ผู้เขียน หัวข้อ: ท่องไปในแดนธรรม-หลวงพ่อยิ้มยิ้มจริงๆวัดนางกุยกรุงเก่า  (อ่าน 2258 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นรก

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 136
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
http://www.komchadluek.net/2007/05/18/photo_20211.php
วัดนางกุย นับเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับศึกษาหาความรู้ด้านประวัติศาสตร์และศิลปกรรมเป็นอย่างยิ่ง

เพราะมีโบราณสถาน โบราณวัตถุหลายชิ้น ที่สะท้อนให้เห็นถึงผลงานชิ้นเอก ที่บรรพบุรุษรังสรรค์ และทิ้งไว้ให้ลูกหลาน อาทิ พระประธานก่ออิฐถือปูนในอุโบสถ ที่สร้างในสมัยอยุธยา เป็นอุโบสถที่ไม่เหมือนกับที่วัดไหนๆ คือ ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ที่สร้างเป็นรูปเศียรพญานาค ซึ่งไม่ค่อยพบเห็นโดยทั่วไป

 รอบพระประธาน มีพระพุทธรูปโดยรอบ ๘ ทิศ โดยเฉพาะด้านซ้ายมือของพระประธานมีรูปปั้นของ นางกุย นั่งพนมมืออยู่ด้วย ด้านบนเพดานตรงเศียรพระประธาน มีแผ่นไม้แกะเป็นลายดาวล้อมเดือน เป็นศิลปะที่งดงามมาก

http://www.komchadluek.net/2007/05/18/photo_20212.php
ภายในอุโบสถยังมี หลวงพ่อยิ้ม ประดิษฐานอยู่ด้านขวามือของพระประธาน ใครเข้าไปกราบสักการะแล้วคงอดอมยิ้มไม่ได้ เพราะ หลวงพ่อยิ้มจะยิ้มรับผู้มาเยือนเสมอ

 หลวงพ่อยิ้ม เป็นการเฉลิมพระนาม (ตั้งชื่อ) ตามลักษณะเด่นบางประการของพระพุทธรูป คือ "รอยยิ้ม"

 การเฉลิมนามลักษณะดังกล่าว ยังมีอีก เช่น พระอัฏฐารส (พระสูง ๑๘ ศอก) พระเจ้าแข้งคม (วัดศรีเกิดเชียงใหม่ พระชงฆ์ ๒ ข้างเป็นสันคม) หรือตั้งตามขนาดของพระพุทธรูป เช่น หลวงพ่อโต (พระพุทธรูปมีลักษณะองค์ใหญ่โต) หรือตามสีของโลหะ เช่น หลวงพ่อดำ (พระพุทธรูปสีดำ) หลวงพ่อขาว (พระพุทธรูปปูนปั้นสีขาว) เป็นต้น
หลวงพ่อยิ้ม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย แกะจากไม้สักทอง ลงรักปิดทอง เป็นพระเก่าแก่อยู่คู่กับวัดมานาน จากคำบอกเล่าของคนเก่าแก่ว่า สมัยก่อนหลวงพ่อยิ้มได้ลอยมาตามแม่น้ำเจ้าพระยามาติดอยู่บริเวณหน้าวัด เจ้าอาวาสและชาวบ้านจึงได้อัญเชิญหลวงพ่อยิ้มไปประดิษฐานในอุโบสถ วัดนางกุย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน


http://www.komchadluek.net/2007/05/18/photo_20213.php
นอกจากนี้ ด้านหน้าของอุโบสถยังมี แม่ตะเคียนทอง แกะจากไม้ต้นตะเคียนทอง ที่อยู่คู่กับวัดมานานกว่า ๔๐๐ ปี ต้นตะเคียนใหญ่ได้ยืนต้นตายเมื่อประมาณปี ๒๕๔๐ ทางวัดจึงนำไปแกะสลักเป็นรูปแม่ตะเคียนทอง สร้างเสร็จเมื่อปี ๒๕๔๓ โดยนิมนต์ หลวงพ่อนวล วัดพุทไธศวรรย์ ประกอบพิธีเบิกเนตร และนำมาไว้บนตอตะเคียนต้นเดิม เพื่อให้คนสักการบูชา ปัจจุบันมีผู้คนมากราบไหว้ ขอโชคลาภจากแม่ตะเคียนทอง กันเป็นจำนวนมาก? ?

