ผู้เขียน หัวข้อ: การเจริญพระกรรมฐาน: สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา  (อ่าน 3206 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
เนื่องจากเป็นผู้ศึกษามือใหม่ เป็นต้องคัดลอกบทความของท่านอื่นมาศึกษาและแบ่งปัน แต่เข้าใจว่าเป็นธรรมะที่แสดงโดยองค์พระปฐมบรมศาสดา
หากพบว่าผิดเพี้ยน บิดเบียนไป โดยได้ชี้แนะด้วยเทอญ :054:
===========================
การเจริญพระกรรมฐาน: สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา

1. สมถภานา

สมถะภาวนาและวิปัสสนาภาวนา แท้ที่จริงอยู่ควบคู่กันไป จะแยกทำอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านสอนแยกตามความหมายตามตัวอักษรเพื่อความเข้าใจเท่านั้น ในทางปฏิบัติแล้วเป็นไปด้วยกัน ถ้าเอาอย่างหนึ่งอย่างใดก็ไม่สำเร็จมรรคผล แม้ผู้ที่คิดว่าเจริญวิปัสสนาญาณอย่างเดียวนั้น ท่านที่เจริญวิปัสสนาญาณได้ ก็ต้องมีจิตเป็นสมาธิเสียก่อน จึงพิจารณาเป็นวิปัสสนาญาณ เห็นทุกข์โทษของขันธ์ 5 ได้ ถ้าไม่มีสมาธิ ก็ไม่สามารถคิดวิปัสสนาตามความต้องการได้ เพราะจิตคิดฟุ้งซ่าน ไปเรื่องทางรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่ชอบใจ หรือวิตกกังวล ตามประสาปุถุชน

สมถะพระกรรมฐานมี 40 กอง ทุกกองทำเป็นวิปัสสนาได้ทุกรูปแบบ ถ้าฉลาดทำเป็นไตรลักษณ์ เป็นอุบายเพื่อรักษากำลังใจให้สงบจากอารมณ์ชั่วคือนิวรณ์ นิวรณ์มี 5 ประการดัง

1) มัวเมาในสมบัติโลก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส พอใจในคน สิ่งของที่หลงรัก
2) ความโกรธ ความไม่พอใจ รำคาญ พยาบาท
3) ความง่วงเหงา หาวนอน ในขณะที่ทำสมาธิภาวนา
4) จิตความฟุ้งซ่าน วิตกกังวล ก็ระงับโดยตั้งอารมณ์จิตไว้เฉพาะลมหายใจเข้าออกหรือพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้เป็นอารมณ์เดียว
5) สงสัยในผลของการปฏิบัติ สมาธิ ภาวนา ว่าจะมีผลดี หรือไม่มีผล เป็นวิจิกิจฉาลังเลใจอยู่ในสังโยชน์ กิเลสเครื่องร้อยรัดในข้อ 2 ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไป ไม่มีที่จบสิ้น


2. วิปัสสนาภาวนา

คือการค้นคว้าหาความจริงของร่างกาย ว่าการเกิดเป็นคนนั้น เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เกิดมาแล้ว แก่ ทรุดโทรม ต้องเหนื่อยยากลำบากกายใจ หาเลี้ยงชีวิตครอบครัว มีป่วยไข้ ไม่สบาย ต้องต่อสู้กับอารมณ์ของคน ภัยธรรมชาติสิ่งแวดล้อม พอจะสบายหน่อยก็หูตาฝ้าฟาง ฟันร่วง กระดูกกรอบ เจ็บป่วย ตายในที่สุด ถ้าร่างกายยังแข็งแรงดีอยู่ ก็ดูคนป่วยคนตาย เราจะหนีไม่พ้นภาวะแบบนี้


ที่มา
http://www.sangthipnipparn.com/luktampratanporn/kanjaroenprakamatan.html

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 มิ.ย. 2554, 10:19:51 โดย ทรงกลด »
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
วิปัสสนาพระท่านสอนไว้มี 3 แบบ คือ

1. พิจารณาตามแบบวิปัสสนาญาณ 9 ตามหนังสือวิสุทธิมรรคที่ท่านพระ พุทธโฆษาจารย์แปลไว้จากพระไตรปิฎก คือ

1.1 อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้น ดับไป ตายไปของขันธ์ 5 ร่างกาย ความคิด ความเจ็บปวด เกิด ๆ ตาย ๆ ตลอดเวลา

1.2 ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความสูญสลาย ดับไปของร่างกาย ความคิด ความจำ ความรู้สึกสุขทุกข์ ความรัก ความเจ็บปวด (วิญญาณ) ความรู้สึกประสาททั้ง 6 เป็นของร่างกาย ไม่ใช่จิตดับ เป็นเพียงวิญญาณระบบประสาทตาย

1.3 ภยตูปัฏฐานญาณ สังเกตวิจัยรูป กายเขากายเรา เป็นของน่ากลัว มีภัย อันตรายรอบด้าน ให้จิตต้องแก้ไขตลอดเวลา เป็นปัญหา เป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัวตั้งแต่เกิดจนแก่ เป็นภาระหนัก

