ผู้เขียน หัวข้อ: คนกับธรรมนั้น คือ ฉันใด  (อ่าน 1415 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลูกผู้ชายตัวจริง

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 741
  • เพศ: ชาย
  • กูจะกลับมากู้แผ่นดิน ให้พ้นภัยศัตรู
    • MSN Messenger - namo159@HOTMAIL.COM
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
คนกับธรรมนั้น คือ ฉันใด
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 03:02:04 »
1. โจทย์หลัก
ถ้าจะตั้งคำถาม เกี่ยวกับ "คนกับธรรม" ก็คงจะตั้งได้สัก 4 คำถาม เป็นอย่างน้อย คือ

คนกับธรรม คืออะไร?
คนกับธรรม มาจากไหน?
คนกับธรรม เพื่ออะไร ประโยชน์ใด?
คนกับธรรม เชื่อมโยงกันอย่างไร ทำไม?

สังคมไทยเรา ณ วันนี้ จะมีคนอยู่จำนวนหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มคนชั้นกลาง เป็นผู้ที่มีโอกาสได้รับรู้ เรียนรู้วิชาการสมัยใหม่ จากตะวันตก แต่ค่อนข้างมีโอกาสน้อยที่จะได้สัมผัสคำว่า "ธรรม" ผู้เขียนก็เป็นคนหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มนี้มาก่อน เหตุเพราะการศึกษาที่เป็นทางการของเรานั้นเดินตามตะวันตกค่อนข้างจะเต็มที่ แต่ด้วยเหตุที่เส้นทางเดินของชีวิตที่ลุ่มๆ ดอน ๆ ต้องต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ค่อนข้างมาก และสูงหรือรุนแรงจึงมีโอกาสได้เรียนรู้ สิ่งที่ชื่อว่า "ธรรม กับคน" หรือ "คนกับธรรม" มากขึ้น

สิ่งที่จะนำเสนอไว้ในบทความนี้ คือ ความรู้ความเข้าใจเรื่อง "คนกับธรรม" หรือ "ธรรมกับคน" ที่ผู้เขียนได้เรียนรู้ได้สัมผัส ได้เข้าใจ จึงขอนำมาบันทึกไว้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านทั้งหลาย

คนเป็นส่วนหนึ่งของธรรม
ธรรม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งที่มนุษย์รับรู้ได้และรับรู้ไม่ได้

ธรรมแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น และส่วนที่ไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามเหตุตามปัจจัย นี้คือความหมายหนึ่งของธรรมและการแบ่งส่วนของธรรมตามสภาวะ อาจแบ่งโดยอาศัยเกณฑ์อื่นได้อึก เช่น แบ่งตามลักษณะของผลที่มีต่อมนุษย์ โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ กุศลธรรม ธรรมที่ดี อกุศลธรรม ธรรมที่ไท้ดี และอัพยากตธรรม ธรรมที่เป็นกลางๆ เป็นต้น

โดยนัยนี้จะเห็นได้ว่าที่มนุษย์ทุกคนก็มี "ความเป็นธรรม" คือ มีทั้งที่ไม่เปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนแปลง ที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือ เกิดแล้วต้องแก่และต้องตาย ที่เปลี่ยนแปลงคือ เปลี่ยนจากวัยเด็กอ่อนหรือทารกจนถึงชรา สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว เราก็มีภาวะดังกล่าวนี้โดยถ้วนหน้ากัน

เมื่อมองในแง่ของความสัมพันธ์ คน กับธรรม ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ทั้งโดยเนื้อแท้ และเนื้อไม่แท้ ที่ว่าเนื้อแท้ก็คือมีที่มาที่ไปเหมือนๆ กัน ที่เนื้อไม่แท้ก็คือคนจะมีชีวิตอยู่ได้ด้วยดี หรืออยู่ดีมีสุข ไม่อยู่ร้อนนอนทุกข์ ก็โดยอาศัยธรรม คือ ถ้ารู้ธรรม เข้าใจธรรม และปฏิบัติตามธรรม ถูกธรรมตรงธรรมก็จะพัฒนาจะก้าวหน้าในทางดี แต่ถ้าไม่รู้ธรรม ไม่เข้าใจธรรม และไม่ปฏิบัติตามธรรมให้ถูกให้ตรงธรรม ก็จะพบกับความเสื่อมถอน และทนทุกข์

โดยนัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ธรรมที่ว่า นั้นถ้าเอาคนเป็นแกนก็มี 3 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นส่วนที่มีผลดีต่อคน เรียก กุศลธรรม ส่วนที่สอง เป็นส่วนที่มีผลเสียต่อคนเรียก อกุศลธรรม ส่วนที่สาม เป็นส่วนที่ไม่ดี ไม่ร้ายต่อคนเรียก อัพยากตธรรม กุศลธรรม คือ ธรรมที่เมื่อคนได้เรียนรู้ ได้ปฏิบัติตามก็จะก่อผลดี ให้คน อกุศลธรรม คือ ธรรมที่เมื่อคนได้เรียนรู้ได้ปฏิบัติตามก็จะก่อผลเสีย ส่วนอัพยากรธรรม คือ ธรรมที่เป็นกลางไม่ให้พอดีผลเสียอะไร

2. ธรรมมิได้เป็นของใคร

ท่านอาจารย์พุทธทาสบอกว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เรียกว่า ธรรม และธรรมคือทุกสิ่งทุกอย่าง

ดังนั้น การจะเรียนรู้ธรรม เข้าใจธรรม และเข้าถึงธรรม ก็เรียนรู้จากอะไรก็ได้ ทั้งในและนอกตัวเรา ต่างก็มีธรรมให้เรียน ให้รู้ ให้เห็น ตัวธรรมจริง ๆ มิได้ ปรากฏอยู่ในเอกสารหรือคัมภีร์ หรือจารึกใดๆ หรือที่ตัวอักษร แต่ตัววัตถุ หรือวัสดุที่ใช้จารึกนั้นเอง คือ ตัวธรรมแท้ที่ปรากฏให้เราได้เรียน ได้รู้ ได้เห็น ท่านจึงศึกษาธรรมจากต้นไม้ จากสัตว์ จากดิน จากน้ำ โดยเฉพาะที่ตัวท่านเอง

พระพุทธองค์ก็ดี พระเยซูคริสต์ก็ดี ต่างก็ศึกษาธรรมจากสภาพภายนอก มีพืชสัตว์ เป็นต้น และจากสภาพภายใน คือ ที่กายใจของพระองค์ จนมองเห็นชัดว่า

ธรรม คือ ทุกสิ่งทุกอย่าง และ ทุกสิ่งทุกอย่างก็คือ ธรรม

ในแง่ของพลังอำนาจที่มนุษย์มองเห็น

ธรรม คือ ผู้สร้าง
ธรรม คือ ผู้ดำรงรักษา
ธรรม คือ ผู้ทำลาย

คำสอนของพระพุทธองค์ บอกว่า ให้เคารพธรรม ให้ถือธรรมเป็นใหญ่ ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พุทธะ คือ รู้ ธรรมะ คือ ความจริง สังฆะ คือ การทำตามความจริง หรือตามธรรม

พระเยซู ก็ทรงสอนให้เคารพธรรม ให้ถือธรรมเป็นใหญ่ ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า ตรีเอกานุภาพ คือ พระบิดา พระจิต และพระบุตร พระบิดา คือ ตัวธรรม หรือตัวความจริง พระจิต คือ ตัวรู้ ธรรมและพระบุตร คือ ตัว การปฏิบัติตามที่รู้ ซึ่งก็คือการที่คนรู้ธรรมแล้ปฏิบัติตามธรรม หรือความจริงนั้น

