ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะกับเรา  (อ่าน 1632 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลูกผู้ชายตัวจริง

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 741
  • เพศ: ชาย
  • กูจะกลับมากู้แผ่นดิน ให้พ้นภัยศัตรู
    • MSN Messenger - namo159@HOTMAIL.COM
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ธรรมะกับเรา
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 03:22:27 »
(เรื่องนี้ ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ พาณิชย์-บัญชี, ฉบับ กรกฎาคม ๒๔๙๐)

ท่านภิกษุ พุทธทาส อินทปัญโญ สำนักอยู่ในสวนโมกขพลาราม ไชยา สำนักนี้เป็นที่ปฏิบัติธรรม หรืออีกนัยหนึ่ง คือเป็นฝ่ายอรัญวาสี ท่านพุทธทาส อินทปัญโญ เป็นผู้ปฏิบัติธรรม และปรากฏมาแล้วว่า ปฏิบัติมาด้วยดี ท่านได้พยายามเร้าความสนใจของพุทธบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งรุ่นใหม่ให้สนใจในแก่นของพระธรรม ดังที่ปรากฏแพร่หลายโดยบทความบ้าง โดยปาฐกถาบ้าง บทความข้างล่างนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่บุคคลในระดับนิสิตแห่งมหาวิทยาลัย.

(บันทึกของบรรณาธิการ พาณิชย์ - บัญชี)

ท่านบอกให้ฉันช่วยเขียนเรื่องหน้าที่ และวิธีที่เราจะต้องปฏิบัติต่อ "ธรรมะ" ก็คำว่า ธรรมะนั้น โดยพยัญชนะมีอย่างเดียว. แต่โดยความหมายแล้วมีหลายอย่าง หลายขนาด; ฉันจึงไม่ทราบว่าให้เขียนธรรมะอย่างไหนแน่ กำลังไม่แน่ใจอยู่ ก็เกิดความคิดว่า ในขั้นต้นนี้เขียนเผื่อให้หลายๆ อย่างดีกว่า, เมื่อท่านเลือกชอบใจอย่างไหนแล้ว มีเวลาจึงค่อยเขียนกันเฉพาะธรรมะอย่างนั้นให้ละเอียด ก็คงสำเร็จตามประสงค์.

คำว่า "ธรรมะ" นี้ โดยศัพทศาสตร์หรือนิรุกติศาสตร์ แปลว่า สิ่งซึ่งทรงตัวมันเองอยู่ได้ หรือโดยควาหมายก็ได้แก่ สิ่งทั้งปวงนั่นเอง ไม่มีอะไรที่ไม่ถูกเรียกว่า ธรรม ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งเปลี่ยนแปลง หรือเป็นสิ่งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็ตาม สิ่งทั้งหลายประเภทที่เปลี่ยนแปลง ก็ทรงตัวมันอยู่ได้ด้วยการเปลี่ยนแปลง หรือโดยพฤตินัยก็ตัวความเปลี่ยนแปลงนั่นเอง คือตัวมันเอง. ส่วนสิ่งทั้งหลายประเภทที่ไม่เปลี่ยน ก็ทรงตัวอยู่ได้ด้วยความไม่เปลี่ยนแปลง หรือตัวความไม่เปลี่ยนแปลงนั่นเอง เป็นตัวมันเอง. ทั้งสองประเภทนี้ ล้วนแต่ทรงตัวเองได้ จีงเรียกมันว่า "ธรรมะ" หรือ "ธัมม" แล้วแต่ว่าจะอยู่ในรูปภาษาบาลี สันสกฤต หรือภาษาไทย คำว่าธรรม โดยศัพทศาสตร์ ตรงกับคำไทยแท้ว่า "สิ่ง" เป็นสามัญญนาม หมายถึงได้ทุกสิ่ง และมีคุณลักษณะคือการทรงตัวมันเองตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หน้าที่อันเราจะต้องประพฤติต่อมัน ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า เฉยๆ เสียก็แล้วกัน อย่าขันอาสาเข้าไปแบกไปทรงให้มันแทนตัวมันเลย. นี้คือคำว่า "ธรรม" โดยความหมายรวมและเป็นกลางที่สุด.

