ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติพระพิฆเนศ  (อ่าน 41748 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ umpawan

  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 3112
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ประวัติพระพิฆเนศ
« เมื่อ: 25 ธ.ค. 2552, 06:41:15 »


พระคเณศเทพเจ้าองค์สำคัญองค์หนึ่งของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูทรงเป็นเชษฐโอรสที่ใกล้ชิดของมหาเทพผู้ทรงเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่คือ พระศิวะและพระอุมา ซึ่งพระศิวะนั้นชาวอินเดียเชื่อกันว่าพระองค์เป็นเทพผู้เป็นต้นกำเนิดของสิ่งทั้งปวงในจักรวาล มีเครื่องหมายในการสร้างเรียกว่าศิวลึงค์ ถือว่าเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ และในขณะเดียวกัน ก็เป็นผู้มีหน้าที่ทำลายล้างโลก จึงได้รับการนับถือให้เป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดใน
ศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีพระวรกายเป็นสีแดง สีขาว และสีดำ ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามยุคต่าง ๆ มีสามเนตร เนตรที่ 3 อยู่กลางพระนลาฏ ผาเกล้าเป็นมุ่นขมวด มีพระจันทร์เสี้ยวเป็นปิ่น มีพระคำกะโหลกหัวคนคล้อง พระศอมีงูเป็นสังวาล นุ่งหนังสือ อาวุธประจำกายที่ขันธกุมาร ทรงโคเผือกนนทิเป็นพาหนะ นอกจากนี้ยกย่องให้พระองค์เป็น "นาฏราช" หรือราชาแห่งการฟ้อนรำโดยถือว่าเป็นผู้ให้กำเนิดมากศิลปด้วยทั้งนี้ในคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์ ได้กล่าวถึงการฟ้อนรำของพระองค์ว่า มีบทบาทสำคัญมาก แสดงถึงพลังในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับจักรวาร 5 ประการ คือ

การสร้าง การดูแลให้คงอยู่ การทำลาย การปิดบัง การอนุเคราะห์ โดยทรงทำกิจกรรมเหล่านี้พร้อมกันด้วยการแสดงท่าด้วยพระหัตถ์และพระบาท ท่าฟ้อนรำมีทั้งหมด 108 ท่า ซึ่งเป็นต้นแบบแห่งการฟ้อนรำตามตำนานกล่าวว่าทรงฟ้องรำท่ามกลางคณะเทพซึ่งทรงดนตรีชนิดต่าง ๆ อาทิ
พระพรหมตีฉิ่ง พระคเณศตีกลองและเทพบุตรนนทิตีตะโพนเป็นต้น ทั้งในเมืองสวรรค์และเมืองมนุษย์ ซึ่งอาจจะเป็นเหตุให้พระคเณศซึ่งเป็นผู้ได้ชื่อว่ามีสติปัญญาเฉลียวฉลาดเป็นอย่างยิ่งสามารถจดจำท่าร่ายรำของพระอิศวรได้
ชาวอินเดียได้ถ่ายทอดคติความเชื่อนี้ลงสู่งานศิลปะในรูปเคารพทั้งที่เป็นประติมากรรมลอยตัวและภาพสลักรูป "ศิวนาฏราช" หรือพระนฤเตศวร คือ พระศิวะในปางนฤติบูรติ (พระศิวะทรงฟ้อนรำ)

รวมทั้งประดิษฐ์นาฏยคเณศ (พระคเณศช่างเต้นรำ) ตามศาสนสถานทั่วไปด้วยและได้รวบรวมเป็นตำราเผยแพร่พร้อมกับศาสนามายังประเทศต่าง ๆ ในเอเชียอาคเนย์ เช่น อินโดนีเซีย ของคนในเขมร และไทย โดยไทยได้รับมาดับแปลงแก้ไขให้เหมาะสมและสวยงามตามแบบฉบับของไทย และกลายเป็นเอกลักษณ์ของตนเองในที่สุด
นอกจากนี้แล้วกรมศิลปากรยังแต่งบทการแสดงที่มีพระคเณศเกี่ยวข้องคือ ระบำวานรพงศ์และระบำวีรชัยสิบแปดมงกุฏซึ่งเป็นการแสดงชุดพิเศษในโขนชุดรามาวดาร กล่าวถึงตอนที่พระอิศวรทรงให้เหล่าเทพยาดาอวตารมากำเนิดในสุริยวงศ์เป็นวานรที่ฤทธิ์เดช ซึ่งพระคเณศได้อวตารมาเป็นวานรชื่อ "นิลขัน" หนึ่งในสิบแปดมงกุฏของกองทับวานรที่มาช่วยเหลือพระรามปราบอธรรม โดยมีสีกายเป็นสีแดงตามสีกายเดิมแลการแสดงโขนตอนพิเภกสวาภิกักดิ์ กล่าวถึงตอนพิเภกถูกขับออกจากกรุงลงกา และเดินทางมาขอเฝ้าพระรามระหว่างทางได้พบกับพวกสิบแปดมงกุฏจึงถูกเหล่าวานรจับตัวไปเข้าเฝ้าพระราม
บทบาทความสำคัญของพระพิฆเณศ