คำสอนของพราหมณ์ก็ให้เคารพธรรม ให้ถือธรรม เป็นใหญ่ ภายใต้ชื่อว่า ตรีมูรติ คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระนารายณ์ พระพรหม คือสภาวการณ์ว่าด้วยการเกิด พระวิษณุ คือ สภาวการณ์ว่าด้วยการสลายตัว พระนารายณ์ คือ สภาวการณ์ว่าด้วยการดำรงอยู่ช่วงระยะหนึ่ง ทั้ง 3 ก็คือ อาการ หรือลักษณะของธรรม ที่มี การเกิด การดำรงอยู่ และการแตกสลายลง ของสิ่งที่ภาษาพุทธเรียกว่า สังขตธรรม ทั้งหลาย คือ สิ่งที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ตามกฎธรรมชาติที่ชื่อว่า อิทัปปัจจยตา คือ เมือสิ่งนี้มีจึงมีสิ่งนี้

ธรรมเป็นสิ่งที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ นอกจากตัวธรรมนั่นเอง คนมิอาจเป็นเจ้าของธรรมได้ แต่ธรรมเป็นเจ้าของตน คือ คนมิอาจไปกำกับ หรือบังคับธรรม แต่ธรรมกำกับหรือบังคับคนให้อยู่ในอาณัติ หรือในกฎของธรรม นั่นคือ ธรรม มิได้เป็นของใครทั้งนั้น ไม่ใช่ของไทยของฝรั่ง ไม่ใช่ของคนตะวันตก ตะวันออก ไม่ใช่ของชาวพุทธ ชาวคริสต์ ชาวมุสลิม หรือผู้ถือศาสนาใด ทั้งนั้น

แต่ธรรมเป็นสิ่งที่คนหรือมนุษย์ทุกคนเรียนรู้ได้ เข้าใจได้ และเข้าถึงได้ เพราะทุกคนต้องอยู่กับธรรม ทุกคนกินธรรมและใช้ธรรม

ในอีกมุมหนึ่งที่ตัวธรรม มี 2 ลักษณะคือ รูปธรรม และนามธรรม ที่ระดับของธรรม ก็มี 2 ระดับ คือ โลกยธรรม และโลกุตรธรรม

คนกับธรรมจึงเป็นอย่างนี้เอง

3. คนกับธรรมมาจากไหน?

เมื่อธรรม คือ ทุกสิ่งทุกอย่าง และคนก็คือส่วนหนึ่งของธรรม คนและธรรมก็มาจากธรรม นั่นเอง

ส่วนคนเป็นธรรมที่มีลักษณะ 3 คือ เกิดขึ้น ดำรงอยู่ หรือค่อย ๆ เปลี่ยนแปลง และแตกสลายลงในที่สุด เช่นเดียวกับ พืช สัตว์ เป็นต้น ที่อยู่รอบๆ ตัวคน ลักษณะเช่นนี้ เป็นสามัญลักษณะของธรรมทีมีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ที่ภาษาพุทธธรรมเรียกว่า สังขตธรรม

สังขตธรรม ทั้งหลายมาจากไหน

มาจากอสังขตธรรม อสังขตธรรม เป็นผู้สร้างสังขตธรรม อสังขตธรรม เป็นอมตธรรม คือ เป็นธรรมที่ไม่ตาย เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ไม่มีตัวไม่มีตนให้มนุษย์เห็น จะเห็นได้ก็เฉพาะบทบาทหน้าที่ที่มีต่อสังขตธรรมเท่านั้น อสังขตธรรม ไม่ร้อนไม่เย็นไม่สูงไม่ต่ำ ไม่ดำไม่ขาว ไม่อะไรทั้งนั้น แต่เป็นอย่างที่เป็น ที่เรียกว่า "เป็นอย่างนั้นเอง"

4. คนกับธรรมเพื่ออะไร ประโยชน์ใด?

