ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมของพระพุทธเจ้า  (อ่าน 2721 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลูกผู้ชายตัวจริง

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 741
  • เพศ: ชาย
  • กูจะกลับมากู้แผ่นดิน ให้พ้นภัยศัตรู
    • MSN Messenger - namo159@HOTMAIL.COM
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ธรรมของพระพุทธเจ้า
« เมื่อ: 05 เม.ย. 2550, 01:07:30 »
บทนี้เป็นบทต่อจาก ศาสดาของ กามนิต ซึ่งกล่าวถึงการสนทนาระหว่าง พระพุทธเจ้า กับ กามนิต ที่ กามนิต ระบุว่า ต้องการเป็น ศิษย์ ของ พระพุทธเจ้า โดยไม่รู้ว่า ผู้ที่ตนสนทนาอยู่ด้วยนั้นคือ องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น และ กามนิต ได้แสดงความยินดีที่จะได้สดับ พระธรรม ที่ กามนิตเชื่อว่า คู่สนทนา ได้ฟัง มาจาก พระพุทธเจ้า จริง ๆ
                   ต่อไปนี้เป็นพระดำรัส ของ พระพุทธเจ้า ที่คัดลอกทั้งหมดจาก บทที่ สิบเก้า ของ หนังสืออ่านนอกเวลาวิชาภาษาไทย กามนิต ( ภาคพื้นดิน ) ของ เสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป


--------------------------------------------------------------------------------

                   และพระพุทธองค์ก็ตรัสว่า ?ดูก่อน ภารดา พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธนั้น ได้ยัง จักร แห่งธรรมอันประเสริฐให้หมุนใกล้ อิสิปัตนะมฤคทายวัน จังหวัดพาราณสี ก็แหละ จักรแห่งธรรม นั้น อันสมณะหรือพราหมณ์ เทวดาหรือมาร พรหมหรือผู้ใดผู้หนึ่ง โลกนี้ ไม่พึงขัดขวางไว้มิให้หมุน ได้?

                   ?พระธรรมที่ทรงประกาศ คือ ธรรมอันให้เห็นแจ้งความจริงอย่างยิ่ง สี่ ประการ สี่ ประการนั้นคืออะไร ? ได้แก่
                     ความจริงอย่างยิ่งคือ ทุกข์
                     ความจริงอย่างยิ่งคือ เหตุของทุกข์
                     ความจริงอย่างยิ่งคือ การดับทุกข์ทั้งสิ้น และ
                     ความจริงอย่างยิ่งคือ ทางที่ไปถึงความดับทุกข์ทั้งสิ้น?

                   ?ดูก่อนภารดา ความจริงอย่างยิ่งคือ ทุกข์ นั้น อย่างไร ? ได้แก่
                     ความเกิดมานี้เป็นทุกข์
                     ความมีชีวิตล่วงไป ๆ เป็นทุกข์
                     ความเจ็บปวดเป็นทุกข์
                     ความตายเป็นทุกข์
                     ความอาลัย
                     ความคร่ำครวญ
                     ความทนลำบาก
                     ความเสียใจและความคับใจล้วนเป็นทุกข์
                     ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์
                     ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักเป็นทุกข์
                     ความที่ไม่ได้สมประสงค์เป็นทุกข์
                รวมความ บรรดาลักษณะต่าง ๆ เพื่อความยึดถือผูกพันย่อมนำทุกข์มาให้ทั้งนั้น
                ดูก่อนภารดา นี่แหละ ความจริงอย่างยิ่ง คือ ทุกข์?
                   ?ก็แหละ ความจริงอย่างยิ่งคือ เหตุของทุกข์ นั้น อย่างไร ? ได้แก่
                ความกระหายซึ่งทำให้เกิดมีสิ่งต่าง ๆ อันความเพลิดเพลินใจ และความร่านเกิดตามไปด้วยเพลิดเพลินนักในอารมณ์นั้น คือ
                     กระหายอยากให้มีไว้บ้าง
                     กระหายอยากให้คงอยู่บ้าง
                     กระหายอยากให้พ้นไปบ้าง
                     ดูก่อนภารดา นี้แหละความจริงอย่างยิ่ง คือ เหตุของทุกข์?

                   ?ก็แหละ ความจริงอย่างยิ่ง คือ การดับทุกข์ทั้งสิ้น นั้น อย่างไร ? ได้แก่
                     ความดับสนิทแห่ง ความกระหาย นี้เอง มิใช่อื่น
                     ความเสียสละได้ ความปลดเสียได้ ความปล่อยเสียได้ซึ่ง ความกระหาย นั้นแหละ และ
                     การที่ความกระหายนั้นไม่ติดตัวพัวพันอยู่
                     ดูก่อนภารดา นี้แหละ ความจริงอย่างยิ่ง คือ การดับทุกข์ทั้งสิ้น?