 วัดนางกุย ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองด้านใต้ ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันตก เลขที่ ๓๐หมู่ ๕ ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา จากหลักฐานที่กรมศิลปากร บันทึกว่า สร้างใน พ.ศ. ๒๑๓๐ ผู้สร้างชื่อ นางกุย เป็นผู้ที่มีทรัพย์สินเงินทองมาก จึงมาสร้างวัดนางกุยขึ้น มีแม่น้ำไหลผ่าน วัดนี้ในอดีตเจริญรุ่งเรืองมาก ดูจากหลักฐานที่มี อาทิ พระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ สมัยทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษ ๑๑-๑๖ (พ.ศ.๑๑๐๐-๑๖๐๐) หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี ๒๓๑๐ วัดนางกุยได้รับความเสียหายมาก และถูกปล่อยให้ชำรุดทรุดโทรม

http://www.komchadluek.net/2007/05/18/photo_20214.php
จนมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดในกรุงศรีอยุธยา (ไม่ทราบ พ.ศ.ที่แน่ชัด) วัดนางกุยเป็นวัดหนึ่งที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ เช่น อุโบสถ หน้าบัน มีรูปนารายณ์ทรงครุฑ และรอบอุโบสถ ยังมีเสมาคู่ รวมทั้งเจดีย์ และพระปรางค์

 สันนิษฐานว่า เคยเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน โดยประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๘ หน้า ๑๖ วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔

 นอกจากนี้ พระอธิการบุญเรือง ปภัสสโร เจ้าอาวาสวัดนางกุยรูปปัจจุบัน ท่านเป็นลูกศิษย์ของ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา ถือเป็นพระนักพัฒนาที่มีความตั้งใจจะสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ดำรงสืบไป โดยท่านได้ริเริ่มปลูกสวนสมุนไพรขึ้นในบริเวณวัด เพื่อใช้เป็นสถานศึกษาสำหรับเยาวชน นักเรียน นักศึกษา และชาวบ้านในละแวกวัด ให้มีความรู้ในคุณค่าของสมุนไพรไทย?

 พระอาจารย์บุญเรือง บอกบุญว่า ในปี ๒๕๔๙ วัดได้บูรณะซ่อมแซมและพัฒนาวัดนางกุย ประกอบด้วย พระปรางค์องค์เล็ก เจดีย์ล้านนา พระปรางค์ใหญ่ หลังคาหอสวดมนต์ เจดีย์กลาง ๔องค์ และร่วมพัฒนาสวนหย่อมเฉลิมพระเกียรติในหลวง (งบประมาณองค์การบริหารส่วนตำบลสำเภาล่ม)

 ขณะเดียวกัน ทางวัดยังต้องการปัจจัยเพื่อบูรณะกำแพงแก้วรอบอุโบสถ? สาธุชนท่านใดมีจิตศรัทธาร่วมทำบุญ ติดต่อได้ที่ วัดนางกุย จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.๐๘-๙๑๐๕-๓๔๔๑, ๐๘-๙๑๔๑-๐๕๐๙, ๐๘-๑๒๙๓-๘๙๒๖

http://www.komchadluek.net/2007/05/18/photo_20215.php
 http://www.oknation.net/blog/sertphoto/video/2483   <<<ดูคลิปพระยิ้ม :025:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 พ.ค. 2550, 03:35:01 โดย นรก »
ช.อ.ก. 40