ผู้เขียน หัวข้อ: คาถาเสกหญ้าให้ม้ากิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.๕) เสด็จประพาสฝรั่งเศส  (อ่าน 15650 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ขอขอบคุณ

หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง
ผู้ถวายคำพยากรณ์ แด่ ร.๕
 
คัดลอกจาก http://www.lekpluto.com/index01/special03.html
และ
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-iam-wat-nung/lp-iam-wat-nung-hist-02.htm
====================================
(ขออนุญาตตัดตอนมาบางส่วน)

ในการเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่หนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ นั้น  ไม่ได้เป็นการเสด็จเพื่อแสวงหาความสำราญแต่อย่างใด   แต่เป็นการเสด็จเพื่อดำเนินพระราชวิเทโศบายด้านการต่างประเทศอย่างชาญฉลาด  เป็นการเสด็จเพื่อเจริญพระราชไมตรีกับราชวงศ์ต่าง ๆ  ของยุโรป    โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัสเซียและเยอรมัน ซึ่งเป็นศัตรูคู่แค้นของอังกฤษ และฝรั่งเศส ด้วยหลักการที่ว่า "ศัตรูของเพื่อนก็คือศัตรูของเรา"  เมื่อผูกสัมพันธ์กับรัสเซีย เยอรมัน และกลุ่มประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ได้แล้ว อังกฤษ และฝรั่งเศสก็จะไม่กล้ารุกราน หรือยึดเอาประเทศไทยเป็น "อาณานิคม" อีกต่อไป ซึ่งส่งผลทำให้ไทยเราดำรงความเป็นเอกราชมาจนทุกวันนี้

การเสด็จประพาสยุโรปในสมัยนั้น  ทำได้ทางเดียว คือ "ทางเรือ" ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางแรมเดือน การออกทะเลหรือมหาสมุทรนั้น แม้ในปัจจุบันที่มีการพัฒนาการเดินเรือ มีเรือที่มั่นคงแข็งแรง ประสิทธิภาพสูง  มีการติดต่อสื่อสารที่ทันท่วงที ก็ยังไม่วายจะ "อับปาง" เลยครับ หากออกเดินทางในช่วงมรสุม หรือ "สุ่มสี่สุ่มห้า"  ล่ะก็  เป็นเสร็จทุกราย       คนโบราณจึงสอนเอาไว้ว่า "อย่าไว้ใจทะเลคืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล มีภยันตรายรอบด้าน ทุกเวลานาที"  ท่านผู้อ่านลองหลับตาวาดภาพการเดินเรือในสมัยเมื่อร้อยกว่าปีล่วงมาแล้วซิครับ ว่ายากลำบาก และมีอันตรายเพียงใด แต่ล้นเกล้า ฯ     รัชกาลที่ ๕ท่านก็ทรงเสด็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย เป็นการเสียสละพระองค์อย่างสูงสุด ที่ไม่มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกจะทำได้  ตอนหน้าจะได้กล่าวถึงคำพยากรณ์และการแก้ไขเหตุร้ายแรงที่ประสบตามคำพยากรณ์    เป็นเรื่องของความเชื่อถือในคุณพระ และคาถาอาคม หากท่านเห็นว่า "ไม่ไร้สาระ" จนเกินไป

เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
2
เมื่อล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๕    ได้รับคำแนะนำจากพระเจ้าน้องยาเธอ "กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์"ให้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ เข้านมัสการ "หลวงปู่เอี่ยม" วัดโคนอน เพื่อขอรับคำพยากรณ์ก่อนที่จะเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ นั้น ภายหลังที่กำหนดการเสด็จวัดโคนอนได้ถูกกำหนดขึ้นเป็นการส่วนพระองค์เรียบร้อยแล้ว   ก็ได้ส่งหมายกำหนดการไปถวายแด่หลวงปู่เอี่ยม เป็นการภายใน เพื่อที่จะได้เตรียมตัวรับเสด็จ

