ
ให้สมกับสมณสารูปแห่งความเป็นสมณะก็คือ...
     ๑.ลงอุโบสถฟังพระปาฏิโมกข์
     ๒.บิณฑบาตรเลี้ยงชีพของตน
     ๓.สวดมนต์ทำวัตรไหว้พระเช้า-เย็น
     ๔.ชวยเหลือกิจการงานในวัด กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์
     ๕.รักษาผ้าครอง(ผ้าไตรที่อธิษฐานใช้นุ่งห่ม)
     ๖.อยู่ปริวาสกรรมชำระศีลของตนให้บริสุทธิ์จากครุอาบัติและเพื่อการลดมานะละทิฏฐิ การถือตัวถือตน
     ๗.โกนผมปลงหนวดตัดเล็บภายในเวลาที่พระวินัยบัญญัติ
     ๘.ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์
     ๙.เทศนาบัติ กล่าวธรรมสั่งสอนญาติโยม
    ๑๐.พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง ๔ มีสติในการนุ่งห่มจีวร ขณะฉันอาหาร ขณะใช้สอยเสนาสนะ ขณะที่ฉันยารักษาโรค
ทั้งสิบข้อนี้คือสิ่งที่พระภิกษุพึงต้องปฏิบัติเป็นกิจวัตรของสงฆ์
     ออกจากพระอุโบสถแล้วแวะไปให้กำลังใจพวกเด็กๆที่จะไปแข่งเรือกัน เอาเสื้อและปัจจัยไปให้เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ
ให้โอวาทแก่เหล่าฝีพายถึงเรื่องความมีน้ำใจของนักกีฬา การเคารพกฏกติกาและผลของการตัดสิน เสร็จแล้วจึงกลับวัด
กลับมาซักสบงจีวรเครื่องนุ่งห่ม ทำความสะอาดศาลาที่อยู่อาศัย ซึ่งกว่จะเสร็จนั้นเวลาก็ผ่านไปถึงบ่านสองกว่าๆ
เดินตรวจดูรอบๆบริเวณวัดในระหว่างที่รอผ้าสบงจีวรแห้ง เพราะว่าช่วงนี้ยังมีฝนอยู่ จึงตากทิ้งไว้ไม่ได้ต้องคอยดู
ชีวิตแต่ละวันที่ผ่านไปเหมือนไม่ได้ปฏิบัติธรรมเพราะใช้ชีวิตและทำงานตามปกติ ไม่ได้นั่งสมาธิ ไม่ได้เดินจงกรม
จนมีพระและโยมมาถามว่า...ท่านเอาเวลาไหนไปปฏิบัติธรรม..?ซึ่งได้ตอบเขาเหล่านั้นไปว่า...เอาเวลาที่มีสติไปปฏิบัติธรรม
เมื่อเรามีสติและสัมปชัญญะอยู่กับกาย อยู่กับจิต อยู่กับความคิด อยู่กับการกระทำ นั้นแหละคือการปฏิบัติธรรม
เหมือนดั่งคำของหลวงพ่อพุทธทาสที่กล่าวไว้ว่า...การทำงานคือการปฏิบัติธรรม...เพราะมีสติและสัมปชัญญะคุ้มครองกายและจิตอยู่
   การเขียนบทความหรือการบันทึกธรรมนั้น ไม่ได้หวังจะสอนผู้ใด แต่ที่ได้ทำลงไปนั้น เพื่อเป็นการย้ำเตือนและสอนตัวเราเอง
ส่วนที่มีผู้มาอ่าน มาทำความเข้าใจและนำไปปฏิบัติตามนั้น เป็นผลพลอยได้ เพราะจุดมุ่งหมายของการบันทึกไว้เพื่อเตือนตนสอนตน
เพราะก่อนที่เราจะไปสอนคนอื่นได้นั้น เราต้องรู้และเข้าใจ ทำได้และเคยทำมาแล้ว ไม่ใช่ท่องตำราให้จำได้แล้วไปกล่าวธรรม
เพราะการทำเช่นนั้นมันเหมือนนกแก้วนกขุนทอง จำได้พูดได้ แต่ไม่รู้ความหมายและเนื้อหา พระพุทธเจ้าตรัสว่า...ใบลานเปล่า..
ทุกครั้งที่เขียนหรือบรรยายธรรมก็เพื่อย้ำเตือนและสอนตัวเองทุกครั้ง...ไม่ได้หวังว่าคนฟังจะรู้จะเข้าใจและปฏิบัติตามหรือไม่
เพราะถ้าเราไปหวังและตั้งใจให้ผู้ฟังเข้าใจและปฏิบัติตามนั้น...มันเป็นตัณหาคือความอยากมี อยากเป็น อยากเห็น อยากได้
และเมื่อไม่เป็นไปตามที่ใจเราปรารถนา มันก็จะพาให้ใจเป็นทุกข์ เพราะตัณหาไม่ได้รับการสนองตอบ......
 :059:ขอบคุณสติและสัมปชัญญะที่เตือนกายเตือนจิตในการคิดและการกระทำ :059:
                          เชื่อมั่น-ศรัทธา-ปรารถนาดี-ด้วยไมตรีจิต
                                   รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม
๒๘ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๑.๔๙ น. ณ ศาลาน้อยริมน้ำโขง ชายแดนประเทศไทย