1.4 อาทีนวานุปัสสนาญาณ อาทีนวานุปัสสนาญาณ สังเกต วิจัย หรือเฝ้าดูว่าร่างกาย รูป นาม ความคิด ความรู้สึก ความจำ ประสาท ความรู้สึกทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นของยุ่งยาก เป็นโทษ เป็นทุกข์ มีภาระปรับปรุง ต้องแก้ไขตลอดเวลา เพราะมีการเปลี่ยนแปลงมิได้หยุดยั้ง ต้องเหน็ดเหนื่อย คอยเอาใจใส่ดูแลใจใส่ดูแลให้ดี

1.5 นิพพิทานุปัสสนาญาณ คิดพิจารณาดูว่าร่างกาย ( รูป นาม ) หรือขันธ์ 5 เป็นของน่าเบื่อหน่าย เป็นภาระ เป็นทุกข์ เป็นโทษ เป็นของหน้ากลัวมีแต่สลายตัว ทำให้เจ็บปวดกายปวดใจตลอดเวลา ที่ยังไม่รู้สึกเบื่อหน่ายเพราะเรามัวแต่วิ่งเอาความสุขทางรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส มาปกปิดไว้ จึงมองไม่เห็น เรียกว่า อวิชชา ไม่มีปัญญาเห็นความเป็นจริงของรูปร่างกาย เป็นความหลง หรือ มีอุปาทาน คิดว่าเกิดเป็นคนมีความสุข

1.6 มุญจิตุกามยตาญาณ คิดพิจารณาเพื่อให้จิตที่อาศัยอยู่ชั่วคราวในขันธ์ 5 (รูป นาม) นี้ พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดเสีย โดยตั้งใจจะทำความด้วย ศีล สมาธิ วิปัสสนาภาวนา เพื่อให้มีปัญญา กำจัดอวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม ให้หมดไปในชาตินี้ (ภพ นาม รูป วิญญาณ สังขาร)

1.7 ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ คิดพิจารณาปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากสังขารคือ ขันธ์ 5 (รูป นาม)นี้ โดยเดินทางสายกลาง มรรค 8 ตามพระพุทธองค์ทรงสั่งสอน เพื่ออริยมรรคผลมีพระนิพพานเป็นที่อยู่เป็นสุข
1.8 สังขารุเปกขาญาณ คิดพิจารณาใคร่ครวญ เห็นว่าควรจะทำให้จิตวางเฉยในความทุกข์ ความสุขของร่างกาย (รูป นาม ขันธ์ 5 ) ตลอดจนทรัพย์สมบัติที่เสียไปก็ปลงใจตัดได้ว่าเป็นธรรมดาของโลกจะต้องสูญสลายไปแบบนี้ มีจิตสบายไม่มีความหวั่นไหว เสียใจน้อยใจเกิดขึ้น ร่างกายเจ็บป่วยตาย ก็เป็นเรื่องของร่างกาย รู้แล้วว่าจิตไม่ตายตามร่างกาย จิตเป็นคนละส่วนกับกาย จิตเป็นธรรมชาติที่แท้จริง ไม่สูญสลาย กายขันธ์ 5 เป็นธรรมชาติของโลกมีสูญสลายเป็นปกติ เป็นของโลก เป็นของหลอกลวง

1.9 สัจจานุโลมิกญาณ พิจารณาใคร่ครวญ ย้อนไปย้อนมา ให้เห็นความจริงของชีวิตว่า ร่างกายเป็นแดนของความทุกข์ทั้งปวง เพราะร่างกายเป็นสมบัติของกิเลส ตัณหา อุปาทาน ถ้าเอาจิตไปยึดติดกับร่างกาย ก็มีแต่ปัญหา วุ่นวายใจ ไม่จบสิ้น
จุดที่จะดับความทุกข์ให้หมดสิ้นไป ก็เดินตามสายกลาง ไม่ง่ายไม่ยาก ไม่ขี้เกียจ ไม่ขยัน ไม่เคร่งเครียดเกินไป ในทางปฏิบัติ มรรค 8 ย่อลงมาเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะมีศีล 5 ครบ จึงมีสมาธิ เป็น(ฌาน คือความชิน เมื่อมีสมาธิเป็นความชิน ก็มีปัญญาความฉลาด หรือ วิชชา รู้เท่าทันสภาวะ ความเป็นจริงของชีวิตของโลก หมดความมัวเมาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ได้ชื่อว่ามีความเห็นจริง ในอริยสัจ 4 ทำให้คล่องแคล่วจนจิตหมดความโลภ ความโกรธ ความหลง มัวเมาในชีวิต จนหมดกิเลสในสังโยชน์ 10 ประการ



ที่มา
http://www.sangthipnipparn.com/luktampratanporn/kanjaroenprakamatan.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
2. วิปัสสนาโดยการตั้งจิตให้ระลึกถึง มหาสติปัฏฐานสูตร