แต่คำว่า ธรรม นี้ ถูกนำไปใช้โดยขนาดและอย่างต่างๆ กัน มุ่งหมายต่างกัน เลยทำให้ฟั่นเฝือไปได้ ฉะนั้นในกรณีหลังนี้ ต้องพิจารณากันทีละอย่างเช่น :-

คำว่า "ธรรมะ" ที่มาในประโยคว่า "ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นไม่ไปทุคติ" นั้น, คำนี้หมายถึงศีลธรรมทั่วไป. หน้าที่ที่คนทั่วไปจะต้องประพฤติก็คือ ช่วยกันบังคับตนเองให้ประพฤติ. ศีลธรรมของคนทั้งหลายที่ไม่ประพฤตินั้น ไม่ใช่เพราะไม่รู้ เป็นเพราะทุกคนพากันเหยียบรู้ ขอจงช่วยกันอย่าเหยียบรู้ต่อไปอีกเลย.

คำว่า "ธรรมะ" ที่มาในประโยคว่า "บัณฑิตควรละธรรมที่ดำ ควรเจริญธรรมที่ขาว" นั้น. ธรรมคำนี้มีความหมายตรงกับคำว่า การกระทำ คือเราอาจพูดให้ชัดเจนเสียใหม่ว่า "บัณฑิตควรละการกระทำที่ดำ ควรเจริญการกระทำที่ขาว" ในกรณีที่คำว่า ธรรมะตรงกับคำว่า การกระทำ (Action) มีอรรถะเป็นกลางๆ เช่นนี้ เรามีหน้าที่ทำแต่สิ่งที่ดี.

คำว่า "ธรรม" ที่มาในประโยคว่า "เขายังห่างไกลจากธรรมนั้นอย่างกะฟ้ากับดิน แม้ว่าเขาจะฟังเทศน์ทุกวันพระ" นี้มีความหมายตรงกับสถานะหรือ State ชั้นหนึ่งๆ ตามแต่ท่านจะบัญญัติธรรมไว้เป็นชั้นๆ อย่างไร. เรามีหน้าที่ในเรื่องนี้ คือรีบเลื่อนชั้นให้ตัวเอง ให้สมกับเกียรติของตัว.

คำว่า "ธรรม" ที่มาในประโยคว่า "สังขารทั้งหลายมีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรม (อุปฺปาทวยธมฺมิโน)" ; คำนี้ตรงกับคำว่า ธรรมดา (Nature) หน้าที่ของเราคือบางอย่างควรเรียนและสังเกตอย่างเต็มที่ บางอย่างเอาแต่เพียงเอกเทศ.

ในประโยคว่า "พระพุทธเจ้าเกิดในโลกเพื่อประกาศสัจธรรม" เช่นคำว่า ธรรม หมายถึงกฏธรรมดา (Law of Nature) เช่นว่า ทุกข์ต้องเกิดมาจากสิ่งนั้น ความดับทุกข์มีได้เพราะสิ่งนั้น. หรือว่า สิ่งทั้งปวงต้องเป็นอย่างนั้นๆ เป็นต้น. หน้าที่ของเรา คือต้องทำตัวให้เข้ากันได้กับกฏนั้นบ้าง รู้จักนำเอากฏนั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์บ้าง. (คำว่าสัจธรรมในที่นี้ ใช้คำว่า ธัมม เฉยๆ แทนได้).

