ผู้เขียน หัวข้อ: http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROd01ERTJNREl4TVRBMU1BP  (อ่าน 3974 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ooo

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 483
    • ดูรายละเอียด
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROd01ERTJNREl4TVRBMU1BPT0=&sectionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBd055MHhNQzB5TVE9PQ==



 
"พระธรรมรัตนากร" เป็นพระเถระอีกรูปหนึ่ง ที่สร้างคุณูปการต่อวงการสงฆ์แห่งแดนใต้อย่างอเนกอนันต์ เป็นที่โจษขานเลื่องลือไปไกล ทุ่มแรงกายแรงใจให้งานแบบถวายชีวิต กอปรด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม ตั้งอยู่ในศีล ดำรงตนตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด

เปรียบประดุจสะพานบุญ เชื่อมต่อศรัทธาแห่งชาวบ้านในชุมชนกับวัด มิให้ห่างเหินไปไกลกัน

ปัจจุบันพระธรรมรัตนากร สิริอายุ 79 พรรษา 59 ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าคณะใหญ่หนใต้ เจ้าคณะภาค 18 และเจ้าอาวาสวัดกะพังสุรินทร์ ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง

อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า สงัด ลิ่มไทย เกิดเมื่อปี พ.ศ.2471 ที่บ้านหนองไทร ต.นาโยงเหนือ อ.นาโยง จ.ตรัง โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายเปลี่ยน และนางทองอ่อน ลิ่มไทย

ในช่วงวัยเยาว์ จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนเพาะปัญญา

พ.ศ.2483 บรรพชาเป็นสามเณร ที่อุโบสถวัดมงคลสถาน อ.นาโยง จ.ตรัง โดยมีพระครูวิบูลย์ศีลวัตร (แดง) วัดนิคมประทีป อ.เมือง จ.ตรัง เป็นพระอุปัชฌาย์

ก่อนย้ายมาอยู่ที่วัดจอมไตร อ.นาโยง จ.ตรัง เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ.2486 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี

พ.ศ.2487 สอบนักธรรมชั้นโท-เอก ตามลำดับ ที่สำนักเรียนวัดควนวิเศษ อ.เมือง จ.ตรัง

ด้วยความมุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี จึงย้ายไปที่วัดคูหาสวรรค์ จ.พัทลุง จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค

พ.ศ.2491 เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดจอมไตร อ.นาโยง จ.ตรัง โดยมีพระครูสังวรโกวิท เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูพิบูลธรรมสาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระผุด มหาวีโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์

พ.ศ.2492-2494 สอบได้เปรียญธรรม 4-5-6 ตามลำดับ ก่อนย้ายมาอยู่ที่วัดกะพังสุรินทร์ พ.ศ.2504 สามารถสอบเปรียญธรรม 7 ประโยค

ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดกะพังสุรินทร์ พ.ศ.2514 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลบ้านโพธิ์

พ.ศ.2527 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดตรัง พ.ศ.2541 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะภาค 18

ล่าสุด พ.ศ.2550 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรักษาการเจ้าคณะใหญ่หนใต้

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2516 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระปิฎกคุณาภรณ์

พ.ศ.2527 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชปริยัติยาภรณ์

พ.ศ.2536 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพวิมลเมธี

พ.ศ.2541 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมรัตนากร

พระธรรมรัตนากรเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดตรังและภาคใต้ ที่พุทธศาสนิกชนให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง

แม้จะล่วงวัย 79 ปีแล้วก็ตาม แต่ท่านยังให้ความสนใจในการหาความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลานอกเหนือไปจากการศึกษาความรู้ด้านหลักธรรมคำสอนแห่งพุทธองค์พระพุทธเจ้าเพียงอย่างเดียว อาทิ ท่านสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการทำงานจัดระบบสารบัญได้อย่างคล่องแคล่ว และสามารถใช้งานอื่นได้ในระดับหนึ่ง

พระธรรมรัตนากรให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษาพระปริยัติธรรมยิ่งนัก โดยท่านเป็นผู้รับผิดชอบในการสอนหนังสือด้วยตนเองมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 มาจนถึงปัจจุบัน มีพระภิกษุ-สามเณรที่สนใจศึกษาบาลีและนักธรรมเป็นจำนวนมาก

แต่เดิมที่ดินวัดกะพังสุรินทร์มีจำนวน 16 ไร่ ท่านได้ขอซื้อที่ดินด้านหลังขยายออกไปเพิ่มขึ้นเป็น 24 ไร่ และได้อนุญาตให้โรงเรียนเทศบาลมาใช้พื้นที่ด้วย ปัจจุบันคือ โรงเรียนเทศบาล 2 วัดกะพังสุรินทร์