คนเพื่อธรรม ธรรมเพื่อคน
คนเพื่อประโยชน์ธรรม ธรรมเพื่อประโยชน์คน
คนเข้าถึงธรรม ธรรมเข้าถึงคน
คนเป็นธรรม ธรรมเป็นคน
คนช่วยธรรม ธรรมช่วยคน
คนรักษาธรรม ธรรมรักษาคน
คนทำลายธรรม ธรรมทำลายคน

เมื่อคนเป็นส่วนหนึ่งของธรรม จะทำอย่างไร แน่นอน คนจะต้องรักษาธรรมไว้ ธรรมก็จะช่วยคน

เมื่อใดคนไม่รักษาธรรม ธรรมก็จะไม่รักษาคน
เมื่อใดคนเดือดร้อน นั้นแสดงว่า คนไม่รักษาธรรม
คนที่ทำถูกธรรม ธรรมก็จะช่วยสร้างสุขให้คน
แต่ถ้าคนทำไม่ถูกธรรม ธรรมก็จะสร้างทุกข์ให้คน

อาหารของมนุษย์คือ ธรรม มนุษย์กินอาหารที่ถูกกับธรรมในร่างกายมนุษย์ อาหารก็เป็นเครื่องบำรุงกายมนุษย์

ความรักความเมตตากรุณา คือ ธรรม มนุษย์ได้รับความเมตตากรุณา เข้าสู่ใจ ธรรม คือ ความเมตตา กรุณาก็เป็นเครื่องบำรุงใจ
ความเมตตาเกิดที่ใจคน อยู่ในใจคน
ความเมตตาก็คือ ธรรม ใจคนก็คือธรรม
เมื่อธรรมจากใจสู่ใจ ก็ก่อธรรม ขยายธรรมขึ้นในธรรม คือ ในใจคน

นั่นคือ ธรรมช่วยคน และคนก็ช่วยธรรม

5. คนกับธรรมเชื่อมโยงกันอย่างไร และทำไม?

โดยเป็นเหตุเป็นปัจจัยต่อกันและกัน

คนมีอกุศลธรรมอยู่ในใจ เช่น ความยากเสพ อยากสะสม อยากเป็น อยากไม่เป็น ความต้องการแสดงบทบาทอำนาจ ความมืดบอด เป็นปัจจัยให้คนรู้ ให้คนคิด ให้คนพูด ให้คนทำ ในสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามธรรม ที่จะเป็นเหตุให้เกิดผลดีต่อตนและเพื่อนมนุษย์ แต่ถูกต้องตามธรรมที่จะเป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อตนเองและเพื่อนมนุษย์

โลกเย็นลง หรือร้อนขึ้น ก็คือ สภาวะของธรรม การกระทำของมนุษย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรม ย่อมมีผลให้โลกเย็นโลกร้อนได้ ในด้านกายภาพ

ในขณะเดียวกัน ในด้านสัมพันธภาพ เมื่อใดธรรมคือคน หรือมนุษย์มีพฤติกรรมไม่ต้องตามธรรม ก็จะมีผลต่อดุลยภาพ ระหว่างคนกับธรรม หรือแม้แต่คนกับคน ถ้ามีดุลยภาพ คนก็อยู่ดี ธรรมก็อยู่ได้

ในด้านจิตภาพ จิตของคนก็คือธรรม สิ่งที่เข้าสู่จิตของคนก็คือธรรม สิ่งที่อยู่นอกจิต คนก็คือธรรม

ธรรมใดที่อยู่ภายนอกจิต ที่เป็นพิษภัยกับจิต เมื่อจิตรับเข้าไปในจิต ก็จะทำให้จิตพิกลพิการ นั่นคือธรรมเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรม

ธรรมใดที่อยู่นอกจิต แต่เป็นธรรมที่จะช่วยจรรโลงจิต เมื่อจิตรับเข้าไปสู่จิต จิตก็จะสดชื่นแจ่มใส จนถึงจิตเกษม นั้นคือธรรมเป็นตัวหนุนธรรม