ในประโยคว่า "เสียทรัพย์เพื่อไถ่เอาอวัยวะไว้ เสียอวัยวะเพื่อไถ่เอาชีวิตไว้. ยอมเสียทั้งหมดนั้น เพื่อเอาธรรมไว้" เช่นนี้ คำว่า "ธรรมะ" หมายถึง "ความถูกต้อง" หรือ Righteousness หน้าที่ของเรา คือ เลือกเอาเองตามใจชอบในทางที่ถูกต้อง.

ในประโยคว่า "ตัดสินคดีไม่เป็นธรรมกล่าวหาไม่เป็นธรรม" เหล่านี้ คำว่า ธรรม หมายถึง ความยุติธรรม (Justice of Justness) หน้าที่ของเราคือ ระวังให้เป็นธรรม.

ในประโยคที่พระท่านสวดเมื่อสวดศพ ว่า กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา "ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล, ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล, ธรรมทั้งหลายที่ท่านไม่บัญญัติว่า เป็นกุศลหรืออกุศล" เช่นนี้คำว่า ธรรม เป็นคำกลางๆ มีความหมายตรงกับคำว่า "สิ่ง" หน้าที่ของเราโดยทางปฏิบัติ ยังกล่าวไม่ได้ว่า คืออะไร เพราะยังไม่ได้ยุติว่าจะเอาความหมายกันตรงไหน. นี่เพื่อชี้ให้เห็นว่า คำว่า ธรรม ในภาษาบาลีนั้น กว้างขวางเพียงไร. คือถ้าไม่มีคุณนามประกอบแล้ว คำว่า ธรรมในที่เช่นนี้ไม่มีความหมายอะไรมากไปกว่าคำว่า สิ่ง นั้นเลย. สิ่ง เท่ากับ Thing.

ในประโยคว่า "เมื่อธรรมทั้งปวงถูกเพิกถอนแล้ว วาทบถทั้งหลายก็พลอยถูกเพิกถอนตามไปด้วย" (สพฺเพสุ ธมฺเมสุ สมูหเตสุ สมูหตา วาทปถาปิ สพฺเพ). คำว่า ธรรมในที่นี้ หมายถึงแต่สิ่งต่างๆ ที่อยู่ในวงของความยึดมั่นถือมั่นของสัตว์ ได้แก่คำว่า "สิ่ง" เหมือนกัน แต่กันเอามาเฉพาะประเภทที่เกี่ยวกับการยึดถือ ไม่ทั่วไปแก่สิ่งที่ไม่ยึดถือ แคบกว่าข้อข้างบนเล็กน้อย. ตัวอย่างในเรื่องนี้ เช่น เงิน ทอง ลูก เมีย ข้าวของ เป็ด ไก่ วัว ควาย ฯลฯ ถ้าใครถอนความยึดมั่นว่า เป็นสัตว์ เป็นคน ตัวตน เรา เขา ของเรา ของเขาเสียได้แล้ว เห็นเป็นสักว่า สังขารเสมอกัน ชื่อที่เรียกสิ่งเหล่านั้นก็พลอยไม่มีความหมายไปด้วยสำหรับผู้นั้น. นี้คำว่า ธรรมตรงกับ "สิ่งที่ถูกยึดถือ" คืออุปาทานักขันธ์ ที่มีความยึดถือ, หน้าที่ของเราในธรรมประเภทนี้ก็คือ คิดเพิกถอน อย่ายึดถือ จะได้สงบเย็น ไม่ขึ้นๆ ลงๆ ไปกับธรรมเหล่านั้น.

ในประโยคว่า "ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตทรงแสดงเหตุของธรรมเหล่านั้น (เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุํ ตถาคโต)" คำว่าธรรมในที่นี้ได้แก่ "สิ่งซึ่งเป็นผล" ซึ่งมีเหตุปรุงแต่งขึ้น และกำลังบังคับให้เป็นไปตามอำนาจของเหตุ สิ่งซึ่งเป็นผล หรือ Phenomena เหล่านี้ เรามี หน้าที่จะต้องค้นหาเหตุของมันให้พบ แล้วจัดการกับเหตุนั้นๆ ตามที่ควรจะทำ. เช่นทุกข์เป็นผลของความทะยานอยาก เราจัดการสับบลิเมตหรือเปลี่ยนกำลังงานของความอยากนั้น เอามาใช้เป็นกำลังงานของความรู้สึกทางปัญญา ทำไปตามความรู้สึกที่ถูกที่ควร ไม่ทำตามอำนาจของความอยากนั้นๆ ทุกข์ก็น้อยลงและหมดไปในที่สุด