นอกจากนี้ วัดกะพังสุรินทร์ยังให้การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีอย่างต่อเนื่องกันมาในทุกปีอีกด้วย รวมไปถึงการช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อนในโอกาสต่างๆ เช่น เมื่อครั้งที่เกิดน้ำท่วมหนักในพื้นที่ อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช ท่านได้รวบรวมทุนทรัพย์จำนวนกว่า 100,000 บาท ช่วยเหลือผู้ประสบภัย

พระธรรมรัตนากรได้ยึดหลักควรยกย่องผู้ที่สมควรยกย่อง และตักเตือนผู้ที่สมควรตักเตือน ดังนั้น หากพระสังฆาธิการรูปใดที่ประพฤติดีต้องยกย่อง และต้องให้ได้รับเกียรติมีสมณศักดิ์

พร้อมกันนั้น พระธรรมรัตนากรยังได้อบรมพระในปกครองอยู่เสมอว่า ในการทำงานจะต้องไม่กลัวผิดพลาด แต่จะต้องตั้งใจทำงานนั้นให้ดีที่สุด และจะต้องไม่ตื่นเต้นเมื่อเกิดการผิดพลาด โดยพร้อมที่จะแก้ไขอยู่ตลอดเวลา

ปัจจุบันศาสนกิจของท่านต้องข้ามเขตพื้นที่การปกครองไปยังประเทศมาเลเซียด้วย การทำงานจะเน้นไปในการในการสนับสนุนส่งเสริมพระพุทธศาสนา และได้มีการตั้งคณะกรรมการที่เรียกว่า "คณะกรรมการส่งเสริมพระพุทธศาสนา ไทย-มาเลเซีย" (กศทม.) โดยมีเจ้าคณะภาค 18 เป็นประธาน และมีรองเจ้าคณะรัฐมาเลเซีย เป็นรองประธาน

พระธรรมรัตนากรกล่าวถึงวัดในประเทศมาเลเซียว่า มีประมาณ 33 วัด มีพระสงฆ์กว่า 200 รูป โดยรัฐที่มีวัดมากที่สุดคือ รัฐเคดาร์ รัฐปะลิศ และรัฐกลันตัน รองลงมาคือ รัฐปีนัง และรัฐกัวลาลัมเปอร์ ที่น่าสนใจคือ พระที่นั่นสามารถพูดภาษาไทยได้อย่างชัดเจน อาจมาจากวัฒนธรรมดั้งเดิม ที่ก่อนหน้านี้รัฐดังกล่าวคือประเทศไทยนั่นเอง ก่อนที่จะมีการแบ่งแยกประเทศออกไป นอกเหนือจากพระที่โน่นจะทำหน้าที่สอนสั่งคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังทำหน้าที่สอนภาษาไทยให้ชาวมาเลเซียที่สนใจอีกด้วย

"อาตมามีโอกาสเดินทางไปด้วยครั้งหนึ่ง สังเกตเห็นว่าสถานที่ที่ไปแสดงธรรมยังมีเพียงพระพุทธรูปขนาดเล็กๆ เท่านั้น ครั้นเดินทางกลับมาเมืองไทย จึงได้จัดส่งพระพุทธรูปขนาดใหญ่ จำนวน 7 องค์ เพื่อไปตั้งประดิษฐานในอุโบสถ สร้างความยินดีให้กับพระและชาวบ้านเป็นอย่างยิ่ง"

หากเปรียบต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาแก่มวลสรรพสัตว์ฉันใด พระธรรมรัตนากรคงเปรียบได้กับต้นโพธิ์ใหญ่ แผ่ปกคลุมร่มเงาธรรม ปกปักคุ้มภัยอันตรายแก่มวลประชาฉันนั้น

เส้นทางสายธรรมพระราชอุทัยกวี แม้จะไม่ได้โลดโผนพิสดาร มากด้วยอภินิหารแต่ประการใด แต่ด้วยความเป็นพระแท้ ผู้มีจิตยึดมั่นในคำสอนแห่งองค์พระศาสดา เอาใจใส่หน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ด้วยดี ทำให้เกิดความเรียบร้อย นำมาซึ่งความสงบร่มเย็นแก่หมู่คณะสงฆ์ ตลอดถึงฆราวาสญาติโยมพี่น้องชาวปักษ์ใต้กันถ้วนหน้า

ยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนพระพุทธศาสนาและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ทุกคน

รับภาระเป็นแม่ทัพธรรมหนใต้อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย

หน้า 1

 

 
 
   
     
   
 
   
   
 


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

.....เหลืออีกครึ่งชิวิต ที่ยังต้องการความรักตัวเองกลับมา......
....เก็บชีวิตที่เหลือ ๆ  ทำให้ดีจะได้ไหม  แล้วไม่นานจิตใจจะเต็มเหมือนเดิม........................