วิปัสสนา โดยการตั้งสติให้ระลึกถึง มหาสติปัฏฐานสูตร เอกายโน อยัง ภิกขเว มัคโค สัตตานัง วิสุทธิยา แปลว่า ทางนี้เป็นทางเอก เป็นทางของบุคคลคือเราผู้เดียวเท่านั้นที่รับ สุข รับทุกข์ เราผู้เดียวเท่านั้นปฏิบัติตนพ้นทุกข์ ถึงระนิพพานได้ ไม่มีใครมาช่วยเราได้ นอกจากเราผู้เดียว พิจารณาตนเองเป็นเพียงธาตุ 4 ดินน้ำ ลม ไฟ ประกอบกันชั่วคราว แล้วสลายตัว เปื่อยเน่า เมื่อยังไม่ตาย ก็มีแต่โรคภัยรบกวน เร่าร้อน ทุกข์สาระพัด ต้องดูแลร่างกาย เพื่อความสะอาดของจิต ให้มีสติ รู้ตัวพิจารณา

1) กาย คือ กายในที่อาศัยกายเนื้ออยู่ ดูลมหายใจ ดูความน่าเกลียด ดูเหมือนศพเน่า
2) เวทนา พิจารณาอารมณ์เป็นสุข ทุกข์ เฉย ของตนเองอยู่เสมอว่าว่า ไม่คง
3) จิต สติพิจารณาจิต มีนิวรณ์5 รบกวน พิจารณาขันธ์ 5 อายตนะ 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) โพชฌงค์ 7 ธรรมที่เป็นปัญญาช่วยให้ตรัสรู้ คือ หนึ่ง สติ สองธัมมวิจยะ สามวิริยะ มีความเพียร สี่ปิติ อิ่มใจ สี่วิปัสสัทธิ ความสงบใจ หกสมาธิ ความตั้งใจมั่น เจ็ดอุเบกขา การวางเฉย
4) ธรรม คือ การพิจารณาให้เห็นว่ารูป ร่างกาย นาม คือ ความรู้สึก ความจำ ความคิดอารมณ์ต่าง ๆ เป็นทุกข์ แปรปรวน และเสื่อมสลายตลอดเวลา มีวิญญาณคือประสาททั้ง 6 (อายตนะ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของจิต ไม่ควรเอาจิตสนใจกับอายตนะทั้ง 6 นั้น ถ้าจิตไปสนใจกายหรือวิญญาณ (อายตนะทั้ง 6) ก็มีแต่ความทุกข์ใจ ต้องเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด

วิปัสสนาแบบในพระไตรปิฏก ที่มีมาในขันธวรรค

          พิจารณาขันธ์ 5 คือร่างกาย ความคิด ความจำ เวทนา ความรู้สึกทุกข์หรือเฉย ๆ วิญญาณในขันธ์ 5 ที่พระพุทธองค์ทรงสอนนั้น ไม่ใช่จิตใจตามแบบที่คนทั่วไปคิด วิญญาณไม่ใช่จิต คนละอย่างกัน จิตคือผู้รู้ ผู้มีความนึกคิด จิตเป็นนาย จิตเป็นนายของวิญญาณ คือความรู้หนาวรู้ร้อนหิว กระหาย เผ็ดเปรี้ยว นุ่มนิ่ม แข็งกระด้างเป็นวิญญาณ ใจคืออารมณ์ พระองค์สอนว่าทั้ง 5 อย่างนี้ ไม่ใช่ตัวเราเป็นของปลอม เป็นสมบัติของโลก ของธรรมชาติ เกิดขึ้นจากพ่อแม่ อาหาร ธาตุดินน้ำลมไฟ ประชุมกันชั่วคราว ตัวเราจริงๆคือจิตแรกเริ่มประภัสสร สะอาด แต่มามัวหมอง สกปรก เพราะมีความอยาก ความรัก ความหลง ความโกรธ ความไม่รู้ความจริงของโลก มาครอบงำจิต จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไป นึกว่าจิตกับขันธ์ 5 เป็นอันเดียวกันแบบนี้ เป็นการเห็นผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็ต้องเดินหลงทางผิด ก็เวียนว่ายตายเกิดต่อไป ให้ดูร่างกายว่าไม่ใช่ของเรา จิตไม่ควรไปยึดถือจริงจังกับขันธ์ 5 อาศัยร่างกาย ทำความดี เพื่อจิตจะได้สะอาด ปราศจากกิเลส ไปอยู่พระนิพพาน หรือยังไม่ตาย จิตก็เป็นสุขยิ่งคือพระนิพพาน