ออฟไลน์ ลูกผู้ชายตัวจริง

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 741
  • เพศ: ชาย
  • กูจะกลับมากู้แผ่นดิน ให้พ้นภัยศัตรู
    • MSN Messenger - namo159@HOTMAIL.COM
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ธรรมะกับเรา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 03:24:36 »
ในประโยคว่า "พระนิพพานเป็นธรรมที่ปลอดจากโยคะ ไม่มีธรรมใดยิ่งไปกว่า"  เช่นนี้ คำว่า ธรรม หมายถึง (Thing) สิ่งใดสิ่งหนึ่งในบรรดาสิ่งทั้งหลาย เช่นเดียวกับสิ่งอื่นเหมือนกัน หาความหมายในทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งมิได้ เพราะเป็นนามศัพท์กลางเช่นเดียวกับคำว่า "สิ่ง" ในภาษาไทย หรือคำว่า (Thing) ในภาษาอังกฤษ ที่เกี่ยวกับคำว่า "ธรรม" ล้วนๆ ในประโยคนี้ หน้าที่ยังไม่เกิด.

ในประโยคว่า "เขาได้รับประโยชน์ตอบแทนในทิฏฐธรรม" (ทิฏฐธรรม แปลว่า ธรรมอันสัตว์เห็นแล้ว) ในประโยคเช่นนี้ คำว่า ธรรมตรงกับคำว่า เวลา หรือแปลว่าเวลา; ในทิฏฐธรรม ก็คือภายในเวลาที่ผู้นั้นเห็นได้ด้วยตนเอง คือในชาตินี้ ไม่ต้องรอถึงชาติหน้า. ในกรณีที่แปลว่า เวลาเช่นนี้ คำว่า ธรรมล้วนๆ ยังไม่ก่อให้เกิดหน้าที่อะไร เช่นเดียวกับข้อที่แล้วมา.

ในประโยคว่า "บุคคลผู้บรรพชา อุปสมบทแล้ว ไม่พึงเสพเมถุนธรรม" เช่นนี้ คำว่า ธรรม แปลว่า การกระทำ เป็นคำกลางยิ่งกว่าในประโยคที่ว่า บัณฑิตควรละธรรมดำ เจริญธรรมขาว เป็นเพียงการทำ (Doing) กลางๆ ทั่วไป ไม่มุ่งแสดงในทางดีชั่วและเป็นศัพท์นามธรรมดาคำหนึ่ง ไม่มีความหมายเกี่ยวกับทางธรรมหรือทางโลกอะไรๆ หมด ต่อเมื่อมีคำอื่นประกอบเข้าจึงมีความหมายไปในทางใดทางหนึ่ง เช่นในที่นี้ประกอบกันเป็น เมถุนธรรม แปลว่า การกระทำของคนคู่ คือสตรีกับบุรุษ. คำว่า ธรรมล้วนๆ ในที่นี้ ไม่มีความหมายอันจะก่อให้เกิดหน้าที่ และเป็นเช่นเดียวกับสองข้อที่แล้วมา. (ยกมาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เห็นว่า คำว่า ธรรม ในภาษาบาลีนั้น ท่านใช้กันมากมายหลายประเภทอย่างไร)

