หมวด ธรรมะ และ นอกเหตุ เหนือผล > ธรรมะ

หลวงปู่ฝากไว้.............ตอนที่ 4 ( หลวงปู่ดูลย์ อตุโล )

(1/2) > >>

ทรงกลด:
คนละเรื่อง

         มีชายหนุ่มจากต่างจังหวัดไกลสามสี่คนเข้าไปหาหลวงปู่  ขณะที่ท่านพักผ่อนอยู่ที่มุขศาลาการเปรียญ  ดูอากัปกิริยาของเขาแล้วคงคุ้นเคยกับพระนักเลงองค์ใดองค์หนึ่งมาก่อนแล้ว  สังเกตุจากการนั่งการพูด  เขานั่งตามสบาย  พูดตามถนัด  ยิ่งกว่านั้นเขาคงเข้าใจว่าหลวงปู่นี้คงสนใจกับเครื่องรางของขลังอย่างดี  เขาพูดถึงชื่อเกจิอาจารย์อื่นๆ  ว่าให้ของดีของวิเศษแก่ตนหลายอย่าง  ในที่สุดก็งัดเอาของมาอวดกันเองต่อหน้าหลวงปู่  คนหนึ่งมีหมูเขี้ยวตัน  คนหนึ่งมีเขี้ยวเสือ  อีกคนมีนอแรด  ต่างคนต่างอวดอ้างว่าของตนดีวิเศษอย่างนั้นอย่างนี้  มีคนหนึ่งเอ่ยปากว่า  หลวงปู่ฮะ  อย่างไหนแน่ดีวิเศษกว่ากันฮะ ฯ

        หลวงปู่ก็อารมณ์รื่นเริงเป็นพิเศษยิ้มๆ แล้วว่า

        "ไม่มีดี  ไม่มีวิเศษอะไรหรอก  เป็นของสัตว์เดียรัจฉานเหมือนกัน."

ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule.htm

ทรงกลด:
ปรารภธรรมะให้ฟัง

         คราวหนึ่ง  หลวงปู่กล่าวปรารภธรรมะให้ฟังว่า  เราเคยตั้งสัจจะจะอ่านพระไตรปิฎกจนจบ  ในพรรษาที่ ๒๔๙๕  เพื่อสำรวจดูว่าจุดจบของพระพุทธศาสนาอยู่ตรงไหน  ที่สุดแห่งสัจจธรรม  หรือที่สุดของทุกข์นั้น  อยู่ตรงไหน   พระพุทธเจ้าทรงกล่าวสรุปไว้ว่าอย่างไร  ครั้นอ่านไป  ตริตรองไปกระทั่งถึงจบ  ก็ไม่เห็นตรงไหนที่มีสัมผัสอันลึกซึ้งถึงจิตของเราให้ตัดสินใจได้ว่า  นี่คือที่สิ้นสุดแห่งทุกข์  ที่สุดแห่งมรรคผล  หรือที่เรียกว่านิพพาน ฯ

         มีอยู่ตอนหนึ่ง  คือ  ครั้งนั้นพระสารีบุตรออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ  พระพุทธเจ้าตรัสเชิงสนทนาธรรมว่า  สารีบุตร  สีผิวของเธอผ่องใสยิ่งนัก  วรรณะของเธอหมดจดผุดผ่องยิ่งนัก  อะไรเป็นวิหารธรรมของเธอ  พระสารีบุตรกราบทูลว่า "ความว่างเปล่าเป็นวิหารธรรมของข้าพระองค์"  (สุญฺญตา) ฯ

         ก็เห็นมีเพียงแค่นี้แหละ  ที่มาสัมผัสจิตของเรา.

ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule.htm

ทรงกลด:
ปรารภธรรมะให้ฟัง

         จบพระไตรปิฎกหมดแล้ว  จำพระธรรมได้มากมาย  พูดเก่งอธิบายได้อย่างซาบซึ้ง  มีคนเคารพนับถือมาก  ทำการก่อสร้างวัตถุไว้ได้อย่างมากมาย  หรือสามารถอธิบายถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้อย่างละเอียดแค่ไหนก็ตาม  "ถ้ายังประมาทอยู่  ก็นับว่ายังไม่ได้รสชาติของพระศาสนาแต่ประการใดเลย  เพราะสิ่งเหล่านี้ยังเป็นของภายนอกทั้งนั้น  เมื่อพูดถึงประโยชน์  ก็เป็นประโยชน์ภายนอกคือเป็นไปเพื่อสงเคราะห์สังคม  เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น  เพื่อสงเคราะห์อนุชนรุ่นหลัง  หรือเป็นสัญญลักษณ์ของศาสนวัตถุ  ส่วนประโยชน์ของตนที่แท้นั้น  คือ  ความพ้นทุกข์  "จะพ้นทุกข์ได้ต่อเมื่อรู้ จิตหนึ่ง."

คิดไม่ถึง

         สำนักปฏิบัติแห่งหนึ่ง  ซึ่งเป็นสาขาของหลวงปู่นี่นเอง  อยู่ด้วยกันเฉพาะพระประมาณห้าหกรูป  อยากจะเคร่งครัดเป็นพิเศษ  ถึงขั้นสมาทานไม่พูดจากันตลอดพรรษา  คือ  ไม่ให้มีเสียงเป็นคำพูดออกมาจากปากใคร  ยกเว้นการสวดมนต์ทำวัตร  หรือสวดปาติโมกข์เท่านั้น  ครั้นออกพรรษาแล้ว  พากันไปกราบหลวงปู่  เล่าถึงการปฏิบัติอย่างเคร่งของพวกตนว่า  นอกจากปฏิบัติข้อวัตรอย่างอื่นแล้วสามารถหยุดพูดได้ตลอดพรรษาด้วย ฯ

         หลวงปู่ฟังฟังแล้วยิ้มหน่อยหนึ่ง พูดว่า

         "ดีเหมือนกัน  เมื่อไม่พูดก็ไม่มีโทษทางวาจา  แต่ที่ว่าหยุดพูดได้นั้นเป็นไปไม่ได้หรอก  นอกจากพระอริยบุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติชั้นละเอียดดับสัญญาเวทนาเท่านั้นแหละที่ไม่พูดได้  นอกนั้นพูดทั้งวันทั้งคืน  ยิ่งพวกที่ตั้งปฏิญาณว่าจะไม่พูดนั่นแหละยิ่งพูดมากกว่าคนอื่น  เพียงแต่ไม่ออกเสียงให้คนอื่นได้ยินเท่านั้น."


ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule.htm

ทรงกลด:
อย่าตั้งใจไว้ผิด

         นอกจากหลวงปู่จะนำปรัชญาธรรมที่ออกจากจิตของท่านมาสอนแล้ว  โดยที่ท่านอ่านพระไตรปิฎกจบมาแล้ว  ตรงไหนที่ท่านเห็นว่าสำคัญและเป็นการเตือนใจในทางปฏิบัติให้ตรงและลัดที่สุด  ท่านก็จะยกมากล่าวเตือนอยู่เสมอ เช่น หลวงปู่ยกพุทธพจน์ตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสเตือนว่า

         "ภิกษุทั้งหลาย  พรหมจรรย์นี้  เราประพฤติ  มิใช่เพื่อหลอกลวงคน  มิใช่เพื่อให้คนมานิยมนับถือ  มิใช่เพื่ออานิสงค์ลาภสักการะและสรรเสริญ  มิใช่อานิสงค์เป็นเจ้าลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้ฯ  ที่แท้พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติ เพื่อสังวระ-ความสำรวม   เพื่อปหานะ-ความละ   เพื่อวิราคะ-ความหายกำหนัดยินดี   และเพื่อนิโรธะ-ความดับทุกข์   ผู้ปฏิบัติและนักบวชต้องมุ่งตามแนวทางนี้  นอกจากแนวทางนี้แล้วผิดทั้งหมด."


