ผู้เขียน หัวข้อ: อิติปิโส ภะคะวือ...  (อ่าน 1486 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ อิศวรน้อย

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 92
  • เพศ: ชาย
  • สิงห์จ้าวทุ่ง
    • ดูรายละเอียด
อิติปิโส ภะคะวือ...
« เมื่อ: 20 ธ.ค. 2552, 10:19:56 »


 

อิติปิโส ภะคะวือ
โดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย


นึกถึงนิทานย่อๆ ที่ครูบาอาจารย์ท่านเคยเล่าให้ฟังเสมอ หลวงตาพรอาจารย์ของหลวงพ่อนักธรรมตรีก็ไม่ได้ สอนลูกศิษย์ลูกหาก็ไม่มีปฏิภาณโวหาร แต่ว่าลูกศิษย์สอบได้นักธรรมตรี โท เอก ท่านกลัวว่าลูกศิษย์จะลบหลู่ดูหมิ่นท่านหรืออย่างไรก็ไม่รู้ล่ะ แต่ท่านก็เล่านิทานอันนี้ให้ฟังอยู่บ่อยๆ ท่านบอกว่า

มีครูบาอาจารย์สำนักหนึ่งสอนลูกศิษย์ให้ภาวนา อิติปิโส ภะคะวือ แล้วลูกศิษย์ที่ยังไม่มีความรู้กว้างขวาง ก็ปฏิบัติตามครูบาอาจารย์อย่างคนว่าง่าย แต่มาภายหลังลูกศิษย์เหล่านั้นมีโอกาสได้ไปศึกษาเล่าเรียนในต่างสำนัก บางท่านก็ได้เป็นมหาเปรียญกลับมา ทีนี้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ก็ไปค้นคว้าตำรับตำราหาคำว่า อิติปิโส ภะคะวือ ไม่มีเลย

ทีนี้พอกลับมาแล้ว ก็มาปรึกษาหารือว่าอาจารย์ของเรานี้ เข้าใจผิดซะแล้วล่ะ พวกเราต้องมาช่วยกันแก้ทิฏฐิของอาจารย์ มีอย่างที่ไหน อิติปิโส ภะคะวือ มาสอนกัน มันไม่มีในตำราสักหน่อยหนึ่งเลย พอกลับมาก็เข้าไปกราบอาจารย์ "อาจารย์ๆ สอนพวกเราว่า อิติปิโส ภะคะวือ นี้สอนผิดซะแล้วล่ะ ควรแก้ใหม่ พวกเราไปค้นตำรับตำรากันหมดพระไตรปิฎกแล้ว ไม่เจอคำว่า อิติปิโส ภะคะวือ กันสักแห่งเลย อาจารย์เอาที่ไหนมาว่าก็ไม่รู้ล่ะ"

ทีนี้อาจารย์ท่านก็บอกว่า "เราก็ปฏิบัติของเรามาอย่างนี้ ของพวกท่าน อิติปิโส ภะคะวา ก็คืออิติปิโส ภะคะวา ไปซิ จะมาให้ผมเลิก อิติปิโส ภะคะวือ นี้มันเป็นไปไม่ได้หรอกเพราะผมปฏิบัติมานานแล้ว" ลงผลสุดท้ายอาจารย์กับลูกศิษย์เถียงกันไม่ตก ก็เลยต้องแยกทางกัน อาจารย์บอกว่า "เออ ! ถ้า อิติปิโส ภะคะวา ของท่านทั้งหลายถูกต้อง พวกท่านพากันอยู่วัดเสีย ผมจะไปภาวนา อิติปิโส ภะคะวือ ของผมบนภูเขาโน้น" ว่าแล้วท่านก็เตรียมบริขารของท่านไปอยู่บนเขา

ฝ่ายลูกศิษย์อยู่ทางวัด ข้อวัตรปฏิบัติก็ย่อหย่อน แล้วประชาชนทั้งหลายก็เสื่อมศรัทธาไม่มีความเลื่อมใส เพราะว่าพระภิกษุไม่สำรวมในสิกขาบทวินัย ไม่เคร่งครัดในข้อวัตรปฏิบัติ เขาไม่มีศรัทธา ไม่มีใครทำบุญก็พากันอดอยากเกิดความเดือดร้อน แล้วก็พากันคิดถึงครูบาอาจารย์ ก็มาปรึกษาตกลงกันว่า เราจะไปอาราธนาอาจารย์ของเรากลับคืนมา ว่าแล้วก็พากันไป ขึ้นไปบนภูเขาที่อาจารย์ท่านพักอยู่ พอไปถึงก็พากันไปกราบอาจารย์ อาจารย์ก็เดินจงกรมเฉย

ทีนี้ลูกศิษย์ก็กราบเรียนท่าน ท่านก็หันหน้ามา ลูกศิษย์องค์หัวหน้าก็กราบเรียนท่านว่า "พวกเรามาขอพักกับอาจารย์สักคืนหนึ่ง" "เออ ! ที่พักที่นี้กุฏิก็ไม่มี มีแต่ร่มไม้กับพลาญหิน เสื่อหมอนก็ไม่มี มีแต่ก้อนหินกับใบไม้นั้นแหละ พวกท่านต้องการที่ไหนเป็นที่สบายก็นิมนต์จัดหาเอาเอง" พอเสร็จแล้วพระทั้งหลายก็พากันจัดที่พักผ่อนหลับนอนตามอัธยาศัย