ในประโยคว่า "เขากล่าวธรรมของตัวเองว่าบริบูรณ์ กล่าวธรรมของผู้อื่นบกพร่อง (สกํ หิ ธมฺมํ ปริปุณฺณมาหุ อญฺญสฺส ธมฺมํ ปน ปีนมาหุ)" เช่นนี้คำว่าธรรม ตรงกับคำว่าลัทธิ คือกล่าวให้ชัดก็กล่าวเสียใหม่ว่า "ลัทธิของฉันถูกต้องครบถ้วน ลัทธิของท่านไม่ครบถ้วน" ดังที่เช่นนักศาสนาชอบกล่าวกันในบัดนี้ เพื่อยกศาสนาของตนเอง. ให้เห็นว่ามีอะไรครบ สมควรยกขึ้นเป็นศาสนาสากลของโลก คำว่า ธรรม ที่ตรงกับคำว่า ลัทธิ (Dogma) เช่นนี้ถือว่ายังไม่เกิดหน้าที่เช่นเดียวกัน แต่ถ้าจะให้เกิดหน้าที่ก็คือระวัง เลือกลัทธิที่จะเอามาถือให้ดีๆ.

ในประโยคว่า "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ย่อมฟังธรรมโดยเคารพ ย่อมเรียนธรรมโดยเคารพ (อิธ ภิกฺขเว สกฺกจฺจจํ ธมฺมํ สุณนฺติ, สกฺกจฺจํ ธมฺมํ ปริยาปุณนฺติ)" เช่นนี้ คำว่า ธรรม หมายถึง ปริยัติธรรม เช่น เรียนพระไตรปิฎก เรียนนักธรรม เรียนบาลี สรุปก็คือ การเรียนด้วยตำราหรือคัมภีร์ทุกอย่าง หน้าที่ของเราเกี่ยวกับธรรมในที่นี้คือ อุตส่าห์เรียน อุตส่าห์ฟัง อุตส่าห์คิด อุตส่าห์จำ อุตส่าห์ถาม ไว้นั่นเอง.

ในประโยคว่า "ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม (ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี)" เช่นนี้ คำว่า ธรรม ได้แก่ ปฏิบัติธรรม หรือ การปฏิบัติ ไม่หมายเฉพาะการเรียนเฉยๆ หน้าที่ของเราในคำว่า ธรรมชนิดนี้ ก็คือการปฏิบัติเหมือนกัน. ต้องปฏิบัติจริงๆ เพียงแต่เรียนรู้นั้นไม่พอ หรือจะนอนรออำนาจธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ประจำโลกอย่างเดียวก็ไม่ไหวแน่ รีบปฏิบัติอย่างลืมหูลืมตาเท่านั้น จึงจะเอาตัวรอดได้

ในประโยคว่า "ผู้ปีติในธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข (ธมฺมปีติ สุขํ เสติ)" เช่นนี้ คำว่า ธรรม หมายถึง ปฏิเวธธรรม คือผลของการปฏิบัติ กล่าวคือ มรรคที่ตนได้บรรลุแล้ว หรือเรียกสั้นๆ ก็คือ ผลแห่งการปฏิบัติ ความปีติที่จะเกิดขึ้นได้ในธรรมนั้น เกิดได้เฉพาะแต่ในธรรมที่ตนเองได้บรรลุแล้วเห็นแล้วเท่านั้น แม้จะเล็กน้อยเพียงไรก็ต้องเป็นธรรมที่ตนบรรลุแล้วเห็นแล้ว มิฉะนั้นปีติไม่เกิดขึ้น คำว่า ธรรมในที่นี้จึงหมายถึงปฏิเวธ หน้าที่ของเราทั้งโดยตรงและโดยอ้อมคือ พยายามหามาชิมดูบ้างอย่าเห็นเป็นของครึ.