พระพุทธพจน์

         หลวงปูว่า  ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ ตราบนั้นย่อมมีทิฎฐิ  และเมื่อมีทิฎฐิแล้วยากที่จะเห็นตรงกัน  เมื่อไม่เห็นตรงกัน ก็เป็นเหตุให้โต้เถียงวิวาทกันอยู่รํ่าไป   สำหรับพระอริยเจ้าผู้เข้าถึงธรรมแล้วก็ไม่มีอะไรสำหรับมาโต้แย้งกับใคร  ใครมีทิฎฐิอย่างไร ก็ปล่อยเป็นเรื่องของเขาไป  ดังพุทธพจน์ตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า

         ภิกษุทั้งหลาย  สิ่งใดอันบัณฑิตทั้งหลายในโลกกล่าวว่ามีอยู่ แม้เราตถาคตก็กล่าวสิ่งนั้นว่ามีอยู่   สิ่งใดอันบัณฑิตทั้งหลายในโลกกล่าวว่าไม่มี แม้เราตถาคตก็กล่าวสิ่งนั้นว่าไม่มี   ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่โต้แย้งเถียงกับโลก  แต่โลกย่อมวิวาทโต้เถียงกับเรา (ปุปผสูตร)

ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule.htm

ทรงกลด:
นักปฏิบัติลังเล

         ปัจจุบันนี้  ศาสนิกชนผู้สนใจในการปฏิบัติฝ่ายวิปัสสนา  มีความงงงวยสงสัยอย่างยิ่งในแนวทางปฏิบัติ  โดยเฉพาะผู้เริ่มต้นสนใจเนื่องจากคณาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาแนะแนวปฏิบัติไม่ตรงกัน  ยิ่งไปกว่านั้นแทนที่จะอธิบายให้เขาเข้าใจโดยความเป็นธรรม  ก็กลับทำเหมือนไม่อยากจะยอมรับคณาจารย์อื่น  สำนักอื่น ว่าเป็นการถูกต้อง  หรือถึงขั้นดูหมิ่นสำนักอื่นไปแล้วก็เคยมีไม่น้อย ฯ

         ดังนั้น  เมื่อมีผู้สงสัยทำนองนี้มากแลัวเรียนถามหลวงปู่อยู่บ่อยๆ  จึงได้ยินหลวงปู่อธิบายให้ฟังอยู่เสมอๆว่า

        "การเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนาภาวนานั้น  จะเริ่มต้นโดยวิธีไหนก็ได้  เพราะผลมันก็เป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว   ที่ท่านสอนแนวปฏิบัติไว้หลายแนวนั้นเพราะจริตของคนไม่เหมือนกัน  จึงต้องมีวัตถุ  สี  แสง  และคำสำหรับบริกรรม เช่น พุทโธ  อรหัง  เป็นต้น  เพื่อหาจุดใดจุดหนึ่งให้จิตรวมอยู่ก่อน  สงบ  แล้ว คำบริกรรมเหล่านั้นก็หลุดหายไปเอง   แล้วก็ถึงรอยเดียวกัน  รสเดียวกัน  คือมีวิมุตติเป็นแก่น  มีปัญญาเป็นยิ่ง."

อยู่  ก็อยู่ให้เหนือ

         ผู้ที่เข้านมัสการหลวงปู่ทุกคนและทุกครั้ง  มักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า  แม้หลวงปู่จะมีอายุใกล้ร้อยปีแล้วก็จริง  แต่ดูผิวพรรณยังผ่องใส  และสุขภาพอนามัยแข็งแรงดี  แม้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดท่านตลอดมาก็ยากที่จะได้เห็นท่านแสดงอาการหมองคลํ้า  หรืออิดโรย  หรือหน้านิ่วคิ้วขมวดให้เห็น  ท่านมีปรกติสงบเย็น  เบิกบานอยู่เสมอ  มีอาพาธน้อย  มีอารมณ์ดี  ไม่ตื่นเต้นตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  ไม่เผลอคล้อยตามไปตามคำสรรเสริญ  หรือคำตำหนิติเตียนฯ

         มีอยู่ครั้งหนึ่ง  ท่ามกลางพระเถระฝ่ายวิปัสสนา สนทนาธรรมเรื่องการปฏิบัติกับหลวงปู่ ถึงปรกติจิตที่อยู่เหนือความทุกข์ โดยลักษณาการอย่างไรฯ

        หลวงปู่ว่า

        "การไม่กังวล  การไม่ยึดถือ  นั่นแหละวิหารธรรมของนักปฏิบัติ."     

ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/pudule2.htm

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version