ขบวนเสด็จประกอบด้วย เรือพายสี่แจวที่ทรงประทับ   และขบวนเรือคุ้มกัน ควบคุมโดยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงนเรศวรฤทธิ์    ได้เคลื่อนที่เข้าคลองลัดสู่วัดโคนอน ชาวบ้านละแวกนั้นไม่ได้ไหวตัวหรือเอะใจแต่อย่างใด เพราะเห็นเป็นขบวนเรือธรรมดา มิได้ประดับประดาธงทิวให้แปลกไปกว่าเรือลำอื่นดูเหมือนกับเรือที่ขุนนางหรือเศรษฐีผู้มีทรัพย์ใช้กันทั่วไป และผู้ที่ขึ้นมาจากเรือสี่แจวต่างก็แต่งกายแบบธรรมดา  มีหมวกสวมไว้บนศีรษะ ใบหน้าบ่งบอกถึงเป็นผู้มีบุญ หนวดบอกถึงผู้มีอำนาจดวงตาฉายแววแห่งความเมตตาปราณีตลอดเวลา เวลาเดินมีคนล้อมหน้าล้อมหลัง ทุกคนไม่ได้เฉลียวใจเลยว่า "บุรุษผู้ขึ้นมาจากเรือสี่แจวนั้น คือ เจ้าชีวิตแห่งกรุงสยาม พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า ผู้ทรงประกาศเลิกทาสโดยสิ้นเชิง"

 พระปลัดเอี่ยมนั่งรออยู่บนอาสนะอันสมควรแก่ฐานานุรูป    ภายในพระอุโบสถอันแคบ แบบวัดราษฏร์ในเขตอันไกลจากพระบรมมหาราชวัง กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์ก้าวนำเสด็จเข้ามาภายในพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าทรงจุดธูปเทียนบูชาสักการะพระประธาน กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วจึงเสด็จกลับมาถวายนมัสการพระปลัดเอี่ยม ซึ่งกราบทูลให้ทรงประทับนั่งธรรมดาตามสบายพระองค์

"ที่รูปมาในวันนี้ ("รูป" เป็นคำที่พระมหากษัตริย์สมัยก่อนใช้แทนพระนามเมื่อมีพระราชดำรัสกับพระสงฆ์) เพื่อขอให้ท่านปลัดได้ช่วยตรวจดูเหตุการณ์ว่า การที่รูปจะเสด็จไปยุโรปเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักในยุโรปนั้น จักเป็นอย่างไรบ้าง ด้วยหนทางไกลและอันตรายมีอยู่รอบด้าน"

"มหาบพิตร อาตมาจักตรวจสอบให้ อย่าได้ทรงมีพระหทัยกังวล ทั้งนี้ด้วยพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสมมติเทพแบบพระองค์นั้น มีบุญญาธิการ สามารถผ่านพ้นความทุกข์ได้อย่างมั่นคง"


ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-iam-wat-nung/lp-iam-wat-nung-hist-02.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
3

ขอบคุณภาพจาก
http://www.watnang.com/luangphu/luangphu_04.html

พระปลัดเอี่ยมลุกจากที่นั่งไปคุกเข่าลงหน้าพระประธาน ก้มลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ระลึกถึงองค์พระรัตนตรัย และหลวงปู่รอดผู้มรณภาพไปแล้ว ขอบารมีในการจะเข้า "ฌาน" เพื่อดูอนาคตด้วย "อนาคตังสญาณ"   จากนั้นก็กลับเข้ามาสู่ท่านั่งสมาธิตัวตรง เจริญอานาปานสติ แล้วเข้าสู่ฌานที่ ๔ ตามลำดับ จากนั้นเข้าสู่อนาคตังสญาณ โดยกำหนดจิตไว้มั่นเพื่อให้นิมิตเกิด

ในท่ามกลางความคะนองของท้องทะเล และคลื่นลมตลอดจนวังวนของทะเล เรือพระที่นั่งกำลังอยู่ในปากแห่งวังวนนั้น น้ำในวังวนเชี่ยวกราก และส่งแรงดูดมหาศาล ภายใต้วังวนนั้น ซากเรือใหญ่น้อยจมอยู่เป็นอันมาก พ้นจากทะเลมาสู่บก พลันภาพของกลุ่มคนที่นั่งกันอยู่เป็นชั้น ๆ ส่งเสียงจ้อกแจัก ด้านล่างเป็นผืนหญ้า  และมีผู้จูงม้าเข้ามาในที่นั้น ม้าตัวนั้นมีคนถือเชือกที่ล่ามขาทั้งสี่คอยดึงไว้ไม่ให้พยศ ดวงตาของมันเหลือกโปน น้ำลายฟูมปาก