คนไทยคุ้นเคยกับบรรดาเทพทั้งหลายมาช้านานแต่ในบรรดาเทพทั้งหมดคนไทยรู้จักพระพิฆเณศมากที่สุดเพราะท่านเป็นมหาเทพที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมากที่สุดจนกล่าวได้ว่า คนไทยยอมรับในองค์พระพิฆเณศเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เป็นตราประจำกรมกองต่างๆมากมาย

พระพิฆเณศเป็นเทพแห่งปราชญ์ ความรอบรู้ต่าง เป็นเทพแห่งขจัดอุปสรรคความขัดข้อง ดังนั้นหากผู้ใดเป็นผู้รู้และประสบความสำเร็จต่อกิจการทั้งปวงมักจะบูชาพระพิฆเณศก่อน

ในอินเดียเองก็มีแนวความเชื่อในเรื่องพระพิฆเณศวร์ในทุกลัทธิศาสนาไม่ว่าลัทธิที่ถือองค์พระศิวะเป็นใหญ่ นับถือพระพรหมเป็นใหญ่หรือพระนารายณ์เป็นใหญ่ ทุกลัทธิล้วนให้ความสำคัญต่อพระพิฆเณศทั้งสิ้น

ด้วยทุกตำราได้กล่าวถึงที่มาของพระพิฆเณศไว้สูง สำคัญและฤทธิ์มาก มีความเฉลียวฉลาด มีคุณธรรม คอยช่วยเหลือปกป้องปราบปรามสิ่งชั่วร้ายและเป็นยอดกตัญญู

แม้พระพิฆเณศจะเป็นเทพที่มีความเก่งกาจสามารถยิ่ง แต่ก็เป็นเทพที่สงบนิ่งไม่เย่อหยิ่งทรนงอันเป็นคุณสมบัติอันประเสริฐอีกประการหนึ่งของผู้ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง จึงกล่าวได้ว่า พระพิฆเณศวร์เป็นมหาเทพที่ดีพร้อมครบถ้วนด้วยความดีงามสมควรแก่การยกย่องบูชาเป็นนิจ

แม้แต่องค์พระศิวะมหาเทพผู้สร้างและพระบิดาแห่งองค์พระพิฆเณศยังกล่าวว่า ไม่ว่าจะกระทำการสิ่งใดหรือทำพิธีบูชาใด ให้ทำการบูชาพระพิฆเณศวร์ ก่อนกระทำการทั้งปวง

ผู้ใด ต้องการความสำเร็จ ให้บูชาพระพิฆเณศ

ผู้ใด ต้องการพ้นจากความขัดข้องทั้งปวง ให้บูชาพระพิฆเณศ
ความหมายของส่วนต่างๆของพระพิฆเณศวร์

พระคเณศ ทรงมีรูปร่างเดียว โดยทรงมีพระเศียรเป็นช้าง มีพระกรรณกว้างใหญ่ มีงวงยาว แต่ทรงมีร่างกายเป็นมนุษย์ มี 4 หรือ 6 หรือ 8 กรแล้วแต่พระภาคที่จะเสด็จมา รูปร่างของพระองค์แสดงถึงสิ่งเป็นมงคลดีเยี่ยม ซึ่งทรงสั่งสอนถึงความดีและความสำเร็จ

พระคเณศทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งความรู้และปัญญายิ่งใหญ่ แต่ละส่วนของท่านให้ความหมายในเชิงปรัชญาได้ดังนี้

พระเศียร - ทรงใช้เศียรอันใหญ่ที่เต็มด้วยปัญญาความรู้ เป็นที่รวมแห่งปัญญาทั้งหมด

พระกรรณ - ทรงใช้รับฟังคำสวดจากพระคัมภีร์และความรู้ในรูปอย่างอื่น ๆอันเป็นสิ่งแรกแห่งการศึกษา