                   ?ก็แหละ ความจริงอย่างยิ่ง คือ ทางไปถึงความดับทุกข์ทั้งสิ้น นั้น อย่างไร ? ได้แก่
                     ทางอันประเสริฐมี องค์แปด คือ
                     ความเห็นชอบ
                     ความดำริชอบ
                     วาจาชอบ
                     การงานชอบ
                     เลี้ยงชีพชอบ
                     ความเพียรชอบ
                     ระลึกชอบ
                     ตั้งใจชอบ
                     ดูก่อนภารดา นี้แหละ ความจริงอย่างยิ่ง คือ ทางไปถึงความดับทุกข์ทั้งสิ้น?

                   เมื่อพระศาสดา มีพระพุทธบรรหาร ด้วยอริยสัจเป็นเบื้องต้น ปานว่า ประดิษฐาน หลักศิลา ขึ้น สี่มุม ด้วยประการดั่งนี้แล้ว ก็ทรงยกพระธรรมทั้งมวลขึ้นตั้งประกอบ โดยอุบายให้เป็นดั่งเรือนยอดสำหรับเป็นที่อาศัยแห่งดวงจิตผู้สาวก ทรงจำแนกแยกอรรถออกเป็น ตอนเนื้อความ แล้วทรงชี้แจง กำกับกันไป เสมือนดั่งบุคคลตัดแท่งศิลาออกเป็นชิ้น ๆ แล้ว และขัดเกลาฉะนั้น ทรงเชื่อมตรงเนื้อความต่อเนื้อความ เสมือนบุคคลได้ลำดับซ้อนแท่งศิลาเหล่านั้น ผจงจัดดุจเป็นรากให้รับกันเองแน่นหนา มีสัมพันธ์เนื่องถึงกันตลอดเรียบร้อย ทรงนำหลักความเห็นแจ้งว่าสิ่งทั้งปวง ย่อมแปรปรวนเข้าประกอบกับหลัก ความเห็นแจ้งว่า สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์ แล้วเชื่อมหลักทั้งสองนี้เป็นดั่ง ซุ้มทวาร ด้วยเครื่องประสาน คือ มนสิการ อันแน่นแฟ้น ที่ว่าสภาวธรรมทั้งปวงล้วนเป็น อนัตตา ? เลือกเอาไม่ได้ ทรงนำสาวกเข้าสู่ทวารอันมั่นคงนี้ คราวละขั้นเป็นลำดับไป แล้วย้อนลงย้อนขึ้นหลายครั้งหลายครา โดยขั้นบันไดอันสร้างไว้มั่นคงแล้ว คือ ปฏิจจสมุปบาทหลักธรรม อันมีเหตุผลอาศัยกันเองเกิดขึ้นเป็นชั้น ๆ สืบเนื่องดั่งลูกโซ่ซึ่งมั่นคงเต็มที่อยู่ทั่วไป

                   อันว่า นายช่างผู้เชี่ยวชาญก่อสร้างปราสาทมโหฬาร ย่อมเพิ่ม รูปสิลาจำหลัก ไว้ในที่สมควร ตามทำนอง มิใช่จะใช้เป็นเครื่องประดับเท่านั้น แต่ยังใช้ประโยชน์รองรับหรือค้ำจุนที่บางแห่งนั้นไว้ด้วยข้อความนี้ อุปมาฉันใด พระศาสดาในบางคราวย่อมทรงชักเอาเรื่องเปรียบเทียบ เป็นภาษิต ที่น่าฟังและสมด้วยกาลสมัย ขึ้นแสดง ก็อุปไมยฉันเดียวกัน เพราะทรงเห็นว่า เทศนาวิธี ที่ชักอุทาหรณ์ ขึ้นสาธก เปรียบเทียบ ย่อมกระทำให้ พระธรรม อันประณีตลึกซึ้งที่ทรงสำแดงหลายข้อ ให้แจ่มแจ้งขึ้นได้แก่บาง เวไนยชน
                   ในท้ายแห่งเทศนา พระองค์ทรงประมวล พระธรรม บรรยายทั้งหมดในคราวเดียวกัน เสมือนด้วย เรือน อันตะล่อมขึ้นด้วยยอดเด่น เห็นเป็นสง่างามรุ่งเรืองได้แต่ไกลด้วยพระวาจาว่า ดั่งนี้ ?ดูก่อนอาคันตุกะผู้แสวงบุณย์ ความเกาะเกี่ยวใคร่กระหายต่อความเกิด ย่อมเป็นเหตุให้ถึงความเกิด หากตัดความใคร่กระหายเช่นนั้นเสียได้ขาด ท่านก็ย่อมไม่เกิดในภพใด ๆ อีก?