ภาพของฝรั่งแต่งตัวด้วยเครื่องแบบประหลาด ผายมือให้พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าทรงเสด็จไปรับม้าเพื่อประทับ แล้วทุกอย่างก็ดับวูบหายไป ถึงวาระที่ออกจากญาณพอดีลุกขึ้นเดินมานั่งบนอาสนะที่เดิม ก่อนจะกราบทูลความถวายว่า

"มหาบพิตร การเสด็จพระราชดำเนินสู่ยุโรปครั้งนี้  จะต้องประสบภัยสองครั้ง ครั้งแรกในทะเลที่วังวน   อาตมาจะถวายผ้ายันต์พิเศษและคาถากำกับ เมื่อเข้าที่คับขันขอให้ทรงเสด็จไปยืนที่หัวเรือ แล้วภาวนาคาถากำกับผ้ายันต์แล้วโบกผ้านั้น จะเกิดลมมหาวาตะพัดให้เรือหลุดจากการเข้าสู่วังวนได้

ภัยครั้งที่สองเกิดจากสัตว์จตุบท (สี่เท้า) คืออัศดรชาติอันดุร้ายที่ฝ่ายตรงข้ามจะทดลองพระองค์อาตมาจะถวายคาถาพิเศษสำหรับภาวนาเวลาถอนหญ้าให้อัศดรอันดุร้ายนั้นกิน จะคลายพยศและสามารถประทับบังคับให้ทำตามพระราชหฤทัยได้เหมือนม้าเชื่อง" ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่เล่าลือกันมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง ปู่ย่าตายายได้เล่าสืบทอดกันมาอันมีส่วนหนึ่งเกี่ยวพันกับพระบรมรูปทรงม้าที่ลานพระราชวังดุสิต

คาถาเสกหญ้าให้ม้ากินที่หลวงปู่เอี่ยมถวายนั้น คือ "คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย" หรือ "มงกุฎพระพุทธเจ้า"  มีตัวคาถาว่า "อิติปิโส  วิเสเสอิ   อิเสเส พุทธะนาเมอิ    อิเมนา พุทธะตังโสอิ  อิโสตังพุทธะปิติอิ "

หลังจากได้ทรงมีพระราชดำรัสกับพระปลัดเอี่ยมพอสมควรแก่เวลาแล้ว ก็ทรงถวายจตุปัจจัยไทยทานแด่พระปลัดเอี่ยม จากนั้นได้เสด็จทอดพระเนตรโดยรอบวัดโคนอน ซึ่งตอนนี้มีผู้จดจำพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าได้แม่นยำ ได้บอกกันออกไป ทำให้มีผู้มาหมอบเฝ้ารับเสด็จกันเป็นจำนวนพอสมควร ครั้นทรงสำราญพระอิริยาบถพอสมควรแล้ว ก็เสด็จกลับสู่พระบรมมหาราชวัง เพื่อเตรียมพระองค์ไปทวีปยุโรปต่อไป


ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-iam-wat-nung/lp-iam-wat-nung-hist-02.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ต.ค. 2555, 05:30:27 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
4
 การเสด็จประพาสยุโรปในครั้งแรก เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ (ร.ศ. ๑๑๖) ได้ทรงเตรียมการทุกอย่างไว้เป็นอย่างดียิ่ง ในส่วนที่เป็นกิจการภายในประเทศ ได้ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อหน้ามหาสมาคม จากนั้นได้ทรงถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้ามหาสมาคมซึ่งประกอบไปด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เหล่าเสนามหาอำมาตย์ ข้าราชบริพาร และพระราชาคณะอันมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร บางลำภู กทม. มีใจความสำคัญ ดังนี้

๑. จักไม่เปลี่ยนแปลงจากพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาอื่น   