งวง - เราได้นำเอาความรู้ต่าง ๆที่ได้รับจากการเลือกเฟ้นระหว่างทวิลักษณะ ความผิด-ถูก ความดี-ความชั่ว อันมีงวงช้างที่ยาวและใหญ่ใช้ชั่งน้ำหนักต่อการกระทำหรือการค้นหาสิ่งที่ดีงามต่างๆ อันปัญญานั้นเกิดขึ้นเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาของชีวิตให้หลุดพ้นจากอุปสรรค และพบกับความสำเร็จสมดั่งความมุ่งหมาย

งา - งาข้างเดียวโดยอีกข้างหักนั้น เพื่อแสดงให้รู้ว่าจะต้องอยู่ในเหตุระหว่างความดี-ความชั่ว ซึ่งต้องทำความเข้าใจให้ดีถึงความแตกต่างกัน ดั่งเช่น ความเย็น-ความร้อน การเคารพ-การดูหมิ่นเหยียดหยาม ความซื่อสัตย์-ความคดโกง

หนู - แสดงถึงความปรารถนาของมนุษย์

บ่วงบาศ - ทรงถือโดยทรงลากจูงคนทั้งหลายให้เดินตามรอยพระบาทของพระองค์

ขวาน - เป็นอาวุธทรงใช้ปกป้องความชั่วร้ายและคอยขับไล่อุปสรรคทั้งหลายที่มาก่อกวนต่อบริวารของพระองค์

ขนมโมทกะ - ข้าวสุกผสมน้ำตาลปั้นเป็นลูก เพื่อประทานให้เราเป็นรางวัลต่อการที่เราปฏิบัติตามรอยพระบาทของพระองค์

ท่าประทานพร - หมายถึงความยิ่งใหญ่แห่งความผาสุกและความสำเร็จให้กับสาวกของพระองค์
กำเนิดพระคเณศ
เชื่อกันว่า ลัทธิการบูชาพระคเณศนั้น น่าจะมาจากชนพื้นเมืองดั้งเดิมของอินเดีย ซึ่งเป็นลัทธิการบูชาสัตว์ หรือลัทธิแห่งชัยชนะเหนือธรรมชาติ ชนพื้นเมืองของอินเดีย เชื่อกันว่าหนูเป็นสัญลักษณ์ของความมืด พระคเณศทรงขี่หนูจึงหมายถึงชัยชนะของแสงอาทิตย์ที่ขจัดความมืดให้สิ้นสุดลง
พระคเณศอาจจะมีต้นกำเนิดมาจากการเป็นเทพประจำเผ่าของคนป่า ที่อาศัยอยู่ในป่าเขาอันกว้างใหญ่ของอินเดีย คนเหล่านี้ต้องเผชิญกับฝูงช้างอันน่ากลัวจึงเกิดการเคารพในรูปของช้างชึ้น เพื่อให้ปกป้องคุ้มครองและพัฒนาต่อมาเป็นเทพชั้นสูงของชาวอารยัน
ต่อมาได้พัฒนาเป็นเทพผู้ขจัดซึ่งอุปสรรค มีความเฉลียวฉลาดเป็นเลิศ ทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็นหัวหน้าของเทพที่มีเศียรเป็นสัตว์ทั้งหลาย จนกระทั่งมีการรจนาปกรณ์ให้เป็นโอรสของพระศิวะเทพและพระนางปราวตีในเวลาต่อมา

แต่ในแง่ของคัมภีร์ทางศาสนาพราหมณ์ได้บรรยายจุดกำเนิดของพระคเนศไว้หลากหลายตำนานตามความเชื่อในแต่ละลัทธิ

วันคเณศจตุรถี
การบูชาพระคเณศเรียกว่า "พิธีคเณศจตุรถี" มีความหมายว่า "พิธีอุทิศต่อพระคเณศ" จะกระทำวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน ภัทรบท หรือเดือน 10

ในวันที่ประกอบพิธีคเณศจตุรถีนั้น ประชาชนทั้งหลายต่างพากันมาทำสักการะบูชารูปเคารพของพระคเณศที่ปั้นด้วยดิน (เผา ) เครื่องบูชาจะประกอบไปด้วยดอกไม้ (โดยเฉพาะดอกไม้สีสดใส เช่น สีแดง, สีเหลือง, สีแสด,) ขนมต้ม, มะพร้าวอ่อน, กล้วย, อ้อย, นมเปรี้ยว, ขณะทำการบูชา ผู้บูชาจะท่องพระนาม 108 ของพระองค์ หลังจากการบูชาแล้วก็จะเชิญพวกพราหมณ์ ผู้ประกอบพิธีมาเลี้ยงดูกันให้อิ่มหนำสำราญและมีข้อห้ามในวันพิธีคเณศจตุรถีนี้คือ ห้ามมองพระจันทร์อย่างเด็ดขาด และถือกันว่าถ้าผู้ใดได้มองพระจันทร์ โดยพลาดพลั้งเผลอเรอไป พวกชาวบ้านก็จะพากันแช่งด่าผู้นั้นทันที่ และที่ชาวบ้านด่านั้น ก็เป็นความหวังดี มิได้ด่าด้วยความโกรธแค้น แต่ด่าเพราะเชื่อกันว่าการด่าการแช่งนั้นจะทำให้คนนั้นพ้นจากคำสาปไปได้
ปางพระคเนศ

