ผู้เขียน หัวข้อ: ท่องพุทธสถานในดินแดนนกยูง"สิบสองปันนา"สาธารณรัฐประชาชนจีน  (อ่าน 8950 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
๒๐ มกราคม ๒๕๕๕  ๑๐.๓๖ น. (เวลาตามประเทศไทย)

ณ วัดมหาราชฐานสุทธาวาส(วัดไทยใหญ่) หมู่บ้านกาหลั่นป้า เมืองเชียงรุ้ง สิบสองปันนา สาธารณรัฐปนะชาชนจีน

ชาวไทลื้อเรียกวัดนี้ว่า "วัดสวนม่อน" หมายถึงสวนดอกไม้ที่อยู่บริเวณด้านหลังวัดที่หมู่บ้านกาหลั่นป้า

เป็นวัดในพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท(หินยาน) ศิลปะการสร้างคล้ายกับวัดทางภาคเหนือของไทย ตั้งอยู่กลางหมู่บ้านกาหลั่นป้า ซึ่งเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ของพี่น้องไทยปันนา (ไทลื้อ) ภาษาพูดคล้ายกับภาษาไทยพื้นเมืองภาคเหนือ ทำให้สื่อสารกันพอเข้าใจ

ปัจจุบัน นอกจากจะเป็นพุทธสถาน เพื่ปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุสามเณร เป็นศูนย์รวมใจของชาวไทลื้อในหมู่บ้านกาหลั่นป้านี้แล้ว

วัดแห่งนี้ ก็ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งในสิบสองปันนาด้วยเช่นกัน

ด้านหน้าก่อนทางเข้าวัด จะพบกับนกยูง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสิบสองปันนา ที่ได้ฉายาว่า "ดินแดนนกยูง" และลิง ไว้บริการนักท่องเที่ยวสำหรับถ่ายภาพเป็นที่ระลึก




บริเวณซุ้มประตูทางเข้าวัดไทยใหญ่ จะมีป้ายเขียนด้วยภาษาไทลื้อ


อาคารศาสนสถานภายในวัดไทยใหญ่ ลักษณะทางศิลปกรรมคล้ายทางภาคเหนือของไทย


เจดีย์สีทองอร่ามภายในวัด


ทางเข้าด้านหน้าพระอุโบสถ


ภายในมีพระพุทธรูปปูนปั้นทาทองปางมารวิชัยขนาดใหญ่ เป็นพระประธานภายในพระอุโบสถหลังนี้


บริเวณด้านข้างของพระประธาน มีตู้พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ตั้งไว้เพื่อสักการะบูชา


ร่องรอยการปิดแผ่นทองคำเปลวที่องค์พระประธานในพระอุโบสถ


เครื่องบูชา ทำจากกระดาษสีสันสดใส ห้อยประดับไว้ด้านหลังพระประธาน


จิตรกรรม ภาพเขียนบนผ้า นำไปขึงติดประดับไว้บริเวณผนังโบสถ์ด้านใน เล่าเรื่องราวในพุทธประวัติ และความเชื่อทางพระพุทธศาสนาของชาวไทลื้อ


โครงสร้างของพระอุโบสถทำจากไม้ ใช้การขัดไม้ตามสลักเป็นชั้นๆ ตกแต่งลวดลายด้วยการทาทองเพื่อความสวยงาม


บริเวณด้านข้างขององค์พระประธาน จัดแยกเป็นอีกห้องหนึ่ง ประดิษฐานพระพุทธรูปไว้จำนวนมาก ใช้เป็นสถานที่ให้พระภิกษุต้อนรับปฏิสันถารสาธุชน ที่มาเยี่ยมเยือนวัดแห่งนี้