ในประโยคว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ผู้ใดไม่เห็นธรรม ผู้นั้นแม้จะคอยดึงมุมจีวรของเราไปไหนด้วยกัน ก็หาชื่อว่าเห็นตถาคตไม่" เช่นนี้ คำว่า ธรรม หมายถึงความหมดกิเลส เป็นความประเสริฐชนิดที่มีในเมื่อเมื่อประพฤติธรรมสำเร็จแล้ว แม้บางส่วนหรือทั้งหมด จนเห็นชัดว่า คนที่บริสุทธิ์ คนที่สว่างแจ่มแจ้ง คนที่เป็นสุขสงบเป็นอย่างนี้ๆ ทำให้เห็นว่า พระอรหันต์ ท่านผิดกับคนธรรมดา ก็ที่ตรงนี้เอง ชื่อว่าเห็นธรรมในที่นี้ คำว่าธรรมในที่นี้  จึงหมายถึงความเป็นพระอรหันต์หรือพระพุทธเจ้า. หน้าที่ของเราในเรื่องนี้มีว่า เราจะต้องรู้เหมือนที่พระพุทธเจ้าท่านทรงรู้ พ้นความดีและความชั่วเหมือนที่พระพุทธเจ้าท่านพ้น โดยเฉพาะคือรู้อริยสัจ ๔ กระทั่งเสวยผลแห่งความรู้นั้นอยู่ด้วยใจตัว.

ในประโยคว่า "ธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เราขอนอบน้อมธรรมนั้น สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม ตํ ธมฺมํ นมสฺสามิ" เช่นนี้ คำว่า ธรรม ในที่นี้ หมายถึงเฉพาะคำสอนที่เป็นนิยยานิกธรรม คือที่ "ชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมศานต์ ชี้ทางพระนฤพาน อันพ้นโศกวิโยคภัย" เท่านั้น ไม่หมายถึงสิ่งทั้งปวงเหมือนบางข้อข้างต้น หน้าที่ของเราในที่นี้ คือเร่งพิจารณาให้อย่างหนักว่า ธรรมที่ตรัสไว้นั้นทนต่อการพิสูจน์ (เช่น สองบวกสามได้ห้า) จริงหรือไม่ จนเห็นว่าพระองค์ตรัสไว้ดีจริง คือไม่ผิดแล้วนอบน้อม คือทำตามเหมือนอย่างกะว่ามันเป็นสิ่งที่เราคิดค้นได้เอง ทำให้เกิดผลได้เอง.

ในประโยคว่า "พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ทรงเคารพใคร แต่ทรงเคารพธรรม" คำว่า ธรรม ในที่นี้ หมายถึงระเบียบอันบุคคลจะพึงประพฤติทั้งต่อตนเองและผู้อื่น แม้ว่าตนเองจะไม่ต้องการผลอันจะพึงได้จากการประพฤติตามระเบียบอันนั้น ก็เคารพในการที่จะรักษาระเบียบอันนั้นไว้ให้เป็นหลักของโลก, แม้ว่าตนจะพ้นแล้วจากบุญและบาป เป็นผู้ที่บุญและบาปไม่อาจฉาบทาติดได้อีกต่อไป ก็ยังคงเคารพต่อระเบียบแห่งการละบาปบำเพ็ญบุญ เพื่อให้ระบอบนี้ยังคงเป็นหลักเป็นประธานของโลกทั่วไป แม้ว่าตนเองจะพ้นทุกข์แล้ว ก็ยังคงเคารพต่อระเบียบของการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์, เพื่อพระองค์ทรงเห็นว่า การอยู่โดยปราศจากที่เคารพเป็นการไม่สมควร แต่พระองค์มองหาบุคคลใดเป็นที่เคารพไม่ได้ แม้แต่พระพุทธเจ้าด้วยกัน, พระองค์จึงทรงเคารพธรรม คือระเบียบแห่งความจริง (Truth system) ตามที่ควรจะมีประจำโลกอยู่อย่างไรตลอดอนันตกาล คำว่าธรรมในกรณีที่แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็ทรงเคารพเช่นนี้ หน้าที่ของเราก็คือ เคารพเหมือนกัน ได้แก่เคารพตัวเอง ที่รู้สึกว่า กำลังรักษาความดีไว้ให้คงมีอยู่ในตัวเอง และงอกงามไปจนกระทั่งดีที่สุดเป็นต้นไป จนกระทั่งเคารพระเบียบแห่งธรรมที่ทนต่อการพิสูจน์ ไม่มีความประมาทแม้แต่น้อย ผู้ใหญ่ที่ดูถูกระเบียบปฏิบัติของเด็ก ย่อมทำให้เด็กหมดกำลังใจในการที่จะรักษาระเบียบนั้น. ทั้งนี้เนื่องจากผู้ใหญ่คนนั้นเขลาไปว่า ระเบียบนั้นมีเด็กมีผู้ใหญ่ไปตามคนผู้ปฏิบัติด้วย. ถ้ามองเห็นว่าระเบียบทั้งหลายเป็นอันเดียวกัน ไม่มีเด็กผู้ใหญ่ไปตามคนผู้ปฏิบัติแล้ว ก็จะเป็นผู้ที่เคารพระเบียบได้เต็มที่ เช่นเดียวกับที่พระพุทธเจ้าท่านเคารพระเบียบ

