ผู้เขียน หัวข้อ: ธ ร ร ม ทาน  (อ่าน 1788 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

naca

  • บุคคลทั่วไป
ธ ร ร ม ทาน
« เมื่อ: 29 ส.ค. 2549, 05:33:15 »
ขอประนมนมัสการคุณครูอาจารย์http://www.dhammajak.net/

--------------------------------------------------------------------------------
 

สมาธิ
เรื่องการเจริญสมาธิด้วยการกำหนดรู้และละอารมณ์
พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
ประกายธรรม รวบรวมและเรียบเรียง
ธรรมสภาจัดพิมพ์เผยแพร่ พุทธศักราช ๒๕๔๐


คำนำ


หนังสือการทำสมาธิเรื่องการเจริญสมาธิด้วยการกำหนดรู้และละอารมณ์ ของท่านเจ้าคุณพระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เล่มนี้ เป็นการรวบรวมบทธรรมเทศนาเรื่องสมาธิและวิธีฝึกสมาธิจากหนังสือ ประวัติ ปฏิปทา และคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร.ปฐม นิคมานนท์ ได้เรียบเรียงขึ้นจากบันทึกและความทรงจำของพระโพธินันทมุนี (สมศักดิ์ ปญฺฑิโต)

ธรรมสภาขอกราบขอบพระคุณและระลึกถึงในคุณูปการของท่านเป็นอย่างยิ่ง ที่ช่วยให้คำสอนอันทรงคุณค่าทางด้านจิตใจของหลวงปู่ดูลย์ ได้มีโอกาสเผยแพร่สู่สาธุชนผู้ใฝ่ใจในธรรมปฏิบัติตามแนวทางของท่าน ซึ่งเป็นสัมมาปฏิบัติตามแนวทางขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์พระศาสดาแห่งพระพุทธศาสนาผู้ทรงเป็นแสงสว่างแห่งโลก

?สมาธิ? เป็นเรื่องของการฝึกอบรมจิตในขั้นลึกซึ้ง เป็นเรื่องละเอียดปราณีต ทั้งในแง่ที่เป็นเรื่องของจิตอันเป็นของละเอียด และในแง่การปฏิบัติที่มีรายละเอียดกว้างขวางซับซ้อน

ลักษณะของจิตที่เป็นสมาธินั้น มีองค์ประกอบสำคัญ ๓ ประการ คือ มีความบริสุทธิ์ ๑ มีความตั้งมั่น ๑ และมีความว่องไวควรแก่การงาน ๑ จิตที่มีองค์ประกอบเช่นนี้เหมาะแก่การเอาไปใช้ได้ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพิจารณาสภาวธรรม ให้เกิดความรู้แจ้งตามความเป็นจริง จนหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง อันเป็นจุดหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา และสมาธิก็ยังมีคุณประโยชน์อย่างอื่นอีกมากมาย ซึ่งเป็นผลขั้นต้นในชีวิตประจำวัน อันได้แก่

๑) เป็นเครื่องเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน การเล่าเรียนและการทำกิจทุกอย่าง
๒) ช่วยให้จิตใจผ่อนคลายจากความเครียดและความกลัดกลุ้มวิตกกังวลต่างๆ
๓) ช่วยพัฒนาสุขภาพจิตและบุคลิกภาพ ให้เป็นผู้ที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ และมีภูมิคุ้มกันโรคทางจิต
๔) ช่วยเสริมสุขภาพกายและใช้แก้โรค เหล่านี้เป็นต้น

เมื่อสมาธิมีคุณประโยชน์นานัปการดังกล่าวแล้ว จึงเป็นเรื่องที่ทรงคุณค่าควรแก่การศึกษาปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง

อนึ่ง ในการฝึกอบรมเจริญสมาธินั้น มีวิธีการและรายละเอียดมากมาย ซึ่งผู้สนใจพึงศึกษาและเลือกปฏิบัติให้สอดคล้องกับอุปนิสัยของตน ก็จักประสบผลสำเร็จได้สมดังประสงค์ทุกประการ


ด้วยความสุจริตและหวังดี
ธรรมสภาปรารถนาให้โลกพบความสงบสุข

naca

  • บุคคลทั่วไป
ตอบ: ธ ร ร ม ทาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 29 ส.ค. 2549, 05:36:37 »
2
สารบัญ


คำนำ
บทนำ
๑. จิตคือพุทธะ
๒. แนวทางการทำสมาธิภาวนา
๓. ปริยัติ-ปฏิบัติ
๔. ศีล สมาธิ ปัญญา แต่ละระดับ
๕. สมาธิอันใด ปัญญาอันนั้น
๖. วิธีเจริญสมาธิภาวนา
๗. อธิบายหลักธรรมสำคัญเกี่ยวกับสมาธิ
๘. สมาธิภาวนากับนิมิต
๙. วิปัสสนูปกิเลส
๑๐. เรื่องจิต เรื่องอิทธิฤทธิ์
๑๑. บันทึกธรรมเทศนาเกี่ยวกับสมาธิ
๑๒. ประสบการณ์ภาวนา