๒. จักเสวยน้ำจัณฑ์ (เหล้า) ต่อเมื่อไม่เป็นการผิดพระราชประเพณีต่อฝ่ายที่จะกระชับสัมพันธไมตรี และจะเสวยเพียงเพื่อไมตรีไม่ให้เสียพระเกียรติยศ

๓. จะไม่ล่วงประเวณีต่อสตรีไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติใด ตลอดเวลาที่พ้นออกไปจากพระราชอาณาเขตสยาม

ซึ่งท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่า การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ ไม่ได้เป็นไปเพื่อความสำราญส่วนพระองค์ แต่ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์เพื่อประเทศชาติโดยแท้ จากจดหมายเหตุและพระราชหัตถเลขา ที่ทรงมีมายังพระพันปีหลวงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ทรงบอกชัดเจนว่า

ทรงต้องผจญภัยในท้องทะเล กับคลื่นลมที่แปรปรวน ทรงพบกับความลำบากนานาประการอาทิ ต้องทรงงดเสวยพระโอสถหมากและพระโอสถมวน (หมาก พลู บุหรี่) และต้องให้ช่างมาขูดคราบพระทนต์ (ฟัน) ที่เกิดจากคราบหมากคราบปูนออกเพื่อให้พระทนต์ขาว ห้องพระบรรทมในเรือพระที่นั่งก็ไม่สะดวกสบาย อากาศร้อนเป็นที่สุด การเสวยก็ไม่เป็นไปตามที่ทรงพระประสงค์ ฯลฯ ซึ่งความยากลำบากเหล่านี้เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาแรมเดือน ในช่วงที่ต้องใช้ทะเล มหาสมุทร เป็นเส้นทางเสด็จและในช่วงที่เสด็จรอนแรมในท้องทะเลนั่นเอง คำพยากรณ์ข้อที่ ๑ ของหลวงปู่เอี่ยม วัดโคนอนก็เป็นจริง

เมื่อเรือพระที่นั่งแล่นอยู่ในบริเวณใกล้กับ สะดือทะเล หรือ "ซากัสโซ ซี" อันบริเวณนั้นมักจะเกิดน้ำวนเป็นประจำ และเรือลำใดบังเอิญหลงเข้าไปในวังน้ำวนนั้น ก็มีหวังจมลงอับปางเป็นแน่แท้ และแล้วเรือพระที่นั่งมหาจักรี ก็พลัดเข้าไปในวังวนนั้นจนได้   

กัปต้นคัมมิง (Commander Cumming) แห่งราชนาวีอังกฤษซึ่งไทยได้ขอยืมตัวมาเป็นผู้บังคับการเรือพระที่นั่งเป็นการชั่วคราว ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มสติกำลังความสามารถ บังคับเรือให้สู้กับแรงหมุนและดูดอย่างเต็มที่ ด้วยหากเรือพระที่นั่งเข้าปากวังวนแล้ว การรอดออกมานั้นหมดหนทาง

ในขณะที่วิกฤตินั้น ได้มีผู้เข้าไปกราบทูลให้ทรงทราบ เมื่อระลึกถึงคำพยากรณ์ของพระปลัดเอี่ยมข้อแรกขึ้นมาได้ ก็ทรงจัดฉลองพระองค์ให้รัดกุม อาราธนาผ้ายันต์ของพระปลัดเอี่ยมติดมาด้วย    เมื่อเสด็จมาถึงตอนหัวเรือ กัปตันกำลังแก้ไขสถานการณ์สุดกำลัง ทรงไม่รบกวนสมาธิของกัปตัน แต่เสด็จไปยืนอธิษฐานจิตถึงพระรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราช และบารมีทศพิธราชธรรม และการเลิกทาสที่ทรงพระวิริยะอุตสาหะในการช่วยเหลือพสกนิกรให้พ้นจากการเป็นทาส จบลงด้วยพระปลัดเอี่ยมและผ้ายันต์ ทรงโบกผ้ายันต์นั้นไปมาด้วยความมั่นพระราชหฤทัย แล้วปาฎิหาริย์ก็ปรากฎ เหตุการณ์ก็แปรเปลี่ยน   จู่ ๆ ก็เกิดลมมหาวาตะพัดมาในทิศทางที่อยู่ในแนวเดียวกับวังวน แรงลมทำให้เกิดกระแสคลื่นสะกัดกระแสวนของวังน้ำ ดันเรือพระที่นั่งให้พ้นจากแรงดูดสามารถตั้งเข็มเข้าสู่เส้นทางได้ ท่ามกลางเสียงร้องตะโกนว่า "ฮูเรย์" ของกัปตันและลูกเรือ


ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-iam-wat-nung/lp-iam-wat-nung-hist-02.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
5
ส่วนผู้ติดตามเสด็จนั้นอ้าปากค้างทำอะไรไม่ถูก จนทรงพับผ้ายันต์เก็บแล้วนั่นแหละ จึงค่อย ๆร้องว่า สาธุ สาธุ คำพยากรณ์ข้อแรกเป็นที่ประจักษ์แก่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า "แม่นยำยิ่งนัก"   คงเหลือแต่คำพยากรณ์ข้อที่สองซึ่งยังมาไม่ถึง แต่ก็ทรงเตรียมพระองค์รับสถานการณ์หากจะเกิดขึ้น

เส้นทางเสด็จพระราชดำเนินนั้น   มีช่วงที่รอนแรมในมหาสมุทรอินเดียยาวนานถึง ๑๕ วัน ๑๕คืน  คือเส้นทางระหว่างเมืองกอล (Galle) ประเทศศรีลังกา ไปยังเมืองเอเดน (Aden) เมืองท่าปากทางเข้าสู่ทะเลแดงของประเทศเยเมน ช่วงนี้แหละที่น่าจะเป็นช่วงอันตรายที่สุดและลำบากที่สุด เหตุการณ์ตามคำพยากรณ์ข้อที่ ๑ ข้างต้น    คงเกิดในช่วงเส้นทางนี้  คือระหว่างวันที่ ๒๓ เมษายน  ถึง ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ (ขอย้ำอีกครั้ง เป็นเรื่องเล่า ไม่ได้มีบันทึกไว้ในพระราชหัตถเลขา - เล็ก พลูโต)

ขอรวบรัดตัดตอนเส้นทางเสด็จ ไม่ขอนำความมากล่าวโดยละเอียด ณ ที่นี้ เมื่อพระองค์เสด็จถึงประเทศฝรั่งเศส  ประธานาธิบดี เฟลิกซ์ ฟอร์ ได้ถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ แม้จะไม่เต็มใจนัก แต่แรกไม่คิดจะต้อนรับขับสู้อย่างดีหรอกครับ     แต่สืบข่าวดูแล้ว ทุกประเทศที่พระองค์เสด็จผ่านมาก่อนหน้าที่จะเข้าฝรั่งเศส ไม่ว่าจะเป็นสวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี ออสเตรีย ฮังการี รัสเซีย เดนมาร์ก อังกฤษเบลเยี่ยม เยอรมัน ต่างก็ถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ โดยเฉพาะรัสเซีย พระเจ้าซาร์ นิโคลัสทรงยกย่องนับถือเสมือนหนึ่งพระอนุชาร่วมอุทรของพระองค์เอง มีการฉายภาพพระบรมฉายาลักษณ์คู่กัน เผยแพร่ไปทั่วยุโรป แล้วอย่างนี้ "เจ้าเศษฝรั่ง" จะทำเป็นทองไม่รู้ร้อนได้อย่างไร

ในช่วงที่ทรงพำนักในกรุงปารีส ฝรั่งเศส  ระหว่างวันที่ ๑๑ กันยายน ถึง ๑๗ กันยายน ๒๔๔๐นี่เอง ที่พระองค์ได้ประสบกับความแม่นยำในอนาคตังสญาณของพระปลัดเอี่ยม ข้อที่ ๒ หากไม่ได้เตรียมการ หรือเตรียมพระองค์ล่วงหน้าแล้ว มีหวังที่จะต้องเอาพระชนม์ชีพไปทิ้งเสียที่นี่กระมัง