พอตื่นเช้าขึ้นมา อาจารย์ก็เดินจงกรมเฉย จนกระทั่ง ๑๑ โมง มันเพลแล้วยังไม่พาบิณฑบาตเลย "อาจารย์เมื่อไหร่จะพาออกบิณฑบาตซักที" "ฮือ ! หิวแล้วหรือ" "หิวแล้วล่ะ" "อ้าว ! ถ้าหิวก็เก็บก้อนหินใส่บาตร" พอเก็บก้อนหินใส่บาตรมา มาประเคนอาจารย์ อาจารย์ก็นั่งหลับตาลง ก็เพ่งลงในบาตร แล้วท่านก็สวด อิติปิโส ภะคะวือ อิติปิโส ภะคะวือ ก้อนหินที่อยู่ในบาตรกลายเป็นข้าวมธุปายาส อันหอมตลบไปทั่วทุกทิศทุกทาง พอเสร็จแล้วก็ยื่นมาให้พวกลูกศิษย์ "อ้าว ! เอาไปฉันซะ" ทีนี้พระทั้งหลายก็พากันฉัน ฉันเสร็จแล้วก็พักผ่อนตามอัธยาศัย

พอวันหลังมาลูกศิษย์ก็พากันไปกราบอาจารย์ "อาจารย์ๆ วันนี้พวกเราขอทดลองดูหน่อยนะ" "เออ ! ตามใจ" พอเสร็จแล้วต่างคนก็ต่างเก็บก้อนหินใส่เข้าไปในบาตรแล้วก็ไปนั่งบริกรรมภาวนา อิติปิโส ภะคะวือๆๆ จิตมันก็ไม่เป็นสมาธิสักที อิติปิโส ภะคะวือ นึกขึ้นมาเมื่อไหร่มันก็ไม่เป็นสมาธิสักที ลืมตาขึ้นมาก้อนหินก็คงเป็นก้อนหินโค่โร่อยู่อย่างเก่า ผลสุดท้าย ๑๑ โมงถึงเวลาฉัน ยอมจำนนเข้าไปกราบอาจารย์ "โอ๊ย ! อาจารย์ไม่ไหวแล้ว ท่องมาจนเมื่อยแล้วไม่เห็นเป็นข้าวมธุปายาสสักที" "หือ ! อ้าว ! เอาบาตรมาตั้งเรียงกัน" ตอนนี้อาจารย์แสดงปาฏิหาริย์ใหญ่เลย เอามือไปแตะบาตรเท่านั้นแหละ ในบาตรควันตลบขึ้นมากลายเป็นข้าวมธุปายาส

ทีนี้พอตกตอนเย็นมา อาจารย์ก็เรียกมาประชุมกัน ท่านก็เทศน์ให้ฟัง ท่านบอกว่า อิติปิโส ภะคะวือ หรือ อิติปิโส ภะคะวา นี่นะมันเป็นแต่เพียงคำบริกรรมภาวนาเท่านั้นเองแหละ เมื่อก่อนนี้ผมก็ภาวนาอิติปิโส ภะคะวา เหมือนกัน พอภาวนาไป ภาวนาไป จิตมันเคลิ้มๆ ลงไปสักหน่อยหนึ่งคำว่า อิติปิโส ภะคะวือ มันก็โผล่ขึ้นมา ผมก็เลยจับเป็นอารมณ์ภาวนาเรื่อยมา จนกระทั่งได้สมาธิ ได้ญาณ สามารถเสกก้อนหินเป็นข้าวกินได้

เพราะฉะนั้น พวกท่านจะไปสำคัญมั่นหมายอะไรกับคำบริกรรมภาวนา ท่านจะเอาคำไหนมาบริกรรมภาวนาก็ได้ทั้งนั้น ขอแต่ว่าให้เราจริงใจอดทน พากเพียรพยายามเท่านั้นเป็นพอ

ทีนี้ถ้าจะพิจารณาตามนิทานย่อๆ นี้ เราก็ไม่น่าจะไปสงสัยข้องใจกับคำบริกรรมภาวนา ภาวนาพุทโธไม่หยุด จิตมันก็เป็นสมาธิได้ สัมมา อรหัง ไม่หยุด จิตมันก็เป็นสมาธิได้ ยุบหนอ พองหนอ ไม่หยุด จิตมันก็เป็นสมาธิได้ เพราะฉะนั้นญาติโยมทั้งหลายอย่าไปข้องใจสงสัยในเรื่องคำภาวนา หรืออารมณ์จิตในการภาวนา

 
ขอขอบคุณที่มาครับ...http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9977 
 

ออฟไลน์ umpawan

  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 3112
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: อิติปิโส ภะคะวือ...
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 20 ธ.ค. 2552, 10:50:10 »
ขอบคุณท่านอิศวรน้อยครับ ที่นำเสนอบทความธรรมมะ อ่านแล้วสบายใจครับ ขอบคุณครับ  :016:

ออฟไลน์ gottkung

  • จะหมึกหรือน้ำมันไม่สำคัญ จงตั้งมั่นให้อยู่ในความดี
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 4088
  • เพศ: ชาย
  • "จะลูกใครนั้นไม่สำคัญ เป็นศิษย์ฉันเท่ากันทุกคนไป "
    • ดูรายละเอียด
    • www.gottkung.multiply.com
ตอบ: อิติปิโส ภะคะวือ...
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 20 ธ.ค. 2552, 11:41:57 »
ขอบคุณครับอ่านแล้วได้ข้อคิดเยอะเลย
เราเป็นศิษย์คิดมีครูดูก่อนเถิด อย่าละเมิดคำครูที่พร่ำสอน
ปุถุชนคนธรรมดาพึงสังวรณ์ ครูท่านสอนมอบสิ่งดีแก่เราๆ