แม้ว่าพระคเณศจะมีพระนามมากมายถึง 108 พระนามไปจนถึง 1008 พระนาม แต่ในแง่เทวประติมานั้นมีอยู่เพียง 8 ถึง 9 ปางเท่านั้นที่คนนิยมบูชา โดยการบูชาในแต่ละปางก็ให้คุณที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

ปางพาลคเณศ

เป็นพระคเณศในวัยเด็กรูปลักษณ์ที่เห็น มักจะเป็นพระคเณศยังคลานอยู่กับพื้น หรือยังอยู่ในอิริยบถไร้เดียงสาอย่างเด็ก ๆ ถ้าโตขึ้นมาหน่อย จะนั่งขัดสมาธิเพชรบนดอกบัวมี 4 กร ถือขนมโมทกะ กล้วย รวงข้าว ซึ่งหมายถึงความเป็นสุขภาพดีของเด็ก ๆในครอบครัวรวมความหมายถึงให้เด็ก ๆได้ระลึกถึงการเคารพรักในบิดา มารดา ปางนี้นิยมบูชากันในบ้านที่มีเด็กเล็กและเด็กในวัยเรียน

ปางนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นพระคเณศมักจะอยู่ในอิริยาบถยืน มี 4 กร ในคัมภีร์และหม้อน้ำกมัลฑลุ ไม้เท้า และร่ม ซึ่งถ้าเป็นศาสนาพุทธแล้ว คงเปรียบได้กับพระสีวลี ซึ่งเป็นพระธุดงค์ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ผู้มีลาภมาก แต่สัญลักษณ์ของพระคเณศนั้น หมายถึงการเดินทางไกล แต่มักจะเป็นการเดินทางไปเพื่อการศึกษาต่อ หรือเป็นปางที่เหมาะสมกับวิชาชีพของคนที่เป็นครูบาจารย์เท่านั้น

ปางลักษมีคเณศ

ปางนี้พระคเณศจะประทับนั่งห้อยพระบาทบนแท่นมี 6 กร และพระหัตถ์หนึ่งโอบพระลักษมีเทวีไว้ การบูชาปางนี้เสมือนหนึ่งได้บูชาเทพทีเดียวกันถึง 2 พระองค์ในลักษณะของทวิภาคี กล่าวคือ ลักษมีคเณศ ย่อมมีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ พูนสุข ความมั่งคั่ง มั่งมีอย่างหาที่สิ้นสุดมิได้

ปางวัลลยภาคเณศ

ปางนี้พระคเณศจะอุ้มพระชายาทั้ง2 ไว้บนตักทั้งซ้ายและขวา ซึ่งชายาทั้งคู่คือคือนางพุทธิและสิทะ ปางนี้ให้ความหมายของความสมบูรณ์ของการเป็นครอบครัวมีทรัพย์สินและบริวารมากมาย

ปางมหาวีระคเณศ

เป็นพระคเณศที่มีจำนวนของพระกรมากเป็นพิเศษ อาจจะ 12,14,16, กรแต่ละพระหัตถ์นั้นถือศาสตราวุธหลากหลายชนิดแตกต่างกันไป ปางนี้ถือกันว่าเป็นปางออกศึกเพื่อปราบศัตรูหมู่อมิตรทั้งหลาย

ปางเหรัมภะคเณศ

เป็นปางพระคเณศที่ห้อยพระบาทอยู่บนพญาราชสีห์ พระคเณศปางนี้จะมีอยู่ห้าเศียร หรืออาจจะเป็นเศียรตามปกติก็ได้ เพราะสัญลักษณ์ที่แท้จริงของปรางค์นี้ก็คือ สิงโต เพราะสิงโตเป็นเจ้าป่า ดังนั้นจึงเหมาะสมที่ผู้ใหญ่ที่ต้องมีบริวารในการปกครองมาก นอกจากนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ที่บรรดดากษัตริย์ทั้งหลายแต่โบราณนิยมบูชากัน เรียกว่าเป็นสุดยอดปางของพระคเณศก็ว่าได้