จิตมาอาศัยขันธ์ 5 อยู่ชั่วคราว ขันธ์ 5 ตาย ร่างกายตายพร้อมกับวิญญาณ ความรู้สึกประสาท สมอง ความคิดดีชั่ว ความจำ ความรู้สึกสุขทุกข์ ตายร่วมกับร่างกาย จิตก็ท่องเที่ยวไปแสวงหาที่อยู่อาศัยใหม่ ตามบุญ บาป ผลกรรมส่งจิตไปที่สุข ที่ทุกข์ แล้วแต่ความดี ทำดีก็ไปสวรรค์ ทำชั่วก็ไปนรก ไปเกิดเป็นสัตว์หรือเป็นคนที่มีทุกข์ต่อไป จิตสะอาดไม่ยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย รูป นาม ขันธ์ 5 ก็ไปเสวยสุขแดนอมตะนิพพาน ไม่ต้องเกิดตายเป็นทุกข์อีก เคล็ดลับจริงของการปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์คือจิตเราไม่อาลัย ยินดี ติดอยู่ในร่างกายเรา ร่างกายบุคคลอื่น โดยมีจิตฉลาด จิตรู้ จิตมีวิชชา รู้ความจริงของร่างกาย(ขันธ์ 5) ว่าเป็นสาเหตุแห่งการทุกข์ยากลำบากกายใจ เพราะร่างกายคือของชำรุดทรุดโทรม ต้องดูแลชำระล้าง ต้องหาอาหารเติมให้ร่างกายวันละ 3 มื้อ เป็นของที่ดองไว้ด้วยกิเลสร้อยแปดประการ เป็นของว่างเปล่า สูญสลาย เป็นอนัตตาในที่สุด ก่อนตายจิตก็จะต้องเจ็บปวด ทรมานกับกายจนทนไม่ไหว ร้องครวญคราง ร่างกายตาย จิตก็แสวงหาที่อยู่ใหม่ จิตฉลาดก็ไม่ต้องการกาย หมดตัณหามุ่งพระนิพพาน

ที่มา
http://www.sangthipnipparn.com/luktampratanporn/kanjaroenprakamatan.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 มิ.ย. 2554, 10:25:41 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
3. วิปัสสนาแบบที่ 3 คือ พิจารณาตามแบบอริยสัจ 4

อริยสัจคือความจริงทำให้บุคคลเข้าถึงความเป็นพระอริยะเจ้าหรือความจริงที่ทำให้ใจเราสะอาดบริสุทธิ์ กายก็ยังสกปรกเช่นเดิม เราปฏิบัติทางจิต ทางกายไม่ใช่ของเรา เป็นของเน่าเหม็นของโลก

3.1 ทุกข์ ความทุกข์มีจริงตลอดเวลา แต่คนเห็นทุกข์ไม่ค่อยมี ข้าวคำเดียวจะใส่ในปากก็มาจากหยาดเหงื่อแรงงานเรา ทำงานหาเงิน ไปตลาด ทำอาหารหุงต้มจึงจะได้กิน เป็นไปโดยความเหนื่อยยาก ไม่ได้มาง่าย ๆ ต้องใช้สติปัญญาต่อสู้เพื่อหาวิชชา หาเงินมาเลี้ยงครอบครัว อยู่คนเดียวก็หนัก ดูแลตัวเราเอง มีครอบครัว ก็ดูแลร่างกายหลายคน หนักเพิ่มขึ้น ความเจ็บป่วยกายมีตลอด คือ ความหิวต้องหาอาหาร เติมไว้ในกระเพาะ ไม่มีอาหารก็หิวทุกข์ทรมาน พระพุทธองค์ตรัสว่า ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง ความทุกข์ จริง ๆ มันอยู่ที่ใจ เข้าไปยึดมั่นในร่างกายว่าเป็นตัวตน ตัวเขาตัวเรา ถ้าทำจิตแยกจากกายได้ ตอนที่ได้มโนมยิทธิแยกจิตออกจากกาย ไปอยู่บนพระนิพพานหรือว่าเข้าฌาน 4 ขณะนั้น จิตแยกจากกายเด็ดขาด จิตจะไม่ยอมรับรู้เรื่องประสาท ความทุกข์ของร่างกาย จิตจะเป็นสุขอย่างยิ่ง แสดงว่าร่างกายมันไม่รู้เรื่องจริง ๆ มันไม่ทุกข์ด้วย แต่อาการที่ทุกข์ คือเอาจิตไปจับไว้ในร่างกาย จึงทุกข์ทรมานเวลาเจ็บป่วย ไม่สบายกาย ทำจิตเฉยไว้ ปล่อยให้กายเจ็บ จิตไม่เจ็บด้วย ถ้าทำสมาธิถึงฌาน 4 ไม่ได้ ก็ใช้จิตดูความเจ็บปวดของร่างกายไว้ ใจจะไม่เป็นทุกข์ ปวดตามกาย

3.2 สมุทัย คือ สาเหตุของความทุกข์ หรือเหตุให้เกิดทุกข์ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ตัณหา ความทะเยอทะยานอยากหรือความดิ้นรนอยากได้ตามความต้องการ ทำให้กระวนกระวาย เดือดร้อนใจ มีกาม ตัณหา ความใคร่ อยากได้ทางรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เกินพอดี ความจำเป็นของร่างกายมีอยู่เป็นธรรมดา เช่น หิวก็ต้องหาอาหารกิน พระท่านไม่เรียกว่าตัณหา การแสวงหาทรัพย์สินมาได้โดยชอบธรรม ท่านเรียกว่า สัมมาอาชีวะ พระองค์สนับสนุนให้มีความขยันหมั่นเพียรในการทำมาหากิน เลี้ยงชีวิต เพื่อความเจริญทางโลก เพื่อช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ผู้ยากจน คำว่า ตัณหานี้ คืออยากได้เกินพอดี อยากลักขโมยเขา อยากโกงเขา เป็นคนจนทำมาหากินจนรวยท่านไม่เรียกว่าตัณหา เป็นสัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพถูกต้องไม่ผิดศีล