     


ใช่หวังจะดังเด่น  จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ  ซึ่งมานะและอัตตา
เร่ร่อนและรอนแรม ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา  ผ่านร้อยป่าและภูดอย
ลาภยศและสรรเสริญ  ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย  จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
       ปณิธานในการปฏิบัติธรรม

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: บันทึกธรรม...๒๗ ก.ย.๕๒...เตือนตน สอนตน...
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 28 ก.ย. 2552, 11:00:49 »
เมื่อเรามีสติและสัมปชัญญะอยู่กับกาย อยู่กับจิต อยู่กับความคิด อยู่กับการกระทำ นั้นแหละคือการปฏิบัติธรรม
เหมือนดั่งคำของหลวงพ่อพุทธทาสที่กล่าวไว้ว่า...การทำงานคือการปฏิบัติธรรม...เพราะมีสติและสัมปชัญญะคุ้มครองกายและจิตอยู่


...กราบนมัสการขอบพระคุณพระอาจารย์ครับ...

ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ 

ออฟไลน์ derbyrock

  • คณะกรรมการ
  • *****
  • กระทู้: 2494
  • เพศ: ชาย
  • สติมา ปัญญาเกิด........ปัญหามา ปํญญามี.......
    • MSN Messenger - derbyrock@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: บันทึกธรรม...๒๗ ก.ย.๕๒...เตือนตน สอนตน...
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 29 ก.ย. 2552, 12:16:58 »
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ

ความสุขที่แท้จริงรอคอยคุณอยู่.......เพียงแค่คุณนั่งลงแล้วหลับตา

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: บันทึกธรรม...๒๗ ก.ย.๕๒...เตือนตน สอนตน...
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 22 มี.ค. 2554, 11:44:21 »
๒. ปริวาสิกขันธกะ (หมวดว่าด้วยผู้อยู่ปริวาส)

              (เมื่อมาถึงวินัยกรรมเกี่ยวกับการออกจากอาบัติสังฆาทิเสส ซึ่งกล่าวไว้ในหมวดนี้ ควรจะได้ทราบความหมายเกี่ยวกับศัพท์ และลำดับการปฏิบัติซึ่งกล่าวถึงในหมวดนี้ก่อน ซึ่งมีดังนี้

              ๑.การอยู่ปริวาส คือการลงโทษให้ต้องอบรมตัวเอง เท่ากำหนดเวลาที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แล้วปิดไว้ ถ้าปิดไว้กี่วันกี่เดือน ก็จะต้องอยู่ปริวาสเท่านั้นวันเท่านั้นเดือน.

              ๒. การชักเข้าหาอาบัติเดิมหรือมูลายปฏิกัสสนา คือในขณะที่อยู่ปริวาสก็ตาม ประพฤติมานัตต์ (ซึ่งจะกล่าวต่อไป) ก็ตาม เธอไปต้องอาบัติสังฆาทิเสสซ้ำกับที่ต้องไว้เดิมเข้าอีก ก็จะต้องเริ่มตั้งต้นถูกลงโทษไปใหม่ คือต้องขอกลับเริ่มต้นถูกลงโทษในลำดับแรกอีก.

              ๓. การประพฤติมานัตต์ เมื่ออยู่ปริวาสครบกำหนดที่ปิดไว้แล้ว หรือถ้าไม่ได้ปิดไว้เลย ก็ไม่ต้องอยู่ปริวาส คงประพฤติมานัตต์ทีเดียว การประพฤติมานัตต์ คือการถูกลงโทษให้ต้องประจานความผิดของตนแบบปริวาส แต่มีกำหนด ๖ ราตรี ไม่ว่าจะปิดไว้หรือไม่ปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประพฤติมานัตต์ ๖ ราตรี เหมือนกันหมด.

              ๔. การสวดถอนจากอาบัติสังฆาทิเสสหรืออัพภาน เมื่อภิกษุถูกลงโทษให้อยู่ปริวาส (ถ้าปิดอาบัติไว้) และให้ประพฤติมานัตต์ถูกต้องแล้ว ก็เป็นผู้ควรแก่การสวดถอนจากอาบัตินั้น การสวดถอนจากอาบัตินี้ เรียกว่าอัพภาน ต้องใช้ภิกษุประชุมกันไม่น้อยกว่า ๒๐ รูป.

              ในระหว่างที่ถูกลงโทษเหล่านี้ ภิกษุถูกตัดสิทธิมากหลาย ทั้งยังต้องคอยบอกความผิดของตนแก่ภิกษุผู้ผ่านไปมาและบอกในที่ประชุมสงฆ์ เมื่อทำอุโบสถสังฆกรรมด้วย รวมความว่า เป็นการลงโทษที่ทำให้ผู้ถูกลงโทษรู้สึกว่าหนักมาก ต้องเกี่ยวข้องกับสงฆ์ส่วนมาก โดยการประจานตัวและการสวดประกาศหลายขั้นหลายตอน).

http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prawinai/6.2.html
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