รูปปั้นสิงห์สีทอง ที่ฐานเจดีย์ ด้านหลังเป็นหอกลอง


สามเณรภายในวัด ให้บริการขายธูป เพื่อนำไปจุดบูชารูปเคารพต่างๆภายในวัด


อาทิเช่น พระพรหม ศิลปะโดยทั่วไปก็คล้ายคลึงกับทางบ้านเรา


ปฏิมากรรมสะท้อนเรื่องราว ความคิด ความเชื่อ ในทางพระพุทธศาสนาของขาวไทลื้อ


ระเบียงด้านหลังพระอุโบสถ เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง สังเกตที่เสาทุกต้น จะไม่ฝังลงพื้น แต่จะต้องมีแท่นหินมารองรับไว้ วัฒนธรรมนี้ไม่ใช่มีแต่เฉพาะในวัดเท่านั้น แม้แต่บ้านเรือนของชาวไทลื้อที่นี่ ก็จะทำเช่นเดียวกันทั้งหมดหมด


ลวดลายการตกแต่งบริเวณผนังพระอุโบสถด้านนอก สังเกตดูจะใช้การทาสีทอง ไม่เหมือนกับบ้านเราที่นิยมใช้การปิดทองเป็นหลัก


มือจับบานประตูของวัดเป็นรูปสิงโต ก็ได้รับอิทธิพลทางศิลปกรรมของชาวจีน นำมาประยุกต์เข้ากันได้อย่างลงตัว


รูปหล่อพระสิวลีสร้างจากโลหะ ประดิษฐานไว้บริเวณหน้าวัดไทยใหญ่แห่งนี้


ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
๒๐ มกราคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๖.๓๐ น. (ตามเวลาในประเทศไทย)

ณ วัดป่าเจ (西双版纳总佛寺) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสวนม่านทิง อันเป็นสวนพรรณไม้ในป่าชื้นเขตร้อนอันอุุดมสมบูรณ์ของสิบสองปันนา

วัดป่าเจ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "วัดป่าเชต์มหาราชฐาน" ในอดีตเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุด และยังเป็นเสมือนวิทยาลัยสงฆ์ของเมืองเชียงรุ้ง

ความเชื่อของชาวไทลื้อที่นี่สมัยก่อน เมื่อมีลูกชายเป็นเด็กก็จะต้องให้บวชเป็นสามเณร เรียกกันว่า "บวชลูกแก้ว"

เมื่ออายุครบบวช ก็จะต้องบวชเรียนศึกษาพระธรรมวินัยเสียก่อน ถึงจะเป็นที่ยอมรับของสังคม (คล้ายกับประัเทศไทยสมัยก่อน)

ด้วยปัจจุบันนี้ สภาพแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจได้เปลี่ยนไปอย่างมาก ความเชื่ออันเป็นวัฒนธรรมนี้ จึงค่อยๆเลือนหายไปตามลำดับ

วัดป่าเจ เป็นวัดนิกายเถรวาท (หินยาน) เป็นศูนย์กลางด้านวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาของชนชาติไตในสิบสองปันนา

มีเนื้อที่ประมาณ ๓,๐๐๐ ตารางเมตร ในอดีตเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของเจ้าชนชั้นปกครองในสิบสองปันนา

ภายในวัดประกอบด้วยศาสนสถานทั้งเจดีย์ขาว เจดีย์แปดเหลี่ยม วิหาร พระอุโบสถ กุฏิพระภิกษุสามเณร และสถาบันทางพระพุทธศาสนา คือ วิทยาลัยพระพุทธศาสนาของมณฑลยูนนาน

สิ่งก่อสร้างในวัดแห่งนี้ ส่วนหนึ่งได้รับทุนงบประมาณการก่อสร้างจากสาธุชนชาวไทย ศิลปกรรมจึงคล้ายกับวัดในไทยเป็นอย่างมาก

ในอนาคตอันใกล้ ทางการจีนจะย้ายวัดป่าเจเข้าไปรวมกับวัดหลวงเมืองลื้อแทน ส่วนสถานที่ตั้งเดิมของวัดป่าเจ คงจะได้รับการรังสรรค์ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในสิบสองปันนาต่อไป