ภวตัณหา มีอยู่แล้วอยากให้ทรงตัวอยู่ เช่น อยากหนุ่มสาว อยากแข็งแรงตลอดไป เป็นการฝืนธรรมชาติ ซึ่งต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
วิภวตัณหา มีอยู่แล้วเช่นคนรักจะต้องแตกสลายตายไป ก็หาทางทุกอย่าง ปกป้องกันไม่ให้มันพัง คือ พวกที่ทำผ่าตัดตกแต่งความแก่เฒ่าให้ดูอ่อนวัย ผลที่สุดก็คือฝืนธรรมชาติไม่ได้

       พระพุทธองค์สอนว่า ให้เอาจิต ยอมรับนับถือกฎธรรมดาของร่างเราเอง อะไรจะเกิดขึ้น เจ็บป่วยใกล้ตายก็ยิ้มรับเพราะรู้แล้วว่า เป็นความจริงที่หนีไม่พ้น แต่ความจริงนั้นร่างกายตายแต่ตัวนอก ตัวในคือ กายในกาย พระท่านเรียกว่า อทิสมานกาย อทิสมานากาย คือ กายที่มองไม่เห็นโดยตาเนื้อ จะเห็นได้ด้วยจิตที่สะอาด ปราศจากกิเลส เศร้าหมอง กายนอกคือขันธ์ 5 พระท่านสอนไว้ว่าอย่าสนใจกายนอก คือ กายเนื้อ กระดูก เลือด ที่เหม็นสกปรกทุกวัน เหมือนซากศพเคลื่อนที่ พระท่านว่าอย่าสนใจกายเนื้อ สนใจกับมันมากก็ทุกข์ใจมาก สิ่งที่ท่านให้เราสนใจพิจารณาดูมาก ๆ คือ กายในกาย เรียกว่า อทิสมานกาย หรือจิตอันเดียวกันนั้นจริง ๆ


ที่มา
http://www.sangthipnipparn.com/luktampratanporn/kanjaroenprakamatan.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 มิ.ย. 2554, 10:29:18 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
เราก็คือจิตหรืออาทิสมานกายมาอาศัยอยู่ในขันธ์ 5 หรือกายเนื้อชั่วคราว เพื่อ

1. รับผลบุญ ผลบาป ผลกรรมจากอดีตชาติ
2. เพื่อตอบแทนท่านผู้มีพระคุณที่เลี้ยงเรามา ได้แก่ คุณพ่อคุณแม่
3. เพื่อปฏิบัติ จิตให้สะอาดบริสุทธิ์ พ้นจากวงกลมเวียนว่ายตายเกิด ไปเสวยสุขแดนทิพย์ อมตะ นิพพาน ตราบใดที่จิตยังไม่เข้าถึงแดนทิพย์นิพพาน จิตก็แสวงหาที่เกิดใหม่ เป็นเทพเทวดา นางฟ้า เป็นคน เป็นสัตว์นรก เป็นผีสลับกันไป เนื่องจากผลกรรมดี กรรมชั่ว เราเองเป็นผู้สร้าง

      ในมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้าตรัสถึงกายในกายไว้ สำหรับนักปฏิบัติขั้นต้น ก็ถือเอาอวัยวะภายในเป็นกายในกาย ส่วนท่านที่มีจิตเป็นทิพย์ มีสมาธิสูง มีความรู้พิเศษ คือ ทิพจักขุญาณ มีญาณความรู้วิเศษจากผลของสมถะ มีประโยชน์มากในวิปัสสนาญาณ เป็นนิพพิทาญาณ คือความเบื่อหน่ายในการเกิด รู้ใจผู้อื่น อารมณ์ดี จิตดีหรือชั่ว จะเห็นกายในกายของตนเองและผู้อื่นได้ดี เป็นเจโตปริยญาณ จะช่วยแก้ไขตัดกิเลสได้ง่าย