คนคือธรรม สิงที่อยู่ข้างในคน นอกคน ก็คือธรรม คนต้องสัมพันธ์กับธรรม และธรรมต้องสัมพันธ์กับคน คนต้องอาศัยธรรม ธรรมก็ต้องอาศัยคน เพราะคนก็เป็นทั้งปฏิปักษ์และตัวหนุนธรรม

คนจึงต้องเชื่อมโยงอยู่กับธรรม และธรรมก็ต้องเชื่อมโยงกับคน เพราะคนกับธรรมต้องอาศัยกันและกัน อย่างเป็นเอกภาพและดุลยภาพ นั่นเอง

6. สรุป

คนกับธรรม ก็คือธรรม
คนกับธรรม มาจากธรรม
คนกับธรรม ก็เพื่อธรรม

คนกับธรรม เชื่อมโยงกัน ตลอดเวลา และทุกที่ เพราะเป็นเหตุ เป็นปัจจัยต่อกัน คนเป็นปัจจัยให้เกิดธรรม ธรรมเป็นปัจจัยให้เกิดคน

ธรรมมี ธรรมขาว ธรรมดำ และธรรมกลาง ๆ คือ กุศลธรรมและอกุศลธรรมและอัพพยากตกรรม
คนมี คนขาว คนดำ คนไม่ขาวไม่ดำ คือ คนดี คนไม่ดี คนกลางๆ

คนดี คือกุศลธรรม คนไม่ดีคืออกุศลธรรม คนกลางๆ คือ อัพยากตธรรม

ธรรมว่าโดยลักษณะมี 2 คือ รูปธรรมและนามธรรม
ธรรมว่าโดยระดับก็มี 2 คือ โลกยธรรม และโลกุตรธรรม

คนรู้ธรรมเข้าใจและเข้าถึงธรรม จะมองไม่เห็นคนไม่เห็นธรรม ไม่เห็นดำ ไม่เห็นขาว ไม่เห็นยาวไม่เห็นสั้น เพราะธรรมคือจิตของเขาหมดกุศลธรรมและอกุศลธรรม หมดธรรมขาว ธรรมดำ เขาเป็นธรรมที่เหนือธรรม

นั้นคือ สุญญตธรรม ธรรมที่อาจารย์พุทธทาสเรียกว่า "ความว่าง" (emtiness)
นั้นคือ นิพพานธาตุ หรือนิโรธธาตุ คือ ธาตุแห่งความดับ
นั้นคือ ยะโฮรา นั้นคือ อัลเลาะห์ นั้นคือ ปรมาตมัน

คำว่าธรรมกับคน หรือคนกับธรรม ก็เป็นดังนี้แล

ผู้เขียนก็รู้และเข้าใจเรื่องนี้แค่นี้แล ท่านจะว่าอย่างไร ก็แล้วแต่ใจท่าน ใครจะคัดค้าน หรือเห็นด้วยก็ไม่ว่า


สัจกวี : คนกับธรรม

คำว่าคน กับธรรม จำใส่จิต
ไม่ต้องคิด ให้ลึก นึกสับสน
ทั้งนอกตัว ในตัว ทั่วทุกคน
ไม่วกวน คือ ธรรม จำเถิดนา

มีธรรมเทียม ธรรมแท้ ของแน่จิต
มีแค่คิด ให้ดูไม่มุสา
มีธรรมดี ธรรมด้อย คอยนำพา
ให้ชีวา มนุษย์ จุดสำคัญ

ใครรู้ธรรม นำจิต ให้คิดนึก
ช่วยให้ฝึก กายใจ ได้ขยัน
กายสะอาด จิตสงบ พบชีวัน
เกษมสันติ์ มีสว่าง ขึ้นกลางใจ

นั้นคือ คนถึงธรรม ธรรมถึงคน
เป็นเหตุผล ของธรรม นำสดใส
เรียกอิทัป ปัจยตา พาก้าวไกล
โลกสดใส ก็เพราะธรรม ชื่นฉ่ำเอย