 --------------------------------------------------------------------------------

               โบราณว่าไว้ "หากไม่เข้าถ้ำเสือ แล้วจะได้ลูกเสืออย่างไร ? " เป็นบทท้าทายคำพิสูจน์ให้เห็นเด่นชัดตอนที่ล้นเกล้า ร.๕ พระปิยมหาราชเสด็จพระราชดำเนินเหยียบดินแดนของผู้ที่ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นศัตรู ที่ร้ายกาจ หวังจะครอบครองแผ่นดินไทยให้ได้ทั้งหมด แม้จะได้เป็นบางส่วนแล้วก็ตามก็หาเป็นที่พอใจไม่

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-iam-wat-nung/lp-iam-wat-nung-hist-02.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด

6

ในช่วงที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนทวีปยุโรปครั้งแรก เมื่อ ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) นั้น สยามประเทศของเรายังคงมีกรณีพิพาทต่อกันในเรื่อง "สิทธิสภาพนอกอาณาเขต" กล่าวคือเราต้องยอมให้อังกฤษและฝรั่งเศสตั้งศาลกงสุลของตนในดินแดนไทย สำหรับตัดสินคดีความต่าง ๆ เมื่อคนของเขา หรือคนใดก็ตามแม้แต่คนไทยหัวใสบางคนที่ยอมตนจดทะเบียนเป็นคนในบังคับ  (คล้าย ๆ กับการโอนสัญชาติ แต่ไม่ใช่ เพราะยังไม่มีสิทธิที่จะพำนักในประเทศของเขา ) ซึ่งก็มีจำนวนไม่น้อย เพราะเวลาทำผิดแล้วไม่ต้องขึ้นศาลไทย ไม่ใช้กฎหมายไทยตัดสิน คนไทยเองก็เถอะ หากทำความผิดต่อคนของเขาแล้ว ต้องขึ้นศาลเขาและต้องยอมเขาทุกอย่าง แม้ศาลไทยจะตัดสินว่า "ถูก" หากเขาเห็นว่า "ผิด"  คนผู้นั้นก็ต้องถูกลงอาญา ซึ่งเป็นหนามยอกอกของคนไทยในสมัยนั้นมาก ต้องยอมให้คนต่างชาติต่างแดนมากดหัวเรา มาเอาเปรียบเรา เป็นการยั่วยุให้เราหมดความอดทน หากก่อสงคราม ก็มีหวังสูญเสียเอกราชของชาติแน่นอน

กรณี "พระยอดเมืองขวาง"  แขวงเมืองคำเกิดคำมวน วีรบุรุษไทยที่รักผืนแผ่นดินไทย รักในองค์พระมหากษัตริย์ไทย ได้ดับความอหังการ์ของทหารฝรั่งเศส ที่บุกรุกอธิปไตยของไทยที่เมืองขวาง จนต้องถูกจำคุกเสียหลายปี แม้ศาลไทยจะให้ปล่อยตัวเพราะเป็นการทำตามหน้าที่ แต่ศาลกงสุลของฝรั่งเศสในไทยตัดสินให้จำคุก ท่านก็ต้องติดคุกเพื่อชาติ เรื่องนี้คนไทยทั้งแผ่นดินในขณะนั้น แค้นแทบจะกระอักเลือดเลยครับ เกือบจะทำสงครามกันรอมร่ออยู่แล้ว  ดีแต่องค์พระปิยมหาราชเจ้า ท่านทรงดำเนินวิเทโศบายด้านต่างประเทศด้วยการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเสียก่อน แล้วพระองค์ก็ทรงทำสำเร็จเสียด้วย ผู้ที่แค้นแทบจะกระอักเลือดแทน ก็คงจะเป็น "เจ้าเศษฝรั่ง" น่ะเองซึ่งมันก็รอจังหวะและโอกาสที่จะล้างแค้นเหมือนกัน มันคิดว่า