กายในกาย(อทิสมานกาย เรียก สั้น ๆ ว่า จิต) แบ่งเป็น ๕ ขั้น

1. กายอบายภูมิ รูปกายในกายซูบซีด ไม่ผ่องใส เศร้าหมอง อิดโรย ได้แก่ กายของผู้ที่อยู่ในอบายภูมิ เช่นสัตว์นรก เปรต สัตว์เดรัจฉาน
2. กายมนุษย์ เป็นคนแตกต่าง สวยสดงดงามไม่เท่ากัน ร่างกายเป็นมนุษย์ชัดเจนเต็มตัว
3. กายทิพย์ กายในกาย ผ่องใส ละเอียดอ่อน เป็นเทพ รุกขเทวดา อากาศเทวดา มีเครื่องประดับมงกุฏแพรวพราว ได้แก่กายของเทวดาชั้นกามาวจรสวรรค์
4. กายพรหม ลักษณะกายในกายคล้ายเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่าใสคล้ายแก้ว มีเครื่องประดับสีทองดูเหลืองแพรวพราวไปหมด ได้แก่ กายของพรหม ท่านมีฌานอย่างต่ำปฐมฌานสูงถึงฌาน 4 สมาบัติ 8 มีพรหมวิหาร 4 ประจำใจ
5. กายแก้วหรือกายธรรมหรือพระธรรมกาย แบบที่หลวงพ่อสด วัดปากน้ำท่านสอนไว้ กายในกายของท่านที่เป็นมนุษย์แต่จิตสะอาด ปราศจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน หมดอวิชชา ฉลาดสว่างไสว เป็นกายของพระอรหันต์จะเป็นกายในกายของท่าน เป็นประกายพรึก ใสสะอาด สว่างยิ่งกว่ากายพรหมเป็นแก้วใส

      การรู้อารมณ์จิตตนเองมีประโยชน์มาก ในการคอยสกัดกั้นอารมณ์ชั่วร้าย กิเลสและอุปกิเลสของเราไม่ให้มาพัวพันกับจิต ยิ่งฌานสูง จิตก็ยิ่งสะอาดสามารถตัดกิเลสได้ง่าย อย่าคิดว่าสมถะไม่สำคัญ แม้พระพุทธองค์เป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็เป็นผู้เลิศด้วยอานาปานุสสติ เพื่อระงับทุกข์ของร่างกาย เพื่อความเป็นอยู่สุข แม้ท่านปรินิพพาน พระพุทธองค์ก็เข้าฌาน 4 และจิตออกจากกายด้วยฌาน 4 เคลื่อนจิตบริสุทธิ์ของพระองค์ท่านเสวยสุข อมตะ พระนิพพาน ผู้ที่มีสมาธิจิตถึงฌาน 4 ก็สามารถสัมผัสถึงพระองค์ได้ ปัจจุบันนี้ท่านไม่สูญสลายหายไปไหน แม้ปรินิพพาน นาน 2542 ปีล่วงมาแล้ว พระองค์ยังส่งกระแสจิตที่เป็นอภิญญาช่วยโลกตลอดเวลาด้วยพระเมตตาคุณ หาที่สุดมิได้ กลับมาคุยเรื่อง อริยสัจ 4 ต่อ ข้อ 3 ด้วย


ที่มา
http://www.sangthipnipparn.com/luktampratanporn/kanjaroenprakamatan.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 มิ.ย. 2554, 10:31:49 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
3. นิโรธ คือการดับทุกข์ จะกำจัดทุกข์ออกไปจากจิตก็ต้องดับ หรือ กำจัดเหตุ ที่ทำให้เกิดทุกข์ คือร่างกาย ขันธ์ 5 นี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ร่างกายขันธ์ 5 นี้เป็นสาเหตุที่มาของตัณหา กิเลส อุปาทาน อวิชชา อกุศลกรรมต่าง ๆ การดับทุกข์ก็ทำได้ง่าย ๆ ไม่ยาก คือจิตเราไม่สนใจ อาลัยใยดีร่างกายขันธ์ 5 อีกต่อไป เลิกคบ ไม่เอา แต่จิตก็ต้องดูแลร่างกายตามหน้าที่ให้กายกินนอนอยู่สบาย แต่จิตไม่ยึดมั่น คิดว่าร่างกายขันธ์ เป็นของเราอีก ต่อไปคิดเพียงว่าเราคือ จิต กายในกาย หรือ อาทิสมานกาย มาอาศัยบ้านเช่าที่แสนสกปรก เหม็นเบื่อนี้ชั่วคราว ร่างกายนี้แตกทำลายเมื่อไร เราจิตเราจะดีใจมาก เราจะทำความดีเพื่อไปเสวยสุขแดนที่พระพุทธองค์ทรงชี้ทางให้ไป คืออมตะนิพพาน


