หมวด เส้นทางสายบุญ > เส้นทางสายบุญต่างประเทศ

วัดบุญญาราม เขตปาดังเซรา เคดาห์ มาเลเซีย เป็นที่ตั้งของโรงเรียนภาษาไทย

<< < (4/4)

ทรงกลด:
The Last page....วิถีไทยกับความเป็นหนึ่งเดียวในอาเซียน
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา( มีนาคม 2552)

ภาพซึ่งนำมาประกอบเนื้อหาในหน้านี้ เป็นกลุ่มคนไทยในชุมชนหนึ่ง ซึ่งผมไปพบมาเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ขณะที่ประเทศไทยกำลังขะมักเขม้นกับการเตรียมการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน

คนไทยกลุ่มนี้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดเตรียมสถานที่ภายในวัดประจำชุมชน เนื่องจากในช่วงบ่ายของวันนั้นจะมีงานบุญ

กลุ่มผู้หญิงเตรียมมัดดอกไม้ ธูป เทียน เพื่อเตรียมไว้ถวายพระ ขณะที่ผู้ชายทำหน้าที่ทำความสะอาดเชิงเทียนหน้าองค์พระที่มีผู้ศรัทธา มากราบไหว้เป็นประจำ

ถือเป็นวิถีไทยที่มีมายาวนาน ในการร่วมแรงร่วมใจกันของคนในชุมชน เพื่อทำบางสิ่งบางอย่างที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของชุมชนนั้นๆ

แต่เป็นวิถีไทยที่พบเห็นน้อยลงทุกทีในสังคมไทยปัจจุบัน

กลุ่มคนไทยที่เห็นในภาพ เป็นคนเชื้อชาติไทย สัญชาติมาเลเซีย ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองบาลิง รัฐเคดาห์ ของมาเลเซีย!!!

คนไทยกลุ่มนี้ยังคงยึดแน่นอยู่กับขนบธรรมเนียมวิธีปฏิบัติที่เป็นวิถีไทยแท้ๆ ที่เคยเป็นมานับแต่อดีต

พวกเขาไม่ใช่ผู้อพยพ ตรงข้ามพวกเขา เกิด และอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้มานาน นับตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นย่า

เพียงแต่บังเอิญว่า เมื่อ 100 กว่าปีที่ผ่านมา ช่วงลัทธิการล่าอาณานิคมได้แพร่ขยายเข้ามาในพื้นที่ตอนใต้ของประเทศไทย ทำให้ราชอาณาจักรสยามจำเป็นต้องยอมเสียพื้นที่บางส่วนในรัฐกลันตัน ตรังกานู และปะริส ให้ไปอยู่ในเขตปกครองของอังกฤษ

ต้นตระกูลของคนไทยกลุ่มนี้จึงกลายเป็นคนในอาณานิคมของอังกฤษไปโดยปริยาย

เห็นวิถีไทยของคนไทยในต่างแดน แล้วย้อนกลับมาดูสังคมไทยปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นข้อเท็จจริงบางอย่างที่เจ็บปวด

กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ มีประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติใดมาก่อน

คนไทยในประเทศไทยถูกปลูกฝังให้ภาคภูมิใจมาตั้งแต่เด็ก ถึงสถานะความเป็นประเทศเอกราช แต่เราไม่เคยถูกปลูกฝังให้เห็นถึงข้อดีของการมีวิถีชีวิตแบบไทยแท้ๆ ที่เรียบง่าย สมถะ ตรงข้ามกับคนที่อยู่ในประเทศซึ่งเคยตกเป็นอาณานิคม สิ่งที่คนรุ่นปู่ รุ่นย่าของเขาแสวงหา และต่อสู้มาตลอดคือความพยายามสร้างเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของชาติตนเอง และเมื่อประเทศเหล่านี้ได้รับเอกราชในภายหลังแล้ว ก็ยังคงปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่ มองเห็นถึงข้อดีของเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของชาติที่คนรุ่นก่อนหน้าต้องต่อสู้แลกมาด้วยเลือด

ดังนั้นเมื่อกระแสวัฒนธรรมจากต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาในประเทศเหล่านี้ในภายหลัง คนในประเทศอย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย แม้กระทั่งลาวหรือกัมพูชา จึงมิได้โอนอ่อน ทำตัวไหลอย่างเรื่อยเปื่อยไปกับวัฒนธรรมใหม่ๆ ที่ถาโถมเข้ามาโดยง่าย

ผิดกับเด็กไทยรุ่นใหม่ที่หากไม่คลั่งไคล้ดารา นักร้องจากเกาหลีใต้ หรือญี่ปุ่น ก็อาจจะมีพฤติกรรมที่รักอิสระจนเกินตัวเหมือนเด็กในประเทศตะวันตก

อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ วิถีชีวิตแบบไทยๆ เด็กรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ไม่รู้จัก

เด็กไทยยุคปัจจุบันรู้จักความเป็นเอกราชแต่เพียงกายภาพ แต่จิตใจกลับตกเป็นอาณานิคมของต่างชาติ

ผิดกับคนไทยพลัดถิ่นในต่างแดน ที่ในทางกายภาพ เขาไม่แตกต่างจากคนที่เคยตกอยู่ในอาณานิคม แต่จิตใจเขากลับมีเอกราช กล้า และเต็มใจที่จะแสดงออกถึงความเป็นคนไทยอย่างเต็มภาคภูมิ
ที่มา
http://www.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=78044

ทรงกลด:
กราบขอบพระคุณท่าน เผ่าพงษ์พระกฤษณะ :054:

ที่นำเรื่องราวพร้อมภาพ ของสังคมไทยในต่างแดนมาให้ชมกันครับ
เรื่องคนไทยพลัดถิ่น เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจมากๆครับ
ศาสนาพุทธ คงเป็นที่พึ่งอย่างดีเลยครับ :054:

เผ่าพงษ์พระกฤษณะ:
คนสายเลือดไทยในมาเลเซีย ยังมีวัฒนธรรม และ ความสามัคคี กันเป็นอย่างดี มีการถ่ายทีถ้อยอาศัยกันมีอะไรก็แบ่งปันกันไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน

ผมยังมีภาพชุดศูนย์การเรียนกาิรสอนที่ผมทำหน้าที่อยู่แต่เกรงว่าจะไม่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของทางเว็บก็เลยไม่ได้นำมาโพสไว้อะครับ เด็กไทย สัญชาติมาเลย์ ยังมีความเคารพต่อครูบาอาจารย์สูงกว่าเด็กไทยสมัยนี้มากมายเลยครับ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version