"หากไม่มีล้นเกล้า ฯ ร.๕ เสียพระองค์หนึ่ง สยามประเทศเราก็เปรียบเสมือนมังกรที่ไร้หัว" ที่นี้คงมีโอกาสมากขึ้นหากจะฮุบประเทศชาติของเราไว้ในกำมือ และแล้วแผนการอันแยบยลก็อุบัติขึ้นเมื่อพระองค์เสด็จเยือนประเทศฝรั่งเศส แม้เขาจะต้อนรับพระองค์อย่างสมพระเกียรติก็ตาม แต่นั่นเป็นเพียงหน้าฉากเท่านั้น หลังฉากน่ะหรือ ?   ได้กำหนดขึ้นเพื่อต้อนรับพระองค์ไว้เรียบร้อยแล้ว ในสนามแข่งม้าชานกรุงปารีสนั่นเอง เมื่อพระองค์ได้รับคำทูลเชิญให้เสด็จทอดพระเนตรการแข่งม้านัดสำคัญนัดหนึ่งซึ่งมีขุนนาง ข้าราชการ พระบรมวงศานุวงศ์ฝรั่งเศสมาชมกันมาก พวกมันได้นำเอาม้าดุร้ายและพยศอย่างร้ายกาจมาถวายให้ทรงประทับ โดยถือโอกาสขณะที่อยู่ท่ามกลางมหาสมาคม แม้รู้ว่าม้านั้นดุร้าย พระปิยมหราชเจ้าก็จะไม่ทรงหลีกหนี ด้วยขัตติยะมานะที่ทรงมีอยู่ในฐานะผู้นำประเทศ หากทรงพลาดพลั้งนั่นคือ "อุบัติเหตุ" ใครก็จะเอาผิดหรือต่อว่าเจ้าเศษฝรั่งไม่ได้

 ม้าตัวนั้นเล่าลือกันว่า     เคยโขกกัดผู้เลี้ยงดูและผู้หาญขึ้นไปขี่ตายมาแล้วหลายคน จะเอาไปไหนต้องมีคนจูงด้วยเชือกล่ามเท้าทั้งสี่ไว้    เพื่อป้องกันการพยศและขบกัดผู้คน นัยว่าเป็นม้าของเจ้าชายแห่งฝรั่งเศสพระองค์หนึ่ง     เมื่อถูกนำเข้ามาในสนาม ทุกคนก็ส่งเสียงร้องด้วยความตกใจและหวาดกลัว ตัวแทนรัฐบาลฝรั่งเศสเริ่มวางหลุมพราง โดยกราบบังคมทูลว่า

 "ไม่ทราบเกล้าว่าเมื่ออยู่ในสยามประเทศเคยทรงม้าหรือไม่ พระเจ้าข้า"

"แน่นอน  ข้าพเจ้าเคยทรงอยู่เป็นประจำ เพราะในสยามประเทศก็มีม้าพันธุ์ดีอยู่มาก"

"โอ วิเศษ ขออัญเชิญพระองค์ทรงเสด็จขึ้นทรงม้า ตัวที่กำลังถูกจูงเข้ามานี้ให้ประจักษ์ชัดแก่สายตาของผู้คนในสนามม้านี้ด้วยเถิดพระเจ้าข้า"

ตัวแทนรัฐบาลฝรั่งเศสกราบทูลด้วยความกระหยิ่มใจ

"แน่นอน  ข้าพเจ้าจะแสดงให้ท่านทั้งหลายได้ดูว่า กษัตริย์แห่งสยามประเทศนั้นไม่เคยหวาดหวั่นกลัวแม้แต่อัสดรที่พยศดุร้าย หรือผู้คุกคามที่มีอาวุธพร้อมสรรพ "


ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-iam-wat-nung/lp-iam-wat-nung-hist-02.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด

7

ขอบคุณภาพจาก
http://www.oknation.net/blog/nidnhoi/2011/07/26/entry-3

จบพระราชดำรัสก็ทรงลุกขึ้นเปิดพระมาลาขึ้นรับการปรบมืออันกึกก้องสนามม้าแห่งนั้น แล้วเสด็จพระราชดำเนินลงจากอัฒจันทร์ สู่ลู่ด้านล่างซึ่งขณะนั้นม้ายืนส่งเสียงร้องและเอากีบเท้าตะกุยจนหญ้าขาดกระจุยกระจาย