ในประโยคยาวที่ว่า "แม้เขาฟัง ธรรม น้อย แต่เห็นธรรมด้วยนามกาย เขานั่นแหละชื่อว่า ผู้ทรงธรรม" คำว่า ธรรม ทั้งสามคำนี้ ต่างกันทั้ง ๓ คำ คำแรกหมายถึง คำสอน (Body of the Teaching) คำที่สองหมายถึง ผลของการปฏิบัติธรรม ที่เขาทำให้เกิดขึ้นได้แล้ว คำที่สามหมายถึง รูปร่างแห่งการปฏิบัติธรรม. อันมีอยู่ที่เนื้อที่ตัวของเขา. ประโยคนี้ทั้งประโยคให้เกิดหน้าที่ คือ ได้เล่าเรียนมากหรือน้อยไม่สำคัญ ขอแต่ให้ได้รู้รสของธรรมบ้างเป็นอย่างน้อยก็แล้วกัน; จะมีความสุขด้วย จะมีเกียรติว่าเป็นผู้ประพฤติธรรมหรือมีธรรมด้วย. การเรียนจบพระไตรปิฏกแต่ไม่เห็นธรรมนั้น ไม่มีทางที่จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรมเลย. เป็นหนอนหนังสือ หรือคนหาบใบลานมากกว่า.

ฉันเขียนมาให้ท่านเลือกมากพอแล้ว, จะเขียนให้หมดจริงๆ ท่านก็จะอ่านไม่ไหว และเลือกไม่ไหวตาลาย. เมื่อท่านดูธรรมะเข้าที่เหลี่ยมใดเหลี่ยมหนึ่ง เข้าตาท่านแล้ว ท่านจงดูเหลี่ยมนั้นให้มาก มันก็จะทะลุไปยังเหลี่ยมอื่นได้เอง และปรุโปร่งไปหมด ธรรมะกับเราจะพบกันแล้วจัดการอย่างไรนั้น ปัญหาข้อนี้อยู่ที่ว่า หมายถึงธรรมะอันไหนหรือคำไหนเสียก่อน. ท่านต้องเลือกเอาเองเฉพาะคน เป็นคนๆ ไป เพราะมาจากจุดตั้งต้นที่ผิดกัน. โลกสมัยนี้เขาไม่มีเวลาที่จะคิดธรรมะ หรือไม่มีแม้แต่จะอ่านจะฟัง ย่อมเป็นการยากอยู่ที่เขาจะนำธรรมะไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ มิหนำซ้ำยังไม่ทราบว่า จะต้องการธรรมะ ตามความหมายของคำว่า ธรรมะคำไหนด้วยซ้ำไป.

หอสมุดธรรมทาน

พุทธทาสภิกขุ