ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกธรรม...๑๙ ก.ค.๕๒  (อ่าน 1037 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
บันทึกธรรม...๑๙ ก.ค.๕๒
« เมื่อ: 20 ก.ค. 2552, 07:24:10 »
 :054:จิตเกิดปฏิฆะก็รู้ว่าปฏิฆะ  มองหาสาเหตุที่ทำให้เกิดปฏิฆะ จิตขุ่นมัวและเศ้ราหมอง  ตัดบทเดินหนี ไม่ต่อปากต่อคำ ไปกำหนดสติ
ปรับธาตุในกายให้มันเย็นลง โดยใช้วิธีการหายใจเข้าออกอย่างช้าๆ เพื่อให้มีสติกลับคืนมา ซึ่งใช้เวลาไม่เกิน๓ นาทีธาตุในกายก็สงบลงได้
สติและสัมปชัญญะกลับคืนมา เพราะขณะที่เกิดปฏิฆะนั้น หัวใจมันจะเต้นแรง การสูบฉีดของเลือดลมก็เร็วขึ้น ทำให้เกิดความร้อนในร่างกาย
ความร้อนเกิดขึ้นบริเวณทรวงอก ใกล้กับหัวใจ และจะเคลื่อนตัวขึ้นมาสู่เบื้องบน เพราะธาตุลมเมื่อโดนความร้อนจะลอยตัวขึ้นมา ทำให้รู้สึก
มึนศีรษะ และถ้าปล่อยให้มันเป็นไปเลือดลมก็จะสูบฉีดแรงขึ้น ทำให้เส้นเลือดขยายตัว เกิดอาการปวดหัวจี๊ดขึ้นมา เพราะว่าเส้นเลือดมันเล็ก
ต้องขยายตัวอย่างมาก เมื่อเลือดลมมันมามากเกินไปที่เส้นเลือดจะรับได้ ก็จะเกิดการแตกของเส้นเลือดที่จะไปเลี้ยงสมอง และเมื่อเส้นเลือดแตก เลือดลมก็ไม่สามารถที่จะไปหล่อเลี้ยงสมองได้ เมื่อสมองขาดเลือดลมที่จะไปหล่อเลี้ยง มันก็จะหยุดทำงานและตามไป เมื่อสมองส่วน
สั่งการและควบคุมร่างกายไม่ทำงานร่างกายเราก็จะเป็นอัมพฤกษ์  ไม่สามารถที่จะสั่งให้มันเคลื่อนไหวได้และจะทำให้กลายเป็นคนพิการไป
    เห็นทุกข์ เห็นโทษ เห็นภัย ของอารมณ์ปฏิฆะความโกรธ เพราะเกิดจากการที่ฝึกจิต ให้มีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ไม่ให้ความโกรธ
เข้ามาครอบงำ และตั้งอยู่ได้นาน เพียงผ่านเข้ามาแล้วดับไป โดยใช้เวลาไม่นาน""กิเลสที่จรมายังจิตนี้ให้เศร้าหมอง"" เพราะเราไปรับเอา
อารมณ์ของผู้อื่นที่มากระทบจิตเรา แล้วเราเข้าไปส้องเสพปรุงแต่งในอารมณ์เหล่านั้น มันก็จะทำให้เราทุกข์กายทุกข์ใจ เพราะจิตของเราไป
ยึดติดอยู่กับอารมณ์เหล่านั้น และให้มันมีอำนาจมาครอบงำจิตเรา ให้เผลอสติคล้อยตามมัน..
     :054:แด่จิตปฏิฆะที่สอนธรรมให้มีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันอารมณ์เหล่านั้น :059:
                        เชื่อมั่น-เคารพ-ศรัทธา-ในสติมหาปัฏฐานทั้งหลาย
                                        รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เวลา ๐๗.๒๔ น. ณ กุฏิน้อยริมน้ำโขง ชายแดนประเทศไทย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 ก.ค. 2552, 07:25:54 โดย RaveeSajja »
ใช่หวังจะดังเด่น  จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ  ซึ่งมานะและอัตตา
เร่ร่อนและรอนแรม ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา  ผ่านร้อยป่าและภูดอย
ลาภยศและสรรเสริญ  ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย  จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
       ปณิธานในการปฏิบัติธรรม

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: บันทึกธรรม...๑๙ ก.ค.๕๒
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 20 ก.ค. 2552, 04:55:15 »
กราบนมัสการขอบพระคุณพระอาจารย์ครับ ความโกรธให้โทษทั้งทางกายและทางจิต จริงๆครับ...

ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ 

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: บันทึกธรรม...๑๙ ก.ค.๕๒
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 20 มี.ค. 2554, 10:45:15 »
ปฏิฆะ

คำแปล2

(มค. ปฏิฆ) น. ความขัดใจ เป็นอาการของจิต อย่างหนึ่ง หากระงับไว้ไม่ได้จะกลายเป็นความ โกรธและพยาบาทต่อไป เมื่อจิตของเราไม่พอใจกับอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง (อรติ) แล้ว หาก ไม่ระงับความไม่พอใจนั้นเสียก็จะเกิดปฏิฆะ คือ ความขัดใจ หมายถึงจิตไม่อาจลืมอารมณ์นั้น เสียได้ อย่างนี้บางทีเรียกว่าความแค้นใจ ถ้าใจมี ปฏิฆะแล้วก็จะรู้สึกว่าไม่เป็นอันคิด การงาน หากไม่ระงับปฏิฆะเสียก็จะเกิดโกธะ (ความโกรธ) โทสะ (ความคิดร้าย) พยาบาท (ความคิดแก้แค้น) ต่อไป.

===============

การดับปฏิฆะเป็นพระนิพนธ์บทหนึ่งของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ปฏิฆะคือความกระทบกระทั่งไม่ชอบใจ ผิดใจ เมื่อมีปฏิฆะอยู่ในบุคคลใด ก็ย่อมจะมีความลำเอียงเพราะโทสาคติ คือความลำเอียงเพราะความชังในบุคคลนั้น จะไม่ใคร่มองเห็นความดีของบุคคลนั้น จะมองเห็นความไม่ดีอยู่เสมอ

การแผ่เมตตาดับปฏิฆะไปในบุคคลที่ไม่เป็นที่รัก เช่น ในผู้ที่เป็นศัตรู ถ้าหากจิตใจยังไม่เป็นอุเบกขา คือยังดับปฏิฆะในใจไม่ได้ การแผ่เมตตาออกไปในบุคคลที่ชังกันนั้นยากมาก จิตไม่ยอมที่จะเมตตา ยิ่งไปคิดถึงบางทีกลับไปเพิ่มความพยาบาท โทสะให้มากขึ้นไปอีก

เพราะฉะนั้นต้องคิดดับปฏิฆะในใจ ทำใจให้เป็นอุเบกขาให้ได้ โดยที่ปลงลงในกรรม เป็นกรรมของบุคคลที่ตนไม่ชอบนั้นเองด้วย เป็นกรรมของตนเองด้วย และไม่ว่าจะเป็นศัตรูคือบุคคลที่ตนไม่ชอบหรือว่าเป็นตนเอง เมื่อทำอะไรออกไปทางกาย ทางวาจา ตลอดจนถึงทางใจ

กรรมที่ทำนั้นถ้าเป็นอกุศลก็เป็นอกุศลกรรมของตนเองเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นพิจารณาดูว่าไม่ชอบเขาเพราะอะไร เขาเป็นศัตรูเพราะอะไร สมมติว่าไม่ชอบเขา เห็นว่าเขาเป็นศัตรู เขาทำร้าย เขาพูดร้าย เขาแสดงอาการคิดร้ายต่อตนอย่างใดอย่างหนึ่ง

คราวนี้ก็มาพิจารณาปลงลงในกรรม ก็พิจารณาว่าการทำร้าย การพูดร้าย การคิดร้ายของเขานั้นใครเป็นคนทำ เขาทำหรือว่าเราทำ ก็ต้องตอบว่าเขาทำ ก็เมื่อเขาทำก็เป็นกรรมของเขา เมื่อเขาทำร้าย เขาคิดร้าย เขาพูดร้ายจริงแม้ต่อเรา กรรมที่เขาทำนั้นก็เป็นอกุศลกรรมของเขาเอง เราไม่ได้ทำก็ไม่เป็นกรรมของเรา

แม้ว่าเราจะเดือดร้อนเพราะกรรมเขาก็จริง แต่กรรมที่เขาทำก็เป็นกรรมของเขาเอง ไม่ใช่กรรมชั่วของเรา เมื่อแบ่งกรรมออกได้ดังนี้แล้ว ก็จะทำให้ปลงใจลงในกรรมได้ไม่มากก็น้อย หรือว่าปลงลงไปได้ครึ่งหนึ่ง หรือว่าค่อนหนึ่ง หรือว่าทั้งหมด

ถ้าหากว่าสามารถพิจารณาให้เห็นจริงจังดั่งนั้นได้ และก็ดูถึงกรรมของตนเองว่า อาจจะเป็นที่ตนกระทำกรรมอันใดอันหนึ่งที่เป็นกรรมชั่วของตน แต่ว่าไปทำให้คนอื่นเขาเดือดร้อนในอดีต(อดีตชาติ)บ้าง หรือว่าในปัจจุบันบ้างก็ได้

เพราะฉะนั้นก็ให้อโหสิกรรมกันไปเสีย คิดปลงลงไปดั่งนี้ แล้วก็จะทำให้ดับปฏิฆะลงไปได้ คิดแผ่เมตตาไปแม้ในคนที่เป็นศัตรูหรือคนที่ชังกันก็ย่อมจะทำได้ง่าย
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