คำพยากรณ์ของพระปลัดเอี่ยมยังกึกก้องอยู่ในพระกรรณ ทรงก้มพระวรกายลงใช้พระหัตถ์ขวารวบยอดหญ้าแล้วดึงขึ้นมากำมือหนึ่ง ทรงตั้งจิตอธิษฐานถึงพระรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราชและพระปลัดเอี่ยม เจริญภาวนาพระคาถาอิติปิโสเรือนเตี้ยที่พระปลัดเอี่ยมถวายสามจบ ทรงเป่าลมจากพระโอษฐ์ลงไปบนกำหญ้านั้น แล้วแผ่เมตตาซ้ำ ยื่นส่งไปที่ปากม้า เจ้าสัตว์สี่เท้าผู้ดุร้ายสะบัดแผงคอส่งเสียงดังลั่นก่อนจะอ้าปากงับเอาหญ้าในพระหัตถ์ไปเคี้ยวกินแล้วก็กลืนลงไป

ผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศสโบกผ้าเช็ดหน้า เป็นสัญญาณให้แก้เชือกที่ตรึงเท้าม้าออกไปพ้นทั้งสี่เท้าบัดนี้เจ้าสัตว์ร้ายพ้นจากพันธนาการ และบรรดาผู้ที่จูงมันเข้ามาก็ผละหนี    เพราะเกรงกลัวในความดุร้ายของมัน พระปิยะมหาราชเจ้าทรงทอดสายพระเนตรจับจ้องอยู่ที่นัยน์ตาของม้านั้น ก็เห็นว่ามันมีแววตาอันเป็นปกติ มิได้เหลือกโปนดุร้าย ทรงเอื้อมพระหัตถ์ไปตบที่ขาหน้าของมันสามครั้ง เจ้าม้านั้นก็ก้มหัวลงมาดมที่พระกรไม่แสดงอาการตื่น  หญ้าเสกสำริดผลตามประสงค์

อาชาที่ดุร้ายกลับเชื่องลงเหมือนม้าลากรถ เจ้าชีวิตแห่งสยามประเทศยกพระบาทขึ้นเหยียบโกลนข้างหนึ่งแล้วหยัดพระวรกายขึ้นประทับบนอานม้าอย่างสง่างามไร้อาการต่อต้านของม้าที่เคยดุร้ายเสียงคนบนอัฒจันทร์ส่งเสียงตะโกนขึ้นเป็นเสียงเดียวกันว่า "บราโวส บราโวส" อันหมายถึงว่า "วิเศษที่สุด เก่งที่สุด ยอดที่สุด" ทรงกระตุ้นม้าให้ออกเดินเหยาะย่างไปโดยรอบสนาม  ผ่านอัฒจันทร์ที่มีผู้คนคอยชม  เปิดพระมาลารับเสียงตะโกนเฉลิมพระเกียรติบางคนก็โยนหมวก โดยมีดอกกุหลาบลงมาเกลื่อนสนามตลอดระยะทางที่ทรงเหยาะย่างม้าผ่านไปจนครบรอบ จึงเสด็จลงจากหลังม้ากลับขึ้นไปประทับบนพระที่นั่งตามเดิม

บรรดาพี่เลี้ยงม้าก็เข้ามาจูงม้านั้นออกไปจากสนาม คำพยากรณ์ข้อที่สองและคาถาที่พระปลัดเอี่ยมแห่งวัดโคนอนถวาย ได้สำริดผลประจักษ์แก่พระราชหฤทัย ทรงระลึกถึงพระปลัดเอี่ยมว่า เป็นผู้ที่จงรักภักดีโดยแท้จริง และได้ช่วยให้ทรงผ่านสถานการณ์อันเลวร้ายมาถึงสองครั้งสองครา  และทั้งหมดนี้คือจุดเล็ก ๆ    ในเกร็ดพระราชประวัติ เป็นปฐมเหตุแห่งพระบรมรูปทรงม้า หน้าพระราชวังดุสิต ที่เล่าขานกันต่อมาช้านาน และยังคงกึกก้องในโสตประสาทของปวงชนชาวไทยต่อไป ชั่วกาลปาวสาน


 :054: :054: :054: :054: :054:
ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-iam-wat-nung/lp-iam-wat-nung-hist-02.htm