บทธรรมสมาธิจากพระไตรปิฎก
๑. คุณของอานาปานสติ
๒. วิธีเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก
๓. ฌาน
๔. ผู้ได้ฌาน
๕. แสดงญาณความรู้ อันสำเร็จมาแต่การเจริญสมาธิ
๖. มหาสติปัฏฐานสูตร 
 


 
 

naca

  • บุคคลทั่วไป
ตอบ: ธ ร ร ม ทาน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 29 ส.ค. 2549, 05:39:40 »
3

--------------------------------------------------------------------------------
บทนำ
รู้ตัวอยู่เสมอ


พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ?ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า สติมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง?

ในมุฏฐัสสติสูตร กล่าวถึงประโยชน์ของสติไว้ว่า ทำให้คนหลับอย่างเป็นสุข ตื่นอยู่ก็เป็นสุข ไม่ฝันลามก เทวดารักษา น้ำอสุจิไม่เคลื่อน

อีกแห่งหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ?ภิกษุผู้มีสติคุ้มครองตนแล้วย่อมอยู่เย็นเป็นสุข?

พูดง่ายๆ ว่า มีสติเพียงอย่างเดียว สบายไปแปดอย่างว่างั้นเถอะ

พระสงฆ์องค์เจ้าโดยทั่วไปต่างเจริญสติกันทั้งนั้น อย่างหลวงปู่ดูลย์ อตุโลท่านก็เป็นพระมหาเถระอีกรูปหนึ่ง ที่ฝึกตนด้วยสติและสอนให้ผู้อื่นใช้สติ

ในการใช้ชีวิตประจำวันของคนเรา หลวงปู่ดูลย์บอกให้เอาสติกำกับ ให้เป็นอยู่ด้วยสติ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน ให้รู้ตัวอยู่เสมอ รู้อยู่เฉยๆ ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะว่าอะไรเป็นอะไร นั่นเป็นนั่น นี่เป็นนี่ การฝึกครั้งแรกค่อนข้างยากหน่อย ท่านบอกว่าเมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน ซึ่งเป็นธรรมดาของผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไปคิดในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง

เพราะฉะนั้น ไม่ต้องไปเคร่งเครียดอะไรมาก ขอให้รู้ตัวเอาไว้

ภายหลังจิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ต่างๆ แล้ว เมื่อรู้สึกตัวทั่วพร้อม ให้พิจารณาเปรียบเทียบสภาวะของตน ในระหว่างที่จิตเที่ยวไปกับในระหว่างที่จิตมีความรู้ตัว ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร

รู้ไว้ทำไม ?

ก็เพื่อเป็นอุบายสอนใจตนให้รู้จักจดจำ

ขณะที่จิตเที่ยวไปจุ้นจ้านอยู่ที่นั่นที่นี่ จิตจะไร้พลังประสบกับความกระวนกระวาย เหน็ดเหนื่อย เป็นทุกข์พอสมควร ขณะนั้นเราไม่รู้ตัว แต่ขณะที่จิตหยุดอยู่ เพราะมีสติวิ่งมานั้น จิตจะสงบ รู้ตัว เยือกเย็น สุขสบาย

ลองเปรียบเทียบขณะจิตทั้งสองเวลานั้น ก็จะรู้โทษของการแส่ไปตามอารมณ์กับคุณของการรู้ตัว แล้วจะเกิดความรู้สึกว่าอยากจะอยู่กับจิตชนิดไหน

แน่นอนที่สุด ใครๆ ก็อยากจะอยู่กับจิตที่มีสติ

ทุกครั้งที่จิตวิ่งไปข้างนอก ให้พยายามรู้ตัว แล้วค่อยๆ ดึงกลับมา ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป เผลอออกไปดึงกลับมา อย่างนี้เรื่อยไป เมื่อถึงจุดอิ่มตัว ก็จะกลับรู้ตัวทั่วพร้อมอย่างเดิมอีก

หลวงปู่ดูลย์กล่าวว่า

เมื่อรู้ตัวแล้ว ก็พิจารณาและรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบายอย่างนี้ไม่นานนักก็จะสามารถคุมจิตได้ และบรรลุธรรมในที่สุด โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร

ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป

ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ ให้ลองนึกคำว่า ?พุทโธ? หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตว่า คำที่นึกนั้นชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานของจิต

หลวงปู่ดูลย์ได้ให้ทางแก้ไว้ด้วยโดยใช้ ?พุทโธ? จะเป็นคำอื่นก็ได้ แต่คำ ?พุทโธ? ดีที่สุด

ฐานแห่งจิตจะอยู่ไม่คงที่ เปลี่ยนที่อยู่ไปเรื่อย แต่ว่าอยู่ในกายแน่นอน ไม่ต้องไปหานอกกาย