ถัดจากสวนม่านทิง บริเวณด้านหลังก็จะเข้าสู่เขตของวัดป่าเจ


เจดีย์ขาวองค์จำลอง


เจดีย์แปดเหลี่ยม


เนื่องจากเข้ามาชมสวนเป็นเวลาเย็นมากแล้ว (เวลาในประเทศจีนเร็วกว่าเวลาในประเทศไทย ๑ ชั่วโมง) จึงได้แต่เดินชม ร้านค้าและวัดก็ใกล้จะปิดให้เยี่ยมชมแล้วเช่นกัน


ซุ้มประตูทางเข้าไปภายในบริเวณวัด


ปฏิมากรรมปูนปั้นรูปเสมาธรรมจักร ตกแต่งซุ้มทางเข้าวัดป่าเจ


ใบสีมา ก็ได้ถูกนำมาประดับตกแต่งกำแพงของวัดเช่นกัน


บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถ จะสังเกตเห็นพระพุทธรูปที่สร้างจากไม้ไผ่เอามาสานเป็นโครง อยู่ด้านหลังพระโพธิสัตว์กวนอิืม ตามความเชื่อของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน (แต่อยู่ในวัดพุทธนิกายเถรวาท)


ป้านหินอ่อนจารึกว่า "วิทยาลัยพระพุทธศาสนาสิบสองปันนาสาขายูนนาน" แทบทุกที่ในสิบสองปันนา ป้ายทุกชนิดไม่ว่าเขียนด้วยภาษาใดก็ตาม จะต้องมีอักษรภาษาไทลื้อเขียนกำกับไว้ด้วยเสมอ


แผ่นป้ายหินอ่อนจารึกแสดงไว้ว่า สมเด็จพระสังฆราชของประเทศไทยทรงเคยเสด็จมา ณ วัดป่าเจแห่งนี้ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๖


วิหารที่กำลังอยู่ในช่วงของการดำเนินงานก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ


ซุ้มประตูทางออกของวัดป่าเจ




ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
๒๑ มกราคม ๒๕๕๕ เวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น.

ณ วัดหลวงเมืองลื้อ สิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน

วัดหลวงเมืองลื้อ เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของสิบสองปันนาในปัจจุบัน ซึ่งบริษัทพัฒนาการท่องเที่ยวหยวนห้าว จำกัด สิบสองปันนา ยูนนาน ได้ทุ่มเงินลงทุนสร้างเองถึง ๓๕๐ ล้านหยวน (เป็นเงินไทยประมาณกว่า ๑,๗๕๐ ล้านบาท) เพื่อสร้างวัดทางพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท(หินยาน) และพระพุทธรูปปางคันธารราฐ พระพุทธรูปปางยืนขอฝน เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สุดในแถบนี้ มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ ก่อสร้างบนภูเขา ปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ สืบเนื่องจากตระหนักว่าพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมีประวัติมาอย่างยาวนานในดินแดนสิบสองปันนา พอๆกับในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นในประเทศไทย กัมพูชา เมียนม่าร์ ลาว เป็นต้น นอกจากนี้ภายในวัดยังเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยพระพุทธศาสนาสิบสองปันนา เพื่อใช้เป็นสถานที่ศึกษาวิจัยพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และคาดหวังว่าวัดแห่งนี้ จะกลายเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่ชาวชนชาติไต หรือไทลื้อในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้สืบค้นเรื่องราวความเป็นมาของบรรพบุรุษของตนเองได้ ปัจจุบันนี้ ทางการจีนได้รื้อวัดป่าเจและย้ายมาอยู่ที่วัดหลวงเมืองลื้อนี้ทั้งหมด

ศิลปะการก่อสร้างภายในวัด เป็นการประยุกต์ทั้งของทางเถรวาท และมหายานเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังผสมผสานศิลปะวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ ลาว พม่า และไทย เข้าด้วยกันอีกด้วย

ในส่วนของพระภิกษุที่จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ ก็มีทั้งนิกายเถรวาท และนิกายมหายาน รวมถึงพระธิเบตด้วย ซึ่งพระภิกษุทั้งหมดนี้ ได้รับการนิมนต์มาจากการที่รัฐบาลจีนได้อาราธนานิมนต์จากวัดทั่วประเทศจีนให้มาอยู่ ณ วัดแห่งนี้

ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินงานก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ แต่ก็มีนักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยวชมความสวยงามของศิลปะวัฒนธรรมภายในวัดเป็นจำนวนมาก

ถึงแม้ว่าวัดหลวงเมืองลื้อแห่งนี้จะได้ชื่อว่าเป็นนิกายเถรวาท แต่พฤติการณ์ก็ยังไม่ใช่เถรวาทอย่างสมบูรณ์ มีการผสมผสานกันระหว่างนิกายเถรวาทและมหายาน เราก็ลองมาติดตามพิจารณาดูกันต่อไปว่า วัดหลวงเมืองลื้อแห่งนี้ จะเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทอย่างที่ตั้งใจไว้ได้หรือไม่

บริเวณลานหน้าทางเข้าวัดหลวงเมืองลื้อ ประดับตกแต่งด้วยต้นไม้ตกแต่งเป็นพระพุทธรูป


แผนที่แสดงรายละเอียดเมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะจัดแบ่งเป็นชั้นๆ จัดแสดงเรื่องราวพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ ไปจนกระทั่งปรินิพพาน


ชั้นแรกสุด จัดแสดงเรื่องราวพุทธประวัติตอนประสูติ "“เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”"


ซุ้มประตูทางเข้าที่ผ่านเข้ามา สังเกตเห็นได้ว่ามีการจัดการอย่างเป็นระบบระเบียบ เพื่อประโยชน์การท่องเที่ยวโดยเฉพาะ ในการเที่ยวชมนี้ จะเลือกโดยสารรถที่มีไว้ให้บริการ หรือว่าจะเลือกเดินขึ้นบันไดก็ได้ ตามสะดวก


พระพุทธรูปปางคันธารราธ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในแถบนี้


มองลงไปด้านล่างจะพบกับพระอุโบสถของวัดหลวงเมืองลื้อ


ด้านบนนี้ สามารถมองเห็นทัศนียภาพมุมกว้างของสิบสองปันนาได้อย่างชัดเจน


นักท่องเที่ยวชาวจีนจุดธูปขนาดใหญ่เพื่อสักการะบูชาพระพุทธรูปปางคันธารราธ


ราวบันไดทางขึ้นลง เป็นรูปพระสาวกเดินอุ้มบาตร แกะสลักจากศิลา


ปฏิมากรรมรูปยักษ์ บริเวณทางเข้าพระวิหาร


พระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปปางสมาธิทรงเครื่องสีขาว


พระพุทธรูปองค์จำลองจากพระพุทธรูปปางคันธารราธขนาดใหญ่ ประดิษฐานบนผนังของวิหารรอบด้าน


ด้านในพระวิหารด้านหลัง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ และพระโพธิสัตว์กวนอิม  (นี่เป็นอีกส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า วัดนี้นิกายเถรวาทจริงหรือ?)


ด้านข้างของวิหาร จัดวางเทวรูป เป็นเทพเจ้า ไฉ่ซิงเอี๊ยะ วางระดับเดียวกับพระพุทธรูป?


อีกห้องหนึ่งในวิหาร จัดแสดงพระพุทธรูปปางมารวิชัยทรงเครื่อง พร้อมเครื่องสักการะบูชา


ร้านขายธูปขนาดใหญ่ไว้สำหรับจุดบูชา ภายในวัด


ตรงกลางคือ กระถางปักธูปขนาดใหญ่ ศิลปะจีน


ปฏิมากรรมศิลาแกะสลักรูปเทพหลี่จิ้ง ตามความเชื่อของชาวจีน


รูปจำลองคล้ายพระธาตุอินทร์แขวน ในประเทศเมียนม่าร์


ชั้นแสดงเรื่องราวพุทธประวัติตอนตรัสรู้


พระอุโบสถของวัดหลวงเมืองลื้อ


พระแม่ธรณีบีบมวยผม บีบน้ำออกจากมวยผมอันเป็นประจักษ์พยานในการบำเพ็ญบารมีของเจ้าชายสิทธัตถะ


วิหารภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวัน (เหมือนกับของประเทศไทยทุกประการ)


พระพุทธรูปปางสมาธิ พระพุทธรูปประจำวันเกิด วันพฤหัสบดี


พระประธานภายในพระอุโบสถวัดหลวงเมืองลื้อ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสีทองขนาดใหญ่ ด้านข้างมีพระอัครสาวกยืนประนมมืออัญชลีอยู่


หน้าโต๊ะหมู่บูชา มีภาพของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ประเทศไทย ประดิษฐานอยู่ด้วย


ปฏิมากรรมรูปปูนปั้นยักษ์ ๒ ตน นั่งเฝ้าทางเข้าพระอุโบสถวัดหลวงเมืองลื้อ แสดงให้เห็นถึงอารมณ์ขันของศิลปินผู้รังสรรค์ผลงาน


ศาลพระภูมิบ้านเราดีๆนี่เอง


วิหารภายในประดิษฐานพระพุทธรูปตามความเชื่อของชาวจีน ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนานิกายมหายาน


หลวงพี่เก่ง วัดบางพระ,พี่มหานรินทร์,พี่มหาโจ้ ร่วมเดินทางไปเที่ยวชมในครั้งนี้ด้วย


เก็บภาพบรรยากาศมาฝากให้เพื่อนสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระได้รับชม ได้ร่วมอนุโมทนากับการเดินทางแสวงบุญในสิบสองปันนาในครั้งนี้ด้วยครับ... ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)


ออฟไลน์ tor.20

  • ..ลุงต้อ ศิษย์วัดบางพระ...
  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 616
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
โอโฮ ! ไปไม่ชวนกันเลย ว่าแต่มีวัตถุมงคลมาฝากหรือเปล่าเผื่อจะได้มาบูชาแก้ชงกันหน่อย

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ขอบพระคุณท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) เป็นอย่างยิ่งที่กรุณานำภาพและเรื่องราวดีดีมาฝากกันครับ :054:
สักวันหนึ่ง...ผมจะตามไปเที่ยวชมบ้างครับ :015:
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ derbyrock

  • คณะกรรมการ
  • *****
  • กระทู้: 2494
  • เพศ: ชาย
  • สติมา ปัญญาเกิด........ปัญหามา ปํญญามี.......
    • MSN Messenger - derbyrock@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ขอบคุณสำหรับภาพสวยๆน่ะครับ

ความสุขที่แท้จริงรอคอยคุณอยู่.......เพียงแค่คุณนั่งลงแล้วหลับตา

ออฟไลน์ พุทธสาวก

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 58
    • ดูรายละเอียด
สวยมากครับ


องค์นี้คือท้าวเวสสุวัณครับ

ท้าวเวสสุวัณในศิลปะจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ทำเป็นท่ายืนถือเจดีย์ หมายถึงการปกป้องพระพุทธศาสนา

ออฟไลน์ arada

  • เรียนๆ รักๆ ปากกาถูกลัก ไม่พักเรียน
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1111
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - nuk_b@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณที่นำรูปภาพมาแบ่งปันนะครับ....สวยงามมาก
ธรณีนี่นี้             เป็นพยาน

เราก็ศิษย์มีอาจารย์    หนึ่งบ้าง

เราผิดท่านประหาร     เราชอบ

เรา บ่ ผิดท่านมล้าง    ดาบนั้นคืนสนอง

ออฟไลน์ พุทธสาวก

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 58
    • ดูรายละเอียด



แต่ของทิเบต ถ้าถือเจดีย์คือท้าววิรูปักษ์ เพราะท้าวเวสสุวัณของทิเบตไม่ถือเจดีย์
ส่วนเทพหลี่จิ้ง เป็นเทพในวรรณคดีห้องสิน

ออฟไลน์ konrukgun

  • คนเถื่อน
  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 21
  • เพศ: ชาย
  • ไอทีผู้ชายสมบูรณ์แบบ
    • MSN Messenger - spk_tum@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
สวยมากครับ ขอบคุณความสุขที่เอามาโพสให้พวกเราได้ดูและศึกษาครับ