4. มรรค คือทางเดินเข้าสู่ความบริสุทธิ์ สะอาดสว่างของจิตอาทิสมานกาย กายภายใน มรรค 8 ประการนี้ พระองค์ทรงชี้ทางปฏิบัติ แบบสบาย ๆ สายกลาง ไม่ขี้เกียจจนเกินไป ไม่ขยันจนเกินไป ไม่ง่ายและไม่ยากจนเกินไป คือ
1) สัมมาวาจา พูดจริง พูดไพเราะ พูดเป็นประโยชน์
2) สัมมาวาชีโว ทำงานหาเลี้ยงชีวิตที่สุจริต
3) สัมมากัมมันตะ ทำงานที่ดี คือ งานกำหนดลมหายใจเข้าออก ดูว่าร่างกายไม่ใช่ของเรา มันเป็นของธรรมชาติ เช่น ลมหายใจมันเป็นของมันโดยอัตโนมัติ ห้ามไม่ให้หัวใจหยุดเต้นไม่ได้ต้องตายตามเวลา
(ปฏิบัติในขั้นสมาธิ มี 3)
4) สัมมาวายาโม ความเพียรที่จะกำจัดกิเลสตัณหา ให้หมดไปจากจิตให้ได้
5) สัมมาสติ ระลึกถึงความดี เห็นว่าร่างกายเป็นเพียงของปลอม ไม่ใช่ของเรา เป็นที่อาศัยชั่วคราว ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมคือทุกอย่างในโลกเป็นไตรลักษณะ ไม่ทนทาน เป็นปัญหายุ่งยากเมื่อสลายไป และอนัตตา ไม่ใช่ของใครทั้งสิ้น ไม่มีใครควบคุมให้อยู่ตลอดไปได้
6) สัมมาสมาธิ มีจิตตั้งมั่นอยู่ในที่ระลึกถึงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นกำหนดลมหายใจเข้าออก ก็ทำได้ตลอด จิตไม่วุ่นวาย ผู้ที่มีสติระลึกได้ในความดีของจิต สะอาด ปราศจากความโกรธ ความโลภ ความหลง เรียกว่า ผู้ทรงฌาน คือ ผู้มีสมาธิ ตั้งแต่ ฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 จนถึงฌาน 4 จะมีความฉลาดเฉลียว ทั้งทางโลกทางธรรมิ
(ปฏิบัติในขั้นปัญญา)
7) สัมมาทิฏฐิ ความเห็นว่าร่างกาย โลกนี้ไม่มีอะไรเป็นสุขจริง ความเห็นว่า มีการเกิด การตาย มีชีวิตอยู่เพราะกรรม จะหมดกรรมได้ต้องหมดกิเลส ความเห็นว่าตายแล้วไม่สูญดังที่คิด บาป กรรม บุญ มีจริง สิ่งที่สูญจริง คือขันธ์ จิตที่สะอาดแจ่มใสไปสุคติ จิตที่ชั่ว มัวหมอง ผิดศีลธรรม ไปทางนรก สัตว์ เปรต อสุรกาย มีความเห็นตรงตามพระพุทธองค์ทรงสั่งสอน
8) สัมมาสังกัปปะ ระลึกถึงพระนิพพาน พระรัตนตรัย ระลึกไม่ยึดติดในขันธ์ 5 ร่างกายเป็นทุกข์ โทษ ระลึกว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่มีอะไรเหลือ ไม่น่ารักใคร่ ยินดี จิตไม่อาลัยทุกสิ่งในโลก


ที่มา
http://www.sangthipnipparn.com/luktampratanporn/kanjaroenprakamatan.html

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา 17; 17;
                                                             
ขอบคุณท่าน ทรงกลด ที่นำบทความธรรมะดีมากๆมาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ :053: :053:
   
ติดตามอยู่ครับ อ่านแล้วเพลินดีมากๆครับ ได้หลักธรรมะ และ ได้สาระความรู้มากๆครับผม :016: :015:
   
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน เพื่อเป็นความรู้ ขอบคุณครับผม) :054: :054: 
 
   

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ชีวิตที่ไหลลื่นไปกับธรรมะ : หลากหลายวิธีการฝึก
วันพุธ ที่ 15 มิถุนายน 2554 เวลา 0:00 น 



   อย่างที่เคยบอกไปแล้วว่าวิธีการฝึกสมาธินั้นมีด้วยกันมากมายหลายวิธี... ขึ้นอยู่กับว่า ใคร “ชอบ” หรือ “ถูกจริต” กับวิธีไหนเท่านั้น... ในปัจจุบันนี้มีแนวทางการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานแตกแยกออกไปหลากหลายรูปแบบ แต่เมื่อนำมาพิจารณาดี ๆ จะพบว่า ทุกแนวทางเหล่านั้นล้วนรวมลงอยู่ในหลักธรรมคำสอนที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านได้สอนได้แนะนำเอาไว้แล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นกรรมฐานทั้ง 40 กอง มหาสติปัฏฐานสูตร ฯลฯ... ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ทุกคนที่เป็นพุทธศาสนิกชนด้วยจิต ล้วนเป็นพุทธบุตรชิโนรสเหมือนกันทั้งสิ้น... สมดังคำของพระอาจารย์มั่นที่บอกแก่พระอาจารย์ชาว่า “ในความเป็นภิกษุที่แท้จริงไม่ได้มีนิกาย ทั้งหมดคือพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์”
   