ปางสัมปทายะคเณศ

เป็นพระคเณศที่เราพบเห็นกันบ่อยคือ มีอาวุธอยู่ในสองพระหัตถ์บน ส่วนพระหัตถ์ล่างด้านซ้ายนั้นถือขนม และด้านขวาอยู่ในท่าประทานพร ซึ่งความหมายของปางนี้คือ การอำนวยพรให้ประสบความสำเร็จนั่นเอง
การอธิษฐาน
มนต์แห่งพระคเณศเป็นมนต์ที่ให้พลังอำนาจยิ่งใหญ่ มนต์แต่ละบทประกอบไปด้วยอำนาจพิเศษของพระคเณศวร เมื่อใดก็ตามที่ได้ท่องสวดพร้อมกับการอาบน้ำชำระร่างกายแล้วประกอบพิธีบูชาจะนำมาซึ่งผลบุญที่ดี

สิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้ก็คือ ผู้ที่จะสวดมนต์แห่พระคเณศควรจะต้องทำปรันยันอาบน้ำชำระร่างกายหรือล้างมือล้างเท้าก่อนที่จะนั่งและสวดมนต์ทั้งหลายนี้ เช่นเดียวกัน โดยจะต้องทำปรันยันสามหนหรือมากกว่าก่อนที่จะสวด ต้องสวดมนต์อย่างน้อยให้ได้หนึ่งรอบของลูกประคำ (108ครั้ง) และจะต้องกำหนดชั่วโมงและสถานที่เพื่อการท่องสวดมนตร์จะต้องทำติดต่อกันเป็นประจำ
มนตร์บูชา
มนตร์บูชาพระพิฆเณศที่สำคัญและเป็นที่นิยมได้แก่
โอมฺ ศรี คเณศายะ นะมะหะ
มนตร์นี้ส่วนมากจะต้องสั่งสอนให้เด็กๆท่องสวดเพื่อความรู้ความฉลาดที่จะได้รับ เพิ่มพลังการจดจำและให้ผลสำเร็จในการสอบ การเล่าเรียน เช่นเดียวกันคนทั่ว ๆไปอาจใช้มนต์นี้ได้ เพื่อความสำเร็จและความเจริญก้าวหน้าในธุรกิจ
การบูชาพระพิฆเณศ แบบฮินดู

การบูชาพระพิฆเณศ ซึ่งเป็นเทพศักดิ์สิทธิ์นิยมบูชาในวันแรม 4 ค่ำ ของทุกเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือน 10 ด้วยถือว่า เป็นวาระคล้ายวันประสูติ ของพระพิฆเณศ โดยมีของบูชาประกอบด้วย ดอกไม้แดงเหลือง / มะพร้าวห่อด้วยผ้าแดง / ผลไม้ โดยมีของสำหรับถวายอย่างละ 108 ชิ้น ประกอบด้วย กล้วย อ้อย หญ้าแพรก ข้าวตอก ขนมหวานที่เรียกว่าลัดดู

พิธีกรรมแบบฮินดูจะนำโดย ประธานพราหมณ์ โดยมีบุรุษผู้หนึ่งที่นั่งอยู่ใกล้ๆ จะทำหน้าที่แทนผู้ร่วมพิธี

จากนั้นคณะพราหมณ์ จะร่วมสวดสาธยาย บูชาสรรเสริญพระพิฆเณศ และเทพศักดิ์สิทธิ์ จากนั้น จะเป็นการถวายของ ห้าอย่างที่เตรียมไว้นั้น

ต่อมาจะอัญเชิญเทวรูป พระพิฆเณศ มาถวายน้ำสรงด้วยปัญจะอมฤต
เสร็จแล้วจะถวาย อาภรณ์สีแดง ซึ่งถือว่า เป็นสีที่ท่านทรงโปรด
ขั้นตอนต่อมาคือพิธีบูชาอารตี โดย ผู้เข้าร่วมพิธีจะบูชาด้วยประทีป อธิษฐาน เพื่อขอพรจากพระพิฆเณศ ประธานพราหมณ์ จะเป็นผู้พรมเทพมนต์ และมอบด้ายสีแดง เพื่อความเป็นสิริมงคล

ขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการเฉลิมฉลอง ด้วยคีตอภิวาท สาธยายบทสรรเสริญ

เทพศักดิ์สิทธิ์


ขอบคุณข้อมูลจาก www.bloggang.com ขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