ท่านบอกว่าฐานแห่งจิตที่นึก ?พุทโธ? ปรากฏชัดที่สุด ย่อมไม่มีอยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่

แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้นจะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว

เมื่อกำหนดถูก และ ?พุทโธ? ปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อยๆ อย่าให้ขาดสายได้ ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นไปสู่อารมณ์ทันที

เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเอง ก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง

เมื่อคุมจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ ให้ใช้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมนั่นแหละ

ต่อไปก็ดูว่า มีอารมณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง อะไรเกิดขึ้นก็ช่าง ให้ละทิ้งให้หมด โดยละทิ้งทีละอย่าง อะไรเกิดก่อน ให้ละก่อน อะไรเกิดหลัง ให้ละทีหลัง แล้วเอาสติมาดูจิตต่อไป

กำหนดรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น และละอารมณ์นั้นๆ ให้หมด
กำหนดรู้และละไปเท่านั้น
นี่เป็นวิถีแห่งสมาธิของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล


(มีต่อ ๑) 
 

naca

  • บุคคลทั่วไป
ตอบ: ธ ร ร ม ทาน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 29 ส.ค. 2549, 05:44:35 »
3

--------------------------------------------------------------------------------

จิตคือพุทธะ


ในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรมสายพระกัมมัฏฐาน ทั้งพระภิกษุและฆราวาส ให้การยอมรับว่า “หลวงปู่ดูลย์ อตุโล นับเป็นพระองค์ที่มีความรู้ลึกซึ้งในเรื่องของจิตมาก จนกระทั่งได้รับสมญาว่าเป็นบิดาแห่งการภาวนาจิต”

ประจักษ์พยานแห่งสมญานามดังกล่าวจะเห็นได้จาก คำเทศน์ คำสอน และความสนใจของหลวงปู่ อยู่ในเรื่อง “จิต” เพียงอย่างเดียว เรื่องอื่นนอกจากนั้นหาได้อยู่ในความสนใจของหลวงปู่ไม่

ด้วยความลึกซึ้งในเรื่องจิต จึงทำให้หลวงปู่ประกาศหลักธรรม โดยใช้คำว่า “จิต คือ พุทธะ” โดยเน้นสาระเหล่านี้ เช่น

“พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งนั้น ไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียงจิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งนี้แล้ว ไม่มีอะไรตั้งอยู่เลย”

“จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย”

จิตหนึ่งเท่านั้นที่เป็นพระพุทธะ ดังคำตรัสที่ว่า

“ผู้ใดเห็นจิต ผู้นั้นเห็นเรา
ผู้ใดเห็นปฏิจฺจสมุปฺบาท ผู้นั้นเห็นธรรม
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต”

ในการสอนของหลวงปู่ ท่านจะเตือนสติสานุศิษย์เสมอๆ ว่า

“อย่าส่งจิตออกนอก”

หลวงปู่ยังสอนแนวทางปฏิบัติ อีกว่า “จงทำญาณให้เห็นจิต เมื่อเห็นจิตได้ ก็จะสามารถแยกรูป ถอดด้วยวิชชามรรคจิต เพื่อที่จะแยกรูปกับกายให้อยู่คนละส่วน และจะเข้าใจพฤติของจิตได้ในลำดับต่อไป”

คำสอนเกี่ยวกับเรื่องจิตของหลวงปู่ ที่มีการบันทึกไว้ในที่อื่นๆ อีก ก็มีเช่น :-

“หลักธรรมที่แท้จริง คือ จิต จิตของเราทุกคนนั่นแหละ คือหลักธรรมสูงสุดในจิตใจเรา นอกจากนั้นแล้ว ไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย

จิตนี้แหละ คือ หลักธรรม ซึ่งนอกไปจากนั้นแล้วก็ ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้นโดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต

ขอให้เลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดได้ถูกตัดทอนไปแล้ว พิษของจิตก็ได้ถูกถอนขึ้นจนหมดสิ้น

จิตในจิตก็จะเหลือแต่ความบริสุทธิ์ซึ่งมีอยู่ประจำแล้วทุกคน”

ด้วยเหตุนี้ การสอนของหลวงปู่จึงไม่เน้นที่การพูด การคิดหรือการเทศนาสั่งสอน แต่ท่านจะเน้นที่การภาวนา และให้ดูลงที่จิตใจของตนเอง อย่าไปดูสิ่งอื่น เช่น อย่าไปสนใจดูสวรรค์ ดูนรก หรือสิ่งอื่นใด แต่ให้ดูที่จิตของตนเอง ให้ดูไปภายในตนเอง

“อย่าส่งจิตออกนอก” จึงเป็นคำที่หลวงปู่เตือนลูกศิษย์อยู่เสมอ


(มีต่อ ๒) 


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ส.ค. 2549, 04:24:19 โดย เว็บ... »