แต่ในปัจจุบันนี้... เกิดปัญหาความขัดแย้งมากมายในกลุ่มพุทธศาสนิกชนด้วยกันเอง... ซึ่งเป็นเพราะผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่ ยึดติด อยู่กับเฉพาะตัวบุคคลซึ่งตนเองถือว่าเป็นครูบาอาจารย์ของตนเอง หรือไม่ก็ยึดติดกับรูปแบบที่ตนเองถือว่าดีแล้ว ถูกแล้ว เมื่อเห็นคนจากต่างสำนักกันปฏิบัติในรูปแบบที่ต่างออกไปจากตนก็จะพากันคิดว่า สิ่งเหล่านั้นไม่ถูกต้อง สู้ของสำนักตนเองไม่ได้ ยิ่งถ้าสายไหนวิธีการฝึกเน้นความสบายของจิตเป็นหลักไม่ชอบการรู้การเห็นอะไรทั้งสิ้น ก็จะยิ่งคิดว่าผู้อื่นที่เห็นหรือมีความรู้ความสามารถพิเศษต่าง ๆ นั้น เป็นผู้ศึกษาวิชานอกรีตบ้าง หรือเป็นการสะกดจิตหมู่บ้าง ฟุ้งซ่านบ้าง... ทั้ง ๆ ที่ในพระไตรปิฎกก็มีกล่าวถึงการปฏิบัติไว้ทุกแนว...
   
   วิธีการฝึกกรรมฐานที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายแสดงให้เห็นว่าการที่พระพุทธเจ้าทรงสอนตามจริตของผู้เรียนนั้นเป็นสิ่งที่เป็นจริง ฝึกกันได้จริง... ทุกแนว...คนไหนที่ชอบให้จิตสบาย ๆ ไม่มีญาณวิเศษใด ๆ ก็ใช้แนว สุกขวิปัสสโก... ผู้ที่ “อยากรู้อยากเห็น” ว่าสวรรค์มี นรกมี ก็ฝึกให้ได้ วิชชา 3 ก็จะสามารถระลึกชาติได้ รู้ว่าสัตว์ทั้งหลายก่อนเกิดมาจากไหน ตายแล้วไปอยู่ที่ไหน และทำกิเลสให้หมดสิ้นไปได้... ส่วนคนที่ “อยากไป” ให้ถึงนรกสวรรค์ได้ ก็ฝึกให้ได้ อภิญญา 6 ก็จะมีหูทิพย์ ตาทิพย์ แสดงฤทธิ์ได้ รู้วาระจิตของคนอื่นได้ ระลึกชาติได้ และทำให้กิเลสหมดสิ้นไปได้... ส่วนผู้ที่รวมเอาความสามารถของทุกหมวดมาไว้ก็คือผู้ที่บรรลุ ปฏิสัมภิทา 4 ซึ่งนอกจากความรู้ดังที่กล่าวมาแล้ว ยังสามารถขยายข้อธรรมจากสั้นให้ละเอียดได้ ย่อข้อธรรมที่ยาว ๆ ให้สั้นกระชับได้ใจความได้ มีความรู้ในการใช้ภาษาต่าง ๆ ทุกภาษา และมีปฏิภาณไหวพริบดีเยี่ยม...
   
สำนักต่าง ๆ ที่โดดเด่น และมีผู้ฝึกฝนปฏิบัติธรรมอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศไทยที่ผู้เขียนพอจะรู้จักอยู่บ้าง ก็มีอาทิ...
   
- แนวทางสมถะ – วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ)
   
- แนวทางสาย “พุทโธ” ของ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
   
- แนวทางสาย “ธรรมกาย” – สัมมาอะระหัง ของ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) วัดปากน้ำภาษีเจริญ
   
- แนวทางสาย “มโนมยิทธิ” – นะ มะ พะ ทะ ของ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง
   
- แนวทางสาย “มหาสติปัฏฐาน 4” - ยุบหนอ พองหนอ ของ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุฯ
   
- หรืออื่น ๆ อีกมาก ทั้งสายหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ ครูบาศรีวิชัย เจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น
   
นอกจากที่กล่าวมา 5 สำนักนี้แล้วยังมีอีกมากมายหลายวิธีการปฏิบัติ และแต่ละแนวทางปฏิบัติเองก็ยังแบ่งรายละเอียดแตกย่อยกันลงไปอีกมากมายแล้วแต่ว่าครูบาอาจารย์ที่นำไปถ่ายทอดต่อจะถนัดอย่างไร... คราวต่อ ๆ ไป จะมาดูกันว่าแต่ละแนวทางหลัก ๆ เหล่านั้นสอนอะไรกับผู้สนใจกันบ้าง มีวิธีการฝึก มีธรรมะอะไรบ้างที่ครูบาอาจารย์แต่ละท่านแนะนำสั่งสอนผู้ใคร่ในธรรมเช่นเราท่านทั้งหลายกันบ้าง...


ชนินทร
ที่มา
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=671&contentID=145043

ออฟไลน์ โบตั๋นสีขาว

  • ไม้คดใช้ทำขอ เหล็กงอใช้ทำเคียว แต่คนคดเคี้ยวใช้ทำอะไรไม่ได้เลย
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 146
  • เพศ: หญิง
  • จะสูงจะต่ำอยู่ที่เราทำตัวจะดีจะชั่วอยู่ที่ตัวเราทำ
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณมากคะ สำหรับบทความธรรมะดีๆ อ่านแล้วได้ความรู้มากคะ :090: :050: :090:
เคารพ กตัญญู บูชา หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ ทั้งครอบครัวคะ