                   ?อันภิกษุ ผู้พ้นจากการเกาะเกี่ยวยึดถือพึงใคร่ในอารมณ์ใด ๆ แล้ว ย่อมบังเกิดญาณความรู้แจ้งขึ้นภายในจิตอันสงบแจ่มใส ปราศจาก อวิชชา ความมืดมัวว่า วิมุตติ ความหลุดพ้นนั้นบัดนี้เป็นผลประจักษ์แล้ว นี้คือ ความเกิดเป็นครั้งที่สุด สิ้นความเกิดใหม่ในภพโน้นแล้ว?

                   ?ภิกษุผู้บรรลุธรรมปานนี้ ย่อมได้รับตอบแทนคือ ธรรม อันล้ำเลิศนั้นคือ อะไร ? ได้แก่ ญาณ อันรู้ว่า ทุกข์ทั้งปวง ดับหมดแล้ว ผู้ใดได้รับรสพระธรรมนี้ ก็ย่อมพบ ความหลุดพ้น อันเป็นผลเที่ยงไม่แปรผัน เพราะสิ่งใดไร้สาระเป็นอยู่ชั่วขณะ สิ่งนั้นไม่ใช่ของจริง และเป็นที่สุดแห่งสิ่งมายาทั้งปวง?

                   ?ผู้ใดจำเดิมมาแต่ต้นทีเดียว ตกอยู่ในความเกิด ในความสืบชีวิต เปลี่ยน ๆ ไปในความตาย และบัดนี้ได้กำหนดรู้ไว้ดีแล้วซึ่งลักษณะแห่งสภาพอันเป็นพิษนี้ ผู้นั้นย่อมชนะตนเองแล้วถึงซึ่งความพ้นภัยในความเกิด ความแก่ และความตาย และเขาซึ่งเคยตกอยู่ในโรคาดูร ในมลทินกิเลสในบาป ผู้นั้น ณ บัดนี้ ได้ความรับรองแน่นอนแล้วว่า ไม่มีพิการแปรผัน อันเป็นผลสะอาดหมดจดและเป็นบุณย์-?

                   ?เราพ้นแล้ว ความหลุดพ้นได้ประจักษ์แล้ว ชาติหยุดเพียงนี้แล้ว กรณียะของเราสำเร็จแล้ว โลกนี้หยุดอยู่แก่เราไม่สืบต่อไปอีกแล้ว?

                   ?ดูก่อน อาคันตุกะผู้แสวงบุณย์ นรชน มีญาณทรรศนะเช่นนี้ ชื่อว่า ผู้สำเร็จแล้ว เพราะเขาเสร็จสิ้นธุระและถึงที่สุดบรรดาความทุกข์ยากทั้งปวง?

                   ?ดูก่อน อาคันตุกะผู้แสวงบุณย์ นรชน มีญาณทรรศนะเช่นนี้ ชื่อว่า ผู้ได้ขจัดแล้ว เพราะเขาได้ขจัดแล้วซึ่ง อุปทาน ( ความออกรับ ) ? ว่า ? ตัวเรา? และ ?ของเรา?

                   ?ดูก่อน อาคันตุกะผู้แสวงบุณย์ นรชน ผู้มีญาณทรรศนะเช่นนี้ ชื่อว่า ผู้ถอนแล้ว เพราะเขาได้ถอนแล้วซึ่งต้นไม้ คือ ความมีความเป็นตลอดกระทั่งราก มิให้เหลือเชื้อเกิดขึ้นได้อีก?

                   ?บุคคลมีลักษณะเช่นนี้ ตราบเท่าที่ยังมีร่างอยู่ เทวดาและมนุษย์คงเห็นได้ แต่เมื่อร่างสลายเพราะความตายแล้ว เทวดาและมนุษย์มิได้เห็นต่อไป แม้แต่ธรรมดาผู้เห็นได้ตลอด ก็ไม่เห็นเขาคนนั้นอีก ผู้นั้นได้ทำให้ธรรมดาถึงความบอดแล้ว เขาพ้นจากมารแล้ว ได้ข้าม ห้วงมหรรณพ ที่ต้องแหวกว่ายวนเกิดเวียนตาย ถึงเกาะอันเป็นแหล่งเดียวที่ผุดพ้นเหนือ ความเกิด ความตาย กล่าวคือ พระอมฤตมหานิรพาน?
 

                   จากผู้เขียน
                    บทนี้ เป็น พระธรรม ที่ยิ่งใหญ่ ของ องค์สมเด็จพระพุทธเจ้า คือ อริยสัจ สี่ ที่จะนำ สาธุชน ให้ถึง นิพพาน ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ประพฤติ ปฏิบัติ ที่เข้าใจในพระธรรมสำคัญนี้เอง